title
stringlengths 10
260
| context
stringlengths 0
181k
| date
stringlengths 4
11
| open
float64 1.2k
1.71k
⌀ | close
float64 1.19k
1.71k
⌀ | high
float64 1.2k
1.72k
⌀ | low
float64 1.19k
1.71k
⌀ | trend
stringclasses 2
values |
---|---|---|---|---|---|---|---|
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาลแจงสิทธิถือครองที่ดินตามมาตรการดึงดูดชาวต่างชาติ ไม่ใช่ขายที่ดิน ยึดเงื่อนไขนำเงินมาลงทุน เพื่ออยู่อาศัย ไม่เกิน 1 ไร่ ในพื้นที่ที่กำหนดเท่านั้น ตามหลักเกณฑ์กฎหมาย | โฆษกรัฐบาลแจงสิทธิถือครองที่ดินตามมาตรการดึงดูดชาวต่างชาติ ไม่ใช่ขายที่ดิน ยึดเงื่อนไขนําเงินมาลงทุน เพื่ออยู่อาศัย ไม่เกิน 1 ไร่ ในพื้นที่ที่กําหนดเท่านั้น ตามหลักเกณฑ์กฎหมาย
โฆษกรัฐบาลแจงสิทธิถือครองที่ดินตามมาตรการดึงดูดชาวต่างชาติ ไม่ใช่ขายที่ดิน ยึดเงื่อนไขนําเงินมาลงทุน เพื่ออยู่อาศัย ไม่เกิน 1 ไร่ ในพื้นที่ที่กําหนดเท่านั้น ตามหลักเกณฑ์กฎหมายที่ดินปี 2542 เชื่อช่วย “บู๊ส อัพ” เศรษฐกิจไทย สอดคล้องกลยุทธ์ "3แกน
วันนี้ (15 กรกฎาคม 2565) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายรัฐมนตรี เผยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามา อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน โดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสูงประเทศไทย ประกาศเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 โดยจะมีผลบังคับใช้ในเดือนกันยายน 2565 นี้ เพื่อดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มประชากรผู้มีความมั่งคั่งสูง กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ กลุ่มที่ต้องการทํางานจากประเทศไทย และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สามารถพํานักและทํางานในประเทศไทยได้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน ทําให้ไทยมีคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเพียงพอให้กับภาคธุรกิอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตที่รัฐบาลมุ่งส่งเสริม สําหรับการให้สิทธิในการถือครองที่ดินของคนต่างชาตินั้น เป็นเพียงมาตรการหนึ่ง เพื่อสร้างแรงจูงใจให้มีการนําเงินมาลงทุนในประเทศไทย
กรมที่ดินอยู่ระหว่างการจัดทําร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าวตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน โดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงประเทศไทย พ.ศ. .... ตามมาตรา 96 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยมีหลักเกณฑ์สําคัญ คือ ต้องเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสุดประเทศไทย นําเงินมาลงทุนไม่ต่ํากว่า 40 ล้านบาท และต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 3 ปี ในธุรกิจหรือกิจการประเภทที่กําหนด เช่น การลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึง การลงทุนในกองทรัสต์เพื่อการลงทุนใน อสังหาริมทรัพย์ ที่จัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรม ในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และหากคนต่างด้าวที่ประสงค์จะได้มาซึ่งที่ดิน อยู่ 2 เงื่อนไขสําคัญ คือ รวมไม่เกิน 1 ไร่ และใช้เป็นที่อยู่อาศัย เท่านั้น โดยสอดคล้องกับพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกฎหมายในปัจจุบัน
โฆษกรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ยังชี้แจงข้อเท็จจริง ประเด็นมาตรการลดค่าธรรมเนียมการซื้อขายบ้านพร้อมที่ดินหรืออาคารชุดที่มีมูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท จะได้สิทธิลดหย่อนค่าธรรมเนียมจาก 2% เป็น 0.01% ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 18 มกราคม นั้น ใช้เฉพาะผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น ยีนยันว่า รัฐบาลไม่เคยมีแนวคิดจะให้คนต่างชาติใช้สิทธิในเรื่องนี้
นายธนกร ย้ําว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติผู้มีความมั่งคั่งสูง ผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ ผู้ที่ต้องการทํางานจากประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญพิเศษ โดยวางเป้าหมาย ภายใน 5 ปีงบประมาณ 2565 - 2569 จะช่วยเพิ่มจํานวนชาวต่างชาติที่พักอาศัยในประเทศไทย 1 ล้านคนเพิ่มปริมาณเงินใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจมูลค่า 1 ล้านล้านบาทเพิ่มการลงทุนในประเทศ 8 แสนล้านบาทและสร้างรายได้จากการเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้น 2.7 แสนล้านบาท ซึ่งหนึ่งในมาตรการสําคัญ “บู๊ส อัพ” เศรษฐกิจไทยกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน ด้วยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงทั่วโลก เดินหน้าตามกลยุทธ์ "3แกน สร้างอนาคต” ของนายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สร้างโอกาส เชื่อมไทย ช่วยผู้ประกอบการ ประชาชนและแรงงานในประเทศให้มีรายได้ต่อเนื่อง | 2022-07-15 | 1,538.76001 | 1,533.369995 | 1,539.959961 | 1,517.51001 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออมสินร่วมงาน Thailand Smart Money กรุงเทพฯ 2021 ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 10-12 ธันวาคม 2564 | ออมสินร่วมงาน Thailand Smart Money กรุงเทพฯ 2021 ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 10-12 ธันวาคม 2564
ออมสิน คัดสุดยอดโปรโมชันร่วม Thailand Smart Money กรุงเทพฯ 2021 เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษดอกเบี้ยสูงสุด 10.80% ต่อปี เทียบเท่าฝากประจํา 3.00% ต่อปี ดอกเบี้ยบ้านปีแรก 0.250% สินเชื่อ SMEs ดอกเบี้ยต่ําสุด 2 ปีแรก 2.99%
นายวิทัย รัตนากร ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารได้จัดโปรโมชันน่าสนใจเข้าร่วมงาน Thailand Smart Money กรุงเทพฯ 2021 ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 10-12 ธันวาคม 2564 อีกหนึ่งงานสําคัญที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยเหลือให้พี่น้องประชาชนได้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบได้อย่างทั่วถึงด้วยหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่ผ่านปรน รวมถึงโปรโมชันเงินฝากที่มีอัตราดอกเบี้ยจูงใจ ได้แก่ เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ 108 ดอกเบี้ยแบบ Step up สูงสุด 10.80% ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยเท่ากับ 2.55% ต่อปี เทียบเท่าเงินฝากประจํา 3.00% ต่อปี และ สลากออมสินพิเศษ 2 ปี (แบบมีใบสลาก) ได้ร่วมลุ้นเงินรางวัลพิเศษ 1 ล้านบาท จํานวน 10 รางวัล ซึ่งจะออกรางวัลในวันที่ 30 ธ.ค.64 ไม่นับรวมการออกรางวัลปกติรวม 24 ครั้ง มีรางวัลที่ 1 จํานวนเงิน 5,000,000 บาท โดยดอกเบี้ยและเงินรางวัลจะได้รับการยกเว้นภาษี
ส่วนโปรโมชันไฮไลท์ในด้านสินเชื่อประกอบด้วย สินเชื่อเคหะดอกเบี้ยพิเศษ ปีแรก 0.250% ต่อปี เฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.250% ต่อปี ทั้งการซื้อ/ปลูกสร้าง/ต่อเติมซ่อมแซม/รีไฟแนนซ์ โดยยกเว้นค่าจัดทํานิติกรรมสัญญาและค่าบริการสินเชื่อ สินเชื่อ GSB Smooth BIZ เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนหรือลงทุนในธุรกิจ อัตราดอกเบี้ยต่ําสุด 2 ปีแรก 2.99% ต่อปี ระยะเวลาผ่อนชําระนานสูงสุด 10 ปี วงเงินกู้สูงสุดถึง 20 ล้านบาท สินเชื่อ SMEs มีที่ มีเงิน สําหรับธุรกิจ Small SMEs เป็นเงินทุนหมุนเวียนกิจการ หรือนําไปไถ่ถอนสัญญาขายฝาก ใช้ที่ดินเป็นหลักประกัน วงเงินกู้สูงสุดร้อยละ 70 ของราคาประเมินราชการ วงเงินกู้ 300,000 บาท ถึง 50 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.99% ตลอดสัญญา พร้อมด้วยสินเชื่อเพื่อเป็นทุนประกอบอาชีพ โดยเฉพาะสําหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ได้แก่ สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน สินเชื่อ SMEs สําหรับภาคการท่องเที่ยว และ สินเชื่อจํานําทะเบียนรถยนต์/รถจักรยานยนต์ ที่นําเงินไปใช้จ่ายหมุนเวียนหรือเสริมสภาพคล่องในยามฉุกเฉิน
ธนาคารจึงขอเชิญชวนลูกค้าและประชาชนผู้สนใจ เยี่ยมชมงาน Thailand Smart Money กรุงเทพฯ ที่ CentralwOrld LIVE HALL ชั้น 8 และใช้บริการทางการเงินต่าง ๆ ที่บูธธนาคารออมสิน ด้วยโปรโมชันน่าสนใจส่งท้ายปี 2564 โดยทุกธุรกรรมและกิจกรรมต่าง ๆ มีของที่ระลึกและรางวัลพิเศษสุดเฉพาะลูกค้าในงานเท่านั้น. | 2021-12-09 | 1,621.630005 | 1,618.22998 | 1,623.819946 | 1,612.569946 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลแจงผลงานขับเคลื่อนแผนชาติ ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจ หลังประกาศใช้เป็นประเทศแรกในเอเชีย ยกร่างกฎหมายป้องกันฟ้องปิดปากคุ้มครองนักสิทธิมนุษยชน | รัฐบาลแจงผลงานขับเคลื่อนแผนชาติ ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจ หลังประกาศใช้เป็นประเทศแรกในเอเชีย ยกร่างกฎหมายป้องกันฟ้องปิดปากคุ้มครองนักสิทธิมนุษยชน
ไทยเป็นประเทศแรกในเอเซียที่ประกาศใช้แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน เพื่อส่งเสริม คุ้มครอง ป้องกัน บรรเทา เยียวยา และแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการดําเนินธุรกิจ เร่งขับเคลื่อนมาตรการภาคบังคับและสมัครใจ
วันที่ 6 มกราคม 2565 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงผลการดําเนินการตามแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2565) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ เมื่อ 29 ต.ค. 2562 โดยประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเซีย และเป็นหนึ่งใน 30 ประเทศของโลก ที่ได้ประกาศใช้แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน เพื่อเป็นกรอบแนวทางให้กับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจ และประชาสังคม ดําเนินการส่งเสริม คุ้มครอง ป้องกัน บรรเทา เยียวยา และแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเป็นผลจากการทําธุรกิจ ส่งเสริมการดําเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ ในการนี้ รัฐบาลมอบหมายให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบในการขับเคลื่อนร่วมกับส่วนราชการต่าง ๆ โดยมีผลการดําเนินงานในช่วงครึ่งแรกของแผนฯ ประเด็นหลัก ๆใน 4 ด้าน ดังนี้
ด้านแรงงาน: 1) การกําหนดมาตรการลดหย่อนภาษีให้ภาคธุรกิจที่จ้างงานผู้พ้นโทษ 2) การบริหารจัดการแรงงานในช่วงสถานการณ์ COVID-19 3) การประกาศนโยบายและเจตนารมณ์ ส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ และการขจัดการเลือกปฏิบัติในที่ทํางาน
ด้านชุมชน ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม: 1) การกําหนดให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เปิดเผยข้อมูลการดําเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนในรูปแบบ OneReport 2) การจัดตั้งศูนย์ ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทในระดับพื้นที่ทั่วประเทศ 3) กําหนดให้สินค้าและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สินค้าจากวิสาหกิจเพื่อสังคม ได้รับการส่งเสริมในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
ด้านนักปกป้องสิทธิมนษุยชน: 1) การยกร่างกฎหมายป้องกันการฟ้องปิดปาก ในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบ 2) การเสนอแก้ไข พ.ร.บ. คุ้มครองพยาน ในคดีอาญา เพื่อขยายขอบเขตบคุคลที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ฯ 3) การศึกษามาตรการที่เป็นรูปธรรมในการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
ด้านการลงทุนระหว่างประเทศและบรรษัทข้ามชาติ: 1) การเพิ่มเงื่อนไขในการตรวจประเมินสิทธิมนุษยชน ก่อนการให้เงินกู้สําหรับดําเนินโครงการในประเทศเพื่อนบ้าน 2) การลงนามและดําเนินการตาม MOU ของธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์ยึดถือหลักการเงินที่มีความรับผิดชอบ (Responsible Financing) และส่งเสริมหลักการ สิ่งแวดล้อม-สังคม-ธรรมาภิบาล 4) การจัดทํารูปแบบสัญญามาตรฐานที่เพิ่มประเด็นสิทธิมนุษยชนเป็นหนึ่งในประเด็นที่จะต้องพิจารณาเมื่อมีการเจรจาการค้าหรือการลงทุน
นางสาวรัชดา กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ติดตามการดําเนินงานให้เป็นตามเป้าหมายของแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 ซึ่งเป็นความตั้งใจของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมการดําเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน เสริมสร้างการทํางานภาคีเครือข่ายร่วมกัน ยกระดับให้ประเทศไทยมีหลักประกันด้านสิทธิมนุษยชนที่ทัดเทียมกับสากล ท้ายที่สุดส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มั่นคง ปลอดภัย อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และท่านนายกฯ ยังได้ขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมกันขับเคลื่อนการทํางานให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม รัฐวิสาหกิจและภาคธุรกิจให้ความร่วมมืออย่างเต็มใจ มีการดําเนินการ อาทิ ออกคําแถลงนโยบายด้านการเคารพสิทธิมนุษยชนขององค์กร กําหนดแนวปฏิบัติของในการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน ปลูกฝังความรับผิดชอบและสร้างความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชนในองค์กร ทั้งนี้รัฐบาลจะเร่งขยายผลต่อยอดการปฎิบัติตามแผนฯ ในภาคธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมต่อไป | 2022-01-06 | 1,663.589966 | 1,653.030029 | 1,666.219971 | 1,653.030029 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“อนุทิน” เปิดใช้เครื่องฉายรังสีประสิทธิภาพสูงแห่งแรกจากงบประมาณรัฐบาลให้ 7 โรงพยาบาล | “อนุทิน” เปิดใช้เครื่องฉายรังสีประสิทธิภาพสูงแห่งแรกจากงบประมาณรัฐบาลให้ 7 โรงพยาบาล
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดการใช้เครื่องฉายรังสี LINACสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ให้บริการได้ 40 – 50 รายต่อวัน เป็นแห่งแรกใน 7 โรงพยาบาลที่ได้รับอนุมัติงบประมาณจากรัฐบาลตามโครงการลดผลกระทบโควิด 19 วงเงิน 878.20 ล้านบาท
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดการใช้เครื่องฉายรังสี LINACสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ให้บริการได้ 40 – 50 รายต่อวัน เป็นแห่งแรกใน 7 โรงพยาบาลที่ได้รับอนุมัติงบประมาณจากรัฐบาลตามโครงการลดผลกระทบโควิด 19 วงเงิน 878.20 ล้านบาท มีแขนกลฉายรังสีได้หลายทิศทาง เคลื่อนที่ได้เกือบรอบตัวผู้ป่วย ความแม่นยําสูง ลดระยะเวลารักษา ลดความเสี่ยงการแพร่กระจายเชื้อ
วันนี้ (13 กันยายน 2564) ที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กทม. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานพิธีเปิดการใช้เครื่องฉายรังสีสําหรับแก้ปัญหาผลกระทบจากโควิด 19 โดยมีนายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ และนายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อํานวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เข้าร่วม
นายอนุทินกล่าวว่า คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้จัดซื้อเครื่องฉายรังสี LINAC วงเงิน 878.20 ล้านบาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอโครงการจัดหาครุภัณฑ์เครื่องฉายรังสีสําหรับแก้ปัญหาผลกระทบจากโควิด 19 ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ให้แก่โรงพยาบาล 7 แห่ง ได้แก่ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ โรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก โรงพยาบาลสมุทรสาคร โรงพยาบาลร้อยเอ็ด โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลสุรินทร์ และโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ทําให้ผู้ป่วยมะเร็งเข้าถึงการฉายรังสีได้สะดวกมากขึ้นและสนับสนุนโครงการมะเร็งรักษาได้ทุกที่ (Cancer Any Where) โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติได้ดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างและติดตั้งแล้วเสร็จสามารถเปิดให้บริการรักษาผู้ป่วยมะเร็งด้วยเครื่องฉายรังสี LINAC เป็นหน่วยงานแรกใน 7 โรงพยาบาล ให้บริการได้ 40–50 รายต่อวัน
“การรักษาด้วยเครื่องฉายรังสีที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นสิ่งสําคัญที่จะสามารถเพิ่มศักยภาพการรักษาโรคมะเร็ง ลดระยะเวลาการฉายรังสีในผู้ป่วยแต่ละราย นอกจากนี้ สถาบันมะเร็งแห่งชาติยังมีระบบวางแผนรังสีรักษาทางไกลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีรักษา ทําให้ไม่มีข้อจํากัดของระยะทาง ถือเป็น New Normal การแพทย์วิถีใหม่ ทําให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งได้รับการฉายรังสีได้อย่างรวดเร็ว การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น” นายอนุทินกล่าว
ด้านนายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เครื่องเร่งอนุภาคพลังงานสูงชนิดแปรความเชิงปริมาตร (Linear Accelerator Volumetric Modulated Arc Therapy) หรือ LINAC เป็นเครื่องฉายรังสีที่มีแขนกลฉายรังสีได้หลายทิศทาง เคลื่อนที่ได้เกือบรอบตัวผู้ป่วย มีการเพิ่มระบบอุปกรณ์ในการกําบังรังสีและกําหนดรูปร่างเพื่อปรับความเข้มของลํารังสี ทําให้สร้างรูปร่างของลํารังสีในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างอิสระ และมีการเพิ่มระบบติดตามเป้าหมายที่มีการเคลื่อนที่ตามการหายใจ เช่น ก้อนในปอด ก้อนในตับได้อย่างแม่นยํา ให้ความเข้มของรังสีได้สูง รวดเร็ว มีการกระจายของรังสีไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียงน้อย ถือเป็นการรักษาที่มีความซับซ้อนและมีความละเอียดสูง
************************************ 13 กันยายน 2564 | 2021-09-13 | 1,634.430054 | 1,633.76001 | 1,642.630005 | 1,627.290039 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“เฉลิมชัย” ประธานฟรุ้ทบอร์ดปฏิรูปกลไกบริหารจัดการผลไม้ครั้งใหญ่ | “เฉลิมชัย” ประธานฟรุ้ทบอร์ดปฏิรูปกลไกบริหารจัดการผลไม้ครั้งใหญ่
วาง 3 กระทรวง “เกษตร-อุตสาหกรรม-พาณิชย์” รับผิดชอบการผลิตการแปรรูปการตลาด พร้อมเห็นชอบแผนและงบประมาณปี 2565 และตั้งทีมขับเคลื่อนศูนย์บริหารจัดการมหานครผลไม้และสนามบินจันทบุรีมอบ “อลงกรณ์” เป็นประธาน
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (ฟรุ้ทบอร์ด) ครั้งที่ 1/2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) Application ZOOM Cloud Meetings เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 64 ที่ผ่านมา พร้อมด้วย นายนราพัฒน์ แก้วทอง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอําพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประยูร อินสกุล รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.สมบัติ ตงเต๊า รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายอนันต์ แก้วกําเนิด รองผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนผู้ประกอบการ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนเกษตรกรชาวสวนผลไม้ และนายขจร เราประเสริฐ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ ร่วมกันหารือประชุมขับเคลื่อน โดยมีประเด็นผลการดําเนินงานการบริหารจัดการผลไม้ในรอบฤดูกาลผลิตที่ 2/2564 ทั่วประเทศ ผลการจัดประชุมกลุ่มย่อย Focus group เพื่อวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคการบริหารจัดการผลไม้ทั้งระบบ คําสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทํางาน ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ มาตรการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2565 โดย กระทรวงพาณิชย์ และร่วมกันพิจารณาโครงการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2565 ที่เสนอโดยสํานักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ตามยุทธศาสตร์ “ตลาดนําการผลิต” และนโยบาย “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” ต่อไป
สําหรับ การบริหารจัดการผลไม้ปี 2564 ของภาคเหนือ (ลําไย) และภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ในภาพรวมสอดคล้องกับแนวทางบริหารจัดการผลไม้ปี 2564 - 2566 โดยจังหวัดสามารถบริหารจัดการผลไม้แบบเบ็ดเสร็จด้วยตัวเอง โดยผ่านกลไกของคณะกรรมการเพื่อแก้ปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) ในเชิงคุณภาพสอดคล้องตามยุทธศาสตร์พัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ.2558 - 2564 และในเชิงปริมาณที่เน้นการจัดสมดุลอุปสงค์และอุปทาน โดยผลไม้ภาคเหนือ (ลําไย) ปริมาณ 671,308 ตัน และผลไม้ภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ปริมาณ 785,459 ตัน มีการกระจายผลผลิตผ่านกลไกตลาดปกติ โดย คพจ. และเกษตรกรสามารถจําหน่ายผลผลิตในราคาไม่ต่ํากว่าราคาต้นทุนการผลิต และราคาเฉลี่ยของผลผลิตตลอดฤดูกาลสูงกว่าราคาต้นทุนการผลิตไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ในช่วงกลางปีที่ผ่านมา ได้กระทบต่อแผนการบริหารจัดการผลไม้ทําให้ทั้งการส่งออก การแปรรูป และการกระจายในประเทศ ส่งผลให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนนั้น ได้มีการจัด Focus group วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคการบริหารจัดการผลไม้ โดยร่วมกันระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคเกษตรกร ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเชิงตั้งข้อสังเกตถึง “ปัญหาและอุปสรรค” (Pain Point) ใน ประเด็นโครงสร้าง ระบบ และการบริหารจัดการ Fruit Board ประเด็นกลไกการทํางานในภาวะวิกฤต ประเด็นแผนงาน โครงการ และงบประมาณ รวมไปถึงแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มและแบรนดิ้ง (Branding) ผลไม้ การพัฒนากลไกการค้าผลไม้และการตลาดเชิงรุกทั้งในและต่างประเทศ การบริหารจัดการล้ง การบริหารจัดการระดับ Area based ผลไม้ภาคตะวันออก-ใต้-ใต้ชายแดน การบริหารจัดการระดับ Area based ผลไม้ภาคเหนือ การจัดการปัญหาและอุปสรรคการบริหารจัดการผลไม้รายสินค้า (ทุเรียน, ลําไย, มังคุด, เงาะ, ลองกอง และมะม่วง) โดยข้อมูลดังกล่าวได้ให้สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร รับทราบและพิจารณาใช้ประโยชน์ และนํามาวางแผนเพื่อรับมือวิกฤติการณ์ในรูปแบบต่างๆ ในอนาคต
ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ รับทราบคําสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานฟรุ้ทบอร์ดในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทํางาน ครอบคลุมทั้งระบบ ประกอบด้วย 1. คณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้
1) คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการผลิต 2) คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า 3) คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการตลาด 4) คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการผลไม้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5) คณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารการผลไม้ภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคอื่นๆ 2. คณะทํางานภายใต้คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้
1) คณะทํางานพัฒนาระบบข้อมูลและโลจิสติกส์ 2) คณะทํางานศึกษาเสถียรภาพกลุ่มสินค้าลําไย 3) คณะทํางานศึกษาเสถียรภาพกลุ่มสินค้าทุเรียน 4) คณะทํางานแก้ไขปัญหาผลไม้ล่วงหน้าทั้งระบบ ในด้านการรองรับและแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นประกอบกับภาพรวมผลไม้ไทยจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 3,500,000 ตัน เพิ่มขึ้นประมาณ 8% โดยกระทรวงพาณิชย์ ได้กําหนด 17 มาตรการรองรับผลไม้ ปี 2565 ล่วงหน้า 6 เดือน ประกอบด้วย 1.มาตรการเร่งรัดตรวจและรับรอง GAP ซึ่งมีเป้าหมายในปี 2565 ไม่ต่ํากว่า 120,000 แปลง 2.มาตรการช่วยผู้ประกอบการหรือเกษตรกรหรือล้งกระจายผลผลิตผลไม้ออกนอกแหล่งผลิต กิโลกรัมละ 3 บาท ปริมาณ 80,000 ตัน 3.มาตรการเสริมสภาพคล่องให้ผู้ส่งออกโดยจะช่วยเหลือดอกเบี้ยร้อยละ 3 และช่วยผู้ส่งออกที่ส่งออกผลไม้อีกกิโลกรัมละ 5 บาท ปริมาณ 60,000 ตัน
4. กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตร สนับสนุนให้มีการใช้พระราชบัญญัติเกษตรพันธสัญญา การทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้านผลไม้ โดยจะสนับสนุนให้มีการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อเกษตรกรได้ทราบว่าขายผลไม้ได้เท่าไหร่ มีคนซื้อที่มีหลักประกัน เซ็นสัญญาตามกฎหมายชัดเจนไม่ต่ํากว่า 30,000 ตัน 5. มาตรการส่งเสริมการบริโภคผลไม้ในประเทศ ประสานงานกับสายการบินต่างๆ เปิดโอกาสให้โหลดผลไม้ขึ้นเครื่องบินในประเทศไทยฟรี 25 กิโลกรัม ตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2565 เป็นต้นไป
6. มาตรการช่วยสนับสนุนกล่อง พร้อมค่าจัดส่งผลไม้ที่ขายตรงจากเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ไปยังผู้บริโภคโดยตรงโดยสนับสนุนกล่องมากขึ้นกว่าปี 2564 ที่สนับสนุน 200,000 กล่อง ปี 2565 จะสนับสนุนถึง 300,000 กล่อง 7. ในช่วงที่ผลไม้ออกเยอะ กระทรวงพาณิชย์จะสนับสนุนให้มีรถเร่ รถโมบาย ไปรับซื้อผลไม้และนําออกจําหน่ายสู่ผู้บริโภคโดยตรง โดยปี 2557 จะสนับสนุนที่ 15,000 ตัน 8. ประสานงานกับห้างท้องถิ่นและปั๊มน้ํามันต่างๆ เปิดพื้นที่ระบายผลไม้ให้กับเกษตรกรโดยเพิ่มปริมาณจากปี 2564 ที่ช่วย 1,500 ตัน ปี 2565 จะเพิ่มเป็น 5,000 ตัน 9. จะทําเซลล์โปรโมชั่นในการส่งเสริมการขายผลไม้ในต่างประเทศซึ่งใช้ชื่อโครงการ Thai Fruits Golden Months ดําเนินการในตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ 12 เมือง เช่นเดียวกับปี 2564 ซึ่งเป็นมาตรการที่ได้ผลดีมาก 10. จะจัดการเจรจาจับคู่ซื้อขายผลไม้ทางธุรกิจในระบบออนไลน์หรือที่เรียกว่า OBM มุ่งเน้นตลาดใหม่ เช่น อินเดียและรัสเซียเป็นต้น 11. จะส่งเสริมการขายผลไม้ในต่างประเทศในรูปแบบ THAIFEX – Anuga Asia จัดงานส่งเสริมการบริโภคผลไม้ระดับนานาชาติ ช่วงเดือนพฤษภาคม 65 ที่ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี 12. เร่งจัดทําสื่อประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทยไปในประเทศต่างๆ ทั่วโลกเป็น 5 ภาษา เพื่อประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทย 13. จะจัดให้มีการอบรมให้ความรู้เกษตรกรกลุ่มเกษตรกรในเรื่องของการค้าออนไลน์เพื่อขายตรงให้กับผู้บริโภคและจะเพิ่มเติมหลักสูตรการส่งออกเบื้องต้นให้ด้วย ตั้งเป้าอบรมเกษตรกรให้ได้อย่างน้อย 1,000 ราย 14. มาตรการขอความร่วมมือจากผู้ว่าราชการจังหวัดที่เกี่ยวข้องในการเคลื่อนย้ายแรงงาน เพื่อให้สามารถดําเนินการเก็บผลไม้และส่งเสริมการขายผลไม้ได้ต่อไป 15. ในบางช่วงที่ขาดแคลนแรงงาน ให้ กอ.รมน.ส่งกําลังพลเข้ามาช่วยเก็บเกี่ยวและขนย้ายผลไม้ 16.กระทรวงพาณิชย์จะสั่งการให้ทีมเซลล์แมนจังหวัดและทีมเซลล์แมนประเทศประสานงานกันช่วยระบายผลไม้ของเกษตรกรทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศต่อไป ให้มีความเข้มข้นขึ้น และ 17. กระทรวงพาณิชย์และจังหวัดจะบังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัด เพื่อให้เกษตรกรสามารถขายผลไม้ที่มีคุณภาพ และได้ราคาดีไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้าและกฎหมายชั่งตวงวัดโดยเคร่งครัดต่อไป
พร้อมกันนี้ คณะกรรมการฯ พิจารณาเห็นชอบ โครงการบริหารจัดการผลไม้ 2565 เสนอโดยสํานักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ประกอบด้วย งบประมาณ เงินจ่ายขาด จํานวนเงิน 113.13726 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงิน 109.842 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนค่าบริหารจัดการกระจายผลไม้ออกนอกแหล่งผลิต และวงเงิน 3.29526 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินการและติดตามกํากับดูแลของ หน่วยงาน
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า คณะกรรมการ fruit Board ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ และ คณะทํางานที่เกี่ยวข้องซึ่งได้จัดตั้งตามโครงสร้างใหม่นําเสนอแผนงานโครงการและงบประมาณเพื่อ ขับเคลื่อนการบริหารจัดการผลไม้ในการประชุมคราวหน้า นอกจากนี้ Fruit Board ยังมีมติจัดตั้งคณะทํางานศึกษาโครงการศูนย์บริหารจัดการมหานครผลไม้และสนามบินจังหวัดจันทบุรี โดยให้นําเสนอผลการพิจารณาในการประชุมฟรุ้ทบอร์ดครั้งต่อไปในเดือนธันวาคม | 2021-10-15 | 1,646.349976 | 1,638.339966 | 1,651.410034 | 1,635.140015 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-Thailand-Chile to increase mutual trade value through FTA | Thailand-Chile to increase mutual trade value through FTA
Thailand-Chile to increase mutual trade value through FTA
June 14, 2021, at 1500hrs, at the Ivory Room, Thai Khu Fah Building, Government House, H.E. Mr. Christian Rehren Bargetto, Ambassador of the Republic of Chile to Thailand, paid a courtesy call on Prime Minister and Defense Minister Gen. Prayut Chan-o-cha on occasion of his completion of tenure in Thailand. Government Spokesperson Anucha Burapachaisri disclosed gist of the meeting as follows:
The Prime Minister thanked the Ambassador for his active role in deepening relations between Thailand and Chile. As the year 2022 will mark the 60thanniversary of diplomatic relations between the two countries, Thailand hopes to further strengthen relations and cooperation with Chile. He also conveyed his regards to President Sebastián Piñera, and congratulated Chile’s successful chairmanship of the Pacific Alliance (PA), which has contributed to the region’s effective economic rehabilitation through the development of digital economy and free trade promotion.
