query_id
stringlengths 1
4
| query
stringlengths 11
185
| positive_passages
listlengths 1
3
| negative_passages
listlengths 0
30
|
---|---|---|---|
4109 | มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์ เรียนจบจากที่ไหน ? | [
{
"docid": "485003#2",
"text": "มาร์กาเร็ต บูร์ก ไวท์ เป็นบุตรสาวของโจเซฟ ไวท์ (Joseph White) ชาวยิว-โปแลนด์ และ มินนี่ บูร์ก (Minnie Bourke) สตรีอังกฤษเชื้อสายไอริช เธอเกิดในย่านเดอะบรองซ์ (The Bronx) ทางตอนเหนือของมหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา แต่ไปเติบโตที่บาวนด์ บรู๊ค รัฐนิวเจอร์ซี และจบการศึกษาระดับมัธยมจาก เพลนฟิลด์ ไฮสกูล (Plainfield High School) ทั้งนี้ เมื่อแรกเกิด เธอมีชื่อว่า มาร์กาเร็ต ไวท์ (Margaret White) แต่ในปี 1927 เธอได้เติมนามสกุลแม่ลงไปในชื่อของตัวเองแล้วใส่ขีดคั่น (Hyphen) จึงกลายเป็น Margaret Bourke-White อย่างที่โลกรู้จักมาจนถึงปัจจุบัน",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
}
] | [
{
"docid": "485003#6",
"text": "หนึ่งในลูกค้าของ มาร์กาเร็ต คือ โอทิส สตีล คัมพานี (Otis Steel Company) ความสำเร็จของเธอเกิดจากทั้งเทคนิคส่วนตัว และทักษะต่างๆ ที่เรียนรู้จากผู้คน ซึ่งประสบการณ์จากการทำงานให้บริษัทโอทิสเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ ดังที่อธิบายไว้ในหนังสือ ‘พอร์ตเทรต ออฟ มายเซลฟ์’ (Portrait of Myself) ซึ่งเธอเขียนขึ้นในภายหลัง",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#29",
"text": "}}]] หมวดหมู่:บุคคลจากเดอะบร็องซ์ หมวดหมู่:นักถ่ายภาพชาวอเมริกัน หมวดหมู่:นักถ่ายภาพสงคราม",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#11",
"text": "ช่วงกลางยุคทศวรรษ 1930 มาร์กาเร็ตถ่ายภาพผู้ประสบภัยแล้งในเหตุการณ์ดัสต์โบวล์ (en:Dust Bowl) ซึ่งเป็นพายุฝุ่นที่เกิดจากการเพาะปลูกผิดวิธีจนหน้าดินแห้งเป็นฝุ่น และถูกลมพัดปลิวว่อนกลายเป็นภัยพิบัติครั้งใหญ่ในอเมริกา ตีพิมพ์ลงในนิตยสารไลฟ์ ฉบับวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 1937",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#26",
"text": "Emily Keller. Margaret Bourke-White: a photographer’s life. USA: Lerner Publications Company, 1996.",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#28",
"text": "}}]] [[Category:{{subst:#switch:{{subst:uc:1971}}",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#21",
"text": "อัลเฟรด (en:Alfred Eisenstaedt) ซึ่งเป็นทั้งเพื่อนและผู้ร่วมงานของมาร์กาเร็ตกล่าวว่า เธอมีความสามารถพิเศษในการอยู่ถูกที่ถูกเวลา ซึ่งเธอได้สัมภาษณ์และถ่ายภาพมหาตมา คานธีเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงก่อนการลอบสังหารในปี 1948 ที่สำคัญคือ ไม่มีงานไหนหรือภาพใดไม่สำคัญสำหรับเธอ",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#3",
"text": "เนื่องจากพ่อของมาร์กาเร็ตเป็นวิศวกรและนักประดิษฐ์ เธอจึงเรียนรู้ที่จะเป็นพวกสมบูรณ์แบบนิยม ในขณะที่แม่ก็เป็นแม่บ้านที่มีความคิดริเริ่มในเรื่องต่างๆ ซึ่งทำให้เธอมีความปรารถนาจะพัฒนาตนเองอยู่เสมอ โรเจอร์ พี่ชายของมาร์กาเร็ตบรรยายถึงพ่อแม่ของพวกเขาว่า ทั้งคู่เป็นนักคิดอิสระผู้ใส่ใจในการสร้างความก้าวหน้าให้ตนเองและมนุษยชาติอย่างจริงจัง โรเจอร์จึงกล่าวว่า ไม่เคยสงสัยในความสำเร็จของน้องสาวเลย โดยกล่าวถึงอุปนิสัยส่วนตัวของเธอว่า ไม่ใช่คนสันโดษหรือไร้มนุษยสัมพันธ์ และนอกจากโรเจอร์แล้ว มาร์กาเร็ตยังมีพี่สาวอีก 1 คน ชื่อ รูธ ไวท์ ซึ่งมีชื่อเสียงจากงานที่อเมริกัน บาร์ แอสโซซิเอชั่น (American Bar Association) ในชิคาโก",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#9",
"text": "ในปี 1929 มาร์กาเร็ตตกลงรับตำแหน่งบรรณาธิการร่วมและช่างภาพที่นิตยสารฟอร์จูน (en:Fortune Magazine) จนถึงปี 1930 ต่อมา เฮนรี่ ลูซ (en:Henry Luce) เจ้าพ่อแห่งวงการนิตยสารจ้างเธอเป็นช่างภาพข่าวหญิงคนแรกของไลฟ์แมกกาซีน (en:Life Magazine) เมื่อปี 1936 ภาพการก่อสร้างเขื่อน Fort Peck ของมาร์กาเร็ตได้ปรากฏบนหน้าปกฉบับปฐมฤกษ์ เมื่อ 23 พฤศจิกายน ในปีเดียวกันนั้นเอง โดยเป็นภาพที่ได้รับความนิยมมากถึงขนาดมีการนำไปพิมพ์ในชุดแสตมป์ที่ระลึกฉลอง 100 ปีของการไปรษณีย์สหรัฐ โดยถูกใช้เป็นภาพตัวแทนของยุคทศวรรษ 1930",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#15",
"text": "มาร์กาเร็ตทำงานเป็นช่างภาพให้นิตยสารไลฟ์จนถึงปี 1940 แต่ก็กลับมาทำงานที่นี่อีกครั้งเมื่อปี 1941-42 และอีกครั้งในปี 1945 จนกระทั่งกึ่งเกษียณเมื่อปี 1957 อันเป็นช่วงที่เธอยุติอาชีพการเป็นช่างภาพนิตยสาร ต่อมาจึงเกษียณเต็มขั้นในปี 1969 ทั้งนี้ มาร์กาเรตเริ่มมีห้องแล็บครั้งแรกที่นิตยสารไลฟ์แห่งนี้เอง",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#24",
"text": "You Have Seen Their Faces (1937; ร่วมกับ Erskine Caldwell) North of the Danube (1939; ร่วมกับ Erskine Caldwell) Shooting the Russian War (1942) They Called it “Purple Heart Valley” (1944) Halfway to Freedom; a report on the new India (1949) Dear Fatherland, rest quietly (1946) Portrait of Myself (1963) The Taste of War (คัดสรรงานเขียนของมาร์กาเร็ต บรรณาธิการโดย Jonathon Silverman)",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#25",
"text": "For the world to see: the life of Margaret Bourke-White โดย Jonathon Silverman (1983) Margaret Bourke-White: a biography โดย Vicki Goldberg (1986) The Photographs of Margaret Bourke-White edited โดย Sean Callahan (1972) Margaret Bourke-White: a photographer’s life โดย Emily Keller (1996) Margaret Bourke-White: the early work, 1922-1930. โดย Ronald E. Ostman และ Harry Littell Photojournalism, 1855 to the present โดย Reuel Golden (2006) Key readings in journalism บรรณาธิการโดย Elliot King และ Jane L. Chapman (2012)",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#1",
"text": "มาร์กาเร็ต นับเป็นช่างภาพหญิงคนสำคัญคนหนึ่งของวงการถ่ายภาพของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวงการภาพถ่ายสารคดีและภาพข่าว",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#4",
"text": "ความสนใจด้านถ่ายภาพของมาร์กาเร็ตเริ่มต้นตั้งแต่อายุยังน้อย โดยเป็นงานอดิเรกที่ได้รับการสนับสนุนจากพ่อซึ่งเป็นคนหลงใหลในกล้องถ่ายภาพ อย่างไรก็ตาม เธอได้เข้าเรียนด้านสัตววิทยาแขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (herpetology) ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เมื่อปี 1922 โดยที่ยังมีความสนใจด้านการถ่ายภาพอยู่ และยิ่งมีเพิ่มมากขึ้นหลังจากที่ได้เรียนกับคลาเรนซ์ ไวท์ (Clarence White) ช่างภาพชาวอเมริกัน (แต่ทั้งสองไม่ได้เป็นญาติกัน) ซึ่งเปิดโรงเรียนสอนถ่ายภาพ Clarence H. White School of Photography",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#19",
"text": "มาร์กาเร็ตมีชื่อเสียงพอๆ กันทั้งจากภาพมหาตมา คานธีกับเครื่องปั่นด้าย (Gandhi at his Spinning Wheel) และภาพโมฮัมเหม็ด อาลี จินนาห์ (Mohammed Ali Jinnah) ผู้สถาปนาปากีสถานขณะนั่งบนเก้าอี้ โดยที่ Somini Sengupta นักหนังสือพิมพ์หญิงชื่อดังชาวอินเดีย เจ้าของรางวัล George Polk Award ปี 2004 สาขาผู้สื่อข่าวต่างประเทศกล่าวว่า “มาร์กาเร็ตคือหนึ่งในผู้บันทึกเหตุการณ์ที่มีประสิทธิภาพที่สุดในเหตุการณ์ความรุนแรงที่ปะทุขึ้นในการแบ่งแยกอินเดียกับปากีสถาน เธอบันทึกภาพท้องถนนที่กลาดเกลื่อนไปด้วยซากศพ เหยื่อที่ตายโดยดวงตายังเบิกโพลง ผู้อพยพกับดวงตาที่เหม่อลอย ภาพถ่ายของเธอดูเหมือนกรีดร้องอยู่บนหน้ากระดาษ”",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#16",
"text": "มาร์กาเร็ตเป็นนักข่าวหญิงคนแรกที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในสมรภูมิรบระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เธอเดินทางไปยังสหภาพโซเวียตในปี 1941 โดยเป็นช่างภาพชาวต่างชาติเพียงคนเดียวในกรุงมอสโควขณะที่กองทัพเยอรมันกำลังบุกโจมตี เธอสามารถจับภาพทะเลเพลิงเหล่านั้นไว้ได้ ขณะที่สงครามกำลังดำเนินอยู่ เธอยังติดตามกองทัพอากาศของสหรัฐในแอฟริกาเหนือ อิตาลี และเยอรมัน โดยเข้าสู่สมรภูมิที่กำลังต่อสู่กันในประเทศอิตาลี นอกจากนี้ยังเคยอยู่ในสถานการณ์การทำลายล้างในเมอร์ดิเตอร์เรเนียน เคยเกยตื้นบนอาร์คติก ไอส์แลนด์ และรอดตายจากเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ตกที่เชซาพีค (Chesapeake) หลังจากนั้นเธอก็เป็นที่รู้จักในหมู่พนักงานของนิตยสารไลฟ์ในนาม ‘แม็กกี้ ผู้ทำลายไม่ได้’ (Maggie the Indestructible)",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#23",
"text": "ภาพถ่ายของมาร์กาเร็ตอยู่ที่บรูคลินมิวเซียม (en:Brooklyn Museum) เมืองเคลฟแลนด์, พิพิธภัณฑ์ศิลปะ (en:Museum of Art), พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ (Museum of Modern Art) ในนิวยอร์ก และหอสมุดรัฐสภา (en:Library of Congress) ในวอชิงตัน ดี.ซี.",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#12",
"text": "อีกหนึ่งภาพที่มีชื่อเสียงของมาร์กาเร็ตคือ ภาพกลุ่มคนผิวดำผู้ประสบภัยแล้งยืนอยู่หน้าป้ายที่มีข้อความว่า “มาตรฐานการใช้ชีวิตที่สูงที่สุดในโลก” (World's Highest Standard of Living) โดยมีภาพวาดครอบครัวคนขาวนั่งอยู่ในรถยนต์ ซึ่งถ่ายไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 1937 ต่อมาภาพถ่ายดังกล่าวกลายเป็นจุดเริ่มต้นในการออกแบบปกอัลบั้ม There's No Place Like America Today ของ เคอร์ทิส เมย์ฟิลด์ (Curtis Mayfield) ศิลปินผิวสีชาวอเมริกันเมื่อปี 1975",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#8",
"text": "ต่อมา เมื่อได้รับอนุญาต ปัญหาทางด้านเทคนิคก็เริ่มต้นขึ้น เนื่องจากฟิล์มขาวดำในยุคนั้นไวต่อแสงสีน้ำเงินไม่ใช่สีแดงหรือสีส้มของเหล็กร้อนๆ แม้เธอมองเห็นถึงความงาม แต่ภาพถ่ายจะออกมาเป็นสีดำทั้งหมด มาร์กาเร็ตแก้ปัญหาด้วยการให้ผู้ช่วยถือแมกนีเซียมที่ลุกไหม้ซึ่งสร้างแสงสีขาวและแสงสว่างให้กับฉาก ความสามารถของเธอส่งผลให้ภาพเหล่านั้นเป็นหนึ่งในภาพถ่ายโรงงานเหล็กที่ดีที่สุดในยุคนั้น",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#10",
"text": "อย่างไรก็ตาม แม้เธอตั้งชื่อภาพว่า New Deal, Montana: Fort Peck Dam แต่ความจริงแล้วมันคือภาพของทางน้ำล้นซึ่งตั้งอยู่ห่างจากตัวเขื่อนไปทางตะวันออก 3 ไมล์ ตามเว็บเพจของเหล่าทหารช่างของกองทัพสหรัฐ (United States Army Corps of Engineers)",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#17",
"text": "เธอยังได้บันทึกเรื่องราวการจมของเรือ SS Strathallan ซึ่งเปนเรือรบอังกฤษที่มุ่งหน้าไปยังแอฟริกาไว้ในบทความ “Women in Lifeboats” ในนิตยสารไลฟ์ ฉบับวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 1943 อีกด้วย และต่อมาในฤดูใบไม้ผลิปี 1945 มาร์กาเร็ตเดินทางพร้อมนายพล George S. Patton นายทหารสหรัฐ ไปยังแคมป์ Buchenwald อันอื้อฉาวในเยอรมัน ซึ่งเธอกล่าวในเวลาต่อมาว่า “การใช้กล้องถ่ายภาพเกือบจะเป็นการปลดเปลื้องสำหรับฉัน มันคั่นกลางนิดเดียวระหว่างตัวฉันกับความน่าสะพรึงกลัวที่อยู่ตรงหน้า”",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#0",
"text": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์ (English: Margaret Bourke-White; 14 มิถุนายน ค.ศ. 1904 – 27 สิงหาคม ค.ศ. 1971) เป็นช่างภาพหญิงชาวอเมริกันที่ถ่ายภาพแนวสารคดี (en:Photojournalism) ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะช่างภาพชาวต่างชาติคนแรกที่ได้รับอนุญาตให้ถ่ายภาพโรงงานอุตสาหกรรมในสหภาพโซเวียต ทั้งยังเป็นช่างภาพและนักข่าวสงคราม (War photographer) คนแรกที่เป็นผู้หญิงที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในสมรภูมิรบ และนอกจากนี้ยังเป็นช่างภาพหญิงคนแรกของนิตยสารไลฟ์ (en:Life Magazine) ภาพถ่ายของมาร์กาเร็ตปรากฏบนปกนิตยสารดังกล่าวในฉบับปฐมฤกษ์ เธอเสียชีวิตด้วยโรคพาร์กินสันเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 1971 ณ รัฐคอนเนตทิคัต หลังจากเริ่มมีอาการของโรคดังกล่าวเมื่อ 8 ปีก่อนหน้านั้น",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#18",
"text": "หลังสงคราม เธอเขียนหนังสือชื่อว่า Dear Fatherland, Rest Quietly ซึ่งช่วยให้เธอรับมือกับความเหี้ยมโหดที่พบเห็นระหว่างและหลังสงคราม",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#5",
"text": "ภายหลังการเสียชีวิตของพ่อ เธอก็ลาออกจากมหาวิทยาลัยดังกล่าว แล้วเปลี่ยนที่เรียนอีก 2-3 แห่ง หนึ่งในนั้นคือ มหาวิทยาลัยมิชิแกน ซึ่งเธอเป็นสมาชิกสโมสรหญิง Alpha Omicron Pi, Purdue University ในรัฐอินเดียนา และมหาวิทยาลัย Case Western Reserve ในเคลฟแลนด์ โอไฮโอ และในที่สุดก็จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยคอร์แนลด้วยวุฒิศิลปศาสตร์บัณฑิตในปี 1927 หนึ่งปีต่อมา มาร์กาเร็ตย้ายจากนิวยอร์กไปยังเคลฟแลนด์ โอไฮโอ แล้วเริ่มสร้างสตูดิโอถ่ายภาพเชิงพาณิชย์ โดยสร้างผลงานภาพถ่ายเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมและอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ในปี 1924 ระหว่างที่ยังเรียนหนังสือ เธอแต่งงานกับเอเวอร์เรตต์ แชปแมน (Everett Chapman) แต่หย่าร้างกันในอีก 2 ปีต่อมา",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#20",
"text": "ภาพถ่ายจำนวน 66 ภาพของมาร์กาเร็ตถูกรวบรวมไว้ในหนังสือนวนิยายชื่อ en:Train to Pakistan ของ en:Khushwant Singh ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี 1956 โดยมีการพิมพ์ซ้ำเมื่อปี 2006 ภาพถ่ายจำนวนมากในหนังสือเล่มนี้ถูกจัดแสดงที่ศูนย์การค้า The posh shopping center Khan Market ในเมืองเดลี ประเทศอินเดีย",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#13",
"text": "ในปี 1939 มาร์กาเร็ตแต่งงานกับ เออร์สกิน คอลด์เวลล์ (Erskine Caldwel) นักเขียนนวนิยาย และหย่าร้างกันในปี 1942 ทั้งคู่เคยร่วมงานกันในหนังสือชื่อ You Have Seen Their Faces ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับสถานการณ์ทางตอนใต้ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจโลก (Great Depression) ตีพิมพ์เมื่อปี 1937",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#22",
"text": "อย่างไรก็ตาม ชีวประวัติของมาร์กาเร็ต บูร์ก ไวท์ ยังถูกผลิตเป็นภาพยนตร์เรื่อง Double Exposure: The Story of Margaret Bourke-White เมื่อปี 1989 และยังมีภาพยนตร์เรื่อง Gandhi (คานธี) ปี 1982 ที่มีฉากมาร์กาเร็ตเดินทางไปถ่ายภาพและพูดคุยกับคานธีอีกด้วย",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#7",
"text": "เริ่มแรกนั้น มีการคัดค้านที่จะปล่อยให้เธอถ่ายภาพด้วยเหตุผลหลายอย่าง อย่างแรก คือ การทำเหล็กเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับกองทัพ ดังนั้นพวกเขาต้องมั่นใจว่ามันจะไม่กระทบต่อความปลอดภัยของชาติ อย่างที่สอง เธอเป็นผู้หญิง และในยุคนั้นผู้คนก็ยังสงสัยว่า ผู้หญิงและกล้องที่บอบบางของเธอจะสามารถทนต่อความร้อนสูง ความเสี่ยง ความสกปรก และสถานการณ์ต่างๆ ได้หรือไม่",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#27",
"text": "{{subst:#if:|}} [[Category:{{subst:#switch:{{subst:uc:1904}}",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
},
{
"docid": "485003#14",
"text": "นอกจากนี้ เธอยังเดินทางไปยังทวีปยุโรปเพื่อบันทึกว่าเยอรมนี ออสเตรีย และเชกโกสโลวาเกียถูกปฏิบัติอย่างไรเมื่ออยู่ภายใต้ลัทธินาซี และรัสเซียถูกจัดการอย่างไรภายใต้ลัทธิคอมมิวนิสต์ ขณะที่อยู่ในรัสเซีย เธอได้ถ่ายภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากคือ โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) มีรอยยิ้ม เช่นเดียวกับภาพแม่และย่า (หรือยาย?) ของเขาขณะเยือนจอร์เจีย",
"title": "มาร์กาเรต เบิร์ก-ไวต์"
}
] |
4110 | คาโรลีเนอ อมาเลีย เอลีซาเบ็ท เสียชีวิตเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "215385#0",
"text": "คาโรลีเนอ อมาเลีย เอลีซาเบ็ท แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล (German: Caroline Amalie Elisabeth von Braunschweig-Wolfenbüttel) ทรงเป็นเจ้าหญิงเยอรมันซึ่งอภิเษกเข้าสู่พระราชวงศ์อังกฤษ คาโรลีเนอประสูติเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1768 ที่เบราน์ชไวค์ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระธิดาของคาร์ล วิลเฮล์ม แฟร์ดีนันด์ ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล กับเจ้าหญิงออกัสตาแห่งบริเตนใหญ่ (พระขนิษฐาองค์โตของพระเจ้าจอร์จที่ 3) คาโรลีเนอเป็นพระราชินีในพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 1820 จนสิ้นพระชนม์เมื่อ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1821 ที่ลอนดอน อังกฤษ พระศพตั้งอยู่ที่มหาวิหารเบราน์ชไวค์",
"title": "คาโรลีเนอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล"
}
] | [
{
"docid": "862801#0",
"text": "เจ้าหญิงเฮเลนา อาดิเลดแห่งเดนมาร์ก (); (เดิม: เจ้าหญิงเฮเลนา อาดิเลดแห่งชเลสวิก-โฮลชสตน์-ซอนเดอบูร์ก-อูลคัชเบิร์ก)เป็นพระชายาใน เจ้าชายฮารัลด์แห่งเดนมาร์ก ทรงเป็นพระธิดาพระองค์ที่ 3ใน ฟรีดริชเฟอร์ดินานด์ ดยุกแห่งชเลสวิก-โฮลชสตน์ กับ เจ้าหญิงแคร์โรไลน์ มาทิลเดอ ดัชเชสแห่งชเลสวิก - โฮลชไตน์-ซอนเดอบูร์ก-ออกัสเตนเบิร์ก พระองค์ทรงเป็นพระมารดาใน เจ้าหญิงคาโรลีเนอ-มาทิลเดอแห่งเดนมาร์ก เป็นพระอัยยิกาใน เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งเดนมาร์ก เคานต์อิงกอล์ฟแห่งโรเซินบอร์ก เคานต์คริสเตียนแห่งโรเซินบอร์ก",
"title": "เจ้าหญิงเฮเลนา แอดิเลดแห่งเดนมาร์ก"
},
{
"docid": "860713#0",
"text": "เคานต์อิงกอล์ฟแห่งโรเซินบอร์ก (); หรือเดิม เจ้าชายอิงกอล์ฟแห่งเดนมาร์ก พระโอรสพระองค์กลางใน เจ้าชายคนุด รัชทายาทแห่งเดนมาร์ก กับ เจ้าหญิงคาโรลีเนอ-มาทิลเดอแห่งเดนมาร์ก ทรงเป็นพระอนุชาใน เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งเดนมาร์ก เขาลาออกจากการเป็น \"เจ้าชายแห่งเดนมาร์ก\" และดำรงตำแหน่ง \"เคานต์แห่งโรเซินบอร์ก\" เขาเสกสมรสจำนวน 2 ครั้ง แต่ไม่มีโอรส-ธิดา",
"title": "เคานต์อิงกอล์ฟแห่งโรเซินบอร์ก"
},
{
"docid": "154233#9",
"text": "พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์ม ทรงมีความประสงค์จะให้เจ้าชายฟรีดริชแต่งงานกับแกรนด์ดัชเชสเอลีซาเบ็ท คริสทีเนอแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเวรีน พระนัดดาของจักรพรรดินีแอนนาแห่งรัสเซียแต่แผนการถูกคัดค้านโดยเจ้าชายเออแฌนแห่งซาวอย ฟรีดริชทรงเสนอการแต่งงานระหว่างพระองค์เองกับจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซาเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการสละการเป็นมงกุฏราชกุมารของปรัสเซีย แต่เจ้าชายยูจีนกลับทรงชักจูงพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มให้เห็นควรว่าการแต่งงานระหว่างฟรีดริชกับเอลีซาเบ็ท คริสทีเนอ แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล-เบเวิร์น ผู้เป็นญาติทางราชวงศ์ฮาพส์บวร์คผู้นับถือโปรเตสแตนต์จะเหมาะสมกว่า เมื่อพระเจ้าฟรีดริชทรงทราบถึงข้อเสนอนี้ก็ทรงบรรยายในจดหมายถึงพระขนิษฐาว่า “ความรักและความเป็นมิตรระหว่างเราสองไม่มีทางเป็นไปได้” และทรงคิดจะฆ่าตัวตาย แต่ก็ทรงเข้าพิธีเสกสมรสเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1733 หลังจากเมื่อทรงขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1740 ฟรีดริชก็ทรงกีดกันมิให้เอลีซาเบ็ท คริสทีเนอเข้าเฝ้าในราชสำนักที่พ็อทซ์ดัม และทรงจัดให้เอลีซาเบ็ท คริสทีเนออยู่ประทับที่วังเชินเฮาเซิน (Schönhausen Palace) ที่เบอร์ลิน และห้องชุดที่วังเบอร์ลิน (Berliner Stadtschloss) และมอบตำแหน่ง “เจ้าชายแห่งปรัสเซีย” ให้แก่พระอนุชาเจ้าชายออกัสตัส วิลเลียม แห่งปรัสเซีย ถึงแม้ว่าฟรีดริชจะทรงปฏิบัติเช่นนี้ต่อเอลีซาเบ็ท คริสทีเนอ เอลีซาเบ็ท คริสทีเนอก็ยังทรงมีความจงรักภักดีต่อพระองค์",
"title": "พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย"
},
{
"docid": "782566#0",
"text": "คาโรลีเนอ เบออิล (เกิด 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1966) เกิดที่ฮัมบวร์ค เป็นนักแสดงและพิธีกรโทรทัศน์หญิงชาวเยอรมัน ผลงานที่ทำให้คาโรลีเนอ ได้เป็นที่นิยม คือ Storm of Love",
"title": "คาโรลีเนอ เบออิล"
},
{
"docid": "215385#8",
"text": "พระธิดาเจ้า หญิงชาร์ลอตต์ตกอยู่ในความดูแลของครูพี่เลี้ยงในคฤหาสน์ไม่ไกลจากคฤหาสน์มองตากิวที่คาโรลีเนอมักจะเสด็จไปเยี่ยม[19] การมีพระธิดาเพียงพระองค์เดียวดูเหมือนจะไม่พอเพียง คาโรลีเนอทรงรับอุปการะเด็กยากจนอีกแปดหรือเก้าคน ที่ทรงส่งไปให้คนดูแลเลี้ยงดูแทนในดิสตริคท์ที่ประทับ[20] ในปี ค.ศ. 1802 พระองค์ทรงรับเลี้ยงวิลเลียม ออสตินผู้มีอายุเพียงสามเดือนครึ่ง และทรงนำเข้ามาพำนักในที่ประทับ มาในปี ค.ศ. 1805 คาโรลีเนอก็ทรงมีเรื่องกับเซอร์จอห์นและเลดี้ดักกลาสผู้เป็นเพื่อนบ้านผู้อ้างว่าพระองค์ทรงส่งจดหมายหยาบคายไปรังควาน เลดี้ดักกลาสกล่าวหาคาโรลีเนอว่าทรงมีชู้ และกล่าวว่าวิลเลียม ออสตินเป็นพระโอรสนอกสมรสของคาโรลีเนอ[21]",
"title": "คาโรลีเนอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล"
},
{
"docid": "215385#10",
"text": "เมื่อมาถึงปลายปี ค.ศ. 1811 พระเจ้าจอร์จที่ 3 ก็ทรงมีอาการเสียพระสติอย่างถาวร เจ้าชายจอร์จจึงทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระองค์ทรงจำกัดการเยี่ยมเยือนเจ้าหญิงชาร์ลอตของคาโรลีเนอ ซึ่งทำให้คาโรลีเนอกลายเป็นผู้ที่ขาดการติดต่อทางสังคมมากยิ่งขึ้น เมื่อชนชั้นสูงในสังคมหันมาร่วมงานเลี้ยงรับรองอันหรูหราของเจ้าชายจอร์จกันมากขึ้นแทนที่จะเป็นงานของคาโรลีเนอ[26] คาโรลีเนอจึงพยายามหาพันธมิตรผู้มีอำนาจที่จะเป็นปฏิปักษ์ต่อการห้ามไม่ให้พระองค์ได้พบปะกับพระธิดา ในจำนวนผู้สนับสนุนก็ได้แก่เฮนรี บรูม บารอนบรูมและโวซ์ที่ 1 นักการเมืองพรรควิกผู้ทะเยอทะยานผู้ต้องการที่จะปฏิรูป คาโรลีเนอจึงเริ่มทำการรณรงค์ต่อต้านเจ้าชายจอร์จ[27] เจ้าชายจอร์จตอบโต้ด้วยการปล่อยข่าวเกี่ยวกับการให้การของเลดี้ดักกลาสในกรณี \"การสืบสวนเรื่องละเอียดอ่อน\" บรูมจึงตอบโต้ด้วยการปล่อยข่าวเกี่ยวกับคำให้การของคนรับใช้เกี่ยวกับโซเฟีย ออสติน[28] เจ้าหญิงชาร์ลอตต์และสาธารณชนเข้าข้างพระมารดา เจน ออสเตนเขียนจดหมายเกี่ยวกับคาโรลีเนอว่า: \"สตรีที่น่าสงสาร, ข้าพเจ้าจะสนับสนุนเธอนานเท่าที่จะทำได้เพราะเธอ เป็น สตรี และ ข้าพเจ้าเกลียดสามีของเธอ\"[29]",
"title": "คาโรลีเนอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล"
},
{
"docid": "215385#9",
"text": "ในปี ค.ศ. 1806 ก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการลับที่เรียกว่า \"การสืบสวนเรื่องละเอียดอ่อน\" (Delicate Investigation) เพื่อสอบสวนข้ออ้างของเลดี้ดักกลาส คณะกรรมการประกอบด้วยผู้มีความสำคัญระดับชาติสี่คนที่รวมทั้ง: นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร วิลเลียม เกรนวิลล์ บารอนเกรนวิลล์ที่ 1, ลอร์ดชานเซลเลอร์ ทอมัส เอิร์สคิน บารอนเอิร์สคินที่ 1, ประธานยุติธรรมสูงสุดแห่งอังกฤษและเวลส์ เอ็ดเวิร์ด ลอว์ บารอนเอลเลนโบโรห์ที่ 1 และ รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย จอร์จ สเป็นเซอร์ เอิร์ลสเป็นเซอร์ที่ 2 เลดี้ดักกลาสให้การว่าคาโรลีเนอเองทรงยอมรับต่อตนเองในปี ค.ศ. 1802 ว่าทรงพระครรภ์ และวิลเลียม ออสตินเป็นพระโอรสของพระองค์[22] และกล่าวต่อไปว่าคาโรลีเนอทรงมีกิริยาอันหยาบคายต่อพระราชองค์ ทรงแตะต้องตนเองอย่างไม่เหมาะไม่ควรทางเพศ และ ยอมรับว่าสตรีผู้ใดที่เป็นมิตรดีกับชายก็เชื่อได้ว่าจะกลายเป็นคนรักของชายผู้นั้น[22] นอกจากสมิธ, แมนบีย์ และแคนนิงแล้ว, ทอมัส ลอว์เร็นซ์ และเฮนรี ฮูดก็ถูกกล่าวหาว่าอาจจะมีความสัมพันธ์ฉันท์ชู้รักกับพระองค์ คนรับใช้ของคาโรลีเนอไม่สามารถยืนยันหรือไม่ยอมยืนยันว่าบุคคลเหล่านี้เป็นชู้รัก หรือเรื่องการมีครรภ์ของคาโรลีเนอ และกล่าวว่าวิลเลียม ออสตินได้รับการนำมามอบให้แก่พระองค์โดยโซเฟีย ออสตินมารดาของเด็กเอง โซเฟีย ออสตินถูกเรียกตัวมาให้การและยืนยันว่าเด็กเป็นลูกของตนเอง[23] คณะกรรมการตัดสินว่าข้อกล่าวหา \"ไม่มีมูล\" และแม้ว่าจะเป็นการสืบสวนลับแต่ก็ไม่อาจที่จะป้องกันข่าวซุบซิบจากการแพร่ขยายออกไป ข่าวการสืบสวนจึงรู้ไปถึงหนังสือพิมพ์ในที่สุด[24] การปฏิบัติตนของคาโรลีเนอต่อสุภาพบุรุษถือกันว่าเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นการกระทำที่นอกเหนือไปจากการกล่าวล้อเลียนระหว่างชายและหญิง คาโรลีเนออาจจะทรงโพล่งไปว่าทรงครรภ์ตามประสาของความโผงผางของพระองค์ แต่ผลที่ตามมาเป็นเรื่องที่ทำให้ทรงเสียชื่อเสียง[23] ต่อมาในปีนั้นคาโรลีเนอก็ได้รับข่าวร้ายว่าเบราน์ชไวค์ถูกรุกรานโดยฝรั่งเศส และพระราชบิดาถูกสังหารในยุทธการเยนา-เออร์ชตัดท์ คาโรลีเนอมีพระประสงค์ที่จะหนีจากบริเตนและเสด็จกลับเบราน์ชไวค์แต่เมื่อแผ่นดินใหญ่ยุโรปส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส พระองค์จึงไม่ทรงมีที่ปลอดภัยที่จะเสด็จไปได้[25]",
"title": "คาโรลีเนอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล"
},
{
"docid": "858123#1",
"text": "ซึ่งพระนาม คาโรลีเนอ ถูกตั้งตามพระนามของเจ้าหญิงคลัมมา ซึ่งเป็นพระปัยยิกาฝ่ายพระมารดา",
"title": "เจ้าหญิงคาโรลีเนอ-มาทิลเดอแห่งเดนมาร์ก"
},
{
"docid": "906082#0",
"text": "เอลีซาเบ็ท คริสทีเนอ แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล-เบเวิร์น () เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งปรัสเซียในฐานะพระอัครมเหสีของพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย เมื่อแรกประสูติพระองค์ทรงมีศักดิ์เป็นดัชเชสแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล\nเอลีซาเบ็ท คริสทีเนอทรงเป็นพระธิดาของดยุกแฟร์ดินันด์ อัลเบรตช์ที่ 2 แห่งบราวน์ชไวก์-โวลเฟ่นบึทเท่ล และดัชเชสอังตัวเนตต์ อมาลีแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล โดยทรงเป็นลำดับที่สามจากพระโอรส-ธิดาทั้ง 16 องค์ พระองค์ทรงเป็นพระขนิษฐาของดยุกคาร์ลที่ 1 แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล ดยุกอันทอน อูลริชแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล และทรงเป็นพระเชษฐภคินีของ ดยุกแฟร์ดินันด์แห่งบราวน์ชไวก์-โวลเฟ่นบึทเท่ล หลุยเซ อมาลี เจ้าหญิงเอากุสท์ วิลเฮล์มแห่งปรัสเซีย โซฟี อมาลี ดัชเชสแห่งซัคเซิน-โคบูร์ก-ซาลเฟลด์ สมเด็จพระราชินียูเลียนา มารีอาแห่งเดนมาร์ก นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นพระภาคิไนย(หลานป้า)ของเอลีซาเบ็ท คริสทีเนอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล พระจักรพรรดินีในจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์\nพระองค์ทรงได้รับการศึกษาอย่างผิวเผินในด้านการสนทนาภาษาเยอรมันและภาษาฝรั่งเศส และด้านการเต้นรำและการวาดภาพอย่างละเล็กน้อยเท่านั้น ราชวงศ์เวลฟ์สายเบเวิร์นนั้นเป็นพวกเคร่งครัดศาสนาคริสต์นิกายลูเทอแรนมาก การเลี้ยงดูที่เคร่งครัดนี้ทำให้พระองค์ทรงเติบโตเป็นดัชเชสที่เงียบและขี้อาย\nในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ.1733 เอลีซาเบ็ท คริสทีเนอ(18 ปี)และมงกุฏราชกุมารฟรีดริชแห่งปรัสเซียทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรส ณ พระราชวังซัลซ์ดาห์ลุมของพระอัยกาดยุกลุดวิจ รูดอล์ฟแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล ทั้งพระองค์ไม่มีพระราชโอรส-ธิดาด้วยกันและทรงแยกกันอยู่ตั้งแต่ปีค.ศ.1740\nพระสัสสุระของเอลีซาเบ็ท คริสทีเนอ พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซียได้เสด็จสวรรคตในปีค.ศ.1740 และพระสวามีของพระองค์ก็ได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย ในช่วงเวลาที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งพระราชินีอยู่นั้นได้ทรงประทับอยู่อย่างเดียวดายที่โดยที่พระสวามีจะเสด็จมาเยี่ยมเยียนนานๆ ครั้ง และทรงได้รับมอบหมายให้เลี้ยงดูเจ้าหญิงฟรีดริเค่ ชาร์ล็อทเท่แห่งปรัสเซียที่ภายหลังได้อภิเษกกับดยุคแห่งยอร์คและอัลบานี\nหลังจากที่พระเจ้าฟรีดริชมหาราชทรงเสด็จสวรรคตและพระภาคิไนยเจ้าชายฟรีดริช วิลเฮล์มแห่งปรัสเซียได้เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อ พระองค์ก็ยังคงประทับอยู่ที่พระราชวังโชนเฮาเซ่นเช่นเดิม โดยมีพระญาติและสมาชิกราชวงศ์ต่างๆ เสด็จมาเยี่ยมกันอยู่บ่อยๆ พระองค์ทรงเสด็จสวรรคตอย่างสงบในวันที่13 มกราคม ค.ศ.1797 มีพระชนมายุรวมได้ 82 พรรษา",
"title": "เอลีซาเบ็ท คริสทีเนอ แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล-เบเวิร์น"
},
{
"docid": "391528#0",
"text": "เจ้าหญิงเอลิซาเบธ คาโรลีเนอ-มาทิลเดอ อเล็กซันดรีเนอ เฮเลนา โอลกา ธือรา ฟีโอโดรา อัสตริด มาร์กาเรเธอ เดซีเรแห่งเดนมาร์ก (8 พฤษภาคม ค.ศ. 1935 − 19 มิถุนายน ค.ศ. 2018) เป็นพระธิดาในเจ้าชายคนุด รัชทายาทแห่งเดนมาร์ก กับเจ้าหญิงคาโรลีเนอ-มาทิลเดอแห่งเดนมาร์ก ทรงมีศักดิ์เป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งในสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก รัชกาลปัจจุบัน",
"title": "เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งเดนมาร์ก"
},
{
"docid": "215385#7",
"text": "คาโรลีเนอย้ายไปประทับที่ประทับส่วนพระองค์ที่ชาร์ลตันและต่อมาที่คฤหาสน์มองตากิวที่เป็นคฤหาสน์ของเอิร์ลแห่งแซนด์วิชที่แบล็คฮีธทางตะวันออกเฉียงใต้ของลอนดอน เมื่อไม่ทรงต้องอยู่ในกรอบของพระสวามีหรือตามข่าวเล่าลือว่าในกรอบของพันธสัญญาของการสมรส คาโรลีเนอก็ทรงจัดการเลี้ยงผู้ใดก็ได้ที่โปรด[17] พระองค์ตรัสหยอกล้อกับนายพลเรือซิดนีย์ สมิธ และกัปตัน ทอมัส แมนบีย์ และอาจจะทรงมีความสัมพันธ์กับนักการเมืองจอร์จ แคนนิง[18]",
"title": "คาโรลีเนอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล"
},
{
"docid": "858123#0",
"text": "เจ้าหญิงคาโรลีเนอ-มาทิลเดอ ประสูติเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2455 ณ พระราชวังเชโฟเดิน ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของโคเปนเฮเกน เมืองหลวงของประเทศ ทรงเป็นพระธิดาพระองค์ที่ 2 ในเจ้าชายฮารัลด์แห่งเดนมาร์ก และ เจ้าหญิงเฮเลนา อาดิเลดแห่งเดนมาร์ก ทรงเป็นพระราชนัดดาใน สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดริคที่ 8 แห่งเดนมาร์ก ",
"title": "เจ้าหญิงคาโรลีเนอ-มาทิลเดอแห่งเดนมาร์ก"
},
{
"docid": "980032#0",
"text": "อาร์ชดัชเชสเอลีซาเบ็ท ฟรันท์ซิสคาแห่งออสเตรีย () ประสูติเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2374 ณ ราชอาณาจักรฮังการี เป็นพระธิดาในอาร์ชดยุกโจเซฟ ปาลาไทน์แห่งฮังการี กับดัชเชสโดโรเทอาแห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค\nพระองค์ทรงเสกสมรสครั้งแรกกับ อาร์ชดยุกคาร์ล แฟร์ดีนันด์ วิกเตอร์แห่งออสเตรีย-เอสเต เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2390 ณ กรุงเวียนนา มีพระธิดา 1 พระองค์คือ",
"title": "อาร์ชดัชเชสเอลีซาเบ็ท ฟรันท์ซิสคาแห่งออสเตรีย"
},
{
"docid": "974775#1",
"text": "พระองค์ทรงเสกสมรสกับ เจ้าหญิงเอลีซาเบ็ทแห่งลิพเพอ-วิสเซนเฟลด ต่อมาคือ เอลีซาเบ็ท เจ้าหญิงแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2524 รับพระราชทานพระอิสริยยศและพระฐานันดรที่ เฮอร์ไฮนีส อลิซาเบธ เจ้าหญิงแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ พระชายา (พระฐานันดรเดิม:เฮอร์เซอรีนไฮนีส) มีพระบุตรดังนี้",
"title": "คริสท็อฟ เจ้าชายแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์"
},
{
"docid": "516871#9",
"text": "ในรอว์ (24 มีนาคม 2014) วิกกี เกร์เรโร ได้ออกมาประกาศจัดแมตช์ชิงแชมป์ดีวาส์ 14 คน ได้แก่ เอเจ ลี(แชมป์), เนโอมี, คาเมรอน, บรี เบลลา, นิกกี เบลลา, นาตาเลีย, อีวา มารี, เอ็มมา, อักซานา, อลิเซีย ฟอกซ์, ซัมเมอร์ เรย์, โรซา เมนเดส, เลย์ลา และทามีนา สนูกกา",
"title": "เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 30"
},
{
"docid": "964025#0",
"text": "เคานต์โอลัฟแห่งโรเซินบอร์ก () ประสูติเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2466 เป็นพระโอรสพระองค์สุดท้องใน เจ้าชายฮารัลด์แห่งเดนมาร์ก และ เจ้าหญิงเฮเลนา แอดิเลดแห่งเดนมาร์ก พระราชนัดดาใน สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 8 แห่งเดนมาร์ก และพระอนุชาใน เจ้าหญิงคาโรลีเนอ-มาทิลเดอแห่งเดนมาร์ก พระมาตุลาใน เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งเดนมาร์ก ",
"title": "เคานต์โอลัฟแห่งโรเซินบอร์ก"
},
{
"docid": "215385#11",
"text": "ในปี ค.ศ. 1814 หลังจากการพ่ายแพ้ของนโปเลียนสมาชิกของพระราชวงศ์ต่างๆ จากราชอาณาจักรต่างๆ ในยุโรปก็มาเฉลิมฉลองกันในกรุงลอนดอนแต่คาโรลีเนอถูกกีดกัน[30] คาโรลีเนอไม่ทรงมีความสุขกับการที่ถูกปฏิบัติเช่นนั้น พระองค์จึงทรงเจรจาต่อรองกับรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ, โรเบิร์ต สจวต ไวท์เคานท์คาสเซิลรีห์ ว่าจะทรงยอมออกจากบริเตนเป็นการแลกเปลี่ยนกับรายได้ประจำปีเป็นจำนวน £35,000 ทั้งบรูมและเจ้าหญิงชาร์ลอตต์ต่างก็ผิดหวังต่อการตัดสินใจของคาโรลีเนอ เพราะทั้งสองทราบดีว่าการจากไปของคาโรลีเนอเท่ากับเป็นการเพิ่มความมั่นคงให้แก่สถานภาพของเจ้าชายจอร์จและบั่นทอนเสถียรภาพของบุคคลทั้งสอง[31] คาโรลีเนอออกจากอังกฤษเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1814[32]",
"title": "คาโรลีเนอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล"
},
{
"docid": "215385#5",
"text": "จากบันทึกการติดต่อของเจ้าชายจอร์จเปิดเผยว่าทรงมีความสัมพันธ์ทางเพศกับคาโรลีเนอเพียงสามครั้ง สองครั้งในคืนวันเสกสมรส และ อีกครั้งหนึ่งในวันที่สอง[10] ในการมีความสัมพันธ์ทางเพศเจ้าชายจอร์จทรงบันทึกว่าพระองค์ \"ต้องใช้ความพยายามพอสมควรที่จะเอาชนะความรังเกียจในตัว[คาโรลีเนอ]\"[11] เจ้าหญิงชาร์ลอตต์ออกัสตาแห่งเวลส์ผู้เป็นพระราชธิดาองค์เดียวเกิดจากความสัมพันธ์ดังกล่าวเมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1796 ซึ่งทำให้พระองค์ทรงมีสิทธิเป็นลำดับที่สองของลำดับการสืบราชบัลลังก์อังกฤษ จากนั้นเจ้าชายจอร์จและคาโรลีเนอก็มิได้ดำรงชีวิตร่วมกันฉันท์สามีภรรยา และจะปรากฏพระองค์แยกกันในที่สาธารณะ และทั้งสองพระองค์ต่างก็ทรงมีชู้รัก คาโรลีเนอทรงได้รับสมญานามว่า 'พระราชินีผู้ไร้จริยธรรม' กล่าวกันว่าการเสกสมรสเป็นไปอย่างไม่สะดวกใจเพราะความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าชายจอร์จและเลดี้เจอร์ซี แต่ก็อาจจะเป็นได้ว่าคาโรลีเนอเองก็แทบจะไม่มีความสนพระทัยต่อพระสวามี ซึ่งทำให้ไม่มีความสนใจในความสัมพันธ์ของพระองค์กับสตรีคนใด",
"title": "คาโรลีเนอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล"
},
{
"docid": "860717#0",
"text": "เคานต์คริสเตียนแห่งโรเซินบอร์ก (); หรือเดิม เจ้าชายคริสเตียนแห่งเดนมาร์ก พระโอรสพระองค์เล็กใน เจ้าชายคนุด รัชทายาทแห่งเดนมาร์ก กับ เจ้าหญิงคาโรลีเนอ-มาทิลเดอแห่งเดนมาร์ก ทรงเป็นพระอนุชาใน เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งเดนมาร์กและ เคานต์อิงกอล์ฟแห่งโรเซินบอร์ก เขาลาออกจากการเป็น \"เจ้าชายแห่งเดนมาร์ก\" และดำรงตำแหน่ง \"เคานต์แห่งโรเซินบอร์ก\" ดั่งพระเชษฐา เขาเสกสมรสกับ แอนน์ ดอริช (ต่อมาเป็น แอนน์ ดอริชแห่งโรเซินบอร์ก) มีโอรส-ธิดาจำนวน 3 คน",
"title": "เคานต์คริสเตียนแห่งโรเซินบอร์ก"
},
{
"docid": "932765#7",
"text": "ลูกสาวของเอเลนอร์ เอเลนอร์ เดอ มงต์ฟอต์ แต่งงาน ที่วูร์สเตอร์ ในค.ศ.1278 กับลีเวลีน อัป กรุฟฟุด เจ้าชายแห่งเวลส์ เธอเสียชีวิตในการให้กำเนิดลูกคนเดียวของทั้งคู่ เกว็นเลียนแห่งเวลส์ หลังการพิชิตเวลส์ เกว็นเลียนถูกคุมขังโดยเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ ญาติลำดับที่ 1 ของแม่ของเธอ ที่ศาสนสำนักเซมปริงแฮม ที่ซึ่งเธอตายในค.ศ.1337",
"title": "เอลิเนอร์แห่งอังกฤษ เคาน์เตสแห่งเลสเตอร์"
},
{
"docid": "220929#3",
"text": "การพลีชีพของนักบุญเซซีลีอาเชื่อกันว่าเกิดขึ้นหลังจากการพลีชีพของสามีและพี่ชายโดยนายพลโรมันเทอซิอัส อัลมาชิอัส ก่อนที่จะถูกจับเซซีลีอาก็เตรียมบ้านช่องให้เป็นคริสต์ศาสนสถาน เมื่อจับได้แล้วทหารก็พยายามฆ่านักบุญเซซีลีอาโดยการต้มทั้งเป็นแต่ไม่สำเร็จ หลังจากนั้นก็พยายามตัดหัวแต่เมื่อพยายามสามครั้งก็ยังไม่สำเร็จ หลังจากครั้งที่สามเซซิเลียก็อยู่ต่อมาอีกสามวันจึงเสียชีวิต ในสามวันก่อนที่จะเสียชีวิตเซซีลีอาก็ลืมตาขึ้นมาดูญาติพี่น้องและเพื่อนที่มาชุมนุมกันรอบ ๆ แล้วก็ปิดตาแล้วหลังจากนั้นก็ไม่ได้เปิดอีกจนเสียชีวิต ศีรษะของนักบุญเซซีลีอาได้รับการเก็บรักษาไว้เป็นเรลิกที่มหาวิหารตอร์เชลโล",
"title": "นักบุญเซซีลีอา"
},
{
"docid": "215385#2",
"text": "เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1795 คาโรลีเนอและมาล์มสบรีก็ออกจากคุกซ์ฮาเฟนโดย เรือรบหลวงจูปิเตอร์ เรือมาถึงฝั่งอังกฤษที่กรีนิชเมื่อวันอาทิตย์อีสเตอร์ที่ 5 เมษายนหลังจากที่ล่าไปเพราะสภาวะอากาศ ผู้ที่ไปต้อนรับคือฟรานซ์ส วิลเลียรส์ เคานเทสแห่งเจอร์ซีพระสนมในเจ้าชายจอร์จผู้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนางสนองพระโอษฐ์ห้องพระบรรทมของคาโรลีเนอ[5] เฮนรี วาซซาล-ฟ็อกซ์ บารอนฮอลแลนด์ที่ 3 กล่าวว่าอาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกแห่งเวลลิงตัน อ้างว่าเลดี้เจอร์ซีเองเป็นผู้เลือกคาโรลีเนอให้เป็นเจ้าสาวของเจ้าชายจอร์จ ดยุกแห่งเวลลิงตันกล่าวว่าเลดี้เจอร์ซีเลือกสตรีที่ \"มีกิริยามารยาทที่ขาดความเหมาะสม บุคลิกที่ไม่มีอะไรเด่น และ หน้าตาที่เรียบ เพื่อหวังให้เจ้าชายจอร์จรังเกียจพระชายาและสร้างความมั่นคงให้กับการเป็นพระสนมต่อไป\"[6]",
"title": "คาโรลีเนอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล"
},
{
"docid": "215385#6",
"text": "สามวันหลังจากการประสูติของเจ้าหญิงชาร์ลอตต์ออกัสตา เจ้าชายจอร์จก็ทรงพินัยกรรมใหม่ โดยทรงทิ้งทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้แก่ \"มาเรีย ฟิตซ์เฮอร์เบิร์ต, ผู้เป็นภรรยาของข้าพเจ้า\" และทิ้งเงินหนึ่งชิลลิงให้แก่คาโรลีเนอ[12] หนังสือพิมพ์อ้างว่าเลดี้เจอร์ซีทำการเปิด อ่าน และ แจกจ่ายพระสาส์นส่วนพระองค์ของคาโรลีเนอ[13] คาโรลีเนอทรงชิงชังเลดี้เจอร์ซีและไม่ทรงสามารถที่จะเดินทางได้โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากพระสวามี[14] หนังสือพิมพ์สร้างภาพพจน์ของเจ้าชายจอร์จว่าทรงใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือยในขณะที่บ้านเมืองอยู่ในระหว่างการสงคราม และ คาโรลีเนอว่าเป็นภรรยาผู้ถูกปฏิบัติด้วยอย่างขาดความเป็นธรรม[15] คาโรลีเนอเป็นที่นิยมของสาธารณชนเพราะทรงเป็นผู้ที่ไม่มีพิธีรีตอง[11] ซึ่งทำให้เจ้าชายจอร์จทรงชิงชังในความนิยมของประชาชนในตัวพระชายา และ ความไม่เป็นที่นิยมของประชาชนในตัวพระองค์เอง และทรงมีความรู้สึกเหมือนติดกับในชีวิตการเสกสมรสอันปราศจากความรักกับสตรีที่ทรงชิงชัง พระองค์จึงทรงต้องการที่จะแยกกันอยู่[16]",
"title": "คาโรลีเนอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล"
},
{
"docid": "974786#0",
"text": "เอลีซาเบ็ท เจ้าหญิงแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ () หรือ เจ้าหญิงเอลีซาเบ็ทแห่งลิพเพอ-ไวเซินเฟ็ลท์ ประสูติเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2500 ณ รัฐบาวาเรีย เยอรมนี เป็นพระธิดาในอัลเฟรด เจ้าชายแห่งลิพเพอ-ไวเซินเฟ็ลท์ กับ บารอนเนสอาร์มการ์ด จูลันกา วาร์กเนอร์ ฟอน เวิร์นบอน พระองค์ทรงเสกสมรสกับ คริสท็อฟ เจ้าชายแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ พระประมุขแห่งราชวงศ์ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บูร์ก-กลึคส์บูร์ก เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2524 รับพระราชทานพระอิสริยยศและพระฐานันดรที่ เฮอร์ไฮนีส เอลีซาเบ็ท เจ้าหญิงแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ พระชายา (พระฐานันดรเดิม: เฮอร์เซอรีนไฮนีส) มีพระบุตรดังนี้",
"title": "เอลีซาเบ็ท เจ้าหญิงแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์"
},
{
"docid": "324578#1",
"text": "จนถึงปัจจุบัน ยังเป็นข้อถกเถียงว่า \"เอลีเซอ\" นั้นหมายถึงสตรีผู้ใด นักประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งเชื่อว่าบุคคลผู้นั้นคือ เอลีซาเบ็ท เริคเคิล (Elisabeth Röckel, ค.ศ. 1793-1883) ผู้ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของเบทโฮเฟินมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1808 และมีชื่อเล่นว่า \"เอลีเซอ\" (Elise) ในขณะที่บางส่วนเชื่อว่า ลูทวิช โนล ที่เป็นผู้คัดลอกต้นฉบับโน้ตเพลงฉบับแรก ได้คัดลอกชื่อผลงานผิดจาก \"Für Therese\" เป็น \"Für Elise\" โดยเทเรเซอนั้นเป็นชื่อของ เทเรเซอ มัลฟัทที (Therese Malfatti von Rohrenbach zu Dezza) เป็นหญิงสาวที่เป็นเพื่อนและลูกศิษย์ ผู้ซึ่งเบทโฮเฟินเคยขอแต่งงานในปี ค.ศ. 1810 แต่กลับถูกปฏิเสธ",
"title": "เฟือร์เอลีเซอ"
},
{
"docid": "391528#1",
"text": "เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งเดนมาร์ก ประสูติเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1935 ณ โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เป็นพระธิดาในเจ้าชายคนุด รัชทายาทแห่งเดนมาร์ก กับเจ้าหญิงคาโรลีเนอ-มาทิลเดอแห่งเดนมาร์ก",
"title": "เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งเดนมาร์ก"
},
{
"docid": "215385#4",
"text": "คาโรลีเนอและเจ้าชายจอร์จทรงเสกสมรสกันเมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1795 ที่ชาเปลหลวงที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในกรุงลอนดอน เจ้าชายจอร์จทรงเมามายระหว่างพระพิธี และมีพระดำริว่าคาโรลีเนอทรงเป็นสตรีที่ไม่มีเสน่ห์และสกปรก และตรัสกับมาล์มสบรีว่าพระองค์ทรงมีความสงสัยว่าคาโรลีเนอมิได้เป็นสตรีที่ยังทรงพรหมจารีย์[9] แต่พระองค์เองก็มิได้มีความบริสุทธิ์เพราะทรงได้ทำการเสกสมรสอย่างลับๆ กับมาเรีย ฟิตซ์เฮอร์เบิร์ต แต่การเสกสมรสดังกล่าวละเมิดพระราชบัญญัติการเสกสมรสของราชวงศ์อังกฤษ ค.ศ. 1772 ซึ่งทำให้การเสกสมรสดังกล่าวไม่มีผลทางกฎหมาย[10]",
"title": "คาโรลีเนอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล"
},
{
"docid": "215385#1",
"text": "ในปี ค.ศ. 1794 คาโรลีเนอก็ทำการการหมั้นหมายกับพระญาติจอร์จ เจ้าชายแห่งเวลส์ผู้เป็นพระราชโอรสองค์โตในพระเจ้าจอร์จที่ 3 ทั้งสองพระองค์ไม่เคยทรงพบปะกันมาก่อนหน้านั้น เจ้าชายจอร์จทรงยอมตกลงที่จะเสกสมรสกับคาโรลีเนอเพราะทรงมีหนี้สินล้นพระองค์ ฉะนั้นถ้าทรงทำสัญญาเสกสมรสกับเจ้าหญิงผู้มีฐานะดีทางรัฐสภาก็จะอนุมัติเบี้ยเลี้ยงให้พระองค์เพิ่มขึ้น คาโรลีเนอดูเหมือนจะเป็นสตรีที่เหมาะสมเพราะทรงมีกำเนิดในราชตระกูลและทรงถือคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์ นอกจากนั้นแล้วการเสกสมรสก็ยังเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างเบราน์ชไวค์และบริเตน แม้ว่าเบราน์ชไวค์จะเป็นเพียงอาณาจักรที่ไม่ใหญ่โตนักแต่บริเตนอยู่ในระหว่างสงครามกับฝ่ายปฏิวัติฝรั่งเศสจึงมีความต้องการที่จะหาพันธมิตรบนแผ่นดินใหญ่ยุโรป เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1794, เจมส์ แฮร์ริส เอิร์ลแห่งมาล์มสบรีที่ 1 ก็เดินทางไปยังเบราน์ชไวค์เพื่อไปนำคาโรลีเนอมายังบริเตน[1] ในอนุทินมาล์มสบรีบันทึกถึงความวิตกเกี่ยวกับความเหมาะสมระหว่างคาโรลีเนอและเจ้าชายจอร์จว่าคาโรลีเนอทรงขาดคุณสมบัติในด้านการควรไม่ควร, ไม่ทรงมีกิริยาและมารยาททางสังคมอันเหมาะสม, ตรัสโดยไม่คิด, ทรงปฏิบัติพระองค์นอกขอบเขต และ ไม่ทรงรักษาความสะอาดเช่นไม่ทรงเปลี่ยนฉลองพระองค์ที่ไม่สะอาด[2] และกล่าวต่อไปว่าคาโรลีเนอ \"ไม่ทรงมีจริยธรม และ ไม่ทรงมีสัญชาตญาณต่อคุณค่าและความจำเป็น[ของจริยธรรม]\"[3] แต่มาล์มสบรีมีความประทับใจในความเด็ดเดี่ยวของพระองค์ ระหว่างการเดินทางกลับอังกฤษคณะผู้เดินได้ยินเสียงปืนใหญ่เพราะเส้นทางที่ใช้ไม่ไกลจากแนวรบเท่าใดนัก ขณะที่พระมารดาของคาโรลีเนอมีความวิตกกังวลถึงความปลอดภัยไปต่างๆ นานา แต่คาโรลีเนอดูเหมือนไม่ทรงจะเดือดร้อนไปกับเหตุการณ์เท่าใดนัก[4]",
"title": "คาโรลีเนอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล"
},
{
"docid": "215385#3",
"text": "เมื่อได้ทรงพบปะกับคาโรลีเนอเป็นครั้งแรกเจ้าชายจอร์จก็ทรงเรียกขอบรั่นดีแก้วหนึ่ง คงจะเป็นเพราะทรงผิดหวังในตัวผู้ที่จะมาเป็นเจ้าสาวในอนาคต ขณะเดียวกันคาโรลีเนอก็ตรัสกับมาล์มสบรีว่า \"[เจ้าชายจอร์จ]ทรงอ้วนมากและไม่ทรงเหมือนกับภาพเหมือนที่ได้เห็น\"[7] ระหว่างพระกระยาหารค่ำวันนั้นเจ้าชายจอร์จก็ทรงตกพระทัยในกิริยาและการเหน็บแนมเลดี้เจอร์ซีของคาโรลีเนอ และคาโรลีเนอก็ทรงท้อพระทัยและผิดหวังเมื่อเจ้าชายจอร์จทรงลำเอียงไปทางเลดี้เจอร์ซีอย่างเห็นได้ชัด[8]",
"title": "คาโรลีเนอแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล"
}
] |
4114 | อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 เกิดขึ้นเมื่อไหร่? | [
{
"docid": "386369#0",
"text": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 หรือที่นิยมเรียกกันว่า มหาอุทกภัย เป็นอุทกภัยรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยา และลุ่ม แม่น้ำโขง เริ่มตั้งแต่ปลาย เดือนกรกฎาคม และสิ้นสุดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555 มีราษฎรได้รับผลกระทบกว่า 12.8 ล้านคน ธนาคารโลกประเมินมูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท [2]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
}
] | [
{
"docid": "366653#1",
"text": "เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ต่อศักดิ์ วานิชขจร อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวถึงสาเหตุของอุทกภัยในภาคใต้ว่า เป็นผลมาจากอิทธิพลของความกดอากาศต่ำจากประเทศจีนตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม ประกอบกับความกดอากาศต่ำในอ่าวไทย เมื่อวันที่ 24-25 มีนาคม การรวมตัวกันของความกดอากาศทั้งสองนี้เคลื่อนเข้าพื้นที่ภาคใต้ ทำให้เกิดพายุคล้ายพายุดีเปรสชัน ทำให้เกิดฝนตกหนักตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีจนถึงจังหวัดพัทลุงมากกว่า 200 มิลลิเมตร",
"title": "อุทกภัยและดินถล่มในภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "366653#0",
"text": "อุทกภัยและดินถล่มในภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2554 เป็นเหตุการณ์เกิดน้ำท่วมและดินถล่มในภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 จนถึง31 มีนาคม พ.ศ. 2554 ในบางพื้นที่มีฝนตกหนักถึง 120 เซนติเมตร เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วรวม 53 คน สร้างความเสียหายมากกว่า 500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ",
"title": "อุทกภัยและดินถล่มในภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "16208#34",
"text": "นิสิตและนิสิตเก่าของคณะมีส่วนร่วมทางด้านการเมืองของประเทศ ในปี พ.ศ. 2505 นักศึกษาของคณะ (สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์) ก็มีส่วนร่วมในการเดินขบวนในกรณีข้อพิพาทปราสาทเขาพระวิหาร[76] รวมถึงในเหตุการณ์ 14 ตุลาซึ่งมีนักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วม อาทิ เภสัชกรหญิง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธิดา ถาวรเศรษฐและจิระนันท์ พิตรปรีชา ด้านวิชาชีพคณะเภสัชศาสตร์ยังร่วมมือกับสภาเภสัชกรรมในการดำเนินการหลายอย่าง อาทิ การผลักดันให้เกิดการประชุมสมัชชาเภสัชกรรมไทย ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมการเฉลิมฉลองเภสัชกรรมในประเทศไทยครบรอบ 100 ปี ครบถ้วนทุกสาขาของวิชาชีพ ได้แก่ เภสัชอุตสาหกรรม เภสัชกรรมการตลาด เภสัชกรรมโรงพยาบาล เภสัชกรรมชุมชน และเภสัชกรรมคุ้มครองผู้บริโภค การจัดงาน \"สัปดาห์เภสัชจุฬาฯ ไม่แขวนป้าย\" เพื่อร่วมรณรงค์จรรยาบรรณเภสัชกรและกระตุ้นเตือนนิสิต[77] การจัดงานสัปดาห์เภสัชกรรม เป็นต้น และจากอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 นิสิตของคณะเภสัชศาสตร์ได้ผลิตยารักษาน้ำกัดเท้าและตะไคร้หอมไล่ยุงโดยมีคณาจารย์เภสัชกรเป็นที่ปรึกษาและผู้ควบคุมการผลิต ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2554 เพื่อบริจาคแก่ผู้ประสบอุทกภัยทั้งสิ้นจำนวนประมาณ 180,000 ชุด ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจากการบริจาคของภาคประชาชนและคณะ[78] และได้รับคัดเลือกให้เป็น \"โครงการดีเด่น\" ประจำปีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโครงการระดับ \"ดีเด่น\" ในการนำระบบประกันคุณภาพไปใช้ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาประจำปี พ.ศ. 2555 อีกด้วย[79]",
"title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
},
{
"docid": "386369#14",
"text": "วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554 เกิดเหตุน้ำล้นเขื่อนแม่กวงเข้าท่วมอำเภอสันทราย ราษฎรได้รับผลกระทบกว่า 1,000 ครัวเรือน วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 น้ำได้เข้าท่วมเขตตัวเมืองเชียงใหม่ ทำให้โรงแรมกว่า 10 แห่งได้รับผลกระทบ โดยนักท่องเที่ยวบ้างขอย้ายโรงแรม และบ้างที่จองพักล่วงหน้าได้ขอเลื่อนเข้าพัก ด้านบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ประเมินมูลค่าความเสียหายจากอุทกภัยครั้งนี้ไว้ที่ 7-8 พันล้านบาท[22] สราวุฒิ แซ่เตี๋ยว นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ ระบุว่า รายได้จากการท่องเที่ยวและค้าขายในจังหวัดเชียงใหม่สูญแล้วกว่า 1,000 ล้านบาท แต่ยังคาดจำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้น 20% จากปีที่แล้ว เพราะจังหวัดจะจัดกิจกรรมหลายอย่างในช่วงฤดูท่องเที่ยว[23]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "63252#23",
"text": "พ.ศ. 2554 ฤดูฝนในประเทศไทยมีระดับปริมาณน้ำฝนสูงที่สุดในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา[39] อุทกภัยเริ่มทางภาคเหนือของประเทศ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม หนึ่งสัปดาห์ก่อนที่ยิ่งลักษณ์จะเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[40] อุทกภัยลุกลามจากภาคเหนือ ไปยังที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทางภาคกลางอย่างรวดเร็ว และจนถึงต้นเดือนตุลาคม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาถูกน้ำท่วมเกือบทั้งหมด อุทกภัยในประเทศไทยครั้งนี้ นับว่าเลวร้ายที่สุดในรอบมากกว่า 50 ปี ยิ่งลักษณ์จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในส่วนกลาง ราวกลางเดือนตุลาคม และออกตรวจเยี่ยมจังหวัดที่ประสบภัย ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม[41] ยิ่งลักษณ์ยังให้สัญญาว่า จะลงทุนในโครงการป้องกันอุทกภัยระยะยาว รวมทั้งการก่อสร้างคลองระบายน้ำ มาตรการลดอุทกภัยถูกขัดขวาง โดยการพิพาทระหว่างประชาชน จากสองฝั่งของกำแพงกั้นน้ำ โดยฝั่งที่ถูกน้ำท่วมเข้าทำลายกำแพงกั้นน้ำในหลายกรณี และบางครั้งส่งผลให้เกิดการเผชิญหน้าด้วยอาวุธ[42][43] ผู้นำฝ่ายค้าน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และผู้นำทหาร เรียกร้องให้ยิ่งลักษณ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งให้อำนาจแก่ทหารมากขึ้น ในการรับมือกับปัญหาการทำลายกำแพงกั้นน้ำ[44] ยิ่งลักษณ์ปฏิเสธที่จะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยระบุว่าไม่ช่วยให้การจัดการอุทกภัยดีขึ้น เธอประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 และออกประกาศให้พื้นที่ประสบอุทกภัยเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ ซึ่งให้อำนาจรัฐบาลมากขึ้น ในการจัดการการควบคุมอุทกภัยและการระบายน้ำแทน[45]อย่างไรก็ตามเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มากเกี่ยวกับการประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติเนื่องจากพื้นที่ใดเมื่อเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติจะได้รับเงินและงบประมาณลงไปในการช่วยเหลือพื้นที่นั้น[46]",
"title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"
},
{
"docid": "386369#7",
"text": "ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน หลายภาคส่วนของประเทศจึงมักเกิด น้ำท่วมฉับพลัน ตามฤดูกาล อุทกภัยมักเริ่มขึ้นในภาคเหนือแล้วค่อยขยายวงลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านที่ราบภาคกลาง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตาม แม่น้ำชี และ แม่น้ำมูล ซึ่งไหลลง แม่น้ำโขง หรือในพื้นที่ลาดเขาชายฝั่งในภาคตะวันออกและภาคใต้ ส่วนที่เหลือของ พายุหมุนเขตร้อน ซึ่งพัดถล่ม เวียดนาม หรือคาบสมุทรทางใต้เพิ่มหยาดน้ำฟ้าโดยทั่วไป ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่ออุทกภัยมากขึ้นไปอีก ประเทศไทยมีระบบควบคุมการระบายน้ำ รวมถึงเขื่อนหลายแห่ง คลองชลประทานและแอ่งยับยั้งน้ำท่วม (แก้มลิง) (flood detention basin) [12] แต่ยังไม่เพียงพอต่อการป้องกันความเสียหายอันเกิดจากอุทกภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบท มีความพยายามอย่างมาก รวมทั้งระบบอุโมงค์ระบายน้ำซึ่งเริ่มใน พ.ศ. 2544 [13] ในการป้องกันอุทกภัยใน กรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ ณ ปาก แม่น้ำเจ้าพระยา และมักเกิดน้ำท่วม ผลของความพยายามดังกล่าวนับเป็นความสำเร็จสำคัญ โดย กรุงเทพมหานคร มักเกิดอุทกภัยเพียงเล็กน้อยและกินเวลาไม่นานนับตั้งแต่อุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2538 อย่างไรก็ดี ภูมิภาคอื่นยังเกิดอุทกภัยรุนแรง โดยครั้งล่าสุดใน พ.ศ. 2553",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "346198#6",
"text": "ในปี พ.ศ. 2552 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ และในปี พ.ศ. 2553 ได้โยกย้ายไปเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ในระหว่างนั้นเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ประสานราชการระหว่างกระทรวงมหาดไทย กับศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ต่อมาเขาถูกโยกย้ายให้ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย และเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร ตามลำดับ และปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช",
"title": "พีระศักดิ์ หินเมืองเก่า"
},
{
"docid": "402924#0",
"text": "อุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2554 เป็นเหตุการณ์อุทกภัยตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 ที่เกิดขึ้นในภาคกลางและภาคใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเกิดจากฝนตกหนักส่งผลให้มีน้ำท่วมใน 12 จังหวัด ในขณะที่จังหวัดอื่นๆยังคงประสบภัยแห้งแล้งเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ประชากรรวมกว่า 36 ล้านคนต่างได้รับผลกระทบ มีผู้สูญเสียชีวิตไปอย่างน้อย 355 ราย และเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยตรงเกือบ 6.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ",
"title": "อุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#88",
"text": "วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 แวโรจน์ สายทองแท้ หัวหน้างานปกป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา กล่าวว่า ระยะนี้ เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก ทำให้น้ำในแม่น้ำปัตตานีและสายบุรีเอ่อล้นท่วมบ้านเรือนที่อยู่ริมชายฝั่งและเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ราบลุ่มในเขตเทศบาลนครยะลา และในพื้นที่ หมู่ 3 ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา มีประชาชนได้รับความเดือดร้อนเพิ่มเป็น 1,000 ครัวเรือน[125] วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ศูนย์อำนวยการแก้ปัญหาอุทกภัย จังหวัดยะลา สรุปมี 5 อำเภอประสบปัญหาน้ำท่วมแล้ว ขณะที่ประชาชนเดือดร้อนกว่า 2 หมื่นคน[126]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "956220#3",
"text": "ส่วนในปี พ.ศ. 2554 ได้เกิดเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 พลเรือตรีอาภากรพร้อมด้วยกำลังพลหน่วยซีล 27 นาย ได้ลงสู่พื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านในจุดที่ความช่วยเหลือทั่วไปไม่สามารถเข้าถึง",
"title": "อาภากร อยู่คงแก้ว"
},
{
"docid": "386369#4",
"text": "อุทกภัยครั้งนี้เริ่มขึ้นในระหว่างฤดูมรสุม เมื่อ พายุหมุนนกเตน ขึ้นฝั่งทางตอนเหนือของ เวียดนาม ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทย และทำให้เกิดอุทกภัยในหลายจังหวัดเริ่มตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม [6] ภายในสัปดาห์แรกของอุทกภัยก็มีรายงานผู้เสียชีวิตถึง 13 คน [7] อุทกภัยดำเนินต่อไปใน 16 จังหวัดขณะที่ฝนยังคงตกลงมาอย่างหนัก และภายในเวลาไม่นานอุทกภัยก็ลุกลามไปทางใต้เมื่อ แม่น้ำเจ้าพระยา ได้รับน้ำปริมาณมากจากแม่น้ำสาขา และส่งผลกระทบต่อหลายจังหวัดในภาคกลาง จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2554 จังหวัดยังได้รับผลกระทบ และเสี่ยงต่ออุทกภัยเพิ่มเติม เนื่องด้วยเขื่อนส่วนใหญ่มีระดับน้ำใกล้หรือเกินความจุ [8]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#8",
"text": "ขนาดและขอบเขตของอุทกภัยใน พ.ศ. 2554 บางส่วนอาจถือได้ว่าเกิดขึ้นจากปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาน้อยในฤดูมรสุม พ.ศ. 2553 ระดับน้ำในเขื่อนทำสถิติต่ำสุดเมื่อ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 [14] หลักฐานแสดงว่า ตอนต้นฤดูฝน เขื่อนได้กักเก็บน้ำปริมาณมากเพื่อเป็นน้ำสำรองและป้องกันอุทกภัยในช่วงต้น [15] ปริมาณน้ำฝน พ.ศ. 2554 สามารถแสดงได้เห็นโดยปริมาณน้ำที่กักเก็บในเขื่อนภูมิพล น้ำมากกว่า 8,000 ล้านลูกบาศก์เมตรถูกเก็บไว้ในเวลา 3 เดือน จนเขื่อนเต็มความจุ 100% [16] เมื่อถึงขีดกักเก็บน้ำแล้ว ฝนที่ยังตกลงมาบีบให้ทางการต้องเพิ่มการปล่อยน้ำออกจากเขื่อน แม้จะทำให้เกิดอุทกภัยเพิ่มขึ้น และนำไปสู่การกล่าวหาว่า การบริหารจัดการเขื่อนผิดพลาดในช่วงต้นของฤดูมรสุมนี้ [17] อย่างไรก็ดี การโต้แย้งกลับมีว่า หากฤดูมรสุม พ.ศ. 2554 สั้นและไม่มีการเก็บน้ำไว้ในเขื่อนแล้ว หากน้ำลดลงต่ำกว่าระดับเมื่อ พ.ศ. 2553 จะเป็นการบริหารจัดการผิดพลาดเช่นกัน",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#193",
"text": "พีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ถูกย้ายให้ไปเป็นผู้ตรวจราชการโดยระบุในคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 522/2554 [272] ด้วยเหตุผลว่า จำเป็นและเพื่อประโยชน์ของทางราชการในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอันเนื่องมาจากสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม และมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในการประสานราชการระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2554",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#6",
"text": "โดยก่อนหน้านี้ได้เกิดอุทกภัยและดินถล่มทางภาคใต้ของ ประเทศไทย ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม แล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 53 คน [10] และสร้างความเสียหายมากกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[11]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#136",
"text": "วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ศูนย์ปฏิบัติการรองรับเหตุฉุกเฉิน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ศปฉ.ปภ.) [177] และศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์ อุทกภัยวาตภัยและดินโคลนถล่ม (ศอส.) [178] รายงานตรงกันเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันว่า ยังมีพื้นที่ประสบอุทกภัยประเทศไทยตอนบน 10 จังหวัด 83 อำเภอ 579 ตำบล 3,851 หมู่บ้าน เฉพาะกรุงเทพมหานคร 36 เขต ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,658,981 ครัวเรือน 4,425,047 ราย ฟื้นฟู 55 จังหวัด ประสบอุทกภัยรวม 65 จังหวัด และอ่างเก็บน้ำไม่สามารถรับน้ำเพิ่มได้อีกจำนวน 8 อ่างจาก 33 อ่างทั่วประเทศ นับตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 รายงานเสียชีวิตรวม 680 ราย สูญหาย 3 ราย มากที่สุดจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำนวน 139 ราย",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#207",
"text": "สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ สุลต่านและสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งประเทศบรูไน ทรงทราบข่าว จึงได้พระราชทานทรัพย์เป็นเงินจำนวน 100000 ดอลลาร์สหรัฐ(หรือประมาณ35,654,022.51บาทไทย) โดยมี ดาโต๊ะ ดาพูกา ฮัจญี คามิส บิน ฮัจญี ทามิน เป็นตัวแทนมอบผ่านทาง สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#81",
"text": "วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554 ได้เกิดน้ำท่วมในอำเภอปะเหลียนและอำเภอย่านตาขาว หลังฝนตกหนักติดต่อกันนาน 2-3 วัน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 337 ครัวเรือน[118]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "402924#2",
"text": "วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554 สำนักงานควบคุมอุทกภัยของจีนได้รายงานว่าพายุโซนร้อนสาริกาได้ขึ้นฝั่งที่ระหว่างซ่านเว่ยในมณฑลกวางตุ้ง และจางปู่ในพื้นที่ใกล้เคียงมณฑลฝูเจี้ยน เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ส่งผลให้เกิดอุทกภัยที่รุนแรงยิ่งกว่าเดิม",
"title": "อุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#40",
"text": "วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554 จังหวัดนครนายก เกิดฝนตกติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ที่ หมู่ 8 ตำบลเขาพระ อำเภอเมืองนครนายก น้ำเข้าท่วมบ้านเรือนกว่า 100 หลัง",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "401187#0",
"text": "อุทกภัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 2554 เกิดขึ้นในฤดูมรสุม พ.ศ. 2554 โดยเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่เป็นประวัติการณ์ในประเทศไทย กัมพูชา มาเลเซีย และน้ำท่วมใหญ่ในเวียดนาม เช่นเดียวกับลาว ส่วนประเทศฟิลิปปินส์ถูกไต้ฝุ่นเนสาดและไต้ฝุ่นนาลแกพัดถล่มในเดือนกันยายนในเวลาไล่เลี่ยกัน",
"title": "อุทกภัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#114",
