date
stringlengths
12
13
title
stringlengths
20
290
text
stringlengths
9
61.3k
12 ส.ค. 2560
สกู๊ป : กดปุ่ม เปิดจุดเชื่อมระบบรางไทย
ถือเป็นข่าวดีสำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตชานเมืองกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี เมื่อจุดเชื่อมต่อสถานีเตาปูน-บางซื่อ ได้เปิดให้ประชาชนใช้บริการแล้วเมื่อเที่ยงวันนี้ โดยนายกรัฐมนตรียืนยันว่าปัญหาการคมนาคมขนส่งจะถูกเชื่อมต่อกันทั้งหมด ทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ต่างจังหวัด และประเทศเพื่อนบ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้แก่ประชาชน ติดตามจากรายงานค่ะ เป็นการปิดฉากเส้นทางที่ประชาชนรอคอยมาเป็นเวลานาน และเริ่มต้นความสะดวกกับการใช้บริการขนส่งสาธารณะที่จะเชื่อต่อ และสะดวก รวดเร็วมากขึ้น ทันทีที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กดปุ่มเปิดให้บริการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน-บางซื่อ ภายใต้แนวคิด “ร่วมใจ เชื่อมสุข เพื่อประชาชน” โดยเป็นโครงการที่ก่อสร้างเพิ่มเติม เพื่อเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และรถไฟฟ้าสายสีม่วงเข้าด้วยกันสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในเรื่องความปลอดภัย ความสะดวกสบาย และการเชื่อมโยงการเดินทางจากชานเมือง สู่ตัวเมืองได้ง่ายขึ้น สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน-บางซื่อ เป็นการก่อสร้างเพิ่มเติม ระยะทางประมาณ 1.2 กิโลเมตร ลดปัญหาการเดินทางของประชาชน ระหว่างเส้นทางรถฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง จากเดิมที่จะต้องต่อรถชัตเตอร์บัส ซึ่งใช้เวลาเดินทางมากกว่า 30 นาที เหลือเพียงแค่ 2 นาที จะถึงสถานีบางซื่อ และยังสามารถเดินทางต่อไปยังหัวลำโพง ขณะที่ยังคงอัตราค่าโดยสารตามโปรโมชั่นเดิม จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2561 คือ ถือบัตรโดยสาร MRT และ MRT Plus ประเภทบุคคลทั่วไป มีค่าใช้จ่ายในวันทำงาน อยู่ระหว่าง 14-57 บาท ขณะที่ค่าบริการของผู้ที่ใช้เหรียญ อยู่ระหว่าง 14-70 บาท ส่วนอัตราค่าโดยสารในวันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ อยู่ระหว่าง 14-43 บาท ทั้งนี้ ในอนาคตตามแผนยุทธศาสตร์ชาติที่รัฐบาลวางไว้ จะเกิดการพัฒนาระบบครบวงจร และเชื่อมถึงกันทั้งภายในกรุงเทพมหานคร ต่างจังหวัด และประเทศเพื่อนในกลุ่ม CLMV การกดปุ่มเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางซื่อ จึงกลายเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของรัฐบาล ที่มุ่งมั่นจะพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้ครอบคลุมทั่วกรุงเทพและปริมณฑล อย่างมีประสิทธิภาพและครบวงจร และเป็นการสร้างความสะดวกสบายในการเดินทางให้กับประชาชน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
12 ส.ค. 2560
สกู๊ป : ไทยคว้าแชมป์โลก...เมืองท่องเที่ยว
ไทยได้รับอีกหนึ่งการจัดอันดับการรันตี เมืองท่องเที่ยวคุ้มค่าที่สุดในโลก จากเว็บไซต์มิเรอร์ ของประเทศอังกฤษ มาดูกันว่าทำไมนักท่องเที่ยวจึงเลือกไทยให้เป็นอันดับ 1ของโลก ติดตามได้ในรายงานพิเศษค่ะ ศิลปะ วัฒนธรรม ภาษา กิริยา มารยาทที่อ่อนช้อยและงดงาม อันเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย รวมไปถึงอาหารที่ถูกปาก รสชาติที่ถูกใจ ที่นักท่องเที่ยวต่างประทับใจและเดินทางกลับมาเที่ยวไทยครั้งแล้วครั้งเล่า นี่คืออีกหนึ่งการการันตีความนิยมในการเลือกไทย เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว โดยเว็บไซต์มิเรอร์ของประเทศอังกฤษ ที่เผยแพร่รายงานของโพสต์ออฟฟิศ ทราเวล มันนี่ จัดให้กรุงเทพมหานคร ถูกจัดเป็นเมืองน่าเที่ยวเที่ยวอับดับ 1 ของโลก โดยพิจารณาจากค่าใช้จ่ายระยะยาวในเมืองต่างๆทั่วโลก โดยเกณฑ์ที่จัดคัดเลือกเป็นเมืองน่าท่องเที่ยวนั้น กว่าที่ไทยจะผ่านด่านสู่อันดับ 1 ได้นั้น ต้องผ่านมาตรฐานเรื่องค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว 11 รายการ อาทิ ค่าอาหารเครื่องดื่ม ค่าเยี่ยมชม ค่าเดินทาง และค่าที่พักระยะเวลา 3 คืน พบว่ากรุงเทพมหานครนั้น มีค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด ที่มีจุดเด่นมากที่สุดในด้านที่พัก ที่มีราคาเริ่มต้นเพียง 260 บาทเท่านั้น แน่นอนว่าอาหารไทยเป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ทั้งรสชาติที่จัดจ้าน และราคาที่ย่อมเยา จนเรียกได้ว่า เป็นราคาที่สบายกระเป๋า ส่วนรายการอาหารที่เป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยว คงหนีไม่พ้นอาหารยอดฮิตอย่างผัดไท ต้มยำกุ้ง ส้มตำ และผัดกะเพรา ที่หากพลาดแล้วถือได้ว่ายังมาไม่ถึง ด้านสถานที่ท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร ที่มีความวิจิตรบรรจงด้วนศิลปะ และสถาปัตยกรรม ที่ครองใจนักท่อง ยังคงเป็นย่านที่นักท่องเที่ยวสามารถเสพกับงานศิลปะของไทยได้อย่างเต็มที่ อาทิ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวัง วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร วัดโพธิ์ รวมไปถึงสถานที่แหล่งรวมความบันเทิงอย่าง สีลม และข้าวสาร รวมไปถึงการร่องเรือชมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมิใช้น้อย ซึ่งนอกจากกรุงเทพมหานครของไทยแล้ว ยังมีอีกหลายประเทศที่ได้รับรางวัลในอันดับรองลงมา คือ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ สิงคโปร์ วอชิงตัน ดี.ซี.สหรัฐอเมริกา เมืองโทรอนโต ประเทศแคนาดา นครนิวยอร์ก และนครบอสตัน สหรัฐอเมริกา รางวัลที่ไทยได้รับ เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่การันตีได้ว่า ไทยยังคงเป็นอันดับต้นๆที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เลือกเดินทางมาท่องเที่ยวในไทย ซึ่งประชาชนคนไทย ในฐานะของเจ้าบ้าน ก็ควรหันมามองคุณค่ากับเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ที่ทรงคุณค่าแก่การรักษา รวมถึงเป็นเจ้าบ้านที่ดีในการตอนรับนักท่องเที่ยวให้เกิดความประทับใจ ในฐานะของผู้มาเยือน
12 ส.ค. 2560
จังหวัดชลบุรี ทำบุญตักบาตรวันแม่แห่งชาติ
พสกนิกรชาวจังหวัดชลบุรี ร่วมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 86 รูป ถวายเป็นพระราชกุศล ในหลวงรัชกาลที่ 9 และถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 85 พรรษา 12 สิงหาคม 2560 วันที่ (12 ส.ค. 60) ที่หอพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดชลบุรี นายภัครธรณ์ เทียนไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธาน นำเหล่าข้าราชการ ทหาร ตำรวจ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนชาวจังหวัดชลบุรี ร่วมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 86 รูป เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 85 พรรษา 12 สิงหาคม 2560 ทั้งนี้เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี และสำนึกในมหากรุณาธิคุณ ที่พระองค์ทรงมี ต่อพสกนิกรชาวไทย หาที่สุดมิได้
12 ส.ค. 2560
พสกนิกรชาวจังหวัดมุกดาหาร ร่วมทำบุญตักบาตรวันแม่ ถวายเป็นราชกุศล
พสกนิกรชาวจังหวัดมุกดาหาร ร่วมทำบุญตักบาตรวันแม่ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 85 พรรษา 12 สิงหาคม 2560 เช้าวันนี้ (12 ส.ค. 60) ที่บริเวณถนนด้านหน้าศาลหลักเมืองจังหวัดมุกดาหาร เต็มไปด้วยพสกนิกรชาวจังหวัดมุกดาหาร ทุกภาคส่วนที่ได้มาร่วมกันทำบุญตักบาตร ซึ่งพร้อมใจกันใส่เสื้อผ้าในโทนสีฟ้า เพื่อร่วมแสดงความกตัญญูกตเวที น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและแสดงความจงรักภักดี ถวายเป็นพระราชกุศล และเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 85 พรรษา 12 สิงหาคม 2560 โดยการนำของนายสรสิทธิ์ ฤทธิ์สรไกร ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งมีพระสงฆ์จำนวน 86 รูป ที่มาจากวัดต่าง ๆ ในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหารออกมารับบิณฑบาต ในขณะที่อำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดมุกดาหาร ก็ได้เชิญชวนประชาชนร่วมทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล ในวันมหามงคลนี้ ด้วยเช่นกัน
12 ส.ค. 2560
ตุ๊ก ตุ๊ก ยะลา "ทำความดี ถวายแม่ของแผ่นดิน" บริการประชาชน ฟรี 1 วัน
"วันแม่แห่งชาติ" จิตอาส ตุ๊ก ตุ๊ก ยะลา ร่วมกันทำความดี ให้บริการรับ-ส่ง ประชาชน ฟรี ถวายแม่ของแผ่นดิน วันนี้ (12 ส.ค. 60) กลุ่มคนขับรถตุ๊กๆ จังหวัดยะลา จากสหกรณ์เดินรถยะลา จำกัด จำนวน 15 คัน ทั้งรถสีน้ำเงินและสีแดง ได้ออกให้บริการรับ-ส่ง ประชาชนภายในเขตเทศบาลนครยะลา ฟรี 1 วัน ในกิจกรรม "จิตอาสา ทำดีเพื่อแม่ 12 สิงหา" ซึ่งกลุ่มสหกรณ์เดินรถยะลา จำกัด จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 85 พรรษา 12 สิงหาคม 2560 ทั้งนี้เพื่อให้พสกนิกรชาวไทยได้ร่วมตั้งปณิธานทำความดี และกระทำความดีเพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และประเทศชาติ ถวายเป็นพระราชกุศล แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 โดยวันนี้ รถตุ๊กๆ ทุกคัน ก็จะติดป้ายทำดีเพื่อแม่ 12 สิงหา พร้อมกับติดธงสัญลักษณ์ และธงชาติไว้ที่รถ เพื่อให้ประชาชนได้สังเกตและเรียกใช้บริการโดยสาร ฟรี โดยไม่ต้องจ่ายเงิน ซึ่งกิจกรรมนี้ก็จะจัดตลอดทั้งวันไปจนถึงเวลา 19.00 น. นายสุจิตร รัตนากรณ์พิพัฒน์ รองประธานสหกรณ์เดินรถยะลา จำกัด กล่าวว่า วันนี้ ตนเองและเพื่อนๆ สมาชิกคนขับตุ๊กๆ ของสหกรณ์เดินรถยะลา จำกัด ได้ร่วมกันเป็นจิตอาสา ทำดีเพื่อแม่ โดยขับรถรับ-ส่ง ให้บริการประชาชน ฟรี 1 วัน เพื่อตอบแทนแม่ของแผ่นดิน ในวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหา เป็นสิ่งที่ตนเองและเพื่อนๆ ภาคภูมิใจมาก และไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยที่จะได้ทำดีเพื่อแม่ และจะขอทำความดีเป็นจิตอาสาตลอดไป สำหรับการเป็นจิตอาสา ทุกคนก็สามารถทำได้ เพื่อแม่แห่งชาติ รวมทั้งทำความดี เพื่อแม่ของตนเอง ด้วย ขณะที่ชาวบ้านซึ่งได้ใช้บริการโดยสารรถ ฟรี ต่างกล่าวว่า รู้สึกดีใจที่จังหวัดยะลา มีกลุ่มจิตอาสา ทำดีเพื่อแม่ เช่นนี้ ทำให้ประชาชนทั้งในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา ได้นั่งรถ ฟรี และรู้สึกประทับใจ กลุ่มคนขับรถตุ๊กๆ ยะลา มาก บริการดี และยังมีน้ำแจกให้กับประชาชนอีกด้วย
11 ส.ค. 2560
นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีเปิดให้บริการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วง เตาปูน-บางซื่อ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดให้บริการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วง เตาปูน-บางซื่อ ภายใต้แนวคิด "ร่วมใจ เชื่อมสุข เพื่อประชาชน" โดยมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พลเอก ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และคณะผู้บริหาร รฟม. เข้าร่วมในพิธี โครงการรถไฟฟ้าสายน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน-บางซื่อ เป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างสถานีเตาปูนของรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) และสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) มีระยะทางประมาณ 1.2 กิโลเมตร เพื่อให้สามารถย่นระยะเวลาการเดินทางช่วงเตาปูนถึงบางซื่อ เหลือประมาณ 2 นาที ซึ่งผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนระบบขบวนรถที่สถานีเตาปูนและจ่ายค่าแรกเข้าระบบเพียงครั้งเดียว สำหรับผู้ถือบัตรโดยสาร MRT และ MRT PLUS นอกจากนี้ รฟม.ยังคงอัตราค่าโดยสารของสายฉลองรัชธรรม ตามโปรโมชั่นเดิมจนถึงวันที่ 31 มกราคม 2561 คือ 14-29 บาท ในวันทำงาน และ 15 บาท ตลอดสายในวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ หลังทำพิธีเปิดเสร็จสิ้น นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะ จะร่วมโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จากสถานีเตาปูนไปตามทางวิ่งลดระดับลอดอุโมงค์ที่สถานีบางซื่อและเดินทางต่อเนื่องไปยังสถานีกำแพงเพชร จากนั้นเดินทางโดยรถยนต์ไปยังสถานีสนามไชย เพื่อเยี่ยมชมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ก่อนจะนั่งรถราง ลอดอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้แม่น้ำเจ้าพระยา จากสถานีสนามไชยไปยังสถานีอิสรภาพ เพื่อเชื่อมชมความคืบหน้าการออกแบบตกแต่ง สถาปัตยกรรม ภายในของสถานีรถไฟฟ้าทั้งสองแห่ง
10 ส.ค. 2560
รายการเดินหน้าประเทศไทย : ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเชิงลึกผู้มีรายได้น้อย
ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุลงพื้นที่สำรวจข้อมูลผู้มีรายได้น้อยพบปัญหาที่อยู่ไม่ชัด ทำงานที่อื่นและสภาพภูมิอากาศ ต้องนัดล่วงหน้าและประสานผู้นำชุมชนประชาสัมพันธ์ นายภุชพงศ์ โนดไทสง ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กล่าวในรายการเดินหน้าประเทศไทย ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเชิงลึกผู้มีรายได้น้อยว่า ในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลได้รับสมัครและเปิดอบรมนักศึกษาเพื่อทำแบบสอบถาม พร้อมทั้งประสานกับหน่วยงานในพื้นที่ โดยเริ่มจากอำเภอธัญบุรีและอำเภอลำลูกกา ในการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยได้ทราบ ซึ่งเบื้องต้นพบปัญหาที่อยู่ไม่ชัดเจน ในการลงทะเบียนระบุเพียงบ้านเลขที่ ไม่ระบุชื่อถนน ตรอก หรือซอย ทำให้ต้องสอบถามกับทางไปรษณีย์และผู้นำหมู่บ้าน รวมถึงผู้มีรายได้น้อยบางรายมีงานประจำที่ต้องทำในพื้นที่อื่น จึงจำเป็นต้องนัดหมายล่วงหน้าก่อนให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ทั้งนี้ สภาพภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่ ยังเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้การสำรวจข้อมูลทำได้ยาก ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้การลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบคุณสมบัติ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งธนาคารต่างๆ ที่ตรวจสอบข้อมูลบัญชีเงินฝาก กระทรวงมหาดไทยที่ตรวจสอบรายชื่อว่ามีชื่อซ้ำกันหรือไม่และบางรายอาจเสียชีวิตไปแล้วภายหลังลงทะเบียน ส่วนกรมที่ดินมีหน้าที่ตรวจสอบทรัพย์สิน เนื่องจากการลงทะเบียนครั้งนี้ มีเงื่อนไขจำกัดจำนวนที่ดิน รวมถึงต้องสำรวจจำนวนหนี้นอกระบบด้วยว่ามีเงินต้นและดอกจำนวนเท่าใด เพื่อการแก้ไขต่อไป ศิริศุภา กร่างสะอาด / สวท.
10 ส.ค. 2560
กรมชลประทานติดตามโครงการประตูระบายน้ำแม่น้ำยม แก้ปัญหาอุทกภัย-ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดพิจิตร
กรมชลประทานติดตามแผนการก่อสร้างประตูระบายน้ำในแม่น้ำยม จำนวน 4 ประตู มูลค่าเกือบพันล้านบาท เพื่อศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ สิ่งใดอยากให้แก้ไข ปรับปรุง สิ่งใดอยากให้เพิ่มเติม หวังแก้ปัญหาทั้งน้ำท่วมและภัยแล้งได้เป็นระบบและยั่งยืน นายพิษณุ เสนาวิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร พร้อมกรมชลประทาน จัดโครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) พร้อมรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่อำเภอสามง่ามและอำเภอโพธิ์ประทับช้าง ในโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำในเขตพื้นที่จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก จำนวน 4 โครงการ ลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ประกอบด้วย โครงการประตูระบายน้ำท่านางงาม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก โครงการประตูระบายน้ำท่าแห อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร โครงการประตูระบายน้ำบ้านวังจิก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร และโครงการประตูระบายน้ำโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร เพื่อแก้ปัญหาน้ำทั้งระบบ ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในหน้าฝนจะสามารถระบายน้ำ ไม่ให้เอ่อท่วมพื้นที่ทางการเกษตรเขตติดแม่น้ำยม หน้าแล้งสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้ ทั้งอุปโภค บริโภค และภาคการเกษตร โดยหากนับปริมาณน้ำทั้ง 4 ประตู จะมีปริมาณน้ำเทียบเท่าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จำนวน 2 เขื่อนรวมกันเลยทีเดียว ซึ่งจังหวัดพิจิตรในพื้นที่ติดแม่น้ำยมจะได้ประโยชน์ครอบคลุมกว่า 100,000 ไร่ โครงการดังกล่าวจะแล้วเสร็จประมาณเดือนพฤษภาคม 2562 จากการสอบถามประชาชนในพื้นที่ดำเนินโครงการ พบว่าประชาชนกว่าร้อยละ 90 เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว ซึ่งในส่วนประชาชนที่เห็นด้วยและมีที่ดินอยู่ในเขตการดำเนินโครงการ โครงการได้จ่ายเงินค่าที่ดินไปเรียบร้อยแล้ว ในส่วนประชาชนที่ไม่เห็นด้วย คงจะต้องรอประกาศ พ.ร.บ.เวรคืนฯ โดยหากโครงการดังกล่าวดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ประชาชนที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำยม จะได้ประโยชน์จากโครงการเป็นอย่างมาก เป็นการแก้ปัญหาทั้งภัยแล้ง น้ำท่วม ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบปัญหาซ้ำซากเป็นประจำทุกปี ส.ปชส.พิจิตร ภาพ/ข่าว
09 ส.ค. 2560
รายการเดินหน้าประเทศไทย : เดินหน้าฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัย
นายพิทยา นาผล ผู้อำนวยการสำนักงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดสกลนคร กล่าวผ่านรายการเดินหน้าประเทศไทยว่า จังหวัดสกลนครมีพื้นที่การเกษตรกว่า 2,200,000 ไร่ ประสบปัญหาอุทกภัยราว 850,000 แสนไร่ ซึ่งจากกาสำรวจพื้นที่หลังน้ำลดเบื้องต้น พบความเสียหายแล้วกว่า 650,000 ไร่ โดยร้อยละ 90 เป็นลูกค้าของธนาคาร ธ.ก.ส.ซึ่งคาดว่าหลังระดับน้ำลดลงเข้าสู่ภาวะปกติใน 1-2 สัปดาห์ ธนาคารจะเข้าประเมินผลความเสียหายพร้อมส่งเสริมการทำอาชีพเสริม เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร พร้อมขยายระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปอีก 12 เดือน ซึ่งจากนั้นจะทำการสำรวจความเสียหายรายบุคคล เพื่อหามาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม โดยพื้นที่ปลูกข้าวของจังหวัดสกลนคร พื้นที่ทำนาบางส่วนได้ทำประกันนาข้าวเอาไว้ ซึ่งทำให้เกษตรกรได้รับเงินชดเชยช่วยเหลือเพิ่มเติมอีกด้วย ทั้งนี้ จากมติ ครม.เมื่อวันที่ 8 ส.ค.2560 ได้อนุมัติงบกลางเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยครัวเรือนละ 3,000 บาท และหลังการสำรวจความเสียหายจะได้รับการช่วยเหลือจากตามระเบียบของกระทรวงการคลังได้กำหนดไว้อีกด้วย กริช รวิวรรณ สวท. / ข่าว
08 ส.ค. 2560
รายการเดินหน้าประเทศไทย : มติคณะรัฐมนตรีฉบับประชาชน วันที่ 8 สิงหาคม 2560
คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบกลางปี 2560 รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินจำเป็นในกรอบวงเงินงบประมาณ 1,685 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเนื่องจากพายุตาลัสและพายุเซินกา ครัวเรือนละ 3,000 บาท ซึ่งที่ผ่านมามีเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางได้รับผลกระทบจากพายุ 36 จังหวัด มีพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบประมาณ 4.44 ล้านไร่ พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับผลกระทบ 27,456 ไร่ กระชัง 416 ตร.ม. สัตว์ได้รับผลกระทบ 1,179,592 ตัว และแปลงหญ้าอีก 417 ไร่ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อชดเชยดอกเบี้ยตามโครงการพักชำระหนี้ต้นเงินและลดดอกเบี้ยให้สมาชิกสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกข้าว ปีการผลิต 2559/60 ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ระยะเวลา 2 ปี (ปีละ 767.908 ล้านบาท) กรอบวงเงินงบประมาณรวม 1,535.816 ล้านบาท คณะรัฐมนตรีอนุมัติจัดสรรเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรให้กรมปศุสัตว์ สำหรับดำเนินการตามโครงการสนับสนุนปัจจัยการผลิตปศุสัตว์ "โคบาลบูรพา" โดยมีกำหนดชำระคืนสำหรับกิจกรรมส่งเสริมอาชีพเลี้ยงโคเนื้อภายใน 6 ปี และกิจกรรมส่งเสริมอาชีพเลี้ยงแพะภายใน 5 ปี ระยะเวลาโครงการ พ.ศ. 2560 - 2565 โดยอนุมัติวงเงินยืม (เงินหมุนเวียน) จำนวน 358.80 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 ต่อปี ระยะเวลาปลอดการชำระหนี้ สำหรับกิจกรรมส่งเสริมอาชีพเลี้ยงโคเนื้อ ใน 3 ปีแรก และกิจกรรมส่งเสริมอาชีพเลี้ยงแพะใน 2 ปีแรก คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. .... โดยตัวกฏหมาย พ.ร.บ.พัฒนารัฐวิสาหกิจจะเป็นหัวใจสำคัญในการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ
07 ส.ค. 2560
สกู๊ป : เราทำความดี...ด้วยหัวใจ
โครงการ “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” เป็นโครงการในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ที่นำเหล่าบรรดาจิตอาสา มาช่วยคลี่คลายปัญหาการจราจรในพื้นที่ที่มีการจราจรติดขัด ด้วยหัวใจที่ต้องการทำความดี โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ติดตามเรื่องราวดีดีนี้ได้ใน อาสาจราจร เราทำความดี...ด้วยหัวใจ อาสาจราจร ภายใต้เครื่องแบบหมวกสีฟ้า และผ้าพันคอสีเหลืองที่กำลังค่อยอำนวยการจัดการร่วมตำรวจ เป็นหนึ่งในอาสาสมัครที่มาร่วมทำความดี ในโครงการจิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ ที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจัดขึ้น และทรงพระราชทานเครื่องแบบให้แก่เหล่าบรรดาอาสาจราจร นำมาซึ่งความทราบซึ้งและภาคภูมิใจอย่างสูงสุด กิจกรรมอาสาจราจร ถือเป็นความร่วมมือระหว่าง กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ และประชาชนจิตอาสา ที่ออกมาทำความดีถวาย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2560 โดยมีจิตอาสาจราจร เข้าร่วมจำนวนมาก ก่อนกระจายไปอำนวยความสะดวกด้านจราจรให้กับประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งสามารถทำให้การจราจรคล่องตัวได้เป็นอย่างดี นายสุชาติ แก้วศรี และนายสุขสันต์ รักษาภัคดี 2 อาสาจราจรทำความดี ต่างปราบปลื้ม และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการจิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และทำความดีจากหัวใจประชาชน สำหรับโครงการจิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” ถือเป็นโครงการที่จะร่วมใจไทยทุกคน ร่วมกันทำความดี เป็นจิตอาสา ด้วยหัวใจของประชาชนด้วยการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมสรรสร้างให้สังคมไทยน่าอยู่ และเป็นสังคมที่มีความสุขมากขึ้น
07 ส.ค. 2560
สกู๊ป : มาตรการเยียวยา ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติอุทกภัยทำให้ประชาชนได้รับความเสียหายในทรัพย์สินจำนวนมาก รัฐบาลไม่นิ่งนอนใจพร้อมสั่งการให้ทุกหน่วยงานเข้าช่วยเหลือเยียวยาอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะทางการเงิน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นในขณะนี้ แม้สถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะสร้างความเสียหายให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นเหตุการณ์อุทกภัยใหญ่ที่เกิดขึ้นในรอบหลายสิบปี โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่ถือเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูปลูกข้าวนาปี และพืชสวน ทำให้เกิดความเสียหายกับเกษตรกร อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้มากกว่า 2 ล้าน 8 แสนไร่ และอาชีพอื่น ๆ ที่ประสบความเดือดร้อนเหมือนกัน รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เล็งเห็นว่า ปัญหาสำคัญของเกษตรกร และประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน จึงได้บูรณการร่วมกันจากหลายหน่วยงาน เพื่อหาทางออก และบรรเทาความเดือดร้อน เพื่อให้ผู้ประสบภัยผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้ โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจึงมีมติในการช่วยเหลือกับเกษตรกร คือ มาตรการด้านการคลัง รัฐบาลได้สั่งการให้ช่วยเหลือเงินฉุกเฉินกับผู้ประสบภัยแบบเร็วที่สุดแก่คนที่ประสบอุทกภัยทางธรรมชาติ มาตรการด้านการเงิน จะให้สินเชื่อเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัย พักชำระหนี้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านการเงิน มาตรการด้านภาษี จะยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมทั้ง อสังหาริมทรัพย์ และยานพาหนะ นอกจากนี้ รัฐบาลได้เริ่มโครงการสินเชื่อฟื้นฟู SMEs จากอุทกภัยและภัยพิบัติ ปี 2560 อีกทางหนึ่ง ซึ่งดำเนินการโดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สนับสนุนให้กู้ยืมได้รายละไม่เกิน 15 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ให้ทุกคนสามารถผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปให้ได้ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานทำงานแบบเชิงรุก “แบบเดินเข้าไปหา และให้บริการ” ซึ่งจะทำให้ประชาชนที่ประสบภัย ได้รับความสะดวกสบายที่สุด โดยเฉพาะในช่วงที่ประชาชนในพื้นที่ กำลังได้รับความเดือดร้อน เพื่อที่จะผ่านความยากลำบากไปด้วยกัน แบบไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ตามนโยบายยุทธศาสตร์ของรัฐบาลก่อนหน้านี้ ซึ่งทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันถึงจะประสบความสำเร็จ เป็นพลังประชารัฐที่ขับเคลื่อนประเทศไทยไปข้างหน้าที่ทุกคนมีส่วนร่วมกันรับผิดชอบ พร้อมใจกันเดินหน้าประเทศไทย
07 ส.ค. 2560
สกู๊ป : รับมือภัยเงียบ'โรคซึมเศร้า'
กระทรวงสาธารณสุขประเมินว่าอีก 10 ปีจากนี้ โรคซึมเศร้ากำลังจะกลายเป็นภัยเงียบที่สังคมไทยในอนาคต จะมีคนป่วยมากกว่า 1 ล้านคน การมุ่งให้ความรู้ความเข้าใจพร้อมจัดทำยุทธศาสตร์สุขภาพจิตแห่งชาติ จึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาและรับมือในอนาคต ความอันตรายของโรคซึมเศร้า นับวันจะมีผู้ป่วยทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าชนชั้น หรือฐานะใด มีสิทธิที่จะเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้แทบทั้งสิ้น ซึ่งปัจจุบันพบว่า ประเทศไทยมีประชากรป่วยเป็นโรคซึมเศร้า โดยไม่รู้ตัวแฝงอยู่ทั่วทุกสังคม ทำให้มีการคาดการณ์จากกรมสุขภาพจิต ว่าอาจจะมีคนไทยป่วยเป็นโรคซึมเศร้าในอีก 10 ปีต่อจากนี้ ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน จนอาจกลายเป็นปัญหาของสังคมตามมา ด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ทำให้กระทรวงสาธารณสุขต้องเตรียมการรับมือ กับภัยเงียบอย่างโรคซึมเศร้า ภายใต้การประชุมวิชาการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็ก ในหัวข้อซึมเศร้า เราคุยกันได้ ถอดบทเรียนเพื่อป้องกันไม่ให้โรคซึมเศร้ากลายเป็นภัยเงียบทำลายสุขภาพคนไทย ซึ่งพบว่าอุปสรรคและปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้านั้นคือการขาดความรู้ความเข้าใจที่จะรักษาอย่างจริงจัง ที่ผ่านมาพบว่า มีผู้ป่วยหลายรายรักษาที่ไม่ถูกวิธี จึงทำให้อาการของคนที่เป็นโรคนี้ มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จนไม่สามารถหาทางออกชีวิตได้ และเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มผู้สูงอายุ อธิบดีกรมสุขภาพจิต จึงมีคำแนะนำต่อการรับมือกับโรคซึมเศร้า ว่า โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อทางพันธุกรรม และรักษาให้หายขาดได้ หากอาการที่พบยังอยู่ในขั้นที่ไม่รุนแรง ซึ่งสาเหตุของโรคมาจากความผิดปกติของสารในประสาท ที่เกิดจากความเครียดในชีวิต ที่พบกับความผิดหวังและสูญเสียอย่างหนัก การสังเกตอาการของคนใกล้ชิดจึงเป็นส่วนสำคัญ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาได้ทัน อาทิ การมีพฤติกรรมที่ผิดไปจากเดิม เช่น ทุกข์ใจ เศร้า ท้อแท้ ซึม เบื่อ ไม่อยากพูดหรือทำกิจกรรมเหมือนเดิม ต้องรีบพบแพทย์ทันที ปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขกำลังดำเนินการร่างยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพจิต เป็นแนวทางปฏิบัติในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นแผนที่เกี่ยวข้องกับโรคจิตเวชและโรคซึมเศร้า เพราะผู้ป่วยหลายรายยังเข้าไม่ถึงการบริการด้านการรักษา ซึ่งแผนยุทธศาสตร์จะทำให้ประชาชนได้รับการดูแลอย่างครอบคลุมทุกเพศและทุกวัย เพื่อให้รู้สึกว่าผู้ป่วยไม่ถูกทอดทิ้ง เนื่องจากโรคนี้ต้องการความเข้าใจจากสังคมเป็นหลัก พร้อมกับมุ่งเป้าหมายให้คนในสังคมเข้าใจบุคคลที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น ไม่ให้เกิดการเข้าใจแบบผิดซึ่งอาจจะนำมาซึ่งความสูญเสียโดยไม่ตั้งใจได้
07 ส.ค. 2560
สกู๊ป : สินค้าเกษตร...คิดให้ต่าง สร้างอาชีพ
การทำธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องที่ยาก แต่การทำให้ธุรกิจนั้นติดตลาด เป็นที่ยอมรับ และสร้างฐานให้เกิดความมั่นคงนั้นเป็นเรื่องที่ยากมากกว่า การคิดต่อยอดธุรกิจให้เกิดความต่างที่สามารถขายงานต่อได้จึงเป็นสิ่งที่นักธุรกิจหน้าใหม่ต้องคำนึงถึง อย่างธุรกิจลูกชิ้นและผลิตภัณฑ์จากว่านหางจระเข้ มองว่าอาจจะดูเป็นเรื่องธรรมดาให้เกิดความต่างที่สร้างรายได้มหาศาล หากมองเพียงผิวเผิน ลูกชิ้นปลาที่เห็นอยู่นี้คงไม่ต่างอะไรกับลูกชิ้นปลาที่ขายอยู่ทั่วไป แต่หากได้ลิ้มชิมรสแล้วจะพบว่ามีความต่างด้วยรสชาด และคุณค่าทางสารอาหาร โดยลูกชิ้นปลานี้ถูกผลิตด้วยกรรมวิธีที่ธรรมดาแต่ไม่ธรรมดาด้วยการเสริมธาตุแคลเซียมให้มีมากถึง 35 เปอร์เซ็นต์ พร้อมกับการคัดสรรเนื้อปลาทรายแดงอย่างดี ที่ผสมเนื้อแป้งเพียง 4 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ซึ่งธุรกิจนี้กว่าจะมาเป็นที่ประสบความสำเร็จได้ ก็เริ่มจากการลองผิดลองถูก จนได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ เข้าไปช่วยวิจัยและพัฒนา เปลี่ยนจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ธรรมดา สร้างความเข้มแข็ง สร้างมูลค่า ตีตลาดตลาดทัดเทียมนานาประเทศ ด้วยการวางแผนการตลาดของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์จากว่านหางจระเข้ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี ที่จุดเริ่มต้นเกิดจากการซื้อผลิตภัณฑ์มาใช้ด้วยราคาที่สูง จึงเกิดการรวมกลุ่มนำสินค้าภาคการเกษตรของคนในพื้นที่มาร่วมกับส่งเสริม โดยมีการอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มผลิต โดยร่วมกันผลิตสินค้าจำพวกเครื่องดื่ม เครื่องสำอางค์ และผลิตภัณฑ์ เพื่อสุขภาพ ตอบโจทย์กับความก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ การเข้ามาส่งเสริมด้านการวางแผนการตลาดของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ถือเป็นการสามารถฐานผลิตและส่งเสริมการขาย ขยายโอกาสทางธุรกิจ ให้ตลาดตลาดเอสเอ็มอีภาคการเกษตรของไทย มีการเติบโตพร้อมกับการขยายธุรกิจต่อเนื่อง และธุรกิจที่เกิดจาการต่อยอดไอเดีย สร้างนักธุรกิจหน้าใหม่ ให้พัฒนาระบบเศรษฐกิจของไทย ให้เม็ดเงินหลั่งไหลเข้าประเทศ
05 ส.ค. 2560
รายการเดินหน้าประเทศไทย : การเปิดขายทอดตลาดทรัพย์สิน
นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวถึงการเปิดขายทอดตลาดทรัย์สิน ในรายการเดินหน้าประเทศไทย ว่า การขายทอดตลาดไม่ได้เป็นเพียงการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงทรัพย์ในราคาที่ถูกเท่านั้น แต่นับเป็นหนึ่งในขั้นตอนทางคดีเพื่อนำประโยชน์จากการขายทรัพย์สินที่ได้ ด้วยขั้นตอนในการประมูลมาคืนให้กับผู้ที่สมควรได้รับประโยชน์จากทรัพย์ที่ขายได้ ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ เพราะกลไกการขายทอดทรัพย์เข้าตลาด คือ การได้เงินจากขายทรัพย์สินของลูกหนี้สามารถไปชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ต่อไป ขณะเดียวกันทรัพย์สินที่ขายออกได้ เช่น ที่ดินว่างปล่าว ยังทำให้เกิดการต่อยอดห่วงโซ่อุปทาน ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สร้างผลดีต่อระบบเศรษฐกิจและประเทศชาติด้วย ทั้งนี้ ปีที่ผ่านมา(59) กรมบังคับคดี สามารถขายทอดตลาดทรัพย์สินได้ถึง 1.7 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นยอดสูงสุดในรอบ 6 ปี ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจกว่า 3 แสนล้านบาท อธิบดีกรมบังคับคดี ยืนยันว่า การเปิดราคาขายทรัพย์สินมีราคาที่เป็นธรรม เพราะผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกำหนดประเมินราคาทรัพย์ และตัวแทนจากหลายหน่วยงานร่วมตรวจสอบก่อนกำหนดราคาทรัพย์ นอกจากนี้ เพื่อให้การบังคับคดีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทางกรมบังคับคดียังได้พัฒนาระบบแอพพลิเคชั่นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนเข้าถึงข้อมูลและตรวจสอบในคดีนั้นๆ สามารถตรวจสอบจำนวนเงินในคดี และตรวจสอบยอดหนี้คงเหลือ เพื่อความสะดวก ประหยัด รวดเร็ว และความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน ประชาชนที่สนใจการเปิดขายทอดตลดทรัพย์สามารถติดต่อได้ที่สายด่วน 1111 ต่อ 79 หรือทางเว็บไซด์ www.led.go.th ปัทมา สุทธิประทีป /สวท.
03 ส.ค. 2560
รายการเดินหน้าประเทศไทย : วัฒนธรรมสานสัมพันธ์ไทย-อินโดนีเซียสู่อาเซียน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำไปสู่ความร่วมมือในกลุ่มภูมิภาคอาเซียน และทำให้ประเทศมีความเจริญเติบโต นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า หลังจากก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ประเทศไทยได้จัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมและส่งเสริมความร่วมมือด้านต่างๆ กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอินโดนีเซีย เป็นประเทศสมาชิกที่มีความสัมพันธ์ในด้านศิลปวัฒนธรรมกับไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในการบริหารจัดการมรดกโลกร่วมกันนั้น นอกจากจะมีการแลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรมแล้วยังได้แลกเปลี่ยนเทคนิคการบูรณะนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ ซึ่งในแต่ละขั้นตอนจะมีการรวบรวมเป็นจดหมายเหตุให้ประชาชนเกิดความเข้าใจ นอกจากนี้ ในการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ประเทศต่างๆ ไม่ได้ใช้เพียงเฉพาะการแสดง แต่จะมีการผสมผสานในเรื่องของอาหาร สินค้าทางวัฒธรรม ความร่วมมือระหว่างกระทรวงและที่สำคัญเอกอัครราชทูตในต่างประเทศ จะต้องบูรณการทุกมิติไปพร้อมกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า เรื่องของวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ทุกประเทศให้การส่งเสริม เพราะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ทุกระดับ ก่อนนำไปสู่ความร่วมมือด้านอื่นๆ ในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนต่อไป พนิตนาฏ ขวัญแสนสุข / สวท.
02 ส.ค. 2560
รายการเดินหน้าประเทศไทย : ออกแบบความคิด ต่อยอดธุรกิจไทย
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการเดินหน้าประเทศไทย เรื่องออกแบบความคิดต่อยอดธุรกิจไทยว่า TCDC จะต้องพัฒนาเป็นศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบที่ช่วยเหลือและเสริมสร้างความรู้ให้แก่ธุรกิจระดับฐานราก "เดิม TCDC มีความสามารถหลักในด้านความคิดสร้างสรรค์การออกแบบ ในยุคปัจจุบัน TCDC น่าจะทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์มากขึ้น เสริมสร้างพัฒนาความรู้ให้แก่ชุมชน หรือสตาร์ทอัพ เอสเอ็มอี" ขณะที่นายกิตติรัตน์ ปิติพานิช รักษาการผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กล่าวว่า TCDC เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบสำหรับภาคธุรกิจและประชาชน โดยทำงานภายใต้แนวคิดที่ว่า "คิด ผลิต ขาย" มีการฝึกสอนให้ความรู้แก่ผู้เริ่มต้นธุรกิจตั้งแต่กระบวนการสร้างความคิด วิเคราะห์ความคิด จนถึงแนวทางสร้างผลิตภัณฑ์ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม และการขายสินค้า นอกจากนี้ยังให้คำปรึกษาและพัฒนาต่อยอดความรู้เดิมของผู้ประกอบการ ทั้งระดับสตาร์ทอัพ เอสเอ็มอี และธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่ไปรับบริการจาก TCDC มักจะมีปัญหาคล้ายๆ กัน คือ มีความคิดสร้างสรรค์แต่ยังไม่มั่นใจว่าจะขายสินค้าได้หรือไม่ และอีกส่วนหนึ่ง คือ กลุ่มที่ทำธุรกิจแล้วพบปัญหาสินค้าขายออกยาก หรือต้องการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ TCDC ก็จะให้คำแนะนำและอบรมความรู้เพิ่มเติมให้ พร้อมนี้ TCDC ยังเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่ย่านเจริญกรุงให้เป็นย่านที่มีความสร้างสรรค์ โดยนำสินทรัพย์และวัฒนธรรมในพื้นที่ไปพัฒนาให้เกิดมูลค่า ฐิตาวัลย์ ลาภขจรสงวน/สวท.
02 ส.ค. 2560
สกู๊ป : 2 ปี สปท.กับงานปฏิรูปประเทศ
ทันทีที่ สปท. ส่งมอบงานให้กับพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั้นถือเป็นการสิ้นสุดการทำงานในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ที่ทำมากว่า 2 ปีเต็ม มีหลายเรื่องที่เห็นผลเป็นรูปธรรม หลายเรื่องถูกบรรจุในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งการทำงานด้านการปฏิรูปประเทศนับจากนี้ไปจะเป็นของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศทั้ง 11 ด้าน ที่รัฐบาลจะนำผลงานทั้งหมดของ สปท.ไปทำต่อให้เป็นรูปธรรม การทำงาน 2 ปีที่ผ่านมาของ สปท.มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ติดตามจากรายงาน การส่งมอบผลงานด้านการปฏิรูป และผลการศึกษาที่จะนำประเทศไปสู่สิ่งที่ดีกว่า จากการทำงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือ สปท. ซึ่งเป็นต้นน้ำของการปฏิรูป ได้ส่งไม้ต่อให้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. และรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเป็นกลางน้ำ เดินหน้าขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศในทุกๆด้านให้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ ตลอด 2 ปีกับการทำงานปฏิรูปของ สปท. ที่ส่งให้รัฐบาลแล้วมี จำนวน 188 เรื่อง และรัฐบาลเร่งผลักดันกฎหมายเพื่อกลไกปฏิรูปประเทศ นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 จำนวน 183 ฉบับ และกำลังเร่งผลักดันอีก 104 ฉบับ นอกจากนี้ การทำงานของ สปท. ยังถูกนำไปใช้ และบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ อาทิ หมวด 16 การปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ / และมาตรา 261 ที่ให้วุฒิสภาติดตามเสนอแนะเร่งรัดการปฏิรูประเทศ เสนอให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ และเสนอกฎหมายว่าด้วยการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ แผนกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ เสนอประเด็นคำถามของสปท.ต่อ สนช. รวมถึง 5 เรื่องสำคัญที่นายกรัฐมนตรี มีดำริเสนอให้ปฏิรูป นับตั้งแต่ สปท.เริ่มต้นทำงาน จนถึงปัจจุบัน สปท. ได้ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปด้านต่างๆ ต่อรัฐบาลแล้ว จำนวน 188 เรื่อง มีผลงานที่เป็นรูปธรรม จำนวน 27 เรื่อง ยังไม่นับรวมเรื่องที่ผ่านมติ สปท. ซึ่งทั้งหมดจะถูกรวบรวม และนำไปสานต่อเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปประธรรม จากการทำงานคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศทั้ง 11 ด้าน ตามพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พุทธศักราช 2560 สิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้โรดแมปของ คสช. กับการวางรากฐานของประเทศผ่านการปฏิรูป จากการทำงานของ สภาปฏิรูปแห่งชาติ และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ถือเป็นการเริ่มต้นหน้าประวัติศาสตร์ กับการแก้ไขปัญหาของประเทศ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าเดิม และทำให้บันทึกงานด้านการปฏิรูปนับจากนี้ มีความมั่นคง ยั่งยืนมากที่สุด
02 ส.ค. 2560
สกู๊ป : Smile hub...รู้เท่าทันสุขภาวะทางจิต
สมายฮับ แอพลิเคชันยุคใหม่ที่กรมสุขภาพจิตพัฒนาขึ้น เพื่อให้ผู้ที่มีความเครียดนั้นสามารถทำแบบทดสอบ เพื่อให้รู้เท่าทันสภาวะทางอารมณ์ของตนเอง เพื่อให้ลดอัตรการฆ่าตัวตาย และเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที ติดตามได้ในรายงาน สภาพสังคมในปัจจุบันที่ไม่เคยหยุดนิ่ง เกิดการแข่งขันระหว่างคนในสังคมเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีความกดดันตกค้างอยู่ภายในใจ ทั้งที่เกิดจากการกดดันจากตนเอง สิ่งแวดล้อมและหัวหน้างาน นำไปสู่การเกิดความเครียดได้ง่าย เสี่ยงต่อการป่วยสุขภาพทางจิต และอาจก่อให้เกิดกระทำผิดทางร่างกายที่อาจเกิดต่อเนื่องขึ้นมาได้ กรมสุขภาพจิต จึงจัดทำแอพพลิเคชัน สมายฮับ ใช้สำหรับการตรวจสอบภาพจิตใจของผู้ใช้ พร้อมกับการประเมินอารมณ์ และพัฒนาการทางด้านจิตใจ ก่อนอาการเหล่านั้นแสดงออกมาขึ้น จนนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด ทันทีที่ดาวน์โหลดแอพลิเคชันสำเร็จ เมื่อเข้ามา จะพบกับแบบประเมินสุขภาพจิตกลุ่มวัยต่างๆ ทั้ง เด็กแรกเกิด -11 ปี วัยรุ่น 12-17 ปี วัยทำงาน 18-60 ปี และวัยสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป วัยเด็ก จะมีโปรแกรมเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ซึ่งจะเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ของสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ หน่วยงานเชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กของกรมสุขภาพจิต มีการประเมินความฉลาดทางอารมณ์ หรืออีคิว ใน 2 ช่วงอายุ คือ อายุ 3-5 ปี และ 6-11 ปี โดยผู้ปกครองเป็นผู้ทำการประเมิน สำหรับวัยรุ่นจะประเมินความฉลาดทางอารมณ์และภาวะซึมเศร้า วัยทำงานจะประเมินความเครียดและภาวะซึมเศร้า ขณะที่วัยสูงอายุจะประเมินสุขภาพจิตและภาวะซึมเศร้า ซึ่งระบบจะประเมินผลให้โดยอัตโนมัติ โดยใช้เวลาไม่นาน พร้อมรับคำแนะนำในภาพรวมและตามผลการประเมินที่ได้ ตลอดจนได้รับแนวทางการพัฒนาสุขภาพจิตจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตในทันที รวมทั้ง ยังสามารถแชร์ไปยังTimeline ได้ นอกจากนี้ ยังได้รวบรวมข่าวสาร ความเคลื่อนไหวด้านสุขภาพจิต คำคมอมยิ้ม บทความสุขภาพจิตออนไลน์ รวมทั้งสื่อสุขภาพจิตต่างๆ ที่น่าสนใจ มาไว้ในแอพลิเคชันนี้อีกด้วย ที่สำคัญ เมื่อมีปัญหา ไม่รู้จะปรึกษาใคร สามารถโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ผ่านแอพลิเคชันได้ในทันที แต่ที่พลาดไม่ได้กับอีกหนึ่งลูกเล่นที่สร้างความน่าสนใจให้กับแอพพลิเคชัน “smile hub” นี้ คือ การเช็คดวงความสุขที่ให้ผู้ใช้ มีส่วนร่วมโดยการเขย่า (Shake it) สมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ท เพื่อรับคำทำนายผลที่แฝงไปด้วยข้อคิดที่ดีในการส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิตให้กับตนเอง ซึ่งสามารถแชร์ คำทำนายนี้ไปยัง Timeline ได้อีกเช่นเดียวกัน นับเป็นหนึ่งความก้าวหน้าของกรมสุขภาพจิต ที่จะเป็นพัฒนาความรู้เพื่อให้เท่าทันต่อยุคสมัยที่นำเอาเทคโนโนยีเข้ามาใช้ในการประเมินความเสี่ยง เพื่อให้คนไทยลดอัตราการฆ่าตัวตายให้ได้มากที่สุด
02 ส.ค. 2560
สกู๊ป : เปิดหลักเกณฑ์วิธีคัดข้าวดี-ไม่ดี
การระบายคือนโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลที่ต้องเร่งดำเนินการ เพื่อไม่ให้ข่าวในสต๊อคจำนวน 17 ล้านตันเสื่อมคุณภาพ ซึ่งก่อนหน้านี้ยังคงมีความกังวลจากบางฝ่ายว่าอาจจะทำให้ข้าวดีนั้นถูกประเมินว่าไม่สามารถบริโภคได้ จากการแบ่งเกณฑ์คัดข้าวดีและไม่ดีก่อนหน้านี้ ซึ่งอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ยืนยันว่าทุกกระบวนการตรวจสอบนั้นได้ทำอย่างเข้มงวด ทำให้มั่นใจว่าการระบายข้าวทั้งหมดในขณะนี้จะเกิดประโยชน์กับประเทศชาติมากที่สุด ติดตามได้จากรายงาน การส่งเสริมให้สินค้าเกษตรอย่าง ข้าว ที่ถือเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ กลับมามีราคาที่ดี และมีคุณภาพที่ทั่วโลกให้การยอมรับ ถือเป็นนโยบายและความตั้งใจของรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ต้องการให้เกิดเป็นรูปธรรม แต่ด้วยแนวทางการสนับสนุนของภาครัฐในอดีต ที่ขาดการควบคุมคุณภาพ ทำให้ผลผลิตข้าวที่ออกสู่ตลาดมีจำนวนมาก โดยเฉพาะข้าวที่มีอยู่ในสต๊อคก่อนหน้านี้ ที่สะสมมาตั้งแต่ปี 2556 นำไปสู่การหาแนวทางช่วยเหลือ และยกระดับข้าวไทย ทั้งราคา และคุณภาพ จึงจำเป็นต้องเร่งระบายข้าวออกอย่างเร่งด่วน ผ่านกลไกของ คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว หรือ นบข. พร้อมกับอนุกรรมการต่างๆ เพื่อเข้ามาตรวจสอบคุณภาพและปริมาณข้าวที่เหลือ สำหรับหลักเกณฑ์การระบายข้าว เป็นออกเป็น 3 เกณฑ์สำคัญ คือ กลุ่มที่ 1 เป็นข้าวทั่วไปเพื่อการบริโภค กลุ่มที่ 2 เป็นข้าวระบายเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ไม่ใช่เพื่อการบริโภคของคน และกลุ่มที่ 3 เป็นข้าวระบายเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ไม่ใช่เพื่อการบริโภคของคนและสัตว์ โดยอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การตรวจเป็นไปด้วยความเข้มงวด และมีข้าราชการระดับสูงหลายฝ่ายร่วมกันทำงาน ลงพื้นที่เพื่อให้การคัดข้าวเป็นไปตามมาตรฐานที่สุด ขณะเดียวกัน การเร่งรัดการระบายข้าว ต้องทำอย่างเร่งด่วนเนื่องจากข้าวมีจำนวนมา หากปล่อยช้าจะทำให้ข้าวที่ยังไม่ได้ระบายออก จะยิ่งมีความเสียหายเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีโกดังข้าวบางแห่งได้ออกมาทักท้วง แต่ยืนยันว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ โดยเฉพาะข้าวที่มีคุณภาพ ต้องมีข้าวเสียไม่เกินร้อยละ 20 ของจำนวนข้าวแต่ละชนิดในโกดัง ปัจจุบันรัฐบาลต้องระบายข้าวมากถึง 17 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าวเก่าที่รอการระบาย จากการรับจำนำข้าวในอดีต และมีแนวโน้มที่ข้าวจะเสื่อมสภาพมากขึ้น หากไม่เร่งระบายข้าวโดยเร็ว ยังไม่นำรวมข้าวใหม่ที่กำลังออกสู่ตลาด นั้นหมายถึงปริมาณข้าวในท้องตลาดที่เพิ่มมากขึ้น และย่อมส่งผลให้การระบายข้าวเกิดความล่าช้า จนอาจกลายเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ หากยังไม่สามารถระบายข้าวที่มีอยู่ในสต๊อกของรัฐบาลได้
02 ส.ค. 2560
สกู๊ป : จากดวงใจไทยทั่วหล้า
นับเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ของไทย กับการจุดเทียนถวายพระพรชัย เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 65 พรรษา ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ณ ลานพระราชวังดุสิต พร้อมกับการรับชมดนตรีพระราชทาน ที่สร้างความประทับใจเป็นอย่างมากให้กับพสกนิกร ติดตามได้ในประเด็น : จุดเทียนถวายพระพรชัย "จากดวงใจ ไทยทั่วหล้า" เปลวเทียนที่พลิ้วไสวตามสายลม เสียงร้องกึกก้องเพลงราชาทรงพระเจริญ ที่เหล่าพสกนิกรทุกหมู่เหล่าร่วมร้องเพลง พร้อมจุดเทียนถวายพระพรชัยมงมล เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร 28 กรกฎาคม 2560 ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า พร้อมกับสายฝนที่โปรยปรายคล้ายน้ำจากฟ้า มนตราแห่งความปิติยินดี พร้อมกันนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระราชทานบทเพลงเพื่อขับกล่อมให้กับประชาชน ภายใต้ชื่อการแสดงว่า "จากดวงใจ ไทยทั่วหล้า" ซึ่งนายรณชัย ถมยาปริวัฒน์ หรืออ๊อด คีรีบูน และ พันจ่าอากาศเอก วีรยุทธิ์ นานช้า หรือ บ่าววี นักร้องชื่อดัง เปิดเผยว่า การขึ้นเวทีแสดงในครั้งนี้นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างสูงสุด ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการถวายงานสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และน้อมนำพระราชดำริของพระองค์ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ไม่ต่างจากความรู้สึกของประชาชน ล้วนปลื้มปิติที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงไม่ละทิ้งประชาชนผู้ทุกยาก พร้อมกับทรงพระราชทานบทเพลงอันไพเราะ เพื่อให้ประชาชนคลายความทุกข์เศร้า และจะน้อมนำเอาศาสตร์พระราชาไปใช้ ซึ่งถือเป็นมงคลชีวิต กิจกรรม "จากดวงใจ ไทยทั่วหล้า" ถือได้ว่าเป็นการร่วมใจของหน่วยงานต่างๆ ที่นำดนตรีมาขับกล่อมให้กับประชาชนที่มาร่วมกิจกรรม อาทิ วงดุริยางค์ทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ วงดุริยางค์ 4 เหล่าทัพ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ตำรวจ วงดุริยางค์กรมศิลปากร และวงเฉลิมราชย์ และมีศิลปินนักร้องรับเชิญ อาทิ เศรษฐา ศิระฉายา, อรวี สัจจานนท์, ก้อง ห้วยไร่, อ๊อด คีรีบูน, จินตหรา พูนลาภ, ชมพู ฟรุตตี้ รวมถึงนักร้องจากกรมประชาสัมพันธ์ นักร้องประสานเสียงจากดุริยางค์ 4 เหล่าทัพ ซึ่งการแสดงแบ่งเป็น 7 ช่วง ประกอบด้วย เกียรติศักดิ์ทหารกล้า, แอ่วเหนือทัพฟ้า, ทะเลงามตาราชนาวี, สานศิลป์ดนตรี ณ สีชัง, เสียงแคนดังผู้พิทักษ์บรรเลง, เฉลิมราชย์ผูกสัมพันธ์เพลง รำวงสวยเด่นด้วยสามัคคี และจากดวงใจไทยทั่วหล้า ถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ อันหาที่สุดมิได้ที่พระองค์ทรงมีพระเมตตาให้กับประชาชน ดั่งคำว่า พระองค์ ไม่เคยทอดทิ้งประชาชนของพระองค์
02 ส.ค. 2560
สกู๊ป : รวมน้ำใจ...ช่วยผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม
รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เปิดช่องทางการรับบริจาค เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลายช่องทางถือได้ว่าเป็นการรวมน้ำใจครั้งใหญ่ รวมไปถึงการแสดงความเป็นปึกแผ่นของคนในชาติยามถึงวิกฤต และสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ ตามในรายงานพิเศษชิ้นนี้ค่ะ ทุกครั้งที่ประเทศต้องประสบกับปัญหา มักจะเห็นการรวมพลัง ความรักความสามัคคีของคนในประเทศ ที่เป็นปึกแผ่นเดียวกันอย่างเหนียวแน่น ไม่ทิ้งกัน หลังไหลเป็นธารน้ำใจ ในการสละทุนทรัพย์เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย และพร้อมที่จะเป็นส่วนเสริมสร้าง สรรพกำลังเป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูประเทศ เช่นเดียวกับรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เดินหน้าช่วยเหลือผู้ประสพอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ อย่างเต็มที่ สั่งการให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชน ทั้งด้านสาธารณูปโภค และการสาธารณสุข พร้อมกับเปิดช่องทางรับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ที่ได้รับผลกระทบจากพายุเซนกา โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยรัฐบาลเปิดรับบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ไว้หลากหลายช่องทางประกอบด้วย สำนักนายกรัฐมนตรี เปิดบัญชีรับบริจาค ชื่อ "กองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี" ธนาคารกรุงไทย จำกัด มหาชน สาขาทำเนียบรัฐบาล เลขที่บัญชี 067-0-06895-0 เช่นเดียวกับ สภากาชาดไทย บัญชีรับบริจาคเงินผ่านบัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขาสำนักสีลม ชื่อบัญชี "สภากาชาดไทย เพื่อภัยพิบัติ" ประเภทบัญชี "กระแสรายวัน" เลขที่ 001-1-34567-0 ทั้งนี้ใบเสร็จรับเงินการบริจาคนี้สามารถนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้อีกด้วย นอกจากนี้ กาชาดจังหวัดสกลนคร ยังเปิดรับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย ธนาคารกรุงไทย สาขาศูนย์ราชการจังหวัดสกลนคร ชื่อบัญชี เหล่ากาชาดจังหวัดสกลนคร เลขที่บัญชี 983-0-54914-3 รวมถึงมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม จังหวัดสกลนคร มีสำนักงาน ปภ.สกลนคร เป็นหน่วยประสานงาน เบอร์โทรศัพท์ 042-711-771, 042-715-232 มือถือ 089-969-6760 โดยการบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบอุทุกภัยน้ำท่วมนั้น กรมสรรพากร ระบุว่า สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งผู้บริจาคสามารถนำเงินหรือมูลค่าทรัพย์สินที่บริจาคไปหักเป็นค่าลดหย่อน หรือหักเป็นรายจ่ายในการเสียภาษีได้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ทุกพื้นที่ และศูนย์สารนิเทศสรรพากร โทร.1161 หรือศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ฉบับที่ 527 พ.ศ.2554 ข้อ 2 วงเล็บ 70 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่126 พ.ศ.2509 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม
31 ก.ค. 2560
สกู๊ป : ปลดล็อกแล้ว”เตาปูน-บางซื่อ”1 สถานีที่รอคอย
ปัญหาจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางซื่อ ที่ขาดหายไป 1 สถานี ซึ่งเป็นฟันหลอมานาน ล่าสุดได้ดำเนินการก่อสร้างเชื่อมต่อ 1 สถานีเสร็จสมบูรณ์แล้ว พร้อมเปิดใช้บริการวันที่ 11 สิงหาคมนี้ นับเป็นข่าวดีสำหรับผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่นั่งยาวมาจากบางใหญ่ จะได้รับความสะดวกสบายในการเดินทางเข้าสู่ใจกลางเมืองมากขึ้น โดยไม่ต้องเผชิญกับวิกฤตจราจร กับการต่อรถเมล์ หรือ Shuttle Bus เพื่อไปต่อรถไฟฟ้าสีน้ำเงินที่สถานีบางซื่อ จากปัญหาความไม่เชื่อมต่อของ 2 สถานี ช่วงรอยต่อเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน ช่วงเตาปูน – บางซื่อ ที่ขาดหายไป 1 สถานี ระยะทาง 1.2 กิโลเมตร แต่ปัญหานี้กำลังจะหมดไป หลังรัฐบาลได้ปลดล็อกปัญหานี้ โดยว่าจ้างบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM เร่งดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จตามกำหนด และพร้อมเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการวันที่ 11 สิงหาคมนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทดลองนั่งรถไฟฟ้าระหว่างจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง เพื่อทดสอบความพร้อมของการเดินรถเสมือนจริงระหว่าง 2 สถานี เตาปูน-บางซื่อ พร้อมยืนยันถึงความพร้อมของระบบและความสะดวกสบายของการใช้บริการที่มีความเชื่อมต่อของ 2 สถานีโดยไม่ต้องแตะบัตรออกนอกอาคาร เพียงแค่ขึ้นลงระหว่างชั้นก็สามารถเดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการได้ ส่วนอัตราค่าโดยสาร จะยังคงตรึงราคาโปรโมชั่นตลอดสาย ในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง อยู่ที่ 57 บาท จากอัตราปกติที่ 70 บาท ไปจนถึงสิ้นปีนี้ โดยให้สิทธิ์เฉพาะบัตรผู้โดยสารเท่านั้นส่วนระบบแลกเหรียญจะไม่ได้รับส่วนลดนี้ ทั้งนี้คาดว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงเพิ่มมากขึ้นอีกร้อยละ 30 จากปกติเฉลี่ยวันละ 27,400 คน เป็นวันละ 35,600 คน การปลดล็อกจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ช่วง เตาปูน-บางซื่อ ถือเป็นความสำเร็จอีกก้าวของรัฐบาลตามแผนแม่บทรถไฟฟ้า ที่มุ่งหวังให้เกิดความเชื่อมโยงโครงข่ายทั้งระบบครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพชั้นในและปริมณฑล ตอบสนองความต้องการของประชาชนในการเดินทางจากชานเมืองเข้าสู่เมืองใหญ่ได้สะดวกรวดเร็ว โดยไม่ต้องเผชิญกับวิกฤตจราจร ในช่วงเวลาเร่งด่วน นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน
31 ก.ค. 2560
สกู๊ป : ปรับโครงสร้าง สตช. ปฏิรูปตำรวจ
หลังจากที่ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม หรือ ตำรวจ มีแนวคิดที่จะปรับโครงสร้างคณะกรรมการที่ดูแลนโยบายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และข้าราชการตำรวจ การปฏิรูปตำรวจมีความคืบหน้ามากขึ้น เมื่อมีการพูดถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงาน พร้อมกระจายงานที่ไม่จำเป็นไปให้กับหน่วยงานอื่นๆ แม้การปฏิรูปตำรวจตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน จะกำหนดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับการทำงานของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ภายใน 1 ปีนับตั้งแต่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ ซึ่งหากนับระยะเวลาขณะนี้เหลือประมาณ 10 เดือน แต่ทันทีที่รัฐบาลตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม หรือ ตำรวจ ที่มีพลเอกบุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ เป็นประธาน ทำให้เส้นทางการปฏิรูปตำรวจเริ่มเห็นโครงร่างที่ชัดเจนมากขึ้น หลังได้นำผลการศึกษา ทั้งจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือ สปท. มาพิจารณา เริ่มตั้งแต่โครงสร้างของคณะกรรมการกำหนดนโยบายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เบื้องต้นคณะอนุกรรมการด้านบริหารบุคคล เห็นว่า คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ หรือ ก.ต.ช. ซึ่งเดิมมีบุคคลที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตำรวจเข้าทำหน้า จึงได้มีการปรับลดอำนาจในการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมเพิ่มจำนวนคณะกรรมการจาก 8 คน เป็น 11 คน โดยยังมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รองนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธาน มีปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และมีผู้ทรงคุณวุฒิ ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ จเรตำรวจ รอง ผบ.ตร. และตัวแทนจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยอีก 2 คน เป็นกรรมการ ขณะที่คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร. ได้เสนอให้เพิ่มกรรมการจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมาจากอดีตข้าราชการตำรวจ โดยการเลือกตั้งอีก 6 คน และให้ ก.ตร.มีอำนาจในการแต่งตั้ง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ นอกจากนี้แนวคิดการปรับโครงสร้างการทำงาน กับการจัดองค์กรตำรวจใหม่ ซึ่งมี 3 แนวทางที่เป็นไปได้ นั้นคือ การยกฐานะสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นกระทรวง ให้คงสถานะเทียบเท่ากรม ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีเช่นเดิม และให้เป็นกรมสังกัดกระทรวง เช่น กระทรวงยุติธรรม รวมถึงการถ่ายโอนภารกิจตำรวจที่ไม่จำเป็นไปอยู่กับหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง โดยแนวคิดทั้งหมด ถือเป็นแนวทางเบื้องต้นที่คณะอนุกรรมการด้านบริหารบุคคล กำลังรวบรวมประเด็นที่เป็นไปได้ จัดทำเป็นข้อสรุป ก่อนนำข้อเสนอสอบถามความเห็นของทุกภาคส่วนให้ช่วยกันคิด ร่วมกันทำ เพื่อได้ความคิดที่รอบด้าน เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของตำรวจ ซึ่งเป็นต้นน้ำของกระบวนการยุติธรรม
28 ก.ค. 2560
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ขอนำเสนอสารคดีเฉลิมพระเกียรติ "เฉลิมพระชนม์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณฯ"
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ขอนำเสนอสารคดีเฉลิมพระเกียรติ "เฉลิมพระชนม์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณฯ"
28 ก.ค. 2560
พสกนิกรทุกหมู่เหล่าจังหวัดยะลา ทำบุญตักบาตร ประกอบพิธี 3 ศาสนามหามงคล เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2560
วันนี้ 28 ก.ค. 60 เมื่อเวลา 07.00 น. ที่ศาลากลางจังหวัดยะลา นายดลเดช พัฒนรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา นำข้าราชการทหาร ตำรวจ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนจังหวัดยะลาจำนวนมาก ร่วมประกอบพิธีทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์ จำนวน 65 รูป เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2560 จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ได้เปิดกรวยดอกไม้ธูปเทียนแพ ถวายราชสักการะเบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และกล่าวถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติถวายพระพรชัยมงคล พร้อมทั้งประกอบพิธีทางศาสนามหามงคล 3 ศาสนา ประกอบด้วย ศาสนาพุทธ พิธีเจริญพระพมุทธมนต์ถวายพระราชกุศล ศาสนาอิสลาม พิธีดุอาร์ขอพร และศาสนาคริสต์ พิธีอธิฐานภาวนา ทั้งนี้เพื่อพสกนิกรชาวจังหวัดยะลาได้ร่วมเฉลิมพระเกียรติ แสดงออกถึงความจงรักภักดี เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2560 นอกจากนี้ทางจังหวัดยะลา ได้มีการจัดพิธีลงนามถวายพระพร กิจกรรมสาธารณประโยชน์ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2560 ประกอบด้วย การรับบริจาคโลหิต การปล่อยปลา การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย เทิดไท้องค์ราชันย์ การจัดนิทรรศการพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
28 ก.ค. 2560
สกู๊ป : เข้าวัดทำบุญ ไล่ยุงวิถีพุทธ
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่อันตรายเป็นอย่างมาก เพราะอาจจะส่งผลกระทบจนทำให้ผู้ป่วยนั้นช็อกและเสียชีวิตได้ อย่างพระเอกชื่อดัง ปอ ทฤษฏี ที่ถูกพรากชีวิตไปด้วยโรคไข้เลือดออกนี้ แต่หากประชาชนไม่ต้องการที่จะฆ่ายุง ทางกรมควบคุมโรคได้แนะวิธีการดีๆไว้ อย่างโครงการ “ เข้าวัดทำบุญ ไล่ยุงวิถีพุทธ” ยุงลาย พาหะนำโรค ที่คร่าชีวิตประชาชนไปแล้วนับไม่ถ้วน ทั้งโรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ซึ่งที่ผ่านมามักเน้นการฆ่ายุงลายที่พยายามมาเข้ามาทำลายคนในครอบครัว ทั้งการตบยุง การฉีดยากันยุง ซึ่งมีหลายมุมมองอาจบอกว่า เป็นการกระทำผิดศีลข้อหนึ่ง การห้ามฆ่าสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะในวัด และศาสนาสถานสำคัญ สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้กรมควบคุมโรค หาแนวทางการป้องกันการกำเนิดของยุงลาย ตามวิถีพุทธ ด้วยการเห็นความสำคัญ บวร หรือ บ้าน วัด โรงเรียน ซึ่งมีความใกล้ชิดกับประชาชน เกิดเป็นความร่วมมือในการรณรงค์โครงการ “เข้าวัดทำบุญ ไล่ยุง วิถีพุทธ” เพื่อให้วัดที่มีการร่วมตัวกันของพุทธศาสนิกชน อยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก จึงเป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝน มีการเพาะพันธุ์แพร่ขยายของยุงลายเป็นจำนวนมาก การทำบุญไล่ยุงวิถีพุทธนั้น สามารถทำได้ด้วยกัน 5 วิธี คือ การเก็บขยะปัดกวาดลานวัดเพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ปิดหรือเปลี่ยนน้ำใส่ภาชนะเก็บน้ำทั่วไปและในห้องน้ำ เลี้ยงปลาในอ้างบัวหรือบริเวณปลูกพืชน้ำ ดูแลภูมิทัศน์บริเวณรอบวัด และใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านสกัดสมุนไพรไล่ยุง เช่น ตะไคร้หอม ทายากันยุงทุกครั้งก่อนนั่งสมาธิ ซึ่งข้อปฏิบัติเหล่านี้จะไม่ขัดกับหลักการปฏิบัติทางพุทธศาสนา และทางวัดบัวขวัญ วัดนำร่องในโครงการนี้ จะนำไปเผยแพร่ต่อพุทธศาสนิกชนต่อไป ในส่วนของสถานการณ์ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกขณะนี้ พบผู้ป่วยแล้วประมาณ 22,356 ราย และเสียชีวิตไปแล้วกว่า 31 ราย และคาดการณ์ว่าในปีนี้จะมีผู้ป่วย 75,000 – 80,000 ราย ส่วนสถานที่ที่พบการแพร่ระบาดมากที่สุดคือ ศาสนสถานร้อยละ 58 โรงงานร้อยละ 39โรงเรียนร้อยละ 31 และโรงแรมร้อยละ 13 หากพบว่าตนเองและคนใกล้ชิดกำลังมีอาการ มีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดเมื่อย เบื่ออาหาร หน้าแดง ผิวหนังเป็นจุดเลือด อาเจียน ปวดท้อง ให้พึ่งสงสัยได้ว่า กำลังป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก และรีบไปพบแพทย์ทันที และช่วงที่อันตรายมากที่สุดคือช่วงที่ไข้ลด จะเกิดอาการช็อกจากไข้เลือดออก เช่น กระสับกระส่าย ชีพจรเต้นเร็วแต่เบา ปวดท้องชายโครงด้านขวา มือเท้าเย็น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด ต้องรีบกลับมาพบแพทย์โดยด่วน ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เสียชีวิตได้ หรือหากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
28 ก.ค. 2560
สกู๊ป : ประกันภัยนาข้าว เพื่อความมั่นคงชาวนาไทย
การมีมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติแนวทางในโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2560 เพิ่มเติม ตามที่กระทรวงการคลังได้นำเสนอ ถือเป็นการตอกย้ำกับการเดินหน้าสร้างความมั่นคง และมีหลักประกันความเสี่ยงในการเพาะปลูกของชาวนาไทย กับการมีกรมธรรม์คุ้มครองการปลูกข้าว โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2560 ถือเป็นการสร้างหลักประกัน และความมั่นคงในชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จากความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นของสภาพอากาศ อาทิ ได้แก่ อุทกภัย ภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง ลมพายุ ภัยอากาศหนาว น้ำค้างแข็ง ลูกเห็บ และไฟไหม้ ซึ่งถือเป็นความตั้งใจที่รัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องการให้คุณภาพชีวิตของชาวนา ซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของชาติ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และมีหลักประกันความมั่นคงในอาชีพ โดยที่ผ่านมารัฐบาลได้อนุมัติหลักการของโครงการที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ เพื่อได้มีเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ ซึ่งกำหนดเป้าหมายขั้นต่ำ จำนวน 25 ล้านไร่ สำหรับความคุ้มครองตามตารางกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2560 ได้เพิ่มวงเงินความคุ้มครองทั้ง 7 ภัย ซึ่งจะได้รับวงเงินคุ้มครอง 1,260 บาทต่อไร่ จากเดิมคุ้มครอง 1,111 บาทต่อไร่ และภัยจากศัตรูพืชหรือโรคระบาด เพิ่มความคุ้มครอง 630 บาทต่อไร่ จากเดิมคุ้มครอง 555 บาทต่อไร่ โดยเกษตรกรสามารถซื้อได้ตั้งแต่ก่อนเพาะปลูกจนถึงวันสุดท้ายของการขาย แต่ไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม ของทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ไม่เกินวันที่ 15 ธันวาคม เพื่อเป็นการตอกย้ำ และสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว รัฐบาลได้อนุมัติหลักการเพิ่มเติมในโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2560 เริ่มตั้งแต่การอนุมัติงบประมาณที่ใช้ในโครงการจำนวน 1,841 ล้าน 1 แสนบาท ซึ่งเป็นเงินคงเหลือจากโครงการประกันภัยนาข้าวเมื่อปี 2559 จำนวน 203 ล้านบาท และอนุมัติงบเพิ่มเติม 1,637 ล้านบาท โดยยังให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ทำหน้าที่จ่ายเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยแทนรัฐบาลในส่วนของงบประมาณเพิ่มเติม จำนวน 1637 ล้านบาท ทั้งนี้ หากสิ้นสุดระยะเวลาขายกรมธรรม์แล้วพบว่า มีจำนวนพื้นที่เอาประภัยมากกว่าพื้นที่เป้าหมายที่เสนอตั้งไว้ จำนวน 30 ล้านไร กระทรวงการคลัง จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม พร้อมกันนี้ ยังให้ ธ.ก.ส. ดำเนินการขายกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2560 โดยเกษตรกรผู้เอาประกันสามารถเลือกใช้บริการพร้อมเพย์ ในการรับ โอนค่าเบี้ยประกันภัย และสินไหมทดแทน โดย ธ.ก.ส.บริหารจัดการความเสี่ยงแต่ละพื้นที่ให้สอดคล้องกับหลักประกันภัย โดยเฉพาะการเข้าร่วมโครงการของเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ไม่เหมาะสมตามการกำหนดเขตพื้นที่ปลูกข้าว หรือโซนนิ่ง โครงการประกันภัยข้าวนาปี ถือเป็นการแสดงความจริงใจของรัฐบาล ที่ช่วยแบ่งเบาภาระให้กับชาวนา พร้อมสร้างหลักประกันที่เป็นการร่วมมือกันทั้งภาครัฐ และเกษตรกร ได้มีเครื่องมือในการบริการจัดการความเสี่ยง ซึ่งหลังจากนี้ไปรัฐบาลจะนำผลการดำเนินการมาศึกษา พร้อมนำไปต่อยอดสินค้าเกษตรอื่นๆ เพื่อยกระดับและสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกรไทย เมื่อประสบผลสำเร็จ รัฐบาลจะนำผลการศึกษา ขยายไปยังการประกันพืชผลกับการเกษตรประเภทอื่นต่อไป สามารถเข้าร่วมโครงการได้อย่างทั่วถึง สร้างความมั่นคงให้การปลูกพืชเพื่อการเกษตรชนิดอื่นตามมาในอนาคต
28 ก.ค. 2560
สกู๊ป : เปิดมาตรการคุมบัตรเครดิต แก้หนี้ครัวเรือน
ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับหลักเกณฑ์ดูแลสินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล หวังลดภาระประชาชนที่เป็นหนี้ก่อนหน้านี้ เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนจากการเป็นหนี้บัตรเครดิต และลดหนี้ครัวเรือนที่มีอยู่ในขณะนี้ของภาพรวมเศรษฐกิจประเทศ เศรษฐกิจโลกที่ผันผวนในปัจจุบัน เป็นอีกเหตุผลที่ทำเศรษฐกิจของประเทศไทยได้รับผลกระทบไปด้วย อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รัฐบาลจึงได้พยายามที่จะออกมาตรการหลายนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น ลดค่าครองชีพและค่าใช้จ่ายในชีวิตให้มีความสมดุลและประชาชนสามารถอยู่ดีกินดีมากขึ้น พร้อมสร้างวินัยการเงินการคลังของประชาชน ที่พบว่าคนรุ่นใหม่เป็นหนี้สาธารณะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะหนี้ครัวเรือน อย่างสินเชื่อบัตรเครดิต ที่ธนาคารแห่งประเทศเห็นว่าจะต้องนำมาปรับปรุงพร้อมกับสนับสนุนให้หนี้เหล่านี้ลดลงให้ได้ โดยจะเข้าไปปรับดอกเบี้ยให้มีความเหมาะสมมากขึ้น ประชาชนสามารถผ่อนชำระหนี้ ได้สะดวก สอดคล้องต่อรายรับของตนเองโดยไม่กระทบต่อชีวิตประจำวันมากนัก ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดให้ ผู้มีรายได้ต่ำว่า 3 หมื่นบาท ให้ได้รับวงเงินไม่เกิน 1.5 เท่าของรายได้ รายได้ 3-5 หมื่นบาท วงเงินไม่เกิน 3 เท่า และรายได้ตั้งแต่ 5 หมื่นบาทขึ้นไป วงเงินไม่เกิน 5 เท่า มาตรการนี้จะครอบคลุมเฉพาะลูกค้ารายใหม่ รวมไปถึงการปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตลงเหลือร้อยละ 18 จากเดิมร้อยละ 20 ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันในขณะนี้ สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคล ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ปรับวงเงินสินเชื่อแก่ผู้มีรายได้ต่ำกว่า 3 หมื่นบาทต่อเดือน สามารถกู้สินเชื่อไม่เกิน 1.5 เท่าของรายได้ และสามารถกู้สินเชื่อได้ไม่เกิน 3 รายจากผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล สำหรับผู้ที่มีรายได้เกิน 3 หมื่นบาทนั้น กำหนดวงเงินให้กู้ได้ไม่เกิน 5 เท่า แต่ไม่จำกัดจำนวนราย เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนระบบได้ง่ายขึ้น ซึ่งมาตรการทั้งหมด จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2560 นี้ ปัจจุบันหนี้ครัวเรือนไทย มีมากเมื่อเทียบกับในอดีต ซึ่งพบว่าคนไทยอายุ 30 ปี กว่าร้อยละ 50 เป็นหนี้ส่วนบุคคล และหนี้บัตรเครดิต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้เสีย และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต มาตรการนี้จะช่วยเป็นการแบ่งเบาภาระของประชาชนในเรื่องค่าใช้จ่ายในครัวเรือนมากขึ้น โดยผู้เป็นลูกหนี้จะได้รับการผ่อนปรน ปรับโครงสร้างหนี้ให้กับตัวเอง ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยหวังว่า มาตรการดังกล่าว จะทำให้เกิดแรงกระตุ้นเพื่อให้จ่ายยอดหนี้ที่คงค้างและส่งสัญญาณให้หนี้ครัวเรือนมีภาพรวมที่ดีกว่าเดิม ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นมาตรการที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของบรรดาลูกหนี้ สามารถลืมตาอ้าปากได้อีกครั้ง
28 ก.ค. 2560
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายนำข้าราชการ ประชาชน ร่วมประกอบพิธีศาสนามหามงคล 5 ศาสนา
ที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย อ.เมืองเชียงราย นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นำหัวหน้าส่วนราชการ ศาล ทหาร ตำรวจและประชาชนในจังหวัดเชียงราย ร่วมประกอบพิธีทางศาสนามหามงคล 5 ศาสนา เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2560 เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ โดยพิธีเริ่มจากการประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศล ศาสนาพุทธ โดยมีพระเทพสิทธินายก เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ จากนั้นได้มีพิธีดูอาอ์ ขอพรอัลเลาะห์ ของศาสนาอิสลาม พิธีอธิษฐานภาวนา ศาสนาคริสต์ พิธีสวดถวายพระพร ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพิธีสวดอัรดาสขอพรพระศาสดา ศาสนาซิกซ์ โดยมีข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ประชาชนชาวเชียงรายเข้าร่วมพิธีกว่า 3,000 คน
28 ก.ค. 2560
จ.ตราด จัดพิธีทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งถวายพระราชกุศล
บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดตราด นายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด นำข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนจำนวนมากพร้อมใจกันร่วมพิธีทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 66 รูป ถวายพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และถวายพระราชกุศลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีพระบุรเขตธรรมคณี เจ้าคณะจังหวัดตราด (มหานิกาย) และพระวิมลเมธาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดตราด (ธรรมยุต) และคณะสงฆ์ร่วมรับบิณฑบาตร สำหรับการจัดพิธีทำบุญตักบาตรในครั้งนี้ มีประชาชนจำนวนมากเข้าร่วมอันเป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ร่วมกันสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของทุกพระองค์ท่านที่ปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการ ยังประโยชน์ต่อพสกนิกรชาวไทย เพื่อให้พสกนิกรชาวไทยได้อยู่เย็นเป็นสุข ทางจังหวัดตราดจึงได้จัดพิธีทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งในครั้งนี้ขึ้น
28 ก.ค. 2560
จ.ยะลา จัดพิธี 3 ศาสนามหามงคล เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2560
จังหวัดยะลา จัดพิธี 3 ศาสนามหามงคล เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2560 วันนี้ (28 ก.ค. 60) ที่ บริเวณหน้าอาคาร 3 ศาลากลางจังหวัดยะลา นายดลเดช พัฒนรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เป็นประธานในพิธีทางศาสนามหามงคล 3 ศาสนา ถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2560 ในกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ประกอบด้วยพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ทางศาสนาพุทธ พิธีสวดดูอาร์ขอพร ทางศาสนาอิสลาม และพิธีอธิษฐานภาวนา ทางศาสนาคริสต์ พร้อมกล่าวถวายราชสดุดี เฉลิมพระเกียรติ ถวายพระพรชัยมงคล เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เพื่อแสดงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการพลเรือน ตุลาการ อัยการ ทหาร ตำรวจ นายกเหล่ากาชาด พนักงานรัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา ผู้นำศาสนา และประชาชนเข้าร่วม
26 ก.ค. 2560
การรับน้องอย่างสร้างสรรค์ ไม่เกิดความรุนแรง ถือเป็นเรื่องที่ดีที่สถาบันควรนำมาใช้
การรับน้องอย่างสร้างสรรค์ไม่เกิดความรุนแรง ถือเป็นเรื่องที่ดีที่สถาบันควรนำมาใช้ ซึ่งกรมสุขภาพจิตแนะนำว่าการรับน้องด้วยความรุนแรง อาจจะส่งผลทำให้เกิดความกระทบกระเทือนเกิดเป็นปมแผลในใจได้ ช่วงเวลาเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี เป็นช่วงที่สถาบันการศึกษาหลายแห่งเปิดภาคเรียนอย่างเป็นทางการและยังเป็นช่วงเวลาที่นักเรียนจะได้ชีวิตเป็นนักศึกษาเต็มตัวในฐานะน้องใหม่ เกิดการพบปะระหว่างรุ่นพี่แล้วรุ่นน้อง ในรูปแบบกิจกรรมรับน้อง ซึ่งแต่ละสถานศึกษาจะมีกิจกรรมที่แตกต่างกัน การปลูกฝังให้เกิดความรักและสามัคคี คือหัวใจหลักในการสร้างกิจกรรมรับน้อง เพื่อปลูกฟังวัฒนธรรมเพื่อการช่วยเหลือระหว่างกันทั้งรุ่นพี่และรุ่นน้อง สร้างความเข้มแข็งในจิตใจ แต่ยังมีบางส่วนใช้กิจกรรมเหล่านี้อย่างไม่ถูกวิธี นำความรุนแรงเข้ามาใช้หวังกระตุ้นให้เกิดความรักกัน ซึ่งมีลักษณะที่คล้ายกับระบบโซตัสของทหาร อธิบดีกรมสุขภาพจิต แนะนำว่า การรับน้องควรจะเป็นกิจกรรมที่ไม่รุนแรงหรือเต็มไปด้วยความหยาบคาย เพราะการใช้วิธีที่รุนแรง อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของรุ่นน้อง เพราะพื้นฐานแต่ละคนมีความแตกต่างกัน การรับน้องด้วยความรุนแรง ยังส่งผลต่อจิตใจของน้องนักศึกษาใหม่ หากคนๆ นั้นเป็นคนอ่อนไหวและเจอการกระทบกระเทือนจิตใจไม่ได้ เมื่อโดนแกล้งและโดนกระตุ้นมากๆ จะส่งผลให้เกิดความอคติ คิดลบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และยิ่งเกิดผลที่เลวร้าย หากรุ่นน้องที่ถูกกระทำมีโรคที่เกี่ยวข้องกับสภาวะจิตที่ไม่ปกติ จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมทำให้ไม่อยากเข้ามาศึกษา การรับน้องสร้างสรรค์ จึงถือเป็นทางออกที่ดี หลีกเลี่ยงความรุนแรงทั้งหมด ไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่สะเทือนใจ จึงถือว่าเป็นการกระทำของคนที่อารยะการศึกษาที่ดี เห็นอกเห็นใจ เคารพศักดิ์ศรีต่อกันในความเป็นมนุษย์ ซึ่งการกระทำเหล่านี้จะทำให้ทำหลีกเลี่ยงการสร้างบาดแผลในใจ ให้นักศึกษาใหม่เหล่านี้ได้เรียนหนังสืออย่างมีความสุข ไม่หวาดระแวงในการอยู่ร่วมกันในสังคม ปัจจุบันหลายสถานบันการศึกษาได้ยกเลิกระบบการรับน้องที่รุนแรงแล้ว แต่หันมาใช้รูปแบบเพื่อนกันในเชิงบวกสร้างสรรค์ รวมกลุ่มช่วยกันติวหนังสือ หรือทำกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรเอาอย่าง ไม่เพียงแต่ตัวนักศึกษาใหม่จะได้มิตรภาพที่ดีเท่านั้น แต่สังคมยังได้ประโยชน์อีกด้วย
23 ก.ค. 2560
เกษตรจังหวัดชัยนาทตรวจสอบพื้นที่เสียหายจากภัยพิบัติ และดำเนินการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
นายสุขชัย เจรียงประเสริฐ เกษตรจังหวัดชัยนาท กล่าวว่า ตามที่ได้เกิดเหตุอุทกภัย อันเนื่องมาจากหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศไทย ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมาก โดยเฉพาะจังหวัดชัยนาทยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ก่อให้เกิดความเสียหายกับพื้นที่การเกษตรในเขตพื้นที่อำเภอมโนรมย์ อำเภอหันคา และอำเภอเนินขาม ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2560 เป็นต้นมา และภัยยังไม่ยุติ ซึ่งจังหวัดได้ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือแล้วจำนวน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมโนรมย์ ได้รับความเสียหาย 3 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลไร่พัฒนา ตำบลหางน้ำสาคร และตำบลอู่ตะเภา เกษตรกรได้รับความเสียหายทั้งหมด จำนวน 90 ราย พื้นที่การเกษตรเสียหาย เป็นนาข้าวจำนวน 607.25 ไร่ พืชไร 728.25 ไร่ รวมพื้นที่เสียหาย 1,335.50 ไร่, อำเภอหันคา ได้รับความเสียหาย 1 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านเชี่ยน เกษตรกรได้รับความเสียหายจำนวน 6 ราย พื้นที่การเกษตรเสียหาย เป็นนาข้าวจำนวน 10 ไร่ พืชไร่ จำนวน 15 ไร่ รวมพื้นที่เสียหาย 25 ไร่ และอำเภอเนินขามได้รับความเสียหาย3ตำบลได้แก่ ตำบลกะบกเตี้ย ตำบลสุขเดือนห้า และตำบลเนินขาม เกษตรกรได้รับความเสียหายจำนวน 208 ราย พื้นที่การเกษตรเสียหาย เป็นนาข้าวจำนวน 26 ไร่ พืชไร่ จำนวน 1,175 ไร่รวมพื้นที่เสียหาย 2,51.50ไร่ รวมเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายเสียหาย 304 ราย พื้นเสียหายทั้งหมด 3 อำเภอ รวม 2,561.50 ไร่ หลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือช่วยเหลือ ให้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติเป็นเงิน ในลำดับแรกแก่ผู้ประสบภัยพิบัติที่ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานที่กำกับดูแลเกษตรกรแต่ละด้านของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก่อนเกิดภัยพิบัติแล้วเท่านั้น กรณีพื้นที่ทำการเพาะปลูกมีพืชตายหรือเสียหายโดยสิ้นเชิง ให้ช่วยเหลือตามจำนวนพื้นที่เพาะปลูกที่เสียหายจริง ไม่เกินรายละ 30 ไร่ ในอัตรา ดังนี้ ข้าวไร่ละ 1,113 บาทพืชไร่ ไร่ละ 1,148 บาท พืชสวนและอื่นๆ ไร่ละ 1,690 บาท ส.ปชส.ชัยนาท
22 ก.ค. 2560
ชลประทานจังหวัดอุทัยธานี เตือนชาวแพสะแกกรังเฝ้าระวังระดับน้ำลดลงอย่างรวดเร็ว เตรียมชักลากเรือนแพและ
วันนี้(22 ก.ค.60) ที่จังหวัดอุทัยธานี นายฐกร กาญจน์จิรเดช ผู้อำนวยการโครงการชลประทานอุทัยธานี เปิดเผยว่า จากการที่เขื่อนเจ้าพระยาจังหวัดชัยนาทได้มีการระบายน้ำออกจากเขื่อน เพื่อเตรียมรับน้ำจากทางภาคเหนือ ซึ่งเป็นการควบคุมระดับน้ำไม่ให้ได้รับผลกระทบในช่วงที่น้ำหลาก และจากการติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำในแม่น้ำสายหลักพบว่าสภาพน้ำท่าทางตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยามีแนวโน้มลดลงปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่สถานี C2 จังหวัดนครสวรรค์มีระดับประมาณ 1,258 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ประกอบกับปริมาณน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังมีระดับลดลงด้วย ทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาประมาณ 1,038 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และกรมชลประทานได้พร่องน้ำบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยาให้ลดระดับต่ำลงเหลือ 15.30 เมตร(รทก.) จากเดิม 16.50 เมตร(รทก.) พร้อมกับรับน้ำเข้าระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่งเท่าที่จำเป็นเพื่อเตรียมพื้นที่ไว้รองรับปริมาณน้ำที่จะเกิดฝนตกชุกในระยะต่อไปให้ได้มากที่สุด ชลประทานจังหวัดอุทัยธานี จึงได้แจ้งเตือนไปยังประชาชนชาวแพที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสะแกกรังทั้ง 2 ฝั่ง ให้เตรียมรับมือกับสถานการณ์ระดับน้ำลดลงอย่างรวดเร็ว จากการผันน้ำของเขื่อนเจ้าพระยา คาดว่าจะมีระดับลดลงอีกประมาณ 20 เซนติเมตร ให้ชักลากเรือนแพที่อยู่อาศัยและกระชังปลา ลงร่องน้ำลึกให้ได้มากที่สุดป้องกันปัญหาแพค้างแห้งและกระชังปลาได้รับความเสียหาย ซึ่งในขณะนี้ทางโครงการชลประทานอุทัยธานีได้พยายามช่วยเหลือชาวแพให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด โดยเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนวังร่มเกล้าและเขื่อนทัพเสลา มาช่วยรักษาระดับน้ำไม่ให้ลดต่ำลงฉับพลันจนชาวแพตั้งตัวไม่ทัน
22 ก.ค. 2560
พ่อสร้างลูกเรียนรู้ พร้อมขยายสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สกู๊ป พ่อสร้างลูกเรียนรู้พร้อมขยายสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงทุ่มเทพระวรกายเพื่อให้พสกนิกรชาวไทยได้อยู่อย่างมีความสุขภายใต้ร่มพระบารมี โดยมีพระราชดำริและพระราชดำรัสต่างๆ ออกมาอย่างมากมาย เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้และน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน และสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครพนม ในฐานะตัวแทนกรมประชาสัมพันธ์ ที่มีภารกิจในการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ในข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องให้กับพี่น้องประชาชน ทำให้ทุกคนมีโอกาส มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัวที่ดีขึ้น จึงได้นำเครือข่ายประชาสัมพันธ์และเจ้าหน้าที่ รวม 48 คน เดินทางไปศึกษาและเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร เพื่อน้อมนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ขยายผลต่อยังประชาชนในจังหวัดนครพนม ให้ทุกคนสามารถนำไปสร้างเป็นแหล่งอาหาร เป็นอาชีพ และเป็นรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว นำมาซึ่งความสุขอย่างยั่งยืนของคนในชุมชน นายวรศักดิ์ ภูเวียงจันทร์ ประธาน อป.มช. ประจำปี 2560 กล่าวว่า ในฐานะตัวแทน อป.มช. หรืออาสาสมัครประชาสัมพันธ์ชุมชนและหมู่บ้าน ได้เข้ามาเห็นและเรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของโครงการพระราชดำริ ทั้งการประมง การปศุสัตว์ และการเกษตร เช่น การประมงก็จะเห็นการเพาะพันธุ์ปลา ปลาแปลงเพศ การเลี้ยงปลาในบ่อดิน การเลี้ยงกบในบ่อคอนโด ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถมาเข้าคอร์ดอบรมกับเจ้าหน้าที่ได้ตามห่วงเวลาที่ทางโครงการจัดให้ ส่วนการปศุสัตว์ก็ได้เห็นการเลี้ยงไก่ดำภูพาน ซึ่งถือเป็นลิขสิทธิ์ของที่นี่ที่ได้คิดค้นขึ้นมา การเลี้ยงโคเนื้อ โคนม การเลี้ยงกวาง การปลูกหญ้าเพื่อเป็นอาหารของสัตว์ที่เลี้ยง ส่วนด้านกสิกรรม หรือการเกษตรก็ได้เห็นและเรียนรู้จากวิทยากร เช่น การเพาะเห็ดฟาง ซึ่งมีวัสดุไม่กี่อย่างก็สามารถทำได้แล้ว เพียงมีตะกร้า วัสดุในพื้นบ้านเรา มีฟาง มีหัวเชื้อที่หาซื้อได้ที่ร้านการเกษตรในพื้นที่ ก็สามารถเพาะทานเองได้ด้วยขั้นตอนง่ายๆ ส่วนการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ ที่มีการนำเอาวิธีทางธรรมชาติมาใช้ การไล่แมลงก็เพียงนำสาร EM มาผสมกับน้ำตาล จากนั้นก็นำขวดพลาสติกมาตัดเป็นกรวยภาชนะใส่ไปวางดักแมลงได้แล้ว ซึ่งช่วยในการลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดีถ้าทุกคนทำตาม ซึ่งสิ่งที่ได้รับในวันนี้จะมีการนำไปขยายผลต่อให้พี่น้องประชาชนในชุมชนได้รับทราบ เช่น การเล่าแบบปากต่อปาก เพราะในทุกหมู่บ้านจะมีตัวแทนอยู่ประมาณ 2 คน และอีกช่องทางคือการจัดรายการวิทยุ ก็จะได้นำข้อมูลข่าวสารที่ได้มาเห็น มาเรียนรู้ ไปบอกกล่าวในรายการให้ทุกคนได้ฟัง ซึ่งต้องเกิดประโยชน์อย่างแน่นอน เพราะปัจจุบันเราต้องหันกลับมาพอเพียง การปลูกเองสำหรับบริโภคหลังจากนั้นเราก็นำไปขายได้ด้วย ซึ่งจะเป็นการปรับตัวในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่เราให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีมากมายจนเกินไปนัก
22 ก.ค. 2560
สนช. ลงพื้นที่จังหวัดบึงกาฬรับฟังความเห็นร่างรัฐธรรมนูญ
คณะกรรมาธิการการเมือง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ลงพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ เพื่อรับฟังความคิดเห็นร่างรัฐธรรมนูญ วันนี้ (22 ก.ค. 60) เวลา 9.30 น. นายสุรศักดิ์ เกษมสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ และหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่น ตัวแทนภาคประชาชนในจังหวัดบึงกาฬให้การต้อนรับ นายกล้านรงค์ จันทิก ประธานคณะกรรมาธิการการเมือง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พร้อมคณะกรรมาธิการการเมือง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ ห้องสิรินธรวัลลี ศาลากลางจังหวัดบึงกาฬ ชั้น 4 สำหรับการประชุมดังกล่าว เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนแนวคิดในประเด็นร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต การเลือกตั้งและระบบเลือกตั้งเป็นหลักและมีประเด็นคดีความ ประเด็นภาษีที่ดิน ที่กำลังเป็นปัญหาถกเถียงกันในปัจจุบันมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอีกด้วย รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของจังหวัด ซึ่งในส่วนของจังหวัดบึงกาฬมีความร่วมมือของส่วนราชการในการทำงานเป็นอย่างดี จึงทำไห้การทำงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งนี้ ทางประธานคณะกรรมาธิการการเมืองฯ ได้ให้หลักคิดในการดำเนินงานเกี่ยวกับโครงการต่างๆ ต้องมีความร่วมมือกันในการทำงานในทุกๆ ด้าน ซึ่งจะได้นำแนวความคิดและข้อเสนอแนะต่างๆ ที่ได้รับฟังในส่วนภูมิภาคไปนำเสนอในส่วนกลาง นอกจากนี้ยังได้เน้นย้ำในเรื่องของการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งและระบบเลือกตั้ง เพื่อเลือกผู้แทนที่ดี ไปทำหน้าที่ออกกฎหมายในสภา
22 ก.ค. 2560
จ.เชียงราย เปิดโครงการถนนคนดี ประชารัฐร่วมใจ
ที่หอประชุมสมเด็จย่า อาคาร C4 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง นายอโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ ประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม เป็นประธานเปิดโครงการถนนคนดี ประชารัฐ ร่วมใจจังหวัดเชียงราย ซึ่งคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม ร่วมกับจังหวัดเชียงราย สสส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมกันจัดขึ้น เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะตระหนักถึงความปลอดภัยทางถนน มีการขับขี่ที่ถูกต้อง ลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจากอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ที่มีแนวโน้มจะเกิดเพิ่มขึ้นตามอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และด้านการท่องเที่ยว โดยหลังเปิดโครงการถนนคนดี ประชารัฐ ร่วมใจจังหวัดเชียงรายในวันนี้แล้ว จังหวัดฯ จะขยายผลการดำเนินโครงการไปยัง 18 อำเภอของจังหวัดต่อไป ซึ่งภายในพิธีเปิดมีการเปิดวีทีอาร์การเกิดอุบัติเหตุ จากนั้นนายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นำผู้เข้าร่วมในพิธีกล่าวคำปฏิญาณ และให้ผู้เข้าร่วมงานเข้าเว็บเพจถนนคนดี มีการมอบหมวกกันน็อคและเสื้อถนนคนดี สำหรับโครงการถนนคนดี มีพระอาจารย์เอกชัย สิริญาโณ ประธานที่ปรึกษาโครงการฯ โดยมีการเปิดตัวโครงการฯ ครั้งแรก ที่สยามพารากอน เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2559 และครั้งที่ 2 ที่จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560 และครั้งที่ 3 ที่จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2560 และครั้งที่ 4 คือที่จังหวัดเชียงราย โดยมีข้าราชการ ทหาร ตำรวจ กำนันผู้ใหญ่บ้าน อปท. นักเรียน นักศึกษา และตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมกว่า 3,000 คน
22 ก.ค. 2560
จ.เชียงราย พัฒนาการอ่านออกเขียนได้และทักษะอาชีพโรงเรียนบนพื้นที่สูงทุรกันดาร
ดร.สายสวาท วิชัย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 เปิดการสัมมนา ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ในโครงการนิทรรศการการพัฒนาพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้และการพัฒนาทักษะอาชีพในโรงเรียนพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดาร ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดเชียงราย ซึ่งมีโรงเรียนรวมกว่า 54 โรงเรียน โดยครูทุกโรงเรียนเข้าร่วมรับฟังการบรรยายพิเศษ การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดาร ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และให้เด็กมีคุณภาพมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่า ปัญหาการออกเขียนได้ และการเรียนเรื่องทักษะอาชีพนั้น ยังเกิดปัญหาขึ้นเมื่อมีการประเมิน ดังนั้นการดำเนินการดังกล่าวจะสามารถทำให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป เพราะการแก้ไขปัญหานั้นจะให้ทุกโรงเรียนช่วยกันและเดินไปพร้อมกันในการพัฒนา โดยเน้นว่าจะไม่ทิ้งปัญหาไว้ที่โรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่ง ต้องจับมือกันเดินสู่จุดหมาย ที่ทำให้เด็กนักเรียนทุกคน สามารถอ่าน เขียน ภาษาไทยได้ทุกคน รวมทั้งการสร้างอาชีพที่ยั่งยืน ทั้งนี้ การดำเนินการยังให้โรงเรียนที่มีผลงานดีเด่นในทุกด้าน นำผลงานออกมาโชว์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับครู นักเรียน ที่สามารถนำไปต่อยอดทางการศึกษาได้ ซึ่งไม่เฉพาะมีผลงานวิชาการเท่านั้น แต่ต้องสามารถปฏิบัติได้จริง ซึ่งนักเรียนที่นำผลงานมาแสดงนั้นเป็นผลงานที่ทำได้จริง ไม่ว่าจะเป็นการทำการเกษตร การทำงานฝีมือ การทำอาหาร และการผลิตสื่อการเรียนการสอน การอ่านออกเขียนได้อีกด้วย
22 ก.ค. 2560
งาน “มหกรรมตาดีกาสัมพันธ์” สืบสานจารีต ประเพณี สร้างความรัก ความสามัคคี อบจ.ยะลา คึกคัก
อบจ.ยะลา ส่งเสริมจารีตประเพณี และ อัตลักษณ์ของชุมชน จัด “มหกรรมตาดีกาสัมพันธ์” เปิดโอกาสให้เด็ก เยาวชน ได้แสดงความสามารถ ควบคู่ พัฒนาทักษะวิชาการ ศาสนา และกีฬา วันนี้ (22 ก.ค 60) ที่สนามกีฬาองค์การบริหารส่วนตำบลกรงปินัง อ.กรงปินัง จ.ยะลา นายมุขตาร์ มะทา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา เป็นประธานเปิดงานมหกรรมตาดีกาสัมพันธ์ จ.ยะลา ประจำปี 2560 ซึ่งกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา จัดขึ้น เพื่อให้เด็ก และเยาวชน ใน จ.ยะลา ได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ มีเวทีในการแสดงความสามารถ มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกัน เกิดความรักสามัคคี ตลอดจน เป็นการคัดเลือกเด็ก และเยาวชน ใน จ.ยะลา เข้าร่วมงานมหกรรมตาดีกาสัมพันธ์ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี ส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น เด็ก เยาวชน ครู ผู้ปกครอง ประชาชน เจ้าหน้าที่จากศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) จ.ยะลา และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม จำนวน 1,500 คน สำหรับกิจกรรรมในงาน มีการแข่งขันฟุตบอล การแข่งขันเซปักตระกร้อ และการแข่งขันวอลเล่ย์บอล การแข่งขันตอบปัญหาทางศาสนา การประกวดคัดลายมือภาษาอาหรับ การประกวดเรียงความภาษามลายู การทดสอบการอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน การประกวดพรรณนาโวหาร การประกวดบรรยายธรรม และการประกวดการขับร้องเพลงอนาซีด นอกจากนี้ ยังมีการประกวดขบวนพาเหรด แห่วัฒนธรรม ชุด มลายูท้องถิ่น ที่แสดงถึงวิถีชีวิตของชาวมลายู อีกด้วย นายมุขตาร์ มะทา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา กล่าวว่า การจัดงานมหกรรมตาดีกาสัมพันธ์ เป็นกิจกรรมที่เกิดประโยชน์ ต่อชุมชน สังคม เป็นจารีต ประเพณี และเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และยังเป็นการสนับสนุนปลูกฝังให้ความรู้ทางศาสนา ซึ่งจะทำให้เด็ก เยาวชน ได้ปรับตัวให้อยู่ในโลกแห่งกระแสโลกาภิวัตน์ ที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ได้อย่างมีความสุข ซึ่งในสังคมปัจจุบัน ที่สิ่งเร้าสิ่งจูงใจมากมาย ทุกภาคส่วน จึงควรให้ความสำคัญต่อเด็ก และเยาวชน และจัดหามาตรการป้องกัน โดยเฉพาะด้านโอกาสทางการศึกษา การอบรมสั่งสอนเบื้องต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก นอกจากนี้ ก็ฝากไปยังทุกภาคส่วนในการอบรม สั่งสอนเด็ก และเยาวชน ให้มีการปลูกฝังในเรื่องความรักชาติ หวงแหนถิ่นที่อยู่อาศัย วัฒนธรรมประเพณีของตนเอง ตลอดจน การมีวินัย เคารพกติกา มารยาท ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ด้วย และจะต้องใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งด้านวิชาการ ควบคู่ไปกับด้านคุณธรรม เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้ รวมทั้ง เป็นพลังสร้างสรรค์การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
22 ก.ค. 2560
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ บรรยาย เรื่อง "ศาสตร์พระราชา เพื่อการพัฒนาที่
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ บรรยาย เรื่อง "ศาสตร์พระราชา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน" แก่ผู้บริหาร คณาจารย์ นักเรียน โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงดาว อำเภอเชียงดาว และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2560 ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มาบรรยายพิเศษ เรื่อง "ศาสตร์พระราชา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน" ให้แก่ผู้บริหาร คณาจารย์ นักเรียน ที่โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงดาว อำเภอเชียงดาว และในช่วงบ่ายสันเดียวกันได้ไปบรรยายที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้มีความรู้รักสามัคคี ตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มล.ปนัดดา กล่าวว่า ปวงชนชาวไทยควรน้อมนำหลักคิด "ศาสตร์พระราชา" ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ได้พระราชทานไว้นำไปปฏิบัติ ด้วยเป็นศาสตร์ที่ครอบคลุมถึงเรื่องเอกลักษณ์ของชนชาติไทย ซึ่งเป็นคุณงามความดีคนของคนไทยที่บรรพชนไทยได้ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา ไม่ว่าจะเป็นการอ่อนน้อมถ่อมตน การเป็นสุภาพชน ความขยันหมั่นเพียร การซื่อสัตย์สุจริต เจียมเนื้อเจียมตัว คบคนด้วยความดี มีมิตรภาพ ด้วยความรักและความผูกพัน ไม่คบคนด้วยฐานะ ไม่หลงลืมตัว อย่าทำอะไรผลีผลามโดยขาดการยั้งคิด ในทางกลับกันต้องมีความรอบคอบในการประพฤติปฏิบัติตน แม้แต่การใช้ Social Media ก็ต้องใช้เพื่อสร้างสรรค์ ใช้โพสต์เพื่อ Insight Out ด้วยจิตใจของเราเอง โดยไม่ก้าวล่วง ละเมิด ใส่ร้าย หรือด่าว่าผู้อื่นด้วยถ้อยคำรุนแรง ขอให้คำนึงถึงความกตัญญูรู้คุณต่อบิดามารดา ครูบาอาจารย์ ผู้มีพระคุณ ประเทศชาติ และพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะ "ครู" ซึ่งควรยกย่องให้เป็นบุพการีของเรา รองจากบิดามารดา ดังนั้น หากทุกคนได้ประพฤติปฏิบัติตนตามศาสตร์ของพระราชาแล้ว ก็จะเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ ประเทศก็จะมีแต่คนดีและทำให้ประเทศจะเจริญก้าวหน้า "ศาสตร์พระราชา" จึงเป็นเสมือนองค์ความรู้ที่อยู่คู่แผ่นดินไทย รวมทั้งแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ได้พระราชทานไว้กว่า 40 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้ประชาชนชาวไทย นำไปเป็นแนวทางการพัฒนาตนเองและครอบครัว ให้มีภูมิคุ้มกันที่มั่นคงในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้เร่งผลักดันและขยายผลนโยบายโรงเรียนคุณธรรมไปยังสถานศึกษาทั่วประเทศ โดยมีสถานศึกษาจำนวนมากนำนโยบายโรงเรียนคุณธรรมไปสู่การปฏิบัติ ผลักดันนโยบายโรงเรียนคุณธรรม ตามกรอบแนวคิดที่สำคัญ 5 ด้าน คือ ความพอเพียง ความกตัญญู ความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบ และการยึดมั่นคุณธรรมจริยธรรม โอกาสนี้ ม.ล.ปนัดดา ได้ฝากข้อคิดให้นักเรียนประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดี มีความกตัญญูรู้คุณต่อผู้มีพระคุณ บิดามารดา ครูบาอาจารย์ รวมทั้งประเทศชาติ มีความสำนึก และจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ปฏิบัติตนตามรอยเบื้องพระยุคลบาท น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักปรัชญาในการดำเนินชีวิต ตลอดจนยึดถือและปฏิบัติตนตามค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป
21 ก.ค. 2560
จ.เชียงราย ดินสไลด์ทับทางขึ้นพระธาตุดอยตุงงดใช้เส้นทาง เจ้าหน้าที่เร่งเปิดทางขึ้น
ฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ส่งผลให้เกิดดินสไลด์ลงมาปิดทับเส้นทางขึ้นพระธาตุดอยตุง ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เป็นครั้งที่ 2 โดยจุดที่เกิดดินสไลด์ล่าสุด ห่างจากจุดแรก 200 เมตร บริเวณถนนหมายเลข 1390 กม.1 800 ซึ่งเป็นถนน 2 ช่องทางจราจร โดยดินได้สไลด์ลงปิดทับเส้นทางจนรถไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ หลังจากเกิดดินสไลด์ลงมาปิดทับเส้นทาง นายนิคม เทพบุตร ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงเชียงรายที่ 1 ได้ให้ทางหมวดทางหลวงแม่สาย นำเจ้าหน้าที่พร้อมรถขุดตัก เข้าดำเนินการเร่งเปิดเส้นทาง และนำดินที่สไลด์ลงมาออก ทั้งนี้ได้แบ่งการทำงานเป็น 2 จุด เพราะในจุดแรก กม.1 600 ยังมีดินสไลด์ลงมาทับเส้นทางเช่นกัน ทั้งนี้ คาดว่าเจ้าหน้าที่จะสามารถเปิดใช้เส้นทางให้รถยนต์ขึ้นลงพระธาตุดอยตุงได้ตามปกติ ในวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2560 เพราะต้องทำให้เส้นทางมีความปลอดภัยในการเดินทางของนักท่องเที่ยว ส่วนเส้นทางที่มีดินสไลด์ปิดทับเส้นทางนั้น เป็นขึ้นไปพระธาตุดอยตุง อยู่บริเวณหลังวัดพระธาตุดอยตุง ซึ่งนักท่องเที่ยวหากจะเดินทางขึ้นไปกราบไหว้พระธาตุดอยตุงช่วงนี้จะต้องเดินเท้าเพียงอย่างเดียว ระยะทางเดินประมาณ 2 กิโลเมตร ขณะที่การซ่อมแซมจุดดินสไลด์จุดแรกได้ดำเนินการแล้วเสร็จแล้ว รวมทั้งการวางเสาไฟฟ้าใหม่จำนวน 7 ต้น ที่หักเสียหายจากครั้งก่อน (วันที่ 19 กรกฎาคม 2560) ด้านนายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทุกอำเภอ มีการสำรวจความเสียหายจากฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก ว่ายังเกิดกับพื้นที่ใด และหากพบความเสียให้เร่งดำเนินการช่วยเหลือชาวบ้าน และแก้ไขให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติโดยเร็ว อย่างไรก็ตาม ได้ย้ำเตือนในพื้นที่เฝ้าระวังทั้งดินถล่ม น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง มีการติดตามสถานการณ์ฝนตกอย่างต่อเนื่องไปอีก 2-3 วัน เพราะอาจเกิดผลกระทบจากฝนที่ตกลงมาได้
20 ก.ค. 2560
สกู๊ป : รัฐยกระดับการรับรองสินค้าเกษตรไทย
สินค้าเกษตรอย่างกุ้งขาว ถือเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศ แต่ที่ผ่านมาเกษตรกรยังพบอุปสรรคในขั้นตอนการตรวจสอบ ทำให้รัฐบาลเตรียมออกหลักเกณฑ์ที่มีความชัดเจนตรวจสอบคุณภาพ ให้มีความรวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายที่เป็นธรรม มาตรฐานความปลอดภัย และความสะอาดในสินค้ากลุ่มเกษตรกรรม เป็นสิ่งที่นานาประเทศให้ความสำคัญกับการสั่งซื้อสินค้า เพราะส่งผลต่อผู้บริโภคในประเทศต่างๆ การตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร จึงมีความจำเป็นของเกษตรกรที่ต้องการส่งออกผลผลิตไปขายยังประเทศต่างๆ แต่ที่ผ่านมาปัญหาหนึ่งที่ทำให้เกษตรกร ไม่นำสินค้าเกษตรเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบคุณภาพของสินค้า นั้นคือค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ทำให้รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เล็งเห็นความสำคัญต่อปัญหาที่เกิดขึ้น และหาวิธีการที่จะช่วยเหลือและสนับสนุน นำไปสู่การอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าบริการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับมาตรฐานบังคับ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง ประกอบไปด้วย การกำหนดค่าบริการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับมาตรฐานบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มผลิตลูกกุ้งขาวแวนนาไมปลอดโรค โดยการตรวจประเมินครั้งแรก หรือ การตรวจประเมิน เพื่อต่ออายุใบรับรอง ค่าตรวจสอบและรับรองตามจำนวนผู้ประเมิน ต้องไม่เกิน 5,000 บาท ต่อคนต่อวัน โดยฟาร์มไม่เกิน 5 ไร่ ใช้ผู้ตรวจประเมินไม่เกิน 1 คนต่อวัน ส่วนฟาร์มที่มีเนื้อที่เกิน 5 ไร่ให้ใช้ผู้ประเมินไม่เกิน 2 คนต่อวัน สำหรับการตรวจติดตาม ค่าตรวจสอบและรับรองตามจำนวนผู้ตรวจประเมิน ทั้งนี้ ไม่เกิน 1 ใน 3 ของจำนวนผู้ตรวจประเมิน โดยขั้นต่ำให้ใช้ผู้ตรวจประเมิน 1 คนไม่เกินครึ่งวัน ค่าตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการสำหรับตรวจวิเคราะห์โรคกุ้งตามมาตรฐาน โดยกำหนดไม่เกินโรคละ 1,000 บาทต่อหนึ่งตัวอย่างการทดสอบ การกำหนดมาตรฐาน และวิธีการตรวจสอบสินค้าเกษตร ของรัฐบาล ถือเป็นการสร้างบรรทัดฐานในการตรวจสอบให้มีความชัดเจน และเกิดความรวดเร็ว ป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์ พร้อมกับการส่งเสริมให้สินค้าเกษตรไทยเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ สร้างโอกาส สร้างรายได้ให้กับประเทศอีกทางหนึ่ง
20 ก.ค. 2560
สกู๊ป : ลด "หวาน-มัน-เค็ม" เป็นวาระแห่งชาติ
รัฐบาล เตรียมรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพถวายพระสงฆ์ช่วงเข้าพรรษานี้ งดหวาน-มัน-เค็ม ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคไต พร้อมยกระดับเป็นวาระแห่งชาติ การถวายข้าวสาร อาหาร รวมถึงอาหารปรุงสุกแด่พระพระภิกษุสงฆ์ คือธรรมเนียมปฏิบัติอันดีของพุทธศาสนิกชน ที่มีความเชื่อว่า การทำบุญอาหารให้กับพระสงฆ์ ญาติผู้ใหญ่ผู้ที่ล่วงลับจะได้รับอานิสงส์ในการทำบุญครั้งนี้ด้วย หลายคนจึงเลือกอาหารที่ชอบ โดยไม่คำนึงถึงโภชนาการในการบริโภคอาหารจากการทำบุญ จนทำให้พระสงฆ์อาพาธ โดยเฉพาะโรคไต ที่เกิดจากการอาหารที่มีมัน และเค็ม โครงการรณรงค์ลดอาหารมันเค็ม คืออีกหนึ่งมาตรการที่รัฐบาลให้ความสำคัญ และเตรียมผลักดันเป็นวาระแห่งชาติ โดยเฉพาะรสเค็ม ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ รวมถึง โรคไต ซึ่งพบว่า มีพระสงฆ์เป็นโรคไตถึงร้อยละ 20 ข้อมูลปัจจุบันของกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ในประเทศไทยมีคนป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรังทั้งสิ้นประมาน 8 ล้านคน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกปีละ 1 หมื่นคนต่อปี หากป่วยเป็นโรคนี้แล้วจะต้องมีค่าใช้จ่ายในเข้ารับการรักษาโดยการล้างไต ทางช่องท้องหรือการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเฉลี่ยประมาณ 2.4 แสนบาท ต่อคนต่อปี และรัฐจะต้องอุดหนุนสวัสดิการประมานหมื่นล้านบาท จากนี้กระทรวงสาธารณะสุขจะต้องเริ่มหามาตรการร่วมกัน ลดความเสี่ยงการก่อให้เกิดโรคไต โดยเฉพาะการให้ความรู้กับประชาชน ไม่เพียงแต่จะลดอาหารหวานมันเค็มในการถวายแด่พระสงฆ์เท่านั้น ประชาชนเองก็ควรเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารด้วย เพื่อให้เป็นการป้องกันไม่ให้โรคไตและโรคอื่นๆเกิดขึ้น แนวทางที่ดีที่สุดก็คือ การงดถวายภัตรหาร อาหารแห้ง อาทิ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋องแห้ง อาหารที่ปรุงพร้อมทานใส่ถุงบรรจุภัณฑ์ ผักกาดกระป๋อง ปลากรอบกระป่อง โดยอาหารเหล่านี้ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยโซเดียมจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการห่อโรคต่างที่ตามมา ทำให้พระสงฆ์ และประชาชนเสียสุขภาพก่อนวัยอันควร ทางที่ดีหากมีเวลาควรที่จะเลือกปรุงอาหารด้วยตัวเอง ไม่ปรุงอาหารที่มัน หรือเค็ม เพื่อไม่เกิดความเสี่ยงต่อโรคที่ตามมา
20 ก.ค. 2560
สกู๊ป : มาตรการแก้ปัญหาไกด์เถื่อน
มัคคุเทศก์นำเที่ยวผิดกฎหมาย หรือ ไกด์เถื่อน กำลังสร้างปัญหาให้กับวงการท่องเที่ยวของไทย เพราะถือเป็นการแย่งงานและอาชีพของคนในประเทศ ซึ่งรัฐบาลก็ไม่ได้นิ่งนอนใจได้ออกมาตรการปราบปรามและผลักดันส่งกลับประเทศทั้งหมดหากพบว่ากระทำผิด พร้อมเร่งแก้ปัญหาระยะยาวด้วยการสนับสนุนสถาบันการศึกษาให้ผลิตมัคคุเทศก์เพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตทางการท่องเที่ยวในอนาคต จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หลั่งไหลมาเที่ยวในประเทศหลายล้านคนในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนถึงภาพการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และบริการได้เป็นอย่างดี พร้อมกับการสร้างโอกาส สร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะมัคคุเทศก์ หรือไกด์นำเที่ยวกลุ่มต่างๆ ที่ได้รับอานิสงส์จากการเติบโตด้านการท่องเที่ยวของไทย ทำให้กลุ่มคนบางกลุ่ม ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ ฉวยโอกาสหาผลประโยชน์ ด้วยการเป็นไกด์เถื่อน เพื่อเป็นการป้องปรามไม่ให้เกิดการกระทำผิด ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ออกมาตรการอย่างเข้มงวด เพื่อลดปัญหาและผลกระทบที่ตามมา นั่นคือการร่วมมือกันของกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ร่วมกันผลักดันไกด์เถื่อนผิดกฎหมายกลับประเทศ พร้อมทั้งขึ้นบัญชีดำไม่ให้กลับเข้ามาสู่ประเทศไทยได้อีกหากคนนั้นเป็นชาวต่างชาติ จากข้อมูลของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปัจจุบันพบว่ามีมัคคุเทศก์ขึ้นทะเบียนกับกรมการท่องเที่ยว 70,655 คน แบ่งเป็นมัคคุเทศก์ทั่วไป 46,880 คน และมัคคุเทศก์เฉพาะพื้นที่ 19,154 คน ซึ่งยังไม่เพียงพอที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเดินทางมาเที่ยว การสนับสนุนให้ให้สถาบันการศึกษาผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจการท่องเที่ยว ถือเป็นทางออกและการแก้ปัญหาระยะยาวได้อีกทางหนึ่งที่รัฐกำลังเร่งผลักดันและส่งเสริมในขณะนี้ ปัจจุบันพบว่า ในประเทศไทย มีไกด์เถื่อนประมาณ 1-2 พันคนในปี 2559 ซึ่งสมาพันธ์สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทยมีความกังวลว่าหากในอนาคตยังไม่สามารถแก้ไขได้ จะทำให้ไกด์เถื่อนเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ยืนยันว่าจากการประเมินเบื้องต้น ยังมีผลกระทบที่ไม่มากนัก แต่ในระยะยาวเพื่อไม่ให้เป็นปัญหา จะต้องมีการปราบปรามให้หมดสิ้นให้ได้ ซึ่งปัญหาหลักของการเป็นช่องว่างให้ไกด์เถื่อนชาวต่างชาตินี้เข้ามาแอบแผงหากินในประเทศได้ นั่นก็คือภาษาที่สาม ทั้ง จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ที่ไกด์คนไทยยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการรองรับทั้งหมด โดยไทยจะต้องเร่งผลิตบุคลากรให้มีความรู้ความสามรถให้ได้เพื่อมารองปัญหาการคลาดแคลนไกด์และอุดช่องโหว่ที่จะให้ไกด์เถื่อนเหล่านี้แอบแฝงเข้ามาทำมาหากิน
20 ก.ค. 2560
สกู๊ป : 6 ยุทธศาสตร์พัฒนาคนหนุน EEC
โครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี. ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลหมายมั่นปั้นมือให้เป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ พร้อมเดินหน้าวางรากฐานการพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพ รองรับการเติบโตของเขตเศรษฐกิจพิเศษ ผ่านยุทธศาสตร์สำคัญ 6 ด้าน ด้วยวงเงินการลงทุนกว่า 619 ล้านบาท การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ถือเป็นหัวใจสำคัญที่รัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ 20 ปี เพราะกำลังคนถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาประเทศต่างๆ โดยเฉพาะโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ที่จะยกระดับไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนเพื่อสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ที่รัฐบาลเห็นชอบอนุมัติวงเงินกว่า 619 ล้านบาทในการดำเนินการ จะเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้สร้างบุคลากรให้มีคุณภาพช่วยผลักดันโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ซึ่งจะมีกลุ่ม10 อุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต สำหรับการดำเนินการพัฒนากำลังคนสนับสนุน อีอีซี จะแบ่งแผนงานออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะสั้น ประมาณ 3 ถึง 6 เดือน ระยะปานกลาง 1 ถึง 2 ปี ระยะยาว 3 ถึง 5 ปี ภายใต้ยุทธศาสตร์ 6 ด้าน ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การจัดการอาชีวศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ ให้ผู้ที่เรียนอาชีวศึกษามีความรู้ มีทักษะ มีความรู้เรื่องภาษา สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของ EEC ได้ ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนระดับอาชีวศึกษาและการวิจัยนวัตกรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับ Super Cluster/Cluster New Engine of Growth เน้นหลักสูตรเชิงเทคโนโลยีและนวัตกรรม จัดตั้งศูนย์ควาเป็นเลิศ ศูนย์พัฒนาทักษะเฉพาะทางร่วมกับสถานประกอบการ และจัดหาผุ้เชียวชายเฉพาะสาขาวิชาชีพชั้นสูง ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านอาชีวศึกษาทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยจะส่งเสริมความพร้อมด้านอาชีพให้กับคนในกลุ่ม EEC ทุกช่วงวัย พร้อมต่อยอดทักษะกำลังคนในสถานประกอบการให้มีทักษะอาชีพสอดคล้องกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม 4.0 แก้ปัญหาการขาดแคลนครูเร่งด่วน และยกระดับคุณภาพครู ยุทธศาสตร์ การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และควาเมท่าเทียมกันด้านอาชีวศึกษา โดยจะมีทุนการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส การดูแลช่วยเหลือนักศึกษาให้มีงานทำควบคู่กับการเรียนเพื่อให้เกิดรายได้ ยุทธศาสตร์การสอน การแนะนำทั้งในและนอกระบบการศึกษา เพื่อสร้างการเติบโตของคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อนร่วมงาน และยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนธุรกิจเศรษฐกิจประเทศด้วยงานวิจัยทุกระดับ เพื่อการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ เสริมสร้างศักยภาพสถานศึกษาให้มีควาพร้อมด้านทรัพยากรให้เป็นสถานศึกษา 4.0 โดยแผนการพัฒนากำลังคนเพื่อสนับสนุน อีอีซี จะเริ่มขับเคลื่อนทันทีในปี 2560 ซึ่งคาดว่าจะสามารถผลิตบุคคลากรที่มีศักยภาพได้อย่างน้อย 2 หมื่นคน และอีก 5 ปีข้างหน้า จะมีบุคลากรที่พร้อมเข้ามาขับเคลื่อน อีอีซี อีกประมาณ 48,500 คน ซึ่งจะสามารถรองรับการเติบโตของเขตเศรษฐกิจพิเศษ อีอีซี ที่นักลงทุนต่างชาติเตรียมใช้เป็นฐานการผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ จากแรงงานภายในประเทศที่มีฝีมือ และคุณภาพในการทำงาน สร้างโอกาสในการแข่งขัน และยกระดับ อีอีซี ก้าวขึ้นเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชั้นนำของอาเซียนและเอเชีย
19 ก.ค. 2560
ขอเชิญร่วมโครงการจิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” เปิดลงทะเบียนวันที่ ๒๓ - ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐
ขอเชิญประชาชนเข้าร่วมโครงการจิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๘ กรกฎาคม - ๓ สิงหาคม ๒๕๖๐ โดยเปิดรับลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการจิตอาสา ระหว่างวันที่ ๒๓ - ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ณ อาคารรับรองพระราชวังดุสิต อาคาร ๖๐๖ สนามเสือป่า ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ๐ ๒๓๕๖ ๐๘๘๗
18 ก.ค. 2560
รายการเดินหน้าประเทศไทย : มติคณะรัฐมนตรีฉบับประชาชน วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม 2560
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เบิกจ่ายงบกลาง 300 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนให้จำเลย จำนวนประมาณ 6,000 ราย สำหรับระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย. – ก.ย.2560 รวม 6 เดือน คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์พัฒนากำลังคนสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2560 – 2564 ในวงเงินจำนวน 619.4 ล้านบาท 1.จัดการอาชีวศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ ให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ นิสัยอุตสาหกรรม ภาษา ICT เทคโนโลยีนวัตกรรม คุณธรรม จริยธรรม อัตลักษณ์ไทย 2.การวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยหลักสูตรสอดคล้องกับ Super Cluster/ Cluster ,New Engine of Growth 3.การพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านอาชีวศึกษาทุกช่วงวัย โดยเสริมทักษะให้กำลังคนที่อยู่ในสถานประกอบการ ให้มีทักษะสอดคล้องกับความต้องการ รวมถึงแก้ปัญหาความขาดแคลนครูเร่งด่วน และยกระดับคุณภาพครู 4.การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมกันด้านอาชีวศึกษา โดยสร้างแรงจูงใจให้เรียนอาชีวศึกษามากขึ้น สนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับกลุ่มผู้ด้อยโอกาส 5.การสอน การแนะนำ ทั้งในและนอกระบบการศึกษา โดยสร้างนิสัยการใช้ทรัพยากร การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 6.ขับเคลื่อนธุรกิจ เศรษฐกิจ ประเทศด้วยงานวิจัยทุกระดับ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการแก้ไขปรับปรุงแนวทางการแต่งตั้งกรรมการรัฐวิสาหกิจ โดยจะเริ่มใช้กำหนดข้อบังคับใหม่ในการคัดเลือกผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่คณะกรรมการในรัฐวิสาหกิจ 1. ให้นำสมรรถนะหลักและความรู้ที่จำเป็น (Skill Matrix) มาใช้ในการพิจารณาสรรหา และแต่งตั้งกรรมการรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้รัฐวิสาหกิจได้กรรมการตรงกับความต้องการที่แท้จริงในการขับเคลื่อนและพัฒนารัฐวิสาหกิจ 2. ในการแต่งตั้งกรรมการอื่นที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่งในรัฐวิสาหกิจแห่งใด ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาเสนอชื่อจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์การทำงานในภาคธุรกิจไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจ 3. ห้ามมิให้มีการแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุดหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งแห่งใด เป็นกรรมการในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจอื่น เว้นแต่กรณีที่มีกฎหมายกำหนด หรือกรณีการแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการของบริษัทที่รัฐวิสาหกิจนั้นถือหุ้นอยู่ 4.ไม่แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ข้าราชการการเมือง และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นกรรมการในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเพิ่มเติม 5.ให้มีผู้แทนกระทรวงการคลังที่เป็นข้าราชการประจำในกระทรวงการคลัง เป็นกรรมการในคณะกรรมการัฐวิสาหกิจ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของทางราชการในฐานะผู้ถือหุ้นของรัฐวิสาหกิจ 6.ให้มีผู้แทนกระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจที่เป็นข้าราชการประจำในกระทรวงเจ้าสังกัด ซึ่งไม่อยู่ในหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการของรัฐวิสาหกิจนั้น (Regulator) จำนวน 1 คน เป็นกรรมการในคณะรรมการรัฐวิสาหกิจ 7.ในกรณีที่กฎหมายจัดตั้งของรัฐวิสาหกิจกำหนดให้มีผู้ดำรงตำแหน่งใดในส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นเป็นกรรมการ และผู้ดำรงตำแหน่งนั้นจะมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนในตำแหน่งกรรมการรัฐวิสาหกิจ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นพิจารณามอบหมายผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในหน่วยงานในสังกัดที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีเวลา และเหมาะสมกับความต้องการในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาของแต่ละรัฐวิสาหกิจนั้น 8.กรณีกฎหมายจัดตั้งของรัฐวิสาหกิจกำหนดให้มีผู้แทนหน่วยงานต่างๆ เป็นกรรมการในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ ให้หน่วยงานนั้นแต่งตั้งจากบุคคลที่อยู่ในหน่วยงานนั้น 9.ในกรณีที่สวนราชการแต่งตั้งข้าราชการประจำไปเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ หากข้าราชการผู้นั้นเกษียณอายุหรือพ้นจากการเป็นข้าราชการประจำ ให้ส่วนราชการนั้นแต่งตั้งข้าราชการคนใหม่ไปแทน
17 ก.ค. 2560
เกิดเหตุพายุฝนและลมกรรโชกแรงในพื้นที่อำเภอเมืองระนอง ยางพาราได้รับความเสียหายหลายพันต้น
เกิดเหตุพายุฝนและลมกรรโชกแรงในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลบางนอน อำเภอเมืองระนอง ทำให้สวนยางพาราของชาวบ้านได้รับความเสียหายหลายพันต้น นอกจากนี้ยังทำให้เสาไฟฟ้าล้ม ส่งผลให้ชาวบ้านกว่าร้อยหลังคาเรือน ไม่มีไฟฟ้าใช้ นายสุรพล เพชรรัตน์ กำนันตำบลบางนอน อำเภอเมืองระนอง เปิดเผยว่า เมื่อเวลาประมาณ 04.00 น.วันนี้ (17 ก.ค.2560) ได้เกิดพายุฝนและลมกรรโชกแรงพัดกระหน่ำในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลบางนอน ทำให้ต้นยางพาราของชาวบ้านในพื้นที่ หักล้มหลายพันต้น นอกจากนี้ พายุฝนยังทำให้เสาไฟฟ้าล้มหลายต้นเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ชาวบ้านในพื้นที่กว่าร้อยหลังคาเรือน ไม่มีไฟฟ้าใช้ ขณะนี้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งเข้าไปสำรวจความเสียหาย เพื่อเตรียมให้ความช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนแล้ว ทางด้านเจ้าหน้าที่จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคส่วนจังหวัดระนอง ได้นำกำลังเข้าไปเร่งซ่อมแซมเสาไฟฟ้าที่ได้รับความเสียหายอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้มีไฟฟ้าใช้ในคืนนี้
16 ก.ค. 2560
สกู๊ป : ตลาดข้าวครบวงจร ยกระดับชาวนาไทย
สกู๊ป : ตลาดข้าวครบวงจร ยกระดับชาวนาไทย รัฐบาล เตรียมรับมือฤดูการปลูกข้าวที่กำลังจะมาถึง ด้วยนโยบายตลาดข้าวแบบครบวงจร เพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวทั้งระบบให้มีคุณภาพมากขึ้น ข้าวถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้กับประเทศ และยังเป็นแหล่งอาหารชั้นดีภายในประเทศ รวมถึงการส่งออกไปขายยังต่างประเทศ ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติทำให้ประเทศไทยเคยเป็นประเทศมหาอำนาจในการส่งออกข้าวอันดับ 1 หลายปีซ้อนของโลก แต่สถานการณ์ และปัจจัยด้านการผลิตที่มีผลผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้สถานการณ์ราคาข้าวของประเทศไม่สู้ดีนะ นับจากนี้เพื่อให้ประเทศไทยกลับมาเป็นผู้ปลูกข้าวรายใหญ่อีกครั้ง รัฐบาลจึงได้เร่งผลักดันพร้อมกับส่งเสริมการปลูกและการค้าข้าวทุกมิติ ปฏิรูปการเกษตรหวังยกระดับให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกร ในรูปแบบ ตลาดข้าวแบบครบวงจร เริ่มตั้งการผลิตข้าวในช่วงการเพาะปลูกที่กำลังจะมาถึง ซึ่งรัฐบาลเตรียมจะนำหลักโครงการเกษตรแปลงใหญ่มาพัฒนาประยุกต์ในการปลูกข้าว เพื่อเป็นการลดภาระและค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิด ให้เกษตรกรได้วางแผนการผลิตข้าวล่วงหน้าลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะทำให้ผลผลิตไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ โดยการผลิตข้าวข้าวแบบครบวงจร จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนด้วยนั้น ส่วนแรกคือ ภาครัฐเข้าไปส่งเสริมสนับสนุนงบประมานในการบริหารจัดการให้ปลูกข้าวที่มีสายพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด เกษตรกรสามารถพึ่งพาตัวเองได้ และส่วนที่สองคือมุ่งเน้นการปลูกข้าวด้วยความพอดีไม่ปลูกข้าวด้วยความเสี่ยงที่อาจจะไม่ได้ผลผลิตตามเป้าหมาย ทั้งนี้ รัฐบาลได้เตรียมพร้อมรับมือ วางแผนช่วยรองรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการปลูกข้าว โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติส่งเสริมเพื่อช่วยเหลือชาวนาแบบครบวงจรด้วยงบประมาน 4,900 ล้านบาท พร้อมกับตั้ง 3 โครงการหลักเพื่อขับเคลื่อนนโยบายในครั้งนี้ คือ โครงการปลูกพืชอาหารสัตว์ทดแทนนาข้าว มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกพืชอาหารสัตว์ทดแทนการปลูกข้าวลดค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงสัตว์ โครงการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 เพื่อลดรอบการทำนา โดยสนับสนุนการปลูกพืชทดแทนไร่ละ 2,000 บาท และโครงการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561เพื่อลดอุปทานข้าวเปลือก โดยการปลูกพืชปุ๋ยสดทดแทนในนาข้าว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปรับปรุงบำรุงดินและตัดวงจรศัตรูพืช นโยบายเหล่านี้คือการสนับสนุนจากภาครัฐที่ต้องการปฏิรูปวงจรเกษตรแบบเดิมให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน ยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวนาทุกคนทั่วประเทศให้มีความเข้มแข็ง สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยังยืนอย่างแท้จริง หลุดพ้นจากกับดักปัญหาด้านปัจจัยการผลิต และราคาข้าวที่มีความผันผวน ด้วยนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมผ่านรูปแบบตลาดข้าวครบวงจร และในอนาคตเชื่อว่าจะกลายเป็นโมเดลหลักในการพัฒนาเกษตรอื่นๆต่อยอดจากเดิม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำเกษตรทั้งระบบแบบยกเครื่อง
16 ก.ค. 2560
สกู๊ป : สานต่อศาสตร์พระราชา...พัฒนาธุรกิจเกษตร
สกู๊ป : สานต่อศาสตร์พระราชา...พัฒนาธุรกิจเกษตร ไทยเป็นประเทศแห่งการเกษตรกรรม การสั่งเสริมให้เกษตรกรเกิดความยั่งยืน สานต่อแนวพระราชดำรินั้นคือสิ่งที่ภาครัฐน้อมนำมาปฏิบัติ หรือแม้แต่ภาคธุรกิจเองก็นำมาปรับใช้เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทั้งธุรกิจและกลุ่มเกษตรกร “…การพัฒนาที่เหมาะกับประเทศไทยเรา ก็คือจะต้องทำนุบำรุงเกษตรกรรมทุกสาขาให้พัฒนาก้าวหน้าเพื่อยกระดับฐานะของเกษตรกร ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศให้สูงขึ้น อันจะส่งผลให้ฐานะทางเศรษฐกิจโดยส่วนรวมของประเทศมีความเข้มแข็งมั่นคงขึ้นด้วย…” ความตอนหนึ่งจากพระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 24 กรกฎาคม 2541 นี่เป็นพระราชดำรัสเกี่ยวกับการพัฒนาการเกษตร ที่รัฐบาลบาลได้น้อมนำแนวทางมาใช้ ส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบฐานราก โดยการใช้ความรู้ มุ่งเข้าไปแก้ปัญหา เพื่อให้เกษตรเกิดความยั่งยืน เช่นเดียวกับนายพิษณุชัย แก้วพิชัย ประธานที่ปรึกษาบริษัท ดอยช้างคอฟฟี่ ออริจินอล จำกัด ผู้ผลิตกาแฟอันดับต้นๆของประเทศที่นอกจากจะเน้นการผลิตกาแฟตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ ยังส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกร โดยเริ่มจากการเข้าไปให้ความรู้พื้นฐานกับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟบนดอยช้าง จนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยไม่ได้เป็นการผูกมัดในการขายเมล็ดกาแฟแต่อย่างไร แต่เพื่อให้เกิดความยั่งยืนกับชาวเขาบนดอยช้าง สานต่อแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เช่นเดียวกับบริษัท โคโคครีม ผู้ผลิตไอศกรีมมะพร้าว ที่เริ่มต้นธุรกิจจากการนำของดีอย่างมะพร้าวน้ำหอมของไทย ที่มีรสชาติและความหอมเป็นพิเศษ มาผลิตต่อยอดเป็นไอศกรีม โดยมะพร้าวน้ำหอมทั้งหมดจะนำมาจากจังหวัดสมุทรสงคราม และสมุทรสาคร เพื่อเป็นส่งเสริมให้เกษตรกรไทยนั้นมีรายได้ที่มั่นคงมากขึ้น แม้การประกอบธุรกิจยุคใหม่จะต้องมีการแข่งขันกันสู่ แต่ธุรกิจสัญชาติไทยทั้ง 2 ราย จะไม่ลืมรากเหง้าของความเป็นไทย สานต่อแนวพระราชดำริ แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อให้เกิดการส่งเสริมภาคการเกษตรของไทย ที่ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อคืนกำไรคืนสู่สังคม
16 ก.ค. 2560
สกู๊ป : ครม. เพิ่มวันสำคัญประดับธงชาติ
สกู๊ป : ครม. เพิ่มวันสำคัญประดับธงชาติ คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบเพิ่มวันสำคัญประดับธงชาติไทย ให้ปวงชนชาวไทยถวายความจงรักภักดี พร้อมปรับเปลี่ยนยกเลิกการใช้ และประดับธงชาติ ให้สอดคล้องกับมติ ครม. ที่มีการยกเลิกวันสำคัญ ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม เป็นช่วงเวลามหามงคลที่ปวงชนชาวไทยทุกคน สามารถถวายความจงรักภักดี เพราะมีวันสำคัญที่เวียนมาบรรจบอีกวาระหนึ่ง นั้นคือ วันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกคนร่วมกันถวายความจงรักภักดี คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เสนอร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ และธงของต่างประเทศในราชอาณาจักร เพื่อการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบดังกล่าว ฉบับ พ.ศ.2529 ให้สอดคล้องกับประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ครม.วันที่ 11 กรกฎาคม 2560 โดยยกเลิกการใช้และประดับธงชาติ ในวันที่ 5 พฤษภาคม วันฉัตรมงคล รวม 1 วัน พร้อมให้เพิ่มเติมการกำหนดโอกาส และวันพิธีสำคัญให้ชักและประดับธงชาติ ดังนี้ วันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 28 กรกรฎาคม และวันที่ 29 กรกรฎาคม รวม 2 วัน วันพระราชทานธงชาติไทย วันที่ 28 กันยายน รวม 1 วัน ทั้งนี้ วันพระราชทานธงชาติไทย เป็นวันที่ระลึกซึ่งกำหนดให้มีปีนี้เป็นปีแรก จึงกำหนดให้ประดับธงชาติไทย แต่ไม่ได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ กำหนดให้แก้ไขเพิ่มเติมให้กำหนดโอกาสและวันพิธีสำคัญให้ชักและประดับธงชาติ จากเดิมวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 5-6-7 ธันวาคม รวม 3 วัน เป็นวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ วันที่ 5-6 ธันวาคม รวม 2 วัน อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรีให้เพิ่มเติมกำหนดโอกาสและพิธีสำคัญให้ชักและประดับธงชาติได้แก่ วันที่ 28 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และวันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นวันสำคัญของชาติ และให้ทั้ง 2 วันดังกล่าวเป็นวันหยุดราชการประจำปีด้วย
16 ก.ค. 2560
จ.อุทัยธานี สถานการณ์อุทกภัย เริ่มคลี่คลายลดระดับลงอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ครู
จ.อุทัยธานี สถานการณ์อุทกภัย เริ่มคลี่คลายลดระดับลงอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ครู ภารโรง นักเรียน และผู้ปกครองเร่งความสะอาดเตรียมเปิดเรียนได้พรุ่งนี้ ขณะที่ ผบ.กองกำลังฯ ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์และให้การช่วยเหลือ ที่จังหวัดอุทัยธานี ภายหลังจากที่เมื่อคืนไม่มีฝนตกลงมา ทำให้สถานการณ์ในพื้นที่ หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 บ้านกลาง ตำบลหนองแก อำเภอเมือง เริ่มคลี่คลายลงระดับน้ำลดลงมาก อย่างที่โรงเรียนวัดหนองแกน้ำที่ท่วมอาคารเรียนและพื้นที่ในโรงเรียนเข้าสู่ภาวะปกติ ยังเหลือเพียงสนามกีฬา และสนามเด็กเล่นหน้าอาคารเรียนน้ำยังท่วมขังไม่สามารถเล่นในสนามกีฬาได้ ซึ่งในเช้าวันนี้ คณะครู นักการภารโรง นักเรียน และผู้ปกครอง เร่งทำความสะอาดภายในบริเวณโรงเรียนและอาคารเรียนให้เหมือนเดิน และเตรียมเปิดการเรียนการสอนในวันจันทร์ได้ตามปกติ หากไม่มีสถานการณ์ฝนตกหนักและเกิดสถานการณ์น้ำป่ากลับมาอีกระลอก ส่วนพื้นที่นาข้าว ยังมีน้ำท่วมขังอยู่เป็นบริเวณกว้าง ส่วนถนนในหมู่บ้านรถเล็กสามารถวิ่งผ่านได้แล้ว รวมถึงบ้านเรือนประชาชนส่วนให้ที่ใช้กระสอบทรายมาเป็นคันกั้นน้ำและตั้งเครื่องสูบน้ำ สูบน้ำออกจนแห้งเป็นปกติ แต่ยังมีบ้านเรือนบางส่วนที่อยู่ในที่ต่ำน้ำยังท่วมขัง รวมถึงบริเวณวัดและภายในวัดหนองแกก็ยังมีน้ำท่วมอยู่ ขณะเดียวกันทางด้าน พันเอก ประสาน แสงศิริรักษ์ ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 4 ในฐานะผู้บังคับการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดอุทัยธานี และกำลังทหารในสังกัดลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้กำลังใจ พร้อมทั้งตรวจพื้นที่เพื่อจัดทำแผนในการป้องกันน้ำท่วมบริเวณดังกล่าวอย่างยั่งยืน เพื่อเสนอในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
16 ก.ค. 2560
ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีนำทุกภาคส่วนร่วมแถลงข่าวชี้แจงแนวทางการแก้ปัญหาราคามังคุดตกต่ำ
นายวิทูรัช ศรีนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยพลเรือตรี นพรัตน์ เลิศล้ำ ผู้แทน กปช.จต. นาวาเอก จาริก พัวพานิช รอง ผอ.รมน.จังหวัดจันทบุรี ผู้แทนมณฑลทหารบกที่ 19 ผู้แทนผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดจันทบุรี ผู้แทนกองร้อยรักษาความสงบที่ 3 กองทัพเรือ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีทั้ง 2 คน นายธนพล กิจกาญจน์ นายก อบจ.จันทบุรี นายเฉลิมพล ศักดิ์คำ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองท่าช้าง ร่วมแถลงข่าวเปิดเผยถึงแนวทางการแก้ปัญหาราคามังคุดตกต่ำ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนผลไม้จังหวัดจันทบุรีที่กำลังประสบปัญหา โดยผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีกล่าวว่า ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเกษตรกรชาวสวนผลไม้ของจังหวัดจันทบุรีประสบปัญหามังคุดตกต่ำ เนื่องจากปัจจัยหลายด้าน อาทิ ผลผลิตมังคุดออกช้าและประดังกับมังคุดทางภาคใต้ที่ผลผลิตออกมามากในช่วงนี้ รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่ใช้ในการคัดแยกมังคุด ดังนั้นทางจังหวัดจึงได้บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือเกษตรกร แต่ยังไม่มีโอกาสได้ทำความเข้าใจแก่ท้องถิ่นที่ดูแลและใกล้ชิดกับประชาชน จึงทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าทำไมจังหวัดไม่สั่งการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาซื้อมังคุดเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรทั้งที่ทางจังหวัดเองก็ต้องการเช่นนั้น แต่เนื่องจากในการดำเนินในปีที่ผ่านมาสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ท้วงติงที่ท้องถิ่นนำเงินงบประมาณไปใช้ในการแทรกแซงราคาผลผลิต ซึ่งกฤษฎีกาได้ตีความว่าการนำงบประมาณไปใช้ในการรับซื้อผลผลิตช่วยเหลือเกษตรกรเป็นการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินผิดประเภทและไม่ใช่ภารกิจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเว้นแต่รัฐบาลจะสั่งการเป็นครั้งๆ ไป สำหรับการดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในขณะนี้จังหวัดจันทบุรีได้เร่งให้การช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนมังคุดโดยการรับฝากขายมังคุดราคากิโลกรัมละ 15 บาท ก่อนที่จะกระจายออกจากพื้นที่แหล่งผลิตไปยังตลาดปลายทางทั่วประเทศโดยเปิดจุดรับฝากรวม 3 แห่ง คือที่ เทศบาลตำบลพลับพลานารายณ์ อบต.ตรอกนอง และ หน้าที่ว่าการอำเภอเขาคิชฌกูฏ มีเกษตรกรนำผลผลิตมังคุดมาฝากขายจำนวนมาก การดำเนินการได้มีการบูรณาการกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนเนื่องจากราคามังคุดตกต่ำแก่เกษตรกรที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการอย่างเร่งด่วนแล้ว
16 ก.ค. 2560
เครือข่ายจิตอาสาจังหวัดสุรินทร์ ประชุมแนวทางพร้อมขับเคลื่อนพัฒนากลไกประชารัฐยุคไทยแลนด์ 4.0
ที่หอประชุมจังหวัดสุรินทร์ นางสาวดวงพร บุญครบ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานในพิธีการประชุมเชิงปฏิบัติการ "แนวทางการสนับสนุนโครงการพัฒนากลไกเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐระดับอำเภอ เสริมสร้างสังคมสุขภาวะ พ.ศ.2560" เพื่อสร้างความเข้าใจกรอบแนวคิดการขับเคลื่อนพลังจิตอาสาประชารัฐ แก่เครือข่ายจิตอาสาของจังหวัด ในการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์และภารกิจที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งการที่ศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัดสุรินทร์ ได้รับมอบหมายจากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และสำนักงานจิตอาสาประชารัฐเพื่อสังคมสุขภาวะ (สอปร.) ดำเนินการโครงการพัฒนากลไกเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐระดับจังหวัด เสริมสร้างสังคมสุขภาวะ ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลและคณะทำงานประชารัฐเพื่อสังคม โดยใช้กรอบแนวคิดสำคัญคือการพัฒนากลไกสนับสนุนเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐในระดับจังหวัด เสริมสร้างสังคมสุขภาวะและการอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน โดยยกระดับเป็น "ศูนย์ประสานงานพัฒนาจิตอาสาประชารัฐระดับจังหวัด " ทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของผู้มีจิตอาสาทั้ง 17 อำเภอของจังหวัดสุรินทร์ เข้ามาเป็นเครือข่ายในการดำเนินงานเพื่อสาธารณะร่วมกัน โดยภารกิจตั้งต้นมี 2 ประการ ได้แก่ (1) เข้าถึงและช่วยเหลือผู้ยากลำบากในชุมชนทั่วประเทศ (2) จัดทำแผนที่จุดเสี่ยงต่อพิบัติภัยธรรมชาติของชุมชนเป็นรายอำเภอและพัฒนาระบบเครือข่ายเฝ้าระวังฯและรับมือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างซ้ำซาก มีผู้เข้าร่วมประกอบด้วยคณะกรรมการสนับสนุนเครือข่ายอาสาประชารัฐเพื่อสังคมจังหวัดสุรินทร์แกนนำจิตอาสาประชารัฐระดับอำเภอ รวมทั้งสิ้น 200 คน ทั้งนี้ในยุค คสช. เมื่อรัฐบาลประกาศนโยบาย “สานพลังประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก”ในปี 2558 เปิดโอกาสให้ภาคีเครือข่ายการปฏิรูป และ ศปจ.ทุกจังหวัด แสดงบทบาทเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนแนวคิดและแนวทางการทำงานแบบที่เรียกกันว่า ”เป็นประชา-รัฐ” โดยได้เข้าร่วมอยู่ในกลไกคณะทำงานประชารัฐของจังหวัด สช.ในฐานะหน่วยงานหลักที่มีภารกิจส่งเสริม-สนับสนุนกระบวนการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม เป้าหมายคืออยากเห็นนโยบายรัฐทุกประเภท ของทุกกระทรวง ทุกจังหวัดและทุกท้องถิ่น ล้วนเป็นนโยบายที่มีมิติห่วงใยต่อสุขภาพ-สุขภาวะของสังคมและคนเล็กคนน้อย ดังนั้น สช.จึงได้ทำงานร่วมทำงานกับ ศปจ.และภาคีเครือข่ายประชารัฐและประชาสังคมในพื้นที่อย่างใกล้ชิด โดยเน้นการสำรวจค้นหากลุ่มประชากรที่อยู่ในภาวะยากลำบากและกลุ่มเปราะบาง พร้อมให้การช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างเหมาะสมจัดทำแผนภูมิศาสตร์และระบบเฝ้าระวังที่เสี่ยงต่อภัยพิบัติ ซ้ำซาก โดยอาศัยแกนนำเครือข่ายจิตอาสาทุกระดับ มาทำความเข้าใจแนวทางการสนับสนุนโครงการพัฒนากลไกเครือข่ายจิตอาสา เพื่อสร้างกรอบแนวคิดและขับเคลื่อน จิตอาสาแบบประชารัฐ พัฒนากลไกสนับสนุนเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐ เสริมสร้างสังคมสุขภาวะ พ. ศ. 2560 แบบจิตอาสาเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานพัฒนาสู่สังคมไทย 4.0
15 ก.ค. 2560
รายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม 2560
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม 2560 เวลา 20.15 น. สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ที่ทรงมีความห่วงใยต่อพสกนิกร ในการเตรียมพร้อมรับมือกับปริมาณน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ โดยเฉพาะในสัปดาห์หน้า ที่กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์ว่า จะมีฝนตกอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ สำหรับในพื้นที่กรุงเทพมหานครนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ข้าราชการในพระองค์ ร่วมกับหน่วยราชการในเขตพื้นที่ และประชาชนจิตอาสา ดำเนินการเก็บผักตบชวาและวัชพืชที่มีอยู่อย่างหนาแน่น รวมทั้งขยะมูลฝอยต่าง ๆ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ซึ่งประสบปัญหาน้ำท่วมขังและเพื่อเปิดช่องทางระบายน้ำให้แก่ลำคลองสาขาต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร มาอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลากว่า 2 เดือนแล้ว นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ในการนี้เพื่อเป็นการสืบสานพระราชดำริ ซึ่งรัฐบาลและ คสช. ได้ขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม ดำเนินการจัดหาพื้นที่กักเก็บน้ำ ทำทางระบายน้ำและพัฒนาแหล่งน้ำ สำหรับใช้ประโยชน์ร่วมกันทั่วประเทศ ได้จัดให้มี “โครงการจิตอาสาประชารัฐพัฒนาแหล่งน้ำ” เพื่อให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชน ได้ประสานความร่วมมือช่วยกันฟื้นฟูแหล่งน้ำ ขุดลอกคูคลอง ขยายแหล่งน้ำ กำจัดวัชพืช และรณรงค์ให้ประชาชนช่วยกันเก็บขยะตามแหล่งน้ำ ให้สามารถระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันอุทกภัยและปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้กำหนดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ในส่วนกรุงเทพมหานคร ทั้ง 50 เขต จะมีการดำเนินการในลักษณะ “Big Cleaning Day” ระหว่างวันที่ 25 - 27 กรกฎาคมนี้ โดยจะร่วมมือกับกองทัพ อาสาสมัคร และจิตอาสาด้วย รวมทั้งในพื้นที่ 76 จังหวัดทั่วประเทศ อำเภอละ 1 แห่ง จะมีการจัดกิจกรรมขึ้นระหว่างวันที่ 29 - 31 กรกฎาคมนี้ โดยกระทรวงมหาดไทย เป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินกิจกรรมกำจัดขยะ สิ่งกีดขวางการระบายน้ำในแม่น้ำ ลำคลอง หรือแม่น้ำสายหลัก ระยะที่ 2 จะมีการขุดสระน้ำขนาดเล็ก หลุมขนมครก เพื่อเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำ สำหรับใช้ในการเกษตร โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเป็นเจ้าภาพหลัก ร่วมมือกับภาคเอกชน และประชาชน ระยะที่ 3 จะเป็นการพัฒนาแหล่งน้ำ ทางระบายน้ำ ในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน อย่างน้อยอำเภอละ 1 แห่งใน 76 จังหวัด โดยให้ดำเนินการตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึง กันยายน 2560 กระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าภาพหลัก และระยะที่ 4 เป็นการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันในชุมชนหรือตามการร้องขอของประชาชน ดำเนินการภายในเดือนกันยายนนี้ ผมขอเรียนเชิญชวนพี่น้องประชาชนและทุกภาคส่วน ในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าวตามวันและเวลาที่ทางราชการกำหนด ช่วยกันคนละไม้ คนละมือ ไม่ใช่เพื่อใคร แต่เพื่อบ้านเรา เมืองเรา และตัวท่านเอง ผู้ที่ทิ้งขยะก็ต้องคิดก่อนทิ้ง อย่าไปเพิ่มภาระ และการทำงานเช่นนี้จะทำต่อไปเรื่อยๆ ทุกเดือน ตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไป เพื่อสนองพระราชปณิธานของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ด้วย สำหรับฤดูฝนนี้ นับเป็นการเริ่มต้นฤดูการผลิตปี 2560 ถึง 2561 ซึ่งรัฐบาลมีแผนที่จะสนับสนุน พี่น้องเกษตรกร ให้ทำการผลิตและดำเนินการตลาดข้าวแบบครบวงจร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องการวางรากฐานการปฏิรูปการเกษตร ประกอบด้วย โครงการแปลงใหญ่ ศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ศพก. เกษตรทฤษฎีใหม่ และโครงการ 9101 ตามรอยพ่อ ทั้งนี้ เพื่อจะดูแลให้เกษตรกรให้มีรายได้ที่มั่นคง มีการวางแผนการผลิตล่วงหน้า สามารถลดความเสี่ยงจากภัยแล้ง-น้ำท่วม หรือจากราคาข้าวที่ผันผวน ไปปลูกพืชทดแทนอื่น ๆ รวมทั้งเพื่อสร้างรายได้เพิ่มขึ้น จากการผลิตข้าวที่มีคุณภาพ ข้าวอินทรีย์ และมีการเพาะปลูกที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการผลิตและการตลาดข้าวแบบครบวงจรนี้ จะประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ส่วนแรก มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตข้าว ซึ่งรัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณให้เริ่มดำเนินการได้แล้วตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยมีทั้งโครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแปลงใหญ่ และโครงการผลิตข้าวอินทรีย์ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อไร่และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ การผลิตข้าวของชุมชนให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ ส่วนที่สอง ได้แก่ การลดพื้นที่ปลูกข้าวสารถาวร ไม่ให้มีหนี้สินอีกต่อไป ไม่ใช่ห้ามปลูก ควรจะปลูกไว้แต่พอกิน ไม่ใช่ปลูกเพื่อขาย เพราะว่าถ้าหากว่าไม่มีคุณภาพ ราคาก็ตก ต้องลด Supply ลงบ้าง เพราะว่าการลดรอบการปลูกข้าว หรือลดพื้นที่นาปรังลงในพื้นที่ที่ไม่ได้ผล ไม่มีคุณภาพ อาจจะทำให้มีรายได้สูงขึ้นโดยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองบ้าง โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณสำหรับการดำเนินงาน ซึ่งถือเป็นอีกด้านของการวางแผนการผลิตข้าวแบบครบวงจร โดยในส่วนนี้รัฐบาลได้วางแผนให้มีโครงการเพื่อสนับสนุนทั้งสิ้น 3 โครงการ โดยมีเป้าหมาย เป็นพื้นที่ 1.23 ล้านไร่ ในวงเงินงบประมาณ 4,900 ล้านบาทดังต่อไปนี้ โครงการแรกคือ โครงการปลูกพืชอาหารสัตว์ทดแทนนาข้าว โดยกรมปศุสัตว์ มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกพืชอาหารสัตว์ทดแทนการปลูกข้าว สำหรับจำหน่ายและใช้เลี้ยงปศุสัตว์ของตนเอง โดยมีเป้าหมาย 77 จังหวัด คิดเป็นพื้นที่ 630,000 ไร่ วงเงินงบประมาณ 3,800 ล้านบาท เป็นการสนับสนุนค่าปัจจัยการผลิตพืชอาหารสัตว์ ไร่ละ 6,000 บาท กำหนดครัวเรือนละไม่เกิน 15 ไร่ ซึ่งจะเป็นการแบ่งจ่าย 3 ปี ๆ ละ 2,000 บาท นอกจากนี้ จะมีการถ่ายทอดความรู้การปลูกพืชอาหารสัตว์ ตลอดจนให้คำแนะนำด้านการจำหน่าย เพื่อสนับสนุนพี่น้องเกษตรกรได้อย่างครบวงจรอีกด้วย โครงการที่สองคือ โครงการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 โดยกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อลดรอบการทำนา และให้ชาวนาได้เรียนรู้การเพาะปลูกพืชอื่น รวมทั้งสร้างรายได้ที่สูงกว่าการปลูกข้าว เป้าหมาย 53 จังหวัดในพื้นที่ 400,000 ไร่ วงเงินงบประมาณ 865 ล้านบาท เพื่อใช้สนับสนุนการปลูกพืชทดแทนไร่ละ 2,000 บาทกำหนดครัวเรือนละไม่เกิน 15 ไร่ รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชทดแทนให้แก่ชาวนาควบคู่ไปด้วย โครงการที่สามคือ โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561 โดยกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อลดอุปทานข้าวเปลือก โดยการปลูกพืชปุ๋ยสดทดแทนในนาข้าว และเพิ่มประสิทธิภาพการปรับปรุงบำรุงดินและตัดวงจรศัตรูพืช ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมาย 22 จังหวัด คิดเป็น 200,000 ไร่ วงเงินงบประมาณ 230 ล้านบาท ในการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืช ปุ๋ยสด ค่าไถเตรียมดิน และค่าไถกลบไร่ละ 1,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 15 ไร่ ซึ่งก็จะมีการถ่ายทอดความรู้การปลูกพืชปุ๋ยสดให้แก่ชาวนาเช่นกัน ทั้งนี้ ผมหวังว่าการแก้ไขปัญหาและสนับสนุนการเพาะปลูกแบบครบวงจร ให้กับพี่น้องประชาชนครั้งนี้ จะช่วยปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกของประเทศไทย ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และภูมิอากาศในระยะยาวได้ ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นคงทางรายได้ที่ยั่งยืนให้กับพี่น้องเกษตรกรและลูกหลานต่อไป สำหรับพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศ ทั้ง 6 ประเภทนั้น เราควรต้องมาทบทวนกันใหม่แล้วว่าปัญหาสำคัญอยู่ที่ใด (1) มีการปลูกเกินความต้องการของตลาด มีการปลูกในพื้นที่บุกรุก ผิดกฎหมายหรือไม่ (2) มีการลงทุนเสียหายหลายครั้ง จากน้ำท่วม ฝนแล้ง คุณภาพดิน พื้นที่ไม่เหมาะสมกับกาเพาะปลูกพืชบางชนิด หรือไม่ (3) มีความต้องการทำให้ราคาสูงขึ้น ซึ่งเป็นความเดือดร้อนของเกษตรกรที่รัฐบาลเข้าใจดี แต่เราต้องคำนึงถึงประเด็นอื่น ๆ ด้วย เช่น พันธะสัญญาระหว่างประเทศ ตลาดร่วม ตลาดค้าโลก หรือระบบการค้าเสรี ที่นอกเหนือการควบคุม ทำให้เราไม่สามารถจะกำหนดราคาเองได้มากนัก เว้นแต่เราจะสามารถสร้างความแตกต่างในผลผลิตของเราให้ได้ มีคุณภาพ มีเอกลักษณ์ แข่งขันราคาได้ หรือไม่ อย่างไร เราจึงต้องมาดูเรื่องเกษตรอินทรีย์ นวัตกรรม การวิจัยและพัฒนา การผลิตเอง ใช้เอง และส่งออก การสร้างมูลค่าเพิ่ม มากกว่าการขายที่เน้นปริมาณ หรือขายในลักษณะเป็นวัตถุดิบ เหล่านี้เป็นต้น ประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ หากเราไม่เข้าใจ ไม่ทบทวนตัวเอง หรือได้รับข้อมูลที่ผิดพลาด ก็อาจจะมีผลทางจิตวิทยา และความเชื่อมั่นในทางลบ กลับกลายเป็นว่ารัฐบาลและ คสช. เพิกเฉยไม่ดูแล ไม่ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร ซึ่งเป็นไปไม่ได้สำหรับรัฐบาลนี้ ไม่อยากให้มาซ้ำเติมปัญหาของพี่น้องเกษตรกร ซึ่งมีความทุกข์ร้อนใจอยู่มากมายอยู่แล้วในขณะนี้ ขอให้ทุกคนได้เข้าใจให้ตรงกัน ร่วมมือแก้ไขกันตั้งแต่ต้นทาง (เกษตรกร การผลิต) กลางทาง (การแปรรูป สร้างนวัตกรรม สร้างมูลค่าเพิ่ม) และปลายทาง คือการตลาด การจับคู่ธุรกิจ ทั้งภายในและนอกประเทศ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ปัญหาการบุกรุกป่า 1.6 ล้านไร่ ไม่ใช่เป็นเพียงปัญหาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาด้านเศรษฐกิจ คือมีปริมาณการผลิตที่เกินความต้องการตลาด อย่างไร้การควบคุม ทำให้ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ตามกลไกตลาด ส่งผลต่อปัญหาด้านสังคมและความมั่นคงตามมาอีกด้วย ทั้งนี้ ที่ตรวจสอบพบเป็นการบุกรุกปลูกข้าวโพด 9 แสนกว่าไร่ ในปีนี้ได้ทวงคืนได้แล้วประมาณ 4 หมื่นกว่าไร่ จากเป้าหมาย 8 หมื่นไร่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย ผลที่ได้นี้ ถือว่าน่าพอใจ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยทำ ปล่อยปละละเลย แต่หากเราทำได้ในอัตราดังกล่าว คงจะต้องใช้เวลาในการทวงผืนป่าที่บุกรุกคืนนับ 10 ปี แบบนี้ปัญหาก็ไม่ได้รับการแก้ไขแบบเบ็ดเสร็จ ในระยะเวลาอันใกล้ เพราะหากเราควบคุมปริมาณการผลิต จากการบุกรุกไม่ได้ ก็คงแก้ปัญหาที่ต้นทางได้ไม่เรียบร้อย ปัญหาที่ปลายทาง ก็คือเรื่องปริมาณและราคา ยังคงวนเวียนอยู่ทุก ๆ ปี ซึ่งรัฐบาลและ คสช. ก็ไม่ได้ละความพยายาม