url
stringlengths
30
33
date
stringlengths
16
16
title
stringlengths
5
170
body_text
stringlengths
318
201k
politics
class label
2 classes
human_rights
class label
2 classes
quality_of_life
class label
2 classes
international
class label
2 classes
social
class label
2 classes
environment
class label
2 classes
economics
class label
2 classes
culture
class label
2 classes
labor
class label
2 classes
national_security
class label
2 classes
ict
class label
2 classes
education
class label
2 classes
https://prachatai.com/print/7262
2006-02-09 05:58
วุฒิสภาจี้หาทางออกเหมืองโปแตช
ประชาไท—9 ก.พ. 2549 เมื่อวันที่ 8 ก.พ. เวลาประมาณ 14.00 น. คณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมวุฒิสภาได้จัดเวทีประชุมติดตามความคืบหน้าโครงการเหมืองแร่โปแตช จ. อุดรธานี เนื่องจากเห็นว่ามีการผลักดันโครงการอย่างเร่งด่วนโดยไม่คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ณ ห้องประชุมกรรมาธิการหมายเลข 306 อาคารรัฐสภาตามข้อเรียกร้องของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี โดยได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี เข้ามาชี้แจงให้ข้อมูล    นายสุรพงษ์ เชียงทอง เจ้าหน้าที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) รายงานต่อที่ประชุมว่าขณะนี้บริษัทได้ยื่นขอประธานบัตรทำเหมืองแล้วอยู่ระหว่างการขึ้นรูปแผนที่พื้นที่ทำเหมืองใต้ดิน ในขณะนี้ทางบริษัทต้องทำการรังวัดปักหมดเขตที่ตั้งโรงแยกแร่ หรือเหมืองแร่บนดินและขึ้นรูปแผนที่เพื่อจะได้ติดประกาศในท้องถิ่นก่อนที่อธิบดีกพร.จะรับรอง แต่อย่างไรก็ตามขณะนี้บริษัยยังไม่ได้ยื่นเอกสารเพื่อการพิจารณาเข้ามาอย่างครบถ้วน และยังต้องดำเนินการอีกหลายขั้นตอนตามกฎหมายแร่ฉบับปี 2545     นายแก้วสรร อติโพธิ ประธานกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา กล่าวว่าจาการที่เจ้าหน้าที่จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.)รายงานต่อที่ประชุมว่าคณะนี้บริษัทยังไม่ได้ส่งรายงานฉบับใหม่ที่ต้องมีรายละเอียดเรื่องการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบตามสารสำคัญของกฎหมายแร่ฉบับใหม่ที่ครอบคลุมการทำเหมืองแร่ใต้ดินให้ สผ.พิจารณา อย่างไรก็ตามในการพิจารณาของ สผ. ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการมีอำนาจจะตั้งคำถามทางเทคนิควิธีการเพื่อสร้างทางเลือก เช่น การทำเหมืองแร่ใต้ดินแบบที่บริษัทเสนอเป็นแบบช่องทางสลับค้ำยันนี้ปลอดภัยจริงหรือไม่เมื่อเหมืองอยู่ใต้ชุมชน มีทางเลือกวิธีการทำเหมืองใต้ดินแบบที่ปลอดภัยกว่านี้เช่นแบบเหมืองละลายแร่ (Solution mining) เรื่อง กองหางแร่ไม่ต้องพิจารณาเพียงว่าจะใช้ผ้ายางหนาเท่าใดหรือมีผู้เชี่ยวชาญหรือไม่เมื่อนำเอาเกลือปริมาณมากกองบนผิวดินมันจะต้องมีผลกระทบแน่ ๆ ทางกรรมาธิการเป็นห่วงเรื่องนี้มาก จะต้องชี้แจงให้บริษัทแก้ไข การนำเกลือลงไปถมกลับนั้นเราก็รู้กันอยู่ว่าเกลือมีราคาและการนำกลับลงไปก็มีค่าใช้จ่าย และทั้ง สผ. และ กพร. ต่างมีความเห็นพ้องกันว่าสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้ บริษัทจะต้องชี้แจงให้ชัดเจนในรายงานว่าเกลือจะขายให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องหรือจะถมกลับ     นายแก้วสรร ยังกล่าวอีกว่าแม้บริษัทจะยื่นขอประทานบัตรเป็นบริเวณกว้าง 2 แหล่งมีชุมชนหลายชุมชนตั้งอยู่ข้างบน กพร.ก็ไม่จำเป็นต้องอนุญาตทั้งหมดที่บริษัทขอ มันขึ้นอยู่ที่การพิจารณาของ กพร. จะเป็นไปได้หรือไม่ที่จะละเว้นเขตที่มีชุมชนตั้งอยู่ และทางจังหวัดจะต้องจัดทำแผนที่แสดงความหนาแน่นของประชากรให้ชัดเจนว่าเขตนี้มีประชากรอยู่เท่าไหร่ ถ้ามีประชากรอยู่ก็ละเว้นไม่อนุญาตให้ทำ เพราะหน่วยงานราชการต้องสร้างทางเลือกที่เหมาะสม  ลดความขัดแย้งเพราะถ้าสร้างเหมืองแร่บนความขัดแย้ง ในชุมชนก็ไม่มีวันสงบ หากชุมชนไม่ยอมรับเหมือนกรณีโครงการท่อก๊าซไทยมาเลเซีย ที่สร้างบนความขัดแย้งปัจจุบันโครงการก็อยู่อย่างหวาดผวาว่าจะมีคนมาวางระเบิดเมื่อไร นายแก้วสรรกล่าว     ด้านพลเอกสมคิด ศรีสังคม สว.อุดรธานี กล่าวว่า สิ่งที่น่าห่วงหากเกิดโครงการคือเรื่องผลกระทบจากเกลือหางแร่เพราะภาคอีสานลมแรงในฤดูแล้ง พายุฤดูแล้งลมแรงมาก ขณะที่ฤดูฝนก็มีฝนมาก ที่ตั้งโครงการก็เช่นกันโรงแต่งแร่ตั้งอยู่บนเนินสูง กองเกลือกว้างเป็นกิโล และสูง 40 เมตรไม่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาให้ลำบากก็เห็นว่าจะมีผลกระทบอยู่ชัด ๆ ในฐานะคนอุดรธานีผมไม่เห็นด้วยกับโครงการไม่อยากให้สร้างเหมืองแร่ในจังหวัดอุดรธานี     ด้านนางมณี บุญรอด  รองประธานกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี กล่าวชี้แจงว่าปัจจุบันชาวบ้านไม่ยอมรับโครงการและมีการทำงานแย่งแยกชาวบ้าน เกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ แม้ยังไม่สร้างโครงการ คือสิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุด และหากโครงการยังดำรงอยู่ความขัดแย้งก็รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ แม้บริษัทจะอ้างว่าได้ลงทุนไปแล้วหลายพันล้าน รวมทั้งบริษัทอ้างว่าจะฟ้องร้องรัฐบาลไทยหากไม่ได้ทำเหมือง และจะเป็นการทำลายความเชื่อมั่นคงนักลงทุนต่างชาติ  นั้นเป็นการพูดแต่ได้เพราะบริษัทเองละเลยขั้นตอนกฎหมายไทย ละเมิดสิทธิคนไทย  และกำลังมีการยุแยงให้คนไทย คนในชุมชนเดียวกันขัดแย้งเข่นฆ่ากันเอง
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/76570
2018-04-25 19:17
จนท.ไทยสั่งระงับสัมมนาเปิดรายงานกองทัพพม่าละเมิดสิทธิชาวบ้านกะเหรี่ยง-หนีตายนับพัน
หน่วยงานความมั่นคงสั่งเบรคการนำเสนอรายงานละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐกะเหรี่ยง อ้างรัฐบาลพม่าขอมาเพราะกลัวเสียภาพลักษณ์ ด้านผู้จัดต้องย้ายสถานที่จากคณะสังคมศาสตร์ มช. ไปที่โบสถ์คริสต์ สุดท้ายตำรวจตามมาสั่งระงับขณะเตรียมสถานที่ ส่วนเนื้อหารายงานเผยสถานการณ์ละเมิดข้อตกลงหยุดยิงของกองทัพพม่า ที่ล่าสุดเสริมกำลังทหาร-ตัดถนนเข้าเขตกะเหรี่ยงเคเอ็นยู จนเกิดปะทะหลายครั้ง เกิดเหตุทหารพม่าโจมตีพลเรือน จนชาวกะเหรี่ยงอพยพแล้ว 12 หมู่บ้าน 2,417 คน ปิดโรงเรียน 5 แห่ง และล่าสุดยังมีเหตุยิงผู้นำชุมชนกะเหรี่ยงเสียชีวิตด้วย 000 ชาวบ้านกะเหรี่ยงในเขตลูทอ ตอนบนของเมืองมูตรอ ต้องอพยพจากชุมชนกลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (IDPs) และสถานการณ์ตึงเครียดเมื่อกองทัพพม่าเสริมกำลัง-มุ่งตัดถนนยุทธศาสตร์ในพื้นที่ ล่าสุดมีผู้อพยพแล้ว 12 หมู่บ้าน 2,417 คน (ที่มา: KPSN) ภาพปกรายงาน  “การเดินทางกลับพร้อมฝันร้าย ความหวังของชาวกะเหรี่ยงต่อสันติภาพและเสถียรภาพ ภินท์พังเพราะปฏิบัติการของกองทัพพม่า” (ที่มา: KPSN) 25 เม.ย. 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ จ.เชียงใหม่ ห้ามเจ้าของสถานที่และผู้จัดกิจกรรม จัดงานสัมมนาเพื่อเปิดตัวรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐกะเหรี่ยง ซึ่งจัดโดยเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อสันติภาพ (Karen Peace Support Network - KPSN) และศูนย์ภูมิภาคศึกษาด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (RCSD) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ซึ่งกำหนดจัดในช่วงบ่ายวันนี้ งานดังกล่าวมีอันต้องยกเลิกกระทันหัน หลังเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่สั่งห้ามจัดงาน ทำให้วิทยากรที่ได้รับเชิญมาร่วมงาน อาทิสิโพรา เส่ง อดีตรองประธานสภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ชยันต์ วรรธนะภูติ ผู้อำนวยการ RCSD เพียรพร ดีเทศน์ ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์ประเทศไทยและพม่า องค์กรแม่น้ำนานาชาติ รวมถึงชาวบ้านกะเหรี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ ต่างเดินทางมาเก้อ โดยก่อนหน้านี้เวทีสัมมนากำหนดจัดที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อมาทางผู้จัดงานได้รับแจ้งจากทางผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่าไม่อนุญาตให้ใช้สถานที่ ทำให้เมื่อวานนี้ (24 เม.ย.) มีการประกาศเปลี่ยนสถานที่จัดงานเป็นโบสถ์คริสต์ที่สวนเจ็ดริน ถนนห้วยแก้ว แต่สุดท้ายต้องประกาศยกเลิกจัดกิจกรรมหลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเดินทางมาที่สถานที่จัดงานตั้งแต่ช่วงสาย เพื่อสั่งผู้ดูแลสถานที่และคณะทำงานซึ่งกำลังเตรียมสถานที่ว่าห้ามจัดการสัมมนา อนึ่ง ผู้จัดงานระบุด้วยว่า แม้จะเลิกแจ้งยกเลิกจัดกิจกรรมไปแล้ว แต่ยังพบว่าในช่วงก่อนเริ่มงาน ยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบมาเฝ้าสังเกตการณ์ ข่าวแจ้งว่า สาเหตุของการสั่งห้ามจัดเวทีสัมมนาเนื่องจากรัฐบาลพม่าได้ประสานมายังหน่วยงานด้านความมั่นคงของไทยเพื่อขอให้ระงับการจัดงาน เพราะอาจส่งผลต่อภาพพจน์ของรัฐบาลพม่าและกระบวนการสันติภาพ ทำให้หน่วยงานด้านความมั่นคงของไทยสั่งการมายังผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อขอไม่ให้ใช้สถานที่ ต่อมาเมื่อคณะผู้จัดงานเตรียมย้ายออกไปจัดงานที่สวนเจ็ดริน ก็ยังมีการสั่งการไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ให้มาระงับการจัดงานครั้งนี้ เพียรพร ดีเทศน์ หนึ่งในวิทยากรที่ได้รับเชิญไปร่วมงานในครั้งนี้ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่าเสียใจที่การจัดกิจกรรมครั้งนี้ถูกระงับ เพราะประเทศไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญแก่รายงานชิ้นนี้ เนื่องจากเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในดินแดนที่ติดกับประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณชายแดนฝั่งตะวันตก ซึ่งจะต้องส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ผ่านมามีประชาชนจากรัฐกะเหรี่ยงต้องหนีภัยสงครามมายังชายแดนไทยจำนวนนับแสนคน และยังมีผู้พลัดถิ่นระลอกใหม่ ซึ่งยังไม่มีวี่แววว่าจะได้คืนสู่บ้านเดิม “ดิฉันไม่แน่ใจว่าเหตุผลลึกๆ ในการสั่งห้ามหรือยกเลิกจัดกิจกรรมในครั้งนี้คืออะไร แต่สิ่งที่ไม่อยากเห็นคือกระบวนการสิทธิมนุษยชนของเราไม่ควรถูกบั่นทอนลงไปอีก เพราะทุกวันนี้ เราก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมโลกอยู่พอสมควรแล้ว เห็นได้จากรายงานของสหประชาชาติฉบับล่าสุด” เพียรพรกล่าว รายงานเผยกองทัพพม่าสร้างถนนยุทธศาสตร์-ละเมิดข้อตกลงหยุดยิงทำชาวบ้านกะเหรี่ยงอพยพแล้ว 12 หมู่บ้าน มากกว่า 2,417 ราย อ่านรายงาน The Nightmare Returns: Karen hopes for peace and stability dashed by Burma Army's actions [1] ชุมชนผู้อพยพในพื้นที่ลูทอ ตอนบนของเมืองมูตรอ รัฐกะเหรี่ยง (ที่มา: KPSN) สำหรับรายงานที่เตรียมนำมาเปิดตัวในเวทีครั้งนี้ เป็นรายงานเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า ซึ่งจัดทำโดยเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อสันติภาพ โดยมีชื่อเรื่องว่า “การเดินทางกลับพร้อมฝันร้าย ความหวังของชาวกะเหรี่ยงต่อสันติภาพและเสถียรภาพ ภินท์พังเพราะปฏิบัติการของกองทัพพม่า” ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญระบุว่า นับตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2561 เป็นต้นมา กองทัพพม่าเริ่มการตรึงกำลังทหารครั้งใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่ปี 2551 ในเขตมูตรอ หรือผาปูน รัฐกะเหรี่ยง ตรงข้ามชายแดนไทยด้าน จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งปัจจุบันมีการเสริมกำลังทหารพม่าเข้ามากว่า1,500 ราย โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ยึดครองของกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) ปีกทางการทหารของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) โดยเหตุเสริมกำลังของทหารพม่าดังกล่าวนับเป็นการละเมิดข้อตกลงหยุดยิงระดับประเทศ เป็นเหตุให้มีการปะทะกับกองพลน้อยที่ 5 KNLA หลายครั้ง นอกจากนี้มีรายงานด้วยว่าทหารพม่าได้โจมตีอย่างไม่เลือกเป้าหมายต่อพลเรือน ส่งผลให้ชาวบ้านกว่า 304 ครัวเรือน รวมจำนวนอย่างน้อย 2,417 คน จาก 12 หมู่บ้าน ต้องหนีภัยสงคราม ทิ้งถิ่นฐานบ้านเรือนมาอาศัยอยู่ในป่า นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านอีก 72 ครัวเรือน กว่า 483 คน จาก 4 หมู่บ้าน เตรียมอพยพเพิ่มเช่นกัน ในรายงานระบุด้วยว่า KNU และกองทัพพม่าต่างลงนามในความตกลงหยุดยิงเมื่อปี2558 ซึ่งห้ามการขยายโครงสร้างพื้นฐานทางการทหาร และห้ามการเสริมกำลังทหาร ในพื้นที่หยุดยิง แต่กองทัพพม่าอย่างน้อย 8 กองพัน ได้เคลื่อนกำลังพลเข้าสู่พื้นที่ลูทอ (Luthaw) ทางตอนบนของเมืองมูตรอ โดยไม่มีการทำข้อตกลงล่วงหน้า และเริ่มก่อสร้างถนนยุทธศาสตร์ทางทหาร ที่เหล่อมูพลอ และเคพู หากถนนนี้สร้างเสร็จ อาจส่งผลให้ชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่ต้องพลัดที่นาคาที่อยู่อย่างถาวร “ชาวบ้านกว่า 2,417 คนรวมทั้งผู้สูงวัย ผู้หญิงและเด็ก ได้หลบหนีจากถิ่นฐานบ้านเรือนพากันไปหลบซ่อนในป่าเขา คาดว่ามีชาวบ้านอีก 483 คนเตรียมจะหลบหนีจากหมู่บ้านของตน ระหว่างที่ทหารพม่าพยายามเสริมกำลังในทางตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่ลูทอ คนเหล่านี้แทบไม่ได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้า พวกเขาสามารถนำข้าวของติดมือไปได้เพียงเล็กน้อย พวกเขาต้องอยู่ในป่าอย่างเหน็บหนาว โรงเรียน 5 แห่งต้องปิดตัวลงเนื่องจากการสู้รบ” ในรายงานระบุ   ประณามกองทัพพม่ายิง จนท.ช่วยเหลือมนุษยธรรมชาวกะเหรี่ยง-ละเมิดข้อตกลงหยุดยิง, 10 เมษายน 2561 [2]   ปะทะไม่ต่ำกว่า 39 ครั้ง ล่าสุดมีนักกิจกรรมชุมชนเสียชีวิต 1 ราย โดยสถานการณ์ในพื้นที่นับตั้งแต่ 1 มีนาคม จนถึงขณะนี้ (25 เม.ย. 2561) มีการปะทะระหว่างกองทัพพม่ากับทหารกะเหรี่ยง KNLA ไม่ต่ำกว่า 39 ครั้ง ชาวบ้านกะเหรี่ยงระบุว่ากองทัพพม่ายิงปืนใส่พลเรือนที่ไม่มีอาวุธ และทหารพม่ายังยิงปืนครกใส่พื้นที่ของพลเรือน มีการรบกวนพื้นที่ทำการเกษตรของชาวบ้าน และการก่อสร้างถนนยังรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่บรรพชนตามความเชื่อของชาวกะเหรี่ยงด้วย นอกจากนี้เมื่อวันที่ 5 เมษายน ซอโอ้มู นักกิจกรรมชาวกะเหรี่ยงวัย 42 ปี หนึ่งในทีมงานให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาวกะเหรี่ยงพลัดถิ่น ก็ถูกยิงเสียชีวิตระหว่างเดินทางกลับบ้านที่เหล่อมูพลอ ( [2]อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) [2]   KNU หวั่นความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกองทัพพม่าถดถอย หากดึงดันเสริมกำลัง-สร้างถนน อนึ่งในวิดีโอนำเสนอของเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อสันติภาพ (KPSN) ที่เผยแพร่ออนไลน์เมื่อ 24 เม.ย. [ [3]คลิกเพื่อชมวิดีโอ [3]] [3] พันตรีซอเกลอะโด แห่งกองพลน้อยที่ 5 กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) ให้สัมภาษณ์กับ KPSN ระบุว่า กองทัพพม่าทำหนังสือขอฟื้นฟูการสร้างถนนยุทธศาสตร์ระหว่างค่ายทหารพม่าที่เคพู (Kay Pu) มาถึงเหล่อมูพลอ (Ler Mu Plaw) ในพื้นที่ลูทอ เมืองมูตรอ รัฐกะเหรี่ยง แต่จากข้อตกลงหยุดยิงระหว่างสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กับกองทัพพม่า ห้ามไม่ให้ทั้ง 2 ฝ่าย ขยายพื้นที่ยึดครองหรือเพิ่มกำลังทางทหาร หรือสร้างค่ายทหารเพิ่มในพื้นที่หยุดยิง "เราไม่คิดว่านี่เป็นเวลาที่เหมาะสมในการสร้างถนน เราแจ้งกองทัพพม่าว่าพวกเขาไม่สามารถทำได้ แต่พวกเขาไม่สนใจและเดินหน้าตามแผนของพวกเขา" ขณะที่กเวทูวินรองประธานสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กล่าวว่า ที่ผ่านมาในช่วงหยุดยิง แม้จะไม่มีการก่อสร้างถนน กองทัพพม่าได้รับอนุญาตให้ขนส่งเสบียงด้วยวิธีอื่นๆ และไม่ถูกรบกวน และพวกเขาควรหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าเช่นนี้ซึ่งจะสร้างความขัดแย้งและบ่อนเซาะความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน พล.ท.บอจ่อแฮ รองผู้บัญชาการกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) กล่าวว่า กองทัพพม่าอ้างว่าถนนเส้นนี้เพียงเพื่อขนส่งเสบียงระหว่างค่ายทหาร 2 แห่ง และชาวบ้านก็สามารถใช้ได้ถ้าพวกเขาต้องการ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมากองทัพพม่าไม่เคยส่งเสบียงอาหารผ่านระหว่างค่ายทหารที่เคพู และเหล่อมูพลอ มาก่อน และถนนเส้นที่มีการก่อสร้างนี้เป็นถนนยุทธศาสตร์ทางการทหาร กองทัพพม่าอ้างว่าได้แจ้งกับ KNLA กองพลน้อยที่ 5 หลายครั้งแล้วเรื่องการสร้างถนน แต่พวกเขาแค่แจ้ง พวกเขาไม่เคยได้รับการเห็นชอบให้สร้างถนนเลย ไม่ว่าจากฝ่าย KNLA กองพลน้อยที่ 5 และชาวบ้านในพื้นที่ พวกเขามีแต่ใช้กำลังทางทหารเพื่อแผนการสร้างถนน โดย พล.ท.บอจ่อแฮ ถือว่าเรื่องนี้ละเมิดทั้งสัญญาหยุดยิงทั่วประเทศ (NCA) และระเบียบปฏิบัติของ KNU และ KNLA   เครือข่ายกะเหรี่ยงฯ เรียกร้องให้กองทัพพม่ายึดข้อตกลงหยุดยิงยุติการสร้างถนน-ถอนกำลัง และให้ฝ่ายที่สามเข้ามาสอบสวน ในช่วงท้ายของรายงาน เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อสันติภาพ (KPSN) ได้ระบุข้อเสนอแนะว่า 1.กองทัพพม่าต้องปฎิบัติตามจรรยาบรรณของทหารที่กำหนดไว้ในความตกลงหยุดยิงระดับประเทศและให้ถอนกำลังทหารที่เข้าพื้นที่ควบคุมของ KNU ทั้งหมด 2.ควรให้ฝ่ายที่สามที่ไม่ใช่กองทัพพม่า KNU และรัฐบาลพม่า เข้ามาทำหน้าที่สอบสวนเพื่อคลี่คลายความตึงเครียด 3.กองทัพพม่าต้องยุติการดำเนินงานเพื่อก่อสร้างถนนใดๆ ในพื้นที่ควบคุม 4.ก่อนมีกระบวนการสันติภาพจะมั่นคงและการเมืองที่แน่นอน กระบวนการตัดสินใจต่างๆควรให้ KNU เข้าไปมีส่วนร่วม 5.ผู้นำ KNU และกองทัพพม่าต้องให้ความสำคัญกับการถอนกำลังทหารจากที่ดินของชาวบ้าน 6.รัฐบาลพม่าและองค์กรเอกชนในทุกระดับต้องเคารพและยอมรับโครงสร้างการปกครอง และการบริหารของชุมชนกะเหรี่ยง 7.หน่วยงานระหว่างประเทศ ควรส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้กับผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นในประเทศ
0neg
1pos
0neg
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/17871
2008-08-28 18:32
ประมงพื้นบ้านสงขลาป้องทะเล สัญญาณต้านบริษัทเจาะน้ำมันอ่าวไทย
26 ส.ค. 51 - ที่ห้อง 262 คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา คณะกรรมการประมงพื้นบ้าน 3 อำเภอของจังหวัดสงขลา คือ ระโนด สทิงพระและสิงหนคร นำโดยนายเจริญ ทองมา ประธานกรรมการประมงพื้นบ้าน 3 อำเภอ นายบุญช่วย ฟองเจริญ แกนนำประมงอวนลาก อำเภอระโนด ได้อ่านแถลงการณ์ฉบับที่ 1 เรื่อง "ปกป้องแหล่งทำการประมง/แหล่งอาหาร จากโครงการพัฒนาปิโตรเลียมแหล่งสงขลา ถึงพี่น้องชาวประมงพื้นบ้านผู้ได้รับความเดือดร้อน   โดยแถลงการณ์ระบุว่า ชาวประมง 3 อำเภอไม่ต้องการให้ บริษัท นิวคอสตอล(ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งได้รับสัมปทานขุดเจาะน้ำมันในบริเวณอ่าวไทยจากรัฐดำเนินการขุดเจาะในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในระยะยาวต่ออาชีพประมง และแหล่งอาหารของพี่น้องประชาชน จึงขอเรียกร้องให้หาทางออกร่วมกัน   นอกจากนี้แถลงการณ์ยังเรียกร้องให้ชาวประมงเตรียมตัวให้พร้อม ส่วนจะเป็นอย่างไรนั้นจะออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 แจ้งให้ทราบอีกครั้ง ส่วนจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนั้น แกนนำระบุว่า จะประชุมหารือกันอีกครั้ง       แถลงการณ์ชาวประมงพื้นบ้าน 3 อำเภอ ฉบับที่ 1 "ปกป้องแหล่งทำการประมง/แหล่งอาหาร จากโครงการพัฒนาปิโตรเลียมแหล่งสงขลา"   ถึง พี่น้องชาวประมงพื้นบ้านผู้ได้รับความเดือดร้อน   ตามที่ บริษัท นิวคอสตอล(ประเทศไทย) จำกัด ได้รับสัมปทานขุดเจาะน้ำมันในบริเวณอ่าวไทยจากรัฐ ซึ่งการสัมปทานครั้งนี้ เป็นการขุดเจาะน้ำมันใกล้ชายฝั่งอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และจะทำให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงในอนาคตต่อพื้นที่ทำการประมงของชาวประมงพื้นบ้านในอำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ อำเภอสิงหนครและพื้นที่ใกล้เคียง แต่รัฐกลับไม่ให้ความสำคัญกับชาวประมงพื้นบ้าน มิได้ไยดีว่าชาวประมงพื้นบ้าน เป็นผู้ประกอบอาชีพสุจริต หาเช้ากินค่ำ เป็นอาชีพที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ที่สำคัญการทำประมงด้วยวิธีนี้ เป็นรากฐานค้ำจุนสังคมไทยมานานตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน รัฐมิได้สนใจว่าชาวประมงพื้นบ้านจะมีความเดือดร้อนอย่างไร รัฐสนใจเพียงแต่ให้บริษัทที่รับสัมปทานได้รับประโยชน์เท่านั้น   ชาวประมงพื้นบ้าน 3 อำเภอ จึงได้พยายามนำเสนอปัญหา ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อพื้นที่ทำการประมงพร้อมข้อมูล เหตุผล รายละเอียด ให้กับบริษัททราบ ว่าพื้นที่เป้าหมายของโครงการซึ่งทับซ้อนกับการทำประมง คืออยู่ในบริเวณที่ห่างจากชายฝั่งเพียง 14 - 30 กิโลเมตร เป็นระยะเวลา 16 ปีนั้น ชาวประมงพื้นบ้านไม่ต้องการให้ดำเนินการขุดเจาะในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในระยะยาวต่ออาชีพประมง และแหล่งอาหารของพี่น้องประชาชน จึงขอเรียกร้องให้หาทางออกร่วมกัน แต่ทางบริษัทยังคงยืนยันที่จะดำเนินโครงการฯ โดยไม่มีทางออกใดๆ จึงมีการพูดถึงการจ่ายค่าชดเชยผลกระทบที่ชาวประมงสูญเสียพื้นที่ทำมาหากิน และทางบริษัทผู้รับสัมปทานบ่ายเบี่ยงมาตลอด   ต่อมากลุ่มชาวประมงได้นำปัญหาดังกล่าว เสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาทราบ และได้พยายามเข้ามาแก้ไข ด้วยการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหลายคณะ และได้ประชุมกันหลายๆ ครั้ง แต่ผลสรุปที่ออกมาไม่ชัดเจน ดูเหมือนเป็นการหลีกเลี่ยงบ่ายเบี่ยง ถ่วงเวลา พูดกันไม่ตรงประเด็น ไม่มีความจริงใจในการแก้ปัญหา มีความชัดเจนเพียงเฉพาะว่า "ไม่ว่าจะเกิดความเสียหายอย่างไร บริษัทก็จะดำเนินการขุดเจาะน้ำมันในวันที่ 1 กันยายน 2551 นี้ ให้ได้"   คณะกรรมการชาวประมงอำเภอสิงหนคร อำเภอสทิงพระ และอำเภอระโนด อยากกราบเรียนพี่น้องชาวประมงว่า พวกเราต้องต่อสู้ ยืนหยัดในการรักษาและปกป้องพื้นที่ทำมาหากินที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน และปกป้องแหล่งโปรตีนอันเป็นอาหารของพี่น้องประชาชน และอยากกราบเรียนพี่น้องชาวประมงต่อไปว่า "เตรียมตัวให้พร้อม หลังจากนี้เหตุการณ์จะเป็นอย่างไร พวกเราจะออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 ให้พี่น้องชาวประมงทราบข้อมูลว่าพวกเราจะร่วมกันดำเนินการต่อไปอย่างไร"   ขอแสดงความนับถือ คณะกรรมการประมงพื้นบ้าน 3 อำเภอ วันที่ 26 สิงหาคม 2551
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/23418
2007-04-09 10:44
เปิดอก "กลุ่ม FTA WATCH" หลังรัฐบาลลงนาม JTEPA
ธีรมล บัวงาม สัมภาษณ์/เรียบเรียง สำนักข่าวประชาธรรม   เรียบร้อยไปแล้วโรงเรียน มช.ไปแล้ว! สำหรับความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) หรือเอฟ ทีเอไทย-ญี่ปุ่น ที่ลงนามระหว่างรัฐบาลไทยกับญี่ปุ่น โดยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นลงนามกันไปเมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา   ท่ามกลางการประท้วง การนำเสนอข้อท้วงติงอย่างต่อเนื่อง ขององค์กรอิสระ นักวิชาการ และประชาชนของทั้งสองประเทศ   สารี อ๋องสมหวัง สมาชิกกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA WATCH)  และผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค บอกเล่าความรู้สึกภายหลังศาลปกครองสูงสุดไม่รับฟ้อง และการลงนามดังกล่าว   บทบาทและท่าทีของรัฐบาลขิงแก่เป็นอย่างไรภายหลังมีการท้วงติงJTEPA   รัฐบาลเมินเฉยมาก สิ่งที่เกิดขึ้นคือหันไปทำภาคผนวกเข้ามากำกับเพิ่มเติม แต่ประเด็นที่รัฐบาลเพิกเฉยมากที่สุด คือ ข้อเรียกร้องเรื่องกระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบทั้งหมด ทั้งที่JTEPAไม่ได้มีความจำเป็นเร่งด่วน และยังมีปัญหาในหลักการหลายอย่าง อาทิ กระบวนการเจรจา หรือแม้กระทั่งวิธีคิดอย่างการทำขยะของเสียอันตรายมาเป็นสินค้า เป็นต้น   ประเด็นที่ท้วงติงไป รัฐบาลให้ความสำคัญเฉพาะเรื่องขยะของเสียอันตราย และสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิต โดยรัฐบาลเชื่อว่า สามารถแก้ปัญหาด้วยการใช้เพียงมาตรการป้องกัน อาทิ กลไกภาษีสรรพสามิต  ซึ่งก็ไม่รู้ว่าการทำตรงนั้นมันจะมีผลในทางกฎหมายมากแค่ไหน และนักกฎหมายที่คว่ำหวอดในการทำความตกลงระหว่างประเทศหลายคนชี้ประเด็นตรงกันว่า หากรายการแนบท้าย หรือภาคผนวก ขัดแย้งกับข้อตกลงหลัก ย่อมต้องยึดสาระในข้อตกลงหลักเป็นสำคัญ ดังนั้นการเขียนแบบนี้ (ในภาคผนวก) จึงไม่ได้มีความหมายอะไร อย่างไรก็ตามเรื่องนี้เป็นประเด็นปลาย แต่สิ่งสำคัญของเรื่องนี้คือกระบวนการมีส่วนร่วมมันอ่อนแอ และไม่ถูกให้ความสำคัญเลย   การผลักดันเอฟทีเอในรัฐบาลนี้ต่างจากรัฐบาลที่ผ่านมาบ้างไหม   รัฐบาลชุดที่แล้วก็ปกปิด รัฐบาลนี้ก็อ้างว่าอยู่ในชั้นความลับเปิดเผยไม่ได้ ต่อมาเมื่อเขาเปิดให้เราเข้าไปดู ก็ไม่สามารถศึกษาได้อย่างครบถ้วน เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมาก ซึ่งจริงๆ เอฟทีเอว็อทช์ และประชาชนควรมีโอกาสได้ศึกษาความตกลงซึ่งจะส่งผลกระทบมากกว่านี้   มันน่าคิดเหมือนกัน ตรงที่ว่ารัฐบาลได้ปักธงไว้อยู่แล้วว่าจะเอาแบบนี้ไม่มีการแก้ไข ทั้งที่เมื่อพบว่ามีผลกระทบ ควรจะยอมรับให้มีการแก้ไขได้ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นที่อาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องการตีความในภายหลัง เช่น สิทธิบัตรสิ่งมีชีวิต หรือประเด็นสาระที่ไม่ควรอยู่ในข้อการเจรจา อาทิ ขยะของเสียอันตราย ซึ่งอันที่จริงเขาก็ยอมรับว่าสิ่งที่เป็นปัญหาในข้อตกลง JTEPA คือการให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามากกว่าความตกลงระหว่างประเทศขององค์การการค้าโลก หรือการยอมให้มีทริปส์พลัสนั่นเอง   เมื่อมองสถานการณ์ในประเทศ เรื่องที่เราค่อนข้างเป็นห่วงและเชื่อว่าเกิดขึ้นได้ คือ ผลกระทบกับการบังคับใช้สิทธิซึ่งผูกโยงอยู่กับบทบาทการลงทุน ขณะนี้เราบังคับใช้สิทธิยา  เมื่อลงนามไปแล้ว หากถูกบริษัทยาต่างชาติตั้งคำถามว่าทำไมไม่บังคับใช้สิทธิยาตัวนั้นตัวนี้บ้าง หากรัฐบาลตอบไม่ได้ หรือคำตอบไม่เป็นที่พอใจของบริษัท บริษัทเหล่านั้นก็มีสิทธิฟ้องข้อหาเลือกปฏิบัติ และการฟ้องของเขาไม่จำเป็นต้องมาที่ศาลไทย สามารถฟ้องไปที่อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ นั่นหมายความรัฐบาลมีโอกาสถูกฟ้องร้องมากขึ้น แม้ว่าการกระทำนั้นจะมุ่งคุ้มครองผู้บริโภคภายในประเทศ   ตัวอย่างบางประการเหล่านี้จึงชี้ให้เห็นว่า ข้อท้วง ประเด็นที่น่าเป็นห่วงทั้งหมดไม่นำไปสู่การหามาตรการเตรียมการภายในประเทศ และยังชี้เห็นผลของการไม่มีส่วนร่วม ซึ่งกลุ่มคนที่คัดค้านไม่ได้มีเพียงกลุ่มเอฟทีเอว็อทช์เท่านั้น ยังมีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือนักวิชาการหลายกลุ่มก็คิดว่าไม่ใช่เรื่องด่วน และตั้งคำถามว่า JTEPA เป็นสิ่งที่รัฐบาลชั่วคราวควรจะดำเนินการหรือไม่   นี่คือสาเหตุที่นำไปสู่การยื่นฟ้องศาลปกครอง?   ต้องชี้แจงก่อนว่ากลุ่มเอฟทีเอว็อทช์ไม่ได้ตามเฉพาะJTEPA ก่อนนี้ กรณีไทย-สหรัฐ ก็มีการรณรงค์หลายครั้งทั้งที่พัทยา เชียงใหม่ แต่จริงๆ ก็ยอมรับว่า ตอนแรกให้ความสำคัญกับไทย-ญี่ปุ่นน้อย เพราะพุ่งเป้าไปที่ไทย-สหรัฐเยอะ เนื่องจากมีความซับซ้อนมีหลายประเด็นที่เจรจามาก ในอีกด้านหนึ่งก็มีข้อจำกัดจากการไม่ได้เห็นสาระของ JTEPA แต่เมื่อได้เข้าไปศึกษาจึงเห็นปัญหาที่จะขึ้นในอนาคต   ชนวนสำคัญอยู่ที่การเมินเฉยของรัฐบาล และดำเนินกระบวนการทำให้เชิงพิธีกรรมเท่านั้นเอง และทำเหมือนว่าตนเองก้าวหน้า ด้วยการนำร่างความตกลงJTEPAให้สมาชิกสนช.พิจารณา ซึ่งเป็นแค่การให้สนช.รับทราบ แม้กระทั่งเอกสารตัวร่างความตกลง 940 กว่าหน้านั้น สมาชิกสนช.ไม่เคยเห็นเลย เวนี้นั้นจึงเป็นแค่การอภิปรายไม่ได้มีการลงมติเห็นชอบแต่ประการใด ยิ่งไปกว่านั้นสมาชิกสนช.ที่ต้องการอภิปรายคัดค้านหรือตั้งคำถามในประเด็นต่างๆ ก็ไม่ได้ถูกชี้ขึ้นพูด หรือแม้กระทั่งคณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดประชาพิจารณ์ ก็ไม่ได้จัดแต่เป็นการจัดสัมมนา   การฟ้องศาลปกครองจริงๆ พวกเราเองไม่มีอำนาจในการยับยั้ง จึงต้องพึ่งกระบวนการทางศาล ซึ่งเมื่อคำวินิจฉัยของศาลออกมาต้องบอกว่าผิดหวัง เพราะศาลพิพากษาว่าเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่อำนาจของฝ่ายปกครอง ทั้งที่พวกเราฟ้องกระบวนการที่มีคำสั่งทางปกครอง คือ มีมติครม.ให้กระทรวงต่างประเทศดำเนินการจัดการประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ซึ่งความจริงไม่ได้ทำตามขั้นตอน และยังการกระทำผิดกฎหมาย ซึ่งควรจะทำขั้นตอนเหล่านี้ให้ถูกต้องก่อนที่จะไปลงนาม แต่กระนั้นศาลก็มองแต่เพียงว่าการลงนามการค้าระหว่างประเทศเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร และไม่เกี่ยวข้องกับการปกครอง   เรื่องนี้จึงเหมือนกับการถาม ว่าไปไหนมา? แต่กลับได้รับคำตอบว่ากินข้าวแล้ว มันคือการตอบคนละคำถาม จากนี้ไปจึงน่าคิดว่า เราจะมีกระบวนการตรวจสอบอำนาจของฝ่ายบริหารอย่างไร เพราะปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาระหว่างประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับที่แล้วอาจพูดถึงมาตรา 214 แต่ก็ยังไม่ชัดเจน ซึ่งต่างกับหลายประเทศที่มีกฎหมายการเจรจาระหว่างประเทศคอยกำกับ ตรงนี้จึงแสดงว่าฝ่ายบริหารสามารถทำข้อตกลง ทำอะไรได้ทั้งหมด และไม่มีใครตรวจสอบได้เลยใช่หรือไม่   จากสถานการณ์ดังกล่าว คิดว่าคนทั่วไปรับรู้เรื่องราวเอฟทีเออย่างไร   เมื่อครั้งที่รณรงค์เรื่องเอฟทีเอไทย-สหรัฐที่เชียงใหม่ก็ทำให้คนมีคนเข้าใจเรื่องเอฟทีเอมากขึ้นพอสมควร หรือแม้กระทั่งวันที่ 3 เม.ย.2550 ที่ไปประท้วงหน้าสถานทูตญี่ปุ่นก็มีประชาชนทั่วไปเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก มีทั้งคนที่ทิ้งนามบัตรเพื่อให้แจ้งข่าวการเคลื่อนไหวครั้งหน้า สิ่งเหล่านี้แสดงว่าคนทั่วไปให้ความสนใจ   อย่างไรก็ตามด้วยสถานการณ์ที่รวดเร็ว เร่งด่วน รวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ได้มากพอก็เป็นปัญหาในการสร้างแนวร่วมใหม่ๆ บ้าง แต่จริงๆ สาธารณะก็ตระหนักเรื่องนี้พอสมควร โดยเฉพาะกลุ่มที่รณรงค์เรื่องประชาธิปไตยครั้งที่ผ่านมา และตนก็ยังเชื่อว่าคนกลุ่มนี้ยังสนับสนุนอยู่ ถ้าดูจากเว็บไซต์ และมีคนคัดค้านเยอะ   คิดว่าเราได้เรียนรู้อะไรจากการเคลื่อนไหวเรื่องเอฟทีเอบ้าง   สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ รัฐบาลทุกรัฐบาลคิดเหมือนกัน คือให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเดียว โดยที่ไม่ได้สนใจเรื่องอื่น ซึ่งถือเป็นความผิดพลาดของประเทศไทย แม้กระทั่งเรื่องการค้า เราก็มองเฉพาะการค้าระหว่างประเทศ ไม่ได้มองเรื่องการค้าที่เป็นธรรม การค้าทางเลือกทั้งหลาย ดังนั้นเวลาที่มีการทำเอฟทีเอจึงสนใจเฉพาะกุ้ง ไก่ เท่านั้น   จากนี้จะเคลื่อนไหวอย่างไรต่อ   ก็จะเคลื่อนไหวเท่าที่ทำได้ ไม่ใช่แค่JTEPA เท่านั้น แต่รวมถึงเอฟทีเอทั้งหมด  กลุ่มเอฟทีเอว็อทช์ก็เป็นเครือข่ายที่แน่นหนาพอสมควร และไม่ได้มาจากคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ประกอบด้วย เกษตรกรรายย่อย กลุ่มเกษตรกรทางเลือก กลุ่มผู้ติดเชื้อ กลุ่มผู้บริโภค ชุมชนแออัด เครือข่ายแรงงาน ฯลฯ รวมถึงมีกลุ่มนักวิชาการที่ให้การสนับสนุนอยู่ด้วย ที่สำคัญเราเคลื่อนไหว ต่อสู้ข้อมูล โดยเฉพาะ JTEPA เราก็เคลื่อนไหวหลังจากได้เห็นตัวสัญญาที่พบว่ามีปัญหา   ที่แน่ๆ คือ เราไม่หยุด และไม่ยอมรับการลงนามของนายกรัฐมนตรี ซึ่งเราได้เรียกร้องให้สมาชิกสนช.จำนวนหนึ่งเข้าชื่อเพื่อส่งให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตีความ และจะประสานกับประชาชนทุกภาคส่วนให้เขาลุกขึ้นมาคัดค้านการเจรจาความตกลงระหว่างประเทศที่ไม่ชอบธรรม.
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/35692
2011-06-26 16:41
ทัพไทใหญ่ “เหนือ” เสียฐานที่มั่นให้พม่าอีกแห่ง หลังถูกโจมตีอย่างหนัก
กองกำลังไทใหญ่ “เหนือ” สูญเสียฐานที่มั่นสำคัญให้กองทัพพม่าอีกแห่ง หลังถูกโจมตีอย่างหนักด้วยปืนใหญ่ ขณะที่การสู้รบสองฝ่ายยังคงดำเนินต่อเนื่อง มีรายงานจากแหล่งข่าวว่า กองทัพรัฐฉาน “เหนือ” หรือ SSA/SSPP (Shan State Army / Shan State Progressive Party) ได้ถอนกำลังทหารออกฐานท่าผาสอง ฐานที่มั่นสำคัญอีกแห่งในตำบลบ้านวาบ อำเภอเมืองเกซี รัฐฉานภาคเหนือ หลังถูกทหารกองทัพพม่าโจมตีอย่างหนัก โดยขณะนี้ทหารกองทัพพม่าได้เคลื่อนกำลังเข้ายึดฐานดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ ฐานท่าผาสอง ถือเป็นฐานยุทธศาสตร์สำคัญอีกแห่งของกองทัพรัฐฉาน “เหนือ” SSA/SSPP ซึ่งเป็นเสมือนฐานด่านหน้าที่จะเข้าพื้นที่ชั้นในของ SSA/SSPP โดยฐานแห่งนี้ถูกทหารพม่าเข้าโจมตีตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 21 มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งทหารกองทัพพม่าได้ใช้ปืนใหญ่หลายชนิดโจมตีเข้าใส่อย่างหนัก ส่งผลให้ SSA/SSPP ไม่สามารถต้านทานการโจมตีและจึงจำต้องยอมสละทิ้งฐานแห่งนี้ในที่สุด มีรายงานด้วยว่า นับตั้งแต่เกิดการสู้รบของทั้งสองฝ่าย ซึ่งเกิดจากการบุกโจมตีจากทหารพม่ามาตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้ทางฝ่าย SSA/SSPP ได้เสียฐานที่มั่นสำคัญให้กับฝ่ายกองทัพพม่าแล้วอย่างน้อย 5 แห่ง ขณะที่การสู้รบของทั้งสองฝ่ายยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและมีชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิ์ทั้งถูกสังหารและถูกเกณฑ์เป็นลูกหาบจากทหารพม่า และขณะนี้มีผู้อพยพออกนอกพื้นที่เพื่อหนีภัยการสู้รบแล้วเป็นจำนวนมาก ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ http://www.khonkhurtai.org/ \คนเครือไท\" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org"
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/7508
2006-02-27 19:55
จดหมายจากสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ถึง สนนท. : ถอนตัวออกจาก "พันธมิตร"
ผมขอให้ใครที่สามารถทำได้ กรุณาหาทางถ่ายทอดข้อความต่อไปนี้ ผ่านไปยัง สนนท. ถึง สนนท. ผมขอเสนอให้ สนนท. ถอนตัวออกจาก "พันธมิตรประชาธิปไตย" ทันที ไม่ว่า จังหวะก้าวต่อไปของ "พันธมิตร" จะเป็นอย่างไร ไม่ว่าการชุมนุมวันที่ 26 จะยังคง "เดินหน้าต่อไป" หรือ ยกเลิก หรือ ชุมนุมเพียงคืนเดียว ฯลฯ เพราะสิ่งที่ "พันธมิตร" ได้กำหนดไป ตั้งแต่ก่อนการประกาศยุบสภา (แสดงออกใน "แถลงการณ์ฯฉบับที่ 2") เป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรง ขัดต่อหลักการประชาธิปไตยอย่างลึกซึ้ง ด้วยเหตุผล 3 ประการ ดังนี้ ประการแรก การประกาศความคิดชี้นำว่า "ไม่ชนะ ไม่เลิก" เป็นความคิดที่อันตรายและเขลาอย่างยิ่ง การต่อสู้ทางการเมืองไม่เกมส์ที่ "ผู้ชนะ" ได้ถ้วย หรือเงินไป การรณรงค์ที่ไม่สำเร็จในแง่ข้อเสนอ จึงสามารถถือได้ว่า เป็นการรณรงค์ที่มีคุณค่าได้ ("ชนะ" ในความหมายอีกแบบหนึ่ง) "ไม่เลิก จนกว่าจะชนะ" ? "ไม่เลิก" แม้แต่ว่า หากเกิดสถานการณ์ที่จะเป็นอันตรายต่อผู้ร่วมชุมนุม ต่อประชาชนวงกว้าง และต่อประชาธิปไตย? "ไม่เลิก" แม้ว่า จะนำไปสู่สถานการณ์ให้กลุ่มอำนาจอื่นฉวยโอกาสเอาประโยชน์? คนที่ประกาศเช่นนี้แต่ต้น และยึดถือความคิดนี้เป็นตัวชี้นำ นอกจากอันตราย ขาดความรับผิดชอบแล้ว ยังเป็นการแสดงความเขลาในแง่นักยุทธวิธีทางการเมืองด้วย คำขวัญนี้ โดยเฉพาะในการตีความของกลุ่มสนธิ-จำลอง เป็นการคิดที่อันตราย ที่นำไปสู่ความคิด "ชัยชนะไม่ว่าด้วยราคาอะไร" (victory at any price) ผมเชื่อว่า คนเหล่านี้ พร้อมจะทำสิ่งที่เป็นผลร้ายต่อผู้ร่วมชุมนุม ต่อประชาธิปไตย เพียงเพื่อให้ข้อเรียกร้องของตนเป็นจริง (เหตุผลประการที่สอง ที่กำลังจะกล่าวถึงข้างล่าง ก็เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ในการชุมนุมวันที่ 4 ที่สนธิเรียกร้องให้ทหารออกมาจัดการกับทักษิณ ก็เช่นกัน คือ ขอให้ "ชนะ" วิธีการอย่างไรก็ได้ ไม่เช่นนั้น "ไม่เลิก") (หลังเหตุการณ์ พฤษภา 35 เมื่อมีเสียงวิจารณ์เกี่ยวกับการตัดสินใจของกลุ่มจำลองที่นำขบวนเคลื่อนออกไปจากสนามหลวงในคืนวันที่ 16 โดยไม่ฟังเสียงคัดค้านจากนักศึกษาปัญญาชนที่ร่วมนำขบวนขณะนั้น หลังเหตุการณ์ได้มีผู้จัดสัมนาวงเล็กๆครั้งหนึ่ง (ปาจารยสาร เป็นเจ้าภาพ) โดยมี ชัยวัฒน์ สินสุวงศ์ และ ครูประทีป อึ้งทรงธรรม เข้าร่วมด้วย ทั้ง 2 คนนี้ เป็นผู้สนับสนุนการเคลื่อนขบวนของจำลองอย่างเต็มที่ เมื่อถูกตั้งคำถามเชิงวิจารณ์มากๆ ครูประทีปได้ พูดประโยคหนึ่ง ซึ่งผมยังจำได้ดี ทำนองนี้ "ดิฉันเป็นคนเกิดในสลัม โตในสลัม ประสบการณ์ชีวิตของดิฉัน ทำให้ดิฉันเป็นคนที่ ถ้าไม่สำเร็จแล้วไม่ทำ ถ้าทำต้องทำให้สำเร็จให้ได้" แม้จะเป็นการแสดงอารมณ์ความรู้สึกที่น่านับถือในแง่การดำเนินชีวิต แต่ในแง่การเมือง ผมเห็นว่า เป็นวิธีคิดที่น่ากลัว) ประการที่สอง ใน "แถลงการณ์ฯฉบับที่ 2" กลุ่ม "พันธมิตร" ได้เรียกร้องให้มีการตั้งนายกฯพระราชทานอย่างเปิดเผย (แม้จะยังไม่กล้าใช้คำนี้ตรงๆ) นี่เป็นสิ่งที่ผิดอย่างมาก มากพอจะให้ถอนตัวออกมา ก่อนการเข้าร่วมกับกลุ่มสนธิ ตัวแทน สนนท. และ ครป. จะได้ประกาศว่า ไม่เห็นด้วยกับการเรียกร้องให้ "คืนพระราชอำนาจ" แต่ข้อเสนอที่ให้ตั้งนายกฯพระราชทานนี้ ในทางเป็นจริง ก็คือการ "คืนพระราชอำนาจ" นั่นเอง คำว่า "นิติประเพณี" ที่ใช้ใน "แถลงการณ์ฯฉบับที่ 2" นั้น เป็น "คำแฝง" ที่กลุ่มสนธิ ใช้มานาน หมายถึง "พระราชอำนาจ" นั่นเอง (ดูหนังสือของประมวล รุจนเสรี) นี่เป็นข้อเรียกร้องที่ผิด และยังเป็นการ "ผิดคำพูด" ที่ สนนท. เคยประกาศไว้เองด้วย มายาเรื่อง "นายกฯพระราชทาน" ผมไม่มีเวลา และคงไม่ใช่โอกาส ที่จะอธิบายประวัติศาสตร์การเมืองยุคใกล้อย่างละเอียด แต่อยากจะยืนยันว่า การตั้ง "นายกฯพระราชทาน" โดยหวังว่า จะให้เป็นผู้ "ปราศจากการครอบงำ แทรกแซง จากอิทธิพลของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด" ฯลฯ เป็นมายา (illusion) ผมเพียงขอพูดอย่างสั้นๆในที่นี้ว่า "นายกฯพระราชทาน" ในประวัติศาสตร์หาได้เป็นอย่างที่ภาพมายาวาดไว้แต่อย่างใด เช่น สัญญา ธรรมศักดิ์ ไม่ได้ประสบความสำเร็จในการสร้างประชาธิปไตย และช่วยเหลือประชาชน (ตัวอย่างเดียว : ขบวนการชาวนาสมัยใหม่ ที่เริ่มต้นด้วยการตั้ง สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศ ก็เก็ดขึ้นเพราะความผิดหวัง ในนโยบายของ "นายกฯพระราชทาน" คนนี้เอง) และ ผมคงไม่จำเป็นต้องเตือนว่า "นายกฯพระราชทาน" อย่าง ธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้แสดง "ความสามารถ" ในการบริหารงานอย่างไร? หรือ มีนโยบายอย่างไรต่อประชาธิปไตย (การจับเหวี่ยงแหผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็น "ภัยสังคม" ทั่วประเทศ ไม่ต้องพูดถึงมาตรการเผด็จอำนาจแบบสุดขั้วอื่นๆ) หรือแม้แต่กรณีเปรม หรือกรณีอานันท์ ปัญยารชุนเอง เมื่อเป็นนายกฯ ที่ปัจจุบันมีการพยายามจะโฆษณาให้เชื่อว่า เป็นตัวอย่างของนายกฯพระราชทานที่ดี ซึ่งล้วนเป็นการสร้างมายา ทั้งสิ้น ที่สำคัญ ความคิดนี้ ขัดแย้งอย่างลึกซึ้ง ต่อประชาธิปไตย ต่อเจนารมณ์ 2475, 14 ตุลา 6 ตุลา ซึ่งขบวนการนักศึกษาเป็นผู้รับมรดกสืบทอด ประการสุดท้าย ในกลุ่มผู้ตัดสินใจสูงสุดของการชุมนุมวันที่ 26 (และหลังจากนั้น?) ทำไมไม่มีตัวแทน สนนท.เลย? มองในแง่การมี "ฐานที่แท้จริง" (เป็นตัวแทนของคนอื่นมากกว่าตัวเอง) แม้จะรู้กันว่า สนนท.จะไม่ใช่องค์กรมวลชนจริงๆ แต่อย่างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับคนอย่าง สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ หรือสมศักดิ์ โกศัยสุข หรือ พิภพ ธงไชย ไม่สามารถพูดได้หรือว่า สนนท. ยังมี "ฐาน" ที่เป็นจริง หรือ "ความชอบธรรมในฐานะการเป็นตัวแทน" มากกว่าคนเหล่านั้น? (ไม่น้อยกว่าแน่นอน) เหตุที่ไม่มี ตัวแทน สนนท. เพราะอะไร? ระบบอาวุโส? ในความเป็นจริง "แถลงการณ์ฯฉบับที่ 2" ได้แสดงให้เห็นว่า "พันธมิตรประชาธิปไตย" ได้เป็นเพียง "ฉากบังหน้า" ให้กับกลุ่มสนธิ-จำลอง เท่านั้น การเข้าร่วมของ สนนท. เพียงแต่ "สร้างภาพ" ให้กับการเคลื่อนไหวของ สนธิ-จำลอง ซึ่งมีวาระ, เนื้อหา, และจุดมุ่งหมาย ที่แอนตี้ประชาธิปไตยอย่างลึกซึ้งเท่านั้น ได้โปรดถอนตัวออกจาก "พันธมิตรประชาธิปไตย" แต่บัดนี้ หากต้องการเคลื่อนไหวคัดค้านทักษิณ สร้างขบวนการของตัวเอง หรือหากจะร่วมมือ ก็ร่วมมือกับผู้อื่นที่มีความเชื่อมั่นในหลักการประชาธิปไตย ที่มีความห่วงใยและ เคารพต่อประชาชนอย่างแท้จริง
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/31931
2010-11-17 09:20
ขายตัวเป็นโสเภณี..แล้วไง?
จากกรณีคลิปหลุดศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวพันกับพฤติกรรมอันไม่ชอบมาพากลของผู้ที่อยู่ใน คลิป จนเป็นเหตุให้เกิดผลกระทบตามมาอย่างมากมายเหลือคณานัปการ ไม่ว่าจะเป็นภาพลักษณ์ของ ตัวตุลาการเอง ไม่ว่าจะเป็นสถาบันศาลซึ่งไม่จำเพาะว่าเป็นศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น ศาลอื่นๆก็พลอยถูกหางเลขไปด้วย แต่ที่หลายคนมองข้ามไปก็คือสถาบันอันเก่าแก่ที่อยู่คู่กับโลกมาหลายพันปีก็ พลอยถูกกระทบไปด้วย เพราะมีการพาดพิงว่า “ตุลาการทั้ง 9 คน ไม่มีใครขายตัวเป็นโสเภณี” ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า “โสเภณีขายตัวแล้ว ยังไงเหรอ” “ตุลาการต้องดี โสเภณีต้องเลว อย่างนั้นหรือ” “โสเภณีขายตัว กับคนที่ขายวิญญาณ ใครเลวกว่ากัน” ฯลฯ โสเภณีนั้นมีกำเนิดมาจากพิธีการทางศาสนาที่ปฏิบัติกันอยู่ในแถบเอเชียตะวัน ตกเป็นส่วนใหญ่ คือหญิงสาวจะต้องทำพิธีสละพรหมจารีของตนเพื่อบูชาเทวีผู้ซึ่งมีชื่อเรียกขาน แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ของอินเดียได้แก่พิธีบูชาพระแม่กาลีซึ่งบางทีก็เรียก "ทุรคาบูชา" (Durgapuja) พิธีเช่นว่านี้สืบเนื่องมาจากความเชื่อที่ว่าผู้หญิงมีความรู้สึกฝังใจอยู่ กับชายคนแรกที่เธอร่วมประเวณีด้วย การสละพรหมจารีดังกล่าวจึงกระทำเพื่อบูชาเทวีเบื้องบนเสีย และชายผู้ร่วมประเวณีด้วยนั้นก็มักจะเป็นแขกแปลกหน้าที่หญิงนั้นไม่รู้จัก โดยถือกันว่าชายแปลกถิ่นเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งจะนำโชคลาภมาสู่ตน  การสละพรหมจารีด้วยการร่วมประเวณีกับชายแปลกหน้านั้นบางแห่งก็มีสิ่งตอบแทน หญิงชาว บาบิโลนโบราณพากันมานั่งคอยชายแปลกหน้าในวิหารเจ้าแม่อิชตาร์ (Ishtar) เพื่อเข้าสู่พิธี สละพรหมจารีกับชายแปลกหน้า ถ้าชายพึงใจในหญิงคนใดก็จะโยนเหรียญมาที่ตักของเธอ หญิงที่ได้รับเหรียญจะต้องลุกตามเขาไปทันทีเพื่อประกอบพิธี โดยไม่ว่าเงินที่ชายโยนให้นั้นจะมากน้อยเพียงใด เมื่อได้พลีพรหมจารีแล้วก็เป็นอันหมดหน้าที่ หญิงนั้นจะได้กลับไปบ้านเมืองและครองชีวิตอย่างมีเกียรติ พร้อมกับตั้งหน้าคอยโชคลาภต่อไป หญิงที่รูปไม่งามอาจต้องนั่งรอชายแปลกหน้าเป็นเวลาหลายปี   บางท้องถิ่นก็มีพิธีกรรมทางโสเภณีเพื่อการศาสนา เช่น นักบวชหญิงร่วมกันจัดพิธีกรรมต่าง ๆ ทางโสเภณีซึ่งถือว่าเป็นการพลีกายเพื่อศาสนา เงินที่ได้จากพิธีกรรมทางเพศดังกล่าวจะส่งเข้าบำรุงศาสนา บางแห่งหญิงสาวต้องไปวัดเพื่อขอให้นักบวชชายเบิกพรหมจารีให้ โดยถือว่านักบวชเป็นตัวแทนของพระเจ้า บางแห่งหญิงสาวอุทิศตนเป็นนางบำเรอประจำวัด เพื่อร้องรำทำเพลงบำเรอพวกนักบวชและพวกที่มาสักการะเทพเจ้าในสำนักตน ทั้งหมดนี้เป็นจุดกำเนิดของหญิงโสเภณีในปัจจุบัน แต่โสเภณีทางศาสนาดังกล่าวมาแล้วจะกระทำในคลองจารีตประเพณีของศาสนา ไม่อื้ออึงหรืออุจาดนัก   ต่อมาเกิดมีธรรมเนียมใหม่ คือ หญิงสาวหันมาเป็นโสเภณีเพื่อสะสมทุนทรัพย์สำหรับสมรส ชายที่สมสู่ไม่ต้องวางเงินบนแท่นบูชาแต่ให้ใส่ลงในเสื้อของหญิง ภายหลังหาเงินได้สองสามปีก็จะกลับบ้านเพื่อแต่งงาน และถือกันว่าหญิงที่ได้ผ่านการเป็นโสเภณีมาแล้วเป็นแบบอย่างของเมียและแม่ ที่ดี การปฏิบัติของหญิงโสเภณีประเภทหลังนี้ บางคนก็กระทำไปโดยมิได้เกี่ยวข้องกับพิธีทางศาสนาเลย มีตัวอย่างเช่นหญิงที่รับตำแหน่ง "มิดะ" ในชาวเขาเผ่าอาข่าหรืออีก้อทางภาคเหนือของประเทศไทย ต่อมามีการฝักใฝ่ในลัทธิวัตถุนิยมเพิ่มมากขึ้น โสเภณีทางศาสนาค่อยๆเลือนหายไป โดยมีโสเภณีทางโลกเข้ามาแทนที่ โรงหญิงโสเภณีโรงแรกจึงถือกำเนิดขึ้นที่กรุงเอเธนส์ โดยเป็นโรงหญิงโสเภณีสาธารณะ เก็บเงินรายได้บำรุงการกุศล ผู้จัดตั้งชื่อ "โซลอน" (Solon) เป็นนักกฎหมายและนักปฏิรูป วัตถุประสงค์ในการตั้งโรงหญิงโสเภณีดังกล่าวมีสองประการ คือ   1) เพื่อคุ้มครองอารักขาความบริสุทธิ์ให้แก่ครอบครัวของประชาชน มิให้มีการซ่องเสพชนิดลักลอบและมีชู้ และ      2) เพื่อหารายได้บำรุงการกุศลต่าง ๆ จากนั้นโสเภณีก็ได้ขยายตัวเรื่อยมาจนกระทั่งเป็นอยู่อย่างปัจจุบัน   ผลดีและผลเสียของการมีโสเภณี ผลดี โสเภณีได้ชื่อว่าเป็นผู้ผดุงศีลธรรมและมนุษยธรรมของสังคม กล่าวคือ หญิงพวกนี้เป็น ผู้รับการระบายความต้องการทางเพศของผู้ชายทั้งหลาย เป็นการป้องกันหรืออย่างน้อยก็ลดจำนวนคดีเกี่ยวกับเพศ เช่น การฉุดคร่าอนาจาร ข่มขืน กระทำชำเรา อีกทั้งเป็นการช่วยผดุงความบริสุทธิ์ให้แก่ครอบครัวประชาชนมิให้มีการลักลอบ ซ่องเสพด้วยการทำชู้ จึงมีผู้เปรียบโสเภณีว่าเป็นป้อมปราการสำหรับป้องกันเกียรติศักดิ์ของครอบ ครัวอื่น ๆ มิให้มัวหมอง และสดุดีพวกเธอว่าเป็น ผู้เสียสละอุทิศร่างกายและชื่อเสียงเพื่อสาธารณประโยชน์ ออกัสติน นักบุญแห่งคริสต์ศาสนาผู้หนึ่ง กล่าวว่า ถ้าถอนหญิงโสเภณีไปจากสังคมเมื่อใด ก็เท่ากับหว่านพืชแห่งตัณหาให้เต็มไปหมดทั้งโลก สรุปว่า หญิงโสเภณีเปรียบเสมือนท่อระบายน้ำโสโครกหรือผู้เก็บกวาดสิ่งปฏิกูล ทำให้สังคมสะอาดน่าอยู่เสมอ   นอกจากนั้น หญิงโสเภณียังเป็นเครื่องกลั่นกรองการแต่งงานของคู่สมรสได้อีกด้วย กลั่นกรองในแง่ที่ว่า ผู้ชายมีทางระบายความต้องการทางเพศของตนกับหญิงโสเภณี เป็นการช่วยให้เขาชะลอการแต่งงานไปได้ในเมื่อฐานะของเขายังไม่พร้อมที่จะสมรส การสมรสจึงเป็นไปด้วยความรอบคอบ ความพร้อม และความเหมาะสม ทำให้ชีวิตครอบครัวราบรื่นมั่นคง ไม่ใช่สมรสเพราะตัณหา ซึ่งอาจทำให้ชีวิตสมรสล่มสลายในภายหลังได้ง่าย   อนึ่ง ยังช่วยผ่อนคลายความต้องการของชายที่สมรสแล้ว แต่คู่สมรสมีรสนิยมทางเพศไม่ตรงกัน เป็นการรักษาชีวิตสมรสของสามีภริยาคู่นั้นให้ดำรงราบรื่นอยู่ได้   ผลเสียก็มีอยู่เป็นอันมาก เช่น ทำให้มีสถานค้าประเวณีคอยรับซื้อเด็กหญิงมาบังคับเป็นโสเภณี ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังและดาษดื่นอยู่เวลานี้ ทำให้มีคดีฉุดคร่าล่อลวงหญิงมาขายตามสถานดังกล่าว และทำให้มีบุคคลประเภทแมงดาเป็นกาฝากของสังคมเกิดขึ้น   จากที่กล่าวมา นี้จะเห็นได้ว่าการมีโสเภณีนั้นมีทั้งผลดีและผลเสีย ซึ่งโดยส่วนตัวของผมนั้นเห็นว่าน่าจะมีผลดีมากกว่าผลเสียอย่างแน่นอน เพราะไม่เช่นนั้นคงไม่ดำรงคงอยู่คู่โลกมาจนถึงปัจจุบัน และบางประเทศถือเป็นอาชีพที่ถูกกฎหมายด้วยซ้ำไป และในบางประเทศที่โสเภณีเป็นอาชีพที่ผิดกฎหมายก็ยังไม่มีประเทศใดสามารถ กำจัดโสเภณีออกไปจากสังคมได้ร้อยเปอร์เซ็นต์   ฉะนั้นการที่มีการพาดพิงถึงโสเภณีในลักษณะของการขายตัวว่าเป็นสิ่งที่ชั่วช้าเลวทรามผู้ที่มีคุณธรรมสูงส่งไม่มีทางกระทำนั้น จึงเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ยุติธรรมต่ออาชีพโสเภณี เพราะถึงแม้ว่าจะประกอบอาชีพโสเภณีเป็นก็ไม่ได้ไปเบียดเบียนสร้างความเสีย หายให้แก่ผู้อื่น หลายคนเจริญเติบโตมีตำแหน่งหน้าที่การงานมั่นคงก็ล้วนแล้วแต่ใช้จ่ายจากเงิน ที่ได้มาจากการประกอบอาชีพโสเภณี ซึ่งมีอยู่ในหลายรูปแบบ ทั้งทางตรงและในรูปแบบที่แอบแฝง   หลายคนที่ประณามหยามเหยียดอาชีพ โสเภณีว่าเลวทรามต่ำช้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุรุษเพศทั้งหลาย ซึ่งผมเชื่อว่าน้อยคนนักจะไม่เคยใช้บริการจากอาชีพนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนวัยรุ่นสมัยก่อนก็อาจจะเริ่มในสมัยเป็นนิสิตนักศึกษา สมัยนี้ก็อาจจะเริ่มตั้งชั้นมัธยมเสียด้วยซ้ำ   การที่โสเภณีขายตัวนั้นย่อมเป็นปกติวิสัยของผู้คนที่ขายเรือนร่างตนเอง  แต่คนที่ไม่ได้ขายเรือนร่างตัวเองแต่ขายจิตวิญญาณ คนไหนควรถูกประณามมากกว่ากัน   คนที่ทำคลิปกับคนที่กระทำผิดหรือทำความเสื่อมเสียที่ปรากฎหรือถูกพาดพิงในคลิปคนไหนควรจะถูกประณามมากกว่ากัน ฉะนั้น ตราบใดที่เรายังเป็นมนุษย์เดินดิน และยังหนีไม่พ้นกินกามเกียรติอยู่ ไม่มีใครดีหรือเลวกว่าใครหรอกครับ และไอ้ที่ว่าดีดีนั้นดีจริงหรือเปล่า พร้อมที่จะถูกตรวจสอบหรือถูกจับกุมเมื่อกระทำความผิดดังเช่นอาชีพโสเภณีหรือเปล่าครับ   -------------------------     หมายเหตุ :เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
1pos
1pos
0neg
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/70871
2017-04-02 19:39
"วิสามัญฯ 2 ศพที่รือเสาะ" นักวิชาการ-เอ็นจีโอเรียกร้องตั้งกรรมการสอบ-คุ้มครองพยานเด็ก
คนทำสื่อห่วงหากพบทหารทำผิดอาจส่งผลต่อการพูดคุยสันติภาพ, แกนนำพูโล ประณามเจ้าหน้าที่ จี้คณะพูดคุยสันติภาพสอบสวนผู้กระทำผิด ด้านนักสิทธิเสนอญาติฟ้องกระบวนการยุติธรรม พยานต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย นักวิชาการย้ำรัฐต้องยกเลิกวัฒนธรรมลอยนวล จากเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ทหารพรานสังกัดกรมทหารพรานที่ 46 วิสามัญฆาตกรรมชาวบ้านในพื้นที่เขตรอยต่อระหว่างบ้านไอร์จือนะห์ หมู่ 5 กับบ้านธรรมเจริญ หมู่ 6 ต.โคกสะตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 29 มี.ค.2560 เวลา 13.30 น. ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุทันที 2 ราย จากการรายงานข่าวก่อนหน้านี้พ.ต.อ.เรืองศักดิ์ บัวแดง ผู้กำกับการ สภ.รือเสาะ เปิดเผยว่า ก่อนเกิดเหตุชุดปฏิบัติการข่าวทหารและเจ้าหน้าที่ทหารพราน สังกัดกรมทหารพรานที่ 46 ได้สืบสวนและติดตามสะกดรอยนายอิสมาแอ หามะ และนายอาเซ็ง อูเซ็ง ซึ่งตกเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีกราดยิงนายสมชาย ทองจันทร์ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านธรรมเจริญ ม.6 ต.โคกสะตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส และครอบครัว เมื่อวันที่ 2 มี.ค.2560 (อ่านต่อ [1]) ทั้งสองเดินทางมาจากจังหวัดยะลา เมื่อถึงจุดเกิดเหตุได้จอดรถแสดงตัวเพื่อขอตรวจค้น แต่นายอาเซ็งคนขับได้พยายามเร่งเครื่องหลบหนี ส่วนนายอิสมาแอได้ใช้อาวุธปืนยิงใส่กลุ่มเจ้าหน้าที่ จนต้องใช้อาวุธปืนยิงตอบโต้ทำให้ทั้งสองถูกกระสุนปืนเสียชีวิตทันที หลังเกิดเหตุการณ์นี้ มีการร้องเรียนจากชาวบ้านในพื้นที่โดยให้ข้อมูลไม่ตรงกับที่เจ้าหน้าที่รัฐชี้แจง สำนักสื่อวาร์ตานี สื่อทางเลือกในพื้นที่ได้ลงไปพบปะญาติพร้อมสัมภาษณ์น้องสาวผู้เสียชีวิตที่อ้างว่าเธออยู่ในเหตุการณ์ด้วย และเผยแพร่คำให้สัมภาษณ์ในวันรุ่งขึ้น (30 มี.ค.2560) (อ่านต่อ [2]) ว่า เธออายุ 15 ปี อยู่ในรถคันดังกล่าวด้วยและยืนยันว่าทั้งสองไม่มีอาวุธ  คำให้สัมภาษณ์นี้ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในพื้นที่อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดีย มีการตั้งคำถามว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร? ทำไมข้อมูลทหารกับข้อมูลของชาวบ้านถึงต่างกันโดยสิ้นเชิง? เป็นการจัดฉากเหมือนที่ผ่านมาหรือเปล่า? ถ้ามีการยิงปะทะกัน ทำไมรถของผู้เสียชีวิตถึงไม่มีรูกระสุนแต่อย่างใด? แล้วทำไมน้องสาวของผู้เสียชีวิตที่อยู่ในเหตุการณ์ในครั้งนี้ไม่ได้รับอันตรายใดๆ? รัฐต้องยกเลิวัฒนธรรมลอยนวล เพื่อเอาชนะสงครามความชอบธรรม อาทิตย์ ทองอินทร์ หัวหน้าภาควิชาสังคมศาสตร์ ม.ลัยรังสิต กล่าวว่า ตามทฤษฎี ผู้ที่สามารถช่วยหนุนเสริมความเข้มแข็งให้กับงานช่วยเหลือผู้สูญเสียได้ คือ องค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ หรือ International Non-Governmental Organizations (iNGO) นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน และสื่อสารมวลชน ที่เป็นเสมือนด่านที่สองที่จะช่วยตรวจสอบและสอบทานการกระทำของรัฐให้โปร่งใส ชอบธรรม เสมือนอำนาจที่ถ่วงดุล แต่หนุนเสริมเป้าหมายเดียวกันคือ สันติภาพ แต่ความเป็นจริงเป็นอย่างที่เราเห็น ใครพูดต่าง นำเสนอต่าง รัฐก็ผลักและเบียดพวกเขาไปเป็นฝ่ายตรงข้ามหมด เพราะหลังพิงกับแนวคิดชาตินิยมที่ไร้สติของสังคมใหญ่ซึ่งมักจะมักจะเข้าข้าง "พวกเดียวกัน" ก่อน และมีอคติกับ "พวกที่เป็นอื่น" ไปจากอัตลักษณ์ชาติที่ศูนย์กลางอำนาจเสมอ การทำงานของรัฐในพื้นที่ความรุนแรงจึงน่าสงสาร เพราะเมื่อพวกเขาปฏิเสธที่จะจับมือ ก็คงต้องสู้อย่างเดียวดาย อาทิตย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทหารต้องเลิกวัฒนธรรมปกป้องพวกเดียวกันก่อน เช่น หลังเกิดเหตุแล้วข้อเท็จจริงยังไม่ชัดเจนก็อย่าพึ่งออกมาปกป้องพวกเดียวกันก่อน แต่ควรเปิดพื้นที่ของข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ออกมาก่อน และสามารถถกเถียงกันตามความเป็นจริงได้ ปัญหาใหญ่ของรัฐต่องานปาตานี (จังหวัดชายแดนใต้) ไม่ใช่การกุมสภาพพื้นที่ แต่เป็นปัญหาและปัญหาความชอบธรรมนี้มันพันอยู่กับความหวาดระแวงของผู้คนต่อสิ่งที่กังขาว่าเป็น "วัฒนธรรมลอยนวล" (impunity) ของฝ่ายเจ้าหน้าที่ ถ้าไม่แก้ข้อนี้ โดยทำงานร่วมกันกับผู้มีข้อมูลและเหตุผลแตกต่างกันแล้ว ก็ยากจะชนะในสงครามความชอบธรรม เสนอญาติฟ้องตามกระบวนการยุติธรรม  อัญชนา หีมมิหน๊ะ หัวหน้ากลุ่มด้วยใจ กล่าวว่า ทุกคนต้องสามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริง ต้องตั้งกรรมการตรวจสอบที่มีความเป็นอิสระและมีการเยียวยาที่เหมาะสม อย่างน้อยต้องทำให้คนเสียชีวิตได้มีการตรวจสอบอย่างเป็นธรรมว่าเป็นผู้บริสุทธิ์หรือไม่ เหตุการณ์ในรูปแบบนี้เกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง โดยเฉพาะกระบวนการยุติธรรมการไต่สวนการตายหลายๆ กรณีไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่ ไม่เป็นไปตามกฎการปะทะและไม่สามารถนำไปสู่การดำเนินคดีอาญาต่อเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการได้ ประสบการณ์จากเหตุการณ์ เจ้าหน้าที่วิสามัญฆาตกรรมชาวบ้านและนักศึกษา ม.ฟาฏอนี ที่บ้านโต๊ะชูด ต.พิเทน อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2558 คือ การที่สังคมในพื้นที่ช่วยกันทำให้สังคมใหญ่กดดัน จนเจ้าหน้าที่ออกมายอมรับในสิ่งที่เขากระทำ และต้องชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่เจ้าหน้าที่กระทำ คือ สิ่งที่ผิดทั้งกฎหมายอาญาและกฎหมายพิเศษ อัญชนา กล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งที่ญาติผู้เสียชีวิตต้องทำคือ การดำเนินการฟ้องร้องตามกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้สังคมเห็นว่าคนที่ตายเป็นผู้บริสุทธิ์ และเจ้าหน้าที่ทำไม่ถูกต้อง อีกทั้งเรื่องนี้ควรมีผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบข้อเท็จจริง เช่น สหประชาชาติ เป็นต้น ย้ำเร่งพิสูจน์ความจริง หากพบทหารทำผิดเชื่อส่งผลการพูดคุยสันติภาพ ต่วนอามีน ดาโอ๊ะมารียอ ผู้ประกาศข่าวจากสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมแห่งหนึ่งกล่าวว่า ส่วนตัวยังไม่ปักใจเชื่อข้อมูลของของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะเชื่อในกระบวนการยุติธรรมเป็นหลัก แต่เหตุการณ์นี้ทางครอบครัวไม่เชื่อว่าผู้เสียชีวิตมีอาวุธในครอบครองจริงและเชื่อว่าเป็นการกล่าวหาใส่ร้ายของเจ้าหน้าที่ เหมือนกรณีเหตุการณ์ทุ่งยางแดง ฉะนั้นฝ่ายรัฐเองต้องรีบดำเนินการพิสูจน์ความจริงและความจริงใจต่อสังคมโดยรัฐต้องตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง และเชิญทุกฝ่ายมามีส่วนร่วมด้วย หากพิสูจน์ว่าคนของหน่วยงานความมั่นคงกระทำผิดเสียเอง ก็ต้องนำผู้กระทำผิดมารับโทษตามกระบวนการยุติธรรมด้วย มิเช่นนั้นจะมีศาลทหารไว้เพื่ออะไร อย่างไรก็ตาม ความผิดพลาดในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ และเมื่อกระทำผิดแล้วก็ต้องให้เป็นตามกระบวนการยุติธรรมเฉกเช่นประชาชนทั่วไป เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ที่ยืดเยื้อมาเนิ่นนาน หากรัฐไม่สามารถพิสูจน์ความจริงได้ มันก็จะกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญที่กระทบต่อการพูดคุยสันติสุขอย่างแน่นอน เพราะการพูดคุยคือความหวังเดียวของการยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้น ทั้งนี้สื่อมวลชนและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนควรติดตามความคืบหน้าต่อไปอย่างใกล้ชิด จนกว่าความยุติธรรมจะปรากฏกับทั้งสองฝ่าย แกนนำพูโลประณามเจ้าหน้าที่ ร้องคณะพูดคุยสันติภาพ สอบสวนผู้กระทำผิด กัสตูรี มะโกตา แกนนำองค์กรปลดปล่อยสหปาตานี หรือ กลุ่ม PULO ออกมาประณามการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐในเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุว่าจากการรายงานพวกเขาทั้งสองเป็นสามัญชนทั่วไป ต้องตกเป็นเหยื่อของความโหดเหี้ยมของเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลผู้กดขี่ เราขอประณามอย่างรุนแรงที่สุดจากการกระทำที่โหดเหี้ยมนี้ และขอเรียกร้องเพื่อให้เจ้าหน้าที่คณะพูดคุยสันติภาพเข้ามาสอบสวนอย่างโปร่งใสและยุติธรรม เพื่อนำผู้กระทำผิดเข้าสู้กระบวนการยุติธรรมโดยเร็วที่สุดตามสมควร (อ่านต่อ [3]) องค์กรสิทธิแถลงพยานต้องได้รับการคุ้มครอง ต้องมีกรรมการสอบข้อเท็จจริงที่อิสระ นอกจากนี้กลุ่มด้วยใจได้ออกแถลงการณ์กรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส โดยระบุว่า ทั้งเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 มี.ค.2560 และเหตุการณ์ที่เกิดเมื่อวันที่ 29 มี.ค.2560 ได้ส่งผลกระทบทางด้านจิตใจต่อสังคมโดยรวมเป็นอย่างมาก ในแถลงการณ์ระบุว่า ตามหลักการด้านสิทธิมนุษยชน เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่ต้องจับกุมและนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมายโดยกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ไม่อาจใช้อำนาจตามอำเภอใจลงโทษหรือประหารผู้ต้องสงสัยว่ากระทำผิดโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมของศาลได้ เพราะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่ แถลงการณ์กลุ่มด้วยใจเรียกร้องให้ 1.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการปกป้องคุ้มครองและและเยียวยาพยานผู้เห็นเหตุการณ์การเสียชีวิตของทั้งสองกรณี ซึ่งต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 การถามปากคำเด็กไว้ในฐานะเป็นผู้เสียหายหรือพยาน ให้แยกกระทำเป็นสัดส่วนในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำนั้นด้วย 2.เนื่องจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ที่มีหมายจับยังเป็นที่คลางแคลงใจในหมู่ประชาชนส่วนหนึ่ง จึงขอให้มีการคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยองค์กรอิสระ เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือการตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจที่มีความเป็นอิสระและมีความรู้ความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม สุดท้าย ขอให้การสืบสวนสอบสวนของพนักงานเจ้าหน้าที่ทำอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมสามารถดำเนินการไปได้โดยอิสระเพื่อความเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายและไม่มีการชี้นำจากฝ่ายใด   หมายเหตุ  มีการแก้ไขเนื้อหา เวลา 01.30 น. (3 เม.ย.)
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/55870
2014-10-07 14:43
นิธิ เอียวศรีวงศ์: เสียของ-เสียอะไร
ในท่ามกลางบริวารซึ่งต่างก็ยกย่องตนเองว่าเชี่ยวชาญเศรษฐศาสตร์นักหนาไม่น่าเชื่อเลยว่าหัวหน้าคณะคสช.จะออกมาเสนอทางแก้ปัญหาค่าครองชีพด้วยวิธีที่ไม่ต่างจากผู้ปกครองไทยเกือบทุกคนนับตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นต้นมา ประกอบด้วย 1.ขอความร่วมมือผู้ประกอบการให้เอากำไรน้อยลงเห็นแก่คนมีรายได้น้อยหากลดราคาสินค้าลงได้ก็ทำให้ขายได้ปริมาณสูงขึ้น ชดเชยกำไรที่ขาดหายไป 2.รัฐจะเข้าไปแทรกแซงราคา โดยเฉพาะราคาค่าขนส่ง ให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสม 3.แทรกแซงราคาอีกเหมือนกันนับตั้งแต่ผู้ผลิตต้นทาง ศึกษาต้นทุนให้ละเอียดเพื่อจะดูราคาขายส่ง ศึกษาค่าใช้จ่ายด้านบริการของผู้ค้าปลีกระดับต่างๆ ลงไป เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย ในระหว่างนี้จะยืดมาตรการตรึงราคาสินค้าอุปโภคบริโภคต่อไปก่อน 4.ลดค่าครองชีพด้วยการตั้งแหล่งจำหน่ายสินค้าราคาถูกเช่นร้านอาหาร"หนูณิชย์พาชิม" ศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรจากผู้ผลิตโดยตรง ในฐานะที่ทั้งผมและหัวหน้า คสช.มีอะไรเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือไม่เคยขายของอะไรให้ใครได้สักบาทเดียวตลอดชีวิต เลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างตลอดมา จึงคิดว่าท่านหัวหน้าก็น่าจะนึกเอะใจเหมือนผมว่า มาตรการทั้งหมดเหล่านี้ถูกใช้โดยรัฐบาลไทยมาตั้งแต่เป็นเด็ก หากประสบความสำเร็จ ก็ไม่น่าจะต้องทำซ้ำแล้วซ้ำอีกทุกครั้งที่มีเสียงบ่นเรื่องค่าครองชีพ ที่น่าประหลาดขึ้นไปอีกก็คือมาตรการทั้งหมดเหล่านี้ล้วนถูกนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งกระเหี้ยนกระหือรือในการล้มประชาธิปไตยต่างโจมตีว่าไม่ได้ผลซ้ำบางมาตรการยังเป็นผลร้ายต่อตลาดเสรี ซึ่งจะนำไปสู่ความจำเริญทางเศรษฐกิจด้วย อย่างที่ผมเคยพูดในที่อื่นมาแล้วว่า ผู้นำการเมืองไทย ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือรัฐประหาร ต่างก็คิดอะไรไม่พ้นจากหมู่บ้านเสียที ผู้ประกอบการที่ไหนหรือครับที่จะเอากำไรน้อยลงเพราะคำขอร้อง ไม่ใช่เพราะผู้ประกอบการย่อมเป็นคนหน้าเลือดเสมอนะครับ แต่ในโลกปัจจุบันซึ่งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ทั้งหลายย่อมนำกิจการของตนเข้าตลาดหลักทรัพย์หมดแล้ว ดังนั้นภาระหน้าที่หลักของเขาคือรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ไม่ใช่ผู้บริโภค หากเขาสามารถทำกำไรได้สูงขึ้น เขาย่อมทำอย่างแน่นอน เพื่อทำให้จ่ายเงินปันผลได้สูงขึ้น ซึ่งย่อมดันให้ราคาหุ้นสูงขึ้นตามไปด้วย แต่ในขณะเดียวกัน จะเอากำไรอย่างไม่บันยะบันยังไม่ได้ เพราะในตลาดที่มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม ราคาที่สูงเกินไปย่อมทำให้สินค้าขายไม่ได้เพราะคู่แข่งไม่ยอมขึ้นตาม คนขายของแพงจึงเสียสัดส่วนการตลาดไปอย่างรวดเร็ว เศรษฐศาสตร์กระแสหลักเชื่อว่า ตลาดที่เสรีและเป็นธรรมจะเป็นตัวกำหนดราคาที่เป็นธรรมเอง ส่วนคำแนะนำให้ขายของถูกเพื่อจะขายได้มากๆนั้นพ่อค้าทำมานานแล้วล่ะครับและต่างก็ประสบความสำเร็จในการขายได้มากๆ ทุกเจ้า แต่ก็สุดตัวอยู่แค่นั้น เช่น บะหมี่สำเร็จรูปนั้น ตัดโน่นตัดนี่รวมทั้งปริมาณออกไป จนไม่รู้จะตัดอะไรต่อไปอีกได้แล้ว จึงสามารถขายได้ในราคาที่ขายกันอยู่ทุกวันนี้ และเป็นอาหารคนจนที่บริโภคกันแพร่หลายมาก เพราะต้องยอมรับว่าถูกที่สุดเท่าที่จะนับได้ว่าเป็นอาหาร และที่พ่อค้าทำมานานก็เพราะมันเป็นหญ้าปากคอกที่มองเห็นได้ง่ายๆถึงมองไม่ออกทันทีก็ต้องมองออกเพราะการแข่งขันในตลาด การแทรกแซงราคานั้นเป็นบาปมหันต์ทางเศรษฐศาสตร์กระแสที่ล้อมรอบตัวท่านหัวหน้าคสช.ทีเดียวแต่การแทรกแซงตลาดเป็นเรื่องที่เถียงกันได้ท่านต้องชัดแก่ตนเองว่าจะแทรกแซงราคาหรือแทรกแซงตลาดกันแน่ รัฐบาลไทยใช้วิธีแทรกแซงราคาตลอดมาแต่ต้องเป็นพวกสินค้าอุปโภคบริโภคนะครับอย่าได้ไปแทรกแซงราคาข้าวอย่างจริงจังอย่างรัฐบาลก่อนเพราะบรรดานักเศรษฐศาสตร์ผู้รังเกียจประชาธิปไตยจะช่วยกับอันธพาลทุกกลุ่มในการล้มรัฐบาล สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เคยคุมแม้แต่ราคาโอเลี้ยง ราคาอาหารจานด่วน เช่น ข้าวแกงและก๋วยเตี๋ยว ก็ถูกรัฐบาลหลายชุดคุมราคามาแล้ว น้ำตาล, น้ำปลา, น้ำมันพืช, กระดาษชำระ ฯลฯ จิปาถะ กลายเป็นหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์หลายต่อหลายรัฐบาลต้องทำเป็นงานหลัก คือตรึงราคาไว้ และในที่สุดก็ต้องขึ้นราคาไปตามต้นทุนการผลิตซึ่งคุมไม่อยู่ และค่าครองชีพก็สูงขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อันที่จริงเงินเฟ้อ (ในระดับที่พอรับได้) กับการเติบโตของรายได้ประชาชาติ เป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน หากคนมีเงินซื้อมากขึ้น ก็ย่อมต้องแย่งกันซื้อเป็นธรรมดา แต่เงินเฟ้อประเภทนี้ไม่คงทน เพราะในไม่ช้า ผู้ผลิตย่อมเร่งผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อไม่ให้คนอื่นมาแย่งส่วนแบ่งตลาดของตน รู้กันในเมืองไทยมานานแล้วอย่างที่คุณคึกฤทธิ์ ปราโมช เคยกล่าวว่า วิธีเผชิญกับค่าครองชีพสูงที่ดีที่สุดคือ ทำให้รายได้ของ ประชาชนเพิ่มขึ้น แต่นี่กลับเป็นส่วนที่ท่านหัวหน้า คสช.ไม่ค่อยได้พูดถึงเลย มาตรการที่น่าจะได้ผลมากกว่าคือแทรกแซงตลาด รัฐบาลก่อน 2500 เคยแทรกแซงตลาดอย่างไม่สู้จะสุจริตนัก คือรัฐเข้ามาประกอบการเสียเอง เช่นตั้งรัฐวิสาหกิจขึ้นเป็นผู้ผลิตหรือรวบรวมสินค้า ในขณะที่บางรัฐวิสาหกิจผูกขาดหรือพยายามจะผูกขาดการขนส่งสินค้า และการขายปลีก หลัง 2490 ให้ตำรวจ, ทหาร และนักการเมืองซึ่งทำรัฐประหารเข้าไปคุมรัฐวิสาหกิจเหล่านี้ ผลคือขาดทุนยับเยินแทบจะทุกรัฐวิสาหกิจเลย เพราะต่างตั้งตัวเป็นเสือนอนกินมากกว่าผลิตจริง ขายสินค้าหรือบริการจริง แต่การแทรกแซงตลาดอีกชนิดหนึ่งซึ่งน่าจะช่วยลดค่าครองชีพได้ รัฐบาลไทยกลับไม่ทำ นั่นคือแทรกแซงให้ตลาดเสรีจริงและเป็นธรรมจริง แม้ว่าในปัจจุบันเรามีกฎหมายห้ามผูกขาดและการมีอำนาจเหนือตลาดแต่รัฐบาลทุกชุดไม่เคยบังคับใช้อย่างจริงจังการมีอำนาจเหนือตลาดและการผูกขาดในทางปฏิบัติเกิดขึ้นในการประกอบการของไทยโดยเฉพาะที่ใหญ่ๆ ตลอดมา นับตั้งแต่เรื่องเล็กๆ เช่น จ่ายส่วยให้เจ้าหน้าที่ หรือสังกัดในเครือข่ายของคนมีสี เพื่อเปิดสถานบันเทิงเกินเวลาได้ ทำให้คู่แข่งที่ปิดตามเวลาไม่สามารถแข่งขันได้ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆ เช่น ส่วยทางหลวงซึ่งทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้นโดยไม่จำเป็น รัฐวิสาหกิจผู้ผลิตสาธารณูปโภคไม่ยอมกระจายการผลิตให้เอกชนที่ไม่ได้อยู่ในเครือข่ายผลประโยชน์ของตนเอง ฉะนั้นสินบนและค่าใช้จ่ายในการสังกัดอยู่ในเครือข่ายของคนใหญ่คนโต (ไม่ใช่นักการเมืองอย่างเดียว แต่รวมข้าราชการประจำ ทั้งพลเรือนและทหาร ตลอดจนถึงกลุ่มคนมีอำนาจอื่นๆ ด้วย) จึงเป็นต้นทุนการผลิตก้อนใหญ่ ที่ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ฯลฯ แทนที่จะเข้าไปแทรกแซงราคา การทำให้ตลาดเสรีพอจะแข่งกันจริงและมีความเป็นธรรมย่อมช่วยลดค่าครองชีพได้อย่างเป็นผลกว่ากันมาก แต่แน่นอนว่าทำได้ไม่ง่าย เพราะจะขัดใจกับพรรคพวกของตนเอง หรือคนที่สนับสนุนการรัฐประหารจำนวนมากทีเดียว แต่หากทำได้สำเร็จ ก็จะมีผลมากกว่าลดค่าครองชีพด้วย เพราะจะบังคับให้ผู้ประกอบการไทยพยายามสร้างความสามารถในการแข่งขัน มากกว่าพยายามสร้างเส้นสาย เรื่องที่ต้องเชื่ออำนาจของตลาดก็ต้องเชื่อ แต่เรื่องที่ตลาดคุยโวว่าสามารถกำกับควบคุมตัวเองได้หมดนั้น อย่าไปเชื่อ ถึงอย่างไรรัฐก็ยังมีความจำเป็นในการควบคุมให้ตลาดมีความเสรีและเป็นธรรมอยู่นั่นเอง (ไม่ใช่เป็นธรรมระหว่างคู่แข่งทางธุรกิจอย่างเดียว ต้องรวมถึงความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค, ประชาชนทั่วไปและแรงงานด้วย) หาก คสช.คิดว่าตัวแตกต่างจากรัฐบาลไทยชุดอื่นๆ ที่ผ่านมา ต้องคิดถึงเรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องที่รัฐบาลหลายชุดที่ผ่านมาทำไปแล้วและล้มเหลวไปแล้วด้วย ส่วนการตั้งแหล่งขายสินค้าราคาถูกนั้นบอกได้เลยว่ารัฐไม่มีกำลังจะทำได้หรอกครับธงฟ้าไม่เคยลดค่าครองชีพได้จริงสักรัฐบาลเดียวเพราะปริมาณของสินค้าที่ผ่านธงฟ้านั้นน้อยเสียจนไม่เกิดผลอะไร จะเห็นได้ว่าไม่มีผู้ประกอบการรายใดลดราคาสินค้าที่ธงฟ้าขายสักรายเดียว คุณประโยชน์ของธงฟ้าอยู่ที่การเมืองครับ ไม่ใช่ค่าครองชีพ คือบอกให้ประชาชนรู้ผ่านทีวีว่า รัฐบาลได้พยายามลดค่าครองชีพแล้ว พอจะลดแรงกดดันของประชาชนลงได้บ้าง สิ่งที่ควรแปลกใจกลับไม่น่าแปลกใจนักก็คือ อำนาจที่มาจากการรัฐประหารไม่อาจทำให้รัฐบาลทำอะไรเพื่อลดค่าครองชีพได้มากไปกว่า หรือแตกต่างจากรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการรัฐประหารทำสักอย่างเดียว เอาเข้าจริงรัฐบาลจากการรัฐประหารไม่เคยแตกต่างจากรัฐบาลจากการเลือกตั้งสักรัฐบาลเดียว นอกจากบุคคลที่ดำรงตำแหน่งเท่านั้น ผมได้ยินเสมอว่า เพราะเป็นรัฐบาลจากคณะรัฐประหาร จึงสามารถทำอะไรดีๆ ได้มากกว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งย่อมเกรงจะเป็นปฏิปักษ์กับฐานเสียงของตนเอง จึงเลือกที่จะไม่ทำเสียเลยดีกว่า ในชีวิตที่ผ่านการรัฐประหารมา 11 ครั้งแล้วของผม ทำให้รู้แน่ว่านั่นเป็นความไร้เดียงสาเท่านั้น เพราะไปเข้าใจผิดว่ารัฐประหารเกิดขึ้นจากการตัดสินใจของกองทัพเพียงอย่างเดียว ไม่มีหรอกครับ กองทัพเพียงอย่างเดียวที่ปราศจากเครือข่ายที่สลับซับซ้อนนอกกองทัพอีกมากมาย จะสามารถยึดอำนาจบ้านเมืองได้ด้วยอาวุธล้วนๆ (และเครือข่ายอันสลับซับซ้อนนี้แหละครับที่เรียกว่า "ฐานเสียง") กองทัพก็เหมือนกับพรรคการเมืองนั่นแหละ จะต่างก็ตรงที่มีอาวุธเท่านั้น พรรคการเมืองไหนๆ ก็มีเครือข่ายนอกพรรคทั้งสิ้น ซ้ำเป็นเครือข่ายที่เกาะเข้าหากันเพื่อผลประโยชน์ด้วย ไม่ได้มีอุดมการณ์อะไรที่จะดึงคนเข้ามาร่วมด้วยได้ คิดหรือว่ากองทัพมีอุดมการณ์อะไรที่สามารถดึงคนเข้ามาร่วมได้ ด้วยความเชื่อว่าอุดมการณ์นั้นๆ จะเปลี่ยนสังคมและชีวิตของตัวเขาเองไปสู่หนทางที่งดงามและมีพลังได้ กองทัพหรือพรรคการเมือง เมื่อเข้าสู่อำนาจแล้วย่อมต้องดำเนินการเพื่อผลประโยชน์ของเครือข่ายของตนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยเหตุดังนั้นผมจึงไม่ได้มีความหวังอะไรกับรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารของกองทัพอย่างเดียวกับที่ไม่คาดหวังอะไรมากนักกับรัฐบาลของพรรคการเมืองสิ่งเดียวที่เป็นความหวังได้จริงจังกว่าคือการเคลื่อนไหวของประชาชน ในการผลักดันนโยบายสาธารณะด้วยรูปแบบต่างๆ แต่ภายใต้อำนาจรัฐประหาร การเคลื่อนไหวเหล่านั้นกลับถูกมองข้ามหรือปราบปรามอย่างรุนแรง เช่น การต่อต้านเหมืองทอง หากทำได้สำเร็จก็จะเป็นผลให้ต้องทบทวนการทำเหมืองกันใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายได้จริง แต่ประชาชนที่เคลื่อนไหวคัดค้านการทำเหมืองทองกลับเคลื่อนไหวไม่ได้ภายใต้รัฐบาลจากการรัฐประหาร ในที่สุดก็จะเกิดมาตรการแบบเดียวกับที่ทำกับค่าครองชีพออกมาและก็จะได้ผลเหมือนกันคือไม่ได้อะไรนอกจากเป็นสัญญาณว่ารัฐไม่ได้นิ่งดูดายกับผลกระทบของการทำเหมือง      เผยแพร่ครั้งแรกใน: มติชนรายวัน 6 ตุลาคม 2557ที่มา: มติชนออนไลน์ [1]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/63708
2016-01-26 22:24
พีมูฟ ระดมพลนั่งสมาธิ กดดันอนุฯก.พ.ร. สุดท้ายได้มติ ไร้อำนาจยุบธนาคารที่ดิน
อนุกรรมการ ก.พ.ร. ยอม เปิดทางให้สถาบันบริหารจัดการ ธนาคารที่ดินขอใช้งบ 167 ล้านบาทจาก ครม. พร้อมชงต่ออายุการทำงานของสถาบันฯ จนกว่าจะมีการจัดตั้งธนาคารที่ดิน หลังพีมูฟร่วมตัวกดดันกว่า 170 คน ภาพจากเฟซบุ๊กแฟนเพจ ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ New Democracy Movement - NDM [2] 26 ม.ค. 2559 เมื่อเวลา 09.00 ที่ สำนักงานพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-move) ราว 170 คน จากหลายหลากจังหวัด ได้เดินทางเข้ามาร่วมจับตาการประชุมพิจารณาว่า จะยุบเลิกการดำเนินงานของสถาบันบริหารจัดการ ธนาคารที่ดิน (องค์กรมหาชน) หรือ บจธ. ซึ่งจะหมดอายุในวันที่ 8 มิ.ย. 59 นี้หรือไม่ ภายใต้การพิจารณาของคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนา องค์การมหาชนและองค์กรรูปแบบอื่นในกำกับของราชการบริหารที่ไม่ใช่ส่วนราชการ (อ.ก.พ.ร.) ที่มี จักรมณฑ์ ผาสุกวานิช เป็นประธาน โดยพีมูฟได้ระดมตัวแทนสมาชิกจาก 31 จังหวัดพร้อมอัญเชิญแม่ธรณี (ดิน) จากทุกพื้นที่พร้อมด้วยแม่โพสพ มาทำพิธีบวงสรวงแสดงความคาระวะต่อผืนแผ่นดินที่หล่อเลี้ยงชีวิตเกษตรกร ได้อยู่อาศัยและทำกิน มีการแสดงละครพิพากษาชะตาชีวิตเกษตรกร และนั่งสมาธิท่ามกลางเปลวแดดที่ร้อนระอุ เพื่อส่งกระแสจิตไปยังห้องประชุม ก.พ.ร. เป็นเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ต่อมาในเวลา 12.00 น. สถิตพงษ์ สุดชูเกียรติ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน ได้ออกมาชี้แจงต่อกลุ่มพีมูฟ ที่รวมตัวกันเพื่อติดตามผลการประชุมว่า ที่ประชุมมีมติเกี่ยวกับสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน(บ.จ.ท.) 3 เรื่องดังนี้ 1.คณะอนุกรรมการของ ก.พ.ร. ชุดนี้ไม่มีอำนาจในการพิจารณายุบ บ.จ.ท.  เนื่องจากต้องรอการแต่งตั้งคณะกรรมการ ก.พ.ม. ซึ่งในขณะนี้กำลังอยู่ในการขั้นตอนการรอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ลงพระปรมาภิไธยให้คณะกรรมการชุดดังกล่าว 2.เรื่องงบประมาณ 167 ล้าน ของสถาบันฯ ซึ่งเป็นงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้ง บ.จ.ท. แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ ให้สถาบันฯธนาคารที่ดิน ดำเนินการส่งเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติการใช้งบประมาณดังกล่าว โดยทางคณะอนุกรรมการฯนี้จะไม่ขัดขวาง 3.การต่ออายุของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดินที่จะมีอายุถึงวันที่ 8 มิ.ย. 2559 บ.จ.ท. จะต้องทำเรื่องไปยัง ค.ร.ม. เพื่อแก้ไขพระราชกำหนดให้ต่ออายุสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดินจนกว่าจะมี การจัดตั้งธนาคารที่ดินแล้วเสร็จ โดยขณะนี้สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดินได้ดำเนินการร่าง พ.ร.บ. ธนาคารที่ดินแล้ว และจะดำเนินการต่อไปจนกว่าจะมีการจัดตั้งธนาคารที่ดิน
0neg
1pos
1pos
0neg
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/31942
2010-11-17 21:56
กรรมการสิทธิ 5 ประเทศออกแถลงการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในพม่า
เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 53 ที่ผ่านมา คณะกรรมการสิทธิฯ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และติมอร์ เลสเต้ ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในพม่า โดยมีรายละเอียดดังนี้     คณะกรรมการสิทธิฯ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และติมอร์ เลสเต้   ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในพม่า   ศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ร่วมแถลงการณ์ กับหัวหน้าคณะผู้แทนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอีก 4 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และติมอร์ เลสเต้ เกี่ยวกับการที่ ออง ซาน ซู จี และสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในพม่า ในระหว่างการประชุมประจำปี ครั้งที่ 7 มีสาระสำคัญดังนี้   การปล่อยตัว ออง ซาน ซู จี เป็นอิสระถือเป็นชัยชนะเพียงบางส่วนของการต่อสู้อันยาวนานเพื่อประชาธิปไตยในพม่า และเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษการเมืองอื่นๆ   คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 5 ประเทศประกาศที่จะร่วมมือกัน เพื่อให้มีการคุ้มครองเสรีภาพของออง ซาน ซู จี อย่างไม่มีเงื่อนไข และเห็นว่า รัฐบาลพม่าควรประกันว่า ไม่ควรมีการจับกุมบุคคล ตามอำเภอใจ กักขัง หรือถูกผลักดันให้ออกนอกประเทศ และควรคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคล ชนพื้นเมืองดั้งเดิม และชนกลุ่มน้อย   คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 5 ประเทศ สนับสนุนกระบวนการหารือเพื่อสันติภาพ ระหว่างกลุ่มต่างๆ เพื่อสร้างประชาธิปไตยและมีการปกครองโดยหลักนิติธรรม ออง ซาน ซูจี และประชาชนทุกกลุ่มควรได้รับโอกาสให้มีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองที่เป็นธรรม โดยไม่มีการข่มขู่ทำร้าย   คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 5 ประเทศหวังว่า พม่าจะมีการจัดให้มีการเลือกตั้งที่เป็นอิสระและเป็นธรรม ตามกำหนดเวลา เพื่อสนองตอบเจตนารมณ์ของประชาชนในพม่า เพื่อให้เกิดประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน   นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งเข้าร่วมการประชุมด้วย กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทั้ง 5 ประเทศ ในนามของ SEANF ได้แสดงท่าทีร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพต่อกรณีการปล่อยตัวของ ออง ซาน ซู จี นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ตกลงให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพในการประชุมเพื่อยกร่างแผนยุทธศาสตร์ ในเดือนมกราคม 2554 ต่อไป   16 พฤศจิกายน 2553   หมายเหตุ :   คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย คณะกรรมการสิทธิมนุษชนแห่งชาติของไทย (กสม.) มาเลเซีย (SUHAKAM) ฟิลิปปินส์ (CHRP) และอินโดนีเซีย (Komnas HAM) จัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกันในนามของ The South East Asia National Human Rights Institutions Forum (SEANF) โดยการประชุมครั้งที่ 7 จัดขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ระหว่างวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2553   ผู้แทนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่เข้าร่วมประชุมได้แก่ ศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และนายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
1pos
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/53639
2014-05-29 19:56
คสช.ปล่อยตัวเพิ่มเติม 31 คน รวม 'นิวัฒน์ธำรง-สุรนันทน์-สุรพงษ์-สนธิ'
คสช.ทยอยปล่อยตัว "นิวัฒน์ธำรง - สุรนันทน์ - สุรพงษ์ - สนธิ" และอดีต ส.ส.พท.-ปชป. ออกจากสโมสร ทบ. เทเวศร์ แล้ว หลังใช้กฎอัยการศึกควบคุมตัว ขณะมีเงื่อนไขห้ามเคลื่อนไหวการเมือง    29 พ.ค. 2557 เมื่อเวลาประมาณ 16.00 น. ที่หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ปล่อยตัวบุคคลที่ถูกควบคุมตัวตามประกาศของ คสช. จำนวน 31 คน อาทิ   นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล อดีตรองนายกรัฐมนตรี  นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายแทนคุณ จิตต์อิสระ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ นายโภคิน พลกุล อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นายวิชาญ มีนชัยนันท์ อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายแพทย์พรหมมินทร์ เลิศสุริย์เดช นายสันติ พร้อมพัฒน์ น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล น.ส.ศุภรัตน์ นาคบุญนำ นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ นายอดิศร เพียงเกษ นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ นายวรชัย เหมะ นายประชา ประสพดี นายวรวัจน์ เอื้อภิญญกุล นายปลอดประสพ สุรัสวดี นายจิรายุ ห่วงทรัพย์   ซึ่งก่อนที่จะปล่อยตัว เจ้าหน้าที่ได้ทำประวัติ ลงนาม บันทึกที่อยู่ และสร้างความเข้าใจร่วมกัน รวมถึงขอให้ไม่แสดงความคิดเห็นทางการเมือง   ขณะที่เมื่อเวลา 15.20 น. นายแทนคุณ จิตต์อิสระ หรือ "อี้" อดีต ส.ส.เขตดอนเมือง พรรคประชาธิปัตย์ เดินทางออกจากหอประชุมกองทัพบกด้วยรถตู้ โดยเปิดประตูรถทักทายผู้สื่อข่าว ขณะที่ผู้สื่อข่าวสอบถามนายแทนคุณว่า "คสช. ปล่อยตัวแล้วขึ้นศาลที่ไหนรึเปล่าคะ" นายแทนคุณตอบกลับมาพร้อมรอยยิ้มว่า "กลับบ้านเลยครับ"   รวบรวมจาก: ไทยรัฐออนไลน์ [1], ทีนิวส์ [2], สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ [3], มติชนออนไลน์ [4]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/63374
2016-01-08 16:18
5 คนทริปรถไฟส่องราชภักดิ์ ไปสน.แต่ไม่รายงานตัว ยันไม่ผิดและไม่หลบหนี
‘จ่านิว’ นำทีมเพื่อนรวม 5 คน ที่ถูกหมายเรียกจากกรณีจัดทริปไปราชภักดิ์เมื่อ 7 ธ.ค.มาสถานีตำรวจแถลงข่าว ไม่ผิด ไม่หนี ไม่รายงานตัว เป็นหน้าที่พลเมืองต้องตรวจสอบผู้มีอำนาจ ส่วนอีก 6 คนมาตามหมายแล้วก่อนหน้า ด้าน ‘ไผ่ ดาวดิน’ เพิ่งลาสิกขา ทราบข่าวคดี ชี้ “เป็นเรื่องไร้สาระ” 8 ม.ค.2559 เมื่อเวลาประมาณ 13.55 น. กลุ่ม 'ส่องทุจริตราชภักดิ์' 5 คนเดินทางมาถึงหน้าสถานีตำรวจรถไฟธนบุรี เพื่อเข้าไปรับทราบข้อกล่าวหาในสถานีตำรวจ โดยมีประชาชนจำนวนหนึ่งรวมถึงอาจารย์มหาวิทยาลัยมารอมอบดอกไม้ให้กำลังใจด้วย นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาจากกลุ่มดาวดินหลายคนเดินทางมาร่วมให้กำลังใจ โดยนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน กล่าวว่า ไม่ทราบเรื่องตอนเพื่อนถูกจับเพราะบวชอยู่ แต่พอสึกแล้วได้ทราบข่าวรู้สึกว่าเป็นเรื่องไร้สาระมาก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตำรวจได้ออกหมายเรียก 11 คนที่ทำกิจกรรมนั่งรถไฟ ไปราชภักดิ์เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2558 ให้มารายงานตัว ก่อนหน้านี้ซึ่งมีผู้มารายงานตัวแล้ว 6 คน อีก 5 คนที่เหลือแม้เดินทางมาสถานีตำรวจแต่ยืนยันว่าจะไม่เข้ารายงานตัว พวกเขาระบุว่าสิ่งที่ทำไม่ผิด การตรวจสอบอำนาจที่ไม่ชอบมาพากลเป็นสิ่งที่พลเมืองต้องทำ และการตรวจสอบคอร์รัปชันที่ผ่านมา กรณีของ กปปส. ไม่เคยมีใครถูกดำเนินคดีเพราะการตรวจสอบ สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ กล่าวว่า “ที่เราหลายๆ ฝ่ายต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นต้องต่อต้านบนมาตรฐานเดียวกัน และผู้ที่จะไปตรวจสอบนั้นต้องได้รับการคุ้มครองมิใช่ถูกฟ้องร้องคดีความเหมือนวันนี้ วันนี้ผมขอยืนยันว่าสิ่งที่เราทำในวันที่ 7 นั้นมิใช่สิ่งที่ผิดกฎหมาย หากเป็นสิ่งที่เราในฐานะพลเมืองของรัฐพึงกระทำ ในฐานะที่เราอยู่ในสังคมนี้เราจะไม่ปล่อยให้ใครก็ตามที่ทำการทุจริตคอร์รัปชันลอยหน้าลอยนวลอยู่ในสังคมนี้ได้ และเราจะขอปฏิเสธกระบวนการทุกอย่างที่จะฟ้องร้องดำเนินคดีคนที่จะไปตรวจสอบทุจริตคอร์รัปชัน” ชลธิชา แจ้งเร็ว กล่าวว่า “เราอยากรู้เหมือนกันว่าเพราะอะไรทำไมเราถูกตั้งข้อกล่าวหาแบบนี้ ทั้งที่สิ่งที่เราทำเป็นการทวงคืนสิทธิเสรีภาพให้กลับคืนมาในสังคมไทย เป็นการที่เราต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ ตรวจสอบคอร์รัปชันที่เกิดขึ้น แต่ปรากฏว่าสิ่งต่างๆ ที่เรากระทำถูกตั้งข้อกล่าวหา วันนี้เรายังยืนยันเหมือนเดิมว่า ประชาชนทุกคนควรเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางบริหารประเทศด้วยตัวเอง และเกดยังยืนยันว่าวันนี้เกดก็จะเข้ามามีส่วนร่วมตรวจสอบ คสช.ที่ยึดอำนาจมา” อภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์ กล่าวว่า “ยังสงสัยว่าทำไมเราต้องเป็นฝ่ายถูกกระทำตลอด ทั้งที่เรามาแสดงเจตจำนงในการเป็นประชาชน เราต้องการส่งเสริมการตรวจสอบในภาคประชาชน มีรัฐมนตรีบางท่านบอกว่าการตรวจสอบไม่ใช่หน้าที่ของนักศึกษา ไม่ใช่หน้าที่ของประชาชน เพราะมีองค์กรตรวจสอบอยู่แล้ว แสดงว่าท่านไม่ได้เข้าใจระบบการตรวจสอบในภาคประชาชนเลย การเมืองจะเข้มแข็งได้ต้องส่งเสริมการมีส่วนรวมของภาคประชาชน แต่ที่ผ่านมารัฐบาลทำให้เราเห็นแล้วว่า คนตรวจสอบกลับเป็นคนผิด แล้วก็จะมีคำถามจากอีกฝ่ายว่า จำนำข้าวทำไมคุณไม่ตรวจสอบ ผมมองว่าตรงนั้นมันอยู่ในกระบวนการของกฎหมายอยู่แล้ว แล้วที่ผ่านมาไม่มีใครตรวจสอบจำนำข้าวแล้วโดนดำเนินคดีเลยซักคนเดียว กลับกันกับราชภักดิ์ คนตรวจสอบกลับโดนดำเนินคดี โดนควบคุมตัวมาโดยตลอด ก็เลยคิดว่าครั้งนี้มันน่าสงสัยหรือเปล่า คุณกำลังปกปิดความผิดอะไรหรือเปล่า จึงเกรงกลัวต่อการตรวจสอบ วันนี้เรามาแสดงตัวเพื่อยืนยันให้เห็นว่าเราไม่ผิด เราไม่มีเจตนาหลบหนี เรามาด้วยเจตนาบริสุทธิ์” ชนกนันท์ รวมทรัพย์ กล่าวว่า “วันที่ถูกควบคุมตัวเจ้าหน้าที่เขาบอกว่าจะไม่มีการแจ้งความดำเนินคดีใดๆ ทั้งสิ้น เราก็โอเคตามนั้น แต่หลังจากนั้นมาก็ได้รับหมาย มันทำให้เห็นว่า การส่งหมายมาในภายหลัง เขากำลังจะทำให้การตรวจสอบคอร์รัปชันกลายเป็นอาชญากรรม อาจเป็นการปกปิดคอร์รัปชัน ทำให้ผู้ตรวจสอบกลายเป็นอาชญากร เรามาตรงนี้เพราะต้องการมายืนยันว่า การตรวจสอบคอร์รัปชันไม่ใช่อาชญากรรม และพวกเราไม่ใช่อาชญากร” กรกช แสงเย็นพันธ์ กล่าวว่า “ที่พวกเราไปทำกิจกรรมตรวจสอบอุทยานราชภักดิ์นั้น พวกเราต้องการแสดงให้เห็นว่า แม้ประเทศนี้จอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการ แต่ก็มีเสรีภาพและความโปร่งใส พวกผมแม้ไม่ได้มีหน้าที่ตรวจสอบโดยตรง แต่พวกผมมีหน้าที่ตอบลูกหลานในอนาคตว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร แล้วพวกผมจะทำยังไงในเมื่อไปตรวจสอบแล้วถูกดำเนินคดีแบบนี้ เราจะตอบลูกหลานเราในอนาคตยังไงว่าเกิดการทุจริตแล้วเรากลับนิ่งเฉย เราจะปล่อยให้ลูกหลานของเราเติบโตในสังคมเช่นนี้หรือ” หลังการแถลงข่าวและให้กำลังใจ เวลาประมาณ 15.30 น. ทั้งหมดก็แยกย้ายออกจากสถานีตำรวจ 000 แถลงการณ์ผู้ได้รับหมายเรียกจากการเข้าร่วมกิจกรรมนั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2558  พวกเราได้เข้าร่วมกิจกรรม “นั่งรถไฟ ไปอุทยานราชภักดิ์ ส่องแสงหากลโกง” เพื่อแสดงความคิดเห็นต่อความไม่โปร่งใสและการทุจริตคอร์รัปชันในโครงการจัดสร้างอุทยานราชภักดิ์ สิ่งที่พวกเรากระทำเป็นเสรีภาพที่ประชาชนพึงมีตามระบอบประชาธิปไตย ในการที่จะตรวจสอบและตั้งคำถามต่อการดำเนินการต่างๆ ของภาครัฐว่าเป็นไปโดยสุจริต อีกทั้งยังเป็นการพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนด้วยกันเอง ให้ประชาชนมั่นใจได้ว่าเงินที่พวกเขาเสียสละให้ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจจะถูกนำไปใช้ตรงตามความมุ่งหมายอย่างแท้จริง แต่สิ่งที่พวกเราได้รับกลับเป็นการแจ้งข้อหาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผู้ซึ่งมีส่วนรับผิดชอบต่อโครงการอุทยานราชภักดิ์ โดยอาศัยคำสั่งที่ คสช. เป็นผู้ออกเองและกระบวนการยุติธรรมที่อยู่ภายใต้การครอบงำของ คสช.ทั้งหมด นี่หรือคือรางวัลที่พวกผู้ตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชันสมควรจะได้รับ? พวกเราขอยืนยันว่าสิ่งที่พวกเรากระทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย และกระบวนการยุติธรรมที่คสช.หยิบยื่นให้พวกเราล้วนแต่เป็นกลไกของระบอบเผด็จการ พวกเราจึงไม่ขอเข้าร่วมในกระบวนการยุติธรรมดังกล่าวโดยเด็ดขาด ในวันนี้ พวกเรามายังสถานีตำรวจแห่งนี้ไม่ใช่เพื่อรายงานตัว แต่เพื่อยืนยันว่าพวกเราจะไม่หนีไปไหนและจะขอดำเนินกิจกรรมเพื่อตรวจสอบและต่อต้านเผด็จการต่อไป หากจะจับกุมตัวพวกเราก็เชิญกระทำได้ พวกเราพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความอยุติธรรม เพื่อให้คนไทยทุกคนได้รู้ว่าธาตุแท้ของเผด็จการนั้นเป็นเช่นไร ผู้ได้รับหมายเรียกจากการร่วมกิจกรรมนั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์ กรกช แสงเย็นพันธ์ ชนกนันท์ รวมทรัพย์ ชลธิชา แจ้งเร็ว อภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์ 8 มกราคม 2559
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/29880
2010-06-04 19:40
เปิดจดหมายบนกล่องขนม จาก ‘สมยศ’ ถึงกรรมการสิทธิฯ – ศาลอนุญาตคุมตัวต่อถึง 13 มิ.ย.