"text": "วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาประกาศให้จังหวัดนครราชสีมา เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากเหตุอุทกภัย 18 อำเภอในเบื้องต้น จังหวัดนครราชสีมา ได้รับรายงานว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นในพื้นที่รวม 79 ตำบล 721 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือนร้อนกว่า 19,000 หลังคาเรือน ใน 18 อำเภอของจังหวัด พื้นที่การเกษตรซึ่งส่วนใหญ่เป็นนาข้าว ถูกน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมนับหมื่นไร่ ถนนมากกว่า 70 สายถูกตัดขาด[151]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#26",
"text": "วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานครมีประชาชนได้รับความเดือดร้อนแล้ว 73 ชุมชน 3,384 ครัวเรือน ทางกรุงเทพมหานครพยายามเร่งระบายน้ำออกทางประตูระบายน้ำ 3 แห่ง นอกจากนี้ ทางสำนักงานเขตได้เตรียมกระสอบทรายห้าแสนใบมอบให้กับประชาชนไปใช้ทำคันกันน้ำชั่วคราว[39] ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ทำให้เกิดน้ำท่วมขังหลายจุด[40]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "354506#0",
"text": "อุทกภัยในรัฐควีนส์แลนด์ ธันวาคม พ.ศ. 2553/มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นอุทกภัยที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย โดยส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นในรัฐควีนส์แลนด์ อุทกภัยครั้งดังกล่าวส่งผลให้มีการอพยพประชาชนหลายพันคนออกจากเมืองและนครที่ได้รับผลกระทบ และมีอย่างน้อย 22 เมือง และประชาชนมากกว่า 200,000 คนได้รับผลกระทบ ความเสียหายเบื้องต้นประมาณไว้ที่ 1 พันล้านดอลล่าร์ออสเตรเลีย (650 ล้านปอนด์) พื้นที่กว้างใหญ่ทางตอนใต้และตอนกลางของรัฐควีนส์แลนด์ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ถนนกว่า 300 สายถูกปิด รวมทั้งทางหลวงสายหลัก 9 สาย เส้นทางรถไฟถ่านหินก็ได้ถูกปิดและบริเวณทำเหมืองหลายแห่งถูกน้ำท่วม ราคาของผักและผลไม้ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ด้านรัฐบาลรัฐและรัฐบาลกลางอนุมัติเงินช่วยเหลือครอบครัวละ 1 ล้านดอลล่าร์ออสเตรเลีย ยอดผู้เสียชีวิตจากอุทกภัยอยู่ที่ 10 ศพ",
"title": "อุทกภัยในรัฐควีนส์แลนด์ พ.ศ. 2553-2554"
},
{
"docid": "397937#1",
"text": "โดยได้ออกฉายในโรงภาพยนตร์เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 2011 (พ.ศ. 2554) และเข้าฉายในประเทศไทย วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554 โดยฉายไปได้ 5 สัปดาห์ รายได้รวมที่ฉายในประเทศไทย $163,995 (ซึ่งน้อยกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากอุทกภัยน้ำท่วมในประเทศไทย พ.ศ. 2554)",
"title": "โดราเอมอน เดอะ มูฟวี่ โนบิตะผจญกองทัพมนุษย์เหล็ก ~ปีกแห่งนางฟ้า~"
},
{
"docid": "386369#208",
"text": "หมวดหมู่:อุทกภัยในปี พ.ศ. 2554 หมวดหมู่:อุทกภัยในประเทศไทย หมวดหมู่:ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2554",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#149",
"text": "กระทรวงพาณิชย์แก้ไขปัญหาสินค้าแพงด้วยการจับกุมผู้ค้าสุกร[195] และผู้ค้าทรายที่ขึ้นราคาเกินกำหนด[196] วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 กระทรวงพาณิชย์ประกาศนำเข้าไข่ไก่ 7 ล้านฟอง ปลากระป๋อง 4 แสนกระป๋อง และน้ำดื่ม 1 ล้านขวดจากประเทศมาเลเซียและเขตบริหารพิเศษฮ่องกงอย่างเร่งด่วน[197] ข้อมูลจากกรมการค้าภายใน พบว่า เฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร ราคาไข่ไก่และไข่เป็ดเพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 สูงสุดในปีนี้ ทั้งราคาขายปลีกและส่ง[198] และได้มีการลดราคาสินค้าจำนวนมากโดยอ้างเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย[199] การหยุดขายสินค้ายังมีอยู่แม้ในบางพื้นที่ซึ่งอุทกภัยผ่านพ้นไปแล้ว โดยร้านค้าต่างอ้างเหตุอุทกภัยทำให้โรงงานไม่สามารถส่งวัตถุดิบไปผลิตได้[200]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#139",
"text": "วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ตนได้เห็นชอบให้เลื่อนการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร และให้โรงเรียนจัดการเรียนการสอนชดเชยตามที่สำนักการศึกษาเสนอเพื่อความปลอดภัยของนักเรียนและลดปัญหาการเดินทางของนักเรียนและผู้ปกครอง รวมทั้งเกิดความพร้อมในการเรียนการสอนของโรงเรียน โดยในพื้นที่ที่ยังมีระดับน้ำท่วมสูง ใน 7 เขต[182]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#89",
"text": "วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ธนน เวชกรกานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่มจังหวัดนราธิวาส ได้ประกาศให้พื้นที่ทั้งจังหวัดเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ อย่างไรก็ตาม ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ รายงานสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสว่า มีพื้นที่เดือดร้อน 63 ตำบล 221 หมู่บ้าน มีผู้ประสบภัย 48,583 คน รวม 13,473 ครัวเรือน เจ้าหน้าที่ได้อพยพชาวบ้าน 82 ครัวเรือน 388 คน นอกจากนี้ ในพื้นที่อำเภอจะแนะ มีผู้เสียชีวิตเนื่องจากมีโรคประจำตัวและยืนแช่น้ำเป็นเวลานานอีก 1 ราย[127]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
},
{
"docid": "386369#204",
"text": "วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ฮิลลารี คลินตันได้แถลงผ่านทางเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศสหรัฐ แสดงความเสียใจและห่วงใยต่อเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในนามของประธานาธิบดีและประชาชนชาวสหรัฐ[290]",
"title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554"
}
] |
4115 | หนี้สาธารณะยุโรป เกิดขึ้นปีใด ? | [
{
"docid": "725750#0",
"text": "วิกฤติหนี้สาธารณะกรีซ (English: Greek government-debt crisis) หรือ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของกรีซ (English: Greek depression)[3][4][5]คือช่วงเวลาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2552 เมื่อกรีซเป็นประเทศแรกในกลุ่มยูโรโซนจากทั้งหมด 5 ประเทศ ที่เผชิญกับปัญหาหนี้สาธารณะจนเข้าขั้นวิกฤต ซึ่งภายหลังเรียกรวมวิกฤตการณ์ของกลุ่มประเทศเหล่านี้ว่าวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป ส่งผลให้เกิดความโกลาหลจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ โครงสร้างของเศรษฐกิจกรีซที่อ่อนแอลง และความเชื่อมั่นของบรรดาเจ้าหนี้ที่ลดลงอย่างฉับพลัน",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะกรีซ"
}
] | [
{
"docid": "725750#7",
"text": "ประเทศที่เผชิญกับ\"การหยุดชะงัก\"ในการลงทุนภาคเอกชนและภาระหนี้ที่สูงมักจะทำให้ค่าเงินอ่อนลง (เช่นเงินเฟ้อ) ส่งผลให้เป็นการส่งเสริมการลงทุนและจ่ายชำระหนี้คืนในสกุลเงินที่ถูกกว่าแต่นี่ไม่ใช่ตัวเลือกของกรีซในขณะที่อยู่ในกลุ่มสหภาพยุโรป[14] ค่าจ้างกรีกลดลงเกือบร้อยละ 20 จากช่วงกลางปี พ.ศ. 2553 - 2557 ในรูปแบบของภาวะเงินฝืดแทนที่จะกลายเป็นการแข่งขันที่มากขึ้น ส่งผลให้รายได้หรือจีดีพีถูกลดความสำคัญลง ยังทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงและการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของอัตราส่วนหนี้สินต่อจีดีพี อัตราการว่างงานได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25 จากเดิมต่ำกว่าร้อยละ 10 ในปี พ.ศ. 2546 อย่างไรก็ตามการตัดลดงบประมาณภาครัฐที่สำคัญได้ช่วยผลตอบแทนที่รัฐบาลกรีกจะเกินดุลงบประมาณหลัก หมายความว่าตอนนี้รัฐบาลสามารถเก็บรายได้เพิ่มขึ้นกว่าที่จ่ายออกไปโดยไม่รวมดอกเบี้ย[17]",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะกรีซ"
},
{
"docid": "373756#3",
"text": "ขณะที่การเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะถูกประกาศมากที่สุดในประเทศยูโรโซนไม่กี่ประเทศ แต่ปัญหาดังกล่าวก็เป็นที่รับรู้กันตลอดทั้งภูมิภาค ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 วิกฤตการณ์ดังกล่าวเริ่มปรากฏสู่ผิวหน้า ความกังวลส่วนใหญ่อยู่ที่การก่อหนี้ใหม่เพื่อชดใช้หนี้สาธารณะของกรีซ ชาวกรีกโดยทั่วไปปฏิเสธมาตรการรัดเข็มขัด และแสดงความไม่พอใจออกมาด้วยการประท้วง ปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 สถานการณ์วิกฤตการณ์ถูกรัฐบาลกรีซควบคุมไว้ได้อีกครั้ง โดยรัฐบาลจัดการผ่านมาตรการรัดเข็มขัดใหม่ และผู้นำสหภาพยุโรปสัญญาจะให้เงินสนับสนุนแก่กรีซ",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป"
},
{
"docid": "373756#9",
"text": "การบรรยายหนึ่งอธิบายสาเหตุของวิกฤตการณ์ว่าเริ่มต้นจากการเพิ่มขึ้นอย่างสำคัญของเงินออมซึ่งสามารถนำไปลงทุนได้ระหว่างช่วง พ.ศ. 2543-2550 เมื่อแหล่งตราสารหนี้ของโลกเพิ่มขึ้นจากอย่างน้อย 36 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐใน พ.ศ. 2543 เป็น 70 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐเมื่อถึง พ.ศ. 2550 \"แหล่งเงินยักษ์\" นี้เพิ่มขึ้นในฐานะเงินออมจากชาติกำลังพัฒนาอัตราเติบโตสูง ซึ่งเข้าสู่ตลาดทุนโลก นักลงทุนผู้มองหาผลตอบแทนที่สูงกว่าที่ให้โดยพันธบัตรกระทรวงการคลังสหรัฐจึงแสวงหาทางเลือกใหม่ทั่วโลก การล่อใจที่เสนอโดยเงินออมที่มีให้พร้อมเช่นนั้นชนะนโยบายและกลไกการควบคุมจำกัดในประเทศแล้วประเทศเล่า เมื่อนักลงทุนตราสารหนี้ทั่วโลกแสวงหาผลตอบแทน และได้เกิดฟองสบู่ฟองแล้วฟองเล่าทั่วโลก เมื่อฟองสบู่เหล่านี้แตกก็ได้ทำให้ราคาสินทรัพย์ (เช่น การเคหะและอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์) ลดลง หนี้สินซึ่งยังติดค้างต่อนักลงทุนทั่วโลกยังอยู่ที่ราคาเต็ม จึงก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐบาลและระบบการธนาคารของประเทศต่าง ๆ",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป"
},
{
"docid": "373756#12",
"text": "นักการเมืองบางคน ที่โดดเด่นคือ อังเกลา แมร์เคิล ย้ำถือว่าความรับผิดชอบต่อวิกฤตการณ์เป็นของเฮดจ์ฟันด์ และนักวิเคราะห์คนอื่นว่า \"สถาบันที่จ่ายเงินช่วยเหลือด้วยพันธบัตรสาธารณะกำลังแสวงหาประโยชน์จากวิกฤตการณ์งบประมาณในกรีซและที่อื่น\" แม้สถาบันการเงินบางแห่งจะได้รับกำไรชัดเจนจากหนี้สาธารณะกรีซที่พอกพูนขึ้นในระยะสั้น แต่ในระยะยาวได้นำไปสู่วิกฤตการณ์ดังกล่าว",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป"
},
{
"docid": "373756#6",
"text": "ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 ผู้นำยูโรโซนประชุมกันในกรุงบรัสเซลส์ตกลงแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นมาตรการซึ่งออกแบบมาเพื่อป้องกันการล้มของเศรษฐกิจประเทศสมาชิกเนื่องจากหนี้สาธารณะ รวมทั้งข้อเสนอให้ลดมูลค่าทางบัญชีของพันธบัตรกรีซลง 50% เพื่อลดหนี้สินของกรีซ 100,000 ล้านยูโร เพิ่มกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรปเป็น 1 ล้านล้านยูโร และกำหนดให้ธนาคารยุโรปเพิ่มทุน 9% จนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ผู้นำยูโรโซนชุดเดียวกับที่ขยายแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อช่วยยูโรโซนได้ขยายคำขาดต่อกรีซ ทั้งประธานาธิบดีนีกอลา ซาร์กอซีแห่งฝรั่งเศส และนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลแห่งเยอรมนี แถลงต่อสาธารณะว่า รัฐบาลทั้งสองสุดทนกับเศรษฐกิจกรีซที่เต็มไปด้วยความยุ่งยากแล้ว เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นในยุโรป ผู้นำอียูจึงได้ตกลงสร้างสหภาพการเงินร่วม ซึ่งมีการผูกมัดให้ประเทศสมาชิกนำรัฐบัญญัติงบประมาณสมดุลมาใช้",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป"
},
{
"docid": "373756#15",
"text": "ไม่ว่าทางใด ระดับหนี้ที่สูงเพียงอย่างเดียวไม่อาจอธิบายวิกฤตการณ์ดังกล่าวได้ ตามข้อมูล \"ดิอีโคโนมิสท์อินเทลลิเจนซ์ยูนิต\" ฐานะของพื้นที่ยูโรดู \"ไม่เลวรายลงและในบางแง่มุม ค่อนข้างดีกว่าฐานะของสหรัฐอเมริกาหรือสหราชอาณาจักร\" การขาดดุลงบประมาณสำหรับพื้นที่ยูโรทั้งหมด (ดูกราฟ) ต่ำกว่ามากและอัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพีของรัฐบาลพื้นที่ยุโรปที่ 86% ใน พ.ศ. 2553 เป็นระดับเดียวกับอัตราของสหรัฐอเมริกา ยิ่งไปกว่านั้น ความเป็นหนี้ของภาคเอกชนทั่วพื้นที่ยูโรต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจแองโกล-แซกซอน (ประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ) ที่พุ่งขึ้น",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป"
},
{
"docid": "373756#35",
"text": "หนึ่งในความกังวลที่เป็นศูนย์กลางก่อนหน้าจะมีการให้เงินช่วยเหลือนั้น คือว่าวิกฤตครั้งนี้อาจลุกลามออกไปนอกประเทศกรีซ วิกฤตการณ์ดังกล่าวทำให้ความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจประเทศยุโรปอื่น ๆ ลดลงตามไปด้วย ไอร์แลนด์ ที่มีหนี้สาธารณะ 14.3% ของจีดีพี สหราชอาณาจักร ที่มีหนี้สาธารณะ 12.6% สเปน ที่มีหนี้สาธารณะ 11.2% และโปรตุเกส ที่มีหนี้สาธารณะ 9.4% เป็นกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงสูงสุด",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป"
},
{
"docid": "373756#7",
"text": "ขณะที่หนี้สาธารณะได้เพิ่มขึ้นอย่างมากเฉพาะในประเทศยูโรโซนไม่กี่ประเทศ แต่ก็ได้มาเป็นปัญหาที่รับรู้ได้ทั้งยูโรโซน อย่างไรก็ดี สกุลเงินยุโรปยังเสถียรอยู่ จนถึงกลางเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ยูโรกระทั่งมีการซื้อขายกับคู่ค้ารายใหญ่ของกลุ่มสูงกว่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงวิกฤตการณ์เริ่มต้นเสียอีก สามประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด กรีซ ไอร์แลนด์และโปรตุเกส รวมกันคิดเป็น 6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของยูโรโซน",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป"
},
{
"docid": "373756#0",
"text": "วิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป (หรือเรียก วิกฤตยูโรโซน) เป็นวิกฤตหนี้นานหลายปีซึ่งกำลังเกิดขึ้นในรัฐสมาชิกยูโรโซนหลายรัฐนับแต่สิ้นปี 2552 รัฐเหล่านี้ (ประเทศกรีซ โปรตุเกส ไอร์แลนด์ สเปน ไซปรัส) ไม่สามารถใช้หนี้หรือก่อหนี้ใหม่ชดใช้หนี้เก่าซึ่งหนี้ภาครัฐของตนหรือให้เงินกู้ธนาคารชาติซึ่งมีหนี้พ้นตัวโดยปราศจากความช่วยเหลือของภาคีภายนอกอย่างกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) ธนาคารกลางยุโรปหรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ มีเฉพาะประเทศกรีซที่ผิดนัดชำระหนี้ของตนในปี 2558 หลังได้รับการลดหนี้ในปี 2555 และมาตรการช่วยเหลืออื่น ๆ ตั้งแต่ปี 2553–2558",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป"
},
{
"docid": "373756#34",
"text": "ผลกระทบโดยรวมจากความเป็นไปได้ที่ว่ากรีซอาจผิดชำระหนี้จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจยุโรปโดยรวมไม่มากนัก เศรษฐกิจกรีซคิดเป็น 2.5% ของเศรษฐกิจยูโรโซน ยิ่งความเป็นไปได้ที่ว่ากรีซจะผิดชำระหนี้มากยิ่งขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งทำให้นักลงทุนสูญเสียความมั่นใจในประเทศยูโรโซนอื่นตามไปด้วย ความกังวลดังกล่าวมุ่งไปยังโปรตุเกสและไอร์แลนด์ ซึ่งทั้งสองประเทศมีหนี้สูงและประเด็นการขาดดุล อิตาลีเองก็มีหนี้สูง แต่สถานะงบประมาณแผ่นดินยังดีกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศยุโรปทั้งหมด และไม่ถูกพิจารณาอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงสูงสุด ด้านสเปนมีหนี้ต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว คิดเป็นเพียง 53% ของจีดีพี ในปี พ.ศ. 2553 น้อยกว่าเยอรมนี ฝรั่งเศสหรือสหรัฐอเมริกาถึงมากกว่า 20% และน้อยกว่าอิตาลี ไอร์แลนด์ และกรีซถึงมากกว่า 60% ทั้งยังไม่เผชิญความเสี่ยงที่จะผิดชำระหนี้แต่อย่างใด สเปนและอิตาลีมีเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่าและมีความสำคัญมากกว่ากรีซ ทั้งสองประเทศมีหนี้ส่วนใหญ่ควบคุมอยู่ภายในประเทศ และมีสถานะทางการเงินดีกว่ากรีซและโปรตุเกส ทำให้การผิดชำระหนี้มีแนวโน้มน้อยที่จะเกิดขึ้น นอกเสียจากว่าสถานการณ์จะเลวร้ายลงกว่านี้",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป"
},
{
"docid": "594944#0",
"text": "หนี้สาธารณะ () หรือ หนี้ของรัฐบาล () คือหนี้ที่ถือโดยรัฐบาลกลาง, หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น, องค์กรของรัฐ รวมไปถึง รัฐวิสาหกิจ ตลอดจนการค้ำประกันหนี้สินโดยรัฐบาล ซึ่งการเกิดขึ้นของหนี้สาธารณะส่วนใหญ่ของรัฐบาลทั่วโลก มาจากการดำเนินนโยบายของรัฐแบบขาดดุล หรือก็คือรายได้ของรัฐน้อยกว่ารายจ่ายของรัฐ ทำให้ต้องมีการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลในแต่ละรอบปีงบประมาณ ",
"title": "หนี้สาธารณะ"
},
{
"docid": "373756#5",
"text": "ในปี พ.ศ. 2553 วิกฤตหนี้สินส่วนใหญ่มีศูนยฺกลางจากสถานการณ์ในกรีซ ที่ซึ่งมีความกังวลเกี่ยวกับหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้น วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 กลุ่มประเทศยูโรโซนและกองทุนการเงินระหว่างประเทศตกลงที่จะให้กู้ยืมเงิน 110,000 ล้านยูโรแก่กรีซ โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดในกรีซอย่างเข้มงวด นอกจากการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กรีซดังกล่าวแล้ว หลังจากนั้นยังได้มีการให้เงินช่วยเหลือมูลค่า 85,000 ล้านยูโรแก่ไอร์แลนด์ในเดือนพฤศจิกายน และ 78,000 ล้านยูโรแก่โปรตุเกสในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 วิกฤตครั้งนี้นับเป็นวิกฤตในยูโรโซนครั้งแรกนับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2542",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป"
},
{
"docid": "373756#4",
"text": "ความกังวลเกี่ยวกับการขาดดุลของรัฐบาลและระดับหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ประกอบกับสถานการณ์หนี้สาธารณะยุโรปที่เลวร้ายลงอย่างต่อเนื่อง ได้ทำให้เกิดความตื่นตระหนกในตลาดการเงิน เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 รัฐมนตรีกระทรวงการคลังยุโรปได้อนุมัติเงินช่วยเหลือครอบคลุมมูลค่าราว 750,000 ล้านยูโร โดยมีเป้าหมายรองรับเสถียรภาพทางการเงินทั่วยุโรป โดยการตั้งกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (European Financial Stability Facility)",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป"
},
{
"docid": "373812#0",
"text": "พิกส์ () คือคำย่อที่ถูกเรียกโดยนักวิเคราะห์เศรษฐกิจ กลุ่มนักวิชาการ และสำนักพยากรณ์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ถึงรัฐอธิปไตยในทวีปยุโรปที่ประสบปัญหาหนี้สาธารณะอันประกอบไปด้วยซึ่งในบางกรณีอาจรวมไปถึงรัฐอธิปไตยอีกสองรัฐคือโดยบ่อยครั้งที่คำย่อนี้ถูกนำไปใช้เกี่ยวกับปัญหาหนี้สาธารณะในภาคเศรษฐกิจ ซึ่งบางครั้งสำนักข่าวบางสำนักและองค์กรระหว่างประเทศบางแห่งจำกัดหรือห้ามการใช้คำย่อดังกล่าวโดยตรง ด้วยเหตุผลบางประการถึงการนำไปใช้ในการโจมตีและวิจารณ์อย่างมีนัยสำคัญ",
"title": "พิกส์ (เศรษฐศาสตร์)"
},
{
"docid": "373756#27",
"text": "ต่อมา วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553 เรดติงหนี้สินกรีซถูกลดลงเหลือระดับแรกของสถานะ \"ขยะ\" โดยสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส ท่ามกลางความกลัวว่าจะเกิดการผิดชำระหนี้โดยรัฐบาลกรีซ อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลสองปีเพิ่มสูงขึ้นเป็นถึง 15.3% หลังจากการลดสถานะดังกล่าว นักวิเคราะห์บางคนตั้งคำถามถึงความสามารถของกรีซที่จะก่อหนี้ใหม่เพื่อชดใช้หนี้ที่มีอยู่แล้ว สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์สประเมินว่าในเหตุการณ์ที่นักลงทุนที่ถูกผิดชำระหนี้นั้นจะสูญเสียเงินลงทุนของตนไปถึง 30-50% ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกปรับตัวลดลงหลังจากมีแถลงการณ์ดังกล่าว",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป"
},
{
"docid": "373756#11",
"text": "การติดต่อระหว่างกันในระบบการเงินโลกหมายความว่า หากประเทศหนึ่งผิดนัดชำระหนี้สาธารณะหรือเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยย่อมทำให้หนี้เอกชนภายนอกบางส่วนอยู่ในความเสี่ยง ระบบการธนาคารของประเทศเจ้าหนี้ก็เผชิญความสูญเสีย ตัวอย่างเช่น ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 ผู้ขอกู้ชาวอิตาลีเป็นหนี้ธนาคารฝรั่งเศสถึง 366,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (สุทธิ) หากอิตาลีไม่อาจจัดหาเงินทุนให้ได้ ระบบการธนาคารและเศรษฐกิจฝรั่งเศสอาจตกอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างมาก ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเจ้าหนี้ฝรั่งเศส เป็นต้น ซึ่งกรณีดังกล่าวเรียกว่า \"การแพร่ระบาดทางการเงิน\" อีกปัจจัยหนึ่งของการติดต่อระหว่างกัน คือ มโนทัศน์การคุ้มครองหนี้ สถาบันซึ่งเข้าสู่สัญญาเรียกว่า สวอปการผิดนัดชำระหนี้ (CDS) ซึ่งส่งผลให้ต้องจ่ายเงินหากเกิดการผิดนัดชำระหนี้ขึ้นต่อตราสารหนี้โดยเจาะจง (รวมทั้งพันธบัตรที่รัฐบาลออก) แต่ ด้วยสามารถซื้อสวอปการผิดนัดชำระหนี้ได้หลายอันบนความปลอดภัยเดียวกัน จึงไม่เป็นที่แน่ชัดว่าความเสี่ยงใดที่ระบบการธนาคารแต่ละประเทศจำต้องสวอปการผิดนัดชำระหนี้",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป"
},
{
"docid": "373756#2",
"text": "สถานการณ์เริ่มตึงเครียดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในต้นปี พ.ศ. 2553 ซึ่งรวมไปถึงสมาชิกยูโรโซน กรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส และประเทศสหภาพยุโรปบางประเทศนอกพื้นที่ดังกล่าวด้วย ไอซ์แลนด์ ประเทศซึ่งประสบวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ที่สุดใน พ.ศ. 2551 เมื่อระบบการธนาคารระหว่างประเทศทั้งหมดล้มลง กลายเป็นว่าได้รับผลกระทบน้อยจากวิกฤตหนี้สาธารณะ เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ธนาคารได้ ในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงจากเงินช่วยเหลือธนาคาร วิกฤตความเชื่อมั่นได้เกิดขึ้นด้วยการเพิ่มผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลขยายและมีการประกันความเสี่ยงสวอปการผิดนัดชำระหนี้ ระหว่างประเทศเหล่านี้กับสมาชิกสหภาพยุโรปอื่น ที่สำคัญที่สุดคือ เยอรมนี",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป"
},
{
"docid": "373756#8",
"text": "วิกฤตหนี้สาธารณะยุโรปได้เป็นผลมาจากปัจจัยซับซ้อนหลายปัจจัยประกอบกัน รวมทั้งโลกาภิวัฒน์ของการเงิน ภาวะการปล่อยสินเชื่อที่ง่ายระหว่างช่วง พ.ศ. 2545-2551 ซึ่งกระตุ้นการปฏิบัติให้กู้ยืมและกู้ยืมความเสี่ยงสูง การค้าระหว่างประเทศไม่สมดุล ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้แตกนับแต่นั้น การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ช้าใน พ.ศ. 2551 และหลังจากนั้น ทางเลือกนโยบายการเงินซึ่งเกี่ยวข้องกับรายได้และรายจ่ายของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้จ่ายเพื่อสิทธิสูง และวิธีการที่ประเทศต่าง ๆ ใช้เพื่อให้เงินช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมการธนาคารที่ประสบปัญหาและผู้ถือพันธบัตรเอกชน ภาระหนี้เอกชนที่แบกรับหรือการสูญเสียความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคม (socializing)",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป"
},
{
"docid": "373756#1",
"text": "ตั้งแต่ปลาย พ.ศ. 2552 ความกลัววิกฤตหนี้สาธารณะเริ่มมีขึ้นในหมู่นักลงทุน โดยเป็นผลมาจากระดับหนี้สินภาคเอกชนและภาครัฐที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ร่วมกับคลื่นการลดระดับหนี้สินภาครัฐในบางประเทศยุโรป สาเหตุของวิกฤตดังกล่าวแตกต่างกันไปตามประเทศ ในหลายประเทศ หนี้สินภาคเอกชนเกิดจากการโอนหนี้สินภาคเอกชนจากฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ไปเป็นหนี้สาธารณะ โดยการให้เงินช่วยเหลือระบบการธนาคารและการสนองเพื่อชะลอเศรษฐกิจหลังฟองสบู่แตกของรัฐบาล ในประเทศกรีซ ค่าจ้างภาครัฐและข้อผูกมัดบำนาญที่ไม่ยั่งยืนยิ่งทำให้หนี้สินสูงขึ้นอีก โครงสร้างของยูโรโซนที่เป็นสหภาพการเงิน (เงินสกุลเดียว) โดยปราศจากสหภาพการคลัง (กฎภาษีและบำนาญสาธารณะต่างกัน) มีส่วนให้เกิดวิกฤตการณ์ และทำให้ผู้นำยุโรปไม่สามารถสนองต่อปัญหาได้",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป"
},
{
"docid": "594944#2",
"text": "คนทั่วไปมักมองว่ารัฐบาลไม่ควรก่อหนี้สาธารณะ เพราะหนี้สาธารณะนั้นจะนำมาซึ่งความสูญเสียเสถียรภาพทางการคลังและการเงินของประเทศ ซึ่งท้ายที่สุดจะทำให้ประเทศเกิดวิกฤติการทางการเงิน ทัศนคตินี้ไม่เป็นจริงเสมอไปหากรัฐบาลมีการบริหารจัดการสภาพคล่องของรัฐให้ดี มีวัตถุประสงค์ในการใช้เงินที่เหมาะสม และรักษาสัดส่วนหนี้ในประเทศและต่างประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เนื่องจากหนี้ในประเทศมีความยืดหยุ่นในการบริหารและความเสี่ยงต่ำกว่าหนี้ต่างประเทศ เพราะรัฐบาลที่มีอำนาจรัฐสามารถเจรจากับเจ้าหนี้ ซึ่งอยู่ใต้อำนาจรัฐได้ ทั้งยังสามารถหลีกเลี่ยงความผันผวนของค่าเงิน ตลอดจนสถานการณ์ของโลก นอกจากนี้ความสามารถในการบริหารสภาพคล่องและหนี้สาธารณะ ยังเป็นปัจจัยสำคัญ ต่อการยกอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ประเทศสามารถจัดหาแหล่งทุนจากต่างประเทศได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง ",
"title": "หนี้สาธารณะ"
},
{
"docid": "373756#33",
"text": "เนื่องจากกรีซเป็นสมาชิกยูโรโซน มัจึงไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ฝ่ายเดียวด้วยนโยบายการเงินได้ ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาขยายงบดุลอีก 1.3 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินทั่วโลกขึ้น ที่สำคัญคือการพิมพ์เงินเพิ่มและอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบโดยการซื้อหนี้ค้างชำระ",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป"
},
{
"docid": "373756#30",
"text": "วันที่ 2 พฤษภาคม ได้มีการบรรลุข้อตกลงกู้ยืมระหว่างกรีซ กลุ่มประเทศยูโรโซนอื่น และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ข้อตกลงประกอบด้วยเงินกู้ทันที 45,000 ล้านยูโรที่จะได้รับในปี พ.ศ. 2553 และเงินกู้อื่น ๆ จะได้รับในภายหลัง ซึ่งคิดเป็นมูลค่าทั้งหมด 110,000 ล้านยูโรตามที่ได้ตกลงกันไว้ ดอกเบี้ยของการให้กู้ครั้งนี้เป็น 5% ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูงสำหรับเงินช่วยเหลือทางเศรษฐกิจใด ๆ รัฐบาลกรีซตกลงที่จะดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดรอบที่สี่และห้าในเวลาต่อมา มาตรการเหล่านี้ประกอบด้วย",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป"
},
{
"docid": "373756#14",
"text": "นักการเมืองสหภาพยุโรปในบรัสเซลส์เพิกเฉยและรับรองกรีซว่ามีเศรษฐกิจปกติ แม้ในความเป็นจริงทางเศรษฐศาสตร์จะชี้ว่าสกุลเงินยูโรกำลังอยู่ในอันตราย นักลงทุนสันนิษฐานว่า พวกเขาให้กู้ยืมแก่รัฐบาลเยอรมนีที่เข้มแข็ง ขณะที่ซื้อพันธบัตรยูโรจากรัฐบาลกรีซที่อ่อนแอกว่าอย่างเป็นนัย ความเป็นอริทางประวัติศาสตร์ต่อตุรกีทำให้กรีซเพิ่มงบประมาณด้านการป้องกันประเทศจนสูง และเร่งให้เกิดการขาดดุลภาคสาธารณะ โดยได้รับเงินทุนจากธนาคารเยอรมนีและฝรั่งเศสเป็นหลัก\n\"นักเศรษฐศาสตร์ที่ถูกทำให้กลัว\" หลายคนได้ประณามความเชื่อที่ได้รับความนิยมในสื่อว่าระดับหนี้ประเทศยุโรปที่เพิ่มสูงขึ้นเกิดขึ้นจากการใช้จ่ายภาครัฐเกินตัว ตามข้อมูลการวิเคราะห์ของพวกเขา ระดับหนี้ที่เพิ่มขึ้นเป็นเพราะการจ่ายเงินช่วยเหลือก้อนใหญ่ให้แก่ภาคการเงินรหว่างวิกฤตการณ์การเงินปลายคริสต์ทศวรรษ 2000 และการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกช้าหลังจากนั้น การขาดดุลการเงินเฉลี่ยในพื้นที่ยูโรใน พ.ศ. 2550 อยู่ที่ 0.6% ก่อนที่จะเพิ่มเป็น 7% ระหว่างวิกฤตการณ์การเงิน ในช่วงเดียวกัน หนี้สาธารณะเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 66% เป็น 84% ของจีดีพี ผู้แต่งหนังสือยังเน้นว่าการขาดดุลการเงินในพื้นที่ยูโรนั้นเสถียรหรือแม้กระทั่งหดลงนับแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน พอล ครุกแมน ว่า กรีซที่เป็นประเทศเดียวที่ขาดความรับผิดชอบทางการเงินเป็นหัวใจของวิกฤตการณ์",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป"
},
{
"docid": "373756#32",
"text": "เมื่อไม่ได้รับความตกลงให้เงินช่วยเหลือ จึงมีความเป็นไปได้ที่ว่ากรีซจะถูกบีบให้ผิดชำระหนี้ในหนี้บางส่วนของตน เบี้ยประกันของหนี้สินกรีซเพิ่มสูงขึ้นจนถึงระดับที่แสดงให้เห็นว่ามีโอกาสสูงที่กรีซจะผิดชำระหนี้หรือต้องปรับโครงสร้างใหม่ นักวิเคราะห์ชี้ว่าโอกาสที่รัฐบาลกรีซจะผิดชำระหนี้หรือต้องปรับโครงสร้างใหม่นั้นอยู่ระหว่าง 25-90% การผิดชำระหนี้นั้นมีแนวโน้มสูงว่าจะเกิดขึ้นในรูปของการปรับโครงสร้าง โดยกรีซจะจ่ายเงินคืนแก่เจ้าหนี้เฉพาะหนี้บางส่วนเท่านั้น อาจเพียง 50 หรือ 25% พฤติการณ์ดังกล่าวจะทำให้อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารเงินสกุลยูโรไม่มั่นคง ซึ่งจะต้องได้รับการสนับสนุนจากความมั่นคงของรัฐบาล",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป"
},
{
"docid": "373756#36",
"text": "ในปี พ.ศ. 2553 องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้พยากรณ์ว่าจะมีการเพิ่มพันธบัตรรัฐบาลอีกถึง 16 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐในประเทศสมาชิก 30 ประเทศ กรีซเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของประเทศอุตสาหกรรมที่ประสบกับความยุ่งยากในตลาดจากระดับหนี้ที่สูงขึ้น แม้กระทั่งประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ก็ได้เคยเจอกับช่วงเวลาที่มีปัญหาเมื่อนักลงทุนผละหนีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการเงินสาธารณะและเศรษฐกิจ",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป"
},
{
"docid": "373756#18",
"text": "เพราะสมาชิกภาพของยูโรโซนสถาปนานโยบายการเงินเดียว รัฐสมาชิกแต่ละรัฐจึงไม่อาจดำเนินการได้โดยลำพัง ที่ขัดแย้งกัน สถานการณ์นี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าที่เศรษฐกิจนอกยูโรโซนที่เล็กกว่าเผชิญ เช่น สหราชอาณาจักร ซึ่งสามารถ \"พิมพ์เงิน\" เพื่อจ่ายเจ้าหนี้และบรรเทาความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งทางเลือกดังกล่าวไม่อาจกระทำได้ในกรณีรัฐอย่างฝรั่งเศส โดย \"การพิมพ์เงิน\" หน่วยเงินของประเทศนั้นจะมีค่าลดลงเมื่อเทียบกับคู่ค้า (ยูโรโซน) ทำให้การส่งออกถูกลง ซึ่งโดยหลักการแล้วทำให้ดุลการค้าดีขึ้น เพิ่มจีดีพีและมีรายได้จากภาษีอากรสูงขึ้นเมื่อวัดในรูปตัวเงิน ยิ่งไปกว่านั้น ในทางกลับกัน สินทรัพย์ที่ถือในสกุลเงินซึ่งได้ลดค่าลงทำให้ผู้ถือประสบความสูญเสีย ตัวอย่างเช่นเมื่อถึงปลาย พ.ศ. 2554 หลังอัตราการแลกเปลี่ยนตกลง 25% และเงินเฟ้อสูงขึ้น 5% นักลงทุนยูโรโซนในสเตอร์ลิง ซึ่งติดกับอัตราแลกเปลี่ยนยูโร ได้รับมูลค่าการจ่ายเงินหนี้นี้คืนลดลงประมาณ 30%",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป"
},
{
"docid": "725750#1",
"text": "ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2552 มีความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้ของกรีซเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีการเปิดเผยว่ารัฐบาลกรีซบิดเบือนข้อมูลระดับหนี้สาธารณะและภาวะการขาดดุลงบประมาณของประเทศ[6][7][8] จนนำไปสู่วิกฤตความเชื่อมั่นในหมู่นักลงทุน สังเกตได้จากส่วนต่างอัตราผลตอบแทน (Yield spread) ของพันธบัตรรัฐบาล และต้นทุนการประกันความเสี่ยงในสวอปที่ผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับเยอรมนี[9][10]",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะกรีซ"
},
{
"docid": "373756#19",
"text": "ก่อนหน้าการลุกลามของวิกฤตการณ์ ทั้งผู้วางระเบียบและธนาคารต่างสันนิษฐานว่า หนี้สาธารณะจากยูโรโซนนั้นปลอดภัย ธนาคารมีการถือครองพันธบัตรจากเศรษฐกิจอ่อนแอกว่าอยู่มาก เช่น กรีซ ซึ่งเสนอค่าธรรมเนียมพิเศษเล็ก ๆ และดูเหมือนยังมีสภาพดีอยู่เท่า ๆ กัน ",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป"
},
{
"docid": "373756#20",
"text": "หากเมื่อวิกฤตการณ์ลุกลามขึ้น ก็เป็นที่ประจักษ์ว่าพันธบัตรกรีซ และอาจรวมถึงพันธบัตรประเทศอื่นด้วย ให้ความเสี่ยงสูงกว่ามาก การรู้เห็นการขาดแคลนข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงของหนี้สาธารณะยุโรปเป็นผลประโยชน์ทับซ้อนของธนาคารที่มีรายได้มากจากการจัดจำหน่ายพันธบัตร การสูญเสียความเชื่อมั่นนั้นสังเกตได้จากราคาสวอปการผิดนัดชำระหนี้ที่สูงขึ้น ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความคาดหวังของตลาดเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือด้านการเงินของประเทศ (ดูกราฟ)",
"title": "วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป"
}
] |
4116 | พระยศเจ้านาย คืออะไร ? | [
{
"docid": "26149#0",
"text": "พระยศเจ้านาย ในราชสกุลมี 2 ประเภทคือ สกุลยศ คือ ยศที่เกิดเป็นเจ้าชั้นใดในเบื้องต้น เจ้านายที่เกิดในสกุลยศชั้นใด ก็อยู่ในชั้นยศชั้นนั้น เป็นยศที่ได้โดยการเกิด และ \"อิสริยยศ\" คือยศที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาแต่งตั้งให้ทางราชการในภายหลัง และ \"ยศทางสกุล\" โดยชั้นข้าหลวงให้นำหน้าสกุลว่า \"วงค์\" (เมื่อสิ้นสุดรัชกาล สำหรับเมื่อเป็นสามัญชน) เช่น วงค์ปินตา วงค์สมบูรณ์ วงค์บวรคง วงค์ปิ่นแก้ว ฯลฯ",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
}
] | [
{
"docid": "26149#4",
"text": "2. พระองค์เจ้า มีความแตกต่างกัน 3 ชั้น คือ พระองค์เจ้าชั้นเอก เรียกลำลองว่า \"เสด็จ</i>พระองค์ชาย/หญิง\" เจ้านายชั้นพระบรมวงศ์ เป็น<i data-parsoid='{\"dsr\":[5257,5296,2,2]}'>พระราชโอรสหรือพระราชธิดาของกษัตริย์ อันเกิดด้วยพระสนม (หม่อมเจ้าลงไปถึงเจ้าจอมมารดา) ตรงกับที่เรียกในกฎมณเทียรบาลว่า \"พระเยาวราช\" ใช้คำนำสกุลยศว่าหรืออิสริยยศ \"พระเจ้าลูกยาเธอ, พระเจ้าลูกเธอ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เรียกลำลองว่า \"เสด็จ\" เช่น เสด็จพระองค์ชายจิตรเจริญ (พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ พระราชโอรสใน ร.4 กับ หม่อมเจ้าพรรณราย) ถ้าทรงกรม เรียกลำลอง \"เสด็จในกรม\" อาทิ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ) พระองค์เจ้าชั้นลูกหลวงนี้ไม่มีคำว่า \"สมเด็จ\" นำพระอิสริยยศ ยกเว้นทรงได้รับพระราชทาน \"สมเด็จ\" แล้วจึง เรียกลำลองว่า \"สมเด็จฯ\" อาทิเช่น \"สมเด็จฯ กรมพระสวัสดิ\" (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์) หรือ ได้รับพระอิสริยยศทรงกรมสูงสุด เป็น สมเด็จฯ กรมพระยา อาทิ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ (สมเด็จฯ กรมพระยาเทววงศ์) (ถือได้ว่าเป็นพระยศพระองค์เจ้าชั้นสูงสุดในบรรดาสกุลยศพระองค์เจ้าทั้งมวล และเป็นกลุ่มเจ้านาย ในชั้นพระบรมวงศ์) ในรัชกาลปัจจุบันไม่มีสกุลยศในชั้นนี้แล้ว เนื่องด้วยทรงไม่ได้รับพระสนม (เจ้าจอมมารดา) อนึ่งเจ้านายฝ่ายในชั้นนี้ หากพระมหากษัตริย์รับสนองเป็นภรรยาเจ้า พระราชโอรสธิดาที่ถือประสูติมาเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอกทั้งสิ้น (ทูลกระหม่อม) เพราะพระมารดาเป็นชั้นลูกหลวงหรือพระบรมวงศ์ พระองค์เจ้าชั้นโท เรียกลำลอง \"พระองค์ชาย/หญิง\" เจ้านายชั้นอนุวงศ์ เป็น<i data-parsoid='{\"dsr\":[6523,6558,2,2]}'>พระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์ และ พระอิสริยยศที่พระมหากษัตริย์ สถาปนาขึ้น",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
},
{
"docid": "33187#0",
"text": "ในประเทศไทย พระยศเจ้านาย[1] คือพระอิสริยยศของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์",
"title": "พระยศเจ้านายไทย"
},
{
"docid": "438321#0",
"text": "โปแลนด์ถูกปกครองโดยผู้ปกครองที่มีพระยศต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นดยุค (คริสต์ศตวรรษที่ 10-14)หรือพระมหากษัตริย์(คริสต์ศตวรรษที่ 10-18) ในภายหลังพระยศ พระมหากษัตริย์แห่งโปแลนด์ (ในภายหลังควบรวมพระยศแกรนด์ดยุคแห่งลิทัวเนียด้วย) กลายเป็นตำแหน่งที่เลือกตั้งมาโดยขุนนางและสภา โดยการคัดเลือกจะมาจากขุนนางชาวโปแลนด์-ลิทัวเนียหรือเจ้านายต่างชาติ",
"title": "รายพระนามพระมหากษัตริย์โปแลนด์"
},
{
"docid": "26149#11",
"text": "ร.6 ทรงสถาปนา หม่อมเจ้าจุลจักรพงษ์ จักรพงษ์ (สกุลยศ หม่อมเจ้าชั้นเอก หลานหลวงในร.5) เพิ่มพระอิสริยยศตั้งขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ (พระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถฯ กับหม่อมคัทริน จักรพงษ์ ณ อยุธยา สะไภ้หลวง) ร. 6 ทรงสถาปนาให้ดำรงพระอิสริยยศ (ไม่ใช่สกุลยศ) ตั้งเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า เป็นพระองค์เจ้าชั้นโทเป็นกาลพิเศษเฉพาะพระองค์ แต่พระองค์ก็ยังมีสกุลยศเสมอพระยศหม่อมเจ้า เพราะมีพระธิดามีสกุลยศ หม่อมราชวงศ์ คือ หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
},
{
"docid": "26149#7",
"text": "3) พระอิสริยยศที่พระมหากษัตริย์ สถาปนาขึ้น (เจ้านายที่สถาปนาให้เทียบชั้นพระองค์เจ้าชั้นโท) ใช้คำนำสกุลยศ \"พระเจ้าวรวงศ์เธอ\" อาทิ",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
},
{
"docid": "828796#2",
"text": "โฮงอันเป็นที่ประทับของเจ้านายชั้นรองลงมาตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์นิยมเรียกว่า โฮง เฉยๆ หรือเรียกว่า โฮงเจ้า โฮงท้าว (กรณีที่เจ้านายพระองค์นั้นเป็นบุรุษ) โฮงนาง (กรณีที่เจ้านายพระองค์นั้นเป็นสตรี) หรือต่อท้ายชื่อโฮงด้วยพระยศหรือบรรดาศักดิ์ของเจ้านาย เช่น โฮงเจ้ามหาอุปฮาต โฮงอุปฮาต โฮงราชบุตร โฮงราชวงศ์ หรือต่อท้ายด้วยพระนามของเจ้านาย เช่น โฮงเจ้าเพชรราช (วังเชียงแก้ว แขวงหลวงพระบาง) เป็นต้น",
"title": "โฮง"
},
{
"docid": "33187#13",
"text": "ราชสกุล การเฉลิมพระยศเจ้านาย รายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รายพระนามเจ้านายไทยที่ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์",
"title": "พระยศเจ้านายไทย"
},
{
"docid": "26149#40",
"text": "พระสุพรรณบัฎ คือ แผ่นทองจารึกพระนามของเจ้านายพระองค์นั้น และจะพระราชทานจากพระหัตถ์ ให้แก่เจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศ",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
},
{
"docid": "26149#15",
"text": "พระองค์เจ้าชั้นตรี เป็นพระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์ ใช้คำนำสกุลยศ \"พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า\" เรียกลำลอง \"ท่านพระองค์\" เป็นเจ้านายชั้นอนุวงศ์ (พระองค์เจ้าชั้นนี้เทียบเสมอสกุลยศ หม่อมเจ้า เพราะพระโอรสธิดามีสกุลยศ หม่อมราชวงศ์)",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
},
{
"docid": "26149#34",
"text": "ชั้นที่ 1 กรมพระ เป็นอิสริยยศสำหรับ พระพันปีหลวง (พระราชมารดา) พระมหาอุปราช และวังหลัง ชั้นที่ 2 กรมหลวง เป็นอิสริยยศ สำหรับ พระมเหสี โดยมากกรมหลวงมักมีแต่ เจ้านายฝ่ายในที่ดำรงพระยศนี้เป็นที่สุด ชั้นที่ 3 กรมขุน เป็นอิสริยยศสำหรับ เจ้าฟ้าราชกุมาร ชั้นที่ 4 กรมหมื่น เป็นอิสริยยศสำหรับ พระองค์เจ้า",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
},
{
"docid": "26149#32",
"text": "ประเพณีเรียกพระนามเจ้านายเป็นกรมต่าง ๆ อย่างในทุกวันนี้ ปรากฏขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตั้งแต่ทรงสถาปนาพระน้องนางเธอ เจ้าฟ้าศรีสุพรรณ เป็น<b data-parsoid='{\"dsr\":[17853,17877,3,3]}'>เจ้ากรมหลวงโยธาทิพ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงสุดาวดี เป็น<b data-parsoid='{\"dsr\":[17924,17948,3,3]}'>เจ้ากรมหลวงโยธาเทพ นับเป็นครั้งแรกที่เรียกการพระนามอิสริยยศเจ้านายตามกรมใช้เป็นแบบแผนนับแต่นั้นมา สาเหตุที่มีการเปลี่ยนแปลงการสถาปนาอิสริยยศเจ้านายขึ้นเป็น \"พระ\" ตามประเพณีเดิมนั้น เนื่องจากในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ทรงเป็นอริกับเจ้าฟ้าชายหลายพระองค์ที่มีมาตั้งแต่ยุคสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง จึงมิได้ทรงยกย่องเจ้าฟ้าผู้ใดให้มียศสูงขึ้นตลอดรัชกาล จากจดหมายเหตุของมองสิเออร์ลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศส กล่าวว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงยกย่องพระราชธิดาให้มีข้าคนบริวารและมีเมืองส่วยขึ้นเท่ากับพระอัครมเหสี ดังนั้น การสถาปนาเจ้าหญิงทั้งสองพระองค์นี้ ในแต่เดิม ไม่ได้เป็นการสถาปนาพระอิสริยยศ แต่เป็นการรวบรวมกำลังคนในระบบไพร่ ตั้งกรมใหม่ขึ้นสองกรม คือ กรมที่มีหลวงโยธาทิพ และหลวงโยธาเทพ เป็นเจ้ากรม และโปรดให้ไปขึ้นกับ เจ้าฟ้าหญิงทั้งสองพระองค์นั้น และคนไทยโบราณ ไม่นิยมเรียกชื่อ เจ้านาย ตรง ๆ จึงเรียกเป็น กรมหลวงโยธาทิพ หรือ กรมหลวงโยธาเทพเป็นต้น การทรงกรม จึงเทียบได้กับ การกินเมือง (การกินเมือง คือ การมีเมืองส่วยขึ้นในพระองค์เจ้านาย ประชาชนในอาณาเขตของเมืองนั้นๆ ต้องส่งส่วยแก่เจ้านาย) ในสมัยโบราณ คือแทนที่จะส่งเจ้านายไปปกครองหัวเมืองต่างๆ ก็ทรงให้อยู่ในพระนคร และให้มีกรมขึ้นเพื่อเป็นรายได้ ของเจ้านายนั้นๆ",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
},
{
"docid": "26149#2",
"text": "1. เจ้าฟ้า มีความแตกต่างกัน 3 ชั้น คือ เจ้าฟ้าชั้นเอก เรียกลำลองว่า \"ทูลกระหม่อม\" เจ้านายชั้นพระบรมวงศ์ ใช้คำนำสกุลยศ \"สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ, ลูกเธอ และ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ\" และต้องถือประสูติข้างพระมารดาเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีหรือพระภรรยาเจ้าชั้นสูง (สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมราชเทวี, สมเด็จพระอัครราชเทวี) หรือพระมารดาพระยศโดยประสูติเดิมเป็นพระราชธิดา ในพระมหากษัตริย์ (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง, พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิง แม้ว่าพระมหากษัตริย์จะไม่พระราชทานเลื่อนพระอิสริยยศชั้นพระมเหสีใด ๆ แด่พระมารดา พระราชโอรสธิดาก็ได้รับสกุลยศเจ้าฟ้าในชั้นนี้โดยปริยายเช่นกัน เพราะถือว่าพระมารดาดำรงพระยศพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงอยู่แล้วหรือจะเรียกได้ว่า \"ผู้คู่ควรมีบุตรเป็นเจ้าฟ้าโดยสกุลยศ\") บางแห่งเรียกเจ้าฟ้าชั้นนี้ว่า พระหน่อพุทธเจ้า หรือเจ้านายหมู่สืบสันตติวงศ์ (องค์รัชทายาท)ในส่วนเจ้านายฝ่ายในชั้นนี้ ในโบราณกาลมักนิยมขอพระราชทานไปดำรงตำแหน่งพระมเหสี เพื่อหมายให้ทายาทที่ถือประสูติแด่พระนางนั้นได้มีสิทธิ์ในการเป็นรัชทายาทฝ่ายพระมารดาด้วย ดังนั้นถือว่าการสืบสายข้างพระมารดามีศักดิ์สูงยิ่งมีความสำคัญ และมักให้ความสำคัญเสมอหากต้อง พระราชทานแก่พระเจ้าเมืองใด ต้องมีการปรึกษาหารือกับเสนาอามาตย์เสียก่อน นับเป็นเรื่องใหญ่ เจ้าฟ้าชั้นโท เรียกลำลอง \"สมเด็จ\" เจ้านายชั้นพระบรมวงศ์ ใช้คำนำสกุลยศ \"สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ, ลูกเธอ และ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ\" มีพระมารดาทรงศักดิ์รองลงมาหรือพระภรรยาเจ้าชั้นรอง (พระราชเทวี, พระนางเจ้า, พระนางเธอ, พระอัครชายา, พระราชชายา) หรือ เป็นพระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า, หม่อมเจ้า (ต้องรับสถาปนาเพิ่มอิสริยยศเป็นพระองค์เจ้าก่อน) แรกประสูติของพระราชโอรสธิดา ยังไม่ได้รับพระราชทาน \"สมเด็จ\" เมื่อเจริญพระชันษาขึ้น จะได้รับสมเด็จ อาทิ \"สมเด็จชาย\" สมเด้จฯเจ้าฟ้ายุคล พระราชโอรสในร.5 และ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดา ใน รัชกาลที่ 6 ที่ถือประสูติแต่ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี (ยกเว้นในกรณี พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ที่มีพระราชโอรสธิดา เป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก เนื่องจากพระองค์เองดำรงพระอิสริยยศสกุลยศ \"พระองค์เจ้าลูกหลวง\" พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชธิดาในพระมหากษัตริย์ร.4 แต่ตำแหน่งพระนางเจ้า พระราชเทวี เป็นการเลื่อนพระยศให้สูงขึ้นทรงดำรงตำแหน่งมเหสีในร.5 และต่อมา รัชกาลที่ 7 สถาปนา\"รับสมเด็จ\" เป็น สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ตามลำดับ) อนึ่งเจ้าฟ้าชั้นโท ยังนับรวมเจ้านายที่ดำรงพระยศเป็น พระเชษฐา (พี่ชาย) พระภคินี (พี่สาว) พระอนุชาและพระขนิฐา (น้องชายและน้องสาว) ของกษัตริย์ที่ถือประสูติร่วมพระราชชนนีเดียวกัน (พระราชมารดา) กับพระมหากษัตริย์ และไม่ได้ดำรงสกุลยศเจ้าฟ้ามาก่อน อาทิ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งมีสกุลยศและอิสริยยศเดิม หม่อมเจ้าหญิง และ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง ตามลำดับมาก่อน เจ้าฟ้าชั้นตรี เจ้านายชั้นอนุวงศ์ (เจ้านายชั้นอนุวงศ์สูงสุด) เป็นพระยศที่พระเจ้าแผ่นดินจะพระราชทานเป็นกรณีพิเศษและมักไม่ค่อยถือประสูติมากนักหรือไม่มีเลย ส่วนใหญ่จะเป็นชั้นหลานหลวง \"พระเจ้าหลานเธอหรือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ หรือ พระวรวงศ์เธอ\" โดยอาศัยการตั้งราชวงศ์ (ปฐมราชวงศ์ครั้งแรก) หรืออีกนัยหนึ่งต้องถือประสูติจากจากพระบิดาดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้า (ลูกหลวง) และพระมารดามีพระยศเป็นเจ้าฟ้าด้วยกันหรือพระมารดาดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้า (ลูกหลวง) พระบิดาเป็นพระองค์เจ้า เจ้าฟ้าชั้นนี้เสมอพระยศพระองค์เจ้าชั้นลูกหลวง แต่เวลาพระดำเนินตามหลังพระองค์เจ้าชั้นลูกหลวง และพระยศเจ้าฟ้าชั้นนี้เป็นเจ้านายกลุ่มชั้นอนุวงศ์มิใช่กลุ่มพระบรมวงศ์เท่าชั้นพระองค์เจ้าลูกหลวง และเจ้าฟ้าชั้นตรีมีปรากฏในต้นแผ่นดินรัตนโกสินทร์ช่วงสมัยรัชกาลที่ 1 เท่านั้น อาทิ เจ้าฟ้ามงกุฏ (ร.4) พระโอรส เจ้าฟ้าฉิม (ร.2) กับ เจ้าฟ้าบุญรอด (มีคำเรียกที่ว่า พระกำเนิดเป็นอุภโตสุชาติ = มีชาติพระกำเนิดที่ประเสริฐทั้งสองฝ่าย) เรียกลำลองว่า \"เจ้าฟ้า หรือหากได้รับสมเด็จ เรียกว่า สมเด็จเจ้าฟ้า\"",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
},
{
"docid": "630373#0",
"text": "รายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงธนบุรี",
"title": "รายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงธนบุรี"
},
{
"docid": "443427#0",
"text": "รายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงศรีอยุธยา",
"title": "รายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงศรีอยุธยา"
},
{
"docid": "26149#41",
"text": "การเฉลิมพระยศเจ้านายนั้น ถือเอาการ จารึกพระสุพรรณบัฏ เป็นสำคัญ โดยจะต้องทำพิธีสำคัญดังต่อไปนี้",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
},
{
"docid": "26149#29",
"text": "ขุนหลวง - เป็นคำที่ราษฎรทั่วไปขาน พระเจ้าแผ่นดิน เนื่องด้วยการขานพระนามกันตรง ๆ มักไม่นิยม และมีความยาว พร้อมกับมีศัพท์ที่ไม่ใช้กันข้างนอก บางสันนิษฐานว่าเป็นคำลำลอง เหมือนที่เรียกขานปัจจุบันว่า \"ในหลวง\" เพราะ คำว่า \"ขุนหลวง\" มีใช้เฉพาะปลายกรุงศรีฯ โดยส่วนใหญ่จะเป็นพระราชวงศ์บ้านพลูหลวง นิยมขานพระมหากษัตริย์ ว่าขุนหลวงและตามด้วยพฤติกรรมหรืออุปนิสัยพระองค์นั้น ๆ อาทิ ขุนหลวงหาวัด พระเจ้าอุทุมพร เพราะผนวช, ขุนหลวงมะเดื่อ หรือขุนหลวงสรศักดิ์ พระนามเดิม และพระยศเดิมก่อนเป็นกษัตริย์ หลวงสรศักดิ์ เป็นต้น ดังนั้น คำว่า \"ขุนหลวง\" มิใช่พระยศอย่างที่เข้าใจ พอเข้าสู่กรุงรัตนโกสินทร์ ขุนหลวงมิมีใครขานอีก เลยออกพระนามกันใหม่ อาทิ ขุนหลวงเสือ เป็นพระเจ้าเสือ เพิ่มเติม เจ้านายพระองค์ใดเป็นชั้นลูกหลวง เมื่อพ้นรัชกาลแผ่นดินไปแล้ว มีจะมีคำนำ ก่อนอิสริยยศเป็นขั้นปฐม ว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ (สำหรับ เจ้าฟ้า) และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ (สำหรับ พระองค์เจ้า ยกเว้น พระราชกรุณาโปรดเกล้าเป็นอย่างอื่น ที่สูงกว่าหรือเกี่ยวข้องกับพระองค์โดยตรง อาทิ สมเด็จพระราชอนุชาฯ และสำหรับบางรัชกาล คำนำสกุลยศ ยังมี พระราชวงศ์เธอ พระองค์เจ้า อันเป็นเจ้านายชั้นสูงที่เทียบกับพระบรมวงศ์เธอ แต่มิใช่เจ้านายในวังหลวง แต่เป็นเจ้านายในวังชั้นสูง อาทิ วังหน้า, วังหลัง เป็นต้น",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
},
{
"docid": "26149#35",
"text": "ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่มีการเลื่อนชั้น อิสริยยศเจ้านาย จากที่ได้รับแต่เดิมแต่ประการใด (ยกเว้นการเลื่อนกรมพระราชมารดา หรือผู้ที่ขึ้นเป็นพระมหาอุปราชขึ้นเป็น กรมพระ) ประเพณี การเลื่อนอิสริยยศเจ้านายเกิดขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชการที่ 2 ให้เรียก กรมของสมเด็จพระบรมราชชนนีว่า \"กรมสมเด็จพระ\" ต่อมาในรัชกาลที่ 3 โปรดให้ พระองค์เจ้าทรงกรมชั้นผู้ใหญ่เลื่อนขึ้นไปได้เป็น \"กรมสมเด็จพระ\" สูงกว่า \"กรมพระ\" เดิม และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ให้แก้ไข \"กรมสมเด็จพระ\" เป็น \"กรมพระยา\" ดังนั้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทธิ์ อิสริยยศเจ้านายจึงมี 5 ชั้นคือ",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
},
{
"docid": "26149#22",
"text": "3.หม่อมเจ้า เจ้านายชั้นอนุวงศ์ เรียกลำลองว่า \"ท่านชาย/หญิง\" (นับได้ว่าเป็นพระยศชั้นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสุดท้าย ที่ต้องใช้คำราชาศัพท์) มีความแตกต่างกัน 2 ชั้น คือ",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
},
{
"docid": "33187#5",
"text": "พระบรมวงศานุวงศ์ คือ ญาติของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งมีพระยศเป็นเจ้า แบ่งออกเป็นสองชั้นคือ",
"title": "พระยศเจ้านายไทย"
},
{
"docid": "26149#43",
"text": "ในสมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากทรงยกเลิกระบบไพร่แล้ว การ \"ทรงกรม\" ของเจ้านาย จึงเป็นเพียงแต่การให้พระเกียรติยศ แก่เจ้านายพระองค์นั้น แต่ไม่มีไพร่สังกัดกรมแต่อย่างใด ส่วนพระนามของเจ้านายที่ทรงกรมได้แบบธรรมเนียมมาจากยุโรป โดยทรงตั้งพระนามเจ้านายที่ทรงกรมตามชื่อเมืองต่าง ๆ เช่น สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ หรือ สมเด็จเจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ เป็นต้น",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
},
{
"docid": "26149#38",
"text": "ประเพณีการเฉลิมพระยศ เจ้านายแต่โบราณ ถือเอาการสองอย่างเป็นหลัก คือ การอภิเษกอย่างหนึ่ง และ การจารึกพระสุพรรณบัฎอย่างหนึ่ง",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
},
{
"docid": "194384#15",
"text": "ในฐานะพระเจ้าอธิราช กษัตริย์สยามมีพระราชอำนาจในการแต่งตั้งเจ้านายต่าง ๆ และเจ้านายตำแหน่งสำคัญ ๆ ของเมืองต่าง ๆ ส่งผลให้สยามสร้างอิทธิพลเหนือเจ้านายและขุนนางล้านนา เพราะทุกครั้งที่มีการแต่งตั้งเจ้าหลวงและเจ้านายสำคัญ เจ้าตัวจะต้องลงไปเฝ้าที่กรุงเทพฯ ด้วยตนเอง เป็นการแสดงความภักดี แม้การแต่งตั้ง จะเป็นไปตามที่ทางหัวเมืองประเทศราชเสนอมา แต่การแต่งตั้งโดยกษัตริย์สยาม ก็เป็นการรับรองสิทธิธรรมในการปกครองของเจ้านายอีกชั้นหนึ่ง และเพื่อยืนยันฐานะของเจ้านายที่ได้รับแต่งตั้ง กษัตริย์สยามจะพระราชทานเครื่องยศ ที่เป็นสัญลักษณ์ปกครอง เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระราชทาน พระสัปตปฎลเศวตฉัตร กางเหนือพระแท่นของพระเจ้ากาวิละในหอคำหลวง ซึ่งแสดงถึงฐานันดรศักดิ์เทียบชั้นพระอุปราชแห่งสยาม",
"title": "นครเชียงใหม่"
},
{
"docid": "26149#30",
"text": "อิสริยยศ คือ ยศที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาเจ้านายให้มีศักดิ์สูงขึ้น อิสริยยศชั้นสูงสุด คือ พระราชกุมารที่จะรับราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์สืบต่อไป โดยในกฎมณเฑียรบาลซึ่งตั้งในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อปี พ.ศ. 2001 บัญญัติไว้ว่า พระราชกุมารอันเกิดด้วยพระอัครมเหสี (มียศ) เป็นสมเด็จหน่อพุทธเจ้า พระราชกุมารอันเกิดแต่พระแม่ยั่วเมืองเป็นพระมหาอุปราช</b>และอิสริยยศยังรวมถึง พระยศที่ได้มาหลังจากประสูติด้วย ในราชวงศ์จักรี มีการสถาปนาเจ้านาย ชั้นหม่อมเจ้า เป็นพระองค์เจ้า ,หรือ พระมเหสีเทวี อาทิ หม่อมเจ้าจุลจักรพงษ์ จักรพงษ์ เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ สกุลยศ หม่อมเจ้า อิสริยยศ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า หรือ หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี และ พระบรมราชินีนาถ ตามลำดับ สกุลยศ หม่อมราชวงศ์ อิสริยยศ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และพระบรมราชินีนาถ",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
},
{
"docid": "26149#45",
"text": "กรมศิลปากร. เรื่องเฉลิมพระยศเจ้านาย ฉะบับมีพระรูป (เล่ม 1). บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). พิมพ์ครั้งที่ 2. 2538. กรมศิลปากร. เรื่องเฉลิมพระยศเจ้านาย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (เล่ม 2). โรงพิมพ์กรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 3 (กองทัพเรือจัดพิมพ์ถวาย). 2538.",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
},
{
"docid": "306083#0",
"text": "เมื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาพระอิสริยยศเจ้านายในพระราชวงศ์ ก็ทรงตั้งเป็นต่างกรมตามชั้นยศซึ่งบัญญัติมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่มีผิดกันบ้างเล็กน้อย มีการสถาปนาเจ้านายในพระราชวงศ์เรื่อยมาในทุกรัชกาล โดยครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2548 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเจ้านายในพระราชวงศ์จักรี จำนวน 3 พระองค์ คือ",
"title": "รายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์"
},
{
"docid": "26149#46",
"text": "ยศของขุนนางไทย ดูได้ที่ บรรดาศักดิ์ไทย จำนวนศักดินาของคนสยาม ดูได้ที่ พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง รายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงศรีอยุธยา รายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงธนบุรี รายพระนามเจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
},
{
"docid": "26149#1",
"text": "สกุลยศของเจ้านายนั้น บรรดาผู้ที่เกิดในราชตระกูลจะเป็นราชบุตร ราชธิดา หรือราชนัดดาก็ตาม จะเรียกว่า เจ้า สกุลยศนั้น แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
},
{
"docid": "26149#20",
"text": "4) พระอิสริยยศที่พระมหากษัตริย์ สถาปนาขึ้น (เจ้านายที่สถาปนาให้เทียบชั้นพระองค์เจ้าชั้นตรี) ใช้คำนำสกุลยศ \"พระวรวงศ์เธอ\" อาทิ ร.4 ทรงสถาปนา หม่อมเจ้าจิตราภรณ์ นพวงศ์ (สกุลยศ หม่อมเจ้าชั้นเอก หลานหลวงองค์ใหญ่ในร.4) พระโอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส เพิ่มพระอิสริยยศขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิตราภรณ์ และได้ทรงยกพระโอรสธิดาของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิตราภรณ์ เป็นหม่อมเจ้า (เดิม หม่อมราชวงศ์) อีกด้วย เป็นกรณีพิเศษเฉพาะพระองค์",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
},
{
"docid": "26149#3",
"text": "หมายเหตุ เจ้านายที่จะสามารถดำรงสกุลยศชั้นเจ้าฟ้าได้ต้องถือประสูติจากพระมารดามีพระยศเป็นพระองค์เจ้าในเบื้องต้น เจ้าฟ้าที่ดำรงพระยศชั้นลูกหลวงจะมีสร้อยพระนามท้ายที่ระบุว่าเป็นพระราชโอรสหรือธิดาแห่งกษัตริย์ อาทิ ราชกุมาร/กุมารี ราชสุดา อัครราชกุมาร/กุมารี หรือราชกัญญา เป็นต้น หากไม่มีสร้อยพระนามนี้ถือว่าเป็นเจ้าฟ้าชั้นโทและตรีที่ไม่ใช่ลูกกษัตริย์ และจากข้อสังเกตและประวัติเจ้านายชั้นตรีหลายพระองค์ซึ่งเคยดำรงพระยศ เจ้าฟ้าชั้นตรีหรือเจ้าฟ้าชั้นหลานหลวง จะสืบสายข้างพระมารดาที่มีพระยศเป็นเจ้าฟ้าเป็นปฐม อีกนัยจะกล่าวว่า เจ้าฟ้าชั้นตรี เป็นเจ้าฟ้าตามศักดิ์แห่งพระมารดาแม้ทรงมีพระบิดาชั้นพระองค์เจ้าก็ตาม (พระมารดาเป็นเจ้าฟ้าบิดาเป็นพระองค์เจ้า) ซึ่งบางท่านงง ว่าแล้วเมื่อมีพระบิดาเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก พระมารดาเป็นพระองค์เจ้า ทำไม จึงเป็นเพียงพระองค์เจ้า ชั้นโท นั้นยิ่งแสดงได้ชัดเจนว่า เจ้าฟ้าชั้นตรีเป็นสกุลยศผู้จะสืบยศเจ้าฟ้าข้างพระมารดาเป็นเกณฑ์",
"title": "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"
}
] |
4117 | ใครเป็นเสนอให้เกิดมหกรรมการแสดงแฟชั่นโชว์ครั้งแรก? | [
{
"docid": "850282#3",
"text": "มหกรรมการแสดงแฟชั่นโชว์ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อสเตฟานี ซีมัวร์ เป็นคนเสนอ และจัดขึ้นที่พลาซาโฮเต็ลในนครนิวยอร์ก ในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1996 การแสดงครั้งนี้ยังให้ความสำคัญกับ เบเวอร์ลีพีล และ เฟรเดอริก ฟัน เดอร์ วาล อีกด้วย",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชันโชว์"
}
] | [
{
"docid": "956832#1",
"text": "คูชิ หญิงสาวธรรมดา และ อาร์นาฟ นักธุรกิจหนุ่มผู้ประสบความสำเร็จ มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง แต่หลังจากสูญเสียพ่อแม่ไปจากการฆ่าตัวตาย ทำให้อาร์นาฟกลายเป็นคนเย็นชา คูชิและอาร์นาฟพบกันครั้งแรกในงานแฟชั่นโชว์ของอาร์นาฟ ซึ่งเขาสงสัยว่า คูชิถูกส่งมาทำลายงานของเขา แต่แท้ที่จริงแล้ว เธอมาเพื่อหาอากาช ว่าที่เจ้าบ่าวของพี่สาวเธออย่าง ปายัล เพื่อคุยกับเขาเรื่องสินสอดที่ครอบครัวฝ่ายชายเรียกเก็บเพิ่ม แต่เกิดหลงมางานแฟชั่นโชว์และถูกเข้าใจผิดว่าเธอเป็นนางแบบ ทำให้เธอถูกดันตัวลงสู่รันเวย์และทำงานแฟชั่นโชว์พังไม่เป็นท่า อาร์นาฟที่โกรธและเข้าใจผิด ต้องการทำลายชื่อเสียงของคูชิ เขาจึงได้สร้างข่าวลือเสียๆ หายๆ ทำให้ครอบครัวของคูชิต้องจำใจส่งคูชิไปเดลี",
"title": "แผนรักลวงใจ"
},
{
"docid": "916606#0",
"text": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ 2014 (อังกฤษ: Victoria's Secret Fashion Show 2014) เป็นการแสดงวิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ประจำปีที่ได้รับการสนับสนุนจากวิกตอเรียส์ซีเคร็ต แบรนด์ชุดชั้นในและชุดนอน วิกตอเรียส์ซีเคร็ตใช้เพื่อเป็นการโปรโมตและทำการตลาดสินค้า โดยการแสดงมีนางแบบชั้นนำของโลก เช่น นางฟ้าวิกตอเรียส์ซีเคร็ต เช่น อาดรียานา ลีมา, อาเลซังดรา อังบรอซียู, คาร์ลี คลอสส์, ลินด์ซีย์ เอลลิงสัน, กันดิส สวาเนปุล, เดาท์เซน โครส์, ลิลี ออลดริดจ์, และเบฮาตี ปรินส์ลัว",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ 2014"
},
{
"docid": "728588#60",
"text": "วันต่อมา พวกเขาได้เดินทางมายัง วอลท์ ดิสนีย์ คอนเสิร์ตฮอลล์ ตึกที่มีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม สำหรับการเดินแบบแฟชั่นโชว์ในรอบสุดท้าย ซึ่งจะได้ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกไปแล้ว มาร่วมเดินแบบด้วย โดยเคลลี่, มิสเจ และ ยู ไซ ได้บอกว่า พวกเขาจะได้สวมเสื้อผ้าที่ออกแบบโดย ร็อคกี้ แกทเธอร์โคล และจะได้เดินไปบนรันเวย์ที่ทอดยาวและคดเคี้ยว โดยระหว่างนั้น จะมีการแสดงดนตรีเครื่องสายห้าชนิดบรรเลงไปพร้อมๆกันด้วย และเมื่อ มาเม่ ได้พบกับ จัสติน อีกครั้ง ได้สร้างความกังวลให้กับเธอเป็นอย่างมาก เนื่องจากเธอได้คิดว่า เดวิน ที่ออกจากการแข่งขันไปแล้ว ได้เล่าเรื่องระหว่างเธอและไมกี้ ให้กับจัสตินฟังมากน้อยแค่ไหน และเมื่อมาเม่ ได้ถามจัสติน เกี่ยวกับเรื่องนี้ ปรากฏว่า เขารู้สึกไม่พอใจเป็นอย่างมาก ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเธอและไมกี้ ทำให้ มาเม่ รู้สึกไม่สบายใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น และพยายามที่จะอธิบายให้เขาฟัง ในระหว่างการแต่งหน้าทำผมนั้น มิสเจ ได้แนะนำให้พวกเขารู้จักกับ คีธ คาร์ลอส ผู้ชนะจาก ฤดูกาลที่21 ซึ่งได้มาเป็นกำลังใจให้กับพวกเขาทั้งหมด ก่อนที่ มิสเจ จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเดินแบบให้กับพวกเขา ซึ่งในระหว่างนั้นเอง คุณแม่ของ ไมกี้, ไนล์, เลซีย์ และมาเม่ ได้เข้ามาพบกับพวกเขาอีกครั้ง รวมถึง ไทร่า, เคลลี่ และมิสเจ ด้วย เนื่องจากในขณะนี้จะเป็นการเตรียมการนำเสนอของพวกเขา รวมถึงการตัดสินจากภาพถ่ายของแซพโพส กูตูร์ แต่รายการได้ตัดจบก่อนที่จะเริ่มการตัดสิน",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 22"
},
{
"docid": "916606#1",
"text": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ ค.ศ. 2014 จัดแสดงขึ้นที่ลอนดอน สหราชอาณาจักร ร่วมการแสดงดนตรีโดยเอ็ด ชีแรน, อารีอานา กรานเด, โฮซิเออร์, และเทย์เลอร์ สวิฟต์",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ 2014"
},
{
"docid": "850282#0",
"text": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ (English: Victoria's Secret Fashion Show) เป็นงานแสดงแฟชั่นโชว์ประจำปีของแบรนด์ชุดชั้นในวิกตอเรียส์ซีเคร็ต เพื่อเป็นการใช้โปรโมตสินค้า โดยมีนางแบบชื่อดังจากทั่วโลกมาร่วมเดินแบบ อย่างนางฟ้าวิกตอเรียส์ซีเคร็ตในปัจจุบัน คือ อาดรียานา ลีมา, เบฮาตี ปรินส์ลัว, ลิลี ออลดริดจ์, กันดิส สวาเนปุล, แจสมิน ทุกส์, โจเซฟีน สไครเวอร์, ซารา ซังไปยู, เทย์เลอร์ ฮิลล์, มาร์ธา ฮันต์, โรเม สไตรด์, ไลส์ รีเบย์รู, สเตลลา แม็กซ์เวลล์, และเอลซา ฮอสค์",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชันโชว์"
},
{
"docid": "452159#32",
"text": "ในการเดินแบบรอบสุดท้าย พวกเธอจะได้นำเสนอในรูปแบบ ความลึกลับในคฤหาสน์หลอน ที่มอนทีโก เบย์ โดยจะได้สาวๆที่ถูกคัดออกไปแล้วทั้งหมดมาร่วมเดินแบบด้วย(ยกเว้น วิกทอเรีย) และยังได้ผู้ชนะของฤดูกาลที่แล้ว โซฟี่ ซัมเนอร์ มาร่วมแสดงเป็นตัวหลักอีกด้วย ซึ่งครอบครัวของทั้งสามสาว จะได้ร่วมชมแฟชั่นโชว์ครั้งนี้ด้วย สำหรับรันเวย์นั้น จะรวบรวมไปด้วย ความงาม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และบทเพลงของเกาะนี้ผสมผสานเข้าด้วยกัน ซึ่งเคียร่าและลอร่า เดินแบบออกมาได้ดี ในขณะที่ ลีย์ล่า พลาดและล้ม ต่อหน้ากรรมการและผู้ชม ถึงสองครั้ง",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 19"
},
{
"docid": "556206#5",
"text": "กาวินพูดว่า \"การแสดงโชว์นั้นเราจะทำให้มันเรืองรอง เต็มไปด้วยสีสัน และเราจะไม่สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมเลย เพียงแค่อยากให้มีความสนุก\" และเดฟวลินเสริมกาวินว่า \"อยากให้รู้สึกเหมือนอยู่ในบอร์กเนอร์และโบโกตา\" โดยเหล่าผู้สร้างนั้นมีความสุขตามใจที่จะเลือกการแสดงที่สามารถทำได้ โดยมีชาวบริติชเป็นผู้เสนอการจินตนาการนั้นๆ เดวิด อาร์โนลด์ก็กล่าวว่า \"มันน่าจะเป็นสิ่งที่สวยงาม, วิเศษ, ขบขัน และตื่นเต้น และเราสามารถทำมันได้มากกว่า 15 ครั้งโดยไม่มีการแสดงไหนที่ซ้ำกันเลย ยังคงเป็นสิ่งที่ประหลาดใจสำหรับเพลงของชาวบริติช\" เขาคิดว่ามันควรจะเป็นปาร์ตี้ที่ดีสุดและน่าจะเป็นการเฉลิมฉลองศิลปะของชาวบริติชไปในตัวด้วย เขายอมอุทิศตนเพื่อพิธีปิดนี้และให้ความสำคัญกับโชว์นี้มากกว่าใคร (ถึงกับต้องวางมือจากผลงานอื่น เช่น สกายฟอล) และยังพูดว่ามันเป็นสิ่งที่สนุกที่สุดที่เขาเคยทำมาในด้านดนตรี ส่วนในพิธีส่งต่อธงโอลิมปิกให้กับกรุงริโอเดจาเนโรนั้นได้มีจุดมุ่งหมายคือขยายความของ \"การโอบหุ้มของความหลากหลายวัฒนธรรม\" แดเนียล โธมัสได้กล่าวไว้ว่า \"ริโอต้องการแสดงโชว์ที่ซับซ้อนของเหล่าวัฒนธรรมที่ถูกผสมเข้ากับวัฒนธรรมป๊อป\"",
