text
stringlengths
0
9.8k
ฎีกา คือวรรณกรรมภาษาบาลี ที่แต่งเพื่ออธิบายความในคัมภีร์อรรถกถาของอรรถกถาจารย์ที่ได้ไขความในพระไตรปิฎกไว้ คัมภีร์ชั้นฎีกาจัดเป็นคัมภีร์ที่มีความสำคัญรองลงมาจากคัมภีร์อรรถกถาที่ขยายความในพระไตรปิฎก เรียกว่า คัมภีร์ชั้นสาม คัมภีร์ฎีกามีความแตกต่างกับคัมภีร์อรรถกถา (คัมภีร์ชั้นสอง) ที่วัตถุประสงค์ในการแต่งฎีกานั้นทำเพื่ออธิบายเนื้อความในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา หรือฎีกาด้วยกันเอง
คัมภีร์ฎีกามีผู้แต่งจำนวนมากและมีหลายคัมภีร์ ส่วนใหญ่ชื่อคัมภีร์ชั้นฎีกาจะมีคำว่า ฎีกา และตามด้วยชื่อคัมภีร์อรรถกถาที่อธิบายความ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีคำ ทีปนี โชติกา ปกาสินี หรือ คัณฐิ ลงท้าย ซึ่งคำลงท้ายเหล่านั้นรวมแปลว่า ให้ความกระจ่าง (อธิบายความในอรรถกถาให้กระจ่าง) คัมภีร์ชั้นฎีกาจัดเป็นแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญรองลงมาจากคัมภีร์ชั้นอรรถกถา
ประวัติ.
ฎีกาบางคัมภีร์อาจมีสืบกันมาแต่ครั้งโบราณ และถูกนำมาเรียบเรียงอีกครั้งในยุคราว พ.ศ. 1400 - 1800 ซึ่งเป็นยุคที่มีฎีกาเกิดขึ้นมาก ซึ่งหลายคัมภีร์ที่เกิดขึ้นในยุคนี้ยังคงได้รับการยอมรับมาจนถึงปัจจุบัน. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตโต) จะได้แสดงความเห็นไว้ว่า คัมภีร์หลังยุคฎีกามานั้นควรจะจัดอยู่ในประเภทอัตตโนมติ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันที่ประเทศสหภาพพม่ายังพบว่ามีอาจารย์บางท่านจัดคัมภีร์ของตนไว้ในชั้นนี้อยู่ และในยุคหนึ่งประเทศพม่าเคยมีการเขียนฎีกาออกมามากจนมีคำว่า "ฝนฎีกา" เกิดขึ้น และบางคัมภีร์ก็แต่งขึ้นเพื่อค้านมติของพระฎีกาจารย์ ในยุคฎีกา จนมีกระแสต่อต้านเกิดขึ้นมากมาย เช่น คัมภีร์ปรมัตถทีปนีฎีกา ของพระภิกษุชาวเมียนม่า นามว่า แลดี สยาดอ ซึ่งแต่งค้านคัมภีร์อภิธัมมัตถวิภาวินีของพระสุมังคลมหาสามี เมื่อยุค พ.ศ. 1700 ที่หลักสูตรเปรียญธรรมประโยค 9 ใช้เรียนกันในปัจจุบัน เป็นต้น
คุณสมบัติของผู้แต่ง.
