docid
stringlengths
3
10
title
stringlengths
1
182
text
stringlengths
1
31.2k
876173#0
สัปดาห์แฟชั่น
สัปดาห์แฟชั่น () เป็นงานจัดแสดงสินค้าในอุตสาหกรรมแฟชั่น เป็นเวลานานหนึ่งสัปดาห์ โดยมีนักออกแบบ และแบรนด์ต่าง ๆ แสดงคอลเลกชันล่าสุดของพวกเขาในแฟชั่นโชว์บนเวทีเดินแบบ ให้กับผู้ซื้อและสื่อ งานจัดแสดงเหล่านนี้มีอิทธิพลต่อแนวโน้มความนิยมในปัจจุบันอย่างมาก
876173#1
สัปดาห์แฟชั่น
สัปดาห์แฟชั่นที่โดดเด่นที่สุดที่จะมีขึ้นในเมืองหลวงแฟชั่นของโลก "บิ๊กโฟร์" ที่ได้รับความนิยมเป็นส่วนใหญ่จากสื่อต่าง ๆ ทั่วโลก คือนครนิวยอร์ก ลอนดอน มิลาน และปารีส
876173#2
สัปดาห์แฟชั่น
ในขณะที่วงการแฟชั่นได้เปลี่ยนแปลงมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 ก็มีงานสัปดาห์แฟชั่นเกิดขึ้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น เบอร์ลิน ลอสแอนเจลิส มาดริด โรม เซาเปาลู โตเกียว เซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง ซิดนีย์ สิงคโปร์ ดูไบ และรวมถึงกรุงเทพมหานคร ก็เป็นเจ้าภาพสำคัญในการจัดงานสัปดาห์แฟชั่น
876173#3
สัปดาห์แฟชั่น
แนวความคิดของงานสัปดาห์แฟชั่นเริ่มขึ้นที่กรุงปารีสเมื่อนักการตลาดจ้างผู้หญิงสวมเสื้อผ้าแฟชั่นในที่สาธารณะจากสนามแข่งไปจนถึงร้านเสริมสวย
876173#4
สัปดาห์แฟชั่น
ขบวนพาเหรดเหล่านี้ (ขบวนพาเหรด คือ "défilé" ในภาษาฝรั่งเศส) เริ่มค่อย ๆ กลายเป็นกิจกรรมทางสังคมของตัวเอง
876181#0
เบสบอลทีมชาติเนเธอร์แลนด์
เบสบอลทีมชาติเนเธอร์แลนด์ เป็นทีมเบสบอลระดับทีมชาติของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เป็นตัวแทนของประเทศเนเธอร์แลนด์ในการแข่งขันเบสบอลระดับนานาชาติ เป็นเบสบอลทีมชาติอันดับต้น ๆ ของ สมาพันธ์เบสบอลยุโรป และเป็นอันดับที่ 9 จาก การจัดอันดับของสหพันธ์เบสบอลระหว่างประเทศ
876181#1
เบสบอลทีมชาติเนเธอร์แลนด์
Intercontinental Cup
876181#2
เบสบอลทีมชาติเนเธอร์แลนด์
ยูโรเปียนเบสบอลแชมเปียนชิป
876182#0
รายชื่องานแฟชั่น
นี่คือรายชื่องานสัปดาห์แฟชั่น/กิจกรรมแฟชั่น/งานแสดงแฟชั่น ที่มีการจัดขึ้นทุกปีหรือสองปีต่อครั้ง มีห้างานหลักที่สำคัญ ๆ ต่อโลกคือ นิวยอร์กแฟชั่นวีก ลอนดอนแฟชั่นวีก มิลานแฟชั่นวีก ปารีสแฟชั่นวีก และอาหรับแฟชั่นวีก ในขณะที่วงการแฟชั่นได้เปลี่ยนแปลงมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 ก็มีงานสัปดาห์แฟชั่นเกิดขึ้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น เบอร์ลิน ลอสแอนเจลิส มาดริด โรมเซาเปาลู โตเกียว เซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง ซิดนีย์ สิงคโปร์ ดูไบ และรวมถึงกรุงเทพมหานคร ก็เป็นเจ้าภาพสำคัญในการจัดงานสัปดาห์แฟชั่น
876182#1
รายชื่องานแฟชั่น
รายการจัดเรียงตามทวีปและประเทศ
876182#2
รายชื่องานแฟชั่น
http://www.ivorycoastfashion.com Voyage of creationwww.helsinkifashionweeklive.com Principal shows:
876182#3
รายชื่องานแฟชั่น
* Melbourne Spring Fashion Week
876204#0
อันชาร์ทิด: เดรกส์ฟอร์ชูน
อันชาร์ทิด: เดรกส์ฟอร์ชูน () เป็นวิดีโอเกมแพลตฟอร์มแอ็กชันผจญภัย พัฒนาโดยนอตีด็อก และจำหน่ายโดยโซนี่อินเตอร์แอ็กทีฟเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ลงบนเพลย์สเตชัน 3 เป็นเกมแรกของเกมชุด"อันชาร์ทิด" เกมผสมผสานรูปแบบเกมแอ็กชันผจญภัยและแพลตฟอร์มเข้ากับเกมมุมมองบุคคลที่สาม เกมเล่าเรื่องราวการเดินทางของตัวเอกชื่อ นาธาน เดรก ผู้ที่เชื่อว่าเป็นทายาทของนักสำรวจเซอร์ ฟรานซิส เดรก ขณะที่เขาตามหาสมบัติของเมืองเอลโดราโดที่หายไป โดยได้ความช่วยเหลือจากนักข่าว เอเลนา ฟิชเชอร์ และที่ปรึกษา วิกเตอร์ ซัลลิแวน
876204#1
อันชาร์ทิด: เดรกส์ฟอร์ชูน
ในงานอีทรี 2006 เกมประกาศว่าพัฒนาประมาณสองปีก่อนวางจำหน่ายปลายปี ค.ศ. 2007 เกมถือว่าเป็นเกมสำคัญของเพลย์สเตชัน 3 ที่ออกในช่วงเทศกาลวันหยุดของปี ค.ศ. 2007 เกมได้รับการตอบรับที่ดีจากนักวิจารณ์ ส่วนใหญ่กล่าวถึงความสำเร็จเชิงเทคนิค การพากย์เสียง ตัวละคร เนื้อเรื่อง บรรยากาศ ดนตรีประกอบ ความใส่ใจรายละเอียด และมูลค่าการผลิตที่สูง คล้ายกับภาพยนตร์ฤดูร้อน แม้ว่าจะมีปัญหาเรื่องภาพกราฟิก ความยาว ยานพาหนะ และความยากของเกมจะได้รับการตอบรับที่ไม่ดีนัก เกมขายได้มากกว่าหนึ่งล้านหน่วยในเวลาสิบสัปดาห์ และเป็นหนึ่งในเกมขายดีระดับแพลตินัมในยุโรป เกมภาคต่อ "" ออกจำหน่ายในปี ค.ศ. 2009 ตามด้วย"" ในปี ค.ศ. 2011 เกมที่สี่ "" จำหน่ายในวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 ภาค"เดรกส์ฟอร์ชูน"ได้จำหน่ายลงเพลย์สเตชัน 4 พร้อมอันภาคต่ออีกสองภาค ในชื่อ"อันชาร์ทิด เดอะนาธานเดรกคอลเลกชัน"
876204#2
อันชาร์ทิด: เดรกส์ฟอร์ชูน
ที่นอกชายฝั่งปานามา นาธาน "เนต" เดรก (โนแลน นอร์ท) นักล่าสมบัติ และเอเลนา ฟิชเชอร์ (เอมิลี โรส) นักข่าว ขุดพบโลงศพของนักสำรวจชาวอังกฤษ เซอร์ ฟรานซิส เดรก บุคคลที่กล่าวกันว่าเป็นบรรพบุรุษของเนต ซึ่งเป็นเจ้าของแหวน (เนตครอบครองอยู่) ที่มีพิกัดบอกจุดที่พบโลงศพนั้น ในโลงศพ ทั้งคู่ไม่พบศพ แต่พบสมุดบันทึกเล่มเล็ก ซึ่งนาธานไม่ยอมให้เอเลนาอ่าน ต่อมา โจรสลัดกลุ่มหนึ่งเข้าจู่โจมเรือของพวกเขา และจุดไฟเผาเรือ ทำลายสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ในสมุดเล่มนั้นและกล้องของเอเลนา หลังจากพาเธอไปจุดปลอดภัยได้ เนตได้พูดคุยส่วนตัวกับวิกเตอร์ "ซัลลี" ซัลลิแวน (ริชาร์ด แม็กกอนาเกิล) เพื่อนเก่าและผู้ให้คำปรึกษา จากเบาะแสที่พบในสมุดบันทึก เขาตั้งทฤษฎีว่าเดรกปลอมการตายเพื่อปกปิดการค้นพบเอลโดราโด เมืองโบราณที่สร้างจากทองคำทั้งหมด ซัลลีซึ่งกำลังมีปัญหาเรื่องเงิน ชักชวนให้เขาช่วยค้นหาเมืองดังกล่าว ทิ้งเอเลนาไว้ที่ท่าเรือ เนื่องจากเกรงว่า รายงานของเธอจะเรียกศัตรู
876204#3
อันชาร์ทิด: เดรกส์ฟอร์ชูน
เนตและซัลลีสะกดรอยที่เดรกทิ้งไว้ถึงโบราณสถานแห่งหนึ่งในลุ่มน้ำแอมะซอน (ในประเทศเปรู) ซึ่งพวกเขาได้รู้ว่าเอลโดราโดไม่ใช่เมือง แต่เป็นรูปปั้นทองคำขนาดยักษ์ ความจริงแล้วเป็นโลงหิน ซึ่งถูกนำมาไว้หลายศตวรรษก่อนกองกิสตาดอร์ของชาวสเปน พวกเขาตามรอยได้จนถึงน้ำตกแห่งหนึ่ง ที่นั่น เขาพบกับเรืออูร้าง จากการค้นหาในเรือพบหน้าที่ขาดไปจากสมุดบันทึก ชี้ไปยังตำแหน่งของรูปปั้นตั้งอยู่ในอดีตอาณานิคมสเปนแห่งหนึ่งบนเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกที่ไม่มีในแผนที่ และมีศพชาวเยอรมันหลายคนที่เห็นได้ชัดว่าถูกข่วนจนตาย
876204#4
อันชาร์ทิด: เดรกส์ฟอร์ชูน
เมื่อเนตออกมาจากเรือ เขาและซัลลีพบกับนักล่าสมบัติอีกคนหนึ่งชื่อ แกเบรียล โรแมน (ไซมอน เทมเพิลแมน) ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของซัลลี โรแมนบังคับเนตให้ส่งหน้ากระดาษที่ขาดไป ซัลลีเข้ามาขัดขวาง โรแมนจึงยิงซัลลีเสียชีวิต โดยมีอาทอก นาวาร์โร (โรบิน แอตคิน ดาวส์) นักโบราณคดีคอยสนับสนุนอยู่ข้าง ๆ ก่อนที่เขาจะฆ่าเนต ขีปนาวุธที่เนตถอดสลักไว้ยิงออกมาโดยบังเอิญ ทำให้เรืออูระเบิด ช่วยเบี่ยงเบนความสนใจของกลุ่มคนร้ายได้นานพอให้เดรกหลบหนีได้ เขาวิ่งไปพบเอเลนาโดยบังเอิญ เธอยอมช่วยเขาตามหารูปปั้น และโดยสารเครื่องบินของซัลลีเดินทางไปยังอาณานิคมเก่า