The Ambassador expressed pleasure to have been tenured in Thailand. Throughout the 3-year tenure, he has been well cooperated by the Thai Government and other sectors in the country for the best interest of both Thailand and Chile. He also commended Thailand’s approach and response to the COVID-19 situation, especially the Phuket Sandbox scheme, which could be a model for the reopening of the country to foreign tourists in an efficient manner. The Chilean Ambassador affirmed his intention to continue promoting Thailand-Chile cooperation, especially post COVID-19 economic cooperation even after his tenure completion.
Both parties came to terms to promote cooperation through existing bilateral mechanism, i.e., FTA, which would be an opportunity to increase mutual trade value and product diversification. The Prime Minister mentioned the Thai Government’s policy on sustainable economic rehabilitation through investment promotion in the Eastern Economic Corridor (EEC), and in environmental-friendly areas and alternative energy under the BCG principle. He also endorsed the cooperation between Thailand’s National Innovation Agency and Chilean Production Development Agency (CORFO) on startup promotion. The Chilean Ambassador would also like to promote the cooperation on fishery and quinoa cultivation to help increase Thai farmers’ revenue.
With regard to the cooperation under ASEAN framework, Thailand endorses Chile’s policy to deepen relations with ASEAN through the Pacific Alliance (PA) and Forum for East Asia (FEALAC) in a bid to link the Asian region with Latin American counterpart. | 2021-06-15 | 1,634.449951 | 1,622.310059 | 1,636.099976 | 1,618.599976 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม จัดพิธีมอบเกียรติบัตรองค์กรคุณธรรมและมอบเกียรติบัตรพร้อมโล่รางวัล | กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม จัดพิธีมอบเกียรติบัตรองค์กรคุณธรรมและมอบเกียรติบัตรพร้อมโล่รางวัล
“คนต้นแบบคมนาคม” ประจําปี 2564
วันที่ 28 ธันวาคม 2564 นายสมชาย สุมนัสขจรกุล รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ด้านวิชาการ เป็นประธานมอบเกียรติบัตรองค์กรคุณธรรมและพิธีมอบเกียรติบัตรพร้อมโล่รางวัล “คนต้นแบบคมนาคม” ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เกียรติบัตรและโล่รางวัล “คนต้นแบบคมนาคม ประจําปี 2564” เป็นรางวัลที่ได้รับการยกย่องสําหรับผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใสและมีคุณธรรม มีความพากเพียรมุ่งมั่นทุ่มเทจนเกิดผลเป็นที่ประจักษ์ ให้บุคลากรท่านอื่นๆยึดมั่นถือเป็นต้นแบบ โดยในปีนี้กรมเจ้าท่า ได้มอบเกียรติบัตรพร้อมโล่รางวัล “คนต้นแบบคมนาคม ประจําปี 2564” จํานวน 1 รางวัล ให้แก่ นางสิริธิติ อิ่มพ่วง ตําแหน่งเจ้าพนักงานขนส่งปฏิบัติงาน สังกัดสํานักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 6 สาขาจันทบุรี รางวัลองค์กรส่งเสริมคุณธรรม จํานวน 3 รางวัล และรางวัลองค์กรคุณธรรม จํานวน 13 หน่วยงาน ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวม 17 รางวัล
ทั้งนี้ พิธีมอบเกียรติบัตรและโล่รางวัลฯ จัดขึ้นเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติและประกาศเกียรติคุณ "คนต้นแบบคมนาคม" และองค์กรคุณธรรม เป็นการสร้างขวัญกําลังใจให้ผู้รับมีความภาคภูมิใจ เชื่อมั่นในการทําความดี เป็นบุคคลต้นแบบสร้างแรงบันดาลใจให้แก่บุคลากรในหน่วยงานได้ยึดมั่น เป็นแบบอย่างในการประกอบคุณงามความดี คิด พูด ปฏิบัติบนความถูกต้องตามหลักคุณธรรมและจริยธรรมต่อไป | 2021-12-28 | 1,640.969971 | 1,641.52002 | 1,650.280029 | 1,640.609985 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออมสินร่วมงาน Thailand Smart Money กรุงเทพฯ 2021 ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 10-12 ธันวาคม 2564 | ออมสินร่วมงาน Thailand Smart Money กรุงเทพฯ 2021 ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 10-12 ธันวาคม 2564
ออมสิน คัดสุดยอดโปรโมชันร่วม Thailand Smart Money กรุงเทพฯ 2021 เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษดอกเบี้ยสูงสุด 10.80% ต่อปี เทียบเท่าฝากประจํา 3.00% ต่อปี ดอกเบี้ยบ้านปีแรก 0.250% สินเชื่อ SMEs ดอกเบี้ยต่ําสุด 2 ปีแรก 2.99%
นายวิทัย รัตนากร ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารได้จัดโปรโมชันน่าสนใจเข้าร่วมงาน Thailand Smart Money กรุงเทพฯ 2021 ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 10-12 ธันวาคม 2564 อีกหนึ่งงานสําคัญที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยเหลือให้พี่น้องประชาชนได้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบได้อย่างทั่วถึงด้วยหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่ผ่านปรน รวมถึงโปรโมชันเงินฝากที่มีอัตราดอกเบี้ยจูงใจ ได้แก่ เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ 108 ดอกเบี้ยแบบ Step up สูงสุด 10.80% ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยเท่ากับ 2.55% ต่อปี เทียบเท่าเงินฝากประจํา 3.00% ต่อปี และ สลากออมสินพิเศษ 2 ปี (แบบมีใบสลาก) ได้ร่วมลุ้นเงินรางวัลพิเศษ 1 ล้านบาท จํานวน 10 รางวัล ซึ่งจะออกรางวัลในวันที่ 30 ธ.ค.64 ไม่นับรวมการออกรางวัลปกติรวม 24 ครั้ง มีรางวัลที่ 1 จํานวนเงิน 5,000,000 บาท โดยดอกเบี้ยและเงินรางวัลจะได้รับการยกเว้นภาษี
ส่วนโปรโมชันไฮไลท์ในด้านสินเชื่อประกอบด้วย สินเชื่อเคหะดอกเบี้ยพิเศษ ปีแรก 0.250% ต่อปี เฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.250% ต่อปี ทั้งการซื้อ/ปลูกสร้าง/ต่อเติมซ่อมแซม/รีไฟแนนซ์ โดยยกเว้นค่าจัดทํานิติกรรมสัญญาและค่าบริการสินเชื่อ สินเชื่อ GSB Smooth BIZ เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนหรือลงทุนในธุรกิจ อัตราดอกเบี้ยต่ําสุด 2 ปีแรก 2.99% ต่อปี ระยะเวลาผ่อนชําระนานสูงสุด 10 ปี วงเงินกู้สูงสุดถึง 20 ล้านบาท สินเชื่อ SMEs มีที่ มีเงิน สําหรับธุรกิจ Small SMEs เป็นเงินทุนหมุนเวียนกิจการ หรือนําไปไถ่ถอนสัญญาขายฝาก ใช้ที่ดินเป็นหลักประกัน วงเงินกู้สูงสุดร้อยละ 70 ของราคาประเมินราชการ วงเงินกู้ 300,000 บาท ถึง 50 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.99% ตลอดสัญญา พร้อมด้วยสินเชื่อเพื่อเป็นทุนประกอบอาชีพ โดยเฉพาะสําหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ได้แก่ สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน สินเชื่อ SMEs สําหรับภาคการท่องเที่ยว และ สินเชื่อจํานําทะเบียนรถยนต์/รถจักรยานยนต์ ที่นําเงินไปใช้จ่ายหมุนเวียนหรือเสริมสภาพคล่องในยามฉุกเฉิน
ธนาคารจึงขอเชิญชวนลูกค้าและประชาชนผู้สนใจ เยี่ยมชมงาน Thailand Smart Money กรุงเทพฯ ที่ CentralwOrld LIVE HALL ชั้น 8 และใช้บริการทางการเงินต่าง ๆ ที่บูธธนาคารออมสิน ด้วยโปรโมชันน่าสนใจส่งท้ายปี 2564 โดยทุกธุรกรรมและกิจกรรมต่าง ๆ มีของที่ระลึกและรางวัลพิเศษสุดเฉพาะลูกค้าในงานเท่านั้น
https://www.gsb.or.th/news/gsbpr68-2/ | 2021-12-09 | 1,621.630005 | 1,618.22998 | 1,623.819946 | 1,612.569946 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธ.ออมสิน แจ้งปิดปรับปรุงระบบการให้บริการลูกค้าชั่วคราว วันที่ 19 มิถุนายน 2564 เวลา 00.30 – 08.30 น. | ธ.ออมสิน แจ้งปิดปรับปรุงระบบการให้บริการลูกค้าชั่วคราว วันที่ 19 มิถุนายน 2564 เวลา 00.30 – 08.30 น.
ธนาคารออมสินจะปิดปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่ายข้อมูลการให้บริการลูกค้า เป็นการชั่วคราว ในวันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน 2564 ตั้งแต่เวลา 00.30 - 08.30 น. เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่ายข้อมูลการให้บริการลูกค้า
รายงานข่าวจากธนาคารออมสิน แจ้งว่า ธนาคารฯ จะปิดปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่ายข้อมูลการให้บริการลูกค้า เป็นการชั่วคราว ในวันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน 2564 ตั้งแต่เวลา 00.30 - 08.30 น. เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่ายข้อมูลการให้บริการลูกค้า ให้สามารถรองรับการขยายตัวของปริมาณธุรกรรมทางการเงินที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตให้ดียิ่งขึ้น โดยการปิดระบบในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อผู้ใช้บริการให้มากที่สุด ซึ่งจะทําให้ไม่สามารถทําธุรกรรมทางการเงิน และใช้บริการ ฝาก ถอน โอน จ่ายได้ ทั้งในและต่างประเทศทุกช่องทาง อาทิ MyMo, พร้อมเพย์, บัตรเดบิต, บัตรเอทีเอ็ม, Internet Banking, Corporate Internet Banking, เครื่อง ATM, ADM, VTM, Passbook Update รวมถึงตู้เติมเงิน และเคาน์เตอร์เซอร์วิส
ธนาคารออมสิน ต้องขออภัยลูกค้าในความไม่สะดวก มา ณ โอกาสนี้ อย่างไรก็ตาม ธนาคารจะเร่งดําเนินการดังกล่าวให้เสร็จสิ้น เพื่อให้สามารถกลับมาใช้บริการได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด หากมีข้อสงสัยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ GSB Contact Center โทร. 1115 และที่ facebook : GSB Society | 2021-06-16 | 1,622.780029 | 1,624.790039 | 1,631.22998 | 1,619.22998 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ พอใจกรุงเทพฯ เป็นขึ้นแท่นอันดับ 1 ในเอเชียแปซิฟิก ดึงงานประชุมนานาชาติเข้าสู่ประเทศได้สูงสุด | นายกฯ พอใจกรุงเทพฯ เป็นขึ้นแท่นอันดับ 1 ในเอเชียแปซิฟิก ดึงงานประชุมนานาชาติเข้าสู่ประเทศได้สูงสุด
นายกฯ พอใจกรุงเทพฯ เป็นขึ้นแท่นอันดับ 1 ในเอเชียแปซิฟิก ดึงงานประชุมนานาชาติเข้าสู่ประเทศได้สูงสุด จากรายงานวิจัยประจําปี “Leveraging Intellectual Capital” โดย GainingEdge สสปน. คาดไทยเป็นเจ้าภาพเอเปค ปีนี้ ช่วยผลักดันนักเดินทาง MICE
นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่กรุงเทพฯ เป็นอันดับ 1 ในเอเชียแปซิฟิก ที่สามารถดึงงานประชุมนานาชาติเข้าสู่ประเทศได้สูงสุดจากผลรายงานวิจัยประจําปี “Leveraging Intellectual Capital” ซึ่งเป็นการวัดอันดับการใช้ประโยชน์จากทุนทางปัญญาของแต่ละประเทศ จัดทําโดยบริษัทที่ปรึกษาระหว่างประเทศด้านการจัดประชุม GainingEdge เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา พบว่า กรุงเทพมหานคร สามารถดึงงานประชุมมาจัดในประเทศได้มากถึง 123 งาน ทั้งที่มีบุคลากรเข้าเป็นกรรมการบริหารสมาคมระหว่างประเทศ 194 สมาคม โดยคิดเป็นอัตราการใช้ประโยชน์ (Harnessing Ratio) ถึง 63.4 % ทําให้กรุงเทพเป็นอันดับ 1 ของเอเชียแปซิฟิก และเป็นอันดับ 6 ของโลก จากการคํานวณอัตราการใช้ประโยชน์ การจัดอันดับดังกล่าว เป็นการจัดอันดับเมืองจุดหมายปลายทาง MICE (Meetings, Incentives, Conferences and Exhibitions) ทั่วโลกที่ใช้ประโยชน์จากบุคลากรที่เป็นต้นทุนทางปัญญาเพื่อดึงงานประชุมนานาชาติมาจัดในเมืองได้สูงสุด โดยพิจารณาจากจํานวนผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพที่ได้เข้าไปดํารงตําแหน่งในคณะกรรมการบริหารของสมาคมวิชาชีพระหว่างประเทศ
โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรียังเปิดเผยว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2565 นี้ ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ระดับผู้นํา รวมถึงการประชุมที่เกี่ยวข้องตลอดทั้งปี เป็นสัญญาณและโอกาสที่ดีที่จะดึงการจัดงานต่าง ๆ เข้ามาในประเทศไปจนถึงปีหน้า ซึ่งสํานักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (สสปน. หรือ TCEB) ยังระบุว่า หากสามารถผลักดันการจัดประชุมให้เกิดขึ้นได้ตามแผน ปีนี้จะมีจํานวนนักเดินทาง MICE ไมซ์รวมมากกว่า 6 ล้านคน สร้างรายได้รวมกว่า 28,400 ล้านบาท ต่อเนื่องถึงในปี 2566
“นายกรัฐมนตรี พร้อมสนับสนุนภาคบริการในห่วงโซ่อุตสาหกรรมไมซ์ ในการพัฒนาความรู้ ฝีมือ ทักษะแก่บุคลากร เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม MICE ไทยในหลาย ๆ ด้าน ทั้งนี้ เชื่อมั่นศักยภาพไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันธุรกิจ MICE อยู่ในลําดับต้นๆ ของภูมิภาค ซึ่งจะช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ ขยายผลต่อยอดในการพัฒนาประเทศ” นายธนกร กล่าว | 2022-08-11 | 1,624.75 | 1,622.26001 | 1,626.280029 | 1,612.609985 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.สุชาติ ขานรับนโยบายนายกฯ สั่ง กสร.สร้างความเข้าใจสิทธิ หน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้าง กรณีโควิด-19 | รมว.สุชาติ ขานรับนโยบายนายกฯ สั่ง กสร.สร้างความเข้าใจสิทธิ หน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้าง กรณีโควิด-19
กระทรวงแรงงานขานรับนโยบายนายกรัฐมนตรี ดูแลลูกจ้างในสถานประกอบกิจการภายใต้สถานการณ์ การแพร่ระบาดของโควิด-19 สั่งการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเร่งสร้างความเข้าใจนายจ้างพร้อมดูแลให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย
นาย สุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกล่าวว่ารัฐบาลภายใต้การนําของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีซึ่งกํากับดูแลกระทรวงแรงงานได้มีความห่วงใยลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ โดยมีความต้องการให้ลูกจ้างมีคุณภาพชีวิตและสุขภาพอนามัยที่ดีภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กระทรวงแรงงานจึงได้สั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เข้าไปชี้แจงทําความเข้าใจกับนายจ้าง และลูกจ้างเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พร้อมทั้งขอความร่วมมือให้ดําเนินการตามแนวทางป้องกันโรคที่ทางราชการกําหนด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคที่อาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของลูกจ้าง หรือเกิดผลกระทบต่อกิจการของนายจ้าง และหากทราบว่ามีการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้ดําเนินการให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายโดยเร็ว
นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.)กล่าวเพิ่มเติมว่า กสร. ได้ดําเนินการตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานโดยกรมฯ ได้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายให้แก่นายจ้างและลูกจ้างได้รับทราบ ในกรณีหากนายจ้างสงสัยว่าลูกจ้างเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และสั่งให้ลูกจ้างกักตัว ณ ที่พักอาศัยเพื่อเฝ้าดูอาการ นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง เพราะถือว่าปฏิบัติตามคําสั่งของนายจ้าง ไม่ใช่การขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่ แต่นายจ้างสามารถตกลงกับลูกจ้างให้ใช้สิทธิการลาป่วย หรือใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจําปีได้ รวมไปถึงสามารถสั่งให้ลูกจ้างเข้ารับการตรวจจากแพทย์ ด้วยเหตุที่ลูกจ้างเสี่ยงเป็นผู้ติดเชื้อ เพราะหากไม่ดําเนินการอาจเป็นอันตรายและกระทบต่อสุขภาพอนามัยของลูกจ้างคนอื่น หรือกระทบต่อกิจการของนายจ้างได้และหากนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุลูกจ้างติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ถือว่าไม่ได้เป็นความผิดร้ายแรงที่เกิดจากการกระทําของลูกจ้าง ไม่ใช่การกระทําผิดวินัย ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด หรือโทรสายด่วน 1506 กด 3 หรือ 1546 | 2022-05-20 | 1,618.920044 | 1,622.949951 | 1,626.160034 | 1,616.459961 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาล เผย "นายกฯ" แนะชาวไทยมุสลิมที่จะเดินทางไปประกอบศาสนกิจหรือประกอบพิธีฮัจญ์ ขอให้ยึดมาตรการดูแลสุขภาพ เพื่อความปลอดภัย โดยวันนี้พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 3,955 ราย | โฆษกรัฐบาล เผย "นายกฯ" แนะชาวไทยมุสลิมที่จะเดินทางไปประกอบศาสนกิจหรือประกอบพิธีฮัจญ์ ขอให้ยึดมาตรการดูแลสุขภาพ เพื่อความปลอดภัย โดยวันนี้พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 3,955 ราย
โฆษกรัฐบาล เผย "นายกฯ" แนะชาวไทยมุสลิมที่จะเดินทางไปประกอบศาสนกิจหรือประกอบพิธีฮัจญ์ ขอให้ยึดมาตรการดูแลสุขภาพ เพื่อความปลอดภัย โดยวันนี้พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 3,955 ราย
วันนี้ (31 พ.ค. 65) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเผย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แสดงความห่วงใยชาวไทยมุสลิมที่จะเดินทางไปประกอบศาสนกิจหรือทําพิธีฮัจญ์ ณ มหานครเมกกะห์และเมืองมะดีนาห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย เนื่องจากการประกอบพิธีฮัจญ์เป็นกิจกรรมที่มีการรวมตัวของคนหมู่มาก มีโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโรคติดต่ออื่น ๆ ได้ง่าย ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขได้จัดระบบบริการสุขภาพตั้งแต่ก่อนเดินทาง ทั้งการอบรมให้ความรู้การดูแลตนเองด้านสุขภาพ ฉีดวัคซีน คัดกรองความเสี่ยงรวมไปถึงสนับสนุนยาสามัญประจําบ้าน หน้ากากอนามัย และให้บริการเชิงรุกด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในที่พักของผู้แสวงบุญ และจัดตั้งคลินิกฮัจญ์ในสถานบริการสาธารณสุข พร้อมส่งทีมแพทย์ไปให้การดูแลผู้ที่เดินทางไปเข้าร่วมพิธี มีการจัดตั้งโรงพยาบาลชั่วคราวที่มีเตียงสําหรับผู้ป่วยใน 20 เตียง เพื่อให้บริการตรวจรักษา ทําหัตถการฉุกเฉิน และส่งรักษาต่อสําหรับมาตรการภายหลังเสร็จสิ้นการแสวงบุญ ได้จัดบริการคัดกรองความเสี่ยงและเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่ออย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับผู้เดินทางกลับภูมิลําเนาอย่างปลอดโรค ปลอดภัยซึ่งนายกรัฐมนตรีขอให้ประชาชนรักษามาตรการความปลอดภัย ดูแลตนเองด้านสุขภาพ ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันความเสี่ยงของโรคโควิด-19 สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันโรค รักษาระยะห่าง หมั่นนล้างบ่อย ๆลดการสัมผัสจุดเสี่ยงร่วม ตลอดจนหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ พร้อมทั้งขอให้ประชาชนทุกคนร่วมมือกันปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด
สําหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 วันนี้ พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 3,955 ราย จําแนกเป็น ผู้ติดเชื้อในประเทศ 3,954 ราย และผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 1 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 21 ราย ผู้ที่กําลังรักษาตัว 39,861 ราย และมียอดผู้ที่หายป่วยกลับบ้านแล้ว 6,607 ราย ทําให้มียอดผู้ป่วย ยืนยันสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค. 65 จํานวน 2,227,022 ราย จํานวนผู้ที่หายป่วยสะสมจํานวน 2,212,083 ราย จํานวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 880 ราย เฉลี่ยจังหวัดละ 11 ราย อัตราครองเตียง ร้อยละ 12.3 ขณะที่รายงานภาพรวมการฉีดวัคซีนโควิด-19 สรุปจํานวนผู้ที่ได้รับได้รับวัคซีนสะสม ตั้งแต่ 28 ก.พ. 64 - 29 พ.ค. 65 รวม 137,590,155 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็นผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 สะสม 56,731,873 โดส ผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 สะสม 52,627,141 โดส และผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 ขึ้นไป สะสม 28,231,141 โดส | 2022-05-31 | 1,654.27002 | 1,663.410034 | 1,663.52002 | 1,649.599976 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กทม. ใช้ศูนย์พักคอยสะพานสูง รับคนไร้บ้านที่ป่วยโควิด-19 | กทม. ใช้ศูนย์พักคอยสะพานสูง รับคนไร้บ้านที่ป่วยโควิด-19
กทม. ใช้ศูนย์พักคอยสะพานสูง รับคนไร้บ้านที่ป่วยโควิด-19
กทม. ใช้ศูนย์พักคอยเขตสะพานสูง เป็นศูนย์กลางรับ-ส่งต่อ คนไร้บ้านที่ติดโควิด-19 โดยจะส่งรักษาที่ Hospitel ของ รพ.ปิยะเวท แต่หากพบว่ามีอาการทางจิตร่วมด้วยจะส่งรักษาที่ รพ.สมเด็จเจ้าพระยา ของกรมสุขภาพจิต ส่วนคนไร้บ้านที่ไม่มีเลข 13 หลัก จะรักษาที่ศูนย์พักคอยเขตสะพานสูง ซึ่งอยู่ในความดูแลของ รพ.คลองสามวา
.