ผู้แต่งคัมภีร์ฎีกา เราเรียกว่า พระฎีกาจารย์ ซึ่งต้องเป็นผู้ที่ทรงความรู้ความสามารถมากไม่น้อยไปกว่าพระอรรถกถาจารย์ เพราะนอกจากพระฎีกาจารย์จะต้องสามารถทรงจำ และเข้าใจพระไตรปิฎกอย่างแตกฉานเพื่อนำมาเขียนอธิบายได้แล้ว ยังจะต้องแตกฉานในคัมภีร์อรรถกถาและคัณฐีต่าง ๆ อีกด้วย นอกจากนี้ยังจะต้องมีความชำนาญในไวยากรณ์ทั้งบาลีและสันสกฤต ในคัมภีร์สัททาวิเสสต่าง ๆ, รอบรู้ศัพท์และรูปวิเคระห์ต่าง ๆ เป็นอย่างดี, ฉลาดในการแต่งคัมภีร์ให้สละสลวย ไพเราะ มีลำดับกฎเกณฑ์ ตามหลักอลังการะ, ต้องมีความสามารถในการแต่งคัมภีร์ตรงตามหลักฉันท์อินเดียซึ่งมีอยู่นับร้อยแบบ, และเข้าใจกรรมฐานจนถึงพระอรหันต์แตกฉานเชี่ยวชาญในข้อปฏิบัติเป็นอย่างดี
ฎีกาจารย์บางท่านอาจมีฐานะเป็นอรรถกถาจารย์ด้วย เนื่องจากรจนาทั้งอรรถกถาและฎีกา ซึ่งเท่าที่พบในประวัติศาสนาพุทธมี 2 ท่าน คือ พระธรรมปาลาจารย์ วัดพทรติตถวิหาร และพระโจฬกัสสปเถระ ผู้อยู่ในแคว้นโจฬรัฐ ทางตอนใต้ของชมพูทวีป
ฎีกาจารย์และคัมภีร์ฎีกาที่มีใช้แพร่หลายในประเทศไทย.
ฎีกาจารย์และคัมภีร์ฎีกาที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในหมู่นักศึกษาอภิธรรมของประเทศไทย ได้แก่ พระสุมังคลมหาสามี ผู้รจนาอภิธัมมตถวิภาวินีฎีกา อธิบายคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหอรรถกถา และ อภิธัมมัตถวิกาสินีฎีกา อธิบายคัมภีร์อภิธัมมาวตารอรรถกถา นอกจากนี้พระฎีกาจารย์ที่เป็นที่รู้จักในหมู่นักเปรียญธรรมก็มีอยู่หลายท่านด้วยกัน เช่น พระสิริมังคลาจารย์ ผู้รจนามังคลัตทีปนี อธิบายมงคล 38, พระธรรมปาลาจารย์ ผู้รจนาปรมัตถมัญชูสา วิสุทธิมรรคมหาฎีกา, พระสารีบุตรเถระ ผู้รจนาสารัตถทีปนีฎีกา อธิบายอรรถกถาพระวินัย และสารัตถมัญชูสาฎีกา อธิบายอรรถกถาอังคุตตรนิกาย, พระโจฬกัสสปเถระ ผู้รจนาวิมติวิโนทนีฎีกา อธิบายอรรถกถาพระวินัย และอนาคตวังสอรรถกถา, พระวชิรพุทธิเถระ ผู้รจนาวชิรพุทธิฎีกา เป็นต้น
เชิงอรรถ.
คำลงท้ายดังกล่าวบางคำนำมาจากคัมภีร์อรรถกถา ซึ่งคัมภีร์ชั้นฎีกาใดที่ไม่ได้แต่งชื่อคัมภีร์ขึ้นใหม่ ก็จะใช้คำว่า ฎีกา นำหน้าตามด้วยชื่อคัมภีร์ชั้นอรรถกถาที่นำมาขยายความ เช่น ฎีกาสารัตถทีปนี เป็นต้น
พระสารีบุตรรูปนี้ มีชีวิตอยู่ราว พ.ศ. 1700 ไม่ใช่พระสารีบุตรผู้เป็นอัครมหาสาวกในครั้งพุทธกาล
เซอร์ไวเวอร์ วานูอะตู
เจ้าชายนิโคลัสแห่งกรีซและเดนมาร์ก
เจ้าชายนิโคลัสแห่งกรีซและเดนมาร์ก (ประสูติ: 22 มกราคม พ.ศ. 2415 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481) พระราชโอรสในพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งกรีซ และ สมเด็จพระราชินีโอลกาแห่งกรีซ ทรงเข้าอภิเษกสมรสกับแกรนด์ดัชเชสเยเลนา วลาดีมีรอฟนาแห่งรัสเซีย มีพระราชธิดา 3 พระองค์
เจซัน
เจซัน ( แปลว่า "สัญกรณ์วัตถุจาวาสคริปต์") เป็นฟอร์แมตสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลคอมพิวเตอร์ ฟอร์แมต JSON นั้นอยู่ในรูปข้อความธรรมดา (plain text) ที่ทั้งมนุษย์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถอ่านเข้าใจได้
มาตรฐานของฟอร์แมต JSON คือ RFC 4627 มี Internet media type เป็น codice_1 และมีนามสกุลของไฟล์เป็น codice_2
ปัจจุบัน JSON นิยมใช้ในเว็บแอปพลิเคชัน โดยเฉพาะ AJAX โดย JSON เป็นฟอร์แมตทางเลือกในการส่งข้อมูล นอกเหนือไปจาก XML ซึ่งนิยมใช้กันอยู่แต่เดิม สาเหตุที่ JSON เริ่มได้รับความนิยมเป็นเพราะกระชับและเข้าใจง่ายกว่า XML
โครงสร้างของฟอร์แมต.
