text
stringlengths
0
9.8k
คำว่าเสนาธิปไตยในภาษาอังกฤษ ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยเซอร์โรเบิร์ต ฟิล์มเมอร์ เมื่อค.ศ. 1652 ด้วยการประสมคำในภาษากรีกว่า "stratos" ที่แปลว่ากองทัพ กับ "kratos" ที่แปลว่าการปกครอง รวมกันเป็น "Stratocracy"
การปกครองโดยกลุ่มชนผู้สูงอายุ
การปกครองโดยกลุ่มชนผู้สูงอายุ หรือเคยมีนักวิชาการเสนอคำว่า ชราธิปไตย เป็นระบอบคณาธิปไตยรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีผู้ชราเป็นสมาชิกส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดของภาคการเมือง โครงสร้างทางการเมืองของหลายประเทศ ยิ่งสมาชิกหรือรอบครัวของชนชั้นปกครองมีอายุมากขึ้น ก็จะมีอำนาจมากขึ้น ทำให้กลุ่มคนผู้มีความชราที่สุดได้ครองตำแหน่งที่มีอำนาจที่สุด ในหลายสังคม กลุ่มผู้ครองอำนาจอาจไม่มีตำแหน่งผู้นำอย่างเป็นทางการ แต่กลับมีอิทธิพลครอบงำผู้นำที่อยู่ในตำแหน่งอย่างเป็นทางการ โดยสรุป ขราธิปไตยคือสังคมที่ตำแหน่งผู้นำถูกสงวนไว้แก่ผู้ชรา
แนวคิดในการให้ผู้ชราเป็นผู้ครองอำนาจปรากฎอยู่ในหลายวัฒนธรรมตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ดังคำกล่าวอันโด่งดังของเพลโตที่ว่า "ปกครองคือผู้ชรา ยอมตามคือผู้เยาว์" หนึ่งตัวอย่างของสังคมชราธิปไตยคือนครรัฐสปาร์ตา ซึ่งถูกปกครองโดย "เยรูเซีย" (Gerousia) อันเป็นสภานิติบัญญัติที่ประกอบด้วยผู้มีอายุเกินกว่าหกสิบปี และมีวาระการดำรงตำแหน่งตลอดชีพ
Stratocracy
Gerontocracy
มิสอินเตอร์เนชันแนลควีน 2011
เหตุการณ์รถไฟขนส่งสินค้าชนรถบัสคณะกฐิน
อิงเงอบอร์กแห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์
อิงเงอบอร์ก อีริคสด็อทเทอร์ (ราว ค.ศ. 1244 - 24/26 มีนาคม ค.ศ. 1287) ทรงเป็นเจ้าหญิงเดนมาร์ก พระนางได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ามักนุสที่ 6 แห่งนอร์เวย์ จึงได้เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์ ต่อมาทรงดำรงเป็นสมเด็จพระพันปีหลวง และทรงมีบทบาทสำคัญทางการเมืองในช่วงที่พระราชโอรสคือ พระเจ้าอีริคที่ 2 แห่งนอร์เวย์ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
พระราชประวัติ.