ทุกกรณี จะรักษาจนหาย และประสานกระทรวง พม. หาที่พักพิงให้ หรือส่งกลับภูมิลําเนาตามความสมัครใจ ประชาชนที่พบเห็นคนไร้บ้านที่สงสัยว่าติดโควิด-19 แจ้งได้ที่ศูนย์พักคอยเขตสะพานสูง โทร 0944505204
#ไทยคู่ฟ้า#รวมไทยสร้างชาติ#ร่วมต้านโควิด19
------------------- | 2021-10-11 | 1,644.380005 | 1,633.439941 | 1,646.5 | 1,629.949951 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สูตินรีแพทย์เผยโควิดเพิ่มความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนหญิงตั้งครรภ์ แนะฉีดวัคซีนลดติดเชื้อถึงลูก | สูตินรีแพทย์เผยโควิดเพิ่มความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนหญิงตั้งครรภ์ แนะฉีดวัคซีนลดติดเชื้อถึงลูก
ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เผยหญิงตั้งครรภ์ติดโควิดมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป 2 เท่าครึ่ง เหตุโรคโควิดทําลายหลอดเลือดที่รก และสายสะดือ ทําให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้ง่าย
ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เผยหญิงตั้งครรภ์ติดโควิดมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป 2 เท่าครึ่ง เหตุโรคโควิดทําลายหลอดเลือดที่รก และสายสะดือ ทําให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้ง่าย ห่วงท้องแก่ 8 เดือน มีน้ําคร่ําในมดลูกมากส่งผลดันจนปอดขยายตัวยากขึ้น ยิ่งเพิ่มความเสี่ยง ขณะที่ทารกติดเชื้อจากแม่มากถึง 11.8% ย้ําต้องฉีดวัคซีน ช่วยส่งผ่านภูมิคุ้มกันถึงลูกด้วย
วันนี้ (13 สิงหาคม 2564) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุขจ.นนทบุรี พลอากาศโท นายแพทย์การุณ เก่งสกุล ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย แถลงข่าว การดูแลหญิงตั้งครรภ์ในสถานการณ์โควิด 19 ว่า สถานการณ์หญิงตั้งครรภ์ติดโควิดเริ่มพบมากขึ้นหลังสงกรานต์ปี 2564 ข้อมูลล่าสุด ตั้งแต่ ธันวาคม 2563 – 11 สิงหาคม 2564 พบหญิงตั้งครรภ์ติดโควิด 1,993 ราย คลอดแล้ว 1,129 ราย (คิดเป็น 55% ) และกลุ่มนี้มีการฉีดวัคซีนเพียง 10 ราย พบทารกติดเชื้อจากแม่ 113 คน คิดเป็น 11.8% ถือว่าสูงกว่าต่างประเทศมาก ส่วนหนึ่งเพราะเทียบกับข้อมูลจากประเทศที่ฉีดวัคซีนจํานวนมากแล้ว เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น
“ที่น่าห่วงคือหญิงตั้งครรภ์ติดโควิดเสียชีวิตถึง 37 ราย คิดเป็น 1.85% เทียบกับคนทั่วไปที่ติดเชื้อเสียชีวิต 0.83% ถือว่าสูงกว่าคนทั่วไป 2 เท่าครึ่ง ทารกเสียชีวิต 36 ราย คิดเป็น 1.8% เป็นคลอดแล้วเสียชีวิตเลย 11 ราย และเสียชีวิตภายใน 7 วันหลังคลอด 9 ราย อีก 16 ราย เสียชีวิตในท้องพร้อมแม่ ดังนั้น การป้องกันที่ดีที่สุด คือการรับวัคซีน ซึ่งภูมิต้านทานจะถึงทารกด้วย ขณะนี้มีรายงานจากต่างประเทศแล้วว่าการฉีดแบบมิกซ์แอนด์แมชต์ได้ผลภูมิคุ้มกันสูง ไม่จําเป็นต้องเลือกวัคซีน แต่ควรรีบฉีดวัคซีนให้ได้ภูมิคุ้มกันขั้นแรกจากเข็มแรกก่อน และเมื่อตามด้วยเข็ม 2 ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว” พลอากาศโท นายแพทย์การุณกล่าว
พลอากาศโท นายแพทย์การุณ กล่าวอีกว่า รกและสายสะดือมีหลอดเลือดจํานวนมาก ขณะที่โรคโควิด 19เป็นโรคที่ทําให้หลอดเลือดชํารุดเสียหาย ทําให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์สูงมาก ทั้งภาวะความดันโลหิตสูงเลือดออกง่ายกว่าปกติ หลอดเลือดอุดตันที่ปอดมากกว่าปกติ รกลอกก่อนกําหนด จึงเป็นสาเหตุของการแท้งการคลอดก่อนกําหนด เด็กน้ําหนักน้อยกว่ากําหนด รวมถึงทําให้แม่เสียชีวิตได้ง่ายกว่าปกติ รวมถึงสรีระหญิงตั้งครรภ์ ช่วง 32 สัปดาห์หรือ 8 เดือน ครรภ์จะใหญ่ขึ้น น้ําคร่ําในมดลูกมีมากที่สุดประมาณ 1-1.3 ลิตรจึงดันมดลูกขึ้นไปทําให้ปอดขยายตัวลําบาก เกิดภาวะปอดแฟบตามธรรมชาติ ทําให้เกิดปัญหาหายใจล้มเหลวได้มาก
ส่วนกรณีหญิงตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ ฉีดวัคซีนโควิดแล้วลูกเสียชีวิตในท้องนั้น ธรรมชาติของการตั้งครรภ์ สามารถพบทารกเสียชีวิตในท้องได้ประมาณ 1% มีหลายสาเหตุ ทั้งการติดเชื้อ หลอดเลือด สายสะดือ รก ความดันโลหิตสูง จะระบุว่ามาจากการฉีดวัคซีนคงไม่สามารถจะสรุปได้ อย่างไรก็ตาม วัคซีนมีความปลอดภัยและจําเป็นสําหรับหญิงตั้งครรภ์ ควรฉีดเมื่ออายุครรภ์12 สัปดาห์ขึ้นไป เพราะใน 12 สัปดาห์หรือ 3 เดือนแรกเป็นช่วงที่ร่างกายเด็กกําลังสร้างอวัยวะ ทุกอย่างเช่น ระบบสมอง ประสาท กล้ามเนื้อ ระบบต่อมไร้ท่อ ต้องไม่มียาหรือวัคซีนใดๆเข้ามาแทรกซ้อน สําหรับยาฟาวิพิราเวียร์มีการระบุว่าห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ สามารถใช้ยาเรมเดซิเวียร์แบบฉีดได้ในกรณีอาการรุนแรงเช่นโควิดลงปอด
“ในช่วง 1 ปีของโควิดทําให้ทราบว่าไวรัสกระจายไปอยู่ในทุกส่วนของการตั้งครรภ์ ได้แก่ เลือดแม่ น้ําคร่ํารอบตัวเด็ก เนื้อรก หรือน้ําคัดหลั่งในช่องคลอด ไม่ว่าคลอดทางไหนมีสิทธิติดถึงลูกได้ รวมถึงผ่านน้ํานมไปได้ด้วย แต่ผ่านไปได้มากแค่ไหนกําลังมีการศึกษา ดังนั้น การให้นมบุตรยังมีความจําเป็น เพราะลูกจะได้ภูมิต้านทานจากโรคอื่นด้วย” พลอากาศโท นายแพทย์การุณกล่าว
*********************************** 13 สิงหาคม 2564 | 2021-08-13 | 1,530.680054 | 1,528.319946 | 1,541.079956 | 1,525.51001 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ ๓๐ ปีความสัมพันธ์ฯ วันจันทร์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ | ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี สําหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ ๓๐ ปีความสัมพันธ์ฯ วันจันทร์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี
สําหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ ๓๐ ปีความสัมพันธ์ฯ
ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี
สําหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ ๓๐ ปีความสัมพันธ์ฯ
* * * * *
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
ท่านประธานาธิบดี สี จิ้นผิง
และ ฯพณฯ ทั้งหลาย
ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกับผู้นําอาเซียนต้อนรับท่านประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เข้าร่วมการประชุมสุดยอดฯ สมัยพิเศษ ในวันนี้
ผมขอแสดงความยินดีต่อวาระครบรอบ ๓๐ ปีความสัมพันธ์อาเซียน-จีน และการประชุมในวันนี้
ถือว่าเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของความสัมพันธ์ฯ ในฐานะ“หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์แบบรอบด้าน”ซึ่งจะเสริมสร้างความสัมพันธ์ของเราให้แน่นแฟ้นและลึกซึ้งยิ่งขึ้น นําไปสู่การขยายความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม
ในทุกมิติ เพื่อให้เราก้าวสู่ทศวรรษใหม่ร่วมกันได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
ตลอด ๓ ทศวรรษที่ผ่านมาความสัมพันธ์อาเซียน-จีนมีความโดดเด่นเฉพาะตัว โดยเป็นเสาหลักของความร่วมมือเพื่อส่งเสริมสันติภาพที่ยั่งยืนและความไพบูลย์ร่วมกันของภูมิภาค ความสําเร็จร่วมกันของเรา
ที่มีมาอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมลงนามปฏิญญาDOC (ดีโอซี) เมื่อปี ๒๕๔๕ การที่จีนเป็นคู่เจรจาแรกที่มีสถานะเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ เมื่อปี ๒๕๔๖ และล่าสุด การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์แบบรอบด้านในปีนี้ รวมไปถึงการที่เราได้กลายเป็นคู่ค้าอันดับ ๑ ของกันและกันเมื่อปี ๒๕๖๓ อีกทั้งได้ร่วมกันต่อสู้กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ และสภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก
ล้วนเป็นพัฒนาการที่สําคัญในการต่อยอดความเป็นหุ้นส่วนระหว่างเราให้แนบแน่นยิ่งขึ้นในอนาคต
ผมขอใช้โอกาสนี้แสดงความยินดีต่อท่านประธานาธิบดีและประชาชนจีน ในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปีการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ และขอชื่นชมความสําเร็จอย่างเป็นที่ประจักษ์ในหลายมิติ ทั้งในด้านการพัฒนา และการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะการเพิ่มผลผลิตควบคู่ไปกับนโยบายการลงทุนอย่างมีเป้าหมาย เพื่อสร้างสังคมกินดีอยู่ดีอย่างรอบด้าน และการก้าวขึ้นมาเป็นมหาอํานาจของโลกที่มีความรับผิดชอบ ซึ่งล้วนเป็นผลจากความมุ่งมั่นและทุ่มเทอย่างแท้จริง เริ่มต้นจากการพลิกโฉมประเทศผ่านการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจชายฝั่งตะวันออก เหล่านี้นับเป็นแรงบันดาลใจให้แก่นานาประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกําลังพัฒนาได้
วิสัยทัศน์ที่ท่านประธานาธิบดีสีฯ ได้ประกาศไว้ในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปีการก่อตั้งพรรคฯ ซึ่งมุ่งสร้าง“ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ”แสดงถึงความมุ่งมั่นของจีนที่จะรับมือกับประเด็นท้าทายร่วมกัน
และสร้างสรรค์โลกที่น่าอยู่สําหรับเราทุกคน ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของอาเซียนในการเสริมสร้างประชาคม
ที่เข้มแข็งและความร่วมมือที่เอื้อประโยชน์ต่อทุกฝ่าย
ประเทศไทยได้กําหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและพัฒนาศักยภาพของประชาชนให้พร้อมก้าวสู่ศตวรรษที่ ๒๑ โดยท่ามกลางสถานการณ์โควิด-๑๙ และประเด็นท้าทายอื่น ๆ
ที่รายล้อม เรากําลังมุ่งสู่Next Normalด้วยการพลิกโฉมประเทศไทย ซึ่งในวันนี้ผมขอเสนอประเด็นที่เราทุกคนควรให้ความสําคัญเป็นลําดับต้น ดังนี้
ประการแรกเราควรมุ่งเน้นการพัฒนาที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความกินดีอยู่ดี ด้วยนโยบายที่มุ่งมั่นในการแก้ปัญหาช่องว่างทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนบนหลักการของความสมดุลตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ให้ประชาชนสามารถดํารงชีวิตบนพื้นฐานของความพอประมาณ
ความมีเหตุมีผล และการมีภูมิคุ้มกันในการรับมือกับความท้าทายและสถานการณ์ฉุกเฉินในอนาคต
อาเซียนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากตัวอย่างความสําเร็จของจีนในการขจัดความยากจน
และความหิวโหย การเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารผ่านนโยบาย“คลีนเพลท”การฟื้นฟูชนบทที่เน้นการกระจายความเจริญการสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ตลอดจนการทําการเกษตรอย่างยั่งยืน ตั้งแต่การผลิต การแปรรูป และการเพิ่มมูลค่าให้สินค้าเกษตร โดยอาจพิจารณาเรื่องการส่งเสริมการทําการตลาดร่วมกัน รวมทั้งแนวทางความร่วมมืออื่น ๆ ภายใต้“ข้อเสนอการพัฒนาแห่งโลก”ของจีนในกรอบสหประชาชาติ
นอกจากนี้ ไทยสนับสนุนบทบาทที่สร้างสรรค์และต่อเนื่องของจีนในเรื่องการลดช่องว่างด้านการพัฒนา ทั้งในอาเซียนและอนุภูมิภาค โดยเฉพาะกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างซึ่งไทยจะเข้ารับตําแหน่งประธานร่วมกับจีนในปี ๒๕๖๕ และACMECSซึ่งจีนเป็นหนึ่งในหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาที่สําคัญ
ประการที่สองเราควรมุ่งเน้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมจากฐานราก
ซึ่งรวมถึงการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนทุกช่วงวัย โดยการนําวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมและปลอดภัย เพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแบบก้าวกระโดดและยั่งยืน ตลอดจนยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งในแง่ของขนาดและความรวดเร็ว รวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะMSMEผู้ประกอบการสตรี และกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ เพื่อให้สามารถรับมือกับยุค4IRและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล
อาเซียนและจีนควรเพิ่มมูลค่าของความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ โดยการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่โลกกําลังก้าวสู่สังคมดิจิทัลเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีในยุคNext Normalโดยที่จีนเป็นประเทศชั้นนําของโลกที่มีความก้าวหน้า ทั้งทางด้านAI (เอไอ)Big Data
และเทคโนโลยีล้ําสมัยอื่น ๆ ซึ่งกําลังมีการพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งทุกประเทศน่าจะได้รับประโยชน์จากความเชี่ยวชาญนี้ผ่านความร่วมมือที่อยู่บนพื้นฐานของความเจริญร่วมกันอย่างสันติสุขของภูมิภาคและของโลก
ประการที่สามการพัฒนาที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่อยู่บนพื้นฐานที่จะสร้างความมั่นคงให้กับมนุษย์อย่างแท้จริง ซึ่งในเรื่องนี้ประเทศไทยให้ความสําคัญกับการพัฒนาที่สร้างความสมดุลของสรรพสิ่งและความยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งรวมถึงอาหาร พลังงาน และการทํานุบํารุงสิ่งแวดล้อม อันเป็นสิ่งจําเป็นต่อความอยู่รอดของมวลมนุษยชาติ โดยการเชื่อมโยงกันอย่างสมดุลของเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ บี ซี จี ซึ่งจะนําไปสู่ความมั่นคงของการมีชีวิตอยู่ของประชาชน ที่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียเปล่า ทั้งนี้ ไทยพร้อมจะยกระดับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเต็มที่และด้วยทุกวิถีทาง เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ.๒๐๕๐ และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี
ค.ศ.๒๐๖๕ ตามที่ผมได้ให้คํามั่นไว้ในการประชุมCOP26ที่ผ่านมา
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท และทุกท่าน
การธํารงไว้ซึ่งสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาคเป็นวัตถุประสงค์หลักของเราตั้งแต่ก่อตั้งอาเซียน ดังนั้น ไทยขอเน้นย้ําความสําคัญของการรักษาดุลยภาพเชิงยุทธศาสตร์ในสถาปัตยกรรมของภูมิภาคที่มีอาเซียนเป็นแกนกลาง รวมถึงการเสริมสร้างบรรยากาศแห่งสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมหาอํานาจ เรายินดีต่อการหารือระหว่างท่านประธานาธิบดีสี กับประธานาธิบดีไบเดน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมทั้งการที่จีนและสหรัฐฯ จับมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณเชิงบวกและหวังว่า สปิริตแห่งความร่วมมือดังกล่าวจะสามารถขยายไปสู่ความร่วมมือในด้านอื่น ๆ บนพื้นฐานของหลักการ ๓ เอ็ม ซึ่งคือMutual Trust, Mutual Respect,และMutual Benefitเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออํานวยต่อการฟื้นฟูของทุกประเทศจากความบอบช้ําที่เกิดจากโควิด-๑๙
ในประเด็นทะเลจีนใต้ ไทยให้ความสําคัญต่อการหารือเพื่อหาทางออกร่วมกันอย่างสันติ เรามุ่งมั่นที่จะสานต่อบทบาทที่สร้างสรรค์ โดยเฉพาะการผลักดันความร่วมมือที่เอื้อประโยชน์ต่อทุกฝ่าย และสนับสนุนการดําเนินการตามกลไกอาเซียน-จีนที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการปฏิบัติตามปฏิญญาDOC ซึ่งเราจะฉลองโอกาสครบรอบ ๒๐ ปี ในปี ๒๕๖๕ และการเจรจาจัดทําCOC ที่มีประสิทธิภาพ มีเนื้อหาที่ครอบคลุม และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ ให้สําเร็จโดยเร็ว
สุดท้ายนี้ ผมขอแสดงความยินดีอีกครั้งหนึ่งที่เราได้พบกันในวาระพิเศษของการครบรอบ ๓๐ ปีความสัมพันธ์อาเซียน-จีน และขอยืนยันเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ของไทยเพื่อร่วมมือในการพัฒนา
ความเป็นหุ้นส่วนของเราให้มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป
ขอบคุณครับ
* * * * * | 2021-11-22 | 1,648.140015 | 1,649.540039 | 1,653.329956 | 1,645.089966 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม. เห็นชอบ ขยายระยะเวลายกเว้นค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรม 40 บาท / ห้องพักให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม อีก 2 ปี เริ่ม 1 กรกฎาคม 2565 - 30 มิถุนายน 2567 | ครม. เห็นชอบ ขยายระยะเวลายกเว้นค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรม 40 บาท / ห้องพักให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม อีก 2 ปี เริ่ม 1 กรกฎาคม 2565 - 30 มิถุนายน 2567
ครม. เห็นชอบ ขยายระยะเวลายกเว้นค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรม 40 บาท / ห้องพักให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม อีก 2 ปี เริ่ม 1 กรกฎาคม 2565 - 30 มิถุนายน 2567
วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบหลักการร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมสําหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. โดยสาระสําคัญ ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรมปีละ 40 บาท/ห้องพัก เป็นเวลา 2 ปีตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 65 - 30 มิถุนายน 2567 จากที่กฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมสําหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2563 จะสิ้นสุดผลใช้บังคับในวันที่ 30 มิถุนายน 2565 เพื่อให้การช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมีความต่อเนื่อง
โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ปัจจุบัน จะมีมาตรการผ่อนคลายกิจการกิจกรรมหลายอย่างให้สามารถบริการได้แต่เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอาจต้องใช้ระยะเวลาไปอีกระยะหนึ่ง และแม้ว่ามาตรการในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมดังกล่าวจะทําให้ภาครัฐสูญเสียรายได้เฉลี่ยประมาณปีละ 24,893,080 บาท แต่สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมจะที่ต้องชําระค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรมคิดเป็นเงินจํานวน 47,354,200 บาท เป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ยังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 | 2022-07-05 | 1,566.51001 | 1,541.300049 | 1,569.959961 | 1,539.319946 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมการจัดหางาน แจง ไม่นิ่งนอนใจ ติดตามแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานต่างด้าว อย่างเป็นระบบมาโดยตลอด | กรมการจัดหางาน แจง ไม่นิ่งนอนใจ ติดตามแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานต่างด้าว อย่างเป็นระบบมาโดยตลอด
อธิบดีกรมการจัดหางาน ยืนยันวางแผนบริหารจัดการแรงงาน 3 สัญชาติ เพื่อแก้ปัญหาตามสถานการณ์และระยะเวลาที่เหมาะสม พร้อมขอความร่วมมือนายจ้างใช้แรงงานต่างด้าวถูกกฎหมาย
นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า รัฐบาลโดยการนําของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกํากับดูแลกระทรวงแรงงาน ขับเคลื่อนนโยบายแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนนายจ้าง/สถานประกอบการ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มาโดยตลอด ทั้งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบันที่พบการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ใหม่อย่างโอมิครอน กระทรวงแรงงานจําเป็นต้องบริหารจัดการการทํางานของแรงงานข้ามชาติอย่างรอบคอบมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการควบคุมป้องกันมิให้เกิดการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ เพราะคํานึงถึงความปลอดภัยด้านสุขภาพของประชาชนคนไทยเป็นสําคัญ
นายไพโรจน์ฯ กล่าวต่อไปว่า ตั้งแต่ปี 2563 ที่ประเทศไทยเข้าสู่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ดําเนินการปรับเปลี่ยนระเบียบ นโยบาย รวมถึงมาตรการต่างๆ เพื่อสอดรับกับสถานการณ์ โดยเสนอครม.เพื่อมีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 ให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา อยู่ในราชอาณาจักร เป็นกรณีพิเศษภายใต้สถานการณ์ โควิด - 19 ระลอกใหม่ โดยให้นายจ้างที่จ้างแรงงานข้ามชาติ ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ยื่นบัญชีรายชื่อแจ้งความต้องการจ้างคนต่างด้าวผ่านระบบออนไลน์ และยื่นคําขอรับใบอนุญาตทํางาน (บต.48) ซึ่งทําให้แรงงาน 3 สัญชาติ จํานวน 496,055 คน ได้รับโอกาสเป็นแรงงานที่สามารถอยู่ในประเทศไทยและทํางานได้อย่างถูกกฎหมาย หากเจ็บป่วยหรือได้รับเชื้อโควิดสามารถเข้าสู่กระบวนการรักษาตามสิทธิได้ ต่อมาเสนอครม.เพื่อมีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 โดยมีเป้าหมายบริหารจัดการให้แรงงานข้ามชาติที่ทํางานอยู่ในประเทศไทยตามมติครม.คราวต่างๆ (มติ 20 ส.ค. 62 , มติ 4 ส.ค. 63 , มติ 10 พ.ย. 63 , กลุ่ม MoU ที่ครบวาระการจ้างงาน และกลุ่มใบอนุญาตทํางานสิ้นสุดโดยผลของกฎหมาย) จํานวน 1,695,416 คน สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อการทํางานได้ต่อไปถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 หรือ 2 ปี นับแต่วันที่การอนุญาตเดิมสิ้นสุด รวมทั้งขยายระยะเวลาการหานายจ้างจาก 30 วัน เป็น 60 วัน เพื่อแก้ปัญหาให้นายจ้างที่ขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากสถานการณ์ด้านวัคซีนภายในประเทศขณะนั้นยังไม่เอื้ออํานวยที่จะนําแรงงานข้ามชาติเข้ามา อย่างไรก็ดีผลการดําเนินการจนถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2564 มีนายจ้าง/สถานประกอบการดําเนินการตามขั้นตอนจนแรงงานต่างด้าวได้รับอนุญาตทํางานแล้ว เพียง 272,322 คน จนถึงมติครม.เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 เป็นอีกครั้งที่กระทรวงแรงงานเก็บตกแรงงาน 3 สัญชาติ ที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยดําเนินการตรวจสถานที่ก่อสร้าง สถานประกอบการ โรงงาน และสถานที่ทํางาน เพื่อให้คําแนะนําการปฏิบัติตนตามมาตรการทางสาธารณสุขแก่นายจ้างและแรงงานต่างด้าว เป็นระยะเวลา 30 วัน หากพบแรงงานต่างด้าวที่ทํางานโดยไม่ได้รับอนุญาต เจ้าหน้าที่จะบันทึกข้อมูลนายจ้างและแรงงานต่างด้าว พร้อมกําหนดวันนัดหมายให้นายจ้างมาดําเนินการยื่นคําขออนุญาตทํางานแทนแรงงงานต่างด้าว ณ สํานักงาน เพื่อเข้าสู่ระบบการจ้างงานตามกฎหมาย และได้รับการดูแลตามสิทธิที่พึงมี หากอยู่ในกิจการที่มีประกันสังคมมีสิทธิเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา33 และได้รับการคุ้มครอง และสิทธิการรักษาพยาบาลเช่นเดียวกับคนไทยที่อยู่ในระบบประกันสังคม หรือหากไม่อยู่ในกิจการที่มีประกันสังคมก็ได้รับสิทธิประกันสุขภาพตามสิทธิประกันที่มีการกําหนดให้ทําเมื่อเข้ามาทํางานในประเทศไทย โดยมีนายจ้าง/สถานประกอบการดําเนินการยื่นขอรับใบอนุญาตทํางานแทนคนต่างด้าวทั้งสิ้น 353,776 คน และล่าสุดจากกําหนดการเปิดประเทศของรัฐบาล เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 64 กระทรวงแรงงานได้เตรียมการล่วงหน้า เพื่อนําเข้าแรงงาน 3 สัญชาติ ตาม MoU เพื่อให้นายจ้างมีแรงงานในการขับเคลื่อนกิจการสอดรับกับการเปิดประเทศ ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 64 เป็นต้นมากระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางานได้เปิดให้นายจ้าง/สถานประกอบการยื่นคําร้องขอนําเข้าแรงงาน 3 สัญชาติ (เมียนมา ลาว กัมพูชา) ตาม MoU ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งการนําเข้าตาม MoU สามารถดําเนินการได้ตลอดทั้งปี ตามความจําเป็นในการประกอบกิจการ มีค่าใช้จ่ายรวมในการนําเข้าฯ อยู่ระหว่าง 11,490 – 24,250 บาทต่อแรงงานข้ามชาติ 1 คน ขึ้นอยู่กับการเลือกสถานที่กักตัว ระยะเวลาที่ต้องอยู่ในสถานที่กักตัว รวมถึงการเลือกประกันสุขภาพ ซึ่งราคาจะขึ้นยู่กับระยะเวลา
“กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน มีการวางแผนบริหารจัดการแรงงาน 3 สัญชาติ ในทุกระยะ เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แต่สิ่งสําคัญที่จะแก้ปัญหาได้คือ นายจ้าง/สถานประกอบการจําเป็นต้องร่วมมือใช้แรงงานที่เข้ามาทํางานอย่างถูกกฎหมาย ไม่รับแรงงานที่ลักลอบเข้าประเทศมาทํางาน เพราะแรงงานกลุ่มดังกล่าวไม่ได้ผ่านการตรวจคัดกรองโควิดตามมาตรการสาธารณสุข ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด ส่งผลกระทบโดยตรงทั้งต่อกิจการท่าน ชุมชนใกล้เคียง จนถึงประเทศชาติ ดังนั้นหากท่านต้องการแรงงาน 3 สัญชาติ นายจ้างที่มีความพร้อมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดหาสถานที่กักตัว สามารถยื่นคําร้องขอนําคนต่างด้าวเข้ามาทํางานในประเทศ (Demand) กับกรมการจัดหางานหรือสํานักงานจัดหางานจังหวัด สํานักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 ในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ โดยข้อมูล ณ วันที่ 20 ธ.ค. 64 มีนายจ้างยื่นคําร้องแล้ว 255 คําร้อง ต้องการแรงงาน 3 สัญชาติ 32,295 คน” อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าว | 2021-12-21 | 1,623.199951 | 1,622.25 | 1,628.839966 | 1,618.569946 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 2 | การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจําปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 2
เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2565 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติ เรื่อง การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจําปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 2
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2565 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติ เรื่อง การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจําปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 2 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจําปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับความพร้อมในการดําเนินการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของโครงการและรองรับความผันผวนของราคาน้ํามันในตลาดโลก จึงจําเป็นต้องปรับแผนการกู้เงินสําหรับโครงการลงทุนให้สะท้อนกับความคืบหน้าของโครงการ อาทิ โครงการระบบรถไฟฟ้าและรถไฟทางคู่ แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน และโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย ตลอดจนปรับแผนการกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องและสนับสนุนการดําเนินกิจการ ปรับแผนการบริหารหนี้เดิมโดยการยืดอายุหนี้ที่ครบกําหนด และบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาวะตลาด อีกทั้งการพิจารณาการชําระหนี้ตามแผนที่กําหนด ประกอบด้วย 1) แผนการก่อหนี้ใหม่ ปรับเพิ่มสุทธิ 49,619.73 ล้านบาท จากเดิม 1,365,483.84 ล้านบาท เป็น 1,415,103.57 ล้านบาท 2) แผนการบริหารหนี้เดิม ปรับลดสุทธิ 35,794.42 ล้านบาท จากเดิม 1,536,957.98 ล้านบาท เป็น 1,501,163.56 ล้านบาท และ 3) แผนการชําระหนี้ ปรับเพิ่มสุทธิ 1,035.29 ล้านบาท จากเดิม 362,233.72 ล้านบาท เป็น 363,269.01 ล้านบาท
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีจํานวน 9,828,268.17 ล้านบาท โดยประมาณร้อยละ 70 ของหนี้สาธารณะเป็นเงินกู้เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ อาทิเช่น คมนาคม การศึกษาและวิทยาศาสตร์ เศรษฐกิจและสังคมสาธารณูปการ และสาธารณสุข เป็นต้น
ทั้งนี้ เมื่อปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจําปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 2 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นปีงบประมาณ 2565 คาดว่า จะอยู่ที่ร้อยละ 62.76 ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบในการบริหารหนี้สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังที่ร้อยละ 70
สํานักนโยบายและแผน สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ
โทร. 02 265 8050 ต่อ 5517 | 2022-04-13 | null | null | null | null | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สถาบันการบินพลเรือน รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม จัดกิจกรรม “OPEN HOUSE” | สถาบันการบินพลเรือน รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม จัดกิจกรรม “OPEN HOUSE”
ในรูปแบบออนไลน์ (Online) บน Facebook
เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 64 สถาบันการบินพลเรือน รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม โดย กองวิชาวิศวกรรมการบิน จัดกิจกรรม “OPEN HOUSE” ในรูปแบบออนไลน์ (Online) บน Facebook Live CATCthailand สถาบันการบินพลเรือน