876204#5
อันชาร์ทิด: เดรกส์ฟอร์ชูน
เครื่องบินถูกยิงตกกลางอากาศ แยกเนตและเอเลนาจากกันขณะที่พวกเขากระโดดร่มชูชีพหนีออกมา เขาตามรอยเธอไปยังป้อมปราการเก่าแห่งหนึ่งที่ถูกยึดโดยโจรสลัดกลุ่มหนึ่ง นำโดยเอดดี ราจา (เจมส์ เซีย) คู่ปรับเก่าของเดรกที่ทำงานให้โรแมน จับเนตขังไว้และสั่งให้เขาช่วยตามหาสมบัติดังกล่าว เอเลนานั่งรถจีปมาถึงและพาเขาออกไปได้ แต่ไม่สามารถหนีคนของเอดดีได้ หลังติดอยู่นาน เนตสามารถขับรถจีปข้ามเหวและลงมายังทะเลสาบรอบท่าเรือของอาณานิคม เนตรู้สึกเหนื่อย ได้รับบาดเจ็บ และเศร้าโศกที่ซัลลีเสียชีวิต เนตตัดสินใจยอมแพ้และกลับบ้าน เอเลนาพยายามโน้มน้าวให้เนตตามหาสมบัติให้พบ และทั้งคู่ร่วมมือกันมาจนถึงศุลกสถานแห่งหนึ่ง ที่นั่น เนตสามารถตามรอยรูปปั้นไปถึงอารามภายในเกาะ ขณะลาดตระเวน เขาพบว่าโรแมนก็พบรูปปั้นแล้วเช่นกันจากความช่วยเหลือของซัลลีที่เข้าใจกันว่าเสียชีวิตแล้ว ขณะพวกเขากำลังไล่ตาม เอเลนาตกสะพานและต้องยอมทิ้งกล้องของเธอเพื่อที่เนตจะได้ช่วยชีวิตเธอได้ เนตตามซัลลีจนทันและกล่าวหาว่าเขาทรยศ แต่ซัลลีเผยว่าเขาแกล้งช่วย และรอดจากกระสุนของโรแมนได้เพราะสมุดบันทึกของเดรกที่ใส่ไว้ที่กระเป๋าเสื้อ ทำให้บาดแผลไม่ร้ายแรง
876204#6
อันชาร์ทิด: เดรกส์ฟอร์ชูน
พวกเขาสามคนฝ่าฟันคนของโรแมนไปจนถึงห้องใต้ดินแห่งหนึ่ง ซึ่งเนตเชื่อว่ามีรูปปั้นฝังอยู่ ขณะเดียวกัน เอดดีที่กำลังหวาดระแวง เตือนโรแมนว่ามีปีศาจกำลังฆ่าคนของพวกเขา แต่โรแมนมองว่าไร้สาระ เนตตรวจสอบในห้องใต้ดินหลังจากกับดักประตูลับทำให้เขาแยกกับซัลลี โชคร้ายที่เนตและเอเลนา หลังจากค้นหาต่อไปโดยไม่มีซัลลี ไม่พบรูปปั้นแต่กลับพบศพของเดรก ซึ่งทิ้งแหวนไว้ (เชื่อว่าเขาไม่เคยพบโลงหินดังกล่าว) สัตว์ประหลาดคล้ายซอมบีกลุ่มหนึ่งเข้ารุมเขาและเพื่อน ๆ ร่วมถึงเอดดีและสมุน ในระหว่างชุลมุน เอดดีและคนของเขาถูกฆ่าตาย เนตและเอเลนายังคงตามหาต่อไปจึงฐานทัพเรือดำน้ำนาซีเก่าที่ถูกสร้างภายในเกาะ ขณะเนตตามหาจดหมายที่เดรกเขียนเปิดเผยความจริงที่ว่า เอลโดราโดมีคำสาปปกป้องไว้ ทำให้นักล่าชาวสเปนและทหารชาวเยอรมันกลายเป็นสัตว์ประหลาด เดรกพยายามหาทางทำลาย แต่สัตว์ประหลาดฆ่าเขาเสียก่อน รูปภาพรูปหนึ่งเผยว่าศพของเดรกเคยอยู่หน้ารูปปั้นก่อนถูกชาวเยอรมันย้ายตัวไป
876204#7
อันชาร์ทิด: เดรกส์ฟอร์ชูน
ขณะเดียวกัน เอเลนาถูกโรแมนจับตัวไป เนตกลับมารวมตัวกับซัลลีได้และตามเขาไปถึงรูปปั้น โรแมนเปิดโลงหินตามคำแนะนำของนาวาร์โร ทำให้เขาสูดเชื้อไวรัสเข้าไป ขณะที่เขากำลังกลายร่าง นาวาร์โรยิงเขาจนตายและสั่งให้คนของเขานำโลงหินไปเพื่อที่เขาจะได้นำไวรัสไปประมูลในตลาดมืด เนตกระโดดไปที่ตาข่ายที่ขนรูปปั้นและผูกกับเฮลิคอปเตอร์ ขณะที่เอเลนาที่ถูกจับตัวอยู่หาทางฆ่าคนขับได้ ทำให้เฮลิคอปเตอร์ตกลงบนเรือขนสินค้าของนาวาร์โร เนตฆ่าคนร้ายที่เหลือและพยายามช่วยชีวิตเอเลนา แต่ถูกนาวาร์โรเข้าจู่โจม หลังจากสู้กันด้วยหมัด เขาดึงเธอออกจากเฮลิคอปเตอร์ได้ ผลักเฮลิคอปเตอร์ตก และพานาวาร์โรที่ขาพันกับเชือกตาข่ายตกทะเลไปด้วย
876204#8
อันชาร์ทิด: เดรกส์ฟอร์ชูน
เวลาผ่านไป ซัลลีขับเรือสปีดโบ๊ตมาถึง เอเลนาสร้างความแปลกใจให้เนตโดยคืนแหวนประจำตระกูลให้เขา และให้เขาสัญญาว่าจะเล่าเรื่องราวทั้งหมดที่เธอขาดตกไป ทั้งคู่กอดกันขณะที่ซัลลีขับเรือออกไปในเวลาพระอาทิตย์ตกดิน
876223#0
หนังหุ้มปลาย
ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์เพศชาย หนังหุ้มปลาย คือส่วนทบแบบสองขั้นของกล้ามเนื้อเรียบ หลอดเลือด เซลล์ประสาท ผิวหนัง และ เยื่อเมือก ที่เป็นส่วนหนึ่งของขององคชาต ทำหน้าที่ปกคลุมและปกป้องส่วนหัวองคชาตและรูปัสสาวะ มันยังสามารถอธิบายว่าเป็นหนังหุ้มปลายองคชาตได้อีกด้วย ในทางกว้างขึ้นทางศัพท์เทคนิคนั้นจะหมายรวมไปถึงหมวกปุ่มกระสัน (Clitoral hood) ในผู้หญิงด้วยด้วย ซึ่งหนังหุ้มปลายนั้นเป็นตัวอ่อนที่ต้นกำเนิดเหมือนกัน เป็นบริเวณเขตเยื่อบุทวารหนักกับผิวหนังที่ปกคลุมไปเส้นประสาทอย่างมากขององคชาต ซึ่งเกิดขึ้นใกล้กับส่วนปลายของหนังหุ้มปลาย หนังหุ้มปลายนั้นสามารถเคลื่อนที่ได้ง่าย ยืดออกได้พอสมควร และทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่นตามธรรมชาติ
876223#1
หนังหุ้มปลาย
โดยปกติ หนังหุ้มปลายของผู้ใหญ่จะสามารถดึงรั้งลงมา (retractable) จากส่วนหัวองคชาตได้ ซึ่งครอบคลุมส่วนหัวทั้งในสถานะอ่อนตัวและแข็งตัว ขึ้นอยู่กับความยาวของหนังหุ้มปลาย เมื่อแรกเกิดหนังหุ้มปลายจะยึดอยู่กับส่วนหัวองคชาต และโดยทั่วไปจะยังไม่สามารถดึงรั้งลงได้ในวัยทารก เมื่อโตขึ้นในวัยเด็กสามารถจึงสามารถดึงรั้งลงมาได้ แต่จากผลสำรวจพบว่า 95% ของผู้ชายสามารถดึงรั้งหนังหุ้มปลายลงมาได้อย่างเต็มที่ขณะโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว การไม่สามารถดึงรั้งหนังหุ้มปลายลงมาได้ในวัยเด็กนั้นไม่ควรถือว่าเป็นปัญหาเว้นแต่มีอาการอย่างอื่น
876223#2
หนังหุ้มปลาย
องค์การอนามัยโลกมีการอภิปรายถึงหน้าที่อย่างแน่นอนของหนังหุ้มปลาย ซึ่งรวมถึง "ทำหน้าที่รักษาความชุ่มชื้นของส่วนหัวขององคชาต ปกป้องการพัฒนาขององคชาตในวัยแรก หรือเพิ่มความความสุขทางเพศเนื่องจากมีตัวรับความรู้สึก"
876223#3
หนังหุ้มปลาย
หนังหุ้มปลายอาจตกอยู่ภายใต้สภาวะทางพยาธิวิทยาจำนวนมาก ส่วนมากเงื่อนไขนั้นเกิดยาก และสามารถรักษาได้ง่าย ในบางกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภาวะเรื้อรัง การรักษาอาจทำได้วิธีการการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ซึ่งเป็นการนำหนังหุ้มปลายองคชาตบางส่วนหรือทั้งหมดออกไป
876223#4
หนังหุ้มปลาย
เมื่อมองจากภายนอก หนังหุ้มปลาย คือ การต่อเนื่องกันของผิวหนังและแท่งองคชาต (Shaft) แต่ด้านใน หนังหุ้มปลาย คือ เยื่อเมือกเหมือนกับที่อยู่ด้านในของเปลือกตาหรือปาก เขตเยื่อบุทวารหนักกับผิวหนังเกิดขึ้นในบริเวณที่ด้านนอกและด้านในของหนังหุ้มปลายมาพบกัน แถบริ้วเป็นบริเวณที่ปกคลุมไปด้วยเนื้อเยื่อเส้นประสาทอย่างมากและอยู่ด้านในส่วนบนสุดของหนังหุ้มปลาย เช่นเดียวกับเปลือกตา หนังหุ้มปลายสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระหลังจากที่มันแยกตัวออกจากส่วนหัวองคชาตแล้ว ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงก่อนหรือในช่วงวัยเริ่มเจริญพันธุ์ โดยหนังหุ้มปลายถูกเชื่อมต่อกับส่วนหัวองคชาตด้วยเส้นสองสลึง
876223#5
หนังหุ้มปลาย