ใช้ทั้งหลักนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในการแก้ปัญหาในเรื่องของการบุกรุกดังกล่าว เราจะต้องดูแลคนเหล่านั้นด้วย นำคนออกมาหาที่ทำกินในพื้นที่ถูกกฎหมาย หางาน สร้างอาชีพ ซึ่งหลายคนอาจจะไม่อยากจะเปลี่ยน แปลงตัวเอง เราจำเป็นต้องใช้มาตรการอื่น ๆ ด้วย คู่ขนานเสริมกันไป เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืช การใช้เทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน เป็นต้น ไม่อยากให้ใครหยิบฉวยไปเป็นประเด็นทางการเมือง หรือขับเคลื่อนเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองในอนาคต บนความทุกข์ใจของประชาชนอีกต่อไป ตัวอย่างการแก้ปัญหา Demand Supply คือการผลิตและความต้องการ ที่ไม่สมดุล เราจะต้องมีการจัดพื้นที่ให้เหมาะสมนั้น สำหรับบางผลผลิตที่มีความคุ้มค่า ขายได้ราคา ตรงความต้องการของตลาด เราควรจะใช้พื้นที่ที่ ดีที่สุด มีน้ำเพียงพอ ไม่ท่วม ไม่แล้ง แล้วดินดี เพื่อการปลูกข้าวพันธุ์ ดีที่สุด หรือพืชชนิดอื่นที่ดีที่สุดเช่นกันเพื่อสำหรับขาย หรือส่งออก ในราคาสูง ส่วนพื้นที่ไม่ดีเท่าที่ควร ให้ผลผลิตน้อย ไม่ควรปลูกในปริมาณมาก ควรปลูกไว้กินเองข้าว ถ้าปลูกทุกพื้นที่ก็คุณภาพไม่ได้ ที่ปลูกไม่ได้ผลดีก็ไปปลูกอย่างอื่นอาจจะเปลี่ยนเป็นผลไม้บ้าง ทำปศุสัตว์บ้าง ปลูก พืชพลังงาน พืชผัก ตามที่หน่วยงานราชการแนะนำ ให้เหมาะสมกับน้ำ พื้นดินที่เรามีอยู่ ราคาก็จะดีขึ้นเอง ปัจจุบันเราก็นำเอาเทคโนโลยี “Agri map” เข้ามาช่วยด้วย แต่สำหรับผู้ที่ไม่มีธรรมาภิบาล ไม่เคยคิดถึงผลสัมฤทธิ์ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ไม่สนใจผลประโยชน์ส่วนรวม ดูแลแต่ผลประโยชน์ส่วนตน เป็นใหญ่ มีทั้งการบุกรุกพื้นที่ป่า มีการปล่อยปละละเลย มีการใช้น้ำมากเกินไป จนเกิดผลกระทบภาคการผลิตอื่น ๆ มีการเรียกร้องหลายอย่าง ผลผลิตก็ไม่มีคุณภาพ เป็นปัญหาต่อเนื่อง ลักษณะเช่นนี้ วันนี้เราคงปล่อยให้เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ต้องขออภัยประชาชนด้วย พี่น้องเกษตรกร ท่านต้องเข้าใจ ไม่เข้าใจก็เป็นแบบเดิม เรียกร้องก็ไม่ได้อะไรดีขึ้น ถ้าเราไม่ร่วมมือกันตั้งแต่วันนี้ เพราะมีผลกระทบคนอื่นไปด้วย รัฐบาลแก้ไขไม่ได้ทั้งหมด ในการนี้ประเทศไทยถือว่าเป็นความโชคดี ที่มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงพระราชทานแนวทางศาสตร์พระราชาไว้มากมาย และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโประกระหม่อมให้ทำต่อเนื่อง ไปในรัชกาลปัจจุบัน ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ให้มากที่สุด พี่น้องประชาชนที่รัก การประยุกต์ใช้ “ศาสตร์พระราชา” นั้น เป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่ง ในระยะที่ประเทศไทยกำลังพยายามจะเปลี่ยนผ่าน ไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง ประชาชนมีความสุข เราต้องสร้างความสมดุลในการใช้พื้นที่ ใช้ทรัพยากร ให้สมดุลกับการพัฒนาด้านอื่น ๆ ทั้งเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวม ทั้งการพัฒนาด้านการเกษตร ด้านอุตสาหกรรม รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทุกอย่างจะต้องเกื้อกูลต่อกัน ไม่กระทบซึ่งกันและกัน เราต้องเริ่มจากการพัฒนาจากภายใน จากภายในของเรากันเอง สร้างความเข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถ เติมเต็มไปด้วยการพัฒนาที่มาจากภายนอก เพื่อเชื่อมโยงห่วงโซ่ให้เกิดขึ้น โดยหลักการที่ว่า มีเหตุมีผล พอประมาณ มีภูมิคุ้มกันที่ดี ทุกอย่างจึงจะยั่งยืน สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญ ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา ได้แก่ (1) ความมั่นคง ความมีเสถียรภาพของประเทศนะครับ อย่างเช่นในปัจจุบัน (2) ความสงบสุขของสังคม และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน (3) ความเชื่อมโยงกันเป็น “ห่วงโซ่มูลค่า” ทางเศรษฐกิจทั้งในระดับฐานราก ปานกลาง และสูง จะต้องเกื้อกูลต่อกัน อย่าบอกว่าเอื้อประโยชน์ หรือผูกขาดอะไรทำนองนี้ เพราะเป็นกลไกของการค้าเสรี เพราะฉะนั้น เราทำอย่างไรให้เชื่อมโยงกันให้ได้ กระจายรายได้กันให้ได้สัดส่วนที่เป็นธรรมนะครับ ในเรื่องของรายได้ก็ขอร้องภาคธุรกิจเอกชนด้วย (4) การพัฒนาทางกายภาพ ด้วยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ ซึ่งสิ่งใหม่ ๆ เหล่านี้ จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม และดึงดูดการลงทุนในอนาคต และ (5) การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ด้วยการศึกษา ได้แก่ การสร้างคนรุ่นใหม่ ในทุกกิจกรรม ทุกกลุ่ม ทั้งที่จะต้องทำงาน ทั้งใน 1.0, 2.0, 3.0 และ 4.0 เราจะต้องพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน เกื้อกูลกัน อยู่ร่วมกันให้ได้ เราต้องคำนึงถึง ทั้งหลักวิชาการ และหลักในการปฏิบัติงานให้ได้จริง เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในอนาคตตามยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ ดังนั้น การขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ “ไทยแลนด์ 4.0” ด้วยศาสตร์พระราชานั้น เป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนต้องเข้าใจถึงแก่นแท้ของยุทธศาสตร์การพัฒนาก่อน คือคำว่า “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ว่าเราต้อง “เข้าใจ” ถึงอะไร เข้าใจทั้งคน เข้าใจทั้งพื้นที่ เข้าใจถึงปัญหา ความเป็นอยู่ ความคิด อัตตาลักษณ์เข้าใจทั้ง ต้องเข้าใจซึ่งกันและกันด้วย “การเข้าถึง” คือการรู้ในรายละเอียดของและต้นตอของปัญหาอย่างถ่องแท้ ทั้งปัจจัยภายใน ภายนอก ต้องสามารถแสวงหาวิธีการแก้ไข และนำไปสู่การขับเคลื่อนได้อย่างไร เราจะแปลงไปสู่การ “พัฒนา” ที่มีแบบแผน ที่ปฏิบัติได้จริงและประชาชนสมัครใจเข้าร่วมด้วย โดยสามารถกำหนดได้ว่า เราจะแก้ไขและพัฒนาได้มาก น้อยเพียงไร ตามกิจกรรมที่เรากำหนดไว้ ซึ่งต้องไม่ลืมหลักการสำคัญอีก 2 ประการคือ (1) การให้ความรู้ โดยเพิ่มกระบวนการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจ เกิดหลักคิด หลักการทำงานร่วมกัน–บูรณาการกัน ระหว่างผู้มีส่วนได้ – ส่วนเสียทั้งหมด ทุกภาคส่วน (2) การจัดสรรงบประมาณ ลงพื้นที่ ตามแผนงาน โครงการที่ครอบคลุม ทั้งในระดับฐานราก ชุมชน จังหวัด กลุ่มจังหวัดและภาค ที่จะต้องดำเนินการให้สอดคล้อง เชื่อมโยง เป็นเนื้อเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกัน ก็จะทำให้เกิด “ห่วงโซ่มูลค่า” แก่ทุกกลุ่มเป้าหมาย ทุกสาขาอาชีพ และทุกภาคการผลิต ทั้งนี้ สิ่งแรก ๆ ที่จะต้องทำ คือ การจัดกลุ่มงานให้เป็นหมวดหมู่ เป็นคลัสเตอร์ เช่น กลุ่มเกษตร กลุ่มอุตสาหกรรม ค้าขาย อิสระ และอื่น ๆ นั้น จะทำอย่างไร เราต้องพิจารณาให้เหมาะสมในแต่ละกลุ่ม เพื่อจะให้ได้รับประโยชน์จากแผนงาน โครงการนั้น ๆ ที่มีการใช้จ่ายงบประมาณลงไป เพราะว่าหากไม่เข้าใจหลักการทั้ง 2 ข้อกล่าวมาแล้ว การทำงานก็ไม่เกิดประสิทธิผล รายได้ก็ไม่กระจายไปสู่ทุกภาคส่วนนะครับ ไม่ทั่วถึง ไม่เท่าเทียม เช่นเดิม การพัฒนาใด ๆ ก็ตาม จำต้องคำนึงถึงศักยภาพของประชาชนในพื้นที่เป็นสิ่งสำคัญด้วย โดยมีข้อพิจารณาสำคัญ ตามศักยภาพของพื้นที่เป้าหมาย ทั้งกลุ่มจังหวัด จังหวัด ท้องถิ่น ชุมชน ดังนี้ (1) พื้นที่ของเรานั้นทั้งประเทศมีความเหลื่อมล้ำมาก บางส่วน ประเภทที่ 1 มีความเร่งด่วนอันดับแรก ในการเสริมสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานต่าง ๆ ทั้งถนนหนทาง น้ำ ไฟฟ้า โทรศัพท์พื้นฐาน อินเทอร์เน็ต เป็นต้น ให้อยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ และการประกอบอาชีพก่อน เพื่อสร้างโอกาส สร้างงาน สร้างรายได้ให้เกิดการติดต่อค้าขาย สัญจรไปมา ตลาดชุมชน และกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมอื่น ๆ ตามมาจนสามารถพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด (2) พื้นที่ที่พอมีศักยภาพอยู่แล้ว เราเพียงเข้าไปต่อยอด ส่งเสริมขีดความสามารถด้วยความรู้ ด้วยนวัตกรรม ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ชุมชน เช่น OTOP ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือปราชญ์ชาวบ้าน โดยหน่วยงานราชการ รัฐบาล ต้องแสวงหาความร่วมมือ และอำนวยความสะดวก ในการสร้างกลไกประชารัฐในแต่ละท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนให้มีการพัฒนา ตั้งแต่ “ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง”ตลอดห่วงโซ่การผลิต เพื่อเป็นการกระจายรายได้ (3) เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพเพียงพอ มีความสมบูรณ์ทางกายภาพอยู่แล้ว เราจะพิจารณาจากที่มีรายได้สูง พร้อมรองรับการขยายตัว อย่างเช่นพื้นที่อินทรีย์เหล่านี้ เป็นต้น การพัฒนาในทุกกิจกรรม ซึ่งรัฐบาลจะต้องมีแผนงาน โครงการลงไป ทั้งนี้ เพื่อจะผลักดันการพัฒนาไปสู่ระดับสูงสุด และเพื่อสร้างการเชื่อมโยงที่เกื้อกูลการพัฒนาในพื้นที่โดยรอบ ใกล้เคียง ไปพร้อม ๆ กันด้วย อาทิ การขยายข่ายถนน รถไฟฟ้า รถราง อุโมงค์ สะพาน ท่าเรือ ท่าอากาศยาน ทั้งนี้ หากเราสามารถแยกกลุ่มเป้าหมายที่เป็นพื้นที่จัดทำกิจกรรมให้เป็นหมวดหมู่ เป็นคลัสเตอร์ได้อย่างชัดเจน เราก็จะสามารถที่จะเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ที่เกื้อหนุนกันได้ ไม่ว่าจะเป็นต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ก็เหมือนกับการปลูกป่า ที่ย่อมประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้ต่าง ๆ นานาทั้งไม้ยืนต้น ไม้เถา ไม้เลื้อย ไปจนถึงพืชคลุมดิน ซึ่งต่างมีความสัมพันธ์ ซึ่งกันและกัน ตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาแนวความคิดในการบริหารงบประมาณยังคงไม่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างเต็มที่ ซึ่งที่ผ่านมาไม่ยั่งยืน เพราะเราจะหวังพึ่งเพียง “งบฟังก์ชั่น” ของแต่ละหน่วยงาน ที่ลงไปในพื้นที่ เพียงเท่านั้น ก็จะไม่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ อย่างที่ผมกล่าวไปแล้ว และก็ไม่สามารถสร้างความเชื่อมโยงกัน ในต่างพื้นที่ได้ อย่างที่มี 3 ประเภท เราจำเป็นต้องเชื่อมโยงเหล่านั้นเข้าด้วยกัน รัฐบาลนี้จึงจัดให้มีงบในการบูรณาการ ทั้งในมิติกิจกรรม เพื่อสร้างความเชื่อมโยง เพิ่มมูลค่า ส่งเสริมนวัตกรรม และในมิติพื้นที่ด้วย ตั้งแต่ระดับภาค กลุ่มจังหวัด จังหวัด ชุมชน จนถึงฐานรากด้วย ตัวอย่าง การขับเคลื่อนของกระทรวงพาณิชย์ ที่ต้องทำ “งานฟังก์ชั่น” ของกระทรวง และ “งานบูรณาการ” กับกระทรวงอื่น ๆ ในการดูแลเศรษฐกิจฐานราก ได้แก่ การช่วยเหลือเกษตรกร ด้านการตลาด ธุรกิจ SMEs สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน และสถาบันเกษตรกร ร่วมกับกระทรวงเกษตรไปด้วย เพราะเกษตรคือต้นทาง พาณิชย์คือกลางทาง และจัดหาตลาดคือปลายทาง เราก็จะมีกลไก “ประชารัฐ” ในการช่วยขับเคลื่อน “เศรษฐกิจชุมชน” ตามนโยบายรัฐบาลไปด้วย เพื่อให้เกิดการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และสร้างความเข้มแข็ง “อย่างยั่งยืน” ของประชาชน มากกว่าที่จะเรียกร้องแต่เพียงอย่างเดียว เราจะต้องให้การสนับสนุนโครงสร้างทางการค้าให้เอื้อต่อความเจริญเติบโตของท้องถิ่นแก่ผู้ประกอบการ ให้มีความรู้ในการบริหารจัดการ และมีการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ เป็นของตนเอง ซึ่งก็จะเป็นการส่งเสริมกลไกพาณิชย์จังหวัด เชื่อมโยงการพัฒนาต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เศรษฐกิจกลุ่มจังหวัด และอยู่ในกรอบของยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของประเทศ อีกด้วย ถ้าแต่ละกระทรวงทำแต่ของตัวเอง ก็ไม่สามารถจะไปบูรณาการกันได้ แล้วก็จะเกิดผลผลิตออกมาหรือผลงานออกมาที่ไม่เป็นรูปธรรมนัก ไม่มีประสิทธิผลในหลาย ๆ ด้าน วันนี้ที่กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการอยู่ อาทิ การจัดตั้งพาณิชย์ภูมิภาค ทั้ง 6 ภูมิภาคให้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์ซึ่งจะช่วยยกระดับผู้ประกอบการฐานรากและกลุ่มธุรกิจ SMEs Start-up ทุกระดับให้สามารถเพิ่มโอกาสช่องทางทางการตลาดและการขยายธุรกิจ การส่งเสริมและพัฒนาตลาดกลาง ตลาดประชารัฐเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคเอง และรองรับการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึง ประเทศอื่น ๆ ผ่าน “การจับคู่ทางธุรกิจ” และมีการเชื่อมโยง และขยายช่องทางการตลาด ให้กับเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ในการจำหน่ายผลผลิต และผลิตภัณฑ์แปรรูป ผ่านช่องทางตลาดต้องชม ศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชน (Farm Outlet) และ ตลาดเฉพาะสินค้า (Magnet Market) เป็นต้น พี่น้องประชาชนที่เคารพรัก ถ้าท่านติดตามรายการ“ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ในปัจจุบัน และ รายการ “”คืนความสุขให้คนในชาติ” รวมทั้ง รายการ “เดินหน้าประเทศไทย” และอื่น ๆ ของทางรัฐบาลและ คสช. มาอย่างต่อเนื่อง ท่านลองทบทวนดูว่าที่ผ่านมา มีรัฐบาลใดมาพูดถึงเรื่องต่าง ๆ ในหลาย ๆ กิจกรรม ทุกกิจกรรม ให้ฟังมากมาย ทั้งการแก้ปัญหา ทั้งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ปฏิรูปในปัจจุบัน แล้วไปสู่อนาคต ทุกคนจะต้องคาดหวังร่วมกัน รัฐบาลนี้ที่พูด ชี้แจง หวังแต่เพียงให้เข้าใจ ร่วมมือ ไม่ต้องการจะมาบิดเบือน หรือไปให้ร้ายใครทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม ก็มีฝ่ายบิดเบือน สร้างความไม่เข้าใจอีกต่อไป ขอให้ประชาชนช่วยทบทวนดูด้วย ลองติดตามดู ก็จะทราบถึงเจตนาของรัฐบาล คสช.นี้ ที่ต้องการจะมอบความรู้ สร้างความเข้าใจและ แสวงหาความร่วมมือ จากทุกภาคส่วน ในรูปแบบ “ประชารัฐ” อย่าแบ่งแยกแบ่งฝ่ายกันต่อไปอีกเลย โดยเฉพาะในช่วงการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ตลอดไป ผมมั่นใจว่าปัจจุบันคนไทยรู้จักคำศัพท์ใหม่ ๆ และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เป็นอย่างดี ไม่มากก็น้อย อาทิ ยุทธศาสตร์ชาติ การปฏิรูป ประชารัฐ เศรษฐกิจฐานราก การบูรณาการ “งาน - คน - เงิน” ไทยแลนด์ 4.0 รวมถึง 1.0, 2.0 และ 3.0 Smart Farmer ตลาดชุมชน - ตลาด Online การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การสร้างมูลค่าเพิ่ม ห่วงโซ่มูลค่า การพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และ EEC ความมั่นคงทางพลังงาน มหาอำนาจทางอาหาร บริการ การท่องเที่ยวศูนย์กลางทางภูมิภาคอาเซียน ไทยแลนด์ อาเซียน 1 Stronger together การเข้มแข็งไปด้วยกันและ Not let anyone behind โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และที่สำคัญที่สุด คือหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่สอดคล้องกับหลักการขององค์การสหประชาชาติ หรือ “SEP for SDG” ด้วย ทั้งนี้ ผมกำลังจะพูดถึง “ช่องทางการสื่อสาร” ของหน่วยงานภาครัฐ ที่รัฐบาลมีความพยายามอย่างต่อเนื่อง ในการพัฒนาทั้งรูปแบบ ทั้งวิธีการ หรืออะไรก็ตาม เพื่อ “เข้าถึง” ประชาชนทุกกลุ่ม หรือให้พี่น้องประชาชนทั้งหมดของประเทศ ได้รับทราบข่าวสารของทางราชการ บนพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่ต้องไปพึ่งพาช่องทางอื่น ที่อาจไม่ใช่ “คำตอบที่ดีที่สุด” หรือ “คำตอบสุดท้าย” ของสังคม โดยการศึกษาจากผลโพล ผลการประเมิน หรือคำติชมต่าง ๆ ผมก็รับฟังทุกค่าย เพื่อนำมาปรับปรุง “การประชาสัมพันธ์ภาครัฐ” อาทิ (1) สวนดุสิตโพล มีผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เกี่ยวกับการรับรู้ผลงานของรัฐบาล ก่อนแถลงผลงานรอบ 3 ปี ว่าประชาชนร้อยละ 54 พอรับรู้อยู่บ้าง จากสื่อต่างๆ ร้อยละ 20 รับรู้อย่างดี เพราะติดตามข่าวรัฐบาล และรายการของนายกรัฐมนตรีและร้อยละ 8 ไม่รับรู้เลย ไม่สนใจ เป็นต้น (2) ข้อมูลจากการศึกษาของ TNS ระบุว่า คนไทยที่เข้าชมยูทูปมากกว่าร้อยละ 71 เข้ามาดูมากกว่า 1 ครั้งในแต่ละวัน โดยร้อยละ 90 เข้าใช้งานทุกวัน และร้อยละ 61 ใช้เวลากับยูทูปมากกว่าทีวี คนไทยใช้ออนไลน์รวม 8.3 ชั่วโมงต่อวัน ถือว่ามาก เป็นการใช้ผ่านมือถือ 4 ชั่วโมง ใช้เวลาดูทีวี 2.3 ชั่วโมง เหล่านี้ เป็นต้น (3) รูปแบบสื่อ และโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ที่จะได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันจะมีลักษณะ เน้นการเล่าเรื่องราวมากกว่าขายของ เสริมด้วยเพลง ดนตรี และการใช้ผู้มีชื่อเสียง ดารา หรือผู้นำทางความคิด เป็นผู้นำเสนอ เป็นต้น ที่กล่าวมานั้น เป็นตัวอย่างข้อมูลที่เป็นโจทย์ให้งานประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล จำเป็นต้องปรับตัว เพื่อให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่พี่น้องประชาชนอย่างทั่วถึงและดีที่สุด ปัจจุบันนอกจากช่องทางสื่อสารเดิมที่เรารู้จักกันดีอยู่แล้ว รัฐบาลได้สร้างกลไกการประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมอีก อาทิ (1) เครือข่าย ID-IA-IR Chat ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงสื่อทุกประเภทของกรมประชาสัมพันธ์ ที่มีทั้งวิทยุ โทรทัศน์ สื่อออนไลน์ กับโฆษกรัฐบาล โฆษกกระทรวง องค์กรมหาชน และรัฐวิสาหกิจ ในการตอบประเด็นปัญหาสังคมทุกเรื่อง ทุกมิติ ที่เน้นความถูกต้อง ทันเวลา ภายใน 1 วัน หรือเร็วที่สุด โดยมีสํานักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) สนับสนุนในการปฏิบัติ ปัจจุบัน ได้เปิดให้บริการ Facebook ชื่อ “PAGE IR” เพื่อนำคำตอบ การไขข้อข้องใจ และรับฟังเสียงสะท้อนจากประชาชนโดยตรง เพิ่มเติมจากการสื่อสารผ่านเครือข่ายสื่อมวลชน ทุกแขนง จะได้เป็น “การสื่อสาร 2 ทาง” ผมก็หวังว่า จะเป็นแหล่งข้อมูลให้สื่อโซเชียล สื่อกระแสหลัก สามารถนำไปใช้อ้างอิง ขยายผล และลดความเข้าใจผิด ลดความขัดแย้งในสังคมได้ ในอนาคตด้วย อย่าไปเพิ่มมากกว่าเดิมก็แล้วกัน (2) เครือข่ายวิทยุกระจายเสียง หอกระจายข่าว วิทยุชุมชน ขอความร่วมมือ โดยกรมประชาสัมพันธ์ กสทช. และกระทรวงมหาดไทย จะทำงานร่วมกัน นอกจากการนำประเด็นใน IR Chat ดังกล่าวไปขยายผลให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ในแต่ละพื้นที่ อย่างปัจจุบันทันด่วนแล้ว ยังเป็นกลไกในการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาล ซึ่งบางครั้งก็เป็นเรื่องยาก แต่เล่าข่าวโดยคนในท้องถิ่น ด้วยภาษาถิ่น ก็จะทำให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น สำหรับการสื่อสารกันเองในหน่วยงานราชการ ผมเน้นการสร้างความเข้าใจให้กับข้าราชการทุกคน ทุกกระทรวง ทุกระดับ ในนโยบายต่าง ๆ เพื่อการนำไปสู่การปฏิบัติ จะต้องไม่มีอุปสรรค และต้องสามารถทำความเข้าใจพี่น้องประชาชนได้อย่างชัดเจน ได้สั่งการให้รัฐมนตรีและปลัดกระทรวง อธิบดีต่าง ๆ ได้เน้นย้ำให้ “ผู้บริหาร” ลงพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้าใจกับ “ผู้ปฏิบัติ” และประชาชนโดยตรง เลี่ยงการทำงานบนโต๊ะ เน้นการชี้แจง การสร้างการรับรู้ ให้มากที่สุด ให้ถี่ ให้ถึงทุกพื้นที่ ข้าราชการระดับล่างจะได้มีกำลังใจด้วย ทั้งนี้ ข่าวสารสำคัญในช่วงนี้คือ ภารกิจ “การสร้างความปรองดอง” ที่ทุกคนอยากทราบของรัฐบาลและ คสช. ผมอยากให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบความคืบหน้า และเชิญชวนให้มีส่วนร่วมคือ คณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ของ ป.ย.ป. จะจัด “เวทีสาธารณะ” เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากพี่น้องประชาชนทั่วประเทศอีกครั้ง ช่วงสัปดาห์หน้า วันที่ 17 – 20 กรกฎาคมนี้ รายละเอียด วัน เวลา และสถานที่ ตามหน้าจอ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน รวมทั้งจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ด้วย แล้วจะนำมาจัดทำ “ร่างสัญญาประชาคม” พี่น้องประชาชนที่สนใจก็ติดตามความคืบหน้าต่างๆ สามารถหาข้อมูลได้โดยตรงจาก Facebook ชื่อ “ปรองดองเป็นของประชาชน” โดยเวทีสาธารณะในครั้งนี้ นอกจากต้องการสร้างความตระหนักรู้แล้ว ยังจะเปิดรับฟังความเห็นเพิ่มเติมอีกด้วย ก่อนที่จะนำมาจัดทำเป็น “สัญญาประชาคม ฉบับสมบูรณ์” ผมได้สั่งการไปแล้วในสัญญาฉบับประชาคมนั้น จะต้องมีแนวทางในการปฏิบัติด้วย ไม่เช่นนั้นจะมีเฉพาะในเรื่องของนามธรรม ต้องมีอะไรที่จะร่วมมือกันบ้าง เช่น การปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ขัดแย้ง ไม่มีการใช้อาวุธ อะไรต่าง ๆ ทำนองนี้แนบไปกับสัญญาประชาคมด้วย ถ้าเซ็นต์กันแล้วก็ต้องไม่เกิดความวุ่นวายสับสนอลม่านเมื่อเช่นที่ผ่านมาก่อนปี 57 และเราจะมีการแถลงอย่างเป็นทางการต่อไป ทั้งนี้ เป็นเสมือนการกระตุ้นจิตสำนึกความเป็นไทย ความรักชาติ และสัญญาทางใจว่า เราจะอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างไร เราจะร่วมกันสร้างสังคมที่เข้มแข็ง สังคมที่มีสันติสุขของเราได้อย่างไรในอนาคต ประชาชนเป็นผู้กำหนดตรงนี้ไม่ใช่นักการเมือง สุดท้ายนี้ เรื่องการศึกษา มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านในการปฏิรูปของเรา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานไว้มากมาย รัฐบาลยังคงน้อมนำมาขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง กอปรกับพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ที่ทรงพระกรุณา พระราชทานเพิ่มเติมว่า การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้านคือ (1) ทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง (2) พื้นฐานชีวิต อุปนิสัย ที่มั่นคงเข้มแข็ง มีคุณธรรม (3) มีอาชีพ มีงานทำ และ (4) เป็นพลเมืองดี ซึ่งศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ได้บรรยายให้กับผู้บริหารของมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2560 ผมขอให้ทุกคนและทุกหน่วยงาน รวมทั้งเน้นย้ำให้คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา ได้น้อมนำไปขับเคลื่อน อย่างบูรณาการด้วย ทั้งนี้ ผมอยากจะฝากถึงเด็กเยาวชนไทยคือ เรื่องพฤติกรรมรักการอ่าน คุณพ่อคุณแม่อย่าคิดว่ารอให้เด็กอ่านออกเองแล้วค่อยสนับสนุนให้ลูกอ่านหนังสือ แบบนี้ช้าไปแล้ว นิสัยรักการอ่านต้องปลูกฝังตั้งแต่เด็ก ยิ่งเล็กยิ่งได้ผล บางครอบครัวผมเห็นเขาอ่านให้ลูกฟังตั้งแต่อยู่ในท้อง เมื่อโตขึ้น อ่านหนังสือออก เขาก็จะกลายเป็นเด็กที่รักการอ่าน รักการแสวงหาความรู้ มีสมาธิ และจินตนาการ เพราะการอ่านหนังสือเด็กต้องตั้งใจค่อย ๆ คิดตามเนื้อเรื่อง พ่อแม่บางคนอาจบอกว่าไม่มีเวลา ต้องทำมาหากิน ผมก็เข้าใจ แต่ถ้าเรารักลูกหลาน ไม่ให้เขามีปัญหาในอนาคต เราต้องพยายามจัดสรรเวลาให้ได้ ไม่ต้องมาก อาจจะอ่านให้เขาฟังวันละ 5-10 นาที ทุก ๆ วัน เท่านั้นเอง ให้ลูกหลานติดหนังสือ ดีกว่าไปติดเกม ติดมือถือแล้วเราไปแก้ไขไม่ได้เมื่อเขาโตขึ้น ผลลัพธ์ในที่สุด เขาก็จะเติบโตขึ้นเป็นคนมีความคิด มีความรู้ เป็นทรัพยากรที่ดีของชาติในอนาคต ทุกประเทศแข่งขันกันในที่การมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญอย่างหนึ่งว่า ประเทศนั้น ๆ จะเจริญก้าวหน้าได้เพียงใด ผมอยากฝากข้อความเหล่านี้ถึงคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองทุกครอบครัวด้วย ผมขอแสดงความยินดีและชื่นชม “น้องจีน” ด.ญ.อาฒยา ฐิติกุล นักกอล์ฟมือสมัครเล่นของไทย โดยสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศในการแข่งขันรายการ “เลดี้ ยูโรเปียนไทยแลนด์ แชมเปี้ยนชิป” ณ เมืองพัทยา จ.ชลบุรี นับว่าผู้ชนะการแข่งขันกอล์ฟอาชีพที่อายุน้อยที่สุดในโลก เพียง 14 ปี ก็เป็นบทพิสูจน์ว่า ความสามารถไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุ แต่ขึ้นอยู่กับการสนใจใฝ่เรียนรู้ มั่นฝึกฝนและพัฒนาตนเอง ด้วยความมีวิริยะอุตสาหะอย่างสม่ำเสมอ ที่ผ่านมา น้องจีนมีแรงบันดาลใจจากรุ่นพี่ เช่น โปรเม เอริยา เป็นแรกผลักดันให้ประสบความสำเร็จ ผมชื่อว่าน้องจีนก็กลายเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจของเด็กไทยอีกหลายต่อหลายคน กีฬาหลายประเภท ผมขอชื่นชมกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ขอบคุณสมาคมต่าง ๆ วันนี้มีนักกีฬาของเราหลายประเภทได้รับรางวัล ไม่ว่าจะเป็น โปโลน้ำ เทควันโด แบดมินตันและอะไรต่าง ๆ ถึงแม้ว่าจะไม่ชนะเลิศแต่เราได้เข้าไปแข่งขันก็ไม่ได้เสียชื่อ ขอเป็นกำลังใจให้ต่อไป คนไทยทุกคนเป็นกำลังใจ ทั้งที่ผมกล่าวถึงและยังไม่ได้กล่าวถึง อาจจะหลงลืมไปบ้าง แต่ผมได้ให้โฆษกรัฐบาลชื่นชมไปแล้วในข่าวสารประจำวัน ผมขอขอบคุณและขอให้ทุกคนมีความสุข ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ อย่าทานเหล้า ในช่วงนี้เพราะเป็นช่วงเข้าพรรษา ลองหยุดดูอาจจะดีขึ้น หยุดทานเหล้า หยุดสูบบุหรี่ 3 เดือนตลอดไป สวัสดีครับ
14 ก.ค. 2560
รมว.เกษตรและสหกรณ์ลงพื้นที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ติดตามความก้าวหน้าโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อฯ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ติดตามความก้าวหน้าโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อภายใต้ร่มพระบารมีเพื่อพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน พร้อมเตรียมอนุมัติเงินงบประมาณวงเงินกว่า 149 ล้านบาทแก่โครงการที่ผ่านการพิจารณา จำนวน 236 โครงการ ในสัปดาห์หน้า พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อภายใต้ร่มพระบารมีเพื่อพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ตำบลหินมูล อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เพื่อรับฟังบรรยายสรุปความก้าวหน้าการดำเนินโครงการฯ พร้อมพบปะเกษตรกรและเยี่ยมชมพื้นที่ดำเนินโครงการฯ ซึ่งในพื้นที่จังหวัดนครปฐม แบ่งเป็น 132 ชุมชน จาก 106 ตำบล 930 หมู่บ้าน โดยมีการเสนอ 236 โครงการ วงเงิน 149 ล้านบาท ขณะนี้สำนักงบประมาณเขต หรือ CBO เห็นชอบงบประมาณแล้วทั้ง 236 โครงการ โดยมีเกษตรเกษตรกรได้รับประโยชน์จากโครงการ 50,635 ราย จาก 138,991 ราย คิดเป็นร้อยละ 36.43 เกษตรกรในชุมชนได้รับประโยชน์รายได้เฉลี่ย 1,226.60 บาทต่อราย สำหรับกิจกรรมที่ทางชุมชนเสนอเข้าร่วมโครงการฯ จะเน้นความต้องการและความพร้อมของชุมชนเป็นสำคัญ อาทิ โครงการทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวา โครงการทำขนมจีนจากข้าวแปลงใหญ่ และโครงการเลี้ยงปลานิล เป็นต้น พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สำหรับการลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อภายใต้ร่มพระบารมีฯ ที่จังหวัดนครปฐมในครั้งนี้ มีโครงการหลักที่สำคัญคือการแก้ไขปัญหาผักตบชวาที่เป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชนมาทำเป็นปุ๋ยหมักเพื่อแจกจ่ายแก่สมาชิกและจำหน่ายในพื้นที่ อีกทั้งโครงการที่นำข้าวจากนาแปลงใหญ่มาทำเป็นขนมจีน ซึ่งเป็นโครงการที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการเพิ่มมูลค่าในการขายข้าวจากปกติ 100 กิโลกรัม จะขายได้ไม่เกิน 1,500 บาท หากนำมาทำขนมจีน จะสามารถขายได้ถึง 5,000 บาท หลังจากนั้นจะนำเงินรายได้มาตั้งเป็นกองทุนในการดำเนินโครงการต่อไป ซึ่งวัตถุประสงค์ที่สำคัญของโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อภายใต้ร่มพระบารมีเพื่อพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน คือ ความต้องการที่เกิดจากชุมชนจริงๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์และรายได้ สามารถนำไปเงินใช้หมุนเวียนดำเนินโครงการได้อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการใช้วัสดุภายในพื้นที่ เพื่อให้ผู้ที่ดำเนินโครงการอื่นๆ ได้รับประโยชน์ร่วมกัน ทั้งนี้ ในส่วนของจังหวัดนครปฐมที่ได้รับการอนุมัติ จำนวน 236 โครงการ คาดว่าในช่วงสัปดาห์หน้าจะสามารถดำเนินการจ่ายเงินผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ให้แก่ทุกชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ จึงขอให้คณะกรรมการบริหารจัดการโครงการมีความเข้มแข็งและดำเนินงานด้วยความโปร่งใสสุจริต เพื่อให้โครงการเกิดความยั่งยืนและกระจายไปสู่ประชาชนในชุมชนที่คัดเลือกได้อย่างทั่วถึงอีกด้วย
14 ก.ค. 2560
นายกรัฐมนตรีติดตามความคืบหน้าการดำเนินการจัดสร้างพระเมรุมาศและอาคารประกอบ
นายกรัฐมนตรี ตรวจติดตามความคืบหน้าการดำเนินการจัดสร้างพระเมรุมาศและอาคารประกอบ พร้อมขอบคุณคณะทำงานของทุกภาคส่วน ยืนยัน การก่อสร้างทุกอาคารแล้วเสร็จตามกำหนดในเดือนกันยายน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการอำนวยการงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยพลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุมาศ และคณะตรวจติดตามความคืบหน้าการดำเนินการจัดสร้างพระเมรุมาศและอาคารประกอบ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บริเวณท้องสนามหลวง ซึ่งในการตรวจติดตามความคืบหน้า นายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่างานทุกอย่างจะแล้วเสร็จตามกำหนดในเดือนกันยายนนี้ ก่อนที่จะตรวจสอบความเรียบร้อยทั้งหมดอีกครั้ง นายกรัฐมนตรีได้แสดงความขอบคุณทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน จิตอาสาและผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ที่ช่วยกันทำงานอย่างบูรณาการ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องภาคภูมิใจโดยงานพระราชพิธีถือเป็นเอกลักษณ์ของประเทศ ที่ผู้แทนจากหลายประเทศทั่วโลกเฝ้ารอที่จะเข้าร่วมงานพระราชพิธี เพราะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีความสำคัญกับประเทศไทยและกับคนทั้งโลก จากพระราชกรณียกิจเพื่อมนุษยชาติมากมาย โดยเฉพาะหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสถาบันพระมหากษัติรย์ ให้คนไทยได้อยู่บนแผ่นดินใต้ร่มพระบารมี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานศาสตร์การพัฒนาไว้ และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงมีพระราชดำริให้ยึดถือศาสตร์การพัฒนา เป็นแนวทางในการปฎิบัติงานสืบไป พร้อมขอให้ทุกคนได้ร่วมกันรักษาสิ่งที่ดีไว้ นายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่าได้ให้แนวทางกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สำหรับการเตรียมความพร้อมในทุกด้าน เช่น แผนเผชิญเหตุต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานทุกอย่างผ่านไปด้วยความราบรื่นและเชื่อว่าด้วยพระบุญญาบารมีจะทำให้งานทุกอย่างผ่านไปด้วยความเรียบร้อย
12 ก.ค. 2560
ทางรอดประมงยุคใหม่ ใช้หญ้าเลี้ยงปลา ต้นทุนลด 80% ได้ปลาเนื้ออร่อย
ในปัจจุบันกลุ่มผู้เลี้ยงปลาในหลายพื้นที่ของจังหวัดเชียงราย ต่างหันมาใช้หญ้าเพื่อเลี้ยงปลาแทนการใช้หัวอาหารและอาหารปลาที่วางจำหน่ายตามร้านกันอย่างแพร่หลาย โดยชาวบ้านมีทั้งปลูกและซื้อขายหญ้าดังกล่าวด้วยกันเอง จากนั้นนำหญ้ามาบดปั่นแล้วผสมกับส่วนผสมอื่นๆ หรือบางครั้งนำหญ้าทั้งต้นและใบวางซ้อนในบ่อปลาสลับกับมูลวัว ก็พบว่าปลาต่างเข้าไปตอดกินหญ้าดังกล่าว ซึ่งวิธีการดังกล่าวช่วยให้ต้นทุนลดต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด และการนำหญ้ามาเลี้ยงปลาก็กลายเป็นเรื่องปกติและหญ้าก็กลายอาหารหลักของกลุ่มผู้เลี้ยงปลาในจังหวัดเชียงราย ไปในที่สุด ล่าสุดนายอมร พุทธสัมมา ประมงจังหวัดเชียงราย ได้นำงบประมาณกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 เข้าไปสนับสนุนชาวบ้านหลายกลุ่มในการนำหญ้ามาเลี้ยงปลาเพื่อลดต้นทุน โดยมีการเปิดโรงเรียนเลี้ยงปลาแบบลดต้นทุนประชารัฐเชียงราย ส่งเสริมการปลูกหญ้าในพื้นที่เพื่อเลี้ยงบ่อปลาอย่างเพียงพอ เพราะจังหวัดเชียงรายมีผู้เลี้ยงสัตว์น้ำรวมกันกว่า 14,097 ราย เนื้อที่เลี้ยงรวมกัน 15,092 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นปลานิล 9,503 ราย ปลาดุก 2,106 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในเขต อ.เชียงแสน อ.พาน โดยเฉพาะ อ.พาน มีผู้เลี้ยง 1,063 ราย เนื้อที่เลี้ยง 2,377.92 ไร่ อ.เชียงแสน 745 ราย เนื้อที่ 2,490.76 ไร่ ฯลฯ ประมงจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า หญ้าที่ชาวบ้านนำมาเลี้ยงปลาดังกล่าวคือ "เนเปียร์ ปากช่อง 1" ซึ่งตนเองได้คิดสูตรเพื่อให้นำมาเลี้ยงปลาได้ด้วยสูตร 6:4:1 คือ หญ้า 6 ส่วน รำข้าว 4 ส่วนและหัวอาหาร 1 ส่วน เมื่อนำมาบดผสมกันเป็นอาหาร พบว่าปลากินดีมากและช่วยลดต้นทุนค่าซื้ออาหารเลี้ยงปลาที่วางจำหน่ายในตลาดทั่วไป เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26 บาท แต่ถ้าเลี้ยงด้วยหญ้านี้จะเหลือเพียงกิโลกรัมละ 6 บาท นอกจากนี้ยังสามารถนำหญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1 มาวางในบ่อปลาเป็นชั้นๆ เรียกกันจนคุ้นเคยว่า "ขนมชั้น" โดยใช้หญ้า 80 กิโลกรัม 3 ชั้น และมูลวัว 40 กิโลกรัม 2 ชั้น ใส่สลับกันไปในคอกไม้ไผ่ขนาด 2 คูณ 4 เมตร ใช้ไร่ละ 1 คอก ก็จะทำให้ปลาสามารถกินเป็นอาหารได้ตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ ทำให้เกิดไรแดงและหนอนแดงที่เรียกหอยและกุ้งในบ่อปลาเพิ่มเป็นจำนวนมาก สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ นอกเหนือจากขายปลาอย่างเดียวได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ "ผลพลอยได้จากการให้อาหารด้วยหญ้าและทำคอกหญ้าดังกล่าว นอกเหนือจากขายสัตว์น้ำคือทำให้น้ำไม่เน่าเสีย แตกต่างจากการให้อาหารปลาทั่วไปที่มักประสบปัญหานี้ โดยน้ำที่เลี้ยงด้วยหญ้าจะมีสีเขียวอ่อนๆ ตามธรรมชาติ นอกจากนี้ปลาที่เก็บได้ยังเหมือนปลาธรรมชาติ ไม่มีกลิ่นเหม็น เมื่อนำมาปรุงอาหารก็ไม่มีกลิ่นแตกต่างจากปลาเลี้ยงทั่วไปอีกด้วย ปัจจุบันกำลังส่งเสริมเพื่อให้เกษตรกรทราบถึงเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องแล้ว " ด้านนายจำเริญ ปันดอน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) โยนก อ.เชียงแสน และประธานกลุ่มผู้เลี้ยงปลาด้วยหญ้าเนเปียร์ปลาช่อง 1 กล่าวว่า พื้นที่มีจำนวน 8 หมู่บ้านประชากร 4,900 คน ส่วนใหญ่มีอาชีพเลี้ยงปลานิลขาย แต่ปรากฎว่าที่ผ่านมาชาวบ้านเสียค่าต้นทุนไปกับค่าซื้ออาหารเมื่อรวมกับต้นทุนอื่นๆ ก็แทบไม่ได้อะไรเลย ทำให้ชาวบ้านเกือบเอาตัวไม่รอด แต่เมื่อหันมาใช้หญ้าและได้รับการสนับสนุนจากโครงการในการจัดซื้อเครื่องโม่และผสมหญ้ากับส่วนผสมต่างๆ ตามสูตร 6:4:1 ณ สถานที่สาธารณะบ้านทุ่งฟ้าฮ่าม ต.โยนก ทำให้ชาวบ้านนำหญ้าที่ปลูกไปทำเป็นอาหารสัตว์กันทุกวัน สามารถลดต้นทุนได้มาก หากไม่มีโครงการนี้เกษตรกรคงอยู่ไม่ได้ เพราะปัจจุบันราคาปลานิลตกต่ำ แต่เมื่อต้นทุนต่ำตามเราก็สามารถอยู่ได้ นอกจากนี้หญ้าที่ใช้ปลูกเลี้ยงปลายังปลูกง่ายโดยปลูกได้ 30-45 วัน ก็สามารถตัดมาใช้ได้ ปลูกครั้งเดียวออกหน่อต้นได้นานถึง 7 ปี นางชฎาพร ออนเขียว ชาวบ้านร่องบง ต.โยนก กล่าวว่า ตนเองเลี้ยงปลานิลบนเนื้อที่ 8 ไร่ ปกติจะซื้ออาหารเลี้ยงปลามาใช้ครั้งละ 21 กระสอบๆ ละ 20 กิโลกรัม ต้องเสียเงินค่าซื้อกระสอบละ 300-500 บาท ทำให้ครั้งหนึ่งต้องซื้ออาหารปลาไม่น้อยกว่า 6,000-10,000 บาท แต่ปัจจุบันตนเองปลูกหญ้าเองและขนไปโม่และผสมที่โครงการทำให้มีต้นทุนครั้งละเพียง 1,350 บาท หรือถ้าหญ้าขาดแคลนก็หาซื้อกิโลกรัมละเพียง 1.50 บาท จึงขอบคุณโครงการมากที่ช่วยให้ตนเองลดต้นทุนลงได้อย่างมาก หากไม่มีโครงการนี้ก็ไม่รู้จะอยู่ได้อย่างไร ด้านนายสุรชัย วตะผาบ เจ้าของบ่อ "วังปลาคราฟ" บ้านปงอ้อ ต.แม่จัน อ.แม่จัน กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่สุดของการเลี้ยงปลาคือต้นทุนโดยตนเลี้ยงปลาชนิดต่างๆ ทั้งปลานิล ปลาดุก ปลาคราฟ ฯลฯ และจำหน่ายลูกพันธุ์ปลาด้วย ซึ่งเดิมต้องซื้ออาหารแพงมากกระสอบละกว่า 500 บาท ซื้อมาครั้งละ 10 กระสอบก็มากถึง 5,000 บาท ทำให้พวกเราเกือบอยู่ไม่ได้แล้ว ปัจจุบันจึงดีใจมากที่สำนักงานประมงจังหวัดเชียงราย ส่งเสริมการใช้หญ้ามาเลี้ยงปลาทำให้ต้นทุนต่ำ แต่คุณภาพดีปลาเติบโตดีและน้ำก็ไม่เสีย ทำให้สามารถอยู่รอดได้ นายคะนอง จิตวนา เจ้าของบ่อรุ่งโรจน์ฟาร์ม บ้านห้วยน้ำราก ต.จันจว้า อ.แม่จัน กล่าวว่า เนื่องจากตนเองเลี้ยงปลาบนเนื้อที่กว่า 23 ไร่และมีหลายบ่อ ทำให้ต้องใช้อาหารปลาวันละประมาณ 20 กระสอบหรือประมาณ 500 กิโลกรัม ซึ่งต้นทุนในอดีตแทบไม่ต้องพูดถึง เพราะทำให้เกือบเลิกกิจการ เนื่องจากประสบภาวะต้นทุนเกินรายรับ โดยมีอยู่ครั้งหนึ่งเคยคำนวนว่าใช้ต้นทุนไปประมาณ 400,000 บาท กว่า 80% คือ ค่าอาหารและเมื่อนำปลาขึ้นมาขายแล้วก็ปรากฎว่าต้องขาดทุนไปกว่า 150,000 บาท โชคดีที่ทางสำนักงานประมงจังหวัดเชียงราย แนะนำเรื่องการใช้หญ้ามาเลี้ยงปลา ตนเองจึงประสานกับกลุ่มเลี้ยงโคขอซื้อหญ้าของเขามาปั่นและผสมทำเป็นอาหารเอง ปัจจุบันยังเริ่มปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ตามบริเวณใกล้เคียงกับบ่อปลาแล้วทำให้ต้นทุนลดลงและสามารถอยู่ได้แล้ว การนำหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 มาเลี้ยงปลาดังกล่าวได้กลายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ไม่เคยปรากฎให้เห็นที่ไหนมาก่อน เพราะเดิมรู้จักกันแต่เพียงการนำหญ้าชนิดนี้ไปเลี้ยงสัตว์ประเภทโค กระบือ ฯลฯ แต่จากการศึกษาทางวิชาการของสำนักงานประมงจังหวัดเชียงราย และการสนับสนุนของจังหวัดเชียงราย โดยกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ได้ทำให้ชาวประมงน้ำจืดที่จังหวัดเชียงราย สามารถลืมตาอ้าปากได้จากภาวะต้นทุนแพงและยังได้ปลาคุณภาพดี ไม่มีกลิ่นเหม็นหรือคาวของปลาเลี้ยง จึงเป็นสิ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสมควรอย่างยิ่งที่จะนำไปขยายผลเพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ และทั่วประเทศต่อไป โดยไม่เห็นแก่ผลประโยชน์ทางธุรกิจกับกลุ่มทุนใหญ่ๆ อีกต่อไป
11 ก.ค. 2560
จ.อุทัยธานีฝนตกหนักต่อเนื่อง น้ำเอ่อล้นทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่นาข้าว
วันนี้ (11 ก.ค.2560) ที่จังหวัดอุทัยธานี จากการที่เกิดฝนตกติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้ำสะแกกรังและในเขตจังหวัดอุทัยธานี ทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำตากแดดเหนือเขื่อนวังร่มเกล้าเพิ่มขึ้น ประกอบกับแม่น้ำตากแดดรับมวลน้ำจากการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำคลองโพธิ์ อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ ส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนล่าสุดในเช้าวันนี้ปริมาณน้ำในแม่น้ำตากแดดที่ไหลผ่านพื้นที่ตำบลโคกหม้อ อำเภอทัพทัน ได้เอ่อล้นทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้กับริมตลิ่งในพื้นที่หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 กว่า 20 หลังคาเรือน ระดับน้ำท่วม 20 -40 ซม. และยังไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่นาข้าวที่กำลังตั้งท้องออกรวงในพื้นที่เดียวกันได้รับความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง ดังนั้น เขื่อนวังร่มเกล้าต้องเพิ่มการระบายน้ำ โดยยกประตูระบายน้ำทั้ง 3 บาน สูงขึ้นอีกจากการระบายน้ำก่อนหน้านี้สูงขึ้น เพื่อระบายน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 150.81 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่ยังไม่สามารถระบายน้ำได้ทั้งหมด หรือยกประตูระบายน้ำขึ้นสูงสุดได้ เนื่องจากพื้นที่ท้ายเขื่อนจะได้รับผลกระทบอย่างหนักไปด้วย ซึ่งยังคงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำตลอด 24 ชม. และเร่งประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงอพยพสิ่งของเครื่องใช้และเครื่องมือการเกษตรไว้บนที่สูงและปลอดภัย
07 ก.ค. 2560
รายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม 2560
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม 2560 เวลา 20.15 น. สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน สืบเนื่องจากสุดสัปดาห์นี้ เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา โดยในเทศกาล “วันอาสาฬหบูชา” ประจำปี 2560 นี้ นับเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง ที่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ได้เสด็จฯ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ในพิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทานและพิธีเจริญพระพุทธมนต์ งานสัปดาห์เผยแผ่พระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ รัฐบาลได้กำหนดให้ “วันเข้าพรรษา” ของทุกปีเป็น “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” ซึ่งปีนี้ ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม ที่จะถึงนี้ ผมอยากขอเชิญชวนพี่น้องประชาชน ได้ร่วมกันทำบุญ ทำกุศล ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม โดยการ “งดดื่มสุรา” เครื่องดองของเมา ตลอดห้วงเวลาเข้าพรรษา 3 เดือน นับจากนี้ หรือตลอดไป หากใครมีศรัทธาที่แรงกล้า มีความมุ่งมั่น ก็สามารถละเลิกการดื่มสุราตลอดไป ตลอดชีวิต ถือเป็นมหากุศล อย่างน้อยหากเลี่ยงไม่ได้ก็ขอให้เป็นการ “ดื่มอยากมีสติ” ส่วน “การดื่มเพื่อเข้าสังคม” นั้น ผมเห็นว่าเป็นสิ่งที่ล้าหลังไปแล้วสำหรับสังคมไทยในวันนี้ รวมความไปถึงการสูบบุหรี่ด้วย ทั้งนี้ พ.ร.บ.ยาสูบ “ฉบับใหม่” ที่รัฐบาลนี้ผลักดันเป็นกฎหมาย และมีผลบังคับใช้แล้ว เมื่อ 4 กรกฎาคม 2560 วัตถุประสงค์หลักคือ การป้องกันเยาวชนไม่ให้เป็น “นักสูบหน้าใหม่” การคุ้มครองสุขภาพบุคคลรอบข้างที่ไม่สูบบุหรี่ แต่ได้รับผลกระทบ “ทางอ้อม” รวมทั้งการควบคุมและเตือน “สิงห์นักสูบ” มิให้ฝ่าฝืนสูบบุหรี่ใน “เขตปลอดบุหรี่” ขอให้ช่วยกันดูแลด้วย ในการนี้ ผมขอเชิญชวนพี่น้องชาวไทย โดยเฉพาะพุทธศาสนิกชน ร่วมกันรักษา “ศีล 5” ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติพื้นฐานของชีวิต จะนำความเจริญมาสู่ผู้เคร่งครัดในการปฏิบัติ และเป็น “ประตูสู่ความเสื่อม” สำหรับผู้ที่ละเมิดศีลในแต่ละข้อ ทั้งการฆ่าสัตว์ ทำร้ายผู้อื่น การลักทรัพย์ การทุจริต การประพฤติผิดในกาม การพูดจาส่อเสียด โกหก บิดเบือน เลื่อนลอย และการดื่มสุรา ใช้ยาเสพติด ที่เราต้องละเว้น และเอาตัวออกห่างสิ่งเหล่านี้ด้วยนะครับ ทั้งนี้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ในปีนี้ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ “ทุกพระองค์” รวมทั้ง เพื่อความสงบสุขในสังคมไทยของเราด้วย พี่น้องประชาชนที่เคารพครับ เศรษฐกิจของประเทศ ห้วงที่ผ่านมา ในเดือนพฤษภาคม มีสัญญาณการขยายตัวต่อเนื่อง จากการส่งออกที่ขยายตัวได้ในระดับสูง ร้อยละ 13.2 การท่องเที่ยวเติบโตอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 3.3 คาดว่าเศรษฐกิจในไตรมาส 2 จะดีกว่าไตรมาสแรก และมีรายงานผลสำรวจความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติในไทย จาก BOI พบว่า ร้อยละ 35.7 มีแผนจะขยายการลงทุนในประเทศไทย และร้อยละ 62.5 จะเดินหน้าลงทุนในไทยตามแผนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ มีความเชื่อมโยงกันในทุกระดับ ซึ่งรัฐบาลก็ให้ความ สำคัญทั้งหมด และดำเนินมาตรการต่าง ๆ ไปพร้อม ๆ กัน โดยมุ่งหวังให้ส่งผลดีทั้งทางตรงและทางอ้อม แก่พี่น้องประชาชนทุกคน อย่างไรก็ตาม “หนี้สิน” ยังเป็นปัญหาปากท้อง ที่รัฐบาลไม่อาจละเลยได้นะครับ แต่เป็นจุดหมายของแทบทุกมาตรการของรัฐบาล ในการยกระดับคุณภาพชีวิต เพื่อปลดเปลื้องภาระให้กับพี่น้องประชาชนหลากหลายกลุ่ม ที่ต้องแบกรับมานาน จนทำให้ไม่สามารถจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวันได้เท่าที่ควร ปัจจุบัน “หนี้ครัวเรือน” ของประเทศไทย แม้ว่าจะลดลงมาอย่างต่อเนื่อง 5 ไตรมาส ติดต่อกัน แต่ยังอยู่ในระดับที่ยังต้องลดลงให้ได้อีก โดยข้อมูลล่าสุด เมื่อสิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2560 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนปรับลดลง จากร้อยละ 79.