เจ้าหญิงอิงเงอบอร์กเป็นพระราชธิดาในพระเจ้าอีริคที่ 4 แห่งเดนมาร์กกับจัตตาแห่งแซกโซนี เจ้าหญิงมีพระชนมายุเพียง 6 พรรษาในช่วงที่พระราชบิดาถูกลอบปลงพระชนม์ สมเด็จพระพันปีหลวงจัตตา พระราชมารดาได้เสด็จกลับแซกโซนีและเสกสมรสใหม่กับบูร์ชาดที่ 8 เคานท์แห่งเคอร์ฟูร์ต-โรเซินบูร์ก เจ้าหญิงอิงเงอบอร์ก พร้อมพระเชษฐภคินีและพระขนิษฐาอีก 2 พระองค์ ต้องประทับในราชสำนักของพระเจ้าคริสตอฟเฟอร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก ผู้เป็นสมเด็จอา และสมเด็จพระราชินีมาร์เกเรเธ ซัมบีเรีย พระมเหสีของพระองค์ เจ้าหญิงทั้งสี่เป็นทายาทสืบที่ดินมากมายในเดนมาร์ก ซึ่งจะนำไปสู่การต่อสู้เพื่อเรียกร้องมรดกคืนของพระนางอิงเกอบอร์กซึ่งเป็นสิทธิที่พระนางควรได้รับจากพระราชบิดาที่ถูกปลงพระชนม์ จะทำให้นอร์เวย์เกิดความขัดแย้งกับเดนมาร์กเป็นระยะเวลาหลายทศวรรษต่อมา
เจ้าหญิงอิงเงอบอร์กได้รับสัญญาการเสกสมรสจากคณะสำเร็จราชการเดนมาร์ก ที่จะให้เจ้าหญิงเสกสมรสกับเจ้าชายมักนุส องค์รัชทายาทในพระเจ้าโฮกุนที่ 4 แห่งนอร์เวย์ เจ้าหญิงอิงเงอบอร์กเสด็จมาถึงเมืองทึนแบร์ในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1261 หลังจากเสด็จกลับมาจากการอบรมสั่งสอนของกษัตริย์โฮกุนในอารามที่เมืองฮอร์เซนส์ ในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1261 พระนางได้เสกสมรสกับเจ้าชายมักนุสที่เมืองบาร์เกิน เจ้าชายมักนุสและเจ้าหญิงอิงเงอบอร์กทรงได้รับการสวมมงกุฎทันทีหลังพิธีเสกสมรส เจ้าชายมักนุสทรงได้รับดินแดนศักดินารีฟีลเคอเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ การเสกสมรสครั้งนี้มีการระบุว่าทั้งสองพระองค์ทรงมีความสุข
ในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1263 พระเจ้าโฮกุนที่ 4 แห่งนอร์เวย์เสด็จสวรรคตขณะทรงสู้รบกับพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งสกอตแลนด์ในกรณีพิพาทหมู่เกาะเฮบริดีส และทำให้เจ้าชายมักนุสได้เป็นพระมหากษัตริย์นอร์เวย์ ในขณะที่ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระราชินี พระนางอิงเงอบอร์กไม่ทรงมีส่วนร่วมทางการเมืองมากนัก พระโอรสองค์ใหญ่ 2 พระองค์ คือ เจ้าชายโอลาฟ (ค.ศ. 1262 - 15 มีนาคม ค.ศ. 1267) และเจ้าชายมักนุส (ค.ศ. 1264) สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ แต่พระราชโอรสองค์เล็กทั้งสองพระองค์ได้เป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อมาคือ พระเจ้าอีริคที่ 2 แห่งนอร์เวย์และพระเจ้าโฮกุนที่ 5 แห่งนอร์เวย์