4 มิ.ย.53 เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.ที่ผ่านมา นายสมยศ พฤษาเกษมสุข บรรณาธิการนิตยสาร Voice of Taksin ซึ่งถูกควบคุมตัวที่ค่ายอดิศร จ.สระบุรีมาตั้งแต่วันที่ 24 พ.ค.53 ได้ฝากจดหมายผ่านนายไพโรจน์ พลเพชร เลขาธิการสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน มายังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยเป็นการเขียนด้วยลายมือลงในกล่องขนมที่คาดว่ามีคนซื้อไปเยี่ยม นายไพโรจน์ระบุว่าจะนำจดหมายฉบับจริงส่งต่อคณะกรรมการสิทธิฯ ในวันจันทร์ที่ 7 มิ.ย.นี้ แม้ว่าในช่วงบ่ายวันเดียวกัน นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิฯ จะเดินทางเข้าเยี่ยมในสมยศที่ค่ายอดิศรและรับเรื่องร้องเรียนจากนายสมยศด้วยตัวเองแล้ว ส่วนความคืบหน้าในทางกฎหมายนั้น เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.ที่ผ่านมา นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความของนายสมยศ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ปล่อยตัวนายสมยศ เนื่องจากเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำไปโดยไม่มีเหตุตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน มาตรา 11 (1) เพราะการควบคุมตัวนายสมยศไม่ได้เป็นการกระทำตามเหตุจำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้กระทำการ หรือร่วมมือกระทำการอันใดที่จะก่อให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรง หรือเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการระงับเหตุร้ายแรง เพราะในขณะนี้เหตุการณ์ทุกอย่างยุติลงโดยสิ้นเชิงแล้ว นอกจากนี้ในการควบคุมตัวนายสมยศ ในค่ายทหารยังไม่อนุญาตให้ติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอก ห้ามอ่านหนังสือพิมพ์ ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ ทหารยหรือผู้ที่เข้าเยี่ยมถูกตรวจค้นอย่างเคร่งครัด ถูกถ่ายรูปทำประวัติจนเกิดความหวาดกลัวอย่างมาก เห็นได้ชัดว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติต่อนายสมยศเสมือนหนึ่งบุคคลผู้กระทำความผิดแล้ว ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรา 12 แห่งพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งกำหนดว่าจะปฏิบัติต่อบุคคลในลักษณะผู้กระทำความผิดมิได้ จึงขอให้ศาลนำตัวนายสมยศมายังศาล ไต่สวนคำร้องโดยเร่งด่วน และมีคำสั่งให้ปล่อยตัวนายสมยศทันที ต่อมาวันเดียวกัน ศาลได้มีคำสั่งยกคำร้อง โดยระบุว่าเชื่อว่าสถานการณ์ร้ายแรงยังคงอยู่ และนายกรัฐมนตรียังไม่ประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง ส่วนในวันนี้ (4 มิ.ย.) ทนายความได้ยื่นคำร้องคัดค้านการขยายระยะเวลาควบคุมตัวฯ โดยระบุว่า วันครบกำหนดการคุมตัวครั้งที่ 2 จะหมดในวันที่ 4 มิ.ย.นี้ขอคัดค้านการขยายการคุมตัวอีก 7 วันเนื่องจากคำร้องขอของผู้ร้อง (เจ้าหน้าที่) ไม่มีเหตุผล ข้อเท็จจริงและความจำเป็นอย่างชัดเจนเพียงพอ ในการขอขยายเวลาคุมตัวเพื่อประกอบการใช้ดุลยพินิจของศาล เพื่อให้ศาลสามารถวินิจฉัยสั่งคำร้องได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบเนื่องจากเกี่ยวพันและกระทบสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพของผู้ถูกคุมตัว อีกทั้งสถานการณ์ก็อยู่ในความสงบเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม ศาลได้ยกคำร้องคัดค้านการขยายระยะเวลาคุมตัวนี้ โดยระบุว่า “ผู้ร้องแถลงว่า ขณะนี้ยังมีความจำเป็นต้องควบคุมตัวเพราะเกรงว่าอาจจะกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและต่อการจับกุม และต้องการข้อมูลบางอย่าง ทั้งรับว่าหากหมดความจำเป็นจะเสนอผู้บังคับบัญชาต่อไป พิเคราะห์แล้วเห็นว่ายังมีการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน อยู่และการควบคุมตัวมิได้ขึ้นอยู่กับผู้ถูกควบคุมตัวแต่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และยังไม่มีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั้งผู้ร้องรับรองว่า หากหมดความจำเป็น ในการควบคุมตัวจะเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อไม่ขอขยายการควบคุมตัว กรณีจึงมีเหตุอันสมควรให้ขยายระยะเวลาการควบคุมตัวถึงวันที่ 13 มิถุนายน 2553”                                                                                                                                                                                                เขียนที่ ค่ายทหารอดิศร จ.สระบุรี                                                                                                                                     วันที่ 31 พฤษภาคม  2553 เรื่อง ร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชน เรียน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ                   จากการที่รัฐบาลโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อาศัยอำนาจศอฉ.ตาม พรก.ฉุกเฉิน ออกหมายจับเพื่อควบคุมตัวข้าพเจ้านายสมยศ พฤษาเกษมสุข และ ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ว่าเป็นผู้ต้องสงสัยจะก่อเหตุร้ายแรงขัดต่อ พรก.ฉุกเฉิน โดยที่ข้าพเจ้าและดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ได้เข้ามาอบตัวต่อพนักงานตำรวจกองปราบปรามเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมาและถูกนำตัวมาควบคุมไว้ที่ค่ายอดิศร จ.สระบุรี การกระทำของรัฐบาลเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพและละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงโดยมีข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ 1.     ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นแกนนำนปช. มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2552 เป็นต้นมา ไม่เคยมีส่วนร่วมการประชุมหรือมีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับแกนนำนปช.ทุกระดับชั้น ไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้าและที่ราชประสงค์ระหว่างวันที่ 14 มีนาคม – 19 พ.ค.2553 2.     ข้าพเจ้าเป็นบรรณาธิการบริหารนิตยาสารรายปักษ์ “Voice of Taksin” ทำหน้าที่สื่อมวลชนวิชาชีพในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารความเป็นจริง แสดงความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาลตามปกติ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวขเองใดๆ กับอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ชื่อหนังสือ Voice of Taksin เป็นเพียงเครื่องหมายการค้าและได้จดทะเบียนชื่อหนังสือนิตยสารถูกต้อง 3.     การที่ข้าพเจ้า, ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ , อ.เยี่ยมยอด ศรีมันตะ ได้จัดการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม53 เวลา 12.30 น. ที่หน้าสำนักงานมูลนิธิบ้านเลขที่ 111 มีเพียง 3 คน จึงไม่ใช่การชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป การแถลงข่าวในวันดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นแตกต่างไปจากรัฐบาลและได้เสนอข้อเรียกร้อง 5 ข้อเพื่อสร้างความสงบสุขและการปรองดองอย่างแท้จริง             การแถลงว่าจะจัดการชุมนุมในวันที่ 30 พ.ค.53 ที่สวนสาธารณะเขาแก่นจันทร์ จ.ราชบุรี เป็นการประกาศล่วงหน้า 10 วัน มีกำหนดการเริ่มต้นเวลา 15.00 น. และสิ้นสุดเวลา 21.00 น. เป็นการประชุมที่ศาลาเอนกประสงค์ บรรจุผู้เข้าร่วมได้ราว 500 คนเท่านั้น             การชุมนุมดังกล่าวจัดขึ้นในจังหวัดราชบุรี นอกเขตพรก.ฉุกเฉิน และการจัดกิจกรรมในสวนสาธารณะมีกำหนดการแน่นอน และหัวข้ออภิปรายชัดเจน จึงเป็นการชุมนุมโดยสงบ ไม่ก่อความเดือดร้อนต่อสาธารณะ ไม่ก่อให้เกิดสถานการณ์ร้ายแรง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ             ส่วนการประกาศจัดงานครบรอบ 78 ปี การเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นกิจกรรมวิชาการ เป็นการให้ความรู้ต่อประชาชน ซึ่งกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตยจัดให้มีขึ้นทุกปีกอยู่แล้วโดยจัดขึ้นที่โรงแรมรัตนโกสินทร์หรืที่สนามหลวง               ถ้าหากรัฐบาลเห็นว่าการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความไม่สงบ รัฐบาลมีอำนาจตามพรก.ฉุกเฉินออกคำสั่งให้ยุติหรือมีคำสั่งห้าม แต่รัฐบาลกลับใช้อำนาจควบคุมตัว จำกัดสิทธิเสรีภาพอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน 4.     การควบคุมตัวโดยไม่ให้ติดต่อสื่อสาร ทำให้ข้าพเจ้าและดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ไม่มีโอกาสปรึกษาหารือกับทนายความ ไม่มีโอกาสนำเสนอข้อเท็จจริง พยานหลักฐานในกระบวนการยุติธรรม จึงเป็นการกล่าวหาตั้งข้อสงสัยฝ่ายเดียว ทำให้ข้าพเจ้าไม่ได้รับความเป็นธรรม 5.     รัฐบาลเสนอแผนปรองดอง แต่กลับใช้อำนาจเกินขอบเขตควบคุมกักขังข้าพเจ้าโดยไม่มีการพูดเจรจาเพื่อการปรองดอง 6.     การใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐบาลในการจับกุมตัวและควบคุมตัวข้าพเจ้าและดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ก่อให้เกิดความเสียหายในชีวิต ทรัพย์สิน ทั้งในด้านครอบครัว และอาชีพการงา่นอย่างรุนแรง             ระหว่างการควบคุมตัว ข้าพเจ้าได้รับความสะดวกสบายและมิตรไมตรีจากทหารในค่ายอดิศรเป็นอย่างดีทุกประการ แต่การใช้อำนาจเกิดขอบเขตของรัฐบาล เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์             จึงขอร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาข้อร้องเรียนของข้าพเจ้า และ ดร.สุธาชัย เป็นกรณีเร่งด่วน เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนต่อไป                                                                             ขอแสดงความนับถืออย่างสูง                                                                                     ลายเซ็น                                                                         (นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข)
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/16498
2008-04-24 04:14
ข่าวมอนิเตอร์ประจำวันที่ 24 เมษายน 2551
การเมือง พปช.ส่งร่างให้ 6 พรรคร่วมแล้ว ขีดเส้น 1 สัปดาห์ส่งกลับ แนวหน้า - วันนี้ มีการประชุมคณะอนุกรรมการประสานงาน (วิป) พรรคร่วมรัฐบาล โดยมีนายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยนายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย และเลขาอนุวิป  กล่าวว่า  ขณะนี้พรรคได้มอบร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ให้กับพรรคร่วมรัฐบาลทั้งห้าพรรคไปพิจารณาศึกษาแล้วโดยเป็นไปตามร่างเดิม คือ หมวด 1 และ หมวด 2 คงตามรัฐธรรมนูญ 2550 ส่วนที่เหลือลอกมาจากรัฐธรรมนูญ 2540   ทั้งนี้ กำหนดให้พรรคร่วมส่งความเห็นกลับมาที่พรรคพลังประชาชนสัปดาห์หน้า ซึ่งพรรคตั้งใจว่า จะยื่นร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อประธานรัฐสภาให้ทันก่อนปิดสมัยประชุมสภาในวันที่ 19 พ.ค.นี้  ส่วนบทเฉพาะกาลได้กำหนดลดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติให้เหลือ 180 วันหลังรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้หรือไม่นั้น ยังไม่ได้ข้อสรุป ต้องรอความเห็นจากพรรคร่วมรัฐบาลก่อน   อัดรัฐบาลไม่ยึดหลักการ หักดิบตั้งกมธ.น่ารังเกียจ ผู้จัดการรายวัน - นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช ในฐานะผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาว่า จากการที่ยื้อการตั้ง กมธ. จากที่มีการเสนอให้มีกมธ.จำนวน 32 คณะ จนทำให้มีการยุบรวมกมธ.และยกเลิก โดยร่างข้อบังคับเดิม ที่มีการเสนอ กมธ. 32 คณะนั้น แต่ละคณะมีการเปลี่ยนแปลงจนน่าเกลียด เช่น เอา กมธ.การกีฬาไปร่วมกับกมธ.การท่องเที่ยว ทั้งที่มีภารกิจแตกต่างกัน และมีการเพิ่มกมธ. ที่มีชื่อแปลกอีกหลายคณะ   นายเทพไทกล่าวว่า หลังจากที่นายชัย ชิดชอบ ประธานคณะกรรมการประสานงาน (วิป) พรรคร่วมรัฐบาล ออกมาประกาศว่าจะใช้ 35 คณะ แสดงว่าจะเพิ่มอีก 3 คณะ คือกมธ.กิจการชายแดนไทย กมธ.ส่งเสริมราคาผลผลิตเกษตรกรรม และกมธ.แก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ ซึ่งถ้าดูทั้ง 3 คณะนี้ น่าจะไปยุบรวมกับกมธ.ชุดอื่นได้ เช่น กมธ.กิจการชายแดนไทย น่าจะไปอยู่กับ กมธ.ทหารได้ เพราะเกี่ยวกับความมั่นคงเหมือนกัน หรือกมธ.ส่งเสริมราคาผลผลิตเกษตรกรรม น่าจะไปรวมกมธ.เกษตร หรือกมธ.พาณิชย์ได้ ส่วนกมธ.แก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ ควรรวมอยู่ใน กมธ.การเงินการคลัง หรือ กมธ.เกษตรได้   ส่วนรัฐบาลพยายามทำให้มีการเปลี่ยนแปลง โดยให้เหตุผลว่าหากไม่มีการเปลี่ยนจำนวน กมธ.หรือชื่อ กมธ. อาจทำให้ข้อตกลงไม่มีความชอบธรรม จึงทำเรื่องนี้โดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสม เพราะการเพิ่มกมธ. จะเสียทั้งบุคลากรและงบประมาณ   กกต.ยื้อส่งศาลตีความ ไชยา ตั้งอนุสอบก่อน ผู้จัดการรายวัน - นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการกกต. กล่าวภายหลังการประชุมว่ากกต.มีมติให้คณะอนุกรรมการวินิจฉัยเรื่องร้องคัดค้าน และปัญหา หรือข้อโต้แย้ง คณะที่ 10 ที่มีนายอิสระ ลิ้มศิริวงศ์ เป็นประธานไปพิจารณาปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงในกรณีที่ กกต.ได้รับคำร้องจาก ป.ป.ช.ให้พิจารณาคุณสมบัติการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีของนายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข โดยให้พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน ทั้งนี้ เหตุที่ต้องมีการมอบให้คณะอนุกรรมการฯ ดังกล่าวไปพิจารณาเนื่องจาก ว่า แม้ตามรัฐธรรมนูญจะเขียนให้กกต. สามารถดำเนินการส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญได้ แต่มีประเด็นว่าเมื่อหน่วยงานอื่นได้มีการส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ว กกต.จะต้องส่งเรื่องไปด้วยหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าหากไม่พิจารณาให้รอบคอบ โดยมองว่าหน่วยงานอื่นส่งเรื่องไปแล้ว กกต.ไม่จำเป็นต้องส่งก็อาจจะถูกกล่าวหาว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้   คตส.เดือดร่อนหนังสือขอคำยืนยันจาก อัยการสูงสุด จวก ใช้กฎหมาย ครอบจักรวาล พิจารณาคดี แนวหน้า - นายบรรเจิด สิงคะเนติ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการไต่สวนคดีการจัดซื้อกล้ายาง  90 ล้านต้นของกรมวิชาการการเกษตร กล่าวถึงกรณีที่นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์  อธิบดีอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด(อสส.) ออกมาระบุว่า  สำนวนของคตสยังไม่สมบูรณ์ และอาจมีความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบได้ว่า คตส.ยืนยันว่าจะฟ้องคดีนี้ต่อศาลต่อไป   ส่วนการออกมาแถลงข่าวของอัยการมองว่าเป็นความเห็นที่แตกต่างในเรื่องข้อกฎหมาย เพราะฝ่ายอัยการพยายามเอาระบบทั่วไปอย่างกฎหมาย ป.วิอาญามาใช้  ในระบบพิเศษ ขณะที่ คตส. เห็นว่าไม่ถูกต้อง เพราะกฎหมาย ป. วิอาญาเป็นเรื่องระบบทั่วไป แต่ คตส.เป็นระบบพิเศษเฉพาะ  มันไม่ได้ ตรงนี้ คือ กุญแจสำคัญ ซึ่งนำมาสู่ความแตกต่างในเรื่องข้อเท็จจริงในสำนวนต่างๆ   นายบรรเจิด  กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่อัยการระบุว่า การรีบด่วนฟ้องคดีทั้งที่รู้ว่าสำนวนมีข้อบกพร่อง ส่อให้เห็นเจตนาว่าจะล้มคดีในชั้นศาลในคดีกล้ายางนั้น  ก็ต้องพิจารณาว่าการดำเนินการของ คตส. ในการตั้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมแก่ผู้ถูกกล่าวหาในภายหลัง  มีคำพิพากษาศาลฎีการองรับหรือไม่   การพูดของอัยการไม่ค่อยตรงประเด็น  ประเด็นที่ขัดแย้งจริง ไม่หยิบมาพูด   ความขัดแย้งจริงคือ อัยการต้องการจะเอากฏหมาย ป. วิอาญามาใช้ต้องการจะเป็นคนพูดคนสุดท้าย ในเรื่องการสั่งหรือไม่สั่งคดี  แต่มันผิดระบบ  ตรงนี้ ไม่หยิบมาพูด กลับเอาอีกส่วนหนึ่งมาพูด เพื่อที่จะให้กระทบ ตนคิดว่าไม่ตรงไปตรงมา   เศรษฐกิจ ปตท.-บางจากขึ้นราคาดีเซล50สตางค์พรุ่งนี้ สยามรัฐ - บมจ.ปตท.(PTT) และบมจ.บางจากปิโตรเลียม (BCP) ประกาศปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล อีก 50 สตางค์/ลิตรในวันพรุ่งนี้ แต่ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลของทั้งปตท.และบางจากฯยังต่ำกว่าผู้ค้าน้ำมันรายอื่นอยู่ 50 สตางค์/ลิตร ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันของปตท.และบางจากฯ ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลวันพรุ่งนี้ เป็นดังนี้ น้ำมันดีเซล อยู่ที่ 32.94 บาท/ลิตรต่ำกว่าผู้ค้าน้ำมันรายอื่นที่มีการจำหน่ายน้ำมันดีเซลที่ระดับ 33.44 บาท/ลิตร   ส่วนราคาขายปลีกน้ำมันกลุ่มเบนซิน ยังคงเดิม โดยเบนซิน ออกเทน 95 อยู่ที่ 36.09 บาท/ลิตร,เบนซิน ออกเทน 91 อยู่ที่ 34.99 บาท/ลิตร, แก๊สโซฮอล์ 95 อยู่ที่ 32.09 บาท/ลิตร และแก๊สโซฮอล์ 91 อยู่ที่ 31.29 บาท/ลิตร   เกาหลีสนโครงการพัฒนาอ่าวภูเก็ต ทุกอย่างราบรื่นลงเสาเข็มพ.ค.ปีหน้า ผู้จัดการรายวัน -  นายหวาง วิล ลี่ ประธานบริษัท The Phukora จำกัด กล่าวภายหลังนำผู้บริหารจากธนาคารต่างๆของเกาหลีเข้าพบกับนายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เพื่อหารือเกี่ยวกับโครงการพัฒนาอ่าวภูเก็ต ว่า การเข้าพบครั้งนี้ เพื่อร่วมหารือ ถึงความเป็นไปได้ในการเข้ามาลงทุนโครงการพัฒนาอ่าวภูเก็ต   ทั้งนี้ เพราะจากการศึกษาความเป็นไปได้ ตนซึ่งเป็นกลุ่มนักลงทุนทางด้านอสังหาริมทรัพย์ มีความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนที่จังหวัดภูเก็ตหลายโครงการ และโครงการหนึ่งที่คิดว่าน่าสนใจมาก คือ โครงการพัฒนาอ่าวภูเก็ตเพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่ โดยเชื่อว่ามีความพร้อม และมีความชำนาญในการที่จะทำโครงการใหญ่ๆอยู่แล้ว   ส่วนรูปแบบที่มองไว้ในการทำโครงการพัฒนาอ่าวภูเก็ต จะประกอบไปด้วยเรื่องของมารีนา โรงแรม ศูนย์การค้า ศูนย์กีฬา และอื่นๆ โดยรูปแบบจะคล้ายๆกับที่จังหวัดศึกษาไว้ แต่จะมีความแตกต่างในรายละเอียด ซึ่ง เรื่องนี้จะต้องมีการหารือกันอีกหลายรอบ   นายหวาง กล่าวต่อไปว่า ถ้าหากมีความเป็นไปได้ในเรื่องของงบประมาณที่จะใช้ดำเนินการ ซึ่ง 50% จะมาจากธนาคารในเกาหลี ส่วนที่เหลือ 50% จะดึงนักลงทุนจากประเทศอื่นๆเข้าร่วม เช่น สิงคโปร์ ดูไบ ฮ่องกง ส่วนระยะเวลาในการดำเนินการ หากรัฐบาลผ่านทุกอย่างไม่มีปัญหาเรื่องของกฎหมาย เชื่อว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ในเดือนพฤษภาคม ปีหน้า        การศึกษา สั่งนศ.อมนกเขาแลกปรับเกรดตร.รวบอาจารย์ มธ. รับทำ 2 ราย คมชัดลึก - บุกรวบอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต คาห้องทำงาน หลังลูกศิษย์สาวโร่แจ้งความ ฐานเสนอให้อมนกเขาแลกปรับเกรดให้สูงขึ้น เจ้าตัวสารภาพเรียก นศ.สาวเกรดต่ำมายื่นข้อเสนอแลกเซ็กส์จริง  แถมทำมาแล้วถึง 2 ราย   เพื่อนอาจารย์ยื่นประกันตัวแต่ ตร.ไม่อนุมัติ  ขณะที่ มธ.ต้นสังกัดสั่งตั้งคณะกรรมการสอบซ้ำ   ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ชี้ว่า  ถ้าเป็นเรื่องจริงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะเป็นเรื่องใหญ่มาก ซึ่งจะจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาและดำเนินตรวจสอบ เรื่องนี้เป็นโทษทางอาญา  ซึ่งเป็นโทษทางกฎหมายที่อาจารย์คนนั้นจะได้รับก็หนักอยู่แล้ว ส่วนทางมหาวิทยาลัย ก็จะมีการพิจารณาให้พ้นสภาพความเป็นอาจารย์   ขณะที่ นายบุญลือ ประเสริฐโสภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า หากมีเรื่องนี้เกิดขึ้นจริง ก็จะให้มหาวิทยาลัยตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ถ้าสอบสวนแล้วพบว่าทำผิดจริง ก็จะให้ลงโทษขั้นเด็ดขาดโดยให้ออกจากราชการ เพราะคนเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยต้องไม่มีพฤติกรรมเช่นนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง   คุณภาพชีวิต เอ็นจีโอเอดส์จี้วัดพระบาทน้ำพุแจงจ่ายเงิน คมชัดลึก - ความคืบหน้าภายหลังสื่อต่างประเทศลงบทความของนายแอนดรูว์ มาร์เชลล์ วิพากษ์วิจารณ์และโจมตีวัดพระบาทน้ำพุ ต.เขาสามยอด อ.เมือง จ.ลพบุรี อย่างรุนแรง โดยอ้างถึงประสบการณ์ร่วมเดินทางทัวร์วัดพระบาทน้ำพุ ที่มุ่งเน้นรับเงินบริจาคจากนักท่องเที่ยวด้วยการใช้ชะตากรรมของผู้ป่วยเอดส์ที่ใกล้สิ้นลมมาเป็นตัวกระตุ้นความสงสารและเห็นใจ เพื่อให้ได้รับเงินบริจาคจำนวนมาก และโจมตีว่าการบริหารจัดการอยู่ในสภาพล้มเหลว การช่วยเหลือรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ไม่ดีเท่าที่ควร   ล่าสุด วันที่ 23 เมษายน พญ.ประคอง วิทยาศัย กรรมการมูลนิธิเกื้อดรุณ ผู้ดูแลเด็กติดเชื้อเอชไอวี กล่าวว่า ไม่อยากพูดถึงเรื่องเงินบริจาคของวัดพระบาทน้ำพุ เนื่องจากเป็นเงินที่ได้มาจากประชาชนที่มีจิตศรัทธา ส่วนเงินนั้นจะนำไปใช้อย่างไรขึ้นอยู่กับผู้บริหารของวัด คนนอกไม่สามารถล่วงรู้ได้ แต่สิ่งที่รู้สึกติดใจมีอยู่เพียงเรื่องเดียว คือครั้งหนึ่งเคยเข้าไปเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้ติดเชื้อ เห็นว่าที่วัดพระบาทน้ำพุนำผู้ป่วยเอดส์มาไว้รวมกัน แต่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีอย่างที่ผู้ติดเชื้อเอดส์ควรจะได้รับ   "เป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีนั้น ภูมิต้านทานน้อย สามารถติดเชื้ออื่นๆ ได้ง่าย ผู้ป่วยที่วัดพระบาทน้ำพุกลับไม่ได้รับการรักษา อย่างคนที่ติดเชื้อวัณโรคก็จะปล่อยทิ้งไว้ โดยไม่รักษาอย่างถูกวิธี ที่สำคัญคือไม่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำอยู่ที่วัดเลย" พญ.ประคองกล่าว   ด้าน นายสำราญ ทะกัน ประธานศูนย์บ้านสีม่วง กล่าวว่า ไม่เคยรับรู้เรื่องบริหารเงินบริจาคของวัดพระบาทน้ำพุ แต่ได้ทราบจากคำบอกเล่าจากปากผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เข้าไปรักษาตัว และต้องรีบย้ายออกมารักษาตัวที่อื่นแทน ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่ได้รับการดูแลเหมือนอย่างที่เคยเห็นผ่านทางสื่อต่างๆ ครั้งแรกที่ได้ฟังยังไม่เชื่อ กระทั่งมีเพื่อนคนหนึ่งติดเชื้อเอชไอวีเข้าไปอยู่ และบอกว่า ไม่ได้รับการรักษาเลย มีแต่พระเทศน์ให้ฟังเท่านั้น ไม่มีการให้ยา ไม่มีการดูแลจากแพทย์ สุดท้ายก็ต้องออกมาจากวัด ประธานศูนย์บ้านสีม่วงกล่าวด้วยว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวีจะไม่เสียชีวิตหากได้รับยาและการดูแลรักษาที่ถูกต้อง หากดูแลดีๆ ผู้ป่วยอาจจะฟื้นตัวกลับเข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อีก สามารถทำงานหาเงินจุนเจือตัวเองและครอบครัวได้เหมือนคนปกติ ดังนั้น วัดพระบาทน้ำพุน่าจะเอาเงินที่ได้รับบริจาคมาซื้อยาให้ผู้ป่วยบ้างก็ดี   ขณะที่ นายนที ธีระโรจนพงษ์ ประธานกลุ่มเกย์การเมืองไทย ซึ่งเป็นอีกเครือข่ายที่รณรงค์ต่อต้านการติดเชื้อเอดส์ในกลุ่มชายรักชาย กล่าวว่า ขณะนี้ประเด็นเรื่องวัดพระบาทน้ำพุเป็นเรื่องที่คนในสังคมพูดถึงกันมาก หากวัดต้องการยุติเรื่องนี้ก็ต้องกล้าที่จะเปิดเผยเรื่องที่สังคมกำลังกังขา คือ 1.เรื่องการดูแลผู้ป่วยเอดส์ และ 2.เรื่องเงินและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงหลังได้รับบริจาคมา     เกี่ยวกับบทความที่สื่อนอกเผยแพร่ออกมานั้น วันเดียวกัน พระเมธารัตนาคม เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี เผยว่า เรื่องของพระอลงกต จ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุที่เป็นข่าวในขณะนี้ ในส่วนของการร้องเรียนยังไม่มีเข้ามา ทั้งนี้ หากร้องเรียนเข้ามาก็จะต้องตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง และจะต้องหารือกับพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ว่าจะดำเนินการอย่างไร   "อาตมายังไม่ได้รับการร้องเรียนจากทางไหนเลย ส่วนในเรื่องการเงินนั้น วัดก็มีผู้ดูแล มูลนิธิไม่เกี่ยวกับทางสงฆ์ และเรื่องที่โด่งดังก็เป็นเรื่องระดับชาติ การที่จะเข้าไปดูแลต้องมีการร้องเรียนเป็นลายลักษณ์อักษรมาถึงจะดำเนินการได้ อีกทั้งจะต้องหาหลักฐานมาประกอบการร้องเรียนด้วย อย่างไรก็ตาม ทางคณะสงฆ์ยังไม่สามารถทำอะไรได้เพราะเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ ไม่มีการร้องเรียนมาเลย" เจ้าคณะจังหวัดลพบุรีกล่าว   ด้านนายจารุพงษ์ พลเดช ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี กล่าวว่า ขณะนี้ทางจังหวัดลพบุรีได้พูดคุยกกับพระอลงกต เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุในเบื้องต้นในเรื่องสื่อต่างประเทศเขียนโจมตีแล้ว โดยในวันที่ 25 เมษายน พระอลงกต พร้อมกับประธานมูลนิธิธรรมรักษ์ จะเดินทางมาพบที่ศาลากลางจังหวัด เพื่อพูดคุยและนำเอกสารต่างๆ จากการรับบริจาคเงินและสิ่งของมาแสดงให้ทางตนเองได้ดู พร้อมหาแนวทางในการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นมาอีกในอนาคต เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นมานี้ถือเป็นการทำให้จังหวัดลพบุรีเสื่อมเสียชื่อเสียงไปด้วย      จี้รื้อโครงการหมื่นล้านแยกน้ำจืด ฟื้นนาข้าวลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ผู้จัดการรายวัน - นายวิรัตน์ หยูทอง แกนนำชาวนาในพื้นที่ทุ่งระโนด ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวขนาดใหญ่ของภาคใต้ เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และอดีตผู้แทนเกษตรกรระดับตำบล อ.ระโนด จ.สงขลา เปิดเผย "ผู้จัดการรายวัน" ว่า บริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาถือเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญในภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งกินพื้นที่ในหลายอำเภอของ จ.สงขลา บางส่วนของ จ.นครศรีธรรมราช และครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของ จ.พัทลุง ซึ่งแต่ละปีนอกจากจะมีผลผลิตข้าวพอเลี้ยงคนในพื้นที่แล้ว ยังมีปริมาณเหลือที่จะส่งไปจำหน่ายยังนอกพื้นที่ รวมถึงส่งออกไปขายยังต่างประเทศอีกด้วย   เฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวใน อ.ระโนด กระแสสินธุ์ สิงหนคร และ สทิงพระ ของ จ.สงขลา มีนาเกือบ 200,000 ไร่ และมีการทำนาอย่างต่ำปีละ 2 ครั้ง ได้ผลผลิตต่อปีราว 320 ล้านกิโลกรัม โดยคิดจากผลผลิตต่อไร่ประมาณ 800 กิโลกรัม ซึ่งยังไม่รวมพื้นที่บางส่วนของ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช และ อ.ควนขนุน เขาชัยสน จ.พัทลุง เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำให้ต้องเร่งทบทวนแผนการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เพื่อให้เกิดโครงการที่เอื้อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์การพัฒนา และทำให้ชาวนาและเกษตรกร สามารถใช้ประโยชน์ในการผลิตอาหารได้อย่างเต็มที่   นายวิรัตน์กล่าวว่า ในภาวะที่กำลังขาดแคลนและระบาดไปทั่วประเทศเช่นนี้ ตนจึงอยากเสนอให้มีการรื้อฟื้นโครงการก่อสร้างสะพานเชื่อม ระหว่างบ้านแหลมจองถนน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง - บ้านเกาะใหญ่ อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา พร้อมมีประตูปิด-เปิดเพื่อแยกน้ำเค็มกับน้ำจืด ซึ่งโครงการนี้ถือว่าเกิดขึ้นจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน ในการป้องกันน้ำเค็มไม่ให้ไหลเข้าสู่พื้นที่การเกษตร โดยที่ผ่านมาโครงการนี้ก็ได้มีการประชุมในระดับเวทีชาวบ้านมากว่าร้อยครั้ง และนักการเมืองท้องถิ่นก็ยอมรับแนวคิดนี้ เพื่อไปทดแทนที่แนวคิดของนักวิชาการที่เสนอให้ก่อสร้างเขื่อนกั้นทะเลสาบสงขลา   "ชาวบ้านในพื้นที่ได้ปรึกษาถึงโครงการที่นักวิชาการเสนอว่า จะทำเขื่อนหรือคันกั้นน้ำเค็มบริเวณจุดเชื่อมระหว่างทะเลสาบสงขลาตอนกลางกับตอนบนให้ แต่เมื่อมีการลงความเห็นของหลายๆ ฝ่ายแล้วเห็นว่า ต้องลงทุนสูง หากทำแล้วมีปัญหาภายหลังก็จะรื้อทำลายยาก จึงนำมาสู่การคัดค้านและเสนอให้ทำเป็นประตูปิด-เปิดน้ำ ควบคู่สะพานแทน ด้วยเหตุผลว่า น่าจะใช้งานได้จริง และยังเป็นการลงทุนที่ไม่สูง แต่ใช้หลักตามภูมิปัญญาชาวบ้าน และหากภายหลังสร้างความเดือดร้อนมากกว่าประโยชน์ ก็สามารถรื้อได้ง่ายกว่า" นายวิรัตน์กล่าวและว่า           ต่างประเทศ UN ชี้ ยอดผู้เสียชีวิตจากวิกฤตดาร์ฟูร์อาจถึง 300,000 ผู้จัดการรายวัน - เอเอฟพี/ รอยเตอร์ - ผู้คนจำนวนมากถึง 300,000 รายอาจสังเวยชีวิตจากวิกฤตการณ์ความขัดแย้งในแคว้นดาร์ฟูร์ ประเทศซูดาน เจ้าหน้าที่ระดับสูงของยูเอ็นผู้หนึ่งเผยเมื่อวันอังคาร (22) ขณะที่ กองกำลังรักษาสันติภาพก็ยังไม่พร้อมทำหน้าที่ก่อนถึงปี 2009           จอห์น โฮลมส์ รองเลขาธิการฝ่ายกิจการมนุษยธรรมของยูเอ็นกล่าวต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติว่า ยอดผู้เสียชีวิตตลอดระยะเวลา 5 ปีแห่งสงคราม, ความอดยากหิวโหย และโรคภัยไข้เจ็บในดาร์ฟูร์เพิ่มขึ้นในช่วง 2 - 3 ปีให้หลังมานี้   "การศึกษาเมื่อปี 2006 พบว่า มีผู้เสียชีวิตราว 200,000 คน อันเนื่องมาจากผลพวงต่าง ๆ แห่งความขัดแย้ง" โฮลมส์กล่าว   เขาสำทับว่า "ขณะนี้ ยอดผู้เสียชีวิตน่าจะเพิ่มขึ้นกว่าเดิมมาก บางทีอาจเพิ่มมากถึงครึ่งหนึ่งของตัวเลขเดิม" อย่างไรก็ตามโฮลมส์ก็ยอมรับตัวเลขดังกล่าว "เป็นเพียงการคำนวณ" ด้านอับดัลมะห์มูด อับดัลฮาลีม ทูตซูดานประจำยูเอ็นเถียงว่า การประเมินตัวเลขผู้เสียชีวิตจากวิกฤติการณ์ความขัดแย้งในดาร์ฟูร์ของโฮลมส์นั้นเกินความเป็นจริงโดยสิ้นเชิง โดยอ้างว่า จากการสำรวจของรัฐบาลล่าสุดชี้ว่า มีผู้เสียชีวิต (จากการต่อสู้) ไม่เกิน 10,000 ราย
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/49458
2013-10-28 23:11
อวัตถุศึกษากับอธิป: เปิดแผนกูเกิ้ลยึดระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
อวัตถุศึกษากับอธิปนำเสนอข่าวสารลิขสิทธิ์รอบโลก สัปดาห์นี้นำเสนอข่าวกูเกิ้ลเตรียมยึดแอนดรอยด์, งานวิจัยชี้การปิดเว็บ Megaupload ทำให้ไฟล์ถูกลิขสิทธิ์กว่าสิบล้านไฟล์สูญหาย, ชาวอังกฤษจ่ายค่าปรับเกือบล้านฐานทวีตข้อความหมิ่นประมาท ฯลฯ Immaterial Property Research Center ตั้งขึ้นในวันที่ 18 มกราคม หรือ "วันเสรีภาพอินเทอร์เน็ต" เพื่อเป็นศูนย์ข่าว ศูนย์ข้อมูล และศูนย์วิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุ (หรือที่เป็นที่รู้จักทั่วไปว่าทรัพย์สินทางปัญญา) ต่างๆ อย่างสัมพันธ์กับระบบกฎหมาย ระบบเศรษฐกิจ และระบบการเมืองในโลก ทางศูนย์ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่างานของศูนย์ฯ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุที่เอื้อให้เกิดเสรีภาพในเชิงบวกไปจนถึงความเท่าเทียมกันของผู้คนในโลก       22 ต.ค 2556 Googlelizing Android: แผนการ "ยึด" ระบบปฏิบัติการ Android ของ Google ในปี 2550 ระบบปฏิบัติการ Android ที่ทาง Google ให้เงินสนับสนุนเปิดตัวเป็นครั้งแรกพร้อมๆ กับ iPhone รุ่นแรก ระบบปฏิบัติการนี้เป็นระบบปฏิบัติการแบบโอเพ่นซอร์ซ (Open Source) กล่าวคือเป็นระบบปฏิบัติการที่ใครจะนำไปใช้อย่างไรก็ได้ และสามารถนำไปพัฒนาการได้โดยเสรี ไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์หรือกระทั่งขออนุญาตใครทั้งสั้น ในตอนนั้น Google หวาดกลัวอนาคตที่ทาง Apple จะผูกขาดอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกมาก และทาง Google ก็ยังไม่มีที่ยืนในตลาดเลย ดังนั้นการสนับสนุน Android จึงเป็นทางเลือกที่ดีในการขัดขา Apple ในตอนนี้ส่วนแบ่งของตลาดอุปกรณ์มือถือนั้นสิ่งที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android มีสูงถึงเกือบ 80% และยังมีแนวโน้มจะสูงขึ้นโดยส่วนแบ่งของอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ iOS ของ Apple อยู่ที่เกือบ 20% ซึ่งก็ขึ้นๆ ลงๆ ระหว่าง 10-20% มาหลายปีแล้ว ส่วนที่เหลือเป็นระบบปฏิบัติการณ์อื่นๆ ก็ดูจะลดลงอย่างต่อเนื่องไปพร้อมๆ กับที่ Android ขยายตัว กล่าวคือ Android นั้นได้ยึดตลาดอุปกรณ์มือถือเป็นที่เรียบร้อยไปแล้วนั่นเอง แน่นอนว่า Google ย่อมพยายามแสวงหาประโยชน์จากส่วนแบ่งมหาศาลนี้ แต่ Google จะทำอย่างไรในเมื่อ Google เองก็ได้เป็นผู้ทำให้เกิด Android ที่เป็นโอเพ่นซอร์ซ และคู่แข่งของ Google เองอย่าง Amazon ก็ยังนำไปพัฒนาระบบของตัวเอง วิธีการทำมาหากินของ Google โดยพื้นฐานคือการขายแอปป์ (หรือโปรแกรม) ต่างๆ บน Play Store หรือร้านค้าแอปป์ออนไลน์บนระแบบปฏิบัติการ Android ปัญหาคือ จะทำอย่างไรให้คนมาซื้อแอปป์ที่ Play Store? ในเมื่อมันมีร้านค้าแอปป์อื่นๆ บนระบบปฏิบัติการ Android อยู่ (ในกรณีของสารบบอินเทอร์เน็ตจีนไม่มี Play Store ด้วยซ้ำ เพราะ Google ดำเนินการในจีนไม่ได้) วิธีการของ Google คือนำ Android มาปรับปรุงใหม่ให้เกิดระบบปฏิบัติการที่มีลิขสิทธิ์ของ Google และทำให้บริษัทมือถือทั้งหมดที่เป็นไปได้ใช้ระบบปฏิบัติการนี้ และทำให้มือถือที่เป็นระบบปฏิบัติการใหม่นี้ทุกเครื่องต้องมุ่งสู่ Play Store ของ Google ซึ่งนี่รวมถึงจูงใจให้นักพัฒนาแอปป์นั้นพัฒนาแอปป์มาขึ้นบน Play Store ด้วย กระบวนการเป็นดังนี้ 1. Google พัฒนาระบบต่อยอดจาก Android เป็นแบบ "ปิด" กล่าวคือมีลิขสิทธิ์ ผู้อื่นนอกจาก Google ไม่สามารถใช้ได้ ทำให้สิ่งที่อยู่ใน Android Open Source หยุดการพัฒนาไป และพัฒนาการต่อจากนั้นจะพบในระบบปฏิบัติการของ Google เองที่เป็นการต่อยอดแบบมีลิขสิทธิ์ (ของ Google) 2. ตั้ง Open Handset Alliance ขึ้น กล่าวคือจับบรรดาผู้ผลิตมือถือและแท็บเล็ตรายใหญ่ของโลกเซ็นสัญญาให้ผลิตแต่มือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการของ Google เท่านั้น ห้ามผลิตสิ่งที่ใช้ระบบปฏิบัติการอื่น ดังนั้นนี่เป็นการทำลายโอกาสทางธุรกิจของผู้พัฒนา Android ต่อยอดนอกร่มเงาของ Google (นี่เป็นสาเหตุให้ Kindle ของ Amazon ที่พัฒนาระบบปฏิบัติการต่อยอดมาจาก Android เช่นกันหาที่ผลิตได้ยากลำบากมาก - แต่ก็หาจนได้) 3. การผูกขาดระบบปฏิบัติการในตลาดมือถือและแท็บเล็ต นำไปสู่การผูกขาด "ร้านค้าแอปป์" ที่ Google จะได้ประโยชน์เต็มๆ ซึ่งทาง Google ก็อำนวยความสะดวกให้กับผู้พัฒนาแอปป์ในระบบปฏิบัติการของ Google เต็มที่ และสร้างความยากลำบากให้กับผู้พัฒนาแอปป์นอกระบบปฏิบัติการของ Google เต็มที่เช่นกัน 4. จูงใจให้นักพัฒนาแอปป์ใช้อินเตอร์เฟซแอปป์ (Application Programming Interface หรือ API) ของ Google ที่สัมพันธ์กันเป็นระบบ ซึ่ง API แบบนี้จงใจจะกันพวกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกที่ใช้ Android ออกไป เช่น ถ้าเล่นเกมก็จะไม่สามารถเข้าลงทะเบียนและใช้ระบบเซฟกลางได้เป็นต้น (ในกรณีทียังเล่นได้ เพราะหลายๆ แอปป์ที่สร้างมาด้วย API แบบของ Google จะเล่นบน Android ไม่ได้) ซึ่งที่ร้ายกว่านันก็คือ API ของ Google นั้นรองรับการใช้ระบบปฏิบัติการ iOS ด้วย ดังนั้นนี่จึงเป็นแผนการที่จะให้ผู้พัฒนาแอปป์ทั้งหลายพัฒนาแอปป์บน API ของ Google (เพราะใช้ได้ทั้งระบบปฏิบัติการณ์ของ Google และ iOS) และไม่พัฒนาแอปป์ให้กับ Android โดยอัตโนมัติ News Source: http://arstechnica.com/gadgets/2013/10/googles-iron-grip-on-android-controlling-open-source-by-any-means-necessary/ [1]   23 ต.ค. 2556 งานศึกษาจาก Northeastern University ชี้ว่าการปิดเว็บ Megaupload ทำให้ไฟล์ที่ถูกกฎหมายกว่า 10 ล้านไฟล์ต้องหายไป และไฟล์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ชัดเจนมีเพียง 31% ของไฟล์ในเว็บเท่านั้น นักวิจัยชี้ว่าไฟล์ราว 4% บนเว็บ Megaupload ก่อนที่จะเปิดไปเป็นไฟล์ที่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ ไฟล์อีก 31% เป็นไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ ส่วนไฟล์อีก 65% ที่เหลือไม่สามารถระบุสถานะลิขสิทธิ์ที่ชัดเจนได้ นี่ทำให้เกิดคำถามว่าการปิดเว็บไซต์แห่งนี้ในวันที่ 19 มกราคม 2555 อันลือลั่น มีความชอบธรรมเพียงใดหากมันทำในนามของการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ ไปจนถึงชี้ให้เห็นถึงการดำรงอยู่ในเชิงปริมาณของ "ผู้โดนลูกหลง" ในสงครามลิขสิทธิ์ News Source: http://www.digitalmusicnews.com/permalink/2013/10/18/megaupload-2 [2], http://torrentfreak.com/megaupload-raid-destroyed-more-than-10000000-legal-files-131018/ [3]   24 ต.ค. 2556 YouTube ประกาศเพิ่มเงิ่นไขทั่วไปว่าช่อง YouTube ที่มีผู้ลงทะเบียนติดตาม (subscriber) มากกว่า 10,000 คนจะสามารถเปิดช่องเสียเงิน (paid channel) ใหม่เพื่อสร้างรายได้จาก YouTube เพิ่มได้ โครงการช่องเสียเงินเป็นโครงการของ YouTube ที่มีการริเริ่มมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมาโดยโครงการนำร่องจะเป็นช่องที่ทาง YouTube เลือกมา อย่างไรก็ดีในขณะนี้ทุกๆ เข้าของช่อง YouTube ที่มีผู้ติดตามไม่ต่ำกว่า 10,000 คนและมีบัญชี Adsense พ่วงอยู่กับบัญชี YouTube ก็จะสามารถยื่นเรื่องเพิ่งเปิดช่องเสียเงินใหม่ได้ แต่จะไม่สามารถเก็บเงินกับช่องฟรีที่เคยได้สร้างมาไว้ได้ ประเทศที่สามารถเข้าร่วมกับโครงการนี้ได้ในขณะนี้ก็มีสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา ฝรั่งเศส สเปน ออสเตรเลีย บราซิล ญี่ปุ่น เม็กซิโก และเกาหลีใต้ ซึ่งก็อาจมีเพิ่มประเทศอื่นๆ ตามมาในเร็วๆ นี้ (แต่ของไทยน่าจะอีกยาวไกลเพราะทาง Google เคยแสดงจุดยืนแล้วว่ากฎหมายอินเทอร์เน็ตของไทยมีปัญหา ซึ่งจากตอนนั้นถึงตอนนี้ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ด้านกฎหมาย) News Source: http://gigaom.com/2013/10/23/youtube-now-lets-more-creators-charge-for-their-videos/ [4]   รัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของอินเดียเตรียมหารือกับองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลกเพื่อให้เพิ่มการลดหย่อนให้ "ซีร็อกซ์หนังสือ" เพื่อการศึกษาไม่นับเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หลังจากเป็นเรื่องเป็นราวที่ทางสำนักพิมพ์ Oxford University Press สำนักพิมพ์ Cambridge University Press และสำนักพิมพ์ Taylor & Francis ได้ฟ้องร้องร้านถ่ายเอกสารที่มหาวิทยาลัย Delhi ฐานละเมิดลิขสิทธิ์โดยการทำ "คอร์สแพ็ค" หรือถ่ายเอกสารหนังสือเพื่อใช้ในรายวิชาขายให้นักศึกษา ในตอนนี้ทางการอินเดียได้รุดหน้าพยายามจะผลักดันข้อยกเว้นว่าการถ่ายเอกสารหนังสือเพื่อการศึกษานั้นไม่นับว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ให้เป็นมาตรฐานระดับนานาชาติผ่านองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลกหรือ WIPO (World Intellectual Property Organization) แล้ว โดยการจะไปหารือกับบรรดาชาติภาคี WIPO ในการประชุมครั้งต่อไป News Source: http://www.telegraphindia.com/1130921/jsp/nation/story_17374550.jsp#.UmlySlPbWM0 [5]   27 ต.ค. 2556 ชายอังกฤษต้องจ่ายค่ายอมความ 15,000 ปอนด์ (ราว 750,000 บาท) คดีรีทวีตข้อความหมิ่นประมาทว่าลอร์ดคนหนึ่งเป็นพวกชอบลวนลามเด็ก อย่างไรก็ตาม ลอร์ดผู้นี้ก็ยังไม่จบแค่นั้น และจ้องจะฟ้องคนอีกราว 20 คนที่ทำการรีทวีตข้อความหมิ่นประมาทดังกล่าว เหล่าผู้โดนฟ้องนี้เป็นเพียงส่วนเสี้ยวเล็กๆ ของคนที่รีทวีตข้อความหมิ่นประมาทนี้ที่น่าจะมีราวๆ 10,000 คนทีเดียว ที่น่าสนใจคือทางด้านอเมริกาแม้จะมีการฟ้องหมิ่นประมาทด้วยการทวีตอยู่เนืองๆ แต่ก็ยังไม่มีคนฟ้องร้องหมิ่นประมาทกันในระดับการ "รีทวีต" หรือการผลิตซ้ำข้อความของผู้อื่นแต่อย่างใด News Source: http://gigaom.com/2013/10/26/repeat-a-horrible-lie-on-twitter-pay-25000-is-that-fair/ [6]
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
1pos
0neg
https://prachatai.com/print/53648
2014-05-30 00:39
ปชช.นัดยืนอ่านหนังสือต้านรัฐประหาร วันที่ 2 หวังเลี่ยงเผชิญหน้า จนท.ทหาร
29 พ.ค.2557 เวลา 17.30 น. บนทางเชื่อมบีทีเอส บีอาร์ที สกายบริดจ์ ประชาชน 10 คน นัดมายืนอ่านหนังสืออย่างสงบ เป็นเวลาราว 1 ชั่วโมง โดยไม่มีเหตุรุนแรงใดๆ ก่อนหน้านี้ประชาชนกลุ่มนี้ได้นัดกันอ่านหนังสือมาแล้ว 1 ครั้ง เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 27 พ.ค.ที่ผ่านมาบนสกายวอล์คหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ปทุมวัน โดยมีจำนวน 4 คน สำหรับหนังสือที่นำมาอ่าน จำนวนมากยังคงเป็น 1984 นวนิยายของจอร์จ ออร์เวล หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับชายคนหนึ่งที่ต้องอาศัยอยู่ในรัฐบาลเผด็จการซึ่งมีการจับตาพฤติกรรมโดยรัฐตลอดเวลา และยังสามารถถูกคนใกล้เคียงนำเรื่องไปฟ้องได้ตลอด จนทำให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชนไม่ให้ลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐบาล รวมถึงการสร้างศัตรูหลอกๆ เพื่อปลุกระดมความรักชาติแก่คนในชาติขึ้นมา นอกจากนี้ ยังมี Noli Me Tangere ซึ่งเป็นหนังสือเสียดสีสังคม ที่เล่าถึงสมัยที่ฟิลิปปินส์ยังเป็นอาณานิคมของสเปน โดยมีระบบสังคมที่ถูกรัฐกุมไว้ด้วยการบริหารแบบแยกชนชั้นคือ ชนชั้นของชาวสเปนที่มาจากสเปน ชาวสเปนที่เกิดในฟิลิปปินส์ และชาวฟิลิปปินส์ และกดทับผู้คนผ่านศาสนา โดยบาทหลวงที่ใช้อำนาจโบสถ์ทำเรื่องเลวร้าย หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Jose Rizal  ซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มกบฏใต้ดินในฟิลิปปินส์ ในสมัยที่เริ่มมีการเคลื่อนไหวต่อต้านอาณานิคมสเปนที่ครองฟิลิปปินส์เป็นเวลานานถึง 400 ปี (หนังสือเล่มนี้มีการแปลเป็นภาษาไทยไว้ในชื่อ “อันล่วงละเมิดมิได้” ผู้เขียน โอเซ่ รีซัล แปลโดย จิตราภรณ์ ตันรัตนกุล สำนักพิมพ์มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์) และนอกจากนี้ยังมี ถอดรื้อมายาคติ (Deconstruct) หนังสือรวมการบรรยายของนักวิชาการด้านต่างๆ ที่ได้บรรยายในโครงการโรงเรียนนักข่าวซึ่งจัดโดยศูนย์ข้อมูล & ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง โดยกล่าวถึงมายาคติต่างๆ ในสังคมไทยไม่ว่าจะเป็นเรื่องชาติ ศาสนา สถาบันกษัตริย์ วิทยาศาสตร์ หรือแม้แต่กับวงการสื่อสารมวลชนเอง ผู้จัดกิจกรรมให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากนี้กิจกรรมอ่านหนังสือต้านรัฐประหารจะยังคงมีต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งสถานที่และเวลาจะมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์เนื่องจากต้องการหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ทหาร และทางกลุ่มอาจจะมีกิจกรรมในรูปแบบอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีกแต่ยังไม่ได้สรุปว่าจะเป็นกิจกรรมอะไรบ้าง
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/69627
2017-01-14 13:33
'เพนกวิ้นและเพื่อน' เปิดมุมหนังสือ 'จิตร' ที่ เตรียมอุดมฯ หวังเป็นแรงบันดาลตั้งคำถามสังคม
พริษฐ์ และเพื่อนนักเรียน รร.เตรียมอุดมศึกษา เปิดมุมหนังสือ 'จิตร ภูมิศักดิ์' หวังเพื่อนนักเรียนได้อ่านผลงานศิษย์เก่าคนสำคัญที่ใคร ๆ ในสังคมเหมือนจะไม่พูดถึง พร้อมเป็นแรงบันดาลใจตั้งคำถาม-สร้างความเปลี่ยนแปลง ขณะที่สมาคมศิษย์เก่าระงับเนติวิทย์ร่วมงาน 14 ม.ค. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวานนี้ (13 ม.ค.60) พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิ้น นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และอดีตเลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท พร้อมด้วยเพื่อนโรงเรียนดังกล่าว จัดกิจกรรมเปิดมุมหนังสือจิตร ภูมิศักดิ์  ที่ ห้องสมุดม.ล.ปิ่น มาลากุล โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เนื่องในงาน  TU Open House พริษฐ์ กล่าวว่ามุมหนังสือดังกล่าวจัดโดยตนร่วมกับกลุ่มเพื่อนๆ โดยมีสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันกับอ่านช่วยสนับสนุนหนังสือ สำหรับเหตุผลที่จัดทำมุมหนังสือจิตร นั้น พริษฐ์ กล่าวว่า มุมหนังสือนี้ตั้งชื่อตามจิตร ภูมิศักดิ์ ศิษย์เก่าคนสำคัญที่โรงเรียนและใคร ๆ ในสังคมเหมือนพยายามจะไม่พูดถึง มุมหนังสือของเราประกอบด้วยหนังสือด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ รวมถึงผลงานของจิตรและคนอื่น ๆ การจัดตั้งมุมหนังสือนี้นอกจากจะเป็นประโยชน์สำหรับการเรียนรู้แล้ว ยังเป็นจุดรำลึกถึงจิตร และเป็นหมุดหมายว่าอย่างน้อยเตรียมอุดมก็ยังพอมีพื้นที่สำหรับจิตร และแนวคิดที่มาก่อนกาลสำหรับสังคมไทยบ้าง พริษฐ์ กล่าวอีกว่า สมัยนี้การจะทำให้คนได้นึกถึงแค่ทำมุมคงไม่พอแล้ว คงจะต้องให้มีการจัดกิจกรรมโดยใช้ชื่อของมุมหนังสือในการทำให้คนรู้จักจิตรมากขึ้น ตอนนี้ เพื่อนเริ่มได้ยินชื่อจิตรมากขึ้น   "ถ้าเพื่อนสนใจอ่านงานจิตรก็คงดี งานของจิตรเป็นงานที่น่าอ่านในฐานะงานวิชาการและงานศิลปะการเขียน แต่ยิ่งกว่านั้น ถ้าจิตรเป็นแรงบันดาลใจให้เพื่อนลุกขึ้นตั้งคำถามและสร้างความเปลี่ยนแปลงแบบจิตรก็คงจะดีไม่น้อยเชื่อว่าจิตรเองก็ต้องการอย่างนั้น" พริษฐ์ กล่าว   ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า กิจกรรมนี้ตามกำหนดการจะมีการเชิญ เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล อดีตเลขาธิการกลุ่มศึกษาเพื่อความเป็นไท มาเป็นวิทยากรพูดในงานด้วย แต่ถูกสมาคมศิษย์เก่าระงับไปนั้น ซึ่ง พริษฐ์ กล่าวถึงประเด็นนี้ด้วยว่า เพื่อนๆ ไม่เข้าใจว่าเหตุใด โรงเรียน จึงไม่ยอมให้ เนติวิทย์ มา   เนติวิทย์ ได้โพสต์่านเฟซบุ๊กส่วนตัว 'Netiwit Chotiphatphaisal [1]' ในลักษณะสาธารณะถึงกรณีถูกห้ามไม่ให้มางานนี้ด้วยว่า การไม่ให้ตนเข้าไปพูดเปิดงานสั้นๆ เพียงไม่กี่นาที ของมุมจิตร ภูมิศักดิ์ ที่ห้องสมุด เนื่องจากเหตุผลว่า ตนไม่ใช่ศิษย์เก่า แล้ว ยังช่วยเน้นย้ำอีกครั้งว่า ตนเป็น "นักเรียนเลวในระบบการศึกษาแสนดี" อีกด้วย "ระบบการศึกษาแสนดี" เป็นอย่างไร ก็ดูได้จากการที่เขา ปฏิบัติต่อเด็กและความคิดเชิงวิพากษ์ โรงเรียนเตรียมอุดมฯได้ชื่อว่าอันดับหนึ่งนี่ ส่วนนักเรียนที่กล้าท้าทายก็กลายเป็น "นักเรียนเลว" ซึ่งเตรียมอุดมช่วยยืนยันว่ามันจริงแค่ไหน   ล่าสุดเมื่อเวลา 12.47 น.ที่ผ่านมา พริษฐ์ ได้โพสต์ข้อเขียนในหัวข้อ '10 เรื่องที่อยากเล่าเกี่ยวกับการตั้งมุมหนังสือจิตร ภูมิศักดิ์' ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว 'Parit Chiwarak' ในลักษณะสาธารณะด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
https://prachatai.com/print/34068
2011-04-16 19:06
วาด รวี: ขอซักซีดดดนึงในประวัติศาสตร์
อกหักซ้ำ ๆ เจ็บ-ตายก็ซ้ำซ้อน กับความพ่ายแพ้ ไม่มีใครจำ ที่ไม่มีใครสนใจ ต้องทนปวดร้าว กฎหมายก็ล้มเหลว ถูกถีบเป็นที่โหล่ เพราะทำกับข้าว! เละเทะตุ้มเป๊ะ โหลยโท่ยเหลือเกิน ไม่เป็นไรพวกเรา ก้าวเดินต่อไป พวกมันยังไม่ยอมหยุด สนามบินมันเข้ายึด ที่หน้าจอมันก็ตบเท้า ชีวิตต้องลองซักซีดดดหนึ่ง มันต้องมีดีซักซีดดดหนึ่ง ถึงแม้ทีวีจะห่วย ประเทศบรมห่วย ถึงแม้มันยังจะซวย เราก็ซวยไปด้วยกัน ชีวิตต้องลองซักซีดดดหนึ่ง มันต้องมีดีซักซีดดดหนึ่ง ล่าแม่มดก็ห่วย ประเทศบรมห่วย ถ้าหากว่ามันจะซวย ให้มันซวยไปด้วยกัน เว้ย! ซักซีดดด! หากต้องกินบ๊วย เทพช่วยเป็นประจำ เกิดเป็นไอ้เสี่ยว หน้าตาดำ ๆ คำว่าชนะ สะกดยังไง ไม่รู้ ไม่อยู่ส่วนฟ้า ก็ขอลองสักครั้งหนึ่ง ถึงพูดไม่เก่ง เล่นกันซื่อ ๆ อยู่ร่วมกันหรือจะให้ประเทศมันแพ้ ไม่เป็นไรวันพระ.. ไม่ได้มีหนเดียว สงกรานต์หน้ารออยู่ ไม่อยากอยู่ฟ้า ก็ต้องลงมาเปื้อนดิน....โว้ยยย ซีดดดหนึ่ง มันต้องมีดีซักซีดดดหนึ่ง ถึงปัญญาชนจะห่วย ประเทศบรมห่วย ถึงแม้ว่ามันจะซวย เราก็ซวยไปด้วยกัน ชีวิตต้องลองซักซีดดดหนึ่ง มันต้องมีดีซักซีดดดหนึ่ง ถึงแม้ทหารจะห่วย ประเทศบรมห่วย ถ้าหากว่ามันจะซวย ให้มันซวยไปด้วยกัน เว้ย!! ซักซีดดด! ซักซีดดด! ซักซีดดด! เว้ย
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/64720
2016-03-18 23:54
จีนปล่อยน้ำเขื่อนลงโขง ประยุทธ์ชี้มีสัมพันธ์ที่ดี 'รักษ์เชียงของ' จวกเหมือนมีบุญคุณทั้งที่เป็นต้นตอ
ประยุทธ์ ชี้เพราะมีสัมพันธ์ที่ดี จีนปล่อยน้ำลงโขงแก้ภัยแล้ง ชาวบ้านริมโขงเชียงรายกระทบ หลังปล่อยมวลน้ำก้อนใหญ่ไม่ทันตั้งตัว 'ปธ.รักษ์เชียงของ' จวกจีนทำเหมือนมีบุญคุณ ทั้งที่เป็นต้นตอปัญหาทำน้ำโขงไม่เป็นไปตามฤดูกาล พบปีที่แล้วก็กระทบ ปล่อยน้ำท่วมแปลงผักริมโขง ชาวบ้านเผยไม่มีแจ้งล่วงหน้า จากกรณีเมื่อวันที่ 17 มี.ค.ที่ผ่านมา เนชั่นทันข่าว [1] รายงานว่า นายหลู กัง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน ได้เปิดเผยว่ารัฐบาลจีนตัดสินใจที่จะยอมเสียสละตัวเองเพื่อระบายน้ำออกจากเขื่อน เพื่อเป็นการคลายความกังวลของกลุ่มประเทศที่อยู่ตอนล่างของแม่น้ำโขง เพื่อเป็นความร่วมมือด้านการจัดการทรัพยากรน้ำระหว่างจีนและกลุ่มประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง และภัยพิบัติต่างๆเพื่อสร้างคุณประโยชน์ให้กับประชาชนในภูมิภาค โดยในวันนี้รัฐบาลจีนได้สั่งปล่อยน้ำจากเขื่อนเพิ่ม 2 เท่า โดยระบายน้ำ 2,000 ลูกบากศก์เมตรต่อวินาที โดยจะปล่อยน้ำต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 10 เม.ย.2559 เพื่อช่วยเหลือกัมพูชา, ลาว, เมียนมา, ไทย รวมถึงเวียดนาม หลังจากเวียดนามได้ขอร้องจีนให้ปล่อยน้ำจากเขื่อนจินหง ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงไฟฟ้าพลังน้ำในมณฑลหยุนหนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ เพื่อบรรเทาความแห้งแล้งในบริเวณสามเหลี่ยมแม่น้ำโขง  ประยุทธ์ ชี้เพราะมีสัมพันธ์ที่ดี จีนปล่อยน้ำลงโขง ล่าสุดวันนี้ (18 มี.ค.59) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้า คสช. กล่าวเกี่ยวกับกรณีจีนปล่อยน้ำจากเขื่อนมาว่า ในการร่วมกันดูแลและเตรียมความพร้อมในสถานการณ์ภัยแล้ง เช่น การสร้างฝาย “ฝายชาวบ้าน ฝายประชารัฐ” เพื่อเตรียมรับน้ำฝนในช่วงฤดูฝน และเพื่อชะลอความแรงของน้ำให้สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ โดยให้ 3 กระทรวงที่เกี่ยวข้องช่วยกันดูแลจัดหาอุปกรณ์และดำเนินการจัดทำฝาย โดยมีประชาชนในชุมชนเป็นกำลังหลัก และให้บูรณาการทำงานเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน อีกทั้งประเทศไทยยังได้รับความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ จีนที่ปล่อยน้ำลงสู่แม่น้ำโขงมาเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีมาอย่างยาวนาน และยังได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่ายอีกด้วย ภาพ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นประธานสักขีพยานในพิธีมอบโฉนดที่ดินตามโครงการเดินสำรวจออกโฉนดให้แก่ประชาชน และพบปะประชาชน ณ หอประชุมโรงเรียนจอมศรีพิทยาคม ต.จอมศรี อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี 18 มี.ค. 2559  (ที่มาภาพ เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล) ผู้จัดการออนไลน์ [2] ยังรายงานถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงกรณีนี้ด้วยว่า พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า แผนบริหารจัดการน้ำเอามาทำใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยง ระหว่างประเทศก็ไปเจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน เขาก็ยินดีเป็นการดูแลต่างตอบแทน ประเทศมหาอำนาจอย่างสาธารณรัฐประชาชนจีน เขาแจ้งประเทศไทยประเทศเดียวว่าปล่อยน้ำมาให้ เพราะเราค่อนข้างมีสัมพันธ์ที่ดีกับเขา ไม่ใช่เป็นพวกอย่างที่ใครกล่าวหา แต่เราอิสระ เราต้องได้ประโยชน์จากทุกประเทศ จากความไว้เนื้อเชื้อใจ ลดความหวาดระแวง ได้ผลประโยชน์ที่เท่าเทียมตามหลักการรัฐบาล ชาวบ้านริมโขงเชียงราย กระทบ หลังจีนปล่อยมวลน้ำก้อนใหญ่ไม่ทันตั้งตัว   ขณะที่หลังจากจีนมีการปล่อยน้ำ ในวันที 17 มี.ค.ที่ผ่านมา ข่าวสดออนไลน์ [3] รายงานข่าวจากเชียงราย ด้วยว่า จากการที่ระดับน้ำในแม่น้ำโขง แปรผันแบบรวดเร็ว และไหลเชี่ยว จากที่ก่อนหน้านี้ น้ำในแม่น้ำโขงลดลงอย่างมาก แต่พอมาในวันนี้เพิ่มสูงขึ้นกว่า 1 เมตรภายใน 1 วัน ส่งผลกระทบกับผู้เลี้ยงปากระชังที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ต้องเร่งยกกระชังให้สูงขึ้น และมัดเชือกให้แน่นหนาป้องกันความเสียหาย   ชาวประมงผู้เลี้ยงปลากระชัง ที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย พาไปตรวจสอบความเสียหายของปลาที่เลี้ยงไว้ หลังเขื่อนจีนที่เมืองจิ่งหง มณฑลยูนนาน เพิ่มการปล่อยมวลน้ำขนาดใหญ่  2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงสูงขึ้นกว่า 1 เมตรภายในวันเดียว ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาภัยเล้งจากประเทศที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน  การที่น้ำขึ้นสูงแบบผิดธรรมชาติ ทำให้ไม่ทันเตรียมตัว อีกทั้งทางการจีนก็ไม่ได้แจ้งเตือนล่วงหน้าให้กับผู้ที่อยู่ท้ายน้ำ ไม่สามารถคาดเดา สถานการณ์ ระดับน้ำในแม่น้ำโขงได้เลย   นายชาตรี วงค์วิวัฒนากุล เจ้าของกระชังปลาในแม่น้ำโขง ที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย บอกว่า น้ำขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ปลาปรับตัวไม่ทัน เกิดการตื่นน้ำ จนเป็นแผล บางรายกระชังก็หลุดลอยไปกับน้ำ เพราะว่าปกติฤดูแล้ง ไม่มีฝน น้ำไม่เคยขึ้น เลยไม่ได้มีการเตรียมตัว ไม่รู้ล่วงหน้า เสียหายกันมากพอสมควร   นอกจากนี้ เกษตรกรที่ ปลูกผักริมแม่น้ำ ก็ได้รับความเสียหายน้ำเข้าท่วมแปลงผัก ภายในข้ามคืน เสียหายเป็นจำนวนมากอีกด้วย  ชาวบ้านไม่สามารถรู้ข้อมูล และเตรียมการรับมือการขึ้นลง ของระดับน้ำได้ทัน ไม่เหมือนเมื่อก่อน ที่ระดับน้ำ ลดลง และสูงขึ้นตามฤดูกาล    ฝีพายงานประเพณีสงกรานต์เมืองเชียงแสนเผยง่ายต่อการซ้อม   ด้านมติชนออนไลน์ [4] รายงานฝั่งชาวบ้านที่ได้รับผลในทางบวก เช่น ชาวบ้านจาก ต.แม่เงิน อ.เชียงแสน จ.เชีงราย จำนวน 16 คน ได้เคลื่อนย้ายเรือพาย 22 ฝีพาย ซึ่งเป็นเรือไม้ขนาดใหญ่น้ำหนักมากเกือบ 1 ตัน หัวเเรือป็นไม้แกะสลักรูปพญานาคสวยงาม ลงแม่น้ำโขงด้านหน้าที่ว่าการ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ซึ่งใช้เวลานานกว่า 30 นาที ถึงนำเรือลงแม่น้ำโขงได้ เพราะไม่มีเครื่องจักรกลหนัก มีเพียงกำลังคนของชาวบ้านช่วยในการลำเลียงลงแม่น้ำโขง ซึ่งการนำเรือพายลงแม่น้ำโขงนั้นเนื่องจากในวันนี้น้ำโขงเพิ่มขึ้นสูง 3.29 เมตร จึงต้องรีบนำเรือลงแม่น้ำโขง เพื่อนำไปฝึกซ้อมในการแข่งขันเรือพายในวันที่ 16-17 เม.ย. ซึ่งเป็นงานประเพณีสงกรานต์เมืองเชียงแสน และหลังจากนี้จะมีการซ้อมทุกวัน เพราะน้ำในแม่น้ำโขงมีมาก จึงง่ายต่อการฝึกซ้อม   'ปธ.รักษ์เชียงของ' จวกจีนเริ่มปล่อยน้ำเขื่อนลงโขง ทำเหมือนมีบุญคุณ ทั้งที่เป็นต้นตอปัญหา ประชาไท [5] ยังรายงานเมื่อวันที่ 17 มี.ค.ที่่ผ่านมาว่า นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ และสมาชิกเครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง กล่าวถึงการปล่อยน้ำจากเขื่อนของจีนด้วยว่า ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วปัญหาแม่น้ำโขง ต้องพิจารณาให้ชัดเจนว่าปัญหาเกิดจากอะไรกันแน่ อยู่ๆ ไม่ใช่เหตุการณ์ปกติที่น้ำในแม่น้ำโขงจะแห้งลงไปเอง ทุกวันนี้สาธารณชนทุกคนมองไปที่เขื่อนจีนอยู่แล้ว “ดูง่ายๆ ว่าเวลานี้แม่น้ำโขงแห้งเกิดปัญหา แล้วแม่น้ำสาละวินล่ะ มีปัญหามั้ย สาละวินกับแม่น้ำโขงมีแหล่งกำเนิดเดียวกันไหลเคียงกันมาในยูนนาน สาละวินไม่มีปัญหานี้เลย แต่แม่น้ำโขงกลับมีปัญหา เพราะเขื่อนเยอะ เวลานี้มีแล้วถึง 6 เขื่อน การที่จีนประกาศปล่อยน้ำลงมาตอนนี้เหมือนมีพระคุณกับประเทศท้ายน้ำ ผมขอถามหน่อยเถอะว่า แล้วจีนเอาน้ำจากไหนมาปล่อย ก็คุณกักไว้แล้วในเขื่อนของคุณตั้ง 6 เขื่อนไง เขื่อนจีนคือปัญหาใช่ไหม คำถามจากผม ถามว่าคุณเอาน้ำมาจากไหนมาปล่อยให้คนท้ายน้ำ คุณเป็นคนเดียวที่กักน้ำ ไม่มีใครอีก คุณนั้นล่ะคือตัวปัญหาของแม่น้ำโขง ที่มาแถลงข่าวแบบนี้เป็นการแสดงออกแบบคนดี แต่ซ่อนต้นตอของปัญหา” นายนิวัฒน์ กล่าว นิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ และสมาชิกเครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง   นายนิวัฒน์กล่าวด้วยว่า “คุณเอาน้ำมาจากไหน จากสวรรค์หรือ น้ำในแม่น้ำโขงนี้คือหิมะละลายจากเทือกเขาหิมาลัย ในหน้าแล้งก็ละลายไหลลงมา นี่คุณกักน้ำไว้ ตายห่าเลย พอปัญหาเกิด คุณก็มาปล่อยน้ำ ทำเหมือนมีบุญคุณ แต่คุณระบายน้ำออกจากเขื่อนมากแบบนี้คุณได้ผลิตไฟฟ้าด้วย ได้ล่องเรือเอาสินค้ามาขาย แล้วยังมาได้บุญคุณอีกหรือ”   นายนิวัฒน์กล่าวว่าตั้งแต่สัปดาห์นี้มา แม่น้ำโขงเพิ่มระดับขึ้นเห็นชัดเจน แต่ตามฤดูกาลแล้วนั้น ฤดูแล้งหลายเดือนชาวบ้านจะได้เก็บไก (สาหร่ายแม่น้ำโขง) ทั้งได้กิน ได้ขาย และเป็นอาหารของปลา รวมทั้งปลาบึก หน้าแล้งน้ำลง ชาวบ้านก็ได้ใช้พื้นที่ริมโขงทำการปลูกผักปลูกพืช แต่เมื่อน้ำขึ้นๆ ลงๆ ผันผวนตามการใช้งานของเขื่อน กลับเกิดปัญหาตลิ่งพัง ซึ่งการปล่อยน้ำเพื่อดันน้ำทะเลไม่ใช่ว่าดีเสมอไป ที่สำคัญคือเขื่อนที่กั้นแม่น้ำโขงทำให้เกิดความสับสนในการจัดการน้ำไปหมด แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำพิเศษ ที่มีฤดูกาล เป็นวัฏจักรมีความสมดุลของ แต่ระบบนิเวศเสียหายทันทีเมื่อเกิดเขื่อน    “สำหรับคนริมโขง ไม่ใช่ว่าหน้าแล้งเราอยากได้น้ำเยอะๆ อย่างที่เจ้าของเขื่อนอ้าง เราต้องการให้แม่น้ำโขงเป็นไปตามฤดูกาล” นายนิวัฒน์ กล่าว   ปีที่แล้วก็กระทบ ท่วมแปลงผักริมโขง ชาวบ้านเผยไม่มีแจ้งล่วงหน้า   หากย้อนกลับไปเมื่อปีที่แล้ว 6 มี.ค. 2558 สำนักข่าวชายขอบ [6] รายงานด้วยว่า ริมแม่น้ำโขง อ.เชียงแสนและอ.เชียงของ จ.เชียงราย ว่า ปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงยังคงเพิ่มสูงขึ้น หลังจากที่ทางการจีนปล่อยน้ำจากเขื่อนจิงหงในประเทศจีนในปริมาณ 2,300 ลูกบาตรเมตรต่อวินาทีอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ติดต่อกันเพื่อให้เรือสินค้าสามารถแล่นได้ ทำให้ท่วมพื้นที่การเกษตรริมโขงในพื้นที่ท้ายน้ำและชาวบ้านทั้งไทยและลาวต่างเดือดร้อนกันถ้วนหน้า โดยระดับน้ำในวันที่ 5 มีนาคมอยู่ที่ 2.87 เมตร และในวันที่ 6 มีนาคม อยู่ที่ 3.4 เมตร ทั้งๆที่ก่อนหน้าเทศกาลตรุษจีนระดับน้ำโขงอยู่ที่ 1.9 เมตร เท่ากับว่าภายในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาน้ำเพิ่มขึ้นกว่า 1.5 เมตร   นางทองสร้อย ท้าวกอง วัย 53 ปีเกษตรกรในอำเภอชียงของ กล่าวว่าตนและสามีต้องนั่งมองน้ำโขงที่เพิ่มระดับขึ้นอย่างรวดเร็วจนท่วม แปลงที่ปลูกผักไว้หลายชนิดในช่วง 3 วันที่ผ่านมา ทั้งแปลงผักคะน้า ผักบุ้ง ผักชี ผักสลัด ที่เฝ้าหาบน้ำรดมาเดือนกว่า และหวังว่าจะทำรายได้นับหมื่นบาทช่วงสงกรานต์ แต่หายวับไปกับตา เพราะปริมาณน้ำมันขึ้นเร็วมาก โดยในวันนี้(6 มีนาคม)น่าจะขึ้นเกือบ 2 เมตรนะ เนื่องจากเขื่อนจีนปล่อยน้ำ ให้เรือสินค้าเขาขนของมาขาย ภาพแปลงผักริมโขงเมื่อ 6 มี.ค. 2558 (ที่มาภาพ Paskorn Jumlongrach [7])  “เขาค้าขายทางเรือเขาได้ แต่คนปลูกผักเสียหายนะ เราอยู่อย่างนี้ก็ไม่รู้จะทำไง เป็นแบบนี้มาเกือบ 10 กว่าปีแล้ว ดอนกลางน้ำโขง ที่เคยปลูกถั่วขายช่วงสงกรานต์ก็ถูกน้ำท่วม โขงช่วงหน้าแล้งน้ำท่วมซ้ำซาก ตอนนี้ตัดสินใจเลิกปลูกกลางดอนแล้ว ปลูกเฉพาะริมตลิ่งที่ทอดยาวไปตามริมฝั่งโขง พ่อค้าเรือใหญ่เขาได้ แต่คนปลูกผักสิกำลังจะตาย นี่หาบน้ำรดมาเป็นเดือน อีกหน่อยเดียวก็จะได้ขาย หมดกำลังใจเลยนะ ลงทุนไปหลายพัน ก็จมอยู่ในน้ำอย่างที่เห็น” นางทองสร้อยกล่าว เกษตรกรริมโขงผู้นี้กล่าวด้วยว่า ตนจำเป็นต้องปลูกพืชริมแม่น้ำโขงเพราะเคยปลูกมานาน ทั้งนี้น้ำที่ขึ้นช่วงนี้ เป็นน้ำมาจากเขื่อนจีนแน่นอน เพราะน้ำใสมาก มีตะกอนขุ่นเล็กน้อย ซึ่งต่างจากน้ำหน้าฝนที่น้ำจะมีสีขุ่นข้นแดงคลั่ก และยังไม่มีหน่วยงานไหนเข้ามาถามไถ่หรือช่วยเหลืออะไร “อย่างน้อยก่อนเขื่อนจีนจะปล่อยน้ำ ก็น่าจะบอกกันบ้าง ไม่ใช่ให้ชาวบ้านโทรศัพท์บอกกันเอง ดูน้ำขึ้นเป็นรายวันไป”นางทองสร้อยกล่าว
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/11937
2007-03-13 05:29
เรียกร้องตั้งองค์กรอิสระบริหารเงินประกันสังคม-คุ้มครองความปลอดภัยจากการทำงาน
ประชาไท - 13 มี.ค. 2550 เมื่อวันที่ 12 มี.ค. เวลาประมาณ 11.00น. ที่รัฐสภา สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ในสมัชชาคนจน ยื่นหนังสือต่อนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อเสนอให้บรรจุข้อเรียกร้องที่เกิดจากการระดมความคิดเห็นจากผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 อาทิ รัฐต้องไม่แปรกิจการรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภคหรือสาธารณูปการหรือความมั่นคงแห่งรัฐ รัฐต้องไม่แปรกิจการเป็นของเอกชน โดยต้องส่งเสริมประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถให้บริการกับประชาชนได้อย่างทั่วถึงและมีราคาที่เป็นธรรม   ปรับปรุงระบบการประกันสังคมให้ครอบคลุมผู้ทำงานทุกประเภท และประโยชน์ทดแทนทุกกรณี โดยเฉพาะประกันการว่างงานให้มีองค์การอิสระบริหารระบบประกันสังคม โดยให้ผู้แทนผู้ทำงานทุกสาขาอาชีพ มีส่วนร่วมในการบริหาร   รวมทั้งเรียกร้องให้มีองค์กรอิสระที่บริหารงานในลักษณะพหุภาคี ทำหน้าที่ส่งเสริมพัฒนาและคุ้มครอง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบครบวงจร   และต้องปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกันและสิทธิการเจรจาต่อรองร่วม
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/52538
2014-03-31 19:15
กลุ่มนศ.เข้าแจ้งความต่อตุลาการศาลรธน. ฐานโมฆะเลือกตั้ง 2 ก.พ.
นักศึกษาจากหลายสถาบันจัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ภายใต้ชื่อ “ศาลปล้นเสียง” ล้อเลียนคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ชวนประชาชนแจ้งความดำเนินคดีต่อตลก.รธน. ในวันที่ 1 เม.ย. นี้ 31 มี.ค. 2557 กลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในนามเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย (คกป.) กลุ่มวันใหม่ และกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย รวมตัวกันหน้าสถานีตำรวจนครบาลสุทธิสาร เพื่อจัดกิจกรรมแสดงเชิงสัญลักษณ์ภายใต้ชื่อ "ศาลปล้นเสียง" โดยนักศึกษาใช้เทปกาวปิดปากพร้อมชูป้ายข้อความแสดงความไม่เห็นด้วยกรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้การเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเป็นโมฆะ มีตัวแทนแต่งกายคล้ายตุลาการ และใส่ผ้าหน้ากากพร้อมถือค้อนและถุงที่บรรจุบัตรเลือกตั้ง เเสดงถึงเสียงของประชาชนที่ถูกปล้น   นอกจากนี้ทางกลุ่มยังได้แจ้งความดำเนินคดีต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยมี พ.ต.อ.เจริญ ศรีศศลักษณ์ รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 2 รับแจ้งความคดีดังกล่าว   นายรัฐพล ศุภโสภณ ตัวแทนสมาชิกกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีฯ กล่าวว่า การแสดงเชิงสัญลักษณ์ในครั้งนี้เป็นไปเพื่อจุดกระแสให้ประชาชนเข้าแจ้งความดำเนินคดีต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในวันพรุ่งนี้ที่นัดรวมตัวตาม สน.ต่างๆ ให้เข้าแจ้งความดำเนินคดีต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในความผิดมาตรา 157         ภาพโดย Panumas Khodchadet [1]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/62491
2015-11-17 18:59
ทางการไทยจับนักเคลื่อนไหวต้านรัฐบาลจีนส่งกลับประเทศ
นักเคลื่อนไหวซึ่งหนีรัฐบาลจีนเข้ามาอยู่ประเทศไทย 2 ราย ถูก ตม. ส่งกลับเมืองจีนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ขณะที่ก่อนหน้านี้ไม่นานมีเจ้าของร้านขายหนังสือในฮ่องกง ซึ่งจำหน่ายหนังสือวิจารณ์รัฐบาลจีน ก็หายตัวไประหว่างที่เดินทางมาประเทศไทยเช่นกัน โดยนักกิจกรรมต่อต้านรัฐบาลจีนเชื่อว่าเป็นฝีมือ จนท.จีน 17 พ.ย. 2558 - รายงานของสถานีวิทยุเอเชียเสรี [1] (RFA) เปิดเผยว่าทางการไทยได้เนรเทศชาวจีน 5 คน ในจำนวนนี้มีนักกิจกรรมต่อต้านรัฐบาลจีน 2 ราย ที่เป็นผู้แสวงหาที่ลี้ภัยด้วย เจียง เยเฟย นักวาดการ์ตูนวิจารณ์รัฐบาลจีนแก้ปัญหาแผ่นดินไหวที่เสฉวน ล่าสุดถูกทางการไทยส่งตัวกลับให้รัฐบาลจีน (ที่มา: RFA) นักกิจกรรมชาวจีน "แซ่หลี่" เผยว่า ตง กวงปิง (Dong Guangping) และเจียง เยเฟย (Jiang Yefei) และบุคคลสัญชาติจีนอีก 3 ราย ถูกส่งกลับจีนแผ่นดินใหญ่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (13 พ.ย.) โดยเขาเพิ่งทราบหลังจากไปที่ห้องกักของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และพบว่าทั้ง 5 คนถูกส่งกลับประเทศจีนแล้ว โดยหลี่ไม่ทราบแน่ชัดว่าทั้ง 5 คน ถูกส่งข้ามแดน หรือว่ามีเจ้าหน้าที่จีนมารับตัวพวกเขากลับไป ทั้งนี้ตงหนีออกจากประเทศจีนพร้อมครอบครัวมาตั้งแต่เดือนกันยายน หลังจากต้องโทษจำคุก 3 ปี ระหว่างปี 2544-2547 นอกจากนี้เขาถูก "ทำให้หายตัว" โดยเข้าไปอยู่ในสถานที่ควบคุมตัวลับเป็นเวลา 8 เดือนในปี 2557 โดยที่ภรรยาของเขาที่หนีมาด้วยกัน ชู ชาหัว (Chu Shahua) ขณะนี้ยังอยู่ในกรุงเทพฯ ส่วนเจียง เยเฟย เป็นนักวาดการ์ตูนซึ่งหนีมาอยู่เมืองไทยตั้งแต่ปี 2551 โดยก่อนที่เขาจะหนีมา เขาถูกทางการจีนควบคุมตัวและทรมาน หลังจากที่เขาวิจารณ์พรรคคอมมิวนิสต์จีนในเรื่องการแก้ปัญหาเหตุแผ่นดินไหวที่มณฑลเสฉวน ด้านภรรยาของเขาชู หลิง ซึ่งยังอยู่ในประเทศไทย กล่าวว่า ทั้งตง กวงปิง และเจียง เยเฟย ถูกดำเนินคดีข้อหาหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย ก่อนถูกเนรเทศกลับเมืองจีน โดยเสียค่าปรับรายละ 5 พันบาท และ 6 พันบาทตามลำดับ โดยที่รัฐบาลจีนยอมจ่ายค่าปรับให้กับทั้ง 2 ราย หยาง จง นักกิจกรรมชาวจีนซึ่งเคลื่อนไหวในไทย ระบุว่าว่าการส่งกลับนักกิจกรรมชาวจีนกลับเมืองจีนดังกล่าว ได้สร้างภาวะความกลัวขึ้นในหมู่นักกิจกรรมและผู้ลี้ภัยชาวจีนที่ยังอยู่ในประเทศไทย เจ้าของร้านหนังสือและผู้จัดพิมพ์หนังสือในฮ่องกง กุ้ย หมินไห่ (Gui Minhai) ซึ่งจำหน่ายหนังสือวิจารณ์รัฐบาลจีนในฮ่องกง ก็หายตัวไประหว่างเดินทางมาประเทศไทย นอกจากนี้พนักงานในร้านอีก 3 รายก็หายตัวไปเช่นกัน (ที่มา: SCMP) ทั้งนี้นักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน เฉา จินโป (Cao Jinbo) ซึ่งมาถึงเมืองไทยเมื่อต้นเดือนนี้กล่าวว่า ตำรวจจีนได้ควบคุมตัว เจ้าของร้านหนังสือและผู้จัดพิมพ์หนังสือชาวฮ่องกงที่ชื่อ กุ้ย หมินไห่ (Gui Minhai) ในระหว่างที่เขาเดินทางมาประเทศไทยด้วย "ดูเหมือนว่าทางการจีนมีความสามารถที่จะจับกุมคนที่อยู่ในต่างประเทศ ด้วยวิธีแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งนี่เป็นการลักพาตัวแบบผิดกฎหมาย" เฉา จินโป กล่าวกับวิทยุ RFA เขาระบุด้วยว่า กฎมายความมั่นคงแห่งชาติฉบับใหม่ของจีน ที่บังคับใช้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม มีผลทำให้กฎหมายจีนมีเขตอำนาจบังคับใช้กฎหมายอยู่ภายนอกประเทศจีนด้วย "จดหมายคุ้มครองตัว (ที่ออกโดย UNHCR หรือ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ) ไม่มีประโยชน์อีกต่อไป" เฉากล่าว ทั้งนี้เมื่อเดือนก่อน เจียง เยเฟย ได้ให้สัมภาษณ์สถานีวิทยุ RFA ภาคภาษากวางตุ้งว่าเขาหนีออกจากจีนด้วยความสิ้นหวัง หลังจากที่เขาถูกข่มเหงโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน เจียง เยเฟย ซึ่งเป็นคริสเตียนโปรแตสแตนท์กล่าวว่า "ทุกวันผมสวดอ้อนวอนพระเจ้าให้ขจัดระบอบปีศาจนี้" อนึ่งก่อนหน้านี้มี ผู้ถือสัญชาติจีน 4 คน ซึ่งเกี่ยวข้องกับร้านหนังสือในฮ่องกงที่จำหน่ายหนังสือที่วิจารณ์พรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้หายตัวไป (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) [2] โดยเชื่อว่าพวกเขาทั้ง 4 ถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่จีน เจ้าของร้านหนังสือดังกล่าว กุ้ย หมินไห่ อยู่ในประเทศไทยในช่วงนั้น ขณะที่ ผู้จัดการร้าน หลู่ โป้ (Lu Bo) ผู้จัดการสโตร์ หลิน หรงจี (Lin Rongji) และจาง จีปิง (Zhang Zhiping) พนักงานร้านหนังสือของบริษัท Sage Communicaions นั้นเชื่อว่าถูกตำรวจควบคุมตัวอยู่ในประเทศจีน
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/55080
2014-08-15 19:48
คณะกรรมาธิการสิทธิแห่งเอเชียฯ เป็นห่วง น.ศ.ขอนแก่น ที่ถูกจับจากละคร 'เจ้าสาวหมาป่า'
คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย กล่าวว่า กรณีดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องโดยคณะรัฐประหาร 15 สิงหาคม 2557  คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย ออกแถลงการณ์ต่อกรณีที่ นายปติวัฒน์ (สงวนนามกุล) นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ในข้อหาตามมาตรา 112 สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 6 และ 13 ต.ค. 2556 ผู้ต้องหาได้ร่วมแสดงละครเวทีเรื่องเจ้าสาวหมาป่า ซึ่งเป็นการรวมตัวเฉพาะกิจของนักแสดงบางส่วนของกลุ่มประกายไฟการละครซึ่งปิดตัวไปเมื่อปลายปี  2555 ละครเวทีเรื่องนี้จัดแสดงในงานรำลึก 40 ปี 14 ตุลาฯ ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียกล่าวว่า มีความรู้สึกกังวลอย่างมาก หลังจากได้รู้ข่าวของนายปติวัฒน์และมองว่า การจับกุมและตั้งข้อหานายปติวัฒน์นี้เป็นเครื่องแสดงถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกอย่างต่อเนื่อง หลังจากการรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/38336
2011-12-15 15:26
เผยผลวิจัยตลาดแรงงานปี 54 คนมองหางาน "ไอที บัญชี และการตลาด" มากที่สุด
งานวิจัยของ บ.อเด็คโก้ เผยตลาดงานยังโตต่อเนื่องปี 54-55 ปี 54 คนมองหางาน \ไอที บัญชี และการตลาด\" มากที่สุด ส่วนแนวโน้มตลาดแรงงานปี 55 คนมองหางานออกแบบตกแต่ง งานขาย งานบุคคล งานบัญชี ธุรการ ลูกค้าสัมพันธ์ กลุ่มสายอาชีพเทคนิคและสายงานโรงงาน 15 ธ.ค. 54 – ที่ห้องประชุม ชั้น 5 จามจุรีเรซิเดนซ์ กรุงเทพฯ มีการจัดงานเปิดตัว “คู่มือฐานเงินเดือน (Adecco Salary Guide) ประจำปี 2555” และ ผลวิจัย “บริษัทในฝันของคนทำงาน” และ “ลักษณะคนทำงานที่องค์กรต้องการ” โดยกลุ่มบริษัทอเด็คโก้ประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลแบบครบวงจร ข้อมูลสรุปสถานการณ์ตลาดแรงงานประจำปี 2554 พบว่าตลาดแรงงานโตขึ้นอย่างน้อย 20% โดยตลาดแรงงานมีความต้องการคนทำงานเพิ่มมากขึ้นเกือบทุกสายอาชีพ และคาดว่าตลาดยังคงมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีหน้า สายงานขาย วิศวกร ไอที ยังครองแชมป์หาคนมากที่สุดในตลาดแรงงาน ส่วนตำแหน่งรองมาจะอยู่ในกลุ่มสายงานบัญชี การเงิน บุคคล และการตลาด ส่วนกลุ่มธุรกิจที่มองหาคนมากที่สุด คือ กลุ่ม Trading กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มงานบริการ และกลุ่มพลังงาน ฯลฯ ส่วนตำแหน่งที่คนทำงานมองหามากที่สุด คือ ไอที บัญชี และการตลาด ซึ่งในปี 2554ที่ผ่านมามีผู้สมัครงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเกือบทุกสายอาชีพ ยกเว้นบางสายอาชีพที่มีคนหางานลดลง ได้แก่ งานธุรการ บุคคล การเงิน การตลาด การขาย และโลจิสติกส์ อาจเห็นได้ว่าตำแหน่งการตลาดเป็นตำแหน่งที่คนทำงานมองหามากที่สุด แต่ยังมีจำนวนลดลงจากปีที่ผ่านมา อาจเนื่องจากเพราะเป็นตำแหน่งงานยอดนิยมที่คนทำงานมองหา ทำให้เกิดการแข่งขันสูง เป็นผลให้จำนวนผู้สมัครงานลดลง แนวโน้มความต้องการของตลาดแรงงานในปี 2555 คาดว่ายังคงมีอัตราการความต้องการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในบางสายอาชีพยังคงมองหาผู้สมัครมาเติมเต็มตำแหน่งงานว่างในตลาดอยู่ เช่น งานออกแบบตกแต่ง งานขาย งานบุคคล งานบัญชี ธุรการ ลูกค้าสัมพันธ์ รวมถึงงานในกลุ่มสายอาชีพเทคนิคและสายงานโรงงานด้วย ธิดารัตน์ กาญจนวัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศ กลุ่มบริษัทอเด็คโก้ประเทศไทย กล่าวว่า จากภาพตลาดแรงงานโดยรวมเห็นได้ว่าในปีนี้และปีหน้า คาดว่าตลาดแรงงานจะยังคงมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยบริษัทอเด็คโก้เป็นตัวกลางระหว่างคนทำงาน และบริษัทผู้จ้างงาน จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของคนทั้งสองกลุ่ม จึงได้จัดทำการสำรวจตลาดในหัวข้อ “บริษัทในฝันของคนทำงาน” และ “ลักษณะคนทำงานที่องค์กรต้องการ” เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจถึงลักษณะและพื้นฐานเบื้องต้นที่แต่ละฝ่ายต้องการ ซึ่งจากงานวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อคนทำงาน คือ ชื่อเสียงขององค์กร ลักษณะงานน่าสนใจ และมีบรรยากาศในการทำงานที่ดี โดยมีความต้องการด้านผลตอบแทนเพิ่มขึ้นหากต้องการเปลี่ยนงานที่ 20% และจะทำงานอยู่กับบริษัทหนึ่งเป็นเวลาเฉลี่ย 3- 5 ปี ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อองค์กรในการรับคนเข้าทำงาน คือ ความรู้/ ความสามารถ ลักษณะของงาน และการสร้างบรรยากาศในการทำงาน โดยมีค่าตอบแทนเฉลี่ยที่สามารถให้เพิ่มขึ้นได้จากงานเดิมคือ 5-10% และคาดว่าพนักงานจะทำงานอยู่กับองค์กรเป็นเวลาเฉลี่ยอย่างน้อย 3 ปี (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากงานวิจัยฉบับเต็ม) พร้อมกันนี้ อเด็คโก้ยังได้เปิดตัว “คู่มือฐานเงินเดือน ประจำปี 2555” เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับคนทำงาน ผู้ที่กำลังมองหางาน หรือองค์กรต่างๆ โดยผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดผลวิจัยทั้ง 2 ฉบับ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) และคู่มือฐานเงินเดือนได้ฟรี ผ่านทางเวบไซด์ของบริษัทอเด็คโก้ (www.adecco.co.th) เกี่ยวกับอเด็คโก้ อเด็คโก้เป็นบริษัทติดอันดับของ Fortune Global 500 Company และ เป็นผู้นำระดับโลกในการให้บริการด้านการบริหารงานทรัพยากรบุคคล บริษัทฯได้ก่อตั้งและจดทะเบียนที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และบริหารโดยทีมผู้บริหารมืออาชีพจากหลากหลายประเทศ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการขยายเครือข่ายทั่วโลก กลุ่มบริษัทอเด็คโก้สามารถให้ความหลากหลายรูปแบบของการบริหารงานทรัพยากรบุคคล ไม่ว่าจะเป็นด้านการสรรหาพนกงานและการจัดจ้างพนักงานประจำและชั่วคราว การให้คำปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคล งานเงินเดือน การฝึกอบรม และการพัฒนาบุคคลากร โดยอเด็คโก้มีกิจกรรมดีๆ ที่จัดขึ้นเป็นประจำ พร้อมให้ข้อมูลดีๆและเป็นประโยชน์กับผู้มองหาคน หรือ ผู้มองหางาน เช่น ความรู้ต่างๆเกี่ยวกับการทำงาน ตำแหน่งงานดีๆอัพเดทกันทุกชั่วโมง เคล็ดลับในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ เรื่องราวชีวิตคนดัง และอื่นๆอีกมากมายที่ทางบริษัทได้อัพเดทข้อมูลเหล่านี้ไว้บนเวบไซด์ adecco.co.th ของเรา อีกทั้งยังมีการอัพเดทข้อมูลต่างๆผ่านทาง Facebook Twitter และยังมีการอัพเดทคลิปวีดีโอให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานผ่านทาง YouTube ไม่ว่าจะเป็น วิธีก้าวไปสู่ความสำเร็จเล่าโดยผู้ที่ประสบความสำเร็จในอาชีพต่างๆ รวมถึงเรื่องราวอัพเดทในตลาดแรงงาน โดยท่านสามารถติดตาม @AdeccoThailand ผ่านทางสื่อออนไลน์ต่างๆได้ตลอด 24 ชั่วโมง"
0neg
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/25440
2009-08-14 01:18
ชาวบ้านออกโรงโต้ ไม่ขอรับการสนับสนุนใดๆ จากบริษัทเจ้าของโครงการโรงไฟฟ้า
วานนี้ (13 ส.ค.52) ชาวบ้านผู้คัดค้านการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานสยาม ของบริษัท สยามเอ็นเนอร์จี จำกัด ในพื้นที่ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ส่งจดหมายเปิดผนึกส่งประชาไท ระบุเกี่ยวกับเรื่องการออกแถลงการณ์ร่วมฉบับที่ 1 คัดค้านการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าดังกล่าว ส่งถึงผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และสื่อต่างๆ สืบเนื่องจาก กลุ่มชาวบ้านได้ทราบว่าทางบริษัทเจ้าของโครงการดังกล่าวมีหนังสือแจ้งถึงโรงเรียนในบริเวณรอบๆ และพื้นที่ใกล้เคียงโครงการโรงไฟฟ้าฯ ให้เสนอรายชื่อนักเรียนเพื่อรับทุนการศึกษาประจำปี 2552 ในวันที่ 12 ส.ค.52 ณ ศาลาการเปรียญ วัดปิตุลาราชรังสฤษฎิ์ (วัดเมือง) อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา จำนวนโรงเรียนละ 10 ทุน ทุนละ 1,200 บาท โดยทางบริษัทฯ อ้างว่าได้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ยึดแนวทางกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและสิทธิชุมชน เพื่อการพัฒนาอาชีพ ความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อม ซึ่งชาวบ้านมองว่าไม่มีมูลความจริง อีกทั้งยังทำให้เกิดความวุ่นวาย ขัดแย้ง และสับสนในชุมชน จนอาจส่งผลทำให้ปัญหาในพื้นที่ทวีความรุ่นแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ แถลงการณ์ ลงวันที่ 10 ส.ค.52 ระบุว่า ชาวบ้านไม่รับการสนับสนุนใดๆ จากบริษัทสยามเอ็นเนอร์จี จำกัด ผู้ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานสยาม  หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการฯ และขอยึดมั่นในการคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ อ.บางคล้า  จ.ฉะเชิงเทรา ทั้งนี้ทุกคนมีความพึงพอใจในวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่างๆ และจะคุ้มครองให้ดำเนินต่อไปเพื่อลูกเพื่อหลาน อีกทั้งจะใช้แนวทางการคัดค้านอย่างถูกต้อง  เหมาะสมตามสถานการณ์ และจะไม่ใช้ความรุนแรงถ้าไม่จำเป็น นอกจากนี้จดหมายยังระบุด้วยว่า ที่ผ่านมาชาวบ้านในพื้นที่ได้มีการคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง และปัจจุบันทางบริษัทฯ เจ้าของโครงการ ก็ยังไม่สามารถที่จะคลี่คลายปัญหาการคัดค้าน ต่อต้านจากชาวบ้านได้เลย แต่กลับใช้วิธีการนำเงินมาหว่าน จนทำให้เกิดความวุ่นวาย และความขัดแย้ง กระทั่งทำให้ชาวบ้านผู้คัดค้านต้องออกมาเคลื่อนไหว และเพื่อแสดงจุดยืนที่ชัดเจนและเด็ดขาดตามแนวทางการคัดค้านที่ถูกต้องและเหมาะสม ชาวบ้านผู้คัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าดังกล่าวจึงได้ร่วมกันทำแถลงการณ์จากประชาชนขึ้นเพื่อประกาศให้สังคม หน่วยงานต่างๆ ทุกภาคส่วนได้ทราบ ถึงความต้องการที่แท้จริงของชาวบ้าน และหวังว่าแถลงการณ์ดังกล่าวจะทำให้บริษัทฯ พิจารณายุติการดำเนินการต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้ชาวบ้านสามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างสงบสุขดังเดิมได้       แถลงการณ์ร่วมจากประชาชน ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2552 เรื่อง การคัดค้านการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานสยาม ของ บริษัท สยามเอ็นเนอร์จี จำกัด   1) ไม่รับการสนับสนุนใดๆ จากบริษัทสยามเอ็นเนอร์จี จำกัด ผู้ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานสยาม หรือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการฯ 2) ขอยึดมั่นในการคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา 3) พวกเราทุกคนมีความพึงพอใจในวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่างๆ และจะคุ้มครองให้ดำเนินต่อไปเพื่อลูกเพื่อหลานของพวกเรา 4) จะใช้แนวทางการคัดค้านอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามสถานการณ์ และจะไม่ใช้ความรุนแรงถ้าไม่จำเป็น   ผู้ร่วมแถลงการณ์ได้แก่ - ชาวบ้านทุกพื้นที่ - เครือข่าย , ชมรมต่างๆ
0neg
1pos
1pos
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/58298
2015-03-10 13:07
นักข่าวตุรกีถูกจับฐานเอี่ยวเผยแพร่-ครอบครองแผนรัฐประหารของกองทัพ
อัยการตุรกีสั่งค้นที่พักและจับกุมตัว เมห์เม็ต บารานสุ นักข่าวผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลโดยอ้างข้อกล่าวหามีเอกสารลับของทางการไว้ในครอบครองรวมถึงการเผยแพร่ต่อ ซึ่งเอกสารลับดังกล่าวคือแผนการ "ค้อนยักษ์" ที่เคยมีสื่อรายงานว่าเป็นการวางแผนรัฐประหารโดยกองทัพตุรกีเมื่อราวสิบปีมาแล้ว 10 มี.ค. 2558 เมห์เม็ต บารานสุ นักข่าวผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลตุรกีอย่างเปิดเผยถูกจับกุมเมื่อวันที่ 2 มี.ค. ที่ผ่านมา ด้วยข้อหามีเอกสารเกี่ยวกับแผนการก่อรัฐประหารของกองทัพตุรกีไว้ในครอบครองรวมถึงข้อหาเผยแพร่เอกสารดังกล่าวซึ่งถือเป็นความลับของราชการ หลังจากตำรวจตุรกีเข้าค้นบ้านของบารานสุเป็นเวลา 12 ชั่วโมงตามคำร้องของอัยการแผ่นดินทางการตุรกี บารานสุก็ถูกจับกุม โดยอาห์เม็ต เอมเร ไบรัก ทนายความของบารานสุบอกว่าทางการยังกล่าวหาบารานสุว่ามีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มองค์กรที่มีเป้าหมายก่ออาชญากรรมและทำลายเอกสารทางราชการที่เกี่ยวกับความมั่นคง แม้จะมีการระบุตัวเขาเป็นสมาชิกอยู่เพียงคนเดียวก็ตาม ไบรักกล่าวอีกว่าบารานสุเคยทำงานให้กับสื่อทาราฟเดลีในปี 2553 ซึ่งตัวบารานสุเองไม่มีอำนาจใดๆ ในการกำหนดพาดหัวข่าวรายวัน ทำให้ไบรักมองว่าผู้ที่เป็นบรรณาธิการบริหารหรือหัวหน้าบรรณาธิการหนังสือพิมพ์น่าจะเป็นผู้ต้องสงสัยมากกว่า แต่ทางการกลับจ้องเล่นงานบารานสุโดยมีการค้นบ้านและจับกุมตัวเขาหลายครั้งแล้วทำให้ประเมินได้ว่าน่าจะเป็นการเจาะจงล่าตัวผู้วิจารณ์รัฐบาลอย่างบารานสุมากกว่า แผนการรัฐประหารตุรกีที่กล่าวถึงในที่นี้หมายถึงแผนการ "ค้อนยักษ์" (Balyoz Harekatı) ซึ่งกองทัพตุรกีวางแผนไว้ตั้งแต่ปี 2546 แผนการนี้ถูกเปิดโปงโดยหนังสือพิมพ์เสรีนิยมทาราฟ ซึ่งระบุถึงเอกสารแผนการค้อนยักษ์ว่า กองทัพมีแผนวางระเบิดศาสนสถาน 2 แห่ง ในกรุงอิสตันบูลและกล่าวหาว่าประเทศกรีซยิงเครื่องบินของตนตกในทะเลอีเจียน เพื่อเป็นการสร้างสถานการณ์ความวุ่นวายปูทางไปสู่ความชอบธรรมในการรัฐประหาร อย่างไรก็ตามฝ่ายกองทัพตุรกีโต้แย้งว่าแผนการดังกล่าวเป็นแค่การจำลองอนาคตเพื่อฝึกซ้อมรับมือสถานการณ์เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีข้อผิดพลาดและกระบวนการที่ไม่เหมาะสมในการดำเนินคดีนี้   เรียบเรียงจาก Turkey: Journalist arrested in connection with coup plot, Ushahidi, 02-03-2015http://mediafreedom.ushahidi.com/reports/view/757 [1] ข้อมูลเพิ่มเติมจาก en.wikipedia.org/wiki/Sledgehammer_(coup_plan) [2]
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/55274
2014-08-28 23:15
คสช.เบรกแต่งตั้งตำรวจ สั่งรอ ครม.