โดย ดร.อุสาห์ ต่อเทียนชัย ผู้อํานวยการกองวิชาวิศวกรรมการบิน สถาบันการบินพลเรือน พร้อมด้วยคณาจารย์ และนายกุลฉัตร เชยทอง ศิษย์เก่าหลักสูตรวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์การบิน รุ่นที่ 6 พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน สายการบินไทยแอร์เอเชีย ร่วมพุดคุยเกี่ยวกับหลักสูตรเตรียมวิศวกรรมการบิน รายวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตรเตรียมวิศวกรรมการบิน เส้นทางการประกอบอาชีพเมื่อจบการศึกษา ค่าเล่าเรียน - ทุนการศึกษา และตอบคําถามประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับหลักสูตร รวมถึงพาชมห้องเรียน อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการเรียนการสอน ซึ่งในปีนี้ หลักสูตรเตรียมวิศวกรรมการบิน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการบิน) หลักสูตรสองภาษา เปิดรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือเทียบเท่า ในปีการศึกษา 2565 ดังนี้
1. รอบโควตา (เตรียมวิศวกรรมการบิน) ระหว่างวันที่ 4 ต.ค. - 25 พ.ย. 2564
2. รอบรับตรง (เตรียมวิศวกรรมการบิน) ระหว่างวันที่ 1 ธ.ค. 2564 - 3 มี.ค. 2565
โดยมี นายศิครินทร์ เศรษฐ์สุรปรีชา พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน สายการบินไทยเวียตเจ็ทแอร์ เป็นผู้ดําเนินรายการดังกล่าว ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นงาน “OPEN HOUSE” ที่อัดแน่นไปด้วยความรู้และสาระประโยชน์อย่างมากจากอาจารย์ผู้สอน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับ ผู้ปกครอง ผู้ที่สนใจเข้าศึกษาหลักสูตรเตรียมวิศวกรรมการบินได้เป็นอย่างมาก
สามารถชมวีดีโอคลิป Facebook Live “OPEN HOUSE” หลักสูตรเตรียมวิศวกรรมการบิน ได้ที่
• https://www.facebook.com/100000038431842/posts/4946978538646712/?d=n
• https://www.facebook.com/catcthailand/videos/592349145145462/ | 2021-11-04 | 1,613.449951 | 1,626.27002 | 1,627.569946 | 1,607.72998 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม.ไฟเขียวให้การยาสูบแห่งประเทศไทยจัดหาแหล่งเงินกู้ระยะสั้นเสริมสภาพคล่อง วงเงิน 1,500 ล้านบาท หลังรับผลกระทบหนักจากสภาพเศรษฐกิจถดถอย ผู้บริโภคกำลังซื้อลดลง และ น้ำมันขึ้นราคา | ครม.ไฟเขียวให้การยาสูบแห่งประเทศไทยจัดหาแหล่งเงินกู้ระยะสั้นเสริมสภาพคล่อง วงเงิน 1,500 ล้านบาท หลังรับผลกระทบหนักจากสภาพเศรษฐกิจถดถอย ผู้บริโภคกําลังซื้อลดลง และ น้ํามันขึ้นราคา
ครม.ไฟเขียวให้การยาสูบแห่งประเทศไทยจัดหาแหล่งเงินกู้ระยะสั้นเสริมสภาพคล่อง วงเงิน 1,500 ล้านบาท หลังรับผลกระทบหนักจากสภาพเศรษฐกิจถดถอย ผู้บริโภคกําลังซื้อลดลง และ น้ํามันขึ้นราคา
วันที่ 16 สิงหาคม 2565 น.ส.ไตรศุลีไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้การยาสูบแห่งประเทศไทย (ยสท.) จัดหาแหล่งเงินกู้ระยะสั้นโดยวิธีกู้เบิกเกินบัญชี วงเงิน 1,500 ล้านบาท อายุเงินกู้ 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2565 -16 มีนาคม 2566 เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินสําหรับใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดําเนินกิจการทั่วไปของ ยสท. ซึ่งวงเงินกู้ดังกล่าวอยู่ภายใต้แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจําปีงบประมาณ 2565 แล้ว
โดยผลประกอบการล่าสุดในรอบ 6 เดือน ปี 2565 ของ ยสท. มีรายได้รวม 17,748 ล้านบาท มีค่าใช้จ่ายรวม 17,783 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 35 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยสท. ยังได้จัดทําประมาณการเงินสดรับ-จ่าย ประจําปีงบประมาณ 2565-2566 กรณีที่ประมาณการยอดจําหน่ายบุหรี่ในประเทศต่ําที่สุด (Worst Case) โดยในปีงบประมาณ 2565 คาดการณ์ว่าจะจําหน่ายบุหรี่ในประเทศได้จํานวน 12,050 ล้านมวน และผลกระทบจากโควิด 19 ส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจถดถอยและผู้บริโภคมีกําลังซื้อลดลง ประกอบกับปัญหาจากการปรับขึ้นราคาน้ํามันอย่างต่อเนื่อง ทําให้ต้นทุนวัตถุดิบ ค่าขนส่ง ค่าสาธารณูปโภค และอื่นๆที่ยสท.ต้องนํามาใช้ในการผลิตยาสูบและดําเนินกิจกรรมในองค์กรเพิ่มขึ้นอย่างมาก รวมถึงปัญหาการแพร่กระจายของบุหรี่ผิดกฎหมาย จะส่งผลให้ยสท.มีรายรับรวม 38,338 ล้านบาท รายจ่ายรวม 44,571 ล้านบาท ขาดทุนรวม 6,233 ล้านบาท และเงินสดปลายงวดคงเหลือจํานวน 2,684 ล้านบาท
สําหรับปีงบประมาณ 2566 ยสท. คาดการณ์ว่าจะจําหน่ายบุหรี่ในประเทศได้จํานวน 11,552 ล้านมวน มีรายรับรวม 36,711 ล้านบาท รายจ่ายรวม 40,323 ล้านบาท ขาดทุน 3,612 ล้านบาท และเงินสดปลายงวดติดลบจํานวน 928 ล้านบาท
ดังนั้น ยสท.จึงมีความต้องการจัดหาแหล่งเงินกู้ระยะสั้นโดยวิธีกู้เบิกเกินบัญชี วงเงินไม่เกิน 1,500 ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่องและใช้เป็นทุนหมุนเวียน เพื่อให้ดําเนินธุรกิจต่อไปได้ | 2022-08-16 | 1,629.439941 | 1,629.949951 | 1,632.859985 | 1,624.920044 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมบัญชีกลางปรับลดอัตราค่ารักษาพยาบาลโควิด 19 ให้สอดคล้องกับต้นทุนในปัจจุบัน เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ เป็นไปอย่างคุ้มค่า | กรมบัญชีกลางปรับลดอัตราค่ารักษาพยาบาลโควิด 19 ให้สอดคล้องกับต้นทุนในปัจจุบัน เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ เป็นไปอย่างคุ้มค่า
กรมบัญชีกลางปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในสถานพยาบาลทางราชการ กรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเสี่ยงหรือติดเชื้อโควิด 19 เพื่อให้สอดคล้องกับบริการและต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง อีกทั้งช่วยลดงบประมาณร่ายจ่ายที่ไม่จําเป็น
นางสาวกุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ด้วยปัจจุบันการบริหารจัดการของทรัพยากรที่ใช้เพื่อการรักษาพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 มีความพร้อมมากขึ้น ประกอบกับผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง ส่งผลให้ต้นทุนต่าง ๆ ในการรักษาพยาบาลปรับราคาลดลง กรมบัญชีกลางจึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในสถานพยาบาลของทางราชการ กรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเสี่ยงหรือติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 เพื่อให้สอดคล้องกับบริการและต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง อีกทั้งช่วยลดงบประมาณร่ายจ่ายที่ไม่จําเป็น แต่ยังคงประสิทธิภาพในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยตามเดิม โดยมีการปรับปรุงรายละเอียด ดังนี้
ประเภทผู้ป่วยนอก
1. การตรวจยืนยันการติดเชื้อโควิด 19
1.1 การตรวจยืนยันการติดเชื้อด้วยวิธี Real Time PCR โดยการทําป้ายหลังโพรงจมูกและลําคอ ประเภท 2 ยีน ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 900 บาท จากเดิม 1,300 บาท
1.2 การตรวจยืนยันการติดเชื้อด้วยวิธี Real Time PCR โดยการทําป้ายหลังโพรงจมูกและลําคอ ประเภท 3 ยีนขึ้นไป ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,100 บาท จากเดิม 1,500 บาท
1.3 การตรวจการติดเชื้อด้วยวิธี Antigen test ด้วยเทคนิค Chromatography ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 250 บาท จากเดิม 300 บาท
1.4 การตรวจการติดเชื้อด้วยวิธี Antigen test ด้วยเทคนิค Fluorescent Immuunoassay (FIA) ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 350 บาท จากเดิม 400 บาท
1.5 การตรวจการติดเชื้อด้วยวิธีอื่น ๆ นอกเหนือจาก 1.3 – 1.4 ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 350 บาท จากเดิม 400 บาท
2. การเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน (Home Isolation) หรือที่ที่ชุมชนจัดไว้ (Community Isolation) หรือสถานที่อื่นของสถานพยาบาลของทางราชการ
2.1 ค่าบริการของสถานพยาบาลและการดูแลผู้ป่วย ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาทต่อวัน ไม่เกิน 10 วัน
2.2 ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จําเป็นต้องใช้ในการติดตามอาการผู้ป่วย ค่ายา ค่าเอกซเรย์ ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ และค่ารักษาพยาบาลอื่น ๆ ให้เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 2,000 บาทต่อราย
ประเภทผู้ป่วยใน
1. ค่าห้องพักสําหรับควบคุมหรือดูแลรักษาผู้ป่วยใน
1.1 ผู้ป่วยอาการสีเขียว กรณีไม่ใช้ Oxygen ให้เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 1,000 บาท จากเดิม1,500 บาท (กรณีที่ไม่สามารถให้การรักษาพยาบาลที่บ้านหรือสถานที่ที่ชุมชนจัดไว้ได้
1.2 ผู้ป่วยอาการสีเหลือง
- กรณีใช้ Oxygen Canula เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,500 บาทต่อวัน
- กรณีใช้ Oxygen High Flow เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 3,000 บาทต่อวัน
1.3 ผู้ป่วยอาการสีแดง กรณีใส่เครื่องช่วยหายใจ ให้เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 7,500 บาทต่อวัน (อัตราเดิม)
2. ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล
2.1 ผู้ป่วยอาการสีเขียว ให้เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาทต่อวัน (อัตราเดิม)
2.2 ผู้ป่วยอาการสีเหลือง
- กรณีใช้ Oxygen Canula เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 550 บาทต่อชุด (เดิม 600 บาทต่อชุด) ไม่เกิน 5 ชุดต่อวัน
- กรณีใช้ Oxygen High Flow เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 550 บาทต่อชุด (เดิม 600 บาทต่อชุด) ไม่เกิน 10 ชุดต่อวัน
2.3 ผู้ป่วยอาการสีแดง
- กรณีใส่เครื่องช่วยหายใจ ให้เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 550 บาทต่อชุด (เดิม 600 บาทต่อชุด) ไม่เกิน 20 ชุดต่อวัน (เดิม 30 ชุดต่อวัน)
“สําหรับหลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในสถานพยาบาลของทางราชการ กรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเสี่ยงหรือติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0416.4/ว 157 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองสวัสดิการรักษาพยาบาล กรมบัญชีกลาง หมายเลขโทรศัพท์ 02 127 7000 ต่อ 6854 4441 ในวัน เวลาราชการ” อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าว | 2022-03-08 | 1,622.030029 | 1,619.099976 | 1,633.5 | 1,580.800049 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผลการประชุมคณะกรรมการ PPP ครั้งที่ 4/2564 | ผลการประชุมคณะกรรมการ PPP ครั้งที่ 4/2564
คณะกรรมการ PPP เห็นชอบการนําข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) มาใช้กับโครงการ PPP ยกระดับความโปร่งใส เสริมความเชื่อมั่นนักลงทุน พร้อมเร่งรัดโครงการในกลุ่ม High Priority ให้ลงทุนได้ตามแผนงาน
นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการ PPP ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม 2564 โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งมีผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
1. คณะกรรมการ PPP เห็นชอบหลักการแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งประกาศ สคร. สําหรับการนําข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) มาใช้กับโครงการร่วมลงทุนที่ดําเนินการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562) ในขั้นตอนของการคัดเลือกเอกชน โดยกําหนดให้หน่วยงานเจ้าของโครงการต้องจัดให้มีการดําเนินการจัดทําข้อตกลงคุณธรรมในโครงการร่วมลงทุนที่มีมูลค่าตั้งแต่ห้าพันล้านบาทขึ้นไป หรือโครงการร่วมลงทุนที่คณะกรรมการ PPP พิจารณาเห็นสมควร โดยในชั้นของการคัดเลือกเอกชน จะมีผู้สังเกตการณ์ที่มีความรู้ความสามารถ และไม่มีส่วนได้เสียกับโครงการ ซึ่งผ่านการคัดเลือกจากหน่วยงานที่ สคร. มอบหมาย
เข้าร่วมสังเกตการณ์ตั้งแต่ในขั้นตอนการจัดทําร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสําหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน เพื่อรายงานผลการดําเนินงานตามข้อตกลงคุณธรรม ประกอบการนําเสนอผลการคัดเลือกเอกชนให้กระทรวงเจ้าสังกัดพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนนําเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ การนําข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) มาปรับใช้กับโครงการร่วมลงทุน จะช่วยส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการดําเนินโครงการ รวมถึงกระบวนการตัดสินใจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าประสงค์สําคัญของการร่วมลงทุนตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562 และยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนภาคเอกชนมากขึ้น
2. คณะกรรมการ PPP มอบหมายให้กระทรวงเจ้าสังกัด หน่วยงานเจ้าของโครงการ และ สคร. ทําหน้าที่เร่งรัดโครงการในกลุ่มที่มีความสําคัญและจําเป็นเร่งด่วน (High Priority PPP Project) ภายใต้แผนการจัดทําโครงการร่วมลงทุน พ.ศ. 2563 - 2570 ให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาและแล้วเสร็จตามกําหนด เพื่อกระตุ้นการลงทุนของประเทศในภาพรวม ลดข้อจํากัดการลงทุนจากเงินงบประมาณแผ่นดินและเงินกู้ รวมทั้งสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
3. คณะกรรมการ PPP มีมติเห็นชอบให้โครงการให้บริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น การให้บริการผู้โดยสารภาคพื้น และกิจการอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน) ซึ่งเป็นโครงการขนาดกลางที่มีมูลค่า 4,374 ล้านบาท ถือปฏิบัติตาม พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562 แบบเต็มรูปแบบ เนื่องจากรัฐมีสัดส่วนการลงทุนในโครงการอยู่ในระดับสูง และโครงการอาจมีผลกระทบต่อการดําเนินงานของอุตสาหกรรมการบินในภาพรวม ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดทําและดําเนินโครงการดังกล่าวในขั้นตอนต่อไป
เป็นไปด้วยความโปร่งใสและมีความรอบคอบ | 2021-10-29 | 1,626.27002 | 1,623.430054 | 1,629.25 | 1,619.140015 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไฟเขียว! รถบ้าน รถส่วนบุคคล จดทะเบียนให้บริการรับจ้างผ่านแอปฯ | ไฟเขียว! รถบ้าน รถส่วนบุคคล จดทะเบียนให้บริการรับจ้างผ่านแอปฯ
....
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ประกาศเผยแพร่กฎกระทรวง รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2564 โดยมีสาระสําคัญอนุญาตให้ “รถยนต์ส่วนบุคคล” สามารถจดทะเบียนเปลี่ยนประเภท เป็นรถยนต์รับจ้างผ่านให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือแอปพลิเคชัน แพลทฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ได้
.
ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนนําทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวทางเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) โดยสามารถนํารถยนต์ส่วนบุคคลมาให้บริการรับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับวิถีการใช้ชีวิตของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน รวมถึงอํานวยความสะดวกให้แก่ประชาชน และเพิ่มทางเลือกในการใช้บริการรถยนต์รับจ้าง
.
สําหรับขั้นตอนหลังจากนี้ กรมการขนส่งทางบก จะต้องออกประกาศกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การรับรองผู้ให้บริการ และแอปพลิเคชัน ที่จะนํามาให้บริการ โดยจะรับฟังความคิดเห็นผู้เกี่ยวข้องและออกประกาศให้ทราบอีกครั้ง
.
อ่านประกาศฉบับเต็ม คลิกhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/.../2564/A/041/T_0004.PDF
#ไทยคู่ฟ้า#รวมไทยสร้างชาติ#ร่วมต้านโควิด19
------------------- | 2021-06-28 | 1,572.180054 | 1,579.170044 | 1,581.339966 | 1,565.310059 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.) เตรียมความพร้อมรองรับน้ำท่วม พร้อมเฝ้าระวัง ติดตาม และประเมินสถานการณ์น้ำประจำวัน | ท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.) เตรียมความพร้อมรองรับน้ําท่วม พร้อมเฝ้าระวัง ติดตาม และประเมินสถานการณ์น้ําประจําวัน
...
วันที่ 5 ต.ค.64 เวลา 14.00 น. ร.ต.ธานี ช่วงชู ผู้อํานวยการท่าอากาศยานดอนเมือง (ผดม.) พร้อมด้วยนาย กีรติ กิจมานะวัฒน์ รองกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ (สายงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง) (รญว.) ผู้แทนกองทัพอากาศ, ผู้แทนกองอุตุนิยมวิทยาการบิน กรมอุตุนิยมวิทยา, ผู้แทนคณะกรรมการธุรกิจการบินกรุงเทพ ณ ทดม., ผู้แทนสํานักงานเขตดอนเมือง และผู้บริหาร ทดม. ลงพื้นที่ตรวจความพร้อมป้องกันน้ําท่วม ติดตามสถานการณ์น้ําอย่างใกล้ชิด พร้อมเฝ้าระวังปริมาณฝนที่จะเพิ่มขึ้นจากอิทธิพลของร่องมรสุมและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีกําลังแรงขึ้น
ร.ต.ธานี กล่าวว่า ทดม.ให้ความสําคัญในเรื่องปัญหาฝนตกหนักน้ําท่วมขังเป็นเรื่องเร่งด่วน ระบบระบายน้ํา ทดม.ถูกออกแบบให้สามารถรองรับการระบายน้ําฝนสูงสุดที่ 80 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง (ในชั่วโมงแรก) โดยจะมีการแบ่งพื้นที่ระบายน้ําออกเป็น 3 ส่วน ดังต่อไปนี้
1. ด้านทิศเหนือ ได้มีการจัดเตรียมบ่อรับน้ําจํานวน 3 บ่อ มีพื้นที่โดยประมาณ 8.2 แสน ตร.ม. และได้มีการรักษาระดับน้ําที่ 0.35 เมตรจากท้องบ่อรับน้ํา เพื่อให้มีระดับเพื่อรองรับปริมาณน้ําที่ 1.50 เมตร ซึ่งทําให้มีปริมาณการรับน้ําได้อีกประมาณ 1,000,000 ลบ.ม. ซึ่งจะเพียงพอต่อการรองรับปริมาณน้ําฝนที่ตกหนัก
2. ด้านทิศตะวันตก ได้มีการติดตั้งโรงสูบระบายน้ําเพื่อรองรับการระบายน้ําออกโดยตรงสู่คลองเปรมประชากรผ่านท่อลอดถนนวิภาวดีรังสิต
3. ด้านทิศตะวันออก ได้มีการติดตั้งโรงสูบระบายน้ําร่วมกับกองทัพอากาศเพื่อรองรับการระบายน้ําออกสู่คลองถนน และถ้าหากมีปริมาณฝนตกหนัก หรือนํา้ท่วมขังทาง ทดม.จะดําเนินการสูบระบายน้ําออกสู่ภายนอกทันที เพื่อไม่ให้เกิดน้ําท่วมขังภายใน ทดม. จะการดําเนินการจัดการอยู่ในเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง ซึ่งจะไม่มีน้ําท่วมขังในบริเวณตําแหน่งสําคัญ อันได้แก่ ทางวิ่ง ทางขับ และหลุมจอดอากาศยาน
ร.ต.ธานี กล่าวต่อว่า นอกจากการรองรับการจัดการปัญหาฝนตกหนักแล้ว ทดม.ยังมีการเตรียมแผนรองรับการจัดการปัญหาน้ําท่วมที่มาจากพื้นที่ภายนอก ทดม. ดังต่อไปนี้
1. ทดม.มีกําแพงกันน้ําโดยรอบและจะปิดประตูด้านถนนวิภาวดีรังสิตหากมีปริมาณน้ําท่วมภายนอก ทดม.ด้านถนนวิภาวดีรังสิต และจะประสานกองทัพอากาศปิดประตูด้านถนนพหลโยธิน
2. การเตรียมถุงบรรจุทรายขนาดใหญ่และขนาดเล็กสําหรับเสริมการกั้นน้ําในบางจุด
3. การตรวจสอบระบบไฟฟ้าสํารอง ระบบปั๊มสํารองเคลื่อนที่ให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง
4. การจัดการจราจรภายใน ทดม.เพื่อแก้ไขการจราจรบนพื้นที่น้ําขัง
5. การประสานงานหน่วยงานและผู้ประกอบการเพื่อจัดการระบบต่างๆใน ทดม.ให้ใช้งานได้ตลอดเวลา
ร.ต.ธานี กล่าวทิ้งท้ายว่า ทดม.มุ่งมั่นที่จะพัฒนาและรักษาความต่อเนื่องในการให้บริการแก่ผู้โดยสาร ผู้ขนส่งสินค้า เพื่อไม่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการกิจการท่าอากาศยาน รวมถึงชุมชนโดยรอบ
ทดม.ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับกรมชลประทาน สํานักการระบายน้ํา กทม.และกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังระดับน้ํา นอกจากนี้ ทดม.ได้เร่งดําเนินการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวัง ติดตาม และประเมินสถานกาณ์น้ําประจําวัน ตั้งแต่วันที่ 6 - 15 ต.ค.64 หรือจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ | 2021-10-06 | 1,626.650024 | 1,619.47998 | 1,631.810059 | 1,617.23999 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“ศักดิ์สยาม” สั่งการรวมพลังคมนาคม United บูรณาการความร่วมมือ ปลดล็อกถนนสะดวก เพื่อประชาชนปลอดภัย | “ศักดิ์สยาม” สั่งการรวมพลังคมนาคม United บูรณาการความร่วมมือ ปลดล็อกถนนสะดวก เพื่อประชาชนปลอดภัย
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน เพื่อความปลอดภัยของประชาชน
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานสักขีพยาน ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ระหว่างกรมการขนส่งทางบก โดยนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กรมทางหลวง โดยนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท โดยนายไกวัลย์ โรจนานุกูล รองอธิบดีกรมทางหลวงชนบท รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทางหลวงชนบท โดยมี นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายวิรัช พิมพะนิตย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ และนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้บริหารกระทรวงฯ และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ ร่วมเป็นสักขีพยาน เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 ณ ห้องประชุม ชั้น 3 อาคารสโมสรและหอประชุม กระทรวงคมนาคม
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้ออกกฎกระทรวงกําหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงชนบทที่กําหนด พ.ศ. 2564 ซึ่งภายหลังจากที่กระทรวงคมนาคมได้เปิดให้ผู้ขับขี่รถใช้ความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บนทางหลวงหมายเลข 32 หรือถนนสายเอเชีย ช่วงหมวดทางหลวงบางปะอิน ถึงทางต่างระดับอ่างทอง เป็นเส้นทางแรก เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา ตามนโยบายการปรับเพิ่มอัตราความเร็วของรถยนต์ จากความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นความเร็วไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ล่าสุดก็ได้เปิดเส้นทางนําร่องอีก6 เส้นทางไปเมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งการปรับอัตราความเร็วดังกล่าว กระทรวงคมนาคมได้เน้นย้ําให้กรมทางหลวงปรับปรุงเพิ่มมาตรฐานทางกายภาพให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมการขนส่งทางบก กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท บูรณาการความร่วมมือระหว่างกัน ในการเพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัยบนทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงชนบท เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนสามารถเดินทางบนทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงชนบทได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย โดยมีเป้าหมายในการลดจํานวนผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ ลดการเกิดอุบัติเหตุซ้ําซ้อนและความรุนแรงของอุบัติเหตุทางถนน และที่สําคัญคือการลดความเสี่ยงหรือโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุทางถนนด้วย
สําหรับบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ กรมการขนส่งทางบก กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท มีเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นที่จะบูรณาการความร่วมมือระหว่างกัน ในการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน และเพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเดินทางได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย สามารถลดจํานวนผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ รวมทั้งอุบัติเหตุซ้ําซ้อนและรุนแรงลงได้อย่างยั่งยืน ซึ่งกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท ได้พิจารณาเส้นทางที่จะปรับความเร็วใหม่เพิ่มเติม จํานวน 8 เส้นทาง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน สําหรับการดําเนินการที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งเป็น เส้นทางของกรมทางหลวง 6 เส้นทาง ได้แก่
- เส้นทางที่ 1 ทางหลวงหมายเลข 1 ช่วงหนองแค - หินกอง - ปากข้าวสาร - แยกสวนพฤกษศาสตร์พุแค กม. 79+000 - 105+000 ระยะทางรวมประมาณ 26.000 กิโลเมตร
- เส้นทางที่ 2 ทางหลวงหมายเลข 9 ช่วงบางแค - คลองมหาสวัสดิ์ กม. 23+000 - 31+872 ระยะทางรวมประมาณ 8.872 กิโลเมตร
- เส้นทางที่ 3 ทางหลวงหมายเลข 347 ช่วงเทคโนโลยีปทุมธานี - ต่างระดับเชียงรากน้อย กม. 1+000 - 10+000 ระยะทางรวมประมาณ 10.000 กิโลเมตร
- เส้นทางที่ 4 ทางหลวงหมายเลข 35 ช่วงนาโคก - แพรกหนามแดง กม. 56+000 - 80+600 ระยะทางรวมประมาณ 24.600 กิโลเมตร
- เส้นทางที่ 5 ทางหลวงหมายเลข 4 ช่วงเขาวัง - สระพระ กม. 160+000 - 167+000 ระยะทางรวมประมาณ 7.000 กิโลเมตร
- เส้นทางที่ 6 ทางหลวงหมายเลข 4 ช่วงเขาวัง - สระพระ กม. 172+000 - 183+500 ระยะทางรวมประมาณ 11.500 กิโลเมตร
และเส้นทางของกรมทางหลวงชนบท 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางที่ 1 นบ.3021 (ถนนราชพฤกษ์) ตลอดเส้นทาง ระยะทางรวมประมาณ 51.700 กิโลเมตร เส้นทางที่ 2 นบ.1020 (ถนนนครอินทร์) ตลอดเส้นทาง ระยะทางรวมประมาณ 12.400 กิโลเมตร
โดยถนนทั้ง 8 เส้นทาง กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท จะดําเนินการติดตั้งอุปกรณ์อํานวย
ความปลอดภัย อุปกรณ์ที่ช่วยลดความรุนแรงของอุบัติเหตุ เช่น ปรับปรุงเครื่องหมายจราจรบนผิวทาง
ติดตั้งป้ายจราจร ป้ายเตือน ป้ายจํากัดความเร็ว ก่อสร้างกําแพงคอนกรีต ตลอดจนติดตั้งระบบขนส่งอัจฉริยะ (Intelligent Transportation System) และระบบอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยให้สามารถบริหารจัดการการจราจร และสามารถควบคุม กํากับ ดูแลการใช้ความเร็วของผู้ใช้รถใช้ถนนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถแนะนําผู้ใช้ทางให้ใช้ความเร็วที่เหมาะสมตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ จะต้องดําเนินการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งประเมินผลการดําเนินการที่เกี่ยวข้องในการเพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนบนทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงชนบทเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของถนนในอนาคตด้วย
การบูรณาการความร่วมมือกันระหว่าง กรมการขนส่งทางบก กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท ในครั้งนี้ ถือเป็นหนึ่งในโครงการที่กระทรวงคมนาคมขับเคลื่อนเพื่อยกระดับมาตรฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย ที่ไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มความสะดวก รวดเร็วในการเดินทาง แต่ยังสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุ และเสียชีวิตของประชาชนได้ นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการขนส่งและโลจิสติกส์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนไทย | 2021-09-15 | 1,624.170044 | 1,628.040039 | 1,630.050049 | 1,620.839966 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธปท. และสมาคมธนาคารไทย ชี้แจงความคืบหน้ากรณีการตัดเงินที่ผิดปกติผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิต | ธปท. และสมาคมธนาคารไทย ชี้แจงความคืบหน้ากรณีการตัดเงินที่ผิดปกติผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิต
ธปท.และสมาคมธนาคารไทยชี้แจงกรณีการตัดเงินที่ผิดปกติ ผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตของลูกค้าจํานวนมาก เมื่อวันที่ 17 ต.ค.ที่ผ่านมา ว่ามิได้เกิดจากการรั่วไหลของข้อมูลจากระบบธนาคาร
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย ได้ชี้แจงกรณีการตัดเงินที่ผิดปกติ ผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตของลูกค้าจํานวนมาก เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ที่ผ่านมา ว่ามิได้เกิดจากการรั่วไหลของข้อมูลจากระบบธนาคาร โดยสาเหตุสําคัญเกิดจากการที่มิจฉาชีพสุ่มข้อมูลบัตรและนําไปสวมรอยทําธุรกรรมผ่านร้านค้าออนไลน์ต่างประเทศ ที่ไม่มีการใช้ One Time Password (OTP) โดยตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม มีบัตรที่มีการใช้งานผิดปกติจากเหตุข้างต้นจํานวน 10,700 ใบ โดยในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นรายการใช้จากบัตรเดบิตเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการใช้งานส่วนใหญ่มีจํานวนเงินต่อรายการต่ํา เช่น 1 ดอลลาร์ สรอ. และมีการใช้เป็นจํานวนหลาย ๆ ครั้ง ทั้งนี้ ธนาคารมีระบบตรวจจับธุรกรรมที่ผิดปกติ โดยแต่ละธนาคารจะกําหนดเพดานและเงื่อนไขการใช้งานของบัตรตามลักษณะประเภทร้านค้าและประเภทสินค้าแตกต่างกันไป