เจสัน เป็นรูปแบบสายอักขระ (String) ชนิดหนึ่งที่ถูกจัดเก็บในรูปแบบที่สามารถอ่านและเข้าใจได้ง่าย ถ้าจะให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือเจสันเปรียบเสมือนรูปแบบของ อาเรย์ (Array) ชนิดหนึ่งที่ใช้รับส่งข้อมูลผ่านอาแจ็กซ์เพราะซึ่งปกติแล้วถ้าเราต้องการรับ-ส่งข้อมูลผ่านอาแจ็กซ์ต่าง ๆ นั้น จะต้องรับ-ส่งมาในรูปแบบของสายอักขระทั้งก้อน และเมื่อฝั่งอาแจ็กซ์ทำการรับค่าที่ทำการส่งค่ากลับมาจากเซิร์ฟเวอร์ ก็จะต้องนำสายอักขระ เหล่านั้นมาตัดตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อเอาสายอักขระตัวที่ต้องการมาใช้ แต่สำหรับเจสันแล้ว สามารถรับส่งชุดค่าตัวแปรได้ทั้งฝั่งไคลเอนต์ (Client) และฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (Server) โดยทั้ง 2 ฝั่งสามารถทำการเข้ารหัสและถอดรหัสโดยใช้เจสันเอนโค้ด (Json Encode) และ เจสันดีโค้ด (Json Decode) เพื่ออ่านค่าตัวแปรเหล่านั้น และจะเรียกใช้งานมันได้อย่างไร ซึ่งปกติแล้วจะอยู่ในรูปแบบของอาเรย์และสำหรับตัวแปรเจสันนั้นไม่จำกัดแค่รับส่งข้อมูลผ่านเว็บเบราว์เซอร์เท่านั้น แต่ยังสามารถนำเจสันไปประยุกต์กับการรับส่งข้อมูลในรูปแบบอื่น ๆ ได้ เช่นการจับเก็บข้อมูลในรูปแบบของ สายอักขระในข้อความหรือการรับส่งผ่านตัวให้บริการเว็บไซต์ (Web Service) ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
JSON นั้นใช้ความสัมพันธ์ของภาษาจาวาสคริปต์ แต่ไม่ถูกมองว่าเป็นภาษาโปรแกรม กลับถูกมองว่าเป็นภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลมากกว่า ในปัจจุบันมีไลบรารีของภาษาโปรแกรมอื่นๆ ที่ใช้ประมวลผลข้อมูลในรูปแบบ JSON มากมาย
โค้ดตัวอย่างของ JSON เป็นดังนี้
ภาษาที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบ.