เทย์เลอร์และคณะ (ค.ศ. 1996) รายงานการนำเสนอเกี่ยวกับบัลบอยด์คอร์พัสเซิล (Bulboid corpuscle) และชนิดของปลายประสาทที่เรียกว่าแทคไทล์คอร์พัสเคิล ตามรายงานนั้น ความหนาแน่นของความกว้างในแถบริ้ว (บริเวณของริ้วเยื่อเมือกที่ส่วนปลายของหนังหุ้มปลาย) จะมีมากกว่าบริเวณเยื่อเมือกที่เรียบในบริเวณที่ยาวกว่า ซึ่งมีผลตามอายุ ซึ่งพวกมันจะลดลงหลังจากวัยรุ่น เมซเนอร์คอร์พัสเคิลไม่สามารถแยกได้ในทุกรายบุคคล ส่วนแบตและคณะ ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเมซเนอร์คอร์พัสเคิลที่จำนวนของความแตกต่างไซท์ ประกอบด้วย "ปลายนิ้ว อุ้งมือ ด้านหน้าของแขนท่อนปลาย ฝ่าเท้า ริมฝีปาก หนังหุ้มปลายขององคชาต ด้านหลังของแขนและเท้า" พวกเขาพบว่าดัชนีเมซเนอร์ (Meissner's Index) ที่ต่ำที่สุดในเรื่องความหนาแน่นนั้นอยู่ในหนังหุ้มปลาย และในรายงานยังระบุอีกว่าคอร์พัสเคิลที่ไซท์นี้มีขนาดเล็กทางกายภาพ ซึ่งมีการบันทึกถึงความแตกต่างของรูปร่างด้วย พวกเขาสรุปว่าคุณลักษณะเหล่านี้ถูกพบใน "บริเวณความรู้สึกน้อยของร่างกาย" ในช่วงปลายยุค ค.ศ. 1950 วิงเกิลแมนน์ ชี้ว่าตัวรับค่าบางอย่างนั้นผิดพลาดที่นำมาใช้แยกเมซเนอร์คอร์พัสเคิล
876223#6
หนังหุ้มปลาย
วิทยาลัยแพทย์และศัลยแพทย์แห่งบริติชโคลัมเบีย ได้เขียนระบุเกี่ยวกับหนังหุ้มปลายว่าเป็น "การประกอบด้วยของผิวหนังด้านนอกและเยื่อเมือกด้านในซึ่งอุดมไปด้วยปลายประสาทสัมผัสพิเศษและเนื้อเยื่ออีโรจีนัส (Erogenous tissue)"
876223#7
หนังหุ้มปลาย
แปดสัปดาห์หลังจากการปฏิสนธิ หนังหุ้มปลายเริ่มเจริญขึ้นเหนือหัวขององคชาต และจะปกคลุมอย่างสมบูรณ์เมื่อวัย 16 สัปดาห์ ที่สถานะนี้ หนังหุ้มปลายและส่วนหัวองคชาตแบ่งปันเยื่อบุผิว (ชั้นเยื่อเมือก) ด้วยกัน นั่นทำให้มันรวมเข้าด้วยกัน และจะคงอยู่ไปจนกว่าหนังหุ้มปลายจะแยกออกจากส่วนหัวขององคชาต
876223#8
หนังหุ้มปลาย
ตามที่การศึกษาเมื่อปี 1949 โดยดักลาส แกรดเนอร์ หนังหุ้มปลายโดยทั่วไปจะยังคงถูกรวมเข้ากับส่วนหัวในตอนที่เกิด ในกระบวนการตอนวัยเด็ก มันจะแยกออกจากกันทีละน้อย จากรายงานนั้นจะแตกต่างกันออกไปตามอายุที่หนังหุ้มปลายจะสามารถแยกออกได้ เมื่อปี 2005 ทอร์วาลด์เซนและเมย์ฮอฟฟ์ รายงานว่า 21% ของเด็กชายวัย 7 ปีในการศึกษาของพวกเขาไม่สามารถแยกหนังหุ้มปลายออกได้ และสัดส่วนนี้จะลดลงไป 7% ในวัยเริ่มเจริญพันธุ์ ซึ่งการแยกออกครั้งแรกนั้นเฉลี่ยจะอยู่ที่อายุประมาณ 10.4 ปี แต่รายงานของแกรดเนอร์เมื่อปี 1949 ระบุว่ามีเพียง 10% ของเด็กชายวัย 3 ปีเท่านั้นที่ไม่สามารถแยกหนังหุ้มปลายออกได้ อย่างไรก็ตาม แกรดเนอร์นั้นมีข้อผิดพลาดในเรื่องของการพัฒนาและการแยกออกของหนังหุ้มปลาย รายงานของไรท์ (Wright) เมื่อปี 1994 ได้โต้แย้งในการใช้ความรุนแรงในการแยกหนังหุ้มปลาย ซึ่งควรหลีกเลี่ยงการกระทำนั้น และควรให้ตัวเด็กเองเป็นผู้แยกหนังหุ้มปลายของเขาเองในครั้งแรก ความพยายามที่จะแยกหนังหุ้มปลายอาจก่อให้เกิดความเจ็บปวดและเป็นเหตุแห่งอาการบาดเจ็บได้ ในวัยเด็ก หนังหุ้มปลายโดยมากจะปกคลุมส่วนหัวโดยสมบูรณ์ แต่ในวัยผู้ใหญ่มันอาจไม่เป็นอย่างนั้น Schöberlein (1966) ได้จัดการศึกษาผู้ชายวัยรุ่น 3,000 คนในเยอรมัน และพบว่า 41.9% ยังมีหนังหุ้มปลายปกคลุมบางส่วน และ 8.5% นั้นไม่มีปกคลุมแล้ว ราว ๆ ครึ่งหนึ่งในจำนวนนั้น (4%) หนังหุ้มปลายได้ถอยร่นไปเองตามธรรมชาติโดยปราศจากการศัลยกรรม ในระหว่างการแข็งตัว องศาของการถอยร่นของหนังหุ้มปลายนั้นต่างกันอย่างมาก ในผู้ใหญ่บางคน หนังหุ้มปลายจะยังคงเหลือปกคลุมทั้งหมดหรือบางส่วนของส่วนหัวองคชาต จนกระทั่งมีการถอยร่นด้วยตนเองหรือมีกิจกรรมทางเพศ ความแตกต่างนี้ถูกพิจารณาโดยเฉิงซูเมื่อปี 2011 ในฐานะเงื่อนไขผิดปกติชื่อว่า 'prepuce redundant' ความถี่ของการแยกออกและล้างภายใต้ของหนังหุ้มปลายนั้นแนะนำสำหรับผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีหนังหุ้มปลายยาวหรือหนังหุ้มปลายมากเกินไป เมื่อหนังหุ้มปลายนั้นยาวกว่าองคชาต มันจะไม่ถอยร่นออกไปเองขณะมีการแข็งตัว
876223#9
หนังหุ้มปลาย
มันแสดงให้เห็นว่าการดึงหนังหุ้มปลายโดยใช้มือระหว่างวัยเด็กหรือในวัยผู้ใหญ่ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาตามปกติและดึงหนังหุ้มปลายลงโดยอัตโนมัติ ซึ่งชี้ว่ามีหลายเงื่อนไขที่มีผลต่อหนังหุ้มปลายซึ่งอาจกีดขวางหรือถนอมทางพฤติกรรม ในผู้ชายบางคน ตามที่ Xianze ระบุไว้เมื่อปี 2012 พวกเขาอาจไม่เต็มใจที่ส่วนหัวองคชาตของพวกเขานั้นถูกเปิดออก เพราะว่ารู้สึกไม่สะดวกสบายเมื่อมันถูกรบกวนจากการปะทะกับเสื้อผ้า แม้ว่าความรู้สึกไม่สะดวกสบายส่วนหัวของคชาตตามรายงานจะหายไปภายในเวลาหนึ่งสัปดาห์หลังจากเปิดออก Guochang (2010) รายงานว่าสำหรับคนที่มีหนังหุ้มปลายองคชาตที่คับแน่นจนเกินไปที่จะเปิดออกหรือมีบางสิ่งที่ยืดไว้ ควรหลีกเลี่ยงการเปิดออกเพราะอาจก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บได้
876223#10
หนังหุ้มปลาย
องค์การอนามัยโลกมีการอภิปรายถึงหน้าที่อย่างแน่นอนของหนังหุ้มปลาย ซึ่งรวมถึง "ทำหน้าที่รักษาความชุ่มชื้นของส่วนหัวขององคชาต ปกป้องการพัฒนาขององคชาตในวัยแรก หรือเพิ่มความความสุขทางเพศเนื่องจากมีตัวรับความรู้สึก" หนังหุ้มปลายช่วยให้องคชาตมีผิวหนังเพียงพอเมื่อเกิดการแข็งตัวและขยายออกได้อย่างเต็มรูปร่าง สมาคมเพศวิทยาคลินิกแห่งนอร์ดิก ได้ระบุว่าหนังหุ้มปลาย "ก่อให้เกิดการทำงานตามธรรมชาติเมื่อมีการใช้องคชาตในกิจกรรมทางเพศ"
876235#0
รายนามการแสดงพักครึ่งซูเปอร์โบวล์
การแสดงช่วงพักครึ่งเป็นประเพณีระหว่างเกมอเมริกันฟุตบอลในทุกระดับของการแข่งขัน เป็นการแสดงความบันเทิงในช่วงซูเปอร์โบว์ลซึ่งเป็นเกมชิงแชมป์ประจำปีของเนชันแนลฟุตบอลลีก (NFL) การแสดงช่วงพักครึ่งของซูเปอร์โบว์ลเป็นการแสดงที่ถูกจับตามองมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การแสดงช่วงพักครึ่งของซูเปอร์โบว์ลครั้งที่ 49 โดยนักร้องหญิงชาวอเมริกัน เคที เพร์รี ได้มีการรับชมถึง 118.5 ล้านคนของการออกอากาศโดยรวมที่มียอดการเข้าฉายประมาณ 120.3 ล้านคน ซึ่งเป็นรายการโทรทัศน์ที่มีผู้ชมมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ เอ็นเอฟเออ้างว่าการแสดงช่วงพักครึ่งของซูเปอร์โบว์ลครั้งที่ 51 โดยเลดี้ กาก้า ได้รับการชมดนตรีมากที่สุดทุกช่วงเวลา เป็นจำนวน 150 ล้านคนที่ชมผ่านโทรทัศน์ รวมทั้งผู้ดูที่ไม่ซ้ำกันของการโพสต์วิดีโอของการแสดงช่วงพักครึ่งบนแพลตฟอร์มของลีก และวิดีโอบนสื่อสังคมออนไลน์
876235#1
รายนามการแสดงพักครึ่งซูเปอร์โบวล์
ต่อไปนี้เป็นรายการนักแสดงผู้ผลิตธีมและผู้สนับสนุนสำหรับการแสดงช่วงพักครึ่งของซูเปอร์โบว์ล
876290#0
8 เทพอสูรมังกรฟ้า (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2525)
8 เทพอสูรมังกรฟ้า (อังกฤษ: Demi-Gods And Semi-Devils) เป็นละครโทรทัศน์ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2525 กล่าวถึงเรื่องราวของวรรณกรรมของ กิมย้ง เรื่อง 8 เทพอสูรมังกรฟ้า นำแสดงโดย ไบรอัน เหลียง, ทัง เจิ้นเย่, หวง เย่อหัว, เฉิน อี้ว์เหลียน ออกอากาศทางช่อง TVB ในจีน