ในปีค.ศ. 1280 พระนางทรงตกพุ่มหม้าย สมเด็จพระพันปีหลวงอิงเงอบอร์กทรงเป็นผู้นำประเทศคนสำคัญในช่วงที่กษัตริย์อีริคที่ 2 ยังทรงพระเยาว์ แม้ว่าพระนางจะไม่ทรงดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อย่างเป็นทางการ อิทธิพลทางการเมืองของพระนางมีเพิ่มมากขึ้นเมื่อพระราชโอรสทรงบรรลุนิติภาวะใน ค.ศ. 1283 พันธมิตรทางการเมืองหลักของพระนางคือ อัลฟ์ เออลิงส์สัน ซึ่งเป็นพระญาติของกษัตริย์มักนุสที่ 6 พระสวามีของพระนางและดำรงตำแหน่งผู้ว่าการบอร์การ์ซิสเซลซึ่งปัจจุบันคือ เอิตโฟลด์
ในช่วงรัชกาลของพระเจ้าอีริคที่ 5 แห่งเดนมาร์ก พระญาติของพระนาง สมเด็จพระพันปีหลวงอิงเงอบอร์กทรงเริ่มมีกรณีพิพาทในเรื่องพระราชมรดกของพระนาง ซึ่งพระนางไม่ทรงเคยได้รับเลย ความบาดหมางครั้งนี้สร้างความเกลียดชังกันระหว่างนอร์เวย์และสันนิบาตฮันซาในเยอรมัน และความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับเดนมาร์ก ขุนนางหลายคนในเดนมาร์ก รวมถึงเคานท์จาค็อบแห่งฮัลลันด์ ได้เข้าอยู่ฝ่ายพระนางเพื่อต่อต้านเดนมาร์ก แต่สมเด็จพระพันปีหลวงอิงเงอบอร์กกลับสิ้นพระชนม์เสียก่อนที่เรื่องพิพาทนี้สิ้นสุด
โรงพยาบาลสตรีและศูนย์สูติกรรมเพรนทิซ
โรงพยาบาลสตรีและศูนย์สูติกรรมเพรนทิซ เป็นอดีตโรงพยาบาลในวิทยาเขตดาวน์ทาวน์ชิคาโกของโรงพยาบาลนอร์ธเวสเทิร์นเมมอเรียล มหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น ในเขตสตรีทเทอร์วิลล์ เนียร์นอร์ธไซด์ของชิคาโก
โรงพยาบาลถูกทุบและแทนที่ด้วยโรงพยาบาลสตรีเพรนทิซราวปี 2013-2014
สถาปัตยกรรม.
อาคารสถาปัตยกรรมบรูทัลลิสต์ ผลงานออกแบบโดยสถาปนิก เบอร์แทรนด์ โกลด์เบิร์ก มีลักษณะเป็นอาคารควอเตอร์ฟอยล์คอนกรีตเก้าชั้น ประกอบหน้าต่างรูปวงรี และส่วนโพเดียมสูงห้าชั้นที่คานกันอยู่
อาคารใช้งานเป็นศูนย์สูติกรรม (แผนกสูติกรรม/คลอดบุตรของโรงพยาบาล) โดยมีสถานีพยาบาลตั้งอยู่ตรงใจกลางและวอร์ดผู้ป่วยในโลบ (lobes) ทั้งสี่โลบของอาคาร การออกแบบนี้ช่วยร่นระยะทางระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยในวอร์ดลง
ด้วยรูปทรงของอาคารที่แปลกตา วิศวกรโครงสร้าง วิลเลียม เอฟ. เบเคอร์ เคยชื่นชมอาคารนี้ว่า "เป็นตัวอย่างชิ้นเดียวในโลกของ[อาคาร]แบบนี้"
การทุบทำลายและความพยายามอนุรักษ์.
ในเดือนกันยายน 2012 คณะกรรมการจุดสนใจในชิคาโก (Chicago Landmarks Commission) ระบุว่าจะจัดการรับฟังประชาพิจารณ์เกี่ยวกับอาคารในปีเดียวกัน และในเดือนพฤศจิกายน 2012 คณะกรรมการปฏิเสธการขึ้นทะเบียนอาคารเป็นจุดสนใจของเมือง (landmark designation)
ในปลายเดือนพฤศจิกายน 2012 ศาลแขวงเทศมณฑลคุก (Cook County Circuit Court) โดยทนายความนีล คอเฮิน (Neil Cohen) มีคำสั่งให้คณะกรรมการพิจารณาขั้นตอนการขึ้นทะเบียนอาคารใหม่ ส่งผลให้ในเวลานั้นไม่สามารถขอรับใบอนุญาตการทำลายอาคารจากท้องถิ่นได้
