text
stringlengths
3.22k
181k
meta
stringlengths
119
219
**สถานการณ์การค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2559-2561(มค.-พค.)** 1. สถานการณ์การค้าชายแดน ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา) มูลค่าการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี โดยตลอด 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2558 – 2560) การค้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2.85% ในปี 2560 มีมูลค่า 1,076,389.37 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.22% ***สำหรับปี 2561*** (มกราคม-พฤษภาคม) มูลค่าการค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ (มาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา) มูลค่าการค้ารวม 463,933.46 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 445,254.41 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 4.20(YoY) แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 271,588.93 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 2.62(YoY) และมูลค่าการนำเข้า 192,344.53 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 15.62(YoY) ไทยได้ดุลการค้าชายแดน 79,244.40 ล้านบาท **ด้านมาเลเซียมีการค้าสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง** มูลค่า 233,519.23 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.33 ของมูลค่าการค้าชายแดนรวม รองลงมาได้แก่ สปป.ลาว มูลค่า 90,684.94 ล้านบาท (19.55%) เมียนมา มูลค่า 81,035.81 ล้านบาท (17.47%) และกัมพูชา มูลค่า 58,693.48 ล้านบาท (7.51%) **การค้าชายแดน 4 ประเทศ ปี 2559-2560(มกราคม-พฤษภาคม)** หน่วย : ล้านบาท | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | **การค้ารวม 4 ประเทศ** | **2559** | **2560** | **2560** | **2561** | **% YoY** | | **(มกราคม-พฤษภาคม)** | | มูลค่า | 1,013,389.20 | 1,081,274.05 | **445,254.41** | **463,933.46** | **4.20** | | ส่งออก | 605,445.38 | 654,413.76 | **278,893.92** | **271,588.93** | **-2.62** | | นำเข้า | 407,943.82 | 426,860.29 | **166,360.49** | **192,344.53** | **15.62** | | ดุลการค้า | 197,501.56 | 227,553.47 | **112,533.43** | **79,244.40** | | ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมการค้าต่างประเทศ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร -2- การค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2559-2561 (มกราคม-พฤษภาคม) หน่วย : ล้านบาท | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | **ประเทศ** | **รายการ** | **2559** | **2560** | **2560** | **2561** | **%YoY** | | **(มกราคม-พฤษภาคม)** | | **มาเลเซีย** | มูลค่า | 501,307.47 | 564,628.87 | **233,301.69** | **233,519.23** | **0.52** | | | ส่งออก | 258,109.26 | 312,457.65 | **133,014.14** | **121,075.04** | **-8.98** | | | นำเข้า | 243,198.21 | 252,171.22 | **99,287.55** | **112,444.19** | **13.25** | | | ดุลการค้า | 14,911.05 | 60,286.43 | **33,726.59** | **8,630.85** | | | **เมียนมา** | มูลค่า | 187,905.29 | 184,331.02 | **74,022.46** | **81,035.81** | **9.47** | | | ส่งออก | 109,267.17 | 108,966.18 | **48,800.47** | **47,356.08** | **-2.96** | | | นำเข้า | 78,638.12 | 75,364.84 | **25,221.99** | **33,679.73** | **33.53** | | | ดุลการค้า | 30,629.05 | 33,601.34 | **23,578.48** | **13,676.35** | | | **สปป.ลาว** | มูลค่า | 202,942.72 | 207,045.85 | **84,334.87** | **90,684.94** | **7.53** | | | ส่งออก | 136,440.48 | 131,262.33 | **55,371.07** | **55,939.57** | **1.03** | | | นำเข้า | 66,502.24 | 75,743.52 | **28,963.80** | **34,745.37** | **19.96** | | | ดุลการค้า | 69,938.24 | 55,478.81 | **26,407.27** | **21,194.20** | | | **กัมพูชา** | มูลค่า | 121,050.69 | 125,268.31 | **54,595.39** | **58,693.48** | **7.51** | | | ส่งออก | 101,342.44 | 101,727.60 | **41,708.24** | **47,218.24** | **13.21** | | | นำเข้า | 19,708.25 | 23,540.71 | **12,887.15** | **11,475.24** | **-10.96** | | | ดุลการค้า | 81,634.19 | 78,186.89 | **28,821.09** | **35,743.00** | | ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมการค้าต่างประเทศ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร **เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560-2561 (มกราคม-พฤษภาคม)** ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – มาเลเซีย*** **ในเดือนพฤษภาคม 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 46,987.45 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 46,228.63 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 1.64(YoY) แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 23,972.18 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 11.95(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 23,015.27 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 21.10(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 956.91 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 5 เดือนของปี 2561(ม.ค.-พ.ค.)*** การค้าชายแดนไทยกับมาเลเซียมีมูลค่าการค้ารวม 233,519.23 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 0.52(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 121,075.04 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 8.98(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 112,444.19 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 13.25(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า 8**,630.85 ล้านบาท -3- ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – เมียนมา*** **ในเดือนพฤษภาคม 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 16,953.78 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 15,683.17 ล้านบาท **เพิ่มขึ้นร้**อยละ 8.10(YoY) โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 10,268.15 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 8.38(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 6,685.63 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 7.68(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 3,582.52 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 5 เดือนของปี 2561(ม.ค.-พ.ค.)*** การค้าชายแดนไทยกับเมียนมามีมูลค่าการค้ารวม 81,035.81 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 9.47(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 47,356.08 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 2.96(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 33,679.73 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 33.53(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 13,676.35 ล้านบาท ***ภาวะการค้าชายแดนไทย–สปป.ลาว*** **ในเดือนพฤษภาคม 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 19,105.35 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 18,796.53 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 1.64(YoY) โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 12,073.31 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 2.58(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 7,032.04 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 18.33(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 5,041.27 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 5 เดือนของปี 2561(ม.ค.-พ.ค.)*** การค้าชายแดนไทยกับสปป.ลาว มีมูลค่าการค้ารวม 90,684.94 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 7.53(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 55,939.57 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 1.03(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 34,745.37 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 19.96(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 21,194.20 ล้านบาท ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – กัมพูชา*** **ในเดือนพฤษภาคม 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 11,640.04 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 10,263.88 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 13.41(YoY) แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 10,003.53 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 17.56(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 1,636.51 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 4.27(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 8,367.02 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 5 เดือนของปี 2561(ม.ค.-พ.ค.)*** การค้าชายแดนไทยกับกัมพูชา มีมูลค่าการค้ารวม 58,693.48 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 7.51(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 47,218.24 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 13.21(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 11,475.24 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 10.96(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 35,743.00 ล้านบาท **กลุ่มความร่วมมือฯ 2** **กองความร่วมมือการค้าและการลงทุน**
{'url': 'https://data.go.th/dataset/item_b6b8d018-1165-4897-b897-e8e2c800e289', 'title': 'สถานการการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2559-2561 (มกราคม-พฤษภาคม)', 'license': 'CC-BY'}
**คำนำ** คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 กำหนดแนวทางการปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการของ ส่วนราชการซึ่งจัดลำดับให้เป็นแผนระดับที่ 3 ให้สอดคล้องกับแผนระดับที่ 1 ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และ แผนระดับที่ 2 โดยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงาน ได้แก่ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์และดิจิทัล แผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2561-2565 หน่วยงานกระทรวงพลังงานจึงได้ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงพลังงานในลักษณะ Function based ซึ่งในระยะต้นจัดทำเป็นแผน 3 ปี ให้สอดคล้องกับช่วงเวลาของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ มีเนื้อหาประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1) ลักษณะที่สำคัญของกระทรวงพลังงาน 2) ภาพรวมสถานการณ์พลังงานในปัจจุบันและอนาคต 3) แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนลำดับรองในประเด็นด้านพลังงาน และ 4) แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2565) ของกระทรวงพลังงาน โดยได้บรรจุแผนงานโครงการสำคัญต่าง ๆ ที่มีส่วนขับเคลื่อนเป้าหมายของกระทรวงพลังงานให้สัมฤทธิ์ผล รวมถึงบรรจุแผนงานโครงการตามแผนปฏิบัติราชการด้านต่าง ๆ ของกระทรวงพลังงาน (Agenda base) ได้แก่ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (Power Development Plan: PDP) แผนอนุรักษ์พลังงาน (Energy Efficiency Plan: EEP) แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (Alternative Energy Development Plan: AEDP) แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan) แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan) และ แผนแม่บท การพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด (Smart Grid) อย่างครบถ้วน **แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2565) ของกระทรวงพลังงาน** ฉบับนี้ ได้รับความเห็นชอบจากคณะทำงานพิเศษประสานเชื่อมโยงคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศกระทรวงพลังงานแล้ว เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2562 และปลัดกระทรวงพลังงานมีคำสั่งกระทรวงพลังงานที่ 108/2562 สั่ง ณ วันที่ 27 ธันวาคม 2562 เพื่อให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงานใช้แผนดังกล่าวเป็นกรอบในการปฏิบัติราชการตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป *กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน* *ธันวาคม 2562* **สารบัญ** **หน้า** **คำสั่งกระทรวงพลังงานที่ 108/2562 สั่ง ณ วันที่ 27 ธันวาคม 2562** **เรื่อง แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2565) ของกระทรวงพลังงาน 1** **ส่วนที่ 1 ลักษณะที่สำคัญของกระทรวงพลังงาน** 1.1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ และโครงสร้างองค์กรของกระทรวงพลังงาน 1-1 1.2 ภารกิจ อำนาจหน้าที่ ของกระทรวงพลังงาน และหน่วยงานในสังกัด 1-3 **ส่วนที่ 2 ภาพรวมสถานการณ์พลังงานในปัจจุบันและอนาคต** 2.1 แรงขับเคลื่อนจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี 2-1 2.2. แนวโน้มและทิศทางพลังงานของโลก 2-11 2.3 สถานการณ์พลังงานของไทยในปัจจุบัน 2-16 **ส่วนที่ 3 แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนลำดับรองในประเด็นด้านพลังงาน** 3.1 แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) 3-1 3.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 3-5 3.3 แผนปฏิรูปประเทศ 3-8 3.4 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2561-2565 3-11 3.5 นโยบายรัฐบาล 3-14 **ส่วนที่ 4 แผนปฏิบัติราชการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2565) ของกระทรวงพลังงาน** 4.1 แผนงานโครงการสำคัญเร่งด่วน (Policy Quick Start) 4-4 4.2 เรื่องที่ 1 การสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน 4-7 4.3 เรื่องที่ 2 การกำกับดูแล ราคา และการสร้างการแข่งขัน เพิ่มประสิทธิภาพ 4-15 4.4 เรื่องที่ 3 การสร้างความยั่งยืนและเข้าถึงประชาชน 4-19 4.5 เรื่องที่ 4 การสร้างความโปร่งใสเป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาลให้สังคมเชื่อถือ 4-33 4.6 ประมาณการวงเงินงบประมาณรวม 4-39 ราชการ ระยะ 5 ปี ของกระทรวงพลังงาน ภาคใต้ **ส่วนที่ 1** **ลักษณะที่สำคัญของกระทรวงพลังงาน** **1.1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ และโครงสร้างส่วนราชการของกระทรวงพลังงาน** **1.1.1 วิสัยทัศน์** **“ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านพลังงาน เป็นศูนย์กลางพลังงานในภูมิภาคเอเชีย** **เศรษฐกิจฐานรากมีความเข้มแข็งจากภาคพลังงาน”** *บทขยายความ* **มั่นคง** หมายถึง มีพลังงานใช้รวมทั้งมีสำรองอย่างเพียงพอ ต่อเนื่อง ยั่งยืน ด้วยการเข้าถึงแหล่งพลังงานที่หลากหลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ **ศูนย์กลางพลังงาน** หมายถึง มีการส่งเสริม พัฒนา ให้ไทยเป็นศูนย์กลางพลังงานในเอเชีย **เศรษฐกิจฐานรากมีความเข้มแข็ง** หมายถึง ชุมชนในแต่ละพื้นที่สามารถผลิตและเป็นเจ้าของพลังงานได้ ด้วยตนเอง และเกิดการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างรายได้ด้วยเทคโนโลยีพลังงาน **1.1.2 พันธกิจ** **“เสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ** **และพัฒนาพลังงานในระดับพื้นที่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”** *บทขยายความ* **เสริมสร้าง** หมายถึง ทำให้มั่นคงแข็งแกร่งยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ **มั่นคง** หมายถึง มีพลังงานใช้รวมทั้งมีสำรองอย่างเพียงพอ ต่อเนื่อง ยั่งยืน ด้วยการเข้าถึงแหล่งพลังงานที่หลากหลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ **รองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ** หมายถึง มีพลังงานใช้เพื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเพียงพอในต้นทุน ที่เหมาะสม **พัฒนาพลังงานในระดับพื้นที่** หมายถึง การใช้และพัฒนาให้มีความเหมาะสมกับศักยภาพพลังงานในพื้นที่ ในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมต่อทุกภาคส่วน **เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม** หมายถึง เข้าถึงเทคโนโลยีด้านพลังงานที่มีประสิทธิภาพ ประหยัด ปลอดภัย และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม **1.1.3 โครงสร้างส่วนราชการ** **โครงสร้างส่วนราชการของกระทรวงพลังงาน ประกอบด้วย หน่วยงานราชการ องค์การมหาชน องค์กรอิสระ และรัฐวิสาหกิจและบริษัทมหาชนในกำกับดูแล ดังแสดงในรูปที่ 1-1** **รูปที่ 1-1 โครงสร้างส่วนราชการของกระทรวงพลังงาน** **1.2 ภารกิจ อำนาจ หน้าที่ ของกระทรวงพลังงาน และหน่วยงานในสังกัด** **ภารกิจ อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้โครงสร้างส่วนราชการของกระทรวงพลังงาน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้** **1.2.1 หน่วยราชการ** ***สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน (สป.พน.)*** ตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2562 กำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนายุทธศาสตร์และแปลงนโยบายของกระทรวงเป็นแผน การปฏิบัติงาน จัดสรรทรัพยากร และบริหารราชการทั่วไปของกระทรวง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและเกิดผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจของกระทรวงโดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำข้อมูล เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบาย เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของกระทรวง 2. พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารของกระทรวง และแปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนการปฏิบัติงาน 3. จัดทำยุทธศาสตร์ ประสานการบริหารราชการ และปฏิบัติการเกี่ยวกับงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงในต่างประเทศ 4. จัดสรรและบริหารทรัพยากรของกระทรวง เพื่อให้เกิดการประหยัด คุ้มค่า และสมประโยชน์ 5. กำกับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผล รวมทั้งประสานการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสังกัดกระทรวง 6. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อใช้ในการบริหารงานและการบริการของ ส่วนราชการในสังกัดกระทรวง 7. ดูแลงานประชาสัมพันธ์และพัฒนาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัย 8. กำกับดูแลและส่งเสริมการดำเนินภารกิจด้านพลังงานในส่วนภูมิภาคให้เป็นไปตามกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องภายในเขตอำนาจ 9. ส่งเสริมความรู้และความเข้าใจ ตลอดจนประสานการมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 10. ศึกษา ประสานงาน สนับสนุน และส่งเสริมเพื่อการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน ประสาน บูรณาการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และพัฒนาระบบบริหารจัดการพลังงานในภูมิภาค 11. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของสำนักงานปลัดกระทรวงหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ***กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชธ.)*** ตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2562 กำหนดภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และเร่งรัดการจัดหาพลังงาน โดยการส่งเสริมและเร่งรัดการสำรวจและพัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติในประเทศ จัดทำแผนการจัดหาเชื้อเพลิงธรรมชาติเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ บริหารจัดการก๊าซธรรมชาติที่ถูกทำให้เหลว (Liquefied Natural Gas) ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติทางเลือก ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ถ่านหินที่นำเข้ามาเพื่อใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าให้ได้ตามมาตรฐานสากลและส่งเสริมความร่วมมือด้านการสำรวจและพัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่น มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. บริหารจัดการการให้สัญญาหรือสัมปทานปิโตรเลียม การสำรวจ การผลิต การเก็บรักษา การขนส่ง การขาย และการจำหน่ายปิโตรเลียม รวมถึงการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียม 1. กำหนดแนวทางการจัดหา การพัฒนา และการจัดการแหล่งปิโตรเลียม 2. วิเคราะห์ วิจัย และประเมินศักยภาพและปริมาณสำรอง และพัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ 3. ศึกษาและเสนอแนะแนวทางการนำเข้าและการซื้อขายก๊าซธรรมชาติและก๊าซธรรมชาติที่ถูกทำให้เหลว (Liquefied Natural Gas) 4. ศึกษาและส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติทางเลือก และศึกษาและส่งเสริมการใช้ถ่านหิน ที่นำเข้ามาเพื่อใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าให้ได้ตามมาตรฐานสากล 5. กำหนดและกำกับดูแลมาตรฐานการดำเนินงานอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับงานเชื้อเพลิงธรรมชาติ 6. พิจารณาสิทธิ ประสาน และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการให้เป็นไปตามกฎหมายและ ข้อผูกพันต่อรัฐ รวมทั้งจัดเก็บค่าภาคหลวงและผลประโยชน์อื่นใดจากปิโตรเลียม 7. ประสานความร่วมมือในการสำรวจและพัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติในพื้นที่พัฒนาร่วม พื้นที่ทับซ้อนกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่น 8. บริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงธรรมชาติอื่น ๆ 9. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของกรมหรือตามที่รัฐมนตรีหรือ คณะรัฐมนตรีมอบหมาย ***กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.)*** มีภารกิจการกำกับดูแลกิจการพลังงานในด้านคุณภาพความปลอดภัย ความมั่นคง และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ให้เป็นไปตามกฎหมาย รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคและประชาชน ตลอดจนการรองรับภาวะวิกฤตและภัยพิบัติที่ส่งผลต่อธุรกิจพลังงาน ตามพระราชบัญญัตติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 กำหนดอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแล การประกอบการกิจการ สถานีบริการ การเก็บรักษาและการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง คลังน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 กำหนดอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการค้า การสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง คุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2562 กำหนดอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. กำหนด ควบคุม และพัฒนามาตรฐานคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง 2. กำกับดูแลการค้าและการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง 3. กำหนด ควบคุม และพัฒนามาตรฐานการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม 4. ตรวจสอบ ทดสอบ และรับรองมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยด้านน้ำมันเชื้อเพลิง 5. ศึกษา วิจัย และพัฒนาข้อมูลและองค์ความรู้ด้านการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งเผยแพร่และเสริมสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค 6. กำกับดูแลโรงกลั่นน้ำมันให้ปฏิบัติตามสัญญาและข้อตกลง 7. กำกับดูแล และติดตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและเชื้อเพลิงชีวภาพให้เป็นไปตามโครงสร้างราคา 8. เตรียมความพร้อมและปฏิบัติการด้านพลังงานในภาวะวิกฤตและภัยพิบัติที่มีผลต่อธุรกิจพลังงานตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจหรือความรับผิดชอบของกรม 9. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของกรมหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ***กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)*** มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน กำกับการอนุรักษ์พลังงาน จัดหาแหล่งพลังงาน พัฒนาทางเลือกการใช้พลังงานแบบผสมผสาน และเผยแพร่เทคโนโลยีด้านพลังงานอย่างเป็นระบบต่อเนื่องเพื่อสนองตอบความต้องการของทุกภาคส่วนอย่างเพียงพอด้วยต้นทุนที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน * ส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน กำกับการอนุรักษ์พลังงาน จัดหาพลังงาน พัฒนาทางเลือกการใช้พลังงานแบบผสมผสานและเผยแพร่เทคโนโลยีด้านพลังงานอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เพื่อสนองความต้องการของทุกภาคส่วนอย่างเพียงพอ ด้วยต้นทุนที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 (แก้ไขเพิ่มเติม 2550) * รับผิดชอบ กำกับ ดูแล ส่งเสริม และช่วยเหลือให้โรงงานควบคุมและอาคารควบคุมได้ปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2562 มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้ 1. ส่งเสริม สนับสนุน และกำกับการอนุรักษ์พลังงาน 2. วิจัย ค้นคว้า พัฒนา และส่งเสริมพลังงานทดแทน 3. กำหนดระเบียบและมาตรฐาน รวมทั้งเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิต การแปรรูป การส่ง การใช้ และการอนุรักษ์พลังงาน 4. ติดตามและประเมินผลการพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน 5. บริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน 6. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของกรมหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ***สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)*** มีภารกิจหลักตามกฎหมาย ดังต่อไปนี้ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550 และ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2551 * ศึกษาและวิเคราะห์นโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ติดตาม ประเมินผล และเป็นศูนย์ประสานและสนับสนุน การปฏิบัติงานตามนโยบายและแผน การบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ เก็บรวบรวมข้อมูล ติดตามความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ด้านพลังงาน วิเคราะห์แนวโน้ม และประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เพื่อจัดทำข้อเสนอนโยบายและแผน การบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ และเผยแพร่สถิติที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรี หรือคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติมอบหมาย        นอกจากปฏิบัติภารกิจตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในหน้าที่สำนักเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติแล้ว สนพ. ยังเป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการ บริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ที่แต่งตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธาน และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ มีหน้าที่ช่วยกลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารและพัฒนาพลังงานต่าง ๆ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 พระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ได้ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีอย่างกว้างขวางในการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา คือ กฎหมายที่ใช้ในการกำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และในการจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนั้น สนพ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) จึงมีหน้าที่โดยตรงในการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และในการกำหนดนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับราคาน้ำมัน และกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550     ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์พลังงานไว้ในกฎหมายดังกล่าว สนพ. ในฐานะสำนักเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ จึงมีหน้าที่ในการเสนอแนะ และประสานงานเกี่ยวกับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการส่งเสริม การอนุรักษ์พลังงาน โดยเฉพาะการเสนอแนะนโยบาย แผนงาน และมาตรการด้านการอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งการบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการให้สิ่งจูงใจ เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพหรือเพื่อให้มีการผลิตเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูง หรือเพื่อส่งเสริมด้านการศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านการอนุรักษ์พลังงานและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาและการใช้พลังงาน รวมตลอดถึงการส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานใหม่ ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2562 สนพ. มีภารกิจในการเสนอแนะการกำหนดนโยบายและแผนเกี่ยวกับพลังงานของประเทศ รวมทั้งมาตรการทางด้านพลังงาน เพื่อให้ประเทศมีพลังงานใช้ อย่างมั่นคง ยั่งยืน เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศ มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้ 1. เสนอแนะนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาการพลังงานของประเทศ 2. เสนอแนะนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนเพื่อจัดทำกรอบ การจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน 3. กำหนดมาตรการแก้ไขป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง 4. ประสาน ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาการพลังงานของประเทศ รวมทั้งบริหารจัดการกองทุนพลังงาน 5. บริหารจัดการข้อมูล พยากรณ์แนวโน้มด้านพลังงาน และเป็นศูนย์ข้อมูลกลางด้านพลังงานของประเทศ 6. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของสำนักงานหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย **1.2.2 องค์การมหาชนที่จัดตั้งตาม พ.ร.บ. เฉพาะในกำกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน** **สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.)** สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2562 ตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มีหน้าที่และอำนาจตามมาตรา 19 ดังต่อไปนี้ 1. รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ 2. จัดทำแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งรายงานผลการประเมินการปฏิบัติงานและการเสนอแนะมาตรการแก้ไขปัญหาอุปสรรคการปฏิบัติการตามแผนดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการ 3. กู้ยืมเงินตามมาตรา 26 4. เสนอแผนการเงินและงบประมาณประจำปีต่อคณะกรรมการ 5. จัดทำรายงานประจำปีและความเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของสำนักงาน รวมทั้งรายงานการเงินและบัญชี เสนอต่อคณะกรรมการ 6. ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพย์สินใด ๆ 7. ก่อตั้งสิทธิหรือทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สิน 8. ดำเนินคดีทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนหรือการบริหารกองทุนและกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับการจัดการกิจการของกองทุน 9. ปฏิบัติการตามที่คณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือคณะกรรมการมอบหมาย 10. ปฏิบัติการอื่นใดที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของสำนักงาน **1.2.3 องค์กรอิสระ** **คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)** ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 (พระราชบัญญัติฯ) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2550 ได้กำหนดให้มีการแต่งตั้ง “คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)” ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกหกคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงาน อันหมายถึง กิจการไฟฟ้า กิจการก๊าซธรรมชาติ และกิจการระบบโครงข่ายพลังงาน ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติฯ ภายใต้กรอบนโยบายของรัฐ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติฯ มีสถานะเป็นหน่วยงานของรัฐ ทำหน้าที่เป็นเลขานุการของ กกพ. ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติฯ กำหนดให้ กกพ. มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 11 ดังนี้ * กำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงาน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติฯ ภายใต้กรอบนโยบายของรัฐ * ออกประกาศกำหนดประเภทใบอนุญาตการประกอบกิจการพลังงาน และเสนอการตรา พระราชกฤษฎีกาเพื่อกำหนดประเภทขนาด และลักษณะของกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องขอรับใบอนุญาต * กำหนดมาตรการเพื่อให้เกิดความมั่นคงและเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า * กำหนดระเบียบและหลักเกณฑ์ในการจัดหาไฟฟ้า และการออกประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้า รวมทั้งกำกับดูแลขั้นตอนการคัดเลือกให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย * เสนอความเห็นต่อแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้า แผนการลงทุนในกิจการไฟฟ้า แผนการจัดหา ก๊าซธรรมชาติ และแผนการขยายระบบโครงข่ายพลังงานเพื่อนำเสนอรัฐมนตรี * ตรวจสอบการประกอบกิจการพลังงานของผู้รับใบอนุญาตให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส * ออกระเบียบหรือประกาศ และกำกับดูแลมาตรฐานและคุณภาพในการให้บริการ รวมทั้งมาตรการในการคุ้มครองผู้ใช้พลังงานจากการประกอบกิจการพลังงาน * เสนอข้อบังคับและจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานของกรรมการและพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน * ออกระเบียบหรือประกาศกำหนดนโยบายและแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับการมีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์ทับซ้อนของกรรมการและพนักงานเจ้าหน้าที่ * ออกระเบียบหรือประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้าและการใช้จ่ายเงินกองทุนให้สอดคล้องกับนโยบายของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ * ออกคำสั่งและกำหนดค่าปรับทางปกครองตามหมวด 8 การบังคับทางปกครอง * เสนอความเห็นหรือให้คำแนะนำต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับ การประกอบกิจการพลังงาน * ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาวิจัยด้านการประกอบกิจการพลังงาน * ส่งเสริมสังคมและประชาชนให้มีความรู้และความตระหนักทางด้านพลังงาน * ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบกิจการพลังงาน * ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ พลังงานหมุนเวียนและพลังงานที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพในการประกอบกิจการไฟฟ้าและ ความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติ * ประสานงานกับหน่วยงานอื่นในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติการตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติฯ * ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติฯ หรือที่กฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ พันธกิจของ กกพ. ประกอบด้วย * กำกับดูแลพลังงานของประเทศด้วยความเป็นธรรมและโปร่งใสในด้านอัตราค่าบริการ คุณภาพและการให้บริการ * ส่งเสริมการแข่งขันในการจัดหาพลังงาน สร้างความมั่นคง พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานและประสิทธิภาพกิจการพลังงานให้ได้มาตรฐาน เกิดความยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม * สื่อสารหลากหลายช่องทางให้มีพันธมิตรทั้งในและระหว่างประเทศ เพื่อเข้าถึง เข้าใจ และมีส่วนร่วมพัฒนาพลังงานของประเทศ * ปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพด้วยหลักธรรมาภิบาลตอบสนองผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย **1.2.4 รัฐวิสาหกิจและบริษัทมหาชนในกำกับดูแล** **การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)** กฟผ. เป็นรัฐวิสาหกิจด้านกิจการพลังงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงานและกระทรวงการคลัง ดำเนินธุรกิจหลักในการผลิต จัดให้ได้มา และจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ผู้ใช้ไฟฟ้าตามกฎหมายกำหนดและประเทศใกล้เคียง พร้อมทั้งธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการไฟฟ้า ภายใต้กรอบพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 (พระราชบัญญัติฯ) ตามพระราชบัญญัติฯ ได้กำหนดให้จัดตั้ง “การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย” มีสถานะเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ผลิต จัดหา จัดส่งหรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือการไฟฟ้าอื่นตามกฎหมายวาด้วยการนั้น ผู้ใชพลังงานไฟฟาตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ประเทศใกลเคียง รวมทั้งดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟา และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับกิจการของ กฟผ. 2. ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับกิจการของ กฟผ. หรือร่วมทุนกับบุคคลอื่นเพื่อดำเนินการดังกล่าว 3. ผลิตและขายลิกไนต์ หรือวัตถุเคมีจากลิกไนต์หรือโดยอาศัยลิกไนต์หรือร่วมทุนกับบุคคลอื่น เพื่อดำเนินการดังกล่าว 4. สร้างเขื่อนกั้นน้ำ เขื่อนระบายน้ำ เขื่อนกักเก็บน้ำ อ่างเก็บน้ำ หรือสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์ของเขื่อนหรืออ่างนั้นเพื่อการผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือเพื่อการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำหรือเพื่อประโยชน์เกี่ยวกับการไฟฟ้า สร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อน โรงไฟฟ้าพลังน้ำ โรงไฟฟ้าพลังปรมาณู หรือโรงไฟฟ้าพลังอื่น รวมทั้งลานไกไฟฟ้าและ สิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์ของโรงไฟฟ้านั้น ๆ หรือสร้างระบบไฟฟ้า โดยในการดำเนินการของ กฟผ. ให้ "คณะกรรมการการไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย" เป็นผู้ดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการ และกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 10 คน รวมทั้งผู้ว่าการซึ่งเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการ ทั้งนี้ คณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลกิจการของ กฟผ. รวมถึงการออกระเบียบหรือขอบังคับเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์กำหนด ราคาขายพลังงาน ไฟฟ้า ลิกไนต์ วัตถุเคมีจากลิกไนต์ และวัสดุอุปกรณ์และกำหนดค่าบริการและออกระเบียบเกี่ยวกับวิธีชำระราคาขายหรือบริการ **บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)** บริษัท ปตท. จำกัด ( มหาชน ) หรือ ปตท. จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2544 โดยการแปลงสภาพ จากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย โดยรับโอนกิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิด สินทรัพย์ และพนักงานทั้งหมด ภายใต้พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ปตท. มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 20,000 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 2,000 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท โดยได้ทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยวันแรก ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2544 และมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ พันธกิจของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) คือการดำเนินธุรกิจด้านพลังงานและปิโตรเคมีอย่างครบวงจร ในฐานะเป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติ โดยมีพันธกิจในการดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุล ดังนี้ * ต่อประเทศ : สร้างความมั่นคงด้านพลังงานในระยะยาว โดยการจัดหาพลังงานในปริมาณที่เพียงพอ มีคุณภาพได้มาตรฐานและราคาเป็นธรรมเพื่อเสริมสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ * ต่อสังคมชุมชน: เป็นองค์กรที่ดีของสังคม ดำเนินธุรกิจที่มีการบริหารจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล และมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีแก่สังคมชุมชน * ต่อผู้ถือหุ้น: ดำเนินธุรกิจเชิงพาณิชย์ สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดี และมีการขยายธุรกิจให้เติบโตต่อเนื่องอย่างยั่งยืน * ต่อลูกค้า: สร้างความพึงพอใจและความผูกพันแก่ลูกค้า โดยผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการ ที่มีคุณภาพในระดับมาตรฐานสากลด้วยราคาเป็นธรรม * ต่อคู่ค้า: ดำเนินธุรกิจร่วมกันบนพื้นฐานของความเป็นธรรม มุ่งสร้างความไว้วางใจ ความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ดีเพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพ ในการดำเนินธุรกิจร่วมกันในระยะยาว * ต่อพนักงาน: สนับสนุนการพัฒนาความสามารถ การทำงานระดับมืออาชีพอย่างต่อเนื่อง ให้ความมั่นใจในคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานทัดเทียมบริษัทชั้นนำ เพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์กร **ส่วนที่ 2** **ภาพรวมสถานการณ์พลังงานในปัจจุบันและอนาคต** **2.1 แรงขับเคลื่อนจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี** **2.1.1 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ** การเฝ้าติดตามการเติบโตของระบบเศรษฐกิจและความต้องการพลังงานเพื่อปรับตัวให้ทันต่อ การเปลี่ยนแปลงที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง การปรับนโยบายด้านพลังงานให้สอดคล้องกับต้นทุนและ ความต้องการที่จะเกิดขึ้นจริง รวมถึงการตอบสนองต่อรูปแบบการใช้พลังงานที่เปลี่ยนแปลงไปจะสะท้อน ถึงความสามารถในการปรับตัวและการอยู่รอดภายใต้ความเปลี่ยนแปลงในสองทศวรรษหน้า ความเปลี่ยนแปลงจากโลกาภิวัตน์และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้รับ การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจะก่อให้เกิดนวัตกรรมอย่างพลิกผัน อาทิ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ หุ่นยนต์และโดรน เทคโนโลยีพันธุกรรมสมัยใหม่ และเทคโนโลยีทางการเงิน ซึ่งตัวอย่างแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดเหล่านี้ คาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนหลักที่ช่วยทำให้เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะกลับมาขยายตัวได้เข้มแข็งขึ้น จากข้อมูลรายงานภาวะเศรษฐกิจไทย ปี 2560 ของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่าในปี พ.ศ.2560 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 3.9 ตามการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยว ซึ่งสอดคล้องกับเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวชัดเจนและกระจายตัวมากขึ้น โดยการส่งออกสินค้าของไทยมีการกระจายตัวมากขึ้น ทั้งในมิติของประเภทสินค้าและตลาดส่งออก โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และสินค้าเกษตรแปรรูป ซึ่งเป็นผลจาก (1) อุปสงค์ต่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นสอดคล้องกับเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า รวมถึงปริมาณการค้าโลกจากทั้งกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลัก (G3) และเศรษฐกิจเอเชียที่ขยายตัวต่อเนื่องและกระจายตัวมากขึ้น และ (2) การขยายกำลังการผลิตและการย้ายฐานการผลิตของผู้ผลิตต่างชาติมาไทยในช่วงก่อนหน้าในหลายอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นยังมีส่วนช่วยให้มูลค่าสินค้าที่ราคาเคลื่อนไหวสอดคล้องกับราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นเช่นกัน สำหรับภาวะการเงินอยู่ในระดับผ่อนคลายต่อเนื่องและช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีค่าเฉลี่ยที่ประมาณร้อยละ 0.66 **2.1.2 ปัจจัยด้านสังคม** แนวโน้มการเปลี่ยนเป็นยุคดิจิทัล กำลังมีผลต่อวิถีชีวิตและสังคม รวมถึงหลายๆ ธุรกิจ การเปลี่ยนเป็นดิจิทัลได้รับการขับเคลื่อนจากเทคโนโลยีหลากหลายด้าน เช่น การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud) การนำฐานข้อมูลมาวิเคราะห์ในเชิงลึก (Analytics) โทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์ตรวจวัดต่าง ๆ เป็นต้น การรวมกันของเทคโนโลยีเหล่านี้นำไปสู่การนำข้อมูลและความสามารถในการคิดและเรียนรู้มาก่อให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ การเปลี่ยนเป็นดิจิทัลทำให้สังคมมีความเชื่อมโยงถึงกันมากขึ้น จึงมีธุรกิจ แนวใหม่ที่นำแนวคิดของการใช้สินทรัพย์หรือทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่มีการถ่ายโอนกรรมสิทธิ์ และดึงการมีส่วนร่วมของลูกค้าเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเรียกว่า Sharing Economy (ชื่ออื่นๆ เช่น Gig Economy, Platform Economy, Access Economy หรือ Collaborative Consumption) แนวคิดดังกล่าวทำให้ความเข้าใจเรื่องความเป็นเจ้าของสินค้าและบริการเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งถูกใช้งานบนแพลตฟอร์มดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างธุรกิจของแนวคิดนี้ที่ประสบความสำเร็จ เช่น Airbnb, Uber และ Kickstarter เป็นต้น ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้แพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับแนวคิด Sharing Economy เติบโต ได้แก่ ความเชื่อถือ (Trust), การเชื่อมต่อระบบดิจิตัล (Digital Connectivity), ความสามารถในการอ่านเขียน (Literacy) การจ่ายเงินผ่านระบบดิจิทัล (Digital Payment Usage) และการกำกับดูแลที่สนับสนุนธุรกิจใหม่ (Regulations Supporting Entrepreneurial Activity) จากปัจจัยดังกล่าว ทีม Dalberg ได้ประเมินความพร้อมของประเทศกำลังพัฒนาในการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับแนวคิด Sharing Economy ดังรูปที่ 2-1 **** **รูปที่ 2-1 ระดับความพร้อมของประเทศกำลังพัฒนาในการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล** **สำหรับแนวคิด Sharing economy (แหล่งที่มา:** [**https://www.digitalsharingeconomy.com**](https://www.digitalsharingeconomy.com)**)** ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนเป็นดิจิทัลที่เห็นได้ชัด คือ ธุรกิจการเงิน การทำธุรกิจและธุรกรรมทางการเงินในปัจจุบันเปลี่ยนรูปแบบดิจิทัลแทนการใช้บริการผ่านทางธนาคารสาขาหลักมากขึ้น ซึ่งทำให้ผู้บริโภคมีความสะดวกสบาย นอกจากนี้ การทำธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบดิจิทัลเป็นหนทางนำไปสู่สังคมที่ปราศจากเงินสด (Cashless Society) ยิ่งในปัจจุบัน ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นกับการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ Application ผ่านทางโทรศัพท์มือถือมากขึ้น ส่งผลทำให้ธุรกิจ Online Shopping เพิ่มจำนวนและพัฒนาบริการตามไปด้วยปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาสังคมที่ปราศจากเงินสด คือ บริษัทใหญ่ด้านเทคโนโลยี เช่น Google Samsung Apple และ Alibaba บริษัทเหล่านี้ยังอยู่ในช่วงการพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบดิจิทัลนี้ และด้วยข้อจำกัดในเรื่องการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ ยังทำให้ผู้บริโภคทำธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบดิจิทัลยังน้อยอยู่ ข้อดีของสังคมที่ปราศจากเงินสด คือ การเพิ่มการทำธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบดิจิทัล ช่วยส่งเสริมปริมาณการใช้จ่ายและการบริโภค จึงทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตเร็วขึ้น Moody’s Analytics และ Visa ได้ศึกษาผลกระทบของการทำธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบดิจิทัลในปี ค.ศ. 2013 และพบว่าการทำธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบดิจิทัลมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจโลกในช่วงปี ค.ศ. 2008-2012 เติบโตเพิ่มขึ้น 983 ล้านล้าน USD โดย GDP ในประเทศกำลังพัฒนาเติบโตร้อยละ 0.8 และ GDP ในประเทศพัฒนาแล้วเติบโตร้อยละ 0.3 นอกจากนี้ การทำธุรกรรมทางการเงิน ในรูปแบบดิจิทิล ยังช่วย ลดต้นทุนที่มาจากธุรกรรมเงินสด เช่น ความเสี่ยงต่อการสูญหาย การขนส่ง การผลิต และการจัดเก็บรักษา ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพของเศรษฐกิจในการแข่งขันระหว่างประเทศ และการทำธุรกรรมทางการเงิน ในรูปแบบดิจิทัลช่วยให้การจัดเก็บภาษีของรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับข้อเสียของสังคมที่ปราศจากเงินสด ได้แก่ ความกังวลด้านความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัยของระบบ และแนวโน้มที่จะใช้จ่ายเกินตัว โดยความกังวลด้านความเป็นส่วนตัวในธุรกรรมทางการเงิน ก็เนื่องมาจากความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของธนาคาร ผู้ประกอบการ และรัฐบาล รวมถึงข้อมูลการเงินทุกอย่างเข้าไปอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ อาจจะทำให้การโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวทำได้ง่ายขึ้น สำหรับแนวโน้มที่จะใช้จ่ายเกินตัวมีเหตุจากความสะดวกสบายในการจับจ่ายใช้สอย รวมถึงวงเงินที่อนุญาตให้ใช้จ่าย ได้ล่วงหน้าถึงแม้ไม่มีเงินสดอาจนำไปสู่การใช้จ่ายฟุ่มเฟือยได้ เนื่องจากการทำธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบดิจิทัลต้องอาศัยความน่าเชื่อถือของระบบอย่างมาก จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยี Blockchain ขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ในการตรวจสอบความน่าเชื่อ Blockchain คือ รูปแบบการเก็บข้อมูล (Database) แบบหนึ่งโดยใช้วิธีการลงรหัสและระบบที่ไม่มีศูนย์กลาง ซึ่งการเก็บข้อมูลดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือได้และโกงได้ยาก สำหรับการใช้ Blockchain ในธุรกิจการเงินนั้น จะทำให้ ผู้ที่ร่วมทำธุรกรรมทางการเงินทุกคนรับรู้การเคลื่อนไหวสถานะของธุรกรรมนั้นร่วมกัน จุดเด่นหลักของ Blockchain คือ มีการเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เกิดข้อผิดพลาดน้อยลง สามารถตามรอยข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันได้ และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ อย่างไรก็ตามข้อเสียของ Blockchain คือ การนำไปใช้ยังซับซ้อนยุ่งยาก ต้องอาศัยการติดตั้งโปรแกรมอื่นๆ อีกมากมาย รวมถึงต้องมีการทำ Smart Contact โดยปัจจุบันการนำ Blockchain มาใช้ในธุรกิจการเงินยังเป็นเพียงโปรแกรมต้นแบบ (Prototype) เท่านั้น แนวโน้มการเปลี่ยนเป็นดิจิทัลมีผลทำให้อุปสงค์และอุปทานในธุรกิจต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไป แต่สรุปโดยการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้กับธุรกิจทุก ๆ ธุรกิจประกอบด้วย การเปลี่ยนรูปแบบ การบริโภค แนวทางใหม่ในการใช้สินทรัพย์ให้เหมาะสม และการร่วมมือกันของภาคธุรกิจใหม่ๆ ที่ไม่เคย เกิดขึ้นมาก่อน **2.1.3 ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม** ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคาดว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งในเชิงความผันผวน ความถี่ และขอบเขตที่กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ตลอดจนระบบผลิตทางการเกษตรที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกับความมั่นคงด้านอาหารและน้ำ ขณะที่ระบบนิเวศต่าง ๆ มีแนวโน้มเสื่อมโทรมลง และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงในการสูญเสียความสามารถในการรองรับความต้องการของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี ระดับความรุนแรงของผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกและความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศต่าง ๆ ดังกล่าวที่แต่ละประเทศจะต้องเผชิญจะมีความแตกต่างกัน ทำให้การเป็นสังคมสีเขียว การรักษาและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการจะได้รับความสำคัญและความสนใจจากนานาประเทศ รวมทั้งประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก รวมถึงการสร้างสมดุลความมั่นคง ด้านพลังงานและอาหารมีแนวโน้มที่จะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น กฎระเบียบและข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมจะมีความเข้มข้นและเข้มงวดขึ้น โดยกรอบการพัฒนาตามข้อตกลงระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และข้อตกลงปารีส จะได้รับการนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น 2.1.3.1 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) พ.ศ. 2573 ซึ่งประกอบด้วย 17 เป้าหมายการพัฒนา โดยเป้าหมายด้านพลังงานถูกบรรจุเป็นเป้าหมายที่ 7 ภายใต้แนวคิด “การสร้างหลักประกันว่าทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ในราคาที่สามารถซื้อหาได้ เชื่อถือได้ และยั่งยืน” ทั้งนี้ ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกของสหประชาชาติได้ร่วมรับรองวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2558 โดยกระทรวงพลังงานได้รับมอบหมายจากคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ในการประชุมครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2559 ให้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย เป็นเจ้าภาพการขับเคลื่อนเป้าหมาย การพัฒนาที่ 7 ซึ่งเป้าประสงค์ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก คือ 1) การเข้าถึงพลังงาน 2) การเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน และ 3) การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยมีผลดำเนินงาน ณ มิถุนายน 2561 ของแต่ละเป้าประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1. การสร้างหลักประกันว่ามีการเข้าถึงการบริการพลังงานสมัยใหม่ในราคาที่สามารถซื้อหาได้และเชื่อถือได้ มีเป้าหมายร้อยละของประชากรที่เข้าถึงไฟฟ้า เท่ากับ 99.99 (ปัจจุบันร้อยละ 99.76) และมีประชาชนพึ่งพาเทคโนโลยีพลังงานสะอาดในการหุงต้มเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 82.29 2. เพิ่มสัดส่วนของพลังงานทดแทน มีเป้าหมายสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 (ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 15.60) 3. ลดความเข้มข้นการใช้พลังงาน (Energy Intensity: EI) ลงร้อยละ 30 หรือเท่ากับ 5.98 ktoe/พันล้านบาท ภายในปี 2579 เมื่อเทียบกับปีฐาน (2553) (ปัจจุบันอยู่ที่ 7.87 ktoe/พันล้านบาท) 2.1.3.2 ข้อตกลงปารีส การทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศที่จะร่วมกันปกป้องสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้ทุกประเทศทั่วโลกต่างมีนโยบายที่จะมุ่งไปสู่เป้าหมายร่วมกันทางสิ่งแวดล้อม เป้าหมายสำคัญในข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) จากการจัดประชุมสุดยอดผู้นำในประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Conference of the Parties (COP) นั้นคือ การที่จะไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส ซึ่งการเพิ่มขึ้นเพียง 2 องศาเซลเซียสนี้อาจส่งผลรุนแรงต่อมนุษยชาติ เช่น กลุ่มประเทศหมู่เกาะและชายฝั่งบางส่วนของโลกอาจจมลงเนื่องจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น และพื้นที่การเกษตรของกลุ่มประเทศในทวีปแอฟริกาอาจเสียหายจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น เป้าหมายระยะยาวที่สำคัญอีกสองเป้าหมาย คือ การบรรลุระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดในระดับโลก (Peak Global Greenhouse Gas Emissions) โดยเร็วที่สุด และการบรรลุสมดุลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ ประเทศไทยแสดงเจตจำนงการร่วมลดก๊าซเรือนกระจกตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ซึ่งกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกออกเป็นสองช่วงเวลา ได้แก่ 1. **NAMAs ภายใน ค.ศ. 2020:** เจตจำนงการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศไทย (NAMAs) ร้อยละ 7-20 ภายในปี พ.ศ2563 (ค.ศ.2020) โดยเทียบเคียงกับกรณีปกติ (Business as Usual: BAU) เฉพาะในภาคพลังงานและคมนาคมขนส่ง 2. **NDC ค.ศ. 2020 - 2030:** ข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประเทศไทยในการลดก๊าซ เรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายหลังปี ค.ศ.2020 (Nationally Determined Contribution: NDC) ร้อยละ 20-25 ภายในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) โดยเทียบเคียงกับกรณีปกติ (BAU) ซึ่งสาขาพลังงานและคมนาคมขนส่งนั้น ถือว่ามีความพร้อมสูงสุดในการติดตามผลการดำเนินงาน ตามมาตรการในแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) และแผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP) เพื่อรายงานผลการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศอย่างเป็นระบบตามมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล กระทรวงพลังงานโดยคณะทำงานประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกระทรวงพลังงาน ซึ่งมีสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เป็นหน่วยประสานงานกลาง จึงเป็นกลไกสำคัญในการติดตามผลการดำเนินงานตามมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ดังนั้น เพื่อเร่งการพัฒนาไปสู่เป้าหมายดังกล่าวและการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานในอนาคตอันใกล้นี้ ภาคอุตสาหกรรมและรัฐควรดำเนินการสิ่งต่าง ๆ เช่น การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนโดยพยายามลดต้นทุนการออกแบบระบบการก่อสร้าง และการติดตั้งโดยการพัฒนามาตรฐานร่วมกันของการผลิตและการใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูป การพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานที่มีประสิทธิภาพและมีราคาที่เอื้อมถึงได้โดยนโยบายส่งเสริมและแรงจูงใจจากทางภาครัฐ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่จะเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการที่บริษัทผู้นำด้านเชื้อเพลิงฟอสซิลที่จะต้องปรับให้มีการลงทุนในส่วนของพลังงานคาร์บอนต่ำในสัดส่วนที่มากขึ้นและมีนโยบายและแรงจูงใจจากภาครัฐตัวอย่างเช่นเรื่องภาษีคาร์บอนที่จะส่งเสริมการลงทุนดังกล่าวจากภาคเอกชน เป็นต้น สำหรับนโยบายเรื่องภาษีคาร์บอนหรือระบบการแลกเปลี่ยนหน่วยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้น แม้ยังไม่เป็นที่นิยมทั่วโลกนัก แต่ในปี ค.ศ. 2016 ที่ผ่านมา จำนวนประเทศที่มีนโยบายดังกล่าวก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ดังรูปที่ 2-2 **รูปที่ 2-2 ประเทศที่มีนโยบายเรื่องภาษีคาร์บอนหรือระบบการแลกเปลี่ยนหน่วยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์** **2.1.4 ปัจจัยด้านเทคโนโลยี** ปัจจัยที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของระบบพลังงานไฟฟ้ามีหลากหลาย โดย Chief Technology Officer บริษัท Siemens ให้ความคิดเห็นว่า 3 ปัจจัยที่สำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของระบบพลังงานไฟฟ้า ได้แก่ การพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ของเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค และเป้าหมายทางการเมือง โดยปัจจัยด้านเป้าหมายทางการเมือง และการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ของเทคโนโลยีนั้นเป็นปัจจัยหลักที่นำไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น ระบบพลังงานไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ และ การพัฒนาด้านประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า ทั้งนี้ เพื่อก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เป้าหมาย ทางการเมืองควรเน้นในประเด็นการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ความยั่งยืน ประสิทธิภาพพลังงาน และความยืดหยุ่นของระบบ สำหรับเทคโนโลยีที่ต้องได้รับการพัฒนา ได้แก่ เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมและแสงอาทิตย์ ระบบกักเก็บพลังงาน และการเปลี่ยนเป็นดิจิทัล **เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม** ได้รับความสนใจจากบริษัทพลังงานรายใหญ่ และ มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่เพื่อลดต้นทุนและปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า สำหรับกำลังการผลิตติดตั้งจากพลังงานลมในปี ค.ศ. 2016 นี้ มีปริมาณเพิ่มขึ้น 55 GW ซึ่งทำให้กำลังติดตั้งสะสมทั่วโลก มีปริมาณ 487 GW โดยประมาณ ร้อยละ 50 ของกำลังติดตั้งที่เพิ่มขึ้นในปี ค.ศ. 2016 นี้อยู่ในทวีปเอเชีย โดยประเทศจีนเป็นผู้นำ ตามด้วยทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ ใน ปี ค.ศ. 2016 นี้ ราคาในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมโดยเฉลี่ยมีราคาต่ำกว่า 0.1 USD/kWh ดังรูปที่ 2-3 ทั้งนี้ ราคาในการผลิตไฟฟ้านี้ ยังมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจากความรู้ด้านการติดตั้งและบำรุงรักษามีความก้าวหน้ามากขึ้น และในส่วนการผลิตใบพัดที่มีมาตรฐานกว่าเดิม รวมถึงขนาดใบพัดที่มีประสิทธิภาพและมีความสามารถในการผลิตไฟฟ้า (Capacity Factor) ของพลังงานลมมีค่าสูงขึ้น ซึ่ง Capacity Factor PV มีความหลากหลายตามสภาพภูมิประเทศ ปัจจุบันมีความสามารถสูงถึงร้อยละ 43 ในประเทศแถบอเมริกาใต้ **** **** **รูปที่ 2-3 LCOE ราคาลงทุน และ Capacity Factor ของพลังงานลมในบางประเทศ** **เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์** มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจาก Solar Photovoltaic (PV) ตลาดของ PV ในปี ค.ศ. 2016 นี้เติบโตเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 โดยมีกำลังผลิตติดตั้งอย่างน้อย 75 GWdc ดังรูปที่ 2-4 และร้อยละ 85 ของกำลังติดตั้งนี้อยู่มากในประเทศจีนสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย และสหราชอาณาจักร ตามลำดับ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณากำลังติดตั้งสะสมแล้ว ประเทศจีนยังคงเป็นผู้นำอันดับ 1 ตามด้วยประเทศเยอรมนี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และอิตาลี ดังรูปที่ 2-5 ทั้งนี้ ตลาด PV ส่วนใหญ่ในหลายๆ พื้นที่ทั่วโลกยังคงเป็นตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยนโยบายของรัฐ การที่ตลาด PV ขยายเพิ่มขึ้นนี้ก็อันเนื่องมาจากความสามารถในการแข่งขันของ PV และความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงการเพิ่มความตระหนักรู้ในเรื่องศักยภาพของ PV ในการลดมลภาวะและการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้ ราคาในการผลิตไฟฟ้าจาก PV ในตลาดเกิดใหม่นั้น ดังรูปที่ 2-6 สามารถแข่งขันกับการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลได้นอกจากนี้ ความต้องการ PV ที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ระบบผลิตไฟฟ้าจาก PV มีราคาที่ลดลง โดยราคาแผง PV ลดลงประมาณร้อยละ 29 จากราคาใน ปี ค.ศ. 2015 หรือราคาเหลือประมาณ 0.41 USD/Watt สำหรับความสามารถในการผลิตไฟฟ้า (Capacity Factor) ของ PV มีความหลากหลายตามสภาพภูมิประเทศซึ่ง Capacity Factor ปัจจุบันสามารถขึ้นไปถึงร้อยละ 26 ในประเทศแถบตะวันออกกลาง **** **รูปที่ 2-4 กำลังติดตั้ง PV ทั่วโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006-2016** **** **รูปที่ 2-5 กำลังติดตั้ง PV ทั่วโลกแบ่งตามประเทศ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006-2016** **** **รูปที่ 2-6 LCOE ราคาลงทุน และ Capacity factor ของ PV ในบางประเทศ** **ระบบกักเก็บพลังงาน** เป็นเครื่องมือสำคัญหนึ่งที่จะช่วยให้การผสานพลังงานหมุนเวียน มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า รวมทั้งช่วยทำให้การผลิตไฟฟ้าแบบกระจายและพลังงานสะอาดมีเสถียรภาพเพิ่มขึ้น การใช้ระบบกักเก็บพลังงานเพื่อประโยชน์ในการจัดการระบบไฟฟ้า และพลังงานหมุนเวียนได้รับความสนใจอย่างมาก การเลือกใช้งานระบบกักเก็บพลังงานในระบบไฟฟ้าขึ้นอยู่กับระดับการให้บริการและวัตถุประสงค์การใช้ ดังรูป 2-7 อย่างไรก็ตาม การพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานยังมุ่งไปในแค่ตลาดเฉพาะกลุ่ม อย่างกลุ่มประเทศ ที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากแม้แนวโน้มราคาระบบกักเก็บพลังงานจะลดลงดังรูปที่ 2-8 ถึง รูปที่ 2-9 แต่ราคาก็ยังถือว่าสูงอยู่ และการลงทุนในช่วงเริ่มต้นนั้นยังต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐหรือแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ **** **รูปที่ 2-7 ประโยชน์ของระบบกักเก็บพลังงานในระบบไฟฟ้าตามระดับการให้บริการ** **** **รูปที่ 2-8 แนวโน้มราคาเฉลี่ยโลกของระบบกักเก็บพลังงานในระดับ Utility-Scale** **แบ่งตามเทคโนโลยี (ที่มา: Navigant Research)** **** **รูปที่ 2-9 แนวโน้มราคาเฉลี่ยโลกของระบบกักเก็บพลังงานในระดับผู้ใช้ที่อยู่อาศัย** **แบ่งตามเทคโนโลยี (ที่มา: Navigant Research)** **การเปลี่ยนเป็นดิจิทัล** ระบบไฟฟ้าในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้นเนื่องมาจากมีการผลิตไฟฟ้ากระจาย ณ ตำแหน่งต่างๆ ในระบบ และมีการเชื่อมต่อพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เพื่อติดตามการทำงานและสื่อสารข้อมูลไปยังศูนย์การควบคุมเพื่อช่วยให้การควบคุมระบบต่างๆ เป็นไปโดยอัตโนมัติ การใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับภาคพลังงาน เช่น การใช้สมาร์ทมิเตอร์ เพื่อใช้เก็บข้อมูลการใช้ไฟฟ้า การใช้อุปกรณ์ Internet of Things (IoT) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเพื่อใช้มอนิเตอร์ แลกเปลี่ยนข้อมูลหรือควบคุมอุปกรณ์ที่นำไปติดตั้งได้จากระยะไกล อุปกรณ์ดังกล่าวนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดการพลังงานในบ้าน อาคารอัจฉริยะได้ เมื่อประสานการทำงานของมิเตอร์ดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะช่วยให้สามารถดึงศักยภาพในการจัดการด้านความต้องการใช้ไฟฟ้าได้ รวมทั้งดึงการมีส่วนรวมของผู้ใช้ไฟฟ้าในการจัดการพลังงาน **2.2 แนวโน้มและทิศทางพลังงานของโลก** ที่ผ่านมา องค์กรระหว่างประเทศด้านพลังงานหลากหลายองค์กร ได้จัดทำบทวิเคราะห์แนวโน้มและทิศทางพลังงานของโลก โดยผลการวิเคราะห์แนวโน้มและทิศทางพลังงานของโลก สรุปได้ดังนี้ **2.2.1 ความต้องการใช้พลังงาน** จากรายงานภาพอนาคตพลังงานโลก หรือ World Energy Outlook 2018 ของทบวงพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency : IEA) ซึ่งมีการวิเคราะห์จำลองฉายภาพอนาคตในปี ค.ศ. 2040 โดยตั้งสมมติฐานว่า หากรัฐบาลไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายใดๆ ไปจากเดิม และความต้องการใช้พลังงานของโลกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ต่อปีไปจนถึงปี ค.ศ. 2040 ดังแสดงในรูปที่ 2-10 โดยความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะมาจากประเทศกำลังพัฒนา โดยประเมินจากการประมาณการเติบโตของเศรษฐกิจ จากตัวเลข GDP ที่คาดว่าจะเติบโตเฉลี่ยประมาณร้อยละ 3.4 ต่อปี แม้ความต้องการใช้พลังงานจากประเทศกำลังพัฒนาจะสูงขึ้นมาก แต่คาดว่าประชาชนกว่าห้าร้อยล้านคนจะยังคงไม่สามารถเข้าถึงการใช้พลังงานไฟฟ้า **รูปที่ 2-10 ความต้องการใช้พลังงานของโลกแยกตามกลุ่มประเภทสมาชิก IEA** **New Policies Scenario (ที่มา: World Energy Outlook 2018, IEA)** สำหรับภาพอนาคตพลังงานที่ ExxonMobil วิเคราะห์ในรายงาน 2019 Outlook for Energy: A Perspective to 2040 ระบุว่า ความต้องการใช้พลังงานของโลกในปี ค.ศ. 2040 จะเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 2017 มาอยู่ที่ระดับ 675 Quadrillion BTUs โดยส่วนใหญ่ความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มจะมาจากประเทศกำลังพัฒนาที่มีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นและมีมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จีนและอินเดียที่มีความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นรวมกันคิดเป็นร้อยละ 50 ของความต้องการใช้พลังงานของโลกที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด ทางด้าน World Energy Council (WEC) ได้จัดทำภาพอนาคตทางพลังงาน World Energy Scenarios 2019 เป็นมุมมองภาพอนาคตในระยะยาว ถึงปี ค.ศ. 2040 ได้จัดภาพอนาคตทางพลังงานออกเป็นสามด้าน โดยในภาพ Modern Jazz หรือแนวโน้มที่การเติบโตทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นอย่างกระจุกตัวในแต่ละภูมิภาคและเทคโนโลยีสมัยใหม่ถูกนำมาใช้ คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของ GDP จะเกิดขึ้นสูงกว่าความก้าวหน้ากว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของประสิทธิภาพการใช้พลังงานส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานขั้นต้นเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13 **2.2.1.1 ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ** จากรายงาน World Energy Outlook 2018 ของ IEA คาดการณ์ว่า ในปี ค.ศ. 2040 ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติจะสูงขึ้นกว่าร้อยละ 45 เทียบกับปี ค.ศ. 2018 โดยมีอัตราการเติบโต ร้อยละ 1.6 ต่อปี จนทำให้สัดส่วนการใช้พลังงานของโลกจากก๊าซธรรมชาติจะสูงกว่าถ่านหินในปี ค.ศ. 2030 ตลาดก๊าซธรรมชาติจะเปลี่ยนแปลงไปโดยที่สัดส่วนปริมาณการซื้อขายก๊าซในรูปของ LNG เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 42 ไปเป็น ร้อยละ 60 ภายในปี ค.ศ. 2040 โดย LNG มากกว่าครึ่งจะถูกส่งไปยังแถบเอเชีย ตลาดก๊าซจะมีการแข่งขันกันมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อราคาและอายุสัญญาในการซื้อขายที่จะเปลี่ยนไปจากปัจจุบัน สำหรับการวิเคราะห์ความต้องการใช้ก๊าซฯ ในรายงาน 2019 Outlook for Energy: A Perspective to 2040 ของ ExxonMobil ได้ผลวิเคราะห์ที่สอดคล้องกับ IEA ว่า ความต้องการใช้ ก๊าซธรรมชาติจะเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงชนิดอื่น โดยสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติจะแซงหน้าถ่านหินเพิ่มขึ้นมาเป็นร้อยละ 25 ของความต้องการใช้พลังงานทั้งหมดในปี ค.ศ. 2040 ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ทรัพยากร ก๊าซธรรมชาติมีปริมาณที่ล้นเหลือที่จะสามารถใช้ต่อไปได้อีกกว่า 200 ปี รวมไปถึงแรงจูงใจจากการที่การผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาตินั้นจะมีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าถ่านหินถึงกว่าร้อยละ 60 **2.2.1.2 ความต้องการใช้น้ำมัน** จากรายงาน World Energy Outlook 2018 ของ IEA คาดการณ์ว่า ความต้องการใช้น้ำมัน จะยังคงมีแนวโน้มที่สูงขึ้น โดยมีความต้องการเพิ่มขึ้นประมาณ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นผลจากความต้องการใช้น้ำมันในการขนส่งสินค้าทางถนน การบิน และปิโตรเคมี โดยในปี ค.ศ. 2040 ความต้องการใช้น้ำมันจะสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 106.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 2017 ที่มีความต้องการใช้น้ำมันอยู่ที่ระดับ 94.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ความต้องการใช้น้ำมันสำหรับรถยนต์จะแตะจุดสูงสุดในช่วงปี ค.ศ. 2025 อันเป็นผลจากการพัฒนาประสิทธิภาพรถยนต์ รวมไปถึงการเพิ่มขึ้นของการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพและปริมาณการใช้รถไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในขณะที่การลงทุนในน้ำมันของอุตสาหกรรมต้นน้ำจะมีแนวโน้มลดลงซึ่งอาจทำให้การจัดหาน้ำมันแหล่งใหม่ๆ ในอนาคตมีแนวโน้มที่ลดลง สำหรับการวิเคราะห์ความต้องการใช้น้ำมัน ในรายงาน 2019 Outlook for Energy: A Perspective to 2040 ของ ExxonMobil ได้ผลวิเคราะห์ที่สอดคล้องกับ IEA ว่าน้ำมันจะยังคงเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลกซึ่งมีความต้องการใช้น้ำมันคิดเป็นสัดส่วนถึงหนึ่งในสามของความต้องการใช้พลังงานทั้งหมด น้ำมันจะยังคงมีบทบาทสำคัญ เนื่องจากยังคงมีความต้องการใช้น้ำมันในการขนส่งและใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ในรายงาน World Energy Scenarios 2019 ของ WEC แม้ว่าภาพอนาคต Modern Jazz และ Unfinished Symphony จะคาดการณ์ว่ายานยนต์ไฟฟ้าจะได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างมาก แต่ทว่า ผลวิเคราะห์ก็เป็นทิศทางเดียวกันกับ ExxonMobil ว่าน้ำมันจะยังคงเป็นเชื้อเพลิงหลักในการคมนาคมขนส่งไปจนถึง ค.ศ. 2040 เพราะติดข้อจำกัดด้านระยะเวลาการเปลี่ยนรถยนต์เดิมที่วิ่งอยู่บนถนนให้เป็นยานยนต์ไฟฟ้าและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน **2.2.1.3 ความต้องการใช้ไฟฟ้า** ในรายงาน World Energy Scenarios 2019 ของ WEC คาดการณ์ว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าภายใต้ภาพอนาคต Unfinished Symphony จะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60 ในปี ค.ศ. 2040 เป็นผลให้การใช้พลังงานไฟฟ้าคิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 31 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย โดยมีสัดส่วนการผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิลลดเหลือต่ำกว่า ร้อยละ 50 ของเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าทั้งหมด และบทบาทของพลังงานหมุนเวียนจะมีเพิ่มมากขึ้น **2.2.2 รูปแบบการใช้พลังงาน (Fuel Mix)** จากรายงาน World Energy Outlook 2018 ของ IEA คาดการณ์ว่า รูปแบบการใช้พลังงานจะเปลี่ยนมาสู่การใช้พลังงานจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) มากขึ้น โดยการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 40 ในปี ค.ศ. 2040 จากเดิมที่มีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 25 ในปี ค.ศ. 2017 นอกจากนี้ ปริมาณรถยนต์ไฟฟ้าที่วิ่งในท้องถนนทั่วโลกจะสูงถึงกว่า 40 ล้านคัน ในปี ค.ศ. 2025 และเพิ่มขึ้นเป็น 300 ล้านคัน ในปี ค.ศ. 2040 (ไม่นับรวมสอง/สามล้อ) สำหรับการวิเคราะห์รูปแบบการใช้พลังงาน ในรายงาน 2019 Outlook for Energy: A Perspective to 2040 ของ ExxonMobil พบว่า ทิศทางอนาคตปี ค.ศ. 2040 จะมีการกระจายชนิดเชื้อเพลิงในการใช้พลังงานมากขึ้น ดังแสดงในรูปที่ 2-11 โดยเชื้อเพลิงที่ปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ในระดับต่ำจะมีอัตราการเติบโตสูงสุด เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ขณะที่ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบยังคงเป็นเชื้อเพลิงที่มีบทบาทสำคัญสำหรับการให้พลังงานที่มั่นคงในราคาที่เข้าถึงได้ซึ่งจำเป็นต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ **รูปที่ 2-11 สัดส่วนความต้องการใช้พลังงานของโลกแยกตามชนิดเชื้อเพลิง ปี ค.ศ. 2040** **(ที่มา: 2019 Outlook for Energy: A Perspective to 2040, ExxonMobil)** จากรายงาน Annual Energy Outlook 2019 ของสำนักงานข้อมูลสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐอเมริกา (Energy Information Agency :EIA) ซึ่งได้จัดทำภาพอนาคตโดยฉายภาพไปจนถึงปี ค.ศ. 2050 ระบุว่า กำลังการผลิตไฟฟ้าสำหรับการใช้ในอาคารและบ้านที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีที่ลดลงและความต่อเนื่องของแรงจูงใจสำหรับเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ในทุก ๆภาคส่วน ดังแสดงในรูปที่ 2-12 โดยที่การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (solar PV) จะเติบโตขึ้นอย่างมากจากเดิมที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าในปี ค.ศ. 2015 ที่ระดับต่ำกว่า 10 กิกะวัตต์ (GW) ทั้งในภาคที่อยู่อาศัยและเชิงพาณิชย์ เติบโตขึ้นมาถึงระดับที่สูงกว่า 80 กิกะวัตต์ (GW) สำหรับอาคารอยู่อาศัย และ 40 กิกะวัตต์ (GW) สำหรับอาคารพาณิชย์ ในปี ค.ศ. 2040 **รูปที่ 2-12 กำลังการผลิตไฟฟ้าสำหรับการใช้ในอาคารและบ้านที่อยู่อาศัยกรณี** **Reference case ในช่วงปี ค.ศ. 2018-2050 (ที่มา: Annual Energy Outlook 2019, EIA)** บริษัท เชลล์ ได้จัดทำแบบจำลองสถานการณ์ด้านพลังงาน Sky Scenario ซึ่งเป็นกรณีที่มุ่งนำเสนอแนวทางที่เป็นไปได้ทั้งด้านภาคเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และเทคโนโลยี ในการบรรลุเป้าหมายข้อตกลงปารีสฯ  ที่ตั้งเป้าหมายร่วมกันในการรักษาอุณหภูมิโลกให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส เหนือกว่าระดับอุณหภูมิก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยแบบจำลอง Sky คาดว่าภายในปี ค.ศ.2070 การใช้พลังงานไฟฟ้าจะมีสัดส่วนมากกว่า 50% ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย ปัจจุบัน การใช้พลังงานไฟฟ้าเริ่มมีบ้างแล้วในภาคการขนส่ง ขณะที่พลังงานฟอสซิลจะถูกใช้น้อยลงในระบบการผลิตไฟฟ้า และ มีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทน ขณะเดียวกัน พลังงานชีวมวลก็จะเริ่มมีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้การใช้พลังงานฟอสซิลจะยังเพิ่มขึ้นไปจนถึงปี ค.ศ.2025 ก่อนที่จะเริ่มลดลงในปี ค.ศ.2030 และลดต่ำกว่าระดับปัจจุบันในปี ค.ศ.2040 ส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติเหลวจะลดลงราว 50% ช่วงปี ค.ศ.2020-2050 ดังแสดงรายละเอียดในรูปที่ 2-13 **** **รูปที่ 2-13 การคาดการณ์ความต้องการใช้พลังงานสำหรับแต่ละประเภทเชื้อเพลิง** **สำหรับ Sky Sceneario ของบริษัทเชลล์** **2.3 สถานการณ์พลังงานของไทยในปัจจุบัน** สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานอัตราการเติบโต ทางเศรษฐกิจไทยปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 3.9 ปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนทั้งภายใน ประเทศ และต่างประเทศ อาทิ การขยายตัวของการส่งออกสินค้า การบริโภคภาคเอกชนที่มีการขยายตัวต่อเนื่อง การใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุนรวม โดยการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้ามีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 9.7 ถือเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 ปี การลงทุนรวมและการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น ตามสภาวะ เศรษฐกิจ เช่นเดียวกับภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ด้านดัชนีผลผลิตทางอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมหลายประเภท อาทิ การผลิตผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ และการผลิตส่วนประกอบ และอุปกรณ์ ประกอบสำหรับรถยนต์และเครื่องยนต์ เป็นต้น ทั้งนี้ปัจจัยข้างต้นส่งผลต่อสถานการณ์พลังงานไทยในปี 2560 ดังนี้ **การผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้น** จากข้อมูล ณ ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2562 ปริมาณการผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้นของประเทศไทยอยู่ที่ระดับ 949 พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันของ ปี 2561 โดยการผลิตพลังงานในประเทศส่วนใหญ่ ทั้งคอนเดนเสท ก๊าซธรรมชาติและลิกไนต์เพิ่มขึ้น ในขณะที่การผลิตน้ำมันดิบและการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำลดลง สัดส่วนการผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้นในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2562 นั้นเป็นการผลิตก๊าซธรรมชาติ ร้อยละ 68 ตามด้วยการผลิตน้ำมันดิบ (ร้อยละ 13) คอนเดนเสท (ร้อยละ 10) ลิกไนต์ (ร้อยละ 8) และพลังน้ำ (ร้อยละ 1) ตามลำดับ **การนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้น (สุทธิ)** จากข้อมูล ณ ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2562 ปริมาณการนำเข้าพลังงงาน (สุทธิ) ของไทย อยู่ที่ระดับ 1,494 พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันของปี 2561 โดยการนำเข้าพลังงาน (สุทธิ) เพิ่มขึ้นเกือบทุกประเภท ยกเว้นการนำเข้าไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 3.0 สัดส่วนการนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้นในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2562 นั้นเป็นการนำเข้าน้ำมันดิบร้อยละ 60 ตามด้วยการนำเข้าถ่านหิน (ร้อยละ 20) ก๊าซธรรมชาติ (ร้อยละ 17) และไฟฟ้า (ร้อยละ 3) ทั้งนี้ น้ำมันดิบที่นำเข้าส่วนใหญ่มาจากตะวันออกกลาง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของการนำเข้าน้ำมันดิบทั้งหมด **การใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้น** จากข้อมูล ณ ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2562 ปริมาณการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้นของประเทศไทย อยู่ที่ระดับ 2,160 พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน ลดลงร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันของ ปี 2561 โดยก๊าซธรรมชาติมีสัดส่วนการใช้มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 41 รองลงมาคือ น้ำมัน (ร้อยละ40) ถ่านหิน/ลิกไนต์ (ร้อยละ 16) และไฟฟ้าพลังน้ำ/ไฟฟ้านำเข้า (ร้อยละ 3) ตามลำดับ **การใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นสุดท้าย** จากข้อมูล ณ ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2562 ปริมาณการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นสุดท้ายของประเทศไทย อยู่ที่ระดับ 1,538 พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน ลดลงร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันของ ปี 2561โดยน้ำมันมีสัดส่วนการใช้มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 56 รองลงมาคือ ไฟฟ้า(ร้อยละ22) ก๊าซธรรมชาติ (ร้อยละ11) และถ่านหินนำเข้า (ร้อยละ 11) และลิกไนต์ (ร้อยละ 0.2) **มูลค่าการนำเข้าพลังงาน** มูลค่าการนำเข้าพลังงานของไทย ในปี 2562 ณ ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2562 พบว่าอยู่ที่มูลค่า 382 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันของปี 2561 โดยส่วนใหญ่เป็นมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบ (ร้อยละ 64) ตามด้วยน้ำมันสำเร็จรูป (ร้อยละ 13) ก๊าซธรรมชาติ (ร้อยละ7) ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) (ร้อยละ 7) ถ่านหิน (ร้อยละ 4) และการนำเข้าไฟฟ้าคิดเป็นร้อยละ 4 **มูลค่าการส่งออกพลังงาน** มูลค่าการส่งออกพลังงานของไทย ในปี ณ ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2562 พบว่าอยู่ที่มูลค่า 70 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 20.7 จากช่วงเดียวกันของปี 2561 โดยส่วนใหญ่เป็นมูลค่า การส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป (ร้อยละ 86) ตามด้วยน้ำมันดิบ (ร้อยละ 11) และไฟฟ้า (ร้อยละ 3) สำหรับสัดส่วนมูลค่าการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป ร้อยละ 38 เป็นการส่งออกน้ำมันดีเซล ตามด้วยการมูลค่า การส่งออกน้ำมันเตา (ร้อยละ 33) น้ำมันเบนซิน (ร้อยละ 13) น้ำมันเครื่องบิน (ร้อยละ 10) และ ก๊าซ LPG (ร้อยละ 6) ซึ่งน้ำมันสำเร็จรูปที่ส่งออกส่วนใหญ่ ส่งไปยังประเทศในอาเซียน (ร้อยละ 94) ประกอบด้วย สิงคโปร์ กัมพูชา ลาว เวียดนาม มาเลเซีย เมียนมา และฟิลิปปินส์ สถานการณ์พลังงานของไทยในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม พ.ศ. 2562 เมื่อจำแนกตามประเภทชนิดเชื้อเพลิง สรุปได้ดังนี้ **น้ำมัน** ***น้ำมันดิบและคอนเดนเสท*** การจัดหาน้ำมันดิบของไทยในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2562 มีปริมาณรวม 1,108 พันบาร์เรลต่อวัน มาจากการผลิตในประเทศร้อยละ 12 และจากการนำเข้าร้อยละ 88 โดยแหล่งน้ำเข้าน้ำมันดิบหลักมาจากประเทศกลุ่มตะวันออกกลาง (ร้อยละ 63) ตามด้วยแหล่งอื่นๆ (ร้อยละ 23) และตะวันออกไกล (ร้อยละ 14) 123 พันบาร์เรลต่อวัน การจัดหาน้ำมันดิบในภาพรวม พบว่ามีปริมาณลดลงจากช่วงเดียวกันของ ปี 2561 ร้อยละ1.9 ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบของไทยในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2562 อยู่ที่ระดับ 985 พันบาร์เรลต่อวัน ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของการนำเข้าน้ำมันดิบทั้งหมด การกลั่นน้ำมันดิบของไทย พบว่าในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2562 มีความสามารถในการกลั่นรวมทั้งสิ้น 1,235 พันบาร์เรลต่อวัน โดยมีการใช้น้ำมันเพื่อการกลั่น 1,152 พันบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 93ของความสามารถในการกลั่นทั้งประเทศ ดังแสดงในรูปที่ 2-14 **รูปที่ 2-14 การใช้กำลังการกลั่นน้ำมันของประเทศ ณ ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2562** ***น้ำมันสำเร็จรูป*** ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2562 การผลิตน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศอยู่ที่ปริมาณ 190 ล้านลิตร ต่อวัน และมีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปที่ปริมาณ 9.93 ล้านลิตรต่อวัน ส่วนปริมาณการใช้น้ำมันสำเร็จรูปอยู่ที่ 149 ล้านลิตรต่อวัน โดยปริมาณการส่งออกอยู่ที่ 28.1 ล้านลิตรต่อวัน **น้ำมันเบนซิน** ในเดือนมกราคม-มีนาคม 2562 มีปริมาณการผลิตอยู่ที่ 36 ล้านลิตรต่อวัน นำเข้าอยู่ที่ปริมาณ 4.9 ล้านลิตรต่อวัน ในส่วนปริมาณการใช้อยู่ที่ 32 ล้านลิตรต่อวัน และส่งออกที่ 3.6 ล้านลิตรต่อวัน **น้ำมันดีเซล** ในเดือนมกราคม-มีนาคม 2562 มีปริมาณการผลิตอยู่ที่ 77 ล้านลิตรต่อวัน นำเข้าอยู่ที่ปริมาณ 2.9 ล้านลิตรต่อวัน ในส่วนปริมาณการใช้อยู่ที่ 70 ล้านลิตรต่อวัน และส่งออกที่ 10.7 ล้านลิตรต่อวัน **น้ำมันเตา** ในเดือนมกราคม-มีนาคม 2562 มีปริมาณการผลิตอยู่ที่ 16 ล้านลิตรต่อวัน นำเข้าอยู่ที่ปริมาณ 1 แสนลิตรต่อวัน ในส่วนปริมาณการใช้อยู่ที่ 6 ล้านลิตรต่อวัน และส่งออกที่ 9.3 ล้านลิตร ต่อวัน **น้ำมันเครื่องบิน** ในเดือนมกราคม-มีนาคม 2562 มีปริมาณการผลิตอยู่ที่ 22 ล้านลิตรต่อวัน นำเข้าอยู่ที่ปริมาณ 0.6 ล้านลิตรต่อวัน ในส่วนปริมาณการใช้อยู่ที่ 21 ล้านลิตรต่อวัน และส่งออกที่ 2.9ล้านลิตรต่อวัน **ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)** ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2562 การจัดหา LPG อยู่ที่ปริมาณ 602 พันตันต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ร้อยละ 3.7 โดยแหล่งจัดหาก๊าซ LPG ส่วนใหญ่ มาจากโรงแยกก๊าซ (ร้อยละ 56) จากโรงกลั่นน้ำมันที่ปริมาณร้อยละ 32 และจากการนำเข้าในสัดส่วน ร้อยละ 12 ตามลำดับ ปริมาณการใช้ LPG ในประเทศในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2562 อยู่ที่ 549 พันตันต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ร้อยละ 1.3 โดยการใช้ส่วนใหญ่อยู่ในภาคปิโตรเคมีที่สัดส่วนร้อยละ 41 รองลงมาได้แก่ภาคครัวเรือน (ร้อยละ 32) ภาคขนส่ง (ร้อยละ 16) ภาคอุตสาหกรรม (ร้อยละ 10) และใช้เอง (ร้อยละ 1) ตามลำดับ **ก๊าซธรรมชาติ** ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2562 ปริมาณการจัดหาก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 4,965 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 โดยแบ่งเป็นการผลิตในประเทศร้อยละ 72 หรือคิดเป็น 3,567 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และส่วนที่เหลือร้อยละ 28 เป็นการนำเข้าจากประเทศเมียนมา (แหล่งยาดานา เยตากุน และซอติก้า) ร้อยละ 15 หรือคิดเป็น 744.75 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และนำเข้าในรูป LNG ร้อยละ 13 หรือ คิดเป็น 645.45 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยประเทศไทยเริ่มมีการนำเข้า LNG เป็นครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม 2554 หลังจากนั้นได้มีการนำเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และในวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติเห็นชอบในหลักการแนวทางการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ โดยมอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ([กฟผ](http://morning-news.bectero.com/tags/54567/%E0%B8%81%E0%B8%9F%E0%B8%9C.html).) เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดหาก๊าซ[แอลเอ็นจี](http://morning-news.bectero.com/tags/67375/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B5.html) (LNG) รายใหม่ เริ่มจัดหาภายในปี 2561 จากเดิมที่มีแต่ ปตท. เพียงรายเดียว ขั้นตอนการจัดหาประกอบด้วย ระยะที่ 1 ทดสอบระบบ และตั้งเป้าจัดหาปริมาณ[แอลเอ็นจี](http://morning-news.bectero.com/tags/67375/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B5.html) 1.5 ล้านตันต่อปี โดยใช้หลักเกณฑ์การนำเข้าเช่นเดียวกับ ปตท. ส่วนระยะที่ 2 และ 3 จะเป็นระยะเปลี่ยนผ่านจนถึงเปิดเสรีเต็มรูปแบบ  **การใช้ก๊าซธรรมชาติ** ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2562 มีปริมาณการใช้ทั้งสิ้น 4,753 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันของปี 2561 โดยส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้าคิดเป็นร้อยละ 59 รองลงมาคือใช้ในโรงแยกก๊าซ ร้อยละ 21 อุตสาหกรรมร้อยละ 16 และใช้ใน การขนส่ง (NGV) ร้อยละ 4 ตามลำดับ โดยการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าและภาคอุตสาหกรรม มีการใช้เพิ่มขึ้น ในขณะที่การใช้ในโรงแยกก๊าซและการใช้ในภาคขนส่งลดลง **รูปที่ 2-15 การจัดหาและการใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศไทย ณ ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2562** **ถ่านหิน/ลิกไนต์** **การผลิตลิกไนต์ในประเทศไทย** มาจาก 2 ผู้ผลิตหลัก คือ เหมืองของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย (กฟผ.) และเหมืองของบริษัทเอกชน โดยเหมืองของ กฟผ. ประกอบด้วยเหมืองแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และเหมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ซึ่งเหมืองกระบี่ได้หยุดการผลิตแล้วตั้งแต่ปี 2551 ทั้งนี้ ลิกไนต์ที่ผลิตจากเหมืองแม่เมาะทั้งหมดจะถูกนำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ส่วนลิกไนต์ ที่ผลิตจากเหมืองของบริษัทเอกชน ปัจจุบันเริ่มชะลอตัวลงเนื่องจากแหล่งสัมปทานสำคัญ ๆ ภายในประเทศทยอยหมดลง โดยลิกไนต์ที่ผลิตจากเหมืองเอกชนส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ กระดาษ อาหาร และสิ่งทอ เป็นต้น ทั้งนี้ ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2562 มีปริมาณการจัดหาถ่านหิน/ลิกไนต์ของไทย อยู่ที่ 12,892 พันตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ร้อยละ 2 โดยมีสัดส่วนการผลิตจากแหล่งในประเทศรวมทั้งสิ้น 4,977 พันตันคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38 ของปริมาณการจัดหา ซึ่งมาจากแหล่งแม่เมาะของ กฟผ. ร้อยละ 37 และจากแหล่งอื่น ๆ ร้อยละ 1 ตามลำดับ ทั้งนี้การจัดหาถ่านหิน/ลิกไนต์ส่วนใหญ่จะมาจากการนำเข้าจากต่างประเทศ (ร้อยละ 62 ของปริมาณการจัดหา) โดยการนำเข้าถ่านหินในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ปี 2562 มีปริมาณการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น จากช่วงเดียวกันของปี 2561 ร้อยละ 1.3 โดยมีสาเหตุจากความต้องการใช้ถ่านหินที่เพิ่มขึ้นทำให้ปริมาณถ่านหินในประเทศมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ประกอบกับแหล่งสัมปทานลิกไนต์ภายในประเทศทยอยหมดลง รวมทั้งถ่านหินนำเข้ามีคุณภาพดี มีค่าความร้อนสูง และมีกำมะถันน้อยเมื่อเทียบกับถ่านหิน ที่ผลิตได้ภายในประเทศ ทั้งนี้ ถ่านหินนำเข้าที่ใช้ในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นถ่านหินประเภทซับบิทูมินัส (Sub-Bituminous) และบิทูมินัส (Bituminous) ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศอินโดนิเซีย **รูปที่ 2-16 การจัดหาและการใช้ถ่านหิน/ลิกไนต์ของประเทศไทย ณ ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2562** **การใช้ลิกไนต์และถ่านหิน** ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ปี 2562 มีสัดส่วนการใช้ลิกไนต์/ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในภาคการผลิตไฟฟ้าและภาคอุตสาหกรรม คิดเป็นสัดส่วนอย่างละเท่ากัน ที่ร้อยละ 50 (คิดจากค่าความร้อน) โดยภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ในกระบวนการผลิตปูนเม็ด (Clinker) และการอุ่นวัตถุดิบ (Precalcination) รวมทั้งใช้ในอุตสาหกรรมที่ใช้หม้อไอน้ำเป็นหลัก เช่น อุตสาหกรรมกระดาษ และอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น **ไฟฟ้า** **กำลังผลิตในระบบไฟฟ้า** ในอดีตการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเพียงรายเดียว ต่อมารัฐบาลมีนโยบายให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้า เพื่อให้มีการแข่งขันด้านการผลิต ในปี 2537 จึงมีผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (Independent Power Producer: IPP) และผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (Small Power Producer: SPP) เข้ามามีบทบาทในภาคการผลิตไฟฟ้าทำให้เกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและบริการ ในปัจจุบันได้ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้า จึงมีผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Very Small Power Producer: VSPP) ที่ใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นหลักเข้ามาในระบบ ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ปี 2562 ประเทศไทยมีปริมาณกำลังผลิตไฟฟ้าในระบบรวมทั้งสิ้น 46,626 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ร้อยละ 6.5 เป็นการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. ร้อยละ 31 จากกลุ่ม IPP ร้อยละ 32 จากกลุ่ม SPP ร้อยละ 20 จากกลุ่ม VSPP ร้อยละ 9 และนำเข้าจาก สปป.ลาว และแลกเปลี่ยนกับมาเลเซีย ร้อยละ 8 ทั้งนี้การผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่ของประเทศมาจากก๊าซธรรมชาติ (ร้อยละ 58) รองลงมาได้แก่ เชื้อเพลิงถ่านหินนำเข้า/ลิกไนต์ (ร้อยละ 17) ไฟฟ้านำเข้าจากต่างประเทศ (ร้อยละ 11) พลังงานหมุนเวียน (ร้อยละ 10) พลังน้ำขนาดใหญ่ (ร้อยละ 4) และจากน้ำมัน (ร้อยละ 0.6)โดยจากข้อมูลสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าพบว่า มีการใช้ก๊าซธรรมชาติและพลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ในขณะที่การใช้ถ่านหินนำเข้า/ลิกไนต์ รวมถึงพลังน้ำและไฟฟ้านำเข้าจากต่างประเทศเพื่อผลิตไฟฟ้ามีสัดส่วนที่ลดลง ***ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของระบบ 3 การไฟฟ้า*** ปี 2562 เกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2562 เวลา 14:27 น. โดยในระบบของ 3 การไฟฟ้าอยู่ที่ 31,677 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดือนเมษายน ของปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ 29,968 เมกะวัตต์ **การใช้ไฟฟ้า** ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ของปี 2562 การใช้ไฟฟ้ารวมทั้งประเทศอยู่ที่ระดับ 63,445 กิกะวัตต์ชั่วโมง (ไม่นับรวมการใช้ไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้าใช้เอง: IPS) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากช่วงเดียวกันของปี 2561 จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้สาขาที่มีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าสูงที่สุด คือ สาขาอุตสาหกรรมคิดเป็นร้อยละ 45 ของการใช้ไฟฟ้า ทั้งประเทศ รองลงมาคือ การใช้ไฟฟ้าในธุรกิจ (ร้อยละ 26) สาขาครัวเรือน (ร้อยละ 24) ตามลำดับ **รูปที่ 2-16 การจัดหาและการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย ณ ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2562** **เอกสารอ้างอิง** 1. Thailand Energy Outlook 2018, สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน 2. World Energy Outlook 2016, IEA 3. 2017 Outlook for Energy: A View to 2040, ExxonMobil 4. World Energy Scenarios 2016, World Energy Council 5. Annual Energy Outlook 2017, EIA 6. Shell Scenarios: Sky – Meeting the Goals of the Paris Agreement, 2018, Shell International B.V. 7. รายงานสถิติพลังงานของประเทศไทย 2561 เดือนมกราคม-มีนาคม 2562 สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน 8. รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย ปี 2560, ธนาคารแห่งประเทศไทย **ส่วนที่ 3** **แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนลำดับรอง ในประเด็นด้านพลังงาน** **3.1 แผนยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580)** ***ยุทธศาสตร์ชาติ*** หมายถึง ยุทธศาสตร์ชาติตามกฎหมายว่าด้วยการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 65) แผนยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) จัดทำโดย คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ และได้รับ การประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2561 โดยมีเป้าหมายการพัฒนาประเทศในภาพรวม คือ ***“ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน”*** โดยยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ พัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคง ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 6ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงาน ได้แก่ **ยุทธศาสตร์ที่ 2 และ ยุทธศาสตร์ที่ 5** โดยมีรายละเอียดดังนี้ **3.1.1 ยุทธศาสตร์ที่ 2** ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันสำหรับประเทศไทย มุ่งพัฒนาประเทศ บนพื้นฐานแนวคิด 3 ประการ ได้แก่ (1) “ต่อยอดอดีต” โดยมองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และจุดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย รวมทั้งความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศในด้านอื่น ๆ นำมาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลกสมัยใหม่ (2)“ปรับปัจจุบัน” เพื่อปูทางสู่อนาคตผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่าง ๆ ทั้งโครงข่ายระบบคมนาคมและขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และดิจิทัล และการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอนาคต และ (3)“สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต” ด้วยการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ พัฒนาคนรุ่นใหม่ รวมถึงปรับโมเดลธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ผสมผสานกับยุทธศาสตร์ที่รองรับอนาคต บนพื้นฐานของการต่อยอดอดีตและปรับปัจจุบัน พร้อมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐ จะทำให้ประเทศไทยสามารถสร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก ควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี รวมถึงการเพิ่มขึ้นของคนชั้นกลางในประเทศได้ในคราวเดียวกัน เป้าหมายระยะ 20 ปี ของยุทธศาสตร์ที่ 2 คือ การพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว และมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น โดยกำหนดแนวทางการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนากลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคตที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ทั้งในภาคเกษตร อุตสาหกรรม บริการและการท่องเที่ยว โดยให้ประเทศสามารถยกระดับการผลิตทางการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าให้สูงขึ้น ขณะที่มีอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตที่จะเป็นกลไกขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีแห่งอนาคต รวมทั้งรักษาการเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวระดับโลกในขณะเดียวกันจำเป็นต้องพัฒนาปัจจัยสนับสนุนต่าง ๆ ทั้งในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพในด้าน โครงข่ายคมนาคม พื้นที่และเมือง รวมถึงเทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่ออำนวยความสะดวก และลดต้นทุนในการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ เงินทุน บุคลากร และเชื่อมโยงประเทศไทยกับประชาคมโลก และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคต ตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์นี้ ได้แก่ รายได้ประชาชาติ การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ การกระจายรายได้ ผลิตภาพการผลิตของประเทศทั้งในปัจจัยการผลิตและแรงงาน การลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา และความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ประเด็นหลักภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 2 ประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่ * 1. การเกษตรสร้างมูลค่า 2. อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต 3. การสร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว 4. โครงสร้างพื้นฐาน เชื่อมไทย เชื่อมโลก 5. การพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานผู้ประกอบการยุคใหม่ ความเชื่อมโยงด้านพลังงานในประเด็นต่าง ๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 2 สามารถสรุปได้ดังตารางที่ 3.1 **ตารางที่ 3.1: สรุปความเชื่อมโยงด้านพลังงานต่อประเด็นหลักภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 2** | **ประเด็นหลักภายใต้ยุทธศาสตร์** | **ประเด็นย่อย** | **ความเชื่อมโยงด้านพลังงาน** | | --- | --- | --- | | การเกษตร สร้างมูลค่า | เกษตรชีวภาพ | ส่งเสริมให้มีการนำวัตถุดิบเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมและพลังงานที่เกี่ยวเนื่องกับชีวภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ | | อุตสาหกรรมและการบริการแห่งอนาคต | อุตสาหกรรมชีวภาพ | ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวัตถุชีวมวลในการผลิตพลังงานไฟฟ้าอย่างคุ้มค่า เพื่อลดปัญหาโลกร้อน และสร้างรายได้แก่เกษตรกรเพิ่มมากขึ้น | | อุตสาหกรรมและบริการขนส่งและโลจิสติกส์ | ผลักดันการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งระบบไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะ | | อุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศ | ส่งเสริมการจัดหาพลังงานให้เพียงพอ เพื่อเป็นฐานความมั่นคง ด้านพลังงานของประเทศ พร้อมกับการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกให้มีความสมดุลและเกิดความมั่นคง สามารถพึ่งพาตนเองทางด้านพลังงาน | | โครงสร้างพื้นฐาน เชื่อมไทย เชื่อมโลก | พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสมัยใหม่ | เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน โดยการจัดหาและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน บริหารจัดการ พลังงานให้มีประสิทธิภาพและมีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม มีราคาที่เหมาะสม และการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการใช้พลังงานในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนภาคการผลิต บริการ และการขนส่ง รวมทั้งส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกในสัดส่วนที่มากขึ้น ตลอดจนพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ | **3.1.2 ยุทธศาสตร์ที่ 5** ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้น้อมนำศาสตร์ของพระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยยึดหลัก 3 ประการคือ “มีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน” มาเป็นหลักในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติควบคู่กับการนำเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมาย มาเป็นกรอบแนวคิดที่จะผลักดันดำเนินการเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาล และความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างกันทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างบูรณาการ โดยมีวิสัยทัศน์เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดในอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2580 เป้าหมาย 20 ปี ของยุทธศาสตร์นี้ ประกอบด้วย * การอนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ให้คนรุ่นต่อไปได้ใช้อย่างยั่งยืน มีสมดุล * การฟื้นฟูและสร้างใหม่ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบทางลบจากการพัฒนาสังคมเศร**ษ**ฐกิจของประเทศ * การใช้ประโยชน์และสร้างการเติบโตบนฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สมดุลภายใต้ขีดความสามารถของระบบนิเวศ * การยกระดับกระบวนทัศน์ เพื่อกำหนดอนาคตประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมบนหลักของการมีส่วนร่วม และธรรมาภิบาล ตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์นี้ ได้แก่ พื้นที่สีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมได้รับการฟื้นฟู การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปริมาณก๊าซเรือนกระจก มูลค่าเศรษฐกิจฐานชีวภาพ ประเด็นหลักภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 5 แบ่งออกเป็น 6 ประเด็น ได้แก่ * 1. การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว 2. การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล 3. การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน บนสังคมเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ 4. การพัฒนาพื้นที่เมือง ชนบท เกษตรกรรมและ อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มุ่งเน้นความเป็นเมือง ที่เติบโต 5. การพัฒนาความมั่นคงทางน้ำ พลังงาน และเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 6. การยกระดับกระบวนทัศน์ เพื่อกำหนดอนาคตประเทศ ความเชื่อมโยงด้านพลังงานในประเด็นต่าง ๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 5 สามารถสรุปได้ดังตารางที่ 3.2 **ตารางที่ 3.2: สรุปความเชื่อมโยงด้านพลังงานต่อประเด็นหลักภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 5** | **ประเด็นหลักภายใต้ยุทธศาสตร์** | **ประเด็นย่อย** | **ความเชื่อมโยงด้านพลังงาน** | | --- | --- | --- | | การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจ สีเขียว | การส่งเสริมการบริโภคและผลิตที่ยั่งยืน | การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกด้วยการวิจัย พัฒนาวัตถุดิบ และเทคโนโลยี การเพิ่มศักยภาพการผลิต การใช้ และตลาด ตลอดจนการสร้างจิตสำนึกและเข้าถึงองค์ความรู้ด้านพลังงาน | | การพัฒนาความมั่นคงทางน้ำ พลังงาน และเกษตร ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม | การพัฒนาความมั่นคงพลังงานของประเทศ และส่งเสริมการใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม | เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตไฟฟ้า รวมทั้งพัฒนาวิธีการบริหารจัดการระบบไฟฟ้าทั้งด้านอุปทานและด้าน อุปสงค์ให้มีประสิทธิภาพและความยืดหยุ่น เพื่อให้สามารถรองรับพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกที่เพิ่มขึ้น ในระบบได้อย่างมั่นคง และมีเสถียรภาพ พร้อมทั้งสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ และภาคครัวเรือน รวมทั้ง สนับสนุนการวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับการกักเก็บพลังงาน และระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เพื่อให้สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกได้ในสัดส่วนที่สูงขึ้น และการผลิตไฟฟ้าที่มีการกระจายศูนย์มากขึ้น พร้อมทั้งสนับสนุนการใช้กลไกการตลาดหรือมาตรการทางเศรษฐศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านพลังงานที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม | | การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานโดยลดความเข้มของการใช้พลังงาน | สนับสนุนการอนุรักษ์และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุนพลังงานของประเทศ ด้วยการส่งเสริมผ่านเครื่องมือและกลไกทางการเงินและมิใช่การเงิน รวมทั้งมาตรการทางกฎหมาย พร้อมทั้งส่งเสริมการออกแบบอาคารประหยัดพลังงาน สนับสนุนทางการเงินและบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการก่อสร้างและออกแบบอาคาร มีการรณรงค์และให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในด้านการประหยัดพลังงาน ส่งเสริมให้ใช้อุปกรณ์และเครื่องจักร ที่ประหยัดพลังงาน การใช้ฉลากสีเขียวกับยานยนต์และอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าต่าง ๆ รวมถึงการส่งเสริมระบบโลจิสติกส์และการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม | **3.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580)** แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติเป็นส่วนสำคัญในการถ่ายทอดเป้าหมายและประเด็นยุทธศาสตร์ของยุทธศาสตร์ชาติลงสู่แผนระดับต่าง ๆ ต่อไป ซึ่งได้คำนึงถึงประเด็นร่วมหรือประเด็นตัดข้ามยุทธศาสตร์ และการประสานเชื่อมโยงเป้าหมายของแต่ละแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติให้มีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน โดยแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติจะประกอบด้วย สถานการณ์และแนวโน้มที่เกี่ยวข้องของแผนแม่บท เป้าหมายและตัวชี้วัดในการดำเนินการซึ่งแบ่งช่วงเวลาออกเป็น 4 ช่วง ช่วงละ 5 ปี รวมทั้ง กำหนดแนวทางการพัฒนา และแผนงาน/โครงการที่สำคัญของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติว่า **“ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคม เป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน”** โดยยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ พัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ มีจำนวนรวม 23 ฉบับ ประกอบด้วย (1) ความมั่นคง (2) การต่างประเทศ (3) การเกษตร (4) อุตสาหกรรรมและบริการแห่งอนาคต (5) การท่องเที่ยว (6) พื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ **(7) โครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล** (8) ผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ (9) เขตเศรษฐกิจพิเศษ (10) การปรับเปลี่ยนค่านิยม และวัฒนธรรม (11) ศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต (12) การพัฒนาการเรียนรู้ (13) การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี (14) ศักยภาพการกีฬา (15) พลังทางสังคม (16) เศรษฐกิจฐานราก (17) ความเสมอภาคและหลักประกันทางสังคม (18) การเติบโตอย่างยั่งยืน (19) การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ (20) การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ (21) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (22) กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และ (23) การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม โครงสร้างของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 23 ฉบับ มีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่ (1) ประเด็นแผนแม่บท ประกอบด้วย เป้าหมาย ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายในระดับประเด็น เพื่อใช้ติดตามประเมินผลการดำเนินงานในระดับผลลัพธ์ขั้นกลาง (2) แผนย่อยของแผนแม่บทฯ ประกอบด้วย เป้าหมาย ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายในระดับ เพื่อใช้ติดตามประเมินผลการดาเนินงานในระดับผลลัพธ์ขั้นต้น ดังน**ี้** ทั้งนี้ แผนแม่บทในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงานโดยตรง ได้แก่ **แผนแม่บทที่ 7 ประเด็นโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล ซึ่งมุ่งเน้นการขยายขีดความสามารถ พัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ พลังงาน ดิจิทัล วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่** โดยที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและ ระบบโลจิสติกส์ พลังงาน ดิจิทัล เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ถือเป็นรากฐานที่สำคัญของการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทั้งนี้ ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับความสามารถด้านโครงสร้างพื้นฐาน ดีขึ้นจากอันดับที่ 49 ในปี 2560 เป็นอันดับที่ 48 ในปี 2561 และต้นทุนระบบโลจิสติกส์ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม ในประเทศ ที่ลดลงจากร้อยละ 14.2 ในปี 2557 เหลือร้อยละ 13.8 ในปี 2560 รวมทั้งมีอันดับด้านประสิทธิภาพ โลจิสติกส์ดีขึ้นจากอันดับที่ 45 ในปี 2559 เป็นอันดับที่ 32 ในปี 2561 (1) ประเด็นแผนแม่บท ในประเด็นที่ 7 มีเป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนแม่บทประเด็นโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล ดังแสดงในตารางที่ 3.3 **ตารางที่ 3.3: เป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ในประเด็นโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล** | | | | | --- | --- | --- | | **เป้าหมาย** | **ตัวชี้วัด** | **ค่าเป้าหมาย** | | **ปี 61-65** | **ปี 66-70** | **ปี 71-75** | **ปี 76-80** | | ความสามารถในการแข่งขันด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศดีขึ้น | อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านโครงสร้างพื้นฐาน | อันดับที่ 45 | อันดับที่ 38 | อันดับที่ 31 | อันดับที่ 25 | (2) แผนย่อยของแผนแม่บทฯ ภายใต้แผนแม่บทด้านนี้ ประกอบด้วย 4 แผนย่อย ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล และโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ **แผนย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน** ครอบคลุมเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานให้มีความมั่นคงในระดับที่เหมาะสม มีการกระจายชนิดของเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ส่งเสริมพลังงานทดแทน และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำกับดูแลกลไกตลาดพลังงานให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ แนวทางการพัฒนา 1. จัดหาพลังงานและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานทั้งระบบให้มีความมั่นคงในระดับที่เหมาะสม ทันสมัย สามารถรองรับความต้องการใช้พลังงานตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และ การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี มีการกระจายชนิดของเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า 2. ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี ปัจจัยแวดล้อม และสร้างแรงจูงใจ เพื่อสนับสนุนการจัดหาแหล่งพลังงานใหม่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบการบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ เพื่อนำไปสู่การผลิตและการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ มีเสถียรภาพ และทันกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ทางเทคโนโลยีด้านพลังงานในอนาคต 3. สนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนทั้งพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน และเชื้อเพลิงชีวภาพตามศักยภาพของแหล่งเชื้อเพลิงในพื้นที่ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการผลิตและใช้พลังงานทดแทนอย่างเพียงพอ โดยคำนึงถึงต้นทุนค่าพลังงานที่เหมาะสม เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถลงทุนผลิตไฟฟ้าใช้ได้เอง และขายไฟฟ้าส่วนเกินเข้าสู่ระบบได้ โดยไม่กระทบราคารับซื้อและเงื่อนไขอื่น ๆ ในทางลบต่อผู้ใช้ไฟฟ้ารายอื่น ๆ และต่อระบบไฟฟ้าโดยรวม รวมทั้งปรับปรุงการกำกับดูแลให้สามารถควบคุม และตรวจสอบการผลิตและใช้ไฟฟ้าได้แบบเรียลไทม์ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการบริหารจัดการ และการวางแผนระบบไฟฟ้าของประเทศ 4. ส่งเสริมการวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะระบบการกักเก็บพลังงาน และระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ และการนำมาใช้เพื่อให้สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนได้ในสัดส่วนที่สูงขึ้น และการผลิตไฟฟ้าที่มีการกระจายศูนย์มากขึ้น 5. สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ ภาคขนส่ง และ ภาคครัวเรือน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลังงานโดยมุ่งให้เกิดจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด 6. พัฒนา ปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบการกำกับดูแลให้ส่งเสริมการแข่งขันในกิจการพลังงาน สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป และส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินหรือโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ **ตารางที่ 3.3: เป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน (เสนอโดยกระทรวงพลังงาน) ในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ** | | | | | --- | --- | --- | | **เป้าหมาย** | **ตัวชี้วัด** | **ค่าเป้าหมาย** | | **ปี 61-65** | **ปี 66-70** | **ปี 71-75** | **ปี 76-80** | | การใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าลดลง | สัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า (เฉลี่ยร้อยละ) | ไม่เกินร้อยละ 60 | ไม่เกินร้อยละ 50 | | การใช้พลังงานทดแทน ที่ผลิตในประเทศเพิ่มมากขึ้น | สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนที่ผลิตได้ภายในประเทศ ในการผลิตไฟฟ้า ความร้อน และเชื้อเพลิงชีวภาพ (เฉลี่ยร้อยละของพลังงานขั้นสุดท้าย) | ร้อยละ 15-18 | ร้อยละ 19-22 | ร้อยละ 23-25 | ร้อยละ 26-30 | | ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของประเทศเพิ่มขึ้น | ค่าความเข้มข้นการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย (พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ/พันล้านบาท) | 7.4 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ/พันล้านบาท | 6.93 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ/พันล้านบาท | 6.45 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ/พันล้านบาท | 5.98 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ/พันล้านบาท | | การปรับปรุงและพัฒนาระบบไฟฟ้าของประเทศให้มีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีโครงข่ายสมาร์ทกริด | จำนวนแผนงาน และ/หรือโครงการที่กำลังพัฒนา /โครงการนำร่อง/ โครงการที่มีการใช้งานเกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพระบบไฟฟ้าในแต่ละระยะ (แผนงาน/โครงการ) | การพัฒนาและสาธิตนำร่องการใช้งานระบบสมาร์ทกริดอย่างน้อย 8 แผนงาน/โครงการ | การพัฒนาและสาธิต นำร่องการใช้งานระบบสมาร์ทกริด อย่างน้อย 3 แผนงาน/โครงการ | การพัฒนาและสาธิต นำร่องการใช้งานระบบสมาร์ทกริด อย่างน้อย 3 แผนงาน/โครงการ | การพัฒนาและสาธิต นำร่องการใช้งานระบบสมาร์ทกริด อย่างน้อย 5 แผนงาน/โครงการ | **3.3 แผนปฏิรูปประเทศ** “แผนปฏิรูปประเทศ” หมายถึง แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ ตามพระราชบัญญัติ แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 ตามพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2560 แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ จำนวน 11 คณะ เพื่อรับผิดชอบในการดำเนินการจัดทำร่างแผนการปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมือง ด้านการบริหารราชการ ด้านกฎหมาย ด้านยุติธรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านสาธารณสุข ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยี ด้านสังคม ด้านพลังงาน และด้านการป้องกันการทุจริต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด ตลอดจนได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวาง เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำร่างแผนการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ ได้ดำเนินการจัดทำร่างแผนการปฏิรูปประเทศแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อย โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2561 เห็นชอบร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 รับทราบแผนการปฏิรูปประเทศเป็นที่เรียบร้อย โดยแผนปฏิรูปฯ ได้ถูกประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2561 สำหรับแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน มีเป้าหมายคือ การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับของประชาชน ส่งเสริมด้านเทคโนโลยีและการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้การบริหารจัดการด้านพลังงานมีธรรมาภิบาล มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานพลังงาน และการลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับด้านพลังงาน โดยแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน แบ่งออกเป็น 6 ด้าน รวม 17 ประเด็นปฏิรูป ดังนี้ **ตารางที่ 3.4: สรุปประเด็นการปฏิรูปพลังงานตามแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน** | **ด้านการปฏิรูป** | **ประเด็นปฏิรูป** | **เป้าหมาย** | | --- | --- | --- | | การบริหาร จัดการพลังงาน | 1. การปฏิรูปองค์กรด้านพลังงาน | * ปรับปรุงบทบาทองค์กรด้านพลังงานให้สอดคล้องกับโครงสร้างการบริหารจัดการพลังงานของประเทศ * มีกติกาในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยนโยบาย-กำกับ-ปฏิบัติ * ปรับกระบวนการอนุมัติ อนุญาตของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง | | 2. การพัฒนาศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ | * พัฒนาระบบข้อมูลพลังงานให้มีความสมบูรณ์ * พัฒนาศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ | | 3. การสร้างธรรมาภิบาลในทุกภาคส่วน | * หน่วยงานภาครัฐมีธรรมาภิบาล มีการสร้างการมี ส่วนร่วมกับภาคประชาชน * องค์กรพัฒนาเอกชนมีธรรมาภิบาลองค์กร * ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล | | ไฟฟ้า | 4. โครงสร้างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP) | * ปฏิรูปโครงสร้างแผน PDP โดยคำนึงปัจจัยด้านต่าง ๆอย่างครอบคลุม * ปฏิรูปโครงสร้างค่าไฟฟ้าทั้งระบบ | | 5. ส่งเสริมกิจการไฟฟ้าเพื่อเพิ่มการแข่งขัน | * ส่งเสริมกิจการไฟฟ้าเพื่อเพิ่มการแข่งขันภายใต้การกำกับให้มีประสิทธิภาพสูงสุด * เสนอแนะรูปแบบโครงสร้างกิจการไฟฟ้าของไทยที่เหมาะสม | | 6. ปฏิรูปโครงสร้างการบริหารกิจการไฟฟ้า | * กิจการไฟฟ้าทั้งสามหน่วยงานอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน * ส่งเสริมและจัดทำระเบียบกฎเกณฑ์สำหรับ Third Party Access ของระบบส่งและระบบจำหน่ายไฟฟ้า * ส่งเสริมกิจการจำหน่ายไฟฟ้า | | ปิโตรเลียมและ ปิโตรเคมี | 7. การพัฒนาอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ | * นำก๊าซฯ ที่มีการกระจายแหล่งจัดหาในหลายภูมิภาคมาสร้างความมั่นคงทางพลังงาน * ส่งเสริมให้มีการแข่งขันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในธุรกิจก๊าซธรรมชาติ * นำก๊าซธรรมชาติมาสร้างประโยชน์สูงสุด * ส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางค้าขาย LNG ในภูมิภาค | | 8. การพัฒนาปิโตรเคมีระยะที่ 4 | * สร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรปิโตรเลียม ยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันอุตสาหกรรมไทย | | การสนับสนุนพลังงานทดแทนเพื่อการส่งเสริมการแข่งขันและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ | 9. ปฏิรูประบบบริหารจัดการเชื้อเพลิงชีวมวลไม้โตเร็ว สำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวล | * หน่วยงานรัฐมีแนวทางส่งเสริมการพัฒนาพลังงาน ชีวมวลอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ * มีคู่มือการบริหารจัดการเชื้อเพลิงชีวมวลไม้โตเร็วแบบครบวงจรที่มีประสิทธิภาพ * ประชาชนมีความเข้าใจยอมรับโครงการพลังงาน ชีวมวลและสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการได้ * มีมาตรฐานเชื้อเพลิงชีวมวลไม้โตเร็วและตลาดกลาง ซื้อขายเชื้อเพลิงชีวมวลไม้โตเร็วของประเทศ | | 10. แนวทางส่งเสริมและขจัดอุปสรรคในการนำขยะมูลฝอยไปเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้า | * ส่งเสริมพลังงานทดแทน แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม * มีโรงไฟฟ้าที่ช่วยลดปัญหาขยะล้นเมือง * เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศ | | 11. การส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูปอย่างเสรี | * ส่งเสริมให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมในการผลิตพลังงานทดแทน โดยการติดตั้งโซลาร์รูฟได้อย่างเสรีเพื่อใช้ไฟฟ้าในบ้านหรืออาคารของตนเอง * มีการซื้อขายไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์รูฟระหว่าง เอกชน-เอกชน เอกชน-ราชการ และหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างเสรี * เกิดการว่าจ้างงานและอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ ในประเทศจากธุรกิจโซลาร์รูฟ * โซลาร์รูฟเป็นแหล่งผลิตพลังงานทดแทน สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก | | 12. ปฏิรูปโครงสร้างการใช้พลังงานภาคขนส่ง ระยะ 20 ปี | * ประเทศมีทิศทางการใช้พลังงานในภาคขนส่ง * หน่วยงานที่รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้อง สามารถจัดหาและบริหารจัดการเชื้อเพลิงประเภทต่าง ๆ เพื่อใช้ภาคขนส่งให้มีปริมาณเพียงพอและมีราคาที่เหมาะสม | | การอนุรักษ์พลังงานและ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ | 13. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าในกลุ่มอุตสาหกรรม | * ลดการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรมลงร้อยละ 36 ภายในปี พ.ศ. 2579 โดยในระยะแรกได้จัดทำเป็นแผน 5 ปี | | 14. การใช้ข้อบัญญัติเกณฑ์มาตรฐานอาคารด้านพลังงาน (BEC) | * อาคารที่จะก่อสร้างหรือดัดแปลงขึ้นในประเทศไทย ที่มีขนาดรวมกันตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตร ขึ้นไป ต้องมีการใช้พลังงานเป็นไปตามมาตรฐานที่กระทรวงพลังงานออกประกาศ | | 15. การใช้มาตรการบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) สำหรับหน่วยงานภาครัฐ | * นำกลไกบริษัทจัดการพลังงานมาพัฒนาใช้ในการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับอาคารของหน่วยงานภาครัฐ ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | | เทคโนโลยี นวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน | 16. การส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย | * ประเทศไทยมีการกำหนดทิศทางการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าที่ชัดเจน * รัฐบาลมีการกำหนดนโยบายและแนวทางในการส่งเสริมการผลิต การใช้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ ตลอดจนการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานและการกำกับดูแลการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นระบบครบวงจร * รัฐบาลมีการปรับปรุงแผนด้านพลังงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงยานยนต์ไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม * อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์มีกำหนดแผนการลงทุนและการเปลี่ยนผ่านที่ชัดเจน | | 17. การส่งเสริมเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน | * ประเทศไทยมีการกำหนดทิศทางการส่งเสริมเทคโนโลยีระบบการกักเก็บพลังงาน * มีการนำเอาระบบกักเก็บพลังงานไปใช้ในการปรับ เปลี่ยนระบบการบริหารจัดการพลังงานของ ประเทศและใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ อย่างกว้างขวาง | **3.4 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2561-2565** “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” หมายความว่า แผนสำหรับถ่ายทอดยุทธศาสตร์ชาติ สู่กรอบและแนวทางในการพัฒนาประเทศในแต่ละช่วงระยะเวลา 5 ปี” แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2561–2565) ได้จัดทำขึ้นในช่วงเวลาของการปฏิรูปประเทศและสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเชื่อมโยงกันใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยได้น้อมนำหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญาแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9-11 เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้สังคมไทยสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคง เกิดภูมิคุ้มกัน และมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ส่งผลให้การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน ซึ่งในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดทำบนพื้นฐานของกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2580) ซึ่งเป็นแผนหลักของการพัฒนาประเทศ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) รวมทั้ง การปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 ตลอดจนประเด็นการปฏิรูปประเทศ นอกจากนั้น ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน ทั้งในระดับกลุ่มอาชีพ ระดับภาค และระดับประเทศในทุกขั้นตอนของแผนฯ อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องเพื่อร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทาง การพัฒนาประเทศ รวมทั้งร่วมจัดทารายละเอียดยุทธศาสตร์ของแผนฯ เพื่อมุ่งสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” **3.4.1 วัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12** **วัตถุประสงค์** 1. เพื่อวางรากฐานให้คนไทยเป็นคนที่สมบูรณ์ มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัย ค่านิยมที่ดี มีจิตสาธารณะ และมีความสุข โดยมีสุขภาวะและสุขภาพที่ดี ครอบครัวอบอุ่น ตลอดจน เป็นคนเก่งที่มีทักษะความรู้ความสามารถและพัฒนาตนเองได้ต่อเนื่องตลอดชีวิต 2. เพื่อให้คนไทยมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ได้รับความเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรและบริการทางสังคมที่มีคุณภาพ ผู้ด้อยโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพ รวมทั้งชุมชนมีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ 3. เพื่อให้เศรษฐกิจเข้มแข็ง แข่งขันได้ มีเสถียรภาพ และมีความยั่งยืน สร้างความเข้มแข็งของฐาน การผลิตและบริการเดิมและขยายฐานใหม่โดยการใช้นวัตกรรมที่เข้มข้นมากขึ้น สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก และสร้างความมั่นคงทางพลังงาน อาหาร และน้ำ 4. เพื่อรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้สามารถสนับสนุนการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน 5. เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ทันสมัย และมีการทำงานเชิงบูรณาการของภาคีการพัฒนา 6. เพื่อให้มีการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค โดยการพัฒนาภาคและเมืองเพื่อรองรับการพัฒนายกระดับฐานการผลิตและบริการเดิมและขยายฐานการผลิตและบริการใหม่ 7. เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยมีความเชื่อมโยง (Connectivity) กับประเทศต่าง ๆ ทั้งในระดับ อนุภูมิภาค ภูมิภาค และนานาชาติได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งให้ประเทศไทยมีบทบาทนำและสร้างสรรค์ในด้านการค้า การบริการ และการลงทุนภายใต้กรอบความร่วมมือต่าง ๆ ทั้งในระดับ อนุภูมิภาคภูมิภาค และโลก **เป้าหมายรวม** เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ได้กำหนดเป้าหมายรวมการพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ประกอบด้วย 1. คนไทยมีคุณลักษณะเป็นคนไทยที่สมบูรณ์ มีวินัย มีทัศนคติและพฤติกรรมตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคม มีความเป็นพลเมืองตื่นรู้ มีความสามารถในการปรับตัวได้อย่างรู้ เท่าทันสถานการณ์ มีความรับผิดชอบและทำประโยชน์ต่อส่วนรวม มีสุขภาพกายและใจที่ดี มีความเจริญ งอกงามทางจิตวิญญาณ มีวิถีชีวิตที่พอเพียง และมีความเป็นไทย 2. ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้และความยากจนลดลง เศรษฐกิจฐานรากมีความเข้มแข็ง ประชาชน ทุกคนมีโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร การประกอบอาชีพ และบริการทางสังคมที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม กลุ่มที่มีรายได้ต่ำสุด ร้อยละ 40 มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 15 3. ระบบเศรษฐกิจมีความเข้มแข็งและแข่งขันได้ โครงสร้างเศรษฐกิจปรับสู่เศรษฐกิจฐานบริการและดิจิทัล มีผู้ประกอบการรุ่นใหม่และเป็นสังคมผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กที่เข้มแข็งสามารถใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างสรรค์คุณค่าสินค้าและบริการ มีระบบการผลิตและให้บริการจากฐานรายได้เดิมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น และมีการลงทุนในการผลิตและบริการฐานความรู้ชั้นสูงใหม่ ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน รวมทั้งกระจายฐานการผลิตและการให้บริการสู่ภูมิภาคเพื่อลด ความเหลื่อมล้ำ โดยเศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพและมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5 ต่อปี และมีปัจจัยสนับสนุน อาทิ ระบบโลจิสติกส์ พลังงาน และการลงทุนวิจัยและพัฒนาที่เอื้อต่อการขยายตัวของภาคการผลิตและบริการ 4. ทุนทางธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมสามารถสนับสนุนการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงทางอาหาร พลังงาน และน้ำ โดยเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ เพื่อรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานและขนส่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 7 ภายในปี 2563 เทียบกับการปล่อยในกรณีปกติ มีปริมาณหรือสัดส่วนของขยะมูลฝอยที่ได้รับการจัดการอย่างถูกหลักสุขาภิบาลเพิ่มขึ้น และรักษาคุณภาพน้าและคุณภาพอากาศในพื้นที่วิกฤตให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 5. มีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย สังคมปลอดภัย สามัคคี สร้างภาพลักษณ์ดี และเพิ่ม ความเชื่อมั่นของนานาชาติต่อประเทศไทย ความขัดแย้งทางอุดมการณ์และความคิดในสังคมลดลง ปัญหาอาชญากรรมลดลง ปริมาณความสูญเสียจากภัยโจรสลัดและการลักลอบขนส่งสินค้าและค้ามนุษย์ลดลง มีความพร้อมที่ปกป้องประชาชนจากการก่อการร้ายและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ประเทศไทยมีส่วนร่วมในการกำหนดบรรทัดฐานระหว่างประเทศ เกิดความเชื่อมโยงการขนส่ง โลจิสติกส์ ห่วงโซ่มูลค่า เป็นหุ้นส่วน การพัฒนาที่สำคัญในอนุภูมิภาค ภูมิภาค และโลก และอัตราการเติบโตของมูลค่า การลงทุนและการส่งออกของไทยในอนุภูมิภาค ภูมิภาค และอาเซียนสูงขึ้น 6. มีระบบบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย โปร่งใส ตรวจสอบได้ กระจายอำนาจและมีส่วนร่วมจากประชาชน บทบาทภาครัฐในการให้บริการซึ่งภาคเอกชนดำเนินการแทนได้ดีกว่าลดลง เพิ่มการใช้ระบบดิจิทัลในการให้บริการ ปัญหาคอร์รัปชั่นลดลง และการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระมากขึ้น โดยอันดับประสิทธิภาพภาครัฐที่จัดทำโดยสถาบัน การจัดการนานาชาติและอันดับความยากง่ายในการดำเนินธุรกิจในประเทศดีขึ้น การใช้จ่ายภาครัฐและระบบงบประมาณมีประสิทธิภาพสูง ฐานภาษี กว้างขึ้น และดัชนีการรับรู้การทุจริตดีขึ้น รวมถึงมีบุคลากรภาครัฐที่มีความรู้ความสามารถและปรับตัวได้ทันกับยุคดิจิทัลเพิ่มขึ้น **3.4.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12** ยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 มีทั้งหมด 10 ยุทธศาสตร์ โดยมี 6 ยุทธศาสตร์ที่เป็นตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และอีก 4 ยุทธศาสตร์ที่เป็นปัจจัยสนับสนุน ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ และธรรมาภิบาล ในสังคมไทย ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ ยุทธศาสตร์ที่ 8 การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ยุทธศาสตร์ที่ 9 การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์ที่ 10 ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา ความเชื่อมโยงด้านพลังงานภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 สามารถสรุปได้ดังตารางที่ 3.5 **ตารางที่ 3.5: สรุปความเชื่อมโยงด้านพลังงานภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12** | **ยุทธศาสตร์** | **ความเชื่อมโยงด้านพลังงาน** | | --- | --- | | การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน | สนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน | | การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ | จัดหาพลังงานให้เพียงพอและสร้างความมั่นคงในการผลิตพลังงาน เพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการ การผลิต และการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานสะอาด | | ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา | ส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานเพื่อการพัฒนากับประเทศในอนุภูมิภาคและภูมิภาครวมทั้งประเทศนอกภูมิภาค | **3.5 นโยบายด้านพลังงานที่ปรากฎในคําแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2562** ข้อ 5 การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย 5.2 พัฒนาภาคอุตสาหกรรม 5.2.1 พัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว [Bio-Circular-Green (BCG) Economy] โดยนําความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่ม จากทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมในการผลิตสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม และบริการของท้องถิ่น ปรับระบบการบริหารจัดการการผลิตและระบบโลจิสติกส์ ส่งเสริมการใช้พลังงาน ทดแทน การใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาเพิ่มมูลค่า การบริหารจัดการของเสีย อุตสาหกรรมและขยะแบบคลัสเตอร์ระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชนในแต่ละพื้นที่ของจังหวัด กลุ่มจังหวัด เพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ พร้อมทั้งให้ความสําคัญกับกฎระเบียบ ทางด้านสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศและระหว่างประเทศ 5.6 พัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน 5.6.3 เสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยกระจายชนิดของเชื้อเพลิงทั้งจากฟอสซิลและจากพลังงานทดแทนอย่างเหมาะสม สนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนตามศักยภาพของแหล่งเชื้อเพลิงในพื้นที่ เปิดโอกาสให้ชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมในการผลิตและบริหารจัดการพลังงาน ส่งเสริมให้มีการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20 และ B100 เพื่อเพิ่มการใช้น้ำมันปาล์มดิบ และจัดทําแนวทางการใช้มาตรฐานน้ำมัน EURO5 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงาน อาทิ เทคโนโลยีระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า และระบบกักเก็บพลังงาน รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดโครงสร้างตลาดไฟฟ้ารูปแบบใหม่ อาทิ แพลตฟอร์มตลาดกลางซื้อขายพลังงานไฟฟ้า ตลอดจนโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้ารูปแบบใหม่ อาทิ ระบบหักลบหน่วยไฟฟ้าสุทธิ พร้อมทั้งปรับปรุงระบบการกํากับดูแลกิจการด้านพลังงานให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ราคาพลังงานสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ตอบสนองต่อ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและรูปแบบธุรกิจด้านพลังงานในอนาคต ดําเนินการให้มีการสํารวจและค้นหาแหล่งพลังงานใหม่ และร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ในการพัฒนาพลังงาน 5.6.4 ยกระดับโครงข่ายระบบไฟฟ้าและพลังงานให้มีความทันสมัย ทั่วถึง เพียงพอ มั่นคง และมีเสถียรภาพ โดยจัดทําแผนการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะทั้งระบบให้สามารถรองรับเทคโนโลยีด้านพลังงานสมัยใหม่ในอนาคต มุ่งเน้นการพัฒนาโครงข่ายภายในประเทศให้เชื่อมต่อระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันตก ตะวันออก เหนือ และใต้ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการระบบไฟฟ้าและพลังงานระหว่างพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างมั่นคง และมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะในภาคการผลิต ข้อ 10 การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน 10.4 สร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรแร่ และทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งเพื่อ การพัฒนาประเทศและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยใช้ประโยชน์ทรัพยากรแร่อย่างเหมาะสม เป็นธรรม และคํานึงถึงดุลยภาพทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน โดยการมีส่วนร่วม ในการบริหารจัดการของภาคประชาชน จัดทําเขตแหล่งแร่เพื่อการทําเหมืองบนพื้นฐานศักยภาพแร่และ มีการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ อย่างเหมาะสม ดูแลรักษาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยบริหารจัดการเขตทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งรายจังหวัดโดยใช้แผนที่การจําแนกเขต ทางทะเล และชายฝั่ง (one marine chart) บริหารจัดการทรัพยากรแร่และแหล่งพลังงานในทะเล รวมทั้งมลพิษและขยะในทะเลให้มีประสิทธิภาพ จัดทําผังชายฝั่งและฝั่งทะเลที่ชัดเจน และกําหนดพื้นที่การพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและสอดคล้องกับภูมิศาสตร์ และทรัพยากรในพื้นที่ รักษา แนวปะการังที่สําคัญต่อการท่องเที่ยว รักษาป่าชายเลนและแหล่งหญ้าทะเลที่สําคัญต่อประมงและสัตว์หายาก **นโยบายเร่งด่วน 12 เรื่อง ในข้อ 4. การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม โดยจัดพื้นที่การเกษตรให้สอดคล้องกับระบบบริหารจัดการน้ำและคุณภาพของดินตาม Agri-Map กําหนดเป้าหมายรายได้เกษตรกรให้สามารถมีรายได้จากผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพในสินค้าเกษตรสําคัญ อาทิ ข้าว ยางพารา มันสําปะหลัง ปาล์ม อ้อย และข้าวโพด ด้วยการชดเชย การประกันรายได้ ส่งเสริมระบบประกันภัยสินค้าเกษตร หรือเครื่องมือทางการเงินสมัยใหม่ที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางวินัยการเงินการคลังของภาครัฐ ในระยะยาว ส่งเสริมเกษตรพันธสัญญา และศึกษารูปแบบระบบแบ่งปันผลกําไรสินค้าเกษตรที่เป็นธรรมให้แก่เกษตรกร แก้ไขปัญหาข้าวครบวงจร ส่งเสริมการใช้ยางพาราในภาคอุตสาหกรรมและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ส่งเสริมการใช้ผลผลิตทางการเกษตรในอุตสาหกรรมพลังงาน สร้างนวัตกรรมและเครื่องมือทางการเกษตรในราคาที่เข้าถึงได้เพื่อลดต้นทุนการผลิต ควบคุมมาตรฐานการใช้สารเคมีหรือปุ๋ยเคมี ในการเกษตรเพื่อนําไปสู่การลด ละ เลิกการใช้สารเคมีหรือปุ๋ยเคมี โดยจัดหาสิ่งทดแทนที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับของเกษตรกร ต่อยอดภูมิปัญญาและความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน ในการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป รวมทั้งเร่งศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการใช้กัญชา กัญชง และพืชสมุนไพรในทางการแพทย์ อุตสาหกรรมทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ของประชาชน โดยกําหนดกลไกการดําเนินงานที่รัดกุม เพื่อมิให้เกิดผลกระทบทางสังคมตามที่กฎหมายบัญญัติไว้อย่างเคร่งครัด** **3.6 นโยบายพลังงานเพื่อทุกคน (Energy for All)** นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้มอบนโยบายพลังงานที่จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานราก และเป็นปัจจัยพื้นฐานในการต่อยอดสู่การพัฒนาทุก ๆ ด้าน อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่ง การดำเนินนโยบายด้านพลังงานที่ผ่านมาในอดีต มีการเน้นหนักโดยให้ความสำคัญกับการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่หรือโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานที่มีขนาดใหญ่ ประชาชนอาจไม่สามารถเข้าถึงและไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการพัฒนาด้านพลังงานของประเทศ ดังนั้น การให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมนโยบายพลังงานเพื่อประชาชนทุกระดับจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของ เกิดการเข้าถึงพลังงานและใช้พลังงานในการเพิ่มรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เกิดการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจทั้งในระดับมหภาคและเศรษฐกิจฐานรากที่สามารถพึ่งตนเองได้ ทั้งนี้ เพื่อก็จะช่วยการลดความเหลื่อมล้ำ และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยใช้กลไกด้านพลังงานไปขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก โดยจะดำเนิน ดังนี้ **1. การลดความเหลื่อมล้ำ** 1.1 การดูแลค่าครองชีพด้านพลังงาน ด้วยการรักษาระดับราคาพลังงานไม่ให้มีความผันผวนและอยู่ในระดับสูงมากจนเกินไปจนเป็นภาระกับประชาชนทั่วไป ในส่วนของผู้มีรายได้น้อยก็ทำการช่วยเหลือ อย่างตรงจุดและความต้องการ ทั้งในส่วนของส่วนลดค่าก๊าซหุงต้มค่าไฟฟ้า และผู้ค้าหาบเร่แผงลอยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รวมถึงการพิจารณากลไกการช่วยเหลือที่เหมาะสมกับกลุ่มรถโดยสารสาธารณะที่ใช้ NGV 1.2 การสร้างรายได้ให้ชุมชนและส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดเล็ก จะกำหนดนโยบายการส่งเสริมโรงไฟฟ้าจากชุมชนที่เป็นพลังงานหมุนเวียน เหมาะสมกับศักยภาพของชุมชน โดยจะมีรูปแบบที่สามารถให้ประชาชนเข้าไปร่วมลงทุน โดยมีผลตอบแทนที่เหมาะสมและชุมชนสามารถบริหารจัดการเองได้ อันเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนมากยิ่งขึ้น เช่น การนำผลิตผลหรือวัสดุเหลือใช้ ของเสียจากทางการเกษตร เศษไม้ยางพารา ซังข้าวโพด ตอซังข้าวที่เคยเผาในที่นา มาสร้างรายได้เพิ่มเติม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดธุรกิจในชุมชน ส่งเสริมผู้ประกอบการรายเล็ก มีการจ้างงานในชุมชน เงินตราไหลเวียนกันทั่วถึงทุกระดับ ประชาชนสามารถใช้พลังงานที่ผลิตกันเองได้ ส่วนที่เหลือก็ขายเพื่อนำเงินมาเป็นรายได้ของครัวเรือนเป็นการเพิ่มเติม 1.3 การส่งเสริมเทคโนโลยีพลังงานระดับชุมชนเพื่อลดรายจ่ายด้านพลังงานและสร้างรายได้ กระทรวงพลังงานจะใช้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานมาเป็นเงินทุนสนับสนุน เช่น การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการสูบน้ำเพื่อการเกษตร การใช้ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์การเกษตร รวมถึงการสร้างช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับชุมชน ผ่านสถานประกอบการน้ำมัน 1.4 การช่วยเหลือประชาชนที่อยู่รอบ ๆ โรงไฟฟ้าให้ได้รับประโยชน์ให้มากที่สุดจากการมีโรงไฟฟ้าอยู่ในชุมชน เพราะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ โดยอาจมีการคิดส่วนลดค่าไฟฟ้าหรือไฟฟ้าฟรีในจำนวนที่เหมาะสม **2. การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ** 2.1 การพัฒนาและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานและรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้า รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน เช่น การผลักดันการเป็นศูนย์กลางด้านการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าในภูมิภาค จากตะวันตกไปตะวันออก หรือจากเหนือไปใต้ โดยไทยสามารถเชื่อมโยงส่งไฟฟ้าที่เราผลิตได้หรือรับซื้อจากอีกประเทศหนึ่งไปยังประเทศเพื่อนบ้านอีกประเทศหนึ่ง นอกจากจะเป็นการใช้โครงข่ายของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดมูลค่าเพิ่มแล้วยังเป็นการเพิ่มความมั่นคงจากการที่มีไฟฟ้าผ่านระบบของไทย รวมถึงการเป็นศูนย์กลางในการซื้อขาย LNG ในภูมิภาค (LNG trading hub) 2.2 การจัดหาพลังงานอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับความต้องการของประเทศ โดยจะส่งเสริมให้มี การจัดหาพลังงานทั้งจากแหล่งภายในประเทศ และจากภายนอกประเทศ รวมถึงกระจายความเสี่ยงในการจัดหาพลังงาน มีการกระจายชนิดเชื้อเพลิงอย่างเหมาะสม และมีระบบที่รองรับเหตุฉุกเฉินด้านพลังงาน ที่สามารถสร้างความต่อเนื่องในการจัดหาและผลิตพลังงานของประเทศ เช่น การเปิดสัมปทานรอบใหม่ การเจรจาความร่วมมือด้านพลังงานกับประเทศเพื่อนบ้านในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ซึ่งจะช่วยพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจร่วมกัน 2.3 การเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนให้มากขึ้น โดยจะทบทวนแผน PDP ให้มีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวภาพ พลังงานชีวมวล โดยจะวางระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าให้แข็งแรงสามารถรองรับไฟฟ้าที่จะส่งเข้ามาได้อย่างมั่นคง และเป็นการปลดล็อคให้พลังงานที่ผลิตจากภาคประชาชนสามารถเข้าสู่ระบบไฟฟ้าได้อย่างทั่วถึง ด้วยการพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทันสมัยขึ้น ภายใต้การพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ให้รองรับการผลิตพลังงานจากชุมชนให้สามารถส่งไฟฟ้าที่เสถียรและมั่นคงเข้าสู่ระบบของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งได้ โดยมีเป้าหมายว่าค่าไฟฟ้าต้องถูกลงในช่วง 20 ปีข้างหน้า 2.4 การส่งเสริมการแข่งขันในกิจการพลังงานอย่างเป็นธรรม โดยมีการกำกับดูแลที่เปิดโอกาส ให้ผู้ประกอบการมีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพให้ดีขึ้น นำไปสู่การลดต้นทุนด้านพลังงานสู่ประชาชน รวมถึงสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในอนาคตได้อย่างทันท่วงที 2.5 การส่งเสริมธุรกิจพลังงานรูปแบบใหม่เพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยจะส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมด้านพลังงานเพื่ออนาคต เช่น ส่งเสริมธุรกิจ Start up ระบบแบตเตอรี่สำรองที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ทั้งด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มอายุการใช้งาน เพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ระบบที่รองรับการผลิตไฟฟ้าจากแผงแสงอาทิตย์บนหลังคาที่จะมีการใช้งานได้นานขึ้น ในราคาที่ไม่แพง คนทั่วไปสามารถซื้อหาได้ และการส่งเสริมให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศให้ผลิตผลงานนวัตกรรมรองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยใช้เงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเข้าไปเสริมศักยภาพ การสร้าง Sand box เพื่อทดสอบแนวทางรูปแบบใหม่ ๆ รวมไปถึงการส่งเสริมพลังงานแห่งอนาคต (Future energy) ที่จะศึกษาและนำเอาเทคโนโลยีพลังงาน และ Digital disruption มาใช้ให้เกิดประโยชน์ 2.6 การส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า PDP อย่างบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เพื่อร่วมพัฒนาแผนส่งเสริมการใช้ สนับสนุนทางด้านภาษี และทำให้เกิดการผลิตภายในประเทศ **3. การสร้างความยั่งยืน** 3.1 การส่งเสริมน้ำมันบนดิน จากที่ไทยนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก เงินตราไหลออกไปต่างประเทศ รัฐบาลจะใช้น้ำมันที่มาจากผลผลิตภาคเกษตร โดยยกระดับการใช้น้ำมันไบโอดีเซลจากปาล์มที่ B7 ไปที่การเพิ่มส่วนผสมน้ำมันปาล์มดิบในสัดส่วนที่สูงขึ้น เป็น B10 ที่ใช้สำหรับรถยนต์ทั่วไป และ B20 ที่ใช้สำหรับรถยนต์ขนาดใหญ่ รวมถึงรถกระบะ ที่จะช่วยดูดซับน้ำมันปาล์มในตลาดได้มากขึ้น และผลประโยชน์หมุนเวียนอยู่กับเกษตรกร โดยจะกำหนดรูปแบบการใช้น้ำมันปาล์มในภาคพลังงานอย่างเหมาะสม สร้างเสถียรภาพราคาในตลาดน้ำมันปาล์ม ในขณะเดียวกัน ก็เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจก 3.2 ส่งเสริมพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยจะส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานที่สะอาด ในรูปแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในภาคขนส่ง อาทิ การยกระดับคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็น Euro 5 การส่งเสริมให้มีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) รวมถึงการส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพ เพื่อลดมลพิษและทำให้ฝุ่น PM 2.5 ลดลง 3.3 การส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ และภาคครัวเรือน เพื่อให้การใช้พลังงานของประมีประสิทธิภาพ อันจะช่วยให้การใช้พลังงานต่อหน่วยของ GDP ลดลง ซึ่งจะช่วยลดความต้องการในการจัดหาพลังงานและการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ โดยใช้เครื่องมือมาตรการที่เหมาะสม เช่น เครื่องมือทางด้านการเงิน มาตรการสร้างแรงจูงใจ การสร้างจิตสำนึก และมาตรการด้านกฎหมาย รวมถึงการขับเคลื่อน bio-circular green economy ซึ่งรวมถึงการพัฒนาด้านพลังงานทดแทน การพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ และอุตสาหกรรมชีวภาพด้วย **ส่วนที่ 4** **แผนปฎิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2565) ของกระทรวงพลังงาน** ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่าง ๆ 63 ประเทศทั่วโลก ที่ได้รับการเผยแพร่ในรายงาน IMD World Competitiveness Yearbook 2018 โดยสถาบัน IMD World Competitiveness Center ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้พบว่า ในปี 2561 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 30 โดยลดลงจากอันดับที่ 27 ในปี 2560 ซึ่งจากผลการจัดอันดับที่แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) สภาวะเศรษฐกิจ (Economic Performance) 2) ประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) 3) ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) และ 4) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ปรากฎว่าผลการจัดอันดับในด้านสภาวะเศรษฐกิจ (Economic Performance) ของประเทศไทยยังคงอยู่ในอันดับที่ดี คือ อันดับที่ 10 เท่ากับในปี 2560 ส่วนด้านประสิทธิภาพของภาครัฐมีอันดับที่ลดลงเป็นอันดับที่ 22 จากอันดับที่ 20 ในปี 2560 ในขณะที่ด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Performance) ยังคงอยู่ในอันดับที่ 25 เช่นเดิม ส่วนด้านที่มีอันดับดีขึ้นคือโครงสร้างพื้นฐาน ที่มีอันดับดีขึ้นเป็นอันดับที่ 48 จากอันดับที่ 49 ในปี 2560 ดังแสดงไว้ในรูปที่ 4-1 แผนปฎิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2565) ของกระทรวงพลังงาน ได้นำตัวชี้วัดด้านโครงสร้างพื้นฐานพลังงานของ International Institute for Management Development หรือ IMD 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ ความเพียงพอและมีประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐาน ราคาค่าไฟฟ้าสำหรับลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรม และสัดส่วนของการผลิตพลังงานจากแหล่งภายในประเทศ มาพิจารณาร่วมกับตัวชี้วัดจากแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ จำนวน 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ จำนวนแผนงาน/โครงการรองรับการพัฒนาระบบสมาร์ทกริด สัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้า สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเทียบจากการใช้พลังงาน ขั้นสุดท้าย และค่าความเข้มการใช้พลังงาน (ประสิทธภาพการใช้พลังงาน) ในการกำหนดกรอบแผนงานต่าง ๆ ของแผนปฎิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2565) ของกระทรวงพลังงาน ดังแสดงไว้ในรูปที่ 4-2 **รูปที่ 4-1: ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ประจำปี ค.ศ. 2018** (ที่มา: <http://thailandcompetitiveness.org/topic_detail.php?lang=Th&ps=120>) **** **รูปที่ 4-2: ความเชื่อมโยงของตัวชี้วัดด้านพลังงาน จาก IMD แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และ แผนปฎิบัติราชการระยะ 5 ปี** **การขับเคลื่อนนโยบายสำคัญเร่งด่วน (Policy Quick Start)** ========================================================= ทิศทางการดำเนินงานด้านพลังงานของนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นอกเหนือจากการขับเคลื่อนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฎิรูปประเทศด้านพลังงาน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 แล้วนั้น ยังได้มุ่งเน้นตามภารกิจและบทบาทที่เป็นทิศทางและเป้าหมายเร่งด่วนที่สำคัญในการขับเคลื่อนประเด็นด้านพลังงานโดยได้กำหนดประเด็นนโยบายสำคัญเร่งด่วน (Policy Quick Start) ดังนี้ **1. ด้านแผนพลังงาน** มุ่งวางฐานการพัฒนาพลังงานด้วยการปรับปรุงแผนพลังงานระยะยาว (Thailand Intergrated Energy Blueprint : TIEB) ประกอบด้วยแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (Power Development Plan : PDP 2018) แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (Alternative Energy Development Plan : AEDP) แผนการอนุรักษ์พลังงาน (Energy Efficiency Plan) แผนน้ำมัน (Oil Plan) และ แผนก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan) ให้แล้วเสร็จในช่วงเวลาเดียวกัน **2. ด้านไฟฟ้า** มุ่งวางระบบแผนการพัฒนาด้านไฟฟ้าที่สำคัญ ด้วยการปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (Power Development Plan : PDP 2018) กรอบนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน การพัฒนาให้ไทยเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนไฟฟ้าอาเซียน และการกำหนดกรอบนโยบายและช่วงเวลาการรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ โดยในระดับพื้นที่จะส่งเสริมให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากที่ใช้พืชพลังงานและพลังงานหมุนเวียนที่สามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานได้เป็นฐานในการพัฒนาชุมชน เช่น โรงไฟฟ้าชุมชน โรงไฟฟ้าขยะ ควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา เช่น การแก้ไขปัญหาการพัฒนาพลังงานในพื้นที่ สปก. การแก้ไขปัญหาชีวมวล การปรับปรุงหลักเกณฑ์การส่งเสริมพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคนสำหรับภาคประชาชน การแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล รวมไปถึงการส่งเสริมการลงทุนในระบบกักเก็บพลังงาน **3. ด้านก๊าซธรรมชาติ** มุ่งการจัดหาและรักษาการผลิตปิโตรเลียมให้เกิดความต่อเนื่อง ด้วยการเปิดสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่ในพื้นที่อ่าวไทย การยกระดับให้เป็น Regional LNG Hub การส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ (Thrid Party Access : TPA) เช่น การทดลองการนำเข้า LNG แบบ Spot และการนำเข้า LNG 1.5 ล้านตันของ กฟผ. รวมถึงการสานสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อแสวงหาแนวทางการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อน และแก้ไขปัญหาการรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียม การแก้ไขปัญหาการพัฒนาพลังงานในพื้นที่ สปก. **4. ด้านน้ำมันและภาคขนส่ง** มุ่งปรับโครงสร้างให้เป็นมาตรฐานและเหมาะสมกับปัจจุบันมากขึ้น ทั้งด้านโครงสร้างราคาน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ไฟฟ้า การจัดทำมาตรฐานและสร้างความชัดเจนของทิศทางการส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพในภาคขนส่ง เช่น การส่งเสริมไบโอดีเซล บี 10 ยูโร 5 การคมนาคมขนส่งไฟฟ้า รวมถึงการสร้างมาตรการป้องกันและกำกับดูแล บี 100 ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยลดปัญหามลพิษ PM 2.5 ด้วย **5. ด้านกลไกสนับสนุน** การขับเคลื่อนนโยบายสำคัญเร่งด่วนให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ส่วนหนึ่งต้องอาศัยการสนับสนุน การดำเนินงานเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กองทุนพัฒนาไฟฟ้า จะเป็นกลไกสำคัญที่จะมาช่วยการดำเนินการ **6. ด้านองค์กรสมรรถนะสูง** มุ่งให้เกิดความต่อเนื่องของการบริหารงาน โครงสร้าง งบประมาณ การสร้างระบบบุคคลากรสืบทอดตำแหน่ง มีการนำระบบเทคโนโลยีดิจิตัลและสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ เกิดความน่าเชื่อถือในข้อมูลของกระทรวงพลังงาน มุ่งเน้นการทำงานแบบผลสัมฤทธิ์ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เป็นองค์กรที่โปร่งใส ป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ **ภาพรวม แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2565) ของกระทรวงพลังงาน** ======================================================================= * **ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง** * **ด้านก๊าซธรรมชาติ** * **ด้านไฟฟ้า** * จัดหาและพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานด้านพลังงาน * ส่งเสริมการลงทุนและการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานที่สร้างมูลค่าเพิ่ม * **ด้านปัจจัยสนับสนุน** * พัฒนาปัจจัยแวดล้อม สนับสนุนการจัดหาและ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและมีระบบรองรับเหตุฉุกเฉินด้านพลังงาน **1 การสร้างความมั่นคง ด้านพลังงาน** **2** **การกำกับดูแล ราคา** **และการสร้างการแข่งขัน** **เพิ่มประสิทธิภาพ** **3** **การสร้างความยั่งยืน และเข้าถึงประชาชน** **4** **การสร้างความโปร่งใส เป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล ให้สังคมเชื่อถือ** **เรื่องที่** **แนวทางการพัฒนา** * **ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง** * **ด้านก๊าซธรรมชาติ** * **ด้านไฟฟ้า** * กำกับกิจการพลังงาน ด้านมาตรฐาน คุณภาพและความปลอดภัยของเชื้อเพลิงและการให้บริการ * สร้างกรอบกติกา รูปแบบ และมาตรฐานการแข่งขันในกิจการพลังงาน * กำหนดโครงสร้างราคาพลังงานให้เหมาะสม + **ด้านองค์กรสมรรถนะสูง** พัฒนาปรับปรุงแผนบริหาร แผนพัฒนาทรัพยากร ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกระทรวงพลังงาน ให้รองรับการปฏิบัติงานตามภารกิจของกระทรวงพลังงาน * + **ด้านศูนย์กลางข้อมูล** ยกระดับกระทรวงพลังงานให้เป็นศูนย์กลางข้อมูลพลังงานที่มีระบบฐานข้อมูลอันถูกต้อง ทันสมัย เชื่อถือได้ * + **ด้านบริหารตามหลัก ธรรมาภิบาลอย่างมี ส่วนร่วม** ส่งเสริมให้กระทรวงพลังาน เป็นองค์การที่บริหารตามหลัก ธรรมาภิบาล * **ด้านพลังงานทดแทน** ส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนในประเทศให้บรรลุตามแผน AEDP * **ด้านอนุรักษ์พลังงาน** สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานตามแผน EEP * **ด้านพลังงานชุมชน** สนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากในการสร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยเทคโนโลยีพลังงาน ที่เหมาะสม **แผนปฏิบัติราชการเรื่องที่ 1 การสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน** ============================================================= **เป้าหมาย** ------------ ประเทศไทยมีพลังงานเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ด้วยระบบบริหารจัดการและการวางโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานที่สร้างมูลค่าเพิ่ม **ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย** --------------------------- | **เป้าหมาย** | **ตัวชี้วัด** | **ค่าเป้าหมาย** | | --- | --- | --- | | **2561** | **2562** | **2563** | **2564** | **2565** | | **พลังงานเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน** | 1. การจัดหาไฟฟ้าเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในแผน PDP 2018 | 48,002 เมกกะวัตต์ | 50,932 เมกกะวัตต์ | 51,393 เมกกะวัตต์ | 53,178 เมกกะวัตต์ | 54,430 เมกกะวัตต์ | | 1. สัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าสอดคล้องตามแผน PDP2018 | ร้อยละ 59.7 | ร้อยละ 57.4 | ร้อยละ 56.2 | ร้อยละ 58.2 | ร้อยละ 57.5 | | 1. มีการเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม | | | มีการเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม | ได้ผู้รับสัมปทาน/ลงนามในสัญญาฯ | | | **ระบบบริหารจัดการและการวางโครงสร้างพื้นฐานมีประสิทธิภาพ** | 1. ปริมาณความจุของคลังน้ำมันตามแนวท่อเพิ่มขึ้น | | พิจิตร 81 ล้านลิตร | ลำปาง 74ล้านลิตร | ขอนแก่น 289ล้านลิตร | | | 1. เชื่อมต่อระบบท่อน้ำมันกับคลังน้ำมันภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | | ท่อเชื่อมต่อคลังภาคเหนือ ถึง จ.พิจิตร | ท่อเชื่อมต่อคลังภาคเหนือ ถึง จ.ลำปาง | ท่อเชื่อมต่อคลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | | | 1. โครงสร้างพื้นฐานและระบบบริหารจัดการพลังงานด้านก๊าซธรรมชาติจำนวน 5 ระบบ | | สถานีเพิ่มความดันก๊าซธรรมชาติวังน้อย | | ระบบท่อส่งก๊าซฯเส้นที่ 5 และ ระบบท่อส่งก๊าซฯ จากสถานีควบคุมก๊าซฯ ราชบุรี-วังน้อย ที่ 6 เริ่มก่อสร้าง FSRU | LNG Receiving Terminal แห่งใหม่ ระยอง | | 1. มีการดำเนินงานตามแผนงานโครงการเพื่อพัฒนางานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทย\* | | | สะสม 3 แผนงาน/โครงการ\* | สะสม 6 แผนงาน/โครงการ\* | สะสม 9 แผนงาน/โครงการ\* | | **การพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานที่สร้างมูลค่าเพิ่ม** | 1. มีแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 4 ในพื่นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกและพื้นที่ที่มีศักยภาพเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต | | | | - มีแนวทางดำเนินการขับเคลื่อน- มีหน่วยงานเจ้าภาพที่จะดำเนินงานตามแผนพัฒนาฯ | | | 1. พัฒนาไทยเป็นศูนย์กลางและแลกเปลี่ยนไฟฟ้าอาเซียน (Grid Connector) | | | กำหนดมาตรการ Wheeling charge และ Tariff รวมถึงหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง | เสนอ กพช. พิจารณามาตรการ | | | 1. การพัฒนา Regional LNG Hub | กำหนด Roadmap ในการพัฒนาประเทศไทยเป็น Regional LNG Hub | ศึกษาการพัฒนาประเทศไทยเป็น Regional LNG Hub แล้วเสร็จ | ทดสอบ Reload/เสนอ กพช. พิจารณาปรับปรุง/กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันประเทศไทยให้เป็น Regional LNG Hub | ส่งออก Commercial Cargo | | **\*หมายเหตุ:** **2563** – 1) ผลการศึกษาโครงการพัฒนารูปแบบธุรกิจของระบบบริหารจัดการพลังงาน (EMS) เพื่อการดำเนินการตอบสนองด้านโหลดบนสมาร์ทกริด 2) ผลการดำเนินงานตามแผนขับเคลื่อนฯ ในระยะสั้นของปี 2562 3) ผลการศึกษาโครงการพัฒนารูปแบบธุรกิจระบบไมโครกริดพร้อมศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมทุนภาครัฐเอกชน **2564** – 4) ผลการดำเนินงานตามแผนขับเคลื่อนฯ ในระยะสั้นของปี 2563 5) ผลการศึกษาเตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินโครงการนำร่องร่วมทุนภาครัฐภาคเอกชน 6) กิจกรรมการสื่อสาร ทำความเข้าใจ และรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียในการดำเนินการขับเคลื่อนด้านสมาร์ทกริด **2565** – 7) ผลการเนินงานตามแผนขับเคลื่อนฯ ในระยะสั้นของปี 2564 และแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทยระยะปานกลาง (พ.ศ.2565-2574) 8) ผลการศึกษาโครงการการพัฒนาระบบรักษาความมั่นคงความปลอดภัยด้านไซเบอร 9) การพัฒนาขีดความสามารถด้านสมาร์ทกริดของหน่วยงาน/บุคลากรในประเทศ **แนวทางการพัฒนา** ------------------ 1. **จัดหาและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน** ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ศักยภาพการผลิต การจัดหาเชื้อเพลิงปิโตรเลียมทั้งในและต่างประเทศ การเปลี่ยนผ่านเกิดความต่อเนื่องโดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ให้เกิดอรรถประโยชน์สูงสุด เกิดการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ เพียงพอใน ทุกภาคส่วน มีมาตรฐานสากล ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาปัจจัยแวดล้อมระหว่างประเทศที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ รองรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงาน ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบกิจการปิโตรเลียมที่ถูกต้อง 2. **ส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยี** สร้างความสามารถในการแข่งขันและความมั่นคงด้านน้ำมันเชื้อเพลิง ให้มีความเหมาะสมทั้งในด้านการขนส่ง การสำรอง การเชื่อมโยงโครงข่าย สร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรปิโตรเลียมในการพัฒนาเศรษฐกิจ ยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรม ของไทย และสร้างรายได้ให้กับประชาชน พร้อมกับรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายแห่งอนาคต (New S-curve) 3. **พัฒนาปัจจัยแวดล้อม สนับสนุนการจัดหาและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน** ส่งเสริมให้เกิดการจัดหา ก่อสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้า การพัฒนาเทคโนโลยี ระบบบริหารจัดการ ปัจจัยแวดล้อม การสร้างแรงจูงใจ เพื่อเป็นศูนย์กลางโครงข่ายไฟฟ้าในภูมิภาค เกิดการลงทุนและการปรับตัวเพื่อรองรับกับประเด็นท้าทายของแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีด้านไฟฟ้าในอนาคต เพื่อนำไปสู่วางแผน การผลิต การกำกับ การอนุญาตการใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ มีเสถียรภาพ มีระบบรองรับเหตุฉุกเฉินด้านพลังงาน โดยเฉพาะระบบกักเก็บพลังงาน โครงข่ายไฟฟ้าที่ทันสมัยและอัจฉริยะ รองรับการส่งเสริมระบบคมนาคมขนส่งไฟฟ้า **แผนงานโครงการสำคัญ** ---------------------- ### **ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง** | | | --- | | 1. โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อ | | 1. โครงการศึกษาความเหมาะสมการขยายระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน | | 1. โครงการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan 2019) | | 1. แผนงานการแก้ไขคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง | | 1. ศึกษาแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ของประเทศ | ### **ด้านก๊าซธรรมชาติ** | | | --- | | 1. แผนปฏิบัติการโครงการ FSRU ในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน สำหรับรองรับการนำเข้า LNG ในปริมาณ 5 ล้านตันต่อปี 2. โครงการ FSRU ในพื้นที่ภาคใต้ | | 1. แผนงานการพัฒนาไทยเป็น Regional LNG Hub 2. โครงการเตรียมการเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม รอบใหม่ | | 1. โครงการกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานรื้อถอน สิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียม | | 1. โครงการจัดทำแนวทางการกำกับดูแล ตรวจสอบ ปริมาณสารปนเปื้อนในอุปกรณ์ จากการรื้อถอน สิ่งติดตั้งในการประกอบกิจการปิโตรเลียม | | 1. โครงการบูรณาการการทำงานเชิงพื้นที่ร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่เป้าหมาย | | 1. โครงการสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ และเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อรองรับการพัฒนาโครงการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในกิจกรรมรักษาเครือข่ายโดยผ่านคณะทำงานไตรภาคี | | 1. แผนงานการบริหารจัดการช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transition) ระหว่างผู้รับสัมปทานรายปัจจุบันกับผู้รับสัญญาภายใต้ระบบ PSC ที่จะมาดำเนินงานต่อ | | 1. โครงการทบทวนและจัดทำแผนบริหารจัดการ Gas Plan (พ.ศ. 2561 – 2580) | | 1. โครงการศึกษาเพื่อจัดทำมาตรการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลว และไบโอมีเทน เพื่อทดแทนน้ำมันเตา ถ่านหิน และก๊าซปิโตรเลียมเหลว | | 1. โครงการศึกษากรอบแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 4 ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกและพื้นที่ที่มีศักยภาพเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต | | 1. โครงการศึกษาทบทวนแผนโครงสร้างพื้นฐานด้านก๊าซธรรมชาติของประเทศเพื่อรองรับความมั่นคงและการเติบโตของประเทศ | | 1. แผนงานการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบรับส่งและโครงสร้างพื้นฐานด้านก๊าซธรรมชาติของประเทศรายภูมิภาคตาม Roadmap ที่กำหนด | | 1. โครงการการคาดการณ์ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในระยะยาว และวิเคราะห์แนวทางการจัดหาก๊าซธรรมชาติที่เหมาะสมของประเทศ | | 1. โครงการวิเคราะห์รูปแบบระบบรับส่งก๊าซธรรมชาติ และแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รองรับการจัดหาและนำเข้า LNG และจัดทำแผนที่นำทาง (Roadmap) การพัฒนาระบบรับส่งและโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติที่เหมาะสมของประเทศรายภูมิภาค | | 1. โครงการศึกษาสัดส่วนของปริมาณก๊าซธรรมชาติเพื่อรักษาความมั่นคงกับปริมาณเพื่อเปิดให้มีการแข่งขันและเกิดประโยชน์กับผู้บริโภค | | 1. แผนงานการจัดทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 4 | | 1. แผนการจัดหาก๊าซแอลเอ็นจีและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ และทดสอบข้อกำหนดเกี่ยวกับการให้บริการของสถานี LNG แก่บุคคลที่ 3 และการเชื่อมต่อ (TPA Code) สำหรับสถานี LNG มาบตาพุด | | 1. โครงการ LNG Receiving Terminal แห่งใหม่ จ.ระยอง (พ.ศ. 2559-2565) | | 1. โครงการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบก เส้นที่ 5 จากระยองไปท่อส่งก๊าซฯ ไทรน้อย-โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ/ใต้ (พ.ศ. 2558-2564) | | 1. โครงการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกจากสถานีควบคุม ก๊าซฯ ราชบุรี – วังน้อย ที่ 6 ไปจังหวัดราชบุรี (พ.ศ. 2560-2564) | | 1. โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนา LNG Hub ของประเทศไทย (พ.ศ. 2561-2562) | | 1. โครงการศึกษาการนำก๊าซธรรมชาติไปยังพื้นที่ต่าง ๆ นอกโครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (พ.ศ. 2561-2562) | ### **ด้านไฟฟ้า** | | | --- | | 1. แผนงานปรับปรุงระบบไมโครกริดให้สอดคล้องกับโครงการสมาร์ทกริด ที่ อ.เมืองแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน | | 1. โครงการพัฒนาและนำร่องรูปแบบและกลไกการใช้ EERS ที่เหมาะสมกับประเทศไทย | | 1. โครงการจัดทำแนวทางและกลไกการใช้ EERS ที่เหมาะสมกับประเทศไทย | | 1. โครงการจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมเทคโนโลยีระบบการกักเก็บพลังงาน | | 1. โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูล และระบบสารสนเทศเพื่อรองรับ EERS | | 1. โครงการจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย | | 1. โครงการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในทุกภาคส่วน | | 1. โครงการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานในระบบโครงข่ายไฟฟ้าของ กฟผ. แผนการนำร่องใช้งาน Grid-Scale Battery Energy Storage System 2 แห่ง สฟ. บำเหน็จณรงณ์ สฟ.ชัยบาดาล | | 1. โครงการนำร่องการตอบสนองด้านโหลดและกลไกราคาในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล | | 1. โครงการพัฒนาแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทยระยะปานกลาง พ.ศ. 2565 – 2574 | | 1. โครงการพัฒนาโครงการนำร่อง Smart Grid จ.แม่ฮ่องสอน | | 1. โครงการศึกษาแนวทางการปฏิรูปโครงสร้างบริหารกิจการไฟฟ้า | | 1. โครงการศึกษาแนวทางการปรับปรุงและจัดทำนโยบายการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2564-2568 | | 1. โครงการศึกษาแนวทางการส่งเสริมกลไก Renewable Energy Certificates (RECs) ในประเทศไทย | | 1. โครงการศึกษาและสนับสนุนการดำเนินการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานประเด็นที่ 16 (EV) | | 1. โครงการศึกษาและสนับสนุนการดำเนินการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานประเด็นที่ 17 (ESS) | | 1. โครงการจัดตั้งศูนย์สั่งการดำเนินการตอบสนองด้านโหลด (DRCC) | | 1. โครงการติดตามการดำเนินงานของ กกพ. ให้มีการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าเป็นไปตามนโยบายการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2559- 2563 | | 1. โครงการทบทวนและจัดทำแผน PDP ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลง | | 1. โครงการพัฒนาโครงสร้างหน่วยงานและการดำเนินการของศูนย์พยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน | | 1. โครงการศึกษาแนวทางการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้ารองรับแนวโน้ม Prosumer ของกิจการไฟฟ้า | | 1. โครงการส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของประเทศไทย | | 1. โครงการศึกษาและจัดทำแผนการกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าตามแผนปฏิรูป | | 1. แผนงานการพัฒนาไทยเป็นศูนย์กลางและแลกเปลี่ยนไฟฟ้าอาเซียน | | 1. โครงการศึกษาสัดส่วนโรงไฟฟ้าฐานที่เหมาะสมสำหรับรองรับแนวโน้ม Prosumer | | 1. โครงการเตรียมความพร้อมเพื่อนำร่องการพัฒนาธุรกิจการตอบสนองด้านโหลด | | 1. โครงการติดตาม ประเมินผล และปรับปรุงการดำเนินงานโครงการตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน | | 1. โครงการศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ ทบทวนข้อมูล หลักเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง และองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน | | 1. โครงการศึกษาและพัฒนาชุมชนต้นแบบโรงไฟฟ้าประชารัฐ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการขับเคลื่อนการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน | | 1. โครงการศึกษาวิจัย ด้านมิติความพร้อม ความตระหนักรู้ของประชาชนถึงความสำคัญของการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ | | 1. โครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์สำหรับพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินภาคใต้ | | 1. แผนการพัฒนาระบบการตอบสนองด้านโหลด (Demand Response) เพื่อการจัดการสภาวะวิกฤตด้านพลังงานไฟฟ้า และเสริมความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า | | 1. แผนงาน RE Forecast Center และ RE Control Center ของประเทศ | | 1. แผนการพัฒนาโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ให้มีความยืดหยุ่นในการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น เพื่อให้สามารถรองรับความผันผวนจากการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่จะมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น (การปรับปรุงโรงไฟฟ้าวังน้อย ชุดที่ 4 เป็น Flexibility Plant) | | 1. แผนระบบส่งเป็นโครงข่ายเชื่อมโยงหลัก (Transmission Blue print) ระบบไฟฟ้าของประเทศ | | 1. แผนการพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าให้เชื่อมโยงและเป็นศูนย์กลางระบบไฟฟ้าระดับภูมิภาค (Regional Power Grid Interconnection) * โครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าเพื่อรองรับการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษระยะที่ 1 และระยะที่ 2 | | 1. แผนการพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศ | | * โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันตก – ภาคใต้ เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า (TIWS) | | * โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคใต้ตอนล่าง เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า (TILS) | | * โครงการขยายระบบส่งไฟฟ้า ระยะที่ 12 | | * โครงการพัฒนาระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลไปยังบริเวณอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า | | 1. แผนพัฒนาโรงไฟฟ้าเพื่อสร้างสมดุลและเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าในแต่ละภูมิภาคของประเทศ | | * โครงการโรงไฟฟ้าบางปะกง (ทดแทนเครื่องที่ 1-2) | | * โครงการทดแทนโรงไฟฟ้าพระนครใต้ระยะที่ 1 | | * โครงการโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี | | * โครงการโรงไฟฟ้าเพื่อทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 8-9 | | * โครงการโรงไฟฟ้าน้ำพอง | | 1. แผนการศึกษา Grid Modernization สำหรับระบบส่งและจำหน่าย (3 การไฟฟ้า) | | 1. แผนการศึกษาและการจัดทำ Technical Regulation รองรับการเชื่อมโยงระดับภูมิภาค และแผนการซื้อขายไฟฟ้า LTMM และการพัฒนาระบบ East-West Corridor | ### **ด้านปัจจัยสนับสนุน** | | | --- | | 1. โครงการเผยแพร่ข้อมูลด้านพลังงานผ่านสื่อออนไลน์ | | 1. โครงการประเมินผลกระทบนโยบายด้านพลังงาน | | 1. โครงการผลิตและเผยแพร่สื่อรณรงค์เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน | | 1. โครงการลดการใช้พลังงานในภาครัฐ (EUI) | | 1. โครงการสนับสนุนทุนการศึกษา | | 1. โครงการสนับสนุนทุนวิจัยแก่นักศึกษาระดับอุดมศึกษา | | 1. โครงการสร้างเครือข่ายงานวิจัยด้านพลังงาน | | 1. โครงการสื่อสารและสร้างภาพลักษณ์ต่อนโยบายด้านพลังงาน | | 1. โครงการทบทวนแผนรองรับสภาวะวิกฤติด้านพลังงานไฟฟ้า พ.ศ. 2553 | | 1. โครงการเจรจาและประชุมนานาชาติ * การขยายผลความร่วมมือด้านพลังงานภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน (ASEAN) * การขยายผลความร่วมมือด้านพลังงานภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) * การขยายผลความร่วมมือด้านพลังงานภายใต้กรอบความร่วมมือด้านไฟฟ้ากับประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) * การขยายผลความร่วมมือด้านพลังงานภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) * การขยายผลความร่วมมือด้านพลังงานภายใต้กรอบความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลาย สาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi – Sectoral Technical and Economic Cooperation : BIMSTEC) * ความร่วมมือด้านพลังงานกับองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency) * ความร่วมมือด้านพลังงานกับสภาพลังงานโลก (World Energy Council) * ความร่วมมือด้านพลังงานกับสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) * ความร่วมมือด้านพลังงานกับทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (International Renewable Energy Agency: IRENA) * ความร่วมมือด้านพลังงานกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency) * ความร่วมมือด้านพลังงานภายใต้กรอบของธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asia Development Bank: ADB) * ความร่วมมือด้านพลังงานภายใต้กรอบสหประชาชาติ (United Nations) * ความร่วมมือด้านพลังงานภายใต้กรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue) | | 1. โครงการประสานความร่วมมือกับประเทศที่มีความสำคัญด้านพลังงาน * การประสานเร่งรัดความร่วมมือกับประเทศที่มีศักยภาพด้านพลังงานใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออก/เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ * การประสานเร่งรัดความร่วมมือกับประเทศที่มีศักยภาพด้านพลังงานในตะวันออกกลาง * การประสานเร่งรัดความร่วมมือกับประเทศที่มีศักยภาพด้านพลังงานใน ภูมิภาคแอฟริกา * การประสานเร่งรัดความร่วมมือกับประเทศที่มีศักยภาพด้านพลังงานในภูมิภาคยุโรป * การประสานเร่งรัดความร่วมมือกับประเทศที่มีศักยภาพด้านพลังงานในภูมิภาคออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแปซิฟิก * การประสานเร่งรัดความร่วมมือกับประเทศที่มีศักยภาพด้านพลังงานในภูมิภาคเอเชียใต้ | | 1. โครงการศูนย์ความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างประเทศ | | 1. โครงการซ้อมแผนรองรับเหตุฉุกเฉินด้านพลังงานของกระทรวงพลังงาน | | 1. โครงการศึกษาผลกระทบนโยบายพลังงาน (Energy Policy Impact Evaluation) ต่อการกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนเป้าหมายด้านพลังงานตามยุทธศาสตร์ชาติ 2. โครงการพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานเชิงยุทธศาสตร์ตามแผนพลังงานเชิงพื้นที่ | **แผนปฏิบัติราชการเรื่องที่ 2 การกำกับดูแล ราคา สร้างการแข่งขัน เพิ่มประสิทธิภาพ** ================================================================================== **เป้าหมาย** ------------ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงพลังงานในราคาที่เหมาะสม เป็นธรรม สะท้อนประสิทธิภาพและต้นทุนที่แท้จริง โดยกิจกรรมการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนของอุตสาหกรรมพลังงานเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม มีการกำกับ เป็นไปตาม มาตรฐานสากล และมีประสิทธิภาพ **ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย** --------------------------- | **เป้าหมาย** | **ตัวชี้วัด** | **ค่าเป้าหมาย** | | --- | --- | --- | | **2561** | **2562** | **2563** | **2564** | **2565** | | **ประชาชนเข้าถึงพลังงานในราคาที่เหมาะสม เป็นธรรม สะท้อนประสิทธิภาพและต้นทุนที่แท้จริง** | 1. การทบทวนโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง LPG ก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้าให้เป็นปัจจุบัน | | | เสนอ กบง. | | | | **อุตสาหกรรมพลังงานเป็นไปตามมาตรฐาน สากล มีการกำกับและมีประสิทธิภาพ** | 1. จำนวนสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงมีมาตรฐาน * ด้านคุณภาพ (ราย) * ด้านความปลอดภัย (ราย) * ด้านการสำรอง | | | -3,150-59,578-22,145 | -3,150-59,578-22,145 | -3,150-95,910-24,150 | | 1. การกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำมัน | | ประกาศกำหนดลักษณะคุณภาพฯ บี 10 | ทุกสถานีบริการน้ำมันมี บี 10 | | | | 1. การบริหารจัดการระบบส่งก๊าซธรรมชาติ (TSO) มีโครงสร้างการบริหารและการกำกับที่เป็นไปอย่างโปร่งใส มีอิสระ มีประสิทธิภาพ | | - จัดทำร่างหลักเกณฑ์การกำกับผู้รับใบอนุญาตระบบท่อก๊าซธรรมชาติ- รับฟังความเห็นต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | ประกาศใช้หลักเกณฑ์การกำกับผู้รับใบอนุญาตระบบท่อก๊าซธรรมชาติ | | | | 1. การทดสอบระบบ Third Party Access (TPA) ทั้ง LNG Terminal และระบบท่อ | | เสนอหลักเกณฑ์ต่อ กพช. | ทดสอบนำเข้าแบบ spot., Tariffพฯน ั้ง\*รมชาติามร้อน และเชื้อเพลิงชีวภาพ (เฉลี่ยร้อยละของพลังงานขั้นสุดท้าย) | | | | 1. แผนใช้งาน National Energy Trading Platform ที่พัฒนาร่วมกัน 3 การไฟฟ้า | | ทดสอบ NETP | | จัดตั้ง Consortium NETP ร่วมกันของทั้ง 3 การไฟฟ้า | | | 1. ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) สำหรับกระบวนการขออนุญาตผลิตไฟฟ้า | | | สำนักงาน กกพ. ดำเนินการอนุมัติอนุญาตแบบครบวงจร | | | **แนวทางการพัฒนา** ------------------ 1. **กำหนดโครงสร้างราคาพลังงานให้เหมาะสม** กำหนดโครงสร้างอัตราค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าก๊าซธรรมชาติ ค่าไฟฟ้า ที่เหมาะสม เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง 2. **สร้างกรอบกติกา รูปแบบและมาตรฐานในการแข่งขันในกิจการพลังงาน** โดยให้มีกฎระเบียบ โครงสร้าง มาตรฐานการแข่งขันที่เป็นสากลและโปร่งใส เพื่อส่งเสริมการแข่งขันในกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้า มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางซื้อขาย LNG ในภูมิภาค พัฒนาระบบ Trading Platform กลาง อำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่ประชาชนด้วยศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเนื่องและอุตสาหกรรมแบบใหม่ และให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น 3. **กำกับกิจการด้านพลังงาน ด้านมาตรฐาน คุณภาพ ความปลอดภัยของเชื้อเพลิงและการให้บริการ** กำกับการสำรวจ พัฒนา และผลิตปิโตรเลียมและไฟฟ้าให้มีความเหมาะสม เป็นธรรม มีความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างความมั่นคงในการจัดหาแหล่งพลังงานของประเทศ ยกระดับมาตรฐานคุณภาพการให้บริการของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงให้ดีขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพและปลอดภัย **แผนงานโครงการสำคัญ** ---------------------- ### **ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง** | | | --- | | 1. แผนการตรวจสอบการค้าการสำรอง | | 1. แผนการตรวจสอบความปลอดภัย | | 1. แผนการตรวจสอบคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง | | 1. การดำเนินการจัดทำแนวทางการใช้มาตรฐานน้ำมันยูโร 5 | | 1. โครงการปั๊มคุณภาพปลอดภัยน่าใช้บริการ | | 1. โครงการฝึกอบรมแนวทางการปฏิบัติงานภารกิจตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซปิโตรเลียมเหลว | | 1. โครงการฝึกอบรมการปฏิบัติงานวิศวกรรมทดสอบและตรวจสอบสำหรับเจ้าหน้าที่กรมธุรกิจพลังงาน | | 1. โครงการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพด้านวิศวกรรมสำหรับผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมายควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง | | 1. โครงการพัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานวิชาการด้านการทดสอบและตรวจสอบ | | 1. โครงการยกระดับความสามารถทางวิชาการของห้องปฏิบัติการด้านการตรวจสอบคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรฐาน ISO 17025 ระยะที่ 3 | | 1. โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การเปรียบเทียบผลการทดสอบผลิตภัณฑ์หล่อลื่นระหว่างห้องปฏิบัติการ” (Interlaboratory Comparison for Lubricant) | | 1. โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การทดสอบร่วมระหว่างห้องปฏิบัติการน้ำมันเชื้อเพลิง” (Thai Petroleum Laboratories Correlation) | | 1. โครงการสัมมนาเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับถังขนส่งก๊าซธรรมชาติ | | 1. โครงการจัดทำร่างมาตรฐานคุณภาพน้ำมัน บี10 | | 1. โครงการศึกษาทบทวนบัญชีความแตกต่างราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ LPG | | 1. สร้างความรับรู้ความเข้าใจโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศไทย | | 1. โครงการฝึกอบรมการปฏิบัติงานวิศวกรรมทดสอบและตรวจสอบสำหรับเจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาเทคนิคพลังงาน | | 1. โครงการจัดจ้างเพื่อดำเนินการให้มีการสอบภาคทฤษฎีด้วยระบบอิเล็คทรอนิกส์ (e-exam) สำหรับผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (N/A) | | 1. โครงการส่งเสริมให้มีการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 บี100 | | 1. แผนงานการติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง | | 1. ศึกษาทบทวนการบริหารจัดการโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ที่เหมาะสม สะท้อนต้นทุน | | 1. โครงการศึกษาทบทวนหลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซล (บี100) และเอทานอล | | 1. ศึกษาทบทวนต้นทุนก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) | | 1. ศึกษาต้นทุนการผลิตน้ำมัน EURO5 | | 1. แผนงานการการถ่ายโอนและพัฒนาระบบฐานข้อมูลน้ำมันเชื้อเพลิง | | 1. โครงการติดตามและประเมินผลนโยบายการส่งเสริมให้มีการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ (บี100 เอทานอล) | | 1. โครงการศึกษาทบทวนหลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซล (บี100) และเอทานอล | | 1. โครงการทบทวนหลักเกณฑ์การกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคาเชื้อเพลิงชีวภาพ (บี100 เอทานอล) | ### **ด้านก๊าซธรรมชาติ** | | | --- | | 1. โครงการศึกษาทบทวนการกำหนดรูปแบบและแนวทางการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ | | 1. โครงการตรวจเฝ้าระวังผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการประกอบกิจการปิโตรเลียมในอ่าวไทย | | 1. แผนงานการติดตาม ตรวจสอบการบริหารจัดการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ MTJDA | | 1. แผนงานการเตรียมการเพื่อรองรับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติระยะที่ 2 และ 3 ศึกษาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการปรับปรุงคุณภาพก๊าซธรรมชาติในระบบให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ประกาศข้อกำหนดคุณภาพก๊าซฯ ในระบบส่งก๊าซฯ ที่ไม่มีข้อจำกัดสำหรับ shipper ทุกรายให้สามารถนำก๊าซฯเข้าสู่ระบบได้อย่างเท่าเทียมกัน | | 1. แผนงานการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าก๊าซฯ ที่เหมาะสม เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง | | 1. แผนงานการดำเนินการเพื่อรองรับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติระยะที่ 1: ศึกษาและจัดทำหลักเกณฑ์การกำกับ TSO (TSO Regulatory Framework) ที่เหมาะสมกับประเทศไทย ประกาศหลักเกณฑ์การกำกับผู้บริหารระบบส่งและศูนย์ควคบคุมการส่งก๊าซธรรมชาติสำหรับ TSO ดำเนินการออกใบอนุญาตประกอบกิจการศูนย์ควบคุมการส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อผ่านระบบส่งก๊าซธรรมชาติ | | 1. แผนทดสอบการใช้ TPA ระบบท่อ และ LNG Terminal | ### **ด้านไฟฟ้า** | | | --- | | 1. โครงการศึกษาแนวทางการปรับปรุงและจัดทำนโยบายการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2564 – 2568 | | 1. โครงการจัดทำหลักเกณฑ์ ข้อบังคับ และแผนการสนับสนุน Solar ภาคประชาชน | | 1. โครงการศึกษาการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ | | 1. แผนการพัฒนาระบบ National Energy Trading Platform (NETP) เพื่อรองรับการจัดการข้อมูลในการซื้อขายไฟฟ้าเสรีระดับชุมชน | | 1. โครงการจัดตั้งศูนย์การขอรับใบอนุญาตแบบครบวงจร (One Stop Service ) | | 1. โครงการศึกษาการปรับลดขั้นตอนและระยะเวลาการขออนุมัติอนุญาต (One Stop Service ) | **แผนปฏิบัติราชการเรื่องที่ 3 การสร้างความยั่งยืนและเข้าถึงประชาชน** ==================================================================== **เป้าหมาย** ------------ เพื่อให้ประชาชนใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีสัดส่วนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนในประเทศเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับทิศทางการส่งเสริมการนำแหล่งพลังงานในประเทศมาใช้และการส่งเสริมพลังงานที่สะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงยกระดับรายได้ประชาชน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น **ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย** --------------------------- | **เป้าหมาย** | **ตัวชี้วัด** | **ค่าเป้าหมาย** | | --- | --- | --- | | **2561** | **2562** | **2563** | **2564** | **2565** | | **ประชาชนใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ** | 1. ค่าความเข้มข้นของการใช้พลังงาน (Energy Intensity) | | | 7.59 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ/พันล้านบาท | 7.50 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ/พันล้านบาท | 7.40 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ/พันล้านบาท | | **มีสัดส่วนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนในประเทศเพิ่มขึ้น** | 1. สัดส่วนของการใช้พลังงานทดแทนที่ผลิตได้ภายในประเทศในการผลิตไฟฟ้า ความร้อน และเชื้อเพลิงชีวภาพ (ร้อยละของการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย) | | | ร้อยละ 16 | ร้อยละ 17 | ร้อยละ 18 | | **ยกระดับรายได้ประชาชน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น** | 1. ความสำเร็จของการส่งเสริมโรงไฟฟ้าชุมชน แบบขายไฟฟ้าเข้าระบบ (โมเดล 1 - 2) | | เสนอ กพช. | ได้พื้นที่เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 1 แห่ง | เกิดโรงไฟฟ้าชุมชน | | **แนวทางการพัฒนา** ------------------ 1. **ส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนในประเทศให้บรรลุตามแผน AEDP** ส่งเสริมการผลิต การวิจัย การจัดทำมาตรฐาน พัฒนาพลังงานทดแทนทั้งในรูปพลังงานไฟฟ้า ความร้อน และเชื้อเพลิงชีวภาพตามศักยภาพของแหล่งเชื้อเพลิงในพื้นที่ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนอย่างเพียงพอ และมีสัดส่วนที่สูงขึ้น โดยคำนึงถึงต้นทุนค่าพลังงานที่เหมาะสม มีการผลิตไฟฟ้าที่มีการกระจายศูนย์มากขึ้น เกิดการเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับฐานข้อมูลศักยภาพพลังงานทดแทนต่าง ๆ ที่มีอยู่เดิม เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการบริหารจัดการ และการวางแผนระบบไฟฟ้าของประเทศ 2. **สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานตามแผน EEP** พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนำมาใช้ในการอนุรักษ์พลังงาน การสร้างจิตสำนึกและส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการอนุรักษ์และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน จากการใช้มาตรการและกลไกสนับสนุนต่าง ๆ ทั้งด้านการเงิน การถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ การบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงการพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 3. **สนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดการสร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยเทคโนโลยีพลังงาน ที่เหมาะสม** ส่งเสริมการกระจายรายได้สู่เศรษฐกิจฐานราก ด้วยการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย และยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน ผ่านการส่งเสริมการใช้ การลงทุนด้านพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานในชุมชน พร้อมเสริมสร้างศักยภาพและเตรียมความพร้อมให้กับส่วนท้องถิ่น ชุมชน และเครือข่าย ภาคประชาชน เพื่อให้เกิดศูนย์ข้อมูล และการบริหารจัดการพลังงานในระดับชุมชนอย่างมีส่วนร่วม เป็นกลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม **แผนงานโครงการสำคัญ** ---------------------- ### **ด้านพลังงานทดแทน** | | | --- | | 1. โครงการศึกษาแนวทางการปรับปรุงค่าความร้อนสุทธิและองค์ประกอบคาร์บอนของเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ใช้ในประเทศไทย | | 1. โครงการผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน | | 1. โครงการพัฒนาคู่มือเทคโนโลยีพลังงานทดแทน | | 1. โครงการศึกษาและจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัลกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (ปี 2565 – 2567) | | 1. โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศองค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน | | 1. โครงการบริหารจัดการข้อมูลพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานเชิงพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ | | 1. โครงการว่าจ้างปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ | | 1. การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานให้กับกำลังพลในค่ายทหาร | | *พลังงานแสงอาทิตย์* | | 1. โครงการศึกษาแนวทางการส่งเสริมผู้ผลิตเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศ (Local Contents)ด้านไฟฟ้า และความร้อน | | 1. โครงการศึกษาและพัฒนาระบบนิเวศ (Ecosystems) ของการรับกำจัดแผงเซลล์แสงอาทิตย์อย่างเหมาะสม | | 1. โครงการศึกษาพัฒนารูปแบบมาตรฐานอุปกรณ์การออกแบบการใช้งานระบบทำความเย็นพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับ building Code | | 1. โครงการพัฒนาและปรับปรุงเครือข่ายสถานีวัดความเข้มรังสีดวงอาทิตย์สำหรับประเทศไทย | | 1. โครงการ Solar to Social | | 1. โครงการติดตั้งระบบติดตามข้อมูลระยะไกลระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ | | 1. โครงการปรับปรุงและพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานด้านพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อรองรับบูรณาการระหว่างหน่วยงานในยุค 4.0 | | 1. โครงการปรับปรุง บำรุงรักษาและพัฒนาสถานีวัดความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ จำนวน 15 สถานี | | 1. โครงการบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ | | 1. โครงการปรับปรุงแหล่งพลังงานสำรองของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งใช้งานมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี | | 1. โครงการส่งเสริมระบบบ่อเลี้ยงปลาแสงอาทิตย์สำหรับชุมชน | | 1. โครงการตามภารกิจถ่าย-โอน ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ | | 1. แผนงานพัฒนาและส่งเสริมระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ | | * โครงการศึกษาพัฒนาระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรม | | * โครงการส่งเสริมระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับกลุ่ม Smart Farmer | | * โครงการศึกษา พัฒนาระบบควบคุมอัตโนมัติเพื่อใช้กับระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับผลิตภัณฑ์เกษตร | | * โครงการสนับสนุนการลงทุนติดตั้งใช้งานระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ | | * โครงการติดตามประเมินผลโครงการสนับสนุนการลงทุนติดตั้งใช้งานระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ | | 1. แผนงานพัฒนาและส่งเสริมระบบความร้อนและความเย็นจากพลังงานแสงอาทิตย์ | | * โครงการศึกษาและจัดทำฐานข้อมูลเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตความร้อนและสถานการณ์การตลาดของประเทศไทย | | * โครงการศึกษาแนวทางการส่งเสริมเทคโนโลยีทำความเย็นพลังงานแสงอาทิตย์ | | * โครงการศึกษาและจัดทำมาตรฐานระบบทำความเย็นพลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ | | * โครงการพัฒนาแนวทางการกระตุ้นการใช้พลังงานทดแทนด้านน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับประเทศไทย | | * โครงการการสนับสนุนการลงทุนติดตั้งระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ | | 1. แผนงานพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำ | | * + โครงการไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในอ่างเก็บน้ำ | | *ชีวมวล* | | 1. โครงการศึกษาทบทวนศักยภาพชีวมวลในประเทศไทยและปรับปรุงฐานข้อมูลชีวมวล | | 1. โครงการศึกษาการจัดการส่งเสริมปลูกไม้โตเร็วเพื่อเป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้า | | 1. โครงการศึกษาการนำไผ่มาใช้ประโยชน์เชิงพลังงาน | | 1. โครงการสาธิตการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดกับหม้อไอน้ำเพื่อทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในโรงพยาบาลของรัฐ | | *ขยะ* | | 1. โครงการเสริมสร้างองค์ความรู้และสร้างจิตสำนึกในการจัดการขยะเป็นพลังงานให้กับสถานศึกษาและประชาชนทั่วไป | | *เชื้อเพลิงชีวภาพ* | | 1. โครงการศึกษาเชื้อเพลิงชีวภาพทางเลือกจากวัตถุดิบอื่น | | 1. โครงการประเมินผลกระทบและประโยชน์ของเชื้อเพลิงชีวภาพต่อระบบเศรษฐกิจ | | 1. โครงการสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนผลิตเชื้อเพลิงพลังงานทดแทน | | 1. แผนงานการส่งเสริมไบโอดีเซล | | * + โครงการศึกษาการใช้น้ำมันไบโอดีเซล กับรถยนต์ดีเซลขนาดมาตรฐานไอเสีย ยูโร 5 | | * + โครงการเตรียมความพร้อมในการส่งเสริมการใช้น้ำมัน บี10 เป็นน้ำมันพื้นฐาน | | * + โครงสำรวจและประเมินคุณค่าทางเศรษฐศาสตร์ของอุตสาหกรรมไบโอดีเซลและอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากน้ำมันปาล์ม | | * + โครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ไบโอดีเซลชุมชน | | * โครงการติดตามและจัดทำฐานข้อมูลไบโอดีเซลชุมชน | | 1. แผนงานส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงจากเอทานอล | | * + โครงการเตรียมความพร้อมในการส่งเสริมการใช้น้ำมัน อี20 เป็นน้ำมันพื้นฐาน | | * + โครงการศึกษากลไกและมาตรการส่งเสริมการใช้เอทานอล | | *ก๊าซชีวภาพ* | | 1. โครงการศึกษาการเปลี่ยนรูปแบบก๊าซชีวภาพเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน | | 1. โครงการศึกษาเพื่อปรับปรุงต้นแบบระบบผลิตก๊าซชีวภาพในระดับครัวเรือน | | 1. โครงการศึกษาและสาธิตระบบติดตามการผลิตและการใช้ก๊าซชีวภาพ | | 1. โครงการสาธิตการผลิตไบโอมีเทนเหลว (LBM : Liquid Bio Methane) จากก๊าซชีวภาพเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน | | 1. โครงการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการของเสียด้วยเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพในอาคารและโรงงาน | | *พลังงานน้ำ* | | 1. แผนงานการศึกษาและออกแบบโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กและขนาดเล็กมาก | | * โครงการศึกษาแผนหลักและออกแบบโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กมากท้ายโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กของ พพ. | | * โครงการศึกษาแผนหลักและออกแบบโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กมากท้ายโครงการชลประทานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในเขตภาคเหนือตอนบน และ ในเขตภาคเหนือตอนล่าง | | * โครงการศึกษาและจัดทำข้อมูลเพื่อบริหารจัดการน้ำ ในอ่างเก็บน้ำโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กของ พพ. | | * โครงการศึกษาความเหมาะสม สำรวจออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก | | * โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กมากในเขตอุทยานแห่งชาติ | | 1. แผนงานผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กและขนาดเล็กมาก | | * โครงการเพิ่มกำลังผลิตติดตั้งโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กมาก | | * โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กมากในเขตอุทยานแห่งชาติ | | * + โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน (ไฟฟ้าพลังน้ำ ขนาดเล็ก 23 โครงการ 59.63 MW และขนาดเล็กมาก 71 โครงการ 2.986 MW) | | * โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชน | | * โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพและเพิ่มกำลังผลิตโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก (ผูกพันงบประมาณปี 2566) | | * โครงการศึกษาปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพ (ขยายกำลังการผลิต) โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก | | * โครงการไฟฟ้าพลังน้ำห้วยป่าปู อ.พบพระ จ.ตาก | | * โครงการไฟฟ้าพลังน้ำแม่นาวาง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ | | * โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กมากระดับหมู่บ้าน 3 แห่ง (Off-grid) | | *พลังงานลม* | | 1. โครงการศึกษาทบทวนศักยภาพและจัดทำแผนที่พลังงานลมของประเทศ | | 1. โครงการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีกังหันลมผลิตไฟฟ้า | | 1. โครงการพัฒนาฐานข้อมูลพลังงานลม | | 1. โครงการบำรุงรักษากังหันลมผลิตไฟฟ้า | | *ความร้อนใต้พิภพ* | | 1. โครงการศึกษาพัฒนาการใช้ประโยชน์ด้านพลังงานจากแหล่งน้ำพุร้อนแม่จัน จังหวัดเชียงราย | | *อื่น ๆ* | | 1. แผนงานการการถ่ายทอดและเผยแพร่พลังงานทดแทน | | * โครงการถ่ายทอดและเผยแพร่การใช้พลังงานน้ำ | | * โครงการถ่ายทอดและเผยแพร่การใช้พลังงานลม | | * โครงการถ่ายทอด เผยแพร่ และส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานให้กับหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ | | * โครงการถ่ายทอด เผยแพร่ สาธิตการใช้เทคโนโลยีพลังงานชีวภาพในระดับครัวเรือนและชุมชน | | * โครงการถ่ายทอด เผยแพร่ สาธิตการใช้เทคโนโลยีระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในระดับครัวเรือนและชุมชน | | * โครงการถ่ายทอด เผยแพร่และส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล | | * โครงการถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน | | 1. แผนงานพัฒนาบุคลากรด้านพลังงานทดแทน | | * โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการผลิตและใช้พลังงานทดแทน | | * โครงการพัฒนาบุคลากรภาคปฏิบัติการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ | | * โครงการการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Rooftop) | | * โครงการพัฒนาวิทยากร และผู้ดูแลระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Pumping) | | * โครงการพัฒนาวิทยากรด้านพลังงานทดแทน | | * โครงการพัฒนาบุคลากรภาคปฏิบัติการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเชื้อเพลิงชีวภาพ | | * + โครงการพัฒนาบุคลากรภาคปฏิบัติการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเชื้อเพลิงชีวมวล | | 1. แผนงานการติดตามสถานภาพการผลิตพลังงานทดแทน | | * + โครงการติดตามสถานภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย | | * + โครงการติดตามสถานภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมของประเทศไทย | | * + โครงการติดตามสถานภาพการผลิตและการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพของประเทศไทย | | 1. โครงการส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนและนวัตกรรม | | 1. โครงการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนประเภทต่าง ๆ | | 1. โครงการโซล่าร์ประชาชน 10,000 เมกะวัตต์ | | 1. โครงการส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูฟอย่างเสรี | | 1. แผนงานสร้าง Floating Solar และ Hydro | | 1. แผนพัฒนาโรงไฟฟ้าท้ายเขื่อนขนาดเล็ก | ### **ด้านอนุรักษ์พลังงาน** | | | --- | | 1. โครงการทบทวนแผนอนุรักษ์พลังงาน (พ.ศ. 2561 - 2580) และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (พ.ศ. 2561 - 2580) | | 1. โครงการสนับสนุนภารกิจการดำเนินงานตามแผนอนุรักษ์พลังงาน (พ.ศ. 2561 - 2580) และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (พ.ศ. 2561 - 2580) | | 1. โครงการติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการด้านอนุรักษ์พลังงานและด้านพลังงานทดแทน | | 1. โครงการติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินงาน โครงการด้านอนุรักษ์พลังงานและด้านพลังงานทดแทนในระยะที่ผ่านมา | | 1. โครงการออกแบบและพัฒนาระบบการบริหารจัดการและสนับสนุนการตัดสินใจเชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนาศักยภาพพลังงานทดแทน (DEDE-MAP) | | 1. โครงการติดตามประเมินผลและพัฒนาระบบสารสนเทศการดำเนินงานด้านพลังงานทดแทนนอกข่ายการสนับสนุนจากกองทุนฯ | | 1. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินความร่วมมือกับต่างประเทศ | | 1. โครงการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานในอาเซียน (ระยะที่ 3) และกลุ่มประเทศอื่น ๆ | | 1. โครงการสนับสนุนการดำเนินงานด้านความร่วมมือกับต่างประเทศตามแผน AEDP และ EEP | | 1. โครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานโดยสถาบันการเงิน | | 1. โครงการสนับสนุนการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยน ปรับปรุง เครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน | | 1. โครงการ Thailand Energy Awards | | *โรงงานอาคารควบคุม* | | 1. โครงการให้คำปรึกษาเชิงปฏิบัติการในโรงงานอาคารควบคุมเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ Smart Factory และ Smart Building | | 1. โครงการกำกับดูแลและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายสำหรับโรงงานควบคุม (Regulate and Facilitate Expert (RFE)) | | 1. โครงการกำกับดูแลและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายสำหรับอาคารควบคุมเอกชน (Regulate and Facilitate Expert (RFE)) | | 1. โครงการจัดระบบวิเคราะห์วัดสมรรถนะประสิทธิภาพด้านพลังงานออนไลน์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานควบคุม | | 1. โครงการจัดทำตัวชี้วัดสมรรถนะประสิทธิภาพด้านพลังงาน (Energy Performance Indicator, EnPI) สำหรับอาคารควบคุม (ระยะที่ 2) | | 1. โครงการนำร่องการใช้กลไกราคาในการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในโรงงานควบคุม | | 1. โครงการศึกษาและสาธิตการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่สำหรับโรงงานควบคุม | | 1. โครงการสนับสนุนและให้คำปรึกษาเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในโรงงานและอาคารควบคุม | | 1. โครงการสนับสนุนการปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนระบบการใช้พลังงานในโรงงานและอาคารควบคุมด้วยนวัตกรรมด้านอนุรักษ์พลังงาน | | 1. โครงการสาธิตเทคโนโลยีพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy System) ในโรงงานและอาคารควบคุม | | 1. ศูนย์อำนวยการการลดการใช้พลังงานในอาคารควบคุมภาครัฐตามกฏหมายด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์และฐานข้อมูลแบบ big data | | 1. แผนงาน Building Energy Code (BEC) | | * โครงการศึกษาและสาธิตกลไกสนับสนุนช่วยเหลือการปรับปรุงอาคารควบคุมภาครัฐให้ผ่านเกณฑ์ BEC | | * โครงการกำกับดูแลและสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายเกณฑ์มาตรฐานอาคารด้านพลังงาน | | * โครงการขยายผลการติดฉลากแสดงข้อมูลการใช้พลังงานในอาคาร | | * โครงการขึ้นทะเบียน ฝึกอบรมและทดสอบผู้ตรวจรับรองแบบอาคารตามกฎหมาย | | * โครงการพัฒนาโปรแกรมตรวจประเมินค่าการอนุรักษ์พลังงาน BEC | | * โครงการสนับสนุนการลงทุนเพื่อสร้างหรือปรับปรุงอาคารให้ดีกว่าเกณฑ์ BEC ด้วยมาตรการทางการเงิน | | * โครงการสร้างความเข้าใจและเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานอาคารด้านพลังงานตามกฎหมายสำหรับบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | | * โครงการศึกษาและสาธิตการยกระดับเกณฑ์อาคาร ECON สู่เกณฑ์อาคาร Zero Building | | * โครงการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานอาคารด้านพลังงานสำหรับอาคารที่มีพื้นที่ใช้สอย ขนาด 2,000 ตารางเมตรภายในปี 2564 (Building Energy Code: BEC) | | 1. แผนงานการใช้ประโยชน์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน | | * โครงการจัดทำระบบข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อขับเคลื่อนแผน EEDP และ AEDP ในการเชื่อมโยงศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ | | * โครงการพัฒนาการถ่ายโอนและเชื่อมโยงข้อมูลขนาดใหญ่ตามแผน EEDP และ AEDP ระหว่าง 3 หน่วยงาน (พพ. กกพ. และ สนพ.) ภายใต้ศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ | | * โครงการจัดตั้งศูนย์การจัดการความต้องการด้านพลังงานของประเทศไทย (DSM Center) ภายใต้ศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ | | * โครงการศึกษากรอบและออกแบบการจัดตั้งศูนย์การจัดการความต้องการด้านพลังงานของประเทศไทย (DSM Center) ภายใต้ศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ (ระยะที่ 1) | | * โครงการศึกษากรอบและออกแบบการจัดตั้งศูนย์การจัดการความต้องการด้านพลังงานของประเทศไทย (DSM Center) ภายใต้ศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ (ระยะที่ 2) | | * โครงการศึกษาออกแบบและพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลด้านดิจิทัลพลังงานกับ Demand Respond Control Center ตามแผนการขับเคลื่อน Smart Grid | | * โครงการนำร่องการเชื่อมโยงข้อมูลตามแผนพัฒนา Electronics Monitoring ด้านดิจิทัลพลังงานกับ Demand Respond Control Center ตามแผนการขับเคลื่อน Smart Grid | | 1. แผนงานกำกับดูแลการบังคับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลพลังงาน (Electronic Monitoring) | | * + โครงการการกำกับดูแลการบังคับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลพลังงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานตามกฎหมายในภาคอาคารธุรกิจตามแผนพัฒนา Electronics Monitoring ในโรงงานควบคุม | | * + โครงการการกำกับดูแลการบังคับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลพลังงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานตามกฎหมายในภาคอาคารธุรกิจตามแผนพัฒนา Electronics Monitoring ในอาคารควบคุม | | * + โครงการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลพลังงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานตามกฎหมายในภาคอุตสาหกรรมตามแผนพัฒนา Electronics Monitoring ในโรงงานควบคุม | | * + โครงการพัฒนาระบบการอนุรักษ์พลังงานในอาคารควบคุมภาครัฐด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ | | * + โครงการศึกษาการปรับปรุงระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายการบังคับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลพลังงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานตามกฎหมายตามแผนพัฒนา Electronics Monitoring ในอาคารและโรงงานควบคุม | | * + โครงการสนับสนุนเทคโนโลยี IoT ร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัลพลังงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานตามกฎหมายในภาคอาคารธุรกิจตามแผนพัฒนา Electronics Monitoring ในอาคารควบคุม | | * + โครงการสนับสนุนเทคโนโลยี IoT ร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัลพลังงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานตามกฎหมายในภาคอุตสาหกรรมตามแผนพัฒนา Electronics Monitoring ในโรงงานควบคุม | | 1. แผนงานบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) | | * โครงการนำร่องและช่วยเหลือหน่วยงานภาครัฐให้ใช้กลไกของบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) | | * โครงการฝึกอบรมให้ความรู้เจ้าหน้าที่ภาครัฐเกี่ยวกับการใช้มาตรการบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) สำหรับหน่วยงานภาครัฐ | | * โครงการพัฒนาแนวทางการตรวจวัดและขั้นตอนการพิสูจน์ผลประหยัดพลังงานสำหรับมาตรการบริษัทจัดการ (ESCO) ในหน่วยงานภาครัฐ | | * โครงการส่งเสริมการใช้มาตรการบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) สำหรับหน่วยงานภาครัฐ | | * โครงการขึ้นทะเบียนและกำกับดูแลการออกใบอนุญาตในการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน | | *ภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ* | | 1. โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานในกระบวนการผลิตของโรงงานฉีดพลาสติกขนาดกลางและขนาดเล็ก | | 1. โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานในกระบวนการผลิตของโรงงานอาหารและผลิตภัณฑ์โลหะขนาดกลางและขนาดเล็ก | | 1. โครงการรณรงค์และสร้างการตระหนักรู้ในการอนุรักษ์พลังงานของโรงงานและอาคารภายใต้การควบคุมของกฎหมาย | | 1. โครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก 5 ภาค (10 กลุ่ม) (Flagship) | | 1. โครงการศึกษาและสาธิตเพื่อพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเข้าสู่เทคโนโลยีระบบพลังงานอัจฉริยะ Smart Energy System (SES) | | 1. โครงการส่งเสริมการตรวจรับรองมาตรฐาน ISO 50001 เพื่อยกระดับระบบการจัดการพลังงานตามกฎหมายเข้าสู่มาตรฐานสากล | | *มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน* | | 1. โครงการศึกษาเพื่อประเมินผลและทวนสอบการติดฉลากของผลิตภัณฑ์ประสิทธิภาพสูง | | 1. โครงการส่งเสริมเครื่องจักรอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงานโดยการติดฉลาก | | 1. โครงการศึกษาแนวทางการบังคับการติดฉลากแสดงค่าประสิทธิภาพพลังงาน | | 1. โครงการนำร่องส่งเสริมผู้ผลิตเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ ปรับเปลี่ยนปรับปรุง การผลิต เพื่อยกระดับมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานของผลิตภัณฑ์ | | 1. แผนงานการทบทวนและจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (HEPS & MEPS) ตาม พ.ร.บ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550) | | * โครงการเพิ่มประสิทธิภาพหม้อไอน้ำด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ เพื่อสนับสนุนการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานการใช้พลังงานในอุปกรณ์ระบบความร้อน (กลุ่มอุปกรณ์ระบบความร้อน) | | * โครงการเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์ทำความเย็นด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ เพื่อสนับสนุนการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานการใช้พลังงานในอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า (กลุ่มอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า) | | * + โครงการจัดทำร่างประกาศกระทรวงเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพอุปกรณ์กำลังใช้งาน ตาม พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550) | | * + โครงการพัฒนาและสาธิตการใช้เกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอุปกรณ์ระบบความร้อนและไฟฟ้าของโรงงานควบคุม ตาม พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 | | * + โครงการทบทวนการจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (HEPS & MEPS) ของหลอดมีแบลลัสต์ในตัว หลอดฟลูออเรสเซนซ์ขั้วคู่ และโคมไฟฟ้าสำหรับหลอดฟลูออเรสเซนซ์ | | * + โครงการทบทวนการจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (HEPS & MEPS) ของกาต้มน้ำร้อนไฟฟ้า กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าและเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า | | * + โครงการทบทวนการจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (HEPS & MEPS) ของเตาหุงต้มในครัวเรือนใช้กับก๊าซปิโตรเลียมเหลว | | * + โครงการทบทวนการจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (HEPS & MEPS) ของเตาไฟฟ้า เตาไมโครเวฟไฟฟ้า | | * โครงการทบทวนการจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (HEPS & MEPS) ของเครื่องทำน้ำเย็นสำหรับระบบปรับอากาศ | | * โครงการทบทวนการจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (HEPS & MEPS) ของพัดลมไฟฟ้ากระแสสลับ | | * โครงการทบทวนการจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (HEPS & MEPS) ของมอเตอร์เหนี่ยวนำสามเฟส | | * + โครงการจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (HEPS & MEPS) ของแบตเตอรี่สำรองแบบพกพา | | * + โครงการจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (HEPS & MEPS) ของแบตเตอรี่สำหรับระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลแสงอาทิตย์ | | * + โครงการจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (HEPS & MEPS) ของเครื่องถ่ายเอกสาร | | * + โครงการจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (HEPS & MEPS) ของหลังคาเมทัลชีท | | * + โครงการจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (HEPS & MEPS) ของเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ | | * + โครงการจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (HEPS & MEPS) ของแบตเตอรี่รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าและรถจักรยานไฟฟ้า | | * + โครงการจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (HEPS & MEPS) ของเครื่องฉีดพ่นยา | | * + โครงการจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (HEPS & MEPS) ของตู้แช่แข็งฝาทึบ | | * + โครงการจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (HEPS & MEPS) ของหม้อแปลงไฟฟ้า | | * + โครงการจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (HEPS & MEPS) ของเครื่องทำน้ำแข็ง | | * + โครงการจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (HEPS & MEPS) ของปั๊มความร้อนอุณหภูมิสูง | | * + โครงการจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (HEPS & MEPS) ของเครื่องสูบน้ำแบบจุ่ม | | * + โครงการจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (HEPS & MEPS) ของเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง | | * + โครงการจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (HEPS & MEPS) ของเครื่องปรับอากาศรถยนต์ | | * + โครงการจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (HEPS & MEPS) ของเครื่องสูบน้ำไฟฟ้าชนิดอินเวอร์เตอร์ | | * + โครงการจัดทำมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (HEPS & MEPS) ของแผงเซลล์แสงอาทิตย์และอินเวอร์เตอร์สำหรับระบบพลังงานแสงอาทิตย์ | | 1. แผนงานการทบทวนและศึกษาด้านมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน | | * + โครงการศึกษามาตรฐานเครื่องจักรกลการเกษตร เฉพาะด้านประสิทธิภาพพลังงาน | | * + โครงการศึกษาศักยภาพเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ ที่เหมาะสมในการส่งเสริมโดยการติดฉลาก | | * + โครงการศึกษาศักยภาพและผลักดันการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในหน่วยงานภาครัฐ | | * + โครงการศึกษาสำรวจการใช้พลังงานไฟฟ้าและประสิทธิภาพพลังงานของ Data Center ในประเทศไทย | | *ภาคขนส่ง* | | 1. โครงการติดตามและประเมินผลการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่งภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน | | 1. โครงการประเมินผลประหยัด (Tracking) ของมาตรการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน | | 1. โครงการประเมินผลประหยัด (Tracking) ของมาตรการรถไฟทางคู่ | | 1. โครงการศึกษาแนวทางการส่งเสริมจักรยานยนต์ไฟฟ้าในธุรกิจขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร | | 1. โครงการศึกษาและจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการใช้พลังงานสำหรับผู้ประกอบการขนส่ง | | 1. โครงการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมและการสร้างวิทยากรผู้สอนการขับขี่ประหยัดพลังงาน (Eco driving) | | 1. โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิเพื่อการประหยัดพลังงาน | | 1. โครงการส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารในการพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน | | 1. โครงการสถานศึกษาต้นแบบเพื่อส่งเสริมการเดินทางที่ประหยัดพลังงานและลดปัญหาการจราจร | | 1. โครงการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการเพื่อการอนุรักษ์พลังงานในภาคขนส่ง | | *ภาคครัวเรือนที่อยู่อาศัย* | | 1. โครงการเงินทุนหมุนเวียน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในภาคที่อยู่อาศัย | | 1. โครงการประกวดการออกแบบบ้านอนุรักษ์พลังงานอัจฉริยะ | | 1. โครงการประกวดบ้านจัดสรรอนุรักษ์พลังงานดีเด่น | | 1. โครงการส่งเสริมการใช้เกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานของบ้านอยู่อาศัย | | 1. โครงการสนับสนุนการปรับเปลี่ยน ปรับปรุง อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงานในบ้านอยู่อาศัย | | 1. โครงการถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานในบ้านอยู่อาศัยและสำนักงาน | | *ภาคเกษตร* | | 1. โครงการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในภาคเกษตร Smart Energy Farming | | 1. โครงการส่งเสริมรูปแบบการจัดการ Supply Chain เพื่อการประหยัดพลังงานในภาคเกษตรกรรม | | 1. โครงการสนับสนุนการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยน ปรับปรุง เครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานในภาคเกษตรกรรม | | 1. โครงการศึกษาแนวทางการลดต้นทุนการผลิตยางแผ่นรมควันโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต | | *อื่น ๆ* | | 1. แผนงานการเผยแพร่ความรู้ | | * โครงการเผยแพร่และส่งเสริมการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน | | * โครงการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน | | * โครงการผลิตและเผยแพร่สารคดีเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพผ่านสื่อดิจิทัล | | * โครงการถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ ด้าน อนุรักษ์พลังงานในพื้นที่ 3 จังหวัด ชายแดนใต้ | | * โครงการส่งเสริมและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านพลังงาน | | * การถ่ายทอด เผยแพร่ สาธิต และจัดแสดงนิทรรศการองค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (ศูนย์บริการวิชาการที่ 1 – 10) | | * การบูรณาการหน่วยงานและเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อการพัฒนาและยกระดับการถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานในภูมิภาค ระยะที่ 1 : การจัดทำแผนพัฒนาการถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานในภูมิภาค | | * โครงการพัฒนาระบบการเผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน | | * การบูรณาการหน่วยงานและเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อการพัฒนาและยกระดับการถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานในภูมิภาค ระยะที่ 2 : การพัฒนาและปรับปรุงศูนย์บริการวิชาการเพื่อรองรับการถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานในภูมิภาค | | * การดำเนินงานรณรงค์และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านอนุรักษ์พลังงาน ประจำปี.... | | 1. แผนงานพัฒนาบุคลากรด้านการอนุรักษ์พลังงาน | | * + โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อปฏิบัติงาน รณรงค์ ถ่ายทอด และเผยแพร่การอนุรักษ์พลังงานในภูมิภาค | | * + โครงการพัฒนาบุคลากรด้านพลังงานด้วยรูปแบบ Digital Education | | * + โครงการพัฒนาบุคลากรด้านพลังงานตามกฎหมาย | | * + โครงการพัฒนาบุคลากรภาคปฏิบัติเพื่อการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy 4.0) ในโรงงานควบคุม | | * + โครงการพัฒนาบุคลากรภาคปฏิบัติเพื่อการประยุกต์ใช้นวัตนกรรมและเทคโนโลยีสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy 4.0) ในอาคารควบคุม | | * + โครงการพัฒนาบุคลากรภาคปฏิบัติสำหรับครัวเรือน ด้วยโปรแกรมประยุกต์ด้านการจัดการพลังงานผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Phone) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy 4.0) | | * + โครงการพัฒนาบุคลากรภาคปฏิบัติสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) ด้วยโปรแกรมประยุกต์ด้านการจัดการพลังงานผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Phone) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy 4.0) | | 1. โครงการพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ เพื่อการออกแบบนวัตกรรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงานด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบให้กลุ่มเป้าหมายในภูมิภาค | | 1. โครงการการดำเนินงานค่ายเยาวชนรักษ์พลังงาน | | 1. โครงการประกวดการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนโดยเทคโนโลยีและนวัตกรรม 4.0 | | 1. โครงการพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน | | 1. โครงการปรับปรุงพัฒนาสารสนเทศพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน | | 1. โครงการพัฒนาโปรแกรมเรียนรู้แบบโต้ตอบ (Interactive Learning Software) เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการผลิตไฟฟ้าและความร้อน | | 1. โครงการส่งเสริมและสนับสนุนนวัตกรรมด้านอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานทดแทน | | 1. โครงการอนุรักษ์พลังงานในศาสนสถาน | | 1. โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพและต่อยอดการใช้พลังงานแบบบูรณาการโดยการแสดงเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานในอาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ | | 1. โครงการสนับสนุนทุนการศึกษาด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน | | 1. แผนการใช้ผลิตภัณฑ์เบอร์ 5 คิดเป็นปริมาณไฟฟ้าลดลงไม่ต่ำกว่า 200 MW | ### **ด้านส่งเสริมชุมชน** | | | --- | | 1. แผนงานโรงไฟฟ้าชุมชน | | 1. แผนงานสถานีพลังงานชุมชน | | 1. โครงการเชื่อมร้อยเครือข่ายองค์กรและเครือข่ายชุมชน เพื่อสร้างพลังการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม | | 1. โครงการเพิ่มสมรรถนะด้านการบริหารและจัดการพลังงานครบวงจรในชุมชนระดับตำบลและวิสาหกิจชุมชน | | 1. โครงการเสริมสมรรถนะ-โครงการเตาชีวมวล | | 1. โครงการเสริมสมรรถนะ-โครงการโซล่าร์สูบน้ำ | | 1. โครงการเสริมสมรรถนะ-โครงการโซล่าร์อบแห้ง | | 1. โครงการพัฒนาศูนย์ข้อมูลพลังงานระดับชุมชนเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการพลังงาน ระดับภูมิภาคและระดับชาติ | | 1. แผนงานสร้าง Floating Solar with Hydro | | 1. แผนการพัฒนาโรงไฟฟ้าท้ายเขื่อนขนาดเล็ก | | 1. แผนการพัฒนาระบบสมาร์ทไมโครกริดและการศึกษาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะในโครงการ EGAT Energy Excellence Center (EEEC) | | 1. โครงการสร้างความรู้ความเข้าใจและพัฒนาการสื่อสารเพื่อเจตคติที่ดีต่อการขับเคลื่อนงานพลังงานในชุมชน | | 1. โครงการสื่อสารถ่ายทอดเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าฐานเพื่อสร้างความพร้อมของประชาชนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (VR) ในเขตพื้นที่ยุทธศาสตร์ | | 1. โครงการสร้างความเข้าใจและส่งเสริมทัศนคติเพื่อการเรียนรู้ด้านพลังงานทางเลือกสำหรับเยาวชนในพื้นที่จังหวัดยุทธศาสตร์ En-Camp ปีที่ 3 | | 1. โครงการสร้างนักสื่อสารพลังงานด้านนโยบายพลังงานระดับชุมชน | | 1. โครงการพัฒนาบุคลากรในการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐานในระดับประชาชน (ระดับความรู้ทั่วไป) ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงพลังงานกับสำนักงาน กศร. ระยะที่ 1-4 | | 1. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างกระบวนความคิดทางพลังงาน และพัฒนาวิชาชีพด้านพลังงานที่เหมาะสมกับการพัฒนาตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน | **แผนปฏิบัติราชการเรื่องที่ 4 การสร้างความโปร่งใส เป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล ให้สังคมเชื่อถือ** ============================================================================================== **เป้าหมาย** ------------ เพื่อให้กระทรวงพลังงานเป็นองค์กรสมรรถนะสูง บริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล และเป็นศูนย์ข้อมูลพลังงานของประเทศที่น่าเชื่อถือ **ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย** --------------------------- | **เป้าหมาย** | **ตัวชี้วัด** | **ค่าเป้าหมาย** | | --- | --- | --- | | **2561** | **2562** | **2563** | **2564** | **2565** | | **กระทรวงพลังงานเป็นองค์กรสมรรถนะสูง** | ความสำเร็จของการปรับปรุงองค์กรให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลง | | - มี Code of Conduct ของกระทรวงพลังงาน- จัดตั้งกองภายในบริหาร PSC | **-** ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการด้านปิโตรเลียมภายใต้ระบบใหม่ | - ดำเนินการตามแนวทางที่ศึกษา | * เกิดกองบริหารสัญญา ที่เป็นทางการ | | ความสำเร็จของการมีโครงสร้างอัตรากำลังและแผนสืบทอดตำแหน่งของกระทรวงพลังงาน | | - ได้รับการจัดสรรอัตรากำลังเพิ่มขึ้น | - จัดทำแนวทางการสืบทอดตำแหน่ง (Executive Successors)- จัดทำ IDP รายบุคคลของคนกำลังคนคุณภาพ | | | | **ศูนย์ข้อมูลพลังงานของประเทศที่น่าเชื่อถือ** | ความสำเร็จของการเกิดระบบงานดิจิทัล | ปรับปรุงระบบฐานข้อมูล | - มีแผนม่บท ICT | - มีแผน Data Governance- ระบบการทำงานเป็นดิจิทัล | เกิด Ministry of Energy Data Operation Center | เกิดศูนย์พลังงานแห่งชาติ | | **กระทรวงพลังงานบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล** | ความสำเร็จของการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน | | จัดทำหลักเกณฑ์คณะกรรมการของภาคประชาสังคม | มีคณะกรรมการภาคประชาสังคม | | | | ความสำเร็จของการพัฒนาสู่องค์กรโปร่งใส | มีแผนป้องกันการทุจริตและปราบปรามทุจริต- ITA ดีขึ้น | -มีแผนป้องกันการทุจริตและปราบปรามทุจริต- ITA ดีขึ้น | มีแผนป้องกันการทุจริตและปราบปรามทุจริต- ITA ดีขึ้น | มีแผนป้องกันการทุจริตและปราบปรามทุจริต- ITA ดีขึ้น | มีแผนป้องกันการทุจริตและปราบปรามทุจริต- ITA ดีขึ้น | **แนวทางการพัฒนา** ------------------ 1. **พัฒนาปรับปรุงแผนบริหาร แผนพัฒนาทรัพยากร ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกระทรวงพลังงาน ให้รองรับการปฏิบัติงานตามภารกิจของกระทรวงพลังงาน** พัฒนาปรับปรุงแผนบริหารและแผนพัฒนาทรัพยากรของกระทรวงพลังงาน การพัฒนาระบบราชการ รวมทั้งการพัฒนาระบบ กลไก และโครงสร้างการบริหารจัดการองค์กร เพื่อสร้างความชัดเจน ลดความซ้ำซ้อน และมีความเหมาะสมในการดำเนินงาน ระหว่างหน่วยนโยบาย-หน่วยกำกับ-หน่วยปฏิบัติด้านพลังงาน เพื่อสู่องค์กรสมรรถนะสูง โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาช่วยดำเนินการเพื่อนำไปสู่ระบบการทำงานให้เป็นดิจิทัลเต็มรูปแบบ (Digitization) 2. **ยกระดับกระทรวงพลังงานให้เป็นศูนย์กลางข้อมูลพลังงานที่มีระบบฐานข้อมูลอันถูกต้อง ทันสมัย เชื่อถือได้** กระทรวงพลังงานเป็นศูนย์กลางข้อมูลที่มีระบบฐานข้อมูลอันถูกต้อง ทันสมัย เชื่อถือได้ และสามารถให้บริการแก่ผู้ใช้งานทั้งภายในและภายนอกองค์กร และบูรณาการข้อมูลภาครัฐให้เป็นศูนย์กลางข้อมูลที่ทันสมัยพร้อมให้บริการได้อย่างรวดเร็ว และพัฒนาเป็นศูนย์สารสนเทศด้านพลังงานแห่งชาติ มีการจัดหาและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูล (Data Center) การนำระบบสารสนเทศเพื่อบริหารจัดการการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) และบริหารจัดการข้อมูลภายใต้กรอบการกำกับดูแลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance Framework) ที่มีมาตรการและแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการ การป้องกันและกำกับดูแลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สอดคล้องกับเทคโนโลยีและบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป 3. **ส่งเสริมให้กระทรวงพลังานเป็นองค์การที่บริหารตามหลักธรรมาภิบาล** กระทรวงพลังงานเป็นองค์กรที่บริหารตามหลักธรรมาภิบาล ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการให้ข้อเสนอแนะต่อรัฐอย่างเป็นทางการ ในรูปแบบของคณะที่ปรึกษาหรือแต่งตั้งคณะกรรมการภาคประชาสังคม มีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการโดยการกำหนดกลไกการจัดตั้งโรงไฟฟ้าที่ประชาชนมีส่วนร่วม และภาครัฐทุกส่วนดำเนินการร่วมกัน และกำหนดนโยบายลดความทับซ้อนในการดำรงตำแหน่งข้าราชการกับรัฐวิสาหกิจ/จำกัดผลประโยชน์ของกรรมการ มีการทบทวนและจัดทำแผนป้องกันและปราบปรามการทุจริต 5 ปี และแผนป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำปี **แผนงานโครงการสำคัญ** ---------------------- ### **ด้านองค์กรสมรรถนะสูง** | | | --- | | 1. แผนงานการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อดำเนินการภายใต้ระบบ PSC | | 1. โครงการทบทวนและจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 5 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี | | 1. โครงการทบทวนภารกิจและยุทธศาสตร์ประจำปี | | 1. โครงการพัฒนาความรู้บุคลากรตามภารกิจของกรมธุรกิจพลังงาน | | 1. โครงการซ้อมแผนบริหารจัดการกรมธุรกิจพลังงานในสภาวะวิกฤติ (Business Continuity Management: BCM) | | 1. โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการทบทวนแผนบริหารจัดการกรมธุรกิจพลังงานในสภาวะวิกฤติ (Business Continuity Management: BCM) | | 1. โครงการฝึกอบรมการวิเคราะห์โครงการเชิงยุทธศาสตร์ | | 1. โครงการพัฒนาบุคลาก เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญด้านการจัดทำแผนเชิงกลยุทธ์ | | 1. แผนการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) ระบบโสตทัศนูปกรณ์ สนพ. | | 1. โครงการจัดทำแผนพลังงาน 20 ปี | | 1. โครงการพัฒนาธุรกิจพลังงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี | | 1. โครงการพัฒนาเกณฑ์และตัวชี้วัดด้านพลังงาน | | 1. โครงการสวัสดิการ สนพ. | | 1. แผนการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี การพัฒนางานบริหารภายใน สนพ. | | 1. แผนงานพัฒนาระบบบริหารองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ | | 1. โครงการพัฒนาความรู้และเสริมสร้างเจตคติ (โครงการล้างสมอง) การกำหนดหลักเกณฑ์การหมุนเวียนงาน | | 1. โครงการ Show and Share | | 1. แผนงานการกำหนดกติกากำหนดขอบเขตหน้าที่ของหน่วยนโยบาย-หน่วยกำกับ-หน่วยปฏิบัติ (Code of Conduct) | | 1. โครงการการจัดทำแผนบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล กระทรวงพลังงาน และแผนบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2562-2565) | | 1. โครงการการบริหารการสืบทอดตำแหน่งทางการบริหาร (Succession Plan for Management) กระทรวงพลังงาน | | 1. แผนงานการปรับปรุงตำแหน่งพลังงานจังหวัดเป็นระดับอำนวยการสูง (2562-2564) | | 1. แผนงาน Job Rotation | | 1. แผนการพัฒนากลุ่มสายงานของกระทรวงพลังงาน | | 1. แผนงานการสร้างภาพลักษณ์คุณลักษณะของบุคลากรกระทรวงพลังงาน | | 1. โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูลบุคลากรกระทรวงพลังงานที่ทันสมัย โดยเชื่อมโยงระบบการบริหารงานบุคคลและระบบการพัฒนาบุคลากร | | 1. โครงการพัฒนาบุคลากรตาม Training Roadmap ของกระทรวงพลังงาน | | 1. โครงการพัฒนาข้าราชการ กลุ่มผู้บริหาร/หัวหน้างาน/กลุ่มผู้มีศักยภาพสูง (Talent) ตามแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคล กระทรวงพลังงาน | | 1. โครงการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพลังงาน | | 1. โครงการพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานสำหรับบุคลากรกระทรวงพลังงาน | | 1. โครงการให้ความรู้เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์กับประเทศไทย และภารกิจจิตอาสา | | 1. โครงการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง (Functional Competency) | | 1. โครงการพัฒนาบุคลากรด้านนวัตกรรมและดิจิทัลรองรับการปฏิบัติงานในยุค 4.0 | | 1. แผนงานการจัดสรรทุนการศึกษาและการฝึกอบรม ในประเทศและต่างประเทศ | | 1. แผนงานการพัฒนาบุคลากรด้วยการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยช่องทางหลากหลาย | | 1. โครงการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ | | 1. แผนงานการพัฒนาบุคลากรทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้มีสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร | | 1. โครงการพัฒนาทักษะดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2. โครงการพัฒนาระบบ ICT เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและปฏิบัติงานตามภารกิจในรูปแบบสำนักงานไร้กระดาษหรือสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation) | ### **ด้านศูนย์กลางข้อมูล** | | | --- | | 1. โครงการปรับปรุงระบบฐานข้อมูลธุรกิจพลังงาน | | 1. โครงการจัดทำ Service API เลขทะเบียนรับ-เลขทะเบียนส่งระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร | | 1. โครงการพัฒนามาตรฐานโครงสร้างข้อมูลเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ | | 1. โครงการพัฒนาศูนย์เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็คทรอนิกส์ (DOEB Electronic Gate Way) | | 1. โครงการพัฒนาระบบบริการให้ความเห็นชอบเพื่อขอรับหนังสือรับรองการนำเข้าและส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงทางอิเล็กทรอนิกส์ | | 1. โครงการพัฒนากระบวนการทำงานและระบบปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ | | 1. โครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์สารสนเทศที่มีอยู่ภายใต้กระทรวงพลังงาน | | 1. โครงการพัฒนาระบบ ICT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน | | 1. โครงการพัฒนาระบบการวิเคราะห์ข้อมูลด้านพลังงานเพื่อสนับสนุนการวางแผนและการบริหารจัดการด้านพลังงานของประเทศ ระยะที่ 1 | | 1. โครงการพัฒนาระบบติดตามการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกภาคพลังงาน | | 1. โครงการพัฒนาระบบการวิเคราะห์ข้อมูลด้านพลังงานเพื่อสนับสนุนการวางแผนและการบริหารจัดการด้านพลังงานของประเทศ ระยะที่ 2 | | 1. โครงการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการ สนพ. (DOC) | | 1. โครงการศึกษาการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และออกแบบการพัฒนาศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ เพื่อรองรับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการขับเคลื่อนแผนพลังงานของประเทศไทย | | 1. โครงการภายใต้ผลการศึกษาการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และออกแบบการพัฒนาศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ เพื่อรองรับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการขับเคลื่อนแผนพลังงานของประเทศไทย | | 1. โครงการสำรวจและปรับปรุงการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าในระยะยาว | | 1. โครงการจัดทำข้อมูล และประมาณการด้านพลังงานร่วมกับสมาชิกในประเทศ ASEAN, APEC และ IEA | | 1. โครงการจัดทำค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าของประเทศ (Load Forecast) และ การจัดทำประมาณการความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (Peak) ของประเทศ | | 1. โครงการจัดทำรายงานสถานการณ์พลังงานของประเทศไทย (Thailand Energy Review) | | 1. โครงการประชุมคณะทำงานขององค์การพลังงานโลก (World Energy Council work programme) | | 1. โครงการประชุมภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก | | 1. โครงการพัฒนาแบบจำลองด้านพลังงานภายใต้ความร่วมมือพหุภาคีและทวิภาคี | | 1. โครงการพัฒนาและปรับปรุงแบบจำลองการพยากรณ์ความต้องการพลังงานของประเทศ | | 1. โครงการพัฒนาระบบรักษาความมั่นคงความปลอดภัยด้านไซเบอร์ (Cybersecurity) | | 1. โครงการวิเคราะห์ Energy Index | | 1. โครงการวิเคราะห์และจัดทำประมาณการณ์ความต้องการพลังงานของประเทศ | | 1. โครงการจัดการความรู้ให้เป็นระบบ โครงการจ้างดูแลระบบฐานข้อมูลและเว็บไซด์ ห้องสมุดออนไลน์ | | 1. โครงการจัดทำแผนความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างประเทศ | | 1. โครงการจัดหาข้อมูลและ Publication เพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์โลกด้านปิโตรเลียม | | 1. โครงการพัฒนาเครื่องมือในการวิเคราะห์ความเพียงพอ/เหมาะสมของโครงสร้างพื้นฐานและวิเคราะห์โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านก๊าซธรรมชาติ | | 1. โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูล และระบบสารสนเทศเพื่อเผยแพร่ผลงานศึกษาวิจัยด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน | | 1. โครงการจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรด้านพลังงานและ วิเคราะห์สถานการณ์เชิงพื้นที่ | | 1. โครงการพัฒนาอินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ตเว็บไซต์ของกระทรวงพลังงาน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน และสำนักงานพลังงานจังหวัด 76 จังหวัด | | 1. โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานและระบบเครือข่ายของสำนักงาน ปลัดกระทรวงพลังงานทั้งส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อยกระดับการเป็นศูนย์ข้อมูลระดับกระทรวง (Ministry Data Center) | | 1. โครงการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงพลังงาน เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับประยุกต์ใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์ | | 1. โครงการรวบรวมและจัดทำ Metadata และ API (Application Programming Interface) เพื่อนำเข้าสู่ระบบรายการข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน | | 1. โครงการศึกษาและจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัลกระทรวงพลังงาน | ### **ด้านการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลอย่างมีส่วนร่วม** | | | --- | | 1. โครงการสัมมนารับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ | | 1. โครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) | | 1. โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร | | 1. โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ปลุกจิตสำนึกในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ภายใต้โครงการ “พพ. โปร่งใส ไร้ทุจริต” | | 1. แผนการบริหารองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล | | 1. โครงการเผยแพร่ข้อมูลนโยบายและแผนพลังงาน รายงานประจำปีของ สนพ. | | 1. โครงการเผยแพร่ข้อมูลนโยบายและแผนพลังงาน รายงานสถิติข้อมูลพลังงานของประเทศ | | 1. โครงการเผยแพร่ข้อมูลนโยบายและแผนพลังงานวารสารนโยบายพลังงาน | | 1. โครงการทบทวนและจัดทำแผนยุทธศาสตร์บริหารกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม | | 1. โครงการสื่อสารการมีส่วนร่วมด้านนโยบายพลังงาน | | 1. โครงการการบริหารจัดการโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในส่วนที่ สนพ. เป็นหน่วยผู้เบิกในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 – 2561 2. โครงการบริหารจัดการโครงการที่ได้รับการจัดสรรเงินกองทุน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ผู้ได้รับการสนับสนุน) | | 1. โครงการติดตามและการสื่อสารข้อมูลพลังงานผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย | | 1. โครงการศึกษาการบริหารจัดการและพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเลียมนำร่องในพื้นที่มาบตาพุด | | 1. โครงการสร้างความรู้ความเข้าใจข้อมูลพลังงาน | | 1. โครงการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการโดยการกำหนดกลไกการจัดตั้งโรงไฟฟ้าที่ประชาชนมีส่วนร่วม และภาครัฐทุกส่วนดำเนินการร่วมกัน | | 1. โครงการเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อเสนอแนะต่อรัฐอย่างเป็นทางการในรูปแบบคณะที่ปรึกษาหรือแต่งตั้ง คณะกรรมการของภาคประชาสังคม | | 1. โครงการกำหนดนโยบายลดความทับซ้อนในการดำรงตำแหน่งข้าราชการกับรัฐวิสาหกิจ/จำกัดผลประโยชน์ของกรรมการ | | 1. โครงการพัฒนาระบบงานสารสนเทศเพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานภาครัฐ | **ประมาณการวงเงินงบประมาณรวม (2563 – 2565)** ============================================ **ประมาณการวงเงินงบประมาณทั้งหมด 16,841.7399 ล้านบาท** ------------------------------------------------------ | | | --- | | **แหล่งเงิน** | | **เงินงบประมาณแผ่นดิน** | **เงินรายได้ของหน่วยงาน** | **เงินกู้** | **อื่นๆ** | | **ในประเทศ** | **ต่างประเทศ** | | 8,321.1715 | - | - | - | 10,880.3476 | **ประมาณการวงเงินงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการ** ---------------------------------------------- ### **เรื่องการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน** (รวมทั้งสิ้น 1,217.7399 ล้านบาท) | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | **แผนปฏิบัติราชการ** | **2563** | **2564** | **2565** | **วงเงินรวม** | | **เงินงบประมาณแผ่นดิน** | 374.6740 | 415.1895 | 428.1031 | 1,217.9666 | | **เงินรายได้ของหน่วยงาน** | - | - | - | - | | **เงินกู้ในประเทศ** | - | - | - | - | | **เงินต่างในประเทศ** | - | - | - | - | | **อื่นๆ** | - | - | - | - | ### **การกำกับดูแล ราคา สร้างการแข่งขัน เพิ่มประสิทธิภาพ** (รวมทั้งสิ้น 1,502.5475 ล้านบาท) | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | **แผนปฏิบัติราชการ** | **2563** | **2564** | **2565** | **วงเงินรวม** | | **เงินงบประมาณแผ่นดิน** | 210.1050 | 267.3578 | 275.0847 | 752.5475 | | **เงินรายได้ของหน่วยงาน** | - | - | - | - | | **เงินกู้ในประเทศ** | - | - | - | - | | **เงินต่างในประเทศ** | - | - | - | - | | **อื่นๆ** | 250.0000 | 250.0000 | 250.0000 | 750.0000 | ### **การสร้างความยั่งยืนและเข้าถึงประชาชน** (รวมทั้งสิ้น 13,738.5901 ล้านบาท) | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | **แผนปฏิบัติราชการ** | **2563** | **2564** | **2565** | **วงเงินรวม** | | **เงินงบประมาณแผ่นดิน** | 744.8414 | 1,620.9890 | 1,242.4121 | 3,608.2425 | | **เงินรายได้ของหน่วยงาน** | - | - | - | - | | **เงินกู้ในประเทศ** | - | - | - | - | | **เงินต่างในประเทศ** | - | - | - | - | | **อื่นๆ** | 3,429.3343 | 3,571.4860 | 3,129.5273 | 10,130.3476 | ### **สร้างความโปร่งใส เป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล ให้สังคมเชื่อถือ** (รวมทั้งสิ้น 2,742,4149 ล้านบาท) | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | **แผนปฏิบัติราชการ** | **2563** | **2564** | **2565** | **วงเงินรวม** | | **เงินงบประมาณแผ่นดิน** | 828.0500 | 937.9730 | 976.3919 | 2,742.4149 | | **เงินรายได้ของหน่วยงาน** | - | - | - | - | | **เงินกู้ในประเทศ** | - | - | - | - | | **เงินต่างในประเทศ** | - | - | - | - | | **อื่นๆ** | - | - | - | - |
{'url': 'https://data.go.th/dataset/dataset_11_014', 'title': 'แผนปฏิบัติราชการกระทรวงพลังงาน', 'license': 'Open Data Common'}