876290#1
8 เทพอสูรมังกรฟ้า (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2525)
เรื่องราวเหตุการณ์ในยุคราชวงศ์ซ่งที่ทำศึกรบพุ่งกับแคว้นเหลียว เฉียวฟง จอมยุทธ์หนุ่มผู้เปี่ยมด้วยคุณธรรม ถูกเหล่าคนถ่อยใส่ความว่าเป็น ฆาตกรสังหารรองประมุขพรรคกระยาจกและขุดคุ้ยนำเรื่องชาติกำเนิดมาเปิดโปง จนทำให้เหล่าชาวยุทธ์บางส่วนหลงเชื่อจึงพยายามกดดันให้เฉียวฟงสละตำแหน่งประมุขพรรคกระยาจก เฉียวฟงต้องการล้างมลทินจึงออกเดินทางพยายามสืบหาประวัติเรื่องชาติกำเนิดที่แท้จริงของตนเอง และก็ได้กลับมาล้างมลทินของตนเองได้สำเร็จ
876302#0
8 เทพอสูรมังกรฟ้า (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2540)
8 เทพอสูรมังกรฟ้า (อังกฤษ: Demi-Gods And Semi-Devils) เป็นละครโทรทัศน์ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2540 กล่าวถึงเรื่องราวของวรรณกรรมของ กิมย้ง เรื่อง 8 เทพอสูรมังกรฟ้า นำแสดงโดย เฉิน ฮ่าวหมิน, ฝาน เส้าหวง, หวง เย่อหัว ออกอากาศทางช่อง TVB ในจีน
876302#1
8 เทพอสูรมังกรฟ้า (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2540)
เรื่องราวเหตุการณ์ในยุคราชวงศ์ซ่งที่ทำศึกรบพุ่งกับแคว้นเหลียว เฉียวฟง จอมยุทธ์หนุ่มผู้เปี่ยมด้วยคุณธรรม ถูกเหล่าคนถ่อยใส่ความว่าเป็น ฆาตกรสังหารรองประมุขพรรคกระยาจกและขุดคุ้ยนำเรื่องชาติกำเนิดมาเปิดโปง จนทำให้เหล่าชาวยุทธ์บางส่วนหลงเชื่อจึงพยายามกดดันให้เฉียวฟงสละตำแหน่งประมุขพรรคกระยาจก เฉียวฟงต้องการล้างมลทินจึงออกเดินทางพยายามสืบหาประวัติเรื่องชาติกำเนิดที่แท้จริงของตนเอง และก็ได้กลับมาล้างมลทินของตนเองได้สำเร็จ
876309#0
การปฏิวัติ ค.ศ. 1917–1923
การปฏิวัติ ค.ศ. 1917–1923 เป็นช่วงเวลาแห่งความไม่สงบทางการเมืองและการลุกฮือทั่วโลกด้วยแรงบังดาลใจจากความสำเร็จของการปฏิวัติรัสเซียและความวุ่นวายที่เกิดขึ้นมาจากภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การลุกฮือครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นพวกสังคมนิยมหรือพวกต่อต้านอาณานิคมในธรรมชาติและความล้มเหลวหลายประการ จากทุกการเคลื่อนไหวการปฏิวัติของยุค,การปฏิวัติในปี ค.ศ. 1917–1923 ได้ให้ความหมายเป็นส่วนใหญ่ว่าเป็นเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดมาจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในทวีปยุโรป
876344#0
รัฐบาเซิล-ชตัดท์
รัฐบาเซิล-ชตัดท์ () เป็น 1 ใน 26 รัฐของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ รัฐแห่งนี้มีสถานะเป็นนครรัฐ ตั้งอยู่ชายแดนทางเหนือติดกับประเทศเยอรมนีและประเทศฝรั่งเศส ด้วยพื้นที่เพียง 37 ตารางกิโลเมตรทำให้รัฐแห่งนี้เป็นรัฐขนาดเล็กที่สุดในสวิตเซอร์แลนด์ รัฐแห่งนี้มีประชากรรวมทั้งสิ้น 198,290 ในปี 2017 ในจำนวนนี้เป็นชาวต่างด้าว 56,106 คน
876344#1
รัฐบาเซิล-ชตัดท์
แม้จะเป็นรัฐเล็กๆ แต่พื้นที่บริเวณเมืองบาเซิลถือเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจอันดับสองของประเทศสวิตเซอร์แลนด์รองจากซือริชและตามด้วยเจนีวา อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และเวชภัณฑ์มีบทบาทอย่างมากต่อเศรษฐกิจของรัฐนี้ นอกจากนี้ เมืองบาเซิลยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ ซึ่งมีสมาชิกเป็นธนาคารกลางของกว่า 60 ประเทศ
876346#0
วาเลเรียน พลิกจักรวาล
วาเลเรียน พลิกจักรวาล (, ) เป็นภาพยนตร์แนวผจญภัยบันเทิงคดีวิทยาศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส ออกฉายเมื่อ ค.ศ. 2017 เขียนบทและกำกับโดยลุก แบซง และอำนวยการสร้างร่วมกันโดยเบซงและภรรยา Virginie Besson-Silla ภาพยนตร์เรื่องนี้ดัดแปลงจากหนังสือการ์ตูนชุดแนวบันเทิงคดีวิทยาศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศสชื่อเรื่อง "Valérian and Laureline" เรื่องโดย Pierre Christin และภาพโดย Jean-Claude Mézières มี Dane DeHann รับบทเป็น Velerian และ Cara Delevingne รับบทเป็น Laureline ร่วมกับนักแสดงสมทบ Clive Owen, Rihanna, Ethan Hawke, Herbie Hancock, Kris Wu และ Rutger Hauer
876351#0
ธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ
ธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ () หรือ BIS เป็นสถาบันการเงินระหว่างประเทศอันมีธนาคารกลางของประเทศต่างๆเป็นหุ้นส่วน มีหน้าที่ดูแลระบบเงินตราระหว่างประเทศ เป็นนายธนาคารของบรรดาธนาคารกลาง ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือและเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างธนาคารกลางและสถาบันทางการเงินระหว่างประเทศต่างๆ มีธนาคารกลางกว่า 60 แห่งทั่วโลกเป็นสมาชิกสถาบันนี้ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และมีสำนักงานผู้แทน 2 แห่งในฮ่องกงและเม็กซิโกซิตี
876351#1
ธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ
ผู้บริหารสูงสุดของ BIS คือตำแหน่งประธานกรรมการและผู้อำนวยการ โดยจะถือเอาผู้ว่าการธนาคารกลางของประเทศสมาชิกหนึ่งมาดำรงตำแหน่งนี้ และจะดำรงตำแหน่งในบีไอเอ็สไปจนกระทั่งเขาพ้นจากการเป็นผู้ว่าการธนาคารกลางในประเทศของตน ประธานกรรมการและผู้อำนวยการบีไอเอ็สคนปัจจุบันคือ เยินส์ ไวด์มันน์ (Jens Weidmann) ผู้ว่าการธนาคารธนาคารกลางเยอรมัน
876351#2
ธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกใน BIS เมื่อค.ศ. 2000 ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยถือครองหุ้นใน BIS เป็นจำนวน 3,211 หุ้น (0.6% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด) และในฐานะผู้ถือหุ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับเชิญให้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมทุก 2 เดือนที่เมืองบาเซิล
876351#3
ธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ
ธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1930 โดยข้อตกลงระหว่างรัฐบาลระหว่าง เยอรมนี, เบลเยียม, ฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร, อิตาลี, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา และสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อแรกก่อตั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นองค์กรที่ดูแลการเรียกร้องค่าปฏิกรรมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจากเยอรมนี ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรเรียกร้องไม่ให้ธนาคารแห่งนี้รับฝากสินทรัพย์ใดๆจากนาซีเยอรมนี โดยอ้างว่าทองคำและสินทรัพย์เหล่านั้นเป็นของที่ถูกยึดมาจากชาวยิวและธนาคารกลางในประเทศที่ถูกยึดครองโดยเยอรมัน อย่างไรก็ตาม จากการที่ธนาคารแห่งนี้มีกรรมการบริหารเป็นนักอุตสาหกรรมและนายทุนชาวเยอรมัน ทำให้ธนาคารแห่งนี้รับฝากเงิน ทองคำ และสินทรัพย์จากนาซีเยอรมนีจำนวนมหาศาลโดยไม่สนใจข้อเรียกร้องของฝ่ายสัมพันธมิตร