ในปี 2013 มหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์นประการว่าได้รับใบอนุมัติการทำลายอาคาร ทรัสต์เพื่อการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์แห่งชาติ (National Trust for Historic Preservation) บันทึกว่าอาคารนี้เป็นหนึ่งในสิบโบราณสถานที่หายไปในปี 2013
ในเดือนตุลาคม 2013 มีการปล่อยวิดีโอสารคดีความยาวแปดนาทีเกี่ยวกับความพยายามที่จะปกป้องอาคารนี้
การทำลายอาคารเสร็จสิ้นในเดือนตุลาคม 2014
Old Prentice Women's Hospital Building
บาลเฟรินทาวเวอร์
บาลเฟรินทาวเวอร์ เป็นอาคารที่อยู่อาศัยความสูง 26 ชั้นในย่านพอพพล่าร์ ทาวเวอร์ฮามเลทส์ ลอนดอน สร้างด้วยสถาปัตยกรรมบรูทัลลิสต์ และเป็นส่วนหนึ่งของบราวน์ฟีลด์เอสเตท (Brownfield Estate) บ้านสังคมสงเคราะห์ของรัฐบาล ตั้งอยู่ติดกับชริสพ์สตรีทมาร์เก็ต อาคารเป็นผลงานออกแบบโดย แอร์เนอ โกลด์ฟิงเงอร์ ในปั 1963 ให้กับสภามณฑลลอนดอน สร้างขึ้นในปี 1965–67 โดยสภาเกรทเทอร์ลอนดอน และได้รับการขึ้นทะเบียนในปี 1996 (เกรด II*, จากเดิมเกรด II) อาคารมีความคล้ายคลึงในทางรูปแบบกับอาคารเทรลลิคทาวเวอร์ของโกลด์ฟิงเงอร์ซึ่งสร้างขึ้นในภายหลัง
Balfron Tower
Ingeborg of Denmark, Queen of Norway
Altay Prefecture
แอร์แวนด์เคนอร์
แอร์แวนด์เคนอร์ เป็นเมืองและเมืองหลักในอำเภอแอร์แวนด์เคนอร์ เทศมณฑลออบอดอน จังหวัดฆูเซสถาน ประเทศอิหร่าน จากสำมะโน พ.ศ. 2549 เมืองนี้มีประชากร 9,761 คนใน 1,897 ครัวเรือน
Arvandkenar
โฆย์
โฆย์ (; , ) เป็นเมืองและเมืองหลักในเทศมณฑลโฆย์ จังหวัดอาเซอร์ไบจานตะวันตก ประเทศอิหร่าน เมืองนี้มีชื่อเล่นว่าเมืองแห่งดอกทานตะวันแห่งอิหร่าน จากสำมะโน พ.ศ. 2549 เมืองนี้มีประชากร 178,708 คน และมีประชากรใน พ.ศ. 2555 ประมาณ 200,985 คน ประชากรในเมืองมีทั้งชาวอาเซอร์ไบจานและชาวเคิร์ด ศาสนาหลักคือศาสนาอิสลามนิกายชีอะฮ์และซุนนี
เมืองนี้เคยมีประวัติศาสตร์ยาวนาน โดยเคยถูกอาณาจักรมีเดียครอบครองเป็นเวลานาน และเป็นศูนย์กลางสำคัญของชาวคริสต์
ภูมิอากาศ.
การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินจัดให้เมืองนี้อยู่ในสภาพภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทรายเขตอบอุ่น (BSk)
จังหวัดของประเทศจีน
เขตการปกครองระดับจังหวัด เป็นหน่วยการปกครองของประเทศจีนระดับที่สองรองจากมณฑล มีทั้งหมด 339 แห่ง แบ่งเป็น 7 จังหวัด, 299 นครระดับจังหวัด, 30 จังหวัดปกครองตนเอง และ 3 เหมิงหรือแอมัก (จังหวัดของมองโกเลียใน)
ประเภทของเขตการปกครองระดับจังหวัด.
จังหวัด.