นอกจากนี้ ธปท. และ สมาคมธนาคารไทย ได้ร่วมกันกําหนดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อป้องกันและแก้ปัญหา ดังนี้
1. ยกระดับความเข้มข้นในการตรวจจับธุรกรรมที่ผิดปกติ ให้ครอบคลุมทั้งธุรกรรมที่มีจํานวนเงินต่ําและที่มีความถี่สูง หากพบธุรกรรมที่ผิดปกติ ธนาคารจะระงับการใช้บัตรทันทีและแจ้งลูกค้าในทุกช่องทาง รวมทั้งติดตามเฝ้าระวังรายการธุรกรรมจากต่างประเทศเป็นพิเศษ
2. เพิ่มการแจ้งเตือนลูกค้าในการทําธุรกรรมทุกรายการ ตั้งแต่รายการแรกผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น ระบบ Mobile banking อีเมล หรือ SMS
3. กรณีที่ตรวจสอบพบว่าลูกค้าได้รับผลกระทบจากการทุจริตตามข้างต้น กรณีบัตรเดบิต ลูกค้าจะได้รับการคืนเงินภายใน 5 วันทําการ ส่วนกรณีบัตรเครดิต ธนาคารจะยกเลิกรายการดังกล่าว ลูกค้าไม่ต้องชําระเงินตามยอดเรียกเก็บที่ผิดปกติ และจะไม่มีการคิดดอกเบี้ย
4. ธปท. และสมาคมธนาคารไทยจะเร่งหารือกับผู้ให้บริการเครือข่ายบัตร เช่น Visa Mastercard เพื่อกําหนดให้มีการใช้การยืนยันตัวตนเพิ่มเติม เช่น OTP กับบัตรเดบิตสําหรับร้านค้าออนไลน์
กรณีลูกค้าพบความผิดปกติของธุรกรรมด้วยตนเอง สามารถติดต่อคอลเซ็นเตอร์หรือสาขาของธนาคารผู้ออกบัตร เพื่อแจ้งตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของธุรกรรมในทันที โดยธนาคารจะดูแลแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด
สําหรับประชาชนทั่วไป ควรตรวจสอบการทําธุรกรรมของตนเองอย่างสม่ําเสมอ รวมทั้งระมัดระวังการผูกบัตรเดบิตในการทําธุรกรรม โดยเฉพาะกับแพลตฟอร์มที่มีความเสี่ยง เช่น เกมออนไลน์ แพลตฟอร์มที่ไม่มีการยืนยันตัวตนก่อนเข้าใช้งาน หรือไม่มี OTP ทั้งนี้ สําหรับบางธนาคาร ลูกค้ายังสามารถเปิด/ปิดการใช้งานของบัตร หรือเปลี่ยนแปลงวงเงินการใช้บัตร หรืออายัดบัตรได้ด้วยตัวเองผ่านแอพพลิเคชั่นของธนาคาร นอกเหนือจากการติดต่อกับธนาคาร
ธปท. และ สมาคมธนาคารไทย ให้ความสําคัญอย่างยิ่งกับความปลอดภัยในการทําธุรกรรมทางการเงิน และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า โดยธนาคารมีระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยและมีการตรวจสอบการทําธุรกรรมที่ผิดปกติอย่างต่อเนื่อง ในระยะต่อไป ธปท. และสถาบันการเงินจะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการยกระดับมาตรการและประสิทธิภาพการตรวจจับและตอบสนองต่อรายการผิดปกติ เพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากการเกิดเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าว | 2021-10-19 | 1,648.47998 | 1,630.390015 | 1,649.660034 | 1,627.119995 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล- “ดีอีเอส” เผยครม.อนุมัติตั้งศูนย์ประสานงานป้องกันปราบปรามข่าวปลอม เสริมแกร่งบูรณาการความร่วมมือข้ามหน่วยงาน | “ดีอีเอส” เผยครม.อนุมัติตั้งศูนย์ประสานงานป้องกันปราบปรามข่าวปลอม เสริมแกร่งบูรณาการความร่วมมือข้ามหน่วยงาน
“ดีอีเอส” เผยครม.อนุมัติตั้งศูนย์ประสานงานป้องกันปราบปรามข่าวปลอม เสริมแกร่งบูรณาการความร่วมมือข้ามหน่วยงาน
ชัยวุฒิ รมว.ดีอีเอส มั่นใจมติ ครม. ไฟเขียวหลักการร่างระเบียบสํานักนายกฯ ว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ จะหนุนการทํางานแก้ไขปัญหาข่าวปลอมของทุกภาคส่วน เพิ่มศักยภาพการบูรณาการความร่วมมือข้ามหน่วยงาน
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า จากมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 65 ให้ความเห็นชอบในหลักการ "ร่างระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ พ.ศ. ...." ตามที่กระทรวงดิจิทัลฯ เสนอ โดยขั้นตอนจากนี้จะส่งให้คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมาย และร่างอนุบัญญัติที่เสนอ ครม. ตรวจพิจารณาแล้วดําเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ การอนุมัติหลักการร่างระเบียบฯ ฉบับนี้ จะส่งเสริมการประสานงาน และทํางานร่วมกันของทุกภาคส่วน ในการเร่งแก้ไขปัญหาข่าวปลอม และสามารถก้าวทันสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ สื่อสังคมออนไลน์ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางเผยแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จ ส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง
สําหรับการเสนอร่างระเบียบฯ ดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม ครม. เป็นไปตามความเห็นชอบของ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี โดยหลักการของร่างระเบียบฯ มีสาระสําคัญเป็นการกําหนดแนวทางและหลักการ ในการดําเนินการป้องกันปราบปราม และแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกันของหน่วยงานของรัฐ เพื่อคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความปลอดภัย และได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์
โดยจะให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเป็นการบูรณาการการทํางานร่วมกันของหน่วยงานของรัฐในการแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ 1. ศูนย์ประสานงานกลาง กําหนดให้สํานักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ จัดตั้ง “ศูนย์ประสานงานการป้องกันปราบปราม และแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์กลาง” เพื่อเป็นศูนย์กลางในการดําเนินการ 2. ศูนย์ประสานงานประจํากระทรวง ให้ทุกกระทรวงจัดตั้ง “ศูนย์ประสานงานการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ ประจํากระทรวง” และ 3. ศูนย์ประสานงานประจําจังหวัด ให้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
********************* | 2022-02-03 | 1,664.630005 | 1,669.050049 | 1,673.75 | 1,664.089966 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"หมอยง" เผยฉีดวัคซีนสลับชนิดได้ภูมิสูงและเร็ว เหมาะสมกับสถานการณ์ระบาดและจำนวนวัคซีน | "หมอยง" เผยฉีดวัคซีนสลับชนิดได้ภูมิสูงและเร็ว เหมาะสมกับสถานการณ์ระบาดและจํานวนวัคซีน
“ศ.นพ.ยง” เผยฉีดวัคซีนสลับชนิดเบื้องต้นมีความปลอดภัย สูตรซิโนแวค-แอสตร้าเซนเนก้า ได้ภูมิต้านทานระดับสูงใกล้เคียงแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม ในเวลาที่รวดขึ้นเท่าตัว ถือว่าเหมาะสมกับสถานการณ์ระบาดขณะนี้ที่เป็นสายพันธุ์เดลตา กระจายง่ายและรวดเร็ว
“ศ.นพ.ยง” เผยฉีดวัคซีนสลับชนิดเบื้องต้นมีความปลอดภัยสูตรซิโนแวค-แอสตร้าเซนเนก้า ได้ภูมิต้านทานระดับสูงใกล้เคียงแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม ในเวลาที่รวดขึ้นเท่าตัว ถือว่าเหมาะสมกับสถานการณ์ระบาดขณะนี้ที่เป็นสายพันธุ์เดลตา กระจายง่ายและรวดเร็ว และวัคซีนที่มีในขณะนี้ ส่วนติดเชื้อ 2 สายพันธุ์ยังไม่พบรายงานการแลกชิ้นส่วนจนเป็นสายพันธุ์ใหม่
วันนี้ (13 กรกฎาคม 2564) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าวการฉีดวัคซีนโควิด 19 สลับชนิด ว่า ประเทศไทยยังคงมีวัคซีนโควิด 19 ปริมาณจํากัด จึงต้องบริหารวัคซีนให้ได้ประโยชน์สูงสุด มีความจําเป็นที่ต้องศึกษาวิจัยรูปแบบการให้วัคซีนในประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ในประเทศมีวัคซีนใช้ 2 ชนิด คือ 1.วัคซีนเชื้อตาย ได้แก่ ซิโนแวค และซิโนฟาร์มที่เป็นวัคซีนทางเลือก และ 2.ไวรัสเวคเตอร์ คือ แอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งชนิดไวรัสเวคเตอร์กระตุ้นภูมิต้านทานได้สูงกว่าเชื้อตาย เนื่องจากทําให้เกิดการติดเชื้อในเซลล์ และสร้างโปรตีนแอนติเจนมากระตุ้นภูมิต้านทาน
“วัคซีนทุกบริษัทผลิตมาจากไวรัสดั้งเดิมคืออู่ฮั่น กระบวนการผลิตใช้เวลาร่วมปี พบว่ากระตุ้นภูมิต้านทานได้เท่าหรือสูงกว่าคนที่หายจากไวรัสอู่ฮั่นดั้งเดิม แต่เมื่อไวรัสมีการกลายพันธุ์ มีทั้งอัลฟา เดลตา จึงต้องการภูมิต้านทานที่สูงขึ้น ทําให้ประสิทธิภาพวัคซีนลดลงทุกตัว แต่วัคซีนบางตัวที่ระดับภูมิต้านทานสูงกว่า แม้ประสิทธิภาพลดลงก็ยังป้องกันการกลายพันธุ์นั้นได้” ศ.นพ.ยงกล่าว
ศ.นพ.ยง กล่าวต่อว่า ขณะนี้การใช้ซิโนแวค 2 เข็ม ไม่เพียงพอต่อการป้องกันเดลตา ส่วนแอสตร้าเซนเนก้าต้องฉีด 2 เข็มจึงป้องกันได้ แต่มีระยะเว้นช่วงระหว่างเข็มนานมากกว่า 10 สัปดาห์ ในสถานการณ์ระบาดที่ส่วนใหญ่เป็นเดลตาที่กระจายง่ายและรวดเร็ว จึงไม่สามารถรอการเว้นช่วงนานได้ เป็นที่มาของการศึกษาการฉีดด้วยวัคซีนเชื้อตายตามด้วยไวรัสเวคเตอร์ ทั้งนี้ จากการติดตามผู้ได้รับวัคซีนมากกว่า 40 คน พบว่า คนที่ติดเชื้อธรรมชาติมีภูมิต้านทานประมาณ 60-70 u/ml, ซิโนแวค 2 เข็มภูมิต้านทานประมาณ 90-100 u/ml แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็มภูมิต้านทานสูงประมาณ 950 u/ml ส่วนซิโนแวคเข็มแรกตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้า ภูมิต้านทานเกือบ 750 u/ml ถือว่าได้ภูมิต้านทานที่สูงขึ้นได้ดีทีเดียว และเร็วขึ้นกว่าเท่าตัวในเวลา 6 สัปดาห์ น่าจะเป็นประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทยขณะนี้
นอกจากนี้ จากการทดสอบการขัดขวางไวรัส (บล็อกกิ้งแอนติบอดี) พบว่าการฉีดซิโนแวคตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิภาพขัดขวางไวรัสได้สูงขึ้นมาก ส่วนความปลอดภัยของการศึกษาการฉีดวัคซีนแบบสลับชนิด ข้อมูลเบื้องต้นของประเทศไทยที่มีการฉีดสลับชนิดมากกว่า 1,200 คน มีการบันทึกอาการไม่พึงประสงค์ในระบบหมอพร้อมพบว่าไม่มีรายใดที่มีอาการข้างเคียงรุนแรง ถือเป็นเครื่องยืนยันมีความปลอดภัยในชีวิตจริง และจะมีการศึกษาอย่างละเอียด คาดว่าจะทราบผลในสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้
ศ.นพ.ยงกล่าวต่อว่า ขณะนี้การติดเชื้อในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์เดลตา โดยเฉพาะ กทม.เป็นเดลตา 70-80% และมีแนวโน้มที่สายพันธุ์นี้จะระบาดทั่วประเทศ ซึ่งสายพันธุ์เดลตานั้นผู้ติดเชื้อจะมีปริมาณไวรัสในลําคอจํานวนมาก แพร่กระจายได้ง่าย โอกาสติดต่อคนสู่คนง่ายกว่าเมื่อก่อน จึงอยากให้ประชาชนตระหนักว่าการติดตามไทม์ไลน์ว่าติดจากใครจะเริ่มยากขึ้น ทุกคนต้องเคร่งครัดระเบียบวินัย ใส่หน้ากากอนามัย 100%เว้นระยะห่าง เป็นสิ่งที่ช่วยป้องกันได้ดีกว่าวัคซีน ส่วนการติดเชื้อ 2 สายพันธุ์ในเดียวกันมีความเป็นไปได้ ถ้าชุมชนมีไวรัส 2 สายพันธุ์ระบาด และได้รับไวรัสทั้ง 2 สายพันธุ์เข้ามาเวลาเดียวกัน แบบนี้เรียกว่าCo-Infectionคือ 1 คนติดเชื้อ 2 สายพันธุ์ ที่กังวลคือไวรัส 2 สายพันธุ์เกิดแบ่งตัวในหนึ่งเซลล์เดียวกัน อาจมีการแลกชิ้นส่วนเกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่เรียกว่าRecombinationซึ่งการระบาดตลอด 1 ปีครึ่งยังไม่พบรายงานกรณีเช่นนี้
**************************************** 13 กรกฎาคม 2564 | 2021-07-13 | 1,557.26001 | 1,570.98999 | 1,571.819946 | 1,555.880005 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี มอบเงินบริจาคจากประชาชนทั่วไปและคณะรัฐมนตรี กว่า 20 ล้านบาท จากบัญชีเงินบริจาค | นายกรัฐมนตรี มอบเงินบริจาคจากประชาชนทั่วไปและคณะรัฐมนตรี กว่า 20 ล้านบาท จากบัญชีเงินบริจาค
นายกรัฐมนตรี มอบเงินบริจาคจากประชาชนทั่วไปและคณะรัฐมนตรี กว่า 20 ล้านบาท จากบัญชีเงินบริจาค "สํานักงานปลัด-สํานักนายกรัฐมนตรีฯ " สมทบโครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไทย รัฐบาลพร้อมสนับสนุนพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ไทยเต็มที่
นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ (25 ตุลาคม 2564) เวลา 08.30 น. ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี เข้าพบ เนื่องในพิธีมอบเงินบริจาคสมทบทุนโครงการเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิด-19 แก่หน่วยงานด้านการวิจัยและนวัตกรรมโครงการเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ นายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อํานวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เป็นผู้รับมอบ มีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ร่วมในครั้งนี้ด้วย
นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีมอบเงินบริจาคจากประชาชนทั่วไปและคณะรัฐมนตรี ในบัญชีเงินบริจาค “สํานักงานปลัด-สํานักนายกรัฐมนตรีเพื่อรับบริจาคสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)” เพื่อสมทบทุนในโครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 แก่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จํานวน 15,050,000 บาท และเพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข จํานวน 5,050,000 บาท
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีสอบถามถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ของประเทศไทย ด้วยความสนใจ พร้อมย้ําให้เร่งรัดพัฒนาพัฒนาวิจัยวัคซีนโควิด-19 ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลให้ได้ตามเป้าหมายที่กําหนด เช่นเดียวกับหลายประเทศที่มีการพัฒนาวิจัยวัคซีนโควิด-19 ซึ่งรัฐบาลพร้อมสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมนอกจากงบประมาณภาครัฐที่มีอยู่ เพื่อให้การวิจัยพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ประสบความสําเร็จได้โดยเร็ว
นายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องทุกคน รวมทั้งภาคประชาชน และภาคเอกชน ที่เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมบริจาคเงินสมทบทุนในครั้งนี้ พร้อมฝากกําลังใจไปให้ยังแพทย์ พยาบาล บุคลากรหน้าด่านทุกคนด้วย
.............................................. | 2021-10-25 | 1,645 | 1,634.199951 | 1,645.910034 | 1,631.290039 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เฮ! ครม. ไฟเขียว ลดภาษีฯ น้ำมันผลิตไฟฟ้าเหลือศูนย์ นาน 6 เดือน ส่งผล “ค่าไฟ” ลด 1 – 1.5 บ./หน่วย | เฮ! ครม. ไฟเขียว ลดภาษีฯ น้ํามันผลิตไฟฟ้าเหลือศูนย์ นาน 6 เดือน ส่งผล “ค่าไฟ” ลด 1 – 1.5 บ./หน่วย
.....
ที่ประชุม ครม. (8 มี.ค. 65) อนุมัติการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ํามันดีเซล - น้ํามันเตาที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าและขายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยให้จัดเก็บภาษีฯ ในอัตราศูนย์ จนถึงวันที่ 15 ก.ย. 65 (6 เดือน) เพื่อลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าและบรรเทาภาระค่าไฟของประชาชน
.
ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าจะลดลงประมาณ 1 – 1.5 บาทต่อหน่วย รวมถึงการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคในภาคอุตสาหกรรมจะมีต้นทุนการผลิตที่ลดลงเช่นกันตามภาระค่าไฟที่ลดลง
#ไทยคู่ฟ้า#ร่วมต้านโควิด19
------------------- | 2022-03-09 | 1,626.719971 | 1,643.640015 | 1,643.869995 | 1,610.339966 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาล ชวนผู้มีสิทธิ 28 ล้านคน “กดยืนยัน” ร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 วันนี้วันแรก (1 ก.พ. 65) ทั่วประเทศ พร้อมใช้จ่ายได้ทันที | โฆษกรัฐบาล ชวนผู้มีสิทธิ 28 ล้านคน “กดยืนยัน” ร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 วันนี้วันแรก (1 ก.พ. 65) ทั่วประเทศ พร้อมใช้จ่ายได้ทันที
โฆษกรัฐบาล ชวนผู้มีสิทธิ 28 ล้านคน “กดยืนยัน” ร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 วันนี้วันแรก (1 ก.พ. 65) ทั่วประเทศ พร้อมใช้จ่ายได้ทันที
วันที่ 1 ก.พ. 65 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เดินหน้าอนุมัติโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 ให้เร็วขึ้น เริ่มวันนี้ (1 ก.พ.65) เป็นวันแรก โดยเชิญชวนประชาชนผู้ได้รับสิทธิโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 (ที่สิ้นสุดไปเมื่อสิ้นเดือนธันวาคม 2564) จํานวน 27.98 ล้านคน สามารถกดยืนยันสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ ระยะที่ 4 วันนี้วันแรกผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” และสามารถเริ่มใช้จ่ายได้ทันทีหลังการกดยืนยันสิทธิเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะได้รับสนับสนุนวงเงินค่าสินค้าหรือบริการที่กําหนดในอัตราร้อยละ 50 ทั้งนี้ ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน และไม่เกิน 1,200 บาทต่อคน ตลอดระยะเวลาโครงการฯ ระยะที่ 4 ช่วงระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2565 โดยมีขั้นตอนการยืนยันสิทธิ ดังนี้ 1) กดแถบแบนเนอร์ (Banner) โครงการคนละครึ่ง ที่ปรากฏในหน้า g-Wallet ของแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ตั้งแต่ เวลา 06.00 – 22.00 น. ของทุกวัน 2) ระบบจะแสดงหน้าต่างเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการฯ ระยะที่ 4 โดยกดยอมรับตามเงื่อนไขที่แถบ “ยอมรับเงื่อนไขและการใช้สิทธิ” ทั้งนี้ ประชาชนผู้ได้รับสิทธิโครงการคนละครึ่งระยะที่ 3 จะต้องเริ่มใช้สิทธิโครงการฯ ระยะที่ 4 ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 22.59 น. หากพ้นกําหนดระยะเวลาดังกล่าวจะถูกตัดสิทธิ โดยสิทธิที่เหลืออาจจะนํามาพิจารณาเปิดให้ลงทะเบียนอีกครั้ง
โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า วันนี้เป็นวันแรกของการกดรับยืนยันและการใช้จ่ายสิทธิโครงการฯ ทางธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) ได้เตรียมความพร้อมสําหรับระบบการโอนเงินต่างธนาคารเพื่อโอนเข้า g-Wallet แล้ว ทั้งนี้ในส่วนของประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งระยะที่ 3 จะสามารถลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” หรือ ผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com ได้ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 จนกว่าจะครบจํานวนประมาณ 1 ล้านสิทธิโดยสามารถเริ่มใช้จ่ายวันแรกในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 นอกจากนี้ ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐตามโครงการเพิ่มกําลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐระยะที่ 4 และผู้ได้รับสิทธิโครงการเพิ่มกําลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษระยะที่ 2 จะได้รับเงินช่วยเหลือวงเงิน 200 บาทต่อคนสําหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ในวันนี้ (1 ก.พ. 65) เช่นเดียวกัน โดยสามารถนําไปซื้อของกับร้านที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งได้
“โครงการคนละครึ่ง ถือเป็นมาตรการที่ครองใจประชาชน ลดภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจําวันให้กับพี่น้องประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรม ผู้บริโภค ร้านค้า แผงลอย ได้รับประโยชน์ทุกฝ่าย ประชาชนสามารถวางแผนการใช้จ่ายในแต่ละวันกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ รักษากําลังซื้อ ถือเป็นโครงการที่ทําให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจฐานรากต่อไป” นายธนกร กล่าว | 2022-02-01 | 1,659.430054 | 1,661.75 | 1,663.76001 | 1,658.26001 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ทะลุ 6.9 หมื่นล้านบาท! ต่างชาติแห่ลงทุนในไทยช่วง 6 เดือนแรกปี 65 เกิดการจ้างงาน 3,164 คน | ทะลุ 6.9 หมื่นล้านบาท! ต่างชาติแห่ลงทุนในไทยช่วง 6 เดือนแรกปี 65 เกิดการจ้างงาน 3,164 คน
.....
กระทรวงพาณิชย์ เผยข้อมูลช่วงครึ่งปีแรก (ม.ค. - มิ.ย. 65) มีการอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในไทยแล้ว 284 ราย แบ่งเป็น การลงทุนผ่านการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ 106 ราย และหนังสือรับรองประกอบธุรกิจ 178 ราย คิดเป็นเม็ดเงินลงทุนรวม 69,949 ล้านบาท ส่งผลให้เกิดการจ้างงานคนไทยกว่า 3,164 คน โดย 3 ชาติที่เข้ามาลงทุนมากที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และสหรัฐฯ
.
ธุรกิจที่ได้รับอนุญาตส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐ รวมถึงเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ เช่น บริการให้ใช้แพลตฟอร์มแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ สําหรับการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า/ บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Electric Vehicle Charging Station) สําหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า/ บริการทางวิศวกรรมและเทคนิค/ บริการขุดเจาะปิโตรเลียม เป็นต้น
.
สําหรับช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่าจะมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจในไทยต่อเนื่อง ด้วยมาตรการส่งเสริมการลงทุน การเปิดประเทศ และการอํานวยความสะดวกแก่นักลงทุนของภาครัฐ ซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญที่จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
#ไทยคู่ฟ้า#ร่วมต้านโควิด19
------------------- | 2022-07-27 | 1,557.109985 | 1,576.410034 | 1,576.780029 | 1,555.640015 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้วางระบบการทำงาน ช่วยเหลือประชาชนรับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการมีผลบังคับใช้ของความตกลง RCEP | โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้วางระบบการทํางาน ช่วยเหลือประชาชนรับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการมีผลบังคับใช้ของความตกลง RCEP
โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้วางระบบการทํางาน ช่วยเหลือประชาชนรับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการมีผลบังคับใช้ของความตกลง RCEP
นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยเกี่ยวกับประโยชน์ที่ประชาชนในประเทศไทยจะได้รับจากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2565 ที่ผ่านมาว่า ความตกลง RCEP เป็นเขตการค้าเสรี (FTA) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีสมาชิกครอบคลุมกว่า 15 ประเทศ ได้แก่ 10 ประเทศอาเซียน รวมกับอีก 5 ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ครอบคลุมประชากรมากถึง 2.3 พันล้านคน หรือกว่า 1 ใน 3 ของโลก จึงมีตลาดในการนําเข้าเเละส่งออกสินค้าและบริการที่กว้างขวาง RCEP ยังเป็นความตกลงทางการค้าที่เปิดกว้างที่สุด และครอบคลุมหลายด้านที่ทําให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคในแต่ละประเทศสมาชิก โดยเฉพาะการลดภาษีสินค้านําเข้าสูงที่สุดถึงร้อยละ 99 ของสินค้าทั้งหมด ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสให้สินค้าไทยเข้าถึงตลาดประเทศสมาชิก RCEP ได้ด้วยต้นทุนที่ถูกลง อีกทั้งมีมาตรการที่อํานวยความสะดวกในการลงทุนขยายฐานการผลิตของบริษัทต่างชาติในไทย เช่น ในโครงการ EEC
โฆษกรัฐบาล กล่าวว่า ประโยชน์ที่ประชาชน เกษตรกร ผู้ผลิต และผู้ประกอบการไทย จะได้รับจากความตกลง RCEP ซึ่งกําหนดให้ประเทศสมาชิกลดหรือยกเลิกกฎระเบียบและมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าและการลงทุน อาทิ
- ยกเลิกการเก็บภาษีนําเข้า (ภาษีเหลือ 0%) สําหรับสินค้าส่งออกไทย จํานวนกว่า 29,891 รายการ ที่จะช่วยลดต้นทุนในการผลิตสินค้า เพิ่มประสิทธิภาพในการส่งออก เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการและเปิดตลาดใหม่ ๆ ให้กับสินค้าส่งออกของไทย
- ผู้ประกอบการได้รับการอํานวยความสะดวกหรือลดความยุ่งยากทางการค้า โดยเฉพาะด้านพิธีศุลกากร และเพิ่มช่องทางออนไลน์สําหรับการยื่นเอกสารขอนําเข้าสินค้าเป็นการล่วงหน้า
- ปรับ ประสานมาตรฐานและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมของประเทศผู้นําเข้า ให้มีความชัดเจน และเป็นไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น เพื่ออํานวยความสะดวกทางการค้าระหว่างกัน
- ลดหรือ ยกเลิกข้อกําหนดด้านการลงทุน ที่เป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อนักลงทุนต่างชาติภายในประเทศสมาชิก อาทิ สัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติ เงื่อนไขสัญชาติของผู้ให้บริการ และกฎระเบียบในการจัดตั้งกิจการหรือการลงทุน
- เปิดโอกาสให้นักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนในประเทศสมาชิกในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ เช่น บริการสําหรับผู้สูงอายุ และโรงพยาบาล
นายธนกร กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ความตกลง RCEP ยังจะช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ของไทย ที่ถือเป็นหัวใจสําคัญของเศรษฐกิจประเทศหลายล้านรายที่กระจายอยู่ในภาคธุรกิจต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากความตกลงได้อย่างเต็มที่ ซึ่งคาดว่าจะสร้างรายได้และการจ้างงานให้กับประเทศมากขึ้น ทั้งยังเป็นโอกาสให้ไทยสามารถเปิดรับการลงทุน และการพัฒนาจากประเทศสมาชิก ในสาขาที่ไทยมีความต้องการ ไม่ว่าจะเป็น การวิจัยและพัฒนา การศึกษา สิ่งแวดล้อม การซ่อมบํารุงชิ้นส่วนอากาศยานหรือเรือขนาดใหญ่หรืออุปกรณ์ขนส่งทางราง และการผลิตหุ่นยนต์สําหรับใช้ในภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้สอดรับกับโอกาส สิทธิประโยชน์ที่ไทยได้รับภายใต้ความตกลง RCEP พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเเละรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนา ส่งเสริม และอํานวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ ให้แก่ประชาชน เอกชน ผู้ประกอบการ ให้ได้ใช้และรับประโยชน์จากความตกลงฯ ดังกล่าวอย่างเต็มที่ | 2022-01-07 | 1,659.150024 | 1,657.619995 | 1,662.420044 | 1,650.530029 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดีอีเอส จัด I - Share ครั้งที่ 6 เรื่อง เทคนิคการเขียนโยบายภาครัฐ พัฒนาจัดการความรู้นำสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ | ดีอีเอส จัด I - Share ครั้งที่ 6 เรื่อง เทคนิคการเขียนโยบายภาครัฐ พัฒนาจัดการความรู้นําสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
ดีอีเอส จัด I - Share ครั้งที่ 6 เรื่อง เทคนิคการเขียนโยบายภาครัฐ พัฒนาจัดการความรู้นําสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
เมื่อวันที่21กันยายน2564นางสาวอัจฉรินทร์พัฒนพันธ์ชัยปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธานเปิดกิจกรรมI - Shareครั้งที่6พร้อมบรรยายในหัวข้อเรื่องเทคนิคการเขียนโยบายภาครัฐณห้องประชุม802ชั้น8สํานักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีนางปิยนุชวุฒิสอนผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวรายงานสําหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อพัฒนาจัดการความรู้ขององค์กรให้ก้าวสู่การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ปลูกฝังวัฒนธรรมการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆเชิงรุกที่หลากหลายโดยมีข้าราชการเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯเข้าร่วมกิจกรรมจํานวน100คน
************ | 2021-09-21 | 1,604.640015 | 1,614.859985 | 1,618.189941 | 1,591.810059 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-PM: Multilateralism is key to overcome global crisis | PM: Multilateralism is key to overcome global crisis
PM: Multilateralism is key to overcome global crisis
November 25, 2021, at 1505hrs (Thailand), at Bhakdi Bodin Building, Government House, Prime Minister and Defense Minister Gen. Prayut Chan-o-cha, in his capacity as ASEAN Coordinator, delivered a statement via a teleconference at the opening session of the 13th ASEM Summit (ASEM13). Government Spokesperson Thanakorn Wangboonkongchana disclosed gist as follows:
Cambodian Prime Minister host of the meeting mentioned the theme “Strengthening Multilateralism for Shared Growth”. He emphasized that ASEM needs to get more cooperation for multilateralism, especially after the COVID-19. This meeting is a chance for all leaders to put a strong effort into participating in ASEM on the world stage.