"title": "พิธีปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2012"
},
{
"docid": "176439#1",
"text": "คลาวเดียศึกษาระดับประถมที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย จนถึงมัธยมศึกษาปีที่6 โดยได้ร่วมแสดงละคร เต้นรำ และร้องเพลงในงานของโรงเรียนเสมอ อีกทั้งคุณแม่เห็นแววจึงได้สนับสนุนให้เธอเรียนพิเศษทางด้านเปียโน ทฤษฎีการดนตรี นาฏศิลป์ไทย และนาฏศิลป์สากลประเภทต่าง ๆ เช่น บัลเล่ต์ แจ๊ซ แท็พ แร็พ ตลอดจนการขับร้องเพลงและการเดินแบบ จากสถาบันและครูต่าง ๆ จนเธอ ได้เริ่มออกแสดงต่อหน้าสาธารณชนทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2534 ขณะอายุ 12 ปี และนับตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา ชื่อเสียงของเธอก็เป็นที่รู้จักไม่ว่าจะมีผลงานโฆษณา ถ่ายแบบแฟชั่นในนิตยสาร แสดงแฟชั่นโชว์ แสดงภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และเป็นพิธีกรในรายการต่าง ๆ",
"title": "คลาวเดีย จักรพันธุ์"
},
{
"docid": "139528#11",
"text": "ปี 2532 สาว สาว สาว ได้รับเลือกจากประเทศญี่ปุ่นให้เป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าร่วมงานโตเกียวมิวสิกเฟสติวัลประจำปี 1989 ที่จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม เป็นการปิดท้ายทศวรรษที่แปดสิบอย่างสวยงามของพวกเธอที่ได้รับเกียรตินี้ แอม-แหม่ม-ปุ้ม เลือกเพลง \"ฉันบอกเธอเอง\" จากอัลบั้ม \"ว้าว...ว !\" นำไปใช้ในการแสดงบนเวที เพราะมีความลงตัวในการนำเสนอมากที่สุดในแง่ของความร่วมสมัยของเพลง และได้นำเสนอการเต้นที่พวกเธอบล็อกกิ้งกันอย่างแม่นยำเพื่อให้โชว์ออกมาดีที่สุด สาว สาว สาว ได้รับการต้อนรับจากแฟนเพลงชาวญี่ปุ่นอย่างอบอุ่น \"Hana\" เป็นเพลงฟินาเล่ที่ใช้ปิดงานโดยนักร้องทุกชาติต้องขับร้องเพลงนี้ร่วมกัน เป็นผลงานการแต่งของชินจิ ทานิมูระ อดีตสมาชิกวง Alice และเป็นเจ้าของเพลง \"Subaru\" ที่โด่งดังไปทั่วเอเชีย แอม-แหม่ม-ปุ้ม ประทับใจเพลงนี้มากนอกจากความไพเราะและความหมายที่ดีของเพลงแล้ว ยังเป็นเพลงที่บ่งบอกถึงหลักไมล์สำคัญของพวกเธอที่ได้เข้าร่วมมหกรรมงานเพลงในระดับนานาชาติครั้งนี้ด้วย สาว สาว สาว จึงขออนุญาต ชินจิ ทานิมูระ เพื่อนำเพลงนี้ไปใช้บันทึกเสียงในอัลบั้มชุดใหม่ด้วย",
"title": "เสาวลักษณ์ ลีละบุตร"
},
{
"docid": "903745#11",
"text": "วันต่อมา พวกเธอได้ถูกพามายัง 545 สตูดิโอ เพื่อถ่ายแฟชั่นวิดีโอแบบแฟชั่นชั้นสูง ในห้องที่เป็นกระจกอยู่ล้อมรอบทุกด้าน เพื่อโชว์ลุคส์ใหม่จากการแปลงโฉม ที่จะเป็นสัญลักษณ์ของพวกเธอแต่ละคน โดยได้ ไดเรคเตอร์ เอ็กซ์ มาเป็นผู้กำกับวิดีโอ สาวๆส่วนใหญ่ทำออกมาได้ค่อนข้างดี ในขณะที่ ไรยาน ทำออกมาได้อย่างน่าผิดหวัง เมื่อเธอไม่นำเสนอทรงผมของเธอมากพอ ไอวาน่า ถูกวิจารณ์อย่างหนักในการแสดงที่ดูหายนะ และชานิซ ที่รู้สึกวิตกกังวล จนทำให้การแสดงออกมาจืดชืด และไม่มีชีวิตชีวา",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 24"
},
{
"docid": "769125#2",
"text": "ก่อนที่จะเข้าสู่วงการมายา เขาเคยทำงานประจำในบริษัทผลิตรถยนต์กับมีกิจการส่วนตัวเกี่ยวกับธุรกิจเสื้อผ้า พร้อมทั้งเป็นนายแบบที่ประเทศเดนมาร์ก โดยผลงานโดดเด่นในขณะนั้นคืองานเดินแบบแฟชั่นโชว์ของ KENZO ต่อมาเมื่อกลับมาประเทศไทยในปี พ.ศ. 2529 จึงได้ถูกทาบทามให้เป็นนายแบบโฆษณาผลิตภัณฑ์เฮนเนสซี่ กับเดินแบบในงานแฟชั่นโชว์ที่สปอร์ตคลับ ต่อมาเวณิก เจริญปุระ ได้ชักนำให้ถ่ายแบบครั้งแรกในนิตยสารเปรียว และมีผลงานออกมาต่อเนื่อง เขาได้เป็น 1 ใน 5 นายแบบยอดนิยมประจำปี พ.ศ. 2530 จากนั้นจึงได้เข้าสู่วงการแสดงทางจอเงินเรื่องแรกคู่กับ สินจัย หงษ์ไทย ในเรื่อง \"ทาสอารมณ์\" และจอแก้วเรื่องแรกทางช่อง 7 ในเรื่อง\"แววมยุรา\" แล้วมีผลงานทั้งจอแก้วและจอเงินหลายเรื่องจนช่วงหนึ่งได้หายหน้าไปจากวงการพักใหญ่เนื่องจากพิษเศรษฐกิจในยุคนั้นก่อนจะกลับมาแข่งขันในรายการ \"Dancing with the stars\" จากนั้นจึงได้หวนกลับมาแสดงละครออกมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งเป็นที่ปรึกษาบริษัทในประเทศเดนมาร์กและลาว",
"title": "เล็ก ไอศูรย์"
},
{
"docid": "907332#1",
"text": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ 2017 จัดแสดงขึ้นที่เซียงไฮ้, ประเทศจีน ที่สนามกีฬาเมอร์เซเดส-เบนซ์ เป็นครั้งแรกของวิคตอเรียซีเคร็ทแฟชั่นโชว์ที่จัดขึ้นในเอเชีย ร่วมการแสดงดนตรีโดย แฮร์รี่สไตล์, มิเกล, เลสลี่ โอดอม จูเนียร์ และเจน จาง มีข่าวลือก่อนหน้าบอกว่าเทย์เลอร์ สวิฟท์จะร่วมการแสดงในโชว์นี้ ซึ่งเป็นเพียงข่าวลือเท่านั้น การแสดงโดยเคที เพร์รี่ ถูกยกเลิกเนื่องจากถูกเพิกถอนวีซ่า เช่นเดียวกับจีจี ฮาดิด และนางแบบคนอื่น ๆ ที่ถูกกระทำแบบนี้อีกหลายคน",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ 2017"
},
{
"docid": "876173#0",
"text": "สัปดาห์แฟชั่น () เป็นงานจัดแสดงสินค้าในอุตสาหกรรมแฟชั่น เป็นเวลานานหนึ่งสัปดาห์ โดยมีนักออกแบบ และแบรนด์ต่าง ๆ แสดงคอลเลกชันล่าสุดของพวกเขาในแฟชั่นโชว์บนเวทีเดินแบบ ให้กับผู้ซื้อและสื่อ งานจัดแสดงเหล่านนี้มีอิทธิพลต่อแนวโน้มความนิยมในปัจจุบันอย่างมาก",
"title": "สัปดาห์แฟชั่น"
},
{
"docid": "907332#0",
"text": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ 2017 () เป็นการแสดงวิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ประจำปีที่ได้รับการสนับสนุนจากวิกตอเรียส์ซีเคร็ต แบรนด์ชุดชั้นในและชุดนอน วิกตอเรียส์ซีเคร็ตใช้เพื่อเป็นการโปรโมตและทำการตลาดสินค้า โดยการแสดงมีนางแบบชั้นนำของโลก เช่น นางฟ้าวิกตอเรียส์ซีเคร็ต คือ ลิลี ออลดริดจ์, เอลซา ฮอสค์, เทย์เลอร์ ฮิลล์, มาร์ธา ฮันต์, อาดรียานา ลีมา, สเตลลา แม็กซ์เวลล์, ไลส์ รีเบย์รู, ซารา ซังไปยู, โจเซฟีน สไครเวอร์, โรเม สไตรด์, กันดิส สวาเนปุล, แจสมิน ทุกส์, อาเลซังดรา อังบรอซียูที่เดินแบบให้งานวิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์เป็นครั้งสุดท้ายของเธอ และเบฮาตี ปรินส์ลัวพลาดการแสดงในครั้งนี้ เนื่องจากเธอตั้งครรภ์",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ 2017"
},
{
"docid": "922142#1",
"text": "ทางรายการได้แบ่งเป็น 2 ทีม คือ ทีมฝ่ายชาย (สีแดง) และทีมฝ่ายหญิง (สีน้ำเงิน) ทั้ง 2 ทีม จะต้องไปเฟ้นหาซุปเปอร์สตาร์ของประเทศไทยในแวดวงต่างๆ เพื่อนำเสนอและนำบุคคลนั้นมาโชว์ในรายการ โดยจะมีการฝึกซ้อมก่อนการบันทึกเทปจริง ซึ่งจะมีการบันทึกเทปการซ้อมก่อนการแสดงจริงก่อนแสดงโชว์ เป็นการแสดงโชว์ที่ไม่เคยทำที่ไหนมาก่อน ซึ่งใน 1 เทป จะมี 2 คู่การแข่งขัน จำนวน 4 โชว์ จะแบ่งเป็นการแสดงของทีมสีแดง และทีมสีน้ำเงิน พอจบ 1 คู่ของการแข่งขัน จะมีการตัดสินโดยกรรมการ 2 ท่านซึ่งมีคนละ 1 คะแนน และผู้ชมในสตูดิโอทั้งหมดที่มาชมการบันทึกเทปรายการ ซึ่งมี 1 คะแนน ใครได้ 2 คะแนนใน 3 คะแนนก่อนจึงเป็นฝ่ายชนะในการแข่งขันนั้นโดยในแต่ละฝั่งจะมีกัปตันทีมและผู้ช่วยของทีมนั้นๆเพื่อเป็นผู้นำการแข่งขัน และในแต่ละสัปดาห์ฝั่งไหนได้คะแนนจากผลโหวตในห้องส่งรวมถึงคณะกรรมการไปได้มากที่สุดก็จะได้พื้นที่เพิ่มขึ้น และทีมที่ได้คะแนนน้อยกว่าพื้นที่เวทีก็จะเล็กลง เพื่อที่จะทำการแข่งขันต่อด้วยขนาดเวทีที่ได้ในโชว์ต่อไป ทีมฝ่ายไหนคะแนนถึง 15 คะแนนก่อนจะคว้าแชมป์และได้รับถ้วยรางวัลจากทางรายการไป",
"title": "The Show ศึกชิงเวที"
},
{
"docid": "850282#6",
"text": "จากปี ค.ศ. 2002 ถึงปี ค.ศ. 2005 มักถูกจัดที่เลกซิงตันอเวนิวอาร์โมรี ในนิวยอร์ก การแสดงแฟชั่นโชว์ในปี ค.ศ. 2004 ถูกยกเลิก เนื่องจากถูกการปราบปรามอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการรู้ถึงความไม่เหมาะสมในการออกอากาศ จากกเหตุการณ์โต้เถียงของผู้ชมซุปเปอร์โบว์ลช่วงฮาล์ฟไทม์โชว์ ครั้งที่ 38 แสดงโดยเจเน็ต แจ็กสัน และ จัสติน ทิมเบอร์เลก เหตุการณ์ในซุปเปอร์โบว์ลช่วงฮาล์ฟไทม์โชว์ ครั้งที่ 38 นั้น มาจากเต้านมข้างหนึ่งของแจ็กสันได้หลุดออกมานอกเสื้อผ้าที่เธอสวมอยู่ จากเทคนิคที่ผิดพลาดของเสื้อผ้าที่เธอสวมใส่[6] ทำให้ปี ค.ศ. 2005 จึงแสดงให้เห็นถึงการอำลาแฟชั่นโชว์ในทศวรรษของบริษัท[7]",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชันโชว์"
},
{
"docid": "235323#1",
"text": "น้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เอกภาษาเยอรมันจากโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ เริ่มเข้าสู่แวดวงของการเดินแบบแฟชั่นโชว์ และยังเคยออกผลงานเพลง ต่อมาจึงเข้าสู่การเป็นนักแสดงละครโทรทัศน์ และแจ้งเกิดจากละครเรื่อง \"เลือดหงส์\" ของถกลเกียรติ วีรวรรณ และเซ็นสัญญาเป็นนักแสดงของสังกัดบริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด ตั้งแต่นั้นมา",
"title": "น้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์"
},
{
"docid": "743345#66",
"text": "ตอนที่ 1: ถ่ายภาพกลุ่มแบบไม่แต่งหน้า, ทดสอบการเดินแบบ และถ่ายภาพเพื่อคัดเลือกเข้าทีม(รอบคัดเลิอก) ตอนที่ 2: ถ่ายภาพบิวตี้ช็อตแบบเดี่ยวกับ แมงมุม, อิกัวนา, กระต่าย, จระเข้ และ นกแก้ว และแบบกลุ่มกับ งูเหลือมไพทอน ตอนที่ 3: ถ่ายมิวสิกวิดีโอเพลง \"ฉันคนเดียวที่รู้\" ของวง มัสเกตเทียส์ ตอนที่ 4: เดินแบบมินิแฟชั่นโชว์บนเรือ \"Wonderful Pearl Cruise\" ตอนที่ 5: ถ่ายภาพแนวเซ็กซี่ในชุดนอนในรูปแบบ \"Bed Side Story\" ร่วมกับนายแบบชาย ตอนที่ 6: เดินแบบแฟชั่นโชว์ชุดแต่งงานในรูปแบบ \"The Wedding Day\" โดยต้องใช้บันไดเป็นที่เดินแบบ ตอนที่ 7: ถ่ายภาพกลุ่มในธีม \"Life is thrilling\" โดยมีรถโตโยต้า แคมรี เอสปอร์ต อยู่ในฉากและเหยียบน้ำใส่ ตอนที่ 8: เดินแบบแฟชั่นโชว์ในชุดราตรี บนแพลอยน้ำในรูปแบบ \"Floating Catwalk\" ตอนที่ 9: ถ่ายแฟชั่นวิดีโอให้กับ Maybelline ในธีม \"Make Super Icon Happen\" โดยแต่ละทีมต้องรับบทเป็นนักร้องชื่อดัง ตอนที่ 10: ถ่ายภาพใต้น้ำ เพื่อเป็นโฆษณาให้กับ เครื่องซักผ้า ซัมซุง รุ่น Crystal Blue ตอนที่ 11: ถ่ายโฆษณาแบบออนไลน์ 30 วินาที ให้กับ Maybelline Lip Gradation By Color Sensational ในธีม \"Make Double Look Happen\" ตอนที่ 13: ถ่ายวิดีโอการแสดง โดยสวมบทบาท \"เกรซ\" จากภาพยนตร์เรื่อง อวสานโลกสวย",
"title": "เดอะเฟซไทยแลนด์ ซีซัน 2"
},
{
"docid": "132244#15",
"text": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ เป็นแฟชั่นโชว์ประจำปีของวิกตอเรียส์ซีเคร็ต ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งแฟชั่นโชว์ที่สำคัญและมีผู้รอชมทั่วโลก โดยวิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์นั้นถูกจัดขึ้นเพื่อใช้ในในการโปรโมตสินค้าโดยเฉพาะชุดชั้นในของวิกตอเรียส์ซีเคร็ต ซึ่งในแต่ละปีก็จะประกอบไปด้วยนางแบบชื่อดังระดับโลกที่เข้าร่วมเดินในแฟชั่นโชว์นี้",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ต"
},
{
"docid": "907591#0",
"text": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ 2015 (อังกฤษ: Victoria's Secret Fashion Show 2015) เป็นการแสดงวิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ประจำปีที่ได้รับการสนับสนุนจากวิกตอเรียส์ซีเคร็ต แบรนด์ชุดชั้นในและชุดนอน วิกตอเรียส์ซีเคร็ตใช้เพื่อเป็นการโปรโมตและทำการตลาดสินค้า โดยการแสดงมีนางแบบชั้นนำของโลก เช่น นางฟ้าวิกตอเรียส์ซีเคร็ต คือ อาดรียานา ลีมา, อาเลซังดรา อังบรอซียู, กันดิส สวาเนปุล, ลิลี ออลดริดจ์, เบฮาตี ปรินส์ลัว, เอลซา ฮอสค์, ไลส์ รีเบย์รู, ซารา ซังไปยู, เจค จากาเชียค, เคท กริโกเรียวา, มาร์ธา ฮันต์, เทย์เลอร์ ฮิลล์, แจสมิน ทุกส์, โรเม สไตรด์, และสเตลลา แม็กซ์เวลล์",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ 2015"
},
{
"docid": "850282#2",
"text": "การแสดงแฟชั่นโชว์มักจะจัดอย่างหรูหรา กับชุดชั้นในที่ออกแบบให้ประณีต และเพลงที่แตกต่างกันจากนักร้องชั้นนำของโลก และการออกแบบตามธีมต่าง ๆ ที่แสดงโชว์ การแสดงนี้มักดึงดูดผู้ชมที่มีชื่อเสียงและนักบันเทิงหลายคน รวมถึงนักแสดงในทุก ๆ ปี ในแต่ละปีมีนางแบบชั้นนำของโลกยี่สิบถึงสี่สิบคน มาร่วมเดินแบบโชว์ รวมถึงนางแบบที่เซ็นสัญญากับบริษัท ซึ่งรู้จักกันในนามของ วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแองเจิล ซึ่งจะช่วยโปรโมตงานและสินค้า ปีกนางฟ้ายักษ์ที่สวมใส่โดยนางแบบ ตลอดจนปีกอื่น ๆ ในรูปแบบต่าง ๆ และขนาด เช่น ปีกผีเสื้อ ปีกขนนกยูง หรือ ปีกปีศาจ ก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของแบรนด์วิกตอเรียส์ซีเคร็ต",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชันโชว์"
},
{
"docid": "196467#7",
"text": "นักออกแบบและแนวเพลง:ในตอนนี้ ทิม กันน์ ได้พานักออกแบบที่เหลือทั้ง 4 คน ไปยังสวนพฤกษศาสตร์นิวยอร์ก (The New York Botanical Garden) ที่นั่นพวกเขาได้พบกับ โคลลิเออร์ สตรอง ผู้ให้คำปรึกษาทางด้านการแต่งหน้าของ ลอรีอัล ปารีส ซึ่งได้มามอบโจทย์สำหรับการแข่งขันในครั้งนี้แก่พวกเขา นั่นคือการสร้างสรรค์ชุดราตรียาว โดยให้มีแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ นักออกแบบมีเวลาคนละ 30 นาทีในการค้นหาและถ่ายภาพธรรมชาติที่เป็นแรงบันดาลใจในการทำชุดของพวกเขา ในตอนท้ายที่ห้องตัดสิน ไฮดีได้แจ้งกับนักออกแบบทั้ง 4 คนว่า ในครั้งนี้จะไม่มีใครถูกคัดออก แต่นักออกแบบทุกคนจะต้องสร้างสรรค์คอลเล็คชั่นสำหรับสัปดาห์แฟชั่นนิวยอร์ก (New York Fashion Week) ของตนเอง พวกเขาทุกคนจะได้กลับบ้าน และเมื่อกลับมาที่นิวยอร์ก จะมีนักออกแบบเพียง 3 คนเท่านั้นที่จะได้ผ่านเข้าสู่รอบตัดสินในตอนนี้นักออกแบบที่เหลือทั้ง 4 คนได้รับโจทย์ให้สร้างสรรค์คอลเล็คชันสำหรับสัปดาห์แฟชั่นนิวยอร์ก (จากสัปดาห์ที่แล้ว) และโจทย์พิเศษอีกหนึ่งโจทย์ นั่นคือการสร้างสรรค์ชุดเจ้าสาว โดยทั้งคอลเลคชั่นและชุดเจ้าสาวของนักออกแบบทุกคนนั้นจะต้องแสดงถึงความเป็นตัวตนของพวกเขาออกมาให้มากที่สุด นักออกแบบจะได้รับเงินทุนคนละ 8,000 ดอลลาร์ ในการสร้างสรรค์ชุดในคอลเล็คชันทั้งหมด 10 ชุด รวมถึงชุดเจ้าสาว และมีเวลา 2 เดือนในการสร้างสรรค์ชุดทั้งหมดให้เสร็จ โดยนักออกแบบทุกคนจะได้กลับไปพักผ่อนและทำงานที่บ้าน จากนั้นเมื่อเวลาผ่านไป 1 เดือน ทิม กันน์ ที่ปรึกษาได้ไปเยี่ยมนักออกแบบแต่ละคนที่บ้านเพื่อให้คำปรึกษาและพูดคุยเรื่องราวต่างๆกับนักออกแบบ เมื่อครบกำหนดนักออกแบบทุกคนกลับมายังนครนิวยอร์ก จากนั้น ทิม กันน์ ได้เรียกทุกคนมาพบและแจ้งให้นักออกแบบทุกคนทราบว่า ทุกคนจะได้รับโจทย์พิเศษอีก 1 โจทย์ นั่นคือการสร้างสรรค์ชุดเพื่อนเจ้าสาว โดยในครั้งนี้ กรรมการจะตัดสินจาก 2 ชุด นั่นคือชุดเจ้าสาวและชุดเพื่อนเจ้าสาว ซึ่งจะมีเพียง 3 คนเท่านั้นที่จะผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายที่สัปดาห์แฟชั่นนิวยอร์กในตอนสุดท้ายของฤดูกาลนี้ นักออกแบบที่เหลืออยู่ทั้ง 3 คนจะได้แสดงผลงานการออกแบบคอลเลคชั่นของตนเองในสัปดาห์แฟชั่นนิวยอร์ก โดยนักออกแบบจะต้องเลือก 10 จาก 12 ชุดของพวกเขาเพื่อโชว์ในครั้งนี้ จากนั้นนักออกแบบก็ได้ทำการคัดเลือกนางแบบที่จะมาเดินในคอลเล็คชันของแต่ละคน และเมื่อถึงวันแสดงจริง ไฮดีได้แจ้งให้ทุกคนในงานทราบว่า ในตอนแรกนั้นผู้ที่จะมาเป็นกรรมการรับเชิญให้กับตอนสุดท้ายนี้คือ เจนนิเฟอร์ โลเปซ แต่เนื่องจากมีอาการบาดเจ็บที่เท้าทำให้เธอไม่สามารถมาร่วมงานได้ ทิม กันน์ จึงได้มาเป็นกรรมการรับเชิญแทน และหลังจากที่กรรมการได้ชมการแสดงคอลเลคชันของนักออกแบบทั้ง 3 คนครบแล้ว ก็ได้ตัดสินให้ ลีแอน มาร์แชล เป็นผู้ชนะของ \"โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 5\"",
"title": "โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 5"
},
{
"docid": "23258#39",
"text": "ธงไชยมีบทบาทในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมผ่านผลงานของเขา ซึ่งผลงานเพลงของเขาที่มีชื่อเสียงที่สุดคืออัลบั้ม ชุดรับแขก ได้นำความเป็นไทยและวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาเผยแพร่ โดยใช้ดนตรี 4 ภาคของไทย ซึ่ง บุษบา ดาวเรือง ผู้บริหารของ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวว่า \"ธงไชยทำได้ดีมากคือความเป็นไทย คนที่ไปดูแบบเบิร์ดเบิร์ดที่เขาเล่นลิเกแล้วบอกว่า เขาคือสะพานสายรุ้งที่พาศิลปวัฒนธรรมไทยไปสู่คนรุ่นใหม่\"[112] สำหรับการแสดงคอนเสิร์ตที่เขาได้นำศิลปวัฒธรรมมาเผยแพร่ เช่น การแสดงเพลงเกี่ยวข้าว ในงานมหกรรมเพลงอาเซียนครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2528) ที่จัดขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซีย และการแสดงคอนเสิร์ตต่าง ๆ ของเขาโดยเฉพาะคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ซึ่งมี ศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ฝึกสอน ได้แก่ การแสดงรำกลองยาวร่วมกับคณะดุริยประณีต และแสดงลำตัด โดยผู้ฝึกสอนคือ ประยูร ยมเยี่ยม และการรำฝึกสอนโดยครูสุดจิตต์ อนันตกุล ในการแสดงในคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2530) การโชว์การแสดงไทยชมรมอนุรักษ์วัฒนธรรม การแสดงระบำกะลา และการแสดงลำตัดร่วมกับคณะแม่ประยูร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงในคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2534) และในปีเดียวกัน การโชว์การแสดงเพลงอีแซว งานปีใหม่ไทย (พ.ศ. 2537) โดยได้รับการฝึกสอนจากขวัญจิต ศรีประจันต์ การโชว์การแสดงลิเก ร่วมแสดงกับอาจารย์ เสรี หวังในธรรม ในการแสดงโชว์ในคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2551) การโชว์การละเล่นไทยลาวกระทบไม้ประกอบบทเพลงแก้วตา - แก้วโตว ซึ่งการแสดงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2555) การโชว์การแสดงร่วมกับ นาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก ของโจหลุยส์ ซึ่งเป็นคณะการแสดงละครเล็ก หรือหุ่นกระบอก ของอาจารย์สาคร ยังเขียวสด เป็นส่วนหนึ่งในคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 10 (พ.ศ. 2555) เป็นต้น นอกจากนั้น บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เลือกเขาเป็นต้นแบบการ์ตูนแอนมิชั่นเรื่อง เบิร์ดแลนด์ แดนมหัศจรรย์ พร้อมทั้งใส่เสียงพากย์และบทเพลงของเขาลงในการ์ตูนดังกล่าว[113] และมีการจัดทำตอนพิเศษ \"ส่งเสริมคุณค่าของวัฒนธรรมไทย\" เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนไทยได้ซึมซับศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีไทยต่าง ๆ ในแต่ละภูมิภาค โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม[114]",
"title": "ธงไชย แมคอินไตย์"
},
{
"docid": "790363#0",
"text": "รวีวรรณ บุญประชม ชื่อเล่น โยเกิร์ต ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ณัฐฐชาช์ บุญประชม เกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 เป็นนักแสดงและนางแบบชาวไทย จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนฤดีศึกษา มัธยมศึกษาจากโรงเรียนศึกษานารี ปริญญาตรีและปริญญาโทจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ไฟฟ้า) เริ่มเข้าสู่แวดวงของการเดินแบบแฟชั่นโชว์ นอกจากนั้นแล้ว โยเกิร์ตยังได้เข้าสู่การเล่นละครโทรทัศน์ และแจ้งเกิดจากบทนางร้าย จากละครรีเมคเรื่อง \"นางทาส\" ของค่ายทีวีซีน ทำให้โยเกิร์ตเซ็นสัญญาการเป็นนักแสดงในสังกัดช่อง 3",
"title": "ณัฐฐชาช์ บุญประชม"
},
{
"docid": "132244#17",
"text": "สิ่งหนึ่งที่ทำให้วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์มีผู้รอชมทั่วโลกนั่นก็คือการแสดงจากศิลปินชั้นนำระดับโลกที่ได้มาร่วมแสดงโชว์บนเวที อาทิ เลดี้กาก้า เทย์เลอร์ สวิฟต์, จัสติน บีเบอร์, เคที เพอร์รี, ริฮานนา, มารูนไฟฟ์, บรูโน มาร์ส, นิกกี มินาจ, เดอะวีกเอนด์, แบล็กอายด์พีส์, เอคอน, จัสติน ทิมเบอร์เลค, อัชเชอร์ และเจย์-ซี เป็นต้น และอีกส่วนที่เป็นสิ่งสำคัญที่จะขาดไม่ได้สำหรับวิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์นั่นก็คือปีกที่สร้างสรรค์ออกมาให้นางแบบได้ใส่ประกอบชุดในทุก ๆ ปี โดยแต่ละปีกนั้นจะถูกออกแบบให้เข้ากับแต่ละโชว์หรือเซกเมนต์ต่างกันไป",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ต"
},
{
"docid": "907393#1",
"text": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ ค.ศ. 2016 จัดแสดงขึ้นที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส ณ กร็องปาแล ร่วมการแสดงดนตรีโดย เลดี้ กาก้า, เดอะวีกเอนด์, และบรูโน มาร์ส ในปีนี้ผู้ที่สวมใส่วิกตอเรียส์ แฟนตาซีบรา คือ แจสมิน ทุกส์",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ 2016"
},
{
"docid": "850282#16",
"text": "ในปี ค.ศ. 2013 วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ปีนี้ มีนักร้องมาร่วมอย่าง เทย์เลอร์ สวิฟต์, อะเกรทบิ๊กเวิลด์, นีออน จูเกิล และ ฟอลล์เอาต์บอย[21] เทย์เลอร์ สวิฟต์ ได้โชว์ร้องเพลง \"ไอนูว์ยูเวอร์ทรับเบิล\" อะเกรทบิ๊กเวิลด์ ได้แสดงร้องเพลง \"เซย์ซัมติ้ง\" นักร้องอังกฤษอย่าง นีออน จูเกิล ก็โชว์เพลง \"ทรับเบิล\" และ ฟอลล์เอาต์บอย ร่วมร้องกับ เทย์เลอร์ สวิฟต์ ในเพลง \"มายซองส์โนววอสยูดิสอินเดอะดาร์ก\" และโชว์ปิดท้ายด้วยเพลง \"เดอะ ฟีนิกส์\"",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชันโชว์"
},
{
"docid": "907591#1",
"text": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ ค.ศ. 2015 จัดแสดงขึ้นที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ร่วมการแสดงดนตรีโดยเอลลี โกลดิง, เซลีนา โกเมซ, เดอะวีกเอนด์, และรีแอนนา แต่การแสดงของรีแอนนาถูกยกเลิก เพราะเธอต้องโฟกัสกับอัลบั้มใหม่ของเธอ",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ 2015"
},
{
"docid": "907393#0",
"text": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ 2016 () เป็นการแสดงวิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ประจำปีที่ได้รับการสนับสนุนจากวิกตอเรียส์ซีเคร็ต แบรนด์ชุดชั้นในและชุดนอน วิกตอเรียส์ซีเคร็ตใช้เพื่อเป็นการโปรโมตและทำการตลาดสินค้า โดยการแสดงมีนางแบบชั้นนำของโลก เช่น นางฟ้าวิกตอเรียส์ซีเคร็ต คือ ลิลี ออลดริดจ์, เอลซา ฮอสค์, เทย์เลอร์ ฮิลล์, มาร์ธา ฮันต์, อาดรียานา ลีมา, สเตลลา แม็กซ์เวลล์, ไลส์ รีเบย์รู, ซารา ซังไปยู, โจเซฟีน สไครเวอร์, โรเม สไตรด์, แจสมิน ทุกส์, และอาเลซังดรา อังบรอซียู ส่วนเบฮาตี ปรินส์ลัว และกันดิส สวาเนปุล พลาดการแสดงในครั้งนี้ เนื่องจากพวกเธอตั้งครรภ์ การแสดงยังให้ความสำคัญ PINK spokesmodels คือ ราเชล ฮิลเบิร์ต, ซูรี ทิบบี้, เกรซ เอลิซาเบธ",
"title": "วิกตอเรียส์ซีเคร็ตแฟชั่นโชว์ 2016"
}
] |
4118 | เริ่มต้นออกแบบ JET เมื่อปีใด? | [
{
"docid": "622772#4",
"text": "1973 - เริ่มต้นงานออกแบบ 1977 - สถานที่ Culham ได้รับเลือกและงานก่อสร้างก็เริ่มขึ้น 25 มิถุนายน 1983 - การทดลองพลาสม่าที่ประสบความสำเร็จอย่างมากเป็นครั้งแรกที่ JET 9 เมษายน 1984 - JET เปิดอย่างเป็นทางการโดย สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธ ที่สอง 9 พฤศจิกายน 1991 - การเปิดตัวของการควบคุมพลังงานฟิวชั่นครั้งแรกของโลก 1993 - JET ได้แปลงรูปแบบการทำงานให้เป็นแบบ Divertor 1997 - JET ผลิตพลังงานฟิวชั่นได้ 16 เมกะวัตต์ (สถิติโลก) 1998 - การจัดการระยะไกลครั้งแรกที่ใช้สำหรับการทำงานในเรือ 2000 - การใช้งานร่วมกันของ JET กับโปรแกรมทางวิทยาศาสตร์จะถูกจัดการผ่านข้อตกลง การพัฒนาฟิวชั่นยุโรป (English: European Fusion Development Agreement (EFDA)) 2006 - JET เริ่มดำเนินการด้วยรูปแบบการทำงานของแม่เหล็กเหมือน ITER 2009-2011 การติดตั้งผนังเหมือน ITER",
"title": "JET (พลังงานฟิวชั่น)"
}
] | [
{
"docid": "81083#27",
"text": "Ducker, Chris, and Stuart Cutler. The HKS Guide to Jet Li. London: Hong Kong Superstars, 2000. Marx, Christy. Jet Li. Martial Arts Masters. Rosen Publishing Group, 2002. ISBN 0823935191. Parish, James Robert. Jet Li: A Biography. New York: Thunder's Mouth Press, 2002. ISBN 1560253762. Farquhar, M.(2010) ‘Jet Li: \"Wushu Master\" in Sport and Film’ in Jeffreys, Elaine. & Edwards, Louise (eds.), Celebrity in China, Hong Kong University Press, Hong Kong pp.103–124. ISBN 9622090885",
"title": "หลี่ เหลียนเจี๋ย"
},
{
"docid": "622772#13",
"text": "ในเดือนตุลาคม 2009 ช่วงเวลาการปิด 15 เดือนได้เริ่มต้นขึ้น การปรับปรุงได้ทำกับ tokamak รวมถึงการเปลี่ยนชิ้นส่วนคาร์บอนในห้องสูญญากาศด้วยทังสเตนและเบริลเลียม เพื่อจะติดตั้งส่วนประกอบของ JET ให้สอดคล้องมากขึ้นกับที่วางแผนไว้สำหรับ ITER พลังงานความร้อนก็ถูกเพิ่มขึ้นอีก 50% ทำให้พลังงานลำแสงที่เป็นกลางที่สามารถใช้ได้กับพลาสม่าได้ถึง 34MW และความสามารถในการวินิจฉัยและการควบคุมได้รับการปรับปรุง โดยรวมแล้ว ชิ้นส่วนมากกว่า 86,000 ชิ้นมีการเปลี่ยนแปลงในหอรูปห่วงยางในระหว่างการปิดระบบ",
"title": "JET (พลังงานฟิวชั่น)"
},
{
"docid": "9595#1",
"text": "ปี พ.ศ. 2538– พ.ศ. 2540นายสายชล เพยาว์น้อย เจ้าของธุรกิจบ้านใร่กาแฟเป็นคนที่ชอบเดินทางศึกษาวัฒนธรรมไปตามเส้นเดินทางสายต่าง ๆ ทั้งภาค ภาคอีสาน ภาคเหนือภาคใต้ ตลอดการเดินทางมักจะแวะดื่มกาแฟกระป๋องตามสถานีบริการน้ำมัน ครั้งเดินทางไปยังสายอีสานได้พบกาแฟแบบชาวบ้านตั้งซุ้ม โต๊ะ ในสถานีบริการน้ำมัน แบบคั่วชง มีจุดเด่นในด้านรสชาติ และ วิธีการในการนำเสนอ ลูกค้าจะเห็นกรรมวิธี และ ลีลาการชงกาแฟของชาวบ้านดูมีศิลปะเพิ่มคุณค่าให้กาแฟในแก้วนั้น ๆ ปรุงแบบแก้วต่อแก้ว ใช้กาแฟคั่วใหม่จากภาชนะที่ฝาปิดสนิทบดสด ๆ ชงสด ๆ จึงนำแนวทางของชาวบ้านมานำเสนอในรูปแบบของบ้านใร่กาแฟ คือ เพิ่มอาคารกาแฟ จัดการความสะอาด ความสะดวกสบาย เป็นระบบธุรกิจ เพิ่มแนวคิดทางสถาปัตยกรรม เป็นอาคารทรงไทยโมเดิร์น จัดการภูมิทัศน์โดยรอบ\nบ้านใร่กาแฟสร้างสาขาแรกที่สถานีบริการน้ำมัน ปตท.รังสิต – องค์รักษ์คลอง 7 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2540 โดยมีชื่อว่าบ้านแรก สาขาบ้าน 9 มีสัญลักษณ์เป็นใบไม้สีเขียว หลังเปิดได้ 13 วัน เช้าวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2541 เกิดอุบัติเหตุรถเข้าพุ่งชนร้าน ต้องปิดร้านโดยฉับพลัน จากนั้นจึงสร้างสาขา 9/2 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2541 ในสถานีบริการน้ำมัน JET และออกแบบใหม่เป็นอาคารทรงสามเหลี่ยม ซึ่งรูปแบบตัดมาจากหน้าบานบ้านทรงไทย จากนั้นได้รับโอกาสจากบริษัท CONOCO ประเทศไทย JET อนุมัติให้ก่อสร้างในแบบบ้าน 8 (บ้านกรุง) บนเส้นทางถนนพหลโยธินเป็นสาขาแรกในสถานีบริการฯของ JET เปิดทำการขายวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2541ซึ่งเป็นสาขาบ้านสามเหลี่ยมแรก ปี พ.ศ. 2542 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านใร่กาแฟซึ่งได้แนวความคิดจาก สังคมและภูมิปัญญาของชาวบ้านของไทย ในปี พ.ศ. 2549 มีสาขาทั้งหมด 110 สาขา",
"title": "บ้านใร่กาแฟ"
},
{
"docid": "622772#12",
"text": "JET ดำเนินการตลอดปี 2003 กับปีสูงสุดในการทดลองโดยใช้จำนวนเล็กน้อยของ ไอโซโทป สำหรับส่วนใหญ่ของปี 2004 JET ปิดการทำงานสำหรับการอัพเกรดที่สำคัญ เพื่อเพิ่มพลังงานความร้อนทั้งหมดให้มีมากกว่า 40 เมกะวัตต์ เพื่อการศึกษาเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของ ITER ที่จะเข้าดำเนินการ ในปลายเดือนกันยายนปี 2006 การรณรงค์เพื่อการทดลอง C16 ได้เริ่มต้นขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานเหมือน ITER",
"title": "JET (พลังงานฟิวชั่น)"
},
{
"docid": "363011#49",
"text": "Comparison of orbital rocket engines NERVA - NASA's Nuclear Energy for Rocket Vehicle Applications, a US nuclear thermal rocket programme Project Prometheus, NASA development of nuclear propulsion for long-duration spaceflight, begun in 2003 Jet damping an effect of the exhaust jet of a rocket that tends to slow a vehicle's rotation speed Model rocket motor classification lettered engines Laser propulsion",
"title": "เครื่องยนต์จรวด"
},
{
"docid": "268853#68",
"text": "“Jet Coaster Love” ถูกขายได้เป็นสองเท่าจากซิงเกิลก่อนอย่าง “Jumping” ซึ่งถูกปล่อยออกมาในระหว่างช่วงที่เกิดความวุ่นวายในวงเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ด้วยยอดขายกว่า 55,000 ชุดในสัปดาห์แรก คาร่าถูกเลือกให้เป็นวงหน้าใหม่อันดับหนึ่งประจำปีนี้กับ “Jet Coaster Love” ที่สร้างปรากฏการณ์ขึ้นอันดับหนึ่งพร้อมกันทั้งชาร์ตซิงเกิลประจำสัปดาห์และการจัดอันดับอัลบั้ม ขณะที่ซิงเกิลแรกของพวกเธอย่าง “Mister” และซิงเกิลที่สองอย่าง “Jumping” ทั้งคู่อยู่ในอับดับที่ 5 ขณะที่อัลบั้ม “KARA BEST 2007-2010” และ “Girl’s Talk” อยู่ในอันดับที่ 2",
"title": "คารา"
},
{
"docid": "622772#8",
"text": "ในปี 1999 ข้อตกลงเพื่อการพัฒนาฟิวชั่นของยุโรป (EFDA) ได้ก่อตั้งขึ้นด้วยความรับผิดชอบ สำหรับการใช้งานร่วมกันในอนาคตของ JET เมื่อเปลี่ยนสหัสวรรษ \"การดำเนินการร่วม\" ได้สิ้นสุดลงและสิ่งอำนวยความสะดวกของ JET ได้เริ่มดำเนินการภายใต้สัญญากับ Culham Centre for Fusion Energy (CCFE) (ขณะนั้นเป็น UKAEA) จากนั้น โปรแกรมทางวิทยาศาสตร์ของ JET ได้ถูกกำหนดโดย EFDA",
"title": "JET (พลังงานฟิวชั่น)"
},
{
"docid": "622772#11",
"text": "ในเดือนธันวาคมปี 1999 สัญญา\"ระหว่างประเทศ\"ของ JET สิ้นสุดลงและ จากนั้น สำนักงานพลังงานปรมาณูแห่งสหราชอาณาจักร (English: United Kingdom Atomic Energy Authority (UKAEA)) เข้าดำเนินการต่อในการจัดการด้านความปลอดภัยและการทำงานของ สิ่งอำนวยความสะดวกของ JET ในนามของคู่ค้ายุโรป จากเวลานั้น (ปี 2000) โปรแกรมการทดลองของ JET ถูกร่วมประสานโดยหน่วยสนับสนุนอย่างใกล้ชิดของ EFDA",
"title": "JET (พลังงานฟิวชั่น)"
},
{
"docid": "622772#18",
"text": "นักวิทยาศาสตร์ที่อ๊อกฟอร์ดชายร์กำลังเตรียมความพร้อมสำหรับชุดทดสอบฟิวชั่นที่จะเริ่มต้น ในปี 2015 พวกเขาหวังที่จะทำลายสถิติของตัวเองจาก 16 เมกะวัตต์ของพลังงานฟิวชั่น[8]",
"title": "JET (พลังงานฟิวชั่น)"
},
{
"docid": "315257#3",
"text": "ภายหลังจากการปรากฏตัวผ่านโทรทัศน์และเป็นนางแบบโฆษณามาบ้างแล้ว เธอก็เริ่มเข้าสู่วงการภาพยนตร์ โดยแสดงนำในเรื่อง \"ยัยตัวร้าย หัวใจติดปีก\" ในปี ค.ศ. 1999 แต่เธอกลับมีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมขึ้นจากงานโฆษณาของซัมซุงมายเจ็ตพรินเตอร์ (Samsung My Jet Printer) ซึ่งทำให้เธอกลายเป็นสัญรูป (icon) ของกลุ่มชาวเกาหลีวัยยี่สิบต้น ๆ และวัยรุ่นตอนปลาย",
"title": "ช็อน จี-ฮย็อน"
},
{
"docid": "102122#22",
"text": "Hayabusa ถูกสร้างตั้งแต่ปี 2000 ถึงปี 2004 โดยทาง JMSDF ตั้งใจจะเอามาทดแทน PG 1 Go ที่ไม่เหมาะกับทะเลเปิดขนาดใหญ่แบบญี่ปุ่น (PG 1 Go ที่ได้แบบมาจาก Sparviero-class ของอิตาลีนั้น เหมาะกับทะเลปิดมากกว่าโดยตัวเรือนั้น ถูกต่อขึ้นที่อู่ ชิโมโนะเซกิ(Shimonoseki) ซึ่งเป็นอู่เอกชนขนาดเล็ก (แต่เป็นคนละอู่กับที่สร้าง เรือเร็วโจมตีขีปนาวุธ PG 1 Go) โดยเริ่มต้นวางกระดูกงู ในเดือน พฤศจิกายน ปี2000 และทยอยต่อเข้าประจำการ จนครบ 6 ลำในเดือน มีนาคม ปี2004เพื่อลบข้อด้อยของ PG 1 Go ที่มีขนาดเล็ก ทางผู้ออกแบบจึงได้ขยายแบบเรือ ให้ใหญ่ขึ้น 4 เท่าติดอาวุธให้หนักขึ้น และใช้เครืองยนต์ที่มีกำลังสูงขึ้น โดยได้นำระบบ Water Jet ที่ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่ใหม่มากๆ ในสมัยนั้นมาใช้ จึงทำให้ Hayabusa เป็นเรือเร็วโจมตี ติดอาวุธปล่อยนำวิถี ที่ทำความเร็วสูงและมีอาวุธที่หนักมากในยุคนั้น",
"title": "กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น"
},
{
"docid": "333597#0",
"text": "เรดิโอ 200000 เป็นกลุ่มแร็พจากสวิสเซอร์แลนด์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2003 สมาชิกของกลุ่มเรียงตามลำดับอายุ Steve Stöckli หรือ Redl, Jet Domani หรือ Trumpf Puur, Sgoing Erlöst หรือ Okocha และ Krasseranz หรือ Soulhund พวกเขามีเพลงที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือเพลง Hose, Discoscheiss, Im Huus, Händ ue และ Eisprung",
"title": "เรดิโอ 200000"
},
{
"docid": "622772#1",
"text": "สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมดของ JET ตั้งอยู่บนอดีตสนามบินกองทัพเรือใกล้ Culham ออกซฟอร์ดเชียร์ที่ชื่อว่า RNAS Culham (HMS Hornbill) ในประเทศสหราชอาณาจักร อาคารที่ทำการของโครงการได้รับการก่อสร้างโดย Tarmac Construction [1] เริ่มต้นในปี 1978 ที่มีห้องโถงรูปห่วงยางหรือโดนัท (English: Torus Hall) ที่เสร็จสมบูรณ์ในเดือนมกราคม 1982 การก่อสร้างของตัวเครื่อง JET เองเริ่มทันทีหลังจากการก่อสร้าง Torus Hall เสร็จสิ้น การทดลองพลาสม่าครั้งแรกทำในปี 1983",
"title": "JET (พลังงานฟิวชั่น)"
},
{
"docid": "268853#66",
"text": "คาร่า (KARA) เปิดตัวเพลงไตเติ้ล 'JET COASTER LOVE' เวอร์ชันเต็มเมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา ก่อนเตรียมปล่อยซิงเกิลอัลบั้มชุดที่ 3 'JET COASTER LOVE' ในวันที่ 6 เมษายนนี้ ทันทีที่เปิดตัวเพลง 'JET COASTER LOVE' เพลงของพวกเธอก็สามารถคว้าอันดับที่ 1 ในชาร์ตเพลง 'recochoku' รวมถึงอันดับที่ 1 ในชาร์ตซิงเกิลและมิวสิกวีดีโอ iTunes ประเทศญี่ปุ่นได้ด้วยเช่นเดียวกัน",
"title": "คารา"
},
{
"docid": "622772#7",
"text": "ระบบ\"การจัดการระยะไกล\"โดยทั่วไปเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานฟิวชั่นตัวต่อมา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเครื่องปฏิกรณ์ทดลองในอนาคต นั่นคือ ITER ในปี 1998 วิศวกร JET พัฒนาระบบการจัดการระยะไกล ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มันเป็นไปได้ที่จะแลกเปลี่ยนอุปกรณ์บางส่วนโดยการใช้เพียงมือเทียม",
"title": "JET (พลังงานฟิวชั่น)"
},
{
"docid": "480438#0",
"text": "เจ็ทเอเซีย แอร์เวย์ (ภาษาอังกฤษ: Jet Asia Airways) (IATA: JF, ICAO: JAA, Callsign: JET ASIA)\nมีความเชี่ยวชาญด้านบริการเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำ สำหรับการปฏิบัติการแบบเป็นช่วงเวลา แบบเต็มเวลา แบบเฉพาะกิจ และ แบบเช่าพร้อมลูกเรือ (ACMI) โดยให้บริการด้วยฝูงบินโบอิ้ง 767 เจ็ทเอเซีย สามารถให้บริการทั้งตลาดระยะกลางและระยะไกล เจ็ทเอเซีย แอร์เวย์มุ่งมั่นในการสรรหาบุคลากรที่มีประสบการณ์และความทุ่มเทในการทำงาน ที่จะสามารถเข้ามาเพิ่มและสร้างคุณค่าให้แก่องค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ",
"title": "เจ็ทเอเซีย แอร์เวย์"
},
{
"docid": "622772#16",
"text": "ในระหว่างการรณรงค์ทดลองแบบเต็มที่ของเชื้อเพลิง D-T ในปี 1997 JET ประสบความสำเร็จทำสถิติโลกในการผลิตพลังงานฟิวชั่นสูงสุดที่ 16 เมกะวัตต์ ซึ่งเท่ากับกำไรที่วัดเป็นค่า Q ประมาณ 0.7 ค่า Q เป็นอัตราส่วนของพลังงานฟิวชั่นที่ผลิตได้เมื่อเทียบกับพลังงานความร้อนที่ใส่เข้าไป เพื่อให้บรรลุจุดเท่าทุน (English: break-even) ค่า Q จะต้องสูงกว่า 1 พลาสม่าที่เผาไหม้อย่างยั่งยืนด้วยตนเองต้องมีค่า Q เท่ากับ 5 เป็นด้วยตนเอง (เนื่องจากอนุภาคแอลฟามีพลังงานหนึ่งในห้าของพลังงานฟิวชั่น) และโรงไฟฟ้าจะต้องมีค่า Q อย่างน้อยเท่ากับ 10[7] ในปี 1998 เครื่อง en:tokamak รุ่น en:JT-60 อ้างว่าสามารถทำค่า Q ได้สูงถึง 1.25 อย่างไรก็ตาม ค่านี้ไม่ได้ประสบความสำเร็จภายใต้เงื่อนไขที่ใช้เชื้อเพลืง D-T จริง แต่เป็นการประเมินจากการทดลองที่ทำกับพลาสม่าของดิวเทอเรียม (D-D plasma) ที่บริสุทธิ์ การประเมินที่คล้ายกันยังไม่ได้ถูกกระทำสำหรับ JET แต่มันก็เป็นไปได้ว่าการเพิ่มขึ้นของ Q ในการวัดปี 1997 อาจสามารถประสบความสำเร็จถ้าได้รับอนุญาตให้ทำงานเต็มรูปแบบของเชื้อเพลิง D-T ในโครงการรณรงค์อื่น ในขณะนี้ได้มีงานที่เริ่มทำบน ITER ในการพัฒนาพลังงานฟิวชั่นให้ก้าวหน้าต่อไปอีก",
"title": "JET (พลังงานฟิวชั่น)"
},
{
"docid": "622772#0",
"text": "JET เป็นคำย่อของ en:Joint European Torus เป็นการทดลองด้านฟิสิกส์ของพลาสมาที่ถูกเก็บกักด้วยอำนาจแม่เหล็ก มีสถานที่ตั้งอยู่ในออกซฟอร์ดเชียร์ ประเทศสหราชอาณาจักร ปัจจุบันเป็นสถานที่ที่ใหญ่ที่สุดในการดำเนินงานที่มีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อเปิดทางไปสู่เครื่องปฏิกรณ์แบบ tokamak เพื่อการทดลองนิวเคลียร์ฟิวชั่นในอนาคต เช่น เครื่องปฏิกรณ์เพื่อการทดลองเทอร์โมนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ (English: International Thermonuclear Experimental Reactor) หรือ en:ITER และ โรงไฟฟ้าสาธิต (English: DEMOnstration Power Plant) หรือ en:DEMO",
"title": "JET (พลังงานฟิวชั่น)"
},
{
"docid": "622772#2",
"text": "ส่วนประกอบทั้งหมดสำหรับเครื่อง JET มาจากผู้ผลิตทั่วยุโรป โดยส่วนประกอบเหล่านี้ถูกส่งไปสถานที่ตั้งของ JET",
"title": "JET (พลังงานฟิวชั่น)"
},
{
"docid": "622772#10",
"text": "JET ถูกจัดตั้งแต่เดิมโดย ชุมชนพลังงานอะตอมยุโรป (English: European Atomic Energy Community (Euratom)) ที่มีระบบการจ้างงานที่ไม่เท่าเทียมที่ยอมให้พนักงานที่ไม่ใช่ชาวอังกฤษจะได้รับเงินเดือนมากกว่าสองเท่าของเงินเดือนชาวอังกฤษที่เทียบเท่า ในที่สุด เจ้าหน้าที่ชาวอังกฤษได้ประกาศว่าการปฏิบัติดังกล่าวผิดกฎหมาย และความเสียหายอย่างมากได้รับการจ่ายทดแทนที่ส่วนท้ายของปี 1999 ให้กับพนักงาน UKAEA (และต่อมาก็ให้ผู้รับเหมาบางคน) สิ่งนี่เป็นสาเหตุของการสิ้นสุดโดยทันทีของการดำเนินงานของ Euratom ในการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่นั้น",
"title": "JET (พลังงานฟิวชั่น)"
},
{
"docid": "80694#25",
"text": "อาคารหลังนี้จะตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของท่าอากาศยาน ใกล้กับโรงเก็บเครื่องบินของสายการบินเดลต้า แอร์ไลน์ ผthe Delta Air Lines Jet Base) ตรงบริเวณที่เป็นอาคารคลังสินค้าและหอบังคับการบิน ระบบเดินทางภายในท่าอากาศยานจะขยายเส้นทางมาถึงพื้นที่อาคารผู้โดยสารใหม่นี้ด้วย คาดว่าจะสามารถเปิดใช้บริการได้ในช่วงต้นปีพ.ศ. 2553 โดยคองคอสนี้จะมีหลุมจอด 10 หลุมและระบบศุลกากรใหม่",
"title": "ท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์ทสฟิลด์–แจ็คสัน แอตแลนตา"
},
{
"docid": "240492#3",
"text": "การทดลองที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันคือการทดลองที่ Joint European Torus (JET) ปี ค.ศ. 1997 JET ได้สร้างพลังงานฟิวชั่นขึ้นได้ขนาด 16.1 เมกกะวัตต์ (65% ของพลังงานที่ใส่เข้าไป) โดยที่สามารถรักษาระดับพลังงานฟิวชั่นสูงกว่า 10 เมกกะวัตต์ได้นานกว่า 0.5 วินาที",
"title": "พลังงานฟิวชั่น"
},
{
"docid": "622772#9",
"text": "ความทนทานและความยืดหยุ่นของการออกแบบเดิมของ JET ได้ทำให้มันเป็นไปได้สำหรับอุปกรณ์ที่จะพัฒนาที่มีความสนใจของชุมชนฟิวชั่นและตอบสนองความต้องการของ ITER JET ถูกดัดแปลงให้อยู่ในรูปแบบของ Divertor ในปี 1993 และเริ่มดำเนินการด้วยรูปแบบของแม่เหล็กเหมือนกับ ITER ในปี 2006 จาก ตุลาคม 2009 ถึงพฤษภาคม 2011 ผนังที่เหมือน ITER ถูกนำมาติดตั้ง",
"title": "JET (พลังงานฟิวชั่น)"
},
{
"docid": "622772#15",
"text": "JET มีการติดตั้งด้วยอุปกรณ์ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการระยะไกล [6] เพื่อรับมือกับกัมมันตภาพรังสีที่ผลิตขึ้นโดยเชื้อเพลิง deuterium-tritium (D-T) ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ถูกนำเสนอสำหรับรุ่นแรกของโรงไฟฟ้าพลังงานฟิวชั่น ในระหว่างที่การก่อสร้าง ITER ยังไม่เสร็จ JET ยังคงเป็นเครื่องปฏิกรณ์ฟิวชั่นที่มีขนาดใหญ่เท่านั้นที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่อุทิศตนเพื่อการจัดการกับกัมมันตภาพรังสีที่ปล่อยออกมาจาก D-T ฟิวชั่น การผลิตพลังงานมีการทำลายสถิติโดยวิ่งจาก JET และ เตาปฏิกรณ์เพื่อการทดสอบปฏิกิริยาฟิวชั่น Tokamak (English: Tokamak Fusion Test Reactor (en:TFTR)) เมื่อใช้ส่วนผสมเชื้อเพลิง D-T ที่อัตราส่วน 50-50",
"title": "JET (พลังงานฟิวชั่น)"
},
{
"docid": "622772#5",
"text": "ในปี 1970 สภาประชาคมยุโรปได้ตัดสินใจในโปรแกรมฟิวชั่นที่แข็งแกร่งและจัดหากรอบทางกฎหมายที่จำเป็นสำหรับอุปกรณ์ฟิวชั่นสำหรับยุโรปเพื่อให้มีการพัฒนาขึ้น[3] สามปีต่อมา งานออกแบบก็เริ่มต้นขึ้นสำหรับเครื่อง JET ในปี 1977 งานก่อสร้างเริ่มต้นและในตอนท้ายของปีเดียวกันอดีตสนามบินที่ Culham ในสหราชอาณาจักร ได้รับเลือกเป็นสถานที่สำหรับโครงการ JET ในปี 1978 \"การดำเนินการร่วมกับ JET\" ได้รับการยอมรับในฐานะเป็นนิติบุคคล เพียงห้าปีต่อมาการก่อสร้างแล้วเสร็จในเวลาและงบประมาณที่กำหนด 25 มิถุนายน 1983 พลาสม่าเครื่องแรกของ JET ก็ประสบความสำเร็จ และในวันที่ 9 เมษายน 1984 สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธ ที่สอง ได้ทรงเปิดการทดลองฟิวชั่นนี้ในยุโรปอย่างเป็นทางการ",
"title": "JET (พลังงานฟิวชั่น)"
},
{
"docid": "622772#6",
"text": "ในประวัติศาสตร์ของการวิจัยฟิวชั่น ปี 1991 มีความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่ง: วันที่ 9 พฤศจิกายน การทดลองเบื้องต้นของทริเทียม (English: Preliminary Tritium Experiment) ประสบความสำเร็จในการเปิดตัวครั้งแรกของโลกของการควบคุมการใช้พลังงานฟิวชั่น หกปีต่อมาในปี 1997 สถิติโลกอีกอันหนึ่งก็ประสบความสำเร็จที่ JET นั่นคือ 16 เมกะวัตต์ของกำลังงานฟิวชั่นได้รับการผลิตจากการใช้กำลังงานที่นำเข้ารวม 24 เมกะวัตต์ - คิดเป็น 65% ของอินพุท หรือเทียบเท่ากับการผลิต 22 เมกะจูลของพลังงาน กำลังงาน 16 เมกะวัตต์ที่วัดได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาน้อยกว่าหนึ่งวินาที และ 5 เมกะวัตตต์ได้เกิดขึ้นเป็นเวลา 5 วินาที",
"title": "JET (พลังงานฟิวชั่น)"
},
{
"docid": "167307#6",
"text": "เครื่องยนต์รุ่นท็อปของฟอร์ด มัสแตง โฉมที่ 1 นี้ เห็นจะได้แก่ เครื่องยนต์ Super Cobra Jet V8 7.0 ลิตร 375 แรงม้า ซึ่งถือเป็นแรงม้าที่สูงมากเมื่อเทียบกับรถอื่นๆ ในยุคเดียวกัน ซึ่งเครื่องยนต์รุ่นท็อปนี้ ถูกผลิตใช้เป็นครั้งแรกในรุ่นปี ค.ศ. 1971",
"title": "ฟอร์ด มัสแตง"
},
{
"docid": "392470#41",
"text": "บทความหลัก: Pump-jet\nWater jet หรือ pump jet, เป็นระบบขับเคลื่อนทางน้ำที่ใช้การพ่นของน้ำ. เครื่องกลไกประกอบด้วยใบพัดที่เป็นท่อกับหัวฉีด, หรือตัวอัดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์() กับห้วฉีด.",
"title": "เครื่องยนต์ไอพ่น"
},
{
"docid": "268853#91",
"text": "โดยช่วงปลายปี KARA ได้รับเชิญให้ไปงาน 62nd Kōhaku Uta Gassen (งานขาวแดง) โดยพวกเธอได้ไปแสดงโชว์ที่งานนี้ด้วยเพลงเมดเล่ย์ \"Jet Coaster Love\" และ \"Mister\"",
"title": "คารา"
}
] |
4119 | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดวันที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "4253#0",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระองค์ที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสวยราชสมบัติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2411 [3] เสด็จสวรรคต เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ด้วยโรคพระวักกะ",
"title": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
}
] | [
{
"docid": "59477#2",
"text": "โดยเมื่อปี พ.ศ. 2438 (ร.ศ. 114) ปีมะแม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้กระทรวงธรรมการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงศึกษาธิการ) ขยายตัวทางด้านการศึกษา จัดให้มีโรงเรียนมากขึ้น โดยเห็นว่าสถานที่ กระทรวงธรรมการบริเวณศาลาต้นจันทร์ วัดอรุณราชวราราม เปิดสอนชั้น 1 ถึงชั้น 4 มีนักเรียน 162 คน ครู 6 คน มีพระครูธรรมรักขิต (สัมฤทธิ์ ลอยเพ็ชร) เป็นครูใหญ่ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ กรมหมื่นปราบปรปักษ์เป็นแม่กองปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม เมื่อปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จ ประจวบกับเวลาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงดำรงสิริราชสมบัติมาเป็นสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทวีธาภิเษก ถวายพระอัยกาธิราช ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน และสมโภชสิริราชสมบัติ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2441",
"title": "โรงเรียนทวีธาภิเศก"
},
{
"docid": "4253#30",
"text": "พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว เป็นตรางา ลักษณะกลมรี กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 6.8 ซ.ม. โดยมีตรา พระเกี้ยว หรือ พระจุลมงกุฏ ซึ่งประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า 2 ชั้น มีฉัตรบริวารตั้งขนาบทั้ง 2 ข้าง ถัดออกไปจะมีพานแว่นฟ้า 2 ชั้น ทางด้านซ้ายวางสมุดตำรา และทางด้านขวาวางพระแว่นสุริยกานต์เพชร โดยพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นการเจริญรอยจำลองมาจากพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว",
"title": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "888085#3",
"text": "ทั้งนี้ศาลเจ้าเล่งจูเกียงมีความศักดิ์สิทธิ์และมีชื่อเสียง โดยมีพระมหากษัตริย์ไทยได้เสด็จมายังศาลเจ้าแห่งนี้สามพระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ที่เสด็จมาจะพระราชทานกระถางธูปเป็นประจำ อาทิ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายาได้พระราชทานรูปเคารพเจ้าแม่กวนอิมและกระถางธูปทองเหลืองขนาดใหญ่แก่ศาลเล่งจูเกียง เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จมาเคารพศาลเจ้าแห่งนี้หลายครั้ง บางครั้งก็เสด็จเป็นการส่วนพระองค์",
"title": "ศาลเจ้าเล่งจูเกียง"
},
{
"docid": "23112#8",
"text": "หลังจากสมัยพ่อขุนรามคำแหงเป็นต้นมาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี หรือกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีต่างมีกฎหมายสำคัญหลายฉบับซึ่งอาจจัดได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญประเภทหนึ่ง แต่กฎหมายเหล่านั้นกระจัดกระจายอยู่ในหลายแห่งไม่เป็นหมวดหมู่เรียบร้อย นอกจากนี้กฎหมายดังกล่าวมีลักษณะเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ การปกครองแผ่นดิน พระราชอำนาจในการตรากฎหมาย กฎหมายเกี่ยวกับขุนศาลตระลาการมากกว่าจะมีลักษณะเป็นรัฐธรรมนูญตามความเข้าใจในปัจจุบัน คือไม่มีบทจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไว้ \nในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สืบเนื่องจากที่อังกฤษเข้ายึดเมืองมัณฑะเลย์ของพม่า เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ อัครราชทูตประจำกรุงปารีส ถวายรายงานและความเห็นต่อประเด็นปัญหานี้ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้เรียกประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในสถานทูตในกรุงลอนดอนและกรุงปารีสเพื่อระดมความเห็น และได้จัดทำคำกราบบังคมทูลโดยมีเนื้อหาว่า ประเทศไทยควรเปลี่ยนหลักการพื้นฐานของการปกครองจาก “สมบูรณาญาสิทธิราชย์” มาเป็น “ระบอบชาธิปไตย” และระบบคณะรัฐมนตรี คือคณะรัฐบาลที่ประกอบด้วยคณะรัฐมนตรีประจำกระทรวงต่าง ๆ เพื่อให้รัฐบาลมีประสิทธิภาพในการรักษากฎหมายให้เกิดความสงบเรียบร้อย ควรปรับปรุงกฎหมายบ้านเมือง และให้มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงคณะผู้จัดทำคำกราบบังคมทูลว่าทรงขอบพระราชหฤทัย และทรงไม่อาจทำให้ลุล่วงได้ เนื่องมาจากความไม่พร้อมของบุคคลกรที่รับภารกิจ",
"title": "รัฐธรรมนูญ"
},
{
"docid": "29734#6",
"text": "ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้บูรณปฏิสังขรณ์พระที่นั่งอีกครั้ง โดยได้เปลี่ยนพื้นและเสาเป็นแบบคอนกรีต แทนเครื่องไม้ซึ่งผุง่ายเมื่ออยู่ในน้ำ พร้อมทั้งให้สร้างพระบรมรูปหล่อสัมฤทธิ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขนาดเท่าพระองค์จริงในฉลองพระองค์เต็มยศจอมพลทหารบกมาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์จนถึงปัจจุบัน",
"title": "พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์"
},
{
"docid": "850490#1",
"text": "พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และเป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพราะ พระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น คือ \"จุฬาลงกรณ์\" ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ ซึ่งมีความหมายเชื่อมโยงกับพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั่นคือ \"มงกุฎ\" อีกทั้ง พระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีหมายความว่า \"พระจอมเกล้าน้อย\" อีกด้วย เมื่อพระนามาภิไธยเดิมและพระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความหมายว่าพระเกี้ยว หรือจุลมงกุฎ จึงได้ใช้พระเกี้ยวหรือจุลมงกุฎวางบนเบาะ เป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลของพระองค์ที่พื้นที่ 108 ไร่ 2 งาน 22 ตารางวา เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวนนักเรียน 863 คน ",
"title": "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ร้อยเอ็ด"
},
{
"docid": "104852#2",
"text": "ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าจอมมารดาวาดได้เลื่อนตำแหน่งเป็นท้าววรจันทร เป็นตำแหน่งชั้นสูงของข้าราชการฝ่ายใน หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยาได้กล่าวถึงท่านว่า\nกล่าวกันว่าท้าววรจันทรมีฝีมือในการปรุงอาหารเป็นเลิศ โดยครั้งหนึ่งท้าววรจันทรได้ถวายสำรับอาหารเป็นน้ำยาไก่และหมูหวานแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระราชวังดุสิต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพอพระทัยในฝีมือของท้าววรจันทรมากโดยเฉพาะหมูหวาน ทรงตรัสยกย่องว่ามีรสชาติราวกับหมูหวานที่เคยเสวยมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ และในเวลาต่อมาจึงโปรดเกล้าพระราชทานธูปและเทียนบูชาฝีมือท้าววรจันทร และทรงประกาศว่าหากใครผัดหมูหวานได้รสเช่นนี้ได้อีก ก็จะพระราชทานน้ำตาลจำนวนสามเท่าลูกฟักเป็นรางวัล",
"title": "ท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 4)"
},
{
"docid": "841561#0",
"text": "การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการเสด็จพระราชดำเนินไปยังต่างประเทศในทวีปยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสยาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสานสัมพันธไมตรีแก่ประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป เพื่อให้ประเทศที่พระองค์เสด็จประพาสเหล่านั้นมองเห็นว่าประเทศสยามเป็นประเทศที่มีการพัฒนาตนเองและไม่ได้ล้าหลังป่าเถื่อน และเพื่อโอกาสในการร่วมกันแก้ไขปัญหาความมั่นคงและส่งเสริมความเป็นเอกราชของประเทศสยาม แม้จะอยู่ในช่วงท่ามกลางยุคล่าอาณานิคมก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะมีมูลเหตุมาจากกรณีพิพาทระหว่างสยามกับฝรั่งเศสในเหตุการณ์วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 หรือในปี พ.ศ. 2436 ที่ทำให้สยามเสียดินแดนมากที่สุดเท่าที่มีการเสียดินแดนให้แก่ชาติตะวันตก ผลจากการเสด็จพระราชดำเนินดังกล่าวนั้นทำให้พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่มาจากทวีปเอเชียที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนทวีปยุโรปอย่างจริงจังโดยทรงรู้จักแฝงแนวความคิดจิตวิทยาและการปฏิบัติตามธรรมเนียมยุโรปอีกด้วย",
"title": "การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "825625#1",
"text": "เบส หรือ อีเบส เป็นสุนัขพันธุ์เทร์เรีย (Terrier) เพศเมีย มีขนสีขาวสะอาด เป็นหนึ่งในสุนัขทรงเลี้ยงเท่าที่ปรากฏนามในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่สุนัขนี้มีความฉลาดเฉลียว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชหัตถเลขาแด่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี พระราชขนิษฐา ให้ทรงทราบเกี่ยวกับสุนัขนี้ ความว่า \"\"...รับรองว่าอีเบสนี้ฉลาดเป็นแน่ เดี๋ยวนี้รู้ภาษากว่าอ้ายปรินซ์ [สุนัขทรงเลี้ยงเพศผู้] เสียแล้ว ทั้งอ่อนกว่า...\"\" ",
"title": "เบส (สุนัข)"
},
{
"docid": "58216#0",
"text": "เนื่องด้วยปี พ.ศ. 2441 (ร.ศ.117) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์ในรัชกาลที่ 5 เป็นเวลายาวนาน 2 เท่า ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดจัดงานบำเพ็ญพระราชกุศล ทวีธาภิเศก เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2441 ถวายบรมอัยกาธิราช ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิฉัย และสมโภชสิริราชสมบัติ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ",
"title": "พระราชพิธีทวีธาภิเศกในรัชกาลที่ 5"
},
{
"docid": "216678#56",
"text": "ได้อัญเชิญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นประดิษฐานยังฐานพระบรมราชาอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2546 ในส่วนของ พระบรมราชาอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีขนาดเท่าครึ่งพระองค์จริง ทรงฉลองชุดจอมทัพไทย ทรงพระมาลา พระหัตถ์ซ้ายทรงกระบี่ พระหัตถ์ขวาทรงคฑา กรมศิลปากรเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้สร้าง ณ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยดำเนินการสร้างเป็นเวลา2ปีเศษ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2546 งบประมาณในการก่อสร้างแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ใช้เป็นค่าก่อสร้างฐานพระบรมราชาอนุสาวรีย์จำนวนเงิน 300,000 บาท ส่วนที่ 2 ใช้เป็นค่าหล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวนเงินประมาณ 800,000 บาท",
"title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต"
},
{
"docid": "36490#0",
"text": "พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และเป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพราะ พระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น คือ \"จุฬาลงกรณ์\" ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ ซึ่งมีความหมายเชื่อมโยงกับพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั่นคือ \"มงกุฎ\" อีกทั้ง พระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีหมายความว่า \"พระจอมเกล้าน้อย\" อีกด้วย เมื่อพระนามาภิไธยเดิมและพระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความหมายว่าพระเกี้ยว หรือจุลมงกุฎ จึงได้ใช้พระเกี้ยวหรือจุลมงกุฎวางบนเบาะ เป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลของพระองค์",
"title": "พระเกี้ยว"
},
{
"docid": "37335#2",
"text": "พระบิดาเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ส่วนพระมารดามีศักดิ์เป็นพระภาติยะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยเป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระอนุชาร่วมพระครรโภทรกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว",
"title": "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร"
},
{
"docid": "51889#2",
"text": "ในพระราชพิธีฉัตรมงคล พ.ศ. 2446 ซึ่งเป็นวาระที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดำรงสิริราชสมบัติครบสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีพระราชดำริที่จะยกย่องพระราชธิดาพระองค์ใดพระองค์หนึ่งในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นเจ้าต่างกรมเพื่อเป็นการระลึกถึงพระเดชพระคุณ จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายใน มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า \"พระเจ้าพี่นางเธอ กรมหลวงสมรรัตน์ศิริเชฐ\" เมื่อ พ.ศ. 2446 ",
"title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ"
},
{
"docid": "876120#2",
"text": "พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และเป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพราะ พระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น คือ \"จุฬาลงกรณ์\" ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ ซึ่งมีความหมายเชื่อมโยงกับพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั่นคือ \"มงกุฎ\" อีกทั้ง พระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีหมายความว่า \"พระจอมเกล้าน้อย\" อีกด้วย เมื่อพระนามาภิไธยเดิมและพระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความหมายว่าพระเกี้ยว หรือจุลมงกุฎ จึงได้ใช้พระเกี้ยวหรือจุลมงกุฎวางบนเบาะ เป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลของพระองค์",
"title": "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ขอนแก่น"
},
{
"docid": "729659#17",
"text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระญาติชั้นที่หนึ่ง (ตามแบบตะวันตก) กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งทั้งสองพระองค์ต่างก็เป็นพระราชนัดดา (ในกรณีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) และพระปนัดดา (ในกรณีของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยกันทั้งสองพระองค์ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชายาหลายพระองค์ ในจำนวนนั้นมีศักดิ์เป็นพระขนิษฐาของพระองค์เอง เช่น สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา และสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ซึ่งล้วนแล้วแต่มีพระบิดาร่วมกันคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว",
"title": "การเสกสมรสระหว่างราชวงศ์"
},
{
"docid": "37967#17",
"text": "นอกจากนี้ยังเคยตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อคราวเสด็จประพาสแหลมมลายูไปเมืองสิงคโปร์ พ.ศ.2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ทรงนัดกับเซอร์เฟรเดอริก เวลด์ (Frederick Weld) เจ้าเมืองสิงคโปร์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชนิพนธ์ไว้ ความว่า[15]",
"title": "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า"
},
{
"docid": "18932#4",
"text": "ในปี พ.ศ. 2428 ได้รับการสถาปนาจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัติวงษ[2] นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมีพระราชดำริว่า หม่อมเจ้าพรรณราย พระมารดาในพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัติวงษนั้น นับเป็นพระเจ้าหลานเธอในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระขนิษฐาร่วมพระชนกในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี (สมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ดังนั้น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัติวงษจึงมีพระอัยการ่วมกับพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการสถาปนา พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัติวงษ ขึ้นเป็น<i data-parsoid='{\"dsr\":[3925,3974,2,2]}'>พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัติวงษ พร้อมกันนี้ทรงสถาปนาพระเชษฐภคินีในพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัติวงษขึ้นเป็น พระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนขัตติยกัลยา ด้วย[3]",
"title": "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์"
},
{
"docid": "6387#2",
"text": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดสะพานเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 ซึ่งในปีนี้พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษาเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมอัยกาธิราช จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชพิธีพระชนมายุมงคลเสมอรัชกาลที่ 2 และฉลองวัดอรุณราชวรารามด้วย และเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีช้างเผือกในแผ่นดินถึง 4 เชือก จึงพระราชทานนามว่า สะพานเฉลิมหล้า ซึ่งมาจากพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และหัวเสาของสะพานออกแบบเป็นหัวช้างเผือก 4 หัว",
"title": "สะพานเฉลิมหล้า 56"
},
{
"docid": "183092#8",
"text": "พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศา หรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และเป็นพิจิตรเรขา (สัญลักษณ์) ประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพราะ พระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ \"จุฬาลงกรณ์\" ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ ซึ่งมีความหมายเชื่อมโยงกับพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ \"มงกุฎ\" อีกทั้ง พระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีหมายความว่า \"พระจอมเกล้าน้อย\" อีกด้วย",
"title": "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา"
},
{
"docid": "37634#1",
"text": "พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และเป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพราะ พระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น คือ \"จุฬาลงกรณ์\" ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ ซึ่งมีความหมายเชื่อมโยงกับพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั่นคือ \"มงกุฎ\" อีกทั้ง พระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีหมายความว่า \"พระจอมเกล้าน้อย\" อีกด้วย เมื่อพระนามาภิไธยเดิมและพระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความหมายว่าพระเกี้ยว หรือจุลมงกุฎ จึงได้ใช้พระเกี้ยวหรือจุลมงกุฎวางบนเบาะ เป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลของพระองค์",
"title": "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า"
},
{
"docid": "4253#36",
"text": "หากไม่นับรวมรัชกาลที่ 1-4 แล้ว ถือว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระบรมอรรคราชบรรพบุรุษของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ โดยเป็นสมเด็จพระบรมชนกนาถของพระมหากษัตริย์ไทย 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมเด็จพระบรมอัยกาธิราชของพระมหากษัตริย์ไทยอีก 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รวมถึงยังเป็นสมเด็จพระบรมปัยกาธิราชของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร",
"title": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "209344#0",
"text": "เจ้าจอมสว่าง ในรัชกาลที่ 5 ต.จ. เกิดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2399 ปีมะโรง ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นธิดา เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร) มารดา คือ หม่อมราชวงศ์หญิง นรินทรางกูร ( ธิดา หม่อมเจ้าจันทร์ พระโอรสใน เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ ราชสกุลวังหลัง ) มีพี่น้อง เท่าที่สามารถสืบได้ คือได้เข้าถวายตัวเป็นเจ้าจอม ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อประมาณ พ.ศ. 2414 รับราชการสนองพระเดชพระคุน โดยความซื่อสัตย์ กอปรด้วยกตัญญูกตเวทีตลอดมา จนได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) เป็นเกียรติยศ ตั้งแต่แรกสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้าฝ่ายใน เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 จากนั้นท่านยังคงรับราชการเรื่อยมา จวบจนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคต จึงได้กราบถวายบังคมทูลลาออกจากพระบรมมหาราชวัง มาอยู่ที่บ้านหลังวัดมหาธาตุ ",