**คู่มือจดแจ้งการจัดตั้งชุมชนและสภาองค์กรชุมชนตำบล** **คำนำ** หนังสือ "คู่มือการจัดตั้งและพัฒนากิจการของสภาองค์กรชุมชนตำบล" เป็นคู่มือที่จัดทำขึ้นหลังจากที่พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ และได้มีการดำเนินการส่งเสริมจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลไปแล้ว ในการจัดทำคู่มือฉบับนี้ ได้มีการปรับปรุงแก้ไขเนื้อหากระบวนการส่งเสริมจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน เอกสารในการจดแจ้งจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน รวมทั้งได้เพิ่มเติม เนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนากิจการสภาองค์กรชุมชนตำบล ตัวอย่างเครื่องมือในการทำงานของสภาองค์กรชุมชนตำบลที่มีการจัดตั้งแล้ว ตลอดจนสาระสำคัญจาก พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชนตำบล และดำถามที่มีการสอบถามบ่อย เพื่อให้ผู้ที่จะจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนได้เข้าใจตรงกัน ซึ่งในการจัดทำคู่มือครั้งนี้ ได้มีการประชุมปรึกษาหารือผู้นำชุมชนที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนและเจ้าหน้าที่ฝ่ายเลขานุการที่ร่วมกันทำงาน เพื่อให้ได้คู่มือการจัดตั้งและพัฒนากิจการของสภาองค์กรชุมชนตำบลที่มีเนื้อหาสาระครอบดลุม สอดคล้องกับกระบวนการทำงานในพื้นที่และถูกต้องตาม พ.ร.บ. สภาองค์กรชุมชน สถาบันหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือการจัดตั้งและพัฒนากิจการของสภาองค์กรชุมชนตำบลจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมจัดตั้งและพัฒนากิจการสภาองค์กรชุมชนให้สามารถเป็นเวทีปรึกษาหารือ เชื่อมโยงการทำงานพัฒนาของชุมชนท้องถิ่นได้ต่อไป สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) **สารบัญ** หน้า คำนำ 1. สภาองค์กรชุมชนคืออะไร ทำไมต้องมี "สภาองค์กรชุมชน" 1 2. สภาองค์กรชุมชน มีประโยชน์อย่างไร 2 3. เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน 2 4. ขั้นตอนการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล 2 5. การพัฒนากิจการของสภาองค์กรชุมชนตำบล 5.1 การปฏิบัติตามภารกิจของสภาองค์กรชุมชนตำบล 8 5.2 ข้อแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชนตำบลให้มีคุณภาพ 9 6. การประชุมในระดับจังหวัดและระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล 10 7. การส่งเสริมกิจการของสภาองค์กรชุมชนตำบลของหน่วยงานต่างๆ 12 8. คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับสภาองค์กรชุมชน 13 9. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 9.1 พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 17 9.2 ประกาศสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) 33 10. แบบฟอร์มสำหรับการดำเนินกิจการของสภาองค์กรชุมชนตำบล 10.1 แบบการจดแจ้งชุมชน (กลุ่ม/องค์กรชุมชน/เครือข่ายองค์กรชุมชน) 39 10.2 แบบการจดแจ้งการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล 49 10.3 ตัวอย่างรายงานต่าง ๆ ในการดำเนินกิจการของสภาองค์กรชุมชนตำบล 59 11. ที่ติดต่อประสานงาน 83 **สภาองค์กรชุมชน** **1. สภาองค์กรชุมชนคืออะไร ทำไมต้องมี สภาองค์กรชุมชน** ชุมชนท้องถิ่นเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างสังคมไทยให้มีความเข้มแข็ง ปัจจุบันชุมชนท้องถิ่นกำลังประสบปัญหาล่มสลายและอ่อนแอ เนื่องจากขาดอำนาจในการจัดการตนเองส่งผลให้การพัฒนาด้านต่างๆ ที่ลงสู่ชุมชนท้องถิ่นขาดการบูรณาการ/เชื่อมโยงกัน การจะสร้างสังคมไทยให้เข้มแข็งอย่างแท้จริงจำเป็นต้องฟื้นฟูระบบของชุมชนท้องถิ่นขึ้นใหม่ให้เข้มแข็ง พื้นระบบนิเวศน์และทรัพยากรธรรมชาติให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ ฟื้นอำนาจและความเชื่อมั่นในการจัดการตนเองและเรื่องทุกเรื่องโดยชุมชนท้องถิ่นเองร่วมกันจัดการ ฟื้นความสัมพันธ์และเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชน กลุ่ม/องค์กร และกลไกสถาบันต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่น "สภาองค์กรชุมชน" เป็นองค์กรของชุมชนฐานรากที่เปิดพื้นที่/เปิดโอกาสให้ชุมชนสามารถดูแลและจัดการตนเอง ทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการกำหนดแนวทางการพัฒนาชุมชน บูรณาการงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเอง เชื่อมโยงการทำงานระหว่างองค์กรชุมชนต่างๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่นอย่างมีทิศทางมีพลังและเป็นอิสระประสานให้เกิดการทำงานร่วมระหว่างองค์กรชุมชนกับหน่วยงานภาคีการพัฒนาที่หลากหลาย เพื่อให้นโยบายการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับชุมชนท้องถิ่นมีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ สภาองค์กรชุมชน เป็นเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาชุมชนของคนในชุมชนท้องถิ่น โดยคนในชุมชนท้องถิ่นและเพื่อคนในชุมชนท้องถิ่น เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดังกล่าวประกอบด้วยตัวแทนของสถาบันในชุมชนท้องถิ่น เช่น วัด โรงเรียน สถานีอนามัย เป็นต้น ตัวแทนของกลุ่มองค์กรชุมชนต่างๆ เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มโรงสีรวม กลุ่มอนุรักษ์ป่า และกลุ่มกิจกรรมพัฒนาอื่นๆ ที่มีอยู่ในแต่ละชุมชน โดยมีผู้นำชุมชนที่ไม่เป็นทางการ เช่น ผู้รู้ภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้นำทางการได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในชุมชนท้องถิ่นเข้ามาร่วมใช้เวทีพูดคุยเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นร่วมกันเป็นระบบการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่นที่มีมาตั้งแต่อดีตแล้ว **2. สภาองค์กรชุมชน มีประโยชน์อย่างไร** หากชุมชนท้องถิ่นใด มีสภาองค์กรชุมชนเกิดขึ้น ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นดังนี้ * **เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น** โดยการระดมพลังทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม สนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาชุมชนท้องถิ่น ด้วยคนในชุมชนของตนเองได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน * **เกิดกลไกขององค์กรชุมชน**ที่จะเข้าไปหนุนเสริมการพัฒนาท้องถิ่นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต * **ผนึกกำลังและประสานความร่วมมือ**ระหว่างชุมชนกับภาคส่วนต่างๆ ในการพัฒนาประเทศเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการของประชาชน รวมทั้งสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นนั้น * **สนับสนุนให้เกิดการสร้างระบบประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน**ที่แท้จริงที่มากกว่าสิทธิการเลือกตั้ง โดยการคืนอำนาจ ให้อิสระในการตัดสินใจและจัดการตนเองแก่คนในชุมชนท้องถิ่น **3. เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน** เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน คือ **"ด้วยชุมชนเป็นสังคมฐานรากที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีวิถีชีวิต วัฒนธรรมแตกต่างหลากหลายตามภูมินิเวศ การพัฒนาประเทศที่ผ่านมาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ชุมชนอ่อนแอประสบปัญหาความยากจน เกิดปัญหาสังคมมากขึ้น ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชนถูกทำลายจนเสื่อมโหรมเพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศการสร้างระบอบประชาธิปไตยและระบบธรรมาภิบาลชั่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติรับรองสิทธิชุมชนและประชาชนให้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นตามความหลากหลายของวิถีชีวิต วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของท้องถิ่น จึงเห็นสมควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนและประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ"** **4. ขั้นตอนการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน** สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนได้ออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและแบบการจดแจ้งการจัดตั้งชุมชนและการจดแจ้งการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน เมื่อเดือนมีนาคม 2551 อธิบายและขยายความได้ดังนี้ **ขั้นตอนที่ 1 การสร้างความเข้าใจเรื่องสภาองค์กรชุมชน** ในขั้นตอนนี้ ควรมีผู้นำชุมชนที่ได้มีการทำงานร่วมกันอยู่แล้วในพื้นที่ เช่น คณะทำงานแผนชุมชนซึ่งมีแกนนำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อปท. คณะทำงานรับรองสถานภาพองค์กรชุมชนซึ่งมีเครือข่ายชุมชน อปท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอ ศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชนตำบล (ศอช.ต.) เครือข่ายสวัสดิการชุมชนตำบลที่มีตัวแทนจากหลายกลุ่มองค์กรในตำบล เครือข่ายจัดการทรัพยากรในตำบล เครือข่าย อสม. ฯลฯ ชักชวนกันมาพูดคุย สร้างความเข้าใจเรื่องเป้าหมายและสาระสำคัญของสภาองค์กรชุมชน ให้ผู้เข้าร่วมได้เข้าและเห็นดวามสำคัญที่จะจัดตั้ง อาจรวมกันเป็นดณะทำงานหรือ "ผู้ก่อการดี" ที่จะมาร่วมกันทำเรื่องนี้ก็ได้ **ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมและรับรองข้อมูลชุมชน (กลุ่ม/องค์กรชุมชน)** เพื่อให้การจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลเกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มองค์กรต่างๆ ในตำบลอย่างกว้างขวาง จึงควรมีการรวบรวมข้อมูลกลุ่ม/องค์กรชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด กระจายให้ชุมชน (กลุ่ม/องค์กรชุมชน) ต่างๆ ที่มีอยู่ในหมู่บ้านเช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มอาชีพ กลุ่มสวัสดิการ กลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากร ฯลฯ กรอกข้อมูลชุมชน ใช้แบบแสดงข้อมูลชุมชน จช.02 นำข้อมูลกลุ่ม/ชุมชน มาดูร่วมกันในหมู่บ้านว่าเป็นไปตามเกณฑ์การเป็นชุมชนตามประกาศหรือไม่ เกณฑ์เบื้องต้น ได้แก่ รวมตัวกันตามดวามสมัครใจ มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีความต่อเนื่องในการทำกิจกรรมอย่างน้อย 6 เดือน บริหารจัดการโดยสมาชิกมีส่วนร่วม โดยชวนผู้ใหญ่บ้านมาร่วมด้วย เพื่อให้เกิดการรับรองกลุ่ม/ชุมชนร่วมกัน (ผู้ใหญ่บ้านจะรับจดแจ้งด้วยดวามมั่นใจว่ามีการช่วยกันดูมาแล้ว) การสำรวจและรับรองข้อมูลร่วมกันเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะทำให้องค์กรที่จะมาจดแจ้งเพื่อจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลได้รับรู้ข้อมูลซึ่งกันและกันมีการพูดคุย ปรึกษาหารือกันก่อนที่ไปจดแจ้งการจัดตั้ง ถือเป็นกระบวนการรับรองสถานภาพองค์กรชุมชนร่วมกัน **ขั้นตอนที่ 3 การลงมติให้จดแจ้งการจัดตั้งชุมชนและมอบหมายผู้แทนไปจดแจ้ง** 1. กรณีเป็นกลุ่มระดับหมู่บ้าน เมื่อได้ไปประชุมปรึกษาหารือกับสมาชิกในกลุ่มแล้ว ให้มีมติที่จะจดแจ้งการจัดตั้งชุมชน ใช้แบบรายงานมติของชุมชน จช.03 และมอบหมายให้มีผู้แทนไปจดแจ้งกับผู้ใหญ่บ้านโดยใช้แบบคำขอจดแจ้งการจัดตั้งชุมชน จช.01, แบบแสดงข้อมูลกลุ่ม/ชุมชน จช.02 และแบบรายงานมติของชุมชน จช.03 กรณีในพื้นที่ไม่มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เช่น เขตเทศบาล ให้จดแจ้งกับนายกเทศมนตรี กรณีในเขตกทม. ให้จดแจ้งกับผู้อำนวยการเขต 2. กรณี "ชุมชนอื่น" ซึ่งเป็นชุมชนที่มีสมาชิกมากกว่าหนึ่งหมู่บ้านหรือเป็นเครือข่ายระดับตำบล เช่นกลุ่มเครือข่ายจัดการทรัพยากร เครือข่ายสวัสดิการตำบล เครือข่ายผู้สูงอายุ ฯลฯ ให้มีการประชุมปรึกษาหารือสมาชิกและมอบหมายผู้แทนไปจดแจ้งการจัดตั้งกับกำนัน หรือนายกเทศมนตรีหรือผู้อำนวยการเขตเช่นเดียวกัน โดยใช้แบบฟอร์มเดียวกันกับชุมชระดับหมู่บ้าน **ขั้นตอนที่ 4 ผู้รับจดแจ้งออกใบรับจดแจ้ง** เมื่อผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้อำนวยการเขต ที่เป็นผู้รับจดแจ้ง ได้รับการจดแจ้งพร้อมเอกสารหลักฐานดรบถ้วนแล้วให้ออกใบรับจดแจ้ง เลขที่จดแจ้ง ใช้ใบรับจดแจ้งการจัดตั้งชุมชน จช.04 ให้ผู้จดแจ้งไปดำเนินการปรึกษาหารือให้ได้ผู้แทนและจัดทำบัญชีรายชื่อชุมชนประกอบการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน กรณีที่ผู้รับจดแจ้งเห็นว่าชุมชนที่จดแจ้งไม่มีลักษณะเป็นชุมชนหรือเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วนให้ส่งเรื่องให้สถาบันฯ พิจารณวินิจฉัย (ส่งไปที่สำนักงานปฏิบัติการภาค ตามที่อยู่ท้ายเล่มนี้ ทั้งนี้ถ้าหากได้มีการรับรองข้อมูลร่วมกันก่อนตาม ข้อ 2 กรณีเช่นนี้ก็ไม่นำจะเกิดขึ้นได้ **ขั้นตอนที่ 5 การปรึกษาหารือให้ได้ผู้แทนชุมชน** 1. กรณีเป็นกลุ่มระดับหมู่บ้าน ให้ผู้แทนกลุ่ม/องค์กรชุมชน ในแต่ละหมู่บ้านได้ไปปรึกษาหารือเพื่อให้ได้ผู้แทนกลุ่ม/องค์กรชุมชน หมู่บ้านๆ ละ 4 คน และลงชื่อเป็นบัญชีชุมชนที่จดแจ้งทั้งหมด ใช้แบบบันทึกการปรึกษาหารือและบัญชีรายชื่อชุมชน จช.05 2. กรณี "ชุมชนอื่น" ซึ่งเป็นชุมชนที่มีสมาชิกมากว่าหนึ่งหมู่บ้าน หรือเป็นเครือข่ายระดับตำบลให้แจ้งรายชื่อผู้แทนชุมชน (กลุ่ม/เครือข่าย) ละ 2 คน และเข้าร่วมประชุมจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลได้โดยตรง **ขั้นตอนที่ 6 การประชุมปรึกษาหารือจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนดำบล** จัดประชุมระดับตำบลเพื่อปรึกษาหารือการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนชุมชนระดับหมู่บ้านๆ ละ 4 คน และผู้แทนชุมชนอื่นตามจำนวนที่ได้มีการจดแจ้งการจัดตั้งชุมชน (กลุ่ม/เครือข่าย) ละ 2 คน ซึ่งต้องมีผู้เข้าประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของชุมชนทุกประเกทรวมกันและมีมติเห็นพ้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของผู้แทนชุมชนทุกประเภทให้จัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล หลังจากนั้นให้กำหนดจำนวนและคัดเลือกสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลและอาจเสนอและกำหนดวิธีคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิไปพร้อมกันได้ **ขั้นตอนที่ 7 การประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบล ครั้งที่ 1** เมื่อได้สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบล ตามที่กำหนดจากประชุมในขั้นตอนที่ 6 แล้วให้จัดให้มีการประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบล ครั้งที่ 1 โดยผู้ที่เข้ามาเป็นสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบล ต้องรับรองคุณสมบัติว่าไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 7 โดยใช้**ใบรับรองคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบล จส. 04** และเชิญผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกจากผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้ที่เป็นที่เคารพหรือยอมรับนับถือของชุมชนในตำบลเข้าร่วมประชุม ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 7 เช่นเดียวกัน หลังจากนั้นให้มีการคัดเลือกประธาน รองประธานและเลขานุการ และจัดทำข้อมูลสภาองค์กรชุมชนตำบล ตาม**แบบแสดงข้อมูลสภาองค์กรชุมชนตำบล จส. 02** ให้มอบหมายผู้ไปจดแจ้งการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชตำบลและอาจดัดเลือกผู้แทนสภาองค์กรชุมชตำบล 2 คน เข้าร่วมประชุมระดับจังหวัด พร้อมกับการจัดประชุมครั้งนี้ได้ **ขั้นตอนที่ 8 การจดแจ้งจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล** ผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้ยื่นจดแจ้งจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลกับกำนัน ในกรณีที่ไม่มีกำนันให้ยื่นจดแจ้งกับนายกเทศมนตรีหรือผู้อำนวยการเขต โดยใช้**แบบคำขอจดแจ้งการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล จส.01 และแบบแสดงข้อมูลสภาองค์กรชุมชนตำบล จส.02 และรายงานการประชุมจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล** เพื่อแสดงมติของที่ประชุมว่าเห็นพ้องต้องกันให้จัดตั้ง และส่งไปที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนพร้อมทั้งข้อมูลหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการจัดระบบข้อมูลองค์กรชุมชนไว้ที่สภาองค์กรชุมชนตำบล ตามประกาศหลักเกณฑ์การจดแจ้งจัดตั้งสภาองค์กร **ขั้นตอนการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน** **การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูล** **1. ข้อมูลกลุ่ม/องค์กรชุมชน** 1.1 กรณีที่มีการจดแจ้งจัดตั้งชุมชนเพิ่ม ให้ดำเนินการตามขั้นตอนจดแจ้งชุมชนทั่วไป คือ มีมติมอบผู้แทนชุมชน ไปยื่นจดแจ้งการจัดตั้งชุมชนกับผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้อำนวยการเขต จากนั้นจึงแจ้งไปยังสภาองค์กรชุมชนตำบล เพื่อบรรจุในวาระการประชุมในคราวต่อไปและส่งแบบแสดงข้อมูลชุมชน (จช. 02)มายังสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน พร้อมกับการรายงานผลการดำเนินงานประจำปี ของสภาองค์กรชุมชนตำบล 1.2 กรณีที่มียกเลิกการเข้าร่วมสภาองค์กรชุมชนตำบลของกลุ่ม/องค์กร เมื่อมีการยุบเลิกกลุ่ม การดวบรวมกลุ่ม หรือกรณีอื่นใด ให้ผู้แทนกลุ่มแจ้งไปยังสภาองค์กรชุมชนตำบลหรือแจ้งในที่ประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบล ให้รับทราบ และให้สภาองค์กรชุมชนตำบลระบุในรายละเอียดในแบบรายงานผลการดำเนินงานประจำปี (ในส่วนที่ 1 ด้านข้อมูลทั่วไป ในแบบรายงานผลการดำเนินงานประจำปีของสภาองค์กรชุมชนตำบล) **2. สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบล** เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อสมาชิก เช่น มีสมาชิกเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการจดแจ้งชุมชนเพิ่มมีหมู่บ้านเข้าร่วมจดแจ้งเพิ่มชื้น หรือกรณีสมาชิกพ้นจากตำแหน่งด้วยสาเหตุต่างๆ ตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. ให้สภาองค์กรชุมชนตำบลแจ้งในที่ประชุมสภาองค์กรชุมชนและระบุรายละเอียดในแบบรายงานผลการดำเนินงานประจำปีของสภาองค์กรชุมชนตำบล และแจ้งมายังสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เพื่อบันทึกและปรับปรุงข้อมูลต่อไป **5. การพัฒนากิจการของสภาองค์กรชุมชนตำบล** **5.1 การปฏิบัติตามภารกิจของสภาองค์กรชุมชนตำบล** ตามมาตรา 21 ของ พ.ร.บ. สภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 ได้ระบุภารกิจของสภาองค์กรชุมชนตำบลไว้ 12 ข้อ ดังนี้ 1) ส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของชุมชนและของชาติ 2) ส่งเสริมและสนับสนุนด้านความร่วมมือกับ อปท. และหน่วยงานของรัฐในการจัดการ บำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติที่จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและประเทศชาติอย่างยั่งยืน 3) เผยแพร่และให้ความรู้ความเข้าใจ รวมทั้งการร่วมมือกันในการคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน 4) แนวทางแก้ไขและการพัฒนาต่อองค์กรปกครองสวนท้องถิ่น เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในการจัดทำแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5) เสนอแนะปัญหาและแนวทางแก้ไข หรือความต้องการของประชาชนเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะของหน่วยงานของรัฐ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6) จัดให้มีเวทีการปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการให้ความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการของ อปท.หน่วยงานรัฐหรือเอกชนที่มีผล หรือ อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน 7) ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรชุมชนในตำบลเกิดความเข้มแข็ง และสมาชิกองค์กรชุมชนรวมตลอดทั้งประชาชนทั่วไปสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน 8) ประสานการทำงานร่วมกับสภาองค์กรชุมชนตำบลอื่น 9) รายงานปัญหาและผลที่เกิดขึ้นในตำบลอันเนื่องจากการดำเนินงาน ของ อปท. หรือหน่วยงานของต่อ อปท.และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง 10) วางกติกาในการดำเนินกิจการสภาองค์กรชุมชนตำบล 11) จัดทำรายงานประจำปีของสภา รวมถึงสถานการณ์ด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นในตำบล เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไป 12) เสนอรายซื่อผู้แทนไปร่วมประชุมระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบลจำนวน 2 คน **5.2 ข้อแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชนตำบล** **1** สภาองค์กรชุมชนที่จัดตั้งแล้ว ควรมีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้ 1) สร้างความเข้าใจให้คนในพื้นที่ที่มีสภาองค์กรชุมชนตำบล ให้เข้าใจว่าสภาฯ เป็น "สภาที่กินได้"เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนในชุมชน เป็น "สภาแบบชาวบ้าน" ที่มีรูปแบบที่เรียบง่ายโดยสนับสนุนการประชุมปรึกษาหารือและการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 2) พัฒนาข้อมูลและระบบข้อมูลสภาองค์กรชุมชน ที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน กลุ่ม/องค์กร และการพัฒนาพื้นที่ เชื่อมโยงและใช้ข้อมูลในการสนับสนุนการพัฒนากลุ่มองค์กรสมาชิกและจัดทำแผนพัฒนาของสภาองค์กรชุมชนทุกระดับ และติดตามงานพัฒนาของหน่วยงานภายในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจงานพัฒนาท้องที่/ท้องถิ่น และแจ้งต่อคนในชุมชนและสาธารณะ 3) พัฒนาแกนนำสภาองค์กรชุมชน สมาชิกสภาองค์กรชุมชนและสนับสนุนคนรุ่นใหม่ ให้เป็นแกนหลักในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน โดยเสริมสร้างความรู้ พัฒนาทักษะการจัดการและการพัฒนากลุ่ม/องค์กรเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น 4) ใช้การจัดทำแผนชุมชน สร้างการเรียนรู้ เรื่องราวของชุมชน แก้ไขปัญหาและให้ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาพื้นที่และท้องถิ่น และสนับสนุนให้สภองค์กรชุมชนตำบลเป็นกลไกหลักที่รับฟังและสะท้อนปัญหาในชุมชนได้ทุกเรื่อง 5) กำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัดการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้ทุกฝ่ายนำไปใช้ร่วมกันและสร้างผลงานที่เป็นรูปธรรมเชิงประจักษ์ในระยะสั้นที่คนในชุมชนพอใจและมีผลงานต่อเนื่องที่นำไปขยายผลได้และวางกติกาการดำเนินงานสภาเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน 6) รายงานปัญหาและผลที่เกิดขึ้นในตำบลอันเนื่องมาจากการดำเนินงานของภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจัดทำรายงานประจำปีของสภาองค์กรชุมชนตำบล สถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในตำบล เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปทราบ 7) ขยายฐานสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลให้ครอบคลุมเรื่องราวในชุมชน โดยประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง ให้กลุ่ม/ชุมชนที่มีการดำเนินงานในพื้นที่มาจดแจ้งและเข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาองค์กรชุมชนและ ใช้ระบบการสื่อสารที่มีพลัง เช่น วิทยุชุมชน หอกระจายข่าว ฯลฯ เป็นเครื่องมือในการประสานและสร้างความเข้าใจกับทุกภาคส่วนในสังคมทั้งท้องถิ่นและท้องที่ 8) เชื่อมโยงและยกระดับการทำงานของสภาองค์กรชุมชน โดยประสานแผนการทำงานของสภาองค์กรชุมชนตำบลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล/อำเภอ/จังหวัด **1** ประมวลจากข้อเสนอในงานสัมมนาระดับชาติของสภาองค์กรชุมชน ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วันที่ 6 พฤศจิกายน 2551 9) ใช้เวทีสภาองค์กรชุมชนตำบลนำเสนอปัญหาและงานพัฒนาด้านต่างๆ ของชุมชน และประสานเชื่อมโยงการทำงานกับสภาองค์กรชุมชนตำบลอื่น 10) พัฒนาพื้นที่สภาองค์กรชุมชนตำบลที่มีคุณภาพ มีรูปธรรมงานพัฒนาที่เข้มแข็ง เพื่อถอดองค์ความรู้ และพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้งานพัฒนาที่มีภาคประชาชนและองค์กรชุมชนเป็นแกนหลัก **6. การประชุมในระดับจังหวัดและระดับชาติของสภาองค์กรชุมชน** การเชื่อมโยงสภาองค์กรชุมชนระดับต่างๆ ถือเป็นการเชื่อมโยงการพัฒนาจากระดับล่าง มาสู่ระดับจังหวัดและชาติ เพื่อให้ชุมชนซึ่งเป็นฐานล่างได้ที่มีที่เชื่อมโยงการทำงานในทุกๆ ระดับ ดังภาพ **การประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล** พ.ร.บ. สภาองค์กรชุมชน ระบุให้มีการประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อดำเนินการตามมาตร 27 ทั้งนี้อาจมีการจัดประชุมเพิ่มโดยกรณีที่มีสภาองค์กรชุมชนตำบลไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของสภาองค์กรชุมชนตำบลทั้งหมดในจังหวัดเข้าชื่อกันร้องขอให้มีการประชุมเพื่อพิจารณาและเสนอแนะเรื่องหนึ่งเรื่องใดอันอยู่ในภารกิจของสภาองค์กรชุมชนตำบล ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการจัดให้มีการประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล โดยผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมและลงมติ ต้องเป็นผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลตามที่ได้รับการเสนอรายชื่อ สภาฯ ละ 2 คน และมีผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดมีจำนวนไม่เกิน 1 ใน 5 ของผู้แทนของสภาองค์กรชุมชนตำบล ทั้งนี้ให้ที่ประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล ดำเนินการเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้ (1) เสนอแนวทางการพัฒนาจังหวัดต่อผู้ว่าราชการจังหวัดและองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด (2) เสนอแนะต่อผู้ว่าราชการจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไข หรือความต้องการของประชาชนในเรื่องการจัดทำบริการสาธารณะและการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม (3) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างสภาองค์กรชุมชนตำบล เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนองได้อย่างยั่งยืน (4) เสนอข้อคิดเห็นในเรื่องที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดปรึกษา (5) เสนอรายชื่อผู้แทนระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบลสองคน เพื่อไปร่วมประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล **การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล** สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน จะสนับสนุนให้มีการจัดประชุมระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งสามารถประชุมมากกว่าหนึ่งครั้งก็ได้ถ้ามีเรื่องสำคัญที่ต้องปรึกษาหารือร่วมกันระดับชาติ โดยผู้ที่เข้าร่วมประชุมระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลประกอบด้วย ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลระดับจังหวัดๆ ละ 2 คน ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีจำนวนไม่เกิน 1 ใน 5 ของผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลระดับจังหวัด ในการประชุมระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลมีภารกิจที่ต้องดำเนินการ ได้แก่ 1. การกำหนดมาตรการส่งเสริมจัดตั้งพัฒนาสภาองค์กรชุมชนตำบลให้เข้มแข็ง เพื่อเสนอให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนใช้เป็นแนวปฏิบัติ (ลักษณะเดียวกับการที่เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลร่วมกันวางแผนการพัฒนาโดยขบวนชุมชน แล้วให้ พอช. ร่วมสนับสนุนการขับเคลื่อน) 2. ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาด้านต่างๆ รวมถึงการทำโครงการของรัฐที่มีผลต่อชุมชน/ประชาชนในวงกว้าง ซึ่งเป็นบทบาทคล้าย ๆ กับสภาที่ปรึกษา 3. ประมวลสรุปปัญหาสำคัญที่เครือข่ายชุมชน/ประชาชนประสบในพื้นที่และวางแนวทางข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหา เพื่อเสนอ ครม. ให้พิจารณาสั่งการเพื่อนำไปสู่การดำเนินการแก้ไข **7. การส่งเสริมกิจการของสภาองค์กรชุมชนตำบลของหน่วยงานต่างๆ** พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน บัญญัติให้หน่วยงานต่างๆ มีบทบาทในการส่งเสริมกิจการของสภาองค์กรชุมชน ดังนี้ **1 ) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง** ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานของรัฐส่งเสริม สนับสนุน และให้ความร่วมมือ รวมตลอดทั้งชี้แจงทำความเข้าใจแก่สภาองค์กรชุมชนตำบลและชุมชนทุกประเภทตามที่ร้องขอ **2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต., เทศบาล , อบจ.)** องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่สภาองค์กรชุมชนตำบลอยู่ในเขตอาจให้การอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของสภาองค์กรชุมชนตำบลองค์การบริหารส่วนจังหวัด อาจให้การอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล **3) กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น** กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จะอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการแก่สภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นเงินอุดหนุนทั่วไป **4) ผู้ว่าราชการจังหวัด** จัดประชุมระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล ตามที่สภาองค์กรชุมชนตำบลร้องขอหรืออาจจัดประชุมเมื่อมีการจัดทำหรือแก้ไขแผนพัฒนาจังหวัด หรือเรื่องอื่นๆ **5) ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น** รับจดแจ้งชุมชนสภาองค์กรชุมชน กรณีไม่มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน **6) ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้อำนวยการเขต** * รับจดการจัดตั้งชุมชน (กลุ่ม/องค์กรชุมชนเครือข่ายองค์กรชุมชน) * รับจดแจ้งจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล **7) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)** * ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและแบบจดแจ้งการจัดตั้งชุมชน สภาองค์กรชุมชนและการแจ้งยุบเลิกสภาองค์กรชุมชน * จัดให้มีการประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง * กำหนดข้อบังคับ การอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดประชุมในระดับชาติ ระดับจังหวัดและระดับตำบลของสภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นเงินอุดหนุนทั่วไปตามควรแก่กรณี * มีอำนาจหน้าที่ ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งและพัฒนากิจการของสภาองค์กรชุมชนตำบล รวมทั้งให้มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องดังต่อไปนี้ 1. ประสานและดำเนินการให้มีการจัดตั้งและดำเนินการของสภาองค์กรชุมชนตำบลรวมทั้งเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กิจการเกี่ยวกับสภาองค์กรชุมชนตำบลและผลการประชุมของการประชุมระดับจังหวัดและระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล 2. รวบรวมข้อมูล ศึกษา วิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับงานของสภาองค์กรชุมชนตำบล 3. ประสานและร่วมมือกับราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง องค์กรภาคเอกชนและองค์กรภาคประชาสังคม ในการดำเนินการตาม พ.ร.บ. นี้ 4. จัดทำทะเบียนกลางเกี่ยวกับสภาองค์กรชุมชนตำบล 5. ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติจัดตั้งและดำเนินการของสภาองค์กรชุมชนและผลการประชุมในทุกระดับแล้วเสนอรายงานต่อที่ประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบลระดับชาติและรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ที่ประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบลระดับชาติหรือรัฐมนตรีมอบหมาย **8.คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับสภาองค์กรชุมชน** **สภาองค์กรชุมชนคืออะไร? ตั้งขึ้นมาทำไม** สภาองค์กรชุมชนเป็นเวทีพูดคุยปรึกษาหารือให้ทุกคนในตำบลมาร่วมกันคิดว่า เราต้องการจะพัฒนาหมู่บ้านชุมชนอย่างไร เพื่อให้ชีวิตเราดีขึ้น หรือหมู่บ้านชุมชนมีปัญหาอะไร แล้วจะแก้ไขกันแบบไหน เพราะเรารู้ปัญหาความต้องการและทางแก้เป็นอย่างดี จากนั้นก็ทำออกมาเป็นแผนพัฒนาอาศัยความรู้ ภูมิปัญญาที่พวกเรามีอยู่นี่แหละมาใช้ เท่ากับว่าพวกเราทุกคนมีส่วนในการกำหนดอนาคตของเราเอง... **เรามีกลุ่มออมทรัพย์แต่ละหมู่บ้านแล้ว เรายังมีเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ระดับตำบลด้วย** **แสดงว่า เราส่งผู้แทนได้ทั้งระดับหมู่บ้าน และกลุ่มระดับตำบลใช่หรือไม่** ลักษณะแบบนี้มีมากไม่เฉพาะแต่กลุ่มออมทรัพย์เท่านั้น ดังนั้น เวลาเลือกผู้แทนขอให้ยึดหลักการที่ว่า เราต้องการผู้แทนที่มีความรู้จากกลุ่มทุกประเภท และหลากหลายมาทำหน้าที่ในสภามาพัฒนาทั้งตำบล ไม่ใช่มาทำงานเพื่อกลุ่มของตนอง จึงไม่ควรคิดว่าเราจะต้องส่งคนเข้าไปเยอะๆ เพราะจะทำให้ได้ตัวแทนไม่ทั่วถึง อนึ่งตามเจตนารมณ์แล้ว **"ชุมชนอื่น"** จะหมายถึง ชุมชนที่มีสมาชิกและการดำเนินงานมากกว่าหนึ่งหมู่บ้าน เช่น กลุ่มเครือข่ายอนุรักษ์คลอง ป่า แม่น้ำ เครือข่ายสวัสดิการชุมชนตำบล เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน เป็นต้น **ถ้าไปจดแจ้งแล้ว กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไม่รับจดแจ้งจะทำอย่างไร** กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. เทศบาล ก็ล้วนเป็นคนในท้องถิ่น เป็นลูกเป็นหลาน เป็นพี่เป็นน้องกันทั้งนั้น เราจึงต้องชวนมาร่วมกันทำความเข้าใจและร่วมกันทำงานตั้งแต่เริ่มแรก เชื่อว่า ผู้นำเหล่านี้จะเข้าใจเจตนารมณ์ของกฎหมาย เข้าใจความปรารถาดีของชาวบ้าน และต่างต้องการทำงานเพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นของตนเองเจริญก้าวหน้ากันทุกคน แต่หากเราเตรียมอกสารไปไม่ครบ หรือผู้รับจดแจ้งมีข้อสงสัยเขาก็จะส่งเรื่องให้ พอช. พิจารณาวินิจฉัยภายใน 7 วัน **ในแต่ละตำบลถ้ามีบางหมู่บ้านไม่มีกลุ่มองค์กรชุมชน หรือมีจำนวนกลุ่มน้อย ตำบลนั้นจะตั้งสภาฯ ได้หรือไม่?** ได้ ....เช่น ตำบลบางน้ำดี มี 10 หมู่บ้าน ตามหลักแล้วจะส่งตัวแทนได้ 40 คน แต่มีอยู่ 2 หมู่บ้าน ไม่มีกลุ่มองค์กรชุมชน ก็จะส่งตัวแทนได้เพียง 8 หมู่บ้านเท่ากับ 32 คน จึงเป็นหน้าที่ของ 8 หมู่บ้าน หรือของสภาที่จะช่วยกันชักชวนส่งเสริมให้เกิดกลุ่มองค์กรใน 2 หมู่บ้าน และเมื่อพร้อมแล้วค่อยส่งตัวแทนในกายหลังก็ได้ ส่วนหมู่บ้านที่มีกลุ่มองค์กรน้อย เช่น มีเพียงกลุ่มสองกลุ่ม ก็ให้ขึ้นอยู่กับพี่น้องจะหารือกันว่าจะเป็นอย่างไร กฎหมายไม่ได้กำหนดตายตัว แต่ก็ควรคำนึงถึงคนส่วนใหญ่และควรรวบรวมข้อมูล กลุ่ม องค์กรชุมชนทั้งหมดที่มีอยู่ให้ครบถ้วน **ตอนนี้ในท้องถิ่นมีถึง 3 องค์กร คือ อบต. สภาองค์กรชุมชน และคณะกรรมการหมู่บ้าน จะมีแนวทางการทำงานเชื่อมโยงอย่างไร ถึงจะราบรื่น** จริงอยู่ทั้ง 3 องค์กร ต่างก็มีกฎหมายของตนเองรองรับ แต่ก็มีจุดร่วมเดียวกันอย่างน้อย 2 ประการ คือ ประการแรก ต่างก็ต้องการที่จะทำให้ชุมชนท้องถิ่นของเราเจริญก้าวหน้า ประการที่ 2 คนที่ทำงานของทั้ง 3 องค์กร ต่างก็เป็นคนในท้องถิ่นในหมู่บ้าน เป็นพี่เป็นน้อง มีความเป็นเพื่อนเป็นเครือญาติกัน ดังนั้นในการทำงานควรยึด 2 หลักนี้ให้มั่น แต่ละส่วนมีหน้าที่ทั้งต่างและร่วมกันอยู่แต่เพื่อจุดหมายเดียวกันคือ ทำให้ท้องถิ่นของเราก้าวหน้าทำให้เรามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น อบต. มีหน้าที่วางแผนพัฒนาตำบลและต้องปฏิบัติตามแผนนั้น ซึ่งในการวางแผนอบต. รับฟังความเห็นของชาวบ้าน ดังนั้น การที่สภาองค์กรชุมชน ซึ่งเป็นองค์กรของทุกกลุ่มในตำบล รวบรวมความต้องการและประมวลเป็นแผนของภาคประชาชนก็เท่ากับว่า สภาฯ ได้ทำหน้าที่หนุนช่วย อบต. ทำให้แผนพัฒนาตำบลของ อบต. มีความสมบูรณ์และตรงกับความต้องการของชาวบ้าน ส่วนคณะกรรมการหมู่บ้าน กรรมการบางส่วนก็เป็นตัวแทนกลุ่ม องค์กรในหมู่บ้าน (ซึ่งอาจจะเป็นด้นๆ เดียวกันกับสมาชิกสภาองค์กรชุมชน) มีหน้าที่วางแผนระดับหมู่บ้านก่อนที่จะส่งไปที่อำเภอ และจังหวัด ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ทั้ง 2 ส่วน จะได้มาวางแผนร่วมกัน ทำให้ทั้งแผนของ อบต. และแผนของจังหวัด มาจากแผนของชาวบ้านอย่างแท้จริง **ในจังหวัดยังตั้งสภาไม่ครบทุกตำบล จะจัดให้มีการประชุมระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบลได้หรือไม่** ได้...กฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้องตั้งให้ครบทุกตำบลจึงจะเปิดการประชุมระดับจังหวัดได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้วควรจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลให้ได้จำนวนตามสมควร ไม่ควรน้อยเกินไป **ทำไมกฎหมายสภาองค์กรชุมชน จึงไม่เปิดโอกาสให้ สมาชิกอบต. เข้ามาเป็นสมาชิกทั้งๆ ที่หลายแห่งบุคคลเหล่านี้ก็ทำงานพัฒนาร่วมกับชุมชนมาโดยตลอด แล้วบุคคลเหล่านี้จะเข้ามาช่วยงานสภาฯ ได้อย่างไร** กฎหมายสภาองค์กรชุมชนไม่ได้ปิดโอกาส สมาชิกอบต. ในการเข้ามาช่วยงานสภาองค์กรชุมชนตำบลถึงแม้จะเป็นสมาชิกสภาองค์กรชุมชนไม่ได้แต่ก็สามารถเข้ามาสนับสนุนงานในลักษณะอื่นได้ เช่น สภาองค์กรชุมชนเชิญมาเป็นที่ปรึกษา เป็นต้น ดังนั้น สมาชิกอบต. ก็ยังสามารถเข้าร่วมประชุมให้ความเห็น รวมทั้งช่วยเหลืองานอื่นๆ ของสภาองค์กรชุมชนได้ **ที่ว่า "สภาองค์กรชุมชนตำบล" อาจเป็นที่รวมของผู้อกหักจากการเลือกตั้งในท้องถิ่นแล้วใช้สภาเป็นเครื่องมือในการแก้แค้นกัน จะเป็นไปได้หรือไม่** ตามตัวบทกฎหมายสภาองค์กรชุมชน ผู้ที่จะมาเป็นสมาชิกสภาต้องเป็นผู้ที่กลุ่ม หรือองค์กรชุมซนเลือกเข้ามา และหากเคยรับสมัครทางการเมือง จะต้องเว้นวรรคอย่างน้อยหนึ่งปีหรือต้องไม่ใช้ผู้หาเสียงให้กับนักการเมือง และสภาองค์กรชุมชนเป็นเรื่องของคนส่วนใหญ่ คงไม่ยอมให้คนไม่กี่คนใช้เป็นเครื่องมือหาผลประโยชน์ ดังนั้นการที่สภาองค์กรชุมชนตำบล จะเป็นที่รวมของผู้ที่แพ้เลือกตั้ง หรือเป็นผู้ที่อยู่ขั้วการเมืองตรงข้ามกับ อบต. ฯลฯ จึงเป็นไปได้น้อยมาก และพวกเราต้องช่วยกันดูแลเรื่องนี้ **ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนดให้เป็นผู้รับจดแจ้ง จะต้องเตรียมตัวอย่างไร** ควรทำความเข้าใจถึงเจตนรมณ์อันเท้จริงของการมีกฎหมายสภาองค์กรชุมชน ว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ชาวบ้านได้รวมกลุ่มกันวางแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนอง แล้วนำเอาความต้องการหรือแผนงานนั้นไปเสนอให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบในท้องถิ่น ทำให้ทั้งผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และหน่วยงานท้องถิ่นทำงานได้สะดวกขึ้น เป็นการแบ่งเบาภาระได้เป็นอย่างมาก **ประการถัดมา** ควรเข้าไปร่วมเวทีที่ชุมชนจัดวงพูดคุยในหมู่บ้าน เพื่อทำความเข้าใจให้ข้อคิดเห็นเรื่องสภาและร่วมกันรับรองความเป็นกลุ่มหรือชุมชน เพื่อจะได้รับทรบดวามเป็นไปเป็นมาตั้งแต่ต้น ตลอดจนถึงความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชน (กลุ่มที่จะไปจดแจ้ง) เมื่อตัวแทนชุมชนไปจดแจ้งแล้วก็จะได้รับจดแจ้งอย่างเข้าใจและสบายใจ **ประการสุดท้าย** รวบรวมใบรับจดแจ้งทั้งหมดส่งไปยัง พอช. หากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และท้องถิ่นได้ทำงานร่วมกับชาวบ้านอย่างเข้าใจต่อกัน ก็จะทำให้การทำงานพัฒนาท้องถิ่นร่วมกัน ยังจะต้องดำเนินไปโดยทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน **จุดสำคัญที่สุดของสภาองค์กรชุมชน คืออะไร** หัวใจของกฎหมายนี้ ไม่ได้อยู่ที่การจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล แต่อยู่ที่ความเป็นธรรมชาติของชุมชนที่ดี และจะใช้สภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นเครื่องมือในการทำงานร่วมกันของคนในท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร โดยชุมชนใช้สภาเป็นเวทีพูดคุยวางแผนการพัฒนา แก้ปัญหาของชุมชน ส่วนหน่วยงานท้องถิ่นและท้องที่ก็สามารถใช้ สภาแห่งนี้เป็นเครื่องมือหรือเป็นตัวช่วยในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หากทุกภาคส่วนเข้าใจเจตนารมณ์ร่วมกันและต่างทำหน้าที่ของกันเละกันอย่างเข้าใจต่อกัน ก็จะทำให้ท้องถิ่นก้าวหน้า ประโยชน์ก็จะเกิดกับประชาชน **สำหรับชาวบ้านเขตเทศบาลหรือกรุงเทพมหานครจะดำเนินการอย่างไร** สามารถดำเนินการได้ ไม่แตกต่างกัน เพียงแต่ชื่อเขตปกครองเรียกต่างกัน เช่น ในเขตชนบทใช้ "หมู่บ้าน" ในขตเมืองจะใช้ "ชุมชที่ทางการรับรอง" หรือเทศบาลก็หมายถึงตำบลในชนบทนั่นเอง
{'url': 'https://gdcatalog.codi.or.th/dataset/sapa_01_02', 'title': 'คู่มือการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน', 'license': 'Open Data Common'}
**ข้อมูล** **โครงการประมูลข้าวสารในสต็อกของรัฐบาลโดยอิงราคาซื้อขายล่วงหน้า** **ในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET)** **“การประมูลข้าวผ่าน AFET คล่องตัว โปร่งใส เป็นธรรม** **ความเป็นมา** ตามที่ภาครัฐโดยท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ - นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ได้เปิดเผยหลังประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว (10 ก.ค. 2556) ว่า ที่ประชุมอนุมัติให้เปิดระบายข้าวสารในสต็อกของรัฐบาล โดยส่วนหนึ่งจะนำมาซื้อขายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) จำนวนหรือปริมาณ 5 แสนถึง 1 ล้านตัน ซึ่งคาดว่าจะเริ่มได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 นี้ นั้น โดยข้อมูลเมื่อปี 2550 และ 2552 ที่ผ่านมา ภาครัฐโดยกระทรวงพาณิชย์ได้เพิ่มช่องทางในการจำหน่ายข้าวในสต็อกของรัฐบาลด้วยการนำข้าวสารส่วนหนึ่งมาจำหน่ายโดยใช้กลไก AFET หรือที่เรียกกันว่า การประมูลข้าวสารแบบเสนอส่วนต่างราคา(Basis) ซึ่งเป็นวิธีที่โปร่งใส เป็นธรรม และทำให้ระบบตลาดข้าวทั้งระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานภาครัฐ (เช่น อคส.) ได้เรียนรู้ถึงการใช้ประโยชน์จากกลไก AFET ในการป้องกันความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตร **ความแตกต่างระหว่างการประมูลสินค้าเกษตรแบบเสนอส่วนต่างราคา (Basis)** **กับการประมูลสินค้าเกษตรแบบดั้งเดิม** **การประมูลสินค้าเกษตรแบบดั้งเดิม** หมายถึง การที่ภาครัฐโดยกรมการค้าต่างประเทศ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำสินค้าเกษตรที่อยู่ในสต็อกของรัฐบาลออกจำหน่ายโดยการประมูล ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ประกาศเชิญชวนเพื่อให้ผู้สนใจเข้าร่วมประมูล 2. เปิดให้ผู้สนใจยื่นซองเสนอราคา 3. ประกาศผลผู้ชนะประมูลและทำสัญญากับผู้ชนะประมูล 4. ส่งมอบรับมอบสินค้าเกษตรที่อยู่ในคลังของ อคส. **การประมูลสินค้าเกษตรแบบเสนอส่วนต่างราคา (Basis)** หมายถึง การที่ภาครัฐโดยองค์การคลังสินค้า (อคส.) หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำสินค้าเกษตรที่อยู่ในสต็อกของรัฐบาลออกจำหน่ายโดยการประมูล ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ประกาศเชิญชวนเพื่อให้ผู้สนใจเข้าร่วมประมูล 2. เปิดให้ผู้สนใจยื่นซองเสนอส่วนต่างราคา (Basis) 3. ประกาศผลผู้ชนะประมูลและทำสัญญากับผู้ชนะประมูล 4. เข้าซื้อขายล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) 5. ส่งมอบรับมอบสินค้าเกษตรที่อยู่ในคลังของ อคส. *ภาพการเปรียบเทียบการประมูลสินค้าเกษตรแบบดั้งเดิม* *กับการประมูลสินค้าเกษตรแบบเสนอส่วนต่างราคา (Basis*) เมื่อเปรียบเทียบการประมูลแบบเสนอส่วนต่างราคา (Basis) กับการประมูลแบบดั้งเดิม จะมีความ แตกต่างอยู่ 2 ประเด็น ดังนี้ **การเสนอราคา** การประมูลแบบเสนอส่วนต่างราคา (Basis) จะเสนอราคาเป็นส่วนต่าง เช่ น -0. 50 บาท/ กก. หรือ +0. 10 บาท/กก. เป็นต้น จากราคาซื้อขายล่วงหน้าใน AFET แทนที่จะเสนอราคาเป็นมูลค่าเต็มของสินค้านั้นๆ เช่น 10 บาท/กก. หรือ 20 บาท/กก. ตามวิธีการประมูลแบบดั้งเดิม **การเข้าซื้อขายล่วงหน้าใน AFET** การประมูลแบบเสนอส่วนต่างราคา (Basis) กำหนดให้ทั้ง อคส. และผู้ที่ชนะประมูลต้องเข้าไปซื้อขายล่วงหน้าใน AFET โดย อคส. จะเป็นผู้ที่ต้องขายล่วงหน้า ขณะที่ผู้ชนะประมูลจะเป็นผู้ที่ต้องซื้อล่วงหน้าเพื่อหาราคาซื้อขายล่วงหน้าที่จะใช้เป็ฯฐานในการชำระราคาข้าวในวันรับสินค้า ซึ่งจะต่างจากวิธีการประมูลแบบดั้งเดิมที่ไม่ได้กำหนดให้เข้าไปซื้อขายใน AFET **ส่วนต่างราคา Basis (เบสิส) คืออะไร** ส่วนต่างราคา หรือที่เรียกกันว่า Basis (เบสิส) ในที่นี้ หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าปรับปรุงคุณภาพสินค้า ค่าขนส่งสินค้า และอื่นๆ ซึ่งเมื่อรวมค่าใช้จ่ายเหล่านี้เข้าด้วยกันแล้ว ก็จะเป็นส่วนต่างราคาที่เกิดขึ้น การคิดส่วนต่างราคา (Basis) ให้เปรียบเทียบระหว่างสินค้าเกษตรที่อยู่ในคลังของ อคส. ที่จะประมูลกับสินค้าเกษตรตามที่ AFET กำหนด เนื่องจากราคาของสินค้าเกษตรที่ผู้ชนะประมูลต้องจ่ายให้กับ อคส. จะใช้ราคาล่วงหน้าใน AFET เป็นราคาอ้างอิง สำหรับข้อมูลเมื่อปี 2550 และ 2552 รัฐบาลได้มีการระบายข้าวสารตามโครงการประมูลข้าวสารในสต็อกของรัฐบาลโดยอิงราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) เป็นจำนวนถึง 770,856.926 ตัน ซึ่งถือเป็นการซื้อขายข้าวที่โปร่งใส และเป็นธรรม โดยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องกับสินค้าข้าวทุกประเภทและทุกระดับสามารถเข้ามาแข่งขันซื้อขายและกำหนดราคาได้ ซึ่งผลการดำเนินโครงการดังกล่าวปรากฎว่า ราคาซื้อขายข้าวใน AFET มีราคาสูงกว่าราคาในตลาดค้าข้าวปกติ ประมาณ 2.48% หรือคิดเป็นมูลค่าข้าวที่เพิ่มขึ้น 134 ล้านบาทโดยประมาณ **ทำไมต้องเข้าไปซื้อขายล่วงหน้าใน AFET** ก่อนที่จะตอบคำถามข้อนี้ได้ ขอสรุปประเด็นของเงื่อนไขการประมูลที่สำคัญดังนี้ 1. ผู้ชนะประมูลต้องจ่ายค่าสินค้าให้กับ อคส. = ส่วนต่างราคา (Basis) ที่ชนะประมูล + ราคาล่วงหน้า ใน AFET สำหรับสินค้านั้น ณ วันที่ออกจาก AFET พร้อมกับ อคส. 2. ส่วนต่างราคา (Basis) ที่ชนะประมูลจะทราบในวันที่ประกาศผลการประมูล 3. อคส. และผู้ ชนะประมูลส่วนใหญ่จะออกจาก AFET ในช่วงประมาณ 15-30 วัน หลังจากวันทำสัญญา ประมูล หรือที่เรียกว่า การทำ EFP จะเห็นได้ว่า หลังจาก อคส. ประกาศผลผู้ชนะประมูลแล้ว ผู้ชนะประมูลจะยังไม่ทราบราคาของสินค้าที่ต้องจ่ายให้กับ อคส. แต่ทราบเพียงว่าส่วนต่างราคา (Basis) ที่ชนะเป็นเท่าไร ทำให้ผู้ชนะประมูลมีความเสี่ยงว่าจะซื้อสินค้าแพงหรือไม่ ขณะที่ อคส. ก็มีความเสี่ยงว่าจะขายสินค้าได้ราคาถูกหรือแพง (สินค้าในที่นี้เป็นสินค้ากองหรือคลังเดียวกัน) ดังนั้น ผู้ชนะประมูลและ อคส. จึงจำเป็นต้องเข้าไปซื้อหรือขายล่วงหน้าใน AFET สำหรับสินค้านั้น เพื่อให้ผู้ชนะประมูลทราบต้นทุนในการซื้อสินค้าที่แน่นอน และ อคส. ทราบรายรับจากการขายสินค้าที่แน่นอน และนี่คือวัตถุประสงค์หนึ่งของการตั้งตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย หรือ AFET ขึ้น **ข้อดีของการประมูลผ่าน AFET** * เปิดกว้างให้มีผู้เข้าประมูลจำนวนมาก และทุกระดับทั้งรายเล็ก รายใหญ่ ผู้ส่งออก โรงสี เป็นต้น * มีความโปร่งใสและความเป็นธรรมในการประมูล * รัฐบาลมีโอกาสในการเสนอราคาขายผ่าน AFET และจากการแข่งขันเสรีทำให้มีโอกาสให้รัฐได้ราคาดีขึ้น * ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานภาครัฐ (เช่น อคส.) ได้เรียนรู้ถึงการใช้ประโยชน์จากกลไก AFET ในการป้องกันความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตร **ความพร้อมในการรองรับการประมูล** * AFET นำข้อกำหนดการซื้อขายล่วงหน้าสินค้าข้าวขาว 5 % (BWR5) สัญญาขนาด 15 ตัน ขึ้นกระดานซื้อขาย * การให้ความรู้ในเรื่องโครงการการประมูล ขั้นตอนการดำเนินการแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ บริษัทสมาชิกนายหน้าซื้อขายล่วงหน้า * เดินสายประชาสัมพันธ์เชิญชวนกลุ่มผู้ค้าข้าว อาทิ สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ สมาคมโรงสีข้าวไทย สมาคมค้าข้าวไทย * ด้านนักลงทุนก็สามารถเข้ามาแสวงหาผลกำไรจากความผันผวนของราคาซื้อขายข้าวใน AFET \* \* \* \* \* \* \* \* \* \* \* \* \* \* ข้อมูลปรับปรุง ณ วันที่ 9 มิถุนายน 2559
{'url': 'https://data.go.th/dataset/item_75d6fb60-ff07-40a9-9801-acb78926fe2f', 'title': 'โครงการประมูลข้าวสารในสต็อกของรัฐบาลโดยอิงราคาซื้อขายล่วงหน้า ในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET)', 'license': 'CC-BY'}
**ข้อมูลภาพรวมและประวัติความเป็นมาของตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (โดยสรุป)** **1.** **ประวัติตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย** ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (ตสล.) - The Agricultural Futures Exchange of Thailand หรือ AFET (เอเฟท) ตั้งอยู่ที่ 87/2 ชั้น 15 อาคารซีอาร์ซี ออล ซีซั่นส์ เพลส ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 เป็นนิติบุคคล จัดตั้งตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าภายใต้กฎระเบียบที่โปร่งใส และเป็นธรรม โดย AFET ได้เปิดให้ซื้อขายล่วงหน้าวันแรก เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 นับเป็นตลาดล่วงหน้าแห่งแรกของประเทศไทย โดยสินค้าที่นำมาซื้อขายประเภทแรก คือ ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมโดยมีปริมาณการซื้อขายมาอย่างต่อเนื่องการซื้อขายล่วงหน้าใน AFET จะมีสำนักหักบัญชี (Clearing House) เป็นหน่วยงานภายในของ AFET ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการหักบัญชี การชำระราคา การปรับฐานะเงินประกัน การส่งมอบรับมอบสินค้าเกษตร การสร้างความเชื่อมั่น และป้องกันการบิดพลิ้วสัญญาให้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ลำดับการนำสินค้าเข้ามาซื้อขายล่วงหน้า ใน AFET เป็นดังนี้ | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | | ประเภท | ชื่อสินค้า | ชื่อย่อ | วันแรกที่เปิดซื้อขาย | วันสุดท้ายที่เปิดซื้อขาย | | ยางพารา | แผ่นรมควันชั้น 3 | RSS3 | 28 พ.ค. 2547 |   | |   | ยางแท่ง | STR20 | 27 ก.ย.2548 | 26 ต.ค. 2549 | |   | น้ำยางข้น | LATEX | 27 ก.ย.2549 | 31 ส.ค.2550 | | มันสำปะหลัง | แป้งมัน | TS | 25 มี.ค. 2548 | 29 ก.พ. 2551 | |   | มันเส้น | TC | 18 ส.ค. 2549 | 21 เม.ย. 2558 | | ข้าว | ข้าวขาว 5% | WR5 | 26 ส.ค. 2547 | 8 ธ.ค.2550 | |   | ข้าวขาว 5% ขนาดเล็ก | WR5-M | 8 ส.ค.2548 | 30 พ.ย. 2549 | |   | ข้าวขาว 5% | WR5P | 1 ธ.ค. 2549 | 7 มิ.ย.2550 | |   | ข้าวขาว 5% แบบ Both option | BWR5 | 2 เม.ย.2550 | 21 เม.ย. 2558 | |   | ข้าวหอมมะลิ100% ชั้น2 แบบBoth option | BHMR | 14 ก.ค. 2551 | 21 เม.ย. 2558 | |   | ข้าวขาว 5% FOB | WRF5 | 29 พ.ค. 2554 | 21 เม.ย. 2558 | | สับปะรด | สับปะรดกระป๋อง | CPPL | 28 ก.ย. 2555 | 21 เม.ย. 2558 | **หมายเหตุ** | | | | | --- | --- | --- | | RSS3 = Ribbed Smoked Rubber Sheet No.3 | STR20 = Block Rubber 20 | LATEX = Block Rubber 20 | | TS = Tapioca Starch Premium Grade | TC = Tapioca Chip Both Options | WR5 = White Rice 5% | | WR5-M = White Rice 5% Broken Mini Sized Contract | WR5P = White Rice 5 Percent | BWR5 = White Rice 5% Both Options | | BHMR = Thai Hom Mali 100% Grade B Both Options | WRF5 = White Rice 5% FOB | CPPL = Canned Pineapple Pieces in Light Syrup | **วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์** **วิสัยทัศน์** เป็นตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลในการบริหารความเสี่ยง และเป็นแหล่งอ้างอิงราคา **พันธกิจ** * เป็นกลไกสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้ามาป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาได้ * ราคาของตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าเป็นราคาอ้างอิงในการซื้อขายสินค้าเกษตรทั้งในและต่างประเทศ * มีการบริหารจัดการที่เป็นธรรมและมีความโปร่งใส โดยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ **วัตถุประสงค์** * เพื่อให้สถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการ สามารถเข้ามาใช้ตลาดเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา * เพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้ราคาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าเป็นราคาอ้างอิงในการซื้อขาย 1. **ปริมาณการซื้อขายทุกสินค้าตามจำนวนข้อตกลงต่อปี** หมายเหตุ ข้อมูลถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2559 1. **ปริมาณและมูลค่าการซื้อขายล่วงหน้า RSS3 ต่อปี** หมายเหตุ 1. ข้อมูลถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2559 2. ปริมาณการซื้อขายไม่รวม NLT\*+EFP\*\* \*NLT = Negotiated Large Trade, \*\*EFP = Exchange of Futures for Physicals 1. **ปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของ AFET** หมายเหตุ ข้อมูลถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2559 1. **ปริมาณการรับมอบส่งมอบสินค้า RSS3 เฉลี่ยต่อปี** หมายเหตุ 1. คำนวณจาก จำนวนข้อตกลงที่มีการรับมอบส่งมอบ หารด้วย จำนวนข้อตกลงทั้งหมดที่มีการซื้อขาย 2**.** ข้อมูลถึงวันที่ 31 พ.ค. 2559 1. **คณะกรรมการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (คณะกรรมการตลาด)** พระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 (มาตรา 77) กำหนดให้มีคณะกรรมการตลาดประกอบด้วยบุคคลซึ่งคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (คณะกรรมการ ก.ส.ล.) แต่งตั้งจำนวน 5 คน และบุคคลซึ่งสมาชิกเลือกตั้ง จำนวน 5 คน เป็นกรรมการ และผู้จัดการโดยตำแหน่งอีก 1 คน คณะกรรมการตลาดมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินงานของตลาดและปฏิบัติการอื่นๆ ตามที่พระราชบัญญัติได้กำหนดไว้ กรรมการตลาดดำรงตำแหน่งมีวาระคราวละ 4 ปี โดยมีการแต่งตั้งทดแทนหรือเมื่อครบวาระมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตลาดในวาระแรกจนปัจจุบัน (เดือนมิถุนายน 2559) มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการตลาดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 6 ท่าน ประกอบด้วย | | | | | | --- | --- | --- | --- | | ลำดับ | ชื่อ-สกุล | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ | | 1. | นายชนะ รุ่งแสง | 20 ก.ย. 2544 - 10 เม.ย. 2545 | 11 เม.ย. - 16 มิ.ย. 2545 ประธานกรรมการตลาดว่าง | | 2. | นายศุกรีย์ แก้วเจริญ | 17 มิ.ย. 2545 - 31 ธ.ค. 2545 | | | 3. | ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร | 9 เม.ย. 2546 - 25 มิ.ย. 2549 | ช่วง 1 ม.ค. 2546 - 8 เม.ย. 2546 ประธานกรรมการตลาดว่าง (ดร.พิศิษฐ์ เศรษฐวงศ์ ทำหน้าที่ ประธานที่ประชุมชั่วคราว) | | 4. | นายสนิท วรปัญญา | 25 มิ.ย. 2549 - 30 มิ.ย. 2553 | | | 5. | นายประสาท เกศวพิทักษ์ | 6 ก.ค. 2553 - 30 ต.ค.2557 | | | 6. | ดร.ชัยพัฒน์ สหัสกุล | 13 พ.ย. 2557 - ปัจจุบัน | | รายชื่อ คณะกรรมการตลาดชุดแรก ได้แก่ 1. นายชนะ รุ่งแสง ประธานกรรมการ 2. ร้อยโทสุชาย เชาว์วิศิษฐ์ กรรมการ 3. นายชัยยุทธ สุทธิธนากร กรรมการ 4. นางกุลภัทรา สิโรดม กรรมการ 5. นายเสรี เด่นวรลักษณ์ กรรมการ 6. นายประสิทธ์ ดำรงชิตานนท์ กรรมการ 7. นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี กรรมการ 8. นายธรรมนูญ อานันโทไทย กรรมการ 9. นายอภิชาติ พงษ์ศรีหดุลชัย กรรมการ 10. นายทวี วิริยฑูรย์ กรรมการ 11. นายชาลทอง ปัทมพงศ์ กรรมการและผู้จัดการ สำหรับคณะกรรมการตลาดชุดปัจจุบัน (ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2557- ปัจจุบัน) มีองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้ 1. นายชัยพัฒน์ สหัสกุล ประธานกรรมการ 2. น.ส.สุทัศนีย์ ราชเรืองระบิน กรรมการ 3. นายสุภาพ วงศ์เกียรติขจร กรรมการ 4. นายเสรี เด่นวรลักษณ์ กรรมการ 5. นางพรอนงค์ บุษราตระกูล กรรมการ 6. นายปราโมช ไตรจักรภพ กรรมการ 7. นายประสิทธิ์ เตชะจงจินตนา กรรมการ 8. นายไพฑูรย์ วงศาสุทธิกุล กรรมการ 9. นายพสิษฐ์ เจริญศรี กรรมการ 10. นายบัณฑิต เกิดวงศ์บัณฑิต กรรมการ 11. **รายชื่อผู้จัดการตลาด** | | | | | | --- | --- | --- | --- | | ลำดับ | ชื่อ-สกุล | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ | | 1 | นายชาลทอง ปัทมพงศ์ | 20 ก.ย. 2544 - 11 เม.ย. 2545 | ช่วงระหว่าง 12 เม.ย. 2545 - 30 มิ.ย. 2545 ตำแหน่งผู้จัดการว่าง | | | | | | 2 | นายเสรี เด่นวรลักษณ์ | 1 ก.ค. 2545 - 14 ก.ย. 2545 | | | 3 | นายพันธ์ศักดิ์ เวชอนุรักษ์ | 15 ก.ย. 2546 - 20 ส.ค. 2547 | | | 4 | นางนภาภรณ์ คุรุพสุธาชัย | 20 ส.ค. 2547 - 11 ธ.ค. 2550 | 12 ธ.ค.-14 ก.พ. 2551 นายนิทัศน์ ภัทรโยธิน เป็นผู้ทำการแทนผู้จัดการ | | 5 | นายนิทัศน์ ภัทรโยธิน | 15 ก.พ. 2551 - 4 ก.พ. 2554 | | | 6 | นายประสาท เกศวพิทักษ์ | 4 ก.พ. 2554 - 30 ก.ย. 2554 | ผู้ทำการแทนผู้จัดการ | | 7 | นายชาตรี สหเวชภัณฑ์ | 1 ต.ค. 2554 - 1 ก.ค. 2556 | | | 8 | นายศักดิ์ดา ทองปลาด | 12 มิ.ย. 2556 - 30 ก.ย. 2557 | ผู้ทำการแทนผู้จัดการ | | 9 | นายวิวัฒน์ ตีระวนิชพงศ์ | 1 ต.ค. 2557 - 29 พ.ค. 2558 | | | 10 | นายสุภาพ วงศ์เกียรติขจร | 29 พ.ค. 2558 - ปัจจุบัน | กรรมการและผู้ทำการแทนผู้จัดการ | 1. **รายชื่อสมาชิกตลาดประเภท-นายหน้าซื้อขายล่วงหน้า ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน มีทั้งหมด จำนวน 21 ราย** | **ลำดับ** | **บริษัท** | **ชื่อย่อ** | | --- | --- | --- | | | บริษัท เจเอสพี. ฟิวเจอร์ส จำกัด | ชื่อย่อ JSP | | | บริษัท รีพเอเชีย จำกัด | ชื่อย่อ RAS | | | บริษัท ธนเกษตร จำกัด | ชื่อย่อ TAA | | | บริษัท อยู่ยงฟิวเจอร์สเทรดดิ้ง จำกัด | ชื่อย่อ UYF | | | บริษัท ฟิวเจอร์ อกริ เทรด จำกัด | ชื่อย่อ FAT | | | บริษัท แอ็กโกร์ว เอ็นเตอร์ไพร์ส จำกัด | ชื่อย่อ AGE | | | บริษัท บางกอก ฟิวเจอร์ส เทรด จำกัด | ชื่อย่อ PPP | | | บริษัท เอ.เอ็น.ที. (ไทยแลนด์) จำกัด | ชื่อย่อ ANT | | | บริษัท เมอร์ชั่นส์ ฟิวเจอร์ จำกัด | ชื่อย่อ MCF | | | (เปลี่ยนชื่อจาก บริษัท ลาดบัวหลวง พัฒนา จำกัด (LPC)) | | | | บริษัท หงต้า ฟิวเจอร์ส จำกัด | ชื่อย่อ HOT | | | บริษัท พัฒนาเกษตรล่วงหน้า จำกัด | ชื่อย่อ PAF | | | บริษัท แอโกรเวลท์ จำกัด | ชื่อย่อ AGR | | | บริษัท โกลบอล อะโกร เทรด จำกัด | ชื่อย่อ GAT | | | บริษัท สรกิจ จำกัด | ชื่อย่อ SRC | | | บริษัท ดีเอส ฟิวเจอร์ส จำกัด | ชื่อย่อ DSF | | | บริษัท แอ๊กกรีคัลเจอร์ พรอสเพ็ค จำกัด | ชื่อย่อ APC | | | บริษัท ไชย ฟิวเจอร์ส เอ็กซุเบอแรนซ์ จำกัด | ชื่อย่อ CFX | | | บริษัทหลักทรัพย์ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) | ชื่อย่อ PST | | | บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) | ชื่อย่อ ASP | | | บริษัทหลักทรัพย์ เคที ซีมิโก้ จำกัด | ชื่อย่อ KTZ | | | บริษัท อินฟินิตี้ เวลท์ ฟิวเจอร์ส จำกัด | ชื่อย่อ IWF | | | บริษัท เอเซีย คอมมอดิตี้ ฟิวเจอร์ส จำกัด | ชื่อย่อ ACF | | **ปัจจุบัน (ณ วันที่ 9 มิถุยายน 2559) มีทั้งสิ้น 4 ราย ได้แก่** | | | บริษัท แอ็กโกร์ว เอ็นเตอร์ไพร์ส จำกัด | ชื่อย่อ AGE | | | บริษัท หงต้า ฟิวเจอร์ส จำกัด | ชื่อย่อ HOT | | | บริษัท ดีเอส ฟิวเจอร์ส จำกัด | ชื่อย่อ DSF | | | บริษัท อินฟินิตี้ เวลท์ ฟิวเจอร์ส จำกัด | ชื่อย่อ IWF | | **รายชื่อสมาชิกตลาดประเภท - ผู้ค้าล่วงหน้า มีทั้งหมดมีจำนวน 3 ราย** | | | บริษัท วงศ์บัณฑิต | ชื่อย่อ VON | | | บริษัท วันชัยการเกษตร จำกัด | ชื่อย่อ WCA | | | บริษัท เซาท์แลนด์รับเบอร์ จำกัด | ชื่อย่อ SLR | | **ปัจจุบัน (ณ วันที่ 9 มิถุยายน 2559) มีจำนวน 1 ราย ได้แก่** | | | บริษัท วงศ์บัณฑิต | ชื่อย่อ VON | 1. **เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2558** พระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2558 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 เป็นต้นมา โดยกำหนดให้ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทยยุบเลิกภายในกำหนด 15 เดือน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ กล่าวคือ ภายในกำหนดวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2558 คือโดยที่ปัจจุบันตลาดซื้อขายล่วงหน้าของประเทศไทย มี 2 ตลาด คือ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร กับบริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (TFEX) ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในสินค้าทั่วไปตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งทั้งสองตลาดมีขั้นตอนการซื้อขายที่ใกล้เคียงกัน สมควรให้มีการซื้อขายล่วงหน้าภายใต้กฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพียงตลาดเดียว อันจะเกิดผลดีต่อประเทศในด้านการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) และเป็นการให้ความสะดวกแก่ผู้ซื้อผู้ขายที่สามารถทำธุรกรรมได้ในตลาดเดียว อันจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพของกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าในประเทศไทยให้เกิดความสามารถเชิงแข่งขัน (Competitive Advantage) กับตลาดซื้อขายล่วงหน้าอื่นในภูมิภาคได้ \* \* \* \* \* \* \* \* \* \* \* \* \* \* *ข้อมูลปรับปรุง ณ วันที่ 9 มิถุนายน 2559*
{'url': 'https://data.go.th/dataset/item_5c41eb00-ef89-452b-9999-ab25d60c32e1', 'title': 'ข้อมูลภาพรวมและประวัติความเป็นมาของตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย', 'license': 'cc-by'}
**สถานการณ์การค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2559-2561(มค.-กค.)** 1. สถานการณ์การค้าชายแดน ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา) มูลค่าการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี โดยตลอด 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2558 – 2560) การค้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2.85% ในปี 2560 มีมูลค่า 1,076,389.37 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.22% ***สำหรับปี 2561*** (มกราคม-กรกฎาคม) มูลค่าการค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ (มาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา) มูลค่าการค้ารวม 647,100.31 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 618,127.60 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 4.69(YoY) แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 379,579.37 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 0.44(YoY) และมูลค่าการนำเข้า 267,520.94 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 12.93(YoY) ไทยได้ดุลการค้าชายแดน 112,058.43 ล้านบาท **ด้านมาเลเซียมีการค้าสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง** มูลค่า 330,005.59 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 51.00 ของมูลค่าการค้าชายแดนรวม รองลงมาได้แก่ สปป.ลาว มูลค่า 124,417.19 ล้านบาท (19.23%) เมียนมา มูลค่า 111,860.26 ล้านบาท (17.29%) และกัมพูชา มูลค่า 80,817.27 ล้านบาท (12.49%) **การค้าชายแดน 4 ประเทศ ปี 2559-2560 (มกราคม-กรกฎาคม)** หน่วย : ล้านบาท | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | **การค้ารวม 4 ประเทศ** | **2559** | **2560** | **2560** | **2561** | **% YoY** | | **(มกราคม-กรกฎาคม)** | | มูลค่า | 1,013,206.17 | 1,081,274.05 | **618,127.60** | **647,100.31** | **4.69** | | ส่งออก | 605,159.35 | 654,413.76 | **381,242.32** | **379,579.37** | **-0.44** | | นำเข้า | 408,046.82 | 426,860.29 | **236,885.28** | **267,520.94** | **12.93** | | ดุลการค้า | 197,112.53 | 227,553.47 | **144,357.04** | **112,058.43** | | ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมการค้าต่างประเทศ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร -2- การค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2559-2561 (**มกราคม-กรกฎาคม**) หน่วย : ล้านบาท | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | **ประเทศ** | **รายการ** | **2559** | **2560** | **2560** | **2561** | **%YoY** | | **(มกราคม-กรกฎาคม)** | | **มาเลเซีย** | มูลค่า | 501,307.47 | 564,628.87 | **323,307.60** | **330,005.59** | **2.07** | | | ส่งออก | 258,109.26 | 312,457.65 | **183,268.29** | **173,364.09** | **-5.40** | | | นำเข้า | 243,198.21 | 252,171.22 | **140,039.31** | **156,641.50** | **11.86** | | | ดุลการค้า | 14,911.05 | 60,286.43 | **43,228.98** | **16,722.59** | | | **เมียนมา** | มูลค่า | 187,905.29 | 184,331.02 | **104,176.62** | **111,860.26** | **7.38** | | | ส่งออก | 109,267.17 | 108,966.18 | **65,041.28** | **63,664.63** | **-2.12** | | | นำเข้า | 78,638.12 | 75,364.84 | **39,135.34** | **48,195.63** | **23.15** | | | ดุลการค้า | 30,629.05 | 33,601.34 | **25,905.94** | **15,468.99** | | | **สปป.ลาว** | มูลค่า | 202,942.72 | 207,045.85 | **117,421.90** | **124,417.19** | **5.96** | | | ส่งออก | 136,440.48 | 131,262.33 | **75,587.79** | **76,266.60** | **0.90** | | | นำเข้า | 66,502.24 | 75,743.52 | **41,834.11** | **48,150.59** | **15.10** | | | ดุลการค้า | 69,938.24 | 55,478.81 | **33,753.68** | **28,116.01** | | | **กัมพูชา** | มูลค่า | 121,050.69 | 125,268.31 | **73,221.48** | **80,817.27** | **10.37** | | | ส่งออก | 101,342.44 | 101,727.60 | **57,344.96** | **66,284.05** | **15.59** | | | นำเข้า | 19,708.25 | 23,540.71 | **15,876.52** | **14,533.22** | **-8.46** | | | ดุลการค้า | 81,634.19 | 78,186.89 | **41,468.44** | **51,750.83** | | ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมการค้าต่างประเทศ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร **เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560-2561 (มกราคม-กรกฎาคม)** ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – มาเลเซีย*** **ในเดือนกรกฎาคม 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 51,664.82 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 47,446.46 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 8.89(YoY) แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 28,228.35 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 8.59(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 23,436.47 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 8.06(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 4,791.88 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 7 เดือนของปี 2561(ม.ค.-ก.ค.)*** การค้าชายแดนไทยกับมาเลเซียมีมูลค่าการค้ารวม 330,005.59ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 2.07(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 173,364.09 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 5.40(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 156,641.50 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 11.86(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 16,722.59 ล้านบาท -3- ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – เมียนมา*** **ในเดือนกรกฎาคม 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 14,594.99 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 14,601.14 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 0.04(YoY) โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 7,388.18 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 5.11(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 7,206.81 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 5.75(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 181.37 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 7 เดือนของปี 2561(ม.ค.-ก.ค.)*** การค้าชายแดนไทยกับเมียนมามีมูลค่าการค้ารวม 111,860.26 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 7.38(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 63,664.63 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 2.12(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 48,195.63 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 23.15(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 15,468.99 ล้านบาท ***ภาวะการค้าชายแดนไทย–สปป.ลาว*** **ในเดือนกรกฎาคม 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 16,674.71 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 16,090.62 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 3.63(YoY) โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 9,799.10 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 2.55(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 6,875.61 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 5.21(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 2,923.49 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 7 เดือนของปี 2561(ม.ค.-ก.ค.)*** การค้าชายแดนไทยกับสปป.ลาว มีมูลค่าการค้ารวม 124,417.19 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 5.96(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 76,266.60 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 0.90(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 48,150.59 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 15.10(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 28,116.01 ล้านบาท ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – กัมพูชา*** **ในเดือนกรกฎาคม 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 10,445.60 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 9,428.89 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 10.78(YoY) แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 8,958.99 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 15.74(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 1,486.61 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 11.95(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 7,472.38 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 7 เดือนของปี 2561(ม.ค.-ก.ค.)*** การค้าชายแดนไทยกับกัมพูชา มีมูลค่าการค้ารวม 80,817.27 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 10.37(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 66,284.05 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 15.59(YoY) และ การนำเข้ามีมูลค่า 14,533.22 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 8.46(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 51,750.83 ล้านบาท **กลุ่มความร่วมมือฯ 2** **กองความร่วมมือการค้าและการลงทุน**
{'url': 'https://data.go.th/dataset/item_be10ba8e-47d8-4a45-bf98-0fff9e5a6033', 'title': 'สถานการณ์การค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2559-2561 (มกราคม-กรกฏาคม)', 'license': 'CC-BY'}
**สถานการณ์การค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2559-2561 (ม.ค.-มิ.ย.)** 1. สถานการณ์การค้าชายแดน ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา) มูลค่าการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี โดยตลอด 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2558 – 2560) การค้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2.85% ในปี 2560 มีมูลค่า 1,076,389.37 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.22% ***สำหรับปี 2561*** (มกราคม-มิถุนายน) มูลค่าการค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ (มาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา) มูลค่าการค้ารวม 553,717.19 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 530,560.48 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 4.36(YoY) แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 325,201.74 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 1.57(YoY) และมูลค่าการนำเข้า 228,515.45 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 14.17(YoY) ไทยได้ดุลการค้าชายแดน 96,686.29 ล้านบาท **ด้านมาเลเซียมีการค้าสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง** มูลค่า 278,340.78 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.27 ของมูลค่าการค้าชายแดนรวม รองลงมาได้แก่ สปป.ลาว มูลค่า 107,742.48 ล้านบาท (19.46%) เมียนมา มูลค่า 97,265.26 ล้านบาท (17.57%) และกัมพูชา มูลค่า 70,368.67 ล้านบาท (12.71%) **การค้าชายแดน 4 ประเทศ ปี 2559-2560 (มกราคม-มิถุนายน)** หน่วย : ล้านบาท | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | **การค้ารวม 4 ประเทศ** | **2559** | **2560** | **2560** | **2561** | **% YoY** | | **(มกราคม-มิถุนายน)** | | มูลค่า | 1,013,206.17 | 1,081,274.05 | **530,560.48** | **553,717.19** | **4.36** | | ส่งออก | 605,159.35 | 654,413.76 | **330,401.57** | **325,201.74** | **-1.57** | | นำเข้า | 408,046.82 | 426,860.29 | **200,158.91** | **228,515.45** | **14.17** | | ดุลการค้า | 197,112.53 | 227,553.47 | **130,242.66** | **96,686.29** | | ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมการค้าต่างประเทศ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร -2- การค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2559-2561 (**มกราคม-มิถุนายน**) หน่วย : ล้านบาท | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | **ประเทศ** | **รายการ** | **2559** | **2560** | **2560** | **2561** | **%YoY** | | **(มกราคม-มิถุนายน)** | | **มาเลเซีย** | มูลค่า | 501,307.47 | 564,628.87 | **275,861.14** | **278,340.78** | **0.90** | | | ส่งออก | 258,109.26 | 312,457.65 | **157,509.70** | **145,135.74** | **-7.86** | | | นำเข้า | 243,198.21 | 252,171.22 | **118,351.44** | **133,205.04** | **12.55** | | | ดุลการค้า | 14,911.05 | 60,286.43 | **39,158.26** | **11,930.70** | | | **เมียนมา** | มูลค่า | 187,905.29 | 184,331.02 | **89,575.48** | **97,265.26** | **8.58** | | | ส่งออก | 109,267.17 | 108,966.18 | **57,255.03** | **56,276.44** | **-1.71** | | | นำเข้า | 78,638.12 | 75,364.84 | **32,320.45** | **40,988.82** | **26.82** | | | ดุลการค้า | 30,629.05 | 33,601.34 | **24,934.58** | **15,287.62** | | | **สปป.ลาว** | มูลค่า | 202,942.72 | 207,045.85 | **101,331.27** | **107,742.48** | **6.33** | | | ส่งออก | 136,440.48 | 131,262.33 | **66,032.45** | **66,467.50** | **0.66** | | | นำเข้า | 66,502.24 | 75,743.52 | **35,298.82** | **41,274.98** | **16.93** | | | ดุลการค้า | 69,938.24 | 55,478.81 | **30,733.63** | **25,192.52** | | | **กัมพูชา** | มูลค่า | 121,050.69 | 125,268.31 | **63,792.59** | **70,368.67** | **10.31** | | | ส่งออก | 101,342.44 | 101,727.60 | **49,604.39** | **57,322.06** | **15.56** | | | นำเข้า | 19,708.25 | 23,540.71 | **14,188.20** | **13,046.61** | **-8.05** | | | ดุลการค้า | 81,634.19 | 78,186.89 | **35,416.19** | **44,275.45** | | ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมการค้าต่างประเทศ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร **เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560-2561 (มกราคม-มิถุนายน)** ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – มาเลเซีย*** **ในเดือนมิถุนายน 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 44,821.54 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 43,559.45 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 2.90(YoY) แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 24,060.69 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 1.78(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 20,760.84 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 8.90(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 3,299.85 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 6 เดือนของปี 2561(ม.ค.-มิ.ย.)*** การค้าชายแดนไทยกับมาเลเซียมีมูลค่าการค้ารวม 278,340.78 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 0.90(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 145,135.74 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 7.86(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 133,205.04 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 12.55(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 11,930.70 ล้านบาท -3- ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – เมียนมา*** **ในเดือนมิถุนายน 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 16,229.45 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 15,553.03 ล้านบาท **เพิ่มขึ้นร้**อยละ 4.35(YoY) โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 8,920.36 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 5.51(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 7,309.09 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 2.97(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 1,611.27 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 6 เดือนของปี 2561(ม.ค.-มิ.ย.)*** การค้าชายแดนไทยกับเมียนมามีมูลค่าการค้ารวม 97,265.26 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 8.58(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 56,276.44 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 1.71(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 40,988.82 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 26.82(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 15,287.62 ล้านบาท ***ภาวะการค้าชายแดนไทย–สปป.ลาว*** **ในเดือนมิถุนายน 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 17,057.53 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 16,996.40 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 0.36(YoY) โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 10,527.93 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 1.25(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 6,529.60 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 3.07(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 3,998.33 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 6 เดือนของปี 2561(ม.ค.-มิ.ย.)*** การค้าชายแดนไทยกับสปป.ลาว มีมูลค่าการค้ารวม 107,742.48 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 6.33(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 66,467.50 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 0.66(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 41,274.98 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 16.93(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 25,192.52 ล้านบาท ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – กัมพูชา*** **ในเดือนมิถุนายน 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 11,675.19 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 9,197.20 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 26.94(YoY) แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 10,103.82 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 27.96(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 1,571.37 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 20.78(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 8,532.45 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 6 เดือนของปี 2561(ม.ค.-มิ.ย.)*** การค้าชายแดนไทยกับกัมพูชา มีมูลค่าการค้ารวม 70,368.67 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 10.31(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 57,322.06 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 15.56(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 13,046.61 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 8.05(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 44,275.45 ล้านบาท **กลุ่มความร่วมมือฯ 2** **กองความร่วมมือการค้าและการลงทุน**
{'url': 'https://data.go.th/dataset/item_91feeb19-9f70-45c8-b824-fb0e1ae702bb', 'title': 'สถานการการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2559-2561 (มกราคม-มิถุนายน)', 'license': 'CC-BY'}
**รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ** ด้านพลังงานทดแทน ประเภทโครงการที่ไม่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า (Off-Grid) **โครงการ โซลาร์โฮมแบบเติมเงิน ชุมชนเกาะบูโหลนดอน** โดย กลุ่มพลังงานทดแทนและการออมเพื่อความยั่งยืน บ้านเกาะบูโหลนดอน เกาะบูโหลนดอน หมู่ 2 ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล **ใบรับรองผลงาน** **สารบัญ** **หน้า** **1. ความคิดริเริ่ม (Originality) 6** 1. **การพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อม 11** 2. **การพิจารณาด้านสังคม 12** 3. **การพิจารณาด้านเทคนิค เศรษฐกิจ และการตลาด 17** 4. **การดำเนินงานและการบำรุงรักษา 23** 5. **การขยายผลหรือศักยภาพการนำไปใช้ได้อย่างแพร่หลาย 26** รายละเอียดโครงการด้านพลังงานทดแทน ประกวดประเภท □ โครงการที่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า (On-Grid) ☑ โครงการที่ไม่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า (Off-Grid) □ โครงการผลิตไฟฟ้าและความร้อนร่วม (Cogeneration) □ โครงการเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) | | | --- | | ชื่อโครงการ โซลาร์โฮมแบบเติมเงิน ชุมชนเกาะบูโหลนดอน ลักษณะโครงการ | | ชื่อหน่วยงาน กลุ่มพลังงานทดแทนและการออมเพื่อความยั่งยืน บ้านเกาะบูโหลนดอน ประเภทธุรกิจ องค์กรชุมชนจัดการพลังงานด้วยตนเอง เลขที่ 457 หมู่ 2 ซอย - ถนน - ตำบล / แขวง ปากน้ำ อำเภอ/เขต ละงู จังหวัด สตูล รหัสไปรษณีย์ 91110 โทรศัพท์ - โทรสาร - Website www.facebook.com/ReChargeTH ที่ตั้งโครงการ ☑ โครงการตั้งอยู่ที่เดียวกับหน่วยงานส่งประกวด □ โครงการไม่อยู่ที่เดียวกับหน่วยงานส่งประกวด (โปรดระบูข้อมูล)โครงการ/โรงงาน/โรงไฟฟ้า - เลขที่ - หมู่ - ซอย - ถนน - ตำบล / แขวง - อำเภอ/เขต - จังหวัด - รหัสไปรษณีย์ - โทรศัพท์ - โทรสาร - Website https://www.facebook.com/ReChargeTH | | จำนวนบูคลากรดำเนินโครงการระดับผู้บริหาร (ด้านเทคนิค) 2 คน (ด้านอื่นๆ) 4 คน ระดับปฏิบัติการ 2 คน | | เริ่มดำเนินโครงการเมื่อ สิงหาคม 2563 เริ่มผลิตพลังงานทดแทนเมื่อ สิงหาคม 2563 | | ชื่อผู้ประสานงาน พิรัฐ อินพานิช ตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผน สสช.สป.พน. โทรศัพท์ 096-141-9710 โทรสาร - E-Mail : phirat\_ple@hotmail.com | **บทคัดย่อ** ต้นแบบความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าบนเกาะบูโหลนดอน ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล โดยใช้ “พลังชุมชน” เป็นตัวขับเคลื่อน โดยสถานการณ์พลังงานของเกาะนี้ที่ไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาไม่ถึง ทำให้ในยามค่ำคืน ชุมชนต้องปั่นไฟฟ้าใช้เองจากเครื่องปั่นไฟขนาด 50 kW จ่ายไฟฟ้าให้กับครัวเรือนประมาณ 80 ครัวเรือน ในช่วงเวลา 18.00-23.00 น. เป็นช่วงเวลา 5 ชั่วโมงแห่งความสุขของชาวบ้าน มีแสงสว่าง ได้ดูทีวี ใช้พัดลมคลายร้อน โดยชุมชนเหมาจ่ายค่าไฟเฉลี่ยประมาณ 450-700 บาท ต่อครัวเรือนต่อเดือน รวมทั้งค่าซื้อน้ำแข็ง (เพื่อการประมง) ในราคาเฉลี่ย เดือนละ 800-1,000 บาท แม้คุรภาพไฟฟ้าจะไม่ดี เนื่องจากสภาพเครื่องยนต์ที่ทรุดโทรมจากการใช้งานมานาน ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าบางตัวที่ต้องการแรงดันจากไฟฟ้ากระแสสลับเกิดการชำรุดเสียหายบ่อยครั้ง ประเด็นสำคัญของโครงการนี้คือการที่มีภาคีร่วมพัฒนาจากหลากหลายหน่วยงาน มาร่วมคิดและหาทางแก้ไข โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนสำหรับจัดหาอุปกรณ์ เทคโนโลยีโดยทุนสนับสนุนโดยตรงจากสถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย (Australia’s Direct Aid Program in Thailand) งบประมาณสนับสนุนด้านการจัดการความรู้ การลงพื้นที่ โดย องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมนี (GIZ) ดำเนินงานประสานความร่วมมือโดยองค์กรธุรกิจเพื่อสังคมรีชาร์จ เอ็นเนอรยี่ ReCharge Energy สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กระทรวงพลังงาน และสำนักงานพลังงานจังหวัดสตูล โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมสนับสนุนเสริมพลัง (To Empower) ให้ชุมชนมีการรวมกลุ่มกันเพื่อบริหารจัดการโครงข่ายไฟฟ้าพลังงานทดแทนแบบ “โซลาร์โฮม” ระดับครัวเรือน (Solar Home System) โดยโครงการจัดหาเงินลงทุนและการอบรมความรู้ให้กับสมาชิกทั้งด้านเทคนิคการติดตั้ง การใช้งาน การซ่อมบำรุง และความรู้ด้านการบริหารจัดการกองทุนหมุนเวียนการเก็บเงิน เป็นต้น รูปแบบการบริหารจัดการสมาชิกที่ได้รับการติดตั้งระบบ (Solar Home System) รูปแบบใหม่ คือ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์และแบตเตอรี่ลิเธียมประสิทธิภาพสูง (LiFePo4) เพื่อนำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรง DC 12 V ที่ประหยัดพลังงาน ปลอดภัย บำรุงรักษาง่าย ใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยใช้รูปแบบการจ่ายเงินผ่อนชำระอุปกรณ์ ผ่านแอพพลิเคชั่นการออกรหัสเติมเงินให้สมาชิกนำรหัสไปเปิดการใช้งานที่บ้าน (Pay-As-You-Go) นอกจากชาวบ้านเกาะบูโหลนดอนจะได้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพ มีสเถียรภาพ และสะอาดแล้ว ยังเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพเกิดช่างชุมชนรับงานติดตั้งขยายผลระบบบนเกาะซึ่งราคาถูกกว่านำเข้าช่างจากภายนอกอีกด้วย จะเห็นว่าการขับเคลื่อนเกาะพลังงานสะอาดด้วยพลังความร่วมมือจากหลายฝ่ายผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมนำไปสู่การเสริมอำนาจประชาชน (To Empower) เป็นระดับที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีบทบาทเต็มในการตัดสินใจ การบริหารงาน และการดำเนินกิจกรรมใดๆ เพื่อเข้ามาทดแทนการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐดำเนินการหรือปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับสูงสุดนี้เน้นให้ประชาชนเป็นเจ้าของดำเนินภารกิจและ ภาครัฐมีหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุนเท่านั้น โดยโครงการจะมีการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนความรู้ สรุปบทเรียนนำปัญหาอุปสรรคที่ผ่านมาและทำการแก้ไข มีการพัฒนาช่างชุมชนในการติดตั้ง ซ่อมบำรุงระบบโซลาร์โฮม การอบรมคณะกรรมการในการออกรหัสเติมเงิน การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย โดยกลุ่มสามารถนำผลกำไรมาขยายผลเปิดรับสมาชิกใหม่ได้ด้วยตนเองทั้งหมด ชุมชนจะเกิดการสะสมประสบการณ์ มีการพัฒนาศักยภาพ สามารถยกกระดับจากการเรียนรู้ของตัวบูคคลจากการปฏิบัติ เกิดเป็นการเรียนรู้แบบกลุ่ม สู่บ้านเกาะบูโหลนดอนชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อจัดการกิจการพลังงานสะอาดด้วยตนเองอย่างยั่งยืนในที่สุด 1. **ความคิดริเริ่ม (Originality)** | | | --- | | * 1. **แนวคิดการออกแบบโครงการ** แนวคิดการพัฒนาไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์เพื่อทดแทนการใช้น้ำมันดีเซลบนเกาะ โดยพัฒนาศักยภาพชุมชนให้สามารถเป็นเจ้าของกิจการโครงการผลิตลิตไฟฟ้าในรูปแบบโซล่าโฮม DC 12 V แบบครบวงจร ประกอบด้วย ความสามารถในการเข้าถึงอุปกรณ์ที่มีคุณภาพมีมาตรฐาน การสร้างช่างชุมชนในการติดตั้ง การซ่อมบำรุง การจัดเก็บรายได้ โดยเหตุผลที่โครงการไฟฟ้าพลังงานทดแทนบ้านเกาะบูโหลนดอน จ.สตูล เลือกส่งเสริมระบบโซล่าโฮมไฟฟ้ากระแสตรง DC 12 V เนื่องจากเป็นแนวทางที่นำไปสู่ค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด หากถามว่าทำไมถึงใช้ระบบ DC ก็เพราะว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนมากใช้ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เช่น ทีวี พัดลม หลอดไฟ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์พกพา เป็นต้น ไฟฟ้าที่ระบบโซล่าเซลล์ล์ผลิตขึ้นจะอยู่ในรูปแบบ DC และจะมีการกักเก็บในรูปแบบ DC ในแบตเตอรี่ เช่นเดียวกัน หากต้องการใช้ไฟฟ้าในระบบกระแสสลับ (AC) ไฟฟ้า DC นี้จะต้องถูกแปลงเป็น AC เพื่อส่งเข้าระบบสายจำหน่ายสายส่ง และเมื่อส่งไฟฟ้าไปถึงผู้ใช้ ในที่สุดแล้ว เครื่องใช้ไฟฟ้าหลาย ๆ ตัวจะแปลงไฟฟ้า AC นี้กลับมาเป็น DC อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะเห็นได้ว่าในกระบวนการทั้งหมดนี้นำไปสู่ความสูญเสียหลายส่วน สำหรับในพื้นที่เขตเมือง ระบบและอุปกรณ์เครื่องใช้จำนวนมากทำงานภายใต้ระบบ AC ดังนั้น ระบบ AC จึงถือเป็นทางเลือกที่ดีกว่า อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ห่างไกลซึ่งต้องการเพียงแค่ทีวี พักลม หรือตู้เย็น ระบบกระแสตรง นั้นจะเป็นทางเลือกที่มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุด (ค่าใช้จ่ายสำหรับระบบ AC อาจสูงกว่าเกือบ 4 เท่า) ดังนั้น DC เป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับพื้นที่ที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ประเทศไทยเคยมีโครงการของภาครัฐเมื่อประมาณ 15 ปีที่แล้ว (ประมาณปี พ.ศ. 2546) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการทำให้ผู้คนในพื้นที่ห่างไกลได้มีไฟฟ้าใช้ อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่นัก เนื่องจากภาครัฐพยายามที่จะนำไฟฟ้าในระบบ AC ไปให้ผู้คนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ผู้คนเหล่านั้นมีความคาดหวังที่สูงกับตัวระบบที่ลงไปติดตั้ง โดยเข้าใจผิดว่าเมื่อมีระบบไฟฟ้า AC แล้วก็สามารถใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าได้ทุกอย่าง เช่น หม้อหุงข้าว (ซึ่งระบบที่ลงไปติดตั้งไม่มีกำลังเพียงพอ) ดังนั้น โครงการนี้จึงไม่ประสบความสำเร็จ และส่งผลให้ระบบโซล่าโฮมกระแสตรงในประเทศไทยไม่ได้รับการส่งเสริมและพูดถึงเท่าที่ควรสำหรับโครงการไฟฟ้าพลังงานทดแทนบ้านเกาะบูโหลนดอน เอง ได้ใช้แนวความคิดในการเลือกใช้เทคโนโลยีที่ความเหมาะสมกับพื้นที่บนพื้นฐานความพอเพียง รวมทั้งสภาพทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม โดยใช้กระบวนการดำเนินงานผ่านเครือข่ายความร่วมมือทุกภาคส่วน ได้ถอดบทเรียนจนได้ข้อสรุปดังกล่าว โดยได้มองว่าผู้คนในพื้นที่ห่างไกลก็มีกำลังซื้อในระดับหนึ่งสำหรับระบบหรืออุปกรณ์ซึ่งมีราคาไม่สูงจนเกินไป ซึ่งแนวทางนี้จะทำให้เกิดความยั่งยืนมากกว่า และสามารถแก้ปัญหาการเชื่อมโยงที่หายไป (Missing Link) ด้วยการสร้างศักยภาพชุมชนให้มีความรู้ทักษะในการจัดการเทคโนโลยีอย่างครบวงจรMissing Link* 1. **การประยุกต์ใช้งาน** รูปแบบการบริหารจัดการสมาชิกที่ได้รับการติดตั้งระบบ (Solar Home System) รูปแบบใหม่ คือ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์และแบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูง (LiFePo4) เพื่อนำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรง DC 12 V ที่ประหยัดพลังงาน ปลอดภัย บำรุงรักษาง่าย ใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยใช้รูปแบบการจ่ายเงินผ่อนชำระอุปกรณ์ ผ่านแอพพลิเคชั่นการออกรหัสเติมเงินให้สมาชิกนำรหัสไปเปิดการใช้งานที่บ้าน (Pay-As-You-Go)โดยคณะทำงานเครือข่ายความร่วมมือ ได้ทำการลงพื้นที่ ทำประชาคมและให้ความรู้ความเข้าใจโครงการกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานในระดับพื้นที่ และโดยเฉพาะประชาชนบนเกาะบูโหลนดอน จนสามารถจัดตั้งกลุ่มบริหารจัดการใน***ชื่อ “กลุ่มพลังงานทดแทนและการออมเพื่อความยั่งยืนบ้านเกาะบูโหลนดอน”*** ปัจจุบัน ณ เดือนพฤศจิกายน 2563 กลุ่มพลังงานทดแทนฯ บ.เกาะบูโหลนดอน สามารถบริหารงานให้เกิดดอกผลและขยายผลการใช้พลังงานสะอาดด้วยระบบโซลาร์โฮมรวมทั้งหมด 26 ครัวเรือน (39 ระบบ) ผ่านระบบเติมเงินแบบ Pay-As-You-Go ทำให้สามารถเก็บเงิน-ออกรหัสให้สมาชิกได้ 100% ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา กลุ่มมีกำไรสะสมอยู่ 20,150 บาท โดยคาดว่ากลุ่มจะนำกำไรสะสมต่อเดือนมาขยายสมาชิกเพิ่มจนกลายเป็นเกาะพลังงานสะอาด 100% ภายใน 3 ปี ทั้งนี้ทางกลุ่มได้เพิ่มเติมกฎระเบียบ หรือ “บทบัญญัติชุมชน” ในเรื่องของค่าติดตั้งของช่างชุมชนโดยมีค่าจ้างในการจ้างแรงงานแปรผันตามขนาดระบบที่ติดตั้งดังนี้1.ระบบแบตชุดกลาง ทั้งที่มีหรือไม่มีพัดลมก็ตาม ระบบละ 300 บาท2.ระบบแบตชุดกลางที่มีทีวี (จะมีหรือไม่มีพัดลมก็ตาม) ระบบละ 400 บาท3.ระบบชุดใหญ่ที่เป็นชุดตู้เย็นและสถานีชาร์จ ระบบละ 500 บาท4.ค่าเพิ่มทีวีพร้อมจูนจานดาวเทียมสำหรับสมาชิกเดิมที่เอาทีวีเพิ่ม ระบบละ 100 บาทกฎระเบียบและกิจกรรมคือ 1. เก็บเงินค่าบริการทุก ๆ 30 วัน หรือตรงกับทุก ๆ วันที่ 24 ของเดือน 2. เก็บเงินรวมกันที่เหรัญญิกกลุ่ม เพื่อออกรหัสเติมเงินและทำบัญชีกลุ่มที่สามารถตรวจสอบได้ 3. ตั้งค่าใช้จ่ายให้เหรัญญิก 10 บาทเป็นค่าใช้จ่ายต่อระบบ 4. สมาชิกใหม่ที่จะเข้าร่วม จะต้องวางมัดจำ 3 เดือน ของค่าบริการรายเดือนระบบนั้น ๆ ก่อนถึงจะติดตั้งให้5. หากผิดชำระค่าบริการระบบจะทำการตัดการจ่ายไฟฟ้าทันที หากคงชำระ 3 เดือน สมาชิกต้องคืนระบบให้กับกลุ่ม และกลุ่มยึดมัดจำ6. คณะทำงาน มีวาระ 2 ปี เมื่อครบกำหนดต้องเลือกตั้งใหม่ 7. เปิดบัญชีกลุ่มแบบมีอำนาจลงนาม 2 ใน 3 คือมีประธาน รองประธาน และ เหรัญญิก เป็นผู้มีอำนาจลงนามในการเบิกถอน8. มีการจัดประชุมทุกๆ เดือน โดยมีวัตถุประสงค์คือ รายงานผลประกอบการ และให้ฝ่ายตรวจสอบนำการตรวจสอบนอกจากชาวบ้านเกาะบูโหลนดอนจะได้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพ มีสเถียรภาพ และสะอาดแล้ว ยังเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพเกิดช่างชุมชนรับงานติดตั้งขยายผลระบบบนเกาะซึ่งราคาถูกกว่านำเข้าช่างจากภายนอกอีกด้วยสัดส่วนจำนวนสมาชิกที่จ่ายเงินรายเดือนค่าระบบ SHS บ้านเกาะบูโหลนดอน จำนวนสมาชิกทั้งหมด 39 ราย กระจายอยู่ใน 26 หลังคาเรือน (บางบ้านมี 2-3 ระบบ)โดยสมาชิกผู้ใช้ระบบ SHS บ้านเกาะบูโหลนดอนจะจัดอยู่ในกลุ่ม Tier 3 จะมีการใช้ไฟฟ้าขั้นต่ำประมาณ 50-800 วัตต์ หรือ คิดเป็นหน่วยไฟฟ้าที่ใช้ประมาณ 1.0-3.4 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อวัน และมีไฟฟ้าใช้ได้ไม่ต่ำกว่า 16 ชั่วโมงต่อวันหรือมากกว่าขึ้นอยู่กับชั่วโมงแสงแดดที่ได้ในวันนั้นสัดส่วนร้อยละของสมาชิกจ่ายที่จ่ายค่าบริการระบบรายเดือนแบบ \*PAYGO เข้ากลุ่มมีดังนี้ จ่าย 1300 บาท 3 คน 8% จ่าย 900 บาท 1 คน 3% จ่าย 740 บาท 1 คน 3% จ่าย 680 บาท 1 คน 3%จ่าย 360 บาท 2 คน 5% จ่าย 300 บาท 12 คน 31% จ่าย 240 บาท 1 คน 3 % จ่าย 180 บาท 8 คน 21% จ่าย 120 บาท 10 คน 26 % โดยกลุ่มจะมีรายรับเดือนละ 13,420 บาท สามารถเปิดรับสมาชิกเพิ่มได้เดือนละ 1-3 ครัวเรือน ค่าใช้จ่ายระหว่าง 180-300 บาท/เดือน จะเป็นครัวเรือนทั่วไป หลอดไฟ ทีวี พัดลมค่าใช้จ่ายระหว่าง 600-1300 บาท/เดือน จะเป็นครัวเรือนที่เป็นร้านค่าชุมชนทำธุรกิจ เช่น ตู้แช่แข็ง ตู้เย็น สถานีชาร์จ power bank เป็นต้นC:\Users\USER\Documents\เวป สสช\Bulon Don 5 Step.jpg**1.3 แนวทางการดำเนินงาน**https://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2020/12/1-32.jpgแนวทางการดำเนินงานจะใช้ความร่วมมือแบบภาคีเครือข่าย ซึ่งประกอบไปด้วยหัวหน้าทีม คือ วิสาหกิจเพื่อสังคม “ReCharge” ร่วมด้วยที่ปรึกษา คือ สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน สำนักงานปลัด กระทรวงพลังงาน องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) และสำนักงานพลังงานจังหวัดสตูล ซึ่งมีความร่วมมือในโครงการด้านพลังงาน ภายใต้แผนงานความร่วมมือไทย-เยอรมันด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Thai-German Climate Programme: Energy: TGCP-Energy) ได้มีความร่วมมือ เรื่องการพัฒนาระบบไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกล (Rural Electrification) โดยมีความร่วมมือในหัวข้อการพัฒนาระบบไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งมีการดำเนินงานที่สำคัญ คือ การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเข้าถึงไฟฟ้าทุกพื้นที่ โดยหนึ่งในกระบวนการศึกษา คือ การดำเนินโครงการในพื้นที่นำร่อง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ข้อเสนอแนะที่สามารถนำไปดำเนินการและขยายผลได้จริง โครงการนำร่องดังกล่าว คือ การพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับครัวเรือน (Solar Home System) สำหรับชุมชนเกาะบูโหลนดอน จังหวัดสตูล ซึ่งกระทรวงพลังงานและ GIZ ได้ร่วมมือกับวิสาหกิจเพื่อสังคม “ReCharge” ศึกษาสถานการณ์พลังงานบนเกาะ เพื่อขยายช่วงเวลาการผลิตไฟฟ้าบนเกาะที่ครอบคลุมความต้องการพื้นฐานในการใช้ไฟฟ้าของชุมชน อันเป็นการสนองนโยบายของกระทรวงพลังงานและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) เป้าหมายที่ 7 “พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้”โดยที่ผ่านมาได้มีการลงพื้นที่เป้าหมายเพื่อใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระหว่างเดือน มีนาคม-พฤศจิกายน 2563 ภายใต้ทุนสนับสนุนโดยตรง สถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทยDirect Aid Program (DAP) โครงการทุนสนับสนุนโดยตรง เป็นโครงการทุนสนับสนุนขนาดเล็กที่มุ่งส่งเสริมโครงการด้านการพัฒนา เป็นทุนที่ให้ประโยชน์โดยตรงแก่ผู้ต้องการความช่วยเหลือในชุมชน รวมทั้งกลุ่มผู้ด้อยโอกาส และโครงการด้านพลังงาน ภายใต้แผนงานความร่วมมือไทย-เยอรมันด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Thai-German Climate Programme: Energy: TGCP-Energy) โดยได้มีการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับภาคประชาชนในพื้นที่เพื่อบริหารจัดการระบบโซลาร์โฮม และรูปแบบการชำระเงินค่าไฟฟ้ารายเดือน หรือ ระบบ Pay as you go ที่มีการบริหารโดยกลุ่มพลังงานทดแทนและการออมเพื่อความยั่งยืน บ้านเกาะบูโหลนดอน | 1. **การพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อม** | | | --- | | **2.1 ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดหรือหลีกเลี่ยงได้**1. ประเมิน ค่า emission factor ว่า การผลิตไฟฟ้าจากดีเซล 1 kWh ใช้น้ำมันกี่ลิตร จากการคำนวณได้ตัวเลข 0.494 L/kWh 2. ประเมินว่าการ combust น้ำมันดีเซล 1 ลิตรปล่อย CO2eq เท่าไหร่ ซึ่งจาก database TGO มีค่า default emission factor อยู่แล้ว เท่ากับ 2.6987 kgCO2/L 1. เพื่อประเมินการทดแทนน้ำมันดีเซล ระบบชุดกลาง ใช้แผงขนาด 50W ใน 1 วันผลิตได้ 0.2 kWh ที่ 4 ชั่วโมง average peak หากคิด consumption ที่ 80% คือระบบนั้น ๆ จะต้องการพลังงาน 0.16 kWh หรือ 58.4 kWh ต่อปี 2. เมื่อเทียบจำนวนน้ำมันดีเซลที่ต้องใช้เพื่อให้ได้ไฟฟ้าปริมาณไฟฟ้าที่ **แบตชุดกลางผลิตได้ คือ 28.86 ลิตรต่อปี (73 kWh ต่อปี) เทียบเท่า 77.89 kgCO2 ต่อปี**1. **แบตชุดใหญ่ ทดแทน 173.18 ลิตรต่อปี (438 kWh ต่อปี) เทียบเท่า 467.36 kgCO2 ต่อปี** 1. **ทั้งเกาะ ณ วันที่ 10 พ.ย. 2563 คือ ทดแทน 1241.12 ลิตรต่อปี (3139 kWh ต่อปี) เทียบเท่า 3349.44 kgCO2 ต่อปี** **2.2 การลดการใช้ทรัพยากรและการรักษาสิ่งแวดล้อม** น้ำมันดีเซลที่ลดได้ **1241.12 ลิตรต่อปี****2.3 วัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์/มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม** 1. การใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดค่าพลังงานฟอซซิล และ **ณ วันที่ 10 พ.ย. 2563 คือ ทดแทน น้ำมันดีเซล 1241.12 ลิตรต่อปี (3139 kWh ต่อปี) เทียบเท่า 3349.44 kgCO2 ต่อปี** | 1. **การพิจารณาด้านสังคม** | | | --- | | **3.1 ผลประโยชน์ของโครงการ*****ผลประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในฐานะเจ้าของโครงการ (user or owner)*** โครงการที่บริหารจัดการโดยชุมชนเพื่อชุมชน การต่อยอดกิจการพลังงานสู่กองทุนหมุนเวียนพัฒนาชุมชนและสวัสดิการครบวงจร***ผลประโยชน์ต่อชุมชน/ประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบโครงการ (community)*** **ชุมชนเป็นเจ้าของกิจการทั้งหมด*****ผลประโยชน์ต่อประเทศ (country)*** การพัฒนาระบบไฟฟ้าสำหรับเกาะและพื้นที่ห่างไกลเป็นหนึ่งในปัจจัยขับเคลื่อนเพื่อให้ทุกประเทศบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goal: SDG) ซึ่งเป็นเป้าหมายที่จัดทำขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ โดยในเป้าหมายที่ 7 จะมีการกำหนดเรื่องพลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ ซึ่งสำหรับประเทศไทยนั้น มีข้อมูลจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ณ วันที่ 22 ตุลาคม 2563 พบว่า กฟภ. ได้ดำเนินการขยายเครือข่ายไฟฟ้าให้กับครัวเรือนทั่วประเทศคิดเป็นร้อยละ **99.21** อย่างไรก็ตาม ยังมีจำนวนครัวเรือนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้หรือไม่สามารถเข้าถึงระบบไฟฟ้าได้แบบตลอดเวลาจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในพื้นที่เขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวนแห่งชาติ หรือเขตพื้นที่ป่าในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (อส.) และพื้นที่เกาะห่างไกล ทำให้มีประเด็นละเอียดอ่อนมากมายในการดำเนินงานทั้งในเชิงข้อกฎหมายและสังคม แต่ในปัจจุบันพัฒนาการของเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้รับการพัฒนาและประยุกต์ใข้ส่งผลให้ต้นทุนของอุปกรณ์และระบบหลายประเภทที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกลมีราคาที่ลดลง เช่น มิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ และระบบกักเก็บพลังงาน เป็นต้น ประกอบกับรูปแบบทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่ได้มีการนำเข้ามาใช้ เช่น แนวทางบริหารจัดการแบบ Energy-as-a-service หรือ Pay-as-you-go เป็นต้น สามารถเข้ามามีส่วนช่วยให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการมีไฟฟ้าใช้ทุกพื้นที่ในประเทศได้อย่างสมบูรณ์ (ร้อยละ 100) ซึ่งยังจะเกื้อหนุนไปสู่ประโยชน์ร่วมด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น ต้นทุนพลังงานที่ลดลงกว่ากรณีเดิม ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น1.3 ภาคีความร่วมมือจากองค์กรระหว่างประเทศ: ที่ผ่านมาได้มีองค์กรระหว่างประเทศหลายหน่วยงานได้เข้ามาดำเนินงานในการทำให้พื้นที่ห่างไกลมีไฟฟ้าใช้ เช่น องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) Australian Aid (AUSAID) มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) โดยสามารถสรุปการดำเนินที่สำคัญโดยสังเขปได้ดังต่อไปนี้ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ได้ร่วมกับหน่วยงานภายใต้กระทรวงพลังงาน เช่น สสช. ในการศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับการพัฒนาระบบไฟฟ้าโดยมุ่งเน้นถึงปัจจัยรวมด้านต่าง ๆ เช่น ต้นทุนเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนที่ลดลง รวมถึงเน้นมิติด้านการสร้างศักยภาพในการบริหารและจัดการระบบภายในชุมชนเพื่อให้ระบบผลิตพลังงานเกิดความยั่งยืน และสามารถตอบรับกับความต้องการด้านพลังงานในพื้นที่ได้ ภายใต้ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เหมาะสมและไม่แพงจนเกินไป โดยการศึกษานี้ได้มีการนำเสนอกรณีศึกษา ได้แก่ เกาะจิก จังหวัดจันทบูรี และเกาะบูโหลนดอน จังหวัดสตูล ประเด็นการพัฒนาที่สำคัญของโครงการบนเกาะจิกคือการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการระบบและการสร้างทัศนคติความเป็นเจ้าของระบบ โดยเสริมสร้างศักยภาพให้กลุ่มผู้ใช้งานระบบไฟฟ้าสามารถบริหารการจัดเก็บค่าไฟฟ้าเพื่อใช้เป็นทุนสำหรับการซ่อมบำรุงหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ในอนาคต ในส่วนของเกาะบูโหลนดอนเป็นกรณีของดำเนินการในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติฯ ซึ่งมีข้อจำกัดในการใช้พื้นที่จึงใช้เทคโนโลยีโซลาร์โฮมเป็นหลัก แต่มีการใช้ระบบจัดเก็บค่าไฟฟ้าแบบใหม่คือ ระบบ Pay-as-you-go มาช่วยในการเก็บเงินค่าไฟฟ้าเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการดำเนินงาน มีการจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนในชุมชนสำหรับการขยายการติดตั้งระบบโซลาร์โฮมหรือเพื่อเปลี่ยนอุปกรณ์ในอนาคต สำหรับ AUSAID เป็นหน่วยงานที่ได้ให้การสนับสนุนเงินทุนในการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับการทำให้พื้นที่เกาะมีไฟฟ้าใช้ 2 โครงการ ได้แก่ โครงการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะบนเกาะจิก จังหวัดจันทบูรี และโครงการระบบโซลาร์โฮมบนเกาะบูโหลนดอน จังหวัดสตูล ซึ่งทั้งสองโครงการเป็นการให้เงินทุนสนับสนุนผ่านวิสาหกิจเพื่อชุมชน “Recharge” ในประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการ โดยมีการประสานความร่วมมือกับสำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน (สสช.) ภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน และสำนักงานพลังงานจังหวัด (สพจ.) ในส่วนของมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์นั้นเป็นผู้ให้เงินทุนสนับสนุนการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนแบบผสมผสานมาใช้งานบนเกาะ โดยมี GIZ เป็นผู้ดำเนินโครงการ ซึ่งจากการสนับสนุนดังกล่าวทำให้เกิดการลงพื้นที่บนพื้นที่เกาะบูโหลนดอนและบูโหลนเล จังหวัดสตูล และเกาะหมากน้อย จังหวัดพังงา และนำไปสู่การออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนแบบผสมผสานบนเกาะบูโหลนดอนและเกาะหมากน้อย เป็นต้น**3.2 ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม**-ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในระดับ empower แทนการดำเนินการภาครัฐอย่างครบวงจร**3.3 การมีส่วนร่วมของชุมชน/ประชาชน**โดยโครงการใช้แนวความคิดเกี่ยวกับการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเด็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารปกครองเป็นหลักคิดที่รัฐบาลในประเทศเสรีประชาธิปไตยต่างๆ ให้ความสนใจ เพราะเป็นการบริหารราชการที่ประชาชนเรียกร้อง เป็นที่ยอมรับของประชาชน และเป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย ที่มุ่งเน้นให้การบริหารราชการ การตัดสินใจ การให้บริการสาธารณะ ตลอดจนการดำเนินนโยบายสาธารณะต่างๆ เป็นไปอย่างสุจริตโปร่งใส เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ตอบสนองความต้องการของประชาชน มีการตัดสินใจที่รอบคอบ เป็นธรรม และคำนึงถึงผลประโยชน์และสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนโดยรวม การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นวิธีการหนึ่งที่จะเกิดการบริหารราชการที่สุจริตโปร่งใสมากขึ้น จากความพยายามในการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในภาครัฐมากขึ้น หน่วยงานภาครัฐจำเป็นต้องปรับระบบการบริหารราชการให้เป็นประชาธิปไตย ซึ่งเรียกว่า การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Governance) การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมหมายถึง การจัดระบบการบริหารราชการ การจัดโครงสร้าง ทัศนคติในการบริหารราชการ และการกำหนดแนวทางที่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม มีบทบาทในกระบวนการตัดสินใจทางการบริหารและการดำเนินกิจกรรมของรัฐ ทั้งทางตรงและทางอ้อม การบริหารราชการแบบมีสวนร่วมที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในภาครัฐอาจจะดำเนินการได้ในหลายมิติ ตามความเหมาะสมและความต้องการพื้นฐานของประชาชนในแต่ละสังคม องค์กรที่เรียกตนเองว่า International Association for Public Participation (IAP2) ซึ่งเป็นสถาบันนานาชาติได้ศึกษาและกำหนดระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนไว้ 5 ระดับ เพื่อที่ผู้ที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานภาครัฐจะเลือกตัดสินใจออกแบบการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม จากระดับการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในภาครัฐ ตั้งแต่ระดับการเข้ามามีส่วนร่วมที่น้อยที่สุด ถึงระดับการเข้ามามีส่วนร่วมที่มากขึ้นในระดับที่ 5 มีรายละเอียด ดังนี้ระดับที่ 1 การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐ (To Inform) เป็นระดับที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในขั้นน้อยสุดซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชนในการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานของภาครัฐ โดยหน่วยงานภาครัฐมีหน้าที่ในการนำเสนอข้อมูลที่เป็นจริง ถูกต้อง ทันสมัย และประชาชนสามารถเข้าถึงได้ระดับที่ 2 การเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการ/การปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ อย่างอิสระและเป็นระบบ โดยหน่วยงานภาครัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น การปรึกษาหารือ ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ และนำข้อเสนอแนะ ความคิดเห็น ประเด็นที่ประชาชนเป็นห่วงไปเป็นแนวทางการปรับปรุงนโยบาย การตัดสินใจ และพัฒนาวิธีการปฏิบัติงานในหน่วยงาน (To Consult)ระดับที่ 3 เป็นระดับที่หน่วยงานภาครัฐเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องในกระบวนการกำหนดนโยบาย การวางแผนงานโครงการ และวิธีการทำงาน โดยหน่วยงานภาครัฐมีหน้าที่จัดระบบ อำนวยความสะดวก ยอมรับการเสนอแนะและการตัดสินใจร่วมกับภาคประชาชน (To Involve) การมีส่วนร่วมระดับนี้มักดำเนินการในรูปแบบกรรมการที่มีตัวแทนภาคประชาชนเข้าร่วมระดับที่ 4 การที่หน่วยงานภาครัฐเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมีบทบาทเป็นหุ้นส่วนหรือภาคีในการดำเนินกิจกรรมของหน่วยงานภาครัฐ (To Collaborate) ระดับที่ 5 การเสริมอำนาจประชาชน (To Empower) เป็นระดับที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีบทบาทเต็มในการตัดสินใจ การบริหารงาน และการดำเนินกิจกรรมใดๆ เพื่อเข้ามาทดแทนการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐดำเนินการหรือปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับสูงสุดนี้เน้นให้ประชาชนเป็นเจ้าของดำเนินภารกิจและ ภาครัฐมีหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุนเท่านั้น ภาพระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนปัจจุบัน รัฐบาลไทยได้กำหนดเป็นนโยบายสำคัญในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมได้ ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนในการวัดผลการดำเนินงานของภาครัฐ โดยประเด็นเรื่องการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมเป็นหัวข้อที่ ก.พ.ร. ให้ความสนใจ โดยกำหนดแผนยุทธศาสตร์ แนวทาง และมาตรการต่างๆ เพื่อให้ระบบราชการไทยมีการพัฒนาสู่การบริหารปกครองตามระบอบประชาธิปไตยการติดตั้งอุปกรณ์ ระบบการเก็บค่าไฟฟ้า รูปแบบการดำเนินการใหม่ที่ใช้การชำระเงินรายเดือน และมีการจำลองร้านขายของชำบนเกาะซึ่งใช้เป็นจุดเติมเงิน เพื่อนำรหัสไปเปิดใช้ระบบไฟฟ้าในบ้าน พร้อมทั้งสาธิตวิธีการใช้งานระบบเติมเงินเบื้องต้นอีกด้วยดังนั้นบทเรียนแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาพลังงานระดับพื้นที่ กรณี โครงการไฟฟ้าพลังงานทดแทนบ้านเกาะบูโหลนดอน ต.ปากน้ำ จ.สตูล ในครั้งนี้จะเป็นแนวทางในการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การสะท้อนภาพปัจจุบันของสถานะการพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกลในประเทศไทยและแนวทางที่ภาครัฐต้องการขับเคลื่อนให้พื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศไทยมีไฟฟ้าใช้โดยสมบูรณ์อ่านรายละเอียดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเพิ่มเติมใน : เอกสารสรุปบทเรียนแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาพลังงานระดับพื้นที่ กรณี โครงการไฟฟ้าพลังงานทดแทน บ้านเกาะบูโหลนดอน ต.ปากน้ํา อ.ละงู จ.สตูล <http://ppp.energy.go.th/ร่าง_เอกสารสรุปบทเรียนบ/>ขั้นตอนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบไฟฟ้าพลังงานสะอาด บ้านเกาะบูโหลนดอน <http://ppp.energy.go.th/ขั้นตอนการพัฒนาพื้นที่/> | 1. **การพิจารณาด้านเทคนิค เศรษฐกิจ และการตลาด** | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | **4.1 การออกแบบด้านเทคนิค**แบ่งประเภทระบบได้ดังนี้ 1. ระบบพื้นฐาน 12 VDC ใช้ PV 50 Wp ชาร์จลงแบต Lifepo4 ความจุ 126 Wh ใช้ กับอุปกรณ์ หลอดไฟ ทีวี พัดลม 2. ระบบสถานีชาร์จ 12 VDC ใช้ PV 200 Wp ชาร์จลงแบต Lifepo4 แบตตะกั่วกรด ความจุรวม 1000 Wh สร้างรายได้จากสถานีชาร์จมือถือพร้อม Power bank 10000 mAh 12 ก้อน 3. ระบบตู้เย็น 12 VDC ใช้ PV 3000 Wp ชาร์จลงแบต Lifepo4 แบตตะกั่วกรด ความจุรวม 1000 Wh จ่ายไฟฟ้าให้กับตู้เย็น DC ฝาเดียว 6 คิว 4. ระบบตู้แช่ 24 VDC ใช้ PV 800 Wp แบตเตอรี่ Lifepo4 1800 Wh จ่ายไฟฟ้าให้กับตู้แช่ 9.1 คิว สำหรับร้านค้าชุมชน โดยสมาชิกผู้ใช้ระบบ SHS บ้านเกาะบูโหลนดอนจะจัดอยู่ในกลุ่ม Tier 3 จะมีการใช้ไฟฟ้าขั้นต่ำประมาณ 50-800 วัตต์ หรือ คิดเป็นหน่วยไฟฟ้าที่ใช้ประมาณ 1.0-3.4 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อวัน และมีไฟฟ้าใช้ได้ไม่ต่ำกว่า 16 ชั่วโมงต่อวันหรือมากกว่าขึ้นอยู่กับชั่วโมงแสงแดดที่ได้ในวันนั้น**C:\Users\USER\Pictures\Factsheet load calculation\Slide2.JPG**รูปแบบโซล่าโฮมสำหรับครัวเรือนที่ทำธุรกิจเช่า Power bank ระบบ Solar Home ขนาดกลางไม่เกิน 1,000 วัตต์ ที่เกาะบูโหลนดอน ใช้แผง 100 W 2 แผง แบต LiFePo4 ขนาด 30Ah ไฮบริดกับตะกั่วดีพ 60 Ah = 1,000 W/วัน ใช้กับอุปกรณ์ 12 V ทั้งหมด จ่ายค่าบริการเข้ากลุ่มผ่านระบบเติมเงินรายเดือน (PAY-AS-YOU-GO) ตัวอย่าง สถานีชาร์จ power bank [https://youtu.be/-qEk-FqZZqw](https://youtu.be/-qEk-FqZZqw?fbclid=IwAR2-BTGD_vgTtawiXmLb9SJVXvij95RL6EltfppUaMgw1b2NoNpDzK5aKj4)รูปแบบโซล่าโฮมแบบตู้แช่สำหรับครัวเรือนที่ทำธุรกิจร้านค้าของชำ อาหารตามสั่งไม่มีคำอธิบายรูปภาพ**4.2 ประสิทธิภาพด้านเทคนิค****4.3 ดัชนีชี้วัดด้านการลงทุน**4 years payback**4.4 รูปแบบการลงทุน/รูปแบบการดำเนินการ**แนวทางการคิดค่าบริหารจัดการระบบโซล่าโฮม แบบเติมเงิน บ้านเกาะบูโหลนดอน <http://ppp.energy.go.th/แนวทางการคิดค่าบริหารจ/>**4.5 ผู้ลงทุน/ผู้ให้การสนับสนุนโครงการ**สถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย สนับสนุนทุนจำนวน 5 แสนบาท ภายใต้โครงการ ”ทุนสนับสนุนโดยตรง” (Direct Aid Program: DAP) ทุนสนับสนุนโดยตรงเป็นโครงการทุนสนับสนุนขนาดเล็กสำหรับองค์กร ชุมชน หรือบูคคลที่ไม่แสวงหาผลกำไร ที่ทำงานเพื่อกิจกรรมด้านการพัฒนา สิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย โครงการทุนสนับสนุนโดยตรงได้สนับสนุนโครงการต่างๆ ทั่วประเทศไทย เพื่อพัฒนาชีวิตของผู้คนในสังคมอย่างเป็นรูปธรรม มีโครงการหลายโครงการที่สถานทูตฯ ได้สนับสนุนในปีที่ที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่น:- โครงการสนับสนุนการอบรมให้ความรู้ด้านความปลอดภัยจากอุบัติภัยทางน้ำแก่เด็กและเยาวชนในจังหวัดเชียงใหม่และภูเก็ต- โครงการจัดหาน้ำดื่มสะอาดแก่ผู้ด้อยโอกาสในชุมชนจังหวัดเชียงใหม่- โครงการสนับสนุนการเข้าถึงไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนของชาวบ้านในชุมชนเกาะจิก จังหวัดจันทบูรี**4.6 ขนาดและศักยภาพของตลาดหรือปริมาณการผลิต/การใช้พลังงาน ภายใน 5 ปี**อัตราการเติบโตของกิจการให้บริหารไฟฟ้าระบบโซล่าโฮมบ้านเกาะบูโหลนดอนจะสามารถเพิ่มสมาชิกได้เดือนละ 3 ครัวเรือน โดยคาดการว่าภายใน 3 ปี ครัวเรือนทั้งหมดจะได้ใช้ไฟฟ้าพลังงานสะอาดครบ 100% นอกจากนี้ในอนาคตการที่กิจการไฟฟ้าต่อนำรายได้ต่อยอดสู่กองทุนหมุนเวียนที่สมาชิกจะมีการออมต่อเนื่องเดือนละ 50 บาท เพื่อนำไปต่อยอดทำธุรกิจบริการภายในชุมชน เช่น โรงน้ำแข็ง โรงซักผ้า โรงผลิตน้ำดื่มสะอาด ไวไฟฟรี ผ่อนชำระโทรศัพท์มือถือให้บริการสมาชิกภายในเกาะ รวมทั้งจัดสวัสดิการครบวงจรเกิด แก่ เจ็บ ตาย และสินเชื่อพลังงานทดแทนเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างทำนบกั้นเงินที่ออกนอกชุมชนให้เกิดเศรษฐกิจฐานรากซื้อขาย ดูแล พึ่งพากันในชุมชนทั้งนี้ ในการดำเนินการเพื่อให้ครัวเรือนทั้งหมดในประเทศไทยมีไฟฟ้าใช้นั้นจึงต้องมีดำเนินงานแบบบูรณาการระหว่างกระทรวงหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กฟภ. และ พพ. ด้วยเหตุนี้กระทรวงพลังงานจึงได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาและขับเคลื่อนแนวทางการพัฒนาระบบไฟฟ้าสำหรับพื้นที่เกาะและพื้นที่ห่างไกลขึ้น โดยที่ผ่านมาได้มีการประชุมร่วมกันไปโดยได้มีการเชิญหน่วยงานอื่น ๆ มาร่วมให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น อส. และกรมป่าไม้ (ปม.) เพื่อศึกษาถึงสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงข้อกฎหมายที่จะเกี่ยวข้องกับการดำเนินการพัฒนาระบบไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกลให้มีความยั่งยืน ต้นทุนไม่สูงเกินไป และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด จากการประชุมคณะทำงานฯ ที่ผ่านมา หน่วยงานต่าง ๆ ได้ร่วมกันนำเสนอข้อมูลแผนและการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกลและเกาะ ทั้งในส่วนของการดำเนินงานปัจจุบันและแผนงานในอนาคต รวมถึงได้มีการหารือถึงประเด็นปัญหาและความท้าทายต่อการดำเนินงาน เช่น กฎหมายคุ้มครองพื้นที่อ่อนไหว การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม การขออนุญาตเพื่อดำเนินการในเชิงพื้นที่ ข้อจำกัดด้านเทคนิค เป็นต้น รายละเอียดการดำเนินงานในปัจจุบันและแผนการในอนาคตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถสรุปพอสังเขปได้ดังต่อไปนี้**1.1 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.):** ได้รวบรวมข้อมูลพื้นที่ซึ่ง กฟภ. ได้ดำเนินการจ่ายไฟฟ้าให้แล้วในระดับครัวเรือน โดยปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 99.21 ของจำนวนครัวเรือนทั่วประเทศ (สถานะ ณ เดือนตุลาคม 2563) รายละเอียดดังสรุปในตารางต่อไปนี้ | | | | --- | --- | | **ข้อมูลระดับครัวเรือน** | **จำนวน (ครัวเรือน)** | | **จำนวนครัวเรือนทั้งหมดทั่วประเทศ (A)** | **22,507,157** | | **จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว (B)** | **22,329,276** | | ปักเสาพาดสาย | 22,269,841 | | ใช้ไฟฟ้าระบบโซลาร์เซลล์ | 57,496 | | **คงเหลือไม่มีไฟฟ้าใช้ (C) = (A) – (B)** | | | อยู่ในพื้นที่ปกติและอยู่ระหว่างรอจัดเข้าโครงการ | 140,797 | | อยู่ในพื้นที่หวงห้าม เช่น เขตป่าสงวน เขตอุทยาน พื้นที่ปกครองราชการทหาร ฯลฯ ต้องขออนุญาตหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | 35,154 | | ไม่สามารถขยายเขตระบบไฟฟ้าได้เนื่องจากไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ กฟภ. | 1,933 | *(ที่มา : รายงานสถานะการดำเนินการจ่ายไฟหมู่บ้าน/ครัวเรือน ประจำไตรมาส 3 ปี 2563 ของ กฟภ.)*นอกจากนี้ กฟภ. มีแผนการโครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าให้พื้นที่เกาะต่าง ๆ ปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมของโครงการในแต่ละพื้นที่เกาะ**1.2 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.):** ได้มีการพัฒนาโครงการระบบไฟฟ้าแบบ off-grid บนพื้นที่ห่างไกลในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย โดยมีทั้งรูปแบบระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน โรงผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก และระบบโซลาร์โฮม อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจสถานการณ์ปัจจุบันพบว่า**มีระบบจำนวนมากที่ไม่สามารถใช้งานในการผลิตไฟฟ้าได้แล้ว เนื่องจากอุปกรณ์ชำรุดและเสื่อมสภาพลง และหน่วยงานเจ้าของระบบไม่สามารถจัดสรรเงินทุนในการบำรุงรักษาหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เสียหายหรือเสื่อมอายุได้** รวมถึงไม่มีแบบแผนการเก็บเงินค่าไฟฟ้าที่ชัดเจนและขาดการบริหารและการดูแลรักษาระบบภายในชุมชน พพ. ได้ดำเนินโครงการจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้ | **รูปแบบระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์** | **จำนวนระบบ** | | --- | --- | | 1. ระบบโซลาร์โฮม | 52 | | 2. ระบบปฏิบัติการฐานทหาร | 396 | | 3. ระบบประจุแบตเตอรี่ | 317 | | 4. ระบบสำหรับหน่วยงานในเขตป่าสงวนและอุทยานแห่งชาติ | 88 | | 5. ระบบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล | 73 | | 6. ระบบโรงเรียน | 258 | | 7. ระบบโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน | 89 | | 8. ระบบโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ | 87 | | 9. ระบบศูนย์การเรียนรู้ชุมชน | 73 | | 10. ระบบสูบน้ำ | 109 | | 11. ระบบสุขศาลาพระราชทาน | 13 | | 12. ระบบสนับสนุนสำนักงานราชการ | 4 | | **รวมทั้งสิ้น** | **1,559** | ซึ่งสามารถจำแนกเป็นหากจำแนกออกเป็นประเภทของเทคโนโลยีได้ดังสรุปในตารางต่อไปนี้ | **ประเภทเทคโนโลยี** | **จำนวนระบบ** | | --- | --- | | ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบแยกอิสระ (Solar Cell Stand alone) | 1,398 | | ระบบโซลาร์โฮม | 52 | | ระบบโซลาร์สูบน้ำ | 109 | | **รวมทั้งสิ้น** | **1,559** | | | | | --- | | **4.7 การผลิตหรือการจัดหาส่วนประกอบของระบบ**โครงการเลือกใช้เทคโนโลยี SHS แบบเติมเงินของบริษัท FOSERA : Pay-As-You-Go PAYG เป็นเทคโนโลยีที่ขจัดอุปสรรคด้านราคาล่วงหน้าของ Solar Home Systems (SHS) โดยให้ผู้ใช้จ่ายเงินในจำนวนที่เหมาะสมเมื่อเวลาผ่านไป สิ่งนี้ทำได้โดยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติมซึ่งเปิดใช้งานหรือปิดใช้งาน SHS ตามคำขอเพื่อให้ได้โครงสร้างการชำระเงินแบบเติมเงินที่คล้ายกับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้ระบบ PAYG ทำงานได้มีฟังก์ชันการล็อก / ปลดล็อกที่จำเป็นต้องรวมเข้ากับฮาร์ดแวร์ของระบบ Fosera ทั้งหมด ระบบบ้านพลังงานแสงอาทิตย์มีฟังก์ชัน PAYG รวมอยู่ด้วยประการที่สองจำเป็นต้องใช้ oftware backend PAYG เพื่อติดตามการชำระเงินของลูกค้าในฟังก์ชัน Customer Relationship Management (CRM) ซึ่งมีให้โดยผู้ให้บริการ PAYG ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ PAYG ที่เลือก backend ยังรวมถึงคลังสินค้าการจัดการบริการและฟังก์ชันอื่น ๆ อีกมากมาย**4.8 ปริมาณพลังงานฟอสซิลที่ประหยัดหรือทดแทนได้**การใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดค่าพลังงานฟอซซิล และ **ณ วันที่ 10 พ.ย. 2563 คือ ทดแทน น้ำมันดีเซล 1241.12 ลิตรต่อปี (3139 kWh ต่อปี) เทียบเท่า 3349.44 kgCO2 ต่อปี****4.9 อายุของโครงการ**10 ปี | 1. **การดำเนินงานและการบำรุงรักษา** | | | --- | | **5.1 ชั่วโมงการทำงานจริง**แผงผลิตพลังงานได้ตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็น หลังจากนั้นจะเป็นหน้าที่ของแบตเตอรี่**5.2 แผนการบำรุงรักษา**กลุ่มเก็บเงินจากสมาชิกผู้ใช้โซลาร์โฮมในอัตราตามที่กำหนดไว้ในแต่และ packageสัดส่วนจำนวนสมาชิกที่จ่ายเงินรายเดือนค่าระบบ SHS บ้านเกาะบูโหลนดอน จำนวนสมาชิกทั้งหมด 39 ราย กระจายอยู่ใน 26 หลังคาเรือน (บางบ้านมี 2-3 ระบบ)โดยสมาชิกผู้ใช้ระบบ SHS บ้านเกาะบูโหลนดอนจะจัดอยู่ในกลุ่ม Tier 3 จะมีการใช้ไฟฟ้าขั้นต่ำประมาณ 50-800 วัตต์ หรือ คิดเป็นหน่วยไฟฟ้าที่ใช้ประมาณ 1.0-3.4 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อวัน และมีไฟฟ้าใช้ได้ไม่ต่ำกว่า 16 ชั่วโมงต่อวันหรือมากกว่าขึ้นอยู่กับชั่วโมงแสงแดดที่ได้ในวันนั้นสัดส่วนร้อยละของสมาชิกจ่ายที่จ่ายค่าบริการระบบรายเดือนแบบ \*PAYGO เข้ากลุ่มมีดังนี้ จ่าย 1300 บาท 3 คน 8% จ่าย 900 บาท 1 คน 3% จ่าย 740 บาท 1 คน 3% จ่าย 680 บาท 1 คน 3%จ่าย 360 บาท 2 คน 5% จ่าย 300 บาท 12 คน 31% จ่าย 240 บาท 1 คน 3 % จ่าย 180 บาท 8 คน 21% จ่าย 120 บาท 10 คน 26 % โดยกลุ่มจะมีรายรับเดือนละ 13,420 บาท สามารถเปิดรับสามาชิกเพิ่มได้เดือนละ 1 ครัวเรือน ค่าใช้จ่ายระหว่าง 180-300 บาท/เดือน จะเป็นครัวเรือนทั่วไป หลอดไฟ ทีวี พัดลมค่าใช้จ่ายระหว่าง 600-1300 บาท/เดือน จะเป็นครัวเรือนที่เป็นร้านค่าชุมชนทำธุรกิจ เช่น ตู้แช่แข็ง ตู้เย็น สถานีชาร์จ power bank เป็นต้น**5.3 มาตรการบำรุงรักษาอื่นๆ**โครงการฝึกอบรมช่างชุมชนให้สามารถดูแลบำรุงรักษาระบบเบื้องต้นหลังหมดประกัน 3 ปี และสามารถส่งเคลมอุปกรณ์โดยตรงกับโรงงานได้ผ่านการขนส่งทางไปรษณีย์**5.4 มาตรการอนุรักษ์พลังงานและลดค่าใช้จ่าย**การใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดค่าพลังงานฟอสซิล และ **ณ วันที่ 10 พ.ย. 2563 คือ ทดแทน น้ำมันดีเซล 1241.12 ลิตรต่อปี (3139 kWh ต่อปี) เทียบเท่า 3349.44 kgCO2 ต่อปี****5.5 สัดส่วนการจัดหาวัตถุดิบ วัสดุ/อุปกรณ์ และบริการภายในประเทศ**สินค้าผลิตในประเทศไทย 100% <https://fosera.com/news/detail/fosera-thailand-working-conditions>**5.6 มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพการผลิต/การดำเนินโครงการ**นอกจากนี้เทคโนโลยี FOSERA ที่โครงการเลือกใช้ยังได้รับมาตรฐาน <https://www.lightingglobal.org/fosera-3/> ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในงานพัฒนาระดับโลกKeyword - ปกป้อง สิ่งแวดล้อม => เลือก การปกป้องสิ่งแวดล้อมสามารถรวมถึงความยั่งยืนการใช้ทรัพยากรการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัวและการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ Li ไม่เป็นโลหะหนัก FePO4 เป็นเหมือนสนิมเหล็ก ไม่เป็นพิษ ต่อสิ่งแวดล้อม บรรจุภัณฑ์ กระดาษ ไม่ใช่ พลาสติก ป้องกัน Prevent - ป้องกันหรือลดผลกระทบที่ไม่ต้องการรวมถึงโอกาสที่สภาพแวดล้อมภายนอกจะส่งผลกระทบต่อองค์กรมลภาวะ ลดการใช้น้ำ ไฟ สารเคมี ขยะที่เกิดจากการผลิต และตัวผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ ที่มีประสิทธิภาพ อายุการใช้งานยาวนานกำจัดอย่างถูกต้อง | 1. **การขยายผลหรือศักยภาพการนำไปใช้ได้อย่างแพร่หลาย** | | | --- | | **6.1 ความสอดคล้อง ผลกระทบ และประสิทธิภาพของโครงการ**Pay As You Go คือ แพลตฟอร์มการจ่ายเงิน และถ้าเราเลือก SHS 12VDC ยกตัวอย่าง ชุมชนจ่ายค่าระบบ DC 12 V 1 kw.แบตเตอรี่ต่อวัน (ทีวี หลอดไฟ พัดลม ตู้เย็น 6.5 คิว) DC จะจ่ายเดือนละ 900 บาท ถ้าตีเป็นหน่วย ไฟฟ้า คิดดังนี้ 900/30วัน=30บาท ต่อ1 unit ด้วยอุปกรณ์ DC ทำให้ใช้นานกว่าอุปกรณ์ AC 4 เท่า ดังนั้น ที่ 1000 วัตต์ 30 บาท จึงต้องหาร 4 เพื่อให้เท่ากับการใช้งาน AC คิดเป็น 7 บาทต่อ unit (พร้อมรวมค่าลงทุนอุปกรณ์แล้วทั้งหมด)หมายความว่า 1 เกาะ 100 ครัว shs dc ถึงตู้เย็น+พร้อมอุปกรณ์ให้ทุกครัวเรือนใช้เงินลงอุปกรณ์ 4 ร้าน+ ค่าพัฒนาพื้นที่ 4 คน 1 ล้านบาท ลงทุนต่อเกาะจนปิดโครงการ รวม 5 ล้าน ถ้าไมโครกริดปักเสาลากสาย จะใช้ประมาณ 15 ล้าน ยังไม่รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า AC ครัวเรือนละ 8000 บาท (ในกรณีที่เราจัดให้ทุกหลังแบบเท่าเทียม)* 1. **ต้นทุนประสิทธิผลของโครงการ** **C:\Users\USER\Documents\เวป สสช\เปรียบเทียบ Micro grid VS SHS\Slide1.JPG****C:\Users\USER\Documents\เวป สสช\เปรียบเทียบ Micro grid VS SHS\Slide2.JPG****C:\Users\USER\Documents\เวป สสช\เปรียบเทียบ Micro grid VS SHS\Slide3.JPG****C:\Users\USER\Documents\เวป สสช\เปรียบเทียบ Micro grid VS SHS\Slide4.JPG**สำหรับการใช้ระบบกระแสตรง (DC) นั้น เป็นแนวทางที่นำไปสู่ค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด หากถามว่าทำไมถึงใช้ระบบ DC ก็เพราะว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนมากใช้ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เช่น ทีวี พัดลม หลอดไฟ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์พกพา เป็นต้น ไฟฟ้าที่ระบบโซล่าเซลล์ล์ผลิตขึ้นจะอยู่ในรูปแบบ DC และจะมีการกักเก็บในรูปแบบ DC ในแบตเตอรี่ เช่นเดียวกัน หากต้องการใช้ไฟฟ้าในระบบกระแสสลับ (AC) ไฟฟ้า DC นี้จะต้องถูกแปลงเป็น AC เพื่อส่งเข้าระบบสายจำหน่ายสายส่ง และเมื่อส่งไฟฟ้าไปถึงผู้ใช้ ในที่สุดแล้ว เครื่องใช้ไฟฟ้าหลาย ๆ ตัวจะแปลงไฟฟ้า AC นี้กลับมาเป็น DC อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะเห็นได้ว่าในกระบวนการทั้งหมดนี้นำไปสู่ความสูญเสียหลายส่วน สำหรับในพื้นที่เขตเมือง ระบบและอุปกรณ์เครื่องใช้จำนวนมากทำงานภายใต้ระบบ AC ดังนั้น ระบบ AC จึงถือเป็นทางเลือกที่ดีกว่า อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ห่างไกลซึ่งต้องการเพียงแค่เครื่องทำน้ำอุ่น หรือตู้เย็น ระบบกระแสตรง นั้นจะเป็นทางเลือกที่มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุด (ค่าใช้จ่ายสำหรับระบบ AC อาจสูงกว่าเกือบ 4 เท่า) ดังนั้น DC เป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับพื้นที่ที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ประเทศไทยเคยมีโครงการของภาครัฐเมื่อประมาณ 15 ปีที่แล้ว (ประมาณปี พ.ศ. 2546) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการทำให้ผู้คนในพื้นที่ห่างไกลได้มีไฟฟ้าใช้ อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่นัก เนื่องจากภาครัฐพยายามที่จะนำไฟฟ้าในระบบ AC ไปให้ผู้คนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ผู้คนเหล่านั้นมีความคาดหวังที่สูงกับตัวระบบที่ลงไปติดตั้ง โดยเข้าใจผิดว่าเมื่อมีระบบไฟฟ้า AC แล้วก็สามารถใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าได้ทุกอย่าง เช่น หม้อหุงข้าว (ซึ่งระบบที่ลงไปติดตั้งไม่มีกำลังเพียงพอ) ดังนั้น โครงการนี้จึงไม่ประสบความสำเร็จ และส่งผลให้ระบบโซล่าโฮมกระแสตรงในประเทศไทยไม่ได้รับการส่งเสริมและพูดถึงเท่าที่ควรสำหรับโครงการไฟฟ้าพลังงานทดแทนบ้านเกาะบูโหลนดอน เอง ได้ใช้แนวความคิดและกระบวนการดำเนินงานผ่านเครือข่ายความร่วมมือทุกภาคส่วนได้ถอดบทเรียนจนได้ข้อสรุปดังกล่าว โดยได้มองว่าผู้คนในพื้นที่ห่างไกลก็มีกำลังซื้อในระดับหนึ่งสำหรับระบบหรืออุปกรณ์ซึ่งมีราคาไม่สูงจนเกินไป ซึ่งแนวทางนี้จะทำให้เกิดความยั่งยืนมากกว่า* 1. **ความยั่งยืนของโครงการ** อัตราการเติบโตของกิจการให้บริหารไฟฟ้าระบบโซล่าโฮมบ้านเกาะบูโหลนดอนจะสามารถเพิ่มสมาชิกได้เดือนละ 3 ครัวเรือน โดยคาดการว่าภายใน 3 ปี ครัวเรือนทั้งหมดจะได้ใช้ไฟฟ้าพลังงานสะอาดครบ 100% นอกจากนี้ในอนาคตการที่กิจการไฟฟ้าต่อนำรายได้ต่อยอดสู่กองทุนหมุนเวียนที่สมาชิกจะมีการออมต่อเนื่องเดือนละ 50 บาท เพื่อนำไปต่อยอดทำธุรกิจบริการภายในชุมชน เช่น โรงน้ำแข็ง โรงซักผ้า โรงผลิตน้ำดื่มสะอาด ไวไฟฟรี ผ่อนชำระโทรศัพท์มือถือให้บริการสมาชิกภายในเกาะ รวมทั้งจัดสวัสดิการครบวงจรเกิด แก่ เจ็บ ตาย และสินเชื่อพลังงานทดแทนเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างทำนบกั้นเงินที่ออกนอกชุมชนให้เกิดเศรษฐกิจฐานรากซื้อขาย ดูแล พึ่งพากันในชุมชน**6.4 ประเด็นอื่นๆ ที่มีผลต่อการขยายผลหรือการเผยแพร่โครงการ (ระบู)**ประเด็นอื่นๆ ที่มีผลต่อการขยายผลหรือการเผยแพร่โครงการ (ระบู)ประเด็นการผลักดันต้นแบบเกาะบูโหลนดอนสู่การขับเคลื่อนระดับนโยบาย เพราะยังมีจำนวนครัวเรือนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้หรือไม่สามารถเข้าถึงระบบไฟฟ้าได้แบบตลอดเวลาจำนวนมาก คาดว่าจะมีประมาณแสนกว่าครัวเรือน ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในพื้นที่เขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวนแห่งชาติ หรือเขตพื้นที่ป่าในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (อส.) และพื้นที่เกาะห่างไกล ทำให้มีประเด็นละเอียดอ่อนมากมายในการดำเนินงานทั้งในเชิงข้อกฎหมายและสังคม แต่ในปัจจุบันพัฒนาการของเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้รับการพัฒนาและประยุกต์ใข้ส่งผลให้ต้นทุนของอุปกรณ์และระบบหลายประเภทที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกลมีราคาที่ลดลง เช่น มิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ และระบบกักเก็บพลังงาน เป็นต้น ประกอบกับรูปแบบทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่ได้มีการนำเข้ามาใช้ เช่น แนวทางบริหารจัดการแบบ Energy-as-a-service หรือ Pay-as-you-go เป็นต้น สามารถเข้ามามีส่วนช่วยให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการมีไฟฟ้าใช้ทุกพื้นที่ในประเทศได้อย่างสมบูรณ์ (ร้อยละ 100) ซึ่งยังจะเกื้อหนุนไปสู่ประโยชน์ร่วมด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น ต้นทุนพลังงานที่ลดลงกว่ากรณีเดิม ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น |
{'url': 'https://data.go.th/dataset/pblpp_dataset_52_05', 'title': 'รายงานสรุปผลการดำเนินการโครงการโซล่าโฮมแบบเติมเงิน Solar Home System Pay-As-You-Go บ้านเกาะบุโหลนดอน', 'license': 'Open Data Common'}