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 78.6 ของรายได้รวม ของประเทศ ในไตรมาสก่อน ทั้งนี้จากการสำรวจหนี้ครัวเรือนและประเมินจากข้อมูลที่มีอยู่ พบว่า (1) คนไทยเป็นหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย โดยคนอายุ 30 ปี กว่าครึ่ง มีภาระหนี้สินแล้ว โดยส่วนใหญ่เป็นหนี้จากสินเชื่อส่วนบุคคลหรือหนี้บัตรเครดิต (2) คนไทยเป็นหนี้มากขึ้น โดยเทียบกับปี 2552 คนไทยที่มีหนี้สินคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 20 แต่ในปี 2559 สัดส่วนนี้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 รวมถึงมูลค่าของยอดหนี้ที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า (3) คนไทยแบกหนี้มานาน เห็นได้จากพี่น้องประชาชนที่เข้าใกล้วัยเกษียณ แม้มีรายได้มากขึ้น เริ่มมีรายจ่ายฟุ่มเฟือยน้อยลง ไม่ต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถ แต่เห็นได้ว่าปริมาณหนี้ไม่ได้ลดลงตามไปด้วยเท่าไหร่ ทั้งนี้ ปัญหาหนี้ครัวเรือนนี้ ถือเป็นปัญหาที่สะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำของประเทศของประชาชน ที่ต้องเร่งขจัดปัดเป่าโดยเร็ว และถือว่าเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญที่รัฐบาลพยายามเดินหน้าแก้ไขมาโดยตลอด ให้มีแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้อย่างบูรณาการและยั่งยืน ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการดำเนิน การแก้ไขปัญหาหนี้ให้กับพี่น้องประชาชนในกลุ่มต่าง ๆ อาทิ กลุ่มแรก คือเกษตรกร ได้มีการรับขึ้นทะเบียนข้อมูลหนี้สินเกษตรกรในระดับหมู่บ้าน โดยเฉพาะหนี้ที่นำที่ดินไปประกันหนี้ และเกิดปัญหาความเดือดร้อน แยกเป็นหนี้ ทั้งในและนอกระบบสถาบันการเงิน ซึ่งมีเกษตรกรมายื่นคำร้อง กว่า 1 แสนราย มูลหนี้ราว 17,000 ล้านบาท สำหรับเกษตรกรที่มีหนี้ในระบบฯ รัฐบาลก็ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังกำหนดแนวทางให้การช่วยเหลือ เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ และการขยายระยะเวลาชำระหนี้ เป็นต้น ผลจากการทยอยไกล่เกลี่ย เพื่อช่วยปลดเปลื้องหนี้สินได้แล้ว ราว 3 พันราย มูลหนี้เกือบ 400 ล้านบาท กลุ่มที่สอง คือกลุ่มผู้มีรายได้น้อย มีการเพิ่มช่องทางการให้สินเชื่อหลาย ๆ ด้าน รวมทั้งเร่งแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ โดยรัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขและป้องกันปัญหาอย่างครบวงจร ในด้าน “เจ้าหนี้” ก็มีการดำเนินการอย่างจริงจังกับเจ้าหนี้นอกระบบที่ผิดกฎหมาย ขอให้เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วน ได้กวดขันด้วย อย่าให้มีโดยเด็ดขาด รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ ให้เจ้าหนี้มาร่วมไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ เข้ามาขออนุญาตดำเนินธุรกิจสินเชื่อในระบบให้ถูกต้อง นอกจากนี้ มีการบังคับใช้ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา สำหรับลูกหนี้ ได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยไกล่เกลี่ยหนี้ เพื่อให้เกิดมูลค่าหนี้ที่เป็นธรรม และให้ธนาคารของรัฐ พิจารณาสินเชื่อ เพื่อแก้ไขหนี้นอกระบบ ตามศักยภาพของลูกหนี้แต่ละราย ขณะเดียวกัน รัฐบาลให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็ง ความเป็นปึกแผ่น ของชุมชน หรือ “ระดับฐานราก” ของสังคมไทย โดยให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของสมาชิกในชุมชน ผ่านองค์กรการเงินชุมชนที่เข้มแข็งและมีศักยภาพ ควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พยายามเพิ่มช่องทางให้ลูกหนี้สามารถกลับมาเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ และการให้สินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน ที่สำคัญ ได้มีการสร้างกลไกในการพัฒนาและฟื้นฟูศักยภาพลูกหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้มีศักยภาพในการหารายได้และสามารถชำระหนี้ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้กลับไปเป็นหนี้นอกระบบอีก ซึ่งเป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการให้ความรู้ในการจัดทำ “บัญชีครัวเรือน” อย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างวินัยทางการเงิน เป็น “ภูมิคุ้มกัน” การเป็นหนี้ ตาม “ศาสตร์พระราชา” อีกด้วย กลุ่มสุดท้าย คือผู้ที่มีรายได้ประจำ แต่ยังมีภาระหนี้ล้นพ้นตัว ก็สามารถเข้าร่วมในโครงการ “คลินิกแก้หนี้” ที่มีการเปิดให้บริการแล้วในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เพื่อลดภาระการผ่อนชำระ และช่วยให้ประชาชนสามารถวางแผนการเงินที่เหมาะสม สร้างวินัยทางการเงิน ไม่ให้กลับมาเป็นหนี้ได้อีก โดยสรุปแล้ว รัฐบาลได้พยายามอย่างเต็มที่นะครับ ที่จะหามาตรการ ทั้งในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนควบคู่กันไปเสมอ เพื่อให้เกิดการขจัดปัญหาได้อย่างจริงจังในระยะยาว โดยทั้งนี้ต้องอาศัยการตระหนักรู้ และปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายของพี่น้องประชาชน เป็นปัจจัยสำคัญ เพราะว่าหากคนไข้เชื่อฟังหมอ กินยาตามกำหนด มีวินัยปฏิบัติตามคำแนะนำ และรู้วิธีป้องกันตนเองแล้ว ไม่เพียงจะหายป่วย แต่ร่างกายและจิตใจก็จะแข็งแรง มีแรง มีพลัง ต่อสู้ชีวิตได้อีก นี่คือ ปรัชญาที่เรียบง่าย จากการประยุกต์ “ศาสตร์พระราชา” ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งรัฐบาลนี้ ได้เน้นการช่วยให้พี่น้องประชาชน ให้มีการเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน สร้างโอกาส สร้างตลาด รวมไปถึงการให้ความรู้ ความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน เพื่อไม่ให้กลับไปมีหนี้สินล้นพ้นตัว ซ้ำเติมหนี้เดิม หรือก่อหนี้ใหม่ ผมก็หวังอย่างยิ่งนะครับ ว่าทุกฝ่ายจะช่วยกันทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ เราต้องแก้ไขไปด้วยกัน เพื่อจะแก้ไขปัญหาหนี้ครัวให้ได้ในระยะยาว เพื่อจะลดภาระของพี่น้องประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศร่วมกันอีกด้วย ถึงแม้ว่าจะมีมาตรการต่าง ๆ ออกมามากมายแต่ปัญหาขอเราคือว่า ทุกคนยังไม่สามารถจะเข้ามาอยู่ในระบบเหล่านั้นได้ ก็ต้องไปหาช่องทางว่าจะทำกันอย่างไร อย่างน้อยก็เริ่มต้นที่ตัวเราเองก่อน มิฉะนั้นแล้ว การที่รัฐบาลไม่ว่าจะออกมาตรการใดก็ตาม ไม่สามารถที่จะรองรับ หรือร่วมมือในมาตรการต่าง ๆ เหล่านั้นของรัฐได้ เลยกลายเป็นว่าเหมือนรัฐไม่ดูแล ประชาชนมีรายได้น้อยลง มีหนี้สินมากขึ้น อะไรทำนองนี้อย่างที่มีคนพูดกล่าวกันในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเรื่องจริง แต่เราจะทำอย่างไร ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงตัวเองเลย เรายังคงทำแบบเดิม คิดแบบเดิม ไม่เข้าไปอยู่ในห่วงโซ่ ไม่พัฒนาตัวเอง รัฐก็ช่วยอะไรไม่ได้มาก เพราะว่าเป็นการทำฝ่ายเดียว แล้วผลกระทบตรงนั้นจะเกิดขึ้นจากหลายส่วนด้วยกัน ขอให้ฟังรัฐบาลบ้าง ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองให้ดีขึ้น ระยะยาว ดีกว่าที่จะมุ่งเน้นในเรื่องของการช่วยเหลือไปตลอดเวลา ซึ่งเป็นไปไม่ได้ทั้งหมด จากผลสำรวจความสุขของเกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง 500 กว่าราย ทั่วประเทศโดยสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) มูลนิธิสถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำพบว่า “ความสุขมวลรวมของเกษตรกร” มีค่าเฉลี่ยสูงถึง 8.29 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนนไปพิสูจน์กันเองว่า จากโพลออกมาแล้วจริงหรือไม่จริงอย่างไร ทั้งนี้ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดมาจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ คนที่อยู่ในห่วงโซ่เหล่านี้ ก็สามารถจะมีรายได้ดีขึ้น ปรับตัวเอง มีการปรับเปลี่ยนการปลูกพืช มีการลดต้นทุนการผลิต มีการรวมกลุ่ม เหล่านี้ก็จะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าใครไม่เข้ามาในวงจรเหล่านี้เลย ก็ไม่เพิ่มขึ้นแน่นอน หนี้สินก็จะมากขึ้นเรื่อย ๆ วันนี้เราพยายามที่จะเพิ่มรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้สูงขึ้นหลายมาตรการด้วยกัน รายงานล่าสุดช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา สินค้าเกษตรของไทย มีมูลค่าการค้า ประมาณ 7.2 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยการส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญมูลค่ากว่า 5.5 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 ขณะที่การนำเข้ามูลค่ากว่า 1.6 แสนล้านบาท ลดลงร้อยละ 16 ส่งผลให้ไทยได้เปรียบดุลการค้า เกือบ 4 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 ต้องไปดูการส่งออกเพิ่มขึ้น การนำเข้าลดลง การพัฒนาในด้านนี้จะลดลงหรือไม่ ต้องไปใคร่ครวญกันให้ดีว่า เราจะมีมาตรการอย่างไรออกไป รัฐบาลก็ติดตามเรื่องนี้อยู่อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ สินค้าการเกษตรสำคัญของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นข้าว ยาง ปาล์ม ข้าวโพด มัน อ้อย ฯลฯ ต่อไปนี้ผมไม่อยากให้ทุกคนคิดว่า ราคาผลิตผลการเกษตรที่เรามีเป็นจำนวนมากนี้ จะมีโอกาสสูงขึ้นได้มากนักในอนาคต เพราะได้มีวิวัฒนาการต่าง ๆ มากมาย ในด้านอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารคน อาหารสัตว์ ซึ่งสามารถจะทดแทนกันได้ไม่จำเป็นต้องอาศัยพืชชนิดเดียวเช่น เดิม อย่างเช่นกรณี “ยาง” วันนี้บางประเทศ หรือบางอุตสาหกรรมก็สามารถผลิตยางรถยนต์ หรือยางอื่น ๆ ได้จากยางเทียม ที่ทำมาจากน้ำมันทดแทน ในช่วงที่ราคาน้ำมันดิบถูกลง โดยเรามีหนทางเดียวที่จะทำให้ราคาอยู่ในสภาพที่เกษตรกรไม่เดือดร้อนคือ การปรับตัว ผลจากการสำรวจกลุ่มเกษตรตัวอย่างที่กล่าวมาของ “ซูเปอร์โพล” พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ทำกินทางการเกษตรอย่างมีนัยสำคัญคือ การปลูกข้าวอย่างเดียว “ลดลง” จากร้อยละ 75.3 เหลือร้อยละ 57.8 ในขณะที่การปลูกข้าวกับพืชอื่น ๆ เช่น ทำไร่ ทำสวนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 15.5 เป็นร้อยละ 30.0 ทั้งนี้ การปรับตัวดังกล่าวนั้น ก็จะเป็นผลดีต่อภาคเกษตรกรรมของประเทศ หากเกิดขึ้นจริงในภาพรวมทั้งประเทศ โดยเฉพาะที่เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อย่างเช่น ลดพื้นที่ปลูกลง ลดต้นทุนการผลิต ผลิตตามความต้องการของตลาด เหล่านี้เป็นต้น นอกจากนี้ รัฐบาลต้องการให้พี่น้องเกษตรกรได้มีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ มีการบริหารจัดการและการรวมกลุ่มเองไม่ว่าจะเป็นเกษตรแปลงใหญ่ สหกรณ์ หรือวิสาหกิจชุมชนโดยใช้กลไก “ประชารัฐ” สอดแทรกในการดำเนินการ ตั้งแต่การปลูก การผลิต แปรรูป การตลาดด้วยตัวเองในตลาดชุมชน ตลาดออนไลน์ วันนี้ เรากำลังจัดทำโครงสร้างใหม่ทั้งหมด ที่จะเป็นการปฏิรูป เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งองค์ประกอบหลายอย่าง รวมไปถึงการวิจัย พัฒนา สร้างนวัตกรรม โดยเน้นการผลิตเพื่อใช้ และป้อนตลาดภายในประเทศก่อน สิ่งต่าง ๆ ต้องการการลงทุนจากเอกชนไทยและจากต่างประเทศ ซึ่งต้องมีการพิจารณาปัจจัยการผลิตอื่น ๆ ด้วยให้ครบวงจร ไม่ใช่เพียงวัสดุต้นทุนในประเทศเท่านั้น เช่น ยางพารา สิ่งที่เราต้องพิจารณา มีทั้งต้นทุนการผลิต ค่าแรง ค่าวัสดุต้นทุน คุณภาพ การตลาด การแข่งขันที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งไม่ง่ายอย่างที่นักการเมืองบางท่าน หรือบางพรรคออกมาพูด หรือกล่าวอ้างโจมตีรัฐบาลอยู่ในเวลานี้ เพราะว่าถ้าทำเช่นนั้นได้จริง ก็คงแก้ปัญหาได้นานแล้ว ปัญหาคงไม่สะสมมาจนถึงวันนี้ วันนี้เรากำลังทำในสิ่งใหม่ ที่จะแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้าง ตลอดห่วงโซ่การผลิต ก็ไม่อยากให้ใครดึงกลับไปจุดเดิม พี่น้องเกษตรกรต้องพิจารณาด้วยตัวเอง ที่ผ่านมา สิ่งหนึ่งที่อาจจะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของราคายาง คือการปลูกยางพารา 3 ล้านกว่าไร่ ในพื้นที่บุกรุก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่อาจจะทำให้ราคายางตก เพราะเรามียางเป็นจำนวนมาก อาจจะมากเกินไป การส่งออก ราคาก็ตก เพราะตลาดกลางก็มียางเป็นจำนวนมาก ต้องไปแข่งขันกันในตลาดโลก ตลาดกลาง เหล่านี้เราจะมากดดันกันภายในประเทศ คงทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นในประเทศเราจะทำอย่างไร สาเหตุหนึ่งที่มีการปลูกมากเกินไป ในพืชเกษตรหลายชนิดทำให้เกิดปัญหาราคาตกทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น ยาง ที่ปลูกในพื้นที่บุกรุก 3 ล้านกว่าไร่ ถ้าเราทำให้พื้นที่บุกรุกเหล่านั้น ไม่มีการกรีดยางอีกต่อไป ราคายางขึ้นแน่นอน เพราะยางจะลดลง วันนี้เราก็เห็นใจพี่น้องเกษตรกรที่เดือดร้อน ทั้งนี้ การกระทำใด ๆ ที่ผิดกฎหมาย รัฐบาลจำเป็นต้องมีนโยบายในการที่จะเปลี่ยนผ่านในช่วงนี้ เพราะฉะนั้นการที่ออกมาเรียกร้องในขณะนี้ แล้วมีการระดมกัน ปลุกกันว่าจะออกมากดดันรัฐบาล ผมไม่อยากให้เกิดกรณีเช่นนั้น เพราะถ้าหากว่ามีการกดดันรัฐบาลมากจนเกินไป รัฐบาลจำเป็นต้องใช้มาตรการทางกฎหมายคือ การห้ามกรีดยางในพื้นที่บุกรุกทั้งสิ้น ใน 3 ล้านกว่าไร่ แล้วพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางที่ยากจนจะทำยังไง เพราะฉะนั้น ขอให้ผู้นำเกษตรกร สมาคมยางต่าง ๆ ให้พิจารณาตรงนี้ด้วย เพราะว่าท่านทำให้คนเหล่านั้นเดือดร้อนไปด้วย ไม่ใช่โยนภาระทั้งหมดมาให้กับรัฐบาล ท่านก็รู้อยู่แล้วว่า ปัญหาของเราคือยาง เรามีจำนวนมากเกินไป การส่งเสริมการผลิตยางในประเทศนั้นไม่ใช่สิ่งที่ง่าย เพราะที่ผ่านมามุ่งไปแต่ส่วนการขายไปต่างประเทศ แล้วก็ไม่ได้เพิ่มในเรื่องของการใช้ยางในประเทศให้มากขึ้น วันนี้รัฐบาลพยายามส่งเสริม ไม่ให้เป็นการพึงพาการส่งออกมากจนเกินไปเหมือนในอดีต จนควบคุมไม่ได้ คราวนี้ในทุกกระทรวงสำรวจ จัดทำโครงการใช้ยางในทุกกิจกรรม ในภาพรวมของประเทศ คือการใช้ยางในส่วนราชการนั้น ไม่ใช่แต่เพียงว่า เอายางมา ซื้อยางมาจากเกษตรกร แล้วมาใช้ได้เลย ไม่ได้ ต้องมีการแปรรูป มีการนำสู่อุตสาหกรรม ถึงจะไปทำยางสนามกีฬา เสร็จแล้วก็ต้องไปทำการประมูลจัดซื้อจัดจ้าง ถึงจะใช้ได้ การทำถนนหนทางก็เช่นเดียวกัน วันนี้ใช้ได้ประมาณ 5-15% ในการที่จะใช้ผสมลงไป ซึ่งต้นทุนในการทำถนนก็สูงขึ้น แล้วจะทำยังไง เพราะฉะนั้นต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน ทั้งราคายาง ทั้งราคาที่ต้องเอาไปแปรรูป ทั้งราคาที่นำไปสู่การผลิต แล้วนำมาสู่การใช้งาน ตอนนี้รัฐบาลแก้ทุกอันนะครับ เราถึงจะได้นำมากำหนดเป็นความต้องการให้ได้ว่าตลาดภายในเราต้องการเท่าไร เพราะฉะนั้น เราควรจะกำหนดปริมาณการผลิตบ้างหรือไม่ ปลูกที่ไหน เมื่อไร ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดยางของทั่วโลก ไม่ใช่ออกมาพร้อม ๆ กันทั้งหมด บางที่ก็ไม่ได้ หลายผลิตผลการเกษตร วันนี้ผมเห็นมีการเรียกร้องในเรื่องของสับปะรด เข้ามาอีก สับปะรดก็มีการบุกรุกเข้าไปหลายแสนไร่ ในปัจจุบัน ราคาสับปะรดดีขึ้น ก็บุกรุกป่าไปปลูกสับปะรดเข้าไปอีก แล้วราคาตกก็ร้องเรียนกับรัฐบาล สิ่งเหล่านี้แก้ได้อย่างเดียว คือการแก้ด้วยการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งแน่นอนพี่น้องประชาชนต้องเดือดร้อน เพราะฉะนั้นต้องขอให้ผู้นำเกษตรกรต่าง ๆ ได้เข้าใจตรงนี้ ถ้าท่านไม่ช่วยเราตรงนั้น เราก็ไม่ทราบว่าจะแก้ปัญหาได้อย่างไร การที่จะเอางบประมาณไปอุดหนุน ไปอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ผิดกลไกของ WTO อ้อย อะไรต่าง ๆ เราต้องมาแก้ทั้งหมดวันนี้ ท่านทราบหรือไม่ จะมีการฟ้องร้องอะไรต่าง ๆ มากมาย ซึ่งเราก็คลี่คลายสถานการณ์ไปได้แล้ว ในเรื่องของเงินอุดหนุน ในเรื่องอ้อยก็ไปหาวิธีการที่เหมาะสม ไม่ผิดกติกา พันธะสัญญาโลก สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเรียนรู้ ถ้าเกษตรกรยังมุ่งอยากได้แต่ราคาที่สูง ๆ แล้วให้รัฐบาล หาวิธีการแก้ให้ได้ ยังไงก็แก้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นใครที่บอกว่าแก้ได้ ผมคิดว่าอย่าไปให้เขาหลอกเลย วันหน้าเขาก็หลอกแบบนี้เช่นกัน สิ่งเดียวที่แก้ได้คือ ปลูกในพื้นที่ ๆ เหมาะสม ปลูกในพื้นที่ที่ไม่บุกรุก แล้วลดต้นทุนการผลิตให้ได้ ปรับเปลี่ยนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เป็นการปลูกพืชหลาย ๆ ชนิด แล้ววันหน้าเราก็จะมีการปลูกพืชในพื้นที่ ๆ เหมาะสม เช่นตรงนี้ควรจะปลูกข้าว ตรงนี้ควรจะทำไร่นาสวนผสม ตรงนี้ควรจะทำสวนผลไม้ ตรงนี้ควรจะเลี้ยงสัตว์ ซึ่งในระหว่างนี้จะต้องเป็นช่วงของการปรับเปลี่ยน การให้ความรู้ การเตรียมการ หลายท่านอาจจะทดลองดูว่าเราเคยปลูก 20 ไร่ ทำนา หรือทำอะไรก็แล้วแต่ เราลองลดพื้นที่เหล่านั้นไปว่าจะทำนาไปเป็นอย่างอื่น ลอง 5 ไร่ได้หรือไม่ เหลือ 15 ไร่ ตรงไหนที่ทำข้าว แล้วขายไม่ได้คุณภาพ ราคาตก คุณภาพไม่ดี ก็ไปปลูกอย่างอื่นที่จะทดแทนได้ แล้วก็ปลูกข้าวไว้รับประทานอย่างเดียว เหล่านี้เป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องช่วยกันคิด ซึ่งเราคงต้องมีการกำหนดปริมาณการผลิต ว่าปลูกที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร มากน้อยเท่าไร แล้วเราจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างไร ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปส่งเสริมและความองค์ความรู้เพิ่มเติม ความรู้ปราชญ์ชาวบ้านก็มี ความรู้ของเกษตรกร Smart Farmer รุ่นใหม่ก็มี แล้วที่เราแพร่ไปตามสื่อ ตามสิ่งพิมพ์ ก็มากมายไปหมด ทุกคนต้องช่วยกันดูด้วย ไม่เช่นนั้นรัฐบาลแก้ไม่ได้ ปัญหาหมักหมมมาหลายอย่างด้วยกัน เราอาจจะต้องสนับสนุนภาคเอกชน ผู้ประกอบการเข้ามาร่วมกันนะครับ เช่น ในกรณีให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และเครือข่ายวิชาการ ต่าง ๆ มาช่วยกันคิด ช่วยกันทำด้วย วันนี้เรื่องยาง หมอนที่ผลิตจากยางพาราแท้ 100 เปอร์เซ็นต์ และผ้าหุ้มหมอนไร้ฝุ่นจากศูนย์วิจัยศิริราช และศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จุฬาฯ ได้เริ่มส่งไปขายในประเทศจีน ช่วงเดือนสิงหาคมนี้ จำนวน 100,000 ใบ ตั้งเป้ายอดขายในอนาคตว่าจะสามารถสร้างมูลค่า ราว 5,000 ล้านบาทใน 3 ปี นอกจากนี้ จีนยังมีการสั่งซื้อยางไทยไปสต็อกไว้ เพื่อนำไปผลิตล้อรถยนต์จำนวนมากอีกด้วย อันนี้เป็นความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน กับทุกประเทศในโลกนี้ ซึ่งประเทศไทยจำเป็นต้องรักษาสมดุลเหล่านี้ไว้ให้ได้ สรุปได้ว่าหลักการสำคัญ ในการแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ที่ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจว่า มีประเด็นเชื่อมโยงกัน เกี่ยวพันกัน ในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (1)การปลูกมากเกินไป ทำให้ Demand น้อยกว่า Supply คือ ความต้องการน้อยกว่าการผลิตที่มีจำนวนมาก (2) การปลูกในพื้นที่ไม่เหมาะสม ดินไม่ดี น้ำไม่พอ ร้อนเกินไป ภัยแล้ง ภัยพิบัติ น้ำท่วม น้ำมาก น้ำน้อย ทำให้ต้องมีการลงทุนหลายครั้ง รฐบาลต้องเยียวยา ต้องมีการประกันภัย เหล่านี้ทำให้ผลผลิตไม่สมบูรณ์ ตรงนี้จะทำอย่างไรกับพื้นที่ตรงนี้ (3) การปลูกในพื้นที่บุกรุก ซึ่งเป็นทั้งพื้นที่ป่า พื้นที่อุทยาน ฯลฯ ซึ่งมีส่วนทำให้ผลผลิตนั้นมีมากจนเกินไป จากในส่วนที่ถูกกฎหมายก็ทำให้ฝ่ายโน้นเดือดร้อนไปด้วย ฉะนั้นต้องหารือกัน สมาคมเกษตรกร อย่ารวมกันเพื่อร้องเรียนอย่างเดียว ไปดูกันเองด้วย ไม่รู้ตั้งมาแล้วช่วยอะไรได้บ้าง เพราะฉะนั้นตั้งมาแล้วก็ต้องช่วยกัน อย่าไปเข้าใจอะไรกันผิด ๆ ต่อต้านรัฐบาล ทุกเรื่องไป (4) การลงทุน ค่าใช้จ่ายในการเพาะปลูก ต้นทุนการผลิตสูง ทำให้ส่วนต่างกับราคาขายนั้นไม่มากนัก ขาดทุน กำไรนิดเดียว ไม่พอ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับค่าเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยา ค่าจ้างเครื่องจักร - รถไถ ค่าแรง และค่าเช่านา ค่าเช่าที่ดิน เหล่านี้เป็นต้น วันนี้ต้องไปทบทวนใหม่ทั้งหมด (5)? การตลาด ประกอบด้วยปัญหาต่าง ๆ อาทิ เกษตรกรขาดความรู้ด้านการตลาด สหกรณ์บางแห่งขาดประสิทธิภาพ เกษตรกรไม่สามารถกำหนดราคาเองได้ ขึ้นอยู่กับพ่อค้าคนกลาง ขายแต่วัตถุดิบ ไม่แปรรูป ไม่สร้างมูลค่าเพิ่ม,การขายต่างประเทศก็มีการซื้อขายล่วงหน้า,พันธะสัญญาต่างประเทศและโลก ได้มีการห้ามการสนับสนุนราคาพืชผลทางการเกษตรขณะนี้ เราก็ต้องแก้ปัญหาเรื่องอ้อยอีก ตามที่ผมกล่าวไปแล้วเรื่องการใช้เงิน CESS มีการประท้วงจากต่างประเทศ การเจรจาทางการค้าที่จำเป็น ต้องมีการนำเข้าสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น เช่น ของอาเซียน FTA เป็นสิ่งที่เราต้องปฏิบัติ คลังสำรองพืชผลเกษตรทุกประเทศเขาก็มีการตั้งคลังสำรองเอาไว้ เมื่อทุกประเทศมีมาก ราคาก็ตก เช่น การสต็อกข้าว ไทยเคยมีข้าวในสต็อกกว่า 18 ล้านตันและความร่วมมือต่างประเทศผ่านกลไกต่าง ๆ ร่วมมือเจรจา ซึ่งแต่ละประเทศนั้นก็พยายามจะสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของประเทศตนเองให้มากที่สุดด้วย นอกจากนั้น ยังมีปัญหาอื่น ๆ อีกมากมายเศรษฐกิจโลก การซื้อขายมูลค่าลดลงทุกกิจกรรม หนี้สินครัวเรือนในช่วงที่ผ่านมา หากไม่ได้รับการแก้ไข ไม่ครบวงจร ทุกอย่างกลับไปเหมือนเดิม หนี้ก็จะพอกพูนมากขึ้นไปเรื่อย ๆ รัฐบาลออกทุนอะไรมาก็ตาม กองทุนโน้น กองทุนนี้ มาให้กู้ยืมก็สู้ไม่ได้ ทุกเรื่องที่กล่าวมา เป็นปัญหาสืบเนื่องยาวนาน การแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุด ไม่ทำทั้งระบบ พอมาทำอันนี้ก็ยาก การที่จะทำให้เกิดความไว้วางใจ การเชื่อมั่น เหล่านี้ต้องใช้เวลาทั้งสิ้น รัฐบาลนี้ยืนยันกำลังดำเนินการแก้ไขอยู่ ในทุก ๆ เรื่อง มีคนเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก อันเป็นผลมาจากการบริหารประเทศในอดีตที่ผ่านมา รัฐบาลนี้จำเป็นต้องสะสางให้ได้ในทุกประเด็น แล้วมีการเริ่มต้นใหม่ให้ถูกต้อง ทั้งนี้ ขอให้สังเกตว่าหากในอดีตอย่างที่เขากล่าวอ้างมาว่า “ทำดี” อยู่แล้ว วันนี้ เราคงไม่ต้องตามแก้ไปหมดทุกเรื่องเช่นวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแรงงาน บุกรุกป่า ราคาสินค้าเกษตร หรือการสาธารณสุข การรักษาพยาบาล การศึกษา ผมไม่บังอาจต่อว่าท่านเหล่านั้น ให้เกียรติซึ่งกันและกัน แต่วันนี้อยากให้ประชาชนแยกแยะให้เข้าใจว่า เราจะร่วมมือแก้ไขปัญหาอย่างไร แล้วไม่ให้คนเหล่านั้นที่พูดจาทำให้เสียหายได้ออกมาพูดอีก ทุกอย่างกลับเป็นแบบเดิมไม่ได้อีกแล้ว พี่น้องประชาชนที่เคารพ ครับ เรื่องแรงงานต่างด้าวนั้น ข้อดีวันนี้ที่ผมเห็นก็คือ ดีใจที่คนไทยตื่นตัวในเรื่องกฎหมายและการปฏิรูปมากขึ้น ซึ่งผมอยากให้เข้าใจตรงกันว่า ปัญหาแรงงานต่างด้าวนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาในเรื่องของ “กฎหมายค้ามนุษย์” ซึ่งเราแสดงเจตนารมณ์ชัดเจน ทุกครั้ง ในเวทีระหว่างประเทศว่า จะป้องกันและต่อต้านการค้ามนุษย์ ให้ถึงที่สุดโดยกฎหมายในกลุ่มนี้ มี เรื่องใหญ่ ๆ รวมอยู่ด้วยกัน อาทิ การค้ามนุษย์ การประมงผิดกฎหมาย แรงงานเด็ก แรงงานทาส รวมทั้งแรงงานต่างด้าว ซึ่งเราต้องเร่งดำเนินการอยู่ในปัจจุบันนี้ ไม่ใช่เพื่อคนอื่น แต่เพื่อประเทศไทยของเราเอง การแก้ปัญหานี้ มีความพยายามอย่างต่อเนื่อง 3 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้เปิดโอกาสให้มีการลงทะเบียนแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติไปแล้ว ราว 3 ล้านคน แต่อุปสรรคสำคัญ คือการพิสูจน์สัญชาติโดยประเทศต้นทาง ทำให้ยังคงเป็นปัญหาอยู่ และได้ผ่อนผันให้มาโดยตลอด หากยังพิสูจน์สัญชาติไม่ได้ ให้ถือบัตรสีชมพูไปพลางก่อน เรื่องนี้ขอให้พิจารณาด้วยใจที่เป็นกลางอย่ามองปัญหาในเชิงธุรกิจแต่เพียงด้านเดียว สิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจไม่ทราบว่า ทำไมเราต้องพึ่งแรงงานต่างด้าว แล้วมีความต้องการจำนวนเท่าไหร่ เพราะหากทุก ๆ งานมีคนไทยทำเองหมด เราก็คงไม่ต้องไปพึ่งใคร หรือให้ใครต้องเข้ามาทำแทนเรา ในความเป็นจริงข้อนี้ทุกคนต้องยอมรับ วันนี้คนไทยเราทำงานประเภทใช้แรงงานลดลงทุกวัน และเหลือน้อยมาก บางประเภทแทบไม่มี จึงเป็นเหตุที่เราต้องทำความร่วมมือกับต่างประเทศ มีข้อตกลงกัน ซึ่งมีความยุ่งยากมากมาย มีระเบียบ มีขั้นตอน ทั้งกฎหมายในประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งปัญหาในเรื่องการทุจริต ปัญหาด้านความมั่นคง ปัญหาการค้ามนุษย์ ภาระทางสังคม การศึกษา สาธารณสุข การถือสัญชาติเด็กที่เกิดจากแรงงานต่างด้าว เหล่านี้เป็นต้น ทุกอย่างวันนี้ผสมปนเปเชื่อมโยงกัน ทำให้เป็นการซ้ำเติมปัญหา ถ้าเราไม่แกะออกมาวันนี้ การแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ไม่สามารถทำได้เพียงด้านใดด้านหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว ตามที่กล่าวมาแล้ว เรื่องแรกที่เราต้องดำเนินการ คือ “การจัดระเบียบ” ใหม่ทั้งหมด หากทำได้เรียบร้อย เป็นระบบ เราก็จะบริหารจัดการได้อย่างยั่งยืน ตรงตามความต้องการตลาดแรงงานในประเทศที่เราต้องการ ทุกภาคการผลิตและบริการไม่มีการแย่งงาน ไม่มีการหนีงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนนายจ้าง ทุกฝ่ายก็ได้ประโยชน์ร่วมกัน ไม่เป็นเหมือนเช่นที่ผ่านมา ต้องอยู่แบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ แล้ว “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ของท่านก็หายไป ไปอยู่ที่ไหน สังคมของเราก็จะสงบสุข ปลอดภัย ไว้ใจซึ่งกันและกันได้ สิ่งเหล่านี้ คนที่ไม่เคยรู้ ควรเปิดหูเปิดตาไม่ใช่หลับตาปิดใจ วิพากษ์วิจารณ์โดยปราศจากข้อมูล เราต้องเอาความจริงมาพูด มาเสนอแนะกัน ให้ความรู้ด้วยความจริงกับสังคม ว่าถ้าหากว่า ไม่มีการให้แรงงานเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานเลย ก็จะไม่มีใครทำงานในโรงงานต่าง ๆ แม้แต่เด็กปั๊ม เด็กเสิร์ฟ ร้านอาหาร ไปจนถึงแรงงานในบ้าน แรงงานในสวนนาไร่ หรือการกรีดยาง และในเรือประมง ก็มีแรงงานเหล่านี้ ที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไม่หยุดชะงัก เพราะฉะนั้น อย่าไปพูดจาให้เสียหาย เพราะว่า ในเมื่อเขาเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจเราแล้ว ด้วย “หลักมนุษยธรรม” และ “สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน” แรงงานเหล่านี้ ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมของเรา ซึ่งก็ต้องได้รับสวัสดิการตามสมควร ที่รัฐต้องดูแลให้เป็นไปตามหลักสากลด้วย ซึ่งมีกระบวนการ ค่าใช้จ่ายตามปกติ ไม่ต่างอะไรจากพี่น้องคนไทย ที่ต้องไปทำงานในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเช่นกัน เพราะเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ ที่สำคัญเราจะเอาแต่ได้โดยไม่ยอมเสียอะไรเลย คงเป็นไปไม่ได้ แต่ต้องไม่ใช่การเสียความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งรัฐบาลก็จะไม่ยอมปล่อยปละละเลย ให้เป็นปัญหาคาราคาซังอีกต่อไป ให้เวลาไปแล้ว ต้องไปหาวิธีการดำเนินการกันให้ได้ ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน ผู้ประกอบการ แรงงานต่าง ๆ ก็ต้องร่วมมือ หลายประเทศเขาก็ทำแบบนี้มาก่อน การที่เราเคยเปิดให้จดทะเบียนไปแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2557 กว่า 1.3 ล้านคน ซึ่งก็เป็นเพียงความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่แรงงานที่ไม่เข้ามาอยู่ในระบบ และแรงงานที่เข้า ๆ ออก ๆ หมุนเวียนมาใหม่ ด้วยช่องทางที่หลีกเลี่ยงกฎหมายของข้าราชการที่ทุจริตบ้าง นายหน้าบ้าง นายจ้างบ้าง ก็สร้างปัญหาอยู่อย่างต่อเนื่อง นำไปสู่วงจรแรงงานทาสบ้าง ค้ามนุษย์บ้าง ที่ส่งผลกระทบในภาพรวมของประเทศ ผู้ประกอบการเอง ก็ประสบปัญหาการเปลี่ยนงานของแรงงานต่างด้าวอยู่ตลอดเวลา ต้องทำให้ถูกต้อง จะได้ชัดเจนขึ้น บางครั้งเสียเงิน เสียเวลา ฝึกฝนจนใช้งานได้ ก็ถูกดึงไปใช้ เพราะอะไร เพราะเราไม่ซื่อสัตย์ต่อกัน เลยเกิดความไม่เป็นธรรมต่อนายจ้างเดิม เหล่านี้เป็นต้น ที่สำคัญคือ การเข้ามาในประเทศที่ไม่ผ่านกระบวนการพิสูจน์สัญชาติจากประเทศต้นทาง ที่เราเคยชะลอไปได้ วันนี้ไม่ได้แล้ว หากไม่มีหลักฐานทางราชการที่ถูกต้องในการเข้ามาทำงาน เราจะไม่สามารถควบคุม หรือจัดระเบียบอะไรได้เลย จากการที่นำเข้าผ่านแนวชายแดนเข้ามา ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ที่หลีกเลี่ยงไม่อยู่ในระบบเหล่านี้ ซึ่งได้พูดคุยกับเพื่อนบ้านของเรา ช่วยกันแก้ปัญหา เราแก้คนเดียวไม่ได้ ช่วงที่ผ่านมาได้มีการจัดชุดพิสูจน์สัญชาติของต้นทางเข้ามาดำเนินการในบ้านเรา ในระหว่างที่ผ่อนปรนให้มีการใช้ “บัตรชั่วคราว” แต่ห้ามย้ายงาน ย้ายพื้นที่ แต่ก็มีลักลอบอยู่ ต้องยอมรับความจริง วันนี้มีข้อตกลงทำ MOU กันระหว่าง 3 ประเทศได้ระบุไว้ว่า ต้องมีการพิสูจน์สัญชาติ ณ ชายแดนประเทศต้นทางที่มีสำนักงานอยู่เท่านั้น ซึ่งควรจะเป็นอย่างนี้มาตั้งแต่แรกแล้ว แต่ที่ผ่านมาปล่อยเข้ามาหลายปีที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ จนเราต้องเข้ามาหามาตรการชะลอไป วันนี้ชะลอไม่ได้ ต้องเข้ามาสู่กระบวนการที่ถูกต้อง ก่อนที่จะเข้ามาในปลายทางของแต่ละประเทศ ต้องมีการพิสูจน์สัญชาติมาก่อน ดังนั้น เมื่อเรามี พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าวฯ ออกมา ก็ต้องปฏิบัติตามนั้น แต่ปัญหาเราอยู่ตรงที่ แรงงานที่เข้ามาอีกบางส่วนยังคงไม่ผ่านการขึ้นทะเบียนของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา บางส่วนทำแล้วไม่สมบูรณ์ คงต้องไปดำเนินการให้เรียบร้อยที่ชายแดน ถ้าเราทำครั้งนี้เรียบร้อยก็จะไม่มีปัญหาอีกต่อไป ต้องขออภัยในความยุ่งยากด้วย เพื่อจะได้เข้ามาอย่างถูกต้อง เราไม่สามารถจะอนุญาตให้เข้ามาก่อน ให้มาขึ้นทะเบียนแล้วมาพิสูจน์สัญชาติภายหลังได้อีกต่อไป ทั้งนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้มีการทำผิดกฎหมายอีก แล้วต้องไปพันกับค้ามนุษย์ ไปพันกับ IUU ต่าง ๆ เหล่านั้น แล้ววันหน้าถ้ายังคงมีอาการประเภทเหล่านี้อยู่ ค้ามนุษย์ ผิดกฎหมาย แล้วเขาไม่ซื้อสินค้าอื่น ๆ แล้ว จะเป็นอย่างไร ฉะนั้นคนที่ออกมาเรียกร้อง ต้องเข้าใจประเด็นนี้ด้วย ผมเข้าใจถึงความเดือดร้อนของท่าน แต่ท่านต้องเข้าใจถึงความเดือดร้อนของประเทศด้วย วันนี้เราพยายามแก้ปัญหาที่ก่อนหน้านี้ที่เราเข้ามาให้ได้ในประเด็นแรงงาน เป็นเรื่องสำคัญและเป็นวาระสำคัญของชาติ เราจะต้องแก้ปัญหาให้ได้ ยอมรับไม่ได้อีก ต่อให้มีแรงงานผิดกฎหมาย ต้องขอความร่วมมือจากทุกฝ่าย นายจ้าง ลูกจ้าง ที่ยังปฏิบัติไม่ถูกต้อง เราให้เวลาไปเกือบ 6 เดือน หรือภายในสิ้นปีนี้ ตามที่ขยายไปแล้วให้ไปดำเนินการให้ครบ ท่านต้องหาวิธีดำเนินการให้ได้ ภาครัฐ กระทรวงแรงงาน สำนักงานจัดหางานต่าง ๆ เหล่านี้ ผู้ประกอบการ บริษัท เหล่านี้ต้องร่วมมือกันว่า จะหากลไกมาตรการอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดผลกระทบจากการประกอบการ ถ้าท่านบอกว่า ทำแบบนี้แล้วเกิดผลกระทบกับการประกอบการแล้วจะเป็นอย่างไร ก็แก้ไขอะไรไม่ได้เหมือนเดิม เพราะอย่าลืมว่าที่ผ่านมา ท่านทำผิดกฎหมายมาเป็นจำนวนมากและนานพอสมควร ในกลุ่มที่ดีผมขอชมเชย แต่คราวนี้ปัญหาก็คือในกลุ่มที่ลักลอบ แย่งงาน แย่งคนงานด้วยการชักชวนให้ย้ายงานทั้งที่เขาลงทุนไปแล้ว นี้เป็นการกระทำที่เห็นแก่ตัว เพราะฉะนั้นคนเหล่านี้ต้องปรับตัวเองให้ได้ด้วย ที่เป็นกังวลตอนนี้คือ ลูกจ้าง ที่ท่านไว้ใจ อาทิเช่น ดูแลบ้าน แม่บ้าน เลี้ยงลูก หรือทำงานอะไรต่าง ๆ ก็แล้วแต่ ขนาดเล็ก ๆ เหล่านี้จะทำอย่างไร อาจจะต้องให้กระทรวงแรงงานระบุให้ชัดเจนหรือไม่ว่าพวกคนเหล่านี้ออกไปในส่วนของแรงงานประเภทเหล่านี้แล้วให้กลับมาทำงานเหมือนเดิม ให้ระบุไว้ มี “บัตรเฉพาะออกไป” ก่อนออกไปก็มีบัตรเฉพาะว่าพวกนี้ออกไปแล้วกลับมาทำงานเดิมจะทำได้หรือไม่ อันนี้ขอฝากไว้ด้วยมีลายเซ็นต์ มีการยินยอม รับรองเงื่อนไข จากทั้ง 2 ฝ่ายให้ชัดเจน ทั้งผู้ประกอบการและแรงงาน ต้องมีมาตรการเฉพาะออกมาเป็นประเภท ๆ มีทั้งแรงงานที่จะเข้ามาทำงานเป็นรายปี และแรงงานอีกประเภท คือ แรงงานที่เข้ามาไปเช้า-เย็นกลับ อันนี้ต้องตกลงต่างหาก อย่าเอามาปนกัน ส่วนนั้นก็ต้องเอาเข้ามาและออกไป ทำงานในพื้นที่แนวชายแดนไม่ให้เกิดผลกระทบกับการประกอบในพื้นที่ชายแดน ถ้าตอนในก็อีกอันหนึ่ง เพราะฉะนั้นขอให้ส่วนราชการไปคิดมาตรการให้เกิดความชัดเจนขึ้น ในเรื่องของที่มีการเรียกร้องให้ดูแลหรือปรับปรุงในเรื่องค่าปรับต่างๆ รัฐบาลพยายามจะหาทาง วิธีการทางด้านกฎหมายว่าจะทำได้อย่างไรที่ค่าปรับต่าง ๆ ให้มีมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด ก็กำลังดำเนินการอยู่ ผมจะใช้เวลาที่มีอยู่ 6 เดือนนี้ แก้ปัญหาให้ได้มากที่สุดเพื่อลดกระทบ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้สำนักจัดหางาน “เถื่อน” นายหน้า หรือบริษัทไม่สุจริตเข้ามาแสวงประโยชน์ จากแรงงานเหล่านี้จะต้องถูกลงโทษเด็ดขาด สำหรับผู้ที่ค้ามนุษย์ก็ดำเนินการเต็มที่ ทั้งโทษอาญา โทษต่าง ๆเหล่านี้ สำหรับขบวนการค้ามนุษย์ หากการล่อลวงว่าจะให้รายได้ที่ดีกว่า แล้วย้ายคนงานเหล่านี้ไปทำงานที่อื่นเอาผลประโยชน์ แล้วนายจ้างเดิมที่เขาเสียค่าใช้จ่ายเหล่านี้เขาจะทำอย่างไร อย่าเห็นแก่ตัวแบบนั้น ทำให้เกิดปัญหากับนายจ้างเดิม แรงงานใหม่บางทีไปถ้าถูกกฎหมายก็แล้วไป ย้ายงานได้แต่ถ้าย้ายงานไม่ได้ ก็ผิดกฎหมายลักลอบเข้าเมือง ลักลอบทำงานผิดกฎหมายอีก ก็พันกันไปทั้งหมดทุกอย่าง ต้องอาศัยความไว้วางใจกันและใช้สติปัญญาในการแก้ไข้ปัญหา ต้องเสียสละกันบ้าง บางคนก็กำไรมามากแล้วในการใช้แรงงานผิดกฎหมาย วันนี้พอขาดทุนก็เรียกร้อง ขอขอบคุณสำหรับผู้ที่ประกอบการดี ๆ ทั้งหมด สำหรับผมคิดว่ามีจำนวนมากกว่าผู้ประกอบการที่ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ เพื่อให้ทันต่อการดำเนินการในช่วงผ่อนผัน ตามกรอบเวลา “6 เดือนข้างหน้า” เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ขอให้กระทรวงแรงงาน มีการจัดตั้ง “ศูนย์เฉพาะกิจ” เพื่ออำนวยการ บริหารจัดการ สำหรับการทำงานของคนต่างด้าวให้ถูกต้องตาม พ.ร.ก. แรงงานต่างด้าวฯ นี้ ตามที่ผมได้กล่าวไปแล้วด้วย อาทิ (1) กลุ่มที่มีใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) แต่ผิดนายจ้าง และ (2) กลุ่มที่ตรวจสัญชาติแล้ว มี Passport มี VISA มี CI(หรือ เอกสารรับรองบุคคล) แล้ว แต่ยังไม่ได้ขอใบอนุญาตทำงานทั้ง 2 กลุ่มนี้ ให้สามารถดำเนินการให้ถูกต้องได้ทันที ณ ศูนย์เฉพาะกิจฯ สำนักงานจัดหางาน “ทุกจังหวัด” และกรุงเทพฯ “ทั้ง 10 พื้นที่” (3) กลุ่มที่มีการนำเข้าตาม MOU ไม่ได้เป็นปัญหา สามารถดำเนินการได้ตามปกติ และสำหรับ (4) กลุ่มที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน ให้ทั้งนายจ้าง และลูกจ้าง มาพบเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์เฉพาะกิจฯ ดังกล่าว เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนให้ถูกต้อง ระหว่าง 24 กรกฎาคม - 7 สิงหาคม นี้ / กรณีที่ยังมีข้อสงสัย สามารถสอบถามที่ “สายด่วน 1694” สิ่งสำคัญอีกประการคือ ขบวนการผิดกฎหมาย ค้ามนุษย์ จะต้องถูกทำลายเครือข่ายลงอย่างเด็ดขาดให้ได้ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทุจริต เรียกรับผลประโยชน์ รีดไถ จากการเดินทางไปกลับภูมิลำเนาของแรงงานต่างด้าว ซึ่งมีมานาน จะต้องไม่เกิดขึ้นอีกโดยเด็ดขาด จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย จนถึง รัฐบาลนี้ พร้อมเปิดรับเรื่องราวร้องเรียน “ทุกช่องทาง” พี่น้องประชาชน ครับ เรื่องที่อยากฝากไว้คือ ไม่อยากให้คนไทยทุกคนฝากทุกอย่างให้รัฐบาลต้องดำเนินการ หรือรับผิดชอบ โดยที่ทุกภาคส่วนไม่ได้มีส่วนร่วมด้วยเลย ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่ง หรือ ผู้ที่มีส่วนได้เสีย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรักษาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม การบุกรุกป่า ป่าต้นน้ำ อากาศ ขยะ น้ำเสีย การใช้แรงงานผิดกฎหมาย เป็นต้น สิ่งที่รัฐบาลจะทำได้คือ การกำกับดูแลด้านนโยบาย การออกกฎหมาย รวมไปจนถึงการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ การอำนวยความสะดวก ซึ่งถ้าหากประชาชน และทุกภาคส่วนไม่ให้ความร่วมมือ เพราะมัวแต่คำนึงแต่ผลประโยชน์ส่วนตนเป็นใหญ่ เพียงอย่างเดียว อ้างผลกระทบ ความเดือดร้อน รัฐบาลจะทำอะไรได้อย่างเป็นรูปธรรม เป็นไปไม่ได้ทุกอย่างต้องช่วยกันแก้ไข โดยเริ่มแก้ที่ตนเองก่อน ใครที่ยังเป็นอย่างที่ผมกล่าวไป ก็ขอให้มองประโยชน์ส่วนใหญ่ด้วย พิจารณาทั้งปัจจัยภายในภายนอก และอนาคตของประเทศบ้าง อย่าไปคิดถึงอนาคตทางการเมืองอย่างเดียว วันนี้เห็นออกมาพูดเรื่องยาง เรื่องข้าว เรื่องอะไรต่างๆ ทั้งที่ผ่านมา ไม่เคยได้แก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ไม่อยากให้ทุกคนมุ่งแต่ปกป้องผลประโยชน์ส่วนตน ไม่คิดเสียสละเพื่อส่วนรวม ไม่คิดถึงผลกระทบ แล้วผลักภาระเหล่านั้นให้รัฐบาลต้องรับผิดชอบทั้งหมด หรือไปแก้ไขกันเอาเอง เราก็จะลดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล ข้าราชการ ประชาชน ในการบังคับใช้กฎหมายได้อย่างไร มีแต่จะเพิ่มมากขึ้น อย่างที่ผมยกตัวอย่างไปแล้วทุกคนต่างรู้ดีว่า หากไม่มีการกระทำผิดกฎหมาย ก็จะไม่มีการเรียกรับผลประโยชน์ หากไม่ผิดอะไร ก็ไม่ถูกจับกุม ไม่ถูกปรับ ไม่ต้องไปสมยอมเขา กฎหมายก็ไม่จำเป็นต้องแรงขึ้น ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายใหม่ด้วยซ้ำไป หลายกฎหมายเป็นเรื่องเดิมที่มีอยู่แล้ว ก็ไม่เคารพ กฎหมายใหม่ก็ไม่เอา ผมเชื่อว่าไม่มีใครอยากทำผิดกฎหมาย ดังนั้น สิ่งรัฐบาลนี้พยายามทำอยู่คือ การอำนวยความสะดวกให้การปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่เป็นอุปสรรค หรือเป็นเรื่องยาก ทั้งเรื่องของการจดทะเบียน การติดต่อราชการ การขอใบอนุญาตต่าง ๆ ต้องมีกระบวนการและขั้นตอนที่รวดเร็วและสะดวกขึ้น นำเทคโนโลยีมาใช้ การจัดตั้ง OSS หรือ “ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ” one stop service ให้จบในจุดเดียว ต้องไปพิจารณากันให้ดีว่าจะทำได้อย่างไร สรุปง่าย ๆ คือว่า ถ้าทุกอย่างเราสามารถทำได้ก็จะดีขึ้นเองด้วย (1) ทุกคนต้องเคารพกฎหมาย (2) อย่าเอากฎหมายเพื่อส่วนรวม มาตีกับผลประโยชน์ส่วนตน แล้วหลีกเลี่ยง ไม่ปฏิบัติตาม โดยมีการชักนำจากคนไม่หวังดี และ (3) ให้คิดถึงคนอื่น คิดถึงผลกระทบกับประเทศชาติในทุกๆ ด้านด้วย ทั้งเศรษฐกิจ มั่นคง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินด้วย รัฐบาลและ คสช. ไม่ได้มุ่งหวังอำนาจอย่างที่กล่าวอ้างกันทุกวันนี้ ว่าจะสืบทอดอำนาจผลประโยชน์ ผมยังนึกไม่ออกเหมือนกัน ผมก็ไม่รู้ว่าจะทำไปเพื่ออะไร ถ้าไม่ได้ทำเพื่อประเทศชาติ ประชาชน ผมไม่รู้จะทำไปเพื่ออะไรเหมือนกัน ทุกวันนี้เราไม่ต้องการที่จะไปควบคุมการเมือง ควบคุมประชาธิปไตยไปอีก 10-20 ปี ใครคิดแบบนั้นผมว่าไม่ใช้คนไทย ก็ต้องขอความร่วมมือในการช่วยกันรักษาเสถียรภาพของบ้านเมือง ในช่วงนี้ รัฐบาลและ คสช. คิด ทำ มุ่งหวังอยู่เสมอว่า จะทำอย่างไรปัญหาเหล่านี้จะไม่กลับมาอีก ถึงแม้ว่าจะต้องใช้เวลาทำกันต่อไป อีกหลายรัฐบาล ก็ใช่ว่าปัญหาเหล่านี้ จะแก้ไขได้หมดสิ้น โลกมีความเสี่ยงตลอดเวลา วันนี้โลกภายนอกเขาไม่ค่อยมีปัญหา หรือจะสนใจกับในเรื่องของการบริหารจัดการ “ที่มาของรัฐบาล” มากนัก ก็มีความทำความเข้าใจกันอยู่บ้าง แต่เขาให้ความสนใจกับความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง เพราะหากไม่มีเสถียรภาพ การค้า การลงทุน หรือเศรษฐกิจก็จะหยุดชะงัก ในโลกจึงมีทั้งประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ทั้งสังคมนิยม บางประเทศยังเป็นรัฐบาลทหาร ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาการณ์ในแต่ละประเทศ ซึ่งทุกคนก็ต้องสร้างความเข้าใจนะครับ ว่าเราทำเพื่ออะไรกันอยู่ในเวลานี้ ไม่ใช้ไปฟังนักการเมืองที่มุ่งหวังแต่เพียงการเมืองอย่างเดียว หวังผลทางการเมือง เราต้องเร่งรักษาความสงบเรียบร้อยให้ได้จากภายในเสีย ผมไม่ได้หมายความว่า ประเทศไทยจะต้องเป็นอย่างอื่น ผมยืนยันหลายครั้งแล้วเรามีประชาธิปไตยมา 85 ปีแล้ว เราต้องมาดูซิว่า ประชาธิปไตย 85 ปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไร เราเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ แต่ทำไมเราไม่รู้จักการแก้ไข้ในสิ่งที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง มีการเปลี่ยนแปลงบ้าง ให้สำเร็จ ให้เหมาะสมเสียในช่วงนี้ วันหน้าทุกอย่างมันก็ต้องดีขึ้นเอง ช่วงนี้รัฐบาล และ คสช. ก็พยายามจะเปิดโอกาส สร้างบรรยากาศ ให้มีการปฏิรูปในทุก ๆ ด้าน เพื่อที่เราจะได้เป็นประชาธิปไตย “เต็มใบ” อย่างเต็มภาคภูมิ ตามแบบฉบับของเรา ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ และอารยธรรมของเรา ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่ถูกบิดเบือน บิดเบี้ยว จนเสียหลักการอันเป็นแก่นแท้ เพื่อเพียงผลประโยชน์ของใครบางคน กลุ่มบางกลุ่ม วันนี้ เราต้องมาร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์ ต้องให้กำลังใจ ให้โอกาสคนดีๆ พยายามทำเพื่อส่วนรวม ประเทศชาติ และอนาคตของลูกหลาน ไม่ให้พ่ายแพ้ต่อกลการเมืองที่อาจจะไม่จริงใจ ที่ดีเขามากกว่าอยู่แล้ว คนที่ไม่ดีก็ยังมีอยู่ หรือกลุ่มผลประโยชน์ที่ไร้ศีลธรรมเหล่านี้ สุดท้ายนี้ ผมขอเชิญชวนพี่น้องประชาชน นักท่องเที่ยว และผู้ที่สนใจ นิยมสินค้าไทย คุณภาพดี มาร่วมซื้อหา อุดหนุน “สุดยอดสินค้า” จากทั่วประเทศ ณ ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ข้างทำเนียบรัฐบาล ทั้งอาหารท้องถิ่น ผลไม้พื้นบ้าน งานหัตถกรรมชุมชน และ OTOP “คุณภาพระดับส่งออก” จนถึงวันที่ 24 กรกฎาคมนี้ ขอบคุณครับ ขอให้ “ทุกคน” มีความสุข ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ สวัสดีครับ
07 ก.ค. 2560
สกู๊ป : ม.44 เพิ่มเวลาลงทะเบียนลุกล้ำน่านน้ำ
เมื่อพ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทยที่ประกาศใช้ไปแล้วนั้น ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ลำน้ำ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงออกคำสั่ง มาตรา 44 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในการผ่อนปรนและจัดการพื้นที่ ติดตามได้ในรายงาน แม้การบังคับใช้พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ภาครัฐจะมีความตั้งใจในเข้าไปแก้ไขการรุกล้ำน่านน้ำ และพื้นที่สาธารณะที่เป็นของประชาชนทุกคน เพื่อให้สามารถใช้สอยประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ แต่เมื่อการบังคับใช้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตดั่งเดิมของคนริมน้ำ และพื้นที่ประมง ซึ่งต้องอาศัยน่านน้ำในการประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน รัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้หาทางออก เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน ให้ได้มีเวลาในการเตรียมความพร้อม นำไปสู่การอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่ง คสช. ที่ 32/2560 เรื่อง การบรรเทาความเสียหาย ให้แก่ประชาชน ในกรณีปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำแม่น้ำ โดยขยายระยะเวลาให้กับประชาชนและผู้ประกอบการที่รุกล้ำน่านน้ำไทย แจ้งต่อกรมเจ้าท่า ไม่ว่าจะเป็นการกีดขวางการเดินเรือ หรือมีการปักหลักสำหรับทำประมง ตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ออกไปอีก 60 วัน พร้อมหาหลักฐานการเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่อีก 180 วัน และให้เวลาเจ้าหน้าใช้เวลาอีกไม่เกิน 180 วัน เพื่อพิจารณาว่าจะอนุญาตหรือไม่ โดยผู้ที่มาแจ้งในระยะเวลาดังกล่าวจะไม่มีโทษทางอาญาและไม่ต้องเสียค่าปรับ นอกจากนี้ หากเป็นการุกล้ำน่านน้ำก่อนปี 2515 ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ จะต้องแจ้งขออนุญาตเพื่อขึ้นทะเบียน ส่วนหลังปี 2515 ถึงปี 2537 จะมีการพิจารณาว่าจะให้อยู่ต่อหรือต้องรื้อถอด โดยจะพิจารณาตามเกณฑ์ คือ สิ่งรุกล้ำต้องไม่เป็นอันตรายในการเดินเรือ หรือกระทบสิ่งแวดล้อม การรุกล้ำให้กระทำเท่าที่จำเป็น ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมอาคารและผังเมือง ทั้งนี้ หลังปี 2560 จะไม่อนุญาตให้มีส่งปลูกสร้างรุกล้ำลำน้ำยกเว้นประโยชน์ต่อราชการและสาธารณะเท่านั้น ขณะเดียวกัน คำสั่ง คสช. ที่ออกมานอกจากจะบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบต่อการประกาศใช้กฎหมายการเดินเรือในน่านน้ำไทยแล้ว ยังได้กำหนดแนวทางการทำงานของเจ้าหน้าที่ ห้ามใช้อำนาจหน้าที่ในการประพฤติมิชอบ ทั้งในกรณีการไปกระทำ เพิกเฉย หรือละเลย ซึ่งจะมีความผิดทั้งทางแพ่ง และทางอาญา การออกคำสั่ง คสช. ฉบับนี้ จึงเป็นการแสดงความจริงใจของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา ซึ่งพร้อมรับฟังความเห็นของทุกฝ่าย และหาทางออกที่เหมาะสมร่วมกัน เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนร่วมเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด โดยให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบมีเวลาในการเตรียมความพร้อม และทำให้การแก้ไขปัญหาการลุกล้ำพื้นที่น่านน้ำ ซึ่งเป็นทรัพย์สินสาธารณะหมดไป และประชาชนทุกคนมีสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียม
07 ก.ค. 2560
สกู๊ป : ทางออกกฎหมายแรงงานต่างด้าว
วงเสวนาวิชาการกฎหมายแรงงานต่างด้าว ต่างก็เห็นพร้อมตรงกันว่า อยากให้พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวที่กำลังบังคับใช้นี้ถูกไปปฏิบัติอย่างจริงจัง เพราะจะช่วยให้คนเกิดความเกรงกลัวไม่กล้าทำผิดกฎหมาย อีกทั้งช่วยลดแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่จะเข้ามาทำงานในอนาคต ติดตามได้จากรายงาน ที่ผ่านมา รัฐบาลได้พยามพยายามเข้าไปแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ ผ่านกลไกการขับเคลื่อนโดยใช้กฎหมาย อย่างพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 หวังมาช่วยอุดปัญหาระหว่างกฎหมายที่มีอยู่ โดยมีโทษปรับที่สูงถึง 4 แสนบาท หวังทำให้เกิดความเกรงกลัวในการลักลอบเข้าเมืองของแรงงานเถื่อนที่อยู่ในประเทศ และทำให้ปัญหาการค้ามนุษย์ลดลงตามด้วย วงเสวนาวิชาการ พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 ในปวงชนชาวไทยได้อะไร ที่จัดขึ้นโดยกระทรวงแรงงาน ได้ระดมความคิดช่วยกันหาทางออกของการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว โดยนักวิชาการที่ปรึกษาศูนย์พัฒนาแรงงานและการจัดการ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยอมรับว่า การออกกฎหมายต่างด้าวฉบับนี้ ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ที่จะทำให้ปัญหาการค้ามนุษย์หมดไปได้ แต่จะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาดและจริงจัง ซึ่งผลที่ตามมาอาจจะทำให้ไทยได้รับการยอมรับจากนานาอารยะประเทศในทางที่ดีขึ้นกับการแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์ ปัจจุบันการพึ่งพาแรงงานต่างด้าว ยังเป็นเรื่องที่มีความจำเป็น ต้องช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยตามยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 และในอนาคตไทยยังคงมีเมกะโปรเจคที่ต้องเดินหน้าทำเพื่อตอบสนองเรื่องการลงทุนด้านเศรษฐกิจ พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวฉบับนี้ จึงจำเป็นต้องบังคับให้ให้เกิดความเข้มงวด โดยเฉพาะการเอาผิดจากนายจ้างที่ไม่ยอมทำตามกฎหมาย เพื่อป้องกันการทะลักเข้ามาของแรงงานต่างด้าวที่มากกว่าเดิมในอนาคต ในอนาคตประเทศไทยจะต้องขยายตัวเป็นจุดศูนย์กลางการลงทุนขนาดใหญ่ ทั้งโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ธุรกิจแปรรูปการประมงทางทะเล จำเป็นที่ต้องมีแรงงานต่างด้าวมาช่วยกันขับเคลื่อนประเทศให้เป็นผลสำเร็จ จึงต้องทำให้ทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดจากแรงงานต่างด้าว กฎหมายพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ไม่เพียงแต่จะช่วยแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายเท่านั้น ซึ่งเป็นภัยต่อความมั่นคงและเรื่องปัญหาสังคมที่ตามมาในพื้นที่นั้นๆที่ไม่สามารถตรวจสอบสัญชาติคนเหล่านี้ได้เนื่องจากนายจ้างไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายที่กำหนดไว้ แต่ยังช่วยให้แรงงานเหล่านี้สามารถมีศักดิ์ศรีและมีความเท่าเทียมกันในสังคมมากขึ้นจากสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่างที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย ไม่ต้องเสี่ยงที่จะเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ลักลอบนำเข้าแรงงาผิดกฎหมาย
07 ก.ค. 2560
สกู๊ป : ตั้งศูนย์ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย
รัฐบาลยังเดินหน้าการแก้ไข้ปัญหาแรงงานต่างด้าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางสังคมและแก้ไขปัญหาการลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย ล่าสุดกระทรวงแรงงานเตรียมจัดตั้งศูนย์รับแจ้งการใช้แรงงานต่างด้าว หวังช่วยดำเนินการแก้ไขเอกสารให้ถูกต้อง ก่อนพระราชกำหนด การบริหารจัดการทำงานของคนต่างด้าว อย่างเป็นทางการ ติดตามได้จากรายงาน การออกพระราชกำหนด การบริหารจัดการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 นับเป็นเครื่องมือสำคัญที่เข้ามาดูแล และทำให้ปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ซึ่งส่งผลให้เกิดการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ จากการเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างอย่างไม่เป็นธรรม ให้ได้รับการแก้ไข และนำแรงงานต่างด้าว เข้าสู่ระบบ ผ่านความร่วมมือจากทุกๆฝ่าย นำไปสู่การใช้มาตรการที่เข้มงวดในการแก้ไข โดยเฉพาะบทลงโทษที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้เกิดความเกรงกลัว ต่อทั้งผู้ที่คิดลักลอบจะมาทำงานและนายจ้างที่ไร้มนุษยธรรม แต่เพื่อบรรเทาผลกระทบไม่ให้เกิดความเดือดร้อน จากการบังคับใช้กฎหมายแรงงานต่างด้าว คณะรักษาความสงบแห่งชาติและรัฐบาล จึงได้ออกคำสั่งตามมาตรา 44 ให้นายจ้างและแรงงานต่างด้าว ได้ดำเนินการเอกสารทุกอย่างให้ถูกต้อง เพื่อเป็นการผ่อนปรนอัตราโทษ ใน 6 เดือนก่อนกฎหมายบังคับใช้ โดยอธิบดีกรมการจัดหางาน ยืนยันว่า การออกกฎหมายพระราชกำหนด การบริหารจัดการทำงานของคนต่างด้าว เป็นเรื่องที่จำเป็นและสำคัญ และเป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของชาติ ที่ไม่เพียงต้องการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวกับค้ามนุษย์อย่างจริงจังเท่านั้น แต่ยังหวังให้ลดช่องว่างระหว่างคนทุกชนชั้นให้เกิดความเท่าเทียม ทั้งคนไทยและแรงงานต่างด้าวเหล่านี้ โดยขั้นตอนหลังจานี้ กระทรวงแรงงานได้เตรียมที่จะออกประกาศกฎกระทรวง เพื่ออำนวยความสะดวก และการเยียวยาผลักดันให้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายเข้าสู่ระบบอย่างถูกต้องมากขึ้น โดยจะมีเนื้อหาสำคัญคือ การเปลี่ยนนายจ้างหรือใบอนุยาติทำงานที่ไม่ตรงกับนายจ้าง ก็ให้เปลี่ยนเป็นนายจ้างปัจจุบันที่ถูกต้องได้ และการตั้งศูนย์รับแจ้งการใช้แรงงานต่างด้าว ซึ่งกระดำเนินการเหล่านี้จะทำให้นี้เข้าสู่ระบบได้อีก 1.2 ล้านคน โดยศูนย์รับแจ้งการใช้แรงงานต่างด้าวนี้จะเปิดเพียงแค่ระยะเวลา 15 วันเท่านั้น ซึ่งเอกสารที่นายจ้างต้องเอามาแจ้งก็คือ บัตรประชาชนนายจ้าง หรือใบปะหน้าบริษัท ส่วนต่างด้าวก็ใช้เพียงรูปถ่าย พาสปอร์ตที่เคยเข้ามาทำงาน ซึ่งศูนย์นี้จะจัดตั้งทุกจังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดละแห่ง ส่วนกรุงเทพมหานครจะมี 10 แห่งด้วย คาดว่าจะดำเนินการได้ในเดือนกรกฎาคมนี้ มาตรการทั้งหมดนี้คือส่วนหนึ่งที่รัฐบาลต้องการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวอย่างจริงจัง หลังจากเป็นปัญหาที่หยั่งรากลึกในสังคมมาช้านาน
07 ก.ค. 2560
สกู๊ป : คนดี...สร้างชาติ
การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ถือเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญที่รัฐบาลกำลังขับเคลื่อน โดยเฉพาะการสร้างคนที่มีความรู้ และมีคุณธรรม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ประเทศชาติในอนาคตมีความมั่นคง และได้คนดีเข้ามาพัฒนา ติดตามจากรายงาน ทรัพยากรมนุษย์ ถือเป็นต้นทุนสำคัญ และจุดเริ่มต้นของการพัฒนาประเทศ ซึ่งตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นหนึ่งเสาหลักของการพัฒนาประเทศ ทั้งการเพิ่มทักษะความรู้ และความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ นอกจากนี้ สิ่งที่รัฐบาล และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มองว่า สิ่งสำคัญที่ทำให้ทรัพยากรมนุษย์ของประเทศมีคุณภาพ นั้นคือ การเป็นคนดีมีคุณธรรม เคารพกฎหมาย พร้อมสร้างองค์กรที่มีจริยธรรม โดยจะต้องปลูกฝั่งตั้งแต่เด็ก เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ แม้การพัฒนาบุคลากร และสร้างคนให้มีคุณธรรม จะเป็นส่วนสำคัญต่อการสร้างชาติแล้ว การเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยการสร้างรากฐานของประเทศให้มีความมั่นคง ซึ่งตลอด 3 ปีของการเข้ามาบริหารงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. และรัฐบาล ได้ขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน พร้อมเดินตามโรดแมปที่วางไว้ สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำ และขับเคลื่อนกับการพัฒนาคน ให้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ เริ่มเห็นผลชัดเจนเพิ่มมากขึ้น ผ่านการปฏิรูปการศึกษากับการสร้างคนให้เป็นคนดีมีคุณธรรม ซึ่งจะนำไปสอดแทรกในการเรียนรู้ของเด็กทุกช่วงวัย พร้อมปรับเปลี่ยนสถานศึกษาให้เป็นพ่มเพาะความรู้ และสร้างนิสัยที่ดีมีคุณธรรม เพื่อทำให้บุคคลากรของประเทศ เป็นคนที่มีความรู้ และมีคุณภาพ เป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างมั่นคงและยั่งยืนมากที่สุด
03 ก.ค. 2560
สกู๊ป : รัฐส่งเสริม e-Payment ในยุคไทยแลนด์ 4.0