"title": "เจ้าจอมสว่าง ในรัชกาลที่ 5"
},
{
"docid": "274759#1",
"text": "เจ้าจอมเพิ่ม เกิดเมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2400 เมื่ออายุ ๕ ขวบ ได้เข้าถวายตัวเป็นข้าทูลละอองธุลีพระบาทในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้อยู่ในละครสำรับเล็ก ได้เป็นศิษย์ของคุณโต(แย้ม อิเหนา) ถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่ออายุ 17 ปี ทรงพระกรุณายกขึ้นเป็นเจ้าจอมอยู่งาน ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด ๒ ชั่ง ๑๐ ตำลึง และได้รับพระราชทานเงินกลางปีอีก 5 ชั่ง ต่อมาได้รับพระราชทานหีบหมากกะไหล่ทอง และหีบหมากตราจุลจอมเกล้า พ.ศ. ๒๔๕๔ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรให้เป็น ท้าวภัณฑสารนุรักษ์ ตำแหน่งพระคลังใน",
"title": "ท้าวภัณฑสารนุรักษ์ (เจ้าจอมเพิ่ม ในรัชกาลที่ 5)"
},
{
"docid": "18559#2",
"text": "ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีโบราณของอินเดียที่ประเทศไทยรับเข้ามาปฏิบัติ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าทำกันมาตั้งแต่เมื่อไหร่ เท่าที่ปรากฏกล่าวได้ว่ามีมาตั้งสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสันนิษฐานว่า เดิมทีเดียวเห็นจะเป็นพิธีของพราหมณ์กระทำเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้ถือตามแนวทางพระพุทธศาสนามีการชักโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ซึ่งประดิษฐาน ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทา (แม่น้ำนัมมทา เป็นแม่น้ำที่คู่ขนานกับทิวเขาวินธัย ไหลลงภาคตะวันตกของอินเดียแบ่งเขตอินเดียออกเป็นภาคเหนือและภาคใต้) ",
"title": "วันลอยกระทง"
},
{
"docid": "5519#9",
"text": "ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริเห็นสมควรที่จะขยายการศึกษาในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น คือ ไม่เฉพาะสำหรับผู้ที่จะเล่าเรียนเพื่อรับราชการเท่านั้น แต่ผู้ใดที่มีความประสงค์จะศึกษาขั้นสูงก็สามารถเข้าเรียนได้ทั่วถึงกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้สังกัดอยู่ในกระทรวงธรรมการ[34] ซึ่งเป็นไปตามพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่ผู้มาร่วมงานพระราชพิธีวางศิลาพระฤกษ์ตึกบัญชาการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ในปัจจุบัน) เมื่อวันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2458 เวลา 16 นาฬิกา 7 นาที ดังนี้",
"title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
},
{
"docid": "140791#0",
"text": "อาคารพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ อาคารสถาปัตยกรรมทรงไทยที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองรากุนดา ประเทศสวีเดน สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์เฉลิมฉลองการเสด็จประพาสรากุนดาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นเสด็จไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศสวีเดน เมื่อปี พ.ศ. 2440 ",
"title": "อาคารพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
},
{
"docid": "7821#28",
"text": "รายนามเจ้าเมือง, ข้าหลวงกำกับราชการ, ผู้ว่าราชการเมืองศีร์ษะเกษรายนามวาระการดำรงตำแหน่ง1. พระยารัตนวงษา (ท้าวอุ่น หรือ พระภักดีภูธรสงคราม) ผู้ก่อตั้งเมือง เจ้าเมืองท่านแรก (อดีตปลัดเมืองขุขันธ์ ผู้กราบบังคมทูลขอแยกมาตั้งเมืองศรีสะเกษ บริเวณบ้านโนนสามขาสระกำแพง เมื่อ พ.ศ. 2325) พ.ศ. 2325 – 2328 (รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมัยกรุงรัตนโกสินทร์)2. พระยาวิเศษภักดี (ท้าวชม) เจ้าเมืองศรีสะเกษ (พ.ศ. 2328 ย้ายเมืองมาตั้งที่บ้านพันทาเจียงอี คือที่ตั้งตัวเมืองจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน)พ.ศ. 2328 – พ.ศ. 2368 (รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช-รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) 3. พระยาวิเศษภักดี เจ้าเมืองศรีสะเกษพ.ศ. 2368 – พ.ศ. 2424 (รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว-รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) 4. พระยาวิเศษภักดี (ท้าวโท หรือ พระพรหมภักดี) เจ้าเมืองศรีสะเกษพ.ศ. 2424 – พ.ศ. 2437 (รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) หลวงจำนงยุทธกิจ(อิ่ม)และ ขุนไผทไทยพิทักษ์(เกลื่อน) (คณะข้าหลวงเมืองศรีสะเกษ ปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าเมืองศรีสะเกษ)พ.ศ. 2433 – พ.ศ. 2443 (รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)5.พระภักดีโยธา(เหง้า) ผู้ว่าราชการเมืองศรีสะเกษ (คนแรก)พ.ศ. 2443 – พ.ศ. 2450 (รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)",
"title": "จังหวัดศรีสะเกษ"
},
{
"docid": "9837#1",
"text": "ถนนราชดำริเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ใน พ.ศ. 2445 การสร้างถนนราชดำรินี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้กำหนดขนาดถนนที่จะสร้างในรัชสมัยของพระองค์ โดยคำนึงถึงความสำคัญของถนนในอนาคตด้วย เพื่อว่าเมื่อธุรกิจก้าวหน้าขึ้น ประชาชนที่มากขึ้นและนิยมเดินทางด้วยถนนมากขึ้นจะทำให้ถนนคับแคบไปดังเช่นถนนเจริญกรุง เมื่อแรกสร้างประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ว่ากว้างเกินไป แต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถนนเจริญกรุงกลับแคบเล็กไปทำให้เกิดอุบัติเหตุเสมอ",
"title": "ถนนราชดำริ"
},
{
"docid": "4529#32",
"text": "พระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) พระเจ้าประเทศราชผู้ครองนครศรีธรรมราชในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร) หรือเจ้าพระยานครพัฒน์ อดีตเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เป็นพระโอรสในกรมหมื่นอินทรพิทักษ์ (พระราชโอรสในสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์) กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม) พระมเหสีฝ่ายซ้ายในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นพระธิดาในพระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) กับหม่อมทองเหนี่ยว เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง พระสนมในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นพระธิดาพระองค์เล็กในพระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) และเป็นมารดาของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) หรือเจ้าพระยานครน้อย อดีตเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ต้นสกุล ณ นคร, โกมารกุล ณ นคร และจาตุรงคกุล เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี กับเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง และเป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร) เจ้าพระยามหาศิริธรรม (น้อยใหญ่ โกมารกุล ณ นคร) บุตรเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) ต้นสกุล โกมารกุล ณ นคร เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร) อดีตเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช บุตรเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) พระยาเสน่หามนตรี (น้อยเอียด ณ นคร) บุตรเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) ต้นสกุล จาตุรงคกุล เจ้าจอมมารดานุ้ยใหญ่ พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และพระชนนีในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ เป็นธิดาเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร) กับท่านผู้หญิงชุ่ม เจ้าจอมมารดานุ้ยเล็ก พระสนมในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท และพระชนนีในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปัทมราช เป็นธิดาเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร) กับท่านผู้หญิงชุ่ม เจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว พระสนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นธิดาพระยาจักรีเมืองนครศรีธรรมราช และพระชนนีในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอภัยทัต กรมหลวงเทพพลภักดิ์ และหม่อมไกรสร (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษ์รณเรศ) เจ้าจอมมารดาน้อยใหญ่ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) และพระชนนีในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์ เจ้าจอมน้อยเล็ก พระสนมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) เจ้าจอมมารดาบัว พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) และพระชนนีในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณเลิศ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย กรมขุนสิริธัชสังกาศ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดำรงฤทธิ์ เจ้าจอมหนูชี พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในเจ้าพระยามหาศิริธรรม (น้อยใหญ่ ณ นคร) เจ้าจอมอิ่ม พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร) เจ้าจอมจับ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร) เจ้าจอมเป้า พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระยาบริรักษ์ภูธร (แสง ณ นคร) เจ้าจอมอำพัน พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระอุทัยธานี (ม่วง ณ นคร) เจ้าจอมกุหลาบ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระอุทัยธานี (ม่วง ณ นคร) เจ้าจอมเขียน พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระยาเสนานุชิด (นุช ณ นคร) เจ้าจอมทับทิม พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระยาเสนานุชิด (นุช ณ นคร) เจ้าจอมเกตุ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระยาวิชิตสรไกร (กล่อม ณ นคร) เจ้าจอมสว่าง พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร) และท่านผู้หญิงดาวเรือง เจ้าจอมนวล พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระยาเสนานุชิด (นุช ณ นคร) เจ้าจอมเพิ่ม พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระอิศราธิไชย (กลิ่น ณ นคร) เจ้าจอมพิณ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระศรีสุพรรณดิษฐ์ (เสม ณ นคร) เจ้าจอมมิ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในนายสนิทยศสถาน (พร้อม จาตุรงคกุล) เจ้าจอมสุวรรณ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระยากาญจนดิษฐบดี (พุ่ม ณ นคร)",
"title": "จังหวัดนครศรีธรรมราช"
}
] |
4120 | ราชอาณาจักรเบลเยียม มีพื้นที่เท่าไหร่? | [
{
"docid": "4502#3",
"text": "เบลเยียมมีพรมแดนติดต่อกับประเทศฝรั่งเศส (620 กม.) เยอรมนี (167 กม.) ลักเซมเบิร์ก (148 กม.) และเนเธอร์แลนด์ (450 กม.) [1] มีพื้นที่รวม 30,528 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นน้ำ 250 กม.² ภูมิประเทศของเบลเยียมแบ่งออกเป็นสามส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ที่ราบชายฝั่ง ที่ราบสูงกลาง และที่สูงอาร์แดน[2]",
"title": "ประเทศเบลเยียม"
}
] | [
{
"docid": "559701#0",
"text": "กองทัพเบลเยียม (, ) คือกองกำลังทหารของราชอาณาจักรเบลเยียม กองทัพเบลเยียมได้ก่อตั้งขึ้นภายหลังจากการประกาศอิสรภาพในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1830 ตั้งแต่นั้นมาได้มีส่วนร่วมสำคัญยิ่งในการรบในสงครามโลกครั้งที่ 1, สงครามโลกครั้งที่ 2, สงครามเย็น (สงครามเกาหลี), วิกฤตการณ์โคโซโว, โซมาเลีย และอัฟกานิสถาน กองพลร่มคอมมานโด (Para Commando) ได้เข้าคุมสถานการณ์ในแอฟริกากลางหลายครั้งเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและการอพยพชาวเบลเยียมออกจากบริเวณ ในปัจจุบันกองทัพเบลเยียมนั้นยังประจำการเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในเลบานอน อัฟกานิสถาน และอ่าวอีเดน ",
"title": "กองทัพเบลเยียม"
},
{
"docid": "938990#114",
"text": "54. ราชอาณาจักรเบลเยียม",
"title": "ฟุตบอลเพื่อมิตรภาพ"
},
{
"docid": "806141#6",
"text": "หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 นางบุษบา ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำราชอาณาจักรสเปน ควบตำแหน่ง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำราชรัฐอันดอร์ราต่อมาวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำราชอาณาจักรเบลเยียม วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ราชอาณาจักรเบลเยียม ควบตำแหน่ง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม หัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรปและประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรป อีกตำแหน่งหนึ่ง",
"title": "บุษยา มาทแล็ง"
},
{
"docid": "400624#0",
"text": "ราชอาณาจักรเบลเยียม เริ่มก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1831 โดยราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา",
"title": "รายพระนามพระมหากษัตริย์เบลเยียม"
},
{
"docid": "536586#0",
"text": "สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม (การออกเสียงภาษาอื่น: ; ; ; , เสด็จพระราชสมภพ 15 เมษายน ค.ศ. 1960) เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 7 แห่งราชอาณาจักรเบลเยียม เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในอดีตสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 และสมเด็จพระราชินีเปาลาแห่งเบลเยียม ทรงสืบราชสมบัติขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 ภายหลังจากการสละราชสมบัติของสมเด็จพระราชบิดาอันเนื่องมาจากปัญหาพระพลานามัย โดยหลังจากการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ จึงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น ดัชเชสแห่งบราบันท์ รัชทายาทพระองค์ต่อไปของเบลเยียม",
"title": "สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม"
},
{
"docid": "556097#0",
"text": "สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 (8 เมษายน ค.ศ. 1875 - 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียมตั้งแต่ปีค.ศ. 1909 ถึงค.ศ. 1934 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศเบลเยียมเนื่องจากอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 - 1918) เมื่อประเทศเบลเยียมเกือบทั้งหมดถูกบุกรุก ยึดครอง และปกครองโดยจักรวรรดิเยอรมัน นอกจากนั้นยังมีอีกเหตุการณ์สำคัญอื่นๆ คือ การร่วมลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซาย, การปกครองเบลเยียมคองโกเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรเบลเยียม การปฏิรูปประเทศภายหลังสงคราม และภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (ค.ศ. 1929 - 1934) สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 เสด็จสวรรคตเนื่องจากทรงประสบอุบัติเหตุจากการปีนเขาในภาคตะวันออกของเบลเยียมในปีค.ศ. 1934 มีพระชนมายุ 58 พรรษา ราชสมบัติจึงตกเป็นของพระโอรสพระองค์ใหญ่ คือ เจ้าชายเลโอโปลด์",
"title": "สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 แห่งเบลเยียม"
},
{
"docid": "559023#1",
"text": "ในยุคสมัยปัจจุบันของราชอาณาจักรเบลเยียม บรรดาศักดิ์ \"เคานต์แห่งแอโน\" นั้นจะพระราชทานให้กับพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของมกุฎราชกุมารซึ่งอยู่ในบรรดาศักดิ์ \"ดยุกแห่งบราบันต์\" ",
"title": "เคานต์แห่งแอโน"
},
{
"docid": "194986#0",
"text": "เนื้อหาต่อไปนี้ว่าด้วยธงประเภทต่างๆ ที่มีการใช้ในราชอาณาจักรเบลเยียม",
"title": "รายชื่อธงในประเทศเบลเยียม"
},
{
"docid": "569316#11",
"text": "อย่างไรก็ตาม ในสมัยก่อน สโมสรเจลีกไม่ค่อยจะจริงจังกับการแข่งชันเอเชียนแชมเปียนส์ลีกเท่าไหร่นักเนื่องจากต้องเดินทางไกลและคุณภาพของทีมที่ต้องแข่งด้วยนั้นยังไม่น่าสนใจเท่าไหร่ แต่ในปี 2008 มีทีมญี่ปุ่นผ่านเข้าไปสู่รอบก่อนรองชนะเลิศถึง 3 ทีมด้วยกัน",
"title": "เจลีก ดิวิชัน 1"
},
{
"docid": "17455#7",
"text": "มีผมที่ยาวขึ้น ไม่มีคิ้ว มีนัยน์ตาเป็นสีฟ้า และมีสายฟ้ารอบตัว เป็นร่างที่พัฒนามาจากซุปเปอร์ไซย่า 2 โดยร่างนี้เกิดจากการฝึกฝนอย่างหนัก โดยจะมีพลังและความเร็วเพิ่มขึ้นจากเดิม 400 เท่า เป็นร่างที่ใช้พลังงานมากและร่างกายจะได้รับภาระอย่างหนัก จึงไม่ค่อยได้ใช้สักเท่าไหร่ โดยจะปรากฏตัวครั้งแรกในช่วงที่สู้กับจอมมารบู",
"title": "ซง โกคู"
},
{
"docid": "901764#4",
"text": "ไม่ว่าระยะจะห่างไปเท่าไหร่ แต่ความสว่างของแสงรวมจะยังคงมีค่าเท่าเดิมตามระยะทาง ซึ่งหมายความว่า แสงแต่ละชั้นจะมีการเพิ่มความสว่างขึ้นมาเรื่อย ๆ และยิ่งมีชั้นเป็นอนันต์ ท้องฟ้ายามค่ำคืนจึงควรที่จะสว่าง",
"title": "ปฏิทรรศน์ของออลเบอร์"
},
{
"docid": "530146#1",
"text": "มาถึงวันนี้สี่หนุ่มมาแรงที่เลือกใช้ชื่อวงเท่ๆ ว่า \"PRINCE\" (พริ้นซ์) ก็เริ่มถูกจับตาตั้งแต่ยังไม่ออกอัลบั้มไปซะแล้ว กับซิงเกิ้ลฮอตติดชาร์ทเพลง \"จับตาดูให้ดีดี\"'กับวลีเด็ดที่ล่าสุดแฟนเพลงร้องตามกันได้กระหึ่มคอนเสิร์ต \"จับตาดูให้ดีดี ให้ดีดี ว่าเขาเป็นยังไง เพราะฉันไม่แน่ใจว่าเขารักเธอเท่าไหร่ อยากฝากเท่านี้\"'",
"title": "พริ้นซ์"
},
{
"docid": "930988#1",
"text": "เหตุการณ์สุดพลิกผันกลางท้องฟ้าจากความระทึกสุดขั้วสู่ความกลัวสุดขีดตลอดเที่ยวบินเมื่อกลุ่มผู้โดยสารที่นำโดย “แบรด มาร์ติน” และ แอร์โฮสเตสสาว ต้องเผชิญหน้ากับอุบัติเหตุเหนือคาดฝันที่ส่งผลให้มีผู้โดยสารเสียชีวิต ก่อนที่ผู้โดยสารและลูกเรือแต่ละคนต้องประสบกับการจู่โจมของแรงอาฆาตเร้นลับซึ่งซ่อนตัวอยู่ในทุกพื้นที่ของเครื่องบินลำนี้ ยิ่งเครื่องบินทะยานใกล้โตเกียวมากขึ้นเท่าไหร่ ชีวิตของทุกคนในไฟลท์ “7500” ก็ยิ่งตกอยู่ในความหวาดผวามากขึ้นเท่านั้น ไร้ทางหนี ไม่ทีทางรอด หรือสุดท้ายเครื่องบินลำนี้กำลังจะต้องกลายเป็นสุสานบนน่านฟ้า!",
"title": "7500 ไม่ตกก็ตาย"
},
{
"docid": "529772#0",
"text": "สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงที่ 1 แห่งเบลเยียม ( , ; 7 กันยายน 1930 – 31 กรกฎาคม 1993) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรเบลเยียม หลังจากการสละราชสมบัติของพระราชบิดาในปีค.ศ. 1951 และทรงครองราชย์ยาวนานจนกระทั่งเสด็จสวรรคตในปีค.ศ. 1993 ซึ่งรวมเวลาทั้งสิ้น 42 ปี",
"title": "สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม"
},
{
"docid": "557803#0",
"text": "มารี เฮนเรียตเทอแห่งออสเตรีย (พระนามเดิม \"มารี เฮนเรียตเทอ อันเนอ\", ประสูติเมื่อ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1836 สวรรคตเมื่อ 19 กันยายน ค.ศ. 1902) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งชาวเบลเยียม พระอัครมเหสีของสมเด็จพระราชาธิบดีเลโอโปลด์ที่ 2 แห่งเบลเยียม พระมหากษัตริย์พระองค์ที่สองแห่งราชอาณาจักรเบลเยียม",
"title": "มารี เฮนรีทเทอแห่งออสเตรีย สมเด็จพระราชินีแห่งเบลเยียม"
},
{
"docid": "176435#0",
"text": "โฟร์โมสต์ () เป็นชื่อเครื่องหมายการค้าของผลิตภัณฑ์จากนม ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารงาน และกำกับดูแลคุณภาพโดยกลุ่ม \"รอยัล ฟรีสแลนด์ คัมพินา\" (Royal Friesland Campina) กลุ่มสหกรณ์โคนมรายใหญ่ จากราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์, สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และราชอาณาจักรเบลเยียม ปัจจุบันมีบริษัทในเครือกว่า 20 ประเทศทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยบริหารงานโดย \"บริษัท ฟรีสแลนด์ คัมพินา (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)\" ",
"title": "โฟร์โมสต์"
},
{
"docid": "649748#11",
"text": "ต่อมา ปี พ.ศ. 2547 นายดอนย้ายไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป ราชอาณาจักรเบลเยียม และราชรัฐลักเซมเบิร์ก ถิ่นพำนัก ณ กรุงบรัสเซลส์ ดูแลทุกกิจการของไทยกับสหภาพยุโรปในช่วงวิกฤติสึนามิ พ.ศ. 2547 ซึ่งเชื่อมโยงถึงการที่ไทยได้คืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences – GSP) ของสหภาพยุโรปในปีต่อมา",
"title": "ดอน ปรมัตถ์วินัย"
},
{
"docid": "557778#3",
"text": "ดัชเชสอลิซาเบธทรงเสกสมรสกับเจ้าชายอัลแบร์ รัชทายาทอันดับสองของราชอาณาจักรเบลเยียม (ลำดับต่อจากพระชนก เจ้าชายฟิลิป เคานท์แห่งฟลานเดอร์) และหลังจากพระราชสวามีเสวยราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ในปีค.ศ. 1909 พระองค์จึงมีพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งชาวเบลเยียม เมืองอลิซาเบธวิลล์ หรือลูบุมบาชี (ปัจจุบัน) ในคองโกนั้นถูกตั้งให้เป็นเกียรติแก่พระองค์",
"title": "เอลิซาเบธแห่งบาวาเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งเบลเยียม"
},
{
"docid": "304130#45",
"text": "เป็นการแข่งขันเล่นท่าทางต่างๆที่กรรมการกำหนดให้ทั้งหมด 25ท่าในประเภทของ Single A ซึ่งจะไล่ระดับความยากของท่าเล่นขึ้นไป โดยจะมีจุดหรือกรอบพื้นที่ เพื่อสำหรับแสดงท่าเล่นต่อกรรมการ ซึ่งผู็เล่นจะต้องเล่นท่าทางที่กรรมการกำหนดให้ในพื้นที่ที่กำหนดเท่านั้นไม่สามารถซ้อมท่าได้ หากต้องการจะตรวจสอบลูกหรือเชือกจะต้องออกจากจุดแสดงท่า โดยในการแข่งขัน ผู้เล่นจะต้องเล่นท่าที่กำหนดให้และเก็บเข้ามือให้สมบูรณ์ มีโอกาสพลาดได้เพียง 2ครั้งเท่านั้นตลอดการเล่น 25ท่า หากพลาดครั้งแรกที่ท่าใหนก็จะข้ามท่านั้นๆไป และพลาดครั้งที่สอง ก็จะจบการแข่งขัน ผู้ที่สามารถเล่นท่าได้มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ ถ้ามีผู้ที่สามารถเล่นได้ถึง25ท่า จะวัดกันที่การพลาดครั้งแรกว่าพลาดก่อนในท่าลำดับที่เท่าไหร่ ผู้ที่พลาดในลำดับหลังจะเป็นผู้ชนะ แต่ถ้าหากเล่นได้ครบ25ท่าโดยไม่พลาดหลายคน กรรมการจะมีท่าตัดสินโดยนับจำนวนครั้งในการทำท่า ผู้ที่ทำท่าได้จำนวนครั้งมากกว่าจะเป็นผู้ชนะ",
"title": "โยโย่"
},
{
"docid": "556097#8",
"text": "การเปลี่ยนแปลงสำคัญช่วงต้นรัชกาล ได้แก่การริเริ่มการปฏิรูปการปกครองของเบลเยียมคองโก ซึ่งเป็นอาณานิคมเพียงแห่งเดียวของราชอาณาจักรเบลเยียม",
"title": "สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 แห่งเบลเยียม"
},
{
"docid": "37703#3",
"text": "หลังจากที่เข้าร่วมอย่างไม่ค่อยเต็มในเท่าไหร่ เธอก็ค่อยๆเปลี่ยนไปและเต็มใจจะอยู่กับฝ่ายนี้ในท้ายที่สุด เธอประมือกับทีม X-Men เธอเคยลอบสังหาร วุฒิสมาชิกเคลลี่ ด้วยแต่ก็ถูกขัดขวางไว้โดยมนุษย์กลายพันธุ์ฝ่ายดีทุกครั้ง แต่ยิ่งเธอใช้พลังมากเท่าไหร่ จิตใจของโร้คก็ยิ่งแตกสลายมากขึ้นเท่านั้น จนถึงขั้นที่เธอต้องเข้าพบจิตแพทย์ ฟางเส้นสุดท้ายของเธอกับมิสทีคขาดสะบั้นลง เมื่อโร้คตาสว่างพบว่าแท้จริงแล้วนี่คือแผนร้าย ที่อีกฝ่ายตั้งใจหลอกใช้กันมาตลอด เธอจึงหันหน้าเข้าหาศาสตราจารย์ทเอ็กซ์ และพลพรรคเอ็กซ์ทีม ขอร้องให้เธอควบคุมพลังให้ได้เสียที",
"title": "โร้ค"
},
{
"docid": "562661#0",
"text": "นครบรัสเซลส์ (ฝรั่งเศส: \"Bruxelles-Ville\" หรือ \"Ville de Bruxelles\" , ดัตช์: \"Stad Brussel\" ) คือเขตเทศบาลที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดในเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ และยังถือเป็นเมืองหลวงของประเทศเบลเยียมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรเบลเยียม",
"title": "นครบรัสเซลส์"
},
{
"docid": "4502#0",
"text": "เบลเยียม (English: Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (English: Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย",
"title": "ประเทศเบลเยียม"
},
{
"docid": "824091#0",
"text": "รักนิด ๆ คิดเท่าไหร่ เป็นละครโทรทัศน์แนวโรแมนติก-คอมเมดี้ บทประพันธ์ของ นุกูล บุญเอี่ยม, วัชระ ปานเอี่ยม บทโทรทัศน์โดย พิสุทธิ์ แพร่แสงเอี่ยม กำกับการแสดงโดย นุกูล บุญเอี่ยม ผลิตโดย บริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัดออกอากาศทุกวันเสาร์–อาทิตย์ เวลา 11.00–11.45 น. ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 นำแสดงโดย เคลลี่ ธนะพัฒน์, น้ำฝน โกมลฐิติ และนักแสดงชั้นนำอีกมากมาย",
"title": "รักนิด ๆ คิดเท่าไหร่"
},
{
"docid": "561344#0",
"text": "นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรเบลเยียม (, , ) เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลกลางของประเทศเบลเยียม โดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และมาจากการเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากในรัฐสภากลาง แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์แห่งเบลเยียม",
"title": "นายกรัฐมนตรีเบลเยียม"
},
{
"docid": "559896#0",
"text": "ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์แห่งราชอาณาจักรเบลเยียม เป็นรายพระนามที่จัดเรียงไว้ของบุคคลที่ในสายลำดับการสืบราชสมบัติแห่งราชอาณาจักรเบลเยียม",
"title": "ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์เบลเยียม"
},
{
"docid": "578978#4",
"text": "เริ่มมีผลงานเพลงตั้งแต่ปี 2538 โดยวงที-สเกิ๊ตนั้น ประกอบสมาชิก 3 คนด้วยกัน คือ อัสมา กฮาร (มาร์) ดวงพร สนธิขันธ์ (จอย) และ ธิติยา นพพงษากิจ (กิ๊ฟท์) มีผลงาน 2 อัลบั้มเต็ม และ 1 อัลบั้มพิเศษก่อนที่ทางค่ายคีตา เรคคอร์ดส จะปิดตัวลงไปเมื่อปี 2539 ผลงานเด่นคือเพลง ไม่เท่าไหร่, เจ็บแทนได้ไหม, ฟ้องท่านเปา, เรื่องมันเศร้า และเพลง ทักคนผิด เป็นต้น ผลงานอัลบั้มชุดแรกชื่อว่า \"T-Skirt\" ออกวางจำหน่ายกลางปี 2538 โดยรายชื่อเพลงมีดังนี้ 1.ไม่เท่าไหร่ 2.เจ็บแทนได้ไหม 3.เรื่องมันเศร้า 4.อย่าเล่นอย่างนี้ 5.ทักคนผิด 6.ฟ้องท่านเปา 7.วันที่ไม่เหงา 8.ทำให้เสร็จ 9.ซึ้ง ๆ หน่อย 10. เพื่อนกัน",
"title": "อัสมา กฮาร"
},
{
"docid": "283452#7",
"text": "นอกจากนี้รอยัล คลิฟ โฮเต็ลส์ กรุ๊ป ได้มีโอกาสให้การต้อนรับบุคคลสำคัญระดับผู้ปกครองประเทศ ซึ่งได้มาพักที่โรงแรม อาทิ สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ ที่ ๒ พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรเบลเยียม, สุลต่านแห่งบรูไน ดารุสสาลาม อัสรีนาส มัชฮาร์ ฮาคิม, พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสวาซิแลนด์, สมเด็จเจ้านโรดม สีหนุ กษัตริย์แห่งกัมพูชา และสมเด็จพระราชินีนโรดม มณีนาถ สีหนุ แห่งกัมพูชา, เจ้าชายและเจ้าหญิงอากิชิโนแห่งญี่ปุ่น, นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ นายลี กวน ยู และ นายลี เซียน หลุง, ประธานาธิบดีสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ นางกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย, ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ นายลี เมียง บัค, นายกรัฐมนตรีกัมพูชา สมเด็จฮุนเซ็น และ นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ",
"title": "รอยัล คลิฟ โฮเต็ลส์ กรุ๊ป"
},
{
"docid": "9919#1",
"text": "ตัวเลขดรรชนีหักเหนั้นโดยทั่วไปมีค่ามากกว่าหนึ่ง โดยยิ่งวัสดุมีความหนาแน่นมากเท่าไหร่ แสงก็จะเดินทางได้ช้าลงเท่านั้น",
"title": "ดรรชนีหักเห"
},
{
"docid": "17368#31",
"text": "เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้น Grosskreuz สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลโอโปลด์ ชั้นที่ 1 ราชอาณาจักรเบลเยียม[8] เครื่องราชอิสริยาภรณ์อรหสมบัติ ชั้นที่ 1 ประเทศญี่ปุ่น[8] Order of National Security Merit ชั้นที่ 1 Tong-il Medal สาธารณรัฐเกาหลี[8] [Order of Brilliant Star ชั้นที่ 2 สาธารณรัฐจีน[8]",
"title": "หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล"
}
] |
4121 | กะโหลกศีรษะของมนุษย์ประกอบด้วยกระดูกทั้งหมดกี่ชิ้น? | [
{
"docid": "102327#2",
"text": "กะโหลกศีรษะของมนุษย์ประกอบด้วยกระดูกทั้งหมด 22 ชิ้น[1][2] ทั้งนี้ไม่นับรวมกระดูกหู (ear ossicles) กระดูกแต่ละชิ้นของกะโหลกศีรษะส่วนใหญ่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยข้อต่อแบบซูเจอร์ (Suture) ที่เคลื่อนไหวไม่ได้ แต่มีความแข็งแรงสูง",
"title": "กะโหลกศีรษะ"
}
] | [
{
"docid": "102327#19",
"text": "กะโหลกศีรษะของนกจะมีลักษณะเบาเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว คือประมาณ 0.21% ของน้ำหนักตัวในขณะที่ในกะโหลกศีรษะของหนูหนักเป็น 1.25% ของน้ำหนักตัว[11] กะโหลกศีรษะของนกจะไม่มีฟันหรือกรามที่หนักเพื่อช่วยในการบิน[10] กระดูกหุ้มสมองมีขนาดใหญ่ มีเบ้าตาขนาดใหญ่เพราะมีดวงตาขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการมองเห็นอย่างรวดเร็ว ปุ่มกระดูกท้ายทอยมี 1 อัน กระดูกแต่ละชิ้นของกะโหลกศีรษะนกจะรวมกันเป็นชิ้นเดียวอย่างรวดเร็วทำให้เห็นซูเจอร์หรือรอยประสานระหว่างกระดูกได้ไม่ชัดเจน[8] ด้านหน้าของกะโหลกศีรษะยืดยาวออกเป็นจะงอยปาก ขากรรไกรล่างเกิดจากกระดูกหลายชิ้น ซึ่งจะงอยปากของนกนั้นจะมีวิวัฒนาการแตกต่างกันออกไปเพื่อให้เหมาะกับการดำรงชีวิตของนก เช่น จะงอยปากของกาจะมีลักษณะแหลม และแข็งแรง จะงอยปากของนกฟลามิงโกจะมีลักษณะงุ้ม และจะงอยปากของนกหัวขวานจะยาวตรงและแข็งแรง เพื่อใช้ในการเจาะไม้ และมีกะโหลกศีรษะที่หนาเพื่อรองรับแรงกระแทกและความสั่นสะเทือนได้ดี[11]",
"title": "กะโหลกศีรษะ"
},
{
"docid": "165852#0",
"text": "รอยประสานหว่างขม่อม () เป็นข้อต่อเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแบบเส้นใยระหว่างกระดูกข้างขม่อม (parietal bone) 2 ชิ้นของกะโหลกศีรษะ เมื่อแรกคลอดกระดูกของกะโหลกศีรษะจะไม่มาบรรจบกันสนิท หากกระดูกชิ้นใดชิ้นหนึ่งของกะโหลกศีรษะเจริญเร็วกว่าปกติทำให้เกิดการปิดของซูเจอร์ก่อนกำหนด (premature closure of the suture) ซึ่งทำให้กะโหลกผิดรูป เช่น หากรอยประสานหว่างขม่อมปิดก่อนกำหนดจะทำให้กะโหลกศีรษะยาว แคบ รูปร่างคล้ายลิ่ม ซึ่งเรียกภาวะนี้ว่า กะโหลกเป็นสันหว่างขม่อม (scaphocephaly)",
"title": "รอยประสานหว่างขม่อม"
},
{
"docid": "166427#0",
"text": "กะโหลกศีรษะมนุษย์ () เป็นโครงสร้างของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างที่สำคัญศีรษะของมนุษย์ กะโหลกศีรษะทำหน้าที่ปกป้องสมองซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท รวมทั้งเป็นโครงร่างที่ค้ำจุนอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ทั้งตา หู จมูก และลิ้น และยังทำหน้าที่เป็นทางเข้าของทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ เมื่อแรกเกิดกะโหลกศีรษะจะประกอบด้วยกระดูกหลายชิ้นซึ่งเมื่อเจริญเติบโตขึ้นกระดูกเหล่านี้จะเกิดการสร้างเนื้อกระดูกและเชื่อมรวมกัน แม้ว่ากะโหลกศีรษะจะเป็นโครงสร้างที่มีความแข็งแรงก็ตาม การกระทบกระเทือนที่ศีรษะอย่างแรงก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตและพิการได้ ทั้งจากการบาดเจ็บจากเนื้อสมองโดยตรง การตกเลือดในสมอง และการติดเชื้อ",
"title": "กะโหลกศีรษะมนุษย์"
},
{
"docid": "483182#12",
"text": "Homo erectus georgicus () บางครั้งใช้เป็นชื่อสปีชีส์ย่อยหมายถึงกะโหลกศีรษะและขากรรไกรที่พบในโบราณสถาน Dmanisi ประเทศจอร์เจีย\nแม้ว่าในตอนแรกจะเสนอว่าเป็นสปีชีส์ต่างหาก เดี๋ยวนี้ก็จัดอยู่ในสปีชีส์ \"H. erectus\" \nมีการพบส่วนกะโหลกศีรษะในปี ค.ศ. 2001 และส่วนกะโหลกศีรษะอีก 5 กะโหลกระหว่างปี 1991-2005 โดยพบกะโหลกที่สมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2005 ที่มีหมายเลข D4500\nซากดึกดำบรรพ์เหล่านี้ล้วนมีอายุประมาณ \nโดยพบเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1991 โดยนักมานุษย์วิทยาชาวจอร์เจีย David Lordkipanidze พร้อมกับลูกทีมนานาชาติที่ขุดชิ้นส่วนขึ้นมาได้ทั้งหมด\nมีสมมติฐานมากมายเกี่ยวกับการย้ายไปอยู่ในเขตจอร์เจียของ \"H. erectus georgicus\" \nและมีการพบทั้งสิ่งประดิษฐ์และกระดูกสัตว์ใกล้ ๆ กับกระดูกมนุษย์",
"title": "Homo erectus"
},
{
"docid": "166168#1",
"text": "เมื่อแรกเกิด กระดูกกะโหลกศีรษะหลายชิ้นอาจยังไม่เชื่อมเป็นแผ่นกระดูกที่ชิดติดกัน บริเวณที่อยู่ระหว่างชิ้นกระดูกนั้นจะเป็นแผ่นเนื้อเยื่อคลุมที่เรียกว่า กระหม่อม (fontanelle) บริเวณบนกะโหลกศีรษะสามารถมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดช่วงวัยผู้ใหญ่ (แม้จะไม่รวดเร็วนัก) ซึ่งมีประโยชน์ในการให้ข้อมูลทางนิติวิทยาศาสตร์และโบราณคดี",
"title": "รอยประสาน (กายวิภาคศาสตร์)"
},
{
"docid": "166427#11",
"text": "กะโหลกศีรษะสามารถใช้ในการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งสามารถบอกถึงประวัติและที่มาของเจ้าของได้ นักนิติวิทยาศาสตร์และนักโบราณคดีสามารถใช้กะโหลกในการจำลองใบหน้าของเจ้าของได้โดยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระดูกและกล้ามเนื้อ และการสร้างภาพให้สอดคล้องกับกระดูก เช่น หากนักโบราณคดีสามารถค้นพบชิ้นส่วนของกะโหลกศีรษะมนุษย์โบราณที่สำคัญได้จำนวนเพียงพอ รวมทั้งใช้ข้อมูลเกี่ยวกับความสูง ความกว้างและลักษณะอื่น ๆ ของโครงกระดูกก็สามารถทราบถึงความสัมพันธ์ทางมานุษยวิทยาและวิวัฒนาการของประชากรที่ศึกษา ทั้งที่มีชีวิตอยู่และสูญพันธ์ไปแล้ว นอกจากนี้การสืบสวนคดีฆาตกรรมหลายครั้งก็มีการนำกะโหลกศีรษะที่ต้องสงสัยว่าเป็นของเหยื่อของคดีมาจำลองใบหน้าของเจ้าของเพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบสำนวนคดีได้เช่นกัน",
"title": "กะโหลกศีรษะมนุษย์"
},
{
"docid": "879354#32",
"text": "การหาซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพระหว่างเอปกับมนุษย์ ก็ยังไม่ได้ผลอะไรจนกระทั่งนักธรณีวิทยาชาวดัตช์ยูจีน ดูบัวส์ ได้คนพบยอดกะโหลกศีรษะ (skullcap) ฟันกราม และกระดูกต้นขา ที่ฝั่งแม่น้ำโซโล เกาะชวา ในปี 2434\nซึ่งแสดงหลังคากะโหลกศีรษะที่ต่ำคล้ายเอป บวกกับขนาดสมองประเมินที่ 1,000 ซม ซึ่งอยู่ประมาณตรงกลางระหว่างของชิมแปนซีและของมนุษย์ผู้ใหญ่\nฟันกรามซี่เดียวที่ได้ใหญ่กว่าฟันมนุษย์ปัจจุบันทั้งหมด กระดูกต้นขายาวและตรงโดยมีมุมเข่าที่แสดงว่ามนุษย์ชวาเดินตัวตรง\nและให้ชื่อเป็น \"Pithecanthropus erectus\" (แปลว่า มนุษย์เอปตั้งตรง) โดยเป็นซากแรกของรายการซากดึกดำบรรพ์สายพันธุ์มนุษย์ต่อมาอันยาวเหยียด\nในเวลานั้น คนสรรเสริญมันว่าเป็น \"ห่วงลูกโซ่ที่ยังขาด\" ซึ่งเป็นการเริ่มใช้คำนี้โดยหลักกับซากดึกดำบรรพ์มนุษย์ แม้บางครั้งก็ยังใช้กับสิ่งมีชีวิตอื่นด้วย เช่น \"Archaeopteryx\" ที่เป็นช่วงเปลี่ยนสภาพของไดโนเสาร์-นก",
"title": "ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ"
},
{
"docid": "171125#0",
"text": "เนซิออน () เป็นรอยต่อระหว่างกระดูกหน้าผาก (frontal bone) และกระดูกจมูก (nasal bone) 2 ชิ้นของกะโหลกศีรษะมนุษย์ สังเกตได้ชัดเจนคือเป็นรอยเว้าที่อยู่ระหว่างตาทั้งสองข้างและด้านบนดั้งจมูก",
"title": "เนซิออน"
},
{
"docid": "650865#1",
"text": "เนื่องจากว่า มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์เป็นพัน ๆ โดยมากไม่สมบูรณ์ บ่อยครั้งเป็นเพียงแค่กระดูกหรือฟันชิ้นเดียว และน้อยครั้งจะได้โครงกระดูกหรือแม้แต่กะโหลกศีรษะทุกชิ้น\nตารางนี้ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อจะแสดงซากดึกดำบรรพ์ที่ได้ค้นพบทั้งหมด\nแต่เพื่อจะแสดงสิ่งค้นพบที่สำคัญที่สุด\nรายการจะเรียงลำดับตามอายุโดยประมาณ ตามการหาอายุโดยสารกัมมันภาพรังสี (เช่นจากคาร์บอนกัมมันตรังสี) หรือเทคนิคอื่น ๆ (เช่น incremental dating)\nชื่อสปีชีส์เป็นชื่อตามมติในปัจจุบัน หรือว่า ถ้าไม่มี ก็จะแสดงชื่ออื่น ๆ ไว้ด้วย\nส่วนชื่อสปีชีส์ที่เคยใช้แต่ตกไปแล้วอาจจะพบได้ในเว็บไซต์ของซากดึกดำบรรพ์เอง",
"title": "รายการซากดึกดำบรรพ์สายพันธุ์มนุษย์"
},
{
"docid": "160085#0",
"text": "กระดูกข้างขม่อม () เป็นกระดูกที่อยู่ในกะโหลกศีรษะของมนุษย์ ซึ่งประกอบกันอยู่ด้านข้างและเป็นหลังคาด้านบนของกะโหลกศีรษะ กระดูกข้างขม่อมมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมไม่สม่ำเสมอ มีพื้นผิว 2 ด้าน ขอบกระดูก 4 ขอบ และมุมกระดูก 4 มุม",
"title": "กระดูกข้างขม่อม"
},
{
"docid": "168031#0",
"text": "โครงกระดูกแกน () เป็นชุดของกระดูกที่ประกอบด้วยกระดูกในร่างกายมนุษย์จำนวน 80 ชิ้นในศีรษะและลำตัวของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ กะโหลกศีรษะมนุษย์ (human skull) , กระดูกหูในหูชั้นกลาง (ossicles) , กระดูกไฮออยด์ (hyoid bone) ในลำคอ, หน้าอก และกระดูกสันหลัง โครงกระดูกแกนและโครงกระดูกรยางค์รวมกันเป็นโครงกระดูกมนุษย์",
"title": "โครงกระดูกแกน"
},
{
"docid": "102327#17",
"text": "กะโหลกศีรษะของสัตว์เลื้อยคลานจะมีปุ่มกระดูกท้ายทอย 1 อัน โค้งกระดูกโหนกแก้ม (zygomatic arch) เกิดจากกระดูกแก้ม (jugal) และกระดูกควอดราโตจูกัล (Quadratojugal bone) ซึ่งอยู่ที่ฐานของขากรรไกรล่าง[8] มีช่องเปิดรูจมูก 2 ช่อง ขากรรไกรล่างเกิดจากกระดูกหลายชิ้น[12] และมีกระดูกหู 1 ชิ้น[11]",
"title": "กะโหลกศีรษะ"
},
{
"docid": "102327#20",
"text": "เนื่องจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มซินแนปซิด กะโหลกศีรษะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจึงมีช่องเปิดหนึ่งช่องใต้รอยต่อระหว่างกระดูกหลังเบ้าตาและกระดูกสความัส มีปุ่มกระดูกท้ายทอย 2 ปุ่ม มีช่องรูจมูก 1 ช่อง โพรงกะโหลกมีขนาดใหญ่ ขากรรไกรล่างเกิดจากกระดูกเพียงชิ้นเดียว[12][10] มีกระดูกหูที่อยู่ในหูชั้นกลาง 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน กะโหลกศีรษะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมนับว่ามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของฟันเพื่อทำหน้าที่เฉพาะมากกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ [7] ซึ่งจำแนกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ ดังนี้",
"title": "กะโหลกศีรษะ"
},
{
"docid": "166427#2",
"text": "กะโหลกศีรษะของมนุษย์ประกอบด้วยกระดูกทั้งหมด 22 ชิ้น ทั้งนี้ไม่นับรวมกระดูกหู (ear ossicles) กระดูกแต่ละชิ้นของกะโหลกศีรษะเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยข้อต่อแบบซูเจอร์ (Suture) ที่เคลื่อนไหวไม่ได้ แต่มีความแข็งแรงสูง ยกเว้นข้อต่อระหว่างกระดูกขากรรไกรล่างกับกระดูกขมับ หรือข้อต่อขากรรไกร (temperomandibular joint) ซึ่งเป็นข้อต่อแบบซินโนเวียลที่สามารถเคลื่อนไหวได้เพื่อใช้ในการขยับขากรรไกร กระดูกของกะโหลกศีรษะทั้ง 22 ชิ้นนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่\nนอกเหนือจากนี้ ยังมีกระดูกหูอีก 6 ชิ้น ซึ่งประกอบด้วย กระดูกค้อน (Malleus) กระดูกทั่ง (Incus) และกระดูกโกลน (Stapes) อย่างละ 2 ชิ้น ซึ่งไม่ได้มีหน้าที่ในการค้ำจุนโครงสร้าง แต่มีหน้าที่เกี่ยวกับการขยายความสั่นสะเทือนของเสียงจากเยื่อแก้วหูไปยังอวัยวะรูปหอยโข่ง (cochlear) โดยใช้หลักการได้เปรียบเชิงกลของคาน และกระดูกไฮออยด์ (hyoid) ทำหน้าที่ค้ำจุนกล่องเสียงซึ่งไม่นับเป็นส่วนหนึ่งของกะโหลกศีรษะ เพราะไม่ได้เกิดข้อต่อกับกระดูกชิ้นอื่นๆ ในกะโหลกศีรษะ",
"title": "กะโหลกศีรษะมนุษย์"
},
{
"docid": "864648#9",
"text": "สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีข้อต่อขากรรไกรที่ต่างกัน ประกอบด้วยเพียงแค่ dentary (กระดูกขากรรไกรล่างซึ่งรองรับฟัน) และ squamosal (กระดูกกะโหลกศีรษะเล็กอีกชิ้นหนึ่ง)\nโดยกระดูก quadrate และ articular ที่เป็นส่วนของกระดูกขากรรไกรในสัตว์อื่น ได้วิวัฒนาการไปเป็นกระดูกค้อนและกระดูกทั่งในหูชั้นกลางเรียบร้อยแล้ว\nนี่เป็นภาพต้นไม้แสดงสายพันธุ์ต่าง ๆ (ต้นไม้ชีวิต) แบบง่าย",
"title": "วิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม"
},
{
"docid": "916913#2",
"text": "ศีรษะของทารกแรกเกิดจะมีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับขนาดตัว และในกะโหลกศีรษะก็จะมีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับใบหน้า ในขณะที่ผู้ใหญ่จะมีขนาดกะโหลกศีรษะเป็นหนึ่งในเจ็ดของความสูง แต่ทารกแรกเกิดจะมีขนาดกะโหลกศีรษะเป็นหนึ่งในสี่ของความยาวตัว ขนาดรอบศีรษะของทารกแรกเกิดโดยปกติจะอยู่ที่ 33-36 เซนติเมตร แต่ละชิ้นส่วนของกะโหลกศีรษะของทารกแรกเกิดจะยังประสานกันไม่สนิทเกิดเป็นจุดที่ไม่มีกระดูกเรียกว่ากระหม่อม ซึ่งตำแหน่งที่ใหญ่ที่สุดจะมีอยู่สองตำแหน่งเรียกว่ากระหม่อมหน้า มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน และกระหม่อมหลังมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม เมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้นชิ้นส่วนแต่ละชิ้นของกะโหลกศีรษะจะค่อยๆ โตขึ้นและเชื่อมเข้าด้วยกันตามธรรมชาติ",
"title": "ทารก"
},
{
"docid": "102327#24",
"text": "ภาพวาดแสดงกระดูกชิ้นต่างๆของกะโหลกศีรษะจากทางด้านหน้า ภาพวาดแสดงกระดูกชิ้นต่างๆของกะโหลกศีรษะจากทางด้านข้าง ภาพวาดแสดงแนวรอยต่อกระดูกของกะโหลกศีรษะจากทางด้านหน้า ภาพวาดแสดงแนวรอยต่อกระดูกของกะโหลกศีรษะจากทางด้านข้าง ภาพวาดของกะโหลกศีรษะตัดตามยาว โดยลีโอนาร์โด ดา วินซี มุมมองทางด้านบนของกะโหลกศีรษะของเด็กแรกเกิด แสดงกระหม่อมหน้าและกระหม่อมหลัง มุมมองทางด้านข้างของกะโหลกศีรษะของเด็กแรกเกิด แสดงกระหม่อมหน้า กระหม่อมข้าง และกระหม่อมกกหู กะโหลกของไทแรนโนเซารัส เร็กซ์ กะโหลกนกเพนกวินที่จัดแสดง ณ สวนสัตว์พาต้า",
"title": "กะโหลกศีรษะ"
},
{
"docid": "166698#2",
"text": "เมื่อแรกเกิด กระดูกของกะโหลกศีรษะจะไม่ได้ประกอบรวมกันเป็นชิ้นเดียวกัน หากกะโหลกชิ้นใดชิ้นหนึ่งโตเร็วกว่าชิ้นอื่นๆ อาจทำให้กะโหลกศีรษะมีรูปร่างที่ผิดปกติที่เรียกว่า craniosynostosis กล่าวคือมีการปิดของซูเจอร์หรือกระหม่อมที่เร็วกว่าปกติ ",
"title": "รอยประสานท้ายทอย"
},
{
"docid": "86197#7",
"text": "กะโหลกศีรษะของไทแรนโนซอรัส เรกซ์นั้นใหญ่ที่สุดในบรรดาไดโนเสาร์กินเนื้อทั้งหมดโดยวัดจากความกว้าง และมีความยาว 1.5 ม. โพรงช่องเปิดขนาดใหญ่ในกะโหลกศีรษะมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักตัวและเป็นที่อยู่ของกล้ามเนื้อที่ยึดติดในกะโหลกเหมือนในไดโนเสาร์กินเนื้อทุกชนิด แต่ในส่วนอื่นของกะโหลกไทแรนโนซอรัสแตกต่างจากไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดอื่น กะโหลกมีขนาดกว้างในส่วนด้านหลังและแคบลงไปทางจมูกเพื่อให้การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาได้ดีเป็นพิเศษ กะโหลกศีรษะ กระดูกจมูก และกระดูกอีกสองสามชิ้นเชื่อมต่อกัน เพื่อป้องกันการการเคลื่อนตัวของกระดูก แต่ก็เป็นโพรงอากาศจำนวนมาก (ประกอบไปด้วยช่องว่างขนาดเล็กคล้ายรังผึ้ง) ซึ่งอาจทำให้กระดูกมีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้นและเบาขึ้น กระดูกที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเหล่านี้เป็นเป็นโครงสร้างสำคัญของวงศ์ไทรันโนซอริดี (Tyrannosauridae) ทำให้การกัดทรงพลังขึ้นซึ่งเหนือกว่าไดโนเสาร์กินเนื้อวงศ์อื่น ปลายของขากรรไกรบนเป็นรูปตัวยู (ไดโนเสาร์กินเนื้อวงศ์อื่นส่วนมากมีขากรรไกรบนเป็นรูปตัววี) ซึ่งช่วยเพิ่มจำนวนของเนื้อเยื่อและกระดูกที่ไทแรนโนซอรัสกัดออกมาได้ในหนึ่งครั้ง ถึงแม้ว่าจะเพิ่มแรงตึงเครียดบนฟันหน้าด้วยก็ตาม",
"title": "ไทแรนโนซอรัส"
},
{
"docid": "166427#6",
"text": "กะโหลกศีรษะของเด็กแรกเกิดจะมีจำนวนถึง 45 ชิ้น แต่ต่อมาจะมีการเชื่อมรวมของกระดูกหลายชิ้นเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะทางด้านบนของกะโหลกศีรษะ ซึ่งกระดูกในส่วนของกล่องสมองยังไม่เชื่อมติดกันอย่างสมบูรณ์ แต่จะเป็นรอยประสานประกอบด้วยแผ่นของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันยึดอยู่เท่านั้น เรียกว่า ซูเจอร์ (suture) โดยซูเจอร์ทั้ง 5 ได้แก่\nในแรกเกิด บริเวณดังกล่าวจะเป็นเนื้อเยื่อเส้นใยที่เคลื่อนที่ได้ ซึ่งจำเป็นต่อการเคลื่อนไหวในระหว่างคลอดและรองรับการขยายขนาดของสมองในภายหลัง บริเวณที่ซูเจอร์หลายๆ อันมาบรรจบกันจะเรียกว่า กระหม่อม (fontanelle) ในช่วงแรกเกิด จะมี 6 จุด ได้แก่\nบริเวณกระหม่อมนี้จะค่อยๆถูกแทนที่ด้วยกระดูก และจะปิดอย่างสมบูรณ์เมื่ออายุได้ประมาณ 8 สัปดาห์ แต่กระหม่อมหน้าอาจปิดได้ช้ากว่านั้น คือราวๆ ประมาณสัปดาห์ที่ 18 บริเวณของกระหม่อมนี้ยังเป็นจุดที่ใช้ในการตรวจสุขภาพของเด็กแรกเกิดและเด็กทารก เช่นการตรวจชีพจร ปริมาณน้ำ และการเจาะตรวจของเหลวรอบสมองและไขสันหลัง",
"title": "กะโหลกศีรษะมนุษย์"
},
{
"docid": "916913#3",
"text": "การที่ชิ้นส่วนกะโหลกศีรษะไม่เชื่อมกันสนิทตั้งแต่แรกเกิดนี้ทำให้ทารกมนุษย์ที่มีศีรษะและสมองขนาดใหญ่สามารถคลอดผ่านช่องคลอดที่ถูกวิวัฒนาการมาให้รองรับการยืนเดินด้วยสองขาได้ เนื่องจากแผ่นกะโหลกแต่ละชิ้นสามารถเคลื่อนเข้าหาหรือแม้แต่เกยกันได้ระหว่างคลอด ทารกแรกเกิดบางคนจึงมีรูปร่างของศีรษะที่บิดเบี้ยวไปเล็กน้อย ซึ่งจะค่อยๆ คืนกลับสู่รูปร่างปกติภายใน 2-3 วันหรือไม่กี่สัปดาห์หลังเกิด หนังศีรษะของทารกแรกเกิดอาจบวมหรือรอยช้ำได้โดยเฉพาะในทารกแรกเกิดที่ไม่มีเส้นผม บริเวณรอบๆ ตาก็อาจบวมฉุเล็กน้อยได้ ซึ่งเป็นผลจากการคลอด",
"title": "ทารก"
},
{
"docid": "102327#8",
"text": "กะโหลกศีรษะของปลามีปุ่มกระดูกท้ายทอย (occipital condyles) 1 อัน และมีลักษณะเด่นคือมีแผ่นปิดเหงือก[8] กะโหลกศีรษะของปลาประกอบด้วย 2 ส่วน ซึ่งมีทั้งส่วนที่เป็นกระดูกและกระดูกอ่อน[9] ได้แก่",
"title": "กะโหลกศีรษะ"
},
{
"docid": "703942#0",
"text": "กะโหลกไขว้ () เป็นสัญลักษณ์ที่ประกอบด้วยภาพหัวกะโหลกมนุษย์\nและกระดูกยาวสองชิ้นไขว้กันอยู่ด้านล่าง เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เพื่อสื่อถึงความตายมาตั้งแต่ยุคกลาง\nและพบได้ทั่วไปบนป้ายหลุมศพในสมัยนั้น",
"title": "กะโหลกไขว้"
},
{
"docid": "166427#5",
"text": "กะโหลกศีรษะเป็นโครงสร้างที่ซับซ้อนและมีการเจริญพัฒนาที่แตกต่างกัน โดยที่กะโหลกศีรษะส่วนสแปลงคโนเครเนียมส่วนใหญ่จะมีการสร้างกระดูกในแบบ intramembranous ossification ซึ่งมีการสร้างเนื้อกระดูกจากจุดการสร้างกระดูกปฐมภูมิ ในขณะที่กะโหลกศีรษะส่วนนิวโรเครเนียมส่วนใหญ่มีการสร้างกระดูกแบบ endochondral ossification ซึ่งอาศัยกระดูกอ่อนเป็นต้นแบบ",
"title": "กะโหลกศีรษะมนุษย์"
},
{
"docid": "70700#7",
"text": "กะโหลกศีรษะ (Skull) มีจำนวน 22 ชิ้น กระดูกหู (Ear ossicles) จำนวน 6 ชิ้น กระดูกโคนลิ้น (Hyoid bone) 1 ชิ้น กระดูกสันหลัง (Vertebral column) จำนวน 26 ชิ้น กระดูกซี่โครง (Ribs) จำนวน 24 ชิ้น กระดูกอก (Sternum) จำนวน 1 ชิ้น",
"title": "โครงกระดูกมนุษย์"
},
{
"docid": "102327#3",
"text": "กระดูกของกะโหลกศีรษะสามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ กระดูกหุ้มสมอง (Neurocranium) ทำหน้าที่ป้องกันสมองที่อยู่ภายในโพรงกะโหลก (cranial cavity) ซึ่งมีด้วยกัน 8 ชิ้น[1] และสแปลงคโนเครเนียม (Splanchnocranium) ทำหน้าที่ค้ำจุนบริเวณใบหน้า รวมแล้วมีจำนวน 14 ชิ้น[3][4] นอกจากนี้ ภายในกระดูกขมับ (temporal bone) ยังมีกระดูกหูอีก 6 ชิ้น ซึ่งหน้าที่เกี่ยวกับการขยายความสั่นสะเทือนของเสียงจากเยื่อแก้วหูไปยังท่อรูปก้นหอย (cochlear) และกระดูกไฮออยด์ (hyoid bone) ทำหน้าที่ค้ำจุนลิ้นและกล่องเสียงซึ่งปกติแล้วไม่นับเป็นส่วนหนึ่งของกะโหลกศีรษะ",
"title": "กะโหลกศีรษะ"
},
{
"docid": "165823#1",
"text": "กะโหลกศีรษะของทารกแรกเกิดประกอบด้วยกระดูก 5 ชิ้นหลักๆ ได้แก่ กระดูกหน้าผาก 2 ชิ้น, กระดูกข้างขม่อม 2 ชิ้น, และกระดูกท้ายทอย 1 ชิ้น กระดูกทั้งหมดเชื่อมกันด้วยข้อต่อแบบซูเจอร์ ซึ่งช่วยในการเคลื่อนที่ของกระดูกระหว่างการคลอดและการเจริญเติบโต กระหม่อมหลังเป็นโครงสร้างบนกะโหลกศีรษะที่เป็นรอยเปิดระหว่างกระดูกที่ถูกปกคลุมด้วยเยื่อแผ่นหนา เป็นรอยเชื่อมระหว่างกระดูกข้างขม่อม 2 ชิ้นและกระดูกท้ายทอย (บริเวณที่เรียกว่า แลมบ์ดา (lambda)) กระหม่อมนี้มักจะปิดระหว่าง 2-3 เดือนแรกหลังคลอด",
"title": "กระหม่อม"
},
{
"docid": "497045#0",
"text": "ก้อนเลือดใต้หนังศีรษะเหตุคลอด หรือ ก้อนเลือดใต้หนังศีรษะทารกเหตุคลอด () เป็นภาวะที่มีเลือดออกระหว่างกะโหลกศีรษะและเยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะของทารกแรกเกิดที่เกิดจากการฉีกขาดของหลอดเลือดที่อยู่ในเยื่อหุ้มกระดูก ทั้งนี้เนื่องจากเป็นเลือดที่ออกในช่องใต้เยื่อหุ้มกระดูก จึงมีขอบเขตจำกัดอยู่ในกระดูกแต่ละชิ้น ไม่สามารถเกิดก้อนเลือดข้ามบริเวณไปถึงกระดูกอีกชิ้นหนึ่งได้",
"title": "ก้อนเลือดใต้หนังศีรษะเหตุคลอด"
},
{
"docid": "703099#5",
"text": "กะโหลกศีรษะของมนุษย์ตั้งอย่างสมดุลอยู่บนกระดูกสันหลัง ช่องที่ไขสันหลังออกจากกะโหลก (foramen magnum) อยู่ข้างใต้กะโหลก ซึ่งทำให้น้ำหนักของศีรษะเยื้องไปทางด้านหลังของกระดูกสันหลัง\nนอกจากนั้นแล้ว ใบหน้าที่แบนช่วยทำให้เกิดความสมดุลที่ปุ่มกระดูกท้ายทอย\nดังนั้น หัวจึงตั้งตรงได้โดยไม่ต้องมีสันเหนือเบ้าตา (supraorbital ridge) ที่ใหญ่และมีกล้ามเนื้อยึดที่แข็งแรง ดังที่พบในเอป\nผลที่เกิดก็คือ กล้ามเนื้อหน้าผากของมนุษย์ใช้เพียงเพื่อการแสดงออกของสีหน้าเท่านั้น (ไม่เหมือนกับเอปหรือบรรพบุรุษมนุษย์ที่ต้องใช้กล้ามเนื้อเดียวกันในการตั้งศีรษะให้ตรง)",
"title": "การเปลี่ยนแปลงทางโครงกระดูกของมนุษย์เนื่องจากการเดินด้วยสองเท้า"
}
] |
4122 | เอ็กโซ มีสมาชิกกี่คน ? | [
{
"docid": "442495#0",
"text": "เอ็กโซ (Korean: 엑소; เขียนเป็น EXO) วงดนตรีบอยแบนด์สัญชาติจีนและเกาหลีใต้ ก่อตั้งขึ้นที่โซล ภายใต้สังกัด SM เอนเตอร์เทนเมนต์ EXO ฟอร์มวงขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 2011 และเปิดตัวในปี 2012 มีสมาชิกทั้งหมด 9 คน คือ ซูโฮ, แบ็กฮย็อน, ชันย็อล, ดี.โอ., ไค, เซฮุน, ซิ่วหมิน, เลย์ และ เฉิน[1] พวกเขาเป็นที่รู้จักในเรื่องความแปลกใหม่ของแนวเพลง ซึ่งเป็นที่ยอมรับและถูกชื่นชมในการนำดนตรีที่หลากหลายเข้ามาใช้ในการผลิตผลงาน ไม่ว่าจะเป็น ป็อป, ฮิปฮอป, อาร์แอนด์บี, อีดีเอ็ม รวมถึง เฮาส์, แทร็ป และ ซินท์ป็อป[1][2][3][4][5] EXO ทำการแสดงดนตรีในภาษาเกาหลี, แมนดาริน และญี่ปุ่น[1] ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก พวกเขาถูกจัดอันดับให้เป็นที่สุดของกลุ่มคนผู้มีชื่อเสียงในการจัดอันดับผู้ทรงอิทธิพลในเกาหลีโดยนิตยสารฟอบส์ ในปี 2014 และในปี 2015 EXO ก็ถูกยกย่องให้เป็น \"บอยแบนด์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก\" โดยสื่อสาธารณะ[1]",
"title": "เอ็กโซ (วงดนตรี)"
}
] | [
{
"docid": "827000#1",
"text": "ในวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 เฉิน แบ็กฮย็อน และซิ่วหมิน ปรากฏตัวพร้อมกันในวิดีโอชื่อ \"เรซเซอวาร์ไอดอลส์\" (Reservoir Idols) ระหว่างทัวร์คอนเสิร์ตของเอ็กโซ เอ็กโซแพลนเน็ต 3 – ดิเอ็กซอร์เดียม และหลังจากนั้นพวกเขาปล่อยเพลง \"ฟอร์ยู\" ประกอบละคร\"ข้ามมิติ ลิขิตสวรรค์\" ในวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 2016 ทำให้มีการสันนิษฐานการตั้งยูนิตย่อยวงแรกของเอ็กโซ และก็ได้รับการยืนยันจากเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ในวันที่ 5 ตุลาคม ทั้งสามคนได้ทำการแสดงสดเพลง \"ฟอร์ยู\" ในฐานะยูนิตย่อยเป็นครั้งแรกในงานปูซานวันเอเชียเฟสติวัล 2016 ต่อมาในวันที่ 24 ตุลาคม ชื่อของวงประกาศออกมาว่าเป็นชื่อ เอ็กโซ-ซีบีเอกซ์ (ย่อมาจาก \"เฉินแบ็กซี\") มาจากอักษรตัวแรกของชื่อในการแสดงของสมาชิก",
"title": "เอ็กโซ-ซีบีเอกซ์"
},
{
"docid": "856271#0",
"text": "พย็อน แบ็ก-ฮย็อน (; ; เกิด 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1992) หรือรู้จักกันในนาม แบคฮยอน (นมสดพุดดิ้ง) เป็นนักร้องและนักแสดงชาวเกาหลีใต้ สมาชิกวงดนตรีบอยแบนด์จากเกาหลีใต้ เอ็กโซ ในกลุ่มย่อยเอ็กโซ-เค และยูนิตย่อยเอ็กโซ-ซีบีเอกซ์ ภายใต้สังกัดเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ ",
"title": "พย็อน แบ็ก-ฮย็อน"
},
{
"docid": "893923#0",
"text": "คิม จง-อิน (; เกิด 14 มกราคม ค.ศ. 1994) หรือชื่อในวงการคือ ไค () เป็นนักร้องและนักแสดงชาวเกาหลีใต้ รู้จักกันในฐานะสมาชิกของวงดนตรีเคป็อปจากเกาหลีใต้ เอ็กโซ และกลุ่มย่อยเอ็กโซ-เค",
"title": "ไค (นักร้อง)"
},
{
"docid": "665843#1",
"text": "ซิ่วหมินเกิดเมื่อ วันจันทร์ ที่ 26 มีนาคม ค.ศ.1990 หรือ พ.ศ. 2533 ณ เมืองนัมยางจู จังหวัดคย็องกี, สาธารณรัฐเกาหลีใต้ ครอบครัวประกอบด้วยคุณพ่อ คุณแม่ และน้องสาว\nซิ่วหมินได้รับรางวัลที่ 2 ในการประกวด SM Everysing Contest ในปี 2008 เขาเป็นเด็กฝึกหัดของ บริษัทเอสเอ็มเอ็นเตอร์เทนเมนต์ โดยใช้เวลานานกว่า 4 ปีในการฝึกฝน ก่อนจะเปิดตัวครั้งแรกในฐานะกลุ่มศิลปินที่ชื่อว่า เอ็กโซ(EXO) โดย \"ซิ่วหมิน\" เป็นสมาชิกคนที่เจ็ดที่ได้รับการเปิดเผยตัว ในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555 การเปิดตัวครั้งแรกของซิ่วหมิน เขาปรากฏตัวในทีเซอร์ตัวที่ 11 คู่กับไค หนึ่งในสมาชิกของ EXO และปรากฏอีกครั้งในทีเซอร์ที่ 23 ร่วมกับสมาชิกคนอื่น ยกเว้น เฉิน ชานยอล และแบคฮยอน ในตอนแรกนั้น ซิ่วหมินจะเป็นหนึ่งใน EXO-K แต่เป็นเพราะบริษัทต้องการที่จะแบ่งกลุ่มย่อยเป็นสองกลุ่ม และด้วยภาพลักษณ์ของซิ่วหมิน จึงทำให้เขาเข้าไปเป็นสมาชิก 1 ใน 6 คน ของกลุ่ม EXO-MEXO next door (lineTV)\nFalling for challenge (Web drama)",
"title": "ซิ่วหมิน"
},
{
"docid": "869579#4",
"text": "เอ็กโซส่งเสริมอัลบั้มร่วมกันทั้งเอ็กโซ-เค และเอ็กโซ-เอ็ม โดยส่งเสริมทั้งในประเทศเกาหลีใต้และจีน วงเริ่มทำการแสดงสดด้วยเพลง \"วูฟ\" เป็นครั้งแรกบนเวทีคัมแบ็กในรายการ\"เอ็ม เคานต์ดาวน์\" และทำการแสดงสดเพลงนี้ที่จีนครั้งแรกในรายการ\"แฮปปีแคมป์\" วงทำการแสดงสดเพลง \"กราวล์\" เป็นครั้งแรกในรายการ\"เอ็ม เคานต์ดาวน์\" ในวันที่ 1 สิงหาคม ก่อนวันออกจำหน่ายเพลงสองวัน เอ็กโซขึ้นแสดงซิงเกิลทั้งสองเพลงในงานประกาศรางวัลหลายงาน โดยในงานเมลอนมิวสิกอะวอดส์ 2013 วงทำการแสดงสดพร้อมกับละครสั้นซึ่งนำแสดงโดยสมาชิกวงและคิม ยุน-ฮเย นักแสดงหญิงชาวเกาหลีใต้ วงทำการแสดงสดเพลง \"แบล็กเพิร์ล\" เปิดการแสดงของวงในงานเอ็มเน็ตเอเชียนมิวสิกอะวอดส์ 2014",
"title": "เอกซ์โอเอกซ์โอ (อัลบั้ม)"
},
{
"docid": "870778#0",
"text": "จาง อี้ชิง (; ; ) เกิดเมื่อ 7 ตุลาคม ค.ศ.1991 ที่เมืองฉางชา, มณฑลหูหนาน, ประเทศจีน ชื่อในวงการคือ เลย์ (; ) รู้จักกันในนามสมาชิกในวงบอยแบนด์จากเกาหลีใต้ เอ็กโซ และยูนิตย่อย เอ็กโซ-เอ็ม เดบิวต์เมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2012 ตำแหน่งเต้นหลัก",
"title": "เลย์ (นักร้อง)"
},
{
"docid": "448170#0",
"text": "รายชื่อผลงาน</b>ของบอยแบนด์จากเกาหลีใต้ เอ็กโซ (English: EXO) ในปี 2011เปิดตัวด้วยสมาชิก 12 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย EXO-K และ EXO-M ปล่อยอัลบั้มที่มีเพลงเหมือนกันพร้อมกันโดยเป็นภาษาเกาหลีและภาษาจีน ด้วยมินิอัลบั้มแรก MAMA ในเดือนเมษายน 2012 ซึ่งติดชาร์ทเพลงในเกาหลีในทันทีที่ปล่อย",
"title": "รายชื่อผลงานเพลงของเอ็กโซ"
},
{
"docid": "856271#4",
"text": "แบคฮยอนปรากฏตัวอย่างเป็นทางการว่าเป็นสมาชิกคนที่เก้าของเอ็กโซ เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 2012 โดยวงได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน ค.ศ. 2012 และหลังจากนั้นเป็นต้นมาวงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์",
"title": "พย็อน แบ็ก-ฮย็อน"
},
{
"docid": "442495#5",
"text": "โดยในเดือนมกราคม 2011 อี ซู-มัน ได้ประกาศว่าจะมีการเปิดตัวบอยแบนด์กลุ่มใหม่ในเดือนมีนาคม-เมษายน ปี 2011[22]ซึ่งรูปของสมาชิก 7 คนที่ได้ใช้ชื่อกลุ่มว่า M1 ขณะที่กำลังซ้อมเต้นอยู่ได้รั่วไหลทางสื่อออนไลน์[23] ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2011 อี ซู-มัน ได้พูดถึงวงดังกล่าวกับกระแสธุรกิจฮันรยูในการสัมมนา ณ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งในการสัมมนาครั้งนั้นเอง เขาได้อธิบายเหตุผลในการแบ่งกลุ่มดังกล่าวเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ M1 และ M2 โดยจะทำการโปรโมทด้วยเพลงเดียวกันทั้งในเกาหลีและจีน[24] ซึ่งนายอีเองได้วางแผนไว้ว่าจะเปิดตัววงดังกล่าวได้ในเดือนพฤษภาคม 2011 แต่การเปิดตัวต้องล่าช้าออกไป รวมทั้งไม่มีข่าวคราวของวงดังกล่าวจนถึงเดือนตุลาคม 2011[25] เมื่อถึงเดือนธันวาคม ปี 2011 ทางกลุ่มได้ถูกเปิดตัวภายใต้ใช้ชื่อว่า EXO (เอ็กโซ) พร้อมกับสมาชิก 12 คน โดยมีการเผยแพร่คลิปทีเซอร์ที่อัปโหลดผ่านในยูทูบทั้งหมด 23 คลิป ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2011 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2012[26][27]เป็นการเปิดตัว โดยที่ ไค, เฉิน รวมถึงอดีตสมาชิกอย่าง ลู่หาน และ เทา เป็นสมาชิก 4 คนแรกที่ได้ปรากฏตัวต่อสาธารณชนครั้งแรกในรายการ Gayo Daejun ของสถานีโทรทัศน์ SBS ในวันที่ 29 ธันวาคม 2011[28]",
"title": "เอ็กโซ (วงดนตรี)"
},
{
"docid": "442495#4",
"text": "สมาชิก เลย์ ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการแข่งขันจัดหาศิลปินในประเทศจีน Idol Producer เกี่ยวกับการก่อตั้งวง EXO ว่า จากเด็กฝึกหัดทั้งหมด 120 คน 20 คนนั้นตกรอบเหลือเพียง 100 คน 60 คนเป็นผู้ถูกเลือกหลังจากนั้นก็มีการทดสอบคัดเหลือผู้ที่มีคุณสมบัติเพียง 24 คนเท่านั้น ในแต่ละอาทิตย์จะมีการทดสอบซึ่งจะมีหนึ่งคนถูกตัดออกเสมอ จนสุดท้ายก็เหลือเพียงเมมเบอร์ 12 คนที่ได้กลายเป็น EXO[20][21]",
"title": "เอ็กโซ (วงดนตรี)"
},
{
"docid": "878748#4",
"text": "เอ็กโซส่งเสริมอัลบั้ม \"เอ็กโซดัส\" ด้วยสมาชิกทั้งเก้า",
"title": "เอ็กโซดัส (อัลบั้มเอ็กโซ)"
},
{
"docid": "586778#2",
"text": "ในปี 2014 ได้มีข่าวที่จะมีสมาชิกรุ่นที่สอง(Vol.2) มีทั้งสิ้น 8 คนได้แก่ เยซอง ซูเปอร์จูเนียร์, โจวมี่ ซูเปอร์จูเนียร์ เอ็ม, แม็กซ์ ชางมิน ดงบังชินกิ, จาง ลี่อิน, แทยอน เกิลส์เจเนอเรชัน, จงฮยอน ชายนี่, เฉิน เอ็กโซ และ คริสตัล เอฟ(เอกซ์) จะมีการปล่อยอัลบั้มที่ 2 ที่มีชื่อว่า 'Breath' จะปล่อยในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ นี้ เพลง 'Breath'ได้ปล่อยทีเซอร์ออกมามีทั้งหมด 3 เวอร์ชัน คือ เกาหลี จีน ญี่ปุ่น ",
"title": "เอสเอ็มเดอะบัลลาด"
},
{
"docid": "878748#0",
"text": "เอ็กโซดัส () เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่สองของวงดนตรีชายสัญชาติเกาหลีใต้และจีน เอ็กโซ ออกจำหน่ายในวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2015 ผ่านสังกัดเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ ภายใต้การจัดจำหน่ายของเคทีมิวสิก อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มแรกของวงที่บันทึกเสียงด้วยสมาชิกทั้งหมดสิบคน หลังจากคริสและลู่หานได้ฟ้องร้องยกเลิกสัญญากับเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ในปี ค.ศ. 2014 อัลบั้มถูกออกจำหน่ายใหม่ในชื่อ เลิฟมีไรต์ () ออกจำหน่ายในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2015 ซึ่งเทาไม่มีส่วนร่วมในการบันทึกเสียงและส่งเสริมอัลบั้มเนื่องจากเกิดการยื่นฟ้องสังกัดเช่นเดียวกับอดีตสมาชิกก่อนหน้า อัลบั้มมีซิงเกิลทั้งหมดสองเพลง ได้แก่ เพลง \"คอลมีเบบี\" และเพลง \"เลิฟมีไรต์\"",
"title": "เอ็กโซดัส (อัลบั้มเอ็กโซ)"
},
{
"docid": "942731#3",
"text": "ในปี 2016 มีผู้เล่นเกมนี้สูงถึง 50 ล้านคนต่อวัน และมียอดผู้ใช้ที่ลงทะเบียนสูงถึง 200 ล้านคน ในเดือนพฤษภาคม 2017 เกมนี้กลายเป็นเกมที่ทำรายได้สูงสุดของโลก และมีผู้เล่นสูงถึง 160 ล้านคนต่อเดือนและได้มีการเชิญ ลู่หาน นักร้องอดีตสมาชิกวงเอ็กโซ มาเป็นแบรนด์แอมบาสเซเดอร์ของเกมนี้ ",
"title": "อารีนาออฟเวเลอร์"
},
{
"docid": "827000#0",
"text": "เอ็กโซ-ซีบีเอกซ์ (; ; ยังเป็นที่รู้จักในนาม ซีบีเอกซ์ หรือ เฉินแบ็กซี) เป็นยูนิตย่อยแรกของวงดนตรีชายจากเกาหลีใต้ เอ็กโซ ก่อตั้งโดยเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ ในปี ค.ศ. 2016 ประกอบไปด้วยสมาชิกจำนวนสามคนคือ เฉิน แบ็กฮย็อน และซิ่วหมิน เปิดตัวด้วยเอกซ์เทนเดดเพลย์ \"เฮย์มามา!\" วางขายในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2016 และเปิดตัวในประเทศญี่ปุ่นกับอีพี \"เกิลส์\" ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2017",
"title": "เอ็กโซ-ซีบีเอกซ์"
},
{
"docid": "442495#3",
"text": "หัวหน้าของกลุ่ม EXO-K ซูโฮ เป็นคนแรกที่ได้เข้ามารับการฝึกฝนในค่าย SM เอนเตอร์เทนเมนต์ หลังจากออดิชั่นผ่านในระบบแคสติ้งเมื่อปี ค.ศ. 2006 ในปีถัดมา ไค ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทางครอบครัวในเส้นทางนี้เองก็ได้ชนะการออดิชั่นในการประกวด SM Youth Best Contest และได้เซ็นสัญญาเข้ามาในทันที[16] เช่นเดียวกับ ชันย็อล ซึ่งได้อันดับที่ 2 ในการประกวด Smart Model Contest พร้อมทั้ง เซฮุน ที่ถูกพบและทาบทามโดยแมวมองของทางค่ายและได้รับการแคสติ้งเข้ามาภายในบริษัท ภายในปี 2008[17] และในปี 2010 ดี.โอ. ซึ่งได้รับข้อเสนอในการเซ็นสัญญาจากทางค่ายหลังจากที่เห็นคุณสมบัติในตัวเขาจากการออดิชั่นก็ได้เข้าสังกัดเป็นลำดับถัดมา[18] โดยสมาชิกคนสุดท้ายของฝั่ง EXO-K ก็คือ แบ็กฮย็อน ซึ่งได้เข้ามาในบริษัทด้วยระบบแคสติ้งภายในปี 2011 และใช้เวลาฝึกฝนอยู่ประมาณเพียงหนึ่งปีเท่านั้นจึงเดบิวต์สู่สายตาสาธารณชน สำหรับฝั่ง EXO-M คริส ได้ผ่านการออดิชั่น Global Audition จากประเทศแคนาดาในปี ค.ศ. 2008 เขาได้ย้ายมาอยู่ที่ประเทศเกาหลีใต้เพื่อฝึกฝนเพื่อเป็นศิลปิน เช่นเดียวกันในปีเดียวกันนั้นเอง เลย์ ก็ได้ผ่านการออดิชั่นจากฉางชาและย้ายมาในประเทศเกาหลี ในขณะที่ ซิ่วหมิน เองก็ได้เข้าร่วมการแข่งขันพร้อมกันกับเพื่อนของเขาและชนะอันดับที่ 2 ในการออดิชั่นได้ในปี 2010[19] ลู่หาน นั้นถูกทาบทามเข้ามาในสังกัดโดยตัวแทนของทางค่ายในขณะที่เขาเดินเที่ยวอยู่ในมย็องดงและผ่านการออดิชั่นเข้ามาในเวลาถัดมา เช่นเดียวกับ เทา ซึ่งถูกทาบทามจากรายการโชว์ทักษะพิเศษ และสมาชิกคนสุดท้ายซึ่งก็คือ เฉิน เขาผ่านเข้ามาเป็นหนึ่งในสมาชิกได้โดยผ่านการแคสติ้งจากทางค่ายในปี ค.ศ. 2011",
"title": "เอ็กโซ (วงดนตรี)"
},
{
"docid": "865374#0",
"text": "โอ เซ-ฮุน (; เกิด 12 เมษายน ค.ศ. 1994) เป็นที่รู้จักในชื่อ เซฮุน เป็นนักร้องและนักแสดงชาวเกาหลีใต้ รู้จักกันในฐานะสมาชิกของวงดนตรีเคป็อปจากเกาหลีใต้ เอ็กโซ และกลุ่มย่อยเอ็กโซ-เค",
"title": "โอ เซ-ฮุน"
},
{
"docid": "580512#0",
"text": "พัก ชัน-ย็อล (, เกิด 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535) เป็นนักร้อง นักแสดง ชาวเกาหลีใต้รู้จักสถานะสมาชิกวงเอ็กโซ, เอ็กโซ เค",
"title": "พัก ชัน-ย็อล"
},
{
"docid": "858930#1",
"text": "ในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2016 เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ออกมาประกาศว่า เฉิน แบ็กฮย็อน และซิ่วหมิน จะเปิดตัวเป็นสมาชิกในยูนิตย่อยวงแรกของเอ็กโซโดยมีชื่อว่า เอ็กโซ-ซีบีเอ็กซ์ พร้อมกับเอกซ์เทนเดดเพลย์ \"เฮย์มามา!\" ในวันที่ 27 ตุลาคม มีการปล่อยตัวอย่างเพลงในอีพีเป็นครั้งแรกผ่านสถานีวิทยุออนไลน์ของแอปเปิล บีตส์วัน ต่อมาในวันที่ 29 ตุลาคม ตัวอย่างสำหรับมิวสิกวิดีโอของเพลงนำอีพี \"เฮย์มามา!\" ถูกปล่อยออกมา อีพีและมิวสิกวิดีโอของเพลงนำออกจัดจำหน่ายในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2016 โดยก่อนหน้านั้นมีการถ่ายทอดสดการแสดงเปิดตัวและนับถอยหลังผ่านทางวีไลฟ์กับสมาชิกในวง",
"title": "เฮย์มามา!"