คสช. สั่งเบรกแต่งตั้งข้าราชการตำรวจทุกตำแหน่ง จนกว่าจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งครม.ชุดใหม่แล้วเสร็จ 28 ส.ค. 2557 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) รายงานข่าวแจ้งว่า นายอำพล กิตติอำพล เลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือด่วนที่สุดที่ นร 0506/ว 78 เรื่อง การชะลอการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ถึง พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รรท.ผบ.ตร. โดยในหนังสือดังกล่าวระบุว่า ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ส.ค.2557 นั้น เพื่อให้การบริหารบุคลากรภาครัฐเป็นไปอย่างโปร่งใส สอดคล้องหลักธรรมาภิบาล พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้า คสช.จึงสั่งการให้ทุกส่วนราชการชะลอการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับออกไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะเข้ารับหน้าที่และกำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน ขณะที่มีรายงานว่าสำหรับการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจระดับผู้บังคับการขึ้นไปถึงรอง ผบ.ตร.นั้น ตามกฎคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ต้องแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม แต่ล่าสุดมีการขออนุมัติ ก.ตร.ขยายเวลาการแต่งตั้งออกไปให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกันยายน ทั้งนี้หากมีครม.ล่าช้า ก็อาจต้องขออนุมัติ ก.ตร.เพื่อขยายเวลาการแต่งตั้ง ผบก.ขึ้นไปออกไปอีก อย่างไรก็ตามหลังแต่งตั้ง พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง เป็น ผบ.ตร.แล้วทำให้เหล่าข้าราชการตำรวจตั้งตารอการแต่งตั้งระดับนายพลตำรวจวาระนี้ ที่คาดว่าจะมีการโยกย้ายสับเปลี่ยนจำนวนมาก เนื่องจากเป็นการแต่งตั้งในวาระครั้งแรกหลังจากมี คสช.และในวาระแต่งตั้งนายพลประจำปีนี้มีตำแหน่งว่างจำนวนมาก ดังนั้น หลังมีคำสั่งชะลอการแต่งตั้งทำให้เหล่าข้าราชการตำรวจที่กำลังลุ้นผลการแต่งตั้งรอเก้อ ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ [1]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/12458
2007-04-23 02:32
ฉวยโอกาสงานแต่ง ตรวจบัตรต่างด้าว รวบจับบ่าวสาวและแขกเหรื่อร่วม 48 คน
เมื่อวันที่ 21 เม.ย. พ.ต.ท.ศุภฤษ์ พันธ์โกศล สารวัตรด่าน ตม.สมุทรปราการ ได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่ามีชาวพม่าหลบหนีเข้าเมืองจำนวนมาก เข้าร่วมงานแต่งงานภายในบ้านเลขที่ 53 ม.5 ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ จึงไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ พร้อมด้วย ร.ต.อ.สุบรรณ กรุดพันธ์ รอง สว.ด่าน ตม.สป. ร.ต.อ.บุญเรือง เล็กน้อย รอง สว.สป. ร.ต.อ.ศุภกฤต พูลศักดิ์ รอง สว.สส.สภ.อ.พระสมุทรเจดีย์       ภายในบริเวณบ้าน ตั้งโต๊ะเลี้ยงแขกและประดับประดาตกแต่งงานเลี้ยงด้วยลูกโป่ง และดอกไม้อย่างสวยงาม แขกที่มาร่วมงานอยู่ระหว่างกินเลี้ยงกันอย่างสนุกสนาน มีการตั้งวงร้องเพลงและเต้นรำกันอยู่ โดยด้านในยังมีเวทีแสดงดนตรีโฟล์กซองขับกล่อมแขกที่มาร่วมงาน ขณะที่เจ้าบ่าวอยู่ระหว่างเดินทักทายให้การต้อนรับแขกที่มาร่วมงาน ส่วนเจ้าสาวกำลังแต่งตัวเพื่อรอเข้าร่วมพิธี       เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจไปถึง ได้แสดงตัวเพื่อขอตรวจบัตรประจำตัวแรงงานต่างด้าว แต่ทันทีที่เจ้าภาพและผู้ร่วมงานทราบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาขอตรวจดูบัตรประจำตัว เจ้าบ่าวก็วิ่งหนีแล้วกระโดดลงไปในคลองสรรพสามิตซึ่งอยู่หลังบ้านแล้วว่ายน้ำหลบหนี ขณะที่นักร้องนักดนตรีที่แสดงบนเวทีต่างก็รีบกระโดดหนีลงไปในคลองหลังบ้านตามเจ้าบ่าวไปเช่นกัน ส่วนแขกที่มาร่วมงานต่างตกใจพากันวิ่งหนีจนชุลมุน ชนข้าวของภายในงานแตกกระจายเกลื่อน บางคนก็กระโดดลงคลองว่ายน้ำหลบหนีตามเจ้าบ่าว บางคนหาที่หลบซ่อนตัวภายในบ้าน เช่นในห้องน้ำ ตุ่มน้ำที่วางเรียงรายกันอยู่ด้านข้างของบ้าน       ตำรวจจับกุมชาวต่างด้าวชาวพม่าที่มาร่วมงานได้จำนวนทั้งสิ้น 48 คน เป็นหญิง 10 คนและชาย 38 คน ส่วนเจ้าบ่าวและเจ้าของบ้านสามารถหลบหนีไปได้ จาการสอบสวนชาวต่างด้าวซึ่งเป็นแขกที่มาร่วมงานให้การว่า เดินทางมาจากหลายพื้นที่ทั้งในกรุงเทพมหานคร จ.นนทบุรี และ จ.สมุทรสาคร เพื่อมาเป็นเกียรติกับคู่บ่าวสาวในงานแต่งงาน
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/14874
2007-11-20 01:34
อานันท์ กาญจนพันธ์ : ตัวตนของชาวนา แรงงานนอกระบบ และคนงานยุคโลกาภิวัฒน์
อรรถพงษ์ ศักดิ์สงวนมนูญ สำนักข่าวประชาธรรม... เรียบเรียง สภาวะที่ไร้ตัวตนอำนาจการต่อรองจะไม่มี การแสดงและทำความเข้าใจว่าเราเป็นใครจะเพิ่มอำนาจการต่อรองมากขึ้น เมื่อต่อรองมากขึ้นจะนำไปสู่การสถาปนาสถาบันหรือว่ากลไกใหม่ๆ ทางสังคมขึ้นมาเพื่อดำเนินการในการแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ได้มากขึ้น...หมายเหตุ : วันที่ 17 พ.ย.ที่ผ่านมา ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ นักวิชาการคณะสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ กล่าวปาฐกถาเรื่อง "ตัวตนของชาวนา แรงงานนอกระบบ และคนงานยุคโลกาภิวัฒน์" เนื่องในโอกาสครบรอบ 33 ปี สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย ซึ่งจัดโดย กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ และองค์กรประชาชนภาคเหนือ ณ ห้องประชุมคณะสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ................................................ ถึงวันนี้ปัญหาต่างในสังคมไทยมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ช่วงยุคปี พ.ศ. 2520 มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นโดยเฉพาะภาคเหนือ เกษตรกรไม่ได้อยู่ในภาคการเกษตรทั้งหมดเริ่มมีทางเลือกเป็นการทำงานนอกภาคการเกษตรมากขึ้น เช่น มีการเข้าไปทำงานในเมืองหรือว่ามีกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่ใช่การทำงานในภาคการเกษตร การทำงานในระยะแรก ๆ มีผลโดยถือเป็นการเปิดโอกาสของการทำงานใหม่ ๆ เพราะว่าในภาคเกษตรเมื่อสมัยที่ผมได้เข้าไปทำวิจัยเมื่อช่วงปี 2520 ก็พบว่าถ้าหากเป็นเกษตรกรไร้ดิน และต้องเป็นคนงานในภาคการเกษตรก็จะถูกกดค่าแรงมากในช่วงปี 2520 ค่าแรงชายในภาคการเกษตรตกเฉลี่ยวันละ 30 บาทส่วนค่าแรงหญิงวันละ 25 บาท สมัยนั้นค่าแรงน้อย พอเริ่มออกมานอกภาคการเกษตรทำให้การต่อรองของคนงานที่ต้องทำงานนอกภาคการเกษตรดีขึ้น ในช่วงปี 2530 มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างน่าตกใจมาก การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็วมากเพราะว่าไม่มีใครอยากที่จะทำในส่วนของภาคการเกษตรทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้นแย่งกันทำ เพราะว่าค่าแรงถีบตัวสูงขึ้นและเกษตรกรมีทางเลือกออกมาทำงานนอกภาคการเกษตรมากขึ้น สินค้าการเกษตรก็ราคาไม่ดี ที่ดินในภาคการเกษตรบางที่ถูกปล่อยให้รกร้าง ในช่วงปี 2540 ทุนนิยมขยายตัวมากขึ้น มีพื้นที่รกร้างว่างเปล่าเยอะแต่ว่าที่ดินไม่ได้จำกัดอยู่เพียงภาคการเกษตรเท่านั้น รัฐทุ่มนโยบายขยายการออกโฉนดที่ดินที่ดูเหมือนว่าดี จะส่งผลให้มีความมั่นคงสูง แต่หลังจากการวิจัยก็พบว่าเมื่อยิ่งออกโฉนดอัตราที่ที่ดินหลุดมือของเกษตรกรหรือชาวนาก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้น เพราะว่าพอมีโฉนดชัดเจนก็ยิ่งทำให้ที่ดินเป็นสินค้า และอาจจะเป็นเพราะถูกบีบจากภาคการเกษตรในแง่ที่ว่าพืชผลเกษตรราคาตกต่ำ ค่าแรงสูงมากขึ้นก็อยู่ไม่ได้ไปทำอาชีพอย่างอื่นดีกว่า ก็ขายที่ดินทิ้งไปหมดมีการเก็งกำไรที่ดินเกิดขึ้น คือสภาวะทั้งหมดทั้งกดทั้งบีบให้คนที่อยู่ในภาคการเกษตรสูญเสียที่ดินไปจำนวนมาก งานในภาคเกษตรจึงหดตัวลงในช่วงปี 2540 นี้คิดว่ามีภาคการเกษตรไม่ถึง 50% เวลานี้โดยเฉลี่ยอาจจะเหลือเพียง 30-40% ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมันก็มีปัญหาเพราะว่าภาพที่เคยมีการสร้างกันว่าประเทศไทยเป็นสังคมเกษตรเป็นภาพหลักที่รัฐและคนทั่วไปยึดถือเอาไว้ จะเห็นได้ว่านโยบายส่วนใหญ่ที่รัฐออกมาจึงออกมารองรับภาพซึ่งเป็นมายาคติที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร ซึ่งในรัฐบาลทักษิณนโยบายที่ออกมาก็ยึดภาคการเกษตรเป็นใหญ่ คนในชนบทที่อยู่ในภาคการเกษตรนั้นจริง ๆ แล้วก็ไม่ได้มีกิจกรรมที่อยู่ในภาคการเกษตรทั้งหมด อาจจะเป็นว่าถึงแม้ว่าเป็นเกษตรแต่มันก็ไม่ได้เกษตรอย่างที่เคยเป็นมาก่อน มันเป็นเกษตรแบบพันธะสัญญาหรือไม่ก็รับเอางานไปทำที่บ้านมีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในชนบทเกิดขึ้นอย่างมหาศาล แต่คนส่วนใหญ่ทั่วไปกลับเข้าใจว่าสังคมไทยส่วนใหญ่ยังเป็นสังคมเกษตรอยู่ทั้งที่จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่ นโยบายที่ออกมาจึงกลับกลายเป็นว่าไปส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมธุรกิจการเงินต่าง ๆ แทนที่จะไปสนับสนุนภาคเกษตรกรหรือชนบทมากขึ้น ในวันนี้การพูดถึงตัวตนของชาวนา แรงงานนอกระบบ และคนงานยุคโลกาภิวัฒน์เป็นประเด็นที่ว่าในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในชนบทมาก ภาพที่เราเห็นมันเข้าใจ เป็นมายาคติเป็นสมมติฐานที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง การที่เราอยู่ในยุคโลกาภิวัฒน์มากขึ้นเรื่อย ซึ่งมันมี 2 ส่วน ด้านหนึ่งก็คือมีการขยายตัวของข้อมูลข่าวสาร ก็คือมีความรวดเร็วมากขึ้น ด้านหนึ่งก็มีประโยชน์แต่อีกด้านหนึ่งซึ่งทำให้เกิดการครอบงำทางความคิดมากขึ้น โลกาภิวัฒน์จะเป็นตัวช่วยให้มายาคติต่างๆ ขยายตัวมากขึ้นด้วยวิธีการพูดแบบเหมารวม คือเหมาไปหมดว่าคนแบบนี้ต้องเป็นแบบนี้หรือเป็นการกักขังอัตลักษณ์ของบุคคล เช่น มองชาวเขาก็ต้องค้ายา ทำลายป่าทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงคนทั่ว ๆ ไปมีบุคลิกลักษณะหลาย ๆ อย่าง หรือในเรื่องปัญหาของแรงงานนอกระบบที่จะถูกตอกย้ำทำให้ไม่เห็นตัวตนที่ถูกซ่อนตัวตนที่แท้จริง ทั้ง ๆ ที่เขาสร้างมูลค่าให้ประเทศมหาศาลแต่ตัวตนของบุคคลเหล่านี้กลับถูกบิดเบือนจนมองไม่เห็น และอีกส่วนหนึ่งก็คือ เรากำลังอยู่ในยุคสมัยที่เรียกว่าเสรีนิยมใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับกลไกตลาดเป็นที่ตั้ง เน้นตลาดเสรี ทำให้มองคนเป็นปัจเจกโดยที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับกลุ่มของคน เสรีนิยมทำให้แรงงานนอกระบบเหล่านี้แยกสลายกระจัดกระจายออกไปไม่สามารถรวมเป็นกลุ่มก้อนได้ ส่วนผู้ที่ทำงานอยู่ในภาคอุตสาหกรรมในโรงงาน เสรีนิยมใหม่ใช้นโยบายการจ้างงานแบบยืดหยุ่นหมายความว่าที่ไหนที่สามารถขูดรีดคนงานได้ดีก็จ้างแบบนั้น คือยืดหยุ่นสำหรับนายทุน และในอีกส่วนหนึ่งที่เหลืออยู่ในโรงงานก็เป็นแบบที่สามารถที่จะควบคุมได้มากที่สุดคือว่าการตั้งสหภาพต่าง ๆ เพื่อต่อรองทำได้ยาก ดังนั้น โลกาภิวัตน์ทำให้ภาพของกลุ่มคนที่เป็นผู้ผลิตที่แท้จริง ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร แรงงาน แทบไม่มีใครรู้เลยว่าชะตาชีวิตที่แท้จริงของเขาเป็นอย่างไร อยู่กันแบบไหน เพราะเขาเหล่านั้นถูกทำให้กลายเป็นปัจเจก ไม่สามารถรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนได้ นี่เป็นสภาวะที่เรากำลังเผชิญอยู่ ซึ่งถ้าเราไม่สามารถบอกได้ว่าเราเป็นใคร อยู่กันอย่างไรเผชิญชะตาชีวิตแบบไหนความเป็นธรรมในสังคมก็จะไม่เกิดขึ้น ความเป็นธรรมในสังคมนั้นมีสิ่งที่จะพูดถึงอยู่ 3-4 เรื่องด้วยกัน อันแรกก็คือเรื่องของสิทธิ ซึ่งในตอนนี้ในเรื่องของสิทธิ เช่น ระบบกฎหมายทำให้เราเป็นได้แต่เฉพาะสิทธิของปัจเจก ในขณะที่สิทธิที่เป็นเรื่องเกินกว่าปัจเจก อาจจะเรียกว่าสิทธิส่วนรวม เช่น สิทธิชุมชน สิทธิของกลุ่มคนต่างๆ เช่น เกษตรกรเรื่องพวกนี้มีความสำคัญมาก เพราะถ้าเราไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นกลุ่มอย่างไรสิทธิเหล่านั้นจะไม่เกิดขึ้น เราต้องบอกได้ว่าเราเป็นกลุ่มไหน อย่างเช่นกรณีที่คนพิการออกมาเรียกร้องให้สร้างลิฟต์ที่รถไฟฟ้า นั่นคือการแสดงตัวตน เพราะฉะนั้นการที่จะมีสิทธิได้ต้องบอกได้ว่าเราเป็นใคร มีปัญหาอย่างไร แบบเดียวกันในเรื่องของเกษตรกรหรือว่าแรงงานนอกระบบคือต้องมีการแสดงตัวตนออกมาให้สังคมได้เห็น เพาระฉะนั้นในประเด็นเรื่องสิทธิเรื่องตัวตนเป็นเรื่องสำคัญเพราะมันไปพันกับเรื่องสิทธิ เพราะฉะนั้น ในเรื่องความเป็นธรรมของสังคมต้องคำนึงถึงสิทธิของคนที่แตกต่าง ไม่ใช่ไปเหมารวม เพราะในสังคมไทยมีความแตกต่างกันหลายด้าน มีความหลากหลายถ้ามองคนแบบเหมารวมจะทำให้การรักษาสิทธิของแต่ละคนทำได้ยาก การทำความเข้าใจในสิทธิที่แตกต่างจึงเป็นเรื่องสำคัญ ในเรื่องของตัวตนนอกจากเกี่ยวกับสิทธิแล้ว ยังไปเกี่ยวพันกับการที่จะทำให้กลุ่มคนเหล่านี้สามารถที่จะกำหนดชีวิตของตัวเองได้ ไม่ใช่ปล่อยให้ลอยไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ เพราะตรงนี้จะทำให้การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มันไร้ทิศทาง เพราะฉะนั้นกลุ่มคนเหล่านี้ควรที่จะกำหนดทิศทางของตัวเองได้ แต่จะได้หรือไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการควบคุมทรัพยากรด้วย จะไปเรียกร้องแต่สิทธิอย่างเดียวคงไม่พอ เพราะยิ่งสังคมพัฒนาไปมากเท่าไรการใช้ทรัพยากรก็จะมีผลกระทบต่อสังคมมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างในตอนนี้คิดจะมีการสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ แล้วเอาแค่โรงไฟฟ้าถ่านหินที่แม่เมาะก็จะตายกันอยู่แล้ว การสร้างผลเสียให้กับพื้นที่ข้างเคียงมีมหาศาล การใช้ทรัพยากรไม่ได้มีผลเฉพาะตรงจุดที่ใช้เท่านั้น มันสร้างผลกระทบไปไกลมาก ดังนั้น หากท้องถิ่นไม่สามารถที่จะควบคุมการใช้ทรัพยากรได้ ทิศทางการพัฒนาจะเป็นไปแบบตามยถากรรม คือเกิดปัญหาก่อนแล้วค่อยมานั่งพูดกันแบบวัวหายล้อมคอกเพราะไม่มีใครกำหนด ซึ่งจะไปหวังพึ่งราชการก็ไม่ได้ พวกนั้นต้องให้เกิดปัญหาก่อนจึงค่อยมาแก้ ดังนั้นกลุ่มชุมนท้องถิ่นต้องมีบทบาทในการควบคุมทรัพยากรมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดก็ตาม การเรียกร้องในการเข้าไปควบคุมในเรื่องนี้ของท้องถิ่นจึงสำคัญเพราะว่าจะทำให้การดำรงอยู่ของคนด้อยโอกาสไม่ให้มารองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากโลกาภิวัตน์เน้นแต่ในเรื่องของกลไกตลาด คิดว่ามันเป็นยาสารพัดนึกสามารถแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง คิดว่ากลไกตลาดเป็นตัวที่ช่วยเอื้อในเรื่องความมีประสิทธิภาพ อีกหน่อยสังคมไทยก็จะให้สิทธิตลาดในการจัดการทุก ๆ เรื่อง เช่น ในเวลานี้ก็มีเรื่องน้ำจะให้กลไกตลาดเข้ามาจัดการทั้ง ๆ ที่เมื่อก่อนนี้ชุมชนเป็นคนจัดการทุกอย่าง เอาง่าย ๆ ลองเทียบกับที่ดินที่ปล่อยให้ระบบกลไกตลาดจัดการที่เป็นผลให้ที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ 30 ล้านไร่ไม่ได้ถูกนำเอาออกมาใช้ส่วนคนไร้ที่ดินก็ต้องไปทำกินในพื้นที่ๆ ไม่สมบูรณ์ เพราะที่ดินดี ๆ ต้องว่างเปล่าไปเนื่องจากการเก็งกำไร แสดงว่าระบบตลาดที่คิดว่ามีประสิทธิภาพ บิดเบือนการใช้ทรัพยากรอย่างมหาศาล แต่คนก็ไม่เคยหยิบเอาข้อเสียของระบบตลาดมาพูดเลย พูดแต่ด้านดี ดังนั้น การที่จะสามารถควบคุมให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างเท่าเทียม ต้องเน้นแก้ปัญหาในเรื่องสถาบันทางสังคม และกลไกทางสังคมอื่น ๆ นอกเหนือจากระบบกลไกตลาดข้ามาช่วยให้มากที่สุด ในอนาคตรูปแบบของสถาบันหรือว่าองค์กร และกลไกใหม่ควรจะมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสหภาพต่างๆ เรื่องกลไกอิสระเรามีบ้างแล้ว แต่ว่ายังไม่เข้าไปอยู่ในทุก ๆ เรื่อง เพราะฉะนั้นคิดว่าการแสดงตัวตนของกลุ่มต่างๆ จะไปสถาปนาสถาบันทางสังคม หรือกลไกทางสังคมใหม่ ๆ เพื่อให้การต่อสู้กับปัญหาในอนาคตได้ดีมากขึ้นและต้องมีการต่อรองต่างๆ เพิ่มมากขึ้นด้วยแต่การที่จะต่อรองได้นั้นเริ่มต้นต้องมีการแสดงตัวตนของตนเองก่อนว่าเราเป็นใคร อยู่ในกิจกรรมแบบไหนอย่างไร เพราะถ้าหากไม่มีใครรู้ว่าเราเป็นใคร เราก็เหมือนมนุษย์ล่องหนที่ไม่มีใครรับรอง กฎหมายก็ไม่รับรอง ดังนั้น สภาวะที่ไร้ตัวตนอำนาจการต่อรองจะไม่มี การแสดงทำความเข้าใจว่าเราเป็นใครจะเพิ่มอำนาจการต่อรองมากขึ้น และยิ่งต่อรองมากขึ้นจะนำไปสู่การสถาปนาสถาบันหรือว่ากลไกใหม่ๆ ทางสังคมขึ้นมาเพื่อดำเนินการในการแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ได้มากขึ้น.
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/6166
2005-10-26 05:27
บทความจาก ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง : ถ้ามี "มองต่างมุม" ในยุคทักษิณ
แรกๆ ก็แปลกใจ เมื่อนิตยสารแฮมเบอร์เกอร์ (HAMBURGER) มาขอสัมภาษณ์..    ทราบมาว่า "แฮมเบอร์เกอร์" เป็นนิตยสารแนวบันเทิงสมัยใหม่ ที่กำลังฮอตฮิตในหมู่คนวัยรุ่นหนุ่มสาว ไม่เน้นเนื้อหาการเมือง การเศรษฐกิจ    แต่คำถามของคนหนุ่มผู้สัมภาษณ์ กลับทำให้คนแก่กว่าอย่างผมคิดได้คิดอะไรหลายอย่าง...   เขาถามว่า  : "ถ้าช่วงนี้ สื่อมวลชนไม่ถูกแทรกแซง ไม่ถูกเซ็นเซอร์ ไม่ถูกกดดัน ไม่ถูกครอบงำ ไม่ถูกปิดรายการต่างๆ  สมมติว่า มีรายการ "มองต่างมุม" เกิดขึ้น  อาจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง  จะเชิญใครมาออกรายการ?"   "มองต่างมุม" เป็นรายการโทรทัศน์สาระ แบบ "ถามสด" ที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมตั้งประเด็นคำถาม พูดกันอย่างตรงไปตรงมา เป็น "ตลาดความคิดเสรี เวทีประชาชน"     คำถามของนักข่าวผู้นี้  สะท้อนคำถามให้คิดตามหลายอย่าง...   เขาถาม   เพราะรู้สึกว่า ตอนนี้สื่อมวลชนไม่มีอิสรเสรีภาพ ถูกแทรกแซง เซ็นเซอร์ กดดัน ครอบงำ?   เขาถาม   เพราะอยากรู้ว่า คนที่เคยจัดรายการวิทยุโทรทัศน์มามากกว่าสิบปี คิดอะไรกับบ้านเมืองในช่วงนี้  และถ้าจะนำเสนอสาระให้ครบทุกมุม ควรจะเชิญใคร จึงจะน่าสนใจ?   เขาถาม   เพราะอยากรู้ว่า ในสภาวะบ้านเมืองยามนี้ ประชาชนจะอยากฟังใคร?   ผมตอบไปว่า   "มองต่างมุม" นัดที่ 1  จะเชิญ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มาพบกับคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน  และอาจจะเติมความเข้มลึกของรายการโดยคุณอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี และประธาน กอส.   ทำไมหรือ...  เพราะยุคนี้ ประชาชนคงจะเบื่อ หน่าย เอือม ระอา ที่จะฟังความข้างเดียว ฟังใครพูดคนเดียว กรอกหูทุกเช้าวันเสาร์  ได้ฟังมาตลอดว่า พ.ต.ท.ทักษิณ คิดอย่างไร มองอย่างไร เห็นอย่างไร ควรทำอย่างไร     และได้รับฟังแต่เฉพาะว่าอะไรดี-ไม่ดี- เฉพาะในมุมมองของทักษิณ   ประชาชนคงอยากจะได้ฟังความคิดเห็นในมุมมองที่รอบด้าน มุมมองของผู้นำฝ่ายค้าน ผู้ติดตามตรวจสอบรัฐบาล  เพราะจะได้รู้ ได้เห็น และได้มองในอีกมุมหนึ่ง ซึ่งจะได้มองเห็นจุดบกพร่อง จุดอ่อน หรือจุดที่ต้องระมัดระวังในการกระทำของฝ่ายบริหาร    อย่าลืมว่า  ฝ่ายค้านไม่มีอำนาจเท่าฝ่ายบริหาร เป็นฝ่ายตรวจสอบ  เขาจึงต้องใช้สติปัญญามากกว่าคนที่ใช้อำนาจ ต้องรู้ทันคนที่ใช้อำนาจ  การได้ฟังมุมมองของฝ่ายตรวจสอบจึงทำให้รู้รอบ รู้ทัน จะได้ไม่ถูกต้ม!   นอกจากนี้  ประชาชนคงอยากจะชั่งน้ำหนักความคิด  อยากเห็นมุมมองของคุณอานันท์ ปันยารชุน ผู้มีคุณวุฒิ ประสบการณ์ ทั้งในแวดวงราชการชั้นสูง วงการธุรกิจ และองค์กรระหว่างประเทศ  ทั้งปัจจุบันยังทำงานเพื่อบ้านเพื่อเมืองอยู่ในฐานะประธานคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ    ตอบไปแล้ว  นักข่าวหนุ่มก็แสดงออกด้วยการพยักหน้า  พอใจ   "มองต่างมุม" นัดที่ 2  จะเชิญคุณสมัคร สุนทรเวช กับคุณดุสิต ศิริวรรณ มาพบกับคุณสนธิ ลิ้มทองกุล และคุณสุทธิชัย หยุ่น   ทำไมหรือ... เพราะคนดูจะได้ไม่ต้องฟังคนปากดี พ่นน้ำลายฝอยออกจอ ออกอากาศอยู่ข้างเดียว ประชาชนคงอยากรับฟังมุมมองอื่น โดยเฉพาะมุมมองของคุณสนธิ กับ คุณสุทธิชัย ซึ่งได้รับการยอมรับว่า เป็นสื่อมวลชนที่มีมุมมองความคิดเฉียบคม รู้ลึก รู้ทันยุค ทันเหตุการณ์ มีสติปัญญา มีฝีปาก เพียงแต่ไม่ปากดี ไม่ปากหอยปากปู   ตอบไปแล้ว  เห็นนักข่าวหนุ่มซี๊ดปาก อยากดู   "มองต่างมุม" นัดที่ 3 จะเชิญนายหญิง มาพบกับเจ๊ใหญ่  และเติมด้วยเจ๊แดง ระเบียบจัด   ทำไมหรือ... เพราะคนดูจะได้รู้ว่าเบื้องลึกเบื้องหลังในความยิ่งใหญ่ของชาย ว่าเป็นฝีไม้ลายมือของหญิงใด ผู้คอยพยุงอยู่   คนจะได้เข้าใจเบื้องหลังอำนาจอิทธิพลของจริงในวัฒนธรรมสังคมไทย   จะได้รู้กันไปเลยว่า ใครกันแน่คือผู้กำกับ ใครกันแน่ที่เข้าถึงกว่ากัน มีอิทธิพลกว่ากัน น่าเชื่อกว่ากัน  ใครน่าพึงใจ น่าไว้ใจกว่ากัน   พอบอกไปแล้ว  เห็นนักข่าวหัวเราะชอบใจ   "มองต่างมุม" นัดที่ 4 จะเชิญคุณวิษณุ เครืองาม กับคุณบวรศักดิ์ อุวรรณโณ มาพบกับคุณสัก กอแสงเรือง กับอาจารย์ธีรยุทธ บุญมี   ทำไมหรือ... ประชาชนคงอยากรู้ว่า อะไรคือหลักการ อะไรคือหลักกู    ใครคือคนที่รักษาจุดยืนบนหลักการ  ใครคือคนที่ถูกกล่าวหาว่าแผ่นเสียงตกร่อง แล้วใครคือคนที่ไม่มีหลักการแน่นอน เช่าได้ เปลี่ยนจุดยืนได้ เปลี่ยนแผ่นเสียงได้ตามใจนาย!   ตอบไปแล้ว  นักข่าวหนุ่มเบือนหน้า อาย   "มองต่างมุม" นัดที่ 5 จะมองต่างมุมในลักษณะ "ตามหาแก่นธรรม" โดยเชิญคุณวิษณุ เครืองาม  กับพระระดับสมเด็จ มาพบกับพระคุณเจ้าหลวงตาบัว กับนายทองก้อน     เพื่อว่าคนดูจะได้รู้แจ้งเห็นจริง  อะไรคือแก่น อะไรคือเปลือก อย่างไหนตกนรก อย่างไหนขึ้นสวรรค์   "เทวทัต" เป็นอย่างไร  อย่างไหนเรียกเมตตา หรือใครเมตตาใคร  รวมไปถึงว่า  พุทธจักรกับอาณาจักร จะสัมพันธ์กันอย่างไร?   บอกไปแล้ว เห็นนักข่าวหนุ่มเหงื่อแตก.. รีบลากลับไป  (ฮา)   คุยกับนิตยสารบันเทิง ก็เลยได้คิดอะไรที่มันบันเทิงใจบ้าง   ขอบคุณคำถามดีๆ ที่ช่วยให้ได้คิดฝันอะไรเพลินๆ ได้นึกหวังถึงวันคืนที่บ้านเมืองของเราจะมีสื่อเสรี สื่อสาระ เพื่อประชาธิปไตย และเพื่อการเรียนรู้ของคนไทยทั้งประเทศ
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/20106
2009-02-23 23:03
ข่าวสารรัฐฉาน: เศรษฐกิจ "กลุ่มหยุดยิงเมืองลา" ทรุด หลังจีนสั่งปิดด่านชายแดน
เมืองลา (ภาพโดย สำนักข่าว SHAN)     บ่อนคาสิโน เมืองม้า เขตเมืองลา (ภาพโดย สำนักข่าว SHAN)     SHAN - 23/02/52 - หลังทางการจีนเข้มงวดการเดินทางข้ามชายแดนระหว่างเมืองลา (รัฐฉาน) - ท่าล่อ (เขตสิบสองปันนา) ตั้งแต่ต้นปี 2552 นี้เป็นต้นมา ส่งผลให้ธุรกิจการค้าในเมืองลา เขตปกครองตนเองของกองกำลังหยุดยิง NDAA -ESS อยู่ในรัฐฉานภาคตะวันออกเงียบเหงาลงไปมาก   โดยนักท่องเที่ยวคนหนึ่งที่เพิ่งเดินทางกลับจาก เชียงตุง - เมืองลา เปิดเผยว่า จากการที่ได้ไปท่องเที่ยวสำรวจในพื้นที่เมืองลาพบว่า ในช่วงนี้มีนักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวไม่มากเหมือนเมื่อก่อน นอกนั้นยังพบธุรกิจการค้า เช่น โรงแรม ร้านอาหาร และผับ หลายแห่งถูกปิดกิจการลง   ขณะที่กิจการบ่อนคาสิโน ที่ตั้งอยู่ที่ "เมืองม้า" อันเป็นแหล่งผลิตรายได้สำคัญของกลุ่มหยุดยิงเมืองลาก็ดูซบเซาไม่แพ้กัน เนื่องจากนักเล่นการพนันจากประเทศจีนถูกเข้มงวดการเดินทางข้ามชายแดน ส่งผลให้บ่อนคาสิโนหลายแห่งต้องถูกปิดตัว   ส่วนสาเหตุที่ทางการจีนทำการเข้มงวดและปิดด่านนั้น  เป็นผลมาจากการที่ทางการจีนได้ตรวจยึดยาเสพติดที่ส่งออกทางด้านเมืองลาบ่อยครั้ง และเกิดจากการร้องขอของทางการพม่าที่ต้องการให้จีนปิดด่านทางด้านนี้ เนื่องจากไม่พอใจที่กลุ่มหยุดยิงเมืองลา ไม่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรและกองตรวจคนเข้าเมืองของตนเข้าไปประจำที่ด่านชายแดน เพื่อขอแบ่งการเก็บภาษีสินค้า 30 เปอร์เซ็นต์   สำหรับเมืองลา เป็นเขตปกครองพิเศษที่ 4 อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของกองกำลังสัมพันธมิตรชาติประชาธิปไตยภาคตะวันออกรัฐฉาน (NDAA-ESS - National Democratic Alliance Army-Eastern Shan State) ซึ่งเป็นกองกำลังหยุดยิงกับรัฐบาลทหารพม่า โดยเมืองลา ถือได้ว่าเป็นเมืองสวรรค์น้อยๆ ของรัฐฉานที่นักท่องเที่ยวและนักเล่นการพนันทั้งชาวไทย และจีนต่างมุ่งหวังอยากเข้าไปสัมผัส   มีรายงานอีกว่า ขณะทั้งกองกำลังหยุดยิงเมืองลา NDAA-ESS และกองกำลังสหรัฐว้า (UWSA - United Wa State Army) ซึ่งเป็นกองกำลังสัมพันธมิตรกันต่างถูกกองทัพพม่ากดดันให้วางอาวุธ ภายใต้คำศัพท์ "นำอาวุธแลกสันติภาพ" อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปี 2553 ของทางการพม่า     ที่มาของข่าว: สำนักข่าวฉาน (SHAN - Shan Herald Agency for News) เป็นสำนักข่าวอิสระจัดตั้งโดยกลุ่มชนไทใหญ่พลัดถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด ท่านสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org และภาษาไทยใหญ่ที่ www.mongloi.org
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/3943
2005-05-10 23:32
"นายก" มอบอำนาจ" วิษณุ" ผลักกม.แทนอัยการศึก
กรุงเทพฯ- 10 พ.ค.48 พล.ต.อ.เฉลิมเดช ชมพูนุท โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในการประชุมคณะ รัฐมนตรีวันนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายการพิจารณากฎหมายใหม่แทนกฎอัยการศึกให้กับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบ "ถ้าใช้กฎอัยการศึก เมื่อต่างประเทศมองเข้ามาก็เหมือนมันรุนแรง แต่จริงๆแล้ว เราใช้นิดเดียว แม้ กระทั่งเคอร์ฟิวก็ไม่ได้ใช้" พล.ต.อ.เฉลิมเดช กล่าว ทั้งนี้ในวันพฤหัส(12 พ.ค.) ศกนี้ นายวิษณุ จะเชิญตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ทหาร ตำรวจ นักวิชาการ มาหารือและให้ความเห็นในตัวกฎหมายฉบับใหม่เพื่อประมวลหาแนวทางที่เหมาะสมอีกครั้ง นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวถึงความจำเป็นในการออกกฎหมายกลางเพื่อรองรับการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ว่า เพื่อให้เกิดความถูกต้องและตรวจสอบได้ทั้งนี้ การที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ไปดำเนินการ ก็เชื่อว่า ได้ข้อสรุป โดยจะเป็นการบูรณาการกฎหมายหลายฉบับเข้าด้วยกัน เพื่อให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายที่จะแก้ไขปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/63196
2015-12-27 23:23
'ปวีณ' โต้ สตช. จับกุมผู้ต้องหาค้ามนุษย์ที่เหลือก่อน ที่คิดว่าจะดำเนินคดีกับตน
27 ธ.ค.2558 จากกรณีที่ พล.ต.ต.ปวีณ พงศ์สิรินทร์ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 ผู้นำการสืบสวนคดีค้ามนุษย์โรฮิงญา ยื่นขอลี้ภัยในออสเตรเลีย โดยกล่าวว่าเพราะคดีของเขาสืบสาวไปถึงผู้มีอิทธิพลรวมถึงนักการเมืองและคนในเครื่องแบบ ทำให้เขาต้องการลี้ภัยเพราะเกรงจะถูกหมายเอาชีวิต (อ่านรายละเอียด [1]) เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมานั้น ต่อมา 25 ธ.ค. สำนักข่าวไทย [2] รายงานว่า พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง.ผบ.ตร.) พร้อมคณะแถลงผลสอบข้อเท็จจริง กรณีดังกล่าวว่า กรณีนี้ได้ดำเนินการ 4 แนวทางคือ สั่งผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 สอบข้อเท็จกรณี พล.ต.ต.ปวีณ ถูกข่มขู่, สั่งพนักงานสอบสวนทุกนายทำรายงานชี้แจงมาถึงตนโดยตรง, ตรวจเยี่ยมผู้เสียหายและพนักงานสอบสวนในคดีนี้ และสั่งการให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามมาตรการคุ้มครองพยานให้อยู่ในความปลอดภัย จากการตรวจสอบไม่พบพฤติกรรมข่มขู่คุกคามพนักงานสอบสวนในคดีนี้ ส่วนกรณี พล.ต.ต.ปวีณ ต้องรอผลการสอบสวนของตำรวจภูธรภาค 9 ก่อน ส่วนตัวเชื่อว่า ไม่น่าเป็นไปได้ที่ พล.ต.ต.ปวีณถูกข่มขู่จนลาออก เนื่องจากอัยการสูงสุดมีคำสั่งแต่งตั้งให้มาร่วมทำคดีกว่า 20 วัน จากนั้นก็สรุปสำนวนและอัยการก็มีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหา ทั้งนี้ แม้ พล.ต.ต.ปวีณ ถูกข่มขู่ก็ไม่มีผลต่อสำนวนคดีนี้ อย่างไรก็ตาม ยังมีความพยายามติดต่อกับ พล.ต.ต.ปวีณ เพื่อให้ข้อมูล ขณะเดียวกันหากพบว่า ทำให้ประเทศชาติเสียหายก็ต้องดำเนินคดีทั้งหมด รวมทั้งสื่อต่างชาติ ล่าสุด ทีมข่าวอาชญากรรม MGR Online [3] รายงานว่า ตอนบ่ายวันเดียวกัน พล.ต.ต.ปวีณ พงศ์สิรินทร์ ซึ่งได้ลี้ภัยไปอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย ได้ส่งข้อความทางแอปพิลเคชันไลน์มายังกลุ่มอดีตทีมงานสอบสวนที่เคยร่วมทำคดีเป็นการตอบโต้ถึงข้อเท็จจริงบางประการโดยมีใจความระบุว่า “ผมขอยืนยันว่า ผมได้รับการข่มขู่หลายครั้งจริง จากผู้มีอำนาจ ผมเริ่มเข้ามาทำคดีตั้งแต่ 6 พ.ค. 2558 (หนังสือแต่งตั้งออกทีหลังซึ่งเป็นเรื่องปกติในราชการ) ตามข้อเท็จจริงว่าพนักงานสอบสวนได้รับการข่มขู่ หรือไม่นั้นควรดูจาก หลังจากที่ผมสรุปสำนวนส่งอัยการไปแล้วนั้นมีการจับกุมผู้ต้องหาที่ยังหลบหนีได้มากน้อยเพียงใด และมีการขยายผลจับกุมผู้มีอิทธิพลเพิ่มขึ้นหรือไม่ ผมคิดว่า ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติควรดำเนินการจับกุมผู้ต้องหาค้ามนุษย์ที่เหลือก่อน ก่อนที่คิดว่าจะดำเนินคดีกับผม ซึ่งเป็นผู้ทำคดีจับกุมพวกค้ามนุษย์ พวกค้ามนุษย์และผู้ปกป้อง และรับผลประโยชน์จากขบวนการค้ามนุษย์ เป็นผู้ทำลายชาติที่แท้จริง สังคมควรพิจารณาว่ามีการทำลายกระบวนการยุติธรรมในการดำเนินคดีกับกลุ่มพวกค้ามนุษย์หรือไม่....”
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/11527
2007-02-07 04:32
"ที่ปรึกษาคมช." ชง "สนธิ"แก้ปัญหาที่ดินวะกัฟจะนะ
ประชาไท—7 ก.พ. 2550 เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 ที่สำนักงานอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการประชุมคณะที่ปรึกษาคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ฝ่ายสร้างความสมานฉันท์และความเป็นธรรมในสังคม มีคุณหญิงสุชาดา กีระนันท์ เป็นประธาน มีผู้เข้าร่วม 7 คน   นางเตือนใจ ดีเทศน์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะที่ปรึกษาชุดนี้ เปิดเผยหลังการประชุมว่า ตนได้นำเสนอที่ประชุม 2 เรื่อง คือ ปัญหาที่ดินวะกัฟ (การอุทิศทรัพย์สินทางศาสนาอิสลาม) ในโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย - มาเลเซีย อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ปัญหาเรืออวนลาก อวนรุน ลักลอบเข้าจับปลาในเขตประมงชายฝั่ง 3,000 ไมล์ทะเล ในเขตชายฝั่งจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส   นางเตือนใจ เปิดเผยต่อว่า สำหรับปัญหาที่ดินวะกัฟนั้น ผู้เข้าประชุมหลายคนมีความเข้าใจถึงเรื่องที่ดินวะกัฟตามหลักการศาสนาอิสลามว่า ไม่สามารถบิดเบือนหรือแลกเปลี่ยนได้ เช่น นายศรีศักร วัลลิโภดม และนายวรวิทย์ บารู โดยที่ประชุมมีข้อสรุปว่า คณะที่ปรึกษาฯ จะทำหนังสือถึงพล.อ.สนธิ บุญรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติภายในสัปดาห์หน้า เพื่อแจ้งว่าชาวบ้านในพื้นที่ต้องการพบ เพื่อชี้แจงถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และขอให้แก้ปัญหาให้กับพี่น้อง   นางเตือนใจ เปิดเผยต่อไปว่า ส่วนปัญหาปัญหาเรืออวนลาก อวนรุน ลักลอบเข้าจับปลาในเขตประมงชายฝั่งในจังหวัดปัตตานีและนราธิวาสนั้น ที่ประชุมเห็นว่า ทั้ง 2 จังหวัดเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาความไม่สงบ มีกองกำลังทหารของกองทัพภาคที่ 4 เข้าไปดูแลรักษาความปลอดภัยจำนวนมาก จึงเสนอให้นำกำลังทหารมาช่วยในการดูแลป้องกันการลักลอบเข้ามาจับปลาในเขตประมงชายฝั่งด้วย
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/67636
2016-08-26 14:58
แอนโธนี เดวิส วิเคราะห์เหตุระเบิดในไทย รัฐบาลจะจัดการปัญหาอย่างไร
นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงวิเคราะห์ถึงปัญหาระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่มติดอาวุธในสามจังหวัดภาคใต้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดล่าสุดเมื่อช่วงเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่เสี่ยงต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวไทย ในขณะที่รัฐบาลเผด็จการทหารยังพยายามเอาแต่รักษาหน้ามากกว่าจะยอมรับและแก้ไขปัญหาการเจรจาสันติภาพอย่างจริงจัง 26 ส.ค. 2559 แอนโธนี เดวิส นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงเขียนบทความในเว็บไซต์ Nikkei Asian Review ถึงกรณีการวางระเบิดในไทยช่วงกลางเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา สำหรับเดวิสแล้วเรื่องนี้ชวนให้รู้สึก "เดจาวู" ราวกับได้เห็นภาพเหตุการณ์ซ้ำซ้อน มีสื่อวิเคราะห์ถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยที่กำลังอ่อนแรงลงหลังจากเฟื่องฟูมาเป็นเวลานาน มีการสันนิษฐานกันในโลกออนไลน์ไปต่างๆ นานารวมถึงความเป็นไปได้เรื่องการสมคบคิด การสาดโคลนใส่อีกฝ่าย แบบเดียวกับทุกครั้งหลังจากเกิดเหตุรุนแรงที่ไม่มีใครอ้างตนเป็นผู้ก่อเหตุ แต่สำหรับเดวิสแล้วการที่หลังก่อเหตุประเทศไทยกลับเข้าสู่ภาวะ "กลับไปทำมาหากินตามปกติ" ได้อย่างรวดเร็วโดยที่ไม่ได้คำตอบว่าใครเป็นผู้ก่อเหตุกันแน่เช่นนี้ เป็นสิ่งที่อันตรายมากขึ้นเรื่อยๆ จากการที่มีการออกมากล่าวหาผู้ก่อเหตุด้วยเหตุผลทางการเมืองโดยทันทีแม้จะมีหลักฐานเพียงเล็กน้อย การสืบสวนสอบสวนของตำรวจเองก็ดูเอาแน่เอานอนไม่ได้จากการพยายามมุ่งเป้าไปที่ทิศทางใดทิศทางหนึ่งมากเกินไป อย่างเช่นมัวแต่มุ่งเป้าไปที่กลุ่มเสื้อแดง ทั้งที่ตามความคิดเห็นของเดวิสแล้ว ผู้ต้องสงสัยคือกลุ่มขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานีหรือบีอาร์เอ็น เมื่อพิจารณาจากการวางแผนและเตรียมการให้เกิดเหตุต่อเนื่องเป็นจุดๆ และความสามารถในการดำเนินการ กลุ่มบีอาร์เอ็นไม่ได้อ้างความรับผิดชอบการก่อเหตุในครั้งนี้ เช่นเดียวกับที่พวกเขาไม่เคยอ้างความรับผิดชอบกับการก่อเหตุในเขตจังหวัดแถวหน้าอย่าง ปัตตานี, นราธิวาส และยะลา เดวิสระบุว่าทางการไทยก็ไม่ค่อยชี้นิ้วไปที่บีอาร์เอ็นเช่นกัน แต่การที่พวกเขาไม่ทำเช่นนั้นก็ถือเป็นการเมินเฉยต่อการยกระดับการก่อเหตุรุนแรงและเป็นการปฏิเสธไม่มองว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาทางการเมือง นอกจากมุมมองทางการเมืองแล้วเดวิสยังระบุถึงสาเหตุที่เขาสงสัยว่าเป็นฝีมือบีอาร์เอ็นจากหลักฐานเกี่ยวกับเครื่องมือระเบิดที่ใช้ก่อเหตุที่มีรูปแบบเดียวกับที่ใช้ก่อเหตุสามจังหวัดภาคใต้ รวมถึงการตั้งเวลาจุดระเบิดก็มีลักษณะเดียวกับวิธีการของกลุ่มบีอาร์เอ็น ดีเอ็นเอที่ตรวจพบใกล้กับจุดเกิดเหตุในภูเก็ตก็ตรงกับผู้ต้องสงสัยที่อยู่ในบันทึกกลุ่มติดอาวุธของทางการ เดวิสระบุว่าถึงแม้บีอาร์เอ็นมักจะก่อเหตุในเขตจังหวัดแถวหน้าเป็นส่วนใหญ่แต่ก็มีบางครั้งที่ขยายผลการโจมตีนอกเขตของพวกเขา แม้ว่าจะไม่ได้จงใจวางเป้าหมายเป็นนักท่องเที่ยวแต่การโจมตีเหล่านี้ก็ทำให้ชาวต่างชาติบาดเจ็บและเสียชีวิตหลายครั้ง เดวิสมองว่าแรงจูงใจอย่างหนึ่งในการโจมตีครั้งนี้น่าจะมาจากการต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ละเลยชาวมุสลิมในในสามจังหวัดในขณะที่ส่งเสริมพุทธนิกายเถรวาทอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังอาจจะมีแรงจูงใจที่กว้างกว่านั้นคือการเจรจาสันติภาพที่กระท่อนกระแท่นของรัฐซึ่งบีอาร์เอ็นไม่ยอมรับในกระบวนการ พวกเขาเคยให้สัมภาษณ์ต่อ Nikkei Asian Review ขณะที่พวกเขาอยู่นอกประเทศไทยว่าต้องการให้มีการเจรจากับทางการไทยแต่ต้องมีตัวกลางจากต่างประเทศด้วย แต่ทางการไทยไม่อยากให้เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องระดับนานาชาติโดยยืนยันว่าเป็นเรื่องภายในประเทศจึงมีกระบวนการหารือที่ล่าช้ากับกลุ่มย่อยอย่างมาราปาตานีที่ไม่ได้มีอิทธิพลควบคุมปฏิบัติการภายในประเทศไทย เดวิสวิเคราะห์อีกว่าการที่บีอาร์เอ็นขยายผลการปฏิบัติการไปทางเหนือมากขึ้นเป็นการเสี่ยงทำลายเศรษฐกิจของประเทศทำให้บีอาร์เอ็นสามารถคำนวณว่าพวกเขาจะเรียกความสนใจจากทางการไทยได้ในเวลาไหน จุดนี้ถือว่าบีอาร์เอ็นถือไพ่เหนือกว่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากที่ประชาชนรู้สึกเบื่อหน่ายกับความขัดแย้งในภาคใต้ที่มีมาเป็นเวลานาน 13 ปี การขยายวงก่อเหตุจึงเป็นการส่งสัญญาณแรงๆ ให้กับกลุ่มที่สนับสนุนขบวนการของพวกเขาและผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวมุสลิมมาเลย์ว่า พวกเขาเป็นกลุ่มอำนาจที่รัฐบาละเลยต่ออันตราย นอกจากนี้เดวิสยังวิเคราะห์จากแถลงการณ์ของกลุ่มบีอาร์เอ็นเมื่อเดือน ต.ค. อีกว่าการก่อเหตุในครั้งนี้น่าจะมาจากฝีมือของกลุ่ม "ยัง เติร์ก" ที่เป็นกลุ่มย่อยซึ่งมีการแบ่งแยกภายในผู้ที่ทนไม่ไหวกับการนำของขบวนการในสายการเมือง โดยกลุ่มบีอาร์เอ็นมีทั้งกลุ่มที่ปฏิบัติการทางทหารและกลุ่มที่ปฏิบัติการฝ่ายการเมือง เดวิสประเมินว่ารัฐบาลทหารของไทยน่าจะพยายามหลีกเลี่ยงการยอมรับว่าการก่อเหตุในครั้งนี้เป็นฝีมือของบีอาร์เอ็นอย่างตรงไปตรงมาเพราะนั่นจะหมายถึงการยอมรับว่าพวกเขาล้มเหลวในด้านความมั่นคงเพราะไม่สามารถจำกัดวงความขัดแย้งในเขตสามจังหวัดไว้ได้ อีกทั้งยังอาจจะถูกตั้งคำถามจากผู้คนว่าพวกเขาจะปรับนโยบายใหม่กับการแก้ไขปัญหาหรือไม่ขณะที่อยู่ภายใต้การข่มขู่ของกลุ่มติดอาวุธ อย่างไรก็ตามเมื่อดูท่าทีของรัฐบาลแล้ว เดวิสระบุว่าพวกเขาคงพยายามรักษาหน้าด้วยการอ้างว่ามีนักการเมืองที่ไม่ระบุชื่อซึ่งอาจจะเป็นชาวมุสลิมที่ไม่พอใจโรดแมป "การปฏิรูป" ของ คสช. จึงจ้างคนก่อเหตุ แต่การอ้างเช่นนี้เมินเฉยต่อความซับซ้อนของปฏิบัติการและการวางแผนเบื้องหลังที่ไม่ใช่ว่าจะจ้างใครก็ได้แต่ต้องเป็นทีมที่มีประสบการณ์และมีการฝึกฝนจากหน่วยปฏิบัติการและหน่วยสนับสนุนอย่างน้อย 30 คน แต่ที่รัฐบาลพยายามเบี่ยงเบนเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องของ "ผู้บงการเบื้องหลัง" ทางการเมือง เป็นการเล่นบทจากความเชื่อฝังหัวว่าการกระทำต่างๆ ต้องมาจากการจ้างวาน แทนที่จะยอมรับว่าเป็นการกระทำที่มีแรงจูงใจทางอุดมการณ์ เดวิสประเมินอีกว่ามาตรการต่างๆ เพื่อรับมือกับปัญหาการท่องเที่ยวตกต่ำและการเตรียมพร้อมด้านความปลอดภัยชวนตั้งคำถามว่าเป็นแค่การทำแบบสร้างภาพเอาหน้าในขณะที่กลุ่มติดอาวุธดูมีการดัดแปลงยุทธวิธีและมีประสบการณ์มากกว่าหรือไม่ และมีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลทหารจะพูดยืนยันว่าจะมีการเจรจาสันติภาพอีกแต่ก็เป็นกระบวนการเดิมๆ ที่บีอาร์เอ็นเคยปฏิเสธมาแล้ว   เรียบเรียงจาก Anthony Davis -- Denial not an option in Thai bombing aftermath, Anthony Davis, Nikkei Asian Review, 24-08-2016http://asia.nikkei.com/Viewpoints/Viewpoints/Anthony-Davis-Denial-not-an-option-in-Thai-bombing-aftermath [1]
1pos
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/43954
2012-11-30 15:48
รัฐสภาดัทช์ยกเลิกกม. 'หมิ่นพระเจ้า'
ด้วยการนำของพรรคลิเบอรัลในสภาเนเธอร์แลนด์ ได้ผ่านมติยกเลิกกฎหมายที่ทำให้การหมิ่นศาสนาเป็นอาชญากรรม โดยระบุว่ากฎหมายดังกล่าวที่มีตั้งแต่ทศวรรษ 1930 ไม่เหมาะสมสำหรับศตวรรษที่ 21 อีกต่อไป  เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 55 - สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า รัฐสภาดัทช์ได้อนุมัติวาระให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นศาสนา ทำให้ผู้สนับสนุนด้านเสรีภาพในการแสดงออกต่างยินดีกับความเคลื่อนไหวนี้ และเป็นการยืนยันสิทธิของผู้ที่ต่อต้านศาสนาอิสลามในการวิพากษ์วิจารณ์    สมาชิกสภาส่วนใหญ่ในรัฐสภาดัทช์ ระบุว่า กฎหมายหมิ่นศาสนามิได้มีความจำเป็นแล้วในศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้ กฎหมายดังกล่าวก็ยังไม่ได้ถูกใช้มาเป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษ    การมีมติให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นศาสนา ซึ่งมีมีตั้งแต่สมัยทศวรรษ 1930 เกิดขึ้นได้ด้วยความสนับสนุนของพรรคลิเบอรัลที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ในสภา ในขณะที่เมื่อปี 2008 นั้นเคยมีความพยายามในการยกเลิกกฎหมายนี้ แต่ถูกคัดค้านจากพรรคอนุรักษ์นิยมคริสเตียน และพันธมิตร จึงไม่สามารถยกเลิกได้สำเร็จ    ความสนใจต่อประเด็นดังกล่าวในรัฐสภา เกิดขึ้นหลังจากเมื่อปี 2011 มีกรณีอื้อฉาวของส.ส. พรรคขวาจัด เกแอร์ท วิลเดอรส์ ที่ถูกยกฟ้องหลังจากถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาปลุกปั่นยุยงให้เกิดความเกลียดชังและการเลือกปฏิบัติต่อชาวมุสลิม ผู้พิพากษายกฟ้องว่า การเปรียบเทียบศาสนาอิสลามกับลัทธิฟาสซิสม์ เป็นเรื่องที่ "ยอมรับได้" และอนุญาตให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ต่อไป ถึงแม้ว่ามันจะเป็นการดูหมิ่นมุสลิมก็ตาม    เหล่านักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกทั่วโลก ต่างแสดงความยินดีต่อการยกเลิกกฎหมายนี้ อย่างไรก็ตาม ส.ส. พรรคคริสเตียน เอสจีพี ที่มีจุดยืนทางอนุรักษ์นิยม ก็กล่าวว่า การตัดสินใจดังกล่าว เป็น "การสูญเสียเสาหลักทางศีลธรรมและสัญญานของวิกฤติทางจิตวิญญาน"    อย่างไรก็ตาม ภายใต้กฎหมายดัทช์ การดูหมิ่นเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพระมหากษัตริย์ของประเทศ ยังถือว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมาย    นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิชี้ว่า หลายๆ ประเทศในยุโรปยังมีกฎหมายหมิ่นศาสนาที่จำกัดเสรีภาพในการแสดงออก ในบางประเทศ ก็ได้ใช้กฎหมายอื่นๆ แทนกฎหมายดังกล่าว ซึ่งทำให้การสร้างความเกลียดชังทางศาสนาเป็นเรื่องผิดกฎหมายแทน   ในประเทศอังกฤษ ได้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นศาสนาแล้ว โดยใช้พ.ร.บ. การสร้างความเกลียดชังทางเชื้อชาติและศาสนาแทนในปี 2007 กฎหมายดังกล่าวมีบทลงโทษสูงสุด 7 ปีและการปรับไม่จำกัดจำนวนสำหรับการสร้างความเกลียดชังทางศาสนา    ประเทศไอร์แลนด์ กลับนำกฎหมายหมิ่นศาสนามาใช้ใหม่ในปี 2010 แทนที่จะยกเลิก โดยกฎหมายดูหมิ่นฉบับใหม่ของไอร์แลนด์ ระบุว่า การแสดงออกหรือการตีพิมพ์ที่มีเนื้อหาหมิ่นศาสนา เป็นความผิดด้วยการปรับสูงสุด 25,000 ยูโร    ถึงแม้ว่าในยุโรป กฎหมายดังกล่าวจะไม่ค่อยได้ใช้นานนับทศวรรษแล้ว แต่ก็ยังมีบางประเทศที่ยังมีการตั้งข้อหาเรื่องการสร้างความเกลียดขังทางศาสนาอยู่    ในโปแลนด์ การดูหมิ่นต่อความรู้สึกทางศาสนาถือว่าเป็นอาชญากรรมเช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะไม่มีกฎหมายหมิ่นศาสนาโดยเฉพาะก็ตาม การถูกตั้งกล่าวหาด้วยกฎหมายดูหมิ่นศาสนาหลายกรณี ได้นำมาซึ่งความสนใจจากสื่อมวลชนตลอดหลายปีที่ผ่านมา    นอกจากนี้ ในปี 2008 ศาลประเทศฟินแลนด์ ได้ตัดสินจำคุกนักเคลื่อนไหวฝ่ายขวาจัดที่ชื่อ เสปโป เลห์โต เป็นเวลา 2 ปีและอีก 4 เดือน จากการดูหมิ่น การยุยงให้เกิดความเกลียดชังทางเชื้อชาติ และการหมิ่นศาสนาอิสลาม      ที่มา: แปลจาก Netherlands to abolish blasphemy law  http://rt.com/news/netherlands-abolish-blasphemy-law-933/ [1]
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/17682
2008-08-11 14:14
ถาม-ตอบ คนละหมัดเรื่อง ปตท.: สิ่งที่เป็น-สิ่งที่ควรจะเป็น ของยักษ์ใหญ่ธุรกิจพลังงาน
ไม่บ่อยนักที่จะได้เห็นคู่กรณีนั่งแลกข้อมูลกันอย่างถึงพริกถึงขิง...ผู้บริโภค VS ปตท.... กับประเด็นร้อนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพิ่งโยนหินถามสังคมว่า "ซื้อหุ้น ปตท.คืน" กันไหม พร้อมด้วยมุมมองจากนักลงทุน นักวิชาการสาธารณะ บน "โจทย์" ที่ตั้งไว้ล่วงหน้า 9 ประเด็น   บางส่วนตอบคำถามซึ่งกันและกัน บางส่วนไม่ บางส่วนขัดแย้ง บรรยากาศในเวทีก็มีบางช่วงดุเด็ดเผ็ดร้อนด้วยเช่นกัน น่าเสียดาย นักวิชาการด้านพลังงานอีกท่านหนึ่งที่เจ้าภาพเชิญไม่ได้มาร่วม   แม้ยังมีอีกหลายประเด็นที่ต้องถกและเถียงกันต่ออีกหลายยก แต่ยกนี้ก็น่าจะให้ภาพในแต่ละแง่มุมได้มาก (และยาว) พอสมควร   ราชดำเนินเสวนา ครั้งที่ 8/2551 "9 คำถามคาใจกรณี ปตท." สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย วันที่ 10 สิงหาคม 2551 โดย   สรัญ รังคสิริ  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม  บมจ. ปตท. สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค   ร่วมด้วย   บรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บมจ. หลักทรัพย์ภัทร สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการสาธารณะ   วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์  บก.นิตยสารสารคดี ดำเนินรายการ     - - - - - - - - - - - - - - - - - - คำถามที่ 1  กำไรต่อปีของ ปตท. มีขนาดเท่าไร มีที่มาจากไหน แล้วมีการจ่ายเงินให้รัฐเท่าไร คิดเป็นสัดส่วนเท่าไร กำไรของ ปตท. ต้องแลกมาด้วยภาระของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ อย่างไร   มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค     ปตท.   ข้อสังเกตเพิ่มเติม 1.ปตท.ได้กำไรเป็นแสนล้าน เพิ่มขึ้น 5 เท่าตัวก่อนการแปรรูป, 90%มาจากกิจการก๊าซธรรมชาติซึ่งผูกขาด อีกส่วนมาจากน้ำมัน   กำไรสูงเพราะไม่มีใครกำกับ ไม่มีใครพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชน คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าน่าจะเข้ามามีบทบาท   2.สัมปทานก๊าซธรรมชาติระยะที่ 4 ต่อสัมปทานทั้งที่ยังไม่หมดอายุ โดยรวมได้กำไร 50% ทั้งที่ประเทศควรได้กำไรจากการให้สัมปทานมากกว่านี้เทียบกับประเทศอื่น นอกจากนี้ยังอนุญาตให้สำรวจไม่จำกัดแปลง ต่างจากที่เคยทำมา   3.ทำไมสนใจความเป็นเจ้าของเพราะเกี่ยวพันกับความมั่นคงด้านพลังงาน ตัวอย่าง ในสหรัฐเมื่อยูโนแคลจะขายทรัพย์สิน บริษัทซีนุ๊กจากจีนจะซื้อแพงกว่าเชฟรอน แต่รัฐบาลก็บังคับให้ขายกับเชฟรอน   4.ในส่วนของน้ำมัน ขณะนี้เราใช้จากแหล่งในประเทศมากขึ้น บางช่วงสูงถึง 45% เชื่อว่า ปตท.สามารถลดราคาน้ำมันได้เลยทันที 5 บาทหากคิดจากโครงสร้างต้นทุนที่แท้จริงที่นำเข้า, รัฐบาลควรเลือกใช้วิธีนี้มากกว่าลดภาษีพลังงาน 2.5 บาท ก่อนหน้านี้รมว.พลังงานเสนอให้ปตท.ลดราคา 1 บาทต่อลิตร (ไทยใช้น้ำมันทั้งหมด 20,000 ล้านลิตรต่อปี) แต่บริษัทกลับลดให้ 3 บาทต่อลิตรในเพดานเพียง 700 ล้านลิตร หรือราว 2,000 ล้านบาทเท่านั้น คิดเป็น10%จากที่ขอ   5. กำไรส่งรัฐ เรื่องนี้ดูเฉพาะจุดไม่ได้ ต้องดูมูลค่าทรัพย์สินโดยรวมของรัฐ หลังแปรรูป ทรัพย์สินโดยรวมของรัฐลดลงมาตลอดอย่างมาก ในขณะที่ในส่วนของเอกชนเพิ่มขึ้นสูง นอกจากนี้ปตท.ยังมีการลดพนักงานน้อยมาก ทั้งที่กิจการอื่นเมื่อมีการปรับองค์กรมักมีการปรับลดพนักงาน   6.ก่อนเข้าตลาดหุ้นมีการปรับลดมูลค่าทรัพย์สินของปตท. เพื่อให้หุ้นถูก ขายเพียง 35 บาทไม่กี่เดือนขึ้นไป 145 ตอนฟ้องคดีปีที่แล้วอยู่ที่385 และเคยขึ้นไปถึง 440 จนตกมาที่ 240 แทนที่เราจะขายในราคาที่สมเหตุสมผลกลับไม่ทำ ภาระทุกอย่างเป็นของรัฐ แต่กำไรเป็นของเอกชน   เรื่องนี้ไม่ควรเป็นผลประโยชน์ของคนในตลาดหุ้นอย่างเดียว กำไรแสนล้านสามารถนำมาดูแลคนในระบบบัตรทองได้ 47 ล้านคน 1.ธุรกิจของ ปตท.มีหลายอย่าง ามีหุ้นในโรงกลั่นทั้งหมดไม่ถึง 35%ของกำลังการผลิตทั้งหมด อย่ามองว่าปตท.คือโรงกลั่น หรือค้าปลีกก็มีแค่ 35%   ตั้งแต่แปรรูปมา ส่งเงินให้รัฐไปแล้ว200,000 กว่าล้านบาท ไม่เฉพาะเงินปันผล 30% แต่มีภาษีเงิน 30%ได้ด้วย ซึ่งรัฐวิสาหกิจทั่วไปไม่ได้นำส่งรัฐในส่วนนี้   2.กำไร 9 หมื่นกว่าล้าน เทียบแล้วเพียง 6% กับยอดขาย 1.5 ล้านล้านบาท ไม่ถือว่ามากเมื่อเทียบกับการลงทุน, เมื่อเทียบกำไรกับปิโตรนาส หรือบรรษัทข้ามชาติอื่นๆ มากกว่าเป็นสิบเท่า   3.ความจำเป็นต้องใช้เงินขยายธุรกิจสูงมาก เพราะธุรกิจชนิดนี้ "ถ้าไม่โตต่อไปก็คือตาย"   บริษัทในกลุ่มปตท.ทั้งหมดรวมแล้วต้องใช้เงินลงทุนเพื่อขยายกิจการอีก 900,000 ล้านบาทภายใน 5 ปีข้างหน้า   คนไทยใช้น้ำมันทุกชนิด 40,000 กว่าล้านลิตรต่อปี ถ้านำกำไรทั้งหมดส่งคืนให้ผู้ใช้น้ำมันก็คงเฉลี่ยได้เพียงคนละ 1-2 บาท แลกกับการเสียองค์กรนี้ไปไม่คุ้มค่า "ถ้าไม่มีเราใครจะทำแทน"   4.การวัดว่าปตท.มีมูลค่าเท่าไร ต้องเอาทรัพย์สินลบกับหนี้สิ้น เราต้องการขายหุ้นแพงที่สุด ไม่ใช่ถูกที่สุด ส่วน ตัวเลขทรัพย์สินเปรียบเทียบที่นำเสนอก็ไม่มีที่มาที่ไป     บรรยง 1.กำไรของปตท.ถือว่าเป็นไปตามสมควรแล้ว และไม่ใช่กำไรที่ไปปล้นมาจากผู้บริโภค   กำไรที่เพิ่มขึ้นมาจาก "ปริมาณ" ที่เพิ่ม ไม่ใช่ "ราคา"   ธุรกิจก๊าซแม้ว่าจะเป็นกิจการผูกขาด แต่ก็ยังขายต่ำกว่าราคาตลาด โลก 40%   ธุรกิจโรงกลั่น-ปิโตรเคมี ไม่ได้ผูกขาด แต่กำไรที่ได้มาจากกลไกราคาตลาดโลก+ประสิทธิ ภาพการบริหารของปตท.เอง    2.การจ่ายให้รัฐในส่วนเงินปันผล ในแง่นักลงทุนคิดว่าไม่จ่ายคืนรัฐเลยก็ได้ เพราะเห็นว่าการลงทุนโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมต้นทางสำคัญกว่า ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยไม่โตนักเพราะมีการลงทุนไม่มากเท่าที่ควร   3.การกำกับดูแลเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ต้องว่ากันไป แต่ไม่ใช่ส่วนที่ ปตท.ต้องรับผิดชอบในการทำสองบทบาทหน้าที่   4.ทรัพย์สินที่เป็นของรัฐก็คือหุ้น ปตท. ซึ่งก็เพิ่มขึ้น ดังนั้นคำว่าทรัพย์สินของรัฐมองที่อะไร ส่วนพนักงาน กิจการใหญ่ขนาดนี้ ไม่เพิ่มพนักงานเป็นเรื่องดี   5.การลดมูลค่าทรัพย์สินก่อนปตท.เข้าตลาดหุ้นเป็นการทำตามมาตรฐานบัญชี ปรับให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เป็นคนละเรื่องกับมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ ที่ผ่านมามีข้อพิสูจน์ยืนยันว่าการขายหุ้นไปตามกระบวน การที่ถูกต้องไม่มีเบื้อง หลัง   สฤนี 1.เรื่องก๊าซที่คุณบรรยงให้ข้อมูลถ้าจะเทียบราคาว่าถูกกว่าตลาด โลก อาจเป็นเฉพาะตัวเนื้อก๊าซ แต่ในกิจการที่ผูกขาดยังมีส่วนค่าผ่านท่อ และ "ค่าหัวคิว" ด้วย   2.ส่วนเรื่องความเป็นเจ้าของ คิดว่าไม่ใช่ประเด็นสำคัญเท่าการกำกับดูแลที่เหมาะสม และกำหนดกำไรที่เป็นธรรม   3.การแปรรูปให้เอกชนบริหารจัดการเป็นสิ่งที่ทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น แน่นอน ก่อนแปรรูปรัฐทำทุกอย่างก็ต้องมีทรัพย์สินเยอะ แต่เมื่อแปรรูปทรัพย์สินเอกชนก็เยอะขึ้นเป็นธรรมดา   คำถามที่ 2  ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในประเทศไทยเกิดจากสาเหตุใดบ้าง ส่วนที่มาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกแพงขึ้นมีน้ำหนักความสำคัญเพียงใด และส่วนที่มาจากโครงสร้างการตั้งราคาน้ำมันภายในประเทศมีน้ำหนักความสำคัญเพียงใด  คำถามที่ 3  ทำไมราคาน้ำมันของไทยต้องอ้างอิงมาจากตลาดสิงคโปร์ การอ้างอิงราคาน้ำมันจากตลาดสิงคโปร์มีข้อดีข้อเสียอย่างไร     มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค   ปตท.     ข้อสังเกตเพิ่มเติม 1.ปตท.ไม่ได้ใช้ราคาต้นทุนจริงในการคิดราคาน้ำมัน ทำให้ได้กำไรมากกว่าปกติ ผู้บริโภคเสียเปรียบ   การอ้างอิงราคาสิงคโปร์มีความหมาย ตัวอย่างเช่น ช่วงที่ราคาที่สิงคโปร์เป็น 30 บาท ต้นทุนปตท.จะอยู่ที่ 31 บาททันที เป็นค่าขนส่ง บวกกับค่าต่างๆ ที่รัฐเรียกเก็บ รวมแล้วราคาจะอยู่ที่ 41 บาทต่อลิตร แต่ในขณะเดียวกันน้ำมันที่นำเข้าจริงนั้นเพียง 28 บาทต่อลิตร เมื่อรวมกับส่วนต่างๆ ที่รัฐเรียกเก็บ ราคาน้ำมันจะอยู่ที่ 36 บาท เรียกได้ว่าสามารถลดได้ทันที 5 บาท   2.เดิมก่อนการแปรรูป ปตท.เคยทำหน้าที่ถ่วงดุลในกลไกราคา เมื่อราคาตลาดโลกสูง ปตท.จะช่วยทั้งการอุดหนุนหรือรูปแบบอื่น เช่น เอากำไรจากก๊าซมาช่วย แต่ปัจจุบันไม่มี   3.แม้แต่ปั๊มน้ำมันก็ไม่แน่ใจว่าจะแข่งขันกันจริง เพราะเมื่อปี 2005 ปตท.มีการดั๊มราคาเป็นเหตุให้ปั๊มเจ็ทตายไปจากตลาด การผูกขาดน้ำมันจึงเป็นอีกแนวโน้มหนึ่ง เพราะปตท.ถือหุ้นในโรงกลั่นน้ำมันจำนวนมากด้วย   4.เมื่อเรามีระบบสำรองน้ำมันถึง 3 เดือน การขึ้นราคาน้ำมันไม่ควรขึ้นทันทีตามราคาตลาดโลก จะให้เป็นธรรมกับผู้บริโภคต้องขึ้นหลังน้ำมันสำรองหมดแล้ว เพราะน้ำมันเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานในกระบวนการผลิตทั้งหมด   "ในเกาหลีกลไกในการตัดสินใจว่าวันนี้จะซื้อน้ำมันจากประเทศไหนขึ้นกับองค์กรซึ่งผู้บริโภคนั่งเป็นประธาน"     1.เรื่องราคาน้ำมัน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ โรงกลั่นกับส่วนค้าปลีก (1) ราคาขายปลีกเป็นราคารับจากโรงกลั่นน้ำมัน+รัฐเรียกเก็บเงินรูปแบบต่างๆ+ค่าการตลาด (ค่าการตลาดไม่ใช่กำไรของผู้ค้าน้ำมัน แต่คือค่าใช้จ่ายที่ยังไม่ได้หัก เช่น ค่าขนส่ง การสร้างปั๊ม ปกติอยู่ที่ 1-1.50 บาทต่อลิตร ปัจจุบันค่าการตลาดต่ำมากอยู่แล้ว ทำให้ปั๊มต่างๆ ต้องปิดกิจการเยอะ) บริษัทน้ำมันไม่ได้เอาเปรียบ จะถูกหรือจะแพงอยู่ที่โครงสร้างภาษีเป็นหลัก ยืนยันว่าปตท.ไม่ได้ผูกขาดตลาดส่วนนี้ มีผู้ค้าเป็นหมื่นราย   (2) โรงกลั่น เป็นตลาดเสรี และรัฐกำหนดกติกาให้แข่งขันกับการนำเข้าได้ โดยเฉพาะกับสิงคโปร์ซึ่งมีบริษัทค้าน้ำมัน 325 แห่งทำการซื้อขายน้ำมันกัน โดยมีราคาเฉลี่ยต่อวัน ให้ที่ต่างๆ ได้อ้างอิง สิงคโปร์สร้างโรงกลั่นเพื่อการส่งออก มีสิทธิพิเศษมาก แต่ไทยสร้างเพื่อลดการนำเข้า ไม่มีสิทธิพิเศษนัก   เมื่อเรากลั่นน้ำมันจะได้สินค้าหลายตัว ตั้งแต่ LPG เบนซิน ดีเซล น้ำมันเตา ยางมะตอย ซึ่งมีทั้งส่วนที่ราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบ ส่วนที่รัฐบังคับให้ขายถูกมาก เช่น LPG มีเฉพาะน้ำมันดีเซลกับเบนซินที่ได้ราคาสูง จึงต้องนำมาถัวเฉลี่ยทั้งกระดาน ราคาค่าการกลั่นในช่วงดีอยู่ที่ 8 เหรียญต่อบาเรล แต่การกลั่นจะดูเฉพาะช่วงเวลาสั้นไม่ได้ เพราะต้องลงทุนอย่างน้อย 20 ปี และช่วงแย่ๆ บริษัทก็ต้องแบกรับเอง   2.สินค้าชนิดนี้ต้องมีการอ้างอิงกับราคากลาง ถ้าให้เลิกอ้างอิงกับราคาสิงคโปร์ โรงกลั่นน้ำมันชอบเลย ถ้าตั้งราคาเองได้ คนไทยจะได้ใช้น้ำมันแพงกว่าสิงคโปร์แน่นอน   3.เรื่องผูกขาดปั๊มที่คุณบรรยงพูดถึง(ในข้อ 3) เราพยายามชะลอความเดือดร้อนของผู้บริโภคในระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้เตรียมปรับตัว ไม่ได้มีเจตนาให้ใครออกจากธุรกิจนี้   4.การสำรองน้ำมัน รัฐกำหนด 5% ตามกฎหมาย ระยะเวลา 14-18 วันและไม่สามารถนำมาใช้ได้ การสำรองไม่พันกับเรื่องราคา เวลาตลาดโลกลดก็ลด ขึ้นก็ขึ้นตาม เวลาขึ้นยังต้องค่อยๆ ขึ้นด้วย บรรยง 1.ต้นทุนโครงสร้างราคาเป็นการสะท้อนราคาตลาดโลก ไทยไม่ได้บริโภคน้ำมันในราคาสูงกว่าประเทศที่มีนโยบายคล้ายกัน   ราคาสิงคโปร์ก็เท่ากับราคากลางในตลาดโลกแหล่งอื่นๆ   2.ไทยบริโภคน้ำมันไม่มีประสิทธิภาพ ใช้น้ำมันมากเป็นลำดับต้นๆ ของโลก และหากให้บิดเบือนราคาโดยอุดหนุนอีกจะยิ่งเป็นปัญหา   3.ที่ผ่านมารัฐบังคับให้ ปตท.กดค่าการตลาดเพราะถือว่าเป็นรายใหญ่ คำถามคือ ในระยะยาวนี่เป็นกลยุทธ์ที่จะทำลายย่อยอื่นๆ ให้เจ๊งไป เพื่อให้ ปตท.เป็นเจ้าของปั๊มแต่ผู้เดียวหรือไม่   สฤนี 1.เห็นด้วยว่าราคาน้ำมันควรสะท้อนราคาตลาดโลก   2.กรณีที่น่าสนใจคือการดั๊มราคา ปตท.อาจนำเอาส่วนที่ผูกขาดมาเป็นสายป่านในกิจการที่แข่งขันได้ทำให้คู่แข่งในตลาดตายไป ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการทำธุรกิจ ฉะนั้น โจทย์จึงกลับไปที่บทบาทของรัฐที่จะสร้างโครงสร้างการกำกับดูแล ถ้าไทยมีกฎหมาย anti-dumping law สถานการณ์อาจดีขึ้น     คำถามที่ 4  การจัดการกรณีท่อก๊าซของ ปตท. ควรอยู่ภายใต้หลักการใด และขณะนี้การดำเนินการตาม มติ ครม. และคำตัดสินของศาลปกครองเรื่องท่อก๊าซมีความคืบหน้าอย่างไร โดยเฉพาะการตรวจสอบมูลค่าของท่อก๊าซที่ ครม. ระบุว่าให้ สตง. ตรวจสอบ และสูตรการคิดค่าเช่าท่อ   คำถามที่ 5  ควรมีการซื้อคืน ปตท. กลับมาเป็นของรัฐหรือไม่ ถ้าควร โมเดลการซื้อคืนควรจะเป็นอย่างไร และการซื้อคืน ปตท. จะช่วยให้ราคาน้ำมันลดลงและราคาก๊าซไม่แพงขึ้นจริงหรือไม่   ผู้บริโภค     ปตท.   ข้อสังเกตเพิ่มเติม 1.คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดตัดสินให้คืนทรัพย์สิน ขณะนี้มีการคืนทรัพย์สินประมาณ 16,000 ล้าน และปตท.ขอเวลาเพราะยังติดการแบ่งแยกโฉนด   2.หลังศาลมีคำพิพากษาคุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ให้สัมภาษณ์ว่าคิดว่ามีทรัพย์สินต้องคืนประมาณแสนล้าน ในฐานะเจ้าของย่อมไม่พูดเกินกว่าที่ควรต้องคืน องค์กรผู้บริโภคก็คิดว่าคงไม่ต่ำกว่าแสนล้านแน่นอน   3.สมควรต้องคืนเพราะใช้อำนาจมหาชนในการรอนสิทธิ์ เวนคืน และใช้เงินลงทุนของรัฐในการวางท่อต่างๆ   4.ท่อทางทะเลก็ควรต้องเป็นส่วนที่คืนให้กับรัฐด้วย   5.กรณีท่อก๊าซหากเป็นของรัฐ ทุกคนควรมีสิทธิได้ใช้ กฟผ.ก็น่าจะมีสิทธิซื้อก๊าซที่ปากหลุม ทำให้ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าลดลง   6.หนังสือชี้ชวนให้คนซื้อหุ้น ปตท.เขียนไว้ชัดเจนว่าท่อเป็นของรัฐ ไม่ใช่ของนักลงทุนในตลาดอย่างที่คุณบรรยงระบุ (ในข้อ1)   7.กระทรวงการคลังที่เป็นเจ้าภาพนำคืนทรัพย์สินเหล่านี้ก็ดูจะไม่สนใจ   8.หุ้น 5%ของผู้บริหารนับว่าไม่น้อย ดังนั้นความเปลี่ยนแปลงตรงนี้จึงเกิดยากมาก เราจึงต้องรณรงค์ให้ประชาชนซื้อหุ้นคืนโดยเคารพคำพิพากษา เมื่อยึดคืนไม่ได้ก็ต้องซื้อคืน เพื่อกำหนดทิศทางปตท.ว่าไม่จำเป็นต้องทำกำไรสูงสุด เพราะเป็นธุรกิจที่จำเป็นต่อชีวิต บนพื้นฐานที่เราไม่เชื่อว่ารัฐบาลใดๆ จะมีเจตจำนงเช่นนั้น   9.โมเดลรายละเอียดในการซื้อคืนต้องช่วยกันคิดต่อไป   10.ที่ผ่านมากมีนักวิชาการเสนอการคำนวณการคิดค่าผ่านท่อที่ไม่จำเป็นต้องเป็นภาระของผู้บริโภค แต่ไม่ถูกใช้ เพราะผู้ที่ดูแลนั่งเก้าอี้หลายตัวมาก เช่น คนคิดค่าเช่าก็นั่งในบอร์ดของ ปตท.   11.เรื่องบอร์ดรัฐวิสาหกิจไม่ควรเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับทางการเมือง และควรมีสององค์ประกอบที่สำคัญคือ นักวิชาการและผู้บริโภค 1.คำก็ผูกขาด สองคำก็ผูกขาด ขอให้มองที่ละส่วนแล้วมาต่อกันว่ามันผูกขาดไหม   โรงกลั่นที่ปตท.มีหุ้น 5 โรงรวมแล้วไม่ถึง 35% ของกำลังการผลิตทั้งหมด สอดคล้องกับธุรกิจค้าปลีกแค่ 35% ปิโตรเคมีมีไม่ถึง 40% ธุริจสำรวจขุดเจาะก็เป็นธุรกิจเสรี ใครๆ ก็ทำได้ เราเข้าไปทีหลังเสียเปรียบด้วยซ้ำไป   ถ้าจะมีอะไรที่ใกล้เคียงคำว่าผูกขาดบ้างก็คือ ท่อก๊าซ ตอนนี้ก็มีคนมากำกับดูแลแล้ว เราขึ้นราคาอะไรเองไม่ได้   2.ที่อ้างคุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ว่าเป็นแสนล้าน คือ ระบบท่อทั้งหมดของปตท.ส่วนต้องส่งคืนเท่าไรอยู่ที่คำพิพากษาของศาล เรารายงานให้ศาลทราบทุกเดือน ที่ยังไม่ลงตัวคือโฉนดบางส่วนสูญหาย ค่าเช่าต่างๆ พร้อมเบี้ยปรับ 1,600 ล้านบาทก็จ่ายเรียบร้อยแล้ว ส่วนอีก 30 ปีก็มีการกำหนดร่วมกันไปแล้ว กระทรวงการคลังก็ทำเต็มความสามารถแล้ว   3.ถ้ากระทรวงการคลังจะคิดค่าผ่านท่อแพงๆ สุดท้ายก็ตกที่ กฟผ. ทำให้ค่าไฟแพงเปล่าๆ   4.(ตอบสฤนี) บอร์ด ปตท.กับ regulator เป็นคนละชุด สฤนี 1.เรื่องท่อก๊าซความคืบหน้าเป็นยังไง ไม่แน่ใจ   2.เรื่องความเป็นเจ้าของไม่ใช่เรื่องใหญ่ก็จริง แต่ถ้ากรรมสิทธิจะมีส่วนช่วยให้แยกท่อก๊าซออกจาก ปตท.ซึ่งเป็นบริษัทในตลาดหุ้นไปแล้วก็จะชัดเจนขึ้น เกิดการแข่งขันมากขึ้น ดังนั้นเมื่อศาลปกครองตัดสินให้ท่อก๊าซโอนไปเป็นของรัฐ ปตท.ก็ควรเร่งจัดการ ถ้ารัฐดูแลไม่ดี ประชาชนจะได้ไปร้องรัฐ   บรรยง 1.ในการแปรรูป ปตท.ได้มีการตีความกฎหมายหมดแล้ว แต่เมื่อมีการฟ้องร้อง เมื่อศาลตัดสินในกรณีท่อก๊าซก็ต้องเคารพ ในฐานะนักลงทุน ตอนซื้อหุ้นรู้อยู่แล้วว่ามีธุรกิจท่อก๊าซ จึงซื้อ แต่เมื่อศาลตัดสินให้โอนสิทธิกลับก็เคารพ แต่ทำไมต้องคิดค่าเช่าตั้ง 3,000 ล้าน นักลงทุนคิดว่าไม่ควรคิดค่าเช่าเลย   2. ส่อให้เห็นว่ารัฐไทยไม่รักษาพันธกรณีต่อตลาดภายใต้รัฐบาลขิงแก่ จึงทำให้หุ้นตก สะท้อนให้เกิดปัญหาเรื่องการลงทุนต่อเนื่องกันมา   สฤนี 1.หนังสือชี้ชวนไม่ได้เขียนว่าท่อก๊าซเป็นของรัฐ แต่เขียนว่าภายใน 1 ปีจะมีการแบ่งแยกกิจการ ฉะนั้นถือว่านักลงทุนทราบแล้วตั้งแต่ต้น   2.ประเด็นสำคัญคือการที่ตัวแทนของผู้กำกับมานั่งในบอร์ดบริษัทด้วย ซึ่งคำถามนี้สามารถถามได้กับทุกหน่วย เช่น การบินไทย   บรรยง 1.หนังสือชี้ชวนพูดถึงการแยกส่วนของท่อก๊าซไม่ใช่เรื่องกรรมสิทธิ์ เป็นแค่การแยกการบริหารจัดการ นักลงทุนยังคิดว่าเป็นของปตท. ถ้าตอนแรกบอกชัดว่าท่อก๊าซเป็นของรัฐ หุ้นตอนนั้น 5 บาทก็ไม่รู้ขายได้ไหม   2.การซื้อคืนเริ่มงงว่าจะให้เป็นของรัฐหรือของอะไร การจะให้ประชาชน 63 ล้านเป็นไปได้หรือเปล่า การแปรรูปเป็นกระแสของโลก 20 ปีที่ผ่านมามีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ 80,000 แห่งทั่วโลก และทำให้กิจการเหล่านั้นมีประสิทธิภาพ   3.การแปรรูปในไทยไม่ใช่การแปรรูปโดยสมบูรณ์ แต่รัฐยังเป็นเจ้าของ ผู้ถือหุ้นใหญ่ ยืนยันว่าการแปรรูปแบบนี้ให้ประโยชน์ไม่สูงสุด แต่ดีกว่าไม่แปรรูป เพราะ(1) แบ่งเบาภาระของรัฐในการต่อยอดการลงทุน ทำให้รัฐนำงบประมาณไปทำอย่างอื่นได้ (2) ปตท.สามารถเป็นบริษัทไทยที่มีน้ำหนักในเวทีโลก (3) มีประสิทธิภาพการบริหารจัดการมากขึ้น (4) กลไกตลาดจะตรวจสอบ เพิ่มการกำกับดูแล       คำถามที่ 6  เหตุใดจึงมีการขาดแคลนก๊าซแอลพีจีในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ขณะที่มีข่าวการลักลอบนำก๊าซแอลพีจีในไทยขนขึ้นเรือไปขายต่างประเทศ หรือ ปตท.ต้องการให้คนหันมาใช้ก๊าซเอ็นจีวี ในการขนส่ง ซึ่งทางปตท.ผูกขาดอยู่      มูลนิธิผู้บริโภค     ปตท.   ข้อสังเกตเพิ่มเติม 1.เราไม่ได้ขาดแคลนก๊าซ LPG (อ้างอิงตัวเลขกระทรวงพลังงาน) ไม่ต้องนำเข้า ล่าสุด มีอาจารย์มอ.ยืนยันเรื่องนี้   2.เรามีระบบสัมปทานก๊าซที่รัฐได้ประโยชน์น้อย ทุกรัฐบาลไม่สนใจและขยายสัมปทานไปโดยที่สัญญาเก่ายังไม่หมดอายุ   3.ความต้องการผลิตก๊าซธรรมชาติ (อ้างอิงตัวเลขกระทรวงพลังงาน) ดูจากสัดส่วนแล้วพบว่าส่วนที่เพิ่มมากที่สุดคือส่วนของวัตถุดิบในการผลิต 30.8% ภาคอุตสาหกรรม 23.4% ไม่ใช่ภาคขนส่งและครัวเรือนอย่างที่กล่าวโทษกัน กลายเป็นมือใครยาวก็สาวเอาไป   4.ปตท.ต้องหยุดพูดว่าตัวเองอุดหนุนราคาก๊าซ เราอาจขายต่ำกว่าราคาที่ขายทั่วไป เพราะเรามีแหล่งผลิตในบ้านเราเอง ราคาขายปลีก 28 บาทไม่ได้อุ้มผู้ใช้ก๊าซแต่อย่างใด แต่อาจได้กำไรน้อยกว่าส่งออกต่างประเทศ 1.ไทยผลิต LPG มากกว่าการใช้ในประเทศมาตลอด จนเม.ย.ที่ผ่านมาเริ่มพอดี จึงมีการนำเข้าถึงปัจจุบันประมาณ 1.3 แสนตัน (ราคา 600 กว่าเหรียญต่อตัน) และต้องนำเข้าจนถึงสิ้นปีเกือบ 5 แสนตัน ถ้าเหตุการณ์ยังเป็นอย่างนี้ปีหน้าคาดว่าต้องนำเข้าไม่ต่ำกว่า 1 ล้านตัน รัฐให้ ปตท.ควักเงินซื้อไปก่อนโดยรับปากว่าจะเคลียร์ให้ทีหลัง   2.ไทยไม่มีอุปกรณ์ โครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับการนำเข้า LPG จำนวนมาก ยังไม่รู้ต้องทำอย่างไร อาจต้องลอยเรือกลางอ่าวไทยแล้วค่อยๆ ทยอยขนอย่างยุ่งยาก   3.นี่เป็นผลจากการบิดเบือนกลไกตลาด ทำให้คนคิดว่าของมันถูก มีมาก เป็นภาระที่อันตรายมาก (รัฐกำหนดให้ขาย LPG 300 กว่าเหรียญต่อตัน ขณะที่น้ำมันเบนซินราคา 1,000 กว่าเหรียญต่อตัน) บรรยง อยู่ที่นิยามของคำว่า "อุดหนุน" ถ้าดูจากต้นทุนอาจเห็นว่าไม่อุดหนุน แต่ถ้าทางเศรษฐศาสตร์อะไรก็ตามที่บิดเบือนราคาตลาดถือว่าอุดหนุน   การขาดแคลนมาจากการที่ไม่ปล่อยให้ราคาเป็นไปตามกลไกตลาดทำให้คนมาใช้ทั้งๆ ที่ไม่ควรใช้ + มีการลักลอบนำออก     คำถามที่ 7  จริงหรือไม่ที่ปตท.ขายก๊าซฯ ให้โรงแยกก๊าซ จำนวน 5 โรงของตัวเองในราคาประมาณ 150 บาท  แต่ขายก๊าซให้แก่ กฟผ.ราคา 180 บาท  ทำให้เป็นต้นทุนค่าไฟฟ้าส่วนเกิน ที่ผู้ใช้ไฟฟ้าทุกคนต้องแบกรับ คำถามที่ 8  ทำไมก๊าซที่ปตท.สผ. ขายให้กับปตท. จึงแพงกว่าก๊าซจากแหล่งอื่น เป็นเพราะต้องการเอื้อประโยชน์ให้ ปตท.สผ. ซึ่งเป็นบริษัทลูกของปตท. หรือไม่  ยิ่ง ปตท.สผ.ได้กำไรมาก บริษัทแม่ก็ได้กำไรมากตามมาด้วยหรือไม่    7.กรณีท่อก๊าซหากเป็นของรัฐ ทุกคนควรมีสิทธิได้ใช้ กฟผ.ก็น่าจะมีสิทธิซื้อก๊าซที่ปากหลุม ทำให้ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าลดลง   ผู้บริโภค     ปตท.   ข้อสังเกตเพิ่มเติม 1.ปตท.ขายก๊าซให้ กฟผ.สูงกว่าให้บริษัทลูกของตัวเอง และยังซื้อก๊าซจากบริษัทลูกสูงกว่าที่ซื้อจากเจ้าอื่น จึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน   2.ถ้าขายก๊าซให้ กฟผ.ในราคาเดียวกับบริษัทลูก จะทำให้ประชาชนลดค่าไฟฟ้าไปได้มาก   3. ท่อก๊าซเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องคืนให้กระทรวงการคลัง ควรให้คนอื่นได้เช่าด้วยเพื่อให้เกิดการแข่งขัน เช่นเดียวกันกับที่เรียกร้องกับสายส่งไฟฟ้าที่ควรเป็นของรัฐให้คนได้ใช้ได้ กฟผ.ก็น่าจะมีสิทธิซื้อก๊าซที่ปากหลุม ทำให้ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าลดลงมาก 1.ไม่แน่ใจในตัวเลข อาจปรับเปลี่ยนได้ตลอด แต่โดยหลักการราคาก๊าซที่ขายให้ กฟผ.ถูกกำหนดโดยคณะกรรมการกิจการพลังงาน หรือ regulator   ราคาขายก๊าซให้ กฟผ.แบ่งเป็น 3 ส่วน (1)ราคาเนื้อก๊าซจากแหล่งผลิต 89% ของราคาก๊าซ (ส่งผ่านให้เลยไม่มีบวก แต่ถัวเฉลี่ยจากแหล่งต่างๆ) (2) ค่าขนส่ง หรือค่าผ่านท่อส่งไปยังโรงไฟฟ้า กำหนดโดย regulator ราว 10% (3) ค่าดำเนินงานของ ปตท. อยู่ที่ 1% กว่าๆ ของราคาก๊าซที่ขาย   ยังไงก็ได้แค่ 1%นี้   2.สัญญาแรกๆ ที่รัฐทำกับ ยูโนแคล จูงใจผู้ลงทุนเพราะความเสี่ยงสูง เมื่อนานเข้าแหล่งก๊าซก็หายากขึ้น มีค่าใช้จ่ายในการปรับคุณภาพก๊าซ ขณะที่สัมปทาน สูตรราคากับรัฐก็เปลี่ยนไป ปตท.สผ.เกิดเมื่อ 2528 ใช้สูตรใหม่ และขายให้ ปตท.ตามสูตรนั้น ไม่ได้กำหนดเอง ดังนั้น ที่ปตท.สผ.ขายก๊าซให้รัฐราคาสูงกว่าที่อื่นก็เพราะรัฐกำหนดอย่างนั้น   3.ปตท.สผ.ถือหุ้นสูงสุดในบางแปลงอย่างมากก็ 40% ในอ่าวไทยเฉลี่ยทั้งหมดก็ไม่ถึง 30% ที่เหลือเป็นของต่างชาติ           คำถามที่ 9  จริงหรือไม่ที่มีการประเมินว่า เงินค่าไฟฟ้าที่ผู้บริโภคต้องจ่ายจำนวน 100 บาท จะไปตกอยู่ในมือปตท.ถึง 42.90 บาท ขณะที่กฟผ.ได้รับเพียง 27.10 บาทเท่านั้น ถ้ารัฐจัดการกับ 'กำไรผูกขาด' ทั้งหมดของปตท.ได้ ก็อาจทำให้สามารถลดค่าไฟฟ้าให้ประชาชนได้ถึง 13,000 - 14,000 ล้านบาทต่อปี [1] ผู้บริโภค ปตท.   ข้อสังเกตเพิ่มเติม   1.ไม่อยากจะไปเล่นกันเรื่องตัวเลข เข้าใจว่าในการผลิตไฟฟ้า 100 บาท เป็นค่าเชื้อเพลิง 60-70 บาท ที่เหลือก็เป็นเรื่องการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้า ยังไง ปตท.ก็ได้แค่ 1% กว่าของ 60-70 บาทนั้นเป็นค่าดำเนินการ เพราะรัฐเป็นผู้กำหนด      *แก้ไขข้อมูลไฟล์พรีเซนต์ของมูลนิธิเพื่อผู้บโภค 13 ส.ค. 2551 เอกสารประกอบ Present_PTT [2] Present_Consumer [3]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/41480
2012-07-10 23:35
แพทย์อิสลามเห็นด้วยแนวผ่าศพมุสลิม กสม.แจงช่วยคืนความยุติธรรม
กรรมการสิทธิให้ความรู้เจ้าหน้าที่ด้านกระบวนการยุติธรรมในชายแดนใต้ แนวทางชันสูตรศพตามตามหลักศาสนาอิสลาม แพทย์อิสลามเห็นด้วยผ่าศพมุสลิม หากคืนความยุติธรรม แต่ยังไม่มีคนยอมให้ผ่า ตำรวจชี้ยังต้องใช้เวลาพิสูจน์ ศ.อมรา พงศาพิชญ์ เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 10 มิถุนายน 2555 ที่โรงแรมซีเอส.ปัตตานี จ.ปัตตานี คณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จัดสัมมนาโครงการสร้างความรู้ความเข้าใจและเผยแพร่แนวทางการตรวจชันสูตรศพตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักศาสนาอิสลาม มีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องด้านกระบวนการยุติธรรม เช่น ทหาร ตำรวจ นิติกร อัยการ ผู้พิพากษา แพทย์ พยาบาล เข้าร่วมกว่า 100 คน ศ.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและประธานอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวเปิดสัมมนาว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล็งเห็นถึงปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงได้ศึกษาแนวทางการตรวจชันสูตรศพตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักศาสนาอิสลาม โดยชี้ให้เห็นถึงกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาข้อเท็จจริง อันจะนำมาสู่การปกป้อง คุ้มครองสิทธิของผู้เสียชีวิตและครอบครัว ศ.อมรา กล่าวว่า การทำงานเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชน จะต้องมีการตรวจสอบเพื่อหาข้อเท็จจริง คือ การพิสูจน์หาสาเหตุการเสียชีวิต แต่หากชุมชนมุสลิมไม่ยอมให้พิสูจน์การเสียชีวิต โดยอ้างว่าผิดหลักศาสนาอิสลาม จะส่งผลให้การแสวงหาข้อเท็จจริงเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเสียชีวิตจากสาเหตุอะไร ศ.อมรา กล่าวว่า ตามหลักศาสนาอิสลามมีความเชื่อว่า หลังจากเสียชีวิตต้องฝังภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิม ปัจจุบันสังคมสมัยใหม่ในต่างประเทศมีการพิสูจน์ศพมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นประเทศมาเลเซีย หรือประเทศอินโดนีเซีย ก็ต่างยอมรับในกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ เพราะฉะนั้น ประเทศไทยจะต้องมีการศึกษาและเปรียบเทียบประเทศต่างๆ และนำเสนอให้ชุมชนมุสลิมในประเทศไทยได้รับทราบว่า ไม่ผิดหลักศาสนา “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงวอนขอให้จุฬาราชมนตรี รวมถึงกลุ่มผู้รู้ศาสนาอิสลามร่วมกันวินิจฉัยและออกคำฟัตวา ซึ่งหมายถึง ความกระจ่างในสาระที่เกี่ยวข้องกับศาสนบัญญัติ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า การพิสูจน์ศพนั้นไม่ผิดหลักศาสนาอิสลาม สามารถทำได้ เพียงแต่ในอดีตไม่นิยมกระทำกันและเชื่อว่าเป็นข้อห้าม” ศ.อมรา กล่าว ศ.อมรา กล่าวว่า ในการพิสูจน์หาสาเหตุการเสียชีวิตถือเป็นตัวช่วยสำคัญ เพราะมีโอกาสได้พิสูจน์การเสียชีวิต สามารถเข้าถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเสียชีวิตได้ง่ายขึ้นและชัดเจนขึ้น เพราะที่ผ่านมา หากไม่พิสูจน์ศพ ผู้กระทำความผิดก็ได้ประโยชน์ ส่วนผู้เสียหายก็เสียประโยชน์ เพราะไม่ได้รับการพิสูจน์หาข้อเท็จจริง นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า กรณีที่มีการเสียชีวิตที่ผิดธรรมชาติจะต้องมีการชันสูตรพลิกศพตามกฎหมาย เช่น กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ หรือกรณีอื่นๆ ที่ไม่ใช่เกิดจากโรคชรา แต่เนื่องจากใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ยินยอมให้ผ่าศพ เพราะเชื่อว่าขัดต่อหลักศาสนาอิสลาม และชาวบ้านยังไม่เข้าใจที่ชัดเจนในเรื่องการผ่าศพ เช่น คิดว่าหากผ่าแล้วจะมีผลดีอย่างไร ทั้งที่เป็นไปเพื่อให้ความจริงปรากฏและเพื่อคืนความยุติธรรมแก่ผู้เสียชีวิตและญาติ นายไพบูลย์ เปิดเผยอีกว่า หลังจากนี้ กระบวนการตามแนวทางการตรวจชันสูตรศพตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักศาสนาอิสลามต้องทำให้ชัดเจน โดยจะให้ศูนย์อำนวยหารบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ประชาสัมพันธ์ และทำความเข้าใจแก่พี่น้องมุสลิม และผู้นำศาสนาต่อไป โดยไม่ใช่เป็นการบังคับให้ทำตาม เป็นเพียงแนวทางในการปฏิบัติเท่านั้น “หากแนวทางการตรวจชันสูตรศพตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักศาสนาอิสลามนี้เป็นไปได้ด้วยดี จะสามารถเรียกความเชื่อมั่นต่อกระบวนยุติธรรมของชาวบ้านให้กลับมาได้ และสิทธิที่จะตามคือ การเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นคืนให้กับผู้เสียชีวิตและญาติผู้เสียชีวิต” นายไพบูลย์ กล่าว พญ.นูรไอนี อาแว นายแพทย์ระดับปฏิบัติการโรงพยาบาลเบตง อ.เบตง จ.ยะลา เปิดเผยว่า การชันสูตรศพต้องได้รับการยินยอมจาก 3 ฝ่าย คือ ญาติ แพทย์ผู้ชันสูตรศพ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง แพทย์จึงจะสามารถชันสูตรศพได้ในกรณีที่ต้องจำเป็น เช่น ผ่าท้องเพื่อนำทารกที่ยังมีชีวิตอยู่ออกจากครรภ์แม่ที่เสียชีวิต หรือกรณีผู้เสียชีวิตกลืนสิ่งของมีค่าลงท้อง ทั้งนี้การผ่าศพนั้นขึ้นอยู่กับความจำเป็น เช่น หากผ่าแล้วจะได้รับความยุติธรรมกลับคืนมา พญ.นูรไอนี เปิดเผยอีกว่า ที่ผ่านมามีเพียงยินยอมให้ชันสูตรพลิกศพเท่านั้น ยังไม่เคยมีกรณีที่ญาติยินยอมให้ผ่าศพคนที่นับถือศาสนาอิสลาม พญ.นูรไอนี เปิดเผยว่า โดยทั่วไป การตรวจชันสูตรพลิกศพ สามารถทำได้ 3 วิธี คือ การชันสูตรโดยการตรวจภายนอก การชันสูตรโดยการผ่าเปิด และการชันสูตรโดยการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือดหรือการเอ็กซ์เรย์ “จะผ่าศพหรือไม่ ต้องคิดให้รอบคอบก่อนว่า จะมีผลดีมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะกับผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว และไม่ได้หมายความว่า จะสามารถหยุดการกระทำที่จะนำมาสู่เหตุการณ์ที่จะต้องผ่าศพได้ แต่หากผ่าศพแล้ว สามารถนำคนผิดมาลงโทษได้ ก็สมควรจะผ่าหรือกรณีที่ญาติสงสัยในการเสียชีวิตและต้องการให้ผ่าพิสูจน์” พญ.นูรไอนี กล่าว พ.ต.ท.จักรกริช นองมณี รองผู้กำกับการสืบสวนสอบสวน สถานีตำรวจภูธร(รอง ผกก.สส.สภ.) เจาะไอร้อง อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เปิดเผยว่า ในการตรวจพิสูจน์หลักฐานในที่เกิดเหตุนั้นต้องมีเอกลักษณ์ที่ต้องตรงกัน ระหว่างบุคคลกับหลักฐานที่พบในที่เกิดเหตุ 16 จุด จากเดิมกำหนดไว้เพียง 6 จุด จากนั้นเพิ่มเป็น 9 จุด ซึ่งยังอาจเกิดความผิดพลาดในการตรวจพิสูจน์ได้ง่าย ทำให้ต่อมามีการกำหนดเป็น 16 จุด ทำให้การตรวจพิสูจน์คดีมีความชัดเจนยิ่งขึ้น พ.ต.ท.จักรกริช เปิดเผยอีกว่า ที่ผ่านมามีทั้งชาวบ้านที่ยินยอมและไม่ยินยอมให้ผ่าพิสูจน์ศพ เนื่องจากชาวบ้านมองว่า การผ่าศพเป็นการไม่ให้เกียรติศพ ยิ่งศพที่ถูกยิงกระสุนฝังในกะโหลกศีรษะ หรือในกระดูก ชาวบ้านจะไม่ยอมให้ผ่าเด็ดขาด เนื่องจากต้องใช้เวลาผ่าและเก็บศพไว้นาน แต่หากกระสุนฝังบริเวณผิวหนังชั้นนอกและมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ก็จะมีชาวบ้านบางส่วนยอมให้ผ่า เนื่องจากใช้เวลาไม่นาน พ.ต.ท.จักรกริช กล่าวว่า หากนำแนวทางการตรวจชันสูตรศพตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักศาสนาอิสลามมาใช้ ตนก็ยังเชื่อว่าชาวบ้านจะยังมีความรู้สึกเหมือนเดิม เพราะชาวบ้านมองว่าแนวทางนี้อยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือบุคลากรด้านกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น การใช้แนวทางนี้ ยังต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ผล เพื่อดูทัศนคติของชาวบ้านที่มีต่อกระบวนการต่อไป แต่เชื่อว่าจะดีขึ้น “โดยปกติอำนาจการคืนศพให้กับญาติเป็นของตำรวจ หากยังพิสูจน์ศพไม่เสร็จ ตำรวจมีอำนาจเก็บศพไว้พิสูจน์ต่อนานถึง 6 วัน แต่เนื่องจากคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งต้องฝังศพภายใน 24 ชั่วโมง รวมถึงญาติไม่ยินยอมให้ผ่าศพ ตำรวจจึงต้องคืนศพให้กับญาติ เพื่อนำไปประกอบพิธีตามหลักศาสนาอิสลามต่อไป” พ.ต.ท.จักรกริช กล่าว   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องคลอดแล้ว แนวชันสูตรผ่าศพมุสลิม ผู้นำศาสนาโอเค ชี้เป็นสิทธิผู้ดูแลศพ [1]
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/38071
2011-11-29 15:50
ฟ้องแล้ว! โปรแกรมเมอร์ถูกกล่าวหาสร้างเพจหมิ่นในเฟซบุ๊ก
วานนี้ (28 พ.ย.54) นายอานนท์ นำภา ทนายความของนายสุรภักดิ์ (ขอสงวนนามสกุล) แจ้งว่า สำนักงานพิเศษฝ่ายคดีอาญา 6  อัยการได้ยื่นฟ้องนายสุรภักดิ์แล้วในวันที่ 25 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยกล่าวหาเป็นเจ้าของอีเมล์  dorkao@hotmail.com [1] ซึ่งจัดทำเพจในเฟซบุ๊กชื่อว่า “เราจะ.......โดยทำรัฐประหาร” และกระทำการโพสต์ข้อความที่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112  พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 3,14,17   คำฟ้องระบุว่า จำเลยทำการโพสต์ข้อความที่เข้าข่ายความผิดดังกล่าวในวันที่ 4 พ.ค.54, 18 มิ.ย.54, 22 มิ.ย.54, 16 ส.ค.54  ในเฟซบุ๊ก และในวันที่ 2 ก.ย.54 เจ้าหน้าที่ได้จับกุมตัวจำเลยได้พร้อม คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก 1 เครื่อง แอร์การ์ด 1 อัน ซิมการ์ดทรูมูฟ 2 อัน ซิมการร์วันทูคอล 1 อัน แผ่นซีดี บรรจุในกระเป๋าซีดี จำนวน 52 แผ่น โมเดมเร้าเตอร์ 1 เครื่อง คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ 1 เครื่อง แผงวงจรไฟฟ้า 1 ตัว จึงได้ยึดเป็นของกลาง ในชั้นสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธ ระหว่างสอบสวน จำเลยถูกควบคุมตัวตั้งแต่วันที่ถูกจับตลอดมาจนถึงปัจจุบัน คำฟ้องยัง ระบุเหตุผลในตอนท้าย เพื่อคัดค้านการขอประกันตัวของจำเลยด้วยว่า “อนึ่ง จำเลยเป็นคนไทย อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงมีพระกรุณาธิคุณต่อชาติบ้านเมือง และพสกนิกรเป็นล้นพ้น จำเลยนอกจากไม่สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณทรงมีต่อพสกนิกรเสมอมาแล้ว ยังบังอาจแสดงความอาฆาตมาดร้าย มุ่งล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวไทย เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติที่ประชาชนชาวไทยไม่อาจยอมรับได้ พฤติกรรมของจำเลยไม่มีเหตุอันควรปราณี ไม่ว่าในทางใด สมควรได้รับโทษสถานหนัก จำเลยกระทำผิดร้ายแรง อันป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หากจำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราว อาจหลบหนีหรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อภัยในลักษณะดังกล่าวขึ้นมาอีก หากจำเลยขอปล่อยตัวชั่วคราว โจทก์ขอคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวของจำเลย” ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  สุรภักดิ์ วัย 40 ปี เป็นโปรแกรมเมอร์ นักพัฒนาซอฟท์แวร์ให้กับบริษัทเอกชน รัฐวิสาหกิจหลายแห่ง เพิ่งเปิดบริษัทใหม่ได้ไม่ถึงเดือน เจ้าหน้าที่จากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมาทาง เทคโนโลยี (ปอท.) นับสิบนายบุกเข้าจับกุม ซึ่งตามข่าวระบุว่าเป็นวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา และในการตรวจค้นและยึดคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ 2 เครื่อง และคอมพิวเตอร์แบบพกพาอีก 1 เครื่องนั้น สุรภักดิ์พยายามติดต่อพยานเพื่อมาดูและกระบวนการดังกล่าว รวมทั้งขอติดต่อทนายความ แต่เจ้าหน้าที่ปฏิเสธและยึดโทรศัพท์มือถือไป กระทั่งนำตัวมาสอบสวนที่ ปอท. จึงได้พบทนายความ เขาระบุอีกว่าเจ้าหน้าที่ไม่มีหลักฐานอย่างชัดเจนในการกล่าวหาเขาแต่อย่างใด เพียงแต่ระบุว่า มีนักศึกษาไปร้องทุกข์กล่าวโทษเกี่ยวกับเพจนี้ แล้วจากนั้นก็มีพยานอีก 1 คนที่ระบุเชื่อมโยงตัวเขาเข้ากับเพจดังกล่าว
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/75796
2018-03-09 13:34
เข้ารับทราบข้อหากับ ปอท. ทนายอานนท์โดนโพสต์หมิ่นศาล เอกชัยโดนโพสต์ลามกอนาจาร