Thai Prime Minister expressed pleasure that the ASEM Summit returned to the ASEAN region again, which coincides with its 25th anniversary since the inaugurate ASEM Summit in Bangkok on March 1-2, 1996. Thailand believes that multilateralism is the key to overcome global crisis. Multilateral cooperation should be tangible on the basis of shared benefits between member countries. The Prime Minister also proposed the principle of “5Ps”, in accordance with the 2030 Sustainable Development Goals (SDGs) on which ASEM should place importance:
First is People. Priority should be placed on creating security of over 4 billion ASEM citizens, both in terms of health, wellbeing, and safety based on the principle of people-centered development without leaving any one behind. Universal, equitable and timely access to COVID-19 vaccines and universal health coverage must be promoted.
Second: Partnership on the basis of equality, trust, respect, and mutual interest must be promoted. Importance should be placed on multilateral partnership under international organization framework to prepare for and respond to future challenges.
Third is Peace. Cooperation among ASEM member countries must be promoted to reinforce a conducive environment for peace, and prevent regional competition and conflict which may be escalated to global conflicts.
Fourth is Prosperity. Member countries must grow together, and commit to multilateral trade system under WTO rules and regulations. Importance should be placed on adjustment to accommodate the 4th Industrial Revolution (4IR), especially upskilling and reskilling of the labor sector and SMEs, and improvement of global supply chain.
Last is Planet. ASEM needs to work together to preserve our planet through adopting a balanced approach towards development to ensure that all countries can achieve the SDGs by 2030.
The Prime Minister expressed hope that the meeting would encourage exchange of experiences and views that promote balanced, peaceful, secure, prosperous, and sustainable world we live in. | 2021-11-25 | 1,654.939941 | 1,648.459961 | 1,656.459961 | 1,644.869995 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธปท. ประสาน ธ.ออมสิน จับมือ LINE MAN Wongnai ให้ความช่วยเหลือเสริมสภาพคล่องธุรกิจร้านอาหาร และกลุ่มไรเดอร์ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 | ธปท. ประสาน ธ.ออมสิน จับมือ LINE MAN Wongnai ให้ความช่วยเหลือเสริมสภาพคล่องธุรกิจร้านอาหาร และกลุ่มไรเดอร์ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19
โครงการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือร้านอาหารในแพลตฟอร์มของ LINE MAN Wongnai ดังกล่าว เป็นการให้ความร่วมมือกับ ธปท. เพื่อเพิ่มสภาพคล่องแก่ผู้ประกอบการ โดยนําเสนอ 4 สินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรนเป็นพิเศษ
นางวิเรขา สันตะพันธุ์ ผู้อํานวยการอาวุโส ฝ่ายกํากับและตรวจสอบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ที่ยังส่งผลกระทบต่อเนื่องและรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจ ในเกือบทุกภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว บริการ และร้านอาหาร สถานการณ์ดังกล่าว ธปท. เห็นถึงความจําเป็นที่จะต้องให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมนอกเหนือจากมาตรการช่วยเหลือทางการเงินที่ ธปท. ได้ออกไปแล้วต่อเนื่อง จึงได้เพิ่มการให้ความช่วยเหลืออีกรูปแบบหนึ่ง ผ่านการเป็นตัวกลางในการประสานระหว่างสถาบันการเงิน และผู้ประกอบการให้ได้รับความช่วยเหลือเสริมสภาพคล่องธุรกิจได้อย่างตรงจุด
“วันนี้ถือเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือของ ธนาคารออมสิน และ LINE MAN Wongnai ที่พยายามให้ความช่วยเหลือภาคธุรกิจเพื่อต่อลมหายใจผู้ประกอบการร้านอาหารอย่างเร่งด่วนในการเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการร้านอาหารสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องได้มากขึ้น หรือแม้กระทั่งการเข้าถึงสินเชื่อของกลุ่มไรเดอร์ เพื่อบรรเทาผลกระทบที่ได้รับ สําหรับในระยะต่อไป ธปท. จะมีการขยายความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบในธุรกิจอื่น ๆ อีก ท้ายนี้ ธปท.ขอเป็นกําลังใจและเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยภาคธุรกิจในภาวะที่ยากลําบากขณะนี้”
นายวีระชัย อมรถกลสุเวช รองผู้อํานวยการธนาคารออมสิน กลุ่มลูกค้าธุรกิจและภาครัฐ กล่าวว่า โครงการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือร้านอาหารในแพลตฟอร์มของ LINE MAN Wongnai ดังกล่าว เป็นการให้ความร่วมมือกับ ธปท. เพื่อเพิ่มสภาพคล่องแก่ผู้ประกอบการ โดยนําเสนอ 4 สินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรนเป็นพิเศษ ได้แก่ 1) สินเชื่อสู้ภัยโควิด 19 สําหรับร้านค้า และไรเดอร์ วงเงินให้กู้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยเพียง 0.35% ต่อเดือนเท่านั้น โดยไม่ต้องมีหลักประกันการกู้ และไม่ต้องชําระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก 2) สินเชื่ออิ่มใจ สําหรับธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม ให้กู้ รายละไม่เกิน 100,000 บาท ดอกเบี้ย 3.99% ต่อปี ไม่ต้องมีหลักประกันการกู้ และไม่ต้องชําระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรกเช่นกัน 3) สินเชื่อ Soft Loan สําหรับ SMEs ท่องเที่ยวและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ทั้งร้านอาหาร/เครื่องดื่ม ธุรกิจสปา/นวดแผนไทย บริการขนส่ง/นําเที่ยว วงเงินให้กู้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาทต่อราย ดอกเบี้ย 3.99% ต่อปี ระยะเวลาการกู้นานไม่เกิน 7 ปี ไม่ต้องชําระเงินต้น 2 ปี และ 4) สินเชื่อ Soft Loan ธปท. เพื่อฟื้นฟูกิจการ เปิดกว้างทั้งลูกค้าใหม่และลูกค้าเดิม อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปีแรก 5% ผ่อนชําระนานสูงสุด 10 ปี และไม่ชําระเงินต้น 2 ปี ผู้ประกอบการที่สนใจ สามารถติดต่อยื่นขอสินเชื่อได้หลายช่องทาง ทั้งที่เว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th แอปพลิเคชัน MyMo และธนาคารออมสินทุกสาขา หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ GSB Contact Center โทร. 1115
นายยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai กล่าวว่า “หนึ่งในนโยบายสําคัญของ LINE MAN Wongnai ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 ระลอก 3 คือการสนับสนุนช่วยเหลือร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องผ่านแคมเปญ #Saveร้านอาหาร สําหรับการจับมือเป็นพันธมิตรร่วมกับทั้งสองหน่วยงานในโครงการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือร้านอาหารและไรเดอร์ครั้งนี้ จะเป็นการสานต่อความตั้งใจดังกล่าว โดย LINE MAN Wongnai ในฐานะแพลตฟอร์มที่บริหารโดยคนไทย ซึ่งมีข้อมูลร้านอาหารมากที่สุดกว่า 620,000 ร้านและไรเดอร์จากทั่วประเทศ มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะสนองนโยบายของ ธปท. ในการขยายความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารและไรเดอร์ที่มีรายได้ลดลง ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนช่วยเหลือในภาวะวิกฤตเช่นนี้” | 2021-08-31 | 1,632.650024 | 1,638.75 | 1,643.76001 | 1,628.119995 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯสั่งจัดระบบคัดแยกผู้ป่วยโควิด กลุ่ม608 เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลโดยพลัน ลดเสี่ยงเสียชีวิต | นายกฯสั่งจัดระบบคัดแยกผู้ป่วยโควิด กลุ่ม608 เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลโดยพลัน ลดเสี่ยงเสียชีวิต
นายกฯสั่งจัดระบบคัดแยกผู้ป่วยโควิด กลุ่ม608 เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลโดยพลัน ลดเสี่ยงเสียชีวิต
วันที่ 1 เมษายน 2565 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่านายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ฝ่ายปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดปรับระบบการคัดแยกผู้ป่วยโควิด19 หากพบว่าเป็นกลุ่ม608 กล่าวคือ ผู้สูงอายุเกินหกสิบปี ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และเด็กเล็ก ให้ดําเนินการประสานเพื่อส่งตัวไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลโดยพลัน ไม่ต้องรอรักษาตามอาการ เพื่อลดการสูญเสีย
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากในช่วงเวลาที่ผ่านมา จํานวนผู้ป่วยโควิด19และเสียชีวิต โดยมากเป็นผู้ป่วยกลุ่ม608 อย่างตัวเลขวันนี้ ผู้เสียชีวิต 92 ราย เป็นผู้สูงอายุเกิน 60 ปี ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และเด็กเล็ก รวม 86 ราย คิดเป็น 93%
ขณะนี้ ศบค. สาธารณสุข และ สปสช. อยู่ระหว่างการดําเนินการเพื่อปรับเข้าสู่การคัดแยกตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
--------------- | 2022-04-01 | 1,693.670044 | 1,701.310059 | 1,701.98999 | 1,690.699951 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เร่งเครื่องพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง วางกลไกขับเคลื่อนทั่วไทย ตั้งเป้าพัฒนาเกษตรเมืองเพิ่มพื้นที่สีเขียว | เร่งเครื่องพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง วางกลไกขับเคลื่อนทั่วไทย ตั้งเป้าพัฒนาเกษตรเมืองเพิ่มพื้นที่สีเขียว
เร่งเครื่องพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง วางกลไกขับเคลื่อนทั่วไทย ตั้งเป้าพัฒนาเกษตรเมืองเพิ่มพื้นที่สีเขียว ตอบโจทย์เศรษฐกิจชุมชนยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน
วันนี้ (25 ก.พ.65) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง (Sustainable Urban Agriculture Development Project : SUAD Project) เป็นประธานการประชุมแนวทางการดําเนินงานโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองระดับเขต และระดับจังหวัดทั่วประเทศ ผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์ zoom cloud meeting พร้อมด้วย นายอภัย สุทธิสังข์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ตรวจราชการประจําเขตตรวจราชการ และเกษตรและสหกรณ์จังหวัดทั่วประเทศ เข้าร่วมประชุม โดยมี นายจิตติศักดิ์ ศรีปัญญา ผู้อํานวยการกองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน (กนท.) เป็นเลขานุการการประชุม ทั้งนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและเห็นชอบแนวทางการดําเนินงานโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง ระดับเขต และระดับจังหวัด
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เล็งเห็นความสําคัญการแก้ไขปัญหาภาวะความไม่มั่นคงทางอาหารในเมือง เนื่องจากในปี2562 ประเทศไทยมีประชากรในเมืองมากกว่าในชนบทเป็นครั้งแร กสะท้อนถึงการขยายตัวของเมือง (Urbanization) และชุมชนเมืองมีการผลิตอาหารได้เองไม่ถึง 10% เป็นเหตุผลสําคัญที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในยุคปัจจุบันต้องเร่งขับเคลื่อนพัฒนาการเกษตรในเมือง (Urban Agriculture) โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และยุคต่อไป (Next normal) ที่ต้องให้ความสําคัญระบบนิเวศน์เมืองเรื่องสุขภาพคนและคุณภาพเมือง
ดังนั้น การขับเคลื่อนต้องขับเคลื่อนการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองต้องควบคู่กับเกษตรในชนบท จึงได้มอบนโยบายให้ดําเนินการโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ มีวัตถุประสงค์ 6 ประการ ได้แก่ 1. การพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง 2. การเพิ่มพื้นที่สีเขียว 3. การลด PM 2.5 และลดก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas) 4. การเพิ่มคุณภาพอากาศ 5. การอัพเกรดคุณภาพชีวิตของประชาชน 6. การสร้างเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ ในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ(Climate Change) ของโลก
นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการระดับเขตและจังหวัด ยังรับผิดชอบการขับเคลื่อนโครงการธนาคารสีเขียว (Green Bank) เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวตามแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน โดยการปลูกไม้เศรษฐกิจเป็นทรัพย์สินและหลักทรัพย์ค้ําประกันทั้งยังนํามาคํานวณเป็นคาร์บอนเครดิตเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกควบคู่ไปด้วยตามเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Carbon Zero ของประเทศไทย เพื่อนํามาประยุกต์ใช้เป็นแรงจูงใจในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวอีกทางหนึ่ง
นายอลงกรณ์ กล่าวต่อไปว่า การบริหารโครงการเชิงโครงสร้างครอบคลุมทั้งประเทศ นอกจากจะมีกลไกคณะกรรมการระดับพื้นที่แล้ว ยังมีคณะกรรมการระดับคลัสเตอร์ หรือคณะทํางานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่ต่างๆ ได้แก่ 1) คณะทํางานขับเคลื่อนฯ ในพื้นที่ที่วัด (Green Temple) 2) คณะทํางานขับเคลื่อนฯ ในพื้นที่วิทยาลัย (Green College) 3) คณะทํางานขับเคลื่อนฯ ในพื้นที่โรงเรียน (Green School) 4) คณะทํางานขับเคลื่อนฯ ในพื้นที่มหาวิทยาลัย (Green Campus) 5) คณะทํางานขับเคลื่อนฯ ระดับชุมชนและท้องถิ่น (Green Community) 6) คณะทํางานขับเคลื่อนฯ ในพื้นที่อาคารชุด (Green Condo) 7) คณะทํางานขับเคลื่อนฯ ในพื้นการเคหะแห่งชาติ (Green Housing ) 8) คณะทํางานขับเคลื่อนฯ ในพื้นที่อุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม (Green Industry) 9) คณะทํางานขับเคลื่อนฯ ในพื้นที่โรงแรม (Green Hotel) และ 10) คณะทํางานขับเคลื่อนฯ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (Green Bangkok) สําหรับเกษตรกรรมยั่งยืน มี 5 สาขา ได้แก่ เกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร และเกษตรธรรมชาติ
“ในเขตเมืองของแต่ละจังหวัดสามารถจัดทําสวนเกษตรในบ้าน ในชุมชน หรือพื้นที่สาธารณะแบบสวนขนาดเล็ก(Pocket Garden) เช่น สวนครัว สวนสมุนไพร สวนผัก หรือในพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ หรือการสร้างสวนป่าขนาดเล็ก (Pocket Forest) แนววนเกษตร เช่น ในกรุงโตเกียว ในมหานครลอนดอน และในสิงคโปร์ ก็ทําสวนป่าสีเขียวในป่าคอนกรีต รวมทั้งต้องมีตลาดเกษตรในเมือง (Farmer Market) เพื่อจําหน่ายผลผลิตเกษตรในชุมชนเมืองด้วย เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจพร้อมกับยกระดับคุณภาพเมืองคุณภาพขีวิตของประชาชน” นายอลงกรณ์ กล่าวในที่สุด. | 2022-02-25 | 1,676.119995 | 1,679.900024 | 1,684.5 | 1,670.130005 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"ชัยวุฒิ" แนะนายจ้างยุคใหม่ ปรับตัวชูดิจิทัลรับโลกเปลี่ยน | "ชัยวุฒิ" แนะนายจ้างยุคใหม่ ปรับตัวชูดิจิทัลรับโลกเปลี่ยน
"ชัยวุฒิ" แนะนายจ้างยุคใหม่ ปรับตัวชูดิจิทัลรับโลกเปลี่ยน
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดงานสัมมนาสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย และ กล่าวปาฐกถาเรื่อง “การเปลี่ยนแปลงธุรกิจในยุคดิจิทัล (Business Change in Digital Era)” ว่า นายจ้างต่างๆได้มีปรับตัวเองให้รวดเร็วขึ้นเพื่อทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกจากดิจิทัลเทคโนโลยีต่างๆที่เปลี่ยนไปเร็วมาก ซึ่งเมื่อ2-3 ปีก่อนที่ Covid-19 จะระบาดในทุกวงการจะมีการคาดการณ์ว่าการทําธุรกิจทั่วโลกจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ แต่ปรากฎว่าจากการระบาดของ Covid-19 ที่ผ่านมาทําให้พฤติกรรมคนในประเทศไทยและทั่วโลกเปลี่ยนไปเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ จึงยิ่งทําให้รูปแบบการทําธุรกิจ ยิ่งต้องมีการปรับตัวให้เร็วขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้
ปัจจุบันโครงสร้างพื้นฐานของไทยมีความพร้อมอยู่แล้ว ทั้งเรื่องอินเทอร์เน็ต สื่อสารไร้สาย มือถือ ซึ่งประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ มีความพร้อมมาก พร้อมกันนี้บริษัทต่างๆ จําเป็นต้องปรับตัว ในการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับเปลี่ยนแปลงธุรกิจ เพื่อเพิ่มโอกาสและศักยภาพในการแข่งขันของตนให้มีศักยภาพที่สูงขึ้นต่อไป
นายเอกสิทธิ์ คุณานันทกุล ประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย กล่าวว่าการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้เพื่อให้ ภาคธุรกิจได้เกิดการตระหนักรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยียุคดิจิทัลที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตแนวคิดของคนในสังคม และการดําเนินธุรกิจที่ต้องปรับเปลี่ยนให้ทันต่อเทคโนโลยีดิจิทัล ที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนการพัฒนามโนทัศน์ของตนเองในการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มโอกาสและศักยภาพในการแข่งขัน และต้องปรับวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์กรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลทั้งในปัจจุบันและอนาคต
******************** | 2022-08-19 | 1,635.349976 | 1,625.920044 | 1,638.75 | 1,623.689941 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-Zero Carbon !! จุรินทร์ ชู "โอกาสไทยในเวทีโลก" ดัน Green Economy-Soft Power-Carbon Market-BCG Model นำประเทศไทยปรับตัว"สนองเทรนด์โลก" | Zero Carbon !! จุรินทร์ ชู "โอกาสไทยในเวทีโลก" ดัน Green Economy-Soft Power-Carbon Market-BCG Model นําประเทศไทยปรับตัว"สนองเทรนด์โลก"
วันที่ 11 พฤษภาคม 2565 เวลา 13.45 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ปาฐกถาพิเศษเรื่อง "ยุทธศาสตร์การค้าไทยยุคใหม่ สู่ความยั่งยืนในเวทีโลก"
งานสัมมนาฐานเศรษฐกิจ zero carbon วิกฤติ-โอกาส ไทยในเวทีโลก ที่ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ
นายจุรินทร์ กล่าวว่า วันนี้ประเทศไทยกําลังเผชิญกับปัญหาที่ท้าทายอย่างยิ่งทั้งโควิด เศรษฐกิจ สงครามการค้าและมีสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซ้ําซ้อนเข้ามาเหมือนทุกประเทศในโลก ทําให้การคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย IMF คาดการณ์ว่าปี 65 จาก +4.4% ประเมินใหม่เหลือ +3.6% อังค์ถัด คาดว่าเหลือ +2.6% สาเหตุเพราะ 1.วิกฤติจะกระทบกับห่วงโซ่การผลิตชะงัก วัตถุดิบขาดแคลน 2.ราคาพลังงานผันผวน 3.ตลาดแรงงานทั่วโลกตึงตัว 4.เงินเฟ้อ สําหรับไทยถือว่าน้อยกว่าหลายประเทศ 5.ปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์
สําหรับประเทศไทย IMF คาดว่ายังเป็นบวก 3.3% คลังบอกว่าบวก 3.5% ตัวขับเคลื่อนสําคัญของไทยคือการส่งออกปี 64 ท่ามกลางวิกฤติต่างๆ บวกถึง 17.1% เกินเป้าที่ตั้งไว้ที่ 4% สูงที่สุดในรอบ 11 ปี ทําเงินเข้าประเทศ 8.5 ล้านล้านบาท ปีนี้ตั้งเป้าบวก 4% ซึ่ง 3 เดือนแรกปี 65 เกินเป้าแล้วบวก 15% นําเงินเข้าประเทศ 2.4 ล้านล้านบาท ตั้งเป้าที่ 9 ล้านล้านบาท มีนาคม 65 +20% เงินเข้าประเทศเดือนเดียว 9.2 แสนล้านบาท
สูงที่สุดในรอบ 30 ปีและเป็นตัวจักรสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
แต่หลังจากนี้การท่องเที่ยวเริ่มจะมีเข้ามาแล้ว หลังเปิดประเทศหวังว่าจะเข้ามาช่วยขับเคลื่อนจีดีพีได้ สําหรับการขับเคลื่อนภาครัฐงบประมาณแผ่นดินจะมีเม็ดเงินอีกก้อนมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่การส่งออกยังเป็นพระเอกและเป็นความหวังในการนําประเทศไปข้างหน้าซึ่งจะยากขึ้นทุกวัน เพราะมีความท้าทายใหม่เกิดขึ้น ที่มีวิกฤติที่ต้องพลิกเป็นโอกาสในอนาคตอย่างน้อย 2 เรื่อง 1.การแบ่งขั้วทางการเมืองและการค้าที่แยกจากกัน จากนี้จะถูกมัดรวมกัน โลกจะถูกบังคับแบ่งขั้วเลือกข้างมากขึ้น ทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ เป็นความยากในการทําการค้า ซึ่งจะมีหลายประเทศมีบทบาทมากขึ้น ชินเดีย คือ จีนและอินเดียที่มีประชากรและจีดีพีรวมกัน 1 ใน 3 ของโลก จะเป็นประเด็นใหม่ทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่นักธุรกิจและภาครัฐจะมองข้ามไม่ได้ ประเทศไทยต้องฝ่าวิกฤติการแบ่งขั้วแบ่งค่ายทางการเมืองให้ได้ อย่างน้อยไทยต้องจับมือกับอาเซียนผนึกกําลังกันให้ชัด ให้มีอํานาจต่อรองเข้มแข็งขึ้นในเวทีการค้าโลก 2.เงื่อนไขกีดกันทางการค้ารูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่ภาษีจะเกิดมากขึ้น สัญญาณเตือนคือคําประกาศของสหภาพยุโรปที่เรียก European Green DEAL ประกาศในปี 2020 ทําเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปให้มีความยั่งยืนด้วย green economy ซึ่งมีมาตรการ CBAM หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นความท้าทายใหม่สําหรับโลกและประเทศที่อาศัยตลาดสหภาพยุโรปต้องตระหนักและเร่งปรับตัวให้ไปขายในสหภาพยุโรปได้
และปี 2026 สหภาพยุโรปจะเก็บภาษีคาร์บอนที่ข้ามพรมแดน เบื้องต้น 5 รายการ 1)เหล็ก 2)อะลูมิเนียม 3)ปุ๋ย 4)ซีเมนต์ 5)บริการด้านไฟฟ้าพลังงาน และอนาคตจะเพิ่มอีกคือ1)พลาสติกและผลิตภัณฑ์จากพลาสติก 2)ไฮโดรเจนซึ่งใช้กับรถยนต์ไฟฟ้า 3. ออร์แกนิค เคมีคอล ที่ผสมอยู่ในปุ๋ย
นอกจากนี้สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของเกือบทุกประเทศในโลก อาจเก็บ Carbon TAX สําหรับสินค้าที่เข้าประเทศในอนาคต ประเมินว่าอาจมีเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ ก๊าซธรรมชาติและปิโตรเลียม เป็นต้น
มาตรการเหล่านี้จะกระทบทั้งการผลิตและการตลาด โดยเฉพาะภาคการผลิตที่ต้องปลอดคาร์บอนให้มากที่สุด ทั้งภาคการเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรม รวมถึงภาคบริการด้วย ทางออก คือ ต้องเตรียมพร้อมสําหรับการรับมือ ต้องเดินสู่การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องทําและปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว
และประเทศไทยมีการสนองตอบต่อการพลิกวิกฤตินี้เป็นโอกาส เช่น ประกาศเป้าหมายสู่การเป็นซีโร่คาร์บอนในปี 2065 และได้มีการจัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ได้ส่งสัญญาณเตือนว่า อียูจะเก็บภาษีคาร์บอน และเรามี 1.วิสัยทัศน์ “เกษตรผลิตพาณิชย์ตลาด”ยุทธศาสตร์ “ตลาดนําการผลิต”จับมือร่วมกันระหว่างกระทรวงเกษตรฯและกระทรวงพาณิชย์ เอาภาคการผลิตกับภาคการตลาดอยู่ด้วยกัน สนองความต้องการทางการตลาดและเงื่อนไขทางการตลาดของโลก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2.มีการแยกหมวดเฉพาะ คือ BCG ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเดือนตุลาคม 64 ถึงไตรมาสแรก ปี 65 ทําตัวเลขส่งเสริมสินค้า BCG ได้ถึง 3,800 ล้านบาท เกินเป้า 7 เท่า มีผู้ประกอบการ 1,351 ราย โดยเฉพาะอาหารแห่งอนาคต อาหารของคนรุ่นใหม่ อาหารเฉพาะ อาหารทางการแพทย์ เป็นต้น และภาคการผลิตต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
และกระทรวงพาณิชย์จะจับมือกับภาคเอกชน รัฐหนุนเอกชนนําและที่สําคัญ ต่อไปนี้ต้องเน้นมาตรการเชิงรุกและเชิงลึก สอดคล้องกับมาตรการทางคาร์บอน กลไกเศรษฐกิจทันสมัยต้องเอามาใช้มากขึ้น ทั้งเรื่องเทคโนโลยี นวัตกรรม อีคอมเมิร์ซ จับคู่เจรจาการค้า Blockchain cryptocurrency Metaverse และ Soft Power ต้องเอามาขายคู่กับ Green Economy ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพด้าน Soft Power มาก มีการจัดอันดับโลกและเอเชียทางวัฒนธรรมประเทศไทยอยู่ลําดับ 5 ของเอเชีย รองจากญี่ปุ่น จีน เกาหลี อินเดีย เราจะต้องขายคู่กับ Zero Carbon
ถ้าเราสามารถจับมือไปด้วยกันในทิศทางที่ถูกต้อง ตนเชื่อว่าจะสามารถปรับวิกฤตินี้ให้เป็นโอกาสได้ให้เป็นทางรอดทางการค้านําเงินมหาศาลเข้าประเทศได้และยังทําให้ประเทศไทยสังคมไทยกลายเป็นประเทศที่น่าอยู่ ทําให้คนไทยทั้งประเทศ ชาวกรุงเทพมหานครมีความสุขต่อไปในอนาคตได้ คุณภาพชีวิตทุกคนก็จะดีขึ้น | 2022-05-11 | 1,621.349976 | 1,613.339966 | 1,622.699951 | 1,604.300049 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ประชุมบอร์ด กพช. ย้ำทุกฝ่ายเตรียมความพร้อมด้านพลังงานของประเทศให้เพียงพอ เน้นส่งเสริมใช้พลังงานหมุนเวียน | นายกฯ ประชุมบอร์ด กพช. ย้ําทุกฝ่ายเตรียมความพร้อมด้านพลังงานของประเทศให้เพียงพอ เน้นส่งเสริมใช้พลังงานหมุนเวียน
นายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมบอร์ด กพช. ย้ําทุกฝ่ายเตรียมความพร้อมด้านพลังงานของประเทศให้เพียงพอ เน้นส่งเสริมใช้พลังงานหมุนเวียน สร้างความรู้ความเข้าใจการขับเคลื่อนพลังงานของประเทศกับประชาชน เพื่อร่วมกันพลิกโฉมประเทศไทยทุกมิติ
วันนี้ (6 ม.ค.65) เวลา 09.30 น ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 1/2565 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมี นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุม นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสําคัญดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวในที่ประชุม เน้นให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันหาแนวทางเตรียมความพร้อมด้านพลังงานของประเทศไทยให้เพียงพอ เพื่อไม่ให้ประเทศไทยขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า ซึ่งส่งผลให้ราคาไฟฟ้าแพง และทําให้เกิดไฟฟ้าตก ไฟฟ้าดับในบางพื้นที่ ซึ่งจะทําให้เกิดความเสียหายได้ โดยเฉพาะการสนับสนุนส่งเสริมนําพลังงานหมุนเวียนต่าง ๆ มาใช้ ทั้งพลังงานจากแสงอาทิตย์ ลม น้ํา และพลังงานชีวมวลหรือพลังงานสะอาด เป็นต้น โดยคํานึงถึงประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง ทั้งนี้ ความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่าย จะนําไปสู่การป้องกันไม่ให้ประเทศเกิดวิกฤตด้านพลังงาน โดยในปี 2565 ต้องดําเนินการให้มีความก้าวหน้าชัดเจน เกิดผลเป็นรูปธรรมให้มากขึ้น และขยายการดําเนินการให้เกิดผลสําเร็จต่อเนื่องในปีต่อ ๆ ไป เพื่อร่วมกันพลิกโฉมประเทศไทยทุกมิติ ตามเป้าหมายที่กําหนดไว้โดยเฉพาะการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ พร้อมแนะให้พิจารณาแยกกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าให้ชัดเจน ทั้งกลุ่มโรงงาน/เครื่องจักร เกษตรกร สาธารณูปโภคพื้นฐาน กลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีที่ใช้พลังงานมาก ฯลฯ เพื่อกําหนดอัตราค่าไฟฟ้าให้เป็นไปอย่างเหมาะสม เป็นธรรมกับทุกกลุ่ม และประชาชนแต่ละกลุ่มได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง รวมทั้งสามารถเข้าถึงการช่วยเหลือจากภาครัฐตามมาตรการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีขอให้มีการสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการขับเคลื่อนพลังงานของประเทศให้ประชาชนรับทราบ เพื่อร่วมมือกันขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายที่กําหนดและเตรียมความพร้อมในทุกมิติ พร้อมย้ําให้ดําเนินการแผนการขับเคลื่อนการดําเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทย ระยะปานกลาง พ.ศ. 2565 – 2574 รวมถึงโครงการอื่น ๆ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนปฏิรูปประเทศและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พร้อมกําชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดูแลเรื่องการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าจํานวนมาก อันจะส่งผลให้เกิดไฟฟ้าดับหรือไฟฟ้าตกได้ จึงต้องดูแลไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ไฟฟ้าในภาพรวมของประชาชนและประเทศ รวมไปถึง การแสวงหาความร่วมมือด้านพลังงานกับต่างประเทศ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นภายใต้การกําหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน และถูกต้องตามกฎหมายที่มีอยู่ เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
สําหรับมติที่ประชุม กพช. ในประเด็นสําคัญ อาทิ
1. เห็นชอบการจัดสรรผลประโยชน์บัญชี Take or Pay แหล่งก๊าซธรรมชาติเมียนมา โดยให้นําเงินผลประโยชน์ของบัญชี Take or Pay ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 จํานวน 13,594 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในระหว่างการดําเนินการคืนภาครัฐทั้งหมดไปช่วยอุดหนุนค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) โดยนําส่งเงินและลดราคาค่าก๊าซธรรมชาติให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อลดค่าไฟฟ้าให้กับประชาชนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โคโรนา 2019 (COVID – 19) โดยมอบหมายให้คณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน (กกพ.) ทําหน้าที่กํากับดูแลการดําเนินการดังกล่าว
2. เห็นชอบหลักเกณฑ์ราคานําเข้า LNG (LNG Benchmark) สําหรับกลุ่มที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของคณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน (Regulated Market) สําหรับสัญญาระยะยาวและ/หรือสัญญาระยะกลาง ได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้ 1) สมการในรูปแบบเส้นตรงที่อ้างอิงราคาน้ํามัน (Oil linked linear formula) 2) สมการในรูปแบบเส้นตรงที่อ้างอิงราคาก๊าซธรรมชาติ (Gas linked linear formula) และ 3) สมการในรูปแบบ Hybrid ซึ่งอ้างอิงทั้งราคาน้ํามันและก๊าซธรรมชาติ และมีจุดหักมุม (Hybrid oil gas linked formula with a kink point) โดยจะนําเสนอ กพช. เพื่อพิจารณาต่อไป และมอบหมายให้ กกพ. เป็นผู้กํากับดูแลและพิจารณาในรายละเอียดของหลักเกณฑ์ราคา LNG Benchmark สําหรับกลุ่ม Regulated Market ต่อไป
3. เห็นชอบโครงการนําร่องการตอบสนองด้านโหลดปี 2565-2566 50 เมกะวัตต์ ซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กกพ. กฟผ. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการนําร่องการตอบสนองด้านโหลดให้เป็นไปตามเป้าหมายเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมขยายผลตามแผนขับเคลื่อนการดําเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทย ระยะปานกลาง พ.ศ. 2565 - 2574 ต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาการใช้งานการตอบสนองด้านโหลดในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้า และสามารถนําการตอบสนองด้านโหลด (Demand Response: DR) มาทดแทนโรงไฟฟ้าในแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) ตามแผนการขับเคลื่อนการดําเนินงานด้านสมาร์ทกริดในประเทศไทย ในระยะปานกลาง ปี 2565 – 2574 รวมถึงรองรับพลังงงานหมุนเวียนตามเป้าหมายแผนพลังงานชาติ
ที่ประชุมยังรับทราบแผนการขับเคลื่อนการดําเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทย ระยะปานกลาง พ.ศ. 2565 - 2574 โดยกําหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ของแผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง ที่มุ่งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ และการจัดการทรัพยากรในระบบจําหน่าย ไฟฟ้าที่จําเป็น รองรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้ายุคใหม่ อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม โดยให้มีความสอดคล้องกับแผนแม่บทฯ และสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทยเป็นรูปธรรม มีการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน และเกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ และจะได้ใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนแนวทางการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้า อัจฉริยะ (Smart Grid) ของประเทศต่อไป ——— | 2022-01-06 | 1,663.589966 | 1,653.030029 | 1,666.219971 | 1,653.030029 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมการขนส่งทางบก เตือนเจ้าของรถ หลีกเลี่ยงการขูด ลบเลือน หรือติดสติกเกอร์ปิดบังหมายเลขทะเบียนรถ เนื่องจากมีความผิดตามกฎหมาย | กรมการขนส่งทางบก เตือนเจ้าของรถ หลีกเลี่ยงการขูด ลบเลือน หรือติดสติกเกอร์ปิดบังหมายเลขทะเบียนรถ เนื่องจากมีความผิดตามกฎหมาย
...