},
{
"docid": "442495#1",
"text": "เดิมที EXO เปิดตัวด้วยสมาชิกทั้งหมด 12 คน แยกเป็นสองกลุ่มย่อย คือ เอ็กโซ-เค (EXO-K) (ซูโฮ, แบ็กฮย็อน, ชันย็อล, ดี.โอ., ไค, เซฮุน) และ เอ็กโซ-เอ็ม (EXO-M) (ซิ่วหมิน, เลย์, เฉิน และอดีตสมาชิก คริส ลู่หาน เทา) โดยมีจุดมุ่งหมายเดิมคือให้โปรโมทแยกกันระหว่างเกาหลีใต้-จีน อย่างไรก็ตาม ครั้งสุดท้ายที่มีการแยกกันโปรโมทเพลงคือในช่วงปี ค.ศ. 2014[6] หลังจากนั้นเป็นต้นมา EXO ก็ได้ปฏิบัติงานในฐานะวงเดี่ยวพร้อมทั้งทำการแสดงและปล่อยผลงานในหลากหลายภาษามาโดยตลอด",
"title": "เอ็กโซ (วงดนตรี)"
},
{
"docid": "865374#2",
"text": "เซฮุนถูกทาบทามโดยแมวมองของค่ายเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ ขณะกำลังเดินอยู่บนถนนในปี ค.ศ. 2007 เขาออดิชันมากถึง 4 ครั้ง เป็นเวลากว่า 2 ปี ก่อนได้เป็นศิลปินฝึกหัดของเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ เมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 2012 เซฮุนเป็นสมาชิกคนที่ห้าของวงเอ็กโซที่ถูกเปิดเผย โดยวงได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการพร้อมเอกซ์เทนเดดเพลย์ชื่อ \"มามา\" ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2012",
"title": "โอ เซ-ฮุน"
},
{
"docid": "858930#2",
"text": "มิวสิกวิดีโอสำหรับเพลงนำอีพี \"เฮย์มามา\" ออกมาในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2016 ออกแบบท่าเต้นโดยไคล์ ฮานากามิ นักออกแบบท่าเต้นผู้เคยออกแบบท่าเต้นให้กับเกิลส์เจเนอเรชัน, อาฟเตอร์สกูล, เรดเวลเวต และแบล็กพิงก์ มิวสิกวิดีโอทำยอดวิวได้มากกว่า 2 ล้านยอดวิวบนยูทูบภายในระยะเวลา 9 ชั่วโมงหลังจากปล่อยออกมา ต่อมาในวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ปล่อยมิวสิกวิดีโอสำหรับเพลงในอีพี \"เดอะวัน\" จากวิดีโอชื่อ \"รีเซอร์วัวร์ไอดอลส์\" (Reservoir Idols) ประกอบทัวร์ของเอ็กโซ เอ็กโซแพลนเน็ต 3 – ดิเอ็กซอร์เดียม ผ่านบัญชีอย่างเป็นทางการบนยูทูบ โดยในมิวสิกวิดีโอประกอบด้วยการปรากฏตัวของสมาชิกจากเอ็กโซ ซูโฮ",
"title": "เฮย์มามา!"
},
{
"docid": "856271#8",
"text": "ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2016 แบคฮยอนได้แสดงละครโทรทัศน์แนวอิงประวัติศาสตร์เรื่อง \"ข้ามมิติ ลิขิตสวรรค์\" ดัดแปลงมาจากนวนิยายจีนเรื่อง \"ปู้ปู้จิงซิน\" การแสดงของเขาในเรื่องทำให้เขาได้รับรางวัลดาวดวงใหม่จากงานเอสบีเอสดราม่าอะวอดส์ 2016 เขายังบันทึกเสียงร่วมกับสมาชิกจากเอ็กโซคือ เฉิน และซิ่วหมิน สำหรับเพลงประกอบละครที่มีชื่อว่า \"ฟอร์ยู\" ก่อนที่พวกเขาทั้งสามคนจะเป็นสมาชิกในยูนิตย่อยวงแรกอย่างเป็นทางการของเอ็กโซ เอ็กโซ-ซีบีเอกซ์ โดยเปิดตัวพร้อมกับเอกซ์เทนเดดเพลย์ที่มีชื่อว่า \"เฮย์มามา!\" ในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2016 ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2016 แบคฮยอนเข้าร่วมการแข่งขัน\"ลีกออฟเลเจนด์\" ของทางสังกัดเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ชื่องานว่า \"2016 เอสเอ็มซูเปอร์เซเลบลีก\" โดยเขาและเพื่อนร่วมทีมในสังกัต คิม ฮีชอล ต้องเล่นเกมแข่งขันกับผู้เล่นที่ชำนาญและแฟนคลับจากเกาหลีใต้และจีน",
"title": "พย็อน แบ็ก-ฮย็อน"
},
{
"docid": "797413#6",
"text": "เดือนต่อมาหลังจากการยกเลิกสัญญาและออกจากวงและค่ายของเจสสิก้า สมาชิกเกิลส์เจเนอเรชัน และ ลู่หาน สมาชิกเอ็กโซ ทางเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ได้ออกประกาศว่า Star card ของทั้งสองจะถูกลบออกจากเกมและเปิดโอกาสให้ผู้เล่นแลกการ์ดของทั้งสองเป็นศิลปินคนอื่น ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558 การ์ดทั้งสองได้ถูกลบออกจากเกม",
"title": "ซูเปอร์สตาร์เอสเอ็มทาวน์"
},
{
"docid": "442495#15",
"text": "ในวันที่ 5 ตุลาคม ปี ค.ศ. 2016 ทางบริษัทเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ได้ประกาศเปิดตัวยูนิตย่อยแรกของเอ็กโซ ซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิกสามคนคือ เฉิน, แบ็กฮย็อน และซิ่วหมิน[47] ที่ได้มีผลงานร่วมกันร้องเพลงประกอบละครหลัก เพลง \"ฟอร์ยู\" ให้กับละครโทรทัศน์ทางช่องเอสบีเอสเรื่อง ข้ามมิติ ลิขิตสวรรค์ ไปก่อนหน้าไม่นานนัก ในวันที่ 24 เดือนเดียวกัน ทางยูนิตก็ได้ถูกเปิดเผยในชื่อที่เรียกว่า เอ็กโซ-ซีบีเอกซ์ ซึ่ง \"ซีบีเอกซ์\" นั้นมีความหมายจากการนำตัวอักษรภาษาอังกฤษพยัญชนะแรกของทั้งสามคน (C</b>hen, B</b>aekhyun และ X</b>iumin มาย่อเหลือเป็น CBX โดยสามารถเรียกชื่อในภาษาอังกฤษคือ ซีบีเอกซ์ หรือภาษาเกาหลี เฉินแบ็กชิ)",
"title": "เอ็กโซ (วงดนตรี)"
},
{
"docid": "750956#2",
"text": "เนื้อหาของเพลงว่าด้วยการทำตัวเองให้สนุกสนาน อย่าซึมเศร้าเหงาหงอยอยู่กับบ้าน ให้ทุกคนออกข้างนอกมาเต้นด้วยกัน โดยคำว่า \"ปาปาปา\" ไม่มีความหมาย แต่เป็นเสียงจังหวะในดนตรีประกอบ และจากท่าเต้นในเพลงนี้ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ดูแล้วตลก สนุกสนาน ด้วยการที่สมาชิกแต่ละคนของวงสวมใส่ชุดวอร์มสีสันสดใส พร้อมหมวกกันน็อก และด้วยการเต้นที่ยืนเรียงแถวหน้ากระดานกระโดดขึ้นลง ๆ สลับกันแบบสลับฟันปลาหรือกระบอกสูบรถยนต์ ทำให้ซิงเกิลนี้ได้รับความนิยมในเวลาไม่นาน และขึ้นสู่อันดับ 1 ในบิลบอร์ดและเค-ป๊อปฮอต100 ได้สำเร็จ อีกทั้งยังทำให้เครยอนป๊อปชนะเอ็กโซในการรายการมิวสิกแบงก์ ในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2013 ได้ด้วย",
"title": "ปาปาปา"
},
{
"docid": "576760#0",
"text": "ยูนิค ยูนิต (; ) เป็นกลุ่มโปรเจกต์ที่สร้างขึ้นหลังจากการทำงานร่วมกันระหว่างเอสเอ็มเอ็นเตอร์เทนเมนต์และฮุนได PYL (Premium Younique Lifestyle) และมีสมาชิกคนหนึ่งจากกลุ่มต่างๆในค่ายเอสเอ็มเอ็นเตอร์เทนเมนต์ สมาชิกของกลุ่มมีทั้งสิ้น 6 คน ได้แก่ อึนฮยอก ซุปเปอร์จูเนียร์, ฮโยยอน เกิลส์เจเนอเรชัน, เฮนรี่ ซูเปอร์จูเนียร์ เอ็ม,ลู่หาน เอ็กโซ, แทมิน ชายนี่ และไค เอ็กโซ",
"title": "ยูนิกยูนิต"
},
{
"docid": "878748#5",
"text": "คหมดน หลังจากคริสและลู่หานทำการยื่นฟ้องเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ ทัวร์คอนเสิร์ตถูกประกาศโดยเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ในวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2015 ภายใต้ชื่อ เอ็กโซแพลนเน็ต #2 – ดิเอ็กโซ'ลูชัน เริ่มจัดแสดงเป็นครั้งแรกในวันที่ 7 มีนาคม ที่โอลิมปิกยิมนาสติกอะรีนา โซล เกาหลีใต้ และอีกหลายเมือง เช่น โตเกียว ปักกิ่ง กรุงเทพมหานคร สิงคโปร์ และไทเป ภายในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม เอ็กโซส่งเสริมอัลบั้มบนเวทีคัมแบ็กเป็นครั้งแรกด้วยเพลง \"มายแอนเซอร์\" และเพลง \"คอลมีเบบี\" ในรายการ\"เอ็ม เคานต์ดาวน์\" ออกอากาศวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 2015 และแสดงเพลงเดียวกันในรายการ\"มิวสิกแบงก์\" วงยังทำการแสดงสดเพลง \"เอ็กโซดัส\" ในรายการ\"โชว์! มิวสิกคอร์\" และ\"อินกีกาโย\" วงสิ้นสุดการส่งเสริมอัลบั้มด้วยการแสดงในรายการ\"เดอะโชว์\" ออกอากาศวันที่ 28 เมษายน สมาชิกเอ็กโซเหลือเพียงแค่เก้าคนที่ส่งเสริมอัลบั้มหลังจากเทาต้องพักรักษาตัวจากอาการบาดเจ็บข้อเท้า ก่อนหน้านั้นเขาได้ร่วมการแสดงแรกในรายการ\"เอ็ม เคานต์ดาวน์\" รายการวิทยุ และรายการฉลองครบรอบสามปีการเปิดตัวเอ็กโซ \"เอ็กโซแคสต์ #ออนแอร์\" ต่อมาเทาได้ยื่นฟ้องยกเลิกสัญญากับเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ ทำให้เขาไม่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมอัลบั้มออกจำหน่ายใหม่ ในเดือนพฤษภาคม วงเข้าร่วมทำการแสดงสดในรายการการกุศลของเอ็มบีซี \" 2015 นิวไลฟ์ฟอร์ชิลเดรน\", งานเทศกาลดนตรีของลอตเต้ แฟมิลีเฟสติวัล 2015 และงานไอเลิฟโคเรีย 2015 ดรีมคอนเสิร์ต",
"title": "เอ็กโซดัส (อัลบั้มเอ็กโซ)"
},
{
"docid": "893923#4",
"text": "ไคเป็นสมาชิกเอ็กโซคนแรกที่ปรากฏตัวอย่างเป็นทางการต่อสาธารณะเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 2011 เขาปรากฏตัวทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรกกับเพื่อนร่วมวง ลู่หาน, เฉิน และเทา รวมถึงศิลปินคนอื่น ๆ ของเอสเอ็มเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ในรายการเพลงสิ้นปี \"SBS Gayo Daejeon\" เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 2011",
"title": "ไค (นักร้อง)"
}
] |
4123 | แฟชั่นฮิปฮอป เริ่มต้นเมื่อใด? | [
{
"docid": "182785#2",
"text": "ต้นทศวรรษที่ 1980 มีการเกิดขึ้นของสปอร์ตแวร์ เครื่องแต่งกายกีฬา และแบรนด์แฟชั่น อย่างเช่น Le Coq Sportif, Kangol, อาดิดาส และ ไนกี้ ซึ่งเกิดมาพร้อมกับฮิปฮอป ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 ดาราฮิปฮอปในสมัยนั้นใส่เสื้อผ้าลักษณะอย่าง เสื้อวิ่งสีสว่างมียี่ห้อ เสื้อหนังแกะ เสื้อร่ม[1] รองเท้า C&J Clark, รองเท้าบู้ต Dr. Martens และรองเท้าแตะ (ส่วนใหญ่ยี่ห้ออาดิดาส) ทรงผมที่นิยมในช่วงนั้นคือ Jheri curl ฮิตจนปลายทศวรรษ 1980 จน hi-top ที่สร้างความนิยมโดย วิลล์ สมิธ (The Fresh Prince) และ คริสโตเฟอร์ \"คิด\" รีด จาก คิด แอนด์ เพลย์",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
}
] | [
{
"docid": "182785#17",
"text": "การใช้แพล็ตตินัมได้รับความนิยมในที่สุด ไบรอัน วิลเลียม แร็ปเปอร์จากค่าย แคชมันนีเรคคอร์ด ประดับเพชรที่ฟันอย่างถาวร รวมถึงมีแฟชั่นติดเครื่องประดับลงที่ฟันที่สามารถถอดได้ จนมาถึงการมาถึงของแฟชั่นเครื่องประดับ ในการเปลี่ยนศตวรรษใหม่ เกิดแบรนด์หรูหราได้ก้าวสู่ตลาดแฟชั่นฮิปฮอป รวมไปถึงแบรนด์หรูหราอย่าง Gucci และ Louis Vuitton ที่มีแฟชั่นฮิปฮอปปรากฏในมิวสิกวิดีโอและภาพยนตร์",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
},
{
"docid": "182785#9",
"text": "แก็งก์สตาสไตล์ หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อว่า \"แนวแก๊งก์\" แฟชั่นแบบแก็งก์สตาเป็นสิ่งที่พบเห็นได้บ่อยในแฟชั่นฮิปฮอป ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 แฟชั่นฮิปฮอป ได้รับอิทธิพลจากการแต่งกายของอันธพาลข้างถนน และนักโทษ",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
},
{
"docid": "182785#0",
"text": "แฟชั่นฮิปฮอป (English: Hip-hop fashion) เป็นลักษณะเด่นของการแต่งตัว มีที่มาจากวัยรุ่นชาวแอฟริกัน-อเมริกัน และวัยรุ่นละตินในย่านบร็องซ์ (นิวยอร์ก) และต่อมากระจายอิทธิพลสู่ฮิปฮอปในแถบอื่นอย่าง ลอสแอนเจลิส ชิคาโก้ ฟิลาเดลเฟีย พิตต์เบิร์จ อีสต์เบย์ (บริเวณอ่าวซานฟรานซิสโก) และ ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งในแต่ละเมือง มีสไตล์ที่ส่งผลต่อกระแสแฟชั่นโลกในปัจจุบัน",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
},
{
"docid": "182785#21",
"text": "Throwback jerseys ได้รับความนิยมสำหรับแฟชั่นฮิปฮอป อย่างเช่นในมิวสิกวิดีโอในช่วงแรก ๆ ของวิลล์ สมิธ ในช่วงต้นยุค 90 อย่างเพลง \"Summertime\" สไปค์ ลีก็เช่นกันใส่ชุดแบบ Los Angeles Dodgers ในภาพยนตร์เรื่อง Do the Right Thing แต่ในช่วงปลายยุคทศวรรษที่ 1990 เนื่องจากความนิยมมากขึ้น จึงทำให้ราคาเครื่องแต่งการแพงมาก ราคามากกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐ ศิลปินฮิปฮอปก็นิยมสวมใส่ชุดแบบนี้ในมิวสิกวิดีโอ ทำให้ความต้องการมากขึ้น จนมีการทำของปลอมเกิดขึ้น",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
},
{
"docid": "182785#15",
"text": "ในยุคของฮิป-ป็อป ยังมีการแบ่งแยกแฟชั่นระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง ที่แต่ก่อนดูคล้ายคลึงกัน แฟชั่นฮิปฮอปผู้หญิงจะเลียนแบบการแต่งกายของผู้ชาย อย่างเช่นใส่ยีนส์หลวม ๆ ,แว่นตากันแดด \"Loc\", รองเท้าบู้ตหนัก ๆ ศิลปินที่แต่งตัวอย่าง ดาแบร็ต ซึ่งเธอจะแต่งหน้าบ้าง ต่อมาอุตสาหกรรมแฟชั่นได้ผลิตกางเกงและบู้ตที่ดูเป็นผู้หญิงขึ้น ศิลปินหญิงที่เป็นผู้นำเช่น ลิล คิม และ ฟ็อกซี บราวน์ ที่มีรูปลักษณ์ตื่นเต้น ผจญภัย ส่วนแฟชั่นฮิปฮอปผู้หญิงที่ดูหรูหรา เช่น คิโมรา ลี ซิมมอนส์ เจ้าของไลน์เสื้อผ้า Baby Phat ขณะที่ลอรีน ฮิลล์ และ อีฟ ดูเป็นอนุรักษณ์นิยม แต่ยังคงนำความรู้สึกความเป็นผู้หญิงและฮิปฮอปเข้าด้วยกัน",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
},
{
"docid": "145527#5",
"text": "อุตสาหกรรมแฟชั่นนั้นเป็นสิ่งที่เริ่มขึ้นในแฟชั่นเสื้อผ้ายุคใหม่ โดยช่วงก่อนปี พ.ศ. 2500 การตัดเย็บเสื้อผ้าแฟชั่นส่วนใหญ่ยังเป็นการสั่งตัดโดยแต่ละบุคคล\nตัดเย็บโดยช่างตัดเสื้อ แต่หลังจากนั้นเมื่อเริ่มมีเครื่องจักรเข้ามาเกี่ยวข้องในการตัดเย็บ หรือ จักรเย็บผ้า และมีโลกเข้าสู่ระบบทุนนิยม มีห้างสรรพสินค้า มีการ\nผลิตเสื้อผ้าออกมาในรูปแบบจำนวนมาก ขนาดเดียวกัน ราคาเดียวกัน ทำให้อุตสาหกรรมแฟชั่นเริ่มต้นอย่างแท้จริง อีกทั้งอุตสาหกรรมแฟชั่นยังได้รับอิทธิพลจาก\nการสื่อสารที่มีการพัฒนาขึ้นพร้อมๆกัน ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ หรือสื่อวิทยุ โทรทัศน์ จนถึงยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคของอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตามในยุคเริ่มแรกของ\nอุตสาหกรรมแฟชั่นนั้นเริ่มที่ฝั่งยุโรป ต่อมาที่ฝั่งอเมริกา จนมาถึงยุคปัจจุบันอุตสาหกรรมแฟชั่นนั้นเป็นออกแบบในประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่การผลิตและจำหน่าย\nนั้นทำในอีกประเทศหนึ่ง เช่น แฟชั่นที่ผลิตโดยบริษัทแฟชั่นในสหรัฐอเมริกาออกแบบในประเทศ แต่ผลิตในจีนหรือเวียดนามหรือ\nศรีลังกาแล้วนำกลับมาในประเทศและกระจายขายสินค้าทั่วโลกอีกครั้ง",
"title": "แฟชั่น"
},
{
"docid": "182785#4",
"text": "ในช่วงทศวรรษที่ 1980 แฟชั่นฮิปฮอปก็ถือเป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งขององค์ประกอบโอลด์สคูลฮิปฮอป และมีเพลงที่หวนรำลึกถึงช่วงนั้นอยางเพลงของ Ahmad ในปี 1994 ที่ชื่อว่า \"Back in the Day\" และ \"Back in the Day\" ซิงเกิ้ลในปี 2002 ของมิซซี เอลเลียต",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
},
{
"docid": "182785#22",
"text": "ในช่วงกลางถึงปลายยุค 2000 ก็หันมาแต่เสื้อผ้าแบบนี้อย่างเช่น เจย์-ซี ที่ร้องเพลงแร็ปที่มีเนื้อว่า \"And I don't wear jerseys, I'm 30-plus, Give me a crisp pair of jeans, Button up.\"",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
},
{
"docid": "182785#14",
"text": "แนวเพลงฮิป-ป็อป ได้รับความนิยมในช่วงปลายทศวรรษ 1990 จากผลงานแรกเริ่มของฌอน คอมบ์ส แถบนิวยอร์ก ในเวลานั้นแฟชั่นของเขา จะมีลักษณะเสื้อสีสดใส ชุดนักบินพีวีซีสีบาดตา และเครื่องประดับ เขานำแฟชั่นสู่วงการฮิปฮอป และนำทิศทางความเจิดจ้าของสี แสง รวมถึงในมิวสิกวิดีโอที่เขาร่วมสร้าง ฌอน คอมบ์สยังได้ออกไลน์เสื้อผ้า และยังใส่เสื้อผ้าอย่าง Karl Kani และ FUBU เขานำฮิปฮอปก้าวเข้าสู่กระแสหลัก ผลก็คือ กระแสแฟชั่นฮิปฮอปหลายล้านเหรียญดอลล่าร์ และการกลับมาของทรงผมแบบดั้งเดิมของชาวแอฟริกัน-อเมริกัน อย่าง คอร์นโรว์ และ แอฟโฟร์ รวมถึงทรงผม Caesar สำหรับผู้ที่ไว้ผมแบบคอร์นโรว์ และ Caesar จะรักษาผมโดยการใส่ ดู-แร็ก ขณะนอนหลับหรือกิจกรรมในบ้าน จนดู-แร็ก ก็กลายเป็นแฟชั่นฮิปฮอปอีกอย่างหนึ่ง",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
},
{
"docid": "182785#25",
"text": "เสื้อทีเชิร์ต ที่สั้นลงก็เป็นกระแสที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อจะได้โชว์เข็มขัดหรือหัวเข็มขัด หรือโซ่ แต่สไตล์การใส่เสื้อผ้าแบบหลวม ๆ ก็ยังคงความสำคัญอยู่ ศิลปินฮิปฮอปหัวก้าวหน้าก็ใส่ในสไตล์ เปร็ป-ฮ็อป และที่ดูล้ำหน้า อย่าง คอนเย เวสต์ ,คอมมอน ,วิลล์.ไอ.แอม และ อังเดร 3000 เช่นเดียวกับแฟชั่นที่ได้รับอิทธิพลจากนักสเกต ชุดฟิต ๆ อย่าง ฟาร์เรลล์ วิลเลียมส์ และกระแสยุค 1980 ก็เกิดใหม่ อย่าง แบรนด์เสื้อผ้า Members Only, โซ่ใหญ่ ๆ และแว่นตากันแดดขนาดใหญ่",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
},
{
"docid": "328342#0",
"text": "เอริกา อาบี ไรต์ () หรือ เอรีกา บาดู () เกิดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1971 เป็นนักร้อง โปรดิวเซอร์เพลง และนักแสดง มีผลงานเพลงแนวอาร์แอนด์บี ฮิปฮอปและแจ๊ซ เธอเป็นที่รู้จักในฐานะผู้นำเพลงแนวนีโอโซล กับแนวเพลงที่แปลกทางด้านความคิดและแฟชั่น เธอมีฉายาว่า สตรีหมายเลขหนึ่งของนีโอโซล และ ราชินีแห่งนีโอโซล",
"title": "เอรีกาห์ บาดู"
},
{
"docid": "182785#3",
"text": "เครื่องประดับที่ได้รับความนิยม อย่างเช่น แว่นตาใหญ่ ๆ (Cazals[2] หรือ Gazelles[1]), หมวกแบบ bucket hat ยี่ห้อ Kangol[1], ป้ายชื่อ ,[1] เข็มขัดชื่อ,[1] แหวนเยอะๆ ส่วนทองและอัญมณีก็ได้รับความนิยมในช่วงทศวรรษที่ 1980 ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของแฟชั่นฮิปฮอปจนถึงปัจจุบัน[3] โดยทั่วไปแล้วเครื่องประดับผู้ชายจะเน้นโซ่ทองชิ้นใหญ่ ๆ ส่วนผู้หญิงจะเน้นตุ้มหูทอง[3] Kurtis Blow และ Big Daddy เป็นผู้นำกระแสสร้อยคอทองคำ ส่วนผู้หญิง Roxanne Shanté จากวง Salt-N-Pepa นำกระแสตุ้มหูวงแหวนทองขนาดใหญ่ เครื่องประดับเหล่านี้แสดงถึงชื่อเสียงและฐานะ และบางครั้งก็มีแนวทางสื่อถึงดินแดนแอฟริกา[4]",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
},
{
"docid": "182785#26",
"text": "หมวดหมู่:ฮิปฮอป ฮิปฮอป",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
},
{
"docid": "182785#23",
"text": "ในช่วงทศวรรษที่ 1990 และในยุคถัดไป ศิลปินฮิปฮอปหลายคนเริ่มมีแบรนด์ ไลน์แฟชั่นของตัวเอง[9] อย่างเช่น วู-แทง แคลน (กับ วู-แวร์), รัซเซลล์ ซิมมอนส์ (กับ แฟต ฟาร์ม), คิโมรา ลี ซิมมอนส์ (กับ เบบี้ แฟต), ดิดดี้ (กับ ฌอน จอห์น) ,เดมอน แดช กับ เจย์-ซี (กับ Rocawear), 50 เซ็นต์ (กับ G-Unit Clothing) ,เอ็มมิเน็ม (กับ Shady Limited) ,ทูแพ็ก (กับ Makaveli) และ เอาท์แคสต์ (กับ OutKast Clothing) ส่วนบริษัทที่ผลิตสินค้าแฟชั่นฮิปฮอปเช่น Karl Kani and FUBU, Ecko, Dickies,Girbaud, Enyce, Famous Stars and Straps, Bape, LRG, Timberland Boots, และ Akademiks",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
},
{
"docid": "230748#4",
"text": "วิธีการใส่กางเกงหลุดพ้นบั้นเอวได้แพร่กระจายความนิยม โดยมีศิลปินแร็ปใส่กางเกงแบบนี้ เช่น ดร. เดร, สนูป ด็อกก์,ลิล เวย์นศิลปินป๊อปอย่างจัสติน บีเบอร์ และชัง ฮย็อน-ซึง อดีตสมาชิกวงBEAST ยังมีศิลปินแนวฮิปฮอปอีกหลายคนอย่างเช่น แอลแอล คูล เจ ที่กระตุ้นและประชาสัมพันธ์แฟชั่นนี้ด้วยการออกผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าของตัวเอง อย่างเช่น แฟตฟาร์ม, เอคโค และฟูบู อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ก็มีแฟชั่นในหมู่ผู้หญิงที่แสดงให้เห็นถึงกางเกงในจี-สตริง ที่ไม่ได้เป็นรูปแบบการใส่กางเกงหลุดพ้นบั้นเอวแบบเต็มตัว",
"title": "การใส่กางเกงหลุดพ้นบั้นเอว"
},
{
"docid": "182785#1",
"text": "แฟชั่นฮิปฮอปเป็นการแสดงเอกลักษณ์ ทัศนคติต่อวัฒนธรรมฮิปฮอป ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ในอดีตจนปัจจุบัน และยังได้รับความนิยมก้าวสู่กระแสหลักของแฟชั่นโลกซึ่งมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
},
{
"docid": "182785#11",
"text": "ฮิปฮอปทางฝั่งเวสต์โคสต์ สังคมฮิปฮอปได้หวนสู่แฟชั่นแก๊งก์สเตอร์ในยุค 1930-1940 มาเป็นแรงบันดาลใจ[6] อิทธิพลมาเฟีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์เรื่อง Scarface ในปี 1983 ที่ได้รับความนิยมในหมู่ชาวฮิปฮอป",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
},
{
"docid": "182785#19",
"text": "ส่วนแบรนด์อื่นอย่าง FUBU, Ecko Unlimited, Mecca USA, Lugz, Rocawear, Boss Jeans by IG Design, และ Enyce ก็ก้าวสู่วงการสตรีทแวร์มากขึ้น[7] โดยพวกเขาตามทอมมี ฮิลฟิเกอร์ ด้วยการใส่โลโก้ขนาดใหญ่บนผลิตภัณฑ์ที่มีรูปแบบอเมริกัน[7]",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
},
{
"docid": "182785#20",
"text": "Throwback jerseys คือแฟชั่นกีฬาที่ใส่เสื้อนักกีฬาฮีโร่ในอดีต เช่น จอห์นนี ยูนิทาส, ดร. เจ, มิกกี แมนเทิล เป็นต้น[8] หนึ่งในกระแสของสปอร์ตแวร์ที่เกิดขึ้นเช่นแบรนด์ Mitchell & Ness",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
},
{
"docid": "182785#16",
"text": "ในช่วงกลางถึงปลายยุคทศวรรษ 1990 แพล็ตตินัมได้มาแทนที่ทองคำ สำหรับแฟชั่นฮิปฮอป[3] ศิลปินและแฟนเพลงสวมใส่เครื่องประดับจากแพล็ตตินัม (หรือเงิน) และมักประดับไปด้วยเพชร เจย์-ซี ,จูวีไนล์ และ เดอะฮ็อตบอยส์ ตอบรับกระแสนี้อย่างมาก[3]",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
},
{
"docid": "182785#8",
"text": "แฟชั่นฮิปฮอปในยุคนั้นยังมีอิทธิพลต่อแฟชั่นระดับสูง ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 Isaac Mizrahi ได้รับอิทธิพลจากช่างลิฟท์ของเขาที่ใส่โซ่ทองชิ้นใหญ่ คอลเลกชั่นนี้ของเขาได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากแฟชั่นฮิปฮอป[5] นางแบบใส่เสื้อรัดรูปสีดำ โซ่ทอง เข็มขัดชื่อสีทอง แจ็กเก็ตสีดำกับหมวกเฟอร์[5] ในต้นยุค 1990 แชนเนลมีการโชว์แฟชั่นที่รับอิทธิพลจากฮิปฮอปอยู่หลายโชว์ หนึ่งในนั้น นางแบบใส่เสื้อแจ็กเก็ตหนังสีดำและมีโซ่ทอง[5] อีกชุด ใส่ชุดยาวสีดำ มีเครื่องประดับหนัก ๆ อย่าง โซ่กุญแจสีเงิน (มีการอ้างว่าเหมือนกับโซ่ของ Treach แห่งวง Naughty by Nature[5]",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
},
{
"docid": "182785#13",
"text": "ในฝั่งอีสต์โคสต์ คำว่าแฟชั่น \"ghetto fabulous\" คิดคำโดย ฌอน โคมบส์ ก็ได้รับความนิยม มีผู้แต่งกายอย่าง โคมบส์ ,โนทอเรียส บีไอจี, เฟธ อีแวนส์ และรัซเซลล์ ซิมมอนส์",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
},
{
"docid": "182785#5",
"text": "กระแสความนิยมของคนดำเพิ่มมากขึ้นจากอิทธิพลของแร็ปตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1980 แฟชั่นและทรงผมแสดงถึงอิทธิพลชาวแอฟริกัน[3] กางเกงเบลาซีได้รับความนิยมโดยเฉพาะแร็ปเปอร์แนวเต้นรำอย่าง เอ็มซี แฮมเมอร์[3] ,Fezzes[3] หมวก kufi แบบอียิปต์[3] , ชุดแบบ Kente ,โซ่แบบแอฟริกัน, ทรงผมเดรดล็อก, เสื้อผ้าในสีแดง ดำ เขียว ได้รับความนิยมในช่วงนั้น ศิลปินผู้นำอย่างเช่น Queen Latifah, KRS-One, Public Enemy, และ X-Clan ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 ศิลปินป็อปแร็ปอย่างเช่น The Fresh Prince, Kid 'n Play และ เล็ฟต์อาย แห่งวงทีแอลซี นำแฟชั่นหมวกแค็ปเบสบอล และเสื้อผ้าสีสะท้อนแสง คริสครอสนำแฟชั่นใส่เสื้อผ้ากลับหลัง[3] Kwamé จุดประกายแฟชั่นเสื้อผ้าลายจุดในช่วงสั้น ๆ ขณะที่ศิลปินคนอื่นแต่งตัวแบบเสื้อผ้าช่วงกลางยุคทศวรรษ 1980",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
},
{
"docid": "182785#24",
"text": "เนื่องจากกระแสในปัจจุบันคือการ ย้อนไปยังยุค โอลด์สคูล เสื้อผ้า การแต่งกายก็ย้อนไปในยุคต้นทศวรรษที่ 1980 เครื่องแต่งกายสู่ความทันสมัย (หรือเรียกว่า เปร็ป-ฮ็อป) ที่อาจมีไอเท็มอย่าง เสื้อเชิร์ตโปโล เสื้อสปอร์ตโค้ต เสื้อเชิร์ตทอ หัวเข็มขัดใหญ่ ๆ คัฟฟ์ลิงก์ สิ่งประดับตกแต่งรูปกะโหลกหรือกระดูก ฮูดี้แบบซิป เสื้อเชิร์ตลายสก็อต แฟชั่นได้รับแรงบันดาลใจจากหิมะ ยีนส์ฟิต ๆ",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
},
{
"docid": "182785#18",
"text": "ทอมมี ฮิลฟิเกอร์ เป็นหนึ่งในแบรนด์ด้านสปอร์ตแวร์ที่โดดเด่นในช่วงทศวรรษที่ 1990 ถึงแม้ว่า Polo, Calvin Klein, Nautica, และ DKNY ก็โด่งดังเช่นกัน[7] สนู๊ปด็อกใส่เสื้อถักของทอมมี ฮิลฟิเกอร์ ออกรายการในแซทเทอร์เดย์ไนท์ไลฟ์ ผลคือในวันถัดมาร้านในนิวยอร์กก็ขายเสื้อแบบนี้หมดอย่างรวดเร็ว[7] ทอมมี ฮิลฟิเกอร์มีตลาดแฟชั่นฮิปฮอปใหม่ คือนำแร็ปเปอร์ชื่อดังมาช่วยในการประชาสัมพันธ์บริษัท อย่างเช่น ดิดดี้ และ คูลิโอ ก็เคยเดินโชว์บนแคทวอล์คแล้ว[7]",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
},
{
"docid": "182785#10",
"text": "แร็ปเปอร์ฝั่งเวสต์โคสต์ นำเอาสไตล์ของพวกเม็กซิกัน-อเมริกันมา[3] อย่างเช่น การใส่กางเกงหลวม ๆ , รอยสักสีดำ, มีการสักบนร่างกายเป็นสัญลักษณ์แก็งก์ หรือมีการโผกผ้า Banadas สีต่างๆนาๆเพื่อบ่งบอกแก๊งก์ เช่นผ้าสีแดงเป็นแก็งก์ Bloods หรือสีฟ้าเป็นแก็งก์ Crips เป็นต้น , การเอาเสื้อเชิร์ตหลุดออกจากนอกกางเกงหนึ่งข้าง[3] ยีนส์สีเข้มแบบนักโทษก็ได้รับความนิยม และสไตล์การใส่กางเกงหลุดตูด เอวต่ำโดยไม่มีเข็มขัด ก็เป็นสไตล์ที่มาจากในคุก รวมถึงกิริยา สัญลักษณ์ทางมือ ก็มาจากวัยรุ่นชาวแอฟริกัน-อเมริกันแถบลอสแอนเจลิสก่อน แล้วจึงขยับขยายโดยสังคมฮิปฮอปในทางกว้าง",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
},
{
"docid": "182785#7",
"text": "N.W.A. ศิลปินรุ่นบุกเบิกแนวแก๊งก์สตา ได้รับความนิยมในเพลงแนวแก๊งก์สตาในช่วงปลายทศวรรษ 1980 ใส่เสื้อผ้า กางเกงยี่ห้อ Dickies ,เสื้อและแจ็กเก็ตลายตาราง, รองเท้าผ้าใบ Chuck Taylors และหมวกแก๊ปเบสบอลสีดำ แจ็กเก็ต Raiders Starter นอกจากนี้แฟชั่น แจ็กเก็ตรูปแบบนี้เป็นภาพลักษณ์ของแก๊งก์โจรกรรมสำหรับสื่อมวลชน",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
},
{
"docid": "182785#12",
"text": "มีแร็ปเปอร์หลายคนแต่งตัวเหมือนพวกแก๊งก์เตอร์ในยุคนั้น อย่างเช่น มีหมวกแบบ bowler, ใส่สูทเสื้อในสองชั้น, เสื้อเชิร์ตผ้าไหม, รองเท้าหนังจระเข้ และในบางแห่งในมิดเวสต์ รวมถึงดีทรอยต์ เป็นสไตล์สำคัญ สไตล์หนึ่งของฮิปฮอปที่นั่น",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
},
{
"docid": "182785#6",
"text": "ไนกี้ได้ร่วมงานกับนักบาสเกตบอลชื่อดัง ไมเคิล จอร์แดน ตั้งแต่ปี 1984 เป็นต้นมา ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญจุดหนึ่ง ไนกี้ได้บุกตลาดรองเท้าผ้าใบแนวสตรีทแวร์สำหรับคนเมืองในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 และต้นทศวรรษที่ 1990 ส่วนแบรนด์เสื้อผ้าอื่นอย่าง Champion, Carhartt และ Timberland ก็มีส่วนครองตลาด ในฝั่งตะวันออกของฮิปฮอปอเมริกัน อย่าง วู-แทง แคลน และ Gangstarr ที่มีแนวการแต่งกายดูแบบกีฬา",
"title": "แฟชั่นฮิปฮอป"
}
] |
4124 | ใครคือผู้นำคนปัจจุบันของอินเดีย ? | [
{
"docid": "726965#0",
"text": "ประธานาธิบดีอินเดีย คือประมุขแห่งรัฐ<font color=\"#252525\" data-parsoid='{\"stx\":\"html\",\"dsr\":[1262,1292,22,7]}'>ของประเทศอินเดียโดยประธานาธิบดีคนปัจจุบันของอินเดียคือประณับ มุกเคอร์จีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2012 หลังจากที่ชนะการเลือกตั้งจากประติภา ปาฏีลประธานาธิบดีหญิงคนแรกของอินเดียที่เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2007.[2]",
"title": "ประธานาธิบดีอินเดีย"
}
] | [
{
"docid": "294433#73",
"text": "เมื่อ ฝ่าย Federalists แตกแยกและอ่อนกำลังลงเจฟเฟอร์สัน จึงจะชนะ Adams แต่ด้วยเจฟเฟอร์สัน และ Aaron Burr ได้รับคะแนนเสียง 73 คะแนนเท่ากันในระบบเลือกผ่านตัวแทน (Electoral College) ดังนั้นในคณะตัวแทนของประชาชนจึงต้องมาเลือกกันว่าระหว่างสองคนนั้นใครควรจะ เป็นประธานาธิบดี ผลจากดังกล่าวจึงต้องมีการมาปรับแก้รัฐธรรมนูญให้มีการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีดังที่เป็นในปัจจุบัน ที่เลือกประธานาธิบดีในฐานะผู้นำฝ่ายบริหารเป็นหลัก มิใช่ไปเลือกตัวแทนแล้วนับคะแนนคนเป็นประธานาธิบดีกับรองประธานาธิบดี โดยเลือกจากคนที่ได้อันดับหนึ่งและสอง",
"title": "อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน"
},
{
"docid": "64218#4",
"text": "ประเทศแรกในทวีปเอเชียที่เริ่มปลูกยาสูบคือ ฟิลิปปินส์ แล้วแพร่หลายต่อไปยังอินเดีย จีน และอินโดนีเซีย สำหรับประเทศไทยไม่มีหลักฐานว่า ใครเป็นผู้นำเข้ามา และมาถึงเมื่อใด มีเพียงบันทึกของหมอสอนศาสนาว่า เมื่อเขาเข้ามาเมืองไทยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นพบว่า คนไทยสูบยากันทั่วไปแล้ว และจากพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องบุหรี่ ทรงกล่าวว่า เมอร์สิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ อัครราชทูตฝรั่งเศสในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ. 2211 ได้เขียนเล่าเรื่องประเทศสยามว่า คนไทยชอบใช้ยาสูบอย่างฉุน ทั้งผู้ชาย และผู้หญิง ใบยาที่ใช้กันในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ได้จากกรุงมะนิลา(manila)บ้าง จากเมืองจีน(china)บ้าง และที่ปลูกในประเทศไทย(Thailand)บ้าง",
"title": "ยาสูบ (พืช)"
},
{
"docid": "666712#10",
"text": " ผลงานที่โดดเด่นอีกชิ้นหนึ่งของ อง คาวาระ ถูกจัดแสดงครั้งแรกในประเทศอังกฤษเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน ที่แยก Trafalgar ช่วงต้นปี 2014 ผลงานชิ้นนี้ถูกนำไปจัดแสดงทั่วโลก อาทิ ปารีส นิวยอร์กบรัซเซล และกวางจู เป็นการใช้ความเป็น Performance Art เข้ามาร่วมด้วย โดยให้ผู้ชมหรืออาสาสมัครมีส่วนร่วมกับงาน คาวาระนำปีคริสต์ศักราชมาบันทึกลงเป็นหนังสือโดยย้อนกลับจากปัจจุบันไปสู่อดีตเป็นเวลาหนึ่งล้านปี และนับจากปัจจุบันไปสู่อนาคตอีกหนึ่งล้านปี เล่มอดีตมีจำนวน 10 เล่ม เล่มอนาคตมีจำนวน 10 เล่ม การจัดแสดงผลงานชิ้นนี้ได้จัดแจงให้อาสาสมัครหรือผู้ชมที่เป็นผู้ชายและผู้หญิงนั่งข้างกันบนโต๊ะ มีหนังสือ 2 เล่มให้เปิดอ่าน ซึ่งเล่มหนึ่งเป็นเล่มอดีตและอีกเล่มคือเล่มอนาคต โดยที่ทั้งสองจะอ่านไล่ปีคริสต์ศักราชตั้งแต่ปีปัจจุบันไปพร้อมกัน\nผลงานมีความเกี่ยวข้องกับงาน ‘Date Paintings’ คาวาระสร้างปฏิทินที่มีช่วงเวลาจำนวนหนึ่งร้อยปี โดยมีวันเวลาของชีวิตของศิลปินอยู่ในนั้น คาวาระใช้จุดสีเหลืองแสดงวันที่เขาเริ่มมีชีวิตกระทั่งถึงวันที่ผลงานถูกจัดแสดงในนิทรรศการ คาวาระใช้จุดสีอื่นทับบนตัวเลขวันที่เขาวาดงาน ‘Date Paintings’ ซึ่งจุดสีนั้นก็จะมีความแตกต่างกันไปตามพื้นหลังงานที่เขาวาด ผลงานชิ้นนี้เปรียบได้กับชีวประวัติของคาวาระที่ถูกเปิดเผยในงานนิทรรศการ แสดงออกว่าเขาทำอะไรบ้างในแต่ละวัน\n นิทรรศการที่เกิดขึ้นพร้อมกับงาน ‘Date Paintings’ นิทรรศการเกิดขึ้นในหลายเมือง เช่น ซิดนีย์ (1998) เซี่ยงไฮ้ (2000) อาไบจัน (2000) อย่างไรก็ตามแทนที่จะจัดแสดงรวมกันผลงานชิ้นอื่นๆที่เกิดขึ้นในพิพิธภัณฑ์หรือห้องแสดงงาน คาวาระ นำงาน ‘Date Paintings’ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 7 มกราคม ค.ศ. 1997 ไปประดับในห้องเรียนของโรงเรียนอนุบาล ผลที่ปรากฏคือเด็กๆที่เรียนอยู่ในห้อง ไม่มีใครสนใจงานของเขา ไม่มีใครเข้าใจความหมายในผลงานของเขาเลยสักคน",
"title": "อง คาวาระ"
},
{
"docid": "351724#1",
"text": "แมรี่ เล็นน็อกซ์ เป็นเด็กหญิงมีปัญหา ขี้โรค และไม่มีใครรักอายุ 10 ขวบ เกิดที่ประเทศอินเดียกับพ่อแม่ชาวอังกฤษที่ร่ำรวยแต่เห็นแก่ตัว\nส่วนมากคนใช้เป็นคนดูแลเธอ ผู้ตามใจเธอทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไม่ให้ไปกวนพ่อแม่\nเธอจึงโตเป็นเด็กที่เอาแต่ใจตัวและเห็นแก่ตัว\nในกาลครั้งหนึ่ง อหิวาตกโรคได้เกิดในอินเดีย ทำให้พ่อแม่และคนใช้ทั้งหมดของเธอเสียชีวิต\nจนมีคนพบแมรี่ยังรอดชีวิตอยู่คนเดียวในบ้านที่เปล่าเปลี่ยว",
"title": "สวนปริศนา"
},
{
"docid": "869693#0",
"text": "พี่เบิ้ม หรือ Big Brother คือตัวละครหนึ่งจากนวนิยายเรื่อง \"1984\" ของ จอร์จ ออร์เวลล์ พี่เบิ้มถือเป็นตัวละครและสัญลักษณ์ที่สำคัญของเรื่อง โดยถือว่าเป็นผู้นำที่ปกครองด้วยอำนาจเผด็จการแบบพรรคการเมืองเดียว ซึ่งพี่เบิ้มคือตัวละครที่ได้รับการเชิดชูในฐานะท่านผู้นำของทวีปโอชันเนีย (ทวีปสมมติในนวนิยายที่ยังเป็นที่ตั้งAirstrip One หรือประเทศอังกฤษในปัจจุบัน) และรวมไปถึงพลเมืองทั้งทวีป พี่เบิ้มถือเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจรัฐและเป็นการแสดงถึงลัทธิบูชาบุคคลที่ทุกคนต้องเคารพ แม้จะไม่มีใครทราบว่าแท้ที่จริงแล้วพี่เบิ้มคือใคร และมีตัวตนจริงหรือไม่ก็ตาม ",
"title": "พี่เบิ้ม"
},
{
"docid": "286487#12",
"text": "ในปี ค.ศ. 1838 ชาติเชอโรคีก็ถูกบังคับให้โยกย้ายจากดินแดนทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐไปยังเขตสงวนที่ในปัจจุบันคือโอคลาโฮมาทางตะวันตกของสหรัฐที่เป็นผลให้มีชาวเชอโรคีเสียชีวิตไปเป็นจำนวน 4,000 คน ในภาษาเชอโรคีการเดินทางครั้งนี้เรียกว่า “Nunna daul Isunyi” หรือ “ทางน้ำตา” (ทางที่ทำให้ผู้เดินต้องร้องไห้) ทางน้ำตาของเชอโรคีเป็นผลของข้อตกลงในสนธิสัญญานิวอีโคตา (Treaty of New Echota) ซึ่งเป็นข้อตกลงภายใต้รัฐบัญญัติว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานของชาวอเมริกันอินเดียน (Indian Removal Act) ของปี ค.ศ. 1830 สาระสำคัญของรัฐบัญญัติฉบับนี้คือการแลกเปลี่ยนดินแดนของชาวอเมริกันอินเดียนทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกากับดินแดนทางตะวันตกของแม่น้ำมิสซิสซิปปี แต่เป็นข้อตกลงที่ไม่ได้รับการยอมรับโดยผู้นำชาวอเมริกันอินเดียนที่ได้รับการเลือกตั้งมา หรือโดยชาวเชอโรคีส่วนใหญ่",
"title": "เส้นทางธารน้ำตา"
},
{
"docid": "2083#95",
"text": "เชื่อกันว่ามีชาวมุสลิมถึง 1.8 ล้านคนในสหราชอาณาจักร ซึ่งจำนวนมากอาศัยอยู่ในลอนดอน เบอร์มิงแฮม แบรดฟอร์ด และโอลด์แฮม[228] โดยในปัจจุบันสามารถเห็นมัสยิดได้ทั่วไปในหลายภาคของสหราชอาณาจักร ชาวมุสลิมในสหราชอาณาจักรส่วนใหญ่มีเชื้อสายปากีสถาน อินเดีย และบังคลาเทศ ในระยะหลัง ผู้อพยพจากโซมาเลียและตะวันออกกลางได้เพิ่มจำนวนชาวมุสลิมในสหราชอาณาจักร ในปีพ.ศ. 2549 การให้สัมภาษณ์ของแจ็ก สตรอว์ ผู้นำเฮาส์ออฟคอมมอนส์ ได้ก่อเกิดความขัดแย้งในเรื่องของผ้าคลุมศีรษะของชาวมุสลิม โดยสะท้อนให้เห็นฝ่ายชาวสหราชอาณาจักรที่เห็นว่าศาสนาอิสลามไม่สามารถเข้ากับสังคมสหราชอาณาจักรได้ และอีกกลุ่มที่พอใจกับศาสนาอิสลามในสหราชอาณาจักร[229] ศาสนาที่มีต้นกำเนิดจากอินเดีย เช่น ศาสนาฮินดู และ ศาสนาซิกข์ ก็มีขยายใหญ่ขึ้นในสหราชอาณาจักรเช่นกัน โดยมีชาวฮินดูมากกว่า 500,000 คน และชาวซิกข์ถึง 320,000 คน[230] โดยปัจจุบันน่าจะเพิ่มขึ้นจากตัวเลขนี้ ซึ่งมาจากการสำรวจในปีพ.ศ. 2544 ในเมืองเลสเตอร์มีศาสนสถานของศาสนาเชน ซึ่งเป็นแห่งเดียวในโลกที่อยู่นอกประเทศอินเดีย",
"title": "สหราชอาณาจักร"
},
{
"docid": "160043#1",
"text": "ผู้นำกลุ่มคือรณชิต สิงห์ นีตา ซึ่งเป็นหนึ่งในรายชื่อบุคคลที่รัฐบาลอินเดียต้องการตัวมากที่สุดจำนวน 20 คน เชื่อว่าปัจจุบันอยู๋ในลาฮอร์ ศูนย์กลางของจังหวัดปัญจาบในปากีสถาน เขาเป็นชาวชัมมู และกองทัพนี้มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตของชาวสิกข์ในชัมมู",
"title": "กองทัพซินดาบัดขาลิสถาน"
},
{
"docid": "874167#0",
"text": "ราม นาถ โกวินท์ (; ; เกิด 1 ตุลาคม ค.ศ. 1945) เป็นนักการเมืองและเป็นประธานธิบดีคนปัจจุบันของอินเดีย เขาเป็นตัวแทนจากพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติ (National Democratic Alliance) เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอินเดียในการเลือกตั้ง ค.ศ. 2017 เขาเป็นผู้นำกลุ่มทลิต และเป็นสมาชิกพรรคภารตียชนตา (Bharatiya Janata Party) เขายังเคยเป็นผู้ว่าการพิหารในช่วง ค.ศ. 2015–2017",
"title": "ราม นาถ โกวินท์"
},
{
"docid": "13630#0",
"text": "โมบิลสูทกันดั้มวิง () () เป็นแอนิเมชันทางโทรทัศน์ความยาว 49 ตอน ออกอากาศ พ.ศ. 2538 ในประเทศไทยเคยแพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. และ ยูบีซีคิดส์ ช่อง 26 (ปัจจุบันคือ ยูบีซีสปาร์ค ช่อง 28) ของสถานีเคเบิลโทรทัศน์ ยูบีซี โดยในอดีตบริษัท ไทก้า เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์และจำหน่ายเฉพาะในรูปแบบของ วีซีดี โดยในปัจจุบันลิขสิทธิ์ได้อยู่กับทาง เด็กซ์ และจำหน่ายในรูปแบบของ วีซีดี และ ดีวีดี อีกรอบโดยยังคงใช้เสียงพากย์ของทาง ไทก้า เหมือนเดิม\nเนื้อเรื่องกล่าวถึงเหตุการณ์ในปี After Colony 195, เด็กหนุ่มห้าคนที่ถูกเลือกโดยนักวิทยาศาสตร์ห้าคนจากโคโลนี่ที่ต่างกัน พร้อมด้วยหุ่นยนต์รบที่ทรงประสิทธิภาพได้แก่ วิงกันดั้ม, กันดั้มเดธไซธ์, กันดั้มเฮฟวี่อาร์ม, กันดั้มแซนด์ร็อก, เฉียนหลงกันดั้ม ถูกส่งมายังโลกด้วยการอำพรางเป็นดาวตกในปฏิบัติการ Operation Meteor เพื่อกำจัด Organization of Zodiac (OZ) โดยที่เด็กหนุ่มทั้งห้าบังเอิญเจอกันบนโลกโดยที่ไม่มีใครเคยรู้จักกันมาก่อน ทั้งห้าต้องทำงานรวมกันเพื่อกำจัด OZ เพื่อนำสันติภาพมาสู่ชาวโคโลนี่ โดยภายหลังจากกันดั้มทั้งห้าถูกส่งมายังโลกได้ไม่นาน OZ ได้เริ่มปฏิวัติยึดอำนาจจากสหพันธ์โลกโดยการให้คนจากหน่วย Special Mobile Suit (SMS) แทรกซึมเข้าไปในสหพันธ์โลกและกระจายข่าวลวงให้แก่นักบินกันดั้มว่าผู้นำระดับสูงของ OZ จะมารวมตัวกันประชุมที่ฐานทัพนิวเอ็ดเวิร์ด โดยแท้จริงแล้วผู้ที่มาประชุมไม่ใช่ผู้นำระดับสูงของ OZ แต่เป็นผู้นำกลุ่มใฝ่สันติจากสหพันธ์โลก โดยฮีโร่ ยุย หนึ่งในนักบินกันดั้มได้สังหารจอมพลโนเวนต้า ผู้นำสูงสุดของสหพันธ์โลกลงเพราะความเข้าใจผิด ส่งผลให้สงครามครั้งใหญ่ปะทุขึ้น",
"title": "กันดั้มวิง"
},
{
"docid": "331704#6",
"text": "เมื่อเท่งกับโหน่งต่างก็อยากจะหาขุมทรัพย์อยู่นั้น โจร 2 คนก็ปรากฏตัวเข้ามาพร้อมที่เอาเรื่องกับเท่งและโหน่ง เพราะเป็นตัวต้นเหตุในการขโมยแผนที่ขุมทรัพย์...เขาได้หนีมาจากซอยเถิดเทิงเพื่อหนีหนี้ที่ทำเช็ค 5 ล้านบาทหายไป โดยเขาได้มาทางรถไฟพร้อมกับโหน่ง ลูกน้องคู่ใจ มายังหมู่บ้านลั่นทุ่ง หลังจากนั้นเท่งได้ช่วยขุนทำหน้าที่เป็นนายอำเภอที่สถานีรถไฟ จึงล่วงรู้ว่ามีทองคำที่ซ่อนอยู่ในวัดจึงพยายามแฝงตัวเข้ามาเพื่อที่จะนำทองคำไปใช้หนี้ แต่ในระหว่างที่เท่งพบทองคำที่ซ่อนอยู่ในพระพุทธรูป เท่งกลับต้องเจอสถานการณ์ที่เลวร้ายกว่าเมื่อเพชรและหลวงตาคืออดีตโจรที่คอยช่วยเหลือชาวบ้านและเป็นผู้หลอมทองคำไว้ในพระพุทธรูป ทำให้ชีวิตของเท่งที่หวังว่าจะมีชีวิตที่สงบสุขกลับต้องพังทลายและต้องกุมความลับของทองคำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบันเท่งกลับไปใช้ชีวิตกับลูกเกลี้ยงที่ซอยเถิดเทิงแล้ว\nโหน่งได้หนีตามเท่งมายังหมู่บ้านลั่นทุ่ง ตลอดเวลาที่เขาอยู่ที่นี่ เขารู้สึกคิดถึงแก้ว แฟนของตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่เขาต้องมารับชะตากรรมที่เกิดจากการกระทำของเท่งที่ล่วงรู้ความลับของทองคำในพระพุทธรูป ทำให้โหน่งรู้สึกกลัวกับการที่หนีมาอยู่ที่หมู่บ้านลั่นทุ่ง อย่างไรก็ตามโหน่งได้ไปเดินทางไปยังประเทศอินเดียเป็นเวลา\n5 วันเนื่องจากไปหาบุญโดยที่เท่งไม่รู้เรื่องและกลับมาในช่วงปีใหม่ ปัจจุบันโหน่งตามเท่งไปอยู่ซอยเถิดเทิงแล้ว\nพ่อมหาได้ตามเท่งโหน่ง จากซอยเถิดเทิงมาที่บ้านลั่นทุ่งด้วย อันเนื่องจากพ่อมหามีส่วนเกี่ยวข้องกับทองคำที่ซ่อนอยู่ในพระพุทธรูป และได้มาอาศัยอยู่ที่วัดบ้านลั่นทุ่ง จนถึงปัจจุบัน \nป้าของมะนาวกับมะตูม และยายของมะอึก เป็นคนปากจัด เกลียดทองเมื่อเห็นทองเข้ามาในร้านเนื่องจากทองรักมะนาว แต่มะขวิดเคยถูกสามีทิ้งทำให้เกิดความฝังใจขึ้นมา จะต้องเอาปืนไล่ยิงเป็นประจำ และยังไม่ชอบได้ยินคำว่า \"ผู้\" อีกด้วย (เช่น หอยแมลงภู่, ชมพู่, ต้นพู่ระหงส์, พู่กัน) แต่ภายหลังได้รู้ว่ามะตูมและมะนาวได้เริ่มคบกับผู้ชายเลยยอมให้เพื่อความเชื่อใจ หลังจากที่มะขวิดถูกโจรลักพาตัวไปเรียกค่าไถ่แล้วจุดไฟเผากุฏิ แล้วขุนช่วยมะขวิดออกมา ปัจจุบันมะขวิดได้ให้ขุนกับมะตูมและทองกับมะนาวไปแต่งงานกัน\nนายอำเภอที่สถานีรถไฟบ้านลั่นทุ่งรูปหล่อ ช่วยเท่งทำหน้าที่เป็นนายอำเภอที่สถานีรถไฟ แอบชอบมะตูมคบหาเป็นคนรักแต่จะหึงเวลามีชายหนุ่มมาเจ๊าะแจ๊ะกับมะตูม ปัจจุบันได้แต่งงานกับมะตูม ซึ่งขุนมักไม่มีน้องชายของตนเองเนื่องจากน้องชายของตนมักชอบเอาชื่อของขุนไปอ้างในการทำธุระของตนเสียทุกครั้ง ที่บ้านของขุนจะมีทุกอย่าง 2 ชิ้นเสมอ เนื่องจากมีปมในใจว่า ขุนเคยออกเรือไปกับพ่อ แต่มีชูชีพเพียงอันเดียว เมื่อพายุเข้า เรือล่ม พ่อของขุนจึงสละชูชีพและชีวิตตัวเองเพื่อให้ขุนรอด ขุนจึงจำฝังใจว่า ทุกอย่างควรจะมีสำรอง 2 ชิ้นเสมอ\nลูกสาวของป้ามะขวิดและเพื่อนสนิทของมะนาว เจ้าของร้านนมในบ้านลั่นทุ่ง เป็นคนเรียบร้อย แต่เป็นโรคบ้าจี้ ขี้ตกใจ เมื่อได้ยินเสียงระฆังจากสถานีรถไฟ จะต้องด่าคนที่คุยด้วยทุกครั้งไป มะตูมมีใจให้กับขุนและพยายามที่จะคบหากันโดยไม่ให้มะขวิดรู้เรื่องเพราะดวงของขุนชงกับป้ามะขวิด จนเมื่อป้ามะขวิดโชคร้าย เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง มะตูมจึงขอเลิกกับนายขุนแต่ก็กลับมาคบกันใหม่ ปัจจุบันได้แต่งงานกับขุน\nลูกสาวของป้ามะขวิดและเพื่อนสนิทของมะตูม ขายของอยู่ในร้านซึ่งเป็นบ้านของป้ามะขวิด เป็นผู้หญิงห้าวๆ แอบชอบขุนเช่นกัน แต่เมื่อรู้ว่าขุนกับมะตูมคบกัน ก็เสียใจมาก แต่ก็ทำใจได้ และนับถือว่าขุนเป็นพี่ชาย จึงมีใจให้กับทอง และยอมเป็นคู่หมั้นของทอง ปัจจุบันได้แต่งงานกับทอง\nนักเลงประจำหมู่บ้านลั่นทุ่ง มีนิสัยโอ้อวด เป็นลูกของตาเพชร เจ้าของตลาดในหมู่บ้านลั่นทุ่ง เขามักถูกล้อว่าเตี้ยอยู่เสมอ แอบชอบมะนาวตั้งแต่แรกเห็น แต่ทองก็ไม่ทิ้งความพยายาม จนมะนาวใจอ่อนยอมหมั้นด้วย ปัจจุบันได้แต่งานกับมะนาว ภายหลังทองได้ตามเท่งและโหน่งจากบ้านลั่นทุ่งไปซอยเถิดเทิง แต่โดนพวกตำรวจไล่ออกจากซอยเถิดเทิงซะก่อน ปัจจุบันทองตามตาเพชรไปอยู่ที่ต่างประเทศ\nมีฉายาว่า \"หยองจรณมาธรรมโม ไม่ไปจลโอ\" เป็นพระมีญาณ รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง มาจำวัดแทนหลวงตาผาด\nหลานสาวของยายมะขวิดที่มาขออาศัยอยู่ด้วย ปัจจุบันมะอึกกลับไปเรียนต่อที่โรงเรียนอนุบาล ก.ไก่\nผู้ดูแลวัดในบ้านลั่นทุ่ง เป็นเพื่อนร่วมกลุ่มของมหาและเพชร ในอดีตหลวงตาเป็นโจรร่วมกลุ่มกับเพชรและมหา มีชื่อว่า \"เสือผาด\" แต่เพราะกลัวบาปจึงบวชเป็นพระ แล้วดูแลรักษาทองคำที่นำมาหล่อเป็นพระพุทธรูปในวัดลั่นทุ่ง ปัจจุบันออกธุดงค์ที่อินเดีย\nเด็กวัดในบ้านลั่นทุ่ง มีอาชีพพ่อค้าหาบเร่ในสถานีรถไฟและรับจ้างทั่วไป มีลักษณะคล้ายสาวประเภทสอง บ่อยครั้งที่มักแอบพูดจาแทะโลมใส่เท่งอันเนื่องจากแอบชอบเท่ง ปัจจุบันออกธุดงค์พร้อมหลวงตาที่อินเดีย \nเจ้าของตลาดในหมู่บ้านลั่นทุ่ง เป็นพ่อของทอง มีนิสัยโลเล เปลี่ยนใจง่าย ตัดสินใจไม่ถูก โดยปกติมักจะปรากฏตัวเพื่อเก็บแผงค่าเช่าในตลาด ในอดีตเพชรคือ \"เสือโผน\" โจรประเภทโรบินฮูดที่คอยช่วยเหลือชาวบ้านและนำทองคำที่ปล้นมาจากคนรวยนำมาหลอมเป็นพระพุทธรูป เมื่อเท่งและโหน่งรู้ความลับนี้เข้า เพชรจึงคอยหาทางข่มขู่ไม่ให้เท่งกับโหน่งพูดจาแพร่งพรายออกไป ปัจจุบันออกไปทำธุระที่ต่างประเทศรอบนี้จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 8 แผ่นป้าย ด้านหลังจะมีรูปเรือดำน้ำสีส้ม และสีน้ำเงินอย่างละ 4 แผ่นป้าย ดารารับเชิญและผู้ดำเนินรายการร่วมจะเลือกแผ่นป้ายคนละ 1 แผ่นป้าย เพื่อแบ่งทีมว่าจะอยู่สีใด สีเดียวกัน อยู่ทีมเดียวกัน โดยดารารับเชิญจะเลือกแผ่นป้ายก่อนเสมอ",
"title": "ระเบิดเถิดเทิง ลั่นทุ่ง"
},
{
"docid": "813778#33",
"text": "ในห้องตัดสิน กรรมการชอบภาพของ มาริสซ่า ที่ออกมาดูอ่อนเยาว์เหมือนเด็กสาว อินเดีย ได้รับคำชมเชยเป็นอย่างมากในภาพที่ดูเหมือน คลอเดีย ชิฟเฟอร์ โคดี้ ได้รับคำชมในเรื่องของภาษากายที่ดูสวยงาม และทาเทียน่า ทำให้กรรมการประทับใจมากที่สุด กับภาพถ่ายที่มีพัฒนาการและดูโดดเด่น เธอจึงถูกเรียกชื่อเป็นคนแรก ในขณะที่ เพจ ได้รับคำวิจารณ์ทั้งดีและไม่ดี โครี่แอน ถูกวิจารณ์ว่า ในภาพเธอดูแข็งทื่อ คอร์ทนีย์ ต้องตกเป็นสองคนสุดท้ายครั้งแรก เนื่องจาก กรรมการรู้สึกว่า เธอพึ่งพาความสวยของตัวเองมากจนเกินไป จนเหมือนไม่ได้พยายามอะไรมาก ร่วมกับ บินต้า ที่ถ่ายภาพออกมามีสีหน้าแบบเดิมๆทุกครั้ง และดูไม่มีอะไรที่แปลกใหม่ ในที่สุดแล้ว คอร์ทนีย์ ได้ไปต่อในการแข่งขัน และนั่นทำให้ บินต้า ต้องถูกส่งกลับบ้านเป็นคนที่เจ็ดเมื่อกลับถึงบ้านพัก ทาเทียน่า รู้สึกดีใจที่เธอถูกเรียกชื่อเป็นคนแรกในครั้งก่อน ในขณะที่ คอร์ทนีย์ รู้สึกกังวลเป็นอย่างมากที่ต้องตกเป็นสองคนสุดท้ายครั้งแรก วันต่อมา สาวๆได้เดินทางมาพบกับ ริต้า ซึ่งเธอได้สร้างความประหลาดใจให้แก่สาวๆ เมื่อเปิดเผยว่า สาวๆที่ถูกคัดออกไปแล้ว จัสติน, เชริช, ทาช, เจีย, คริสเลี่ยน, ไคล์ และบินต้า จะได้มีส่วนร่วมกับการแข่งขันในสัปดาห์นี้ด้วย ซึ่งจะเป็นการถ่ายทำแฟชั่นมิวสิควิดีโอ โดย ริต้า ได้แนะนำให้รู้จักกับ ทานิช่า สก็อตต์ นักออกแบบท่าเต้น ให้กับ ริฮานน่า โดย ทานิช่า ให้สาวๆแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ระหว่าง สาวๆที่ยังอยู่ในการแข่งขัน และสาวๆที่ถูกคัดออก เพื่อฝึกซ้อมท่าเต้น แต่ในระหว่างที่กำลังฝึกซ้อมนั้น จัสติน ได้หมดสติ และล้มลงไปที่พื้น เนื่องจากอากาศที่ร้อนจัด เธอจึงถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที ต่อมา พวกเธอทั้งสองกลุ่ม จะได้ผลัดกันเต้นเป็นผู้นำกลุ่ม เพื่อให้ ทานิช่า ตัดสินว่า ใครจะได้เป็นผู้นำกลุ่ม ซึ่งในที่สุดแล้ว เพจ และทาช ถูกเลือกให้เป็นผู้ชนะในครั้งนี้",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 23"
},
{
"docid": "441961#6",
"text": "ปัจจุบัน นิลกายพบจำนวนมากในที่ สวนลุมพินีวัน อันเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า และเชื่อว่าเป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ด้วย เป็นสัตว์ที่เชื่อว่าหากใครได้พบเห็น จะพบกับความเป็นสิริมงคล แต่นิลกายก็ถือเป็นสัตว์ที่รบกวนกินพืชผลของเกษตรกรเสียหายได้ครั้งละเป็นจำนวนมาก ทางการอินเดียจึงอนุญาตให้ล่าสัตว์ชนิดนี้ได้อย่างถูกกฎหมาย ขณะที่อีกไม่น้อยถูกรถชน นอกจากนี้ยังต้องขาดแคลนที่อยู่ซึ่งเป็นผลมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทุกวัน และมีศัตรูตามธรรมชาติอีกอย่างคือเสือและสิงโต ทำให้ปัจจุบันเหลือปริมาณ นิลกายอยู่ไม่มากแล้ว ในอินเดียมีประมาณ 100,000 ตัวเท่านั้น ส่วนที่รัฐเทกซัสในสหรัฐอเมริกาถูกนำไปเลี้ยงในสวนสัตว์บ้าง ในธรรมชาติบ้าง ช่วงทศวรรษ 1920 เหลือปริมาณนิลกายประมาณ 1,500 ตัว",
"title": "นิลกาย"
},
{
"docid": "828424#1",
"text": "221 ปีก่อนคริสตกาล จิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิ์องค์แรกของจีน ได้เริ่มสร้างหลุมศพของตัวเองขึ้น ด้วยหยาดเหงื่อของแรงงานกว่า 700,000 ชีวิต สุสานสุดยิ่งใหญ่นี้เสร็จสมบูรณ์ในอีก 37 ปีต่อมา ว่ากันว่าเพื่อเก็บความลับเรื่องสุสาน แรงงานทั้งหมดถูกฝังทั้งเป็น พร้อมกับของจักรพรรดิ์ ไม่มีใครรอดชีวิตแม้แต่คนเดียว… สองพันปีต่อมา บรรดานักประวัติศาสตร์ นักขุดค้นสุสาน และนักผจญภัยจำนวนมาก เดินทางมาที่สุสานเพื่อค้นหาหลุมศพจิ๋นซี และของมีค่าที่ฝังอยู่ แต่ไม่มีใครสักคนที่สามารถหาทางเข้าสู่สุสานได้ ทรัพย์สินเลอค่า รวมทั้งยาวิเศษขององค์จักรพรรดิ์ จึงยังคงอยู่ จนกระทั่ง… แจ๊ค นักโบราณคดีผู้กล้าหาญ และ วิลเลี่ยม นักวิทยาศาสตร์สุดทะเยอทะยาน พวกเขาออกผจญภัยร่วมกัน โดยไม่นึกฝันว่า การเดินทางครั้งนี้ จะนำไปสู่การค้นพบทางประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ การผจญภัยเริ่มขึ้นที่เมืองดาศาร์ ประเทศอินเดีย ที่นั่น ทั้งคู่ไปสะดุดเอาดาบโบราณแห่งราชวงศ์ฉิน และพลอยวิเศษ ที่สามารถต้านแรงโน้มถ่วงโลกได้ ของเหล่านี้ไม่เพียงนำทั้งคู่สู่ทางเข้าสุสาน แต่ยัง ทำให้แจ๊คทะลุมิติเวลา ไปพบตนเองในชาติที่แล้วด้วย แจ๊คได้เห็นตนเองเป็น เหม็งยี่ แม่ทัพผู้กล้าแห่งราชวงศ์ฉิน เหม็งยี่ตกหลุมรัก อ๊ก ซู มเหสีขององค์จักรพรรดิ์ ขณะต้องทำสงครามกับกบฎ ซึ่งโอกาสชนะลางเลือน เหม็งยี่ยังต้องเลือกระหว่างความรักกับความภักดีด้วย เมื่อกลับมายังโลกปัจจุบัน ความลับของจักรพรรดิ์ผู้ยิ่งใหญ่กำลังจะถูกเปิดเผย หลังจากผ่านป้อมปราการ ที่เต็มไปด้วยกับดักสุดอันตราย สองนักผจญภัยก็เข้าไปยังพระราชวังสวรรค์ได้สำเร็จ และที่นั่น แจ๊คก็ได้เผชิญหน้ากับอดีตชาติของตนเองอีกด้วย...\nในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 2010 ทางช่อง CCTV-8 ของจีน ได้สร้างละครโทรทัศน์ มีความยาว 50 ตอน โดยละครเรื่องนี้ใช้ชื่อว่า\"The Myth\" เช่นกัน (ชื่อในไทยคือ ผ่าทะลุฟ้า รักทะลุมิติ) โดยมี เฉินหลง เป็นโปรดิวเซอร์ และมีสแตนลีย์ ตงเป็นผู้ดำเนินการสร้าง โดยละครเรื่องนี้มีเนื้อหาที่ไม่เหมือนกับในภาพยนตร์",
"title": "ดาบทะลุฟ้า ฟัดทะลุเวลา"
},
{
"docid": "8199#13",
"text": "ในอินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน มาเลเซีย สิงค์โปร์ หรือแอฟริกาใต้การนำระบบว้าก (Ragging) มาใช้ผ่านทหารบกและระบบโรงเรียนกินนอนที่นำเข้ามาจากอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคม ซึ่งในอินเดียช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นระบบว๊ากเป็นเพียงการล้อเล่นรุ่นน้องที่สนุกสนานของรุ่นพี่เท่านั้น จนกระทั่งล่วงมาถึงปี พ.ศ. 2510 เมื่อมหาวิทยาลัยในอินเดียเริ่มรับนักศึกษาจากวรรณะต่ำและศาสนาอื่นๆที่ไม่ใช่ฮินดูเข้ามาเรียนมากขึ้นระบบว๊ากอย่างอ่อนๆที่เคยใช้กับนักศึกษาเฉพาะในวรรณะสูงอย่างในอดีตก็ถูกปรับให้เข้มขึ้นเพื่อลดปัญหาความเกลียดชังระหว่างวรรณะ ศาสนาและถิ่นฐานลง ด้วยอิทธิพลของสื่อในช่วง พ.ศ. 2520 ทำให้การรับน้องเริ่มมีความโหดร้ายและรุนแรงมากขึ้น โดยการว๊ากกลายเป็นการทดสอบความกล้าบ้าบิ่นของนักศึกษารุ่นพี่ นักศึกษารุ่นพี่หลายคนที่ไม่เต็มใจว้ากน้องก็ต้านแรงกดดันจากเพื่อนร่วมรุ่นไม่ไหวต้องร่วม ว๊ากน้องด้วย ในช่วงปี พ.ศ. 2535 เริ่มมีวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และแพทย์ศาสตร์ของเอกชนเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดก็เริ่มเอาระบว้ากเข้าไปใช้และเริ่มมีการสถิติการฆ่าตัวตายของน้องใหม่เพิ่มขึ้น ในที่สุดรัฐทมิฬนาดูซึ่งมีสถิติการตายจากการรับน้องสูงสุดจึงต้องออกกฎหมายต่อต้านการรับน้อง (Anti-Ragging Law) ออกใช้ในปี พ.ศ. 2540 เป็นรัฐแรกในอินเดีย และในปี พ.ศ. 2544 ศาลฎีกาของอินเดียวินิจฉัยตัดสินให้การรับน้องระบบว้ากเป็นสิ่งผิดกฎหมายทั่วอินเดีย ทำให้การว้ากน้องในช่วงกลางวันหายไป และได้ลงใต้ดินในช่วงกลางคืนตามหอพักต่างๆ [11] ในฟิลิปปินส์ซึ่งไทยรับเอาแบบอย่างการรับน้องระบบว๊ากเข้ามา มีการรับน้องเป็นครั้งแรกในองค์กรลับในปี พ.ศ. 2435 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเคลื่อนไหวต่อต้านสเปนที่ปกครองฟิลิปปินส์อยู่ (Llaneta, 2009) หลังจากสงครามสเปน-อเมริกัน ฟิลิปปินส์ก็ตกเป็นอาณานิคมของสหรัฐตั้งแต่ปี พ.ศ. 2441 หลังจากนั้นสิบปี ในปีพ.ศ. 2451 มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ (University of The Philippines) ก็ได้มีการนำระบบ Fraternity เข้ามาใช้ด้วย ในระยะแรกก็ไม่มีปัญหาอะไรมาก หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 บรรดาอาจารย์ที่จบจากมหาวิทยาลัยต่างๆในสหรัฐอเมริกาก็เริ่มนำเทคนิคจาก Boot Camp เข้ามาใช้ในระบบภราดรภาพเช่นกัน ซึ่งจะจัดตั้งกลุ่มภราดรดรภาพตามสาขาที่เรียน ความเข้มข้นของการว๊ากน้องก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละคณะ กลุ่มภราดรดรภาพคณะนิติศาสตร์ ก็จะมีแค่พาไปก่อกวนโรงละครแล้ววิ่งหนียาม หรือแอบปีนหน้าต่างโรงพยาบาล เป็นต้น กลุ่มภราดรดรภาพคณะเกษตรก็มีการคลุกโคลนปีนเสา กลุ่มภราดรดรภาพคณะแพทย์ศาสตร์นั้นเป็นที่รู้กันว่าโหดที่สุด เนื่องจากระยะการรับน้องที่นานที่สุด น้องใหม่หลายคนทนไม่ได้จนต้องออกไป ระบบภราดรภาพในฟิลิปปินส์ในช่วงแรกๆจะต่างจากในสหรัฐและแคนาดาตรงที่นักศึกษาเกือบทุกคนจะเป็นสมาชิกของกลุ่มภราดรภาพไม่กลุ่มใดก็กลุ่มหนึ่งเนื่องจากใครที่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มจะรู้สึกว่ามีหน้ามีตา ในช่วงก่อนการประกาศกฎอัยการศึกของรัฐบาลมาร์คอสในปี พ.ศ. 2514 มีสถิติการตายจากการรับน้องน้อยมากในฟิลิปปินส์ หลังจากประกาศกฎอัยการศึกที่ห้ามการชุมนุมของบุคคลตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปจึงทำให้กลุ่มภราดรภาพเหล่านี้แทบจะผูกขาดอำนาจในองค์กรนักศึกษาต่างๆในฟิลิปปินส์ เนื่องจากขาดเสรีภาพทางการเมืองกลุ่มภราดรภาพเหล่านี้จึงหันมาแข่งขันกันว่าใครดีกว่า สมาชิกกลุ่มเหล่านี้บางคนเริ่มก่ออาชญากรรมเช่น สมาชิกกลุ่มภราดรภาพบางแห่งในมหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์จับคนไปเรียกค่าไถ่และฆ่าเหยื่อตายหรือข่มขืนผู้หญิงและฆ่าเพื่อนชายของเหยื่อตาย นอกจากนี้ยังมีการยกพวกตีกันระหว่างกลุ่มภราดรภาพต่างๆจนมีการบาดเจ็บล้มตายเกิดขึ้น แต่หลังจากการปฏิวัติขับไล่มาร์คอสในปี พ.ศ. 2529 บรรยากาศทางการเมืองในฟิลิปปินส์เริ่มมีเสรีภาพ สื่อมวลชนจึงเริ่มหันมาสนใจประเด็นเรื่องการบาดเจ็บล้มตายจากการรับน้อง การยกพวกตีกันระหว่างกลุ่มภราดรภาพต่างๆ สังคมฟิลิปปินส์เริ่มมองกลุ่มภราดรภาพในแง่ลบโดยเฉพาะในเรื่องการรับน้องที่อันตรายและการทะเลาะวิวาทกันเองระหว่างกลุ่มภราดรภาพเหล่านี้ ในปี พ.ศ. 2538 ประธานาธิบดีฟิเดล รามอส จึงลงนามประกาศใช้กฎหมายต่อต้านการรับน้องขึ้น แต่การตายจากการรับน้องยังคงมีอยู่จนกระทั่งในปัจจุบันนักการเมืองหลายท่านซึ่งในอดีตเคยเป็นสมาชิกของกลุ่มภราดรภาพเรียกร้องให้มีการยกเลิกกลุ่มภราดรภาพทั่วทั้งฟิลิปปินส์ [12]",
"title": "การรับน้อง"
},
{
"docid": "938#5",
"text": "ตามภาษามอญ เรียกคนไทยว่า \"หรั่ว เซม\" (หรั่ว ภาษามอญแปลว่าพวก) จนกระทั่งปัจจุบัน ชาวมลายูและผู้มีเชื้อสายมลายู (รวมถึงในประเทศไทย) ใช้คำเรียกไทยว่า \"สยาม\" (โดยในภาษามลายูปัตตานีจะออกเสียงว่า สิแย) มาจนถึงปัจจุบัน (ดังเช่นที่ปรากฏในเอกสารของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้) ในภาษาเขมร คำว่า \"สยาม\" หมายถึง \"ขโมย\" โดยออกเสียงว่า \"ซี-เอม\" เมืองเสียมราฐ ซึ่งอยู่ใกล้กับนครวัด จึงมีความหมายว่า \"พวกขโมยพ่ายแพ้\" ดังนั้น ความหมายของคำว่า \"สยาม\" ในภาษาเขมรจึงหมายถึง \"พวกขโมยป่าเถื่อน\" เนื่องจากในยุคที่ขอมเรืองอำนาจ มีคนไทที่อพยพมาจากทางเหนือเข้าสู่ดินแดนภาคอีสานของเขมรซึ่งอาจเข้ามาโดยการกวาดต้อนของชาวเขมรเองเพื่อใช้เป็นแรงงานในการสร้างปราสาทหินต่างๆ คำว่า \"สยาม\" จึงเป็นคำเขมรที่ใช้เรียกกลุ่มคนไทซึ่งในเวลานั้นชาวเขมรยังมองว่าเป็นแค่คนป่า บนรูปสลักฝาผนัง ณ นครวัด ประเทศกัมพูชาที่แสดงถึงกำลังพลจากอาณาเขตต่าง ๆ ที่ได้เข้ามาร่วมกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีภาพกองกำลังกองหนึ่งที่มีคำบรรยายใต้ภาพว่า \"เนะ สยฺมกุก\" (เนะ สยำกุก) [6] ซึ่งแปลได้ความว่า \"นี่ เสียมกุก\" เป็นกองกำลังต่างหากจากกองกำลังจากอาณาจักรละโว้ ซึ่งรูปสลักฝาผนังได้สลักแยกไว้พร้อมคำบรรยายที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน สันนิษฐานกันว่าอาจเป็นคนไท-ลาวกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแต่ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดเป็นที่ยอมรับกัน ในภาษาพม่านั้น เรียกคนไทยว่า \"เซี้ยน\" ซึ่งถ้าดูจากการเขียน จะใช้ตัวสะกดเป็นตัว ม (ซย+ม) แต่ในภาษาพม่านั้นอ่านออกเสียงตัวสะกดตัว ม เป็นตัว น จึงทำให้เสียงเรียกคำว่า \"สยาม\" เพี๊ยนเป็น \"เซี้ยน\" ในปัจจุบัน คนในประเทศพม่ามักจะเรียกชนกลุ่มที่พูดภาษา ไท-กะได ต่างๆว่า \"เซี้ยน\" หรือ ชื่อประเทศหรือพื้นที่ตามด้วยเซี้ยน เช่นเรียกคนไทยว่า \"โย้ตะย้าเซี้ยน\" (คนสยามโยธยา ซึ่งเมื่อก่อน อยุธยาเป็นเมืองหลวง) หรือไท้เซี้ยน (คนสยามไทย), เรียกคนลาวว่า \"ล่าโอ่เซี้ยน\" (คนสยามลาว), เรียกคนชนกลุ่มไตในจีนว่า \"ตะโย่วเซี้ยน\" (คนสยามจีน ซึ่งคำว่า \"ตะโย่ว\" ในภาษาพม่าแปลว่า \"จีน\") และเรียกคนไทใหญ่ในรัฐฉานว่า ต่องจยี๊เซี้ยน (สยาม ต่องกี๊ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐฉานในปัจจุบัน และจริงๆแล้วคำว่า \"รัฐฉาน\" นั้นมันคือ \"รัฐสยาม\" แต่พม่าออกเสียงเพี้ยนเป็น \"เซี้ยน ปี่แหน่\" เขียนเป็นอังกฤษว่า Shan State แล้วคนไทยก็ออกเสียงเพี้ยนจากคำอังกฤษ \"Shan\" เป็น \"ฉาน\" จึงกลายเป็นรัฐฉานตามการเรียกของคนไทยในปัจจุบัน) และทางการรัฐบาลพม่ากำหนดให้ คนไทยพลัดถิ่นในเขตตะนาวศรี มีสัญชาติเป็น เซี้ยน เช่นเดียวกับคนไทใหญ่ในรัฐฉาน ตามจดหมายเหตุเก่าของจีน ในบริเวณประเทศไทยปัจจุบันนั้น แต่เดิมมีอาณาจักรอยู่ด้วยกัน 2 อาณาจักร คือ อาณาจักร \"เซียน\" (暹国; น่าจะหมายถึง สยาม หรือ สุโขทัย) ซึ่งอยู่ทางเหนือขึ้น แต่ยังอยู่ใต้ต่ออาณาจักร \"ร้อยสนม\" (มีผู้สันนิษฐานว่าคืออาณาจักรล้านนา-ไทใหญ่) และอาณาจักร \"หลัววอ\" (羅渦国; น่าจะหมายถึง อยุธยา ซึ่งจีนยังใช้ชื่อของ ละโว้ เรียกอยู่) ซึ่งอยู่ทางใต้ลงไป โดยอาณาจักร \"เซียน\" นั้นมักประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร ต้องนำเข้าข้าวจากอาณาจักร \"หลัววอ\" จนในที่สุด อาณาจักร \"เซียน\" และอาณาจักร \"หลัววอ\" ได้รวมกันเข้า ทางราชสำนักจีนจึงได้รวมเรียกชื่ออาณาจักรใหม่ที่เกิดจากการรวมกันดังกล่าวว่า อาณาจักร \"เซียนหลัว\" (暹罗国; ภาษาจีนกลางยุคปัจจุบัน=\"เซียนหลัวกว๋อ\" ภาษาจีนแต้จิ๋ว = \"เสี่ยมล้อก๊ก\") ซึ่งได้กลายเป็นนามเรียกอาณาจักรโดยชาวจีนมาจนกระทั่งมีการเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นประเทศไทย จึงได้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น \"ไท่กว๋อ\" (泰国) นักนิรุกติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์บางคน ได้แสดงถึงความใกล้เคียงกันของคำว่า สยาม และ ฉาน (Shan) ซึ่งใช้เรียกอาณาจักรของคนไทบริเวณตอนใต้ของจีน ทางตอนเหนือของพม่า และทางรัฐอัสสัมของอินเดีย สยาม เป็นคำเรียกของชาวตะวันตก ที่มาทำการค้า การเดินทางมาทางเรือต้องผ่านพม่าก่อน ชาวพม่าบอกชาวตะวันตกว่า เซียม ชาวไท ออกเสียงเป็น เซียน ซึ่งปัจจุบันเป็น ฉานเนื่องจากชาวพม่าออกเสียง น.หนู ไม่ได้ จึงเพี้ยนเป็น ม.ม้า ฉานชาวพม่าหมายถึง รัฐฉาน ในประเทศพม่า, อาณาจักรล้านนา ในไทย, ลาว ,ภาคอีสานตอนเหนือ ในไทย, ตอนใต้ของยูนนาน ในจีน,ด้านตะวันตกของภาคเหนือในเวียดนาม ชาติไทยนั้นกลัว อินเดีย เพราะว่าอินเดียเคยล้มอาณาจักรไชยาได้ ซึ่งไทยสู้ไม่ได้ในยุคนั้น จึงมีภาษาของอินเดียปะปนอยู่มาก ทั้งในภาษาไทยและศาสนาพุทธด้วย",
"title": "สยาม"
},
{
"docid": "61632#0",
"text": "ภาษาสิไรกิ (ภาษาอูรดู: سراییکی ) หรือภาษามุนตานี (อักษรชาห์มูขี: ملتانی, อักษรคุรมุขี: ਮੁਲਤਾਨੀ, อักษรเทวนาครี: मुल्तानी)) หรือภาษาเสไรกิ ภาษามันตานี ภาษาปัญจาบใต้ เป็นภาษาที่ใช้พูดในจังหวัดสินธ์ และปัญจาบ ประเทศปากีสถาน มีผู้พูดราว 14 ล้านคน นอกจากนี้มีผู้พูดอีก 20,000 คนในอินเดียและอังกฤษ ที่มาของคำว่า “สิไรกิ” ยังไม่แน่นอน อาจมาจากภาษาสินธี แปลว่า “เหนือ” หรือภาษาสันสกฤต แปลว่า “พระอาทิตย์”\nปัจจุบันผู้พูดภาษาสิไรกิส่วนใหญ่อยู่ในปากีสถาน ภาษานี้เป็นภาษากลางของผู้คนในบริเวณนั้นคือชาวบาโลช ชาวพาซตุน ชาวสินธ์และชาวปัญจาบ นอกจากนั้น ยังเป็นภาษาทางการค้าจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันมีประชาชนในบริเวณต่างๆของปัญจาบและเดรา อิสมาอิล ข่าน ใช้พูดเป็นภาษาแม่ เป็นภาษาที่ใช้พูดและเข้าใจอย่างกว้างขวางในฐานะภาษาที่สองทางเหนือและทางตะวันตกของสินธ์ไปจนถึงการาจี ที่ราบกัจฉิในบาลูชิสถาน ในอินเดีย รายงานใน พ.ศ. 2544 มีผู้พูดภาษาสิไรกีในอินเดียราว 70,000 คน ซึ่งเป็นลูกหลานของผู้อพยพมาจากปัญจาบตะวันตกหลังจากการแบ่งแยกอินเดียใน พ.ศ. 2490 ในอัฟกานิสถานมีผู้พูดภาษาสิไรกี สำเนียงกันดาฮารีในหมู่ชาวอัฟกานิสถานที่นับถือศาสนาฮินดู",
"title": "ภาษาสิไรกิ"
},
{
"docid": "38809#9",