อานนท์ นำภา และ เอกชัย หงส์กังวาน เข้ารับทราบข้อหากับ ปอท. คนหนึ่งโดนคดีโพสต์ดูหมิ่นศาล อีกคนโดนคดีโพสต์ลามกอนาจาร โดยทั้งคู่ปฏิเสธข้อกล่าวหา เมื่อวันที่ 8 มี.ค.ที่ผ่านมา ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) อานนท์ นำภา ทนายความสิทธิมนุษยชนเข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมคดีดูหมิ่นศาล และ เอกชัย หงส์กังวาน นักกิจกรรมที่เคลื่อนไหวเรื่องการตรวจสอบนาฬิกาของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เข้ารับทราบข้อกล่าวหานำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ลามกอนาจาร ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ทั้งคู่ให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา ตร.ออกหมายเรียก 'เอกชัย' อ้างโพสต์ลามก - ประวิตรแจงนาฬิกาเพื่อนเอามาให้ใส่ คืนหมดแล้ว [1] 'อานนท์ นำภา' รับทราบข้อหาหมิ่นศาล ปมโพสต์วิจารณ์ศาล เพื่อนทนายหลายสิบร่วมให้กำลังใจ [2] ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า เวลา 10.00 น. อานนท์ พร้อมทนายความเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน บก.ปอท. เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมในคดีดูหมิ่นศาลและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ  โดยพนักงานสอบสวนนำโพสต์เฟสบุ๊คมาแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่ม 2 โพสต์ ได้แก่ 1. โพสต์เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2561 เกี่ยวกับคำพิพากษาศาลจังหวัดขอนแก่น ในคดีนักศึกษาละเมิดอำนาจศาล โดยโพสต์รูปข้อความในคำพิพากษา พร้อมแสดงความเห็นว่า “เอาเข้าจริงๆศาลจังกวัดขอนแก่นได้พิพากษาในคดีละเมิดอำนาจศาล มีลักษณะ “ดูถูกดูแคลน” กลุ่มนักศึกษาว่าการไปทำกิจกรรมให้กำลังใจ “ไผ่ ดาวดิน” ว่าเกิดจากความด้อยประสบการณ์และตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่หวังดี ความจริงเรื่องกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เป็นธรรมกับไผ่ดาวดิน คนทั้งโลกล้วนเห็นประจักษ์ ทั้งนักศึกษากลุ่มดาวดินก็ล้วนแต่มีประสบการณ์ต่อสู้กับความอยุติธรรมของสังคมมาโดยตลอด ไม่ใช่คนที่ใครจะไปสั่งการหรือหลอกลวงได้ การดำเนินคดีกับผมในข้อหาหมิ่นศาลจังหวัดขอนแก่นจึงเป็นการดีที่จะได้นำเรื่องความอยุติธรรมที่เกิดกับไผ่ และนักศึกษากลุ่มดาวดิน มาตีแผ่ให้สังคมได้เห็นอีกครั้ง” 2. โพสต์เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2560 เป็นบทกวีประกอบภาพหมายเรียกผู้ต้องหา มีเนื้อหาว่า "บทกวี ถึงมหาตุลาการ คือตราชู ผู้ชี้ เสรีสิทธิคือศาลสถิต ยุติธรรม นำสมัยคือหลัก ประกัน ประชาธิปไตยมิใช่ อภิชน คนชั้นฟ้า ! ครุยที่สวม นั้นมา จากภาษีรถที่ขี่ เงินใคร ให้หรูหราข้าวที่กิน ดินที่ย่ำ บ้านงามตาล้วนแต่เงิน ของมหา ประชาชน มิได้ อวตาร มาโปรดสัตว์แต่เป็น “ลูกจ้างรัฐ” ตั้งแต่ต้นให้อำนาจ แล้วอย่าหลง ทนงตนว่าเป็นคน เหนือคน ชี้เป็น-ตาย เสาหลัก ต้องเป็นหลัก อันศักดิ์สิทธิ์ใช่ต้องลม เพียงนิด ก็ล้มหงายยิ่งเสาสูง ใจต้องสูง เด่นท้าท้ายใช่ใจง่าย เห็นเงิน แล้วเออออ ! ต้องเปิด โลกทัศน์ อย่างชัดเจนใช่ซ่อนเร้น อ่านตำรา แต่ในหอออกบัลลังค์ นั่งเพลิน คำเยินยอเลือกเหล่ากอ มากอง ห้องทำงาน ตุลาการ คือหนึ่ง อธิปไตยอันเป็นของ คนไทย ไพร่-ชาวบ้านมิใช่ของ ใครผู้หนึ่ง ซึ่งดักดานแต่เป็น “ตุลาการ” ประชาชน ฉะนั้นพึง สำนึก มโนทัศน์ใช่ด้านดัด มืดดับ ด้วยสับสนเปื้อนราคิน กินสินบาท คาดสินบนแล้วแบ่งคน แบ่งชั้น บัญชาชี้ เถิด”ตุลาการ” จงคิด อย่างอิสระรับภาระ อันหนักหนา ทำหน้าที่หากรับใช้ ใบสั่ง ดั่งกาลีตุลาการ เช่นนี้ อย่ามีเลย ! : อานนท์ นำภา ๖ พฤศจิกายน ๕๓แก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับเดิม ๓ กันยายน ๕๓” โดย อานนท์ ยังคงให้การปฏิเสธและจะส่งคำให้การเพิ่มเติมเป็นลายลักษณ์อักษรในภายหลัง พนักงานสอบสวนอนุญาตปล่อยตัวโดยไม่เรียกหลักทรัพย์ประกัน ขณะที่ เอกชัย เข้ารับทราบข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (4) นำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ลามกอนาจาร จากการโพสต์เฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2560 เล่าประสบการณ์และความสัมพันธ์ในเรือนจำ หลังพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหา เอกชัยให้การปฏิเสธและจะยื่นคำให้การเพิ่มเติมเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 30 วัน จากนั้นพนักงานสอบสวนจึงอนุญาตปล่อยตัวโดยไม่เรียกหลักทรัพย์ประกันเช่นกัน
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
https://prachatai.com/print/40433
2012-05-09 22:09
คลอดแล้วแนวชันสูตรผ่าศพมุสลิม ผู้นำศาสนาโอเค ชี้เป็นสิทธิผู้ดูแลศพ
กรรมการสิทธิแถลงหลังใช้เวลาศึกษา 6 ปี หวังเป็นอีกช่องสร้างความยุติธรรมชายแดนใต้ หมอยะลาแนะต้องเพิ่มแพทย์นิติเวชมุสลิม สร้างการยอมรับกระบวนการยุติธรรมไทย เผยสาระสำคัญ 2 ทัศนะทางศาสนา “ทำได้ – ไม่ได้”    ชันสูตรศพมุสลิม - ศ.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ที่ 3 จากซ้าย) แถลงข่าวเปิดตัวหนังสือ “แนวทางการตรวจชันสูตรพลิกศพ ตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักด้านศาสนาอิสลาม” ณ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2555     เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ที่ห้องประชุม 1 สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมกับ สำนักจุฬาราชมนตรี และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)  เปิดแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือ “แนวทางการตรวจชันสูตรพลิกศพ ตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักด้านศาสนาอิสลาม” จากนั้นมีการสัมมนาสร้างความรู้ความเข้าใจและเผยแพร่แนวทางการตรวจชันสูตรพลิกศพ ตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักด้านศาสนาอิสลาม โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 150 คน ประกอบด้วยผู้นำศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นักกฎหมายในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศ.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แถลงว่า การศึกษาแนวทางการตรวจชันสูตรพลิกศพตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักด้านศาสนาอิสลาม เริ่มตั้งแต่ปี 2549 โดยนายวสันต์ พานิช อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพราะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการอำนวยความยุติธรรมให้กับผู้ตายและญาติที่เป็นชาวมุสลิมโดยเฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ศ.อมรา แถลงต่อไปว่า ต่อมาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดใหม่ ได้ดำเนินการต่อ โดยมีการหารือกับสำนักจุฬาราชมนตรี และสำนักจุฬาราชมนตรีได้ออกคำวินิจฉัยทางศาสนา (ฟัตวา) ที่ 04/ 2549 เรื่องการชันสูตรพลิกศพ สามารถกระทำได้ต่อเมื่อมีความจำเป็นจริงๆ เท่านั้น ศ.อมรา แถลงอีกว่า นอกจากนี้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เดินทางไปศึกษาหลักการและแนวทางเรื่องนี้ที่ประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย มีการแต่งตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วยประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้นำศาสนา นักวิชาการ และ นักกฎหมาย มีการประชุม 5 ครั้ง ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2551 จนปี 2555 มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะนักวิชาการศาสนาและนักกฎหมาย นายอับดุลสุโก ดินอะ คณะทำงานร่างแนวทางการตรวจชันสูตรศพตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักศาสนาอิสลาม ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า สาระสำคัญของหนังสือแนวทางการตรวจชันสูตรดังกล่าว อยู่ในหน้า 25 ข้อ 2.2 การชุนสูตรศพ โดยเฉพาะการขุดและการผ่าศพขัดต่อหลักการศาสนาอิสลามหรือไม่ สาระสำคัญในหน้าดังกล่าวระบุว่า จากการศึกษาไม่พบหลักฐานใดๆ ที่ระบุชัดเจนถึงการห้าหรืออนุมัติทั้งจากคัมภีร์อัลกุรอานและวจนะศาสดา ทำให้นักวิชาการปัจจุบันมีทรรศนะที่แตกต่างกัน 2 ทัศนะ  “ทัศนะแรก ไม่อนุญาตให้ขุดศพและตรวจชันสูตรศพ ด้วยเหตุผลที่ว่า ศาสนาตั้งอยู่บนพื้นฐานการให้เกียรติและคุ้มครองคุณค่าอันสูงส่งของความเป็นมนุษย์ ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ในช่วงแห่งการมีชีวิตอยู่เท่านั้น ในสภาวะไร้วิญญาณ ศาสนาอิสลามก็ยังคงถือว่าเกียรติยศและความประเสริฐในการเป็นมนุษย์ยังมีอย่างสมบูรณ์” สาระสำคัญในหน้าดังกล่าว ระบุ “ทัศนะที่สอง อนุญาตให้ขุดศพและชันสูตรศพ เป็นทัศนะส่วนใหญ่ของนักวิชาการโลกมุสลิมร่วมสมัยว่า การขุดศพเพื่อชันสูตรที่ได้ฝังไปแล้ว หรือการชันสูตรศพที่เพิ่งเสียชีวิต แม้เป็นสิ่งต้องห้ามตามมติของปวงปราชญ์ แต่หากสถานการณ์มีความจำเป็น ก็สามารถทำได้โดยอนุโลม” สาระสำคัญในหน้าดังกล่าว ระบุ นายอับดุลสุโก เปิดเผยว่า  สำหรับหนังสือเล่มนี้ในเบื้องต้นบรรดาอุลามาอ์ (นักปราชญ์ทางศาสนาอิสลาม)ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่เห็นด้วยในหลักการ แต่มีข้อกังวลคือ เมื่อมีการชันสูตรพลิกศพมุสลิมแล้ว จะสามารถอำนวยความยุธรรมให้เกิดขึ้นได้หรือไม่ และจะทำให้สามารถนำผิดมาลงโทษได้หรือไม่ นายอับดุลสุโก กล่าวว่า การนำแนวทางดังกล่าวมาใช้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะสามารถนำความยุติธรรมมาให้ประชาชนได้ และกระบวนการต่างๆตามแนวทางดังกล่าว จะมีแพทย์มุสลิมที่มีความน่าเชื่อถือเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการชันสูตรด้วย นายแพทย์ฟาฏิน อะหะหมัด สาและอารง นายแพทย์ปฏิบัติการโรงพยาบาลศูนย์ยะลา กล่าวว่า แนวทางการตรวจชันสูตรพลิกศพดังกล่าว มีการเน้นว่า การชันสูตรพลิกศพมุสลิมสามารถทำได้หรือไม่ได้เท่านั้น ทั้งที่ ยังมีมิติอื่นที่ต้องขับเคลื่อนไปด้วยกัน คือ การสนับสนุนการผลิตแพทย์นิติเวชที่เป็นมุสลิม และการสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบความยุติธรรมของไทย นายอิสมาแอล สะปันยัง หรือ บาบอแอ สะปาแย โต๊ะครูปอเนาะดูซงปันยัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี กล่าวในการสัมมนาว่า การที่มีทัศนะเรื่องการชัดสูตรศพของอูลามาอ์ เป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งเป็นเรื่องปลีกย่อย เพราะไม่มีตัวอย่างในสมัยศาสดา “กรณีนี้ คนที่เห็นด้วยก็มีหลักฐาน ส่วนคนที่ไม่เห็นด้วยก็มีหลักฐาน แต่เมื่อสำนักจุฬาราชมนตรีออกคำวินิจฉัยเรื่องนี้แล้ว ใครจะทำตามหรือไม่ทำตามก็ได้ ไม่ได้บังคับ เพราะขึ้นอยู่กับผู้ดูแลศพหรือญาติที่จะอนุญาตหรือไม่” บาบอแอ สะปาแย กล่าว บาบอแอ สะปาแย กล่าวอีกว่า อยากรู้ว่าเรียกอูลามาอ์มาร่วมงานครั้งนี้ด้วยทำไม หากต้องการให้อุลามาอ์มาให้คำตอบว่า ได้หรือไม่ได้ก็คงต้องเป้นเวทีเฉพาะของอูลามาอ์ แต่ถ้ามีคำวินิจฉัยแล้วก็ไม่จำเป็น ดร.อับดุลเลาะ อาบูบากา ผู้อำนวยการโรงเรียนสมบูรณ์ศาสตร์ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา กล่าวว่า การชันสูตรพลิกมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องมีหลักประกันว่า จะไม่มีการแทรกแซงการทำงานของทีมแพทย์นิติเวชที่ทำการชันสูตรพลิกศพ และที่สำคัญสุด ต้องสนับสนุนให้มีแพทย์นิติเวชที่เป็นมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย   เปิดสาระสำคัญ 2 ทัศนะ “ทำได้ – ไม่ได้” นายอับดุลสุโก ดินอะ คณะทำงานร่างแนวทางการตรวจชันสูตรศพตามกระบวนการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักศาสนาอิสลาม ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระบุสาระสำคัญของหนังสือแนวทางการตรวจชันสูตรดังกล่าว ดังนี้ สาระสำคัญของเรื่องนี้ อยู่ในหน้า 25 ข้อ 2.2 การชุนสูตรศพ โดยเฉพาะการขุดและการผ่าศพขัดต่อหลักการศาสนาอิสลามหรือไม่ ซึ่งจากการศึกษาไม่พบหลักฐานใดๆ ที่ระบุชัดเจนถึงการห้าหรืออนุมัติทั้งจากคัมภีร์อัลกุรอานและวจนะศาสดา ทำให้นักวิชาการปัจจุบันมีทรรศนะที่แตกต่างกัน 2 ทัศนะ   ทัศนะแรกไม่อนุญาต               ทัศนะแรก ไม่อนุญาตให้ขุดศพและตรวจชันสูตรศพ ด้วยเหตุผลที่ว่า ศาสนาตั้งอยู่บนพื้นฐานการให้เกียรติและคุ้มครองคุณค่าอันสูงส่งของความเป็นมนุษย์            ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ในช่วงแห่งการมีชีวิตอยู่เท่านั้น ในสภาวะไร้วิญญาณ ศาสนาอิสลามก็ยังคงถือว่าเกียรติยศและความประเสริฐในการเป็นมนุษย์ยังมีอย่างสมบูรณ์ กฎเกณฑ์ต่างๆ ในการปฏิบัติต่อผู้ตายจะต้องคอยระมัดระวังมิให้กระทบกระเทือนหรือเกิดอันตรายต่อศพ            ท่านศาสดามูฮัมมัดได้กล่าวย้ำไว้ว่า ท่านจงอย่าทำร้ายศพ ดังนั้นการขุดศพและการตรวจชันสูตรจึงเป็นการทำร้ายศพและไม่ให้เกียรติศพ โดยเฉพาะการตรวจชันสูตรศพนำไปสู่การล้าช้าในการจัดการศพที่ต้องเร่งรีบไปรับผลบุญที่ศพจะได้รับในโลกหน้าเป็นการค้านกันวจนะศาสดาที่กล่าวไว้ว่า “เมื่อมีบุคคลหนึ่งเสียชีวิตเจ้าจงอย่ากักขังศพ ทว่าจงรีบนำศพสู่หลุมฝังโดยเร่งด่วน” (บันทึกโดยอีหม่ามอัฏฏอบรอนีย์) ทรรศนะดังกล่าว เป้นทรรศนะของนักวิชาการร่วมสมัยบางท่าน เช่น ชัยค มูฮัมมัด ซะกะริยา อัลกันดาฮารีย์, ชัยมูฮัมมัดบูรฮานุดดีน อัสสันบาฮารีย์, ชัยคมูฮัมมัด บะเคียต, ชัยคอัลอารอบีย์ อบูอิยาต อัฏฏอบาคีย์ และ ชัยคมูฮัมมัดอับดุลวะฮฮาบ ทัศนะที่สอง อนุญาต              ทัศนะที่สอง อนุญาตให้ขุดศพและชันสูตรศพ เป็นทัศนะส่วนใหญ่ของนักวิชาการโลกมุสลิมร่วมสมัยส่วนใหญ่ เช่น ชัยคฺ ยูซุฟ อัลดะญาวีย์, ชัยคฺฮุซัยน์ มัคลูฟ, ชัยคฺอิบรอฮีม อัลยะกูบีย์, ชัยคฺดร.มุฮัมมัด ซะอีด รอมาฏอน อัลบูฏีย์, ชัยค ดร.มะห์มูด นาซิม นุซัยมีย์ และ ชัยค ดร.มะห์มูด อาลี อัซซัรฏอวีย์ ที่อนุโลมการตรวจชันสูตรศพโดยให้เหตุผลในภาพรวมว่า ในภาวะปกติ ความเป็นจริงศาสนาให้เกียรติและคุ้มครองคุณค่าอันสูงส่งของความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือเสียชีวิต               ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้มีชีวิตในชุมชนหนึ่งที่ต้องรับผิดชอบรวมร่วมกันในการจัดการศพตามขั้นตอนที่ได้ระบุไว้ตามหลักนิติศาสตร์อิสลามทุกประการ ตามหลักฐานที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ไม่ว่าจากคัมภีร์อัลกุรอานและวัจนะศาสดา               ดังนั้น การขุดศพเพื่อชันสูตรที่ได้ฝังไปแล้ว หรือการชันสูตรศพที่เพิ่งเสียชีวิต แม้เป็นสิ่งต้องห้ามตามมติของปวงปราชญ์ แต่หากสถานการณ์มีความจำเป็น ก็สามารถทำได้โดยอนุโลม               ทัศนะที่ 2 นี้ มีคำวินิจฉัย (ฟัตวา) ที่สำคัญของสถาบันและนักวิชาการในโลกมุสลิมสนับสนุนมากมาย เช่น               1. สถาบันปราชญ์อาวุโสของประเทศซาอุดิอาระเบีย (ฮัยอะกิบารอุละมาอ) ในมติการประชุมครั้งที่ 9 หมายเลข 98 ลงวันที่ 14 เดือนซะอบาน ปีฮิจเราะห์ศักราช 1396               2. ศูนย์นิติศาสตร์อิสลามของสันนิบาตชาติมุสลิม ในมติการประชุมครั้งที่ 10 ประจำเดือนเศาะฟัร ปีฮิชเราะห์ 1408               3. สำนักงานสภาการวินิจฉัยของอัลฮัซฮัร ประเทศอิยิปต์ และวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1971               4. สำนักงานวินิจฉัยประเทศอียิปต์ วินิจฉัยโดยมุฟตีอียิปต์สมัยต่างๆ คือ ชัยค อับดุลมาญีด ซาลีม หมายเลขข้อวินิจฉัย 639 ลงวันที่ 26 ซะอบาน ฮ.ศ.1356 และชัยค หุซัยน มัคลูฟ วินิจฉัยเมื่อปี ค.ศ.1951               5. คณะกรรมการถาวรการวิจัยและวินิจฉัยประเทศซาอุดิอาระเบีย ในมติการประชุม วันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ.1935               6. คณะกรรมการสภาวิจัยประเทศจอร์แดน ลงวันที่ 20 เดือนญะดิ้ลอาคิร ฮ.ศ.1937????????               7. อายาตุลลอฮ ซัยยิด อัซซัยตานีย์ ผู้นำชีอะห์ในอิรัก และ ศ.ดร.มุสตอฟา อัลอัรญาวีย์ นักวิชาการาวอิรัก (เพราะประเทศอิรักมีการขุดศพมุสลิมมากมาย)               8. ดร.อะห์หมัด อับดุลการีม นาญีบ               9. อ.มุฮัมมัด มัศริ นักวิชาการมาเลเซีย               10. คำวินิจฉัยทางศาสนาของสำนักจุฬาราชมนตรี ที่ 04/2549
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/15538
2008-01-24 09:30
นายกฯ ประชุม ศจพ.แก้ปัญหาอุทยานทับที่ชาวบ้านชายแดนใต้
นายกฤษศักดิ์ฎา สีเพชร์ ปลัดอำเภอบาเจาะ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินระดับอำเภอ กรณีการแก้ปัญหาอุทยานแห่งชาติบูโด - สุไหงปาดี ทับที่ทำกินชาวบ้าน เปิดเผยว่า ในเวลา 09.30 น. วันที่ 24 ม.ค.51 จะมีการประชุมศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาชนบทตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือ ศจพ. ซึ่งพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธาน ในที่ประชุม และนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมด้วย โดยจะมีการพิจารณาเรื่องการแก้ปัญหาอุทยานแห่งชาติบูโด - สุไหงปาดี ทับที่ดินทำกินชาวบ้าน ตามที่คณะกรรมอนุกรรมการแก้ปัญหาความยากจนด้านที่ดิน ที่มีพล.อ.สุรินทร์ พิกุลทอง เป็นประธานอนุกรรมการเสนอ  ทั้งนี้ ตนจะเป็นผู้นำเสนอข้อมูลปัญหาและข้อเสนอแนะดังกล่าวต่อที่ประชุม ซึ่งคณะอนุกรรมการต้องการให้มีการถอนสภาพอุทยานแห่งชาติในบริเวณที่ทับที่ดินทำกินของชาวบ้าน ในพื้นที่นำร่อง 2 ตำบล คือ ตำบลบาเจาะและตำบลกาเยาะมาตี รวม 5 หมู่บ้าน จำนวน 887 ราย 991 แปลง รวมที่ดินจำนวน 4,452 ไร่เศษ เพื่อให้นายกรัฐมนตรีรับทราบ และตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าที่ร่วมประชุมด้วย รับไปดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป   นอกจากนี้ ในการประชุมดังกล่าว จะมีตัวแทนชาวบ้านที่มีปัญหาอุทยานทับที่ทำกินจากอำเภอบาเจาะจำนวน 60 คน พร้อมทั้งตัวแทนของส่วนราชการในพื้นที่และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เข้าร่วมด้วย
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/52849
2014-04-24 09:27
ปรากฏการณ์ "ธเนศ วงศ์ยานนาวา"
สัก 10 ปีทีแล้ว “ธเนศ วงศ์ยานนาวา” คงไม่ใช่ชื่อที่จะคุ้นหูใครนอกจากลูกศิษย์ลูกหาของธเนศในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ธเนศเป็นผู้บรรยายประจำอยู่มายาวนานและลูกศิษย์มหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่ธเนศได้ไปเป็นผู้บรรยายพิเศษ (เช่นมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยศิลปากร) ... และ “นักอ่าน” ทั่วไปคงแทบไม่เคยได้ยินชื่อของนักวิชาการนาม ธเนศ วงศ์ยานนาวา หรือกระทั่งคุ้นหูกับนามปากกา ธนา วงศ์ยานนาเวช ผู้เขียน "วิจารณ์" ภาพยนตร์ประจำสยามรัฐสัปดาวิจารณ์ (และมติชนสุดสัปดาห์ในเวลาต่อมา) ได้ชวน “ปวดกบาล” และไม่สู้จะเกี่ยวกับภาพยนตร์เท่าไรในมาตรฐานงานวิจารณ์ภาพยนตร์ทั่วไปในสังคมไทย ดังนั้นเมื่อ 10 ปีก่อนเวลากล่าวถึงนักวิชาการชื่อ “ธเนศ” สาธารณชนดูจะนึกถึงนักประวัติศาสตร์และนักวิจารณ์สังคมรุ่นใหญ่ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์อเมริกันอย่าง ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ หรือนักวิชาการล้านนาอย่าง ธเนศวร์ เจริญเมือง มากกว่า เพราะอย่างน้อยๆ นักวิชาการสองท่านนี้ก็มีข้อเขียนสื่อสารกับสาธารณชนมากกว่า “นักอะไรก็ไม่รู้” อย่าง “ธเนศ วงศ์ยานนาวา” ก่อนปี พ.ศ. 2550 หนังสือของธเนศ วงศ์ยานนาวา มีตีพิมพ์ขายในท้องตลาดเพียงแค่ชิ้นเดียวคือ  เช เกวารา กับความตาย ในปี 2541 [1] ใครอยากอ่านงานของธเนศถ้าจะไม่ไปตามหาต้นฉบับบทความฉบับสำเนาอ่าน (ราวกับอยู่ในศตวรรษที่ 16-17 ที่ปัญญาชนไม่นิยมพิมพ์หนังสือแต่จะให้มิตรสหายเวียนกันอ่านต้นฉบับลายมือ) ก็ต้องไปไล่ตามอ่านบทความเชิงวิชาการของธเนศที่กระจัดกระจายอยู่ตามวารสารวิชาการฉบับต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน รัฐศาสตร์สาร ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ วารสารสังคมศาสตร์ ของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [2] แม้ว่าธเนศจะไม่มีตัวตนในโลกสาธารณะของนักอ่านทั่วไป แต่ในโลกวิชาการ ธเนศในวัย 20 กลางๆ  ดูจะเปิดตัวด้วยบทความวิชาการแรกด้วยบทความเกี่ยวกับกระแสความคิด “ประวัติศาสตร์นิยม” และนักคิดอิตาเลี่ยนที่วงวิชาการไทยในตอนนั้น (หรือกระทั่งตอนนี้) ไม่คุ้นหูนักอย่าง Benedetto Croce มาในปี 2526 [3] ก่อนจะมาออกบทความ 4 ชิ้นเกี่ยวกับนักคิดฝรั่งเศสที่โด่งดังเป็นพลุแตกเรียบร้อยแล้วในอเมริกาแต่นักวิชาการไทยตอนนั้นก็ไม่ค่อยรู้จักอย่าง Michel Foucault ในช่วงตั้งแต่ปี 2528-2531 [4] ก่อนจะหายไปร่ำเรียนต่อ และกลับมาผลิตงานอีกทีใน 2537 ช่วงตั้งแต่ปี 2537-2550 ธเนศมีบทความตีพิมพ์ลงในวารสารและหนังสือวิชาการเฉลี่ยปีละราว 2-3 บทความมาโดยตลอด ซึ่งเนื้อหาก็มีสารพัดและคาบเกี่ยวกันไปมาดังสมญาที่ธเนศได้มาภายหลังว่า “มนุษย์ที่จัดประเภทไม่ได้” เพราะงานของธเนศมีเนื้อหาตั้งแต่ปรัชญาประวัติศาสตร์ [5] สุนทรียศาสตร์ [6] ทฤษฎีความรู้ [7] ทฤษฎีการเมือง [8] ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญา [9] ประวัติศาสตร์เพศ [10] ประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรม [11] วัฒนธรรมอาหาร [12] ยันงานที่พูดถึงวัฒนธรรมของวัฒนธรรม [13] ซึ่งก็ยังไม่ต้องนับงานที่จัดประเภทได้ยากอาทิ "มนุษย์โรแมนติคกับการบริโภคภาพเสรี" [14] ที่คาบเกี่ยวระหว่างสุนทรียศาสตร์และทฤษฎีการเมืองไปจนถึง “งานในตำนาน” อย่าง “ภาพตัวแทนของตูด” [15] ที่ดูจะต่อต้านการจัดประเภทงานวิชาการตามปกติในสังคมไทยโดยสิ้นเชิง งานอันมหาศาลของธเนศนี้สร้างชื่อเสียงให้กับธเนศในวงวิชาการเป็นหลัก แต่ก็ไม่ได้ทำให้สาธารณชนนอกโลกวิชาการรู้จักธเนศแต่อย่างใด อย่างไรความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในปี 2550 อันเป็นปีที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรได้ตีพิมพ์หนังสือ ปฏิวัติบริโภค: จากสิ่งของฟุ่มเฟือยมาสู่สิ่งจำเป็น [16] ที่ในตอนแรกเป็นเอกสารประกอบปาฐกถายาวเฟื้อยของธเนศในงานประชุมประจำปีของทางศูนย์มานุษยฯ ออกมาขายในท้องตลาด และขายหมดเกลี้ยงในที่สุด หลังจากนั้นก็เริ่มมีการตีพิมพ์งานของธเนศมาสารพัดรูปแบบตั้งแต่การรวมบทความเก่าๆ พร้อมเพิ่มบทนำใหม่ [17] ไปจนถึงการตีพิมพ์รวมบทความนำเสนอหรืองานวิจัยที่ยังไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อนออกมาเป็นหนังสือเล่ม [18] ไปจนถึงการรวมบทความที่เคยตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ [19] ไปจนการรวมเอาทั้งงานวิชาการและงานตามหน้าหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์มารวมกันพร้อมเพิ่มบทนำ [20] ตั้งแต่ปี 2550 ถึงปัจจุบันนี้มีการตีพิมพ์หนังสือของธเนศออกมารวม 13 เล่ม ซึ่งถ้านับแค่ช่วงเวลานี้นี้ น่าจะเรียกได้ว่าธเนศเป็นนักวิชาการที่มีหนังสือออกมากกว่าปีละเล่มด้วยซ้ำ และถ้านับรวมการพิมพ์ซ้ำของหนังสือขายดีอย่างเพศ: จากธรรมชาติ สู่จริยธรรม จนถึงสุนทรียะ ว่าเป็นหนังสือที่ธเนศออกมาอีกเล่มแล้ว ปี 2550-2556 ธเนศมีการออกหนังสือมาในท้องตลาดหนังสือในโลกภาษาไทยถึงปีละ 2 เล่มด้วยกัน ประเด็นของงานธเนศที่ออกมาสู่ท้องตลาดนั้นหลากหลายดังเช่นงานของธเนศในยุคที่เขียนบทความวิชาการลงในวารสาร กล่าวคือมีตั้งแต่ปรัชญาการเมือง ศิลปะ เพศ ดนตรี ไปจนถึงงานเกียวกับทฤษฎีสังคมวัฒนธรรม ซึ่งงานของธเนศทั้งหมดก็ไม่ใช่งานที่มีเนื้อหาอันจะอ่านกันรู้เรื่องได้ง่ายๆ ดังนั้นมันก็จึงมีคำถามกันว่า "ทำไมอยู่ดีๆ เหล่างานเขียนอันชวนอันปวดกบาลเหล่านี้จึงมาได้รับความนิยม?" กล่าวคือทำไมถึงเกิด “ปรากฎการณ์ธเนศ” ขึ้น? กระแสการตื่นตัวทางการเมืองของสาธารณชนไทยดูจะไม่ใช่คำตอบที่ดีนัก เพราะถึงความนิยมของงานธเนศจะปรากฎหลังรัฐประหาร 2549 อันเป็นยุคทองของการออกข้อเขียนเกี่ยวกับการเมืองไทยของนักวิชาการทุกขั้วการเมือง (หรือกระทั่งผู้ที่วางตนเป็นกลาง) แต่งานของธเนศทั้งหมดก็ดูจะเป็นงานวิชาการในท้องตลาดหนังสือไทยที่ห่างไกล “การเมืองไทย” ที่สุดแล้ว เพราะอย่าว่าแต่งานของธเนศจะไม่พูดถึงการเมืองไทยเลย การพูดถึงสิ่งต่างๆ ที่กำลังเกิดและเคยเกิดในพื้นที่ๆ ปัจจุบันเรียกว่าประเทศไทยก็แทบจะไม่เคยมีปรากฏในงานธเนศที่ได้รับการตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือเล่มเลย กระแสของการเอานักวิชาการน้อยใหญ่ไปออกสื่อที่ต่อเนื่องและขยายตัวจนถึงทุกวันนี้จนทำให้ “นักวิชาการ” ไม่น้อยแจ้งเกิดในสายตาของสาธารณชนในฐานะนักวิชาการผู้ทรงภูมิความรู้ในประเด็นต่างๆ (แม้ชีวิตประจำวันของท่านๆ เหล่านั้นบางท่านอาจจะไม่ได้ทำการค้นคว้าวิจัยเขียนงานใดๆ ที่น่าจะเข้าข่ายงานวิชาการก็ตาม) ก็ดูจะไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับชื่อเสียงของธเนศ เพราะธเนศน่าจะเป็นนักวิชาการคนหนึ่งที่ไม่เคยออกรายการโทรทัศน์เลยแม้แต่ครั้งเดียว และก็ไม่ใช่นักวิชาการที่สื่อโทรทัศน์จะเคยไปสัมภาษณ์ในฐานะ "ผู้เชี่ยวชาญ" เพื่อประกอบข่าวเลยแม้แต่ครั้งเดียวเช่นกัน [21] การขยายตัวของการใช้อินเทอร์เน็ตและเว็บเครือข่ายสังคมก็ดูจะไม่ใช่คำอธิบายที่ดีนักในการอธิบายความ "ป๊อป" ของธเนศ เพราะธเนศก็ไม่ใช่นักวิชาการที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสาธารณชนบ่อยๆ ทางเฟซบุ๊คอย่าง สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล (ที่โด่งดังได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการตีพิมพ์หนังสือในท้องตลาดโดยสำนักพิมพ์ แต่ “ตีพิมพ์” ความคิดของตนออนไลน์แทน – ซึ่งก็เป็นปรากฎการณ์ที่น่าสนใจเช่นกัน) อย่างน้อยๆ ปรากฏการณ์ "ถาม-ตอบปัญหากับ ธเนศ" ในกลุ่มเฟซบุ๊คก็ดูจะเป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2556 [22] คำตอบของความฮิตของงานธเนศ ในทรรศนะของผู้เขียนดูจะเป็นการที่งานของธเนศนั้นได้ตอบโจทย์ของ "ตลาดนักอ่านที่มองไม่เห็น" ที่มีมาตลอดในไทย กล่าวง่ายๆ คือ มีความต้องการอ่านงานต่างๆ ในประเด็นที่ธเนศเขียนนั้นมีอยู่แล้วในไทย เพียงแต่ไม่มีใครเขียนมันออกมา หรือตีพิมพ์มันออกมาเท่านั้น แน่นอนว่าส่วนหนึ่งนักอ่านเหล่านี้เป็นนักอ่านหนังสือประเทืองปัญญาทั่วไป แต่ก็ยากจะปฏิเสธได้ว่านักอ่านงานของธเนศจำนวนมากก็คือลูกศิษย์ลูกหาของธเนศที่เป็นผลผลิตจากการสอนหนังสือของธเนศในแบบที่ไม่เหมือนใครมาอย่างต่อเนื่องกว่า 20 นั่นเอง (ซึ่งลูกศิษย์ของธเนศจำนวนไม่น้อยก็ไปมีลูกศิษย์ของตนอีกที) และนั่นดูจะเป็น "ฐานผู้อ่าน" ที่เข้มแข็งของธเนศอันทำให้มีการตีพิมพ์งานวิชาการและกึ่งวิชาการธเนศสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ทำให้สำนักพิมพ์ “เจ๊ง” ไปเสียก่อน สิ่งที่ตลกคือ ถ้าปี 2550 เป็นจุดเริ่มของความฮิตของธเนศปีนั้นก็ดูจะเป็นปีที่ธเนศเริ่มลดอัตราการผลิตบทความทางวิชาการอย่างมีนัยยะสำคัญ เพราะช่วงปี 2550-2552 งานวิชาการของธเนศก็มีตีพิมพ์ในวารสารวิชาการราวๆ ปีละ 1 ชิ้นเท่านั้น และช่วงตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมาธเนศก็แทบจะไม่มีบทความวิชาการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเลย และงานของธเนศที่พิมพ์ๆ กันออกมาอย่างต่อเนื่องนั้นในส่วนงานวิชาการก็ดูจะเป็นการนำงานที่ธเนศเขียนสั่งสมมาเป็นสิบปีมารวมเป็นหนังสือไม่น้อย ซึ่งสิ่งที่น่าทึ่งไม่น้อยคืองานเก่าๆ ของธเนศก็ยังสามารถถูกอ่านทุกวันนี้ได้อย่างร่วมสมัยอยู่ โดยมันก็ถูกรวมเข้ากับบทความที่เขียนในช่วงเวลาต่างๆ กันในเวลาราว 20 ปีได้อย่างไม่ขัดเขิน และสุดท้ายสิ่งที่น่าทึ่งที่สุดก็อาจจะเป็นการที่ทั้งๆ ที่งานของธเนศถูกตีพิมพ์มาปีละ 2 เล่มติดต่อกันมาเป็นเวลา 7 ปี แต่งานทางวิชาการของธเนศอีกกว่าครึ่งก็นับว่ายังไม่ได้ถูก "รวมเล่ม" เป็นหนังสือของธเนศด้วยซ้ำ เพราะอย่างน้อยๆ บทความในตำนานของธเนศอย่าง "ภาพตัวแทนของตูด" ก็ไม่ใช่บทความที่จะหาอ่านได้ง่ายๆ สำหรับนักอ่านทั่วไป และบทความที่ถูกเขียนมาภายใต้ทักษะความชำนาญอันเอกอุที่สุดประการหนึ่งของธเนศอย่างเรื่อง "อาหาร" ก็ยังไม่มีการถูกตีพิมพ์รวมเล่มมาเช่นกัน สุดท้าย ที่น่าสนใจที่สุด บทความประเภทที่ธเนศเขียนออกมามากที่สุดอย่างทฤษฎีการเมืองนั้นก็ดูจะไม่ได้ถูกสำนักพิมพ์ในเชิงพาณิชย์ตีพิมพ์รวมเล่มออกมาแม้แต่เล่มเดียวทั้งๆ ที่ถ้าเอาบทความจำพวกนี้มารวมกันมันก็ไม่น่าจะออกมาเป็นหนังสือขนาดย่อมๆ ได้ต่ำกว่า 3 เล่ม เหตุผลที่น่าจะเป็นเหตุผลหลักที่สุดที่ “ไม่มีใครพิมพ์” งานด้านทฤษฎีการเมืองก็คงจะเป็นเพราะงานเหล่านี้ดูยากจะไปได้ในท้องตลาดไทย เพราะแม้ในไทยจะมีกลุ่มนักอ่านผู้สนใจ “การเมือง” อย่างเข้มข้น แต่กลุ่มนักอ่านเหล่านี้ผู้คนไม่ว่าจะมาจากขั้วการเมืองไหนหรือไม่มีขั้วก็ดูจะสนใจปรากฎการณ์ที่จับต้องได้ของ “การเมืองไทย” ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมากกว่าที่จะสนใจข้อถกเถียงเกี่ยวกับหลักการทางการเมืองทั่วๆ ไปในโลกที่มีลักษณะเป็นนามธรรมกว่า เพราะอย่างน้อยๆ ในโลกของนักอ่านหนังสือ “การเมือง” ในโลกของภาษาไทยก็คงจะสนใจคำถามจำพวก “ใครคือฆาตกรตัวจริง?” “ใครคือผู้อยู่เบื้องหลังตัวจริง?” ไปจนถึงความรู้จำพวก “รู้ทัน” ค้นโน้นคนนี้ มากกว่าที่จะสนใจจริงจังกับคำถามว่า “ความชอบธรรมคืออะไร?” “อะไรคือ Rationality?”  หรือกระทั่งประเด็นคลาสสิคของทฤษฎีร่วมสมัยอย่างความย้อนแย้งภายในของระบอบเสรีประชาธิปไตย และสิ่งที่ดูจะตลกร้ายที่สุดก็คือ คนที่มักจะเขียนถึง “ความไร้สาระ” ของการเมืองออกมาบ่อยๆ (ในแง่ของการวนไปวนมาของปรากฎการณ์เก่าๆ ในคราบสิ่งใหม่ๆ) อย่างธเนศก็ดูจะขบคิดและเขียนถึงประเด็นเหล่านี้มามากกว่าเหล่าผู้ “จริงจัง” กับการเมืองจำนวนมาก สุดท้าย นี่ก็ดูจะเป็นคำอธิบายบางประการที่ทำให้ “ข้อเขียนทางการเมือง” ของธเนศ ไม่ได้รับความนิยมอยู่ เพราะ ข้อเขียนทางการเมืองของธเนศนั้นดูจะเป็นข้อเขียนที่ไม่ได้ให้ความหวังและไม่ได้ให้ทางออกทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นแบบที่จับต้องได้หรือจับต้องไม่ได้ เพราะอย่างเต็มที่ธเนศก็ดูจะชี้ให้เห็นว่าการทำอะไรจะมีผลตามมาอย่างไร (บนฐานของประวัติศาสตร์และทฤษฎี) ธเนศดูจะชอบชี้ว่าทุกๆ ทางเลือกก็มีข้อดีข้อเสียของมันทั้งสิ้นและ “คุณต้องเลือกเอง” มากกว่าที่จะเป็น “ศาสดา” ที่พร่ำบอกสาวกว่าควรจะทำอย่างไรดีในสถานการณ์หนึ่งๆ แต่นั่นก็ดูจะเป็นไปอย่างถูกต้องตาม “อาชีพทางวิชาการ” ตามแบบ Max Weber แล้ว แต่ปัญหาคือสังคมจำนวนไม่น้อยก็ดูจะใช้งานนักวิชาการในฐานะศาสดาประกาศกทางการเมืองมากกว่า และสังคมไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น   หมายเหตุ: ตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นเวอร์ชั่นย่อในวารสาร Bookmoby Review ฉบับแรก บทความเวอร์ชั่นปัจจุบันที่ท่านอ่านอยู่นี้เป็นฉบับเต็มที่เพิ่มเติมเนื้อหาเข้าไปอีกที อ้างอิง ธเนศ วงศ์ยานนาวา, เช เกวารา กับความตาย, (ปทุมธานี: นาคา, 2541) ดู บรรณานุกรมบางส่วนได้ที่ wikipedia [1] ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "Historicism หลังเฮเกล รันเก และโครเช่" ใน รัฐศาสตร์สาร 9, 3 (ก.ย.-ธ.ค.26), pp. 1-36 ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "อ่านงานฟูโก้" ใน วารสารธรรมศาสตร์ 14, 3 (ก.ย. 2528), pp. 36-57; ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "มิเชล ฟูโกต์: ปัญญาชน ความจริงและอำนาจ" ใน วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง ปีที่ 5 ฉบับที่ 1-2 (ต.ค. 28-มี.ค. 29), pp. 142-154; ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "บทส่งท้าย ตรรกะของการกดบังคับ ฟูโก้และเฟมินิส" ใน รัฐศาสตร์สาร 12, 13 (เม.ย.29-30), pp. 166-178; ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "มิเชล ฟูโก้และอนุรักษ์นิยมใหม่" ใน วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง 6,3-4 (ต.ค.31), pp. 16-37 เช่น ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "ประวัติศาสตร์นิยม: จากวิโก้สู่กรัมชี่" ใน รัฐศาสตร์สาร 20, 3 (2541) 35-100 เช่น ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "การรวมศูนย์ศิลปะของการกระจายตัวของศิลปะและการเมือง : จากสภาวะหลังสมัยใหม่สู่สภาวะสมัยใหม่" ใน รัฐศาสตร์สาร 29, ฉบับพิเศษ (2551) 203-274 เช่น ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "กรุณาอย่ามีทฤษฎีที่เป็นนามธรรม: เราเป็นชาวอังกฤษ", สังคมศาสตร์ปริทัศน์ 17,1 (ก.ค.-ธ.ค.37) , 15-24; ธเนศ วงศ์ยานนาวา "ภาพตัวแทน แทนสิ่งที่แทนไม่ได้" ใน จุลสารไทยคดีศึกษา 12, 1 (ส.ค.-ต.ค. 2538) 16-18; ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "ความรัก/ความรู้/ความตาย : เมื่ออาทิตย์เริ่มอัสดง" ใน วารสารสังคมศาสตร์ 30,2 (พ.ค. 2539) 1-25; ธเนศ วงศ์ยานนาวา, " "ผีของมาร์กซ์" และ "ผีในมาร์กซ์" ข้อวิจารณ์ประวัติศาสตร์นิยมของพ็อพเพอร์และอัลธุสแซร์" ใน รัฐศาสตร์สาร 20, 2 (2541) 1-55; ธเนศ วงศ์ยานนาวา, " "ท่อง" ไปในแดนโพสต์โมเดิร์น: ความเหมือน/อัตลักษณ์และความแตกต่างในการเมือง" ใน รัฐศาสตร์สาร 21, 2 (2542) 333-382; ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "ชาติพันธุ์วรรณาในความเป็นซับเจคของนักมานุษยวิทยา: จริยธรรม ระหว่างการหาความจริงและการสร้างความจริง" ใน รัฐศาสตร์สาร 24, 3 (2546) 154-189; ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "ประวัติศาสตร์และ "สัตสังคม" ของคาร์ล มาร์กซ์ ช่วงต้น บทวิจารณ์อุกฤษฏ์ แพทย์น้อย" ใน วารสารสังคมศาสตร์ 34, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2546) 55-72; ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "องค์รวม/องค์ขาด/องค์อนันต์" ใน วารสารสังคมศาสตร์ 15, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2547) 63-111;  ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "การแลกเปลี่ยนทางความคิดกับความ "ทัศนะ 'ชุมชน' กับการปกครองชีวญาณ : อำนาจที่ซ่อนเร้นในสาธารณสุขไท" ใน รัฐศาสตร์สาร 27, 1 (2549) 40-53 เช่น ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "ประชาธิปไตยไทยหลังสมัยใหม่" ใน จินตนาการสู่ปี 2000 : นวกรรมเชิงกระบวนทัศน์ด้านไทยศึกษา?, ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, บรรณาธิการ, (กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2539); ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "อภัยวิถี: เทววิทยาทางการเมือง ความทรงจำและความหลงลืมของประวัติศาสตร์ไทย" ใน รัฐศาสตร์สาร 22, 1 (2543) 130-183; ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "Carl Schmitt: การเผชิญหน้ากับความลักลั่นของสภาวะสมัยใหม่" ใน วารสารสังคมศาสตร์ 32, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2544) 107-153; ธเนศ วงศ์ยานนาวา "อำนาจอธิปไตยกับสภาวะสมัยใหม่: พื้นที่ลักลั่นและความเป็นตัวตน" ใน รัฐศาสตร์สาร 24, ฉบับพิเศษ (พ.ย.2546) 205-276; ธเนศ วงศ์ยานนาวา,  "Michael Hardt & Antonio Negri ในฐานะ "Return of the Jedis": เมื่อ Empire ถูก Strike Back" ใน วารสารสังคมศาสตร์ 34, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2546) 112-162; ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "รากฐานปรัชญาการเมืองของ Antonio Negri กับ Empire" ใน รัฐศาสตร์สาร 25, 3 (2547) 180-255; ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "รัฐเสรีนิยมใหม่ ทรัพยากรมนุษย์และชุมชน." ใน ฟ้าเดียวกัน 2, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2547) 112-124; ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "Michel Foucault กับรัฐเสรีนิยมใหม่ : วินัย/วิชา และสภาวะปกติ/สภาวะที่ผิดปกติ" ใน ดำรงวิชาการ 3, 5 (ม.ค. - มิ.ย. 2547) 271-290; ธเนศ วงศ์ยานนาวา, " "เหลี่ยมมุม" ของตัวต่อเลโก (Lego) : อำนาจท้องถิ่นกับจักรวรรดิ " ใน พระอัจฉริยคุณในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : เอกสารการสัมมนาทางวิชาการเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองศุภวาระ 200 ปี แห่งพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, จันทนี สุวรรณวาสี, บรรณาธิการ, (กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา, 2548); ธเนศ วงศ์ยานนาวา, " ฐานทางความคิดของ "ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ" " ใน วารสารสถาบันพระปกเกล้า 4, 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2549) 77-90 เช่น ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "ปัญญาชนตะวันตกกับสภาวะสมัยใหม่: ความขัดแย้งและความต้องการ" ใน รัฐศาสตร์สาร 22, 3 (2543) 342-406; ธเนศ วงศ์ยานนาวา,"ประวัติศาสตร์และสหวิทยาการ: ชาตินี้เราคงรักกันไม่ได้" ใน รัฐศาสตร์สาร 24, 2 (2546) 297-334 เช่น ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "การจัดระเบียบเพศในศิลปะ: จากภาพนู้ดสู่ภาพระดับ X" ใน รัฐศาสตร์สาร 25, 2 (2547) 204-223; ธเนศ วงศ์ยานนาวา, " (การร่วม) เพศนอกสถาบันการแต่งงานในฐานะ 'ระเบิด': จากประวัติศาสตร์ 'การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง' ถึง..." ใน รัฐศาสตร์สาร 27, 3 (ก.ย.-ธ.ค.2549) 1-55 เช่น ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "ห้องสมุด: โลกที่ไร้เสียง" ใน รัฐศาสตร์สาร 21, 1 (2542) 301-313; ธเนศ วงศ์ยานนาวา,"ประวัติศาสตร์ครอบครัวตะวันตก: ประวัติศาสตร์คนใช้และการใช้คน" ใน รัฐศาสตร์สาร 23, 3 (2545) 1-49; ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "สภาวะสมัยใหม่ของวัฒนธรรมการอ่าน : ห้องสมุดกับการเผชิญหน้ากันของ ตา และ หู" ใน วารสารไทยคดีศึกษา 1, 2 (เม.ย.-ก.ย. 2547) 67-92; ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "การ "ครอบ", "ครัว" "ไฟ": จากตะวันตกสู่ตะวันออก" ใน จักรวาลวิทยา : บทความเพื่อเป็นเกียรติแก่ นิธิ เอียวศรีวงศ์, ธเนศ วงศ์ยานนาวา, บรรณาธิการ, (กรุงเทพฯ: มติชน, 2549); ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "วัฎจักรของทฤษฎีและประวัติศาสตร์ของชนชั้นกลาง : จากการปฏิวัติฝรั่งเศสสู่พฤษภาทมิฬ 19 กันยายน" ใน ศึกษา รู้จัก วิพากษ์คนชั้นกลาง : รวมบทความจากการสัมมนาทางวิชาการ,นลินี ตันธุวนิตย์, บรรณาธิการ,นพชัย แดงดีเลิศ, บรรณาธิการต้นฉบับ, (กรุงเทพฯ: คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550), pp. 8-59 เช่น ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "ความเป็นอนิจจัง ของอาหารจีนชั้นสูงในกรุงเทพ : การเดินทางสู่เส้นทางของอาหารประชาธิปไตย" ใน จุลสารไทยคดีศึกษา 18, 4 (พ.ย. 2545-ม.ค.2546) 42-51 และ ศิลปวัฒนธรรม 24, 4 (ก.พ. 2546) 132-145; ธเนศ วงศ์ยานนาวา " ปรับ 'ลิ้นจีน'ให้เป็น 'ลิ้นไทย' " ใน ข้ามขอบฟ้า : 60 ปี ชิเกฮารุ ทานาเบ, ขวัญชีวัน บัวแดง และ อภิญญา เฟื่องฟูสกุล, บรรณาธิการ, (กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2550) เช่น ธเนศ วงศ์ยานนาวา, " 'จากประเพณีประดิษฐ์' สู่ความหลากหลายของ 'วัฒนธรรม' อาทิ 'วัฒนธรรมทางสายตา' " ใน รัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ 60 ปี / รัฐศาสตร์สาร 30 ปี, เล่ม 4, (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552), pp. 317-391 ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "มนุษย์โรแมนติคกับการบริโภคภาพเสรี" ใน จุลสารไทยคดีศึกษา 13, 3 (ก.พ.-เม.ย. 2540), pp. 10-15 ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "ภาพตัวแทนของตูด" ใน เผยร่าง-พรางกาย: ทดลองมองร่างกายในศาสนา ปรัชญาการเมือง ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และมานุษยวิทยา, ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล, บรรณาธิการ, (กรุงเทพ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2541) ธเนศ วงศ์ยานนาวา, ปฏิวัติบริโภค: จากสิ่งของฟุ่มเฟือยมาสู่สิ่งจำเป็น, (กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2550) ธเนศ วงศ์ยานนาวา, ความรัก ความรู้ ความตาย (กรุงเทพฯ: ศยาม, 2553); ธเนศ วงศ์ยานนาวา, ม(า)นุษย์โรแมนติค, (กรุงเทพฯ: ศยาม, 2556) ธเนศ วงศ์ยานนาวา, ศิลปะกับสภาวะสมัยใหม่: ความย้อนแย้งและความลักลั่นม (กรุงเทพฯ:สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย, 2552); ธเนศ วงศ์ยานนาวา, ความไม่หลากหลายของความหลากหลายทางวัฒนธรรม, (กรุงเทพฯ: สมมติ, 2552); ธเนศ วงศ์ยานนาวา, 1968: เชิงอรรถการปฏิวัติ, (กรุงเทพฯ: สมมติ, 2552); ธเนศ วงศ์ยานนาวา, ความสมเหตุสมผลของความชอบธรรม (การครอบงำ), (กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554); ธเนศ วงศ์ยานนาวา, Max Weber: วิถืแห่งการบำเพ็ญตบะและอาชีพทางการเมือง, (กรุงเทพฯ: ศยาม, 2556) ธนา วงศ์ญาณณาเวช, หนังอาร์ตไม่ได้มาเพราะโชคช่วย: ว่าด้วยการขึ้นมาเป็นศิลปะของภาพยนตร์ในสังคมบริโภค, (กรุงเทพฯ: Unfinished Project Publishing, 2551); ธนา วงศ์ญาณณาเวช, ใต้เตียงนักดนตรี เล่ม 1, (กรุงเทพฯ: openbooks, 2554); ธนา วงศ์ญาณณาเวช, ใต้เตียงนักดนตรี เล่ม 2, (กรุงเทพฯ: openbooks, 2555); ธเนศ วงศ์ยานนาวา, เขียนหญิง : อำนาจ โยนี และการเขียนของลึงค์, (กรุงเทพฯ: Unfinished project, 2556) ธเนศ วงศ์ยานนาวา, เพศ: จากธรรมชาติ สู่จริยธรรม จนถึงสุนทรียะ, [พิมพ์ครั้งที่1: มติชน, 2551], [พิมพ์ครั้งที่2 พร้อมเพิ่มเนื้อหา: สมมติ, 2556] อย่างไรก็ดีข้อยกเว้นการ “ออกสื่อ” ของธเนศก็มีอยู่บ้างในกรณีของสิ่งพิมพ์อย่างนิตยสาร a-day weekly, นิตยสาร Way และเว็บมติชนออนไลน์ที่ล้วนเคยลงบทสัมภาษณ์ของธเนศ แต่บทสัมภาษณ์เหล่านี้ก็ดูจะไม่ได้สร้างชื่อเสียงให้ธเนศเพิ่มเติมไปเท่าใดนัก กลุ่ม Thanes Wongyannawa เป็นกลุ่มเปิดบนเป็นเครือข่ายสังคม Facebook ในตอนแรกกลุ่มนี้คือกลุ่มของมิตรสหายไปจนถึงลูกศิษย์ลูกหาของธเนศที่ไม่มีกิจกรรมใดๆ นัก แต่ตอนปลายปี 2556 ก็เริ่มมีผู้คนเข้าไปถามคำถามต่างๆ กับธเนศ ซึ่งธเนศก็ตอบคำถามอย่างรวดเร็ว จนน่าจะทำให้หลายๆ คนประหลาดใจเพราะธเนศเป็นคนไม่โพสต์ Status ของตนบน Facebook เลยและก็ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่มิตรสนิทมากนัก คนจึงเข้าไปถามธเนศเรื่อยๆ ด้วยคำถามที่พิสดารพันลึกและมีขอบข่ายกว้างกว่าขอบข่ายงานของธเนศที่กว่ากว้างแล้ว ซึ่งโดยทั่วไปธเนศก็ “ตอบทุกคำถาม” ที่มีผู้ถาม (ส่วนผู้ถามจะได้คำตอบที่พอใจหรือเปล่าคงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง) เข้าไปชมได้ที่ https://www.facebook.com/groups/80370290864 [2]/
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/25590
2009-08-26 15:34
สัมภาษณ์ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล : ว่าด้วยความพอดีของคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
28 สิงหาคมนี้จะเป็นวันตัดสินคดีของผู้ต้องหาในคดีที่เรียกกันว่า ‘คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ’ อีกหนึ่งคดี นั่นคือ กรณีของดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หลังจากที่ก่อนหน้านี้ เราได้ยินข่าวคราวเรื่องนี้กันค่อนข้างถี่ และมีคนทั่วๆ ไปถูกจำคุกแล้วหลายราย ไม่ว่าจะเป็น บุญยืน ประเสริฐยิ่ง ดาวไฮปาร์กสนามหลวงที่เป็นแม่ค้าขายของเก่าและหมอดู, สุวิชา ท่าค้อ พ่อลูกสาม นักท่องโลกไซเบอร์ หรือกระทั่งคนที่ไม่เกี่ยวพันกับการเมืองไทยอย่างแฮรี่ นิโคไลดส์ นักเขียนชาวออสเตรเลีย ยังไม่นับรวมนักการเมืองหรือคนใหญ่คนโตอีกหลายคนที่โดนข้อกล่าวหานี้ แต่พวกเขาไม่ได้ถูกจับกุมคุมขัง และมีระยะพิจารณาคดีที่ยาวนานกว่า   ปรากฏการณ์นี้ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนักในสังคมไทย โดยเฉพาะในห้วงเวลาที่จัดได้ว่าเราอยู่ในโลกสมัยใหม่ โลกทุนนิยมสามานย์ โลกประชาธิปไตย ฯลฯ และเมื่อมันเกิดขึ้นก็มักไม่มีใครอยากเพ่งมองหรือพูดถึงกันมากนัก แม้มีความพยายามผลักดันการถกเถียง วิพากษ์วิจารณ์ปัญหาที่ซ่อนอยู่บ้างเป็นระลอก   ในจังหวะที่คลื่นแห่งการถกเถียงอภิปรายเรื่องนี้กำลังจะค่อยๆ เงียบหาย และเชื่อว่าจะสงัดมากขึ้นหลังคดีดารณี ‘ประชาไท’ จึงชวนคุยกับ ‘ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล’ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และรองอธิการบดี ฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อพิจารณากันตามหลักวิชาอีกครั้ง   0 0 0   อาจารย์มองปรากฏการณ์การขยายตัวของคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในปัจจุบันอย่างไร ขออนุญาตพูดถึงสถานะของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในระบบกฎหมายไทยก่อน แต่ก่อนจะถึงตรงนั้น ต้องขอบอกว่า เรามีกฎหมายหมิ่นประมาทอยู่ คือมาตรา 326 ‘ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามในประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท โทษคือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี’   นี่เป็นการคุ้มครองสิทธิของประชาชนที่จะไม่ถูกใส่ความ แม้ว่าประชาชนจะมีสิทธิเสรีภาพในการพูดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 แต่ขอบเขตของการใช้สิทธิเสรีภาพอยู่ที่มาตรา 28 นั่นคือ บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ฉะนั้น จึงเป็นคำตอบว่า ประชาชนมีเสรีภาพในการพูด แล้วกฎหมายหมิ่นประมาทมาจำกัดเสรีภาพได้อย่างไร พูดอีกแบบก็คือ มีเสรีภาพเท่าที่ไม่ไปใส่ความคนอื่น   ฉะนั้น โดยหลักทั่วไปเรามีตรงนี้อยู่แล้ว แต่ระบบกฎหมายไทยตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง เรื่องของประมุขของประเทศรวมถึงสมเด็จพระราชินีและรัชทายาท ซึ่งเห็นกันว่าเป็นสถานะซึ่งควรได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษ เลยมีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเกิดขึ้นมา   ความพิเศษของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คือ 1.มีโทษมากกว่า 2.ไม่มีข้อยกเว้น คือ ถ้าเป็นหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไป จะมีข้อยกเว้น 2 ประการ คือ 1) มาตรา 329 ถ้าเป็นความคิดเห็นโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม ไม่ผิด 2) มาตรา 330 ถ้าแม้ไม่เข้า 329 ถ้าพิสูจน์ได้ว่า สิ่งที่พูดไปนั้นเป็นความจริง ก็ไม่ต้องรับโทษถึงแม้ผิด ซึ่งข้อยกเว้นลักษณะนี้ไม่มีอยู่ในการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ   ในแง่ของโทษ ขอเล่าย้อนหลังว่า แต่เดิมในสมัยรัตนโกสินทร์ ‘พระราชกำหนดลักษณะหมิ่นประมาทด้วยการพูดฤาเขียนถ้อยคำเท็จออกโฆษณาการ ร.ศ.118’ นั้น มีมาตราหนึ่งเกี่ยวกับพระมหากษตริย์ คือมาตรา 4 บอกว่า ‘หมิ่นประมาทต่อพระผู้เป็นเจ้าผู้ดำรงสยามพุทธมณฑล ฤาสมเด็จพระอัครมเหสี ฤาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชก็ดี โดยการกล่าวเจรจาด้วยปาก ฤาเขียนด้วยลายลักษณ์อักษร หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งในที่เปิดเผยที่ในชุมชนทั้งหลาย ด้วยกาย วาจา อันมิบังควร ซึ่งแลเห็นได้ชัดว่าเป็นการหมิ่นประมาทแท้ ท่านว่าผู้นั้นกระทำผิด และให้จำคุกไม่เกินกว่า 3 ปี’   ฉบับต่อมา เพียง 9 ปีให้หลัง ก็มีกฎหมายลักษณะอาญา รศ.127 ออกมา เพิ่มโทษเป็นจำคุก 7 ปี ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบอบประชาธิปไตย ก็ประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 มาตรา 112 นี่คือประมวลกฎหมายอาญาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ในมาตรานี้ โทษตอนต้น คือจำคุกไม่เกิน 7 ปี ไม่มีขั้นต่ำ นั่นหมายถึงว่า ขั้นต่ำแค่วันเดียวก็ได้   เมื่อมีการยึดอำนาจโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เมื่อตุลาคม 2519 ก็มีการออกประกาศคณะปฏิรูปการปกครอง (ปร.) ฉบับที่ 41 เพิ่มโทษขั้นต่ำเป็น 3 ปี ขั้นสูงเป็น 15 ปี   ปัญหาคือ แต่เดิมขั้นต่ำไม่มี วันเดียว หนึ่งเดือน สองเดือน ก็ได้ แต่ปัจจุบันขั้นต่ำกลายเป็น 3 ปี ซึ่งนี่มันรุนแรงมาก นอกจากนี้ขั้นสูงก็ไปถึง 15 ปี การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดเมื่อมีการยึดอำนาจเมื่อ 6 ตุลาคม 2519 และเรายังใช้มาจนถึงปัจจุบัน   กฎหมายทั่วไปมีลักษณะการบังคับขั้นต่ำไหม การกำหนดขั้นต่ำมีความหมายอย่างไร บางเรื่องก็เขียนแค่ขั้นสูงไว้ แต่บางเรื่องก็เขียนขั้นต่ำไว้ด้วย โดยหลักแล้วส่วนใหญ่เราจะมีแต่ขั้นสูง เพื่อเปิดโอกาสให้ศาลใช้ดุลยพินิจได้ เพื่อความเป็นธรรมว่าควรลงโทษเท่าไร แม้กระทั่งรอลงอาญา ศาลก็ยังทำได้ โดยสรุปก็คือ กฎหมายหมิ่นประมาทธรรมดา ถ้าพิสูจน์ได้ว่าเรื่องจริง หรือติชมด้วยความสุจริตใจก็ไม่ถือเป็นความผิด แต่ถ้าผิดขึ้นมาโทษก็ไม่เกิน 1 ปี แต่ถ้าเป็นสื่อมวลชนจะกลายเป็นไม่เกิน 2 ปี เพราะเผยแพร่ออกไป    ว่าง่ายๆ ว่า ขั้นต่ำของเราตอนสมัยประชาธิปไตย เป็นขั้นสูงสุดของสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มันประหลาดมาก น่าจะมีปัญหาบางอย่างเรื่องของโทษ   มีบางแนวคิดที่เสนอให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไป เพราะมีกฎหมายหมิ่นประมาททั่วไปอยู่แล้ว อันนี้ผมว่า การคงกฎหมายนี้ไว้ก็พอฟังได้ ลำพังกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่ใช่ปัญหาในตัวของมันเอง ในประเทศอื่นๆ ที่มีพระมหากษัตริย์ เขาก็มีตรงนี้เอาไว้ เพียงแต่โทษเขาไม่สูง แต่ของเราโทษมันสูงเกินไป   ประการที่สอง โดยเหตุที่ประเทศไทย ตำรวจค่อนข้างพันกับการเมืองมาก จะอยู่จะไปขึ้นอยู่ที่การเมืองเยอะ และตำรวจทำหน้าที่เป็นต้นทางของการดำเนินคดีที่เป็นความผิดต่อรัฐ มันเลยเกินปัญหาขึ้นมา เนื่องจากอาจถูกแทรกแซงได้มาก กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเลยถูกนำมาใช้ในทางการเมืองเยอะ   อีกทั้งเรื่องนี้เป็นความผิดต่อแผ่นดิน ใครก็ฟ้องร้องได้ ความจริงระบบแบบนี้ก็พอไปได้กับระบบของตำรวจที่เป็นมืออาชีพ และเป็นอิสระ เพราะตำรวจเป็นต้นทางของการดำเนินคดี แต่โดยโครงสร้างของประเทศไทยดันไปผูกกับฝ่ายการเมืองเยอะ ประธานคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติก็เป็นนายกรัฐมนตรี   การเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เราต้องเข้าใจว่า ถึงยกเลิกตรงนี้ไป ก็ยังหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ไม่ได้ เพราะยังมีมาตรา 326 อยู่ดี อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวผมไม่คิดว่าการมีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นปัญหา แต่ปัญหาคือ โทษมันแรงไป และกระบวนการในการฟ้องร้องมีปัญหา   ที่ผ่านมามีกรณีที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพจริงๆ แต่หลายเรื่องก็ไม่น่าจะถึงขั้นหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ พระเจ้าอยู่หัวฯ ท่านทรงเคยมีพระราชดำรัสออกมาว่า เอะอะๆ ก็หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เดือดร้อนพระองค์ ต้องมาคอยอภัยโทษให้ ผมคิดว่าเรื่องนี้คงต้องพิจารณาดู คงต้องไปแก้ในวิธีพิจารณาความอาญาว่า ถ้าเกิดเป็นคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ผู้เสียหายที่จะแจ้งความดำเนินคดีเป็นสำนักราชเลขาธิการได้ไหม เพราะจะได้มีการกรองชั้นหนึ่ง   ข้อยกเว้นในกฎหมายหมิ่นประมาทมีเจตนารมณ์อย่างไร   ข้อยกเว้น 2 ประการนั้น คือประชาชนในระบอบประชาธิปไตยไม่มีเสรีภาพในการพูดโกหก แต่ถ้าพูดจริงต่อให้ทำให้คนนั้นเสียชื่อเสียงก็ไม่ผิด เพียงแต่คนพูดต้องพิสูจน์นะ ภาระการพิสูจน์ตกอยู่กับคนพูด แต่มันก็แฟร์เพราะในเมื่อคุณทำให้เขาเสียชื่อเสียง อย่างไรก็ตาม มันมีข้อยกเว้นของยกเว้น กฎหมายไม่เปิดให้พิสูจน์นะ ถ้าเรื่องนั้นไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ   ความแตกต่างกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่ตรงที่ว่าการตีความ “ผู้ใดหมิ่นประมาท” อันนี้คือหมิ่นประมาทเดียวกันกับมาตรา 326 ไม่มีข้อสงสัย “การแสดงความอาฆาตมาดร้าย” อันนี้ก็ยังพอเข้าใจได้ แต่ “ดูหมิ่น” อันนี้อาจมีปัญหาในการตีความ เพราะความหมายมันกว้าง และโดยเหตุที่ไม่มีข้อยกเว้น ต่อให้พูดเรื่องจริงก็ผิด อันนี้พูดในทางวิชาการ เพราะเราไม่ได้มีการยกเว้นเอาไว้   ในการบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 112 สามารถไม่ให้ประกันตัว หรือการพิจารณาคดีโดยปิดลับได้หรือไม่ ต้องเข้าใจว่า เราอยู่ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ใช่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาต้องเป็นหลักเดียวกันไม่ว่าจะเป็นความผิดมาตราใดก็แล้วแต่ แต่ก็พอเข้าใจศาลได้ว่า ศาลซึ่งทำงานในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ จึงอาจจะรู้สึกเหมือนกับว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใกล้ชิดกับบทบาทหน้าที่ของเขาในแง่ของการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์   แต่เราปกป้องด้วยวิธีนี้ไม่ได้ เพราะยิ่งไปเพิ่มโทษ ยิ่งไปจับโดยที่บางทีไม่ได้ผิดถึงขั้นนั้น ไม่ให้ประกันตัว หรือทำอะไรที่หนักเข้าไป การต่อต้านก็จะยิ่งมากขึ้น ผมคิดว่าไม่ใช่เรื่องดี   วิธีการทำให้สถาบันพระมหาษัตริย์อยู่ได้ในระบอบประชาธิปไตยไม่ใช่วิธีนี้ ดูตัวอย่างในยุโรป นั่นคือความยั่งยืนของสถาบันพระมหากษัตริย์ ต้องให้สถาบันนี้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม ด้วยความที่ประชาชนรักจึงช่วยกันปกป้อง ไม่ใช่ใช้ politic of fear ใช้ความกลัว ใช้โทษแรง พอโทษแรงมาก คนที่เขารู้สึกว่าไม่เป็นธรรมก็จะต่อต้าน เปิดเผยไม่ได้ก็ใต้ดินทางเว็บไซต์ เว็บบอร์ดต่างๆ พอแรงขึ้นปุ๊บ เจ้าหน้าที่บ้านเมืองก็ยิ่งจับมากขึ้นๆ ๆ ๆ คนต่อต้านก็ต่อต้านมากขึ้นๆ ๆ ๆ สุดท้ายแล้วด้วยการกระทำของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองแบบนี้ สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ได้รับผล ปัญหามันไม่เกิดกับคนจับแต่มันเกิดกับสถานบัน ยิ่งจับมากคนก็รู้สึกว่าไม่เป็นธรรมมาก ผมว่าใช้ให้เหมาะ พอดีๆ มันก็จะไม่เกิดปัญหาเหมือนในปัจจุบัน   ประเทศไทยโดยการประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.2475 เราเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาตั้งแต่ต้น คำปรารภในรัฐธรรมนูญฉบับแรก ซึ่งประกาศใช้ 3 วันหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองมีใจความดังนี้ “โดยที่คณะราษฎรได้ขอร้องให้อยู่ใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม เพื่อบ้านเมืองจะเจริญขึ้น และโดยที่ทรงที่ยอมรับตามคำขอร้องของคณะราษฎรจึงทรงพิจารณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติดังมาตราต่อไปนี้ มาตรา 1 อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” นี่คือการตกลงกันระหว่างผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือคณะราษฎรกับรัชกาลที่ 7 ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจแต่เดิม ว่าเราจะเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และทรงยินยอมอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ   ฉะนั้น ในแง่ของการจะมีโทษที่รุนแรงไปกว่าแม้กระทั่งยุคนั้น ผมว่าเป็นเรื่องประหลาด และการปราบปรามนั้นก็เข้าใจว่าคนทำเขาก็ทำด้วยความจงรักภักดี ด้วยความรักพระเจ้าอยู่หัว แต่ต้องเข้าใจในมุมกลับด้วยว่า มันทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคมมากขึ้นระหว่างประชาชนส่วนหนึ่งกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และจะเกิดมากขึ้นได้ ยิ่งทำแรงมากเท่าไร ความรู้สึกไม่เป็นธรรมก็ยิ่งมาก และปัญหาที่กระทบกับสถาบันก็ยิ่งมาก นโยบายแบบนี้ไม่ดีเลย เพราะเกิดผลเสียกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์โดยตรง   ส่วนเรื่องการห้ามประกันตัว ศาลทำผิดไหม ไม่ผิด เพราะนี่เป็นอำนาจของศาล แต่ผมเสนอว่า ให้ทำพอดีๆ เพราะถ้าทำเกินไป ผลเสียอาจตกกับสถาบันพระมหากษัตริย์   หลักอย่าง The King can do no wrong เท่ากับไม่ให้วิพากษ์วิจารณ์ไหม หรือในระบอบประชาธิปไตยจะวิจารณ์สถาบันกษัตริย์โดยสุจริตได้อย่างไร ตามประมวลกฎหมายอาญา แม้ว่าเรื่องนี้จะไม่มีข้อยกเว้นเป็นการเฉพาะเหมือนกับหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา แต่ผมคิดว่า ถ้าเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยสุจริต โดยไม่เป็นการดูหมิ่น เราย่อมพูดถึงได้เหมือนสถาบันต่างๆ ในสังคม     มันไม่ได้แปลว่าสถาบันพระมหากษัตริย์จะแตะต้องไม่ได้ อันนี้ก็สุดโต่ง แม้รัฐธรรมนูญจะบัญญัติในมาตรา 8 ว่า ‘องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหา หรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้ก็ตาม’   การฟ้องร้องก็ชัดเจนว่าคืออะไร ส่วนการละเมิดกับกล่าวหาก็คล้ายๆ กัน จะไปล่วงละเมิดไม่ได้ แต่ไม่ได้แปลว่าสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นจะพูดถึงไม่ได้เลย แต่เป็นเรื่องของ ‘พูดอย่างไร’ ต่างหากในทางซึ่งไม่ละเมิด ไม่ดูหมิ่น   ในต่างประเทศที่มีสถาบันกษัตริย์ดูเหมือนจะมีทิศทางในการจัดการที่เบากว่านี้ กฎหมายหมิ่นต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นแค่โทษปรับ เป็นทิศทางที่หลายๆ ประเทศยกเลิกโทษจำคุกไป เพราะถือว่าเป็นเรื่องบุคคลกับบุคคล ไม่น่าจะถือว่าร้ายแรงขั้นจำคุก อย่างไรก็ตาม เรื่องหมิ่นประมาทก็จำเป็นต้องมี เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน เป็นหน้าที่ของรัฐอย่างหนึ่ง เพราะเราก็ต้องมีชีวิตอยู่ในสังคมที่เรารู้สึกปลอดภัย ไม่ถูกใครทำร้าย แต่โทษต้องเหมาะสม   โทษจำคุก มีความหมายในทางนิติปรัชญาอย่างไร ทฤษฎีอาชญากรรมและการลงทัณฑ์ก็พูดถึงว่า จำคุกเพื่ออะไร อันแรกคือ คนนี้เป็นภัยต่อสังคม และการอยู่ร่วมกัน ความผาสุกของคนในสังคม จึงเอาตัวมากักขังไว้ ถ้าเผ่นพล่านไปแล้วจะก่อความเดือดร้อน   อันที่สองคือ เป็นการล้างแค้น ความผิดของคุณต้องได้รับการชำระ เช่น ไปฆ่าใครตาย คุณก็ต้องตายด้วย ล้างแค้นให้ญาติพี่น้องคนที่เขาตาย   อันที่สาม เป็นทฤษฎีระยะหลังมา คือ เอาคนคนนั้นมากล่อมเกลาให้กลับเป็นคนดี และเมื่อเป็นคนดีก็จะคืนคนดีสู่สังคม อันที่สี่ เพื่อเป็นการบังคับใช้กติกาว่าถ้าใครทำผิดก็ต้องถูกลงโทษ เพื่อให้คนอื่นไม่ทำผิดแบบนี้   ในต่างประเทศก็มีอะไรน่าสนใจ หลายประเทศก็ไม่เอาขังคุก แต่ติดกำไรที่ไปไหนเจ้าหน้าที่รัฐรู้หมด เหมือนที่ติดกับปลาโลมาอะไรแบบนั้น แนวทางเรื่องการจำคุกมีอยู่ทุกประเทศ โดยเรื่องจำคุกกับความผิดหมิ่นประมาทมันแรงไปไหมก็เริ่มถกเถียงและปรับกันในหลายประเทศ   เป็นเพราะในต่างประเทศเขายึดถือหลักเรื่องสิทธิเสรีภาพใช่ไหม เพราะคนเขาเป็นผู้ใหญ่ รับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองทำ สังคมมีวุฒิภาวะมากขึ้น มีสิทธิเสรีภาพมากขึ้นพร้อมๆ กับวุฒิภาวะที่มากขึ้นด้วย
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/46714
2013-05-14 15:56
ระวังคดีอันวาร์จะเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวที่ทำให้กระบวนสันติภาพปาตานีสะดุด
ด้วยพระนามของอัลลอฮ.ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอ ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมูฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน เมื่อ 1 พค. ที่ผ่านมานายมูฮัมหมัดอัณวัร หะยีเต๊ะ  หรืออันวาร์ เป็นหนึ่งนักเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมด้วยสันติวิธี ตั้งแต่ปี2549 – ปัจจุบัน ได้ถูกศาลฎีกาตัดสินจำคุก 12 ปีได้สร้างความงุนงง และตกใจสำหรับคนทำงานด้านสันติธีทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ กอปรกับตัวอันวาร์เป็นบุคคลที่เป็นที่รู้จักกันว่าเขามีผลงานเชิงประจักษ์ ว่าที่ผ่านมานั้นเป็นคนที่ทำกิจกรรมอย่างสันติวิธีโดยเฉพาะกับเยาวชนในพื้นที่ซึ่งหลายครั้งได้รับงบสนับสนุนกิจกรรมทั้งจากภาครัฐและเอกชนหรือการระดมทุนจากคนในพื้นที่ แต่หลายครั้งอันวาร์ก็ได้มีส่วนร่วมรณรงค์ให้มีการยกเลิกกฎหมายพิเศษในพื้นที่อย่างสันติวิธีซึ่งยังผลให้คนในหน่วยความมั่นคงหลายคนไม่พอใจแต่กลับถูกใจจากนักสิทธิมนุษยชนทั้งในและต่างประเทศ                    สำหรับเหตุผลที่ศาลฎีกาตัดสินจำคุกเขาคือ เขาเป็นสมาชิก บีอาร์เอ็นโดยศาลมีหลักฐานหลัก คือคำซัดทอดจากการให้การของบุคคลสี่คน  คนเหล่านี้คือมะตอเห สะอะ อับดุลเลาะ สาแม็ง สะตอปา ตือบิงหมะ และมะสุกรี สารอ   ทั้งสี่คนยอมรับสารภาพกับเจ้าหน้าที่ว่ามีส่วนร่วมในการฆ่าตัดคอดาบตำรวจสัมพันธ์ อ้นยะลา ตำรวจยะรัง แม้ว่าคนที่ยิงและตัดคอดาบตำรวจนั้นจับไม่ได้และไม่ได้อยู่ในกลุ่มสี่คนนี้ก็ตาม จากเอกสารคำพิพากษาสรุปข้อมูลออกมาได้ว่า ทั้งหมดนี้เป็นผลจากการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำคดีฆ่าดาบตำรวจ นำไปสู่การสอบสวนกลุ่มนักเรียนจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาสองแห่งคือประสานวิทยาหรือปอเนาะพงสตา กับโรงเรียนบุญบันดานหรือปอเนาะแนบาแด โดยตำรวจได้ตามรอยการใช้โทรศัพท์ของดาบตำรวจสัมพันธ์และพบว่ามีนักเรียนคนหนึ่งนำโทรศัพท์ไปใช้ และมีการติดต่อกับนักเรียนหลายคนของทั้งสองโรงเรียน เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้เข้าตรวจค้นและจับกุม แล้วนำตัวนักเรียนทั้งสี่รวมกับอีกหลายคนไปสอบปากคำ เป็นที่มาของการได้คำให้การต่างๆของคนทั้งสี่ที่ยอมรับว่าเป็นบีอาร์เอ็นซึ่งเป็นหลักฐานหลัก นอกจากนี้ยังมีคำให้การของนักเรียนอีกสามคนที่ดูเหมือนว่าจะเป็นหลักฐานประกอบ ซึ่งก็เป็นคำให้การที่ให้ไว้ทั้งในขั้นตอนการซักถามข้อมูลและขั้นตอนการใช้ พรก.ฉุกเฉินฯ เช่นกัน และพวกเขาก็ได้ไปให้ปากคำในชั้นศาลด้วย แต่คนกลุ่มหลังนี้ถือว่า “ไม่ใช่สมาชิกบีอาร์เอ็น” ในคำซัดทอดของกลุ่มคนสี่คนที่ยอมรับว่าเป็นสมาชิกบีอาร์เอ็นนั้นระบุว่า ในบรรดาคนที่ไปร่วมรับการอบรมมีอันวาร์และกลุ่มคนที่ถูกฟ้องพร้อมอันวาร์อยู่ด้วย ที่น่าสนใจคือ ในจำนวนคนทั้งสี่นี้มีเพียงคนเดียวเท่านั้น คือมะตอเหที่ได้ให้การในชั้นศาลเพิ่มเติม ส่วนที่เหลืออีกสามคนนั้นมีแต่คำให้การที่พวกเขาให้ไว้กับเจ้าหน้าที่ในขั้นตอนการซักถามตามพรก.ฉุกเฉินฯ กับคำให้การที่ให้ไว้กับตำรวจเท่านั้น ไม่มีการไปเบิกความในศาลเพราะพวกเขาหลบหนีเสียก่อน   หนึ่งในสี่คนที่ว่านี้ คนหนึ่งคือมะสุกรี ระบุว่าเป็นเพื่อนร่วมห้องของอันวาร์ จากคำให้การของพวกเขาสี่คน เล่าถึงการได้ไปทำกิจกรรมรับการอบรมของบีอาร์เอ็นด้วยกัน และระบุด้วยว่าอันวาร์กับอัรฟาน จำเลยอีกรายหนึ่ง เคยกระทั่งเอามอเตอร์ไซค์ส่วนตัวไปใช้ในการทำกิจกรรมร่วมกัน  และอันวาร์ยังมีการไปมาหาสู่กับสะตอปา ตือบิงหมะ หนึ่งในสี่คนที่หลบหนีไป ส่วนคำให้การของนักเรียนอีกสามคนจากปอเนาะแนบาแดที่ศาลบอกว่าไม่ใช่สมาชิกของบีอาร์เอ็นนั้น เป็นการ “ให้การเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว” ของสมาชิกบีอาร์เอ็นในการวางแผนสังหารดาบตำรวจให้การไว้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ว่าในการเบิกความในชั้นศาล พวกเขากลับคำให้การ โดยบอกว่าไม่รู้เรื่องการวางแผนใดๆของสมาชิกบีอาร์เอ็นที่ไปก่อเหตุ แต่ศาลกลับเห็นว่า การกลับคำให้การของนักเรียนทั้งสามน่าจะเป็นเพราะต้องการช่วยเหลือจำเลย หรือไม่ก็เพราะหวาดกลัวมากกว่า และเชื่อว่าคำให้การในชั้นซักถามและชั้นสอบสวนของพวกเขานั้น “จริงยิ่งกว่าคำเบิกความ” พูดง่ายๆว่าที่เบิกความกับศาลนั้นศาลเห็นว่าเป็นเท็จ แต่ที่ให้การกับตำรวจศาลเห็นว่าเป็นของจริง เพราะว่าสอดคล้องกับการให้การของอีกสี่คนแรกที่ยอมรับว่าตัวเองเป็นสมาชิกบีอาร์เอ็น นี่คือส่วนหนึ่งของเหตุผลที่อันวาร์ต้องถูกจำคุกถึง12  ปี (โปรดดูรายละเอียดในhttp://www.deepsouthwatch.org/node/4231 [1]) จากผลของคดีนี้ทำให้เพื่อนๆอันวาร์เริ่มเคลื่อนไหวทางสันติวิธีให้มีการปล่อยตัวอันวาร์ทางสื่อออนไลน์   (https://www.facebook.com/saveanwar?group_id=0 [2] ) และจัดกิจกรรมอื่นๆต่อมวลชนในพื้นที่ ซึ่งอาจจะมีผลต่กระบวนการพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐกับกลุ่มคนเห็นต่าง โดยเฉพาะบีอาร์เอ็น  หรืออาจส่งผลต่อความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น เพราะอาจจเป็นข้ออ้างให้เยาวชนหันหลังให้กับแนวทางสันติวิธีหรือการต่อสู้ทางกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ประเทศไทยอ้างว่ารัฐธรรมนูญของไทยเต็มใบ สำหรับผู้เขียนอยากจะเสนอแนะให้สื่อมวลชนทั้งในหรือนอกพื้นที่โดยเฉพาะการเสวนาทางวิชาการด้านกฎหมายกับทางออกในวิกฤติชายแดนใต้ ในกรณีอันวาร์โดยเฉพาะว่า  พอมีทางออกอย่างไร ในคดีนี้  ที่จะไม่ไปสร้างปัญหาทางการเมืองระหว่างชายแดนใต้กับกรุงเทพในท่ามกลางบรรยากาศการเปิดพื้นที่พูดคุยเพื่อสันติภาพซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาอีกนาน  แต่ไม่ให้ล่มเพราะเหตุปัจจัยคดีอันวา   จากบทความเดิมชื่อ:  คดีอันวาร์ระวังจะเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวที่จะทำให้กระบวนสร้างบรรยากาศสันติภาพปาตานีสะดุด   เกี่ยวกับผู้เขียน: อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บิน ชาฟิอีย์  (อับดุลสุโก ดินอะ)กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยทักษิณผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลา
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/30565
2010-08-03 20:22
สุเทพลั่น ศอฉ. เตรียมเดินหน้าแจกซีดี
"สุเทพ เทือกสุบรรณ" สั่งเจ้าหน้าที่เฝ้าติดตามคนที่มีพฤติกรรมเป็นภัยต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง วอนประชาชนอย่าแตกตื่น ลั่นเดินหน้าแจกซีดี ศอฉ. เพื่อนำไปประชาชนที่ยังไม่เข้าใจ ป้องกันไม่ให้คนบางกลุ่มนำไปบิดเบือนสร้างความร้าวฉานในบ้านเมือง ด้านภูมิใจไทยเปิดตัว 6 ส.ส.แปรพักตร์จากเพื่อไทย-เพื่อแผ่นดิน-ชาติไทยพัฒนา   ที่มาของภาพ: ศูนย์สื่อทำเนียบรัฐบาล สุเทพลั่น ศอฉ. จะเดินหน้าแจกซีดีชี้แจงคนที่ยังไม่เข้าใจ ศูนย์สื่อทำเนียบรัฐบาล [1] รายงานว่า วันนี้ (3 ส.ค.) เวลา 08.50 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีข่าวว่าสำนักข่าวกรองแห่งชาติออกมาเตือนว่าจะเกิดเหตุคาร์บอมบ์ในย่านธุรกิจสำคัญ เช่น ถนนสีลม และถนนเยาวราช ประมาณต้นเดือนสิงหาคม ว่า ต้องไปถามรายละเอียดจากสำนักข่าวกรองว่าเขาได้ข่าวอย่างไร ตนยังไม่ได้ลงไปในรายละเอียด แต่เรื่องการข่าวตนได้สั่งการไปว่าทุกหน่วยงานที่ทำหน้าที่ทางด้านฝ่ายข่าวต้องบูรณาการกำลังเพื่อที่จะติดตามดูว่ามีคนกลุ่มไหนที่มีพฤติกรรมที่อาจจะเป็นภัยต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการก่อวินาศกรรมบ้าง และเราจะได้หาทางสกัดกั้นยับยั้งป้องกันหตุร้ายให้ทันเวลากรณีที่เป็นข่าวขึ้นมานี้อาจจะเป็นไปตามสิ่งที่ได้สั่งการเอาไว้ก็ได้ ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการระบุว่าการเคลื่อนไหวก่อวินาศกรรมดังกล่าวจะเป็นฝีมือของกลุ่มอำนาจเก่าและกลุ่มหัวรุนแรง ทางเจ้าหน้าที่มีการติดตามการเคลื่อนไหวอย่างไร รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนตอบในรายละเอียดที่ลึกลงไปไม่ได้ แต่ว่าได้สั่งการอย่างนั้นแล้ว และเจ้าหน้าที่จะต้องไปดำเนินการ เมื่อถามว่า ห่วงหรือไม่เพราะการข่าวระบุว่าพื้นที่เป้าหมายที่จะก่อวินาศกรรมเป็นย่านธุรกิจสำคัญหากเกิดเหตุขึ้นจริงจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าคิดว่าเรารับฟังข่าวไว้ก็แล้วกัน และก็ไม่ประมาทแต่ก็อย่าไปแตกตื่นให้มากนัก เราก็มีหน้าที่ที่จะต้องดูแลปกป้องบ้านเมืองของเรา ฝ่ายต่าง ๆ ก็จะต้องทำงานให้เข้มแข็งขึ้น ผู้สื่อข่าวถามว่า เมื่อวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา ทางพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทยออกมาปฏิเสธว่าไม่ใช่คนแก่ที่อยู่เบื้องหลังเหตุระเบิดตามที่พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ออกมาให้ข้อมูลมาหลายวัน และตามที่ท่านได้ดักคอเอาไว้ว่าคนแก่จะออกมาพูดเอง ตกลงพล.อ.ชวลิตใช่คนแก่ที่หมายความถึงหรือไม่ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนคงไม่ตอบแล้วเรื่องนี้ ตอบไปก็จะเป็นการต่อความยาวสาวความยืด ผู้สื่อข่าวถามว่า ด้วยความที่ยังมีการเคลื่อนไหวอยู่อย่างนี้ เป็นเหตุให้ยังต้องคงพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อไปใช่หรือไม่ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เมื่อถึงเวลาก็จะชี้แจง วันนี้ยังไม่มีอะไรที่จะต้องไปพิจารณาเรื่องการยกเลิก พ.ร.ก. ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางแม่ทัพภาคที่ 3 ระบุว่าสถานการณ์ในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายมีความสงบเรียบร้อยพอที่อาจจะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ได้แล้ว รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เวลาที่มีรายงานเข้ามาตนก็จะนำไปพิจารณาในที่ประชุม ศอฉ. แต่ขณะนี้ยังไม่มีการเสนอมาแต่อย่างใด ผู้สื่อข่าวถามถึงการที่คณะกรรมการติดตามสถานการณ์บ้านเมือง วุฒิสภาฯ ระบุว่าการแจกซีดีภาพเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองช่วงเมษายน - พฤษภาคมที่ผ่านมาเป็นข้อมูลฝ่ายเดียวและยิ่งสร้างความเกลียดชังต่อสังคม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็เป็นเพียงความคิดเห็นของวุฒิสมาชิกบางคนเท่านั้น และคิดว่าไม่เป็นปัญหาอะไร ซึ่งในที่ประชุม ศอฉ.ได้พิจารณาเรื่องนี้กันอย่างรอบคอบ และซีดีที่ได้จัดทำขึ้นนี้ได้พิจารณาจากทุกส่วนราชการ ที่ร่วมเป็นกรรมการใน ศอฉ.และเห็นว่าเป็นซีดีที่สามารถนำไปเสนอกับประชาชนที่ยังไม่เข้าใจในข้อเท็จจริงให้ได้เข้าใจลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เพื่อป้องกันไม่ให้คนบางกลุ่มนำเอาเหตุการณ์ที่กิดขึ้นไปบิดเบือนสร้างความเข้าใจผิดทำให้เกิดความร้าวฉานในบ้านเมือง ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า แสดงว่า ศอฉ.ยังจะคงดำเนินการแจกซีดีนี้ต่อไปใช่หรือไม่ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “ถูกต้องครับ” ผู้สื่อข่าวถามว่า แต่ที่ผ่านมาประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารมาเป็นจำนวนมากแล้ว ยังมีประเด็นใดที่จำเป็นต้องชี้แจงอีก รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังมีประชาชนที่ไม่ได้ทราบข่าวสารและเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นมันเกิดขึ้นหลายวันมาแล้วอาจจะมีการลืมกันไป แต่มีบางกลุ่มที่ทำซีดีมาต่างหาก และพยายามทำให้คนเข้าใจผิดว่ารัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ไปทำร้ายประชาชน ผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นการออกซีดีเพื่อตอบโต้คนเสื้อแดงหรือไม่ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ได้เป็นการตอบโต้ใคร แต่เป็นการอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เพื่อไม่ให้คนในบ้านเมืองเข้าใจเหตุการณ์ผิด ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดว่าการแจกซีดีครั้งนี้จะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นหรือยิ่งแย่ลง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนเชื่อว่าจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ผ่านมารัฐบาลยังไม่อนุญาตให้ภาพยนตร์โฆษณาชุดขอโทษประเทศไทยออกอากาศได้ แล้วอย่างนี้จะเผยแพร่ได้หรือไม่ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องนั้นตนไม่ทราบจริง ๆ ตนทำเฉพาะในส่วนที่ตนรับผิดชอบจริง ๆ ถ้ามีประชาชนสนใจขอเข้ามาก็จะแจกจ่ายให้   ภูมิใจไทย เปิดตัว 6 ส.ส. จากเพื่อไทย-เพื่อแผ่นดิน-ชาติพัฒนา ขณะเดียวกัน มติชนออนไลน์ [2] รายงานว่า เมื่อเวลา 14.00 น. มีการประชุมพรรคภูมิใจไทย โดยได้มีนายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ ประธาน ส.ส.พรรค เป็นประธานการประชุม โดยที่ประชุมได้มีการเปิดตัว ส.ส.จากพรรคอื่นที่มาร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย จำนวน 6 คน ได้แก่ น.ส.มัลลิกา จิระพันธุ์วานิช ส.ส.ลพบุรี พรรคชาติไทยพัฒนา นายยุซรี ซูสารอ ส.ส.ปัตตานี พรรคเพื่อแผ่นดิน นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร ส.ส.นครนายก พรรคเพื่อไทย นายสมบูรณ์ วันไชยธนวงศ์ ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย นายมานพ ปัตนวงศ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน และนายนิมุตตา วาบา ส.ส.นราธิวาส พรรคเพื่อแผ่นดิน
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/1281
2004-11-19 00:43
คนไทยร่วมพับ "นกกระดาษ" ดับไฟใต้
ประชาไท - 18 พ.ย.47 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงโครงการพับนกกระดาษเพื่อนำไปโปรยในพื้นที่ภาคใต้ว่า เป็นสัญลักษณ์ให้ประชาชนในภาคใต้รู้ว่า คนทั้งประเทศรักและห่วงใย รวมทั้งไม่เคยมีความคิดแปลกแยกทางศาสนา ทุกคนอยากเห็นสันติภาพ โดยการพับนกครั้งแรกนายกรัฐมนตรีได้เรียนวิธีพับนกจากนักเรียนเข้าร่วมโครงการ พร้อมทั้งเขียนข้อความในปีกซ้าย ว่าคนไทยหวงแหนแผ่นดินไทยไม่ให้ใครมาแบ่งแยก และคนไทยรักและห่วงใยท่านในปีกขวา โดยจะมีการรวบรวมนกทั่วประเทศในวันที่ 1 ธันวาคม เพื่อให้กองทัพอากาศดำเนินการต่อไป ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แนวคิดดังกล่าวนำมากจากนักวิชาการ 22 คนที่เข้าพบและมอบนกกระดาษสีขาวให้นายกรัฐมนตรี และได้เชิญผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ต่างๆ มาชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ของรัฐบาล และขอความร่วมมือให้สละเวลาในการนำบุคคลมาสอนวิธีการพับนกทางโทรทัศน์ให้แก่ประชาชน และสามารถนำส่งได้ทางหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และไปรษณีย์ทั่วประเทศจะเป็นผู้รวบรวม "ส่วนความกังวลว่านกจะเป็นขยะในพื้นที่นั้น อยากขอร้องให้ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ช่วยกันเก็บนกเหล่านั้นที่เป็นตัวแทนความห่วงใยของคนทั่วประเทศ" นายวิษณุกล่าวและว่าได้รับแจ้งจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลหลายแห่งว่าคนไข้ขอกระดาษไปพับนกด้วย ด้านพล.ต.ท.ปานศิริ ประภาวัต ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลทุกนายเป็นสื่อกลางจัดเก็บนกกระดาษจากประชาชนในพื้นที่กทม.และใกล้เคียง ขณะที่เด็กและเยาวชนในสถานพินิจทั่วประเทศ นักเรียนอาชีวะทั่วกรุงเทพ ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ อุบล และภูเก็ตก็จัดกิจกรรมร่วมกันพับนกเพื่อส่งไปยังพื้นที่ภาคใต้ด้วย ด้านนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้รวมพลังข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศกว่า 200,000 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกว่า 900,000 คน สมาชิกชมรมสร้างสุขภาพและประชาชนทุกชุมชนกว่า 34 ล้านคน ร่วมกันพับนกกระดาษหนึ่งคนต่อหนึ่งตัว เพื่อแสดงออกถึงความห่วงใยต่อประชาชนในภาคใต้ ประชาไทรายงาน
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/75250
2018-02-02 23:41
สถาบันนิติฯ เผยตรวจ DNA ชิ้นส่วนอวัยวะ 'นักเรียนเตรียมทหาร เมย' ไม่ได้
สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ระบุเนื้อเยื่อจากอวัยวะต่างๆ มีสารพันธุกรรมในปริมาณและคุณภาพที่ไม่เหมาะสมในการตรวจวิเคราะห์ ไม่สามารถระบุแบบสารพันธุกรรม เปรียบเทียบว่าเป็นของบุคคลใดได้ ขณะที่ตำรวจ สภ.บ้านนา เห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทำร้าย  2 ก.พ.2561 รายงานข่าวระบุว่า สมณ์ พรหมรส ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีนักเรียนเตรียมทหาร ภคพงศ์ ตัญกาญจน์ หรือน้องเมย ที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2560 และพนักงานสอบสวน สภ.เมืองนครนายก ได้ส่งศพ ภคพงศ์มาชันสูตรซ้ำที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2560 โดยสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ได้ดำเนินการชันสูตรตามขั้นตอนต่างๆ จนแล้วเสร็จ สมณ์ กล่าวต่อว่า และจัดทำรายงานผลชันสูตรเบื้องต้นให้กับพนักงานสอบสวนและญาติผู้เสียชีวิต เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2560 สำหรับอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจและสมอง เป็นต้น ที่พนักงานสอบสวนและญาติผู้เสียชีวิตได้นำมาให้ตรวจพิสูจน์ภายหลัง เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2560 เพื่อยืนยันว่าเป็นอวัยวะของน้องเมยจริงนั้น สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ไม่สามารถตรวจพิสูจน์ยืนยันได้ เนื่องจากสารพันธุกรรมของเนื้อเยื่อในอวัยวะที่ผ่านการดองน้ำยาฟอร์มาลินมีการเสื่อมสลาย สมณ์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการตรวจพิสูจน์ของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์  จึงส่งอวัยวะต่างๆดังกล่าว ไปให้คณะแพทย์ศาตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ตรวจพิสูจน์ยืนยันอีกครั้ง เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2560 โดยคณะแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดีได้ดำเนินการตรวจพิสูจน์แล้ว พบว่า เนื้อเยื่อจากอวัยวะต่างๆ มีสารพันธุกรรมในปริมาณและคุณภาพที่ไม่เหมาะสมในการตรวจวิเคราะห์ต่อไป ทำให้ไม่สามารถระบุแบบสารพันธุกรรม เพื่อนำมาเปรียบเทียบว่าเป็นของบุคคลใดได้ กองทัพสรุป 'น้องเมย' ตายเพราะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ยันไม่มีใครสั่งลงโทษหรือทำร้าย [1] ครอบครัว 'นตท.เมย' หอบหลักฐานแจ้งความเพิ่ม หวังพึ่งกระบวนการยุติธรรม-ตำรวจ [2] ขณะที่วานนี้ (1 ก.พ.61) สุพิชา ตัญกาญจน์ พี่สาวของ ภคพงศ์ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาทางครอบครัวเพิ่งได้รับหนังสือแจ้งความคืบหน้า การสอบสวนคดีอาญาของพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรบ้านนา จังหวัดนครนายก ลงวันที่ 24 มกราคม 2561 หลังจากที่ครอบครัว ได้แจ้งความร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ และพนักงานสอบสวน ได้รับคำร้องทุกข์ไว้ดำเนินการตามกฏหมายนั้น ล่าสุดพนักงานสอบสวนได้สอบปากคำ และแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ต้องหาทราบ พร้อมกับได้รวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ไว้แล้ว ก่อนพนักงานสอบสวน มีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหา โดยจะส่งสำนวนการสอบสวนไปยังอัยการ มณฑลทหารบกที่ 12 พิจารณาอีกครั้ง ส่วนการนำผลทางนิติวิทยาศาสตร์เสนอต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง นอกจากภาพถ่าย ร่างกายของน้องเมยขณะยังมีชีวิตอยู่ พบรอยช้ำหลายจุด ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเกิดจากการฝึกทางทหาร และการถูกธำรงวินัยที่รุนแรงเกินไป ยังเชื่อว่าอาจจะนำไปสู่การถูกทำร้ายร่างกาย เนื่องจากพบว่า มีเลือดออกบริเวณลำคอ เหนือไหปลาร้าทั้งซ้ายและขวา ซึ่งพนักงานสอบสวนและแพทย์ให้ความเห็นตรงกันว่า อาจจะเกิดจากการถูกล็อคคอและกล้ามเนื้อระหว่างซี่โครงซ้าย ฟกช้ำคล้ายถูกของแข็ง ไม่มีคมกระแทกจากด้านหน้าไปด้านหลัง ที่มา : ไทยพีบีเอส [3] และข่าวสดออนไลน์ [4]
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
https://prachatai.com/print/36588
2011-08-22 13:49
ศาลปกครองยกฟ้องคดี สรรหา กสทช. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