จังหวัดเป็นหน่วยการปกครองย่อยรองลงมาจากเขตการปกครองระดับมณฑล
คณะกรรมการการปกครอง เป็นสำนักงานสาขาทางการปกครองที่มีระดับเทียบเท่ากับกระทรวง และถูกส่งมาประจำอยู่ในจังหวัดโดยคณะปกครองของมณฑล หัวหน้าคณะปกครองของจังหวัด เรียกว่า กรรมการปกครองจังหวัด ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะปกครองของมณฑล แทนที่จะใช้สภาประชาชนในท้องถิ่น คณะกรรมการสภาประชาชนประจำมณฑลจะส่งคณะกรรมการประจำจังหวัดไปกำกับดูแลคณะปกครองของจังหวัด และไม่สามารถเลือกตั้งหรือปลดคณะปกครองของจังหวัดได้ คณะทำงานจังหวัดของคณะกรรมการสภาที่ปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีน (CPPCC) ประจำมณฑล เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการ CPPCC ประจำจังหวัด ซึ่งหมายความว่าคณะทำงานจังหวัดของ CPPCC เป็นสาขาของคณะกรรมการ CPPCC ประจำมณฑล ไม่ใช่หน่วยงานที่แยกเป็นเอกเทศ เช่นเดียวกับคณะกรรมการ CPPCC ประจำมณฑล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการ CPPCC ระดับชาติ
คำว่า จังหวัด เดิมมาจากคำว่า ( "เต้า") ซึ่งอยู่ในระดับระหว่างมณฑลและอำเภอในสมัยราชวงศ์ชิง ในปี 1928 รัฐบาลของสาธารณรัฐจีนได้ยกเลิกเต้า ทำให้อำเภออยู่ภายใต้การปกครองของมณฑลโดยตรง แต่หลังจากนั้นไม่นานก็พบว่าไม่สามารถทำได้เนื่องจากบางมณฑลมีหลายร้อยอำเภอ ด้วยเหตุนี้ ในปี 1932 มณฑลต่าง ๆ จึงถูกแบ่งออกเป็นจังหวัดอีกครั้ง และได้มีการจัดตั้งสำนักงานการปกครองส่วนภูมิภาคขึ้น
จนถึงช่วงเวลาหนึ่ง จังหวัดถือได้ว่าเป็นเขตการปกครองระดับจังหวัดประเภทหนึ่งที่พบได้ทั่วไป ในปัจจุบัน จังหวัดส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนสถานะมาเป็นนครระดับจังหวัด และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยประเทศจีนมีเขตการปกครองที่เรียกว่าจังหวัดเหลืออยู่เพียง 7 จังหวัด
นครระดับจังหวัด.
นครระดับจังหวัด (地级市 พินอิน: dìjíshì) เป็นเทศบาลนครที่ได้รับสถานะจังหวัดและสิทธิ์ในการปกครองอำเภอโดยรอบ ในทางปฏิบัติ นครระดับจังหวัดนั้นมีเนื้อที่ใหญ่เหมือนกับเขตการปกครองระดับจังหวัดประเภทอื่น ๆ และไม่ตรงกับความหมายสากลของคำว่า "นคร" กล่าวคือ ไม่ได้หมายความว่าจะมีลักษณะความเป็นเมืองทั้งพื้นที่
นครระดับจังหวัดเป็นเขตการปกครองระดับจังหวัดที่พบมากที่สุดในจีนแผ่นดินใหญ่ในปัจจุบัน
จังหวัดปกครองตนเอง.
จังหวัดปกครองตนเอง (; "จื้อจื้อโจว") เป็นพื้นที่ที่มีประชากรเป็นชนกลุ่มน้อย หรือเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชนกลุ่มน้อยอย่างมีนัยสำคัญ แต่จำนวนประชากรส่วนใหญ่ในจังหวัดปกครองตนเองทั้งหมดถูกครอบงำโดยชาวจีนฮั่น ชื่อทางการของจังหวัดปกครองตนเองจะประกอบด้วยชื่อชนชาติของชนกลุ่มน้อยที่มีประชากรมากที่สุดในพื้นที่นั้น บางแห่งก็ตั้งชื่อคู่กัน 2 ชนชาติ หรือ 3 ชนชาติก็มีแต่พบได้น้อย ตัวอย่างเช่น ชนชาติคาซัค ก็จะเรียกว่า "คาซัคจื้อจื้อโจว"