"text": "ในขณะที่ช่วงต้นของการครองราชย์ของพระเจ้าอโศกเห็นได้ชัดว่าค่อนข้างกระหายเลือด พระองค์กลายมาเป็นผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าหลังจากการพิชิตแคว้นกาลิงคะทางชายฝั่งด้านตะวันออกของอินเดีย ปัจจุบันนี้คือรัฐโอริสสาและทางตอนเหนือของอันตรประเทศ Andhra Pradesh แคว้นกลิงคะเป็นรัฐที่หยิ่งทรนงบนอำนาจอธิปไตยและประชาธิปไตยของพวกเขาพร้อมด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีรัฐสภาและสถาบันพระมหากษัตริย์จึงเป็นรัฐที่ค่อนข้างเป็นที่หลีกเลี่ยงของชาวอินเดีย(ภารตะ)โบราณ รัฐนั้นรับแนวคิดของ Rajdharma ซึ่งเป็นแนวคิดการปฏิบัติหน้าที่ของผู้นำ รัฐนั้นถูกปลูกฝังอยู่ภายใต้ด้วยแนวคิดแห่งความกล้าหาญและธรรมะ สงครามแคว้นกาลิงคะเกิดขึ้นเป็นเวลา 8 ปี หลังจากการราชาภิเษกของพระองค์ จากจารึกในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ของพระองค์ ทำให้พวกเราถึงรู้ว่าการรบมีขนาดใหญ่โตและทำให้มีทหารและราษฎรผู้ที่ลุกขึ้นต่อต้านตายมากกว่า 1 แสนคน มากกว่า 150000 คนถูกเนรเทศ เมื่อพระองค์เสด็จเดินผ่านทุ่งของแคว้นกาลิงคะ หลังจากการพิชิตของพระองค์ ความดีใจแห่งชัยชนะของพระองค์ก็มลายหายไป เพราะจำนวนของซากศพที่กองระเกะระกะและความสะอื้นจากความสูญเสีย",
"title": "พระเจ้าอโศกมหาราช"
},
{
"docid": "367933#1",
"text": "ศ.ศรินทร์ ค้นคว้าเกี่ยวกับตำนาน มนุษย์นรสิงห์พร้อมกับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศหลายท่าน แม้จะพบว่าผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับนรสิงห์ต้องมีอันเป็นไปทุกราย แต่เขาก็ไม่ลดละความพยายามที่จะพิสูจน์เรื่องนี้ให้ได้\nและเมื่อเขานำเอาหีบนรสิงห์มาแอบซ่อนไว้ในบ้าน ก็ได้เกิดเรื่องร้ายๆขึ้นมากมาย และเป็นการนำพาให้ นรสิงห์ หรือ เจ้าสิงหทัย ได้พบกับ ศุภธิดา ลูกสาวของเขา หรือในชาติปางก่อนคือ ปดิวรดา ข้ารับใช้ของ นรสิงห์ และเป็นหญิงสาวที่ นรสิงห์ รักและตามหาข้ามภพข้ามชาติ\nสำหรับ ชิตนนท์ แฟนหนุ่มแสนดีของ ศุภธิดา และ วิภาวี ซึ่งในอดีตชาติเคยหลงรัก นรสิงห์ ก็ถูกดึงให้เข้ามาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์อันน่าสะพรึงกลัวในครั้งนี้..\nเจ้าสิงหทัย ผู้มีประวัติความเป็นมาลึกลับ ไม่มีใครรู้ว่าเขาเป็นใครมาจากไหน ความร่ำรวยและรูปโฉมที่งดงาม ทำให้เขากลายเป็นคนที่สังคมยอมรับ แต่จะมีใครรู้หรือไม่ว่าภายใต้รูปลักษณ์อันงดงาม มีบางสิ่งแอบแฝงด้วยอำนาจหวาดหวั่นสุดสพรึงกลัวและความตาย ที่ผู้อื่นไม่อาจคาดคิด\nแต่เดิมในอดีตกาลผู้พิทักษ์มนุษย์โลก นรสิงห์ได้พิชิตอสูรร้ายในยามโพล้เพล้กึ่งทิวาและราตรี ณ ธรณีประตู กึ่งกลางในและนอกบ้าน และด้วยอุ้งเล็บแหลมคมที่มิใช่อาวุธ...นรสิงห์ ปางหนึ่งขององค์นารายณ์ ที่อวตารลงมาเพื่อปราบอสูรร้าย ปรากฏอยู่ในคัมภีร์วิษณุปุราณะของฮินดูในยุคพระเวทเมื่อกว่าพันปีมาแล้ว และได้กลายเป็นตำนานที่เล่าขานถึงปัจจุบัน\nรูปกายอวตารได้ถูกทิ้งไว้บนโลกมนุษย์ และได้เปลี่ยนสภาพเป็นเทวรูปที่ชนเผ่าโบราณเคารพบูชา เวลาผ่านไปนาน รูปปั้นนั้นกลับกลายเป็นที่ดวงวิญญาณอสูรสถิตอยู่ และเป็นคำสาปที่ต้องห้าม ในดินแดนแห่งสุสานนรสิงห์ ที่ไม่มีใครกล้าลุกล้ำเข้าไป แม้แต่สัตว์ป่าน้อยใหญ่ยังไหวกลัว\nความเป็นมาก่อน นรสิงห์คืนชีพ\nนรสิงห์ประดุจเทพที่ชนเผ่าโบราณเคารพบูชา แม้แต่สัตว์น้อยใหญ่ยังเกรงกลัวต่อมัน และก็เชื่อว่า เทวรูปนรสิงห์แห่งสุสานเป็นอสูรมีตัวตน และถ้าผู้ใดฆ่ามันได้จะต้องคำสาบกลายเป็นมารสิงร่างของคน นั่คือ เจ้าสิงหทัย หรือ นรสิงห์ แต่แล้วก็มีนักผู้มีวิชาปราบมารฆ่าตาย แล้วสะกดวิญญาณมันเอาไว้แยกดวงจิตไปจองจำในรูปปั้น และกายของมันก็สิ้นใจตายในโลงแก้วเขียว จนเวลาผ่านมานับพันปีจนถึงปัจจุบัน\nดร.แฮร์ริสัน หนึ่งในกลุ่มนักโบราณคดีของ ศ.ศรินทร์ ได้ค้นคว้าหาสถานที่ที่เรียกว่า ภูผีฟ้าหรือสุสานนรสิงห์ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ชายแดนไทยเขมร เขาจึงรีบเดินทางไปที่นั่นโดยว่าจ้างคณะพรานนำทางชำนาญป่า ไปที่แห่งนั้นทันที และด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เขาได้แปลตัวอักษรและท่องคาถาภาษาโบราณนั้น ทำให้เกิดเหตุร้ายไม่คาดฝันจนเกือบจะเอาชีวิตไม่รอด ซึ่งถูกพุ่งจู่โจมด้วยกรงเล็บจากสัตว์ร้ายที่ไม่มีใครรู้จัก แต่คณะของ ดร.แฮร์ริสัน ก็หนีออกจากที่แห่งนี้ได้ และเขาก็เสียชีวิตลงเนื่องจากทนพิษบาดแผลไม่ไหว\nข่าวคราวทั้งหมดรู้ไปถึงหู ศ.ศรินทร์ เขารีบติดต่อผู้ชี่ยวชาญจากประเทศอังกฤษ คือ ดร.แอนดรูว์ ให้รีบเดินทางมาไทยโดยเร่งด่วน ศ.ศรินทร์ ได้ว่าจ้างคณะพรานนำทางชุดเดิมของ ดร.แฮร์ริสัน ที่เคยไปที่สุสาน ให้พาตัวเขาไปที่นั่นทันที เมื่อมาถึงที่นั่น ศ.ศรินทร์ ได้พบกับเทวรูปคนครึ่งสิงห์ขนาดใหญ่ และโลงแก้วเขียวที่สวยงาม พื้นผิวผสานเป็นเนื้อเดียวกัน และไม่มีท่าทีว่าจะเปิดออกได้เลย ทุกคนต่างสันนิษฐานว่า เป็นหีบนรสิงห์ที่นอนสิ้นอายุขัย ศ.ศรินทร์ จึงได้ทำการขนย้ายไปที่บ้านพักในกรุงเทพฯ เพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับนรสิงห์ต่อไป\nไม่นานในเมืองใหญ่ก็เกิดเหตุฆาตกรรมสยดสยอง เหยื่อถูกแหวะอกจนเปิดกว้าง และหัวใจของศพหายไป ตำรวจคาดว่า คนร้ายน่าจะเป็นคนโรคจิต มีพฤติกรรมเลียนแบบซีอุย เพราะสภาพของเหยื่อเป็นการตายที่คล้ายคลึงกัน ในเวลาเดียวกัน สื่อในวงการสังคมไฮโซได้ปรากฏชายรูปงามนาม เจ้าสิงหทัย นรกานต์ ซึ่งใครๆต่างก็บอกว่า งดงามมาก แม้แต่ผู้หญิงก็ยอมตกเป็นทาสรัก ไม่มีใครู้ว่าเขาเป็นใคร รู้แต่ว่าสืบเชื้อสายตระกูลเจ้ามาจากเนปาล เป็นผู้ร่ำรวยในฐานะ พักอาศัยอยู่คฤหาสน์หลังเก่าโทรม ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านพักของ ศ.ศรินทร์ รวมไปถึงลูกสาวของเขา ที่มีกรรมผูกรักแห่งอดีตกับนรสิงห์ย้อนกลับมารำลึก ทำให้ทั้งสองได้กลับมาพบกันในช่วงปัจจุบัน\nในคืนวันเพ็ญที่พระจันทร์เต็มดวง เจ้าสิงหทัยผู้ถูกสาป จะแปรเปลี่ยนร่างเป็น นรสิงหาสูร สัตว์อสูรมนุษย์กึ่งสิงโตมีกลิ่นกายเหม็นสาบ เคลื่อนไหวเงียบ จู่โจมรวดเร็วโดยมีอุ้งเล็บใหญ่ดุจหมีหรือเสือ พร้อมคมเขี้ยวอันแหลมคม เที่ยวล่าคนเป็นเหยื่อในยามค่ำคืน และกินหัวใจของคนเป็นอาหารเพื่อดำรงชีพ เสียงคำรามดังกึกก้องกว่าเสือและสิงโต ฆาตกรโหดที่คร่ามนุษย์อย่างไร้ความปราณี เว้นแต่หญิงที่มันรักเท่านั้น ที่มันจะไม่ทำอันตารยใดๆทั้งสิ้น\nมีแต่กริชอาคมเท่านั้น ที่จะทำลายวิญญาณอสูรและฆ่านรสิงห์ให้ตายได้ เป็นสิ่งที่เคยใช้สะกดวิญญาณนรสิงห์เมื่อครั้งในอดีตเพื่อไม่ให้มันออกมาอาละวาด",
"title": "สาบนรสิงห์"
},
{
"docid": "8823#5",
"text": "2 กุมภาพันธ์ - เจ้าฟ้าชายวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ มกุฎราชกุมารแห่งเนเธอร์แลนด์ ทรงอภิเษกเสกสมรสกับ นางสาวแม็กซิมา เซอร์เรกัวตา ปัจจุบันทั้ง 2 ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระราชาธิบดี และ สมเด็จพระราชินี แห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ โดยมีพระราชธิดาร่วมกัน 3 พระองค์ 27 กุมภาพันธ์ – รถไฟขบวนหนึ่งที่นำนักแสวงบุญฮินดูกลับจากอโยธยา สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางตะวันตกของรัฐคุชราต ประเทศอินเดีย ถูกเผาโดยผู้ก่อการความรุนแรงชาวมุสลิม มีผู้เสียชีวิตบนรถไฟ 58 คน ส่งผลให้เกิดการจลาจลตอบโต้ นำไปสู่การเสียชีวิตของมุสลิมนับพันคน",
"title": "พ.ศ. 2545"
},
{
"docid": "258109#35",
"text": "พ่อค้าชาวอินเดียก็นำอาหารอินเดียมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะมายังในบริเวณที่ปัจจุบันคือมาเลเซียและอินโดนีเซียที่การใช้เครื่องเทศเป็นเครื่องปรุงกลายมาเป็นที่นิยม[39] หรือชาวโปรตุเกสที่นำน้ำส้มสายชูไปยังอินเดีย[40] อาหารอินเดียที่ปรับให้เข้ากับลิ้นชาวยุโรปก็เข้ามา และเริ่มมาแพร่หลายในอังกฤษราว ค.ศ. 1811 เมื่อผู้ที่ไปทำงานในอินเริ่มกลับเข้ามาในอังกฤษ[41]",
"title": "การค้าเครื่องเทศ"
},
{
"docid": "122923#1",
"text": "ภาพลักษณ์ของคาห์นที่โดดเด่นไม่เหมือนใครนี่เองที่ส่งให้เขาได้รับบทนำแสดงใน Maqbool ซึ่งดัดแปลง “แม็คเบ็ธ” ของวิลเลียม เชกสเปียร์ ให้เข้ากับโลกใต้ดินของบอมเบย์ เพื่อเข้าถึงผู้ชมอินเดียและประสบความสำเร็จอย่างสูงเมื่อปี 2003 เขายังรับบทเด่นเข้าชิงรางวัลจาก Hassil โดยรับบทเป็นผู้นำนักศึกษาที่ปลุกปั่นพลังมวลชนได้อยู่หมัดและเข้าไปพัวพันกับเรื่องราวความรัก ซึ่งก็เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง",
"title": "อีร์ฟาน ข่าน"
},
{
"docid": "40167#0",
"text": "รายชื่อของภาษาของประเทศอินเดียที่มีผู้พูดมากกว่า 10 ล้านคน มีอยู่ด้านล่าง ภาษาอังกฤษมีชาวอินเดียพูดเป็นภาษาที่สองระหว่าง 50 และ 250 ล้านคน ข้อมูลนี้มาจากฐานข้อมูลของ Ethnologue โดยคิดเฉพาะผู้พูดเป็นภาษาแม่ ภาษาที่พูดในอินเดียส่วนใหญ่จะอยู่ในตระกูลอินโด-อารยัน (ประมาณ 74%), ดราวิเดียน (ประมาณ 24%), ออสโตรเอเชียติก (มุนดา) (ประมาณ 1.2%) หรือทิเบโต-เบอร์แมน (ประมาณ 0.6%) โดยที่มีบางภาษาของเทือกเขาหิมาลัยที่ยังไม่ได้จัดประเภท ภาษาอังกฤษ ซึ่งได้นำมาใช้ภายใต้จักรพรรดิอังกฤษ มีบทบาทสำคัญเป็น ภาษากลางที่ไม่ยึดติดกับชนพื้นเมืองใด ๆ ของอินเดียโดยเฉพาะ ก่อนหน้ายุคอาณานิคม ภาษาเปอร์เซีย มีบทบาทสำคัญเป็นภาษาของรัฐบาล การศึกษาและการค้า เนื่องจากข้อบัญญัติของผู้นำมุสลิม และยังคงเป็นภาษาคลาสสิกที่ศึกษาในโรงเรียนอินเดียหลายแห่ง จำนวนอย่างเป็นทางการของ 'ภาษาแม่' ที่พูดในอินเดีย คือ 1,683 ซึ่งจำนวนนี้มีประมาณ 850 ภาษาที่ใช้ประจำวัน ส่วน SIL Ethnologue นับภาษาที่มีชีวิตได้ 387 ภาษาในอินเดีย",
"title": "รายชื่อภาษาของอินเดียเรียงตามจำนวนคนพูด"
},
{
"docid": "210386#2",
"text": "ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 16 คน จะทำการโหวต หาบุคคลที่ถูกสงสัยว่าเป็น X-man ใครที่คะแนนมากที่สุด จะต้องทำการสแกนมือ แต่ถ้าบุคคลนี้ไม่ใช่ X-man ผู้ที่มีคะแนนรองลงมาจะต้องขึ้นไปสแกนมือเรื่อยๆ ตามลำดับคะแนนที่ได้จนกว่าจะหา X-man เจอ โดยเงินรางวัลที่จะนำไปบริจาคมีเงื่อนไขว่า หากทาย X-man ถูกในครั้งแรก เงินรางวัลนี้จะถูกนำไปบริจาคในนามผู้ร่วมรายการทุกคน แต่ถ้าทายถูกตั้งแต่ครั้งที่ 2 ขึ้นไป เงินรางวัลจะถูกนำไปบริจาคในนามของผู้ที่เป็น X-man แต่เพียงผู้เดียว",
"title": "X-Man ปริศนาเขาคือใคร"
},
{
"docid": "77183#14",
"text": "ซึ่งชาวไทยในมาเลเซียนั้นมีความเคารพศรัทธาและความผูกพันกับพระบรมธาตุที่นครศรีธรรมราชมาช้านานหลายชั่วอายุคนแล้ว ซึ่งในอดีตอันยาวนานนับตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 เมืองนครศรีธรรมราชหรือตามพรลิงก์ เป็นแคว้นใหญ่ที่เจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นเป็นเมืองศูนย์กลางในแหลมมลายูมีเมืองบริวารถึง 12 เมืองเรียกว่าเมือง 12 นักษัตร และไทรบุรีหรือเกอดะฮ์แห่งนี้ก็เป็นหนึ่งใน 12 เมืองบริวาร โดยถือตรงมะโรงหรืองูใหญ่เป็นตราสัญลักษณ์ ประกอบกับทั้งเมืองนครศรีธรรมราชที่ตั้งอยู่ริมฝั่งอ่าวไทย ในขณะที่รัฐไทรบุรีเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ริมฝั่งมหาสมุทรอินเดีย จึงเป็นเส้นทางค้าขายที่สำคัญต่อกัน ผู้คนพลเมืองเดินทางไปมาหาสู่กันเหมือนบ้านพี่เมืองน้องจนมีคำกล่าวที่ติดปากกันสืบมาว่า \"กินเมืองคอน นอนเมืองไทร\" อันเป็นคำกล่าวที่แสดงถึงความผูกพันระหว่างสองเมืองได้เป็นอย่างดียิ่ง และความผูกพันเช่นนี้ก็ยังสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน บรรยากาศของความเคารพความศรัทธาของชาวไทยในมาเลเซียที่มีต่อพระบรมธาตุ คนไทยในไทรบุรีมีคติความเชื่อสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณว่า หากใครได้มีโอกาสเดินทางมานมัสการพระบรมธาตุที่นครศรีธรรมราชแล้ว ก็จะได้บุญกุศลมากมายยิ่ง เพราะได้มาถึงศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาที่เจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีต อีกทั้งยังเป็นการเดินทางที่ยาวไกลและสมบุกสมบันทุรกันดารยิ่งนัก คนที่เดินทางมาถึงได้ต้องมีศรัทธาอย่างแรงกล้าในจิตใจ ใครได้มาถึงแล้วกลับไปก็จะกลายเป็นคนที่เป็นยอดคนเลยทีเดียว ยิ่งได้มาบวชหรือพาลูกพาหลานมาบวชด้วยแล้ว ก็จะยิ่งได้กุศลยิ่งๆ ขึ้นไปอีก แม้ปัจจุบันการเดินทางจะสะดวกสบาย ด้วยการเดินทางทางรถยนต์ราว 3-4 ชั่วโมง แต่ศรัทธาของพวกเขาก็ยังคงอยู่และสืบทอดมายังคนรุ่นหลัง",
"title": "มาเลเซียเชื้อสายไทย"
},
{
"docid": "123483#0",
"text": "เวียดนามแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 831 เป็นอุบัติเหตุเครื่องบินตกในประเทศไทย พ.ศ. 2531 โดยสายการบินสัญชาติเวียดนาม (ปัจจุบันคือ เวียดนามแอร์ไลน์) นำผู้โดยสารบินจากฮานอยไปยังกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2531 ด้วยเครื่องบินตูโปเลฟ ทะเบียน VN-A102 ขณะเครื่องลดระดับลงจอด มีฝนตกหนักและทัศนวิสัยไม่ดี และมีรายงานว่าเครื่องถูกฟ้าผ่า นักบินลดระดับความสูงไม่ถูกต้อง นำเครื่องลงผิดเป้าหมายและตกลงในพื้นที่หมู่ 6 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ใกล้กับหมู่บ้านเสมาฟ้าคราม เมื่อเวลา 11.37 น. ห่างจากสนามบิน 6 กิโลเมตร มีผู้เสียชีวิต 76 คน มีผู้รอดชีวิต 6 คน ในจำนวนผู้เสียชีวิต มี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของเวียดนาม และเอกอัครราชทูตอินเดียประจำเวียดนาม รวมอยู่ด้วย",
"title": "เวียดนามแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 831"
},
{
"docid": "275063#1",
"text": "4 จตุรเทพ เป็นยอดฝีมือที่มีฝีมือเหนือกว่าผู้นำโรงยิมซึ่งไม่เคยคิดที่จะออมมือใคร ศัตรูที่หมายตาไว้จะไม่มีทางรอดเลยซักรายเดียว ในโปเกมอนลีค การแข่งขันจะเป็นแบบสู้กับ 4 คนนั้นตามลำดับพอนะมาได้ ก็สู้กับแชมป์เปี้ยน พอชนะแชมป์เปี้ยนได้จะเป็นแชมป์คนใหม่\n4 จตุรเทพ หรือในอีกชื่อว่า4จักรพรรดิ เป็นยอดฝีมือที่มีฝีมือเหนือกว่าผู้นำโรงยิมซึ่งไม่เคยคิดที่จะออมมือใคร ศัตรูที่หมายตาไว้จะไม่มีทางรอดเลยซักรายเดียว โดยทั้ง 2 เขต ใช้จตุรเทพร่วมกัน4 จตุรเทพโฮเอ็นคือผู้ชนะโฮเอ็นลีกในครั้งก่อน ๆ ซึ่งได้รับการคัดเลือกมา พวกเขาและแชมเปี้ยนจะรอทำการต่อสู้กับผู้ที่ชนะเลิศในการแข่งขันในทัวร์นาเมนต์เป็นคนสุดท้าย ผู้ที่สามารถโค่น4จตุรเทพและแชมเปี้ยนคนปัจจุบันได้ก็จะถูกขนานนามให้อยู่ในระดับท็อปหรือได้รับการจารึกชื่อ\n4 จตุรเทพโจโตเป็นกลุ่มของคนหลงผิดในแต่ละองค์กรซึ่งไม่คิดที่จะอยู่ใต้อาณัติใคร",
"title": "รายชื่อตัวละครในโปเกมอนสเปเชียล"
},
{
"docid": "813778#49",
"text": "ในห้องตัดสิน กรรมการชื่นชอบภาพของทาเทียน่า ที่ออกมาดูน่าทึ่ง แต่เป็นอีกครั้งที่ถูกวิจารณ์ว่าไม่เป็นแฟชั่นชั้นสูง โครี่แอน ได้รับคำชมว่า ในภาพ เธอดูมีความสนุกสนาน ตรงกับความต้องการของช่างภาพ และตรงกับคอนเซ็ปต์ แต่ถูกตำหนิว่า ท่าโพส ดูน่าอึดอัด และถ้าวิเคราะห์จากผลงานโดยรวม และกรรมการไม่แน่ใจว่าเธอจะสามารถขึ้นปกนิตยสาร เปเปอร์ แม็กกาซีนได้ อินเดีย ได้รับคำชมจาก ริต้า ในเรื่องของความลึกลับที่สื่อออกมาในภาพ แต่ ลอว์ กลับคิดว่า ความลึกลับนั้น คือสิ่งที่ทำให้เธอล้มเหลวในภาพถ่าย อย่างไรก็ตาม ดรูว์ กลับคิดว่าเธอไม่เคยทำให้กรรมการผิดหวังกับภาพถ่ายของเธอเลยในแต่ละสัปดาห์ และ สาวๆก็ต้องประหลาดใจเป็นอย่างมาก เมื่อ ริต้า กล่วว่า จะต้องมีผู้ที่ถูกคัดออกจากการแข่งขันในขณะนี้เลย ซึ่งสุดท้ายแล้ว คนที่ต้องถูกคัดออกจากการแข่งขัน คือ โครี่แอน หลังจากนั้น จึงเป็นการวิจารณ์การเดินแบบ โดย อินเดีย ทำให้กรรมการประทับใจกับการเดินที่ดูน่าทึ่ง แต่ถูกตำหนิในเรื่องของการยกแขน และการยืนไขว้ขา ตรงสุดทางรันเวย์ ในขณะที่ ทาเทียน่า ก็ได้รับคำวิจารณ์ที่ดีเช่นเดียวกันในการเดินแบบ ในการปรึกษาหารือนั้น กรรมการรู้สึกว่า ทาเทียน่า มีบุคลิกที่ดูโดดเด่น ซึ่งเหมาะกับการเป็นสุดยอดนางแบบ ในขณะที่ อินเดีย ถ่ายภาพออกมาดูน่าทึ่งในทุกๆสัปดาห์ ซึ่งระหว่างนั้น ไทรา แบงส์ ได้เข้ามาพบกับ คณะกรรมการ เพื่อช่วยตัดสินใจว่า ใครเหมาะสมที่จะเป็นผู้ชนะ และเมื่อ ริต้า เรียกพวกเธอทั้งสองคนกลับมาอีกครั้ง จึงประกาศว่า อเมริกา เน็กซ์ ทอป โมเดล คือ อินเดีย แกนส์",
"title": "อเมริกาส์เน็กซต์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 23"
},
{
"docid": "945155#3",
"text": "พระพุทธิสารโสภณ รองศาสตราจารย์ ดร. เป็นพระเถระที่มีศีลาจารวัติงดงาม ใครๆก็ตามที่ได้พบเห็นได้สนทนาด้วย ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันถึงศีลาจารวัตรอันงดงามดังกล่าว เป็นพระเถระที่มักน้อยสันโดษ มีอัธยาศัยไมตรี มีเมตตาเป็นหลักประจำใจ มีความขยันเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตพรหมจรรย์ จะเห็นได้จากการศึกษาเล่าเรียนของพระเดชพระคุณท่านทั้งทางโลกและทางธรรม ได้สำเร็จการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาเอก คณะศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยปัญจาบ ซึ่งถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของสาธารณรัฐอินเดีย เป็นมหาวิทยาลัยที่บรรดาคนอินเดียเองต้องการเข้าไปศึกษาเป็นจำนวนมาก แต่น้อยคนนักที่จะสามารถสอบแข่งขันเข้าไปศึกษาในคณะต่างๆได้ พระเดชพระคุณท่านศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ สำเร็ขการศึกษาทั้งในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ในเมืองดังกล่าวนั้นมีพุทธศาสนิกชนชาวอินเดียให้ความเคารพนับถือต่อพระเดชพระคุณท่านเป็นจำนวนมาก จึงมักกราบนิมนต์พระคุณท่านได้เมตตาเดินทางไปร่วมมือกับพระนักศึกษา นักศึกษาไทย และชาวพุทธเมืองจันดิการ์ หาที่ในการสร้างวัดขึ้น เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธทั้งมวล ออกแบบโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส ซึ่งมีอายุการก่อตั้งเมืองมาเพียง 50 กว่าปี ถูกจัดเป็นเมืองที่น่าอยู่เป็นระดับสองของสาธารณรัฐอินเดีย โดยแบ่งเมืองออกเป็นเขต ทั้งหมดมี 49 เขต ปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของ 2 รัฐ คือ รัฐปัญจาบ และรัฐหรยาณา ราคาที่ดินในเมืองนี้จึงค่อนข้างแพง แต่ด้วยความตั้งใจของชาวพุทธทุกฝ่าย โดยการนำของพระเดชพระคุณท่าน จึงได้สร้างวัดพุทธวัดแรกในเมืองจันดิการ์ ชื่อวัดอโศกพุทธวิหาร ตำบลกุดดาอะลิเซอร์ เมืองจันดิการ์ รัฐปัญจาบ สาธารณรัฐอินเดีย มีเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่",
"title": "พระพุทธิสารโสภณ (เดช กตปุญฺโญ)"
},
{
"docid": "237844#36",
"text": "ในระเบิดเถิดเทิงซอยข้าใครอย่าแตะ พ่อมหาถูกเสี่ยหมี ขอซื้อที่ดินและบ้านหลายครั้ง เพื่อทำเป็นลานจอดรถในพลาซ่าของตน แต่พ่อมหาไม่ยอมขายให้ และได้สั่งบัว เจ้าของบ้านพ่อมหาคนปัจจุบัน ว่าเมื่อเท่งกลับมาแล้วให้เรียกทนายความมาอ่านสัญญาเกี่ยวกับที่ดินและบ้านที่พ่อมหาได้ทำไว้ ก่อนที่จะไปแสวงบุญที่ประเทศอินเดีย",
"title": "รายชื่อตัวละครในระเบิดเถิดเทิง"
}
] |
4125 | ประเทศอินเดียคือต้นกำเนิดศาสนาพุทธใช่หรือไม่ ? | [
{
"docid": "578913#0",
"text": "ศาสนาแบบอินเดีย (English: Indian religions) คือศาสนาที่มีต้นกำเนิดในอนุทวีปอินเดีย ได้แก่ ศาสนาฮินดู ศาสนาเชน ศาสนาพุทธ และศาสนาซิกข์[web 1] ศาสนาเหล่านี้ถือว่าเป็นศาสนาตะวันออก แม้ศาสนาแบบอินเดียจะเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์อินเดีย แต่ก็ไม่ได้มีอยู่เฉพาะในอนุทวีปอินเดียเท่านั้น ยังได้แพร่หลายไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ด้วย[web 1]",
"title": "ศาสนาแบบอินเดีย"
}
] | [
{
"docid": "11558#6",
"text": "แคว้นพระบิดาของพระพุทธองค์ก็อยู่ในแคว้นเล็ก ๆ นี่อาณาจักรเหล่านี้ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือพระราชามีอำนาจเด็ดขาดบ้าง ระบอบสามัคคีธรรม คือมีสภาเป็นที่ปรึกษาบ้าง ระบอบประชาธิปไตยบ้าง แต่ส่วนมากจะเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ด้วยเหตุที่พุทธศาสนาถือกำเนิดในแผ่นดินอินเดีย จึงควรจะได้ศึกษาภูมิหลังของอินเดียในยุคก่อนการกำเนิดของพุทธศาสนาพอสังเขป ดังนี้",
"title": "ชมพูทวีป"
},
{
"docid": "77973#44",
"text": "พุทธศาสนานิกายวัชรยาน หรือ พุทธศาสนาลัทธิตันตระ กำเนิดขึ้นครั้งแรกทางตะวันออกของอินเดีย เมื่อราว พ.ศ. 700 - 1200[24] บางครั้งจัดเป็นส่วนหนึ่งของมหายานแต่บางครั้งก็แยกตัวเองออกมาต่างหาก หลักปรัชญาของวัชรยานเป็นแบบเดียวกับมหายาน แต่มีวิธีการหรือ \"อุปาย\" ต่างไป โดยมีการใช้ญาณทัศน์และโยคะอื่น ๆ เข้ามา การฝึกเหล่านี้ได้อิทธิพลจากลัทธิตันตระของศาสนาฮินดู วัชรยานในทิเบต ก่อตั้งโดยท่านปัทมสัมภวะ",
"title": "ประวัติศาสนาพุทธ"
},
{
"docid": "20838#57",
"text": "จนกระทั่ง ใน พ.ศ. 2500 รัฐบาลอินเดียได้เฉลิมฉลองพุทธชยันตี 2500 (วิสาขบูชากึ่งพุทธกาล) โดย เยาวหรลาล เนรูห์ นายกรัฐมนตรีแห่งอินเดีย ได้เชิญชวนให้ประเทศพุทธศาสนาทั่วโลกมาสร้างวัดไว้ในดินแดนต้นพุทธอุบัติภูมิ ซึ่งประเทศไทยโดยการนำของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้ตอบรับและดำเนินการสร้างวัดเป็นชาติแรกตั้งแต่ พ.ศ. 2500 และประเทศชาวพุทธอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่น พม่า เกาหลี จีน ศรีลังกา ธิเบต ฯลฯ ได้ดำเนินการสร้างวัดต่อมาตามลำดับ โดยรัฐบาลอินเดียได้มีส่วนสำคัญในการบูรณะพุทธคยาอย่างต่อเนื่องจนมีสภาพดังที่เห็นในปัจจุบัน",
"title": "วันวิสาขบูชา"
},
{
"docid": "32560#11",
"text": "การเผยแผ่ในทิเบตอีกทางหนึ่ง มีต้นกำเนิดจากอาณาจักรชางชุง (Zhang zhung หรือ Shang shung) ซึ่งเชื่อว่าคือบริเวณภูเขาไกรลาศทางตะวันตกของทิเบตในปัจจุบัน อันมีอาณาเขตไปจนถึงเปอร์เซีย โดยที่พุทธศาสนาดั้งเดิมนี้ หรือที่ Professor Christopher Beckwith เรียกว่า พุทธโบราณของเอเซียกลาง (ancient Buddhism of Central Asia) มีชื่อเรียกว่า เพิน (Bon) หรือชื่อที่ถูกต้องคือ ยุงตรุงเพิน (Yungdrung Bon) หมายถึง ธรรมะที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง คำว่า เพิน แปลว่า ธรรมะ หรือสภาวธรรม คำนี้จึงเป็นคำเดียวกับคำว่า เชอ (Chos) ซึ่งใช้เรียกธรรมะในพุทธศาสนาที่เผยแผ่มาจากอินเดีย หมายถึง คำสอนในนิกายต่างๆข้างต้น (คำว่า เพิน หรือนักแปลบางคนออกเสียงตามภาษาอังกฤษว่า บอน ยังเป็นชื่อเรียกลัทธิความเชื่อแต่ดั้งเดิมที่มีการนับถือธรรมชาติและเคยมีการบูชายัญ แต่ลัทธินี้ซึ่งชื่อเต็มคือ \"เตอเม เพิน\" ถูกทำลายไปจนหมดสิ้นตั้งแต่ในสมัยพุทธกาลของพระพุทธเจ้าเติมปา เชนรับ มิโวเช องค์พระศาสดาก่อนสมัยพุทธกาลของพระพุทธเจ้าศรีศายมุนี เมื่อกว่า 10,000 ปีมาแล้ว หลังจากนั้น ชาวชางชุงได้กลายเป็นชาวพุทธ เมื่อพระพุทธเจ้าเติมปา เชนรับเสด็จทิเบต ทรงนำคำสอนนี้ไปเผยแผ่ในทิเบต ทำให้คำสอนนี้รุ่งเรืองในทิเบต จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 7 ที่มีการรับคำสอนมาจากอินเดีย ด้วยปัญหาทางการเมืองและศาสนา ในสมัยของกษัติรย์ตรีซง เตเซ็น (ศตวรรษที่ 8) อาณาจักรชางชุงถูกยึดครอง ผู้ปฏิบัติเพินจำนวนมากถูกสังหาร และกษัติรย์องค์สุดท้ายของชางชุงคือ กษัตริย์ลิกมินชาถูกปลงพระชนม์ หลังจากนั้น วิถีปฏิบัติพุทธเพินก็ได้ตกอยู่ในความขัดแย้งของการแบ่งแยกทางศาสนา)",
"title": "วัชรยาน"
},
{
"docid": "352472#8",
"text": "และสุดท้าย แรงงานที่ต้องคอบสนับสนุนเพื่อนให้ทั้ง 3 วรรณะข้างตนทำงานได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ผู้ทำหน้าที่ใช้แรงงานหรือด้านกรรมกรนั้นคือวรรณะศูทร\nคัมภีร์อรรถศาสตร์ คัมภีร์ที่เป็นเสมือนคู่มือนักปกครองในยุคสมัยของอินเดียโบราณ เข้าใจว่าถูกเรียบเรียงโดย เกาติลยะ หรือผู้ที่สามารถยันกองทัพของอเล็กซานเดอร์มหาราชย์ที่พยายามขยายอำนาจมาสู่อินเดียเอาไว้ได้ คัมภีร์นี้มีเนื้อหาเกี่ยวข้องสนับสนุนคุณสมบัติของศาสนาพราหมณ์ 3 ประการคือ อำนาจ ธรรมมะ และกามะ ในยุคสมัยอินเดียโบราณจะให้ความสำคัญกับวรรณะพราหมณ์มากกว่าวรรณะกษัตริย์ แต่อรรถศาสตร์จะยึดการให้ความสำคัญกับประมุขของรัฐมากกว่าวรรณะพราหมณ์ แต่ก็ยังคงยอมรับว่าวรรณะพราหมณ์มีชนชั้นสูงกว่า โดยหน้าที่ของวรรณะพราหมณ์นั้นจะมุ่งเน้นไปที่เรื่องศาสนาและพิธีกรรมมากกว่าการมีบทบาททางราชการของรัฐ\nพระพุทธเจ้า\nเจ้าชายสิทธัตถะ โคตมะ จากแคว้นแห่งหนึ่งในชมพูทวีปผู้ค้นพบ(ตรัสรู้)และเผยแพร่ศาสนาพุทธที่เจริญรุ่งเรืองในอินเดียในยุคต่อมาระยะหนึ่ง โดยแก่นสำคัญของปรัชญาชาวพุทธคือการมองชีวิตและสรรพสิ่งในโลกว่าไม่เที่ยงแท้ มีความทุกข์ ไม่ใช่ของตนและมีแต่จะเสื่อมสลายไป ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นทุกสิ่งย่อมมีสาเหตุ เน้นความเป็นเหตุเป็นผล ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนอย่าพึงเชื่ออะไรโดยง่าย ศาสนาพุทธเน้นเดินทางสายกลางและการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายอีกทั้งเน้นในเรื่องของหนทางแห่งการดับทุกข์โดยเห็นว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสังคม มีหลักคิดสำคัญคือ อริยสัจ 4 \nในทางปรัชญาตวามคิดทางสังคมของศาสนาพุทธ มีความคิดในการยอมรับความเท่าเทียมกัน ความเสมอภาคกันของมนุษย์ มีความตรงกันข้ามกับระบบวรรณะของฮินดู โดยมีความคิดที่ว่ามนุษย์จะปฏิบัติอะไรจะเป็นแบบไหนขึ้นอยู่กับการกระทำของตนเองไม่ได้ขึนอยู่กับชาติกำเนิด ศาสนาพุทธไม่เน้นถึงรูปแบบการปกครองแต่จะกล่าวถึงธรรมในการปกครองมากกว่า",
"title": "ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง"
},
{
"docid": "79071#0",
"text": "ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่มีพลเมืองส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก แต่ในเวลาเดียวกันก็มีกลุ่มศาสนาต่าง ๆ อยู่ในประเทศด้วยกัน ทั้งอิสลาม พุทธ ฮินดู และศาสนาอื่น ๆ บนเอกภาพที่หลากหลาย\nพระพุทธศาสนาในประเทศฟิลิปปินส์ เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัยเรืองอำนาจทางฝั่งมลายู ได้แผ่ขยายวัฒนธรรมมาถึงฟิลิปปินส์ในศตวรรษที่ 7 จนถึงศตวรรษที่ 13 แล้วมีชาวจีนโพ้นทะเล(อาจจะนับถือลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื๊อด้วย) ในศตวรรษที่ 14 จนถึงศตวรรษที่ 20 และชาวญี่ปุ่น(อาจนับถือลัทธิชินโตด้วย) ที่อพยพตั้งรกรากในฟิลิปปินส์ ได้นำพระพุทธศาสนานิกายมหายานเข้ามาด้วย ในขณะที่ชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่นับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกซึ่งสเปนมาเผยแพร่เมื่อสมัยฟิลิปปินส์เป็นเมืองขึ้นของสเปน และสมัยฟิลิปปินส์เป็นเมืองขึ้นของสหรัฐอเมริกา ก็ได้เผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแทนต์ แต่ก่อนหน้านั้นศาสนาอิสลามก็ได้มาเผยแพร่และนิยมมากทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ และต่อมาชาวอินเดีย-ปากีสถาน อพยพมาตั้งถิ่นฐานในฟิลิปปินส์ก็ได้นำศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เข้ามาด้วย ",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศฟิลิปปินส์"
},
{
"docid": "60547#1",
"text": "ณัฐพล อยู่รุ่งเรืองศักดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เขียนไว้ในหนังสือ ประวัติศาสตร์ผ่านพระเครื่องไว้ว่า พระเครื่องมีความเป็นมาและวิวัฒนาการอันยาวนาน ก่อนจะมาเป็นพระเครื่องนั้นได้เกิดพระพิมพ์ขึ้นมาก่อน เมื่อบริบททางสังคมเปลี่ยนไป คติการสร้างพระพิมพ์ก็เปลี่ยนแปลงไปและเลือนหายไปในที่สุด พระพิมพ์บางส่วนกลายมาเป็นพระเครื่อง พระพิมพ์เป็นของเก่าแก่ที่ได้มีผู้ทำขึ้นตั้งแต่ตอนต้นพุทธศาสนา มีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินเดีย การแผ่ขยายอิทธิพลทางพุทธศาสนาไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ทำให้พระพิมพ์ซึ่งเป็นประติมากรรมเนื่องในคติทางพุทธศาสนาได้แผ่กระจายไปยังดินแดนต่าง ๆ พร้อมกับคำสอน ความเชื่อทางพุทธศาสนา พระธาตุและพระบรมสารีริกธาตุ รวมถึงวัตถุเนื่องในพุทธศาสนาด้วย",
"title": "พระเครื่อง"
},
{
"docid": "42893#0",
"text": "มหากรุณาธารณี (, : ธารณีว่าด้วยความกรุณาอันยิ่งใหญ่) หรือ นิลกัณฐธารณี ( : ธารณีว่าด้วยพระผู้มีศอสีนิล) เป็นชื่อบทสวด (ธารณี) สำคัญในพระพุทธศาสนามหายาน เป็นธารณีประจำองค์พระอวโลกิเตศวร ปางสหัสภุชสหัสเนตร (พันหัตถ์พันเนตร) ในภาษาจีนเรียกธารณีนี้ว่า ไต่ปุ่ยจิ่ว (; \"ต้าเปยโจ้ว\" ตามสำเนียงจีนกลาง) มีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานภาษาสันสกฤตของอินเดีย พระภควธรรมเถระชาวอินเดียนำเข้าไปแปลในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ถัง และมีฉบับแปลเป็นภาษาทิเบตด้วย ",
"title": "มหากรุณาธารณี"
},
{
"docid": "981709#0",
"text": "นวยาน (เทวนาครี: नवयान, ) แปลว่า \"ยาน (พาหนะ) ใหม่\" เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาพุทธในประเทศอินเดีย ที่เกิดขึ้นจากการตีความศาสนาขึ้นใหม่ของภีมราว รามชี อามเพฑกร () ผู้มีชาติกำเนิดมาจากชนชั้นทลิต (, \"มิควรข้องแวะ\") ในยุคที่อินเดียตกเป็นอาณานิคม เขาได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ กระทั่งในปี พ.ศ. 2478 เขามีความประสงค์เปลี่ยนศาสนาจากฮินดูไปนับถือศาสนาพุทธ อามเพฑกรได้ศึกษาคติและหลักธรรมคำสอนทางศาสนาเช่นจตุราริยสัจและอนัตตา ซึ่งเขาปฏิเสธความเชื่อเรื่องดังกล่าว แต่ได้นำคำสอนทางศาสนาไปตีความใหม่เรียกว่า นวยาน หรือ \"ยานใหม่\" แห่งพุทธศาสนา บางแห่งก็เรียกนิกายนี้ว่า ภีมยาน () ตามชื่อต้นของอามเพฑกรคือ \"ภีมราว\" ต่อมาเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2499 อามเพฑกรได้ประกาศละจากนิกายหีนยานและมหายาน รวมทั้งศาสนาฮินดู ทว่าเขาก็เสียชีวิตลงหลังการเปลี่ยนศาสนาจากฮินดูไปนับถือนวยานได้เพียงหกสัปดาห์",
"title": "นวยาน"
},
{
"docid": "77973#0",
"text": "ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากศาสนาหนึ่งของโลก รองจากศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดู ประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน 6 ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันสถานที่นี้ เรียกว่า พุทธคยา อยู่ห่างจากเมืองคยาประมาณ 11 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนาหลังจากการประกาศศาสนา เริ่มจากการแพร่หลายไปทั่วอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน 100 ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือเถรวาทและมหายาน",
"title": "ประวัติศาสนาพุทธ"
},
{
"docid": "188033#0",
"text": "นิกายสุขาวดี (; , \"Jōdokyō\"; , \"jeongtojong\"; ) เป็นนิกายในศาสนาพุทธที่ตั้งขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน แม้จะมีกำเนิดมาจากพระสูตรที่มาจากประเทศอินเดีย แต่ในอินเดียไม่ได้เป็นนิกายเอกเทศ นิกายนี้พระฮุ่นเจียงตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 9 สมัยราชวงศ์ตั้งจิ้น คำสอนของท่านเน้นการเจริญพุทธสติถึงพระอมิตาภพุทธะและปรารถนาไปเกิดในแดนสุขาวดี ในจีนเรียกนิกายนี้ว่า นิกายวิสุทธิภูมิ (จิ้งถู่จง)",
"title": "สุขาวดี (นิกาย)"
},
{
"docid": "660906#34",
"text": "อิทธิพลของอาหารอินเดียพบในอินโดนีเซียตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 9 ตามมาด้วยการแพร่ขยายของศาสนาอิสลามเข้าสู่อินโดนีเซีย มุสลิมจากอินเดียส่งผลต่ออาหารอินโดนีเซียหลายอย่าง เช่น มะตะบะ และการี และส่งผลตั้งแต่อาหารอาเจะฮ์ในสุมาตราไปจนถึงอาหารมีนังกาเบา มลายู อาหารเบอตาวีและอาหารชวา อาหารอาเจะฮ์และอาหารมีนังกาเบาหลายชนิด เช่น โรตี จาเนา นาซี บิรยานี นาซี เกอบูลี และกูไล ล้วนมีต้นกำเนิดมาจากอินเดีย",
"title": "อาหารอินโดนีเซีย"
},
{
"docid": "48120#20",
"text": "จนในปี พ.ศ. 2500 รัฐบาลอินเดีย โดยการนำของ ฯพณฯ เยาวหรลาล เนรูห์ นายกรัฐมนตรีแห่งอินเดีย ได้เฉลิมฉลองพุทธชยันตี (วิสาขบูชา) โดยเชิญชวนประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั่วโลก มาสร้างวัดไว้ในดินแดนต้นพุทธอุบัติภูมิ ซึ่งประเทศไทยโดยการนำของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้ตอบรับและดำเนินการสร้างวัดเป็นชาติแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 และประเทศชาวพุทธอื่น ๆ (เช่น ญี่ปุ่น พม่า เกาหลี จีน ศรีลังกา ธิเบต ฯลฯ) ได้ดำเนินการสร้างวัดต่อมาตามลำดับ และรัฐบาลอินเดียได้มีส่วนสำคัญในการบูรณะพุทธคยาอย่างต่อเนื่องจนมีสภาพดังที่เห็นในปัจจุบัน",
"title": "พุทธคยา"
},
{
"docid": "158602#0",
"text": "นิกายนิจิเร็นโชชู () คือหนึ่งในนิกายฝ่ายมหายานของพระพุทธศาสนานิกายนิจิเร็ง โดยยึดตามคำสอนของพระนิจิเร็นไดโชนิง ซึ้งเชื่อในหมู่ผู้นับถือว่าคือพระพุทธเจ้าแท้จริง มีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น การปฏิบัติที่รู้จักกันดีคือการสวด\"ไดโมกุ\" หรือ ธรรมสารัตถที่ว่า\"นัมเมียวโฮเร็งเงเกียว\" นิกายนี้จัดเป็นนิกายที่มีคำสอนตรงกันข้ามและหักล้างนิกายอื่นๆอย่างชัดเจน อาทิเช่น นิกายเซ็น นิกายชิงงง นิกายสุขาวดี และวัชรยาน เป็นต้น ซึ่งนิจิเร็งได้เห็นความเบี่ยนเบนทางคำสอนของพระพุทธศาสนา และได้หักล้างความเบี่ยนเบนต่าง ๆ เหล่านั้น สาวกคนสำคัญของพระนิจิเร็นไดโชนิง พระนิกโค โชนิง เป็นผู้ก่อตั้งวัดใหญ่ไทเซกิจิ ปัจจุบันมีพุทธศาสนิกชนแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก มีวัดสาขาและศูนย์กลางเผยแผ่ประจำในประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ ไต้หวัน อินโดนีเซีย ศรีลังกา สิงคโปร์ กานา บราซิล อาร์เจนตินา ฮ่องกง มาเลเซีย สเปน และอินเดีย เป็นต้น",
"title": "นิจิเร็นโชชู"
},
{
"docid": "43069#1",
"text": "ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถือให้เป็นลัทธิความเชื่อพื้นเมืองประจำประเทศญี่ปุ่น พิธีกรรมของลัทธิชินโตนี้มาจากวัฒนธรรมท้องถิ่นและธรรมเนียมปฏิบัติต่าง ๆ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นพิธีกรรมอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งศาสนาพุทธ และ ลัทธิขงจื๊อ กับ ลัทธิเต๋า รวมทั้งภายหลัง ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ได้เริ่มให้เข้ามาในดินแดนญี่ปุ่น ตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 พิธีกรรมของลัทธิชินโตได้ถูกบันทึกและบัญญัติเป็นครั้งแรกในคัมภีร์โคะจิคิ () และจดหมายเหตุนิฮงโชะกิ () ในศตวรรษที่ 8 เพื่อตอบโต้ศาสนาที่มีระดับความพัฒนามากกว่าจากแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ตาม งานเขียนในยุคแรกๆก็ยังมิได้บ่งบอกว่าเป็น ลัทธิชินโต แต่งานเขียนในสมัยต่อมาก็ได้บ่งชี้อย่างชัดเจน พร้อมขนบธรรมเนียบของสังคมเกษตรกรรมและเทศกาลประจำปีเข้าไปด้วย รวมไปถึงความเชื่อเรื่องเทพปกรณัมและการกำเนิดโลกต่าง ๆ ซึ่งเล่าถึงต้นกำเนิดของชนชาติญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะหมายถึงเชื้อสายยะมะโตะ () และอิสึโมะ () ในสมัยนั้น พุทธศาสนาได้แพร่จากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่น และมีผสมผสานความเชื่อดั้งเดิม อย่างเช่น ความเชื่อเรื่องเทพเจ้าในลัทธิชินโตและความเชื่อเรื่องพระโพธิสัตว์ในศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น",
"title": "ชินโต"
},
{
"docid": "41646#18",
"text": "ประเทศศรีลังกา นับการสังคายนาสามครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย และการสังคายนาที่ประเทศตนเองอีก 3 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายกระทำเมื่อ พ.ศ. 2408 โดยการสังคายนาครั้งนี้เป็นที่รู้กันเฉพาะในประเทศศรีลังกาเท่านั้น ประเทศพม่า นับการสังคายนาสามครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย และนับการสังคายนาครั้งที่ 2 ที่ลังกาเป็นครั้งที่ 4 และนับการสังคายนาที่ประเทศตนเองอีก 2 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายหรือครั้งที่ 6 ในพม่า มีชื่อเรียกว่าฉัฏฐสังคายนา เริ่มกระทำเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 การทำสังคายนาครั้งนี้ทำขึ้นเนื่องในโอกาสฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เพื่อพิมพ์พระไตรปิฎก อรรถกถา และคำแปลเป็นภาษาพม่า โดยได้เชิญพุทธศาสนิกชนจากหลายประเทศเข้าร่วมพิธี โดยเฉพาะจากประเทศ พม่า ศรีลังกา ไทย ลาว และกัมพูชา ประเทศไทย นับการสังคายนาสามครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย และครั้งที่ 1-2 ที่ลังกา แต่ในหนังสือสังคีติยวงศ์ หรือประวัติแห่งการสังคายนา ของสมเด็จพระวันรัต ได้นับเพิ่มอีก 4 ครั้ง คือ ครั้งที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 956 ในลังกา โดยพระพุทธโฆสะได้แปลและเรียบเรียงอรรถกถา ซึ่งถือว่าเป็นการชำระอรรถกถา ไม่ใช่พระไตรปิฎก ทางลังกาจึงไม่นับเป็นการสังคายนา ครั้งที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 1587 ในลังกา โดยพระกัสสปเถระเป็นประธานรจนาอรรถกถาต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นการชำระอรรถกถา ไม่ใช่พระไตรปิฎก ทางลังกาจึงไม่นับเป็นการสังคายนาเช่นกัน ครั้งที่ 8 เมื่อ พ.ศ. 2020 ในประเทศไทย โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนา ครั้งที่ 9 เมื่อ พ.ศ. 2331 ในประเทศไทย โดยการอุปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์",
"title": "สังคายนาในศาสนาพุทธ"
},
{
"docid": "38809#13",
"text": "ตามที่ได้บันทึกในอินเดียวิทยาที่สำคัญกล่าวว่า ศาสนาส่วนตัวของพระเจ้าอโศกกลายมาเป็นศาสนาพุทธ ถ้าไม่ก่อนก็หลังสงครามแคว้นกลิงคะแน่นอน อย่างไรก็ตาม การบรรยายของ A. L. Bashamนักประวัติศาสตร์และนักอินเดียวิทยาบอกว่า ธรรมะที่เผยแผ่อย่างเป็นทางการโดยพระเจ้าอโศกไม่ใช่เป็นธรรมะในทางพระพุทธศาสนาเลย แม้กระนั้น การเผยแผ่ของพระองค์ก็นำไปสู่การขยายวงกว้างออกไปของพระพุทธศาสนาในจักรวรรดิโมริยะและอาณาจักรอื่นๆในยุคเดียวกับที่พระองค์ปกครอง และออกไปสู่ต่างประเทศมากมายจาก จากประมาณปี 250 ก่อนคริสตกาล บุคคลที่โดดเด่นในกรณีนี้คือพระโอรสของพระองค์พระนามว่า พระมหินทเถระ (Mahinda) และพระธิดาของพระองค์พระนามว่า สังฆมิตตาเถรี (สังฆมิตตา แปลว่า เพื่อนของสงฆ์) ผู้ที่สถาปนาพระพุทธศาสนาขึ้นในเกาะซีลอน(ทุกวันนี้คือประเทศศรีลังกา) คัมภีร์อรรถกถาสมันตปาสาทิกาบอกว่า เวลาที่พระโอรสและพระธิดาทั้ง 2 องค์ผนวช พระเจ้าอโศกทรงอภิเษกครองราชย์ได้ 6 ปี",
"title": "พระเจ้าอโศกมหาราช"
},
{
"docid": "129113#9",
"text": "หลังการรับศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ได้มีการนำเสนอที่มาของนางกวักว่ามีต้นกำเนิดในประเทศอินเดียมาแต่ยุคพุทธกาล นางกวักมีนามเดิมว่าสุภาวดี เกิดที่เมืองมิจฉิกาสัณฑนคร เป็นธิดาของสุจิตต์พราหมณ์ กับมารดาชื่อสุมณฑา ครั้นจำเริญวัยได้เดินทางไปค้าขายกับบิดา ระหว่างทางได้พบกับพระอรหันต์สองคือพระมหากัสสปะและพระสีวลี ซึ่งได้ประสาทพรให้นางสุภาวดีให้เป็นผู้เจริญร่ำรวยจากการค้าขาย ทำให้ครอบครัวของนางร่ำรวยขึ้น โดยสุภาวดีและครอบครัวมักทำบุญและบริจาคทานอยู่เป็นนิจ หลังนางสุภาวดีเสียชีวิตจึงมีการสร้างรูปขึ้นมาเคารพบูชา",
"title": "นางกวัก"
},
{
"docid": "193369#0",
"text": "สาละ เป็นพืชในวงศ์ Dipterocarpaceae เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาฮินดู เป็นที่ประทับของพระเจ้า และเป็นสัญลักษณ์แห่งอินทรา ในทางพุทธศาสนา ต้นสาละคือต้นที่พระพุทธมารดายืนเหนี่ยวกิ่งในขณะประสูติไม่ใช่ต้นสาละลังกา เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความสำคัญในอินเดีย ใช้ในการก่อสร้างโดยเฉพาะกรอบประตูและหน้าต่าง",
"title": "สาละ"
},
{
"docid": "434400#1",
"text": "วัดม้าขาว กลายมาเป็นต้นกำเนิด และศูนย์กลางของพุทธศาสนาในประเทศจีน ซึ่งต่อมาได้มีพระภิกษุอีกนับพันรูปได้จำพรรษา ณ วัดแห่งนี้ รวมทั้งพระอันซื่อกาว พระเสวียนจั้ง หรือ พระถังซัมจั๋ง ด้วย ซึ่งก่อนออกเดินทางไปจารึกแสวงบุญยังประเทศอินเดีย ก็ได้เริ่มต้นการเดินทางจากที่นี่ และเดินทางกลับมายังประเทศจีน ในปี ค.ศ. 645 และมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ซึ่งปัจจุบันอัฐิของท่านก็ถูกบรรจุอยู่ในเจดีย์องค์หนึ่งที่วัดแห่งนี้ ",
"title": "วัดม้าขาว"
},
{
"docid": "2043#26",
"text": "เนื่องจากประเทศอินเดียเป็นแหล่งกำเนิดพระศาสนาที่มีความสำคัญในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ศาสนาพราหมณ์ และ พระพุทธศาสนา ชาวอินเดียจึงถือว่าครอบครัวเป็นสถาบันทางสังคมที่มีความสำคัญที่สุด ระบบครอบครัวของอินเดียเป็นระบบครอบครัวร่วม หรือครอบครัวขนาดใหญ่ สมาชิกในครอบครัวประกอบด้วย ปู่ ย่า พ่อ แม่ ลูก หลาน และ เหลน อยู่ร่วมกันภายในครอบครัวเดียว ผู้อาวุโสที่สุดของฝ่ายชายจะเป็นหัวหน้าครอบครัว แม้สังคมของอินเดียยังคงมีความนับถือเรื่องวรรณะอยู่ แต่ก็ปรากฏไม่มากเท่าอดีต การดำเนินชีวิตของชาวอินเดียจะยึดถือศาสนาเป็นสิ่งสำคัญ กว่าร้อยละ 79.8 ของประชากรนับถือศาสนาฮินดู ร้อยละ 14.2 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 2.3 นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.7 นับถือ ศาสนาพุทธส่วนมากอยู่ลาดัก หิมาจัล สิกขิม อัสสัม เบงกอลตะวันตก และโอริศา ร้อยละ 1.7 นับถือศาสนาซิกข์ในรัฐปัญจาบ และที่เหลือ ร้อยละ 0.4 ศาสนาเชนในรัฐคุชรัต และอื่น ๆ อีก 0.9 รวมทั้งพวกนักบวชที่นับถือนิกายต่าง ๆ อีกมากมาย มีประมาณ 400 ศาสนาทั่วอินเดีย",
"title": "ประเทศอินเดีย"
},
{
"docid": "192850#0",
"text": "โยคะ () เป็น กลุ่มของการปฏิบัติหรือการประพฤติทางกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยมีต้นกำเนิดในประเทศอินเดียสมัยโบราณ โยคะมีอยู่ด้วยกันหลานสำหนักซึ่งมีการปฏิบัติและเป้าหมายต่างกันไป ทั้งในศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ และศาสนาเชน ",
"title": "โยคะ"
},
{
"docid": "11114#14",
"text": "ก่อตั้งคณะสงฆ์อินเดีย (ALL India Bhikkhu Sangha) ให้เป็นองค์กรที่ถูกต้องตามกฎหมาย มีการบรรพชาอุปสมบทอย่างถูกต้องตามพระธรรมวินัย โดยการจัดซื้อที่ดินให้สร้างสำนักงานคณะสงฆ์อินเดีย อบรมสั่งสอนกุลบุตรชาวอินเดียที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา สร้างวัดไทยเพื่อขยายและสร้างโครงงานพระธรรมทูตออกไปยังสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยมีวัดไทยในอินเดีย ดังต่อไปนี้ วัดไทยนาลันทา พ.ศ. 2516 วัดไทยสารนาถ พ.ศ. 2514 วัดไทยลุมพินี พ.ศ. 2538 รัฐบาลไทยสร้าง แต่มอบหมายให้อยู่ภายใต้การดูแลของหัวหน้าพระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาล วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ พ.ศ. 2537 และสาขาของวัดไทยกุสินาราอีกสองแห่ง คือ วัดไทยสาวัตถี พ.ศ. 2548 และพุทธวิหารสาลวโนทยาน 960โสเนาลี ชายแดนอินเดีย-เนปาล พ.ศ. 2548 วัดไทยสิริราชคฤห์ พ.ศ. 2546 วัดไทยไพสาลี พ.ศ. 2547 สนับสนุนชาวพุทธอินเดียสร้างพุทธวิหาร พร้อมมอบพระพุทธรูปและเครื่องอัฐบริขารในการบรรพชาอุปสมบท เช่น มอบแด่ชาวพุทธที่เมืองนาคปุร์ เมืองออรังคบาด รัฐมหารัชตะ จัดตั้งคลินิกเพื่อดูแลชาวพุทธไทย และชาวพุทธทั่วโลก รวมทั้งชาวอินเดีย เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแด่ชาวพุทธที่มาไหว้พระแสวงบุญ รวมทั้งเพื่อสร้างมวลชนสัมพันธ์กับชาวบ้านท้องถิ่น จัดสร้างโรงเรียนเพื่อเยาวชนชาวอินเดีย ให้ได้รับการศึกษา มีจำนวน4 แห่งคือ วัดไทยพุทธคยา สนับสนุนโรงเรียนปัญจศีล ที่พุทธคยา และโรงเรียนชาวพุทธใหม่ที่นาลันทา วัดไทยสารนาถ จัดสร้างโรงเรียนพระครูปกาศสมาธิคุณ และวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ สร้างโรงเรียนต้นกล้าพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จัดอบรมพระธรรรมวิทยากร เพื่อพัฒนาบุคลากรทางพระพุทธศาสนา คือ พระภิกษุ สามเณร แม่ชี อุบาสก อุบาสิกา ที่มาปฏิบัติหน้าที่พระธรรมทูต ศึกษาเล่าเรียนและปฏิบัติธรรมในอินเดีย ให้รักงานเผยแพร่ วัตถุประสงค์เพื่อสามารถนำพาพุทธบริษัทที่มาไหว้พระแสวงบุญที่อินเดียให้ได้เข้าใจซาบซึ้งในคุณของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ นำสวดมนต์ไหว้พระ ปฏิบัติธรรม เจริญจิตภาวนา อธิบายธรรม พุทธประวัติ ประวัติศาสตร์ และเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ให้แก่ชาวพุทธไทยและต่างชาติได้ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดี ได้รับคำยกย่องและชื่นชมจากชาวพุทธไทยเป็นอย่างมาก ปัจจุบันมีการอบรม สามแห่งคือ วัดไทยพุทธคยา วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ และมหาวิทยาลัยเมืองพาราณสี ดูแลนักศึกษาไทยที่มาเรียนที่อินเดีย มหาเถรสมาคมได้มอบหมายให้เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยาเป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย และเป็นผู้ดูแลพระนักศึกษาไทยที่มาศึกษาที่ประเทศอินเดีย ทางวัดไทยพุทธคยาได้จัดมอบทุนการศึกษาแด่นักศึกษาไทย และให้การสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น โครงการไหว้พระนมัสการพุทธสังเวชนียสถาน ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยพาราณสี มหาวิทยาลัยมคธ มหาวิทยาลัยเดลลี มหาวิทยาลัยปูเณ่ ฯลฯ มอบทุนการศึกษาแด่พระภิกษุ-สามเณร แม่ชีและนักเรียนไทย ที่มาศึกษาในประเทศอินเดีย",
"title": "วัดไทยพุทธคยา"
},
{
"docid": "524208#3",
"text": "ตามความเชื่อของศาสนาเต๋า เต๋า คือปฐมธาตุ เป็นพลังงาน ต้นกำเนิดของสรรพสิ่งทั้งปวง เต๋าไม่มีชีวิต ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่พระเป็นเจ้า แต่ดำรงอยู่ก่อนพระเป็นเจ้า ความเชื่อเรื่องเต๋าของศาสนาเต๋าจึงมีลักษณะเป็นเอกนิยม มีความคล้ายคลึงกับธรรมกายในศาสนาพุทธนิกายมหายาน-วัชรยานและคล้ายกับความเชื่อเรื่องพรหมันของศาสนาฮินดูสำนักอไทฺวตะ เวทานตะ อีกด้วย",
"title": "เต๋า"
},
{
"docid": "3897#2",
"text": "จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย",
"title": "ทวีปเอเชีย"
},
{
"docid": "82773#1",
"text": "แม้จักมีการนับถือศาสนาพุทธในหมู่ชาวญี่ปุ่นอยู่ก่อนแล้ว โดยรับจากอินเดียผ่านจีนเข้ามายังญี่ปุ่นที่มีผู้นำมาถ่ายทอดจากแผ่นดินใหญ่ในช่วงก่อนต้นพุทธศตวรรษที่ 10 เพียงแต่ครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นอย่างเป็นหลักเป็นฐานที่ชัดเจนอยู่ในบันทึกนิฮงโชคิพงศาวดารญี่ปุ่นซึ่งเขียนโดยอาลักษณ์",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น"
},
{
"docid": "48108#29",
"text": "จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2500 รัฐบาลอินเดียได้เฉลิมฉลองพุทธชยันตี 2500 (วิสาขบูชากึ่งพุทธกาล) โดย ฯพณฯ เยาวหรลาล เนรูห์ นายกรัฐมนตรีแห่งอินเดีย ได้เชิญชวนให้ประเทศพุทธศาสนาทั่วโลกมาสร้างวัดไว้ในดินแดนต้นพุทธอุบัติภูมิ ซึ่งประเทศไทยโดยการนำของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้ตอบรับและดำเนินการสร้างวัดเป็นชาติแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 และประเทศชาวพุทธอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่น พม่า เกาหลี จีน ศรีลังกา ธิเบต ฯลฯ ได้ดำเนินการสร้างวัดต่อมาตามลำดับ โดยรัฐบาลอินเดียได้มีส่วนสำคัญในการบูรณะพุทธคยาอย่างต่อเนื่องจนมีสภาพดังที่เห็นในปัจจุบัน",
"title": "สังเวชนียสถาน"
},
{
"docid": "932112#0",
"text": "ประเทศเวียดนามเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีประชากรนับถือพระพุทธศาสนา โดยเป็นการนับถือทั้งในส่วนพุทธศาสนามหายาน และเถรวาท\nพระพุทธศาสนาที่เข้ามาสู่เวียดนามในยุคแรกนั้น เป็นพุทธศาสนาแบบมหายาน โดยสันนิษฐานว่าท่านเมียวโป (Meou-Po) ได้เดินทางมาจากประเทศจีนเข้ามาเผยแผ่ เวียดนามจึงได้รับเอาศาสนาจากจีน รวมทั้งคัมภีร์ทางศาสนา ก็เป็นภาษาจีนเหมือนกัน สันนิษฐานกันว่า ได้มีพระภิกษุชาวอินเดีย คือ พระมหาชีวก พระกัลยาณรุจิ และ พระถังเซงโฮย ได้เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนา ในยุคเดียวกับท่านเมียวโป แต่การเผยแผ่พุทธศาสนาก็ไม่เจริญนัก เพราะกษัตริย์จีนในขณะนั้นนับถือศาสนาขงจื้อ ไม่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา และยังไม่พอพระทัยที่มีคนนับถือพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อชาวเวียดนามกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ พระพุทธศาสนาได้รับการฟื้นฟูอย่างจริงจัง ในครั้งนั้นได้มีพระภิกษุชาวอินเดีย ชื่อ วินีตรุจิ ท่านได้ศึกษาพุทธศาสนาในอินเดียแล้วยัง ได้เดินทางมาศึกษาพุทธศาสนานิกายเซน หรือ เธียน (Thien) ในประเทศจีน แล้วเดินทางมาเผยแผ่ พุทธศาสนานิกายเธียร หรือ เซน ในเวียดนามจนพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ คราวที่เวียดนามกู้อิสรภาพ ได้ตั้งอาณาจักรไคโคเวียด ใน พ.ศ. 1482 หลังจากได้อิสรภาพแล้ว ก็เกิดการแย่งชิงอำนาจกันเอง ประมาณ 30 ปี ระยะนี้พุทธศาสนาซบเซาขาดการทำนุบำรุง ต่อมาเมื่อราชวงศ์ดินห์ ขึ้นครองอำนาจในปี พ.ศ. 1212 แล้ว พระพุทธศาสนากลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง พระพุทธศาสนาได้มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก",
"title": "ศาสนาพุทธในประเทศเวียดนาม"
},
{
"docid": "999551#0",
"text": "มูลสรวาสติวาท (Mūlasarvāstivāda ) เป็นหนึ่งในนิยายยุคต้นของพุทธศาสนาในอินเดีย ต้นกำเนิดของมูลสรวาสติวาทและความเกี่ยวโยงกับนิยายสรวาสติวาทยังไม่เป็นที่ทราบกันดีนัก แม้ว่าจะมีหลายทฤษฎีที่เสนอเรื่องนี้ก็ตาม ความต่อเนื่องของนิยายมูลสรวาสติวาทยังคงดำรวอยู่ในพุทธศาสนาในทิเบตจนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ ทว่า มีเพียงการสืบทอดมูลสรวาสติวาทสายภิกษุ ไม่มีการสืบทอดสายภิกษุณี",
"title": "มูลสรวาสติวาท"
}
] |
4126 | สามก๊ก มีจริงใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "9800#6",
"text": "สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ ที่เรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ของจีน ซึ่งเนื้อหาโดยรวมเป็นการเล่าแบบบรรยายเกี่ยวกับเหตุการณ์ในปลายสมัยราชวงศ์ฮั่นน",
"title": "สามก๊ก"
}
] | [
{
"docid": "901355#0",
"text": "โกเสียง มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่าเกาเสียง () เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นขุนพลของจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก",
"title": "โกเสียง"
},
{
"docid": "140628#0",
"text": "ฮัวโต๋ (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นชาวตำบลเจากุ๋น เมืองไพก๊ก มณฑลเจียงซู มีชื่อรองว่าเหยียนหัวะ มีอาชีพเป็นหมอ ฮัวโต๋เป็นผู้ที่มีฝีมือในด้านการรักษาโรคอันยอดเยี่ยม วิธีการรักษาคนไข้ด้วยการให้กินยาและผ่าตัด",
"title": "ฮัวโต๋"
},
{
"docid": "743196#1",
"text": "สามก๊กมีขนาดสองเล่มจบ ความหนาหนึ่งพันแปดสิบหกหน้า เนื้อเรื่องมีแปดสิบสามตอน สำหรับหนอนหนังสือแล้วไม่ใช่เรื่องยากเย็นอย่างไร เพราะหากเทียบกับวรรณกรรมอย่าง ผู้ยากไร้ ของวิคเตอร์ ฮูโก หรือสงครามและสันติภาพ ของลีโอ ตอลสตอย หรือแม้แต่มังกรหยก ของกิมย้ง แล้วสามก๊กถือได้ว่าไม่ยากและไม่ง่ายสำหรับการอ่าน",
"title": "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)"
},
{
"docid": "177180#0",
"text": "กุยห้วย (; ) หรือ กวยหวย (ชื่อในสามก๊กฉบับพระยาคลัง) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ขุนพลแห่งวุยก๊ก เป็นชาวเมืองไท่หยวน รับราชการเมื่อมีอายุประมาณ 30 กว่าปี ",
"title": "กุยห้วย"
},
{
"docid": "169150#1",
"text": "ส่วนประวัติในจดหมายเหตุสามก๊กของตันซิ่วนั่น เล่าเจี้ยงเป็นเจ้าเมืองที่ดีแต่ไม่มีความทะเยอทะยานที่จะขยายอาณาจักรตนเอง ทำให้ที่ปรึกษาอย่าง หวดเจ้ง,เบ้งตัด และเตียวสง ไม่พอใจและถือโอกาสที่เกิดความขัดแย้งระหว่างก๊กเล่าเจี้ยงและก๊กเตียวฬ่อ ไปขอความช่วยเหลือจากก๊กเล่าปี่ให้มาช่วยเหลือก๊กเล่าเจี้ยงสู้กับก๊กเตียวฬ่อ แต่ความจริงคือต้องการให้เล่าปี่ยึดอำนาจจากเล่าเจี้ยงเพราะเห็นว่าเล่าปี่มีความทะเยอทะยานมากกว่า และเหตุการณ์ถัดไปก็ตรงตามกับในวรรณกรรมสามก๊กถึงช่วงที่เสฉวนถูกเล่าปี่ยึดครอง และเล่าเจี้ยงย้ายมาอยู่กังตั๋งจนกระทั่งเสียชีวิต",
"title": "เล่าเจี้ยง"
},
{
"docid": "172802#0",
"text": "เล่าฮอง (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลของจ๊กก๊ก เป็นบุตรบุญธรรมของเล่าปี่ ",
"title": "เล่าฮอง"
},
{
"docid": "23849#0",
"text": "พระเจ้าซุนกวน (; 181 — 252) หรือ พระเจ้าหวูต้าตี้ เป็นตัวละครในวรรณกรรม จีน อิง ประวัติศาสตร์ เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ผู้ก่อตั้งและพระมหากษัตริย์ของง่อก๊ก (吳) หนึ่งในสามอาณาจักรของยุคสามก๊ก",
"title": "ซุนกวน"
},
{
"docid": "743196#2",
"text": "เมื่อในรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชดำรัสสั่งให้แปลหนังสือพงศาวดารจีนเป็นภาษาไทยสองเรื่อง คือ เรื่องไซ่ฮั่น เรื่องหนึ่ง กับเรื่องสามก๊ก เรื่องหนึ่ง โปรดให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมพระราชวังหลัง ทรงอำนวยการแปลเรื่องไซ่ฮั่น แลให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) อำนวยการแปลเรื่องสามก๊ก คำที่เล่ากันมาดังกล่าวนี้ไม่มีในจดหมายเหตุ แต่เมื่อพิเคราะห์ดูเห็นมีหลักฐานควรเชื่อได้ว่า เป็นความจริง ด้วยเมื่อในรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเอาเป็นพระราชธุระขวนขวายสร้างหนังสือต่าง ๆ ขึ้นเพื่อประโยชน์สำหรับพระนคร หนังสือซึ่งเป็นต้นฉบับตำรับตำราในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ทั้งที่รวบรวมของเก่า ที่แต่งใหม่ แลที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๑ มีมาก แต่ว่าในสมัยนั้นเป็นหนังสือเขียนในสมุดไทยทั้งนั้น ฉบับหลวงมักมีบานแพนกแสดงว่าโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปีใด แต่หนังสือเรื่องไซ่ฮั่นกับเรื่องสามก๊กสองเรื่องนี้ต้นฉบับที่ยังปรากฏอยู่มีแต่ฉบับเชลยศักดิ์ขาดบานแพนกข้างต้น จึงไม่มีลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญว่าแปลเมื่อใด ถึงกระนั้นก็ดี มีเค้าเงื่อนอันส่อให้เห็นชัดว่า หนังสือเรื่องไซ่ฮั่นกับเรื่องสามก๊กแปลเมื่อในรัชกาลที่ ๑ ทั้งสองเรื่อง เป็นต้นว่า สังเกตเห็นได้ในเรื่องพระอภัยมณีที่สุนทรภู่แต่งซึ่งสมมุติให้พระอภัยมณีมีวิชาชำนาญในการเป่าปี่ ก็คือ เอามาแต่เตียวเหลียงในเรื่องไซ่ฮั่น ข้อนี้ยิ่งพิจารณาดูคำเพลงปี่ของเตียวเหลียงเทียบกับคำเพลงปี่ของพระอภัยมณีก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่า ถ่ายมาจากกันเป็นแท้ ด้วยเมื่อรัชกาลที่ ๑ สุนทเรื่องสามก๊กนั้นเป็นนิทานที่ใช้เล่าและเล่นเป็นงิ้วในเมืองจีนมาแต่ก่อน ปราชญ์จีนชื่อ ล่อกวนตง ในยุคราชวงศ์หมิง (พ.ศ. 1911 - 2186) จึงได้เขียนเรียบเรียงเป็นหนังสือ ต่อมาเม่าจงกัง และ กิมเสี่ยถ่าง ได้แต่งเพิ่มและนำไปตีพิมพ์ ตั้งแต่นั้นจึงได้แพร่หลายขึ้น และแปลเป็นภาษาต่าง ๆ หลายภาษา ของไทยนั้นแปลในปี พ.ศ. 2345 โดยซินแสผู้รู้ภาษาจีนได้แปลออกมาให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เรียบเรียงเป็นภาษาไทยอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นเมื่อเทียบเคียงกับภาษาจีนหรือแม้แต่ภาษาอังกฤษ เนื้อความหลายตอนจึงคลาดเคลื่อนกันบ้าง ซึ่งหาเทียบได้จากฉบับที่ สังข์ พัฒโนทัย แปลออกมาในตำราพิชัยสงครามสามก๊ก หรือในสามก๊กฉบับวณิพก ของยาขอบ ซึ่งเทียบจากฉบับภาษาอังกฤษของบริวิต เทเลอร์ แต่เนื้อความภาษาจีนเป็นอย่างไรหรือเรื่องจริงเป็นอย่างไรมิใช่ประเด็นสำคัญ เพราะสามก๊กฉบับภาษาไทยนั้น ได้ชื่อว่าเป็นเพชรเม็ดงามทางร้อยแก้วในวงวรรณกรรมไทย นอกจากสำนวนภาษาแล้ว เนื้อเรื่องยังได้แสดงตัวละครในลักษณะที่มีความซับซ้อนหลากหลาย ความเปลี่ยนแปรในจิตใจของมนุษย์ ตลอดจนเบื้องหลังอุปนิสัยตัวละครที่สัมพันธ์อย่างยิ่งกับการเดินเรื่อง สามก๊กจึงเป็นยอดในแบบของนิยายที่แสดงให้เห็นชีวิตโดยเหตุนี้",
"title": "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)"
},
{
"docid": "148959#0",
"text": "งันเหลียง (; เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ",
"title": "งันเหลียง"
},
{
"docid": "32666#0",
"text": "พระเจ้าซุนเกี๋ยน (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แม่ทัพและขุนศึกในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และยุคสามก๊กช่วงต้น",
"title": "ซุนเกี๋ยน"
},
{
"docid": "667262#0",
"text": "สิมโพย (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของอ้วนเสี้ยว",
"title": "สิมโพย"
},
{
"docid": "115107#16",
"text": "สิบขันทีปรากฏเป็นกลุ่มตัวละครในช่วงต้นของวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง\"สามก๊ก\" ซึ่งมีเค้าโครงจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์จีนปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกไปสู่การสิ้นสุดของราชวงศ์และนำไปสู่ยุคสามก๊ก ขันที่ในกลุ่มสิบขันทีที่ปรากฏชื่อในวรรรกรรม\"สามก๊ก\" ได้แก่ ขันทีห้าคนในจำนวนสิบคนนี้ ตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ไม่ได้อยู่ในกลุ่มสิบขันที เชียกงเป็นตัวละครสมมติ ฮองสีและเกียนสิดมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ แต่ไม่ปรากฏชื่อในกลุ่มสิบขันทีตามที่ระบุไว้ใน\"โฮ่วฮั่นชู\" (จดหมายเหตุราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง) เหาลำและเทาเจียดเสียชีวิตในปี ค.ศ. 172 และ ค.ศ. 181 ตามลำดับ จึงไม่ปรากฏในเหตุการณ์ตามที่ระบุในวรรณกรรม\"สามก๊ก\"",
"title": "สิบขันที"
},
{
"docid": "175430#0",
"text": "งักจิ้น (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นชาวเมืองหยางผิง เขตเว่ยกว๋อ ซึ่งปัจจุบันคือเมืองชิงเฟิง มณฑลเหอนาน มีชื่อรองเหวินเชียน ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก งักจิ้นเป็นคนรูปร่างเตี้ยและตัวเล็ก แต่จิตใจห้าวหาญ เก่งกาจในเชิงยุทธ์ เป็นขุนพลคนสำคัญของโจโฉ",
"title": "งักจิ้น"
},
{
"docid": "170843#0",
"text": "เลียวฮัว (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลแห่งจ๊กก๊ก ชื่อรองเหยียนเจี้ยน ()โดยก่อนหน้านั้นเป็นอดีตแม่ทัพของกบฏโจรโพกผ้าเหลือง เป็นตัวละครในเรื่องสามก๊กที่เจนศึกตั้งแต่โจรโพกผ้าเหลืองยันจ๊กก๊กล่มสลายคนนึง",
"title": "เลียวฮัว"
},
{
"docid": "169165#0",
"text": "เทียหยก (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ที่ปรึกษาคนสำคัญของโจโฉ ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่โจโฉหลายครั้ง เป็นผู้ใช้อุบายดึงตัวชีซีจากเล่าปี่ และเป็นคนแรกที่สังเกตเห็นว่าเรือเสบียงของอุยกายที่มาสวามิภักดิ์มีพิรุธ ซึ่งความจริงเป็นเรือเชื้อเพลิงของอุยกายที่ใช้เอาทัพเรือโจโฉตามอุบายของจิวยี่",
"title": "เทียหยก"
},
{
"docid": "882845#1",
"text": "วรรณกรรมเรื่องสามก๊กมีเนื้อหาที่อิงมาจากประวัติศาสตร์ปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกต่อยุคสามก๊ก ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จึงทำให้ผู้อ่านหลายคนเข้าใจผิดว่าเนื้อเรื่องที่ปรากฏในวรรณกรรมเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในยุคสามก๊ก แหล่งข้อมูลของประวัติศาสตร์ยุคสามก๊กที่เชื่อถือได้มากที่สุดคือ\"จดหมายเหตุสามก๊ก\" (\"ซันกั๋วจื้อ\"หรือ\"สามก๊กจี่\") ที่เขียนโดยตันซิ่ว และเพิ่มอรรถาธิบายโดยเผยซงจือ แหล่งข้อมูลอื่นๆที่ครอบคลุมประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊กได้แก่ \"โฮ่วฮั่นซู\" (จดหมายเหตุราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง) ของฟ่านเย่ และ \"จิ้นซู\" (จดหมายเหตุราชวงศ์จิ้น) ของฝางเสฺวียนหลิ่ง ด้วยความที่วรรณกรรมเรื่องสามก๊กเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ เนื้อเรื่องหลายส่วนจึงเป็นเนื้อเรื่องที่แต่งเสริมขึ้น หรือนำมาจากนิทานพื้นบ้าน หรืออิงมาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคอื่นๆของประวัติศาสตร์จีน",