มติชนออนไลน์ [1]รายงานว่า วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2554 เวลา 1๐.๐๐ น. ศาลปกครองกลาง ได้อ่านคำพิพากษาคดี ในคดีหมายเลขดำที่ 11๗3/2554 ระหว่าง นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร (ผู้ฟ้องคดี) กับ คณะกรรมการสรรหากรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (กรณีขอให้ส่งรายชื่อผู้ฟ้องคดีเข้ารับการสรรหาเป็นคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) คำพิพากษาระบุว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดี (นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร) ฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (กรรมการสรรหา กสทช.) และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (เลขาธิการวุฒิสภา) ดำเนินการคัดเลือก ผู้สมควรได้รับเลือกเป็น กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเหตุให้มติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่ได้มีมติให้มีการลงคะแนนใหม่เพื่อทำการคัดเลือกผู้สมควรได้รับเลือกเป็น กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ แทนนายอรรถชัย บุรกรรมโกวิท ซึ่งเป็นผู้ได้รับคัดเลือก แต่ต่อมาได้ถูกเพิกถอนเนื่องจากเป็นผู้ขาดคุณสมบัติ โดยไม่ได้เลื่อนผู้ฟ้องคดีที่ได้รับคะแนน ในครั้งแรกในลำดับที่ 5 ขึ้นมาแทน และผู้ร้องสอด (นายยุทธ์ ชัยประวิตร) เป็นผู้ได้คัดเลือก โดยไม่มีกฎหมายและระเบียบให้อำนาจกระทำได้ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2554 ว่า การที่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครเข้ารับการคัดเลือกมากกว่าหนึ่งด้านไม่มีกฎหมายระเบียบจำกัดสิทธิให้สมัครเพียงด้านเดียว และในขณะที่นายอรรถชัยสมัครเข้ารับการคัดเลือกได้ลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ประธานของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (นายจตุรงค์ ปัญญาดิลก) ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) จึงยังไม่มีความสัมพันธ์กับนายอรรถชัยในขณะนั้น ส่วนการแสดงวิสัยทัศน์ด้วยวาจา เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารแสดงวิสัยทัศน์ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีมติไม่ให้มีการซักถามผู้แสดงวิสัยทัศน์กับผู้สมัครทุกคน โดยเท่าเทียมกันจึงไม่ได้เป็นเหตุให้กระบวนการสรรหาเสียไป ส่วนการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีมติให้ทำลายบัตรลงคะแนน แม้ธรรมเนียมในทางปฏิบัติจะต้องเก็บบัตรลงคะแนนเพื่อใช้ในการตรวจสอบในกรณีมีผู้ร้องคัดค้าน แต่ในกรณีนี้ผู้ฟ้องคดีมิได้คัดค้านว่าการลงคะแนนไม่ชอบกับยอมรับผลการลงคะแนนดังกล่าวว่าผู้ฟ้องคดี ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 5 จึงไม่เป็นเหตุให้กระบวนการสรรหาเสียไปเช่นเดียวกัน และแม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่าวันที่ 22 เมษายน 2554 นายอรรถชัยได้รับเลือกให้เป็นกรรมการบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ก่อนที่จะมีการลงคะแนนคัดเลือกในครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2554 ซึ่งประธานของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่เป็นกรรมการบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) เช่นเดียวกับนายอรรถชัยและทราบอยู่แล้วในขณะนั้นว่านายอรรถชัยเป็นผู้ขาดคุณสมบัติ แต่ก็ให้มีการลงคะแนนในวันที่ 25 เมษายน 2554 จนมีผู้ได้รับการคัดเลือกครบ 4 คน โดยหนึ่งในสี่ของผู้ได้รับเลือกมีนายอรรถชัยรวมอยู่ด้วย กรณีจึงถือได้ว่านายจตุรงค์ประธานของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีสภาพร้ายแรงทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แต่ในภายหลังได้มีการดำเนินการแก้ไขความบกพร่องในเรื่องคุณสมบัติของนายอรรถชัยและเหตุที่มีสภาพร้ายแรงอันทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางของนายจตุรงค์ประธานของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 แล้วโดยได้เพิกถอนสิทธิของนายอรรถชัย และถือว่าในวันนั้น (25 เมษายน 2554) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีมติเลือกผู้สมควรได้รับเลือกเป็น กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ เพียง 3 คน เมื่อมีผู้ได้รับคัดเลือกเพียง 3 คน ไม่ครบจำนวน 4 คน ตามที่กฎหมายกำหนด และเมื่อระเบียบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ไม่ได้กำหนดวิธีการคัดเลือกในกรณีนี้ไว้ จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ซึ่งข้อ 13 ของระเบียบดังกล่าวกำหนดให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เป็นผู้วินิจฉัย และเมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้วินิจฉัยโดยมีมติเป็นเอกฉันท์ให้มีการลงคะแนนใหม่ จึงเป็นการใช้อำนาจตามข้อ 13 ของระเบียบผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ และระเบียบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่มีวัตถุประสงค์ชัดเจนที่จะให้ผู้ได้รับคัดเลือกเป็น กสทช. มาจากการลงคะแนนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 แล้ว และเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2554 มีผู้ได้รับการคัดเลือก และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ให้การรับรองว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติเพียง 3 คน โดยผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับการเลือก จึงยังไม่อาจถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีคุณสมบัติที่เลื่อนผู้ฟ้องคดีขึ้นไปแทนนายอรรถชัยได้ และเมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้ทำการลงคะแนนใหม่ปรากฏว่า ผู้ร้องสอดเป็นผู้ได้รับคะแนนสูงสุด ผู้ร้องสอดจึงเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกและเป็นผู้ที่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 รับรองคุณสมบัติแล้ว มติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่เลือกผู้ร้องสอดเป็นผู้ที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้สมควรได้รับเลือกเป็น กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ แทนนายอรรถชัย จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลจึงมีคำพิพากษายกฟ้อง
0neg
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
https://prachatai.com/print/17940
2008-09-01 04:17
หลังประชุม 2 สภา "สมัคร" ยันจะอยู่ประคับประคองระบบต่อ ขณะที่ฝ่ายค้านเรียกร้องให้ลาออก-ยุบสภาแก้วิกฤต
เมื่อวันที่ 31 ส.ค.51 การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 1 สมัยนิติบัญญัติ โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ในการประชุมเพื่ออภิปรายเป็นการทั่วไป แบบไม่ลงมติ ซึ่งเป็นการประชุมร่วมกันของทั้งสองสภา การประชุมดำเนินไปกว่า 11 ชั่วโมง โดยนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีนั่งฟังการอภิปรายโดยตลอด ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านเรียกร้องให้นายกฯ แก้วิกฤตครั้งนี้โดยการลาออก หรือยุบสภา ซึ่งหากเป็นการยุบสภานั้น ฝ่ายค้านเสียเปรียบในการเลือกตั้งแต่ก็จะยอมเสียสละเพื่อให้วิกฤตครั้งนี้คลี่คลาย แต่ท้ายที่สุด นายกฯ ยังคงยืนยันว่าได้รับฟังข้อเสนอทั้งหมดแล้ว และตัดสินใจยืนยันที่จะประคับประคองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาเช่นนี้ต่อไป   อภิสิทธิ์กล่าวว่า เห็นว่านายกฯ ไม่ควรดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ถ้าเป็นประเทศอื่นเขาแสดงความรับผิดชอบไปแล้ว ถ้ามีท่าทีอย่างนี้ต่อไปคงหาทางออกไม่ได้ รัฐบาลอาจกำลังหวาดระแวงว่าถ้าลาออกจริงฝ่ายค้านจะไปช่วงชิงอำนาจ ยืนยันว่าไม่ทำเช่นนั้น บ้านเมืองนี้ต้องเป็นไปตามระบบ และใครทำผิดกฎหมายก็ต้องรับผิดตามกฎหมาย   "วันนี้ต้องยอมเจ็บ ถ้านายกฯ กลัวว่าการลาออกเป็นการสร้างวัฒนธรรมไม่ดี เพราะทำตามคนหยิบมือเดียว จริงๆ หลายประเทศทำกันและไม่เห็นมันเสีย  ส่วนการยุบสภา พวกผมมีแต่เสียเปรียบ แต่ผมยอม และเมื่อยุบสภาก็บอกว่ารู้ได้อย่างไรว่าพันธมิตรจะเลิก ผมก็ไม่มีหลักประกัน แต่ขอยกร้องต่อพันธมิตรเช่นกันว่า ต้องเคารพหลักการปชต.ที่ให้ประชาชนตัดสิน พันธมิตรจะตั้งพรรคการเมืองก็ได้ จะสอดส่องดูแลให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ เที่ยงธรรม ก็ได้ แต่วันนี้เราต้องเสียสละตัวเองก่อน"   สมัคร กล่าวว่า เรื่องที่เสนอนั้นไม่ใช่เรื่องยากเย็น แต่สิ่งที่ต้องทำตอนนี้คือรักษาระบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีมา 76 ปี ถ้าทำตามที่เรียกร้องไม่ว่าหนึ่งหรือสอง ก็แสดงว่ามันหากฎเกณฑ์อะไรไม่ได้แล้ว เมื่อรับหน้าที่นี้แล้วก็ต้องทำให้ตลอดรอดฝั่ง ความเกลียดชังที่สั่งสมจากอดีตนายกฯ คนก่อนตกทอดมาถึงคนปัจจุบัน ทั้งที่ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวโยงกันแล้ว และจะทำหน้าที่ประคับประคองสถานการณ์ไปให้ดีที่สุด นุ่มนวลที่สุด และหากจะเปิดการอภิปรายไม่ไว้วางใจกันก็ยินดี หากลงมติแล้วต้องออกก็จะออก แต่ขอให้เป็นไปตามระบบ   กรณีความรุนแรงที่มีการขยายความกันมากนั้นเป็นเพียงการปะทะกันนั้นท่ามกลางความพยายามควบคุมสถานการณ์ของผู้ชุมนุมมีเป็นพันเป็นหมื่น ไม่ใช่ความตั้งใจใช้ความรุนแรงในการล้อมปราบ   สุนัย จุลพงศธร เสนอให้มีการตั้งกรรมการของสภากับตัวแทนพันธมิตรมาหรือทางออกร่วมกัน ขณะที่นายสุทินคลังแสง เสนอให้มีการทำประชามติถามประชาชนว่าจะให้รัฐบาลอยู่หรือไป   อลงกรณ์ชี้สมัครใช้อำนาจศาลผิด จี้แสดงสปิริต นายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า นายสมัคร ต้องรับผิดชอบการใช้อำนาจศาลเกินกว่าเหตุ ในความพยายามจับ 9 แกนนำม็อบพันธมิตร ปล่อยให้ตร.ใช้กำลังทำร้ายกลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งสามารถประท้วงรัฐบาลได้ ซึ่งขัดต่ออำนาจศาลที่ไม่ได้อนุญาตให้รัฐบาลใช้กำลังต่อกลุ่มม็อบที่ยึดทำเนียบรัฐบาล นายกฯสมัครควรสำรวจตัวเองว่า เป็นรัฐบาลแรกที่ถูกยึดทำเนียบ ดังนั้นปัญหาจึงอยู่ที่ตัวนายกฯ   มฌ.เสนอ"มาร์ค"ประสานพันธมิตรเป็นกก.แก้รธน. นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน  หัวหน้าพรรคมัฌชิมาธิปไตย เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการเมืองว่า หากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยอมรับว่า รัฐธรรมนูญไม่ดีและจำเป็นต้องเปลี่ยนก็ควรเข้ามาหารือกัน โดยกลุ่มพันธมิตรฯ อาจเข้ามาเป็นกรรมกรรมการพิจารณาศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญในโควต้าพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ การที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เข้าไปเยี่ยมเยือนกลุ่มพันธมิตรนั้นน่าจะเป็นสะพานเชื่อมได้  ฝ่ายใดๆ หากต้องการเสนอความคิดในเรื่องนี้ก็ควรเชิญเข้ามาในสภาและคิดว่าขณะนี้ยังคงมีเวลาในการแก้ปัญหา คงไม่ถึงขั้นต้องตั้งรัฐบาลแห่งชาติ   แฉ!กลางสภา"รองนายกฯ"สั่งการตร.ทำร้ายพันธมิตร นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.กรุงเทพฯ ในฐานะรมว.เงา ยุติธรรม กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาความวุ่นวายต่างๆ ขณะนี้ มาจากความไม่เชื่อใจระหว่างประชาชนกับรัฐบาล ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ระบุว่า เป็นนอมินีของพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง หลายฝ่ายคิดว่า สิ่งที่นายกฯ กระทำผิดจริยธรรมทางการเมือง นายพีรพันธุ์กล่าวต่อว่า เมื่อวันที่ 29 ส.ค. ตนกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน ต้องลงไปให้เห็นกับตาที่ลานพระบรมรูปทรงม้า  ได้พบผู้หญิงคนหนึ่งถูกตีศรีษะ จากนั้นก็บอกให้พาส่งโรงพยาบาล ต้องการทราบว่า เหตุใดจึงเกิดเรื่องราวนี้ ขึ้น ทำไมต้องลงมือลงไม้ โดยนายอภิสิทธิ์  ได้พยายามเข้าพบตำรวจในระดับผู้บังคับบัญชา  และก็ได้พูดสายกับตำรวจระดับสูงก็ระบุว่า การกระทำดังกล่าวเป็นคำสั่งศาล อยากจะถามว่า เกิดความเข้าใจผิดกันระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชา กับผู้บังคับบัญชาหรือไม่ โดยพบคำตอบว่า  ผู้ที่สั่งให้ทำ คือรองนายกรัฐมนตรี แต่ไม่รู้ว่า คนไหน จริงเท็จไม่ทราบ แต่ได้ยินมาเช่นนี้   "รสนา" โชว์ภาพ ม็อบบาดเจ็บ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพมหานคร ได้อภิปรายถึงกรณีที่มีการท้วงติงกลุ่ม ส.ว.ไปชุมนุมร่วมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยระบุว่าไม่เหมาะสม และเป็นการถือหางพันธมิตรฯ ว่าในฐานะตัวแทนประชาชน มีความจำเป็นต้องไปดูและเยี่ยมผู้ร่วมชุมนุมหลังจากที่เกิดเหตุการณ์การปะทะกัน พร้อมกับแสดงหลักฐาน ซึ่งเป็นภาพถ่ายของผู้ชุมนุมที่ได้รับบาดเจ็บ หลังเกิดเหตุปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ   "หมัก"ฉุนถูก"จุรินทร์"กล่าวหา โวยเข้าข้างพันธมิตรฯ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวอภิปราย นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ว่ามีพฤติการณ์เป็นชนวนเหตุความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นขณะนี้ ตั้งแต่จุดยืนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การใช้วาจาพูดชักชวนให้สื่อเลือกข้าง การใช้แก๊สน้ำตาสลายชุมนุมที่หน้า บช.น.ของเจ้าหน้าที่ตำรววจ รวมถึงประเด็นการพูดในรายการสนทนาประสาสมัครที่ระบุโจมตีมือที่สามว่ายิงแก๊สน้ำตาว่าเป็นไอบ้า พร้อมทั้งเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาตัวเองว่าสมควรอยู่ในตำแหน่งหรือไม่ หากยิ่งอยู่จะยิ่งทำให้บ้านเมืองมีความสุ่มเสี่ยงต่อการเสียประชาธิปไตย   นายสมัคร ยังกล่าวชี้แจงถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ใช่สิ่งผิด เพราะมีเขียนเอาไว้ในรัฐธรรมนูญชัดเจนอยู่แล้ว โดยยืนยันว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 50 มีข้อบกพร่องต้องมีการแก้ไข กลายเป็นว่านายกฯทำอะไรก็ผิดหมด ส่วนพันธมิตรฯที่ไปยึดทำเนียบรัฐบาล บุกสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีนั้นไม่ผิด นายกฯ ยังชี้แจงถึงกรณีแก๊สน้ำตา โดยนำภาพถ่ายหลักฐานมาแสดงด้วยว่า ก็กำลังสรุปกันอยู่ว่ามันเป็นอะไร ถ้าดูจากรูปถ่ายมันไม่ใช่แก๊สน้ำตา แต่เป็นถังน้ำยาดับเพลิง   'จตุพร' อัดพธม.ไร้เหตุผล ส.ว.กทม.แนะเปลี่ยนนายกฯ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคพลังประชาชน กล่าวว่า ข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยขัดแย้งกันเองและไม่มีเหตุผลเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง และยังยืนยันว่าจำเป็นจะต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะได้นำประเด็นดังกล่าว ไปหาเสียงจนได้รับการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาล ดังนั้น จึงไม่ใช่เหตุผลที่กลุ่มพันธิมตรฯ จะนำมาเป็นประเด็นขับไล่รัฐบาล  ด้านนางสาวรสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว. ) กรุงเทพฯ กล่าวว่า นโยบายทางการ เมืองที่เข้าไปดำเนินการกับกลุ่มพันธมิตรฯ มีปัญหาและขาดธรรมาภิบาล อย่างไรก็ตาม ตำหนิการตั้งข้อกล่าวหากบฏต่อแกนนำกลุ่มพันธิมตรฯ ว่า เป็นการเพิ่มความรุนแรง   "สมเกียรติ" อัดรัฐบาลไม่แสดงสปิริตลาออก กรณีแถลงการณ์ร่วม "พระวิหาร" นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ และหนึ่งในแกนนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า เขาเชื่อว่า วิกฤตของบ้านเมืองน่าจะจบลงในวันที่ 28 ก.ค. ที่ผ่านมา หลังจากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติชี้ขาดว่า แถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา กรณีปราสาทพระวิหาร เป็นการขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 190 แต่รัฐบาลกลับไม่แสดงสปิริตทางการเมืองด้วยการลาออก เนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติรับรองแถลงการณ์ร่วมดังกล่าว ในวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมตินั้น แกนนำพันธมิตรฯ ได้เตรียมสลายการชุมนุมแล้วด้วยซ้ำ เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 216 เขียนไว้ว่า คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันต่อรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี   "สุนัย" ปูดเงิน 250 ล้าน หนุน พันธมิตรฯ เว็บไซต์แนวหน้า - นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส. พรรคพลังประชาชนอ้างถึงจดหมายที่ส่งไปยังห้องผู้สื่อข่าวทำเนียบฯ ที่ระบุว่า มีบริษัทหนึ่งโอนเงินให้พันธมิตรฯหลายรอบจำนวนกว่า 250 ล้านบาทก่อนที่จะเกิดการปฏิวัติคือบริษัท ทีพีไอโพลีน และยังพบว่ามีการโอนเงินผ่านบริษัทหนึ่งหลายครั้งจากการตรวจสอบทราบว่าเป็นบริษัทที่มีชื่อของน.ส.สุพัชรี ธรรมเพชร ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ เป็นกรรมการด้วยนอกจากนี้ยังระบุว่าพรรคประชาธิปัตย์อยู่เบื้องหลังการรัฐประหาร เนื่องจากรับเอาลูกของคมช.มาเป็นส.ส.ในพรรค ทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ลุกขึ้นตอบโต้ว่า ตนเป็นหัวหน้าพรรคคนเดียวที่ประกาศว่าไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร ส่วนการรับลูกของคมช.มาสมัครส.ส.นั้นพิจารณาจากความสามารถ ตรงกันข้ามคนที่ประณามพรรคประชาธิปัตย์กลับรับเอาคมช.เข้าไปอยู่ในพรรคถึง 2 คน
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/1247
2004-11-17 11:14
ไม่อ้วนเอาสีไหน
กระแสการซ่อมสร้างสุขภาพเป็นเรื่องที่มีความตื่นตัวกันโดยทั่วโลก ไม่เฉพาะเมืองไทยที่มีการรณรงค์ให้คนไทยหันมาใส่ใจและสร้างเสริมสุขภาพ ลานแอโรบิคที่ผุดเป็นดอกเห็ดเป็นอีกรูปธรรมหนึ่งที่น่าสนใจ สำหรับที่ประเทศอังกฤษเร็วๆนี้ หนังสือพิมพ์ The Observer ฉบับวันที่ 14 พฤศจิกายน ได้เปิดเผยข้อมูลจากรายงานด้านสาธารณสุข โดยกล่าวถึงมาตรการที่รัฐบาลจะนำมาใช้เพื่อป้องกันและปัญหาสุขภาพของประเทศ หนึ่งในนั้นคือ "ความอ้วน" "ความอ้วน" ได้กลายเป็นวิกฤติสุขภาพที่ต้องได้รับการใส่ใจ โดยเฉพาะเด็กทั้งหลายที่มีสาเหตุการอ้วนมาจากขนมขบเคี้ยวที่อาศัยการ์ตูนตัวโปรด เพลงที่ถูกใจ ออกอากาศโฆษณาในช่วงรายการสำหรับเด็ก การรณรงค์ด้วยความห่วงใยในสุขภาพเด็กครั้งนี้เกิดจากกลุ่มพ่อแม่ที่มีลูกอายุต่ำกว่า 5 ขวบที่เกิดความไม่พอใจต่อการโฆษณาในลักษณะดังกล่าวจึงได้เคลื่อนไหวผลักดันอย่างต่อเนื่อง ติดแถบสีบอกคุณค่า มาตรการหนึ่งที่จะมีการนำมาใช้คือการติดฉลากเตือนผู้บริโภค โดยใช้สัญลักษณ์สีเช่นเดียวกับสัญญาณไฟจราจร ฉลากสีแดง สำหรับอาหารจำพวกน้ำตาล เกลือ ไขมัน เพื่อเตือนให้ผู้บริโภครับประทานอาหารเหล่านี้ในปริมาณเล็กน้อย สำหรับของกินที่จัดว่าเป็นอาหารที่แท้จริง เช่น ผัก จะได้รับการติด ฉลากสีเขียว ที่บรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบริโภค ส่วนอาหารอย่างเนยแข็งซึ่งมีปริมาณไขมันสูงแต่ก็มีคุณค่าทางอาหารมากด้วยนั้นให้มีการติด ฉลากสีเหลือง สำหรับกลุ่มที่จับตามองผลกระทบจากสื่อโทรทัศน์ยังหวังว่าฉลากสีดังกล่าวนี้จะสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดว่าผลิตภัณฑ์อาหารใดบ้างที่อนุญาตให้โฆษณาในช่วงรายการสำหรับเด็กได้ อย่างไรก็ตามแผนการติดฉลากสีดังกล่าวนี้ ยังมีความเป็นไปได้ว่าอาจกลายเป็นเพียงมาตรการโดยสมัครใจ มากกว่าจะเป็นมาตรการบังคับ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบคงต้องเจรจาอย่างหนักกับซุปเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ๆ อย่าง Tesco, Sainsbury" s และสหกรณ์ร้านค้า ให้มีการติดฉลากสีให้กับผลิตภัณฑ์อาหารในร้านค้าเหล่านี้ นอกจากที่จะสนใจเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารหรือขนมที่กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กเท่านั้น นายเอ็ด มาโย ผู้อำนวยการสภาผู้บริโภคแห่งชาติซึ่งเป็นประธานคณะทำงานจัดทำเอกสารปกขาวเรื่องเกี่ยวกับผู้บริโภค ยังได้เปิดเผยว่าสำนักงานอาหารมาตรฐานจะดำเนินการนำร่องในกลุ่มของอาหารปรุงสำเร็จ ที่เรามักจะคิดว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ แท้จริงแล้วมีเกลือและน้ำตาลเจือปนอยู่ไม่น้อย สุขภาวะ ต้องมาจากมาตรการ "ห้าม" และ "ให้" ในขณะที่มาตรการเรื่องความปลอดภัยในอาหารของอังกฤษจะดูก้าวหน้ากว่าไทยเรามาก แต่มาตรการเรื่อง "เขตปลอดบุหรี่" ดูจะยังไม่คืบหน้า เพราะข้อเสนอเรื่องมาตรการให้ร้านอาหารและผับเป็นเขตปลอดบุหรี่ ยังไม่ได้การสนับสนุนและเห็นชอบจากนายโทนี่ แบลร์ นายกรัฐมนตรีเท่าใดนัก จึงเป็นไปได้ว่ามาตรการนี้จะยังไม่เป็นกฎหมายไปจนกระทั่งหลังการเลือกตั้ง นอกจากมาตรการห้าม หรือจำกัดพื้นที่ในเรื่องของการสูบบุหรี่แล้วนั้น ยังได้มีการดำเนินการเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การออกกำลังกาย สิ่งที่น่าสนใจในมาตรการส่งเสริมสุขภาพคือการนำมาตรการทางภาษีมาสนับสนุน เช่น จะได้รับการคืนภาษีเมื่อซื้อจักรยานมาใช้ขี่ไปทำงาน และสำหรับครอบครัวที่มีรายได้น้อยสามารถได้รับสิทธิ์ที่จะเข้าไปใช้บริการสระว่ายน้ำและศูนย์กีฬาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมทั้งเพื่อแก้ปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้นมีการตั้งเป้าหมายให้ผู้ป่วยที่ตรวจพบว่าติดเชื้อหนองในสามารถนัดพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรคได้ภายใน 48 ชั่วโมง ในขณะที่กระแสการรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพมักจะออกมาตอกย้ำให้พฤติกรรมสุขภาพเป็นเรื่องง่ายๆในมือเรา เสมือนว่าเราในฐานะนายแดงนางดำตาสียายสาจะมีความสามารถเต็มในการดูแลสุขภาพของเราเอง หากในความเป็นจริงเรากลับพบว่ามีปัจจัยแวดล้อมในสังคมอีกมากที่มีผลต่อสุขภาพของเรา และปัจจัยแวดล้อมเหล่านี้คงเป็นเรื่องที่เหลือกำลังปัจเจกชนคนหนึ่งคนใดจะจัดการได้ เพราะต้องอาศัยมาตรการทางสังคมและกฎหมายที่จะคุ้มครองและสนับสนุนให้การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องที่กระทำได้จริง ประชาไทรายงาน
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/62459
2015-11-16 02:24
กองทัพตะอาง TNLA ประณามกองทัพพม่าถล่มรัฐฉานหวังสร้างสถานการณ์สงครามกลางเมือง
กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง TNLA ประณามกองทัพพม่าถล่ม เกซี-เมืองหนอง สถานที่หลบภัยของผู้อพยพ และฐานที่มั่นของกองทัพรัฐฉานเหนือ โดย TNLA ชี้ว่าหลังจากพรรครัฐบาลพม่าแพ้เลือกตั้ง กองทัพพม่าก็เริ่มปฏิบัติการทางทหารอย่างเป็นระบบ มุ่งโจมตีกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ เร่งสร้างสถานการณ์สงครามกลางเมือง 16 พ.ย. 2558 นับตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมาที่กองทัพพม่าเปิดฉากโจมตีครั้งใหญ่ในพื้นที่ของกองทัพรัฐฉานเหนือ (SSPP/SSA) เขตเมืองสู้และเมืองหนอง โดยใช้กระสุนปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ทำให้ราษฎรในพื้นที่หลายพันคนต้องอพยพนั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) [1] ล่าสุด คณะกรรมการกลางบริหาร แนวร่วมปลดปล่อยแห่งรัฐปะหล่อง (Palaung State Liberation Front - PSLF) กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง (Ta'ang National Liberation Army - TNLA) ออกแถลงการณ์เลขที่ 9/2015 ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2558 หัวข้อ "แนวร่วมปลดปล่อยแห่งรัฐปะหล่องขอประณามอย่างแข็งขันต่อปฏิบัติการทางทหารแบบลัทธิก่อการร้ายของกองทัพพม่า ที่กระทำก่อกองทัพรัฐฉานเหนือ SSPP/SSA" โดยเนื้อหาในแถลงการณ์ระบุว่า "แนวร่วมปลดปล่อยแห่งรัฐปะหล่อง/กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง (PSLF/TNLA) ประณามรัฐบาลพม่า/กองทัพพม่า ในการปฏิบัติการทางทหารแบบลัทธิก่อการร้าย ด้วยการโจมตีทางอากาศและยิงปืนใหญ่อย่างต่อเนื่องใส่ฐานบ้านไฮ ของกองทัพรัฐฉานเหนือ SSPP/SSA รวมทั้งพื้นที่อำเภอเกซี และเมืองหนอง, ศาสนาสถาน และสถานที่ซึ่งผู้ลี้ภัยหลบซ่อนอยู่" แถลงการณ์ระบุด้วยว่า "เนื่องจากเหตุด้านความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แนวร่วมปลดปล่อยแห่งรัฐปะหล่อง/กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง (PSLF/TNLA) ในช่วงของการเลือกตั้งที่ผ่านมา จึงได้ลดปฏิบัติการทางทหารลงในพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ปะหล่อง หรือตะอาง อย่างไรก็ตามกองทัพพม่ายังคงเปิดฉากโตมตี และมีการปะทะกันระหว่าง 2 ฝ่าย และทวีความดุเดือดมากขึ้น โดยที่ภายหลังจากที่กองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ 8 กลุ่ม ลงนามหยุดยิงทั่วประเทศ (NCA) แล้ว กองทัพพม่าก็ได้เริ่มปฏิบัติการโจมตีทางทหารต่อกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้ลงนามหยุดยิงทั่วประเทศ" แถลงการณ์ของแนวร่วมปลดปล่อยแห่งรัฐปะหล่อง/กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง (PSLF/TNLA) ระบุด้วยว่า "หลังจากความล้มเหลวของปีกทางการเมืองของพม่าในการเลือกตั้งที่ผ่านมา" ซึ่งหมายถึงพรรครัฐบาล USDP แพ้เลือกตั้ง กองทัพพม่าได้ "โจมตีค่ายทางทหารของกลุ่มชาติพันธุ์อย่างเป็นระบบ รวมไปถึงประชาชนในชุมชนท้องถิ่น เพื่อเร่งสร้างสงครามกลางเมือง" แถลงการณ์ยังระบุว่า "รัฐบาลปัจจุบันของเต็ง เส่ง และกองทัพพม่าที่นำโดย พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ได้นำพม่าประเทศพม่าไปสู่สภาพสงครามกลางเมือง เพื่อที่จะสร้างภาวะการนำของผู้นำในกองทัพพม่า "ด้วยเหตุนี้ พวกเราแนวร่วมปลดปล่อยแห่งรัฐปะหล่อง/กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง (PSLF/TNLA) จึงออกแถลงการณ์เพื่อประณามอย่างแข็งขันต่อปฏิบัติการทางทหารด้วยลัทธิก่อการร้ายของกองทัพพม่า ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงเป้าหมายทางการเมืองที่ต้องการโหมกระพือสงครามกลางเมืองให้มอดไหม้อย่างยาวนาน" ทั้งนี้กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง (Ta’ang National Liberation Army - TNLA) เป็นกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ของชาวปะหล่อง หรือที่เรียกตนเองว่าตะอาง หรือดาระอั้ง โดยเป็นหนึ่งใน 3 กองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ที่พม่าไม่รับรองสถานะให้ร่วมเจรจาด้วย โดยอีก 2 กลุ่มที่เหลือได้แก่ กองทัพอาระกัน (Arakan Army - AA) และกองทัพสัมพันธมิตรชาติประชาธิปไตยเมียนมาร์ (Myanmar National Democratic Alliance Army (MNDAA) โดยกองทัพพม่ากล่าวหาว่าทั้งกองทัพอาระกัน AA ซึ่งมีฐานฝึกอยู่ในรัฐคะฉิ่น และกองทัพตะอาง TNLA ช่วยเหลือกองทัพคะฉิ่น ขณะที่กลุ่มโกก้าง หลังถูกปราบในปี 2552 ต่อมาในต้นปี 2558 ได้เปิดปฏิบัติการทางทหารขนานใหญ่เพื่อชิงพื้นที่คืนจากรัฐบาลพม่าทางตอนเหนือของรัฐฉานติดกับชายแดนจีน ส่วนพรรคก้าวหน้ารัฐฉาน/กองทัพรัฐฉานเหนือ (SSPP/SSA) เป็นกลุ่มที่เพิ่งลงนามหยุดยิงล่าสุดกับรัฐบาลพม่าในปี 2555 แต่ยังไม่ได้ลงนามในสัญญาหยุดยิงทั่วประเทศที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ลงนามไปเมื่อ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา 8 กลุ่ม โดยกองทัพพม่าได้เริ่มปฏิบัติการทางทหารในพื้นที่ของกองทัพรัฐฉานเหนือ (SSPP/SSA) มาตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคมนี้ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) [2]
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/16355
2008-04-09 18:17
วรเจตน์ หนุนแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ชี้หากยึดแค่เอา หรือ ไม่เอาทักษิณ ก็ได้แค่กฎหมายพิกลพิการ
รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ หัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอแก้ รธน.50 ทั้งฉบับ และทำให้กระบวนการแก้ รธน. ประชาชนมีส่วนร่วม ชี้หากแก้ รธน. ด้วยสมมติฐาน "เอา" หรือ "ไม่เอา" ทักษิณ ก็ได้แค่กฎหมายที่มีกลไกพิกลพิการ สังคมไม่ไปไหน รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ หัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ นายจอม เพชรประดับ ในรายการ "ถามจริง ตอบตรง" ทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที เกี่ยวประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อ 7 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยอาจารย์วรเจตน์เสนอแก้ไข รัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งฉบับ และทำให้กระบวนการแก้รัฐธรรมนูญ ประชาชนได้มีส่วนร่วม ชี้หากแก้รัฐธรรมนูญด้วยสมมติฐาน "เอา" หรือ "ไม่เอา" ทักษิณ ก็ได้แค่กฎหมายที่มีกลไกพิกลพิการ สังคมไม่ไปไหน   ทั้งนี้ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เป็น 1 ใน 5 อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ประกาศสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยที่ผ่านมาได้แสดงความคิดเห็นคัดค้านบทบาทของตุลาการภิวัฒน์ ในช่วงวิกฤตการเมืองปี 2549 ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญที่ให้การเลือกตั้งวันที่ 2 เม.ย.2549 เป็นโมฆะ ไม่เห็นด้วยกับการลงโทษ กกต.ชุด พล.ต.อ. วาสนา เพิ่มลาภ และถือเป็นหัวหอกสำคัญของกลุ่มที่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ในช่วงการลงประชามติ จากการให้สัมภาษณ์ล่าสุดของ รศ.ดร.วรเจตน์ เว็บไซต์"ผู้จัดการ"รายงานบทสัมภาษณ์โดยพาดหัวว่า "ธาตุแท้ "วรเจตน์" ป้อง "ระบอบแม้ว" สุดตัว ขวางพันธมิตรฯ ยื่นถอดถอน ส.ส." [1]   000   ๑ ถ้าแก้ทั้งฉบับ ต้องแก้ที่กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน ซึ่งกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญถูกระบุไว้ใน ม.291 ซึ่งระบุว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญทำอย่างไรบ้าง และเป็นเรื่องของสมาชิกรัฐสภา แต่ความมุ่งหมายนั้นคงเป็นเพียงการแก้บางมาตรา แต่ถ้าจะแก้ทั้งฉบับเราต้องย้อนกลับไปเหมือนกับที่เรามีประสบการณ์ก่อนปี 2540 นั่นคือต้องมีการตั้งองค์กรขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ แล้วก็เอาทุกภาคส่วนเข้ามายกร่างรัฐธรรมนูญ นำไปสู่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่   ๒ รัฐธรรมนูญนี้มีปัญหาในเชิงโครงสร้าง ซึ่งการแก้ไขเฉพาะบางมาตราจะไม่ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และปัญหาบางอย่างอาจจะไปปะทุขึ้นเมื่อมีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปเรื่อยๆ อีกประเด็นคือหากการแก้เฉพาะบางมาตรา อาจจะมองได้ว่าเป็นการแก้เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคใดพรรคหนึ่ง การแก้ทั้งฉบับจะเป็นการนำประเทศออกจากวิกฤติรัฐธรรมนูญ   ๓ ม.237 คงเป็นมาตราหนึ่งที่ควรแก้ไขแน่นอน เพราะหลักการมันไม่ถูกต้อง หมายความว่าหากตีความตัวบทของมาตรานี้ตามถ้อยคำก็คือ สมมติผมเป็นกรรมการบริหารพรรคอยู่พรรคหนึ่ง คุณจอมก็เป็นด้วยอยู่ในพรรคเดียวกัน แล้วผมไปมีปัญหาเรื่องการเลือกตั้ง อาจไปกระทำการโดยไม่ชอบ ไม่ถูกต้องมา แล้วก็ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ผลก็คือว่าถ้าตีความตามถ้อยคำใน ม.237 มันจะนำไปสู่การยุบพรรคการเมือง เมื่อยุบพรรคแล้วคุณจอมก็จะถูกตัดสิทธิเลือกตั้งด้วย ทั้งที่คุณจอมไม่ได้ทำอะไรผิด   ๔ ม.309 ถ้าอ่านดูแล้วมีความหมายรับรองการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเกิดขึ้นก่อนหรือเกิดขึ้นหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้ถือว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญและชอบด้วยกฎหมาย กฎหมายแบบนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการรับรองการกระทำซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ซึ่งอาจไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่บอกให้มันชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งไม่มีที่ไหนในโลกที่เขียนกฎหมายแบบนี้ มีแต่รัฐธรรมนูญของเราที่เขียนแบบนี้ ซึ่งมันผิดหลัก   ๕ ไม่มีข้อกฎหมายที่บอกว่าถ้าลูกจ้างไปกระทำความผิด ลูกจ้างติดคุก นายจ้างต้องติดคุกด้วย หรือไปตัดสิทธิการประกอบอาชีพของนายจ้าง มันไม่มีข้อกฎหมายแบบนี้   ๖ ตอนที่มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ผมบอกกับผู้ร่างบางท่านว่า ถ้าจะเขียนเรื่อง คตส. ก็รับรององค์กรไป รับรองให้ คตส. มีอยู่ อย่าไปรับรองการกระทำ เพราะเราไม่รู้ว่า การกระทำนั้นจะชอบหรือไม่ชอบ เราไม่ควรเขียนเช็คเปล่าให้ใคร ว่าสิ่งที่เขาไปถูกต้อง หรือชอบด้วยรัฐธรรมนูญเสมอ ไม่ควรเป็นแบบนี้   ๗ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ชนชั้นนำในสังคมไทยทุกส่วน ได้สูญเสียความน่าเชื่อถือไปอย่างมาก ทุ่มทุกสิ่งทุกอย่างไปจัดการกับคุณทักษิณ เราละเลยคุณค่า ละเลยหลักการที่ควรจะเป็น วันนี้สังคมไทยมีปัญหามาก ถึงที่สุดใครพูดอะไรก็ไม่มีใครฟังใคร ผมคิดว่ายังไม่สายถ้าเราจะย้อนกลับมาดู ทำอย่างที่มันควรจะเป็น อย่าไปปักธง อย่ามีอคติกันไว้ก่อน ใช้กฎหมายให้มันเสมอกันกับทุกฝ่าย   ๘ อย่าปักธงว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้แก้ไขไม่ได้ โดยที่มีการอ้างเรื่องของการออกเสียงประชามตินั้น ผมเป็นคนหนึ่งซึ่งเห็นว่าการอ้างดังกล่าวมันอ้างไม่ได้ เพราะการทำประชามติที่ทำในคราวที่แล้ว ไม่ใช่การทำประชามติในรงะดับมาตรฐานสากล เราคงรู้ว่าหลายคนรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปเพียงเพื่อให้ประเทศพ้นสภาพที่พ้นสภาวะรัฐประหาร ให้ประเทศกลับสู่หนทางประชาธิปไตยไปก่อน   ๙ เราอาจต้องย้อนเวลากลับไป อย่างยุคก่อน 2540 เรามีประสบการณ์ที่จะผ่านตัวรัฐธรรมนูญจาก 2534 มาเป็น 2540 อย่างไร อีกทีหนึ่งคือย้อนกลับไปก่อนที่จะมีการทำรัฐประหาร 19 ก.ย. ที่มีการพูดเรื่องปฏิรูปรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ เราน่าจะย้อนกลับไปตรงจุดเวลานั้น และทำเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องสาธารณะ ทำองค์กรที่มีความชอบธรม ให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทำให้สังคมไทยมีเป้าหมายเดินกันไป ไม่ใช่เป็นรัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นเพื่อแก้ปัญหาบางอย่างเท่านั้นเอง แล้วมันก็แก้ไม่ได้   000   วานนี้ (7 เม.ย.) รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ หัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ในรายการ "ถามจริง ตอบตรง" ทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ดำเนินรายการโดย นายจอม เพรชประดับ เกี่ยวประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ     หนุนแก้ รธน. ทั้งฉบับเพราะเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง นายวรเจตน์กล่าวว่า เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ การดีเบตร่างรัฐธรรมนูญก่อนการลงประชามติในวันที่ 19 ส.ค. ฝ่ายคัดค้านมองว่ามีปัญหาเชิงโครงสร้างและหลักการหลายเรื่อง ใช้ไปนานจะมีปัญหาต่อบ้านเมืองในระยะยาว   ประเด็นในขณะนี้มี ประการที่หนึ่ง จะแก้หรือไม่แก้รัฐธรรมนูญ ประการที่สอง หากจะมีการแก้จะแก้บางมาตราหรือแก้ทั้งฉบับ แต่ขณะนี้ก็มีเสียงคัดค้านว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เพิ่งประกาศใช้มา เพราะฉะนั้นอย่าแก้ ให้ใช้บังคับไปก่อน เพราะฉะนั้นการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญคงจะมีต่อไป แต่ผมคิดว่าเสียงเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญคงจะดังกว่า ปัญหาคงอยู่ที่จะแก้บางมาตราหรือแก้ทั้งฉบับ   ซึ่งผมเห็นว่าควรจะแก้ทั้งฉบับ เพราะรัฐธรรมนูญนี้มีปัญหาในเชิงโครงสร้าง ซึ่งการแก้ไขเฉพาะบางมาตราจะไม่ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และปัญหาบางอย่างอาจจะไปปะทุขึ้นเมื่อมีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปเรื่อยๆ อีกประเด็นคือหากการแก้เฉพาะบางมาตรา อาจจะมองได้ว่าเป็นการแก้เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคใดพรรคหนึ่ง การแก้ทั้งฉบับจะเป็นการนำประเทศออกจากวิกฤติรัฐธรรมนูญ   สำหรับระยะเวลาในการแก้ไขนั้นเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันได้ แต่จะเห็นได้ว่าตั้งแต่เริ่มใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ความจริงตั้งแต่การเลือกตั้งเลย เราเห็นความแปลกประหลาดและความผิดปกติของระบบเลือกตั้ง ประชาชนหลายคนคงข้องใจว่าทำไมเวลามีการเลือกตั้ง จังหวัดของเขาไปรวมกับจังหวัดอื่น การเลือกตั้ง ส.ว. ทำไมจังหวัดใหญ่ จังหวัดเล็กถึงมี ส.ว. ได้คนเดียวเหมือนกัน นี่คงเป็นปัญหาที่มีมาอยู่แล้ว ตามมาด้วยปัญหาการยุบพรรค ซึ่งมีการกระทบประเทศเราด้วย หากรอช้าต่อไป ยิ่งช้าไปเท่าไหร่ ความเสียหายก็จะยิ่งเกิดขึ้น   เวลาที่เราพูดถึงปัญหาของรัฐธรรมนูญ แน่นอนมันไม่ได้เกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นรูปธรรมโดยตรงเพราะเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ แต่จะมีปัญหาในระยะยาว คือปัญหาพวกนี้เราจะมองไม่เห็น เราจะเห็นก็ต่อเมื่อมันเป็นกลายเป็นปัญหาความมั่นคงทางการเมือง และจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ กระทบต่อปากท้องไปในที่สุด เมื่อถึงตรงนี้นายจอมถามว่าจึงต้องแก้ตอนนี้ นายวรเจตน์กล่าวว่า "ถูกต้องครับ"     หากแก้ทั้งฉบับ ต้องแก้ "กระบวนการ" แก้ นายวรเจตน์กล่าวต่อว่า การแก้รัฐธรรมนูญถ้าแก้ทั้งฉบับ ต้องแก้ที่กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน ซึ่งกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญถูกระบุไว้ใน ม.291 ซึ่งระบุว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญทำอย่างไรบ้าง และเป็นเรื่องของสมาชิกรัฐสภา แต่ความมุ่งหมายนั้นคงเป็นเพียงการแก้บางมาตรา แต่ถ้าจะแก้ทั้งฉบับเราต้องย้อนกลับไปเหมือนกับที่เรามีประสบการณ์ก่อนปี 2540 นั่นคือต้องมีการตั้งองค์กรขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ แล้วก็เอาทุกภาคส่วนเข้ามายกร่างรัฐธรรมนูญ นำไปสู่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่   นายจอมถามว่า คิดอย่างไรที่นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน เสนอว่าให้เอาญัตติในสภาเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญมาเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายวรเจตน์ตอบว่า ผมไม่แน่ใจว่าพรรคประชาธิปัตย์ต้องการแก้บางส่วนหรือทั้งฉบับ แต่เห็นว่าถ้าแก้รัฐธรรมนูญบางส่วนในพรรคประชาธิปัตย์คงไม่เห็นด้วย แต่ถ้าแก้ทั้งฉบับน่าจะเห็นด้วย ผมจำได้ว่าตอนที่ดีเบตเรื่องนี้กันที่เชียงใหม่ สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์บางท่านก็บอกว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็มีปัญหาอยู่ แต่อยากให้มันผ่านประชามติไปก่อนแล้วค่อยไปแก้   ความเข้าใจของผมคือถ้ามีการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ มีการจัดตั้งองค์กรที่ยกร่างกันขึ้นมาใหม่ แล้วก็มีส่วนร่วมจากหลายฝ่าย น่าจะไม่มีใครคัดค้าน โดยนายวรเจตน์คาดว่าหากแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับอย่างต่ำคงใช้เวลา 6 เดือน ถึง 1 ปี   นายจอมถามว่าหากใช้เวลาแก้รัฐธรรมนูญนานจะมีปัญหาเสถียรภาพของรัฐบาลหรือไม่ นายวรเจตน์ตอบว่า "เสถียรภาพของรัฐบาลเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญส่วนหนึ่ง แต่อย่างที่บอกถ้ารัฐธรรมนูญมีปัญหาแล้วใช้วิธีแก้แบบ "ปะชุน" บางมาตรามันก็ไม่แก้ปัญหาอะไร เพราะฉะนั้นถ้าทุกคนมาร่วมกันทำขึ้นมาใหม่ แล้วก็ให้มีกระบวนการที่มีความชอบธรรมกว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 คิดว่าในที่สุดน่าจะดีกว่า"     แก้ ม.237 ทำตามหลักการ เพื่อให้คนผิดรับผิดไม่เกี่ยวกับคนไม่ทำผิด ต่อคำถามว่า หากรัฐบาลคิดจะแก้เพียง ม.237 มาตราเดียว อาจถูกมองได้ว่าแก้เพื่อให้พรรคการเมืองของตัวเองพ้นผิดหรือไม่ ดร.วรเจตน์กล่าวว่า หากแก้เพียงมาตรานี้มาตราเดียวก็คงมองได้ว่าพรรคร่วมรัฐบาลมีปัญหากับบทบัญญัติใน ม.237 เป็นการแก้เพื่อให้ตัวเองพ้นผิดไป แล้วตอนนี้หลายส่วนในสังคมก็พูดแบบนี้ นักวิชาการจำนวนหนึ่งก็อธิบายแบบนี้ แต่ผมอยากให้เราดูปัญหาในระดับหลักการมากกว่าดูว่าบทบัญญัติมาตรานี้เขียนไว้ว่าอย่างไร   ผมเห็นว่า ม.237 คงเป็นมาตราหนึ่งที่ควรแก้ไขแน่นอน เพราะหลักการมันไม่ถูกต้อง หมายความว่าหากตีความตัวบทของมาตรานี้ตามถ้อยคำก็คือ สมมติผมเป็นกรรมการบริหารพรรคอยู่พรรคหนึ่ง คุณจอมก็เป็นด้วยอยู่ในพรรคเดียวกัน แล้วผมไปมีปัญหาเรื่องการเลือกตั้ง อาจไปกระทำการโดยไม่ชอบ ไม่ถูกต้องมา แล้วก็ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ผลก็คือว่าถ้าตีความตามถ้อยคำใน ม.237 มันจะนำไปสู่การยุบพรรคการเมือง เมื่อยุบพรรคแล้วคุณจอมก็จะถูกตัดสิทธิเลือกตั้งด้วย ทั้งที่คุณจอมไม่ได้ทำอะไรผิด   นายจอม ถามต่อว่า แต่คนที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรานี้ ได้เทียบเคียงกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ระดับการบริหารองค์กร ถ้าผู้ใต้บังคับบัญชาทำผิด ย่อมมาจากการสั่งการหรือนโยบายของผู้บริหาร หมายความว่าผู้บริหารต้องรับผิดชอบ   นายวรเจตน์ตอบว่า ผมยังไม่พบกฎหมายหรือข้อกฎหมายแบบนี้เลย ที่อ้างกันอยู่นี้มีสองเรื่องคือ กรณีที่ลูกจ้างไปกระทำละเมิดบุคคลภายนอก แล้วให้นายจ้างรับผิดแทนลูกจ้างไปก่อน กฎหมายนี้มีเพื่อคุ้มครองคนที่ได้รับความเสียหายจากลูกจ้าง คือลูกจ้างไปขับรถชนคนอื่นในทางการที่จ้าง ผู้ได้รับความเสียหายเขาอาจมาฟ้องนายจ้างได้ พอนายจ้างได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายแล้ว ก็อาจไปไล่เบี้ยกับลูกจ้างได้   แต่ไม่มีข้อกฎหมายที่บอกว่าถ้าลูกจ้างไปกระทำความผิด ลูกจ้างติดคุก นายจ้างต้องติดคุกด้วย หรือไปตัดสิทธิการประกอบอาชีพของนายจ้าง มันไม่มีข้อกฎหมายแบบนี้ แม้แต่เรื่องกฎหมายฮั้วหรือเรื่องอื่น กฎหมายก็ยอมให้คนซึ่งเกี่ยวพันพิสูจน์ว่าไม่มีส่วนผิด แต่ตามรัฐธรรมนูญโดยถ้อยคำ ถ้าคุณจอมไปทำการบริหารพรรคการเมือง คุณจอมไม่มีสิทธิพิสูจน์ จริงๆ ที่มีปัญหาอยู่ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง คือกรณีพรรคชาติไทย ก็ชัดเจนว่าในทางข้อเท็จจริงกรรรมการบริหารพรรคคนอื่นไม่ได้รับรู้ด้วย นี่จึงเป็นความอึดอัดใจในข้อกฎหมายที่ว่ายุบพรรคแล้วตัดสิทธิ์คนอื่นที่เขาไม่ได้ผิด   นายจอมถามว่า ทำไมกรรมการบริหารพรรคจึงไม่สามารถพิสูจน์ตัวเองได้ว่าไม่เกี่ยวข้องกับลูกพรรค นายวรเจตน์ตอบว่า กฎหมายตามถ้อยคำเขียนว่า ให้ถือว่าเป็นการกระทำของพรรค เมื่อยุบพรรคแล้วให้ตัดสิทธิการเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคเลย ถ้าตีความตามถ้อยคำ   ซึ่งผมได้ออกแถลงการณ์ไปว่าการตีความรัฐธรรมนูญมาตรานี้ ตีความไปตามถ้อยคำไม่ได้ ถ้อยคำเขียนลักษณะนี้จริง ถ้าจะเขียนให้มีผลในทางกฎหมายแบบนี้ ต้องไปยกเลิกหลักการหลายหลักการในรัฐธรรมนูญ เช่น ต้องเลิกหลักนิติรัฐหรือนิติธรรม เลิกหลักประกันสิทธิเสรีภาพ เลิกหลักประชาธิปไตย เราจะประกาศไม่ได้ว่าเป็นรัฐชนิดนี้นะฮะ เราต้องประกาศว่าเราเป็นรัฐเผด็จการและอื่นๆ ก่อน ถึงจะใช้กฎหมายมาตรานี้ได้ตามถ้อยคำ เพราะฉะนั้นผมจึงมีความเห็นว่า เรื่องนี้หาทางออกได้โดยการตีความเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม แต่ตอนนี้มันกลายเป็นปัญหาทางการเมืองไปแล้ว แล้วไม่มีใครคิดหาทางออกทางกฎหมายแบบนี้   เพราะฉะนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มันก็ถูกต้องตามหลักการที่มันควรจะเป็น และผมไม่เห็นว่าจะทำให้เกิดคนที่มีส่วนได้เสีย จนแก้ไม่ได้แต่อย่างใดอย่างที่มีการกล่าวอ้าง เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้ทำให้คนผิดได้พ้นผิดไป กรรมการบริหารพรรคที่กระทำผิดก็ยังต้องรับผิดต่อไป แต่คนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องด้วยเขาไม่ควรรับผิด ผมยังไม่เห็นว่าการแก้ไขตรงนี้มันบกพร่องตรงไหน เหมือนที่พูดกันว่าแก้ให้พ้นผิด เพราะเขาไม่ได้ผิดอยู่แล้ว กฎหมายไม่ได้ไปแก้ว่าคนซึ่งไปซื้อเสียงแล้วถูกตัดสินว่าผิดห้ามไม่ให้เขารับผิด เขาก็ต้องรับผิดอยู่ แต่คนอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยไม่ควรต้องรับผิด   ต่อข้อถามของนายจอม ที่ว่ามีนักกฎหมายออกมาระบุว่าถ้าแก้หรือยกเลิกรัฐธรรมนูญ ม. 237 เท่ากับทำลายระบบกฎหมายของชาติ นายวรเจตน์ตอบว่า ถ้าการรัฐธรรมนูญแล้วมีผลแบบนั้นจริง ผมคงเป็นคนแรกๆ คงออกมาคัดค้านเคลื่อนไหว ถ้าคุณจอมติดตามดูอยู่ จะเห็นผมวิจารณ์รัฐธรรมนูญฉบับนี้มาตั้งแต่มาตรา 309 ซึ่งหนักหนาสาหัสกว่ามาตรานี้มาก อย่างที่บอกการแก้มาตรานี้ไม่ได้แก้เพื่อล้างความผิดของคนกระทำผิด ตัวสมาชิกพรรคการเมืองหรือผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งยังคงต้องรับผิดอยู่ ไม่ได้แก้ว่าถ้าเขาทำผิดแล้วไม่ต้องรับผิด แต่เขาทำให้ถ้อยคำที่มีความคลุมเครือไม่ชัดเจนที่จะไปเอาผิดกรรมการบริหารพรรคคนอื่นที่ไม่ได้ทำผิดก็ไม่ต้องรับผิด ซึ่งสอดคล้องกับ "หลักทั่วไป"   ปัญหาที่พูดกันอยู่ตอนนี้คือ แล้วคนเหล่านี้มีส่วนได้เสียไหม ถ้าตีความเรื่อง "ส่วนได้เสีย" แบบที่เข้าใจกันอยู่ การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะทำไม่ได้เลย มีบางคนบอกว่าให้แก้ไขเสียก่อนที่การกระทำจะเกิดขึ้น ก็ยังไม่ทันมีสภาเลยก็มีการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแล้ว มันจะแก้ไขได้อย่างไร ถ้าตีความกันแบบนี้ ผมเรียนว่าแม้แต่ ส.ส.จะแก้กฎหมายเรื่องพรรคการเมือง เรื่องนักการเมืองก็ทำไม่ได้ แม้แต่จะแก้กฎหมายภาษีก็ไม่ได้ เพราะตัวเองเป็นผู้เสียภาษา ดังนั้นผมจึงมองไม่ออกว่ามันจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์เรื่องส่วนได้เสียอย่างไร     ม.309 ไม่มีที่ไหนในโลกเขียนแบบนี้ ส่วนกรณี ม.309 ที่มีการมองว่า หากแก้กฎหมายข้อนี้ จะเป็นการนิรโทษกรรม ให้กับกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยหรือไม่นั้น ดร.วรเจตน์ กล่าวว่า ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ม.309 เขียนไว้ว่าอย่างไร ตอนที่มีการดีเบตรัฐธรรมนูญกัน ฝ่ายร่างรัฐธรรมนูญก็พูดชัดในวันที่ดีเบตว่า ม.309 รับรองการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายให้มันชอบ ผมยังถามว่าถ้าการกระทำนั้นชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้วจะไปเขียนรับรองทำไม ไม่มีความจำเป็นต้องเขียน ไม่มีใครพูดถึงเรื่อง 111 คน ไม่มีใครพูดถึงเรื่อง คตส.   ที่นี้ปัญหาคือ ม.309 ในทางถ้อยคำไม่ได้มีความหมายเท่านี้ ม.309 ถ้าอ่านดูแล้วมีความหมายรับรองการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเกิดขึ้นก่อนหรือเกิดขึ้นหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้ถือว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญและชอบด้วยกฎหมาย กฎหมายแบบนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการรับรองการกระทำซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ซึ่งอาจไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่บอกให้มันชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งไม่มีที่ไหนในโลกที่เขียนกฎหมายแบบนี้ มีแต่รัฐธรรมนูญของเราที่เขียนแบบนี้ ซึ่งมันผิดหลัก   ประเด็นก็คือ ตอนนี้มีคนกลัวว่าหากมีการแก้ไข จะไปกระทบ 111 คน และ คตส. ผมเรียนว่าไม่กระทบ เพราะว่า 111 คน ถูกเพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญซึ่งยังมีผลในทางกฎหมายอยู่ จะทำลายผลตรงนี้ได้ต้องมีการตรากฎหมายขึ้นเพื่อทำลายผลของกฎหมาย อย่างที่เรียกกันว่าการนิรโทษกรรม     เลิก ม.309 ไม่กระทบ คตส. แต่เพื่อให้ คตส. ถูกตรวจสอบตามระบบ ส่วน คตส. เกิดขึ้นจากประกาศของ คปค. ความจริงผมไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งองค์กรเฉพาะกิจแบบนี้ขึ้นมา แต่เขาเกิดขึ้นจากตัวประกาศของ คปค. หมายความว่า แม้เลิก ม.309 นี้ ตัวองค์กรนี้ก็จะอยู่ต่อไป เพราะได้รับการแก้ไขโดยพระราชบัญญัติตอนที่มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สิ่งที่ดีก็คือ ม.309 เดิมรับรองการกระทำทุกสิ่งทุกอย่างเอาไว้ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเกิดพรุ่งนี้หรือเมื่อวาน ให้มันชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย เมื่อเลิกมาตรานี้ไป กระบวนการต่างๆ ของ คตส. ที่ทำกันไป ถ้าชอบด้วยกฎหมายมันก็ใช้ได้ไม่มีปัญหา ก็ถูกต้อง มันไม่ได้ไปลบล้างหรือล้มเลิก   แต่ถ้าไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าเราในฐานะคนที่มโนสำนึกธรรมดาเหมือนกัน สิ่งที่ไม่ชอบก็ควรไม่ชอบ ถ้า คตส. ดำเนินกระบวนการสอบสวนโดยไม่ถูกต้อง โดยไม่ชอบ ผลการสอบสวนก็ต้องไม่ชอบ มันไม่ควรถูกรับรองเอาไว้ล่วงหน้าว่ามันชอบ   นายจอมถามต่อว่า ถ้ายกเลิกมาตรานี้ หลายคนกลัวว่า สิ่งที่ คมช. หรือประกาศ คปค. ก็เริ่มต้นกันใหม่หมด นายวรเจตน์ตอบว่า ต้องไปดูว่าประกาศต่างๆ เหล่านั้น เมื่อมาตรวจวัดกับ "มาตร" ในทางรัฐธรรมนูญแล้ว มันมีประกาศไหนที่ใช้ได้หรือใช้ไม่ได้ ต้องไปดูทีละเรื่อง กรณี คตส. เขาตั้งขึ้นมา ตัวประกาศ คปค.  คตส. ยังอยู่ แต่การกระทำของ คตส. ต่างหากจะถูกตรวจสอบว่าที่ คตส. ทำไปนั้น ชอบหรือไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซี่งเป็นหลักปกติ เมื่อเรามีรัฐธรรมนูญซึ่งผ่านการออกเสียงประชามติมาแล้ว กระบวนการต่างๆ ที่ทำกันไปโดยองค์กรต่างๆ ควรที่จะสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ   ผมเรียนว่าถ้า คมช. ทำอะไรโดยที่ไม่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ต้องเกรงว่าจะมีปัญหา แต่กระทำการโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ควรต้องมีปัญหาใช่ไหมครับ   ถ้ามีการแก้รัฐธรรมนูญกันจริง กว่าที่รัฐธรรมนูญจะแก้ไข คตส. ก็หมดวาระไปแล้ว เขาอยู่ในวาระอีกแค่ 2 เดือน คตส.เป็นองค์กรเฉพาะกิจ แรกเริ่มเดิมที่จะตั้งขึ้นมา 1 ปี ก็จะได้ระยะเวลาพอดีกับที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ซึ่งความจริงควรจะเลิกไปตั้งแต่ครบปีหนึ่งแล้ว แล้วส่งเรื่องให้ ปปช. ดำเนินการต่อไป เพราะ ปปช. เป็นองค์กรในระบบ แต่ สนช. ไปต่ออายุ คตส. จนอยู่มาทุกวันนี้ เลยทำให้ คตส. เป็นองค์กรที่มีปัญหากับระบบรัฐธรรมนูญที่มันเริ่มเดิน   ต่อข้อถามที่ว่า การแก้รัฐธรรมนูญ ม.309 จะเกิดปัญหากับเอกภาพของรัฐบาลไหม นายวรเจตน์ตอบว่าเป็นไปได้ เพราะมันเป็นปัญหาที่เถียงในทางกฎหมาย บางกรณีก็ยากแก่การทำความเข้าใจของคนทั่วไป ต้องฟังผู้ที่มีเสียงดังในทางสังคมเป็นสำคัญ ว่าคนเหล่านั้นอธิบายอย่างไร ซึ่งเสียงส่วนใหญ่จะอธิบายในลักษณะตรงกันข้ามกับผม   ตอนที่มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ผมบอกกับผู้ร่างบางท่านว่า ถ้าจะเขียนเรื่อง คตส. ก็รับรององค์กรไป รับรองให้ คตส. มีอยู่ อย่าไปรับรองการกระทำ เพราะเราไม่รู้ว่า การกระทำนั้นจะชอบหรือไม่ชอบ เราไม่ควรเขียนเช็คเปล่าให้ใคร ว่าสิ่งที่เขาไปถูกต้อง หรือชอบด้วยรัฐธรรมนูญเสมอ ไม่ควรเป็นแบบนี้   เพราะฉะนั้นวันนี้ถ้ากังวล และเพื่อให้ระบบกฎหมายเดินไป ผมคิดว่าก็แก้ไป ยกเลิก ม.309 ไป ถ้ากังวลเรื่อง คตส. ก็เขียนรับรอง คตส. ให้เขาอยู่จนครบวาระ แต่การกระทำของเขาต้องถูกตรวจสอบโดยเกณฑ์ทางกฎหมายว่าชอบหรือไมชอบ ถ้าไม่อย่างนั้นก็ประกาศตัวไม่ได้ว่าเราเป็นนิติรัฐ     ขืนตีความ "ส.ส.แก้ไข รธน. คือประโยชน์ทับซ้อน" จะไม่มีใครแก้กฎหมายอะไรได้ ต่อข้อถามที่ว่า กรณีที่มีกลุ่มไม่เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญบอกว่าจะใช้วิธีรวบรวมรายชื่อ เพื่อถอดถอน ส.ส.ที่ยื่นญัตติแก้ไข รธน. โดยบอกว่า การแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ (แก้ ม.237 เพื่อให้พ้นจากการยุบพรรค) เป็นการกระทำที่เข้าข่ายการขัดกันซึ่งผลประโยชน์นั้น ดร.วรเจตน์ กล่าวว่าไม่น่าจะทำได้ เพราะ ม.122 พูดเรื่องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ไม่อยู่ในอาณัติมอบหมาย หรือครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวมโดยปราศจากการขัดกันซึ่งผลประโยชน์ มาตรานีเขียนรับรองสถานะของ ส.ส. และ ส.ว. เอาไว้ให้เขาทำหน้าที่อย่างอิสระ   ประเด็นคือ การที่ตีความเรื่องนี้ ต้องดูว่าการที่เขากระทำการนั้นเป็นเหตุถอดถอนหรือไม่ ถ้าเขาใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งไปในทางมิชอบถอดถอนได้ แต่การแก้รัฐธรรมนูญ มันคงเอาเรื่องนี้มากล่าวอ้างไม่ได้ อย่างที่ผมบอก ถ้าตีความแบบนี้ ใครๆ ก็แก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้ ส.ส.ฝ่ายค้าน หรือ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลเองก็ไม่สามารถแก้ไขได้ เพราจะถูกมองว่ากระทำการแก้ไขเพื่อตัวทั้งสิ้น กฎหมายพรรคการเมือง หรือ การออกฎหมายบางฉบับ ก็จะกระทำมิได้เลย ความมุ่งหมายคงไม่ใช่อย่างนั้น ถ้ามีการเข้าชื่อกันจริง ถามว่าใครจะเป็นคนถอดถอน เพราะจะกลายเป็นว่าทุกคนกลายเป็นคนที่มีส่วนได้เสียกันหมดทั้งสภา     พรรคการเมืองเป็นที่ร่วมของคนคิดอ่านเหมือนกัน ตั้งมาแล้วไม่ควรให้ยุบง่ายๆ เรื่องการยุบพรรคนั้น พรรคการเมืองเมื่อตั้งขึ้นมาแล้ว หลักทั่วไปในโลกเขาไม่ให้ยุบกันง่ายๆ เพราะพรรคเป็นที่รวมของคนที่มีความคิดความอ่านทางการเมืองคล้ายๆ กัน โดยเฉพาะบ้านเราที่สถาบันทางการเมืองมันค่อยๆ พัฒนาไป ลองนึกดูถ้ายุบพรรคทำได้ง่ายๆ แม้แต่พรรคประชาธิปัตย์เองโดยบัญญัติในมาตรานี้ก็อาจถูกยุบพรรคเหมือนกันทั้งที่มีอายุมากว่า 60 ปี มันคงไม่ถูกต้อง ใครทำผิดต้องเอาผิดคนนั้น แล้วการตีความเรื่องนี้ต้องตีความให้สอดคล้องกับหลักการที่มันควรจะเป็น สังคมจะได้มีทางออก ขอให้พูดกันในหลักการ อย่าพูดในผลประโยชน์เฉพาะหน้าใครกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง   นายจอมถามว่าประชาชนจะมีส่วนร่วมในการแก้รัฐธรรมนูญอย่างไรให้เป็นธรรม ให้เป็นรัฐธรรมนูญที่มีส่วนร่วมโดยประชาชน นายวรเจตน์ตอบว่าโดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ผู้ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดกระบวนการแก้ไขแล้วว่าให้ญัตติมาจากใคร พิจารณากันอย่างไร ปัญหาอยู่ที่ถ้าเดินตามกลุ่มของผู้ที่ต้องการแก้ไขบางมาตรา โอกาสที่ประชาชนมีส่วนร่วมอาจจะน้อย เขาอาจไปฟังความเห็นความเห็นของประชาชน แต่อาจจะน้อย ถ้าเกิดว่าดำเนินกระบวนการในการยกร่างรัฐธรรมนูญกันทั้งฉบับ ประชาชนก็จะมีส่วนร่วมในหลายลักษณะ   ในความเห็นผม คนที่จะมาร่างรัฐธรรมนูญ ต้องมีที่มาตามความชอบธรรมตามหลักประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งเข้ามาส่วนหนึ่ง บวกกับผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ ประกอบกันขึ้นเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะทำให้ที่มาของการร่างรัฐธรรมนูญมีความชอบทำ ไม่ใช่การให้ผู้มีอำนาจตั้งบุคคลกลุ่มหนึ่งขึ้นมายกร่าง   ผมคิดว่าหากทุกคนต่างถอยกันคนละก้าวแล้ว และยอมรับว่ารัฐธรรมนูญมันมีปัญหาจริงๆ ในทางหลักการ ปัญหาคือ บางฝ่ายคิดว่าเรื่องนี้ไม่เป็นปัญหา แต่ผมเองเห็นว่าเป็นปัญหา และปัญหาที่เห็นมันไม่ใช่ปัญหาที่มองย้อนในอดีต แต่มันเป็นปัญหาระดับหลักการ เราจะไม่ทะเลาะกัน ถ้าหากเราพูดเรื่องหลักการที่ควรจะเป็นว่ามันจะเป็นอย่างไร รัฐธรรมนูญควรเขียนหลักการก่อน รัฐธรรมนูญควรมองไปข้างหน้าว่าอะไรคือสิ่งที่สังคมไทยใฝ่ฝันจะไปให้ถึงอาจไม่ต้องยาวมาก ที่เหลือก็ทำเป็นกฎหมายในระดับรองลงมา เวลามีปัญหาทางการเมืองจะไม่กระทบกับรัฐธรรมนูญ     ชี้การเมืองแบ่งสองขั้ว แต่สังคมไทยต้องพ้นไปจากเรื่อง "เอา" หรือ "ไม่เอา" ทักษิณ นายวรเจตน์กล่าวต่อไปว่า สภาพทางการเมืองตอนนี้มันแบ่งเป็นสองขั้ว ขั้วหนึ่งมีอำนาจทางการเมือง ขั้วหนึ่งมีอำนาจในทางกฎหมาย แล้วสองขั้วนี้ปะทะกัน แล้วตอนนี้ฝ่ายที่มีอำนาจทางการเมืองต้องการแก้รัฐธรรมนูญ ส่วนขั้วที่มีอำนาจทางกฎหมายไม่ต้องการแก้ เพราะต่างฝ่ายต่างมีผลประโยชน์ที่เกี่ยวพันกันในระบบการเมือง ซึ่งประชาชนต้องรู้เท่าทัน และยกระดับปัญหานี้ไปสู่ปัญหาในระดับเชิงหลักการ ถ้าจะเถียงกันเชิงหลักการว่าไปได้แค่ไหน ไม่ใช่ไปจนสุดอย่างเรื่องยุบพรรคการเมือง ที่ยุบไปแล้วก็เกิดพรรคการเมืองใหม่ขึ้นมาซึ่งสืบสาวมาจากพรรคการเมืองเดิมซึ่งประชาชนก็ยังเลือกอยู่ ถามว่าที่สุดประเทศชาติได้อะไรจากการเล่นเกมการเมืองและกฎหมายในลักษณะเช่นนี้   นายจอมถามต่อว่า กลุ่มเคลื่อนไหวนอกสภาหลายกลุ่มในขณะนี้จะเผชิญหน้ากันหรือไม่ในอนาคต นายวรเจตน์ตอบว่า ประเมินยาก ขึ้นอยู่กับว่าลักษณะและวิธีการในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ คือตอนนี้บ้านเมืองเรายังไปไม่พ้นจากปัญหา "เอา" หรือ "ไม่เอา" คุณทักษิณ ยังเป็นแบบนี้ เพียงแต่มันแปรรูปไปเป็นเรื่องของรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่การออกเสียงลงประชามติ มีคนกลุ่มหนึ่งที่เริ่มมองไปไหนปัญหาเรื่องหลักการ ไม่ได้มองว่า "เอา" หรือ "ไม่เอา" คุณทักษิณ แต่ตอนนี้ปัญหานี้ยังดำรงอยู่และต่อสู้กันต่อไป   ถ้าคนที่เป็นชนชั้นนำในสังคมยังมองไปไม่พ้นจากปัญหานี้ ก็เป็นไปได้ว่าจะปะทะกัน   พรรคการเมืองซึ่งร่วมรัฐบาลพรรคใหญ่สุดคือพรรคพลังประชาชน ได้หาเสียงเอาไว้ว่าเมื่อเป็นรัฐบาลสิ่งหนึ่งแก้ไขคือแก้รัฐธรรมนูญ แต่น่าเสียดายไม่มีการพูดกัน ในที่วันแรกๆ ที่มีการจัดตั้งรัฐบาล ถ้าทำตั้งแต่ตอนนั้น และกำหนดกระบวนการแก้ไขให้ชัดเจน แรงกดดันที่มีต่อรัฐบาลจะน้อย แต่ตอนนี้ในเชิงระยะเวลามาเกิดเอาในช่วงที่มีปัญหายุบพรรคหรือไม่ยุบพรรค ซึ่งยังไม่ได้ยุบพรรคกลไกยังอีกหลายขั้นตอน แต่ข้อกฎหมายมันพอมองไปได้   ตอนนี้เลยเป็นปัญหา ทุกคนเลยหวาดระแวงกันหมด ไม่คิดว่าจะดำเนินการไปเพื่อหลักการที่มันควรจะเป็น ในที่สุด ทุกฝ่าย รัฐบาลเองคงทำเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นระบบ ขั้นตอนที่จะเสนอเป็นอย่างไร ให้พ้นไปจากปัญหาเรื่องแก้เพื่อตัวเอง อีกเรื่องต้องฟังคำอธิบาย และพ้นไปจากเรื่อง "เอา" หรือ "ไม่เอา" คุณทักษิณ คุณทักษิณไม่ได้อยู่กับเราตลอดกาล บ้านเมืองต้องเดินไปข้างหน้าอีก เรามาทะเลาะกันด้วยเรื่องแค่นี้ เอามาเป็นปัญหาหลักทางสังคม ก็ได้กฎหมายที่มีกลไกพิกลพิการและทำให้สังคมไม่ไปไหน     เรื่องเรียกร้องให้ยึดอำนาจ สะท้อนวุฒิภาวะทางสังคมว่าไม่ยอมโต นายจอมถามว่า คิดว่ากองทัพกังวลแค่ไหนกับเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ นายวรเจตน์กล่าวว่า กองทัพคงกังวล และได้รับบทเรียนจากการยึดอำนาจว่า การยึดอำนาจใน พ.ศ. นี้ไม่แก้ปัญหาทางการเมือง การใช้กำลังยึดอำนาจและฉีกรัฐธรรมนูญ ไม่แก้ปัญหาอะไรเลยในช่วงปีที่ผ่านมา   ต่อข้อถามที่ว่า ยังคงมีการเรียกร้องให้มีการยึดอำนาจกรุ่นๆ อยู่นั้น นายวรเจตน์กล่าวว่า นี่เป็นปัญหาเรื่องวุฒิภาวะทางสังคม เรายังเด็กอยู่มาก ไม่ยอมโต หลายคนคิดว่ามีปัญหาต้องแก้ด้วยการยึดอำนาจ ซึ่งมันไม่แก้ปัญหา และปัญหาที่มันอยู่มันก็ยิ่งอยู่   พัฒนาการในทางประชาธิปไตย มันไปไกลพอสมควร จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีกลไกหลายอย่างที่เป็นปัญหาทางประชาธิปไตยแฝงเร้นในรัฐธรรมนูญ แต่ในที่สุดผู้ร่างรัฐธรรมนูญก็ต้องหนีไม่พ้นกระแสให้ยอมรับหลักนิติรัฐและนิติธรรมในประชาธิปไตย ก็ต้องเขียนเอาไว้ในรัฐธรรมนูญอยู่ดี เลยเป็นปัญหาเวลาตีความทางกฎหมาย ว่าคุณจะให้คุณค่ากับหลักการพวกนี้อย่างไร   ผมเองเห็นยังว่าเพื่อให้ระบบเดินไป เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าและการสูญเสีย ปัญหาระดับหลักการเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ก็ควรว่ากันไปตามระบบ ไปตามหลักที่ควรจะเป็น เอาเหตุเอาผลมาพูดกัน อย่าตั้งธง มันก็จะไปได้     ชี้ชนชั้นนำไทยเสียรังวัดไปมาก หลังทุ่มกำลังกำจัดทักษิณ นายจอมถามว่า สังไทยขาดที่พึ่ง ขาดคนชี้แนะ ขาดอะไรที่พอออกมาแสดงความคิดเห็นทุกคนยอมรับและไปร่วมกัน เราขาดกลุ่มคนกลุ่มนี้ไหมครับ   นายวรเจตน์ตอบว่า ก็อาจเป็นไปได้ ผมเห็นว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ชนชั้นนำในสังคมไทยทุกส่วน ได้สูญเสียความน่าเชื่อถือไปอย่างมาก ทุ่มทุกสิ่งทุกอย่างไปจัดการกับคุณทักษิณ เราละเลยคุณค่า ละเลยหลักการที่ควรจะเป็น วันนี้สังคมไทยมีปัญหามาก ถึงที่สุดใครพูดอะไรก็ไม่มีใครฟังใคร ผมคิดว่ายังไม่สายถ้าเราจะย้อนกลับมาดู ทำอย่างที่มันควรจะเป็น อย่าไปปักธง อย่ามีอคติกันไว้ก่อน ใช้กฎหมายให้มันเสมอกันกับทุกฝ่าย ในวันพรุ่งนี้ (8 เม.ย.) กตต. จะประชุมกันเรื่องการยุบพรรค ผมเห็นว่าประเด็นในข้อกฎหมายที่ผมและเพื่อนๆ 4 คน เสนอว่าจะการตีความ ม.237 ต้องคำนึงหลักประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐนั้น ถ้า กกต. ตีความในหลักการนี้น่าจะแก้ปัญหาในระดับหนึ่ง     วอนฝ่ายค้านแก้ รธน. อย่าอ้างผลประชามติ เพราะไม่ได้มาตรฐานสากล นายวรเจตน์ยังเสนอแนะว่า รัฐบาลก็คงต้องฟังทุกๆ ฝ่าย และพยายามหาคนซึ่งน่าจะเป็นกลางหรือคนพอฟังอยู่บ้างมาพูดคุยกัน เพื่อออกไปจากสภาพความขัดแย้งแบบนี้ แต่อย่างที่บอกว่าอย่าปักธงว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้แก้ไขไม่ได้ โดยที่มีการอ้างเรื่องของการออกเสียงประชามตินั้น ผมเป็นคนหนึ่งซึ่งเห็นว่าการอ้างดังกล่าวมันอ้างไม่ได้                                                                                                              เพราะการทำประชามติที่ทำในคราวที่แล้ว ไม่ใช่การทำประชามติในรงะดับมาตรฐานสากล เราคงรู้ว่าหลายคนรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปเพียงเพื่อให้ประเทศพ้นสภาพที่พ้นสภาวะรัฐประหาร ให้ประเทศกลับสู่หนทางประชาธิปไตยไปก่อน ถึงตอนนี้เมื่อกลับมาสู่ระบบแบบนี้มันคงต้องเดินต่อไป ถ้าใครคิดว่าเป็นนักประชาธิปไตย เคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยต้องมองประเด็นนี้เป็นหลัก ถ้ามองประเด็นนี้เป็นหลักแล้วจะคุยกันได้ ถ้ามองประเด็นอื่นเป็นหลักจะคุยกันไม่ได้ทั้งสองข้าง     ชวนสังคมจินตนาการเปลี่ยนผ่าน รธน. จากเวอร์ชั่น 2534 มาเป็น 2540 ในช่วงสุดท้าย นายจอมถามว่า ทุกฝ่ายจะทำอย่างไรให้ประเทศพ้นไปจากหนทางตันจากการแก้รัฐธรรมนูญ นายวรเจตน์ตอบว่า เราอาจต้องย้อนเวลากลับไป อย่างยุคก่อน 2540 เรามีประสบการณ์ที่จะผ่านตัวรัฐธรรมนูญจาก 2534 มาเป็น 2540 อย่างไร อีกทีหนึ่งคือย้อนกลับไปก่อนที่จะมีการทำรัฐประหาร 19 ก.ย. ที่มีการพูดเรื่องปฏิรูปรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ เราน่าจะย้อนกลับไปตรงจุดเวลานั้น และทำเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องสาธารณะ ทำองค์กรที่มีความชอบธรม ให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทำให้สังคมไทยมีเป้าหมายเดินกันไป ไม่ใช่เป็นรัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นเพื่อแก้ปัญหาบางอย่างเท่านั้นเอง แล้วมันก็แก้ไม่ได้   ที่เหลือเป็นเรื่องในระดับกฎหมาย แม้ผมเองส่วนตัวจะเห็นว่า เรื่องนี้ ในภาวะการณ์ที่สู้กันทางการเมืองแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นง่าย แต่ว่าเราต้องใช้ความพยายาม อย่าได้กลายเป็นว่า เมื่อผ่านอีกหลายปีข้างหน้าแล้วมองย้อนกลับมาในอดีตต่างสำนึกเสียใจกันหมด ว่าเราไม่ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการเอาบ้านเมืองออกจากปัญหา แล้วมานั่งเสียใจกันภายหลัง   อ่านย้อนหลัง สัมภาษณ์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ : ว่าด้วย มาตรา 1 "อำนาจเป็นของปวงชนชาวไทย", ประชาไท 24/1/2551 สัมภาษณ์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ (2) : แล่เนื้อเถือหนัง "ตุลาการภิวัตน์" แบบไทยๆ [2], ประชาไท, 27/1/2551 อีกสักครั้งกับ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เรื่องตุลาการภิวัตน์ [3], ประชาไท 8/4/2551
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/30611
2010-08-07 13:40
ใบตองแห้งออนไลน์: เรียลลิตี้คลั่งชาติ...ทราบแล้วเปลี่ยน
ศอฉ.ออกประกาศซะขึงขัง ห้ามเข้าพื้นที่รอบทำเนียบ ทำเอาคนกรุงขี้ตื่นตกใจกันยกใหญ่ นึกว่า “โจรแดง” บุก ที่ไหนได้ พันธมิตรฯ ในคราบเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ เจรจากับมาร์คเรียบร้อยแล้ว จะย้ายไป “กระชับพื้นที่” กันที่อาคารกีฬาเวสน์ สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง อ้าว! ต้มคนดูนี่หว่า ไหนลุงจำลองนัดมวลชนซะมั่นเหมาะว่าหน้าประตู 4 กลับจะไปดูคอนเสิร์ตซะยังงั้น เหลือแต่กลุ่ม วีระ สมความคิด ไปตั้งกล่อง-เอ๊ย ตั้งกองอยูหน้าทำเนียบ แต่เชื่อเฮอะ ไม่มีอะไรในกอไผ่ นอกจาก ปชป.กับพรรคการเมืองใหม่แก่งแย่งแข่งขันกันว่าใครจะ “ขวาได้ใจ” กว่าใคร (ขณะที่พวกวีระ-ไชยวัฒน์ ชิงขวา 90 องศา) ผมมองดูการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ ในคราบเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติแบบขำๆ ตั้งแต่ไปประท้วงหน้ายูเนสโก รถติดยาวครึ่งค่อนวัน โดยไม่ต้องหวั่น พรก.ฉุกเฉิน ตั้งข้อสังเกตไว้กับตัวเองแล้วว่า พธม.ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องปราสาทพระวิหารครั้งนี้ ชูประเด็นต่างจากครั้งก่อน ข้อแรกคือ พันธมิตรฯ อ้างว่าจะเสียดินแดนถึง 1.8 ล้านไร่ สาวกบางคนยังงง ไม่รู้เอามาจากไหน ที่แท้เป็นจินตนาการข้ามช็อตว่าถ้าเขมรได้พื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร ก็จะไม่ยอมรับการแบ่งเขตแดนตามสันปันน้ำ แต่จะอ้างสิทธิตามแผนที่ฝรั่งเศสกินไปลงถึงหลุมก๊าซในทะเล พันธมิตรฯ ไม่ได้ชูประเด็นนี้ในการเคลื่อนไหวครั้งแรกนะครับ แต่ครั้งนี้คงกลัวจะชูชาตินิยมเพียวๆ ไม่ไหว เลยยกเอาผลประโยชน์มาล่อคนไทยให้ตาโต (เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กรรมการสภาปฏิรูปประเทศไทย เขียนกลอนพรรณนาว่าไม่ใช่เรื่องคลั่งชาตินะ เป็นเรื่องขุมทรัพย์ใต้ทะเลนะ) จากนั้น พันธมิตรฯ จึงเรียกร้องให้ยกเลิก MOU ปี 43 ที่ทำไว้สมัยรัฐบาลชวน แถมลุงจำลองยังเรียกร้องให้ส่งทหารเข้าไป “กระชับพื้นที่” ชาวบ้านเขมรในพื้นที่ทับซ้อน ชักเอะใจว่าเป้าหมายคราวนี้ไม่ใช่แค่ทักษิณ หรือ “ไอ้เหล่” นพดล ซะแล้ว อย่างไรก็ดี ยกแรก พันธมิตรฯ ถูกมาร์คตีกิน แสดงท่าทีแข็งกร้าวไม่ยอมให้เขมรยื่นแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร ขู่ถอนตัวจากมรดกโลก ซ้ำยังพาดพิงยูเนสโกว่า เป็นองค์กรทางวัฒนธรรมและสันติสุข ไม่ควรสร้างความแตกแยกระหว่าง 2 ประเทศ (โห หน้าไม่ร้อนสักนิด ใครกันแน่ที่สร้างความแตกแยก ยูเนสโกเขาคงไม่คาดคิดว่านักเรียนอังกฤษศิษย์เก่าอีตัน-ออกซ์ฟอร์ด จะพูดเอาดื้อๆว่า ต่อให้ศาลโลกพิพากษาให้ปราสาทพระวิหารเป็นของเขมร แต่ที่ดินข้างใต้ก็ยังเป็นของไทย) พูดได้ว่า มาร์คชิงบทพระเอก ฉวยเหยี่ยวจากมือลุงจำลองไปพับ โกยคะแนนชาตินิยมไปเต็มๆ โดยเฉพาะเมื่อสามารถคุยได้ว่า ส่งสุวิทย์ คุณกิตติ ไปเบรกจนยูเนสโกไม่ยอมรับแผนบริหารจัดการปราสาทของเขมร ต้องเลื่อนไปเสนอปีหน้า แล้วก็โหมประโคมกันใหญ่ว่าเป็น “ชัยชนะ” (ผมยังกังขาอยู่นะว่าที่กรรมการมรดกโลกไม่รับ เป็นเพราะเขมรยื่นช้าหรือเป็นเพราะไทยค้านกันแน่ เพราะมติกรรมการมรดกโลกไม่ได้บอกว่าต้องให้ไทยเห็นชอบ เพียงแต่เขาอาจจะมีมารยาทพอ ไม่อยากขยายความแตกแยกที่เกิดเพราะพวกคลั่งชาติ) แต่พันธมิตรฯ ไม่ยอมแพ้ ยังมีก๊อกสอง ขุดซากปรักหักพังจนได้ตัวอดุลย์ วิเชียรเจริญ, ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์, เทพมนตรี ลิมปพยอม,ศรีศักร วัลลิโภดม เรียงหน้ากันเรียกร้องให้ยกเลิก MOU ปี 43 พร้อมกับส่งทหารเข้าไปตัดหัวพระยาละแวก เอ๊ย เข้าไปขับไล่คนเขมรในพื้นที่ทับซ้อน แถมยังอ้างว่าสุวิทย์ไปลงชื่อรับทราบมติการจัดตั้งกรรมการไอซีซีทำให้ไทยเสียเปรียบ “ผมว่ามันบ้ากันไปใหญ่” อาจารย์อดุลย์กล่าวว่าได้แนะนำให้สุวิทย์ต่อต้านไม่ไปร่วม และให้ลาออกจากภาคีสมาชิก แต่สุวิทย์กลับไปรับมติ และรัฐบาลจะชิงเป็นเจ้าภาพมรดกโลกในสองปีข้างหน้า อาจารย์พูดอีกก็ถูกอีก “ผมว่ามันบ้ากันไปใหญ่” ตลอดหลายวันที่ผ่านมา จึงเป็นมหกรรมชิงความเป็นขวา แข่งว่าใครจะรักชาติมากกว่ากัน ให้ชาวเราเฝ้าดูอย่างสนุกสนาน ไม่รู้จะแข่งกันไปจนถึงวันเลือก สก.หรือเปล่า ถ้าถามว่าใครพูดแล้ว “ได้ใจ” มากที่สุด ขออภัยที่ต้องบอกพวกคลั่งชาติทั้งสองฝ่ายว่า ท่านคือเจ้าศรีสวัสดิ์ โธมิโก ที่ปรึกษาในองค์กษัตริย์กัมพูชา ซึ่งส่งจดหมายถึงอภิสิทธิ์ เรียกร้องให้มองปราสาทพระวิหารเป็น “สัญลักษณ์แห่งความปรองดอง” ได้ใจและเจ็บด้วย เพราะท่านย้อนให้เห็นว่า ทั้งไทยและกัมพูชาต่างก็ตกเป็นเหยื่อเจ้าอาณานิคม การขีดเส้นแบ่งดินแดนอย่างไม่เป็นธรรมทำให้คนเขมรเป็นเรือนล้านต้องถูกแยกมาอยู่กับไทย ถ้าจะฟื้นฝอยหาตะเข็บกันตั้งแต่อดีต กัมพูชาก็ได้รับความไม่เป็นธรรมกว่า ถ้าเอาความเป็นชาตินิยมสุดโต่งมาใช้ กัมพูชาก็คงจะเรียกร้องดินแดนคืนมากกว่านี้ แต่หลังจากได้รับเอกราช กัมพูชาก็ไม่เคยเรียกร้องเกินกว่าเขตแดนที่ถูกกำหนดไว้ (แลกกันมั้ย เอาเนวินคืนไป เอาเกาะกงคืนมา) ท่านเขียนอย่างนุ่มนวลว่า ทั้งสองชาติมีประวัติศาสตร์ยาวนานร่วมกัน ไฉนเลยจึงปล่อยให้พวกคลั่งชาติจำนวนน้อยปลุกปั่นประชาชนทั้ง 2 ประเทศ (ท่านอ้อมถึงพวกเขมรคลั่งชาติด้วย ไม่ได้ว่าฝ่ายเดียว) ทำไมจึงไม่มองปราสาทพระวิหารเป็นสัญลักษณ์แห่งความปรองดอง ความสมานฉันท์ และความร่วมมืออันเป็นประโยชน์ยิ่งต่อทั้งสองประเทศ จดหมายนี้ไม่ได้เป็นการอ่อนข้อ งอนง้อ แต่เป็นการ “เตือนสติ” พวกคลั่งชาติที่โหมประโคมว่าได้ “ชัยชนะ” ชัยชนะคืออะไร คือการเป็นก้างขวางคอเขมร โดยที่ตัวเองก็ไม่ได้ประโยชน์โภชน์ผล แต่ปลุกผีกันว่าจะเสียผลประโยชน์ มติคณะกรรมการมรดกโลกเมื่อ 2 ปีก่อน ชัดเจนนะครับว่าการขึ้นทะเบียนมรดกโลก เขาขึ้นเฉพาะพื้นที่ปราสาทพระวิหารตามคำพิพากษาศาลโลกเท่านั้น ไม่มีตรงไหนที่บอกว่าผนวกเอาพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรเข้าไปด้วย ตามข้อ 9 ซึ่งบอกว่า “ที่ประชุมบันทึกไว้ว่า ทรัพย์สินซึ่งนำเสนอเพื่อการขึ้นทะเบียน ถูกปรับลดและมีองค์ประกอบเพียงจำเพาะตัวปราสาทพระวิหารและมิได้รวมถึงส่วนเพิ่มเติมอื่นอันประกอบด้วยผาและถ้ำต่างๆ” ขณะที่ข้อ 8,10,11 เขาแสดงเจตนาชัดเจนว่าอยากให้มีการขึ้นทะเบียนร่วมกัน บริหารจัดการร่วมกัน โดยหวังจะให้ใช้เวลา 2 ปีนี้เจรจา “ปรองดอง” กัน เพื่อขึ้นทะเบียนเพิ่มเติมและนำเอาพื้นที่ทับซ้อนส่วนหนึ่งมาใช้เป็นพื้นที่บริหารจัดการ เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองชาติ แต่ทำไมถึงยอมไม่ได้ล่ะ ก็เพราะทัศนะของพวกคลั่งชาติ ถ้าเปรียบไปแล้วเหมือนบ้านโบราณหลังหนึ่ง อยู่บนที่ดินพิพาทที่ศาลพิพากษาให้นาย ข.ได้ตัวบ้านไป ส่วนนาย ก.เหลือแค่ตีนกระไดพญานาค กับบริเวณแวดล้อม กรมศิลปากรเขาจะมาขึ้นทะเบียนอนุรักษ์ส่งเสริมการท่องเที่ยว นาย ก.มีเหตุผลอะไรจะไปคัดค้านเขา นอกจากความรู้สึกที่ไม่ยอมแพ้ ไม่ยอมรับคำพิพากษา ยืนยันว่ายังเป็นของกู ถึงศาลให้มึงเอาตัวบ้านไป ที่ดินใต้บ้านก็ยังเป็นของกู ยิ่งไปกว่านั้น นาย ก.ยังรู้สึกว่ากูเป็นพี่เบิ้มมาตลอด ตระกูลกูใหญ่กว่านาย ข.มาตั้งแต่บรรพบุรุษ พ่อมันปู่มันทวดมัน ล้วนต้องศิโรราบ เอาที่มาจำนองกู้ยืม อยู่ๆ มันฟ้องศาลได้ที่ดินคืนไป แหม เจ็บใจ๊เจ็บใจ นาย ก.ก็เลยไม่ยอม ไม่ให้ทางเข้าออก ไม่ให้ที่จอดรถ ต่อรองว่าต้องขึ้นทะเบียนพร้อมกัน เท่าเทียมกัน .....ทั้งที่ตัวเองมีแค่ตีนกระไดเนี่ยนะ สรุปแล้ว “ชัยชนะ” คือ กูไม่ได้มึงก็ต้องไม่ได้ ยอมไม่ได้แม้จะเป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย (แต่อาจจะยอมถ้าหมอบราบคาบแก้วส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองมาขอร้อง) ผู้ที่ได้ประโยชน์ก็มีแต่พวกหวังผลทางการเมือง กับพวกจัดซื้ออาวุธ กริพเพน รถถังยูเครน เรือเหาะ (เอาไว้ยึดปราสาทพระวิหารแบบในหนัง) นี่อยู่ดีๆ ก็ประเคนเงิน 240 ล้านให้กองทัพภาคที่ 2 ทั้งที่ยังไม่รู้เลยว่าจะเอาไปใช้อะไร ให้ง่ายดายแต่ไม่มีใครว่า ก็ขอเชิญชวนพ่อแม่พี่น้องผู้รักชาติ เปิดทีวีดูเรียลลิตี้ประชันฝีปากระหว่าง พธม.กับรัฐบาล แล้วช่วยกันกดโหวตว่าใครจะ “ขวาได้ใจ” กว่ากัน ระหว่างมาร์ค V1 กับลุงจำลอง V2 วีระ สมความคิด V3 แต่ส่วนตัวผมอยากมอบ “ตุ๊กตาภูมิคุ้มกัน” ให้ พธม.ในฐานะม็อบมีเส้น (แต่ตอนนี้ไม่แน่ใจว่าเส้นพลิกหรือยัง) เปล่า ไม่ใช่หรอก แต่เพราะเถ้าแก่เปลว สีเงิน ของผมพูดถูกแล้ว ที่ว่าเสื้อแดงกับ พธม.มีจุดร่วมกันอยู่อย่างคือไม่ยอมให้ “บ้านเมืองเป็นปรกติสุข” เสื้อแดงไม่ยอมให้บ้านเมืองเป็นปรกติสุขอยู่แล้ว ตราบใดที่ไม่ได้รับความยุติธรรม และประชาธิปไตยสมบูรณ์ปลอดการแทรกแซงของอำนาจพิเศษ ขณะที่เสื้อเหลืองน่ะหรือ ถ้ายอมให้บ้านเมืองเป็นปรกติสุข ภายใต้ลัทธิมาร์ค-เนวิน การเมืองเก่าซะไม่มี (ปอง อัญชลี เพิ่งออกมาด่าว่าพรรคร่วมโกงยิ่งกว่ายุคทักษิณ) พวกเขาก็ต้องไปผูกคอตายในฐานะที่ปลุกมวลชนไว้ว่าจะนำไปสู่การเมืองใหม่ใสสะอาดปราศจากคอรัปชั่น พันธมิตรฯ จึงต้องเป็น I for Icarus ดิ้นรนหาจุดต่างเพื่อการดำรงบทบาท แม้จะต้องเผาผลาญตัวเองไปเรื่อยๆ ถูกขวัญใจจริตนิยมแย่งคนชั้นกลางไปทุกวัน แต่พันธมิตรฯ ก็หยุดไม่ได้ และจะกลายเป็นหอกข้างแคร่ที่กระหนาบรัฐอภิสิทธิ์ชนอยู่อีกข้างหนึ่งคู่ขนานกับเสื้อแดง รวมทั้งเป็นพลังปฏิภาคผลักกันและกัน โห ถ้าไม่มี พธม.ที่ไหนเลยเราจะได้เห็นความเป็น 2 มาตรฐานละครับ พธม.ม็อบได้ ถึงไม่ปิดถนนก็ล้นลงถนนจนรถติดยาวเหยียดครึ่งค่อนวัน ทั้งๆ ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ขณะที่เด็กอายุ 16 ถือป้าย “ผมเห็นคนตายที่ราชประสงค์” กลับถูกตำรวจจับส่งสถานพินิจ ฉะนั้นชาวเราก็ต้องเอาไม้แยงก้น พธม.เข้าไว้ ให้เข้ารกเข้าพงกันไปใหญ่ เนื่องจาก พธม.ไม่สามารถต่อสู้เรื่องหลักการประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ เพราะจะเข้าเนื้อ เนื่องจาก พธม.ไม่กล้าต่อสู้เรื่องทุจริตคอรัปชั่น เพราะกลัวจะเข้าทางทักษิณ (รถเมล์ 4 พันคันก็คล่องคอไปแล้ว รัฐสภาใหม่ก็จะวางศิลาฤกษ์ไม่กี่วันนี้) เลยต้องไปหาอะไรที่สุดขั้วสุดโต่งมาสู้ ซึ่งก็ยิ่งตกกระแสไปเรื่อยๆ แต่ต้องเลี้ยงไว้ให้มีบทบาทครับ สมมติเช่นเลือก สก.จะไปเลือกมันทำไม้ พรรคเพื่อไทย เลือกไปก็เท่านั้น แค่ สก.ทำไรได้ หรือถ้ายังอยากเลือกก็เลือกบางเขต แต่เขตไหนเห็นแล้วว่าเพื่อไทยสู้ไม่ได้ก็เทคะแนนให้พรรคการเมืองใหม่ดีกว่า สมมติเช่น อยู่เขตพระนคร สก.เดิมเป็น ปชป. เราก็หันมาเลือกรัชต์ยุตม์ อมรเทพรัตนานนท์ –เอ๊ะ ไม่ใช่นี่หว่า หรือว่า อมรเทพ ศิรโยธินภักดี – เอ๊า ก็ไม่ใช่อีก แก่แล้วชักสับสน เอาเหอะ เอาเป็นว่าเลือกการเมืองใหม่นั่นแหละ ทราบแล้วเปลี่ยน! (เพื่อนฝูงฝากบอกว่าเปลี่ยนชื่อจัดตั้งกี่ครั้งก็ไม่เป็นไร คราวหน้าอย่าผ่าตัดเปลี่ยนหน้าก็แล้วกัน)                                                                                                     ใบตองแห้ง                                                                                                    7 ส.ค.53      ป.ล.ขอแจมเรื่อง “นางเอก”ซักนี้ด ข่าวที่ทำให้ผมเซอร์ไพรส์มากในหลายวันที่ผ่านมาคือข่าวคุณหญิงเป็ด “นางเอก” ของพลังศีลธรรมใสสะอาด ถูกอัดก๊อปปี้ทั้งข้างหน้าและข้างหลังโดย 2 ศิษย์ก้นกุฎี เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ และพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ถามใครใครก็เง็ง ไม่รู้ว่าเค้าผิดใจกันเรื่องอะไร เป็นห่วงเป็นใยน่ะครับ ฮิฮิ เพราะผมเนี่ย ดูเหมือนจะเป็นสื่อรายแรกที่สัมภาษณ์คุณหญิงเป็ด เขียนลงแทบลอยด์ไทยโพสต์ อ่านแล้วใครๆ ก็ชื่นชม ฉะนั้นถือว่าผมมีส่วนปลุกปั้น “นางเอก” หลังจากนั้นเคยสัมภาษณ์กันอีกหลายครั้ง คุยกันทีไรท่านก็จะเอ่ยถึงแต่ “พิศิษฐ์ๆ” เสมือนลูกบุญธรรม เฮ้อ ก็ไม่คาดคิดว่า “นางเอก” จะเจอวิบากกรรมเร็วขนาดนี้ ข้อกล่าวหาทั้งหลายไม่อยากพูดถึง ใครอ่านข่าวก็ใช้วิจารณญาณได้เอง นี่แหละผลของประกาศ คปค.ที่ปลด คตง.โดยไม่ตั้งใหม่ ให้ผู้ว่า สตง.ใช้อำนาจแทน คตง.แต่ผู้เดียว มีอย่างที่ไหนครับ คนเดียวใช้อำนาจแทนคณะกรรมการทั้งชุด ไม่มีใครมากลั่นกรอง ทักท้วง หรือสมมติทำถูก คณะกรรมการก็เป็นเครื่องการันตี ว่าพิจารณากันหลายคนถี่ถ้วนแล้ว แต่นี่...วันเกิร์ลโชว์ ถูกผิดก็รับเละคนเดียว เรื่องคุณหญิงพ้นตำแหน่งหรือไม่ ผมมีความเห็นเหมือน อ.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย แต่ขออธิบายความเสริมสักนิดว่า การเกษียณอายุน่าจะถือเป็นเรื่องคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่ง ซึ่งเป็นหลักกฎหมายทั่วไป จะเอาประกาศ คปค.ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะ ให้ทำหน้าที่ต่อไปเมื่อครบวาระ มาใช้บังคับไม่ได้ อธิบายแบบบ้านๆ ก็คือ ผู้ดำรงตำแหน่งจะต้องมีคุณสมบัติทั่วไป เช่นที่มักกำหนดไว้ว่าพ้นตำแหน่งเมื่อ ตาย, ลาออก, ทุพพลภาพ, วิกลจริตจิตฟั่นเฟือน, เกษียณอายุ  นอกจากนี้กติกาสมัยใหม่ ยังมีการถูกถอดถอนอีก ฉะนั้นประกาศ คปค.จะเอามาใช้บังคับกับคุณสมบัติทั่วไปไม่ได้ สมมติเช่น ...กราบขออภัยไม่ได้แช่งนะครับ แค่ยกตัวอย่างเพื่อศึกษากฎหมาย ...สมมติคุณหญิงหางเปียชี้ เรายังจะเอาประกาศ คปค.มาบังคับว่า วิญญาณคุณหญิงต้องทำงานต่อไปก่อน อย่างนั้นหรือ หรือสมมติคุณหญิงเบื่อหน่ายเต็มที อยากกลับไปอยู่บ้านเลี้ยงหลาน ว่างๆ ก็พาครอบครัวซื้อตั๋วเครื่องบินไปเที่ยวเมืองนอก ถ้าเราเอาประกาศ คปค.มาบังคับ คุณหญิงก็ลาออกไม่ได้ หรือสมมติคุณหญิงท่านทำงานเพื่อชาติจนเครียดจัด วันดีคืนดีตั้งศาลเพียงตานุ่งขาวห่มขาวเรียกเจ้าหน้าที่ สตง.ไปเจิมหน้าผากรดน้ำมนต์ ใครไม่ไปสั่งย้าย ต้องฟ้องศาลปกครองเป็นร้อยๆ คดี อย่างนี้ยังจะเอาประกาศ คปค.มาบังคับอยู่หรือ (สมมตินะครับสมมติ) เอาละ สมมติอีก คปค.มองการณ์ไกลเห็นทะลุอนาคตว่า ไม่สามารถสรรหาผู้ว่าฯใหม่ได้ซักที คปค.ก็อาจจะเขียนไว้ว่า ให้คุณหญิงทำหน้าที่ต่อไปไม่ต้องเกษียณอายุ อย่างนี้ได้ครับ ไม่มีปัญหาเลย แต่ถ้าอย่างนั้น คปค.ก็อาจจะต้องเขียนด้วยว่า ให้คุณหญิงทำหน้าที่ต่อไป ห้ามตาย ห้ามลาออก ห้ามเกษียณอายุ ห้ามถอดถอน ห้ามดำเนินคดีที่เสี่ยงต่อการถูกตัดสินพิพากษา ฯลฯ เป็นหางว่าวเลย เจ็บปวดกว่านั้นคือ คุณหญิงพ้นตำแหน่งไปแล้วตามหลักกฎหมาย แต่คำสั่งที่คุณหญิงตั้ง “พิศิษฐ์ๆ” รักษาการนั้น เป็นคำสั่งถูกต้องตามกฎหมาย จะเอา 100 นิติตะวัน มาง้างก็ไม่สำเร็จ แถมพิศิษฐ์ยังจะใช้อำนาจ คตง.แทนคุณหญิงต่อไปด้วย โธ่ น่าเสียดาย ร่าง พ.ร.บ.ตรวจเงินแผ่นดินฉบับใหม่ตกไปซะแล้ว ในนั้นนอกจากจะเพิ่มอำนาจให้ คตง.มีอำนาจฟ้องเหมือนอัยการและ ปปช.แล้ว ยังมีบทเฉพาะกาลมาตรา 111 ยกเว้นบทบัญญัติที่ให้ คตง.ดำรงตำแหน่งวาระเดียว ไม่ให้ใช้บังคับกับกรรมการ คตง.ที่ได้รับการสรรหาครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรรมการชุดนี้ยังกลับมาเป็นได้อีก จนฝ่ายค้านโวยว่า ตรากฎหมายเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/18878
2008-11-07 23:05
คุกคามสื่อคือคุกคามประชาชนจริงหรือ ?