การส่งเสริมภาครัฐให้คนหันมาใช้ระบบพร้อมเพย์ ถือเป็นอีกหนึ่งในนโยบายสำคัญอย่างไทยแลนด์ 4.0 ให้คนในสังคมเกิดความคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์มากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าคนหันมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันมียอดผู้ใช้ในขณะนี้แล้วมากกว่า 29 ล้านคน การพลิกโฉมหน้าให้ประเทศกลายเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 มุ่งเน้นการใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่าง ๆ มาร่วมประยุกต์ให้ประเทศขับเคลื่อนไปข้างหน้า คืออีกหนึ่งนโยบายหลักสำคัญที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ความสำคัญ หวังพัฒนาขีดความสามารถมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมให้คนไทยปรับเปลี่ยนพฤตกรรม หันมาใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์มากขึ้น และหนึ่งในนโยบายการส่งเสริมที่ให้คนหันมาใช้ระบบ e-Payment แทนการใช้เงินสดในการทำธุรกรรม โดยระบบ e-Payment ถูกออกแบบมา ให้เป็นตัวช่วยส่งเสริมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้เปิดตัวบริการ พร้อมเพย์ โดยสามารถใช้ได้แบบผ่านเครื่อง เอทีเอ็ม แอพพลิเคชั่นบนมือถือ และช่องทางอินเตอร์เน็ทแบงกิ้ง ที่ผ่านมามีตอบรับค่อนข้างดี และมีประชาชนหันมาใช้ระพร้อมเพย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหตุผลเป็นเพราะมีค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมที่ถูกและไม่มีค่าใช้จ่าย ปัจจุบันมีคนนำบัตรประชาชนมาลงทะเบียนแล้วมากกว่า 29 ล้านคน ผ่านระบบโอนเงินแล้ว 11 ล้านครั้ง รวมเป็นเงินสูงถึง 6.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะรัฐบาลได้ส่งเสริมเรื่องการโอนเงินสวัสดิการของรัฐไปให้กับประชาชนด้วย เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้มีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีอีกทาง ในอนาคตรัฐบาลพยายามที่จะส่งเสริมระบบพร้อมเพย์ให้บัตรเดบิตอีกทางหนึ่ง เพื่อให้เกิดความแพร่หลาย จึงเป็นที่มาของการให้รางวัลกับร้านค้าที่ติดตั้งเครื่องรับบัตร ที่ร่วม โครงการ National e-Payment ซึ่งมูลค่ามากถึง 1 ล้านบาท หากร้านค้าสนใจสามารถติดต่อขอติดตั้งเครื่องรับบัตรจากธนาคารได้ทันที นอกจากจะทำธุรกรรมทางการเงินได้สะดวกปลอดภัยขึ้นแล้ว ยังมีโอกาสได้รับรางวัลอีกด้วย สิ่งที่ภาครัฐพยายามผลักดันให้ประชาชน หันมาใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์มากขึ้น ถือเป็นการเตรียมพร้อม สร้างความคุ้นเคยต่อการปรับตัวตามกระแสโลก รองรับการพัฒนาที่รัฐจะผลักดันประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 แต่การจะร่วมมือกันพัฒนาประเทศให้ไปสู่จุดนั้นถือว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันเป็นประชารัฐ ในการที่รัฐส่งเสริม และประชาชนให้ความร่วมมือร่วมใจ จึงทำให้ประเทศก้าวไปสู่การพัฒนาด้วยความยั่งยืนอย่างแท้จริง
03 ก.ค. 2560
สกู๊ป : รัฐเดินหน้าปราบค้ามนุษย์ หวังพ้นเทียร์ 2
สกู๊ป : รัฐเดินหน้าปราบค้ามนุษย์ หวังพ้นเทียร์ 2 รัฐบาล และ คสช. ไม่ย่อท้อแม้สหรัฐอเมริกา ยังจัดให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มเทียร์ 2 เป็นปีที่ 2 พร้อมเดินหน้ายกระดับการแก้ไขปัญหา เพื่อให้ปัญหาค้ามนุษย์หมดไปโดยเร็วที่สุด แม้รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกา จะยังจัดให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มที่ 2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง หรือ เทียร์ ทู วอทช์ลิสต์ เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน แต่สถานการณ์ปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทยดีขึ้นตามลำดับ เพราะทันทีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. และ รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาบริหารประเทศ ได้เดินหน้าแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการยกระดับปัญหาการค้ามนุษย์ เป็น “วาระแห่งชาติ” เนื่องจากเกี่ยวพันกับหลายภาคส่วน และส่งผลกระทบรุนแรง ทั้งด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม เห็นได้จากปัญหาประมงที่ผิดกฎหมาย หรือ IUU ที่เชื่อมโยงกับการค้ามนุษย์และแรงงานทาส จึงจำเป็นที่ต้องมีการจัดการแบบครบวงจร ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ คสช. และรัฐบาลจะเดินหน้าต่อกับการแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์ นั้นคือ การปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบ การดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอย่างเด็ดขาด การป้องกันผู้ที่อาจตกเป็นเหยื่อ คุ้มครองเหยื่อและพยาน และการสร้างความร่วมมือทั้งในและระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายคือ การปกป้องคุ้มครอง “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ของทุกคน การขับเคลื่อน เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์เห็นผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น นอกจากภาครัฐที่กำลังใช้องคาพยพทั้งหมดที่มีเข้ามาช่วยกันแก้ไขปัญหาแล้ว ภาคประชาสังคม ยังสามารถมีส่วนร่วมในการช่วยกันตรวจสอบ แจ้งเบาะแสการกระทำผิด เป็นพลังประชารัฐ ทำให้ปัญหาการค้ามนุษย์หมดไปโดยเร็วที่สุด
03 ก.ค. 2560
สกู๊ป : รวบรวมความเห็นประชาพิจารณ์ แก้ กม.บัตรทอง
วันนี้คณะอนุกรรมการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้รวบความความเห็นการทำประชาพิจารณ์ในการแก้กฎหมายของบัตรทองเพื่อส่งต่อให้สาธารณสุขได้พิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยยืนยันว่าทุกความเห็นจะถูกรวบรวมทั้งหมด เพื่อนำมาพัฒนาร่างกฎหมายให้เกิดประโยชน์กับประชาชนมากที่สุดอย่างแน่นอน การยกระดับการให้บริการด้านสาธารณสุข คืออีกหนึ่งปัจจัยที่รัฐบาลกำลังเร่งทำอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง ที่ดำเนินการมาแล้วถึง 15 ปี ผ่านการปรับปรุงพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ที่บังคับใช้มายาวนาน และจำเป็นต้องอุดช่องว่างที่เป็นปัญหาต่อการให้บริการด้านสาธารณสุขกับประชาชน โดยขณะนี้คณะอนุกรรมการดำเนินงานประชาพิจารณ์ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้รวบรวมความเห็นทั้งหมด ใน 14 ประเด็นที่แก้ไขเรียบร้อยแล้วและส่งต่อให้กับประธานดำเนินการ ได้แก่ การจ่ายเงินให้กับหน่วยงานหรือองค์กรที่ไม่มีสิทธิได้รับตามกฎหมาย กรอบการใช้เงินของกองทุนฯ การจ่ายเงินโดยตรงแก่บุคคล การจ่ายเงินเหมาจ่ายรายหัว นิยามบริการสาธารณสุข เงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ให้บริการทุกสิทธิ เงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้รับบริการและยกเลิกไล่เบี้ย การจัดระบบหลักประกันสุขภาพให้ครอบคลุมทุกคนในไทย การร่วมจ่ายค่าบริการ การสนับสนุนเรื่องยา สัดส่วนคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ มีคณะกรรมการควบคุมคุณภาพ การยกเลิกมาตรา 46 (2) ค่าใช้จ่ายรวม ข้อเสนอแก้ไขเงินงบประมาณ ซึ่งการแก้กฎหมายในครั้งนี้ ต้องการทำเพื่อให้กฎหมายมีความยืดหยุ่น และทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพมีความยั่งยืนมากขึ้น กระทรวงสาธารณสุขในฐานะผู้ร่วมรับผิดชอบหลัก ยืนยันว่าข้อมูลทั้งหมด จากการทำประชาพิจารณ์จะถูกรวบรวมและนำไปใช้กับการแก้ไขกฎหมายทั้งหมด พร้อมกับเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียอีกครั้ง ก่อนพิจารณาร่วมกันของคณะกรรมการแก้กฎหมาย คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคมนี้ ที่ผ่านมาจากการรับฟังประชาพิจารณ์ทั้ง 4 เวที ได้มีคนเข้าร่วมทั้งหมด 2,098 คน ซึ่งมีความเห็นทั้งหมด 1,622 ความเห็น และมีความเห็นที่ส่งมาทางเว็บไซต์ออนไลน์ 833 ความเห็น โดยความเห็นทั้งหมดได้ถูกคัดแยกเป็นหมวดหมู่ทั้ง 14 ประเด็น เพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณาและตรงประเด็นที่ให้ความเห็นมากที่สุด จากนั้น คณะกรรมการจะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 15 วัน และจะดำเนินการส่งให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอีกครั้งเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และเข้าวาระของคณะรัฐมนตรีความเห็นจากนั้นจึงเขาสู่ขั้นตอนของการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ การแก้ไขกฎหมายบัตรทองครั้งนี้ นอกจากจะเป็นไปเพื่อการบริหารงานที่ดีขึ้นแล้ว ก็เชื่อว่าจะพลิกโฉมระบบสาธารณสุขของไทยให้มีความเข็มแข็งและมีคุณภาพมากขึ้น ประชาชนสามารถได้รับการบริการที่ดีกว่าเดิม เพราะที่ผ่านมาต่างชาติได้ยกให้การบริการบัตรทองได้ เป็นระบบสุขภาพที่มีความเข็มแข็งและประชาชนได้ประโยชน์มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
03 ก.ค. 2560
สกู๊ป : แนวทางผ่อนปรน กม แรงงานต่างด้าว
สกู๊ป : แนวทางผ่อนปรน กม.แรงงานต่างด้าว พระราชกำหนด การบริหารจัดการของแรงงานต่างด้าว คืออีกหนึ่งกลไกที่รัฐบาลหวังจะนำมาแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายและการค้ามนุษย์ มีโทษปรับสูงสุดถึง 8 แสนบาท ซึ่งขณะนี้รัฐบาลเตรียมยืดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้ลงทะเบียนแรงงานต่างด้าวแล้ว ก่อนกฎหมายฉบับมีผลบังคับใช้ การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวที่ผ่านมา รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีความพยายามและมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหามาโดยตลอด 3 ปี ก่อนหน้านี้ไทยถูกจัดอันดับให้อยู่กลุ่มประเทศของระดับเทียร์ 3 ของประเทศสหรัฐอเมริกา นั่นก็คือเป็นประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำที่ถูกกำหนดไว้ จนได้ยกขึ้นมาเป็นระดับเทียร์ 2 ซึ่งถือเป็นประเทศที่อยู่ในระหว่างแก้ปัญหาให้ดีขึ้น การถูกเอารัดเอาเปรียบของแรงงานต่างด้าว คือปัจจัยหนึ่งของปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งเกิดจากการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม ขาดกลไกในการร้องทุกข์ให้แก่แรงต่างด้าวและผู้เกี่ยวข้องที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม และไม่มีบทบัญญัติรองรับการขึ้นทะเบียนตัวแทนนายจ้างและตัวแทนคนต่างด้าว ซึ่งถือเป็นช่องโหว่ทางกฎหมายทำให้เกิดการถ้ามนุษย์ขึ้นในสังคม จึงเป็นที่มาของการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว คือกฎหมาย พระราชกำหนด การบริหารจัดการของแรงงานต่างด้าว พ.ศ. 2560 ซึ่งถือเป็นการรวมเนื้อหาของกฎหมาย 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าวและพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ มารวมกัน ซึ่งเนื้อหาเป็นลักษณะการบูรณการรวมกัน เพื่อควบคุมงานต่างๆที่ต่างด้าวและป้องกันไม่ให้เกิดการเอาเปรียบจ้าง โดยมีอัตราสูงสุดโทษปรับ 4-8 แสนบาท การประกาศให้พระราชกำหนด การบริหารจัดการของแรงงานต่างด้าว ขณะนี้ถือว่ามีผลบังคับใช้แล้วเป็นที่เรียบร้อย แต่ยังมีบางกลุ่มธุรกิจที่ยังมีความจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าวอยู่ และอาจจะต้องใช้เวลาในการปรับ รัฐบาลจึงได้เตรียมมาตรการช่วยเหลือในเบื้องต้น คือ การออกคำสั่งของ คสช. ตามมาตรา 44 หวังจะยืดโอกาสให้เกิดการลงทะเบียนจ้างงานที่ถูกต้องใน 120 วัน เพื่อบรรเทาผลกระทบในช่วงนี้ ก่อนเริ่มปราบปรามอย่างจริงจัง สำหรับแนวทางที่รัฐบาลนำมาใช้ ช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายแรงงานต่างด้าว นั้นคือ ชะลอกฎหมายในมาตรา 101 คือ แรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน ต้องมีโทษจำคุก 5 ปี ปรับ 1 แสนบาท มาตรา 102 ผู้ประกอบการที่จ้างแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาต มีโทษปรับ 4-8 แสนบาท มาตรา 122 ผู้ประกอบที่จ้างแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตกับตนเอง มีโทษปรับ 4-8 แสนบาท ซึ่งบทลงโทษที่รุนแรงเหล่านี้ เพื่อให้นายจ้างได้ตระหนักถ้าทำผิดกฎหมายจะต้องถูกลงโทษหนัก จึงต้องให้ความสำคัญและทำให้ถูกต้อง ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้พยายามผ่อนปรนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นมาตลอด และเกิดผลกระทบกับประชาชนน้อยที่สุดในการประกอบธุรกิจทุกภาคส่วน
03 ก.ค. 2560
สกู๊ป : ไทยพร้อมต่อยอดเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง
สกู๊ป : ไทยพร้อมต่อยอดเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-นครราชสีมา ได้ข้อสรุปแล้วว่าจะใช้วิศวกรของประเทศไทยเข้าไปร่วมงานด้วย โดยต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ไม่เพียงเท่านั้นสภาวิศวกรยังยืนว่าต้องหารือร่วมกัน เพื่อถ่ายโอนความรู้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงไว้อีกด้วย รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพมหานคร ถึง จังหวัดนครราชสีมา กำลังกลายเป็นจริง หลังรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ผลักดันโครงการดังกล่าวให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะถือเป็นการขนส่งระบบรางเส้นแรกที่ไทยจะได้ใช้เทคโนโลยีความเร็วสูง ผ่านความร่วมมือและการลงทุนร่วมกันของบประเทศไทยและประเทศจีน ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีระบบการขนส่งทางรางที่ดีที่สุดในทวีปเอเชีย การร่วมมือกันระหว่างไทยและจีนในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นโอกาสอันดี ที่ไทยจะได้ในการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน จึงเป็นที่มาของการประชุม เพื่อตกลงผ่านการหารือการอบรมและทดสอบความรู้วิศวกรและสถาปนิกจีน ซึ่งสภาวิศวกรยืนยันว่าจะต้องทำเอ็มโอยูร่วมกันเพื่อสร้างความมือในวิชาชีพ เพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ที่มีแบบแผน และสามารถนำไปต่อยอดการเรียนรู้ ผ่านคณะกรรมการถ่ายโอนเทคโนโลยีที่จะตั้งขึ้นในอนาคต ผลการหารือในครั้งนี้ เบื้องต้นที่ประชุมคาดว่าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนทั้งเส้น อาจจะใช้วิศวกรจีนประมาณ 300 คน และสถาปนิกจีนประมาณ 20 คน ส่วนวิศวกรและสถาปนิกไทยได้เสนอข้อตกลงว่าจะใช้คนรวมกันประมาน 150 คน ซึ่งคณะนี้อยู่ในเกณฑ์การคัดเลือกว่าวิศวกรและสถาปนิกเหล่านี้จะมาจากหน่วยงานได้บ้าง เพื่อให้เกิดมาตรฐานและการทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น ทั้งบริษัทฝ่ายประเทศจีนและของไทย จึงมีความเห็นตรงกันว่าต้องดำเนินการจัดอบรมและทดสอบวิศวกรจากต่างประเทศที่จะเริ่มทำงาน โดยต้องผ่านเกณฑ์ให้ได้ร้อยละ 60 ซึ่งแบบทดสอบนั้น จะวัดเรื่องกฎหมายและจรรยาบรรณ ความรู้ในทางเทคนิค สภาพภูมิอากาศ สภาพแวดล้อม สภาพภูมิศาสตร์ ความรู้ด้านธรณีวิทยาและสถาปัตยกรรม รวมถึงมาตรฐานความปลอดภัยต่างๆที่จำเป็น เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นในอนาคต จากนี้ไม่ถึง 2 เดือนหมุดแรกของรถไฟสายประวัติศาสตร์นี้จะเริ่มก่อสร้างแล้ว และเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงนี้แม้จะเป็นครั้งแรก แต่ประเทศไทยก็เตรียมรับมือพร้อมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงอย่างเต็มที่ ซึ่งก่อนหน้าสภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย ก็ได้ออกมาพูดถึงเรื่องการเตรียมขยายฐานความรู้การสร้างรถไฟความเร็วสูงมาแล้ว ซึ่งในอนาคตประเทศยังมีเส้นทางที่รอให้มีการพัฒนารถไฟความเร็วสูงอีกจำนวนมาก หากไทยสามารถประยุกต์ต่อยอดเทคโนโลยี ก็เชื่อว่าจะสามารถลดต้นทุนการนำเข้าและมีรถไฟความเร็วสูงที่สามารถทำเองได้อย่างแน่นอน
30 มิ.ย. 2560
สกู๊ป : “พี่เลี้ยงโชห่วย..”กระตุ้น ศก.ฐานราก
ร้านค้าปลีกรายย่อย หรือ โชห่วย ที่มีอยู่ทั่วประเทศ ถือว่ามีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก รัฐบาลจึงให้ความสำคัญเร่งพัฒนาและยกระดับให้มีศักยภาพ เสริมสร้างความเข้มแข็ง ภายใต้โครงการ “พี่เลี้ยงโชห่วย ช่วยคนตัวเอง” ปรับโฉมโชห่วยไทยให้สามารถแข่งขันกับร้านค้าปลีกรายใหญ่ได้ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก หรือ Local Economy เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่มุ่งหวังสร้างความเข้มแข็งจากภายใน โดยเฉพาะการสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือ เอสเอ็มอี รวมถึงร้านค้าปลีกรายย่อย หรือ โชห่วย ที่มีอยู่ทั่วประเทศ เพื่อยกระดับให้มีศักยภาพ ให้มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันกับร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ได้ จึงเป็นที่มาของ“โครงการ พี่เลี้ยงโชห่วย ช่วยคนตัวเล็ก” ภายใต้ความร่วมมือของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กับสมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย รวมถึงร้านค้าส่งค้าปลีกในต่างจังหวัดทั่วประเทศ รูปแบบ“โครงการ พี่เลี้ยงโชห่วย ช่วยคนตัวเล็ก” จะให้ร้านค้าส่งค้าปลีกต้นแบบที่ผ่านการพัฒนาจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งขณะนี้มีจำนวน 132 ร้านค้า เป็นพี่เลี้ยงให้กับร้านค้าโชห่วย ในลักษณะพี่ดูแลน้อง คอยให้ความช่วยเหลือและพัฒนาร้านโชห่วย ให้มีทักษะในการบริหารจัดการร้านค้า ปรับโฉมร้านค้าให้ทันสมัย ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยเน้นหลัก “สวย สะอาด สว่าง สะดวก และสบาย” เพื่อให้ร้านโชห่วยมีการพัฒนา มีความเข้มแข็ง และมียอดขายที่ดีขึ้น สามารถแข่งขันกับร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ได้ โดยตั้งเป้าพัฒนาร้านโชห่วย 5,000 แห่งทั่วประเทศภายในปีนี้ ร้านโชห่วยที่ได้รับการปรับปรุงพัฒนาแล้ว จะถูกยกระดับให้เป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าธงฟ้าประชารัฐ ซึ่งเป็นสินค้าราคาต่ำกว่าท้องตลาดร้อยละ 15-20 จากผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ของประเทศที่มี 18 สินค้า 48 รายการ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับร้านโชห่วย และช่วยลดค่าครองชีพให้กับประชาชนในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาการปิดตัวลงของโชห่วยไทย โดยนายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมค้าส่ง-ค้าปลีกไทย ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันมีโชห่วยประมาณ 4 แสนราย ที่กำลังเผชิญกับการแข่งขันของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ที่หันมาลดขนาดของห้างให้เล็กลง และขยายเข้าไปในชุมชนต่าง ๆ เพื่อแข่งขันกับร้านโชห่วย ทำให้บางร้านค้าที่ไร้ศักยภาพในการแข่งขันปิดตัวลง แต่การเปิดตัวโครงการ “พี่เลี้ยงโชห่วย ช่วยคนตัวเล็ก”ที่ภาครัฐสนับสนุนในการปรับเปลี่ยนร้านค้าดั้งเดิมให้ทันสมัย เชื่อมั่นว่าจะช่วยลดปัญหานี้ลงได้ โดยสมาคมฯจะส่งสมาชิกร่วมปรับโฉมร้านค้าโชห่วยทั่วประเทศ พร้อมจัดหาสินค้าต้นทุนที่ใกล้เคียงกับค้าปลีกรายใหญ่ เพื่อให้สามารถแข่งขันด้านราคากับห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ได้ และทำให้ร้านโชห่วยสามารถยืนหยัดอยู่ได้ในชุมชน นับจากนี้ โชห่วยไทยกว่า 5,000 รายทั่วประเทศ จะไม่เผชิญกับการต่อสู้เพียงลำพังอีกต่อไป แต่จะมีพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือในทุกมิติซึ่งนอกจากเป็นการส่งเสริมให้ธุรกิจท้องถิ่นมีศักยภาพแล้ว โครงการนี้ยังมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืนตามนโยบายของรัฐบาล
30 มิ.ย. 2560
สกู๊ป : ยุทธศาสตร์ชาติ...กรอบพัฒนาประเทศ
การวางแนวทางเพื่อเป็นกรอบในการบริหารประเทศ ที่ทุกรัฐบาลที่จะเข้ามาต้องมีนโยบายสอดคลองกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการยกระดับประเทศและคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศที่ดียิ่งขึ้น การเข้ามาแก้ปัญหาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ตั้งแต่ปี 2557 ทำให้สถานการณ์ของประเทศที่เดินสู่ทางตัน กลับมาคลี่คลายเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับการระดมทุกภาคส่วนช่วยกันแก้ไขปัญหา และวางรากฐานของประเทศให้มีความมั่นคง ผ่านการปฏิรูป และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ทุกฝ่ายมุ่งเป้าหมายไปสู่การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีเป็นกรอบนโยบายการพัฒนาประเทศระยะยาว เพื่อให้ประเทศมีความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืน สู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการน้อมนำเอาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำไปสู่การพัฒนาให้คนไทยมีความสุข และตอบสนองต่อการบรรลุซึ่งประโยชน์แห่งชาติ โดยการวางฐานรากอนาคต พร้อมไปกับการปฏิรูปประเทศในทุกมิติ 3 ปีที่ผ่านมาจากการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สามารถนำพาให้ประเทศพัฒนาขึ้นในหลายด้านไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อให้ประเทศสามารถก้าวเป็นไทยแลนด์4.0 ที่มีความมั่นคง แข็งแรง และยั่งยืน การขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุค 4.0 บนพื้นฐานทางเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกันของทุกภาคส่วน พร้อมกับการพัฒนาระบบราชการในการให้บริการประชาชน มีความสะดวก รวดเร็ว ฉับไว ลดความเหลื่อมล้ำกันของประชาชนในทุกมิติ มีความรับผิดชอบโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ พร้อมกับสร้างการรับรู้ ทำความเข้าใจ และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จะเริ่มต้นขึ้นในปี 2560 -2579 โดยปีนี้ถือเป็นปีแห่งการเริ่มต้นการเดินหน้าตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ที่เน้น /ความมั่นคงในทุกมิติ ทั้งประเทศ สังคม ประชาชน และสิ่งแวดล้อม ความมั่งคั่ง ที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง มีความสามรถในการแข่งขันสูง และสร้างความสมบูรณ์ในทุนที่จะสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และความยั่งยืน ที่มีการพัฒนานำมาสู่การเจริญ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างประโยชน์ที่ยั่งยืน โดย 6 ยุทธศาสตร์ที่สำคัญในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีประกอบด้วย การสร้างความมั่นคง/การสร้างความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม การสร้างความเติบโต บนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการของภาครัฐ การสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของประชาชน ผู้เป็นเจ้าของประเทศและผู้ปฏิบัติตามกฎหมาย ก็จะเป็นการระดมพลังความคิด ตกผลึกเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน ที่จะเป็นการดำเนินการตามสิ่งที่ประชาชนเองต้องการ และให้ประเทศสามารถก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 ที่ประชาชนจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
30 มิ.ย. 2560
สกู๊ป : พ.ร.ก.ต่างด้าว...แก้ปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย
การตรากฎหมายกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ที่มีผลบังคับใช้แล้ว นับเป็นประเด็นทางกฎหมายที่ใกล้ตัวและมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะกฎหมายนี้ นับเป็นการขันน็อตครั้งใหญ่ให้กับมาตรการดูแลแรงงานต่างด้าวให้รัดกุม ซึ่งแน่นอนว่า ย่อมส่งผลกระทบต่อสังคม ผู้ประกอบการ และตัวแรงงานต่างด้าวเอง พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พุทธศักราช 2560 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา ได้สร้างปรากฎการณ์ความตื่นตัวของหลายฝ่ายในสังคม โดยเฉพาะผู้ประกอบการ ที่ เพราะตามสารกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งมีผลบังคับใช้ทันที จะทำให้ผู้ประกอบการรายใดที่ยังฝ่าฝืน รับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือ รับคนต่างด้าวเข้าทำงานในอาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ เข้าทำงานกับตน ผู้นั้นจะมีโทษปรับขั้นต่ำถึง 400,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้างไว้ 1 คน ท่ามกลางเสียงสะท้อนความกังวลว่า อาจกระทบต่อการประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะ กระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อยอย่างภาคการเกษตร ที่มีต้นทุนทางการผลิตที่น้อย และหลายงาน เป็นงานที่คนไทยไม่ทำให้ จึงยังจำเป็นต้องมีการใช้แรงงานต่างด้าว นี่คือการตรากฎหมายครั้งสำคัญ เพื่อขจัดปัญหาเกิดจากการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศและแก้ไขปัญหาการจัดระเบียบการทำงานของคนต่างด้าวในประเทศไทยที่อาจนำไปสู่การกระทำอันเป็นการค้ามนุษย์ โดยเป็นการปรับปรุง รวมกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 และกฎหมายว่าด้วยการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ.2559 เข้าด้วยกันเป็นฉบับเดียว เพื่อให้ภาครัฐจะสามารถจัดระเบียบและให้ความคุ้มครองแก่แรงงานต่างด้าวให้มีความเหมาะสม เป็นไปตามมาตรฐานสากล สาระสำคัญ ของพระราชกำหนดนี้ อาทิ ผู้ใดประสงค์จะจ้างคนต่างด้าวซึ่งอยู่นอกราชอาณาจักรเข้ามาทำงานในกิจการของตนเองในราชอาณาจักรให้ยื่นคำขออนุญาตทำงานต่อนายทะเบียนและชำระค่าธรรมเนียมแทนคนต่างด้าว ใบอนุญาตทำงานที่ออกให้ตาม พ.ร.ก.นี้ มีอายุไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่ออก เว้นแต่ใบอนุญาตทำงานที่ออกให้แก่คนต่างด้าวตามมาตรา 62 ให้มีอายุเท่าระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานตามกฎหมานนั้นๆ การต่อใบอนุญาตทำงานให้ต่อได้ครั้งละไม่เกิน 1 ปี โดยให้กระทำเพียงเท่าที่จำเป็น และให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริหารการจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ส่วนคนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตทำงานหรือได้รับการผ่อนผันให้ทำงาน ตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 อยู่ในวันก่อนวันที่พ.ร.ก.นี้บังคับใช้ให้ถือว่าได้รับอนุญาตทำงานหรือได้รับผ่อนผันให้ทำงานตาม พ.ร.ก.นี้ ขณะที่ ผู้ใดรับคนต่างด้าวเข้าทำงานโดยฝ่าฝืน คือใช้แรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 400,000-800,000 บาทต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน และยังกำหนดโทษสำหรับนายหน้า โดยผู้ใดนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศโดยไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับ ไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ กฎหมายฉบับนี้ จะทำให้ ผู้ประกอบการเอง ได้คนต่างด้าวมาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีคุณภาพตามความต้องการ สามารถตรวจสอบคนต่างด้าวได้หากประสบ พร้อมทั้ง ยังมีกลไกการร้องทุกข์ ให้แก่คนต่างด้าวและผู้เกี่ยวข้องที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ท้ายที่สุด ในภาพรวมของประเทศ ยังจะทำให้ไทย มีระเบียบการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวที่ได้มาตรฐานสากล ปิดตายอีกหนึ่งต้นทางของการค้ามนุษย์ ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่น และความเข้มแข็งของเศรษฐกิจไทยในระดับเวทีโลกอีกด้วย
30 มิ.ย. 2560
สกู๊ป : วิทย์-เทคโนโลยี...สู่การพัฒนาประเทศยุค 4.0
การเดินหน้าพัฒนาประเทศ โดยการปฏิรูปในทุกด้านและครอบคลุมให้ครบทุกมิติ ให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ศาสตร์ที่วางไว้ โดยการนำเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าเป็นส่วนในการพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศ การเดินหน้าสู่การพัฒนาประเทศ สู่การเป็นไทยแลนด์ 4.0 นอกจากการเตรียมเครื่องมือเพื่ออำนวยความสะดวกในด้านต่างๆแล้ว การเตรียมทรัพยากรมนุษย์ ผ่านการปฏิรูปด้านการศึกษา นับเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นับเป็นศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกแขนงวิชา เพราะวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่ใกล้ตัว ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิต เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับประชาชน ซึ่งต้องเริ่มต้นจากการพัฒนาศักยภาพด้านการศึกษาที่ต้องเสริมสร้างการผลิตนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยและนวัตกรรม เพื่อเดินหน้าประเทศต่อไป การปฏิรูปการศึกษาที่กำลังเกิดขึ้น ถือเป็นการปฏิรูปครั้งใหญ่ ที่เน้นการพัฒนาทั้งนักศึกษา บุคลากรครู หลักสูตรที่มีการสริมการเรียนโดยใช้การให้นักเรียนนักศึกษาเข้าไปศึกษาเทคโนโลยีจากโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการซึมซับ เกิดการเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยนำไปใช้ในระดับอุดมศึกษา และอาชีวศึกษา การศึกษาเป็นพื้นฐานการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรของประเทศ ที่เป็นกำลังสำคัญกับการเดินหน้าพัฒนาประเทศ เพราะทรัพยากรมนุษย์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายที่ตั้งใจ และทำให้ประเทศมีความมั่นคง และยั่งยืนมากที่สุด
30 มิ.ย. 2560
สกู๊ป : ศึกษาพลังงานถ่านหิน รองรับความต้องการพลังงานอนาคต
การแสวงหาแหล่งพลังงานเพื่อมาผลิตเป็นไฟฟ้า รองรับการเจริญเติบโตและความต้องการที่มีเพิ่มมากขึ้นในประเทศ เป็นสิ่งที่ภาครัฐกำลังเร่งเพื่อศึกษาข้อมูล หนึ่งในนั้นคือแหล่งพลังงานถ่านหินที่ยังคงเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งในขณะนี้ การพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ อย่างก๊าซธรรมชาติ นำมาผลิตพลังงานในการพัฒนาประเทศ ยังเป็นสิ่งที่ประเทศต้องอาศัย และเป็นพลังงานหลักในการขับเคลื่อน แต่ทรัพยากรทางธรรมชาติถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่มีขีดจำกัดในการใช้ และมีวันที่จะหมดไปในอนาคต การหาพลังงานทางเลือก เพื่อทดแทนพลังงานที่กำลังจะหมดไป ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทย ได้พยายามหาพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆเข้ามาช่วยเสริมความต้องการพลังงานของประชาชน แต่ยังไม่เพียงพอและส่วนใหญ่มักเป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำที่ให้กำลังการผลิตได้ไม่มาก จึงจำเป็นต้องหาพลังงานทดแทนอื่นๆมาใช้ ซึ่งประเทศไทยมีหลักดำเนินการ 3 ข้อก็ คือ ราคาพลังงาน การดูแลสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงทางพลังงาน หนึ่งในนั้นก็ถือการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน เนื่องจากสามารถให้ความคุ้มค่าและสามารถควบคุมได้ แต่ขณะเดียวกันการทำงานก็ต้องทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในขั้นตอนการผลิตว่าจะไม่เกิดอันตราย ประเทศไทยได้เชิญให้ประเทศใกล้เคียงอย่าง เวียดนาม พิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีของประเทศเหล่านี้ ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่ต้องมีกลยุทธ์ในการสำรองแหล่งพลังงานเอาไว้ใช้เช่นกัน ซึ่งทุกประเทศต่างเห็นตรงกันว่า พลังงานถ่านหินยังถือเป็นทางเลือกหลักที่ควรนำมาผลิตไฟฟ้า ข้อมูลจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานประเทศสหรัฐอเมริกา การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 7-8 ล้านล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ในปี พ.ศ.2555 และจะเป็น 10 ล้านล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ในปีพ.ศ. 2583 เนื่องจากทั่วโลกยังมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าพลังงานในอนาคตจำเป็นต้องใช้พลังงานถ่านหินมาผลิตไฟฟ้าแน่นอน และเมื่อดูข้อมูลการใช้พลังงานในประเทศไทยนั้นก็พบว่าปัจจุบันพลังงานไฟฟ้าที่ประเทศไทยผลิตได้นั้นมาจากเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติสูงสุด ในสัดส่วนร้อยละ 67 รองลงมาเป็นเชื้อเพลิงลิกไนต์ ถ่านหิน ร้อยละ20 น้ำมันเตาและดีเซล ร้อยละ 1 พลังน้ำ ร้อยละ 3 พลังงานหมุนเวียน ร้อยละ 2 และซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ ร้อยละ 7 ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่จะมาผลิตเป็นไฟฟ้า หากไม่เร่งหาพลังงานที่ผลิตขึ้นเองแล้ว ในอนาคตประเทศไทยอาจจะไม่มีพลังงานที่เพียงพอต่อความต้องการในการพัฒนาประเทศได้
25 มิ.ย. 2560
สกู๊ป : เร่งสอบมาตรฐานการบิน สู่ ปลดล็อกธงแดง ICAO
สกู๊ป : เร่งสอบมาตรฐานการบิน สู่ ปลดล็อกธงแดง ICAO กระทรวงคมนาคมเร่งพิจารณาออกใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศใหม่ หรือ AOC ให้กับสายการบินที่ผ่านมาตรฐาน พร้อมเร่งแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย หรือ SSC จำนวน 33 ข้อของ ICAO ซึ่งมีความคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 80 พร้อมมั่นใจว่าจะนำไปสู่การปลดล็อกธงแดงจาก ICAO ได้ภายในปีนี้แน่นอน ปม”ธงแดง ICAO” นับเป็นปัญหาสำคัญของอุตสาหกรรมการบินของไทย หลังองค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO ปักธงแดงมาตรการการบินของไทย เมื่อกลางปี 2558 จากกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย หรือ SSC จำนวน 33 ข้อของ ICAO ได้ทันภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งกลายเป็นโจทย์ใหญ่ที่รัฐบาลให้ความสำคัญและเดินหน้าแก้ปัญหาต่อเนื่อง ทั้งการเร่งตรวจสอบมาตรฐานการบินของสายการบินต่าง ๆ ในเส้นทางการบินระหว่างประเทศ รวมถึงการปรับปรุงกฎหมายการบินพลเรือนฉบับใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ ICAO เพื่อนำไปสู่การปลดล็อกธงแดงจาก ICAO ที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ว่าจะต้องปลดล็อดให้ได้ภายในปีนี้ การนำไปสู่การปลดล็อคธงแดง มี 2 ส่วน คือ การแก้ไขข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย หรือ SSC ใน 33 ข้อ โดยปมปัญหาข้อนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ กพท. ยืนยันว่ามีความคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 80 ส่วนปมปัญหามาตรการบิน มีความคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 95 จากการเร่งการตรวจสอบสายการบินเพื่อออกใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศใหม่ หรือ เอโอซี คาดว่าก่อน 1 กันยายนนี้ จะมีสายการบินที่ได้รับใบรับรอง 12 – 14 สายการบิน จาก 23 สายการบิน และขณะนี้ได้ออกใบรับรองไปแล้ว 5 สายการบิน และภายในเดือนนี้จะออกใบรับรองได้อีก 3 สายการบิน โดยวันที่ 30 มิถุนายน นี้ กพท.จะยื่นเรื่องให้ ICAO เข้ามาตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยทางการบินของไทย และจากการหารือกับ ICAO คาดว่าจะส่งทีมเข้ามาตรวจสอบซ้ำในเดือนกันยายนนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ย้ำว่า ระหว่างรอ ICAO เข้ามาตรวจสอบซ้ำในเดือนกันยายนนี้ จะเร่งตรวจสอบสายการบินที่เหลือและเร่งออกใบรับรอง เอโอซี ให้ได้ 13 สายการบินภายในเดือนสิงหาคมนี้ ส่วนอีก 10 สายการบินที่ยังไม่ผ่านมาตรฐาน ต้องหยุดบินเส้นทางระหว่างประเทศทันทีจนกว่าได้รับใบรับรอง แต่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้โดยสาร เพราะส่วนใหญ่เป็นสายการบินขนาดเล็ก แต่แม้ว่าระหว่างที่ ICAO เข้ามาตรวจสอบซ้ำ กพท.ยังคงเดินหน้าทบทวน เอโอซี ให้สายการบินได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทุกสายการบินผ่านมาตรฐานได้ครบภายในปีนี้ และนำไปสู่การปลดล็อคธงแดง ICAO ให้ได้ตามเป้าหมายที่รัฐบาลมุ่งหวังและผลักดันไทยสู่ฮับการบินในภูมิภาคในอนาคต
25 มิ.ย. 2560
สกู๊ป : แก้ปัญหา ส.ป.ก. บนผลประโยชน์ชาติ
สกู๊ป : แก้ปัญหา ส.ป.ก. บนผลประโยชน์ชาติ การแก้ไขปัญหาบนพื้นที่ ส.ป.ก. ที่มีข้อพิพาทด้านกฎหมายกับกิจการสาธารณะที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ จนไม่สามารถดำเนินการต่อได้ ที่ คสช. และ รัฐบาล นำมาตรา 44 มาใช้แก้ไขปัญหา เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อด้านพลังงานของประเทศ แม้จะถูกตั้งคำถามว่าเหมาะสมหรือไม่ แต่หากพิจารณาจากการแก้ไข จะเห็นได้ว่ารัฐบาลยังยึดผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง และยังให้ความสำคัญต่อการจัดสรรที่ดินทำกินของเกษตรกร ถือเป็นการปลดล๊อคปมปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ ส.ป.ก. เมื่อราชกิจจานุเษกษาได้ เผยแพร่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 31/2560 เรื่อง การใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกร และประโยชน์สาธารณะของประเทศ แม้ว่าการแก้ไขปัญหาครั้งนี้จะเกี่ยวข้องกับกิจการสาธารณะที่ประกอบกิจกรรมอยู่บนพื้นที่ของ ส.ป.ก. ที่ถูกมองว่า จะเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ แต่หากพิจารณาในเนื้อหาคำสั่ง คสช. จะเห็นได้ว่า การแก้ไขปัญหาเน้นไปที่ปัญหาเดิม ซึ่งมีความทับซ้อนของข้อกฎหมาย และระเบียบปฏิบัติ โดยการแก้ไขปัญหาทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ประเทศ แม้การแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ส.ป.ก. จะเกี่ยวข้องกับกิจการสาธารณะ แต่รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังให้ความสำคัญต่อการจัดสรรที่ดินทำกินสำหรับประชาชน ตามเจตนารมณ์ ของ ส.ป.ก. ที่มุ่งเน้นให้การจัดสรรที่ดิน เกิดประโยชน์แก่ประชาชนและชุมชนมากที่สุด โดยแนวทางหลังจากนี้ไป กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จะเชิญ 7 บริษัทผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมต้องหยุดสำรวจและผลิตปิโตรเลียม จากคำสั่งศาลปกครองสูงสุดให้เพิกถอนระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ บอร์ด ส.ป.ก.ที่ยินยอมให้นำทรัพยากรธรรมชาติ มาชี้แจงแนวทางปฏิบัติ และสิ่งที่ต้องชดใช้ให้กับเกษตรกรที่ได้รับความเสียหาย ก่อนดำเนินการต่อผลิตปิโตเลียม เพื่อหยุดความเสียหายที่มีผลกระทบต่อพลังงานของประเทศ มากกว่า 1,000 ล้านบาท โดยยังไม่มีให้การอนุญาตผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาดำเนินการ
25 มิ.ย. 2560
สกู๊ป : รพ.สต. ขับเคลื่อนสุขภาพจิตชุมชนด้วยนวัตกรรม
สกู๊ป : รพ.สต. ขับเคลื่อนสุขภาพจิตชุมชนด้วยนวัตกรรม การฟื้นฟูและเยียวยาผู้ป่วยทางจิต ทั้งผู้ป่วยจากโรคซึมเศร้า และผู้ป่วยจิตเวชให้สามารถก้าวคืนกลับมามีจุดยืนในสังคมได้อีกครั้ง รวมถึงการดูแลสุขภาพจิตของคนใกล้ตัวให้มีจิตใจเข้มแข็ง ถือเป็นหัวใจสำคัญกับการสร้างรากฐานของประเทศให้มีความมั่นคง ด้วยการนำนวัตกรรมเข้ามาช่วยบำบัด และดูแลจิตใจ การดูแลสุขภาพจิตของประชาชน โดยการขับเคลื่อนให้ชุมชน Smart Cityzen ในยุค Thailand 4.0 ที่มีความสมบูรณ์ทั้งกายและใจ มีความพร้อมทางปัญญาและอารมณ์ ให้ประชาชนมีความสุขในทุกช่วงของวัย โดยใช้กลไกในท้องถิ่นเป็นหน่วยงานขับเคลื่อน ถือเป็นเป้าหมายสำคัญนำไปสู่การสร้างรากฐานประเทศมีความเข้มแข็ง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้นำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และ อสม.ในท้องที่ มาสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้เป็นสุข ช่วยลงพื้นที่ตรวจสอบ และประเมินสภาพจิตใจของประชาชน พร้อมกับการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้าไปพัฒนามีส่วนช่วยในการขับเคลื่อน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาแก้ว อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ได้นำเอากลองยาวที่มีอยู่ในชุมชน มาเป็นนวัตกรรมพาสุข ใช้บำบัดและเยียวยาจิตใจของผู้ป่วยทางจิตที่ผ่านการคัดกรองทุกกลุ่มวัยอย่างเข้มข้น ซึ่งมีทั้งภาวะเครียด และซึมเศร้า รวมถึงการใช้สารเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น โดยพบว่าได้ผลการใช้งานเป็นอย่างดี กับการใช้ดนตรีเยียวจิตใจผู้ป่วย และสร้างอาชีพให้สามารถเข้ามาอยู่ในสังคมได้อีกครั้ง เช่นเดียวกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าข้าม อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ที่นำเอานวัตกรรมเพื่อมาบำบัดสุขภาพให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยการเข้าไปพูดและแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด เช่น การนำนวัตกรรมกระบอกบีบ ออกกำลังกล้ามเนื้อ โดนใช้ไซลิงที่เหลือใช้มาเป็นเครื่องมือในการบริหารกล้ามเนื้อ อีกหนึ่งนวัตกรรมที่เรียกได้ว่าเป็นส่วนในการบริหารข้อต่อหัวไหล่ นั่นคือยางยืดมหัศจรรย์เพื่อแก้ปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง และในอนาคตจะมีการต่อยอดทำหมอนและที่นอนจากหลอดเพื่อแก้ปัญหาแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียง การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ผสมผสานกับภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และ อสม. เป็นกลไกในการขับเคลื่อน เพื่อให้การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด และเป็นไปอย่างใกล้ชิด ทำให้ระบบสุขภาพของประชาชน ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพใจ สามารถยกระดับสู่ชุมชนที่มีความสุขมากขึ้น นำไปสู่ความเข้มแข็งของคนในชุมชน และพร้อมเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศต่อไป
25 มิ.ย. 2560
สกู๊ป : รัฐหนุนสถาบันศึกษาผลิตบุคลากรด้านท่องเที่ยว
สกู๊ป : รัฐหนุนสถาบันศึกษาผลิตบุคลากรด้านท่องเที่ยว การสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยว หัวใจหลักนั่นก็คือจากการบริการ รัฐบาลจึงเล็งเห็นความสำคัญสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาต่าง ๆ เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนด้านการท่องเที่ยว หวังผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพและตอบโจทย์การบริการให้มากที่สุด รายได้จากแหล่งท่องเที่ยวและการบริการ ถือเป็นอีกกลุ่มอุตสาหกรรมที่สามารถดึงเม็ดเงินจากต่างประเทศเข้ามาอย่างมหาศาล สร้างรายได้หมุนเวียนกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น ตั้งแต่ประชาชนในชุมชนไปจนถึงเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างโอกาสและอาชีพให้กับคนในประเทศอีกทางหนึ่งด้วย แต่ที่ผ่านมายังพบว่า ยังติดปัญหาบุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจในการบริการ เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของการท่องเที่ยวให้เติบโตขึ้น รัฐบาลจึงตั้งเป้าว่า นับจากนี้จะผลักดันให้มหาวิทยาลัยในประเทศ ต้องมีหลักสูตรและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการที่มีคุณภาพ เน้นการบริการที่มีประสิทธิภาพ มีความเชี่ยวชาญแต่ละด้านที่มีความถนัด พร้อมปลุกจิตสำนึกในความรักและภูมิในความเป็นไทยควบคู่กันไปด้วย ซึ่งจะทำให้บัณฑิตเพียบพร้อม กับการพัฒนาต่อยอดธุรกิจการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงในยุคไทยแลนด์ 4.0 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยที่ถือว่ามีความเชี่ยวชาญการผลิตบุคลากร มองว่า การเปิดหลักสูตรที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการที่เพิ่มขึ้น ถือเป็นอีกแนวทางที่จะช่วยลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเรื่องของภาษาที่ต้องสื่อสารได้ดี หากไม่สามารถผลิตบุคลากรได้ทัน อาจจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้ จากการวิเคราะห์สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ประเมินไว้ว่า ในปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ มาท่องเที่ยวมากถึง 34 ล้านคน สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนให้ประเทศถึง 1.8 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นเม็ดเงินจำนวนมาก การสร้างบุคลากรเพื่อมารองรับการเจริญเติบโตทางการท่องเที่ยวจึงถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะนั่นหมายถึงโอกาสที่สามารถสร้างรายได้กับท้องถิ่น และเศรษฐกิจของประเทศ โดยการบริการที่มีคุณภาพและสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว
25 มิ.ย. 2560
สกู๊ป : ร้านค้าประชารัฐ ยกระดับเศรษฐกิจฐานราก
สกู๊ป : ร้านค้าประชารัฐ ยกระดับเศรษฐกิจฐานราก การแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ และกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับประชาชนระดับฐานราก ถือเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ต้องการทำให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ในยุคเศรษฐกิจปัจจุบัน นำไปสู่การจัดทำโครงการร้านค้าประชารัฐ ที่จะนำของที่จำเป็นมาขายให้กับประชาชนในราคาถูกกว่าท้องตลาด พร้อมกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในชุมชนอีกทางหนึ่ง สินค้าเครื่องใช้ ทั้งเครื่องอุปโภค และบริโภค ที่วางเรียงรายภายในร้านธงฟ้าประชารัฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นหนึ่งในตัวอย่างของร้านค้าที่รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นำมาช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชน และสร้างความเข้มแข็งทางการค้าของชุมชน และยังใช้กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยด้วย กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ จะนำสินค้าที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันจากแหล่งผู้ผลิต มาจำหน่ายราคาถูกกว่าท้องตลาดร้อยละ 15 - 20 มาจำหน่ายให้กับประชาชน ได้นำไปใช้ เป็นหนึ่งตัวเลือกร้านค้าปลีกที่ประชาชนสามารถเข้าถึง และจับต้องได้ นอกจากนี้ รัฐบาลเตรียมขับเคลื่อนให้เกิดร้านค้าปลีกที่คล้ายกับร้านธงฟ้าประชารัฐ ซึ่งจะเชื่อมโยงกับร้านค้าปลีกชุมชนในเครือข่าย รวมทั้งการร่วมมือกับผู้ประกอบการร้านค้าปลีกชุมชนของกรมพัฒนาชุมชน และสำนักงานกองทุนหมูบ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ภายใต้โครงการประชารัฐ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึง และครอบคลุมทุกพื้นที่มากขึ้น ภายในเดือนกรกฎาคม กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าขยายร้านค้าประชารัฐให้ได้ 5 พันแห่งทั่วประเทศ และภายในปี 2561 จะสามารถขยายได้ถึง 19,000 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนสามารถมีทางเลือกในการซื้อสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในราคาที่ประหยัด และเกิดความคุ้มค่า สามารถอยู่ได้ในยุคเศรษฐกิจปัจจุบัน ขณะเดียวกัน ยังเป็นการพัฒนาและกระตุ้นเศรษฐกิจ ระดับฐานราก ซึ่งมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาครวมของประเทศ เพราะเมื่อมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ก็ทำให้เศรษฐกิจของประเทศมีความคึกคัก และฟื้นตัวได้อีกครั้ง
25 มิ.ย. 2560
ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด จัดกิจกรรม “วิ่งเพื่อพ่อ ต่อต้านยาเสพติด” RUN FOR DA
วันที่ (25 มิ.ย.60) ที่ลานวัฒนธรรมศิริจิตอุทยาน ริมแม่น้ำปิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร นายธานี ธัญญาโภชน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานในการจัดงานวันต่อต้านยาเสพติดโลก ประจำปี 2560 โดยมีหัวหน้าส่วนราชการและประชาชน รวมถึงนักวิ่งมืออาชีพและมือสมัครเล่นในจังหวัดกำแพงเพชร เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก จังหวัดกำแพงเพชร โดยศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดกำแพงเพชร จัดกิจกรรม “วิ่งเพื่อพ่อ ต่อต้านยาเสพติด” RUN FOR DAD จังหวัดกำแพงเพชร ประจำปี 2560 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 25 มิถุนายน 2560 การวิ่งแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่ มินิฮาล์ฟมาราธอน และ FUN RUN เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก (26 มิถุนายน) ภายใต้กรอบแนวคิด “ทำความดีเพื่อพ่อ สานต่อปณิธาน ต่อต้านยาเสพติด” เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายประชาชน ได้ร่วมแสดงพลังทำความดีถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และร่วมสานต่อพระราชปณิธานในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยจัดพิธีปล่อยตัวนักกีฬาที่หน้าลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สิริจิตอุทยาน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร ประเภท มินิฮาล์ฟมาราธอน จะวิ่งระยะทาง (10.5 กม.) และ FUN RUN หรือ เดิน – วิ่ง ระยะทาง (5 กม.) โดยเส้นทางการวิ่งจะผ่านสถานที่สำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร ได้แก่ ศาลหลักเมือง อุทยานประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานจังหวัด ศาลากลางจังหวัด (หลังเก่า) ฯลฯ สำหรับถ้วยรางวัลจะมอบให้กับ ผู้ชนะการแข่งขัน ทุกกลุ่มอายุ ลำดับที่ 1 – 5 ของมินิฮาล์ฟมาราธอน และลำดับที่ 1 – 3 ของ FUN RUN และจะมอบเหรียญที่ระลึกการจัดการแข่งขันให้แก่ผู้เข้าเส้นชัย จำนวน 100 คนแรก ของทุกกลุ่มอายุ
25 มิ.ย. 2560
จ.บึงกาฬ ประชาชนต่างเล่นน้ำล้นฝายบึงโขงหลงผ่อนคลายสนุกสนานไม่แพ้น้ำตก
จ.บึงกาฬ ประชาชนต่างเล่นน้ำล้นฝายบึงโขงหลงผ่อนคลายสนุกสนานไม่แพ้น้ำตก วันที่ (25 มิ.ย.60) ที่บริเวณฝายน้ำล้น อ่างเก็บน้ำบึงโขงหลง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ มีประชาชนและนักท่องเที่ยวจำนวนมากพากันมาเล่นน้ำด้วยความสนุกสนาน บางคนก็นำรถยนต์ มาล้างทำความสะอาดอย่างสบายอารมย์ ซึ่งโดยเฉพาะช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ยิ่งหน้าฝนที่มีน้ำมากกว่าช่วงอื่น ๆ แล้วจะมีประชาชนจำนวนมากทั้งในตัวอำเภอบึงโขงหลง บ้างก็มาเป็นครอบครัว บ้างก็มาเป็นกลุ่ม และยังมีนักท่องเที่ยวจากต่างถิ่นที่ตั้งใจมาเล่นน้ำ หรือขากลับจากเที่ยวน้ำตกก็จะแวะมาเล่นน้ำที่นี่เพื่อเป็นการผ่อนคลาย น้ำที่ทั้งเย็นและใสสะอาดไหลล้นผ่านฝายน้ำล้นที่มีความยาวกว่า 40 เมตร แถบฟองน้ำสีขาวฟุฟ่องน่าตื่นตาตื่นใจไม่แพ้ไปเที่ยวน้ำตก ทั้งยังได้ชมวิวบึงโขงหลง และภูเขาขึ้นชื่อภูลังกาไปด้วยแล้วยิ่งประทับใจจนอยากที่จะลืม แต่เจ้าหน้าที่ก็ต้องระมัดระวังเพราะจุดที่เล่นน้ำติดกับบริเวณน้ำลึก และมีตะไคร่น้ำอาจทำให้ลื่น และช่วงที่ฝนตกอย่างต่อเนื่อง น้ำจะมากกว่าปกติก็ไม่ควรลงเล่นเพราะจะเป็นอันตราย
25 มิ.ย. 2560