ในการส่งข้อมูลและบันทึกข้อมูลระหว่างระบบ มีหลากหลาย รูปแบบ รูปแบบที่เป็นที่นิยมคือ
ปรมัตถธรรม
ปรมัตถธรรม คือ สภาพธรรมตามความเป็นจริง เป็นอภิธรรม (อภิธรรม คือ ธรรมที่ยิ่งใหญ่) เป็นสภาพธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไม่ประสูติและตรัสรู้ สภาพธรรมทั้งหลายก็ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยอยู่แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดา เพราะพระองค์ทรงตรัสรู้ธรรมทั้งปวงด้วยพระองค์เองว่า ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล และธรรมทั้งปวงไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใดทั้งสิ้น ปรมัตถธรรมหรืออภิธรรมนั้น มิใช่ธรรมที่เหลือวิสัยที่จะเข้าใจได้ เพราะปรมัตถธรรมเป็นธรรมที่มีจริง ฉะนั้น ความเห็นถูก ความเข้าใจถูก จึงเป็นการรู้ความจริงของปรมัตถธรรม ตามลักษณะของปรมัตถธรรมนั้นๆ
ปรมัตถธรรม มี 2 ประเภท คือ รูปธรรม และ นามธรรม (หรือ รูป และ นาม หรือ รูปธาตุ และ นามธาตุ) 1. รูปธรรม เป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อารมณ์
2. นามธรรม เป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ (อารมณ์ คือ สิ่งที่ปรากฏ และรู้ได้ เป็นได้ทั้ง รูปธรรม และนามธรรม เมื่อจิตเกิดขึ้นรู้สิ่งใด สิ่งที่จิตรู้นั้น ภาษาบาลีเรียกว่า อารมฺมณ หรือ อาลมฺพน)
ปรมัตถธรรม มี 4 ประเภท คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน
แยกประเภท (บางทีเรียกว่า ดวง) ได้ดังนี้
โดยจัดเป็นรูป 28 นับเป็นรูปธรรม จัดจิต 89 หรือ 121 โดยพิเศษ เจตสิก 52 นิพพาน 1 เป็นนามธรรม
สังขารธรรม คือ ธรรมที่เกิดขึ้น มีปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ ธรรมอื่นๆที่ไม่ใช่นิพพาน
วิสังขารธรรม คือ ธรรมที่ไม่เกิดขึ้น ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน
สังขตธรรม คือ ธรรมที่เกิดดับ ได้แก่ ธรรมอื่นๆที่ไม่ใช่นิพพาน
อสังขตธรรม คือ ธรรมที่ไม่เกิดดับ ได้แก่ นิพพาน
จิต จำแนกโดยการเกิด คือ โดยชาติ มี 4 ชาติ คือ กุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต กิริยาจิต กุศลจิตเป็นจิตที่ดี ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดผล คือ กุศลวิบาก อกุศลจิตเป็นสภาพธรรมที่เป็นโทษ เป็นสภาพธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดผลที่เป็นทุกข์ ไม่น่าพอใจ คือ อกุศลวิบาก ส่วนกิริยาจิต ซึ่งไม่เป็นเหตุที่จะให้เกิดวิบาก จึงไม่ใช่กุศลจิต ไม่ใช่อกุศลจิต และไม่ใช่วิบากจิต สำหรับวิบากจิต เป็นสภาพธรรมที่เป็นผลจากกุศลจิต หรืออกุศลจิต และปรากฏในชีวิตประจำวันของสัตว์ทั้งหลายที่มีขันธ์ห้า เมื่อจิตรู้อารมณ์ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ถ้าพอใจ ก็เป็นกุศลวิบาก ถ้าไม่พอใจ ก็เป็นอกุศลวิบาก
จิต จำแนกโดยภูมิ มี 4 ภูมิ คือ กามาวจรจิต รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต โลกุตตรจิต ในภูมิที่เป็นกามาวจรจิต จิตมีทั้ง 4 ชาติ รูปาวจรจิตและอรูปาวจรจิต จิตมี 3 ชาติ คือยกเว้นอกุศลจิตและโลกุตตรจิต จิตมี 2 ชาติ คือโลกุตตรกุศล และโลกุตตรวิบาก