**สถานการณ์ แนวโน้ม วิสัยทัศน์ และเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ** **๑. บทนำ** การพัฒนาประเทศไทยนับตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ เป็นต้นมา ได้ส่งผลให้ประเทศมีการพัฒนาในทุกมิติ ทั้งในด้านเศรษฐกิจที่ประเทศไทยได้รับการยกระดับเป็นประเทศในกลุ่มบน ของกลุ่มประเทศระดับรายได้ปานกลาง ในด้านสังคมที่มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนส่งผลให้ ประเทศไทยหลุดพ้นจากการเป็นประเทศยากจน และในด้านสิ่งแวดล้อมที่ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบ ในความหลากหลายเชิงนิเวศ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีความท้าทายต่อการพัฒนาที่สำคัญ อาทิ อัตรา การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี ๒๕๖๐ ที่ร้อยละ ๓.๙ ถือว่าอยู่ในระดับต่ำกว่าศักยภาพ เมื่อเทียบกับร้อยละ ๖.๐ ต่อปี ในช่วงเวลาเกือบ ๖ ทศวรรษที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุหลักจากการชะลอตัวของการลงทุนภายในประเทศและสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวได้เต็มที่ โครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่สามารถขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ภาคบริการและภาคเกษตรมีผลิตภาพการผลิตในระดับต่ำ ขาดการนำเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ประกอบกับแรงงานไทยยังมีปัญหาเรื่องคุณภาพ และสมรรถนะที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการในการขับเคลื่อนการพัฒนาของประเทศ นอกจากนั้น ศักยภาพและคุณภาพของประชากรไทยทุกช่วงวัยยังคงเป็นปัจจัยท้าทายสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ แม้ว่าการเข้าถึงระบบบริการสาธารณะ การศึกษา บริการสาธารณสุข โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ และการคุ้มครองทางสังคมอื่น ๆ ของคนไทยมีความครอบคลุมเพิ่มมากขึ้น แต่ยังคงมีปัญหาเรื่องคุณภาพ การให้บริการที่มีมาตรฐานแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ประเทศไทยยังคงมีปัญหาความเหลื่อมล้ำในหลายมิติ ขณะที่ปัญหาด้านความยากจนยังคงเป็นประเด็นท้าทายในการยกระดับการพัฒนาประเทศให้ประชาชนมีรายได้สูงขึ้นและแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันการวางกลยุทธ์ ระยะยาวในการฟื้นฟู การใช้ และการรักษาทรัพยากรอย่างบูรณาการเพื่อการพัฒนาประเทศที่ผ่านมายังขาดความชัดเจน ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศยังมีปัญหาการใช้อย่างสิ้นเปลืองและเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวข้างต้นมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐ การพัฒนาประเทศขาดความต่อเนื่องและความยืดหยุ่นในการตอบสนองต่อความต้องการและปัญหาของประชาชน ขณะที่ความมั่นคงภายในประเทศยังมีหลายประเด็นที่ต้องเสริมสร้างให้เกิดความเข้มแข็ง ลดความขัดแย้ง ทางความคิดและอุดมการณ์ที่มีรากฐานมาจากความเหลื่อมล้ำ ความไม่เสมอภาค การขาดความเชื่อมั่น ในกระบวนการยุติธรรม และปัญหาการขาดเสถียรภาพทางการเมือง ตลอดจนส่งเสริมคนในชาติให้ยึดมั่น สถาบันหลักเป็นศูนย์รวมจิตใจให้เกิดความรักความสามัคคี ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีสัดส่วนประชากรวัยแรงงานและวัยเด็ก ที่ลดลงและประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่จะทำให้การพัฒนาประเทศ ในมิติต่าง ๆ มีความท้าทายมากขึ้น ทั้งในส่วนของเสถียรภาพทางการเงินการคลังของประเทศในการจัดสวัสดิการเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น การลงทุนและการออม การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ความมั่นคงทางสังคม การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ซึ่งจะเป็นประเด็นท้าทายต่อการขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว **๒. ปัจจัยและแนวโน้มที่คาดว่าจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ** แม้ว่าประเทศไทยจะมีตำแหน่งที่ตั้งที่สามารถเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงในภูมิภาคและเป็นประตู สู่เอเชีย แต่การที่มีอาณาเขตติดกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ทำให้ปัญหาด้านเขตแดนกับประเทศ เพื่อนบ้านยังคงเป็นความท้าทายด้านความมั่นคงในอนาคต นอกจากนี้ ประเทศไทยยังคงต้องให้ความสำคัญ กับปัญหาด้านความมั่นคงอื่น ๆ ที่มีความซับซ้อน ละเอียดอ่อน และมีความเชื่อมโยงกันหลายมิติ ที่อาจเป็นประเด็นท้าทายต่อการสร้างบรรยากาศความไว้วางใจระหว่างรัฐกับประชาชนและระหว่างประชาชนกับประชาชน ซึ่งรวมถึงการสร้างความสามัคคีของคนในชาติที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประชากรไทยที่มีแนวคิดและความเชื่อที่แตกต่างกันอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ การขยายอิทธิพลและการเพิ่มบทบาทของประเทศมหาอำนาจที่อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบหลายขั้วอำนาจ หรือเกิดการย้ายขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ขณะที่องค์กรที่ไม่ใช่รัฐ อาทิ องค์การระหว่างประเทศ และบรรษัทข้ามชาติ จะมีบทบาทมากขึ้นในการกำหนดกฎ ระเบียบ ทิศทางความสัมพันธ์ และมาตรฐานสากลต่าง ๆ ทั้งในด้าน ความมั่นคง และเศรษฐกิจ รวมทั้งการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ และการเปิดเสรีในภูมิภาคที่นำไปสู่ความเชื่อมโยง ในทุกระบบ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านอาชญากรรมข้ามชาติและเศรษฐกิจนอกระบบ รวมทั้งปัญหายาเสพติด การค้ามนุษย์ และการลักลอบเข้าเมือง ในทางกลับกัน ความเปลี่ยนแปลงจากโลกาภิวัตน์และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจะก่อให้เกิดนวัตกรรมอย่างพลิกผัน อาทิ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ หุ่นยนต์และโดรน เทคโนโลยีพันธุกรรมสมัยใหม่ และเทคโนโลยีทางการเงิน ซึ่งตัวอย่างแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดเหล่านี้ คาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนหลักที่ช่วยทำให้เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะกลับมาขยายตัวได้เข้มแข็งขึ้น แนวโน้มสำคัญที่จำเป็นต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ การรวมกลุ่มทางการค้าและการลงทุนที่จะมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น การแข่งขันที่คาดว่าจะรุนแรงขึ้นในการเพิ่มผลิตภาพและสร้างความหลากหลายของสินค้า และบริการที่ตอบโจทย์รูปแบบชีวิตใหม่ ๆ นอกจากนั้น ประเทศไทยคาดว่าจะเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอดในปี ๒๕๗๔ จะก่อให้เกิดโอกาสใหม่ ๆ ในการตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคสูงอายุที่จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการคาดการณ์ว่าครอบครัวไทยจะมีขนาดเล็กลงและมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ประชากรในประเทศไทยจะมีช่วงอายุที่แตกต่างกันและจะมีกลุ่มคนช่วงอายุใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อทัศนคติและพฤติกรรม ที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเตรียมความพร้อมของประชากรให้มีคุณภาพและการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ ในการผลิตและการบริการของประเทศจะเป็นความท้าทายสำคัญในระยะต่อไป ในขณะเดียวกัน โครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมสูงวัย อาจทำให้เกิดความต้องการแรงงานต่างชาติ เพิ่มมากขึ้นเพื่อทดแทนจำนวนแรงงานไทยที่ลดลง ซึ่งปัจจัยด้านการเปิดเสรีในภูมิภาคและความก้าวหน้าของการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งในภูมิภาคจะทำให้การเคลื่อนย้ายแรงงานและการย้ายถิ่นมีความสะดวกมากขึ้น และเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายประชากรเข้าออกประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรที่มีศักยภาพซึ่งมีแนวโน้มในการเคลื่อนย้ายไปเรียนหรือทำงานในทั่วทุกมุมโลกสูงขึ้น ทั้งนี้ การย้ายถิ่นส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น จึงอาจจะเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะยังคงเป็นประเทศผู้รับของประชากรจากประเทศเพื่อนบ้าน ขณะที่ประชากรไทยโดยเฉพาะแรงงานทักษะอาจมีแรงจูงใจในการย้ายถิ่นไปยังประเทศที่มีระดับการพัฒนาที่ดีกว่า อาจทำให้การแย่งชิงแรงงานมีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคมไทย นอกจากนี้ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคาดว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งในเชิงความผันผวน ความถี่ และขอบเขตที่กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ตลอดจนระบบผลิตทางการเกษตรที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกับความมั่นคงด้านอาหารและน้ำ ขณะที่ระบบนิเวศต่าง ๆ มีแนวโน้มเสื่อมโทรมลง และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงในการสูญเสียความสามารถในการรองรับความต้องการของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี ระดับความรุนแรงของผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกและความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศต่าง ๆ ดังกล่าวที่แต่ละประเทศจะต้องเผชิญจะมีความแตกต่างกัน ทำให้การเป็นสังคมสีเขียว การรักษาและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการจะได้รับความสำคัญและความสนใจจากนานาประเทศรวมทั้งประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก รวมถึงการสร้างสมดุลความมั่นคง ด้านพลังงานและอาหารมีแนวโน้มที่จะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น กฎระเบียบและข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมจะมีความเข้มข้นและเข้มงวดขึ้น โดยกรอบการพัฒนาตามข้อตกลงระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และบันทึกความตกลงปารีส จะได้รับการนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น แนวโน้มเหล่านี้จะก่อให้เกิดความท้าทายต่อการพัฒนาประเทศในหลายมิติ ทั้งในส่วนของการจ้างงานและอาชีพ สาขาการผลิตและบริการใหม่ ๆ ความมั่นคงของประเทศอันเกิดจากภัยคุกคามและความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ที่ซับซ้อนขึ้น อาชญากรรมไซเบอร์ รูปแบบการก่อสงครามที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ การเคลื่อนย้ายอย่างเสรีและรวดเร็วของผู้คน เงินทุน ข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ เทคโนโลยี และสินค้าและบริการ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รวดเร็วและคาดการณ์ได้ยาก การเกิดขึ้นของโรคระบาด และโรคอุบัติใหม่ที่จะส่งผลให้การเฝ้าระวังด้านการสาธารณสุขในประเทศมีความสำคัญมากขึ้น อาจนำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นได้ หากไม่มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและรองรับผลกระทบต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมแบบพลิกผันที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการเข้าถึงเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน และองค์ความรู้สมัยใหม่มีระดับความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มประชากรต่าง ๆ โดยการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมดังกล่าวจะส่งผลต่อทั้งการจ้างงานและอาชีพที่จะมีรูปแบบและลักษณะงานที่เปลี่ยนไป มีความต้องการแรงงานที่มีสมรรถนะสูงเพิ่มมากขึ้น หลายอาชีพอาจหายไปจากตลาดงานในปัจจุบันและบางอาชีพจะถูกทดแทนด้วยระบบอัตโนมัติโดยเฉพาะอาชีพที่ต้องการทักษะระดับต่ำ ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงและคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ปรับตัวไม่ทันหรือขาดความรู้และทักษะที่ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป กระแสโลกาภิวัตน์ที่จะทำให้เกิดการพัฒนาขยายความเป็นเมือง วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่อาจจะมีความแปรปรวนมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจัยทั้งหมดดังกล่าวจะส่งผลให้ปัญหาความยากจน และความเหลื่อมล้ำของประเทศมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จากปัจจัยและแนวโน้มที่คาดว่าจะส่งผลต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในมิติต่าง ๆ ข้างต้น เห็นได้ว่าบริบทและสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีพลวัตสูง และมีความซับซ้อนหลากหลายมิติ ซึ่งจะส่งผลต่ออนาคตการพัฒนาประเทศอย่างมาก ดังนั้น การพัฒนาประเทศจึงจำเป็นต้องมียุทธศาสตร์การพัฒนาที่ครอบคลุมทุกมิติและทุกด้านการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง มีความร่วมมือ ในลักษณะประชารัฐจากภาคส่วนต่าง ๆ ในรูปแบบของหุ้นส่วนการพัฒนาที่เป็นการดำเนินงานอย่างบูรณาการ เนื่องจากทุกมิติการพัฒนามีความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน โดยประเทศไทยจำเป็นต้องมีทรัพยากรมนุษย์ ที่มีคุณภาพ มีความรู้ สมรรถนะ และทักษะที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ สามารถรู้เท่าทันและปรับตัวให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข มีอาชีพที่มั่นคง สร้างรายได้ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ และกติกาใหม่ ๆ และมาตรฐานที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจำเป็นต้องมี การพัฒนาระบบและปัจจัยส่งเสริมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกัน ทั้งในส่วนของระบบการเรียนการสอน และการพัฒนาทักษะฝีมือที่สอดคล้องกันกับการพัฒนาของคนในแต่ละช่วงวัย ระบบบริการสาธารณะ โครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้ประเทศไทยสามารถยกระดับเป็นเจ้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมก้าวทันโลก จากการต่อยอดการพัฒนาบนพื้นฐานนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ ส่งผลให้เกิดการสร้างห่วงโซ่มูลค่าทางเศรษฐกิจในทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร และภาคบริการ กระจายผลประโยชน์จากการพัฒนา ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ และนำไปสู่การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน ทุกภาคส่วน นอกจากนี้ ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลความมั่นคงด้านพลังงานและอาหาร รักษาไว้ซึ่งความหลากหลายเชิงนิเวศ การส่งเสริมการดำเนินชีวิตและธุรกิจ และการพัฒนาและขยายความเป็นเมือง ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมกับการมีข้อกำหนดของรูปแบบและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับลักษณะการใช้พื้นที่ที่ชัดเจน ขณะที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ กฎหมาย ระบบภาษีต้องมีกลยุทธ์การพัฒนาที่สามารถอำนวยความสะดวกและส่งเสริมให้ประเทศมีศักยภาพการแข่งขันที่สูงขึ้น และสามารถใช้จุดแข็งในเรื่องตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ มากขึ้น รวมทั้งให้ความสำคัญของการรวมกลุ่มความร่วมมือกับนานาประเทศในระดับภูมิภาคและระดับโลก เพื่อกระชับและสร้างสัมพันธไมตรี เสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต ซึ่งจะก่อให้เกิดการสร้างพลังทางเศรษฐกิจและรักษาความมั่นคงของประเทศ โดยจำเป็นต้องสร้างความพร้อมในการที่จะยกระดับมาตรฐานและมีการปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบกติกาสากลในด้านต่าง ๆ ขณะเดียวกันประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งให้มีการปฏิรูประบบราชการและการเมืองเพื่อให้เกิดการบริหารราชการที่ดีและเสถียรภาพทางการเมือง มีการส่งเสริมคนในชาติให้ยึดมั่นสถาบันหลักเป็นศูนย์รวมจิตใจเพื่อให้เกิดความรักความสามัคคี และลดความขัดแย้งภายในประเทศ โดยที่นโยบายการพัฒนาต่าง ๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับโครงสร้างและลักษณะพฤติกรรมของประชากรที่อาจจะมีความแตกต่างจากปัจจุบันมากขึ้น ดังนั้น ภายใต้เงื่อนไขโครงสร้างประชากร โครงสร้างเศรษฐกิจ สภาพสังคม สภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม และปัจจัยการพัฒนาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการวางแผนการพัฒนาที่รอบคอบ และครอบคลุม อย่างไรก็ตาม หลายประเด็นพัฒนาเป็นเรื่องที่ต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานเพื่อให้เกิด การปรับตัวซึ่งจะต้องหยั่งรากลึกลงไปถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง การขับเคลื่อนการพัฒนาให้ประเทศเจริญก้าวหน้าไปในอนาคตจึงจำเป็นต้องกำหนดวิสัยทัศน์ในระยะยาวที่ต้องบรรลุ พร้อมทั้งแนวยุทธศาสตร์หลักในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นกรอบในการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างเป็นบูรณาการบนพื้นฐานประชารัฐเพื่อยกระดับจุดแข็งและจุดเด่นของประเทศ และปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนและจุดด้อยต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ โดยยุทธศาสตร์ชาติจะเป็นเป้าหมายใหญ่ในการขับเคลื่อนประเทศ และถ่ายทอดไปสู่แผนในระดับอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ทั้งในระดับยุทธศาสตร์ ภารกิจ และพื้นที่ ซึ่งรวมถึงพื้นที่พิเศษต่าง ๆ อาทิ เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อให้การพัฒนาประเทศสามารถดำเนินการได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และ ยั่งยืน **๓. วิสัยทัศน์ประเทศไทย** **“ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”** หรือเป็นคติพจน์ประจำชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อสนองตอบต่อผลประโยชน์แห่งชาติ อันได้แก่ การมีเอกราช อธิปไตย การดำรงอยู่อย่างมั่นคง และยั่งยืนของสถาบันหลักของชาติและประชาชนจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ การอยู่ร่วมกันในชาติอย่างสันติสุขเป็นปึกแผ่น มีความมั่นคงทางสังคมท่ามกลางพหุสังคมและการมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ความเจริญเติบโตของชาติ ความเป็นธรรมและความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ความยั่งยืนของฐานทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางพลังงานและอาหาร ความสามารถในการรักษาผลประโยชน์ของชาติภายใต้การเปลี่ยนแปลง ของสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติประสานสอดคล้องกันด้านความมั่นคง ในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี **ความมั่นคง** หมายถึง การมีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยและการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศในทุกระดับ ทั้งระดับประเทศ สังคม ชุมชน ครัวเรือน และปัจเจกบุคคล และมีความมั่นคง ในทุกมิติ ทั้งมิติทางการทหาร เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการเมือง เช่น ประเทศมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีการปกครองระบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์มีความเข้มแข็งเป็นศูนย์กลางและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน มีระบบการเมืองที่มั่นคงเป็นกลไกที่นำไปสู่การบริหารประเทศที่ต่อเนื่องและโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล สังคมมีความปรองดองและความสามัคคี สามารถผนึกกำลังเพื่อพัฒนาประเทศ ชุมชนมีความเข้มแข็ง ครอบครัวมีความอบอุ่น ประชาชน มีความมั่นคงในชีวิต มีงานและรายได้ที่มั่นคงพอเพียงกับการดำรงชีวิต มีการออมสำหรับวัยเกษียณ ความมั่นคงของอาหาร พลังงาน และน้ำ มีที่อยู่อาศัย และความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน **ความมั่งคั่ง** หมายถึง ประเทศไทยมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีความยั่งยืนจนเข้าสู่กลุ่มประเทศรายได้สูง ความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาลดลง ประชากรมีความอยู่ดีมีสุขได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น และมีการพัฒนาอย่างทั่วถึงทุกภาคส่วน มีคุณภาพชีวิตตามมาตรฐาน ขององค์การสหประชาชาติ ไม่มีประชาชนที่อยู่ในภาวะความยากจน เศรษฐกิจในประเทศมีความเข้มแข็ง ขณะเดียวกันต้องมีความสามารถในการแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในตลาดโลกและตลาดภายในประเทศเพื่อให้สามารถสร้างรายได้ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ตลอดจนมีการสร้างฐานเศรษฐกิจและสังคมแห่งอนาคตเพื่อให้สอดรับกับบริบทการพัฒนาที่เปลี่ยนแปลงไป และประเทศไทยมีบทบาทที่สำคัญในเวทีโลก และมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าอย่างแน่นแฟ้นกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย เป็นจุดสำคัญของ การเชื่อมโยงในภูมิภาค ทั้งการคมนาคมขนส่ง การผลิต การค้า การลงทุน และการทำธุรกิจ เพื่อให้เป็นพลัง ในการพัฒนา นอกจากนี้ ยังมีความสมบูรณ์ในทุนที่จะสามารถสร้างการพัฒนาต่อเนื่องไปได้ ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางการเงิน ทุนที่เป็นเครื่องมือเครื่องจักร ทุนทางสังคม และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม **ความยั่งยืน** หมายถึง การพัฒนาที่สามารถสร้างความเจริญ รายได้ และคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่อยู่บนหลักการใช้ การรักษาและการฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติจนเกินพอดี ไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมจนเกินความสามารถในการรองรับและเยียวยาของระบบนิเวศ การผลิตและการบริโภคเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทรัพยากรธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นและสิ่งแวดล้อม มีคุณภาพดีขึ้น คนมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเอื้ออาทร เสียสละเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม รัฐบาล มีนโยบายที่มุ่งประโยชน์ส่วนรวมอย่างยั่งยืน และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และทุกภาคส่วนในสังคมยึดถือและปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างสมดุล มีเสถียรภาพ และยั่งยืน **** โดยมีเป้าหมายการพัฒนาประเทศ คือ **“ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน”** โดยยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ พัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ สร้างโอกาสและความเสมอภาค ทางสังคม สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม โดยการประเมินผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย ๑) ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย ๒) ขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้ ๓) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ๔) ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคม ๕) ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ ๖) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐ **๔. ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติ** เพื่อให้ประเทศไทยสามารถยกระดับการพัฒนาให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ **“ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”** และเป้าหมายการพัฒนาประเทศข้างต้น จึงจำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศระยะยาวที่จะทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ในทุกมิติทุกรูปแบบและทุกระดับ ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการของประเทศได้รับการพัฒนายกระดับไปสู่การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสร้างมูลค่าเพิ่ม และพัฒนากลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ที่จะสร้างและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ เพื่อยกระดับฐานรายได้ของประชาชนในภาพรวมและกระจายผลประโยชน์ไปสู่ภาคส่วนต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม คนไทยได้รับการพัฒนา ให้เป็นคนดี เก่ง มีวินัย คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม และมีศักยภาพในการคิดวิเคราะห์ สามารถ “รู้ รับ ปรับใช้” เทคโนโลยีใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง สามารถเข้าถึงบริการพื้นฐาน ระบบสวัสดิการ และกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง การพัฒนาประเทศในช่วงระยะเวลาของยุทธศาสตร์ชาติ จะมุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในรูปแบบ“ประชารัฐ” โดยประกอบด้วย ๖ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดยแต่ละยุทธศาสตร์มีเป้าหมายและประเด็นการพัฒนา ดังนี้ **๔.๑ ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง** มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญ คือ ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เน้นการบริหารจัดการสภาวะแวดล้อมของประเทศให้มีความมั่นคง ปลอดภัย เอกราช อธิปไตย และมีความสงบเรียบร้อยในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชาติ สังคม ชุมชน มุ่งเน้นการพัฒนาคน เครื่องมือ เทคโนโลยี และระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ให้มีความพร้อมสามารถรับมือกับภัยคุกคามและภัยพิบัติ ได้ทุกรูปแบบ และทุกระดับความรุนแรง ควบคู่ไปกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงที่มีอยู่ ในปัจจุบัน และที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ใช้กลไกการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการทั้งกับส่วนราชการ ภาคเอกชน ประชาสังคม และองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศทั่วโลกบนพื้นฐานของหลัก ธรรมาภิบาล เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการดำเนินการของยุทธศาสตร์ชาติด้านอื่น ๆ ให้สามารถขับเคลื่อน ไปได้ตามทิศทางและเป้าหมายที่กำหนด **๔.๒ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน** มีเป้าหมายการพัฒนาที่มุ่งเน้น การยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ บนพื้นฐานแนวคิด ๓ ประการ ได้แก่ (๑) “ต่อยอดอดีต” โดยมองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และจุดเด่นทางทรัพยากร ธรรมชาติที่หลากหลาย รวมทั้งความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศในด้านอื่น ๆ นำมาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลกสมัยใหม่ (๒) “ปรับปัจจุบัน” เพื่อปูทางสู่อนาคต ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่าง ๆ ทั้งโครงข่ายระบบคมนาคมและขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และดิจิทัล และการปรับสภาพแวดล้อม ให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอนาคต และ (๓) “สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต” ด้วยการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ พัฒนาคนรุ่นใหม่ รวมถึงปรับรูปแบบธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ ของตลาด ผสมผสานกับยุทธศาสตร์ที่รองรับอนาคต บนพื้นฐานของการต่อยอดอดีตและปรับปัจจุบัน พร้อมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐให้ประเทศไทยสามารถสร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก ควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี รวมถึงการเพิ่มขึ้น ของคนชั้นกลาง และลดความเหลื่อมล้ำของคนในประเทศได้ในคราวเดียวกัน **๔.๓ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์** มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ โดยคนไทยมีความพร้อมทั้ง กาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะรับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรม และเป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ มีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาที่สามและอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่และอื่น ๆ โดยมีสัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง **๔.๔ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม** มีเป้าหมายการพัฒนา ที่สำคัญที่ให้ความสำคัญกับการดึงเอาพลังของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น มาร่วมขับเคลื่อน โดยการสนับสนุนการรวมตัวของประชาชนในการร่วมคิดร่วมทำเพื่อส่วนรวม การกระจายอำนาจและความรับผิดชอบไปสู่กลไกบริหารราชการแผ่นดินในระดับท้องถิ่น การเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของชุมชนในการจัดการตนเอง และการเตรียมความพร้อมของประชากรไทยทั้งในมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อมให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพ สามารถพึ่งตนเองและทำประโยชน์แก่ครอบครัว ชุมชน และสังคมให้นานที่สุด โดยรัฐให้หลักประกันการเข้าถึงบริการและสวัสดิการที่มีคุณภาพอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง **๔.๕ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม** มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาล และความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างกันทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างบูรณาการ ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในการกำหนดกลยุทธ์และแผนงาน และการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในแบบทางตรงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเป็นการดำเนินการบนพื้นฐานการเติบโตร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต โดยให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลทั้ง ๓ ด้าน อันจะนำไปสู่ ความยั่งยืนเพื่อคนรุ่นต่อไปอย่างแท้จริง **๔.๖ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ** มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อปรับเปลี่ยนภาครัฐที่ยึดหลัก “ภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม” โดยภาครัฐต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจ แยกแยะบทบาทหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ ในการกำกับหรือในการให้บริการในระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขัน มีสมรรถนะสูง ยึดหลักธรรมาภิบาล ปรับวัฒนธรรมการทำงานให้มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม มีความทันสมัย และพร้อมที่จะปรับตัว ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบการทำงานที่เป็นดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่า และปฏิบัติงานเทียบได้กับมาตรฐานสากล รวมทั้ง มีลักษณะเปิดกว้าง เชื่อมโยงถึงกันและเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส โดยทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมกันปลูกฝังค่านิยม ความซื่อสัตย์สุจริต ความมัธยัสถ์ และสร้างจิตสำนึกในการปฏิเสธไม่ยอมรับการทุจริตประพฤติมิชอบ อย่างสิ้นเชิง นอกจากนั้น กฎหมายต้องมีความชัดเจน มีเพียงเท่าที่จำเป็น มีความทันสมัย มีความเป็นสากล มีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำและเอื้อต่อการพัฒนา โดยกระบวนการยุติธรรมมีการบริหาร ที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และการอำนวยความยุติธรรมตามหลักนิติธรรม **ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง** **๑. บทนำ** ความมั่นคงถือเป็นเป้าหมายสำคัญสูงสุดของทุกสังคมในทุกยุคทุกสมัย โดยกรอบแนวคิดความมั่นคง ให้น้ำหนักความสำคัญกับมิติที่เกี่ยวข้อง ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการทหาร แตกต่างกันไปตามบริบทแวดล้อมของแต่ละห้วงเวลา ปัจจุบันในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ส่งผลให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดและพลิกผัน ได้ทำให้มิติทั้งปวงถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างไม่อาจแบ่งแยกได้ ด้วยเหตุนี้ กรอบแนวคิดความมั่นคงแบบเดิมจึงถูกปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม เป็นกรอบแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า “ความมั่นคงแบบองค์รวม” ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคงจึงมีเป้าหมายสำคัญเพื่อ บริหารจัดการสภาวะแวดล้อมของประเทศให้มีความมั่นคง ปลอดภัย และมีความสงบเรียบร้อยในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชาติ สังคม ชุมชน ไปจนถึงระดับความมั่นคงของมนุษย์ และทุกมิติ ให้มีความพร้อมสามารถรับมือกับภัยคุกคามและภัยพิบัติได้ทุกรูปแบบ และทุกระดับความรุนแรง ควบคู่ไปกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ใช้กลไกการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการทั้งกับส่วนราชการ ภาคเอกชน ประชาสังคม และองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศทั่วโลก บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล เพื่อมุ่งที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการดำเนินการของยุทธศาสตร์ชาติ ด้านอื่น ๆ ให้สามารถขับเคลื่อนไปได้ตามทิศทางและเป้าหมายที่กำหนด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคงจึงได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ให้ความสำคัญกับการรักษาความสงบภายในประเทศ เพื่อปรับสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงให้ประเทศ มีความสงบเรียบร้อยและสันติสุข ในขณะเดียวกันก็จะต้องมีการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อ ความมั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาการค้ามนุษย์ ปัญหาการขาดเสถียรภาพทางการเมือง ปัญหาความไม่สงบในบางพื้นที่ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาใหม่ เช่น ปัญหาที่เกิดจากความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมแบบพลิกผัน ปัญหาการแข่งขันทางการค้าและการย้ายถิ่นของทุนข้ามชาติ นอกจากนี้ เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวสามารถบรรลุผลที่เป็นรูปธรรมทั้งปัจจุบันและในอนาคต จึงมี ความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมเผชิญภัยคุกคามที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ ด้วยการยกระดับขีดความสามารถของกองทัพ หน่วยงานด้านความมั่นคง รวมทั้งภาครัฐและภาคประชาชน ให้มีความพร้อมและเพียงพอในการป้องกันและรักษาอธิปไตยของประเทศ รวมทั้งสามารถติดตาม ป้องกัน แก้ไข และรับมือกับปัญหาความมั่นคงและภัยพิบัติทุกมิติ ทุกรูปแบบ และทุกระดับ อย่างบูรณาการทั้งภายในประเทศ ตลอดจนบูรณาการความร่วมมือด้านความมั่นคงกับอาเซียนและนานาชาติ รวมถึงองค์กรภาครัฐและที่มิใช่ภาครัฐ เพื่อเสริมสร้างความสงบ สันติสุข ความมั่นคง และความเจริญก้าวหน้า ให้กับประเทศชาติ ภูมิภาค และโลก อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวจะประสบผลสำเร็จได้จะต้องมีการพัฒนาปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม เป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านต่าง ๆ ให้สามารถขับเคลื่อนไปได้ตามทิศทางและเป้าหมาย ที่กำหนดอย่างแท้จริง ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคงมีเป้าหมายสำคัญในภาพรวมระยะ ๒๐ ปีที่เป็นรูปธรรมชัดเจน คือ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข” โดยเร่งเสริมสร้างความเข้มแข็งและความรักความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ตลอดถึงการปลุกจิตสำนึกด้านความมั่นคงให้เกิดขึ้นในประชาชนทุกระดับ การพัฒนาระบบงานด้านการข่าวให้มุ่งเน้นการบูรณาการข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคงอย่างเป็นระบบ การพัฒนาปรับปรุงกลไก การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง และกลไกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงให้มีเอกภาพ มีประสิทธิภาพ และมีการบูรณาการการดำเนินงานอย่างแท้จริง โดยปัญหาความมั่นคงเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการแก้ไข ประกอบด้วย ปัญหาความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหายาเสพติด ปัญหา ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์ และปัญหาการทุจริตในระบบราชการ **๒. เป้าหมาย** **๒.๑** ประชาชนอยู่ดี กินดี และมีความสุข **๒.๒** บ้านเมืองมีความมั่นคงในทุกมิติและทุกระดับ **๒.๓** กองทัพ หน่วยงานด้านความมั่นคง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน มีความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคง **๒.๔** ประเทศไทยมีบทบาทด้านความมั่นคงเป็นที่ชื่นชมและได้รับการยอมรับโดยประชาคมระหว่างประเทศ **๒.๕** การบริหารจัดการความมั่นคงมีผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ **๓. ตัวชี้วัด** **๓.๑** ความสุขของประชากรไทย **๓.๒** ความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ **๓.๓** ความพร้อมของกองทัพ หน่วยงานด้านความมั่นคง และการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคง **๓.๔** บทบาทและการยอมรับในด้านความมั่นคงของไทยในประชาคมระหว่างประเทศ **๓.๕** ประสิทธิภาพการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม **๔. ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง** **๔.๑ การรักษาความสงบภายในประเทศ** เพื่อสร้างเสริมความสงบเรียบร้อยและสันติสุขให้เกิดขึ้นกับประเทศชาติบ้านเมือง ให้สถาบันหลักมีความมั่นคง เป็นจุดศูนย์รวมจิตใจอย่างยั่งยืน ประชาชนอยู่ดีมีสุข มีความมั่นคงปลอดภัยทั้งในชีวิตและทรัพย์สิน สังคมมีความเข้มแข็ง สามัคคีปรองดอง และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันพร้อมที่จะร่วมแก้ไขปัญหาของชาติ **๔.๑.๑ การพัฒนาและเสริมสร้างคนในทุกภาคส่วนให้มีความเข้มแข็ง มีความพร้อมตระหนักในเรื่องความมั่นคง และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา** เพื่อให้คนไทยทุกคนในทุกภาคส่วน มีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีอาชีพการงานและรายได้ที่เพียงพอ ได้รับโอกาสและความเสมอภาคอย่าง เท่าเทียม มีความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ มีจิตสาธารณะ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เข้าใจปัญหาสำคัญของสังคม มีความรักความสามัคคี ตระหนักและให้ความสำคัญกับความมั่นคงของชาติ และพร้อมเข้า มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศ ตลอดจนช่วยเหลือประชาชน โดยการอำนวยความปลอดภัย อย่างกว้างขวางและครอบคลุม ปลูกฝังจิตสำนึกและคุณสมบัติพื้นฐานคนไทยที่ดีให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรม สร้างเสริมความรักความสามัคคี ความตระหนักถึงหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ ตลอดจน การมีส่วนในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงและพัฒนาประเทศ ให้กับทุกภาคส่วนทั้งประชาชน ตำรวจ ทหาร และหน่วยงานด้านความมั่นคงอื่น ๆ ผ่านทางโครงการ กิจกรรม และการรณรงค์ต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงการดำเนินการอื่นทุกวิถีทางที่เหมาะสม อย่างต่อเนื่องและจริงจังจนประสบผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับอย่างชัดเจน **๔.๑.๒ การพัฒนาและเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติ** เพื่อให้คนในชาติ มีจิตสำนึกรักและหวงแหน มุ่งจงรักภักดี พร้อมธำรงรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ให้เป็น สิ่งยึดเหนี่ยวและศูนย์รวมจิตใจหนึ่งเดียวกันของคนทั้งชาติ โดยปลูกฝังและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสถาบันหลักของชาติ รณรงค์เสริมสร้างความรักและภาคภูมิใจในความเป็นคนไทยและชาติไทย ผ่านทางกลไกต่าง ๆ รวมถึงการศึกษาประวัติศาสตร์ในเชิงสร้างสรรค์ น้อมนำและเผยแพร่ศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงแนวทางพระราชดำริต่าง ๆ ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และนำไปประยุกต์ปฏิบัติใช้อย่างกว้างขวาง จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติและพระราชกรณียกิจอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนส่งเสริม ให้ยึดถือหลักคำสอนซึ่งเป็นแก่นแท้หรือคำสอนที่ถูกต้องของศาสนามาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาที่จะช่วยพัฒนาทั้งจิตใจและปัญญา รวมทั้งต้องจัดให้มีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด การส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าวด้วย ตลอดจนอุปถัมภ์ค้ำจุนศาสนาอื่นให้มุ่งเน้นการสั่งสอนคนให้เป็นคนดี รักความสงบสันติสุข พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในการสร้างความมั่นคงให้กับประเทศชาติบ้านเมือง และช่วยเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันของคนต่างศาสนาอย่างปรองดอง ไม่ให้เกิดการแบ่งแยกแตกต่าง **๔.๑.๓ การพัฒนาและเสริมสร้างการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขที่มีเสถียรภาพและมีธรรมาภิบาล เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติมากกว่าประโยชน์ ส่วนตน** เพื่อให้การบริหารจัดการบ้านเมืองและการปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่สอดคล้องกับบริบทของไทย เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญ ก้าวหน้าได้อย่างยั่งยืนตามเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งได้ผู้นำและนักการเมืองที่เป็นคนดี คนเก่ง มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมสูง และกล้าตัดสินใจ โดยปลูกฝังให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมอย่างถูกต้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในบริบทของไทย ส่งเสริมให้นักการเมืองมีคุณภาพ เป็นคนดีมีคุณธรรม มีความรู้ความสามารถ เห็นประโยชน์ของประเทศชาติมากกว่าประโยชน์ส่วนตัวและของพรรคพวกเพื่อนพ้อง เสริมสร้างพรรคการเมืองและสถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้มีนโยบาย แนวคิด และการบริหารจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาลสากล ไปจนถึงพัฒนาปรับปรุงระบบการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพ สามารถจัดการเลือกตั้งได้อย่างสุจริตและเที่ยงธรรม มีกลไกแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและสร้างความสามัคคีปรองดอง จนสามารถคัดกรองคนดี คนเก่ง มีความรู้ความสามารถ และกล้าตัดสินใจ เข้ามาบริหารประเทศให้มุ่งไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงและสอดคล้องเหมาะสมกับสังคมไทย **๔.๑.๔ การพัฒนาและเสริมสร้างกลไกที่สามารถป้องกันและขจัดสาเหตุของประเด็นปัญหาความมั่นคงที่สำคัญ** เพื่อให้ประเทศชาติมีกลไกเฉพาะเจาะจงที่มีประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขต้นเหตุที่เป็นรากเหง้าของปัญหาภายในประเทศทั้งปวงให้หมดไป มีการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างจริงจัง และทำให้เกิดความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม โดยพัฒนาปรับปรุงกลไกและหน่วยงาน ด้านความมั่นคงที่มีอยู่เดิม เช่น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เป็นต้น หรือที่ต้องออกแบบใหม่ให้มีประสิทธิภาพ พร้อมรองรับปัญหาความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ได้ทุกมิติ กำหนดและเสริมสร้างบทบาทของหน่วยงาน องค์กร หรือคณะกรรมการที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน สามารถตรวจสอบวิธีการดำเนินงาน การบูรณาการการปฏิบัติ ให้สอดคล้อง เกื้อกูล และต่อเนื่องกัน ตลอดไปจนถึงสามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่สาเหตุได้อย่างแท้จริง **๔.๒ การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง** เพื่อแก้ไขปัญหาเดิมที่มีอยู่อย่าง ตรงประเด็นจนหมดไปอย่างรวดเร็ว และป้องกันไม่ให้ปัญหาใหม่เกิดขึ้นอันจะส่งผลให้การบริหารจัดการและการพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน ดำเนินการไปได้อย่างต่อเนื่องและราบรื่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน **๔.๒.๑ การแก้ไขปัญหาความมั่นคงในปัจจุบัน** เพื่อให้ปัญหาเดิมที่มีอยู่ได้รับการแก้ไข อย่างจริงจัง จนยุติลง หรือไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศชาติ รวมทั้งให้การบริหารและการพัฒนาบ้านเมืองเดินหน้าไปได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ โดยผลักดันการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาของ ทุกภาคส่วนในทุกประเด็นอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมการหารือ วางแผน และยกระดับวิธีการแก้ไขปัญหาที่อาศัยการผนึกกำลังคนและทรัพยากรให้มีส่วนร่วมแบบบูรณาการอย่างแท้จริง เสริมสร้างความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานหลักและรองในการป้องกัน แก้ไขปัญหา และช่วยเหลือประชาชน ทั้งจากภัยคุกคามและปัญหาที่ส่งผลต่อความมั่นคงต่าง ๆ เช่น การก่อการร้าย อาชญากรรมทางไซเบอร์ การฟอกเงิน การค้ามนุษย์ การหลบหนี เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย การลักลอบค้าสินค้าเถื่อน การค้าและการแพร่ระบาดของยาเสพติด การขยายอำนาจหรือแข่งขันกันทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง รวมไปถึงปัญหาการรุกเข้ามาอย่างรวดเร็วของทุนขนาดใหญ่ เทคโนโลยียุคใหม่ การย้ายถิ่นของทุนและแรงงานข้ามชาติ ที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติและ ความมั่นคงของมนุษย์ ปัญหาภัยพิบัติสำคัญ ที่ทำให้จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการความมั่นคง รวมไปถึง การส่งเสริมผลักดันหลักการ นโยบาย ยุทธศาสตร์ ตลอดถึงโครงการสำคัญของประเทศให้บรรลุผลสำเร็จ ตามเป้าหมายที่กำหนด **๔.๒.๒ การติดตาม เฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่อาจอุบัติขึ้นใหม่** เพื่อให้ทราบสถานการณ์ล่วงหน้า และสามารถแก้ไขปัญหาและภัยคุกคามในอนาคตได้ทันท่วงทีก่อนที่จะลุกลามต่อไป รวมทั้งป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการบริหารและพัฒนาประเทศ โดยเสริมสร้างศักยภาพและความพร้อม ในทุกด้าน ทั้งคน เครื่องมือ ยุทโธปกรณ์ แผน งบประมาณ ระบบควบคุมบังคับบัญชา ระบบงานด้านการข่าวกรอง เทคโนโลยี ข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบเฝ้าตรวจและแจ้งเตือนต่าง ๆ ของหน่วยงานหลักและหน่วยงานรอง ตั้งแต่ขั้นการติดตาม เฝ้าระวัง แจ้งเตือน วิเคราะห์ กำหนดแนวทางป้องกัน ไปจนถึงขั้นการลงมือแก้ไขปัญหาความมั่นคงที่สำคัญต่าง ๆ รวมทั้งการติดตามและประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพในทุกขั้นตอน เสริมสร้างพลังของประชาชนและชุมชนให้ร่วมกับกำลังตำรวจ ทหาร และหน่วยงานด้านความมั่นคงอื่น ๆ ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสำคัญต่าง ๆ อาทิ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ การแผ่อิทธิพลทางเศรษฐกิจของมหาอำนาจ และการย้ายถิ่นของทุนข้ามชาติที่อาจกระทบต่อความมั่นคง ไปจนถึงติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานของส่วนราชการต่าง ๆ ให้ดำเนินการไปตามเป้าหมายการบริหารจัดการและพัฒนาประเทศที่กำหนดอย่างราบรื่น **๔.๒.๓ การสร้างความปลอดภัยและความสันติสุขอย่างถาวรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้** เพื่อให้ปัญหาความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับการแก้ไขจนเกิดความสงบและสันติสุขอย่างยั่งยืน ประชาชนในพื้นที่มีความปลอดภัยทั้งในชีวิตและทรัพย์สิน อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม รวมทั้งได้รับการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันกับภาคอื่น ๆ โดยยกระดับการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงอย่างมีเอกภาพ ครอบคลุมทุกพื้นที่และทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการบูรณาการ ความเชื่อมโยงระหว่างประเด็นเชิงยุทธศาสตร์และเชิงพื้นที่ แผนการดำเนินงาน การลงมือปฏิบัติ ตลอดถึงการติดตาม ประเมิน และรายงานผลอย่างสอดคล้องต่อเนื่องกันทุกระดับ ส่งเสริมและอำนวยความยุติธรรม ประสิทธิภาพในการเข้าแก้ไขปัญหา สภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการลดความรุนแรง รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคประชาสังคมในพื้นที่อย่างเหมาะสม มุ่งเน้นการขจัดปัญหาความขัดแย้งและความไม่เป็นธรรมให้ได้อย่างจริงจังและถาวร ส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ให้เข้มแข็งจนเป็นพลังสำคัญในการปกป้องและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อไป พร้อมเสริมสร้างความเข้าใจกับกลุ่มเห็นต่างตามแนวทางสันติวิธี ผ่านกลไกต่าง ๆ รวมไปถึงการพูดคุยกันอย่างเป็นมิตร ผลักดันให้มีการยึดถือคำสอนที่ถูกต้องของศาสนามาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต พร้อมดูแลและป้องกันมิให้มีการบิดเบือนคำสอนของศาสนาไปในทางที่ไม่ถูกต้อง อันจะนำไปสู่การปฏิบัติที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชน และความมั่นคงของประเทศ มีการส่งเสริมให้ภาคประชาสังคมร่วมมือกับภาครัฐในการพัฒนาพื้นที่อย่างเข้มแข็ง ต่อเนื่อง และสอดคล้องกับความต้องการของทุกกลุ่มประชาชนโดยเฉพาะเยาวชน ตามยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งศาสตร์พระราชา รวมถึงการสร้างเสริมโอกาสในการเข้าถึงการบริการต่าง ๆ ของรัฐให้ทัดเทียมกับภูมิภาคอื่น ๆ **๔.๒.๔ การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งทางบกและทางทะเล** เพื่อให้ผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งทางบก และทางทะเล สามารถดำรงอยู่ได้ มีความอุดมสมบูรณ์ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชน สังคม รวมถึงประเทศชาติอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมศักยภาพและความเข้มแข็งของกองทัพ หน่วยงานเกี่ยวข้อง และภาคประชาชน ให้สามารถพัฒนาสมุททานุภาพของประเทศ ควบคู่ไปกับการมีส่วนร่วมในกระบวนการสมุทราภิบาลในการบริหารจัดการ ปกป้อง และดูแลรักษาผลประโยชน์ทั้งมวลของชาติ เสริมสร้างและบริหารจัดการ ความมั่นคงทั้งชายแดนทางบก ทะเลอาณาเขต และเขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทยอย่างบูรณาการและเป็นระบบ รวมไปถึงการพัฒนาระบบเฝ้าตรวจติดตาม ระบบตรวจคนเข้าเมือง การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก และการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาเขตแดนทางทะเล สร้างเสริมให้เจ้าหน้าที่รัฐมีบทบาทและขีดความสามารถ ที่เหมาะสม มีการดำเนินการต่าง ๆ และสอดส่องดูแลอย่างต่อเนื่อง กำหนดพื้นที่อนุรักษ์อย่างถูกต้องและเป็นระบบ สร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนในเรื่องการให้ความสำคัญกับฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ การจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรม ตลอดถึงแนวพระราชดำริในการอนุรักษ์ พัฒนา ฟื้นฟู ป้องกัน และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ จนเกิดความรัก หวงแหน และมีส่วนร่วมในการดำเนินการต่าง ๆ อย่างเข้มแข็งยั่งยืน **๔.๓ การพัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมเผชิญภัยคุกคามที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ** เพื่อยกระดับขีดความสามารถของกองทัพและหน่วยงานด้านความมั่นคงทั้งระบบของประเทศ ให้มีความพร้อมในการป้องกันและรักษาอธิปไตยของประเทศ รวมทั้งสามารถติดตาม ป้องกัน แก้ไข และรับมือกับปัญหา ความมั่นคงทุกมิติทุกรูปแบบและทุกระดับแบบบูรณาการให้มีความพร้อมและเพียงพอต่อการป้องกันภัยคุกคามทุกมิติ ทุกรูปแบบ และทุกระดับความรุนแรง **๔.๓.๑ การพัฒนาระบบงานข่าวกรองแห่งชาติแบบบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพ** เพื่อให้สามารถติดตาม แจ้งเตือน ระงับยับยั้ง และป้องกันปัญหาและภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถประเมินสถานการณ์ได้ถูกต้อง แม่นยำ และทันเวลา โดยเสริมสร้าง พัฒนา และบูรณาการขีดความสามารถ ของระบบงานข่าวกรอง หน่วยงานข่าวกรอง และประชาคมข่าวกรองในประเทศให้ทันสมัย ทันสถานการณ์ ทั้งด้านศักยภาพของบุคลากร ยุทโธปกรณ์ เทคโนโลยี และระบบข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถครอบคลุมการใช้งานได้อย่างครบถ้วนและต่อเนื่อง มีการบูรณาการข้อมูลและนำผลผลิตด้านข่าวกรองไปใช้ในการบริหารจัดการปัญหาและความมั่นคงของชาติในทุกมิติและทุกด้าน รวมทั้งให้มีการเสริมสร้างความร่วมมือกับภาคประชาชน ในรูปแบบประชารัฐ และประชาคมข่าวกรองต่างประเทศอย่างแน่นแฟ้น **๔.๓.๒ การพัฒนาและผนึกพลังอำนาจแห่งชาติ กองทัพและหน่วยงานความมั่นคง รวมทั้งภาครัฐและภาคประชาชน ให้พร้อมป้องกันและรักษาอธิปไตยของประเทศ และเผชิญกับภัยคุกคามได้ทุกมิติทุกรูปแบบและทุกระดับ** เพื่อให้ทรัพยากรที่สำคัญและจำเป็นทั้งปวงของกองทัพและหน่วยงานความมั่นคง ได้รับการพัฒนา เสริมสร้างศักยภาพ ให้มีความพร้อม เพียงพอ และเป็นรูปธรรม ทั้งคน เครื่องมือ ยุทโธปกรณ์ รวมทั้งระบบบริหารจัดการในการป้องกันประเทศ และการป้องกันภัยคุกคามทุกมิติ ทุกรูปแบบ และทุกระดับความรุนแรง ตลอดจนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สามารถระดมทรัพยากรได้อย่างเป็นระบบและมีขั้นตอนชัดเจน ส่งผลให้สามารถปกป้องอธิปไตยและแก้ไขปัญหาความมั่นคงได้ทุกมิติทุกรูปแบบและทุกระดับ โดยการจัดทำแผนพัฒนาและผนึกกำลังทรัพยากรรวมถึงขีดความสามารถทั้งปวงของกองทัพ หน่วยงานด้านความมั่นคงทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ที่มีประสิทธิภาพเป็นรูปธรรมชัดเจน มีการประเมินขีดความสามารถของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง พร้อมพัฒนาคน โครงสร้างกำลังรบและยุทโธปกรณ์ ให้เหมาะสมเพียงพอและเป็นรูปธรรม สามารถรับมือกับภัยคุกคามได้ทุกมิติ ทุกรูปแบบ และทุกระดับความรุนแรง ยกระดับการฝึกร่วมให้เป็นแบบบูรณาการที่ทันสมัย มีความสมบูรณ์ พร้อมนำไปปฏิบัติได้กับสถานการณ์จริง เสริมสร้างความสัมพันธ์ในการปฏิบัติการร่วมและการป้องกันภัยคุกคามด้านความมั่นคงกับเพื่อนบ้านและมิตรประเทศ มิให้เกิดข้อขัดแย้งหรือปัญหาเกี่ยวกับเขตแดนทางบกและอาณาเขตทางทะเล พร้อมทั้งมีกลไกแก้ไขปัญหาความเห็นต่างหรือความขัดแย้ง ผ่านทางการเจรจาและมาตรการทางการทูต ตลอดไปจนถึงการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ การพลังงานทหาร กิจการอวกาศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างหลักประกันให้ประเทศไทยก้าวไปสู่การมีอุตสาหกรรมป้องกันประเทศแบบอัจฉริยะในอนาคต มีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง สามารถแข่งขัน และลดการพึ่งพาหรือนำเข้า จากต่างประเทศได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถสนับสนุนนโยบายและยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศได้ **๔.๓.๓ การพัฒนาระบบเตรียมพร้อมแห่งชาติและการบริหารจัดการภัยคุกคามให้มีประสิทธิภาพ** เพื่อให้มีความพร้อมเผชิญกับสภาวะไม่ปกติ ภัยคุกคามทุกมิติทุกรูปแบบและทุกระดับ รวมทั้งภัยพิบัติและภัยคุกคามรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างแท้จริง โดยพัฒนาปรับปรุงนโยบาย แนวทาง ระบบ กลไกการบริหารจัดการ ตลอดถึงแผนการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องทั้งปวงให้ชัดเจน มีประสิทธิภาพ ครอบคลุม และพร้อมรองรับภัย ทุกประเภททั้งในปัจจุบันและอนาคต ผลักดันให้ทุกภาคส่วนมีการฝึกร่วมกันในทุกขั้นตอนอย่างต่อเนื่องจริงจังจนสามารถปฏิบัติได้จริง เสริมสร้างความร่วมมือกันอย่างบูรณาการของทุกภาคส่วนทั้งภายในและภายนอกประเทศ ให้มีประสิทธิภาพชัดเจนเป็นรูปธรรม ยกระดับการแบ่งปันข้อมูล ทรัพยากร การพัฒนาเทคโนโลยี และการฝึกอบรมให้ทุกส่วนรู้จักและเข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติต่าง ๆ อย่างแท้จริง สามารถสนับสนุนการบริหารจัดการได้ทุกรูปแบบตั้งแต่ในระดับชาติไปจนถึงระดับท้องถิ่น ตลอดถึงพัฒนาปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการที่เกี่ยวข้องให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป **๔.๔ การบูรณาการความร่วมมือด้านความมั่นคงกับอาเซียนและนานาชาติ รวมถึงองค์กรภาครัฐและที่มิใช่ภาครัฐ** เพื่อสร้างเสริมความสงบ สันติสุข ความมั่นคง และความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศชาติ ภูมิภาค และโลก อย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศที่จะรองรับปัญหาร่วมกันได้ **๔.๔.๑ การเสริมสร้างและรักษาดุลยภาพสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ** เพื่อให้เกิด ความสันติสุข มั่นคง และสมดุลสำหรับทุกฝ่าย ให้ทุกประเทศพร้อมเข้ามีส่วนร่วมในการประสานและปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมุ่งแบ่งปันและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคงร่วมกัน อันจะนำไปสู่ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างราบรื่นและยั่งยืน โดยส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ในทุกระดับและทุกด้านกับนานาประเทศ โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจและประเทศที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ในมิติต่าง ๆ อย่างสมดุล พัฒนาและเสริมสร้างระบบ กลไก มาตรการ ตลอดถึงความร่วมมือระหว่างประเทศ ที่เป็นประโยชน์กับประเทศไทยให้สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการแลกเปลี่ยน แบ่งปัน และใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคงร่วมกันอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง ผลักดันการหารือทั้งแบบทวิภาคีและพหุภาคีในทุกระดับอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ ความไว้เนื้อเชื่อใจ ไปจนถึงความตระหนักรู้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ พร้อมทั้งลดความหวาดระแวงระหว่างกัน โดยอาศัยการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับต่าง ๆ และการจัดเวทีสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จนทำให้บรรยากาศการดำเนินการระหว่างประเทศในทุกเรื่องทุกขั้นตอน ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ต่อเนื่อง และมีเสถียรภาพอย่างแท้จริง **๔.๔.๒ การเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค** เพื่อให้ประเทศ ในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข สามารถแก้ไขปัญหาร่วมกันได้อย่างสันติวิธี และร่วมมือกันเพื่อการพัฒนา ให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมความเป็นปึกแผ่นของประชาคมอาเซียน และความเป็นแกนกลางของอาเซียนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในระหว่างประชาชน ในทุกมิติและทุกระดับ ทำการแลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันอย่างแน่นแฟ้นในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การเมืองและความมั่นคง วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับมิตรประเทศ ซึ่งได้แก่ ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด ประเทศสำคัญในภูมิภาค และนานาประเทศทั่วโลก รวมทั้งกรอบความร่วมมือด้านความมั่นคงระดับภูมิภาคอื่น ๆ ที่จะช่วยสร้างเสริมเสถียรภาพ ในภูมิภาค ตลอดจนผลักดันและเผยแพร่การพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์พระราชาให้เป็นที่เข้าใจและมีการนำไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องในภูมิภาค อันจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกันต่อไป **๔.๔.๓ การร่วมมือทางการพัฒนากับประเทศเพื่อนบ้าน ภูมิภาค โลก รวมถึงองค์กรภาครัฐและที่มิใช่ภาครัฐ** เพื่อให้ความมั่นคงในภาพรวมทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และโลก มีการพัฒนาไปสู่สันติสุขอย่างแท้จริง เป็นรูปธรรม และยั่งยืน โดยผลักดันส่งเสริมให้การดำเนินการและความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นไปตามหลักการปฏิบัติสากล กฎหมาย และความตกลงระหว่างประเทศ พร้อมคำนึงถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างรัฐต่อรัฐ เอกชนต่อเอกชน และประชาชนต่อประชาชน สร้างเสริมความร่วมมือกับนานาชาติในการป้องกันและระวังภัยคุกคามทุกรูปแบบ พร้อมพัฒนาความร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทุกระดับ ของอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง อาเซียน รวมถึงระหว่างมิตรประเทศในกรณีเกิดวิกฤตการณ์สำคัญ อาทิ ความอดอยาก ภัยพิบัติขนาดใหญ่ ฯลฯ ส่งเสริมบทบาทของไทยในเวทีความมั่นคงระหว่างประเทศและการรักษาสันติภาพ ของสหประชาชาติให้นานาประเทศตระหนักและให้การยอมรับถึงความสำคัญ รวมไปถึงการเสริมสร้างพลังบวกหรืออำนาจแบบนุ่มนวลของไทย โดยอาศัยการส่งเสริมและเผยแพร่ภาพลักษณ์ที่ดีและวัฒนธรรมประเพณีไทย ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชา ความนิยมวิถีไทย สินค้าไทย ฯลฯ ผ่านความสัมพันธ์ทุกรูปแบบทุกระดับและทุกช่องทาง **๔.๕ การพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม** เพื่อให้กลไกสำคัญต่าง ๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารและพัฒนาประเทศได้อย่างแท้จริงเป็นรูปธรรม มีการใช้หลักธรรมาภิบาล และการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและมีประสิทธิภาพ สามารถขจัดปัญหา การทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างจริงจัง เกิดความมั่นใจได้ว่าหน่วยงานรับผิดชอบทั้งหลักและรองพร้อมรับมือกับภัยคุกคามทุกรูปแบบทั้งในปัจจุบันและอนาคต **๔.๕.๑ การพัฒนากลไกให้พร้อมสำหรับการติดตาม เฝ้าระวัง แจ้งเตือน ป้องกัน และแก้ไขปัญหาความมั่นคงแบบองค์รวมอย่างเป็นรูปธรรม** เพื่อให้เกิดความพร้อมรองรับปัญหาได้ทุกรูปแบบทุกระดับและทุกช่วงเวลาอย่างครบถ้วนสมบูรณ์และมีเอกภาพ โดยเสริมสร้างพร้อมทั้งยกระดับกลไก หน่วยงาน เช่น กองทัพไทย กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เป็นต้น และกฎหมายที่มีอยู่เดิมหรือที่พัฒนาขึ้นใหม่ ผ่านทางการบูรณาการความร่วมมือและการปฏิบัติกับทุกภาคส่วน มีเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม พัฒนาการวางแผนและเตรียมความพร้อมในทุก ๆ ด้าน กำหนดหน่วยงานและตัวผู้รับผิดชอบในทุกระดับ พร้อมฝึกรองรับปัญหา สัมมนาระดมความคิดเห็น ตลอดจนให้การสนับสนุนในทุกด้าน อย่างต่อเนื่องจริงจังตั้งแต่ยามปกติหรือยามสงบ มีการตรวจสอบและประเมินผลอย่างต่อเนื่องตามหลักธรรมาภิบาลที่สอดคล้องกับบริบทและความก้าวหน้าของยุคสมัย พร้อมทั้งสามารถสร้างความเชื่อมโยงกันทั้งระบบ รวมไปถึงความเชื่อมโยงกับทุกภาคีเครือข่าย ที่เกี่ยวข้อง และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ **๔.๕.๒ การบริหารจัดการความมั่นคงให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศในมิติอื่น ๆ** เพื่อให้การพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติสามารถขับเคลื่อนไปได้ตามแผน อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นรูปธรรม และไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อความมั่นคงของชาติ โดยพัฒนาส่งเสริมการวางแผนคู่ขนานแบบบูรณาการ ให้สอดคล้องรองรับยุทธศาสตร์ชาติในทุก ๆ ด้าน รวมไปถึงการพัฒนาประเทศที่เกี่ยวข้องในทุกมิติอย่างครบถ้วนสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ เสริมสร้างผลักดันการบริหารจัดการตลอดถึงการบูรณาการการดำเนินการในทุกด้านให้ประสานสอดคล้องและสามารถปฏิบัติร่วมกันได้อย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งครอบคลุมการสร้างความมั่นคงให้กับประเทศชาติในทุกมิติอย่างยั่งยืน **๔.๕.๓ การพัฒนากลไกและองค์กรขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง** เพื่อให้ การดำเนินการของยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคงบรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ เอกภาพ และเป็นรูปธรรมตามเป้าหมายที่กำหนด โดยให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติพัฒนาและเสริมสร้างหน่วยงาน บุคลากร เครื่องมือ ระบบการบริหาร และการจัดสรรงบประมาณในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้าน ความมั่นคงที่มีอยู่ ให้เกิดประสิทธิภาพและเกิดการบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วน รวมทั้งมีความพร้อม มีขีดความสามารถที่ทันสมัย เหมาะสม เพียงพอ และคล่องตัว มีเอกภาพในการบริหารจัดการที่ชัดเจน ตลอดถึงมีบทบาทสำคัญในการรับผิดชอบดูแลปัญหาความมั่นคงทุกมิติในระดับนโยบาย พร้อมรองรับบริบทที่จะเปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนสามารถบรรลุผลสำเร็จได้ตามยุทธศาสตร์ที่กำหนด อย่างแท้จริง **ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน** **๑. บทนำ** ในช่วง ๒ ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยเผชิญกับความท้าทายในการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิ ปัจจัยด้านความผันผวนของเศรษฐกิจโลก กฎ ระเบียบระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทางการค้า ทักษะความสามารถของแรงงาน โครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมสูงวัย และเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วที่ส่งผลให้ภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และภาคบริการต้องปรับตัวให้สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค รูปแบบการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายการพัฒนาของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคที่ทำให้เกิดการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคต อาทิ เศรษฐกิจโลก โครงสร้างประชากร เทคโนโลยี จะทำให้ประเทศไทยเผชิญความท้าทายมากขึ้นในการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะต่อไป ในการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความสามารถของประเทศในระยะต่อไปโดยยึดเป้าหมายในการยกระดับประเทศไทยให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยจำเป็นต้องปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจทั้งระบบเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและส่งผลให้เกิดการยกระดับรายได้ และในขณะเดียวกันการพัฒนาดังกล่าวจะต้องส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำลดลง ดังนั้น การพัฒนาประเทศ ในระยะต่อไป จำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องสร้างเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจใหม่ที่จะช่วยยกระดับ การพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งการพัฒนาในช่วง ๒๐ ปีข้างหน้า จะมุ่งเน้นการวิจัย พัฒนานวัตกรรม และนำเทคโนโลยีใหม่มาปรับใช้และต่อยอดภาคการผลิตและบริการในปัจจุบัน เพื่อเพิ่มผลิตภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งการปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการในปัจจุบันไปสู่ภาคการผลิตและบริการใหม่ ที่มีศักยภาพ การพัฒนารูปแบบการค้าให้สอดรับกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป การส่งเสริมให้เกิดสังคมผู้ประกอบการ การพัฒนาทักษะและความสามารถของแรงงาน ดังนั้น เพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศที่มีรายได้สูงได้อย่างประสบความสำเร็จใน ๒๐ ปี ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีการขยายตัวและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง รวมทั้งมีขีดความสามารถทางการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นในเวทีสากล ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันสำหรับประเทศไทยจึงได้มุ่งพัฒนาบนพื้นฐานแนวคิด ๓ ประการ ได้แก่ (๑) “ต่อยอดอดีต” โดยมองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และจุดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย รวมทั้งความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศในด้านอื่น ๆ นำมาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลกสมัยใหม่ (๒) “ปรับปัจจุบัน” เพื่อปูทางสู่อนาคต ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่าง ๆ ทั้งโครงข่ายระบบคมนาคมและขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และดิจิทัล และการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม และบริการอนาคต และ (๓) “สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต” ด้วยการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ พัฒนา คนรุ่นใหม่ รวมถึงปรับโมเดลธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ผสมผสานกับยุทธศาสตร์ที่รองรับอนาคต บนพื้นฐานของการต่อยอดอดีตและปรับปัจจุบัน พร้อมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐ จะทำให้ประเทศไทยสามารถสร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก ควบคู่ ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี รวมถึงการเพิ่มขึ้นของคนชั้นกลางในประเทศได้ในคราวเดียวกัน ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันจึงกำหนดแนวทางการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนากลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคตที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ทั้งในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการและการท่องเที่ยว โดยให้ประเทศสามารถยกระดับการผลิตทางการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าให้สูงขึ้น ขณะที่มีอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตที่จะเป็นกลไกขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีแห่งอนาคต รวมทั้งรักษาการเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวระดับโลก ในขณะเดียวกันจำเป็นต้องพัฒนาปัจจัยสนับสนุนต่าง ๆ ทั้งในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพในด้านโครงข่ายคมนาคม พื้นที่และเมือง รวมถึงเทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่ออำนวยความสะดวกและลดต้นทุนในการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ เงินทุน บุคลากร และเชื่อมโยงประเทศไทยกับประชาคมโลก และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคต **๒. เป้าหมาย** **๒.๑** ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน **๒.๒** ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น **๓. ตัวชี้วัด** **๓.๑** รายได้ประชาชาติ การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และการกระจายรายได้ **๓.๒** ผลิตภาพการผลิตของประเทศ ทั้งในปัจจัยการผลิตและแรงงาน **๓.๓** การลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา **๓.๔** ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ **๔. ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน** **๔.๑ การเกษตรสร้างมูลค่า** ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้เล่นสำคัญด้านการผลิตและการค้าสินค้า เกษตรในเวทีโลกด้วยพื้นฐานทางพืชเกษตรเขตร้อน และมีข้อได้เปรียบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ที่สามารถพัฒนาต่อยอดโครงสร้างธุรกิจการเกษตรด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่ม เน้นเกษตรคุณภาพสูงและขับเคลื่อนการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลิตภาพการผลิตทั้งเชิงปริมาณและมูลค่า และความหลากหลายของสินค้าเกษตร เพื่อรักษาฐานรายได้เดิมและสร้างฐานอนาคตใหม่ที่สร้างรายได้สูง ทั้งเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น เกษตรปลอดภัย เกษตรชีวภาพ เกษตรแปรรูป และเกษตรอัจฉริยะ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น **๔.๑.๑ เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น** ส่งเสริมการนำอัตลักษณ์พื้นถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยมาเป็นผลิตภัณฑ์การเกษตร รวมทั้งสินค้าที่ได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โดยส่งเสริมการนำอัตลักษณ์พื้นถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยมาใช้ในการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์การเกษตรที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เป็นสินค้าเกษตรชนิดใหม่ ให้รองรับความต้องการของตลาดยุคใหม่ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของท้องถิ่น และสร้างจุดเด่น ความแตกต่างของสินค้าเกษตรไทยในตลาดโลกเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน ในประเทศต่าง ๆ ได้ พร้อมทั้งส่งเสริมการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีในการพัฒนากระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้มีสินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่นออกสู่ตลาดสม่ำเสมอ รวมถึงสินค้าเกษตรนอกฤดูกาล การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นให้ได้รับการรับรองมาตรฐานทั้งระดับในประเทศและต่างประเทศ การส่งเสริมการขึ้นทะเบียนรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ การส่งเสริมการสร้างแบรนด์สินค้า ของเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น และการสร้างความต้องการของสินค้าด้วยการสร้างเรื่องราวของสินค้าให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในคุณภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ไทยและสินค้าที่ได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และพืชผลเกษตรและผลไม้เขตร้อนอื่น ๆ สู่ตลาดโลก **๔.๑.๒ เกษตรปลอดภัย** สร้างความตระหนักแก่ผู้ผลิตและผู้บริโภคทั่วโลกในเรื่องความสำคัญของมาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร จูงใจและวางกรอบให้เกษตรกรและผู้ผลิตทำการผลิตสินค้าที่สอดคล้องกับมาตรฐาน และเข้าสู่ระบบมาตรฐานการจัดการคุณภาพทางการเกษตรที่ได้รับการรับรองจากสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ พร้อมทั้งให้ความรู้เกษตรกรด้านกระบวนการผลิตตามมาตรฐานสากลเพื่อมุ่งสู่การเลิกใช้สารเคมีในภาคเกษตร การเพิ่มพื้นที่และปริมาณการผลิตเกษตรอินทรีย์ในระยะต่อไป โดยส่งเสริม การถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เกษตรกรในการทำเกษตรปลอดสาร และเปลี่ยนผ่านไปสู่การทำเกษตรอินทรีย์ ตลอดจนสนับสนุนกลไกทางการตลาดแก่เกษตรกรที่ต้องการทำการเกษตรอินทรีย์ การพัฒนาระบบการตรวจรับรองคุณภาพและมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทย รวมถึงระบบตรวจสอบย้อนกลับ สำหรับการตรวจสอบที่มาของสินค้าในทุกขั้นตอนให้เป็นไปตามมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ **๔.๑.๓ เกษตรชีวภาพ** ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศในการสร้างมูลค่าเพิ่มของภาคการผลิต และนำไปสู่การผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากฐานเกษตรกรรมและฐานทรัพยากรชีวภาพ และสร้างความมั่นคงของประเทศทั้งด้านอาหารและสุขภาพ โดยเฉพาะพืชสมุนไพร ที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยการส่งเสริมการทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืน รวมถึงการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรเป็นพืชเศรษฐกิจตามความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมในพื้นที่ เพื่อการผลิตและแปรรูปสำหรับอุตสาหกรรมการแพทย์ การสร้างเสริมสุขภาพ และพัฒนาต่อยอดสู่อุตสาหกรรมอื่น ๆ โดยคำนึงถึงปริมาณและคุณภาพมาตรฐานตามความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการส่งเสริมการวิจัย พัฒนา และประยุกต์ใช้นวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีสะอาด เทคโนโลยีวัสดุ และนาโนเทคโนโลยี เพื่อการเกษตรและการแปรรูปสินค้าจากความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร โดยสร้างความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างภาครัฐ เอกชน และชุมชน ที่มีองค์ความรู้ ภูมิปัญญาดั้งเดิม พัฒนาต่อยอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการนำวัตถุดิบ เหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมและพลังงานที่เกี่ยวเนื่องกับชีวภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ **๔.๑.๔ เกษตรแปรรูป** ปรับใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งนวัตกรรมจากภูมิปัญญาในการแปรรูป สร้างความแตกต่าง และเพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์และสินค้าเกษตร รวมทั้งส่งเสริมผลิตภัณฑ์เกษตรคุณภาพสูงของไทยสู่ตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ โดยส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรขั้นสูงที่มีคุณค่าเฉพาะ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่มีความหลากหลาย ด้วยการต่อยอดผลงานจากสถาบันวิจัยสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ การส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาพัฒนาต่อยอดสินค้าเกษตรขั้นต้นให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าสูง การส่งเสริมการใช้วัตถุดิบและผลิตผลทางการเกษตรเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมทั้งการสนับสนุนการนำเทคโนโลยี นวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในการสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ เพื่อป้องกันการปลอมปน การควบคุมคุณภาพและความปลอดภัย การติดตามผลิตภัณฑ์ ในระหว่างการขนส่ง รวมถึงยืดอายุของอาหารและสินค้าเกษตรในบรรจุภัณฑ์ ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้แก่สินค้า พร้อมทั้งส่งเสริมการสร้างแบรนด์ และขยายช่องทางการตลาดด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งให้ความสำคัญในการสร้างเครื่องหมายการค้าและปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา **๔.๑.๕ เกษตรอัจฉริยะ** นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเป็นฟาร์มอัจฉริยะ เพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตรในเชิงมูลค่าและปริมาณต่อพื้นที่สูงสุด และเตรียมพร้อมรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีการคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างสมดุลเกษตรอาหารและเกษตรพลังงาน โดยสร้างและนำเทคโนโลยี นวัตกรรม และวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ในการเกษตร ใช้เทคโนโลยีเกษตรด้านความแม่นยำ เทคโนโลยีการผลิตพืชในโรงเรือนเพาะปลูกด้วยการใช้ระบบอัตโนมัติและเซ็นเซอร์อัจฉริยะ ติดตามการเปลี่ยนแปลง ทั้งความชื้น แสง และอุณหภูมิภายในฟาร์ม เพื่อให้ได้ผลผลิตตรงตามความต้องการ คุณภาพคงที่ และสามารถวางแผนระบบการตลาดดีขึ้น รวมทั้งเทคโนโลยีการช่วยบันทึกข้อมูลสำคัญและติดตามการบริหารจัดการภายในโรงเรือนและฟาร์ม การปรับเปลี่ยนการทำเกษตรกรรมให้เหมาะสมกับศักยภาพพื้นที่ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรให้เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร การจัดการภาคเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ระบบการผลิตทางการเกษตรให้ปลอดวัสดุเหลือใช้ ตลอดจนพัฒนาระบบประกันภัยทางการเกษตรที่ยั่งยืน เพื่อสนับสนุนและจูงใจให้เกษตรกรใช้เครื่องมือดังกล่าวบริหารจัดการความเสี่ยงในการทำเกษตรกรรม รวมถึง การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ปัจจัยการผลิต เทคโนโลยีการเกษตรใหม่ ๆ และการใช้วิทยาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ พันธุวิศวกรรม ตลอดจนพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในเรื่องการปรับสภาพดิน การตรวจจับสารเคมีตกค้าง การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคสัตว์ และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และคุณค่าทางโภชนาการ ลดการใช้สารเคมีในการเกษตร รวมทั้งยืดอายุการเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษาเพื่อยืดระยะเวลาการจำหน่ายผลผลิตและการส่งออก พร้อมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเครื่องจักรกลและอุปกรณ์การเกษตรสำหรับระบบฟาร์มอัจฉริยะในประเทศ โดยยกระดับเทคโนโลยีการผลิตและเครื่องจักรกลการเกษตรให้สูงขึ้นด้วยการวิจัยและพัฒนา การสร้างและกำหนดคุณภาพมาตรฐานของสินค้าเครื่องจักรกลและอุปกรณ์การเกษตร รวมทั้งการส่งเสริม การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ การประยุกต์ใช้ข้อมูลจากดาวเทียม และเชื่อมโยงฐานข้อมูลจากการประยุกต์ใช้ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างยั่งยืนให้กับภาคเกษตร การสร้างฐานข้อมูลการเพาะปลูกระดับประเทศ การจัดการด้านชลประทาน ทะเล และชายฝั่ง รวมทั้งการติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ **๔.๒ อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต** อุตสาหกรรมและบริการไทยต้องพร้อมรับมือและสร้างโอกาสจากความท้าทายที่เกิดขึ้นจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ ๔ ที่เป็นผลของการหล่อหลอมเทคโนโลยีดิจิทัล เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีทางกายภาพเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็วเป็นวงกว้างและลึกซึ้งทั้งระบบอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงพื้นฐานโครงสร้างอุตสาหกรรมและบริการ โดยสร้างอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ที่ขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ประเทศพัฒนาแล้วด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีแห่งอนาคต เพิ่มบุคลากรที่มีทักษะและความรู้ตามความต้องการของตลาด สร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมและบริการที่เหมาะสม และสนับสนุน การพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอย่างยั่งยืน **๔.๒.๑ อุตสาหกรรมชีวภาพ** สร้างประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อต่อยอดจากภาคเกษตรไทยและมุ่งสู่อุตสาหกรรมบนฐานชีวภาพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงพลังงานชีวมวล โดยการเพิ่มสัดส่วนอุตสาหกรรมชีวภาพที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ได้แก่ ชีวเคมีภัณฑ์ วัสดุชีวภาพ อาหารเสริม เวชสำอาง วัคซีน ชีวเภสัชภัณฑ์ และสารสกัดจากสมุนไพร การเพิ่มการผลิตและส่งเสริมการใช้พลาสติกชีวภาพ แปลงของเหลือทิ้งจากเกษตรและอุตสาหกรรม ให้เป็นสารเคมีและพลังงานชีวภาพที่มีมูลค่า โดยใช้ประโยชน์จากวัตถุชีวมวล ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าอย่างคุ้มค่า เพื่อลดปัญหาโลกร้อน และสร้างรายได้แก่เกษตรกรเพิ่มมากขึ้น การเน้นการวิจัยและพัฒนา และนำผลงานวิจัยมาใช้ในเชิงพาณิชย์มากยิ่งขึ้น ตลอดจนให้ความสำคัญกับระบบนวัตกรรมแบบเปิด เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพได้เร็วขึ้น **๔.๒.๒ อุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ครบวงจร** อาศัยความเชี่ยวชาญด้านบริการการแพทย์ของไทยเพื่อสร้างอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องในประเทศเพื่อรองรับความต้องการใช้บริการการแพทย์ ที่จะเพิ่มมากขึ้นทั้งจากสังคมผู้สูงอายุ และความต้องการการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำไปสู่ศูนย์กลางอุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ครอบคลุมการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ การผลิตอวัยวะเทียม การผลิตเวชภัณฑ์และครุภัณฑ์การแพทย์ การผลิตเภสัชภัณฑ์ซึ่งรวมถึงชีวเภสัชภัณฑ์ และการให้บริการการแพทย์ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งเสริมการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีการแพทย์ใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับคนไทย การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในบริการการแพทย์ เพื่อลดต้นทุนการรักษาพยาบาล ยกระดับการให้บริการการแพทย์อย่างมีคุณภาพในระดับสากล และสร้างความมั่นคงให้กับระบบสาธารณสุขของไทย พร้อมทั้งการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมทางการแพทย์และบริการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ เพื่อเป็นศูนย์กลางการส่งเสริมและดูแลสุขภาพและรักษาผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ **๔.๒.๓ อุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์** ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ในการเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมและบริการ ครอบคลุมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของภาคเศรษฐกิจไทยทั้งระบบ สร้างแพลตฟอร์มสำหรับเศรษฐกิจในอนาคต และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน โดยการสร้างอุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนประเทศไทย และส่งเสริมการลงทุนระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนไทย และบริษัทชั้นนำของโลกในอุตสาหกรรมเหล่านี้ เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการวิจัยและพัฒนา การสร้างความตระหนักและให้ความรู้แก่ประชาชน และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ สำหรับภาคการผลิตและบริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างนวัตกรรม และดำเนินธุรกิจใหม่ ๆ การผลักดันให้ผู้ประกอบการได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม ในระดับสากล และสร้างคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเพื่อขยายธุรกิจไทยในอุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล ข้อมูล ปัญญาประดิษฐ์ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะให้ครอบคลุมตลอดทั้งห่วงโซ่มูลค่าระดับโลก การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของผู้ประกอบการที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และสนับสนุนการใช้ข้อมูลเปิดที่ไม่กระทบต่อสิทธิส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ในการศึกษา การวิจัยและพัฒนา และการต่อยอดทางธุรกิจ พร้อมทั้งการสร้างและพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะความรู้เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ รวมทั้งอุตสาหกรรมและบริการที่ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ และสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญจากทั่วโลกให้มาทำงานในไทย ตลอดจนให้ความช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและรวดเร็วของเทคโนโลยี **๔.๒.๔ อุตสาหกรรมและบริการขนส่งและโลจิสติกส์** ใช้ตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยในการส่งเสริมการคมนาคม ขนส่ง และโลจิสติกส์ ให้เป็นฐานการผลิตของภูมิภาคเพื่อการส่งออก สู่ตลาดโลก และศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค ลดต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์และเพิ่มมูลค่าจากการเป็นศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์ ส่งเสริมอุตสาหกรรมและบริการที่เกี่ยวข้อง โดยการส่งเสริมการสร้างศูนย์กลางด้าน โลจิสติกส์ระดับภูมิภาคและเชื่อมต่อกับเครือข่ายโลจิสติกส์ของโลก การผลักดันการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งระบบไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะ ส่งเสริมเทคโนโลยีและพัฒนาอุตสาหกรรมระบบ กักเก็บพลังงาน รวมทั้งส่งเสริมการลงทุนที่เน้นการวิจัยและพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาอุตสาหกรรมการบินและอวกาศเพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมและบริการที่เกี่ยวข้องโดยยกระดับบริการซ่อมบำรุงอากาศยาน และการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ซึ่งจะต่อยอดไปยังชิ้นส่วนยานอวกาศในที่สุด และสนับสนุนการลงทุนด้านบริการดูแลรักษาและซ่อมแซมอากาศยานเพื่อขยายตลาดบริการดูแลรักษา และซ่อมแซมอากาศยาน ตลอดจนพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการบินและอวกาศ การส่งเสริมและพัฒนาการขนส่งรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับบริบทของไทยในอนาคต รวมทั้งอุตสาหกรรมและบริการที่เกี่ยวเนื่อง พร้อมทั้ง การพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะความเชี่ยวชาญตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรม การบินและอวกาศ และบริการโลจิสติกส์ การอำนวยความสะดวกสำหรับบุคลากรผู้เชี่ยวชาญต่างชาติให้เข้ามาทำงานในไทย และจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษา ตลอดจนการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมยานยนต์ การบินและอวกาศ และโลจิสติกส์ ตลอดจนหน่วยงานกำกับดูแล ให้ได้รับมาตรฐานสากลและสร้างความร่วมมือในการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ **๔.๒.๕ อุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศ** พัฒนาอุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศ ที่ไทยมีศักยภาพ เพื่อลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ และพัฒนาต่อยอดเป็นอุตสาหกรรมส่งออกต่อไป โดยการ ต่อยอดพัฒนาอุตสาหกรรมความมั่นคงด้านต่าง ๆ จากอุตสาหกรรมของประเทศที่ไทยมีความเข้มแข็งอยู่แล้ว รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงด้านต่าง ๆ และเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ในบริบทด้านความมั่นคงและเชิงพาณิชย์ ตลอดจนพัฒนาบุคลากรทางด้านวิจัยและพัฒนา การออกแบบ และการผลิตเพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศ การพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภัยพิบัติ ซึ่งรวมถึงระบบการเตือนภัย การเตรียมตัวรับภัยพิบัติ และการให้ความช่วยเหลือ ระหว่างและหลังเกิดภัยพิบัติ พร้อมทั้งการสร้างอุตสาหกรรมที่ส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อลดผลกระทบจากภัยคุกคามไซเบอร์ ต่อเศรษฐกิจและสังคม และปกป้องอธิปไตยทางไซเบอร์ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติจากการทำธุรกิจดิจิทัล ส่งเสริมการจัดหาพลังงานให้เพียงพอ เพื่อเป็นฐานความมั่นคง ด้านพลังงานของประเทศ พร้อมไปกับการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ให้มี ความสมดุลและเกิดความมั่นคง สามารถพึ่งพาตนเองทางด้านพลังงาน ตลอดจนพัฒนาอุตสาหกรรมด้านพลังงานที่มีมูลค่าเพิ่ม อุตสาหกรรมเทคโนโลยีพลังงานใหม่ และอุตสาหกรรมและบริการที่เกี่ยวเนื่อง การพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ รวมทั้งการผลิตยุทโธปกรณ์และยุทธภัณฑ์ทางการทหาร ไปพร้อมกับอุตสาหกรรมที่เป็นเทคโนโลยีสองทาง และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน **๔.๓ สร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว** โดยรักษาการเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญของ การท่องเที่ยวระดับโลกที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวทุกระดับและเพิ่มสัดส่วนของนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูง มุ่งพัฒนาธุรกิจด้านการท่องเที่ยวให้มีมูลค่าสูงเพิ่มมากยิ่งขึ้น ด้วยอัตลักษณ์และวัฒนธรรมไทย และใช้ประโยชน์จากข้อมูล และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างสรรค์คุณค่าทางเศรษฐกิจและความหลากหลายของการท่องเที่ยวให้สอดรับกับทิศทางและแนวโน้มของตลาดยุคใหม่ โดยการสร้างและใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ รวมทั้งเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการส่งเสริมการตลาด การดูแลความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม รวมถึงคนพิการและผู้สูงอายุ การใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวให้เอื้อต่อผลิตภัณฑ์ชุมชนและเศรษฐกิจต่อเนื่อง พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเดิมและสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะโดยคำนึงถึงศักยภาพของแต่ละ พื้นที่ การส่งเสริมการท่องเที่ยวพำนักระยะยาว ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบนิเวศ และทรัพยากรที่เอื้อต่อการเติบโตของการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ เพื่อกระจายโอกาสในการสร้างรายได้ไปสู่ชุมชนและเมืองอย่างทั่วถึงและยั่งยืน และพัฒนาการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวไทยกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค เพื่อการเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวอย่างประทับใจตลอดการท่องเที่ยวจนเกิดการท่องเที่ยวซ้ำและแนะนำต่อ **๔.๓.๑ ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม** ส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และวัฒนธรรม โดยการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านการสร้างและพัฒนาสินค้าและบริการด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ความคิดสร้างสรรค์ และทุนทางวัฒนธรรม พร้อมทั้งการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยว การทำการตลาด และการบริหารจัดการสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และวัฒนธรรม เพื่อให้การท่องเที่ยวไทยมีเรื่องราวที่เป็นเอกลักษณ์ มีการคุ้มครองและปกป้องด้านทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการป้องกันการลอกเลียนแบบ ซึ่งรวมถึงการผลักดันให้เมืองประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และศิลปะ ได้รับการขึ้นทะเบียนด้านการอนุรักษ์ และส่งเสริมให้ก้าวสู่เมืองที่ได้รับการยอมรับในเวทีสากล อันนำไปสู่ การสร้างภาพลักษณ์และการจัดทำแผนพัฒนาเมืองและแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่น พร้อมทั้งการส่งเสริม การท่องเที่ยวตามฤดูกาลและตามศักยภาพของพื้นที่ ทั้งการท่องเที่ยววิถีชุมชน การท่องเที่ยวเชิงเกษตร การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีพุทธ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทาง การท่องเที่ยววิถีพุทธของโลก **๔.๓.๒ ท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ** สร้างแรงดึงดูดและสิ่งจูงใจให้ไทยเป็นจุดหมายปลายทางของ การท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ โดยส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการจัดประชุมและนิทรรศการนานาชาติของโลก เนื่องจากไทยมีความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ที่เหมาะแก่การเดินทางเพื่อประกอบธุรกิจและการท่องเที่ยว ทั้งยัง มีความพร้อมด้านการบริการที่เป็นเอกลักษณ์ โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ระบบขนส่ง ระบบดิจิทัลเพื่อการติดต่อสื่อสาร เพื่ออำนวยความสะดวกทั้งในการเดินทางเข้ามาเพื่อการประชุมและการสร้างความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างกัน พร้อมทั้งส่งเสริมการขยายพื้นที่จุดหมายปลายทางของการจัดประชุมและนิทรรศการ และการพักผ่อนระหว่างประชุมจากเมืองหลักสู่เมืองอื่นที่มีศักยภาพของไทย รวมถึงสร้างพื้นที่หรือช่องทางการจัดแสดงผลงานรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการจัดแสดงผลงานจริงและในรูปแบบเสมือนจริง รวมถึงการส่งเสริมให้การพักผ่อนระหว่างการประชุมเป็นการจูงใจและต่อยอดการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมที่เน้นรูปแบบการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ตลอดจนการสนับสนุนการท่องเที่ยวรูปแบบอื่นที่ไทยมีศักยภาพและเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวในพื้นที่อื่น เพื่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งรวมถึงการสร้างรูปแบบและจูงใจการเดินทางเข้ามาประกอบธุรกิจและการท่องเที่ยวด้วยการอำนวยความสะดวกและมาตรการสนับสนุนต่าง ๆ พร้อมทั้งการสร้างความพร้อมของธุรกิจอื่น ที่เกี่ยวเนื่องในห่วงโซ่ธุรกิจ **๔.๓.๓ ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ความงาม และแพทย์แผนไทย** ผสาน “ศาสตร์” และความชำนาญของการดูแลรักษาด้วยภูมิปัญญาไทย กับ “ศิลป์” และความละเอียดอ่อนในการให้บริการแบบไทย เพื่อดึงดูด การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์ โดยยกระดับมาตรฐานธุรกิจบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพและการเสริมความงามสู่ตลาดระดับสูง โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม เพื่อให้เกิดเป็นเอกลักษณ์การให้บริการ ตามแบบความเป็นไทยที่โดดเด่นในระดับสากล พร้อมทั้งการสร้างความหลากหลายของกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับและเชื่อมโยงกับกิจกรรมการท่องเที่ยวอื่น ๆ รวมถึงการยกระดับมาตรฐานธุรกิจบริการด้านการแพทย์ทางเลือก โดยผสานองค์ความรู้จากเทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่เข้ากับองค์ความรู้และภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทย ผลิตบุคลากรด้านแพทย์แผนไทยและบริการเชิงสุขภาพอื่นที่มีทักษะภาษา และได้รับการรับรองมาตรฐานวิชาชีพให้เพียงพอต่อทิศทางของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และการส่งเสริมการจัดกิจกรรมทางการตลาดของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์ของไทยให้เป็นที่รับรู้ในระดับโลก รวมทั้ง การส่งเสริมการจัดการนำเที่ยวเชิงสุขภาพครบวงจรที่เชื่อมโยงกับการแพทย์แผนปัจจุบัน **๔.๓.๔ ท่องเที่ยวสำราญทางน้ำ** ส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสำราญทางทะเลและชายฝั่ง และเป็นแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมลุ่มน้ำที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เนื่องจากไทยมีจุดเด่นด้านแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำที่สวยงามและกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวผ่าน การชื่นชมธรรมชาติ การร้อยเรียงเรื่องราวประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต วัฒนธรรมไทย ตามเส้นทางท่องเที่ยวทางน้ำ ทั้งเรือสำราญและเรือยอร์ช ตามชายฝั่งทะเลทั้งอันดามันและอ่าวไทย เกาะ แก่ง ที่สวยงาม รวมทั้งการท่องเที่ยวตามแม่น้ำลำคลอง นำไปสู่ศูนย์กลางท่องเที่ยวสำราญทางน้ำ โดยการปรับบทบาทของท่าเรือในประเทศที่มีศักยภาพให้เป็นท่าเรือหลัก การมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของท่าเรือ มารีน่า และท่าเทียบเรือให้ได้มาตรฐาน และการบริหารจัดการท่าเรือทั้งในเรื่องความสะอาด และการจัดการความปลอดภัย ของท่าเรือและมารีน่าที่ได้มาตรฐานสากล รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยวตามแม่น้ำลำคลองที่สำคัญ และมีมาตรการกำกับดูแลความปลอดภัยในการเดินทาง รวมถึงการส่งเสริมการเชื่อมโยงระบบเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ทั้งการเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวทางน้ำให้เชื่อมต่อกับ การเดินทางทางบกและทางอากาศให้มีความสะดวกรวดเร็ว รวมทั้งสร้างให้เกิดเส้นทางและแหล่งท่องเที่ยวใหม่ และการจัดทำระบบฐานข้อมูลด้านการท่องเที่ยวทางน้ำ นำเทคโนโลยีมาใช้อำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจกับกระบวนการตรวจคนเข้าเมืองที่มีประสิทธิภาพ และพัฒนาบุคลากรทุกภาคส่วนให้มีความพร้อม รวมถึงการให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแหล่งท่องเที่ยว โดยคำนึงถึงความยั่งยืนของพื้นที่ การท่องเที่ยว **๔.๓.๕ ท่องเที่ยวเชื่อมโยงภูมิภาค** ใช้ประโยชน์จากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในการเชื่อมโยง การท่องเที่ยวกับต่างประเทศ เพื่อขยายการท่องเที่ยวของไทยและภูมิภาคไปพร้อมกัน ผ่านการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์จากเมืองหลักสู่เมืองรอง เพื่อรองรับการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวไทย กับอาเซียนและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โดยการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ดังเช่น เส้นทางจุดร่วมทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ที่เน้นการพัฒนาการท่องเที่ยวเชื่อมโยงและส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้ประโยชน์จากการพัฒนาเส้นทางทางบก ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศระหว่างกันในภูมิภาค และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีที่จะทำให้เกิด การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนร่วมกัน พร้อมทั้งการส่งเสริมการทำการตลาดร่วมกันในเส้นทางการท่องเที่ยวระหว่างประเทศให้สอดรับกับทิศทางและแนวโน้มของตลาดยุคใหม่ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเดิมและสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ในประเทศ ให้เหมาะสมกับศักยภาพและบริบทของแต่ละพื้นที่ เพื่อรองรับการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวกับต่างประเทศ และพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกให้มีความปลอดภัยและได้มาตรฐาน รวมทั้งป้องกันและแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยว ทั้งแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติและ ทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรม พร้อมทั้งการใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวให้เอื้อต่อผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมทั้งอุตสาหกรรมและบริการต่อเนื่อง เพื่อขยายโอกาสในการสร้างรายได้ไปสู่เมืองและชุมชนเพิ่มจากการท่องเที่ยวของประเทศ และการส่งเสริมการขยายธุรกิจและการทำตลาดท่องเที่ยวของไทยในต่างประเทศ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่สอดรับกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ **๔.๔ โครงสร้างพื้นฐาน เชื่อมไทย เชื่อมโลก** โครงสร้างพื้นฐานเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประเทศไทย ในการก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจอาเซียน และเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญของภูมิภาคเอเชีย ในยุคของ การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วและรุนแรง โครงสร้างพื้นฐานจะครอบคลุมถึงโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพในด้านโครงข่ายคมนาคม พื้นที่และเมือง รวมถึงเทคโนโลยี ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่ออำนวยความสะดวกและลดต้นทุนในการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ เงินทุน บุคลากร และเชื่อมโยงประเทศไทยกับประชาคมโลก **๔.๔.๑ เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมไร้รอยต่อ** เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมระดับภูมิภาคจากเอเชียตะวันออกถึงเอเชียใต้อย่างไร้รอยต่อ โดยมีไทยเป็นจุดเชื่อมโยงหลักของการคมนาคมให้เป็นระเบียงเศรษฐกิจแห่งเอเชีย เพื่อเป็นศูนย์กลางการคมนาคม การขนส่ง การกระจายสินค้า การค้า การลงทุน และ การท่องเที่ยว สอดรับกับการพัฒนาการเชื่อมโยงกับกลุ่มเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค โดยการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อรองรับการขนส่งและโลจิสติกส์ตลอด ห่วงโซ่อุปทานของภูมิภาค โดยให้ความสำคัญกับการขนส่งทางน้ำและระบบรางมากขึ้น รวมถึงการพัฒนาและบูรณาการการใช้ท่าอากาศยานหลักในส่วนกลางและท่าอากาศยานในส่วนภูมิภาคให้สอดคล้องกับการเชื่อมโยงโครงข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศมากขึ้น พร้อมทั้งการวางโครงข่ายเส้นทางการคมนาคมเชื่อมโยงสู่เมืองหลักของภูมิภาคอย่างไร้รอยต่อ เพื่อรองรับการเพิ่มจำนวนของเมืองและการขยายเมือง และเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านและการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะสมัยใหม่และสิ่งอำนวยความสะดวกภายในเมืองให้มีความเชื่อมโยงกัน ส่งเสริมระบบขนส่งสมัยใหม่ และพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีระบบขนส่งสาธารณะให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ให้มีมาตรฐานเดียวกัน และสร้างความร่วมมือในการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างกันในภูมิภาคให้ง่ายและสะดวกมากที่สุด **๔.๔.๒ สร้างและพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ** ให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชน และแก้ปัญหาความมั่นคงบริเวณชายแดน โดยการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกให้มีความพร้อมทางโครงสร้างพื้นฐานที่จะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและนวัตกรรม พัฒนาเมืองและส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมถึงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจตะวันตก เพื่อเชื่อมต่อกับการพัฒนาภาคตะวันออก และภาคอื่น ๆ ตลอดจนเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ทั้งทางด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว โดยคำนึงถึงจุดเด่นของแต่ละพื้นที่และการเสริมซึ่งกันและกันกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมทั้งการจัดผังเมือง ระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการ การอำนวยความสะดวกทางการค้าการลงทุน ทั้งในด้านข้อมูล แรงงาน และกฎระเบียบต่าง ๆ รวมทั้งมีมาตรการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมายที่มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม และมีมูลค่าเพิ่มสูง โดยตระหนักถึงความยั่งยืน **๔.๔.๓ เพิ่มพื้นที่และเมืองเศรษฐกิจ** สร้างศูนย์กลางเศรษฐกิจและนวัตกรรมแห่งใหม่ในส่วนภูมิภาคคู่ขนานกับการเติบโตของกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยยกระดับจังหวัดสำคัญของไทย ส่งเสริม การพัฒนาในเชิงพื้นที่ พัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาเมือง และสร้างเมืองเศรษฐกิจเฉพาะด้านเพื่อส่งเสริมการสร้างคลัสเตอร์ของเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ ภายใต้ระบบนิเวศที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรมซึ่งมีมหาวิทยาลัยแต่ละภูมิภาค สถาบันการศึกษาท้องถิ่น และทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมเป็นแรงขับเคลื่อน การยกระดับจังหวัดสำคัญเป็นเมืองเศรษฐกิจประจำภาค เพื่อเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจในแต่ละภาคที่เชื่อมต่อกับเมืองเศรษฐกิจอื่นและเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้าน และกระจายศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจไปสู่ภาคต่าง ๆ ของไทย การสร้างเมืองเศรษฐกิจเฉพาะด้านโดยอาศัยความได้เปรียบที่แตกต่างกันของแต่ละจังหวัด ซึ่งช่วยส่งเสริมการพัฒนาคลัสเตอร์ของเกษตรอุตสาหกรรม และบริการ พร้อมทั้งการส่งเสริมและพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ เพื่อให้เมืองเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ดึงดูดการลงทุนใหม่ โดยการส่งเสริมให้เมือง เป็นเจ้าภาพจัดเทศกาลความคิดสร้างสรรค์ และวัฒนธรรมระดับสากล โดยให้ความสำคัญกับการใช้มหาวิทยาลัยในแต่ละภูมิภาค และสถาบันการศึกษาท้องถิ่น ขับเคลื่อนองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม เพื่อให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจในแต่ละภาค **๔.๔.๔ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสมัยใหม่** สนับสนุนให้เกิดระบบนิเวศในการ ร่วมสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมจากภาคเอกชน มหาวิทยาลัย และหน่วยงานวิจัยหรือมหาวิทยาลัยชั้นนำ ของโลก เพื่อสร้างและถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ได้จริง ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ทั้งในภาครัฐและเอกชน พร้อมทั้งการสร้างระเบียงทางด่วนดิจิทัล และเสริมสร้างความรู้และโอกาสในการเข้าถึงโครงข่ายบรอดแบนด์หลากรูปแบบตามความเหมาะสมของพื้นที่ โดยมีรูปแบบการเชื่อมโยงด้านดิจิทัลที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในระดับสากลทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงการวางกรอบในการจัดการทรัพยากรคลื่นความถี่ให้เพียงพอรองรับบริการที่มีคุณภาพในราคาที่ประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้ มีการสนับสนุนธุรกิจแบบแพลตฟอร์ม ที่ทำให้เกิดการสร้างงานบริการในโลกดิจิทัลใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงานบริการและบริหารของภาครัฐและเอกชน และสร้างความมั่นคงในการเชื่อมโยงเครือข่ายดิจิทัลเชื่อมต่อกับโลก และการสนับสนุนและเร่งรัดการนำวิทยาศาสตร์ข้อมูล ปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ การออกแบบ ที่คำนึงถึงผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง มาใช้ในภาคการผลิตและบริการ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในรูปแบบที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลหลากหลายแหล่งให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเพิ่มศักยภาพคนในสังคมด้วยการเข้าถึงความรู้ เครื่องมือบนพื้นฐานของธรรมาภิบาลข้อมูล ซึ่งครอบคลุมความปลอดภัยไซเบอร์ ความมีจริยธรรม และการไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล รวมทั้งการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน โดยการจัดหาและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน บริหารจัดการพลังงานให้มีประสิทธิภาพและมีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม มีราคาที่เหมาะสม และการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการใช้พลังงานในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนภาคการผลิต บริการ และการขนส่ง รวมทั้งส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกในสัดส่วน ที่มากขึ้น ตลอดจนพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ สร้างและรวบรวมผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในมหาวิทยาลัย และหน่วยงานวิจัยผ่านการสร้างแรงจูงใจต่าง ๆ เพื่อให้มีความพร้อมกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในอนาคต รวมทั้งการสร้างผลงานที่ช่วยให้ผู้ประกอบการ ทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดในการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างเต็มที่ **๔.๔.๕ รักษาและเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาค** ดำเนินกรอบนโยบายการเงินและการคลังที่ยืดหยุ่นที่พร้อมรองรับความผันผวนทางเศรษฐกิจจากปัจจัยภายในและภายนอก และพัฒนานโยบายให้สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกและการดำเนินธุรกิจในอนาคต เพื่อให้เศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพเหมาะสำหรับการดำเนินและลงทุนทางธุรกิจ เชื่อมโยงการค้าการลงทุนของไทยกับต่างประเทศ เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นชาติการค้าในอนาคต และสนับสนุนการเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างสมดุล โดยการสร้างภูมิคุ้มกันให้เศรษฐกิจไทยท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลก โดยสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจและการเงินชุมชน ขยายความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนเพื่อเปิดตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อร่วมมือกันในการพัฒนาจากการผลิตไปสู่ตลาดเพื่อส่งเสริมการเป็นชาติการค้าอย่างครบวงจร พร้อมทั้ง การรักษาความยั่งยืนทางการคลัง เพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างมั่นคงและยั่งยืน ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรงบประมาณเชิงรุก เชิงยุทธศาสตร์ และเชิงพื้นที่ การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ ขยายฐานภาษี และดำเนินการจัดเก็บภาษีรายการใหม่ให้ครอบคลุมบริบททางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การรักษาเสถียรภาพการเงิน เพื่อสร้างภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุนและการดำเนินธุรกิจ โดยดูแลเสถียรภาพระบบการเงินและเสถียรภาพราคา โดยมีกรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่โปร่งใส และยืดหยุ่น ส่งเสริมให้กลไกตลาดการเงินทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ภาครัฐและเอกชนมีเครื่องมือพร้อมป้องกันความเสี่ยง และมีกลไกเชิงสถาบันในการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินในภาพรวมได้อย่างครอบคลุม และการส่งเสริมประสิทธิภาพของระบบการเงิน ส่งเสริมการแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการทางการเงินด้านต่าง ๆ สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการทางการเงิน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกลางทางการเงิน ปรับปรุงกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างนวัตกรรมในภาคการเงินและการประกอบธุรกิจของภาคเอกชน **๔.๕ พัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานผู้ประกอบการยุคใหม่** สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ กลาง เล็ก วิสาหกิจเริ่มต้น วิสาหกิจชุมชน หรือวิสาหกิจเพื่อสังคม รวมทั้งเกษตรกร ให้เป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ที่มีทักษะและจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการที่มีความสามารถ ในการแข่งขันและมีอัตลักษณ์ชัดเจน โดยมีนวัตกรรมใน ๓ ด้าน คือ นวัตกรรมในการสร้างโมเดลธุรกิจ นวัตกรรมในเชิงสินค้าและบริการ และนวัตกรรมในเชิงกระบวนการผลิตและบริการ พร้อมทั้งเป็นนักการค้า ที่เข้มแข็งที่จะนำไปสู่การสนับสนุนการเป็นชาติการค้า มีความสามารถในการเข้าถึงตลาดทั้งในและต่างประเทศ เป็นผู้ประกอบการที่ “ผลิตเก่ง ขายเก่ง” หรือ “ซื้อเป็น ขายเป็น” บริการเป็นเลิศ สามารถขยายการค้า และการลงทุนไปต่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีธรรมาภิบาล **๔.๕.๑ สร้างผู้ประกอบการอัจฉริยะ** สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการสร้างและใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมตลอดกระบวนการการผลิตและบริการ การจัดการ และการตลาด สามารถบริหารจัดการธุรกิจและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส โดยการสร้างและพัฒนาทักษะ องค์ความรู้รอบด้านที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจในยุคใหม่ที่มีการแข่งขันสูง รวมทั้งทักษะในการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อการวางแผนธุรกิจและสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงทางธุรกิจได้ ไปพร้อมกับการวางรากฐานการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ให้มีทักษะและจิตวิญญาณในการประกอบการ พร้อมทั้งการส่งเสริมผู้ประกอบการในการสร้างนวัตกรรม เพื่อสร้างความแตกต่างของสินค้าและบริการ และนำไปสู่ การพัฒนาต่อยอดด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจหรืออุตสาหกรรมอนาคต ตลอดจนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างทักษะพื้นฐานที่จำเป็นและความถนัด ที่แตกต่างและหลากหลายของแรงงาน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและธุรกิจรูปแบบใหม่ในอนาคต และการสนับสนุนผู้ประกอบการในการสร้างและพัฒนาสินค้าและบริการให้มีคุณภาพมาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและสามารถเชื่อมโยงการผลิตกับผู้ประกอบการรายใหญ่ โดยสร้างระบบและกลไก ที่ทำให้เกิดความเชื่อมโยงของห่วงโซ่มูลค่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการผลิต การขนส่ง และโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนและให้ผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอ และการส่งเสริมการรวมกลุ่มให้เกิด คลัสเตอร์ที่เข้มแข็ง ผู้ประกอบการสามารถเกื้อหนุนและเชื่อมโยงกันทั้งในแนวตั้งและแนวนอน เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองในตลาดที่สูงขึ้น และลดต้นทุนการผลิตลง โดยการพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในกลุ่มของตน **๔.๕.๒ สร้างโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงิน** ส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินของผู้ประกอบการ โดยการจัดหาแหล่งเงินทุนและสนับสนุนให้มีช่องทางทางการเงินที่หลากหลายและน่าเชื่อถือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินและการบริหารความเสี่ยง เพื่อตอบสนองความต้องการที่เหมาะสมกับ แต่ละกลุ่ม การที่ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินด้วยต้นทุนที่เหมาะสม โดยนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาช่วยเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การพัฒนาระบบประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจในการขอสินเชื่อของผู้ประกอบการ และการมีระบบ การประเมินความน่าเชื่อถือทางเครดิต และระบบการรู้จักลูกค้าที่สะดวกมากขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากข้อมูล ทั้งด้านการเงินและที่มิใช่การเงิน เพื่อเป็นข้อมูลบ่งชี้สถานะและประวัติด้านเครดิตประกอบการพิจารณา ของสถาบันการเงินหรือตลาดทุน **๔.๕.๓ สร้างโอกาสเข้าถึงตลาด** สนับสนุนและสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศตามระดับศักยภาพการประกอบการ โดยการสนับสนุนผู้ประกอบการให้มีอัตลักษณ์ และแบรนด์ที่เด่นชัด รวมทั้งพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าที่มีคุณภาพและมีความแตกต่าง เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงตลาดต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดต่างประเทศ รวมทั้งแพลตฟอร์มในการแสดงผลงานของธุรกิจสร้างสรรค์ การให้ความสำคัญกับการผลิตโดยใช้ตลาดนำที่คำนึงถึงความต้องการของตลาดโดยเฉพาะตลาดที่มีมูลค่าสูง การสนับสนุนช่องทางการตลาดและการชำระเงินรูปแบบใหม่ โดยการสร้างตลาดออนไลน์ แอพพลิเคชัน และช่องทางใหม่รองรับไลฟ์สไตล์ของคนในอนาคต การสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐได้มากขึ้น และการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าที่มีมาตรฐานในทุกภูมิภาคของไทย และพัฒนานวัตกรรมการกระจายสินค้าโดยการพัฒนากระบวนการให้ทันสมัยด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมและธุรกิจในอนาคต **๔.๕.๔ สร้างโอกาสเข้าถึงข้อมูล** อนาคตของโลกไร้พรมแดนคือการแข่งขันบนฐานข้อมูล จึงต้องสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นและเป็นข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อ การวางแผนธุรกิจ โดยการสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและฐานข้อมูลขนาดใหญ่ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อต่อยอดพัฒนาธุรกิจเดิมและสร้างธุรกิจใหม่ การสร้างและพัฒนาศูนย์บริการข้อมูลผู้ประกอบการ เพื่อเป็นช่องทางหลักในการให้ข้อมูลและคำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ และเป็นแหล่งรวมที่ปรึกษาทางธุรกิจ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสร้างระบบเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐให้มีมาตรฐานเดียวกัน รวมถึงฐานข้อมูลความรู้วิจัยและนวัตกรรม โดยเป็นข้อมูลที่มีความทันสมัย บูรณาการ และต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์ในการสืบค้นต่อยอดในทุก ๆ ด้าน และการกำหนดนโยบายที่เหมาะสมต่อการพัฒนาผู้ประกอบการ การสนับสนุนการสร้างและพัฒนาแพลตฟอร์มกลาง ทั้งในด้านการผลิต การบริหารจัดการ การตลาด ที่ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ร่วมกันในการวางแผนธุรกิจในอนาคต เพื่อลดต้นทุนของทั้งภาครัฐและเอกชน และการสนับสนุนให้เกิดพื้นที่ทำงานร่วม สำหรับผู้ประกอบการ เพื่อลดต้นทุน และเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนนวัตกรรมและเชื่อมต่อธุรกิจระหว่างกันอีกทางหนึ่ง **๔.๕.๕ ปรับบทบาทและโอกาสการเข้าถึงบริการภาครัฐ** ในการพัฒนาและบูรณาการกลไกภาครัฐเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน โดยเน้นประเด็นการเริ่มต้นธุรกิจ การขออนุญาตต่าง ๆ การจดทะเบียนทรัพย์สิน กระบวนการขอและได้รับสินเชื่อ การคุ้มครองผู้ลงทุน การชำระภาษี และการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งการพัฒนาระบบคุณภาพของชาติ ทั้งระบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ระบบมาตรวิทยา ระบบทดสอบ และระบบรับรองคุณภาพ ให้มีประสิทธิภาพ รองรับภาคการผลิตและบริการ รวมทั้งการสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านมาตรฐาน เช่น ศูนย์ทดสอบกลางสำหรับสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม และศูนย์ตรวจรับรองคุณภาพมาตรฐานสินค้าและบริการในระดับสากล โดยให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการดำเนินการมากขึ้น พร้อมทั้งการสร้างระบบและศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการให้มีความเป็นอัจฉริยะ โดยบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันวิชาการ และพัฒนาศูนย์การเรียนรู้และให้คำปรึกษาทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของภาค การผลิตและบริการทั้งในระดับส่วนกลางและชุมชน พร้อมทั้งการส่งเสริมการจัดการพัฒนาบุคลากรทางเทคโนโลยีชั้นสูงให้มีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน และการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการทำธุรกิจอย่างเกื้อหนุนกันระหว่างผู้ประกอบการที่มีขนาดและศักยภาพต่างกัน โดยมีระบบจูงใจให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการพัฒนาร่วมกัน ตลอดจนผลักดันการเจรจาจัดทำความตกลงทางการค้าและความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ **ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์** **๑. บทนำ** ทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญในการยกระดับการพัฒนาประเทศในทุกมิติไปสู่เป้าหมาย การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วที่ขับเคลื่อนโดยภูมิปัญญาและนวัตกรรมในอีก ๒๐ ปีข้างหน้า ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการวางรากฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศอย่างเป็นระบบ โดยจำเป็นต้องมุ่งเน้นการพัฒนาและยกระดับคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดี เก่ง และมีคุณภาพพร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปข้างหน้าได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่ง “คนไทยในอนาคตจะต้องมีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรม และเป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จำเป็น ในศตวรรษที่ ๒๑ มีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาที่ ๓ และอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้ และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทย ที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่และอื่น ๆ โดยมีสัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง” ดังนั้น เพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์ในทุกมิติและในทุกช่วงวัยสามารถได้รับการพัฒนาและยกระดับได้เต็มศักยภาพและเหมาะสม ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์จึงได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่เน้นทั้งการแก้ไขปัญหาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบัน และการเสริมสร้างและยกระดับการพัฒนา ที่ให้ความสำคัญที่ครอบคลุมทั้งในส่วนของการพัฒนาทุนมนุษย์ และปัจจัยและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างครอบคลุม ประกอบด้วย การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ควบคู่กับการปฏิรูปที่สำคัญทั้งในส่วนของการปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม เพื่อให้คนมีความดีอยู่ใน ‘วิถี’ การดำเนินชีวิตและมีจิตสำนึกร่วมในการสร้างสังคมที่น่าอยู่ และมี การปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม ในทุกระดับตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการพัฒนาระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ มีการออกแบบระบบการเรียนรู้ใหม่ การเปลี่ยนบทบาทครู การเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการศึกษา และการพัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถกำกับการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเองได้อย่างต่อเนื่องแม้จะออกจากระบบการศึกษาแล้ว รวมถึงความตระหนักถึงพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย ตลอดจนพัฒนาและรักษากลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษของ พหุปัญญาแต่ละประเภท และการปฏิรูประบบเสริมสร้างความรอบรู้และจิตสำนึกทางสุขภาพ เพื่อให้คนไทย มีศักยภาพในการจัดการสุขภาวะที่ดีได้ด้วยตนเอง พร้อมกับการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนา และเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ทั้งการเสริมสร้างครอบครัวที่เข้มแข็งอบอุ่นซึ่งเป็นการวางรากฐาน การส่งต่อเด็กและเยาวชนที่มีคุณภาพสู่การพัฒนาในช่วงอายุถัดไป โดยการส่งเสริมการเกิดที่มีคุณภาพ การสร้างครอบครัวที่เหมาะสมกับคนรุ่นใหม่ การส่งเสริมบทบาทในการมีส่วนร่วมพัฒนาคน การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีความเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างกระทรวง/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการเสริมสร้างศักยภาพการกีฬาในการสร้างคุณค่าทางสังคมและพัฒนาประเทศในการใช้กิจกรรมนันทนาการและกีฬาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างสุขภาวะของประชาชนอย่าง ครบวงจรและมีคุณภาพมาตรฐาน รวมถึงการพัฒนาทักษะด้านกีฬาสู่ความเป็นเลิศและกีฬาเพื่อการอาชีพ **๒. เป้าหมาย** **๒.๑** คนไทยเป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ พร้อมสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ **๒.๒** สังคมไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อและสนับสนุนต่อการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต **๓. ตัวชี้วัด** **๓.๑** การพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาวะ และความเป็นอยู่ที่ดีของคนไทย **๓.๒** ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต **๓.๓** การพัฒนาสังคมและครอบครัวไทย **๔. ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากร มนุษย์** **๔.๑ การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม** มุ่งเน้นให้สถาบันทางสังคมร่วมปลูกฝังค่านิยมวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ โดยบูรณาการร่วมระหว่าง “ครอบครัว ชุมชน ศาสนา การศึกษา และสื่อ” ในการหล่อหลอมคนไทยให้มีคุณธรรม จริยธรรม ในลักษณะที่เป็น ‘วิถี’ การดำเนินชีวิต **๔.๑.๑ การปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมผ่านการเลี้ยงดูในครอบครัว** โดยส่งเสริมให้ครอบครัวมีความอบอุ่น ดำเนินชีวิตโดยยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม มัธยัสถ์ อดออม ซื่อสัตย์ และแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการจัดกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างคุณลักษณะดังกล่าว รวมทั้งการพัฒนาพ่อแม่ให้เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต **๔.๑.๒ การบูรณาการเรื่องความซื่อสัตย์ วินัย คุณธรรม จริยธรรม ในการจัดการเรียน การสอนในสถานศึกษา** โดยให้สถานศึกษาสอดแทรกการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และการมีจิตสาธารณะ เข้าไปในทุกสาระวิชาและในทุกกิจกรรม รวมทั้งปรับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาให้เอื้อต่อการมีคุณธรรม จริยธรรม และจิตสาธารณะ รวมถึงการรักษาขนบธรรมเนียมและประเพณีอันดีงาม **๔.๑.๓ การสร้างความเข้มแข็งในสถาบันทางศาสนา** เพื่อเผยแผ่หลักคำสอนที่ดีงามให้แก่ประชาชน โดยพัฒนา ผู้เผยแผ่ศาสนาให้ประพฤติปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างตาม คำสอนที่ถูกต้องของแต่ละศาสนา รวมทั้งมีการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนทางศาสนาที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตที่เข้าใจง่าย และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง **๔.๑.๔ การปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน** โดยการพัฒนาผู้นำชุมชน ให้เป็นต้นแบบของการมีคุณธรรมจริยธรรม การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในการจัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์ การจัดระเบียบสังคม และการนำเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม รวมถึงการลงโทษผู้ละเมิดบรรทัดฐานที่ดีทางสังคม **๔.๑.๕ การสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมที่พึงประสงค์จากภาคธุรกิจ** โดยกระตุ้นให้ภาคธุรกิจมีการบริหารจัดการอย่างมีธรรมาภิบาล พัฒนาสร้างความรู้สึกรับผิดชอบต่อสังคมของคนทุกคนในบริษัท ทั้งพนักงานและลูกค้า ปรับเปลี่ยนทัศนคติการคำนวณผลตอบแทนให้คำนึงถึงต้นทุนทางสังคม ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อตอบแทนสังคม รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการประกอบธุรกิจเพื่อสังคม **๔.๑.๖ การใช้สื่อและสื่อสารมวลชนในการปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมของคนในสังคม** โดยส่งเสริมให้สื่อและสื่อสารมวลชนปฏิบัติตามจรรยาบรรณสื่ออย่างเคร่งครัด การจัดเวลาและพื้นที่ออกอากาศให้แก่สื่อสร้างสรรค์ ในช่วงเวลาที่มีผู้ชมมากที่สุด รวมทั้งการส่งเสริมการใช้สื่อออนไลน์และเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ นำเสนอตัวอย่างของการมีคุณธรรม จริยธรรม และการมีจิตสาธารณะ เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ **๔.๑.๗ การส่งเสริมให้คนไทยมีจิตสาธารณะและมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม** โดยสร้างความตระหนักให้ประชาชนรู้จักหน้าที่ของตนเอง การตรงต่อเวลา การยอมรับความหลากหลาย เห็นคุณค่าและความสำคัญในการประกอบสัมมาอาชีพหรือมีงานทำ เน้นการพึ่งพาตนเอง และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและต่อผู้อื่น และเป็นพลเมืองที่ดี และส่งเสริมให้มีวัฒนธรรมการทำงานเพื่อส่วนรวม สนับสนุน ส่งเสริม เป้าหมายของประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ **๔.๒ การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต** มุ่งเน้นการพัฒนาคนเชิงคุณภาพในทุกช่วงวัย ตั้งแต่ช่วงการตั้งครรภ์ ปฐมวัย วัยเด็ก วัยรุ่น วัยเรียน วัยผู้ใหญ่ วัยแรงงาน และวัยผู้สูงอายุ เพื่อสร้างทรัพยากรมนุษย์ ที่มีศักยภาพ มีทักษะความรู้ เป็นคนดี มีวินัย เรียนรู้ได้ด้วยตนเองในทุกช่วงวัย มีความรอบรู้ทางการเงิน มีความสามารถในการวางแผนชีวิตและการวางแผนทางการเงินที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย และความสามารถ ในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า รวมถึงการพัฒนาและปรับทัศนคติให้คนทุกช่วงวัยที่เคยกระทำผิดได้กลับมา ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างสงบสุขและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ **๔.๒.๑ ช่วงการตั้งครรภ์/ปฐมวัย** เน้นการเตรียมความพร้อมให้แก่พ่อแม่ก่อนการตั้งครรภ์ ส่งเสริมอนามัยแม่และเด็กตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพ สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การส่งเสริมการให้สารอาหารที่จำเป็นต่อสมองเด็ก และให้มีการลงทุนเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนา การที่สมวัยในทุกด้าน **๔.๒.๒ ช่วงวัยเรียน/วัยรุ่น** ปลูกฝังความเป็นคนดี มีวินัย พัฒนาทักษะความสามารถการเรียนรู้ที่สอดรับกับทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ โดยเฉพาะทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความสามารถในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน มีภูมิคุ้มกันต่อปัญหาหรืออาชญากรรมต่าง ๆ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความยืดหยุ่นทางความคิด รวมถึงทักษะด้านภาษา ศิลปะ และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพสอดคล้องกับความสามารถ ความถนัดและความสนใจ รวมถึงการวางพื้นฐานการเรียนรู้เพื่อการวางแผนชีวิตและวางแผนทางการเงินที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยและนำไปปฏิบัติได้ ตลอดจนการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่เชื่อมต่อกับโลกการทำงาน รวมถึงทักษะอาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ มีทักษะชีวิต สามารถอยู่ร่วมและทำงานกับผู้อื่นได้ภายใต้สังคมที่เป็นพหุวัฒนธรรม **๔.๒.๓ ช่วงวัยแรงงาน** ยกระดับศักยภาพ ทักษะ และสมรรถนะแรงงานอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับความสามารถเฉพาะบุคคล และความต้องการของตลาดแรงงาน มีการทำงานตามหลักการทำงาน ที่มีคุณค่าเพื่อสร้างผลิตภาพเพิ่มให้กับประเทศ มีวัฒนธรรมการทำงานที่พึงประสงค์ มีความรู้ความเข้าใจและ มีทักษะทางการเงินเพื่อให้สามารถบริหารจัดการการเงินของตนเองและครอบครัว มีการวางแผนทางการเงินและมีการออม การรับผิดชอบของพ่อแม่ต่อครอบครัว มีการพัฒนาระบบการเรียนรู้ และการอำนวยความสะดวกด้านความรู้ เพื่อพัฒนาความรู้ แรงงานฝีมือ ความชำนาญพิเศษ การเป็นผู้ประกอบการใหม่ และการพัฒนาต่อยอดความรู้ในการสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ รวมทั้งมาตรการขยายอายุการทำงาน **๔.๒.๔ ช่วงวัยผู้สูงอายุ** ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเป็นพลังในการขับเคลื่อนประเทศ ส่งเสริมให้มี การทำงานหลังเกษียณ ผ่านการเสริมทักษะการดำรงชีวิต ทักษะอาชีพในการหารายได้ มีงานทำที่เหมาะสมกับศักยภาพ มีการสร้างเสริมสุขภาพ ฟื้นฟูสุขภาพ การป้องกันโรคให้แก่ผู้สูงอายุ พร้อมกับจัดสภาพแวดล้อมให้เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ และหลักประกันทางสังคมที่สอดคล้องกับความจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในสังคม **๔.๓ ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑** โดยมุ่งเน้นผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้และมีใจใฝ่เรียนรู้ตลอดเวลา มีการออกแบบระบบการเรียนรู้ใหม่ การเปลี่ยนบทบาทครู การเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการศึกษา และการพัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต การสร้างความตื่นตัวให้คนไทยตระหนักถึงบทบาท ความรับผิดชอบ และการวางตำแหน่งของประเทศไทยในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และประชาคมโลก การวางพื้นฐานระบบรองรับการเรียนรู้โดยใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์ม และการสร้างระบบการศึกษาเพื่อเป็นเลิศทางวิชาการระดับนานาชาติ **๔.๓.๑ การปรับเปลี่ยนระบบการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการพัฒนาทักษะสำหรับศตวรรษที่ ๒๑** โดยออกแบบกระบวนการเรียนรู้ในทุกระดับชั้นอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นการใช้ฐานความรู้และระบบคิดในลักษณะสหวิทยาการ อาทิ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และการตั้งคำถาม ความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์และการคิดเพื่อหาทางแก้ปัญหา ความรู้และทักษะทางศิลปะ และความรู้ด้านคณิตศาสตร์และระบบคิดของเหตุผลและการหาความสัมพันธ์ การพัฒนาระบบการเรียนรู้เชิงบูรณาการที่เน้นการลงมือปฏิบัติ มีการสะท้อนความคิด/ทบทวนไตร่ตรอง การสร้างผู้เรียน ให้สามารถกำกับการเรียนรู้ของตนได้ การหล่อหลอมทักษะการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในการสร้างรายได้หลายช่องทาง รวมทั้งการเรียนรู้ด้านวิชาชีพและทักษะชีวิต **๔.๓.๒ การเปลี่ยนโฉมบทบาท ‘ครู’ให้เป็นครูยุคใหม่** โดยปรับบทบาทจาก “ครูสอน” เป็น “โค้ช” หรือ “ผู้อำนวยการการเรียนรู้” ทำหน้าที่กระตุ้น สร้างแรงบันดาลใจ แนะนำวิธีเรียนรู้และวิธีจัดระเบียบการสร้างความรู้ ออกแบบกิจกรรมและสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียน และมีบทบาทเป็นนักวิจัยพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน รวมทั้งปรับระบบการผลิตและพัฒนาครูตั้งแต่การดึงดูด คัดสรร ผู้มีความสามารถสูงให้เข้ามาเป็นครูคุณภาพ มีระบบการพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะครูอย่างต่อเนื่องครอบคลุมทั้งเงินเดือน เส้นทางสายอาชีพ การสนับสนุนสื่อการสอน และสร้างเครือข่ายพัฒนาครูให้มี การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน รวมถึงการพัฒนาครูที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสอนมาเป็นผู้สร้างครูรุ่นใหม่อย่างเป็นระบบ และวัดผลงานจากการพัฒนาผู้เรียนโดยตรง **๔.๓.๓ การเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการศึกษาในทุกระดับ ทุกประเภท** จัดให้มีมาตรฐานขั้นต่ำของโรงเรียนในทุกระดับ จัดโครงสร้างการจัดการการศึกษาเพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์และให้เอื้อต่อการเข้าถึงการศึกษาอย่างเสมอภาค ทั่วถึง และใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ การยกระดับสถาบันการศึกษาในสาขาที่มีความเชี่ยวชาญสู่ความเป็นเลิศ ปฏิรูปการคลังด้านการศึกษาเพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการจัดการศึกษาโดยการจัดสรรงบประมาณตรงสู่ผู้เรียน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชน ในการจัดการศึกษา พัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาโดยแยกออกจากระบบการประเมินและการรับรองคุณภาพที่เน้นผลลัพธ์ที่ตัวผู้เรียน รวมทั้งมีการปฏิรูประบบการสอบที่นำไปสู่การวัดผลในเชิงทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ ๒๑ มากกว่าการวัดระดับความรู้ ตลอดจนมีการวิจัยและใช้เทคโนโลยีในการสร้างและจัดการความรู้ในการจัดการเรียนการสอน การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ **๔.๓.๔ การพัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต** โดยเน้นการจัดระบบการศึกษาและระบบฝึกอบรมบนฐานสมรรถนะที่มีคุณภาพสูงและยืดหยุ่นผ่านการพัฒนากลไกต่าง ๆ อาทิ การพัฒนาการศึกษาออนไลน์แบบเปิด การพัฒนาระบบการเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะการรู้ดิจิทัล การมีระบบเทียบโอนประสบการณ์ ระบบธนาคารหน่วยกิต มาตรการจูงใจให้คนเข้าสู่การยกระดับทักษะ การให้สถานประกอบการเพิ่มผลิตภาพแรงงานผ่านการพัฒนาความสามารถทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่องภายใต้กรอบคุณวุฒิวิชาชีพ นอกจากนี้ ต้องพัฒนาระบบการเรียนรู้ในชุมชนให้เข้าถึงความรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ในชุมชนให้เป็นพื้นที่เรียนรู้เชิงสร้างสรรค์และมีชีวิต รวมถึงการเรียนรู้และทบทวนทักษะพื้นฐาน ได้แก่ การอ่านออก-เขียนได้-คิดเลขเป็น โดยระดมทรัพยากรจากภาคเอกชนและภาคประชาสังคม การพัฒนาทัศนคติและแรงบันดาลใจที่อยากเรียนรู้ การสร้างนิสัยใฝ่เรียนรู้ และให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว รวมทั้งนำความรู้ไปพัฒนาต่อยอดหรือประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้ **๔.๓.๕ การสร้างความตื่นตัวให้คนไทยตระหนักถึงบทบาท ความรับผิดชอบ และการวางตำแหน่งของประเทศไทยในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และประชาคมโลก** บนพื้นฐานของความเข้าใจลุ่มลึก ในประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรมของไทยและพัฒนาการของประเทศเพื่อนบ้าน เพิ่มการรับรู้ของคนไทยด้านพหุวัฒนธรรม การเห็นคุณค่าและมีความอดกลั้นต่อความแตกต่างทางความเชื่อ ความคิด วิถีชีวิต ผ่านความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อนบ้าน การแลกเปลี่ยนเด็ก เยาวชน และนักเรียน การฝังตัวและการทำงานระยะสั้นในประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ **๔.๓.๖ การวางพื้นฐานระบบรองรับการเรียนรู้โดยใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์ม** โดยเน้นการพัฒนาทักษะดิจิทัล ทักษะการคัดกรองความรู้ องค์ความรู้ การใช้เทคโนโลยีผสมผสานกับคุณค่าของครูไปพร้อมกัน การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพที่ประชาชนสามารถเข้าถึงทรัพยากรและใช้ประโยชน์จากระบบการเรียนรู้และพัฒนาตนเองผ่านเทคโนโลยีการเรียนรู้สมัยใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด **๔.๓.๗ การสร้างระบบการศึกษาเพื่อเป็นเลิศทางวิชาการระดับนานาชาติ** โดยเน้นการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพสถาบันการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญและมีความโดดเด่นเฉพาะสาขาสู่ระดับนานาชาติ ในการให้บริการทางการศึกษา วิชาการ และการพัฒนาสมรรถนะแรงงาน ควบคู่กับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนนักเรียน นักศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาเพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการ เป็นศูนย์ฝึกอบรม และศูนย์ทดสอบสมรรถนะในระดับภูมิภาค **๔.๔ การตระหนักถึงพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย** อาทิ ภาษา ตรรกะและคณิตศาสตร์ ด้านทัศนะและมิติ ดนตรี กีฬาและการเคลื่อนไหวของร่างกาย การจัดการตนเอง มนุษยสัมพันธ์ รวมถึงผู้มีความสามารถอันโดดเด่นด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน โดยการพัฒนาและรักษากลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษของพหุปัญญาแต่ละประเภท การสร้างสภาพแวดล้อมและระบบสนับสนุนประชากรไทยมีอาชีพบนฐาน พหุปัญญา การสร้างเสริมศักยภาพผู้มีความสามารถพิเศษให้สามารถต่อยอดการประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคง **๔.๔.๑ การพัฒนาและส่งเสริมพหุปัญญาผ่านครอบครัว ระบบสถานศึกษา สภาพแวดล้อม รวมทั้งสื่อ** ตั้งแต่ระดับปฐมวัย เพื่อสร้างเด็กและเยาวชนไทยมีการพัฒนาที่สมดุล มีทางเลือกในการใช้ศักยภาพพหุปัญญาในการดำรงชีวิต เกิดอาชีพบนฐานพหุปัญญาที่สังคมยอมรับและเห็นความสำคัญ รวมทั้ง มีกลไกคัดกรองและส่งเสริมเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษ จัดโรงเรียน ระบบเสริมประสบการณ์ การมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ตลอดจนสร้างมาตรการจูงใจ เพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษผลักดันให้ประเทศไทยมีบทบาทเด่นในประชาคมโลก ทั้งด้านกีฬา ภาษาและวรรณกรรม สุนทรียศิลป์ ตลอดจนการวิจัย **๔.๔.๒ การสร้างเส้นทางอาชีพ สภาพแวดล้อมการทำงาน และระบบสนับสนุนที่เหมาะสมสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษผ่านกลไกต่าง ๆ** โดยจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือการทำงานที่เหมาะสม การสร้างระบบเชื่อมโยงเครือข่ายวิจัยกับศูนย์ความเป็นเลิศที่มีอยู่ในปัจจุบันในรูปแบบการร่วมมือ การมีกลไกการทำงานในลักษณะการรวมตัวของกลุ่มคนในหลายสาขาวิชา เพื่อรวมนักวิจัยและนักเทคโนโลยีชั้นแนวหน้าให้สามารถต่อยอดงานวิจัยที่สามารถตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ การสร้างความร่วมมือและเชื่อมต่อกับสถาบันวิจัยอื่น ๆ ทั่วโลก เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้นักวิจัยความสามารถสูงของไทย รวมถึงการเปิดพื้นที่ในการสร้างเสริมศักยภาพผู้มีความสามารถพิเศษให้สามารถต่อยอดการประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคง **๔.๔.๓ การดึงดูดกลุ่มผู้เชี่ยวชาญต่างชาติและคนไทยที่มีความสามารถในต่างประเทศ ให้มาสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับประเทศ** ทั้งในรูปแบบการทำงานชั่วคราวและถาวรตามความเหมาะสมของเป้าหมายการพัฒนาประเทศในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ รวมถึงผู้มีความสามารถที่มีศักยภาพสูงด้านต่าง ๆ ลูกหลานชาวต่างชาติที่กำเนิดในประเทศไทยที่มีความสามารถพิเศษ และการรับเด็กและเยาวชน ที่มีความสามารถพิเศษจากทั่วโลก และผู้เชี่ยวชาญที่มีศักยภาพหรือทักษะสูงในสาขาต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาประเทศ ควบคู่กับการรักษาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทั้งคนไทยหรือคนต่างชาติที่กำเนิดในประเทศไทยได้แสดงศักยภาพและใช้ความสามารถในการทำประโยชน์และสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศ **๔.๕ การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี** ครอบคลุมทั้งด้าน กาย ใจ สติปัญญา และสังคม มุ่งเน้นการเสริมสร้างการจัดการสุขภาวะในทุกรูปแบบ ที่นำไปสู่การมีศักยภาพในการจัดการสุขภาวะที่ดีได้ด้วยตนเอง พร้อมทั้งสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี และมีทักษะด้านสุขภาวะ ที่เหมาะสม **๔.๕.๑ การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาวะ** โดยพัฒนาองค์ความรู้และการสื่อสารด้านสุขภาวะ ที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ให้แก่ประชาชน พร้อมทั้งเฝ้าระวังและจัดการกับความรู้ด้านสุขภาวะที่ไม่ถูกต้อง จนเกิดเป็นทักษะทางปัญญาและสังคมที่เป็นการเพิ่มศักยภาพในการจัดการสุขภาวะตนเองของประชาชน อาทิ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองให้มีความเหมาะสม และการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในการดำรงชีวิต **๔.๕.๒ การป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามสุขภาวะ** โดยผลักดันการสร้างเสริมสุขภาวะในทุกนโยบายที่ให้หน่วยงานทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสุขภาพของประชาชน เพื่อลด ภัยคุกคามที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสุขภาวะคนไทย **๔.๕.๓ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี** โดยส่งเสริมให้มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เป็นมิตรต่อสุขภาพและเอื้อต่อการมีกิจกรรมสำหรับยกระดับสุขภาวะของสังคม จัดทำมาตรการทางการเงินการคลังที่สนับสนุนสินค้าที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ช่วยในการเสริมการมีสุขภาวะ รวมทั้งกำหนดให้มีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ โดยชุมชนและภาคประชาชนก่อนการดำเนินโครงการที่อาจกระทบต่อระดับสุขภาวะ **๔.๕.๔ การพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่ทันสมัยสนับสนุนการสร้างสุขภาวะที่ดี** โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในการสร้างความเลิศทางด้านบริการทางการแพทย์และสุขภาพแบบครบวงจรและทันสมัย ที่รวมไปถึงการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ในการให้คำปรึกษา วินิจฉัย และพยากรณ์การเกิดโรคล่วงหน้า การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพทางไกลให้มีความหลากหลาย เข้าถึงง่าย เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในพื้นที่ห่างไกล มีการเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์เข้ากับอินเทอร์เน็ต ทางด้านสุขภาพ และจัดให้มีระบบการเก็บข้อมูลสุขภาพของประชาชนตลอดช่วงชีวิตให้มีประสิทธิภาพ โดยอยู่บนพื้นฐานความยั่งยืนทางการคลัง รวมถึงการปฏิรูประบบการเก็บภาษีและรายจ่ายเพื่อให้บริการด้านสุขภาพ ตลอดจนการปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพในการสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับประชาชนทุกช่วงวัยอย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง เป็นธรรม และยั่งยืน **๔.๕.๕ การส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐานในการสร้างสุขภาวะที่ดีในทุกพื้นที่** โดยให้ชุมชนเป็นแหล่งบ่มเพาะจิตสำนึกการมีสุขภาพดีของประชาชน ผ่านการจัดการความรู้ด้านสุขภาพที่เป็นประโยชน์และสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างสุขภาวะที่พึงประสงค์ระหว่างกัน โดยรัฐจะทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกที่สำคัญในการอำนวยความสะดวกให้ชุมชนสามารถสร้างการมีสุขภาวะดีของตนเองได้ เพื่อให้ชุมชนเป็นพื้นที่สำคัญในการจัดการสุขภาวะของแต่ละพื้นที่ **๔.๖ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์** มุ่งเน้นการสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย การส่งเสริมบทบาทในการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ครอบครัวและชุมชนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การปลูกฝังและพัฒนาทักษะนอกห้องเรียน และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ **๔.๖.๑ การสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย** โดยส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพ มีพัฒนาการสมวัย พัฒนาทักษะชีวิตและการเรียนรู้ การทำงานและการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพของประชากรแต่ละช่วงวัย โดยเริ่มจากการสร้างและพัฒนาบุตรที่มีคุณภาพ เพื่อส่งเสริมการเกิดที่มีคุณภาพในกลุ่มประชากรวัยเจริญพันธุ์ทุกกลุ่มให้มีประชากรที่มีคุณภาพ รวมถึงการสร้างครอบครัวที่เหมาะสมกับโลกในศตวรรษที่ ๒๑ โดยส่งเสริมความรู้ในการวางแผนชีวิตที่เหมาะสมกับค่านิยมของคนรุ่นใหม่ และการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมบนฐานความรู้ทางวิชาการตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์และถึงช่วงอายุต่าง ๆ โดยให้ทุกภาคส่วนในสังคมเข้ามามีส่วนร่วม พร้อมทั้งการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างครอบครัวอบอุ่นเข้มแข็ง โดยเน้นการส่งเสริมการเกื้อกูลกันของคนทุกวัยในครอบครัวในการดูแลสมาชิกในครอบครัว การส่งเสริมนโยบายการสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน การส่งเสริมสนับสนุนภาคเอกชน สถานประกอบการจัดบริการที่ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสนับสนุนครอบครัวในการเลี้ยงดูบุตรและการดูแลผู้สูงอายุ การสนับสนุนบทบาทของชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเข้ามาเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว รวมทั้งปรับปรุงกฎหมาย กำหนดบทบาท และจัดสรรทรัพยากรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเสริมพลังครอบครัว ควบคู่กับการปฏิรูปสื่อให้มีบทบาทในเชิงสร้างสรรค์ในการให้ความรู้ต่อการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งครอบครัว **๔.