สมาชิก สนช.ลงพื้นที่รับฟังปัญหาจากประชาชนในพื้นที่ จ.สมุทรสงคราม พร้อมหารือหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่
วันนี้ (25 มิ.ย.60) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จัดโครงการสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติพบประชาชน ณ จังหวัดสมุทรสงคราม โดยนายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่สอง พร้อมด้วยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวนกว่า 21 คน ซึ่งเป็นผู้แทนจากคณะกรรมาธิการสามัญคณะต่าง ๆ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้แทนจากสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และผู้แทนจากสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมรับฟังปัญหาอุปสรรคในด้านต่าง ๆ ทั้งจากส่วนราชการและจากประชาชนในพื้นที่เพื่อนำไปสู่การแก้ไขภายใต้บทบาทอำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยมีนายคันฉัตร ตันเสถียร ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม นายรังสรรค์ ตันเจริญ, นายยงยุทธ์ สิงห์ธวัช รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม หัวหน้าส่วนราชการ อัยการ ทหาร ตำรวจ พ่อค้า ประชาชนชาวจังหวัดสมุทรสงคราม ให้การต้อนรับและร่วมแสดงความคิดเห็น โดยคณะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีกำหนดการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ณ อาคารเอนกประสงค์ ชั้น 2 วัดเพชรสมุทรวรวิหาร จังหวัดสมุทรสงคราม พร้อมทั้งกับประชุมหารือกับส่วนราชการต่าง ๆ ของจังหวัดสมุทรสงคราม ณ ห้องแม่กลอง ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสมุทรสงคราม เกี่ยวกับปัญหาการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างล่วงล้ำลำน้ำ ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ปัญหาการบริหารจัดการขยะ การผลักดันโครงการแก้มลิงทุ่งหิน ปัญหาผังเมือง และโรงแรม ปัญหาล้งมะพร้าว และปัญหาลิงแสม โอกาสนี้ คณะได้แบ่งกลุ่มเล็กลงพื้นที่ต่าง ๆในจังหวัดสมุทรสงคราม คณะที่ 1 เพื่อรับฟังปัญหาด้านการจัดการน้ำเสียที่เกิดจากการแปรรูปผลผลิต ณ ล้งมะพร้าว หมู่ที่ 5 ตำบลบางสะแก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม และคณะที่ 2 เพื่อรับฟังปัญหาของเยาวชน จำนวน 100 คน ณ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม ดังเป้าหมายที่ว่า “สะท้อนปัญหา นำพาแก้ไข ห่วงใยประชา” โครงการสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติพบประชาชนเริ่มดำเนินการครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2557 ปัจจุบันดำเนินการมาแล้ว จำนวน 29 ครั้ง รวม 56 จังหวัด ซึ่งจากการดำเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557 – ธันวาคม 2559 ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนทั้งสิ้น 7,236 ราย สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติแล้ว จำนวน 5,887 ราย คิดเป็นร้อยละ 81.36 และอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 1,349 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.64
25 มิ.ย. 2560
จ.อุทัยธานี ท่องเที่ยวหน้าฝนสุดคึกคัก นักท่องเที่ยวย่ำไปในสวนทุเรียน เยี่ยมชมทั้งในวันหยุดและวันปกต
ที่จังหวัดอุทัยธานี แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรสวนเงาะทุเรียนของนายวิโรจน์ เผ่าพันธ์โพธิ์ เกษตรกรชาวสวนผลไม้ หมู่ที่ 8 บ้านคลองหวาย ตำบลคอกควาย อำเภอบ้านไร่ ซึ่งเดิมปลูกพืชเชิงเดี่ยวมันสำปะหลังและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และประสบปัญหาราคาตกต่ำ ได้ปรับเปลี่ยนมาปลูกไม้ผลแบบผสมผสาน บนเนื้อที่ 35 ไร่ มีทั้งทุเรียน เงาะ มังคุด ขณะนี้ให้ผลผลิตแล้วล้วนแล้วแต่มีคุณภาพ โดยในช่วงวันหยุดและวันธรรมดาในช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงนี่มีผลไม้ออกผลผลิตตามฤดูกาล ได้มีนักท่องเที่ยวทยอยเดินทางมาเยี่ยมชมสวนกันเป็นจำนวนมาก สร้างความตื่นตาตื่นใจและสร้างความเพลิดเพลินให้กับผู้ที่มาเยี่ยมชมเป็นอย่างยิ่ง ส่วนผลไม้ที่นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบ ได้แก่ ทุเรียนมีทั้งพันธุ์ก้านยาวและหมอนทอง ซึ่งจะมีรสชาดหวานมัน เนื้อละเอียดนุ่ม เนื้อเยอะ เมล็ดรีบเล็ก แต่ละรายก็จะซื้อติดไม้ติดมือกลับไปฝากคนที่บ้านกันเป็นเป็นจำนวนมาก ซึ่งลุงวิโรจน์บอกว่า ทุเรียนรุ่นแรกได้หมดรุ่นลงแล้ว ส่วนทุเรียนรุ่น 2 รวมทั้งเงาะพันธุ์โรงเรียนที่เนื้อกรอบร่อน เนื้อแห้ง ไม่ฉ่ำน้ำเวลาปลอก และมังคุด จะออกมากในช่วงเดือนสิงหาคม แต่ก็มีลูกให้เข้ามาเยี่ยมชมกันได้ โดยนายวิโรจน์ เจ้าของสวนกล่าวว่า ก่อนหน้านี้มีนักท่องเที่ยวรายหนึ่งมาเยี่ยมชมแต่วันที่มาทุเรียนยังไม่แก่ สร้างความผิดหวัง จึงได้ทำการเหมาซื้อทุเรียนยกต้น ซึ่งมีจำนวนกว่า 30 ลูก แต่ละลูกมีน้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัม ขายในราคากิโลกรัมละ 130 บาท รวมเป็นเงินกว่า 20,000 บาท พอทุเรียนแก่พอตัดขายได้ก็จะโทรบอกให้กับผู้ที่ซื้อเหมา มารับทุเรียน ไปทาน ตามที่ได้ตกลงกันไว้ สร้างความดีใจเป็นอย่างมาก
25 มิ.ย. 2560
ชาวมุสลิมยะลา ฉลองอีฎิ้ลฟิตริ”ร่วมละหมาด อย่างคึกคัก
ชาวมุสลิมยะลา ร่วมละหมาดอีด “อีฎิ้ลฟิตริ” ที่ศูนย์เยาวชนเทศบาลนครยะลา กว่าสองพันคน วันนี้ ( 25 มิ.ย 60) เครือข่ายองค์กรมุสลิมและมัสยิด ชุมชนในพื้นที่ จ.ยะลา จัดพิธีละหมาดอีด เนื่องในวันอีฎิ้ลฟิตริ หรือฮารีรายอปอซอ ฮิจเราะห์ศักราช 1438 ขึ้นที่ศูนย์เยาวชนเทศบาลนครยะลา อ.เมือง จ.ยะลา เพื่อให้ชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ จ.ยะลา และพื้นที่ใกล้เคียง ได้ร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลฮารีรายออีฎิ้ลฟิตริ หลังจากที่ชาวมุสลิม ได้ปฎิบัติศาสนกิจด้วยการถือศีลอดตามบทบัญญัติ มาตลอดระยะเวลา 1 เดือน ในเดือนรอมฎอน โดยมีชาวมุสลิม ทั้ง มุสลิมีน(ชาย) มุสลิมะห์ (หญิง) และเด็กๆ เข้าร่วมละหมาด อีฎิ้ลฟิตริ กว่า 2,000 คน ซึ่งการละหมาดครั้งนี้ โดยมีนายศุภณัฐ สิรันทวิเนติ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ นายเจษฎา จิตรัตน์ ปลัดจังหวัดยะลา เดินทางมาร่วมแสดงความยินดีพร้อมทั้งพบปะกับพี่น้องชาวมุสลิมที่มาร่วมพิธีละหมาดในครั้งนี้ สำหรับกิจกรรม นอกจากพิธีละหมาดแล้ว ยังมีการบรรยายธรรม(คุฎบะฮุ) การแสดงความยินดีและขออภัยต่อกัน (การขอมาอัฟ ) ในสิ่งที่ได้ล่วงละเมิดทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม การบริจาค รวมทั้ง มีการแจกจ่ายอาหารให้กับผู้เข้าร่วมพิธีอีกด้วย ทั้งนี้ การละหมาดวันอีฎิ้ลฟิตริ หรือวันอีดเล็ก ตรงกับวันที่ 1 เดือนเซาวาล เป็นเดือนที่ 10 ของเดือนในศาสนาอิสลามโดยถือทางจันทรคติ การละหมาดวันอีฎิ้ลฟิตริ ถือเป็นการปฎิบัติศาสนกิจที่มีความสำคัญต่อชาวไทยมุสลิมเป็นอย่างมาก มุสลิมทุกเพศทุกวัยทั้งชายหญิง จะต้องไปร่วมกันละหมาด โดยพร้อมเพรียงกัน ที่มัสยิดใกล้บ้าน หรือสถานที่ที่จัดให้มีพิธีละหมาด
25 มิ.ย. 2560
จ.ลำปาง จัดงานมหกรรมแสดงสินค้าเกษตรปลอดภัย “เกษตรสร้างสรรค์ คนลำปางไม่ทิ้งกัน”
เกษตรและสหกรณ์ลำปาง ร่วมประสานหน่วยงานภาครัฐ เอกชน เปิดพื้นที่จัดงานมหกรรมแสดงและจำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดภัย “เกษตรสร้างสรรค์ คนลำปางไม่ทิ้งกัน” นำเกษตรกรผู้ผลิตในพื้นที่ร่วมออกร้านจำหน่ายสินค้าราคาถูกแก่ประชาชนผู้บริโภค สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลำปาง ร่วมกับ หน่วยงานส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประจำพื้นที่จังหวัดลำปาง และกลุ่มขบวนการสหกรณ์และเครือข่ายกลุ่มอาชีพสหกรณ์ในจังหวัดลำปาง จัดกิจกรรมเชิงรุกส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดแก่กลุ่มเกษตรกรและกลุ่มอาชีพชุมชน ในงานมหกรรมสินค้าเกษตรปลอดภัย “เกษตรสร้างสรรค์ คนลำปางไม่ทิ้งกัน” ร่วมกันนำกลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ ทำการเปิดตลาดรวบรวมผลิตภัณฑ์สินค้าระดับคุณภาพจากเหล่าสมาชิก ออกบูธวางจำหน่ายในราคาพิเศษให้กับประชาชนผู้บริโภค ที่บริเวณลานกิจกรรมรถม้า ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซาลำปาง ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง มีนายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดงาน โดยมีคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ พนักงานเจ้าหน้าที่ ตัวแทนหน่วยงานองค์กรทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงประชาชนในพื้นที่จังหวัดลำปาง เข้าร่วมกิจกรรมในพิธีเปิดงานเป็นจำนวนมาก พร้อมกับได้เลือกชมเลือกซื้อสินค้าต่างๆ ตามที่ต้องการ ซึ่งล้วนเป็นสินค้าผลิตภัณฑ์เกษตรคุณภาพมาตรฐานปลอดภัย ที่มีกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตในพื้นที่จังหวัดลำปางนำมาจัดแสดงและจำหน่าย สำหรับงานมหกรรมสินค้าเกษตรปลอดภัย “เกษตรสร้างสรรค์ คนลำปางไม่ทิ้งกัน” เป็นกิจกรรมที่ได้ทำขึ้น ภายใต้โครงการ “ส่งเสริมพัฒนาและยกระดับสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐานแบบครบวงจร” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรได้มีการพัฒนาด้านการตลาด ทั้งการแปรรูปผลิตภัณฑ์ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับตัวผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร โดยการจัดงานมีจุดมุ่งหมาย เพื่อต้องการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลิตผล ผลิตภัณฑ์เกษตรคุณภาพ เกษตรปลอดภัยในนามลำปางแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายแก่ประชาชนทั่วไป อีกทั้งยังเป็นการเปิดช่องทางให้เกษตรกรได้มีการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงตลาดกันเอง ซึ่งจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการประกอบกิจการ อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ขยายฐานเพิ่มปริมาณธุรกิจ ยกระดับการผลิต และการตลาด เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเพื่อการพัฒนาสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งจะก่อให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ ช่วยให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้เลือกซื้อสินค้าคุณภาพ ที่มาจากแหล่งผลิตโดยตรงในราคายุติธรรม อันจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค โดยการจัดงานครั้งนี้ มีเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยกลุ่มต่างๆ ได้นำสินค้ามาร่วมออกบูทจำหน่ายในราคาพิเศษให้แก่ประชาชน รวมกว่า 80 บูท ประกอบด้วย กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวปลอดภัย กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักผลไม้ กลุ่มเกษตรกรด้านการประมง กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตสมุนไพร และกลุ่มเกษตรกรด้านการแปรรูปอาหาร ยาเวชภัณฑ์ และเครื่องสำอาง ซึ่งภายในงานมีผลิตภัณฑ์สินค้าทางการเกษตรนำมาจัดวางจำหน่ายมากมายทั้งอาหารแปรรูปจากพืชผลทางการเกษตรทั่วไป ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพแปรรูปจากข้าว จากพืชสมุนไพร ผลิตภัณฑ์อาหารสดพืชผักผลไม้ปลอดสารพิษ ผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ไม่ใช่อาหาร รวมไปถึงการจำหน่ายกล้าพันธุ์ไม้ดอก ไม้ประดับชนิดต่างๆ และผลิตภัณฑ์สิ่งของที่ระลึกประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ เป็นต้น ตลอดจนภายในงานยังได้จัดกิจกรรมพิเศษให้ประชาชนที่มาจับจ่ายเลือกซื้อสินค้าได้ร่วมสนุกลุ้นรับของรางวัลมากมาย โดยกิจกรรมการจัดงานจะมีไปจนถึงวันที่ 27 มิถุนายน 2560 นี้ ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซาลำปาง ตั้งแต่เวลา 11.00 – 21.00 น. ทุกวัน
24 มิ.ย. 2560
โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ยืนยันไม่มีการยกเลิกหมายจับ หรือจ่ายเงินให้กับผู้เข้าร่วมโครงการพาคนกลับบ้าน
โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ระบุไม่มีการยกเลิกหมายจับ หรือจ่ายเงินให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ “พาคนกลับบ้าน” ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม รัฐช่วยอำนวยความสะดวก เพื่อต้องการสร้างความมั่นใจเท่านั้น พันเอก ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า เปิดเผยถึงกรณีการจ่ายเงินให้แก่ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (ผรท.) ว่า สำหรับโครงการพาคนกลับบ้านของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการยุติความรุนแรง เข้ามารายงานตัว แสดงตนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ซึ่ง กอ.รมน.ภาค 4 สน. ไม่ได้ให้สิทธิประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น การที่มีข่าวว่า กอ.รมน.ภาค 4 สน. ได้จ่ายเงินเป็นรายหัวให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการพาคนกลับบ้าน รายละสองแสนกว่าบาท ไม่เป็นความจริง และไม่มีการยกเลิกหมายจับใดๆ เพราะทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม สิ่งที่รัฐดำเนินการ คือ ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ต้องหาทุกคน เพื่อต้องการสร้างความมั่นใจ ซึ่งการที่แม่ทัพภาค 4 ไปรับ ก็เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับบุคคลเหล่านั้นว่าจะไม่ถูกทำร้าย ซึ่งทุกคนจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ฟ้อง หรือไม่ฟ้องนั้น ก็ขึ้นอยู่กับผู้พิพากษา หรืออัยการที่จะดำเนินการ
20 มิ.ย. 2560
สกู๊ป : ตลาดเคหะประชารัฐ ลดค่าครองชีพประชาชน
เพื่อแบ่งเบาภาระค่าครองชีพประชาชนในกรุงเทพมหานคร กระทรวงพาณิชย์เตรียมผลักดัน ตลาดเคหะประชารัฐ หวังขายสินค้าราคาถูก อุดหนุนและส่งเสริมการขายของดำรงชีพในราคาถูกให้กับชุมชน ไม่เพียงเท่านั้นยังสร้างการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นอีกด้วย ติดตามได้จากรายงาน การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยให้มีความเข้มแข็ง ประชาชนอยู่ดีกินดีคือนโยบายที่รัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องการผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานราก ที่รัฐพยายามส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็ง ภายใต้กลไกขับเคลื่อนในรูปประชารัฐ คือรัฐบาลและประชาชน เป็นที่มาของโครงการ ตลาดประชารัฐเพื่อชุมชน เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการจับจ่ายมาขึ้นในทุกพื้นที่ โครงการตลาดประชารัฐเพื่อชุมชน เป็นการช่วยเหลือในเรื่องค่าครองชีพประชาชนให้มากที่ที่สุด โดยเฉพาะในพื้นที่ของกรุงเทพมหานครนั้น ที่มีค่าครองชีพที่สูง บูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงพาณิชย์และการเคหะแห่งชาติ พัฒนาตลาดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร ภายใต้ชื่อ ตลาดเคหะประชารัฐ ยกระดับตลาดในพื้นชุมชนให้มีคุณภาพและราคาที่เหมาะสมเป็นมาตรฐานมากขึ้น และประชาชนได้รับประโยชน์มาที่สุด สำหรับการดำเนินการ ตลาดเคหะประชารัฐ ซึ่งเป็นโครงการต่อยอดจากตลาดประชารัฐเพื่อชุมชน กระทรวงพาณิชย์จะคัดเลือกชุมชนที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร เพื่อมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาพลิกโฉมให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยสินค้าที่จะนำมาในขาย จะเป็นไปเพื่อการลดภาระในชีวิตประจำวัน อาทิ อาหารสด หมู ไก่ เนื้อวัว ผักต่าง และวัตถุดิบปรุงอาหาร ทั้งนี้ในอนาคตจะส่งเสริมให้เกิดการสร้างอาชีพเพิ่มเติมอีกด้วย เช่น การเปิดร้านอาหารซึ่งจะทำให้ได้รับวัตถุดิบโดยตรงมาจำหน่ายใน ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีชุมชนทั้งหมด 680 ชุมชนที่การเคหะแห่งชาตินั้นได้ดูแลอยู่ ในเบื้องต้นจะคัดเลือกนำร่องโครงการใน 4 พื้นที่ คือ ชุมชนเขตห้วยขวาง ดินแดง คลองจั่น และบ่อนไก่ นอกจากจะยกระดับตลาดที่มีอยู่แล้ว จะทำให้ตลาดในชุมชนแต่ละแห่งมีเอกลักษณ์ของตัวเองได้อีกด้วยตามแหล่งแต่ละชุมชนนั้น การดำเนินการโครงการร้านค้าประชารัฐและตลาดประรัฐนี้ รัฐบาลตั้งเป้าไว้ว่า จะสร้างการหมุนเวียนให้กับเศรษฐกิจมาถึง 1.2 แสนล้านบาทต่อปี และการสร้างงานจะทำให้มีอาชีพในชุมชนอีก 2.6 แสนคน ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างกลไกรัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างตรงจุด สร้างบรรทัดฐานทางสังคมที่มั่งคั่งเพิ่มขึ้น
20 มิ.ย. 2560
สกู๊ป : ปฏิรูปสาธารณสุข พัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทย
การปฎิรูประบบสาธารณสุขนับอีกหนึ่งนโยบายที่สำคัญที่รัฐต้องการจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้เกิดความเท่าเทียม และมีควาททันสมัย โดยเฉพาะระบบประกันสุขภาพ ที่ไม่เพียงแต่จะต้องทำให้ประชาชนได้รับการรักษาที่ดีขึ้น แต่ต้องพัฒนาระบบการบริหารงานในหน่วยสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพมากดีขึ้นด้วย ติดตามได้จากรายงาน การปฏิรูประบบสาธารณสุขของไทย เป็นหนึ่งในโจทย์สำคัญ 11 ด้านในการปฏิรูปประเทศ ที่ คสช. และรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กำลังขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนา ลดช่องว่าง และความเหลื่อมล้ำในการรับบริการด้านสาธารณสุข แม้ที่ผ่านมาระบบสาธารณสุขของประเทศ ยังมีปัญหาเกิดขึ้นหลายด้าน โดยเฉพาะงบประมาณที่มีอยู่ค่อนข้างจำกัด การปรับปรุงและพัฒนาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ในงบประมาณที่มีอยู่ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปสาธารณสุข โดยไม่ยกเลิก หรือส่งผลกระทบต่อสิทธิการรักษาพยาบาลของประชาชน โครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง เป็นอีกหนึ่งโครงการที่รัฐบาลกำลังพัฒนาให้ดีขึ้น ยกระดับการเข้าถึงบริการสาธารณสุขตามหลักสากลที่พึ่งปฏิบัติ หลังผ่านการดำเนินงานมากว่า 15 ปีโดยไม่มีการพัฒนา การเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนในสังคมได้มีแสดงความคิดเห็นร่วมกันในการหาทางออก นับเป็นสิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญ โดยเฉพาะหลักการบริหารการเงินของหน่วยงานสถานบริการด้านสาธารณสุข จึงเป็นที่มาของการแก้ไขปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฉบับปีพ.ศ.2545 ยกเครื่องบูรณการหลักประกันสุขภาพให้มีความทันสมัย และคล่องตัวมากขึ้น โดยมีเป้าหมายหลัก คือ การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพให้ดีขึ้น ตอบโจทย์กับผู้ให้และผู้รับบริการมากที่สุด เพื่อเป็นการตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนมากที่สุด รัฐบาลจึงได้จัดหัวข้อเพื่อทำประชาพิจารณ์ทั้งหมด 14 ประเด็น เพื่อให้ง่ายและสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว โดยการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว มุ่งประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง ให้สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาล และการบริการสาธารณสุข สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ต้องการให้ประชาชนได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น มีสุขภาพแข็งแรง
20 มิ.ย. 2560
รายการเดินหน้าประเทศไทย : มติคณะรัฐมนตรีฉบับประชาชน วันที่ 20 มิถุนายน 2560
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รายงานผลการประชุมคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบการใช้งานของระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) จากผลการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงาน ว่า มีกล้องทั้งสิ้น 321,000 ตัว เสียหายกว่า 30,000 ตัว จึงได้สั่งการให้แต่ละหน่วยงาน พิจารณางบประมานของหน่วย เพื่อใช้ในการซ่อมบำรุง แต่หากไม่เพียงพอสามารถรายงานเข้ามาเพื่อเข้าสู่การพิจารณาจัดสรรงบประมานเพิ่มเติมได้ นอกจากนี้ยังพบว่ายังมีการติดตั้งกล้อง CCTV เพิ่มเติมในบางพื้นที่ จำนวน 47,000 ตัว ที่ต้องติดตั้งเพิ่มเติมในหน่วยงานราชการเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ เนื่องจากกล้องที่มีอยู่ยังไม่เชื่อมโยงกันทั้งหมด เบื้องต้นให้แต่ละหน่วยงานพิจารณาใช้งบประมาณของหน่วย และดำเนินการให้เสร็จสิ้น ทั้งการซ่อมบำรุงกล้องเดิมที่มีอยู่และการติดตั้งกล้องเพิ่มภายใน 3 เดือน หากพบว่าในพื้นที่ของหน่วยงานใดกล้องวงจรปิดทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ หัวหน้าหน่วยงานนั้นจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ คณะรัฐมนตรีรับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาราคายางพาราของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งจะตั้งตลาดรับซื้อยางพาราขนาดใหญ่ 6 แห่งทั่วประเทศ ในระบบซื้อมาขายไป ไม่มีการเก็บสต็อก ควบคู่ไปกับลดปริมาณพื้นที่ปลูกยางพาราและแนวทางการจัดการความร่วมมือกับการซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งจะให้มีการจัดตั้งตลาดยางพารา 3 ประเทศ คือ สิงค์โปร์ ไทย และมาเลเซีย ซื้อขายยางพาราจริง ไม่ใช่ระบบเดิมที่ซื้อตั๋วสัญญา นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รายงานการจัดทำร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพฉบับใหม่ ที่อยู่ในระหว่างการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยจัดเวทีทำประชาวิจารณ์ใน 3 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร รวม 4 เวที แต่มีความพยายามที่จะล้มเวที นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งทำความเข้าใจต่อประชาชน ซึ่งในวันพรุ่งนี้ (21มิถุนายน 2560) กระทรวงสาธารณสุขจะจัดเวทีเสวนาทำความเข้าใจถึงความเข้าใจถึง พ.ร.บ.ฉบับเก่าและฉบับใหม่ ใน 14 ประเด็น พร้อมยืนยันว่าสิทธบัตรทองยังมีอยู่เหมือนเดิม ใน พ.ร.บ.ฉบับใหม่ ไม่ได้ถูดริดรอนไป แต่จะแตกต่างในเรื่องของบริหารจัดการ
19 มิ.ย. 2560
กอ.รมน.ประณามเหตุการณ์ระเบิดทหารปัตตานี ระบุเลื่อนชั้นยศทหารพลีชีพ ดูแลบาดเจ็บเต็มที่
วันนี้ (19 มิ.ย.2560) เวลา 15.30 น. ที่ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า พร้อมทั้ง พ.อ.ยุทธนาม เพชรม่วง รองโฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ได้แถลงชี้แจงความคืบหน้ากรณีเหตุการณ์คนร้ายลอบวางระเบิดเจ้าหน้าที่ทหาร ชป.ร้อย 15324 ฉก.ปัตตานี 25 จำนวน 10 นาย เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ทหารพลีชีพ 6 นาย และได้รับบาดเจ็บ 4 นาย เหตุเกิดที่ถนนเข้าอ่างเก็บน้ำ บ้านชะมา หมู่ที่ 3 อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี จากกรณีดังกล่าว พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผบ.ทบ. และ พล.ท.ปิยวัฒน์ นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 4 ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวทหารหาญ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถและทุ่มเทอย่างสมเกียรติและทุ่มเทปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสมเกียรติ สมศักดิ์ศรี ชายชาติทหารที่เสียสละแม้ชีวิตตน โดยภาพข่าวที่เกิดขึ้นกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงจะก่อเหตุในห้วง 10 วันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน ทำให้กำลังพลดังกล่าวเข้าลาดตระเวนเพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการประกอบพิธีทางศาสนา เพื่อปกปักษ์รักษาดูแลความสงบความสุขของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติที่เสียสละความสุขส่วนตนและเสียสละได้ แม้ชีวิตสมควรที่ได้รับการยกย่องให้เป็นวีรชนผู้กล้าหาญของชาติ พล.ท.ปิยวัฒน์ นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 4 ได้สั่งการให้ดูแลเรื่องสิทธิของกำลังพลทุกนายสมกับที่ได้เสียสละอย่างสูงสุดเพื่อชาติ รวมถึงการดูแลสวัสดิการและครอบครัวของวีรชนผู้เสียชีวิตตามสิทธิที่ได้รับอย่างเต็มที่ โดยกำลังพลที่เสียชีวิตจะได้ปูนบำเหน็จเลื่อนชั้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษ 8 ขั้น โดย จ.ส.อ.สมปราถ ศรีวาจา เลื่อนชั้นยศเป็นชั้นยศพันเอก (พิเศษ) ได้รับเงินดูแลจากทางกองทัพกว่า 3ล้านบาทเศษ ส่วนน้องๆ พลทหารทั้ง 5 นาย ได้รับการเลื่อนชั้นยศเป็น จ.ส.อ. ได้รับค่าตอบแทนประมาณ 2 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ผู้ได้รับบาดเจ็บทั้ง 4 นาย อาการขณะนี้อยู่ในขั้นปลอดภัย และได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ในที่เกิดเหตุและงานด้านการข่าว เพื่อติดตามผู้กระทำความผิดมาลงโทษอย่างเร่งด่วนและให้เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน การกระทำของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงดังกล่าวเป็นการกระทำที่มุ่งหวังสร้างความเดือดร้อน วุ่นวายให้กับพี่น้องประชาชน โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับการประกอบศาสนกิจของพี่น้องชาวมุสลิม ในห้วงเดือนรอมฎอนอันประเสริฐ และไม่คำนึงถึงสิ่งที่ผู้นำศาสนาได้ออกแถลงการณ์ยุติความรุนแรงในห้วงเดือนอันประเสริฐ ที่ทุกคนควรปฏิบัติคุณงามความดี บุคคลเหล่านี้ เป็นบุคคลสุดโต่งที่คงไม่ได้เห็นแม้แต่กลิ่นไอของสวรรค ทั้งนี้ ขอให้พี่น้องประชาชนซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการแจ้งเบาะแส ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงผ่านสายด่วน 1341 ตลอด 24 ชั่วโมง
18 มิ.ย. 2560
ตูน บอดี้แสลม เซอร์ไพรส์ชาวยะลา เยี่ยมให้กำลังใจบุคลากรและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลยะลา
วันนี้ (18 มิ.ย.2560) ตูน บอดี้สแลม หรือนายอาทิวราห์ คงมาลัย นักร้องนำและนักแต่งเพลงวงบอดี้สแลม พร้อมทีมงานเดินทางไปที่โรงพยาบาลยะลา เพื่อเยี่ยมบุคลากรของโรงพยาบาลยะลา โดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า โดยทีมงานบอกว่า ตูน บอดี้สแลม ต้องการมาเยี่ยมให้กำลังใจกับบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดยะลาเท่านั้น หลังจากได้เดินทางไปแสดงคอนเสิร์ตที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อคืนวันที่ 17 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา หลังจากแสดงคอนเสิร์ตแล้ว ในวันนี้ ตูน บอดี้สแลม พร้อมด้วยทีมงานได้เดินทางด้วยรถตู้ส่วนตัวจากอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มายังจังหวัดยะลา เพื่อมาเยี่ยมให้กำลังใจบุคลากรของโรงพยาบาลยะลา นอกจากนี้ ตูน บอดี้สแลม ยังเปิดโอกาสให้บุคลากรและแฟนคลับได้ร่วมเซลฟี่ ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก ซึ่งมีการโพสรูปลงเฟสบุ๊คประชาชนและแฟนคลับ ต่างเดินทางมายังโรงพยาบาลยะลา เพื่อมาขอถ่ายรูปกับตูน บอดี้สแลม อีกด้วย
18 มิ.ย. 2560
กรมทหารพรานที่ 32 เปิดโครงการพลิกฟื้นผืนป่า เพื่อแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรป่าไม้ พลิกฟื้นผืนป่า เพื่อให้ต้นน้ำมีความอุดมสมบูรณ์
ที่บ้านดงผาปูน หมู่ที่ 8 ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน พันเอก อัศม์พงษ์ นิลพันธุ์ ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 32 กองกำลังผาเมือง เป็นประธานเปิดโครงการพลิกฟื้นผืนป่าเพื่อแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรป่าไม้ เพื่อพลิกฟื้นผืนป่า เพื่อให้ต้นน้ำมีความอุดมสมบูรณ์ โดยมี คุณสุภาพ สิริบรรสพ เลขานุการศูนย์ประสานงานประชาคมจังหวัดน่าน หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 31 สำนักงานพัฒนาภาค 3 และตัวแทนมูลนิธิเครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมกิจกรรม สำหรับการจัดกิจกรรมดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากศูนย์ประสานงานประชาคมจังหวัดน่าน หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 32 กองกำลังผาเมือง และมูลนิธิเครือเจริญโภคภัณฑ์โดยหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 31 สำนักงานพัฒนาภาค 3 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนากองทัพไทย ได้นำพันธุ์ปลาตะเพียนและปลานิลมามอบให้กับชาวบ้านและปล่อยลงในแหล่งน้ำในหมู่บ้าน เพื่อสำหรับไว้เป็นอาหารต่อไป บ้านดงผาปูน มีพื้นที่ทั้งหมด 8,258 ไร่ ซึ่งอยู่ในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติ และเขตอุทยานขุนน่าน ประชาชนกว่า 150 คน 50 ครัวเรือน มีพื้นที่ทำกิน รวม 1,200 ไร่ โดยทีผ่านมามีปัญหาเรื่องการบุกรุกขยายพื้นที่ทำกินเพื่อปลูกข้าวโพด แต่เมื่อมีโครงการฟื้นป่าต้นน้ำ และมีการขยายแนวคิดในเรื่องคนอยู่กับป่า ชาวบ้านดงผาปูน ก็พร้อมจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของป่าต้นน้ำน่านที่จะได้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ จึงได้ประชุมหารือ ซึ่งชาวบ้าน 16 ราย ที่มีพื้นทีทำกินทิ้งร้างว่างเปล่า รวม 800 ไร่ ยินดีจะคืนพื้นที่ดังกล่าวให้กับภาครัฐเพื่อนำมาฟื้นคืนเป็นป่าสมบูรณ์ต่อไป โดยก่อนหน้านี้ ชาวบ้านดงผาปูน ได้อนุรักษ์ป่าชุมชนและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ โดยป่าชุมชนซึ่งเป็นป่าสาธารณะของหมู่บ้าน เนื้อที่ 1,800 ไร่ ชาวบ้านได้ช่วยกันรักษาไว้จนมีความอุดมสมบูรณ์ มีต้นไม้ใหญ่ อายุกว่า 200 ปี ที่มีขนาด 10 คนโอบ และยังมีแหล่งอนุรักษ์สัตว์น้ำในลำฝายธรรมชาติกว่า 2 กิโลเมตรซึ่งทำให้ชาวบ้านมีอาหารในป่าในน้ำและเริ่มที่ลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว พร้อมกันนี้ ได้นำพันธุ์ไม้ ทั้งไผ่ ต้นยางนา และพันธุ์ปลามาแจกจ่าย เพื่อให้ชาวบ้านได้นำติดมือไปปลูกในป่า ตามแนวคิด 1 วัน 1 คน 1 กล้า โดยเข้าป่าเมื่อไหร่ก็ติดกล้าไม้ไปปลูก โดยเฉพาะต้นกล้าไม้ที่นำมาแจก มีการนำเชื้อเห็ดเผาะ หรือ เห็ดถอบ ติดไว้ที่กล้าไม้ด้วย เมื่อนำไปปลูก ก็จะกลายเป็นอาหาร เป็นรายได้ ในอนาคต นายสุรดาว ขันวัง ผู้ใหญ่บ้านดงผาปูน อายุ 36 ปี กล่าวว่า ปัจจุบันไม่มีการปลูกข้าวโพดแล้ว และชาวบ้านได้หันมาปลูกพืชเศรษฐกิจตัวอื่น เช่น ถั่วดาวอินคา กล้วย ทุเรียน อะโวคาโด หวายและต๋าว และยังมีความต้องการให้ภาคส่วนราชการได้เข้ามาส่งเสริมการเลี้ยงวัวพันธุ์พื้นเมือง และการเพาะเห็ด รวมถึงการปลูกพืชหลังนาด้วย เพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้หมุนเวียน
18 มิ.ย. 2560
จ.ยะลา จัดเทศกาลตลาดสินค้า 10 วันสุดท้ายเดือนรอมฎอน ต้อนรับวันรายอ
มัสยิดกลางยะลา ร่วมกับ เครือข่ายชุมชน จัดเทศกาลตลาดสินค้า 10 วันสุดท้ายเดือนรอมฎอน ต้อนรับวันรายออิดิ้ลฟิตรี ฮิจเราะห์ศักราช 1438 กระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน ช่วยเหลืองานสาธารณกุศลในพื้นที่ ที่บริเวณสวนศรีเมือง ริมแม่น้ำปัตตานี (หลังมัสยิดกลางยะลา) เขตเทศบาลนครยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มัสยิดกลาง จังหวัดยะลา ร่วมกับ เครือข่ายชุมชนตลาดเก่า ได้จัดเทศกาล ตลาดสินค้า 10 วันสุดท้ายเดือนรอมฎอน ต้อนรับวันรายออิดิ้ลฟิตรี ฮิจเราะห์ศักราช 1438 โดยนำผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดยะลา จำนวน 410 ร้าน มาจำหน่ายสินค้าของชาวมุสลิมหลากหลายชนิด ทั้งสินค้าของมุสลิมมะห์ (สตรี) เสื้อผ้ามุสลิมีน (บุรษ) เสื้อผ้ามุสลิม – อบายะห์ ผ้าคลุมสตรี ผ้าพัน ชุดปากี เสื้อโต๊บ (เสื้อสำหรับชายไทยมุสลิมที่จะสวมใส่ไปละหมาดในวันฮารีรายอ) หมวกกะปิเยาะ ชุดรายอ ผ้าโสร่งหญิง-ชาย รองเท้า ฯลฯ โดยมีประชาชนชาวไทยมุสลิมให้ความสนใจนำบุตรหลานมาเลือกซื้อสินค้าในราคาถูกกันอย่างต่อเนื่อง นายมะอาลี มะแซ ประธานเครือข่ายชุมชนยะลา กล่าวว่า เทศกาล ตลาดสินค้า 10 วันสุดท้ายเดือนรอมฎอนนี้ ทางเครือข่ายชุมชนตลาดเก่า ร่วมกับ มัสยิดกลางยะลา จัดขึ้น ในระหว่างวันที่ 15-25 มิถุนายน 2560 เพื่อต้อนรับ 10 วันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน ให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดยะลา และพื้นที่ใกล้เคียง ได้มีโอกาสมาเลือกซื้อสินค้าราคาถูกกว่าท้องตลาด สำหรับเตรียมไว้สวมใส่ในวันรายอ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการซื้อ ขาย ในชุมชน นอกจากนี้ก็จะใช้ในการกุศล นำเงินที่ได้รับไปช่วยเหลือเด็กกำพร้า คนยากจน และสาธารณประโยชน์อื่น ๆ ด้วย
16 มิ.ย. 2560
รายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2560
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2560 เวลา 20.15 น. สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน สำหรับ “ศาสตร์พระราชา” สัปดาห์นี้ ผมอยากจะชี้ให้เห็นบทพิสูจน์ ในเรื่องของ “ความเพียร” กับ “ความสำเร็จ” ตามบทพระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก” ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้แก่ การก้าวมาสู่จุดสูงสุดในวันนี้ ของนักกอล์ฟหญิง “มือ 1 ของโลก” ของ “โปรเม” เอรียา จุฑานุกาล ที่แสดงให้เห็นว่าไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้ และทุกความสำเร็จต้องได้มาด้วยความเพียร ทั้งนี้ อาจมีหลายปัจจัยส่งเสริม ทั้งการสนับสนุนของครอบครัว ที่เป็นแรง ผลักดันสำคัญอย่างต่อเนื่อง และทุ่มเท แต่ที่สำคัญก็คือ ความวิริยะอุตสาหะนะครับของตัวน้องเมย์เอง การไม่ละความพยายาม และการเอาชนะใจตนเอง เพื่อให้สามารถผ่านพ้นอุปสรรคต่าง ๆ นานาให้ได้ พี่น้องประชาชนที่รัก ครับ จาก “เส้นทางสู่ความสำเร็จ” ของโปรเมฯ ดังกล่าวนั้น ผมอยากให้เราทุกคนลองมองในเชิงเปรียบเทียบดูว่า ถ้าเปรียบประเทศชาติเป็นเหมือน “นักกีฬา”ภายในโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน แล้วเราจะร่วมกันนำพาประเทศไปสู่ความสำเร็จบ้างได้อย่างไร ประเทศไทยในปัจจุบันนั้นมีปัญหาอะไรบ้างที่รอการแก้ไขเราจะต้องปฏิรูป ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือต้องลงทุนอะไรกันบ้างนะครับ เพื่อวางรากฐานในอนาคต และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประทศ สุดท้ายคือ เราจะมียุทธศาสตร์อย่างไร ในการที่จะพัฒนาตนเอง เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมาย หรือวิสัยทัศน์ ที่เรากล่าวว่า เราจะต้อง “มั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน” ให้ได้โดยเร็ว ส่วนตัวผมนั้น เห็นว่าที่ผ่านมา ประเทศไทยเปรียบเสมือน “นักกีฬาป่วย” อันนี้ก็เป็นส่วนตัวของผม ที่ต้องการการรักษาตามอาการ 3 ประการกล่าวคือ (1) “ป่วยกาย” เช่น โครงสร้างระบบราชการที่อาจจะยังไม่สามารถให้การบริการประชาชนได้อย่างทั่วถึงและแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำให้ได้ รวมทั้งยังมีปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นที่ยังคงหลงเหลืออยู่ หลับหูหลับตาอยู่ ทั้งที่รัฐบาลได้พยายามอย่างเต็มที่ ผิดจากห้วงที่ผ่านมามาก เราต้องแก้ทั้งผู้ให้ และผู้รับ ตลอดจนทำให้กระบวนการยุติธรรมเป็นที่น่าเชื่อถือ มีการตรวจสอบ การประมูลทุกอย่าง ตลอดจนหลักฐานต่าง ๆ ที่มีอยู่ ทั้งอาจจะได้มาโดยหน่วยงานภาครัฐเอง หรือจากประชาชน เราต้องกลับมาแก้ไขทั้งหมด โครงสร้างทางเศรษฐกิจเรา อาจจะยังไม่มีการเชื่อมโยง เกื้อกูลกันได้ ในทุกระดับ เท่าที่ควร ยังไม่เชื่อมต่อเป็นห่วงโซ่อันเดียวกัน และโครงสร้างพื้นฐานก็อาจจะยังไม่สามารถรองรับการแข่งขันของโลกในปัจจุบันนี้ได้ เราติดขัดมาในเรื่องอุปสรรค เรื่องความขัดแย้งอะไรต่าง ๆ หลายอย่างทำไม่ได้ในช่วงที่ผ่านมานะครับ อันที่ (2) คือ “ป่วยใจ” ได้แก่ ความขัดแย้ง แตกแยก ไม่ปรองดองกัน ของคนภายในประเทศ ทำให้เราไม่มีความเป็น “น้ำหนึ่งใจเดียวกัน” ตามความหมายในพระราชดำรัสของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ว่า “รู้ รัก สามัคคี” รวมทั้งขาดการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน จึงขาดแรงผลักดัน ขับเคลื่อนประเทศ และที่สำคัญ ที่ (3) คือการ “ป่วยความคิด” คือความไม่เข้าใจหลักการ หรือสำคัญผิด ทั้งในเรื่องประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน เสรีภาพ สิทธิ-หน้าที่พลเมืองเหล่านี้ เป็นต้น รวมทั้งเราขาด “ฐานคิด” ที่เป็นระบบ คิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีเหตุมีผล เหล่านี้เป็นเหตุให้อาการ “ป่วยกาย ป่วยใจ” นั้นเราก็อาจจะไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องในช่วงที่ผ่านมา หรือบางคนบางกลุ่มก็อาจจะปฏิเสธเข้ารับการรักษาไปเลย ประเด็นสำคัญคือทุกคนที่มีปัญหาทั้งหมดส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้มีรายได้น้อย มีความยากจน อันนี้เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับเขา เราต้องเข้าใจเขา ทำอย่างไรรายได้ที่เขาไม่เพียงพอ ถ้าเราบังคับอย่างเดียวก็ไปไม่ได้ เราต้องแก้ไขอย่างเป็นระบบ เราต้องลดความเหลื่อมล้ำเหล่านี้ให้ได้ ปัญหาต่าง ๆ ก็จะลดลงเอง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลนี้ได้ใช้เวลาเพียง 3 ปีที่ผ่านมา อาจจะดูเหมือนนาน อาจจะดูไม่นานก็แล้วแต่ เราก็ได้พยายามที่จะพลิกฟื้นสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ประเทศไทยของเรากลับคืนมาอยู่ในครรลองที่เหมาะสม และมีความเป็นสากลให้มากยิ่งขึ้น จนวันนี้เราได้รับความเชื่อมั่นจากเวทีระหว่างประเทศในหลาย ๆ ด้าน ทั้งเรื่อง การค้างาช้าง (CITES) การประมงผิดกฎหมายฯ (IUU) การบินพลเรือน (ICAO) การค้ามนุษย์ แรงงานต่างด้าว แรงงานทาส และการป้องกันการทุจริต ที่มีความก้าวหน้าไปตามลำดับ ได้ส่งผลเชิงบวกในการจัดลำดับประเทศไทยในโลกดีขึ้น จากหลายสถาบัน อย่างต่อเนื่อง เช่น ล่าสุดผลการจัดอันดับ “ประเทศที่ดีที่สุดในโลก” ประจำปี 2017 ของ U.S.News สหรัฐอเมริกา ก็ยกให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่เหมาะสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจ “มากที่สุดในโลก” (Best Countries to Start a Business) เป็นอันดับ 1 ติดต่อกัน 2 ปีแล้ว ตามที่ผมได้เคยให้ข้อมูลมาหลายครั้ง แต่ผมก็คิดว่า เรายังมีศักยภาพอีกมากมาย และพร้อมที่เป็น “ศูนย์กลาง” ในอีกหลาย ๆ ด้าน ทั้งอาหาร – สมุนไพร – การท่องเที่ยวและกีฬา – การบิน – และอุตสาหกรรม ที่เรามีศักยภาพ เพียงแต่เราต้องรักษา “อาการป่วย” 3 ประการ ที่ผมว่าเมื่อสักครู่ไปแล้วให้ได้ และเราจะต้องทำงานร่วมกันอย่างมียุทธศาสตร์ บูรณาการ เราต้องเดินหน้าไปด้วยกัน ที่ผ่านมารัฐบาลและ คสช. ได้พยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นระบบ และบูรณาการกัน ท่ามกลางความขัดแย้ง ท่ามกลางความไม่เห็นชอบ หลายอย่าง ซึ่งเราได้มีการคิดแบบเดิม ทำแบบเดิมมาเป็นเวลานานพอสมควร เพราะฉะนั้นวันนี้เราก็ต้องแก้ไข ทั้งการบริหารราชการแผ่นดิน การเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี การเตรียมการปฏิรูปประเทศ รวมความไปถึงการสร้างความปรองดอง ไปพร้อม ๆ กันด้วยทั้ง 4 ภารกิจ เราได้น้อมนำ “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นพื้นฐาน เพื่อให้ประเทศกลับเข้าสู่แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือในการที่เราจะกลับมาเป็น “นักกีฬาที่มีความพร้อมในทุกสนามการแข่งขัน” โดยเราจะต้องให้ความสำคัญอย่างมาก ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจและสังคมในระดับ “ฐานราก” ที่ผมกล่าวไปแล้ว ให้ความสำคัญ ประชาชนที่มีรายได้น้อย เนื่องจากเปรียบเสมือน “เสาเข็ม” ที่มีความสำคัญ แต่คนส่วนใหญ่กลับมองไม่เห็น อาจจะไปมองเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องมองทั้งหมด ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก แล้วไปสู่เศรษฐกิจฐานรากด้วย เรามีประชาชนที่มีรายได้น้อยเป็นจำนวนมาก ที่จดทะเบียนวันนี้ 14 ล้านคน การดำเนินการที่สำคัญ ๆ ในปัจจุบัน ที่มีความคืบหน้า ได้แก่ การจัดทำโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ รอบแรกปี 2559 ลงทะเบียน 8.3 ล้านคน และรอบที่ 2 ปีนี้ เพิ่มเป็น 14 ล้านคน คงจะจากผู้ที่ไม่กล้ามาลงเมื่อปี 2559 วันนี้มาลงเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่า นโยบายนี้ได้รับการตอบสนองจากประชาชนเป็นอย่างดี แต่รัฐบาลต้องระมัดระวังในการดำเนินการต่อไป การลงทะเบียนตามนโยบายนี้ เราได้ดำเนินการและปรับปรุงทุกปี ๆ ไม่ใช่ครั้งเดียวแบบเดียวจบ ปีเดียว ไม่ใช่ เราก็ต้องดูจาก ฐานข้อมูลกลางภาครัฐ ให้ทันสมัย ให้ถูกต้อง สอดคล้อง กับนโยบายต่าง ๆ เพราะประเทศเรามีคนอยู่หลายกลุ่ม หลายฝ่ายด้วยกัน และเพื่อให้หน่วยงานของเราได้นำไปใช้ประโยชน์ในการที่จะกำหนดนโยบาย เพื่อจะแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนได้อย่างยั่งยืน เป็นการใช้จ่ายเงินภาษีที่คุ้มค่า แล้วก็เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจริงๆ ต้องแยกให้ออกว่าเรามีกลุ่มเป้าหมายอะไรบ้าง แล้วดำเนินแต่ละกลุ่มเป้าหมายนี่มีหลายวิธีการ ทั้งกฎหมาย ทั้งวิธีการ ทั้งโรดแมป อะไรต่าง ๆ ก็ต้องให้ครบ ตามความจำเป็น และตรงความต้องการของเขาด้วย ปัจจุบันมีผู้ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ คิดเป็นร้อยละ25 ไม่น้อย “1 ใน 4” ของประชากรเกือบ 70 ล้านคนทั้งประเทศ แล้วเป็นอย่างนี้มาตั้งแต่เมื่อไร เป็นมานานแล้ว วันนี้ก็เอามาให้ชัดเจนขึ้น เพื่อจะแก้ปัญหาให้ถูกจุด และรัฐบาลจำเป็นต้องตรวจสอบ ก็ต้องใช้วิธีการจ้างนักศึกษาประมาณ 70,000 คนทั่วประเทศ วัตถุประสงค์ของผม ตรวจสอบแล้วก็ให้พวกนี้มีงานทำด้วย มีรายได้ด้วย นักศึกษาจะได้มีเงินไปเรียนหนังสือ ก็จะช่วยลงไปในพื้นที่ ตรวจสอบคุณสมบัติ หาผู้รับรองให้ได้ ทั้งสภาพความเป็นอยู่และรายได้ เช่น การที่มีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 8,400 บาท หากเป็นเกษตรกร ต้องไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง หรือถ้ามีก็ไม่เกิน 10 ไร่ เป็นต้น เพื่อให้เกิดความรอบคอบในการดำเนินการตามนโยบาย และป้องกันไม่ให้มีการสวมสิทธิ์ หรือการแอบอ้างให้ข้อมูลเท็จ รวมทั้งสอบถามความต้องการให้เสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคมนี้ ดังนั้นเป็นหน้าที่ของพี่น้องประชาชนคือ ต้องเสนอมาว่าต้องการอะไร ภาครัฐก็ต้องตอบสนอง ให้ตรงกับความต้องการ เราจะไม่เหวี่ยงแห หลังจากนั้น กระทรวงการคลังจะมีการออก “บัตรสวัสดิการ” ให้สำหรับผู้มีสิทธิ ประมาณเดือนตุลาคม เพื่อใช้เป็น “กุญแจ” สำคัญในการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่มีน้อยกว่าเดิม มีแต่ว่าจะทำยังไงให้มากกว่าเดิม ให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากกว่าเดิม หลายคนไปบิดเบือนว่า จะไม่ได้นั่นได้นี่ ผมไม่เคยบอกว่าผมจะลดอะไรสักอย่าง มีแต่เราจะเพิ่มขึ้นได้อย่างไร งบประมาณมีเท่านี้ จะทำยังไง จะคัดสรรแยกออกจากกันตรงไหนได้บ้าง ตรงไหนจะเพิ่ม ตรงไหนเท่าเดิม หรือตรงไหนมากกว่าเดิม เป็นเรื่องของการพิจารณาในการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามระเบียบ ระบบการเงินการคลังของประเทศ ปัจจุบันเรากำลังอยู่ระหว่างเตรียมการและศึกษาของทุกกระทรวง ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับปรุงมาตรการเดิม เพื่อขยายผลความสำเร็จ เช่น การลดรายจ่าย ผ่อนปรนภาระ เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส ทั้งเรื่องอาชีพ รายได้ และแหล่งเงินทุน ที่อยู่อาศัย หรืออาจมีมาตรการใหม่ ๆ ก็ขึ้นอยู่กับผลการลงพื้นที่ แล้วรับฟังความต้องการของพี่น้องประชาชน ขอให้เตรียมคิด เตรียมเสนอ อะไรที่ทำได้ผมจะทำให้ ซึ่งผมรับรองว่า เราต้องมีทั้งมาตรการระยะสั้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และมาตรการระยะยาว เพื่อสร้างความยั่งยืน และให้ผู้มีรายได้น้อยพึ่งพาตนเองได้ แล้วผมจะถือโอกาสมาเล่าให้ฟังในโอกาสต่อไป ขอให้อดทน และอดใจรอกัน ทั้งนี้ เราสามารถติดตามตรวจสอบรายชื่อผ่านทางเว็บไซต์ www.epayment.go.th และทางสายด่วนหมายเลข 1359 นอกจากนี้ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับทุกกลุ่มพลังในสังคม โดยเฉพาะผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ให้มีส่วนร่วมในการสร้างชาติ โดยปรับมุมมอง ทัศนคติ ของบุคคลรอบข้าง และคนในสังคม ว่า ไม่มีใครเป็นภาระ แต่ทุกชีวิตคือพลังของชาติ ภายใต้ศักยภาพ ความถนัด และข้อจำกัดของแต่ละคนเช่น โครงการพัฒนาศักยภาพนักร้อง นักดนตรี “ผู้ที่บกพร่องทางการมองเห็น” ในที่สาธารณะ หรือ S2S : From Street to Star ให้ได้รับโอกาสการฝึกฝนฝีมือ จนสามารถยึดเป็นอาชีพ ออกอัลบั้ม แสดงคอนเสิร์ต รับจ้างตามงานต่าง ๆ ได้ เพื่อจะหารายได้เลี้ยงดูตัวเองและครอบครัว ทั้งนี้ ด้วยความร่วมมือภายใต้กลไก “ประชารัฐ” อย่างเต็มรูปแบบ โดยภาครัฐ มีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในระดับนโยบาย และภาคเอกชน ได้แก่ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย และ 3 ค่ายเพลง คือ GRAMMY RS และ TRUE ขอขอบคุณครับ ที่ได้ช่วยร่วมกันขับเคลื่อน ตั้งแต่ขั้นตอนคัดเลือก ผลักดันให้ถึง “ฝั่งฝัน” ล่าสุดนั้น ได้จัดให้มีการแสดงคอนเสิร์ต “ศิลปิน S2S”ตามโครงการนี้ ร่วมกับศิลปินชื่อดังของประเทศ ทราบว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก รวมทั้งมีผู้เข้ารับชมการถ่ายทอดสด ผ่านทางอินเทอร์เน็ตกว่า 2 แสนราย โดยผู้ชมกว่าร้อยละ 90 ชื่นชอบ และอยากให้มีการจัดคอนเสิร์ตในลักษณะนี้เป็นประจำทุกปี ก็ได้มีการพัฒนากันต่อไป ศิลปิน S2S หลายราย ได้รับโอกาสจ้างงาน และเซ็นสัญญาเป็นศิลปินในสังกัด อีกด้วย นอกจากนั้น จะเป็นการสร้างพลังที่ยิ่งใหญ่ ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน เราจะต้องไม่ทิ้งใคร ประชาชนกลุ่มใดไว้ข้างหลังอีกแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญ และสนับสนุนผู้พิการให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาอย่างยั่งยืน อันจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของไทยในเวทีระหว่างประเทศทางอ้อมด้วย เกี่ยวกับผู้ด้อยโอกาสทางสังคมนี้ ผมขอชื่นชม ขอบคุณ และเป็นกำลังใจ ให้กับ “น้องเต้าอี้” เด็กชาย ธรรมสมิต นวเศรษฐกุล ในการต่อสู้ เอาชนะอาการป่วยด้วย “โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง” รวมทั้งคนอื่นๆ ด้วย ซึ่งผมเห็นว่า น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดี หรืออาจจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับใครอีกหลายต่อหลายคน ก็คือ (1) การไม่ยอมแพ้ในอุปสรรคทางร่างกาย ซึ่ง “น้องเต้าอี้” ยังคงพยายามใช้ชีวิตเป็นปกติ ไปโรงเรียน ร่วมกิจกรรมกับเพื่อน ๆ ตามความเหมาะสม และใช้สมองคิด ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และ (2) การแสดงน้ำใจ ห่วงใยผู้อื่น ให้กำลังใจผมและรัฐบาล ในการทำงานเพื่อประเทศชาติ และประชาชน สิ่งนี้ผมเห็นว่า มีความสำคัญอย่างมากสำหรับสังคมไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะในยุคของการเปลี่ยนผ่านนี้ เราต้องการกำลังใจ ความเข้าใจ และความร่วมไม้ร่วมมือกัน ให้ได้ ถ้าเรามีแต่สิ่งดี ๆ ในลักษณะนี้ เข้ามาในชีวิต ในสังคม ผ่านหน้าจอทีวี หน้าหนังสือพิมพ์ หรือตามโซเชียลมีเดียมากกว่าที่เป็นมา ผมเชื่อว่าจะช่วยจรรโลงจิตใจ และสร้างสรรค์สังคมอันอบอุ่น ให้เราอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข สมดังพระราชดำรัส ของในหลวงรัชกาลที่ 9 องค์หนึ่ง ใจความว่า “...