876351#4
ธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ
การประชุมเบรตตันวูดส์ของฝ่ายสัมพันธมิตรใน ค.ศ. 1944 ผู้แทนนอร์เวย์ได้เสนอหลักฐานว่าธนาคารแห่งนี้มีความผิดร่วมฐานอาชญากรรมสงคราม ผู้แทนนอร์เวย์เสนอให้ยุบธนาคารนี้และนำสินทรัพย์ของธนาคารชำระหนี้เป็นค่าปฏิกรรมสงคราม ซึ่งที่ประชุมก็มีมติเห็นชอบตามนั้นโดยไม่คัดค้านใดๆ อย่างไรก็ตาม หลังการอสัญกรรมของประธานาธิบดีสหรัฐ แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 แผนการนี้ก็จางหายไป รัฐบาลของประธานาธิบดีคนใหม่ แฮร์รี เอส. ทรูแมน เห็นควรให้คงธนาคารแห่งนี้ไว้ ในที่สุด แผนการยุบธนาคารแห่งนี้ก็เป็นอันแท้งไปในค.ศ. 1948
876351#5
ธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ
เมื่อ BIS ถูกวางตัวให้เป็นสถาบันธนาคารกลาง ได้กำหนดพันธกิจไว้ดังนี้:
876351#6
ธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ
ธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ มีสมาชิกเป็นธนาคารกลาง 60 แห่ง ในจำนวนนี้เป็นธนาคารกลาง 35 แห่งในทวีปยุโรป, 13 แห่งในทวีปเอเชีย, 5 แห่งในทวีปอเมริกาใต้, 2 แห่งในโอเชียเนีย และ 2 แห่งในแอฟริกา
876379#0
รัฐของประเทศสวิตเซอร์แลนด์
สมาพันธรัฐสวิสประกอบด้วย 26 รัฐ ( หรือ ) ซึ่งในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึง 18 ต่างเคยเป็นรัฐเอกราช มีเขตแดน, กองทัพ และสกุลเงินเป็นของตนเอง จนกระทั่งมีการสถาปนาสมาพันธรัฐสวิสขึ้นในค.ศ. 1848 เมื่อแรกสถาปนาประเทศประกอบด้วย 25 รัฐ แต่มีการแยกบางส่วนของรัฐแบร์นออกมาจัดตั้งเป็นรัฐฌูว์ราในค.ศ. 1979
876379#1
รัฐของประเทศสวิตเซอร์แลนด์
รัฐส่วนใหญ่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาทางการ แต่ก็จะมีบางรัฐในภูมิภาครอม็องดีซึ่งประชากรส่วนมากใช้ภาษาฝรั่งเศส และในรัฐตีชีโนประชากรส่วนมากใช้ภาษาอิตาลี
876403#0
รัฐเจนีวา
สาธารณรัฐแห่งรัฐเจนีวา (; ) เป็น 1 ใน 26 รัฐของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งอยู่ในภูมิภาครอม็องดีทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ มีพรมแดนเกือบทั้งหมดติดกับประเทศฝรั่งเศส ประชากรเกือบทั้งหมดในรัฐนี้จึงพูดภาษาฝรั่งเศส
876403#1
รัฐเจนีวา
รัฐแห่งนี้ในอดีตเคยเป็นรัฐอิสระซึ่งดัชชีซาวอยหมายจะผนวกให้เป็นส่วนหนึ่งของตน ทำให้รัฐแห่งนี้หันไปเป็นพันธมิตรกับสมาพันธรัฐสวิสและประกาศตนเองเป็น "สาธารณรัฐเจนีวา" พร้อมกับการสถาปนารัฐธรรมนูญขึ้นในค.ศ. 1514 ต่อมารัฐแห่งนี้ถูกยึดครองโดยฝรั่งเศสในช่วงสงครามนโปเลียน หลังสงครามนโปเลียนสิ้นสุด รัฐแห่งนี้จึงตัดสินใจเข้าร่วมกับสมาพันธรัฐสวิสในค.ศ. 1815 กลายเป็นรัฐที่ 22 ของสมาพันธรัฐสวิสและมีสถานะเป็น "สาธารณรัฐในสมาพันธรัฐสวิส" นับตั้งแต่นั้น
876413#0
มาเลนคายาเวรา
มาเลนคายาเวรา (, "Malenkaya Vera"), เป็นภาพยนตร์จากค่าย กอร์กีฟิล์มสตูดิโอ เข้าฉายในปี 1988 กำกับโดยผู้กำกับภาพยนตร์ชาวรัสเซีย Vasili Pichul ภาพยนตร์เป็นภาพยนตร์ที่มีผู้ชมมากที่สุดในสหภาพโซเวียต ประจำปี 1988 โดยมีจำนวนผู้ชมกว่า 55 ล้านคน
876413#1
มาเลนคายาเวรา
ภาพยนตร์ได้รับรางวัล 6 รางวัล และได้รับการเสนอชื่ออีก 8 รางวัล โดยรางวัลที่เด่นที่สุดคือ "รางวัลนักแสดงยอดเยี่ยม" ของ Natalya Negoda ที่งาน Nika Awards ในปี 1989 ผู้กำกับภาพยนตร์ Vasili Pichul ได้รับรางวัล the Special Jury Prize ในงาน เทศกาลภาพยนตร์มอนทรีออล ประจำปี 1988 และรางวัล FIPRESCI Prize ในงาน เทศกาลภาพยนตร์เวนิส ประจำปี 1988
876477#0
ยามเมื่อแสงดับลา
ยามเมื่อแสงดับลา () คือ ภาพยนตร์สารคดีขนาดสั้น ปี พ.ศ. 2557 กำกับโดย วรรจธนภูมิ ลายสุวรรณชัย ในนามของกลุ่มอายดร็อปเปอร์ฟิลล์ โดยเป็นงานที่ผลิตให้แก่หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เพื่อรำลึกถึง "ความสำคัญในการชมภาพยนตร์ร่วมกัน" ในโรงภาพยนตร์แบบสแตนด์อโลนในประเทศไทย ที่ค่อย ๆ ล่มสลายและถูกแทนที่ด้วยโรงภาพยนตร์แบบมัลติเพล็กซ์
876477#1
ยามเมื่อแสงดับลา
ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอเนื้อหาผ่านบทสัมภาษณ์เกี่ยวกับความทรงจำและประสบการณ์ที่มีต่อโรงภาพยนตร์สแตนด์อโลนของผู้กำกับภาพยนตร์และนักวิจารณ์ภาพยนตร์ชาวไทย ร่วมกับภาพของโรงภาพยนตร์ร้างในกรุงเทพฯ และฟุตเตจภาพยนตร์เก่า ซึ่งต่อมาวรรจธนภูมิได้นำเนื้อหาของภาพยนตร์เรื่องนี้ไปพัฒนาให้กลายเป็นภาพยนตร์สารคดีเชิงทดลองขนาดยาวเรื่อง "นิรันดร์ราตรี" (พ.ศ. 2560)
876477#2
ยามเมื่อแสงดับลา
ภาพยนตร์เรื่องนี้ผลิตโดยกลุ่มอายดร็อปเปอร์ฟิลล์ กำกับและถ่ายทำโดย วรรจธนภูมิ ลายสุวรรณชัย โดยเป็นงานที่ผลิตให้แก่หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เพื่อรำลึกถึงวัฒนธรรมการชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์สแตนด์อโลน ที่เคยรุ่งเรืองและเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนไทยส่วนหนึ่งในอดีต ก่อนที่โรงภาพยนตร์แบบมัลติเพล็กซ์ตามห้างสรรพสินค้าจะขยายตัวมาครองพื้นที่โรงภาพยนตร์กระแสหลักในประเทศไทย และทำให้โรงภาพยนตร์แบบสแตนด์อโลนจำนวนมากต้องปิดตัวไปในที่สุด
876477#3
ยามเมื่อแสงดับลา
สำหรับรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาในภาพยนตร์เรื่องนี้ ผู้สร้างเลือกที่จะดำเนินเรื่องด้วยภาพสถาปัตยกรรมและเศษซากต่าง ๆ ภายในโรงภาพยนตร์ร้างในกรุงเทพฯ ที่บันทึกมาจากโรงภาพยนตร์ปารีสและโรงภาพยนตร์อุดมสุข พร้อมไปกับเสียงคำให้สัมภาษณ์ของผู้กำกับภาพยนตร์และนักวิจารณ์ภาพยนตร์ชาวไทยรวม 3 คน ได้แก่ สมเกียรติ วิทุรานิช, กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน และมโนธรรม เทียมเทียบรัตน์ เกี่ยวกับความทรงจำและประสบการณ์ที่แต่ละคนมีต่อการชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์สแตนด์อโลนในอดีต รวมถึงทัศนคติที่มีต่อการเปลี่ยนผ่านจากยุคโรงภาพยนตร์สแตนด์อโลนสู่โรงภาพยนตร์แบบมัลติเพล็กซ์
876477#4
ยามเมื่อแสงดับลา
ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับเลือกให้เข้าฉายในโปรแกรมพิเศษของเทศกาลภาพยนตร์สารคดีนานาชาติศาลายา ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558 และเข้าฉายในงานภาพยนตร์สั้นมาราธอน ของเทศกาลภาพยนตร์สั้น ครั้งที่ 19 เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 นอกจากนั้นยังได้รับเลือกให้ฉายในโปรแกรมภาพยนตร์สั้น "ฟิล์มไวรัสไวด์ไทป์ 2014" ที่จัดโดยกลุ่มฟิล์มไวรัสร่วมกับห้องสมุดเดอะรีดดิงรูม เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ด้วย
876482#0
ธนาคารประชาชนจีน
ธนาคารประชาชนจีน ( "จงกั๋วเหรินหมินหยินหาง") เป็นธนาคารกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีอำนาจในการดูแลนโยบายการเงินและกำกับสถาบันการเงินในจีนแผ่นดินใหญ่ ในปี ค.ศ. 2017 ธนาคารประชาชนจีนถือเป็นธนาคารกลางที่ถือครองทรัพย์สินมากที่สุดในโลก