๖.๒ การส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครอบครัวและชุมชนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์** เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างบรรทัดฐานที่ดี ในสังคม การสร้างกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาทักษะของประชากรให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาตนเองและการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม รวมทั้งสนับสนุนด้านวิชาการและสร้างนวัตกรรมที่สนับสนุนการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน **๔.๖.๓ การปลูกฝังและพัฒนาทักษะนอกห้องเรียน** โดยเน้นให้พ่อแม่มีวัฒนธรรมที่ปลูกฝัง ให้ลูกเพิ่มพูนทักษะการเรียนรู้ชีวิต ดนตรี กีฬา ศิลปะ รวมทั้งส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน เปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ และจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายและเหมาะสม เอื้อแก่ครอบครัวทุกลักษณะ รวมถึงจัดให้มีพื้นที่ในการจัดกิจกรรมสาธารณะให้เป็นศูนย์รวมแห่งการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมการใช้เวลาอย่างสร้างสรรค์และมีคุณภาพ ตลอดจนการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีคุณภาพและสามารถเข้าถึงได้ง่าย **๔.๖.๔ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์** ที่มีความเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างกระทรวง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการเชื่อมโยงข้อมูลรายบุคคลที่เกี่ยวกับการศึกษา การพัฒนาตนเอง สุขภาพและการพัฒนาอาชีพในตลอดช่วงชีวิต เพื่อเสริมและสร้างศักยภาพของการดำเนินงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามพันธกิจของแต่ละกระทรวงให้มีความเข้มแข็ง และตอบโจทย์ประเทศ เป็นฐานข้อมูลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถประเมินจุดอ่อน จุดแข็ง และศักยภาพบุคคลของประเทศ นำไปสู่การตัดสินใจระดับนโยบายและปฏิบัติ เพื่อพัฒนาคนไทยอย่างมีทิศทางและสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต รวมถึงข้อมูลที่สนับสนุนการผลิตกำลังแรงงานที่มีทักษะตรงต่อความต้องการของตลาดงานในอนาคต และใช้ประกอบการตัดสินใจในการศึกษาต่อ ธนาคารคลังสมองเพื่อรวบรวมผู้สูงอายุที่มีความรู้ ประสบการณ์ และทักษะ เพื่อถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และทักษะ ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ **๔.๗ การเสริมสร้างศักยภาพการกีฬาในการสร้างคุณค่าทางสังคมและพัฒนาประเทศ** โดยมุ่งส่งเสริมการใช้กิจกรรมนันทนาการและกีฬาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างสุขภาวะของประชาชนอย่างครบวงจรและมีคุณภาพมาตรฐาน การสร้างนิสัยรักกีฬาและมีน้ำใจเป็นนักกีฬา และการใช้กีฬาและนันทนาการในการพัฒนาจิตใจ สร้างความสามัคคีของคนในชาติ หล่อหลอมการเป็นพลเมืองดี พัฒนาคุณภาพชีวิต รวมทั้งการพัฒนาทักษะด้านกีฬาสู่ความเป็นเลิศและกีฬาเพื่อการอาชีพในระดับนานาชาติในการสร้างชื่อเสียงและเกียรติภูมิของประเทศชาติเพื่อรองรับอุตสาหกรรมกีฬา **๔.๗.๑ การส่งเสริมการออกกำลังกาย และกีฬาขั้นพื้นฐานให้กลายเป็นวิถีชีวิต** โดยส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไป บุคคลกลุ่มพิเศษ และผู้ด้อยโอกาส มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ การออกกำลังกาย การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการเล่นกีฬาบางชนิดที่มีความจำเป็นต่อทักษะในการดำรงชีวิต รวมทั้งการมีอิสระในการประกอบกิจกรรมนันทนาการตามความถนัดหรือความสนใจเฉพาะบุคคล และปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นวิถีชีวิต เพื่อพัฒนาจิตใจ สร้างความสัมพันธ์อันดี หล่อหลอมจิตวิญญาณและการเป็นพลเมืองดี **๔.๗.๒ การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมออกกำลังกาย กีฬาและนันทนาการ** โดยเน้นการจัดกิจกรรมกีฬา สร้างโอกาสและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกีฬาอย่างต่อเนื่อง การปลูกฝังให้มีคุณธรรมของความเป็นนักกีฬา มีระเบียบ วินัย รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย และรู้จักการขอโทษ รวมถึงการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐาน ด้านอุปกรณ์ สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกทางกีฬาและนันทนาการที่มีคุณภาพและมาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการและเหมาะสมกับประชาชนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย **๔.๗.๓ การส่งเสริมการกีฬาเพื่อพัฒนาสู่ระดับอาชีพ** โดยมุ่งการสร้างและพัฒนานักกีฬา ของชาติ การเฟ้นหานักกีฬาที่มีความสามารถ สร้างพื้นที่และโอกาสในการแข่งขันแสดงศักยภาพ ด้านกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา การส่งเสริมการจัดกีฬาระดับนานาชาติ และสร้างแรงบันดาลใจในการ ต่อยอดความสำเร็จจากความเป็นเลิศสู่การประกอบอาชีพและมีเส้นทางอาชีพที่มั่นคง ควบคู่กับส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมด้านการกีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬา การจัดการความรู้ และพัฒนาระบบฐานข้อมูล เพื่อนำมาใช้ส่งเสริมและสนับสนุนกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ กีฬาเพื่อการอาชีพ และนันทนาการเชิงพาณิชย์ **๔.๗.๔ การพัฒนาบุคลากรด้านการกีฬาและนันทนาการเพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมกีฬา** โดยมุ่งสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านการกีฬาและนันทนาการทั้งครูหรือผู้สอนกีฬา ผู้ตัดสินกีฬา นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ผู้บริหารการกีฬา อาสาสมัครกีฬา ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน สามารถถ่ายทอดความรู้ให้เด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไป บุคคลกลุ่มพิเศษ และผู้ด้อยโอกาสได้อย่างถูกต้อง และสามารถต่อยอดศักยภาพในการพัฒนาเป็นบุคลากรทางการกีฬาและนันทนาการที่มีมาตรฐานของประเทศ รวมทั้งสนับสนุนและเสริมศักยภาพรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมกีฬาและนันทนาการและ การพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการลงทุนและฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมกีฬาของภูมิภาคเอเชียควบคู่กับ การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬาและนันทนาการ การสนับสนุนและส่งเสริมผลิตบุคลากรและการพัฒนานวัตกรรมที่สนับสนุนอุตสาหกรรมกีฬาและนันทนาการ ตลอดจนมีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการกีฬาและนันทนาการ และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง **ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม** **๑. บทนำ** ปัญหาความเหลื่อมล้ำจะเป็นหนึ่งความท้าทายที่สำคัญในการพัฒนาและยกระดับประเทศให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน และบรรลุเป้าหมายของการเป็นประเทศที่มีรายได้สูงในอีก ๒๐ ปีข้างหน้า ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าหลายทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศให้ก้าวออกจากภาวะความยากจน แต่การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและการสร้างความเป็นธรรมนับว่ายังประสบปัญหาท้าทายในหลายมิติ โดยการกระจายทรัพยากรและความมั่งคั่งในสังคมยังคงมีการกระจุกตัวอยู่มาก การกระจายโอกาสของการพัฒนายังไม่ทั่วถึง รวมทั้งโอกาสการถือครองที่ดินและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ แหล่งทุน บริการทางสังคมและกระบวนการยุติธรรมที่มีคุณภาพยังมีความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มประชากร โดยเฉพาะในภาคการเกษตรและชนบท ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของภาวะหนี้สิน การอพยพแรงงานเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมและบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการกระจุกตัวในเมืองใหญ่ไม่กี่เมือง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของครอบครัว และส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ ในระยะยาว และอาจมีความรุนแรงมากขึ้นในสภาวะของการเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอนาคตอันใกล้ ดังนั้น ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมจึงได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่เน้นการตอบโจทย์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อให้การเติบโตของประเทศเป็นการเติบโตที่ยั่งยืนโดยทุกคนได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม การกำหนดให้ภาคการเกษตรและครัวเรือนเป็นกลุ่มเป้าหมายของการปรับโครงสร้างและพฤติกรรม และการกระจายศูนย์กลางความเจริญเพื่อให้เกิดการสร้างงานในพื้นที่ เพื่อพลิกฟื้นโครงสร้างทางสังคมควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ และช่วยลดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ ยังเน้นการดึงเอาพลังทางสังคมที่ประกอบด้วยภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น มาร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในรูปแบบประชารัฐ ซึ่งจะช่วยให้เกิด การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ยั่งยืน รวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการตนเอง และ การเตรียมความพร้อมของประชากรไทยทั้งในมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อมให้เป็นประชากร ที่มีคุณภาพ สามารถพึ่งตนเองและทำประโยชน์แก่ครอบครัว ชุมชน และสังคมให้นานที่สุด **๒. เป้าหมาย** **๒.๑** สร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ **๒.๒** กระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม เพิ่มโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามาเป็นกำลังของการพัฒนาประเทศในทุกระดับ **๒.๓** เพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนา การพึ่งตนเองและการจัดการตนเอง เพื่อสร้างสังคมคุณภาพ **๓. ตัวชี้วัด** **๓.๑** ความแตกต่างของรายได้และการเข้าถึงบริการภาครัฐระหว่างกลุ่มประชากร **๓.๒** ความก้าวหน้าของการพัฒนาคน **๓.๓** ความก้าวหน้าในการพัฒนาจังหวัดในการเป็นศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี **๓.๔** คุณภาพชีวิตของประชากรสูงอายุ **๔. ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม** **๔.๑ การลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ** **๔.๑.๑ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจฐานราก** พัฒนาการเกษตรให้เหมาะสมกับศักยภาพของเกษตรกร ฐานทรัพยากรและบริบทของพื้นที่และชุมชนท้องถิ่น โดยเน้นระบบการจัดการตนเองของเกษตรกร และการมีกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงฐานทรัพยากร การวิจัย ความรู้ ทั้งทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการผลิตและยกระดับเป็นผู้ประกอบการตลอดห่วงโซ่คุณค่า และเพิ่มช่องทางการตลาดและเชื่อมโยงการค้าด้วยเครือข่ายพันธมิตรและวิสาหกิจเพื่อสังคม กำหนดนโยบายและกติกาเพื่อเพิ่มโอกาสของเกษตรกร พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงส่งเสริมการผลิตแปรรูปสินค้าให้มีเอกลักษณ์ และการจัดการในภาคบริการที่เชื่อมโยงกับฐานทรัพยากรของชุมชน เพื่อยกระดับเกษตรกรสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคการเกษตร **๔.๑.๒ ปฏิรูประบบภาษีและการคุ้มครองผู้บริโภค** โดยกำหนดมาตรการเพื่อสร้างความเสมอภาคที่สำคัญ การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความเสมอภาคในการจัดเก็บภาษีและพัฒนาระบบข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงินของประชาชนและภาคธุรกิจ กำหนดเป้าหมายการจัดเก็บภาษี และค่าธรรมเนียมเพื่อนำไปใช้ในการจัดบริการที่ชัดเจน ตลอดจนการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเน้นการแก้ไขกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ปรับปรุงระบบและกลไกในการคุ้มครองผู้บริโภค สนับสนุนองค์กรของผู้บริโภคให้มีความเข้มแข็ง ป้องกัน การละเมิดสิทธิผู้บริโภคและอำนวยความยุติธรรมแก่ผู้บริโภค สนับสนุนการบริโภคอย่างยั่งยืน และส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในการคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างเป็นรูปธรรม **๔.๑.๓ กระจายการถือครองที่ดินและการเข้าถึงทรัพยากร** โดยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างเขตพื้นที่ป่าทับซ้อนพื้นที่ทำกินของประชาชน รับรองสิทธิชุมชนในการเข้าใช้ประโยชน์ที่ดิน กำหนดมาตรการเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์อย่างเป็นธรรม และกระจายการถือครองที่ดินในขนาด ที่เหมาะสมต่อการประกอบอาชีพเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการถือครองที่ดิน ปรับระบบเอกสารสิทธิ์ การถือครองที่ดินประเภทต่าง ๆ ให้ผู้มีรายได้น้อยและผู้ที่ไม่มีที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ใช้เป็นหลักฐานประกอบการขอพิจารณาสินเชื่อกับสถาบันการเงินได้ รวมถึงการปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินสาธารณะเพื่อการประกอบอาชีพสำหรับประชาชน เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่าง เป็นธรรมและมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง **๔.๑.๔ เพิ่มผลิตภาพและคุ้มครองแรงงานไทย ให้เป็นแรงงานฝีมือที่มีคุณภาพและความริเริ่มสร้างสรรค์ มีความปลอดภัยในการทำงาน** โดยส่งเสริมการปรับทัศนคติของนายจ้างให้มองลูกจ้างว่าสามารถเพิ่มมูลค่าและคุณค่าให้กับธุรกิจได้ สถานประกอบการจัดโครงสร้างค่าจ้างตามความสามารถและประสบการณ์ ส่งเสริมกลไกและระบบการออมและแหล่งเงินทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบการ รวมถึงการยกระดับกลไกการดูแลแรงงานไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ตลอดจนการพัฒนาด้านคุณภาพแรงงาน ทั้งในด้านทักษะฝีมือแรงงานและความสามารถด้านเทคโนโลยี ภาษาและการจัดการ เพื่อส่งเสริมให้แรงงานพัฒนาตนเองไปเป็นผู้ประกอบการได้ **๔.๑.๕ สร้างหลักประกันทางสังคมที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับคนทุกช่วงวัย ทุกเพศภาวะและทุกกลุ่ม** เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในบริบทของสังคมสูงวัย รวมทั้งสร้างสภาพแวดล้อม ทางกายภาพและทางสังคมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตและการมีส่วนร่วมเป็นพลังในสังคมสำหรับคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะผู้พิการและผู้สูงวัย โดยการเชื่อมโยงระบบข้อมูลสวัสดิการรายบุคคล และการพัฒนาระบบ การให้บริการสวัสดิการที่เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชน ธุรกิจ หรือองค์กรประชาสังคม เพื่อให้สามารถพัฒนาระบบสวัสดิการถ้วนหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้เป็นภาระทางการคลังมากเกินไป ส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการออมและการลงทุนระยะยาวเพื่อเพิ่มความสามารถในการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจของประชาชนทุกกลุ่มด้วยมาตรการทางภาษีและอื่น ๆ ตลอดจนส่งเสริมให้แรงงานทั้งในระบบและนอกระบบเข้าสู่ระบบประกันสังคมอย่างทั่วถึง **๔.๑.๖ ลงทุนทางสังคมแบบมุ่งเป้าเพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนยากจนและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสโดยตรง** โดยการจัดให้มีมาตรการพิเศษเพื่อให้สามารถระบุตัวกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือ เป็นพิเศษ และให้ความคุ้มครองทางสังคมและสวัสดิการอย่างเฉพาะเจาะจงกลุ่มเป้าหมายผู้มีรายได้น้อย ยากจน และผู้ที่ถูกเลือกปฏิบัติซ้ำซ้อน โดยมีเป้าหมายการตัดขาดวงจรความยากจนไม่ให้ส่งต่อจากรุ่นพ่อแม่ไปสู่ รุ่นลูกหลาน และช่วยเหลือกลุ่มคนที่เดือดร้อนที่สุด **๔.๑.๗ สร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข และการศึกษา โดยเฉพาะสำหรับผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส** โดยในด้านบริการสาธารณสุข เน้นการกระจายทรัพยากรและเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์ การพยาบาล ให้กระจายไปยังพื้นที่อำเภอ ตำบล เพื่อให้สามารถดูแลประชาชนได้ อย่างทั่วถึง การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพให้ครอบคลุมผู้มีรายได้น้อย ให้ได้รับบริการที่ไม่มีความเหลื่อมล้ำในด้านคุณภาพ รวมทั้งระบบคุ้มครองการรักษาพยาบาลต่อการเจ็บป่วยที่สร้างภาระทางการเงินโดยไม่คาดคิดหรือเกินขีดความสามารถของผู้มีรายได้น้อย สนับสนุนส่งเสริมให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพ รวมถึงการพัฒนาสถานพยาบาลให้มีคุณภาพและมีสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรตามมาตรฐานสากลในทุกพื้นที่ และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการให้บริการสาธารณสุข ด้านการศึกษาเน้นการสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพที่เป็นมาตรฐานเสมอกัน โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารและยากจนและกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ การจัดให้มีมาตรการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การสนับสนุนกลไก ความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อพัฒนาการศึกษาในระดับจังหวัด การใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ความรู้และนวัตกรรมของคนทุกกลุ่ม รวมถึงระบบการติดตามสนับสนุนและประเมินผลเพื่อสร้างหลักประกันสิทธิการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพของประชาชน **๔.๑.๘ สร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างทั่วถึง** เน้นการสร้างหลักประกันในการเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกัน การพัฒนากลไกช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในการ ต่อสู้คดีที่มีคุณภาพมาตรฐานและเพียงพอ การให้หลักประกันสิทธิของผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหาในการได้รับ ความช่วยเหลือจากรัฐอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน การกำหนดกรอบเวลาและขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพ การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เป็นธรรมและเสมอภาค และการมีมาตรการ ที่ละเอียดอ่อนสำหรับคดีความผิดเกี่ยวกับเพศและการจัดการคดีเกี่ยวกับกลุ่มที่มีความเปราะบาง ตลอดจน การพัฒนาวิธีพิจารณาความแพ่งและคดีปกครองเพื่อเพิ่มโอกาสของประชาชนในการเข้าถึงความยุติธรรม ปรับปรุงระบบโทษปรับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใส และระบบการช่วยเหลือผู้พ้นโทษในการกลับสู่สังคม **๔.๒ การกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี** **๔.๒.๑ พัฒนาศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีในภูมิภาค** โดยคำนึงถึงสัดส่วนจำนวนประชากรของจังหวัดบริวาร เพื่อให้สามารถดูแลการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากร ได้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ กระจายโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี คมนาคมและการสื่อสาร จัดทำผังเมือง และผังภาคเพื่อการจัดโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค แหล่งงาน แหล่งน้ำ และการใช้ที่ดิน ให้สามารถพึ่งตนเองได้ภายในกลุ่มจังหวัด รวมทั้งส่งเสริมให้จังหวัดหลักมีความสามารถในด้านการบริหารจัดการและจัดการตนเองได้อย่างเป็นอิสระมากขึ้น เพื่อให้สามารถสร้างความแตกต่างบนฐานศักยภาพของทรัพยากรและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้ และส่งเสริมการพัฒนาจังหวัดรองควบคู่ไปกับการพัฒนาจังหวัดหลัก **๔.๒.๒ กำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละกลุ่มจังหวัดในมิติต่าง ๆ** โดยการ มีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่ของตนเอง และบูรณาการแผนให้มีความเชื่อมโยงสอดคล้องกันในทุกระดับเป็นแผนเดียวกัน ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด จนถึงกลุ่มจังหวัด เน้นการกระจายแหล่งอุตสาหกรรมในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการสร้างงานในพื้นที่ และการพัฒนาภาคบริการที่คนในพื้นที่ สามารถเป็นผู้ประกอบการ และสามารถกระจายรายได้ให้เกิดความเป็นธรรม ให้ความสำคัญกับ การสร้าง “คุณค่า” และ “มูลค่า” ทางเศรษฐกิจ จากศักยภาพของฐานทรัพยากรของแต่ละพื้นที่ ทั้งทรัพยากร ธรรมชาติ ทุนทางวัฒนธรรมและทุนทางสังคม การสร้างการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่และผู้ประกอบการในการสืบค้น นำมาปรับใช้และยกระดับการใช้ทรัพยากรนั้นอย่างยั่งยืน **๔.๒.๓ จัดระบบเมืองที่เอื้อต่อการสร้างชีวิตและสังคมที่มีคุณภาพและปลอดภัย ให้สามารถตอบสนองต่อสังคมสูงวัยและแนวโน้มของการขยายตัวของเมืองในอนาคต** โดยพัฒนาระบบผังเมือง ของประเทศและผังเมืองระดับพื้นที่ พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการเมืองและการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ให้เป็นเมืองอัจฉริยะ ปลอดภัย สะดวกสำหรับคนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพและโอกาสของเมืองด้วยการมีส่วนร่วมและการลงทุนของภาคเอกชน ชุมชนและภาคประชาสังคม รวมทั้งส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดูแลคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของคนในเมือง ตลอดจนลดความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มประชากรที่อาศัยในเขตเมือง **๔.๒.๔ ปรับโครงสร้างและแก้ไขกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อวางระบบและกลไกการบริหารงานในระดับภาค กลุ่มจังหวัด** เพื่อรับผิดชอบการบริหารงานในระดับภาค กลุ่มจังหวัด ที่เชื่อมโยงกัน และสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาในระดับกลุ่มจังหวัดและระดับภาค ปรับโครงสร้างและปรับปรุงกฎหมายเพื่อจัดความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นให้เอื้อต่อประชาชนในการตัดสินใจเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาพื้นที่และการกำกับติดตามเพื่อสร้างธรรมาภิบาลในการทำงานของภาครัฐ ตลอดจนการปรับปรุงกฎหมายเพื่อพัฒนาระบบการปกครองท้องถิ่น และการเปิดพื้นที่ และโอกาสการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางของภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาควิชาการในการกำหนดยุทธศาสตร์จังหวัด/กลุ่มจังหวัด **๔.๒.๕ สนับสนุนการพัฒนาพื้นที่บนฐานข้อมูลความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม** โดยการพัฒนาระบบฐานข้อมูลมิติต่าง ๆ ของพื้นที่ให้มีความถูกต้องแม่นยำ การเปิดเผยข้อมูลสำคัญที่จะเอื้อให้ประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน การตัดสินใจและการติดตามการดำเนินงาน ของรัฐ พัฒนากลไกเพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ รวมถึงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น การขยายเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้ชุมชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ และนำไปใช้เพื่อพัฒนาพื้นที่ ตลอดจนการเพิ่มบทบาทของสถาบันการศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อร่วมพัฒนาพื้นที่และชุมชนท้องถิ่น **๔.๒.๖ การพัฒนากำลังแรงงานในพื้นที่** โดยการวางแผนกำลังคนที่สอดคล้องกับแผน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มจังหวัด และการพัฒนาทักษะอาชีพที่สอดคล้องกับบริบทของเมือง ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เน้นการส่งเสริมการยกระดับทักษะของผู้ประกอบการ และกลุ่มวิสาหกิจในพื้นที่ ทั้งในด้านภาษา การบริหารธุรกิจ การจัดการห่วงโซ่คุณค่าและตลาด การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงการพัฒนาระบบที่มีประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงความต้องการของกำลังแรงงานในพื้นที่กับระบบการผลิตกำลังคนในสายอาชีพ **๔.๓ การเสริมสร้างพลังทางสังคม** **๔.๓.๑ สร้างสังคมเข้มแข็งที่แบ่งปัน ไม่ทอดทิ้งกัน และมีคุณธรรม** โดยสนับสนุนการรวมตัวและดึงพลังของภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะการเชื่อมพลังของคนสามวัย คือเยาวชนคนรุ่นใหม่ คนวัยทำงาน และผู้สูงอายุ ให้มาเป็นกำลังของการพัฒนาเพื่อส่วนรวม โดยการสร้างเวทีกลางเป็นพื้นที่สาธารณะ เพื่อปรึกษา หารือปัญหาสาธารณะของพื้นที่ ตั้งแต่ระดับชุมชน ท้องถิ่น อำเภอจนถึงระดับจังหวัด การสร้างผู้นำ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสร้างกลไกการทำงานร่วมกันของภาคส่วนต่าง ๆ การสนับสนุนกิจกรรมของเด็กและเยาวชนในจังหวัดต่าง ๆ เพื่อฝึกทักษะให้เป็นผู้นำรุ่นใหม่ในอนาคต ตลอดจนสนับสนุนระบบวิสาหกิจ เพื่อสังคม การดำเนินงานของภาคประชาสังคม การสร้างเครือข่ายในพื้นที่ รวมถึงการสร้างชุมชนเสมือนบนเครือข่ายสื่อ ให้เป็นเครือข่ายเรียนรู้ร่วมกันทางสังคมที่ร่วมทำสิ่งที่สร้างสรรค์ และการยกย่องให้คุณค่ากับ การทำประโยชน์ร่วมกันเพื่อส่วนรวม **๔.๓.๒ การรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ** โดยเตรียมความพร้อมในทุกมิติ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะการออมและการลงทุนระยะยาวของคนตั้งแต่ ก่อนเกษียณอายุ พัฒนาระบบและกลไกเพื่อสนับสนุนการปรับตัวของประชากรให้สามารถปรับเปลี่ยนอาชีพ ให้เหมาะสมตามแต่ละช่วงอายุ เพื่อยืดช่วงเวลาและเพิ่มโอกาสในการทำงานในยามสูงอายุและสร้างหลักประกันทางรายได้ให้แก่ตนเองได้นานขึ้น สร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนหรือสถานประกอบการในการเตรียมความพร้อมของแรงงานก่อนวัยเกษียณ การจ้างงานผู้สูงอายุให้เหมาะสมกับวัยวุฒิ ประสบการณ์ และสมรรถนะ ตลอดจนส่งเสริมการสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับการส่งเสริมและฟื้นฟูศักยภาพผู้สูงอายุ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทำต่อเนื่องทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ รวมทั้งคงไว้ ซึ่งบทบาทในการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม โดยส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้ทุกภาคส่วนมีการจ้างงานผู้สูงอายุให้เหมาะสมกับวัยวุฒิ ประสบการณ์ และสมรรถนะ ส่งเสริมการถ่ายทอดภูมิปัญญาและประสบการณ์ และร่วมสร้างสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน เพื่อเพิ่มคุณค่าของผู้สูงอายุ **๔.๓.๓ สนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคมและภาคประชาชน** เพื่อสนับสนุนการทำงานของภาคส่วนต่าง ๆ สนับสนุนการจัดตั้งองค์กรภาคประชาสังคมและองค์กรชุมชนในรูปแบบนิติบุคคลเพื่อดำเนินกิจกรรมสร้างสรรค์ประโยชน์สาธารณะต่าง ๆ รวมทั้ง การปรับปรุงระเบียบการใช้งบประมาณและจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐเพื่อเอื้อให้สามารถสนับสนุนความริเริ่ม ที่สร้างสรรค์ของภาคส่วนต่าง ๆ **๔.๓.๔ ส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศและบทบาทของสตรีในการสร้างสรรค์สังคม** โดยปรับเปลี่ยนทัศนคติและบทบาทเพศ เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและการยอมรับของสังคมต่อเรื่อง เพศสภาพและความเสมอภาคทางเพศ ส่งเสริมให้ทุกเพศมีส่วนร่วมรับผิดชอบครอบครัวและร่วมกันพัฒนาสังคม ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว พัฒนาระบบสวัสดิการทางสังคมในสถานประกอบการเพื่อให้ทั้งชาย และหญิงสามารถดูแลครอบครัวได้อย่างสมดุลกับการทำงาน ส่งเสริมการสร้างประชากรรุ่นใหม่บนรากฐาน ของครอบครัวที่มีคุณภาพ เพิ่มโอกาสของสตรีในการทำงานเชิงเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเพิ่มศักยภาพความรู้ความสามารถและภาวะผู้นำของสตรีเพื่อให้สามารถมีบทบาทในทางการเมืองและการบริหารทั้งในระดับสากล ระดับชาติและในระดับท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมและกว้างขวาง **๔.๓.๕ สนับสนุนการพัฒนาบนฐานทุนทางสังคมและวัฒนธรรม** ภายใต้บริบทของสังคม ที่มีความหลากหลายมากขึ้นทั้งทางชาติพันธุ์ ศาสนา และวิถีชีวิตทางวัฒนธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ ส่งเสริม ความตระหนักในสิทธิมนุษยชน สร้างความเท่าเทียมกันในเรื่องสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในกลุ่มชาติพันธุ์ ให้ความสำคัญกับองค์ความรู้และภูมิปัญญาของกลุ่มชน สร้างความภาคภูมิใจในรากเหง้าของคนในท้องถิ่น สร้างความเข้าใจและจุดร่วมบนความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์ และส่งเสริมบทบาทของสถาบันการศึกษาในการช่วยยกระดับคุณค่าที่หลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรมให้เป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากได้ รวมถึงเชื่อมโยงการสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน บนรากฐานมรดกทางวัฒนธรรมที่มีร่วมกันกับประเทศไทย **๔.๓.๖ สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสร้างสรรค์ เพื่อรองรับสังคม ยุคดิจิทัล** พัฒนาระบบโครงสร้างเครือข่ายด้านข้อมูลเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องทันสมัยได้อย่างรวดเร็ว ส่งเสริมเสรีภาพของสื่อสาธารณะ ควบคู่ไปกับมาตรการสร้างความรับผิดชอบของสื่อ ต่อสังคม รวมถึงส่งเสริมบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องในการให้ความรู้เรื่องสิทธิเพื่อคุ้มครองการใช้เทคโนโลยีและสื่อตามมาตรฐานความปลอดภัยและกฎหมาย ตลอดจนพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ทั้งในเชิงเนื้อหา และการสร้างความตระหนักและภูมิคุ้มกันของผู้เสพสื่อ **๔.๔ การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนา การพึ่งตนเองและการจัดการตนเอง** **๔.๔.๑ ส่งเสริมการปรับพฤติกรรมในระดับครัวเรือน ให้มีขีดความสามารถในการจัดการวางแผนชีวิต สุขภาพ ครอบครัว การเงินและอาชีพ** โดยใช้ข้อมูลความรู้ และการยกระดับการเรียนรู้ ของครัวเรือน ทั้งในกลุ่มครัวเรือนภาคเกษตรและอาชีพอื่น ๆ เพื่อปรับการคิดเชิงระบบ การวางแผนอนาคต การออมและการลงทุน การดูแลสุขภาพความเป็นอยู่ของสมาชิกในครอบครัว เพิ่มทักษะทางการเงินและ การวางแผนการจัดการที่ดิน ที่อยู่อาศัยและระบบการผลิตด้านอาชีพ เพิ่มความสามารถในการประกอบการธุรกิจ การบริหารจัดการ ตลอดจนพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระดับชุมชนและท้องถิ่น อันเป็นการสร้าง การเรียนรู้จากภายในเพื่อสร้างคนที่มีระบบคิดที่มีเหตุผลและพึ่งตนเองได้ ตามแนวทางหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง **๔.๔.๒ เสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการพึ่งตนเองและการพึ่งพากันเอง** โดยสนับสนุนการรวมกลุ่มของสมาชิกในชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ให้ชุมชนได้บริหารจัดการและมีส่วนร่วม ในกิจการที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนโดยตรง การสนับสนุนการจัดทำแผนแม่บทชุมชนที่สะท้อนปัญหาความต้องการที่แท้จริงของชุมชน โดยมีข้อมูลครัวเรือนเพื่อสนับสนุนการจัดทำแผน และเชื่อมโยงแผนชุมชนกับแผนพัฒนาตำบล แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด และแผนพัฒนาภาค และเชื่อมโยงกับ การกำหนดการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกัน ขับเคลื่อนกลไกความร่วมมือทุกภาคส่วนให้มีเป้าหมายทิศทาง มีความสมดุล มีอิสระและมีอำนาจในการตัดสินใจ โดยมีระบบการติดตามตรวจสอบที่ต่อเนื่องและโปร่งใส ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาตัวชี้วัดและระบบการประเมินความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อให้สามารถติดตามความก้าวหน้าในการยกระดับความเข้มแข็งของชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง **๔.๔.๓ สร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อสร้างประชาธิปไตยชุมชน** โดยสนับสนุนให้ประชาชนสามารถรวมกลุ่มและมีเวทีกลางเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันและเพื่อปรึกษาหารือกิจการ ที่เป็นประเด็นสาธารณะ สามารถกำหนดเป้าหมายการพัฒนาบนฐานการมีข้อมูลและการใช้เหตุผล และสร้างข้อตกลงร่วมกันที่สามารถผูกพันและตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ และลดความขัดแย้งได้ อันจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างประชาธิปไตยที่ระดับฐานราก และสร้างความสมานฉันท์ ตลอดจนปรับบทบาทภาครัฐให้เป็นฝ่ายสนับสนุนให้ชุมชนจัดการตนเองได้มากขึ้น โดยรัฐเป็นที่ปรึกษาสนับสนุนองค์ความรู้และพัฒนาทักษะในการบริหารจัดการให้กับชุมชน เพื่อเป็นพลังของการพัฒนา **๔.๔.๔ สร้างภูมิคุ้มกันทางปัญญาให้กับชุมชน** โดยการสร้างการเรียนรู้ของชุมชนให้สามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก การพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมโอกาสการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ของชุมชน ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เพื่อเร่งกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในการก้าวเข้าสู่สังคมในยุคดิจิทัล การพัฒนาวิธีคิดในการประกอบการและการจัดการความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ในบริบทของการแข่งขันอย่างยั่งยืน รวมถึงการเพิ่มความสามารถและทักษะในการใช้ความรู้ และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาและยกระดับขีดความสามารถของชุมชนในการจัดการตนเอง และสร้างหลักประกันให้คนทุกกลุ่มได้รับโอกาสและเข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองโดยไม่จำกัดวัยหรือเพศสภาวะ **ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม** **๑. บทนำ** ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอยู่อย่างจำกัด ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำรงชีพของมนุษย์ และส่งผลต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า และเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมาย การพัฒนาประเทศในระยะ ๒๐ ปีได้อย่างยั่งยืน จึงจำเป็นต้องกำหนดให้มียุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโต บนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของประเทศในปัจจุบันที่มีปัญหาความเสื่อมโทรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของพื้นที่ป่าไม้ที่ลดลง ทรัพยากรดินเสื่อมโทรม ความหลากหลายทางชีวภาพถูกคุกคาม ทรัพยากรน้ำที่ยังไม่สามารถจัดสรรได้ตามความต้องการได้อย่างเต็มศักยภาพและมีความเสี่ยงในการขาดแคลนในอนาคต ซึ่งปัญหาเชิงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะก่อให้เกิดจุดอ่อนของการรักษาและยกระดับฐานการผลิตและบริการของประเทศได้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้น้อมนำศาสตร์ของพระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยยึดหลัก ๓ ประการคือ “มีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน” มาเป็นหลักในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติควบคู่กับการนำเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง ๑๗ เป้าหมาย มาเป็นกรอบแนวคิดที่จะผลักดันดำเนินการเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาล และความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างกันทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างบูรณาการ โดยมีวิสัยทัศน์เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ที่ดีที่สุดในอาเซียนภายในปี พ.ศ. ๒๕๘๐ จากหลักการดังกล่าวข้างต้น ทำให้การพัฒนายุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิต ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถูกดำเนินการบนพื้นฐานความเชื่อในการเติบโตร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต โดยให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลทั้ง ๓ ด้าน ไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไป อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนเพื่อคนรุ่นต่อไปอย่างแท้จริง สอดคล้องกับแนวคิดหลักของแผน คือ เติบโต สมดุล ยั่งยืน ซึ่งเป็นหัวใจของยุทธศาสตร์ชาติด้านนี้ **๒. เป้าหมาย** **๒.๑** อนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ให้คนรุ่นต่อไปได้ใช้ อย่างยั่งยืน มีสมดุล **๒.๒** ฟื้นฟูและสร้างใหม่ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบทางลบจาก การพัฒนาสังคมเศรษฐกิจของประเทศ **๒.๓** ใช้ประโยชน์และสร้างการเติบโต บนฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สมดุลภายใน ขีดความสามารถของระบบนิเวศ **๒.๔** ยกระดับกระบวนทัศน์ เพื่อกำหนดอนาคตประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม บนหลักของการมีส่วนร่วม และธรรมาภิบาล **๓. ตัวชี้วัด** **๓.๑** พื้นที่สีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม **๓.๒** สภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมได้รับการฟื้นฟู **๓.๓** การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม **๓.๔** ปริมาณก๊าซเรือนกระจก มูลค่าเศรษฐกิจฐานชีวภาพ **๔. ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม** **๔.๑ สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว** มุ่งเน้นการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจ ให้เติบโตและมีความเป็นธรรมบนความสมดุลของฐานทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ด้วยเศรษฐกิจฐานชีวภาพ นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มความเป็นธรรมทางสังคม สามารถลดความเสี่ยงของผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและลดปัญหาความขาดแคลนของทรัพยากรลงได้ โดยมีเป้าหมายสู่สังคม ที่มีระดับคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้นแต่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำลง ผ่านแนวทางและมาตรการต่าง ๆ เช่น การบริโภคและการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มพื้นที่สีเขียวและป่าไม้ รักษาฐานทรัพยากรสัตว์ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งเสริมให้สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพดีขึ้น คนมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเอื้ออาทร และเสียสละเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติ **๔.๑.๑ เพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจฐานชีวภาพให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน** โดยส่งเสริมและสร้างเศรษฐกิจฐานชีวภาพอุบัติใหม่ และส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ที่มีคุณภาพ **๔.๑.๒ อนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในและนอกถิ่นกำเนิด** โดยเฉพาะ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชที่ใกล้สูญพันธุ์ โดยลดอัตราการสูญเสียชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม ชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น และแหล่ง ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ ตลอดจนควบคุมชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศ โดยอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพันธุ์พืชเฉพาะถิ่น สัตว์ป่าและพันธุ์พืชหายาก และใกล้สูญพันธุ์ให้เป็นฐานทรัพยากรที่มั่นคง ควบคู่กับการลดภัยคุกคามและการบริหารจัดการไม่ให้เกิด ความขัดแย้งระหว่างสัตว์ป่ากับคนและชุมชน รวมถึงการสร้างระบบฐานข้อมูลในรูปแบบธนาคารพันธุกรรม โดยให้ความสำคัญกับพันธุกรรมท้องถิ่นที่มีคุณค่าต่อระบบนิเวศและ/หรือมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมเชื้อพันธุ์และองค์ความรู้สำหรับใช้ประโยชน์ในอนาคตและ คงความหลากหลายทางพันธุกรรม มีการส่งเสริมมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ และมาตรการจูงใจในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ สร้างกลไกการใช้ประโยชน์ในระดับท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และพัฒนาระบบการแบ่งปันผลประโยชน์ รวมถึงพัฒนาและบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น ส่งเสริมพัฒนาและการใช้แนวคิดผู้ได้รับผลประโยชน์เป็นผู้จ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดการเก็บค่าบริการเชิงนิเวศ ในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมทั้งการศึกษา สำรวจ และวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศที่มีความสำคัญ ทั้งในและนอกพื้นที่คุ้มครอง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความหลากหลาย ทางชีวภาพสูง และพื้นที่วิกฤต เพื่อพัฒนาและเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลให้ได้มาตรฐาน สะดวกต่อการเข้าถึง และนำไปใช้ประโยชน์ และการส่งเสริมการเกษตรที่ช่วยอนุรักษ์ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ **๔.๑.๓ อนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วประเทศ** โดยฟื้นฟูแม่น้ำ ลำคลองและการป้องกันตลิ่งและฝายชะลอน้ำ มีการวางแผนการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำบนพื้นฐานของ การรักษาสมดุลนิเวศ ส่งเสริมกลไกการมีส่วนร่วมในการบริหารการจัดการอนุรักษ์และพัฒนาแม่น้ำ คู คลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติ มีระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย ระบบเก็บขนและกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ของชุมชนให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล สนับสนุนให้มีโครงข่ายการสัญจรทางน้ำที่สะดวก ปลอดภัย ประหยัด และมีประสิทธิภาพ ส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชน องค์กรเอกชน เอกชน มีความรู้ความเข้าใจ ความตระหนักต่อคุณค่าและความสำคัญของแม่น้ำ คู คลอง **๔.๑.๔ รักษาและเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม** โดยหยุดยั้งการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่า โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกบุกรุก มีการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ และมีการบูรณาการทุกหน่วยงานในการเฝ้าระวังและป้องกันการบุกรุกป่าส่งเสริมการฟื้นฟูระบบนิเวศ ป่าธรรมชาติที่เสื่อมโทรม พื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย พื้นที่ป่าต้นน้ำบนพื้นที่สูงชัน และพื้นที่แนวกันชน ส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและชุมชน ส่งเสริมการใช้ประโยชน์พื้นที่ต้นน้ำที่เหมาะสมและไม่เกิดผลกระทบโดยกำหนดสิทธิชุมชนที่เข้าไปใช้ประโยชน์จากป่าจะต้องคำนึงถึงความเปราะบางของระบบนิเวศ ขีดจำกัด และศักยภาพในการฟื้นตัว เพื่อให้ชุมชนมีความรู้สึกหวงแหน เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และมีการปลูกป่าเพิ่มขึ้นตามหลักการผู้ได้รับประโยชน์จากป่าเป็นผู้ดูแลป่า ส่งเสริมปลูกป่าเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมจากป่าปลูกแบบครบวงจร สร้างกลไกหรือระบบตัดฟันระยะยาวที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และกฎหมายสำหรับพื้นที่ที่อยู่นอกเขตพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ของเอกชน โดยให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ควบคู่กับการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสามารถระบุแหล่งกำเนิดของไม้ และป้องกันการลักลอบนำไม้ออกจากป่า รวมถึงการสร้างและพัฒนาพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและการเรียนรู้ทางธรรมชาติในเขตชุมชนเมืองและชนบทเพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์และรู้สึกใกล้ชิดธรรมชาติ เกิดความรู้สึกหวงแหน เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์และได้รับความสุขจากทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมทั้งการแก้ไขปัญหาชุมชนที่ทำกินในเขตป่า โดยเน้น การใช้ประโยชน์ที่ไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในรูปแบบคนอยู่กับป่าอย่างยั่งยืน การจัดทำแผนที่แนวเขตพื้นที่สีเขียว ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และจัดทำฐานข้อมูลพื้นที่สีเขียวรายจังหวัด การส่งเสริมการบริหารจัดการพื้นที่ป่าชุมชนและป่าครอบครัวแบบมีส่วนร่วม การสร้างเครือข่ายภาคประชาชนทุกระดับอายุให้มีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม **๔.๑.๕ ส่งเสริมการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน** โดยส่งเสริมการบริโภคและการผลิตสีเขียวอย่างยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคและการผลิต วิธีคิดและวิถีชีวิตของบุคคลและองค์กรให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากที่สุด การสร้างการมีจิตสำนึกในการผลิตที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมการบริโภคอย่างพอเพียงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การใช้กลไกทางเศรษฐศาสตร์และมาตรการทางสังคมจูงใจผู้บริโภคและผู้ผลิต การสร้างระบบและกลไกการเฝ้าระวัง ติดตาม ตรวจสอบ และควบคุมมลพิษในภาคการผลิต และการใช้มาตรการการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบ พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการลดขยะเป็นศูนย์ จัดการขยะแบบเบ็ดเสร็จยั่งยืน การลดการปล่อยมลพิษและผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการจัดการการปล่อยมลพิษจากภาคการผลิต เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจควบคู่กับการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมีมลพิษต่ำโดยกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การมีระบบจัดการของเสียจากแหล่งกำเนิดมลพิษทุกประเภทที่เพียงพอและมีการจัดการมลพิษได้เป็นไปตามมาตรฐาน มีการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ประกอบการอย่างเคร่งครัด รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกด้วยการวิจัย พัฒนาวัตถุดิบ และเทคโนโลยี การเพิ่มศักยภาพการผลิต การใช้ และตลาด ตลอดจนการสร้างจิตสำนึกและเข้าถึงองค์ความรู้ด้านพลังงาน พร้อมทั้งการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวทั้งระบบ ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนให้ทุกหน่วยงาน ของรัฐมีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่ได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การส่งเสริม ให้ภาคเอกชนใช้สินค้าและบริการจากผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืน โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งมีการส่งเสริมและพัฒนาเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ดำเนินการเพื่อรองรับการปลูกป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เอกชน การปรับปรุงกลไก รัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของประชาชนและภาคเอกชน **๔.๒ สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล** มุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับการสร้างการเติบโตของประเทศจากกิจกรรมทางทะเลที่หลากหลายควบคู่ไปกับการดูแลฐานทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งทั้งหมด ภายใต้อำนาจและสิทธิประโยชน์ของประเทศที่พึงมีพึงได้ เพื่อความเป็นธรรมและลด ความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยมุ่งเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องทะเลที่ถูกต้องและเพียงพอ เพิ่มมูลค่า ของเศรษฐกิจฐานชีวภาพทางทะเล ปรับปรุงและฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทั้งระบบ พัฒนาและเพิ่มสัดส่วนกิจกรรมทางทะเลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม **๔.๒.๑ เพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจฐานชีวภาพทางทะเล** โดยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศในด้านต่าง ๆ ตามแนวทางเศรษฐกิจภาคทะเลให้มีบทบาทเป็นที่ยอมรับในกลุ่มประเทศ อินโดจีนและประชาคมอาเซียน เร่งลดความเหลื่อมลํ้าในการเข้าถึงทรัพยากร กระจายประโยชน์ที่เกิดขึ้นให้ทั่วถึง เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชน พร้อมทั้งส่งเสริมและสร้างเศรษฐกิจฐานชีวภาพ ทางทะเล ส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อยและวิสาหกิจชุมชนให้คำนึงถึงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมพัฒนาศักยภาพคนและการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึง การเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการกับก๊าซเรือนกระจก พร้อมรับมือกับผลจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตลอดจนเศรษฐกิจภาคทะเล การปรับตัวต่อสภาวะ การเปลี่ยนแปลง และมีการประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของระบบนิเวศที่เป็นมาตรฐาน มีระบบเศรษฐศาสตร์และเครื่องมือทางการคลังที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบโดยผู้ใช้ประโยชน์ หรือต่อผู้ทำความเสียหายต่อทรัพยากร และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีกลไกการบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเลและในทะเลที่มีประสิทธิภาพ มีผังชายฝั่งและฝั่งทะเลชัดเจน กำหนดพื้นที่การพัฒนา ในรูปแบบต่าง ๆ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและสอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์และทรัพยากรในพื้นที่ **๔.๒.๒ ปรับปรุง ฟื้นฟู และสร้างใหม่ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทั้งระบบ** โดยรักษาแนวปะการังที่สำคัญต่อการท่องเที่ยว รักษาป่าชายเลนที่สำคัญต่อการดูดซับก๊าซเรือนกระจก รักษาแหล่งหญ้าทะเลที่สำคัญต่อประมงและสัตว์ทะเลหายาก มีพื้นที่คุ้มครองทางทะเลที่มีประสิทธิภาพในรูปแบบต่าง ๆ โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและประชาชนในการดูแลจัดการพื้นที่ พัฒนากลไกคุ้มครองสัตว์ที่มีความสำคัญ ต่อระบบนิเวศ การท่องเที่ยว และการอนุรักษ์ที่มีมาตรฐานระดับสากล พร้อมทั้งมีระบบควบคุมและตรวจสอบผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงมูลค่าของระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตทางทะเล กระบวนการมีส่วนร่วมชัดเจนและเป็นที่ยอมรับ รวมถึงมีระบบตรวจสอบ แจ้งเตือน ติดตาม และประเมินผลที่มีประสิทธิภาพในปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบ ต่อระบบนิเวศ สัตว์ทะเลหายาก ห่วงโซ่อาหาร และคุณภาพอาหารทะเล รวมถึงมีการกระจายความรู้ด้านทะเลในทุกระดับชั้นและครอบคลุมทุกรูปแบบ และมีกิจกรรมการสร้างความตระหนักทางทะเล มีระบบศูนย์ข้อมูลความรู้เชิงรุกที่เข้าถึงได้ผ่านระบบเทคโนโลยีดิจิทัล มีการศึกษาวิจัยเรื่องทะเลอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาฐานข้อมูลเป็นคลังรวมความรู้ด้านผลประโยชน์ทางทะเลเพื่อให้คำปรึกษาช่วยการตัดสินใจของผู้บริหารและให้บริการความรู้แก่ประชาชน ที่จะนำความรู้ไปพัฒนาให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน **๔.๒.๓ ฟื้นฟูชายหาดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ชายฝั่งทะเลได้รับการป้องกันและแก้ไขทั้งระบบ และมีนโยบายการจัดการชายฝั่งแบบบูรณาการอย่างเป็นองค์รวม** โดยจัดการชายฝั่งประเทศไทยทั้งหมด แบบบูรณาการ ชายฝั่งทะเลได้รับการป้องกัน แก้ไขปัญหา และมีนโยบายการจัดการชายฝั่งที่เหมาะสม มีแผนแม่บทกำหนดวิธีการจัดการในแต่ละพื้นที่สำคัญทั่วประเทศ มีการลดพื้นที่ที่มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยใช้รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่เหมาะสม รวมถึงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในบริเวณที่ยังไม่เกิดปัญหา **๔.๒.๔ พัฒนาและเพิ่มสัดส่วนกิจกรรมทางทะเลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม** โดยการท่องเที่ยวทางทะเลมีการคำนึงถึงความสามารถในการรองรับของระบบนิเวศ การลดความเหลื่อมล้ำและดูแลผลประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ การดูแลความปลอดภัยนักท่องเที่ยวทางทะเล การพัฒนาท่าเรือทั้งระบบให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาการท่องเที่ยวทางทะเลรูปแบบใหม่ พัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางท่าเรือสำราญ ในภูมิภาค การจัดทำแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อรองรับปริมาณนักท่องเที่ยวในอนาคต ส่งเสริมให้ประเทศเป็นศูนย์กลางด้านพาณิชย์นาวีของภูมิภาค พัฒนาการเดินเรือสินค้าตามแนวชายฝั่งให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการประเมินทรัพยากรประมง เพื่อใช้ในการวางแผนการบริหารจัดการ ให้สอดคล้องกับศักยภาพ การทำประมงที่คำนึงถึงความสมดุลของทรัพยากร ควบคุมและยกเลิกเครื่องมือประมงที่ทำลายล้าง และป้องกันไม่ให้เรือประมงผิดกฎหมาย ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศเข้ามาทำการประมง ที่ผิดกฎหมาย เร่งพัฒนาการจัดการด้านการเพาะเลี้ยงในทะเล ที่สอดคล้องกับแผนการใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่ ทางทะเล การศึกษาวิจัยเพื่อนำความรู้และนวัตกรรมใหม่ ๆ มาพัฒนาการประมงครบวงจร เพื่อให้ประเทศยังคง เป็นผู้นำด้านการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงมูลค่าสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม **๔.๓ สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ** มุ่งเน้นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ ปรับปรุงการบริหารจัดการภัยพิบัติทั้งระบบ และการสร้างขีดความสามารถของประชาชนในการรับมือและปรับตัวเพื่อลดความสูญเสียและเสียหายจากภัยธรรมชาติและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมทั้งสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ **๔.๓.๑ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก** โดยพัฒนารูปแบบและแนวทางการจัดการเมืองเพื่อมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ และพื้นที่สีเขียวในทุกรูปแบบ รวมทั้งสนับสนุนการจัดการด้านการเกษตรที่มีผลประโยชน์ ร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งเร่งฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่ป่าเพื่อเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจก **๔.๓.๒ มีการปรับตัวเพื่อลดความสูญเสียและเสียหายจากภัยธรรมชาติและผลกระทบ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ** โดยพัฒนาระบบฐานข้อมูล การคาดการณ์สภาพภูมิอากาศและระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่รวดเร็ว แม่นยำและมีประสิทธิภาพ และมีการเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและลดผลกระทบทั้งในเชิงโครงสร้างและไม่ใช่โครงสร้างเพื่อเตรียมรับมือกับพิบัติภัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เหมาะสมกับแต่ละภูมิสังคมของประเทศ พร้อมทั้งพัฒนาและปรับปรุงการบริหารจัดการพิบัติภัย ทั้งระบบ โดยคำนึงถึงปัจจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว รวมถึงการเสริมสร้างขีดความสามารถของประชาชน ชุมชน และเมืองในการรับมือและปรับตัวต่อผลกระทบจากพิบัติภัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ **๔.๓.๓ มุ่งเป้าสู่การลงทุนที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ของภาครัฐและภาคเอกชน** โดยบูรณาการนโยบายและแผนพัฒนาประเทศในทุกสาขา โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน มีการส่งเสริมสินค้าและบริการคาร์บอนต่ำเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างเป็นระบบ และพัฒนาเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อสร้างแรงจูงใจและสนับสนุนการลงทุนเพื่อรองรับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งพัฒนารูปแบบทางธุรกิจด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมทั้งมีการพัฒนากฎหมายเพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่าง มีประสิทธิภาพ **๔.๓.๔ พัฒนาและสร้างระบบรับมือปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำที่เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ** โดยพัฒนาโครงสร้างระบบสาธารณสุข เครือข่ายเตือนภัยและเฝ้าระวังโรค ให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มีความอ่อนไหวต่อปัจจัยการเปลี่ยนแปลง ทางภูมิอากาศ ต่อโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ การพัฒนาระบบสาธารณสุขสิ่งแวดล้อมและเวชศาสตร์ป้องกันทั้งระบบ **๔.๔ พัฒนาพื้นที่เมือง ชนบท เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มุ่งเน้นความเป็นเมือง ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง** มีข้อกำหนด รูปแบบ และกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับลักษณะการใช้พื้นที่ตามศักยภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการพัฒนา “เมืองน่าอยู่ ชนบทมั่นคง เกษตรยั่งยืน อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ” โดยให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนผังภูมินิเวศ การพัฒนาเมือง ชนบท พื้นที่เกษตรกรรม อุตสาหกรรม รวมถึงพื้นที่อนุรักษ์ตามศักยภาพและความเหมาะสมทางภูมินิเวศ พัฒนาพื้นที่ต้นแบบตามแผนผังภูมินิเวศในทุกจังหวัดอย่างยั่งยืน ลดการปลดปล่อยมลพิษและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมเกษตรอัจฉริยะ สงวนรักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อุทยานธรณีวิทยา แหล่งโบราณคดี มรดกทางสถาปัตยกรรม ศิลปวัฒนธรรม อัตลักษณ์และวิถีชีวิตพื้นถิ่นอย่างยั่งยืน **๔.๔.๑ จัดทำแผนผังภูมินิเวศเพื่อการพัฒนาเมือง ชนบท พื้นที่เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม รวมถึงพื้นที่อนุรักษ์ตามศักยภาพและความเหมาะสมทางภูมินิเวศอย่างเป็นเอกภาพ** โดยจัดทำและพัฒนาระบบการเชื่อมโยง จัดการ และ วิเคราะห์ ข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อการจัดทำแผนผังภูมินิเวศระดับประเทศ รวมถึงสนับสนุนการบริหารจัดการตามศักยภาพของภูมินิเวศ จัดทำแผนผังภูมินิเวศของพื้นที่ตามเกณฑ์และมาตรฐานการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการสิ่งแวดล้อม การกำหนดเขตพื้นที่แนวกันชน พ้อมทั้งการจัดทำผังเมืองและชนบท ตามเกณฑ์มาตรฐานและองค์ประกอบของผังเมืองรวมด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน คมนาคมขนส่ง สาธารณูปโภค สาธารณูปการ การจัดทำแผนผังพื้นที่เขตเกษตรเศรษฐกิจ แผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก เพื่อใช้ในการพัฒนาการเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ การจัดทำผังพื้นที่อุตสาหกรรมตามเกณฑ์มาตรฐานตลอดจนตัวชี้วัดเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ การจัดทำผังพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งโบราณคดี มรดกทางสถาปัตยกรรมและศิลปวัฒนธรรม อัตลักษณ์ และวิถีชีวิตพื้นถิ่นอย่างยั่งยืน **๔.๔.๒ พัฒนาพื้นที่เมือง ชนบท เกษตรกรรม และ อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ที่มีการบริหารจัดการตามแผนผังภูมินิเวศอย่างยั่งยืน** โดยพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน พัฒนาชนบทมั่นคง พัฒนาพื้นที่เกษตรกรรมปลอดภัย พัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อุทยานธรณีวิทยา แหล่งโบราณคดี มรดกอาเซียนและมรดกโลก มรดกทางสถาปัตยกรรมและศิลปวัฒนธรรม อัตลักษณ์ และวิถีชีวิตพื้นถิ่น **๔.๔.๓ จัดการมลพิษที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสารเคมีในภาคเกษตรทั้งระบบ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและค่ามาตรฐานสากล** โดยปรับปรุงมาตรฐานสิ่งแวดล้อมของประเทศตามมาตรฐานสากล และบังคับใช้มาตรฐานสิ่งแวดล้อมด้านดิน น้ำ อากาศ ป่าไม้ สัตว์ป่า และความหลากหลาย ทางชีวภาพกับทุกภาคส่วนอย่างเคร่งครัด การพัฒนามาตรฐานและระบบจัดการมลพิษกำเนิดใหม่ พร้อมทั้งขจัดมลพิษและแก้ไขฟื้นฟูผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านดิน น้ำ อากาศ ป่าไม้ สัตว์ป่า และความหลากหลายทางชีวภาพ อันเกิดจากโครงการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ มีการพัฒนาและใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อลดมลพิษ และผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ด้วยเป้าหมาย ๓R (Reduce, Reuse, Recycle) พร้อมทั้งมีกลไกกำกับดูแลการจัดการขยะและมลพิษอย่างเป็นระบบ ทั้งประเทศ **๔.๔.๔ สงวนรักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ มรดกทางสถาปัตยกรรมและศิลปวัฒนธรรม อัตลักษณ์ และวิถีชีวิตพื้นถิ่นบนฐานธรรมชาติ และฐานวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน** โดยกำหนดให้ภาครัฐเป็นแกนกลางในการให้ความรู้ ประสาน และบูรณาการทุกภาคส่วนในการเพิ่มและรักษาพื้นที่สีเขียวเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ในภาพรวมของประเทศ การฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมกับการปรับปรุงกฎหมายและบังคับใช้เรื่องการใช้ประโยชน์ของชุมชนในพื้นที่ป่าอย่างสมดุล การพัฒนาและส่งเสริมกลไกคาร์บอนเครดิต และกลไกค่าตอบแทนการให้บริการของระบบนิเวศ และการสงวนรักษาอนุรักษ์ และฟื้นฟู แหล่งโบราณคดี มรดกทางสถาปัตยกรรมและศิลปวัฒนธรรม อัตลักษณ์ และวิถีชีวิตพื้นถิ่นอย่างยั่งยืน โดยจัดให้มีมาตรการชดเชยและแรงจูงใจในการดำเนินการ **๔.๔.๕ พัฒนาเครือข่ายองค์กรพัฒนาเมืองและชุมชน รวมทั้งกลุ่มอาสาสมัคร ด้วยกลไก การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในท้องถิ่น** โดยการสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายองค์กรพัฒนาเมือง ชุมชน และเครือข่าย ที่ประกอบด้วยภาคีสำคัญตามบริบทของพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม เชื่อมโยงการพัฒนาร่วมกัน ในทุกระดับและพัฒนาศักยภาพ องค์กร เพื่อการพัฒนาเมือง ชุมชน และเครือข่าย ให้มีทักษะทัดเทียม กับประเทศอื่นในระดับสากล โดยพัฒนาสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน หรือองค์กรธุรกิจประจำชุมชน เพื่อส่งเสริม ให้เกิดกลไกทางเศรษฐศาสตร์ในการพัฒนาผลผลิตตามมาตรฐานสากล ธุรกิจชุมชนแบบครบวงจร และตลาดเพื่อเกษตรกรโดยเกษตรกร พร้อมกับส่งเสริมกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์และรายได้ให้กับชุมชน **๔.๔.๖** **เสริมสร้างระบบสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อม และยกระดับความสามารถ ในการป้องกันโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ** ตลอดจนควบคุมการแพร่ระบาดของโรคเหล่านี้ โดยศึกษาวิจัยสร้างองค์ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในประชากรทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง เพิ่มขีดความสามารถในการติดตาม วิเคราะห์และประเมินแนวโน้มสถานการณ์ปัญหาโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ และสร้างความพร้อมของภาคีเครือข่ายในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินจากโรคระบาดต่าง ๆ **๔.๕ พัฒนาความมั่นคงน้ำ พลังงาน และเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม** มุ่งเน้นพัฒนาระบบจัดการน้ำทั้งระบบ เพื่อให้เกิดความมั่นคง เพิ่มผลิตผลในเรื่องการจัดการและการใช้น้ำทุกภาคส่วน ดูแลภัยพิบัติจากน้ำทั้งระบบ พัฒนาความมั่นคงทางพลังงานอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เน้นส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกที่คำนึงถึงการพัฒนาอย่างเหมาะสม ให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มศักยภาพและการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด พัฒนาความมั่นคงการเกษตรที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม ให้เป็นฐานการผลิตอาหารที่มั่นคงและปลอดภัย และเป็นฐานการผลิตที่มีผลิตภาพสูง **๔.๕.๑ พัฒนาการจัดการน้ำเชิงลุ่มน้ำทั้งระบบเพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านน้ำของประเทศ** โดยจัดให้มีน้ำสะอาดใช้ทุกครัวเรือนในชุมชนชนบท ในปริมาณ คุณภาพ และราคาที่เข้าถึงได้ มีระบบการจัดการน้ำชุมชนที่เหมาะสม พร้อมทั้งส่งเสริมฟื้นฟู อนุรักษ์ พื้นที่ต้นน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่พักน้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติ แอ่งน้ำบาดาล การระบายน้ำชายฝั่ง ให้มีปริมาณและคุณภาพน้ำ และใช้ประโยชน์ได้ตามเกณฑ์ มีการจัดทำ แผนป้องกัน ฟื้นฟู รักษา ร่วมกับแผนรักษาเขตต้นน้ำ แผนป้องกันแผ่นดินถล่ม แผนอนุรักษ์ ฟื้นฟู รักษาสภาพสิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำธรรมชาติ ตามพื้นที่ที่กำหนดและตามความสำคัญ และมีการพัฒนาการจัดการน้ำเชิงลุ่มน้ำทั้งระบบให้มีระดับความมั่นคงในระดับสากล โดยการจัดหาและใช้น้ำที่สมดุล ทันสมัย ทันการณ์ และสร้าง ความเป็นธรรม ใช้ระบบทั้งทางโครงสร้าง กฎระเบียบ การบริหารจัดการการจัดหาและใช้น้ำที่ได้สมดุล ระบบและกลไกการจัดสรรน้ำที่เป็นธรรม การยกระดับผลิตภาพการใช้น้ำให้เทียบเท่าระดับสากล รวมทั้งการเตรียมความพร้อมทางบุคลากร สังคม สารสนเทศและการสื่อสาร การพัฒนาเครื่องมือการจัดการ การดำเนินการ เพื่อสร้างสมดุล สร้างวินัยของประชาชนในการใช้น้ำและการอนุรักษ์อย่างรู้คุณค่า พร้อมทั้งมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์สารสนเทศกับนานาชาติ และการดำเนินการร่วมใช้น้ำกับแม่น้ำระหว่างประเทศ โดยพิจารณา และดำเนินการโครงการบูรณาการและเชื่อมโยงกับประเด็นอื่นร่วมกับระดับสากล และมีการจัดระบบการจัดการน้ำในภาวะวิกฤติ ให้สามารถลดสูญเสีย ความเสี่ยง จากภัยพิบัติที่เกิดจากน้ำตามหลักวิชาการให้อยู่ในขอบเขต ที่ควบคุมที่มีประสิทธิภาพ โดยแบ่งตามลักษณะของแต่ละพื้นที่ได้ และสามารถฟื้นตัวได้ในเวลาอันสั้น **๔.๕.๒ เพิ่มผลิตภาพของน้ำทั้งระบบในการใช้น้ำอย่างประหยัด รู้คุณค่า และสร้างมูลค่าเพิ่มจากการใช้น้ำ ให้ทัดเทียมกับระดับสากล** โดยจัดให้มีน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของเขตเมืองเพื่อการ อยู่อาศัย การพาณิชย์และบริการ พร้อมระบบจัดการน้ำในเขตเมือง มีระบบแผนผังน้ำ ระบบกระจายน้ำดี ระบบรวบรวมน้ำเสีย ระบบระบายน้ำ สำหรับภาคบริการในเขตเมือง รวมถึงชุมชนเมืองให้เพียงพอต่อความต้องการทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยพัฒนาระบบน้ำในเมืองที่มีความเชื่อมโยง มีแหล่งน้ำสำรอง การใช้น้ำซ้ำ ในพื้นที่วิกฤติ พร้อมทั้งจัดให้มีน้ำใช้เพียงพอสำหรับการพัฒนาเกษตร อุตสาหกรรม และท่องเที่ยว รวมทั้ง มีระบบดูแลน้ำภายในพื้นที่สำหรับผู้ใช้น้ำในนิคมเกษตร อุตสาหกรรมสมัยใหม่ พื้นที่ชลประทาน พื้นที่เกษตรน้ำฝน พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ แหล่งท่องเที่ยว เกษตรพลังงาน เกษตรเพิ่มมูลค่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยทบทวนระบบน้ำตามการปรับโครงสร้างเกษตรและอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนไป เน้นปรับโครงสร้างการใช้น้ำ การจัดสรรน้ำในแต่ละภาคส่วน พร้อมทั้งการเพิ่มผลิตภาพของการใช้น้ำ โดยการใช้อย่างมีคุณค่า การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการส่งและการใช้น้ำทุกภาคส่วน และเพิ่มการเก็บกักในพื้นที่ มีระบบการขออนุญาตใช้น้ำตามเกณฑ์และความสำคัญ เพื่อสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มของภาคการผลิตและบริการ และรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต **๔.๕.๓ พัฒนาความมั่นคงพลังงานของประเทศ และส่งเสริมการใช้พลังงานที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม** เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลในการ ผลิตไฟฟ้า รวมทั้งพัฒนาวิธีการบริหารจัดการระบบไฟฟ้าทั้งด้านอุปทานและด้านอุปสงค์ให้มีประสิทธิภาพ และความยืดหยุ่น เพื่อให้สามารถรองรับพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกที่เพิ่มขึ้นในระบบได้อย่างมั่นคง และมีเสถียรภาพ พร้อมทั้งสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม และสร้าง ความเชื่อมโยงระหว่างภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ และภาคครัวเรือน รวมทั้ง สนับสนุน การวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับการกักเก็บพลังงาน และระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เพื่อให้สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกได้ในสัดส่วนที่สูงขึ้น และการผลิตไฟฟ้าที่มี การกระจายศูนย์มากขึ้น พร้อมทั้งสนับสนุนการใช้กลไกการตลาดหรือมาตรการทางเศรษฐศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม **๔.๕.๔ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานโดยลดความเข้มข้นของการใช้พลังงาน** โดยสนับสนุนการอนุรักษ์และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุนพลังงานของประเทศ ด้วยการส่งเสริมผ่านเครื่องมือและกลไกทางการเงินและมิใช่การเงิน รวมทั้งมาตรการทางกฎหมาย พร้อมทั้งส่งเสริมการออกแบบอาคารประหยัดพลังงาน สนับสนุนทางการเงินและบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการก่อสร้างและออกแบบอาคาร มีการรณรงค์และให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในด้านการประหยัดพลังงาน ส่งเสริมให้ใช้อุปกรณ์และเครื่องจักรที่ประหยัดพลังงาน การใช้ฉลากสีเขียวกับยานยนต์และอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าต่าง ๆ รวมถึงการส่งเสริมระบบโลจิสติกส์และการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม **๔.๕.๕ พัฒนาความมั่นคงด้านการเกษตรและอาหารของประเทศและชุมชนในมิติปริมาณ คุณภาพ ราคาและการเข้าถึงอาหาร** โดยบริหารจัดการทรัพยากรทางการเกษตรและเพิ่มผลิตภาพการเกษตรแบบบูรณาการ โดยเน้นให้เกิดความมั่นคงทางอาหารภายในประเทศและเกษตรอาหารมูลค่าเพิ่มสูง พร้อมทั้งเพิ่มพื้นที่เกษตรผสมผสาน จัดเขตการเกษตร มีการใช้มาตรการการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบ เพื่อลดการบุกรุกและทำลายพื้นที่ป่า รวมทั้งมีการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ เพิ่มการจ้างงานในภาคเกษตร เพื่อรองรับเศรษฐกิจชีวภาพ รวมทั้งยกระดับอาชีพเกษตรกรให้มีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นและมีความภาคภูมิใจ ในอาชีพเกษตรกรรม **๔.๖ ยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อกำหนดอนาคตประเทศ** มุ่งส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรม ที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมของคนไทย พัฒนาเครื่องมือและกลไกเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ รองรับการเติบโตที่มีคุณภาพในอนาคต รวมทั้งจัดตั้งและพัฒนากระบวนการยุติธรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และพัฒนาระบบประชาธิปไตยสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหาและลดความขัดแย้ง พัฒนา และดำเนินโครงการยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อกำหนดอนาคตประเทศ **๔.๖.๑ ส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย** โดยปรับปรุงกลไกรัฐและพัฒนาเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมของประชาชนและภาคเอกชนให้รองรับการเติบโตที่มีคุณภาพในอนาคต มีการสร้างความรู้ ความเข้าใจ การตระหนักรู้ และการมีส่วนร่วมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้รองรับ การเปลี่ยนแปลงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง **๔.๖.๒ พัฒนาเครื่องมือ กลไกและระบบยุติธรรม และระบบประชาธิปไตยสิ่งแวดล้อม**เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการเติบโตที่มีคุณภาพในอนาคต โดยพัฒนาและยกระดับการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นกลไกในการป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมในพื้นที่สำคัญ พร้อมทั้งประยุกต์ใช้นวัตกรรมเวทีดิจิทัล เพื่อรังสรรค์นโยบายที่นำไปสู่การปฏิบัติได้จริง และสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมทั้งพัฒนาระบบประชาธิปไตยสิ่งแวดล้อม โดยเพิ่มบทบาทของประชาชนในการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ คุ้มครองและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม และกระบวนการมีส่วนร่วม ที่สร้างสรรค์ในโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ ทั้งนี้ รวมถึงการกระจายอำนาจและการสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรชุมชน องค์กรประชาสังคม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมีการพัฒนาและออกกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายและองค์กรในกระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ทันสมัย มีความเชี่ยวชาญ และมีประสิทธิภาพตามหลักนิติธรรมและหลักประชาธิปไตยสิ่งแวดล้อม ที่จะสามารถลดความเหลื่อมล้ำ และป้องกันแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ครอบคลุม ทั้งปัญหาเดิมและปัญหาอุบัติใหม่ อันจะทำให้เกิดการจัดการอย่างยั่งยืน สามารถเยียวยาฟื้นฟูบุคคลชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสียหายได้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม พร้อมทั้งพัฒนาความร่วมมือในเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนกับประเทศอาเซียนและภูมิภาคอื่นอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของภูมิภาค การฟื้นฟูและขยายพื้นที่สีเขียว และความหลากหลายทางชีวภาพในภูมิภาค รวมทั้งการเพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมก่อนการตัดสินใจในโครงการขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบข้ามพรมแดน การเพิ่มความร่วมมือในเรื่องการจัดการภัยพิบัติในภูมิภาคได้อย่างทั่วถึงและทันการณ์ และการพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานยุติธรรมในภูมิภาค ในการสร้างระบบยุติธรรมเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล **๔.๖.๓ จัดโครงสร้างเชิงสถาบันเพื่อจัดการประเด็นร่วม ด้านการบริหารจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ** รวมทั้ง ประเด็นบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ข้ามพรมแดน โดยกำหนดและจัดโครงสร้างเพื่อขับเคลื่อนประเด็นร่วมด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ โดยใช้เครื่องมือทันสมัย และให้มีหน่วยงานรับผิดชอบ ส่งเสริมการวิจัย พัฒนา และสร้างนวัตกรรม **๔.๖.๔ พัฒนาและดำเนินโครงการที่ยกระดับกระบวนทัศน์ เพื่อกำหนดอนาคตประเทศ ด้านทรัพยากร ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม บนหลักของการมีส่วนร่วมและธรรมาภิบาล** โดยพัฒนาโครงการสำคัญที่จะกำหนดอนาคตของประเทศให้ทันสมัย โดยปรับกระบวนทัศน์การวางแผนแบบองค์รวม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาระยะยาวของประเทศโดยเร็ว **ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ** **๑. บทนำ** ภาครัฐเป็นกลไกหนึ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามแนวทาง นโยบาย และทิศทาง การพัฒนาตามที่กำหนดตามกรอบการบริหารราชการแผ่นดิน และการที่ประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมายอนาคตในระยะยาวที่กำหนดไว้นั้น ระบบบริหารจัดการภาครัฐจะต้องสามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนา อย่างมีบูรณาการ มีความต่อเนื่อง เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการบริหารจัดการภาครัฐขาดประสิทธิภาพ มีปัญหาเชิงการบริหารจัดการและโครงสร้าง ปัญหาคอร์รัปชันและระบบอุปถัมภ์ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกำหนดให้มียุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศในทุกมิติ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาที่เน้นการตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ผ่านการมีหน่วยงานภาครัฐที่มีโครงสร้างและภารกิจที่เหมาะสม และวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ ของส่วนรวม เปิดโอกาสให้ทุก ๆ ภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการบริการสาธารณะ ตรวจสอบ การดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐและภาคส่วนอื่น ๆ ตลอดจนดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในสังคมได้อย่างเหมาะสม ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐจึงมีประเด็นยุทธศาสตร์ ที่เน้นการปรับเปลี่ยนภาครัฐ ยึดหลัก “ภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม” โดยภาครัฐต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจ และแยกแยะบทบาทหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ในการกำกับหรือ ในการให้บริการในระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขัน มีขีดสมรรถนะสูง ยึดหลักธรรมาภิบาล ปรับวัฒนธรรม การทำงานให้มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม มีความทันสมัย และพร้อมที่จะปรับตัวให้ทันต่อ การเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ และระบบการทำงานที่เป็นดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่า และปฏิบัติงานเทียบได้กับมาตรฐานสากล รวมทั้งมีลักษณะเปิดกว้าง เชื่อมโยงถึงกันและเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อตอบสนอง ความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส โดยทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมกันปลูกฝังค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริต ความมัธยัสถ์ และสร้างจิตสำนึกในการปฏิเสธไม่ยอมรับการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างสิ้นเชิง นอกจากนั้น กฎหมายต้องมีความชัดเจน มีเพียงเท่าที่จำเป็น มีความทันสมัย มีความเป็นสากล มีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำและเอื้อต่อการพัฒนา โดยกระบวนการยุติธรรมมีการบริหาร ที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ การอำนวยความยุติธรรมตามหลักนิติธรรม รวมทั้งต้องมี การพัฒนาระบบบริหารจัดการบุคลากรภาครัฐที่สามารถจูงใจและดึงดูดให้คนดีคนเก่งเข้ามาร่วมพลังการทำงานที่มีความมุ่งมั่นและมีแรงบันดาลใจในการที่จะร่วมกันพลิกโฉมประเทศไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์ **๒. เป้าหมาย** **๒.๑** ภาครัฐมีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส **๒.๒** ภาครัฐมีขนาดที่เล็กลง พร้อมปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง **๒.๓** ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ **๒.๔** กระบวนการยุติธรรม เป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ **๓. ตัวชี้วัด** **๓.๑** ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะของภาครัฐ **๓.๒** ประสิทธิภาพของการบริการภาครัฐ **๓.๓** ระดับความโปร่งใส การทุจริต ประพฤติมิชอบ **๓.๔** ความเสมอภาคในกระบวนการยุติธรรม **๔. ประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ ภาครัฐ** **๔.๑ ภาครัฐที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ตอบสนองความต้องการ และให้บริการอย่างสะดวกรวดเร็ว โปร่งใส** หน่วยงานของรัฐต้องร่วมมือและช่วยเหลือกันในการปฏิบัติหน้าที่ มีระบบการบริหารจัดการ ที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส ให้การบริหารราชการแผ่นดินทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และงานของรัฐอย่างอื่นให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สร้างประโยชน์สุขแก่ประชาชน **๔.๑.๑ การให้บริการสาธารณะของภาครัฐได้มาตรฐานสากลและเป็นระดับแนวหน้า ของภูมิภาค** ปรับรูปแบบและวิธีการดำเนินการของภาครัฐมีลักษณะที่เบ็ดเสร็จ ครบวงจร และหลากหลายรูปแบบตามความต้องการของผู้รับบริการ มีความร่วมมือกับภาคีอื่น ๆ พร้อมทั้งปรับปรุงกลไกการปฏิบัติงานของภาครัฐให้มีลักษณะบูรณาการ สามารถส่งเสริมภารกิจของภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะการปรับปรุงบทบาทและกลไกภาครัฐให้เป็นผู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการประกอบการ การกำหนดกฎระเบียบที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจภาคเอกชนทุกขนาดสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะยาว **๔.๑.๒ ภาครัฐมีความเชื่อมโยงในการให้บริการสาธารณะต่าง ๆ ผ่านการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้** มีระบบการบริหารจัดการข้อมูลที่มีความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ นำไปสู่การวิเคราะห์การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อการพัฒนานโยบายและการให้บริการภาครัฐ มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการสาธารณะตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ เพื่อให้สามารถติดต่อราชการได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส เสียค่าใช้จ่ายน้อย และตรวจสอบได้ **๔.๒ ภาครัฐบริหารงานแบบบูรณาการโดยมียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายและเชื่อมโยงการพัฒนาในทุกระดับ ทุกประเด็น ทุกภารกิจ และทุกพื้นที่** การบริหารจัดการภาครัฐมีความสอดคล้องเชื่อมโยงและเป็นกลไกสำคัญในการนำยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติในทุกระดับ มีการจัดสรรงบประมาณที่มีลักษณะยึดโยงกับยุทธศาสตร์ในทุกระดับ มีเป้าหมายร่วมกันทั้งในเชิงประเด็น เชิงภารกิจ และเชิงพื้นที่ โดยอาศัยข้อมูลขนาดใหญ่ รวมทั้งมีระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานทั้งในระดับยุทธศาสตร์ ภารกิจและพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การกำหนดประเด็นการพัฒนา การจัดทำนโยบาย และการติดตามประเมินผลที่เป็นระบบอย่างต่อเนื่อง **๔.๒.๑ ให้ยุทธศาสตร์ชาติเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ** ใช้แผนแม่บทตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติผ่านแผนปฏิบัติการ ในระดับต่าง ๆ โดยเชื่อมโยงการทำงานของภาครัฐในทุกระดับให้มีเอกภาพและสอดรับประสานกันตามห่วงโซ่การพัฒนาระหว่างราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการประสานความร่วมมือ ที่หลากหลาย การพัฒนากลไกหรือเครื่องมือในการสนับสนุนให้เกิดการบูรณาการในลักษณะหุ้นส่วนการพัฒนา ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ ภาคประชาชน และภาคส่วนอื่นในสังคม โดยดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีเป้าหมายที่ชัดเจน **๔.๒.๒ ระบบการเงินการคลังประเทศสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ** หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับระบบการเงินการคลังของประเทศมีการปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบภารกิจในการสนับสนุนและไม่เป็นอุปสรรคในการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ ระบบงบประมาณแผ่นดินต้องสอดรับกับลักษณะการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติทั้งในลักษณะแผนเชิงยุทธศาสตร์ แผนตามภารกิจ และแผนระดับพื้นที่ มีการรักษาวินัยการเงินการคลังภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง การพัฒนาระบบการคลังล่วงหน้าระยะปานกลางและระยะยาว การปรับปรุงวิธีการงบประมาณให้มีความคล่องตัว สะดวก เหมาะสมกับสถานการณ์และความเร่งด่วน การใช้จ่ายงบประมาณโปร่งใส เป็นไปตามเป้าหมายในระยะเวลาที่กำหนด และมีแผนเพิ่มรายได้ของประเทศคู่กับ แผนงบประมาณให้เกิดสมดุลระหว่างรายได้กับรายจ่าย พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ของรัฐ และการปรับปรุงระบบภาษี **๔.๒.๓ ระบบติดตามประเมินผลที่สะท้อนการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติในทุกระดับ**มีการติดตามประเมินผลทั้งก่อนเริ่มโครงการ ระหว่างดำเนินการ และหลังการดำเนินงาน เป็นการติดตามประเมินผลทั้งระบบ ตั้งแต่ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินการ ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ตั้งแต่ระดับชาติ ระดับประเด็นการพัฒนา ระดับหน่วยงาน และระดับพื้นที่ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล และจัดให้มีการรายงานการติดตามประเมินผลในการบรรลุเป้าหมายต่อสาธารณะเป็นประจำ รวมทั้งการตรวจสอบโดยองค์กรอิสระต้องเป็นไป เพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ **๔.๓ ภาครัฐมีขนาดเล็กลง เหมาะสมกับภารกิจ ส่งเสริมให้ประชาชนและทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ในการพัฒนาประเทศ** พร้อมทั้งมีการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นให้มีความชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อนกัน รวมทั้งมีการถ่ายโอนภารกิจที่สำคัญและการกระจายอำนาจ ในระดับที่เหมาะสมเพื่อให้ชุมชนและท้องถิ่นเข้มแข็ง **๔.๓.๑ ภาครัฐมีขนาดที่เหมาะสม** ตรวจสอบความซ้ำซ้อนและปรับภารกิจและพันธกิจของหน่วยงานภาครัฐให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในเชิงบูรณาการ โดยยุบเลิกภารกิจที่ไม่จำเป็น ถ่ายโอนภารกิจให้ภาคส่วนอื่นรับไปดำเนินการ รวมถึงการจัดระบบองค์กรภาครัฐที่แยกแยะบทบาทหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่กำกับและหน่วยงานผู้ให้บริการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและมีการแข่งขัน ที่เป็นธรรม โดยภารกิจที่ภาครัฐยังจำเป็นจะต้องดำเนินการจะต้องกำหนดให้มีโครงสร้างหน่วยงานที่สอดคล้องกับบทบาทภารกิจที่รับผิดชอบ มีความคุ้มค่า และสามารถขับเคลื่อนการบริหารราชการแผ่นดินได้อย่าง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล **๔.๓.๒ ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ** เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามา มีส่วนร่วมในการ ดำเนินการบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะอย่างเหมาะสม กำหนดความสัมพันธ์ และการพัฒนาบทบาทในฐานะของหุ้นส่วนการพัฒนาในการดำเนินภารกิจที่สำคัญระหว่างการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นให้มีความชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อนกัน รวมถึงการสนับสนุนให้ชุมชนหรือเอกชนร่วมดำเนินการในบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะต่าง ๆ **๔.๓.๓ ส่งเสริมการกระจายอำนาจและสนับสนุนบทบาทชุมชนท้องถิ่นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่มีสมรรถนะสูง ตั้งอยู่บนหลักธรรมาภิบาล** ในการที่จะจัดทำบริการสาธารณะ และกิจกรรมสาธารณะ มีบทบาทเชิงยุทธศาสตร์ระดับพื้นที่ โดยเปิดโอกาสให้มีรูปแบบการจัดบริการสาธารณะ ที่หลากหลาย มีระบบภาษีและรายได้ของท้องถิ่นอย่างเหมาะสม สามารถพัฒนารายได้และทุนเพื่อดำเนินกิจกรรมในการตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ร่วมกับชุมชนท้องถิ่น โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ ของประเทศ ประชาชน และความต้องการของคนทุกกลุ่ม ทุกวัย และทุกเพศสภาวะในท้องถิ่น **๔.๔ ภาครัฐมีความทันสมัย** ทันการเปลี่ยนแปลง และมีขีดสมรรถนะสูง สามารถปฏิบัติงานอย่าง มีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่า เทียบได้กับมาตรฐานสากล สามารถรองรับกับสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่มีความหลากหลายซับซ้อนมากขึ้น และทันการเปลี่ยนแปลงในอนาคต **๔.๔.๑ องค์กรภาครัฐมีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับบริบทการพัฒนาประเทศ** ปรับโครงสร้าง และระบบบริหารงานราชการใหม่ในรูปแบบที่มีความหลากหลาย มีการดำเนินงานที่มีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัวเข้าสู่การเป็นสำนักงานสมัยใหม่ นำไปสู่การเป็นองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง สามารถปฏิบัติงานเทียบได้กับมาตรฐานสากล มีความคล่องตัว ไม่ยึดติดกับการจัดโครงสร้างองค์กรแบบราชการ สามารถยุบ เลิก ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร กฎ ระเบียบ ได้ตามสถานการณ์ **๔.๔.๒ พัฒนาและปรับระบบวิธีการปฏิบัติราชการให้ทันสมัย** โดยมีการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการที่ตั้งอยู่บนข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ มุ่งผลสัมฤทธิ์ มีความโปร่งใส ยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง นำนวัตกรรม เทคโนโลยี ข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบการทำงานที่เป็นดิจิทัล มาใช้ในการบริหารและการตัดสินใจ รวมทั้งนำองค์ความรู้ ในแบบสหสาขาวิชาเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างคุณค่าและแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศในการตอบสนองกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างทันเวลา พร้อมทั้งมีการจัดการความรู้และถ่ายทอดความรู้อย่าง เป็นระบบเพื่อพัฒนาภาครัฐให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ **๔.๕ บุคลากรภาครัฐเป็นคนดีและเก่ง ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึก มีความสามารถสูง มุ่งมั่น และเป็นมืออาชีพ** ในการปฏิบัติหน้าที่และขับเคลื่อนภารกิจยุทธศาสตร์ชาติ โดยภาครัฐมีกำลังคน ที่เหมาะสมทั้งปริมาณและคุณภาพ มีระบบบริหารจัดการและพัฒนาบุคลากรให้สามารถสนองความต้องการ ในการปฏิบัติงาน มีความก้าวหน้าในอาชีพ สามารถจูงใจให้คนดีคนเก่งทำงานในภาครัฐ มีระบบการพัฒนา ขีดความสามารถบุคลากรภาครัฐให้มีสมรรถนะใหม่ ๆ สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงบริบทการพัฒนา มีการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม การปรับเปลี่ยนแนวคิดให้การปฏิบัติราชการเป็นมืออาชีพ มีจิตบริการ ทำงานในเชิงรุกและมองไปข้างหน้า สามารถบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่นได้อย่างเป็นรูปธรรม **๔.๕.๑ ภาครัฐมีการบริหารกำลังคนที่มีความคล่องตัว ยึดระบบคุณธรรม** เพิ่มความยืดหยุ่นคล่องตัวให้กับหน่วยงานภาครัฐในการบริหารทรัพยากรบุคคลในทุกขั้นตอนควบคู่ไปกับการเสริมสร้างประสิทธิภาพและคุณภาพภายใต้หลักระบบคุณธรรม ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกลไกการวางแผน กำลังคน รูปแบบการจ้างงาน การสรรหา การคัดเลือก การแต่งตั้ง เพื่อเอื้อให้เกิดการหมุนเวียน ถ่ายเทแลกเปลี่ยน และโยกย้ายบุคลากรคุณภาพในหลากหลายระดับระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ของประเทศได้อย่างคล่องตัว รวมทั้งทบทวนและปรับเปลี่ยนระบบค่าตอบแทนที่เป็นธรรม มีมาตรฐาน เหมาะสมสอดคล้องกับภาระงาน **๔.๕.๒ บุคลากรภาครัฐยึดค่านิยมในการทำงานเพื่อประชาชน มีคุณธรรม และมีการพัฒนาตามเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ** พัฒนาขีดความสามารถบุคลากรภาครัฐและวางมาตรการที่เหมาะสมกับเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพให้มีสมรรถนะใหม่ ๆ ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานและสร้างค่านิยม ในการปฏิบัติงานเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม สามารถบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่นได้ อย่างเป็นรูปธรรม ให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาวะผู้นำในทุกระดับให้มีขีดสมรรถนะสูง มีความรับผิดชอบ และมีความเป็นมืออาชีพ เป็นทั้งผู้นำทางความรู้และความคิด ผลักดันภารกิจ นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนา นโยบายและยุทธศาสตร์ เป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ร่วมงานและต่อสังคม โดยมีการสร้างผู้นำทางยุทธศาสตร์ ในหน่วยงานภาครัฐทุกระดับอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบเพื่อรองรับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติระยะยาว **๔.๖ ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ** ทุกภาคส่วนร่วมต่อต้านการทุจริต ภาครัฐมีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกระดับ โดยเฉพาะการสร้างวัฒนธรรมแยกแยะประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมของบุคลากรภาครัฐให้เกิดขึ้น รวมทั้งสร้างจิตสำนึกและค่านิยมให้ทุกภาคส่วนตื่นตัวและละอายต่อการทุจริตประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ พร้อมทั้ง ส่งเสริม สนับสนุน ให้ภาคีองค์กรภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ชุมชน ประชาชน และภาคีต่าง ๆ มีส่วนร่วม ในการสอดส่อง เฝ้าระวัง ให้ข้อมูล แจ้งเบาะแสการทุจริต และตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ และภาคส่วนอื่น ๆ โดยได้รับความคุ้มครองจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ **๔.๖.๑ ประชาชนและภาคีต่าง ๆ ในสังคมร่วมมือกันในการป้องกันการทุจริตและประพฤติ มิชอบ** รัฐต้องส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้แก่ประชาชนถึงอันตรายที่เกิดจากการทุจริตและประพฤติมิชอบ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน จัดให้มีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันและขจัดการทุจริต และประพฤติมิชอบดังกล่าวอย่างเข้มงวด รวมทั้ง ส่งเสริม และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยเฉพาะ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การรณรงค์ให้ความรู้ ต่อต้าน หรือชี้เบาะแสการทุจริต โดยได้รับความคุ้มครองจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ พร้อมทั้ง มีระบบการรับเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีประสิทธิภาพ **๔.๖.๒ บุคลากรภาครัฐยึดมั่นในหลักคุณธรรม จริยธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต** กำหนดให้เจ้าพนักงานของรัฐต้องยึดถือแนวทางปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และหลีกเลี่ยงการขัดกันระหว่างประโยชน์บุคคลและประโยชน์ส่วนรวม รวมทั้งยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตนเอง คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ โดยเฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามที่กฎหมายกำหนด จะต้องเปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินให้ประชาชนทราบ **๔.๖.๓ การปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบมีประสิทธิภาพมีความเด็ดขาด เป็นธรรม และตรวจสอบได้** จัดการกับผู้กระทำความผิดทุจริตและประพฤติมิชอบในทุกระดับอย่างตรงไปตรงมา เป็นธรรม และตรวจสอบได้ พร้อมทั้งให้การดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมปราศจากการแทรกแซงของนักการเมืองและผู้มีอิทธิพล ตลอดจนวางมาตรการคุ้มครองพยานและผู้ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ต้องกำหนดให้มีการลงโทษผู้กระทำผิดกรณีทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างจริงจังและรวดเร็ว **๔.๖.๔ การบริหารจัดการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างเป็นระบบแบบ บูรณาการ** จัดให้มีกลไกการประสานงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ทั้งในระดับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบ โดยการพัฒนาระบบงานและโครงสร้างองค์กรที่เอื้อต่อการดำเนินงานแบบบูรณาการ และมุ่งผลสัมฤทธิ์ **๔.๗ กฎหมายมีความสอดคล้องเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ และมีเท่าที่จำเป็น** กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับมีเท่าที่จำเป็น ทันสมัย มีความเป็นสากล มีประสิทธิภาพ โดยมุ่งใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ในการสนับสนุนการพัฒนา การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การแก้ไขปัญหาและอุปสรรค ที่นำไปสู่ความเหลื่อมล้ำด้านต่าง ๆ เอื้อต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ **๔.๗.๑ ภาครัฐจัดให้มีกฎหมายที่สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลง** ปรับเปลี่ยนบทบาทของภาครัฐเป็นผู้อำนวยความสะดวก กำหนดกติกาในการแข่งขันให้เกิดความเป็นธรรม แก่การดำเนินธุรกิจทั้งในธุรกิจทั่วไปและธุรกิจเฉพาะ ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สามารถตอบสนองกับ การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการผลิต การค้า การบริการ และสามารถอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะการปรับปรุงแก้ไขและยกเลิกกฎหมายต่าง ๆ ให้มีความชัดเจน ทันสมัย เป็นธรรม เอื้ออำนวยต่อการบริหารราชการแผ่นดิน การพัฒนาประเทศ การให้บริการประชาชน การประกอบธุรกิจ การแข่งขันระหว่างประเทศ สอดคล้องกับข้อบังคับสากลหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ รวมทั้ง การสร้างการรับรู้และความเข้าใจในข้อกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เท่าเทียม **๔.๗.๒ มีกฎหมายเท่าที่จำเป็น** ออกแบบกฎหมายที่รอบคอบรัดกุมเพื่อแก้ปัญหาอย่างตรงจุดให้มีความสอดคล้องกับข้อบังคับสากลหรือข้อตกลงระหว่างประเทศที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยรวม ด้วยการสร้างความเป็นธรรมในการจัดสรรผลประโยชน์และบริหารจัดการผลกระทบที่เกิดจากกฎหมาย ที่เกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินและการประกอบอาชีพ ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ และกำหนดวงรอบในการทบทวนปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้น ในการตรากฎหมายต้องดำเนินการให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ต่อประชาชน และนำมาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน รวมทั้งจัดให้มีการสร้างความรับรู้ และความเข้าใจในข้อกฎหมาย และประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายทุกรอบระยะเวลาที่กำหนด เพื่อพัฒนากฎหมายทุกฉบับให้สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป **๔.๗.๓ การบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ** เท่าเทียม มีการเสริมสร้างประสิทธิภาพ การใช้กฎหมาย บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ไม่เลือกปฏิบัติ นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการใช้กฎหมาย ป้องกันการกระทำผิดและจับกุมผู้กระทำผิด ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว **๔.๘ กระบวนการยุติธรรมเคารพสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติต่อประชาชนโดยเสมอภาค** มีความเป็นกลาง น่าเชื่อถือ โปร่งใส ตรวจสอบได้ กระบวนการยุติธรรมมีการบริหารที่มีประสิทธิภาพ เจ้าหน้าที่ ในกระบวนการยุติธรรมมีความกล้าหาญทางจริยธรรม เป็นมืออาชีพ มีความเป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก มุ่งให้เกิดการสร้างมาตรฐานและเพิ่มประสิทธิภาพ ในกระบวนการยุติธรรมเทียบเท่าระดับสากล ตามหลักนิติธรรม โปร่งใส ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสในการเข้าถึงความยุติธรรม สร้างความสมดุลระหว่างสิทธิและเสรีภาพของประชาชนกับประโยชน์สาธารณะ การอำนวย ความยุติธรรมมีประสิทธิภาพและเป็นไปอย่างเสมอภาค หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมมีความร่วมมือที่ดี บูรณาการและเชื่อมโยงการทำงานระหว่างกัน **๔.๘.๑ บุคลากรและหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเคารพและยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่พึงได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม** ปรับวัฒนธรรมองค์กร และทัศนคติเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรมให้เคารพและยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่พึงได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมของหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรมให้มีความโปร่งใส เป็นกลาง ปราศจากการแทรกแซงหรือครอบงำใด ๆ การบริหารงานบุคคลในกระบวนการยุติธรรมต้องโปร่งใส เป็นอิสระ และมีการพัฒนาตัวบุคคลอย่างต่อเนื่อง **๔.๘.๒ ทุกหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม มีบทบาทเชิงรุกร่วมกันในทุกขั้นตอนของ การค้นหาความจริง** การรวบรวมและการพิสูจน์พยานหลักฐานเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยต้องใช้ประโยชน์จากนิติวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ และจัดให้มีบริการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างมีทางเลือก อำนวยความยุติธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เลือกปฏิบัติ มีความโปร่งใส และประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว ยกระดับความโปร่งใสในการใช้อำนาจ กับประชาชนและการแต่งตั้งโยกย้าย รวมทั้งยกระดับมาตรการตรวจสอบการประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ ในกระบวนการยุติธรรมให้มีความน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพ **๔.๘.๓ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมทั้งทางแพ่ง อาญา และปกครองมีเป้าหมายและยุทธศาสตร์ร่วมกัน** เพื่อประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายและอำนวยความยุติธรรม พัฒนาเป้าหมายและยุทธศาสตร์ระยะกลางและระยะยาวระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ มีรูปแบบกระบวนการยุติธรรมที่มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานกันบนพื้นฐานแห่งการไว้วางใจ ซึ่งกันและกัน รวมทั้งสร้างเครื่องมือการประเมินคุณภาพและผลงานที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมุ่งก่อให้เกิดผลลัพธ์ต่อสังคมร่วมกัน พร้อมทั้งพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในกระบวนการยุติธรรมเพื่อเป็นช่องทาง ให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมตลอดกระบวนการพิจารณาคดีได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร **๔.๘.๔ ส่งเสริมระบบยุติธรรมทางเลือก ระบบยุติธรรมชุมชน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม** ส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมทางเลือกในรูปแบบต่าง ๆ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม การช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงความเป็นธรรม การพัฒนารูปแบบของการ มีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมให้มีความหลากหลาย การสร้างความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมให้กับประชาชน การพัฒนากลไกคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากกระบวนการยุติธรรมและความขัดแย้งระหว่างภาครัฐ เอกชน และชุมชน รวมทั้ง การส่งเสริมพัฒนาระบบการสืบเสาะและการสอดส่องให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น **๔.๘.๕ พัฒนามาตรการอื่นแทนโทษทางอาญา** เพื่อลดทอนความเป็นโทษทางอาญา ที่ไม่จำเป็น สร้างความสมดุลระหว่างการบังคับโทษตามคำพิพากษากับการให้โอกาสผู้ต้องโทษกลับคืนสู่สังคม เปิดโอกาสให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารการบังคับโทษ และการพัฒนาระบบคุมประพฤติ ในชุมชน รวมทั้ง การใช้กฎหมายอาญาโดยยึดมั่นหลักการตีความโดยเคร่งครัด ไม่ขยายขอบเขตฐานความผิด ให้ครอบคลุมการกระทำที่แท้จริงแล้วไม่เข้าองค์ประกอบ
{'url': 'http://nscr.nesdc.go.th/ns/', 'title': 'ยุทธศาสตร์ชาติ ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา', 'license': 'public domain'}
**สถานการณ์การค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2559-2561(มค.-กย.)** 1. สถานการณ์การค้าชายแดน ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา) มูลค่าการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี โดยตลอด 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2558 – 2560) การค้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2.85% ในปี 2560 มีมูลค่า 1,076,389.37 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.22% ***สำหรับปี 2561*** (มกราคม-กันยายน) มูลค่าการค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ (มาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา) มูลค่าการค้ารวม 834,354.28 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 801,276.34 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 4.13(YoY) แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 485,976.79 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 0.77(YoY) และมูลค่าการนำเข้า 348,377.49 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 11.83(YoY) ไทยได้ดุลการค้าชายแดน 137,599.30 ล้านบาท **ด้านมาเลเซียมีการค้าสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง** มูลค่า 426,192.72 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 51.08 ของมูลค่าการค้าชายแดนรวม รองลงมาได้แก่ สปป.ลาว มูลค่า 158,730.16 ล้านบาท (19.20%) เมียนมา มูลค่า 143,884.23 ล้านบาท (17.24%) และกัมพูชา มูลค่า 105,547.17 ล้านบาท (12.65%) **การค้าชายแดน 4 ประเทศ ปี 2559-2560 (มกราคม-กันยายน)** หน่วย : ล้านบาท | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | **การค้ารวม 4 ประเทศ** | **2559** | **2560** | **2560** | **2561** | **% YoY** | | **(มกราคม-กันยายน)** | | มูลค่า | 1,013,206.17 | 1,081,274.05 | **801,276.34** | **834,354.28** | **4.13** | | ส่งออก | 605,159.35 | 654,413.76 | **489,750.08** | **485,976.79** | **-0.77** | | นำเข้า | 408,046.82 | 426,860.29 | **311,526.26** | **348,377.49** | **11.83** | | ดุลการค้า | 197,112.53 | 227,553.47 | **178,223.82** | **137,599.30** | | ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมการค้าต่างประเทศ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร -2- การค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2559-2561 (**มกราคม-กันยายน**) หน่วย : ล้านบาท | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | **ประเทศ** | **รายการ** | **2559** | **2560** | **2560** | **2561** | **%YoY** | | **(มกราคม-กันยายน)** | | **มาเลเซีย** | มูลค่า | 501,307.47 | 564,628.87 | **420,490.44** | **426,192.72** | **1.36** | | | ส่งออก | 258,109.26 | 312,457.65 | **237,185.88** | **221,409.80** | **-6.65** | | | นำเข้า | 243,198.21 | 252,171.22 | **183,304.56** | **204,782.92** | **11.72** | | | ดุลการค้า | 14,911.05 | 60,286.43 | **53,881.32** | **16,626.88** | | | **สปป.ลาว** | มูลค่า | 202,942.72 | 207,045.85 | **151,160.66** | **158,730.16** | **5.01** | | | ส่งออก | 136,440.48 | 131,262.33 | **96,236.39** | **96,847.36** | **0.63** | | | นำเข้า | 66,502.24 | 75,743.52 | **54,924.27** | **61,882.80** | **12.67** | | | ดุลการค้า | 69,938.24 | 55,478.81 | **41,312.12** | **34,964.56** | | | **เมียนมา** | มูลค่า | 187,905.29 | 184,331.02 | **137,107.09** | **143,884.23** | **4.94** | | | ส่งออก | 109,267.17 | 108,966.18 | **82,609.70** | **79,806.58** | **-3.39** | | | นำเข้า | 78,638.12 | 75,364.84 | **54,497.39** | **64,077.65** | **17.58** | | | ดุลการค้า | 30,629.05 | 33,601.34 | **28,112.31** | **15,728.92** | | | **กัมพูชา** | มูลค่า | 121,050.69 | 125,268.31 | **92,518.15** | **105,547.17** | **14.08** | | | ส่งออก | 101,342.44 | 101,727.60 | **73,718.11** | **87,913.05** | **19.26** | | | นำเข้า | 19,708.25 | 23,540.71 | **18,800.04** | **17,634.12** | **-6.20** | | | ดุลการค้า | 81,634.19 | 78,186.89 | **54,918.07** | **70,278.93** | | ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมการค้าต่างประเทศ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร **เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560-2561 (มกราคม-กันยายน)** ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – มาเลเซีย*** **ในเดือนกันยายน 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 46,721.73 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 47,457.06 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 1.55(YoY) แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 22,236.08 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 15.61(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 24,485.65 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 15.99(YoY) ไทย**ขาดดุลการค้า** 2,249.57 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 9 เดือนของปี 2561(ม.ค.-ก.ย.)*** การค้าชายแดนไทยกับมาเลเซียมีมูลค่าการค้ารวม 426,192.72ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 1.36(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 221,409.80 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 6.65(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 204,782.92 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 11.72(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 16,626.88 ล้านบาท -3- ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – เมียนมา*** **ในเดือนกันยายน 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 16,059.03 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 16,621.67 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 3.38(YoY) โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 7,947.74 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 12.69(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 8,111.29 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 7.88(YoY) ไทย**ขาดดุลการค้า** 163.55 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 9 เดือนของปี 2561(ม.ค.-ก.ย.)*** การค้าชายแดนไทยกับเมียนมามีมูลค่าการค้ารวม 143,884.23 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 4.94(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 79,806.58 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 3.39(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 64,077.65 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 17.58(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 15,728.92 ล้านบาท ***ภาวะการค้าชายแดนไทย–สปป.ลาว*** **ในเดือนกันยายน 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 16,973.37 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 16,502.12 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 2.86(YoY) โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 9,398.46 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 7.13(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 7,574.91 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 18.68(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 1,823.55 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 9 เดือนของปี 2561(ม.ค.-ก.ย.)*** การค้าชายแดนไทยกับสปป.ลาว มีมูลค่าการค้ารวม 158,730.16 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 5.01(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 96,847.36 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 0.63(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 61,882.80 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 12.67(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 34,964.56 ล้านบาท ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – กัมพูชา*** **ในเดือนกันยายน 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 12,327.55 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 9,196.86 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 34.04(YoY) แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 10,839.79 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 36.73(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 1,487.76 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 17.23(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 9,352.03 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 9 เดือนของปี 2561(ม.ค.-ก.ย.)*** การค้าชายแดนไทยกับกัมพูชา มีมูลค่าการค้ารวม 105,547.17 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 14.08(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 87,913.05 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 19.26(YoY) และ การนำเข้ามีมูลค่า 17,634.12 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 6.20(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 70,278.93 ล้านบาท **กลุ่มความร่วมมือฯ 2** **กองความร่วมมือการค้าและการลงทุน**
{'url': 'https://data.go.th/dataset/item_01fca7e1-ea71-442b-84f1-9820a5b49dd2', 'title': 'สถานการณ์การค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2559-2561 (มกราคม-กันยายน)', 'license': 'CC-BY'}
**รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ** **ชื่อเรื่อง กระบวนงานส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการกิจการไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกล บ้านเกาะบูโหลนดอน** **ม.3 ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล** **กองศึกษาและพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน** **สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน กรกฎาคม 256๕** **คำนำ** โลกในยุคปัจจุบันมีความซับซ้อน เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา และประเทศไทยก็ได้รับ อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการใช้พลังงานในระดับชุมชน ที่เปลี่ยนผ่านสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) ด้วย และความเจริญที่มาอย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิด การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ปัญหาการจัดการพลังงานชุมชนที่มีความซับซ้อน หรือปริมาณมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งภาครัฐจำเป็นต้องปรับตัวและเตรียมการรองรับให้ทันต่อสถานการณ์ ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น โดยเชื่อมโยงการพัฒนาในทุกมิติ เพื่อการบริการสาธารณะด้านพลังงานชุมชนที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพให้กับประชาชน และตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง โดยเน้นการปรับเปลี่ยนแปลงการทำงาน ไปสู่ “พลังงานชุมชนที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” โดยใช้พลัง “ประชารัฐ” ซึ่งมีทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมประกอบด้วย ภาคเอกชน ภาคการเงิน การธนาคาร มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยต่างๆ โดยเน้นตามความถนัด และจุดเด่นของแต่ละองค์กร รวมทั้งความร่วมมือจากภาคประชาชนหรือภาคประชาสังคม ซึ่งภาครัฐเป็นผู้สนับสนุน ให้การขับเคลื่อนเกิดผลที่เป็นรูปธรรม ด้วยหลัก “ประชาธิปไตยประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy)” ที่ให้ความสำคัญกับประชาชนในการเข้ามี ส่วนร่วมโดยตรงทั้งทางการเมืองและการบริหารราชการ ดังปรากฎอย่างชัดเจนในเนื้อหาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และต่อเนื่องในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่ให้สิทธิเสรีภาพประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการมากขึ้น เช่น โครงการบริหารจัดการพลังงานครบวงจรระดับตำบล ชุมชน วิสาหกิจลดใช้พลังงาน การเชื่อมร้อยเครือข่ายอาสาสมัครพลังงานชุมชน การจัดการพลังงานชุมชนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การจัดทำ จากความสำคัญดังกล่าวสำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กระทรวงพลังงาน จึงได้จัดทำคู่มือกระบวนงานส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยเนื้อหาของคู่มือนำเสนอการนำขั้นตอนการมีส่วนระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation Spectrum) โดยเงื่อนไขของระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในที่นี้จะใช้ตัวแบบ ของสมาคมการมีส่วนร่วมสากล (International Association for Public Participation - IAP2) ที่เรียกว่า Public Participation Spectrum ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมของประชาชน 5 ระดับ คือ ระดับการให้ข้อมูลข่าวสาร (To Inform) ระดับการปรึกษาหารือ (To Consult) ระดับการเข้ามาเกี่ยวข้อง (To Involve) ระดับความร่วมมือ (To Collaborate) และระดับเสริมอำนาจประชาชน (Empower) ซึ่งเป็นระดับที่บทบาทของประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมอยู่ในระดับสูงสุดเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการพลังงานชุมชน รายงานประกอบด้วยเนื้อหาการนำขั้นตอนการมีส่วนร่วมไปประยุกต์ใช้ โดยความสำเร็จของการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมจะก่อให้เกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม/ภาคประชาชน ด้วยการสร้างพลังความร่วมมือในการขับเคลื่อนการพัฒนาพลังงานชุมชนไปสู่เป้าหมาย คือ โครงการพลังงานชุมชนสามารถเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน เกิดจิตสำนึกการอนุรักษ์และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการ ของประชาชนได้อย่างแท้จริง รวมทั้ง ผลของการพัฒนาที่เกิดประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืน | | | --- | | คณะผู้จัดทำ | **สารบัญ** หน้า วัตถุประสงค์ ๕ ขอบเขต ๕ คำจำกัดความ ๕ หน้าที่ความรับผิดชอบ ๕ Workflow ๗ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ๘ ระบบติดตามประเมินผล 8 เอกสารอ้างอิง 9 แบบฟอร์มที่ใช้ 9 ภาคผนวก ๑๐ ๑) ตัวอย่างการประชุมติดตามความก้าวหน้า โครงการไฟฟ้าพลังงานทดแทนแบบผสมผสานบนเกาะ ๒๑ ๒) การใช้กระบวนการมีส่วนร่วมกับโครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ๒๔ บนเกาะบุโหลนดอน ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล **รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ** 1. **วัตถุประสงค์** เพื่อนำเสนอกระบวนงานส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงการพลังงานชุมชน ที่ตอบสนองความต้องการ ของประชาชนได้อย่างแท้จริง รวมทั้ง ผลของการพัฒนาที่เกิดประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืน 1. **ขอบเขต** 1. การให้ข้อมูลข่าวสาร (To Inform) 2. การปรึกษาหารือ (To Consult) 3. การเข้ามาเกี่ยวข้อง (To Involve) 4. ความร่วมมือ (To Collaborate) 5. การเสริมอำนาจประชาชน (Empower)การออกแบบเนื้อหาการสื่อสาร 6. กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม/ภาคประชาชน 2. **คำจำกัดความ** **กระบวนงานของ**จัดทำแนวทางและพัฒนาช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ทุกระดับ โดยนำเสนอการนำขั้นตอนการมีส่วนระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation Spectrum) โดยเงื่อนไขระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในที่นี้ใช้ตัวแบบ ของสมาคมการมีส่วนร่วมสากล (International Association for Public Participation - IAP2) ที่เรียกว่า Public Participation Spectrum ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมของประชาชน 5 ระดับ ภาพประกอบจาก : <https://www.opdc.go.th/content/Mjc4Nw> **4. หน้าที่ความรับผิดชอบ** 4.1 สนับสนุนการพัฒนาช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ทุกระดับ โดยนำเสนอการนำขั้นตอนการมีส่วนระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation Spectrum) ๔.๒ พัฒนาโครงการพัฒนาด้านพลังงานร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม/ภาคประชาชน แบ่งเป็นกิจกรรมย่อย เช่น * การประชุมพัฒนาโครงการร่วม * การจัดเวทีประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ * การเก็บข้อมูล * การสะท้อนข้อมูล * การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ * การปฏิบัติการจริงในพื้นที่ ๔.๓ การนำกระบวนการมีส่วนร่วมไปปฏิบัติจริงในพื้นที่ต้นแบบ ๔.๔ การติดตามประเมินผล ๔.๕ การสรุปบทเรียน **สรุปกระบวนงานพัฒนาช่องทางการเข้าถึงข้อมูลพลังงานของประชาชน** กระบวนงานส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงการพลังงานชุมชนโดยนำขั้นตอนการมีส่วนระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation Spectum) ซึ่งใช้ตัวแบบของสมาคมการมีส่วนร่วมสากล (International Association for Public Participation - IAP2) ที่เรียกว่า Public Participation Spectrum ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมของประชาชน 5 ระดับดังนี้ * 1. ระดับการให้ข้อมูลข่าวสาร (To Inform) 2. ระดับการปรึกษาหารือ (To Consult) 3. ระดับการเข้ามาเกี่ยวข้อง (To Involve) 4. ระดับความร่วมมือ (To Collaborate) 5. ระดับเสริมอำนาจประชาชน (Empower) ซึ่งเป็นระดับที่บทบาทของประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมอยู่ในระดับสูงสุดเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการพลังงานชุมชน แผนปฏิบัติงานโครงการส่งเสริมการบริหารกิจการไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกล **5. Workflow ชื่อกระบวนการ:** **กระบวนงานพัฒนาช่องทางการเข้าถึงข้อมูลพลังงานของประชาชน** | **ลำดับ** | **ผังกระบวนการ** | **ระยะเวลา**(วันทำการ) | **รายละเอียดงาน** | **ผู้รับผิดชอบ** | | --- | --- | --- | --- | --- | | **1** | เริ่มต้นกำหนดเป้าหมายพื้นที่ทำงานโครงการจัดทำแผนการลงพื้นที่สร้างกระบวนการมีส่วนร่วม | **3 วัน** | ประชุมพัฒนาโครงการพลังงานชุมชนกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับหน่วยงานพัฒนาภาครัฐและเอกชน* ระดับการให้ข้อมูลข่าวสาร (To Inform) * ระดับการปรึกษาหารือ (To Consult) | นายพิรัฐ อินพานิชนักวิเคราะห์นโยบายและแผนผู้ปฏิบัติงานน.ส.นพมาศ บัววิชัยศิลป์นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการผู้ปฏิบัติงานและควบคุมงานชั้นต้นนายกณพงศ์ เทพากรณ์ผอ.สสช.ผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน | | **2** | | **3 วัน** | จัดทำแผนการลงพื้นที่ Concept การทำงานแต่ละปี เช่น ปี 2560 แนวคิด 10ปีพลังงานชุมชน, ปี 2561 แนวคิดพลังงานชุมชนกับ SDG, ปี 2562 แนวคิดความร่วมมือประชารัฐกับการพัฒนาพลังงานชุมชน, ปี 2563 แนวคิด พลังงานชุมชนกับ นโยบายEnergy For All มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับหน่วยงานพัฒนาภาครัฐและเอกชน* ระดับการให้ข้อมูลข่าวสาร (To Inform) * ระดับการปรึกษาหารือ (To Consult) | | **3** | | **3 วัน** | กำหนดเป้าหมายการพัฒนาโครงการให้เหมาะสมกับ กลุ่มเป้าหมาย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเหมาะสมกับเทคโนโลยีที่ใช้ และการบริการจัดการชุมชน เกี่ยวข้องในระดับหน่วยงานพัฒนาภาครัฐและเอกชน* ระดับการให้ข้อมูลข่าวสาร (To Inform) * ระดับการปรึกษาหารือ (To Consult) | | **ลำดับ**แก้ไข | **ผังกระบวนการ** | **ระยะเวลา**(วันทำการ) | **รายละเอียดงาน** | **ผู้รับผิดชอบ** | | --- | --- | --- | --- | --- | | **4** | รวบรวมข้อมูล จัดทำฐานข้อมูลรวบรวมข้อมูลประเด็นสื่อสารลงพื้นที่ สัมภาษณ์ บันทึก เก็บข้อมูลตามแผนพัฒนาโครงการพลังงานชุมชนเก็บข้อมูลตามแผนพัฒนาโครงการพลังงานชุมชนนำข้อมูลมาเรียบเรียงเป็นเนื้อหาแก้ไขสะท้อนข้อมูลกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องชุมชนตัดสินใจ | **แล้วแต่กรณี****3-10วัน** | ลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแผนพัฒนาโครงการด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ลงพื้นที่ สัมภาษณ์ บันทึก ประสานผ่านอุปกรณ์สื่อสารกับผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น เครือข่ายอาสาสมัครพลังงานชุมชน วิสาหกิจชุมชนลดใช้พลังงาน ข้าราชการ องค์กรพัฒนาเอกชน สำนักงานพลังงานจังหวัด ๗๖ จังหวัด มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับหน่วยงานพัฒนาภาครัฐเอกชน และประชาชนผู้รับบริการ | | | **5** | เก็บข้อมูลตามแผนการประชาสัมพันธ์กำหนดเป้าหมายการประชาสัมพันธ์ | **3 วัน**แก้ไข | รวบรวมข้อมูล จัดทำเป็นฐานข้อมูล ตามหมวดหมู่ข้อมูล ประเด็นการสื่อสาร แยกประเภทข้อมูล (.doc .pdf .xls .jpg) | | **6** | | **3 วัน** | นำข้อมูลมาเรียบเรียงเป็นเนื้อหา (Content) เพื่อเตรียมสะท้อนข้อมูล* ระดับการให้ข้อมูลข่าวสาร (To Inform) * ระดับการปรึกษาหารือ (To Consult) | | **7** | เสนอ ผู้บริหารให้ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารให้ข้อเสนอแนะ | **2 วัน** | นำข้อมูลไปสะท้อนกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อรับฟังความคิดเห็น และชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกแนวทางการพัฒนาด้วยตนเอง* ระดับการให้ข้อมูลข่าวสาร (To Inform) * ระดับการปรึกษาหารือ (To Consult) * ระดับการเข้ามาเกี่ยวข้อง (To Involve) | | **ลำดับ** | **ผังกระบวนการ** | **ระยะเวลา**(วันทำการ) | **รายละเอียดงาน** | **ผู้รับผิดชอบ** | | --- | --- | --- | --- | --- | | **8** | | **3 วัน** | เปิดพื้นที่ให้ชุมชน ซักถาม ตรวจสอบข้อมูลเพื่อความถูกต้องโปร่งใส และร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในการติดตั้ง ใช้งานเทคโนโลยี และการบริหารจัดการความยั่งยืนโดยชุมชน* ระดับการเข้ามาเกี่ยวข้อง (To Involve) * ระดับความร่วมมือ (To Collaborate) | | | **9** | ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าประชุมจัดตั้งกลุ่มบริหารจัดการลงพื้นที่ประชุมชี้แจงและอบรมเชิงปฏิบัติการ | **3 วัน** | ประชุมชี้แจง อบรมการจัดตั้งกลุ่มบริหารจัดการโครงการในรูปของคณะทำงานตามบริบทชุมชน เช่น กลุ่ม วิสาหกิจ สหกรณ์ และเริ่มให้ชุมชนทดลองดำเนินการ โดยชุมชนเป็นเจ้าของดูแลเองทั้งหมด* ระดับการให้ข้อมูลข่าวสาร (To Inform) * ระดับการปรึกษาหารือ (To Consult) * ระดับการเข้ามาเกี่ยวข้อง (To Involve) * ระดับความร่วมมือ (To Collaborate) * ระดับเสริมอำนาจประชาชน (Empower) ซึ่งเป็นระดับที่บทบาทของประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมอยู่ในระดับสูงสุดเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการพลังงานชุมชน | | | **10** | ติดตามผลการดำเนินงานร่วมกับชุมชน | **30วัน** | ติดตามประเมินผล โดยใช้ระบบออนไลน์ติดตามงาน และลงพื้นที่จริง เพื่อรับฟังข้อมูลของผู้ใช้บริการ และมอบอำนาจการบริหารจัดการ การตัดสินใจการกำหนดทิศทางการบริหารงานทั้งหมดให้ชุมชนเป็นเจ้าของ * ระดับการให้ข้อมูลข่าวสาร (To Inform) * ระดับการปรึกษาหารือ (To Consult) * ระดับการเข้ามาเกี่ยวข้อง (To Involve) * ระดับความร่วมมือ (To Collaborate) * ระดับเสริมอำนาจประชาชน (Empower) ซึ่งเป็นระดับที่บทบาทของประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมอยู่ในระดับสูงสุดเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการพลังงานชุมชน | | | **6. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน** | **ระเบียบ เอกสาร บันทึก แนวทางแบบฟอร์มที่ใช้** | **มาตรฐาน/คุณภาพงาน** | **วิธีติดตาม/ประเมินผล** | **เงื่อนไขการปฏิบัติงาน** | | --- | --- | --- | --- | --- | | 1. ทบทวนข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน นโยบายพลังงานและนโยบายที่เกี่ยวข้อง | เอกสารการจัดประชุมชี้แจงโครงการ เอกสารอนุมัติเดินทางลงพื้นที่ทำงาน | อ้างอิงจากเวปไซต์สำนัก กรณีบทความจะระบุชื่อ ที่อยู่ เบอร์ติดต่อของผู้ให้ข้อมูลสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้รวมทั้งการอ้างอิงเชิงอรรถแหล่งที่มาข้อมูลหากเป็นบทความเชิงวิชาการ | สามารถติดตามได้ที่เวปไซต์<http://ppp.energy.go.th/>และประเมินผลจากระบบการเก็บสถิติการเข้าชม กระดานถาม-ตอบ แบบสอบถาม การสังเกต สัมภาษณ์ | ๑. มีการลงพื้นที่เก็บข้อมูล โดยพิจารณาเป็นกรณีไป๒.ต้องได้รับความร่วมมือในการส่งข้อมูล ข่าวสาร จากเครือข่าย อาสาสมัครพลังงานชุมชน และสำนักงานพลังงานจังหวัด ๗๖ จังหวัด ๓. ประสานงานร่วมกับหน่วยงานสื่อสารที่เกี่ยวข้อง เช่น GIZ สพจ. กรมอุทยาน | | 1. จัดทำแผนการทำงาน หรือ Concept การทำงาน เช่น ปี 2560 แนวคิด 10ปีพลังงานชุมชน, ปี 2561 แนวคิดพลังงานชุมชนกับ SDG, ปี 2562 แนวคิดความร่วมมือประชารัฐกับการพัฒนาพลังงานชุมชน, ปี 2563 แนวคิด พลังงานชุมชนกับ นโยบายEnergy For All | แบบฟอร์มเอกสาร Microsoft Word (.doc .pdf .xls .jpg.ppt) ไฟล์บันทึกเสียงสัมภาษณ์ คลิป (.MP4) | ต้องมีการปฏิบัติจริงตามแผนงาน และเก็บหลักฐานการปฏิบัติตามแผน ในรูปแบบ รายงานสรุป ภาพประกอบ คลิปภาพและเสียง | สามารถติดตามได้ที่เวปไซต์<http://ppp.energy.go.th/>และประเมินผลจากระบบการเก็บสถิติการเข้าชม กระดานถาม-ตอบ แบบสอบถาม การสังเกต สัมภาษณ์ | ระบุแผนพัฒนาโครงการในกระบวนการทำงานของทุกโครงการของหน่วยเพื่อบูรณาการงานพร้อมกัน | | 1. กำหนดเป้าหมายการพัฒนาโครงการนำร่องให้สอดคล้องกับ กลุ่มเป้าหมาย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเหมาะสมกับบริบทในพื้นที่ | แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ บันทึกภาพถ่าย การดำเนินโครงการสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการในพื้นที่โครงการ | การจัดเวทีสรุปนำความเห็นมาประชุมปรับแผนงาน พัฒนาให้ดีขึ้น | สามารถติดตามได้ที่เวปไซต์<http://ppp.energy.go.th/>และประเมินผลจากระบบการเก็บสถิติการเข้าชม กระดานถาม-ตอบ แบบสอบถาม การสังเกต สัมภาษณ์ ภาพถ่าย | ระบุแผนประชาสัมพันธ์ในกระบวนการทำงานของทุกโครงการของหน่วยเพื่อบูรณาการงานพร้อมกัน | | 1. เก็บข้อมูลพื้นที่โครงการนำร่องตามด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ลงพื้นที่ สัมภาษณ์ บันทึก ประสานผ่านอุปกรณ์สื่อสารกับผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้าราชการ สำนักงานพลังงานจังหวัด | แบบฟอร์มเอกสาร Microsoft Word (.doc .pdf .xls .jpg .ppt) ไฟล์บันทึกเสียงสัมภาษณ์ คลิป (.MP4) | ข้อมูลเผยแพร่ที่มาจากการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และหน่วยงานส่วนภูมิภาคในสัดส่วนที่สมดุลกับข้อมูลจากรัฐส่วนกลาง | สามารถติดตามได้ที่เวปไซต์<http://ppp.energy.go.th/>และประเมินผลจากระบบการเก็บสถิติการเข้าชม กระดานถาม-ตอบ แบบสอบถาม การสังเกต สัมภาษณ์ | ระบุแผนประชาสัมพันธ์ในกระบวนการทำงานของทุกโครงการของหน่วยเพื่อบูรณาการงานพร้อมกัน | | 1. จัดเวทีสะท้อนข้อมูลผู้รับบริการ ที่ได้จากการ รวบรวมข้อมูล จัดทำเป็นฐานข้อมูล ตามหมวดหมู่ข้อมูล ประเด็นการสื่อสาร แยกประเภทข้อมูล (.doc .pdf .xls .jpg) | แบบฟอร์มเอกสาร การใช้กระดาน การเขียน วาดภาพ ในการสื่อสารในเวทีประชุม | มีระบบเก็บฐานข้อมูลแยกประเภท หมวดหมู่ ตามนามสกุลไฟล์ (.doc .pdf .xls .jpg .ppt) ในโครงสร้างเวปไซต์ | สามารถติดตามได้ที่เวปไซต์<http://ppp.energy.go.th/> | ๑.ต้องได้รับความร่วมมือในการส่งข้อมูล จากชุมชนเป้าหมาย และสำนักงานพลังงานจังหวัด หรือผู้รับผิดชอบโครงการที่เกี่ยวข้อง๒. ประสานงานร่วมกับหน่วยงานสื่อสารที่เกี่ยวข้อง เช่น สพจ. ราชการในพื้นที่ | | **ขั้นตอนการปฏิบัติงาน** | **ระเบียบ เอกสาร บันทึก แนวทางแบบฟอร์มที่ใช้** | **มาตรฐาน/คุณภาพงาน** | **วิธีติดตาม/ประเมินผล** | **เงื่อนไขการปฏิบัติงาน** | | --- | --- | --- | --- | --- | | 1. ปฏิบัติการเชิงพื้นที่ ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง | รูปแบบเทคโนโลยีที่ใช้ เอกสาร ป้าย ความรู้ | เอกการบันทึกรายงานการประชุมของชุมชน | สามารถติดตามได้ที่เวปไซต์<http://ppp.energy.go.th/>และประเมินผลจากระบบการเก็บสถิติการเข้าชม กระดานถาม-ตอบ แบบสอบถาม การสังเกต สัมภาษณ์ | ๑.ต้องได้รับความร่วมมือในการส่งข้อมูล จากชุมชนเป้าหมาย และสำนักงานพลังงานจังหวัด หรือผู้รับผิดชอบโครงการที่เกี่ยวข้อง๒. ประสานงานร่วมกับหน่วยงานสื่อสารที่เกี่ยวข้อง เช่น สพจ. ราชการในพื้นที่ | | 1. ปฏิบัติการเชิงพื้นที่ อบรมการใช้เทคโนโลยี การติดตั้งชุดสาธิต ทดสอบการใช้งาน | รูปแบบเทคโนโลยีที่ใช้ ภาพกิจกรรมการอบรมติดตั้งเทคโนโลยี การใช้งาน รายงานการประชุมการจัดตั้งองค์กรชุมชน | เอกการบันทึกรายงานการประชุมของชุมชน | สามารถติดตามได้ที่เวปไซต์<http://ppp.energy.go.th/>และประเมินผลจากระบบการเก็บสถิติการเข้าชม กระดานถาม-ตอบ แบบสอบถาม การสังเกต สัมภาษณ์ | ๑.ต้องได้รับความร่วมมือในการส่งข้อมูล จากชุมชนเป้าหมาย และสำนักงานพลังงานจังหวัด หรือผู้รับผิดชอบโครงการที่เกี่ยวข้อง๒. ประสานงานร่วมกับหน่วยงานสื่อสารที่เกี่ยวข้อง เช่น สพจ. ราชการในพื้นที่ | | 1. ปฏิบัติการเชิงพื้นที่ อบรมการใช้เทคโนโลยี การติดตั้ง ทดสอบการใช้งาน การจัดตั้งองค์กรชุมชนเพื่อบริหารจัดการ | รูปแบบเทคโนโลยีที่ใช้ ภาพกิจกรรมการอบรมติดตั้งเทคโนโลยี การใช้งาน รายงานการประชุมการจัดตั้งองค์กรชุมชน | เอกการบันทึกรายงานการประชุมของชุมชน | สามารถติดตามได้ที่เวปไซต์<http://ppp.energy.go.th/>และประเมินผลจากระบบการเก็บสถิติการเข้าชม กระดานถาม-ตอบ แบบสอบถาม การสังเกต สัมภาษณ์ | ๑.ต้องได้รับความร่วมมือในการส่งข้อมูล จากชุมชนเป้าหมาย และสำนักงานพลังงานจังหวัด หรือผู้รับผิดชอบโครงการที่เกี่ยวข้อง๒. ประสานงานร่วมกับหน่วยงานสื่อสารที่เกี่ยวข้อง เช่น สพจ. ราชการในพื้นที่ | | 1. ปฏิบัติการเชิงพื้นที่ อบรมการใช้เทคโนโลยี การซ่อมบำรุง การติดตั้งเพิ่มเติม ติดตามการใช้งานที่ผ่านมา ติดตามผลการดำเนินงานองค์กรชุมชนในบริหารจัดการด้วยตนเอง | รูปแบบเทคโนโลยีที่ใช้ ภาพกิจกรรมการอบรมติดตั้งเทคโนโลยี การใช้งาน รายงานการประชุมการจัดตั้งองค์กรชุมชน | เอกการบันทึกรายงานการประชุมของชุมชน | สามารถติดตามได้ที่เวปไซต์<http://ppp.energy.go.th/>และประเมินผลจากระบบการเก็บสถิติการเข้าชม กระดานถาม-ตอบ แบบสอบถาม การสังเกต สัมภาษณ์ | ๑.ต้องได้รับความร่วมมือในการส่งข้อมูล จากชุมชนเป้าหมาย และสำนักงานพลังงานจังหวัด หรือผู้รับผิดชอบโครงการที่เกี่ยวข้อง๒. ประสานงานร่วมกับหน่วยงานสื่อสารที่เกี่ยวข้อง เช่น สพจ. ราชการในพื้นที่ | | 1. ติดตามประเมินผล โครงการสามารถบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ชุมชนเป็นเจ้าของโครงการโดยสมบูรณ์ | การจัดเวทีการติดตามประเมินผล การสรุปบทเรียน แบบฟอร์มเอกสาร บันทึก ภาพถ่าย คลิปวีดีโอบันทึกกาเผยแพร่ ทางอุปกรณ์สื่อสารที่เก็บหลักฐานได้ เช่น ตอบทาง Line | หากเป็นข้อมูลชี้แจงนโยบายของผู้บริหารระดับสูงจะอ้างอิงจากเวปไซต์กระทรวงพลังงาน กรณีบทความจะระบุชื่อ ที่อยู่ เบอร์ติดต่อของผู้ให้ข้อมูลสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้รวมทั้งการอ้างอิงเชิงอรรถแหล่งที่มาข้อมูลหากเป็นบทความเชิงวิชาการ | สามารถติดตามได้ที่เวปไซต์<http://ppp.energy.go.th/>และประเมินผลจากระบบการเก็บสถิติการเข้าชม กระดานถาม-ตอบ แบบสอบถาม การสังเกต สัมภาษณ์ | ชุมชนสามารถบริหารจัดการและเป็นเจ้าของโครงการโดยสมบูรณ์ | **8. เอกสารอ้างอิง** 8.1 เวปไซต์สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน <http://ppp.energy.go.th/> สรุปข้อมูลการลงพื้นที่พัฒนาระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนเกาะบุโหลนดอน ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล ภายใต้ชื่อโครงการ ReCharge (สสช.+ReCharge+GIZ+AusAid) ลงพื้นที่ครั้งที่ 1/2563http://ppp.energy.go.th/สสช-\_เกาะบุโหลน/ ลงพื้นที่ครั้งที่ 2/2563 http://ppp.energy.go.th/โซล่าโฮมเกาะบุโหลนดอน-จ/ ลงพื้นที่ครั้งที่ 3/2563 http://ppp.energy.go.th/การสร้างความยังยืนเกาะ-s/ **ภาคผนวก** **ตัวอย่างการประชุมติดตามความก้าวหน้า โครงการไฟฟ้าพลังงานทดแทนแบบผสมผสานบนเกาะ** สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน ppp.energy.go.th/นำเสนอการประชุมติดตามค/ **กรณีศึกษาการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมกับโครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์** **บนเกาะบุโหลนดอน ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล** สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กระทรวงพลังงาน ร่วมกับภาคีเครือข่ายการพัฒนาพลังงานทดแทนในพื้นที่ห่างไกล ลงสำรวจพื้นที่และสถานการณ์พลังงานบนเกาะบุโหลนดอน ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล และหารือร่วมกับประชาชนในพื้นที่เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อลดค่าใช้จ่ายน้ำมันจากเครื่องยนต์ปั่นไฟซึ่งก่อมลภาวะทางอากาศและเสียง สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และร่วมสร้างระบบการบริหารจัดการโครงการผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป การพัฒนาไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนแบบผสมผสาน ชุมชนเกาะบุโหลนดอน\_ความสำคัญของปัญหาปัจจุบันยามค่ำคืน ชุมชนใช้ไฟฟ้าจากเครื่องปั่นไฟขนาด 50 kW. จ่ายไฟฟ้าให้กับครัวเรือนประมาณ 80 ครัวเรือน ระหว่างช่วงเวลา 18.00 น. ถึง 23.00 น. เป็นช่วงเวลา 5 ชั่วโมงแห่งความสุขของชาวบ้าน มีแสงสว่าง ได้ดูทีวี ใช้พัดลมคลายร้อน บางบ้านได้ใช้เครื่องซักผ้า โดยชุมชนเหมาจ่ายค่าไฟเฉลี่ยประมาณ 450-700 บาท ต่อครัวเรือนต่อเดือน รวมทั้งค่าน้ำแข็งเฉลี่ย เดือนละ 800-1,000 บาท แม้แรงดันไฟฟ้าจะต่ำเพียง 110 โวลต์ เนื่องจากสภาพเครื่องยนต์ที่ทรุดโทรมจากการใช้งานมานาน ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าบางตัวที่ต้องการแรงดันกระแสสลับมาตรฐานเกิดการชำรุดเสียหาย โมเดลการพัฒนากองทุนหมุนเวียน Solar Home System. เกาะบุโหลนดอน จ.สตูล เป็นอีกแนวทางในการใช้พลังงานแสงอาทิตย์และแบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูง (LiFePo4) เพื่อนำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรง DC 12 V ที่ประหยัดพลังงาน ปลอดภัย บำรุงรักษาง่าย ใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ชุมชนสามารถเลือกขนาดของระบบได้ตามความต้องการและความสามารถในการจ่ายเงิน โดยสนับสนุนให้ชุมชนรวมกลุ่มกันเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม มีการเก็บเงินค่าบำรุงระบบรายเดือน เพื่อให้มีรายได้สำหรับการซ่อมบำรุง เปลี่ยนอุปกรณ์ให้สมาชิกตามรอบอายุการใช้งาน เกิดกองทุนหมุนเวียนพลังงานชุมชนยั่งยืน สามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด สนับสนุนงบประมาณโดย สถานทูตออสเตรเลีย Australian Agency for International Development (AusAID) และ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ภายใต้โครงการความร่วมมือด้านนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไทย – เยอรมัน (Thai-German Climate Change Policy Programme: TGCP – Energy) ดำเนินงานโดย ReCharge SE + สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน (สสช.) ก.พลังงาน +สำนักงานพลังงานจังหวัดสตูล+ประชาชนชาวเกาะบุโหลนดอน องค์กรเครือข่ายภาคประชาสังคมคุณณรงค์ชัย เหมสุวรรณ ผญ.บ้านเกาะจิก จ.จันทบุรี นำคณะกรรมการ ประธาน รองประธาน เหรัญญิก เปิดบัญชีกลุ่มพลังงานทดแทนและการออมเพื่อความยั่งยืนบ้านเกาะบุโหลนดอน (ค่าบริการไฟฟ้าชุมชน) บช.1 และ (ออมทรัพย์สัจจะ) บช.2 พร้อมขับเคลื่อนโครงการไฟฟ้าพลังงานสะอาดที่จัดการโดยชุมชน กำหนดทิศทางโดยชุมชน เพื่อชุมชน อย่างแท้จริงอ่านความเป็นมาโครงการเพิ่มเติม : [http://ppp.energy.go.th/สสช-\_เกาะบุโหลน/](http://ppp.energy.go.th/%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%8A-_%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%99/?fbclid=IwAR1iuidK7AZvoNMPO_-fCaLTLCltUeHL538ptnjLqNdBTg1b0uyDXRMUxP4) รูปแบบการบริหารจัดการเก็บเงินค่าบำรุงระบบโซล่าโฮมเข้ากองทุนหมุนเวียนพลังงานชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน ระดับ 5 การเสริมอำนาจประชาชน (Empower) ซึ่งเป็นระดับที่บทบาทของประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมอยู่ในระดับสูงสุดเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการพลังงานชุมชน ประชุมชี้แจงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง * ระดับการให้ข้อมูลข่าวสาร (To Inform) * ระดับการปรึกษาหารือ (To Consult) ผู้นำท้องถิ่น ครู หัวหน้าอุทยาน GIZ พลังงานจังหวัด/สสช. สป.พน. อบต. เอกชน ประชุมชี้แจงชุมชนเป้าหมายการพัฒนา * ระดับการให้ข้อมูลข่าวสาร (To Inform) * ระดับการปรึกษาหารือ (To Consult) เก็บข้อมูล รับฟังความคิดเห็น สัมภาษณ์ สอบถาม ประชุมชี้แจง 1. ระดับการให้ข้อมูลข่าวสาร (To Inform) 2. ระดับการปรึกษาหารือ (To Consult) ประชุมจัดตั้งกลุ่ม/ตั้งคณะทำงานกลุ่มพลังงานทดแทนและการออมเพื่อความยั่งยืนบ้านเกาะบุโหลนดอน * ระดับการเข้ามาเกี่ยวข้อง (To Involve) * ระดับความร่วมมือ (To Collaborate) วันที่ 2๓ สิงหาคม ๒๕๖๓ ประชุมกลุ่มพลังงานทดแทนบ้านเกาะบุโหลนดอนและการออมเพื่อความยั่งยืน ประเด็นประชุมคืนนี้ 1. ทบทวนการประชุมบ่ายที่ผ่านมา 2. นำเสนอรายชื่อโครงสร้างคณะทำงาน กรรมการ final เปิดตัวคนเก็บเงิน และตัวแทน 3 คนเปิดบัญชีกองทุนพลังงานทดแทนบ้านเกาะจิก 3. สรุปผลประกอบการสถานีชาร์จแบตเตอรี่ พร้อมมอบเงินรายได้เข้ากลุ่ม 4. เก็บเงินมัดจำผู้ใช้ระบบ 5. แนวทางการต่อยอดกองทุนพลังงานทดแทนกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตครบวงจร วันนี้สามารถจัดตั้งกลุ่มสำเร็จเรียบร้อย ครบองค์ประกอบครับ มีสมาชิกกลุ่มตั้งต้น 11 คน มีชื่อกลุ่ม "พลังงานทดแทนบ้านเกาะบุโหลนดอนและการออมเพื่อความยั่งยืน" มีคณะทำงานประกอบด้วย 1.ประธานกลุ่ม 2.รองประธานกลุ่ม 3.เหรัญญิก 4.เลขานุการ 5.หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบ 6.รองหัวหน้าฝ่ายตรวจสอบ มีกฎระเบียบ​และกิจกรรมคือ 1. เก็บเงินค่าบริการทุกๆ 30 วัน 2. เก็บเงินรวมกันที่เหรัญญิกกลุ่ม เพื่อออกรหัสเติมเงินและทำบัญชีกลุ่มที่สามารถตรวจสอบได้ 3. ตั้งค่าใช้จ่ายให้เหรัญญิก​ 10 บาทต่อระบบ 4. ต้องมัดจำ 3 เดือนก่อนติดตั้ง 5. หากผิดชำระ 3 เดือน สมาชิกต้องคืนระบบให้กับกลุ่ม 6. คณะทำงาน มีวาระ 2 ปีต้องเลือกตั้งใหม่ 7. เปิดบัญชี​กลุ่มแบบมีอำนาจลงนาม 2 ใน 3 คือมีประธาน รองประธาน และ เหรัญญิก 8. มีการจัดประชุมทุกๆ เดือน โดยมีวัตถุประสงค์​คือ รายงานผลประกอบการ​ และให้ฝ่ายตรวจสอบนำการตรวจสอบ ถือได้ว่าโครงการนี้ทำครบกระบวนการมีส่วนร่วมมทั้ง ๕ ระดับ ตอบสนองความต้องการ ของประชาชนได้อย่างแท้จริง รวมทั้ง ผลของการพัฒนาที่เกิดประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืน * ระดับการให้ข้อมูลข่าวสาร (To Inform) 🗸 * ระดับการปรึกษาหารือ (To Consult) 🗸 * ระดับการเข้ามาเกี่ยวข้อง (To Involve) 🗸 * ระดับความร่วมมือ (To Collaborate) 🗸 * ระดับเสริมอำนาจประชาชน (Empower) 🗸 ซึ่งเป็นระดับที่บทบาทของประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมอยู่ในระดับสูงสุดเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการพลังงานชุมชน
{'url': 'https://data.go.th/dataset/pblpp_dataset_31_01', 'title': 'รายงานผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการส่งเสริมการบริหารจัดการกิจการไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกล บ้านเกาะบุโหลนดอน', 'license': 'Open Data Common'}