จังหวัดปกครองตนเองแบ่งออกเป็นเขตการปกครองระดับอำเภอ เช่นเดียวกับเขตการปกครองระดับจังหวัดประเภทอื่น ๆ แต่มีข้อยกเว้น คือ จังหวัดปกครองตนเองชนชาติคาซัค อีหลี จะมี 2 จังหวัดที่อยู่ภายใต้การปกครองของตน
ตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จังหวัดปกครองตนเองไม่สามารถยุบเลิกได้ อย่างไรก็ตาม เคยมีการยุบจังหวัดปกครองตนเอง 2 แห่ง เพื่อจัดตั้งมณฑลใหม่ เช่น จังหวัดปกครองตนเองชนชาติหลีและเหมียว ไห่หนาน ถูกยุบเพื่อจัดตั้งมณฑลไหหลำในปี 1988 และจังหวัดปกครองตนเองชนชาติถู่เจียและเหมียว เฉียนเจียง ถูกยุบเพื่อจัดตั้งเทศบาลนครปกครองโดยตรงฉงชิ่งในปี 1997
Hanyu Pinyin
Khoy
แอบบีเซนต์จอห์น (คอลเลจวิลล์)
แอบบีเซนต์จอห์น เป็นอารามเบเนดิกตินในคอลเลจวิลล์ รัฐมินนิโซตา สหรัฐ แอบบีก่อตั้งขึ้นโดยคณะนักบวชจากเซนต์วินเซนต์อาร์คแอบบีในเพนซิลเวเนียเมื่อปี 1856 แอบบีนี้เป็นหนึ่งในแอบบีเบเนดิกตินที่ใหญ่ที่สุดในตะวันตก มีนักบวชประจำอยู่ 133 คน คุณพ่อยอห์น คลาสเซน (Right Reverend Fr. John Klassen, OSB) เป็นเจ้าอาวาสคนที่สิบและคนปัจจุบัน
โรวเรียนที่ตั้งขึ้นของแอบบีต่อมาเติบโตขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์นในปี 1883 อาคารจำนวน 17 หลังที่สร้างระหว่างปี 1868 ถึง 1959 ในพื้นที่ของแอบบีและมหาวิทยาลัยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น[[National Register of Historic Places|โบราณสถานแห่งชาติ]ในชื่อ เขตประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยและแอบบีเซนต์จอห์น (St. John's Abbey and University Historic District)
อาคารแอบบีเป็นผลงานออกแบบของสถาปนิกเบาเฮาส์ [[Marcel Breuer|มาร์เซล บรูเออร์]]
อ้างอิง.
[[หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในรัฐมินนิโซตา]]
[[หมวดหมู่:โบสถ์คริสต์ในสหรัฐ]]
Saint John's Abbey, Collegeville
Prefectures of China
วอลเลย์บอลหญิงไทยแลนด์ลีก 2021-22
วอลเลย์บอลหญิงไทยแลนด์ลีก 2021-22 หรือ เอสโคล่า วอลเลย์บอลหญิงไทยแลนด์ลีก 2564 โดยครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 17 ของการแข่งขัน ซึ่งมีทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 8 ทีม
การตัดสินลำดับจากผลการแข่งขัน.
ในการแข่งขันหากผลว่ามีผลเท่ากันจะตัดสินตามลำดับดังนี้
เลกแรก.
ตารางแข่งขัน.
สัปดาห์ที่ 1.