นัฐพงษ์ เป็งใจยะ   วาทกรรมที่ว่าคุกคามสื่อคือคุกคามประชาชนที่สื่อและนักวิชาการชอบประโคมกันในหลายปีที่ผ่านมานี้ มีใครเคยสงสัยบ้างไหมว่ามันเกิดมาจากไหน แล้วทำไมสื่อถึงเท่ากับประชาชน ความจริงประชาชนอาจไม่เห็นด้วยกับสื่อก็ได้   การที่บอกว่าคุกคามสื่อคือคุกคามประชาชน เท่ากับบอกว่าสื่อคือประชาชน หรือประชาชนต้องเห็นด้วยกับสื่อทั้งหมด หรือความเห็นสื่อคือความเห็นประชาชน ซึ่งมันไม่ใช่ แล้วเวลาสื่อคุกคามประชาชน ให้ร้ายป้ายสี สร้างกระแสในหลายครั้งหลายข่าว ทำไมไม่ออกมาด่ากันบ้างว่า ประชาชนคุกคามประชาชน เพราะสื่อคือประชาชนตามวาทกรรมปกป้องตัวเองของสื่อที่ว่า คุกคามสื่อคือคุกคามประชาชน   ดังนั้นการที่จะพิจารณาว่าสื่อประเภทใดจะเข้านิยาม สื่อ คือประชาชน หรือเป็นของประชาชนนั้นเราต้องพิจารณาถึงเนื้อหาสาระว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข และยืนข้างประชาชนหรือไม่ หาใช่สักแต่ว่าเป็นของเอกชนก็จะนับเป็นสื่อของประชาชนหรือสื่อเพื่อประชาชนหาได้ไม่ในกรณี ASTV ถึงแม้จะเป็นสื่อของประชาชนเต็มขั้นนาม สนธิ ลิ้มทองกุล แต่ถึงที่สุดแล้วเป็นสื่อของประชาชนในความหมายจริงๆ หรือ?... เปล่าเลย เพราะจากพฤติกรรมที่ผ่านมาวิญญูชนคงตระหนักดีว่า ASTV คือกระบอกเสียงของเผด็จการที่คอยสร้างความเกลียดชังเพื่อสุมไฟสงครามกลางเมืองและรัฐประหารต่างหาก    ดังนั้นหากวันดีคืนดีมีคนบุกยึด ASTV สื่อและนักวิชาการจะกล้าพูดได้เต็มปากหรือว่า คุกคาม ASTV คือคุกคามประชาชน เหนืออื่นใด ผู้ที่กล่าววาทะคุกคามสื่อคือคุกคามประชาชนในกรณี นปก. และพันธมิตรฯ ว่าหากเกลียดพันธมิตรก็ไม่ควรเอาอย่างพันธมิตรนั้น ถึงที่สุดแล้วคนเหล่านี้มองแต่วิธีการ แต่ไม่ได้มองถึง "จุดยืน" หรือ "อุดมการณ์" ที่ต่างกันอย่างสุดขั้วของทั้งสองฝ่าย เพราะผ่ายหนึ่งต้านรัฐประหาร ส่วนฝ่ายหนึ่งต้องการรัฐประหาร   ดังนั้นถึงแม้ฝ่ายหนึ่งจะใช้สื่อของรัฐในการโจมตีฝ่ายตรงข้าม แต่ก็ต้องพิจารณาว่า "ฝ่ายตรงข้าม" นั้นคือฝ่ายใด หากว่าเป็นฝ่ายที่ต้องการล้มล้างประชาธิปไตย ซึ่งมีศักยภาพถึงขั้นที่สามารถดึงแนวร่วมจากสื่อ นักวิชาการ ชนชั้นกลางและอำนาจรัฐบางส่วนมาเป็นพวกเพื่อล้มล้างอำนาจรัฐ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและต้านรัฐประหารก็สมควรใช้สื่อซึ่งเป็นกลไกของรัฐในการตอบโต้เพื่อรักษาไว้ซึ่งประชาธิปไตยมิใช่หรือ   หรือใจคอสังคมไทยจะยึดติดอยู่กับมายาภาพที่ว่าห้ามใช้สื่อของรัฐโจมตีปรปักษ์ทางการเมืองโดยไม่คำนึงว่าฝ่ายปรปักษ์นั้นก็มีสื่อและศักยภาพอันมหาศาล ซึ่งอาจมากยิ่งกว่าฝ่ายประชาธิปไตยโจมตีและทำลายประชาธิปไตยอยู่ฝ่ายเดียวกระนั้นหรือ
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/4099
2005-05-23 23:02
นายทุนรุกที่ดิน...คลื่นปัญหาลูกใหม่ของชาวเล
"ตอนถูกคลื่นซึนามิ พวกป้าหนีไปอยู่บนเขา ไปพึ่งพาอยู่กับญาติพี่น้อง อยู่ได้สักพัก มีคนมาอ้างว่าเราบุกรุกที่ ป้าก็เลยลงจากเขา มาอยู่ที่เดิม จะไม่ไปไหน จะอยู่ไปจนตาย เหมือนกับที่พ่อแม่ของเราตายที่นี่ ฝังอยู่ที่นี่" ป้าลาภ หาญทะเล ชาวมอแกนหาดแหลมป้อม บ้านน้ำเค็ม เอ่ยออกมาด้วยสีหน้าไม่สู้ดี เมื่อไม่นานมานี้ ทางชุมชนคนรักป่า ได้มีโอกาสลงไปเยือนชุมชนชาวเล ในเขต อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เพื่อไปเรียนรู้ศึกษาชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์ซึนามิ ซึ่งนอกจากจะพบกับความสูญ เสียในชีวิตและทรัพย์สินจนล่มสลายไปเกือบหมดสิ้นแล้ว ทว่าผู้คนซึ่งเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่หลายคนรู้จักกันดีในนาม มอแกน กลับต้องเจอกับคลื่นปัญหาลูกใหม่ ที่เข้าถาโถมวิถีชุมชนที่นี่จนได้รับความเดือดร้อนกันไปทั่ว หากใครได้ไปเยือนชุมชนชาวเล ในเขต อ.ตะกั่วป่าในขณะนี้ โดยเฉพาะในพื้นที่บ้านน้ำเค็ม และบ้านทับตะวัน จะพบว่า มีป้ายประกาศ" ห้ามบุกรุก หรือปลูกสิ่งก่อสร้างใดๆ ทั้งสิ้น โดยมีการอ้างว่า ที่ดินแปลงนี้มีเอกสารสิทธิ์ เป็นสิทธิครอบครองตามเอกสารสิทธ์ น.ส.3 ก." ติดอยู่ทั่วไป นั่นเป็นป้ายประกาศห้ามบุกรุกที่ดิน ของกลุ่มนายทุนที่เข้ามาอ้างว่ามีการครอบครองที่ดินได้มาโดยชอบธรรม ในขณะที่ชาวบ้านต่างออกมายืนยันกันว่า ที่ดินผืนดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัยของพวกเขามาหลายร้อยปีมาแล้ว และต่อมา นายทุนได้เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ แจ้งข้อหากับชาวบ้านว่า เป็นผู้บุกรุกที่ดิน จนกลายเป็นปัญหาเป็นคดีความและยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของศาลอยู่ในขณะนี้ จำนง จิตรนิรัตน์ จากมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย เปิดเผยว่า ความจริงแล้ว ก่อนที่คลื่นซึนามิจะมา ก็มีปัญหาเรื่องที่ดินมาก่อนอยู่แล้ว แต่ไม่มีใครรู้มาก่อน พอหลังการสูญเสียเพียง 2-3 วัน ก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่ง มาแสดงตัวเป็นเจ้าของที่ดิน ทั้งที่ที่ดินตรงนั้น เคยเป็นหมู่บ้านมาเป็นร้อยๆ ปี จึงทำให้เรื่องนี้ถูกเปิดเผยขึ้นมาชัดเจนขึ้น "ผู้ที่มาแสดงตัวเป็นเจ้าของที่ดินนั้น ส่วนใหญ่จะมีเอกสารสิทธิ เป็น น.ส.3 ก. เคยเป็นผู้สัมปทานบัตรทำเหมืองแร่ หรือไม่ก็เป็นผู้ที่รับช่วงซื้อที่ดินที่เคยสัมปทานสืบทอดกันมา ซึ่งผู้แสดงตัวเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ มีทั้งเอกชนและรัฐ มีการแสดงตัวในหลายพื้นที่ ทั้ง 6 จังหวัด คือ ตั้งแต่ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล" จำนง กล่าว จำนง ยังกล่าวถึงที่มาของปัญหาการจัดการที่ดินในเขตชายฝั่งทะเลอันดามันว่า เมื่อ 30 ปีก่อน พื้นที่ดังกล่าว มีการสัมปทานบัตรเหมืองแร่ โดยมีการทำเหมืองแร่ทางทะเล ต่อมาเมื่อแร่ในทะเลหมด กลุ่มนายทุนได้ขึ้นมาทำการสัมปทานเหมืองแร่บนชายฝั่ง โดยมีชาวบ้านซึ่งเป็นชุมชนมุสลิม และชาวมอแกน อาศัยอยู่ใกล้ๆ แถวนั้น โดยทุกคนไม่รู้ว่า การสัมปทานขุดเหมืองแร่ของนายทุน จะกลายเป็นปัญหาที่เรื้อรังและยาวนาน พอสัมปทานเหมืองแร่สิ้นสุด พวกเขาก็มีการขอออกเอกสารสิทธิ์ทันที แต่ไม่ได้ออกเพียงแค่พื้นที่สัมปทานเท่านั้น แต่กลับครอบพื้นที่ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้านในแถบนั้นด้วย นอกจากนั้น มีชาวบ้านบางครอบครัวได้ไปเคยขอเอกสารสิทธิ์เป็นแปลงเล็กแปลงน้อยกันมาก่อน แต่สุดท้ายก็พบว่า ถูกนายทุนทำการออกเอกสารสิทธิทับพื้นที่ทั้งหมด "เป็นที่รับรู้กันว่า มีโฉนดแปลงเล็กแปลงน้อยของชาวบ้าน ถูกซุกอยู่ในแปลงใหญ่ของนายทุน ซึ่งปัญหาเช่นนี้ จะเกิดไปทั่วทั้งแถบอันดามัน" จำนง ระบุ ทั้งที่กฎหมายสัมปทานบัตรเหมืองแร่ ระบุชัดว่า เมื่อหมดหรือสิ้นสุดการสัมปทานบัตรเหมืองแร่แล้ว จะต้องคืนพื้นที่ดังกล่าว แต่กลับมีการออกเอกสารสิทธิให้แก่นายทุนผู้สัมปทานได้ จนทำคนทั่วไป เริ่มตั้งคำถามกันมากขึ้นว่า30 ปีที่ผ่านมา ควรจะต้องมีการตรวจสอบว่า เอกสารสิทธิ์นั้นได้ออกโดยชอบหรือไม่!? ในพื้นที่ของบ้านน้ำเค็ม ถือว่าเป็นชุมชนที่ได้รับผลกระทบ ได้รับความสูญเสียจากคลื่นซึนามิมากที่สุด ประมาณ 2,000 หลัง และยังมีปัญหาเรื่องที่ดิน ตรงบริเวณหาดแหลมป้อม อีกประมาณ 52 ครอบครัว ที่มีปัญหากับนายทุนที่ดินมาอย่างต่อเนื่อง "ชุมชนแหลมป้อม จึงไม่มีหน่วยงานรัฐใดๆ เข้ามาช่วยเหลือ มีแต่องค์กรพัฒนาเอกชนเท่านั้น และกว่าจะสร้างบ้านเองได้ ต้องทะเลาะกับนายทุน มาเฟีย บางครั้งเอาตำรวจมาจับบ้าง แต่ต้องปล่อยตัว เพราะหลักฐานเขาไม่พร้อม แต่ก็พยายามเอาเอกสารสิทธิ์มาอ้างว่าเป็นของเขา" ราตรี คงวัดใหม่ เอ่ยกับเรา เหตุการณ์ความขัดแย้งเริ่มทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ตั้งแต่ปี 2545 เมื่อนายทุนเข้ามาสร้างบังกะโลในพื้นที่แหลมป้อม พอถึง ปี 2546 ชาวบ้านทั้งหมด 52 ครัวเรือน ถูกนายทุนฟ้องขับไล่ออกจากพื้นที่ และตั้งข้อหาชาวบ้านบุกรุกที่ดิน "ชาวบ้านก็ลุกขึ้นสู้กับความไม่เป็นธรรม บางคน ศาลแพ่งยกฟ้องไปแล้ว แต่พวกนายทุนไม่ยอม ยังทำเรื่องอุทธรณ์ต่อ ขณะนี้เรื่องยังอยู่ในชั้นศาล ซึ่งชาวบ้านก็มีทางเดียวคือ เอาความจริงเข้าต่อสู้" ราตรี กล่าวด้วยน้ำเสียงเครียด จริงจัง 26 ธันวาคม 2547 เกิดโศกนาฏกรรมรุนแรงที่สุด เมื่อคลื่นซึนามิเข้าถาโถมบ้านเรือนอย่างบ้าคลั่ง กวาดชีวิตผู้คน บ้านเรือน ทุกสิ่งทุกอย่าง พังทลายหายไปเพียงชั่วพริบตา หลังเหตุการณ์สงบ ชาวบ้านพยายามขอเข้าไปขุดคุ้นค้นหาซากศพของญาติพี่น้องที่สูญหายไป ทว่ากลุ่มนายทุน กลับไม่ยอมให้เข้าไป พร้อมกับบอกว่า ที่ดินผืนนั้นเป็นของบริษัทไม่ได้เป็นของชาวบ้าน "ที่ต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ในครั้งนี้ ก็เพื่อถามว่า ความเป็นธรรมอยู่ที่ไหน ลูกสาววัย 8 ขวบของตนถูกน้ำพัดหายไป พยายามขอเข้าไปค้นหา แต่พวกนายทุนก็ไม่ยอมให้เข้าไป จนครบ 1 เดือน จึงค้นหาศพลูกสาวตัวเองเจอ" ราตรี คงวัดใหม่ เอ่ยออกมาด้วยน้ำเสียงเครียดและเศร้า 2 มกราคม 2548 นายทุนเข้ามาทำการปักรั้วล้อมรอบ พร้อมกับติดป้ายห้ามเข้าบุกรุกทุกทิศทาง เมื่อเหตุการณ์เริ่มขัดแย้งรุนแรงขึ้นทุกขณะ ชาวบ้านจึงได้รวมตัวกันขึ้น เพื่อช่วยกันปลูกสร้างบ้านขึ้นมาด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเอง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากคนภายนอกและองค์กรพัฒนาเอกชน ราตรี ยังได้ตั้งข้อสังเกตถึงความไม่ชอบมาพากลในการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินของนายทุนกลุ่มนี้ว่า การสัมปทานบัตรเหมืองแร่ในพื้นที่ดังกล่าว สัญญาการสัมปทานจะสิ้นสุดปี 2539 แต่กลับมีการออกเอกสารสิทธิ์ขึ้นมาเมื่อปี 2526 ซึ่งทำให้ชาวบ้านแปลกใจ ว่าทำกันได้อย่างไร "และชาวบ้านรู้ดีว่า ที่ดินแปลงนี้ไม่เคยมีการทำรังวัด ไม่เคยเห็นหน้าเจ้าของที่ดินแปลงนี้เลย และทุกคนก็เชื่อมั่นกันว่า ที่ดินผืนนี้เป็นที่ดินของเรา เพราะพ่อแม่บอกกันว่าเป็นผู้เข้ามาทำการบุกเบิกตั้งแต่แรก เพราะฉะนั้น ความต้องการมากที่สุดในตอนนี้ คือ อยากมีที่ดินเป็นของตัวเอง" ราตรี กล่าว "ชีวิตมอแกนนั้นมันลำบาก" แจ่ม กล้าทะเล แม่หญิงชาวมอแกน พูดออกมาพร้อมกับร้องไห้สะอื้น เมื่อถูกถามถึงเรื่องนายทุนเข้ามายึดที่ดินของตัวเอง ทางด้าน หีด หาญทะเล ผู้เฒ่าชาวมอแกนบ้านทับตะวัน วัย 87 ปี บอกว่า ตนเองอยู่มาตั้งแต่เกิด พ่อแม่ก็ตายที่นี่ บ้านทับตะวันตั้งมา 200 กว่าปีเห็นจะได้ เถ้าแก่นายทุนเข้ามาจับจองทีหลัง แล้วพวกตนจะไปอยู่ที่ไหน หมู่บ้านทับตะวัน ตั้งอยู่ใน ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ซึ่งเป็นอีกชุมชนหนึ่งที่มีปัญหาความขัดแย้งเรื่องที่ดินระหว่างนายทุนกับชาวบ้าน ซึ่งมีการซื้อที่ดินกันมาเป็นทอดๆ บางครั้ง จู่ๆ ก็มีนายทุนเข้ามาแสดงตัวว่าเป็นเจ้าของ แต่พอชาวบ้านให้ชี้เขตพื้นที่ของตน ก็ไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า พื้นที่ตรงไหนเป็นของตน ทำให้ชาวบ้านไม่เชื่อว่าเป็นเจ้าของจริง และเกิดการเคลื่อนไหวต่อสู้กัน ตั้งแต่นั้นมา บ่อยครั้งที่ชาวบ้านถูกข่มขู่ว่าจะทำการฟ้อง แต่ชาวบ้านทับตะวันก็บอกว่าไม่กลัว เพราะพวกเขาถือว่ามีความชอบธรรม เพราะเสาบ้านก็ยังมีให้เห็นอยู่ "ถ้าพวกเขาจะมายึด เราจะขอยืนยันตามเดิม เพราะเรามีต้นมะม่วงหิมพานต์ มะพร้าว ต้นเมา ต้นไม้เยอะแยะ ที่พวกป้าปลูกกันมานาน" ลาภ หาญทะเล กล่าวย้ำและยืนยัน นางยังบอกอีกว่า กลัวเหมือนกัน กลัวว่าเขาจะมายึดที่ดินไป จะไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่ทำกิน แต่ก็จะสู้ ถ้าต้องขึ้นศาล ก็ต้องไป ถึงไม่มีเงิน ก็จะสู้ด้วยปาก ด้วยใจ ด้วยแรงที่มีอยู่ เมื่อไปเยือนที่บ้านในไร่ ต.นาเตย อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ซึ่งก็กำลังประสบกับปัญหาการจัดการที่ดินเช่นกัน วินัย จันทรเลิศ ชาวบ้านในไร่ ที่ถูกตั้งข้อหาบุกรุกที่ดิน ร่วมกับเพื่อนบ้านจำนวน 20 คน กล่าวว่า รู้สึกท้อแท้กับชีวิต หลังจากซึนามิคลื่นลูกแรกเราโดนไปแล้ว หมดเนื้อหมดตัวไปแล้ว ตอนนี้พอจะสร้างบ้าน แต่ก็ยังไม่มีองค์กรไหนที่จะเข้ามาสร้างบ้านให้ได้ เพราะไม่มีเอกสารสิทธิ์การถือครองที่ดินไปยืนยันเพื่อขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ ได้ "ที่เราอยู่บนผืนดินผืนนี้ ไม่ได้อยู่เพื่อต้องการเอาไปขาย แต่อยู่เพื่ออาศัย เพื่อเก็บเอาไว้ลูกหลานได้อยู่กินต่อไป ซึ่งผมรู้สึกรันทด ที่ถูกตั้งข้อกล่าวหา ทั้งๆ ที่ในหมายเรียกนั้น ก็ไม่ได้ระบุว่า ผมบุกรุกที่ของใคร และบุกรุกในที่โฉนดแปลงไหน นั่นทำให้ผมรู้สึกว่า ผมถูกกลั่นแกล้ง ถูกบีบบังคับให้ต้องรับข้อกล่าวหา" วินัย กล่าวด้วยน้ำเสียงโอดครวญ จำนง จิตรนิรัตน์ จากมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย กล่าวอีกว่า แนวทางหนึ่งในการจัดการแก้ปัญหาที่ดิน จำเป็นที่ต้องมีการพิสูจน์ด้วยหลักฐานพยานต่างๆ ที่มีอยู่ ไม่ว่า ต้นไม้ บ่อน้ำ หรือสุสาน (กุโบร์) ว่าชาวบ้านได้อยู่อาศัยในพื้นที่นั้นมายาวนานเป็นร้อยๆ ปี "แต่ก็เริ่มไม่มั่นใจ หากจะมีเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้น เพราะเชื่อว่าจะต้องมีปัญหาตามมาอีกเยอะ เนื่องจากเป็นการรวมอำนาจเบ็ดเสร็จ สามารถมีการเวนคืนที่ดินตรงไหนก็ได้ และสามารถเอานักลงทุนขนาดใหญ่เข้ามาสวมในพื้นที่ของชาวบ้านได้ ซึ่งจะต้องทำให้วิถีชีวิตเล็กๆ ของชาวบ้าน ชาวเลแถบนี้ต้องสูญหายไปแน่นอน" จำนง กล่าวด้วยน้ำเสียงห่วงใย นี่คงจะเป็นกรณีศึกษาอีกพื้นที่หนึ่ง ที่มีปัญหาในเรื่องความขัดแย้ง ปัญหาการแย่งชิงที่ดินระหว่างนายทุนกับชาวบ้าน จำนวน กว่า 400 ไร่ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องหันมาทบทวนในเรื่องนโยบายการจัดการที่ดิน ซึ่งกำลังกลายเป็นปัญหาที่หมักหมมและเริ่มขยายเป็นวงกว้างไปทั่วประเทศ รายงานพิเศษ องอาจ เดชา
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/40853
2012-06-05 16:24
เครือข่ายสุราชุมชนภาคเหนือชนไทยเบฟ ชี้กีดกันการค้า
กลุ่มผู้ผลิตสุรากลั่นชุมชน 9 จังหวัดภาคเหนือรวมตัวยื่นหนังสือประท้วง อ้างว่าบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด มหาชน กีดกันทางการค้า ห้ามจำหน่ายสุรากลั่นชุมชน   5 มิ.ย. 55 - สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ [1]รายงานว่ากลุ่มสมาชิกคนเสื้อแดงเครือข่ายผู้ผลิตสุรากลั่นชุมชนเชียงใหม่ ลำพูนและภาคเหนือ 9 จังหวัด นำโดยนายณรงค์ ใจมาประธานกลุ่มฯ รวมตัวยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ถึงมาตรการต่อต้านการกีดกันทางการค้าของบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานโรงงานสุราของรัฐบาล ทางกลุ่มผู้ชุมนุมอ้างว่าบริษัทได้ใช้มาตรการกีดกันทางการค้า โดยบังคับให้ตัวแทนจำหน่ายและตัวแทนจำหน่ายรายย่อยไม่ให้จำหน่ายสุรากลั่นชุมชน หากร้านใดซื้อสุรากลั่นชุมชนก็จะต้องซื้อเบียร์และสุราที่เป็นของรัฐแพงขึ้นลังละ 12 บาท ทำให้ร้านค้าไม่กล้าซื้อสุรากลั่นชุมชน ส่งผลให้ผู้ผลิตสุรากลั่นชุมชนเดือดร้อนอย่างมาก การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายผิดพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 มาตรที่ 25 แ ละ 27 ทางกลุ่มจึงได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อกรณีดังกล่าว   ในการนี้นางนิยดา หมื่นอนันต์ การค้าภายในจังหวัดเชียงใหม่เป็นตัวแทนรับหนังสือ หลังจากนั้นทางกลุ่มผู้ชุมนุมได้เดินทางไปยื่นหนังสือที่ป้อมคลัง ซึ่งเป็นโกดังเก็บสินค้าของบริษัทไทยเบฟเวอเรจด้วย โดยจะยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อให้เร่งแก้ปัญหาให้ทางกลุ่มสุราชุมชนซึ่งมีกว่าสี่พันแห่งในภาคเหนือที่ประสบปัญหาในขณะนี้
0neg
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/18655
2008-10-20 22:16
เยาวชนรุ่นใหม่ "เมล็ดพันธุ์พลังงาน" ของ ต.ลำภี
โดย โครงการแผนพลังงานชุมชน กระทรวงพลังงาน                       ด้วยเชื่อมั่นว่าเด็กและเยาวชนคือพลังที่จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งแนวคิด ทัศนคติ และวีถีการปฏิบัติในชีวิตประจำวันของคนในชุมชน ต.ลำภี อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ให้รู้จักอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน ดังนั้นในการต่อยอดกิจกรรมโครงการจัดทำแผนพลังงานชุมชนฯ ซึ่งทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2550 ในส่วนของกิจกรรมในสถานศึกษา จึงเกิดความร่วมมือระหว่างพลังงานจังหวัดพังงา อบต.ลำภี และผู้บริหารโรงเรียนทั้งหมดในตำบลลำภี จัดกิจกรรม "เพาะเมล็ดพันธุ์พลังงาน" ขึ้นโดยมีการเข้าค่ายการเรียนรู้ที่โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 2 โดยมีเด็กๆ ทั้งประถมและมัธยมจากโรงเรียนประถมศึกษา 2 แห่ง และโรงเรียนขยายโอกาสที่เปิดสอนถึงชั้น ม.3 อีก 2 แห่ง   นายธเนต ธนาวุฒิ พลังงานจังหวัดพังงา กล่าวว่า จุดประสงค์ที่เลือกทำในโรงเรียนก่อน เพราะเล็งเห็นว่าการจัดกิจกรรมรณรงค์ บอร์ดนิทรรศการ หรือแค่เอาโปสเตอร์มาให้เด็กในโรงเรียนดู จะไม่เกิดประโยชน์เต็มที่ เนื่องจากเด็กได้รับความรู้น้อย จึงอยากให้มีการเพาะเยาวชนรุ่นใหม่ขึ้นมา ให้เขาได้รับรู้ รับทราบ เข้าใจถึงเรื่องของพลังงานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นที่มาที่ไป การใช้ การประหยัด การอนุรักษ์ เด็กจะได้นำความรู้ที่ได้กลับไปใช้ในชีวิตประจำวัน และในครอบครัว โดยมีกลุ่มเป้าหมายถึง ชั้น ป.5 และ ม.2 ซึ่งในปีถัดไป เด็กเหล่านี้ยังอยู่ในโรงเรียนเดิม จะได้ถ่ายทอดสู่รุ่นน้องกลุ่มต่อๆ ไปได้ หรือเมื่อจบออกไปเรียนที่อื่นก็จะกลายเป็นเครือข่ายพลังงานที่กว้างขวางออกไปเรื่อยๆ   โดยในการอบรมแต่ละครั้ง จะนำเด็ก พร้อมครูวิทยาศาสตร์ อีกโรงเรียนละ 2 คน เข้าค่าย ระยะเวลา 2 วัน 1 คืน แบ่งเด็กออกเป็น 4 กลุ่ม หมุนเวียนเข้าฐานการเรียนรู้ที่จัดไว้ และเพื่อไม่ให้เด็กเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย วิทยากรที่อยู่ประจำแต่ละฐานจึงออกแบบเกมประจำแต่ละฐานการเรียนรู้ด้วย   เช่น ฐานจูงไข่ไดโนเสาร์ เรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติเตาซูเปอร์อั้งโล่ วัตถุที่ทำให้เกิดไฟคืออะไร ใช้งานได้อย่างไร ผลที่ได้จากการใช้เตาซูเปอร์อั้งโล่มีอะไรบ้าง เกมที่ให้เด็กเล่นจะเน้นให้เกิดความสามัคคีคือทำอย่างไรจึงจะหิ้วไข่ไดโนเสาร์ให้ถึงจุดหมายปลายทางในระยะเวลาที่รวดเร็วและปลอดภัย ส่วนฐานยางยัดขวด เรียนรู้เกี่ยวกับเตาชีวมวล ระบบการทำงานเป็นอย่างไร ไม้ 1 กิโลกรัมให้ความร้อนกี่นาที และเกมที่เล่นเป็นการฝึกความคิด และความสามัคคีไปพร้อมๆ กัน   ฐานตาข่ายมรณะ เรียนความแตกต่างระหว่างการใช้หลอดตะเกียบกับหลอดไส้ ค่าไฟฟ้าต่างกันเท่าไหร่ หลอดตะเกียบประหยัดพลังงานลงเท่าไหร่ ในการเล่นเกมทุกคนต้องใช้ความรอบคอบระมัดระวังพาตัวเองลอดผ่านตาข่ายไปให้ได้ และฐานอุดรูรั่ว มีเตาเผาถ่านถัง 200 ลิตร เอาไม้ใส่เข้าไปเพื่อเผาถ่านใช้เวลากี่ชั่วโมง ถ่านที่ได้มาหนักกี่กิโลกรัม ผลจากการเผาถ่านได้น้ำส้มควันไม้ สรรพคุณ และวิธีการใช้น้ำส้มควันไม้ โดยเกมที่เล่นในการอุดรูรั่ว ก็เหมือนกับเราจ่ายเงิน รูรั่วก็เหมือนกับเงินที่เราจ่ายออกไป พลังงานไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า น้ำมัน ประปา แก๊ส ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นค่าที่จ่ายออกไป แต่จะอุดรูอย่างไรให้น้ำที่อยู่ในถังไหลออกน้อยที่สุด   "นอกจากนี้ ในช่วงกลางคืนยังให้เด็กแสดงกิจกรรมกลุ่มเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน เช่น ละคร นิทาน เพื่อให้เด็กมีความคิดเชื่อมโยงเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน และตลอดระยะเวลาที่เด็กเข้าค่าย จะแจกชิปแทนเงิน กลุ่มละ 10,000 บาท เพื่อให้เขาใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวัน อาทิ ค่าแก๊ส ค่าถ่าน ค่าวัตถุดิบ อาหาร น้ำ เครื่องปรุง โดยแต่ละกลุ่มจะใช้เทคโนโลยีพลังงานต่างกัน กลุ่มที่ 1 พึ่งพาอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า กลุ่มที่ 2 ใช้แก๊สหุงต้ม กลุ่มที่ 3 ใช้เตาซูเปอร์อั้งโล่ และกลุ่มสุดท้ายใช้เตาชีวมวล โดยไม่บอกล่วงหน้าว่าเป็นเกมอย่างหนึ่ง ถึงช่วงสุดท้ายก็ให้รวบรวมว่าแต่ละกลุ่มใช้ชิปไปเท่าไหร่ คงเหลือเท่าไหร่ เด็กจะรู้ได้ว่ากลุ่มไหนใช้พลังงานน้อยที่สุด ใช้น้อยเพราะอะไร และกลุ่มไหนใช้พลังงานมากที่สุด อย่างไร" พลังงานจังหวัด อธิบายถึงรายละเอียด   น.ส.พิรุณรัตน์ ศรีนิล ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 2 ยืนยันว่าผลจากการนำเด็กเข้าค่ายเพาะเมล็ดพันธุ์พลังงาน ทำให้เด็กเกิดความเข้าใจ และนำไปปฏิบัติในชีวิตจริง เห็นได้ชัดเจนจากชั่วโมงการงานพื้นฐานอาชีพ ที่เด็กให้ฝึกประกอบอาหาร เด็กแต่ละกลุ่มจะหิ้วเตาซูเปอร์อั้งโล่มาจากบ้าน แทนที่จะใช้เตาแก๊สในห้องอเนกประสงค์ เพราะเห็นว่าอาหารบางอย่างต้องใช้เวลานานในการต้มให้เปื่อยยุ่ย การใช้เศษไม้ที่หาได้ง่ายรอบๆ โรงเรียนจึงประหยัดค่าใช้จ่ายกว่า ที่สำคัญคือเด็กที่ผ่านการเข้าค่าย จะสามารถเป็นวิทยากรในโรงเรียน ในลักษณะพี่สอนน้อง ให้ความรู้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยกับนักเรียนที่อยู่ในช่วงชั้นอื่น ขณะนี้กำลังร่วมกันจัดทำร่างหลักสูตรพลังงานท้องถิ่น โดยในระดับประถมเน้นเนื้อหาการปลูกปลูกจิตสำนึกประหยัดพลังงานและรู้คุณค่าพลังงาน ส่วนในระดับมัธยมจะเน้นการนำไปใช้อย่างมีคุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด คาดว่าจะสามารถนำหลักสูตรนี้มาใช้ได้อย่างเต็มรูปแบบภายในปีการศึกษาหน้า   ด.ช.ขจรวุฒิ รุ่มจิตร หรือน้องเท่ห์ นักเรียนชั้น ม.2 โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 2 ซึ่งเคยผ่านการเข้าค่ายเพาะเมล็ดพันธุ์พลังงานมาแล้ว เล่าว่ารู้สึกสนุกมากในการเข้าค่าย เพราะมีเกมและกิจกรรมเกี่ยวกับพลังงาน ที่ทำให้เกิดความรู้และทึ่งมาก เนื่องจากหลายๆ เรื่องเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวมาก แต่มักถูกมองข้ามมาตลอด เช่น การดูทีวี เดิมจะเปิดตลอดเวลา แม้บางรายการจะไม่ค่อยชอบ ทำให้เกิดรูรั่ว พ่อแม่ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเดือนละจำนวนมาก แต่เมื่อผ่านการอบรมแล้ว ก็ได้คิดว่าควรแบ่งเวลาในการดู เลือกเฉพาะรายการที่ชอบจริงๆ เท่านั้น เสร็จแล้วก็ปิด ถอดปลั๊กให้เรียบร้อย ถ้าปิดโดยใช้รีโมทคอนโทรล เครื่องก็ยังต้องใช้ไฟหล่อเลี้ยงอยู่ ทั้งที่เราเลิกดูทีวีไปแล้ว ทำให้เปลืองไฟ   เช่นเดียวกับ ด.ญ.จินดารัตน์ ผอมถึง หรือน้องจิน เพื่อนร่วมชั้น บอกว่า ในชีวิตประจำวันของคนเรา มักไม่รู้สึกว่าใช้พลังงานเกือบ 24 ชั่วโมง พอเข้าค่ายอบรมแล้ว ถึงสังเกตเห็นว่าเราใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือย และเปล่าประโยชน์ในแต่ละวันจำนวนมาก จึงได้เริ่มเปลี่ยนนิสัยตนเอง ปิดไฟดวงที่ไม่ใช้ทั้งภายในบ้านและที่โรงเรียน ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลังใช้งานเสร็จ รีดผ้าคราวละมากๆ และหัดติดเตาถ่านหรือฟืนแทนการใช้แก๊สหุงต้ม ซึ่งก็ช่วยทางบ้านประหยัดได้มาก ดูได้จากบิลค่าไฟฟ้าที่ลดลงอย่างเห็นผลทันตา   ผลเชิงรุกที่พลังงานจังหวัด และอบต.ลำภี ได้ดึงโรงเรียน และชุมชน เข้ามาเป็นแนวร่วม สร้างเด็กให้เป็นเมล็ดพันธุ์พลังงาน ควบคู่ไปกับการสร้างผู้ใหญ่ให้เป็นวิทยากรตัวคูณ และนักวางแผนพลังงานชุมชนทำให้เกิดชาวบ้านในเขต ต.ลำภี จำนวน 4,882 คน 1,545 ครัวเรือน มีความตื่นตัว และทำทุกวิถีทางที่จะช่วยประหยัดพลังงาน เช่น เผาถ่านใช้เอง ใช้เตาซูเปอร์อั้งโล่ เตาชีวมวล แทนก๊าซหุงต้ม และไฟฟ้า หรือแม้แต่การท่องเที่ยวชุมชน โฮมสเตย์ต่างๆ ก็หันมาเลือกเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน อย่างช่น การใช้เตาถ่านแทนแก๊สหุงต้ม มาให้นักท่องเที่ยวใช้ และนับเป็นกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจค่อนข้างมาก   เมื่อร่วมกันประเมินโดยภาพรวมแล้ว ก็มั่นใจว่าชาวบ้านกว่า 70% ของ ต.ลำภี มีความรู้ ความเข้าใจ ตื่นตัวในการอนุรักษ์พลังงานอย่างแท้จริง และน่าจะขยายผลไปสู่ชาวบ้านที่เหลือได้ในระยะเวลาอันใกล้นี้   ชุมชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการจัดทำแผนพลังงานชุมชน กับกระทรวงพลังงานในปี 2552 สามารถสมัครได้ที่ สำนักงานพลังงานจังหวัด หรือศูนย์ประสานงานกลางการวางแผนพลังงานชุมชน โทร. 0-2223-3344 ต่อ 2262-3
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/76454
2018-04-19 13:37
ยกฟ้อง 7 หญิงค้านเหมืองแร่ทองคำ จ.เลย ชี้เป็นสิทธิตามประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญคุ้มครอง
ศาลยกฟ้อง 7 สมาชิกกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด คัดค้านเหมืองแร่ทองคำ จ.เลย ทนายระบุศาลชี้เป็นการใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามระบอบประชาธิปไตย และได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ  19 เม.ย.2561 ขบวนการอีสานใหม่ New E-Saan Movement [1]  รายงานว่า วันนี้ (19 เม.ย.61) ศาลจังหวัดเลยอ่านคำพิพากษาคดีอาญา ยกฟ้อง คดีที่ผู้หญิงนักปกป้องสิ่งแวดล้อม 7 คน ซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด คัดค้านเหมืองแร่ทองคำ จ.เลย ถูกฟ้องจากการเข้าร่วมการนั่งประท้วงบริเวณด้านนอกที่ทำการสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเลยเมื่อเดือน พ.ย. 2559 ในข้อหาละเมิด พ.ร.บ.ชุมนุมฯ มาตรา 8, 10 และร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่น โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309  รายละเอียด ธีรพันธ์ พันธ์คีรี ทนายความจำเลยในคดี สรุปว่า ศาลพิพากษายกฟ้องทั้ง 2 ข้อหา โดยเหตุผลที่ศาลยกฟ้องนั้น เนื่องจากศาลมองว่าในวันนั้นที่ อบต.เขาหลวง จัดให้มีการประชุมสภาและเชิญตัวแทนชาวบ้านเข้าร่วมรับฟัง การที่ อบต.จัดการประชุมและเชิญชาวบ้านเข้าไปร่วมรับฟังนั้น ศาลมองว่ามันไม่ใช่เรื่องที่จำเลยเป็นผู้จัดการชุมนุมขึ้น แต่เป็นเรื่องของการเข้าไปร่วมรับฟังการประชุมซึ่งจัดขึ้นโดยทางราชการ โดยการประชุมของ อบต.นั้นเป็นการประชุมตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งใน พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ เขาไม่ใช้บังคับแก่การประชุมในลักษณะอย่างนี้  อีกข้อหาเรื่องข่มขื่นใจที่ สมาชิก อบต. กล่าวหานั้น ศาลเห็นว่าพยายานมีการขัดแย้งกัน บางปากอ้างว่าจำเลยมีการปราศรัยข่มขู่ว่าถ้าใครขึ้นประชุมนั้นจะไม่รับรองความปลอดภัย แต่ศาลเห็นว่า พยายามโจทก์บางคนก็บอกว่าไม่ได้ยินว่ามีการปราศรัยในลักษณะดังกล่าว รวมทั้งตำรวจก็เบิกความในลักษณะนี้ ศาลจึงเห็นว่าการที่จำเลยไปร่วมประชุมในวันนั้นเป็นไปโดยสงบ ไม่มีการบังคับขู่เข็ญหรือใช้ความรุนแรงใดๆ ประกอบกับผู้ร่วมเป็นคนที่อยู่ในพื้นที่ที่จะมีการอนุมัติเหมืองแร่นั้น การที่มีประชาชนบางคนใช้โทรโช่งปราศรัยขอให้เลื่อนการประชุมของ อบต. ออกไปก่อนนั้น ศาล จึงเห็นว่าเป็นการใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามระบอบประชาธิปไตย และได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นการกระทำดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดและยกฟ้องข้อหานี้ด้วย ทนายความในคดี ระบุด้วยว่า ทางโจทก์และโจทก์ร่วมยังมีสิทธิอุทธรณ์ภายใน 1 เดือน  องค์กรสิทธิฯ ขอศาลยกฟ้อง 7 หญิง ที่ชุมนุมโดยสงบค้านเหมืองแร่ทองคำ จ.เลย [2]
0neg
1pos
1pos
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/16164
2008-03-24 00:45
"จาตุรนต์" หนุนแก้ รธน. ชี้ไม่เกี่ยวนิรโทษ 111 ทรท.- "สุริยะใส" จวกเจตนาช่วยกันเอง
"จาตุรนต์"ดันแก้ รธน. - ไม่ได้หวังนิรโทษฯ 111 ทรท. นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย กล่าวสนับสนุนกรณีที่พรรคพลังประชาชนเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเห็นว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ไม่เป็นประชาธิปไตย เนื่องจากที่ผ่านมาอำนาจไม่ได้อยู่ที่ประชาชน หรือผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะทั้ง ส.ส. และรัฐมนตรี ไม่สามารถทำงานให้กับประชาชนได้ เนื่องจากถูกอำนาจเก่าเข้ามาแทรกแซง นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันยังทำให้ประชาชนอ่อนแอ รัฐบาลไม่เข้มแข็ง   "อยากทวงสัญญาประชาคมกับพรรคต่างๆ ที่ให้สัญญาไว้ก่อนการเลือกตั้ง การแก้รัฐธรรมนูญควรดำเนินการโดยเร็ว การแก้ไขควรพิจารณาทั้งฉบับและในประเด็นที่สำคัญ ผมไม่เห็นด้วย ถ้าจะรอให้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้เสร็จสิ้นก่อน เพราะหากไม่แก้รัฐธรรมนูญ ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ ดังนั้น ควรทำไปพร้อม ๆ กัน" นายจาตุรนต์ กล่าว   ผู้สื่อข่าวถามว่า เสียงของฝ่ายรัฐบาลที่มีกว่า 300 เสียง เพียงพอที่จะเป็นผู้เสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ส.ส.สามารถดำเนินการได้เลย โดยทำในลักษณะการร่วมกันทำของพรรคการเมือง ไม่จำเป็นต้องรอคณะรัฐมนตรี หรือการเข้าชื่อจากประชาชน เพราะจะทำให้ล่าช้า อีกทั้ง ส.ส. มีสิทธิเสนอแก้รัฐธรรมนูญ เพราะประชาชนเป็นผู้คัดเลือกเข้ามา และในการแก้ไขควรใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นหลัก โดยนำข้อเสียออกไป แล้วนำข้อดีของรัฐธรรมนูญปี 2550 มาใส่เพิ่มเติม จะทำให้เกิดความรวดเร็วขึ้น   ส่วนกรณีที่มีการมองว่า การแก้รัฐธรรมนูญจะส่งผลดีกับพรรคที่กำลังถูกพิจารณาในคดียุบพรรคนั้น นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ไม่แน่ใจ แต่ด้วยระบบกฎหมายของไทยว่าด้วยการยุบพรรค เป็นกฎหมายที่ล้าหลังและขัดต่อหลักนิติธรรม ในส่วนนี้ควรจะแก้ไข เพราะทำให้เกิดการยุบพรรคได้ง่าย ไม่มีกฎหมายที่ใดในโลกทำกันแบบนี้ หรือกรณีคนหนึ่งกระทำความผิด แต่มาลงโทษกับพรรคการเมือง อย่างไรก็ตาม มองว่าการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับอาจกินเวลานานเป็นปี แต่หากแก้ในบางมาตราก็จะทำได้เร็วขึ้น แต่ส่วนตัวอยากให้มีการแก้ไขทั้ง 2 ส่วนไปพร้อมกัน   ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่มีการระบุถึงมือที่มองไม่เห็น ซึ่งพยายามเข้ามาแทรกแซงการทำงานของรัฐบาลและคดียุบพรรคการเมืองนั้น นายจาตุรนต์ ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นว่าบุคคลดังกล่าวคือใคร เพราะไม่ชอบทำงานลักษณะสืบสวน ส่วนตัวคิดว่าไม่มีใครอยู่เบื้องหลัง แต่ผู้ที่ร่วมกันทำปฏิวัติและมีอิทธิพล ได้วางระบบไว้ในส่วนงานต่าง ๆ ทำให้ยังมีอำนาจอยู่ และกลไกที่วางไว้ยังมีผลต่อเนื่องมา   ส่วนที่มีการมองว่า มีการตั้งธงในคดียุบพรรคไว้แล้ว นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ไม่มีข้อมูลเรื่องนี้ แต่การยุบพรรคก็เป็นผลอย่างหนึ่งที่มาจากการทำรัฐประหารยึดอำนาจต้องการเข้ามา เพื่อเลือกพรรคการเมืองมาเป็นรัฐบาล และให้แน่ใจว่าสามารถจัดการกับพรรคการเมืองหรือคนบางกลุ่มให้หมดไปได้ โดยไม่คำนึงว่าระบบประชาธิปไตยจะสูญเสียไป ไม่สนใจว่าใครจะบงการ เพราะเป็นการกระทำร่วม ๆ กัน จนทำให้บ้านเมืองไม่เป็นประชาธิปไตย ถ้ายังเป็นเช่นนี้ บ้านเมืองก็จะเดินหน้าต่อไปไม่ได้   เมื่อถามว่า เห็นด้วยหรือไม่ที่ควรยุบพรรคการเมืองที่ไม่ดี นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ถูกต้อง แต่ไม่ใช่จะยุบพรรคเพียงเพื่อต้องการลงโทษคนในพรรคที่ไม่ดีเพียงคนเดียว ซึ่งขัดกับหลักนิติธรรม ซึ่งการเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่หวังเพื่อให้นิรโทษกรรม 111 อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย เป็นคนละประเด็นกัน และหากจะนิรโทษกรรมต้องทำโดยพระราชบัญญัติ ไม่ใช่รัฐธรรมนูญ แม้จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ก็ไม่เกี่ยวกัน "วันนี้ไม่ได้มาเรียกร้องเรื่องของการนิรโทษกรรม เพราะที่ผ่านมายืนยันได้ว่าไม่ได้กระทำความผิด คำสั่งลงโทษเป็นการพิจารณาโดยไม่ได้ใช้หลักนิติธรรม แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่เห็นด้วยกับการลงโทษผู้ที่กระทำความผิด การนิรโทษกรรมต้องดูเรื่องเวลาที่เหมาะสม ที่ผ่านมาก็ไม่เคยเรียกร้องหรือขอความกรุณาจากใคร" นายจาตุรนต์ กล่าว     "สุริยะใส"จวกเห็นแก่ตัวแก้ รธน.เจตนาช่วยกันเอง นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย หรือ ครป. เห็นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลและพรรคพลังประชาชน สะท้อนให้เห็นถึงความเห็นแก่ตัว และเอาประโยชน์ทางการเมืองโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม ซึ่งความพยายามแก้ไขในมาตรา 237 ถือเป็นการนิรโทษกรรมล่วงหน้าให้แก่ผู้ทุจริตเลือกตั้งและพรรคที่เกี่ยวข้อง   นายสุริยะใส กล่าวต่อว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เตรียมประชุมด่วนเพื่อหารือประเด็นดังกล่าวในวันพุธที่ 26 มีนาคมนี้ ขณะที่การจัดสัมมนาประชาชนในวันที่ 28 มีนาคม นายสุริยะใส ย้ำว่ามีความพร้อมเต็มที่ โดยเน้นหนักเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการโยกย้ายข้าราชการ โดยตั้งข้อสังเกตถึงการโยกย้ายข้าราชการที่จะมีขึ้นในวันที่ 2 เมษายน ว่าอาจจะมีการเตรียมการสำหรับการยุบสภาที่อาจจะเกิดขึ้น   ปชป.ค้านแก้ รธน. แก้ปัญหาเฉพาะหน้าพรรคการเมือง ขณะที่นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า พรรคประชาธิปัตย์ขอยืนยันว่าไม่ประสงค์ที่จะเห็นพรรคการเมืองใด ต้องถูกยุบพรรคโดยไม่มีเหตุผลที่สมควร อยากให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง ดำรงเป็นสถาบันทางการเมือง แต่ต้องยอมรับความจริงว่าปัญหาสำคัญที่นำไปสู่การออกกฎหมายหรือข้อบัญญัติต่างๆ ในรัฐธรรมนูญ รวมทั้ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง หรือว่าด้วยพรรคการเมือง กำหนดในเรื่องของการยุบพรรคเอาไว้ โดยมีเจตนารมณ์ที่ต้องการป้องกันการทุจริตเลือกตั้ง เมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดไว้อย่างนี้ ก็เป็นเรื่องที่พรรคการเมืองและนักการเมืองต้องระมัดระวังพึงสังวรตัวเองไม่ไปประพฤติอะไรที่ผิดกฎหมาย   "พรรคประชาธิปัตย์เห็นว่า ไม่ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หรือแก้ไขปัญหาของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือพรรคใดพรรคหนึ่ง เพราะจะกลายเป็นว่าพรรคการเมืองนั้นเข้ามาแก้ไขเพื่อประโยชน์ของตัวเอง ซึ่งไม่ถูกต้อง แต่ควรทำเพื่อส่วนรวมโดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนเข้ามาช่วยกำหนดว่าอยากให้รัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างไร" โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว   ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้ถึงเวลาที่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือยัง นายองอาจ กล่าวว่า ในส่วนของพรรคมีคณะกรรมการติดตามการใช้รัฐธรรมนูญ มีนายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์เป็นประธาน ซึ่งอยู่ในขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการใช้รัฐธรรมนูญว่ามีผลกระทบอย่างไร และเมื่อถึงระยะเวลาพอสมควรที่พรรครวบรวมได้ ถึงวันนั้นพรรคก็จะนำเสนอต่อสังคม ให้พิจารณาโดยจะมีการกำหนดวิธีการการแก้ไขด้วย ผู้สื่อข่าวถามว่า เวลานี้ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 237 หรือไม่ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ควรที่จะศึกษาให้ถ่องแท้พอสมควรระดับหนึ่งก่อน อย่าไปแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยใช้ความรู้สึกส่วนตัวเป็นที่ตั้ง ทั้งนี้พรรคเห็นว่ามีหลายเรื่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข เช่น การเข้าสู่อำนาจของ ส.ว.เป็นต้น   ป๋าเหนาะเตือนแก้ รธน.อย่าเอื้อประโยชน์ นายเสนาะ กล่าวถึงแนวคิดแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 237 ของพรรคพลังประชาชน ที่มีปัญหาเรื่องข้อกฎหมายเรื่องการยุบพรรคว่า จะทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญจริงต้องแก้ทั้งระบบ ไม่ใช่แก้เฉพาะจุด ไม่เช่นนั้น จะเป็นการทำเพื่อเอื้อประโยชน์ให้บุคคลบางกลุ่มเท่านั้น พร้อมยอมรับว่า รัฐธรรมนูญทุกฉบับมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทั้งนี้ นายเสนาะยังเสนอให้ ส.ส. และ ส.ว.ร่วมหารือเรื่องดังกล่าว และตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายใหม่ โดยเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีการหยั่งเสียงของประชาชนด้วยการทำประชาพิจารณ์อีก เพราะอาจส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า แม้จะมีการแก้กฎหมายก็จะไม่ส่งผลกับการพิจารณากรณีการยุบพรรคการเมือง ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.กำลังพิจารณาอยู่ในขณะนี้ เสรีชี้แก้ รธน.50 วุ่นแน่ นายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีตรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) กล่าวถึงความพยายามของพรรคพลังประชาชนที่จะเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 237 ว่า ประเด็นที่จะแก้ไขต้องมีความชัดเจนว่ามีปัญหามาน้อยเพียงใด ซึ่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เป็นรัฐธรรมนูญที่ผ่านการประชามติจากประชาชน ดังนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญถ้าเป็นประเด็นที่แก้ เพื่อตนเองให้พ้นจากการยุบพรรคก็ดีหรือเพื่อให้ตนได้ประโยชน์อย่างไรก็ดี เชื่อว่าจะต้องมีคนออกมาคัดค้าน สุดท้ายจะทำให้เกิดความวุ่นวาย ดังนั้น จึงอยากให้ผู้เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญพิจารณาถึงผลดีผลเสียให้ดี   เมื่อถามว่า การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคพลังประชาชนอ้างความชอบธรรม เพื่อผ่าทางตันทางการเมือง นายเสรี กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ทางตัน เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่รัฐธรรมนูญเขียนไว้เป็นกติกาของบ้านเมืองทุกคนต้องปฏิบัติตามกติกาของบ้านเมือง เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นคนที่ทำผิดมักไม่ยอมรับผิด แต่กลับไปโทษรัฐธรรมนูญว่ามีปัญหา หรือบอกว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากรัฐธรรมนูญ ความจริงปัญหาเกิดจากคนกระทำความผิด ถ้าไม่มีการกระทำความผิดมาตรานี้ ก็จะไม่ต้องนำมาใช้ ดังนั้น การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงไม่ใช่ความชอบธรรมใดๆทั้งสิ้น   เมื่อถามว่าหากผู้เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญจะทำประชามติเพื่อขอความเห็นชอบของประชาชนเป็นสิ่งที่ทำได้หรือไม่ นายเสรี กล่าวว่า การทำประชามติเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ หากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องที่สำคัญ โดยประชาชนเป็นผู้เสนอความต้องการหรือแสดงความเห็นผ่านการประชามติ เป็นสิ่งทำได้เพราะหากประชาชนเห็นด้วยก็เป็นสิ่งที่ยอมรับได้   เมื่อถามต่อว่าเวลาใดจึงควรพิจารณาถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายเสรี กล่าวว่า การแก้รัฐธรรมนูญควรให้มีการใช้ไปสักระยะหนึ่งแล้วจึงทบทวนถึงการใช้รัฐธรรมนูญว่ามีปัญหาอย่างไร มีความขัดข้องในส่วนใด ทำให้บ้านเมืองเดินต่อไปไม่ได้จริงหรือไม่ เป็นความขัดข้องที่รัฐธรรมนูญหรือที่กฎหมายลูกเพื่อให้แก้ไขตรงจุด หากนำรัฐธรรมนูญไปใช้แล้วเกิดปัญหาก็เป็นเหตุผลอยู่เองที่ต้องแก้ไข แต่ในเวลานี้เป็นเวลาที่เร็วเกินไป และเป็นการแก้ไขที่ไม่ได้เกิดจากปัญหาของรัฐธรรมนูญแต่เป็นการแก้ไขเพื่อประโยชนของตนเองมากกว่า           เรียบเรียงจาก เว็บไซต์เดลินิวส์ , เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/33408
2011-03-07 00:08
ประมงพื้นบ้านตรังกองซากพะยูนประท้วงหน้าศาลากลาง
เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 6 มีนาคม นายแสวง ขุนอาจ คณะกรรมการชุมชนประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง พร้อมด้วยนายตะวัน ทุ่ยอ้น ประธานกลุ่มอนุรักษ์โลมาบ้านตะแสะ อ.หาดสำราญ จ.ตรัง นายสุเชาว์ รัตนตรัง ประธานกลุ่มอนุรักษ์บ้านโต๊ะบัน ต.บ่อห่อ อ.สิเกา จ.ตรัง และชาวบ้านกว่า 20 คน นำซากพะยูนเพศเมีย อายุ 5 ปี ความยาว 156 ซม. น้ำหนัก 57 กก. มาประท้วงบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดตรัง เพื่อเรียกร้องให้นายไมตรี อินทุสุต ผวจ.ตรัง ออกมาดูแลอนุรักษ์พะยูนอย่างจริงจัง เนื่องจากพะยูนในท้องทะเลตรังถูกเครื่องมือประมงผิดกฎหมายทำลายจนตายไปหลาย ตัว นายแสวงกล่าวว่า ซากพะยูนตัวที่นำมาประท้วงถูกเครื่องมือประมงอวนปลากระเบนจนตายลอยติดบริเวณ หาดตูบ หมู่ 7 บ้าน ทรายขาว ต.เกาะลิบง ใกล้กับเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ซึ่งช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา พบซากพะยูน 8 ตัว โลมา 7 ตัว และเต่า 19 ตัว และเฉพาะปีนี้ พะยูนตายไปแล้ว 2 ตัว หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังนิ่งเฉย พะยูนจะต้องสูญพันธ์ไปจากทะเละตรังอย่างแน่นอน และหากทางจังหวัดไม่สนใจ ชาวบ้านก็มีมติร่วมกันว่าจะวางซากพะยูนไว้หน้าศาลากลางจังหวัดต่อไป เพื่อเรียกร้องให้จังหวัดมาดูแลปัญหาอย่างจริงจังเสียที ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายไมตรีติดราชการและบรรดาข้าราชการได้ไปต้อนรับรัฐมนตรีที่เดินทางมาร่วม งานศพของนางถ้วน หลีกภัย แม่ของนายชวน หลีกภัย จึงยังไม่มีหน่วยงานใดลงมารับปัญหาดังกล่าว ที่มาข่าว: มติชนออนไลน์ [1]
1pos
0neg
1pos
0neg
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/38966
2012-01-27 18:20
TCIJ: รัฐบาลเดินหน้าแก้ปัญหาที่ดินทำกิน ส่งคณะทำงานลงพื้นที่โฉนดชุมชนสุราษฎร์ฯ
คณะทำงานแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน ลงพื้นที่เก็บข้อมูล และข้อเท็จจริงปัญหาที่ดินสวนปาล์มสุราษฎร์ฯ ให้คำมั่นพยายามทำให้พื้นที่เป็นพื้นที่นำร่องเรื่องโฉนดชุมชน เมื่อวันที่ 25 ม.ค.55 เวลา 14.00 น. พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ ประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะทำงานในส่วนจังหวัดสุราษฏร์ธานี ประกอบด้วย นายโกมล นกวิเชียร นายชาญยุทธ นพกูล นายสุเทพ ขวัญละมัย นายพีระพงค์ สังข์ทอง และนายเจริญ จิตพิภพ ผู้อำนวยการกลุ่มงานช่างรังวัด สปก.สุราษฏร์ธานี เดินทางเข้าพื้นที่ ชุมชนสันติพัฒนา ชุมชนคลองไทร ชุมชนไทรงามพัฒนา รวมถึงพื้นที่บ้านควนเคี่ยม ซึ่งเป็นพื้นที่สวนปาล์มที่ชาวบ้านสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้เข้าไปจับจองขยายพื้นที่ทำกินจากชุมชนเดิม จากกรณีปัญหาความขัดแย้งเรื่องที่ดินทำกินระหว่างเกษตรไร้ที่ดินและกลุ่มนายทุนเจ้าของสวนปาล์มในพื้นที่ในจังหวัดสุราษฏร์ธานี ซึ่งเป็นที่ดินในเขต สปก.ที่กลุ่มทุนเคยเช่าปลูกปาล์มน้ำมัน และสัญญาเช่าถูกยกเลิกไปแล้ว โดยบางแปลงหมดสัญญาเช่ามาเป็นเวลากว่า 20 ปี แต่ไม่มีหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบ จนเมื่อปี พ.ศ.2552 เกษตรกรไร้ที่ดินทำกินเกือบพันคนได้รวมตัวกันในนาม สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ เข้าทำการตรวจสอบพื้นที่ จัดตั้งเป็นชุมชน โดยสร้างที่พักอาศัยทำการเกษตรในพื้นที่ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ บางส่วนถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอาญาข้อหาบุกรุก ถูกกลุ่มอิทธิพลที่อ้างตัวว่าเป็นคนของบริษัทข่มขู่คุกคามทำลายบ้านเรือน ทรัพย์สิน มาโดยตลอดดังที่เป็นข่าวก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ที่ผ่านมาสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ได้ร่วมกับเครือข่ายปฏิรูปที่ดินพยายามผลักดันการแก้ปัญหาด้านนโยบายกับทางภาครัฐโดยใช้เรื่องการจัดทำโฉนดชุมชนมาโดยตลอดตั้งแต่สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ จนมาถึงรัฐบาลปัจจุบัน สำหรับการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม เก็บข้อมูล และข้อเท็จจริงของปัญหาต่างๆ เพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารและที่ประชุมในคณะทำงานแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน เพื่อเร่งดำเนินการในเรื่องดังกล่าวให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนต่อไป ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศของการพบปะ พูดคุยระหว่าคณะทำงานและชาวบ้านเต็มไปด้วยความชื่นมื่นหลังจากได้ร่วมรับประทานอาหารกับชาวบ้านแล้วก็ได้สอบถามสารทุกข์สุกดิบและปัญหาของชาวบ้านพร้อมทั้งมอบเงินช่วยเหลือซื้อยาเป็นจำนวน เงิน 2,000 บาทและได้สัญญากับชาวบ้านว่าจะเร่งดำเนินการเรื่องนี้โดยด่วนเพื่อให้พื้นที่สวนปาล์มในจังหวัดสุราษฏร์ธานีได้ปฏิรูปสู่เกษตรกรยากจนจริงๆ “ขอเป็นกำลังใจต่อชาวบ้านและต้องขอขอบคุณพวกคุณทุกคนที่ช่วยตรวจสอบการถือครองที่ดินของกลุ่มทุน และยึดคืนกลับมาให้กับภาครัฐ พวกผมจะพยายามทำให้พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่นำร่องเรื่องโฉนดชุมชนและเป็นพื้นที่ตัวอย่างของจังหวัดสุราษฏร์ธานีให้ได้” พ.ต.ต.เสงี่ยม กล่าว
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/73282
2017-09-18 21:10
ภาษีที่ดิน กับการสร้างวินัยการใช้เงินขององค์กรปกครองท้องถิ่น
เมื่อรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศจะเสนอร่างกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง นักเศรษฐศาสตร์และนักรัฐศาสตร์ส่วนใหญ่ต่างชื่นชมในความกล้าหาญทางการเมืองของพลเอกประยุทธ์  เพราะเราทราบดีว่ารัฐสภาไทยจะไม่กล้าตรากฎหมายเก็บภาษีที่ดินจากคนรวย ภาษีที่ดินเป็นแหล่งรายได้สำคัญที่ช่วยให้ท้องถิ่นมีรายได้ของตนสำหรับใช้พัฒนาท้องถิ่นตามความต้องการของประชาชนและชุมชนในพื้นที่ ทำให้ท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองและมีอิสระทางการเงินในระดับหนึ่ง ภาษีที่ดินช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดินเพราะภาษีที่ดินสามารถลดการเก็งกำไรจากการถือครองที่ดินทิ้งไว้เฉยๆ โดยไม่ทำประโยชน์ได้ ยิ่งกว่านั้นภาษีที่ดินยังเป็นเครื่องมือการคลังสำคัญที่จะบังคับให้นักการเมืองท้องถิ่น ต้องมีวินัยการใช้เงินและความรับผิด (accountable) ต่อประชาชนผู้เสียภาษี เพราะถ้าขืนถลุงเงิน เช่น เดินทางไปดูงานต่างประเทศ หรือดูงานในประเทศแฝงการเที่ยวโสเภณีเด็ก ก็จะไม่ได้รับเลือกตั้งอีก แต่น่าเสียดายว่ารัฐบาลกลับใจอ่อน ยอมผ่อนตามกระแสการวิ่งเต้นของคนชั้นกลางบางกลุ่ม โดยเฉพาะนักธุรกิจ ข้าราชการ และคนในเครื่องแบบบางกลุ่มที่ใกล้ชิดกับรัฐบาล มาตรา 43 ในร่างกฎหมายฯจึงกำหนดให้ยกเว้นไม่จัดเก็บภาษีจากผู้ที่มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยส่วนที่มีมูลค่าไม่เกินห้าสิบล้านบาท ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (หรือ อปท. ไม่ว่าจะเป็นเทศบาล อบต. กทม. เมืองพัทยา หรือ อปท.อื่น ยกเว้นองค์การบริหารส่วนจังหวัด) มีพันธกิจหรืออำนาจหน้าที่จัดบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นถึง 31 กิจกรรมสำคัญๆ เช่น การบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ บริการด้านสาธารณูปโภค/สาธารณูปการ  การจัดการศึกษาและฝึกอาชีพ สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว สาธารณสุข บำรุงศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและประชาธิปไตย ฯลฯ แต่ อปท. กลับไม่มีรายได้เพียงพอที่จะให้บริการแก่ประชาชน จึงต้องพึ่งงบประมาณจากรัฐบาลกลางเป็นหลัก ในปี 2559 อปท. มีรายได้ของตนเอง เพียง 70,000 ล้านบาท หรือ 10.7 % ของรายได้ทั้งหมดของท้องถิ่น การยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาทจะทำให้รายได้ส่วนนี้ของ อปท. ส่วนใหญ่ ลดฮวบลง โดยเฉพาะ อปท.เกือบทั้งหมดในชนบทจะไม่มีรายได้ภาษีจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเลย ทำให้ไม่มีงบที่จะใช้ในการจัดบริการสาธารณะ สาเหตุเพราะนอกจากเกษตรกรส่วนใหญ่จะมีที่ดินเกษตรถือครองเฉลี่ยเพียง 20 ไร่แล้ว ราคาประเมินยังค่อนข้างต่ำ ตัวอย่างเช่น ในอำเภอเมืองนครปฐม ที่ดินเกษตรมีราคาประเมินพียงไร่ละ 8 แสน – 2 ล้านบาท ถ้าราคาประเมินเท่ากับ 1 ล้านบาทต่อไร่ ครัวเรือนเกษตรที่จะเสียภาษีที่ดิน ต้องมีที่ดินไม่ต่ำกว่า 50-62 ไร่ซึ่งมีจำนวนน้อยมากในชนบท ยกเว้นคนที่มีธุรกิจบ่อดินที่จะมีที่ดินจำนวนนับ 100 ไร่ หรือโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น อปท. ที่จะมีรายได้เพียงพอหรือเพิ่มขึ้นต้องเป็นเขตเทศบาล กรุงเทพมหานคร หรือพัทยาเท่านั้น น่าเสียดายว่ามหาดไทยไม่มีสถิติจำนวนบุคคลที่มีที่ดินและบ้านมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท แต่การประมาณการจากสถิติของสำนักงานสถิติฯพบว่า ครัวเรือนทั่วประเทศที่มีที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 50 ล้านบาท มีเพียง 15,700 ครัวเรือน(จาก 21.3 ล้านครัวเรือน) และครัวเรือนที่บ้านมีมูลค่าสูงกว่า 50 ล้านบาท มีเพียง 5,000 ครัวเรือน นั่นหมายความว่าครัวเรือนกว่า 99 % ไม่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉะนั้นกฎหมายภาษีที่ดินฯฉบับนี้ก็แทบไม่มีประโยชน์ ครัวเรือนทั่วประเทศที่มีที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 50 ล้านบาท มีเพียง 15,700 ครัวเรือน(จาก 21.3 ล้านครัวเรือน) และครัวเรือนที่บ้านมีมูลค่าสูงกว่า 50 ล้านบาท มีเพียง 5,000 ครัวเรือน นั่นหมายความว่าครัวเรือนกว่า 99 % ไม่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉะนั้นกฎหมายภาษีที่ดินฯฉบับนี้ก็แทบไม่มีประโยชน์  เมื่อไม่มีรายได้จากภาษีที่ดิน อปท. ก็ต้องพึ่งเงินที่รัฐบาลแบ่งให้กับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลมากขึ้น ในปี 2558 งบประมาณ 2 ก้อนนี้รวมกันเท่ากับร้อยละ 50.6 ของรายได้ท้องถิ่น การพึ่งเงินจากรัฐบาลส่วนกลางมากขึ้นจะก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อการพัฒนาท้องถิ่นหลายประการ ประการแรก อปท. ส่วนใหญ่คงต้องตัดทอนการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนในท้องถิ่น ยกเว้นว่ารัฐบาลกลางจะแบ่งเงินรายได้จำนวนมากขึ้นให้แก่ อปท.  แต่การพึ่งงบประมาณจากรัฐบาลกลางมากขึ้น นอกจากจะทำให้ อปท. ไม่อาจกำหนดทิศทางการพัฒนาของตนแล้ว โครงการพัฒนาต่างๆยังต้องขึ้นกับข้าราชการในส่วนกลางและนักการเมืองระดับชาติ ซึ่งมิได้เข้าใจความต้องการของประชาชนในแต่ละท้องถิ่น ยิ่งกว่านั้นการพึ่งงบอุดหนุนจากรัฐบาลกลางยังก่อให้เกิดปัญหาทุจริต “เงินทอน” จากนักการเมืองระดับชาติ พูดง่ายๆ คือ นักการเมืองท้องถิ่นที่ต้องการเงินมาพัฒนาพื้นที่ของตนต้องยอมอยู่ในอุปถัมภ์ของพรรครัฐบาล ประชาธิปไตยไทยก็จะยังคงอยู่ในวังวนของการเมืองอุปถัมภ์ โดยหัวหน้าพรรคการเมืองไม่กี่คน ประการที่สอง การยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งก่อสร้างมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท จะทำลายแรงจูงใจของ อปท. ในการหารายได้มาใช้พัฒนาท้องถิ่น แม้ว่า อปท. ยังจัดเก็บภาษีได้น้อย แต่สถิติรายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บเอง บ่งบอกว่า อปท. มีความพยายามจัดเก็บภาษีมากกว่าที่ อปท. ได้รับจากรัฐบาลกลาง ระหว่างปี 2545-2559 รายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บเองเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 10% ขณะที่รายได้ที่รัฐบาลแบ่งให้ท้องถิ่นและเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางเพิ่มชึ้นเพียงปีละ 7.6% ร่างกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (มาตรา 28) เปิดโอกาสให้ อปท. สามารถกำหนดอัตราภาษีที่แตกต่างจากอัตราตามพระราชกฤษฎีกาได้ แต่ต้องไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด และมาตรา 44 รัฐบาลสามารถตราพระกฤษฎีกา ลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภทเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความจำเป็นทางเศรษฐกิจ หรือสังคมหรือ เหตุการณ์หรือกิจการ หรือสภาพแห่งท้องถิ่นได้ อำนาจดังกล่าวย่อมทำให้ อปท. มีแรงจูงใจที่จะกำหนดอัตราภาษีที่เงินและสิ่งก่อสร้างที่สอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจสังคม และความจำเป็นของการใช้เงินในการพัฒนาท้องถิ่น บาง อปท.อาจกำหนดอัตราภาษีให้ต่ำหน่อย บาง อปท.ที่มีความจำเป็นก็อาจกำหนดอัตราภาษีสูงขึ้น แต่ถ้าหากมีการยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีคุณค่าต่ำกว่า 50 ล้านบาท จำนวนผู้อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีจะมีจำนวนไม่กี่คน ดังนั้นอำนาจตามมาตรดังกล่าวจึงไม่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินนโยบายการคลังและการพัฒนาท้องถิ่นของ อปท. ยกเว้นว่า อปท. จะมีความจำเป็นต้องหารายได้เพิ่มและกล้าขึ้นภาษีที่เก็บจากคนรวยไม่กี่คนใน อปท. ที่มีฐานภาษีเกิน 50 ล้านบาท ผลเสียหายสำคัญประการสุดท้าย คือ การยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท จะทำลายบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น และการส่งเสริมประชาธิปไตยตามกฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2542 (มาตรา 16) หากประชาชนทุกคนที่มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่ว่าจะมีมูลค่าเท่าไรก็ตาม มีส่วนเสียภาษีให้แก่ อปท. สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ ประชาชนในท้องถิ่นจะมีแรงจูงใจคอยเฝ้าติดตามว่าผู้บริหารท้องถิ่นเอาเงินภาษีของตนไปใช้ประโยชน์สำหรับคนในท้องถิ่นส่วนใหญ่ หรือใช้ประโยชน์ส่วนตัวและพรรคพวก ผลที่ตามมา คือ ผู้บริหารท้องถิ่นที่นำเงินภาษีไปใช้ส่วนตัว หรือใช้ในโครงการที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อส่วนร่วมก็จะไม่ได้รับเลือกตั้ง บรรดานักการเมืองท้องถิ่นจะต้องเริ่มคิดโครงการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ส่วนร่วมต่อท้องถิ่น เมื่อประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนติดตามการใช้จ่ายของนักการเมือง อย่างใกล้ชิดเพื่อรักษาผลประโยชน์จากภาษีที่ตนเสีย ในการเลือกตั้งระดับชาติ ประชาชนก็จะเรียนรู้ว่านโยบายหาเสียงของพรรคการเมือง นโยบายใดเป็นนโยบายที่ดี คุ้มกับเงินภาษีของตน นโยบายใดเป็นประชานิยมที่จะก่อความเสียหายต่อส่วนรวม ภาษีที่ดิน จึงเป็นภาษีที่ฝึกให้คนไทยคอยสอดส่องการใช้เงินของนักการเมืองอย่างใกล้ชิด เป็นภาษีที่ป้องกันมิให้นักการเมืองใช้นโยบายประชานิยมแบบขาดความรับผิดชอบทางการคลังมาหาเสียง เป็นเครื่องมือสร้างวินัยการเงินการคลังให้กับพรรครัฐบาล ดีกว่าการตรากฎหมายห้ามพรรคการเมืองใช้นโยบายประชานิยมหาเสียง ภาษีที่ดิน จึงเป็นภาษีที่ฝึกให้คนไทยคอยสอดส่องการใช้เงินของนักการเมืองอย่างใกล้ชิด เป็นภาษีที่ป้องกันมิให้นักการเมืองใช้นโยบายประชานิยมแบบขาดความรับผิดชอบทางการคลังมาหาเสียง เป็นเครื่องมือสร้างวินัยการเงินการคลังให้กับพรรครัฐบาล ดีกว่าการตรากฎหมายห้ามพรรคการเมืองใช้นโยบายประชานิยมหาเสียง คำถามสุดท้าย คือ ใครควรเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผมขอเสนอให้สมาชิกของ สนช. ใช้แนวคิดเรื่อง ทุกคนที่มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต้องเสียภาษี “เสียน้อย หรือเสียมาก ก็ต้องเสียภาษี” เพราะคนที่มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต้องใช้บริการสาธาณูโภค/สาธารณูปการ ถนนหนทาง บริการเก็บขยะ ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่ต้องใช้เงินภาษี ท่านที่วิ่งเต้นขอยกเว้นไม่ให้รัฐบาลเก็บภาษีสำหรับที่ดินมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ท่านไม่ละอายใจหรืออย่างไร ท่านต้องการบริการสาธารณูปโภค/สาธารณูปการ แต่ท่านไม่ยอมเสียภาษีทางตรงที่จะนำมาจัดหาบริการเหล่านี้ ผมขอยกตัวอย่าง ประชาชนใน อบต.โพรงมะเดื่อที่มีที่ดินเกษตร 20 ไร่ เสียภาษีปีละ 110 บาท แต่เขาก็มีส่วนเสียภาษีให้ อบต. ข้อเสนอของผม คือ ทุกคนที่มีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่อยู่อาศัยตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ต้องเสียภาษีบ้าง เช่น ถ้ามูลค่าที่ดินรวมกับบ้านที่อยู่อาศัยมีมูลค่า 1-20 ล้านบาท ขอให้เสียภาษ๊ปีละ 50 บาทต่อมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 1 ล้านบาท ถ้ามูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของท่านมีมูลค่า 20 ล้านบาท ท่านก็เสียภาษีปีละ 1,000 บาท เท่านั้น ส่วนผู้มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรวมกันมูลค่า 20.01-50 ล้านบาท ขอให้เสียภาษี 100 บาทต่อมูลค่าที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง 1 ล้านบาท ดังนั้นถ้าที่ดินและบ้านของท่านมีมูลค่า 50 ล้านบาท ท่านก็เสียภาษีเพียง 100 บาท x 50 = 5,000 บาทต่อปี ถ้าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท ก็ให้เสียภาษีในอัตราที่กำหนดในร่างกฎหมายที่กำลังพิจารณา แต่ผมมีข้อสังเกตว่าในปีแรกที่มีการประกาศใช้กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผมไม่อยากให้รัฐบาลเก็บภาษีจนเกิดรายได้เพิ่มขึ้นจำนวนมาก เพราะรายได้จากภาษีนี้ย่อมเป็นภาระต่อประชาชนและภาคธุรกิจ ทางที่ดี คือ ในปีแรกที่เริ่มบังคับใช้กฎหมาย รัฐบาลควรมีเป้าหมายว่ารายได้รวมจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะต้องไม่เพิ่มขึ้นจาก รายได้รวมในปี 2560 เกินกว่า 3%-3.5% ที่เป็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ แล้วจึงค่อยๆปรับฐานภาษีขึ้นไปในเวลา 5 ปีแรก แต่อัตราการปรับฐานภาษีนี้ต้องเป็นอัตราที่กำหนดตายตัวในพระราชบัญญัติ มิใช่ปล่อยให้รัฐบาลในอนาคตเป็นผู้กำหนด ผมหวังว่า ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และสมาชิก สนช. ทุกท่านจะมีความกล้าหาญ เรียกร้องให้ทุกคนที่มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างร่วมกัน เสียภาษีตามหน้าที่ของพลเมือง “เสียน้อย เสียมาก ไม่ว่ากัน แต่ขอให้ร่วมกันเสีย” ครับ
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/72123
2017-06-26 23:33
'ศูนย์ทนายสิทธิ' ร้องรัฐเลิกใช้ ก.ม.ที่เอื้อต่อผู้ถูกคุมขังจะถูกทรมาน
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ออกแถลงการณ์เนื่องในวันสนับสนุนผู้เสียหายจากการทรมานสากล ชี้ความพยายามในการป้องกัน การนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ และการเยียวยาผู้เสียหายของรัฐไทยไม่ประสบผลสำเร็จทั้งเชิงโครงสร้างทางกฎหมายและแนวทางปฏิบัติ 26 มิ.ย. 2560 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ออกแถลงการณ์เนื่องในวันสนับสนุนผู้เสียหายจากการทรมานสากล ระบุว่า ความพยายามในการป้องกันการทรมาน การนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ และการเยียวยาผู้เสียหายของรัฐไทยไม่ประสบผลสำเร็จทั้งเชิงโครงสร้างทางกฎหมายและแนวทางปฏิบัติ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน  เรียกร้องด้วยว่า รัฐไทยต้องยกเลิกการบังคับใช้และแก้ไขกฎหมายที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้ถูกคุมขังว่าจะถูกทรมานและยกเว้นการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายโดยศาล รวมถึงกฎหมายที่ยกเว้นความรับผิดของผู้กระทำการทรมาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ.ร.บ.กฎอัยการศึก 2457 พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 13/2559 ต้องสอบสวนโดยพลันต่อข้อร้องเรียนว่ามีการทรมาน โดยหน่วยงานที่มีความเป็นอิสระและเป็นกลาง ให้ความคุ้มครองพยานและผู้ร้องเรียนโดยสุจริตว่ามีการซ้อมทรมานเกิดขึ้น รวมถึงกำหนดมาตรการเยียวยาผู้เสียหายจากการทรมานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งต้องเร่งดำเนินการออกกฎหมายภายในให้เป็นไปตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี รวมถึงเร่งดำเนินการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ (OPCAT) เพื่อให้มีกลไกป้องกันการทรมานระดับชาติ (National Prevention Mechanism) ในการตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัว รายละเอียดแถลงการณ์ :  แถลงการณ์เนื่องในวันสนับสนุนผู้เสียหายจากการทรมานสากล โดย ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน วันที่ 26 มิถุนายน 2560   ความพยายามในการต่อต้านการทรมานระดับสากลของรัฐไทย เริ่มขึ้นในวันที่ 2 ตุลาคม 2550 เมื่อรัฐไทยภาคยานุวัติเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention Against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment) และนับแต่อนุสัญญา มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 รัฐไทยมีหน้าที่ต้องปรับปรุงแก้ไขการดำเนินการทั้งด้านบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ ให้สอดคล้องกับข้อบังคับในอนุสัญญาฯ ซึ่งรวมถึงการบัญญัติให้การทรมานเป็นความผิดอาญาโดยกฎหมายภายในประเทศ กำหนดกลไกการสืบสวนและดำเนินคดีเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิด และกำหนดมาตรการเยียวแก่ผู้เสียหายจากการทรมาน   ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่าน นอกจากความล่าช้าในการอนุวัติการเพื่อให้มีกฎหมายภายในบังคับใช้เป็นการเฉพาะต่อการกระทำความผิดฐานทรมาน ในระยะสามปีที่ผ่านมา ภายหลังการรัฐประหาร ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนพบว่า มาตรการทั้งด้านบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติของรัฐไทยภายใต้การนำของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นอกจากจะขัดขวางมิให้มีการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ประกาศและคำสั่งบางฉบับที่ออกในนาม คสช. ที่ออกตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย   (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ยังสร้างภาวะให้ผู้ที่ถูกควบคุมตัวด้วยอำนาจรัฐ เสี่ยงต่อการตกเป็นผู้เสียหายจากการทรมาน โดยไม่สามารถเรียกร้องให้มีการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายในการควบคุมตัว รวมถึงไม่อาจตรวจสอบการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐได้อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำสั่งที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐควบคุมตัวบุคคลไว้โดยไม่เปิดเผยสถานที่ควบคุมตัวอย่างเป็นทางการได้ไม่เกินเจ็ดวัน ไม่ได้พบญาติหรือทนายความ และไม่มีการตรวจสอบคำสั่งโดยองค์กรตุลาการ ทั้งการประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ผ่านคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 13/2559 กรณีนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ได้มีข้อสรุปเชิงเสนอแนะต่อประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2560 ให้ทบทวนและแก้ไขคำสั่งดังกล่าวให้สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ เพื่อเป็นหลักประกันไม่ให้เกิดการควบคุมตัวไม่ชอบ แต่รัฐไทยยังคงใช้อำนาจดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประชาชนเสี่ยงต่อการถูกทรมาน และปราศจากหลักประกันสิทธิและเสรีภาพ ยิ่งไปกว่านั้น รายงานผลของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อข้อร้องเรียนผ่านศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ว่ามีผู้ถูกกระทำทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐภายหลังการรัฐประหารในปี 2557 อย่างน้อย 14 กรณี ฉบับลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 ยังระบุว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไม่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากมีอุปสรรคเรื่องระยะเวลาในการเข้าถึงพยานหลักฐานและความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ข้อร้องเรียนว่ามีการทรมานภายหลังการรัฐประหารในกรณีของ กริชสุดา คุณะเสน สรรเสริญ ศรีอุ่นเรือน หรือจำเลยในคดีระเบิดราชประสงค์ ล้วนไม่ได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานที่เป็นอิสระและเป็นกลาง รวมถึงในบางกรณีเจ้าหน้าที่รัฐกลับข่มขู่ว่าจะดำเนินคดีกับผู้เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ   ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเห็นว่า ความพยายามในการป้องกันการทรมาน การนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ และการเยียวยาผู้เสียหายของรัฐไทยไม่ประสบผลสำเร็จทั้งเชิงโครงสร้างทางกฎหมายและแนวทางปฏิบัติ  และเนื่องในวันสนับสนุนผู้เสียหายจากการทรมานสากล ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนมีข้อเรียกร้องต่อรัฐไทย ดังนี้   1. รัฐไทยต้องยกเลิกการบังคับใช้และแก้ไขกฎหมายที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้ถูกคุมขังว่าจะถูกทรมานและยกเว้นการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายโดยศาล รวมถึงกฎหมายที่ยกเว้นความรับผิดของผู้กระทำการทรมาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 13/2559    2. รัฐไทยต้องทำการสอบสวนโดยพลันต่อข้อร้องเรียนว่ามีการทรมาน โดยหน่วยงานที่มีความเป็นอิสระและเป็นกลาง ให้ความคุ้มครองพยานและผู้ร้องเรียนโดยสุจริตว่ามีการซ้อมทรมานเกิดขึ้น รวมถึงกำหนดมาตรการเยียวยาผู้เสียหายจากการทรมานอย่างมีประสิทธิภาพ   3. รัฐไทยต้องเร่งดำเนินการออกกฎหมายภายในให้เป็นไปตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี รวมถึงเร่งดำเนินการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ (OPCAT) เพื่อให้มีกลไกป้องกันการทรมานระดับชาติ (National Prevention Mechanism) ในการตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัว   ด้วยความเคารพต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/66739
2016-07-06 23:20
เล็งได้กรรมการนโยบาย ThaiPBS ใหม่ 5 ตำแหน่ง ‘สมชัย’ ห่วงอคติการเมือง
6 มิ.ย.2559 เว็บไซต์ไทยพีบีเอส [1]ระบุว่า ด้วยคณะกรรมการนโยบาย องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) จะมีตำแหน่งว่างลงจำนวน 5 ตำแหน่งในด้านต่างๆ จึงได้คัดเลือกรายชื่อผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมจำนวนไม่น้อยกว่า 2 เท่าของตำแหน่งที่จะแต่งตั้งในแต่ละด้านเพื่อมาแสดงวิสัยทัศน์ ในวันที่ 7 ก.ค.มีรายนามดังต่อไปนี้ ด้านการบริหารจัดการองค์กร ได้แก่ รศ.จุมพล รอดคำดี, นายโชติวิทย์ ธนวัฒน์สรธัญ, รศ.ดร.ณรงค์ เพชรประเสริฐ, นายประพันธ์ บุณยเกียรติ, นพ.วิชัย โชควิวัฒน, ดร.วีรชัย กู้ประเสริฐ, นางสุวรรณา บุญกล่ำ  ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย การพัฒนาชุนชนหรือท้องถิ่น การเรียนรู้และการศึกษา การคุ้มครองและพัฒนาเด็ก เยาวชนหรือครอบครัว หรือการส่งเสริมสิทธิของผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ได้แก่ นายจอน อึ้งภากรณ์, นายชัยรัตน์ แสงอรุณ, นายนิมิตร์ เทียนอุดม, นายพิเชฏฐ พัฒนโชติ, นายไพโรจน์ พลเพชร, นางรัศมี เผ่าเหลืองทอง, นางเรวดี ประเสริฐเจริญสุข, รศ.วิทยา กุลสมบูรณ์, นางอรุณี ลิ้มมณี  ด้านสมชัย สุวรรณบรรณ อดีตผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสโพสต์ในเว็บบล็อกส่วนตัว [2] ระบุว่า การคัดเลือกตำแหน่งกรรมการที่ว่างลงถึง 5 ตำแหน่งหรือครึ่งหนึ่งในครั้งนี้เป็นครั้งสำคัญยิ่งเพราะนอกจากจะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของสถานการณ์การเมืองแล้ว กฎหมายยังกำหนดให้ไทยพีบีเอสต้องทบทวนภารกิจและงบประมาณในทุกๆ สิบปีซึ่งครบสิบปีแรกในปี 2560 นี้ “ดังนั้นการคัดเลือก กนย. ในครั้งนี้จึงมีความสำคัญต่ออนาคตระยะยาวของไทยพีบีเอส เพราะเป็นครั้งแรกของไทยพีบีเอสที่จะมีการเปลี่ยนตัว กนย. มากกว่าครึ่งในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญที่ต้องมีการวางยุทธศาสตร์ความอยู่รอดระยะยาว” สมชัยยังแสดงความกังวลอีก 9 ประการเกี่ยวกับว่าที่กรรมการที่จะได้รับเลือก เช่น จะเข้าใจถ่องแท้เพียงใดถึงเนื้อหาสาระและเจตนารมณ์ของพ.ร.บ.สื่อสารธารณะฯ และจริยธรรมวิชาชีพ เพราะสื่อนี้เป็นของประชาชนที่มีความหลากหลาย มิใช่กลุ่มแนวคิดทางการเมืองหรืออุดมการณ์จำเพาะแบบใดแบบหนึ่ง และไม่ใช่อาณาจักรส่วนตัวของใครก็ตาม
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/66019
2016-05-28 02:50
ฅนรักษ์บ้านเกิด จ.เลย ฟ้องกลับบริษัทเหมืองฯ ทำชาวบ้านเสียชื่อเสียง
กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด จ.เลย ฟ้องกลับ บ.ทุ่งคำ ทำชาวบ้านเสียชื่อเสียง เรียกค่าเสียหายกว่า 3 ล้าน หลังศาลยกฟ้องกรณีบ.ทุ่งคำ เรียกค่าเสียหาย 50 ล้าน เหตุชาวบ้านทำป้าย 'ปิดเหมือง'  ที่มาภาพ  เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'เหมืองแร่ เมืองเลย V2 [1]' 27 พ.ค. 2559 เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'เหมืองแร่ เมืองเลย V2 [1]' รายงานว่า ชาวบ้านกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้านรอบเหมืองแร่เมืองเลย มอบหมายให้ตัวแทนชาวบ้าน 6 คน ที่เคยตกเป็นจำเลยในคดีที่บริษัท ทุ่งคำ จำกัด พร้อมด้วยทีมทนายความและนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ได้ยื่นฟ้องกลับต่อบริษัททุ่งคำ จำกัด ในคดีที่บริษัทเรียกค่าเสียหาย 50 ล้านบาท ในการทำป้าย 'ปิดเหมือง' ที่ซุ้มประตู และ 'ปิดเหมืองฟื้นฟู'   เหตุการณ์ดังกล่าวสือบเนื่องจากเมื่อปี 2558 ชาวบ้านได้ร่วมกันทำซุ้มประตูหมู่บ้าน และได้เขียนข้อความว่า "หมู่บ้านนี้ไม่เอาเหมือง" รวมถึงได้ติดป้ายเล็กๆ โดยมีข้อความว่า "ปิดเหมืองฟื้นฟู" บริเวณรอบหมู่บ้าน ซึ่งเป็นกิจกรรมรณรงค์ของกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดฯ โดยทางบริษัท ทุ่งคำ จำกัด กล่าวหาว่า การกระทำของจำเลยทั้ง 6 คน จงใจละเมิดต่อบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย จึงเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินจำนวน 50 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5 ต่อปี จากเงินต้น และให้รื้อถอนป้ายดังกล่าว โดยเมื่อวันที่ 30 มี.ค. ที่ผ่านมา ศาลได้อ่านคำพิพากษายกฟ้อง คำพิพากษาคดีจึงยกฟ้อง โดยระบุว่า ชาวบ้านที่ขึ้นป้ายเป็นการเรียกร้องจากการได้รับผลกระทบจึงเป็นการสู้โดยสุจริตซึ่งเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม [2])  ทำให้ วันนี้ (27 พ.ค.59) กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดจึงฟ้องกลับ บริษัท ทุ่งคำ เพื่อเรียกค่าเสียหายที่ทำให้ชาวบ้านเสียชื่อเสียงและเสียเวลา รวมค่าเสียหายกว่า 3 ล้านบาท ณ ศาลจังหวัด เลย  เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'เหมืองแร่ เมืองเลย V2' ระบุด้วยว่า ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ชาวบ้านกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดฟ้องกลับบริษัททุ่งคำ จำกัด เพราะที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้ฟ้องร้องทั้งคดีแพ่งและอาญาต่อชาวบ้านหลายคดี
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/49659
2013-11-07 20:52
เกมนิรโทษกรรม เกมที่ไม่ขำของประชาชน
กฎหมายต่างๆ ที่ประกาศใช้ในอารยประเทศมักเป็นผลลัพธ์ที่สืบเนื่องจากกลุ่มผลประโยชน์ที่มีการต่อรองกันผ่านกระบวนการทางการเมืองไม่ว่า จะเป็น สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา ล็อบบี้ยิสต์ทั้งหลาย องค์กรภาคประชาชนต่างๆ รวมถึงประชาชนเอง เพราะฉะนั้น การที่พรรคเพื่อไทยพยายามผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อประโยชน์ของกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทหาร ทักษิณ ผู้นำการชุมนุมฝ่ายเสื้อแดงและเสื้อเหลืองนั้นเป็นเรื่องปกติ การที่อดีตนายกทักษิณจะได้กลับหรือไม่ได้กลับ ได้เงินคืนหรือไม่ได้เงินคืนก็เป็นเรื่องปกติที่ต้องมีการต่อรองกันกับทุกๆ ฝ่าย (คดีความของทักษิณทั้งที่ตัดสินแล้วและยังไม่ได้ตัดสินยังมีปัญหาความชอบด้วยกฎหมายอยู่มากเนื่องจากคดีความส่วนใหญ่นั้นมี คตส.ที่ถูกตั้งโดยคณะรัฐประหารเป็นโต้โผ) แต่ที่ไม่ปกติและไม่มีประเทศใดในโลกทำกัน ก็คือการที่รัฐบาลพยายามจะยำความผิดทุกอย่่างของทุกฝ่ายมารวมไปถึงการยกเว้นโทษของความผิดที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตของผู้ชุมนุม เพื่อแลกกับการยกเว้นความผิดของอดีตนายกทักษิณ เกมการเมืองที่ผ่านมาตลอด 7 ปีนี้ มีการใช้ชีวิตคนเป็นเดิมพันในเกมนี้ทุกครั้ง การชุมนุมเหล่านี้ ผู้นำการชุมนุมทุกครั้งหวังผลให้มีการกระทบกระทั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และกลุ่มมวลชนเพื่อให้มีผู้เสียชีวิต เพื่อจะหวังให้มีการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง ซึ่งก็มีทั้งการชุมนุมที่มีผู้เสียชีวิตและไม่มีผู้เสียชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมไล่ทักษิณของเสื้อเหลืองในปี 2548 การเริ่มก่อตั้งมวลชนเพื่อสนับสนุนพรรคไทยรักไทยในปี 2549 จนกลายเป็นมวลชนเสื้อแดงในปี 2552 จะเป็นการออกมาแสดงพลังของเสื้อเหลืองต่อรัฐบาลสมัครสุนทรเวชในปี 2551 (ผู้เสียชีวิต 8 ศพ) การชุมนุมของเสื้อแดงเมษายนปี 2552 เพื่อต่อต้านรัฐบาลอภิสิทธิ์ (ไม่มีผู้เสียชีวิต) การชุมนุมของเสื้อแดงปี 2553 เพื่อต่อต้านรัฐบาลอภิสิทธิ์ (ผู้เสียชีวิต 91 ศพ) และเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ด้วยความพยายามของพรรคเพื่อไทยที่จะออกกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อทำให้ความผิดที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมืองทั้งหมดที่ผ่านมา 7 ปีเป็นอันสิ้นผลไป หากดูเผินๆ อาจดูเหมือนเป็นการเริ่มต้นใหม่ของทุกฝ่าย (Set Zero) น่าจะเป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งที่เราเหลืออยู่อาจไม่ใช่ศูนย์ มันคือเกมการเมืองที่มี score เป็นศูนย์บวกกับกฎใหม่ของเกมคือ การนิรโทษกรรมสามารถทำได้ สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในเมืองไทย ไม่ใช่ครั้งแรกของการมีนิรโทษกรรม จากบทความของ อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ “นิรโทษกรรมเหมาเข่ง เห็นด้วย - ไม่เห็นด้วย” การนิรโทษกรรมที่เกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมืองมีอยู่ 3 ฉบับ เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 (ผู้เสียชีวิต 77 ศพ) : พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ซึ่งกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับการเดินขบวนเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2516 เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 (ผู้เสียชีวิต 46 ศพ) : พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เหตุการณ์พฤษภาคม 2535 (ผู้เสียชีวิต 52 ศพ) : พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2535 และเป็นกฎหมาย 3 ฉบับนี้ที่กำหนดมาตรฐานการเมืองไทยไว้ คือ ชุมนุมได้ คนตายได้ ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ต้องรับผิด (ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้นำการชุมนุม) และถ้า พ.ร.บ.นิรโทษกรรมออกมาได้สำเร็จจะเป็นการย้ำชัดๆ ว่า กฎเกณฑ์ของเกมในเมืองไทยคือ เกมการเมืองระบบประชาธิปไตยไทยๆ บวกกับการนิรโทษกรรม การชุมนุมเหล่านี้มีรูปแบบคล้ายกันคือ ฝั่งผู้นำการชุมนุมจะชุมนุมบนถนน มีการเข้าปิดสถานที่ราชการ เพื่อบีบบังคับให้รัฐบาลลาออก ยุบสภา หรือแสดงพลังกดดันเพื่อให้มีการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง ส่วนฝั่งรัฐบาลจะต้องเลือกระหว่างการสลายการชุมนุมด้วยการใช้กำลังหรือการจัดการผู้ชุมนุมด้วยสันติวิธี บทความนี้จะอธิบายถึง ผลกระทบของพ.ร.บ.นิรโทษกรรม และ แสดงเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงไม่ควรออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ด้วยทฤษฎีเกมอย่างง่ายๆ ด้วย ตาราง Matrix 2X2 ท่านผู้อ่านบางท่านที่ไม่คุ้นเคยกับ ทฤษฎีเกม (Game Theory) อาจไม่เห็นว่า ตารางสี่เหลี่ยม สองคูณสอง ทำไมถึงเอาไปวิเคราะห์เกมการเมืองระดับประเทศที่มีความซับซ้อนมีปัจจัยต่างๆ มากมาย ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ตัดสินใจ สิ่งที่เราวิเคราะห์จากทฤษฎีเกมนั้นไม่อาจอธิบายทุกสิ่งได้หมด แต่สิ่งที่เราได้จากกล่องส่ีเหลี่ยมนี้คือ ถ้าผู้เล่นมีผลตอบแทนตามตารางดังกล่าว ผู้เล่นย่อมเลือกที่จะทำตามตัวเลือกที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด นอกจากนี้เรายังสามารถกำหนดสถานการณ์สมมติในกรณีมีเหตุการณ์ที่ทำให้ผลตอบแทนของผู้เล่นตามตารางผลตอบแทน (payoff matrix) เปลี่ยนไป การกระทำของผู้เล่นก็ย่อมจะเปลี่ยนไปด้วย และในที่นี้ เรามี พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเป็นปัจจัยที่จะเปลี่ยนให้ผลตอบแทนของเมตริกซ์เปลี่ยนไป สถานการณ์ที่กำหนดขึ้นมีสมมติฐานดังนี้ 1. แกนนำผู้ชุมนุม (Protester) เป็น ผู้เล่นที่ตัดสินใจแทนผู้ชุมนุมทั้งหมดแกนนำรัฐบาล (Government) เป็น ผู้เล่นที่ตัดสินใจแทนเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งหมด 2. ผู้เล่นจะเลือกการกระทำที่ให้ผลตอบแทน (Pay-off หรือ Utility) ที่มากกว่าเสมอ เช่น ตัวเลือก A ให้ผลตอบแทน 5 มากกว่าตัวเลือก B ที่ให้ผลตอบแทน 0 กรณีนี้ผู้เล่นจะเลือก ตัวเลือก A เสมอ 3. ผู้เล่นมีข้อมูลในการตัดสินใจครบ รู้ผลตอบแทนของตนเองและของฝั่งตรงข้าม (Complete information) 4. การใช้ความรุนแรงของทั้งฝั่งผู้ชุมนุม และรัฐบาล ทำให้บรรลุเป้าหมายของฝั่งตนเองได้ง่ายกว่า ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า (ในกรณีฝ่ายไม่ใช้กำลัง) 5. ระบบกฎหมายในเกมที่ 2 มีประสิทธิภาพพอที่จะป้องกัน (Deter) ไม่ให้ผู้เล่นกระทำความผิดได้ (สามารถลดผลตอบแทนได้มากพอที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เล่นได้) วิธีการเล่น 1. ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายเลือกการกระทำของตนเองพร้อมกัน 2. แกนนำผู้ชุมนุมมีทางเลือกสองทางระหว่าง “การชุมนุมที่มิชอบด้วยกฎหมาย” กล่าวคือ มีการใช้ความรุนแรง ปิดถนน ยึดสถานที่ราชการ มีการใช้อาวุธ (ในตารางแทนด้วย “Force”) กับ “การชุมนุมโดยสงบ” อย่างสันติวิธี ปราศจากความรุนแรง (ในตารางแทนด้วย “Peace”) รัฐบาลมีสองทางเลือก ระหว่าง “สลายการชุมนุม” ด้วยความรุนแรง กล่าวคือ สลายการชุมนุมโดยไม่ได้สัดส่วน ใช้ทหารที่ไม่ได้ผ่านการฝึกการควบคุมฝูงชน ใช้อาวุธสงครามในการสลายการชุมนุม (ในตารางแทนด้วย “Force”) และ “ดูแลการชุมนุม” ด้วยวิธีการที่สันติ ได้สัดส่วน เพื่อให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด (ในตารางแทนด้วย “Peace”) 3. เป้าหมายที่ใหญ่ที่สุดของแกนนำผู้ชุมุนุมคือ “รัฐบาลล้ม” นั่นหมายถึง ผลตอบแทนจะสูงที่สุดหากไล่รัฐบาลสำเร็จ โดยไม่ต้องรับโทษทางกฎหมาย เป้าหมายที่ใหญ่ที่สุดของแกนนำรัฐบาล คือ “รัฐบาลอยู่ในอำนาจต่อไป” นั่นหมายถึง ผลตอบแทนจะสูงที่สุด หากอยู่ในอำนาจได้ โดยไม่มีการประท้วง และไม่ต้องรับโทษทางกฎหมาย เกมที่ 1สถานการณ์ปัจจุบันของเมืองไทย เกมที่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่ต้องรับผิดทางกฎหมาย (กรณี พ.ร.บ. นิรโทษกรรม) Protester \ Government Force Peace Force 3,3 7,0 Peace 0,7 5,5 กรณีเห็นได้ชัดว่า เกมนี้เป็นเกมในรูปแบบของ Prisoner dilemma การที่สองฝั่งเลือกที่จะใช้กำลัง (Force, Force)คือให้ผลตอบแทนน้อยที่สุด คนละ 3 หน่วยเนื่องจากความสูญเสียที่สองฝ่ายจะได้รับ กล่าวคือมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากเมื่อทั้่งสองฝั่งใช้กำลัง และเมื่อทั้งสองฝ่ายใช้ความรุนแรงก็ไม่มีความแน่ชัดว่าใครจะชนะ เพราะฉะนั้น โอกาสที่รัฐบาลจะล้มจึงมี แต่ไม่แน่นอน ฝั่งใดฝั่งหนึ่งเลือกที่จะใช้กำลัง แต่อีกฝั่งเลือกสันติวิธี {(Force, Peace) หรือ (Peace, Force)}ฝั่งที่ใช้กำลังจะได้ผลตอบแทนสูงที่สุดคือ 7 หน่วย7 หน่วย ในที่นี้สำหรับฝ่ายแกนนำผู้ชุมนุมคือ รัฐบาลล้ม และสำหรับฝั่งรัฐบาลคือ สลายการชุมนุมสำเร็จ ได้อยู่ในอำนาจต่อไปฝั่งที่เลือกสันติวิธี จะผลตอบแทนต่ำที่สุดคือ 0 หน่วย สำหรับฝั่งแกนนำผู้ชุมนุม คือ โดนสลายการชุมนุม ไม่ได้แสดงออกทางความคิดเห็น สำหรับทางฝั่งรัฐบาล คืิอ รัฐบาลล้ม ทั้งสองฝ่ายเลือกสันติวิธี (Peace, Peace)กรณีนี้ได้ผลตอบแทนคนละ 5 หน่วย กล่าวคือทั้งสองฝ่ายจะต้องทนๆ กันไป คือผู้ประท้วงก็ต้องทนรัฐบาลที่ไม่ล้ม (ผลตอบแทนคือ 5 น้อยกว่า 7 กรณีใช้ Force แล้วรัฐบาลล้ม) แต่ก็ยังดีกว่าการที่จะต้องสูญเสียอย่างมาก (5 มากกว่า 3 กรณีเลือก Force ทั้งคู่) รัฐบาลก็ต้องอดทนที่จะใช้วิธีการชุมนุมอย่างสันติ เช่น มีการเจรจาต่อรอง ใช้วิธีการดูแลการชุมนุมแบบได้สัดส่วน ซึ่งผลที่ได้มักจะช้า ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายของรัฐบาลได้อย่างรวดเร็วเหมือนการใช้กำลัง รัฐบาลต้องทนให้คนวิพากษ์วิจารณ์ (ผลตอบแทนคือ 5 น้อยกว่า 7 กรณีที่รัฐบาลล้ม) ซึ่งกรณีนี้ก็ยังดีกว่าการที่จะต้องสูญเสียอย่างมาก (5 มากกว่า 3 กรณีเลือก Force ทั้งคู่) กรณีนี้ได้ผลตอบแทนคนละ 5 หน่วย Nash Equilibrium คำตอบของเกมอย่างไรก็ดี ดูเหมือนสิ่งที่สังคมต้องการตัวเลือกสุดท้ายที่ ทั้งคู่ใช้่สันติวิธี ผลตอบแทนรวมของทั้งสองฝ่าย(5+5) คือ 10 หน่วยซึ่งมากที่สุดในเกมนี้ แต่อย่างไรก็ดี กรณีนี้เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายล้วนมีตัวเลือกอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า (Profit deviation) ตัวอย่าง ถ้ากรณีอยู่ที่ช่องสุดท้าย (Peace, Peace)คือ ทั้งสองฝั่งเลือก peace ฝั่งรัฐบาลจะเปลี่ยนจาก Peace เป็น Force เนื่องจากผลตอบแทนที่สูงกว่าคือ 7 หน่วยซึ่งมากกว่า 5 หน่วยพอมาดูฝั่งแกนนำ แกนนำการชุมนุมก็จะเปลี่ยนไปเลือก Force เช่นกัน ตัวอย่าง {(Force, Peace) หรือ (Peace, Force)}ก็ไม่ทางเป็นคำตอบของเกมเช่นกันกรณีที่ฝั่งหนึ่งเลือก peace อีกฝั่งหนึ่งเลือก Force ฝั่งที่เลือก Peace จะเปลี่ยนไปเลือก Force เท่านั้น เนื่องจากผลตอบแทนที่มากขึ้นจาก 0 หน่วยเป็น 3 หน่วย แต่สำหรับจุดดุลยภาพคือ คำตอบที่ดีที่สุดที่ทั้งสองฝ่ายไม่มีทางที่จะเปลี่ยนไปเลือกคำตอบอื่น จะเห็นได้ชัดว่า คือ (Force, Force)ตัวอย่างแรก แกนนำผู้ชุมนุมรู้แล้วว่า ถ้ารัฐบาลเลือก Force แกนนำผู้ชุมนุมก็เลือก Force เพราะยังไงก็ยังมีโอกาสที่จะชนะคือ ไปวัดดวงเอา (ถ้าจะมีคนเสียชีวิต ผลตอบแทนลดลง แต่ก็ไม่ได้แย่กว่า การที่จะเลือก Peace) ถึงแม้รัฐเกิดไม่เล่นตามเกมคือถ้ารัฐบาลเลือก Peace ผู้ชุมนุมก็จะเลือก Force เพราะเท่ากับชนะเลย ส่วนรัฐบาลก็เช่นกัน ถ้ารู้อยู่แล้วว่า ผู้ชุมนุมจะเลือก Force แล้วรัฐบาลเลือก Peace รัฐบาลจะล้มทันที เพราะฉะนั้น รัฐบาลก็จะเลือก Forceเช่นกัน ซึ่งท้ายที่สุด เราจะเห็นว่า ทั้งสองฝ่ายจะจบลงที่การเลือก Force ทั้งคู่ และนั่นก็คือสถานการณ์ปกติของการเมืองไทย คือมีการนองเลือด แกนนำมักจะปลุกระดมผู้ชุมนุมให้ออกมาชุมนุมทุกครั้ง การชุมนุมส่วนใหญ่มักเป็นการชุมนุมที่มิชอบด้วยกฎหมาย ส่วนฝั่งรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลใดก็มักจะมีการสลายการชุมนุมเมื่อสถานการณ์สุกงอมเกือบทุกครั้ง สิ่งที่เราสามารถวิเคราะได้จากตารางนี้คือ ดุลยภาพของแนช (Nash Equilibrium)ในเกมแรก เราจะเห็นได้ชัดเจนว่า ดุลยภาพของเกมนี้คือ แกนนำผู้ชุมนุมเลือก Force และ รัฐบาลเลือก force ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากในมุมมองของรัฐบาลนั้น ไม่มีความจำเป็นที่ต้องเลือก Peace เลย เนื่องจาก รัฐบาลรู้อยู่แล้วว่าเมื่อตนเลือก Force จะไม่ถูกดำเนินคดีอย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าจะรู้ว่า จะมีผู้เสียชีวิตจากการกระทำของตน แต่ผลตอบแทนก็ไม่ต่ำพอที่จะหยุดไม่ให้รัฐบาลเลือก Force ได้ ทางฝั่งผู้ชุมนุมก็เช่นกันแม้จะรู้อยู่แล้ว ว่ามีโอกาสเสียหาย และจะเกิดความสูญเสีย มีผู้เสียชีวิตจากการที่ตนเองจะเลือก Force และรัฐบาลจะเลือก Force แต่อย่างไรก็ดี ผลตอบแทนนั้นไม่ต่ำพอ จะให้แกนนำผู้ชุมนุมคำนึงถึงผู้เสียชีวิตจากเลือกการกระทำของบรรดากลุ่มแกนนำ เกมที่สองสถานการณ์ในอุดมคติ กรณีไม่มีกฎหมายนิรโทษกรรม และมีการใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด Protester \ Government Force Peace Force -2,-2 2,0 Peace 0,2 5,5 สถานการณ์นี้ เป็นโลกที่เราต้องการ คือ ผู้ที่ใช้กำลังต้องรับโทษตามกฎหมาย ในโลกใบนี้ เราจะลดผลตอบแทน (Pay-off) ของฝั่งที่ใช้ความรุนแรงลง 5 หน่วย กล่าวคือเมื่อมีการใช้ความรุนแรง (ฝั่งใดฝั่งหนึ่งเลือก Force) เมื่อมีผู้เสียชีวิต ต้องมีผู้รับผิดชอบ ซึ่งในกรณีที่ระบบกฎหมายแข็งแกร่งไม่มีกฎหมายนิรโทษกรรมนั้นจะทำให้ผู้เล่นในเกมต้องพิจารณาเพิ่มต้นทุนของตนเอง (Internalize the cost) ในกรณีที่จะต้องใช้ความรุนแรงและมีผู้เสียชีวิต ซึ่งกรณี้จะเห็นได้ชัดว่า Nash equilibrium ของเกมนี้อยู่ (Peace, Peace) เนื่องจากมีกฎหมายที่ใช้ลงโทษฝ่ายที่ใช้ความรุนแรง สังเกตได้ว่า ตัวเลือก Peace นั้นกลายเป็น Dominant strategy (ตัวเลือกที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าเสมอ) ของทั้งสองฝั่ง นอกจากนี้แล้ว {(Peace, Peace)} ยังเป็นจุดดุลยภาพของแนชในเกมที่สองอีกด้วย เนื่องจากทั้งสองฝ่ายไม่มีตัวเลือกที่ดีกว่่า ในการที่จะเปลี่ยนไปเลือกการกรกระทำอื่น กล่าวคือ ระบบกฎหมายที่ไม่มีการนิรโทษกรรมนั้นสามารถลดแรงจูงใจ (Disincentive) ที่จะใช้กำลังของทั้งสองฝ่ายได้ โดยสรุปสถานการณ์ในประเทศไทยในปัจจุบันนั้น คล้ายกับเกมที่ 1 มาก ถึงแม้ว่า โมเดลของผู้เขียนไม่อาจสรุปปัจจัยต่างๆ ที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนของการเมืองไทยได้ทั้งหมด แต่จากตารางที่ผู้เขียนเสนอนั้น น่าจะพอทำให้ผู้อ่านเห็นภาพว่า การที่เรามี พ.ร.บ. นิรโทษกรรมในสังคมไทยนั้นทำให้ผู้เล่นทางการเมืองใช้ความรุนแรงอยู่เรื่อยไปในเกมแห่งอำนาจเกมนี้ หากเราต้องการประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ แน่นอนว่าการประท้วงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับระบบประชาธิปไตย แต่การประท้วงนั้นต้องเป็นไปในลักษณะสันติวิธี ซึ่งเราสามารถทำให้เป็นจริงได้ หากเราทำให้ผู้นำทางการเมืองทั้งสองฝ่ายเรียนรู้ว่า ชีวิตคนมีคุณค่า ไม่ใช่เป็นเพียงผักปลาหรือเบี้ยที่ให้ขุนเอาไปแลกกันเท่านั้น หากเราไม่ต้องการความสูญเสียนั้นเอง ประชาชนต้องให้บทเรียนกับพวกเขา ต้องไม่มีการยกโทษให้กับการฆ่าคน หรือการพาคนไปตายอีก เรามี พ.ร.บ.นิรโทษกรรมมา 3 ฉบับแล้ว และก็เกิดพฤษภาเลือดปี 53 อีก 91 ศพ ถ้าวันนี้เรามี พ.ร.บ.นิรโทษกรรมอีก ดุลยภาพของในเกมหน้าก็คือ (Force, Force) อีก ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าโศกนาฏกรรมครั้งนี้จะไม่ใช่ครั้งสุดท้ายอย่างแน่นอน   ภาคผนวก วิธีอ่านตาราง และวิธีอ่านstrategyการกระทำ(Action)ของฝ่ายผู้ชุมนุมอ่านทางแนวตั้งการกระทำของฝ่ายรัฐบาลอ่านทางแนวนอนตัวเลขในวงเล็บคือผลตอบแทนของทั้งสองฝั่งตัวเลขที่อยู่วงเล็บทางซ้ายคือผลตอบแทนของฝ่ายผู้ชุมนุมตัวเลขอยู่วงเล็บทางซ้ายคือผลตอบแทนของรัฐบาล - ตัวอย่างจากตารางแรก เมื่อแกนนำเลือก force รัฐบาลเลือก peace เราจะเห็นว่า ผลตอบแทนคือ (10,0)นั่นหมายถึง 10 หน่วยคือผลตอบแทนของฝ่ายผู้ชุมนุม ส่วน 0 หน่วยผลตอบแทนของรัฐบาล Strategy ที่เขียนในวงเล็บ หมายถึง ถ้าคำแรกนั้นหมายถึง การกระทำของฝั่งผู้ชุมนุมส่วนคำที่สองหมายถึง การกระทำของฝั่งรัฐบาล  เกิดอะไรขึ้นบ้างในเกมเกมที่ 1 มี พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ผู้ใช้ความรุนแรงไม่ต้องรับโทษทางกฎหมาย 1. (Force, Force)มีการปะทะกัน สูญเสียมากทั้งคู่ ฝั่งผู้ชุมนุมได้ 3 หน่วย หมายถึง มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และแกนนำไม่ต้องรับโทษทางกฎหมาย (เนื่องจากได้รับประโยชน์จากกฎหมายนิรโทษกรรม) มีโอกาสที่รัฐบาลจะล้ม แต่ไม่แน่นอน (50%) ฝั่งรัฐบาลได้ 3 หน่วย หมายถึง มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ผู้สั่งสลายการชุมนุมไม่ต้องรับโทษทางกฎหมาย (เนื่องจากได้รับประโยชน์จากกฎหมายนิรโทษกรรม) มีโอกาสที่รัฐบาลจะล้ม แต่ไม่แน่นอน (50%) สลายผู้ชุมนุมได้ 2. (Force, Peace)ผู้ชุมนุมล้มรัฐบาลสำเร็จ มีความสูญเสียบ้างที่เกิดจากการใช้กำลัง ฝั่งผู้ชุมนุมได้ 7 หน่วย หมายถึง มีผู้เสียชีวิตบ้าง และแกนนำไม่ต้่องรับโทษทางกฎหมาย (เนื่องจากได้รับประโยชน์จากกฎหมายนิรโทษกรรม) และ รัฐบาลล้มฝั่งรัฐบาลได้ 0 หน่วย มีผู้เสียชีิวิตบ้าง ผู้สั่งสลายการชุมนุมไม่ต้องรับโทษทางกฎหมาย(เนื่องจากไม่ได้ใช้กำลัง) รัฐบาลล้ม สลายผู้ชุมนุมไม่ได้ 3. (Peace, Force)รัฐบาลสลายการชุมนุมสำเร็จ มีความสูญเสียบ้างที่เกิดจากการใช้กำลัง ฝั่งผู้ชุมนุมได้ 0 หน่วย หมายถึง มีผู้เสียชีวิตบ้าง และ แกนนำไม่ต้องรับโทษทางกฎหมาย(เนื่องจากไม่ได้ใช้กำลัง) รัฐบาลไม่ล้มฝั่งรัฐบาลได้ 7 หน่วย หมายถึง มีผู้เสียชีวิตบ้าง ผู้สั่งสลายการชุมนุมไม่ต้องรับโทษทางกฎหมาย (เนื่องจากได้รับประโยชน์จากกฎหมายนิรโทษกรรม) และรัฐบาลไม่ล้ม สลายผู้ชุมนุมได้ 4. (Peace, Peace)ล้มรัฐบาลไม่สำเร็จ ประท้วงมีต่อไปฝั่งผู้ชุมนุมได้ 5 หน่วย หมายถึง ไม่มีผู้เสียชีวิต และแกนนำไม่ต้องรับโทษทางกฎหมาย(เนื่องจากไม่ได้ใช้กำลัง) แต่รัฐบาลไม่ล้มฝั่งรัฐบาลได้ 5 หน่วย หมายถึง ไม่มีผู้เสียชีวิต ผู้สั่งสลายการชุมนุมไม่ต้องรับโทษทางกฎหมาย(เนื่องจากไม่ได้ใช้กำลัง) รัฐบาลไม่ล้ม สลายผู้ชุมนุมไม่ได้  เกมที่สอง1. (Force, Force)มีการปะทะกัน สูญเสียมากทั้งคู่ รับโทษตามกฎหมายทั้งคู่ฝั่งผู้ชุมนุมได้ -2 หน่วย หมายถึง มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และ แกนนำต่้องรับโทษทางกฎหมาย มีโอกาสที่รัฐบาลจะล้ม (50%)ฝั่งรัฐบาลได้ -2 หน่วย หมายถึง มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ผู้สั่งสลายการชุมนุมต้องรับโทษทางกฎหมาย มีโอกาสที่รัฐบาลจะล้ม (50%) 2. (Force, Peace)ผู้ชุมนุมล้มรัฐบาลสำเร็จ มีความสูญเสียบ้างที่เกิดจากการใช้กำลังแกนนำรับโทษตามกฎหมายฝั่งผู้ชุมนุมได้ 2 หน่วย หมายถึง มีผู้เสียชีวิตบ้าง แกนนำต้องรับโทษทางกฎหมาย รัฐบาลล้ม ฝั่งรัฐบาลได้ 0 หน่วย หมายถึง มีผู้เสียชีวิตบ้าง และ แกนนำรัฐบาลไม่ต้องรับโทษทางกฎหมาย รัฐบาลล้ม 3. (Peace, Force)รัฐบาลสลายการชุมนุมสำเร็จ มีความสูญเสียบ้างที่เกิดจากการใช้กำลังรัฐบาลรับโทษตามกฎหมายจากการใช้กำลังฝั่งผู้ชุมนุมได้ 0 หน่วย หมายถึง มีผู้เสียชีวิตบ้าง และ แกนนำไม่ต้องรับโทษทางกฎหมาย รัฐบาลไม่ล้มฝั่งรัฐบาลได้ 2 หน่วย หมายถึง มีผู้เสียชีวิตบ้าง ผู้สั่งสลายการชุมนุมต้องรับโทษทางกฎหมาย รัฐบาลไม่ล้ม สลายผู้ชุมนุมได้ 4. (Peace, Peace)กรณีนี้เหมือนกับเกมแรก
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/20387
2009-03-17 03:49
1,900 องค์กรภาคเอกชนสมัครเข้าร่วมสรรหาสภาที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ตามที่ สำนักงานสภาที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ประกาศรับสมัครองค์กรภาคเอกชนเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นองค์กรผู้มีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ระหว่างวันที่ 22 มกราคม และปิดการรับสมัครเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2552 นั้น   เมื่อ 16 มี.ค. สำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ ได้ทำการประกาศรายชื่อองค์กรทั้งหมดที่สมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นองค์กรผู้มีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ รวม 1,932 องค์กร สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nesac.go.th/selection3 [1]   ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 13-19 มีนาคม 2552 จะเปิดโอกาสให้องค์กรที่สมัครเข้ารับการคัดเลือกตามบัญชีรายชื่อแต่ละกลุ่ม ที่ประสงค์จะคัดค้านองค์กรที่สมัครในกลุ่มเดียวกันที่เห็นว่าขาดคุณสมบัติหรือไม่เหมาะสม สามารถยื่นคำคัดค้านตามแบบ สศ.5-02 พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคำคัดค้าน ด้วยตนเอง ณ สำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 27 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 19 มีนาคม 2552 ในวันและเวลาราชการ หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือไปรษณีย์ด่วนพิเศษ โดยจ่าหน้าซองถึงเลขาธิการสำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตู้ ปณ.27 ปณฝ.ราชเทวี กรุงเทพฯ 10401 (โดยถือวันประทับตราไปรษณีย์ต้นทางเป็นวันยื่นคำคัดค้าน)   และภายหลังจากการคัดค้านกันเองแล้วนั้น คณะอนุกรรมการสรรหา จะดำเนินการคัดเลือกองค์กร และประกาศรายชื่อองค์กรผู้มีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ในวันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2552 ทั้งนี้สามารถติดตามความเคลื่อนไหวการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ชุดที่ 3 ได้ที่ http://www.nesac.go.th/selection3 [1] หรือศูนย์อำนวยการเพื่อการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2612-6916, 0-2612-6975
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/78019
2018-07-28 15:41
ดินสไลด์ทับบ้าน จ.น่าน ส่วนที่แม่สอดฝนกระหน่ำหนัก 24 ชม.
ดินสไลด์ทับบ้าน 4 หลัง จ.น่าน เสียชีวิต 8 คน ส่วนที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ฝนกระหน่ำหนัก 24 ชม. น้ำป่าทะลักท่วมเทศบาล-โรงเรียน เหตุดินสไลด์ทับบ้าน ต.บ่อเกลือเหนือ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน เบื้องต้นพบผู้เสียชีวิต 7 ราย ยังสูญหายอีก 2 ราย ที่มาภาพ: สำนักข่าวไทย 28 ก.ค. 2561 สถานการณ์ฝนตกสะสมมาหลายวันใน จ.น่าน และมีหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบจากน้ำเอ่อท่วม ล่าสุด (28 ก.ค.) อ.บ่อเกลือ จ.น่าน บนเขาดินชุ่มน้ำมากได้ไหลลงมาในพื้นที่บ้านห้วยขาบ หมู่ 7 ต.บ่อเกลือเหนือ  ซึ่งเป็นหมู่บ้านอยู่ในหุบเขา มีบ้านเรือนถูกดินโคลนทับ 4 หลัง เบื้องต้นพบผู้เสียชีวิต 7 ราย ยังสูญหายอีก 2 ราย ซึ่งเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอบ่อเกลือเร่งประสานหลายหน่วยงานเข้าช่วยเหลือ   ด้าน พ.อ.รัตนะ พัฒนโสภณ ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพราน 32 สั่งการให้ชุดบรรเทาสาธารณภัยของ หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 32 กองกำลังผาเมือง จัดชุดเฉพาะกิจ 4 ชุด ช่วยค้นหาผู้สูญหาย แต่เป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากยังมีฝนตกและดินโคลนเลื่อนไหลลงมาเป็นระยะ นอกจากนี้กระแสไฟฟ้าในพื้นที่ได้ถูกตัดขาดจากดินถล่มเป็นอุปสรรคต่อทำงานการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือและการติดต่อสื่อสาร ล่าสุด เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ [1] รายงานว่านายไพศาล วิมลรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เปิดเผยว่าสำหรับเหตุดินสไลด์ทับบ้านเรือนประชาชน ที่บ้านห้วยขาบ หมู่ ที่ 7 ต.บ่อเกลือเหนือ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ขณะนี้พบผู้เสียชีวิตทั้งหมด 8 ราย ได้แก่ 1.นายตุ่ย อักขระ อายุ 47 บ้านเลขที่ 21, 2. นางกาบแก้ว อักขระ อายุ 57 บ้านเลขที่30 , 3.นายธนกร อักขระ อายุ 33 บ้านเลขที่ 67, 4.น.ส.กมลรัตน์ อักขระ อายุ 34 บ้านเลขที่ 67 , 5.ด.ญ.ชรินรัตน์ อักขระ อายุ 10 บ้านเลขที่ 67, 6. น.ส.ณัฐทิชา อักขระ อายุ 21 บ้านเลขที่ 29, 7. ด.ญ.ชรินรัตน์ อักขระ อายุ 3 บ้านเลขที่ 29 และ 8. นางกา อักขระ อายุ 64 บ้านเลขที่ 29 ทั้งหมดได้นำส่งโรงพยาบาลบ่อเกลือ เพื่อทำการตรวจพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคลอีกครั้งหนึ่ง ขณะนี้ได้สั่งการให้กันจุดเกิดเหตุเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยสูง ห้ามบุคคลเข้าไปในพื้นที่โดยไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดดินสไลด์ลงมาเพิ่ม เพราะในพื้นที่ยังมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ดินเกิดการชุ่มน้ำจนอิ่มตัว ทำให้เกิดสไลด์ลงมา ส่วนชาวบ้านในพื้นที่จำนวน 61 ครัวเรือน ให้อพยพมาพักเป็นการชั่วคราวที่โรงเรียนสว้า ต.ดงพญา อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียง ขณะนี้ทางอำเภอได้จัดที่พักและอาหารไว้รองรับเรียบร้อยแล้ว โดยจะให้พักอยู่ในบริเวณดังกล่าวจนกว่าเจ้าหน้าที่จะพิจารณาว่าพื้นที่ดังกล่าวปลอดภัย ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังเคลียร์พื้นที่ โดยมีเจ้าหน้าที่ทหาร ฝ่ายปกครอง เข้าไปดูแลความปลอดภัย ส่วนการเยียวยาผู้ประสบภัยจะเป็นไปตามกฎระเบียบของทางราชการต่อไป แม่สอดฝนกระหน่ำหนัก 24 ชม. ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2561 ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องนานกว่า 24 ชั่วโมง ส่งผลถนนสายแม่สอด-ตาก หน้าสำนักงานเทศบาลนครแม่สอด จ.ตาก มีน้ำท่วมขังสูงกว่า 40 เซนติเมตร ขณะที่หลายจุดในเขตเทศบาลนครแม่สอดระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ชุมชนที่อยู่ติดลำห้วยถูกน้ำท่วมสูง เทศบาลนครแม่สอดต้องระดมติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อระบายน้ำออก ส่วนที่โรงเรียนบ้านแม่ตาว ริมเมย ใกล้แนวชายแดนไทย-เมียนมา ก็โกลาหลไม่แพ้กัน เมื่อน้ำป่าทะลักเข้าท่วมโรงเรียน ครูที่มีบ้านพักในโรงเรียนต้องช่วยย้ายสิ่งของและสื่อการเรียนการสอนขึ้นที่สูง ล่าสุดฝ่ายปกครองแม่สอด ทหาร และตำรวจเร่งเข้าไปช่วยเหลือ ที่มาข่าวเรียบเรียงจากสำนักข่าวไทย [1] [2] [2] [3]
0neg
0neg
1pos
0neg
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/57391
2015-01-14 16:33
นิทานจากห้องขังของ ‘กอล์ฟ เด็กปีศาจ’ : Little Foot ตอน 3
ทัณฑสถานหญิงกลาง เรือนนอนเพชร R. 1/6   วันที่ 26 ธันวาคม 2557 ถึงคราวที่จะฝากนิทานต่อให้กับเด็กๆ แล้วนะ ฝากเธอด้วยนะคะ + หลังจากปล่อยขี้กองโตไว้เจ้าเท้าเล็กก็ยิ้มกริ่มอย่างภูมิใจ ปีศาจร้ายกำลังเคาะประตูหัวใจของมันแล้ว มันเดินทิ้งระยะห่างออกมาแต่ยังพอมองเห็นหมุดหมายที่ปล่อยเอาไว้ได้ มันขดตัวลงข้างพุ่มไม้แล้วรอคอยให้ใครสักคนหนึ่งเดินไม่ดูตาม้าตาเรือมาเหยียบเข้า..คงจะสนุกพิลึก…มันคิดพร้อมกับหัวเราะในใจ เจ้าปีศาจนั้นหัวเราะดังกว่ามันซะอีก55 แต่ความคิดและเสียงหัวเราะของมันก็ต้องหยุดชะงักลง…ฝูงงัว! ฝูงงัวของใครสักคนกำลังมุ่งมาทางนี้ และเจ้าลูกงัวสีขาวเหมือนสำลีที่ดูเหมือนจะเพิ่งออกมาจากท้องแม่ของมันได้ไม่นานพลันหยุดยืนอยู่ในองศาของกองอึและมันก็ยกหางของมันขึ้น “โถ่” เจ้าเท้าเล็กร้องขึ้นในขณะที่เจ้างัวน้อยปล่อยอึกองใหญ่กว่าลงมาทับอึกองนั้นของมันซะมิดเลย…หมดกัน !! แผนการที่วางเอาไว้ เจ้าเท้าเล็กกระโดดออกมายืนเท้าสะเอวจ้องมองฝูงงัวอย่างหงุดหงิด จมูกของมันย่นและฟุตฟิตๆ แล้วก็กระแทกเท้ากลับตัวเดินหน้ามุ่ยต่อไป “หมดกัน” มันคิด “เจ้างัวน้อยนั่นมันกล้าดียังไงมาปล่อยอึทับข้า” ความโมโหทำให้มันเดินเร็วขึ้นเพราะเบื้องหลังไม่มีเรื่องสนุกให้รอแล้ว..น้ำมูกใสๆไหลมาตั้งแต่เมื่อไรก็ไม่รู้ แต่ว่ามันก็แค่ซืดกลับเข้าไปหรือไม่ก็เอาแขนเสื้อปาดออกมาข้างแก้มเท่านั้นแหละ แสงตะวันสีแดงส้มเริ่มแผ่เต็มขอบฟ้าแล้วและท้องของเจ้าเท้าเล็กก็ร้องจ๊อกๆ ใช่ ! นี่มันได้เวลากินข้าวแล้วละ มันเล็งหาต้นไม้ที่ร่มไม่หนาเกินไปนักเพื่อพิงตัวเองกับแสงแดดในขณะที่กินข้าว ห่อใบตองตึงถูกแกะออกข้าวเม็ดใหญ่อัดเต็มในนั้น กลิ่นใบตองยังติดอยู่ทุกครั้งที่เอาข้าวใส่ปากสลับกับปลาทูเค็มจากที่ไหนสักแห่งที่รถมีหลังคาเอาไปขายที่หมู่บ้านเดือนละครั้ง ปลาทูถูกกินไปแค่ครึ่งตัว แน่ละสิ มันเค็มนี่นา พอหนังท้องตึงหนังตาก็หย่อน พุงกลมๆป่องดันเสื้อตัวเล็กๆนั้นออกมา มันจึงเอนหลังกับขอนไม้แห้งแล้วหลับตาลง ปล่อยพุงให้เป็นอิสระ แต่เสียงนกน้อยก็ปลุกมันตื่นขึ้นเพื่อเดินทางต่อไป เจ้าเท้าเล็กออกจะหงุดหงิดกับคำสบประมาทของเจ้านกน้อยที่ว่าเท้าเล็กๆของมันคงเดินไม่ถึงไหน “โถ่ เจ้านกตัวจ้อยคอยดูเถอะแล้วจะรู้ว่าเราเดินเร็วแค่ไหน” มันขมวดคิ้วหน้ายุ่งมุ่งตรงไปตามทาง พร้อมกับแสงของตะวันที่ค่อยๆเพิ่มขึ้นและเสียงหอบหายใจทางปากเป็นจังหวะ   ขญ. ภรณ์ทิพย์ มั่นคง ป.ล.โปรดใช้ถ้อยคำที่สุภาพและถูกหลักภาษาไทย   หมายเหตุ : นิทานจากผู้ต้องขังคดีมาตรา 112 ภรณ์ทิพย์ [1] หรือ กอล์ฟ วัย 26 ปี เพื่อนๆ มักเรียก กอล์ฟ เด็กปีศาจ ปัจจุบันถูกคุมขังฝากขังครบ 5 ผลัดแล้ว อัยการขอขยายเวลาฝากขังอีก 2 ผลัดก่อนมีคำสั่งฟ้องหรือไม่ภายในวันที่ 25 ต.ค.นี้ ที่ผ่านมาทนายความยื่นคำร้องคัดค้านการประกันตัวรวมแล้ว 4 ครั้ง ยื่นหลักทรัพย์ขอประกันตัว 3 ครั้งแต่ศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกันเนื่องจากเป็นคดีร้ายแรง เกรงผู้ต้องหาจะหลบหนี กอล์ฟถูกจับกุมจากข้อกล่าวหามีส่วนร่วมในละครเจ้าสาวหมาป่า จัดแสดงในงานรำลึก 14 ตุลาคมปีที่แล้ว เธอมีพื้นเพเป็นชาวพิษณุโลก ครอบครัวทำไร่มันสำปะหลัง จบการศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ทำกิจกรรมเพื่อสังคม ทำค่ายอาสาต่างๆ มาตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 5 จนปัจจุบัน มีความสามารถในศิลปะหลายแขนงทั้งวาดภาพ เขียนนิทาน แต่เธอดูจะหลงรักศาสตร์การแสดงเป็นพิเศษ เคยก่อตั้งประกายไฟการละคร ก่อนจะปิดตัวไปในปี 2555 ครั้งหนึ่งเธอเคยให้สัมภาษณ์ถึงความใฝ่ฝันไว้ว่า “อยากไปเล่นละครในต่างจังหวัด อยากเล่นในที่ที่ต่างกัน และที่สำคัญอยากเล่นให้เด็กๆ ดู เราอยากจะเล่านิทานเรื่องใหม่ให้เด็กๆ ฟัง เป็นนิทานของคนธรรมดาที่เปลี่ยนโลกได้” ระหว่างถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ เธอเขียนนิทานส่งให้ผู้ใกล้ชิดเป็นตอนๆ บอกเล่าความฝันและส่งกำลังใจถึงผู้คนข้างนอกโดยเฉพาะเด็กๆ ที่เธอมักจะทำกิจกรรมด้วย ผู้ใกล้ชิดแจ้งด้วยว่า คำที่ขีดเส้นใต้คือคำที่เธอจำเป็นต้องใช้ภาษาสุภาพตามกฎระเบียบของเรือนจำทั้งที่ตั้งใจว่าจะไม่
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/2443
2005-01-25 22:17
เสนอตั้งเขตศก.-สังคมพิเศษ 6จว.ใต้
กรุงเทพฯ- 25 ม.ค.48 "ความเสียหายจากซึนามิครั้งนี้มูลค่ามหาศาล จึงอยากเสนอแนะรัฐบาลว่าควรจะมีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจและสังคมพิเศษ ระยะเวลาสั้นๆ แค่ 1-2 ปี เพื่อสร้างความมั่นใจในการกล้าที่จะลงทุนมากขึ้น" นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าว นายอัทธ์กล่าวว่า จากการประเมินความเสียหายของภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)ในภาคบริการ 4 สาขา ได้แก่ ธุรกิจขายส่ง-ปลีก, ธุรกิจโรงแรม-ภัตตาคาร, ธุรกิจขนส่ง-คมนาคม และธุรกิจการท่องเที่ยว ที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้ คาดว่ามูลค่าการผลิตจะลดลง 31,712 ล้านบาท หรือ 54.8% จากมูลค่ารวมของภาคบริการใน 6 จังหวัดที่มีมูลค่ารวม 57,919 ล้านบาท ซึ่งจากผลกระทบดังกล่าวคาดว่า จะมีผลทำให้อัตราการขยายตัวของจีดีพีลดลงจาก 5.9% เหลือ 5.5% ทั้งนี้เฉพาะ จ.ภูเก็ตมีมูลค่าความเสียหายมากที่สุด คือมูลค่าลดลงไป 20,464 ล้านบาท จาก 30,702 ล้านบาท หรือลดลง 66.7% แต่หากเทียบอัตราการลดลงพบว่า จังหวัดพังงาลดลงมากที่สุดคือ 3,116 ล้านบาท จากทั้งหมด 4,255 ล้านบาท หรือ 73.2% ขณะที่กระบี่ลดลง 5,795 ล้านบาท จากทั้งหมด 8,447 ล้านบาท หรือลดลง 68.6% ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ ยังเสนอแนะให้สถาบันการเงินปล่อยกู้แบบปลอดดอก เบี้ยอย่างน้อย 2 ปี เพื่อให้ผู้ประกอบการฟื้นธุรกิจได้ก่อน หลังจาก 2 ปีไปแล้วให้เก็บอัตราดอกเบี้ย 2% เป็นเวลา 15 ปี ขณะเดียวกันทั้งภาครัฐและเอกชนต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจท่องเที่ยว เช่น ย้ายสานที่การประชุมใหญ่ๆ จากเมืองหลวงไปจัดใน 6 จังหวัดเพื่อเรียกความเชื่อมั่นให้กลับมาโดยเร็ว ประชาไทรายงาน
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/73267
2017-09-17 18:01
‘พยาบาล’ หลายประเทศเรียกร้อง ‘การจ้างงานที่ดี’
พบคนทำงาน ‘พยาบาล’ ออสเตรเลีย แคนาดา แอฟริกาใต้ จนถึงอังกฤษ ทยอยเรียกร้อง 'การจ้างงานที่ดี’ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ‘ค่าแรง-สวัสดิการ-สภาพการจ้าง-การบริหารจัดการ-ยุติการล่วงละเมิดทางเพศ' ตั้งแต่ปลายเดือน ส.ค. 2560 เป็นต้นมา คนทำงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขแห่งชาติ (NHS) ออกมาประท้วงนโยบาย ‘รัดเข็มขัด’ ของรัฐบาลอังกฤษ ที่จะตัดงบประมาณภาคสาธารณะสุขต่าง ๆ บ่อยครั้ง แฟ้มภาพ: Trades Union Congress (TUC) [1] 17 ก.ย. 2560 คนทำงานภาคสาธารณะสุขโดยเฉพาะ ‘พยาบาล’ นอกเหนือจากประเทศไทยที่มีการออกมาเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ บ่อยครั้งแล้ว (อ่านเพิ่มเติม [1] [2] [2] [3] [3] [4]) หลายที่ในโลกก็พบปัญหาในการทำงานคล้ายคลึงกัน นั่นก็คือค่าแรงต่ำ-สภาพการทำงานที่หนัก ทำให้เกิดการเรียกร้องในหลายที่ ที่ออสเตรเลีย เว็บไซต์สหพันธ์พยาบาลและพยาบาลผดุงครรภ์แห่งออสเตรเลีย (ANMF) [5] เปิดเผยผลสำรวจระบุว่าพยาบาลและผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ทำงานในบ้านพักคนชรามีจำนวนน้อยเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับผู้สูงอายุที่ต้องดูแล ทั้งนี้ฝ่ายบริหารของบ้านพักคนชราหลายแห่งให้เหตุผลทางการเงินในการลดจำนวนพยาบาลว่ามาจากการตัดเงินของรัฐบาลกลาง ANMF ยังระบุว่าการเลิกจ้างพยาบาลจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในบ้านพักคนชราโดยตรง ผลสำรวจนี้ได้ทำการสำรวจพยาบาล 744 คน ที่ดูแลผู้สูงอายุมากกว่า 2,000 ราย ตั้งแต่ต้นเดือน ส.ค. 2560 ที่ผ่านมา ที่แคนาดา เว็บไซต์ของสมาคมพยาบาลออนตาริโอ (ONA) [6] รายงานเมื่อวันที่ 1 ก.ย. ว่าทาง ONA ได้ใช้โอกาสเนื่องในสัปดาห์วันแรงงานของแคนาดา เรียกร้องให้มีการสร้างความปลอดภัยในที่ทำงาน ยุติความรุนแรง ยุติการล่วงละเมิดทางเพศ และยุติการเลือกปฏิบัติต่อพยาบาล ทั้งนี้ ONA ดำเนินงานในรูปแบบสหภาพแรงงาน มีสมาชิกกว่า 64,000 คน ที่ทำงานในภาคสาธารณะสุขของรัฐออนตาริโอ ที่แอฟริกาใต้ เว็บไซต์สภาสหภาพแรงงานแห่งแอฟริกาใต้ (COSATU) [7] รายงานเมื่อวันที่ 1 ก.ย. ว่าสหภาพแรงงานพยาบาล DENOSA ในเมืองลิมโปโป (Limpopo) ออกมาระบุว่าฝ่ายบริหารของโรงพยาบาลเลโบวัคโกโม (Lebowakgomo) จะต้องรับผิดชอบต่อการหยุดงานประท้วงของพยาบาลที่ไม่พอใจที่มีการแต่งตั้งผู้จัดการฝ่ายพยาบาลที่ไม่เป็นธรรม ที่อังกฤษ The Guardian [8] รายงานเมื่อวันที่ 14 ก.ย. ว่าคนทำงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขแห่งชาติ (NHS) ทั้งพยาบาล พยาบาลผดุงครรภ์ และพนักงานทำความสะอาด ได้ออกมาเรียกร้องรัฐบาลขอขึ้นค่าแรงเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9  บวกเงินโบนัสพิเศษอีก 800 ปอนด์ (ประมาณ 35,676 บาท) เพื่อชดเชยรายรับที่พวกเขาสมควรได้ หลังตลอด 7 ปีที่ผ่านมาที่รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายรัดเข็มขัด แช่แข็งการขึ้นเงินเดือนไว้ไม่เกินร้อยละ 1 มาตั้งแต่ปี 2553 แล้ว ทั้งนี้ตัวแทนสหภาพแรงงานยูนิสัน (Unison) ระบุว่าคนทำงานภาคสาธารณสุขของอังกฤษไมได้ขึ้นค่าแรงมานานมากแล้ว ขณะที่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นตลอดเวลา ซึ่งคนทำงานมีภาระที่ต้องจ่ายค่าอาหาร ค่าที่พักอาศัย และค่าเดินทางสูงขึ้น สหภาพแรงงานพยาบาลในสหรัฐฯ ส่งอาสาสมัครไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยพายุเฮอริเคนบอนนี (Bonnie) ที่มาภาพ: Workers Independent News [9] และไม่ใช่แค่มีแต่การประท้วงเรียกร้องเท่านั้น ที่สหรัฐฯ Workers Independent News [10] รายงานเมื่อวันที่ 12 ก.ย. ว่าสหภาพแรงงานพยาบาลอาร์เอ็น (RN Response Network) ได้ส่งอาสาสมัครไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยพายุเฮอริเคนบอนนี (Bonnie) ในเขตพื้นที่ประสบภัย โดยนอกจากจะช่วยเหลือในด้านการรักษาพยาบาลต่าง ๆ แล้ว อาสาสมัครของสหภาพฯ ยังจะช่วยในการฟื้นฟูชุมชนอีกด้วย   ที่มาเรียบเรียงจาก Nurses say aged care staffing levels ‘inadequate’ (ANMF, 29/8/2017) [5]Nurses’ Union Front-Line Members Mark Labour Day Across Ontario (Ontario Nurses' Association, 1/9/2017) [6]DENOSA Limpopo hopes Lebowakgomo Hospital management will take responsibility for Monday's shutdown by nurses because of unfair appointment of acting nurse manager (COSATU, 1/9/2017) [7]Unions call for 3.9% pay rise plus £800 for a million NHS staff (The Guardian, 14/9/2017) [8]NURSE’S UNION RN RESPONSE NETWORK HELPING IN BOTH TEXAS AND FLORIDA (Workers Independent News, 12/9/2017) [10]
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/31664
2010-10-28 15:32
กองปราบเตรียมออกหมายจับผู้เผยแพร่คลิปยุบพรรค ปชป.