876482#1
ธนาคารประชาชนจีน
ธนาคารแห่งนี้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1948 ในสมัยนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล จากการรวมกันระหว่างสามธนาคารคือ ธนาคารเหอเป่ย์, ธนาคารเปย์ไห่ ธนาคารกสิกรซีเป่ย์ เมื่อแรกก่อตั้งมีที่ทำการตั้งอยู่ที่เมืองฉือเจียจวงในมณฑลเหอเป่ย์ และได้ย้ายที่ทำการไปยังกรุงปักกิ่งในค.ศ. 1949 โดยทำหน้าที่เป็นทั้งธนาคารพาณิชย์และธนาคารกลางควบคู่กันไปจนกระทั่งมีการปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในค.ศ. 1978 จึงมีการแยกธนาคารพาณิชย์ออกจากธนาคารกลาง และจัดตั้งเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐสี่แห่ง
876482#2
ธนาคารประชาชนจีน
ผู้ว่าการธนาคารประชาชนจีนจะถูกแต่งตั้งโดยการเสนอชื่อของนายกรัฐมนตรีจีนโดยผ่านความเห็นชอบจากสมัชชาประชาชนแห่งชาติ หากอยู่ในช่วงนอกสมัยการประชุม คณะกรรมการประจำสมัชชาฯจะทำหน้าที่เห็นชอบแทน การปลดผู้ว่าการธนาคารออกจากตำแหน่งก็ใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน เมื่อได้ผู้ว่าการธนาคารแล้ว ผู้ว่าการธนาคารจะเป็นผู้เสนอชื่อรองผู้ว่าการให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง
876484#0
หน้าต่างสีชมพู ประตูสีฟ้า
หน้าต่างสีชมพู ประตูสีฟ้า เป็นละครโทรทัศน์แนวดราม่า-โรแมนติก-คอมเมดี ผลิตโดย บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด โดยสร้างจากนวนิยายที่มีชื่อเดียวกันกับชื่อเรื่องของคุณ ชมัยภร แสงกระจ่าง ได้ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์แล้ว 1 ครั้ง
876484#1
หน้าต่างสีชมพู ประตูสีฟ้า
ครั้งแรกใน พ.ศ. 2546 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 กำกับการแสดงโดย ฉัตรชัย สุรสิทธิ์ บทโทรทัศน์โดย ช่อมะลิ นำแสดงโดย จุฑาภัทร เหล่าธรรมทัศน์, อคัมย์สิริ สุวรรณศุข, พงษ์สิรี บรรลือวงศ์ โดยออกอากาศทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 20.15 - 22.20 น. ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม – 8 มิถุนายน พ.ศ. 2546
876495#0
พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 4 แห่งปรัสเซีย
พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 4 () ทรงเป็นกษัตริย์แห่งปรัสเซียระหว่างค.ศ. 1840 ถึง 1861 เป็นพระราชโอรสองค์โตในพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 3 กับพระนางลูอีเซอแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์ พระองค์เคยรับราชการทหารในกองทัพปรัสเซีย และเข้ามีส่วนร่วมในสงครามปลดแอกจากฝรั่งเศสในค.ศ. 1814
876495#1
พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 4 แห่งปรัสเซีย
เมื่อพระราชบิดาสวรรคตในค.ศ. 1840 พระองค์ในฐานะมกุฎราชกุมารก็ขึ้นสืบราชสมบัติปรัสเซียต่อ และทรงได้ขึ้นชื่อว่าเป็นกษัตริย์ผู้ทรงศิลปะจินตนิยม ทรงมีความสนใจในด้านสถาปัตยกรรมและการจัดสวน ตลอดจนเป็นองค์อุปถัมภ์ของศิลปินมากชื่อเสียงอย่าง คาร์ล ฟรีดริช ชิงเคิล, เฟลิกซ์ เมนเดิลส์โซห์น เป็นต้น ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการก่อสร้างอาคารต่างๆมากมายในเบอร์ลินและพ็อทซ์ดัมจนแล้วเสร็จ อาทิ มหาวิหารโคโลญ เป็นต้น พระองค์ทรงเป็นนักปกครองที่มีหัวอนุรักษนิยม ในค.ศ. 1849 พระองค์ทรงปฏิเสธรับตำแหน่งจักรพรรดิเยอรมัน (เยอรมนีที่ไม่รวมออสเตรีย) ที่เสนอโดยสมัชชาแห่งชาติในนครแฟรงเฟิร์ต
876495#2
พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 4 แห่งปรัสเซีย
พระองค์ประชวรด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และเสด็จสวรรคตในค.ศ. 1861 โดยไร้พระราชบุตร ทำให้พระอนุชาของพระองค์ได้ขึ้นสืบราชสมบัติต่อเป็นพระเจ้าวิลเฮ็ล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ซึ่งต่อมาพระอนุชาองค์นี้สามารถรวมชาติเยอรมันสำเร็จและขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมัน
876560#0
ระบำฝรั่งคู่
ระบำฝรั่งคู่ เป็นการรำตามจังหวะทำนอง ที่เรียกกันว่า "เพลงฝรั่งรำเท้า" อันประกอบด้วยเพลง ฝรั่งรำเท้า ตะเขิ่ง เจ้าเซ็น เพลงเร็ว เพลงฉิ่ง จีนรัว จีนรำพัด และจีนถอน ซึ่งพระประดิษฐ์ไพเราะ(ครูมี) เป็นผู้แต่งและกรมหลวงรณเรศได้ประดิษฐ์ท่ารำขึ้น จึงมีท่ารำไทยลีลาฝรั่ง แขก และจีนระคนกัน ผู้แสดงต้องเป็นผู้รำงาม มีฝีมือและความสามารถ ทั้งฝ่ายพระและนาง นิยมแสดงในละครในเรื่องอิเหนา ตอนอุณากรรณลงสวน และละครเรื่องอุณรุท ตอนอุณรุทเข้าห้องนางอุษา
876570#0
เมนทอล
เมนทอล () เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรเคมีคือ CHO มีลักษณะเป็นของแข็งผลึกสีขาวหรือไม่มีสี สามารถสังเคราะห์ได้ ในธรรมชาติพบในมินต์, มินต์ป่า, เปปเปอร์มินต์ในรูป (−)-menthol เมนทอลมีคุณสมบัติในการกระตุ้นตัวรับความรู้สึกเย็น TRPM8 ใช้เป็นยาบรรเทาปวดและยาชาเฉพาะที่
876585#0
พิสัยการได้ยิน
พิสัยการได้ยิน () หมายถึงพิสัยความถี่เสียงที่มนุษย์หรือสัตว์อื่น ๆ ได้ยิน แม้ก็อาจหมายถึงระดับความดังเสียงได้ด้วยเหมือนกัน มนุษย์ปกติจะได้ยินในพิสัยความถี่ 20-20,000 เฮิรตซ์ (Hz) แต่ก็จะต่างไปตามบุคคลพอสมควรโดยเฉพาะเสียงความถี่สูง และการสูญความไวเสียงความถี่สูงอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามอายุก็เป็นเรื่องปกติ ความไวต่อความถี่ต่าง ๆ แม้ในบุคคลก็ยังไม่เท่ากันอีกด้วย (ดูหัวข้อ เส้นชั้นความดังเสียงเท่า) มีสัตว์หลายอย่างที่สามารถได้ยินเสียงเกินพิสัยของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น โลมาและค้างคาวสามารถได้ยินเสียงสูงจนถึง 100,000 Hz ช้างสามารถได้ยินเสียงต่ำจนถึง 14-16 Hz ในขณะที่วาฬบางชนิดสามารถได้ยินเสียงต่ำในน้ำจนถึง 7 Hz
876585#1
พิสัยการได้ยิน
การตรวจการได้ยินบ่อยครั้งจะใช้ผัง audiogram ซึ่งแสดงเส้นขีดเริ่มเปลี่ยนที่บุคคลได้ยินเทียบกับของผู้ที่ได้ยินเป็นปกติ เป็นกราฟแสดงเสียงดังน้อยสุดที่ได้ยินตลอดพิสัยความถี่เสียงที่สัตว์ชนิดนั้นได้ยิน
876585#2
พิสัยการได้ยิน
การทดสอบการได้ยินทางพฤติกรรมหรือทางสรีรภาพ สามารถใช้ตรวจหาจุดเริ่มเปลี่ยนของการได้ยินในทั้งมนุษย์และสัตว์อื่น ๆ เมื่อทดสอบมนุษย์ จะมีการปล่อยเสียงที่ความถี่และความดังหนึ่ง ๆ เมื่อผู้รับการทดสอบได้ยินเสียง ก็จะยกมือหรือกดปุ่ม เสียงดังน้อยที่สุดที่ได้ยินก็จะบันทึกเอาไว้
876585#3
พิสัยการได้ยิน
การตรวจสอบต่างกันบ้างในเด็ก คืออาจแสดงการได้ยินโดยให้หันศีรษะหรือใช้ของเล่น คือสามารถสอนเด็กให้ทำอะไรบางอย่างเมื่อได้ยินเสียง เช่น ใส่ตุ๊กตาในเรือ เทคนิคคล้ายกันสามารถใช้ทดสอบสัตว์ โดยมีอาหารเป็นรางวัลเมื่อตอบสนองต่อเสียง
876585#4
พิสัยการได้ยิน