**สถานการณ์การค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2559-2561(มค.-ตค.)** 1. สถานการณ์การค้าชายแดน ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา) มูลค่าการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี โดยตลอด 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2558 – 2560) การค้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2.85% ในปี 2560 มีมูลค่า 1,076,389.37 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.22% ***สำหรับปี 2561*** (มกราคม-ตุลาคม) มูลค่าการค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ (มาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา) มูลค่าการค้ารวม 931,678.91 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 895,878.62 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 4.00(YoY) แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 540,580.28 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 0.33(YoY) และมูลค่าการนำเข้า 391,098.63 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 10.63(YoY) ไทยได้ดุลการค้าชายแดน 149,481.65 ล้านบาท **ด้านมาเลเซียมีการค้าสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง** มูลค่า 476,492.29 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 51.14 ของมูลค่าการค้าชายแดนรวม รองลงมาได้แก่ สปป.ลาว มูลค่า 177,042.78 ล้านบาท (19.00%) เมียนมา มูลค่า 160,186.23 ล้านบาท (17.19%) และกัมพูชา มูลค่า 117,957.61 ล้านบาท (12.66%) **การค้าชายแดน 4 ประเทศ ปี 2559-2560 (มกราคม-ตุลาคม)** หน่วย : ล้านบาท | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | **การค้ารวม 4 ประเทศ** | **2559** | **2560** | **2560** | **2561** | **% YoY** | | **(มกราคม-ตุลาคม)** | | มูลค่า | 1,013,206.17 | 1,081,274.05 | **895,878.62** | **931,678.91** | **4.00** | | ส่งออก | 605,159.35 | 654,413.76 | **542,343.39** | **540,580.28** | **-0.33** | | นำเข้า | 408,046.82 | 426,860.29 | **353,535.23** | **391,098.63** | **10.63** | | ดุลการค้า | 197,112.53 | 227,553.47 | **188,808.16** | **149,481.65** | | ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมการค้าต่างประเทศ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร -2- การค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2559-2561 (**มกราคม-ตุลาคม**) หน่วย : ล้านบาท | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | **ประเทศ** | **รายการ** | **2559** | **2560** | **2560** | **2561** | **%YoY** | | **(มกราคม-ตุลาคม)** | | **มาเลเซีย** | มูลค่า | 501,307.47 | 564,628.87 | **472,235.72** | **476,492.29** | **0.90** | | | ส่งออก | 258,109.26 | 312,457.65 | **262,601.59** | **246,227.32** | **-6.24** | | | นำเข้า | 243,198.21 | 252,171.22 | **209,634.13** | **230,264.97** | **9.84** | | | ดุลการค้า | 14,911.05 | 60,286.43 | **52,967.46** | **15,962.35** | | | **สปป.ลาว** | มูลค่า | 202,942.72 | 207,045.85 | **168,728.43** | **177,042.78** | **4.93** | | | ส่งออก | 136,440.48 | 131,262.33 | **106,504.51** | **107,627.53** | **1.05** | | | นำเข้า | 66,502.24 | 75,743.52 | **62,223.92** | **69,415.25** | **11.56** | | | ดุลการค้า | 69,938.24 | 55,478.81 | **44,280.59** | **38,212.28** | | | **เมียนมา** | มูลค่า | 187,905.29 | 184,331.02 | **152,223.69** | **160,186.23** | **5.23** | | | ส่งออก | 109,267.17 | 108,966.18 | **90,690.38** | **88,089.75** | **-2.87** | | | นำเข้า | 78,638.12 | 75,364.84 | **61,533.31** | **72,096.48** | **17.17** | | | ดุลการค้า | 30,629.05 | 33,601.34 | **29,157.07** | **15,993.26** | | | **กัมพูชา** | มูลค่า | 121,050.69 | 125,268.31 | **102,690.78** | **117,957.61** | **14.87** | | | ส่งออก | 101,342.44 | 101,727.60 | **82,546.91** | **98,635.68** | **19.49** | | | นำเข้า | 19,708.25 | 23,540.71 | **20,143.87** | **19,321.93** | **-4.08** | | | ดุลการค้า | 81,634.19 | 78,186.89 | **62,403.04** | **79,313.75** | | ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมการค้าต่างประเทศ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร **เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560-2561 (มกราคม-ตุลาคม)** ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – มาเลเซีย*** **ในเดือนตุลาคม 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 50,299.56 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 51,745.27 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 2.79(YoY) แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 24,817.52 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 2.35(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 25,482.04 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 3.22(YoY) ไทย**ขาดดุลการค้า** 664.52 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 10 เดือนของปี 2561(ม.ค.-ต.ค.)*** การค้าชายแดนไทยกับมาเลเซียมีมูลค่าการค้ารวม 476,492.29 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 0.90(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 246,227.32 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 6.24(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 230,264.97 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 9.84(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 15,962.35 ล้านบาท -3- ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – เมียนมา*** **ในเดือนตุลาคม 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 16,302.00 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 15,116.60 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 7.84(YoY) โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 8,283.17 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 2.51(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 8,018.83 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 13.97(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 264.34 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 10 เดือนของปี 2561(ม.ค.-ต.ค.)*** การค้าชายแดนไทยกับเมียนมามีมูลค่าการค้ารวม 160,186.23 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 5.23(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 88,089.75 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 2.87(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 72,096.48 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 17.17(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 15,993.26 ล้านบาท ***ภาวะการค้าชายแดนไทย–สปป.ลาว*** **ในเดือนตุลาคม 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 18,312.61 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 17,567.76 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 4.24(YoY) โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 10,780.16 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 4.99(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 7,532.45 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 3.19(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 3,247.71 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 10 เดือนของปี 2561(ม.ค.-ต.ค.)*** การค้าชายแดนไทยกับสปป.ลาว มีมูลค่าการค้ารวม 177,042.78 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 4.93(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 107,627.53 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 1.05(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 69,415.25 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 11.56(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 38,212.28 ล้านบาท ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – กัมพูชา*** **ในเดือนตุลาคม 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 12,41.44 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 10,172.64 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 22.00(YoY) แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 10,722.63 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 21.45(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 1,687.81 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 25.60(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 9,034.82 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 10 เดือนของปี 2561(ม.ค.-ต.ค.)*** การค้าชายแดนไทยกับกัมพูชา มีมูลค่าการค้ารวม 117,957.61 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 14.87(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 98,635.68 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 19.49(YoY) และ การนำเข้ามีมูลค่า 19,321.93 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 4.08(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 79,313.75 ล้านบาท **กลุ่มความร่วมมือฯ 2** **กองความร่วมมือการค้าและการลงทุน**
{'url': 'https://data.go.th/dataset/item_b80ec623-baec-4469-9024-c8521f7ed055', 'title': 'สถานการณ์การค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2559-2561 (มกราคม-ตุลาคม)', 'license': 'CC-BY'}
**สถานการณ์การค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2559-2561(มค.-เมย.)** 1. สถานการณ์การค้าชายแดน ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา) มูลค่าการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี โดยตลอด 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2558 – 2560) การค้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2.85% ในปี 2560 มีมูลค่า 1,076,389.37 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.22% ***สำหรับปี 2561*** (มกราคม-เมษายน) มูลค่าการค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ (มาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา) มูลค่าการค้ารวม 275,137.51 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 268,615.03 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 2.43(YoY) แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 159,338.68 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 6.90(YoY) และมูลค่าการนำเข้า 115,798.83 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 18.80(YoY) ไทยได้ดุลการค้าชายแดน 43,53.85 ล้านบาท **ด้านมาเลเซียมีการค้าสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง** มูลค่า 139,028.51 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.53 ของมูลค่าการค้าชายแดนรวม รองลงมาได้แก่ สปป.ลาว มูลค่า 52,335.44 ล้านบาท (19.02%) เมียนมา มูลค่า 46,408.80 ล้านบาท (16.87%) และกัมพูชา มูลค่า 37,364.76 ล้านบาท (13.58%) **การค้าชายแดน 4 ประเทศ ปี 2559-2560(มกราคม-เมษายน)** หน่วย : ล้านบาท | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | **การค้ารวม 4 ประเทศ** | **2559** | **2560** | **2560** | **2561** | **% YoY** | | **(มกราคม-เมษายน)** | | มูลค่า | 1,013,389.20 | 1,076,389.81 | **354,569.21** | **364,162.99** | **2.71** | | ส่งออก | 605,445.38 | 649,926.84 | **222,318.10** | **210,507.54** | **-5.31** | | นำเข้า | 407,943.82 | 426,462.97 | **132,251.11** | **153,655.45** | **16.18** | | ดุลการค้า | 197,501.56 | 223,463.87 | **90,066.99** | **56,852.09** | | ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมการค้าต่างประเทศ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร -2- การค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2559-2561 (มกราคม-เมษายน) หน่วย : ล้านบาท | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | **ประเทศ** | **รายการ** | **2559** | **2560** | **2560** | **2561** | **%YoY** | | **(มกราคม-เมษายน)** | | **มาเลเซีย** | มูลค่า | 501,419.87 | 564,657.27 | **186,071.67** | **186,473.43** | **0.22** | | | ส่งออก | 258,264.33 | 312,551.93 | **105,796.16** | **97,100.29** | **-8.22** | | | นำเข้า | 243,155.54 | 252,105.34 | **80,275.51** | **89,373.14** | **11.3** | | | ดุลการค้า | 15,108.79 | 60,446.59 | **25,520.65** | **7,727.15** | | | **เมียนมา** | มูลค่า | 187,964.53 | 183,037.54 | **58,499.73** | **62,471.09** | **6.79** | | | ส่งออก | 109,339.84 | 107,681.01 | **39,486.53** | **35,476.99** | **-10.15** | | | นำเข้า | 78,624.69 | 75,356.53 | **19,013.20** | **26,994.10** | **41.98** | | | ดุลการค้า | 30,715.15 | 32,324.48 | **20,473.33** | **8,482.89** | | | **สปป.ลาว** | มูลค่า | 202,906.79 | 203,330.86 | **64,459.47** | **68,285.43** | **4.32** | | | ส่งออก | 136,419.50 | 127,871.98 | **43,630.78** | **40,715.55** | **-6.68** | | | นำเข้า | 66,487.29 | 75,458.88 | **21,828.69** | **27,569.88** | **26.30** | | | ดุลการค้า | 69,932.21 | 52,413.10 | **21,802.09** | **13,145.67** | | | **กัมพูชา** | มูลค่า | 121,098.01 | 125,364.14 | **44,538.34** | **46,933.04** | **5.38** | | | ส่งออก | 101,421.71 | 101,821.92 | **33,404.63** | **37,214.71** | **11.41** | | | นำเข้า | 19,676.30 | 23,542.22 | **11,133.71** | **9,718.33** | **-12.71** | | | ดุลการค้า | 81,745.41 | 78,279.70 | **22,270.92** | **27,496.38** | | ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมการค้าต่างประเทศ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร **เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560-2561 (มกราคม-เมษายน)** ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – มาเลเซีย*** **ในเดือนเมษายน 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 47,444.92 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 46,837.56 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 1.30(YoY) แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 25,204.89 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 2.25(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 22,240.03 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 5.64(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 2,964.86 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 4 เดือนแรกของปี 2561(ม.ค.-เม.ย.)*** การค้าชายแดนไทยกับมาเลเซียมีมูลค่าการค้ารวม 186,473.43 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 0.22(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 97,100.29 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 8.22(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 89,373.14 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 11.33(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 7,727.15 ล้านบาท -3- ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – เมียนมา*** **ในเดือนเมษายน 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 16,062.29 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 13,386.33 ล้านบาท **เพิ่มขึ้นร้**อยละ 19.99(YoY) โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 8,536.32 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 10.41(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 7,525.97 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 33.09(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 1,010.355 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 4 เดือนแรกของปี 2561(ม.ค.-เม.ย.)*** การค้าชายแดนไทยกับเมียนมามีมูลค่าการค้ารวม 62,471.09 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 6.79(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 35,476.99 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 10.15(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 26,994.10 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 41.98(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 8,482.89 ล้านบาท ***ภาวะการค้าชายแดนไทย–สปป.ลาว*** **ในเดือนเมษายน 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 18,169.52 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 15,949.98 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 3.61(YoY) โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 9,080.32 ล้านบาท ***ลดลง***ร้อยละ 10.36(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 6,869.66 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 7.05(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 2,210.66 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 4 เดือนแรกของปี 2561(ม.ค.-เม.ย.)*** การค้าชายแดนไทยกับสปป.ลาว มีมูลค่าการค้ารวม 68,285.43 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 4.32(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 40,715.55 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 6.68(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 27,569.88 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 26.30(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 13,145.67 ล้านบาท ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – กัมพูชา*** **ในเดือนเมษายน 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 9,568.30 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 9,182.91 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 4.20(YoY) แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 8,347.33 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 10.89(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 8,347.33 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 10.89(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 1,220.97 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 4 เดือนแรกของปี 2561(ม.ค.-เม.ย.)*** การค้าชายแดนไทยกับกัมพูชา มีมูลค่าการค้ารวม 46,933.04 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 5.38(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 37,214.71 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 11.41(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 9,718.33 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 12.71(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 27,496.38 ล้านบาท -4- **สถานการณ์สำคัญในปัจจุบันของการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (รายประเทศ)** **2.1 มาเลเซีย** | **สถานการณ์** | **ข้อเสนอแนะ/การดำเนินงาน** | | --- | --- | | การผลักดันการขยายเวลาการเปิดด่านชายแดน ด่านศุลกากรสะเดา-ด่านศุลกากรบูกิตกายูฮิตัม จากเวลาทำการปัจจุบัน (05.00 – 23.00 น.) เป็น 24 ชั่วโมง เนื่องจากปัจจุบันการขนส่งในหลายด่านมีปริมาณรถที่ผ่านด่านจำนวนมาก เพื่อช่วยเพิ่มความสะดวกในการขนส่ง และขยายช่องทางการขนส่ง | เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2561 นายดำรง ใคร่ครวญ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการเจรจากับฝ่ายมาเลเซีย นำโดยราจา ดาโต๊ะนูชีร์วัน บินไซนัล อะบิดิน (Raya Dato’ Nushirwan Bin Zainal Abidin) รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศของมาเลเซียเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนมาเลเซีย โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 1. ฝ่ายไทยและมาเลเซีย เห็นชอบให้ขยายเวลาเปิดด่านศุลกากรสะเดา-ด่านศุลกากรบูกิตกายูฮิตัม จากเวลาทำการปัจจุบัน (05.00 – 23.00 น.) เป็น 24 ชั่วโมง โดยในช่วงเวลา 23.00-05.00 น. จะให้บริการเฉพาะการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์เท่านั้น 2. ฝ่ายไทยและมาเลเซีย จะใช้เวลาเตรียมการและประกาศให้ประชาชนทราบล่วงหน้าเป็นเวลา 3 เดือน ก่อนเปิดด่านและคาดว่าจะเปิดบริการ 24 ชั่วโมง ในวันที่ 15 มิถุนายน 2561 โดยจะมีการประเมินผล หลังจากเปิดด่านฯ ไปแล้ว เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อดูผลกระทบและความคุ้มค่าในการเปิดด่าน ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยและมาเลเซียจะร่วมกันกำหนดประเภทรถยนต์และวัตถุประสงค์ของการขนส่งให้สอดคล้องกับกฎหมายและหลักเกณฑ์ของกรมศุลกากรและสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของทั้งสองประเทศ ต่อไป | **2.2 เมียนมา** | **สถานการณ์** | **ข้อเสนอแนะ/การดำเนินงาน** | | --- | --- | | 1. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีความประสงค์จะลงทุนด้านการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในรัฐฉาน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการที่กรมการค้าต่างประเทศนำคณะผู้แทนด้านการค้าและการลงทุนไปเจรจาการค้า/การลงทุนกับรัฐฉาน เมื่อเดือนสิงหาคม 2560 โดยมีผู้แทน กฟภ. ร่วมคณะด้วย | 1. เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 คณะผู้แทนกรมการค้าต่างประเทศและ กฟภ.ได้เดินทางเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนและเศรษฐกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการไฟฟ้า พลังงาน และเทคโนโลยี แห่งรัฐฉาน เพื่อติดตามผลความคืบหน้าและขอความร่วมมือจากรัฐบาลแห่งรัฐฉาน รวมทั้งหารือในรายละเอียดเชิงลึกเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการลงทุน และการจัดทำความร่วมมือด้านการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในรัฐฉานให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งได้รับความร่วมมือและยินดีสนับสนุนการเข้ามาลงทุนของไทยอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ ในการประชุมหารือกับหน่วยงานด้านพลังงานไฟฟ้ารัฐฉาน คณะผู้แทนฯ ได้รับข้อเสนอแนะให้หารือนโยบายการบริหารด้านพลังงานไฟฟ้าและแผนการขยายเครือข่ายระบบไฟฟ้า พร้อมทั้งจัดทำความตกลงกับกระทรวงการไฟฟ้าและพลังงานของรัฐบาลกลางเมียนมา (Union Government) เกี่ยวกับพื้นที่ที่จะลงทุน แผนการจัดตั้งเครือข่ายระบบไฟฟ้า และการให้สัมปทานในแต่ละพื้นที่ เพื่อความชัดเจนก่อนเข้ามาลงทุนด้วยอีกทางหนึ่ง | -5- **2.2 เมียนมา** | **สถานการณ์** | **ข้อเสนอแนะ/การดำเนินงาน** | | --- | --- | | | 2. เมื่อวันที่ 29 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2561 คณะผู้แทนกรมการค้าต่างประเทศและ กฟภ. นำโดยนายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ พร้อมด้วย นายเสกสรร เสริมพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญระดับ 13 กฟภ. และนายประจักษ์ อุดหนุน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ กฟภ. จึงได้เดินทางไปยังกรุงเนปิดอว์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เพื่อเข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับ H.E. Win Khaing รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการไฟฟ้าและพลังงาน H.E. Dr. Htun Naing รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการไฟฟ้าและพลังงาน H.E. Tin Maung Oo ปลัดกระทรวงการไฟฟ้าและพลังงาน พร้อมผู้บริหารหน่วยงานภายใต้กระทรวงการไฟฟ้าและพลังงาน แห่งรัฐบาลกลางเมียนมา (Union Government) โดยได้หารือรายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางและนโยบายด้านการลงทุนพัฒนาระบบไฟฟ้าในเมียนมา รวมถึงการจัดทำความร่วมมือ (MOU) ระหว่างหน่วยงานการไฟฟ้าของไทยและเมียนมา ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการไฟฟ้าและพลังงานได้ให้การต้อนรับแก่คณะผู้แทนฯ เป็นอย่างดี และเห็นชอบที่จะจัดทำความร่วมมือทางด้านการพัฒนาบุคลากรและด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับไทย อันจะเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทย-เมียนมา3. นอกจากนี้ คณะผู้แทนฯ ได้เข้าพบหารือกับหน่วยงาน Directorate of Investment and Company Administration (DICA) ณ กรุงย่างกุ้ง เพื่อรับทราบรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบาย สิทธิพิเศษ และขั้นตอนสำหรับการเข้าไปลงทุนในเมียนมา อีกทั้งยังได้เข้าพบหารือหน่วยงานการไฟฟ้าย่างกุ้ง (Yangon Electricity Supply Corporation: YESC) ซึ่งดูแลรับผิดชอบการจ่ายไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในเมืองย่างกุ้ง โดยได้รับทราบข้อมูลด้านระบบไฟฟ้าในปัจจุบันของเมืองย่างกุ้ง ทั้งในเรื่องของปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าและความสามารถในการจ่ายไฟในปัจจุบัน รวมถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคตและแผนงาน/โครงการที่สำคัญของ YESC 4. ทั้งนี้ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ประเมินแล้ว เห็นโอกาสและมีศักยภาพที่จะลงทุนในรัฐฉาน โดยจะแจ้งกรอบเวลาที่จะเดินทางไปศึกษาและสำรวจพื้นที่อย่างเป็นทางการแก่รัฐบาลรัฐฉาน ในขณะที่ กฟภ. จะประสานงานกับกระทรวงการไฟฟ้าและพลังงานของรัฐบาลกลางเมียนมาอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถลงนามความร่วมมือ (MOU) ระหว่างทั้งสองหน่วยงานได้ภายในปี 2561 นี้ | **2.3 สปป.ลาว** | **สถานการณ์** | **ข้อเสนอแนะ/การดำเนินงาน** | | --- | --- | | **การยกระดับ/พัฒนาความร่วมมือด้านชายแดนไทย - สปป.ลาว**การประชุมหารือร่วม “คต. - พาณิชย์จังหวัดชายแดนภาคอีสาน”กรมการค้าต่างประเทศได้จัดประชุมหารือร่วมระหว่างกรมฯ กับพาณิชย์จังหวัดชายแดนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีอาณาเขตเชื่อมต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ 5 - 7 มีนาคม 2561 ณ โรงแรมรอยัล นาคารา และคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เพื่อบูรณาการการดำเนินงานระหว่างกันและขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาค | การประชุมหารือร่วม “คต. - พาณิชย์จังหวัดชายแดนภาคอีสาน” ดังกล่าวบรรลุประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง โดยมีพาณิชย์จังหวัดจาก 6 จังหวัด ได้แก่ เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และสุรินทร์ และผู้แทนสำนักงานพาณิชย์จังหวัดอีก 13 ท่าน จาก 10 จังหวัดชายแดนภาคอีสาน ได้แก่ เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ เข้าร่วมประชุม โดยบรรยากาศการประชุมเป็นไป | -6- **2.3 สปป.ลาว** | **สถานการณ์** | **ข้อเสนอแนะ/การดำเนินงาน** | | --- | --- | | | **กายกรบ/พัฒนวมมือด้าชนไทย - สปป.ลาว**ด้วยความราบรื่นและสร้างความร่วมมือในการบูรณาการการปฏิบัติราชการระหว่งกันอย่างดียิ่ง โดยทั้ง คต. และพาณิชย์จังหวัดต่างเห็นพ้องร่วมกันว่า การดำเนินงานในภารกิจของกระทรวงพาณิชย์ควรส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้มากยิ่งขึ้น และสนับสนุนให้ คต. ดำเนินการจัดการประชุมระหว่างหน่วยงานเช่นนี้เป็นประจำทุกปี โดยในการประชุมครั้งนี้ ทั้งสองหน่วยงานยังมีความเห็นร่วมกันในประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) การยกระดับความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างจังหวัดชายแดนด้าน สปป.ลาว ของไทยกับแขวงตามแนวชายแดนของ สปป.ลาว โดยการจัด “ประชุมปรึกษาหารือร่วมกันระดับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดแต่ละจังหวัดกับแผนกอุตสาหกรรมและการค้าของแต่ละแขวงตามแนวชายแดนไทย - สปป.ลาว” 2) การบูรณาการการจัดงานมหกรรมการค้าชายแดน “สานสัมพันธ์การค้า เชื่อมโยงสองฝั่งโขง” ณ จังหวัดหนองคาย ระหว่าง คต. และสพจ.หนองคาย ซึ่ง คต. จะนำเรียนกระทรวงฯ พิจารณาทั้งสองประเด็น เพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป | **2.4 กัมพูชา** | **สถานการณ์** | **ข้อเสนอแนะ/การดำเนินงาน** | | --- | --- | | 1.ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุน (One Stop Service : OSS) | ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุน (OSS) ของจังหวัดสระแก้วมีนักลงทุนเข้ามาติดต่อสอบถามข้อมูลการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วหลายราย โดยมีโครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุน ณ วันที่ 1 ม.ค. 58 – 30 เม.ย. 61 จำนวน 4 โครงการ เงินลงุทนรวม 1,315.60 ล้านบาท ซึ่งได้รับการอนุมัติแล้ว | | 2.ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านแรงงาน | - ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านแรงงาน ได้เปิดบริการให้จดทะเบียนแรงงานกัมพูชาในลักษณะไป-กลับได้แล้ว โดยสามารถพำนักได้เป็นเวลาไม่เกิน 30 วัน- ช่วงตั้งแต่ ต.ค.60 – เม.ย. 61 มีแรงงานกัมพูชาเข้ามาทำงานในลักษณะไป-กลับ (ม.64) จำนวน 51,107 คน (รวมแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานตามกฎหมายทุกมาตรา 51,107 คน) | **-7-** **2.4 กัมพูชา** | **สถานการณ์** | **ข้อเสนอแนะ/การดำเนินงาน** | | --- | --- | | | | | 3. ปัญหาความแออัดที่ด่าน - ด่านคลองลึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว | 1) ความแออัดที่ด่านคลองลึก เนื่องจากเวลาเปิด-ปิดด่านไม่พร้อมกัน กล่าวคือ ด่านคลองลึกเปิด-ปิดเวลา 06.00-22.00 น. และด่านปอยเปต เปิด-ปิดเวลา 09.00-22.00 น. ทำให้รถขนส่งสินค้าฝั่งไทยต้องจอดรอเป็นเวลานานและเกิดความแออัดที่ด่าน 2) การก่อสร้างลานจอดรถ จำนวน 69 ไร่ เพื่อรองรับความแออัดที่ด่านคลองลึกและการเปลี่ยนถ่ายสินค้า ซึ่งปัจจุบันโครงการได้ดำเนินการใกล้เรียบร้อยแล้วแต่ยังติดปัญหาการฟ้องขับไล่ คลังสินค้าของเอกชนและบ้านของประชาชนอีก 1 หลังคาเรือน ที่บุกรุกพื้นที่ของกรมธนารักษ์ ในพื้นที่ดังกล่าว | | - ด่านหนองเอี่ยน อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว | ความคืบหน้าการก่อสร้างด่านหนองเอี่ยน ปัจจุบันทหารช่างกำลังดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามคลองพรหมโหด ที่จะมีกำหนดแล้วเสร็จเดือนกันยายน 2561 ซึ่งหลังจากสร้างสะพานเสร็จแล้ว กรมศุลกากรจะดำเนินการสร้างอาคารที่ทำการด่านศุลกากรต่อไป อย่างไรก็ตาม พื้นที่การก่อสร้างอาคารยังติดปัญหาการส่งมอบพื้นที่ ที่สำนักงานทางหลวงจังหวัดสระแก้วยังไม่ได้มีการส่งมอบพื้นที่ให้กรมศุลกากร | | - ด่านป่าไร่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว - ด่านบ้านเขาดิน อ.คลองหาด จ.สระแก้ว | ความคืบหน้าการก่อสร้างด่านบ้านป่าไร่ เพื่อรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้ว ที่มีการก่อสร้างคืบหน้าไปมาก ได้แก่ การก่อสร้างอาคารถนน CCA (Common Control Area) อย่างไรก็ตาม ไทยและกัมพูชายังมีปัญหาเรื่องพื้นที่ทับซ้อน จึงยังไม่สามารถสร้างถนนเพื่อเชื่อมไปยังด่านพรมแดนได้ได้มีการออกประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 15 มี.ค.61 ที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวและประชาชนคนไทยและกัมพูชา รวมถึงชาติอื่น ๆ สามารถเดินทางเข้า-ออกได้เช่นเดียวกับด่านผ่านแดนถาวรอื่นๆ โดยเส้นทางดังกล่าว ถือว่าเป็นเส้นทางที่ตรงที่สุดจากประเทศไทยไปยังกรุงพนมเปญ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหาการเข้าเมืองผิดกฎหมายของแรงงานกัมพูชาได้ โดยใช้บัตรผ่านแดนหรือ Border Pass มาขอรับใบอนุญาตทำงานโดยถูกต้องตามกฎหมายได้สะดวกมากขึ้น รวมทั้งแก้ปัญหาการหลอกลวงแรงงานไปทำงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ซึ่งจะเปิดทำการตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น.ทุกวัน เช่นเดียวกับด่านผ่านแดนถาวรคลองลึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ จังหวัดสระแก้วและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จะได้เตรียมดำเนินการด้านอาคารสถานที่ การก่อสร้างตลาดชายแดน ก่อสร้างสถานที่ตั้งของหน่วยงานที่ปฏิบัติงานเพื่ออำนวยความสะดวกในการสัญจรข้ามแดนต่อไป | | | | -8- **2.4 กัมพูชา** | **สถานการณ์** | **ข้อเสนอแนะ/การดำเนินงาน** | | --- | --- | | 4.การสนับสนุนด่านรองที่มีศักยภาพ - ด่านบ้านผักกาด จ.จันทบุรี/ด่านคลองจะกร็อม กรุงไพลิน | - ปัจจุบัน ด่านบ้านผักกาด มีการก่อสร้างศูนย์ One Stop Service ที่มีการแยกช่องทางรถขนส่งสินค้าทั้งขาเข้าและขาออกอย่างชัดเจน และแยกส่วนสำหรับการตรวจคนและรถ โดยอาคารศูนย์ดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณหน้าด่านบ้านผักกาด ทั้งนี้ การก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วอยู่ระหว่างการส่งมอบงานและตรวจรับงานให้แก่กรมศุลกากร- อยู่ระหว่างประสานขยายพื้นที่ตรวจปล่อยสินค้า (CIQ) | | | | | 5. การพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จ.สระแก้ว | ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว (นายกล้าณรงค์ พงษ์เจริญ) ได้เปิดเผยผลความคืบหน้าเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้ว ด้านนโยบายรัฐ ได้แก่ กำหนดให้มีการตั้งนิคมอุตสาหกรรม การตั้งศุลกากร การสร้างถนน การเวนคืนที่ดิน และการทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมมีความชัดเจนแล้ว มีการประชาสัมพันธ์การให้สิทธิประโยชน์ การเชิญชวนผู้ประกอบการให้เข้ามาลงทุนและตั้งโรงงานใน 9 อุตสาหกรรมเป้าหมาย นอกจากนี้ได้จัดและกำหนดพื้นที่เพื่อการลงทุนไว้สำหรับเศรษฐกิจฐานล่างให้กับประชาชนในพื้นที่ เช่น สินค้า OTOP และผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยกำหนดพื้นที่ไว้ประมาณ 3 ไร่ สร้างควบคู่ไปกับการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม- การนิคมอุตสาหกรรม ได้เช่าพื้นที่จากกรมธนารักษ์ (18 ก.พ. 59) ระยะเวลาเช่า 50 ปี โดยปัจจุบันได้มีการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม ระยะที่ 1 แล้วเสร็จและเปิดให้เข้าใช้พื้นที่แล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้างระยะที่ 2 คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ภายในเดือนมกราคม 2562 | | 6. การเปิดจุดผ่านแดนแห่งใหม่/การยกระดับจุดผ่อนปรนการค้า | ไทยและกัมพูชาเห็นพ้องให้เปิดจุดผ่านแดนแห่งใหม่/ยกระดับจุดผ่อนปรนการค้าเป็นจุดผ่านแดนถาวร 4 แห่ง ได้แก่1. ช่องอานม้า จังหวัดอุบลราชธานี – บ้านสะเตียลกวาง จังหวัดพระวิหาร 2. ช่องทางบ้านเขาดิน จังหวัดสระแก้ว – พนมได จังหวัดพระตะบอง 3. ช่องทางบ้านท่าเส้น จังหวัดตราด – บ้านทมอดา จังหวัดโพธิสัต 4. ช่องสายตะกู จังหวัดบุรีรัมย์ – ช่องจุ๊บโกกี จังหวัดอุดรมีชัย ทั้งนี้ การเปิดจุดผ่านแดน/ยกระดับ จะพิจารณาจากพื้นที่ที่มีความพร้อมก่อน | | 7. ความคืบหน้าการเดินรถข้ามแดน | 1) ตามความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง(GMS CBTA) ที่มีประเทศภาคีทั้งหมด 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย สปป.ลาว เวียดนาม เมียนมา กัมพูชา และจีนตอนใต้ โดยไทยและกัมพูชาสามารถเดินรถสินค้าและรถโดยสารไม่ประจำทาง โดยมีโควตาการเดินรถประเทศละ 500 คัน อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติจริงยังไม่มีการเดินรถภายใต้กรอบ GMS CBTA 2) กรอบความตกลง IICBTA ไทยและกัมพูชาสามารถเดินรถสินค้าและรถโดยสารไม่ประจำทางผ่านจุดผ่านแดน 1 แห่ง คือ ด่านอรัญประเทศ จ.สระแก้ว – ปอยเปต จ.บันเตียนเมียนเจย ที่ได้มีการกำหนดโควตาการเดินรถระหว่างกัน จำนวน 150 คัน ซึ่งขณะนี้ฝ่ายกัมพูชาได้แจ้งขึ้นทะเบียนรถสินค้าแล้วจำนวน44 คัน และรถโดยสารไม่ประจำทาง จำนวน 4 คัน และฝ่ายไทยได้แจ้งขึ้นทะเบียนรถโดยสารไม่ประจำทาง จำนวน 128 คัน และรถขนส่งสินค้า จำนวน 6 คัน ทั้งนี้ สามารถนำรถที่ได้แจ้งขึ้นทะเบียนใช้สำหรับการขนส่งคนงานได้ รวมถึงสามารถเดินรถไปถึงเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้ว เพราะอยู่ในเส้นทางที่กำหนดอยู่แล้ว และหากผู้ประกอบการต้องการเดินรถขนส่งสินค้าสามารถแจ้งขึ้นทะเบียนได้ทันที | **กลุ่มความร่วมมือฯ 2** **กองความร่วมมือการค้าและการลงทุน**
{'url': 'https://data.go.th/dataset/item_ef83d761-42d3-4ae9-9152-19d377ffe8d3', 'title': 'สถานการการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2559-2561 (มกราคม-เมษายน)', 'license': 'cc-by'}
**สารบัญ** **หน้า** **คำนำ ค** **บทที่ ๑ บทนำ ๑** ๑.๑ ความเป็นมา ๑ ๑.๒ วัตถุประสงค์ ๒ ๑.๓ ขอบเขตการดำเนินงาน ๓ ๑.๔ ระยะเวลาการดำเนินงาน ๓ **บทที่ ๒ แนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการ ๔** **โรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔** ๒.๑ การประชุมเพื่อนำเสนอและรับฟังความคิดเห็นต่อร่างยุทธศาสตร์ ๔ การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ –๒๕๖๔ ๒.๒ การประชุมคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนา ๘ โครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ –๒๕๖๔ ๒.๓ การประชุมเพื่อสรุปและจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนา ๑๐ โครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ –๒๕๖๔ **บทที่ ๓ ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ๑๓** **ปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔** ๓.๑ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ๑๓ ๓.๑.๒ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ๑๓ ๓.๑.๒ ปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ๑๓ จากสภาพแวดล้อมภายใน ๓.๑.๓ ปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ๑๔ จากสภาพแวดล้อมภายนอก ๓.๒ วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมายหลัก และพื้นที่เป้าหมายของ ๑๕ ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔ ๓.๒.๑ กรอบแนวคิด ๑๕ **สารบัญ** **หน้า** ๓.๒.๒ วิสัยทัศน์ ๑๖ ๓.๒.๓ พันธกิจ ๑๖ ๓.๒.๔ วัตถุประสงค์ ๑๗ ๓.๒.๕ เป้าหมายหลัก ๑๗ ๓.๒.๖ พื้นที่เป้าหมาย ๑๗ ๓.๓ ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ๑๙ ปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔ ๓.๓.๑ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด และแนวทางการดำเนินงาน ๑๙ ๓.๓.๒ แผนที่นำทางยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการ ๒๕ โรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔ **ภาคผนวก** **ภาคผนวก ก.** รายชื่อคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนา ๒๙ โครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ –๒๕๖๔ **คำนำ** จากการปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงพลังงาน กองศึกษาและประสานงานพลังงานนิวเคลียร์ ได้รับมติคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ในการประชุม ครั้งที่ ๒/๒๔๖๐ เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๐ ให้ปรับปรุงโครงสร้างและปรับเปลี่ยนภารกิจใหม่ของกองศึกษาและประสานงานพลังงานนิวเคลียร์ (กศน.) เปลี่ยนเป็น กองศึกษาและพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน (กศร.) โดยมีอำนาจหน้าที่ เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ และจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน เผยแพร่ ถ่ายทอด รณรงค์ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือของประชาชนที่เกี่ยวกับการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน และโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ดังนั้น กองศึกษาและประสานงานพลังงานนิวเคลียร์ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน ตระหนักถึงความจำเป็นในการขับเคลื่อนภารกิจหน้าที่ใหม่ที่ได้รับในนามของกองศึกษาและพัฒนาโรงไฟฟ้าฐานจึงได้จัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ – ๒๕๖๔ เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาแผนการขับเคลื่อนการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐานเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน ในการมุ่งบริหารพลังงานอย่างยั่งยืน ให้ประเทศชาติและประชาชนชาวไทยมีพลังงานใช้อย่างพอเพียง กองศึกษาและประสานงานพลังงานนิวเคลียร์ขอขอบคุณคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ – ๒๕๖๔ รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีส่วนร่วมให้ข้อมูล ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ – ๒๕๖๔ ฉบับนี้ เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทในการขับเคลื่อนการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ต่อไป **บทที่ ๑ บทนำ** **๑. ความเป็นมา** จากการปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงพลังงาน กองศึกษาและประสานงานพลังงานนิวเคลียร์ ได้รับมติคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ในการประชุม ครั้งที่ ๒/๒๔๖๐ เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๐ ให้ปรับปรุงโครงสร้างและปรับเปลี่ยนภารกิจใหม่ของกองศึกษาและประสานงานพลังงานนิวเคลียร์ (กศน.) เปลี่ยนเป็น กองศึกษาและพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน (กศร.) โดยมีอำนาจหน้าที่ เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ และจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน เผยแพร่ ถ่ายทอด รณรงค์ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือของประชาชนที่เกี่ยวกับการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน และโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ดังนั้น กองศึกษาและประสานงานพลังงานนิวเคลียร์ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน ตระหนักถึงความจำเป็นในการขับเคลื่อนภารกิจหน้าที่ใหม่ที่ได้รับมอบหมายในนามของกองศึกษาและพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน จึงมีความประสงค์ที่จะจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ – ๒๕๖๔ เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาแผนการขับเคลื่อนการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐานเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน ในการมุ่งบริหารพลังงานอย่างยั่งยืน ให้ประเทศชาติและประชาชนชาวไทยมีพลังงานใช้อย่างพอเพียง * **หมายเหตุ:** โรงไฟฟ้าฐาน หมายถึง โรงไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าตามความต้องการพื้นฐาน (Base Load Plant) เพื่อสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ได้แก่ โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงไฟฟ้าขยะ และโรงไฟฟ้าชีวมวล **กองศึกษาและพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน (กศร.)** **กองศึกษาและประสานงานพลังงานนิวเคลียร์ (กศน.)** **อำนาจหน้าที่** ๑. ศึกษา วิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ และจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ๒. จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ๓. เผยแพร่ ถ่ายทอด รณรงค์ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือของประชาชนที่เกี่ยวกับการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน และโรงไฟฟ้าขยะ ๔. ประสานงาน และดำเนินการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ๕. ติดตาม และประเมินผลการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ๖. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย **อำนาจหน้าที่** ๑. ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ๒. จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ รวมทั้งติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ๓. ส่งเสริมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ให้แก่ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ตลอดจนประสานการมีส่วนร่วมของประชาชน ๔. ประสานงานและดำเนินการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์บรรลุเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ๕. สนับสนุนและดำเนินการอื่นใดเพื่อให้โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศเกิดความต่อเนื่อง ๖. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย **รูปที่ ๑.** แสดงการปรับโครงสร้างและภารกิจใหม่ของกองศึกษาและพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน **๒. วัตถุประสงค์** ๒.๑ เพื่อได้ทราบถึงจุดอ่อน จุดแข็งด้านการขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐานในภาพรวม ๒.๒ เพื่อได้ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ –๒๕๖๔ (แผน ๔ ปี) ที่สอดคล้องและสนับสนุนต่อยุทธศาสตร์หลักแต่ละส่วนราชการในกระทรวงพลังงาน ๒.๓ เพื่อได้แผนการปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐานประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๑, ๒๕๖๒, ๒๕๖๓ และ ๒๕๖๔ **๓. ขอบเขตการดำเนินงาน** ๓.๑ จัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ –๒๕๖๔ ซึ่งประกอบด้วย วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ ยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ แผนดำเนินงาน/แผนการปฏิบัติการ ๓.๒ กระบวนการร่างยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน แผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี ๒๕๖๑ –๒๕๖๔ พร้อมจัดประชุม/สัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่างยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ –๒๕๖๔ จำนวน ๒ ครั้ง โดยมีรายละเอียดดังนี้ - ครั้งที่ ๑ เพื่อนำเสนอและรับฟังความคิดเห็นต่อร่างยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ –๒๕๖๔ โดยกลุ่มเป้าหมายคือ พลังงานจังหวัด บุคลากรของกระทรวงพลังงาน และหน่วยงานหรือภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๕๐ คน ระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๑ วัน - ครั้งที่ ๒ เพื่อสรุปและจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ –๒๕๖๔ โดยกลุ่มเป้าหมายคือ หน่วยงานหรือภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจำนวน ๕๐ คน ระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๑ วัน ๓.๓ จัดทำรายงาน/คู่มือยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ –๒๕๖๔ จำนวน ๑๕๐ เล่ม ๓.๔ สรุปผลการดำเนินงานจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี ๒๕๖๑ –๒๕๖๔ **๔. ระยะเวลาการดำเนินงาน** ระยะเวลาดำเนินงาน ๔๕ วัน นับแต่วันลงนามในสัญญา **บทที่ ๒ แนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑– ๒๕๖๔** เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑– ๒๕๖๔ จึงได้มีการจัดประชุมฯ ภายหลังจากทำการ่างยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑– ๒๕๖๔ ดังนี้ ๑. การประชุมเพื่อนำเสนอและรับฟังความคิดเห็นต่อร่างยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ –๒๕๖๔ ๒. การประชุมคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ –๒๕๖๔ ๓. การประชุมเพื่อสรุปและจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ –๒๕๖๔ **๒.๑ การประชุมเพื่อนำเสนอและรับฟังความคิดเห็นต่อร่างยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ –๒๕๖๔** ในการดำเนินการจัดประชุมเพื่อนำเสนอและรับฟังความคิดเห็นต่อร่างยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑– ๒๕๖๔ ในวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ ห้องแวนด้า ๓ โรงแรมที เค พาเลซ & คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ มีผู้เข้าร่วมประชุมฯ ได้แก่ พลังงานจังหวัด บุคลากรของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน บุคลากรของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บุคลากรของกระทรวงพลังงานและบุคลากรของหน่วยงานและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๕๐ คนโดยได้รับเกียรติจาก นายธนธัช จังพานิช ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม ![A group of people sitting at a table Description automatically generated with low confidence]() **รูปที่ ๒.** ผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อนำเสนอและรับฟังความคิดเห็นต่อร่างยุทธศาสตร์ฯ ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม ![A person speaking to a group of people in a room Description automatically generated with low confidence]() **รูปที่ ๓.** นายธนธัช จังพานิช ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน กล่าวเปิดการประชุมฯ ![A group of people posing for a photo Description automatically generated]() **รูปที่ ๔.** ประธานในพิธีเปิดการประชุม และผู้เข้าร่วมประชุมฯ ถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน ![A picture containing text, ceiling, indoor, person Description automatically generated]() **รูปที่ ๕.** การนำเสนอร่างยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ –๒๕๖๔ โดย ผศ.ดร.ธีระศักดิ์ หุดากร ![A group of people sitting at tables Description automatically generated with medium confidence]() ![A group of people sitting at tables Description automatically generated with medium confidence]() ![รูปภาพประกอบด้วย บุคคล, โต๊ะ, ในอาคาร, ผนัง คำอธิบายที่สร้างขึ้นโดยมีความน่าเชื่อถือสูงมาก]() ![รูปภาพประกอบด้วย โต๊ะ, บุคคล, ในอาคาร, นั่ง คำอธิบายที่สร้างขึ้นโดยมีความน่าเชื่อถือสูงมาก]() **รูปที่ ๖.** การรับฟังความคิดเห็นต่อร่างยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ –๒๕๖๔ **๒.๒ การประชุมคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ –๒๕๖๔** ภายหลังจากการประชุมเพื่อนำเสนอและรับฟังความคิดเห็นต่อร่างยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑– ๒๕๖๔ ในวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ ห้องแวนด้า ๓ โรงแรมที เค พาเลซ & คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นจึงนำร่างยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑– ๒๕๖๔ ที่ทำการแก้ไขตามความคิดเห็นในการประชุมฯ ดังกล่าว นำเสนอต่อคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐานปี พ.ศ. ๒๕๖๑– ๒๕๖๔ ในวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ ห้องประชุม ๓ ชั้น ๑๕ อาคารบี ศูนย์เอ็นเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ โดยมีนางสาวนันธิกา ทังสุพานิช หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานคณะกรรมการฯ ![A group of people in a meeting Description automatically generated with medium confidence]() **รูปที่ ๗.** นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช ประธานคณะกรรมการ กล่าวเปิดการประชุมฯ ![A group of people sitting at tables Description automatically generated with low confidence]() ![A group of people sitting at tables Description automatically generated with low confidence]() ![A group of people in a meeting Description automatically generated with medium confidence]() ![A group of people sitting at tables Description automatically generated with low confidence]() ![A group of men sitting at a table Description automatically generated with low confidence]() ![A group of people sitting at tables Description automatically generated with medium confidence]() **รูปที่ ๘.** คณะกรรมการฯ แสดงความคิดเห็นต่อร่างยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑– ๒๕๖๔ **๒.๓ การประชุมเพื่อสรุปและจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ –๒๕๖๔** ภายหลังจากแก้ไขตามข้อเสนอแนะในการประชุมเพื่อนำเสนอและรับฟังความคิดเห็นต่อร่างยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑– ๒๕๖๔ ในวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ และนำเสนอร่างยุทธศาสตร์ฯ ต่อคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑– ๒๕๖๔ ในวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ แล้ว จากนั้นจึงทำการแก้ไขตามข้อเสนอแนะของกรรมการฯ อีกครั้ง แล้วจึงดำเนินการจัดประชุมเพื่อสรุปและจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑– ๒๕๖๔ ในวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ ห้องกัลปพฤกษ์๒ โรงแรมที เค พาเลซ & คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมฯได้แก่ พลังงานจังหวัด บุคลากรของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน บุคลากรของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บุคลากรของกระทรวงพลังงานและบุคลากรของหน่วยงานและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๕๐ คนและได้รับเกียรติ จากนายธนธัช จังพานิช ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม **รูปที่ ๙.** ผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อสรุปและจัดทำยุทธศาสตร์ฯ ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม ![A person speaking to a group of people Description automatically generated with low confidence]() **รูปที่ ๑๐.** นายธนธัช จังพานิช ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมฯ ![A group of people posing for a photo Description automatically generated]() **รูปที่ ๑๑.** ประธานในพิธีเปิดการประชุม และผู้เข้าร่วมประชุมฯ ถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน ![รูปภาพประกอบด้วย บุคคล, ในอาคาร, ผู้ชาย, ผนัง คำอธิบายที่สร้างขึ้นโดยมีความน่าเชื่อถือสูงมาก]() ![A picture containing text, person, indoor, ceiling Description automatically generated]() **รูปที่ ๑๒.** การสรุปและจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ –๒๕๖๔ โดย ผศ.ดร.ธีระศักดิ์ หุดากร ![A group of people sitting at tables Description automatically generated with medium confidence]() ![A group of people sitting at tables Description automatically generated with medium confidence]() ![รูปภาพประกอบด้วย บุคคล, ในอาคาร, เพดาน, ผนัง คำอธิบายที่สร้างขึ้นโดยมีความน่าเชื่อถือสูงมาก]() ![รูปภาพประกอบด้วย เพดาน, ในอาคาร, พื้น, ผนัง คำอธิบายที่สร้างขึ้นโดยมีความน่าเชื่อถือสูงมาก]() **รูปที่ ๑๓.** การรับฟังความคิดเห็นในการสรุปและจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ –๒๕๖๔ **บทที่ ๓ ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔** **๓.๑ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน** **๓.๑.๑ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน** การกำหนดนโยบายและการจัดทำยุทธศาสตร์นี้ได้มีการระดมความคิดเห็นจากนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ฯ ซึ่งมีการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยอาศัยการวิเคราะห์สถานการณ์ในอนาคต (Scenario Analysis) ที่เป็นบริบทของสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งเป็นสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก สำหรับปัจจัยภายในเป็นปัจจัยที่กระทรวงพลังงานสามารถควบคุมหรือจัดการได้ ซึ่งมักเป็นปัจจัยทางการบริหารต่างๆ เช่น บุคลากร (Staff) ลักษณะการบริหาร (Style) โครงสร้างองค์กรต่างๆ ของประเทศ (Structure) เป็นต้น จากนั้นกำหนดประเด็นสำคัญเชิงยุทธศาสตร์เป็นจุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weakness) เพื่อนำไปวิเคราะห์จัดทำยุทธศาสตร์ต่อไป ในขณะเดียวกัน การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกเป็นการพิจารณาปัจจัยที่กระทรวงพลังงานควบคุมไม่ได้ ได้แก่ ปัจจัยทางการเมือง สังคม เทคโนโลยีของโลก เศรษฐกิจในภาพกว้าง และการเมืองระหว่างประเทศเพื่อนำมาใช้จัดทำโอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) ซึ่งเมื่อประกอบการวิเคราะห์ทั้งภายในและภายนอก จะเป็นการวิเคราะห์ จุดแข็ง-จุดอ่อน-โอกาส-อุปสรรค (Strengths–Weakness–Opportunities-Threats) หรือ SWOT **๓.๑.๒ ปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐานจากสภาพแวดล้อมภายใน** จากผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environment Analysis) สามารถกำหนดประเด็นปัจจัยสำคัญที่เป็นจุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weakness) ดังนี้ **จุดแข็ง (Strengths)** * ราคาพลังงานต่อหน่วยการผลิตต่ำ * มีปริมาณเพียงพอ และสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน * มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐานที่หลากหลาย * มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญด้านเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าฐาน * มีหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงพลังงานที่มีประสบการณ์ในการสร้างความร่วมมือภาคประชาชนรวมถึงการสร้างเครือข่ายนักสื่อสารพลังงาน **จุดอ่อน (Weakness)** * ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าฐาน รวมถึงผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าฐานไม่เพียงพอ * ฐานข้อมูลและองค์ความรู้ในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐานยากต่อการเข้าถึง และไม่สามารถเปรียบเทียบให้ประชาชนเข้าใจได้ง่าย และชัดเจน * การจัดการ และเชื่อมโยงองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านโรงไฟฟ้าฐานไปสู่ประชาชนไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ * ประชาชนได้รับข่าวสารที่ไม่ชัดเจน คลาดเคลื่อน และไม่ต่อเนื่อง ตามเป้าหมายของกระทรวงพลังงาน เนื่องจากสื่อกลางในการสื่อสาร และการส่งข้อมูลข่าวสารการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐานไปยังประชาชนมีไม่เพียงพอ * การเข้ามามีส่วนร่วมที่ไม่พอเพียงของภาคประชาชน * ไม่มีการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน * ไม่มีหน่วยงานรัฐที่คอยประสานงานระหว่างผู้ได้รับผลกระทบต่างๆ จากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าฐาน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและ เป็นที่ยอมรับทุกภาคส่วน * แนวทางการปฏิบัติในการขับเคลื่อนนโยบายด้านพลังงานของรัฐไม่มีความชัดเจน * ประชาชนไม่มีความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีในการกำจัดมลพิษจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าฐาน รวมถึงผู้ควบคุมดูแลเทคโนโลยี **๓.๑.๓ ปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐานจากสภาพแวดล้อมภายนอก** จากผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment Analysis) สามารถแยกประเด็นปัจจัยที่เป็นโอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) ได้ดังนี้ **โอกาส (Opportunities)** * รัฐบาลมีนโยบายและมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าฐานที่ชัดเจน * สภาวะเศรษฐกิจ * ประชาชนมีความตระหนักถึงปัญหาทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม * มีหน่วยงานภาครัฐที่สามารถดำเนินงานในการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐานที่ครอบคลุมในระดับพื้นที่ และจังหวัด **อุปสรรค (Threats)** * ประชาชนไม่มีความเชื่อมั่น และการยอมรับของประชาชนในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน รวมถึงยังมีทัศนคติเชิงลบต่อโรงไฟฟ้าฐาน * มีการคัดค้านและต่อต้านจากองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ทั้งในประเทศ และต่างประเทศในการดำเนินงาน หรือก่อสร้างโรงไฟฟ้าฐานบางประเภท เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นต้น * องคาพยพของหน่วยงานที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าฐานไม่มีการเชื่อมโยงกัน หรือสอดรับกัน * การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ครบถ้วนของสื่อมวลชน **๓.๒ วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมายหลัก และพื้นที่เป้าหมายของยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน** **ปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔** ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔ กำหนดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน ซึ่งหมายถึง โรงไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าตามความต้องการพื้นฐาน (Base Load Plant) เพื่อสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ได้แก่ โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงไฟฟ้าขยะ และโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน **๓.๒.๑ กรอบแนวคิด** จากความต้องการใช้ไฟฟ้าที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นตามขนาดเศรษฐกิจ และจำนวนประชาชน จึงมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย เพื่อสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งโรงไฟฟ้าฐาน หรือโรงไฟฟ้าหลัก มีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากสามารถจ่ายไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องตลอด ๒๔ ชั่วโมง ระบบไฟฟ้าจึงมีความมั่นคงทั้งปริมาณ และคุณภาพของระบบไฟฟ้า ราคาไม่แพง ทำให้ราคาค่าไฟฟ้าเฉลี่ยของประเทศไทยไม่สูงเกินไป สามารถแข่งขันได้ในกลุ่มประเทศอาเซียน ด้วยเหตุนี้ แผน PDP ๒๐๑๕ จึงให้ความสำคัญต่อการพัฒนาโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นโรงไฟฟ้าหลัก และลดการพึ่งพาการใช้ก๊าซธรรมชาติ ควบคู่ไปกับการพัฒนาพลังงานทดแทนตามศักยภาพของพื้นที่ และการสร้างความพร้อมในการจ่ายไฟฟ้าในกรณีที่โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน เช่น กังหันลม และเซลล์แสงอาทิตย์ ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะกำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐานเพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาแผนการขับเคลื่อนการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐานเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน ในการมุ่งบริหารพลังงานอย่างยั่งยืน ให้ประเทศชาติและประชาชนชาวไทยมีพลังงานใช้อย่างพอเพียง การกำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์นี้ ใช้กรอบแนวคิดการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานจากการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ.๒๕๕๘-๒๕๗๙ และแผนยุทธศาสตร์การสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ กระทรวงพลังงาน เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ในการมุ่งบริหารพลังงานอย่างยั่งยืน ให้ประเทศชาติและประชาชนมีพลังงานใช้อย่างพอเพียง **๓.๒.๒ วิสัยทัศน์** **“มุ่งขับเคลื่อนการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน”** **๓.๒.๓ พันธกิจ** ๑. จัดทำและผลักดันแผนปฏิบัติการ เพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ๒. สร้างความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาทัศนคติในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ๓. ส่งเสริมให้เกิดกลไกในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ เพื่อถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน ๔. สร้าง และพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายนักสื่อสารด้านพลังงานให้สามารถสื่อสารและประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารไปสู่สาธารณชน ๕. ติดตาม และประเมินผลการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน **๓.๒.๔ วัตถุประสงค์** ๑. เพื่อสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศอย่างยั่งยืน ๒. เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้าอย่างเหมาะสม เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ๓. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ นำไปสู่การพัฒนาทัศนคติของประชาชนที่เกี่ยวกับการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ตลอดจนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือให้แก่ทุกภาคส่วน **๓.๒.๕ เป้าหมายหลัก** ๑. ประเทศไทยมีการผลิตไฟฟ้าอย่างเหมาะสม เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ๒. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติเชิงบวก นำไปสู่การพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ตลอดจนมีเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐานในทุกภาคส่วน **๓.๒.๖ พื้นที่เป้าหมาย** พื้นที่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔ ประกอบด้วย พื้นที่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ตามแผน PDP ๒๐๑๕ จังหวัดยุทธศาสตร์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ พื้นที่สร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ยังไม่จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) พื้นที่ปัญหาการต่อต้านโรงไฟฟ้าชีวมวล พื้นที่สร้างโรงไฟฟ้าขยะที่ยังไม่จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) และพื้นที่ปัญหาการต่อต้านโรงไฟฟ้าขยะ จำนวน ๓๕ จังหวัด (ดังรูปที่ ๑๔) คือ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำปาง จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดสุโขทัย จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดสกลนคร จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดสระบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยองจังหวัดตราด จังหวัดสระแก้ว จังหวัดชัยนาท จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฏร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดระนอง จังหวัดกระบี่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดตรัง และจังหวัดสงขลา ![Map Description automatically generated]() **รูปที่ ๑๔**. พื้นที่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔ **๓.๓ ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน** **ปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔** เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงกำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔ โดยมีนโยบายหลัก ประกอบด้วย ๔ ยุทธศาสตร์ ดังนี้ **ยุทธศาสตร์ที่ ๑:** การพัฒนาทัศนคติ และสร้างการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน **ยุทธศาสตร์ที่ ๒:** สร้างการขับเคลื่อนการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน **ยุทธศาสตร์ที่ ๓:** การสื่อสารแผนพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน เพื่อสร้างความพร้อมของประชาชน **ยุทธศาสตร์ที่ ๔:** การพัฒนาบุคลากรภายในองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งกำหนดกลยุทธ์ ตัวชี้วัด และแนวทางการดำเนินงาน รวมทั้งแผนที่นำทางยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔ ในมิติต่างๆ ดังนี้ **๓.๓.๑ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด และแนวทางการดำเนินงาน** **ยุทธศาสตร์ที่ ๑:** การพัฒนาทัศนคติ และสร้างการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน **เป้าประสงค์** ๑. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน ๒. ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน **กลยุทธ์ที่ ๑.๑:** สร้างความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาทัศนคติในการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน **ตัวชี้วัด** ๑. ประชาชนในกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าฐาน รวมถึงผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าฐาน ๒. ประชาชนในกลุ่มเป้าหมายมีทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับความจำเป็นในการพัฒนาและมาตรการกำกับดูแลโรงไฟฟ้าฐาน **แนวทางการดำเนินงาน** ๑. สร้างความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาทัศนคติเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าฐาน ผลกระทบที่มีต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยให้กับประชาชน ๒. ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าฐานตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา **กลยุทธ์ที่ ๑.๒:** การพัฒนาฐานข้อมูล และองค์ความรู้ในการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน **ตัวชี้วัด** ๑. มีฐานข้อมูลมิติความพร้อมของประชาชนในพื้นที่ยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน ๒. ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลและองค์ความรู้ในการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐานในพื้นที่ยุทธศาสตร์ฯ ได้ง่าย และรวดเร็ว **แนวทางการดำเนินงาน** ๑. รวบรวมข้อมูล ประมวลผล และจัดทำฐานข้อมูลพื้นที่ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน ด้านมิติความพร้อมของประชาชน ๒. มีฐานข้อมูล และองค์ความรู้เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าฐานที่ถูกต้อง ทันสมัย ชัดเจน เป็นกลาง และสามารถเข้าถึงได้ง่าย และรวดเร็ว ๓. เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าฐานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชน **กลยุทธ์ที่ ๑.๓:** สร้างการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาโรงไฟฟ้าฐานอย่างยั่งยืน **ตัวชี้วัด** ภาคประชาชน หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานของท้องถิ่น สถานบันการศึกษา และภาคเอกชนในพื้นที่เป้าหมาย มีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐานทุกมิติ **แนวทางการดำเนินงาน** ๑. ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และโดยเฉพาะสาธารณชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ ตั้งแต่เริ่มต้น จนสิ้นสุดการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าฐาน ๒. ส่งเสริม และสนับสนุนให้หน่วยงานกลาง เช่น หน่วยงานทางการศึกษา หรือมหาวิทยาลัย ร่วมสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน **ยุทธศาสตร์ที่ ๒:** สร้างการขับเคลื่อนการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน **เป้าประสงค์** เพื่อผลักดันการขับเคลื่อนการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐานให้เกิดผลเป็นรูปธรรม บรรลุผลตามเป้าหมาย **กลยุทธ์ที่ ๒.๑:** สร้างกระบวนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯ มุ่งไปสู่การพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน **ตัวชี้วัด** มีกลไก และเครือข่ายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ – ๒๕๖๔ **แนวทางการดำเนินงาน** ๑. จัดให้มีกลไกการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ มุ่งไปสู่การพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน ๒. สร้างเครือข่ายการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ มุ่งไปสู่การพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน ในทุกๆ ระดับ เช่น หน่วยงานระดับท้องถิ่น หน่วยงานระดับจังหวัด หน่วยงานระดับภูมิภาค และหน่วยงานระดับประเทศ รวมถึงหน่วยงานทางการศึกษา และการศึกษานอกโรงเรียน **กลยุทธ์ที่ ๒.๒:** ผลักดัน และส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าฐานให้เป็นไปตามเป้าหมาย **ตัวชี้วัด** ๑. ประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย มีความเชื่อมั่น และยอมรับการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าฐาน ๒. มีแผนที่ของพื้นที่ยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงไฟฟ้าฐานในเชิงมิติความพร้อมของประชาชน **แนวทางการดำเนินงาน** ๑. สร้างความเชื่อมั่น และการยอมรับในการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าฐาน ๒. ส่งเสริม และสนับสนุนการเตรียมความพร้อมการขับเคลื่อนการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน **กลยุทธ์ที่ ๒.๓:** สร้างกระบวนการบริหารความขัดแย้งของชุมชนพื้นที่การพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน **ตัวชี้วัด** มีกลไกในการบริหารความขัดแย้งของชุมชนในพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน **แนวทางการดำเนินงาน** ๑. จัดให้มีองค์ความรู้ เครื่องมือ และทักษะในการบริหารความขัดแย้งของชุมชนในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ๒. ให้ระดับภูมิภาคมีโอกาสเสนอความต้องการในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐานในพื้นที่ **กลยุทธ์ที่ ๒.๔:** การติดตาม และประเมินผลการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน **ตัวชี้วัด** ๑. มีระบบหรือกลไกการติดตาม และประเมินผลการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน ๒.เป็นหน่วยงานกลางที่คอยประสานงานระหว่างผู้ได้รับผลกระทบต่างๆ จากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าฐาน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและ เป็นที่ยอมรับทุกภาคส่วน **แนวทางการดำเนินงาน** ๑. พัฒนากระบวนการติดตาม และประเมินผลการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน ๒. เป็นหน่วยงานกลางในการประสานงานระหว่างผู้ได้รับผลกระทบต่างๆ ในการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าฐานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง **ยุทธศาสตร์ที่ ๓:** การสื่อสารแผนพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน เพื่อสร้างความพร้อมของประชาชน **เป้าประสงค์** ๑. เพื่อใหประชาชนรับข้อมูลข่าวสาร จากกระทรวงพลังงานอย่างทั่วถึง ถูกต้อง และชัดเจน ๒. มีนักสื่อสารด้านพลังงานที่เป็นตัวแทนของกระทรวงพลังงาน **กลยุทธ์ที่ ๓.๑:** การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐานที่ถูกต้อง ชัดเจน และตรงตามกลุ่มเป้าหมาย **ตัวชี้วัด** ประชาชนในแต่ละกลุ่มเป้าหมายได้รับข้อมูลข่าวสารที่เชื่อถือได้ และเข้าใจข่าวสารที่สื่อสารออกไปตามเจตนาของกระทรวงพลังงาน **แนวทางการดำเนินงาน** ๑. ใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น แผ่นพับประชาสัมพันธ์ แผ่นโปสเตอร์ แผ่นใบปลิว หนังสือ และนิตยสารเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ๒. ใช้สื่อสปอตโฆษณาในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ผ่านสถานีวิทยุ หรือสถานีวิทยุท้องถิ่น ๓. มีการประชาสัมพันธ์แผนพัฒนาโรงไฟฟ้าฐานผ่านสื่อออนไลน์ (Social Media) ต่างๆ ได้แก่ Facebook Line Instagram YouTube และ Twitter เป็นต้น ๔. มีการใช้ E – Book และเกมส์ออนไลน์ เพื่อเป็นสื่อประชาสัมพันธ์แผนพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน ๕. มีการประชาสัมพันธ์แผนพัฒนาโรงไฟฟ้าฐานผ่านกิจกรรมประกวดภาพถ่าย/ภาพวาด/บทความ/โครงงาน ๖. มีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโทรศัพท์ที่น่าสนใจ และดึงดูด **กลยุทธ์ที่ ๓.๒:** การพัฒนาบุคลากรด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์แผนพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน **ตัวชี้วัด** ๑. มีเครือข่ายนักสื่อสารด้านพลังงาน เครือข่ายด้านการศึกษา และเครือข่ายภาคประชาชนเป็นผู้ส่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐานได้อย่างทั่วถึง ถูกต้อง และชัดเจน ๒. ประชาชนในพื้นที่เป้าหมายได้รับข้อมูลข่าวสารที่เชื่อถือได้ ผ่านบุคลากรด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ **แนวทางการดำเนินงาน** ๑. สร้างความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาทักษะการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้แก่นักสื่อสารด้านพลังงาน เครือข่ายด้านการศึกษา และเครือข่ายภาคประชาชน ให้สามารถสื่อสารประชาสัมพันธ์ได้ถูกต้อง และชัดเจน ๒. สร้างเครือข่ายนักสื่อสารด้านพลังงาน เชื่อมโยงเครือข่ายการศึกษา และเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อร่วมถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐานให้กับกลุ่มเป้าหมาย **ยุทธศาสตร์ที่ ๔:** การพัฒนาบุคลากรภายในองค์กรสู่ความเป็นเลิศ **เป้าประสงค์** เพื่อพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรภายในองค์กร ให้สามารถรองรับภารกิจในปัจจุบัน และอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ และมีธรรมาภิบาล **กลยุทธ์ที่ ๔.๑:** การพัฒนาบุคลากร เพื่อการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน **ตัวชี้วัด** บุคลากรภายในองค์กรมีการพัฒนาองค์ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐานที่เพิ่มขึ้น **แนวทางการดำเนินงาน** เตรียมความพร้อมของบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน เพื่อนำไปสู่ความเป็นมืออาชีพ **๓.๓.๒ แผนที่นำทางยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔** การบริหารจัดการและดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔ จะสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมีการจัดทำแผนที่นำทางแผนยุทธศาสตร์ฯเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมและใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน เพื่อสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนซึ่งกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ๒ ระยะ คือ ๑. ระยะสั้น ๑ - ๒ ปี ๒. ระยะกลาง ๓ - ๔ ปี โดยมีรายละเอียดแนวทางการดำเนินงานตามแผนที่นำทางแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๔ ทั้ง ๒ ระยะ ดังตารางที่ ๑ และ ๒ **ตารางที่ ๑.** กิจกรรม/โครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ฯระยะสั้น (๑-๒ ปี) | | | | | --- | --- | --- | | **ยุทธศาสตร์** | **กิจกรรม/โครงการภายใต้ยุทธศาสตร์** | **หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง** | | **ยุทธศาสตร์ที่ ๑:** การพัฒนาทัศนคติ และสร้างการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน | ๑. โครงการการสร้างความรู้ความเข้าใจและเจตคติที่ดีต่อการขับเคลื่อนงานพลังงานในชุมชน๒. โครงการการสร้างความรู้ ความเข้าใจเพื่อพัฒนาทัศนคติที่มีต่อการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน (ประชาชน/ผู้นำชุมชน/ผู้นำท้องถิ่น/เจ้าหน้าที่ อปท.)๓. โครงการส่งเสริมการเรียนรู้การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าฐาน สำหรับเยาวชน๔. โครงการศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล และองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน | ๑. กระทรวงพลังงาน ๒. กระทรวงศึกษาธิการ๓. กระทรวงมหาดไทย๔. สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)๕. สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ๖. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย๗. มหาวิทยาลัย๘. องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) | **ตารางที่ ๑.** กิจกรรม/โครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ฯระยะสั้น (๑-๒ ปี) (ต่อ) | | | | | --- | --- | --- | | **ยุทธศาสตร์** | **กิจกรรม/โครงการภายใต้ยุทธศาสตร์** | **หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง** | | **ยุทธศาสตร์ที่ ๑:** การพัฒนาทัศนคติ และสร้างการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน | ๕. โครงการโรงไฟฟ้าฐาน ไฟฟ้าเพื่อชีวิต ๒๔ ชั่วโมง๖. โครงการศึกษา และสร้างต้นแบบความร่วมมือเพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน๗. โครงการการสร้างความเข้าใจและส่งเสริมทัศนคติเพื่อการเรียนรู้ด้านพลังงานทางเลือกสำหรับเยาวชนในพื้นที่จังหวัดยุทธศาสตร์ “EN-Camp” | | | **ยุทธศาสตร์ที่ ๒:** สร้างการขับเคลื่อนการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน | ๑. โครงการการจัดทำกลไกการขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน๒. โครงการศึกษาและสร้างกระบวนการบริหารความขัดแย้งของชุมชนในพื้นที่การพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน๓. โครงการโรงไฟฟ้าแบบสังคมไทย | ๑. กระทรวงพลังงาน ๒. กระทรวงมหาดไทย๓. มหาวิทยาลัย | | **ยุทธศาสตร์ที่ ๓:** การสื่อสารแผนพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน เพื่อสร้างความพร้อมของประชาชน | ๑. โครงการสื่อสารแผนพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน เพื่อสร้างความพร้อมของประชาชน๒. โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนผ่านช่องทางสื่อหลัก๓. โครงการสร้างนักสื่อสารพลังงาน ด้านนโยบายพลังงานระดับชุมชน | ๑. กระทรวงพลังงาน ๒. กระทรวงศึกษาธิการ๓. กระทรวงมหาดไทย๔. กรมประชาสัมพันธ์ | | **ยุทธศาสตร์ที่ ๔:** การพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ | ๑. โครงการพัฒนาบุคลากรในการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน: ระดับความรู้ทั่วไป | ๑. กระทรวงพลังงาน | **ตารางที่ ๒.** กิจกรรมภายใต้ยุทธศาสตร์ระยะกลาง (๓-๔ปี) | | | | | --- | --- | --- | | **ยุทธศาสตร์** | **กิจกรรม/โครงการภายใต้ยุทธศาสตร์** | **หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง** | | **ยุทธศาสตร์ที่ ๑:** การพัฒนาทัศนคติ และสร้างการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน | ๑. โครงการศูนย์เผยแพร่ความรู้ด้านการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าฐาน๒. โครงการการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของโรงไฟฟ้าฐาน๓. โครงการพลังงานกิ่งใหม่๔. โครงการศึกษา วิจัยด้านมิติความพร้อมของประชาชนในพื้นที่ยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน๕. โครงการจัดทำและเผยแพร่ความคิดเห็นและทัศนคติของประชาชนในพื้นที่การพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน๖. โครงการศึกษาชุมชนต้นแบบโรงไฟฟ้าประชารัฐ | ๑. กระทรวงพลังงาน ๒. กระทรวงศึกษาธิการ๓. กระทรวงมหาดไทย๔. สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)๕. สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ๖. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย๗. มหาวิทยาลัย๘. องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO)๙. หน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง | | **ยุทธศาสตร์ที่ ๒:** สร้างการขับเคลื่อนการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน | ๑. โครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการขับเคลื่อนการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน๒. กิจกรรมเปิดบ้าน สานความสัมพันธ์ชุมชน-โรงไฟฟ้า๓. โครงการการบริหารความขัดแย้งในพื้นที่การพัฒนาโรงไฟฟ้าฐานโดยใช้กิจกรรมประสานใจ๔. โครงการการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐานในพื้นที่ | ๑. กระทรวงพลังงาน ๒. กระทรวงมหาดไทย๓. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย๔. กรมโยธาธิการและผังเมือง๕. มหาวิทยาลัย๖. องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO)๗. หน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง | **ตารางที่ ๒.** กิจกรรมภายใต้ยุทธศาสตร์ระยะกลาง (๓-๔ปี) (ต่อ) | | | | | --- | --- | --- | | **ยุทธศาสตร์** | **กิจกรรม/โครงการภายใต้ยุทธศาสตร์** | **หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง** | | **ยุทธศาสตร์ที่ ๒:** สร้างการขับเคลื่อนการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน | ๖. โครงการศึกษา เพื่อสร้างระบบการติดตามและประเมินผลการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน | | | **ยุทธศาสตร์ที่ ๓:** การสื่อสารแผนพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน เพื่อสร้างความพร้อมของประชาชน | ๑. โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน: ระยะที่ ๒๒. โครงการพัฒนาทักษะการสื่อสารสู่ความเป็นนักสื่อสารพลังงานมืออาชีพ | ๑. กระทรวงพลังงาน ๒. กระทรวงศึกษาธิการ๓. กระทรวงมหาดไทย๔. กรมประชาสัมพันธ์ | | **ยุทธศาสตร์ที่ ๔:** การพัฒนาภายในองค์กรสู่ความเป็นเลิศ | ๑. โครงการพัฒนาบุคลากรในการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน:ระดับความรู้พื้นฐาน๒. โครงการพัฒนาบุคลากรในการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐาน: ระดับความรู้เฉพาะทาง๓. โครงการพัฒนาบุคลากรในการพัฒนาโรงไฟฟ้าฐานสู่การเป็นสากล | ๑. กระทรวงพลังงาน | **ภาคผนวก ก: รายชื่อคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ.๒๕๖๑ –๒๕๖๔** ๑. หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ (นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช) ๒. พลังงานจังหวัดเชียงใหม่ รองประธานกรรมการ ๓. พลังงานจังหวัดกระบี่ กรรมการ ๔. พลังงานจังหวัดกำแพงเพชร กรรมการ ๕. พลังงานจังหวัดขอนแก่น กรรมการ ๖. พลังงานจังหวัดฉะเชิงเทรา กรรมการ ๗. พลังงานจังหวัดชลบุรี กรรมการ ๘. พลังงานจังหวัดชุมพร กรรมการ ๙. พลังงานจังหวัดตราด กรรมการ ๑๐. พลังงานจังหวัดนครราชสีมา กรรมการ ๑๑. พลังงานจังหวัดนครศรีธรรมราช กรรมการ ๑๒. พลังงานจังหวัดนครสวรรค์ กรรมการ ๑๓. พลังงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรรมการ ๑๔. พลังงานจังหวัดระนอง กรรมการ ๑๕. พลังงานจังหวัดราชบุรี กรรมการ ๑๖. พลังงานจังหวัดลำปาง กรรมการ ๑๗. พลังงานจังหวัดศรีสะเกษ กรรมการ ๑๘. พลังงานจังหวัดสมุทรปราการ กรรมการ ๑๙. พลังงานจังหวัดสงขลา กรรมการ ๒๐. พลังงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี กรรมการ ๒๑. พลังงานจังหวัดอุดรธานี กรรมการ ๒๒. พลังงานจังหวัดอุบลราชธานี กรรมการ ๒๓. หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรรมการ ๒๔. นายฉัตรชัย คุณโลหิต กรรมการ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ ๒๕. นายวชิรวิชญ์ บุญสม กรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการกองศึกษาและประสานงานพลังงานนิวเคลียร์ ๒๖. นายสุนทร อุษาบริสุทธิ์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ วิศวกรชำนาญการพิเศษ ๒๗. นางสาวปาณิสรา จันทร์แจ้ง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ ๒๘. นางสาววรรณาภรณ์ เย็นฉ่ำ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติงานทั่วไป
{'url': 'https://data.go.th/dataset/blpp_dataset_11_01', 'title': 'ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน ปี พ.ศ. 2561 - 2564', 'license': 'Open Data Common'}
**สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน** **1 ด้านกายภาพ** บ้านบึง เป็นแหล่งชุมชนดั้งเดิม มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2462 จวบจนเวลาผ่านเลยมาถึงปี พ.ศ. 2464 จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอบ้านบึง และจัดสร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2481 ในอดีต สภาพทั่วไปของบ้านบึงมีลักษณะเป็นที่ราบสูงสลับเนินเขา ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพาะปลูก มันสำปะหลัง ทำนาและทำไร่อ้อย สิ่งที่เกิดมาตามจึงเป็นเรื่องของธุรกิจการค้าน้ำตาล ซึ่งเป็นผลผลิตที่ได้จากการเกษตรในพื้นที่ทำการเพาะปลูกนั่นเอง เมื่อกิจการค้าเริ่มเกิดขึ้นในพื้นที่ การค้าขายอื่นๆ จึงเกิดตามมาทำให้ “บ้านบึง” เริ่มแปรสภาพเป็นเมืองที่มีการค้าขายมากขึ้น ประกอบกับมีการอพยพถิ่นฐานเข้ามาของชาวลาวและชาวจีนเพิ่มมากขึ้น ชุมชนบ้านบึงจึงเริ่มขยายตัวกลายเป็น “เมืองบ้านบึง” ดังเช่นในปัจจุบัน เทศบาลเมืองบ้านบึง เดิมเป็นสุขาภิบาลและได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาลตำบลบ้านบึง เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2530 ตามพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 104 ตอนที่ 183 ลงวันที่ 14 กันยายน 2530 และต่อมาได้การยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองบ้านบึง ตามพระราชกฤษฏีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองบ้านบึง พ.ศ. 2544 เล่ม 118 ตอนที่ 19 ก ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2544 มีผลใช้บังคับวันที่ 27 ตุลาคม 2544 และเป็นเทศบาลใหญ่ มีประชากรประมาณ 18,000 คนขึ้นไป **สำนักงานเทศบาลเมืองบ้านบึง** **1.1 ที่ตั้งของเทศบาลเมืองบ้านบึง** เทศบาลเมืองบ้านบึงมีพื้นที่ 8.02 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 5,012.50 ไร่ ห่างจากตัวเมืองชลบุรี ประมาณ 15 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 80 กิโลเมตร **1.2 ลักษณะภูมิประเทศ** เทศบาลเมืองบ้านบึงมีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบลูกคลื่นและเนินเขา มีอาณาเขตติดต่อกับเทศบาลตำบลบ้านบึง ทั้ง 4 ทิศ ดังนี้ ทิศเหนือ อาณาเขตติดกับ หมู่ 2, 3 เทศบาลตำบลบ้านบึง ทิศตะวันออก อาณาเขตติดกับ หมู่ 1, 5 เทศบาลตำบลบ้านบึง ทิศใต้ อาณาเขตติดกับ หมู่ 4, 5 เทศบาลตำบลบ้านบึง ทิศตะวันตก อาณาเขตติดกับ หมู่ 2 เทศบาลตำบลบ้านบึง **2. ด้านการเมือง/การปกครอง** **2.1 เขตการปกครอง** เทศบาลเมืองบ้านบึงเป็นชุมชนเมือง ซึ่งแบ่งเขตการปกครองเป็น ขุมชน จำนวน 65 ชุมชน ประกอบด้วย 1. ชุมชนเซิดน้อย 2. ชุมชนวัดบึงบน 3. ชุมชนมาบกรูด 4. ชุมชนหน้าสภาตำบล 5. ชุมชนหนองปลาไหล 6. ชุมชนหนองโคลน 7. ชุมชนสวนผัก 8. ชุมชนบุญประทีป 9. ชุมชนเนื่องจำนงค์ 10. ชุมชนวิลล่า 3 11. ชุมชนคู่ขวัญ 12. ชุมชนตะวันออก 13. ชุมชนธารนที 14. ชุมชนแสนรัก 15. ชุมชนบ้านบึงสันติ 16. ชุมชนวัฒนานุกิจ 17. ชุมชนบวรธรรม 18. ชุมชนวิฑูรย์ดำริ 19. ชุมชนมังกร 20. ชุมชนแสนสบาย 1 21. ชุมชนแสนสบาย 2 22. ชุมชนบึงทอง 23. ชุมชนรัตนไพลิน 24. ชุมชนสราญชล 25. ชุมชนศาลเจ้ากวนอู 26. ชุมชนศูนย์การค้า 27. ชุมชนหน้าโรงเจ 28. ชุมชนตลาดใหม่ 29. ชุมชนเซิดน้อย2 30. ชุมชนกลองยาว 31. ชุมชนรุ่งเรืองยิ่ง 32. ชุมชนหลังวัดล่าง 33. ชุมชนตะวันออกเฟส 5 34. ชุมชนหลังโรงเรียน 35. ชุมชนหนองปลาไหล 2 36. ชุมชนวิฑูรย์ดำริ 2 37. ชุมชนเซิดน้อย-เจริญธรรม 38. ชุมชนอยู่สบาย 39. ชุมชนตะวันออกประกายทอง 40. ชุมชนรนารมย์ 41. ชุมชนทรายทองโฮม 42. ชุมชนทรายทองวิลเลจ 43. ชุมชนพูนพิศ 44. ชุมชนวิลล่าสมนาคุณ 45. ชุมชนชวนใจ 46. ชุมชนเทศบาลพัฒนา 47. ชุมชนพูนพิศวิลล่า 3 48. ชุมชนวิลล่า 3 พัฒนา 49. ชุมชนทรายทองธานี 50. ชุมชนพระพรหม 51. ชุมชนสว่างธรรม 52. ชุมชนศีลธรรมสมาคม 53. ชุมชนหนองโคลนฝั่งใต้ 54. ชุมชนทรายทองวิลล์ 55. ชุมชนปรีชาราษฎรรังสรรค์ 56. ชุมชนกลางเมือง 57. ชุมชนวิศิษฐ์ชัย 58. ชุมชนประชาร่วมใจ 59. ชุมชนประสานใจ 60. ชุมชนวิลล่า 3 สถาวร 61. ชุมชนตลาดโต้รุ่ง 62. ชุมชนสบายวิลล์ 63. ชุมชนมงคลเมือง 64. ชุมชนสราญรมย์ 65. ชุมชนพรีมีโอ ทาวน์
{'url': 'https://data.go.th/dataset/data-banbung', 'title': 'สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลเมืองบ้านบึง จ.ชลบุรี', 'license': 'cc-by'}
**สถานการณ์การค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2559-2561(มค.-สค.)** 1. สถานการณ์การค้าชายแดน ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา) มูลค่าการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี โดยตลอด 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2558 – 2560) การค้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2.85% ในปี 2560 มีมูลค่า 1,076,389.37 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.22% ***สำหรับปี 2561*** (มกราคม-สิงหาคม) มูลค่าการค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ (มาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา) มูลค่าการค้ารวม 742,272.61 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 711,498.63 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 4.33(YoY) แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 435,554.72 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 0.16(YoY) และมูลค่าการนำเข้า 306,717.89 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 11.43(YoY) ไทยได้ดุลการค้าชายแดน 128,836.83 ล้านบาท **ด้านมาเลเซียมีการค้าสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง** มูลค่า 379,471.00 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 51.12 ของมูลค่าการค้าชายแดนรวม รองลงมาได้แก่ สปป.ลาว มูลค่า 141,756.79 ล้านบาท (19.10%) เมียนมา มูลค่า 127,825.20 ล้านบาท (17.22%) และกัมพูชา มูลค่า 93,219.62 ล้านบาท (12.56%) **การค้าชายแดน 4 ประเทศ ปี 2559-2560 (มกราคม-สิงหาคม)** หน่วย : ล้านบาท | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | **การค้ารวม 4 ประเทศ** | **2559** | **2560** | **2560** | **2561** | **% YoY** | | **(มกราคม-สิงหาคม)** | | มูลค่า | 1,013,206.17 | 1,081,274.05 | **711,498.63** | **742,272.61** | **4.33** | | ส่งออก | 605,159.35 | 654,413.76 | **436,252.47** | **435,554.72** | **-0.16** | | นำเข้า | 408,046.82 | 426,860.29 | **275,246.16** | **306,717.89** | **11.43** | | ดุลการค้า | 197,112.53 | 227,553.47 | **161,006.31** | **128,836.83** | | ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมการค้าต่างประเทศ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร -2- การค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2559-2561 (**มกราคม-สิงหาคม**) หน่วย : ล้านบาท | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | **ประเทศ** | **รายการ** | **2559** | **2560** | **2560** | **2561** | **%YoY** | | **(มกราคม-สิงหาคม)** | | **มาเลเซีย** | มูลค่า | 501,307.47 | 564,628.87 | **373,033.38** | **379,471.00** | **1.73** | | | ส่งออก | 258,109.26 | 312,457.65 | **210,838.18** | **199,173.72** | **-5.53** | | | นำเข้า | 243,198.21 | 252,171.22 | **162,195.20** | **180,297.28** | **11.16** | | | ดุลการค้า | 14,911.05 | 60,286.43 | **48,642.98** | **18,876.44** | | | **เมียนมา** | มูลค่า | 187,905.29 | 184,331.02 | **120,485.43** | **127,825.20** | **6.09** | | | ส่งออก | 109,267.17 | 108,966.18 | **73,507.30** | **71,858.84** | **-2.24** | | | นำเข้า | 78,638.12 | 75,364.84 | **46,978.40** | **55,966.36** | **19.13** | | | ดุลการค้า | 30,629.05 | 33,601.34 | **26,528.63** | **15,892.47** | | | **สปป.ลาว** | มูลค่า | 202,942.72 | 207,045.85 | **134,658.54** | **141,756.79** | **5.27** | | | ส่งออก | 136,440.48 | 131,262.33 | **86,116.88** | **87,448.90** | **1.55** | | | นำเข้า | 66,502.24 | 75,743.52 | **48,541.66** | **54,307.89** | **11.88** | | | ดุลการค้า | 69,938.24 | 55,478.81 | **37,575.22** | **33,141.01** | | | **กัมพูชา** | มูลค่า | 121,050.69 | 125,268.31 | **83,321.28** | **93,219.62** | **11.88** | | | ส่งออก | 101,342.44 | 101,727.60 | **65,790.38** | **77,073.26** | **17.15** | | | นำเข้า | 19,708.25 | 23,540.71 | **17,530.90** | **16,146.36** | **-7.90** | | | ดุลการค้า | 81,634.19 | 78,186.89 | **48,259.48** | **60,926.90** | | ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมการค้าต่างประเทศ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร **เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560-2561 (มกราคม-สิงหาคม)** ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – มาเลเซีย*** **ในเดือนสิงหาคม 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 49,465.42 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 49,725.79 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 0.52(YoY) แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 25,809.64 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 6.38(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 23,655.78 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 6.77(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 2,153.86 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 8 เดือนของปี 2561(ม.ค.-ส.ค.)*** การค้าชายแดนไทยกับมาเลเซียมีมูลค่าการค้ารวม 379,471.00ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 1.73(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 199,173.72 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 5.53(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 180,297.28 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 11.16(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 18,876.44 ล้านบาท -3- ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – เมียนมา*** **ในเดือนสิงหาคม 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 15,964.94 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 16,308.81 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 2.11(YoY) โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 8,194.21 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 3.21(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 7,770.73 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 0.92(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 423.48 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 8 เดือนของปี 2561(ม.ค.-ส.ค.)*** การค้าชายแดนไทยกับเมียนมามีมูลค่าการค้ารวม 127,825.20 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 6.09(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 71,858.84 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 2.24(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 55,966.36 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 19.13(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 15,892.47 ล้านบาท ***ภาวะการค้าชายแดนไทย–สปป.ลาว*** **ในเดือนสิงหาคม 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 17,339.60 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 17,236.64 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 0.60(YoY) โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 11,182.30 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 6.20(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 6,157.30 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 8.20(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 5,025.00 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 8 เดือนของปี 2561(ม.ค.-ส.ค.)*** การค้าชายแดนไทยกับสปป.ลาว มีมูลค่าการค้ารวม 141,756.79 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 5.27(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 87,448.90 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 1.55(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 54,307.89 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 11.88(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 33,141.01 ล้านบาท ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – กัมพูชา*** **ในเดือนสิงหาคม 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 12,405.35 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 10,099.80 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 22.83(YoY) แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 10,792.21 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 27.79(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 1,613.14 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 2.49(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 9,179.07 ล้านบาท ***สำหรับช่วง 8 เดือนของปี 2561(ม.ค.-ส.ค.)*** การค้าชายแดนไทยกับกัมพูชา มีมูลค่าการค้ารวม 93,219.62 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 11.88(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 77,073.26 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 17.15(YoY) และ การนำเข้ามีมูลค่า 16,146.36 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 7.90(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 60,926.90 ล้านบาท **กลุ่มความร่วมมือฯ 2** **กองความร่วมมือการค้าและการลงทุน**
{'url': 'https://data.go.th/dataset/item_17db6d2b-56d3-4cef-a496-63face373005', 'title': 'สถานการณ์การค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2559-2561 (มกราคม-สิงหาคม)', 'license': 'CC-BY'}
**โครงการส่งเสริมการบริหารกิจการไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกล กรณี บ้านเกาะบูโหลนดอน ม.3 ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล 2563-2564** **เวทีที่ ๑\_วันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๓** โดยใช้ขั้นตอนการมีส่วนร่วมระดับที่ ๑ คือให้ข้อมูลข่าวสารแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่และประชาชนเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐ (To Inform) ให้ข้อมูลความเป็นมาวัตถุประสงค์โครงการ รับฟังความคิดเห็น ให้คำปรึกษา จากนั้นจะมีการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลการใช้พลังงานของครัวเรือนในชุมชนลงสำรวจพื้นที่และสถานการณ์พลังงานบนเกาะบูโหลนดอน ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล และหารือร่วมกับประชาชนในพื้นที่เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อลดค่าใช้จ่ายน้ำมันจากเครื่องยนต์ปั่นไฟซึ่งก่อมลภาวะทางอากาศและเสียง สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และร่วมสร้างระบบการบริหารจัดการโครงการผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยได้ข้อสรุปจากความเห็นจากที่ประชุมว่าการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในพื้นที่ควรเป็นระบบโซล่าโฮมแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง ๑๒ โวลต์ เนื่องจากดูแลรักษาง่ายและระบบมีความปลอดภัยสูงต่อผู้ใช้งาน (Solar Home System ๑๒ VDC) แบบแยกอิสระแต่ละครัวเรือน โดยงบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์แบบให้เปล่าจะได้รับการสนับสนุนจาก สถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย Direct Aid Program (DAP) โครงการทุนสนับสนุนโดยตรง เป็นโครงการทุนสนับสนุนขนาดเล็กที่มุ่งส่งเสริมโครงการด้านการพัฒนา เป็นทุนที่ให้ประโยชน์โดยตรงแก่ผู้ต้องการความช่วยเหลือในชุมชน รวมทั้งกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ผ่านผู้รับผิดชอบโครงการคือองค์กร ReCharge แต่จะให้ชุมชนมีการเก็บเงินเข้ากองทุนหมุนเวียนผ่านในการซ่อมบำรุงและขยายผลโดยชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการเพื่อให้เกิดความยั่งยืน เพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบการใช้พื้นที่ของสำนักอุทยานที่ไม่อนุญาตให้มีการทำโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่นการปักเสาลากสายแบบไมโครกริด **เวทีที่ ๑\_ วันที่ ๖-๗ มีนาคม ๒๕๖๓ การลงพื้นที่บ้านเกาะบูโหลนดอน จ.สตูล :** โดยใช้ขั้นตอนการมีส่วนร่วมระดับที่ ๑ คณะทำงานมีการจัดเวทีประชุมชี้แจงให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ (To Inform) และมีการลงพื้นที่สามารถสรุปความสำคัญของปัญหาการใช้ไฟฟ้าของหมู่บ้านเกาะบูโหลนดอน ดังนี้ ปัจจุบันยามค่ำคืน ชุมชนใช้ไฟฟ้าจากเครื่องปั่นไฟขนาด ๕๐ กิโลวัตต์ (kW) จ่ายไฟฟ้าให้กับครัวเรือนประมาณ ๘๐ ครัวเรือน ระหว่างช่วงเวลา ๑๘.๐๐ น. ถึง ๒๓.๐๐ น. เป็นช่วงเวลา ๕ ชั่วโมงแห่งความสุขของชาวบ้าน มีแสงสว่าง ได้ดูทีวี ใช้พัดลมคลายร้อน บางบ้านได้ใช้เครื่องซักผ้า โดยชุมชนเหมาจ่ายค่าไฟเฉลี่ยประมาณ ๔๕๐-๗๐๐ บาท ต่อครัวเรือนต่อเดือน รวมทั้งค่าน้ำแข็งเฉลี่ย เดือนละ ๘๐๐-๑,๐๐๐ บาท แม้แรงดันไฟฟ้าจะต่ำเพียง ๑๑๐ โวลต์ เนื่องจากสภาพเครื่องยนต์ที่ทรุดโทรมจากการใช้งานมานาน ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าบางตัวที่ต้องการแรงดันกระแสสลับมาตรฐานเกิดการชำรุดเสียหาย สรุปรูปแบบกระบวนการ (Model) โดยใช้ขั้นตอนการมีส่วนร่วมระดับที่ระดับที่ ๒ การเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการ/การปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ อย่างอิสระและเป็นระบบ โดยหน่วยงานภาครัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น การปรึกษาหารือ ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ และนำข้อเสนอแนะ ความคิดเห็น ประเด็นที่ประชาชนเป็นห่วงไปเป็นแนวทางการปรับปรุงนโยบาย การตัดสินใจ และพัฒนาวิธีการปฏิบัติงานในหน่วยงาน (To Consult) ข้อสรุปจากเวทีมี ดังนี้ งบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์แบบให้เปล่าจะได้รับการสนับสนุนจาก สถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย Direct Aid Program (DAP) โครงการทุนสนับสนุนโดยตรง เป็นโครงการทุนสนับสนุนขนาดเล็กที่มุ่งส่งเสริมโครงการด้านการพัฒนา เป็นทุนที่ให้ประโยชน์โดยตรงแก่ผู้ต้องการความช่วยเหลือในชุมชน รวมทั้งกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ผ่านผู้รับผิดชอบโครงการคือองค์กร ReCharge การพัฒนากองทุนหมุนเวียน Solar Home System. เกาะบูโหลนดอน จ.สตูล เป็นอีกแนวทางในการใช้พลังงานแสงอาทิตย์และแบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูง (LiFePo๔) เพื่อนำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรง DC ๑๒ V ที่ประหยัดพลังงาน ปลอดภัย บำรุงรักษาง่าย ใช้ได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ชุมชนสามารถเลือกขนาดของระบบได้ตามความต้องการและความสามารถในการจ่ายเงิน โดยสนับสนุนให้ชุมชนรวมกลุ่มกันเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม มีการเก็บเงินค่าบำรุงระบบรายเดือนด้วยระบบเติมเงินจ่ายก่อนใช้ (Pay As You Go) เป็นการผ่อนชำระอุปกรณ์ เพื่อให้มีรายได้สำหรับการซ่อมบำรุง เปลี่ยนอุปกรณ์ให้สมาชิกตามรอบอายุการใช้งาน เกิดกองทุนหมุนเวียนพลังงานชุมชนยั่งยืน สามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุดติดตั้งระบบสาธิตในชุมชนเพื่อการเรียนรู้การใช้งานจริงของระบบ Solar Home System เวทีที่ 2 : ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงครั้งที่ 2 วันที่ 15-17 ก.ค. 2563 นายวิชาญกรณ์ ประภาวิทย์ พลังงานจังหวัดสตูล นำทีมงานเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานทดแทนบนเกาะ (Solar home system) เกาะบุโหลนดอน จ.สตูล ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงครั้งที่ 2 วันที่ 15-17 ก.ค. 2563 โดยใช้รูปแบบการจัดการความยั่งยืนผ่านกลุ่ม โครงการนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนสำหรับจัดหาอุปกรณ์ เทคโนโลยี โดย ทุนสนับสนุนโดยตรง สถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย (Australia’s Direct Aid Program in Thailand) งบประมาณสนับสนุนด้านการจัดการความรู้ การลงพื้นที่ โดย องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) โครงการด้านพลังงาน ภายใต้แผนงานความร่วมมือไทย-เยอรมัน Thai-German Climate Programme (TGCP) ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดำเนินงานโดย องค์กรพัฒนาเอกชน ReCharge Energy และ สำนักส่งเสิรมการมีส่วนร่วมของประชาชน กระทรวงพลังงาน โดยเนื้อหาในการจัดประชุมจะชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการรวมกลุ่มเพื่อบริหารจัดการโครงการ ด้วยการเก็บเงิน/ออกรหัสใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ (Pay As You Go) รายเดือนเข้ากลุ่มเป็นกองทุนหมุนเวียนพลังงานยั่งยืน เพื่อซ่อมบำรุง ขยายผล การใช้พลังงานงานทดแทน 100% หัวข้อการประชุมมีดังนี้ 1. ประชุมจัดตั้งกลุ่มบริหารจัดการ โครงสร้างคณะทำงาน 2. รับสมัครสมาชิก 3. จัดทำระเบียบกลุ่ม 4. ความรู้เชิงเทคนิค โหลด/ชั่วโมงการใช้งานของอุปกรณ์ การรับประกัน 5. ชี้แจงขนาดของระบบ SHS ของครัวเรือน (S,M,L) และการเก็บเงินผ่านระบบ (Pay As You Go) รายเดือนเข้ากลุ่มเป็นกองทุนหมุนเวียนพลังงานยั่งยืน เพื่อซ่อมบำรุง ขยายผล การใช้พลังงานงานทดแทน 100% อ่านความเป็นมาโครงการเพิ่มเติม : http://ppp.energy.go.th/สสช-\_เกาะบุโหลน/ การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานทดแทนบนเกาะ (Solar home system) ภายใต้แนวคิด “พลังงานสร้างคน คนสร้างพลังงานยั่งยืน” หมายถึง การพัฒนาชุมชน โดยเน้น ประเด็นพลังงานเป็นตัวขับเคลื่อน บนความเชื่อมั่นว่าชุมชนมีศัยภาพในการเรียนรู้ เพื่อนำพลังกลุ่มมาจัดการพลังงานอย่างยั่งยืน ขอเพียงเปิดโอกาส สร้างพื้นทีี่การพูดคุยแลกเปลี่ยน การเข้าถึง ความรู้ ทักษะ เทคโนโลยีที่เหมาะสมผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม โดยชุมชนเป็นผู้ตัดสินใจกำหนดแนวทางการใช้พลังงานสะอาดเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต บนพื้นฐานการพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมสร้างพลังกลุ่ม เพื่อจัดการพลังงานยั่งยืน ในรูปแบบกองทุนหมุนเวียนพลังงานชุมชน ที่รวมการบริหารจัดการในชุมชนอย่างครบวงจร ในด้านการเก็บเงิน PAYGO รายเดือน การจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนซ่อมบำรุง การตั้งร้านค้าสหกรณ์จำหน่ายสินค้าอะไหล่อุปกรณ์โซล่าโฮม การพัฒนาทักษะช่างชุมชน ทักษะการทำโมเดลธุรกิจชุมชน การบริการ/รับประกันหลังการขายที่ได้มาตราฐานเชื่อถือได้ เป็นต้น **เวทีที่ 3 : ชี้แจงจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ครัวเรือน (Solar home system)** ลงพื้นที่ครั้งที่ 3 วันที่ 22-25 สิงหาคม 2563 เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานทดแทนบนเกาะ (Solar home system) เกาะบุโหลนดอน จ.สตูล ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงครั้งที่ 3 วันที่ 22-25 ส.ค. 2563 (ภาคการติดตั้งระบบ) โดยใช้รูปแบบการจัดการความยั่งยืนผ่านกลุ่ม โครงการนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนสำหรับจัดหาอุปกรณ์ เทคโนโลยี โดย ทุนสนับสนุนโดยตรง สถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย (Australia’s Direct Aid Program in Thailand) งบประมาณสนับสนุนด้านการจัดการความรู้ การลงพื้นที่ โดย องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) โครงการด้านพลังงาน ภายใต้แผนงานความร่วมมือไทย-เยอรมัน Thai-German Climate Programme (TGCP) ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดำเนินงานโดย องค์กรพัฒนาเอกชน ReCharge Energy และ สำนักส่งเสิรมการมีส่วนร่วมของประชาชน กระทรวงพลังงาน อ่านความเป็นมาโครงการเพิ่มเติม : http://ppp.energy.go.th/สสช-\_เกาะบุโหลน/ การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานทดแทนบนเกาะ (Solar home system) ภายใต้แนวคิด “พลังงานสร้างคน คนสร้างพลังงานยั่งยืน” เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานทดแทนบนเกาะ กรณีโครงการ เกาะจิก จ.จันทบุรี และ เกาะบุโหลนดอน จ.สตูล แผนที่เกาะบุโหลนดอน : https://www.google.com/maps/d/u/0/edit?mid=1cY35WK0PVyC9hEWPo1Mwo\_xK4tua-IOO&fbclid=IwAR3qHPrgFjMFouJb3RqR2qRwqx\_jUgZrswHdAXvxeQKfhxpaH11OtwZNYQE https://www.google.com/maps/d/u/0/edit?mid=1cY35WK0PVyC9hEWPo1Mwo\_xK4tua-IOO&fbclid=IwAR3qHPrgFjMFouJb3RqR2qRwqx\_jUgZrswHdAXvxeQKfhxpaH11OtwZNYQE ประชุมกลุ่มพลังงานทดแทนบ้านเกาะบุโหลนดอนและการออมเพื่อความยั่งยืน ประเด็นประชุมคืนนี้ 1. ทบทวนการประชุมบ่ายที่ผ่านมา 2. นำเสนอรายชื่อโครงสร้างคณะทำงาน กรรมการ final เปิดตัวคนเก็บเงิน และตัวแทน 3 คนเปิดบัญชีกองทุนพลังงานทดแทนบ้านเกาะจิก 3. สรุปผลประกอบการสถานีชาร์จแบตเตอรี่ พร้อมมอบเงินรายได้เข้ากลุ่ม 4. เก็บเงินมัดจำผู้ใช้ระบบ 5. แนวทางการต่อยอดกองทุนพลังงานทดแทนกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตครบวงจร วันนี้สามารถจัดตั้งกลุ่มสำเร็จเรียบร้อย ครบองค์ประกอบครับ มีสมาชิกกลุ่มตั้งต้น 11 คน มีชื่อกลุ่ม “พลังงานทดแทนบ้านเกาะบุโหลนดอนและการออมเพื่อความยั่งยืน” มีคณะทำงานประกอบด้วย 1.ประธานกลุ่ม 2.รองประธานกลุ่ม 3.เหรัญญิก 4.เลขานุการ 5.หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบ 6.รองหัวหน้าฝ่ายตรวจสอบ มีกฎระเบียบ​และกิจกรรมคือ 1. เก็บเงินค่าบริการทุกๆ 30 วัน 2. เก็บเงินรวมกันที่เหรัญญิกกลุ่ม เพื่อออกรหัสเติมเงินและทำบัญชีกลุ่มที่สามารถตรวจสอบได้ 3. ตั้งค่าใช้จ่ายให้เหรัญญิก​ 10 บาทต่อระบบ 4. ต้องมัดจำ 3 เดือนก่อนติดตั้ง 5. หากผิดชำระ 3 เดือน สมาชิกต้องคืนระบบให้กับกลุ่ม 6. คณะทำงาน มีวาระ 2 ปีต้องเลือกตั้งใหม่ 7. เปิดบัญชี​กลุ่มแบบมีอำนาจลงนาม 2 ใน 3 คือมีประธาน รองประธาน และ เหรัญญิก 8. มีการจัดประชุมทุกๆ เดือน โดยมีวัตถุประสงค์​คือ รายงานผลประกอบการ​ และให้ฝ่ายตรวจสอบนำการตรวจสอบ สรุปการลงพื้นที่ครั้งที่ 3 วันที่ 22-25 ส.ค. 63 คณะทำงาน ReCharge สสช. GiZ ผู้ใหญ่บ้านเกาะจิก ผู้เชี่ยวชาญด้านโซลาร์โฮม **กิจกรรมที่ดำเนินการ** -ติดตั้งระบบโซลาร์โฮม 15 ระบบ (M 13ตัว EVO 2ตัว) -หมุดแผนที่ของทั้งหมดอัพเดทเป็นเลเยอร์ในMymaps รันเลขตามบัญชีระบบกลุ่ม -คณะกรรมการจัดตั้งแล้ว มีก๊ะตาเป็นผู้เก็บตังคนเดียว -ระเบียบกลุ่มและการประชุม ทางคณะได้หารือกับชุมชนในคืนที่หนึ่งและสอง (ได้คำแนะนำจากทางผู้ใหญ่แต๊กมาช่วย) -บัญชีออมสินเปิดที่สาขาละงู มีสองบัญชี บัญชีหลัก(ประมาณหมื่นกว่าบาท) และบัญชีออม (พันบาท) -โปรเจคcommunication ถ่ายภาพและสัมภาษณ์ตามเป้า เหลือของรอบติดตาม -การดำเนินงานคือทางคณะทำงานติดตั้งแผง ตั้งเสาหรือวางบนหลังคา และลากสายไฟเข้าหาแบต -มีการเก็บเงินค่าcharging stationเข้าเงินกลุ่ม -Evoใช้กับตู้เย็นหรือcharging station -ระบบทั้งหมดที่เข้าร่วม ปลดระบบคืนที่24 โดยทีมงานที่นอนบนเกาะ -มีผู้สนใจเข้าร่วมอีกอย่างน้อย 5 ราย แต่ไม่ได้เข้าร่วม เนื่องจากระบบไม่พอและบางคนไม่มีตังค่ามัดจำ **ขั้นตอนถัดไป** -วางแผนการลงพื้นที่ครั้งถัดไป อาจจะมีการติดตั้งสั้นๆ ต้นเดือนตุลาคมก่อนจะมีการลงพื้นที่เพิ่อติดตาม -ติดตามการเก็บตัง และกลุ่ม -ทำไวนิลการคำนวณระบบและขนาดpackage ขนาดA3 -การถ่ายทำวีดีโอในส่วนติดตามและสัมภาษคนที่เหลือ **แนวทางการพัฒนาก้าวต่อไป** -ในการต่อยอดต่อไป เราสามารถนำโมเดลแบบเกาะไปใช้กับชุมชนห่างไกลบนดอยที่มีรายได้ต่ำกว่ามั้ย หรือต้องมีปัจจัยอะไรในการคำนวณโมเดล -เป็นไปได้มั้ยที่จะดำเนินการสร้างกระบวนการสร้างกลุ่ม หรือพัฒนากลุ่มในลักษณะนี้เพื่อรองรับคนที่มาสนับสนุน แทนที่จะใช้เงินAus AID อาจจะใช้เงินของกระทรวงเองในการลงทุนตอนแรก (แต่ต้องมีการเตรียมพร้อมชุมชนก่อน) -การลงพื้นที่ครั้งนี้ ความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่แต๊ะสำคัญมาก โดยเฉพาะการเข้าหาออมสินในระดับเขตแบบนั้น เพื่อทำให้การดำเนินงานราบรื่น อาจจะต้องเป็นวิธีการที่กระทรวงต้องหาประสบการณ์และconnectionในเรื่องพวกนี้ไว้ ทั้งทางการ และไม่ทางการ **เวทีที่ 4 ระหว่างวันที่ 21-24 ตุลาคม 2563** ทางโครงการรีชาร์จเกาะบูโหลนดอนร่วมกับสำนักส่งเสริมการ มีส่วนร่วมของประชาชน กระทรวงพลังงาน นาฐานะที่ปรึกษาโครงการเข้าร่วมเดินทางลงพื้นที่ติดตั้งระบบโซลาร์โฮมและอบรมชุมชนครั้งที่ 4 ระหว่งวันที่ 21-24 ตุลาคม 2563 โดยมีกิจกรรมที่ทำร่วมกับชุมชน เช่น อบรมช่างชุมชนในการติดตั้งชุดโซลาร์โฮมขนาดกลาง ติดตามการติดตั้งของช่างชุมชน อบรมการใช้แอพพลิเคชั่นมือถือในการออกรหัสเติมเงิน อบรมช่างชุมชนในการติดตั้งชุดโซลาร์โฮมขนาดใหญ่ Wifi บริการอินเตอร์เน็ตชุมชน ประชุมกลุ่มพลังงานทดแทน ฯ บ.เกาะบูโหลนดอน โดยกลุ่มพลังงานทดแทนและการออมเพื่อความยั่งยืนบ้านเกำะบูโหลนดอนมี ผลการดำเนินงานของกลุ่ม ประจำเดือนเดือน 24 ต.ค. – 23 พ.ย. 2563 ดังนี้ **รายรับ** – สมาชิกใหม่ติดตั้งระบบเพิ่ม 13 ระบบ แบ่งเป็นแบตเตอรี่ชุดกลาง 12 ระบบ และ ชุดสถานีชาร์จ 1 ระบบ เก็บเงินมัดจำจากสมาชิกใหม่ได้ 8,700 บาท – สมาชิกเดิม ที่เพิ่มทีวีมีจำนวน 8 เครื่อง เก็บค่ามัดจำทีวีจากสมาชิกเดิม 2,880 บาท – สมาชิกเดิมจ่ายค่าบริการรายเดือนให้กลุ่ม 3,980 บาท รวมรายรับของกลุ่ม บัญชีเดือนต.ค. 2563 เท่ากับ 15,560 บาท **รายจ่าย** – ค่าแรงของช่างชุมชนที่ติดตั้งระบบโซลาร์โฮมใหม่ทั้งหมด 4,400 บาท – ค่าติดตั้งจานดาวเทียมสำหรับบ้านที่มีระบบแล้ว 200 บาท รวมรายจ่ายของกลุ่ม บัญชีเดือนต.ค. 2563 เท่ากับ 4,600 บาท คงเหลือเข้าบัญชีธนาคารกลุ่ม รายรับ 15,560 – รายจ่าย 4,600 = มีกำไรสะสมอยู่ที่ 10,960 บาท **เวทีที่ 5 วันที่ 21-24 พฤศจิกายน** 2563 http://ppp.energy.go.th/ausaid/ 1.ต้อนรับคณะจากสถานฑูตออสเตรเลียผู้ให้การสนับสนุนงบประมาณโครงการ สรุปบทเรียนผลการดำเนินงาน 2.อบรมการใช้แอพพลิเคชั่นมือถือในการออกรหัสเติมเงิน อบรมช่างชุมชนในการติดตั้งชุดโซลาร์โฮมขนาดใหญ่ระบบตู้แช่แข็ง ระบบ Wifi บริการอินเตอร์เน็ตชุมชน ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน กลุ่มพลังงานทดแทน ฯ บ.เกาะบูโหลนดอน ระบบ SHS + Lifepo4 ที่ติดตั้งบนเกาะบุโหลนดอนรวมทั้งหมด 26 ครัวเรือน (39 ระบบ) ผ่านระบบเติมเงินแบบ Pay-As-You-Go แบ่งประเภทระบบได้ดังนี้ 1.) ระบบพื้นฐาน 12 VDC ใช้ กับ TV หลอดไฟ พัดลม, PV 50 W+Lifepo4 battery 120 W 2.) ระบบพื้นฐาน+สร้างรายได้ สถานีชาร์จ Power bank, PV 200 W +Lifepo4+Lead acid battery 1 kWh. W + Power bank 10000 mAh. 12 ก้อน 3.) ระบบตู้แช่ 9 คิว ร้านค้าชุมชน PV 800 W +Lifepo4 1.8 kWh. ผลการดำเนินงานของกลุ่ม เดือน พ.ย. 2563 กลุ่มพลังงานทดแทนและการออมเพื่อความยั่งยืน บ้านเกาะบุโหลนดอน จ.สตูล รายรับ – สมาชิกติดตั้งระบบเพิ่ม 11 ระบบ แบ่งเป็นแบตเตอรี่ชุดกลาง 8 ระบบ และ ชุดตู้แช่ 3 ระบบ เก็บเงินมัดจำได้ 16,740 บาท – สมาชิกเดิมจ่ายค่าบริการรายเดือนให้กลุ่ม 7,840 บาท \*รวมรายรับของกลุ่ม บัญชีเดือนพ.ย. 2563 เท่ากับ 24,580 บาท\* รายจ่าย – ค่าแรงของช่างชุมชนที่ติดตั้งระบบโซลาร์โฮมใหม่ทั้งหมด 4,200 บาท – ค่าซื้ออุปกรณ์เครื่องมือช่าง 230 บาท \*รวมรายจ่ายของกลุ่ม บัญชีเดือนพ.ย. 2563 เท่ากับ 4,430 บาท\* คงเหลือเข้าบัญชีธนาคารกลุ่ม \*รายรับ 24,580 – รายจ่าย 4,430 = 20,150 บาท\* **เวทีที่ 6 วันที่ 26 มีนาคม 2564** : นายทวารัฐ สูตะบุตร หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เยี่ยมชมผลการดำเนินงานโครงการโซล่าโฮม บ้านเกาะบูโหลนดอน ม.3 ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล ชุมชนแห่งแรกของประเทศไทย กับโซล่าโฮมแบบเติมเงิน Pay-As-You-Go โดยมีคณะติดตามประกอบด้วย 1.สำนักงานพลังงานจังหวัดสตูล 2.องค์กรระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) 3.สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กระทรวงพลังงาน 4.องค์กรวิสาหกิจเพื่อสังคม ReCharge 5. อบต.ปากน้ำ โครงการส่งเสริมโซล่าโฮมชุมชน บ้านเกาะบูโหลนดอน ถือเป็นนวัตกรรมการสานพลังประชารัฐเพื่อส่งเสริมชุมชนต้นแบบ การบริหารจัดการพลังงานที่ดี ผลงานความร่วมมือระหว่าง กระทรวงพลังงาน (สสช.) ReCharge GIZ สพจ.สตูล และเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน โดยที่ผ่านมาได้มีการลงพื้นที่เป้าหมายเพื่อใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระหว่างเดือน มีนาคม 2563 – มีนาคม 2564 รวมระยะเวลา 1 ปี ภายใต้ทุนสนับสนุนโดยตรง สถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย Direct Aid Program (DAP) โครงการทุนสนับสนุนโดยตรง เป็นโครงการทุนสนับสนุนขนาดเล็กที่มุ่งส่งเสริมโครงการด้านการพัฒนา เป็นทุนที่ให้ประโยชน์โดยตรงแก่ผู้ต้องการความช่วยเหลือในชุมชน รวมทั้งกลุ่มผู้ด้อยโอกาส และทุนสนับสนุนการดำเนินงานของบุคลากรจากโครงการด้านพลังงาน ภายใต้แผนงานความร่วมมือไทย-เยอรมันด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Thai-German Climate Programme: Energy: TGCP-Energy) โดยมีการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับภาคประชาชนในพื้นที่เพื่อบริหารจัดการระบบโซลาร์โฮม และรูปแบบการชำระเงินค่าไฟฟ้ารายเดือน หรือ ระบบ pay-as you-go ที่มีการบริหารโดยกลุ่มพลังงานทดแทนและการออมเพื่อความยั่งยืน บ้านเกาะบูโหลนดอน โดยนายทวารัฐ หน.ผตร.ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่นวกับการพัฒนาโครงการว่าตอนนี้มีครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการประมาณ 30% ของครัวเรือนทั้งหมด จึงควรพัฒนาขยายผลต่อให้เกาะบูโหลนดอนเป็นเกาะพลังงานสะอาดครบ 100% บนพื้นฐานความพอเพียง โดยเชื่อมโยงบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานให้เกิดพลังโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง **เวทีที่ 7 บันทึกการประชุมกลุ่มฯเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2564** เริ่มประชุม 15.00 น. วาระที่ 1 เพื่อทราบ : เรื่องสรุปผลการใช้งานระบบโซล่าโฮมของสมาชิก : - จากการพูดคุยในที่ประชุมพบว่า สมาชิกบางคนเลิกใช้ไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าดีเซลชุมชน เพราะโซล่าโฮมเพียงพอต่อการใช้ ส่วนบางคนยังใช้ทั้งไฟฟ้าจากโซล่าโฮมและโรงไฟฟ้าดีเซลชุมชนเพราะ ช่วงมรสุมแสงแดดน้อยไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ไม่พอใช้ บางคนมีญาตมาอาศัยอยู่ด้วยทำให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และเนื่องจากช่วงนี้คุณภาพแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตกลงต่ำกว่า 220 V เหลือ 110-130 V อาจส่งผลต่อการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ดังนั้นอยากให้สังเกตอาการอุปรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านและหยุดใช้หากเกิดเหตุการณ์แรงดันไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าดีเซลตกต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งในกรณีนี้ไฟฟ้าจากโซล่าโฮมที่ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรง 12 VDC จะมีความมั่นคงปลอดภัยกว่า โดยที่ปรึกษาให้ความเห็นว่าต่อไปในอนาคตชุมชนอาจเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคของการใช้พลังงานทดแทน 100% ทั้งทาวน์เฮ้าส์ มติที่ประชุม : รับทราบ วาระที่ 2 เพื่อพิจารณา : สรุปผลประกอบการและแนวทางการขยายผลการใช้ระบบโซล่าโฮมให้เพียงพอต่อความต้องการสมาชิก ในประเด็นนี้เลขานุการก๊ะนะได้นำเสนอสรุปผลการประชุมออนไลน์กับที่ปรึกษา เมื่อวันที่ 1 ต.ค. ให้ขอมติสมาชิกในที่ประชุมเห็นชอบการขอรับทุนสนับสนุนแบบส่งคืนภายใน 1 ปีเพื่อขยายกิจการของกลุ่มพลังงานทดแทนฯ บ้านเกาะบูโหลนดอน รายละเอียดตามบันทึกข้อตกลงการขอรับทุนสนับสนุนแบบทยอยส่ง สนับสนุนโดย องค์กรธุรกิจเพื่อสังคม ReCharge มติที่ประชุม : เห็นชอบให้ขอรับทุนสนับสนุน ปิดการประชุม 16.00 น. เวทีที่ 8 บันทึกการประชุม วันที่ 10 ธ.ค. 64 เริ่มประชุมเวลา 20.00 น. วาระ 1 : เลขาฯแจ้งที่ประชุมทราบ 1.1 บันทึกข้อตกลงขอรับทุน 1.2 แสน 1 ปี เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 64 มติ : ทราบ วาระ 2 พิจารณาทบทวนโครงสร้างและกฏระเบียบ 2.1 รองประธานติดภารกิจเสนอให้พี่สาวปฏิบัติหน้าที่แทนในการประสานงานคุ้มดาหรา และช่วยงานประธานตามที่ได้รับมอบหมายเป็นระยะเวลา 4 เดือนก่อนเลือกตั้งใหม่ 2.2 ให้สมาชิกมาจ่ายค่าระบบ วันที่ 25 ไม่เกิน 12.00 น. โดยพร้อมเพรียงกันและสามารถรับรหัสได้ถึงเวลา 20.00 น. 2.3 ค่าย้ายระบบราคาเท่ากับค่าติดตั้งใหม่ 2.4 ปิดรับสมัคร 1 ปี จนกว่าจะส่งคืนทุนหมุนเวียนจนครบ 1.2 แสนยานุภาพ 2.5 ห้ามนำกล่องแบตเตอรี่ออกนอกพื้นที่เกาะ 2.6 สมาชิกสามารถตัดชำระค่าอุปกรณ์ได้หลายครั้งแต่ต้องให้ครบก่อนวันที่ 25 ของทุกเดือน 2.7 สมาชิกสามารถจ่ายล่วงหน้าได้หลายเดือนโดยกลุ่มจะออกรหัสปลดล็อคครั้งเเล้ว มติ : รับทราบ วาระ 4 อื่นๆ 4.1 กองศึกษาและพัฒนาโรงไฟฟ้าฐานกระทรวงพลังงาน เชิญคณะกรรมการกลุ่มเข้าร่วมประชุมคณะทำงานไฟฟ้าพื้นที่ห่างไกล วันที่ 20 ธ.ค. เวลา 8.30-12.00 น. 4.2 สมาชิกสามารถไปรับของให้กลุ่มได้โดยกลุ่มมีค่าดำเนินการให้ 4.3 ให้สมาชิกนำสติกเกอร์ปิดทับปุ่มกดดูสถานะแบตป้องกันความชื้น ปิดประชุมเวลา 21.00 น.
{'url': 'https://data.go.th/dataset/pblpp_dataset_22_01', 'title': 'รายงานการประชุมสร้างความเข้าใจการพัฒนากิจการไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกล บ้านเกาะบุโหลนดอน', 'license': 'Open Data Common'}
**ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น** **1. ความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาระดับมหภาค** **1.1 แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561 – 2580)** ยุทธศาสตร์ชาติที่จะใช้เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาในระยะ 20 ปีต่อจากนี้ไป ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง 2. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 4. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคทางสังคม 5. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6. ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ **1.2 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12** **ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ มี 10 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย** ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ และ ธรรมาภิบาลในสังคมไทย ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ ยุทธศาสตร์ที่ 8 การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ยุทธศาสตร์ที่ 9 การพัฒนาภูมิภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์ที่ 10 ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา **1.3 แผนพัฒนาภาค/แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด/แผนพัฒนาจังหวัด** **1.3.1 แผนพัฒนาภาคเหนือ พ.ศ. 2560 – 2565 ฉบับทบทวน** **เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์** : พัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูง เชื่อมโยงเศรษฐกิจ กับ ประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง **ยุทธศาสตร์ที่ 1** พัฒนาการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการต่อเนื่องให้มีคุณภาพ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม อย่างยั่งยืน และกระจายประโยชน์อย่างทั่วถึง รวมทั้งต่อยอดการผลิตสินค้าและบริการ ที่มีศักยภาพสูงด้วยภูมิปัญญาและนวัตกรรม **ยุทธศาสตร์ที่ 2** ใช้โอกาสจากเขตเศรษฐกิจพิเศษ และการเชื่อมโยงกับอนุภูมิภาค GMS BIMSTEC และ AEC เพื่อขยายฐานเศรษฐกิจของภาค **ยุทธศาสตร์ที่ 3** ยกระดับเป็นฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย เชื่อมโยงสู่อุตสาหกรรม เกษตรแปรรูปที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูง **ยุทธศาสตร์ที่ 4** พัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาความยากจน พัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ยกระดับทักษะฝีมือแรงงานภาคบริการ **ยุทธศาสตร์ที่ 5** อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำให้คงความสมบูรณ์ จัดระบบบริหารจัดการน้ำอย่าง เหมาะสมและเชื่อมโยงพื้นที่เกษตรให้ทั่วถึง ป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควัน อย่างยั่งยืน **1.3.2 แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 แผน 5 ปี (พ.ศ.2561 – 2565)** **เป้าหมายการพัฒนา “**ศูนย์กลางสินค้าเกษตรปลอดภัยที่มีนวัตกรรม การท่องเที่ยวธรรมชาติ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมล้ำค่า ยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน” **ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 (พ.ศ.2561-2564)** | | | --- | | **ตำแหน่งการพัฒนา (Positioning)** | | 1. การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัย เพิ่มมูลค่าและนวัตกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค | 2. การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวธรรมชาติประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของนักท่องเที่ยวในระดับสากล | | **เป้าหมายการพัฒนา****“**ศูนย์กลางสินค้าเกษตรปลอดภัยที่มีนวัตกรรม การท่องเที่ยวธรรมชาติ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมล้ำค่า ยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน**”** | | **พันธกิจ** (Mission) | **เป้าประสงค์** (Goal) | | 1. ผลิตและแปรรูปข้าว สินค้าเกษตรปลอดภัยและอินทรีย์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน โดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีเพิ่มมูลค่า 2. พัฒนาการตลาดการค้าข้าวและสินค้าเกษตรสู่ตลาดเป้าหมาย ทั้งในและต่างประเทศ 3. พัฒนาการท่องเที่ยวธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เชิงสุขภาพ ตลาดไมซ์ (MICE) เพื่อให้ได้มาตรฐานสากล | 1. ผลผลิตข้าวและสินค้าเกษตรปลอดภัยและอินทรีย์ แปรรูป ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพิ่มมูลค่า มีคุณภาพมาตรฐาน 2. เพิ่มช่องทางการตลาดค้าข้าวและสินค้าเกษตรสู่ตลาดเป้าหมายสากล 3. เชื่อมโยงการท่องเที่ยวธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมเชิงเกษตรและเชิงสุขภาพ ตลาดไมซ์ (MICE) เพื่อให้ได้มาตรฐานสากลและชุมชนมีส่วนร่วม | | **ประเด็นการพัฒนา** | | 1. พัฒนากระบวนการผลิต การแปรรูป การตลาดของสินค้าเกษตรปลอดภัยและอินทรีย์ด้วยนวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน | 2. พัฒนาศักยภาพทางการท่องเที่ยว ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิตอลเพื่อคนทั้งมวล | | **ตัวชี้วัดตามประเด็นการพัฒนา** | | 1. ผลผลิตต่อไร่และจำนวนผลิตภัณฑ์ของสินค้าเกษตร ปลอดภัย และเกษตรแปรรูปได้มาตรฐานเพิ่มขึ้น (ปีละ 2%) 2. พื้นที่การผลิตเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐานเพิ่มขึ้น(ปีละ 2%) 3. ร้อยละของเกษตรปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน (ปีละ 2%) 4. ร้อยละของเครือข่าย/กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เข้าร่วมโครงการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยเพิ่มขึ้น (ปีละ 2%) 5. รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยีเพิ่มมูลค่า เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (ปีละ 2%) | 1. ร้อยละของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น (ปีละ 3%) 2. ร้อยละของรายได้จากการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น (ปีละ 3%) | | | | --- | | **แนวทางการพัฒนาตามประเด็นการพัฒนา** | | 1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แหล่งน้ำ และระบบบริหารจัดการน้ำ เพื่อการขนส่ง และระบบโลจิสติกส์ สำหรับรองรับการค้า การลงทุน การเกษตร และการท่องเที่ยว 2. พัฒนากระบวนการผลิต แปรรูป การตลาด ข้าว/สินค้าเกษตรปลอดภัยและอินทรีย์ได้มาตรฐาน เพื่อมุ่งสู่เกษตรอินทรีย์ ตามความเหมาะสมของพื้นที่ (Zoning) 3. ยกระดับคุณภาพชีวิตบุคลากรด้านการเกษตร 4. ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้นวัตกรรม เพื่อแปรรูปข้าวและสินค้าเกษตรในการยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันทางการค้าของกลุ่มจังหวัด | 1. พัฒนา/ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว และเส้นทางการเชื่อมการท่องเที่ยว ตามมาตรฐานการท่องเที่ยว 2. พัฒนาสินค้า บริการและปัจจัยสนับสนุนการท่องเที่ยวให้ได้ ระดับมาตรฐาน 3. พัฒนาการตลาดการท่องเที่ยว 4. พัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรด้านท่องเที่ยว | **1.3.3 แผนพัฒนาจังหวัดนครสวรรค์ ฉบับทบทวน (พ.ศ.2561-2565)** **ตำแหน่งจุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning)** 1. เกษตรและอุตสาหกรรม (ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง) 2. การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติ **เป้าหมายการพัฒนาจังหวัดนครสวรรค์** “นครสวรรค์คนธรรมดี สังคมพอเพียง ชุมทางขนส่งทางราง อุตสาหกรรมฐานชีวภาพ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน” **ประเด็นการพัฒนาของจังหวัด** **ประเด็นที่ 1 สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยแนวทางการพัฒนาเมืองสวรรค์** วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) ภาคเกษตร (ด้านเกษตรกรรมและประมง) และนอกการเกษตร (ด้านสุขภาพและกิจกรรมเพื่อสังคม ด้านขนส่งและการเก็บรักษา ด้านการบริการที่พักและกิจกรรมการให้บริการอาหาร ด้านการค้าส่งและค้าปลีก การซ่อมแซมยานยนต์และรถจักรยานยนต์) เป้าหมายและตัวชี้วัด ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) ภาคเกษตร (ด้านเกษตรกรรมและประมง) และนอกการเกษตร (ด้านสุขภาพและกิจกรรมเพื่อสังคม ด้านขนส่งและการเก็บรักษา ด้านการบริการที่พักและกิจกรรมการให้บริการอาหาร ด้านการค้าส่งและค้าปลีก การซ่อมแซมยานยนต์และรถจักรยานยนต์)เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 โดยใช้ฐานปี 2560 แนวทางการพัฒนา 1. เป็นศูนย์กลางด้านการดูแลสุขภาพ (Health and Medical Hub) 2. จัดการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อความก้าวหน้าในอนาคต (Education and Training for the future) 3. ยกระดับเกษตรสู่เกษตรอินทรีย์ (Agriculture and Organic Paradise) 4. วางระบบขนส่งและศูนย์กลางการกระจายสินค้า (Vehicles and Logistics Center) 5. ประสบการณ์ท่องเที่ยวเมืองแห่งความสุข (Experience Tourism) 6. พัฒนาเมืองแห่งดิจิตอลเพื่อการพาณิชย์ (New Digital Commerce) **ประเด็นที่ 2 พัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์และสร้างสังคมพอเพียง** วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น 2. เพื่อให้ประชาชนได้รับสวัสดิการทางสังคมและเข้าถึงระบบการศึกษาและสาธารณสุขอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ 3. เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น 4. เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีการขยายผลจากโครงการอันเนื่องจากพระราชดำริเพิ่มมากขึ้น 5. เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป้าหมายและตัวชี้วัด 1. ร้อยละของการเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจ เบาหวาน หลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง และมะเร็งมีสัดส่วนลดลง อย่างน้อยร้อยละ 2 ต่อปี 2. ร้อยละของประชาชนที่มีสิทธิเข้าถึงหลักประกันสุขภาพทุกระบบ และกองทุนการออมแห่งชาติเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5 ต่อปี 3. สัดส่วนปริมาณเงินกู้ยืมต่อรายได้เงินสดสุทธิทางเกษตรลดลง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ต่อปี 4. ร้อยละของชุมชน และหน่วยงาน ได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและพัฒนาหน่วยงานเพิ่มมากขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 5 ต่อปี 5. อัตราการเกิดคดีอาชญากรรมต่อประชากรแสนคนลดลง อย่างน้อยร้อยละ 5 ต่อปี 6. สัดส่วนคดีที่จับกุมได้ต่อคดีที่รับแจ้งเพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 5 ต่อปี แนวทางการพัฒนา * + - 1. ด้านพัฒนาสุขภาวะ 2. ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิตและครอบครัว 3. ด้านสร้างสังคมการเรียนรู้และวิถีพอเพียง 4. ด้านสร้างความมั่นคงปลอดภัย **ประเด็นที่ 3 บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน**วัตถุประสงค์ * + - 1. เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ฐานข้อมูลในการวางแผนจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. เพื่อให้ทุกภาคส่วนของจังหวัดมีการจัดการขยะอย่างถูกหลักวิชาการ 3. เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4. เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ 5. เพื่อให้จังหวัดมีระบบป้องกันและมีความพร้อมในการรับมือกับสาธารณภัย เป้าหมายและตัวชี้วัด * + - 1. จำนวนระบบฐานข้อมูลการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการ จัดทำอย่างมีคุณภาพและทันสมัยอย่างต่อเนื่อง สามารถใช้ในการวางแผนพัฒนา จังหวัดได้ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย ปีละ 1 ฐาน * + - 1. ร้อยละขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการกำจัดขยะอย่างถูกหลักวิชาการ ร้อยละ 13 ต่อปี 2. ร้อยละของพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 1 โดยเทียบกับพื้นที่ป่าไม้ของจังหวัด 3. ร้อยละของปริมาณการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ต่อปี 4. หมู่บ้านชุมชนได้รับการพัฒนาศักยภาพในการรับมือกับภัยพิบัติโดยการสร้างเขื่อน ริมตลิ่งแม่น้ำ จำนวน 3 แห่ง แนวทางการพัฒนา * + - 1. อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้มีความอุดมสมบูรณ์ 2. จัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม 3. อนุรักษ์พลังงานและพัฒนาการใช้พลังงานทดแทน 4. พัฒนาระบบป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพ **ประเด็นที่ 4 เสริมสร้างธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน** วัตถุประสงค์ * + 1. เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐมีการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลเพิ่มมากขึ้น 2. เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐมีการพัฒนานวัตกรรม เป้าหมายและตัวชี้วัด * + - 1. ร้อยละของผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของ หน่วยงานภาครัฐ (ITA) มีคะแนนสูงขึ้นร้อยละ 5 * + - 1. ร้อยละจำนวนนวัตกรรมภาครัฐ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 5 ต่อปี แนวทางการพัฒนา * + - 1. เสริมสร้างระบบธรรมาภิบาลที่ดี 2. พัฒนานวัตกรรมภาครัฐ 3. ส่งเสริมระบบธรรมาภิบาลที่ดีอย่างยั่งยืน **แผนพัฒนาจังหวัดนครสวรรค์ ฉบับทบทวน (พ.ศ.2561-2565)** | | | --- | | **ตำแหน่งจุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning)** | | เกษตรและอุตสาหกรรม (ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง) | การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติ | | **เป้าหมายการพัฒนาจังหวัดนครสวรรค์**“**นครสวรรค์คนธรรมดี สังคมพอเพียง ชุมทางขนส่งทางราง อุตสาหกรรมฐานชีวภาพ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน**” | | **ประเด็นการพัฒนา** | | 1. สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย แนวทางการพัฒนาแบบเมืองสวรรค์ | 2. พัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ และสร้างสังคมพอเพียง | 3. บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน | 4. เสริมสร้างธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน | | **ตัวชี้วัด (KPI)** | | 1. มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) กิจกรรมด้าน สุขภาพและกิจกรรม เพื่อสังคมสงเคราะห์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 โดยใช้ฐานปี 25602. ร้อยละของผู้ป่วยที่ส่งต่อออกนอกพื้นที่ (Refer Out) ลดลงร้อยละ 10 ต่อปี โดยใช้ฐานปี 25603. ร้อยละของผู้สูงอายุที่รับบริการในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุด้านสุขภาพ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 ต่อปี โดยใช้ฐานปี 25604. ร้อยละของแรงงานที่มีทักษะฝีมือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5 ต่อปี โดยใช้ฐานปี 25605. ร้อยละของจำนวนสถานประกอบการที่เข้าร่วมพัฒนาทักษะและฝีมือ แรงงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5 ต่อปี โดยใช้ฐานปี 25606. จำนวนงานวิจัยและนวัตกรรมด้านการศึกษาเพื่ออนาคต จำนวน 1 ผลงาน7. มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ด้านเกษตรกรรมและประมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 โดยใช้ฐานปี 25608. ร้อยละของพื้นที่แปลงเกษตร/ฟาร์ม ที่ได้รับรองมาตรฐาน GAP (ไร่ต่อปี) หรือมาตรฐานเกษตรปลอดภัย ตลอดจนเกษตรอินทรีย์ ประเภทอื่นๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 ของอัตราจากแปลงเดิมที่ได้รับรองมาตรฐาน9. อัตราการขยายตัวของมูลค่าผลผลิตเกษตรปลอดภัยหรืออินทรีย์เพิ่มขึ้น ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ต่อปี10. ร้อยละของเกษตรกรผู้ทำเกษตรปลอดภัยหรืออินทรีย์ที่ส่งผลผลิตเข้าสู่ ตลาด เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 5 ต่อปี11. ร้อยละของต้นทุนเฉลี่ยพืชหลักลดลง ร้อยละ 1% ต่อปี โดยลดลง 5% ในปี 2565 12. มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 โดยใช้ฐานปี 256013. อัตราการขยายตัวของโครงการก่อสร้างถนน สะพาน หรือสิ่งปลูกสร้าง ที่เกี่ยวข้อง ในทุกระดับ มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาโครงสร้าง ด้านขนส่งทุกระบบระดับชาติและภูมิภาคมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น อย่างน้อย ร้อยละ 3014. ร้อยละของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบโลจิสติกส์เพิ่มขึ้นอย่างน้อย ร้อยละ 5 ในแต่ละปี15. มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ที่พักและบริการด้านอาหาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ฐานปี 256016. จำนวนแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับ แม่เหล็ก 1 แห่ง17. การส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยววัฒนธรรม ประเพณีให้โดดเด่นเพิ่มขึ้น อย่างน้อย 1 งานประเพณีต่อปี18. รายได้จากการท่องเที่ยวไม่น้อยกว่า 4,500 ล้านบาท19. มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์และรถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี โดยใช้ฐานปี 256020. ร้อยละของเครือข่ายและจำนวนผู้ประกอบการที่สามารถดำเนินการค้า ดิจิตอลที่มีความน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นอย่างน้อย ร้อยละ 5 ต่อปี โดยใช้ฐานปี 2560 | 1. ร้อยละของการเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจ เบาหวาน หลอดเลือดสมอง ความดัน โลหิตสูง และมะเร็งรายใหม่มีสัดส่วนลดลง (Incident rate) ลดลงอย่างน้อยร้อยละ 2 ต่อปี (ฐานปี 2560)2. ร้อยละของประชาชนที่มีสิทธิเข้าถึง หลักประกันสุขภาพทุกระบบ และกองทุน การออมแห่งชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี (ฐานปี 2560)3. สัดส่วนปริมาณเงินกู้ยืมต่อรายได้เงินสด สุทธิทางเกษตรลดลง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ต่อปี (ฐานปี 2560)4. ร้อยละของชุมชน และหน่วยงาน ได้น้อม นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการ ดำเนินชีวิตและพัฒนาหน่วยงานเพิ่มมาก ขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 5 ต่อปี (ฐานปี 2560)5. อัตราการเกิดคดีอาชญากรรมต่อประชากร แสนคนลดลง อย่างน้อยร้อยละ 5 ต่อปี (ฐานปี 2560)6. สัดส่วนคดีที่จับกุมได้ต่อคดีที่รับแจ้ง เพิ่มขึ้น ลดลงอย่างน้อยร้อยละ 5 ต่อปี (ฐานปี 2560) | 1. จำนวนระบบฐานข้อมูลการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการ จัดทำอย่างมีคุณภาพและทันสมัยอย่าง ต่อเนื่อง สามารถใช้ในการวางแผนพัฒนา จังหวัดได้ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น อย่างน้อยปีละ 1 ฐาน2. ร้อยละขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการ กำจัด ขยะอย่างถูกหลักวิชาการ อย่างน้อย ร้อยละ 13 ต่อปี (ข้อมูลเดิม อปท. มีการ กำจัดขยะอย่างถูกหลักวิชาการ ร้อยละ 61 คงเหลือ ร้อยละ 39) ร้อยละ 100 ในปี 25653. พื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 1 โดยเทียบกับพื้นที่ป่าไม้ของจังหวัด4. ร้อยละของปริมาณการใช้พลังงานทดแทน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 35. หมู่บ้านชุมชนได้รับการพัฒนาศักยภาพในการ รับมือกับภัยพิบัติโดยการสร้างเขื่อนริมตลิ่ง แม่น้ำ เพิ่มขึ้น ปีละ 3 แห่ง | 1. ร้อยละของผลการประเมินคุณธรรม และความโปร่งใส ในการดำเนินงาน ของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) เพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 5 ต่อปี เมื่อเทียบกับ ปีที่ผ่านมา2. ร้อยละจำนวนนวัตกรรมภาครัฐเพื่อ การพัฒนาท้องถิ่นเพิ่มขึ้น อย่างน้อย ร้อยละ 5 ต่อปีเมื่อเทียบกับปี ที่ผ่านมา | | | | --- | | **แนวทางการพัฒนา** | | 1. เป็นศูนย์กลางด้านการดูแลสุขภาพ (Health and Medical Hub)2. จัดการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อความก้าวหน้าในอนาคต (Education and Training for the future) 3. ยกระดับเกษตรสู่เกษตรอินทรีย์ (Agriculture and Organic Paradise) 4. วางระบบขนส่งและศูนย์กลางการกระจายสินค้า (Vehicles & Logistics Center) 5. ประสบการณ์ท่องเที่ยวเมืองแห่งความสุข (Experience Tourism) 6. พัฒนาเมืองแห่งดิจิตอลเพื่อการพาณิชย์ (New Digital Commerce) | 1. ด้านพัฒนาสุขภาวะ2. ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิตและครอบครัว3. ด้านสร้างสังคมการเรียนรู้และวิถีพอเพียง4. ด้านสร้างความมั่นคงปลอดภัย | 1. อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้มีความ อุดมสมบูรณ์2. จัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสม3. อนุรักษ์พลังงานและพัฒนาการใช้พลังงานทดแทน4. พัฒนาระบบป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพ | 1. เสริมสร้างระบบธรรมาภิบาล ที่ดี2. พัฒนานวัตกรรมภาครัฐ3. ส่งเสริมระบบธรรมาภิบาลที่ดีอย่างยั่งยืน | **1.4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดนครสวรรค์ (พ.ศ.2561-2565)** | | | --- | | **วิสัยทัศน์** **องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์ เป็นองค์กรหลักในการบริการสาธารณะที่มีคุณภาพ** | | **ยุทธศาสตร์** | **เป้าประสงค์เชิงประเด็นยุทธศาสตร์** | **กลยุทธ์** | | 1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน | 1. มีโครงสร้างพื้นฐานและแหล่งน้ำ ใช้ในการเกษตรอย่างเพียงพอ2. มีระบบการคมนาคมที่ได้มาตรฐาน3. มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่ได้มาตรฐาน | 1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและ แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร2. พัฒนาการคมนาคม3. พัฒนาการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ | | 2. ส่งเสริมการท่องเที่ยว | 1. มีจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น | 1. พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว | | 3. พัฒนาการศึกษาและส่งเสริมคุณภาพชีวิต           | 1. ประชาชนได้รับสวัสดิการทางสังคม และเข้าถึงระบบการศึกษาและสาธารณสุขอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ2. สังคมมีความเข้มแข็งตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3. ประชาชน เด็ก และเยาวชน มีการออกกำลังกายมากขึ้น   | 1. ส่งเสริมและจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ2. สงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กสตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ให้พึ่งพาตนเองได้3. ส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี4. ส่งเสริมอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง5. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กและประชาชนได้ออกกำลังกาย | | | | | | --- | --- | --- | | **ยุทธศาสตร์** | **เป้าประสงค์เชิงประเด็นยุทธศาสตร์** | **กลยุทธ์** | | 4. การอนุรักษ์และสืบสาน ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และปราชญ์ชาวบ้าน | 1. ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และปราชญ์ชาวบ้านได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟู และสืบสานให้คงอยู่ต่อไป | 1. อนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบสาน ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่นและปราชญ์ชาวบ้าน | | 5. เสริมสร้างสังคมเข้มแข็ง      | 1. ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย2. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนห่างไกลยาเสพติด | 1. ส่งเสริมการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย2. ส่งเสริมการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน3. ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด | | 6. การบริหารจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน    | 1. ประชาชนมีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม2. มีการลดปริมาณขยะและกำจัดขยะชุมชนให้ถูกหลักวิชาการ3. ประชาชนมีการใช้พลังงานทดแทน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม | 1. อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม2. ส่งเสริมการลดปริมาณขยะให้ถูก หลักวิชาการ3. ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ พลังงานทดแทนเพื่อชุมชน | | 7. การสร้างธรรมาภิบาลและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี      | 1. อปท.มีการบริหารจัดการอย่างโปร่งใส 2. ประชาชนได้รับการบริการที่มีคุณภาพ3. ประชาชนมีจิตสำนึกในการปฏิบัติตนตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข | 1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น2. เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการและการให้บริการประชาชน3. ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข | **2. ยุทธศาสตร์ของเทศบาลนครนครสวรรค์** **2.1 วิสัยทัศน์** “คนสุขภาพดี การศึกษาได้มาตรฐาน รักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นเมืองน่าอยู่ ชูเศรษฐกิจพอเพียง” **2.2 ยุทธศาสตร์** **ยุทธศาสตร์ด้านการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 4 กลยุทธ์** 1. ส่งเสริม สนับสนุนให้เด็ก เยาวชน และประชาชน มีพฤติกรรมสุขภาพ และการป้องกันควบคุมโรคที่เหมาะสมและพัฒนาระบบเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพ ให้ครอบคลุมทั่วถึง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 2. เพิ่มความรู้ความเข้าใจ และปลูกฝังจิตสำนึก ให้ตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติด ให้แก่เด็กเยาวชนและประชาชน 3. เสริมสร้าง สนับสนุน ระบบคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ 4. ส่งเสริม พัฒนา สร้างจิตสำนึกในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการป้องกันและลดปัญหามลพิษ และระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ **ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและนันทนาการ 5 กลยุทธ์** 1. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อสร้างสรรค์ ให้ท้องถิ่นเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2. พัฒนาคุณภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษา 3. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมให้สื่อสารได้ 3 ภาษา 4. ส่งเสริมและพัฒนากีฬา นันทนาการ กิจกรรมเด็กเยาวชน และประชาชน 5. การอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ท่องเที่ยว ภูมิปัญญาท้องถิ่น การดำเนินชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและความเป็นไทย **ยุทธศาสตร์ด้านสวัสดิการสังคมและชุมชน 3 กลยุทธ์** 1. น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน 2. เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน 3. จัดสวัสดิการให้กับประชาชนอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม **ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนากายภาพเมือง 4 กลยุทธ์** 1. พัฒนาระบบคมนาคม การจราจรและขนส่ง ติดตั้งระบบไฟฟ้าสาธารณะ 2. ปรับปรุงภูมิทัศน์พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว พื้นที่นันทนาการ และสวนสาธารณะ 3. ปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพ การขยายระบบผลิต และจำหน่ายน้ำประปา พร้อมพัฒนาคุณภาพน้ำประปา 4. ปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำ ระบบป้องกันน้ำท่วม / และแก้ไขปัญหาน้ำท่วม **ยุทธศาสตร์ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง 2 กลยุทธ์** 1. ส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค สิทธิ เสรีภาพ ของประชาชน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น 2. พัฒนาระบบการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยการรักษาความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน **ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการที่ดี 3 กลยุทธ์** 1. ส่งเสริมการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล 2. พัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ 3. ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรการบริหาร ให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน **2.3 เป้าประสงค์** 1. มีระบบบริการด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมที่ดี 2. มีการพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพ สร้างจิตสำนึกและ สร้างโอกาสในการอนุรักษ์ฟื้นฟูศาสนาและวัฒนธรรมแก่ประชาชนและเยาวชน 3. มีการสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและรายได้เพิ่มให้กับประชาชนในเขตเทศบาล 4. มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ แหล่งท่องเที่ยว และพื้นที่นันทนาการที่ได้มาตรฐาน 5. มีความพร้อมในการพัฒนา ความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 6. มีการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน **2.4 ตัวชี้วัด** 1. ประชาชนร้อยละ 70 มีสุขภาพแข็งแรงปราศจากโรคภัย 2. ร้อยละ 90 ของสถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ 3. ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 5 และพึ่งตนเองได้มากขึ้น 4. ประชาชนในเขตเทศบาลร้อยละ 95มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ แหล่งท่องเที่ยว และพื้นที่นันทนาการที่ได้มาตรฐาน 5. ประชาชนสามารถป้องกันเหตุสาธารณภัยได้และได้รับความช่วยเหลือร้อยละ 90 6. การบริหารจัดการของเทศบาลมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 **2.5 ประเด็นยุทธศาสตร์ แนวทางการพัฒนาและตัวชี้วัด** **ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 - ยุทธศาสตร์ด้านการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม** พันธกิจ - ประชาชนมีสุขภาพดี เป้าประสงค์ - มีระบบบริการด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมที่ดี ตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์ - ประชาชนร้อยละ 70 มีสุขภาพแข็งแรงปราศจากโรคภัย **กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา และตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์** | | | | --- | --- | | **กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา** | **ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์** | | 1. ส่งเสริม สนับสนุนให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ทุกกลุ่มวัย มีพฤติกรรมสุขภาพ และการป้องกันควบคุมโรคที่เหมาะสมและพัฒนาระบบเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพ ให้ครอบคลุมทั่วถึง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น | ประชาชนทุกกลุ่มวัยร้อยละ 70 มีความรู้และพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม | | 2. เพิ่มความรู้ความเข้าใจ และปลูกฝังจิตสำนึก ให้ตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติด ให้แก่เด็กเยาวชนและประชาชน | 1.ผู้ติดยาเสพติดในเขตเทศบาลที่ลดลงร้อยละ 102.มีชมรม To be No.1 โรงเรียนอย่างน้อยร้อยละ 50 | | 3. เสริมสร้าง สนับสนุน ระบบคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ | 1.ตลาดสดที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทั้ง 3 แห่ง2.ผู้ประกอบการผ่านการอบรมร้อยละ 803.โรงเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานการเฝ้าระวังคุณภาพสุขาภิบาลอาหาร 30 แห่ง | | 4. ส่งเสริม พัฒนา สร้างจิตสำนึกในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการป้องกันและลดปัญหามลพิษ และระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ | 1.ปริมาณขยะและน้ำเสียลดลงร้อยละ 102.ผู้ใช้จักรยานเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ของประชากร3.จำนวนพันธุ์ไม้ที่เพิ่มขึ้น4.ปริมาณหน่วยการใช้ไฟฟ้าลงลดร้อยละ 5 | **หน่วยงานรับผิดชอบหลัก** - สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักการศึกษา สำนักการช่าง กองวิชาการและแผนงาน **ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์** ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 5.ด้านการสร้างการเติบโตบน คุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน แผนพัฒนาภาคเหนือ พ.ศ.2560 – 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาความยากจน พัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ยกระดับทักษะฝีมือแรงงานภาคบริการ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาความยากจน พัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ยกระดับทักษะฝีมือแรงงานภาคบริการ ยุทธศาสตร์จังหวัด ประเด็นที่ 3 บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท.ในเขตจังหวัด ยุทธศาสตร์ที่ 3. พัฒนาการศึกษาและส่งเสริมคุณภาพชีวิต **ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 - ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและนันทนาการ** พันธกิจ - จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพได้มาตรฐาน สามารถสื่อสาร ภาษาอังกฤษและภาษาจีนได้ เป้าประสงค์ - มีการพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพ สร้างจิตสำนึกและ สร้างโอกาส ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูศาสนาและวัฒนธรรมแก่ประชาชนและเยาวชน ตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์ - ร้อยละ 90 ของสถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการอย่างมี คุณภาพ **กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา และตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์** | | | | --- | --- | | **กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา** | **ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์** | | 1. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อสร้างสรรค์ ให้ท้องถิ่นเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต | ร้อยละ 90 ของสถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ | | 2. พัฒนาคุณภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษา | ร้อยละ 90 ของของครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนา | | 3. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมให้สื่อสารได้ 3 ภาษา | ร้อยละ 90 ของของนักเรียนได้รับการพัฒนาให้สื่อสารได้ 3 ภาษา | | 4. ส่งเสริมและพัฒนากีฬา นันทนาการ กิจกรรมเด็กเยาวชน และประชาชน | เด็กเยาวชน และประชาชนร้อยละ 80 ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนากีฬา นันทนาการ กิจกรรมต่างๆ | | 5. การอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ท่องเที่ยว ภูมิปัญญาท้องถิ่น การดำเนินชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและความเป็นไทย | ประชาชนร้อยละ 80 ได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี ท่องเที่ยว ภูมิปัญญาท้องถิ่น | **หน่วยงานรับผิดชอบหลัก** สำนักการศึกษา สำนักปลัดเทศบาล สำนักการช่าง **ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์** ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ แผนพัฒนาภาคเหนือ พ.ศ.2560 – 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาความยากจน พัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ยกระดับทักษะฝีมือแรงงานภาคบริการ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดที่ 2. พัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาความยากจน พัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ยกระดับทักษะฝีมือแรงงานภาคบริการ ยุทธศาสตร์จังหวัด ประเด็นที่ 2 พัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์และสร้างสังคมพอเพียง ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท.ในเขตจังหวัด ที่ 3 พัฒนาการศึกษาและส่งเสริมคุณภาพชีวิต **ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 - ยุทธศาสตร์ด้านสวัสดิการสังคมและชุมชน** พันธกิจ - ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและชุมชนมีความเข้มแข็ง เป้าประสงค์ - มีการสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและรายได้เพิ่มให้กับ ประชาชนในเขตเทศบาล ตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์ - ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 5 และพึ่งตนเองได้มากขึ้น **กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา และตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์** | | | | --- | --- | | **กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา** | **ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์** | | 1. น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน | ประชาชนร้อยละ 10 น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน | | 2. เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน | ประชาชนร้อยละ 100 ได้รับการส่งเสริม พัฒนาและคุมครองสิทธิเสรีภาพ | | 3. จัดสวัสดิการให้กับประชาชนอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม | ประชาชนร้อยละ 100 ได้รับการจัดสวัสดิการให้กับประชาชนอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม | **หน่วยงานรับผิดชอบหลัก** กองสวัสดิการสังคม **ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์** ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคทางสังคม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม แผนพัฒนาภาคเหนือ พ.ศ.2560 – 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาความยากจน พัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ยกระดับทักษะฝีมือแรงงานภาคบริการ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด ยุทธศาสตร์ที่ 2. พัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาความยากจน พัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ยกระดับทักษะฝีมือแรงงานภาคบริการ ยุทธศาสตร์จังหวัด ประเด็นที่ 2 พัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์และสร้างสังคมพอเพียง ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท.ในเขตจังหวัด ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาการศึกษาและส่งเสริมคุณภาพชีวิต **ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 - ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนากายภาพเมือง** พันธกิจ - ประชาชนได้รับความสะดวกและปลอดภัยในด้านสาธารณูปโภค เป้าประสงค์ - มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ แหล่งท่องเที่ยว และพื้นที่ นันทนาการที่ได้มาตรฐาน ตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์ - ประชาชนในเขตเทศบาลร้อยละ 95 มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ แหล่งท่องเที่ยว และพื้นที่นันทนาการที่ได้มาตรฐาน **กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา และตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์** | | | | --- | --- | | **กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา** | **ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์** | | 1. พัฒนาระบบคมนาคม การจราจรและขนส่ง ติดตั้งระบบไฟฟ้าสาธารณะ | ร้อยละ 95 ของโครงการสร้างพื้นฐานมีมาตรฐาน | | 2. ปรับปรุงภูมิทัศน์พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว พื้นที่นันทนาการ และสวนสาธารณะ | ร้อยละ 95 ของแหล่งท่องเที่ยว พื้นที่นันทนาการ และสวนสาธารณะได้รับการพัฒนา | | 3. ปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพ การขยายระบบผลิต และจำหน่ายน้ำประปา พร้อมพัฒนาคุณภาพน้ำประปา | ประชาชนในเขตเทศบาลมีน้ำประปาเพื่อการอุปโภคและบริโภคอย่างเพียงพอ | | 4. ปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำ ระบบป้องกันน้ำท่วม / และแก้ไขปัญหาน้ำท่วม | ป้องกันน้ำท่วมและระบายน้ำได้กว่าร้อยละ 80 | **หน่วยงานรับผิดชอบหลัก** สำนักการช่าง สำนักการประปา **ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์** ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ แผนพัฒนาภาคเหนือ พ.ศ.2560 – 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 2 ใช้โอกาสจากเขตเศรษฐกิจพิเศษ และการเชื่อมโยงกับอนุภูมิภาค GMS BIMSTEC และ AEC เพื่อขยายฐานเศรษฐกิจของภาค ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด ยุทธศาสตร์ที่ 1 การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัย เพิ่มมูลค่าและนวัตกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ยุทธศาสตร์จังหวัด ประเด็นที่ 1 สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยแนวทางการพัฒนาเมืองสวรรค์ ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท.ในเขตจังหวัด ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน **ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 - ยุทธศาสตร์ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง** พันธกิจ - ประชาชนมีความมั่นคง ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป้าประสงค์ - มีความพร้อมในการพัฒนา ความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สิน ตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์ - ประชาชนสามารถป้องกันเหตุสาธารณภัยได้และได้รับความ ช่วยเหลือร้อยละ ๙๐ **กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา และตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์** | | | | --- | --- | | **กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา** | **ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์** | | 1. ส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค สิทธิ เสรีภาพ ของประชาชน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น | ประชาชนร้อยละ 90 ได้มีความพึงพอใจต่อการให้บริการ | | 2. พัฒนาระบบการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยการรักษาความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน | 1.การเกิดอุบัติเหตุและอัคคีภัยในพื้นที่ลดลงเป็น 02.ประชาชนสามารถป้องกันเหตุสาธารณภัยได้และได้รับความช่วยเหลือร้อยละ 903.ประชาชนร้อยละ 80 มีความปลอดภัยจากการติดตั้งระบบกล้องวงจรปิด | **หน่วยงานรับผิดชอบหลัก** สำนักปลัดเทศบาล กองวิชาการและแผนงาน **ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์** ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืน แผนพัฒนาภาคเหนือ พ.ศ.2560 – 2565 ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาความยากจน พัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ยกระดับทักษะฝีมือแรงงานภาคบริการ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด ประเด็นที่ 2 พัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์และสร้างสังคมพอเพียง ยุทธศาสตร์จังหวัด ยุทธศาสตร์ที่ 2. พัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์และสร้างสังคมพอเพียง ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท.ในเขตจังหวัด ยุทธศาสตร์ที่ 5 เสริมสร้างสังคมเข้มแข็ง **ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 - ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการที่ดี** พันธกิจ - พัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เป้าประสงค์ - มีการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์ - การบริหารจัดการของเทศบาลมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 **กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา และตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์** | | | | --- | --- | | **กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา** | **ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์** | | 1. ส่งเสริมการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล | ขั้นตอนการดำเนินการเป็นไปตาม พ.ร.บ.อำนวยความสะดวก พ.ศ.2558 | | 2. พัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ | เทศบาลมีผลการปฏิบัติงานร้อยละ 65 ขึ้นไป จากการใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน | | 3. ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรการบริหารให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน | การบริหารจัดการของเทศบาลมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 | **หน่วยงานรับผิดชอบหลัก** สำนักปลัดเทศบาล ทุกหน่วยงาน **ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์** ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ และธรรมาภิบาลในสังคมไทย แผนพัฒนาภาคเหนือ พ.ศ.2560 – 2565 - ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด ประเด็นที่ - ยุทธศาสตร์จังหวัด ประเด็นที่ 4 เสริมสร้างธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท.ในเขตจังหวัด ยุทธศาสตร์ที่ 7 การสร้างธรรมาภิบาลและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี **2.6 จุดยืนทางยุทธศาสตร์** คนสุขภาพดี การศึกษาได้มาตรฐาน รักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นเมืองน่าอยู่ ชูเศรษฐกิจพอเพียง **3 การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น** **3.1 การวิเคราะห์กรอบการจัดทำยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น** (ใช้การวิเคราะห์ SWOT Analysis/Demand (Demand Analysis)/Global Demand และ Trendปัจจัยและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนา อย่างน้อยต้องประกอบด้วยการวิเคราะห์ศักยภาพด้านเศรษฐกิจ, ด้านสังคม, ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) **ผลการวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนา** **ประเด็นการพัฒนาที่ 1 ด้านการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม** * จุดแข็ง ได้แก่ 1. ผู้บริหารมีนโยบายที่ชัดเจน และให้การสนับสนุนการปฏิบัติงาน 2. งบประมาณสนับสนุนเพียงพอ 3. มีโครงสร้างงานด้านสาธารณสุขครบทุกด้าน 4. มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถเพียงพอในการปฏิบัติงาน * จุดอ่อน ได้แก่ 1. ขาดบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ ทันตาภิบาล สัตวแพทย์ และนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม 2. การจัดทำฐานข้อมูลประชากรด้านสุขภาพยังไม่ครอบคลุม และเป็นปัจจุบัน 3. ความร่วมมือ และการประสานงานในองค์กรมีน้อย 4. การติดตามประเมินผล แผนงาน/โครงการ ยังไม่เป็นรูปธรรม 5. การจัดเก็บข้อมูลภายในองค์กรยังไม่เป็นระบบ 6. ไม่มีศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ( Data Center ) ของหน่วยงาน * โอกาส ได้แก่ 1. หน่วยงานภายนอกให้การสนับสนุนด้านการบริการ วิชาการ ข้อมูล 2. ชุมชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วม และให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน 3. มีกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครนครสวรรค์ ที่ให้การสนับสนุนการดำเนินงานด้านสาธารณสุข 4. มีแกนนำชุมชนครบทุกชุมชน 5. มีระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับด้านสาธารณสุข เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน 6. เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ * อุปสรรค ได้แก่ 1. แกนนำชุมชนบางส่วนยังขาดความเข้มแข็ง และเอกภาพในการทำงาน 2. สื่อประชาสัมพันธ์ที่นำเสนอมีความครอบคลุมเนื้อหาไม่เพียงพอและขาดการคัดกรองก่อนนำเสนอ 3.ขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานในการดำเนินงานด้านสุขภาพ 4. มีพื้นที่กว้าง และจำนวนชุมชนมาก ประชาชนมีความแตกต่างด้านเศรษฐกิจสังคม 5. มีปัญหาน้ำท่วมในบางพื้นที่ **จากผลวิเคราะห์จะสรุปได้ว่า** ประเด็นในการพัฒนาดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ จะทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้า #### ประเด็นการพัฒนาที่ 2 ด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและนันทนาการ * จุดแข็ง ได้แก่ 1. ผู้บริหารให้ความสำคัญและยอมรับการมีส่วนร่วมของประชาชน และกลุ่มภาคีต่างๆ 2. งบประมาณวัสดุอุปกรณ์มีเพียงพอกับความต้องการ 3. มีการประกันคุณภาพการจัดการศึกษา 4. มีโครงสร้างการบริหารงานชัดเจน 5. ผู้เรียนมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ 6. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีจำนวนเพียงพอ * จุดอ่อน ได้แก่ 1. ครูและบุคลากรทางการศึกษาขาดการพัฒนาและสอนไม่ตรงตามวุฒิการศึกษา 2. การบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ ไม่คุ้มค่า 3. บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจกระบวนการประกันคุณภาพ 4. นโยบายการบริหารไม่ต่อเนื่อง 5. ผู้เรียนขาดการปลูกฝัง การใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ * โอกาส ได้แก่ 1. มีแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย 2. มีภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ในหลากหลายสาขา 3. ชุมชน ผู้ปกครอง เอกชนและองค์กรต่างๆให้ความร่วมมือและสนับสนุนการจัดการศึกษา * อุปสรรค ได้แก่ 1. ขาดการประสานงานการใช้ทรัพยากรร่วมกันและขาดการสร้างเครือข่าย 2. กระบวนการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและปราชญ์มาจัดการเรียนรู้ไม่มีประสิทธิภาพ 3. กฎหมาย ระเบียบ ไม่เอื้อต่อการให้การสนับสนุนและมีการแสวงหาประโยชน์ **จากผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่า** การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมสามารถดำเนินการได้ และจะก่อให้เกิดการพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพ สร้างจิตสำนึก และสร้างโอกาสในการอนุรักษ์ฟื้นฟูศาสนา และวัฒนธรรมแก่ประชาชนและเยาวชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครนครสวรรค์ **ประเด็นการพัฒนาที่ 3 ด้านสวัสดิการสังคมและชุมชน** * จุดแข็ง ได้แก่ 1. ผู้บริหารมีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 2. บุคลากรมีความทุ่มเทและอดทนในการทำงาน 3. งบประมาณที่สนับสนุนมีเพียงพอ 4. ผู้บริหารมีนโยบายสนับสนุนด้านส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง * จุดอ่อน ได้แก่ 1. จำนวนบุคลากรมีไม่เพียงพอ 2. เครื่องมือเครื่องใช้ด้านเทคโนโลยีมีไม่เพียงพอ 3. ฐานข้อมูลชุมชนไม่เป็นปัจจุบัน * โอกาส ได้แก่ 1. นโยบายรัฐบาล 2. หน่วยงานภายนอกให้การสนับสนุน 3. ชุมชนให้ความร่วมมือในการจัดโครงการ/กิจกรรม * อุปสรรค ได้แก่ 1. ปัญหาการเมืองภายนอกหน่วยงาน 2. งานและการจัดกิจกรรมทับซ้อนกับหน่วยงานภายนอก 3. มีข้อจำกัดของเวลาในการจัดโครงการและกิจกรรม เพราะได้รับผลกระทบจากหน่วยงานภายนอก **จากผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่า** ประเด็นการพัฒนาด้านสวัสดิการสังคมและชุมชนดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชนในเขตเทศบาลได้ **ประเด็นการพัฒนาที่ 4 ด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และการท่องเที่ยว** * จุดแข็ง ได้แก่ 1. มีเครื่องจักรกล และแรงงานคนพอเพียง วัสดุอุปกรณ์ครบครัน 2. มีบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะทาง / หลายๆด้านครบ 3. มีงบประมาณรองรับทุกด้านเพียงพอ 4. มีสถานที่พร้อมบริการประชาชนหลายด้าน 5. ผู้บริหารพร้อมให้การสนับสนุน 6. มีแหล่งน้ำดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำประปา เพียงพอ เป็นต้นแม่น้ำเจ้าพระยา * จุดอ่อน ได้แก่ 1. มีปัญหาด้านฐานข้อมูล / การเก็บข้อมูล 2. มีปัญหาด้านการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างสังกัด 3. มีปัญหาระหว่างดำเนินการปฏิบัติงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน 4. มีปัญหาเกี่ยวกับตัวบุคลากรที่ขาดจิตสำนึก 5. ท่อเมนประปาใช้งานมานานมีท่อแตก ท่อรั่ว บ่อยครั้ง * โอกาส ได้แก่ 1. เป็นประตูสู่ภาคเหนือ 2. เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำเจ้าพระยา 3. การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวกับจังหวัดใกล้เคียง 4. มีภูมิประเทศเหมาะสำหรับการท่องเที่ยว * อุปสรรค ได้แก่ 1. ขาดการวางผังเมืองที่ดี จึงไม่อำนวยต่อการพัฒนา 2. มีปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง 3. มีปัญหาประชาชนบุกรุกครอบครองพื้นที่สาธารณะ 4. ระเบียบกฎหมายบางข้อไม่เอื้ออำนวยที่จะนำไปปฏิบัติ 5. ความเจริญเติบโตของเมืองมีบ้านจัดสรรขึ้นเป็นจำนวนมากทำให้กำลังส่ง จ่าย น้ำไม่เพียงพอ 6. ประชาชนบางส่วนขาดความตระหนัก จิตสำนึกในการเสียสละเพื่อส่วนรวม จากผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่า สามารถดำเนินการแก้ไขได้ตามมาตรฐานแล้ว คาดว่าประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย **ประเด็นการพัฒนาที่ 5 ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง** * จุดแข็ง ได้แก่ 1. ผู้บริหารเทศบาล มีนโยบายชัดเจนในการปฏิบัติงานด้านเทศกิจ 2. บุคลากรมีความพร้อมในการปฏิบัติงานในหน้าที่ 3. ด้านงบประมาณเพียงพอที่จะใช้ในการบริหารงาน * จุดอ่อน ได้แก่ 1. เครื่องมือเครื่องใช้มีไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน 2. พ่อค้า แม่ค้า หาบเร่ ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย 3. พนักงานจ้างเทศกิจขาดทักษะในการปฏิบัติงาน * โอกาส ได้แก่ 1. การรับรู้และรับทราบ และการมีนโยบายในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนแน่ชัด 2. ประชาชนให้ความร่วมมือในกิจกรรม * อุปสรรค ได้แก่ 1. กฎหมายและระเบียบที่ไม่ทันสมัย 2. พื้นที่ในการควบคุมดูแลมีจำนวนมาก 3. ประชากรในพื้นที่ให้ความร่วมมือเป็นส่วนน้อย 4. การประสานงาน ความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น อยู่ในระดับน้อย **จากผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่า** ประเด็นในการพัฒนาดังกล่าว ทำได้ เพราะเทศบาลนครนครสวรรค์มีเครื่องมือ และบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ มีหน่วยงานที่ช่วยเหลือและสนับสนุน พร้อมทั้งแนวทางด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นวาระแห่งชาติด้วย หากดำเนินการพัฒนาตามประเด็นการพัฒนาสำเร็จแล้วจะทำให้เทศบาลนครนครสวรรค์เป็นองค์กรที่มีศักยภาพและความพร้อมสูงในด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย **ประเด็นการพัฒนาที่ 6 ด้านการบริหารจัดการที่ดี** * จุดแข็ง ได้แก่ 1. มีคณะผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถและมีวิสัยทัศน์ 2. ผู้บริหารมีนโยบายที่ชัดเจน 3. มีบุคลากรส่วนใหญ่ที่มีคุณภาพ 4. มีระบบการบริหารที่เป็นหลักธรรมาภิบาล 5. ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงาน 6. มีการบริการที่รวดเร็วเสมอภาคเป็นธรรม * จุดอ่อน ได้แก่ 1. ระบบบริหารจัดการภายในองค์กรในภาพรวมยังขาดความคล่องตัว 2. บุคลากรบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจและความชำนาญในการปฏิบัติงาน 3. ยังขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดี 4. ขาดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย * โอกาส ได้แก่ 1. พระราชกฤษฎีกาการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ที่ต้องทำ 2. รัฐบาลและจังหวัดให้การสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินกิจการของเทศบาล 3. หน่วยงานและองค์กรปกครองท้องถิ่นอื่นนิยมมาเยี่ยมชมดูงาน 4. หน่วยงานภาคเอกชนด้านการสื่อสารมวลชนนำไปเผยแพร่ทางสื่อต่างๆ 5. หน่วยงานการศึกษาระดับอุดมศึกษาใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และทำการวิจัยเพื่อผลทางการศึกษาและประโยชน์ทางวิชาการ * อุปสรรค ได้แก่ 1. การสนับสนุนส่งเสริมจากรัฐบาลและจังหวัดยังขาดความคล่องตัวต่อเนื่อง 2. ไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอในการดำเนินโครงการจากภาครัฐ 3. องค์กรประชาชนและภาคเอกชนยังไม่ให้ความสำคัญและความร่วมมือเท่าที่ควร **จากการวิเคราะห์สรุปได้ว่า** ประเด็นในการพัฒนาด้านการบริหารจัดการงานเทศบาลดังกล่าว สามารถดำเนินการได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดองค์กรที่มีการบริหารจัดการที่ดี **3.2 การประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้อง** ผลการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของประชากรในท้องถิ่นตามประเด็นการพัฒนาท้องถิ่น ประกอบด้วย ขอบข่ายและปริมาณของปัญหา พื้นที่เป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย และการคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต **1 ด้านการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม** 1.1 ข้อมูลด้านปัญหา ในเขตพื้นที่ของเทศบาล มีปัญหาอันเกิดจากการเจริญเติบโตของท้องถิ่นในเรื่องการเพิ่มของจำนวนประชากร ปริมาณขยะมูลฝอยที่ไม่สามารถจัดเก็บทั่วถึง เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นไปโดยผลจากความเจริญของท้องถิ่น มีขยะอันตรายหากไม่มีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจะทำให้ผู้ที่อาศัยอยู่ได้รับความเดือดร้อนจากมลภาวะต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่มาของโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ส่งผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว การจัดทำฐานข้อมูลประชากรด้านสุขภาพยังไม่ครอบคลุม และเป็นปัจจุบัน ไม่มีศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ( Data Center ) ของหน่วยงาน 1.2 ข้อมูลด้านศักยภาพ ในเขตเทศบาลมีศูนย์บริการด้านสาธารณสุขให้กับประชาชน ชุมชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วม และให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน นอกจากนี้เทศบาลยังมีสถานที่กำจัดขยะเพื่อรองรับขยะจากชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง และยังมีชุมชนปลอดยาเสพติดโดยมีหน่วยงานให้ความสนใจต่อเรื่องนี้อย่างจริงจัง มีอุทยานสวรรค์เป็นสถานที่รวมกิจกรรมประเภทการออกกำลังกายและการท่องเที่ยวที่สำคัญ 1.3 ข้อมูลความต้องการตอบสนองต่อปัญหา จากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ประชาชนในเขตเทศบาลจึงมีความต้องการอยากจะให้จัดสร้างศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ( Data Center ) ของเทศบาล มีจำนวนบุคลากรทางด้านสาธารณสุขที่สามารถออกไปดูแลให้การรักษาประชาชนได้อย่างพอเพียง นอกจากนั้น ยังมีความต้องการตลาดสดที่ถูกสุขลักษณะที่ได้มาตรฐาน ตลอดจนการปรับปรุงวิธีการเก็บขนขยะและกำจัดขยะที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งต้องการสถานที่กำจัดขยะและการแปลงขยะให้เป็นพลังงานไฟฟ้า รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 1.4 ข้อมูลความต้องการตอบสนองต่อศักยภาพ เทศบาลควรมีการจัดสร้างศูนย์บริการด้านสาธารณสุขในเขตเทศบาลเพิ่ม ปรับปรุงก่อสร้างโรงฆ่าสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะและได้มาตรฐาน และส่งเสริมในด้านกิจกรรมชุมชนให้มีความเข้มแข็งเป็นชุมชนปลอดยาเสพติด **2 ด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและนันทนาการ** 2.1 ข้อมูลด้านปัญหา การจัดการศึกษาของเทศบาลนครนครสวรรค์ระดับปฐมวัยยังขาดการพัฒนาด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม นักเรียนระดับขั้นพื้นฐานขาดระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ มารยาท เยาวชนขาดการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และละเลยวัฒนธรรมแบบไทย ขาดการสร้างเครือข่ายทางการศึกษากับหน่วยงานอื่น ๆ 2.2 ข้อมูลด้านศักยภาพ โรงเรียนสังกัดเทศบาลเปิดสอนตั้งแต่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อนุบาล 1-3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 การจัดการเรียนการสอนมุ่งเน้นให้นักเรียนมีคุณภาพ เก่ง ดี มีสุข และยังเพิ่มเติมการสอนวิชาภาษาจีน ชั้น ป.1-ม.3 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยทุกระดับชั้น การจัดการเรียนร่วมหลักสูตรประกาศนียบัตร (ปวช.) อาชีวศึกษา-มัธยมศึกษาตอนปลาย และสนับสนุนนักเรียนที่มีความสามารถด้านกีฬาเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ 2.3 ข้อมูลความต้องการที่ตอบสนองต่อปัญหา จากประเด็นปัญหาที่ขาดโอกาสในการพัฒนามีจำนวนมาก ต้องจัดสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สนามเด็กเล่นและเครื่องเล่น พร้อมจัดหาเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่ออุปกรณ์การเรียน การสอน จัดกิจกรรมส่งเสริมกระตุ้น การเรียน จัดหาเว็บไซท์ทางการศึกษา เสริมหลักสูตรการเรียนการสอน จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน จัดกิจกรรมเข้าค่ายเยาวชน จัดกิจกรรมรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้แก่เด็กและเยาวชนเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณี ศาสนา และการนันทนาการ 2.4 ข้อมูลความต้องการที่ตอบสนองต่อศักยภาพ จากประเด็นข้อมูลด้านศักยภาพ ควรพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้และความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ส่งเสริมให้นักเรียนสื่อสารได้ 3 ภาษา จัดทำเว็บไซท์ทางการศึกษา (E-learning) และจัดอบรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา จัดซื้อคอมพิวเตอร์ในห้องสมุดให้โรงเรียนเทศบาล เพื่อให้นักเรียนศึกษาค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ **3 ด้านสวัสดิการสังคมและชุมชน** 3.1 ข้อมูลด้านปัญหา ประชาชนมีรายได้น้อยมีประมาณร้อยละ 25 สร้างชุมชนเกาะตัวใกล้กับตลาดและศูนย์กลางของเมืองที่เป็นแหล่งจ้างแรงงานตามตรอกซอกซอย ที่อยู่ใกล้ตลาดศูนย์การค้า สถานีขนส่ง สถานีรถไฟ บางส่วนที่เป็นคนจน รายได้ต่ำจะอยู่กันอย่างแออัดหนาแน่น ไม่ถูกสุขลักษณะในที่เช่า หรือที่บุกรุกทั้งที่รัฐและเอกชน เป็นชุมชนแออัดก็มี เช่น ชุมชนตลาดลาว ชุมชนตลาดสะพานดำ ชุมชนสถานีรถไฟปากน้ำโพ ชุมชนวัดไทรใต้ ฯลฯ กลุ่มเหล่านี้ก็ขาดแคลนที่พักผ่อน ที่เด็กเล่นออกกำลังกาย และยังเป็นปัญหาด้านโจรกรรม ยาเสพติด ซึ่งต้องรับการแก้ไขโดยด่วน 3.2 ข้อมูลด้านศักยภาพ เป็นจุดบรรจบของแม่น้ำ ปิง-วัง รวมกับแม่น้ำ ยม-น่าน เป็นต้นแม่น้ำเจ้าพระยา จึงเป็นแหล่งรวบรวมสินค้า ผลผลิตจากทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะขนถ่ายสินค้ามาทางน้ำ ภายหลังมีการสร้างโครงการถนนและทางรถไฟ สถานีรถไฟที่ “ปากน้ำโพ” เกิดการพัฒนาต่อเนื่องอย่างมากจนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทั้งคนและสินค้า มีบทบาทเป็นศูนย์กลางการค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้าส่งต่อจากทางเหนือ ตะวันออกและตะวันตกสู่กรุงเทพมหานคร เพื่อส่งต่อไปทางใต้และสู่ต่างประเทศ เกิดการขยายตัวของการตั้ง ถิ่นฐานทั้งการขยายตัวของชุมชนเก่าและการสร้างชุมชนใหม่ เลียบไปตามริมฝั่งแม่น้ำทั้งด้านทิศตะวันออกและตะวันตก ตลอดจนสองข้างทางถนนสายหลัก ด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ปากแม่น้ำน่านจากบริเวณสถานีรถไฟปากน้ำโพ ยาวตลอดมาจนถึงท่าน้ำปากน้ำโพ ลักษณะชุมชนจะเป็นแบบธุรกิจการค้าการบริการโรงแรมตลอดจนการบริการบันเทิง ผสมผสานไปกับแหล่งพักอาศัย นอกจากเป็นศูนย์กลางการค้าแลกเปลี่ยนต่างแดนแล้ว ปากน้ำโพยังเป็นศูนย์กลางการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างเมืองและอำเภอต่าง ๆ โดยมีชุมทางการค้าเลียบฝั่งแม่น้ำด้านตะวันตกที่สำคัญ 3 แห่ง คือ “ตลาดลาว” “ตลาดสะพานดำ” และ “ตลาดบ่อนไก่” 3.3 ข้อมูลความต้องการตอบสนองต่อปัญหา เทศบาลในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชาชนในพื้นที่ ควรส่งเสริมให้ประชาชนรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มที่เข้มแข็งเพื่อทำอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ และรู้จักลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นจะก่อให้เกิดชุมชนที่เข้มแข็ง จัดกิจกรรม ปลูกจิตสำนึกรณรงค์ป้องกันยาเสพติด และการดำรงชีวิติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน คณะกรรมการชุมชน เด็ก เยาวชน สตรี และผู้ด้อยโอกาสในสังคม 3.4 ข้อมูลความต้องการตอบสนองต่อศักยภาพ เนื่องจากเทศบาลนครนครสวรรค์ เป็นศูนย์กลางการค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้า จึงควรส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มอาชีพ ส่งเสริมการรวมกลุ่มการค้าเพื่อพัฒนาศักยภาพของสินค้าชุมชนไปสู่ตลาดภายนอก และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน **4 ด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และการท่องเที่ยว** 4.1 ข้อมูลปัญหา จากการพัฒนาเมืองอย่างรวดเร็ว และขาดแผนการพัฒนาเมืองที่ดี จึงทำให้มีการสร้างอาคารหรือสิ่งก่อสร้างกันอย่างหนาแน่น โดยเฉพาะในเขตเมืองหรือบริเวณย่านที่สำคัญ เช่น ย่านถนนโกสีย์ ถนนสวรรค์วิถี ถนนมาตุลี ถนนอรรถกวี และถนนมหาเทพ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเมือง ส่งผลให้พื้นที่ว่างของเมืองลดน้อยลงเป็นผลให้เกิดภาวะเสื่อมโทรมภายในเมือง เกิดภูมิทัศน์ที่ไม่สวยงาม อีกทั้งการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับการหลั่งไหลของประชากรต่างถิ่นนั้น ทำให้โครงการบ้านจัดสรรต่าง ๆ เลือกที่ตั้งโครงการกระจายไปทั่วเขตเทศบาลหรือพื้นที่ต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดการใช้ที่ดินแบบกระจัดกระจาย ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาแบบยั่งยืน อีกทั้งด้านถนน ค.ส.ล.ที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ครอบคลุมพื้นที่ มีแสงสว่างจากไฟฟ้าสาธารณะบนถนนในเขตเทศบาลซึ่งยังกระจายไปไม่ทั่วถึง และด้านการวางท่อระบายน้ำก็ยังมีไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ส่วนระบบการขนส่งมวลชนในเมืองก็ยังไม่เป็นระบบมาตรฐาน 4.2 ข้อมูลศักยภาพ เทศบาลนครนครสวรรค์มีสภาพภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะเป็นที่ลุ่มต่ำและมีภูเขาล้อมรอบด้านทิศเหนือ อีกทั้งยังเป็นที่แม่น้ำทั้ง 4 สายคือ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน ไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาที่ ต.ปากน้ำโพ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ จึงเป็นที่ชุมนุมการค้าขายมาตั้งแต่ในอดีต ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าตลาดปากน้ำโพ จากการที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านมารวมกันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยานี้ จึงทำให้เกิดเป็นเกาะน้อย เกาะใหญ่ขึ้น ซึ่งมีเกาะที่สำคัญๆ เช่น เกาะบางปรอง ซึ่งได้มีการพัฒนาเป็นท่าเรือน้ำลึกและท่าข้าวกำนันทรง ในปัจจุบัน และยังมีเกาะญวน ซึ่งยังคงเป็นเกาะที่คงสภาพเป็นธรรมชาติมีการพักอาศัยและทำการเกษตรแบบเบาบาง เพื่อรอการพัฒนาเพื่อรองรับความต้องการในอนาคต นอกจากนี้ในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ ยังมีหนองน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่กลางเมือง หรือมีชื่อที่รู้จักกันคือ อุทยานสวรรค์ (หนองสมบุญ) ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนามาเป็นสวนสาธารณะ และสวนสุขภาพ หรือเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เทศบาลนครนครสวรรค์ยังมีอุปกรณ์เครื่องจักรกลหนักไว้ใช้ในการซ่อมแซมถนน ซึ่งทำให้ถนนมีความสะอาดสวยงามและกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านงานช่างในการให้คำปรึกษากับประชาชน มีอาคารสำนักงานเทศบาล ที่มีรูปร่างลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่น และมีการคมนาคมที่สามารถไปสู่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4.3 ข้อมูลความต้องการตอบสนองต่อปัญหา เทศบาลควรจัดให้มีการทำผังเมืองรวมของเทศบาลนครนครสวรรค์ ปรับปรุงก่อสร้างถนนในพื้นที่ทั้งหมดให้ได้มาตรฐาน และต้องการติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะบนถนนในพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ยังจะทำการปรับปรุงวางท่อระบายน้ำในพื้นที่ให้ได้มาตรฐาน และเล็งเห็นถึงความสำคัญด้านการปรับปรุงจัดระบบเส้นทางการเดินรถโดยสารและจัดให้มีท่าจอดรถที่ได้มาตรฐานในเขตเมือง 4.4 ข้อมูลความต้องการตอบสนองต่อศักยภาพ จากข้อมูลศักยภาพเราจึงทราบถึงความต้องการของการพัฒนาเทศบาลนครนครสวรรค์ ว่าควรจะพัฒนาระบบการจราจร ปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวบริเวณต้นแม่น้ำเจ้าพระยา ควรได้รับการพัฒนาศักยภาพในส่วนของการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ให้สวยงาม พื้นที่นันทนาการและสวนสาธารณะ เพื่อรองรับการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ **5 ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง** 5.1 ข้อมูลปัญหา ผลกระทบทางด้านสังคมจากการพัฒนาเมืองตลอดเวลาที่ผ่านมาเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจระบบทุนนิยม ทำให้เกิดความนิยมทางด้านวัตถุ ผู้คนต้องแข่งขันทำมาหากินอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ ประกอบกับขาดการส่งเสริมด้านคุณธรรมและจริยธรรมก่อให้เกิดค่านิยมที่ผิด ๆ สู่สังคมตลอดจนทำให้เยาวชนและสถาบันครอบครัวอ่อนแอลง ส่งผลให้ปัญหาต่าง ๆ ขยายตัวมากขึ้น เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหายาเสพติดปัญหาอาชญากรรม ปัญหาเด็กและเยาวชน ฯลฯ นอกจากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ความต้องการการดูแลของกลุ่มผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ควรได้รับการแก้ไขดูแล ประกอบในเทศบาลยังไม่มีข้อมูลสถานสงเคราะห์คนชราทั้งของรัฐและเอกชน ซึ่งภาครัฐและเทศบาล ควรมีบทบาทในการเข้ามาดูแลด้วย ปัญหาอาชญากรรมเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี เห็นได้จากคดีอุกฉกรรจ์ที่เพิ่มขึ้น คดีประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกายและเพศเพิ่มขึ้น คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์สินเพิ่มขึ้น เป็นผลจากการพัฒนาและการเติบโตอย่างรวดเร็วของเมือง โดยไม่มีการวางแผนและการกำกับการพัฒนาให้เป็นไปตามแผนที่ผ่านมา ฉะนั้นการพัฒนาในอนาคตควรมีการวางแผนการแก้ไขอย่างเป็นระบบ และนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง เนื่องจากปัญหาด้านความสงบเรียบร้อยเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขโดยความร่วมมือจากทุกฝ่ายและทุกคนในพื้นที่เพื่อให้เป็นชุมชนเมืองที่น่าอยู่อย่างยั่งยืนและสมกับคำว่า **“นครสวรรค์ City of Paradise”** อย่างแท้จริง 5.2 ข้อมูลศักยภาพ มีเครื่องมือและบุคลากรด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ครบถ้วน และมีประสิทธิภาพ มีอาสาสมัครป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่เพียงพอ มีแหล่งน้ำสำหรับการดับเพลิงและการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อีกทั้งมีเทคโนโลยีกล้องวงจรปิดที่กระจายอยู่ภายในเขตเทศบาล 5.3 ข้อมูลความต้องการตอบสนองต่อปัญหา เทศบาลควรมีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบภายในเขตตัวเมือง เพื่อการวางแผนการจัดระบบการรักษาความเรียบร้อยภายในเขตเมือง มีระบบการป้องกันบรรเทาสาธารณภัยที่ได้มาตรฐานให้ครอบคลุมพื้นที่ เพื่อป้องกันหรือรับมือกับสาธารณภัยและอุบัติเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ประชาชนรู้จักวิธีการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนและการใช้ไฟฟ้าอย่างถูกวิธี 5.4 ข้อมูลความต้องการตอบสนองต่อศักยภาพ ควรอบรมบุคลากรด้านการป้องกันบรรเทาสาธารณภัยให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน ควรจัดให้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเรื่องการป้องกันลดอุบัติเหตุให้กับประชาชนในเขตเทศบาล และขยายเครือข่ายของกล้องวงจรปิดให้ครอบคลุมในทุกพื้นที่เสี่ยงภัยอาชญากรรม **6. ด้านการบริหารจัดการที่ดี** 6.1 ข้อมูลด้านปัญหา มีการบริหารงานที่ล่าช้า ขาดการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ ขาดการความคิดริเริ่มในการดำเนินการ ตลอดจนบุคลากรขาดความรู้ความสามารถและความชำนาญ ทำให้การใช้จ่ายงบประมาณขาดประสิทธิภาพ เป็นผลจากการมีส่วนร่วมในการกำหนดประเด็นปัญหาความต้องการและกำหนดนโยบายร่วมกันระหว่างคณะผู้บริหารฝ่ายการเมือง และพนักงานของเทศบาล รวมทั้งประชาชนขาดโอกาสในการมีส่วนร่วมในการบริหารงานและการตรวจสอบ การบริหารงานของเทศบาลนครนครสวรรค์เพื่อให้เกิดความโปร่งใสเป็นธรรมและทั่วถึง 6.2 ข้อมูลด้านศักยภาพ มีคณะผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถและมีวิสัยทัศน์ในการบริหารงาน พร้อมทั้งมี นโยบายที่ชัดเจนสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง สอดรับกับมีโครงสร้างทางการบริหารจัดการและสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน ตลอดจนมีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี สำหรับการบริหารจัดการสมัยใหม่มีการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรขององค์กรให้มีคุณภาพ และมีระบบการจัดเก็บภาษีและการใช้จ่ายเงินที่มีคุณภาพ 6.3 ข้อมูลความต้องการตอบสนองต่อปัญหา จากประเด็นในเรื่องข้อมูลด้านปัญหาทำให้ทราบว่า การบริหารงานล่าช้าขาดความโปร่งใส ควรมีการปรับปรุงระบบการบริหารงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ โดยการจัดฝึกอบรมกลุ่มสัมพันธ์พนักงานเทศบาล สร้างจิตสำนึกของพนักงานให้เป็นผู้ให้บริการที่ดี สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนกับการบริหารองค์กรไปพร้อม ๆ กัน ปรับปรุงงานด้านการบริหารงานบุคคลให้มีคุณภาพ นำระบบการตรวจสอบติดตามและประเมินผลมาใช้ในเรื่องการบริหารงานด้านต่าง ๆ มีการวางแผนการใช้เงิน และการดำเนินการวางแผนงาน/โครงการเพื่อการพัฒนา ควรจัดให้มีการวางแผนการประชาสัมพันธ์ การวางแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยใช้ระบบการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและตอบสนองต่อการบริหารงานขององค์กรและให้บริการประชาชนได้อย่างดีมีประสิทธิภาพ 6.4 ข้อมูลความต้องการตอบสนองต่อศักยภาพ จากประเด็นเรื่องข้อมูลด้านศักยภาพ ในเมื่อเทศบาลนครนครสวรรค์มีผู้บริหารที่มีความรู้ ความสามารถ มีทรัพยากรทางการบริหาร เช่น คน งบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ที่เพียบพร้อม แต่ขาดความรู้ทางด้านการบริหารจัดการองค์กรและวิทยาการสมัยใหม่ ควรต่อยอดพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยการให้การสนับสนุนส่งเสริมพัฒนาความรู้ด้านต่างๆ ให้กับบุคลากร อาทิเช่น เรื่องการสร้างระบบฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาและการสร้างระบบงานบริการประชาชน One Stop Service ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงาน เปิดช่องทางการสื่อสารและรับฟังความคิดเห็นทางระบบสารสนเทศ Internet จัดให้มีสวัสดิการที่ดีเพื่อบำรุงขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานแต่ต้องดำเนินการด้วยความโปร่งใส มีการตรวจติดตามประเมินผลอย่างเป็นรูปธรรมจะทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น
{'url': 'https://data.go.th/dataset/nsm_info', 'title': 'ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลนครนครสวรรค์', 'license': 'CC-BY'}
**รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี** **(ระหว่างวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๔ – 28 กุมภาพันธ์ 2565)** ด้านที่ ๑๐ การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน นโยบายหลักข้อ ๑๐ การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน **๑๐.๑ ปกป้อง รักษา ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า** **(1)** **การป้องกันรักษาป่าและแก้ไขปัญหาไฟป่าในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ**โดยได้ดำเนินคดีการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้คดีไม้ของกลาง ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน ดังนี้ (1.1) คดีบุกรุกป่า จำนวน 1,877 คดี จับกุมผู้ต้องหา 345 คน เนื้อที่ 29,161 ไร่ 3 งาน 43 ตารางวา (1.2) คดีไม้ 1,243 คดี จับกุมผู้ต้องหา 676 คน (1.3) คดีไม้ของกลาง 25,432 ท่อน/แผ่น/เหลี่ยม/ปริมาตร 4,896.61 ลูกบาศก์เมตร **(2)** **โครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า** (2.1) ดำเนินโครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า จนถึงปัจจุบันได้ปลูกไปแล้ว 22,701 ไร่ โดยปลูกกล้าไม้ รวมทั้งสิ้น 3,250,383 ต้น เร่งรัดขับเคลื่อนโครงการปลูกป่า และป้องกันไฟป่า ในปี 2564 และ 2565 เร่งรัดดำเนินการในพื้นที่ต้นน้ำ 12 จังหวัดเร่งด่วน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก น่าน พะเยา ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน ชัยภูมิ นครศรีธรรมราช และนครราชสีมา โดยจังหวัดอื่นดำเนินการในส่วนของการเพิ่มพื้นที่สีเขียวทั้งในและนอกเขตป่า ร่วมกับชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม ของสภาพพื้นที่ แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่าระดับจังหวัด โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ทำความเข้าใจราษฎรที่อยู่อาศัยในพื้นที่ต้นน้ำ (ชั้นคุณภาพ ลุ่มน้ำ 1/2) ให้ร่วมกันปลูกไม้ยืนต้นหรือไม้ผลในรูปแบบของวนเกษตร โดยกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสนับสนุนกล้าไม้/ให้ความรู้ในการปลูกและดูแล/พัฒนาแหล่งน้ำ หรือฝายต้นน้ำ เพื่อฟื้นความชุ่มชื้นของระบบนิเวศน์และเป็นแหล่งน้ำต้นทุนในการอยู่อาศัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับชุมชน พิจารณาจัดตั้งเรือนเพาะชำชุมชน เพื่อจัดเตรียมกล้าไม้สำหรับฟื้นฟูป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียว และจัดทำโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการปลูกป่าต้นน้ำและเพิ่มพื้นที่สีเขียว (2.2) ปีงบประมาณ 2564 ดำเนินการเตรียมความพร้อมในการแก้ปัญหา ไฟป่าและหมอกควัน โดยกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันประกอบด้วย 3 มาตรการ และ 5 กิจกรรม ดังนี้ - มาตรการป้องกันการเกิดไฟป่า โดยจัดเตรียมพนักงานดับไฟป่าและเครื่องมือดับไฟป่าทั่วประเทศ และจ้างราษฎรตามโครงการเฝ้าระวังสร้างแนวกันไฟสร้างรายได้ชุมชนกิจกรรมการจัดการเชื้อเพลิง โดยการชิงเผาตามหลักวิชาการในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ การใช้เทคโนโลยี เพื่อการควบคุมไฟป่า โดยใช้ Application “Burn check” เพื่อจัดการการจองเผาพื้นที่ ซึ่งเป็นการจองช่วงเวลาการเผาของแต่ละอำเภอ เพื่อจัดระเบียบการเผา และการฝึกอบรมหลักสูตร “จิตอาสา” ตามโครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า - มาตรการปฏิบัติการควบคุมไฟป่า ประกอบด้วย กิจกรรมการประชาสัมพันธ์ และการให้ความรู้เชิงรุก กิจกรรมการป้องกันไฟป่า กิจกรรมการมีส่วนร่วม และกิจกรรมการดับไฟป่า - มาตรการแก้ไขสถานการณ์รุนแรงสู่ภาวะปกติ เป็นการปฏิบัติตามแผนระดมพลดับไฟป่าที่ 2 สถานการณ์รุนแรง หรือแผนระดมพลดับไฟป่าที่ 3 สถานการณ์วิกฤติ และสำรวจพื้นที่ปฏิบัติงานและลาดตระเวนอย่างเข้มข้นตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมดำเนินคดี เมื่อพบเห็นผู้กระทำผิด การดำเนินงานในการแก้ปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ในปี 2564 อย่างเข้มข้น ส่งผลให้จุดความร้อนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่เกษตร และพื้นที่ชุมชน ในภาพรวมทั้งประเทศลดลงจากปี 2563 ถึงร้อยละ 50 (1 มกราคม 2564 – 31 พฤษภาคม 2564) ดังนี้ | | | --- | | **จำนวนจุดความร้อนสะสมภาพรวมทั้งประเทศ** | | **ปี 2563** | **ปี 2564** | **ส่วนต่าง** | **ลดลงร้อยละ** | | 205,288 | 101,869 | 103,419 | 50 | ในส่วนจุดความร้อน 17 จังหวัดภาคเหนือ แบ่งเป็นข้อมูลรายจังหวัด ดังนี้ | | | | | --- | --- | --- | | **ลำดับ** | **จังหวัด** | **จำนวนจุดความร้อนสะสม** | | **ปี 2563** | **ปี 2564** | **ส่วนต่าง** | **ลดลงร้อยละ** | | 1 | เชียงราย | 7,391 | 1,517 | 5,874 | 79 | | 2 | เชียงใหม่ | 21,658 | 8,066 | 13,592 | 63 | | 3 | ลำปาง | 8,556 | 5,822 | 2,734 | 32 | | 4 | ลำพูน | 3,180 | 2,823 | 357 | 11 | | 5 | แม่ฮ่องสอน | 16,607 | 11,945 | 4,662 | 28 | | 6 | น่าน | 7,523 | 1,665 | 5,858 | 78 | | 7 | แพร่ | 5,169 | 2,787 | 2,382 | 46 | | 8 | พะเยา | 3,929 | 1,765 | 2,164 | 55 | | 9 | ตาก | 14,842 | 7,489 | 7,353 | 50 | | 10 | อุตรดิตถ์ | 5,119 | 2,203 | 2,916 | 57 | | 11 | สุโขทัย | 4,408 | 1,798 | 2,610 | 59 | | 12 | พิษณุโลก | 4,905 | 2,423 | 2,482 | 51 | | 13 | กำแพงเพชร | 5,560 | 2,368 | 3,192 | 57 | | 14 | พิจิตร | 2,510 | 1,016 | 1,494 | 60 | | 15 | เพชรบูรณ์ | 6,550 | 4,427 | 2,123 | 32 | | 16 | นครสวรรค์ | 4,794 | 2,550 | 2,244 | 47 | | 17 | อุทัยธานี | 6,627 | 1,112 | 5,515 | 83 | การดำเนินงานในการแก้ปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ในปี 2565 อย่างเข้มข้น ส่งผลให้จุดความร้อนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่เกษตร และพื้นที่ชุมชน ในภาพรวมทั้งประเทศลดลงจากปี 2564 ถึงร้อยละ 41 (1 มกราคม 2565 – 6 กุมภาพันธ์ 2565) ดังนี้ | | | --- | | **จำนวนจุดความร้อนสะสมภาพรวมทั้งประเทศ** | | **ปี 2564** | **ปี 2565** | **ส่วนต่าง** | **ลดลงร้อยละ** | | 22,908 | 13,583 | 9,325 | 41 | ในส่วนจุดความร้อน 17 จังหวัดภาคเหนือ แบ่งเป็นข้อมูลรายจังหวัด ดังนี้ | | | | | --- | --- | --- | | **ลำดับ** | **จังหวัด** | **จำนวนจุดความร้อนสะสม** | | **ปี 2563** | **ปี 2564** | **ส่วนต่าง** | **ลดลงร้อยละ** | | 1 | เชียงราย | 604 | 518 | ลดลง 86 จุด | ลดลงร้อยละ 14 | | 2 | เชียงใหม่ | 1,378 | 432 | ลดลง 946 จุด | ลดลงร้อยละ 69 | | 3 | ลำปาง | 1,344 | 758 | ลดลง 586 จุด | ลดลงร้อยละ 44 | | 4 | ลำพูน | 329 | 182 | ลดลง 147 จุด | ลดลงร้อยละ 45 | | 5 | แม่ฮ่องสอน | 1,149 | 437 | ลดลง 712 จุด | ลดลงร้อยละ 62 | | 6 | น่าน | 188 | 378 | เพิ่มขึ้น 190 จุด | เพิ่มขึ้นร้อยละ 101 | | 7 | แพร่ | 317 | 424 | เพิ่มขึ้น 107 จุด | เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 | | 8 | พะเยา | 555 | 303 | ลดลง 252 จุด | ลดลงร้อยละ 45 | | 9 | ตาก | 1,571 | 543 | ลดลง 1,028 จุด | ลดลงร้อยละ 65 | | 10 | อุตรดิตถ์ | 535 | 587 | เพิ่มขึ้น 52 จุด | เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 | | 11 | สุโขทัย | 372 | 87 | ลดลง 285 จุด | ลดลงร้อยละ 77 | | 12 | พิษณุโลก | 772 | 184 | ลดลง 588 จุด | ลดลงร้อยละ 76 | | 13 | กำแพงเพชร | 531 | 256 | ลดลง 275 จุด | ลดลงร้อยละ 52 | | 14 | พิจิตร | 284 | 168 | ลดลง 116 จุด | ลดลงร้อยละ 41 | | 15 | เพชรบูรณ์ | 1,215 | 357 | ลดลง 858 จุด | ลดลงร้อยละ 71 | | 16 | นครสวรรค์ | 1,112 | 430 | ลดลง 682 จุด | ลดลงร้อยละ 61 | | 17 | อุทัยธานี | 169 | 101 | ลดลง 68 จุด | ลดลงร้อยละ 40 | (2.3) จัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ โดยประกอบด้วย ๓ มาตรการหลัก ได้แก่ มาตรการที่ ๑ การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ มาตรการที่ ๒ ป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง (แหล่งกำเนิด) และมาตรการที่ ๓ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการมลพิษ โดยมีผลการดำเนินการดังนี้ (1) ป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้กลไกของพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ ตามแนวทาง “๔ มาตรการเชิงพื้นที่ ๕ มาตรการบริหารจัดการ” ประกอบด้วย ๔ พื้นที่หลัก ได้แก่ ๑) พื้นที่ป่าอนุรักษ์ และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ๒) พื้นที่เกษตรกรรม ๓) พื้นที่ชุมชนและเขตเมือง และ ๔) พื้นที่ริมทาง (2) จัดทำแนวทางการขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน (3) พัฒนาข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนสิ่งแวดล้อมในการแก้ไขปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ (4) กำหนดกลไกการสั่งการระดับพื้นที่และมาตรการยกระดับ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา PM2.5 ในช่วงวิกฤตทั้งในเขตเมืองและนอกเขตเมือง (5) ประกาศ งดการเผาในที่โล่ง ลดการใช้รถยนต์ จอดรถดับเครื่องยนต์ ระบายการจราจรให้คล่องตัว เฝ้าระวังและรักษาสุขภาพ เมื่อวันที่ ๑ - ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และจังหวัดภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก และเมื่อวันที่ ๒๒ - ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และจังหวัดภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก (6) เร่งรัดดำเนินการตามแผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองจากไฟป่าและการเผาในที่โล่ง ในพื้นที่ภาคเหนือ ปี ๒๕๖๔ แผนปฏิบัติการระดับจังหวัด เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองจากไฟป่าและการเผาในที่โล่ง ในพื้นที่ภาคเหนือ ปี ๒๕๖๔ และแผนเฉพาะกิจ เพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ๑๒ มาตรการ ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีนโยบาย ให้หน่วยงานขับเคลื่อนพันธกิจร่วม (Joint Mission) เรื่อง ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ขนาดเล็ก PM2.5 (กรมควบคุมมลพิษ/กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช/กรมป่าไม้) และโครงการชิงเก็บ ลดเผา (สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม/ กรมควบคุมมลพิษ/สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม/กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช/กรมป่าไม้) เพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงาน และยกระดับภารกิจ ให้สามารถตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ **(3)** **แก้ไขปัญหาช้างป่าออกนอกพื้นที่** จัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ฟื้นฟูแหล่งน้ำ และแหล่งอาหาร โดยปลูกพืชอาหารช้าง สัตว์ป่า 18,478 ไร่/ ทุ่งหญ้า 39,610 ไร่ ทำและปรับปรุงแหล่งน้ำ 737 แห่ง/ ฝายชะลอน้ำ 109 ฝาย ทำโป่งเทียม 3,308 แห่ง / (สนับสนุน) สร้างคูกันช้าง 647 กิโลเมตร สร้างรั้วไฟฟ้า 117 กิโลเมตร/ คอนกรีตกึ่งถาวร 212.26 กิโลเมตร สร้างเครือข่ายชุมชน (ป้องกัน/เฝ้าระวังช้างป่า) 190 เครือข่าย และช่วยเหลือเยียวยาโดยกองทุนช่วยเหลืออาหารช้างป่าแห่งประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 7,292,998 บาท ซึ่งมีผลการดำเนินงานดังนี้ (1.1) การจัดการแนวพื้นที่กันชน พัฒนาศูนย์แจ้งเตือนภัยจากช้างป่าล่วงหน้า 2 แห่ง (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ปาเขาอ่างฤาไน และอุทยานแห่งชาติกุยบุรี) และจัดตั้งชุดเคลื่อนที่เร็วป้องกัน/เฝ้าระวังช้างป่า 47 ชุด (1.2) จัดทำแผนการจัดการช้างป่าในพื้นที่ประสบปัญหา (เร่งด่วน) 5 กลุ่มป่า ได้แก่ กลุ่มป่าตะวันออก (ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด) กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่มป่าตะวันตก กลุ่มป่าแก่งกระจาน และกลุ่มป่าภูเขียว-น้ำหนาวแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างการจัดทำร่างแผนฯ และขออนุมัติใช้แผนฯ อีก 7 กลุ่มป่า (1.3) จัดตั้งชุดเคลื่อนที่เร็วในการป้องกันและเฝ้าระวังช้างป่า 41 ชุด ใน 41 ชุด พื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ประสบปัญหาช้างป่า (1.4) ดำเนินการติดตามพฤติกรรมและการเคลื่อนที่ของช้างป่าในพื้นที่เป้าหมายที่ประสบปัญหา โดยการติดปลอกคอสัญญาณดาวเทียมให้กับช้างป่าไปแล้ว 17 ตัว ใน 7 พื้นที่ป่าอนุรักษ์ ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา อุทยานแห่งชาติกุยบุรี และอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง (1.5) จัดการพื้นที่ชุมชน สนับสนุนเครือข่ายอาสาสมัครเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่ากลับคืนสู่ป่าธรรมชาติ 190 เครือข่าย การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาช้างป่า ประชาชนกับช้างป่าสามารถอยู่อาศัยร่วมกันได้อย่างสมเหตุสมผล เกิดเครือข่ายประชาชนอนุรักษ์ช้างและกลุ่มอาสาสมัครทำงานร่วมกัน โดยดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำ พัฒนาแหล่งอาหาร ปรับปรุงทุ่งหญ้า จัดทำโป่งเทียม ติดตามสถานภาพประชากร การกระจาย และจัดทำระบบติดตามการเคลื่อนที่ของช้าง รวมถึงการจำแนกอัตลักษณ์ของช้างป่าส่งเสริมการพัฒนาชุมชน สร้างความรู้ความเข้าใจ สร้างกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย และพัฒนาแผนการจัดการช้างป่าในระดับกลุ่มป่าและระดับพื้นที่ในทุกพื้นที่กลุ่มป่าที่ประสบปัญหา โดยมุ่งเน้นลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับช้างป่า สำหรับราษฎรและช้างป่าสามารถอยู่อาศัยร่วมกันได้ สามารถใช้พื้นที่หากินร่วมกันได้อย่างสมเหตุสมผล โดยมีมาตรการรองรับอย่างเป็นธรรม ช้างป่าไม่ถูกทำร้ายหรือได้รับอันตรายจนบาดเจ็บหรือเสียชีวิตหากออกไปนอกพื้นที่อนุรักษ์ ช้างป่ามีที่อยู่อาศัย แหล่งหากินตามธรรมชาติที่สมบูรณ์อย่างพอเพียง ทั่วถึง และปลอดภัย เกิดระบบจัดการปัญหาเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนกับช้างที่สามารถขยายผลความสำเร็จอย่างต่อเนื่องได้ และมีแนวทางพัฒนาเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนและช้างอย่างยั่งยืน **(4)** **ความขัดแย้งระหว่างคนกับเสือโคร่ง** โดยการบริหารจัดการความขัดแย้ง การจัดการปัญหาอย่างมีส่วนร่วม การจัดการข้อมูลและการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ และการสร้างจิตสำนึกของชุมชนในการอยู่ร่วมกับเสือโคร่ง **(5)** **แก้ไขปัญหาลิงในพื้นที่ชุมชน** โดยการจัดการปัญหาลิงอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ปี 2561 ได้ดำเนินการสำรวจประชากรลิงเพื่อเป็นฐานข้อมูล จัดทำคู่มือแนวทางปฏิบัติ ในการจัดการปัญหาลิงเผยแพร่ให้หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีปัญหาลิง 51 จังหวัด จำนวน 2,500 เล่ม และทำหมันลิงมาแล้วทั้งสิ้น 16,983 ตัว ซึ่งมีผลการดำเนินงานดังนี้ (5.1) ดำเนินการทำหมันลิง รวมจำนวนทั้งสิ้น 881 ตัว (เพศผู้ 573 ตัว และเพศเมีย 308 ตัว) โดยดำเนินการในพื้นที่จังหวัดลพบุรี จำนวน 205 ตัว (เพศผู้ 143 ตัว และเพศเมีย 62 ตัว) จังหวัดนราธิวาส จำนวน 113 ตัว (เพศผู้ 72 ตัว และเพศเมีย 41 ตัว) โดยใช้งบประมาณจากหน่วยงานในพื้นที่ และจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 563 ตัว (เพศผู้ 358 ตัว และเพศเมีย 205 ตัว) (5.2) จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็วในการแก้ไขปัญหาลิง จำนวน 7 หน่วย รับผิดชอบ 10 พื้นที่ประสบปัญหาลิงเร่งด่วน **(6) แผนพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้ประกอบแผนสั่งใช้กำลังสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ปฏิบัติภารกิจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564** (6.๑) หยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ (1) สนธิกำลังระหว่างฝ่ายปกครอง กองอาสารักษาดินแดน ทหาร ตำรวจ และพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ ในการป้องกันและปราบปราม การลักลอบตัดไม้ทำลายป่าและทรัพยากรของชาติ ตลอดจนบูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคเอกชนและประชาชนในพื้นที่ ในการจับกุมดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด โดยเฉพาะผู้กระทำความผิดเป็นขบวนการ กลุ่มนายทุน กลุ่มอิทธิพล (2) จัดให้มีการลาดตระเวนร่วมกันของหน่วยงานด้านความมั่นคง ในบริเวณพื้นที่ล่อแหลมตามแนวเขตติดต่อระหว่างประเทศ (3) ให้มีการจัดตั้งจุดตรวจและจุดสกัด เพื่อทำการตรวจค้นและจับกุม การลำเลียงไม้และสัตว์ป่าผิดกฎหมายอย่างเคร่งครัด (4) สำรวจและจัดทำบัญชี ผู้มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เพื่อดำเนินการเฝ้าระวังมิให้กระทำความผิด (5) เร่งรัดการจับกุมผู้บุกรุกป่าไม้ โดยให้จัดลำดับความเร่งด่วนกับผู้บุกรุกรายใหญ่เป็นลำดับแรก แล้วดำเนินการกับรายอื่น ๆ ต่อไป (6) ควบคุม ดูแลให้มีการปฏิบัติ และบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง อย่างเคร่งครัด โดยมีการทำงานแบบบูรณาการข้อมูลด้านการป้องกันและปราบปราม ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ (7) ในกรณีที่มีการตรวจยึด หรือจับกุมโดยไม่ได้ตัวผู้ต้องหา ให้กำหนดเวลาผู้ต้องหา มารายงานตัวหรือนำหลักฐาน/เอกสารสิทธิ์มาแสดง โดยหากพ้นกำหนดให้สามารถทำลาย รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้โดยไม่ต้องรอการพิจารณาตัดสินของศาล ถือว่าเป็นพื้นที่ของราชการ ทำให้การฟื้นฟูป่าไม้กระทำได้อย่างรวดเร็ว ป้องกันการกลับมาลักลอบใช้ประโยชน์ของผู้ต้องหาในระหว่างที่ยังไม่ถูกจับกุมดำเนินคดี (8) เข้มงวดกวดขันการตรวจสอบไม้นำเข้าและส่งออกจากต่างประเทศ เพื่อป้องกันมิให้มีการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าของประเทศไทย (9) กรณีผู้บุกรุกรายใหม่เป็นประชาชนผู้ยากไร้ มีรายได้น้อยและ ผู้ไร้ที่ดินทำกิน จะต้องดำเนินการสอบสวนและพิสูจน์ทราบ เพื่อกำหนดวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม และดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป (6.๒) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทำลาย ทรัพยากรป่าไม้ (๑) เพิ่มช่องทางการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ในการแจ้งข่าวสาร เช่น ศูนย์ดำรงธรรม หรือจัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุ ศูนย์ร้องเรียน เป็นต้น (๒) ประสานความร่วมมือสื่อมวลชน ให้ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสาร การป้องกันการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าอย่างกว้างขวาง และให้ประณามการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าและกระทำผิดกฎหมายป่าไม้ เพื่อให้สังคมช่วยกันต่อต้านและหยุดยั้งการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า (๓) ประสานความร่วมมือจากภาคเอกชน ภาคประชาชน และกลุ่มจิตอาสาในการร่วมยับยั้ง การบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ (4) รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสารการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าให้เข้าถึงประชาชนในชุมชนในเขตพื้นที่ป่าและพื้นที่รอบป่า อย่างชัดเจนและต่อเนื่อง (6.3) จัดระบบการดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วม กับประชาชน (๑) จัดตั้งป่าหมู่บ้านเพิ่มขึ้น และมอบให้หมู่บ้านรับผิดชอบดูแล โดยส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ให้การสนับสนุนในการจัดตั้ง และการดูแลป่าชุมชนให้ครบทุกแห่ง (๒) ดูแลประชาชนและชุมชนในพื้นที่ป่าและพื้นที่รอบป่าให้มีพออยู่ พอกิน พอใช้ โดยจัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้อยู่อย่างมีความสุขเกื้อกูลกันระหว่าง ป่ากับคนอย่างยั่งยืน (๓) จัดตั้งอาสาสมัครในหมู่บ้านที่มีเขตติดต่อพื้นที่ป่า ทำหน้าที่ ดูแลรักษาป่าให้ครอบคลุมพื้นที่ป่า (๔) ตรวจสอบและติดตามโครงการปลูกป่าและฟื้นฟูทรัพยากร ธรรมชาติที่ผ่านมา เพื่อให้มั่นใจว่าการปลูกป่าและฟื้นฟูสภาพป่าไม้ได้ผลตามวัตถุประสงค์ และหากพบว่า มีประเด็นปัญหาให้เร่งดำเนินการแก้ไข เพื่อให้ป่าที่ปลูกเจริญเติบโตและฟื้นฟู สู่สภาพป่าธรรมชาติโดยเร็วอย่างต่อเนื่องและจริงจัง (๕) แสวงหาความร่วมมือ และสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ ประชาชน และเอกชนในการเพิ่มและพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและหมู่บ้าน (6.4) ส่งเสริมให้คนอยู่กับป่าพึ่งพากันอย่างมีความสุข (๑) ส่งเสริมสนับสนุนและขยายผล การดำเนินการพัฒนาตามแนวทางพระราชดำริและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้ (๒) ดูแลประชาชนและชุมชนในพื้นที่ป่าและพื้นที่รอบป่าให้มีพออยู่ พอกิน พอใช้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขเกื้อกูลกันระหว่างป่ากับคนอย่างยั่งยืน (๓) จัดทำโครงการเสริมรายได้ให้กับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ป่า และพื้นที่รอบป่า เช่น โครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ โครงการเส้นทางศึกษาธรรมชาติ โครงการป่าสมุนไพร เป็นต้น (๔) นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นหลักในการพัฒนาโครงสร้างความเป็นอยู่และรายได้ ให้สามารถพึ่งพาตนเอง โดยส่งเสริมให้มีวิสาหกิจชุมชน และระบบสหกรณ์ ให้กับหมู่บ้านในพื้นที่ป่าและพื้นที่รอบป่า **๑๐.๒ ปรับปรุงระบบที่ดินทำกินและลดความเหลื่อมล้ำด้านการถือครองที่ดิน** **การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ**พื้นที่เป้าหมายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ตั้งแต่ปี 2558 – 2564 จำนวน ๑,๐๗๑ พื้นที่ ๗๑ จังหวัด เนื้อที่ประมาณ ๑,๙๙๐,๕๘๑-๐-๕๘.๙๕ ไร่ โดยปัจจุบันได้ดำเนินการออกหนังสืออนุญาตแล้วใน ๒๘๐ พื้นที่ ๖๖ จังหวัด เนื้อที่ ๗๕๖,๘๓๑-๐-๒๙.๒๖ ไร่ จัดคนลงพื้นที่ จำนวน ๖๗,๓๑๖ ราย ใน ๒๙๔ พื้นที่ ๖๗ จังหวัด เนื้อที่ ๔๕๓,๘๑๐-๐-๑๓.๑๐ ไร่ และส่งเสริมและพัฒนาอาชีพใน ๑๗๗ พื้นที่ ๖๐ จังหวัด เนื้อที่ ๔๖๗,๑๔๐-๑-๒๔.๓๔ ไร่ โดยมีผลการดำเนินงานของอนุกรรมการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องดังนี้ (1) คณะอนุกรรมการจัดหาที่ดิน โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการจัดหาและอนุญาตการใช้ประโยชน์ที่ดินภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ โดยมีผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน ดังนี้ (1.1) พื้นที่เป้าหมายตามที่ คทช. กำหนด จำนวน 388 พื้นที่ป่า 63 จังหวัด เนื้อที่ 1,898,094-3-91.74 ไร่ (1.2) พื้นที่เป้าหมายตามคำขออนุญาต จำนวน 388 พื้นที่ป่า 63 จังหวัด เนื้อที่ 1,851,457-2-84.26 ไร่ จำนวน 388 คำขอ (1.3) อนุญาตให้จังหวัดใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อจัดที่ดินทำกิน ให้ชุมชนแล้ว จำนวน 200 พื้นที่ 60 จังหวัด เนื้อที่ 831,337-0-16.66 ไร่ จำนวน 200 คำขอ (1.4) กรมป่าไม้รับเอกสารคำขอแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณา จำนวน 187 พื้นที่ป่า 52 จังหวัด เนื้อที่ 1,018,260-1-27.6 ไร่ จำนวน 187 คำขอ (1.5) กรมป่าไม้ยังไม่ได้รับคำขอ อยู่ระหว่างจังหวัดยื่นขออนุญาต จำนวน 1 พื้นที่ 1 จังหวัด เนื้อที่ 1,860-1-40 ไร่ (2) คณะอนุกรรมการจัดที่ดิน โดยกระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินโครงการ ที่ดินของรัฐที่จัดให้แก่ประชาชนที่ยากจน ซึ่งมีผลการดำเนินการดังนี้ (2.1) กิจกรรมจัดที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนที่ยากจน โดยมีผลการดำเนินการปีงบประมาณ 2564 (ตุลาคม ๒๕๖๓ - ธันวาคม ๒๕๖๔) ดำเนินการได้ 2,502 แปลง (เป้าหมาย 2,500 แปลง) คิดเป็นร้อยละ 100.08 (2.2) กิจกรรมบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยมีผลการดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ (ตุลาคม ๒๕๖๓ - ธันวาคม ๒๕๖๔) อยู่ระหว่างช่างรังวัดวางผัง/ปักหลักเขตรอบแปลง/โยงยึดหลักเขต ผลการดำเนินการได้ 1,895 แปลง 1,624 ครัวเรือน (เป้าหมาย 1,300 แปลง 800 ครัวเรือน) คิดเป็นร้อยละ 145.77 (2.3) โครงการสนับสนุน คทช.จังหวัด ในการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาลผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2563 – 2564 แบ่งเป็นรายกิจกรรมดังนี้ (1) กิจกรรมสนับสนุน คทช.จังหวัด ในการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ตามนโยบายรัฐบาล ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ (ตุลาคม ๒๕๖๓ – ธันวาคม ๒๕๖๔) ดำเนินการได้ 13,764 แปลง (เป้าหมาย 11,900 แปลง) คิดเป็นร้อยละ 115.66 (2) กิจกรรมจัดทำข้อมูลที่ดินเพื่อการจัดที่ดินตามนโยบาย คทช. โดยมีผลการดำเนินการปีงบประมาณ 2564 (ตุลาคม ๒๕๖๓ - ธันวาคม ๒๕๖๔) ดำเนินการได้ 13,900 แปลง (เป้าหมาย 14,000 แปลง) คิดเป็นร้อยละ 99.28 (3) คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกรส่งเสริม และพัฒนาอาชีพการเกษตรให้เกษตรกร/สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 10,740 ราย 24 พื้นที่ ซึ่งมีผลการดำเนินการดังนี้ (3.1) ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่ให้สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 24 พื้นที่ 742 ราย (เป้าหมาย 24 พื้นที่ 720 ราย) ดำเนินการไปแล้ว ร้อยละ 103.06 (3.2) ถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีการผลิตพืชที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ แก่เกษตรกร 2,635 ราย (เป้าหมาย 3,035 ราย) ดำเนินการไปแล้ว ร้อยละ 87.83 (3.3) ส่งเสริมอาชีพ แก่เกษตรกรถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี การเลี้ยงไก่พื้นเมือง สุกรชีวภาพโคเนื้อ และการปลูกพืชอาหารสัตว์ จำนวน 992 ราย (เป้าหมาย 1,000 ราย) ดำเนินการไปแล้ว ร้อยละ 99.20 (3.4) ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพประมง เพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินให้กับเกษตรกรภายใต้การจัดสรรที่ดินให้กับผู้ยากไร้ คัดเลือกเกษตรกร 2,371 ราย และส่งเสริมความรู้ 2,371 ราย และสนับสนุนปัจจัยการผลิต 2,371 ราย (เป้าหมาย 2,350 ราย) ดำเนินการไปแล้ว ร้อยละ 100 (3.5) เกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ในพื้นที่ คทช.ได้รับการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม 600 ราย (เป้าหมาย 600 ราย) ดำเนินการไปแล้ว ร้อยละ 100 (3.6) ปรับปรุงและสาธิตการพัฒนาที่ดินในแปลงเกษตรกรที่ได้รับการจัด ที่ดินทำกิน ส่งเสริมและสาธิตปัจจัยการผลิตในการปรับปรุงบำรุงดินดำเนินการได้ 4,000 ราย (เป้าหมาย 4,000 ราย) ดำเนินการไปแล้ว ร้อยละ 100 **๑๐.๓ ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ แหล่งน้ำชุมชน และทะเล** **(1)** **ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ แหล่งชุมชน และทะเล** ผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (2561 – 2580) 6 ด้าน เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ทุกหมู่บ้านมีน้ำสะอาดอุปโภคบริโภค น้ำเพื่อการผลิตมั่นคง ความเสียหายจากอุทกภัยลดลง คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน บริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ภายใต้การพัฒนาอย่างสมดุล โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน” ซึ่งในปี พ.ศ. 2561 – 2563 ที่ผ่านมา มีการพัฒนาด้านแหล่งน้ำครอบคลุมพื้นที่ 76 จังหวัด โดยเน้นการพัฒนาโครงการ เพื่อการจัดการน้ำอุปโภคบริโภค การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต และการจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย ได้มีการพัฒนาระบบประปาเมือง การขยายเขตเพิ่มเขตจำหน่ายน้ำ และเพิ่ม ประสิทธิภาพระบบประปาหมู่บ้าน 3,755 แห่ง ทำให้มีประชาชนที่สามารถเข้าถึงน้ำประปาได้ 58,091 ครัวเรือน สำหรับการพัฒนาและจัดหาแหล่งน้ำ ทั้งในพื้นที่ชลประทานและนอกเขตชลประทาน สามารถเพิ่มปริมาณน้ำได้ 1,139.84 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่รับประโยชน์ 2.51 ล้านไร่ และประชาชนได้รับประโยชน์ 2.27 ล้านครัวเรือน **(2)** **การจัดหาแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อการอุปโภค บริโภค** การจัดหาแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อการอุปโภคบริโภคสนับสนุนภาคการผลิตและรักษาระบบนิเวศ ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำเพื่อเก็บกักน้ำในฤดูฝน (เพิ่มน้ำต้นทุน) และระบบกระจายน้ำ (กิจกรรม : ขุดลอก อนุรักษ์ ฟื้นฟู ปรับปรุง ซ่อมแซม ก่อสร้างแหล่งน้ำ และระบบกระจายน้ำ) สนับสนุนพื้นที่เกษตรกรรม และแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อการอุปโภคบริโภค ทั้งนี้ หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะสามารถเพิ่มน้ำต้นทุน 323.78 ล้านลูกบาศก์เมตร ประชาชนได้รับประโยชน์ 153,759 ครัวเรือน พื้นที่ได้รับประโยชน์ 490,305 ไร่ โดยมีผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2562 – 2564 สามารถดำเนินการจัดหาน้ำบาดาลเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค จำนวน 2,103 แห่ง และสามารถเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนไม่น้อยกว่า 73.8687 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ประชาชนได้รับประโยชน์มากกว่า 299,625 ครัวเรือน **(3)** **การเพิ่มประสิทธิภาพการเตือนภัยให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เสี่ยง** กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2547 ให้ดำเนินการโครงการติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning) สำหรับพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยดินถล่มในพื้นที่ลาดชันและพื้นที่ราบเชิงเขา เพื่อเป็นกลไกในการติดตามสถานการณ์เฝ้าระวังและเตือนภัยที่เกิดจากน้ำท่วมฉับพลันโดยการตรวจวัดข้อมูลปริมาณน้ำฝนและระดับน้ำในพื้นที่หมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยที่อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน และจัดสร้างมาตรฐานการเฝ้าระวังและเตือนภัยในรูปแบบต่าง ๆ ที่พัฒนาขึ้นพร้อมทั้งฝึกอบรมอาสาสมัครประจำหมู่บ้านให้สามารถนำไปประยุกต์ในงานการเตือนภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้ติดตั้งระบบเตือนภัย จำนวน 1,796 สถานี 5,482 หมู่บ้าน โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้ช่วยเหลือประชาชน ในภาวะน้ำแล้งและน้ำท่วม ดังนี้ - ภาวะน้ำแล้ง มีการให้ความช่วยเหลือ 42 จังหวัด ปริมาณการสูบน้ำ 85,384,680 ลูกบาศก์เมตร แจกจ่ายน้ำสะอาด จำนวน 7,770,969 ลิตร แจกจ่ายน้ำดื่มบรรจุขวด จำนวนรวม 20,501 ขวด โดยมีประชาชนได้รับการช่วยเหลือด้านน้ำอุปโภคบริโภค จำนวน 528,611 ครัวเรือน 1,436,208 ราย และช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร จำนวน 269,758 ไร่ - ภาวะน้ำท่วม มีการให้ความช่วยเหลือ 32 จังหวัด ปริมาณการสูบน้ำ 11,455,388 ลูกบาศก์เมตร แจกจ่ายน้ำสะอาด จำนวน 456,000 ลิตร แจกจ่ายน้ำดื่มบรรจุขวด จำนวนรวม 41,468 ขวด โดยมีประชาชนได้รับการช่วยเหลือด้านน้ำอุปโภคบริโภค จำนวน 43,014 ครัวเรือน 143,211 ราย และช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร 89,568 ไร่ - ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีผลการแจ้งเตือนภัยจากระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System : EWS) สำหรับพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย-ดินถล่ม ในพื้นที่ลาดชันและที่ราบเชิงเขา ดังนี้ | | | | | --- | --- | --- | | **ระดับเตือนภัย** | **ครั้ง** | **หมู่บ้าน** | | เฝ้าระวัง (สีเขียว) | 588 | 1,896 | | เตรียมพร้อม (สีเหลือง) | 431 | 1,496 | | อพยพ (สีแดง) | 132 | 484 | | **สรุป** | **1,151** | **3,876** | **(4) ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง** โดยเตรียมความพร้อมในการป้องกัน/บรรเทาภาวะน้ำแล้ง ดังนี้ 4.1 จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการด้านการป้องกัน/บรรเทาภาวะน้ำแล้ง ดังนี้ 1) ศูนย์ปฏิบัติการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ด้านทรัพยากรน้ำ) 2) ศูนย์อำนวยการติดตามและแก้ไขปัญหาภาวะน้ำแล้ง (ศูนย์เมขลา) 3) ศูนย์เฉพาะกิจช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ภัยแล้ง (ศูนย์นาคราช) 4) ศูนย์อำนวยการติดตามและแก้ไขปัญหาภาวะน้ำแล้งส่วนหน้า 4.2 แผนปฏิบัติการในภาวะน้ำแล้ง ประกอบด้วย 1) ศูนย์ผลิตน้ำสะอาด จำนวน 25 จุด ปริมาณน้ำ 11.76 ลิตร 2) จุดแจกจ่ายน้ำช่วยเหลือน้ำแล้ง จำนวน 296 จุด ปริมาณน้ำ 15.14 ล้านลิตร 3) จุดสูบน้ำช่วยเหลือภัยแล้ง จำนวน 106 จุด ปริมาณน้ำ 60 ล้านลูกบาศก์เมตร 4) จุดจ่ายน้ำสะอาด จำนวน 200 จุด ปริมาณน้ำ 10 ล้านลิตร 4.3 ด้านบุคลากร ประกอบด้วย 1) ผู้ประสานงานให้ความช่วยเหลือและเฝ้าระวังสถานการณ์ จำนวน 250 คน 2) เจ้าหน้าที่ด้านการปฏิบัติงานในพื้นที่ รายจังหวัด จำนวน 387 คน 4.4 เตรียมความพร้อมด้านแหล่งน้ำผิวดิน ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำ 398 แห่ง และฝาย 823 แห่ง 4.5 ด้านอุปกรณ์และเครื่องมือ ประกอบด้วย เครื่องสูบน้ำ 313 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ 142 คัน สถานีเตือนภัยน้ำหลาก ดินถล่ม 1,547 สถานี สถานีโทรมาตร 228 สถานี สถานีกล้อง CCTV 75 สถานี สถานีอุตุ - อุทกวิทยา 385 สถานี ชุดขุดเจาะน้ำบาดาล 85 ชุด และรถผลิตน้ำดื่มสะอาดเคลื่อนที่ 18 คัน 4.6 โครงการจัดหาแหล่งน้ำบาดาล และโครงการก่อสร้างสถานีจ่ายน้ำบาดาลเพื่อประชาชน งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ดำเนินการแล้วเสร็จ 2 โครงการ ได้แก่ ๑) โครงการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลระยะไกลเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่แล้งซ้ำซากหรือน้ำเค็ม เป้าหมาย จำนวน ๒๒ แห่ง (๘๘ บ่อ) มีผลการเจาะน้ำบาดาลแล้ว จำนวน ๒๒ แห่ง (๘๘ บ่อ) และ ๒) โครงการก่อสร้างสถานีจ่ายน้ำบาดาลเพื่อประชาชน จำนวน ๘ แห่ง (๑๖ บ่อ) มีผลการเจาะบ่อน้ำบาดาลแล้ว จำนวน ๘ แห่ง (๑๖ บ่อ) และอยู่ระหว่างดำเนินการโครงการ 1 โครงการ ได้แก่ โครงการสำรวจหาแหล่งน้ำบาดาลในพื้นที่ศักยภาพต่ำ เป้าหมาย ๒๙ แห่ง (๑๔๕ บ่อ) ดำเนินการเจาะบ่อน้ำบาดาลแล้ว ๓ แห่ง (๑๗ บ่อ) คิดเป็นร้อยละ ๑๒ 4.7 การฟื้นฟูและอนุรักษ์แหล่งน้ำบาดาล ได้รับจัดสรรงบประมาณ งบกลาง ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ให้ดำเนินโครงการเติมน้ำใต้ดินในพื้นที่ทั่วประเทศ ภายใต้โครงการบรรเทาปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมในพื้นที่ ๗๖ จังหวัดทั่วประเทศ เป้าหมาย จำนวน ๑,๐๐๐ แห่ง มีผลการก่อสร้างระบบเติมน้ำใต้ดินแล้ว จำนวน ๖๘๒ แห่ง คิดเป็นร้อยละ ๖๘ **(5) ดำเนินโครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟูแหล่งน้ำ และการขุดเจาะบ่อบาดาล และก่อสร้างระบบกระจายน้ำ** ดังนี้ 5.1 ดำเนินโครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟูแหล่งน้ำพร้อมระบบกระจายน้ำ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 381 โครงการ และเตรียมแผนงานโครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟูแหล่งน้ำพร้อมระบบกระจายน้ำ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 286 โครงการ เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ และจัดหาน้ำอุปโภคบริโภค ที่สะอาดให้กับประชาชนใช้ได้ตลอดปี โดยโครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟูแหล่งน้ำพร้อมระบบกระจายน้ำเป็นการจัดหาแหล่งน้ำต้นทุนในพื้นที่เกษตรน้ำฝน เติมน้ำให้กับแหล่งน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพ การกักเก็บน้ำ เพื่อสร้างสมดุลของปริมาณน้ำให้สอดคล้องกับความต้องการใช้น้ำของประชาชน ในพื้นที่ และสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำ ได้ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำภายใต้พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 และบูรณาการแผนงานและแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำกับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5.2 ดำเนินการขุดเจาะบ่อบาดาลและก่อสร้างระบบกระจายน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 1,850 แห่ง แล้วเสร็จ ประกอบด้วย 1) โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 จำนวน 793 แห่ง (เจาะบ่อน้ำบาดาลเป้าหมาย 724 แห่ง ก่อสร้างระบบกระจายน้ำ 793 แห่ง) 2) โครงการเพิ่มน้ำต้นทุนและระบบกระจายน้ำเพื่อสนับสนุนแผนปฏิบัติการฟื้นฟูเยียวยาเกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วงและอุทกภัย ปี 2562 (งบกลาง) จำนวน 138 แห่ง 3) โครงการสำรวจและพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อเสริมแหล่งน้ำดิบ (งบกลาง) จำนวน 704 แห่ง ผลการเจาะบ่อบาดาลแล้วเสร็จ 690 แห่ง 4) โครงการเร่งด่วนเพื่อเก็บกักน้ำในฤดูฝนปี 2563 ตามมาตรการ ด้านงบประมาณเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19) และสถานการณ์ภัยแล้ง (งบกลาง) จำนวน 132 แห่ง ผลการเจาะบ่อบาดาลแล้วเสร็จ 132 แห่ง 5) โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังแสงอาทิตย์ พื้นที่ 300 ไร่ (งบเหลือจ่าย) จำนวน 4 แห่ง ดำเนินการเจาะบ่อน้ำบาดาลและก่อสร้างระบบประปาแล้วเสร็จ จำนวน 4 แห่ง 6) การพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร ดังนี้ งบประมาณรายจ่าย งบกลาง ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ดำเนินการแล้วเสร็จ 5 โครงการ ดังนี้ - โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ พื้นที่ ๑๒๐ ไร่ เป้าหมาย ๕๗ แห่ง (๑๑๔ บ่อ) - โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ พื้นที่ ๕๐๐ ไร่ เป้าหมาย จำนวน ๕ แห่ง (๒๐ บ่อ) - โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ รูปแบบที่ ๑ พื้นที่ ๕๐๐ ไร่ เป้าหมาย จำนวน ๓๑ แห่ง (๑๘๖ บ่อ) - โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ รูปแบบที่ ๒ พื้นที่ ๕๐๐ ไร่ เป้าหมาย จำนวน ๑๑ แห่ง (๔๔ บ่อ) - โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ รูปแบบที่ ๓ พื้นที่ ๓๐๐ ไร่ เป้าหมาย จำนวน ๒๒ แห่ง (๖๖ บ่อ) งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ดำเนินโครงการดังนี้ - โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยเครื่องสูบน้ำไฟฟ้าแบบจุ่มใต้น้ำ เป้าหมาย จำนวน ๓๖๐ แห่ง (๓๖๐ บ่อ) มีผลการเจาะบ่อบาดาลแล้ว จำนวน ๒๙๕ แห่ง (๒๙๕ บ่อ) คิดเป็นร้อยละ ๘๒ - โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เป้าหมาย จำนวน ๒๐๑ แห่ง (๒๐๑ บ่อ) มีผลการเจาะบ่อน้ำบาดาลแล้ว จำนวน ๑๙๗ แห่ง (๑๙๗ บ่อ) คิดเป็นร้อยละ ๙๘ - โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยเทคโนโลยีสูง เพื่อส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เป้าหมาย จำนวน ๓๐ แห่ง (๑๒๐ บ่อ) มีผลการเจาะบ่อน้ำบาดาล จำนวน ๒๙ แห่ง (๑๑๘ บ่อ) คิดเป็นร้อยละ ๙๘ โดยมีผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2562 – 2564 สามารถดำเนินการจัดหาน้ำบาดาลเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรให้มีน้ำบาดาลใช้ร่วมกับน้ำผิวดินสำหรับทำการเกษตรกรรม จำนวน 2,523 แห่ง สามารถเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนไม่น้อยกว่า 60.0318 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ประชาชนได้รับประโยชน์มากกว่า 11,9411 ครัวเรือน และเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกนอกเขตชลประทานได้ไม่น้อยกว่า 138,040 ไร่ 7) การพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคและบริโภคแล้วเสร็จ ประกอบด้วย งบประมาณรายจ่าย งบกลาง ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ดำเนินโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อเสริมความมั่นคงระดับชุมชน เป้าหมาย ๗๐ แห่ง (๑๔๐ บ่อ) โดยมี ผลการเจาะบ่อน้ำบาดาลแล้ว จำนวน ๗๐ แห่ง (๑๔๐ บ่อ) ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีนโยบาย ให้หน่วยงานขับเคลื่อนพันธกิจร่วม (Joint Mission) เรื่อง การพัฒนาระบบกระจายน้ำ (กรมทรัพยากรน้ำ/กรมทรัพยากรน้ำบาดาล) เพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงาน และยกระดับภารกิจให้สามารถตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ **(6) โครงการจัดการอุทกภัยโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Flood Management : CBFM)** เป็นโครงการที่ให้ภาคประชาชนในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยเข้ามา มีส่วนร่วมตั้งแต่การประเมินความเสี่ยง การวางแผนจัดการอุทกภัยในชุมชนที่เป็นพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย การเตรียมความพร้อม การเผชิญสถานการณ์ฉุกเฉิน และการฟื้นฟูหลังเกิดอุทกภัย รวมถึงลักษณะโครงสร้างทางสังคมของชุมชน ในพื้นที่ ๑๔ จังหวัด ๒๐ อำเภอ ดังนี้ (6.๑) ภาคกลาง ๖ จังหวัด ๑๐ อำเภอ ได้แก่ * จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอผักไห่ และอำเภอบางซ้าย * จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอบางปลาม้า และอำเภออู่ทอง * จังหวัดลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี และอำเภอท่าวุ้ง * จังหวัดปราจีนบุรี อำเภอบ้านสร้าง และอำเภอศรีมหาโพธิ * จังหวัดนครปฐม อำเภอบางเลน * จังหวัดอ่างทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ (6.๒) ภาคเหนือ ๒ จังหวัด ๓ อำเภอ ได้แก่ * จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอชุมแสง * จังหวัดสุโขทัย อำเภอกงไกรลาศ และอำเภอเมืองสุโขทัย (6.๓) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๕ จังหวัด ๕ อำเภอ ได้แก่ * จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอแคนดง * จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอเชียงขวัญ * จังหวัดอุบลราชธานี อำเภอเมืองอุบลราชธานี * จังหวัดศรีสะเกษ อำเภอราศีไศล * จังหวัดหนองคาย อำเภอโพธิ์ตาก (6.๔) ภาคใต้ ๑ จังหวัด ๒ อำเภอ ได้แก่ * จังหวัดสงขลา อำเภอระโนด และอำเภอกระแสสินธุ์ โดยมีผลการดำเนินการ คิดเป็นร้อยละ 31.98 ซึ่งผู้รับจ้างและลงนามสัญญาแล้วทุกโครงการ อยู่ระหว่างเบิกจ่ายตามงวดงานปัจจุบันได้เบิกจ่ายงวดที่ ๑ แล้ว **(7)** **ก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่** ประกอบด้วย (7.1) โครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ ก่อสร้างโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ อาทิ อุโมงค์ส่งน้ำและอาคารประกอบ พร้อมส่วนประกอบอื่นอุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่งัด-แม่กวง และอุโมงค์ส่งน้ำและอาคารประกอบ พร้อมส่วนประกอบอื่น อุโมงค์ส่งน้ำช่วงแม่แตง-แม่งัด โดยมีผลการดำเนินงานภาพรวม ร้อยละ 66.62 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ร้อยละ 47.95 (7.2) โครงการอ่างเก็บน้ำคลองโพล้ จังหวัดระยอง ค่าก่อสร้าง ค่าซื้อที่ดิน เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำ สำหรับช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรรม และการอุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้งให้กับราษฎรที่อยู่ในเขตอำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง รวมทั้งช่วยบรรเทาอุทกภัยในช่วงฤดูน้ำหลากและเป็นแหล่งน้ำสำรองสนับสนุนพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก อยู่ระหว่างจัดซื้อจัดจ้าง (7.3) โครงการเขื่อนทดน้ำผาจุก จังหวัดอุตรดิตถ์ ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนทดน้ำและอาคารประกอบพร้อมส่วนประกอบอื่น ระบบส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวาพร้อมอาคารประกอบ ส่วนที่ 1 ระบบส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย พร้อมอาคารประกอบ และระบบส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย พร้อมอาคารประกอบ โดยมีผลการดำเนินงานภาพรวม ร้อยละ 48.42 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ร้อยละ 24.12 (7.4) โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวง จังหวัดชลบุรี ก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวง จังหวัดชลบุรี เกษตรกรรม ดำเนินการก่อสร้าง คลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำ พร้อมอาคารประกอบฝั่งซ้าย และคลองส่งน้ำและคลองส่งน้ำพร้อมอาคารประกอบฝั่งซ้าย โดยมีผลการดำเนินงานภาพรวม ร้อยละ 91.87 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ร้อยละ 35.50 (7.5) โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี โดยการก่อสร้าง อาทิ ระบบชลประทานฝั่งขวา ระบบชลประทานฝั่งซ้าย ระบบระบายน้ำฝั่งซ้าย พร้อมอาคารประกอบพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้น 94,000 ไร่ โดยมีผลการดำเนินงานภาพรวม ร้อยละ 89.80 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ร้อยละ 2.55 (7.6) โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดอุตรดิตถ์ ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยการก่อสร้างเขื่อนหัวงานและอาคารประกอบพร้อมอุโมงค์ส่งน้ำ ระบบท่อส่งน้ำและอาคารประกอบ พื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้น 3,000 ไร่ โดยมีพื้นที่ได้รับการป้องกันและลดผลกระทบ จำนวน 78,358 ไร่ โดยมีผลการดำเนินงานภาพรวม ร้อยละ 79.17 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ร้อยละ 68 (7.7) โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำปี้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดพะเยา ก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำปี้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดพะเยา ก่อสร้างเขื่อน และอ่างเก็บน้ำ ก่อสร้างระบบส่งน้ำเพื่อการชลประทาน โดยมีผลการดำเนินงานภาพรวม ร้อยละ 33.83 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ร้อยละ 6.39 (7.8) โครงการประตูระบายน้ำศรีสองรัก จังหวัดเลย ก่อสร้างโครงการประตูระบายน้ำศรีสองรัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย โดยดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำ และอาคารประกอบพร้อมส่วนประกอบอื่น โดยมีผลการดำเนินงานภาพรวม ร้อยละ 12.59 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ร้อยละ 11.81 (7.9) โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง จังหวัดหนองคาย โดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำและอาคารประกอบ ประตูระบายน้ำลำน้ำสาขาฝั่งขวา ประตูระบายน้ำลำน้ำสาขา ฝั่งซ้าย ประตูระบายน้ำดงสะพัง โดยมีผลการดำเนินงานภาพรวม ร้อยละ 8.04 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ร้อยละ 0.35 (7.10) โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกรอกเคียน จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยการก่อสร้างทำนบดินหัวงานและอาคารประกอบ เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำต้นทุน 19.20 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถช่วยเหลือพื้นที่รับประโยชน์ 11,000 ไร่ โดยมีผลการดำเนินงานภาพรวม ร้อยละ 6.18 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ร้อยละ 3 (7.11) โครงการอ่างเก็บน้ำลำสะพุง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดชัยภูมิ โดยการก่อสร้างทำนบดินหัวงานและอาคารประกอบ พร้อมส่วนประกอบอื่น โดยมีผลการดำเนินงานภาพรวม ร้อยละ 40.04 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ร้อยละ 7.70 (7.12) โครงการประตูระบายน้ำบ้านก่อพร้อมระบบส่งน้ำ จังหวัดสกลนคร ก่อสร้างโครงการประตูระบายน้ำบ้านก่อ พร้อมระบบส่งน้ำ จังหวัดสกลนคร โดยก่อสร้าง ประตูระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบอื่น โดยมีผลการดำเนินงานภาพรวม ร้อยละ 21.21 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ร้อยละ 43.42 (7.13) โครงการอ่างเก็บน้ำลำน้ำชี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดชัยภูมิ ก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำลำน้ำชี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดชัยภูมิ โดยก่อสร้างเขื่อน ดินถม ประเภท Zone Dam โดยมีผลการดำเนินงานภาพรวม ร้อยละ 14.75 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ร้อยละ 74.22 **(8) โครงการปรับปรุงงานชลประทาน** โดยการปรับปรุงงานชลประทาน เพิ่มประสิทธิภาพ ระบบชลประทานและการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชลประทาน ซ่อมแซม/ปรับปรุงงานชลประทาน พื้นที่ชลประทานได้รับการปรับปรุง 694,160 ไร่ จำนวน 359 รายการ โดยมีผลการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ร้อยละ 9.39 **(9) โครงการสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำชลประทาน** สนับสนุนการบริหารจัดการน้ำชลประทาน โดยซ่อมแซมและขุดลอก ระบบส่งน้ำ ระบายน้ำชลประทานเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง โดยมีผลการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ร้อยละ 28.40 **(10) การจัดหาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน** เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านการขาดแคลนน้ำของประชาชน สำหรับใช้ทำการเกษตร และอุปโภคบริโภคทำให้เกษตรกรได้รับน้ำอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม โดยการก่อสร้างโครงการชลประทานขนาดกลาง ก่อสร้างแหล่งน้ำและระบบส่งน้ำขนาดเล็ก ในพื้นที่ชุมชน/ชนบท ก่อสร้างโครงการแก้มลิง ตลอดจนการศึกษา สำรวจ ออกแบบ และจัดหาที่ดิน ปริมาตรเก็บกักเพิ่มขึ้น 47.72 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน เพิ่มขึ้น 121,555 ไร่ โดยมีผลการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ร้อยละ17.77 **(11) ลดการใช้น้ำภาคอุตสาหกรรมและพื้นที่ชลประทานเดิม** (1) จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอยู่ระหว่างจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป้าหมาย 26,457 ไร่ โดยมีผลการดำเนินงาน คิดเป็นร้อยละ 7.47 (2) จัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมอยู่ระหว่างจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม เป้าหมาย 63,111 ไร่ โดยมีผลการดำเนินงาน คิดเป็นร้อยละ 17.33 **(12)** **โครงการจัดการคุณภาพน้ำ** ดำเนินงานกิจกรรม อาทิ ประตูระบายน้ำ ปรับปรุงคันกั้นน้ำ ก่อสร้างสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ จำนวนพื้นที่ได้รับประโยชน์ 378,900 ไร่ โดยมีผลการดำเนินการภาพรวม ร้อยละ 42.01 **(13) โครงการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ** อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลในพื้นที่เพื่อดำเนินการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ (เป้าหมาย 5 แห่ง) โดยดำเนินการแล้ว ร้อยละ 100 **(14) โครงการปรับปรุงท่อเพื่อลดน้ำสูญเสีย** โดยได้ดำเนินการปรับปรุงท่อจ่ายน้ำเพื่อลดน้ำสูญเสีย ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ (ตุลาคม ๒๕๖๓ - ธันวาคม ๒๕๖๔) จำนวน ๑,๐๘๗.๓๖๗ กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 90.61 **๑๐.๔ สร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรแร่ และทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อการพัฒนาประเทศและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน** **ทรัพยากรแร่** **(1) การปฏิรูปการบริหารจัดการทรัพยากรแร่** โดยมีผลการดำเนินการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คิดเป็นร้อยละ 35.14 ดังนี้ 1) การสำรวจ เก็บข้อมูล รวมทั้งปรับปรุงข้อมูลพื้นที่ศักยภาพแร่ แล้วเสร็จ 7 จังหวัด มีเนื้อที่รวม 0.15 ล้านไร่ เมื่อนำพื้นที่ศักยภาพแร่กันจากพื้นที่หวงห้ามตามกฎหมายตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ได้แก่ เขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เขตวนอุทยาน เขตสวนพฤกษศาสตร์ สวนรุกขชาติ และแหล่งซากดึกดำบรรพ์ ที่ขึ้นทะเบียน สามารถกำหนดพื้นที่ที่มีศักยภาพในการทำเหมือง มีเนื้อที่รวม ๐.๑๒ ล้านไร่ 2) การเร่งรัดสำรวจและจัดทำแผนที่ศักยภาพแร่ อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและงานสำรวจที่มีมาก่อน โดยศึกษาและแปลความหมายข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ ธรณีฟิสิกส์ และศึกษาข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ครอบคลุมพื้นที่ดำเนินการ จังหวัดเชียงราย 3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแร่ โดยดำเนินการเสริมสร้าง ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการแร่ให้แก่ประชาชน ท้องถิ่น และชุมชน รวมถึงส่งเสริมให้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแร่ โดยการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เชิญชวน เรื่องการมีส่วนร่วม ในการบริหารจัดการแร่ การดำเนินการภายใต้คณะกรรมการบริหารจัดการแร่แห่งชาติ (คนร.) และคณะอนุกรรมการต่าง ๆ และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านทรัพยากรแร่ การจัดทำข้อมูลเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การประชุมปรึกษาหารือทางเทคนิค (Technical Meeting) เรื่อง “แนวทางการจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 - 2569” เผยแพร่ (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565- 2569) และเปิดช่องทางแสดงความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แผนแม่บทฯ ทางเว็บไซต์ คนร. รวมถึงเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับแผนแม่บทฯ **(2) การอนุรักษ์มรดกทางธรณีและอุทยานธรณี** โดยมีผลการดำเนินการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คิดเป็นร้อยละ 35.14 ดังนี้ 1) การอนุรักษ์และพัฒนามรดกธรณี และอุทยานธรณี ได้แก่ (1) การสำรวจ ประเมิน และจัดทำข้อมูลแหล่งมรดกธรณี 4 ภาค ดำเนินการประเมินแล้วเสร็จ 4 แห่ง และอยู่ระหว่างการดำเนินการ 23 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดพัทลุง (2) พื้นที่ที่มีศักยภาพในการจัดตั้งอุทยานธรณีและอุทยานธรณี ได้รับการส่งเสริมและพัฒนา ได้แก่ - เตรียมความพร้อมกับการประเมินซ้ำของอุทยานธรณีโคราช และอุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก - สำรวจพื้นที่เพื่อวางแผนการบริการจัดการเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ และพื้นที่แหล่งธรณีวิทยาที่มีความโดดเด่นระดับชาติในจังหวัดลำปางและสุพรรณบุรี - รวบรวมรายงานผลการสำรวจ ศึกษา วิจัยที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ อุทยานธรณีโคราช อุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก อุทยานธรณีขอนแก่น และอุทยานธรณีชัยภูมิ - ประกาศจัดตั้งอุทยานธรณีพุหางนาค จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นอุทยานธรณีระดับท้องถิ่น - การแต่งตั้งคณะทำงานอุทยานธรณีสุพรรณบุรี (3) การดำเนินกิจกรรมภายใต้คณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานแหล่งมรดกธรณีและอุทยานธรณี ได้แก่ - ประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง) ทิศทาง บทบาท การทำงาน และแผนกิจกรรมของเครือข่ายอุทยานธรณีประเทศไทย (Thailand Geoparks Network :TGN) และ (ร่าง) นโยบาย ทิศทาง 20 ปี และแผนปฏิบัติการด้านอุทยานธรณี และมรดกธรณีเชิงบูรณาการ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565 - 2570) - ประชุมหารือร่วมกับจังหวัดสตูล ในเรื่องการเตรียมจัดประชุม APGN จำนวน 3 ครั้ง - ประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งมรดกธรณี และการดำเนินงานอุทยานธรณี ครั้งที่ 1/2564 ในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 - อยู่ระหว่างการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์แหล่งมรดกธรณีและการดำเนินงานอุทยานธรณี ระยะที่ 1 (พ.ศ.2565 - 2570) (4) การสำรวจ ประเมิน และจัดทำข้อมูลธรณีวิทยา มรดกธรณี ซากดึกดำบรรพ์ ระบบถ้ำ และภูมิประเทศแบบคาสต์ (Karst System) ในพื้นที่ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ระหว่างการสำรวจถ้ำในพื้นที่ จำนวน 23 ถ้ำ 2) การสำรวจศึกษาแหล่งมรดกธรณีประเภทถ้ำเพื่อการบริหารจัดการ อย่างยั่งยืน อยู่ระหว่างการสำรวจ 3 ระบบถ้ำ ได้แก่ ระบบถ้ำหลวง - ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย ระบบถ้ำภูผาเพชร จังหวัดสตูล และระบบถ้ำเขาช้างหาย จังหวัดตรัง และอยู่ระหว่างการสำรวจ ติดตาม ตรวจสอบข้อมูล และจัดทำรายงาน ฐานข้อมูลถ้ำ ซึ่งเดือนมกราคม ดำเนินการ จำนวน 18 ถ้ำ รวมทั้งสิ้น 143 ถ้ำ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดชุมพร **(3)** **การส่งเสริมอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานสู่การพัฒนา อย่างยั่งยืน** โดยมีผลการดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 82.61 ดังนี้ (3.1) เฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมพื้นที่ประกอบการ (1) การติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้คำแนะนำการจัดการสิ่งแวดล้อม จำนวน 300 ราย (2) เฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม บริเวณพื้นที่การทำเหมืองที่มีความอ่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 8 พื้นที่ (3) เฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมบริเวณพื้นที่ประกอบการเกลือสินเธาว์ จำนวน 5 จังหวัด โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ (1) การตรวจประเมินการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการเหมืองแร่ และให้คำปรึกษาแนะนำการจัดการสิ่งแวดล้อม จำนวน 422 ราย ใน 39 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ กาญจนบุรี กำแพงเพชร ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชุมพร เชียงใหม่ เชียงราย ตาก พังงา นครศรีธรรมราช น่าน บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ พะเยา พัทลุง พิจิตร เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ระนอง ราชบุรี ลำปาง เลย สงขลา สระแก้ว สระบุรี สุราษฎร์ธานี หนองบัวลำภู ตรัง อุบลราชธานี จังหวัดอุดรธานี สุพรรณบุรี ลพบุรี นครราชสีมา นราธิวาส สุรินทร์ และนครสวรรค์ (2) การเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมบริเวณพื้นที่การทำเหมือง ที่มีความอ่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม โดยได้ดำเนินการตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองในบรรยากาศ ระดับเสียง และแรงสั่นสะเทือนบริเวณชุมชนโดยรอบพื้นที่เหมืองแร่และโรงโม่หิน จำนวน 4 พื้นที่ ได้แก่ ชุมชนโดยรอบพื้นที่ประกอบการเหมืองหินบริเวณตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิม พระเกียรติ จังหวัดสระบุรี บริเวณตำบลสวายจีก และตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ บริเวณตำบลห้วยกะปิ และตำบลหนองข้างคอก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี บริเวณตำบลอ่างหิน และตำบลทุ่งหลวง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี (3) การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำบริเวณพื้นที่ประกอบการเหมืองแร่ทองคำ จังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ และพื้นที่ประกอบการเหมืองแร่สังกะสี จังหวัดตาก จำนวน ๓ พื้นที่ ทั้งนี้ การเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมพื้นที่ประกอบการได้ดำเนินการแล้วเสร็จ (3.2) พัฒนาและยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการด้านแร่ ประกอบด้วย (1) สถานประกอบการที่ได้รับการตรวจประเมินมาตรฐานประจำปี จำนวน 950 ราย (2) ผู้ผ่านการอบรมด้านวัตถุระเบิด จำนวน 200 ราย (3) ผู้ได้รับคำปรึกษาหรือได้รับการถ่ายทอดความรู้เพื่อพัฒนายกระดับคุณภาพการประกอบการ จำนวน 200 ราย โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ (1) การตรวจประเมินมาตรฐานเดือนกันยายน จำนวน 136 ราย และยอดสะสมตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 - กันยายน 2564 รวมจำนวน 978 ราย (2) การอบรมด้านวัตถุระเบิด (โครงการอบรมทบทวนความรู้ เพื่อการต่ออายุใบรับรองการผ่านการฝึกอบรม เป็นผู้ควบคุมการใช้วัตถุระเบิดในงาน เหมืองแร่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564) ผ่านรูปแบบการอบรมออนไลน์ Zoom จำนวน 104 ราย และผ่านอบรมผ่านระบบ E-learning (DPIM Academy) จำนวน 34 ราย โดยมีผู้เข้าอบรมรวมจำนวนทั้งสิ้น 138 ราย โดยขณะนี้กำลังดำเนินการจัดส่งใบประกาศนียบัตรแก่ผู้เข้าอบรมทั้งหมด (3) การให้คำปรึกษาหรือถ่ายทอดความรู้เพื่อพัฒนายกระดับคุณภาพการประกอบการ รวมจำนวนทั้งสิ้น 157 ราย และดำเนินการจัดส่งใบประกาศนียบัตรแก่ผู้เข้าอบรมทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว (4) จัดสัมมนาเรื่อง “การใช้เทคโนโลยี 4.0 เพื่อเพิ่มผลิตภาพ ในงานเหมืองแร่” ผ่านรูปแบบการประชุมออนไลน์ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 เพื่อถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ประกอบการเหมืองแร่ เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้สนใจ ในการเพิ่มผลิตภาพในงานเหมืองแร่และสร้างความตระหนักถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ ทั้งสิ้น 163 ราย ทั้งนี้ การพัฒนาและยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการด้านแร่ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ (3.3) ส่งเสริมอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานให้มีมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR-DPIM) ประกอบด้วย (1) ผู้ประกอบการที่ได้รับการอบรม CSR-DPIM Beginner จำนวน 90 ราย (2) สถานประกอบการอุตสาหกรรมแร่ ผ่านการประเมินมาตรฐาน ความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแร่ (CSR-DPIM) จำนวน 7 ราย (3) ผู้ประกอบการที่ได้รับการฝึกอบรม (Coaching) ให้ความรู้ความเข้าใจข้อกำหนดตามเกณฑ์มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม (CSR-DPIM) จำนวน 40 ราย (4) สถานประกอบการที่เป็นสมาชิก CSR-DPIM Network ผ่านการประเมินการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม CSR-DPIM Network อย่างต่อเนื่อง จำนวน 40 แห่ง โดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้ดำเนินการจัดงานเปิดตัวโครงการ (Kick off) และงานมอบรางวัล CSR-DPIM ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ เมื่อวันพุธที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔ และได้ดำเนินการคัดเลือกสถานประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการ CSR-DPIM ประจำปี 2564 และสถานประกอบการที่สมัครเป็นสมาชิกเครือข่าย CSR-DPIM ประจำปี 2564 ดังนี้ (1) แจ้งผลการคัดเลือกสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ CSR-DPIM ประจำปี 2564 จำนวน 10 ราย (2) ดำเนินการอบรมสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ CSR-DPIM ประจำปี 2564 ผ่านทางระบบออนไลน์ โดยมีผู้เข้ารับการอบรมผ่านระบบออนไลน์ ทั้ง 4 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 167 ราย - ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 43 ราย - ครั้งที่ 2 วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 42 ราย - ครั้งที่ 3 วันที่ 10 มิถุนายน 2564 มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 41 ราย - ครั้งที่ 4 (แยกตามรายสถานประกอบการ) ระหว่างวันที่ 20 มิถุนายน - 20 กรกฎาคม 2564 มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 41 ราย ดังนั้น ผู้เข้ารับการอบรมผ่านระบบออนไลน์ ทั้ง 4 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 167 ราย (3) ดำเนินการจัดทำหนังสือประชาสัมพันธ์และเชิญชวนเจ้าหน้าที่ สรข. สอจ. และสถานประกอบการเข้ารับการอบรม CSR-DPIM Beginner ประจำปี 2564 จำนวน 3 รุ่น ประกอบด้วย รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน 2564 มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 32 คน รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 7-9 มิถุนายน 2564 มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 26 คน และรุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 14-16 มิถุนายน 2564 มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 34 คน รวมมีผู้เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 92 ราย (4) ดำเนินการทวนสอบการจัดทำรายงานประเมินตนเอง ตามกรอบการจัดทำรายงานของ CSR-DPIM จำนวน 71 แห่ง และคัดเลือกบุคลากรดีเด่น ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (OMOP) จำนวน 3 รางวัล ได้แก่ รางวัลด้านการมีส่วนร่วม และพัฒนาชุมชน รางวัลด้านแรงงาน/อาชีวอนามัยและความปลอดภัย และรางวัลด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ โครงการสิ้นสุดการดำเนินงานวันที่ 25 สิงหาคม 2564 และขอขยายเวลาดำเนินโครงการฯ ครั้งที่ 1 โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ ออกไปอีก 49 วัน สิ้นสุดสัญญาวันที่ 13 ตุลาคม 2564 และได้ขอขยายระยะเวลาครั้งที่ 2 ออกไปอีก 61 วัน สิ้นสุดสัญญาวันที่ 13 ธันวาคม 2564 ซึ่งมีการดำเนินการ ดังนี้ (1) ดำเนินการอบรมสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ CSR-DPIM ประจำปี 2564 ผ่านทางระบบออนไลน์ ครั้งที่ 5 เพื่อนำเสนอแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม และแผนงานร่วมกับชุมชน พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมในการเข้ารับการทวนสอบเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2564 มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 26 ราย (2) ดำเนินการจัดฝึกอบรมกลุ่ม (Group Training) เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Show & Share ของเครือข่าย) ให้กับสมาชิกเครือข่าย CSR-DPIM Network ระหว่างวันที่ 19-20 ตุลาคม 2564 มีผู้เข้ารับ การอบรม จำนวน 117 ราย (3) ดำเนินการทวนสอบสถานประกอบการอุตสาหกรรมแร่ที่เข้าร่วมโครงการ CSR-DPIM ปี 64 จำนวน 9 แห่ง ระหว่างวันที่ 1-16 พฤศจิกายน 2564 สุ่มทวนสอบ ผลการดำเนินการตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมและสถานประกอบการอุตสาหกรรมแร่ ที่เป็นสมาชิก CSR-DPIM Network ในพื้นที่ จำนวน 3 แห่ง ระหว่างวันที่ 25-29 ตุลาคม 2564 (4) เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2564 ประกาศรายชื่อผู้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน CSR-DPIMประจำปี 2564 จำนวน 7 ราย และ CSR-DPIM Network จำนวน 63 ราย ทั้งนี้ ปัจจุบันโครงการดำเนินการแล้วเสร็จ (3.4) ส่งเสริมผู้ประกอบการเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานให้เข้าสู่มาตรฐานเหมืองแร่สีเขียว (1) ให้คำแนะนำและประเมินสภาพเบื้องต้นแก่สถานประกอบการดังนี้ * + - * วันที่ 1-4 ธันวาคม 2563 จังหวัดอ่างทอง สิงห์บุรี สระบุรี * วันที่ 14-19 ธันวาคม 2563 จังหวัดลพบุรี (2) ลงพื้นที่ให้คำแนะนำให้ความรู้สถานประกอบการตามมาตรฐานเหมืองแร่สีเขียว ระหว่างวันที่ 22-30 ธันวาคม 2563 ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ เลย นครพนม และจังหวัดร้อยเอ็ด (3) วันที่ 22-25 กุมภาพันธ์ 2564 ลงพื้นที่ไปให้คำแนะนำ และประเมินสภาพเบื้องต้นแก่สถานประกอบการที่มีศักยภาพใน จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี 12 ราย โดยมีผู้ประกอบการสมัครแล้ว และได้เตรียมความพร้อมผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ 4 ราย (4) ลงพื้นที่ไปให้คำแนะนำและประเมินสภาพเบื้องต้นแก่ สถานประกอบการ ระหว่างวันที่ 1-7 มีนาคม 2564 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ แพร่ น่าน ลำปาง และจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 19 ราย ระหว่างวันที่ 8-12 มีนาคม 2564 จังหวัดสุรินทร์ อุบลราชธานี ชัยภูมิ และนครราชสีมา จำนวน 10 ราย พร้อมเตรียมความพร้อมเบื้องต้นสำหรับสถานประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 5 ราย ระหว่างวันที่ 14-21 มีนาคม 2564 ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ยะลา ตรัง กระบี่ พังงา ภูเก็ต และจังหวัดระนอง จำนวน 14 ราย (5) ลงพื้นที่ไปให้คำแนะนำและประเมินสภาพเบื้องต้นแก่ สถานประกอบการจังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง และจังหวัดจันทบุรี จำนวน 8 ราย (6) ดำเนินการเตรียมความพร้อมฯ ควบคู่ไปกับการลงพื้นที่ โดยมีผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วม 32 ราย (7) จัดประชุมคณะอนุกรรมการคัดเลือกเหมืองแร่สีเขียวฯ ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 23 เมษายน 2564 ณ ห้องประชุม โพแทช และผ่านโปรแกรม zoom (8) ยกเลิกจัดทำขอบเขตการจ้างในการจัดงานพิธีมอบรางวัลเหมืองแร่ สีเขียว Green Mining Award เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) (9) คณะอนุกรรมการพิจารณาคัดเลือกเหมืองแร่สีเขียวได้พิจารณาคัดเลือก และมอบรางวัลเหมืองแร่สีเขียว ปี 2564 ประเภทเหมืองแร่ จำนวน 16 ราย ประเภทโรงงานโม่ บดหรือย่อยหินจำนวน 7 ราย ประเภทโรงงานแต่งแร่ จำนวน 4 ราย ประเภทโรงประกอบโลหกรรม จำนวน 2 ราย และรางวัลรักษามาตรฐานเหมืองแร่สีเขียว ปี 2564 ประเภทเหมืองแร่ จำนวน 73 ราย ประเภทโรงโม่ บดหรือย่อยหิน จำนวน 57 ราย ประเภท โรงแต่งแร่ จำนวน 18 ราย ประเภทโรงประกอบโลหกรรม จำนวน 7 ราย (3.5) ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 2 โดยมีผลการดำเนินการดังนี้ (1) ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการประชา สัมพันธ์โครงการ และเชิญชวนผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการฯ โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 6 ราย (2) จัดอบรมกิจกรรม 5ส เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการทำกิจกรรม 5ส ให้แก่ผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และลงพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อตรวจติดตามและแนะวิธีการดำเนินกิจกรรม 5ส เบื้องต้นให้ผู้ประกอบการ จำนวน 4 ราย ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี 3 ราย และจังหวัดขอนแก่น 1 ราย (3) เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ทำให้ไม่สามารถเดินทางไปปฏิบัติราชการต่างจังหวัดได้ตามแผนงาน ทั้งนี้ ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการประเมินสถานประกอบการที่ผ่านการอบรมแล้ว เป็นการประเมิน ในรูปแบบออนไลน์ และกำหนดแผนงานกิจกรรมการประเมินผลการดำเนินงานภายใต้กิจกรรม 5ส ในระหว่างวันที่ 13-14 กันยายน 2564 จำนวน 4 ราย ประกอบด้วย 1) บริษัท ดงลานศิลา จำกัด 2) บริษัท ส.