สนามแข่งขัน: เอ็มซีซี ฮอลล์ เดอะมอลล์ บางกะปิ กรุงเทพมหานคร
สนามกีฬาชาห์อาลัม
สโมสรฟุตบอลนครราชสีมา ห้วยแถลง ยูไนเต็ด ในฤดูกาล 2560
การแข่งขันฟุตบอลของนครราชสีมา ห้วยแถลง ยูไนเต็ด ประจำปี พ.ศ. 2560 เป็นการเข้าร่วมแข่งขันในไทยลีก 4 เป็นครั้งแรก จากซื้อสิทธิ์ในการลงแข่งขันจากสโมสรฟุตบอลพัทยา ซิตี้
สโมสรฟุตบอลนครราชสีมา ยูไนเต็ด ในฤดูกาล 2561
สโมสรฟุตบอลนครราชสีมา ยูไนเต็ด ในฤดูกาล 2562
สมาคมฟุตบอลเซอลาโงร์
สโมสรฟุตบอลห้วยแถลง เอฟซี ในฤดูกาล 2559
การแข่งขันฟุตบอลของห้วยแถลง เอฟซี ประจำปี พ.ศ. 2559
ย่านบางแค
ย่านบางแค เป็นย่านที่ตั้งอยู่บริเวณเขตต่อเมืองตะวันตกของกรุงเทพมหานคร แต่เดิมย่านบางแคตั้งอยู่ในเขตการปกครองของเขตภาษีเจริญ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2540 ได้มีการเปลี่ยนแปลงจัดตั้งเขตใหม่เรียกว่า เขตบางแค ทำให้ย่านบางแคตั้งอยู่บนรอยต่อของ 2 เขต คือ เขตบางแค (แขวงบางแคและแขวงบางแคเหนือ) กับเขตภาษีเจริญ (แขวงบางหว้าและแขวงบางด้วน) อาณาเขตทิศเหนือจรดแนวคลองบางจาก ทิศใต้จรดคลองภาษีเจริญและคลองบางแค ทิศตะวันออกจรดคลองบางหว้า และทิศตะวันตกจรดถนนวงแหวนรอบนอก มีพื้นที่โดยประมาณ 4.024 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,515 ไร่
ประวัติ.
ตั้งถิ่นฐาน.
ภายหลังจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับรัฐบาลอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2398 รัฐบาลไทยเปลี่ยนนโยบายเปิดขายข้าวไม่จำกัด ด้วยเหตุนี้พื้นที่ทางฝั่งธนบุรีที่กระจุกตัวไม่ห่างจากริมน้ำนัก ได้ขยายออกไป ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการขุดคลองภาษีเจริญ เสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2415 เป็นคลองที่เชื่อมหัวเมืองแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ในช่วงหลังขุดคลองนี้เองทำให้พื้นที่ย่านบางแคเริ่มมีการตั้งถิ่นฐาน เกิดชุมชน เช่น ชุมชนวัดรางบัว บริเวณวัดบางแค (วัดนิมมานรดี) ซึ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เกิดตลาดท้องน้ำขนาดใหญ่ขึ้น คือ ตลาดน้ำบางแคหรือตลาดน้ำหน้าวัดนิมมานรดี เป็นพื้นที่บริเวณจุดตัดกันของคลองราชมนตรีและคลองภาษีเจริญใกล้กับวัดนิมมานรดี เคยเป็นที่ตั้งของตลาดน้ำขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของฝั่งธนบุรี คับคั่งไปด้วยเรือสินค้าจำพวกพืชผลต่าง ๆ ทั้งเรือพายขายผักและผลไม้ของชาวสวนในละแวกบางแค บางขี้แก้ง บางแวก บางไผ่ ฯลฯ
สร้างถนน.
พ.ศ. 2500 ได้มีการสร้างถนนเพชรเกษม รวมถึงการสร้างซอยย่อย ถนนต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ทั้งถนนสุขาภิบาล 1 ถนนสุขาภิบาลบางแค (ซอยเพชรเกษม 88) และถนนทางเข้าหมู่บ้านเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดชุมชนใหม่ ประกอบกับช่วงเวลานี้ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) โดยเส้นทางสายใต้ในระยะแรกได้จัดสถานีขนส่งสายใต้ที่แยกไฟฉาย โดยเส้นทางจำเป็นต้องผ่านถนนเพชรเกษมและบริเวณตลาดบางแค ทำให้ตลาดน้ำหน้าวัดนิมมานรดีเป็นที่รู้จักมากขึ้น ต่อมา พ.ศ. 2516 มีการสร้างตลาดทวีทรัพย์ ในขณะเดียวกันบทบาทการค้าบริเวณปากคลองราชมนตรีและคลองภาษีเจริญก็เริ่มลดลง
ย่านการค้า.