ส่วนการทดสอบทางสรีรภาพไม่จำเป็นต้องให้ผู้รับการทดสอบตั้งใจตอบสนอง ข้อมูลการได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่าง ๆ โดยหลักมาจากการทดสอบทางพฤติกรรม ความถี่เสียงจะวัดเป็นเฮิรตซ์ (Hz) ซึ่งก็คือ จำนวนรอบคลื่นเสียงต่อวินาที
876585#5
พิสัยการได้ยิน
ในมนุษย์ คลื่นเสียงจะวิ่งเข้าไปในหูผ่านรูหูด้านนอกเข้าไปถึงแก้วหู โดยการบีบอัด (compression) แล้วขยายออก (rarefaction) ของคลื่นเสียงจะเป็นแรงสั่นแก้วหู ทำให้เกิดแรงสั่นผ่านกระดูกหูในหูชั้นกลาง (คือ กระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน) ผ่านของเหลวในคอเคลีย แล้วในที่สุดก็จะสั่นขนภายในคอเคลียที่เรียกว่า Stereocilia ขนจะปกคลุมเยื่อในคอเคลียจากฐานไปถึงยอด โดยส่วนที่ได้การกระตุ้นและระดับการกระตุ้นจะชี้ถึงคุณสมบัติของเสียง แล้วเซลล์ขนก็จะส่งต่อข้อมูลผ่านโสตประสาท (auditory nerve) ไปยังสมองเพื่อประมวลผล
876585#6
พิสัยการได้ยิน
พิสัยการได้ยินที่มักอ้างอิงอยู่ระหว่าง 20 Hz-20 kHz ในภาวะอุดมคติของห้องทดลอง มนุษย์อาจได้ยินเสียงความถี่ต่ำถึง 12 Hz และความถี่สูงถึง 28 kHz (> 100 dB SPL) แม้ว่าความดังที่เป็นขีดเริ่มเปลี่ยนจะเพิ่มอย่างเป็นมุมหักที่ความถี่ 15 kHz ในผู้ใหญ่ (ดูรูป) มนุษย์ไวเสียงที่ความถี่ 2,000-5,000 Hz มากที่สุด คือสามารถได้ยินเสียงที่ค่อยที่สุดในช่วงความถี่นั้น (ดูรูป) พิสัยการได้ยินของแต่ละคนจะขึ้นอยู่กับสภาพทั่วไปของหูและระบบประสาท
876585#7
พิสัยการได้ยิน
พิสัยจะลดลงในช่วงอายุ ปกติเริ่มตั้งแต่ราวอายุ 8 ขวบที่ได้ยินเสียงสูงน้อยลง หญิงจะเสียการได้ยินน้อยกว่าผู้ชาย และเกิดขึ้นทีหลังกว่า ชายจะเสียการได้ยินเสียงความถี่สูงราว 5-10 เดซิเบลมากกว่าหญิงก่อนถึงอายุ 40 ปี แผนภูมิ audiogram ของการได้ยินในมนุษย์สามารถสร้างโดยใช้มีเตอร์วัดเสียง (audiometer) ซึ่งปล่อยเสียงที่ความถี่และความดังต่าง ๆ ให้ผู้รับการทดสองได้ยินผ่านหูฟังสวมศีรษะที่ปรับเทียบมาตรฐานแล้ว ความดังจะถ่วงน้ำหนักด้วยความถี่โดยเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐานที่เรียกว่า minimum audibility curve (เส้นโค้งการได้ยินต่ำสุด) ซึ่งหมายให้เป็นตัวแทนของการได้ยินปกติ ขีดเริ่มเปลี่ยนการได้ยิน (threshold of hearing) จะกำหนดตามเส้น 0 phon (threshold) ดังที่ปรากฏบนเส้นชั้นความดังเสียงเท่า เท่ากับความดันเสียงต่ออากาศที่ 20 ไมโครปาสกาล ที่ความถี่ 1 kHz ซึ่งเป็นเสียงดังน้อยสุดที่มนุษย์วัยเยาว์ปกติจะได้ยิน (เท่ากับเสียงยุงบินห่างประมาณ 3 เมตร) แต่มาตรฐาน ANSI จะกำหนดสูงกว่า 1 kHz
876585#8
พิสัยการได้ยิน
เนื่องจากมาตรฐานต่าง ๆ ใช้ระดับอ้างอิงที่ต่างกัน ก็จะทำให้ audiogram ตามมาตรฐานต่าง ๆ กัน เช่น มาตรฐาน ASA-1951 ใช้ความดัง 16.5 dB SPL ที่ 1 kHz, เทียบกับ มาตรฐานอันกำหนดทีหลังคือ ANSI-1969/ISO-1963 ซึ่งใช้ความดังที่ 6.5 dB SPL ที่ 1 kHz และโดยปกติให้เพิ่ม 10 dB สำหรับคนสูงอายุ
876585#9
พิสัยการได้ยิน
ไพรเมตหลายชนิดโดยเฉพาะที่ตัวเล็ก ๆ สามารถได้ยินเสียงความถี่ต่ำกว่าระดับที่มนุษย์ได้ยิน ลิง/ลีเมอร์แอฟริกา "Galago senegalensis" (Senegal bushbaby) สามารถได้ยินในพิสัย 92 Hz-65 kHz และลีเมอร์หางแหวน "Lemur catta" (ประเทศมาดากัสการ์) ในพิสัย 67 Hz-58 kHz ในบรรดาไพรเมต 19 ชนิดที่ตรวจสอบ ลิงกังญี่ปุ่นมีพิสัยกว้างที่สุดคือระหว่าง 28 Hz-34.5 kHz เทียบกับมนุษย์ที่ 31 Hz-17.6 kHz
876585#10
พิสัยการได้ยิน
แมวมีหูดีและสามารถได้ยินความถี่เสียงในพิสัยที่กว้างมาก สามารถได้ยินเสียงสูงกว่ามนุษย์และสุนัขโดยมาก คือได้ยินเสียงระหว่าง 55 Hz จนถึง 79 kHz แมวไม่ได้ใช้ความสามารถได้ยินเหนือเสียงเพื่อการสื่อสาร แต่น่าจะสำคัญในการล่าสัตว์ เพราะสัตว์ฟันแทะหลายสปีชีส์สื่อสารด้วยความถี่เหนือเสียง
876585#11
พิสัยการได้ยิน
หูของแมวยังไวมากโดยดีเป็นระดับต้น ๆ ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และไวที่สุดในพิสัย 500 Hz-32 kHz ความไวยังเพิ่มขึ้นอาศัยใบหูใหญ่ข้างนอกที่เคลื่อนไหวได้ ซึ่งทั้งขยายเสียงและช่วยตรวจจับทิศทางของแหล่งเสียง
876585#12
พิสัยการได้ยิน
สมรรถภาพการได้ยินของสุนัขจะขึ้นอยู่กับพันธุ์และอายุ แต่ปกติจะอยู่ที่ราว ๆ 67 Hz-45 kHz แต่เหมือนกับมนุษย์ สุนัขบางพันธุ์มีพิสัยที่ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น เช่น เยอรมันเชเพิร์ดและพูเดิลแคระ
876585#13
พิสัยการได้ยิน
เมื่อได้ยินเสียง สุนัขจะขยับใบหูไปทางแหล่งเสียงเพื่อให้ได้ยินดีที่สุด เพื่อจะทำอย่างนี้ได้ หูสุนัขจึงมีกล้ามเนื้ออย่างน้อย 18 มัด ซึ่งทำให้เอียงหูหมุนหูได้ รูปร่างของหูยังช่วยให้ได้ยินเสียงดีขึ้น หลายพันธุ์บ่อยครังมีหูตั้งตรงหรือตั้งโค้ง ซึ่งช่วยส่งและขยายเสียง
876585#14
พิสัยการได้ยิน
เพราะสุนัขได้ยินเสียงสูงกว่ามนุษย์ จึงมีโลกการได้ยินที่ต่างจากมนุษย์ เสียงที่มนุษย์ฟังแล้วรู้สึกแค่ดังอาจมีเสียงความถี่สูงที่ไล่สุนัขไป นกหวีดที่ส่งเสียงอัลตราโซนิกที่บางครั้งเรียกว่านกหวีดสุนัข สามารถใช้ฝึกสุนัข เพราะสุนัขตอบสนองต่อเสียงระดับนี้ดีกว่า ในธรรมชาติ สุนัขจะใช้การได้ยินเพื่อล่าสัตว์และหาอาหาร ส่วนสุนัขบ้านมักใช้เพื่อเฝ้าบ้านเพราะได้ยินเสียงดีกว่ามนุษย์
876585#15
พิสัยการได้ยิน
ค้างคาวได้วิวัฒนาการให้ไวเสียงมากเพื่อหากินเวลากลางคืน พิสัยความถี่เสียงจะขึ้นอยู่กับชนิดต่าง ๆ บางชนิดอาจได้ยินความถี่ต่ำสุดถึง 1 kHz และสูงสุดถึง 200 kHz แต่ชนิดที่ได้ยินถึง 200 kHz จะไม่ได้ยินเสียงที่ต่ำกว่า 10 kHz ได้ดี และพิสัยที่ค้างคาวได้ยินเสียงดีสุดจะแคบกว่า ราว ๆ 15 kHz-90 kHz
876585#16
พิสัยการได้ยิน
ค้างคาว "เห็น" วัตถุรอบ ๆ ตัวและหาเหยื่อด้วยการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อน (echolocation) คือจะส่งเสียงที่ดังมากสั้น ๆ แล้วประเมินเสียงที่สะท้อนกลับมา ค้างคาวสามารถล่าแมลงที่บินอยู่ในอากาศ เพระาแมลงเหล่านี้จะสะท้อนเสียงของค้างคาวกลับเบา ๆ ชนิดและขนาดของแมลงสามารถกำหนดด้วยคุณสมบัติเสียงและเวลาที่ใช้สะท้อนเสียง ค้างคาวใช้เสียงร้องสองชนิด คือ ร้องที่เสียงความถี่เดียว (constant frequency, CF) และร้องเสียงที่ต่ำลงเรื่อย ๆ (frequency modulated, FM)
876585#17
พิสัยการได้ยิน
เสียงร้องแต่ละอย่างจะแสดงข้อมูลต่าง ๆ CF สามารถใช้ตรวจจับว่ามีวัตถุหรือไม่ ส่วน FM ใช้ประเมินระยะทางจากวัตถุ เสียงสะท้อนจาก FM และ CF จะบอกค้างคาวถึงขนาดและระยะทางไปถึงเหยื่อ พัลส์เสียงที่ค้างคาวส่งจะยาวเพียงไม่กี่มิลลิวินาที ความเงียบในหว่างจะใช้เป็นเวลาฟังหาข้อมูลที่กลับมากับเสียงสะท้อน หลักฐานแสดงว่า ค้างคาวใช้ความสูงต่ำของเสียงที่เปลี่ยนไปเนื่องจากปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ เพื่อประเมินความเร็วการบินของตนเทียบกับวัตถุที่อยู่รอบ ๆ ตัว
876585#18
พิสัยการได้ยิน