เขมราฐอินดัสตรี้ จำกัด 3) บริษัท มรรคาสาธิต ทั้งนี้ ได้จัดทำรายงานสรุป ผลการดำเนินงานของโครงการฯ แล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างการขออนุมัติเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการฯ (3.6) ส่งเสริมและพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่ประกอบการทำเหมืองแร่ให้มีการปรับสภาพและใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ตามความต้องการของชุมชน โดยมีผลการดำเนินการดังนี้ (1) พื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่ได้รับการปรับสภาพเพื่อให้มี ความปลอดภัย และมีสภาพธรรมชาติที่กลมกลืนกับพื้นที่โดยรอบ และสามารถใช้ประโยชน์พื้นที่ จำนวน 1 พื้นที่ (2) พื้นที่ภายหลังจากการพัฒนาและปรับสภาพโดย กพร.แล้ว ได้รับการติดตามบำรุงรักษาการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ จำนวน 8 พื้นที่ จำนวน 5 แปลง โดยมีผลการดำเนินงานดังนี้ (1) ติดตามและบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกในพื้นที่โครงการปลูกป่าและฟื้นฟูพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่แล้ว จำนวน 8 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ 1 พื้นที่ จังหวัดน่าน 2 พื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ 1 พื้นที่ และจังหวัดลำปาง 4 พื้นที่ (2) ศึกษารวบรวม สำรวจพื้นที่ และวิเคราะห์คุณภาพน้ำ จำนวน 14 แปลง ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ 5 แปลง จังหวัดบุรีรัมย์ 4 แปลง จังหวัดหนองบัวลำภู 2 แปลง จังหวัดอุดรธานี 1 แปลง และจังหวัดขอนแก่น 2 แปลง และใช้ประโยชน์ของพื้นที่ปัจจุบัน จำนวน 10 แปลง ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ 4 แปลง จังหวัดบุรีรัมย์ 2 แปลง จังหวัดหนองบัวลำภู 2 แปลง จังหวัดอุดรธานี 2 แปลง และจังหวัดขอนแก่น 1 แปลง ดำเนินงาน ดูแล บำรุงรักษา การเจริญเติบโตของต้นไม้ที่ปลูกในพื้นที่โครงการจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 1 พื้นที่ (3) มีการปรับแผนการดำเนินงาน โดยในเดือนกันยายน 2564 ได้จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของโครงการฯ เสร็จเรียบร้อยแล้ว คือ รายงานผลการดำเนินโครงการปลูกป่าและฟื้นฟูพื้นที่ที่ผ่านการทำ เหมืองแร่แล้วในพื้นที่ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง และรายงานที่อยู่ในระหว่าง การจัดทำฯ ประกอบด้วย 1) รายงานผลการดำเนินงานโครงการปลูกป่าและฟื้นฟูพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่แล้ว พื้นที่ตำบลเขาทอง อำเภอพะยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ และ 2) รายงานการสำรวจพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่ พื้นที่จังหวัดอุดรธานี บุรีรัมย์ หนองบัวลำภู และขอนแก่น ทั้งนี้ การส่งเสริมและพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่ประกอบการทำเหมืองแร่ ให้มีการปรับสภาพและ ใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ตามความต้องการของชุมชน ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ (3.7) พัฒนาระบบงานรังวัดสำรวจเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่ 4.0 (1) จัดสัมมนาเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจและทดสอบขึ้นทะเบียนผู้ปฏิบัติงานรังวัดด้วยอากาศยานไร้คนขับให้กับภาคเอกชน จำนวน 2 ครั้ง (2) ออกภาคสนามเพื่อสอบทานข้อมูลงานรังวัดด้วยอากาศยานไร้คนขับ จำนวน 6 ครั้ง โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ (1) จัดอบรมและทดสอบเพื่อขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมงานรังวัดด้วยอากาศยานไร้คนขับ ครั้งที่ 1 รูปแบบออนไลน์ ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 และได้ดำเนินการจัดสอบสัมภาษณ์เพื่อขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมงานรังวัดด้วยอากาศยานไร้คนขับ ครั้งที่ 1 ในรูปแบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 19-20 สิงหาคม 2564 และระหว่างวันที่ 23-26 สิงหาคม 2564 โดยเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 มีการจัดอบรม และทดสอบเพื่อขึ้นทะเบียนผู้คุมงานรังวัดด้วยอากาศยาน ไร้คนขับ ครั้งที่ 2 (2) ออกภาคสนามเพื่อสอบทานข้อมูลงานรังวัดด้วยอากาศยาน ไร้คนขับ จำนวน 2 ครั้ง ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งนี้ การพัฒนาระบบงานรังวัดสำรวจเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่ 4.0 ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ (3.8) จัดทำฐานข้อมูลแผนที่ภูมิประเทศเหมืองแร่เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ (1) เพิ่มประสิทธิภาพ ในการอนุญาตตรวจสอบ และการกำกับดูแล การประกอบการเหมืองแร่ ให้เป็นไปตามหลักวิชาการ ถูกต้องตามกฎหมาย และเงื่อนไข การอนุญาต จำนวน 84 แปลง (2) จัดสร้างสถานีควบคุมงานรังวัดค่าพิกัดบนพื้นหลักฐานสากล WGS 84 (Word Geodetic System 1984) ให้ครอบคลุมพื้นที่อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ใช้เป็นหมุดหลักฐานแรกออกและเข้าบรรจบในการรังวัดคำขอ ตาม พ.ร.บ.แร่ หรืองานรังวัดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ (1) รังวัดจัดทำแผนที่เพื่อหาปริมาตรในการจัดเก็บค่าภาคหลวง แร่หินอ่อน, หินแกรนิต, หินประดับ, แร่แคลไซต์ และแร่โดโลไมต์ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการจัดเก็บ ค่าหลวงแร่ให้เป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ และทันเวลาถูกต้องตามความเป็นจริง ดำเนินการไปแล้วจำนวน 52 แปลง (2) ดำเนินการจัดสร้างสถานีควบคุมงานรังวัดค่าพิกัดบนพื้นหลักฐานสากล WGS 84 (Word Geodetic System 1984) ครอบคลุมพื้นที่อุตสาหกรรมเหมืองแร่ เพื่อใช้เป็นหมุดหลักฐานแรกออก และบรรจบในการรังวัดคำขอตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 หรืองานรังวัดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 9 สถานี ทั้งนี้ การจัดทำฐานข้อมูลแผนที่ภูมิประเทศ เหมืองแร่เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ที่มีประสิทธิภาพ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ **(4) การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตโฟมโลหะเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ ของอุตสาหกรรมศักยภาพและเพื่อเพิ่มมูลค่าการใช้ประโยชน์แร่และโลหะ** โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ (1) เทคโนโลยีการผลิตวัตถุดิบ ในระดับห้องปฏิบัติการ (Lab Scale) 2 เทคโนโลยี (2) จำนวนผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 2 ผลิตภัณฑ์ (3) จำนวนผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัตถุดิบ 100 ราย (คน) (4) จำนวนองค์ความรู้เทคโนโลยีการผลิตวัตถุดิบในรูปแบบสื่อออนไลน์ 2 เรื่อง โดยดำเนินการลงนามในสัญญากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2565 และจัดประชุมชี้แจงและหารือแผนการดำเนินงานโครงการกับที่ปรึกษา เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 **(5) การส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตวัตถุดิบให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมพื้นฐาน** จำนวนสถานประกอบการเป้าหมายได้รับคำแนะนำและถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมวัตถุดิบ 10 ราย โดยมีเจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาโรงงานร่วมกับ สรข.6 และมหาวิทยาลัยขอนแก่นลงพื้นที่ให้คำแนะนำ บริษัท เกลือพิมาย จำกัด พร้อมนำเสนอแนวทางการพัฒนาแร่เกลือหินเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออน โดยมีผลการดำเนินการ คิดเป็นร้อยละ 20 ดังนี้ (1) เจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาโรงงานร่วมกับ สรข.6 และมหาวิทยาลัยขอนแก่นลงพื้นที่ให้คำแนะนำ บริษัท เกลือพิมาย จำกัด พร้อมนำเสนอแนวทางการพัฒนาแร่เกลือหินเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออน (2) เจ้าหน้าที่กลุ่มนวัตกรรมอุตสาหกรรมแร่ และเจ้าหน้าที่กลุ่มนวัตกรรมอุตสาหกรรมโลหการ ลงพื้นที่ให้คำแนะนำ บริษัท ไทยทริดิไมท์ จำกัด พร้อมนำเสนอแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตโฟมโลหะด้วยแร่เพอร์ไลต์ (3) เจ้าหน้าที่กลุ่มนวัตกรรมอุตสาหกรรมแร่ ร่วมกับ สรข.6 ลงพื้นที่ศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์แร่เฟลด์สปาร์ ดินขาว บอลเคลย์ ในการผลิตดินผสมสำหรับอุตสาหกรรมเซรามิก ของ ห้างหุ้นส่วน โยริน เทรดดิ้ง (4) เจ้าหน้าที่กลุ่มนวัตกรรมอุตสาหกรรมแร่ ร่วมกับ สรข.6 ลงพื้นที่ให้คำแนะนำแนวทางการเพิ่มมูลค่าหินฝุ่นจากกระบวนการโม่ บด และย่อยหิน ให้กับ หจก.ศิลาเจริญกิจ 1995 พร้อมเก็บตัวอย่างหินฝุ่นเพื่อทำการศึกษาวิจัยแนวทางการเพิ่มมูลค่าต่อไป **(6) การสำรวจพื้นที่ศักยภาพหินอุตสาหกรรมสำหรับรองรับความต้องการ ใช้พัฒนาเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ** การจัดหาแหล่งหินอุตสาหกรรม และประกาศเป็นแหล่งหินอุตสาหกรรมเพื่อรองรับความต้องการใช้หินอุตสาหกรรมในพื้นที่สำคัญ (พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก) ได้อย่างครบถ้วน และมีความต่อเนื่อง 2 แหล่ง โดยมีผลการดำเนินงาน คิดเป็น ร้อยละ 31.25 ดังนี้ (1) ลงพื้นที่ เพื่อสำรวจขั้นรายละเอียด ศึกษา ประเมินสภาพแวดล้อมปัจจุบัน ลักษณะทางธรณีวิทยา และลักษณะทางฟิสิกส์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพื้นที่ที่มีศักยภาพฯ จำนวน 1 ครั้ง (2) ลงพื้นที่เพื่อประเมินปริมาณสำรองเบื้องต้น และเก็บตัวอย่างหิน เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติที่สำคัญต่อการใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง จำนวน 3 ครั้ง **(7) การวิเคราะห์ความต้องการเชิงลึกสำหรับความต้องการใช้หินอุตสาหกรรม ในการพัฒนาเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และ โครงการที่เกี่ยวข้อง** รายงานผลการวิเคราะห์ความต้องการใช้หินอุตสาหกรรมในการพัฒนา เขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ และโครงการภาครัฐที่เกี่ยวข้อง 1 เรื่อง โดยมีผลการดำเนินงาน คิดเป็นร้อยละ 17.50 ดังนี้ (1) ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลลักษณะพื้นที่เบื้องต้น ข้อมูลพื้นที่ศักยภาพแร่และหินอุตสาหกรรมในบริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต ระหว่างวันที่ 25-29 ตุลาคม 2564 (2) รวบรวมข้อมูลปริมาณสำรองประทานบัตรเหมืองหินอุตสาหกรรม เพื่อการก่อสร้าง และคำขอประทานบัตร พร้อมทั้งรายละเอียดอัตราการผลิตของโรงโม่หิน ในจังหวัดชลบุรี **(8) การประเมินข้อมูลสถานภาพของแหล่งหินอุตสาหกรรมทั่วประเทศ เพื่อการบริหารจัดการ พร้อมทั้งจัดการระบบฐานข้อมูลให้สามารถรองรับข้อมูลที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต** โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ (1) พื้นที่แหล่งหินอุตสาหกรรมตามประกาศฯ ในพื้นที่ที่สำคัญ ได้รับการประเมินสถานะภาพปัจจุบัน ลักษณะทางธรณีวิทยา และลักษณะทางฟิสิกส์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ประเมินปริมาณหินสำรอง คุณสมบัติของหิน ข้อจำกัด ปัญหาอุปสรรคในพื้นที่ และโอกาสในการพัฒนาพื้นที่ 10 พื้นที่ (2) แนวทางการรูปแบบระบบการจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลข้อมูลแหล่งหินอุตสาหกรรมที่มีปัจจุบัน และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 1 แนวทาง โดยได้ดำเนินการลงนามในสัญญากับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 **(9) การจัดทำรายการวัตถุดิบที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก (Critical Raw Materials: CRM)** โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ (1) รายงานการศึกษาเพื่อจัดทำรายการวัตถุดิบที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก (Critical Raw Materials: CRM) และเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการวัตถุดิบ CRM ของไทย 1 เรื่อง (2) จำนวนข้าราชการที่ผ่านการฝึกอบรมและถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับวิธีการและแนวทางในการประเมินเพื่อจัดทำ CRM 20 ราย โดยอยู่ระหว่างดำเนินการด้านสัญญา **(10) การจัดทำแนวทางการประมูลแหล่งแร่** โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ (1) แนวทาง วิธีการประมูลการให้สิทธิแก่ภาคเอกชนในการสำรวจแร่ และทำเหมืองแร่ในพื้นที่แหล่งแร่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของภาครัฐที่มีความเหมาะสม ของประเทศไทย และข้อเสนอแนะ 1 แนวทาง (2) แนวทางป้องกันและลดผลกระทบเพื่อให้การประมูลให้สิทธิในแหล่งแร่มีความโปร่งใสเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและส่งผลทางเศรษฐกิจสังคมที่เหมาะสมในภาพรวม 1 แนวทาง โดยอยู่ระหว่างดำเนินการด้านสัญญา **(11) การประเมินการชำระค่าภาคหลวง และจัดทำฐานข้อมูลแผนที่ภูมิประเทศ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน** ดังนี้ (1) รังวัดทำแผนที่ภูมิประเทศด้วยกล้องสำรวจชนิดประมวลผลรวม และประมวลผลข้อมูลเพื่อประเมินค่าภาคหลวง 110 แปลง (2) รังวัดจัดทำแผนที่ภูมิประเทศด้วยอากาศยานไร้คนขับและเครื่องสแกนภูมิประเทศสามมิติ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลสำหรับการพัฒนาระบบการประเมินการชำระค่าภาคหลวงด้วยเทคโนโลยีชนิดต่าง ๆ 32 แปลง โดยมีผลการดำเนินงาน คิดเป็นร้อยละ 25.62 ดังนี้ (1) รังวัดทำแผนที่ภูมิประเทศด้วยกล้องสำรวจชนิดประมวลผลรวม ในพื้นที่จังหวัดสงขลา จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดตรัง จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 22 แปลงประทานบัตร (2) รังวัดจัดทำแผนที่ภูมิประเทศด้วยอากาศยานไร้คนขับและเครื่องสแกนภูมิประเทศสามมิติ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลสำหรับการพัฒนาระบบการประเมินการชำระค่าภาคหลวงในพื้นที่จังหวัดสงขลา จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา จังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 9 แปลงประทานบัตร **(12) การสร้างมาตรฐานงานรังวัดด้วยอากาศยานไร้คนขับเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่ 4.0** ถ่ายทอดองค์ความรู้งานรังวัดด้วยอากาศยานไร้คนขับในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เพื่อพัฒนาศักยภาพให้แก่บุคลากรภาครัฐและเอกชนที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลอุตสาหกรรมเหมืองแร่ และจัดอบรม-ทดสอบเพื่อขึ้นทะเบียนผู้ปฏิบัติงานรังวัดด้วย อากาศยานไร้คนขับภาคเอกชน 90 ราย โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ (1) จัดทำข้อมูลสำหรับการจัดอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้งานรังวัด ด้วยอากาศยานไร้คนขับในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เพื่อพัฒนาศักยภาพให้แก่บุคลากรภาครัฐ และเอกชนที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลอุตสาหกรรมเหมืองแร่ (2) จัดทำแบบทดสอบสำหรับประเมินผู้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน ผู้ควบคุมงานรังวัดด้วยอากาศยานไร้คนขับภาคเอกชน (3) จัดหาสถานที่สำหรับจัดการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้งานรังวัด ด้วยอากาศยานไร้คนขับในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ **(13) การพัฒนาระบบโครงข่ายหมุดหลักฐานเพื่อรองรับการกำกับดูแลอุตสาหกรรมเหมืองแร่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่** ดังนี้ (1) จัดทำโครงข่ายหมุดหลักฐานค่าพิกัดที่โยงยึดจากระบบพิกัดสากล ในพื้นที่ประกอบการเหมืองแร่ จังหวัด ชลบุรี ราชบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และลำปาง 100 แปลง (2) จัดอบรมเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้แนวทางการปฏิบัติงานร่วมกับ ข้อมูลโครงข่ายหมุดหลักฐาน ให้แก่บุคลากรของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเมืองแร่ และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหมืองแร่ 100 ราย โดยมีผลการดำเนินงาน คิดเป็นร้อยละ 15.60 จัดทำโครงข่ายหมุดหลักฐานค่าพิกัดที่โยงยึดจากระบบพิกัดสากล ในพื้นที่ประกอบการเหมืองแร่ จังหวัดกาญจนบุรีและนครราชสีมา จำนวน 39 แปลงประทานบัตร **(2) ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง** **(1) การประกาศกำหนดพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่ง** กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ประกาศกำหนดพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่ง ปีงบประมาณ 2565 จำนวน 4 พื้นที่ ได้แก่ กลุ่มเกาะประจวบตอนล่าง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มเกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มเกาะยาวน้อย-ยาวใหญ่ จังหวัดพังงา และกลุ่มเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ โดยผลการดำเนินการผ่านกระบวนการประชุม รับฟังความคิดเห็น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่เพื่อประกอบการจัดทำร่างประกาศพื้นที่คุ้มครองแล้ว **(2) จัดทำแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง** (1) คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2561 กำหนดแนวทางและรูปแบบการป้องกันและแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง แบ่งออกเป็น 4 แนวทาง 3 มาตรการ ได้แก่ 4 แนวทาง ประกอบด้วย 1) การปรับสมดุลชายฝั่งโดยธรรมชาติ 2) การป้องกันปัญหาการกัดเซาะ 3) การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ และ 4) การฟื้นฟูเสถียรภาพชายฝั่ง 3 มาตรการ ประกอบด้วย 1) มาตรการสีขาว เพื่อลดผลกระทบต่อชีวิต/ทรัพย์สิน ที่อาจเกิดจากการกัดเซาะชายฝั่ง 2) มาตรการสีเขียว เพื่อรักษาเสถียรภาพชายฝั่ง โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียง และ 3) มาตรการสีเทา เพื่อรักษาเสถียรภาพชายฝั่ง โดยใช้โครงสร้างทางวิศวกรรม โดยเหมาะกับบริเวณชายฝั่งทะเลเปิด คลื่นขนาดใหญ่ ชายฝั่งมีความลาดชันสูง (2) พื้นที่กัดเซาะชายฝั่งของประเทศ ระยะทาง 822.81 กิโลเมตร ได้รับการแก้ไขแล้วโดยหน่วยงานต่าง ๆ เป็นระยะทาง 733.62 กิโลเมตร (ร้อยละ 89.16) และยังไม่ได้ดำเนินการแก้ไข เป็นระยะทาง 89.19 กิโลเมตร (ร้อยละ 10.84 ) โดยในปี 2563 มีเป้าหมายในการปักไม้ไผ่ชะลอความรุนแรงของคลื่น 15,850 เมตร ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี สมุทรปราการ และจันทบุรี มีผลดำเนินการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นในพื้นที่หาดโคลนไปแล้ว 15,850 เมตร ใน 4 พื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ 1) สมุทรปราการ 2,540 เมตร 2) จันทบุรี 9,000 เมตร และ 3) เพชรบุรี 4,310 เมตร และในปี 2564 มีเป้าหมายในการปักไม้ไผ่ชะลอความรุนแรง ของคลื่น 11,150 เมตร ในพื้นที่จังหวัด สมุทรสงคราม เพชรบุรี ตราด จันทบุรี และนครศรีธรรมราช ทั้งนี้ ได้ดำเนินการปักไม้ไผ่ชะลอความรุนแรงของคลื่นแล้ว 11,150 เมตร ดังนี้ (1) จังหวัดตราด ระยะทางไม้ไผ่ 3,000 เมตร (2) จังหวัดจันทบุรี ระยะทางไม้ไผ่ 1,600 เมตร (3) จังหวัดสมุทรสงคราม ระยะทางไม้ไผ่ 800 เมตร (4) จังหวัดเพชรบุรี ระยะทางไม้ไผ่ 1,750 เมตร (5) จังหวัดนครศรีธรรมราช ระยะทางไม้ไผ่ 4,000 เมตร (3) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ดำเนินการดังนี้ (3.1) เตรียมจัดทำมาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ตามมาตรา 21 แห่ง พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง - เตรียมจัดทำกฎกระทรวงกำหนดเขตพื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งสำหรับการดำเนินโครงการก่อสร้างกำแพงป้องกันคลื่นริมชายหาด และเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พ.ศ. ... (ใช้ Environmental Checklist เป็นมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม) ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายฯ แห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2563 ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอ ครม. พิจารณา - เตรียมจัดทำกฎกระทรวงสำหรับรักษาพื้นที่สมดุลที่ยังไม่มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งออกเป็นระบบหาด ไม่น้อยกว่า 30 ระบบหาด (ปี 60-65) ปัจจุบัน ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายฯ แห่งชาติ 2 ระบบหาด (ระบบหาด หาดบ้านบ่อเมา จังหวัดชุมพร / ระบบหาดท้ายเหมือง จังหวัดพังงา) /เสนอคณะกรรมการนโยบายฯ จังหวัด ระบบหาด (3.2) มาตรการการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง มาตรการสีขาว มาตรการสีเขียว มาตรการสีเทา (3.3) จัดทำระบบกลุ่มหาดประเทศไทย เพื่อเป็นข้อมูลวิชาการระบบกลุ่มหาดประเทศไทย (8 กลุ่มหาดหลัก 44 กลุ่มหาด 318 ระบบหาดย่อย) (3.4) จัดทำหลักเกณฑ์ประกอบการจัดทำแผนงาน/โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนงาน/โครงการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง/เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ (3.5) เตรียมจัดทำกฎกระทรวงกำหนดเขตพื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง สำหรับการดำเนินโครงการก่อสร้างกำแพงป้องกันคลื่นริมชายหาด และเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พ.ศ. .... อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหาร จัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 (ม.21) และใช้ Environmental Checklist เป็นมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการก่อสร้างกำแพงป้องกันคลื่นริมชายหาดและเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล **(3) กรมทรัพยากรธรณีจัดทำพันธกิจร่วม (Joint Mission) ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง** ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยการสำรวจศึกษาทางทะเล การบริหารจัดการชายฝั่ง การอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง นอกจากนี้ ยังมีการวางแผนเตรียมการแก้ไขปัญหาหินร่วงในพื้นที่ชายทะเลภาคใต้ โดยใช้การสำรวจธรณีฟิสิกส์ในทะเล **(4) การบริหารจัดการขยะทะเล** ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีแผนดำเนินการ เก็บขยะ 24 จังหวัดชายฝั่งทะเล จำนวน 250 ตัน โดยผลการดำเนินงานระหว่างเดือน ตุลาคม 2564 – กุมภาพันธ์ 2565 คิดเป็นร้อยละ 83.74 สรุปได้ดังนี้ (4.๑) สำรวจประเมิน วิเคราะห์ และจัดทำระบบฐานข้อมูลขยะทะเล (๑) โครงการศึกษาปริมาณขยะปากแม่น้ำจัดเก็บรวบรวมตัวอย่างแล้ว 1 ครั้ง/ปากแม่น้ำ (จากแผนเก็บตัวอย่าง 4 ครั้ง/ปากแม่น้ำ) ปริมาณขยะลอยน้ำที่ไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทยตอนบน 5 ปากแม่น้ำ พบขยะประเภทพลาสติกแผ่นบาง (ถุงแกง/ถุงขนม/ถุงอาหารสำเร็จรูป) มากที่สุด รองลงมาเป็นพลาสติกแข็ง วัสดุผ้าและไฟเบอร์ ตามลำดับ โดยปากแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดสมุทรปราการ ไม่พบขยะไหลเข้า (๒) โครงการศึกษาผลกระทบของขยะทะเลต่อสัตว์ทะเลหายาก - เดือนมกราคม 2565 พบการเกยตื้นของสัตว์ทะเลหายาก รวมทั้งหมด 60 ตัว แบ่งเป็นโลมาและวาฬ 16 ตัว เต่าทะเล 41 ตัว พะยูน 2 ตัว ฉลามวาฬ 1 ตัว ในจำนวนสัตว์เกยตื้นทั้งหมดในจำนวนนี้เป็นพบผลกระทบจากขยะทะเล จำนวน 15 ตัว (25%) โดยเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นในเต่าทะเลทั้งหมด 14 ตัว (แบ่งเป็นผลกระทบทางการกิน 4 ตัว ผลกระทบจากการพันรัดภายนอก 3 ตัว และจากการกินและพันรัด 10 ตัว) มีโลมาได้รับผลกระทบทางการกิน 1 ตัวและในระหว่างเดือนตุลาคม 2564 - มกราคม 2565 พบการเกยตื้นของสัตว์ทะเลหายาก รวมทั้งหมด 157 ตัว แบ่งเป็นโลมาและวาฬ 45 ตัว เต่าทะเล 101 ตัว พะยูน 6 ตัว ฉลามวาฬ 5 ตัว ในจำนวนสัตว์เกยตื้นทั้งหมดในจำนวนนี้เป็นพบผลกระทบ จากขยะทะเล จำนวน 43 ตัว (27.38%) โดยเป็นผลกระทบ ที่เกิดขึ้นในเต่าทะเลทั้งหมด 41 ตัว (แบ่งเป็นผลกระทบทางการกิน 20 ตัว ผลกระทบจากการพันรัดภายนอก 133 ตัว และจากการกินและพันรัด 8 ตัว) มีโลมาได้รับผลกระทบจำนวน 2 ตัว (แบ่งเป็นผลกระทบทางการกิน 1 ตัวและผลกระทบจากการพันรัดภายนอก 1 ตัว - เดือนกุมภาพันธ์ 2565 พบการเกยตื้นของสัตว์ทะเลหายาก รวมทั้งหมด 137 ตัว แบ่งเป็นโลมาและวาฬ 44 ตัว เต่าทะเล 89 ตัว พะยูน 1 ตัว ฉลามวาฬ 1 ตัว และกระเบนราหู 2 ตัว ในจำนวนสัตว์เกยตื้นทั้งหมดในจำนวนนี้เป็นพบผลกระทบ จากขยะทะเล จำนวน 39 ตัว(28.47%) โดยเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นในเต่าทะเล 27 ตัว โลมาและวาฬ 7 ตัว พะยูน 2 ตัว ฉลามวาฬ 1 ตัว และกระเบนราหู 2 ตัว และในระหว่างเดือน ตุลาคม 2564 - กุมภาพันธ์ 2565 พบการเกยตื้นของสัตว์ทะเลหายาก รวมทั้งหมด 294 ตัว แบ่งเป็นโลมาและวาฬ 89 ตัว เต่าทะเล 190 ตัว พะยูน 7 ตัว ฉลามวาฬ 6 ตัว และกระเบนราหู 2 ตัว ในจำนวนสัตว์เกยตื้นทั้งหมด ในจำนวนนี้เป็นพบผลกระทบจากขยะทะเล จำนวน 102 ตัว (34.7%) โดยเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นในเต่าทะเล88 ตัว (กิน 44 ตัว, พันรัดภายนอก 28 ตัว, กิน+พันรัด 16 ตัว) โลมาและวาฬได้รับผลกระทบ 9 ตัว (กิน 4 ตัว,พันรัดภายนอก 5 ตัว) พะยูนได้รับกระทบจากขยะ 2 ตัว (กิน 1 ตัว,พันรัด+กิน 1 ตัว) ฉลามวาฬ จากการกิน 1 ตัว และกระเบนราหูจากการพันยึดภายนอก 2 ตัว (3) โครงการศึกษาผลกระทบขยะทะเลต่อระบบนิเวศแนวปะการัง - เดือนมกราคม 2565 ได้ดำเนินการ 7 สถานี ได้แก่ ชลบุรี 6 สถานีและภูเก็ต 1 สถานี รวมผลการดำเนินงานสะสมระหว่างเดือนตุลาคม 2564 - มกราคม 2565 จำนวน 19 สถานี ได้แก่ ระยอง จำนวน 2 สถานี ชลบุรี จำนวน 10 สถานี ระนอง เกาะพยาม จำนวน 3 สถานี (อ่าวเขาควาย อ่าวใหญ่ อ่าวคอกิ่ว) และภูเก็ต จำนวน 4 สถานี (อ่าวบางเทา อ่าวกมลา อ่าวกะตะน้อย เกาะเฮด้านเหนือ) - เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ได้ดำเนินการ 1 สถานี คือ ภูเก็ต 1 สถานี (อ่าวป่าตองด้านใต้) รวมผลการดำเนินงานสะสมระหว่างเดือนตุลาคม 2564 - กุมภาพันธ์ 2565 จำนวน 20 สถานี ได้แก่ ระยอง จำนวน 2 สถานี ชลบุรี จำนวน 9 สถานี ระนอง (เกาะพยาม) จำนวน 3 สถานี (อ่าวเขาควาย อ่าวใหญ่ อ่าวคอกิ่ว) ภูเก็ต จำนวน 5 สถานี (อ่าวบางเทา อ่าวกมลา อ่าวกะตะน้อย เกาะเฮด้านเหนือ อ่าวป่าตองด้านใต้) และพังงา จำนวน 1 สถานี (เกาะไข่นอกด้านตะวันตก) (๔) โครงการศึกษาวิจัยไมโครพลาสติกใน polyp ปะการัง - ระหว่างเดือนตุลาคม 2564 - มกราคม 2565 ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างชิ้นส่วนปะการัง ครั้งที่ 1 ในเดือนธันวาคม จำนวน 150 ชิ้น ในตัวอย่างปะการัง กิ่งก้านหรือโต๊ะ (Acropora spp.) ปะการังโขด (Porites spp.) และปะการังจาน (Turbinaria spp.) ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลมรสุม บริเวณแนวปะการังเกาะยา จังหวัดตรัง ทั้งด้านที่ได้รับอิทธิพลของน้ำชายฝั่ง (ด้านตะวันออก) และด้านที่เป็นทะเลเปิด (ด้านตะวันตก) และในเดือนมกราคม วิเคราะห์ตัวอย่างไมโครพลาสติกในห้องปฏิบัติการ - เดือนตุลาคม 2564 - กุมภาพันธ์ 2565 ได้ดำเนินการ เก็บตัวอย่างชิ้นส่วนปะการัง ครั้งที่ 1 ในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลมรสุมบริเวณ แนวปะการัง เกาะยา จังหวัดตรัง ทั้งด้านที่ได้รับอิทธิพลของน้ำชายฝั่ง (ด้านตะวันออก) และด้านที่เป็นทะเลเปิด (ด้านตะวันตก) วิเคราะห์ตัวอย่างไมโครพลาสติกในห้องปฏิบัติการ จากการเก็บตัวอย่างปะการัง ครั้งที่ 1 (ยังไม่จำแนกด้วยเครื่อง FTIR) และกำหนดแผน เก็บตัวอย่างปะการัง ครั้งที่ 2 (5) โครงการศึกษาวิจัยไมโครพลาสติก โดยในเดือนมกราคม 2565 เก็บตัวอย่างแล้ว 8 สถานี และในระหว่างเดือนตุลาคม 2564- มกราคม 2565 เก็บตัวอย่างแล้ว 22 สถานี (จากสถานีสะสม 60 สถานี) เดือนกุมภาพันธ์ 2565 เก็บตัวอย่างแล้ว 8 สถานี และในระหว่างเดือนตุลาคม 2564 - กุมภาพันธ์ 2565 เก็บตัวอย่างแล้ว 30 สถานี (จากสถานีสะสม 60 สถานี) (4.๒) จัดเก็บขยะภายใต้กิจกรรมต่าง ๆ (๑) กิจกรรมเก็บขยะตกค้างในระบบนิเวศสำคัญแบบมีส่วนร่วม (๒) กิจกรรมจัดเก็บขยะร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ (อปท. ชุมชน โรงเรียน ฯลฯ) (3) กิจกรรมจัดทำมาตรการลดปริมาณขยะ ในพื้นที่เป้าหมายตามหลักวิชาการ (๔) กิจกรรมบริหารจัดการขยะโดยใช้ทุ่นกักขยะ (๕) กิจกรรมจัดเก็บขยะวันชายหาดสากล สรุปผลการดำเนินงานเดือนมกราคม 2565 จัดเก็บขยะได้ทั้งสิ้น 78,670 กิโลกรัม (78.67 ตัน) จำนวนรวม 883,456 ชิ้น ในระหว่างเดือนตุลาคม 2564 - มกราคม 2565 จัดเก็บขยะ ได้ทั้งสิ้น 150,725 กิโลกรัม (150.73 ตัน) จำนวนรวม 1,326,641 ชิ้น สรุปผลการดำเนินงานเดือนกุมภาพันธ์ 2565 จัดเก็บขยะได้ทั้งสิ้น 58,595 กิโลกรัม (58.60 ตัน) จำนวนรวม 802,494 ชิ้น ระหว่างเดือนตุลาคม 2564 - กุมภาพันธ์ 2565 จัดเก็บขยะได้ ทั้งสิ้น 209,320 กิโลกรัม (209.32 ตัน) จำนวนรวม 2,129,135 ชิ้น **(5) ปลูกเสริมปะการัง** ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีแผนดำเนินการ จำนวน 60 ไร่ ใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดหวัดกระบี่ 10 ไร่ จังหวัดภูเก็ต 35 ไร่ และจังหวัดพังงา 15 ไร่ โดยดำเนินการลงนามในสัญญาแล้ว สลก.4/2565 ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2564 สิ้นสุด 15 มิถุนายน 2565 ห้างหุ้นส่วนจำกัดแสงชัยวัสดุก่อสร้างประจวบ โดยมีผลการดำเนินงาน อยู่ระหว่างดำเนินการหล่อแท่งเพื่อปลูกปะการัง คิดเป็นร้อยละ 10 **(6) ปลูกเสริมหญ้าทะเล** ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีแผนดำเนินการ จำนวน 60 ไร่ 96,000 ต้น/กอ ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่จังหวัดพังงา ตราด ชุมพร และนครศรีธรรมราช โดยมีผลดำเนินการดังนี้ (1) พื้นที่อ่าวพังงา จังหวัดพังงา 38,400 กอ 24 ไร่ (2) พื้นที่เกาะบ้านเขาล้าน จังหวัดตราด 19,200 กอ 12 ไร่ (3) พื้นที่เกาะพิทักษ์ จังหวัดชุมพร 19,200 กอ 12 ไร่ (4) พื้นที่อ่าวเตล็ด จังหวัดนครศรีธรรมราช 19,200 กอ 12 ไร่ โดยมีผลดำเนินการรวมทั้งสิ้น 4 พื้นที่ 4 จังหวัด 60 ไร่ 96,000 ต้น/กอ คิดเป็นร้อยละ 100 **(7) การสำรวจธรณีวิทยาเพื่อการบริหารจัดการทางทะเลและชายฝั่ง** โดยมี ผลการดำเนินการปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คิดเป็นร้อยละ 35 ดังนี้ 1) การสำรวจจัดทำข้อมูลและแผนที่พื้นที่เปราะบางต่อแผ่นดินทรุด และน้ำทะเลรุกเข้าท่วมชุมชนชายฝั่งทะเล ในพื้นที่วิกฤตจังหวัดเพชรบุรี อยู่ระหว่างการสำรวจเส้นแนวชายฝั่งทะเลช่วงก่อนฤดูมรสุม สำรวจชนิดโครงสร้างป้องกันชายฝั่งทะเล สำรวจธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเล และสำรวจเก็บตัวอย่างตะกอนกระแสน้ำเลียบชายฝั่งจำนวน 10 ตัวอย่าง และตะกอนหน้าหาด 30 ตัวอย่าง ได้พื้นที่รวม 150 ตร.กม. 2) การสำรวจจัดทำข้อมูลและแผนที่ธรณีวิทยาและธรณีสัณฐานทางทะเล จังหวัดเพชรบุรี ในแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 อยู่ระหว่างการจัดเก็บตะกอนพื้นทะเลรวม 80 ตัวอย่าง สำรวจบันทึกภาพหน้าตัดคลื่นไหวสะเทือนแบบสะท้อนกลับระดับตื้นในทะเล และสำรวจระดับความลึกน้ำ รวม 420 ตร.กม. 3) งานศึกษาการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลที่มีความสัมพันธ์กับหลักฐานทางธรณีวิทยาและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกโดยใช้เครื่องมือวัดระดับน้ำทะเลขึ้น-ลง แบบอัตโนมัติ ควบคุมตำแหน่งด้วยระบบดาวเทียม จำนวน 8 สถานี โดยรวบรวมข้อมูลระดับน้ำทะเลและข้อมูลค่าระดับความสูงจากเครื่องมือวัดระดับน้ำทะเลขึ้น-ลง แบบอัตโนมัติ เป็นระยะเวลา 4 เดือน (ตุลาคม 2564 – มกราคม 2565) และดำเนินการตรวจสอบ ปรับปรุงคุณภาพข้อมูล **๑๐.๕ แก้ไขปัญหาก๊าซเรือนกระจกและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ** **(1)** **การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ** โดยมีผลการดำเนินการดังนี้ (1.1) จัดทำแผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๗๓ เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ที่ร้อยละ ๒๐ จากกรณีปกติ ในปี พ.ศ. ๒๕๗๓ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ โดยดำเนินการใน ๓ สาขาหลัก ได้แก่ ภาคพลังงานและภาคขนส่ง ภาคกระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ และภาคการจัดการของเสีย คิดเป็นศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจก ในปี พ.ศ. ๒๕๗๓ ทั้งสิ้นประมาณ ๑๑๕.๖ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (1.2) สนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดทำแผนปฏิบัติการลดก๊าซ เรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๗๓ รายสาขา ได้แก่ สาขาพลังงาน สาขาคมนาคมขนส่ง สาขาการจัดการของเสียชุมชน และสาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ รวมถึงน้ำเสียอุตสาหกรรม โดยคิดศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ทั้ง ๔ สาขา ในปี พ.ศ. ๒๕๗๓ ทั้งสิ้น ๑๕๖.๘๖ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าจากกรณีปกติ หรือร้อยละ ๒๘.๒ ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (กนภ.) ได้เห็นชอบแผนปฏิบัติการฯ แล้ว เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ (1.3) จัดทำร่างแผนปฏิบัติการสนับสนุนการดำเนินงาน ตามแผนที่นำทาง การลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ เพื่อสนับสนุนศักยภาพ การดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้บรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้แผนที่นำทางฯ ซึ่ง กนภ. มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๑ (1.๔) การจัดทำรายงานความก้าวหน้ารายสองปี ฉบับที่ ๓ เพื่อดำเนินการตามพันธกรณีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเป็นการสื่อสารให้ประชาคมโลกทราบสถานการณ์การดำเนินงานของประเทศไทยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเรื่องของบัญชีก๊าซเรือนกระจกปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น ๓๕๔,๓๕๗.๖๑ กิกะกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าหรือราว ๓๕๔ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า การดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศในภาคพลังงาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามเป้าหมาย Nationally Appropriate Mitigation Actions (NAMA) ลดก๊าซเรือนกระจก ได้ทั้งสิ้น ๕๗.๘๔ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (ร้อยละ ๑๕.๗๖) จากกรณีปกติ ซึ่งบรรลุเป้าหมาย NAMA แล้ว นอกจากนี้ได้รายงานความต้องการสนับสนุนด้านการลดก๊าซเรือนกระจก ด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้านเทคโนโลยีและการเงิน พร้อมทั้งรายงานการได้รับการสนับสนุนที่ประเทศไทยได้รับ โดยประเทศได้จัดทำรายงานความก้าวหน้ารายสองปี ฉบับที่ ๓ แล้วเสร็จและจัดส่งไปยังสำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาฯ แล้วเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และ มีการเผยแพร่ในเว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาฯ แล้ว สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดทำอินโฟกราฟิค (Infographic) สรุปสาระสำคัญของรายงานความก้าวหน้ารายสองปี ฉบับที่ ๓ ให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจอย่างง่ายและมีเผยแพร่ในเว็บไซต์ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม http://www.onep.go.th (1.5) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญดังนี้ (1) จัดทำยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย (Thailand’s Long-Term Low Greenhouse Gas Emission evelopment Strategy) เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการกำหนดแนวทางและเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศในระยะยาว รวมทั้งเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการจัดทำการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC) ฉบับต่อไป โดยจะจัดส่งยุทธศาสตร์ระยะยาวฯ ไปยังสำนักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) เพื่อเป็นการสื่อสารถึงความมุ่งมั่น ของประเทศในการร่วมกับประชาคมโลกในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งยุทธศาสตร์ระยะยาวฯ ได้กำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด (Peak emission) ในปี พ.ศ. ๒๕๗๓ (ค.ศ. 2030) เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero GHG emission) และมาตรการดำเนินงานตามแนวทางในกรณี ๒ องศาเซลเซียส นอกจากนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกระทรวงพลังงาน จัดทำเป้าหมายการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ซึ่งสอดคล้องตามกรอบแผนพลังงานชาติของกระทรวงพลังงาน โดยคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์ระยะยาวฯ เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ โดยได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนจัดส่งต่อ UNFCCC ในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Conference of Parties: COP) ครั้งที่ ๒๖ (COP26) เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๔ ในการนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถ้อยแถลงในการประชุม COP26 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ว่า “ประเทศไทยจะยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่และด้วยทุกวิถีทาง เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2050 และบรรลุเป้าหมาย การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ ในปี 2065 และด้วยการสนับสนุนทางด้านการเงินและเทคโนโลยีอย่างเต็มที่และเท่าเทียม รวมถึงการเสริมสร้างขีดความสามารถจากความร่วมมือระหว่างประเทศ และกลไกภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ ซึ่งประเทศไทยจะสามารถยกระดับ NDC ขึ้นเป็น ร้อยละ 40” (2) จัดทำการส่งเสริมโครงการ T – VER สนับสนุนการแบ่งปันคาร์บอนเครดิต จากโครงการด้านป่าไม้และพื้นที่สีเขียว โดยปรับปรุงวิธีการประเมินการกักคาร์บอนภาคป่าไม้ และหารือกับกระทรวงพลังงาน และกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจไฟฟ้าสะอาดพัฒนาโครงการ T-VER เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นรายได้เสริมและสนับสนุนนโยบาย Carbon Neutral ภาคพลังงานต่อไป (3) ร่วมกับกระทรวงพลังงาน และกระทรวงคมนาคม ในการรายงาน ผลการลดก๊าซเรือนกระจกติดตามประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการภาคพลังงาน และขนส่ง ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ประเทศไทยลดก๊าซเรือนกระจกได้ทั้งสิ้น ๖๔.๒๐ ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (ร้อยละ ๑๗.๔๙) จากมาตรการภาคพลังงานจำนวน ๙ มาตรการและมาตรการภาคขนส่ง จำนวน ๑ มาตรการ รวมทั้งสิ้น ๑๐ มาตรการ (4) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ร่วมยกร่างหลักเกณฑ์ในการ ซื้อขายถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตแล้ว และเปิดรับฟังความคิดเห็นแล้วเสร็จ โดยมีแผนนำเข้าคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พิจารณาในเดือนมีนาคม 2565 (5) ออกระเบียบคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ดังนี้ - ระเบียบคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ว่าด้ายการขึ้นทะเบียนการซื้อ ขาย และถ่ายโอนคาร์บอนเครดิต พ.ศ. ….กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ตลอดจนการบันทึกการรับรองและการใช้คาร์บอนเครดิตในระบบทะเบียน เพื่อให้การทำธุรกรรมเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีแนวปฏิบัติในการดำเนินงานที่ชัดเจนและคล่องตัว รองรับการขยายตัวและยกระดับมาตรฐานของตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตตามนโยบายของรัฐบาล - ระเบียบคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ว่าด้ายหลักเกณฑ์การให้การรับรองและการทำความตกลงการบริหารจัดการและการกำกับดูแล การประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิต พ.ศ. .... กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้การรับรองการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิตและการทำความตกลงระหว่าง TGO กับผู้ประกอบการศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิต เพื่อส่งเสริมและเอื้ออำนวยการ ซื้อขายคาร์บอนเครดิต และกำกับดูแลให้การซื้อขายคาร์บอนเครดิตเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีความน่าเชื่อถือ เกิดความเป็นธรรม และคุ้มครองผู้ซื้อ และผู้ขายคาร์บอนเครดิต ตลอดจนรักษาเสถียรภาพของตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิต (6) รับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนเครดิต) จากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ตั้งแต่ปี 2558 ถึง 2565 ทั้งสิ้น 223 โครงการ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง 9,586,843 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq) จำแนกประเภทโครงการ ดังนี้ | | | | | | --- | --- | --- | --- | | **ประเภทโครงการ** | **จำนวน(โครงการ)** | **ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง (tCO2eq)** | **ปริมาณการซื้อขาย(tCO2eq)3** | | 1. ป่าไม้และพื้นที่สีเขียว (FOR)2 | 3 | 2,241 (310 ไร่) | 16 | | 2. การพัฒนาพลังงานทดแทน (AE) | 60 | 6,411,781 | 772,845 | | 3. การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน (EE) | 36 | 1,897,000 | | | 4. การจัดการขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และวัสดุเหลือใช้ (WM) | 22 | 351,503 | 4,838 | | 5. พลังงานทดแทนจากการจัดการของเสีย (AE+WM) | 8 | 842,720 | 7,804 | | 6. อื่นๆ (OTH) | 1 | 81,598 | 1,696 | | 7. การจัดการในภาคขนส่ง (TM) | - | - | - | | 8. การเกษตร (AGR) | - | - | - | | **รวมทั้งสิ้น** | **1301** | **9,586,843** | **787,199** | ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีนโยบายให้หน่วยงานขับเคลื่อนพันธกิจร่วม (Joint Mission) เรื่อง การประเมินการปล่อย ลดก๊าซเรือนกระจก ในระดับต่าง ๆ (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม/องค์การบริหารการจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)) การประเมินคาร์บอนเครดิตของโครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า (องค์การบริหารการจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)/กรมป่าไม้) และการออกระเบียบ เรื่อง การแบ่งปันคาร์บอนเครดิต (90/10) จากโครงการด้านป่าไม้ และพื้นที่สีเขียว (องค์การบริหารการจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)/กรมป่าไม้/ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง) เพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงาน และยกระดับภารกิจให้สามารถตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ **(2) การลดผลกระทบธรณีพิบัติภัยที่เกิดจากธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ** โดยมีผลการดำเนินการปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คิดเป็นร้อยละ 23 ดังนี้ (2.1) การสำรวจและประเมินพื้นที่เสี่ยงธรณีพิบัติภัยและพื้นที่ปลอดภัย จำนวน 3 ด้าน ประกอบด้วย ดินถล่ม แผ่นดินไหว และหลุมยุบ โดยมีผลการดำเนินการปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คิดเป็น ร้อยละ23 มีรายละเอียดดังนี้ 1) งานสำรวจพื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม : ดำเนินการจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานและงานสำรวจธรณีวิทยาและธรณีพิบัติภัย ดังนี้ 1) ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม และภาพถ่ายทางอากาศ ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2) ดำเนินการเก็บข้อมูลพิบัติภัย (ตัวอย่างดิน/หิน) ในพื้นที่ 4 จังหวัด รวม 67 ตัวอย่าง เพื่อจัดทำข้อมูลวิทยาหินในพื้นที่เป้าหมาย และ 3) แปลความหมายร่องรอยดินถล่มจาก Google image ในพื้นที่ 4 จังหวัด ย้อนหลัง 20 ปี 2) ประเมินภัยพิบัติแผ่นดินไหวระดับจังหวัด พื้นที่จังหวัดเลย : ดำเนินการจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานและงานสำรวจภัยพิบัติแผ่นดินไหวระดับจังหวัด ในพื้นที่ จังหวัดเลย ดังนี้ 1) รวบรวมข้อมูลด้านธรณีวิทยา ธรณีวิทยาแผ่นดินไหว และธรณีแปรสัณฐาน ตลอดจนข้อมูลแผ่นดินไหวที่เคยเกิดในพื้นที่จังหวัดเลย 2) จัดทำข้อมูลธรณีวิทยา และข้อมูลธรณีสัณฐานรอยเลื่อนมีพลังจังหวัดเลย โดยการแปลความหมายข้อมูลธรณีวิทยา และข้อมูลธรณีสัณฐานรอยเลื่อนมีพลัง และจัดทำแผนที่ธรณีวิทยา และข้อมูลธรณีสัณฐานรอยเลื่อนมีพลัง และ 3) งานจ้างขุดร่องสำรวจ ดำเนินการจัดทำเอกสารงานการจัดจ้างขุดร่องสำรวจธรณีวิทยาแผ่นดินไหว โดยวิธีเฉพาะเจาะจง ดำเนินการแล้วเสร็จ 3) การประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยหลุมยุบ : ดำเนินการสำรวจและ เก็บตัวอย่างหินในพื้นที่พิบัติภัยหลุมยุบ จังหวัด เพชรบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์และจัดเตรียมข้อมูลเพื่อการประเมินและจัดทำพื้นที่เสี่ยงภัยหลุมยุบภาคกลาง 4) จัดทำข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มระดับชุมชน : ดำเนินการจัดทำ ชั้นข้อมูลฐานพร้อมรายงานการจัดทำและคู่มือการใช้งานข้อมูลฐาน เช่น ข้อมูลลักษณะธรณีวิทยา โครงสร้างทางธรณีวิทยา ข้อมูลเขตการปกครอง ข้อมูลด้านโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น รวมทั้ง ชั้นข้อมูลขอบเขตร่องรอยแผ่นดินถล่ม (Scar) และ/หรือแหล่งตะกอนน้ำพารูปพัด (Alluvial Fan) จากข้อมูลดาวเทียม (2.2) จัดทำแผน มาตรการ แนวทาง ข้อกำหนด เพื่อป้องกัน บรรเทา และลดผลกระทบธรณีพิบัติภัยชุมชน โดยดำเนินการรวบรวมและจัดทำข้อมูลพื้นฐานในพื้นที่เป้าหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำร่างแผน มาตรการ แนวทางลดผลกระทบธรณีพิบัติภัยตาม ความเสี่ยงภัยธรณีพิบัติ (ดินถล่ม/แผ่นดินไหว) และเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงภัยและการลดผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย โดยได้ดำเนินการประสานและสำรวจ ตรวจสอบธรณีพิบัติภัยและธรณีพิบัติภัย ในพื้นที่ตำบลนายม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีผลการดำเนินการปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คิดเป็นร้อยละ 20 (2.3) ดำเนินการเฝ้าระวังสถานการณ์ธรณีพิบัติภัย ประสานงานข้อมูลการ เฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัยประจำวัน และการออกข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งให้เครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัยเฝ้าระวังภัยที่อาจจะเกิดขึ้นให้ได้ทันต่อสถานการณ์ธรณีพิบัติภัย (ดินถล่ม) โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีจำนวน 17 ฉบับ พร้อมทั้ง ดำเนินการตรวจสอบและรายงานสถานภาพของสถานีตรวจวัดข้อมูลด้านธรณีพิบัติภัยอย่างสม่ำเสมอ โดยมีผลการดำเนินการปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คิดเป็นร้อยละ 32 **(3)** **การรองรับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและลดโลกร้อน** จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ พร้อมปลูกไม้ยืนต้นโตเร็ว ลดการเผาพื้นที่โล่งเตียน 12,000 ไร่ (เป้าหมาย 12,000 ไร่) รณรงค์งดเผาตอซัง 50 แปลง เพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน โดยดำเนินการไปแล้ว ร้อยละ 100 **(4)** **โครงการรายงานและติดตามประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกภาคอุตสาหกรรม** โดยมีผลการดำเนินการ คิดเป็นร้อยละ 100 ดังนี้ (4.1) ศึกษาและพัฒนาระบบการจัดการของเสียและสารทำความเย็น ที่เสื่อมสภาพ ให้ข้อเสนอแนะการพัฒนาระบบการจัดการของเสียสารทำความเย็น เสนอการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อกำหนดให้มีการกำจัดทำลายสารทำความเย็นอย่างถูกวิธี รวมทั้ง การประเมินศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการจัดการของเสียและสารทำความเย็นที่เสื่อมสภาพด้วย โดยออกสำรวจรูปแบบ และเก็บข้อมูลจากโรงงานและ/หรือสถานประกอบการ จำนวนไม่น้อยกว่า 5 แห่ง ดังนี้ (1) จัดทำแบบฟอร์มการสำรวจข้อมูลโรงงานและ/หรือสถานประกอบการ เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบการจัดการของเสียและสารทำความเย็นที่เสื่อมสภาพของประเทศไทย (2) จัดทำหนังสือขอความอนุเคราะห์สำรวจข้อมูลโรงงานและ/หรือสถานประกอบ เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบการจัดการของเสียและสารทำความเย็นที่เสื่อมสภาพของประเทศไทย (3) จัดทำหนังสือขอความอนุเคราะห์เข้าสำรวจข้อมูลโรงงานและ/หรือสถานประกอบที่มีการจัดการของเสียและสารทำความเย็น (4.2) รวบรวม จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลกิจกรรม สถานการณ์ และประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกลุ่มอุตสาหกรรมในหมวด 2D ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงที่ไม่ได้เป็นพลังงานและตัวทําละลาย 2E อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ 2G การผลิตและการใช้อื่น ๆ ตามคู่มือการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกแห่งชาติ ปี ค.ศ. 2006 (2006 IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories) โดยรวมถึงการออกสำรวจรูปแบบ และเก็บข้อมูล จากโรงงาน จำนวนไม่น้อยกว่า 5 แห่ง (1) จัดทำแบบฟอร์มการสำรวจข้อมูลกิจกรรมโรงงานและ/หรือสถานประกอบการจากกลุ่มอุตสาหกรรมในหมวด 2D ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงที่ไม่ได้เป็นพลังงานและตัวทำละลาย 2E อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ 2G อุตสาหกรรมการผลิตและการใช้อื่น ๆ เพื่อประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (2) จัดทำหนังสือขอความอนุเคราะห์สำรวจข้อมูลกิจกรรมโรงงานและ/หรือสถานประกอบในหมวด 2D ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงที่ไม่ได้เป็นพลังงานและตัวทำละลาย 2E อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ 2G การผลิตและการใช้อื่น ๆ เพื่อประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (3) จัดทำหนังสือขอความอนุเคราะห์เข้าสำรวจข้อมูลโรงงานและ/หรือสถานประกอบในหมวด 2D ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงที่ไม่ได้เป็นพลังงานและตัวทำละลาย 2E อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ 2G การผลิตและการใช้อื่น ๆ (4) รวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐที่มีการจัดเก็บข้อมูลและประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกลุ่มอุตสาหกรรมในหมวด 2D1 การใช้น้ำมันหล่อลื่น และ 2G1 อุตสาหกรรมอุปกรณ์ไฟฟ้า (4.3) รวบรวม จัดเก็บ และประเมินผล การควบคุมคุณภาพและการทวนสอบความถูกต้องของข้อมูลและวิธีการคำนวณ เพื่อให้ได้ตัวเลขการลดก๊าซเรือนกระจกรายปี (ปี พ.ศ. ๒๕๖๓) สำหรับมาตรการทดแทนปูนเม็ด มาตรการทดแทน/ปรับเปลี่ยนสารทำความเย็น และมาตรการจัดการน้ำเสียอุตสาหกรรม ตาม “แผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี ๒๕๖๔ – ๒๕๗๓ สาขากระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ รวมถึงน้ำเสียอุตสาหกรรม” (1) จัดทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ข้อมูลจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ศส.) กรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลการปล่อยและการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม ประกอบด้วย - ข้อมูลปริมาณสารกลุ่มไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) และกลุ่มเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ตามแบบ วอ./อก.6 ใบแจ้งข้อเท็จจริง ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และแบบ วอ./อก.7 ใบแจ้งข้อเท็จจริงของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ครอบครอง - ข้อมูลปริมาณสารซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (Sulphur Hexafluoride: SF6) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 – 2563 ตามแบบ วอ./อก.6 ใบแจ้งข้อเท็จจริง ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และแบบ วอ./อก.7 ใบแจ้งข้อเท็จจริงของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ครอบครอง - ข้อมูลปริมาณเถ้าลอยจากโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหิน (Coal-fired power plant fly-ash) ปี พ.ศ. 2563 ตามแบบ วอ./อก.6 ใบแจ้งข้อเท็จจริง ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และแบบ สก.3 ใบแจ้งเกี่ยวกับรายละเอียดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว สำหรับผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว - ข้อมูลน้ำเสียอุตสาหกรรมตามแบบ รว.1 และ รว.2 ปี พ.ศ. 2563 เพื่อประเมินตัวเลขการลดก๊าซเรือนกระจกรายปี (ปี พ.ศ. ๒๕๖๓) สำหรับมาตรการทดแทนปูนเม็ด มาตรการทดแทน/ปรับเปลี่ยนสารทำความเย็น และมาตรการจัดการน้ำเสียอุตสาหกรรม ดำเนินการดังนี้ - จัดทำแบบฟอร์มการรายงานข้อมูลกิจกรรม สำหรับมาตรการทดแทน/ปรับเปลี่ยนสารทำความเย็นและมาตรการทดแทนปูนเม็ด - จัดทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ข้อมูลกิจกรรมโรงงานและ/หรือสถานประกอบการ เพื่อประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกรายปี (ปี พ.ศ. ๒๕๖๓) สำหรับมาตรการทดแทนปูนเม็ด มาตรการทดแทน/ปรับเปลี่ยนสารทำความเย็น และมาตรการจัดการน้ำเสียอุตสาหกรรม - จัดทำหนังสือขอความอนุเคราะห์เข้าสำรวจข้อมูลโรงงาน และ/หรือสถานประกอบการ เพื่อติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลการดำเนินงานด้านการ ลดก๊าซเรือนกระจก (4.4) ติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลการดำเนินงานตามแผน ปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๗๓ สาขากระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ รวมถึงน้ำเสียอุตสาหกรรม วัดผลสำเร็จตามตัวชี้วัด (เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ) และค่าเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งประเมินปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและแนวทางการแก้ไขที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของกิจกรรมนี้ ให้รวมถึงการออกสำรวจข้อมูลจากโรงงานและ/หรือสถานประกอบการ จำนวนไม่น้อยกว่า ๕ แห่ง (1) จัดทำแบบสอบถามการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน ตามแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๗๓ สาขากระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ รวมถึงน้ำเสียอุตสาหกรรม (2) จัดทำหนังสือขอความอนุเคราะห์รายงานความก้าวหน้า การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๗๓ สาขากระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ รวมถึงน้ำเสียอุตสาหกรรม (4.5) ดูแลรักษาระบบ (Maintenance) และปรับปรุงระบบฐานข้อมูลก๊าซเรือนกระจกของกรมโรงงานอุตสาหกรรมให้เป็นปัจจุบัน โดยจัดทำเลขที่ TSIC เทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรมตามคู่มือ IPCC 2006 เพื่อนำเข้าระบบฐานข้อมูลก๊าซเรือนกระจกของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (4.6) สำรวจข้อมูลโรงงานและ/หรือสถานประกอบการ จำนวน ๕ แห่ง ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบการจัดการของเสียและสารทำความเย็นที่เสื่อมสภาพของประเทศไทย (4.7) สำรวจข้อมูลโรงงานและ/หรือสถานประกอบการ จำนวน ๕ แห่ง ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกลุ่มอุตสาหกรรมในหมวด 2D ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงที่ไม่ได้เป็นพลังงานและตัวทำละลาย 2E อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ 2G การผลิตและการใช้อื่น ๆ และรวบรวมข้อมูลกิจกรรมในหมวด 2D และ 2G จากหน่วยงานภาครัฐที่มีการจัดเก็บข้อมูลจากโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อประเมินค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (4.8) รวบรวมและประเมินผลข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินค่าการลดก๊าซเรือนกระจกรายปี (ปี พ.ศ. ๒๕๖๓) สำหรับมาตรการทดแทนปูนเม็ด มาตรการทดแทน/ปรับเปลี่ยนสารทำความเย็น และมาตรการจัดการน้ำเสียอุตสาหกรรม ตามแผน ปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี ๒๕๖๔ - ๒๕๗๓ สาขากระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ รวมถึงน้ำเสียอุตสาหกรรม (4.9) สำรวจข้อมูลกิจกรรมโรงงานและ/หรือสถานประกอบการ จำนวน ๕ แห่ง ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจก และติดตามความก้าวหน้าและการดำเนินงานมาตรการ/กิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกจากหน่วยงานรับผิดชอบหลักและหน่วยงานสนับสนุนตามแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจก ของประเทศ ปี ๒๕๖๔ - ๒๕๗๓ (4.10) นำเข้าข้อมูลประเภทอุตสาหกรรมตามเลขที่ TSIC ในระบบฐานข้อมูลก๊าซเรือนกระจกของกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีผลการดำเนินการดังนี้ (๑) จัดทำเอกสารดาวน์โหลดประเภทอุตสาหกรรมตามเลขที่ TSIC บนหน้าเว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลก๊าซเรือนกระจกของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (๒) ปรับปรุงจำนวนข้อมูลโรงงานที่เข้าข่ายต้องรายงานก๊าซเรือนกระจกในฐานข้อมูลการรายงานข้อมูลกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคกระบวนการอุตสาหกรรม และการใช้ผลิตภัณฑ์ (IPPU Greenhouse Gas Inventory Reporting) ตั้งแต่หมวดอุตสาหกรรม 2A-2H (๓) นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจโรงงานอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลก๊าซเรือนกระจกของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (ตาม TOR ข้อ ๕.๑๐ ของโครงการฯ) (4.11) การประชุมรับฟังความเห็นต่อผลการศึกษาและพัฒนาระบบการจัดการของเสียและสารทำความเย็นที่เสื่อมสภาพของประเทศไทย เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๔ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ทั้งสิ้น จำนวน ๕๘ คน (4.12) การสัมมนาสรุปผลการดำเนินโครงการรายงานและติดตามประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกภาคอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๔ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนาฯ ทั้งสิ้น จำนวน ๑๕๖ คน (4.13) จัดประชุมสัมมนาเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการรายงาน และการลดก๊าซเรือนกระจกในสาขา IPPU รวมถึงน้ำเสียอุตสาหกรรม จำนวน ๕ ครั้ง มีผู้เข้าร่วมรวม ๔๒๑ คน (4.14) พัฒนาแบบฟอร์มการรายงาน และเก็บข้อมูลกิจกรรมภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ (IPPU) รวมถึงประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกจากหมวด 2D ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงที่ไม่ได้เป็นพลังงานและตัวทำละลาย, 2E อิเล็กทรอนิกส์ และ 2G อุปกรณ์ไฟฟ้า/SF6/PFCs/N2O ตามคู่มือการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกแห่งชาติ ปี ค.ศ. ๒๐๐๖ โดยผลการศึกษาพบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากหมวดหมู่ย่อย 2D1 การใช้น้ำมันหล่อลื่น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 289.68 Gg CO2-eq และหมวดหมู่ย่อย 2G1 อุปกรณ์ไฟฟ้า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.34 Gg CO2-eq ทั้งนี้ สำหรับหมวดหมู่ย่อยอื่น ๆ ภายใต้หมวด 2D และหมวด 2G ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถประเมินค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานในการรวบรวม และจัดเก็บข้อมูลในระดับประเทศ นอกจากนี้ พบว่าประเทศไทยไม่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในหมวด 2E อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากขั้นตอนกระบวนการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาจากกระบวนการผลิตขั้นต้น ซึ่งประเทศไทยเป็นกระบวนการผลิตขั้นกลางจากการนำเข้าแผ่นเวเฟอร์เพื่อนำมาผลิตแผงวงจรรวม (Integrated Circuit: IC) และแผงวงจรพิมพ์ (Printed Circuited Board: PCB) แล้วถูกนำไปใช้ต่อในกระบวนการผลิตขั้นปลายเพื่อประกอบเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูปเท่านั้น (4.15) ประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกรายปี และติดตามความก้าวหน้าตามแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๗๓ สาขากระบวนการอุตสาหกรรมและ การใช้ผลิตภัณฑ์ รวมถึงน้ำเสียอุตสาหกรรม โดยพบปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ จาก (๑) มาตรการทดแทนปูนเม็ด กล่าวคือ จากการใช้วัสดุทดแทนปูนเม็ดในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก และการใช้วัสดุทดแทนปูนซีเมนต์ในคอนกรีตผสมเสร็จ มีค่าเท่ากับ 200,805.48 ตัน CO2eq ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 27 จากเป้าหมาย ที่กำหนดไว้ 750,000 ตัน CO2eq ภายในปี พ.ศ. 2573 (๒) มาตรการทดแทน/ปรับเปลี่ยนสารทำความเย็น จากการปรับเปลี่ยนสารทำความเย็นชนิด R-410A เป็น R-32 สำหรับเครื่องปรับอากาศ มีค่าเท่ากับ 4,185.43 ตัน CO2eq ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.40 จากเป้าหมาย ที่กำหนดไว้ 300,000 ตัน CO2eq ภายในปี พ.ศ. 2573 และ (๓) มาตรการจัดการน้ำเสียอุตสาหกรรมจากการเพิ่มการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียอุตสาหกรรมด้วยการนำก๊าซมีเทนกลับมาใช้ประโยชน์ มีค่าเท่ากับ 4,945,895 ตัน CO2eq ซึ่งเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ 1,000,000 ตัน CO2eq ภายในปี พ.ศ. 2573 (4.16) ศึกษาและพัฒนาระบบการจัดการของเสียสารทำความเย็น รวมถึงประเมินศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการกำจัดทำลายของเสียและสารทำความเย็น ที่เสื่อมสภาพอย่างถูกวิธี นอกจากนี้ ได้มีการคาดการณ์แนวโน้มค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก ปริมาณสารทำความเย็นประเภท R410A และ HFC-32 จากเครื่องปรับอากาศที่ขอฉลากเบอร์ ๕ ที่ถูกจำหน่ายในประเทศ ระหว่างปี พ.ศ ๒๕๕๘ – ๒๕๖๓ หลังการหมดอายุการใช้งาน ในอนาคต ปริมาณรวม ๒๒.๖ ล้านตัน CO2eq และประเมินค่าการลดก๊าซเรือนกระจกจากการกำจัดสารทำความเย็นอย่างถูกวิธี ระหว่างปี พ.ศ ๒๕๕๘ – ๒๕๖๓ ปริมาณรวม ๕๓๓,๗๘๔ ตัน CO2eq (4.17) ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลก๊าซเรือนกระจกของกรมโรงงานอุตสาหกรรมให้เป็นปัจจุบัน โดยมีการจัดทำเอกสารดาวน์โหลดประเภทอุตสาหกรรมตามเลขที่ TSIC สำหรับภาคกระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้อุตสาหกรรม ตั้งแต่หมวดหมู่ 2A-2H บนเว็บไซต์ http://ghg.diw.go.th:8080/ghg/login.htm การนำข้อมูลกิจกรรมจากผู้ประกอบการ ที่ตอบกลับแบบสำรวจข้อมูลเข้าระบบระบบฐานข้อมูลก๊าซเรือนกระจกของกรมโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อประเมินค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายโรงงานอุตสาหกรรม และการปรับปรุงจำนวนข้อมูลโรงงานที่เข้าข่ายต้องรายงานก๊าซเรือนกระจกสำหรับภาคกระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่หมวดหมู่ 2A - 2H จำนวนทั้งหมด ๖๑,๑๑๐ โรงงาน **(5)** **ส่งเสริมการไถกลบและผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก** ส่งเสริมและดำเนินการไถกลบตอซัง (เป้าหมาย 39,421 ไร่) และผลิตปุ๋ยหมักสูตร พด. (เป้าหมาย 1,800 ไร่) โดยดำเนินการได้ 16,826.50 ไร่ และผลิตปุ๋ยหมักสูตร พด. ได้ 100 ตัน มีผลการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ร้อยละ 42.68 **(6) โครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร** ดำเนินการถ่ายทอดความรู้ พื้นฐานด้านการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรให้แก่เกษตรกร (เป้าหมาย 17,640 ราย) โดยดำเนินการได้ 13,510 ราย มีผลการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ร้อยละ 76.59 **10.6 พัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน** **(1) กลไกการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ – เศรษฐกิจหมุนเวียน – เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy Model)** กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เร่งรัดขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ – เศรษฐกิจหมุนเวียน - เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy Model) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG Model) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีรองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกรรมการและมีหน่วยงานภายใต้กระทรวงร่วมเป็นกรรมการฯ เพื่อบูรณาการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามเป้าหมายยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๗๐ โดยมีประเด็นการขับเคลื่อนหลัก ได้แก่ (๑) อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อความสมดุลของระบบนิเวศและเป็นฐานการพัฒนา (๒) ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างยั่งยืนเพื่อสร้างและกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม (๓) ลดการใช้ทรัพยากร ลดขยะ และของเสีย และ (๔) มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำและวิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา ได้ปรับแก้กฎหมาย/ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับโมเดล BCG จำนวน ๓ ฉบับ ได้แก่ (๑) ระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งว่าด้วย การปลูกและบำรุงป่าชายเลน สำหรับองค์กรหรือบุคคลภายนอก พ.ศ. ๒๕๖๔ (๒) ระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตจากการปลูกบำรุง อนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าในพื้นที่ป่าไม้ พ.ศ. ๒๕๖๔ และ (๓) ระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืชว่าด้วยการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตที่ได้จากการปลูกบำรุง อนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ รวมทั้งได้มีการเปิดตัวเครื่องหมายและระบบการรับรอง “คาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียน” (Carbon Footprint of Circular Economy Product: CE-CFP) ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้กำหนดค่าเป้าหมายของการขับเคลื่อนโมเดล BCG ในภารกิจของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้ ๑) มีฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย ๒) สัดส่วนพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย - พื้นที่ป่าธรรมชาติ ร้อยละ ๓๓ - พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ ร้อยละ ๑๒ - พื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและชนบท ร้อยละ ๓ ๓) ลดการใช้ทรัพยากรลง ๑ ใน ๔ ๔) นำพลาสติกเป้าหมายกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้ ร้อยละ ๑๐๐ ๕) ผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากฐานทรัพยากรได้รับการรับรองและส่งเสริมตลาด ๖) ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง ร้อยละ ๑๕ จากกรณีปกติ **(2) ความหลากหลายทางชีวภาพ** กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินการภายใต้แผนปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยกำหนดประเด็นปฏิรูป 3 ประเด็นที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจชีวภาพ ได้แก่ ปฏิรูประบบข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ ปฏิรูประบบและเครือข่ายฐานทรัพยากรท้องถิ่นให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และปฏิรูประบบกลไกรองรับการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีผลการดำเนินการ ดังนี้ ด้านสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจชุมชนฯ (๑) สนับสนุนการสร้างรายได้แก่ชุมขน 132 แห่ง เป้าหมาย ๙๐ ล้านบาท ผลการดำเนินงาน 90.52 ล้านบาท (๒) ยกระดับเพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการธุรกิจชีวภาพ เป้าหมาย พัฒนา ๒๐ ราย ผลการดำเนินงาน พัฒนาศักยภาพด้านการตลาดให้ชุมชน ๒๐ ชุมชน คัดเลือกวิสาหกิจชุมชน ๑๐ วิสาหกิจชุมชนเพื่อส่งเสริมการตลาด (๓) ผลประเมินความสุขมวลรวมชุมชน (GCH) เป้าหมาย ร้อยละ ๘๐ ผลการดำเนินงาน ร้อยละ 80.40 ด้านจัดทำฐานข้อมูลและองค์ความรู้ฯ (๑) สำรวจข้อมูลบัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นระดับชุมชน (พืชสมุนไพรที่ชุมชนมีการใช้ประโยชน์) และนำเข้าระบบฐานข้อมูล เป้าหมาย ๑๖ จังหวัด ผลการดำเนินงาน ข้อมูลบัญชีรายการพืชสมุนไพรที่ชุมชนมีการใช้ประโยชน์ ๑๖ จังหวัด ตรวจสอบและนำเข้าระบบฐานข้อมูล (๒) บัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้เผยแพร่และ คืนองค์ความรู้สู่ชุมชน เป้าหมาย ๑๖ จังหวัด ผลการดำเนินงานแล้วเสร็จ (๓) ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการอนุรักษ์ใน Community BioBank เป้าหมาย ๑8 แห่ง ผลการดำเนินงาน สนับสนุนการจัดตั้งธนาคารความหลากหลาย ทางชีวภาพระดับชุมชน วิสาหกิจชุมชนใหม่ 19 แห่ง ได้รับอนุมัติสนับสนุนการดำเนินงานโครงการธนาคารฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการธนาคารฯ (ต่อเนื่อง) จำนวน 5 แห่ง (4) คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาฯ 19 รายการ ผลการดำเนินงาน 19 รายการ (5) เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลผลการดำเนินงานสำนักงานทุกช่องทาง เป้าหมาย จำนวนผู้ที่ได้รับข้อมูล ข่าวสารไม่น้อยกว่า 100,000 ราย ผลการดำเนินงาน 194,675 ราย (6) จำนวนผู้ใช้งานข้อมูลผ่านระบบการให้ บริการแก่ประชาชนผ่านระบบฐานข้อมูล เว็บไซต์บริการ และ แอพพลิเคชั่น Line BOT Thaibiodiversity เป้าหมายใม่น้อยกว่า ๓๐,๐๐๐ ราย ผลการดำเนินงาน 94,675 ราย ด้านส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมฯ (๑) มูลค่าบริการระบบนิเวศจากการเพิ่มพื้นที่สีเขียวนอกเขตอนุรักษ์ เป้าหมาย ๕๐๐ ล้านบาท ผลการดำเนินงาน 533.94 ล้านบาท (๒) จำนวนพื้นที่สีเขียวที่เกิดจากการร่วมดำเนินการของชุมชน เป้าหมาย ๕,๐๐๐ ไร่ ผลการดำเนินงาน 5,258 ไร่ (๓) เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์/การเงิน เพื่อยกระดับพื้นที่สีเขียวนอกเขตอนุรักษ์ เป้าหมาย ๑ เครื่องมือ ผลการดำเนินงานแล้วเสร็จ **๑๐.๗ พัฒนากลไกแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ** **(1)** **การพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม: EIA** (1.1) EIA เข้าสู่การพิจารณาของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (โครงการ) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 31 ธันวาคม 2563 รวมทั้งสิ้น 932 โครงการ ได้แก่ - โครงการไม่เสนอ ครม. จำนวน 728 โครงการ - โครงการเสนอ ครม. จำนวน 21 โครงการ - โครงการเปลี่ยนแปลง จำนวน 180 โครงการ - โครงการอื่น ๆ จำนวน 3 โครงการ (1.2) สถานภาพการพิจารณา EIA ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 – 31 ธันวาคม 2564 รวมทั้งสิ้น 932 โครงการ ได้แก่ - เห็นชอบรายงาน จำนวน 404 โครงการ - ไม่ให้ความเห็นชอบรายงาน จำนวน 25 โครงการ - อยู่ระหว่างการพิจารณา จำนวน 299 โครงการ - ถอนรายงาน จำนวน 80 โครงการ - อื่น ๆ จำนวน 124 โครงการ (1.3) ดำเนินการเปรียบเทียบปรับ - EIA ที่เข้าข่ายการกระทำความผิดตามมาตรา 101/1 จำนวน 9 โครงการ แบ่งเป็น อาคาร 5 โครงการ พลังงาน 1 โครงการ และอุตสาหกรรม 3 โครงการ - คดีที่มีการเปรียบเทียบปรับ มาตรา 100 จำนวน 1 คดี มาตรา 101/1 จำนวน 4 คดี มาตรา 101/2 จำนวน 7 คดี (1.4) การปรับปรุงกฎหมาย - ทบทวน ประเภท/ขนาดโครงการ - ออกพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม - ออกประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ - ชี้แจงกฎกระทรวงการขออนุญาต เป็นผู้จัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (1.5) ติดตามตรวจสอบ โครงการที่รักษามาตรการตามรายงาน EIA ร้อยละ 63.25 - จัดทำคู่มือการดำเนินงานตามประกาศ Monitor และรายงานผล ต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2563 - ประชุมสัมมนาการดำเนินการตามประกาศ Monitor จำนวน 3 ครั้ง (1.6) การอนุญาตผู้จัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม - ออกใบอนุญาต จำนวน 41 ราย - ปรับปรุงกระบวนการขออนุญาต - กำกับดูแล/เรื่องร้องเรียน กำชับ 1 ราย ตักเตือน 4 ราย เพิกถอน 1 ราย (1.7) Smart EIA - แนวทางเปิดเผยข้อมูลในรายงาน EIA/Monitor ทางอิเล็กทรอนิกส์ - ปกปิดข้อมูลส่วนบุคคลในรายงานที่เผยแพร่ Smart EIA - ย้ายระบบ Smart EIA ไปยังระบบคลาวด์กลางภาครัฐ - อบรมการยื่นรายงาน Monitor ทางอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 10 ครั้ง (1.8) พัฒนากระบวนการและเผยแพร่ - การกระจายภารกิจ อบรมให้ความรู้และติดตามผล จำนวน 12 จังหวัด - สำรวจการยอมรับและเชื่อมั่นต่อระบบ EIA - ออกคำแนะนำต่อแนวทางสาธารณะในสถานการณ์ COVID-19 - ประชุมสัมมนา เรื่อง ความคืบหน้าการปฏิรูประบบ EIA - อบรมให้ความรู้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 10 จังหวัด **(2) การพัฒนากฎหมายของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม** โดยการจัดทำกฎหมายหลักและกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตาม พระราชบัญญัติ มีจำนวนทั้งสิ้น 249 ฉบับ ดังนี้ (2.1) กฎหมายหลัก จำนวน 5 ฉบับ ดังนี้ - ร่าง พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. .... - ร่าง พระราชบัญญัติ ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. .... - ร่าง พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. .... - ร่าง พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... - ร่าง พระราชบัญญัติ น้ำบาดาล พ.ศ. .... (2.2) กฎหมายลำดับรองเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ จำนวน 3 ฉบับ ดังนี้ - พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2563 - พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... - พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๓ (2.3) กฎหมายลำดับรอง จำนวน 241 ฉบับ ดังนี้ - พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 จำนวน 3 ฉบับ - พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 จำนวน 31 ฉบับ - พระราชบัญญัติ สวนป่า พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 8 ฉบับ - พระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 จำนวน 6 ฉบับ - พระราชบัญญัติ ป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 จำนวน 4 ฉบับ - พระราชบัญญัติ ป่าชุมชน พ.ศ. 2562 จำนวน 33 ฉบับ - พระราชบัญญัติ อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 จำนวน 26 ฉบับ - พระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 จำนวน 75 ฉบับ - พระราชบัญญัติ คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551 จำนวน 3 ฉบับ - พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 จำนวน 16 ฉบับ - ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม 2515 จำนวน 2 ฉบับ - พระราชบัญญัติ ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 จำนวน 6 ฉบับ - พระราชบัญญัติ ทรัพยากรน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 27 ฉบับ - กฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. .... (เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)) **๑๐.๘ แก้ไขปัญหาการจัดการขยะและของเสียอย่างเป็นระบบ** ดำเนินการดังนี้ **(1)** **การบริหารจัดการขยะของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม** แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย (1.1) จัดการขยะมูลฝอย (๑) ฝึกอบรม/ให้คำแนะนำในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยให้กับสำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาคที่ ๑ - ๑๖ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ทุกจังหวัด สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดทุกจังหวัด กรุงเทพมหานคร กรมอนามัย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ที่ไม่ถูกต้อง 2,272 แห่ง (๒) การติดตามตรวจสอบสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยและให้ข้อเสนอแนะทางวิชาการในการปรับปรุงสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยให้กับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ๑๘๑ แห่ง (๓) ลงพื้นที่สำรวจสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยและสถานีขนถ่าย ขยะมูลฝอย รวมทั้งรายงานผ่านระบบสารสนเทศ http//:waste.dla.go.th จำนวน ๒,๔๓๔ แห่ง (4) คณะอนุกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการขยะมูลฝอยบนเกาะ ภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหา การบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนบนเกาะเชิงพื้นที่ จำนวน ๔ ชุด เพื่อจัดทำมาตรการและ แนวทางการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ๑๔ เกาะ คือ เกาะเสม็ด เกาะสีชัง เกาะล้าน เกาะช้าง เกาะหมาก เกาะกูด เกาะสมุย เกาะเต่า เกาะพงัน เกาะยาวน้อย เกาะยาวใหญ่ เกาะลันตา เกาะพีพี และเกาะหลีเป๊ะ ประกอบด้วย ๓ มาตรการ ดังนี้ ๑) การจัดการขยะที่ต้นทาง เช่น สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การจัดทำกิจกรรม 3R เพื่อลดขยะที่นำไปกำจัดให้เหลือน้อยที่สุด ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติ กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมจัดการขยะ และการรณรงค์ต่าง ๆ ๒) การจัดการขยะ ณ กลางทาง เช่น รูปแบบการเก็บขนที่เหมาะสมกับพื้นที่ ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน ให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินงาน ๓) การจัดการขยะ ณ ปลายทาง เช่น ปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพสถานที่กำจัดขยะที่ดำเนินการไม่ถูกต้อง ติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมจากการกำจัด ขยะมูลฝอย โดยปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ร้อยละ ๘๔.๕๒ (2.2) การจัดการขยะพลาสติก คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 เห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 – 2565) ภายใต้ Road map การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 – 2573 ซึ่งมีผลการดำเนินการดังนี้ (1) การประชุมคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกและ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๔ ได้มีวาระการพิจารณาทบทวนนโยบายและมาตรการกำกับการนำเข้าเศษพลาสติก ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับ สถานการณ์ปัจจุบัน โดยที่ประชุมได้มีมติมอบหมายกรมควบคุมมลพิษหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงแนวทางเลือกด้านเงื่อนไขระยะเวลาการห้ามนำเข้าเศษพลาสติก จัดทำข้อดี ข้อเสีย โดยกำหนดแล้วเสร็จภายใน ๒ เดือน ก่อนเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณาและเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป โดยแนวทางการดำเนินงาน ๓ ทางเลือก มีดังนี้ - แนวทางที่ ๑ ห้ามนำเข้าเศษพลาสติก ในปี ๒๕๖๔ ตามมติคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ ๕ (กขป.๕) - แนวทางที่ ๒ ห้ามนำเข้าเศษพลาสติก ในปี ๒๕๖๙ ตามมติคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๔ - แนวทางที่ ๓ ห้ามนำเข้าเศษพลาสติก ในปี ๒๕๖๖ ทั้งนี้ หากมีการดำเนินงานตามแนวทางที่ ๒ และ ๓ จะต้องมีการกำหนดสัดส่วนเพื่อส่งเสริมการใช้ เศษพลาสติกภายในประเทศ และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเมื่อต้องใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงาน ๑๐๐% สอดคล้องกับนโยบายการขับเคลื่อนประเทศไทย ด้วยระบบโมเดลเศรษฐกิจ BCG (2) ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมผลักดันการออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อเลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ได้แก่ ๑) พลาสติกผสมสาร oxo ๒) โฟมบรรจุอาหาร ๓) ถุงพลาสติกแบบบางความหนาน้อยกว่า ๓๖ ไมครอน ๔) แก้วพลาสติกแบบบางความหนาน้อยกว่า ๑๐๐ ไมครอน ๕) หลอดพลาสติก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลหลักการ และเหตุผลประกอบการพิจารณาในการออกประกาศฯ ดังกล่าว (3) ออกประกาศกรมควบคุมมลพิษ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เรื่อง ความหมายของ “ขยะพลาสติก” และ “เศษพลาสติก” ให้เกิดความชัดเจนสำหรับหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า-ส่งออกเศษพลาสติก นำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (4) มาตรการจัดการขยะพลาสติกจาก food delivery และ 13 หน่วยงาน ร่วมลงนาม MOU ร่วมกับ Platform ที่ให้บริการส่งอาหารเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2563 เพื่อผลักดัน ให้มีการลด เลิกใช้ พลาสติกแบบครั้งเดียวจากการบริการส่งอาหารและใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมทดแทนภายใต้แนวคิด Food Delivery วิถีใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (5) ให้กรมศุลกากรมีการตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์ไม่ให้มีการนำเข้าขยะพลาสติกเข้ามา หากตรวจพบมีการนำเข้าขยะพลาสติกต้องส่งกลับประทางต้นทางทันที หรือขายทอดตลาดแล้วส่งออกไปต่างประเทศ (6) กรมควบคุมมลพิษมีการติดตามเฝ้าระวังการประกอบกิจการโรงงานพลาสติกทั้งในพื้นที่เขตปลอดอากร (Free Zone) และพื้นที่ทั่วไป เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติภัยเพลิงไหม้ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความเดือดร้อนกับประชาชน (7) ออกประกาศกรมศุลกากร ที่ ๕๙/๒๕๖๔ เรื่อง การกำหนดประเภทหรือชนิดแห่งของที่จะนำเข้าไปในเขตปลอดอากรและการควบคุมของที่มีความเสี่ยง โดยกำหนดให้ เศษพลาสติกที่นำเข้าไปจะต้องแยกประเภทแต่ละชนิดไม่ปะปนกัน สามารถนำเข้าสู่กระบวนการผลิตได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการทำความสะอาดอีก และใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักรเท่านั้น และปริมาณนำเข้าไม่เกินกำลังการผลิต (8) เพื่อส่งเสริมนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และให้มีการนำเศษพลาสติกภายในประเทศกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ทำให้มีการยกระดับคุณภาพเศษพลาสติกในประเทศ และมีปริมาณที่เพียงพอตอการนําไปเป็นวัตถุดิบในภาคธุรกิจรีไซเคิลและไม่ให้ประเทศไทยเป็นถังขยะโลกรองรับเศษพลาสติกจากประเทศอื่น คณะอนุกรรมการฯ กำลังพิจารณาที่จะเสนอนโยบายกำกับการนำเข้าเศษพลาสติก โดยมีแนวคิดจะอนุญาตให้นำเข้าเศษพลาสติกได้ไม่เกิน 2 ปี รวมถึงจะมีการกำหนดมาตรการ ลดผลกระทบจากการห้ามนำเข้าเศษพลาสติก ซึ่งคาดว่าจะเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี และประกาศเป็นนโยบายของรัฐบาลได้ภายในกลางปี 2565 (3.3) การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 รับทราบมาตรการการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในคราวการประชุม โดยมี แนวทางแก้ไขปัญหาดังนี้ (1) การแก้ไขปัญหาการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ซึ่งมีผลการดำเนินการดังนี้ - ผลักดันให้ท้องถิ่นออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อกำหนดให้กิจการถอดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นกิจการที่อันตรายต่อสุขภาพตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 - เฝ้าระวังการปนเปื้อนมลพิษที่เกิดจากการประกอบกิจกรรม ถอดแยกและรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างไม่ถูกต้อง - สนับสนุนจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีรูปแบบ การจัดการของเสียอันตรายชุมชนอย่างถูกต้อง พัฒนารูปแบบและแนวทางในการจัดการของเสียอันตรายชุมชน ให้มีการดำเนินการจัดการของเสียอันตรายอย่างถูกต้องครบวงจร - ดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ในการบริหารจัดการของเสียอันตรายจากชุมชน ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมโครงการฯ ทั้งสิ้น 112 แห่ง ครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัด และจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับภาคเอกชน 9 แห่ง ที่เป็นห้างสรรพสินค้าร้านสะดวกซื้อ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ติดตั้งจุดทิ้ง (drop off) เพื่ออำนวยความสะดวก ให้ประชาชน โดยมีปริมาณของเสียอันตรายจากชุมชนฯ ที่เก็บรวบรวมได้ จำนวน 1,514.09 ตัน และส่งกำจัด จำนวน 603.12 ตัน - ดำเนินโครงการ “คนไทย ไร้ E-Waste” ร่วมกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) เพื่อสร้างความตระหนักรู้ และการมีส่วนร่วมในการจัดเก็บ และทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้อง โดยส่งเสริมประชาชนในการแยกทิ้งซากโทรศัพท์มือถือใช้แล้ว และอุปกรณ์ต่อพ่วงและนำไปกำจัดอย่างถูกต้อง ในปี 2564 สามารถรวบรวมซากผลิตภัณฑ์ ได้ 241,025 ชิ้น นำไปกำจัดอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและนำวัสดุกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่อย่างคุ้มค่า - ติดตามและให้คำแนะนำในการแก้ไขการปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมจากถอดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่ชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี - ทบทวนร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยร่างพระราชบัญญัติฯ อาศัยหลักการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ควบคู่กับหลักการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น ของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility: EPR) ที่ให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้ารับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ เข้ากองทุน กำหนดระบบการเก็บรวบรวม การถอดแยก และส่งวัสดุที่มีค่ากลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ ส่วนที่เหลือนำไปกำจัดอย่างถูกต้อง โดยการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากเงินกองทุน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชน - จัดทำและเผยแพร่ข้อมูลด้านวิชาการ ได้แก่ รูปแบบจัดการของเสียอันตรายจากชุมชน ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คู่มือปฏิบัติอย่างง่ายในการถอดแยกซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในแหล่งชุมชนอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แนวทางปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ และจัดฝึกอบรมให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนและซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้อง (2) การแก้ไขปัญหาการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ - กระทรวงพาณิชย์ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่องกำหนด ให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2563 จำนวน 428 รายการ - กรมศุลกากรเร่งรัดการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่นำเข้าอย่างผิดกฎหมาย **(2)** **การบริหารจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย** (2.1) คณะอนุกรรมการลงพื้นที่เพื่อประเมินการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” เพื่อตรวจประเมินจังหวัด ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน – 3 กรกฎาคม 2563 (2.2) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการประกวดการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ระดับประเทศ ครั้งที่ 2/2563 เพื่อพิจารณาผลการลงพื้นที่ประเมินผลงานการจัดการขยะมูลฝอยระดับกลุ่มจังหวัด ในวันที่ 4 สิงหาคม 2563 โดยมีมติดังนี้ (1) ระดับกลุ่มจังหวัดขนาดใหญ่ - รางวัลชนะเลิศ จังหวัดอุดรธานี - รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 จังหวัดลพบุรี - รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 จังหวัดชัยภูมิ - รางวัลชมเชย จังหวัดอุบลราชธานี - รางวัลชมเชย จังหวัดศรีสะเกษ (2) ระดับกลุ่มจังหวัดขนาดกลาง - รางวัลชนะเลิศ จังหวัดเลย - รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 จังหวัดจันทบุรี - รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 จังหวัดยโสธร - รางวัลชมเชย จังหวัดพิจิตร - รางวัลชมเชย จังหวัดพิษณุโลก (3) ระดับกลุ่มจังหวัดขนาดเล็ก - รางวัลชนะเลิศ จังหวัดลำพูน - รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 จังหวัดอ่างทอง - รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 จังหวัดบึงกาฬ - รางวัลชมเชย จังหวัดสิงห์บุรี - รางวัลชมเชย จังหวัดอุทัยธานี (2.3) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้มีหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0820.2/ว 4650 ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2563 แจ้งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการคัดเลือกจังหวัดที่มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ระดับประเทศ และหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0820.2/ว 2444 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2563 แจ้งจัดสรรเงินรางวัลให้แก่จังหวัดที่ได้รับรางวัล รวม 9 จังหวัด (2.4) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้จัดพิธีมอบรางวัลการจัดการ ขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2562 ให้แก่จังหวัดที่มีการจัดการ ขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ระดับประเทศ ณ สโมสรทหารบก (วิภาวดี) เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2563 **(3)** **โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการกากอุตสาหกรรมที่มีปัญหาเสี่ยง ต่อการลักลอบทิ้ง โดยใช้หลักการ 3Rs และ KAIZEN** เพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนใช้ประโยชน์ ของเสียและลดปริมาณของเสียที่ต้องกำจัด จัดทำตัวอย่างความสำเร็จของการทำ Zero Waste to Landfill ในระดับอุตสาหกรรม และส่งเสริมและกระตุ้นความรู้ความเข้าใจของภาคอุตสาหกรรม ในการจัดการกากอุตสาหกรรมตามหลัก 3Rs และ KAIZEN โดยมีผลการดำเนินการคิดเป็น ร้อยละ 100 ดังนี้ (3.1) พิจารณาคัดเลือกโรงงานเข้าร่วมโครงการฯ ได้ตามเป้าหมาย 40 โรงงาน ในพื้นที่เป้าหมาย ประกอบด้วย จังหวัดระยอง 10 โรงงาน จังหวัดชลบุรี 19 โรงงาน และจังหวัดฉะเชิงเทรา 11 โรงงาน (3.2) จัดพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) การเข้าร่วมโครงการ ระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรม บริษัทที่ปรึกษาโครงการ และโรงงานที่เข้าร่วมโครงการ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๔ ระหว่างเวลา ๐๙.๓๐ - ๑๕.๐๐ น. ณ ห้องเทวกรรมรังรักษ์ ชั้น ๒ สโมสรทหารบก (วิภาวดี) กรุงเทพมหานคร (3.3) ส่งเสริมการจัดการของเสียภายในโรงงานตามหลัก 3Rs และ KAIZEN โดยการเข้าให้คำปรึกษาแก่โรงงาน ครั้งที่ 1 เพื่อให้ความรู้การประเมินและการวิเคราะห์ การสูญเสีย การจัดทำแผนการลดการสูญเสีย และการจัดการของเสียโดยใช้วิธีการ KAIZEN ร่วมกับวิธีการอื่น ๆ เช่น PREMA, CT, TQM เป็นต้น และครั้งที่ 2 (บางแห่ง) เพื่อให้คำแนะนำแก้ไขพัฒนากิจกรรม 3Rs และ KAIZEN และโรงงานสามารถใช้ประโยชน์จาก ของเสียได้ทั้งหมด (Zero Waste to Landfill) (3.4) จัดทำแผนงาน รายละเอียดโครงการ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน (3.5) เตรียมจัดการประชุมกลุ่มย่อยโรงงานที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงาน และแนวทางการปรับปรุง ในวันที่ 4 สิงหาคม 2564 (3.6) จัดการประชุมกลุ่มย่อยโรงงานที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงาน และแนวทางการปรับปรุง เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมฯ จำนวน 92 คน (3.7) ตรวจประเมินโรงงานเพื่อให้รางวัลตามหลักเกณฑ์การจัดการของเสียภายในโรงงานตามหลัก 3Rs, KAIZEN และ Zero Waste to Landfill ทางออนไลน์ ระหว่างวันที่ 9 สิงหาคม 2564- 10 กันยายน 2564 ครบทั้ง 40 โรงงานแล้ว (3.8) จัดทำแผนงานและรายละเอียดโครงการ เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์กากอุตสาหกรรมในการบริหารจัดการวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว และสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) (3.9) จัดทำเอกสารเผยแพร่หลักปฏิบัติการจัดการของเสียที่ดีตามหลักเกณฑ์ของโครงการฯ เทคนิค และตัวอย่างการจัดการของเสียตามหลัก 3Rs และ KAIZEN จำนวน ไม่น้อยกว่า 300 เล่ม (3.10) เผยแพร่ผลการดำเนินงานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พร้อมจัดทำวิดิทัศน์ ความยาวไม่เกิน 5 นาที (3.11) จัดพิธีมอบรางวัล 3Rs และ KAIZEN และ Zero Waste to Landfill ให้กับโรงงานที่ผ่านการตรวจประเมินตามหลักเกณฑ์ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีผู้เข้าร่วมงานฯ จำนวน 112 คน (เป้าหมายไม่น้อยกว่า 100 คน) (3.12) จัดทำหลักเกณฑ์การจัดการของเสียตามหลัก 3Rs และ KAIZEN และเกณฑ์การประเมินการใช้ประโยชน์ของเสียได้ทั้งหมด (Zero Waste to Landfill) เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการเชิญชวนโรงงานเข้าร่วมโครงการฯ (3.13) ประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนโรงงานและรับสมัครโรงงานเข้าร่วมโครงการฯ (เป้าหมายจำนวน 100 คน) ผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 114 คน จัดขึ้น 3 ครั้ง ดังนี้ - ครั้งที่ 1 วันที่ 9 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมโกลเด้น ซิตี้ ระยองจังหวัดระยอง โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 18 คน - ครั้งที่ 2 วันที่ 10 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมเจปาร์ค ชลบุรี จังหวัดชลบุรี โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 41 คน - ครั้งที่ 3 วันที่ 12 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมซันธารา เวลเนส จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 55 คน (3.14) จัดทำเกณฑ์การคัดเลือก และคัดเลือกโรงงานในพื้นที่จังหวัดระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา ที่มีความพร้อม ในอุตสาหกรรม 5 ประเภทที่ก่อให้เกิดของเสียที่มีการขออนุญาตส่งกำจัดในปริมาณมาก เข้าร่วมโครงการ (เป้าหมายไม่น้อยกว่า 40 โรงงาน) ดำเนินการเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2564-5 เมษายน 2564 สรุปการคัดเลือกโรงงานเข้าร่วมโครงการฯ ดังนี้ - จังหวัดระยอง จำนวน 10 โรงงาน - จังหวัดชลบุรี จำนวน 22 โรงงาน - จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 14 โรงงาน รวมทั้งสิ้น 46 โรงงาน (ณ วันที่ 5 เมษายน 2564) ต่อมาโรงงานขอถอนการเข้าโครงการฯ จำนวน 9 โรงงาน และมีการแจ้งเข้าร่วมโครงการฯ เพิ่ม 3 โรงงาน ทำให้มีโรงงานเข้าร่วมโครงการฯ ทั้งสิ้น จำนวน 40 โรงงาน (ณ วันที่ 24 มิถุนายน 2564) (3.15) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมกับผู้เข้าร่วมโครงการฯ เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2564 เวลา 09.30 - 15.00 น. ณ ห้องเทวกรรมรังรักษ์ ชั้น 2 สโมสรทหารบก (วิภาวดี) กรุงเทพมหานคร โดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ - พิธีเปิดการจัดพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) โดยมี นายประกอบ วิวิธจินดา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นประธาน - การบรรยายหัวข้อ “หลักเกณฑ์ประเมินการจัดการของเสียด้วยหลัก 3Rs และ KAIZEN และแนวทางการตรวจประเมิน” (3.16) จัดทำแผนการจัดกิจกรรม 3Rs, KAIZEN และ Zero Waste to Landfill และนำเครื่องมือ KAIZEN มาใช้ในการบริหารจัดการของเสีย รวมทั้งส่งเสริมการจัดการของเสียภายในโรงงาน ดังนี้ - เข้าให้คำปรึกษา ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ณ สถานประกอบการ และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ - จัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงาน และแนวทางการปรับปรุงการดำเนินงาน หรือการลดการสูญเสีย เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมฯ รวมทั้งสิ้น 92 คน (เป้าหมายไม่น้อยกว่า 90 คน) - เข้าให้คำปรึกษา ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 1-25 กรกฎาคม 2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (3.17) ตรวจประเมินการจัดการของเสียภายในโรงงานตามหลัก 3Rs, KAIZEN และ Zero Waste to Landfill เพื่อให้รางวัล โดยได้ดำเนินการเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2564 - 10 กันยายน 2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (3.18) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการจัดการของเสีย (3.19) จัดทำเอกสารเผยแพร่หลักปฏิบัติ การจัดการของเสียที่ดีตามหลักเกณฑ์ พร้อมตัวอย่างการจัดการของเสียตามหลัก 3Rs และ KAIZEN จำนวนอย่างน้อย 300 เล่ม (3.20) เผยแพร่ผลการดำเนินงาน พร้อมจัดทำวิดิทัศน์ ความยาวไม่เกิน 5 นาที (3.21) จัดพิธีมอบรางวัลให้แก่โรงงานที่ผ่านการตรวจประเมินตามหลักเกณฑ์ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีผู้เข้าร่วมงานฯ ทั้งสิ้น 112 คน (เป้าหมายไม่น้อยกว่า 100 คน) รางวัลที่มอบให้แก่โรงงาน แบ่งเป็น * 3Rs Award จำนวน 34 รางวัล * Zero Achievement Award จำนวน 21 รางวัล * 3Rs+ Award ที่มีประสิทธิภาพทั้ง 3 ด้าน จำนวน 5 รางวัล * 3Rs+ Award แต่ละด้าน ได้แก่ ด้านนวัตกรรมหรือความคิดสร้างสรรค์ ด้านผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ จำนวน 7 รางวัล และด้านการลดปริมาณของเสียที่ต้องจัดการ จำนวน 3 รางวัล (3.22) การประเมินผลสำเร็จของโครงการ * ด้านการลดปริมาณของเสีย ปริมาณกากของเสียลดลง 1,394 ตันต่อปี * ด้านการลดปริมาณฝังกลบ ลดปริมาณกากของเสียที่นำไปฝังกลบได้ 480 ตันต่อปี * ด้านผลตอบแทนทางเศรษฐกิจผลประหยัด 90,929,348 บาทต่อปี รายได้เพิ่มขึ้น 4,252,539 บาทต่อปี **(4)** **โครงการพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการจัดการของเสียภาคอุตสาหกรรม** เพื่อยกระดับการให้บริการและการประกอบกิจการการจัดการของเสียให้เป็นมาตรฐาน เกิดการจัดการของเสียอย่างยั่งยืน และให้ผู้รับบำบัดกำจัดของเสียยกระดับมาตรฐานโรงงาน เพื่อเป็นทางเลือกที่ดีให้แก่ผู้ก่อกำเนิดของเสีย โดยมีผลการดำเนินการ คิดเป็นร้อยละ 100 ดังนี้ (4.1) ทบทวนหลักเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดีสำหรับโรงงาน ผู้รับบำบัด กำจัดกากของเสีย ซึ่งแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มมาตรฐานการปฏิบัติที่ดีทั่วไป และกลุ่มมาตรฐานเฉพาะสำหรับการเข้าสู่ระบบอนุญาตอัตโนมัติ (AI) (4.2) จัดการสัมมนาเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการฯ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมใบหยกสกาย 2 กรุงเทพมหานคร (4.3) จัดทำหลักเกณฑ์การคัดเลือกโรงงาน และคัดเลือกโรงงานเข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 โรงงาน แบ่งเป็น กลุ่มที่ 1 จำนวน 10 ราย และกลุ่มที่ 2 จำนวน 24 ราย (4.4) จัดพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเข้าร่วมโครงการ และการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการจัดการของเสียให้กับโรงงานที่เข้าร่วมโครงการพัฒนา และยกระดับผู้ประกอบการจัดการของเสียอันตรายภาคอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมใบหยกสกาย 2 กรุงเทพมหานคร (4.5) อยู่ระหว่างการตรวจประเมินและให้คำปรึกษาแก่โรงงานที่เข้าร่วมโครงการที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการจัดการของเสียอันตรายภาคอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมใบหยกสกาย 2 กรุงเทพมหานคร (4.6) ตรวจประเมินเพื่อให้ตราสัญลักษณ์โรงงานที่ยังไม่เคยเข้าร่วมโครงการลักษณะนี้มาก่อน เพื่อติดตามการดำเนินงานในประเด็นที่เป็นปัญหาหรือประเด็นที่โรงงานควรปรับปรุงแก้ไขจากการตรวจประเมินครั้งก่อนเพื่อยกระดับวิธีปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติที่ดี จำนวน 10 โรงงาน ครบถ้วนแล้ว (4.7) ตรวจประเมินเพื่อให้ตราสัญลักษณ์โรงงานที่เคยเข้าร่วมโครงการลักษณะนี้มาแล้ว จำนวน 25 โรงงาน (4.8) จัดเตรียมสรุปผลการให้ตราสัญลักษณ์แก่โรงงานที่เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อให้คณะกรรมการตรวจรับงานจ้างฯ พิจารณาผลการให้คะแนนตรวจประเมินฯ รูปแบบคู่มือการดำเนินการพัฒนายกระดับมาตรฐานการให้บริการบำบัด/กำจัดกากของเสีย และเอกสารหลักเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดีต่อไป (4.9) กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้พิจารณาผลการให้คะแนนตรวจประเมินฯ รูปแบบคู่มือการดำเนินการพัฒนายกระดับมาตรฐานการให้บริการบำบัด/กำจัดกากของเสีย และเอกสารหลักเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดีเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้จะได้นำไปจัดพิมพ์ เพื่อเผยแพร่ต่อไป (4.10) จัดประชุมเพื่อพิจารณาให้ตราสัญลักษณ์สำหรับมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดีทั่วไป และมาตรฐานการปฏิบัติงานเฉพาะการเข้าสู่ระบบอนุญาตอัตโนมัติ (AI) แก่โรงงานที่เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านโปรแกรม ZOOM เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 (4.11) เตรียมการพิจารณาเอกสารเผยแพร่ข้อมูลโรงงานที่ได้รับตราสัญลักษณ์มาตรฐานการจัดการกากอุตสาหกรรม และหารือการจัดสัมมนาเผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการฯ และมอบตราสัญลักษณ์ให้โรงงานที่ผ่านการตรวจประเมินตามหลักเกณฑ์ฯ ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ต่อไป (4.12) จัดสัมมนาเผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการฯ การเสวนาหัวข้อ “แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานเข้าสู่ระบบการอนุญาตโดยอัตโนมัติ (AI)” และพิธีมอบรางวัลให้แก่โรงงานที่ประสบความสำเร็จ และประกาศนียบัตร แก่โรงงานที่เข้าร่วมโครงการฯ เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2564 เวลา 09.30 - 12.00 น. ณ ห้องประชุม 509 ชั้น 5 อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ZOOM) ซึ่งในปี พ.ศ. 2564 มีโรงงานที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 34 โรงงาน โดยโรงงานที่ได้รับรางวัลมาตรฐานโรงงานจัดการกากอุตสาหกรรม มีจำนวน 25 โรงงาน แบ่งเป็นรางวัล * ระดับ Gold Plus จำนวน 1 โรงงาน * ระดับเหรียญทอง จำนวน 20 โรงงาน * ระดับเหรียญเงิน จำนวน 2 โรงงาน * ระดับเหรียญทองแดง จำนวน 2 โรงงาน (4.13) จัดทำเอกสารหลักเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดีทั่วไป และหลักเกณฑ์มาตรฐานเฉพาะสำหรับการเข้าสู่ระบบการอนุญาตอัตโนมัติ (AI) และคู่มือ การดำเนินการพัฒนายกระดับมาตรฐานการให้บริการบำบัด/กำจัดกากของเสีย จำนวน 100 เล่ม (4.14) จัดทำวีดีทัศน์ ความยาวไม่เกิน ๕ นาที เผยแพร่บนเว็บไซต์ ของโครงการฯ ****
{'url': 'https://data.go.th/dataset/mnre_112_01', 'title': 'การดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล', 'license': 'Open Data Common'}
**สถานการณ์การค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2558-2561(มกราคม)** 1. **สถานการณ์การค้าชายแดน** ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา) มูลค่าการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี โดยตลอด 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2558 – 2560) การค้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2.85% ในปี 2560 มีมูลค่า 1,076,389.37 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.22% ***สำหรับปี 2561*** (มกราคม) มูลค่าการค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ (มาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา) มูลค่าการค้ารวม 94,445.36 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 73,711.27 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 28.13(YoY) แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 53,349.41 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 7.45(YoY) และมูลค่าการนำเข้า 41,095.95 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 70.80(YoY) การค้าชายแดน **ด้านมาเลเซียมีการค้าสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง** มูลค่า 48,916.49 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 51.79 ของมูลค่าการค้าชายแดนรวม รองลงมาได้แก่ สปป.ลาว มูลค่า 17,491.53 ล้านบาท (18.52%) เมียนมา มูลค่า 15,580.07 ล้านบาท (16.50%) และกัมพูชา มูลค่า 12,457.27 ล้านบาท (13.19%) หน่วย : ล้านบาท | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | **การค้ารวม 4 ประเทศ** | **2558** | **2559** | **2560** | **2560** | **2561** | **% YoY** | | **(มกราคม)** | | มูลค่า | 1,006,278.14 | 1,013,389.20 | **1,076,389.81** | 73,711.27 | **94,445.36** | **28.13** | | ส่งออก | 589,127.64 | 605,445.38 | **649,926.84** | 49,649.81 | **53,349.41** | **7.45** | | นำเข้า | 417,150.50 | 407,943.82 | **426,462.97** | 24,061.46 | **41,095.95** | **70.80** | | ดุลการค้า | 171,977.14 | 197,501.56 | **223,463.87** | 25,588.35 | **12,253.46** | | ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมการค้าต่างประเทศ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร -2- * 1. การค้าชายแดนของไทยกับแต่ละประเทศในช่วง ปี 2558-2561 (มกราคม) หน่วย : ล้านบาท | | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | **ประเทศ** | **รายการ** | **2558** | **2559** | **2560** | **2560** | **2561** | **%YoY** | | **(มกราคม)** | | **มาเลเซีย** | มูลค่า | 486,254.76 | 501,419.87 | 564,657.27 | **38,556.32** | **48,916.49** | **26.87** | | | ส่งออก | 250,544.54 | 258,264.33 | 312,551.93 | **21,476.79** | **25,330.90** | **17.95** | | | นำเข้า | 235,710.22 | 243,155.54 | 252,105.34 | **17,079.53** | **23,585.59** | **38.09** | | | ดุลการค้า | 14,834.32 | 15,108.79 | 60,446.59 | **4,397.26** | **1,745.31** | | | **เมียนมา** | มูลค่า | 217,964.64 | 187,964.53 | 183,037.54 | **10,514.79** | **15,580.07** | **48.17** | | | ส่งออก | 100,819.30 | 109,339.84 | 107,681.01 | **9,474.67** | **8,462.25** | **-10.69** | | | นำเข้า | 117,145.34 | 78,624.69 | 75,356.53 | **1,040.12** | **7,117.82** | **584.33** | | | ดุลการค้า | -16,326.04 | 30,715.15 | 32,324.48 | **8,434.55** | **1,344.43** | | | **สปป.ลาว** | มูลค่า | 176,980.58 | 202,906.79 | 203,330.86 | **13,727.01** | **17,491.53** | **27.42** | | | ส่งออก | 133,071.77 | 136,419.50 | 127,871.98 | **10,376.15** | **10,344.57** | **-0.30** | | | นำเข้า | 43,908.81 | 66,487.29 | 75,458.88 | **3,350.86** | **7,146.86** | **113.28** | | | ดุลการค้า | 89,162.96 | 69,932.21 | 52,413.10 | **7,025.29** | **3,197.81** | | | **กัมพูชา** | มูลค่า | 125,078.16 | 121,098.01 | 125,364.14 | **10,913.15** | **12,457.27** | **14.15** | | | ส่งออก | 104,692.03 | 101,421.71 | 101,821.92 | **8,322.20** | **9,211.59** | **10.69** | | | นำเข้า | 20,386.13 | 19,676.30 | 23,542.22 | **2,590.95** | **3,245.68** | **25.27** | | | ดุลการค้า | 84,305.90 | 81,745.41 | 78,279.70 | **5,731.25** | **5,965.91** | | ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมการค้าต่างประเทศ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร **เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560-2561 (มกราคม)** ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – มาเลเซีย*** **ในเดือนมกราคม 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 48,916.49 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 38,556.32 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 26.87(YoY) แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 25,330.90 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 17.95(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 23,585.59 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 38.09(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า**1,745.31 ล้านบาท ***การค้าชายแดนไทยกับมาเลเซีย เดือนมกราคม 2561 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 5.18 เนื่องจากยางพาราในเดือนนี้ราคายาง FOB (Bangkok) เฉลี่ย กก.ละ 53.96 บาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 1.50 ที่มีราคาเฉลี่ย กก.ละ 53.16 บาท และเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2560 ราคายาง FOB (Bangkok) เฉลี่ย กก.ละ 91.93 บาท หดตัวลดลงถึงร้อยละ 41.30*** -3- ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – เมียนมา*** **ในเดือนมกราคม 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 15,580.07 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 10,514.79 ล้านบาท **เพิ่มขึ้นร้**อยละ 48.17(YoY) โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 8,462.25 ล้านบาท ***ลดลง***ร้อยละ 10.69(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 7,117.82 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 584.33(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 1,344.43 ล้านบาท ***ภาวะการค้าชายแดนไทย–สปป.ลาว*** **ในเดือนมกราคม 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 17,491.53 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 13,727.01 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 27.42YoY) โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 10,344.67 ล้านบาท ***ลดลง***ร้อยละ 0.30(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 7,146.86 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 113.28(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 3,197.81 ล้านบาท ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – กัมพูชา*** **ในเดือนมกราคม 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 12,457.27 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 14.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 10,913.15 ล้านบาท แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 9,211.59 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น** ร้อยละ 10.69 (YoY) และการนำเข้ามูลค่า 3,245.68 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 25.27(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 5,965.91 ล้านบาท \*\*\*\*\*\*\*\*\*\*\*\*\*\*\*\*\*\*\*\*\*\*\*\*\*\*\*\*\*\*\*\*\*\*\* **กลุ่มความร่วมมือฯ 2** **กองความร่วมมือการค้าและการลงทุน**
{'url': 'https://data.go.th/dataset/item_b37393d3-e37d-4461-ab63-dd5b93a030c0', 'title': 'สถานการการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2558-2561 (มกราคม)', 'license': 'CC-BY'}
**สถานการณ์การค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2559-2561(มค.-มีค.)** 1. สถานการณ์การค้าชายแดน ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา) มูลค่าการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี โดยตลอด 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2558 – 2560) การค้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2.85% ในปี 2560 มีมูลค่า 1,076,389.37 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.22% ***สำหรับปี 2561*** (มกราคม-มีนาคม) มูลค่าการค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ (มาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา) มูลค่าการค้ารวม 275,137.51 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 268,615.03 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 2.43(YoY) แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 159,338.68 ล้านบาท **ลดลงร้**อยละ 6.90(YoY) และมูลค่าการนำเข้า 115,798.83 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 18.80(YoY) ไทยได้ดุลการค้าชายแดน 43,53.85 ล้านบาท **ด้านมาเลเซียมีการค้าสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง** มูลค่า 139,028.51 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.53 ของมูลค่าการค้าชายแดนรวม รองลงมาได้แก่ สปป.ลาว มูลค่า 52,335.44 ล้านบาท (19.02%) เมียนมา มูลค่า 46,408.80 ล้านบาท (16.87%) และกัมพูชา มูลค่า 37,364.76 ล้านบาท (13.58%) **การค้าชายแดน 4 ประเทศ ปี 2559-2560(มกราคม-มีนาคม)** หน่วย : ล้านบาท | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | **การค้ารวม 4 ประเทศ** | **2559** | **2560** | **2560** | **2561** | **% YoY** | | **(มกราคม-มีนาคม)** | | มูลค่า | 1,013,389.20 | **1,076,389.81** | 268,615.03 | **275,137.51** | **2.43** | | ส่งออก | 605,445.38 | **649,926.84** | 171,143.76 | **159,338.68** | **6.90** | | นำเข้า | 407,943.82 | **426,462.97** | 97,471.27 | **115,798.83** | **18.80** | | ดุลการค้า | 197,501.56 | **223,463.87** | 73,672.49 | **43,539.85** | | ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมการค้าต่างประเทศ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร -2- การค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2559-2561 (มกราคม-มีนาคม) หน่วย : ล้านบาท | | | | | | | | | --- | --- | --- | --- | --- | --- | --- | | **ประเทศ** | **รายการ** | **2559** | **2560** | **2560** | **2561** | **%YoY** | | **(มกราคม-มีนาคม)** | | **มาเลเซีย** | มูลค่า | 501,419.87 | 564,657.27 | **139234.11** | **139,028.51** | **0.15** | | | ส่งออก | 258,264.33 | 312,551.93 | **80,011.37** | **71,895.40** | **10.14** | | | นำเข้า | 243,155.54 | 252,105.34 | **59,222.74** | **67,133.11** | **13.36** | | | ดุลการค้า | 15,108.79 | 60,446.59 | **20,788.63** | **4,762.29** | | | **เมียนมา** | มูลค่า | 187,964.53 | 183,037.54 | **45,113.40** | **46,408.80** | **2.87** | | | ส่งออก | 109,339.84 | 107,681.01 | **31,754.79** | **26,940.67** | **-15.16** | | | นำเข้า | 78,624.69 | 75,356.53 | **13,358.61** | **19,468.13** | **45.73** | | | ดุลการค้า | 30,715.15 | 32,324.48 | **18,396.18** | **7,472.54** | | | **สปป.ลาว** | มูลค่า | 202,906.79 | 203,330.86 | **48,912.09** | **52,335.44** | **7.00** | | | ส่งออก | 136,419.50 | 127,871.98 | **33,500.53** | **31,635.22** | **-5.57** | | | นำเข้า | 66,487.29 | 75,458.88 | **15,411.56** | **20,700.22** | **34.32** | | | ดุลการค้า | 69,932.21 | 52,413.10 | **18,088.97** | **10,700.22** | | | **กัมพูชา** | มูลค่า | 121,098.01 | 125,364.14 | **35,355.43** | **37,364.76** | **5.68** | | | ส่งออก | 101,421.71 | 101,821.92 | **25,877.07** | **28,867.39** | **11.56** | | | นำเข้า | 19,676.30 | 23,542.22 | **9,478.36** | **8,497.37** | **-10.35** | | | ดุลการค้า | 81,745.41 | 78,279.70 | **16,398.71** | **20,370.02** | | ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมการค้าต่างประเทศ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร **เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560-2561 (มกราคม-มีนาคม)** ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – มาเลเซีย*** **ในเดือนมีนาคม 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 48,384.90 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 53,316.38 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 9.25(YoY) แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 24,389.08 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 24.82(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 23,995.82 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 14.95YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 393.26 ล้านบาท ***สำหรับช่วงไตรมาสแรกของปี 2561(ม.ค.-มี.ค.)*** การค้าชายแดนไทยกับมาเลเซียมีมูลค่าการค้ารวม 139,028.51 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 0.15(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 71,895.40 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 10.14(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 67,133.11 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 13.36(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 4,762.29 ล้านบาท -3- ***การค้าชายแดนไทยกับมาเลเซีย เดือนมีนาคม 2561 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 9.98 เนื่องจากยางพาราในเดือนนี้ราคายาง FOB (Bangkok) เฉลี่ย กก.ละ 54.27 บาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 1.12 ที่มีราคาเฉลี่ย กก.ละ 53.67 บาท และเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2560 ราคายาง FOB (Bangkok) เฉลี่ย กก.ละ 84.11 บาท หดตัวลดลงถึงร้อยละ 35.48*** ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – เมียนมา*** **ในเดือนมีนาคม 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 16,289.61 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 17,187.89 ล้านบาท **ลดลงร้**อยละ 5.23(YoY) โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 10,230.73 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 11.99(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 6,058.88 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 8.90(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 4,171.85 ล้านบาท ***สำหรับช่วงไตรมาสแรกของปี 2561(ม.ค.-มี.ค.)*** การค้าชายแดนไทยกับเมียนมามีมูลค่าการค้ารวม 46,408.80 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 2.87(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 26,940.67 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 15.16(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 19,468.13 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 45.73(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 7,472.54 ล้านบาท ***ภาวะการค้าชายแดนไทย–สปป.ลาว*** **ในเดือนมีนาคม 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 18,169.52 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 18,473.38 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 1.64YoY) โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 11,374.21 ล้านบาท ***ลดลง***ร้อยละ 6.73(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 6,795.31 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 8.23(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 4,578.90 ล้านบาท ***สำหรับช่วงไตรมาสแรกของปี 2561(ม.ค.-มี.ค.)*** การค้าชายแดนไทยกับสปป.ลาว มีมูลค่าการค้ารวม 52,335.44 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 7(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 31,635.22 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 5.57(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 20,700.22 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 34.32(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 10,935 ล้านบาท ***ภาวะการค้าชายแดนไทย – กัมพูชา*** **ในเดือนมีนาคม 2561** มีมูลค่าการค้ารวม 13,034.68 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 12,904.15 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 1.01(YoY) แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 10,705.38 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 13.49(YoY) และการนำเข้ามูลค่า 2,329.30 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 32.90(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 8,376.08 ล้านบาท ***สำหรับไตรมาสแรกของปี 2561(ม.ค.-มี.ค.)*** การค้าชายแดนไทยกับกัมพูชา มีมูลค่าการค้ารวม 37,364.76 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 5.68(YoY) โดยการส่งออกมีมูลค่า 28,867.39 ล้านบาท **เพิ่มขึ้น**ร้อยละ 11.56(YoY) และการนำเข้ามีมูลค่า 8,497.37 ล้านบาท **ลดลง**ร้อยละ 10.35(YoY) ไทย**ได้ดุลการค้า** 20,370.02 ล้านบาท -4- **สถานการณ์สำคัญในปัจจุบันของการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (รายประเทศ)** **2.1 มาเลเซีย** | **สถานการณ์** | **ข้อเสนอแนะ/การดำเนินงาน** | | --- | --- | | การผลักดันการขยายเวลาการเปิดด่านชายแดน ด่านศุลกากรสะเดา-ด่านศุลกากรบูกิตกายูฮิตัม จากเวลาทำการปัจจุบัน (05.00 – 23.00 น.) เป็น 24 ชั่วโมง เนื่องจากปัจจุบันการขนส่งในหลายด่านมีปริมาณรถที่ผ่านด่านจำนวนมาก เพื่อช่วยเพิ่มความสะดวกในการขนส่ง และขยายช่องทางการขนส่ง | เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2561 นายดำรง ใคร่ครวญ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการเจรจากับฝ่ายมาเลเซีย นำโดยราจา ดาโต๊ะนูชีร์วัน บินไซนัล อะบิดิน (Raya Dato’ Nushirwan Bin Zainal Abidin) รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศของมาเลเซียเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนมาเลเซีย โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 1. ฝ่ายไทยและมาเลเซีย เห็นชอบให้ขยายเวลาเปิดด่านศุลกากรสะเดา-ด่านศุลกากรบูกิตกายูฮิตัม จากเวลาทำการปัจจุบัน (05.00 – 23.00 น.) เป็น 24 ชั่วโมง โดยในช่วงเวลา 23.00-05.00 น. จะให้บริการเฉพาะการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์เท่านั้น 2. ฝ่ายไทยและมาเลเซีย จะใช้เวลาเตรียมการและประกาศให้ประชาชนทราบล่วงหน้าเป็นเวลา 3 เดือน ก่อนเปิดด่านและคาดว่าจะเปิดบริการ 24 ชั่วโมง ในวันที่ 15 มิถุนายน 2561 โดยจะมีการประเมินผล หลังจากเปิดด่านฯ ไปแล้ว เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อดูผลกระทบและความคุ้มค่าในการเปิดด่าน ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยและมาเลเซียจะร่วมกันกำหนดประเภทรถยนต์และวัตถุประสงค์ของการขนส่งให้สอดคล้องกับกฎหมายและหลักเกณฑ์ของกรมศุลกากรและสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของทั้งสองประเทศ ต่อไป | **2.2 เมียนมา** | **สถานการณ์** | **ข้อเสนอแนะ/การดำเนินงาน** | | --- | --- | | 1. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีความประสงค์จะลงทุนด้านการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในรัฐฉาน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการที่กรมการค้าต่างประเทศนำคณะผู้แทนด้านการค้าและการลงทุนไปเจรจาการค้า/การลงทุนกับรัฐฉาน เมื่อเดือนสิงหาคม 2560 โดยมีผู้แทน กฟภ. ร่วมคณะด้วย | 1. เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 คณะผู้แทนกรมการค้าต่างประเทศและ กฟภ.ได้เดินทางเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนและเศรษฐกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการไฟฟ้า พลังงาน และเทคโนโลยี แห่งรัฐฉาน เพื่อติดตามผลความคืบหน้าและขอความร่วมมือจากรัฐบาลแห่งรัฐฉาน รวมทั้งหารือในรายละเอียดเชิงลึกเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการลงทุน และการจัดทำความร่วมมือด้านการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในรัฐฉานให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งได้รับความร่วมมือและยินดีสนับสนุนการเข้ามาลงทุนของไทยอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ ในการประชุมหารือกับหน่วยงานด้านพลังงานไฟฟ้ารัฐฉาน คณะผู้แทนฯ ได้รับข้อเสนอแนะให้หารือนโยบายการบริหารด้านพลังงานไฟฟ้าและแผนการขยายเครือข่ายระบบไฟฟ้า พร้อมทั้งจัดทำความตกลงกับกระทรวงการไฟฟ้าและพลังงานของรัฐบาลกลางเมียนมา (Union Government) เกี่ยวกับพื้นที่ที่จะลงทุน แผนการจัดตั้งเครือข่ายระบบไฟฟ้า และการให้สัมปทานในแต่ละพื้นที่ เพื่อความชัดเจนก่อนเข้ามาลงทุนด้วยอีกทางหนึ่ง | -5- **2.2 เมียนมา** | **สถานการณ์** | **ข้อเสนอแนะ/การดำเนินงาน** | | --- | --- | | | 2. เมื่อวันที่ 29 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2561 คณะผู้แทนกรมการค้าต่างประเทศและ กฟภ. นำโดยนายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ พร้อมด้วย นายเสกสรร เสริมพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญระดับ 13 กฟภ. และนายประจักษ์ อุดหนุน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ กฟภ. จึงได้เดินทางไปยังกรุงเนปิดอว์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เพื่อเข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับ H.E. Win Khaing รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการไฟฟ้าและพลังงาน H.E. Dr. Htun Naing รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการไฟฟ้าและพลังงาน H.E. Tin Maung Oo ปลัดกระทรวงการไฟฟ้าและพลังงาน พร้อมผู้บริหารหน่วยงานภายใต้กระทรวงการไฟฟ้าและพลังงาน แห่งรัฐบาลกลางเมียนมา (Union Government) โดยได้หารือรายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางและนโยบายด้านการลงทุนพัฒนาระบบไฟฟ้าในเมียนมา รวมถึงการจัดทำความร่วมมือ (MOU) ระหว่างหน่วยงานการไฟฟ้าของไทยและเมียนมา ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการไฟฟ้าและพลังงานได้ให้การต้อนรับแก่คณะผู้แทนฯ เป็นอย่างดี และเห็นชอบที่จะจัดทำความร่วมมือทางด้านการพัฒนาบุคลากรและด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับไทย อันจะเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทย-เมียนมา3. นอกจากนี้ คณะผู้แทนฯ ได้เข้าพบหารือกับหน่วยงาน Directorate of Investment and Company Administration (DICA) ณ กรุงย่างกุ้ง เพื่อรับทราบรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบาย สิทธิพิเศษ และขั้นตอนสำหรับการเข้าไปลงทุนในเมียนมา อีกทั้งยังได้เข้าพบหารือหน่วยงานการไฟฟ้าย่างกุ้ง (Yangon Electricity Supply Corporation: YESC) ซึ่งดูแลรับผิดชอบการจ่ายไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในเมืองย่างกุ้ง โดยได้รับทราบข้อมูลด้านระบบไฟฟ้าในปัจจุบันของเมืองย่างกุ้ง ทั้งในเรื่องของปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าและความสามารถในการจ่ายไฟในปัจจุบัน รวมถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคตและแผนงาน/โครงการที่สำคัญของ YESC 4. ทั้งนี้ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ประเมินแล้ว เห็นโอกาสและมีศักยภาพที่จะลงทุนในรัฐฉาน โดยจะแจ้งกรอบเวลาที่จะเดินทางไปศึกษาและสำรวจพื้นที่อย่างเป็นทางการแก่รัฐบาลรัฐฉาน ในขณะที่ กฟภ. จะประสานงานกับกระทรวงการไฟฟ้าและพลังงานของรัฐบาลกลางเมียนมาอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถลงนามความร่วมมือ (MOU) ระหว่างทั้งสองหน่วยงานได้ภายในปี 2561 นี้ | **2.3 สปป.ลาว** | **สถานการณ์** | **ข้อเสนอแนะ/การดำเนินงาน** | | --- | --- | | **การยกระดับ/พัฒนาความร่วมมือด้านชายแดนไทย - สปป.ลาว**การประชุมหารือร่วม “คต. - พาณิชย์จังหวัดชายแดนภาคอีสาน”กรมการค้าต่างประเทศได้จัดประชุมหารือร่วมระหว่างกรมฯ กับพาณิชย์จังหวัดชายแดนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีอาณาเขตเชื่อมต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ 5 - 7 มีนาคม 2561 ณ โรงแรมรอยัล นาคารา และคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เพื่อบูรณาการการดำเนินงานระหว่างกันและขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาค | การประชุมหารือร่วม “คต. - พาณิชย์จังหวัดชายแดนภาคอีสาน” ดังกล่าวบรรลุประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง โดยมีพาณิชย์จังหวัดจาก 6 จังหวัด ได้แก่ เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และสุรินทร์ และผู้แทนสำนักงานพาณิชย์จังหวัดอีก 13 ท่าน จาก 10 จังหวัดชายแดนภาคอีสาน ได้แก่ เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ เข้าร่วมประชุม โดยบรรยากาศการประชุมเป็นไป | -6- **2.3 สปป.ลาว** | **สถานการณ์** | **ข้อเสนอแนะ/การดำเนินงาน** | | --- | --- | | | **กายกรบ/พัฒนวมมือด้าชนไทย - สปป.ลาว**ด้วยความราบรื่นและสร้างความร่วมมือในการบูรณาการการปฏิบัติราชการระหว่งกันอย่างดียิ่ง โดยทั้ง คต. และพาณิชย์จังหวัดต่างเห็นพ้องร่วมกันว่า การดำเนินงานในภารกิจของกระทรวงพาณิชย์ควรส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้มากยิ่งขึ้น และสนับสนุนให้ คต. ดำเนินการจัดการประชุมระหว่างหน่วยงานเช่นนี้เป็นประจำทุกปี โดยในการประชุมครั้งนี้ ทั้งสองหน่วยงานยังมีความเห็นร่วมกันในประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) การยกระดับความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างจังหวัดชายแดนด้าน สปป.ลาว ของไทยกับแขวงตามแนวชายแดนของ สปป.ลาว โดยการจัด “ประชุมปรึกษาหารือร่วมกันระดับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดแต่ละจังหวัดกับแผนกอุตสาหกรรมและการค้าของแต่ละแขวงตามแนวชายแดนไทย - สปป.ลาว” 2) การบูรณาการการจัดงานมหกรรมการค้าชายแดน “สานสัมพันธ์การค้า เชื่อมโยงสองฝั่งโขง” ณ จังหวัดหนองคาย ระหว่าง คต. และสพจ.หนองคาย ซึ่ง คต. จะนำเรียนกระทรวงฯ พิจารณาทั้งสองประเด็น เพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป | **2.4 กัมพูชา** | **สถานการณ์** | **ข้อเสนอแนะ/การดำเนินงาน** | | --- | --- | | 1.ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุน (One Stop Service : OSS) | ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุน (OSS) ของจังหวัดสระแก้วมีนักลงทุนเข้ามาติดต่อสอบถามข้อมูลการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วหลายราย โดยมีโครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุน ณ วันที่ 1 ม.ค. 58 – 30 เม.ย. 61 จำนวน 4 โครงการ เงินลงุทนรวม 1,315.60 ล้านบาท ซึ่งได้รับการอนุมัติแล้ว | | 2.ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านแรงงาน | - ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านแรงงาน ได้เปิดบริการให้จดทะเบียนแรงงานกัมพูชาในลักษณะไป-กลับได้แล้ว โดยสามารถพำนักได้เป็นเวลาไม่เกิน 30 วัน- ช่วงตั้งแต่ ต.ค.60 – เม.ย. 61 มีแรงงานกัมพูชาเข้ามาทำงานในลักษณะไป-กลับ (ม.64) จำนวน 51,107 คน (รวมแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานตามกฎหมายทุกมาตรา 51,107 คน) | **-7-** **2.4 กัมพูชา** | **สถานการณ์** | **ข้อเสนอแนะ/การดำเนินงาน** | | --- | --- | | | | | 3. ปัญหาความแออัดที่ด่าน - ด่านคลองลึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว | 1) ความแออัดที่ด่านคลองลึก เนื่องจากเวลาเปิด-ปิดด่านไม่พร้อมกัน กล่าวคือ ด่านคลองลึกเปิด-ปิดเวลา 06.00-22.00 น. และด่านปอยเปต เปิด-ปิดเวลา 09.00-22.00 น. ทำให้รถขนส่งสินค้าฝั่งไทยต้องจอดรอเป็นเวลานานและเกิดความแออัดที่ด่าน 2) การก่อสร้างลานจอดรถ จำนวน 69 ไร่ เพื่อรองรับความแออัดที่ด่านคลองลึกและการเปลี่ยนถ่ายสินค้า ซึ่งปัจจุบันโครงการได้ดำเนินการใกล้เรียบร้อยแล้วแต่ยังติดปัญหาการฟ้องขับไล่ คลังสินค้าของเอกชนและบ้านของประชาชนอีก 1 หลังคาเรือน ที่บุกรุกพื้นที่ของกรมธนารักษ์ ในพื้นที่ดังกล่าว | | - ด่านหนองเอี่ยน อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว | ความคืบหน้าการก่อสร้างด่านหนองเอี่ยน ปัจจุบันทหารช่างกำลังดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามคลองพรหมโหด ที่จะมีกำหนดแล้วเสร็จเดือนกันยายน 2561 ซึ่งหลังจากสร้างสะพานเสร็จแล้ว กรมศุลกากรจะดำเนินการสร้างอาคารที่ทำการด่านศุลกากรต่อไป อย่างไรก็ตาม พื้นที่การก่อสร้างอาคารยังติดปัญหาการส่งมอบพื้นที่ ที่สำนักงานทางหลวงจังหวัดสระแก้วยังไม่ได้มีการส่งมอบพื้นที่ให้กรมศุลกากร | | - ด่านป่าไร่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว - ด่านบ้านเขาดิน อ.คลองหาด จ.สระแก้ว | ความคืบหน้าการก่อสร้างด่านบ้านป่าไร่ เพื่อรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้ว ที่มีการก่อสร้างคืบหน้าไปมาก ได้แก่ การก่อสร้างอาคารถนน CCA (Common Control Area) อย่างไรก็ตาม ไทยและกัมพูชายังมีปัญหาเรื่องพื้นที่ทับซ้อน จึงยังไม่สามารถสร้างถนนเพื่อเชื่อมไปยังด่านพรมแดนได้ได้มีการออกประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 15 มี.ค.61 ที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวและประชาชนคนไทยและกัมพูชา รวมถึงชาติอื่น ๆ สามารถเดินทางเข้า-ออกได้เช่นเดียวกับด่านผ่านแดนถาวรอื่นๆ โดยเส้นทางดังกล่าว ถือว่าเป็นเส้นทางที่ตรงที่สุดจากประเทศไทยไปยังกรุงพนมเปญ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหาการเข้าเมืองผิดกฎหมายของแรงงานกัมพูชาได้ โดยใช้บัตรผ่านแดนหรือ Border Pass มาขอรับใบอนุญาตทำงานโดยถูกต้องตามกฎหมายได้สะดวกมากขึ้น รวมทั้งแก้ปัญหาการหลอกลวงแรงงานไปทำงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ซึ่งจะเปิดทำการตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น.ทุกวัน เช่นเดียวกับด่านผ่านแดนถาวรคลองลึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ จังหวัดสระแก้วและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จะได้เตรียมดำเนินการด้านอาคารสถานที่ การก่อสร้างตลาดชายแดน ก่อสร้างสถานที่ตั้งของหน่วยงานที่ปฏิบัติงานเพื่ออำนวยความสะดวกในการสัญจรข้ามแดนต่อไป | | | | -8- **2.4 กัมพูชา** | **สถานการณ์** | **ข้อเสนอแนะ/การดำเนินงาน** | | --- | --- | | 4.การสนับสนุนด่านรองที่มีศักยภาพ - ด่านบ้านผักกาด จ.จันทบุรี/ด่านคลองจะกร็อม กรุงไพลิน | - ปัจจุบัน ด่านบ้านผักกาด มีการก่อสร้างศูนย์ One Stop Service ที่มีการแยกช่องทางรถขนส่งสินค้าทั้งขาเข้าและขาออกอย่างชัดเจน และแยกส่วนสำหรับการตรวจคนและรถ โดยอาคารศูนย์ดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณหน้าด่านบ้านผักกาด ทั้งนี้ การก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วอยู่ระหว่างการส่งมอบงานและตรวจรับงานให้แก่กรมศุลกากร- อยู่ระหว่างประสานขยายพื้นที่ตรวจปล่อยสินค้า (CIQ) | | | | | 5. การพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จ.สระแก้ว | ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว (นายกล้าณรงค์ พงษ์เจริญ) ได้เปิดเผยผลความคืบหน้าเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้ว ด้านนโยบายรัฐ ได้แก่ กำหนดให้มีการตั้งนิคมอุตสาหกรรม การตั้งศุลกากร การสร้างถนน การเวนคืนที่ดิน และการทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมมีความชัดเจนแล้ว มีการประชาสัมพันธ์การให้สิทธิประโยชน์ การเชิญชวนผู้ประกอบการให้เข้ามาลงทุนและตั้งโรงงานใน 9 อุตสาหกรรมเป้าหมาย นอกจากนี้ได้จัดและกำหนดพื้นที่เพื่อการลงทุนไว้สำหรับเศรษฐกิจฐานล่างให้กับประชาชนในพื้นที่ เช่น สินค้า OTOP และผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยกำหนดพื้นที่ไว้ประมาณ 3 ไร่ สร้างควบคู่ไปกับการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม- การนิคมอุตสาหกรรม ได้เช่าพื้นที่จากกรมธนารักษ์ (18 ก.พ. 59) ระยะเวลาเช่า 50 ปี โดยปัจจุบันได้มีการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม ระยะที่ 1 แล้วเสร็จและเปิดให้เข้าใช้พื้นที่แล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้างระยะที่ 2 คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ภายในเดือนมกราคม 2562 | | 6. การเปิดจุดผ่านแดนแห่งใหม่/การยกระดับจุดผ่อนปรนการค้า | ไทยและกัมพูชาเห็นพ้องให้เปิดจุดผ่านแดนแห่งใหม่/ยกระดับจุดผ่อนปรนการค้าเป็นจุดผ่านแดนถาวร 4 แห่ง ได้แก่1. ช่องอานม้า จังหวัดอุบลราชธานี – บ้านสะเตียลกวาง จังหวัดพระวิหาร 2. ช่องทางบ้านเขาดิน จังหวัดสระแก้ว – พนมได จังหวัดพระตะบอง 3. ช่องทางบ้านท่าเส้น จังหวัดตราด – บ้านทมอดา จังหวัดโพธิสัต 4. ช่องสายตะกู จังหวัดบุรีรัมย์ – ช่องจุ๊บโกกี จังหวัดอุดรมีชัย ทั้งนี้ การเปิดจุดผ่านแดน/ยกระดับ จะพิจารณาจากพื้นที่ที่มีความพร้อมก่อน | | 7. ความคืบหน้าการเดินรถข้ามแดน | 1) ตามความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง(GMS CBTA) ที่มีประเทศภาคีทั้งหมด 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย สปป.ลาว เวียดนาม เมียนมา กัมพูชา และจีนตอนใต้ โดยไทยและกัมพูชาสามารถเดินรถสินค้าและรถโดยสารไม่ประจำทาง โดยมีโควตาการเดินรถประเทศละ 500 คัน อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติจริงยังไม่มีการเดินรถภายใต้กรอบ GMS CBTA 2) กรอบความตกลง IICBTA ไทยและกัมพูชาสามารถเดินรถสินค้าและรถโดยสารไม่ประจำทางผ่านจุดผ่านแดน 1 แห่ง คือ ด่านอรัญประเทศ จ.สระแก้ว – ปอยเปต จ.บันเตียนเมียนเจย ที่ได้มีการกำหนดโควตาการเดินรถระหว่างกัน จำนวน 150 คัน ซึ่งขณะนี้ฝ่ายกัมพูชาได้แจ้งขึ้นทะเบียนรถสินค้าแล้วจำนวน44 คัน และรถโดยสารไม่ประจำทาง จำนวน 4 คัน และฝ่ายไทยได้แจ้งขึ้นทะเบียนรถโดยสารไม่ประจำทาง จำนวน 128 คัน และรถขนส่งสินค้า จำนวน 6 คัน ทั้งนี้ สามารถนำรถที่ได้แจ้งขึ้นทะเบียนใช้สำหรับการขนส่งคนงานได้ รวมถึงสามารถเดินรถไปถึงเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้ว เพราะอยู่ในเส้นทางที่กำหนดอยู่แล้ว และหากผู้ประกอบการต้องการเดินรถขนส่งสินค้าสามารถแจ้งขึ้นทะเบียนได้ทันที | **กลุ่มความร่วมมือฯ 2** **กองความร่วมมือการค้าและการลงทุน**
{'url': 'https://data.go.th/dataset/item_941d260e-ed2c-4bde-9c29-9c53ff6ef0d1', 'title': 'สถานการณ์การค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2558-2561 (มกราคม-มีนาคม)', 'license': 'cc-by'}