นางพรรณี พุ่มพันธ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่มีเจ้าของรถบางรายแก้ไข ดัดแปลง แผ่นป้ายทะเบียนรถทั้งหมดหรือบางส่วน การเขียนแก้ไขตัวเลขด้วยลายมือให้เป็นเลขอื่นตามความเชื่อส่วนบุคคล รวมถึงกรณีที่นําวัสดุ เช่น แผ่นทองคําเปลวหรือแผ่นสติกเกอร์ ติดทับจนบดบังตัวอักษรหรือตัวเลขบนแผ่นป้ายทะเบียนรถ กรณีการใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถสกรีนลวดลายกราฟิกเลียนแบบแผ่นป้ายทะเบียนประมูล รวมทั้งการนําแผ่นป้ายพลาสติกที่สกรีนลายกราฟิกไปใช้ครอบแผ่นป้ายทะเบียนรถ ทําให้เข้าใจผิดว่าเป็นแผ่นป้ายทะเบียนประมูล นอกจากนี้ ยังมีกรณีทําแผ่นป้ายทะเบียนรถใหม่ทั้งแผ่นเลียนแบบแผ่นป้ายทะเบียนประมูลโดยใช้เลขทะเบียนเดิม และการใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถที่ทางราชการไม่ได้ออกให้ ซึ่งการกระทําดังกล่าวถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 11 ประกอบมาตรา 60 ฐานใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถที่มีลักษณะไม่ถูกต้องหรือแสดงแผ่นป้ายทะเบียนรถไม่ถูกต้องตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท และหากตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นแผ่นป้ายทะเบียนรถปลอม หมายเลขทะเบียนรถไม่ตรงกับเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจําปี ไม่ตรงกับสําเนาใบคู่มือจดทะเบียนรถ และรายละเอียดของตัวรถ ซึ่งอาจทําให้ผู้อื่นเกิดความสับสนและไม่สามารถระบุหมายเลขทะเบียนรถได้ อาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ฐานปลอมแปลงเอกสารราชการ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท
รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวเพิ่มเติมว่า สําหรับเจ้าของรถที่แผ่นป้ายทะเบียนรถชํารุด ตัวอักษรหรือตัวเลขลบเลือนเนื่องมาจากการใช้งานรวมถึงกรณีสูญหาย แนะนําให้เจ้าของรถเร่งดําเนินการขอรับแผ่นป้ายทะเบียนรถใหม่ทดแทนของเดิมให้ถูกต้องตามกฎหมาย ได้ที่สํานักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียน ซึ่งจะได้รับแผ่นป้ายทะเบียนรถใหม่ภายใน 15 วันทําการ อย่างไรก็ตาม สําหรับเจ้าของรถที่ต้องการหมายเลขทะเบียนรถใหม่ที่ถูกใจ สามารถจองหมายเลขได้ด้วยตนเอง ผ่านเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) www.tabienrod.com ในวันและเวลาราชการ (วันจันทร์ - ศุกร์) ตั้งแต่เวลา 10.00 - 16.00 น. โดยสามารถรองรับการจองหมายเลขทะเบียนรถสําหรับรถเก๋ง รถกระบะ 4 ประตู รถตู้ และรถกระบะบรรทุก (ปิคอัพ) ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีเป็นการจองหมายเลขทะเบียนรถที่ยังไม่เคยจดทะเบียน (รถใหม่) ผู้จองต้องได้รับรถก่อนจึงจะสามารถจองหมายเลขทะเบียนรถได้ ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ สามารถทราบผลการจองได้ทันที ช่วยลดขั้นตอนไม่ต้องเดินทางมาติดต่อที่ ขบ. ลดโอกาสเสี่ยงในการแพร่กระจายและติดเชื้อไวรัส COVID-19 สําหรับรถที่จดทะเบียนในจังหวัดอื่นสามารถติดต่อสอบถามที่สํานักงานขนส่งในเขตจังหวัดที่จะนํารถไปจดทะเบียน | 2021-08-23 | 1,566.099976 | 1,582.069946 | 1,583.130005 | 1,565.930054 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีพอใจ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Fitch ให้ Rating ไทยที่ BBB+ อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ สะท้อนภาพความเชื่อมั่นนักลงทุนทั่วโลก และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทย | นายกรัฐมนตรีพอใจ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Fitch ให้ Rating ไทยที่ BBB+ อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ สะท้อนภาพความเชื่อมั่นนักลงทุนทั่วโลก และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทย
นายกรัฐมนตรีพอใจ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Fitch ให้ Rating ไทยที่ BBB+ อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ สะท้อนภาพความเชื่อมั่นนักลงทุนทั่วโลก และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทย
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เผยข้อมูลจาก Fitch Ratings (Fitch) บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่สะท้อนความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ที่ได้รายงานไปเมื่อเดือนมิถุนายน 2564 ที่ผ่านมาโดยยังคงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) สะท้อนภาพความเชื่อมั่นนักลงทุนทั่วโลก และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทย
ทั้งนี้ การจัดอันดับของ Fitch Rating มีตัวชี้วัดจาก
1) ภาคการคลังสาธารณะ (Public Finance) ซึ่งสะท้อนภาพความแข็งแกร่งของการบริหารจัดการทางการคลังอย่างรอบคอบและเป็นไปตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เพื่อรักษาวินัยทางการคลัง ซึ่งแม้ว่าหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นจากการกู้เงินเพื่อสนับสนุนการดําเนินมาตรการทางการคลังเพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการ และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 และ
2) ภาคการเงินต่างประเทศ (External Finance) ที่ยังคงมีความเข้มแข็ง และส่งผลต่อการจัดอันดับความเชื่อถือของประเทศไทย โดยมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลและทุนสํารองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง เพียงพอสําหรับใช้จ่ายถึง 10.8 เดือน ขณะที่กลุ่มประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับเดียวกัน (Peers) มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 9.3 เดือน นอกจากนี้ คาดว่าในปี 2564 ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศไทยจะยังคงเกินดุลที่ร้อยละ 0.5 ต่อ GDP และจะเกินดุลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว
นอกจากนั้น Fitch ยังแสดงความเชื่อมั่นว่า รัฐบาลไทยสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีกลยุทธ์การบริหารหนี้สาธารณะภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่เข้มแข็ง ส่งผลให้หนี้สาธารณะของประเทศไทย ณ เดือนเมษายน 2564 มีอายุเฉลี่ย (Average Time to Maturity: ATM) ค่อนข้างยาว คือ 9.5 ปี และมีสัดส่วนหนี้สาธารณะสกุลเงินบาทมากกว่าร้อยละ 98 ซึ่งอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับเดียวกัน (BBB peers) เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ โปรตุเกส ฮังการี บัลกาเรีย รัสเซีย และคาซัคสถาน เป็นต้น ที่มีค่ากลางของหนี้สกุลท้องถิ่นอยู่ที่ร้อยละ 68.8 นอกจากนั้น สัดส่วนหนี้ภาครัฐบาล (General Government Debt) ต่อ GDP ของประเทศไทย ในปี 2565 จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 52.7 ต่อ GDP จากการดําเนินนโยบายการคลังเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 และการมีกฎหมายการกู้เงินเพิ่มเติม ซึ่งยังคงอยู่ในระดับต่ํากว่าค่ากลางของกลุ่มประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับเดียวกันที่ร้อยละ 59.4
สําหรับแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 Fitch เชื่อมั่นว่า น่าจะเริ่มฟื้นตัวเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าและการเร่งรัดการเบิกจ่ายโครงการลงทุนของภาครัฐ อีกทั้ง คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2565 จะขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 เนื่องจากการขยายตัวของอุปสงค์ภายนอกประเทศ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทั้งนี้ เมื่อสถานการณ์การระบาดคลี่คลาย เศรษฐกิจฟื้นตัวและรายได้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจะทําให้รัฐบาลจัดทํางบประมาณขาดดุลลดลง
“รัฐบาลพึงพอใจกับการจัดอันดับ และเสนอมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจทั้งระยะสั้นและระยะยาว และพยายามเร่งการฉีดวัคซีนให้ประชาชนอย่างกว้างขวางให้ครอบคลุม รวมถึงการเปิดจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดนําร่อง (Phuket Sandbox) ไปแล้ว เพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบโดสแล้วจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ําและปานกลาง ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย และจะเริ่มเปิดพื้นที่อื่นๆ ที่มีความพร้อมต่อไป เช่น เกาะสมุย เกาะพงัน เกาะเต่า ในกลางเดือนกรกฎาคมนี้ ตามนโยบายเปิดประเทศภายใน 120 วันของนายกรัฐมนตรี” นายอนุชา กล่าว
.................................. | 2021-07-05 | 1,580.689941 | 1,579.280029 | 1,582.459961 | 1,573.670044 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การรถไฟแห่งประเทศไทยพร้อมเปิดให้บริการตู้จำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติ 25 มิถุนายนนี้ | การรถไฟแห่งประเทศไทยพร้อมเปิดให้บริการตู้จําหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติ 25 มิถุนายนนี้
การรถไฟแห่งประเทศไทยพร้อมเปิดให้บริการตู้จําหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติ 25 มิถุนายนนี้ เพื่ออํานวยความสะดวกในการซื้อตั๋วโดยสารได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การรถไฟฯ พร้อมเปิดให้บริการซื้อตั๋วโดยสารผ่านตู้จําหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติ (Automatic Ticket Vending Machine : TVM) สําหรับขบวนรถชานเมืองและรถธรรมดา ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป เพื่ออํานวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถซื้อตั๋วรถไฟได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และลดความเสี่ยงในการสัมผัสเพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 อีกทั้งยังสามารถชําระเงินได้ด้วยเงินสด ทั้งธนบัตร และเหรียญ
ทั้งนี้ ในระยะแรกเปิดจําหน่ายตั๋วโดยสารผ่านตู้จําหน่ายตั๋วอัตโนมัติ (TVM) ในเส้นทางกรุงเทพ – ลพบุรี /แก่งคอย /นครปฐม /สุพรรณบุรี และอรัญประเทศ โดยมีการติดตั้งตู้จําหน่ายตั๋วอัตโนมัติ ทั้งหมด 10 เครื่อง ใน 9 สถานี ซึ่งมีผู้ใช้บริการหนาแน่น ประกอบด้วย สถานีกรุงเทพ (หัวลําโพง) 2 เครื่อง สถานีสามเสน บางซื่อ ดอนเมือง รังสิต ฉะเชิงเทรา มหาชัย วงเวียนใหญ่ ตลาดพลู สถานีละ 1 เครื่อง
นายนิรุฒฯ กล่าวว่า ในอนาคตการรถไฟฯ มีแผนติดตั้งตู้จําหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติเพิ่มเติมตามสถานีต่างๆ และสถานีกลางบางซื่อ เพื่อให้ประชาชนสามารถซื้อตั๋วโดยสารได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ เฟซบุ๊ก แฟนเพจ ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
สําหรับขั้นตอนการซื้อตั๋วรถไฟผ่านตู้จําหน่ายอัตโนมัติ อันดับแรกให้เลือกรายการ "ซื้อตั๋ว" และกดเลือกสถานีปลายทางที่ต้องการ – จากนั้น ให้กด "ถัดไป" เพื่อเลือกขบวนโดยสาร แล้วให้กดเลือกจํานวนผู้โดยสาร และประเภทชั้นรถโดยสารที่ต้องการ เมื่อเลือกเสร็จให้นําบัตรประชาชนเข้าไปในช่องเสียบบัตรประชาชนที่เครื่องอ่านบัตร และกด "อ่านบัตรประชาชน" ข้อมูลผู้โดยสารจะแสดงขึ้นมายังหน้าจอทั้งเลขบัตรประชาชน เพศ ชื่อ และนามสกุล เมื่อตรวจสอบความถูกต้องแล้ว ให้กด "ชําระค่าโดยสาร" โดยชําระได้ทั้งเหรียญและธนบัตร สุดท้ายให้รอรับตั๋วโดยสารที่ช่อง "รับบัตรโดยสาร" รวมถึงเงินทอน | 2021-06-22 | 1,610.849976 | 1,599.22998 | 1,613.660034 | 1,598.560059 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมการขนส่งทางราง เปิดเผยปริมาณผู้โดยสารในระบบขนส่งทางรางวันแรก ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565 | กรมการขนส่งทางราง เปิดเผยปริมาณผู้โดยสารในระบบขนส่งทางรางวันแรก ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565
มีผู้ใช้บริการ รวม 656,325 คน พร้อมประสานผู้ให้บริการระบบรางเตรียมความพร้อมรองรับการเดินทางกลับต่างจังหวัด ซึ่งคาดว่าวันนี้
จะมีผู้โดยสารเดินทางมากที่สุด
ในวันที่ 12 เมษายน 2565 กรมการขนส่งทางราง (ขร.) กระทรวงคมนาคม สรุปปริมาณการเดินทางด้วยระบบรางของประชาชนวันแรกของช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565 พบว่า วันที่ 11 เมษายน 2565 ซึ่งเป็นวันแรกของเทศกาลสงกรานต์ 2565 มีประชาชนมาใช้บริการระบบราง รวมทั้งสิ้นจํานวน 656,325 คน แบ่งเป็นรถไฟระหว่างเมืองของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จํานวน 42,808 คน และรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมถึงรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) จํานวน 613,517 คน โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. รถไฟของ รฟท. จํานวน 42,808 คน แบ่งเป็นผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ จํานวน 17,209 คน และเชิงสังคม จํานวน 25,599 คน โดยมี ผู้โดยสารขาออก จํานวน 23,842 คน และผู้โดยสารขาเข้า จํานวน 18,966 คน โดย รฟท. ได้จัดขบวนรถพิเศษช่วยการโดยสาร 1 ขบวน ในเส้นทาง กรุงเทพ - อุบลราชธานี มีผู้ใช้บริการขบวนนี้ จํานวน 945 คน และพบว่า
-สายใต้มีผู้ใช้บริการมากที่สุดถึง 13,216 คน (ผู้โดยสารขาออก จํานวน 7,030 คน และผู้โดยสารขาเข้า จํานวน 6,186 คน)
- รองลงมา คือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ มีผู้ใช้บริการ จํานวนรวม 11,375 คน (ผู้โดยสารขาออก จํานวน 7,202 คน และผู้โดยสารขาเข้า จํานวน 4,173 คน)
-สายเหนือ จํานวนรวม 9,634 คน (ผู้โดยสารขาออก จํานวน 5,566 คน และ ผู้โดยสารขาเข้า จํานวน 4,068 คน)
-สายตะวันออก จํานวนรวม 6,068 คน (ผู้โดยสารขาออก จํานวน 2,769 คน และผู้โดยสารขาเข้า จํานวน 3,299 คน)
-สายแม่กลอง จํานวน 2,515 คน (ผู้โดยสารขาออก จํานวน 1,275 คน และผู้โดยสารขาเข้า จํานวน 1,240 คน)
2. ระบบรถไฟฟ้า จํานวนรวม 613,517 คน ประกอบด้วย
-รถไฟฟ้า Airport Rail Link จํานวน 31,657 คน
-รถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) จํานวน 7,487 คน
-รถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สีม่วง) จํานวน 23,848 คน
-รถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ําเงิน) จํานวน 172,987 คน
- รถไฟฟ้าบีทีเอส (สีเขียวและสีทอง) จํานวน 377,538 คน
โดย รฟท. ได้เพิ่มตู้โดยสารพ่วงไปกับขบวนรถปกติ ส่วนระบบรถไฟฟ้าในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนเช้าและเย็นได้เพิ่มรถเสริม รวม 9 เที่ยว ได้แก่ Airport Rail Link เพิ่มรถเสริมจํานวน 2 เที่ยว และสายเฉลิมรัชมงคล(สีน้ําเงิน) เพิ่มรถเสริมจํานวน 7 เที่ยว
สําหรับด้านความปลอดภัย มีอุบัติเหตุรถไฟของ รฟท. จํานวน 1 ครั้ง และมีรถไฟฟ้าขัดข้องจํานวน 2 ครั้ง ดังนี้
1. เมื่อเวลา 09.25 น. ขบวนรถธรรมดาที่ 201 (กรุงเทพ - พิษณุโลก) ขณะทําขบวนผ่านประแจเบอร์ 52 ในย่านสถานีกรุงเทพ รถพ่วง 2 คันสุดท้าย (บชส.1133 และ บชส.1052) ได้เบียดกับรถพ่วงคันสุดท้าย (บสพ.1007) ของขบวนรถพิเศษสินค้าห่อวัตถุที่ 985 (กรุงเทพ - สุไหงโกลก) ได้รับความเสียหายรวม 3 คัน ไม่มีรถจักรและรถพ่วงตกราง ไม่มีผู้ใดได้รับอันตราย แก้ไขเบื้องตันโดยตัดตู้รถ บชส.1133 บชส.1052 ของ ขบวน 201 ไว้ที่เกิดเหตุ ส่งผลให้ขบวน 201 กรุงเทพ ออก 10.00 น. ช้า 35 นาที
2. เมื่อเวลา 16.00 น. สายสีแดงช่วงบางซื่อ - รังสิต ระบบไฟฟ้าขับเคลื่อนชั่วคราว และแก้ไขได้เวลา 16.07 น. ส่งผลให้มีขบวนรถล่าช้าเกิน 5 นาที 3 เที่ยว
3. เมื่อเวลา23.59 น. สายสีแดง ช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน ระบบเครื่องนับเพลาล้อขัดข้องที่สถานีบางซ่อนฝั่งขาออก ส่งผลให้มีขบวนรถล่าช้าเกิน 5 นาทีจํานวน 1 เที่ยว
และเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2565 เมื่อเวลา 11.45 น. รถไฟขบวนรถดีเซลรางด่วนที่ 71 (กรุงเทพ - อุบลราชธานี) ได้เฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ ยี่ห้อไทเกอร์ สีขาว - ดํา ทะเบียน กทม 514 พระนครศรีอยุธยา บริเวณจุดตัดทางถนนและทางรถไฟ ระหว่างสถานีบ้านโพ - สถานีอยุธยา ทางเข้าวัดพนัญเชิง เมื่อเวลา 11.41 น. เป็นเหตุให้เสียชีวิต 2 ราย สาเหตุเนื่องจากการฝ่าไม้กั้นรถไฟ ขร. ขอแสดงความเสียใจกับผู้ที่เสียชีวิต และขอความร่วมมือผู้ขับขี่หยุดรถดูความปลอดภัยก่อนข้ามจุดตัดทางรถไฟและไม่ฝ่าฝืนเครื่องกั้นถนนเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซึ่งอาจก่อให้เกิดความสูญเสียของชีวิตและทรัพย์สิน โดยทางกระทรวงคมนาคมได้ขอความร่วมมือไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีทางรถไฟผ่าน จัดเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรืออาสาสมัครมาประจําจุดตัดทางรถไฟเสมอระดับที่เป็นทางลักผ่าน เพื่อช่วยกันป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
สําหรับในวันนี้ (12 เมษายน 2565) คาดว่า จะมีประชาชนเดินทางออกต่างจังหวัดมากที่สุด โดย ขร. ได้ประสาน รฟท. เพิ่มตู้โดยสารเพิ่มเติมไปกับขบวนรถทางไกล และจัดขบวนรถพิเศษช่วยการโดยสาร 4 ขบวน ในเส้นทางกรุงเทพ - เชียงใหม่ กรุงเทพ - อุดรธานี กรุงเทพ - อุบลราชธานี และกรุงเทพ - ศิลาอาสน์ รวมทั้งมีขบวนรถพิเศษช่วยการโดยสารขาเข้า 1 ขบวนในเส้นทางอุบลราชธานี - กรุงเทพ และเตรียมริ้วขบวนรองรับเพิ่มเติมควบคู่กับการประเมินผู้โดยสารช่วงเย็น รวมทั้งประสานผู้ให้บริการรถไฟฟ้าเพิ่มความถี่ในการให้บริการในช่วงเย็นของวันนี้ | 2022-04-12 | 1,673.719971 | 1,674.339966 | 1,678.439941 | 1,669.359985 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โครงการกระจายวัคซีนทางเลือกให้กับประชาชนในพื้นที่ปากเกร็ด จ.นนทบุรี (สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พื้นที่ ศรีสมาน) | โครงการกระจายวัคซีนทางเลือกให้กับประชาชนในพื้นที่ปากเกร็ด จ.นนทบุรี (สํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พื้นที่ ศรีสมาน)
สู่เป้าหมาย 33,000 คน ภายใน กันยายน 2564
อัปเดต “ศูนย์ฉีดวัคซีนทางเลือก ซิโนฟาร์ม”อํานวยความสะดวกให้ประชาชน พื้นที่ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
- ฉีดวันที่ 13 ก.ย.64 จํานวน 750 คน
- ฉีดไปแล้ว 23,900 คน
- ต้องฉีดอีก 9,100 คน | 2021-09-14 | 1,639.900024 | 1,623.839966 | 1,640.400024 | 1,621.959961 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. ลงพื้นที่ จ.พิษณุโลก เปิดศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลบ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก ช่วยแก้ปัญหากลุ่มเปราะบางแบบ One Stop Service | รมว.พม. ลงพื้นที่ จ.พิษณุโลก เปิดศูนย์ช่วยเหลือสังคมตําบลบ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก ช่วยแก้ปัญหากลุ่มเปราะบางแบบ One Stop Service
รมว.พม. ลงพื้นที่ จ.พิษณุโลก เปิดศูนย์ช่วยเหลือสังคมตําบลบ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก ช่วยแก้ปัญหากลุ่มเปราะบางแบบ One Stop Service
วันนี้ (24 ธ.ค. 64)เวลา 11.00 น.นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.)พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวง พม. ลงพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก เพื่อเปิดศูนย์ช่วยเหลือสังคมตําบลบ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก อําเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นศูนย์ช่วยเหลือสังคมตําบลแห่งที่ 5 ในจังหวัดพิษณุโลก โดยให้บริการอย่างครอบคลุมตามภารกิจกระทรวง พม. สําหรับการช่วยเหลือประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายและทุกช่วงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ด้วยการให้บริการด้านสิทธิและสวัสดิการสังคมทั้งด้านการสงเคราะห์ คุ้มครอง พัฒนา ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสังคม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์ เพราะปัญหาของประชาชน รอไม่ได้ อีกทั้งบูรณาการการทํางานร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในพื้นที่ อาทิ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพด.) ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น สภาเด็ก และเยาวชน ชมรมผู้สูงอายุ กลุ่มสตรี และอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เป็นต้น เพื่อให้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของประชาชนด้วยการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Service-OSS) นอกจากนี้ ได้มอบเงินสงเคราะห์แก่ผู้ประสบปัญหาทางสังคม จํานวน 24 ครอบครัว และมอบถุงยังชีพแก่ครอบครัวเด็กที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน จํานวน 24 ครอบครัว
นายจุติกล่าวว่า การเปิดศูนย์ฯ ครั้งนี้ เป็นนโยบายของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อให้ลดช่องว่างระหว่างหน่วยงานราชการกับประชาชน ดังนั้น ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตําบลที่เราตั้งขึ้นจะขยายให้ครบทุกตําบล โดยเราจะเน้นให้ทํางานอย่างครอบคลุม มีคนทํางานและรับเรื่องราวร้องทุกข์ แก้ไขปัญหาให้ชาวบ้านได้ โดยบูรณาการกับทุกกระทรวง ซึ่งเราจะนําเอาสิ่งที่เป็นความคิดนโยบายมาสู่การปฏิบัติ และในขณะนี้ เริ่มลงตัวมากขึ้น ประชาชนยอมรับ ขณะเดียวกันเรามีจิตอาสาที่มาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตนคิดว่าสิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่ดีและเชื่อว่าจะสร้างฐานรากที่ดีและช่วยแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน
นายจุติกล่าวเพิ่มเติมว่า ตําบลบ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อําเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก มีพื้นที่ 56,275 ไร่ มีจํานวน 12 หมู่บ้าน มีประชากร 8,259 คน 1,898 ครัวเรือน ซึ่งปัจจุบันในตําบลบ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก มี อพม.จํานวน ทั้งสิ้น 178 คน ครอบคลุมทั้ง 12 หมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนในตําบล สามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร และบริการต่างๆ ด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ | 2021-12-24 | 1,642.640015 | 1,637.219971 | 1,644.119995 | 1,635.189941 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวง สรุปสถานการณ์น้ำท่วมประจำวันที่ 19 ต.ค. 64 ลา 13.30 น. | กรมทางหลวง สรุปสถานการณ์น้ําท่วมประจําวันที่ 19 ต.ค. 64 ลา 13.30 น.