28 ต.ค. 2553 - เนชั่นทันข่าว [1] รายงานว่า พล.ต.ต.ปัญญา มาเม่น รอง ผบช.ก. กล่าวถึงความคืบหน้าการสืบสวนสอบสวนกรณีการเผยแพร่คลิปยุบพรรคประชาธิปัิตย์ของศาลรัฐธรรมนูญ ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการสืบสวนสอบสวน พนักงานสอบสวนกองปราบกำลังดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อเตรียมออกหมายจับ ผู้ที่เกี่ยวข้องในการกระทำความผิด ซึ่งจะมีการนำพยานหลักฐานที่ได้มาประชุมกันในวันจันทร์ที่ 1 เวลา 10.00 น.ที่กองปราบปราม เบื้องต้นนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ เลขาศาลรัฐธรรมนูญ อาจเข้าข่ายความผิด กฎหมายอาญามาตรา 198 ฐานดูหมิ่น ขัดขวางการพิจารณาของศาล ซึ่งขณะนี้ทราบว่าได้หลบหนีไปแล้ว ทำให้มีเหตุให้สอบสวนหลายอย่าง เราก็ต้องทำการสอบสวนว่านายพสิษฐ์ เข้าไปเกี่ยวข้องอย่างไร และมีใครที่เกี่ยวข้องกับนายพสิษฐ์อีกบ้าง พล.ต.ต. ปัญญา กล่าวต่อว่า ตอนนี้เราต้องไปดูเรื่องเนื้อหาของคลิปทั้ง 5 คลิป ซึ่งได้ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบว่ามีการดัดแปลงตัดต่อหรือไม่อย่างไร ซึ่งเบื้องต้นพบคำบรรยายมีการดัดแปลงซึ่งเป็นเท็จ โดยเฉพาะคลิปของประธานองคมนตรีนั้น เป็นการไปมอบรางวัล ไม่ได้ไปทำอย่างอื่น นอกจากนั้นเราก็ต้องสืบหาไปถึงคนทำคลิปทั้ง 5 คลิป คนเผยแพร่ คนไปถ่าย ซึ่งบุคคลที่ร่วมขบวนการเหล่านี้จะผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และความผิดต่อเจ้าพนักงานฐานเปิดเผยความลับทางราชการตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร ส่วนคนที่นำไปโพสต์ต่อเนื่องก็ได้มอบหมายให้ทางกองบังคับการปราบปรามการ กระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(บก.ปอท.) ไปสืบสวนสอบสวน และได้ทำหนังสือถึงกระทรวงไอซีทีเพื่อร้องต่อศาลให้บล๊อคคลิปดังกล่าวแล้ว ผู้สื่อข่าวถามลำบากใจในการทำงานหรือไม่ เพราะดูเหมือนการเมืองจะมีธงมาแล้วว่าจะให้ดำเนินการอย่างไร พล.ต.ต.ปัญญา กล่าวว่า ไม่ลำบากใจอะไร ก็ทำไปตามข้อเท็จจริง สามารถอธิบายทุกฝ่ายได้ อยากฝากเตือนประชาชนว่าคลิปทั้ง 5 คลิปมีเป้าหมายดีสเครดิสสถาบันต่างๆ ซึ่งเป็นเท็จ และเตือนประชาชนอย่านำไปทำเป็นซีดีเผยแพร่เพราะจะเข้าข่ายความผิดด้วย
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/51841
2014-02-18 23:35
สุเทพจัดขบวนรถไล่ล่ายิ่งลักษณ์ พรุ่งนี้มุ่งหน้าสำนักปลัดกลาโหมฯ
เลขาธิการ กปปส. นัด 10 โมงเช้าวันพุธเคลื่อนขบวนรถยนต์ไปสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยเปรียบได้กับการไล่นางมารร้าย จะไล่จนยิ่งลักษณ์อยู่ประเทศนี้ไม่ได้ หนีไปเชียงใหม่ก็จะเหมารถไปหา ไปที่ไหนก็ตามไปไล่ เพราะไม่อยากอยู่ร่วมแผ่นดินกันแล้ว เมื่อขับไล่ได้และมีรัฐบาลประชาชน ก็จะนำเอาเงิน 1.3 แสนล้านมาจ่ายให้ชาวนาทันที สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ปราศรัยที่แยกปทุมวันเมื่อ 18 ก.พ. (ที่มา: Blue Sky Channel) 18 ก.พ. 2557 - ในการปราศรัยของสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ที่แยกปทุมวันเมื่อคืนวันที่ 18 ก.พ. นั้น สุเทพ ได้กล่าวแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์วันนี้ และกล่าวด้วยว่า กปปส. จะสู้สุดชีวิตเพื่อไม่ให้วีรชนสูญเปล่า จากนั้นสุเทพกล่าวถึงการแถลงเรื่องนโยบายจำนำข้าวของยิ่งลักษณ์ในวันนี้ว่า "เหมือนคนไม่ยอมรับความผิด หน้าด้าน เลือดเย็น ออกมาประกาศเลยว่านโยบายจำนำข้าวตั้งใจจะให้ชาวนาได้รับประโยชน์ ต้องการให้ชาวนามีฐานะ แต่ความฝันของชาวนานั้นถูกพวกเรา มวลมหาประชาชนขัดขวางจึงทำให้รัฐบาลจ่ายเงินให้ชาวนาไม่ได้จึงเกิดปัญหา" สุเทพกล่าวด้วยว่า "ผมเรียนกับพี่น้องว่าไม่รู้จะเอาคำอะไรมาบอก แต่อยากบอกว่า คุณมันระยำจริงๆ ยิ่งลักษณ์ แม้จะเป็นผู้หญิง แต่คุณระยำเหมือนพี่คุณเลย เป็นนายกรัฐมนตรีมือเปื้อนเลือด จำคำผมไว้ แล้วเลือดจะติดมือติดตาคุณตลอดชีวิต คุณบังอาจสั่งการให้สมุนบริวารมาเข่นฆ่าสังหารประชาชนศพแล้วศพเล่า ครั้งแล้วครั้งเล่า โกงชาวนา ทำให้ชาวนาน้ำตาตก ทำให้ชาวนาฆ่าตัวตาย 11 รายแล้วที่ตายเพราะมือคุณยิ่งลักษณ์ แต่คุณไม่ดูดำดูดี ไม่มีคำเสียใจ ไม่มีความเห็นใจครอบครัวชาวนาที่เสียชีวิต ไม่เห็นใจชาวนาที่ไม่มีจะกินนับล้านครอบครัว โกงเขาไปแสนสามหมื่นล้าน แล้วคุณยังออกแถลงการณ์หน้าซื่อ โยนความผิดให้มวลมหาประชาชนว่าเพราะพวกเราขัดขวาง ทำให้ชาวนาไม่ได้เงิน บัดซบจริงๆ เลยยิ่งลักษณ์" สุเทพกล่าว จากนั้นได้ปราศรัยต่อว่า "คุณเป็นหนี้ชาวนามาครึ่งปีแล้วไม่จ่ายเงินเขา เอาข้าวเขามาไม่จ่ายเงินให้เขา พวกเรามาชุมนุมสามเดือนกว่า มาโยนผิดให้เรา คุณมันบัดซบ ไม่มีใครเลวทรามต่ำช้า บัดซบเหมือนคุณแล้วในประเทศนี้ คุณไม่รู้สึกเสียใจหรอกที่ประชาชนตายศพแล้วศพเล่า เพราะมันไม่ได้เกิดกับคนตระกูลชินวัตร ไม่ได้เกิดกับลูกคุณ คุณถึงทำหน้าระรื่นโยนความผิดให้ประชาชน ทั้งที่เป็นความผิดคุณแท้ๆ" "พี่น้องที่เคารพรักทั้งหลายครับ ที่พวกเราออกมาต่อต้านยิ่งลักษณ์ ขจัดระบอบทักษิณให้หมดสิ้นจากแผ่นดินไทยนั้น เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องชอบธรรมแล้วของมวลมหาประชาชน" จากนั้นสุเทพได้อ้างว่า "มีคนส่งข่าวมาหาผมบอกว่า ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พร้อมที่จะยอมลาออก แต่ต้องให้มีคนกลางมาเป็นนายกรัฐมนตรี และต้องเป็นคนกลางที่เขาเห็นชอบด้วย และยังมาบอกด้วยว่าถ้าลาออกเพราะแพ้ประชาชนไม่ยอม" โดยสุเทพอ้างว่าได้บอกกับคนที่ส่งข่าวดังกล่าวว่า "พวกกู ประชาชนก็ไม่ยอมแพ้มึงเหมือนกันยิ่งลักษณ์" และกล่าวด้วยว่า "ยิ่งลักษณ์ประกาศว่าไม่ยอมแพ้ประชาชน ขอให้ผมประกาศแทนพี่้น้องว่า เราประชาชนชาวไทยไม่ยอมแพ้ยิ่งลักษณ์เหมือนกัน พวกเราประชาชนไม่มีอะไรจะสูญเสียอีกแล้ว เพราะชีวิตพวกเรามันยังทำกับเราได้ขนาดนี้" "ทุกข์ยากลำบากน้ำตานองกันทั้งแผ่นดิน ยังมีหน้ามาบอกว่าไม่ยอมประชาชน เราประชาชนจึงได้บอกว่าไม่มีวันยอมยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และตระกูลชินวัตร โดยเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็เป็นกัน ขออย่าได้มีใครมาเจรจากับผมอีก ขออย่ามีใครอาสามาทาบทามอีก ผมพูดแทนประชาชน ไม่มีวันยอมตระกูลชินวัตรอีกต่อไป ถ้าจะให้พวกเราประชาชนมีชีวิตในแผ่นดินนี้ต่อไปในสภาพที่เป็นขี้ข้าของตระกูลชินวัตร ให้พวกกูตายให้หมดดีกว่า" "ญาติพี่น้องเราศพแล้ว ศพเล่า สังเวยเพราะความกระหายอำนาจของพวกมึง มา มีแรงก็โหมมาอีก และเรามวลมหาประชาชนจะสู้แม้เหลือคนสุดท้ายในแผ่นดินนี้ ไม่มีอะไรจะสูญเสียกว่านี้อีกแล้ว เพราะแม้แต่ชีวิตพวกมันยังพล่าผลาญพวกเราทุกวัน ไม่มีการเจรจา ไม่มีการต่อรอง  พวกมึงตระกูลชินวัตรอยู่ได้ พวกกูก็ไม่ต้องอยู่กัน ตั้งแต่พรุ่งนี้เป็นต้นไปจะยกระดับการต่อสู้ให้ถึงตัวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" "ไม่กลัวอีกแล้ว วันนี้ขนาดระเบิดลงบึมๆ ยังวิ่งเข้าหาระเบิดเลย ทำกับประชาชนจนไม่สามารถทนทานได้แล้ว ใครจะทนทานได้ก็ตามใจ แต่เราประชาชนไม่ทนอีกต่อไป คนอื่นอาจจะไม่รู้สึก ไปดูศพพี่น้องเราสิครับที่มันทำกัน ศพของคนที่พนมมือสวดมนต์น่ะ ยังตายด้วยความอำมหิตของน้ำมือพวกมัน ไม่ต้องมาเจรจากันอีก ไม่ต้องมายโสโอหังว่ายอมแพ้ประชาชนไม่ได้ เราประชาชนก็ยอมแพ้ไม่ได้เหมือนกัน" "พี่น้องครับ เป็นไงเป็นกัน มันไปซุกหัวอยู่ที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พรุ่งนี้เราไปหามัน ผมจะนำพี่่น้องไปสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมพรุ่งนี้เช้าครับพี่น้อง ไปไล่มันให้ถึงที่" "พี่น้องทั้งหลาย ผมขออนุญาตนัดหมาย พรุ่งนี้เดินทางโดยรถยนต์ ทุกเวทีจัดรถ ไม่พอ ผมขอวิงวอนพี่น้องชาวไทยที่มีหัวใจรักชาติ รักแผ่นดิน ช่วยบริจาครถหน่อย ใครมีรถกระบะ รถ 6 ล้อ 10 ล้อ รถอะไรประชาชนอย่างพวกเราไปได้ทั้งนั้น ขอช่วยหน่อยเถอะครับพี่น้องครับ พี่น้องประชาชนกรุงเทพฯ หรือจังหวัดข้างเคียงใกล้ๆ กรุงเทพฯ ขอความกรุณาจัดรถให้พวกเราหน่อย มาที่เวทีปทุมวัน ราชประสงค์ อโศก ลุมพินี 4 เวที ขอให้พารถมาให้พวกเราให้ได้ตอน 9 โมงเช้า กรุณาเอารถมาถ้าท่านมีใจจะช่วยพวกเรา รถอะไรก็ได้ทั้งนั้น" "และ 10 โมงตรงล้อหมุน ทุกเวทีมุ่งหน้าไปสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถ้าหนีมาทำเนียบ รถทุกคันหันหน้ามาทำเนียบ ไม่ว่ายิ่งลักษณ์อยู่ที่ไหน จะตามไปรบทุกวัน ไล่มันทุกแห่ง ไล่ทุกวัน  ไล่จนอยู่ในประเทศนี้ไม่ได้ เพราะเป็นฆาตกรฆ่าพี่น้องเรา ต้องไล่มันออกไป และต้องทำให้เร็วที่สุด ตั้งแต่พรุ่งนี้เป็นต้นไป ไล่มันทุกวัน ไม่ต้องเฝ้าเวทีแล้ว ตามล่า ตามไล่ทุกวัน เดินไม่ทันแล้วต้องอาศัยรถแล้ว ส้นตีนไม่พอแล้ว ต้องใช้ล้อรถแล้ว" "พี่น้องต่างจังหวัดที่จะมาสมทบวันพรุ่งนี้ ใครเอารถกระบะมาได้มาช่วยกัน นั่งกัน 8 คน 10 คนไม่เป็นไร แต่เราต้องไล่นางมารร้ายนี้ให้พ้นจากอำนาจให้ได้ จะเตรียมอาวุธอะไรมาฆ่าเราก็เตรียมเลย เราพร้อมแล้ว ไม่ได้ฟังชาวนาพูดหรือ ไม่ต้องใส่เสื้อเกราะไปกันตัวเปลือยๆ มึงจะฆ่ากี่คนก็ฆ่ามา พี่น้องที่เคารพครับวันพรุ่งนี้ทุกเวทีเตรียมตัวขึ้นรถเท่าที่หาได้ ไปส่งชุดแรกแล้วจะมาขนชุดสอง ถ้ารถไม่พอ แต่วิงวอนพี่น้องชาวกรุงเทพฯ ชาวจังหวัดข้างเคียง ขอบิณฑบาตขอรถของท่านมาไล่มารร้ายนี้เสียที มีรถอะไรเอาหมดทั้งนั้น รถตู้ รถกระบะก็ได้ 6 ล้อ 10 ล้อเอาหมด ชาวนามีรถอีแต๋นก็จะนั่งไป" "และถ้าพี่น้องชาวกรุงเทพฯ ท่านใดเห็นเหมือนกับเราว่าต้องไล่ยิ่งลักษณ์ออกไปให้เร็วที่สุด ถึงจะได้มีรัฐบาลของประชาชนที่มีอำนาจเต็ม สามารถเอาเงิน 1.3 แสนล้านมาจ่ายให้ชาวนาได้ทันที ก็มาร่วมกับเราที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มีรถยนต์ส่วนตัว มอเตอร์ไซค์ไปเลย จะแวะมารับพวกเราซ้อนท้ายก็ได้ ไม่มีหนทางอื่น ถ้ามวลมหาประชาชนไม่สามัคคีกันถึงที่ ไล่มันไปไม่ได้ เราก็อยู่ในประเทศนี้ต่อไปไม่ได้แล้ว เพราะมันเป็นทรราชย์ที่เผด็จการ เป็นมารร้ายผลาญชีวิตพวกเราทุกวัน ไม่สงสาร ไม่เวทนาเพราะมันเป็นมารจริงๆ พี่น้องครับ พรุ่งนี้ผมจะยืนบนหลังคารถ บอกให้มันรู้ ที่มันเตรียมสไนเปอร์ไว้ยิง ให้ยิงผมได้เลย เพราะไม่อยากมีชีวิตอยู่ร่วมแผ่นดินกับมันอีกแล้ว ผมจะชวนพี่น้องไล่ล่า ขับไล่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทุกหนทุกแห่ง หนีไปเชียงใหม่ ก็จะเหมารถไปเชียงใหม่ ไม่ยอมให้อยู่ร่วมแผ่นดินกับเรา เพราะมันฆ่าพี่น้องเราคนแล้วคนเล่า อยู่ไม่ไหวแล้ว ไม่มีทางทำให้ชาวนาของเราน้ำตาแห้งได้ มันไม่มีหัวใจ ได้แต่มาอ่านส้นตีนอะไรก็ไม่รู้ ตั้งใจเลยครับ ตั้งแต่พรุ่งนี้จะตามไล่มันทุกแห่ง จนกว่ามันจะไป สู้มันไม่ได้ ผมจะเดินไปมอบตัวให้ยิงเป้าเลย ผมไม่อยากอยู่กับมันแล้วเว้ย" สุเทพกล่าวจบการปราศรัย และร่วมกับผู้ชุมนุมร้องเพลงสู้ไม่ถอย
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/72556
2017-07-26 14:30
พบอัตราสหภาพแรงงานต่อสถานประกอบการลด สวนทางปัญหาแรงงานสัมพันธ์พุ่ง
พบอัตราสหภาพแรงงานต่อสถานประกอบกิจการลดลงเรื่อย ๆ จากอัตรา 407.79 ต่อ 100,000 แห่งในปี 2556 เหลือเพียง 396.34 ต่อ 100,000 แห่งในปี 2559 อัตราการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานก็ลดลงเหลือ 6.99% แต่อัตราการเกิดปัญหาแรงงานสัมพันธ์กลับพุ่งสูงขึ้น ที่มาภาพประกอบ: Clker-Free-Vector-Images (CC0) [1] จาก รายงานสถานการณ์และการเตือนภัยด้านแรงงาน ไตรมาส 4/2559 [2] ของกระทรวงแรงงาน (ข้อมูลปรับปรุง ณ เดือน ก.พ. 2560) พบข้อมูลที่น่าสนใจในด้านแรงงานสัมพันธ์ ในไตรมาส 4/2559 อัตราสหภาพแรงงานต่อสถานประกอบกิจการ 100,000 แห่ง ลดลงอยู่ที่ 396.34 ขณะที่อัตราการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานต่อลูกจ้างทั้งหมดลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 7.19 ในไตรมาส 3/2559 เป็นร้อยละ 6.99 ในด้านนายจ้าง อัตราสมาคมนายจ้างต่อสถานประกอบกิจการ 100,000 แห่งอยู่ที่ 87.34 ชะลอตัวจากไตรมาส 3/2559 อยู่ที่ 88.23 อย่างไรก็ตาม ยังเป็นอัตราส่วนที่แตกต่างกันมากระหว่างด้านนายจ้างกับลูกจ้าง แต่เมื่อเปรียบเทียบการจัดตั้งองค์กรนายจ้างและลูกจ้างกับจำนวนสถานประกอบกิจการเพื่อวิเคราะห์ภาวะการแรงงานสัมพันธ์ที่ดีพบว่าจำนวนสหภาพแรงงานเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว 1 แห่ง จำนวนสมาคมนายจ้างมีจำนวนเท่ากับไตรมาสที่แล้ว ขณะที่จำนวนสถานประกอบกิจการเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วจาก 360,425 แห่ง เป็น 364,081 แห่งหรือเพิ่มขึ้น 3,656 แห่ง ด้านการเกิดปัญหาแรงงานสัมพันธ์พบว่าอัตราการเกิดปัญหาแรงงานสัมพันธ์ต่อสถานประกอบกิจการ 100,000 แห่งอยู่ที่ 22.80 ขยายตัวจากไตรมาส 3/2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 14.98 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 30.43 เมื่อจำแนกประเภทของปัญหาแรงงานสัมพันธ์พบว่าปัญหาแรงงานสัมพันธ์เกิดจากข้อพิพาทแรงงานมากกว่าข้อขัดแย้งแรงงาน กล่าวคืออัตราการเกิดข้อขัดแย้งต่อสถานประกอบกิจการ 100,000 แห่งอยู่ที่ 10.99 ขณะที่อัตราการเกิดข้อพิพาทแรงงานต่อสถานประกอบกิจการ 100,000 แห่ง อยู่ที่ 11.81 ทั้งนี้ปัญหาแรงงานสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นกระทรวงแรงงานสามารถดำเนินการให้มีการยุติข้อเรียกร้องได้ด้วยระบบทวิภาคีในอัตราร้อยละ 54.17 ของจำนวนสถานประกอบการที่มีการแจ้งข้อเรียกร้องทั้งหมด ส่วนในด้านสวัสดิการแรงงาน พบอัตราการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเรื่องสวัสดิการแรงงาน อยู่ที่ร้อยละ 2.58 แสดงให้เห็นว่าแรงงานยังคงได้รับการจัดสวัสดิการแรงงานตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม สวัสดิการแรงงานนอกเหนือกฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นสิ่งที่ต้องมีการส่งเสริมให้กว้างขวางและทั่วถึง ซึ่งพบว่ามีสถานประกอบกิจการเพียงร้อยละ 2.53 และลูกจ้างเพียงร้อยละ 6.65 ที่ได้รับการส่งเสริมการจัดสวัสดิการแรงงานนอกเหนือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ดัชนีตัวเลขสหภาพแรงงานลด-ปัญหาแรงงานสัมพันธ์เพิ่ม ทั้งนี้เมื่อพิจารณาตัวเลขอัตราสหภาพแรงงานต่อจำนวนสถานประกอบกิจการ 100,000 แห่ง จากไตรมาส 4/2556 ถึง ไตรมาส 4/2559 พบว่าอัตราสหภาพแรงงานต่อจำนวนสถานประกอบกิจการลดลงจาก 407.79 ต่อ 100,000 แห่ง เหลือเพียง 396.34 ต่อ 100,000 แห่ง รวมถึงอัตราการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานต่อจำนวนลูกจ้างทั้งหมดก็ลดลงจากไตรมาส 4/2556 ถึง ไตรมาส 4/2559 จากร้อยละ 7.53 เหลือเพียงร้อยละ 6.99 ซึ่งสวนทางกับอัตราการเกิดปัญหาแรงงานสัมพันธ์ต่อจำนวนสถานประกอบกิจการ 100,000 แห่ง พบว่าเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4/2556 ถึงไตรมาส 4/2559 จาก 13.98 ต่อ 100,000 แห่ง พุ่งขึ้นสูงเป็น 22.80 ต่อ 100,000 แห่ง เช่นเดียวกับอัตราการเกิดข้อพิพาทต่อจำนวนสถานประกอบกิจการ 100,000 แห่ง จากไตรมาส 4/2556 ถึงไตรมาส 4/2559 จาก 5.31 ต่อ 100,000 แห่ง พุ่งขึ้นสูงเป็น 11.81 ต่อ 100,000 แห่ง ในด้านอัตราการเกิดข้อขัดแย้งต่อจำนวนสถานประกอบกิจการ 100,000 แห่ง พบว่าเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4/2556 ถึงไตรมาส 4/2559 จาก 8.67 ต่อ 100,000 แห่ง พุ่งขึ้นสูงเป็น 10.99 ต่อ 100,000 แห่ง รวมทั้งอัตราการเกิดข้อเรียกร้องต่อสถานประกอบกิจการ 100,000 แห่ง พบว่าเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4/2556 ถึงไตรมาส 4/2559 จาก 35.24 ต่อ 100,000 แห่ง พุ่งขึ้นสูงเป็น 72.51 ต่อ 100,000 แห่ง แต่กระนั้นกลับพบว่าอัตราการยุติข้อเรียกร้องโดยระบบทวิภาคีกลับลดลงจากไตรมาส 4/2556 ถึงไตรมาส 4/2559 จากร้อยละ 69.84 เหลือเพียงร้อยละ 54.17
0neg
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/41288
2012-06-27 22:32
ชำนาญ จันทร์เรือง: จริยธรรมประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ไม่น่าเชื่อข่าวที่รายงานใน Manager Online ว่าเป็นคำพูดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพราะรายงานข่าวได้บอกว่าเมื่อวันที่ 22 มิ.ย.ศาลรัฐธรรมนูญได้มีการจัดการสัมมนาบทบาทของสื่อมวลชน ในการพัฒนาระบบนิติรัฐและนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญ ระหว่างวันที่ 22-23 มิ.ย. ที่โรงแรม แกรนด์แปซิฟิก ซอฟเฟอริน รีสอร์ท แอนด์ สปา ชะอำ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี เพื่อให้สื่อมวลชนมีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่การนำเสนอข่าวสารให้สาธารณชนรับทราบในผลการดำเนินงานศาลรัฐธรรมนูญ(???) ซึ่งนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้เปิดเผยในงานสัมมนาว่า การจัดงานพบสื่อไม่ใช่เป็นการจัดเพื่อหาเสียงให้สื่อหันมาสนับสนุน เพราะสื่อถล่มศาลรัฐธรรมนูญอยู่ทุกวัน แต่มีเป้าหมายเป็นการสร้างความเข้าใจบทบาทหน้าที่ซึ่งกันและกัน การที่ว่าสื่อต้องทำความเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ชัดเจน เรื่องนี้ยาก เพราะสื่อบางครั้งก็ยังไม่เข้าใจเรื่องที่เกิดขึ้น ตลอดระยะเวลา 44 ปีที่ตนเองทำงานด้านกฎหมายมา จะว่าเป็นคนมืออ่อนหรืออย่างไรก็ว่ากันไป แต่ตลกที่มีคนที่ไม่ได้จบกฎหมายออกมาวิจารณ์ด่าศาลรัฐธรรมนูญทางโทรทัศน์ มันก็เป็นเรื่องแปลก ดังนั้น สื่อไม่ได้ทำตัวนำเสนอความคิดเห็นในหลายด้าน “ขอนำคดีที่อยู่ในความสนใจขณะนี้ เรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญรับพิจารณาคำฟ้องกรณี รัฐบาล รัฐสภา กำลังยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มาตรา 68 เราก็ไปดูการพิจารณาของสภาวาระที่ 3 ก็เห็นว่าเป็นไปได้เหมือนกัน เพราะรัฐสภาชุดนี้พิจารณากฎหมายแบบขายขาด แล้วโยนภาระให้ ส.ส.ร. ก็ต้องเสียเงินเลือกตั้ง ส.ส.ร.มาให้ร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีกรอบว่าไม่แตะต้อง หมวด 1 (บททั่วไป) และหมวด 2 (พระมหากษัตริย์) ต้องไม่แตะนะ ถ้าเขาร่างมาแล้วแตะล่ะ ใครจะทำไม อ๋อไม่เป็นไรมีประธานสภาเป็นผู้วินิจฉัย แต่ถ้าประธานสภาเห็นว่าให้ลงมติเลย เวลานั้นศาลรัฐธรรมนูญจะทำอะไรได้อีก เพราะเมื่อมีผลเป็นการลงประชามติไปแล้ว ผมขอย้ำเลยว่าถ้าเชื่อถือในบุคคล ก็ไม่ต้องมีกฎหมาย” นายวสันต์ กล่าว นายวสันต์ กล่าวว่า เมื่อมีข้อกล่าวหาว่าล้มล้างระบอบรัฐธรรมนูญ เวลานี้ตนเองยังไม่เห็นว่าจะมีใครออกมาปฏิเสธสักคำ มันจึงเป็นเรื่องตลกเมื่อโจทย์ยื่นฟ้องจำเลย แทนที่จำเลยจะชี้แจงข้อกล่าวหา กลับมาเล่นงานศาลรัฐธรรมนูญ ถือว่าแปลกมาก (ที่มา http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000076949) จากข่าวที่ปรากฏข้างต้นสามารถวินิจฉัยได้ 2 ประเด็น ประเด็นแรก คือ คนไม่ได้จบกฎหมายวิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ คำวินิจฉัย คือ ทำไมจะวิจารณ์ไม่ได้เพราะศาลรัฐธรรมนูญเป็นหนึ่งในองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของประชาชน และแม้แต่ศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองเองก็มีตุลาการที่ไม่ได้จบกฎหมายเช่นกัน เช่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 2คน ที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น ตามมาตรา 204(4) และมาตรา 206 ของรัฐธรรมนูญฯ ปี 50 นี่เอง ประเด็นที่สอง คือ การให้ความเห็นว่าเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญรับพิจารณาคำฟ้องกรณี รัฐบาล รัฐสภา กำลังยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มาตรา 68 เราก็ไปดูการพิจารณาของสภาวาระที่ 3 ก็เห็นว่าเป็นไปได้เหมือนกันนั้นขัดต่อประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง จริยธรรมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ลงวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2548 หรือไม่ ซึ่งเราต้องมาดูกันว่าประกาศดังกล่าวกำหนดไว้ว่าอย่างไร ศาลรัฐธรรมนูญได้กำหนดจริยธรรมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไว้ ดังต่อไปนี้ “ข้อ 1 ปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยด้วยความซื่อสัตย์สุจริตโดยปราศจากอคติทั้งปวง เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชนและความสงบสุขแห่งราชอาณาจักร ข้อ 2 รักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายทุกประการ ข้อ 3 ยึดมั่นความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญโดยไม่หวั่นไหวต่อกระแสหรือการกดดันใด ๆ ข้อ 4 รักษาความลับในการประชุมปรึกษาอย่างเคร่งครัด ข้อ 5 เคารพในมติและเหตุผลในการวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก ข้อ 6 ระมัดระวังในการให้คำปรึกษาแก่บุคคลภายนอกในเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ข้อ 7 ระมัดระวังในการแสดงความคิดเห็นต่อสื่อมวลชนหรือสาธารณชนในเรื่องที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่เสนอหรืออาจจะเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย” คำวินิจฉัย การที่ให้ความเห็นเช่นนี้น่าจะเข้าข่ายตามข้อ 7 ในการที่ต้องระมัดระวังในการแสดงความคิดเห็นต่อสื่อมวลชนหรือสาธารณชนในเรื่องที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่เสนอหรืออาจจะเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยแล้ว มิหนำซ้ำความเห็นที่แถลงต่อสื่อมวลชนในคราวนี้น่าจะก้าวล่วงเข้าไปในเนื้อหาแห่งคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประโยคที่ว่า “เป็นไปได้เหมือนกัน” นั่นเอง แล้วจะทำอย่างไรคงไม่ต้องทำอะไรสำหรับประเด็นที่หนึ่ง แต่สำหรับประเด็นที่สองนั้นเมื่อเห็นว่าน่าจะเข้าข่ายขัดต่อประกาศศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยจริยธรรมแล้ว ย่อมเข้าข่ายตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่บัญญัติว่า “ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการสูงสุด ผู้ใดมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อหน้าที่ในการยุติธรรม ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้นั้นออกจากตำแหน่งได้” ฉะนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้มีสิทธิตามมาตรา 271 ซึ่งก็คือ ส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ หรือ ส.ว.จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ของวุฒิสภา หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าสองหมื่นคนเข้าชื่อต่อประธานวุฒิสภาเพื่อพิจารณาว่าจะเข้าข่ายต้องถูกถอดถอนหรือไม่ อย่างไร ต่อไป เมื่อพิจารณาตัดสินคนอื่นให้พ้นจากตำแหน่งได้ ก็ย่อมถูกพิจารณาถอดถอนออกจากตำแหน่งได้เช่นกันครับ ว่าแต่ว่าผู้มีสิทธิเข้าชื่อนั้นจะทำหรือเปล่าเท่านั้นเอง เพราะลำพังเพียงการถามหาจริยธรรมเพื่อแสดงความรับผิดชอบคงใช้ไม่ได้ผลในกรณีนี้เป็นแน่   ------------------ หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 27 มิถุนายน 2555           --  CHUWAT RERKSIRISUK
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/6026
2005-10-10 01:08
"ทนายทักษิณ" นัดแถลงปิดปากสื่อเพิ่ม 11 ต.ค.นี้
นายธนา เบญจาธิกุล ทนายความ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุว่า เตรียมที่จะฟ้องดำเนินคดีกับสื่อมวลชนในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาเพิ่มอีก 1 คดี โดยจะมีการแถลงข่าวในวันที่ 11 ต.ค.ศกนี้   ส่วนคดีที่นายกรัฐมนตรีเป็นโจทย์ฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ น.ส.สโรชา พรอุดมศักดิ์ และบริษัท ไทยเดย์ ด็อท คอม ในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และละเมิดทั้งทางแพ่งและทางอาญานั้น ตนยังไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งเพื่อให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว โดยห้ามนายสนธิให้สัมภาษณ์หรือดำเนินการพาดพิง พ.ต.ท.ทักษิณ เนื่องจากเห็นว่า  การดำเนินรายการ เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา( 7 ต.ค.) มีเนื้อหาพาดพิง พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มากนัก            อย่างไรก็ตาม ต้องจับตาดูรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ในสัปดาห์ต่อไป โดยหากพบว่ามีการกล่าวพาดพิงนายกรัฐมนตรีในทางเสียหายจะพิจารณายื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวทันที
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/53788
2014-06-05 07:38
สุลักษณ์ ศิวรักษ์: ข้อคิดเห็นสืบเนื่องจากการยึดอำนาจของ คสช.
[อนุสนธิจาก คสช.]การรัฐประหารครั้งล่าสุด ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 นี้ ดูจะใช้บทเรียนจากความล้มเหลวของคราวที่แล้ว อย่างน่าทึ่ง เช่น 1) เริ่มจากการประกาศกฎอัยการศึกก่อน แล้วจึงประกาศยึดอำนาจอีกสองวันต่อมา แม้วุฒิสภาก็สั่งล้มเลิกลงภายหลัง แสดงว่าประกาศอำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ที่คน ๆ เดียว แล้วจึงค่อยกราบบังคมทูลพระกรุณา และรับพระราชโองการโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 26 นี้เอง โดยไม่มีประธานองคมนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และไม่มีการไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วยประการใด ๆ ทั้งนี้ เพื่อกันความครหานินทาถึงราชสำนักให้เห็นว่าทหารคิดการทำกันเอง โดยที่ใครจะเชื่อความข้อนี้แค่ไหนเป็นอีกประเด็นหนึ่ง 2) คราวนี้ ไม่มีการตั้งนายกรัฐมนตรีให้มาบริหารราชการแผ่นดินแทนคณะรัฐประหาร ซึ่งเรียกชื่ออย่างสั้น ๆ เพียงว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และ คสช. ตั้งธงเพื่อทำลายอำนาจของทักษิณ ชินวัตรอย่างฉับพลันด้วยการย้ายปลัดประทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้หมดอำนาจลง รวมถึงการโยกย้ายนายตำรวจคนสำคัญ ๆ สายทักษิณ รวมถึงผู้ว่าราชการจังหวัดต่าง ๆ ด้วย ถ้าสามารถทำให้ทักษิณและคณะหมดอำนาจไปจากทางราชการงานเมือง จะเป็นความสำเร็จของ คสช. ดังที่การรัฐประหารคราวที่แล้วล้มเหลวด้วยประการทั้งปวง (ส่วนการย้ายอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)นั้น เท่ากับเป็นการได้แต้มอย่างง่าย ๆ) 3) การบริหาราชการโดยเฉพาะก็ทางด้านเศรษฐกิจและการคลังที่เอานักวิชาการที่สามารถมาร่วมด้วยนั้น นับว่าน่าจับตามองดัง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล กับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นั้นอยู่คนละขั้ว แต่ก็ซื่อสัตย์สุจริตและมีความสามารถด้วยกันทั้งคู่ ถ้าทำงานร่วมกันได้ โดยนายทหารใหญ่รับฟังทัศนคติของบุคคลทั้งสอง น่าจะเป็นผลดี ยังนายยงยุทธ ยุทธวงศ์ ก็เป็นนักวิชาการที่มีจุดยืนทางจริยธรรม ที่มีความสามารถด้วยเช่นกัน แม้การไปเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลหลังรัฐประหารคราวที่แล้ว จะไม่ประสบผลสำเร็จก็ตาม อยากทราบว่าจะมีเทคโนแครตที่ซื่อสัตย์และสามารถอย่างอาจหาญ มาร่วมกับ คสช. อีกกี่คน นอกเหนือพวกเนติบริกร ซึ่งรับใช้เผด็จการทุกคณะ 4) ที่พึงตราเอาไว้ ก็คือคณะผู้บริหารดังกล่าว จะกล้าตีไปที่โครงสร้างทางสังคมอันอยุติธรรมได้เพียงไหน มีทางเข้าใจถึงความยากไร้ของคนส่วนใหญ่เพียงใด และมีทางที่จะเรียนรู้จากภูมิปัญญาชาวบ้านบ้างหรือไม่ โดยที่ต้องตราเอาไว้ทีเดียวว่านโยบายของทักษิณและยิ่งลักษณ์นั้นเป็นไปแต่ในทางประชานิยมเท่านั้น หากยังเป็นการซ่อนเร้นความทุจริตไว้อย่างหมกเม็ดอีกด้วย ไม่ว่าจะเรื่องจำนำข้าวหรือการซื้อรถยนต์คันแรกโดยได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ซึ่งเป็นการสนับสนุนบริษัทค้ารถยนต์ เพิ่มการจราจรติดขัด ตลอดจนเป็นพิษเป็นภัยกับระบบนิเวศยิ่งนักทราบว่า คสช. มีนโยบายให้ทำถนนหรือเขื่อนรอบ ๆ กรุงเทพฯ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง นี่ก็คือความหายนะอย่างแท้จริง ดังที่ยิ่งลักษณ์อนุมัติเงินจำนวนมหาศาล เพื่อทำเขื่อนต่าง ๆ โดยอ้างว่าเพื่อเอาชนะอุทกภัย นั่นเป็นความเลวร้ายอย่างสุด ๆ ถ้าจะทำอะไรให้ราชธานีแห่งนี้ ควรลอกแม่น้ำเจ้าพระยาและคูคลองต่าง ๆ ที่โยงถึงกันให้เมืองกรุงมีศักดิ์ศรีสมกับเป็นเมืองของพระแก้วมรกต จะอย่างไรก็ตาม งานพวกนี้ ควรขอประชามติด้วย จึงจะควร 5) การตั้งศาลทหารนั้นเป็นดาบสองคม ถ้าจะช่วยให้กระบวนการยุติธรรมดีขึ้น นั่นเป็นสาระที่สำคัญอันควรใช้ทั้งสติและปัญญา ตลอดจนขันติธรรม เฉกเช่น การจะปรับให้ระบบการศึกษาดีขึ้น รวมถึงการคณะสงฆ์ด้วย แต่เกรงว่าทัศนะดังกล่าวคงไม่อยู่ในสายตาของคนที่มีอำนาจในบัดนี้ 6) การเชิญคนไปพบ หรือไปกักตัวนั้น ดูจะบานปลายไปทุก ๆ ที ดีไม่ดีนี่จะเป็นระบอบแมกคาที ดังที่ปรากฏมาแล้ว ณ สหรัฐอเมริกา น่าจะหลีกเลี่ยงให้ทันท่วงที และที่สหรัฐฯตัดความช่วยเหลือในช่วงนี้ นั่นก็เป็นเพียงเกมการเมืองในระยะสั้น เพราะสหรัฐฯอุดหนุนรัฐบาลเผด็จการมาแล้วแทบทั้งนั้น ไม่ว่าจะสุฮาโต้แห่งอินโดนีเซีย หรือ ส. ธนะรัชต์แห่งไทยแลนด์ 7) จิตสำนึกของผู้นำ คสช. ในเวลานี้ ดีร้ายจะเอาอย่าง ส. ธนะรัชต์ ก็ได้ แต่อย่าลืมนะว่าแม้คน ๆ นั้นจะเลวร้ายเพียงใด และบ้ากามเพียงไหน แต่เขาก็มีความฉลาดเฉลียวมิใช่น้อย ทั้งยังมีกุนซือที่สามารถยิ่งนัก แม้คน ๆ นั้นจะปราศจากศีลธรรมจรรยาเอาเลย แต่คน ๆ นั้นก็ช่วยให้จอมเผด็จการผ้าขาวม้าแดง หาคนดีมีฝีมือมารับใช้บ้านเมืองได้อย่างควรแก่การก้มหัวให้ เช่น ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ทางด้านเศรษฐกิจการคลัง และทวี บุณยเกตกับระบบรัฐสภา แม้นั่นจะใช้เวลากว่า 10 ปี จึงจะร่างรัฐธรรมนูญเสร็จก็ตาม 8) การสั่งให้มอบเงินแก่ชาวนาอันเรื้อมานานจากการจำนำข้าวนั้น คสช. ได้ใบชมสมกับอภิสิทธิ์ของการรัฐประหาร ดังเมื่อรัฐประหารครั้งแรกในปี พ.ศ. 2490 ก็สั่งลดราคาโอเลี้ยง น้ำแข็ง ฯลฯ โดยได้แต้มอย่างรวดเร็ว และผู้นำคณะรัฐประหารกล่าวหาว่ารัฐบาลก่อนหน้านั้นทุจริต แต่แล้วคณะรัฐประหารก็ทุจริตยิ่งกว่านั้นมากมายหลายเท่านัก 9) หวังว่าการร่างรัฐธรรมนูญคราวนี้และการตั้งรัฐบาลพลเรือนคราวนี้ คงไม่เลวร้ายหรือล่าช้าดังสมัย ส. ธนะรัชต์ และการทำลายล้างปัญญาชนตลอดจนนักการเมืองที่คิดต่างไปจากกระแสหลัก คงจะไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างโหดเหี้ยมเลวร้ายดังสมัย ส. ธนะรัชต์ เช่นกัน 10) พระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ที่ ส. ธนะรัชต์ ให้ตราออกมาเมื่อ พ.ศ. 2505 นั้น คือต้นตอแห่งความหายนะของสถาบันสงฆ์ ถ้าไม่แก้ไขประเด็นนี้ให้ถึงแก่น การพระศาสนาจะฟื้นตัวขึ้นไม่ได้เลยส.ศ.ษ.   ป.ล. ไม่ทราบว่าหัวหน้า คสช. จะเคยศึกษาประวัติของ Pompey บ้างไหม ท่านผู้นี้เคยเป็นแม่ทัพที่สามารถมาก หากต่อมาต้องประสงค์จะเป็นนักการเมือง Plutarch เขียนประวัติท่าน (ซึ่งแปลเป็นอังกฤษ) ว่า Life out of uniform can have the dangerous effect of weakening the reputation of famous generals … .They are poorly adapted to the equality of democratic politics. Such men claim the same proceeding in civilian life that they are on the battle fields… . So when people find a man with a brilliant military record playing an active part in public life, they undermine and humiliate him. But if he renounces and withdraws from politics, they maintain his reputation and ability and no longer envy him. The trouble was that Pompey was a poor political tactician and also uninspiring public speaker. เชื่อว่าหัวหน้า คสช. คงไม่มีเวลาที่จะอ่านข้อเขียนของข้าพเจ้า แต่ถ้าลูกน้องที่มีมันสมองและหวังดีต่อนาย จะเสนอให้นายได้ทราบถึงข้อความจากอดีต นั่นอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับสถานการณ์ในปัจจุบันก็ได้ และไหน ๆ พูดถึงประวัติศาสตร์โรมันแล้ว ขอยืมคำละตินมาแปล คสช. ว่า otium cum dignitateกล่าวคือ สันติภาพ (otium) ต้องเป็นไปพร้อม ๆ กับ ศักดิ์ศรี (dignitate) ถ้าขาดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และปราศจากเสรีภาพในการแสดงออกเสียแล้ว นั่นคือสันติภาพปลอม   ที่มา: เฟซบุ๊กของ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ [1]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/56546
2014-11-18 21:06
ความคิดเห็น “ประชาชน” อยู่ตรงไหนในศูนย์รับฟังความคิดเห็นสภาปฏิรูปแห่งชาติ
คลิกดุภาพขนาดใหญ่ที่นี่ [1] เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2557 ที่รัฐสภา นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์รับฟังความคิดเห็นสภาปฏิรูปแห่งชาติ (อ่านข่าวที่นี่) [2] โดยได้ให้คำขวัญสำหรับการปฏิบัติงานของศูนย์รับฟังความคิดเห็นว่า “ร่วมคิด สร้างไทย ร่วมใจ สร้างอนาคต” การจัดตั้งศูนย์รับฟังความคิดเห็นสภาปฏิรูปแห่งชาตินี้ ถือเป็นครั้งแรกที่มีการเปิดพื้นที่รับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างเป็นทางการ หลังจากการรับประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม โดยประชาชนสามารถมีโอกาสเสนอความคิดเห็นในการปฏิรูปได้อย่างเต็มที่ผ่าน 9 ช่องทาง ทั้งนี้เมื่อความคิดเห็นของประชาชนได้ส่งผ่านช่องทางต่างๆ แล้วจะมาอยู่รวมกันที่ศูนย์รับฟังความคิดเห็นประชาชน โดยคระกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นประชาชน จะทำการรวบรวมศึกษาและส่งต่อไปให้สภาปฏิรูปแห่งชาติพิจารณา อย่างไรก็ตามเมื่อย้อนถึงที่มาขึ้น สถาบันทางการเมืองต่างๆที่จะเข้ามามีส่วนในการรพิจารณาความคิดเห็นของประชาชนพบว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญมีที่มาจากการตั้งโดย สปช. ตามข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ.2557 ข้อ 83, 84 ขณะที่สปช.มีที่มาจาก การคัดเลือกโดยคสช. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มาตรา30 และคสช. มีที่มาจากการรัฐประหาร ยึดอำนาจจากประชาชน เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/51543
2014-01-31 19:47
นิธิ เอียวศรีวงศ์: เทียนและธงชาติ
ผมไม่ทราบว่า เหตุใดกลุ่ม “พอกันที” จึงเลือกใช้วิธีจุดเทียนเพื่อแสดงจุดยืนของตนเอง แต่เทียนเป็นสัญลักษณ์ที่ทรงพลังมากในการแสดงออกซึ่งจุดยืนดังกล่าว มนุษย์ทำแสงสว่างด้วยการจุดไฟมาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ และคงจะสมัยก่อนประวัติศาสตร์อีกเหมือนกัน ที่มนุษย์รู้จักเปลี่ยนวัสดุจุดไฟจากไม้มาเป็นน้ำมันพืชหรือไขสัตว์ เพราะทำให้เกิดควันน้อยกว่า สามารถนำมาจุดในบ้านเรือนได้ ซ้ำยังให้แสงสว่างได้นานกว่า โดยไม่ทิ้งเถ้าถ่านให้เลอะเทอะอีกด้วย พูดง่ายๆ ก็คือมนุษย์น่าจะคิดสร้างตะเกียงได้มาก่อนสมัยประวัติศาสตร์แล้ว เพราะขุดพบตะเกียงในทุกอารยธรรมตั้งแต่ยังไม่ได้ใช้ตัวอักษรทั้งนั้น แต่เทียนเป็นประดิษฐกรรมล้ำหน้ากว่าตะเกียง แม้ว่าคงจะคิดต่อมาจากตะเกียงนั่นเอง กล่าวคือทำให้ตะเกียงกลายเป็นแท่งของไขสัตว์ (หรือน้ำมันพืชหรือขี้ผึ้ง) สอดไส้ไว้ในแท่งนั้นสำหรับจุดไฟได้ จึงสะดวกในการใช้มากกว่าตะเกียง ทั้งในบ้านเรือนหรือนอกบ้านเรือน หลักฐานทางประวัติศาสตร์บอกว่า จีนเป็นคนกลุ่มแรกที่ประดิษฐ์เทียนขึ้นใช้ก่อนมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาล แล้วต่อมาก็ขยายไปใช้ทั่วไปในอารยธรรมอื่นๆ ทั่วภาคพื้นยูเรเชีย รวมไปถึงตอนเหนือของแอฟริกาด้วย แต่เทียนก็ไม่ใช่สิ่งที่จะผลิตได้ง่ายๆ ทุกครัวเรือน เมื่อเทียบกับการเติมน้ำมันผางประทีป ดังนั้น เทียนจึงมักถูกใช้ในเชิงพิธีกรรมมากกว่าใช้ให้แสงสว่างในชีวิตปรกติของสามัญชน พิธีกรรมแรกตามความเข้าใจของผมที่นำเทียนไปใช้ คือพิธีกรรมทางศาสนา และก็ใช้สืบมาจนถึงทุกวันนี้เมื่อมีไฟฟ้าใช้กันแพร่หลายแล้ว เทียนจึงเป็นสัญลักษณ์ที่ฝังแน่นอยู่กับศาสนา การจุดเทียนเรียกร้องความสงบสันติจึงให้ความหมายลึกลงไปในความรู้สึกของผู้คนโดยไม่ต้องพูดออกมาเป็นคำ รวมกลุ่มกันจุดเทียน บอกโดยไม่ต้องพูดว่ากลุ่มนี้ไม่คิดจะยกไปตีกับใคร แต่กำลังทำอะไรที่ “ศักดิ์สิทธิ์” เพราะมีความสำคัญแก่สังคมโดยรวม ในขณะเดียวกันเทียนก็เตือนให้รำลึกถึงความสงบสันติอย่างเดียวกับจุดมุ่งหมายทางศาสนา เทียน (และตะเกียง) ยังเป็นแหล่งของแสงสว่างที่มนุษย์เคยชินมาแต่โบราณ ดังนั้น เทียน (และตะเกียง) จึงถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของสติปัญญาในหลายวัฒนธรรม ชาวพุทธไทยถวายเทียนให้พระระหว่างที่ท่านต้องจำพรรษาในฤดูฝน จะได้ใช้อ่านหนังสือเล่าเรียนธรรมะ ฝรั่งชอบใช้เทียน (หรือตะเกียง) ในตรามหาวิทยาลัย ผมจึงเห็นว่า เทียนเป็นสัญลักษณ์ที่ทรงพลังมาก ที่จะแสดงออกซึ่งจุดยืนทางการเมืองของกลุ่มดังกล่าว น่าประหลาดอยู่เหมือนกันที่ในวัฒนธรรมไทยปัจจุบัน ผ้าเหลืองกลับไม่แสดงความสงบสันติเท่าเทียน ผมเข้าใจ (ซึ่งอาจผิด) ว่า แต่เดิมนั้น ผ้าเหลือง (กาสาวพัสตร์) ในสมัยพุทธกาลย่อมแสดงความไม่มี “โทษ” แก่ผู้อื่น หนุ่มฉกรรจ์ในผ้าเหลืองประกันว่าเขาไม่ใช่โจร ไปยืนขออาหารที่หน้าบ้านใครก็ไม่ต้องตกใจ จะให้ก็ได้ ไม่ให้ก็ได้ อีกทั้งไม่ใช่คนร้ายที่มายืนหาลาดเลาเข้าโจรกรรมหรือทำร้ายเจ้าบ้าน ผมคิดว่าการเอาผ้าเหลืองไปผูกหรือห่มต้นไม้ของนักอนุรักษ์ชาวบ้าน คือการแสดงว่าต้นไม้อยู่ในสถานะที่ไม่พึงถูกทำร้าย ก็เป็นความคิดที่สืบมาจากคติโบราณเช่นนั้น แต่ดูเหมือนผ้าเหลือง ไม่ได้เป็นสัญลักษณ์ของความสงบสันติในเมืองไทยไปเสียแล้ว เพราะผ้าเหลืองเข้าไป “ฝักฝ่าย” กับการประท้วงของทุกฝ่ายมาหลายปีแล้ว นับตั้งแต่ “กองทัพ” ธรรม ไปจนถึงผ้าเหลืองที่ใช้ไม้ฟาดลงไปที่รถนั่งของ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และการขึ้นเวทีปราศรัยจนเป็นแม่ทัพคนหนึ่งของ กปปส. ในการรณรงค์ (แปลว่าการรบ) ปิดกรุงเทพฯ ผ้าเหลืองจึงไม่เป็นสัญลักษณ์แห่งความสงบสันติ หรือแห่งความมีสติปัญญาในวัฒนธรรมไทยปัจจุบัน ความหมายของผ้าเหลืองเช่นนั้นเป็นเพียงความหมายตามประเพณี ที่เข้าไม่ถึงจิตใจผู้คนเสียแล้ว ต้นไม้ที่ห่มผ้าเหลืองจึงถูกโค่นมาไม่รู้จะกี่พันกี่หมื่นต้นแล้ว และในการประท้วงของทุกฝ่ายในปัจจุบัน เราจึงไม่ได้เห็นผ้าเหลืองเป็นสัญลักษณ์การเคลื่อนไหวของฝ่ายใดเลย อันที่จริงจะพูดเลยไปถึงว่า พระพุทธศาสนาเองก็ไม่เป็น “ประเด็น” ของการเคลื่อนไหวของทุกฝ่ายเลยก็ว่าได้ เราวางท่านไว้บนหิ้งที่ฝุ่นจับเขรอะมานานแล้ว ธงที่ทุกฝ่ายใช้โบกไสวคือธงชาติเท่านั้น ไม่มีใครโบกธงธรรมจักร ในส่วนธงชาติหรือ “ชาติ” นั้น เป็นสัญลักษณ์ที่ทรงพลังแค่ไหน? ผมคิดว่าเรื่องนี้น่าสนใจมากทีเดียว เพราะในส่วนหนึ่งก็อาจกล่าวได้ว่าทรงพลังอย่างมาก เพราะทำให้คนจำนวนหนึ่งคิดว่า สิ่งที่ตัวร่วมละเมิดกฎหมายด้วยนั้น เป็นการกระทำเพื่อรักษา “ชาติ” เอาไว้  ในอีกส่วนหนึ่งก็ทรงพลังน้อย เพราะฝ่ายอื่นกลับไม่ใช้หรือแทบไม่ใช้ธงชาติเป็นสัญลักษณ์การเคลื่อนไหว คงไม่มีครั้งไหนในประวัติศาสตร์ไทย นับตั้งแต่เรามีธงไตรรงค์เป็นธงชาติมา ที่ความเป็นชาติถูกนิยามให้แตกต่างกันมากเท่าครั้งนี้ ลองเปรียบเทียบกับเทียนดูสิครับ เทียนมีความหมายอย่างไร ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันหมด จะต่างกันก็ตรงที่ บ้านเมืองเราเวลานี้เป็นเวลาสำหรับการจุดเทียนหรือดับเทียนกันแน่เท่านั้น แต่ธงชาติให้ความหมายถึง “ชาติ” ที่แตกต่างกันสุดขั้วไปเลย อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่าธงชาติหรือ “ชาติ” ยังเป็นสัญลักษณ์ที่ทรงพลังแก่คนกลุ่มหนึ่ง การติดธงชาติไว้กับตัวมุ่งจะสื่อมากกว่าสนับสนุน กปปส. แต่รวมถึงว่าผู้สนับสนุน กปปส. กำลังแสดงความรักชาติและกำลังปกป้องชาติด้วย แม้กระนั้น ก็ยังมีคนอีกมากที่ไม่รู้สึกอย่างเดียวกันกับสัญลักษณ์ธงชาติที่ กปปส. ใช้ อย่างน้อยก็ไม่ดึงดูดให้เขาเข้าขบวนแห่ธงชาติไปยึดบ้านเมืองร่วมกับ กปปส. แน่นอนว่า เรื่องนี้อธิบายง่ายๆ ได้ว่า เกิดขึ้นจากความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน ทุกคนในฝ่ายที่ไม่ได้ร่วมกับ กปปส. ต่างยืนยันในความรักชาติของตน ดังนั้น นอกจากความเห็นต่างทางการเมืองแล้ว ผมคิดว่ายังมีความเห็นต่างในเรื่องความเป็นชาติด้วย “ชาติ” หมายถึงอะไรกันแน่ คนไทยที่รักชาติเหมือนกัน คิดถึงเรื่องนี้ไม่เหมือนกันแล้ว ชาตินิยมที่ผลิตจากข้างบนลงมาครอบคนส่วนใหญ่ข้างล่าง อันเป็นชาตินิยมแบบไทยมาแต่เริ่มแรก กำลังไม่ทำงานอย่างที่เคยทำไปเสียแล้ว ทั้งนี้เพราะ “ชาติ” ในความหมายที่ชนชั้นนำผลิตขึ้น ขาดสาระสำคัญสองประการของความเป็น “ชาติ” ของโลกสมัยใหม่ นั่นคือหลักอธิปไตยเป็นของปวงชน และ (เมื่อเป็นเช่นนั้น) ทุกคนจึงเสมอภาคเท่าเทียมกัน “ชาติ” ในความหมายของชนชั้นนำคือ ที่รวมของคนหมู่มากที่มีความจงรักภักดีเดียวกัน (ต่อพระมหากษัตริย์และระบบคุณค่าทางศาสนา) แต่ชาติมิได้เป็นสมบัติของประชาชน และหาได้มีความเท่าเทียมกันไม่ อันที่จริงหลักการของ “ชาติ” ที่เป็นสมบัติของประชาชนซึ่งเท่าเทียมกันนั้น เป็นหลักการสำคัญของคณะราษฎรซึ่งทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 แต่มาถูกทำลายลงในการรัฐประหาร 2490 สมาชิกคณะราษฎรซึ่งยังอยู่ในอำนาจไม่สามารถต้านทานกระแสกดดันของฝ่ายตรงข้าม จนหลักการนี้สูญสลายไปอย่างสิ้นเชิงในการร่วมมือกันยึดอำนาจของชนชั้นนำเดิมและกองทัพใน พ.ศ. 2500 ตั้งแต่นั้นมา “ชาติ” ในแบบเรียนและในการโฆษณาของปัญญาชนสยาม ก็กลายเป็นราชสมบัติ ไม่ได้เป็นของประชาชนอีกต่อไป “ชาติ” ในความหมายที่ไม่ใช่สมบัติร่วมกันของประชาชน และปราศจากความเท่าเทียมนี่แหละครับ ที่หมดมนตร์ขลังแก่ผู้คนจำนวนมากในสังคมไทย ธงไตรรงค์ ซึ่งเป็นตัวแทนของ “ชาติ” แบบนี้ แม้ยังเป็นสัญลักษณ์ของอัตลักษณ์ของเขา แต่ไม่อาจใช้เป็นตัวแทนของความใฝ่ฝันของเขาได้อีก ในทางตรงกันข้าม กปปส. ซึ่งอ้างว่าผู้สนับสนุนคือคนชั้นสูงและคนชั้นกลางระดับบน จึงสมเหตุสมผลที่จะใช้ธงชาติเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ ดังที่ผู้นำการชุมนุมกล่าวเองว่า พวกเขาเป็นเจ้าของชาติมากกว่า และคนไทยนั้นหาได้ควรมีสิทธิเท่าเทียมกันทางการเมืองไม่ จะหาอะไรเป็นตัวแทนของอุดมการณ์เช่นนั้นได้ดีไปกว่าธงไตรรงค์ ในขณะที่มองเทียนและธงไตรรงค์ในฐานะสัญลักษณ์ของการเคลื่อนไหวทางการเมือง ผมอดคิดถึงเสื้อแดงไม่ได้ เพราะกลุ่มเสื้อแดงเคยเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ผลิตสัญลักษณ์ออกมาได้มาก และมีพลังมาก่อน ทำไมจึงเลือกใช้สีแดงมาแต่ต้น ผมก็ไม่ทราบ ในสถานการณ์ตอนนั้น เขาย่อมเลือกสีเหลืองไม่ได้ แต่สีแดงมองเห็นได้ชัด และความชัดเจนว่าเขาคือคนหมู่มากในสังคมมีความสำคัญในการต่อสู้ช่วงนั้นแน่ เขานิยามตัวเองว่าเป็น “ไพร่” คำนี้มีและเคยมีความหมายหลายอย่างในภาษาไทย แต่ไม่ว่าจะเป็นความหมายใด คำนี้ก็บ่งบอกถึงความไม่เป็นธรรมในระบบการเมืองการปกครอง ความเป็นคนหมู่มาก ความทุกข์ยาก และการถูกเหยียดอย่างไม่เป็นธรรม ดังนี้ คำคำเดียวนี้เองก็บอกเล่าถึงความคับข้องใจ (grievances) ทางการเมืองทั้งหมดของพวกเขาได้ทะลุปรุโปร่งหมด พื้นที่ซึ่งเขาเลือกยึดในกรุงเทพฯ เพื่อจัดการชุมนุมคืออนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อันเป็นสัญลักษณ์ “ประชาธิปไตย” ที่ถูกใช้มาโดยกลุ่มประท้วงทุกกลุ่มอยู่แล้ว แต่การยึดราชประสงค์ (กระจายมาถึงสี่แยกปทุมวัน) เป็นสิ่งที่กลุ่มประท้วงอื่นไม่เคยทำมาก่อน ราชประสงค์-ปทุมวัน คือวิถีชีวิตของชาวกรุงกลุ่มหนึ่งซึ่งดำรงอยู่ได้บนความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของสังคมไทย การแต่งกายและวิถีชีวิตของชาวเสื้อแดงยิ่งเน้นให้เห็นความแปลกปลอมของพวกเขาในพื้นที่ดังกล่าว ความแปลกปลอมนั่นแหละ ที่ส่งสารอันมีพลังแก่สังคมโดยรวม มากกว่าการแย่งชิงอำนาจกันระหว่างผู้มีอำนาจ ผมคิดว่า พลังของการใช้สัญลักษณ์ของเสื้อแดงนั้น เป็นอันตรายต่อ “สถานะเดิม” ของสังคมเสียยิ่งกว่าจำนวนของคนที่สวมเสื้อแดง และนั่นคือเหตุผลที่ต้องใช้ความรุนแรงในการปราบปรามอย่างเด็ดขาด เพราะเป็นวิธีเดียวที่ชนชั้นนำไทยรู้จัก แต่ในการคัดค้านต่อต้านการเคลื่อนไหวทางการเมืองของ กปปส. ในครั้งนี้ เสื้อแดงแทบไม่ได้ผลิตสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหวของตนเลย ประหนึ่งเป็นกลุ่มการเมืองที่กำลังสูญสิ้นพลังทางการเมืองของตนไปแล้ว ผมอธิบายความเฉื่อยทางการเคลื่อนไหวนี้ไม่ได้ แต่มีคำอธิบายเกี่ยวกับขบวนการเสื้อแดงหลายอย่างที่ผมได้ยินมา บางคนกล่าวว่า แกนนำเสื้อแดงมีนโยบายที่ชัดเจนในการไม่เผชิญหน้า เพราะเกรงว่าจะเกิดความรุนแรง อันเป็นโอกาสให้ทหารเข้ามาแทรกด้วยการทำรัฐประหาร ข้อนี้เห็นได้ชัดอยู่แล้ว จากการตัดสินใจเลิกชุมนุมที่สนามราชมังคลาฯ เมื่อปลายปีที่แล้ว แต่สัญลักษณ์สำหรับการเคลื่อนไหวทางการเมืองอาจผลิตนอกการชุมนุมได้ ดังเช่นเทียนเป็นต้น ยังมีคำอธิบายที่สลับซับซ้อนกว่านั้น นั่นคือการจัดองค์กรของกลุ่มเสื้อแดงเองเปลี่ยนไปจนทำให้พลังน้อยลง ในช่วงที่เสื้อแดงมีพลังสูงนั้น (2551-2554) แกนนำไม่ได้มีเฉพาะที่ส่วนกลาง แต่กระจายลดหลั่นไปถึงแกนนำในระดับท้องถิ่นย่อยๆ แต่ไม่มีสายการประสานงานร่วมกันอย่างชัดเจนนัก แกนนำในระดับท้องถิ่นมีความเป็นอิสระสูง และต้องตอบสนองต่อสมาชิกในท้องถิ่นอยู่ตลอดเวลา พูดง่ายๆ คือความกระตือรือร้นทางการเมืองของคนเสื้อแดงดำรงอยู่บนความกระตือรือร้นของคนเล็กคนน้อยในหมู่บ้าน มากกว่าการนำของแกนนำส่วนกลาง (เท่าที่ผมได้อ่านงานวิจัยเกี่ยวกับขบวนการเสื้อแดงมาบ้าง พบว่าตรงกับคำอธิบายนี้) แต่พรรคเพื่อไทย หรือเหล่าเจ๊ๆ เฮียๆ ของพรรคเพื่อไทย ต้องการเสื้อแดงเป็นฐานคะแนนเสียง มากกว่าเป็นตัวแทนทางการเมืองของพวกเขา แม้สามารถดึงเอาแกนนำบางส่วนมาไว้ภายใต้การอุปถัมภ์ของตนได้ แต่ก็เอื้อมไม่ถึง (หรือไม่อยากเอื้อม) แกนนำระดับท้องถิ่นย่อยๆ อีกมาก การจัดองค์กรเพื่อเป็นฐานคะแนนเสียงแก่พรรคการเมือง กับการจัดองค์กร เพื่อใช้พรรคการเมืองเป็นเครื่องมือผลักดันนโยบายนั้นต่างกันลิบลับ ผลก็คือเกิดความรวนเรในขบวนการอย่างหนัก ไม่ได้หมายความว่าจะกลับไปเป็นลิ่วล้อของอำมาตย์นะครับ แต่ความเป็นปึกแผ่นซึ่งเป็นที่มาของพลังหายไปกว่าครึ่ง โชคดีของพรรคเพื่อไทย ที่ กปปส. และพรรคประชาธิปัตย์ (ศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระอีกหลายองค์กร) ช่วยทำให้พรรคเพื่อไทยได้ฐานคะแนนเสียงกลับคืนมาอย่างเป็นกอบเป็นกำ หลังจากได้ปู้ยี่ปู้ยำคนเสื้อแดงด้วย พ.ร.บ. เหมาเข่งมาหยกๆ ขบวนการทางการเมืองที่เริ่มจะไร้วิญญาณเช่นนี้ ย่อมไม่สามารถผลิตสัญลักษณ์ที่ทรงพลังทางการเมืองได้เป็นธรรมดา การต่อสู้เพื่อสร้าง “ชาติ” อันเป็นสมบัติของทุกคนซึ่งมีความเท่าเทียมกัน กำลังเลื่อนจากเสื้อแดงมาสู่คนกลุ่มใหม่ที่ไม่มีพันธะทางใจกับพรรคการเมืองใดเลย นอกจากประชาธิปไตย ผมคิดว่า นี่เป็นนิมิตหมายที่ดีแก่สังคมไทยโดยรวม   หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกใน มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 31 มกราคม-6 กุมภาพันธ์ 2557 หน้า 30 ที่มา: http://www.sujitwongthes.com [1]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/2130
2005-01-05 23:40
เกิดอาฟเตอร์ช็อก5.1 ริกเตอร์ที่สุมาตรา
จาการ์ต้า-5 ม.ค.48 วันนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียแถลงว่า ได้เกิดแรงสั่นสะเทือนรุนแรงหลังแผ่นดินไหวหรือ อาฟเตอร์ช็อก จากแผ่นดินไหวที่ทำให้เกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่ของเอเชียที่อาเจ๊ะห์บนเกาะสุมาตรา แต่ไม่มีความเสียหายร้ายแรง ทั้งนี้ สำนักอุตุนิยมวิทยาและธรณีวิทยาของรัฐบาลอินโดนีเซียออกแถลงการณ์แจ้งว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้มีความรุนแรงขนาด 5.1 ริกเตอร์ แต่ไม่มีความเสียหายหรือคลื่นซึนามิแต่อย่างใด โดยจุดศูนย์กลางเกิดขึ้นใต้มหาสมุทรอินเดียราว 33 กิโลเมตร ห่างจากเมืองบันดาอาเจ๊ะห์ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 66 กิโลเมตร ประชาไทรายงาน
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/47101
2013-06-06 22:59
โครงการจำนำข้าว: วิกฤตหรือโอกาสของคนทำนาเช่า ?
บทความชิ้นที่สามของ นิรมล ยุวนบุณย์ ในชุดบทความ ข้าวนาปรัง : ความสัมพันธ์ ความเปลี่ยนแปลงและความขัดแย้งของสังคมไทยในชุมชนเกษตรภาคกลาง โดยจะทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต  ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรมไทย ในการศึกษาชุดความรู้นี้ ทางประชาไทจะทยอยนำเสนอบทวิเคราะห์ที่มีความเชื่อมโยงกับประเด็นข้างต้นจำนวน 6ชิ้น อนึ่ง ภายในไตรมาสที่สองของปี  2556 ประชาไท จะทยอยนำเสนอบทความที่จะพยายามทำความเข้าใจวิถีชีวิตและความสัมพันธ์การผลิตของชนบทไทยในปัจจุบัน 4ประเด็นคือเกษตรอินทรีย์, เกษตรพันธสัญญากรณีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภาคเหนือ,พืชเศรษฐกิจในภาคอีสาน และการทำนาปรังในภาคกลางที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้   จากตอนที่แล้ว  จะเห็นแม้แรงจูงใจจากราคาขายข้าวเข้าโครงการรับจำนำ จึงได้การกระจายที่นาจากผู้ถือครองที่ดินมายังผู้ทำนาเช่า  แต่หากมองในภาพรวมเมื่อราคาข้าวที่ขายได้เพิ่มขึ้น ราคาค่าเช่าก็เพิ่มสูงขึ้นไปด้วย   คนเช่าและการเช่านาจึงมีรายละเอียดที่น่าสนใจ  ทั้งสภาพปัญหาของชาวนาเช่า  การปรับตัวและการรับมือของในรูปแบบต่างๆ   ใครบ้างที่ทำนา(เช่า) ? สัดส่วนที่เพิ่มขึ้นของผู้เช่านาที่มีมากกว่าผู้ที่ทำนาของตัวเอง  ชี้ให้เห็นถึงความนิยมต่อโครงการจำนำข้าว ปี 2554  และสะท้อนให้เห็นการกระจุกตัวของการถือครองที่ดินไปพร้อมๆ กัน    ในขณะที่พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524  จะมีข้อกำหนดที่ว่าด้วยสัญญาเช่า และ ระยะเวลาการเช่านา ในมาตรา 26  [2]  แต่ในสภาพความเป็นจริงการบังคับใช้นั้นไม่เคร่งครัด แต่มีความยืดหยุ่น เช่นเดียวกันกับการกำหนดค่าเช่านาที่ขึ้นอยู่กับคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายจะตกลงกัน  ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ให้เช่ามักมีอำนาจเหนือกว่าผู้เช่า   ที่นาในทุ่ง ม.11 ต.ผักไห่ นั้น  มีที่นาหลายแปลงที่พ่อแม่เก็บที่นาไว้ให้ลูกหลาน   หรือในทางกลับกันคือลูกหลานชาวนาที่ไปประกอบอาชีพอื่นแล้วมีเงินทุนก็กลับมาสะสมทุนแทนโดยหาซื้อที่ดินในทุ่งเก็บไว้    หลายแปลงเป็นที่นาของครูหลายคนซึ่งเกษียนอายุราชการแล้วกลับมาทำ      หลายรายทำนาเป็นอาชีพเสริมแต่ให้รายได้เป็นกอบเป็นกำมากกว่าอาชีพหลัก อย่าง ครู ทหาร  พ่อค้า  เจ้าหน้าที่ อ.บ.ต.  เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย  ฯลฯ       โครงการรับจำนำข้าวนาปี 2555/56  ที่ผ่านมา มีครู 1 รายที่เพิ่งเกษียณอายุราชการ ก็เปลี่ยนสถานภาพมาเป็นชาวนามือใหม่  เขาเรียกนาขนาด 21 ไร่ คืนจากผู้เช่าที่เช่าทำนามากว่า 10 ปี มาทดลองทำนาปรังและเพิ่งเกี่ยวไปเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา      ชาวนาหน้าใหม่ อย่าง ธงชัย  นัยเนตร   (29 ปี) เพิ่งรับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ม. 5 ต.ลาดชิด มาได้เพียง 1 ปี   เล่าว่า  ผู้ใหญ่บ้านส่วนใหญ่ในอำเภอผักไห่ทำนากันทั้งนั้น  มาก-น้อย แตกต่างกันไป   ส่วนเขาเองเพิ่งทำนาได้ 2 ปี ควบคู่กับการทำบ่อปลา   ก่อนนั้น ธงชัยทำงานขับรถให้กับบริษัทลอจิสติกส์ และรถร่วมบริการที่กรุงเทพฯ อยู่ 2 ปี  เขาก็อยากกลับบ้าน  เพราะสภาพเศรษฐกิจไม่ค่อยดี  ไม่ค่อยมีงาน อีกทั้งราคาน้ำมันแพง  แต่รายจ่ายมีมากกว่ารายได้    เมื่อ ต้นปี 2555  ธงชัยเรียกที่นาราว 60 ไร่ ที่เคยให้ชาวนารายอื่นเช่าคืน     แล้วบุกเบิกนาฟางลอยบางส่วน ราว 20 ไร่ ให้กลายเป็นนาปรัง ลงทุนราว 100,000 บาท    และเช่าที่นาเพิ่มอีกหลายแปลงรวมเนื้อที่กว่า 30 ไร่ ค่าเช่านามีตั้งแต่ 1,000 – 1,500 บาท ซึ่งแปลงนาที่อยู่ติดริมคลองและถนนมักจะแพงกว่า  รวมพื้นที่นาปรังที่ทำ ณ ปัจจุบัน 80 – 90 ไร่   ควบคู่ไปกับการเลี้ยงปลาสวาย 1 บ่อ ขนาด 4 ไร่  ชาวนาหน้าใหม่อย่างเขาบอกอีกว่า “เราคิดว่า เราใช้ที่เราให้เป็นประโยชน์ เศรษฐกิจพอเพียงน่ะดีมากเลย  ผมก็อยากจะทำ   มีเนื้อที่ที่บ้าน 4 ไร่   อยากเปลี่ยนแปลงเป็นผสมผสาน  แต่ไม่มีเวลาจัดการ  เรามีค่าใช้จ่ายเยอะก็ต้องหาให้เยอะ  ทำนาก็ได้เงินเป็นก้อน    สมมติถ้าได้เงินเดือน 3 หมื่น ถ้าเกี่ยวข้าวได้กำไรหนึ่งแสน เฉลี่ยเดือนละ 3 หมื่นเหมือนกัน แต่หนึ่งแสนเราได้มาทีเดียว ถ้าเราได้มาทีละเดือน  เดือนละ 3 หมื่น เราจะเก็บให้ได้ถึงแสนไหม?   นี่เราได้ทีเดียวมาตูมนึงหนึ่งแสนเราเก็บเข้าธนาคารเลย เราไม่ได้ใช้ทีเดียวหมด แต่ถ้า 3 หมื่นเดือนหนึ่ง เดี๋ยวค่ากินค่าอะไรก็หมด” ที่นากว่า 90 ไร่ มีเรื่องให้ผู้ใหญ่ชัยจัดการไม่น้อย  แต่ก็เขาก็สามารถจัดการนาได้โดยสะดวก ผ่านการติดต่อทางโทรศัพท์คุยกับคนรับจ้างหว่านข้าว หว่านปุ๋ย ฉีดยา รถปั่นนา และรถเกี่ยวข้าวซึ่งส่วนใหญ่มักมาพร้อมกับรถ 6 ล้อสำหรับขนข้าวไปส่งโรงสี  ชาวนาที่มีทุนในกระเป๋ามากพออย่างเขายังเลือกใช้พันธุ์ข้าวในระดับเกรดA แทนการเก็บพันธุ์เอง เพราะคิดว่าให้ผลผลิตสูงและแน่นอนกว่าการเก็บพันธุ์เอง  และเลือกได้ว่าจะซื้อปุ๋ยและสารเคมีจากร้านค้าหรือสั่งตรงจากเซลล์ที่มาขายถึงบ้านพร้อมกับแผนโปรโมชั่นชนิดต่างๆ   เขายังเล่าถึงปัญหาการเรื่องความขัดแย้งในผลประโยชน์การใช้ที่นาไว้ด้วยว่า “มียิงกันตาย  ชาวนาเดี๋ยวนี้ดุ เรื่องเช่านาบ้าง เรื่องทางน้ำบ้าง  เรื่องทางขึ้นลง  บีบกัน นาบางแปลงโดนล้อม  นาที่อยูข้างในจะเข้าไปทำต้องผ่านนาที่อยู่ริมถนน ริมคลอง  ต้องผ่านแผ่นดินของเขา  ถ้าเขาไม่ให้ผ่าน  ที่ไม่ให้ผ่านเพราะต้องทำถนนของคนที่อยู่ต้นน้ำ  ถ้าเจ้าของที่ต้นถนนไม่ให้ทำ คนข้างหลังก็ทำไม่ได้  กลายเป็นว่าเช่าริมถนนนาล้อมนาข้างอีก 100 – 200 ไร่ ไม่ได้ทำ ถ้าข้างหน้าไม่ให้ผ่าน  พอข้างในไม่ได้ทำ เจ้าของนาข้างในก็ให้คนริมคลองเช่าทำ  บังคับเอา   บางคนทำถนนเข้าไปแล้ว มีถนนแล้วแต่ทำไม่ได้  เพราะเจ้าของถนนเรียกค่าเข้า มีคลองแล้วสูบน้ำไม่ได้   ก็กลายเป็นทะเลาะกัน” นั่นเป็นเพียงบางส่วน  ชาวนาที่นาตาบอดบางรายอาจยอมทำข้อตกลงจ่ายค่าผ่านทางกับเจ้าของที่นาที่อยู่ต้นทาง  เพื่อทำถนนและลำรางส่งน้ำเข้าไปใช้ในนาตัวเอง  ซึ่งมีทั้งซื้อที่ขายขาด หรือจ่ายเป็นค่าเช่าทางในแต่ละฤดูปลูก ตามแต่จะตกลงกัน ชาวนาข้าราชการครู อย่าง สำราญ  ม่วงศรีทอง  (58 ปี) ซึ่งทำนาควบคู่ไปกับข้าราชการครูที่สอนวิชาเกษตรในโรงเรียนขยายโอกาส เป็นคนหนึ่งที่ทำนามาตั้งแต่เด็กมาจนถึงปัจจุบัน   พ่อของเขาเคยมีที่นา 40 ไร่ ในทุ่ง ม.11 ต.ผักไห่  อ.ผักไห่  แต่ต้องขายที่นาทั้งหมดเพื่อใช้เงินส่วนหนึ่งส่งลูกชาย 2 คน เรียนหนังสือจนถึงขั้นจบอุดมศึกษา ส่วนลูกสาวคนโตถูกพาไปเมืองกาญจนบุรีด้วยกันเพื่อบุกเบิกที่ดินแห่งใหม่เพื่อทำไร่ได้ไม่กี่ไร่ ทำอยู่ไม่นานก็กลับมาเลี้ยงวัว 40 ตัวในทุ่งนาน 10 ปี  ก็ต้องเลิกขายเพราะทุ่งและตัวอำเภอถูกพัฒนาจนหาหญ้าเลี้ยงวัวยากขึ้น   ราวปี 2527 สำราญเพิ่งเรียนจบราชภัฎพระนครศรีอยุธยา เขาต้องกลับมาทำนาเช่าอีกครั้งควบคู่ไปกับการอาชีพครูที่โรงเรียนในอำเภอเสนาซึ่งไม่ไกลจากบ้านเกิดนัก  และทำนามาจนปัจจุบัน ปัจจุบัน สำราญยังคงเช่านาผืนเดิมของพ่อจากเจ้าของนาคนใหม่ 2 คน จำนวน 3 แปลงรวมพื้นที่  32 ไร่  ดีที่ว่าเจ้าของที่นาคนใหม่นั้นไม่ต้องคิดค่าเช่าและให้สำราญทำนาเสมือนผู้ดูแลที่ดิน   ส่วนนาแปลงขนาด 9.5 ไร่ ซึ่งเจ้าของนาคนละคนกันนั้น  เขาก็จ่ายค่าเช่าถูกกว่าผู้เช่ารายอื่น คือแค่ ปีละ 10,000 บาท เท่านั้น   เขาทำนาโดยใช้แรงงานตัวเองอย่างเข้มข้นเพื่อประหยัดต้นทุน และต้องจ้างงานญาติอีก 1 คน มาช่วย    เขายังเลือกรูปแบบการทำนาโดยเน้นการประหยัดต้นทุนการทำนา  เช่น  ดูปริมาณการแพร่ระบาดของแมลงมากน้อยจึงค่อยตัดสินใจฉีดพ่นสารกำจัดแมลง    นาปรังครั้งที่ 1 ปี 2556 ที่ปลูกระหว่าง ธันาคม – มีนาคม ที่ผ่านมา  นาขนาด 9 ไร่ 1 แปลงเขาฉีดพ่นแค่เพียง 3 หนเท่านั้นเพราะแมลงศัตรูข้าวไม่แพร่ระบาดมาก   เขาไม่เลือกใช้ปุ๋ยชีวภาพเพราะเห็นว่า ปุ๋ยเคมีผสมปุ๋ยอินทรีย์ที่เสริมธาตุอาหารรองให้ผลผลิตได้มากกว่าและคุ้มค่ากว่าการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวซึ่งมีราคาแพงมาก   อีกทั้งสหกรณ์ครูที่เขาเป็นสมาชิกก็มีปุ๋ยเคมีอินทรีย์ที่เขาต้องการใช้ในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด  นอกจากนี้เขายังเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ธาตุอาหารเสริมแบบสารละลายที่ภรรยาของเขาเป็นสมาชิกขายตรงเพื่อให้รวงข้าวมีน้ำหนักดีอีกด้วย    “ถ้าทำอาชีพอื่นด้วย   คนหนึ่งทำเต็มที่ได้ดีแค่ 20 – 30 ไร่  ดูแลได้ทั่วถึง  ทำให้ดี ดีกว่ารายได้จากที่เป็นครู เพราะว่าได้เงินเป็นกอบเป็นกำ  เหนื่อยมันก็คุ้มค่าเหนื่อย  ทำนาต้นทุนเฉลี่ยประมาณกว่า 4,000 บาท/ไร่  ถ้าข้าวราคาตันละกว่าหมื่นบาท ชาวนาจะได้กำไร 6,000 – 7000 บาท/ไร่   อยู่ที่ราคาด้วย  สมัยทักษิณดี  สมัยอภิสิทธิ์ไม่ดี   พอสมัยยิ่งลักษณ์ดี  สมัยอภิสิทธิ์ ได้ตันละ 6,500 – 8,500 บาท  บวกค่าชดเชยแล้วอย่างมากที่สุดก็ตันละ 10,000 บาท  สมัยทักษิณได้ตันละ 14,000 บาท   ยิ่งลักษณ์ได้ตันละกว่า 12,000 – 14,000 บาท  มันก็ดี ชาวนาตอนนี้ลืมตาอ้าปากได้   สมัยนี้ทำ 2 ปี 30 ไร่กว่า ชาวนาเดี๋ยวนี้มีรถกันทุกคนแล้ว  ดูรู้เลย” สมชาย ม่วงศรี (64 ปี)  ชาวนาในทุ่ง ม.11 ต.ผักไห่ อีกราย ซึ่งแต่เดิมเป็นคนรับจ้างทำนาในทุ่งนี้มาตั้งแต่เด็ก จนกระทั่งได้แต่งงานกับลูกสาวชาวนาซึ่งมีที่นาอยู่ 13 ไร่  เขาเป็นคนแรกในทุ่งที่บุกเบิกนาฟางลอยมาเป็นนาปรังเมื่อหลายสิบปีก่อน เมื่อทำนาปรังได้ผลดีก็ค่อยๆ เช่าที่นาเพิ่มขึ้น   เขาเห็นว่าแนวโน้มราคาเช่านาเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอดตามราคาข้าว จากแต่เดิมเคยจ่ายค่าเช่าเป็น ปีต่อปี เมื่อถึงยุค นายกสมัคร สุนทรเวช ซึ่งราคาข้าวดี ก็หันมาจ่ายค่าเช่าเป็น ฤดูปลูกต่อฤดูปลูก   ปัจจุบันเขาทำนาตัวเองและเช่า รวม 34 ไร่ ค่าเช่าที่นาของเขายังคงไร่ละ 1,000 บาท เท่ากับยุคประกันรายได้ของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เพราะทำสัญญาเช่ากับเจ้าของนาซึ่งมีอายุสัญญา 5 ปี และ 6 ปี  และแม้เขาจะอยากเช่าที่นาเพิ่มอีก แต่ก็หาที่นาทำได้ยาก เพราะคนเช่านาแข่งกันเช่าและสู้ราคาไม่ไหว  “ปรับทำนาปรังก่อนสมัครเป็นนายกไม่กี่ปี ตอนนั้นค่าน้ำมันถูกกว่าสมัยนี้ ค่าปรับเลยไม่แพง เริ่มทำ 13 ไร่ก่อน ครั้งแรกเจ๊ง ครั้งที่ 2 ถึงได้ทุนคืน  พอถึงสมัครเป็นนายกก็ได้กำไร แต่โดนโรงสีโกง จ่ายให้แค่ 60 % ของราคาข้าวเต็ม 140,000 บาท [3]   โครงการจำนำข้าวยิ่งลักษณ์ดี เที่ยวนี้ข้าวดีด[4]  เยอะหน่อยก็ยังได้ไม่มาก  รุ่นอภิสิทธิ์แย่หน่อย ได้ตันละ 5,000 – 6,000 ส่วนต่างนิดหน่อย  บ้านนอกอย่างเราก็ต้องเลือกพรรคที่ให้ผลตอบแทนเราดี แบบนี้พอเหลือมั่ง ลืมตาอ้าปากได้  ของประชาธิปัตย์ได้น้อยมากแต่ไม่ขาดทุน”   ความหวังปลดหนี้และได้เป็นเจ้าของที่นาของ สมดี     นายสมดี ตันติโน (49 ปี)  หนุ่มมหาสารคาม เคยมีอาชีพหลากหลาย ตั้งแต่ ทำงานก่อสร้าง และเป็นลูกจ้างอยู่ในเรือประมงอยู่ 7 – 8 ปี  จนเมื่ออายุ 30 ปีเขากลับมาอยู่ ม. 9 ต.หนองน้ำใหญ่ บ้านเกิดของ บุญนาค -ภรรยา  จึงเริ่มอาชีพปั่นไอศครีมกะทิเร่ขายปลักอยู่ราว 2 ปี ควบคู่ไปกับการทำนา 30 ไร่  แล้วค่อยๆ หาที่นาเช่าเพิ่มขึ้นกว่า 100 ไร่ ได้จึงเลิกขายไอศครีมไปในที่สุด  สมดีเล่าว่า นาแถบนี้มักมีนายทุนมากว้านซื้อทีเดียวเป็นแปลงติดต่อกัน  ในทุ่งหน้าโคกที่เขาเช่านาทำนั้น ก็มีบ่อดูดทรายอยู่หลายแห่ง และมีแนวโน้ว่าธุรกิจบ่อทรายจะต้องการทรายเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง      ชาวนาบางรายซึ่งขายที่นาที่เป็นแหล่งขุดทรายมักขายนาได้ราคาดีก็จะไปหาซื้อที่นาแห่งใหม่ที่ราคาถูกกว่าทำนา หรือเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่น  “ตอนนี้มีนายทุนมากว้านซื้อไร่ละ  120,000 บาท  ปีนี้ (2556) ค่าที่มันเพิ่งจะมาขึ้น    มาซื้อ 1,000 กว่าไร่ ในทุ่งหน้าโคกไปยันอมฤต  แต่ก่อน 10 ปีมาแล้วไร่ละ 80,000 บาท ยังขายไม่ได้เลย ไม่มีใครเอา   ตรงที่เช่าทำนายังไม่ได้ขาย แต่เจ้าของเขาก็อยากได้เงิน  เขาก็บอกว่าขาย  ถ้าเขาขาย เจ้าของใหม่เขาไม่ให้ทำเลย  แต่คนเช่าเขารั้นทำกัน ก็ซื้อของเตรียมไว้หมดแล้ว”  ย้อนกลับไปเมื่อ ปี 2552  หลังชาวนาขายข้าวได้ราคาข้าวแพงจากรัฐบาลสมัคร  สุนทรเวช ไม่นาน  เจ้าของนาคนเดิมขายที่สมดีเคยเช่าทำนาขายที่นาให้คนชาวกรุงเทพฯ และห้ามไม่ให้เขาทำนานั้นอีก ทั้งที่มีสัญญาเช่า 6 ปี     ทำให้เขาขาดที่นาทำกินไปหลายสิบไร่  เขาตัดสินใจขอยืมเงินจากน้องสาวซึ่งทำงานอยู่ต่างประเทศมาซื้อที่นา 38 ไร่ ในทุ่งลาดชะโด ม.11 ด้วยมูลค่า 3 ล้านบาทโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย   แล้วลงทุนปรับที่เป็นนาปรังและเช่าที่นาเพิ่ม    แต่ปีต่อมา การทำนากว่า 140 ไร่ ของเขากลับไม่ประสบความสำเร็จ    เพราะนาปรังครั้งที่ 1 ปี 2553 นั้นเขามีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่แพร่ระบาดรุนแรง  ส่วนนาปรังครั้งที่ 2 ปีเดียวกันเจอภัยแล้งต้นฤดูจนต้องทอยน้ำจากแม่น้ำใหญ่เข้านาถึง 4 ทอด แต่ในช่วงก่อนเกี่ยวข้าวกลับมีน้ำเหนือไหลบ่าจนคลองชลประทานต้องระบายเข้าทุ่งนาปกติกว่า 10 วัน  จนต้องเกี่ยวเขียวแต่ขายข้าวไม่ได้  เขาขาดทุนกว่า 500,000 บาท และเป็นหนี้ปัจจัยการผลิตที่ร้านให้เครดิตในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 บาท/เดือน ซึ่งโดยปกติลูกหนี้มักต้องชำระกันหนี้หลังการเก็บเกี่ยวเพื่อที่จะนำปัจจัยการผลิตงวดใหม่มาใช้ในรอบถัดไป  เมื่อประกอบกับความไม่พอใจกับแหล่งรับซื้อข้าวของโครงการรับจำนำที่มีเพียงแห่งเดียวในอำเภอผักไห่  ซึ่งเขาเห็นว่าโรงสีที่สุพรรณบุรีมักซื้อข้าวในราคาที่ให้ชาวนาดีกว่าที่ผักไห่ แถมยังไม่ต้องจ่ายค่าขนข้าวให้กับรถรับจ้างด้วย เพราะโรงสีจ่ายส่วนนี้แทน    ส่วนโรงสีที่ผักไห่มักกดราคาโดยอ้างความชื้นข้าวและทำให้เขาขายข้าวได้ราคาแค่เพียงตันละ  10,700 – 11,000 บาท ในฤดูนาปรังครั้งที่2 ปี 2555 ที่ผ่านมา และยังได้รับเงินสดช้ากว่ากำหนด  อีกทั้งกระบวนการขั้นตอนในโครงการจำนำข้าวมีความยุ่งยาก  ทำให้เขาเห็นว่า โครงการประกันรายได้ตอบสนองกับเขามากกว่าโครงการรับจำนำข้าว  แม้การขายข้าวและได้รับค่าชดเชยส่วนต่างอัตราประกันราคาข้าวไม่เคยถึงตันละ 10,000 บาท  แต่ก็ยังทำให้เขาได้รับเงินสดทันทีที่นำข้าวไปขายเพื่อนำเงินสดนั้นมาลงทุนรอบใหม่ และหากผลผลิตต้องประสบภัยหายนะจากแมลงระบาดและน้ำท่วม เขาก็ยังได้ค่าชดเชยส่วนต่างจากราคาขายข้าวด้วย แม้จะได้ตามโควต้าครอบครัวละ 25 ตัน/ครอบครัวก็ตาม    สมดีปรับเทคนิคการผลิตเตรียมรับเปิดเสรี AEC เมื่อมีโครงการจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์   สมดียังจ่ายค่าเช่านาเท่าเดิม  ค่าปุ๋ยค่ายาไม่เพิ่มสูงขึ้นมากนัก เช่นเดียวกับค่าจ้างฉีดพ่นสารเคมี  ค่าเกี่ยวข้าว และค่าขนข้าว  ส่วนการตีเทือกและปั่นนานั้นเขาลงแรงเอง   เขาหาวิธีประหยัดต้นทุนโดยการเช่ายืมรถปั่นนาจากญาติที่ทำนาอยู่ด้วยกัน คิดค่าเช่าเป็นเงินไร่ละ 100 บาท และต้องจ่ายค่าน้ำมันเอง ซึ่งเนื้อที่นา 1 ไร่ใช้น้ำมันประมาณ 2 ลิตร   ในขณะที่หากญาติผู้นั้นต้องการปั่นนา 40 กว่าไร่นั้น ก็ต้องจ้างเขาขับรถปั่นในอัตราจ้างไร่ละ  20 บาท  ส่วนค่าจ้างปั่นนาทั่วไปมีราคาไร่ละ  200 – 300 บาท   เขายังติดตามฟังข่าวและรายการความรู้ทางการเกษตรเป็นประจำจากรายการ “สีสันชีวิตไทย  วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม” ทางคลื่นวิทยุกองพล ปตอ.   และนำความรู้การทำน้ำหมักสมุนไพรแบบต่างๆ มาปรับใช้รวมทั้งยังบริโภคปัจจัยการผลิตบางชนิดที่โฆษณาในรายการนี้ด้วย     “มีเวลาอีก 2 ปี  คนจัดรายการเป็นทหาร รายการนี้ดังมาก  เขาบอกให้เราลดต้นทุน   จะลดต้นทุนจริงๆ ก็ตอนเปิดอาเซียนนี่แหละ  เขาว่าเปิดเสรีข้าวก็จะเอาของนอกเข้ามาได้  อย่างเรารัฐบาลเคยช่วยเหลือเกวียนละหมื่นกว่าก็สู้กับเขาสิ  ถ้าสู้ไม่ได้ก็ต้องลดราคาต่ำกว่า  อย่างของเขา 6,000 บาท คุณก็ต้องขาย 6,000 บาท   ที่เขาเอาข้าวเวียดนามมาขาย  ถังละ 30 – 40 บาท ทำไมถูกอย่างนั้น    ตอนนี้ก็ลดต้นทุนอยู่  ลดปุ๋ยไปเยอะแล้วนะ  ทุกทีใช้ 5 ตัน นี่แค่ตันเดียว  ยาเราก็เอาจำเป็นที่ฉีด”   นอกจากจะใช้น้ำหมักสมุนไพรแล้ว เขายังใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช สารเคมีกำจัดแมลง ฮอรโมน  โดยนำอุปกรณ์เครื่องฉีดพ่นแบบลากสายมาใช้เพื่อประหยัดค่าจ้างแรงงานที่ฉีดแบบเครื่องฉีดพ่นสะพายหลังได้ถึงไร่ละ  25 – 30 บาท  และการใช้เครื่องหว่านปุ๋ยเคมีผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ อัตราส่วน 2 : 1  ทำให้การหว่านปุ๋ยกระจายตัวได้มากขึ้น  ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ลดลจากไร่ละ 50 – 70 กก. เป็น ไร่ละ 25 - 30 กก.  ซึ่งทำให้เขาได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจคือไม่ต่ำกว่าไร่ละ  85 ถัง   เขายังตั้งข้อสังเกตอีกว่าปุ๋ยอินทรีย์ดีต่อต้นข้าวก็จริง แต่หากใส่มากเกินไปจะทำให้ดินนุ่มและทำให้รถเกี่ยวข้าวตกหล่มได้ง่าย สิ้นปีการเพาะปลูก 2555/56  เขาทำนาได้กำไรเพิ่มขึ้น และเพิ่งล้างหนี้เก่าเมื่อปี 2553  จากการทำนา  120 ไร่  โดยแบ่งส่วนที่ดินในการขึ้นทะเบียนชาวนา ให้กับตัวเอง   ลูกเขยคนโตซึ่งทำงานเป็นขับรถรับ-ส่ง คนงานในโรงงาน กับ ลูกเขยคนเล็กที่เพิ่งปลดประจำการทหารเกณฑ์เมื่อไม่นาน   และลูกชายคนเล็ก คนละ 40 ไร่     และเมื่อสิ้นเดือนมีนาคม 2556 นี้  ครอบครัวของสมดีทยอยเกี่ยวข้าวไปเกือบหมดแล้ว   ด้วยสภาพแล้งจัดตอนเกี่ยวทำให้ปีนี้ขายข้าวได้ตันละ  12,500 – 13,000 บาท  เขาคิดว่าราคานี้น่าพอใจ   และทำให้เหลือกำไรจากขายข้าวอยู่ราว 500,000 บาท  ค่าเช่านาปีนี้ยังจ่ายอยู่ที่ไร่ละ 13 ถัง  ส่วนปีหน้าเจ้าของนาเช่าขอขึ้นค่าเช่าเป็น 15 ถัง โดยเก็บค่าเช่า ณ วันที่ขายตามราคาใบเสร็จจากโรงสี     อย่างไรก็ตามเขายังกังวลว่าเขาต้องรอเงินสดจาก ธกส. นาน  และในเดือนพฤษภาคมอาจจะไม่ได้ทำนาปรังครั้งที่ 2 ถ้าไม่มีน้ำปล่อยมา   แต่หากยังพอมีน้ำในลำรางเหลืออยู่บ้าง เขาอาจจะต้องปรับตัวไปปลูกพืชผักอายุสั้นที่ทนแล้ง ตามหัวคันนาแทน   การปรับตัวของชาวนาเช่าที่ถูกเรียกนาคืน ประทุม มหาชน (62 ปี) ชาวนา ม. 9 ต.หนองน้ำใหญ่ ไม่โชคดีจากการเช่านาอย่าง สำราญ และสมชาย และไม่มีกำลังทุนสะสมมากพอที่จะจับจองที่นาเป็นของตัวเองได้อย่างสมดี ประทุม เป็นชาวนาในทุ่งลาดชะโดอีกรายที่ถูกเรียกนาคืน    ปี 2555  เจ้าของนาเรียกคืนนาเช่า 18 ไร่ ล่วงหน้าก่อน 1 ปี  ทำให้เธอได้ขายข้าวนาปรังเข้าโครงการได้ 2 เที่ยว ปัจจุบันเธอทำแค่ที่นาตัวเองขนาด 11 ไร่ ในทุ่งนาคูที่อยู่ห่างออกไปจากทุ่งลาดชะโดราว 6 กิโลเมตร  นาของเธอได้ผลผลิตดีไม่เคยต่ำกว่า 90 ถัง/ไร่  และแม้อยากจะทำนาอีกแต่ก็ไม่มีที่นาให้เช่าทำ และไม่คิดลงทุนเช่าที่นาฟางลอยเพื่อบุกเบิกดินที่เป็นนาปรังอีก    อย่างไรก็ตาม เสน่ห์  สามีวัย 64 ปีของประทุม เปิดร้านเหล็กดัดในหมู่บ้านมาหลายปีแล้ว  โดยมีลูกชายคนโต วัย 39 ปี ช่วยงานทั้งในนาและในร้านเหล็กดัดและทำไร่ที่นครสวรรค์ซึ่งเป็นที่ดินของภรรยา   ส่วนลูกสาวอีก 2 คน นั้นเป็นนางพยาบาลและทำงานโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ พระนครศรีอยุธยา    ประเสริฐ พุ่มพวง (46 ปี)   หลังจากเรียนจบชั้น ม.6 และเคยทำงานทั้งในโรงงานเย็บหนัง เป็นช่างในบริษัท และวิ่งขายกุ้งอยู่ 6 ปี แม้จะมีเงินสดผ่านเข้าออกมือของเขาจำนวนมาก แต่ประเสริฐเริ่มเหนื่อยหน่ายกับงานแล้วหันกลับมาทำนา  ด้วยความคิดว่า ทำนาอิสระกว่าทำงานในโรงงาน  และโอกาสถูกโกงจากการทำนาน้อยกว่าการเป็นช่างรับเหมาของบริษัท  เขาต้องการเช่าที่นาประมาณ 30 ไร่/ฤดูปลูก  นอกจากเขาจะเช่าแปลงนาหลังบ้านขนาด 10 ไร่ ซึ่งเป็นของพี่สาวแล้ว เขายังต้องหานาเพิ่มอีกหลายแปลง  ทั้งในทุ่งลาดชะโดม.9 และที่ทุ่งลำตะเคียน ต.ลำตะเคียน  ซึ่งห่างจากบ้านเขาไปราว 10 กม.      นาเช่าที่ลำตะเคียนขนาด 6 ไร่ ซึ่งประเสริฐเช่ามากว่า 10 ปี นั้นเจ้าของนาคนเดิมเพิ่งขายให้กับเจ้าของใหม่เมื่อ 6 – 7 ปีก่อน  ดีที่เขายังตกลงของเช่าต่อจากเจ้าของนาใหม่ได้  และทำสัญญาปีต่อปีมาโดยตลอด   เมื่อมีโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ปี 2555  ค่าเช่านายังคงค่าเช่าที่ไร่ละ 1,000 บาท   ส่วนแปลงนาอีกแปลงที่ประเสริฐเช่าในทุ่งลาดชะโด ม. 9 ขนาด 6 ไร่ ซึ่งเช่าทำนามานานกว่า 10 ปีนั้น เขาทำสัญญาเช่า ฤดูปลูกต่อฤดูปลูก โดยมีเงื่อนไขเหมือนกันทุกปีว่า ในช่วงฤดูนาปรังครั้งที่ 2    ประเสริฐต้องงดทำนาเพื่อให้เจ้าของนาเรียกนากลับไปทำนาฟางลอยเอง   เมื่อเริ่มเข้าสู่การทำนาปรังครั้งที่ 1 ต้นปี 2555 นั้น จุกต้องจ่ายค่าเช่านาปรังแปลงนี้เพิ่มจากไร่ละ  1,000 บาท เป็น 1,400 บาท  โดยที่เจ้าของนาให้เหตุผลว่าราคาข้าวที่ขายได้เพิ่มขึ้น ทำนาลดต้นทุนของประเสริฐ เมื่อต้นทุนค่าเช่านาเพิ่มขึ้น ประเสริฐจึงหันมาลดต้นทุนการผลิตในด้านอื่นแทน   เขาเคยดูรายการโทรทัศน์เพื่อฟังเช็คข่าวการเกษตรอยู่เป็นประจำในช่วงเช้ามืด และหันมาสนใจทดลอง บิเวอเรีย [5] สมุนไพร และน้ำหมักชีวภาพ เพื่อควบคุมศัตรูพืชแทนสารเคมีกำจัดแมลง   แต่จะต้องรักษา ผลผลิต/ไร่ ให้ไม่ต่ำกว่า 80 ถัง   เขาจึงใช้วิธีหว่านพันธุ์ข้าวหนาไร่ละ 3  ถัง  โดยเลือกซื้อพันธุ์ข้าวจากนาที่เขาเห็นว่าสวยดีแล้วนำมาตากแห้งเองเพื่อประหยัดต้นทุน แต่ยังจำเป็นต้องควบคุมวัชพืชด้วยสารเคมีกำจัดวัชพืช      การทำนาปรังลดต้นทุนนาในฤดูปลูกครั้งแรก ปี 2555 นั้นเขายังใช้ปุ๋ยเคมีผสมกับปุ๋ยอินทรีย์  และเมื่อผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ  เขาจึงขยายการทดลองเพิ่มในแปลงนาปรังครั้งที่ 2 ที่เขาทำทั้ งหมด แต่งดการใช้ปุ๋ยเคมี และใช้ปุ๋ยอินทรีย์สำเร็จรูป และฮอร์โมนไข่ ทดแทน    ซึ่งผลผลิตน่าพอใจคือไร่ละ 90 – 100 ถัง เขายังบอกด้วยว่าที่ทุ่งลำตะเคียน เริ่มมีคนทดลองนาลดต้นทุนอย่างเขาราว 100 ไร่แล้ว  เขายังหวังว่าผลกำไรที่ได้จากการทำนา จะมีมากพอเพื่อสะสมทุนไว้ซื้อที่นาเป็นของตัวเอง   และการเป็นสมาชิก ธกส. จะช่วยให้เขาสามารถนำโฉนดเข้าไปฝากธนาคารเพื่อให้เป็นหลักค้ำประกันเงินกู้ได้     เมื่อเปรียบเทียบ ต้นทุน – กำไร จากการทำนาในโฉนดเช่าระบุขนาด 10 ไร่ ซึ่งพื้นที่ใช้ทำนาจริง 7 ไร่  ประเสริฐเสียค่าเช่านาในราคาเต็มตามโฉนดและได้ค่าชดเชยส่วนต่างราคาประกันในโครงการประกันรายได้ เมื่อปี 2554 ตรงตามที่นำโฉนดไปขึ้นทะเบียน  คือไร่ละ 78 ถัง จากอัตราชดเชยตันละ 2,818 บาท ณ วันที่เกี่ยวข้าวขายตามที่ขึ้นทะเบียนไว้  ปีนี้มีเพลี้ยระบาดพอสมควร เขาผลิตข้าวได้ 6.69 ตัน และขายได้ในราคาตันละ 6,800 บาท เมื่อเทียบ ต้นทุน-กำไร ที่เขาขายข้าวในโครงการรับจำนำปี 2555 ในราคา 11,000 บาท ซึ่งได้ใช้วิธีการผลิตเพื่อลดต้นทุน   ได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อยคือ 7 ตัน  และใช้ตัวเลขของการผลิตปี 2555 เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของผลกำไร ระหว่างการเช่านาในระบบปกติ กับระบบที่โฆษณาปุ๋ยอินทรีย์ที่ระบุว่าจะบริษัทดังกล่าวมีที่นาอยู่จำนวนหนึ่งซึ่งให้ชาวนาที่อยากทำนาอินทรีย์เข้าไปใช้ประโยชน์จากการทำนาอินทรีย์  และหากขายข้าวได้กำไรบริษัทต้องการเพียงผลกำไรครึ่งหนึ่งเท่านั้น จะเห็นชัดเจนว่า  ระบบการผลิตแบบลดต้นทุนของประเสริฐในปี 2555  ลดต้นทุน/ไร่  และต้นทุน/ตัน  จากปี 2554 ได้ ถึง 18 และ 23 %     ข้าวที่ขายเข้าโครงการจำนำมีผล กำไร/ไร่ และกำไร/ตัน สูงสุด ที่ 5,741 บาท  รองลงมาคือ  ปี 2554 ที่ขายในโครงการประกันราคา คือ 4,450 และ  4,660 บาท   ส่วนการผลิตในระบบโฆษณา ประเสริฐได้ประโยชน์น้อยที่สุด คือเพียง  3,174  บาทเท่านั้น  (ดูตารางข้างล่างประกอบ)ที่น่าสนใจก็คือ ในระบบโฆษณาดังกล่าว หากประเสริฐยิ่งขวนขวายหาวิธีลดต้นทุนมากเท่าไหร่ ผลกำไรที่ได้เพิ่มขึ้นของประเสริฐก็จะถูกหักครึ่งหนึ่งเสียก่อนทุกครั้งเสมอ  จึงเป็นที่น่าดีใจว่า นี่เป็นเพียงภาพจำลองที่ประเสริฐยังไม่ได้เข้าไปใช้ที่ดินของบริษัทปุ๋ยอินทรีย์นี้เพื่อทำการผลิตของบริษัทดังกล่าว   นอกจากการทำนาแล้ว ประเสริฐยังรับจ้างหว่านปุ๋ย ฉีดพ่นสารกำจัดแมลง ทั้งในทุ่งลาดชะโดและลำตะเคียน  เขามีลูกค้าประจำกว่า 40 ราย    เมื่อมีการขยายที่นาปรังในทุ่งลาดชะโดเพิ่มขึ้น   เขามีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำนาลดต้นทุนแต่เสียโอกาสในการออกรับจ้างฉีดพ่นสารกำจัดแมลง    และเขายังคงหารายได้เสริมจากการรับจ้างหว่านปุ๋ย    ตีเทือก และรับเหมาทาสีบ้านแทน     “ตอนที่รับจ้างออกฉีดยาหว่านปุ๋ยก็เยอะทุกวัน    ถ้ารับทุกวันก็มีทุกวัน  ใน 1 ฤดูปลูก ถ้ารับจ้างฉีดยาหว่านปุ๋ยหว่านข้าวประมาณ 30 วัน ค่าจ้างไร่ละ 50 บาท  เฉลี่ยวันละ 400 บาท  ประมาณวันละ 10 ไร่  แต่เราไม่ได้รับ   เพราะห่วงทำของตัวเองมากกว่า  จังหวะชนกัน    ตอนนี้หันมารับจ้างย่ำนา (ตีขลุบหรือตีเทือก) ได้ไร่ละ 200 บาท  ปีนี้รับไป 2 แปลง  10 กว่าไร่  แต่รุ่นเปิดใหม่ไม่แน่ เพราะมีหลายเจ้า  ปีนี้เปิดเยอะ ทุ่งนี้ตอนนี้วิ่งไปเปิดหมดแล้ว  เมื่อก่อนเป็นนาปีหมดเดี๋ยวนี้ไปดูใหม่เป็นนาปรังหมดแล้ว” เขายังหวังว่าผลกำไรที่ได้จากการทำนา จะมีมากพอให้เขาสะสมทุนไว้ซื้อที่นาเป็นของตัวเอง   ซึ่งมีจ่ายค่าใช้จ่ายประจำวัน วันละ 300 บาท  และมีค่าใช้จ่าย 2,000 บาท/สัปดาห์ จากการที่เขาต้องพาภรรยาที่ป่วยจากที่เคยทำงานในโรงงานอุตสากรรมไปล้างไตที่โรงพยาบาลในตัวเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งห่างจากบ้านราว 25 ก ม. แม้เธอจะมีบัตรทอง 30 บาทยุคใหม่ก็ตาม     จะเห็นว่า ทุกกรณีศึกษาที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น  ชาวนาได้เข้าสู่ระบบการผลิตเชิงอุตสาหกรรมในระบบทุนนิยมเต็มรูปแบบ  แต่ละรายต่างพยายามหาช่องทางเข้าถึงปัจจัยการผลิตสำคัญอย่าง ที่ดิน และน้ำ และทำนาในขนาดที่มากพอจะให้เกิดความประหยัดจากการเพิ่มขนาดการผลิต (economic of scale) ควบคู่ไปกับการแสวงหาความรู้ และนำมาปรับใช้เทคนิคการผลิตเพื่อลดต้นทุนในแบบต่างๆ      ส่วนชาวนารายย่อยที่ขาดแคลนทุนจะปรับตัวเป็นแรงงานรับจ้างในอุตสาหกรรมข้าวภาคกลางอย่างไร  โปรดติดตามตอนหน้า [1]  บทความชุดที่สังเคราะห์ขึ้นจาก กรณีศึกษา  “โครงการจำนำข้าว: โอกาสและกลยุทธ์การลดต้นทุนและพัฒนาการผลิตของชาวนารายย่อยและแรงงานในอุตสาหกรรมข้าว”  กรณีศึกษา  ต.หนองน้ำใหญ่ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา  และ  ต.สระแก้ว  อ.เมือง  จ.สุพรรณบุรี   ระหว่าง มกราคม – พฤษภาคม 2556   โดยการสนับสนุนของ ประชาไท และ  ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  [2] ดูเพิ่มเติมที่  http://www.reic.or.th/law/lawfile/law030826120223.pdf [1] [3] ดูเพิ่มเติมที่   “ชาวนาร้อง"ดีเอสไอ"ถูกโกงค่าข้าว”  มติชน 23-03-2551  และ  “ ‘ดีเอสไอ’ ช่วยเคลียร์โรงสีเบี้ยวชาวนา” มติชน 24 ส.ค. 51   [4] ข้าวดีด เป็น วัชพืชที่ขึ้นปนในนาข้าว มีลักษณะคล้ายต้นข้าวมาก เมื่อปลูกข้าว ข้าวดีดจะโตไปพร้อมกับข้าว สังเกตแยกแยะได้ยาก จนกระทั่งข้าวดีดออกรวง ต้นจะสูงกว่าและออกรวงไวกว่าข้าว ช่วงนี้ชาวนาในเขตผักไห่และสุพรรณบุรีมักจะใช้วิธีกำจัดข้าวดีดด้วยวิธีการตัด(เฉาะข้าวดีดทิ้ง) เพราะปล่อยให้ข้าวดีดแก่และเมล็ดร่วงหล่นจะทำให้ผลผลิตนาข้าวเสียหาย 10 – 100 % [5] เชื้อราบิวเวอร์เรีย ( Beauveria bassiasna )  จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคกับแมลง  สามารถทำลายแมลงได้หลายชนิด  กลไกการเข้าทำลายคือ เมื่อสปอร์ของเชื้อราสัมผัสกับผิวของแมลงในสภาพความชื้นที่เหมาะสม  จะงอกเส้นใยแทงผ่านผิวหนังเข้าไปในลำตัวแมลง แล้วขยายจำนวนเจริญอยู่ภายในโดยใช้เนื้อเยื่อของแมลงเป็นอาหาร แมลงจะตายในที่สุด ภายในระยะเวลาต่างๆ ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และวัยของแมลง โดยทั่วไปประมาณ 3 - 14 วัน ในข้าว ใช้กำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ บั่ว และหนอนห่อใบ
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
1pos
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/78859
2018-09-26 15:34
หนุนทางเลือกผู้หญิงฯ เสนอแก้ กม.ให้ 'ยุติตั้งครรภ์' เป็นสิทธิอันชอบธรรมของผู้หญิง
เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมและเครือข่ายอาสา RSA เสนอแก้กฎหมายให้การ 'ยุติตั้งครรภ์' เป็นสิทธิอันชอบธรรมของผู้หญิง ระบุยังมีผู้หญิงต้องทำแท้งไม่ปลอดภัย เพราะกฎหมายไม่เอื้อ จ่อยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ พร้อมรณรงค์ 'การทำแท้งไม่ใช่อาชญากรรม ผู้หญิงไม่ใช่อาชญากร' ต่อ 26 ก.ย. 2561 วันนี้ เมื่อเวลา 9.00 -12.00 น. เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมและเครือข่ายอาสา RSA จัดเสวนา “Let’s Talk Abortion” เนื่องในวันยุติการตั้งครรภ์สากล 28 ก.ย. ของทุกปี ณ ห้องประชุมสานใจ อาคารสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม กล่าวว่า ปัญหาหลักเรื่องทำแท้งในสังคมไทยตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบันมีประเด็นสำคัญ 2 ประการคือ ประการแรกเกี่ยวกับวิธีคิดที่ฝังอยู่ในกฎหมายอาญาของไทย ที่มองว่าการทำแท้งเป็นอาชญากรรม และผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมและไปทำแท้งคืออาชญากร มีความผิดตามมาตรา 301 ซึ่งเป็นมาตราเดียวในประมวลกฎหมายอาญาที่ลงโทษเฉพาะผู้หญิงเท่านั้น มาตราอื่นๆเกี่ยวกับการทำผิดต่างๆ จะใช้คำว่า ‘บุคคล’ ซึ่งหมายรวมถึงทั้งผู้หญิงและผู้ชาย มาตรานี้ลงโทษผู้หญิงทั้งๆที่ไม่มีผู้เสียหาย เพราะเป็นการตัดสินใจกระทำต่อร่างกายของตนเอง สิ่งที่เครือข่ายฯ ต้องการขับเคลื่อนคือ ต้องการยกเลิกมาตรา 301 นี้ แต่โดยส่วนตัวอยากให้ยกเลิกกฎหมายเกี่ยวกับการทำแท้งออกไปหมดคือ มาตรา 301-305 การทำแท้งจะทำได้อย่างไร แค่ไหน ให้เป็นเรื่องข้อบังคับทางสุขภาพไป ประเด็นที่สอง แม้กฎหมายปัจจุบันจะมีข้อยกเว้นบางประการให้ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมสามารถทำแท้งได้ ใน 3 กรณีหลักๆคือ (1) การท้องเป็นอันตรายต่อสุขภาพกายและหรือสุขภาพใจของหญิงที่ตั้งครรภ์นั้น (2) การท้องนั้นเป็นผลมาจากการการกระทำผิดกฎหมายอาญามาตรา 276 คือการทำให้เด็กหญิงอายุต่ำกว่า 15 ปีลงมาตั้งท้อง ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม มาตรา 277 คือการข่มขืนกระทำชำเรา มาตรา 282, 283 และ 284 คือการใช้อุบาย หลอกลวงผู้หญิง มาสนองความใคร่ จนหญิงนั้นตั้งครรภ์ และ (3) ตัวอ่อนในครรภ์มีความพิการรุนแรง ทั้งนี้ผู้ทำให้ต้องเป็นแพทย์เท่านั้น ในข้อเท็จจริงแม้ผู้หญิงท้องไม่พร้อมที่มีเหตุมาจากเงื่อนไขดังกล่าว ก็พบว่าแพทย์ในสถานพยาบาลของรัฐจำนวนมากปฏิเสธที่จะทำแท้งให้ จนผู้หญิงต้องไปหาสถานบริการเถื่อน หรือใช้ยาแบบไม่ปลอดภัย และเป็นอันตราย ต่อชีวิต การมีเครือข่ายอาสา R-SA ได้ช่วยทุเลาปัญหานี้ไปได้บ้าง แต่ในเชิงระบบบริการที่ถูกต้อง รัฐโดยกระทรวง สาธารณสุขควรต้องออกมาผลักดันให้การบริการเรื่องการทำแท้งที่ปลอดภัยและถูกกฎหมายเป็นบริการที่เกิดขึ้นจริงในทุกโรงพยาบาล ห้ามไม่ให้มีการปฏิเสธอีกต่อไป สมวงศ์  อุไรวัฒนา ผู้รับผิดชอบ 1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม กล่าวว่า ระหว่าง 1 ต.ค. 58 –   30 มิ.ย. 61 มีผู้มารับบริการปรึกษาจากสายด่วน 1663 เรื่องท้องไม่พร้อม จำนวน 52,370 ราย รู้ว่าตั้งครรภ์แล้ว 29,191 ราย   และตัดสินใจเลือกยุติการตั้งครรภ์  19,097 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 83.4 ของผู้รับบริการที่ตั้งครรภ์แล้ว ทั้งนี้ เฉพาะ ตุลาคม 60 – มิถุนายน 61 มีผู้ที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมมารับบริการปรึกษากับ 1663 จำนวน 12,215 ราย และตัดสินใจเลือกยุติการตั้งครรภ์8,577 ราย และในจำนวนนี้มีอยู่ 652 รายหรือร้อยละ 7.6 ที่ได้เปิดเผยว่า ได้ทำการยุติการตั้งครรภ์ด้วยตนเองก่อนจะโทรมาปรึกษา  และในจำนวนนี้ มีอย่างน้อย 36 รายที่มีปัญหาสุขภาพของแม่หรือตัวอ่อนในครรภ์ที่อยู่ในเกณฑ์ทางการแพทย์แต่ถูกปฏิเสธการยุติการตั้งครรภ์ด้วยเหตุผลว่า โรงพยาบาลไม่มีบริการยุติการตั้งครรภ์ให้ “สำหรับผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม  ควรมีทางเลือกในการจัดการแก้ไขปัญหา เพราะการมีทางเลือกดีกว่าไม่มีทางเลือก ยิ่งมีหลาย ๆทางเลือกจะยิ่งดี เพราะคนจะเลือกทางที่ดีที่สุดสำหรับตนเอง  แต่ในปัจจุบันสำหรับผู้หญิงทีท้องไม่พร้อม แทบจะไม่มีทางเลือกอะไรเลย” สมวงศ์ กล่าว นายแพทย์สมชาย พีระปกรณ์ สมาชิกเครือข่ายอาสา (RSA :Referral system for safe abortion) และพนักงานบำนาญองค์การอนามัยโลก กล่าวว่า จากประสบการณ์การทำงานเรื่องการเสียชีวิตของผู้หญิงพบว่า การเสียชีวิตจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยถือเป็นเรื่องที่ไม่น่าเกิดขึ้น ทั้งนี้ในประเทศที่เจริญแล้วอัตราการตายจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยจะน้อยมากเพราะประเทศเขามีการจัดระบบบริการที่ดี มีคุณภาพ และปลอดภัยให้กับผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมและต้องการยุติการตั้งครรภ์ หากประเทศไทยสามารถทำให้ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมสามารถเข้าถึงบริการได้โดยไม่ถูกลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ก็เชื่อว่าความรุนแรงของปัญหาท้องไม่พร้อมจะลดลง ผู้หญิงจะไม่พึ่งพาบริการทำแท้ง “ใต้ดิน” เพราะสามารถเดินเข้าไปรับบริการที่โรงพยาบาลได้ “โรงพยาบาลควรมีระบบที่ดีในการให้บริการผู้หญิงท้องไม่พร้อม เมื่อผู้หญิงเดินเข้าไปควรรู้ว่าเขาจะได้ปรึกษากับใคร ทางเลือกของเขามีอะไรบ้าง และหากตัดสินใจเลือกแล้วจะมีขั้นตอนกระบวนการในการจัดการปัญหาอย่างไร เหมือนเรื่องเบาหวาน ผู้ป่วยไปตรวจน้ำตาลในเลือด รพ.ก็จะมีป้ายระบุขั้นตอนและผลกระทบต่อสุขภาพหากมีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงให้ผู้ป่วยได้ทราบ เรื่องท้องไม่พร้อมก็ควรทำแบบนี้ได้เช่นกัน” นายแพทย์สมชาย กล่าว นายแพทย์บุญฤทธิ์  สุขรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักการอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวเสริมว่า กรมอนามัยสนับสนุนให้เกิดนโยบายเพื่อลดการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย เช่น การสนับสนุนให้ยายุติตั้งครรภ์ Medabon เข้าสู่บัญชียาหลัก การสนับสนุนเครือข่ายอาสาRSA และมีส่วนผลักดันให้เกิดพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 ทั้งนี้ ไม่ใช่เพียงแต่เรื่องความปลอดภัยในการยุติการตั้งครรภ์เท่านั้นแต่เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมด้วย ทัศนัย ขันตยาภรณ์ เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม กล่าวว่า กฎหมายในปัจจุบันแม้ว่าจะเปิดช่องให้ผู้หญิงที่ไม่พร้อมสามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ แต่ก็ถือว่าเป็นกฎหมายที่ยังขัดกับสิทธิและหลักความเสมอภาค ทั้งนี้ อยากสื่อสารกับสังคมว่าการทำแท้งไม่ใช่ความผิดทางอาญา แต่เป็นการดูแลรักษาทางการแพทย์โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาชีวิตและความปลอดภัยของผู้หญิง โดยช่วงบ่ายของวันนี้ทางเครือข่ายฯ จะเดินทางไปยื่นหนังสือถึงศาลรัฐธรรมนูญตีความว่ากฎหมายอาญาดังกล่าวขัดต่อสิทธิเสรีภาพหรือไม่ โดยสาระสำคัญของหนังสือที่จะไปยื่นให้ตีความคือเสนอให้ยกเลิกกฎหมายอาญา มาตรา 301 เพราะขัดกับหลักความเสมอภาคหญิงชายและกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกายผู้หญิง  ส่วนมาตรา 305 301 และ 302 ที่ระบุว่าการยุติการตั้งครรภ์สามารถกระทำได้โดยแพทย์ หากเนื่องมาจากสุขภาพของผู้หญิง และการตั้งครรภ์เกิดจากกลุ่มคดีทางเพศตามกฎหมายอาญานั้น ขอให้เพิ่มเติมข้อยกเว้นได้แก่ กรณีอายุครรภ์ของหญิงนั้นไม่เกิน 12 สัปดาห์  กรณีการตั้งครรภ์ส่งผลต่อสภาพจิตใจ กรณีตัวอ่อนในครรภ์พิการหรือเสี่ยงต่อโรคทางพันธุกรรม และในส่วนของผู้กระทำ ขอให้เพิ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานภายใต้ความควบคุมของแพทย์ด้วย ทั้งนี้ นอกจากยื่นหนังสือถึงศาลรัฐธรรมนูญแล้ว เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อมและเครือข่ายอาสา R-SA จะจัดกิจกรรมรณรงค์ “การทำแท้งไม่ใช่อาชญากรรม ผู้หญิงไม่ใช่อาชญากร” ที่บริเวณหน้าศาลรัฐธรรมนูญหลังยื่นหนังสือด้วย
0neg
1pos
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/62761
2015-12-03 15:46
ตุลาการผู้แถลง หักธงกองเซ็นเซอร์ ชี้ 'Insects in the Backyard' ฉายได้
ตุลาการผู้แถลงคดี กรณีฟ้องยกเลิกคำสั่งห้ามฉาย 'Insects in the Backyard' หักธง คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ฯ ชี้ฉายได้ ไม่เสื่อม ดูหนังต้องดูองค์รวม ด้านผู้กำกับเห็นว่า หากคำสั่งตัดสินเป็นไปทางเดียวกัน จะสร้างบรรทัดฐานการพิจารณาให้คณะกรรมการฯ 3 ธ.ค. 2558 ที่ศาลปกครอง แจ้งวัฒนะ ได้มีการพิจารณาคดีครั้งแรก กรณีธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard ยื่นฟ้องคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ หลังมีมติ "ไม่อนุญาตให้ฉาย" ตามมาตรา 29 ของ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551  โดยร้องขอให้ศาลตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการ พิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ในการออกคำสั่งไม่อนุญาตให้ฉายภาพยนตร์ ทั้งนี้ คำสั่งไม่อนุญาตให้ฉายภาพยนตร์ ของคณะกรรมการฯ ระบุเหตุผลว่าภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวมีเนื้อหา "ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน" ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ทนายความของผู้ฟ้อง ให้ข้อมูลภายหลังการพิจารณาคดีครั้งแรกว่า ตุลาการผู้แถลงคดีมีความเห็นว่า ในภาพยนตร์ซึ่งมีการฉายให้เห็นอวัยวะเพศนั้น ไม่ใช่สาระสำคัญของเรื่อง เป็นเพียงฉากที่ใช้ในการดำเนินเรื่องบางตอนเท่านั้น เมื่อวิเคราะห์จากภาพยนตร์ที่ห้ามฉาย ตามกฎหมายจะต้องมีลักษณะที่ขัดต่อความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อย่างร้ายแรง จึงจะถูกห้ามฉาย แต่ Insects in the Backyard ไม่ได้เข้าข่ายภาพยนตร์ในลักษณะดังกล่าว อีกทั้งยังเป็นภาพยนตร์ที่มุ่งพูดถึงปัญหาครอบครัว และมีเจตนาสะท้อนสังคม ศาลจึงมีความเห็นว่า ให้คณะกรรมการฯ เพิกถอนคำสั่งห้ามฉายภาพยนตร์ Insects in the Backyard และเห็นว่าเข้าลักษณะภาพยนตร์สำหรับผู้มีอายุ 20 ปี จึงให้เพิกถอนคำสั่งห้ามฉาย และจ่ายค่าชดเชยหนึ่งหมื่นบาท อย่างไรก็ตามความเห็นของตุลาการผู้แถลงคดียังไม่ถือเป็นที่สิ้นสุด โดยศาลได้นัดฟังคำพิพากษาอีกครั้งในวันที่ 25 ธ.ค. 2588 ประชาไทสัมภาษณ์ ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว หลังฟังความเห็นของตุลาการผู้แถลงคดี เธอให้เห็นว่า หากคำพิพากษาที่จะออกมาในที่ 25 ธ.ค. เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับความคิดเห็นของตุลาการผู้แถลงคดีนั้น จะเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ดีในการทำงานของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ กล่าวคือจะทำให้มีการพิจารณาภาพยนตร์ในลักษณะองค์รวม ไม่ใช่เป็นการพิจารณาเพียงบางฉากแล้วนำมาตัดสินภาพยนตร์ทั้งหมด “เพราะว่าที่ผ่านมา เราโดนแบนกันด้วยการมองภาพกระจายเป็นฉากๆ ไม่ได้มองภาพองค์รวม อย่างที่ตุลาการท่านแถลงมาเห็นชัดว่าท่านดูหนังทั้งเรื่อง และพิจารณาองค์รวมทั้งเรื่องว่า หนังเรื่องนี้กำลังพูดถึงสาระสำคัญอะไร ท่านบอกว่า ok ภาพที่เห็นมีภาพร่วมเพศ มีการเห็นอวัยวะ มีการขายตัว มีการสอนนั่นสอนนี่ที่มันไม่ดีทั้งหมดเลย แต่มันมีเพราะอะไร เพื่ออะไร มันมีเหตุมีผลของมัน” ธัญญ์วาริน กล่าว เธอกล่าวต่อไปว่า หากคำตัดสินออกมาเป็นไปตามคำแถลงของตุลาการผู้แถลงคดี ก็จะนำภาพยนตร์เข้าโรงเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ดูแน่นอน ต่อคำถามว่าเมื่อผ่านมา 5 ปี ภาพยนตร์ซึ่งทำออกมาในตอนนั้นยังจะสามารถสะท้อน หรือให้ข้อคิดกับสังคมได้อยู่หรือไม่ เธอเห็นว่า ภาพยนตร์ยังคงสะท้อนภาพสังคมได้อยู่ และที่สำคัญเธอเห็นว่าปีนี้ เป็นปีที่มีภาพยนตร์ ซึ่งพูดถึงครอบครัวเพศเดียวกันจำนวนมาก ทั้งยังมีการพูดถึงกฎหมายการยอมรับความเท่าเทียมระหว่างเพศ และมีการผลักดันกฎหมายการแต่งงานของเพศเดียวกัน Insects in the Backyard จึงเป็นหนังที่ยังเป็นปัจจุบันอยู่ “5 ปีที่ผ่านมา เรามีการพูดถึงความหลากหลายทางเพศในแง่มุมที่พัฒนาก้าวกระโดดกันมากมาย ทั้งที่เราเคยพูดถึงเรื่องนี้ เมื่อปี 5 ที่แล้วกับหนัง Insects in the Backyard ถามว่าเอามาฉายปีหน้ายังอินเทรนด์ อยู่มั้ย ยังอินเทรนด์อยู่แน่นอน และก็เข้ากับกระแสสังคมด้วย เพราะตอนนี้เราพูดถึงเรื่องเหล่านี้กันเยอะมาก” ธัญญ์วาริน กล่าว Insects in the Backyard Trailer
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/47736
2013-07-16 22:53
เปิดใจญาติเหยื่อความรุนแรง จะหวังอะไรกับการเจรจาสันติภาพ ?