ย่านการค้าได้ย้ายมากระจุกตัวอยู่บริเวณถนนเพชรเกษมถัดจากตลาดทวีทรัพย์ ตั้งแต่สะพานข้ามคลองราชมนตรีไปถึงแยกถนนสุขาภิบาล 1 ต่อมามีการสร้างศูนย์การค้าวงษ์วิศิษฎ์ (พ.ศ. 2518) ตลาดศูนย์การค้าบางแค (พ.ศ. 2519) และตลาดใหม่บางแค (พ.ศ. 2520) ยังมีการเปิดห้างสรรพสินค้าระดับกลาง ได้แก่ ห้างคาเธ่ย์และห้างวันเดอร์
ตั้งแต่ พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา ย่านบางแคเริ่มเสื่อมโทรมลง ชุมชนบางแคประสบกับมลภาวะทางน้ำ ส่งผลต่อตลาดริมน้ำ ทำให้ต้องยกเลิกไปในที่สุด การคมนาคมทางบกเริ่มขยายตัว เกิดศูนย์การค้าแห่งใหม่ย่านปิ่นเกล้า พระราม 2 ล้วนส่งผลให้ย่านบางแคถูกลดความสำคัญลง ราว พ.ศ. 2530–2539 ย่านบางแคก็มีห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้ามาเปิดมากถึง 5 แห่งด้วยกัน ประกอบด้วย ห้างสรรพสินค้าวันเดอร์ ห้างสรรพสินค้าไอทีแกรนด์ ห้างสรรพสินค้าเซฟโก้ ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค และศูนย์การค้าเดอะมอลล์บางแค แต่หลังสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ พ.ศ. 2540 มีผลให้ห้างสรรพสินค้าบางแห่งย่านบางแคไม่สามารถดำเนินการต่อได้ ต้องขายกิจการ และมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาดำเนินการแทน ศูนย์การค้าเดอะมอลล์เป็นเพียงศูนย์การค้าเดียวที่ปรับตัวฝ่าวิกฤตจนเปิดให้บริการเป็นปกติจนถึงปัจจุบัน
การใช้ประโยชน์ที่ดิน.
กรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนใหญ่เป็นของเอกชนรายใหญ่ มีแปลงที่ดินขนาดใหญ่ ได้แก่ ตลาดสด ห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม คลังสินค้า และโรงภาพยนตร์ รวมถึงพื้นที่โล่งยังไม่ได้พัฒนา ส่วนพื้นที่ริมถนนเพชรเกษม ส่วนใหญ่เป็นของเอกชนรายย่อย ในส่วนที่ดินของรัฐ ได้แก่ สถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค สถานีกาชาดที่ 11 สำนักงานเขตภาษีเจริญ สถานีตำรวจนครบาลภาษีเจริญ สถานีตำรวจดับเพลิงบางแค
ที่ดินประเภทที่พักอาศัยมีสัดส่วนมากที่สุด คือ ร้อยละ 35.17 การปลูกสร้างอาคารที่พักอาศัยค่อนข้างหนาแน่นบริเวณถนนเพชรเกษม ถนนสุขาภิบาล 1 และถนนซอยต่าง ๆ ในพื้นที่ถัดจากแนวถนนหลัก พื้นที่พักอาศัยส่วนใหญ่อยู่ในแขวงบางแคและแขวงบางแคเหนือ เป็นทั้งที่บ้านอาศัย อพาร์ตเมนต์ คอนโดมีเนียมและหมู่บ้านจัดสรร
พื้นที่พาณิชยกรรมกระจายไปตามถนนเพชรเกษม ได้แก่ ห้างเดอะมอลล์บางแค ซีคอนบางแค ไอทีแกรนด์ โลตัส ตลาดบางแค ห้างสรรพสินค้าวันเดอร์ และอาคารพาณิชยกรรมริมถนน ส่วนใหญ่สูง 2–5 ชั้น
พื้นที่ประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้าคิดเป็นร้อยละ 4.25 เช่น โรงงานนันยาง โรงงานซีคอน โรงงานปั่นนุ่น และโรงงานเย็บผ้า เป็นต้น ที่ดินประเภทเกษตรกรรมมีเพียงแขวงเดียวคือ แขวงบางแค บริเวณแนวคลองราษฎรสามัคคีและคลองภาษีเจริญ ปัจจุบันยังคงมีการทำการเกษตร ปลูกผัก ทำสวน