"title": "ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในสามก๊ก"
},
{
"docid": "174670#0",
"text": "เขาฮิว (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก",
"title": "เขาฮิว"
},
{
"docid": "206407#0",
"text": "เตียวซี (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ภรรยาของพระเจ้าเล่าเสี้ยน",
"title": "เตียวซี"
},
{
"docid": "154267#0",
"text": "ง่อก๊กไถ้ (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ง่อก๊กไถ้ไม่ใช่ชื่อบุคคล แต่เป็นชื่อเรียกขาน มีความหมายว่า \"ผู้เป็นใหญ่แห่งง่อก๊ก\" เดิมมีชื่ออย่างไรไม่ปรากฏ เป็นพระมเหสีองค์ที่สองของซุนเกี๋ยน ทรงเป็นน้องสาวของงอฮูหยิน ภรรยาหลวงของซุนเกี๋ยน ผู้เป็นแม่แท้ ๆ ของซุนเซ็กและซุนกวน เมื่อพี่สาวเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ นางได้ฝากซุนกวน บุตรชายคนที่สองที่เพิ่งขึ้นครองแคว้นให้งอก๊กไถ้ดูแลด้วย ซึ่งงอก๊กไถ้ก็ทำหน้าที่นี้ได้อย่างดี จนซุนกวนนับถือนางเหมือนแม่แท้ ๆ ของตัว",
"title": "งอก๊กไถ้"
},
{
"docid": "153906#3",
"text": "จากคำกล่าวเสมือนรู้อนาคตของซุยเป๋งนี้ ทำให้มีนักอ่านสามก๊กชาวไทยหลายคน วิเคราะห์กันว่า แท้จริงแล้ว บุคคลที่ฉลาดที่สุดในนิยายเรื่องนี้ คือ ซุยเป๋ง ไม่ใช่ขงเบ้ง เพราะเป็นผู้อ่านสถานการณ์ได้อย่างแตกฉาน ซึ่งต่อมาทุกอย่างก็เป็นจริงดังที่ซุยเป๋งกล่าวทุกประการ คือ ขงเบ้งแม้จะใช้สติปัญญาของตนช่วยเหลือเล่าปี่และเล่าเสี้ยนอย่างเต็มที่ แต่หลังจากตัวตายไปแล้ว ราชวงศ์ฮั่นก็ถึงกาลล่มสลายอยู่ดี เพราะความอ่อนแอ ไม่เอาไหนของเล่าเสี้ยน ตัวขงเบ้งเองก็ต้องรากเลือดตายในสนามรบด้วยวัยเพียง 52 ปี และมีผู้ตายในสงครามโดยแผนของขงเบ้งมากถึง 2 ล้านคน แต่ก็ยืดอายุราชวงศ์ฮั่นออกไปได้แค่ 40 ปี เท่านั้น",
"title": "ซุยเป๋ง"
},
{
"docid": "49003#0",
"text": "อ้วนเสี้ยว (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก มีบทบาทในช่วงต้นเรื่อง ด้วยเป็นผู้นำก๊กที่มีกองกำลังใหญ่ที่สุด เข้มแข็งที่สุด แต่ท้ายสุดก็ต้องมาล่มสลายเพราะความไม่เอาไหนของตน อ้วนเสี้ยวเคยเป็นทหารติดตาม ที่มีความศรัทธาในตัวของแม่ทัพโฮจิ๋น ผู้เคยมีอาชีพขายเนื้อในเมือง ",
"title": "อ้วนเสี้ยว"
},
{
"docid": "158643#0",
"text": "เกียงอุย หรือในสำเนียงจีนกลาง เจียงเหวย (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ",
"title": "เกียงอุย"
},
{
"docid": "882845#40",
"text": "อย่างไรก็ได้ ในบทชีวประวัติจิวยี่ได้บันทึกว่าจิวยี่เคยแนะนำซุนกวนให้กักตัวเล่าปี่ไว้ในกังตั๋ง หลังจากเล่าปี่ได้เป็นผู้ว่าราชการแคว้นเกงจิ๋ว เล่าปี่ได้เดินทางมาพบซุนกวนที่เมืองจิง (京) จิวยี่ได้บอกกับซุนกวนว่า \"เล่าปี่มีลักษณะของจอมคนผู้โหดเหี้ยมและทะเยอทะยาน หนำซ้ำยังมีขุนพลที่แข็งแกร่งดั่งหมีและพยัคฆ์อย่างกวนอูและเตียวหุย เล่าปี่จึงไม่ใช่คนที่จะยอมอยู่ใต้ผู้อื่นเป็นแน่ ข้าพเจ้าเห็นว่าควรพาเล่าปี่กลับไปแดนง่อสร้างปราสาทให้อยู่ พร้อมปรนเปรอด้วยสตรีและทรัพย์สินของมีค่า จากนั้นเราจะแยกขุนพลสองคน(กวนอูและเตียวหุย)ออกจากกัน หากใช้เล่าปี่เป็นตัวประกัน และโจมตีทหารเล่าปี่ไปพร้อมๆกัน เป้าหมายของเรา(ยึดแคว้นเกงจิ๋ว)ก็จะสำเร็จ แม้นยังคงปล่อยให้พวกเล่าปี่มีดินแดนและปล่อยให้สามคนอยู่ด้วยกันแล้ว เกรงว่าเมื่อใดที่มังกรทะยานสู่เมฆและฝน จะไม่กลับคืนสู่บ่อน้ำอีก\" ฝ่ายซุนกวนเห็นว่าโจโฉยังเป็นภัยคุกคามทางเหนือ จึงเห็นว่าควรมีพันธมิตรไว้จะเป็นการดีกว่าทำลายความเป็นพันธมิตร จึงปฏิเสธคำแนะนำของจิวยี่ แสดงให้เห็นว่าจิวยี่ต้องการกักตัวเล่าปี่ไว้ในกังตั๋งเพื่อใช้เป็นตัวประกันในการควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาของเล่าปี่ (กวนอู เตียวหุย และคนอื่นๆ) แต่ไม่มีการกล่าวถึงการใช้นางซุนฮูหยินเป็นเหยื่อล่อเล่าปี่มาติดกับ สตรีที่ถูกกล่าวถึงในอุบายจะถูกใช้เพื่อปรนเปรอเล่าปี่ระหว่างถูกกักตัวให้หลงระเริงจนลิมผู้ใต้บังคับบัญชา ที่สำคัญคืออุบายไม่ได้ถูกใช้งานจริงเพราะซุนกวนไม่เห็นด้วย เรื่องราวนี้ในวรรณกรรม \"สามก๊ก\"จึงเป็นเรื่องที่แต่งเสริมขึ้นมา",
"title": "ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในสามก๊ก"
},
{
"docid": "9800#29",
"text": "Template:CJKV) เป็นสามก๊กฉบับนิยายที่ประพันธ์โดยหลัว กวั้นจง นักปราชญ์ในสมัยราชวงศ์หมิง ผู้เป็นศิษย์เอกของซือไน่อัน หลัว กวั้นจงเป็นผู้นำเอาจดหมายเหตุสามก๊กของตันซิ่วมาเรียบเรียงใหม่ โดยแต่งเสริมเพิ่มเติมในบางส่วนจากความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ในแบบฉบับของตนเอง รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของจีนให้กลายเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่เป็นการต่อสู้กันเองระหว่างฝ่ายคุณธรรมและฝ่ายอธรรมตามแบบฉบับของงิ้ว ที่จะต้องมีการกำหนดตัวเอกและตัวร้ายอย่างชัดเจนในเนื้อเรื่อง",
"title": "สามก๊ก"
},
{
"docid": "171446#0",
"text": "เตียวก๊ก (เสียชีวิต ค.ศ. 184) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า จางเจวี๋ย หรือ จางเจี่ยว () เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นผู้ก่อตั้งและผู้นำกลุ่มกบฏโพกผ้าเหลือง ในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของประเทศจีน ",
"title": "เตียวก๊ก"
},
{
"docid": "898525#0",
"text": "กุยฮิวจี๋ มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า กัวโยวจือ () มีชื่อรองว่าเหยี่ยนฉาง () เป็นตัวละครในวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นขุนนางของจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก เป็นชาวเมืองลำหยง (南陽 \"หนานหยาง\" ปัจจุบันคือเมืองหนานหยาง มณฑลเหอหนาน)",
"title": "กุยฮิวจี๋"
},
{
"docid": "23868#0",
"text": "เซ็กเธาว์ (; ; \"กระต่ายแดง\") เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก สุดยอดของม้าในยุคสามก๊ก มีเอกลักษณ์คือขนสีแดงทั้งตัว ในสามก๊กได้กล่าวถึง เซ็กเธาว์ ว่าสามารถวิ่งได้วันละพันลี้ เดิมทีเป็นม้าของตั๋งโต๊ะ ซึ่งต่อมาได้มอบให้กับ ลิโป้พร้อมกับเครื่องบรรณาการมากมาย เพื่อให้ลิโป้ทรยศพ่อบุญธรรม คือเต๊งหงวน ชื่อเซ็กเธาว์นั้นแท้ที่จริงแล้วไม่ใช่ชื่อม้า แต่เป็นชื่อสายพันธุ์ม้า เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดแถบตะวันออกกลางหรือเติร์กเมนิสถาน",
"title": "เซ็กเธาว์"
},
{
"docid": "9800#34",
"text": "เหมาจ้งกังได้ปรับแก้ไขสำนวนการใช้ภาษาของหลัว กวั้นจงในบางจุด ซึ่งเป็นภาษาพูดและเป็นการใช้สำนวนภาษาแบบยุคราชวงศ์หยวนหรือหงวน ให้กลายเป็นการใช้สำนวนภาษาในแบบภาษาเขียนของราชวงศ์ชิงหรือแมนจู นอกจากนี้ยังได้ทำการปรับเปลี่ยนลักษณะและบุคลิกของตัวละครในสามก๊กใหม่ทั้งหมดตามแนวความคิดของตนเอง รวมทั้งยังปรับเปลี่ยนชื่อและตำแหน่งขุนนาง สถานที่ของสามก๊กต้นฉบับของหลัว กวั้นจงผิดไปตามชื่อจริงในยุคนั้น ๆ ซึ่งสามก๊กของหลัว กวั้นจงนั้นได้เขียนชื่อตัวละคร ตำแหน่งและสถานที่ค่อนข้างชัดเจนและถูกต้องตามความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ แต่การปรับปรุงแก้ไขของเหมาหลุนและเหมาจ้งกังช่วยทำให้การดำเนินเรื่องไม่เยิ่นเย้อ เดินเรื่องกระชับ และเป็นการขัดเกลาภาษาทำให้อ่านสนุกน่าติดตาม",
"title": "สามก๊ก"
},
{
"docid": "873904#0",
"text": "ก้วนซุน หรือ กวนกี มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่าหมิ่นฉุน () มีชื่อรองว่าโป๋เตี่ยน () เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นขุนนางในเมืองกิจิ๋ว รับราชการกับฮันฮก เจ้าเมืองกิจิ๋ว\nชื่อของก้วนซุนในสำเนียงจีนกลางตามประวัติศาสตร์คือหมิ่นฉุน ส่วนในวรรณกรรมสามก๊กของล่อกวนตง ชื่อของก้วนซุนในสำเนียงจีนกลางเรียกเป็น กวนฉุน ( ; ) ในสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) จึงเรียกเป็นก้วนซุน นอกจากนี้ในสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ยังมีการเรียกชื่อก้วนซุนเป็นกวนกีอีกชื่อหนึ่ง",
"title": "ก้วนซุน"
}
] |
4127 | สุโขทัยมีกี่อำเภอ ? | [
{
"docid": "5487#9",
"text": "การปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ 86 ตำบล 843 หมู่บ้าน",
"title": "จังหวัดสุโขทัย"
}
] | [
{
"docid": "72685#0",
"text": "อำเภอพิชัย เป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 9 อำเภอ ของจังหวัดอุตรดิตถ์ พิชัยเป็นเมืองสำคัญมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เคยเป็นเมืองลูกหลวงของกรุงสุโขทัย เมืองหน้าด่านในสมัยกรุงศรีอยุธยา และเคยเป็นตัวจังหวัดเก่าอีกด้วย",
"title": "อำเภอพิชัย"
},
{
"docid": "900268#2",
"text": "วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 ย้ายมาอยู่บริเวณสนามบินเก่า ตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ส่วนบริเวณใต้วัดไทยชุมพลยกให้โรงเรียนอุดมดรุณี เมื่อโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคมได้พัฒนาขึ้น สามารถช่วยเปิดสถาบันการศึกษาให้แก่จังหวัดสุโขทัย คือ\n1. พ.ศ. 2500 ก่อตั้งวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดสุโขทัย โดยโรงเรียนให้ใช้อาคารสถานที่จนกระทั่งวิทยาลัยพลศึกษาสร้างเสร็จ และย้ายออกจากโรงเรียนเมื่อ พ.ศ. 2523 \n2. พ.ศ. 2523 ให้วิทยาลัยนาฏศิลป์สุโขทัย ใช้อาคารสถานที่ จนวิทยาลัยนาฏศิลป์สุโขทัยสร้างเสร็จ จึงย้ายออกไปจากโรงเรียนเมื่อ พ.ศ. 2525 3. พ.ศ. 2525 เปิดโรงเรียนชั้นมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ณ ตำบลยางซ้ายอำเภอเมืองสุโขทัย โดยเป็นสาขาของโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม ปัจจุบันคือโรงเรียนยางซ้ายวิทยาคม นอกจากนี้โรงเรียนยังบริการส่วนราชการตลอดจนชุมชน ที่สำคัญคือ",
"title": "โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม"
},
{
"docid": "371427#1",
"text": "พระครูสุวิชานวรวุฒิ มีนามเดิมก่อนบวชว่า ปี้ นามสกุล ชูสุข (คำว่า \"ปี้\" หมายถึง เงินตราสมัยโบราณ) เกิดเมื่อวันพุธที่ 15 ตุลาคม 2445 ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีขาล ณ ตำบลลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย \nการศึกษาแต่เดิมส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในวัด ที่มีพระ หรือฑิตที่ลาสิกขาไปเป็นผู้สอน หลวงพ่อปี้ ทินฺโน ในวัยเยาว์ คือเมื่ออายุประมาณ 12 ปี ทางครอบครัวบิดามารดา ได้นำไปฝากไว้กับพระอธิการหน่าย น้อยผล เจ้าอาวาสวัดเชิงคีรี ตำบลลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย โดยเริ่มแรกได้เรียนหนังสือมูลบทบรรพกิจเบื้องต้น ทั้งหนังสือไทยและหนังสือขอม หลวงพ่อปี้ ในวัยเยาว์มีความสามารถอ่านเขียนหนังสือไทยและหนังสือขอมได้เป็นอย่างดี จนเป็นที่พอใจของพระผู้สอน และทางครอบครัว ต่อมาเมื่ออายุได้ 16 ปี จึงได้กลับบ้านเพื่อไปประกอบอาชีพทางการเกษตรอันเป็นอาชีพของครอบครัว \nเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2475 หลวงพ่อปี้ ทินฺโน เมื่ออายุครบบวช 20 ปี จึงเข้ารับการอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดสังฆาราม ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย มีพระครูวินัยสาร (ทิม ยสฺทินโน)วัดราชธานี เจ้าคณะอำเภอเมืองสุโขทัย เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการน้อย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ฉายาว่า ทินโน เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเชิงคีรี ตำบลลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย",
"title": "พระครูสุวิชานวรวุฒิ (ปี้ ทินฺโน)"
},
{
"docid": "5487#10",
"text": "อำเภอเมืองสุโขทัย อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอคีรีมาศ อำเภอกงไกรลาศ อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสำโรง อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีนคร อำเภอทุ่งเสลี่ยม",
"title": "จังหวัดสุโขทัย"
},
{
"docid": "5487#12",
"text": "อำเภอเมืองสุโขทัย เทศบาลเมืองสุโขทัยธานี เทศบาลตำบลบ้านสวน เทศบาลตำบลเมืองเก่า เทศบาลตำบลบ้านกล้วย อำเภอบ้านด่านลานหอย เทศบาลตำบลลานหอย เทศบาลตำบลตลิ่งชัน อำเภอคีรีมาศ เทศบาลตำบลทุ่งหลวง เทศบาลตำบลบ้านโตนด อำเภอกงไกรลาศ เทศบาลตำบลกงไกรลาศ อำเภอศรีสัชนาลัย เทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย เทศบาลตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสำโรง เทศบาลตำบลศรีสำโรง อำเภอสวรรคโลก เทศบาลเมืองสวรรคโลก เทศบาลตำบลในเมือง เทศบาลตำบลป่ากุมเกาะ เทศบาลตำบลคลองยาง เทศบาลตำบลเมืองบางขลัง อำเภอศรีนคร เทศบาลตำบลศรีนคร อำเภอทุ่งเสลี่ยม เทศบาลตำบลทุ่งเสลี่ยม เทศบาลตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ เทศบาลตำบลกลางดง",
"title": "จังหวัดสุโขทัย"
},
{
"docid": "5487#15",
"text": "อำเภอเมืองสุโขทัย ศาลหลักเมืองสุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า พิพิธภัณฑ์ปลาในวรรณคดี ตำบลบ้านสวน สวนหลวง ร.๙ ตำบลบ้านสวน พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติรามคำแหง ตำบลเมืองเก่า พิพิธภัณฑ์สังคโลก ตำบลบ้านหลุม พระราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตำบลเมืองเก่า พระราชานุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ตำบลเมืองเก่า ศาลพระแม่ย่า ศาลากลางจังหวัดสุโขทัย ตำบลธานี พระพุทธอุทยานสุโขทัย ตำบลธานี ทุ่งทะเลหลวง ตำบลบ้านกล้วย พุทธมณฑลสุโขทัย ทุ่งทะเลหลวง ตำบลบ้านกล้วย โครงการสวนสัตว์สุโขทัย ตำบลบ้านกล้วย สวนพฤษศาสตร์พระแม่ย่า สุโขทัย ตำบลบ้านกล้วย วัดศรีชุม(พระอจนะ) ตำบลเมืองเก่า วัดสะพานหิน ตำบลเมืองเก่า เตาทุเรียง ตำบลเมืองเก่า เขื่อนทำนบพระร่วง(สรีดพงษ์) ตำบลเมืองเก่า อำเภอศรีสัชนาลัย ศาลหลักเมืองศรีสัชนาลัย ตำบลศรีสัชนาลัย ศาลหลักเมืองเชลียง ตำบลศรีสัชนาลัย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตำบลศรีสัชนาลัย ย่านพานิชย์หัตกรรมเงินทองโบราณ 800 ปี ตำบลศรีสัชนาลัย ตำบลท่าชัย สนามแข่งขันBMXเฉลิมพระเกียรติ(หนองช้าง) ตำบลศรีสัชนาลัย วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหาร(วัดพระปรางค์)ตำบลศรีสัชนาลัย แหล่งขุดข้นโบราณคดีโครงกระดูก(วัดชมชื่น)ตำบลศรีสัชนาลัย แก่งหลวง ตำบลศรีสัชนาลัย พระราชานุสาวรีย์พระมหาธรรมราชาที่ ๑(พระยาลิไท)ตำบลศรีสัชนาลัย วัดเชิงคีรี(หลวงพ่อโต 700 ปี) ตำบลศรีสัชนาลัย พิพิธภัณฑ์ชุมชนศรีสัชนาลัย ตำบลศรีสัชนาลัย บ้านศิลปะศิลาแลงอาร์ตแกลอรี่(วัดโคกสิงคาราม) ตำบลศรีสัชนาลัย อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย ตำบลบ้านแก่ง อ่างเก็บน้ำแม่ท่าแพ ตำบลบ้านแก่ง ศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์เตาสังคโลก(เตาทุเรียง)ตำบลหนองอ้อ ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านโบราณหาดเสี้ยว(สุนทรีผ้าไทย)ตำบลหนองอ้อ ชุมชนผ้าทอไทครั้ง ตำบลหนองอ้อ สาธรพิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ ตำบลหาดเสี้ยว ชุมชนไทพวน บ้านหาดเสี้ยว ตพบลหาดเสี้ยว ท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านนาต้นจั่น ตำบลบ้านตึก ปางช้างศรีสัชนาลัย(หมู่บ้านช้างบ้านภูนก) ตำบลบ้านตึก ศูนย์การท่องเที่ยวชุมชนบ้านคุกพัฒนา โดย อพท. ตำบลสารจิตร อำเภอทุ่งเสลี่ยม หลวงพ่อศิลา วัดทุ่งเสลี่ยม วัดพิพัฒน์มงคล(พระพุทธรูปทองคำ) ถ้ำลม-ถำวัง วัดเชิงผา(ศูนย์ปฏิบัติธรรม) โบราณสถานวัดใหญ่ชัยมงคล โบราณสถานวัดเจดีย์เจ็ดแถว หอรบโบราณ โบราณสถานแนวถนนพระร่วง อำเภอสวรรคโลก ศาลหลักเมืองสวรรคโลก ตำบลเมืองสวรรคโลก กุฏิ<b>พระสวรรค์วรนายก (ทองคำ โสโณ) วัดกลาง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสวรรควรนายก ตำบลวังไม้ขอน พิพิธภัณโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสวรรคโลก\"อนันตนารี\" ตำบลเมืองสวรรคโลก พิพิธภัณโรงพักเรือนทรงปั้นหยา ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่2 พิพิธภัณที่ว่าการอำเภอสวรรคโลก(หลังเก่า) ศูนย์วัฒนธรรมอำภอสวรรคโลก (ตั้งอยู่ภายในโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา) สวนหลวงพระร่วงเฉลิมพระเกียรติ (ทุ่งแม่ระวิง) ตำบลป่ากุมเกาะ วัดสว่างอารมณ์วรวิหาร (วัดจวน) ตำบลเมืองสวรรคโลก วัดสวรรคาราม(วัดกลาง) ตำบลวังพิณพาต เมืองโบราณบางขลัง ตำบลเมืองบางขลัง โครงการเกษตรอินทรีย์สนามบินสุโขทัย ตำบลคลองกระจง ท่าอากาศยานสุโขทัย(สนามบินสุโขทัย)ตำบลคลองกระจง พระราชานุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์(วัดคุ้งวารี)ตำบลย่านยาว ชุมชนบ้านโบราณตลาดเมืองสวรรคโลก พระราชานุสาวรีย์พ่อขุนบางกลางหาว พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ตำบลเมืองบางขลัง อำเภอบ้านด่านลานหอย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำเจ้าราม พิพิธภัณฑ์โบราณคดีชุมชนบ้านวังหาด อำเภอศรีสำโรง เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำเจ้าราม อำเภอคีรีมาศ อุทยานแห่งชาติรามคำแหง ศาลพระแม่ย่า อำเภอคีรีมาศ แหล่งเคื่องปั่นดินเผาบ้านทุ่งหลวง อำเภอกงไกรลาศ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านกง อำเภอศรีนคร มูลนิธิสายใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์(โครงการที่ดินทำกิน)",
"title": "จังหวัดสุโขทัย"
},
{
"docid": "386383#0",
"text": "ตำบลเมืองเก่า เป็นตำบลหนึ่งในเขตอำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย อันเป็นสถานที่ตั้งของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อันเป็นโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ชาติไทย ทั้งในส่วนของศาสนา ความเชื่อ การเมืองการปกครองด้วยเช่นกัน",
"title": "ตำบลเมืองเก่า (อำเภอเมืองสุโขทัย)"
},
{
"docid": "108913#0",
"text": "อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานกรุงสุโขทัย ศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอำนาจอยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 - 19 ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า (เขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า) อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบัน (เขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี) ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนจรดวิถีถ่อง)",
"title": "อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย"
},
{
"docid": "137790#3",
"text": "นอกจากเทศบาลเมืองอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดจะมีชื่อเรียกตามชื่อจังหวัดแล้ว (ยกเว้นตัวจังหวัดที่เป็นเทศบาลนครแล้วจำนวน 22 จังหวัด และตัวจังหวัดสุโขทัยซึ่งมีชื่อว่า เทศบาลเมืองสุโขทัยธานี) เทศบาลเมืองที่ตั้งอยู่ในตัวอำเภอโดยทั่วไปมักมีชื่อตามชื่ออำเภอหรือตำบลที่เทศบาลตั้งอยู่ เช่น เขตเทศบาลเมืองสวรรคโลก ครอบคลุมเขตตำบลเมืองสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย แต่ก็มีบางแห่งที่ไม่ใช้ชื่ออำเภอหรือตำบลเป็นชื่อ เช่น เขตเทศบาลเมืองลัดหลวง ครอบคลุมเขตตำบลบางพึ่ง ตำบลบางจาก และตำบลบางครุ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ",
"title": "เทศบาลเมือง"
},
{
"docid": "74881#2",
"text": "ภายหลังในปี พ.ศ. 2482 ได้มีการจัดตั้งจังหวัดสุโขทัยขึ้น จึงได้ยกอำเภอสุโขทัยธานีเป็นศูนย์กลางของจังหวัด และได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเมืองสุโขทัย ",
"title": "อำเภอเมืองสุโขทัย"
},
{
"docid": "130982#1",
"text": "อำเภอหนองกี่ เดิมเป็นพื้นที่อยู่ในเขตการปกครอง อำเภอนางรอง กระทรวงมหาดไทย ประกาศตั้งเป็นกิ่งอำเภอหนองกี่ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2517 ขณะนั้นแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองกี่ ตำบลเย้ยปราสาท ตำบลหนองไผ่ ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2522",
"title": "อำเภอหนองกี่"
},
{
"docid": "114522#2",
"text": "ถนนในช่วงตาก–สุโขทัย มีชื่อเรียกว่า ถนนจรดวิถีถ่อง มีระยะทางรวมในช่วงนี้ 78.802 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นที่กิโลเมตรที่ 92.804 บริเวณสี่แยกทางหลวง ซึ่งเชื่อมต่อมาจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1400 (ถนนมหาดไทยบำรุง) ที่ตัดกับถนนพหลโยธิน เป็นทางคู่ขนาด 4 ช่องจราจร เส้นทางตรงไปทางทิศตะวันออกผ่านอำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย แล้วเข้าเขตอำเภอเมืองสุโขทัย เมื่อมาถึงแยกวังวน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลขจะเบี่ยงออกไปทางขวา ซึ่งถ้าหากตรงไปจะเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 125 หรือถนนเลี่ยงเมืองสุโขทัย เมื่อเลี้ยวขวาจะเข้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ซึ่งเป็นทางเดี่ยว 2 ช่องจราจร เมื่อออกจากอุทยานจะผ่านแยกบ้านนา ซึ่งมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1272 มาบรรจบทางซ้ายมือ ส่วนทางขวามือจะเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 จากนั้นตรงเข้าไปยังเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี ผ่านสะพานพระร่วง ข้ามแม่น้ำยม แล้วสิ้นสุดที่แยกสุโขทัยธานี ตัดกับถนนประพันธ์บำรุงทางซ้ายมือ และถนนสิงหวัฒน์ ซึ่งแยกออกไปทางขวาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ถ้าตรงไปจะเป็นถนนจรดวิถีถ่องอีกช่วงหนึ่ง ซึ่งใช้เรียกกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ช่วงสุโขทัย–ศรีสำโรง–สวรรคโลก",
"title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12"
},
{
"docid": "342570#1",
"text": "พระราชประสิทธิคุณ นามเดิม ขาว สกุล มุ่งผล เกิดเมื่อวันเสาร์ สิงหาคม พ.ศ. 2424 ที่ตำบลไผ่ดำ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ท่านเป็นบุตรคนสุดท้อง และมารดาได้เสียชีวิตแต่เยาวัยว์ เมื่อถึงวัยสมควรบิดาได้นำไปฝากเพื่อศึกษารับใช้พระในวัดมหาดไทย อำเภออ่างทองในขณะนั้น ซึ่งเป็นแบบแผนการศึกษาเดิมในครั้งอดีตที่เด็กจะไปศึกษาจากวัดผ่านการเป็นเด็กวัด บวชเป็นสามเณร และเป็นพระ จนกระทั่งได้มีโอกาสติดตามพระมาอยู่อาศัยในกรุงเทพฯ บวชเป็นสามเณร เข้าเรียนหนังสือที่วัดนวลนรดิศจบชั้น 3 จากนั้นจึงได้ลาสิกขามาช่วยบิดาและครอบครัวประกอบอาชีพ จนกระทั่งถึงวัยครบ 20 ปี จึงเข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และกลับไปจำพรรษาที่วัดอนงคาราม กรุงเทพ รับหน้าที่พิเศษคือช่วยสอนหนังสือขอม แก่นักเรียนและนักธรรม ต่อมาได้รับยศสมณศักดิ์เป็นฐานาที่สมุห์ ทำหน้าที่คอยรับเสด็จสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณ วโรรสสมเด็จฯ โปรดมาก จึงได้ส่งพระทิม ให้มาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอเมืองสุโขทัยระยะนั้น เพื่อดูแลงานการพระศาสนาต่างพระเนตรพระกัณห์ พระทิมเมื่อมาอยู่จังหวัดสุโขทัย ได้ร่วมกับประชาชนก่อตั้งโรงเรียนนักธรรมเพื่อให้การศึกษาแก่กุลบุตรชาวสุโขทัยในครั้งนั้น เมื่อมาอยู่จังหวัดสุโขทัยได้เจริญก้าวหน้าทั้งการงาน และสมณศักดิ์ โดยพระสมุห์ทิมเป็นพระครูประทวนได้ 8 เดือน ก็ได้รับตราตั้งเป็นอุปัชฌาย์และได้รับสัญญาบัตร เป็นพระครูวินัยสาร เจ้าคณะแขวงอำเภอเมือง และอำเภอกงไกรลาศ รวม 2 แห่ง เมื่อ พ.ศ. 2472 เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย พ.ศ. 2490 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ 2508 เป็นเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย จนถึงมรณภาพ รวมสิริชนมายุ 89 ปี\nเป็นผู้รวบรวมศาสนวัตถุและจัดมอบให้พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย อาทิ",
"title": "พระราชประสิทธิคุณ (ทิม ยสทินฺโน)"
},
{
"docid": "75070#2",
"text": "อำเภอชาติตระการเชื่อกันว่าสร้างขึ้นรุ่นเดียวกับกรุงสุโขทัยและเมืองนครไทยสมัยก่อน พ่อเมืองชายไทยสองคน คือ พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง (เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วงผู้ปกครองเมืองสุโขทัย ปี พ.ศ. 1718) กับพ่อขุนผาเมืองได้รวมกำลังเข้ายึดเมืองสุโขทัยจากขอมสบาดโขลญลำพง ในการเดินทางครั้งนั้นจะต้องผ่านเข้ามาทางเมืองชาติตระการ บ้านดง ทุ่งยั้ง ศรีสัชนาลัย และสุโขทัย ",
"title": "อำเภอชาติตระการ"
},
{
"docid": "74881#0",
"text": "อำเภอเมืองสุโขทัย เป็นศูนย์กลางการบริหารราชการ ศูนย์กลางธุรกิจ และวัฒนธรรมของจังหวัดสุโขทัย",
"title": "อำเภอเมืองสุโขทัย"
},
{
"docid": "97959#1",
"text": "ภาษาลาวเวียงจันทน์ ใช้ในประเทศลาว ท้องที่นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงบอลิคำไซ และในประเทศไทยท้องที่จังหวัดชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย โพธิ์ตาก สังคม(บางหมู่บ้าน) ) ขอนแก่น (อำเภอภูเวียง ชุมแพ สีชมพู ภูผาม่าน หนองนาคำ เวียงเก่า หนองเรือบางหมู่บ้าน) ยโสธร (อำเภอเมืองยโสธร ทรายมูล กุดชุม บางหมู่บ้าน) อุดรธานี (อำเภอบ้านผือ เพ็ญ บางหมู่บ้าน) ศรีสะเกษ (ในบางหมู่บ้านของอำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอขุขันธ์ และอำเภอขุนหาญ) ภาษาลาวเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงหลวงพระบาง ไชยบุรี อุดมไซ ในประเทศไทยท้องที่จังหวัดเลย อุตรดิตถ์ (อำเภอบ้านโคก น้ำปาด ฟากท่า) เพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า น้ำหนาว) ขอนแก่น (อำเภอภูผาม่าน และบางหมู่บ้านของอำเภอสีชมพู ชุมแพ) ชัยภูมิ (อำเภอคอนสาร) พิษณุโลก (อำเภอชาติตระการและนครไทยบางหมู่บ้าน) หนองคาย (อำเภอสังคม) อุดรธานี (อำเภอน้ำโสม นายูง บางหมู่บ้าน) ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงเชียงขวาง หัวพัน ในประเทศไทยท้องที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และบางหมู่บ้านในจังหวัดสกลนคร หนองคาย(บางหมู่บ้านในอำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ และอำเภอโพธิ์ตาก) และยังมีชุมชนลาวพวนในภาคเหนือบางแห่งในจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้น หนองคาย ภาษาลาวกลาง แยกออกเป็นสำเนียงถิ่น 2 สำเนียงใหญ่ คือ ภาษาลาวกลางถิ่นคำม่วน และถิ่นสุวรรณเขต ถิ่นคำม่วน จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จังหวัดนครพนม สกลนคร บึงกาฬ (อำเภอเซกา บึงโขงหลง บางหมู่บ้าน) ถิ่นสุวรรณเขต จังหวัดที่พูดมีจังหวัดเดียว คือ จังหวัดมุกดาหาร ภาษาลาวใต้ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงจำปาศักดิ์ สาละวัน เซกอง อัตตะปือ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย จังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร ภาษาลาวตะวันตก (ภาษาลาวร้อยเอ็ด) ไม่มีใช้ในประเทศลาว เป็นภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ท้องที่ร้อยเอ็ด อุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม หนองคาย(บางหมู่บ้าน) และบริเวณใกล้เคียงมณฑลร้อยเอ็ดของสยาม",
"title": "ภาษาไทยถิ่นอีสาน"
},
{
"docid": "5487#16",
"text": "งานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ อำเภอเมืองสุโขทัย งานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อำเภอเมืองสุโขทัย งานสักการะพระแม่ย่าและงานกาชาด อำเภอเมืองสุโขทัย งานออกพรรษาแห่ตาชูชก อำเภอเมืองสุโขทัย งานมหาสงกรานต์กรุงเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย งานสงกรานต์เสื้อลายดอก ถนนข้าวตอกสุโขทัย อำเภอเมืองสุโขทัย งานแข่งขันเรือพายเทโวโรหณะ อำเภอเมืองสุโขทัย ประเพณีบวชนาคแห่ช้างหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย งานประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮง อำเภอศรีสัชนาลัย งานประเพณีสรงน้ำโอยทานสงกรานต์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย งานนสมโภชพระธาตุเฉลียงและพระธาตุมุเตา(วัดพระปรางค์) อำเภอศรีสัชนาลัย งานย้อนอดีตศรีสัชนาลัยนุ่งผ้าไทยใส่เงินทองโบราณ อำเภอศรีสัชนาลัย งานของดีศรีสัชนาลัยและเทศกาลอาหาร อำเภอศรีสัชนาลัย งานประเพณีแห่กฐินทางน้ำ(เฮือซ่วง) อำเภอศรีสัชนาลัย งานประเพณีบุญบั้งไฟบ้านหาดสูง อำเภอศรีสัชนาลัย งานประเพณีออกพรรษาศรีสัชฯ-ท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย งานหมากม่วงหมากปรางและงานของดีศรีสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก งานประเพณีสงกรานต์และเทศกาลอาหารเมืองสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก งานวันพิชิตยอดเขาหลวง อำเภอคีรีมาศ ประเพณีการทำขวัญผึ้ง อำเภอคีรีมาศ",
"title": "จังหวัดสุโขทัย"
},
{
"docid": "35773#1",
"text": "แม่สอดเป็นอำเภอที่มีการค้าระหว่างประเทศไทยกับพม่า เนื่องจากเป็นอำเภอที่อยู่ติดชายแดน และเป็นที่ตั้งจุดผ่านแดนถาวรด่านพรมแดนแม่สอด เชื่อมโยงเมืองเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า ประวัติความเป็นมาของอำเภอแม่สอดนั้นยังไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจะเป็นเมืองฉอดของขุนสามชนที่เคยยกทัพไปตีกรุงสุโขทัยหรือไม่ ยังไม่มีผู้ใดพิสูจน์ได้ เมื่อดูตามสภาพบ้านเมืองของอำเภอแม่สอดนั้น ไม่พบว่ามีสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่มีอายุอยู่ในยุคของสุโขทัยได้เลย ฉะนั้นจึงน่าเชื่อได้ว่าไม่ใช่เมืองเดียวกัน และขณะนี้ได้มีนักโบราณคดีพบซากเมืองโบราณอยู่ในป่าทึบในท้องที่อำเภอแม่ระมาด ซึ่งอาจจะเป็นเมืองฉอดตามศิลาจารึกกรุงสุโขทัยได้",
"title": "อำเภอแม่สอด"
},
{
"docid": "114522#3",
"text": "ถนนในช่วงสุโขทัย–พิษณุโลก มีชื่อเรียกว่า ถนนสิงหวัฒน์ เริ่มต้นในเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย มุ่งไปยังทิศตะวันออก บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 125 หรือถนนเลี่ยงเมืองสุโขทัย จากนั้นผ่านอำเภอกงไกรลาศ เข้าสู่จังหวัดพิษณุโลก ผ่านอำเภอพรหมพิราม จากนั้นเข้าสู่อำเภอเมืองพิษณุโลก ตัดกับถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกด้านทิศเหนือ หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126 ที่แยกเลี่ยงเมือง (บ้านกร่าง) จากนั้นผ่านศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พิษณุโลก ศาลหลักเมืองพิษณุโลก ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก สิ้นสุดที่เชิงสะพานนเรศวรริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก ภายในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก",
"title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12"
},
{
"docid": "130982#4",
"text": "อำเภอหนองกี่แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 108 หมู่บ้าน\nท้องที่อำเภอหนองกี่ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่การเดินทาง\nทางแยกต่างระดับ อำเภอสีคิ้ว เลี้ยวมาทางอำเภอโชคชัย ผ่านอำเภอหนองบุญมาก ถึงสี่แยกอำเภอหนองกี่ จากนั้นเลี้ยวซ้ายประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงหาด",
"title": "อำเภอหนองกี่"
},
{
"docid": "109226#0",
"text": "อำเภอพรหมพิราม เป็น 1 ใน 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก\nคำว่า พรหมพิราม หมายถึง เมืองที่งดงามเป็นที่อยู่แห่งพรหมหรือพระเจ้าผู้สร้างโลก เดิมเรียกว่า เมืองพรหมพิราม ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน ตำบลมะตูม ต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอชื่อว่า อำเภอพรหมพิราม เมื่อ พ.ศ. 2438 และได้ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่ฝั่งขวาของลำน้ำน่านที่ บ้านย่านขาด เมื่อประมาณ 50 ปีที่ผ่านมา ต่อมาเมืองทางรัฐบาลได้สร้างทางรถไฟสายเหนือ (กรุงเทพ-เชียงใหม่) ขึ้นจึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งใกล้ทางรถไฟอีกครั้งหนึ่งที่บ้านกรับพวง (ปัจจุบัน คือบ้านพรหมพิราม) ตำบลพรหมพิราม ห่างจากสถานีรถไฟพรหมพิราม ประมาณ 500 เมตร สำหรับอาคารนั้นแต่เดิมเป็นไม้ชั้นเดียว ในปี พ.ศ. 2503 จึงได้ปรับปรุงขึ้นเป็น 2 ชั้น โดยเทพื้นคอนกรีตใต้ถุนอาคารเดิมและตีฝาโดยรอบ ซึ่งใช้เป็นที่ทำการของส่วนราชการต่างๆ ปัจจุบันได้สร้างที่ว่าการอำเภอใหม่ ณ สถานที่เดิมเป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น และเปิดทำการเมื่อ ปี พ.ศ. 2519 ในปี พ.ศ. 2515 กรมศิลปากรได้สำรวจแนวกำแพงดิน คูเมือง ฐานเจดีย์ ก่ออิฐและวัตถุโบราณ เช่น เครื่องสังคโลกสมัยกรุงสุโขทัย ในบริเวณแนวถนนพระร่วงจากกรุงสุโขทัย ผ่านบ้านท่างาม บ้านท่าทอง ต.ศรีภิรมย์ บ้านท้องพระโรง ตำบลดงประคำ ไปทางทิศตะวันออกไป อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอนครไทย ซึ่งขณะนี้เห็นเป็นแนวอยู่บ้าง สันนิษฐานว่าคงเป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อระหว่างกรุงสุโขทัยกับเมือง บางยาง สมัยพ่อขุนบางกลางท้าว (พ่อขุนศรีอินทราทิตย์) กับพ่อขุนเมือง ที่ร่วมมือกนยกกองทัพเข้าตีกรุงสุโขทัยอันเป็นเมืองหน้าด่านของขอมในสมัยนั้น โดยใช้เส้นทางนี้เดินทัพก็เป็นได้ และมีร่องรอยว่าครั้งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทำสงครามกับพระเจ้าติโลกราชแห่งแคว้นล้านนา คงจะเดินทัพผ่านอำเภอพรหมพิรามไปยังเมืองพิชัยด้วย",
"title": "อำเภอพรหมพิราม"
},
{
"docid": "341476#9",
"text": "บ้านสวนมีสถานะเป็นชุมชนและหน่วยการปกครองมาแต่ต้น ดังปรากฏหลักฐานเมื่อ พ.ศ. 2455 (รศ.130) เป็น ประกาศ บอกล่วงน่าจะแจกโฉนดสำหรับที่ดิน ใน(1) ทุ่งบ้านสวนเหนือ ตำบลบ้านสวนเหนือ อำเภอในเมือง (2) ในทุ่งบ้านสวนใต้ ตำบลบ้านสวนใต้ อำเภอในเมือง (3) ในทุ่งบ้านทุ่งหลวง ตำบลบ้านทุ่งหลวง อำเภอในเมือง (4) ในทุ่งบ้านท่าดินแดง ตำบลท่าดินแดง อำเภอในเมือง แขวงเมืองศุโขทัย เล่มที่ ๒๘ ตอน ๐ง ประกาศเมื่อ วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2454 หน้า 2182 ปรากฏหน่วยการปกครองในเขตบ้านสวนว่า ประกาศกำหนดวันจะแจกสำหรับโฉนดที่ดิน ๑.ในทุ่งบ้านสวนเหนือ ตำบลบ้านสวนเหนือ อำเภอในเมือง ๒.ในทุ่งบ้านสวนใต้ ตำบลบ้านสวนใต้ อำเภอในเมือง ๓.ในทุ่งบ้านทุ่งหลวง ตำบลบ้านทุ่งหลวง อำเภอในเมือง ๔.ในทุ่งบ้านท่าดินแดง ตำบลท่าดินแดง อำเภอในเมือง แขวงเมือง ศุโขไทย ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2454) บ้านสวนจึงเป็นหน่วยการปกครองในระดับตำบลขึ้นกับแขวงศุโขไทย จังหวัดศุโขไทย ที่เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลพิษณุโลก โดยแยกการปกครองเป็น \"ตำบลบ้านสวนเหนือ\" และ \"ตำบลบ้านสวนใต้\" และเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมือง จังหวัดศุโขไทย (สะกดตามราชกิจจานุเบกษาปี พ.ศ. 2460) เดิมชื่อว่า อำเภอเมือง ซึ่งในปี พ.ศ. 2460 ในสมัยรัชกาลที่ 6 อำเภอนี้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอธานี จนเมื่อสมัยรัชกาลที่ 7 วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475 ได้ยุบอำเภอธานีและเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอสุโขทัยธานี ขึ้นต่อจังหวัดสวรรคโลก ภายหลังในปี พ.ศ. 2482 ภายใต้การปกครองของคณะราษฎร์ อันมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นปีที่รัฐบาล ประกาศใช้รัฐนิยมฉบับที่ 1 อันมีสาระเกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม เป็น ไทย พร้อมประกาศจัดตั้งจังหวัดสุโขทัยอีกครั้ง ยกอำเภอสุโขทัยธานีเป็นศูนย์กลางของจังหวัด และได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเมืองสุโขทัย ",
"title": "ตำบลบ้านสวน (อำเภอเมืองสุโขทัย)"
},
{
"docid": "5487#4",
"text": "พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดสุโขทัยจะเป็นที่ราบลุ่ม ทางตอนเหนือและตอนใต้ของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่ราบสูง มีเขาหลวงเป็นภูเขาที่มีความสูงที่สุด วัดจากระดับน้ำทะเลมีความสูงประมาณ 1,200 เมตร โดยมีแนวภูเขายาวเป็นพืดทางด้านทิศตะวันตก ส่วนพื้นที่ตอนกลางของจังหวัดจะเป็นที่ราบ มีแม่น้ำยมไหลผ่านจากทิศเหนือจรดทิศใต้ ผ่านอำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสำโรง อำเภอเมืองสุโขทัย และอำเภอกงไกรลาศ ช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดสุโขทัยยาวประมาณ 170 กิโลเมตร",
"title": "จังหวัดสุโขทัย"
},
{
"docid": "311778#0",
"text": "โรงเรียนศรีสำโรงชนูปถัมภ์ (Srisamrongchanupatham School) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 เป็นโรงเรียนประจำอำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2501 ณ ทุ่งคลองกระบาย (โรงเรียนอนุบาลศรีสำโรงในปัจจุบัน) ตำบลสามเรือน อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ก่อนที่จะย้ายมาตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่ 97 หมู่ที่ 6 ตำบลคลองตาล อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ในปัจจุบัน",
"title": "โรงเรียนศรีสำโรงชนูปถัมภ์"
},
{
"docid": "74881#1",
"text": "เดิมอำเภอดังกล่าวเป็นเมืองเอกของจังหวัดศุโขไทย (สะกดตามราชกิจจานุเบกษาปี พ.ศ. 2460) เดิมชื่อว่า อำเภอเมือง ซึ่งในปี พ.ศ. 2460 อำเภอนี้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอธานี จนเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475 ได้ยุบอำเภอธานีและเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอสุโขทัยธานี ขึ้นต่อจังหวัดสวรรคโลก ",
"title": "อำเภอเมืองสุโขทัย"
},
{
"docid": "74881#3",
"text": "อำเภอเมืองสุโขทัยตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้\nMap_Sukhothai.jpg\nอำเภอเมืองสุโขทัยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 ตำบล 97 หมู่บ้าน ได้แก่\nท้องที่อำเภอเมืองสุโขทัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่",
"title": "อำเภอเมืองสุโขทัย"
},
{
"docid": "341476#0",
"text": "ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย เป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีประวัติความเป็นมานับแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สืบความจากหลักฐานการตั้งถิ่นฐานโดยมีวัดเป็นศูนย์ในอดีต พร้อมกับหลักฐานวัดร้างที่ขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากรที่มีประวัติเนื่องต่อกับชุมชนในอดีตล่วงมาจนถึงปัจจุบัน ตำบลบ้านสวนเป็นศูนย์การการเพราะปลูกข้าว \"คุณภาพ\" ที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งของจังหวัดสุโขทัย อันเนื่องเป็นที่ลุ่มที่เหมาะแก่การทำเกษตร ",
"title": "ตำบลบ้านสวน (อำเภอเมืองสุโขทัย)"
},
{
"docid": "129615#32",
"text": "โดยปัจจุบันคนบ้านคุ้งตะเภาดั้งเดิม ยังคงใช้สำเนียงพูดแบบสุโขทัยอยู่ ซึ่งเป็นชุมชนหนึ่งในไม่กี่แห่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ที่ยังใช้สำเนียงแบบสุโขทัยโบราณ ซึ่งจากการศึกษาข้อมูลและเทียบเคียงสำเนียงการพูดของ ภาษาถิ่นบ้านคุ้งตะเภา และ ภาษาถิ่นบ้านพระฝาง พบว่ามีการใช้คำศัพท์ใกล้เคียงกันมากที่สุดกว่าสำเนียงสุโขทัยแบบอื่น จึงเป็นข้อสันนิษฐานหนึ่งว่า ชาวบ้านคุ้งตะเภา อาจสืบเชื้อสายมาจากครัวเรือน ที่พระมหากษัตริย์ในสมัยอาณาจักรสุโขทัยพระราชทานพระบรมราชูทิศไว้ในพระพุทธศาสนา ตามธรรมเนียมโบราณ เมื่อ ๗๐๐ ปี ก่อน เพื่อให้เป็นผู้ดูแลรักษาพระทันตธาตุ แห่งพระมหาธาตุพระฝาง เมืองสวางคบุรี ก็เป็นได้",
"title": "หมู่บ้านคุ้งตะเภา"
},
{
"docid": "128649#2",
"text": "มาร์วิน บราวน์ (Marvin Brown) ศึกษาภาษาถิ่นของไทยและให้ความเห็นว่าภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบมีวิวัฒนาการมาจากภาษาสุโขทัยโดยตรง ในตากใบเองก็มีตำนานที่เกี่ยวข้องกับเมืองเหนือ เช่น กรุงสุโขทัย จนทำให้ภาษามีเอกลักษณ์เฉพาะ ตำนานแรกเล่าว่าตากใบเคยอยู่ภายใต้การปกครองของสุโขทัย จึงมีขุนนางสุโขทัยเดินทางมาปกครองต่างพระเนตรพระกรรณ จึงสันนิษฐานว่ามีกำแพง และวัง หรือวัดปรักหักพังที่บ้านโคกอิฐ และเมื่อขุนนางสุโขทัยเดินทางมาที่ตากใบแล้วย่อมมีบริวารตามมาหลายคน ด้วยเหตุนี้เอง วัฒนธรรมภาษาพูดเมืองเหนือจึงผสมผสานกับภาษาชาวตากใบ และวัฒนธรรมอื่นๆ เช่น สถาปัตยกรรมในวัด ไม่ว่าจะเป็นวิหาร ศาลาการเปรียญ มีรูปแบบและศิลปะค่อนไปทางเหนือ ส่วนตำนานที่สองกล่าวถึงชาวสุโขทัยติดตามช้างเชือกสำคัญมาทางเมืองใต้ ในที่สุดมาตั้งหลักแหล่งที่ตากใบ เป็นที่น่าสังเกตว่ามีชื่อหมู่บ้าน และตำบลเกี่ยวข้องกับช้าง เช่น บ้านไพรวัลย์ มาจากคำว่า บ้านพลายวัลย์ (ปัจจุบันเป็นตำบลไพรวัน) สถานที่ช้างลงอาบน้ำ เดิมเรียก บ้านปรักช้าง ต่อมาเปลี่ยนเป็น ฉัททันต์สนาน ซึ่งเป็นชื่อวัดในหมู่บ้านนี้ เล่ากันว่ามีช้างสำคัญมาล้มที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ภายหลังเรียกว่า บ้านช้างตาย ปัจจุบันตั้งอยู่ในอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ปัจจุบันเรียกเป็นภาษามลายูว่า บ้านกาเยาะมาตี อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า เมื่อครั้งทัพไทยสมัยโบราณยกไปตีหัวเมืองมลายู มีคนไทยลงมาตั้งหมู่บ้านคอยต้อนรับกันเป็นทอดๆ จะเห็นว่าปัจจุบันมีบางหมู่บ้านที่มีชาวบ้านพูดจาคล้ายๆเสียงของชาวตากใบ เช่นที่อำเภอปะนาเระ อำเภอสายบุรี ในจังหวัดปัตตานี และชาวบ้านในอำเภอสุไหงปาดี และอำเภอแว้ง ในจังหวัดนราธิวาส ",
"title": "สำเนียงตากใบ"
},
{
"docid": "296771#0",
"text": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดสุโขทัย เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ปัจจุบันลงแข่งขันในระดับไทยลีก โดยสโมสรลงแข่งขันในลีกสูงสุดของประเทศไทยเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 2559 หลังจากคว้าอันดับ 3 ได้ในไทยลีกดิวิชัน 1 2558 และได้เลื่อนชั้นขึ้นสู่ไทยลีก สโมสรยังเคยได้ตำแหน่งชนะเลิศร่วม ช้าง เอฟเอคัพ 2559 และได้สิทธิ์แข่งขัน เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ด้วย ในปี 2560\nสโมสรฟุตบอลจังหวัดสุโขทัย ได้เริ่มก่อตั้งและส่งทีมแข่งขันในฟุตบอลลีกระดับประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยมี จักรินทร์ เปลี่ยนวงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย (ในขณะนั้น) เป็นประธานสโมสร โดยลงทำการแข่งขัน ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 2552 โดยมีฉายาของทีมว่า \"ค้างคาวไฟ\" เนื่องจากใน จังหวัดสุโขทัย มีแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถพบ ค้างคาว ได้จำนวนมาก ณ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าถ้ำเจ้าราม ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ อำเภอทุ่งเสลี่ยม และ อำเภอศรีสำโรง โดยในระยะแรกสโมสรใช้นักฟุตบอลท้องถิ่นในจังหวัด ผสมกับ นักฟุตบอลจาก สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุโขทัย ซึ่งผลงานในปีแรก จบอันดับที่ 7 จาก 12 สโมสร โซนภาคเหนือ โดยผลงานในช่วงนั้น สโมสรจบในอันดันค่อนท้ายตารางเป็นส่วนใหญ่",
"title": "สโมสรฟุตบอลสุโขทัย"
}
] |
4128 | ระบบรับความรู้สึกทางกายมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเร้ามากมายหลายแบบ โดยอาศัยตัวรับความรู้สึกประเภทต่าง ๆใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "593774#2",
"text": "ระบบรับความรู้สึกทางกายมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเร้ามากมายหลายแบบ โดยอาศัยตัวรับความรู้สึกประเภทต่าง ๆ รวมทั้งตัวรับอุณหภูมิ โนซิเซ็ปเตอร์ ตัวรับแรงกล และตัวรับรู้สารเคมี ข้อมูลความรู้สึกจะส่งไปจากตัวรับความรู้สึกผ่านเส้นประสาทรับความรู้สึก (sensory nerve) ผ่านลำเส้นใยประสาทในไขสันหลัง ตรงเข้าไปยังสมอง การประมวลผลโดยหลักเกิดขึ้นที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex) ในสมองกลีบข้าง",
"title": "ระบบรับความรู้สึกทางกาย"
}
] | [
{
"docid": "908413#0",
"text": "การปรับตัวของประสาท หรือ การปรับตัวรับความรู้สึก (English: Neural adaptation, sensory adaptation) เป็นการเปลี่ยนการตอบสนองของระบบรับความรู้สึกตามกาลเวลาเนื่องจากสิ่งเร้าที่คงอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยจะรู้สึกเหมือนกับสิ่งเร้าได้เปลี่ยนไป ยกตัวอย่างเช่น ถ้าวางมือลงที่โต๊ะ ก็จะรู้สึกถึงผิวโต๊ะได้ทันที แต่ภายในไม่กี่วินาที ก็จะเริ่มไม่รู้สึกถึงผิวของโต๊ะ เพราะในเบื้องต้น เซลล์ประสาทรับความรู้สึกจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าคือผิวโต๊ะโดยทันที แล้วก็จะตอบสนองน้อยลง ๆ จนอาจไม่ตอบสนองเลย นี่เป็นตัวอย่างการปรับตัวของระบบประสาท",
"title": "การปรับตัวของประสาท"
},
{
"docid": "912564#41",
"text": "ในระบบรับความรู้สึกทางกาย ตัวรับแรงกลทำให้รู้สัมผัสและอากัปกิริยาได้ (โดยมี Pacinian corpuscle เป็นตัวไวแรงกลมากที่สุดในระบบ) \nในการรับรู้สัมผัส ผิวหนังที่ไม่มีขน/ผม (glabrous skin) ที่มือและเท้า ปกติจะมีตัวรับแรงกล 4 อย่างหลัก ๆ คือ Pacinian corpuscle, Meissner's corpuscle, Merkel nerve ending, และ Ruffini ending และผิวที่มีขนก็มีตัวรับแรงกล 3 อย่างเหมือนกันยกเว้น Meissner's corpuscle บวกเพิ่มกับตัวรับแรงกลอื่น ๆ รวมทั้งตัวรับความรู้สึกที่ปุ่มรากผม \nในการรับรู้อากัปกิริยา ตัวรับแรงกลช่วยให้รู้ถึงแรงหดเกร็งของกล้ามเนื้อและตำแหน่งของข้อต่อ มีประเภทรวมทั้ง muscle spindle 2 ชนิด, Golgi tendon organ, และ Joint capsule",
"title": "แบบสิ่งเร้า"
},
{
"docid": "885647#7",
"text": "ปลายประสาทรับแรงกลในระบบรับความรู้สึกทางกาย จะมีลักษณะทางกายวิภาคโดยเฉพาะ ๆ ที่เหมาะกับสิ่งเร้า และโดยทั่วไปอาจเป็นแบบหุ้มปลอก/แคปซูล (เช่นปลายรัฟฟินี) อันเป็นเนื้อเยื่อนอกเซลล์ประสาท หรืออาจเป็นปลายประสาทอิสระ\nเมื่อเนื้อเยื่อรอบ ๆ ปลายประสาทแปรรูปเพราะสิ่งเร้าที่เหมาะสม (เช่น แรงสั่นความถี่สูง) โปรตีนที่ผิวของเซลล์ประสาทก็จะแปรรูปด้วย ทำให้ไอออน Na และ Ca ไหลเข้าผ่านช่องไอออนของเซลล์เป็นกระแสไฟฟ้าที่เรียกว่าศักย์ตัวรับความรู้สึก (receptor potential) ซึ่งถ้าถึงขีดเริ่มเปลี่ยนก็จะทำให้เซลล์สร้างศักยะงานส่งไปยังระบบประสาทกลาง โดยเริ่มต้นส่งไปที่ไขสันหลังหรือก้านสมอง\nตัวรับความรู้สึกแต่ละประเภท ๆ จากตำแหน่งโดยเฉพาะ ๆ จะมีใยประสาทเป็นของตนเองจนถึงไขสันหลังตลอดไปจนถึงสมอง\nความเฉพาะเจาะจงเช่นนี้ทำให้ระบบประสาทกลางจำแนกได้ว่า เป็นความรู้สึกประเภทไรและมาจากส่วนไหนของร่างกาย",
"title": "ปลายรัฟฟินี"
},
{
"docid": "912564#29",
"text": "การรับรู้รสชาติ (flavor perception) จะต้องอาศัยข้อมูลจากใยประสาทนำเข้าของระบบรับรส (gustatory) ระบบรับกลิ่น (olfactory) และระบบรับความรู้สึกทางกาย (somatosensory)\nเพราะการรับรสต้องรวมความรู้สึกหลายอย่างเข้าด้วยกัน\nแม้เราจะเกิดการรับรู้รสที่เป็นหนึ่งเดียว แต่ก็ยังสามารถรู้ลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ที่มีบทบาทต่อความรู้สึกหนึ่งเดียวนั้น โดยเฉพาะเมื่อใส่ใจไปที่ลักษณะโดยเฉพาะ ๆ จากประสาทสัมผัส",
"title": "แบบสิ่งเร้า"
},
{
"docid": "912564#48",
"text": "การได้กลิ่นมีปฏิสัมพันธ์กับแบบความรู้สึกอื่น ๆ อย่างสำคัญ\nที่มากที่สุดก็คือกับการลิ้มรส\nงานศึกษาได้แสดงว่า กลิ่นโดยเฉพาะอย่างหนึ่งร่วมกับรสโดยเฉพาะอย่างหนึ่งจะเพิ่มรสชาติ และการไม่ได้กลิ่นเดียวกันก็จะลดการได้รสชาตินั้น ๆ เช่นเดียวกัน\nการได้กลิ่นที่มีผลสามารถเกิดก่อนหรือระหว่างการได้รสชาติ\nการรับรู้สิ่งเร้าทั้งสองแบบจะสร้างความสัมพันธ์ของประสบการณ์ผ่านกระบวนการตอบสนองทางประสาทพร้อม ๆ กัน และสร้างความทรงจำเกี่ยวกับสิ่งเร้า\nความสัมพันธ์เช่นนี้ก็เกิดขึ้นระหว่างสิ่งเร้าที่เป็นกลิ่นกับสัมผัสเมื่อกำลังกลืนด้วย\nในแต่ละกรณี การได้สิ่งเร้าพร้อม ๆ กันจะเป็นเรื่องสำคัญ",
"title": "แบบสิ่งเร้า"
},
{
"docid": "912564#0",
"text": "แบบสิ่งเร้า หรือ แบบความรู้สึก ()\nเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของสิ่งเร้า หรือเป็นสิ่งที่เรารับรู้เนื่องจากสิ่งเร้า\nยกตัวอย่างเช่น เราจะรู้สึกร้อนหรือเย็นหลังจากมีการเร้าตัวรับอุณหภูมิของระบบรับความรู้สึกทางกาย เช่น ด้วยวัตถุที่ร้อน\nแบบสิ่งเร้าบางอย่างรวมทั้งแสง เสียง อุณหภูมิ รสชาติ แรงดัน กลิ่น และสัมผัส\nประเภทและตำแหน่งของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่ทำงานเนื่องจากสิ่งเร้า จะเป็นตัวกำหนดการเข้ารหัสความรู้สึก\nแบบความรู้สึกต่าง ๆ อาจทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มความชัดเจนของสิ่งเร้าเมื่อจำเป็น",
"title": "แบบสิ่งเร้า"
},
{
"docid": "882499#10",
"text": "การรับสารเคมีโดยสัมผัสต้องอาศัยการสัมผัสกันโดยตรงระหว่างตัวรับความรู้สึกกับสิ่งเร้า\nตัวรับความรู้สึกเช่นนี้มีขนหรือรูปกรวยสั้น ๆ ที่มีรูเดียวใกล้หรือที่ยอด\nดังนั้น จึงเรียกว่า ตัวรับความรู้สึกรูเดียว (uniporous receptor)\nตัวรับความรู้สึกบางอย่างอ่อน บางอย่างแข็งและจะไม่งอเมื่อสัมผัส\nตัวรับความรู้สึกโดยมากจะพบที่ส่วนปาก แต่ก็พบที่หนวดและขาของแมลงบางชนิดด้วย\nจะมีกลุ่มเดนไดรต์ใกล้ ๆ กับรูของตัวรับความรู้สึก แต่จะกระจายตัวต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับสัตว์\nและการส่งสัญญาณประสาทจากเดนไดรต์ก็ต่างกันขึ้นอยู่กับสัตว์และสารเคมีที่เป็นสิ่งเร้า",
"title": "ตัวรับรู้สารเคมี"
},
{
"docid": "912564#40",
"text": "ตัวรับแรงกลจะอยู่ที่ผิวหนังซึ่งหล่อเลี้ยงด้วยเลือดเป็นอย่างดี และจะมีที่ผิวหนังทั้งเกลี้ยงและมีขน\nตัวรับแรงแต่ละอย่างจะไวสิ่งเร้าในระดับต่าง ๆ กัน และจะส่งศักยะงานต่อเมื่อได้รับพลังงานที่ถึงขีดเริ่มเปลี่ยนของตน ๆ\nแอกซอนของตัวรับความรู้สึกแต่ละตัว ๆ เหล่านี้ จะรวมกันเป็นเส้นประสาท\nซึ่งส่งสัญญาณผ่านไขสันหลังไปยังระบบรับความรู้สึกทางกายในสมอง",
"title": "แบบสิ่งเร้า"
},
{
"docid": "593774#10",
"text": "กลไกการทำงานของการถ่ายโอนความรู้สึกของตัวรับความรู้สึก (ปลายประสาท) ในระบบรับความรู้สึกทางกายจะคล้าย ๆ กันโดยทั่วไป คือสิ่งเร้าที่เหมาะสมจะเปิดปิดช่องไอออนของปลายประสาท ทำให้แคตไอออนเช่น Na+ และ/หรือ Ca2+ ไหล เข้าไปในเซลล์เป็นกระแสไฟฟ้าที่เรียกว่าศักย์ตัวรับความรู้สึก ซึ่งเมื่อถึงขีดเริ่มเปลี่ยนในที่สุดก็จะทำให้เกิดการสร้างศักยะงาน แล้วส่งไปยังระบบประสาทกลางผ่านไขสันหลังหรือก้านสมอง[21]",
"title": "ระบบรับความรู้สึกทางกาย"
},
{
"docid": "38834#78",
"text": "ตัวรับความรู้สึกมักเป็นปลายประสาทในรูปแบบต่าง ๆ ของเซลล์ประสาทรับความรู้สึก โดยแต่ละรูปแบบจะเหมาะกับสิ่งเร้าประเภทหนึ่ง ๆ ดังนั้น จึงมีตัวรับความรู้สึกมากมายหลายแบบในร่างกาย เซลล์ประสาทเป็นองค์ประกอบหลักของระบบประสาท ซึ่งส่งข้อมูลจากตัวรับความรู้สึกไปทั่วร่างกาย",
"title": "การรับรู้รส"
},
{
"docid": "568261#2",
"text": "ชาลส์ สก็อตต์ เชอร์ริงตัน ค้นพบโนซิเซ็ปเตอร์ในปี ค.ศ. 1906 แม้ว่าในศตวรรษก่อนหน้านั้น นักวิทยาศาสตร์จะได้เชื่อกันว่า สัตว์เป็นเหมือนกับเครื่องกลที่เปลี่ยนพลังงานของตัวกระตุ้นความรู้สึก ไปเป็นปฏิกิริยาคือการเคลื่อนไหว เชอร์ริงตันได้ใช้วิธีการทดลองต่าง ๆ มากมาย เพื่อจะแสดงว่า การเร้าลานรับสัญญาณของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกด้วยตัวกระตุ้นประเภทต่าง ๆ กัน จะทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ต่างกัน สิ่งเร้าที่รุนแรงบางอย่างจะก่อให้เกิดรีเฟล็กซ์อัตโนมัติและความเจ็บปวด และตัวรับความรู้สึกเฉพาะต่อตัวกระตุ้นรุนแรงเหล่านี้แหละเรียกว่า โนซิเซ็ปเตอร์",
"title": "ตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด"
},
{
"docid": "912564#43",
"text": "การทดสอบสามัญที่ใช้วัดความไวสัมผัสก็คือค่าขีดเริ่มเปลี่ยนของ Two-point discrimination\nซึ่งเป็นระยะห่างน้อยที่สุดระหว่างสิ่งเร้าที่สองจุดโดยสามารถรู้สึกว่าเป็นสองจุด ไม่ใช่สิ่งเร้าจุดเดียวได้\nส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะมีขีดเริ่มเปลี่ยนต่าง ๆ กัน ส่วนที่ไวสุดคือนิ้วมือ ใบหน้า และนิ้วเท้าเป็นต้น\nเมื่อรู้สึกว่ามีสิ่งเร้าที่สองจุด นั่นหมายความว่าสมองได้รับกระแสประสาทต่างหาก ๆ จากจุดสองจุด\nส่วนความไวที่ต่าง ๆ ในร่างกายมีเหตุจากการมีตัวรับความรู้สึกที่หนาแน่นต่างกัน",
"title": "แบบสิ่งเร้า"
},
{
"docid": "469192#11",
"text": "ส่วนตัวรับความรู้สึกกระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และแบ่งย่อยได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ตัวรับสิ่งเร้าจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ตัวรับความรู้สึกจากการเคลื่อนไหวตำแหน่งของข้อต่อและกล้ามเนื้อ และตัวรับความรู้สึกจากอวัยวะภายใน\nในระบบรับความรู้สึกทางกาย เขตรับความรู้สึกทางกาย 1 หรือเรียกที่ว่า S1 เป็นเขตรับรู้สัมผัสและอากัปกิริยา แม้ว่า ระบบรับความรู้สึกทางกายจะส่งสัญญาณจากปลายประสาทไปยังเขตบร็อดแมนน์ 3-1-2 ของคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (postcentral gyrus) เป็นหลัก แต่ก็ยังส่งสัญญาณเกี่ยวกับการรับรู้อากัปกิริยาไปยังซีรีเบลลัมอีกด้วย\nนายกิตตื",
"title": "ระบบรับความรู้สึก"
},
{
"docid": "613876#2",
"text": "การแปลสิ่งเร้าผิดบางอย่างมีเหตุจากข้อสันนิษฐานที่สมองมีเกี่ยวกับความเป็นจริงเมื่อเกิดการรับรู้ ข้อสันนิษฐานเหล่านั้นเกิดขึ้นอาศัยรูปแบบของสิ่งที่รับรู้, ความสามารถในการรับรู้ความลึกและการรับรู้ความเคลื่อนไหว, และความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัยว่า วัตถุหรือลักษณะต่าง ๆ ของวัตถุนั้นไม่มีความเปลี่ยนแปลงแม้ความรู้สึกทางประสาทสัมผัสเกี่ยวกับวัตถุนั้นจะได้เปลี่ยนไปแล้ว ส่วนการแปลสิ่งเร้าผิดอื่น ๆ เกิดขึ้นอาศัยความเป็นไปในระบบการรับรู้ภายในร่างกาย หรือองค์ประกอบอื่น ๆ ภายนอกร่างกายในสิ่งแวดล้อม",
"title": "การแปลสิ่งเร้าผิด"
},
{
"docid": "593774#20",
"text": "อย่างไรก็ดี ในความรู้สึกแต่ละประเภท กลไกการทำงานของการถ่ายโอนความรู้สึกของตัวรับความรู้สึก (ปลายประสาท) ในระบบรับความรู้สึกทางกายจะคล้าย ๆ กันโดยทั่วไป คือสิ่งเร้าที่เหมาะสมจะเปิดปิดช่องไอออนของปลายประสาท ทำให้แคตไอออนเช่น Na+ และ/หรือ Ca2+ ไหล เข้าไปในเซลล์เป็นกระแสไฟฟ้าที่เรียกว่าศักย์ตัวรับความรู้สึก ซึ่งเมื่อถึงขีดเริ่มเปลี่ยนในที่สุดก็จะทำให้เกิดการสร้างศักยะงาน แล้วส่งไปยังระบบประสาทกลางผ่านไขสันหลังหรือก้านสมองเป็นจุดเริ่มต้น โดยอัตราของศักยะงานจะมีสัดส่วนเข้ากับการลดขั้ว ซึ่งก็จะเข้ากับลักษณะตัวกระตุ้นด้วย[21]",
"title": "ระบบรับความรู้สึกทางกาย"
},
{
"docid": "613876#3",
"text": "คำว่า การแปลสิ่งเร้าผิด หมายถึงการบิดเบือนความเป็นจริงทางการรับรู้ที่มีลักษณะเฉพาะ โดยที่ไม่เหมือนกับอาการประสาทหลอน (hallucination) ซึ่งเป็นความบิดเบือนความเป็นจริงโดยไม่มีสิ่งเร้า การแปลสิ่งเร้าผิดเป็นการแปลผลความรู้สึก (อาศัยสิ่งเร้า) ที่มีขึ้นจริง ๆ ผิด ยกตัวอย่างเช่น การได้ยินเสียงโดยไม่มีเสียงจริง ๆ ในสิ่งแวดล้อมเป็นอาการประสาทหลอน แต่ว่า การได้ยินเสียงคนในเสียงน้ำที่กำลังไหลอยู่ (หรือในเสียงอื่น ๆ) เป็นการแปลสิ่งเร้าผิด ละครไมม์เป็นบทการละเล่นลวงตาที่สร้างขึ้นโดยอาศัยการเคลื่อนไหวกาย คือผู้เล่นละครสร้างภาพลวงตาโดยเคลื่อนกายเหมือนกับทำปฏิกิริยากับวัตถุที่ไม่มี ภาพลวงตาเช่นนี้เกิดขึ้นได้อาศัยข้อสันนิษฐานที่ผู้ชมมีเกี่ยวกับความเป็นไปในโลกจริง ๆ บทเล่นที่รู้จักกันดีก็คือ \"กำแพง\" (คือทำปฏิกิริยากับกำแพงที่ไม่มี) \"ปีนขึ้นบันได\" \"พิง\" (ดูรูป) \"ปีนลงบันได\" และ \"ดึงและผลัก\"",
"title": "การแปลสิ่งเร้าผิด"
},
{
"docid": "879409#0",
"text": "ตัวรับแรงกล (English: mechanoreceptor) เป็นปลายประสาทรับความรู้สึกที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นแรงกล เช่น สัมผัสหรือเสียง[1] มีตัวรับแรงกลประเภทต่าง ๆ ในระบบประสาทมากมายโดยต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ในระบบรับความรู้สึกทางกาย ตัวรับแรงกลทำให้รู้สัมผัสและอากัปกิริยาได้ (โดยมี Pacinian corpuscle เป็นตัวไวแรงกลมากที่สุดในระบบ[2]) ในการรับรู้สัมผัส ผิวหนังที่ไม่มีขน/ผม (glabrous skin) ที่มือและเท้า ปกติจะมีตัวรับแรงกล 4 อย่างหลัก ๆ คือ Pacinian corpuscle, Meissner's corpuscle, Merkel nerve ending, และ Ruffini ending และผิวที่มีขนก็มีตัวรับแรงกล 3 อย่างเหมือนกันยกเว้น Meissner's corpuscle บวกเพิ่มกับตัวรับแรงกลอื่น ๆ รวมทั้งตัวรับความรู้สึกที่ปุ่มรากผม ในการรับรู้อากัปกิริยา ตัวรับแรงกลช่วยให้รู้ถึงแรงหดเกร็งของกล้ามเนื้อและตำแหน่งของข้อต่อ มีประเภทรวมทั้ง muscle spindle 2 ชนิด, Golgi tendon organ, และ Joint capsule[3] ในบรรดาตัวรับแรงกลทั้งหมด เซลล์ขนในคอเคลียของระบบการได้ยินไวที่สุด โดยมีหน้าที่ถ่ายโอนคลื่นเสียงในอากาศเป็นสัญญาณประสาทเพื่อส่งไปยังสมอง แม้แต่เอ็นปริทันต์ (periodontal ligament) ก็มีตัวรับแรงกลด้วย[4] ซึ่งช่วยให้กรามผ่อนแรงเมื่อกัดถูกวัตถุที่แข็ง ๆ",
"title": "ตัวรับแรงกล"
},
{
"docid": "879409#2",
"text": "ปลายประสาทรับแรงกลในระบบรับความรู้สึกทางกาย จะมีลักษณะทางกายวิภาคโดยเฉพาะ ๆ ที่เหมาะกับสิ่งเร้า และโดยทั่วไปอาจเป็นแบบหุ้มปลอก/แคปซูล (เช่น Pacinian corpuscle) อันเป็นเนื้อเยื่อนอกเซลล์ประสาท หรืออาจเป็นปลายประสาทอิสระ[6] เมื่อเนื้อเยื่อรอบ ๆ ปลายประสาทแปรรูปเพราะสิ่งเร้าที่เหมาะสม (เช่น แรงสั่นความถี่สูง) โปรตีนที่ผิวของเซลล์ประสาทก็จะแปรรูปด้วย ทำให้ไอออน Na+ และ Ca2+ ไหลเข้าผ่านช่องไอออนของเซลล์เป็นกระแสไฟฟ้าที่เรียกว่าศักย์ตัวรับความรู้สึก (receptor potential) ซึ่งถ้าถึงขีดเริ่มเปลี่ยนก็จะทำให้เซลล์สร้างศักยะงานส่งไปยังระบบประสาทกลาง โดยเริ่มต้นส่งไปที่ไขสันหลังหรือก้านสมอง[7][8] ตัวรับความรู้สึกแต่ละประเภท ๆ จากตำแหน่งโดยเฉพาะ ๆ จะมีใยประสาทเป็นของตนเองจนถึงไขสันหลังตลอดไปจนถึงสมอง[9] ความเฉพาะเจาะจงเช่นนี้ทำให้ระบบประสาทกลางจำแนกได้ว่า เป็นความรู้สึกประเภทไรและมาจากส่วนไหนของร่างกาย",
"title": "ตัวรับแรงกล"
},
{
"docid": "885632#14",
"text": "ปลายประสาทรับแรงกลในระบบรับความรู้สึกทางกาย จะมีลักษณะทางกายวิภาคโดยเฉพาะ ๆ ที่เหมาะกับสิ่งเร้า และโดยทั่วไปอาจเป็นแบบที่หุ้มปลอก/แคปซูล (เช่น Merkel ending) อันเป็นเนื้อเยื่อนอกเซลล์ประสาท หรืออาจเป็นปลายประสาทอิสระ เมื่อเนื้อเยื่อรอบ ๆ ปลายประสาทแปรรูปเพราะสิ่งเร้าที่เหมาะสม (เช่นปลายแหลมสำหรับปลายประสาทเมอร์เกิล) โปรตีนที่ผิวของเซลล์ประสาทก็จะแปรรูปด้วย ทำให้ไอออน Na+ และ Ca2+ ไหลเข้าผ่านช่องไอออนของเซลล์เป็นกระแสไฟฟ้าที่เรียกว่าศักย์ตัวรับความรู้สึก (receptor potential) ซึ่งถ้าถึงขีดเริ่มเปลี่ยนก็จะทำให้เซลล์สร้างศักยะงานส่งไปยังระบบประสาทกลาง โดยเริ่มต้นส่งไปที่ไขสันหลังหรือก้านสมอง[20][21] ตัวรับความรู้สึกแต่ละประเภท ๆ จากตำแหน่งโดยเฉพาะ ๆ จะมีใยประสาทเป็นของตนเองจนถึงไขสันหลังตลอดไปจนถึงสมอง[22] ความเฉพาะเจาะจงเช่นนี้ทำให้ระบบประสาทกลางจำแนกได้ว่า เป็นความรู้สึกประเภทไรและมาจากส่วนไหนของร่างกาย",
"title": "ปลายประสาทเมอร์เกิล"
},
{
"docid": "885609#8",
"text": "ปลายประสาทรับแรงกลในระบบรับความรู้สึกทางกาย จะมีลักษณะทางกายวิภาคโดยเฉพาะ ๆ ที่เหมาะกับสิ่งเร้า และโดยทั่วไปอาจเป็นแบบหุ้มปลอก/แคปซูล (เช่น Pacinian corpuscle) อันเป็นเนื้อเยื่อนอกเซลล์ประสาท หรืออาจเป็นปลายประสาทอิสระ\nเมื่อเนื้อเยื่อรอบ ๆ ปลายประสาทแปรรูปเพราะสิ่งเร้าที่เหมาะสม (เช่น แรงสั่นความถี่สูง) โปรตีนที่ผิวของเซลล์ประสาทก็จะแปรรูปด้วย ทำให้ไอออน Na และ Ca ไหลเข้าผ่านช่องไอออนของเซลล์เป็นกระแสไฟฟ้าที่เรียกว่าศักย์ตัวรับความรู้สึก (receptor potential) ซึ่งถ้าถึงขีดเริ่มเปลี่ยนก็จะทำให้เซลล์สร้างศักยะงานส่งไปยังระบบประสาทกลาง โดยเริ่มต้นส่งไปที่ไขสันหลังหรือก้านสมอง\nตัวรับความรู้สึกแต่ละประเภท ๆ จากตำแหน่งโดยเฉพาะ ๆ จะมีใยประสาทเป็นของตนเองจนถึงไขสันหลังตลอดไปจนถึงสมอง\nความเฉพาะเจาะจงเช่นนี้ทำให้ระบบประสาทกลางจำแนกได้ว่า เป็นความรู้สึกประเภทไรและมาจากส่วนไหนของร่างกาย",
"title": "เม็ดพาชีเนียน"
},
{
"docid": "56147#6",
"text": "“เป็นเกมที่มีลักษณะเปิดกว้างและเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ทุกอย่างเท่าที่สามารถจะมีได้ พร้อมทั้งระบบของเป้าหมายและการให้รางวัลแบบใหม่ซึ่งจะมีให้ผู้เล่นทุกอย่างจากตัวเกมหลักและจากเนื้อเรื่องซึ่งจะทำให้ผู้เล่นสนุกสนานได้เป็นระยะเวลายาวนาน Humble ต้องการที่จะทำลายกำแพงและมอบอิสระให้กับชาวซิมส์ในการตระเวนไปยังส่วนต่างๆ ในเมืองได้อย่างอิสระ ไม่ใช่ถูกจองจำอยู่ในสิ่งที่เรียกว่า “พื้นที่” อย่างในเกมภาคก่อนๆ เขาต้องการทำให้เกมกลายเป็นโลกที่เปิดกว้างซึ่งชาวซิมส์สามารถเดินเตร็ดเตร่ ไปยังที่ที่ต้องการ, พบเพื่อนๆ, ไปทำงาน หรือมีปฏิสัมพันธ์กับใครก็ได้ตามต้องการ จากเดโมเกมได้แสดงให้เราเห็นภาพมุมกล้องจับอยู่ที่ตัวละครหลักคนหนึ่ง จากนั้นภาพค่อยๆ ซูมออกไปจนกระทั่งเห็นพื้นที่ละแวกเพื่อนบ้านทั้งหมด ซึ่งมันถ่ายทอดให้เห็นชีวิตแบบอเมริกันในแถบมิดเวสต์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ คุณจะได้เห็นชาวซิมส์เดินไปมาบนบาทวิถี, ทักทายกันและกัน หรือหยุดแวะพูดคุย ในขณะที่มียวดยานวิ่งผ่านไปมาบนท้องถนน มันทำให้รู้สึกถึงความมีชีวิตชีวาของเมืองที่เปิดกว้าง ที่ที่ซึ่งเหตุการณ์ต่างๆ ล้วนเกิดขึ้นได้”",
"title": "เดอะซิมส์ 3"
},
{
"docid": "912564#36",
"text": "ระบบรับความรู้สึกทางกายจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งเร้าที่ผิวหนัง (รวมทั้งแรงดัน แรงสั่น และอุณหภูมิ) ตำแหน่งของแขนขา (kinaesthetic) และอากัปกิริยา\nความไวสัมผัสและขีดเริ่มเปลี่ยนการรู้สิ่งเร้าจะต่างกันทั้งในระหว่างบุคคลต่าง ๆ และในบุคคลคนเดียวกันในช่วงชีวิต\nและตัวบุคคลก็จะไวสัมผัสต่างกันระหว่างมือซ้ายและขวา\nซึ่งอาจเป็นเพราะความด้านที่ผิวหนังของมือที่ถนัด ซึ่งกั้นสิ่งเร้าจากตัวรับความรู้สึก\nหรืออาจเป็นเพราะความแตกต่างของการทำงานหรือสมรรถภาพระหว่างสมองซีกซ้ายขวา",
"title": "แบบสิ่งเร้า"
},
{
"docid": "605030#22",
"text": "ผลที่ได้เช่นกันต่อเซลล์ขนจากการเอนศีรษะและการเร่งเชิงเส้น อาจจะทำให้คิดได้ว่า สิ่งเร้าต่าง ๆ บางอย่างอาจทำให้รู้สึกเช่นเดียวกันเมื่อปิดตาหรือเมื่ออยู่ในที่มืด แต่ก็ปรากฏว่ามนุษย์สามารถแยกแยะสิ่งเร้าต่าง ๆ เหล่านั้นได้ โดยอาจเป็นเพราะได้ข้อมูลรวม ๆ จากอวัยวะระบบนี้บวกกับระบบหลอดกึ่งวงกลม ระบบการเห็น และระบบรับความรู้สึกทางกาย\nเทียบกับการแปลผลสัญญาณการหมุนตัวจากหลอดกึ่งวงกลมซึ่งตรงไปตรงมา การแปลผลจาก otolithic organs นั้นจะยากกว่า\nเนื่องจากว่า แรงโน้มถ่วงของโลกก็เป็นความเร่งเชิงเส้นอีกประเภทหนึ่ง ดังนั้น สมองจึงต้องแยกแยะสัญญาณที่มาจากอวัยวะว่า เกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวเชิงเส้น หรือเกิดจากแรงโน้มถ่วง\nซึ่งมนุษย์ก็สามารถทำการนี้ได้ดี แต่กลไกทางประสาทที่แยกแยะความเร่งสองอย่างนี้ ก็ยังไม่เป็นที่เข้าใจกันดี",
"title": "ระบบการทรงตัว"
},
{
"docid": "469192#4",
"text": "ลานรับสัญญาณ (receptive field) เป็นเขตในสิ่งแวดล้อมที่อวัยวะรับความรู้สึกและตัวรับความรู้สึกทำการตอบสนอง ตัวอย่างเช่น ส่วนของโลกที่ตาเห็นเป็นลานรับสัญญาณของตา และแสงที่เซลล์รับแสงคือเซลล์รูปแท่ง (rod cell) กับเซลล์รูปกรวย (cone cell) ในตารองรับก็เป็นลานรับสัญญาณของเซลล์เหล่านั้น นักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันสามารถบ่งชี้ลานรับสัญญาณต่าง ๆ ในระบบการเห็น ระบบการได้ยิน และระบบรับความรู้สึกทางกาย ได้แล้ว\nภาวะที่รับรู้จากสิ่งเร้า () หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาวะที่รับรู้ () เป็นปรากฏการณ์ทางกายภาพอย่างหนึ่งที่ตัวรับความรู้สึกรับรู้ได้ มีตัวอย่างเป็นต้นว่า อุณหภูมิ รสชาติ เสียง และแรงกดดัน ตัวรับความรู้สึกที่เริ่มทำงานเพราะสิ่งเร้ามีหน้าที่หลักในการเข้ารหัส\"ภาวะที่รับรู้จากสิ่งเร้า\"",
"title": "ระบบรับความรู้สึก"
},
{
"docid": "885622#14",
"text": "ปลายประสาทรับแรงกลในระบบรับความรู้สึกทางกาย จะมีลักษณะทางกายวิภาคโดยเฉพาะ ๆ ที่เหมาะกับสิ่งเร้า และโดยทั่วไปอาจเป็นแบบที่หุ้มปลอก/แคปซูล (เช่น Meissner's corpuscle) อันเป็นเนื้อเยื่อนอกเซลล์ประสาท หรืออาจเป็นปลายประสาทอิสระ\nเมื่อเนื้อเยื่อรอบ ๆ ปลายประสาทแปรรูปเพราะสิ่งเร้าที่เหมาะสม โปรตีนที่ผิวของเซลล์ประสาทก็จะแปรรูปด้วย ทำให้ไอออน Na และ Ca ไหลเข้าผ่านช่องไอออนของเซลล์เป็นกระแสไฟฟ้า ซึ่งถ้าถึงขีดเริ่มเปลี่ยนก็จะทำให้เซลล์ลดขั้ว และในที่สุดก็จะส่งศักยะงานไปยังระบบประสาทกลาง โดยเริ่มต้นส่งไปที่ไขสันหลังหรือก้านสมอง\nตัวรับความรู้สึกแต่ละประเภท ๆ จากตำแหน่งโดยเฉพาะ ๆ จะมีใยประสาทเป็นของตนเองจนถึงไขสันหลังตลอดไปจนถึงสมอง ความเฉพาะเจาะจงเช่นนี้ทำให้ระบบประสาทกลางจำแนกได้ว่า เป็นความรู้สึกประเภทไรและมาจากส่วนไหนของร่างกาย",
"title": "เม็ดรู้สัมผัส"
},
{
"docid": "912564#30",
"text": "ส่วนสมองที่รับข้อมูลเกี่ยวกับรสชาติและกลิ่น จะอยู่ที่เขตรับรู้ประสาทสัมผัสได้หลายแบบในระบบลิมบิกและเปลือกสมองรอบ ๆ ระบบลิมบิก\nโดยการรวมรสและกลิ่นจะเกิดตั้งแต่กระบวนการแปลผลต้น ๆ \nปัจจัยต่าง ๆ เช่น ผลทางสรีรภาพของสิ่งเร้า จะมีผลต่อการรับรู้โดยอาศัยประสบการณ์ชีวิต\nเพราะสมองส่วนลิมบิกและรอบ ๆ มีกิจหลักในการเรียนรู้และการแปลผลทางอารมณ์\nนอกจากนั้น การรับรสแทบทุกครั้งยังรวมเอาข้อมูลความรู้สึกทางกายในปาก บวกกับกลิ่นจากด้านหลังของโพรงจมูกด้วย",
"title": "แบบสิ่งเร้า"
},
{
"docid": "912564#39",
"text": "ความรู้สึกทางกาย เมื่อเทียบกับประสาทสัมผัสอื่น ๆ จะต้องส่งไปยังสมองเป็นระยะทางไกล\nโดยเริ่มจากตัวรับแรงกลที่ผิวหนัง ซึ่งตรวจจับสิ่งเร้าที่เป็นรูปธรรม\nแรงดันที่ตัวรับแรงกลได้รับ อาจจะรู้สึกเป็นสัมผัส ความไม่สบาย หรือความเจ็บปวด",
"title": "แบบสิ่งเร้า"
},
{
"docid": "912564#31",
"text": "ความรู้สึกเกี่ยวกับรสมาจากการเร้าทั้งระบบรับความรู้สึกทางกายและระบบรับกลิ่น\nดังนั้น ความรู้สึกอร่อยที่ได้จากการดื่มกินจะได้อิทธิพลจาก\nความรู้สึกหรืออาการร้อนเย็นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอุณหภูมิ\nสปีชีส์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะรู้สึกร้อนเย็นต่าง ๆ กัน",
"title": "แบบสิ่งเร้า"
},
{
"docid": "593774#9",
"text": "ในระบบประสาทนอกส่วนกลาง ตัวรับความรู้สึก (sensory receptors) จะเป็นตัวตรวจจับสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น ตัวรับแรงกลจะตรวจจับสัมผัสและอากัปกิริยา และโนซิเซ็ปเตอร์จะตรวจจับความรู้สึกที่อาจนำไปสู่ความเจ็บปวด ข้อมูลความรู้สึก (เช่นสัมผัสและอุณหภูมิ) ก็จะเดินทางไปยังระบบประสาทกลางผ่านนิวรอนต่าง ๆ ที่เป็นส่วนของใยประสาทนำเข้า (ดังที่กล่าวไว้ด้านบน) ซึ่งเป็นนิวรอนหลายประเภทที่แตกต่างกันโดยขนาด โครงสร้าง และคุณสมบัติ โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว รูปแบบความรู้สึกจะสัมพันธ์กับประเภทของนิวรอนในใยประสาทนำเข้าที่เกี่ยวข้องกัน ตัวอย่างเช่น นิวรอนที่มีแอกซอนบาง ไร้ปลอกไมอีลิน และส่งสัญญาณได้ช้า จะเป็นตัวส่งข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บปวด เทียบกับนิวรอนที่มีแอกซอนหนา มีปลอกไมอีลิน และส่งสัญญาณได้เร็วกว่า จะเป็นตัวส่งข้อมูลเกี่ยวกับสัมผัสละเอียด",
"title": "ระบบรับความรู้สึกทางกาย"
}
] |
4129 | ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง ใช่หรือไม่? | [
{
"docid": "531682#0",
"text": "ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (French: Forces de l'Entente / Alliés; Italian: Alleati; Russian: Союзники, Soyuzniki) เป็นประเทศที่ทำสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลางระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สมาชิกของข้อตกลงไตรภาคีได้แก่ สาธารณรัฐฝรั่งเศส จักรวรรดิอังกฤษ และจักรวรรดิรัสเซีย ต่อมา อิตาลีเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายไตรภาคีในปี 1915 ส่วนญี่ปุ่น เบลเยียม เซอร์เบีย กรีซ มอนเตเนโกร โรมาเนีย และ ลีเจียนเชกโกสโลวาเกีย[1] เป็นสมาชิกรองของข้อตกลง[2]",
"title": "ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง"
}
] | [
{
"docid": "267695#0",
"text": "การทัพตูนิเซีย () เป็นการรบที่เกิดขึ้นในตูนิเซียในสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างกองกำลังฝ่ายอักษะกับฝ่ายสัมพันธมิตร กองกำลังหลักของฝ่ายสัมพันธมิตรประกอบด้วยกองทัพของจักรวรรดิอังกฤษ, กองทัพอเมริกันและกองทัพฝรั่งเศส",
"title": "การทัพตูนิเซีย"
},
{
"docid": "25751#19",
"text": "ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีได้เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสประกาศสงครามต่อเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน ในวันเดียวกัน ประเทศเครือจักรภพประกาศสงครามเข้ากับสหราชอาณาจักรด้วยเช่นกัน ต่อมาประเทศบางส่วนในยุโรปตะวันตกได้เข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรหลังจากถูกกองทัพเยอรมันเข้ามารุกราน ได้แก่ เดนมาร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และลักเซมเบิร์ก",
"title": "ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง"
},
{
"docid": "25751#28",
"text": "ฝรั่งเศสมีส่วนร่วมกับการรบในแนวรบด้านตะวันตก นับตั้งแต่สงครามลวง และยุทธการฝรั่งเศส หลังจากความพ่ายแพ้ต่อกองทัพเยอรมัน ดินแดนฝรั่งเศสถูกแบ่งออกเป็น \"ฝรั่งเศสเขตยึดครอง\" และ \"วิชีฝรั่งเศส\" ขณะที่รัฐบาลฝรั่งเศสลี้ภัยไปยังอังกฤษ และมีการก่อตั้งฝรั่งเศสเสรี ซึ่งมีส่วนร่วมในการปลดปล่อยฝรั่งเศสจนกระทั่งสงครามยุติ",
"title": "ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง"
},
{
"docid": "887805#0",
"text": "ยุทธการที่อารัส เป็นเหตุการณ์การสู้รบซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธการที่ฝรั่งเศส เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 เป็นการโจมตีตอบโต้กลับของฝ่ายสัมพันธมิตรในการต่อกรกับปีกของกองทัพเยอรมัน ใกล้กับเมืองอารัสอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส.กองทัพเยอรมันภายใต้การนำของรอมเมิลได้ผลักดันกองทัพฝ่ายฝ่ายสัมพันธมิตรไปยังช่องแคบอังกฤษจากทางเหนือเพื่อวางกับดักล้อมกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งได้เคลื่อนทัพไปทางตะวันออกในการเข้าสู่เบลเยียม.การโจมตีตอบโต้ที่อารัสเป็นความพยายามของฝ่ายสัมพันธมิตรในการตัดเส้นทางผ่านของหัวหอกยานเกราะเยอรมันและการรุกของเยอรมันนั้นไร้ผล การโจมตีของอังกฤษและฝรั่งเศสนั้นได้ประสบความสำเร็จในช่วงต้นและทำให้หน่วยทหารเยอรมันบางหน่วยเกิดเสียขวัญ แต่กลับถูกขับไล่ในภายหลังจากการรุกตอนบนจาก 10 กิโลเมตร(6.2 ไมล์)และถูกบังคับให้ถอนกำลังในช่วงหลังกลางคืนเพื่อหลีกเลี่ยงโดนโอบล้อม",
"title": "ยุทธการที่อารัส (ค.ศ. 1940)"
},
{
"docid": "25751#18",
"text": "ซึ่งกลุ่มประเทศเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันจากเครือข่ายสนธิสัญญาป้องกันร่วมกัน และสนธิสัญญาในความร่วมมือพันธมิตรทางการทหารก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ส่วนความร่วมมือกันระหว่างสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสสามารถย้อนไปได้ถึง ความเข้าใจระหว่างอังกฤษ-ฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1904 และฝ่ายไตรภาคี ในปี ค.ศ. 1907 และดำเนินการร่วมกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่วนพันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์ได้รับการลงนาม ในปีค.ศ. 1921 ซึ่งได้รับการแก้ไขในปี ค.ศ. 1927 และอีกครั้งในปี ค.ศ. 1939 ส่วนบัญญัติป้องกันร่วมกันอังกฤษ-โปแลนด์ ได้รับการลงนามในวันที่ 25 สิงหาคม 1939 ซึ่งประกอบไปด้วยสัญญาในการให้ความร่วมมือทางการทหารร่วมกันระหว่างชาติในกรณีถูกรุกรานโดยนาซีเยอรมนี",
"title": "ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง"
},
{
"docid": "267278#9",
"text": "เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เยอรมนี ได้ออกค้นหาทายาทอาณาจักรของกรุงโรม ได้ค้นพบอิตาลี ที่ซ่อนตัวอยู่ในลังมะเขือเทศและใช้เขาเป็นเชลย สงครามโลกครั้งที่สอง อิตาลีก็ได้เป็นพันธมิตรกับเยอรมนี และญี่ปุ่น ก็เข้าร่วมเป็นอันดับต่อมา รวมกันจึงได้ตั้งชื่อว่า ฝ่ายอักษะ โดยจะต้องสู้รบกับกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งมี อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน และ รัสเซีย",
"title": "พลังอักษะ เฮตาเลีย"
},
{
"docid": "939107#0",
"text": "การประชุมกาซาบล็องกา(รหัสนามว่า ซิมโบล) ได้ถูกจัดตั้งขึ้นที่โรงแรม Anfa ในกาซาบล็องกา ฝรั่งเศสโมร็อกโก ตั้งแต่วันที่ 14 ถึง 24 มกราคม ค.ศ. 1943 เพื่อวางแผนทางยุทธศาสตร์ของฝ่ายสัมพันธมิตรในทวีปยุโรปในช่วงขั้นต่อไปของสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้ที่ได้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ได้แก่ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ และนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร วินสตัน เชอร์ชิล นอกจากนี้ยังได้มีผู้เข้าร่วมการประชุมที่เป็นตัวแทนของกองกำลังฝรั่งเศสเสรี ได้แก่ นายพล ชาร์ล เดอ โกล และ Henri Giraud แม้ว่าพวกเขาจะมีบทบาทที่เล็กน้อยและไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการวางแผนทางทหาร ผู้นำ โจเซฟ สตาลิน ได้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมประชุม เนื่องจากการสู้รบอย่างต่อเนื่องในยุทธการที่สตาลินกราด ซึ่งเขาเป็นที่ความต้องการที่จะอยู่ในสหภาพโซเวียต",
"title": "การประชุมกาซาบล็องกา"
},
{
"docid": "25751#1",
"text": "แนวร่วมต่อสู้เยอรมนีช่วงสงครามเริ่มต้น (1 กันยายน ค.ศ. 1939) ประกอบด้วยฝรั่งเศส โปแลนด์ สหราชอาณาจักร ชาติเครือจักรภพอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพแอฟริกาใต้ (กำลังสหภาพแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่สู้รบภายใต้การบัญชาของเครือจักรภพแม้จะเป็นชาติอธิปไตยนับแต่ ค.ศ. 1931)[2] หลัง ค.ศ. 1941 ผู้นำสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพอังกฤษ, สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ซึ่งรู้จักกันในชื่อ \"สามผู้ยิ่งใหญ่\"[3] ถือความเป็นผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตร ในขณะนั้น จีนเองก็เป็นฝ่ายสัมพันธมิตรหลักเช่นกัน[4] ฝ่ายสัมพันธมิตรอื่นมีเบลเยียม บราซิล เชโกสโลวาเกีย เอธิโอเปีย กรีซ อินเดีย เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์และยูโกสลาเวีย[5]",
"title": "ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง"
},
{
"docid": "11774#9",
"text": "ที่การประชุมยัลตาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตร (สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสหภาพโซเวียต) ได้เห็นตกลงกันว่าจะแบ่งแยกประเทศของนาซีเยอรมนีที่ได้พ่ายแพ้ไปแล้วให้กลายเป็นเขตยึดครอง และแบ่งแยกกรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงของเยอรมนี ท่ามกลางอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรเช่นกัน ในช่วงแรกการสร้างเขตยึดครองทั้งสาม ได้แก่ อเมริกัน อังกฤษ และโซเวียต ต่อมาเขตยึดครองของฝรั่งเศสได้ถูกแบ่งแยกออกมาจากเขตอเมริกันและอังกฤษ",
"title": "ประเทศเยอรมนีตะวันออก"
},
{
"docid": "166369#47",
"text": "ไม่มีฝ่ายใด ทั้งเยอรมนี ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก และสหภาพโซเวียต จะคาดว่าการบุกครองโปแลนด์นี้จะลุกลามจนกลายเป็นสงครามโลกครั้งที่สอง ฮิตเลอร์ยังได้เตรียมแผนการที่จะเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ทว่าฝ่ายสัมพันธมิตรก็ไม่เปิดโอกาสเลย นักประวัติศาสตร์ถือว่าการบุกครองโปแลนด์นี้เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ขณะที่การบุกครองจีนของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1937 และสงครามมหาสมุทรแปซิฟิกในปี ค.ศ. 1941 รวมกันแล้ว จะเรียกว่า \"สงครามโลกครั้งที่สอง\"",
"title": "การบุกครองโปแลนด์"
},
{
"docid": "888203#0",
"text": "ยุทธการที่เซอด็อง หรือ ยุทธการที่เซอด็องครั้งที่สอง (12-15 พฤษภาคม ค.ศ. 1940) เป็นการสู้รบของสงครามโลกครั้งที่สองในช่วงยุทธการที่ฝรั่งเศส การรบเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการของกองทัพเวร์มัคท์ในรหัสนามว่า ฟัลล์ เกลบ์(กรณีเหลือง)จากการรุกรานผ่านบริเวณเทือกเขาป่าหนาทึบอาร์แดนเพื่อทำการโอบล้อมกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในเบลเยียมและทางตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส กองทัพเยอรมันกลุ่มเอได้ข้ามแม่น้ำเมิซด้วยความมุ่งหมายที่จะเข้ายึดเซอด็อง และผลักดันไปยังชายหาดช่องแคบอังกฤษ เพื่อทำการดักล้อมกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรที่กำลังเคลื่อนทัพไปยังฝั่งตะวันออกในการเข้าสู่เบลเยียมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการทางยุทธศาสตร์คือแผนดิล\nเซอด็องตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเมิซ การเข้ายึดครองนั้นจะทำให้เยอรมันใช้เป็นฐานทัพที่จะเข้ายึดสะพานเมิซและข้ามแม่น้ำ ถ้าหากทำสำเร็จ กองพลเยอรมันก็จะสามารถรุกก้าวข้ามเขตชนบทฝรั่งเศสที่เปิดและไร้การป้องกันนอกเหนือจากเซอด็องและช่องแคบอังกฤษ.เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม เซอด็องได้ถูกยึดครองโดยปราศจากการต่อต้าน ในวันรุ่งขึ้น เยอรมันได้เอาชนะฝ่ายป้องกันของฝรั่งเศสบริเวณรอบๆของเซอด็อง ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเมิซ นี่คือความสำเร็จโดยกองทัพอากาศเยอรมัน ลุฟท์วัฟเฟอ ด้วยผลมาจากการทิ้งระเบิดของเยอรมันและขวัญกำลังใจตกต่ำลง ทำให้ฝ่ายป้องกันของฝรั่งเศสไม่สามารถป้องกันได้อีกต่อไป เยอรมันได้เข้ายึดสะพานเมิซที่เซอด็องได้ช่วยทำให้กองกำลังรวมทั้งยานเกราะสามารถก้าวข้ามแม่น้ำได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม กองทัพอากาศฝ่ายสัมพันธมิตร กองทัพอากาศหลวงแห่งอังกฤษ(Royal Air Force-RAF)และกองทัพอากาศฝรั่งเศส(Armée de l'Air)ได้พยายามที่จะทำลายสะพานและป้องกันไม่ให้มีการเสริมกำลังของเยอรมันไปยังฝั่งตะวันตก ลุฟท์วัฟเฟอได้ทำการป้องกันไม่ให้พวกเขาทำเช่นนั้น ในการรบทางอากาศขนาดใหญ่ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับความสูญเสียมากมายซึ่งส่งผลทำให้การทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ของฝ่ายสัมพันธมิตรได้หมดลงในช่วงการทัพ",
"title": "ยุทธการที่เซอด็อง (ค.ศ. 1940)"
},
{
"docid": "4496#4",
"text": "ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ถูกยึดครองโดยนาซีเยอรมนีในปี ค.ศ. 1940 สาธารณรัฐที่สามจึงล่มสลายลง พื้นที่ส่วนมากของประเทศถูกควบคุมโดยตรงจากฝ่ายอักษะ ในขณะที่ทางตอนใต้ถูกควบคุมโดยกองกำลังผสมรัฐบาลวิชี ตามมาด้วยการปลดปล่อยฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1944 สาธารณรัฐที่สี่จึงถูกสถาปนาขึ้น",
"title": "ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส"
},
{
"docid": "962106#0",
"text": "จูโนหรือหาดจูโน เป็นหนึ่งในหาดทั้งห้าของฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ารุกฝรั่งเศสภายใต้การยึดครองของเยอรมันในการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หาดนี้ได้ทอดจาก Courseulles หมู่บ้านไปทางตะวันออกของหาดโกลด์ของอังกฤษ ไปยัง Saint-Aubin-sur-Mer ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกของหาดซอร์ดของอังกฤษ การได้จูโนเป็นหน้าที่รับผิดชอบของกองทัพแคนาดา ด้วยการขนส่งทางทะเล, กวาดทุ่นระเบิด และการระดมยิงจากกองเรือที่ดำเนินการโดยราชนาวีแคนาดา และราชนาวีอังกฤษ เช่นเดียวกับส่วนหนึ่งจากกองทัพเรือของฝรั่งเศสเสรี นอร์เวย์ และฝ่ายสัมพันธมิตรอื่นๆ เป้าหมายของกองพลทหารราบแคนาดาบนดีเดย์เป็นการตัดถนนเส้นทางก็อง-บาเยอ เข้ายึดสนามบิน Carpiquet ทางด้านตะวันตกของเมืองก็อง และสร้างการเชื่อมต่อระหว่างสองหาดของอังกฤษคือซอร์ดที่ด้านหนึ่งของหาดจูโน",
"title": "หาดจูโน"
},
{
"docid": "5333#31",
"text": "ฝ่ายสัมพันธมิตรเองก็ประสบความสำเร็จในช่วงเวลานี้เช่นเดียวกัน ในตะวันออกกลาง กองทัพเครือจักรภพก็ได้รับชัยชนะในการปราบปรามรัฐประหารในอิรัก ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยกองทัพอากาศเยอรมันจากฐานทัพในซีเรียในอาณัติฝรั่งเศส[113] จากนั้น ด้วยความช่วยเหลือของขบวนการฝรั่งเศสเสรี ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ประสบความสำเร็จในการทัพซีเรียและเลบานอน เพื่อจัดการกับทหารอักษะในพื้นที่[114] อีกทั้งในมหาสมุทรแอตแลนติก ประชาชนชาวอังกฤษมีขวัญและกำลังใจเพิ่มขึ้นจากการจมจมเรือธง บิสมาร์ค ของเยอรมนี ลงสู่ก้นทะเลได้สำเร็จ[115] และที่อาจสำคัญสุด กองทัพอากาศอังกฤษสามารถต้านทานการโจมตีของลุควาฟเฟได้ในยุทธการแห่งบริเตน และเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 ฮิตเลอร์ต้องยกเลิกการทิ้งระเบิดเหนือเกาะอังกฤษไป[116]",
"title": "สงครามโลกครั้งที่สอง"
},
{
"docid": "10856#0",
"text": "ยุทธการที่ดันเคิร์ก เป็นปฏิบัติการทางทหารซึ่งเกิดที่ดันเคิร์ก ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง การยุทธ์นี้ต่อสู้กันระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรและนาซีเยอรมนี เป็นส่วนหนึ่งของยุทธการที่ฝรั่งเศสบนแนวรบด้านตะวันตก ยุทธการที่ดันเคิร์กเป็นการป้องกันและอพยพทหารบริติชและฝ่ายสัมพันธมิตรในทวีปยุโรประหว่างวันที่ 26 พฤษภาคมถึง 4 มิถุนายน 1940",
"title": "ยุทธการที่ดันเคิร์ก"
},
{
"docid": "835299#0",
"text": "ฝรั่งเศสเสรี (ฝรั่งเศส: \"France Libre\" และ \"Forces françaises libres\") เป็นรัฐบาลพลัดถิ่นภายใต้การนำของนายพลชาร์ล เดอ โกล ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และมี กองทัพฝรั่งเศสเสรี เพื่อต่อสู้กับกองทัพ ฝ่ายอักษะ ร่วมกับ ฝ่ายสัมพันธมิตร หลัง ยุทธการที่ฝรั่งเศส. โดยมีที่ตั้งที่ ลอนดอน ในเดือน มิถุนายน 1940 และมีความร่วมมือและสนับสนุน ขบวนการต่อต้าน ในเขตยึดครองฝรั่งเศสของนาซีเยอรมนี",
"title": "ฝรั่งเศสเสรี"
},
{
"docid": "964159#0",
"text": "โกลด์, ยังเป็นที่รู้จักกันคือหาดโกลด์ เป็นรหัสนามที่มอบให้กับหนึ่งในห้าพื้นที่ของฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ารุกฝรั่งเศสภายใต้การยึดครองฝรั่งเศสในการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โกลด์ตั้งอยู่ตรงกลางของห้าพื้นที่ ตั้งอยู่ระหว่างปอร็องแบแซ็งทางด้านตะวันตกและ La Rivière ทางด้านตะวันออก ด้วยหน้าผาสูงที่ปลายสุดของเขตได้มุ่งหมายให้การยกพลขึ้นบกได้เกิดขึ้นที่ส่วนที่ราบระหว่าง Le Hamel และ La Rivière, ในภาครหัสนามว่า จิกและคิง การได้โกลด์เป็นหน้าที่รับผิดชอบของกองทัพบกสหราชอาณาจักร ด้วยการขนส่งทางทะเล กวาดทุ่นระเบิด และการระดมยิงจากกองเรือที่ดำเนินการโดยราชนาวี รวมทั้งส่วนหนึ่งจากดัตช์ โปแลนด์ และฝ่ายสัมพันธมิตรอื่นๆ",
"title": "หาดโกลด์"
},
{
"docid": "887616#0",
"text": "ยุทธการที่ฌ็องบลู (หรือ ยุทธการที่ช่องว่างฌ็องบลู) เป็นการสู้รบกันระหว่างกองทัพฝรั่งเศสและกองทัพเยอรมันในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1940 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 กองทัพเวร์มัคท์ (กองกำลังป้องกัน) แห่งนาซีเยอรมันได้บุกครองลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์และเบลเยียม ภายใต้ปฏิบัติการแผนการกรณีสีเหลือง (Fall Gelb-Case Yellow) กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตอบสนองด้วยแผนการดิล (Dyle Plan) หรือ แผนการดี ด้วยความมุ่งมั่นในการหยุดยั้งเยอรมันในเบลเยียมที่เชื่อว่า เป็นการโจมตีหลักของเยอรมัน ฝ่ายสัมพันธมิตรได้กระทำผิดพลาดอย่างไม่ไตร่ตรองด้วยการสั่งให้กองทัพเคลื่อนทัพเข้าสู่เบลเยียมในวันที่ 10 พฤษภาคม และ 12 พฤษภาคม เยอรมันได้เริ่มส่วนที่สองของแผนการกรณีสีเหลือง แผนการมันชไตน์ ด้วยการเคลื่อนทัพผ่านบริเวณเทือกเขาป่าอาร์แดน ไปจนถึงช่องแคบอังกฤษและทำการตัดกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในเบลเยียม",
"title": "ยุทธการที่ฌ็องบลู (ค.ศ.1940)"
},
{
"docid": "174812#3",
"text": "ระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายกำลังมองหาแนวรบที่สอง สำหรับฝ่ายสัมพันธมิตร ฝรั่งเศสนั้นมีความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงมิให้เกิดการรบแบบสนามเพลาะอีกครั้งแบบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งได้เกิดขึ้นตามแนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สำหรับฝ่ายเยอรมนี นายทหารระดับสูงนั้นมีความเห็นว่าเยอรมนีนั้นยังมีทรัพยากรไม่เพียงพอที่จะทำการรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในขณะนี้ ดังนั้นจึงควรโจมตีนอร์เวย์ก่อนจึงจะสามารถแผ่อิทธิพลออกไปในภายหลัง",
"title": "การทัพนอร์เวย์"
},
{
"docid": "148709#21",
"text": "ในฐานะฝ่ายสัมพันธมิตรที่ได้ก้าวเข้าสู่ฝรั่งเศส เส้นทางขนส่งเสบียงและยุทธภัณฑ์ได้ขยายไปถึงจุดแตกหัก Red Ball Express ความพยายามบรรทุกสินค้าขนส่งของฝ่ายสัมพันธมิตร ไม่สามารถขนส่งเสบียงและยุทธภัณฑ์ที่เพียงพอจากท่าเรือในนอร์ม็องดีได้ทั้งหมดตลอดทางจนถึงแนวหน้า,ซึ่งโดยเดือนกันยายน อยู่ใกล้ชายแดนเยอรมัน",
"title": "แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)"
},
{
"docid": "148709#8",
"text": "เนื่องจากการขนส่งแบบขนาดใหญ่เป็นอุปสรรคในรุกข้ามช่องแคบที่จะต้องเผชิญ,กองบัญชาการทหารสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตัดสินใจที่ทำการโจมตีทางปฏิบัติในบริเวณชายฝั่งของฝรั่งเศสในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 1942,ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เริ่มโจมที่ดีแยป,การโจมตีที่ท่าเรือที่ดีแยปของฝรั่งเศส.กองทัพส่วนใหญ่เป็นชาวแคนนาดา,กับกองกำลังเหล่าของอังกฤษบางส่วน,และกองกำลังขนาดเล็กของอเมริกันและกองกำลังเสรีฝรั่งเศสพร้อมกับการสนับสนุนจากกองทัพเรืออังกฤษและโปแลนด์.การโจมตีเป็นความหายนะ,จำนวนเกือบสองในสามส่วนของกองกำลังจู่โจมกลายเป็นการสูญเสีย, อย่างไรก็ตาม, มันก็ได้กลายเป็นบทเรียนอย่างมากจากผลของปฏิบัติการ-บทเรียนเหล่านี้ได้นำไปใช้ในการยกพลขึ้นบกที่ดีได้ในภายหลัง",
"title": "แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)"
},
{
"docid": "5333#2",
"text": "การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ",
"title": "สงครามโลกครั้งที่สอง"
},
{
"docid": "25751#0",
"text": "ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นกลุ่มประเทศที่ต่อสู้กับฝ่ายอักษะช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ามาพัวพันในสงครามโลกครั้งที่สองเพราะประเทศเหล่านี้ถูกรุกรานก่อน ถูกคุกคามโดยตรงจากการรุกรานของฝ่ายอักษะหรือเพราะประเทศเหล่านี้กังวลว่าฝ่ายอักษะจะควบคุมโลกอย่างใดอย่างหนึ่ง[1]",
"title": "ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง"
},
{
"docid": "918647#0",
"text": "ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ฟัลล์ รอท(กรณีแดง)เป็นแผนการสำหรับขั้นตอนที่สองของการพิชิตฝรั่งเศสโดยกองทัพเยอรมันและได้เริ่มต้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1940 มันได้ถูกดำเนินอย่างเป็นไปได้ด้วยประสบความสำเร็จของฟัลล์ เกลบ์ (กรณีเหลือง) การรุกรานประเทศเบเนลักซ์และทางตอนเหนือของฝรั่งเศสในยุทธการที่ฝรั่งเศสและการโอบล้อมกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในทางตอนเหนือของฝั่งช่องแคบ กองกำลังที่แข็งแกร่งก็ได้เคลื่อนทัพเข้าสู่ฝรั่งเศส",
"title": "ฟัลล์ รอท"
},
{
"docid": "25751#49",
"text": "หมวดหมู่:ฝ่ายสัมพันธมิตร หมวดหมู่:การเมืองในสงครามโลกครั้งที่สอง หมวดหมู่:สงครามโลกครั้งที่สอง",
"title": "ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง"
},
{
"docid": "166369#29",
"text": "และแผนการขั้นสุดท้ายของโปแลนด์ คือ แผนการถอนทัพกลับข้ามแม่น้ำซานไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเตรียมตัวทำศึกยืดเยื้อกับเยอรมนีที่เขตหัวสะพานโรมาเนีย ส่วนทางด้านฝรั่งเศสและอังกฤษก็ประเมินว่ากองทัพโปแลนด์จะสามารถตั้งรับไว้ได้เป็นเวลาสองถึงสามเดือน ขณะที่โปแลนด์คาดว่าจะสามารถตั้งรับได้เป็นเวลาหกเดือน แผนการทั้งหมดนี้ โปแลนด์คาดว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะทำตามสนธิสัญญาทางทหารและจะโจมตีเยอรมนีอย่างรวดเร็ว แต่ว่าในขณะที่การรบยังดำเนินไป ฝ่ายสัมพันธมิตรกลับมิได้เตรียมตัวเพื่อการต่อสู้กับเยอรมนีแต่ประการใด เพียงแต่รอเวลาเท่านั้น ทั้งสองประเทศนั้นมองว่า สงครามจะพัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบของการรบแบบสนามเพลาะเหมือนกับในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งผลที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นก็คือ เยอรมนีจำต้องเซ็นสนธิสัญญาสันติภาพเพื่อฟื้นฟูแนวชายแดนเยอรมนี-โปแลนด์ ดังนั้น แผนการทั้งหมดของโปแลนด์จึงไร้ประสิทธิภาพอย่างสิ้นเชิง เมื่อต้องฝากอนาคตของชาติไว้กับคำมั่นสัญญาของฝ่ายสัมพันธมิตร",
"title": "การบุกครองโปแลนด์"
},
{
"docid": "5333#49",
"text": "ในเดือนสิงหาคม กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถผลักดันแนวรบฝ่ายอักษะให้ถอยไปในยุทธการเอลแอละเมนครั้งที่สอง และด้วยการสิ้นเปลืองทรัพยากรอย่างสูงลิบ ก็สามารถขนทรัพยากรที่ต้องการไปให้เมืองมอลต้าที่ถูกปิดล้อมเอาไว้ได้ในปฏิบัติการฐานเสาหิน[186] จากนั้น ไม่กี่เดือนหลังจากยุทธการเอลแอละเมนครั้งที่สองในอียิปต์ ทางด้านอังกฤษและประเทศเครือจักรภพก็เริ่มเคลื่อนทัพไปทางทิศตะวันตกสู่ประเทศลิเบีย[187] ไม่นานหลังจากที่การบุกครองแอฟริกาเหนือของฝรั่งเศสของสหรัฐอเมริกา-สหราชอาณาจักร ซึ่งก็ได้ชัยชนะ และเป็นผลให้ดินแดนดังกล่าวเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร[188] ฮิตเลอร์ได้ตอบสนองต่อการเอาใจออกห่างของอาณานิคมฝรั่งเศสโดยการออกคำสั่งยึดครองฝรั่งเศสเขตวีชี[188] ถึงแม้ว่าฝรั่งเศสเขตวีชีจะไม่ละเมิดเงื่อนไขในข้อตกลงหยุดยิง แต่กระทรวงทหารเรือของฝรั่งเศสเขตวีชีได้จัดการจมกองทัพเรือของตนเพื่อมิให้ตกอยู่ในมือของฝ่ายเยอรมนี[189] เมื่อถูกบีบจากกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้กองทัพฝ่ายอักษะต้องถอยร่นไปตั้งรับในตูนิเซีย ซึ่งนำไปสู่ชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1943[190]",
"title": "สงครามโลกครั้งที่สอง"
},
{
"docid": "887104#1",
"text": "วัตถุประสงค์หลักของเยอรมันคือตรึงกำลังที่แข็งแกร่งที่สุดของกองทัพที่ 1 ของฝรั่งเศสและกักตัวไว้ให้ห่างจากการโจมตีหลักของเยอรมันโดยกองทัพกลุ่มเอที่ได้เคลื่อนที่ผ่านป่าอาร์แดน ตามแผนปฏิบัติการของเยอรมันที่ชื่อว่า Fall Gelb (กรณีสีเหลือง), โดยนายพล แอริช ฟอน มันชไตน์ เยอรมันได้เริ่มเคลื่อนที่ออกจากอาร์แดนที่ได้ถูกกำหนดไว้จากวันที่ 15 พฤษภาคม เป็นเวลาห้าวันภายหลังจากเยอรมันโจมตีรุกรานเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม การถ่วงเวลาเพื่อล่อลวงให้ฝ่ายสัมพันธมิตรหลงเชื่อว่าการโจมตีหลักที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่น แผนการชลีฟเฟน(Schlieffen Plan)ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง คือการผ่านจากเบลเยียมแล้วเคลื่อนที่ลงไปเข้าสู่ฝรั่งเศส เมื่อกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้บุกเข้าสู่เบลเยียมตามแผนการดิล(Dyle Plan) หรือ แผนดี พวกเขาจะถูกตึงกำลังโดยปฏิบัติการรุกรานเยอรมันในตะวันออกของเบลเยียมที่ฮันนัท์และฌ็องบลู ซึ่งปีกด้านข้างของกองทัพที่ 1 ของฝรั่งเศสได้เปิดออก เยอรมันสามารถผลักดันไปยังช่องแคบอังกฤษซึ่งจะทำการปิดล้อมและทำลายล้างกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร. สำหรับฝรั่งเศส แผนการในเบลเยียมคือการเตรียมความพร้อมสำหรับการป้องกันที่ฌ็องบลูอยู่ห่างประมาณ 34 กิโลเมตร์(21 ไมล์)ทางทิศตะวันตกของฮันนัท์ ฝรั่งเศสได้ส่งสองกองพลยานเกราะไปข้างหน้า เพื่อดำเนินการถ่วงเวลาในการบุกของกองทัพเยอรมันและให้เวลาที่เหลือของกองทัพที่ 1 เพื่อขุดหลุมที่ฌ็องบลู ",
"title": "ยุทธการที่ฮันนัท"
},
{
"docid": "148709#4",
"text": "ในช่วงเวลาเร่งในการสร้างอาวุธใหม่,สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสได้ริเริ่มซื้ออาวุธจำนวนมากจากผู้ผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการแผร่ระบาดของสงคราม.ได้มีการเสริมสร้างการผลิตด้วยตัวเอง.ฝ่ายสหรัฐอเมริกาที่ไม่ต้องการสงคราม,ได้มีส่วนร่วมต่อสัมพันธมิตรตะวันตกโดยส่วนลดขายของอุปกรณ์ทางทหารและพัสดุในการบำรุงกองทัพ.ฝ่ายเยอรมันได้พยายามในการขัดขวางการค้าขายทางเรือในมหาสมุทรแอตแลนติกของฝ่ายสัมพันธมิตรบนทะเลทำให้เกิดยุทธการแห่งแอตแลนติก.",
"title": "แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)"
}
] |
4130 | ใครเป็นผู้ก่อตั้ง โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์? | [
{
"docid": "32375#1",
"text": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2514 โดย ศ.ดร. อุบล เรียงสุวรรณ รองคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ รักษาราชการแทนคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ ได้ทำบันทึกถึงรองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศ.ดร. ประเสริฐ ณ นคร เรื่องการจัดตั้งโรงเรียนสาธิต ในวันเดียวกันนั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยอธิการบดี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ( ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ ขณะนั้น ) ได้ทรงออกหนังสือถึงปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายบุญถิ่น อัตถากร เรื่องการจัดตั้งโรงเรียนสาธิต โดยจะเปิดรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และจะมีนักเรียนครบทั้ง 12 ชั้นปี ในปีพ.ศ. 2518 โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อมาในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2514 กระทรวงศึกษาธิการได้มีหนังสือตอบ รับรองผลการศึกษาจากผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียน",
"title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา"
}
] | [
{
"docid": "814267#0",
"text": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ภาษาอังกฤษ: Pibulsongkram Rajabhat University Demonstration School) เป็นโรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตั้งอยู่เลขที่ 1 ถนนสนามบิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก จัดการศึกษาในระดับปฐมวัยถึงประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิคม นาคอ้าย เป็นผู้อำนวยการคนปัจจุบัน\nโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2505 ในสมัยที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ยังเป็นวิทยาลัยครูพิบูลสงครามอยู่ โดยได้รับงบประมาณสนับนุนจากองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐ (United States Operation Mission: USOM) จำนวน 265,000 บาท และเปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2505 นั้น โดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า \"โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม\" มีสถานที่ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ส่วนวังจันทน์",
"title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม"
},
{
"docid": "54688#11",
"text": " ปี พ.ศ. 2534 ทางโรงเรียนได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้จัดการเรียนการสอนระดับอนุบาลศึกษาเพิ่มขึ้น",
"title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา"
},
{
"docid": "32375#7",
"text": "2 โครงการสนทนาสัปดาห์-ศิษย์ลูก เป็นการจัดกิจกรรมให้ผู้ปกครองมาพบกับอาจารย์ครั้งแรก เมื่อปีการศึกษา 2517 หลังจากก่อตั้งโรงเรียนมาเพียง 3 ปี จัดทุกระดับชั้น ใช้เวลาร่วมเดือน และจัดในภาคต้นประมาณสิงหาคม-กันยายนของปีการศึกษา ปีละครั้ง นับเป็นต้นแบบในการนำไปใช้",
"title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา"
},
{
"docid": "240531#8",
"text": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม) ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2540 โดยได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม โรงเรียนมีเป้าหมายหลักในการให้สวัสดิการทางการศึกษาแก่บุตรของบุคลากรในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนการก่อตั้งโรงเรียนได้มีคณะกรรมการศึกษาถึงวิธีการดำเนินการ ปัญหาและอุปสรรคของโรงเรียนสาธิตตลอดจนความเป็นไปได้ของโครงการ ซึ่งคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นเรียกว่า \"คณะกรรมการโครงการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม\" ประกอบไปด้วยคณาจารย์จากคณะต่างๆ มาร่วมเป็นกรรมการดำเนินงาน ด้วยเหตุที่โรงเรียนก่อตั้งใหม่ นอกจากนี้ยังประสบปัญหา อีกหลายประการ อันเนื่องมาจากการขาดแคลนงบประมาณ ทำให้ไม่มีสถานที่เรียนที่แน่นอน ต้องย้ายที่ทำการบ่อยครั้ง",
"title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)"
},
{
"docid": "999530#0",
"text": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ Uttaradit Rajabhat University Demonstration School ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ตั้งอยู่ที่ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัด อุตรดิตถ์\nโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นโรงเรียนในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2549 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีเป้าหมายหลักเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ปกครองที่ปรารถนาจะให้บุตรหลานได้เรียนรู้ในระบบโรงเรียนที่เอื้อต่อการพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียนเต็มศักยภาพ",
"title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์"
},
{
"docid": "54688#0",
"text": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา เป็นโรงเรียนสหศึกษาที่ให้การศึกษาตั้งแต่ในระดับอนุบาลจนไปถึงมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงานสำหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ และเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาในเขตชนบท โรงเรียนตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน",
"title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา"
},
{
"docid": "684125#0",
"text": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด Roi-ET Rajabhat University Demonstration School ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2549 ตั้งอยู่ที่ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด\nโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เป็นโรงเรียนในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2549 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มีเป้าหมายหลักเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ปกครองที่ปรารถนาจะให้บุตรหลานได้เรียนรู้ในระบบโรงเรียนที่เอื้อต่อการพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียนเต็มศักยภาพ",
"title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด"
},
{
"docid": "208123#1",
"text": "วสุ แสงสิงแก้ว (ชื่อเล่น จิ๊บ) เกิดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2510 เป็นบุตรคนเดียวของ พลเรือตรี ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิทุร แสงสิงแก้ว อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข อดีตวุฒิสมาชิก และสุดาชา แสงสิงแก้ว จบการศึกษาระดับมัธยมต้นจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (รุ่น 10) และระดับมัธยมปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (รุ่น 45) เคยร่วมก่อตั้งวงดนตรีที่โรงเรียน ชื่อวง Centerfold กับป้าง-นครินทร์ กิ่งศักดิ์ ",
"title": "วสุ แสงสิงแก้ว"
},
{
"docid": "32375#5",
"text": "1 โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับต่างประเทศ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับอนุมัติจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้จัดโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2532 เริ่มที่โครงการโรงเรียนพี่น้องไทย - ญี่ปุ่น สาธิตเกษตร - อุบุยามา (ฮิโกไทย) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเยาวชนของประเทศไทยและต่างประเทศ อันจะนำมาซึ่งสันติภาพและมีประโยชน์ต่อความร่วมมือและพัฒนาระหว่างประเทศในอนาคต ขณะนี้โรงเรียนได้จัดโครงการแลกเปลี่ยนกับโรงเรียนใน ต่างประเทศ ดังนี้",
"title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา"
},
{
"docid": "54688#14",
"text": " ปี พ.ศ. 2555 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้อนุมัติให้โรงเรียนดำเนินงานโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program) ปัจจุบันโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จึงมีการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 52 ห้องเรียน",
"title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา"
},
{
"docid": "72671#27",
"text": "ภายหลังมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ขยายหน่วยงาน ก่อตั้งคณะวิชาและสำนักงานต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น บุคลากรที่มาปฏิบัติหน้าที่ก็เพิ่มมากขึ้นตาม ทำให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยมีปัญหาเรื่องที่เรียนของบุตร โรงเรียนสาธิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ไม่สามารถสนองความต้องการนี้ได้ทั้งหมด เพราะต้องดำเนินตามวัตถุประสงค์และหลักการเดิมของการก่อตั้งโรงเรียนไว้ ในปี พ.ศ. 2524 รศ.นพ.กวี ทังสุบุตร อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นในขณะนั้น จึงมีดำริใหก่อตั้งโรงเรียนสวัสดิการขึ้น ใช้ชื่อว่า โรงเรียนสาธิตมอดินแดง มีสถานะเป็นโรงเรียนราษฎร์ สังกัดสำนักงานอธิการบดี เปิดสอน 3 ระดับเช่นเดียวกับโรงเรียนสาธิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อดำเนินการได้ระยะหนึ่งโรงเรียนสาธิตมอดินแดงได้เกิดปัญหาขึ้นมากมาย โดยเฉพาะด้านการเงินและงบประมาณที่ไม่เพียงพอ บุคลากรขาดขวัญและกำลังใจ ลาออกเพื่อหางานที่มีความมั่นคงกว่า ทางผู้บริหาระดับคณะและมหาวิทยาลัยจึงได้ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินการใหม่",
"title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น"
},
{
"docid": "32375#20",
"text": "สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกษตรศาสตร์ หมวดหมู่:เขตจตุจักร",
"title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา"
},
{
"docid": "54688#2",
"text": " ในปี พ.ศ. 2523 ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีนโยบายที่จะเปิดดำเนินการโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เพื่อจะได้สอดคล้องกับแผนพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และเป็นการส่งเสริมขยายงานทางด้านการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในชุมชนด้วย ฉะนั้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้อนุมัติให้เปิดโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้น ณ วิทยาเขตกำแพงแสน ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2523 โดยให้คณะศึกษาศาสตร์เป็นฝ่ายรับผิดชอบในการจัดดำเนินการเรียนการสอน ดังนั้นคณะศึกษาศาสตร์จึงวางเป้าหมายที่จะให้โรงเรียนสาธิตเกษตรฯ วิทยาเขตกำแพงแสนเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาที่จะทำการวิจัยการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในเขตชนบทไปพร้อมกับการทดลองจัดการเรียนการสอนแบบสมรรถฐานและการบริการทางวิชาการแก่ชุมชนด้วย",
"title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา"
},
{
"docid": "324586#2",
"text": "นายปราโมทย์ ไม้กลัด สมรสกับ นางเตือนใจ จันทน์ล้ำเลิศ มีบุตรชาย 1 คน คือ นายปิตินันท์ ไม้กลัด ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์สินเชื่อบรรษัท บริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)และบุตรสาว 2 คน คือ นางสาวสุรังสี ไม้กลัด เป็นอาจารย์อยู่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ชไมภัค เตชัสอนันต์ เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์",
"title": "ปราโมทย์ ไม้กลัด"
},
{
"docid": "999535#0",
"text": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ chaiyaphum Rajabhat University Demonstration School ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ตั้งอยู่ที่ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ตำบล อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ \nโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ เป็นโรงเรียนในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มีเป้าหมายหลักเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ปกครองที่ปรารถนาจะให้บุตรหลานได้เรียนรู้ในระบบโรงเรียนที่เอื้อต่อการพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียนเต็มศักยภาพ",
"title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ"
},
{
"docid": "32375#17",
"text": "โครงการการศึกษาพหุภาษามีที่ตั้งอยู่บริเวณนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี โดยบริษัทอมตะนคร ได้บริจาคที่ดิน 34 ไร่ให้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีระยะห่างจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา 28 กิโลเมตร",
"title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา"
},
{
"docid": "32375#0",
"text": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา เป็นโรงเรียนสหศึกษาให้การศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นห้องปฏิบัติการฝึกหัดครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน",
"title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา"
},
{
"docid": "32375#16",
"text": "โครงการการศึกษาพหุภาษา (Multilingual Program) โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดให้การศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อที่จะพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีความสามารถในการใช้ได้หลายภาษา โดยมีการสอนในวิชาทั่วไปเป็นภาษาไทย โดยใช้หลักสูตรเดียวกับบางเขน ส่วนวิชาภาษาอังกฤษเรียนตั้งแต่ ป.1 กับเจ้าของภาษา และเมื่อนักเรียนขึ้นชั้น ป.4 จะเลือกเรียนภาษาที่ 3 คือ ภาษาจีน หรือ ภาษาญี่ปุ่น โครงการการศึกษาพหุภาษาเริ่มมีนักเรียนครบทั้ง 12 ระดับชั้นในปีการศึกษา 2549",
"title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา"
},
{
"docid": "185361#1",
"text": "การแข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคีเริ่มจากการแข่งขันกีฬาว่ายน้ำเมื่อเดือนมกราคม 2519 ระหว่างโรงเรียนสาธิตสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ใช้ชื่อว่า การแข่งขัน “ว่ายน้ำสาธิต-สามัคคี” โดยอาจารย์พลศึกษาของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตรฝ่ายประถม ซึ่งได้แก่ อาจารย์สุกรี รอดโพธิ์ทอง อาจารย์อุดร รัตนภักดิ์ อาจารย์ศรีประภา สาระคุณ (แม้นสงวน) อาจารย์ สุภารัตน์ วรทอง สรุปแนวความคิดร่วมกัน ให้มีการแข่งขันว่ายน้ำสาธิตขึ้น เพื่อเชื่อมความสามัคคี ก่อให้เกิดประโยชน์ ในการพัฒนาบุคลิกภาพ มีการพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมทั้งลักษณะนิสัยที่ดีมีน้ำใจนักกีฬาตลอดจนส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาความสามารถในการว่ายน้ำไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ทั้งนี้โดยได้รับความเห็นชอบและอนุมัติในหลักการจากอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนสาธิตทั้ง 4 แห่ง ซึ่งได้แก่ อาจารย์รุจิระ สุภรณ์ไพบูลย์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.อุบล เรียงสุวรรณ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์คุณหญิง สมจิตต์ ศรีธัญรัตน์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน และอาจารย์ละออ การุณยะวนิช อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตรฝ่ายประถม จัดให้มีการแข่งขันประจำทุกปี โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพและถือว่าอาจารย์ใหญ่ทั้ง 4 แห่ง เป็นคณะกรรมการอำนวยการจัดการแข่งขันถาวร สำหรับคณะกรรมการจัดการแข่งขันฝ่ายต่าง ๆ จากโรงเรียนสาธิตทั้ง 4 แห่งร่วมเป็นคณะกรรมการ อาจารย์จากโรงเรียนเจ้าภาพเป็นประธานจัดการแข่งขัน ประชุมปรึกษาหารือทำงานร่วมกัน จึงเกิดเป็นระเบียบและข้อบังคับต่างของการจัดการแข่งขันและพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน",
"title": "สาธิตสามัคคี"
},
{
"docid": "54688#1",
"text": "เนื่องจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีโครงการขยายมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้น ณ วิทยาเขตกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นแหล่งผลิตบุคลากรระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก ในสาขาวิชาการเกษตรและอื่น ๆ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงกำหนดเปิดใช้วิทยาเขตกำแพงแสน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา โดยมีคณะต่าง ๆ เริ่มเปิดดำเนินการ คือ คณะเกษตรคณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย",
"title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา"
},
{
"docid": "54688#13",
"text": " ปี พ.ศ. 2554 โรงเรียนได้รับอนุมัติจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยการสนับสนุนของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน",
"title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา"
},
{
"docid": "32375#14",
"text": "โครงการการศึกษานานาชาติ (International Program: IP) ของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2537 ตั้งขึ้นจากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเน้นเรื่องการใช้ภาษาต่างประเทศให้มากขึ้น โดยเข้าโครงการนำร่องเป็นโรงเรียนนานาชาติแห่งแรกของรัฐบาล โดยให้การศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาล 3 จนถึงเกรด 12 (มัธยมศึกษาปีที่ 6)",
"title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา"
},
{
"docid": "128442#60",
"text": "หม่อมหลวงบัว กิติยากร พระมารดาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค พระมาตุจฉาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พลเอกหญิง ท่านผู้หญิงอภิรดี ยิ่งเจริญ คุณข้าหลวงใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ศ.ดร.อุบล เรียงสุวรรณ อดีต อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ก่อตั้งคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศ.คุณชวนชม จันทระเปารยะ อดีต อาจารย์ แผนกเคมี ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศ.คุณหญิงจินตนา ยศสุนทร อดีตอาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หม่อมหลวงเติบ ชุมสาย ผู้เชี่ยวชาญการทำอาหารไทย สมถวิล สังขะทรัพย์ อดีต อาจารย์โรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนอนุบาลสมถวิล และโรงเรียนอนุบาลดวงถวิล อดีต วุฒิสมาชิก สมาชิกสภาปฏิรูป สมาชิกสภานิติบัญญัติ และผู้พิพากษาสมทบศาลคดีเด็กและเยาวชน ท่านผู้หญิงวิลาวัลย์ วีรานุวัติ์ เลขาธิการคณะกรรมการร้านจิตรลดา ศ.(พิเศษ)ภญ.จิตสมาน กี่ศิริ อดีตอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.เกียรติคุณ พ.ญ. คุณสาคร ธนมิตต์ แพทย์สตรีตัวอย่างประจำปี 2557 สมาคมแพทย์สตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ศ.กิติคุณ สุมน อมรวิวัฒน์ ราชบัณฑิต ผ.ศ.บุญล้อม มะโนทัย อดีตนายกสายปัญญาสมาคม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน อดีตผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) รศ.ดร.อุทุมพร พลาวงศ์ อดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ รศ.เย็นใจ สมวิเชียร กรรมการและเหรัญญิก มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ณ ราชสีมา นักแสดงอาวุโส อนงค์ อัชชวัฒนา นาคะเกศ นางสาวไทยประจำปี พ.ศ. 2496 ชวลี ช่วงวิทย์ นักร้องสุนทราภรณ์ นัดดา วิยกาญจน์ ศิลปิน นักร้อง และนักแสดง พรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กาญจนา ประสารชัยมนตรี อดีตนักกีฬาบาสเกตบอลหญิงทีมชาติไทยที่เล่นให้ทีมชาติยาวนานถึง 13 ปี (2528-2540) โดยชนะเลิศ กีฬาซีเกมส์ 5 สมัยติดต่อกัน ปี 2530 2532 2534 2536 2538 ปัจจุบันเป็นโค้ชบาสเก็ตบอลทีมหญิง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รุ่งฟ้า เกียรติพจน์ ผู้อำนวยการด้านการบริหารภาพลักษณ์องค์กรและการสื่อสารการตลาด บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) อภิญญา เคนนาสิงห์ นักเขียนนวนิยาย และบทละครโทรทัศน์ นามปากกา “วัสตรา” ”กานติมา” และ “อภิญญา” มีผลงานที่ผ่านสายตาผู้อ่าน และผู้ชมละครโทรทัศน์มาแล้วดังนี้ ทายาทสวรรค์,มงกุฎน้ำค้าง,น้ำค้างกลางตะวัน,เพลิงภุมริน,รายริษยา (ละครช่อง3),โบตั๋นกลีบสุดท้าย (ละครช่อง3),รุ้งร้าว (ละครช่อง3) และ ทะเลสาบนกกาเหว่า (ละครช่อง7) ศศินา วิมุตตานนท์ พิธีกรรายการโทรทัศน์ และ ผู้ประกาศข่าว กัญญารัตน์ จิรรัชชกิจ พิธีกรรายการโทรทัศน์ และ นักแสดง ชาลินี บุนนาค นักแสดงจากเรื่อง เลิฟจุลินทรีย์ รักมันใหญ่มาก, โฆษณาอีกหลายๆชนิด พิมพ์จิรา เจริญลักษณ์ ติด 1 ใน 20 ไทยแลนด์ซุปเปอร์โมเดล ปี2009 ปวรรัตน์ กิตติมงคลเลิศ นักร้อง จากการแข่งขัน ทรู อคาเดมี แฟนเทเชีย (ปั๋ม AF7) วรรธิณี สีเคน ผู้สื่อข่าว สายข่าวในพระราชสำนัก สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ผู้ประกาศรายการเพื่อโลกเพื่อ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ธนาภรณ์ ภีระบรรณ์ รับบท เจน ใน สิ่งเล็กเล็กที่เรียกว่า...รัก ธัญญา รัตนมาลากุล ดารานักแสดง พรกมล อมรจิตรานนท์ เน็ตไอดอลเว็บเด็กดีและพิธีกรทางช่อง mango channel",
"title": "โรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์"
},
{
"docid": "115307#0",
"text": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ฝ่ายมัธยมศึกษา เป็นโรงเรียนสาธิตในสังกัดคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เริ่มก่อตั้งในปีพ.ศ. 2512 เป็นหน่วยงานเทียบเท่าสาขาวิชา (เดิม : ภาควิชา) ปัจจุบันมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัณฑิต ดุลยรักษ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน (หัวหน้าสาขาวิชา)",
"title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์"
},
{
"docid": "54678#0",
"text": "คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดการเรียนการสอนในวิทยาเขตบางเขน และมีโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นสถานปฏิบัติการฝึกหัดนิสิตของคณะ",
"title": "คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"
},
{
"docid": "560194#21",
"text": "สถานีบริการเชื้อเพลิง มีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูป ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันแก๊สโซฮอล เป็นต้น เปิดบริการจำนวน 1 สถานีบริการ โดยสหกรณ์เชื้อเพลิงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำกัด ตั้งอยู่ใกล้ประตูเข้า-ออกด้านโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา",
"title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42"
},
{
"docid": "54688#12",
"text": " ปี พ.ศ. 2546 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้อนุมัติให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากเดิมมาเป็นโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา (Kasetsart University Laboratory School, Kamphaeng Saen Campus, Educational Research and Development Center) โดยมีฐานะเทียบเท่าภาควิชาในคณะศึกษาศาสตร์",
"title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา"
},
{
"docid": "41590#4",
"text": "หลังจากกลับมายังประเทศไทย คุณพุ่ม เจนเซนจึงศึกษาต่อในโปรแกรมพิเศษออทิสติก ที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อินเตอร์เนชั่นแนลโปรแกรม และโปรแกรมวิทยาศาสตร์กีฬา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์",
"title": "คุณพุ่ม เจนเซน"
},
{
"docid": "560194#14",
"text": "การแข่งขัน กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42 ได้วางแผนกำหนดให้ใช้สนามกีฬาที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เกิดความลงตัวและคุ้มค่ามากที่สุด ได้แก่ สนามกีฬากลางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน แห่งที่ 2, สนามกีฬากลางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน แห่งที่ 1 และสนามกีฬากลางโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา, อาคารพละศึกษา 1, อาคารพละศึกษา 2, สนามกอล์ฟมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, สระว่ายน้ำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, อาคารศูนย์มหาวิทยาลัย, อาคารศูนย์เรียนรวม 1 - 2 เป็นต้น",
"title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42"
}
] |