เปิดใจญาติของเหยื่อเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ ต่อความหวังในกระบวนการพูดคุยสันติภาพ หลังลูกสาวถูกดักยิงสาหัส อีกรายเป็นอดีตผู้ต้องสงสัยถูกยิงดับหลังอัยการสั่งไม่ฟ้อง  สมนึก ปราทุมเทศ พ่อของ อรพรรณ ปราทุมเทศ นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ อ.เมือง จ.ปัตตานี ซึ่งถูกยิงบาดเจ็บสาหัสขณะกลับจากโรงเรียน   อยากให้ลูกมีอนาคตที่ดี จึงส่งไปเรียนในตัวเมือง ช่วงเย็นของวันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน 2556 เกิดเหตุ น.ส.อรพรรณ ปราทุมเทศ อายุ 17 ปีนักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ อ.เมือง จ.ปัตตานี พร้อมเพื่อนนักเรียน นายตันติกร ปุยชุมพล วัย 16 ปี ถูกยิงบาดเจ็บสาหัส ขณะนั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์กลับบ้านหลังเสร็จจากการเตรียมแข่งกีฬาสีที่โรงเรียน ซึ่งวันดังกล่าวเป็นวันหยุด ทำให้ทั้งคู่ต้องขับขี่รถจักรยานยนต์แทนที่จะขึ้นรถรับส่งอย่างทุกวัน “ผมอยากให้ลูกมีอนาคตที่ดี มีงานดี ไม่อยากให้ลำบากเหมือนผม จึงส่งลูกสาวไปเรียนในตัวเมืองปัตตานี ทั้งที่รู้ว่าเสี่ยงมากที่จะถูกทำร้ายระหว่างทาง” นายสมนึก ปราทุมเทศ พ่อของอรพรรณ กล่าวหลังทราบว่าลูกสาวของเขาถูกลอบยิงจนได้รับบาดเจ็บสาหัส บ้านของอรพรรณอยู่ใน ต.ทุ่งคล้า อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ส่วนตันติกรอยู่ใน อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ระยะทางจากโรงเรียนไปยังบ้านพักห่างกันกว่า 40 กิโลเมตร ตามถนนสี่เลนหมายเลข 42 สายปัตตานี-นราธิวาส ต้องผ่านพื้นที่ที่ล้วนเคยเกิดเหตุรุนแรงทั้งสิ้น โดยจุดเกิดเหตุอยู่ในพื้นที่ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี “ผมไม่เข้าใจว่า ทำไมคนร้ายจึงทำร้ายลูกสาวผม ทั้งๆ ที่ลูกสาวไม่เคยมีปัญหากับใครเพราะยังเป็นนักเรียน เขาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ถ้าเป็นไปได้ผมอยากแลกให้คนร้ายมาทำร้ายผมแทนลูกสาว “ผมอยากบอกแก่คนที่ทำร้ายลูกสาวของผมว่า หากมีคนทำร้ายลูกของคุณ แล้วคุณจะมีความรู้สึกอย่างไร” สมนึกกล่าว สมนึกเล่าด้วยว่า เขาเองก็เกือบถูกคนร้ายประกบยิงขณะขับรถจักรยานยนต์มาแล้วหลายครั้ง แต่รู้ตัวเสียก่อน ทำให้คนร้ายไม่กล้ายิง “ตอนนี้ ผมไม่สามารถคาดหวังกับการพูดคุยสันติภาพระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทยกับขบวนการบีอาร์เอ็น เพราะผมถือว่าเป็นการพูดคุยที่ไม่มีความจริงใจ เพราะรัฐไม่ได้เปิดเผยว่ากำลังพูดคุยกับใคร พูดคุยที่ไหน คุยเรื่องอะไรบ้าง” “ผมคิดว่าแนวทางแก้ปัญหาความไม่สงบ คือ ทางเจ้าหน้าที่รัฐต้องปราบปรามโจรโดยการปิดล้อมหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านในพื้นที่ แต่อย่าไปละเมิดสิทธิของประชาชนผู้บริสุทธิ์” สมนึกกล่าวทิ้งท้าย   บาบอปูลาฆาซิง “เมื่ออัยการไม่สั่งฟ้องบาบอ ก็แสดงว่าบาบอเป็นคนที่บริสุทธิ์ตามกฎหมาย แล้วทำไมบาบอจึงถูกยิงอย่างนี้ด้วย” นี่คือคำถามจากญาติคนหนึ่งของนายอิสมาแอ ปาโอ๊ะมานิ หรือ บาบอปอเนาะปูลากาชิง อายุ 53 ปีที่ถูกคนร้ายยิงเสียชีวิต เมื่อช่วง 9 โมงครึ่งของวันที่ 25 มิถุนายน 2556 หน้าบาลัยละหมาด ที่บ้านปูลากาชิง หมู่ที่ 4 ต.กอลำอ.ยะรัง จ.ปัตตานี โดยคนร้าย 2 คน ขับมอเตอร์ไซค์มาจอดหน้าบาลัย แล้วใช้อาวุธปืน AK-47 ยิงจนเสียชีวิต ญาติคนนี้ เล่าว่า หลังจากพนักงานอัยการจังหวัดปัตตานีสั่งไม่ฟ้องในคดีที่เกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบเมื่อปี 2555 บาบอก็กลับมาอยู่ในหมู่บ้าน ตั้งใจจะเปิดปอเนาะสอนศาสนาอิสลามให้เด็กและเยาวชนในหมู่บ้าน เพื่อแก้ปัญหาเด็กติดยาเสพติดประเภทน้ำต้มใบกระท่อมอย่างหนัก หลังจากเปิดปอเนาะไประยะหนึ่ง ปรากฏว่าสามารถทำให้เด็กและเยาวชนในหมู่บ้านเกือบทั้งหมดเลิกติดยาเสพติดได้ “แม้คดีของบาบอสิ้นสุดไปแล้ว แต่ก็มีทหารมาเยี่ยมเกือบทุกวัน ไม่สามรถไปไหนได้ เพราะกลัวเจ้าหน้าที่รัฐคิดว่าหลบหนี ทำให้บาบอต้องอยู่อย่างระมัดระวังตลอดเวลา” “หากเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วต้องถูกกระทำอย่างนี้อีก ประชาชนในพื้นที่ก็ไม่สามารถหาที่พึ่งได้ ดังนั้นผมคิดว่าการพูดคุยสันติภาพระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทยกับบีอาร์เอ็น เหมือนกับการตีหน้าแล้วลูบหลัง โดยเอาประชาชนเป็นเครื่องมือ” “ผมคิดว่าทางออกของปัญหา คือ รัฐต้องจัดระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ เรียนจบแล้วก็ให้คนมีงานทำ สิ่งนี้จะแก้ปัญหาความไม่สงบได้”
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/68014
2016-09-21 13:49
40 ปี 6 ตุลาฯ กับวัฒนธรรมไม่รับผิด
อีกเพียงไม่กี่วันก็จะถึงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2559 ซึ่งจะเป็นวันครบรอบ 40 ปีของเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 ซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ อย่างน้อยที่สุด กรณี 6 ตุลาก็เป็นครั้งแรกที่พลังฝ่ายประชาชนได้เรียนรู้ความพ่ายแพ้จากการปราบปรามจากชนชั้นปกครองอย่างเป็นรูปธรรม และได้เผชิญกับการรัฐประหาร หลังจากที่บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์มา 3 ปี เวลาผ่านมาในระยะ 40 ปี ที่น่าสนใจคือ กรณี 6 ตุลาเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ ที่มีการจัดงานรำลึกกันทุกปี เป็นงานขนาดเล็กและขนาดใหญ่ตามแต่โอกาส ในการจัดงาน 6 ตุลาในระยะหลายปีที่ผ่านมา มีประเด็นสำคัญที่เสนอต่อสังคมไทยให้เป็นบทเรียน 2 ประการ คือ ประการแรก การเสนอต่อสังคมไทยให้เลิกใช้วิธีการรัฐประหารในการแก้ไขปัญหา เพราะการรัฐประหารที่ผ่านมา ก็ไม่เคยแก้ปัญหาอะไรได้ ประการที่สอง คือ การเรียกร้องต่อชนชั้นปกครองไทย ให้เลิกใช้อาวุธและความรุนแรงในการปราบปรามประชาชน ให้รู้จักที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนโดยสันติวิธี เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย แต่จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาในรอบ 40 ปี จะเห็นว่าข้อเสนอทั้ง 2 ข้อไร้ผล ชนชั้นปกครองก็ยังแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยการสนับสนุนให้กองทัพทำการรัฐประหาร สถาปนาอำนาจเผด็จการ ยิ่งกว่านั้น ความรุนแรงจากการใช้อำนาจรัฐ ก็ยังเป็นปรากฏการณ์ปกติอย่างนี้ ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า คำถามคือ เหตุใดชนชั้นนำไทยจึงไม่รู้จักสรุปบทเรียน และใช้วิธีการแบบเดิมทั้งปราบปรามประชาชนและก่อรัฐประหาร อ.พวงทอง ภวัครพันธุ์ แห่งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้คำตอบกรณีนี้ว่า วัฒนธรรมแห่งการไม่ต้องรับผิด (Culture of impunity) ของชนชั้นปกครองไทยมีความสำคัญอย่างมาก เพราะกลายเป็นว่า เมื่อผู้มีอำนาจก่อการกระทำผิดต่อชีวิตของประชาชน เช่นกรณี 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 และกรณีที่เกิดขึ้นภายหลัง เช่น เหตุการณ์พฤษภาคม 2535 รัฐบาลที่ก่อเหตุการณ์ไม่เคยต้องรับความผิด โดยมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับความผิดเหล่านั้น กฎหมายนิรโทษกรรมจึงมีความสำคัญอย่างมาก ดังนั้น เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2535 พล.อ.สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรี จึงออกกฎหมายนิรโทษกรรมเสียก่อน แล้วจึงลาออกจากตำแหน่งในวันรุ่งขึ้น แต่ที่มากกว่านั้น ก็คือ กรณีสังหารประชาชนเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ที่ดำเนินการโดยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ต้องมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมเสียด้วยซ้ำ แต่ก็ไม่มีกระบวนการใดเลย ที่จะจัดการนำตัวผู้ก่อเหตุสังหารประชาชนกลางพระนคร มาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม ด้วยกระบวนการเช่นนี้ การเสนอให้สอบสวนดำเนินคดีกับผู้รับผิดชอบสั่งฆ่าประชาชน โดยเฉพาะในกรณีเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ.2553  จึงเป็นเสมือนเรื่องในความฝัน เพราะในทางความเป็นจริง แม้กระทั่งคำขอโทษ หรือท่าทีสำนักในความผิดของบุคคลที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่เคยมีเสียด้วยซ้ำ ชนชั้นนำไทยเฉยเมยอย่างมากต่อการถูสังหารผมู่ของคนเสื้อแดง และเมื่อการรัฐประหารครั้งใหม่เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2557 พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการปราบปรามประชาชนให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีมหาดไทย ทำให้ความหวังที่จะให้เกิดการลงโทษผู้กระทำผิดยิ่งเป็นไปไม่ได้ ในที่สุด กรณีนี้ สังหารประชาชนครั้งนี้ ก็จะจบลงภายใต้วัฒนธรรมไม่ต้องรับผิดชอบชนชั้นนำเช่นเดิม ท่ามกลางกระบวนการละเลยความผิดกันเองในหมู่ชนชั้นนำ แต่ถ้าผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดในทางการเมืองเป็นฝ่ายประชาชน กลับถูกดำเนินคดีอย่างจริงจัง เช่นในกรณี 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 มีการจับกุมนักศึกษาประชาชนผู้ชุมนุม 3,094 คน และต่อมาถูกฟ้องดำเนินคดี 19 คน ส่วนกรณีเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 มีประชาชนฝ่ายคนเสื้อแดงถูกจับดำเนินคดีนับพันคน และเมื่อถึงวันนี้หลายคนถูกตัดสินลงโทษสถานหนัก ตัวอย่างอันดีคือกรณีเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี จำเลยถูกตัดสินลงโทษ 13 คน ซึ่งนายพิเชษฐ ทาบุดดา ถูกลงโทษสูงสุดคือจำคุกตลอดชีวิต ความจริงแล้วก่อนหน้านี้ มีการเคลื่อนไหวที่จะให้มีการนิรโทษกรรมประชาชนผู้ได้รับผลจากความขัดแย้งทางการเมือง แต่ความพยายามเช่นนั้น ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ เท่ากับว่า การนิรโทษกรรมความผิดเป็นเรื่องของชนชั้นนำเท่านั้น ประชาชนจะได้รับนิรโทษกรรมไม่ได้ เช่นเดียวกันกับในเรื่องการก่อการรัฐประหาร ล้มล้างรัฐบาล และฉีกรัฐธรรมนูญ ที่เกิดขึ้น 5 ครั้งในระยะ 40 ปี ทั้งที่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายทั้งสิ้น แต่ก็ได้รับการยอมรับจากชนชั้นนำในสังคมไทย และจะถูกดำเนินการให้กลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฏหมาย โดยกระบวนการรัฐสภาแต่งตั้งโดยคณะทหาร หรือโดยคณะตุลาการที่โอนอ่อนตามอำนาจคณะรัฐประหารเสมอมา นี่เป็นผลประโยชน์ร่วม ที่ทำให้คณะรัฐประหารทุกคณะ ไม่เคยแตะต้องอำนาจตุลาการเลย ยิ่งกว่านั้น การรัฐประหาร พ.ศ.2549 และ รัฐประหาร พ.ศ.2557 ยังมีกระบวนการเพิ่มอำนาจทางการเมืองให้คณะตุลาการอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน สรุปแล้ว ไม่ว่าการรัฐประหารครั้งไหน ก่อความเสียหายเหลือคณานับให้กับประเทศไทยอย่างไร คณะทหารที่ก่อรัฐประหารไม่เคยต้องรับผิด และยังได้ผลประโยชน์อันมหาศาล ทำให้นายทหารที่ก่อรัฐประหารทุกสมัยล้วนมีฐานะอันมั่งคั่งร่ำรวย ในต่างประเทศหลายประเทศ ได้มีการยกเลิกวัฒนธรรมไม่ต้องรับผิดของชนชั้นนำมาแล้ว เช่น ในเกาหลีใต้ ตุรกี บราซิล อาร์เจนตินา และ ชิลี ซึ่งมีการยกเลิกมาตรการนิรโทษกรรม และนำเอาอดีตนายทหารที่ก่อการรัฐประหารแล้วปราบปรามประชาชนมาลงโทษ เช่นกรณีล่าสุด ศาลอาร์เจนตินา ก็มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 8 กันยายน ลงโทษ พล.อ.อ.โอมาร์ กราฟฟิกนา อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ วัย 90 ปี และนายลุยซ์ ตริลโญ วัย 75 ปี อดีตหัวหน้าสำนักข่าวกรอง โดยจำคุกคนละ 25 ปี ในความผิดฐานปราบปรามและสังหารนักเคลื่อนไหวฝ่ายค้านตั้งแต่เมื่อ พ.ศ.2522 การดำเนินการลักษณะนี้ ก็เพื่อสร้างหลักประกันไม่ให้มีการรัฐประหารและการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้นอีก นี่คงเป็นความคาดหวังว่า สิ่งเหล่านี้ น่าจะเกิดได้ในสังคมไทย ที่จะทำให้การรัฐประหารและการละเมิดสิทธิมนุษย์กลายเป็นเรื่องผิดกฎหมาย และปิดทางสำหรับชนชั้นนำที่จะกระทำเช่นนี้อีกในอนาคต แม้ว่าความคาดหวังเช่นนี้จะไม่เป็นจริงในขณะนี้ และอาจจะไม่เป็นจริงสำหรับรุ่นคนเดือนตุลา ซึ่งขณะนี้ก็สูงอายุแล้ว แต่ก็หวังให้เป็นจริงสักวันหนึ่งข้างหน้า 0000   หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกใน โลกวันนี้วันสุข ฉบับ 582 วันที่ 17 กันยายน 2559
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/66401
2016-06-19 18:12
สปสช.แจงสัญญาที่กฤษฎีกาตีความ ไม่ได้ใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพ
สปสช.แจงข้อตกลงที่มีกับ สธ.ซึ่งเกี่ยวข้องกับคู่สัญญาของผู้สมัครเลขาธิการ สปสช.ที่ส่งให้คณะกรรมการกฤษีกาตีความนั้น ใช้งบบริหารจัดการสำนักงาน ไม่ใช่งบกองทุนหลักประกันสุขภาพ จึงไม่ได้ขัดกับสิ่งที่ คตร.และ สตง.แนะนำ   19 มิ.ย. 2559 นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา รักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ขณะนี้มีข่าวทำให้เกิดความเข้าใจผิดในประเด็นสัญญาหรือข้อตกลงที่มีลักษณะนิติสัมพันธ์ ที่ สปสช.โดยมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ให้หารือปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครเลขาธิการ สปสช.ไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่มีความเข้าใจผิดว่า สัญญาหรือข้อตกลงที่ สปสช.ทำกับกระทรวงสาธารณสุข อาจเป็นโมฆะเพราะขัดกับข้อแนะนำของคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ที่ระบุว่าเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามมาตรา 38 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ต้องส่งให้กับหน่วยบริการสาธารณสุขเท่านั้น   นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นความเข้าใจผิด เพราะข้อตกลงที่มีลักษณะนิติสัมพันธ์ทั้ง 2 ฉบับที่คณะกรรมการกฤษฎีกาใช้ตีความคุณสมบัติของผู้สมัครเลขาธิการ สปสช.นั้น เป็นข้อตกลงที่ใช้งบบริหารจัดการของ สปสช.ตามมาตรา 29 ไม่ได้ใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพตามมาตรา 38 จึงไม่ได้ขัดกับ คตร.หรือ สตง.แนะนำ   ทั้งนี้ สปสช.ได้ส่งข้อตกลงที่มีลักษณะนิติสัมพันธ์ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กับ สปสช.ที่ยังไม่เกิน 1 ปี ทั้งหมด 3 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับ นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ ผู้ตรวจราชการ ซึ่งเป็นผู้สมัครเลขาธิการ สปสช.เพื่อให้คณะกรรมการกฤษฎีกาประกอบการพิจารณาตีความ และข้อตกลง 2 ฉบับที่คณะกรรมการกฤษฎีกาใช้ตีความ เป็นข้อตกลงที่ใช้งบบริหารจัดการของ สปสช.ตามมาตรา 29 ไม่ได้ใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพตามมาตรา 38 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 จึงไม่ได้ขัดกับข้อแนะนำของ คตร.และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ส่วนข้อตกลงฉบับที่ 3 ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ได้ตอบข้อหารือมานั้น ถึงแม้เป็นข้อตกลงที่ใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพ แต่ในข้อตกลงก็ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าเงินกองทุนส่งตรงไปที่หน่วยบริการประมาณ 1,000 แห่งในสังกัด สป.สธ.ไม่ได้ส่งให้กับกระทรวงสาธารณสุขแต่อย่างใด   รักษาการเลขาธิการ สปสช. กล่าวต่อว่า ข้อตกลงทั้ง 3 ฉบับนั้น 2 ฉบับแรกคณะกรรมการกฤษฎีกาใช้ตีความและตอบข้อหารือมายัง สปสช.เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.2559 มีดังนี้   1.ข้อตกลงดำเนินงานตามโครงการพัฒนาระบบการจัดการข้อร้องเรียน ฟ้องร้องทางการแพทย์และสาธารณสุขด้วยสันติวิธี ระยะเวลาตั้งแต่ 19 ธ.ค.2557 สิ้นสุด 30 มิ.ย.2558 ใช้งบบริหารจัดการของ สปสช.   2.ข้อตกลงดำเนินงานตามโครงการพัฒนาระบบการจัดการข้อร้องเรียน ฟ้องร้องทางการแพทย์และสาธารณสุขด้วยสันติวิธี ปีงบประมาณ 2559 ระยะเวลาตั้งแต่ 18 ธ.ค.2558 สิ้นสุด 31 พ.ค.2559 ใช้   งบบริหารจัดการของ สปสช.   ส่วนข้อตกลงฉบับที่ 3 นั้น เป็นข้อตกลงดำเนินงานร่วมกันเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและงบประมาณเรื่องการจัดระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care) แบบบูรณาการของหน่วยบริการในสังกัด สธ.ปีงบประมาณ 2559 ลงนามโดย นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นข้อตกลงที่คณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ได้ตอบข้อหารือมา และถึงแม้จะเป็นข้อตกลงใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ก็ส่งเงินกองทุนฯ ให้หน่วยบริการในสังกัด สป.สธ. โดยตรง    สำหรับผลการสรรหาเลขาธิการ สปสช. ซึ่งจะเหลือเฉพาะ นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เข้าสู่การพิจารณาของบอร์ด สปสช.ในวันที่ 4 ก.ค.นี้ แหล่งข่าวจากคณะกรรมการสรรหาฯ เปิดเผยว่า คะแนนที่ นพ.ประทีป ได้รับจากคณะกรรมการสรรหาฯ ในภาพรวมได้ 91 คะแนน ในคะแนนเต็ม 100 คะแนน และเฉพาะคะแนนการแสดงวิสัยทัศน์จากคะแนนเต็ม 60 ได้ 57 คะแนน หรือร้อยละ 95 โดยเกณฑ์การให้คะแนนแบ่งเป็น ระดับการศึกษา (10 คะแนนเต็ม ได้ 8 คะแนน) บุคลิกและลักษณะการตอบโต้ (10 คะแนนเต็ม ได้ 8 คะแนน) ประสบการณ์ในการบริหารงาน (10 คะแนนเต็ม ได้ 9 คะแนน) ผลงานเชิงประจักษ์ (10 คะแนนเต็ม ได้ 9 คะแนน) และการแสดงวิสัยทัศน์ (60 คะแนนเต็ม ได้ 57 คะแนน)
0neg
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/72165
2017-06-29 00:58
ตัวแทน ปชช. 6 จังหวัด ร้องรัฐเร่งแก้มลพิษ หลังผลวิจัยชี้โลหะหนักปนเปื้อนสูงหลายพื้นที่
ตัวแทนประชาชน 6 จังหวัด ประมาณ 30 คน ยื่นหนังสือต่อรัฐบาลพร้อมนำเสนอผลวิจัยโลหะหนักในตะกอนดิน เรียกร้องมาตรการควบคุมมลพิษเร่งด่วน เผยเดือดร้อนหนักปัญหาไม่คลี่คลาย หน่วยงานท้องถิ่นไม่ขยับ 28 มิ.ย. 2560 รายงานข่าวระบุว่า ที่ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี  ตัวแทนมูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) พร้อมด้วยตัวแทนประชาชนจาก 6 จังหวัด ประมาณ 30 คน ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือและนำเสนอผลการศึกษาการปนเปื้อนของสารโลหะหนักในตะกอนดินของแหล่งน้ำผิวดินใกล้พื้นที่อุตสาหกรรมใน 8 จังหวัด รวมทั้งเรียกร้องต่อรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ดำเนินมาตรการอย่างเร่งด่วนในการควบคุมมลพิษและลดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม เพื่อลดความเสี่ยงทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของประชาชน  จากกรณีที่มูลนิธิบูรณะนิเวศได้เปิดเผยผลการศึกษาการปนเปื้อนของสารโลหะหนักในตะกอนดินของแหล่งน้ำผิวดินใกล้พื้นที่อุตสาหกรรมใน 8 จังหวัดของประเทศไทย ไปก่อนหน้านี้  โดยมีตัวแทนรัฐบาล ตัวแทนจากกระทรวงอุตสาหกรรม และตัวแทนจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ออกมารับหนังสือและรับฟังการนำเสนอ โดยเมื่อเวลาประมาณ 11.00 น. วันนี้ (28 มิ.ย.60) มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) พร้อมด้วยตัวแทนประชาชนจากจังหวัดเลย สระบุรี ขอนแก่น ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง ประมาณ 30 คน ได้นำเสนอเปิดเผยผลการศึกษาการปนเปื้อนของสารโลหะหนักในตะกอนดินของแหล่งน้ำผิวดินใกล้พื้นที่อุตสาหกรรมใน 8 จังหวัดของประเทศไทย ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิบูรณะนิเวศกับผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมอาร์นิกาและมหาวิทยาลัยเคมีและเทคโนโลยีแห่งกรุงปราก สาธารณรัฐเชก ทั้งนี้ ผลการศึกษาแต่ละพื้นที่ใน 8 จังหวัด พบสารโลหะหนักหลายสารสูงเกิน "เกณฑ์คุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดินเพื่อคุ้มครองสัตว์หน้าดิน"  ตาม (ร่าง) ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่องเกณฑ์คุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำจืด  และในจำนวนนี้ มี 4 จังหวัดที่มีค่าโลหะหนักหลายอย่างสูงในระดับที่รัฐควรมีมาตรการจัดการโดยด่วน  จึงได้เรียกร้องเร่งด่วนต่อรัฐบาลจำนวน 5 ข้อได้แก่ 1. พื้นที่ในเขตพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีการสะสมของสารโลหะหนักในปริมาณสูง จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง เลย ปราจีนบุรี และสมุทรสาคร ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินมาตรการอย่างเร่งด่วนเพื่อควบคุมมลพิษและลดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมให้ได้ อันจะช่วยลดความเสี่ยงทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของประชาชนที่อาศัยอยู่ ตลอดจนขอให้มีการสำรวจเชิงระบาดวิทยาเกี่ยวกับผลกระทบของมลพิษต่อประชาชน โดยเฉพาะต่อเด็กและสตรี และมีโครงการเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง 2. พื้นที่ที่มีการสะสมของสารโลหะหนักในอีก 4 จังหวัดที่เหลือ ได้แก่ จังหวัดสมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา สระบุรี และขอนแก่น ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการศึกษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม เช่น การศึกษาสารโลหะหนักในตะกอนดิน คุณภาพอากาศ และสารมลพิษอื่นๆ ที่อาจปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม รวมถึงควรจะมีการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพของประชาชนด้วย เพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันปัญหาไม่ให้มีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต 3. สำหรับพื้นที่ที่รัฐบาลมีนโยบายขยายอุตสาหกรรมเพิ่มเติม อาทิเช่น จังหวัดระยอง ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระบุรี และขอนแก่น  ขอให้รัฐบาลดำเนินการศึกษาศักยภาพของพื้นที่ในการรองรับมลพิษก่อนดำเนินการขยายพื้นที่อุตสาหกรรม รวมถึงความเหมาะสมของรูปแบบเศรษฐกิจที่จะส่งเสริมเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ 4. ขอให้มีการปฏิรูประบบการจัดการมลพิษอุตสาหกรรมของประเทศ เพื่อให้สามารถควบคุมและจัดการปัญหามลพิษอุตสาหกรรมได้จริงจังและมีประสิทธิภาพมากขึ้นตั้งแต่ต้นทางของปัญหา โดยการพิจารณานำหลักการสำคัญๆ มาใช้ในการปฏิรูป อาทิเช่น หลักป้องกันปัญหาตั้งแต่เริ่มต้น หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน หลักความรับผิดชอบของผู้ก่อมลพิษ และหลักธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการปฏิรูปในประเด็นต่อไปนี้ -          การปรับปรุงระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) -          การตรากฎหมายใหม่ว่าด้วยทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษในสิ่งแวดล้อม (PRTR) ซึ่งประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมได้ใช้กฎหมายนี้ไม่น้อยกว่า 50 ประเทศทั่วโลก และสามารถแก้ปัญหามลพิษได้สำเร็จในหลายประเทศ -          การช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับผลกระทบเมื่อจำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม -          การจัดทำแนวกันชนและแนวป้องกันด้านสิ่งแวดล้อมภายในขอบเขตรั้วของโรงงาน นิคมอุตสาหกรรม เขตประกอบการอุตสาหกรรม หรือสวนอุตสาหกรรม เพื่อเป็นแนวกันชนหรือแนวป้องกันระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชน และ/หรือระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมกับพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม  -     การปรับปรุงและการแยกอำนาจหน้าที่ออกจากหน่วยงานเดียวกันระหว่างอำนาจในการกำกับดูแลด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อม กับอำนาจในการอนุมัติให้จัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรม 5. สำหรับพื้นที่ที่ประชาชนได้มีการร้องเรียนให้หน่วยงานราชการแก้ปัญหา โดยปัญหายังคงดำรงอยู่ ขอให้มีการตั้งคณะกรรมการจากฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และประชาชนผู้ร้องเรียน ขึ้นมาสำรวจและแก้ปัญหาร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อลดความขัดแย้งและเป็นการสร้างความร่วมมือของทุกฝ่ายในการคุ้มครองสุขภาพ การรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ทั้ง 8 จังหวัด โดยปัจจุบันชุมชนหลายแห่งต้องประสบความเดือดร้อนจากมลพิษอุตสาหกรรม และมีความวิตกอย่างมากถึงความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมต่อสุขภาพ โดยเฉพาะแหล่งน้ำต่างๆ ที่จะต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ว่าตะมีการปนเปื้อนสารอันตรายหรือไม่ มากน้อยเพียงใด เป็นอันตรายต่อสุขภาพในระดัลใด โดยต้องการมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนจากภาครัฐ นอกจากนี้ ตัวแทนประชาชนที่มาร่วมนำเสนอยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเดือดร้อนในพื้นที่ต่างๆ  อาทิ   - ตัวแทนประชาชนจากพื้นที่ จ.ปราจีนบุรี ได้ให้ข้อมูลว่า หน่วยงานราชการในท้องถิ่นบางแห่งขาดความเข้มงวดในการปฏิบัติงาน ซึ่งเห็นว่าจนเป็นปัจจัยสำคัญที่ซ้ำเติมให้สถานการณ์ปัญหามลพิษในพื้นที่มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น  - ตัวแทนประชาชนจากพื้นที่ อ.บ้านแลง จ.ระยอง ได้ให้ข้อมูลว่า นอกจากปัญหามลพิษแล้ว ในพื้นที่ของตนยังประสบปัญหาการรุกพื้นที่สาธารณะ โดย บ.ไออาร์พีซี (บริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)) ได้นำพื้นที่รวมทั้งสาธารณะประมาณ 200 ไร่ ไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม  - ตัวแทนประชาชนจากพื้นที่เหมืองแร่ทองคำ จ.เลย ได้ให้ข้อมูลว่า แม้ปัจจุปันจะมีการปิดเหมือง แต่สถานการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่ยังคงอยู่ ประชาชนที่ต่อสู้เรียกร้องเพื่อปกป้องชุมชนของตนยังคงถูกดำเนินคดีอีกกว่า 30 คดี - ตัวแทนประชาชนจากพื้นที่ อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ได้ให้ข้อมูลและร้องเรียนถึงปัญหากลิ่นเหม็นจากโรงงาน แม้ที่ผ่านมาหน่วยงานราชการจะมีการลงพื้นที่ตรวจสอบ แต่ปัญหาก็ยังคงอยู่ เป็นต้น ด้านตัวแทนรัฐบาลและตัวแทนหน่วยงานราชการที่มาร่วมรับฟังการนำเสนอ ได้ระบุว่า ปัญหาและข้อมูลทั้งหมดที่ถูกนำเสนอในวันนี้ จะถูกส่งไปยัง 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงสาธารณสุข  พร้อมทั้งได้ให้คำมั่นว่า ปัญหาทั้งหมดจะได้รับการดำเนินการแก้ไข ไม่ถูกละเลย เพียงแต่บางปัญหาอาจจะสามารถดำเนินการได้ในทันที ขณะที่บางปัญหาต้องใช้เวลาในการดำเนินการ อนึ่ง การศึกษาการปนเปื้อนของสารโลหะหนักในตะกอนดินของแหล่งน้ำผิวดินใกล้พื้นที่อุตสาหกรรมใน 8 จังหวัดดังกล่าว  เป็นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมูลนิธิบูรณะนิเวศ สมาคมอาร์นิก้า และมหาวิทยาลัยเคมีและเทคโนโลยีแห่งกรุงปราก สาธารณรัฐเชก  ภายใต้โครงการวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองในการเฝ้าระวังมลพิษอุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยการสนับสนุนทุนจากสหภาพยุโรป (EU) โดยได้ดำเนินโครงการศึกษาการปนเปื้อนสารโลหะหนักในตะกอนดินของแหล่งน้ำผิวดินบริเวณพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรม 8 จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดเลย ขอนแก่น สระบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และระยอง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559  โดยมีการศึกษาตัวอย่างตะกอนดินทั้งหมด 95 ตัวอย่าง แบ่งตามประเภทของการเก็บตัวอย่าง ได้แก่ ตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดิน 93 ตัวอย่าง และตะกอนดินชายฝั่งทะเล 2 ตัวอย่าง  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและขอบเขตการปนเปื้อนของสารโลหะหนักสำคัญๆ ได้แก่ สารหนู (As) ปรอท (Hg) สังกะสี (Zn) แคดเมียม (Cd) ทองแดง (Cu) นิกเกิล (Ni) โครเมียม (Cr) และตะกั่ว (Pb) ที่สะสมอยู่ในตะกอนดินของแหล่งน้ำผิวดินในเขตพัฒนาอุตสาหกรรม และเพื่อประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนของสารเหล่านี้
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/21507
2005-10-09 15:37
สะเทิ้นน้ำ สะเทิ้นบก ปรับตัวรับสภาพ เชียงใหม่เมืองบาดาล
หลังสถานการณ์น้ำท่วมตัวเมืองเชียงใหม่ระลอกที่สามในรอบสองเดือนคลี่คลายลงพร้อมกับน้ำที่ลดระดับลง  พื้นที่ต่างๆเริ่มทำความสะอาดและสำรวจความเสียหาย  ซึ่งเชื่อว่าน่าจะน้อยกว่าครั้งแรกเมื่อเดือนสิงหาคมแม้ว่าความรุนแรงจะเท่ากันหรืออาจมากกว่า  เนื่องจากประชาชนทั่วไปมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมรับมือเป็นอย่างดี    อย่างไรก็ตามในหลายจุดโดยเฉพาะตามบ้านเรือนและร้านค้ายังคงไม่มีการเก็บกวาดกระสอบทรายสำหรับทำแนวกั้นน้ำ  เนื่องจากอาจจำเป็นต้องใช้งานอีกครั้งก่อนหมดฤดูฝน  บนพื้นฐานความกังวลที่ว่าอิทธิพลมรสุมลูกสุดท้ายก่อนเปลี่ยนสู่ฤดูหนาว  อาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมระลอกที่สี่อีก  ประสบการณ์น้ำท่วมสามครั้งที่เป็นประวัติศาสตร์ยิ่งกว่าประวัติศาสตร์บอกคนเชียงใหม่ให้ทราบว่าไม่มีสิ่งไหนรับประกันได้ว่าจะไม่เกิดขึ้นอีก  อย่างไรก็ตามสถานการณ์ที่ปรากฏทั่วไปจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งที่สาม  ดูเหมือนว่าชาวเมืองเชียงใหม่จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี  หรือหากมองอีกแง่หนึ่งอาจหมายถึงการก้มหน้ายอมรับชะตากรรม   น่าเห็นใจสำหรับบางพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบซ้ำแล้วซ้ำเล่า  ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน  ร้านค้า  หน่วยงานราชการ  และสถานศึกษา  แม้ว่าจะมีการเตรียมการล่วงหน้าอย่างไรก็ยังคงได้รับความเสียหายไม่มากก็น้อย  พื้นที่ย่านมหิดล-หายยาอย่างเชียงใหม่แลนด์ยังพอโชคดีอยู่บ้างที่ลักษณะสิ่งปลูกสร้างซึ่งส่วนมากเป็นตึกแถวช่วยให้อย่างน้อยหากกั้นแนวกระสอบทรายดีพอ  แม้ว่าบริเวณถนนจะเกิดน้ำท่วมแต่ตัวอาคารก็ยังรอด  อย่างไรก็ตามนั่นหมายความว่าน้ำปริมาณมหาศาลก็จะไหลไปท่วมบริเวณอื่นที่ใกล้เคียงกันอยู่ดี  หมู่บ้านเวียงทองบนถนนมหิดลซึ่งอยู่ต่ำกว่าถนนค่อนข้างมาก  จากสภาพที่พบเห็นแม้เมื่อระดับน้ำยังไม่ขึ้นสูงสุด  ก็ทำเอาคิดไม่ออกว่าผู้คนในหมู่บ้านจะสามารถดำรงชีวิตอย่างปกติสุขต่อไปได้อย่างไร  หากต้องพบกับสภาพดังกล่าวซ้ำแล้วซ้ำเล่า   ย่านถนนเจริญประเทศและช้างคลานซึ่งมีสถานศึกษากระจุกตัวอยู่หนาแน่น  ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนมงฟอร์ตแผนกประถม  พระหฤหัย  วชิรวิทย์  เรยีนาฯ  และไชยโรจน์วิทยา  รวมทั้งเป็นที่ตั้งของย่านธุรกิจสำคัญอย่างไนท์บาซาร์  เป็นพื้นที่ซึ่งจะได้รับผลกระทบเป็นอันดับต้นๆเสมอหากเกิดน้ำท่วม    โดยเฉพาะตอนปลายถนนช้างคลานช่วงต่อกับถนนมหิดล  เป็นจุดที่ต่ำเป็นพิเศษและน้ำลดระดับช้ากว่าบริเวณอื่นเสมอ  บริเวณดังกล่าวเป็นจุดกลับรถจุดเดียวที่มีอยู่ของถนนมหิดลตลอดระยะทางประมาณ 3-4 กิโลเมตรตั้งแต่สี่แยกแอร์พอร์ตไปถึงสี่แยกหนองหอย  ผลกระทบที่มีต่อสภาพการจราจรจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  แม้ว่าถนนสายหลักจะไม่ถูกน้ำท่วมก็ตาม  มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าสภาพคอขวดของลำน้ำปิงบริเวณสะพานป่าแดดอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำทะลักขยายขอบเขตตามแนวถนนมหิดลปากทิศเหนือไปค่อนข้างไกลจากลำน้ำปิง    โดยฝั่งตะวันออกกินพื้นที่ผ่านย่านหนองหอยไปถึงโรงเรียนมงฟอร์ตแผนกมัธยมและโรงเรียนกาวิละฯ  และฝั่งตะวันตกกินพื้นที่ไปถึงสี่แยกแอร์พอร์ต  โดยมีถนนมหิดลกั้นแบ่งพื้นที่สองฝั่งเหนือ-ใต้  ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนของภาวะน้ำท่วม   ส่วนย่านไนท์บาซาร์นั้น  การกั้นกระสอบทรายป้องกันน้ำเข้าท่วมในพื้นที่เรียกว่าเป็นไปไม่ได้เลยในทางเทคนิค  โดยมีสภาพตรอกซอกซอยสลับซับซ้อนเป็นสาเหตุ  ทำให้เกิดจุดโหว่ที่เปิดให้น้ำไหลเข้าไปอยู่ดี  ทางเดียวที่บรรเทาความเสียหายได้คือการย้ายสิ่งของมีค่าขึ้นไว้ในที่ปลอดภัยและสร้างแนวกั้นน้ำรอบตัวอาคารเท่านั้น  และเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งหลังสุดนั้น  ไนท์บาซาร์ต้องจมอยู่ในน้ำเกือบสามวันเต็ม  เทียบกับครั้งเดือนสิงหาคมที่น้ำลดระดับลงอย่างรวดเร็วจนแห้งสนิทภายในชั่วข้ามวัน   บริเวณตลาดวโรรส  ก่อนวันที่ 29 กันยายน  เทศบาลนครเชียงใหม่ได้สร้างแนวกั้นน้ำตลอดแนวตลิ่งลำน้ำปิง  และสร้างความมั่นใจกับชาวบ้านว่าแนวกั้นน้ำดังกล่าวสามารถรับระดับน้ำได้ถึง 5 เมตร  ซึ่งจะเกินจุดวิกฤตมาถึง 1.30 เมตร  เชื่อว่าตลาดวโรรสน้ำไม่ท่วมแน่นอน    อย่างไรก็ตามในช่วงบ่ายของวันที่ 29  กันยายน  ระดับน้ำอยู่ที่ประมาณ 4.40 เมตร  เพิ่มระดับและไหลแรงขึ้นเรื่อยๆ  จนถึงช่วงเย็นวันเดียวกันน้ำได้เพิ่มขึ้นสูงกว่าเดิมอีกราว 30-40 เซนติเมตร  ปริ่มอยู่ที่แนวกระสอบทรายเรียงซ้อนกันสูง 3 ชั้น  แต่มีความหนาเพียงชั้นเดียว  ชาวบ้านหลายคนต่างส่ายหน้าเนื่องจากเชื่อว่าไม่สามารถต้านทานได้แน่นอน  ขณะเดียวกันย่านบ้านต้าวัดเกตซึ่งแนวตลิ่งต่ำกว่า  เริ่มถูกน้ำท่วมตั้งแต่ช่วงกลางวันแล้ว  และเมื่อถึงช่วงดึกคืนนั้น  ในท้ายที่สุดตลาดวโรรสก็ต้องจมน้ำไม่ต่างจากพื้นที่อื่น  กรณีดังกล่าวทางเทศบาลนครเชียงใหม่ให้เหตุผลว่า  เนื่องมาจากปริมาณกระสอบทรายไม่เพียงพอ  ทำให้ไม่แข็งแรงพอที่จะต้านน้ำไว้ได้  หากจะให้สามารถต้านทานน้ำไว้ได้ต้องมีฐาน 3 ชั้นเป็นอย่างต่ำ  แนะนั่นหมายความว่าต้องใช้กระสอบทรายเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว      หลังน้ำลดระดับลง  นายสุวัจน์  ลิปตพัลลภ  รองนายกรัฐมนตรี  ได้ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์ที่เชียงใหม่  และเสนอแนวทางแก้ปัญหาไว้ 5 แนวทาง  ได้แก่  การขุดลอกลำน้ำปิงที่ตื้นเขิน  ดำเนินคดีกับผู้บุกรุกลำน้ำปิง  สร้างอ่างเก็บน้ำที่แม่แตงเพื่อเพิ่มความสามารถในการกักเก็บน้ำ  ยกแนวถนนริมฝั่งน้ำปิงให้สูงขึ้น  และยกแนวกันน้ำริมน้ำปิงให้สูงขึ้น  และจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป   ล่าสุดทางนายกรัฐมนตรีให้แนวทางดำเนินการแก้ปัญหาน้ำท่วมไปว่าจำเป็นต้องสร้างอ่างเก็บน้ำขนาด 300-400 ลูกบาศก์เมตร 2 แห่งขึ้นบริเวณ อ.แม่แตง หรือ อ.เชียงดาว.
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/49248
2013-10-15 10:29
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล: เจตนารมณ์ 14 ตุลา
13 ต.ค. 56 - "เจตนารมณ์ 14 ตุลาเพื่อประชาธิปไตย" ปาฐกถาโดยเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ในวาระ 40 ปี 14 ตุลา โดยพูดเกี่ยวกับความหมายทางการเมืองและเจตนารมณ์ของเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ พร้อมวิเคราะห์สาเหตุที่ประชาธิปไตยยังไม่สามารถปักหลักมั่นคงได้ในสังคม โดยแบ่งเป็น 3 ปัจจัย ได้แก่ อิทธิพลของชนชั้นนำภาครัฐที่เคยผูกขาดอำนาจการปกครองมาก่อน, ฐานะครอบงำของวัฒนธรรมอำนาจนิยมซึ่งไม่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย และสภาพกำลังของฝ่ายประชาธิปไตยยังไม่มีลักษณะคงเส้นคงวา สำหรับการปาฐกถาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการจัดงาน ฉลองในวาระครบรอบ 40 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 โดยคณะกรรมการ 14 ตุลาเพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์ ร่วมกับมูลนิธิวีรชนประชาธิปไตย สมาคมญาติและวีรชน 14 ตุลา 2516 สำหรับปาฐกถาดังกล่าว สามารถอ่านบทปาฐกถาได้ที่นี่ [1]
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/3752
2005-04-23 01:00
เปิดพ.ร.บ.ทางหลวง ... "ม็อบ" กรุณาหาที่ชุมนุมใหม่!-รายงานพิเศษ
เมื่อวันที่ 20 เม.ย.ที่ผ่านมา กฎหมายค้างพิจารณาในช่วงรัฐบาลชุดที่แล้วทั้ง 41 ฉบับผ่านฉลุยตามความคาดหมาย รวมถึงกฎหมายที่วุฒิสภายับยั้งไปแล้วจำนวน 3 ฉบับก็ถูกนำมายืนยันด้วย คือ ร่างพ.ร.บ.ทางหลวง, ร่างพ.ร.บ.กำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน และร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ปรับปรุงการบังคับคดี การคุ้ม ครองสิทธิเจ้าหนี้และลูกหนี้ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาและอัตราค่าธรรมเนียม) นั่นเท่ากับว่า แม้สภาสูงจะไม่เห็นด้วยกับกฎหมายดังกล่าว แต่รัฐบาลก็เดินหน้าต่อ ซึ่งสามารถจะหยิบยกสู่สภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้ลงมติผ่านในขั้นสุดท้ายเมื่อไรก็ได้ และวุฒิสภาไม่สามารถเข้ามามีบทบาทใดๆ ได้อีกแล้ว แต่ร่างกฎหมายฉบับที่เป็นเรื่องเป็นราวกว่าใคร คือ ร่างพ.ร.บ.ทางหลวง โดยกฎหมายนี้ แบ่งเป็น 2 เวอร์ชั่น คือ ฉบับที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรมาในครั้งแรก และฉบับที่ตั้งกรรมาธิการร่วมกันระหว่าง 2 สภาที่แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นอีกเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม เมื่อมาถึงการพิจารณาของวุฒิสภาในวันที่ 2 พ.ย.47 แล้ว ที่ประชุมก็ยังมีมติไม่เห็นชอบด้วย ต่อกรณีนี้ นายการุณ ใสงาม ส.ว.บุรีรัมย์ ชี้ให้เห็นความสำคัญในการยับยั้งของวุฒิสภาใน "วันที่ 2 พ.ย.47" ว่านับเนื่องจากวันนั้นถึงวันนี้เป็นเวลาไม่ถึง 180 วัน จึงผิดบทบัญญัติตามมาตรา 176 ตามรัฐธรรมนูญที่ระบุว่า ร่างพ.ร.บ.ที่ผ่านมการพิจารณาของกรรมาธิการร่วมกันมาแล้ว แต่ถูกยับยั้ง ให้รอไว้ 180 วัน โดยสภาผู้แทนราษฎรสามารถใช้เสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งยืนยันตามร่างเดิมหรือร่างของกรรมาธิการร่วมก็ได้ นอกจากนี้นายจอน อึ๊งภากรณ์ ส.ว.กรุงเทพฯ ยังประกาศกลางสภาว่า หากกฎหมายทางหลวงผ่านการเห็นชอบ คงมีสมาชิกรัฐสภา โดยเฉพาะวุฒิสมาชิกจำนวนไม่น้อยที่จะร่วมกันลงชื่อ ส่งเรื่องถึงศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย เนื่องจากเห็นว่ามีบางมาตราผิดรัฐธรรมนูญ "ต่อไปนี้ การชุมนุมหน้าทำเนียบฯ และหน้ารัฐสภา ก็ไม่สามารถทำได้ แต่กรณีขบวนแห่ตามประเพณีทำได้ แสดงให้เห็นว่ามีการเขียนกฎหมายเลือกปฏิบัติเพื่อห้ามการชุมนุมของภาคประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องขัดธรรมนูญอย่างชัดเจน" นายจอนกล่าว มาตราเจ้าปัญหาที่นายจอนกล่าวถึงนี้คือ มาตรา 20 ซึ่งกรรมาธิการร่วมได้ปรับแก้ฉบับของส.ส.ดังนี้ มาตรา ๒๐ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น มาตรา ๔๖/๑ แห่งพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕ "มาตรา ๔๖/๑ ห้ามมิให้ผู้ใดชุมนุมกันในเขตทางหลวงในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร หรืออาจเป็นอันตรายหรือเสียหายแก่ยานพาหนะหรือผู้ใช้ทางหลวง เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวง หรือเป็นการเดินแถว ขบวนแห่ หรือชุมนุมกันตามประเพณีหรือวัฒนธรรม หรือเป็นกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรืออยู่ในเขตที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎทรวง" ส่วนฉบับของส.ส.ระบุว่า ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น มาตรา 46/1 แห่งพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 โดยระบุว่า "มาตรา 46/1 ห้ามมิให้ผู้ใดชุมนุมกันในเขตทางหลวงในลักษณะที่เป็นการกีดขวาง หรืออาจเป็นอันตรายแก่ยานพาหนะหรือคนเดินเท้า " ส่วนมาตรา 46 ฉบับดั้งเดิมพ.ศ.2535 นั้นระบุเพียงเรื่องของสัตว์ "ห้ามมิให้ขี่ จูง ไล่ต้อน ปล่อย หรือเลี้ยงสัตว์บนทาง จราจร ทางเท้าหรือไหล่ทาง เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามข้อบังคับที่ผู้อำนวยการทางหลวง ผู้อำนวยการทางหลวงมีอำนาจประกาศห้ามมิให้ผู้ใดขี่ จูง ไล่ต้อน ปล่อย หรือเลี้ยงสัตว์ ในเขตทางหลวงสายใดทั้งสายหรือบางส่วน ทั้งนี้ เว้นแต่ ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อำนวยการทางหลวง หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย จากผู้อำนวยการทางหลวงในการอนุญาต ผู้อำนวยการทางหลวงจะกำหนด เงื่อนไขอย่างใดก็ได้ ประกาศของผู้อำนวยการทางหลวงตามวรรคสอง ให้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา" นอกจากนี้ยังมีการนิยามคำว่า "ทางหลวง" ให้ครอบคลุมกว้างขวาง โดยระบุว่า " "ทางหลวง" หมายความว่า ทางหรือถนนซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์ในการจราจรสาธารณะทางบก ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดิน หรือใต้หรือเหนืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น นอกจากทางรถไฟและหมายความรวมถึงที่ดิน พืช พันธุ์ไม้ทุกชนิด สะพาน ท่อ หรือรางระบายน้ำ อุโมงค์ ร่องน้ำ กำแพงกันดิน เขื่อน รั้ว หลักสำรวจ หลักเขต หลักระยะ ป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร เครื่องหมาย สัญญาณ เครื่องสัญญาณไฟฟ้า เครื่องแสดงสัญญาณ ที่จอดรถ ที่พักคนโดยสาร ที่พักริมทาง เรือสำหรับขนส่งข้ามฟาก ท่าเรือสำหรับขึ้นหรือลงรถ และอาคารหรือสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์งานทางบรรดาที่มีอยู่หรือที่ได้จัดไว้ในเขตทางหลวงเพื่อประโยชน์แก่งานทางหรือผู้ใช้ทางหลวงนั้นด้วย" จะเห็นได้ว่าการห้ามในมาตรา๔๖/๑ ที่ใช้ถ้อยคำว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดชุมนุมกันในเขตทางหลวง.." เมื่อพิจารณาร่วมไปกับนิยามของคำว่าทางหลวง รวมทั้งประเภทต่างๆ ของทางหลวงแล้ว จะเห็นว่ามีความหมายกว้างขวางกินอาณาเขตไปยังพื้นที่เกือบทุกพื้นที่ที่เป็นที่สาธารณะทั้งในเมืองและชนบท จึงเป็นการห้ามการชุมนุมในพื้นที่ใดๆ ที่เป็นที่ดินหรือพื้นที่อื่นใดที่เกี่ยวข้องกับทางทั้งหลายทั้งปวงครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ที่เป็นที่สาธารณะ อีกทั้งบทบัญญัติในมาตราดังกล่าว มีเจตนาหลักคือการห้ามการชุมนุม โดยมีข้อยกเว้นคือการ ได้รับการอนุญาตจากผู้อำนวยการทางหลวง ซึ่งวุฒิสมาชิกคิดว่านี่เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพใน การชุมนุมอย่างแจ้งชัด และเหตุผลสำคัญที่วุฒิสมาชิกส่วนที่ไม่เห็นด้วยตั้งคำถามคือ เรามีกฎหมายต่างๆ ที่กำหนดในเรื่องดังกล่าวอยู่แล้วหลายฉบับ จึงไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องมีมาตราเจ้าปัญหานี้ ตัวอย่างกฎหมายอื่น ที่พอจะยกมาให้เห็นได้ อาทิ ประมวลกฎหมายอาญา "มาตรา ๓๗๒ ผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะหรือสาธารณสถาน หรือกระทำโดยประการอื่นใดให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะหรือสาธารสถาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท" พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ "มาตรา ๑๐๘ ห้ามมิให้ผู้ใด เดินแถว เดินเป็นขบวนแห่หรือเดินเป็นขบวนใดๆ ในลักษณะเป็นการกีดขวางการจราจรเว้นแต่ (๑) เป็นแถวทหารหรือตำรวจ ที่มีผู้ควบคุมตามระเบียบแบบแผน (๒) แถวหรือขบวนแห่งหรือขบวนใดๆ ที่เจ้าพนักงานจราจรได้อนุญาตและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด" "มาตรา ๑๐๙ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ บนทางเท้าหรือทางใดๆ ซึ่งจัดไว้สำหรับคนเดินเท้าในลักษณะที่เป็นการกีดขวางผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร" "มาตรา ๑๓๙ ในทางสายใดหรือเฉพาะทางตอนใดที่เจ้าพนักงานจราจรเห็นว่าถ้าได้ออกประกาศข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการจราจรแล้วจะเป็นการปลอดภัย และสะดวกในการจราจรให้เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจออกประกาศข้อบังคับหรือระเบียบดังต่อไปนี้ ......... (๓) ควบคุมขบวนแห่ หรือการชุมนุมสาธารณะ…….." การฝ่าฝืน มาตรา ๑๐๘ และมาตรา ๑๐๙ มีโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท และการฝ่าฝืนมาตรา ๑๓๙ มีโทษปรับครั้งละไม่เกินหนึ่งพันบาท แหม! ท่านวุฒิสมาชิกก็กฎหมายที่มีอยู่ ไม่พูดถึงการห้าม "การชุมนุม" จังๆ เลยนี่นา...... มุทิตา เชื้อชั่ง
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/12735
2007-05-18 03:48
กมธ. รุมค้านบำเหน็จบำนาญนักการเมือง ชี้ต้องเสียสละ คนทุนน้อยอ่วม
คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้พิจารณาในมาตรา 167 วรรคท้ายที่กำหนดให้นายกรัฐมนตรีสามารถอยู่ในตำแหน่งได้ 2 วาระ หรือ 8 ปี ที่มี ส.ส.ร.ขอแปรญัตติให้กำหนดเพียง 2 วาระเท่านั้น โดยมีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ในที่สุดได้ยืนตามร่างแรก     อ้างสนธิสัญญาเข้าสภา ฝ่ายบริหารทำงานไม่ได้ ต่อมาในมาตรา 186 ที่ระบุว่า ก่อนที่รัฐบาลจะลงนามสนธิสัญญาใดต้องชี้แจงต่อรัฐสภา ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) ขอให้แก้ไขเนื่องจากเกรงว่าหากต้องรายงานรัฐสภาทุกครั้งจะทำให้ฝ่ายบริหารขาดความคล่องตัวในการบริหารประเทศ ซึ่งนายสุพจน์ ไข่มุกด์ กมธ.สนับสนุนความเห็นของ ครม. โดยกล่าวว่าควรจะระบุให้ชัดเจนว่าสนธิสัญญาประเภทใดบ้างที่จะต้องรายงานสภา แต่ถ้าต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาทุกสนธิสัญญา ฝ่ายบริหารจะทำงานไม่ได้เลย   แต่ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานกมธ. ยืนยันว่า ถ้าใครกลัวว่าการรายงานต่อสภาถือว่าเป็นปัญหา ก็ไม่ต้องไปทำงานอยู่ตรงนั้น   "ผมคิดว่าการเซ็นสัญญาระหว่างประเทศตามอำเภอใจโดยไม่ผ่านสภา มีจุดอ่อนในการเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างชัดเจน" ประธาน กมธ.กล่าว     ถกบำเหน็จ ส.ส. ส.ว. บนฐานความเชื่อดี-เลว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มาตราที่มีการถกเถียงกันกว้างขวางมากอีกมาตราหนึ่ง คือมาตรา 192 ว่าด้วยการให้บำเหน็จบำนาญหรือประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นขององคมนตรี ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้นำฝ่ายค้าน ส.ส. ส.ว.ที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว   โดยมี กมธ.ที่เสนอให้ตัดทิ้งมากมาย เช่นนายคมสัน โพธิ์คง กมธ.อ้างว่าจากการไปรับฟังความเห็นของประชาชนทุกเวทีล้วนเสนอให้ตัดมาตรานี้ออกไป นางอังคณา นีละไพจิตร กมธ. กล่าวว่า คนที่มาเป็น ส.ส.และ ส.ว.ตั้งใจมารับใช้สังคม และปกติพวกนักการเมืองก็ได้รับอภิสิทธิ์จากสังคมมากมายอยู่แล้ว ไม่ควรเอาเปรียบสังคมมากไปกว่านี้ นายมานิจ สุขสมจิตร กมธ. กล่าวว่า เห็นควรให้ตัดออก เพราะประชาชนส่วนใหญ่รู้สึกไม่ดีกับบทบาทของนักการเมือง ที่ผ่านมาแม้แต่มีการเสนอกฎหมายขึ้นเงินเดือนให้ ส.ส.ยังถูกคัดค้านทั้งประเทศ เชื่อว่าถ้าบรรจุเรื่องนี้เอาไว้ประชาชนจะไม่พอใจแน่นอน   นายวิจิตร สุระกุล กมธ. กล่าวว่า นักการเมืองหลายรัฐบาลที่ผ่านมาเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ประเทศชาติเสียหายไม่ควรจะได้รับประโยชน์มากขนาดนี้ และไม่เห็นด้วยที่พวกนักการเมือง อิงเงินตอบแทนของตัวเองกับองคมนตรีเท่ากับว่าเอาองคมนตรีเป็นตัวประกันในการขึ้นเงินเดือนตัวเอง เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์   แต่นายธงทอง จันทรางศุ กมธ. แย้งว่า ไม่ควรมองว่านักการเมืองเป็นคนเลวไปหมด ยกตัวอย่าง ส.ส.ที่ดีคือนายควง อภัยวงศ์ (นายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ของไทยเมื่อปี 2487) คนอย่างนี้ถ้าพ้นจากตำแหน่งไปแล้วประเทศชาติควรจะดูแลเขาด้วย และถ้าหากเราให้หลักประกันอนาคตกับนักการเมืองจะทำให้นักการเมืองพร้อมที่จะเสียสละให้กับประเทศชาติไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตัว   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ความเห็นของนายธงทองได้ถูกโต้แย้งขึ้นทันที โดยนายมานิจ กล่าวขึ้นว่า เราไม่ได้บอกว่านักการเมืองเป็นคนเลว แต่เห็นว่านักการเมืองไม่ใช่อาชีพที่จะเข้ามาหาประโยชน์ จึงถามว่าในเมื่อไม่ใช่อาชีพที่ต้องทำตลอดชีวิตแล้วมีความเหมาะสมที่จะรับบำเหน็จบำนาญหรือไม่   ในที่สุดนายสมคิด ในฐานะเลขานุการกมธ.ได้ขอให้แขวนประเด็นนี้ไว้ไปอภิปรายต่อในวันที่ 21 พ.ค.ต่อไป   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนั้นประเด็นที่ส.ส.ร.ขอแปรญัติให้แก้ไขเนื้อหานั้นส่วนใหญ่ที่ประชุมจะให้แขวนไว้เพื่อไปประชุมร่วมกับ ส.ส.ร.ในวันที่ 21-22 พ.ค.อีกครั้ง แต่มีบางประเด็นที่มีมติให้ยืนตามร่างแรกเช่น จำนวนประชาชนที่จะถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเสนอกฎหมาย มี ส.ส.ร.ขอแปรญัตติเหลือเพียง 1 หมื่นคน แต่ที่ประชุมไม่เห็นด้วย หรือที่ขอแปรญัตติให้มีศาลเลือกตั้ง หรือศาลสิทธิมนุษยชน กมธ.ก็ไม่เห็นด้วยเช่นกัน     "สมคิด" หน้าบางอ้างไม่เปลี่ยน ม. 299 เพราะกลัวถูกด่าไม่มีจุดยืน นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยืนยันว่า ที่มาของ ส.ว. แน่นอนแล้วว่าจะไม่เอาจากการสรรหา 100% แต่ที่ยังต้องแขวนไว้พิจารณา เพราะยังมีผู้เสนอสูตรที่มาสองสูตรคือ สัดส่วนผสม คือสรรหามาก่อนหลายๆ เท่าและให้ประชาชนมาเลือก และอีกรูปแบบคือ จะให้มีการสรรหาและเลือกตั้งพร้อมกัน โดยการสรรหา จะสรรหาจากวิชาชีพซึ่งอาจจะมีจำนวนน้อยกว่า ส.ว. ที่จะมาจากการเลือกตั้งในจังหวัด ส่วนจะนำรูปแบบนี้มาหารือกันในที่ประชุมอีกครั้งว่าจะรับได้หรือไม่   เมื่อถามถึงการยืนมาตรา 299 เอาไว้ นายสมคิดกล่าวว่า ของเราดีอยู่แล้ว หากเราแก้ไข กลับมาก็จะถูกคนวิจารณ์ อย่างตอนนี้กำลังถูกนางสดศรี สัตยธรรม ต่อว่าว่าไม่มีจุดยืน และที่รับฟังมาเราเราทำตั้งเยอะ จะเอายังไงอีก     กมธ.ยกร่าง หักคอรวบรัด ไม่ตัดบทนิรโทษกรรม ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการพิจารณาของ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้เดินทางมาถึงในมาตราสุดท้ายคือ มาตรา 299 ที่เกี่ยวกับการนิรโทษกรรม แต่ปรากฏว่านายสมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการคณะกรรมาธิการ ได้เพียงแต่บอกว่ามีผู้ขอแปรญัตติให้ตัดมาตรานี้ออกไป แต่อย่างไรก็ขอยืนตามร่างเดิม ซึ่งที่ประชุมก็ไม่ได้มีผู้ใดอภิปรายเพิ่มเติมในเรื่องนี้แต่อย่างใด จึงปิดประชุมในที่สุด
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/68159
2016-10-02 12:06
ครึ่งปี 2559 สิทธิบัตรทองใช้บริการผู้ป่วยนอก 80 ล้านครั้ง ผู้ป่วยในเกือบ 3 ล้านครั้ง
สปสช.เผยช่วงครึ่งปีแรกปี 2559 มีผู้ลงทะเบียนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 48.23 ล้านคน อัตรารับบริการทั้งผู้ป่วยนอก 80.047 ล้านครั้ง บริการผู้ป่วยใน 2.968 ล้านครั้ง ระบุผลการดำเนินการเป็นไปตามนโยบายรัฐบาล บอร์ด สปสช.มุ่งดูแลประชาชนเข้าถึงบริการอย่างครอบคลุมและทั่วถึง     2 ต.ค. 2559 นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา รักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สปสช.ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข ในการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) มีบทบาทสำคัญเพื่อสนับสนุนให้มีระบบหลักประกันสุขภาพครอบคลุมทุกคน พัฒนาบริการสาธาณสุขให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ทุกคนเข้าถึงได้ ซึ่งในปี 2559 รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณอุดหนุนกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับประชากรผู้มีสิทธิจำนวน 48.78 ล้านคน   นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า จากการดำเนินงานบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 31 มีนาคม 2559 ในจำนวนประชากรผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 48.28 ล้านคน มีผู้ลงทะเบียนสิทธิแล้ว 48.23 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 99.88 โดยในส่วนของการบริการพื้นฐานตามงบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข มีผู้ลงทะเบียนผู้มีสิทธิเข้ารับบริการผู้ป่วยนอก จำนวน 80.04 ล้านครั้ง และใช้บริการผู้ป่วยใน จำนวน 2.96 ล้านครั้ง สำหรับในส่วนบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ มีผู้พิการลงทะเบียน จำนวน 1,169,206 คน มีการสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ จำนวน 12,245 คน หรือคิดเป็น 13,646 ชิ้น ขณะที่การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ มีการฟื้นฟูสมรรถภาพให้กลุ่มผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ จำนวน 166,856 คน 195,672 คน และ 261,233 คน ตามลำดับ   นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า ส่วนบริการแพทย์แผนไทยนั้น ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559 มีหน่วยบริการแพทย์แผนไทยที่ผ่านการรับรอง จำนวน 701 แห่ง มีผู้รับบริการแผนไทยประเภทนวด ประคบ และอบสมุนไพร จำนวน 646,978 คน หรือ 1,069,581 ครั้ง บริการฟื้นฟูสุขภาพมารดาหลังคลอด จำนวน 10,215 คน หรือ 35,691 ครั้ง และมีการสั่งใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ จำนวน 1,203,830 คน หรือ 1,486,105 ครั้ง   ขณะที่ในส่วนของบริการเพื่อเพิ่มความมั่นใจเรื่องคุณภาพบริการ ได้แก่ การสนับสนุนการล้างไตและฟอกเลือดล้างไต กรณีผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน จำนวน 3,714 คน รับบริการ 20,188 ครั้ง การเข้าถึงยาละลายลิ่มเลือดเพื่อการรักษาเร่งด่วนในกลุ่มผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิด STEMI จำนวน 1,932 คน รับบริการ จำนวน 2,148 ครั้ง และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน จำนวน 1,498 คน รับบริการ 1,502 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีการผ่าตัดต้อกระจกให้กับผู้ป่วย จำนวน 73,721 คน รับบริการ 81,487 ครั้ง และการดูแลผู้ป่วยวัณโรค จำนวน 22,952 คน   “จากรายงานกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559 นอกจากการดำเนินงานเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลแล้ว ยังเป็นไปตามความเห็นชอบและมติที่อนุมัติโดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งได้ยึดตามเจตนารมณ์ พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และผลการดำเนินงานส่วนใหญ่เป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนผู้มีสิทธิกว่า 48 ล้านคนเข้าถึงการรักษาพยาบาลและบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึงและครอบคลุม” รักษาการเลขาธิการ สปสช. กล่าว
0neg
0neg
1pos
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/19641
2009-01-10 18:28
ข่าวสารรัฐฉาน: แม่ทัพพม่าพบปะผู้นำว้าแดง คาดเจรจาคลายปมขัดแย้ง
แหล่งข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 6 มกราคม 52 ที่ผ่านมา พล.ต.จ่อเพียว แม่ทัพภาคสามเหลี่ยม (เชียงตุง) ของพม่าได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมกำลังพลที่ตั้งฐานอยู่ตามแนวชายแดนไทย - พม่า (รัฐฉาน) ด้านตรงข้ามอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างนั้นได้นัดพบผู้นำกองกำลังว้าแดง UWSA ที่รับผิดชอบในพื้นที่ ที่บ้านห้วยอ้อ อยู่ห่างจากชายแดนไทยฝั่งตรงข้ามบ้านหนองอุก อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 35 กม. โดยทั้งสองฝ่ายได้ใช้เวลาพบปะหารือกันนานกว่า 4 ชั่วโมง   อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานผลการพบปะของทั้งสองฝ่ายอย่างชัดเจน ซึ่งมีเพียงการคาดกันว่า อาจจะเป็นการพบปะเจรจาคลี่คลายความตึงเครียดระหว่างกัน โดยเฉพาะกรณีการแย่งชิงพื้นที่บริเวณฐานดอยปาคี (อยู่ตรงข้ามอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่) เนื่องจากก่อนหน้านี้ทั้งสองฝ่ายต่างแย่งกันครอบครองพื้นที่นี้ นอกนั้นอาจมีการหารือกันเกี่ยวกับกรณีที่ว้าแดง ได้ประกาศสถานะเป็น "รัฐบาลแห่งรัฐว้า" แทนพรรคสหรัฐว้า UWSP - United Wa State Party ที่กำลังจะจัดตั้งเขตปกครองตนเอง   แหล่งข่าวระบุว่า ก่อนนั้น บริเวณพื้นที่ดอยปาคี หรือที่เรียกกันว่าช่องทาง บีพี2 มีเพียงกองกำลังว้าแดงตั้งฐานอยู่ แต่เมื่อไม่นานนี้ทหารพม่าได้เข้าไปแย่งพื้นที่และปักฐานอยู่ใกล้กับว้าแดง เพื่อหวังครอบครองพื้นที่และรีดรับผลประโยชน์จากผู้เดินทางผ่านไปมา โดยก่อนหน้านี้ ผู้ที่เดินทางผ่านทางด้านนี้ได้เสียค่าผ่านด่านให้กับว้าแดง 350 บาท ต่อคน ปัจจุบันต้องเสียให้ทั้งทหารพม่าและว้าแดง ด่านละ 350 บาท รวมเป็นเงิน 700 บาท ต่อคน ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้เส้นทางนี้ลดลง ขณะที่ทางฝ่ายทหารว้าแดงได้มีการเสริมกำลังพลเข้าไปในพื้นดังกล่าวเพิ่ม เพื่อสกัดการแทรกแซงของทหารพม่าเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ความตึงเครียดระหว่างกองกำลังว้าแดง UWSA กับทหารพม่ามีขึ้น หลังจากที่รัฐบาลทหารพม่าใช้ความพยายามบีบบังคับให้กองกำลังว้าแดง ที่ปักฐานอยู่ตามแนวชายแดนไทยถอนกำลังพลกลับไปยังเมืองปางซาง ที่ตั้ง บก.กองทัพสหรัฐว้า พร้อมกันนั้นทหารพม่าได้พยายามหว่านล้อมให้กองกำลังว้าแดงวางอาวุธอย่างต่อเนื่อง และเมื่อปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ทหารว้าแดงได้ถูกทหารพม่าซุ่มโจมตีขณะออกลาดตระเวน ที่บริเวณบ้านนากองมู อยู่ห่างจากชายแดนไทยด้านอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 15 กม. ส่งผลให้ทหารว้าแดงเสียชีวิต 8 นาย (ข่าวที่ยังไม่ยืนยัน) โดยเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้กองกำลังว้าแดงเกิดความไม่พอใจ โดยสั่งเสริมกำลังพลพร้อมออกคำสั่ง ให้กำลังพลอยู่ในความพร้อมรบตลอด 24 ชั่วโมง     สำนักข่าวฉาน (SHAN - Shan Herald Agency for News) เป็นสำนักข่าวอิสระจัดตั้งโดยกลุ่มชนไทยใหญ่พลัดถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/8493
2006-05-25 17:25
ศาลรัฐธรรมนูญปัดไม่มีอำนาจรับคำร้องยุบพรรค ปชป.ชี้ต้องยื่นอัยการ
25 พ.ค.49 ศาลรัฐธรรมนูญปัดคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ อ้างไม่เข้าข่ายมาตรา 63 ต้องอัยการสูงสุดส่งมาเท่านั้น รอ "พชร" ชี้ขาดส่งเรื่องยุบ "ไทยรักไทย-ประชาธิปัตย์"  ที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวานนี้ (25 พ.ค.) ไม่รับคำร้องของนายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล อดีต ส.ส.เชียงใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามช่องทางของรัฐธรรมนูญมาตรา 63 เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคประชาธิปัตย์ ในกรณีที่มีการขอนายกรัฐมนตรีพระราชทานตามรัฐธรรมนูญมาตรา 7   โดยการประชุมครั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 63 ที่บัญญัติว่า "บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการที่ไม่ได้เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ มิได้   "ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการดังกล่าว ผู้รู้เห็นการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว   "ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้"   ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า กรณีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 63 มิได้ให้สิทธิผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้ยุบพรรคการเมืองได้โดยตรง และการขอให้ยุบพรรคการเมืองตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง ก็เป็นอำนาจของนายทะเบียนพรรคการเมืองโดยจะต้องดำเนินการผ่านอัยการสูงสุดเสียก่อน ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องนี้ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้ดำเนินการ   อย่างไรก็ตามนายสุรพงษ์ยังได้ยื่นเรื่องต่อนายพชร ยุติธรรมดำรง อัยการสูงสุดตามช่องทางของรัฐธรรมนูญมาตรา 63 ไปแล้วด้วย เช่นเดียวกับการที่ กลุ่ม สว.รักษาการที่นำโดย นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ รักษาการ สว.อุบลราชธานี ก็ได้ยื่นเรื่องต่ออัยการสูงสุดให้ยุบพรรคไทยรักไทยจากความผิดในเรื่องการจ้างวานพรรคการเมืองขนาดเล็กให้ส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้งตามผลการสอบสวนของ อนุ กกต. ชุดนายนาม ยิ้มแย้ม
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/68879
2016-11-18 00:09
กรุงเทพโพลล์เผยปชช. 78.5% รู้สึกว่าได้เข้าไปอยู่ใกล้ ร.9 มากที่สุด จากข่าวพระราชสำนัก
17 พ.ย. 2559 กรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความเห็นของประชาชนเรื่อง “ความทรงจำของคนไทยที่มีต่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,150 คน พบว่า ภาพความทรงจำของคนไทยต่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ตราตรึงใจคนไทยชั่วนิรันดร์ คือ ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปจังหวัดต่างๆ ในถิ่นทุรกันดาร ทรงขับรถลุยน้ำ ลุยโคลน เดินเท้า เพื่อเข้าไปพบปะประชาชนและมีพระราชปฏิสันถารโดยไม่ถือพระองค์ (ร้อยละ 38.8) รองลงมาคือทรงมีพระเสโท(เหงื่อ)ไหลลงมาที่ปลายพระนาสิก(จมูก)และทรงปาดพระเสโทที่พระนลาฏ (หน้าผาก) (ร้อยละ 12.8) และ ทรงแย้มพระสรวลและโบกพระหัตถ์ให้กับประชาชนที่เข้าเฝ้าในโอกาส เสด็จออก ณ สีหบัญชร (ร้อยละ 11.8) เมื่อถามถึงเหตุการณ์ในช่วงชีวิตที่รู้สึกว่าได้เข้าไปอยู่ใกล้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มากที่สุด เมื่อพระองค์ท่านยังมีพระชนม์ชีพอยู่ ประชาชนร้อยละ 78.5 ระบุว่า ได้ติดตามพระราชกรณียกิจของพระองค์จากข่าวพระราชสำนัก รองลงมาร้อยละ 44.8 ระบุว่าได้เข้าเฝ้าตามเส้นทางเสด็จฯ ขณะพระองค์เสด็จพระราชดำเนินตามสถานที่ต่างๆ อาทิ พระบรมมหาราชวัง พระราชวังไกลกังวล รพ.ศิริราช เป็นต้น และร้อยละ 32.6 ระบุว่าได้ไปเยี่ยมชมโครงการหลวงต่างๆ ตามรอยพระราชดำริ ทั้งนี้ จาก 9 คำพ่อสอน ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ประชาชนยึดถือและได้น้อมนำไปปฏิบัติแล้ว ประชาชนร้อยละ 78.3 ระบุว่า “ความพอดี” รองลงมาร้อยละ 62.7 ระบุว่า “ความเพียร” และร้อยละ 62.3 ระบุว่า “ความซื้อสัตย์” รายละเอียดในการสำรวจ :  วัตถุประสงค์ในการสำรวจ เพื่อสอบถามความคิดเห็นประชาชนที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำต่างๆ ที่มีต่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และคำสอนของพระองค์ที่ได้น้อมนำไปปฏิบัติ เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ ระเบียบวิธีการสำรวจ การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จากทั่วประเทศด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นจึงสุ่มพื้นที่ไปยังประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นคน เป็นเพศชายร้อยละ 48.3 และเพศหญิงร้อยละ 51.7 ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  ± 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% วิธีการรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview)โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบตอบได้เองอย่างอิสระ(Open Ended)  จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล         :  11 – 14 พฤศจิกายน  2559 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :   17  พฤศจิกายน 2559
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/59312
2015-05-16 00:18
วอลเดน เบลโล วิเคราะห์วัฒนธรรมการเมืองสิงคโปร์ แนวโน้มหลังยุคสมัย 'ลีกวนยู'
ส.ส. นักวิชาการฟิลิปปินส์ผู้เคยวิจัย 'สิงคโปร์โมเดล' วิเคราะห์รูปแบบการเมืองสิงคโปร์และแนวคิดการควบคุมเบ็ดเสร็จในแบบลีกวนยูที่ครอบงำสังคมสิงคโปร์อยู่ โดยระบุว่าประชาชนภายในประเทศต้องการความเปลี่ยนแปลงจากการครอบงำนี้ ขึ้นอยู่กับว่าผู้นำพรรครัฐบาลคนใหม่จะยอมเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบสนองความต้องการประชาชนหรือไม่ วอลเดน เบลโล ประธานคณะกรรมการกิจการแรงงานข้ามชาติในสภาผู้แทนฯ ฟิลิปปินส์ ผู้เคยวิจัยและเขียนหนังสือเกี่ยวกับ "สิงคโปร์โมเดล" มาก่อน เขียนบทความในเว็บไซต์วิเคราะห์นโยบายการต่างประเทศ Foreign Policy In Focus ในเรื่องมุมมองของเขาต่อประเทศสิงคโปร์หลังการเสียชีวิตของผู้นำคำสำคัญอย่างลีกวนยู โดยตั้งคำถามว่าเมื่อผู้นำที่มีลักษณะเผด็จการอย่างลีกวนยูจากไปแล้ววัฒนธรรมเผด็จการในสิงคโปร์จะหมดไปหรือไม่ บทความระบุถึงคำกล่าวอ้างของลีกวนยูที่กล่าวเอาไว้ว่าเอเชียไม่ใช่ที่ๆ เหมาะกับเสรีนิยมประชาธิปไตยแต่ควรปกครองด้วยอำนาจนิยมแบบอ่อนๆ ที่มี "ค่านิยมแบบเอเชีย" คอยนำทางโดยเชื่อว่ารัฐที่มีพรรคการเมืองเดียวจะทำให้เกิด "ความกลมเกลียว" ขณะที่มองว่าการแข่งขันชิงชัยในการเลือกตั้งสร้าง "ความยุ่งเหยิง" เบลโลระบุไว้ในบทความว่าประเทศที่ดูเหมือนจะเชื่อตามคำกล่าวอ้างของลีกวนยูได้แก่พม่า แต่ว่าพม่าก็ค่อยๆ เริ่มก้าวออกจากเผด็จการอย่างช้าๆ แล้วเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยกลับมีการรัฐประหารโดยกองทัพเพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งชวนให้นึกถึงคำกล่าวอ้างของลี เบลโลระบุว่า ถึงแม้ลีกวนยูจะพูดในเชิงต่อต้านประชาธิปไตยแบบตะวันตกแต่เขาก็เป็นคนเอเชียที่โลกตะวันตกให้การชื่นชมอย่างมาก เพราะสำหรับประเทศสหรัฐฯ กับอังกฤษแล้ว พวกเขามองว่าลีกวนยูเป็นผู้ต่อต้านคอมมิวนิสม์และยอมรับบรรษัทของพวกเขา ซึ่งนักลงทุนจากตะวันตกก็ได้รับอภิสิทธิ์จริงภายใต้การปกครองของลีที่เน้นผลักดันการค้าระหว่างสิงคโปร์กับต่างชาติ โดยที่ธุรกิจภายในประเทศสิงคโปร์เป็นรองและมีบทบาทชายขอบ บทความของเบลโลกล่าวถึงกรณีที่จีนคอมมิวนิสต์อยู่ในยุคสมัยต้องการเปลี่ยนแปลงเป็นทุนนิยมมองสิงคโปร์ว่าเป็นเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่มีการควบคุมทางการเมืองแบบเดียวกับสังคมที่พวกเขาต้องการให้เป็น ขณะเดียวกันบางคนก็มองว่าเผด็จการแบบของลีกวนยูเป็นเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ (Totalitarian) ซึ่งมีการที่รัฐเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของประชาชนด้วยตั้งแต่เรื่องการใช้ชีวิต การใช้เสียง การใช้ภาษา แม้กระทั่งการถ่มน้ำลาย โดยลีอ้างว่าที่เขาทำเช่นนี้เพราะจะทำให้เศรษฐกิจประเทศก้าวหน้าได้ มานูเอล คาสเทลส์ นักสังคมวิทยาเคยกล่าวถึงรัฐสิงคโปร์ในแง่อำนาจนำว่า ฝ่ายผู้มีอำนาจในสิงคโปร์สามารถทำให้เกิดการปฏิรูปสังคม การจัดระบบสังคม การควบคุมทางสังคม และในขณะเดียวกันก็สามารถครอบงำทางการเมืองและสร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้กับตัวเองได้ เบลโลระบุว่าหนึ่งในโครงการที่มีคนชื่นชมมากที่สุดของลีคือโครงการจัดหาที่พักอาศัยให้กับประชาชนโดยประชากรสิงคโปร์ร้อยละ 80 อาศัยอยู่ในแฟลตของรัฐ ร้อยละ 79 เป็นผู้ที่ถือครองเป็นเจ้าของ ในกระบวนการที่อยู่อาศัยนี้เองทำให้ลีสามารถแบ่งแยกชุมชนสลัมที่มีทั้งชนชั้นล่างและกลุ่มต่อต้านรัฐบาลในประเด็นเชื้อชาติโดยจัดวางประชากรกลุ่มนี้ให้ไปอยู่ในชุมชนประดิษฐ์บนอาคารสูงที่เอื้อต่อการปกครองของกลุ่มชนชั้นนำและการควบคุมของตำรวจ เบลโลวิจารณ์ว่าถึงแม้สิงตโปร์จะมีการเลือกตั้งอย่างเสรีแต่พรรคกิจประชาชน (PAP) ของลีกวนยู ก็มักมีการใช้เลห์กลและการปรับกฎการเลือกตั้งให้เข้าข้างพรรคตัวเองจนทำให้ได้รับคะแนนเสียงถึงร้อยละ 90 ในปี 2554 ซึ่งมีผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งร้อยละ 60 จากผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนทั้งหมด การกดขี่แบบ 'เชือดนิ่มๆ' ของลีกวนยู มีอยู่ครั้งหนึ่งลีกวนยูเคยกล่าวว่า "การกดขี่ก็เหมือนการมีเพศสัมพันธ์ มันจะง่ายขึ้นในครั้งต่อๆ ไป" เบลโลระบุว่าลีกวนยูเองก็เป็นคนที่มักจะทำการกดขี่ผู้อื่น แต่ลักษณะการกดขี่ในสิงคโปร์ไม่ได้เป็นวิธีการหนักๆ แบบการกักขังหรือทารุณกรรมนักโทษการเมืองฝ่ายตรงข้าม แต่มักจะใช้วิธีการที่อ้างอิงกฎหมายมากกว่า เช่น การอนุญาตให้คนวิจารณ์ได้ แต่ถ้าวิจารณ์มากในระดับลำเส้นบางอย่างก็จะถูกฟ้องด้วยข้อหาต่างๆ ที่บางครั้งก็ไม่เกี่ยวกับคดีหมิ่นประมาท เช่นข้อหาเกี่ยวกับภาษี ข้อหาทุจริตคอร์รัปชั่น หรือละเมิดกฎหมายธุรกิจ ในบทความมีการยกตัวอย่างกรณีนักวิชาการชื่อ จี้ซุ่นฉวน แสดงออกเป็นปฏิปักษ์ต่อพรรค PAP ในช่วงราว 2533-2543 ทำให้เขาถูกรัฐบาลพยายามทำลายภาพลักษณ์ เช่นการเผยหลักฐานว่าเขาใช้ทุนมหาวิทยาลัยเพื่อส่งงานวิทยานิพนธ์ของภรรยาตัวเองให้กับมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ จนทำให้เขาถูกไล่ออกจากงานในมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เบลโลเปิดเผยในบทความต่อไปว่า นักธุรกิจและมืออาชีพที่มีชื่อเสียงก็มักจะถูกเชิญให้ไปร่วมกับพรรค PAP ซึ่งพวกเขามองว่าถือเป็นเกียรติ์ที่ได้รับเชิญ แต่ในขณะเดียวกันพวกเขาก็รู้สึกว่ามันเป็น "ข้อเสนอในเชิงเกียรติยศที่ไม่อาจปฏิเสธได้" เพราะการปฏิเสธจะกลายเป็นการตีตัวออกห่างรัฐบาลและทำให้ถูกสงสัยระแวงว่าจะเป็นผู้ต่อต้านรัฐบาล PAP ได้ ถึงแม้ว่าพรรค PAP จะมีความสามารถในการทำให้ผู้มีความสามารถให้ความร่วมมือกับพวกเขาได้แทนการจับผู้มีความสามารถมาแข่งขันกันเช่นที่พวกเขาวิจารณ์ระบอบการเมืองประชาธิปไตยแบบสหรัฐฯ ไว้ แต่บทความของเบลโลก็ระบุว่ามีชาวสิงคโปร์จำนวนมากที่ต้องการระบอบประชาธิปไตยที่มีการแข่งขันอย่างแท้จริง เพราะระบอบที่พรรคการเมืองเดียวครอบงำแบบสิงคโปร์ทำให้พวกเขารู้สึกเหมือนเป็นเด็กอยู่ตลอด อีกทั้งยังมีประชากรคนหนุ่มสาวจำนวนมากที่รู้สึกอยากอพยพออกจากประเทศถ้ามีโอกาสที่ดีกว่ารออยู่ แต่ลีกวนยูก็ด่าว่าคนที่ออกนอกประเทศว่าเป็น "พวกล้มเหลว" 'สัญญาประชาคม' ที่เริ่มแตกแยก? เบลโลระบุว่าพรรค PAP ยังรู้สึกว่าตนมี "สัญญาประชาคม" กับประชาชนสิงคโปร์ โดยการให้ความมั่นคง, ความมั่งคั่ง และรัฐบาลที่บริสุทธิ์ผุดผ่องแลกกับการยอมจำนนโดยถาวร แต่ของแลกเปลี่ยนทั้ง 3 อย่างที่กล่าวมาดูเหมือนว่าพรรค PAP จะเหลือให้แลกเปลี่ยนอยู่อย่างเดียวคือความมั่นคง จากข้อมูลของกระทรวงทรัพยากรมนุษย์ระบุว่าคนจนระดับล่างร้อยละ 20  ของสิงคโปร์แทบไม่มีรายได้เพิ่มขึ้นเลยเมื่อปี 2544 -2554 รายได้โดยค่าเฉลี่ยก็เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.2 ต่อปีเท่านั้น ในเรื่องวัฒนธรรมการเมืองที่ปราศจากการทุจริตนั้น เมื่อไม่นานมานี้ก็มีข่าวอื้อฉาวหลายเรื่องจากคนระดับสูงของรัฐบาล ทั้งกรณีเรื่องชู้สาว หรือเรื่องที่สำนักสืบสวนการกระทำทุจริตเป็นผู้ยักยอกทรัพย์เสียเอง ทำให้องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติลดอันดับของสิงคโปร์จากเดิมที่เคยติดอันดับหนึ่งในประเทศที่มีการทุจริตน้อยที่สุด ส่วนชาวสิงคโปร์ร้อยละ 38 ก็มองว่าการทุจริตในสิงคโปรมีเพิ่มมากขึ้น "ในขณะที่ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายคนจะสงสัยว่าถ้าลีจะกล่าวคำพูดสุดท้ายก่อนตายเกี่ยวกับอนาคตทางการเมืองของภูมิภาคนี้เขาจะพูดว่าอะไร สิ่งที่เป็นคำถามในใจสำหรับชาวสิงคโปร์จำนวนมากไม่ใช่เรื่องที่ว่าจะเป็นอย่างไรในอนาคตแต่เป็นเรื่องที่ว่าเมื่อไหร่ระบบการชักจูงสังคมในแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จซึ่งเป็นมรดกของลีจะตายตกตาม 'ชายแก่' ผู้นี้ไปด้วย " เบลโลระบุในบทความ ลีกวนยูมักจะบอกกับทายาทของตนอยู่ตลอดเวลาว่าเขาจะเอาอำนาจคืนมาถ้าหากผู้สืบทอดของเขาออกนอกหนทางเดิมที่เขาตั้งไว้ แต่พอไม่มีลีกวนยูคอยมองผู้สืบทอดจากข้างหลังอยู่อีกแล้ว บทความของเบลโลก็ชวนให้ตั้งคำถามว่าผู้นำทางการเมืองของ PAP คนใหม่ๆ จะมีความกล้าหาญพอที่จะเปลี่ยนแปลงให้สิงคโปร์มีลักษณะทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นหรือไม่ เรียบเรียงจาก Time for Democracy in Singapore? [1], FPIF, 12-05-2015
0neg
1pos
1pos
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/5465
2005-08-30 21:54
ครม. ชี้ "บ้านมั่นคง"เจ๋ง UN สนจนทาบทามจัดงานวันที่อยู่อาศัยโลก
ประชาไท-30 ส.ค. 48       "ครม." อนุมัติ พื้นที่สนามหลวงจัดมหกรรมเนื่องในวันที่อยู่อาศัยโลก (World Habitat Day) ระหว่างวันที่ 3-8 ต.ค. ที่จะถึงนี้ โดยจะมีทั้งการจัดนิทรรศการต่างๆ การแสดงแบบบ้านราคาถูก วัสดุก่อสร้างราคาถูก อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ร้านค้าชุมชน การแสดงมหรสพแบบไทยๆ   นอกจากนี้ จะมีการจัดประชุมสัมมนานานาชาติ ระหว่างวันที่ 5-8 ต.ค. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาชุมชนแออัดในประเทศต่างๆ โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ ดร. Anna Kajumulo Tibaijuka ผู้อำนวยการบริหาร UN-HABITAT เป็นประธานเปิดสัมมนา   นายดนุพร ปุณณกันต์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในการแถลงข่าวที่ทำเนียบรัฐบาล ว่า เหตุที่มีการจัดมหกรรมดังกล่าว เนื่องจาก UN-HABITAT(หน่วยงานเกี่ยวกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยของสหประชาชาติ) สนใจ ในโครงการบ้านมั่นคงในประเทศไทย อันเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลมาก   เนื่องจากโครงการบ้านมั่นคง มีความสอดคล้องกับ Millennium Development Goals และ Cities Without Slum ของสหประชาชาติ คือมีเป้าหมายว่า ภายใน ค.ศ.2020 จะต้องมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนจน และพัฒนาความมั่นคงในการอยู่อาศัยของชุมชนแออัด จำนวน 100 ล้านคน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น   โดย นายดนุพร ชี้ว่า แนวนโยบายบ้านมั่นคงของรัฐบาล มีวัตถุประสงค์ไปในแนวทางดังกล่าว โดยชุมชนเป็นแกนหลักในการพัฒนาร่วมกับท้องถิ่น และมีการเชื่อมโยงกับภาคีที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาชุมชนแออัดอย่างเป็นระบบใน 200 เมือง ทั่วประเทศภายใน 4 ปี( 2548-2551) และการดำเนินการผ่านมาได้แก้ไขอย่างตรงจุด โดยขณะนี้มีการดำเนินงานมากกว่า 100 เมือง ในเขต 52 จังหวัด   แต่ขณะเดียวกัน ในวันพรุ่งนี้(31 ส.ค.) ทางกรุงเทพมหานคร(กทม.) จะมีการประชุมคณะกรรมการปรองดอง โดยมี ศ.พญ.เพ็ญศรี พิชัยสนิธ รองผู้ว่าราชการกทม. เป็นประธาน เพื่อเตรียมหาแนวทางไล่รื้อและเยียวชุมชนป้อมมหากาฬ ในเดือน ต.ค. ที่จะถึงนี้ ซึ่งชุมชนได้ยื่นข้อเสนอคัดค้านเพื่อสร้างชุมชนตามแนวทางบ้านมั่นคง  แต่ทาง กทม. ไม่เห็นด้วย และยืนยันไล่รื้อเช่นเดิม   ทั้งนี้ทางเครือข่ายภาคประชาชน ได้หารือกัน เพื่อแก้ไขปัญหาป้อมมหากาฬ และให้ทาง กทม.กลับมาทบทวนแนวทางของชุมชน และเตรียมนำเสนอปัญหาดังกล่าว ในมหกรรมวันที่อยู่อาศัยโลกที่จะจัดขึ้นด้วย   สหประชาชาติ ได้กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม ของทุกปี เป็นวันที่อยู่อาศัยโลก โดยมีวัตถุ ประสงค์เพื่อให้ประเทศต่างๆในโลกได้ให้ความสนใจกับสถานการณ์ที่อยู่อาศัยและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ตลอดจนสิทธิในการมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม และสร้างความรับผิดชอบร่วมกันในการจัดการให้มนุษย์ทุกคนมีที่อยู่อาศัยในอนาคต  โดยวันที่อยู่อาศัยโลก ในปีนี้ตรงกับวันที่ 3 ต.ค.คาดว่าในปีนี้น่าจะมีประเทศต่างๆ มีเข้าร่วมประมาณ 15 ประเทศ
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
https://prachatai.com/print/28146
2010-03-12 19:32
เครือข่ายประชาชนแม่น้ำโขงแถลง “แม่น้ำโขงต้องไหลอิสระ”
12 มี.ค. 53 – เนื่องในวันหยุดเขื่อนโลก 14 มีนาคมที่จะถึง เครือข่ายประชาชนแม่น้ำโขงได้ออกแถลงการณ์โดยมีเนื้อหาดังนี้ แถลงการณ์วันหยุดเขื่อนโลก ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๓“แม่น้ำโขงต้องไหลอิสระ”   ท่ามกลางภาวการณ์ที่โลกกำลังถูกคุกคามด้วยวิกฤตสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงด้านอาหารกำลังถูกท้าทาย สงครามการแย่งชิงทรัพยากรถูกคาดการณ์และทำนาย การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ซึ่งทำลายล้างระบบนิเวศ และเป็นต้นเหตุของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในนามของการพัฒนา คือ การปูทางให้มวลมนุษยชาติเดินหน้าสู่หุบเหวข้างต้นอย่างแข็งขัน             ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเหนืออื่นใด ประสบการณ์อันเจ็บปวดของผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนชี้ให้เห็นอย่างหนักแน่นว่ายังไม่มีมาตรการใดสามารถลดผลกระทบจากการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ได้ โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดกับการประมง ซึ่งเป็นรากฐานของการเลี้ยงปากท้อง หล่อเลี้ยงวัฒนธรรมและจิตวิญญาณของชุมชนริมน้ำ ทั้งนี้ ประวัติศาสตร์และเหตุการณ์ร่วมสมัยยังแสดงให้เห็นด้วยว่า หากความแห้งแล้งมาเยือน น้ำเหือด ไฟฟ้าไม่อาจจะผลิตได้ หน้าที่เดียวที่เขื่อนยังเหลืออยู่ คือ ช่วยกระหน่ำซ้ำเติมวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ให้รุนแรงและเลวร้ายยิ่งขึ้น หากมิได้จงใจหลับตาเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง นี่คือข้อเท็จจริงที่นักวางนโยบายด้านพลังงานต่างมืดบอด สุดปัญญาที่จะตระหนักรู้:   เขื่อนคือ หายนะของการพัฒนา   แม่น้ำโขง--แม่แห่งธรรมชาติที่หล่อเลี้ยงผู้คนกว่า ๖๐ ล้านคนกำลังถูกคุกคามด้วยแผนการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อผลิตไฟฟ้า ที่ผ่านมารัฐบาลไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และนายทุนนักสร้างเขื่อน ต่างผลักดันให้แผนดังกล่าวเกิดขึ้นจริง โดยใช้เหตุผลเรื่อง การสนองตอบความต้องการพลังงานไฟฟ้า ‘ของประเทศ’ ที่กำลังขยายตัว หรือหากพูดให้แม่นยำมากขึ้น ตีขลุมน้อยลง คือ เพื่อผลิตไฟฟ้าป้อนความเจริญที่กระจุกตัวอยู่ในเมือง ภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่กำลังหิวกระหายพลังงาน โดยไม่นำพาต่อต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตของผู้คนที่พึ่งพาแม่น้ำโขงมาตลอดทั้งชีวิต   ผลประโยชน์การสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงที่มักถูกใช้พรรณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากคณะกรรมการแม่น้ำโขง (MRC) ว่า เขื่อนจะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในฤดูแล้ง และป้องกันน้ำท่วมในฤดูฝน ได้ถูกทำให้ประจักษ์แจ้งว่าเป็นเพียงคำโฆษณาอันเลื่อนลอย จากเหตุการน้ำท่วมใหญ่ในเดือนสิงหาคม ปี ๒๕๕๑ และในวันนี้ ภาวะความแห้งแล้งอย่างรุนแรงเป็นประวัติการณ์ของแม่น้ำโขง กลับทำให้เขื่อนจีนบนแม่น้ำลานซาง (แม่น้ำโขงตอนบน) ตกเป็นจำเลยสำหรับเหตุการณ์ผิดธรรมชาติทั้งสองครั้ง ในฐานะที่สร้างความเดือดร้อนข้ามพรมแดนทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคมและวิถีชีวิตของชุมชนริมน้ำอย่างใหญ่หลวง    เรา - - ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นักปฎิบัติการทางสังคม นักศึกษา นักวิชาการ ศิลปิน กลุ่มและองค์กรประชาสังคมต่างๆ ได้รวมตัวกันสร้างเครือข่ายประชาชนแม่น้ำโขง ออกแถลงการณ์ฉบับนี้เพื่อร่วมกันส่งเสียงเรียกร้องถึงรัฐบาลไทย ดังต่อไปนี้   ๑. รัฐบาลไทยจะต้องทบทวนท่าทีต่อรัฐบาลจีนกับการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงตอนบนโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง และในฐานะประธานคณะมนตรีคณะกรรมการแม่น้ำโขง รัฐบาลจะต้องหารือกับรัฐบาลลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างอีกสี่ประเทศในการทำให้ประเทศจีนเปิดเผยข้อมูลการจัดการเขื่อนบนแม่น้ำลานซางแก่สาธารณะ เพื่อแสดงความจริงใจต่อการจัดการแม่น้ำระหว่างประเทศร่วมกัน มิใช่เพียงการออกมาโต้แย้งปฏิเสธความรับผิดชอบว่าเขื่อนจีนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะความแห้งแล้ง ในขณะที่ยังคงปิดบังข้อมูลการจัดการเขื่อนต่อไป  ทั้งนี้รัฐบาลไทยจะต้องยกประเด็นดังกล่าวขึ้นหารือในการประชุมสุดยอดผู้นำคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC Summit) ในวันที่ ๒-๕ เมษายนที่จะถึงนี้   ๒. ให้รัฐบาลยุติโครงก่อการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขา และจะต้องไม่ใช้วิกฤตความแห้งแล้งมาเป็นข้ออ้างในการผลักดันเขื่อนดังกล่าว รวมทั้งให้ทบทวนแผนพัฒนาพลังงานให้คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตย ให้สาธารณะได้รับทราบข้อมูลที่เพียงพอและทันท่วงที เพื่อการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนที่ผ่านมาต้องได้รับการชดเชยค่าเสียหายย้อนหลังอย่างเป็นธรรม   เพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่สอดคล้องกับคำประกาศวันหยุดเขื่อนโลก ๑๔ มีนาคม ที่ว่า “น้ำเพื่อชีวิต ไม่ใช่เพื่อความตาย” เรา – เครือข่ายประชาชนแม่น้ำโขงขอประกาศก้องร่วมกันว่า      “แม่น้ำโขงต้องไหลอิสระ”         ด้วยจิตคารวะ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๓ ริมฝั่งโขง หนองคาย       เครือข่ายประชาชนแม่น้ำโขง       รายชื่อผู้คัดค้านเขื่อน        บุคคล ๑.       สันติภาพ     ศิริวัฒนไพบูลย์ ๒.      ธันวา          ใจเที่ยง ๓.      สุนีย์            ไชยรส ๔.      สุภีร์            สมอนา ๕.      กัณณิกา       หงส์ลา ๖.       ประสิทธิ์      ไชยชมพู ๗.      เริงฤทธิ์         คงเมือง ๘.      เริงชัย           คงเมือง ๙.       ศิริพร          พรศิริธิเวศ ๑๐.     ประกาศ        เรืองดิษฐ์ ๑๑.     เดชา            เปรมฤดีเลิศ ๑๒.    สมพร          เพ็งค่ำ ๑๓.    สดใส           สร่างโสรก ๑๔.    ศันสนีย์        ชินาภาษ ๑๕.    วันดี             ไชยศาล ๑๖.    วสันต์           สิทธิเขตต์ ๑๗.    จิระศักดิ์       คชสวัสดิ์ ๑๘.    กิตติสันต์      ศรีรักษา ๑๙.     นาถศิริ         โกมลพันธุ์ ๒๐.    ไพรินทร์       เสาะสาย ๒๑.     พันวรัชต์     หมู่ขจรพันธ์         ๒๒.   วรันธรณ์       แก้วทันคำ ๒๓.   รจเรข          วัฒนพาณิชย์ ๒๔.   มาลัย           สัญกาย ๒๕.   รัตติกาล       แก้วกาบคำ ๒๖.   สิริวัธน์         วัฒนพาณิชย์ ๒๗.   เวียงรัฐ         เนติโพธิ์ ๒๘.   กนกพรรณ สุพิทักษ์ ๒๙.    สมศรี           หาญอนันทสุข ๓๐.    ประยงค์        อัฒจักร ๓๑.    กิตติสันต์      ศรีรักษา ๓๒.   มณีรัตน์        สัตยเรขา ๓๓.   วิลาวัณย์       เอื้อวงศ์กูล ๓๔.   พัชรินทร์       บัวลอย ๓๕.   จิตติมา         ผลเวก ๓๖.   ไพศาล         เปลี่ยนบางช้าง ๓๗.   มงคล           เปลี่ยนบางช้าง ๓๘.   ประยงค์        อัฒจักร ๓๙.    เยาวมาลย์ จันทเขต ๔๐.    จรัญญา  วงษ์พรหม ๔๑.    ชาญชัย  ลิมปิยากร ๔๒.   จุลจิฬา  วงษ์พรม ๔๓.   เที่ยงทน คำภิเดช ๔๔.   นริศรา  หว่างอาจ ๔๕.   ดรุณี  หล้าคูณ ๔๖.   ภาณินี มีผล ๔๗.   Bennett Haynes ๔๘.    ชุติพงษ์ รุ่งเรือง ๔๙.     อุบล บุญมาก ๕๐.     เขมทัศน์ ปานเปรม ๕๑.    ธิดารัตน์ บุญภมร ๕๒.   ศิริวัฒน์ คำหาญ ๕๓.   คมสันติ ทองมาก ๕๔.   ภาวิณี ชุมศรี ๕๕.   ยูฮานี เจ๊ะกา ๕๖.   ปรีดา นาคผิว ๕๗.   สมสกุล ศรีเมธีกุล ๕๘.    นพพร  ภูมิสวัสดิ์ ๕๙.    เรณู ไพศาลพานิชย์กุล ๖๐.    ดรุณี ไพศาลพานิชย์กุล ๖๑.     เยาวลักษณ์ อนุพันธ์ ๖๒.    ธนพล อนุพันธ์ ๖๓.   วรันภรณ์ แก้วทันคำ ๖๔.    กนกพร สุพิทักษ์ ๖๕.    มณีรัตน์ สัตยเรขา ๖๖.    สมศรี หาญอนันทสุข  ๖๗.    ส.รัตนมณี พลกล้า ๖๘.    Prashart singh   ๖๙.    สุรชัย ตรงงาม   ๗๐.    Jia Jia                        ๗๑.     Lam Dinh Uy                                                ๗๒.    Bounsing                  ๗๓.   Siriporn Kotawinon                             ๗๔.   Pock                                                 ๗๕.   Tanasak Phosrikun                            ๗๖.     Lao Zhang               ๗๗.   Siriluk Sriprasit     ๗๘.   Thepvayha suksayna                         ๗๙.     Carolyn                        ๘๐.    Shining                      ๘๑.    Pheakny                    ๘๒.   Nguyen Thi Kim Cuc        ๘๓.    Prajak srilampa        ๘๔.   Khun Chan Khe          ๘๕.   Leng Sarorn                      ๘๖.   Yaowalak Srikhampha       ๘๗.   Tipakson Manpati              ๘๘.    Nov Piseth               ๘๙.    Apisan yamuch              ๙๐.     Dorn                                     ๙๑.     Sopa                                     ๙๒.    Romil Hernandez                                           ๙๓.    Alek Nomi                             ๙๔.    ชลธิชา ตั้งวรมงคล   ๙๕.    พรพนา ก๊วยเจริญ   ๙๖.    มนตรี จันทวงศ์   ๙๗.    ทางไท กุหลาบวงษ์   ๙๘.    สุวิทย์ กุหลาบวงษ์   ๙๙.     ลำภู กุหลาบวงษ์   ๑๐๐. ไพเราะ สุจินพรัหม                                                                                       องค์กร ๑.       ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพอีสาน ๒.      กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา ๓.      เครือข่ายนักวิชาการนิเวศวัฒนธรรม ๔.      กลุ่มศึกษาปัญหาดินเค็มและการจัดการทรัพยากรแร่ภาคอีสาน ๕.      กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ๖.       คณะกรรมการชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบแนวสายส่งไฟฟ้าอุดร ๗.      กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูลุ่มน้ำลำประเนียง ๘.      สื่อเสียงคนอีสาน ๙.       โครงการทามมูน ๑๐.     คณะทำงานติดตามนโยบายเหมืองแร่ ๑๑.     ศูนย์สื่อท้องถิ่นเพื่อการพัฒนา ๑๒.    ศูนย์พัฒนาเด็กเพื่อสังคม ๑๓.    กลุ่มศิลปินนานาชาติเพื่อแม่น้ำโขง ๑๔.    โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา ๑๕.    มูลนิธิเลยเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างยั่งยืน ๑๖.    กลุ่มเพื่อนพม่า (Friends of Burma) ๑๗.    สมาคมป่าชุมชนอีสาน ๑๘.    ศูนย์เผยแพร่และส่งเสริมงานพัฒนา (ผสพ.) ๑๙.     เครือข่ายผู้หญิงอีสาน ๒๐.    เครือข่ายแร่งานนอกระบบ ๒๑.    EarthRights International ๒๒.   Mekong School ๒๓.   มูลนิธิชีวิตไท ๒๔.   โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม ๒๕.   เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ๒๖.   มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) ๒๗.   โครงการพี่เลี้ยงงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นชุดประเด็นลุ่มน้ำห้วยหลวงอุดรธานี ๒๘.   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย: ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ๒๙.    ชุมชนคนรักป่า ๓๐.    เครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรี (อันเฟรล) ๓๑.    ชมรมนักศึกษาเพื่อการพัฒนา (ชนพ.) ๓๒.   กลุ่มศิษย์เก่าชมรมนักศึกษาเพื่อการพัฒนา (ชนพ.) ๓๓.    กลุ่มอาศรมบ่มเพาะแนวความคิดและจิตวิญญาน ๓๔.   มูลนิธิชีวิตไท (RRAFA) ๓๕.   อาศรมพลังงาน ๓๖.   โครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น้ำโขง (TERRA) ๓๗.   เครือข่ายชุมชนจังหวัดพังงา ๓๘.   เครือข่ายสิทธิคนจนพัฒนาภูเก็ต ๓๙.    เครือข่ายแก้ปัญหาการคืนสัญชาติคนไทย จ.ประจวบคีรีขันธ์ ๔๐.    เครือข่ายชุมชนศรัทธาจังหวัดชายแดนใต้ จ.นราธิวาส ปัตตานี และยะลา ๔๑.    เครือข่ายเมืองภาคเหนือ ๔๒.   กลุ่มปัญหาที่ดินชุมพร ๔๓.   เครือข่ายฟื้นฟูวิถีชีวิตชุมชนดั้งเดิมเกาะลันตา จ.กระบี่ ๔๔.   เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ทองคำ 3 จังหวัด พิจิตร เพชรบูรณ์และพิษณุโลก ๔๕.   เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ ๔๖.   เครือข่ายชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี ๔๗.   กลุ่มรักษ์อ่าวไทย อ.ปะทิว จ.ชุมพร ๔๘.   สมาคมเพื่อนสิ่งแวดล้อม จ.ชุมพร ๔๙.    เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) ๕๐.    ชุมชนลุ่มน้ำสรอย จ.แพร่             ๕๑.    มูลนิธิผสานวัฒนธรรม   ๕๒.   คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า(กรพ) ๕๓.   เครือข่ายนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน ๕๔.   มูลนิธิชีวิตไท ๕๕.   ศูนย์นิเวศชุมชนศึกษา อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ๕๖.   โครงการจัดการทรัพยากรต้นน้ำเซิน จ.ชัยภูมิ ๕๗.   โครงการฟื้นฟูระบบนิเวศลุ่มน้ำป่าสักฝั่งซ้าย-ห้วยขอนแก่น อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ๕๘.    เครือข่ายองต์กรชาวบ้านอนุรักษ์ป่าภูผาแดง จ.เพชรบูรณ์ ๕๙.    .เครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ลุ่มน้ำเซิน ๖๐.    .เครือข่ายองต์กรชาวบ้านอนุรักษ์ลุ่มน้ำป่าสักฝั่งซ้าย-ห้วยขอนแก่น
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
1pos
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg
0neg