สังคมใดก็ตาม ถ้ามีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน ด้วยความมุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน สังคมนั้นย่อมเต็มไปด้วยไมตรีจิต มิตรภาพ มีความร่มเย็นเป็นสุข น่าอยู่...” พี่น้องประชาชนที่เคารพ ครับ ห้วงที่ผ่านมานั้น ผมได้ตั้ง 4 คำถาม เพื่อเป็นคำถาม ปลายเปิด โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือต้องการให้สติ และเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น ช่วยกันคิดช่วยกันทำ เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาของประเทศ และกำหนดอนาคตของเราด้วย เพราะหลายอย่างกำลังเดินหน้าไปอยู่ตาม โรดแมป ตอนนี้กำลังทำกฎหมายลูกอยู่ ถ้าเราคิดไม่ตรงกัน ทำกฎหมายลูกก็มีปัญหาความขัดแย้งตรงนั้นอีก เราก็เดินหน้าไม่ได้ไง เพราะฉะนั้น ประการหนึ่งผมเห็นว่า เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน อีกประการหนึ่ง คืออยากกระตุ้นให้สังคมไทยในทุกระดับนั้น ได้ตระหนักถึงปัญหา ที่เปรียบเสมือนเป็นทางตันในอดีต จนนำมาสู่การแก้ปัญหาของรัฐบาลและ คสช. ในปัจจุบัน และรัฐบาลในอนาคต ที่ผ่านมาสังคมเรามีความแตกแยกทางความคิด แน่นอน ไม่มีอะไรที่คิดตรงกันได้ทั้งหมด คน 70 ล้าน อุดมการณ์ทางการเมือง เข้าไปกัดกร่อน ไม่เว้นกระทั่งสถาบันครอบครัว วันนี้ผมเห็นว่า สถานการณ์เริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นพอสมควรแล้ว ก็ควรที่จะมีโอกาส หันหน้าเข้าหากัน จับเข่าคุยกัน อย่างเปิดทั้งหู เปิดทั้งใจ ในประเด็นที่จะไม่นำไปสู่ความขัดแย้งอีก โดยสรุปว่าเราจะทำอย่างไรเพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ตามระบอบประชาธิปไตย ที่มีธรรมภิบาล ปราศจากคนคดโกง เพื่อบริหารประเทศอย่างมียุทธศาสตร์ และพร้อมนำพาประเทศไปสู่การปฏิรูปอย่างแท้จริง หลายคนยังหลงประเด็นอยู่ เป็นเสมือนว่าเป็นการทำโพล สำรวจคะแนนความนิยม หรือปูทางไปสู่การ “สืบทอดอำนาจ” เป็นสิ่งที่น่าเสียดาย ผมก็เสียใจ ที่ถูกนำไปเป็นประเด็นต่าง ๆ เพื่อสร้างความขัดแย้งทางการเมืองอีก ผมไม่ต้องการอย่างนั้นเลย คำตอบเหล่านั้น หากเป็นความเห็นอันบริสุทธิ์และสร้างสรรค์ จากพี่น้องประชาชน ปราศจากการชี้นำหรือบิดเบือนแล้ว ผมเห็นว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับพวกเราทุกคน เพราะทุกท่านจะได้มีส่วนร่วมในการหาทางออกให้กับประเทศ ผมเปิดเวทีให้ท่านได้แสดงออกแล้ว หลายๆ คนบอกว่า เราปิดกั้นทั้งหมด ก็แสดงความคิดเห็นมาได้ จะดีหรือไม่ดี ผมฟังได้หมด เราทุกคนย่อมต้องรับผิดชอบร่วมกันในฐานะเจ้าของประเทศ ไม่ใช่ต้องการทำเพื่อสร้างคะแนนนิยมอย่างเดียว หรือโจมตีนักการเมือง ฝ่ายการเมือง หรือโจมตี คสช. ไม่ใช่ ผมไม่ได้ต้องการอย่างนั้น จะมาก จะน้อย ผมก็ฟัง กี่คนก็ไม่ทราบ จะ 1 คน 10 คน พันคน ก็แค่นั้น ผมก็ฟังแค่นั้น ที่เหลือแสดงว่าเข้าใจแล้ว ก็ไม่เห็นเป็นไร ไม่ต้องตอบผมก็ได้ ถ้าใครมีความคิดเห็นว่าอยากจะร่วมมืออะไรต่าง ๆ อยากแสดงความคิดเห็น ผมรับฟังทั้งหมด ก็ไม่ได้เร่งรัดอะไรใคร ขอให้ไปช่วยกันคิดหาทางว่าจะร่วมมือกับรัฐบาลในเรื่องอะไรได้บ้าง ปัจจุบันทุกคนทราบดีว่า รัฐบาลและ คสช. ได้บริหารประเทศมาเป็นระยะเวลา 3 ปีแล้ว โดยให้ความสำคัญกับการรวมพลังประชารัฐสร้างชาติ เพราะลำพังภาครัฐข้าราชการ ไม่สามารถทำทุกอย่างให้ลุล่วงไปได้ โดยปราศจากความร่วมมือจากภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ เอ็นจีโอ อะไรต่าง ๆ ก็แล้วแต่ ประชาชนทุกคนด้วย ดังนั้น ภาครัฐจะต้องเพิ่มบทบาทของตนเอง ไม่จำกัดแค่เพียงการให้บริการประชาชน และการบังคับใช้กฎหมายเท่านั้น ต้องหาทางออก หาทางแก้ไขให้ประชาชนด้วย แต่ภาครัฐก็คงหมายถึงรัฐบาลในระดับนโยบาย ลงไปจนถึงข้าราชการในระดับปฏิบัติ จะต้องอำนวยความสะดวกให้เกิดความเชื่อมโยงกัน เกิดเป็นเครือข่าย กลไกประชารัฐ ตามที่ผมได้กล่าวไปให้ได้ วันนี้ผมได้กำหนดเป็นวาระชาติไปแล้วในเรื่องของการเป็นปีแห่งการอำนวยความสะดวกให้ประชาชน เพื่อลดปัญหาความเดือดร้อน การให้การบริการประชาชน ต้องรวดเร็ว เราจะเร่งรัดในปีนี้ให้ได้ ทั้งนี้เราจะต้องเริ่มต้นด้วยการสร้างเข้าใจเสียก่อน ด้วยการคิดและมองเห็นปัญหาร่วมกัน วันนี้ผมจะฝากให้คิดตาม ไม่ใช่คำถาม ไม่ต้องการคำตอบ ในอีก 50 ประเด็น เพื่อจะได้เข้าใจว่า รัฐบาลและ คสช. มองปัญหาของประเทศ สำหรับตั้งเป็นโจทย์ในการทำงานขับเคลื่อน ประเทศ ปฏิรูปประเทศในปัจจุบันนี้อย่างไร และถ้าท่านมีโอกาสเป็นรัฐบาล หรือมีโอกาสบอกผมในเวลานี้ ท่านคิดว่าจะทำอย่างไร เพื่อให้เราบรรลุเป้าหมายต่าง ๆ ก็มีหลายเรื่องด้วยกัน วันนี้ผมยกมาแค่ 50 1. การพัฒนาประเทศ ทำยังไงให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน จะต้องมีการพัฒนาภาค กลุ่มจังหวัด จังหวัด ชุมชน ท้องถิ่นไปพร้อม ๆ กัน ให้เข้มแข็งตามศักยภาพ ที่มีความแตกต่าง ความเหลื่อมล้ำ ในปัจจุบัน 2. การทำให้เศรษฐกิจระดับมหภาคและระดับฐานรากดีขึ้น ไปพร้อม ๆ กัน 3. การเชื่อมห่วงโซ่มูลค่า และการกระจายรายได้ จากบน กลาง ล่าง โดยต้องเข้าใจว่า ด้วยธรรมชาติของกลไกทางเศรษฐกิจแล้ว สัดส่วนรายได้ ผลกำไรส่วนใหญ่ จะอยู่ที่ระดับบน ก็เพราะเป็นผู้ลงทุนมากกว่า มีความเสี่ยงกว่า อาจจะขาดทุนก็ได้ หรือกำไรก็ได้ และก่อนที่จะมาถึงจุดนี้ ก็เป็นไปได้ที่อาจจะมีกำไรมาก ปันผลผู้ถือหุ้นได้มากอะไรทำนองนั้น เขามีความเสี่ยงเหมือนกัน แล้วถ้าเดินหน้าไปไม่ได้ก็ขาดทุนมาก เพราะฉะนั้น การเชื่อมโยงห่วงโซ่ทุกระดับ ทุกกิจกรรม เข้าด้วยกันนั้น ผมถือว่าจะได้เลิกวาทะกรรมที่ว่าเป็นการผูกขาด การเอื้อประโยชน์กันเสียที เปลี่ยนมาเป็นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เผื่อแผ่แบ่งปัน 4. การกระจายรายได้และความเจริญ ลงไปสู่พื้นที่ทุกระดับ อย่างทั่วถึง บางพื้นที่ยังเหลื่อมล้ำอยู่ ถนนหนทางก็ยังไม่เท่าเขา แล้ววันนี้ทุกคนอยากจะให้เท่ากัน เป็นไปไม่ได้ เราต้องทำทุกอย่างให้เท่าก่อน หลังจากเท่ากันแล้วจะขยายขึ้นมาให้มากขึ้น เช่นถนนก็ไปเพิ่ม 3- 4 เลน 6 เลน ก็ว่าไป อันที่ 3 ต้องทำพร้อม ๆ กัน คือสร้างความเชื่อมโยงให้ถึงกันให้ได้ก่อน 5. การใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ จะต้องคุ้มค่าโปร่งใส มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ 6. การเพิ่มรายได้ภาครัฐ เพื่อเป็นงบประมาณให้เพียงพอ เพื่อรองรับระบบสวัสดิการต่าง ๆ ของรัฐ ซึ่งมีอยู่หลายด้านด้วยกัน ทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุข และคมนาคมขนส่ง ไฟฟ้า พลังงาน ทุกอย่าง เป็นเรื่องของรัฐสวัสดิการ ซึ่งบางอย่างก็ต้องชำระเงิน บางอย่างก็ฟรี เพราะฉะนั้นแนวโน้ม “ภาระด้านงบประมาณ” เพิ่มมากขึ้นในอนาคต จากประชาชน ประชากรที่เพิ่มขึ้น จากผู้สูงวัยที่มากขึ้น คนเจ็บป่วยมากขึ้นหรือไม่เราก็ไม่ทราบ แต่เราต้องมีการเตรียมการรองรับสิ่งเหล่านี้ที่เรียกว่า มาตรการลดความเสี่ยง สร้างภูมิคุ้มกันไว้ก่อน 7. การทำให้ผู้ที่มีรายได้น้อย มีเงินเพียงพอต่อการดำรงชีวิต สามารถอยู่ได้ในโลกแห่งยุคโลกาภิวัฒน์ ซึ่งมีเทคโนโลยีเป็นตัวแปรสำคัญ ในการที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เราจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่เหล่านั้นได้อย่างไร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างประหยัด แล้วก็ทั่วถึง เท่าเทียม 8. การดูแลประชาชน ทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย ให้ทั่วถึงภายใต้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด ผมกล่าวมาแล้ว 9. การดูแลผู้มีรายได้น้อย “ทุกกลุ่ม” โดยเริ่มต้นจาก การสร้างความเท่าเทียมลดความเหลื่อมล้ำ และกระจายรายได้ จากนั้นขยายไปสู่การเพิ่มมูลค่า สร้างความเชื่อมโยงทุกมิติ สร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ ได้อย่างยั่งยืน 10. การทำให้ผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะในส่วนที่มีรายได้มาจากกิจกรรมผิดกฎหมาย ให้มีทางเลือกใหม่ มีโอกาสที่จะหันมายึดอาชีพสุจริต ไม่ผิดกฎหมาย เช่น ค้าขาย รับจ้าง อาชีพอิสระ ฯลฯ เพราะทุกอาชีพที่เป็นธุรกิจสีเทา เหล่านั้น ส่งกระทบต่อความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจัดระเบียบ การกีดขวางการจราจร ขาดระเบียบวินัย สร้างความสกปรก ไม่มีคุณภาพ ไม่สะอาด ไร้มาตรฐานเหล่านี้ เป็นต้น เราก็ต้องมาหาวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม 11. การพัฒนาประเทศ ที่เราจะต้องดำเนินการควบคู่ไปทั้งมิติเศรษฐกิจและสังคม ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เราจะขับเคลื่อนในเรื่องของสิทธิมนุษยชนในการประกอบการธุรกิจ ซึ่งต้องคำนึงถึง ความคุ้มครอง ความเคารพ แล้วในเรื่องของการเยียวยาที่เหมาะสมในการประกอบการธุรกิจ ผมได้เข้มงวดไปทุกประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติของภาคการผลิต ทั้งด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เรื่องการบริหารจัดการต่าง ๆ ทั้งหมดจะต้องสมดุลและยั่งยืน ทำไปด้วยกันทั้งการพัฒนา และการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่าทำอันใดอันหนึ่ง แล้วก็ทำให้เกิดผลกระทบโดยรวม 12. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด เช่น ที่ดินและน้ำ วันนี้เราก็มีอยู่อย่างจำกัด การใช้ทรัพยากร จะต้องลดลง แต่สามารถที่จะเพิ่ม ผลผลิต ผลประโยชน์มากขึ้น และสร้างมูลค่าเพิ่ม ได้มากกว่าที่ผ่าน ๆ มา มีที่มาก มีน้ำน้อย ก็ปลูกเท่าที่ปลูกได้ ไม่รู้จะมีไปทำไม 13. การปกป้องผืนป่าไม่ให้ถูกบุกรุก หรือถูกทำลายเพิ่มขึ้น วันนี้เราก็สกัดกันได้มากพอสมควร คนเลวก็ยังมีอยู่ เพราะฉะนั้นก็จะต้องลงโทษสถานหนัก เจ้าหน้าที่ก็ต้องไม่ไปร่วมมือ แล้วก็มีกระบวนการบริหารจัดการที่ดีของประเทศอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ทั้งที่ดินทำกิน แหล่งน้ำที่เพียงพอ ต่อภาคการผลิต ทั้งเกษตรกรรม อุตสาหกรรม เราจะต้องมีผืนป่าในสัดส่วนที่เหมาะสม เป็นต้น ค่อย ๆ สร้างไป ถ้าถูกทำลายไปแล้วก็สร้างยาก แต่ต้องช่วยกันสร้างไป อยู่กันไปด้วย คนอยู่กับป่าได้ก็ไปได้ทั้งหมด ป่าเพิ่มขึ้น คนก็มีความสุข กฎหมายวายังไงก็ต้องไปหาวิธีการทำให้เหมาะสม 14. การรักษาบ้านเมืองของเรา ให้เกิดความสงบ สันติสุข มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดไป 15. การทำให้คนไทยจะรู้จักคำว่าพอเพียง ทั้งความหมายและการปฏิบัติอย่างถูกต้อง เหมาะสม ความพอเพียง สำคัญที่สุดในโลกปัจจุบัน 16. การทำให้คนไทยทุกคน คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติ “มาก่อน” ผลประโยชน์ส่วนตน หรือเราจะทำไปพร้อม ๆ กัน คิดไปพร้อม ๆ กัน ถ้าเรายึดถือผลประโยชน์ส่วนรวม ร่วมมือ ผลประโยชน์ส่วนบุคคลก็ตามมาเอง ถ้าส่วนรวมไม่ได้ สาธารณูปโภคพื้นฐานไม่เกิด การลงทุนไม่เกิด แล้วบุคคลจะได้อะไรกลับมาล่ะครับ เพราะวันนี้เราก็สู้ชีวิตกันมานานพอแล้วนะ 17. การทำให้คนไทยเคารพกฎหมายด้วยมีความสำนึกดีมีคุณธรรม จริยธรรม โดยไม่อ้างความจำเป็น ปัญหาส่วนตัว เช่น ความยากจน ความไม่รู้ ความสะดวกสบาย ซึ่งวันนี้ต้องปรับเข้าหากันให้ได้นะครับทำความเข้าใจให้ได้ 18. การทำให้คนไทยรู้จักลดอัตตา ไม่เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง ทั้งความประพฤติ ความคิด เราต้องให้ความสำคัญกับส่วนรวมด้วยนะครับ มีความอดทน โดยรู้ความเร่งด่วนของงาน ช่วยลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม และอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน เราจะต้องไม่อ้างสิทธิเสรีภาพอย่างไร้ขอบเขต หรืออ้างความจน ความรวย อะไรต่าง ๆ ที่เป็นอยู่ในวาทะกรรม บ้านเมืองก็สับสนไปหมด 19. การทำให้คนไทยมีจิตสำนึกที่ดี มีอุดมการณ์ ความเสียสละ ซื่อสัตย์ สุจริต เผื่อแผ่แบ่งปัน และไม่ลืมอัตลักษณ์ความเป็นไทย 20. การลดปัญหาสังคม ทั้งการก่ออาชญากรรม การใช้ความรุนแรงในครอบครัว และการละเมิดกฎหมาย ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติ โดยรวม 21. การสร้างกลไกในการป้องกันคนไม่ดี ไม่สุจริต ในการใช้ช่องว่างทางกฎหมายเพื่อแสวงหาประโยชน์ และมีกระบวนการยุติธรรมที่ลดความเหลื่อมล้ำ ให้ความเป็นธรรม กับคนทุกระดับอย่างทั่วถึง สามารถต่อสู้คดีและรักษาสิทธิของตนเองได้นะครับ เช่น เรามีกองทุนยุติธรรมวันนี้ เพิ่มเติม 22. การทำให้คนไทยมีภาคภูมิใจในความเป็นชาติ, อันนี้สำคัญที่สุด ภูมิใจในความเป็นชาติ มีประวัติศาสตร์ และมี วัฒนธรรมที่งดงาม และเป็นความงดงามของชาติเรา ควบคู่ไปกับการปรับตัวให้ความสามารถดำรงชีวิตได้ ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ อย่างเหมาะสม ทั้งตะวันตก และตะวันออก 23. การทำให้เด็กและเยาวชนของชาติ เจริญเติบโตบนพื้นฐานของการมีความรู้คู่คุณธรรม ในการที่จะเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ ในอนาคต 24. การสร้างกระบวนการเรียนรู้ ที่ให้ความสำคัญกับการคิดวิเคราะห์ ให้แก่คนไทย 25. การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกันในสังคม ทั้งประชาชน ข้าราชการ พลเรือน ตำรวจ ทหาร และทุกภาคส่วน เพื่อจะลดความหวาดระแวงระหว่างกัน ดูแลกัน เห็นอกเห็นใจกัน และอยู่ร่วมกันภายใต้กฎหมายเดียวกัน ที่ทุกคนต้องเคารพและบังคับใช้ ไม่ให้เกิดความขัดแย้ง 2 ฝ่าย ทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชน ก็ต้องหาทางออกตรงนี้ให้ได้ 26. การทำให้คนไทยมีความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม และการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันนี้ฝ่ายรัฐก็ต้องทำ ทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายบริหาร ตุลาการ นิติบัญญัติ ก็ต้องทำให้ดีนะครับ ประชาชนจะได้มั่นใจ แล้วก็เชือมั่น 27. การทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับความไว้วางใจ ความเชื่อมั่น จากประชาชน ก็ด้วยตัวของท่านเอง 28 .การทำให้บ้านเมืองของเรา มีความเป็นระเบียบ สะอาด สวยงาม โดยประชาชนทุกกลุ่ม ทุกอาชีพ สามารถทำมาหากินได้ อย่างพอเพียง โดยปราศจากผลกระทบทางลบซึ่งกันและกัน และก็ความสะอาดของบ้านเมืองด้วย ต้องไปด้วยกันให้ได้ จะทำยังไง 29. การสร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับประชาชนในการเสพย์สื่อและโซเชียล อย่างรู้เท่าทันและมีวิจารณญาณ สำหรับประกอบการตัดสินใจใด ๆ ได้อย่างเหมาะสม จะเชื่อดีหรือไม่เชื่อดี ก็ต้องมีเหตุมีผลมีหลักการของตัวเองด้วย 30. การทำให้คนไทยตระหนักและให้ความสำคัญ กับการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ผมอยากจะเน้นการป้องกัน มากกว่ารักษาโดยไม่จำเป็นอันเป็นส่วนหนึ่งของต้นตอ ปัญหาปากท้อง ปัญหาในครัวเรือน ปัญหาหลักประกันสุขภาพต่าง ๆ เหล่านี้มากมาย 31. การทำให้ประชาชนเข้าใจว่า บางครั้ง การเรียกร้องของเราในสิ่งที่ไม่ถูกไม่ควรเป็นไปไม่ได้ มันอาจจะมีผลกระทบกับคนอื่น 32. การแก้ปัญหาที่หมักหมมยาวนาน คู่ชุมชนเมืองและกรุงเทพฯ อย่างยั่งยืน เช่น ชุมชนแออัดและการจราจรติดขัด เหล่านี้เป็นปัญหาสำคัญ 33. การทำให้ประชาชนมีความสุข ความพึงพอใจในแนวทางที่ถูกที่ควร โดยไม่อึดอัดกับการอยู่ในระเบียบ วินัยและกฎหมายและกฎเกณฑ์ทางสังคม ที่เราจำเป็นต้องมีอยู่ เพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข 34. การทำให้สังคมไทยมีความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ รวมทั้งให้เกียรติและดูแล ผู้หญิง เด็ก คนชรา คนพิการ คนด้อยโอกาส ได้อย่างเหมาะสม เป็นสากล 35. การทำให้คนไทยช่วยกันลดขยะและรู้จักการแยกขยะ ลดผักตบชวา โดยรู้หน้าที่ของตน เพื่อจะไปสู่การลดโลกร้อน โดยการประหยัดไฟ ลดการใช้ถุงพลาสติก ให้ได้อย่างเป็นรูปธรรม 36. การทำให้คนไทยเข้าใจหลักการประชาธิปไตย อย่างถ่องแท้ ทั้งในการอยู่ร่วมกัน และการทำงานร่วมกันโดยต้องยึดถือ หรือฟังเสียงคนส่วนใหญ่ แต่ต้องดูแลคนส่วนน้อยอย่างเหมาะสม ไม่ขัดแย้งและลงตัว ไม่ใช่การใช้เสรีภาพในการเรียกร้องสิ่งที่ตนเองต้องการ กลุ่มตัวเองต้องการ อย่างไม่มีวันสิ้นสุด หรือไม่มีเหตุมีผล หรือในเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะกลไกมันมีหลายอย่างด้วยกัน กลไกเรา กลไกโลก พันธะสัญญามากมาย 37.การทำให้ประชาชนจะเข้าใจว่า ประชาพิจารณ์ ประชามติ ประชาธิปไตย คืออะไร วันนี้ตีกันยุ่งไปหมด แม้กระทั่งคำถามผมก็กลายเป็นอะไรก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้นในฐานะพลเมืองที่ดีของชาติ ควรรู้บทบาทหน้าที่ของตนตามกฎหมายที่มีผลผูกมัดต่าง ๆ ตามหลักการ โดยที่เราต้องไม่ยอมให้ใครบิดเบือนข้อเท็จจริง ที่เป็นความต้องการของคนส่วนใหญ่ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน 38. การทำให้ทุกคน ทุกภาคส่วนนักการเมือง พรรคการเมือง มีคุณธรรม จริยธรรม และประเทศไทยมีการเลือกตั้งที่ได้มาซึ่งรัฐบาล ที่มีธรรมาภิบาล คำนึงถึงผลประโยชน์ประเทศชาติและคนส่วนใหญ่เป็นสำคัญ แล้วไม่ลืมดูแลคนส่วนน้อยด้วย หน้าที่ของนักการเมือง พรรคการเมืองก็คือต้องดูแลคนทั้งประเทศ ไม่ใช่เฉพาะในส่วนที่เลือกตนเข้ามา ดังนั้นรัฐบาลก็ทำหน้าที่แบบนั้น 39. การทำให้ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และ NGO ต่าง ๆ ได้ร่วมมือกับภาครัฐในการทำงานเพื่อประเทศชาติได้อย่างไรมากกว่าการทำงานที่มุ่งในประเด็น หรือเป้าหมาย หรือกฎหมายของตนเองแต่เพียงอย่างเดียว อาจจะมีผลกระทบต่อส่วนรวม อย่างรอบด้าน ลองคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนของประเทศบ้าง วันนี้ดูเรื่องบุคคลไปแล้ว ดูเรื่องกลุ่มไปแล้ว เราต้องมองว่าประเทศเราต้องมีสิทธิมนุษยชนของประเทศไหม ลองไปคิดใหม่ดูแล้วกัน 40. การสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างยั่งยืน โดยเราต้องมีความเข้มแข็งไปด้วยกัน 41. การทำให้คนไทยเข้าใจถึงปัญหาของประเทศชาติ ของสังคม และของประชาชน ว่าต้นตอของปัญหาที่แท้จริง มาจากอะไร คืออะไร แล้วเราจะร่วมมือเดินหน้ากันแก้ไขได้ อย่างไร ถ้าหากว่าต่างคน ต่างคิด ต่างทำ ต่างคนต่างเอาโจทย์ตัวเองใส่เข้ามาแต่เพียงอย่างเดียวตามความต้องการหรือ ผลประโยชน์ของแต่ละคน เป็นหลัก เราก็จะปฏิรูป เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้เลย พัฒนาทำไม่ได้ เช่น เราต้องพัฒนาตนเอง สร้างความเชื่อมโยง สร้างห่วงโซ่เดียวกัน เพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจใหม่ มีการพัฒนาเกษตรกรรม ควบคู่กับการยกระดับอุตสาหกรรม การเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน ระหว่างผู้ได้ประโยชน์ กับผู้เสียประโยชน์ การเสียสละ ที่สมควรได้รับการดูแล เยียวยาจนพึงพอใจด้วยกันทุกฝ่าย หรือมีสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม ตามห้วงระยะเวลา เหล่านี้ต้องมีการพิจารณาเพิ่มเติม เราจะมีรายได้ มีผลตอบแทนในรูปแบบอื่น ๆ ได้อย่างไรนอกจากเงินค่าเยียวยาอย่างเดียวผมกำลังคิดอยู่ เพื่อจะชดเชยในเรื่องของการถูกเวนคืนพื้นที่ ถ้ากิจการมีผลประโยชน์จะทำอย่างไร จะให้เขาได้ไหม ก็จะต้องไปเริ่มใหม่ ไปย้อนหลังไม่ได้อยู่แล้ว เดี๋ยวก็จะมาเรียกร้องของเก่า พอให้ของใหม่ ของเก่าก็เรียกร้องเข้าอีก เป็นไปไม่ได้ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นคนไทยต้องคิดใหม่ การใช้ประโยชน์จากที่ดินให้เกิดมูลค่า ไม่ปล่อยให้รกร้าง ไม่เกิดประโยชน์ เหล่านี้ เป็นต้น 42. การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเราจะทำอย่างไร ให้ทันสมัย เป็นธรรม สามารถทำได้จริง บังคับใช้ได้โดยปราศจากความขัดแย้ง รับฟังซึ่งกันและกัน หากเรายืนคนละฝ่าย ผู้ถือกฎหมายก็อย่างหนึ่ง เจ้าหน้าที่ ผู้ถูกบังคับใช้กฎหมายก็ประชาชน ก็คิดอีกอย่างหนึ่ง โดยไม่มีพื้นฐานร่วมกัน ก็ไปไม่ได้ทั้งหมดผลประโยชน์ส่วนรวมก็มาไม่ได้ ทำให้คนส่วนน้อยต้องเดือดร้อน ถูกกระจายปัญหาไปถึงทุกคน แทนที่ผลประโยชน์จะไปทั่วถึง กลายเป็นปัญหาไปทั่วถึงทุกพื้นที่เพราะความขัดแย้งระหว่างกัน 43. การแก้ไขปัญหาของประเทศโดยการดำเนินการตามพันธะสัญญาต่าง ๆ ของประชาคมโลกนั้น รวมทั้งข้อตกลงในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ทำได้อย่างไร 44. การใช้ประโยชน์จากภูมิรัฐศาสตร์ของเรา เป็นศูนย์กลางทางด้านภูมิศาสตร์ของอาเซียน ในการเสริมสร้างศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศทั้งในกรอบอาเซียน และกรอบความร่วมมือต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ 45. การทำให้ประเทศไทย CLMV อาเซียนเข้มแข็งไปด้วยกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ในลักษณะเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ เพราะเราจะได้รับผลกระทบ เหมือนกัน จากปัญหา และภัยคุกคามต่าง ๆ ดังนั้น ควรต้องช่วยกันสนับสนุน ช่วยเหลือ และร่วมมือกันทั้งในชาติ และต่างชาติที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน เพื่อจะหาวิธีการแก้ปัญหา อย่างสันติวิธี ยั่งยืน 46. การทำให้ประเทศสามารถยกระดับฐานะในเวทีระหว่างประเทศ โดยอยู่ในตำแหน่ง บทบาท ในประชาคมโลกที่เหมาะสม ได้รับเกียรติและโอกาสในการเป็นผู้นำในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะในกิจกรรมที่เรามีศักยภาพและมีขีดความสามารถ 47. การทำให้ประเทศไทยไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งใด ๆ กับส่วนอื่น ๆ ในโลก แต่ทั้งนี้ก็เป็นมติของสหประชาชาติ เราควรจะต้องวางบทบาท และความสัมพันธ์กับชาติต่าง ๆ อย่างไร จึงจะไม่อยู่ในความเสี่ยงไปด้วย แต่เราต้องช่วยกันแก้ปัญหาของโลกใบนี้ เราจะอยู่อิสระได้ เราจะต้องทำให้ทุกประเทศ ทั้งโลกอยู่กัน อย่างสันติสุข 48. การทำอย่างไรที่เราจะสามารถก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำได้บ้าง ผมว่าหลายคนก็อาจจะบอกว่า ทำไมไม่มีโครงการไทยแลนด์เฟิร์ส ผมว่าเราน่าจะมุ่งตรงนี้ก่อนมากกว่า การที่จะเป็นมหาอำนาจด้านอาหาร และการท่องเที่ยว ด้าน ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเรามีศักยภาพอยู่แล้ว เป็นแต่เพียงคำพูดเพื่อจะให้กำลังใจและนำพาพวกเราทุกคนให้ร่วมมือกันเป็นมหาอำนาจแบบนี้ดีกว่า อย่างอื่นเราก็มีไว้สำหรับป้องกันตนเอง เรื่องความมั่นคง ป้องกันอธิปไตยตามแนวชายแดน กับป้องกันภัยความมั่นคงภายใน และภัยคุกคามที่เกิดใหม่ทั้งหมด 49. การทำให้สื่อมวลชน โซเชียล และคนไทยทุกคนมีความตระหนักรู้ เข้าใจถึงผลกระทบจากการเสนอข่าว หรือเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ ทั้งด้วยเจตนาดี หรือไม่ดี ก็ตาม ย่อมมีผลต่อความรู้สึก และการรับรู้ของสังคมในทางที่ถูกต้อง ไม่ถูกต้อง รวมทั้ง กระทบต่อความเชื่อมั่นจากนานาประเทศซึ่งส่งผลต่อประเทศชาติโดยตรง ทางเศรษฐกิจเช่น การค้า การลงทุน การส่งออก นำไปสู่ปัญหาปากท้อง รายได้ ขายสินค้าของประชาชนโดยอ้อม ที่จะเกิดขึ้นตามมา ถ้าเป็นอย่างนั้นก็เกิดไม่ได้ 50. การทำให้คนไทยยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โดยจะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทยตลอดไป ไม่เสื่อมคลาย เพื่อจะเป็นหลักชัยของประเทศ อีกนานเท่านาน ทั้งนี้ ขอย้ำว่าทุกเรื่องเป็นเรื่องที่รัฐบาลคิด และทำอยู่แล้วในปัจจุบัน เพียงแต่ผมอยากจะตั้งประเด็นเหล่านี้ไว้เพื่อจะแสวงหาความร่วมมือ และเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนรวมในการแก้ปัญหาด้วยความภาคภูมิใจในตนเองสร้างประวัติศาสตร์ให้ประเทศไทย ให้ช่วยกันคิดวิเคราะห์ คำนึงถึงหลักการและเหตุผล จะได้ลดการโต้แย้งในหลายประเด็น ในหลายขั้นตอนขณะนี้ เพื่อไปสู่ความเป็นไปได้ บนพื้นฐานของความเป็นจริง ต้องมาร่วมกันคิดร่วมกันทำแล้ว ทำให้เกิดขึ้นจริงด้วย คิดอย่างเดียวพูดอย่างเดียวไม่ได้ต้องช่วยกันคิดช่วยกันทำทั้งข้าราชการ ประชาชน ประชารัฐ อะไรก็แล้วแต่ ต้องมาช่วยกันทั้งหมด สุดท้าย จะเป็นประโยชน์กับประเทศชาติ และพวกเราทุกคน ไม่ใช่คำถาม - คำตอบ เดี๋ยวไปตีความกันผิดอีก จริงๆ แล้ว ประเทศของเรา ยังมีปัญหาอีกมากมาย ที่เราต้องปฏิรูป อยากให้ช่วยกันคิด ช่วยกันทำดีกว่าจะต้องมาบังคับด้วยกฎหมายต่าง ๆ ต้องมาร่วมมือกันก่อน กฎหมายยิ่งใช้น้อยได้ยิ่งดี จะได้ลดความขัดแย้ง กฎหมายยิ่งเข้มงวดขึ้นทุกวัน เขียนให้แรงขึ้นทุกวัน กฎหมายปกติยังไม่เคารพ แล้วกฎหมายยิ่งแรงมันก็ยิ่งขัดแย้ง เราต้องปรับปรุงที่ตัวเราทุกคน ก่อนเริ่มจากกฎหมายพื้นฐาน กฎหมายจราจร กฎหมายอะไรที่ง่าย ๆ ที่เราต้องปฏิบัติ สังคมมันก็จะเรียบร้อยสงบสุข เรื่องอื่น ๆ จะดีตามขึ้นมาด้วย พี่น้องประชาชน ครับ อีกหลายเรื่องที่ผมอยากจะพูดคุยกับพี่น้องประชาชน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน อาทิ 1. ผมอยากให้ทุกคนมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ อยากให้มีการออกกำลังกายบ้างจนเป็นนิสัย หลายคนก็บอกผมไม่ทำงานดีแต่ออกกำลังกาย มันหมายความว่ายังไง ผมไม่เข้าใจ คิดแบบนี้เป็นความคิดที่ไม่ค่อยดีนัก ผมก็เป็นตัวอย่างเพื่อสร้างรูปแบบ สร้างให้ทุกคนเห็นว่าการออกกำลังกายมากน้อย ดีกว่าไม่ทำอะไร ก็เป็นโรคมากมาย วันนี้ผมได้สั่งการให้กับทุกหน่วยงาน ทุกกระทรวง ทบวง กรม หน่วยพลเรือน ตำรวจ ทหาร ให้จัดกิจกรรม ออกกำลังกายบ้างในวันหยุดสุดสัปดาห์ ไม่ต้องใหญ่โต ก็เอาคนไปนำเขามา เขาอยากจะมาก็มา ไม่ต้องบังคับเขา อาจจะทำเรื่องกีฬาอาทิตย์นี้ 3 อาทิตย์ อาทิตย์สุดท้ายไปทำกิจกรรมสาธารณะ เช่น ทำความสะอาด เก็บขยะ จัดระเบียบสิ่งรกรุงรัง ในวันเสาร์อะไรอย่างนี้ ตัดหญ้า ทาสี ฯลฯ ช่วยกันดูให้บ้านเมืองสะอาด หน้าบ้านหลังบ้าน ช่วยกันทำเป็นส่วนรวม เก็บผักตบบ้าง ทำความสะอาดวัดบ้าง ผมเป็นทหารผมเคยทำแบบนี้มาตอนเด็ก ๆ ก็นำทหารไปทำความสะอาด และนำพาพี่น้องประชาชนไปทำงาน ก็เกิดความรักความสามัคคีเกิดขึ้น ไม่เช่นนั้นก็ขัดแย้งไปด้วยกำลังด้วยกฎหมายอยู่ตลอดเวลา แล้วถือเป็นการออกกำลังกายด้วยให้ร่างกายแข็งแรง ก็ทุกหน่วยงานลองไปปรับดู ภาคเอกชน บริษัท ห้างร้านต่าง ๆ ผมก็เห็นหลายพื้นที่ก็ใช้วิธีนี้กันอยู่ มีการออกกำลังกายเพิ่มเติม แล้วแต่สมัครใจ อย่าบังคับเขา วันนี้ก็ได้พยายามให้ไปจัดในสวนสาธารณะบ้าง มีดนตรีฟังบ้าง มีกิจกรรมให้ลูกให้หลาน ไปด้วยบ้าง พ่อแม่พี่น้องครอบครัวจะได้ไปด้วยกันในวันหยุด ใช้เวลาร่วมกัน สังคมก็จะอบอุ่น ปัญหาในครอบครัวจะลดลง ช่วยกันสร้างคุณค่าให้กับตนเองในสังคม ถ้าเราช่วยกันทำจิตสาธารณะเผื่อแผ่แบ่งปัน จะส่งผลให้ตัวเองมีคุณค่า ส่งผลให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง พร้อมสู้งานหนัก เพื่อครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ ต่อไป 2. ขอบคุณสื่อ คอลัมน์นิสต์ ที่ช่วยกันทำความเข้าใจในประเด็นต่าง ๆ ที่รัฐบาลทำ แล้วทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ในทางที่ดี ในส่วนที่ยังไม่สำเร็จ ก็ช่วยกันสร้างความร่วมมือ ระหว่างกันให้ได้ ไม่เช่นนั้นทำไม่สำเร็จ ลองไปดูว่ามีอะไรดีบ้าง ส่วนที่ดีเอามาร่วมมือ ส่วนที่ยังต้องแก้ไขก็บอกมา เพราะฉะนั้นการที่จะแพร่กระจายข่าวอะไร ที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงประเทศของเรา ขอให้กรุณาหาเหตุผล ข้อมูล จากทางราชการบ้าง บางทีไปฟังข้างล่างทีเดียว บางทีไม่ตรงกับข้างบน เพราะฉะนั้น เอาข้างบนกับข้างล่างมาเชื่อมกัน ผมขอร้องสื่อให้ช่วยกันแบบนี้ ก็จะเป็นความคิดของคนบางกลุ่มบางฝ่าย ถ้าหากว่าไปฟังทางนั้นก่อนโดยที่ไม่ฟังรัฐบาล ก็ไม่มีเหตุมีผลซึ่งกันและกัน ที่อาจจะเสียผลประโยชน์ ในการที่จะทำอยู่ในเวลานี้ ซึ่งหลาย ๆ อย่างถูกบิดเบือนไปมากพอควร 3. เรื่องการปฏิรูประบบสาธารณสุข เรามีความจำเป็นอยู่หลายประการ แต่รัฐบาลก็ยืนยันมาหลายครั้งแล้วว่า ทุกคนจะไม่ได้รับอะไรน้อยลงไปกว่าเดิม ที่มีอยู่แล้วเดิม แต่เราจะต้องหาทางจะว่าทำอย่างไรทุกคนจะเข้าถึงสิทธิเหล่านั้นอย่างทั่วถึง เป็นธรรม โดยต้องสอดคล้องกับงบประมาณที่เรามีอยู่ค่อนข้างจำกัด รัฐบาลมีแต่คิดว่า จะทำอย่างไรได้มากขึ้น ใครจะทำหน้าที่บูรณาการ ใครจะทำหน้าที่กำกับดูแล เป็นเจ้าภาพ หรือหน่วยปฏิบัติเพื่อลดความซ้ำซ้อน เอางบประมาณเหล่านั้นไปใช้ในเรื่องอื่นที่ไม่เหมาะสม ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ไม่ตรงตามกับนโยบายของรัฐบาลในการดูแลสาธารณสุขของประชาชน ทั้งนี้ หน้าที่ของภาครัฐ ข้าราชการ ประชาสังคม NGO และองค์กรสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ล้วนแต่ต้องทำเพื่อประชาชนทั้งสิ้น ไม่ใช่เอาไปสร้างอำนาจ สร้างอิทธิพล สร้างคะแนนนิยม หรือใช้เงินไปเพื่อประชาชนเพียงบางกลุ่มบางฝ่าย ต้องกำหนดเป้าหมายชัดเจนว่าเงินส่วนนี้จะไปใช้ที่ไหน กับใคร อย่างไร ให้โปร่งใส อันไหนไม่พอจะเอาจากที่ไหนมาใช้เพิ่มเติม วันนี้เรื่องงบสาธารณสุขมาจาก 2 ทาง มาจากทั้ง สปสช. สส. แล้วในส่วนของรัฐบาลเป็นเรื่องของกระทรวงสาธารณสุข จะทำอย่างไรที่งบประมาณจากทั้ง 3 หรือ 4 ส่วน สามารถที่จะกระจายไปสู่ทุกภาคส่วนได้ เพื่อจะแก้ปัญหาที่บอกว่า ยังมีปัญหาระดับล่าง คนเข้าไม่ถึง ยุ่งยาก เลยตีกันไปหมด กลายเป็นว่าดี แต่ดูแลข้าราชการประชาชนไม่ดูแล ไปดูแลเรื่องของล่างว่าเขาทำกันอย่างไร การดูแลผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด จะแยกคนแยกเงินแยกงาน เขาจะร่วมได้หรือไม่ในกิจกรรมเดียวกัน นี่คือหลักการบูรณาการ แผนคน แผนเงิน แผนงบงานต้องไปด้วยกัน เจ้าหน้าที่ทุกระดับต้องรู้ตรงนี้ เป้าหมายสำคัญคือเพื่อประชาชน ซึ่งต้องการให้กระทรวงสาธารณสุขนำไปศึกษารายละเอียด นำข้อบกพร่องก่อนหน้านี้ตามที่ภาคประชาชนเสนอมา ความสำเร็จเราอาจจะมองแง่ว่า เราดูและประชาชนด้วยการประกันสุขภาพทั่วประเทศ แต่ดูว่าดีหรือยัง แล้วจะทำอย่างไรให้ดีขึ้น ปัญหาอยู่ตรงไหน ถ้าเราเอาปัญหาเข้ามาพิจารณา แล้วแก้ปัญหาตรงนั้นก่อนแล้ว จากนโยบายเดิม จากกฎหมายเดิม แล้วจะแก้ด้วยกฎหมายใหม่อย่างไร ก็จะแก้ได้หมดประชาชนก็จะเห็นชอบร่วมกัน เพราะฉะนั้นคือเหตุผลของผม ในการที่มีการปรับปรุง พรบ. สุขภาพฯ ของกระทรวงสาธารณสุข ไม่ใช่ต้องการจะลดอะไร ในอย่างที่คนเขากล่าวอ้างกัน แต่เราต้องการจะยกระดับให้ดีขึ้น แก้ทุกปัญหาให้ได้ ไม่มีปัญหาเรื่องงบประมาณ การบริหารจัดการ มีการเข้าถึงบริการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อดูแลสุขภาพคนไทย ให้ได้อย่างแท้จริง 4. บรรดาผู้นำทุกภาคส่วนในพื้นที่ ไม่ว่าจะส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น หรือผู้นำตามธรรมชาติ ล้วนสามารถนำพาประชาชนไปร่วมกันทำกิจกรรมสร้างสรรค์ได้ตลอดเวลาทุกที่ทุกเวลา เพื่อจะเพิ่มปฎิสัมพันธ์ พบปะพูดคุยกันสิ่งดี ๆ มีประโยชน์ ไม่ว่าจะท้องถิ่น อบต. อบจ. เทศบาล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อย่าไปร่วมตัวกันเพื่อสร้างความขัดแย้ง กลุ่มเกษตรกรก็เหมือนกัน มีตั้งหลายกลุ่มที่มีปัญหาอยู่ในขณะนี้ ไปหากิจกรรมที่ร่วมมือกันดีกว่า มากกว่าที่จะมาต่อต้าน มากดดัน มาประท้วง ผมว่าไม่เกิดประโยชน์ เพราะเรากำลังแก้ปัญหาทั้งหมดอยู่ อาจจะไม่ทันใจ แต่ถ้าแก้แบบที่ท่านต้องการก็ไม่ทันใจอีกเหมือนเดิม ก็ยิ่งทำอะไรไม่ได้ทั้งหมด ก็ฝากไว้ด้วยแล้วกัน ขอให้เป็นไปตามกฎหมายบ้านเมืองที่เราจำเป็นจะต้องรักษาไว้ มีไว้ เพื่อส่วนรวม แล้วหารือกันว่า จะทำอย่างไรกันต่อไป ก็ขอร้องพี่น้องเกษตรกร ชาวไร่ชาวนา ชาวสวนยางด้วย อย่ามาประท้วงผมเลย ไม่ได้ประโยชน์อะไรทั้งสิ้นผมทำให้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าต้องอาศัยหลาย ๆ อย่างด้วยกัน หลายมิติด้วยกัน วันนี้ทราบว่าดีขึ้นแต่ยังไม่มากนัก แต่จะให้หวือหวาเป็นไปไม่ได้ เพราะเชื่อมโยงกับข้างนอกเขาด้วย 5. การเมือง ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียม และการลดความเหลื่อมล้ำ จะเป็นสิ่งที่เชื่อมโยง สัมพันธ์กัน ในหลายมิติ ซึ่งเราต้องคิด ต้องทำ ต้องแก้ปัญหาแบบองค์รวม พูดอย่างเดียว ทำอย่างอื่นอย่างใดก็ไปขัดอีกอย่าง ต้องทำไปพร้อม ๆ กัน หลายอย่าง บางอย่างก็ทำอย่างนี้ก่อนได้ บางอย่างทำไม่ได้ก็ทำพร้อมกัน ต้องไปพิจารณากันเอาเองว่า ภาครัฐข้าราชการจะทำงานตรงนี้ได้อย่างไร ประชาชนจะมีส่วนร่วมได้ตรงไหน ถ้าทุกคนยึดถือหลักการของตนเป็นที่ตั้งก็ไปไม่ได้ทั้งหมด ก็ขัดกันทั้งหมด 6. หลายอย่างในวันนี้มีความเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญ เกษตรกร เศรษฐกิจ กฎหมายการค้าการลงทุน หลายอย่างค่อยๆ ดีขึ้น หลายอย่างอาจจะช้า ยังไม่ทั่วถึง ก็ต้องไปด้วยกันให้ได้ เราจะเร่งดำเนินการได้อย่างไร โครงการใหม่ ๆ สวัสดิการใหม่ๆมันจะเกิดขึ้นได้ไหม ซึ่งหลายรัฐบาลคิดจะทำ หรือพยายามจะทำ เกิดขึ้นไม่ได้ ทั้งอดีตและปัจจุบัน แล้วอนาคตจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าเรายังต้องจมอยู่กับปัญหาหนี้สิน ความเหลื่อมล้ำ การกระจายรายได้ไม่ดี ที่สำคัญคือความไม่เข้าใจ คำว่า“ประชาธิปไตย” อย่างถ่องแท้ แล้วรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง จะแก้ได้หรือไม่ ผมคาดหวังว่าเขาจะแก้ให้ได้ที่ผมพูดมาทั้งหมด ขนาดรัฐบาลนี้มีอำนาจเต็ม ก็ยังมีคนกล้าออกมาต่อต้าน ออกมาฝ่าฝืนข้อบังคับ ละเมิดกฎหมาย บิดเบือน โดยที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง หรือไม่มีข้อเหตุผลที่ดีพอ 7. สถานการณ์ในโลกใบนี้มีหลายอย่างที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความไม่สบายใจให้กับคนทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็นอากาศเปลี่ยนแปลง ความขัดแย้ง สงคราม ก่อการร้าย ยาเสพติด อาชญากรมข้ามชาติภัยไซเบอร์ ความอดอยากภัยพิบัติ ประเทศไทยถึงแม้ว่าจะไม่มีผลกระทบมากนัก ก็มีทุกวัน แต่เรายังสามารถจะดูแลควบคุมได้ เจ้าหน้าที่ยังจับกุมทำคดีได้สำเร็จเป็นจำนวนมาก มากกว่าช่วงที่ผ่านมามาก หลายคดีมีติดตามอยู่ทุกคดีทุก ประเด็นไม่ได้ไปรังแกใคร มีอยู่ในกลไกอยู่แล้ว เข้ากระบวนการยุติธรรม ไปต่อสู้กันในกระบวนการยุติธรรม ไม่อยากให้มาติดตามว่าเรื่องนี้เสร็จหรือยัง เรื่องที่ทำให้เกิดผลกระทบกับสังคม ตามจนกระทั่งแพร่ไปหมดจนประเทศไทยแย่ที่สุดเลยในขณะนี้ ทั้ง ๆ ที่เราก็จับได้ทุกคดี ที่ผ่านมาหลายคดีไม่ได้เป็นคดี หลายอย่างก็ไม่ได้จับกุม หลายอย่างก็ล่าช้าในการดำเนินคดี ผมอยากจะให้คิดว่า วันนี้ที่จะทำกันนี้ไม่ได้ล้มเหลว แต่ว่าปัญหามีมากเราต้องแก้ไปเรื่อย ๆ ให้ความสนใจทั้งหมดด้วยว่าทุกอย่างในวันนี้ดีกว่าเดิมหรือไม่ ดูทั้งปริมาณและคุณภาพไปด้วย ถ้าดูปริมาณอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องดูคุณภาพด้วย เพราะหลายเรื่องเราแก้ไปแล้ว ไม่ว่าจะเรื่องของความยากจน เรื่องของความเหลื่อมล้ำความเป็นธรรม เรื่องคดี เรื่องทุจริต เรื่องอะไรต่าง ๆ ก็ดีขึ้นทั้งหมด แต่ยังไม่เป็นที่พอใจ ต้องให้ได้ 100% ต้องใช้เวลา เพราะฉะนั้น อย่าไปสนใจคดีเฉพาะที่อยากสนใจ ถ้าไม่เกี่ยวกับตัวเองก็ไม่สนใจ คดีของคนกับสังคมมีอยู่มากมาย เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ก็ทำงานกันเต็มที่อยู่แล้ว ดูว่าประเทศชาติส่วนใหญ่ ประชาชนส่วนใหญ่เขาปลอดภัย ก็มีส่วนน้อยที่มีคดีที่มีความเดือดร้อนก็ต้องไปแก้ตรงนั้น ว่าทำอย่างไรเขาจะไม่เกิดขึ้นอีก ไม่เสียชีวิต ทรัพย์สิน ไปดูตรงโน้น ดูทั้ง 2 ข้างไปด้วย คนไม่ดีก็ต้องช่วยกันกำจัดออกไป โดยให้ข้อมูลในเฉพาะที่เหมาะสมแล้วก็จบได้แล้ว ไม่เช่นนั้นก็พูดกันในสื่อทะเลาะเบาะแวงขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่ตลอดเวลา เจ้าหน้าที่เขาก็ต้องมีองค์กรของเขาต้องดูแลชื่อเสียงขององค์กร บุคคลคือบุคคล ก็ต้องโทษ สอบสวนไปให้ข้อมูลมาก็จบแล้ว ก็เดินหน้าไปติดตามผลการสอบสวน ติดตามผลการดำเนินคดี ก็ได้แค่นั้น ทุกประเทศเขาก็เป็นแบบนี้ นี่เล่นไม่เลิก ผมว่าไม่ใช่ จนปัญหาอื่นไม่ได้รับความสนใจเลย คนเดือดร้อนจริง ๆ ไม่ได้รับการแก้ปัญหา การแต่งตั้งข้าราชการ พลเรือน ตำรวจ ทหาร ตำแหน่งก็ไม่ได้มากนักมีน้อย มีทั้งได้ไม่ได้ คนได้มีน้อย คนไม่ได้ก็มีมากกว่า ก็ต้องไปดูว่า คนที่เขาไม่ได้รับความเป็นธรรมจริงจะมีเท่าไร เอาเขามาช่วย เขานี้ก็ไม่กล้าเข้ามาบอกข้อมูลอีก ข้อมูลก็ไม่ให้ เพราะเขากลัวจะผิดด้วย เพราะเป็นผู้ให้ แล้วจะทำอย่างไร หลายอย่างที่เดินหน้าไม่ได้ เพราะผู้ให้หรือผู้ที่เสียประโยชน์ก็มีความผิดด้วย แล้วพอบอกว่าจะคุ้มครองให้ จะให้มา ก็บอกว่าไม่เป็นธรรม คนทำความผิดแล้วไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร แล้วอย่างนี้จะไปกันอย่างไร ไปคิดมา คนที่ไม่ดีก็อ้างกระบวนการยุติธรรมมีหรือไม่ อาจจะมาพูดว่าระบบเสียหาย หรือคิดเอาเอง อย่างผมไม่เคยปฏิเสธว่าดีทั้งหมดอยู่แล้ว เราต้องช่วยกันแก้ต่อไป แก้เป็นส่วนๆ แก้เป็นเรื่องๆ เรียบเรียงในกิจกรรมใหญ่ ๆ การปฏิรูปไม่ได้สำเร็จได้ง่าย ๆ หรือรวดเร็ว เราต้องแก้ให้ครบวงจร ปัญหาเล็กปัญหาน้อยปัญหาใหญ่ต้องใช้เวลา ต้องใช้วิธีการต้องใช้กฎหมายและโดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือซึ่งกันและกันจากเจ้าหน้าที่และประชาชน เพราะคนส่วนใหญ่ประชาชนส่วนใหญ่ เจ้าหน้าที่ดี ๆ ก็ยังได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายเดิม จากวิธีการเดิมอยู่มาก ถ้าเราจะทำใหม่ ทำกฎหมายใหม่ ก็ต้องไปหาวิธีการว่าจะใช้กฎหมายนี้อย่างไร ประชาชนจะร่วมมือได้อย่างไร ถ้าทำอย่างนี้ก็ไม่ขัดแย้ง ถ้าทำแบบเดิมแล้วเอากฎหมายใหม่มาแต่วิธีการเดิมก็ขัดแย้งเหมือนเดิมไม่เกิดประโยชน์ เรื่องที่ 8. เรื่องฝนตก น้ำท่วม น้ำขัง ก็คงต้องเร่งแก้ปัญหาระยะสั้น ให้บรรเทาความเดือดร้อนให้เร็วที่สุด ในเรื่องของการก่อสร้างการบูรณาการ ไม่ว่าจะแหล่งน้ำ ไม่ว่าจะในเรื่องของระบบการส่งน้ำ ไม่ว่าจะการระบายน้ำต้องใช้เวลาและงบประมาณจำนวนมาก เพื่อจัดทำแผนงานให้รัดกุม ทุกอย่างเกิดขึ้นมาหลายสิบปีที่ไม่ยั่งยืน วันนี้เราก็ทำไปได้มากแล้ว ลองตามดู ก็ติดอยู่ในเฉพาะพื้นที่ที่มีปัญหาทำไม่ได้ ประชาชนไม่ยินยอม อันนี้คือปัญหาสำคัญ การบุกรุกพื้นที่ของทางข้าราชการ จะสร้างถนน สร้างรถไฟ หรืออะไรก็แล้วแต่ รถไฟความเร็วสูงติดหมด พี่น้องประชาชนบุกรุกอยู่ ผมก็ไม่อยากให้ประชาชนเดือดร้อน แต่เราจะทำอย่างไร เพราะผิดกฎหมาย ต้องไปดูแลว่าจะทำอย่างไร ก็ขอร้องว่าอย่าไปขวางเลยเรื่องการก่อสร้างรถไฟอะไรต่าง ๆ ก็แล้วแต่ เพราะเป็นผลประโยชน์โดยร่วมของประเทศ การที่จะสร้างรถไฟความเร็วสูง ผมเห็นข่าวจากช่องหนึ่ง บอกว่าผมต้องการสร้างรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-โคราช เพราะว่าผมเป็นคนโคราช ดูซิคิดแบบนี้ได้อย่างไร ผมจะเกิดที่ไหนก็เรื่องของผม นั้นเรื่องส่วนตัวของผม แต่ผมทำเพื่อประชาชนทั้งประเทศไม่ได้ทำเพื่อพื้นที่เกิดของผมเพียงอย่างเดียว คิดแบบนี้ไม่ได้ แล้วเส้นทางเส้นนี้ต้องไปโคราชแล้วไปหนองคาย ไปเชื่อมต่อกับลาวไปยังจีน ไปยุโรปตะวันออก ไปยึดโยงทางด้านโน้น เราต้องทำด้านล่างลงไปอีก ไปเชื่อมต่อมาเลเซีย สิงค์โปร์ อินโดนีเซีย ตะวันตก ตะวันออก พม่า ลาว กัมพูชา ต้องคิดแบบนี้ อย่ามองทุกอย่างเป็นประเด็นการเมืองทั้งหมด นั้นเรื่องส่วนตัวของผม ไม่ใช่เลย สุดท้ายนี้ ผมขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสืบสานปณิธานแห่ง “การให้” ด้วยการบริจาคเงินสมทบทุนโครงการ “สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์” สถาบันการแพทย์แห่งใหม่ของโรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งจะเป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางการศึกษาและการวิจัย เพื่อผลิตบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพในทุกระดับ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่วิทยาการและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยให้กับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยขยายพื้นที่การให้บริการทางการแพทย์ ไปในพื้นที่ทางภาคตะวันออกของกรุงเทพฯ และ EEC วันนี้ผมตั้งใจจะพูดให้ช้าลงก็ไม่ได้อีก เพราะเรื่องมีมากพอสมควร พยายามติดตามดูบ้างก็แล้วกัน ต้องขอโทษอาจจะพูดเร็วไป ก็ตามอ่านดูในหนังสือพิมพ์มีทุกสัปดาห์ ถ้าวันนี้ไม่ทันดูก็กรุณาดูวันเสาร์ 8 โมงเช้าดูได้อีกครั้งหนึ่ง หรืออ่านในหนังสือพิมพ์ก็มี ขอให้ดูทั้งฉบับ ไม่เช่นนั้นก็หยิบเอาประเด็นนั้นประเด็นนี้มา แล้วก็ตีผมกลับไปกลับมา ผมว่าไม่เกิดประโยชน์ในการพูดของผมเลย อย่ารำคาญผม เพราะผมทำให้ประเทศชาติทำให้ท่านทุกคน ขอบคุณครับ ขอให้ “ทุกคน” มีความสุข ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ สวัสดีครับ
16 มิ.ย. 2560
รมช.กลาโหมมั่นใจสถานการณ์ในพื้นที่ จชต.ต้องดีขึ้น หลังทุกฝ่ายร่วมมือแก้ปัญหา
พลเอกอุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม/หัวหน้าคณะผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ระบุปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนราชการ ประชาชน ได้ช่วยกันเป็นอย่างยิ่ง ที่จะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นทุกๆ ทาง ส่วนของราชการที่จะต้องเป็นฝ่ายนำขับเคลื่อน ก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี มั่นใจว่าสถานการณ์พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องดีขึ้นอย่างแน่นอน ขอให้พี่น้องประชาชน เชื่อมั่นว่าทางรัฐบาล นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี ทุกฝ่ายทุกส่วน พยายามที่จะยกระดับทำให้ทุกอย่างดีขึ้น ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้น ความไม่สงบ ต้องเสริมสร้างความเข้าใจ ต้องร่วมกันทำ ร่วมกันแก้ ก็จะต้องดีขึ้นให้ได้
13 มิ.ย. 2560
นายกรัฐมนตรียืนยันรัฐบาลพยายามแก้ปัญหาราคายางตกต่ำ จึงขอความร่วมมือสมาคมผู้ปลูกยางทั่วประเทศอย่าออกมาเคลื่อนไหว
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีปัญหาราคายางพาราตกต่ำว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลามาตรการการช่วยเหลือเกษตกรชาวสวนยางพารา 4 มาตรการ ซึ่งเคยดำเนินการก่อนหน้านี้ โดยในวันพรุ่งนี้ (14 มิ.ย.2560) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะชี้แจงถึงมาตรการให้ความช่วยเหลือต่างๆ ซึ่งอาจมีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม ทั้งนี้ เห็นว่าปัญหาส่วนหนึ่งเกิดการจากซื้อขายในตลาดล่วงหน้า ซึ่งเหมือนรูปแบบการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ จึงทำให้ราคายางแกว่งตัว แม้จะเป็นไปตามกลไกการค้าเสรี แต่รัฐบาลจะหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า มาตรการที่ออกมาก่อนหน้านี้ ทำให้ราคายางพาราปรับสูงขึ้น แต่จำเป็นต้องขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการด้วย พร้อมทั้งต้องมีการเตรียมการรองรับการเปิดกรีดยางในฤดูกาลใหม่ ส่วนกรณีที่สมาคมผู้ปลูกยางทั่วประเทศ เตรียมเคลื่อนไหวชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหา โดยอาจจะมาชุมนุมที่กรุงเทพมหานครนั้น นายกรัฐมนตรีขอความร่วมมือว่าไม่ควรออกมาเคลื่อนไหว ซึ่งัฐบาลจะหาแนวทางแก้ปัญหาให้ ซึ่งหลายกรณีมีความคืบหน้า นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี เห็นว่า ไม่มีความจำเป็นต้องปรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกจากตำแหน่ง เพราะที่ผ่านมา ก็พยายามทำหน้าที่อย่างเต็มที่แล้ว
13 มิ.ย. 2560
รายการเดินหน้าประเทศไทย : มติคณะรัฐมนตรีฉบับประชาชน วันที่ 13 มิถุนายน 2560
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ เพื่อส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาสามารถก้าวมาประกอบธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคลได้ เพิ่มเติมจากมติ ครม.ครั้งที่ผ่านมา โดยขยายผลไปถึงบุคคลธรรมดา ที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล สำหรับการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไปยังบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรการดังกล่าว ซึ่งรัฐบาลกำลังส่งเสริมเพื่อให้บุคคลธรรมดาได้ประกอบธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคลมากขึ้น คณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนการและงบประมาณการดำเนินโครงการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว (หนอนหัวดำ) ด้วยวิธีผสมผสานแบบครอบคลุมพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน จากเดิมดำเนินการในพื้นที่ 78,954 ไร่จำนวน 1,973,850 ต้น เป็นดำเนินการในพื้นที่ 109,409 ไร่ จำนวน 3,877,134 ต้น พร้อมขยายเวลาจากเดือนเมษายน 2560 - เดือนธันวาคม 2560 เป็นเดือนเมษายน 2560 - มิถุนายน 2561 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบโครงการจัดตั้งบริษัท โครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ จำกัด (National Broadband Network:NBN Co)ของ บมจ.ทีโอที (TOT) และโครงการจัดตั้งบริษัท โครงข่ายระหว่างประเทศและศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต จำกัด (Neutral Gateway & Data Center:NGDC Co) ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม (CAT) เนื่องจากที่ผ่านมา TOT และ CAT มีลงทุนและการดำเนินธุรกิจที่ซ้ำซ้อนกัน เมื่อสัมปทานคลื่นความถี่ทยอยหมดอายุลงก็ทำให้รายได้ลดลง ดังนั้นจึงมีความคิดที่จะแยกธุรกิจที่ซ้ำซ้อนกันบางส่วนออกมาตั้งบริษัทลูกแล้วจะถือหุ้นร่วมกัน โดย NBN Co จะเป็นการลงทุนเพื่อให้บริการค้าส่งบรอดแบนด์และโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมภายในประเทศเป็นหลัก โดยมีสินทรัพย์ ได้แก่ โครงข่ายหลัก ระบบสื่อสัญญาณ จนถึงข่ายสายตอนนอกเคเบิลใยแก้วนำแสง ส่วน NGDC Co จะลงทุนเพื่อให้บริการบรอดแบนด์ระหว่างประเทศเป็นหลัก รวมทั้งศูนย์บริการข้อมูล โดยมีสินทรัพย์ที่อยู่นอกประเทศ ได้แก่ สถานีเคเบิลใยแก้วใต้น้ำในประเทศและระหว่างประเทศ เคเบิลภาคพื้นดินระหว่างประเทศ รวมทั้งโครงข่ายขนส่งข้อมูลทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความคืบหน้าการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2560 และโครงการสำรวจข้อมูลผู้มีรายได้น้อย โดยมีผู้มาลงทะเบียนทั้งสิ้น 14.18 ล้านคน หลังจากนี้จะมีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่มาลงทะเบียน ซึ่งจะเป็นการจ้างนักศึกษาที่อายุ 18 ปีขึ้นไป ทั้งระดับอุดมศึกษาและอาชีวะศึกษาให้ลงไปสำรวจข้อมูลของผู้มีรายได้น้อยที่มาลงทะเบียนไว้ โดยต้องสำรวจข้อมูลให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2560
10 มิ.ย. 2560
สกู๊ป : สร้างเครือข่ายประชาชนรับมือภัยคุกคาม
กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย จัดอบรมมาตรการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่เสี่ยง เตรียมรับมือสถานการณ์ เสริมความพร้อมให้กับเจ้าหน้าที่และกำลังพล รวมถึงประชาชน เพื่อสร้างความร่วมมือแบบ ประชารัฐ ป้องกันภัยร้าย และการฉวยโอกาสของกลุ่มผู้ไม่หวังดี หลังเกิดเหตุความไม่สงบ จากกลุ่มผู้ไม่หวังดีที่ต้องการให้ประเทศเกิดความวุ่นวาย ผ่านการสร้างสถานการณ์ในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะที่จุดสำคัญที่มีประชาชนอยู่เป็นจำนวนมาก และยากที่จะมีการตรวจจับ การดึงภาคประชาชนมาเป็นแนวร่วมในการป้องกัน นับเป็นมาตรการที่มีส่วนสำคัญ กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ หรือ พล.ม.2 รอ. จัดอบรมมาตรการรักษาความปลอดภัยพื้นที่เสี่ยง 14 เขต ให้กับกำลังพล เจ้าพนักงาน เจ้าหน้าที่เทศกิจ และเครือข่ายภาคประชาชน โดยการให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องวัตถุระเบิด ระเบิดแสวงเครื่อง การจดจำตำหนิรูปพรรณสัณฐานผู้ต้องสงสัย รวมถึงการจัดตั้งและขยายผลจากแหล่งข่าวประชาชน ภายหลัง เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่ต่างๆโดยรอบ จนเกิดอันตรายต่อประชาชนและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก นอกจากการเพิ่มแนวร่วมกับการแจ้งเบาะแส ป้องกันภัยคุกคาม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลความสงบเรียบร้อย ได้เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ในการตรวจตรามากขึ้น พร้อมๆกับการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมากใช้ อย่าง กล้องวงจรปิดหรือกล้อง CCTV จะช่วยติดตามตัวผู้ก่อเหตุ ในกรณีที่ไม่สามารถป้องกันเหตุได้ ซึ่งพุ่งเป้าไปพื้นที่ที่มีความเข้มงวดในการดูแลรักษาความปลอดภัย เช่น โรงไฟฟ้า สถานที่เก็บน้ำมัน เป็นพื้นที่ที่มีความเข้มแข็งและมีระบบการเฝ้าระวังป้องกัน การสร้างแนวร่วมภาคประชาชนให้ช่วยสังเกตการณ์ และแจ้งเบาะแส เพื่อป้องปราบการก่อเหตุต่างๆ ถือเป็นการร่วมใจ และรวมพลัง ต่อต้านกลุ่มผู้ไม่หวังดีกับประเทศชาติ ไม่สามารถฉวยโอกาสทำร้ายประเทศชาติ ตามแนวทางประชารัฐ ที่สามารถทำให้การแก้ไขปัญหาสำเร็จตามสิ่งที่ตั้งใจไว้
10 มิ.ย. 2560
สกู๊ป : ร่างงบฯ 61 มิติใหม่การใช้จ่ายเงินแผ่นดิน
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณร่ายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2561 ถือเป็นงบประมาณที่มีความแตกต่างจากการจัดทำงบประมาณที่ผ่านมา เพราะได้นำบทเรียนในอดีตมาปรับปรุง และลดงบประมาณในส่วนที่ไม่จำเป็น พร้อมจัดทำเกิดความสอดคล้องการแผนยุทธศาสตร์ชาติ แม้ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2561 จำนวน 2 ล้าน 9 แสนล้านบาท จะอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อปรับแก้ไขงบประมาณแต่ละส่วนให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ และการพัฒนาประเทศที่อยู่ในช่วงของการวางรากฐาน และเดินตามยุทธศาสตร์ชาติที่ว่างไว้ แต่การจัดทำงบประมาณของประเทศครั้งนี้ รัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้จัดทำงบประมาณที่คำนึงแนวทางการพัฒนาประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ และความมั่นคงด้านการคลัง ซึ่งมีความแตกต่างกับการจัดทำงบประมาณครั้งที่ผ่านมา มิติแรก คือ การจัดสรรงบประมาณมีความชัดเจนและดูแลให้เหมาะสมกับความต้องการของประเทศ โดยส่วนแรก คือ งบประมาณที่สนับสนุนงานฟังก์ชั่น หรืองานประจำ ที่ครั้งนี้ มีการปรับ “ลดลง” กว่า 240,000 ล้านบาท จากนโยบายของรัฐบาล ที่ลด ชะลอ หรือยกเลิก โครงการที่ซ้ำซ้อนระหว่างหน่วยงาน ล้าสมัย และยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ โดยจะนำงบประมาณส่วนที่ลดลง ไปเพิ่มในส่วนที่สอง คือ งานบูรณาการประมาณ 130,000 ล้านบาท และ งานยุทธศาสตร์ อีกประมาณ 110,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนนโยบาย และการปฏิรูปประเทศ ให้เกิดผลอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม มิติที่สอง คือการจัดสรรงบประมาณให้สามารถสนับสนุนการทำงานแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากการใช้จ่ายงบประมาณร่วมกันให้ได้ สะดวกยิ่งขึ้น เพิ่มการประสานงาน และลดความซ้ำซ้อนของการทำงานนะครับ ทั้งแผนคน แผนเงิน แผนงบประมาณ จะต้องไม่ซ้ำซ้อนกัน นะครับ แล้วก็แบ่งความรับผิดชอบ สามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้น มิติที่สาม คือการสร้างความคุ้มค่าให้กับการใช้งบประมาณ โดยมีกลไกในการจัดทำโครงการต่างๆ เพื่อป้องกันการทุจริต ผ่าน พระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้าง จัดให้มีคณะกรรมการคุณธรรม, ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และ กระบวน การคัดกรองตรวจสอบอื่นๆ ที่รัดกุมยิ่งขึ้น และ มิติที่สี่ ก็คือ การปฏิรูปการจัดสรรงบประมาณนี้เป็นก้าวสำคัญ ที่จะขับเคลื่อนแผนการปฏิรูปประเทศให้เกิดขึ้น และดำเนินไปได้ต่อเนื่อง โดยสิ่งที่รัฐบาลได้คำนึงถึงกับการจัดทำงบประมาณ ทำให้การใช้จ่ายงบประมาณในอนาคตเกิดประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ความต้องการ ในการปฏิรูปประเทศ ระบบราชการ การบริหารราชการและเกิดประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด กับงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด