docid
stringlengths 3
10
| title
stringlengths 1
182
| text
stringlengths 1
31.2k
|
---|---|---|
876598#1 | Gene flow | การเคลื่อนที่ได้มีบทบาทสำคัญต่ออัตราการโอนยีน เพราะสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่ได้มีโอกาสอพยพไปที่อื่นสูงกว่า
แม้สัตว์มักจะเคลื่อนที่ได้มากกว่าพืช แต่พาหะที่เป็นสัตว์หรือลมก็อาจจะขนละอองเรณูและเมล็ดพืชไปได้ไกล ๆ เหมือนกัน
เมื่อระยะแพร่กระจายพันธุ์ลดลง การโอนยีนก็จะถูกขัดขวาง การผสมพันธุ์ในสายพันธุ์ (inbreeding) วัดโดย สัมประสิทธิ์การผสมพันธุ์ในสายพันธุ์ (inbreeding coefficient ตัวย่อ F) ก็จะเพิ่มขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มประชากรบนเกาะจำนวนมากมีอัตราการโอนยีนที่ต่ำ เพราะอยู่ในภูมิภาคแยกต่างหากและมีขนาดประชากรเล็ก |
876598#2 | Gene flow | ตัวอย่างโดยเฉพาะอย่างหนึ่งก็คือ จิงโจ้สกุล "Petrogale lateralis" (Black-footed Rock-wallaby) ที่มีกลุ่มซึ่งผสมพันธุ์ภายในสายพันธุ์บนเกาะต่าง ๆ แยกต่างหาก ๆ นอกชายฝั่งของออสเตรเลีย
นี่เนื่องจากไปมาหาสู่กันไม่ได้ การโอนยีนจึงเป็นไปไม่ได้ และทำให้ต้องผสมพันธุ์กันในสายพันธุ์ |
876598#3 | Gene flow | ขนาดประชากรที่เล็กลงจะเพิ่มการเบนออกทางพันธุกรรมเนื่องจากการเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง ในขณะที่การอพยพจะลดการเบนออกและการผสมพันธุ์ในสายพันธุ์
การโอนยีนสามารถวัดได้โดยใช้ ขนาดกลุ่มประชากรประสิทธิผล (effective population size, ตัวย่อ N)
และอัตราการอพยพต่อชั่วยุค (m)
ถ้าประมาณตามรูปแบบประชากรของเกาะ ผลของการอพยพสามารถคำนวณสำหรับกลุ่มประชากรเป็นระดับความแตกต่างทางพันธุกรรม (formula_1)
สูตรนี้ได้เผื่อสัดส่วนความแตกต่างของ ตัวบ่งชี้ทางพันธุกรรม (genetic marker)
ในกลุ่มประชากรต่าง ๆ ทั้งหมดโดยหารด้วยจำนวนโลคัส
เมื่อมีการอพยพหนึ่งหน่วยต่อรุ่น formula_1 ก็จะเท่ากับ 0.2
แต่ถ้ามีน้อยกว่า 1 (คือไม่มีการอพยพเลย) สัมประสิทธิ์การผสมพันธุ์ในสายพันธุ์ก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกิดการคงสภาพ (fixation) และการเบนออกทางพันธุกรรมอย่างสิ้นเชิง ซึ่งก็คือคือ formula_1 = 1
ค่า formula_1 ที่สามัญที่สุด < 0.25
ซึ่งแสดงว่ามีการอพยพบ้าง
ค่าจะอยู่ในระหว่าง 0-1
ผลอันตรายที่เกิดจากการผสมพันธุ์ในสายพันธุ์จะสามารถลดลงเนื่องจากการโอนยีนผ่านการอพยพ |
876598#4 | Gene flow | formula_5 |
876598#5 | Gene flow | สูตรนี้สามารถเปลี่ยนเพื่อหาอัตราการอพยพถ้ารู้ค่า formula_1 คือ |
876598#6 | Gene flow | formula_7
โดย Nm = จำนวนหน่วยที่อพยพ |
876598#7 | Gene flow | เมื่อการโอนยีนมีอุปสรรคทางกายภาพ ก็จะมีผลเป็นการแยกออกจากกันทางภูมิภาคที่ไม่ให้กลุ่มประชากรต่าง ๆ แลกเปลี่ยนยีนกันหรือ การเกิดสปีชีส์ต่างบริเวณ (allopatric speciation)
อุปสรรคปกติจะเป็นเรื่องทางธรรมชาติ แต่ก็ไม่เสมอไป
อุปสรรคอาจรวมเทือกเขา ทะเล หรือทะเลทรายใหญ่ที่ผ่านไม่ได้
บางครั้งอาจเป็นสิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น เช่น กำแพงเมืองจีน ซึ่งสามารถขวางการโอนยีนของพืช |
876598#8 | Gene flow | งานศึกษาพบว่าพืช 5 สปีชีส์ที่มีอยู่ทั้งสองด้านของกำแพงเมืองจีน มีความแตกต่างทางพันธุกรรมสูงกว่าพืชกลุ่มควบคุมที่แยกจากกันเพียงด้วยทางบนยอดเขา
โดยพืช "Ulmus pumila" มีความแตกต่างของยีนน้อยกว่าพืช "Vitex negundo," "Ziziphus jujuba," "Heteropappus hispidus," และ "Prunus armeniaca" เพราะว่า "Ulmus pumila" ถ่ายละอองเรณูผ่านลมเป็นหลัก และพืชอื่น ๆ ทั้งหมดถ่ายผ่านแมลง
อย่างไรก็ดี พืชที่อยู่ทั้งสองด้านของกำแพงก็ปรากฏว่ามีความแตกต่างทางพันธุกรรม เพราะมีการโอนยีนระหว่างสองด้านน้อยมากหรือไม่มีเลย |
876598#9 | Gene flow | แต่อุปสรรคการโอนยีนไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องทางกายภาพ
การเกิดสปีชีส์ร่วมบริเวณ (sympatric speciation) เป็นการเกิดสปีชีส์ใหม่ ๆ จากบรรพบุรุษเดียวกันโดยอยู่ร่วมบริเวณกัน
ซึ่งบ่อยครั้งเป็นผลของอุปสรรคการสืบพันธุ์
ยกตัวอย่างเช่น ต้นหมากสองชนิดในสกุล "Howea" ในเกาะ Lord Howe Island ของออสเตรเลีย ได้ออกดอกในช่วงระยะเวลาที่ต่างกันโดยสัมพันธ์กับความชอบใจดินที่ต่างกัน ซึ่งเป็นอุปสรรคการสืบพันธุ์ไม่ให้โอนยีน |
876598#10 | Gene flow | อนึ่ง สปีชีส์เดียวกันอาจอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน แต่ปรากฏว่ามีการโอนยีนที่จำกัดเพราะอุปสรรคการสืบพันธุ์ เพราะการถ่ายละอองเรณูแบบเฉพาะ เพราะการผสมพันธุ์ที่จำกัด หรือเพราะการได้ลูกพันธุ์ผสมที่ไม่เหมาะสม
นอกจากนั้น ยังมีสปีชีส์ซ่อนตัว ซึ่งเป็นสปีชีส์ต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณเดียวกันแต่เหมือนกันจนมนุษย์ไม่สามารถแยกแยะนอกจากใช้การวิเคราะห์ทางพันธุกรรม |
876598#11 | Gene flow | การถ่ายทอดยีนในแนวราบ (Horizontal gene transfer, HGT) หมายถึงการโอนยีนระหว่างสิ่งมีชีวิตโดยวิธีนอกเหนือไปจากการสืบพันธุ์ธรรมดา
ผ่านกระบวนการต่าง ๆ รวมทั้ง |
876598#12 | Gene flow | อนึ่ง ไวรัสก็สามารถโอนยีนระหว่างสปีชีส์
และแบคทีเรียก็สามารถเอายีนมาจากแบคทีเรียที่ตายแล้ว แลกเปลี่ยนยีนกับแบคทีเรียที่ยังเป็น และแลกเปลี่ยนพลาสมิด ข้ามสปีชีส |
876598#13 | Gene flow | ดังนั้น จึงมีนักชีววิทยาที่เสนอว่า "การใช้อุปมาเหมือนต้นไม้ ไม่เข้ากับข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยจีโนมล่าสุด"
จึงควรใช้อุปมาของกระเบื้องโมเสค เพื่อกล่าวถึงประวัติสายพันธุ์ต่าง ๆ อันรวมอยู่ในจีโนมของสิ่งมีชีวิต และใช้อุปมาของตาข่ายที่เกี่ยวพันกัน เพื่อให้เห็นภาพการแลกเปลี่ยนอันอุดมและผลที่ทำงานร่วมกันของการโอนยีนในแนวนอน |
876598#14 | Gene flow | สปีชีส์ที่วิวัฒนาการจากธรรมชาติ ที่มีอยู่เฉพาะถิ่น อาจเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
ผ่านการปนเปื้อนยีนจากสิ่งมีชีวิตที่มนุษย์ได้เปลี่ยน/สร้างขึ้น ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดกระบวนการที่ควบคุมไม่ได้รวมทั้งการสร้างลูกผสม (hybridization), introgression
, และ genetic swamping
กระบวนการเหล่านี้อาจลดความหลากหลายทางพันธุกรรมหรือทดแทนลักษณะทางพันธุกรรมที่มีอยู่ในพื้นที่ตามธรรมชาติ เนื่องจากพืชหรือสัตว์ที่เปลี่ยน/สร้างขึ้น ได้เปรียบโดยจำนวนหรือโดยความเหมาะสม |
876598#15 | Gene flow | สปีชีส์นอกพื้นที่อาจทำให้พืชและสัตว์ในพื้นที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์โดยการผสมพันธุ์และ introgression ไม่ว่ามนุษย์จะนำสิ่งมีชีวิตเข้ามาอย่างตั้งใจหรือทำการซึ่งเปลี่ยนแปลงถิ่นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต แล้วทำให้สปีชีส์ที่ก่อนนี้อยู่แยกจากกันมาอยู่รวมกัน
ปรากฏการณ์นี้จะมีผลร้ายต่อสปีชีส์ที่มีจำนวนน้อยซึ่งเผชิญกับสปีชีส์ที่มีจำนวนมากกว่า และมักจะเกิดในระหว่างประชากรเกาะและประชากรแผ่นดินใหญ่
การผสมพันธุ์ระหว่างสปีชีส์จะเป็นเหตุให้เกิดภาวะพันธุ์ท่วม (swamping) ของยีนในสปีชีส์ที่มีน้อย โดยสร้างลูกผสมที่ทดแทนสปีชีส์/ยีนเดิมที่มี
และขอบเขตของปรากฏการณ์นี้ไม่ได้จำกัดอยู่ที่รูปร่างสัณฐานที่ปรากฏภายนอกเท่านั้น
แม้การโอนยีนจะเกิดขึ้นในระดับหนึ่งตามธรรมชาติ แต่การผสมพันธุ์โดยมีหรือไม่มี introgression ก็อาจคุกคามการอยู่รอดของสปีชีส์ที่มีน้อย
ยกตัวอย่างเช่น เป็ดแมลลาร์ดชุกชุมมากและสามารถผสมพันธุ์กับเป็ดอื่น ๆ ได้อย่างหลากหลาย จึงเป็นตัวคุกคามการอยู่รอดของเป็ดบางชนิด |
876611#0 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ ( ตัวย่อ LSS) เป็นอาการทางการแพทย์ที่ช่องไขสันหลังแคบลงแล้วกดอัดไขสันหลังและเส้นประสาทที่กระดูกสันหลังระดับเอว (lumbar vertebra)
โดยมักมีเหตุจากสันหลังเสื่อมที่สามัญเมื่ออายุมากขึ้น
หรือจากหมอนกระดูกสันหลังเคลื่อน จากภาวะกระดูกพรุน หรือจากเนื้องอก
อาการที่คอ (cervical) หรือที่เอว (lumbar) ก็อาจจะเป็นภาวะแต่กำเนิดด้วย
อนึ่ง เป็นอาการสามัญสำหรับคนไข้ที่มีการเติบโตทางโครงกระดูกผิดปกติเช่น กระดูกอ่อนไม่เจริญเทียม (pseudoachondroplasia) และกระดูกอ่อนไม่เจริญ (achondroplasia) ตั้งแต่อายุน้อย ๆ |
876611#1 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | การตีบอาจจะอยู่ที่คอ (cervical) หรืออก (thoracic) ซึ่งก็จะเรียกว่า ช่องไขสันหลังที่คอตีบ (cervical spinal stenosis) หรือ ช่องไขสันหลังที่อกตีบ (thoracic spinal stenosis)
ในบางกรณี คนไข้อาจจะมีการตีบทั้ง 3 บริเวณ
ช่องไขสันหลังที่เอวตีบทำให้ปวดหลัง รวมทั้งปวดหรือรู้สึกผิดปกติที่บั้นท้าย ต้นขา ขา หรือเท้า หรือทำให้ไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะอุจจาระได้
งานทบทวนวรรณกรรมปี 2553 ในวารสารการแพทย์ "JAMA"
เน้นว่า สามารถพิจารณาว่ามีอาการนี้ได้ถ้าส่วนล่างของร่างกายปวดบวกกับหลังปวด
อาการนี้เกิดขึ้นในชายผู้มีอายุ 12% โดยทั่วไป
และ 21% ในชายที่อยู่ในชุมชนคนเกษียณ |
876611#2 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | อาการที่ขาคล้ายกับที่พบในอาการปวดขาเหตุขาดเลือด (vascular claudication) ทำให้ได้ชื่อว่า อาการปวดขาเหตุขาดเลือดเทียม (pseudoclaudication)
อาการที่ขารวมทั้งปวด กะปลกกะเปลี้ย ซ่า
/ ชา / เหมือนมีอะไรจิ้มซึ่งอาจวิ่งไปสู่เท้า ความล้า หนักขา ตะคริว และปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ
โดยมักจะเป็นทั้งสองข้างเหมือน ๆ กัน ถึงแม้จะเป็นข้างเดียวได้เหมือนกัน
ความปวดขามักจะเป็นปัญหามากกว่าความปวดหลัง |
876611#3 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | อาการปวดขาเทียม ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า อาการปวดขาเหตุประสาท (neurogenic claudication) มักจะแย่ลงถ้ายืนหรือเดินและจะดีขึ้นถ้านั่งลง
บ่อยครั้งสัมพันธ์กับอากัปกิริยาและการยืดเอว
การนอนตะแคงมักจะสบายกว่านอนหงายเพราะงอเอวได้มากกว่า
แต่อาการปวดขาเหตุขาดเลือดก็คล้ายกับช่องไขสันหลังตีบได้เหมือนกัน และบางคนก็ยังมีอาการวิ่งลงเท้าแบบขาเดียวหรือสองขาด้วย ซึ่งไม่สามัญในอาการปวดขาเหตุขาดเลือดจริง ๆ |
876611#4 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | อาการแรก ๆ ของช่องไขสันหลังตีบรวมทั้งการปวดหลังและปวดคอเป็นระยะสั้น ๆ
ซึ่งหลังจากผ่านไป 2-3 เดือนหรือเป็นปี ๆ ก็อาจแย่ลงเป็นอาการปวดขา
ความปวดอาจจะแล่นไปตามเส้นประสาท
ซึ่งเกิดเมื่อเส้นประสาทของไขสันหลังหรือไขสันหลังเองอัดแน่นขึ้นเนื่องจากช่องไขสันหลังแคบลง
อาการนี้บางครั้งกำหนดในผู้สูงอายุได้ยาก ว่าความปวดมีเหตุจากการขาดเลือดหรือช่องไขสันหลังตีบ
แม้การตรวจปกติจะแยกเหตุทั้งสองได้ แต่คนไข้ก็อาจมีเหตุทั้งสองพร้อม ๆ กัน |
876611#5 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | ในบรรดาบุคคลที่ปวดขาบวกกับปวดหลัง
ช่องไขสันหลังที่เอวตีบมีโอกาสเป็นเหตุ 2 เท่ามากกว่าในผู้สูงอายุเกิน 70 ปี เทียบกับโอกาสที่ 0.40 สำหรับผู้ที่อายุน้อยกว่า 60 ปี
ลักษณะความปวดก็ช่วยแยกแยะได้ด้วย
ถ้านั่งแล้วสบาย โอกาสว่ามีเหตุจาก LSS เพิ่มขึ้นถึง 7.4 เท่า
ลักษณะอื่น ๆ ที่เพิ่มโอกาสว่ามีเหตุจาก LSS ก็คือ อาการดีขึ้นถ้าโค้งเอวก้มหน้า (6.4 เท่า)
ปวดที่บั้นท้ายทั้งสองหรือขาทั้งสอง (6.3 เท่า)
และมีอาการปวดขาเหตุประสาท (3.7 เท่า)
โดยกลับกัน การไม่มีอาการปวดขาเหตุประสาทก็จะลดโอกาสอย่างมาก ว่าช่องไขสันหลังที่เอวตีบเป็นเหตุความปวด |
876611#6 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบอาจเป็นแต่กำเนิด (น้อยมาก), หรือเกิดทีหลัง (เพราะความเสื่อม) อันเป็นความเปลี่ยนแปลงสามัญในกระดูกสันหลังของผู้สูงอายุ |
876611#7 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | การมีลำกระดูกสันหลังเคลื่อนไปข้างหน้าเทียบกับลำที่อยู่ติดกันโดยที่ส่วนโค้งกระดูกสันหลัง (vertebral arch) ไม่เสียหาย ประกอบกับลักษณะเสื่อม
เป็นอาการที่เรียกว่า กระดูกสันหลังเคลื่อนเพราะเสื่อม (degenerative spondylolisthesis)
ซึ่งทำช่องไขสันหลังให้แคบลงโดยมีอาการของช่องไขสันหลังตีบอย่างสามัญ
ในบรรดาอาการเหล่านี้ อาการปวดขาเหตุประสาทสามัญที่สุด |
876611#8 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | ลำกระดูกที่เคลื่อนไปข้างหน้าเทียบกับอีกลำหนึ่งสามารถเป็นเหตุให้ช่องไขสันหลังตีบ
คือถ้าเคลื่อนไปพอจนมีผลบีบไขสันหลัง นั่นก็คือช่องไขสันหลังตีบโดยนิยาม
ถ้ามีอาการที่สัมพันธ์กัน นั่นก็จะยืนยันการวินิจฉัยว่ามีช่องไขสันหลังตีบ
กระดูกสันหลังเคลื่อนเพราะเสื่อมก็จะสามัญยิ่งขึ้นตามอายุที่มากขึ้น |
876611#9 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | ลำกระดูกที่เป็นเหตุสามัญที่สุดก็คือ L4 เคลื่อนออกจาก L5
นักวิชาการพบว่า กระดูกสันหลังเคลื่อนพร้อมกับช่องไขสันหลังตีบในหญิงโรคเบาหวานที่ตัดรังไข่ออกสามัญมากกว่า
เหตุของอาการที่ขาอาจกำหนดได้ยาก
เพราะโรคเส้นประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral neuropathy) ที่เป็นอาการทุตยิภูมิของโรคเบาหวานก็อาจมีอาการเหมือนกับช่องไขสันหลังตีบ |
876611#10 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | การวินิจฉัยจะขึ้นอยู่กับสิ่งที่แพทย์ตรวจพบ
คนไข้บางคนอาจมีช่องไขสันหลังตีบโดยไม่มีอาการ และไม่จำเป็นต้องรักษา
ช่องอาจตีบแบบตรงกลาง (central stenosis) หรือที่รูประสาทผ่าน (foraminal stenosis) ออกจากช่องไขสันหลัง
ส่วนการตีบมากที่ด้านข้างของช่องเรียกว่า lateral recess stenosis (ช่องไขสันหลังตีบที่ซอกข้าง ๆ) |
876611#11 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | เอ็น ligamentum flavum (เอ็นสีเหลือง) เป็นโครงสร้างสำคัญที่อยู่ชิดกับส่วนหลังของ dural sac (ปลอกเยื่อดูรา) และสามารถหนาขึ้นเป็นเหตุต่อช่องไขสันหลังตีบ
หน้าประกอบข้อต่อ (articular facet) ซึ่งอยู่ที่ส่วนหลังของสันกระดูกก็สามารถหนาใหญ่ขึ้นเป็นเหตุต่อช่องไขสันหลังตีบได้เช่นกัน
ความเปลี่ยนแปลงเยี่ยงนี้มักจะเรียกว่า “trophic changes” หรือ “facet trophism” ในรายงานแพทย์รังสีวิทยา
เมื่อช่องเล็กลงจนกลายเป็นรูป 3 เหลี่ยม ก็จะเรียกว่า trefoil canal (ช่องสามเหลี่ยม) |
876611#12 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | ช่องไขสันหลังที่เอวปกติมีเส้นผ่านศูนย์กลางจากหน้าไปหลังมากกว่า 13 มม. และมีพื้นที่ 1.45 ซม
จะค่อนข้างตีบก็เมื่อเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 10-13 มม.
และจะตีบจริง ๆ เมื่ออยู่ที่ 10 มม. หรือน้อยกว่า |
876611#13 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | ภาพเอ็กซเรย์ธรรมดาของกระดูกสันหลังที่เอวหรือคออาจจะไม่แสดงช่องไขสันหลังตีบ
การวินิจฉัยที่แน่นอนจะทำด้วย CT Scan หรือ MRI
การระบุว่าช่องแคบลงก็คือการวินิจฉัยว่ามีช่องไขสันหลังตีบ |
876611#14 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | มีรายงานปี 2520 เกี่ยวกับการทดสอบด้วยจักรยานของแวนเจลเดอเร็น
ซึ่งเป็นการทดสอบแบบง่ายที่ให้คนไข้ปั่นจักรยานอยู่กับที่
ถ้าอาการเกิดจากโรคหลอดเลือดที่ขา คนไข้จะปวดขาเนื่องจากมีเลือดไปเลี้ยงขาไม่พอ
ถ้าอาการมีเหตุจากช่องไขสันหลังที่เอวตีบ อาการจะดีขึ้นถ้าคนไข้โค้งตัวไปข้างหน้าเมื่อถีบจักรยาน
แม้จะมีวิธีการทดสอบที่ก้าวหน้ากว่าอื่น ๆ
วิธีการทดสอบนี้ก็ยังมีค่าใช้จ่ายน้อยและง่าย เพื่อแยกแยะอาการปวดขาที่เกิดจากโรคหลอดเลือดหรือช่องไขสันหลังตีบ |
876611#15 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | นักวิจัยของรายงานเขียนไว้ว่า
"ผู้เขียนได้พรรณนาถึงการทดสอบทางคลินิกแบบง่ายอย่างหนึ่ง ที่เสริมการตรวจทางประสาททั่วไปสำหรับคนไข้ที่มีอาการกลุ่มรากประสาทคล้ายหางม้า (cauda equina compression) ถูกบีบเป็นระยะ ๆ
'การทดสอบด้วยจักรยาน' ช่วยกันอาการปวดขาเป็นระยะ ๆ เนื่องจากความบกพร่องของหลอดเลือด และบ่อยครั้งช่วยยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างอากัปกิริยากับความปวดที่เกิดจากรากประสาท" |
876611#16 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | MRI เป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อวินิจฉัยและประเมินช่องไขสันหลังตีบที่กระดูกสันหลังทุกช่วง ร่วมทั้งที่คอ ที่อก และที่เอว
MRI มีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรคไขสันหลังเหตุกระดูกไขสันหลังที่คอเสื่อม (เพราะข้ออักเสบแบบเสื่อมของกระดูกสันหลังที่คอ สัมพันธ์กับความเสียหายของไขสันหลัง)
การพบความเสื่อมของไขสันหลังที่คอโดยใช้ MRI อาจดูน่ากลัว
เป็นอาการที่เรียกว่า myelomalacia หรือไขสันหลังเสื่อม (cord degeneration)
และจะเห็นเป็นส่วนที่สว่างกว่า (increased signal) ในภาพ MRI
ในโรคไขสันหลังที่เกิดจากความเสื่อม อาการที่พบจะคงถาวรและการตัดแผ่นกระดูกปกไขสันหลังเพื่อลดแรงกด (decompressive laminectomy) จะไม่สามารถคืนสภาพอาการเช่นนี้
แต่สามารถหยุดอาการไม่ให้แย่ลง
ในกรณีที่ความเปลี่ยนแปลงที่พบในภาพ MRI มีเหตุจากการขาดวิตามินบี12 โอกาสหายก็จะดีกว่า |
876611#17 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | การตรวจพบช่องไขสันหลังตีบที่คอ ที่อก หรือที่เอว จะยืนยันเพียงแค่ลักษณะทางกายวิภาคที่แสดงว่ามีการตีบ
แต่อาจไม่สัมพันธ์กับอาการช่องไขสันหลังตีบ
ซึ่งจะปรากฏเป็นอาการโรครากประสาท (radiculopathy) อาการปวดขาเหตุประสาท (neurogenic claudication) กะปลกกะเปลี้ย ปัญหาการถ่ายปัสสาวะอุจจาระ กล้ามเนื้อกระตุก (spasticity) กล้ามเนื้อไม่มีแรง ภาวะรีเฟล็กซ์เกิน (hyperreflexia) และกล้ามเนื้อฝ่อ
อาการเหล่านี้ ซึ่งพบโดยประวัติคนไข้และการตรวจของแพทย์ พร้อมกับภาพแสดงช่องไขสันหลังตีบจาก MRI หรือ CT Scan จะพอให้วินิจฉัยว่ามีอาการช่องไขสันหลังตีบ |
876611#18 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | การบำบัดที่ไม่ใช่เป็นการผ่าตัด และการตัดแผ่นกระดูกปกไขสันหลัง (laminectomy) เป็นวิธีการรักษามาตรฐานของ LSS
แพทย์ปกติจะแนะนำการรักษาซึ่งเสี่ยงน้อยที่สุด (conservative คือแบบธรรมดา)
แนะนำให้เลี่ยงการออกแรงที่หลังส่วนล่าง โดยเฉพาะเมื่อกระดูกสันหลังยืดออก
และอาจแนะนำกายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงทั่วไปของร่างกาย และให้ออกกำลังกายเพิ่มประสิทธิภาพของปอดและหัวใจ
แต่หลักฐานวิทยาศาสตร์ทั่วไปยังสรุปไม่ได้ว่าการรักษาที่เสี่ยงน้อยหรือการผ่าตัดดีกว่ากัน |
876611#19 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | หลักฐานการใช้ยาเพื่อรักษาอาการนี้ไม่ดี
ฮอร์โมน calcitonin สำหรับฉีดแต่ไม่ใช่สำหรับสูดทางจมูก มีประโยชน์บรรเทาความปวดในระยะสั้น
การสะกดประสาทโดยฉีดยาเข้าที่ช่องไขสันหลัง (Epidural block) อาจลดความปวดได้ชั่วคราว แต่ไม่มีหลักฐานว่ามีผลระยะยาว
การเพิ่มฉีดสเตอรอยด์ด้วยก็ไม่ได้เพิ่มประสิทธิผล
และการฉีดสเตอรอยด์เข้าที่ช่องไขสันหลัง (epidural steroid injections, ESIs) ก็เป็นวิธีรักษาที่สร้างความขัดแย้ง และหลักฐานว่ามีประสิทธิผลก็ไม่ชัดเจน |
876611#20 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) ยาคลายกล้ามเนื้อ และยาระงับปวดกลุ่มโอปิออยด์บ่อยครั้งใช้แก้ความปวดหลัง แต่หลักฐานว่ามีประสิทธิผลหรือไม่ก็มีน้อยมาก |
876611#21 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | การผ่าตัดดูจะให้ผลดีกว่าถ้าได้พยายามรักษาตามปกติแต่ยังมีอาการอยู่หลังจาก 3-6 เดือน
การตัดแผ่นกระดูกปกไขสันหลังมีประสิทธิผลดีที่สุดในบรรดาการผ่าตัดทั้งหลาย
ในคนไข้ที่แย่ลงเมื่อรักษาด้วยวิธีปกติ การผ่าตัดจะทำให้ดีขึ้นในกรณี 60-70%
วิธีการผ่าตัดเพื่อใช้อุปกรณ์ยึดกับกระดูกสันหลังที่เรียกว่า X-STOP มีประสิทธิผลน้อยกว่าและจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าเมื่อต้องแก้ปัญหาลำกระดูกสันหลังมากกว่า 1 ลำ
การผ่าตัดด้วยวิธีทั้งสองต่างก็มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการรักษาธรรมดา |
876611#22 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | ผู้มีอาการน้อยหรือปานกลางโดยมากไม่แย่ลง
แม้ว่าหลายคนจะดีขึ้นในระยะสั้น ๆ หลังจากการผ่าตัด แต่ก็จะดีลดลงบ้างตามกาลเวลา
มีปัจจัยหลายอย่างก่อนการผ่าตัดที่ช่วยพยากรณ์ผลที่ได้จากการผ่าตัด
คนที่มีโรคซึมเศร้า โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ กระดูกสันหลังคด (scoliosis) โดยทั่วไปจะได้ผลแย่กว่า ในขณะที่ผู้ที่มีช่องไขสันหลังตีบรุนแรงแต่มีสุขภาพทั่วไปดีก่อนหน้าจะได้ผลดีกว่า |
876611#23 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | โรคหรือการเสื่อมของหมอนกระดูกสันหลังมักจะทำให้ข้อต่อกระดูกแข็ง
ซึ่งจะทำให้เกิดปุ่มกระดูก (osteophyte) ที่ข้อต่อ
กระบวนการนี้เรียกว่ากระดูกสันหลังเสื่อม (spondylosis) อันเป็นเรื่องปกติเมื่ออายุมากขึ้น
โดยเห็นในงานศึกษากระดูกสันหลังทั้งแบบปกติและมีโรค
ความเสื่อมจะเริ่มโดยไม่มีอาการอาจตั้งแต่อายุ 25-30 ปี
เป็นเรื่องธรรมดาที่จะปวดหลังอย่างรุนแรงอย่างน้อย 1 ครั้งโดยอายุ 35 ปี
ซึ่งหวังได้ว่าจะดีขึ้นและเกิดถี่น้อยลงเมื่อเกิดปุ่มกระดูกที่หมอนรองกระดูก |
876611#24 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | ในระบบค่าสินไหมแรงงานในสหรัฐเนื่องกับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง เมื่อได้ผ่าตัดใหญ่ถึงสองครั้ง
ผู้ทำงานโดยมากจะไม่กลับไปทำงานเพื่อรายได้ใด ๆ อีก
เพราะเมื่อผ่าเกินสองครั้งแล้ว ครั้งต่อ ๆ ไปมีโอกาสทำให้แย่ลงมากกว่าทำให้ดีขึ้น |
876611#25 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | การพรรณนาถึง LSS ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2443
แต่รายงานทางคลินิกแรกมักจะให้เครดิตกับประสาทศัลยแพทย์ชาวดัตช์ที่ตีพิมพ์ในปี 2497 |
876611#26 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | ช่องไขสันหลังตีบเริ่มพิจารณาว่าเป็นสภาวะโรคในคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970
ในปี 2521 แพทย์ได้พบว่า บุคคลที่ปวดหลังส่วนล่างและมีอาการอื่น ๆ มีโอกาสมีช่องไขสันหลังตีบมากกว่าผู้ที่ไม่มีอาการ
ในปี 2525 แพทย์รายงานว่า บุคคลที่มีโรคหมอนกระดูกสันหลังหรือต้องผ่าตัดแผ่นกระดูกปกไขสันหลัง (laminectomy) โดยมากจะมีช่องไขสันหลังที่เอวตีบ |
876611#27 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 และ 1980 รายงานกรณีคนไข้แสดงผลการรักษาด้วยการผ่าตัดในอัตราที่ดี แต่รายงานเหล่านี้เป็นไปตามการประเมินผลแบบอัตวิสัยของศัลยแพทย์
ต่อมาในปี 2535 แพทย์คู่หนึ่งจึงได้พรรณนาถึงวิถีการดำเนินของ LSS แล้วให้ข้อสรุปเกี่ยวกับพยากรณ์โรคสัมพันธ์กับการรักษาที่ต่างกัน คือ
"70% ของคนไข้รายงานว่าอาการไม่ได้เปลี่ยน 15% แสดงว่าดีขึ้นอย่างสำคัญ เทียบกับ 15% ที่แสดงว่าแย่ลง"
ซึ่งรายงานภายหลังสรุปว่า
"นักวิจัยได้สรุปว่า การเฝ้าดูอาการเป็นทางเลือกการรักษาที่ดีพอสมควรสำหรับช่องไขสันหลังที่เอวตีบ โดยอาการที่แย่ลงทางประสาทอย่างสำคัญมีน้อยมาก" |
876611#28 | ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ | ภายใต้ระเบียบการประกันสังคมสหรัฐอเมริกา ช่องไขสันหลังตีบจัดว่าเป็นภาวะพิการโดยเฉพาะในรายการ 1.04 C
ซึ่งกำหนดว่า
"ช่องไขสันหลังที่เอวตีบซึ่งมีผลเป็นอาการปวดขาเหตุขาดเลือดเทียม (คืออาการปวดขาเหตุประสาท), ที่ยืนยันโดยการตรวจสอบด้วยการสร้างภาพทางการแพทย์ (เช่น CT Scan, MRI) อันสมควร, ที่ปรากฏเป็นความปวดและความกะปลกกะเปลี้ยแบบ nonradicular, และที่มีผลไม่สามารถเดินได้ถนัดดังกำหนดใน 1.00B2b"
เทียบกับช่องไขสันหลังที่คอตีบ ซึ่งต้องมีการประชุมตัดสินว่าเป็นความพิการหรือไม่ |
876628#0 | อัตตาธิปไตย (แก้ความกำกวม) | อัตตาธิปไตย ในภาษาไทยมาจากคำว่า "อัตตา" (ตน) และ "อธิปไตย" (ความเป็นใหญ่) โดยมีรากจากคำภาษาบาลีว่า "อตฺตาธิปเตยฺย" โดยราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายว่า "ระบอบการปกครองที่ผู้นำมีอำนาจเด็ดขาดและไม่จำกัด" เป็นคำที่อาจหมายถึง |
876630#0 | อัตตาธิปไตย | ในสาขารัฐศาสตร์ อัตตาธิปไตย
เป็นระบอบการปกครองที่อำนาจสูงสุดรวมศูนย์อยู่ในมือของบุคคลคนเดียว
ที่สามารถตัดสินใจได้อย่างไม่จำกัดโดยกฎหมายหรือกลไกการควบคุมที่ประชาชนตั้งขึ้น
เป็นคำที่ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้ว่า "ระบอบการปกครองที่ผู้นำมีอำนาจเด็ดขาดและไม่จำกัด"
อัตตาธิปไตยในประวัติศาสตร์ปกติจะอยู่ในรูปแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบเผด็จการ
ในยุคต้น ๆ คำว่า "autocrat" มักใช้หมายถึงลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ปกครอง โดยนัยว่า "ไร้ผลประโยชน์ขัดกัน"
ในยุคกรีกสมัยกลาง (ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 5-6 จนจบสมัยกลาง) คำว่า "Autocrates" ใช้กับใครก็ได้ที่มีบรรดาศักดิ์เป็น "จักรพรรดิ" ไม่ว่ากษัตริย์จะทรงมีอำนาจเช่นไรจริง ๆ
กษัตริย์เชื้อสายสลาวิกบางพระองค์ รวมทั้งซาร์และจักรพรรดิของรัสเซีย ยังทรงมีพระบรรดาศักดิ์ "Autocrat" ในพระนามของพระองค์
ซึ่งแยกพระองค์จากกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญในประเทศยุโรปอื่น ๆ |
876630#1 | อัตตาธิปไตย | ทั้งระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จและเผด็จการทหารบ่อยครั้งระบุว่าเป็นอัตตาธิปไตย แม้อาจไม่ใช่จริง ๆ
เพราะในระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ รัฐจะควบคุมวิถีชีวิตและประชาสังคมทุกอย่าง
อาจมีผู้มีอำนาจเผด็จการสูงสุด ซึ่งก็จะทำให้เป็นอัตตาธิปไตย หรืออาจมีผู้นำเป็นกลุ่มเช่น คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองหรือพรรคการเมืองเดี่ยว |
876630#2 | อัตตาธิปไตย | ตามการวิเคราะห์ข้อพิพาททางการทหารระหว่างรัฐสองรัฐ ถ้ารัฐหนึ่งเป็นอัตตาธิปไตย โอกาสความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ |
876630#3 | อัตตาธิปไตย | เพราะองค์อัตตาธิปัตย์ (autocrat) ก็ต้องอาศัยคนอื่น ๆ เพื่อจะปกครอง ดังนั้น การแยกแยะอัตตาธิปไตยจากคณาธิปไตยที่เกิดในประวัติศาสตร์ บางครั้งจึงเป็นเรื่องยาก
อัตตาธิปัตย์ตามประวัติโดยมากต้องอาศัยขุนนาง ทหาร นักบวช และกลุ่มอภิสิทธิชนอื่น ๆ
อัตตาธิปไตยบางครั้งจะอิงอำนาจการปกครองกับเทวสิทธิราชย์ |
876630#4 | อัตตาธิปไตย | จักรวรรดิโรมัน - ในปี 27 ก่อนคริสตกาล จักรพรรดิเอากุสตุสทรงก่อตั้งจักรวรรดิโรมันหลังจากอวสานของสาธารณรัฐโรมัน
แม้พระองค์จะทรงอนุญาตวุฒิสภาโรมัน แต่อำนาจที่แท้จริงก็อยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ทั้งสิ้น
เป็นระบอบที่ทรงสันติภาพและความรุ่งเรืองจนกระทั่งถึงจักรพรรดิก็อมมอดุสเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 161 แล้วต่อมาในคริสต์ทศวรรษที่ 3 จึงเห็นการรุกรานจากอนารยชนและความตกต่ำทางเศรษฐกิจ
ต่อมาทั้งจักรพรรดิดิออเกลติอานุส (ค.ศ. 284-305) และจักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราช (ค.ศ. 306-337) ก็ทรงอำนาจโดยเป็นผู้นำเผด็จการเบ็ดเสร็จ ซึ่งเพิ่มอำนาจขององค์จักรพรรดิ
แต่จักรวรรดิโรมันก็ขยายใหญ่มากจนจักรพรรดิดิออเกลติอานุส ต้องทรงให้ปกครองโดยผู้นำ 4 ท่านเป็นระบบ tetrarchy (ค.ศ. 284-324) |
876630#5 | อัตตาธิปไตย | ในที่สุด จักรวรรดิโรมันก็แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ภาคตะวันตก (โรมัน) และภาคตะวันออก (จักรวรรดิไบแซนไทน์)
โดยจักรวรรดิโรมันตะวันตกในที่สุดก็ล้มลงใน ค.ศ. 476 หลังจากที่จักรพรรดิโรมุลุส เอากุสตุส ทรงยอมแพ้ต่อกษัตริย์เยอรมัน |
876632#0 | Think tank | คำภาษาอังกฤษว่า think tank
(คณะทำงานระดับมันสมอง, กลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวกับการวิจัย,
คณะผู้เชี่ยวชาญ, กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ)
หรือ policy institute (สถาบันนโยบาย) หรือ think factory (โรงงานความคิด) เป็นต้น
เป็นองค์การที่ทำงานวิจัยและสนับสนุนเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ รวมทั้งนโยบายสังคม กลยุทธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร เทคโนโลยี และวัฒนธรรม
สถาบันนโยบายโดยมากเป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งบางประเทศรวมทั้งสหรัฐและแคนาดาเว้นภาษีให้
และพวกอื่นก็ได้ทุนจากรัฐบาล จากองค์การสนับสนุนประเด็นทางกฎหมายต่าง ๆ จากธุรกิจ หรือได้รายได้จากการให้คำปรึกษาหรือการวิจัยที่เกี่ยวข้องกัน |
876632#1 | Think tank | สถาบันนโยบายอาจมีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากสาขาวิชาต่าง ๆ ทำงานให้กับผู้บริโภคที่เป็นรัฐบาลหรือเอกชน โปรเจ็กต์จากรัฐบาลบ่อยครั้งเกี่ยวกับการวางแผนทางสังคมและการป้องกันประเทศ งานที่ทำให้กับเอกชนอาจรวมการพัฒนาและการทดสอบเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ แหล่งเงินทุนอาจรวมการมอบเงินทุน สัญญาว่าจ้าง การบริจาคส่วนบุคคล และรายได้จากการขายรายงาน |
876641#0 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | การทำให้เป็นประชาธิปไตย
หรือ การเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย
เป็นการเปลี่ยนระบอบการปกครองให้เป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น
ซึ่งอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างสำคัญไปในทางประชาธิปไตย
การเปลี่ยนจากระบอบอำนาจนิยมไปเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ จากระบอบอำนาจนิยมไปเป็นกึ่งประชาธิปไตย หรือจากกึ่งประชาธิปไตย/อำนาจนิยมไปเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์
ซึ่งอาจมีผลเป็นความมั่นคงทางประชาธิปไตย (ดังที่สหราชอาณาจักรเป็นตัวอย่าง) หรืออาจจะกลับไปกลับมาบ่อย ๆ (ดังที่ อาร์เจนตินาเป็นตัวอย่าง)
รูปแบบต่าง ๆ ของการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยมักใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ เช่น ประเทศจะเริ่มทำสงครามหรือไม่ เศรษฐกิจจะเติบโตหรือไม่
กระบวนการมีปัจจัยหลายอย่างรวมทั้งพัฒนาการทางเศรษฐกิจ ประวัติ และประชาสังคม
ผลสูงสุดของกระบวนการนี้ก็เพื่อประกันว่า ประชาชนจะมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และมีส่วนตัดสินใจในระบอบการปกครอง |
876641#1 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | มีเรื่องถกเถียงไม่ใช่น้อยเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผล โดยที่สุดที่จำกัดการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย
ปัจจัยมากมายรวมทั้งเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ล้วนอ้างว่ามีผลต่อกระบวนการ
โดยที่อ้างบ่อยมากที่สุดจะกล่าวในหัวข้อต่อ ๆ ไป |
876641#2 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | การมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ต่อประชากรที่สูงกว่า สัมพันธ์กับประชาธิปไตย โดยบางคนอ้างว่า รัฐประชาธิปไตยซึ่งรวยที่สุดไม่เคยปรากฏว่าตกอยู่ใต้ลัทธิอำนาจนิยม
แต่การขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์และพรรคนาซีในสาธารณรัฐไวมาร์ ก็เป็นตัวอย่างคัดค้านที่ชัดเจน แม้ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1930 เยอรมนีจะมีเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า แต่ในเวลาที่ฮิตเลอร์ขึ้นสู่อำนาจ ประเทศก็กำลังเผชิญวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่เริ่มตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งได้แย่ลงเพราะภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ |
876641#3 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | ยังมีข้อสังเกตทั่วไปว่า ประชาธิปไตยเกิดก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมน้อยมาก
งานวิจัยเชิงหลักฐานจึงทำให้นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า พัฒนาการทางเศรษฐกิจถ้าไม่เพิ่มโอกาสเปลี่ยนเป็นประชาธิไปตย ก็จะช่วยประชาธิปไตยที่เกิดใหม่ให้มั่นคงยิ่งขึ้น |
876641#4 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | งานศึกษาหนึ่งพบว่า พัฒนาการทางเศรษฐกิจจะกระตุ้นให้เปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยแต่ต้องเป็นระยะเวลาปานกลาง คือ 10-20 ปี
เพราะแม้พัฒนาการอาจสร้างความมั่นคงให้แก่ผู้นำที่อยู่ในอำนาจ แต่การจะให้ลูกหรือคนเชื่อใจอื่นสืบทอดอำนาจต่อไปก็เป็นเรื่องยาก |
876641#5 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | ถึงกระนั้น การถกเถียงว่า ประชาธิปไตยเป็นผลของความร่ำรวย เป็นเหตุ หรือไม่สัมพันธ์กัน ก็ยังเป็นเรื่องยังไม่ยุติ
งานศึกษาอีกงานหนึ่งแสดงว่า พัฒนาการทางเศรษฐกิจจะขึ้นอยู่กับเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศเพื่อจะมีผลโปรโหมตประชาธิปไตยได้ |
876641#6 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | นักวิชาการกลุ่มหนึ่งอธิบายว่า ไม่ใช่การเพิ่มความร่ำรวยในประเทศเองที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย แต่เป็นความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสังคม-เศรษฐกิจที่เกิดจากความร่ำรวย
โดยมีนักวิชาการอื่น ๆ ที่อ้างว่า ความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเป็นเหตุหลัก ๆ ที่ประเทศยุโรปกลายเป็นประชาธิปไตย |
876641#7 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | เมื่อโครงสร้างทางสังคมเศรษฐกิจเปลี่ยนไป เพราะความก้าวหน้าทำให้เกษตรกรรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงมีการลงทุนทั้งเวลาและทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อใช้ในการผลิตและการบริการ
ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศอังกฤษ สมาชิกของพวกผู้ดีได้ลงทุนในกิจการค้ามากขึ้น ทำให้พวกตนมีความสำคัญทางเศรษฐกิจต่อประเทศมากขึ้น
กิจกรรมเยี่ยงนี้จะมาพร้อมกับอำนาจทางเศรษฐกิจ เพราะทรัพย์สมบัตินับได้ยากขึ้น ดังนั้น รัฐจึงหักภาษีได้ยากขึ้น
เพราะเหตุนี้ การปล้นสะดมทรัพย์ตรง ๆ จึงเป็นไปไม่ได้ และดังนั้น รัฐจึงต้องต่อรองกับอภิสิทธิชนทางเศรษฐกิจรุ่นใหม่เพื่อจะหารายได้
ข้อตกลงแบบยั่งยืนกลายเป็นเรื่องจำเป็น เพราะรัฐต้องอาศัยประชาชนที่ยังคงความจงรักภักดี ดังนั้น ประชาชนจึงได้อำนาจแสดงเสียงในกระบวนการตัดสินใจของประเทศ |
876641#8 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | นักวิชาการคู่หนึ่งอ้างว่า ความสัมพันธ์ของความเท่าเทียมกันทางสังคมกับการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยเป็นเรื่องซับซ้อน ประชาชนจะมีแรงจูงใจเพื่อกบฏน้อยกว่าในสังคมที่เท่าเทียมกัน ดังนั้น การเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยก็จะมีโอกาสน้อยกว่า
เทียบกับสังคมที่ไม่เท่าเทียมกันแบบสุดโต่ง (เช่น แอฟริกาใต้ภายใต้ระบบการถือผิว) การจัดสรรปันส่วนของทั้งความมั่งคั่งและอำนาจภายใต้ระบอบประชาธิปไตยจะเป็นผลร้ายต่ออภิสิทธิชน พวกเขาจึงต้องทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ส่วนในประเทศที่อยู่ตรงกลาง ๆ ที่ไม่สุดโต่ง การเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยจะมีโอกาสสูงกว่า โดยอภิสิทธิชนจะยอมให้เพราะ (1) พิจารณาว่าการกบฏอาจเป็นไปได้ (2) ราคาของการยินยอมไม่สูงเกินไป
ความคาดหวังเช่นนี้เข้ากับหลักฐานการทดลองที่แสดงว่า ประชาธิปไตยจะเสถียรภาพกว่าในสังคมที่เท่าเทียมกัน |
876641#9 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | มีผู้ที่อ้างว่า วัฒนธรรมบางอย่างเข้ากับค่านิยมประชาธิปไตยได้มากกว่า
ซึ่งอาจเป็นมุมมองแบบชาติพันธุ์นิยม
เพราะปกติแล้ว จะอ้างว่าวัฒนธรรมตะวันตก "เข้าได้ดีที่สุด" กับประชาธิปไตย และอ้างวัฒนธรรมอื่นว่า มีค่านิยมที่ทำให้ประชาธิปไตยเป็นเรื่องยากหรือเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนา
เป็นข้ออ้างที่บางครั้งใช้โดยระบอบการปกครองอื่น ๆ เพื่อแก้ต่างความล้มเหลวในการปฏิรูปเพื่อประชาธิปไตย
แต่ในปัจจุบัน มีรัฐประชาธิปไตยที่ไม่ใช่คนตะวันตกมากมาย
รวมทั้งอินเดีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย นามิเบีย บอตสวานา ไต้หวัน และเกาหลีใต้
มีงานวิจัยที่พบว่า "ผู้นำที่ได้การศึกษาในประเทศตะวันตกจะเพิ่มโอกาสเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยอย่างสำคัญ" |
876641#10 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | มีนักวิชาการที่อ้างว่า มีลักษณะบางอย่างที่ทำให้สังคมมีโอกาสมีวัฒนธรรมการทำงานเพื่อส่วนรวมมากกว่า และทำให้เกิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมสูงกว่า
คือชุมชนที่มีเครือข่ายองค์กรพลเมืองที่ช่วยปรับปรุงดูแลละแวกบ้าน ที่มีโครงสร้างเป็น "แนวนอน" คือมีสมาชิกมีฐานะ/อิทธิพลเท่าเทียมกัน จะช่วยสร้าง "ความเชื่อใจ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการมีส่วนร่วมในฐานะพลเมือง" ได้ดีกว่า ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตย และจะเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมที่ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า
เทียบกับเครือข่ายที่มีโครงสร้างเป็นแนวตั้ง คือมีการจัดตำแหน่งการงานเป็นชั้น ๆ หรือที่มีความสัมพันธ์แบบผู้อุปถัมภ์-ผู้พึ่งพา ซึ่งก็จะมีโอกาสสร้างวัฒนกรรมการมีส่วนร่วมของพลเมืองที่จำเป็นในการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยน้อยกว่า |
876641#11 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | นักวิชาการอีกคนหนึ่งคาดว่า การเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นเมื่ออภิสิทธิชนไม่สามารถคืนรูประบอบอัตตาธิปไตยได้
ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีกลุ่มอำนาจต่าง ๆ อยู่ร่วมกันในเขตภูมิภาคหนึ่ง ๆ
อันทำให้อภิสิทธิชนจำเป็นต้องสร้างสถาบันประชาธิปไตยและสถาบันตัวแทนเพื่อควบคุมเขตนั้น และเพื่อจำกัดอิทธิพลของกลุ่มอภิสิทธิชนผู้เป็นคู่แข่ง |
876641#12 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | ประชาธิปไตยบางครั้งเกิดเพราะการแทรกแซงทางทหารของประเทศอื่น ดังที่เกิดในญี่ปุ่นและเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
อิสรภาพจากการเป็นอาณานิคมบางครั้งก็อำนวยให้ก่อตั้งประชาธิปไตย ที่ต่อมาไม่นานก็ถูกแทนที่ด้วยระบอบอำนาจนิยม
ตัวอย่างเช่น ซีเรียหลังจากได้อิสรภาพจากอาณัติของฝรั่งเศสเมื่อต้นสงครามเย็น ไม่ได้ทำประชาธิปไตยให้มั่นคง
แล้วในที่สุดก็ล้มและถูกแทนที่ด้วยระบอบเผด็จการของพรรคบะอัธ |
876641#13 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | มีทฤษฎีมานานแล้วว่า การศึกษาจะช่วยโปรโหมตสังคมประชาธิปไตยที่มั่นคง
งานวิจัยแสดงว่า การศึกษาทำให้ยอมรับความแตกต่างทางการเมืองได้มากกว่า เพิ่มโอกาสการมีส่วนร่วม และลดความไม่เท่าเทียมกัน
งานวิจัยหนึ่งพบว่า "การเพิ่มระดับการศึกษาจะเพิ่มระดับประชาธิปไตย โดยผลของการศึกษาต่อการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยจะมีพลังยิ่งกว่าในประเทศยากจน" |
876641#14 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | งานศึกษาปี 2559 พบว่า ความตกลงค้าขายแบบบุริมสิทธิ (PTA)
"กระตุ้นให้ประเทศเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย โดยเฉพาะถ้าคู่ความตกลงก็เป็นรัฐประชาธิปไตยเองด้วย" |
876641#15 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | งานศึกษาปี 2545 พบว่า การเป็นสมาชิกในองค์กรนานาชาติ "สัมพันธ์กับการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยในช่วงปี 2493-2535" |
876641#16 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | ระบอบเผด็จการสามอย่าง คือ ราชาธิปไตย เผด็จการพลเรือน และเผด็จการทหาร จะเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยโดยต่างกันเพราะมีเป้าหมายต่างกัน
เผด็จการของพระราชาและพลเรือนต้องการอยู่ในอำนาจอย่างไม่มีกำหนด ผ่านการสืบทอดพระราชวงศ์สำหรับพระราชาและการกดขี่ศัตรูสำหรับเผด็จการพลเรือน
ส่วนเผด็จการทหารจะยึดอำนาจแล้วปฏิบัติการเป็นรัฐบาลรักษาการ เพื่อทดแทนรัฐบาลพลเรือนที่พิจารณาว่าบกพร่อง
เผด็จการทหารมีโอกาสเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยมากกว่า เพราะตั้งแต่เริ่มก็หมายเป็นแค่การแก้ปัญหาชั่วคราวในขณะที่กำลังตั้งรัฐบาลที่ยอมรับได้ใหม่ |
876641#17 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | การประท้วงเพื่อประชาธิปไตยสัมพันธ์กับการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย
งานวิจัยปี 2559 พบว่า กรณี 1 ใน 4 ของการประท้วงเพื่อประชาธิปไตยระหว่างปี 2532-2554 ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตย |
876641#18 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | งานวิจัยแสดงว่า ภัยสงครามเมืองกระตุ้นให้ผู้ปกครองยอมเปลี่ยนแปลงไปในทางประชาธิปไตย
งานศึกษาปี 2559 พบว่า การจลาจลเหตุความแห้งแล้งในแอฟริกาใต้สะฮาราทำให้ผู้ปกครองเกรงสงครามการเมือง แล้วยอมรับความเปลี่ยนแปลงทางประชาธิปไตย |
876641#19 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | ในบทความที่ได้รับความยกย่องชื่อว่า "สงครามและสภาพในแอฟริกา (War and the state in Africa)" นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันอธิบายว่า ประเทศในยุโรปเกิดขึ้นอาศัยการทำสงครามซึ่งเป็นเหตุที่ไม่มีอย่างหนึ่งในแอฟริกาปัจจุบัน
คือสงครามเป็นเหตุให้รัฐต้องมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการเก็บรายได้ บังคับให้ผู้นำต้องจัดระบบการบริหารปกครองให้ดีขึ้น
และสร้างสภาพแวดล้อมที่ประชาชนจะรู้สึกสามัคคีกัน
ดังที่พบในรัฐยุโรปที่เสี่ยงต่อการถูกรุกรานหรือเกิดสงครามอย่างฉับพลันกับประเทศเพื่อนบ้าน |
876641#20 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | การบังคับให้ระวังระไวเช่นนี้ทำให้เกิดพัฒนาการเก็บภาษีที่ดีขึ้น เพราะรัฐที่ไม่มีรายได้พอทำสงครามก็จะสูญเสียเอกราช
สงครามยังสร้างความสัมพันธ์ร่วมกันที่มีพลังระหว่างรัฐกับประชาชน เพราะประชาชนก็จะรู้สึกถึงภัยเหมือนกับรัฐ และต้องอาศัยประเทศเพื่อที่จะเจริญรุ่งเรืองได้
การทำสงครามทำให้ประชาชนรู้สึกว่าเป็นส่วนของรัฐมากขึ้น |
876641#21 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | มีงานวิจัยที่แสดงว่า การเปลี่ยนเป็นชุมชนเมืองมากขึ้นโดยวิธีต่าง ๆ ช่วยการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย |
876641#22 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | คำอธิบายหนึ่งสำหรับการกลับไปเป็นประชาธิปไตยของประเทศเอกวาดอร์ อันเป็นเหตุการณ์ที่ค้านความเห็นทั่วไปว่า รายได้จากทรัพยากรธรรมชาติมักกระตุ้นให้เกิดรัฐบาลเผด็จการ
ก็คือ มีสถานการณ์บางอย่างที่รายได้จากทรัพยากรธรรมชาติ เช่นจากน้ำมัน
จะลดความเสี่ยงที่นโยบายทางสังคมจะมีต่ออภิสิทธิชน เพราะรัฐมีรายได้อื่นเพื่อเป็นงบประมาณดำเนินการนโยบายสังคม
โดยไม่เกี่ยวพันกับความมั่งคั่งหรือรายได้ของอภิสิทธิชน
และในประเทศที่มากไปด้วยความไม่เท่าเทียมกัน เช่นเอกวาดอร์ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ผลก็คือโอกาสการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยจะเพิ่มขึ้น |
876641#23 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | รัฐประหารของทหารในเอกวาดอร์ปี 2515 มีเหตุโดยมากจากความเกรงกลัวของอภิสิทธิชนว่า จะมีการปรับกระจายรายได้
แต่ในปีเดียวกัน น้ำมันก็กลายเป็นแหล่งรายได้เพิ่มยิ่ง ๆ ขึ้นของประเทศ
แม้รายได้ในช่วงแรกนั้นจะใช้เพื่องบประมาณทางทหาร แต่รายได้ที่เพิ่มขึ้นในปี 2522 ต่อมาได้ดำเนินขนานกับการเปลี่ยนกลับไปเป็นประชาธิปไตยของประเทศอีก
นักวิชาการจึงอ้างว่า การเปลี่ยนกลับไปเป็นประชาธิปไตยของเอกวาดอร์ มีเหตุจากการเพิ่มรายได้จากน้ำมันอย่างสำคัญ ซึ่งไม่เพียงเพิ่มงบประมาณของรัฐ แต่ยังลดความกลัวของอภิสิทธิชนว่า รายได้/ความมั่งคั่งของตนจะถูกปรับกระจายไปใช้เป็นงบประมาณของรัฐ
การแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติทำให้รัฐบาลสามารถออกนโยบายเกี่ยวกับราคาสินค้าและสินจ้าง ที่ให้ประโยชน์แก่ประชาชนโดยที่อภิสิทธิชนไม่มีผลกระทบ แล้วจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงและการเติบโตของสถาบันประชาธิปไตยต่าง ๆ
การเสียชีวิตของผู้เผด็จการ น้อยครั้งที่จะเปลี่ยนระบอบการปกครองให้เป็นประชาธิปไตย
นักวิเคราะห์รายหนึ่งพบว่า "ในบรรดาผู้เผด็จการ 79 ท่านที่ได้เสียชีวิตในอำนาจ (พ.ศ. 2489-2557)
ในกรณีโดยมาก (92%) ระบอบการปกครองก็ดำเนินต่อไปหลังจากการเสียชีวิต" |
876641#24 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | พัฒนาการให้เป็นประชาธิปไตยบ่อยครั้งช้า รุนแรง และถอยกลับบ่อย ๆ |
876641#25 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | ในประเทศอังกฤษ สงครามกลางเมืองอังกฤษ (พ.ศ. 2185-2194) เป็นสงครามระหว่างพระราชาและรัฐสภาที่ได้รับเลือกตั้งแต่มีลักษณะของคณาธิปไตย
ต่อมา ยุครัฐในอารักขา (2196-2202) และเหตุการณ์การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ (2203-2231) จึงได้คืนการปกครองแบบอัตตาธิปไตย
ในปี 2231 ก็เกิดการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ที่ตั้งรัฐสภาที่เข้มแข็ง แล้วผ่านพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง ค.ศ. 1689 ซึ่งบัญญัติสิทธิเสรีภาพของประชาชนบางอย่าง
บัญญัติบังคับให้มีการเลือกตั้งเป็นประจำ ตั้งกฎเสรีภาพในการพูดในรัฐสภา และจำกัดอำนาจของพระราชา ซึ่งรับรองว่า โดยไม่เหมือนยุโรปโดยมากในยุคนั้น สมบูรณาญาสิทธิราชย์จะไม่มีชัย
แต่ต้องรอจนถึงราชบัญญัติการมีตัวแทนของประชาชนปี 2427 (Representation of the People Act 1884) ที่ประชาชนชายส่วนใหญ่จะมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง |
876641#26 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | การปฏิวัติอเมริกา (2308-2326) ได้ก่อตั้งสหรัฐอเมริกา
จากมุมมองต่าง ๆ มันเป็นชัยชนะทางอุดมคติ เพราะเป็นสาธารณรัฐที่แท้จริงโดยไม่เคยมีผู้เผด็จการสักคนหนึ่ง
แม้สิทธิการออกเสียงเลือกตั้งจะจำกัดให้ชายผิวขาวอเมริกันผู้มีที่ดินในเบื้องต้น
แต่ทาสก็ยังไม่ได้เลิกโดยเฉพาะในรัฐภาคใต้จนกระทั่งการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลังสงครามกลางเมืองอเมริกา (2404-2408)
และชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาก็ไม่ได้สิทธิพลเมืองจนกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 1960 |
876641#27 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | การปฏิวัติฝรั่งเศส (2332) ทำให้คนจำนวนมากสามารถออกเสียงเลือกตั้งได้เป็นเวลาสั้น ๆ
แต่ก็ตามด้วยสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส (2335-2345) และสงครามนโปเลียน (2346-2358) ที่ยาวนานกว่า 20 ปี
การปฏิวัติช่วง French Directory (2338-2342) มีลักษณะทางคณาธิปไตยมากกว่า
จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง (2347-2358) แล้วตามด้วยการคืนสู่ราชบัลลังก์ของราชวงศ์บูร์บง (2358-2373) ทั้งสองก็กลับคืนการปกครองแบบอัตตาธิปไตย
ส่วนสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2 ต่อมา (2391-2395) ก็ได้ให้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปแก่ชาย แต่แล้วก็ตามมาด้วยจักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง (2395-2413)
ต้องอาศัยสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย (2413-2414) จึงได้ตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 (2413-2483) |
876641#28 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | จักรวรรดิเยอรมันตั้งขึ้นเมื่อปี 2414
แล้วตามด้วยสาธารณรัฐไวมาร์หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ต่อมานาซีเยอรมนีจึงคืนการปกครองแบบอัตตาธิปไตยจนกระทั่งแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 |
876641#29 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | ราชอาณาจักรอิตาลีซึ่งตั้งขึ้นหลังการรวมเอกราชของอิตาลีในปี 2404 เป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมมนูญ ที่พระราชาทรงมีอำนาจค่อนข้างมาก
ต่อมาลัทธิฟาสซิสต์อิตาลีจึงตั้งระบอบเผด็จการขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐอิตาลีดังปัจจุบัน |
876641#30 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | ยุคเมจิหลังปี 2411 เป็นจุดเริ่มปรับประเทศญี่ปุ่นให้ทันสมัย
โดยมีการปฏิรูปทางประชาธิปไตยอย่างจำกัดด้วย
ต่อมาในยุคไทโช (2455-2469) จึงมีการปฏิรูปเพิ่มขึ้น
แต่ยุคโชวะก่อนสงคราม (2469-2488) ที่ตามมาก็พลิกกลับจนกระทั่งยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 |
876641#31 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | ตามงานศึกษาโดย "ฟรีดอมเฮาส์"
ในประเทศ 67 ประเทศที่ระบอบเผด็จการได้ล้มลงตั้งแต่ปี 2515 การต่อต้านของพลเมืองที่ไม่ใช้ความรุนแรงเป็นปัจจัยที่มีกำลังในกรณี 70 เปอร์เซ็นต์
โดยไม่ได้เนื่องจากการรุกรานของประเทศอื่น และมีน้อยมากที่เนื่องจากการก่อการกำเริบที่ใช้อาวุธ หรือเนื่องจากการปฏิรูปที่อภิสิทธิชนสมัครใจเริ่มเอง
แต่อย่างท่วมท้นเนื่องจากปฏิบัติการขององค์กรประชาสังคมเพื่อประชาธิปไตยที่ไม่ใช้วิธีการรุนแรง และเนื่องจากการต่อต้านแบบสันติอื่น ๆ เช่น การนัดหยุดงาน การคว่ำบาตร การขัดขืนเจ้าหน้าที่/กฎหมายอย่างสงบ และการชุมนุมประท้วง |
876641#32 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | ในเรื่องการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย องค์กร "ฟรีดอมเฮาส์" ทำงานสำรวจที่ทรงอิทธิพล ซึ่งเริ่มขึ้นในระหว่างสงครามเย็น
องค์กรปัจจุบันเป็นสถาบันนโยบาย (think tank) ที่ผลิตรายงานเสรีภาพที่ครอบคลุมกว้างขวางมากที่สุดงานหนึ่งทั้งในประเทศและในระหว่างประเทศ ซึ่งโดยปริยายก็เป็นรายงานการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยด้วย
องค์กรจัดหมวดหมู่ประเทศทั้งหมดในโลกตามค่า 7 อย่างโดยมีคำถามกว่า 200 คำถามในงานสำรวจ และมีเจ้าหน้าที่หลายคนในทุก ๆ ประเทศ
คะแนนจากส่วนต่าง ๆ ของการสำรวจจะสรุปประเทศลงใน 3 หมวด คือ เสรี กึ่งเสรี และไม่เสรี |
876641#33 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | งานศึกษาหนึ่งที่ตรวจความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจตลาดเสรี (วัดด้วยดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ) พัฒนาการทางเศรษฐกิจ (วัดด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) /ประชากร) และเสรีภาพทางการเมือง (วัดด้วยดัชนีฟรีดอม์เฮาส์)
พบว่า เสรีภาพทางเศรษฐกิจระดับสูงจะเพิ่ม GDP/ประชากร ซึ่งก็ป้อนกลับเพิ่มเสรีภาพทางเศรษฐกิจ
GDP/ประชากรยังเพิ่มเสรีภาพทางการเมืองอีกด้วย แต่เสรีภาพทางการเมืองไม่ได้เพิ่ม GDP/ประชากร
และเสรีภาพทางเศรษฐกิจก็ไม่สัมพันธ์กับเสรีภาพทางการเมืองโดยตรง ถ้า GDP/ประชากรอยู่คงที่ |
876641#34 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | นักรัฐศาสตร์-เศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ศ. ดร. ฟรานซิส ฟุกุยะมะ
ได้เขียนบทความเรื่องการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยที่คลาสสิกอีกงานหนึ่งในชื่อเรื่อง
"อวสารประวัติศาสตร์และมนุษย์คนสุดท้าย (The End of History and the Last Man)" ซึ่งกล่าวถึงการเกิดขึ้นของประชาธิปไตยเสรีนิยมว่าเป็นรูปแบบการปกครองสุดท้ายของมนุษย์
แต่ก็มีผู้อ้างว่า การขยายปฏิรูปเศรษฐกิจให้เสรี มีผลผสมผเสต่อการเปลี่ยนเป็นประชาธิไตย
คืออ้างว่า จากหลาย ๆ มุมมอง สถาบันทางประชาธิปไตยต่าง ๆ ถูกจำกัดหรือถูกขังไว้เพื่อประโยชน์ของตลาดทุนนานาชาติ หรือเพื่ออำนวยการค้าขายทั่วโลก |
876641#35 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | ส่วนนักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ศ. ดร. ซามูเอล ฮันติงตัน ได้เขียนหนังสือชื่อว่า "คลื่นลูกที่ 3 - การเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 (The Third Wave: Democratization in the Late 20th century)"
ซึ่งเขากำหนดคลื่นการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย 3 ลูกที่เกิดในประวัติศาสตร์
คลื่นลูกแรกนำประชาธิปไตยมาสู่ยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือในคริสต์ทศวรรษที่ 19
แล้วตามด้วยการเกิดระบอบเผด็จการช่วงในระหว่างสงครามโลกทั้ง 2
ลูกที่สองเกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่หมดพลังลงช่วงระหว่าง ค.ศ. 1962 กับกลางคริสต์ทศวรรษ 1970
คลื่นล่าสุดเริ่มที่ปี ค.ศ. 1974 (พ.ศ. 2517) และยังดำเนินไปอยู่
การเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยในละตินอเมริกาและกลุ่มตะวันออก (Eastern Bloc) เป็นส่วนของคลื่นลูกที่สามนี้ |
876641#36 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | ตัวอย่างที่ดีของเขตที่ผ่านคลื่นทั้งสามก็คือตะวันออกกลาง
ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เขตนี้เป็นส่วนของจักรวรรดิออตโตมัน
ในศตวรรษที่ 19 "เมื่อจักรวรรดิออตโตมันล้มลงในที่สุด ... ช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพชาวตะวันตกในที่สุดก็ได้เข้าไปยึดครองเขต"
นี่เป็นทั้งการขยายอาณาเขตของชาวยุโรป และเป็นการสร้างประเทศเพื่อเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยด้วย |
876641#37 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | แต่ก็มีนักวิชาการที่อ้างว่า "การแบ่งกลุ่มชาติพันธุ์ ... เป็น (อุปสรรค) ที่ขวางความพยายามของสหรัฐเพื่อเปลี่ยนอิรักให้เป็นประชาธิปไตย"
ซึ่งแสดงปัญหาที่น่าสนใจในเรื่องการรวมปัจจัยต่างชาติและภายในประเทศในกระบวนการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย
นอกจากนั้นแล้ว ศ. ดร. เอ็ดวาร์ด เซด ยังกล่าวตำหนิความรู้สึกที่เป็นของคนตะวันตกโดยมากว่ามี "ความเข้ากันไม่ได้โดยธรรมชาติระหว่างค่านิยมทางประชาธิปไตยกับอิสลาม" ว่าเป็น "orientalist" คือเป็นไปตามความรู้สึกปรามาสและเรื่องที่ไม่เป็นจริงเกี่ยวกับ "คนตะวันออก"
เขาเสนอเหตุผลว่า "ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือยังไม่มีปัจจัยที่ต้องมีก่อนการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย" (ไม่ใช่เพราะเข้ากันไม่ได้กับอิสลาม) |
876641#38 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | ส่วนนักข่าวผู้ชำนาญเรื่องการปกครองคนหนึ่ง ได้ตรวจสอบเรื่องความมั่นคงที่การโปรโหมดประชาธิปไตยช่วยเสริมสร้าง แล้วชี้ความสัมพันธ์ระหว่างระดับประชาธิปไตยกับระดับการก่อการร้ายในประเทศ
แม้จะเป็นเรื่องที่ยอมรับว่า ความยากจนในประเทศมุสลิมเป็นเหตุแนวหน้าในการก่อการร้ายที่เพิ่มขึ้น นักข่าวก็ให้ข้อสังเกตว่า ผู้ก่อการร้ายหลักในเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 เป็นคนชั้นกลางหรือคนชั้นสูง
เขาเสนอว่า สังคมที่ผู้ก่อการร้ายของอัลกออิดะฮ์ใช้ชีวิต มักเป็นที่หาเงินได้ง่าย ๆ (เช่นจากน้ำมัน) และดังนั้นจึงไม่มีแรงจูงใจให้พัฒนาทางเศรษฐกิจหรือการเมือง
เมื่อมีโอกาสมีส่วนร่วมทางการเมืองน้อย
เยาวชนชาวอาหรับจึงได้ถูกล่อให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมอื่น ๆ เช่นในลัทธิต้นคัมภีร์อิสลาม (Islamic fundamentalism)
การเจริญขึ้นของลัทธิต้นคัมภีร์อิสลาม และความรุนแรงที่เป็นผลในเหตุการณ์ 9/11 แสดงความต้องการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยธรรมชาติ
และรัฐบาลประชาธิปไตยหรือที่มีกระบวนการทางประชาธิปไตย (เช่น การเปิดให้มีส่วนร่วมทางการเมือง) เป็นลานประชาคมที่จำเป็นเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง |
876641#39 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | ผู้ออกความเห็นคนหนึ่ง (Larry Pardy) ให้ข้อสังเกตว่า รัฐบาลมีแรงจูงใจเพื่อจะรักษาอำนาจโดยมีปัจจัยสองอย่าง คือ ความชอบธรรมและวิถีทาง
ความชอบธรรมของรัฐบาลประชาธิปไตยจะได้จากการยอมรับของประชาชนผ่านการเลือกตั้งที่ยุติธรรมและเปิดเผย และวิถีทางด้านการเงินจะมาจากแหล่งภาษีที่สมบูรณ์อันเกิดจากเศรษฐกิจที่ดี
โดยความสำเร็จทางเศรษฐกิจก็จะมาจากเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีที่มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ คือ สิทธิในทรัพย์สิน ฝ่ายตุลาการที่ยุติธรรมและเป็นอิสระ ความมั่นคง และหลักนิติธรรม
อนึ่ง องค์ประกอบหลักที่สนับสนุนเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ก็ยังสืบไปยังสิทธิพื้นฐานของปัจเจกบุคคลอีกด้วย
ในนัยตรงข้าม เมื่อรัฐบาลสามารถกดขี่คู่แข่งทางการเมือง ก็จะไม่มีหลักนิติธรรม และเมื่อความมั่งคั่งสามารถยึดได้ตามใจชอบ ก็จะไม่มีสิทธิทางทรัพย์สิน |
876641#40 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | ตามนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง แบบจำลอง "ทางออก การมีเสียง และความจงรักภักดี (exit, voice, and loyalty model)" แสดงว่า ถ้าประชาชนสามารถมีทางออกไม่อยู่ใต้อาณัติของรัฐบาล ก็จะมีโอกาสเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยสูงกว่า
คือ รัฐบาลอาจจะมีอำนาจอธิปไตยเหนือประชากรที่มีทางออกต่าง ๆ ได้ยาก
และการออกไม่ใช่เป็นเพียงแค่ออกจากอาณาเขตของรัฐที่มีแต่บีบบังคับ
แต่หมายเอาการตอบสนองปรับตัวที่ทำให้รัฐลำบากในการอ้างอำนาจอธิปไตยเหนือตนมากขึ้น
รวมทั้งการปลูกพืชที่รัฐไม่สามารถนับได้ (และไม่สามารถเก็บภาษี) หรือเลี้ยงสัตว์ที่นำไปที่อื่นได้ง่ายกว่า |
876641#41 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | จริง ๆ แล้วกำเนิดของรัฐก็เป็นผลของการปรับตัวของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม และของการเลือกว่าจะอยู่หรือจะออกจากบริเวณนั้น
ถ้าประชาชนมีอิสรภาพในการย้ายที่ แบบจำลองนี้พยากรณ์ว่า รัฐจะต้องเป็นตัวแทนของประชาชนเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนไปที่อื่น
ดังนั้น ถ้าบุคคลมีทางออกที่เป็นไปได้โดยไม่ต้องอยู่ใต้อาณัติของรัฐบาล ก็จะสามารถจำกัดพฤติกรรมตามอำเภอใจของรัฐบาลเพราะสามารถขู่ด้วยการเลือกทางออกได้ |
876641#42 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | ประชาธิปไตยที่คงยืนเป็นเรื่องที่ยิ่งกว่าการเลือกตั้งที่ยุติธรรมและโปร่งใส
มันต้องอาศัยพื้นฐานที่หนักแน่นของเสรีภาพทางเศรษฐกิจและทางการเมือง ที่ประชาชนในประเทศตะวันตกต้องแคะงัดจากรัฐบาลด้วยความยากลำบากเป็นศตวรรษ ๆ
โดยเริ่มอย่างช้าก็ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1758 เมื่อพระเจ้าจอห์นทรงยอมรับข้อจำกัดต่อพระอำนาจ คือทรงยอมให้ประชาชนมีสิทธิตามมหากฎบัตร
สมัยนั้นก็ดี แม้แต่สมัยนี้ก็ดี รัฐบาลจะมีแรงจูงใจสนับสนุนสิทธิเสรีภาพก็ต่อเมื่อมันมีผลโดยตรงต่อการรักษาและใช้อำนาจของรัฐบาล
มันไม่ได้เกิดจากแนวคิดอุดมคติเกี่ยวกับประชาธิปไตยและเสรีภาพ จากการมีสัญญาโดยนัยกับประชาชน จากการเคี่ยวเข็ญของประเทศที่เป็นผู้บริจาค หรือการป่าวประกาศขององค์กรนานาชาติ |
876641#43 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | ตามนักวิชาการท่านหนึ่ง ดร. ฟุกุยะมะถูกแล้วในคำกล่าวถึงอวสานแห่งประวัติศาสตร์ เพราะประชาธิปไตยเสรีนิยมที่มีในประเทศตะวันตก เป็นที่สุดของวิวัฒนาการทางอุดมคติของมนุษย์
เป็นกลไกที่ระบบตลาดเสรีสามารถจัดสรรปันส่วนทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพโดยพึ่งอาศัยซึ่งกันและกันกับระบอบประชาธิปไตย
รัฐบาลจะมีแรงจูงใจปกป้องเศรษฐกิจ ในขณะที่มูลฐานของเศรษฐกิจเช่นนั้นก็จะสร้างปัจจัยของความเป็นประชาธิปไตย |
876641#44 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | แม้การเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยมักจะกล่าวในเรื่องการเมืองระดับประเทศหรือท้องถิ่น แต่ก็สามารถใช้ในบริบทอื่น ๆ ได้ด้วย |
876641#45 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | องค์กรนานาชาติ (เช่น สหประชาชาติ) มักจะมีข้อเรียกร้องให้ปฏิรูปและเปลี่ยนโครงสร้างการออกเสียงลงคะแนน และเปลี่ยนระบบการนับคะแนน |
876641#46 | การทำให้เป็นประชาธิปไตย | แนวคิดการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยสามารถประยุกต์ใช้ในบรรษัท ที่ทั่วไปมีโครงสร้างอำนาจแบบหัวหน้าสั่งลูกน้อง หรือหัวหน้ารู้ดีที่สุด
ซึ่งต่างจากวิธีบริหารแบบปรึกษา ให้อำนาจแก่ลูกน้อง และการกระจายอำนาจการตัดสินใจไปทั่วบริษัท ดังที่สนับสนุนโดยขบวนการประชาธิปไตยในที่ทำงาน |