ปรมัตถธรรม 3 ประเภทแรกเป็นขันธ์ 5 คือ
ส่วนนิพพานเป็นขันธวิมุต
ความหมายของปรมัตถธรรม ปรมัตถธรรม คือธรรมชาติที่เป็นความจริงแท้แน่นอนที่ดำรงลักษณะเฉพาะของตนไว้โดยไม่ผันแปรเปลี่ยนแปลง เป็นธรรมที่ปฏิเสธความเป็นสัตว์ ความเป็นบุคคล ความเป็นตัวตนโดยสิ้นเชิง มี ๔ ประการคือ
๑. จิต
๒. เจตสิก
๓. รูป
๔. นิพพาน
ซึ่งมีความหมายโดยย่อดังนี้
จิต คือธรรมชาติที่ทำหน้าที่เห็น, ได้ยิน, รับกลิ่น, รับรส, รู้สัมผัส ถูกต้อง ตลอดจนธรรมชาติที่ทำให้เกิดการคิด นึก สภาวะของจิตมีทั้งหมด ๘๙ หรือ ๑๒๑ อย่าง (โดยพิสดาร) แต่เมื่อกล่าวโดยลักษณะแล้วมีเพียง ๑ เท่านั้น คือ รู้อารมณ์ (อารมณ์ในที่นี้หมายถึง รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สิ่งต่าง ๆ และเรื่องราวต่างๆ ที่จิตไปรับรู้)
จิตเป็นนามธรรม และมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น วิญญาณ, มโน, มนัส, มนินทรีย์, มโนธาตุ, มโนวิญญาณธาตุ และ มนายตนะ เป็นต้น
เจตสิก คือธรรมชาติที่ประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิต ทำให้เกิดความรู้สึก นึก คิด ที่แตกต่างกัน ทั้งทางที่ดีและไม่ดี มีทั้งหมด ๕๒ ลักษณะ เจตสิกเป็นนามธรรมที่เกิดร่วมกับจิต คือเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต และอาศัยที่เกิดที่เดียวกันกับจิต สภาพของจิต เป็นเพียงประธานในการรู้อารมณ์ แต่การที่จิตโกรธ หรือจิตโลภ เป็นเพราะ มีเจตสิกเข้าประกอบปรุงแต่งให้เกิดความโกรธหรือความโลภนั่นเอง จิต เปรียบเสมือนเม็ดยา เจตสิกเปรียบเสมือนตัวยาที่อยู่ในเม็ดยา จิตเกิดโดย ไม่มีเจตสิกไม่ได้ และเจตสิกเกิดโดยไม่มีจิตก็ไม่ได้เช่นกัน
รูป คือ ธรรมชาติที่แตกดับ ย่อยยับ สลายไปด้วยความเย็นและความร้อน ในร่างกายของคนเราและสัตว์ทั้งหลายนั้นมีรูปประชุมกันอยู่ทั้งหมด ๒๘ ชนิด และรูปที่ประชุมกันอยู่นี้แต่ละรูปต่างก็แตกดับย่อยยับสลายไปตลอดเวลา หาความเที่ยงแท้ถาวรไม่ได้เลย
นิพพาน เป็นธรรมชาติที่พ้นจากกิเลสเครื่องร้อยรัด พ้นจากการ เวียนว่ายตายเกิด นิพพานโดยปริยายมี ๒ ลักษณะคือ
๑. สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ยังเป็นไปกับขันธ์ ๕ หมายถึง การที่ประหารกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว (กิเลสนิพพาน) แต่ขันธ์ ๕ ยังมีการเกิดดับสืบต่ออยู่ (ยังมีชีวิตอยู่)
๒. อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ปราศจากขันธ์ ๕ ได้แก่นิพพานของพระอรหันต์ (ผู้หมดจดจากกิเลส) และสิ้นชีวิตไปแล้ว (คือ กิเลสก็ไม่เหลือ ขันธ์ ๕ ก็ไม่เหลือ) หรือที่เรียกว่า ปรินิพพาน (ปริ = ทั้งหมด) เมื่อปรินิพพานแล้ว จิต เจตสิกและรูปจะหยุดการสืบต่อและดับลงโดยสิ้นเชิง (คือเมื่อปรินิพพานไปแล้วก็จะไม่มีการเกิดอีกหรือไม่มีภพชาติต่อไปอีก)
นิพพาน เป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาที่พุทธศาสนิกชน ทั้งหลายจะต้องพยายามเข้าถึงให้จงได้จึงจะได้ชื่อว่าเป็นพุทธสาวก เป็น อริยบุคคล และเป็นทายาทผู้รับมรดกธรรมในพุทธศาสนานี้