ข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งขนาด รูปร่าง และลักษณะเนื้อวัตถุ จะใช้กำหนดสิ่งแวดล้อมและตำแหน่งของเหยื่อ ค้างคาวจึงสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวแล้วแล้วล่าเหยื่อได้
876585#19
พิสัยการได้ยิน
หนูหริ่งมีหูที่ใหญ่เทียบกับร่างกาย สามารถได้ยินเสียงสูงกว่ามนุษย์ คือในพิสัยความถี่ระหว่าง 1 kHz-70 kHz แต่ก็ไม่สามารถได้ยินเสียงที่ต่ำกว่ามนุษย์
876585#20
พิสัยการได้ยิน
หนูสื่อสารใช้เสียงความถี่สูงที่บางส่วนมนุษย์ไม่สามารถได้ยิน เสียงร้องให้ช่วยของลูกหนูอาจอยู่ที่ 40 kHz หนูใช้ความสามารถส่งเสียงนอกพิสัยสัตว์อื่น คือมันสามารถเตือนเพื่อน ๆ ถึงอันตรายโดยไม่ต้องแสดงตำแหน่งของตัวเองกับสัตว์ล่าเหยื่อ ส่วนเสียงร้องอี๊ด ๆ ที่มนุษย์ได้ยินมีความถี่ต่ำกว่า ที่หนูใช้เพื่อส่งเสียงไกล ๆ เพราะเสียงความถี่ต่ำสามารถไปได้ไกลกว่าเสียงสูง
876585#21
พิสัยการได้ยิน
การได้ยินเป็นประสาทสัมผัสสำคัญเป็นที่สองของนก โดยมีหูเป็นรูปกรวยเพื่อรวบรวมเสียง หูจะอยู่ข้างหลังและใต้ตาเล็กน้อย ปกคลุมด้วยขนอ่อน ๆ (auricular - ขนบริเวณหู) เพื่อช่วยป้องกัน รูปร่างของหัวยังมีผลต่อการได้ยิน เช่น ในนกเค้า ตาที่กลมเว้า (facial disc) จะช่วยรวบรวมเสียงส่งไปทางหู
876585#22
พิสัยการได้ยิน
นกไวความถี่เสียงที่สุดระหว่าง 1 kHz-4 kHz แต่พิสัยกว้างสุดคร่าว ๆ คล้ายกับของมนุษย์ โดยมีจุดจำกัดสูงหรือต่ำกว่าขึ้นอยู่กับชนิด "นกไวความเปลี่ยนแปลงในเสียงสูงเสียงต่ำ คุณภาพเสียง และจังหวะมาก และใช้ความต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อรู้จักนกตัวอื่น ๆ แม้จะอยู่ในฝูงเสียงดัง นกยังใช้เสียง, เพลง และการร้องเรียกต่าง ๆ ในสถานการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นการรู้จักเสียงต่าง ๆ จึงสำคัญเพื่อกำหนดว่าเป็นสัญญาณเตือนภัยเกี่ยวกับสัตว์ล่า การประกาศอาณาเขต หรือสัญญาณเสนอแบ่งอาหาร"
876585#23
พิสัยการได้ยิน
"นกบางชนิด โดยเฉพาะ "Steatornis caripensis" (oilbird) ก็กำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อนเหมือนกับค้างคาวเหมือนกัน นกเหล่านี้อยู่ในถ้ำและใช้เสียงร้องจ๊อก ๆ แจ๊ก ๆ กริ๊ก ๆ ที่เร็วเพื่อกำหนดทิศทางในถ้ำมืดซึ่งแม้แต่การเห็นที่ไวก็อาจยังไม่พอ"
876585#24
พิสัยการได้ยิน
ปลามีพิสัยการได้ยินที่แคบถ้าเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยมาก (ดูรูป) ปลาต่าง ๆ ได้ยินไม่เท่ากัน เช่น ปลาทองและปลาหนังมี Weberian apparatus (โครงสร้างที่เชื่อมกระเพาะลมกับระบบการได้ยิน) และมีพิสัยการได้ยินที่กว้างกว่าปลาทูน่า
876585#25
พิสัยการได้ยิน
สิ่งแวดล้อมในน้ำมีคุณสมบัติทางกายภาพที่ต่างจากบนบกมาก การได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในน้ำจึงต่างจากสัตว์บก ความแตกต่างในระบบการได้ยินจึงทำให้มีการศึกษาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในน้ำอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในโลมา
876585#26
พิสัยการได้ยิน
ระบบการได้ยินของสัตว์บกจะทำงานโดยการถ่ายโอนคลื่นเสียงผ่านช่องหู ช่องหูของแมวน้ำ สิงโตทะเลและวอลรัส ก็เหมือนกับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบนบกและอาจทำงานแบบเดียวกัน แต่สำหรับวาฬและโลมา ก็ยังไม่ชัดเจนว่าเสียงส่งไปถึงหูได้อย่างไร แม้งานศึกษาบางงานจะยืนยันว่า เสียงส่งไปถึงหูผ่านเนื้อเยื่อของขากรรไกรล่าง วาฬมีฟันจะกำหนดที่ตั้งวัตถุเช่นเหยื่อด้วยเสียงสะท้อน วาฬกลุ่มนี้ยังแปลกเพราะมีหูที่แยกจากกะโหลกหัวและอยู่ห่างกันมาก ซึ่งช่วยกำหนดทิศทางของเสียง อันเป็นองค์ประกอบสำคัญของการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อน งานศึกษาต่าง ๆ พบว่า โลมามีคอเคลียในหูชั้นในสองแบบ แบบ I จะพบในโลมาแม่น้ำแอมะซอนและพอร์พอยส์อ่าวจอดเรือ ("Phocoena phocoena" หรือ harbour porpoise) ซึ่งใช้เสียงความถี่สูงมากเพื่อกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อน โดยพอร์พอยส์อ่าวจอดเรือ จะส่งเสียงเป็นสองแถบที่ 2 kHz และเหนือ 110 kHz คอเคลียของโลมานี้ได้ปรับตัวโดยเฉพาะเพื่อให้ได้ยินเสียงความถี่สูงมาก โดยคอเคลียที่ฐานจะแคบมาก
876585#27
พิสัยการได้ยิน
ส่วนแบบ II จะพบในสปีชีส์วาฬที่อยู่ห่างจากฝั่งและในน้ำลึก เช่น โลมาปากขวด ซึ่งส่งเสียงในความถี่ที่ต่ำกว่า ตามปกติที่ 75-150,000 Hz โดยเสียงความถี่สูงจะใช้กำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อน และเสียงความถี่ต่ำมักสัมพันธ์กับปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เพราะสามารถส่งไปได้ไกล ๆ
876585#28
พิสัยการได้ยิน
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในน้ำใช้เสียงหลากหลาย โลมาสามารถสื่อสารด้วยเสียงกริ๊กและเสียงหวีด ส่วนวาฬใช้เสียงครางหรือเสียงเป็นพัลส์ที่มีความถี่ต่ำ สัญญาณแต่ละอย่างจะมีความถี่ต่าง ๆ กัน และสัญญาณต่าง ๆ จะใช้สื่อสารสิ่งต่าง ๆ กัน โลมาจะตรวจจับและระบุวัตถุด้วยการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อน และใช้เสียงหวีดในกลุ่มสังคมเพื่อระบุโลมาแต่ละตัวและเพื่อสื่อสาร
876598#0
Gene flow
ในสาขาพันธุศาสตร์ประชากร gene flow (การไหลของยีน, การโอนยีน) หรือ gene migration เป็นการโอนความแตกต่างของยีน (genetic variation) ของประชากรกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง ถ้าอัตราการโอนยีนสูงพอ กลุ่มประชากรทั้งสองก็จะพิจารณาว่ามีความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) ที่เหมือนกัน และดังนั้น จึงเท่ากับเป็นกลุ่มเดียวกัน มีการแสดงแล้วว่า ต้องมี "ผู้อพยพหนึ่งหน่วยต่อหนึ่งรุ่น" เป็นอย่างน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มประชากรเบนออกจากกันทางพันธุกรรมเนื่องจากการเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง (genetic drift) กระบวนการนี้เป็นกลไกสำคัญเพื่อโอนความหลากหลายของยีนในระหว่างกลุ่มประชากรต่าง ๆ หน่วยที่ "อพยพ" เข้ามาหรือออกจากกลุ่มประชากรอาจเปลี่ยน ความถี่อัลลีล (allele frequency, สัดส่วนของสมาชิกกลุ่มประชากรที่มีรูปแบบหนึ่งเฉพาะของยีน) ซึ่งก็จะเปลี่ยนการแจกแจงความหลากหลายของยีนระหว่างกลุ่มประชากร "การอพยพ" อาจเพิ่มรูปแบบยีนใหม่ ๆ ให้กับสปีชีส์หรือประชากรกลุ่ม ๆ หนึ่ง อัตราการโอนที่สูงสามารถลดความแตกต่างของยีนระหว่างสองกลุ่มและเพิ่มภาวะเอกพันธุ์ เพราะเหตุนี้ การโอนยีนจึงเชื่อว่าจำกัด การเกิดสปีชีสใหม่ (speciation) เพราะรวมยีนของกลุ่มต่าง ๆ และดังนั้น จึงป้องกันพัฒนาการความแตกต่างที่อาจนำไปสู่การเกิดสปีชีสใหม่ มีปัจจัยต่าง ๆ ต่ออัตราการโอนยีนข้ามกลุ่มประชากร อัตราคาดว่าจะต่ำในสปีชีส์ที่กระจายแพร่พันธุ์หรือเคลื่อนที่ไปได้ในระดับต่ำ ที่อยู่ในที่อยู่ซึ่งแบ่งออกจากกัน ที่มีกลุ่มประชากรต่าง ๆ อยู่ห่างกัน และมีกลุ่มประชากรเล็ก