พบทางหลวงถูกน้ําท่วม/ดินสไลด์ และสะพานชํารุด จํานวน 18 จังหวัด 65 สายทาง จํานวน 111 แห่ง การจราจรผ่านได้ 89 แห่ง มีการจราจรผ่านไม่ได้ 22 แห่ง
นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีความห่วงใยประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนเนื่องจากเส้นทางคมนาคมได้รับผลกระทบจากอุทกภัย จึงเร่งให้หน่วยงานในสังกัดให้เร่งซ่อมแซมฟื้นฟูเส้นทางเพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย รวมทั้งให้เร่งช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่ โดยจัดเตรียมบุคลากร เครื่องมือ เครื่องจักร เพื่ออํานวยความสะดวกในการสัญจรในพื้นที่เกิดเหตุอุทกภัยจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายและเฝ้าระวังสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากขณะนี้บางพื้นที่ยังได้รับอิทธิพลจากพายุทําให้มีปริมาณฝนตกอย่างต่อเนื่อง
สําหรับสถานการณ์ประจําวันที่ 19 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30 น. บทางหลวงถูกน้ําท่วม ดินสไลด์ สะพานชํารุด จํานวน 18 จังหวัด 65 สายทาง จํานวน 111 แห่ง การจราจรผ่านได้ 89 แห่ง และการจราจรผ่านไม่ได้ 22 แห่ง ดังนี้
1. จังหวัดขอนแก่น (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)
- ทล.2 ท่าพระ - ขอนแก่น ช่วง กม. ที่ 329+913 (จุดกลับรถใต้สะพานกุดกว้าง) ระดับน้ําสูง 200 เซนติเมตร
- ทล.2065 พล - ลําชี ช่วง กม. ที่ 33+625 น้ํากัดเซาะคันทางสไลด์
- ทล.2065 พล - ลําชี ช่วง กม. ที่ 33+785 น้ํากัดเซาะคันทางสไลด์
2. จังหวัดมหาสารคาม (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)
- ทล.213 มหาสารคาม - หนองขอน ช่วง กม. ที่ 5+530 (อุโมงค์ท่าขอนยาง) ระดับน้ําสูง 210 เซนติเมตร ผนังกั้นน้ําถูกกัดเซาะ ปิดทางลอดอุโมงค์ใต้สะพาน
3. จังหวัดนครราชสีมา (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)
- ทล. 202 ดอนตะหนิน - ตลาดไทร ช่วง กม.ที่ 93+611 (จุดกลับรถใต้สะพาน) ระดับน้ําสูง 10 - 15 เซนติเมตร
4. จังหวัดชัยภูมิ (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)
- ทล.2484 ทางเลี่ยงเมืองภูเขียว กม. ที่ 7+050 - กม. ที่ 7+150 ระดับน้ําสูง 30 - 50 เซนติเมตร
5. จังหวัดนนทบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)
- ทล.302 สะพานพระนั่งเกล้า - ต่างระดับบางใหญ่ ช่วง กม. ที่ 16+950 (จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางแพรกมุ่งหน้าแคราย) ระดับน้ําสูง 35 - 40 เซนติเมตร
- ทล.302 สะพานพระนั่งเกล้า - ต่างระดับบางใหญ่ ช่วง กม. ที่ 17+000 (จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางแพรกเพื่อมุ่งหน้าถนนกาญจนาภิเษก) ระดับน้ําสูง 40 - 50 เซนติเมตร
- ทล.307 แยกสวนสมเด็จ - สะพานนนทบุรี ช่วง กม. ที่ 0+942 (จุดกลับรถใต้สะพานนนทบุรี) ระดับน้ําสูง 70 เซนติเมตร
6. จังหวัดอ่างทอง (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง)
- ทล.32 นครหลวง - อ่างทอง ช่วง กม. ที่ 32+607 (จุดกลับรถคลองกะท่อ) ระดับน้ําสูง 145 เซนติเมตร
- ทล.32 นครหลวง - อ่างทอง ช่วง กม. ที่ 33+200 (จุดกลับรถวัดค่าย) ระดับน้ําสูง 65 เซนติเมตร
7. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)
- ทล.347 บางกระสั้น - บางปะหัน ช่วง กม. ที่ 40+860 (จุดกลับรถใต้สะพานข้ามแม่น้ําเจ้าพระยา) ระดับน้ําสูง 25 เซนติเมตร
- ทล.3263 อยุธยา - ไผ่กองดิน ช่วง กม. ที่ 10+940 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ําสูง 185 เซนติเมตร
- ทล.3263 อยุธยา - ไผ่กองดิน ช่วง กม. ที่ 11+100 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ําสูง 185 เซนติเมตร
8. จังหวัดสุพรรณบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 4 แห่ง)
- ทล.33 สุพรรณบุรี - นาคู ช่วง กม. ที่ 9+886 สะพานคลองทับน้ํา ระดับน้ําสูง 90 เซนติเมตร
- ทล.340 สาลี - สุพรรณบุรี ช่วง กม. ที่ 59+674 สะพานศาลเจ้าแม่ทับทิม ระดับน้ําสูง 165 เซนติเมตร
- ทล. 340 สาลี - สุพรรณบุรี ช่วง กม.ที่ 71+230-71+กม.ที่ 400 (ช่องคู่ขนานซ้ายทาง) ระดับน้ําสูง 20 เซนติเมตร
- ทล. 3557 ถนนเข้าเมืองสุพรรณบุรี ช่วง กม.ที่ 0+700 - กม.ที่ 0+726 (สะพานเจ้าแม่ทับทิม) ระดับน้ําสูง 25 เซนติเมตร
9. จังหวัดนครปฐม (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)
- ทล. 338 พุทธมณฑลสาย4 - นครชัยศรี ช่วง กม.ที่ 24+800 - 25+500 (จุดกลับรถใต้สะพานฝั่งนครปฐม) ระดับน้ําสูง 50 เซนติเมตร
10. จังหวัดกาญจนบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)
- ทล.3306 หนองปรือ - สระกระโจม พื้นที่ อ.เลาขวัญ ช่วง กม.ที่ 36+200 - กม. ที่ 38+550 ระดับน้ําสูง 40 เซนติเมตร
- ทล.3480 ปลักประดู่ - ถ้ําธารรอด พื้นที่ อ.หนองปรือ ช่วง กม.ที่ 18+650 - กม. ที่ 18+800 ระดับน้ําสูง 60 เซนติเมตร
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางเดินทางด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัย พร้อมขอให้ปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนําและคําแนะนําของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด และหากประชาชนต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง สภาพการจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่สํานักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงในพื้นที่ และสายด่วนกรมทางหลวง โทร.1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) และสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์สภาพเส้นทางได้ที่ทวิตเตอร์กรมทางหลวง @prdoh1 | 2021-10-19 | 1,648.47998 | 1,630.390015 | 1,649.660034 | 1,627.119995 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม.อนุมัติให้โอนเงินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูฯในปีงบประมาณ 2565 เพิ่มเติม | ครม.อนุมัติให้โอนเงินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าบัญชีสะสมเพื่อการชําระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูฯในปีงบประมาณ 2565 เพิ่มเติม
ครม.อนุมัติให้โอนเงินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าบัญชีสะสมเพื่อการชําระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูฯในปีงบประมาณ 2565 เพิ่มเติม จํานวน 4,031 ล้านบาท
วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 น.ส.ไตรศุลีไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้โอนเงินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าบัญชีสะสมเพื่อการชําระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในปีงบประมาณ 2565 เพิ่มเติม จํานวน 4,031 ล้านบาท เพื่อชําระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ยที่กระทรวงการคลังกู้ตามพระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 (FIDF 1) และพระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ.2545 (FIDF 3) ในปีงบประมาณ 2565 รวมจํานวนทั้งสิ้น 6,531 ล้านบาท
ทั้งนี้ที่ผ่านมา ครม.เคยมีมติอนุมัติให้โอนเงินหรือสินทรัพย์ของกองทุนฯเพื่อชําระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 1และ FIDF 3 มาแล้วรวม 19 ครั้ง วงเงินรวมทั้งสิ้น 236,887 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังรายงานว่า ในเดือนพฤษภาคม 2565 กองทุนฯ ได้รับเงินปันผลจากธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน)และบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จํากัด(มหาชน)รวมจํานวน 4,031 ล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการจัดการกองทุนมีมติเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 ให้เสนอครม.อนุมัติให้โอนเงินกองทุนดังกล่าว เพื่อชําระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 1 และ FIDF 3 สําหรับปีงบประมาณ 2565 เพิ่มเติมทั้งจํานวน โดยในปีงบประมาณ2565 จะมีเงินกองทุนที่นําส่งเข้าบัญชีสะสมฯ เพื่อชําระต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 1 และFIDF 3 รวมจํานวนทั้งสิ้น 6,531 ล้านบาท
สําหรับข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2565 มียอดหนี้ต้นเงินกู้ FIDF 1 และ FIDF 3 ดังนี้ ยอดรวมต้นเงินกู้ที่รับมาดําเนินการตามพระราชกําหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555 จํานวน 1,138,305 ล้านบาท มียอดชําระหนี้สะสมตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2555-เมษายน 2565 รวม 775,298 ล้านบาท เป็นการชําระหนี้เงินต้นจํานวน 438,954 ล้านบาท และดอกเบี้ย จํานวน 336,331 ล้านบาท และค่าบริหารจัดการจํานวน 12 ล้านบาท โดยมียอดหนี้คงค้าง ณ เดือนเมษายน 2565 จํานวน 685,004 ล้านบาท | 2022-07-05 | 1,566.51001 | 1,541.300049 | 1,569.959961 | 1,539.319946 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวง ชี้แจงกรณีพบร่างผู้เสียชีวิตในซากรถที่เกิดอุบัติเหตุบนถนนมอเตอร์สาย 7 พร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง | กรมทางหลวง ชี้แจงกรณีพบร่างผู้เสียชีวิตในซากรถที่เกิดอุบัติเหตุบนถนนมอเตอร์สาย 7 พร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง
จากอุบัติเหตุรถยนต์เสียหลักพลิกคว่ํา บนถนนมอเตอร์สาย 7 ฝั่งขาเข้าพัทยา ช่วง กม. ที่ 105+700 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2565 และได้มีการประสานเก็บกู้ซากรถออกจากบริเวณที่เกิดเหตุ แต่ต่อมาพบร่างผู้เสียชีวิตติดอยู่ในซากรถคันดังกล่าว นั้น
นายธนศักดิ์ วงศ์ธนากิจเจริญ ผู้อํานวยการกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังตรวจสอบรายละเอียดอุบัติเหตุดังกล่าวจากศูนย์บริหารจัดการจราจร (CCB) พัทยา พบว่า เมื่อเวลา 07.45 น. เกิดเหตุรถยนต์ ยี่ห้อ นิสสัน สีขาว หมายเลขทะเบียน 2 กร 1787 กรุงเทพมหานคร ชนกับแบริเออร์ ส่งผลให้สภาพหน้ารถและท้ายรถพังเสียหาย เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งเหตุจึงดําเนินการประสานศูนย์วิทยุกู้ภัยแหลมฉบัง เจ้าหน้าที่ตํารวจ และพนักงานสอบสวน รวม 9 นาย ให้รีบไปช่วยเหลือและอํานวยการจราจรบริเวณจุดเกิดเหตุ โดยเจ้าหน้าที่เดินทางถึงจุดเกิดเหตุในเวลา 07.54 น. และดําเนินการตรวจสภาพที่เกิดเหตุอย่างละเอียดทันที ซึ่งเจ้าหน้าที่ตํารวจและกู้ภัยทั้งหมดยืนยันว่าไม่พบผู้บาดเจ็บ ญาติ หรือผู้เสียชีวิต ในบริเวณดังกล่าว และเกรงว่าจะเกิดอุบัติเหตุซ้ําซ้อนส่งผลให้เกิดความไม่ปลอดภัย อีกทั้งหลักฐานจะถูกทําลายไปทําให้เสียรูปคดี จึงทําการเคลื่อนย้ายรถไปเก็บไว้ที่สถานีสอบสวนตํารวจเขาเขียวในเวลา 09.28 น. เพื่อรอเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดําเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง หลังจากนั้นพนักงานสอบสวนได้ติดตามสอบถามไปยังโรงพยาบาล กู้ภัยในพื้นที่ และญาติ แต่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ จึงได้ดําเนินการค้นหาและตรวจสอบที่รถอีกครั้ง จนเมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. พ.ต.ท.รัตพล วรรณะ รอง ผกก.ส.ทล.1 กก.8 บก.ทล.เขาเขียว แจ้งว่า พบศพผู้เสียชีวิต คือ นายภัทรชัย อรรถพร อายุ 68 ปี อาศัยอยู่ที่ตําบลมาบตาพุด อําเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง อยู่ในสภาพแขนซ้ายและขวาหัก นอนขดตัวอยู่บริเวณเบาะคนขับ ใต้พวงมาลัยรถ เจ้าหน้าที่จึงได้ทําการประสานเจ้าหน้าที่กู้ภัยนําร่างออกมาตรวจสอบ และนําไปเก็บรักษาไว้ที่โรงพยาบาลแหลมฉบัง เพื่อแจ้งให้ญาติทราบและทําการชันสูตรพลิกศพ
ทั้งนี้ กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมขอชี้แจงรายละเอียดสําหรับขั้นตอนการปฏิบัติงานของศูนย์ควบคุมการจราจร (CCB) ซึ่งเมื่อได้รับแจ้งเหตุผ่านวิทยุกู้ภัยประจําเขตในพื้นที่และหัวหน้าชุดเพื่อประเมินสถานการณ์ และแจ้งประสานหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว เช่น ตํารวจ รถยก กู้ชีพ เป็นต้น จากนั้นจึงแจ้งรถปฎิบัติการที่ใกล้ที่สุด ลงพื้นที่ตรวจสอบโดยเร็ว เมื่อถึงจุดเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่จะดําเนินการตรวจสอบหน้างาน เช่น ถ่ายรูปที่เกิดเหตุ สร้างแนววางกรวยยาง ติดสัญญาณไฟ เพื่ออํานวยความสะดวก ความปลอดภัย และแก้ไขปัญหารถกีดขวางการจราจรเพื่อป้องกันอุบัติเหตุซ้ําซ้อน หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะดําเนินการตรวจสอบสภาพที่เกิดเหตุ แก้ไขปัญหารถกีดขวางการจราจร ตรวจสอบผู้ได้รับบาดเจ็บ ผู้เสียชีวิต ทรัพย์สินเสียหาย เป็นต้น และหากพบผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต ต้องรีบแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม โดยเจ้าหน้าที่กรมทางหลวงจะดําเนินการตามขอบเขตที่กําหนด และหากในที่เกิดเหตุไม่พบผู้ขับขี่ แนวทางการดําเนินการ คือ เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเพียงภายนอก จะไม่เข้าไปในตัวรถผู้ประสบเหตุ เพื่อป้องกันการร้องเรียนกรณีทรัพย์สินของผู้ประสบเหตุสูญหาย
อย่างไรก็ตาม กรมทางหลวง ขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและขอแสดงความเสียใจไปยังครอบครัวของผู้เสียชีวิต ทั้งนี้ กรมทางหลวงได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อตรวจสอบในรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยได้ให้ตํารวจทางหลวงเข้าร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วย และขอยืนยันว่าจะดําเนินการตรวจสอบความถูกต้องเพื่อคลี่คลายทุกประเด็นที่เป็นข้อสงสัยให้รับทราบต่อไป หากประชาชนผู้ใช้ทางพบเห็นอุบัติเหตุ ประสบอุบัติเหตุ หรือต้องการความช่วยเหลือบนมอเตอร์เวย์ สามารถแจ้งขอรับความช่วยเหลือได้ที่สายด่วนกรมทางหลวง 1586 กด 7 (โทรฟรี 24 ชั่วโมง) | 2022-08-10 | 1,616.400024 | 1,617.209961 | 1,618.069946 | 1,606.089966 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม. อนุมัติ 1,334 ล้านบาท แก้ปัญหาโรคโควิด - จัดซื้อยา “โมลนูพิราเวียร์” สร้างความปลอดภัยให้ประชาชน | ครม. อนุมัติ 1,334 ล้านบาท แก้ปัญหาโรคโควิด - จัดซื้อยา “โมลนูพิราเวียร์” สร้างความปลอดภัยให้ประชาชน
....
ที่ประชุม ครม. (9 พ.ย.) อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จํานวน 1,334.945 ล้านบาท ประกอบด้วย 4 หน่วยงาน
.
1.สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จํานวน 528,400,000 บาท
2.กรมการแพทย์ จํานวน 500,000,000 บาท สําหรับจัดซื้อยาโมลนูพิราเวียร์
3.กรมควบคุมโรค จํานวน 58,165,000 บาท
4.กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จํานวน 248,380,000 บาท
.
พร้อมรับทราบโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (โควิด-19) ระยะการระบาดระลอก เม.ย. 64 โดยมุ่งสร้างความเชื่อมั่น ความมั่นคงด้านสุขภาพ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และเสริมสร้างสังคมวัฒนธรรมให้ประชากรในประเทศ - บุคลากรด่านหน้า ได้รับการดูแล ป้องกัน และรักษาพยาบาลอย่างทั่วถึงสะดวก รวดเร็ว
#ไทยคู่ฟ้า#ร่วมต้านโควิด19
------------------- | 2021-11-11 | 1,629.280029 | 1,632.439941 | 1,634.439941 | 1,626.800049 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดฯ กอบชัย เปิดการสัมมนาโครงการพัฒนาผู้ตรวจประเมิน เรื่อง การบูรณาการขับเคลื่อนมาตรฐานอุตสาหกรรมเอส (มอก. เอส) รุ่นที่ 1 | ปลัดฯ กอบชัย เปิดการสัมมนาโครงการพัฒนาผู้ตรวจประเมิน เรื่อง การบูรณาการขับเคลื่อนมาตรฐานอุตสาหกรรมเอส (มอก. เอส) รุ่นที่ 1
นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการสัมมนาโครงการพัฒนาผู้ตรวจประเมิน เรื่อง การบูรณาการขับเคลื่อนมาตรฐานอุตสาหกรรมเอส (มอก. เอส) รุ่นที่ 1 ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ปลัดฯ กอบชัย เปิดการสัมมนาโครงการพัฒนาผู้ตรวจประเมิน เรื่อง การบูรณาการขับเคลื่อนมาตรฐานอุตสาหกรรมเอส (มอก. เอส) รุ่นที่ 1
วันนี้ (15 กุมภาพันธ์ 2565) เวลา 09.30 น. นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการสัมมนาโครงการพัฒนาผู้ตรวจประเมิน เรื่อง การบูรณาการขับเคลื่อนมาตรฐานอุตสาหกรรมเอส (มอก. เอส) รุ่นที่ 1 ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมี นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ ชั้น 3 อาคารสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และผ่านระบบออนไลน์ ZOOM
นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และกลุ่มธุรกิจเกิดใหม่ (Startup) เป็นกําลังสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และพัฒนายกระดับเป็นอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต รัฐบาลจึงมีนโยบายมุ่งเน้นให้ความสําคัญในการผลักดัน สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนา SMEs และ Startup เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน ทั้งตลาดในประเทศ ตลาดอาเซียน ตลอดถึง ตลาดโลก สอดรับกับเป้าหมาย การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จึงได้จัดทําโครงการสัมมนาผู้ตรวจประเมิน มอก.เอส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการขับเคลื่อนมาตรฐานอุตสาหกรรมเอส (มอก. เอส) ระหว่าง สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) และ สมอ. เพื่อให้ สอจ. สามารถเป็นผู้ตรวจประเมินการรับรอง มอก.เอส ร่วมกับ สมอ.
เพื่อเตรียมการยกระดับขึ้นเป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ต่อไปในอนาคต สอดคล้องตามแผนการพัฒนา ส่งเสริม และยกระดับศักยภาพของ SMEs ทั้งนี้ มอก. เอส ยังมีความพิเศษเฉพาะอีกประการหนึ่ง คือ มอก. เอส งานบริการ ซึ่ง สมอ. ได้เล็งเห็นคุณค่าของงานบริการที่สามารถยกระดับให้มีคุณภาพเป็นมาตรฐานงานบริการที่ผู้บริโภคจะได้รับและจับต้องได้ โดย สมอ. ได้ดําเนินงานภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงภายใต้ภูมิทัศน์ของเศรษฐกิจโลกแบบใหม่ ส่งเสริม และยกระดับผู้ประกอบการ SMEs และที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะโครงการหมู่บ้านอุตสําหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) ของกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อรองรับนโยบายเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวของรัฐบาล | 2022-02-15 | 1,688.670044 | 1,701.449951 | 1,702.73999 | 1,687.180054 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.แรงงาน จัดงาน Thailand Labour Management Excellence Award 2021 สถานประกอบกิจการ 3 แห่ง รับถ้วยรางวัลพระราชทานฯ | ก.แรงงาน จัดงาน Thailand Labour Management Excellence Award 2021 สถานประกอบกิจการ 3 แห่ง รับถ้วยรางวัลพระราชทานฯ
กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จัดพิธีมอบรางวัล Thailand Labour Management Excellence Award 2021 แก่สถานประกอบกิจการที่มีระบบบริหารจัดการด้านแรงงานยอดเยี่ยม ที่มุ่งมั่นส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของลูกจ้าง เป็นต้นแบบพัฒนาองค์กร
เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2564 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลสถานประกอบกิจการที่มีระบบบริหารจัดการด้านแรงงานยอดเยี่ยม ประจําปี พ.ศ. 2564 (Thailand Labour Management Excellence Award 2021) ณ ห้องประชุม จอมพล ป.พิบูลสงคราม ชั้น 5 กระทรวงแรงงาน โดย นายสุชาติ กล่าวว่า การจัดงานพิธีมอบรางวัลนี้ได้ดําเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 เพื่อมอบรางวัลให้กับสถานประกอบกิจการที่มีระบบบริหารแรงงานยอดเยี่ยม โดยขอพระราชทานถ้วยรางวัล จํานวน 3 รางวัล จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณ วรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ให้กับสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ที่ผ่านการคัดเลือกเป็นสถานประกอบกิจการที่มีความมุ่งมั่นในการบริหารแรงงานอย่างเป็นมาตรฐานครบ 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านมาตรฐานแรงงานไทย ด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน และด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน เพื่อเป็นเกียรติยศ และความภาคภูมิใจร่วมกันของนายจ้าง ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ ที่ได้ตระหนักถึงความสําคัญของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ใช้แรงงาน และสร้างจิตสํานึกความรับผิดชอบต่อสังคมด้านแรงงานให้เกิดขึ้น จนสามารถเป็นต้นแบบให้กับสถานประกอบกิจการอื่น ๆ นําไปใช้เป็นแบบอย่างในการพัฒนาองค์กรให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
นายสุชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานประกอบกิจการที่ได้รับรางวัลถ้วยพระราชทาน ประจําปี 2564 จํานวน 3 รางวัล คือ สถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ ได้แก่ บริษัท ซีเฟรชอินดัสตรี จํากัด (มหาชน) จังหวัดชุมพร สถานประกอบกิจการขนาดกลาง ได้แก่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จํากัด (มหาชน) ศูนย์ปรับปรุงพันธุกรรมกุ้งปะทิว จังหวัดชุมพร และสถานประกอบกิจการขนาดเล็ก ได้แก่ บริษัท กรุงเทพสกรีน จํากัด จังหวัดราชบุรีทั้งนี้ ความร่วมมือร่วมใจในการดําเนินการของทั้ง 3 บริษัทดังกล่าว ส่งผลให้นายจ้างและลูกจ้างมีความสัมพันธ์อันดี ลูกจ้างมีขวัญกําลังใจในการทํางานมีศักยภาพในการทํางาน ทั้งสองฝ่ายสามารถปรับตัวเข้ากับบริบทด้านแรงงาน ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม และลดข้อขัดแย้งด้านแรงงานที่อาจเกิดขึ้น ส่งผลดีต่อการประกอบธุรกิจและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศอีกทางหนึ่งด้วย | 2021-09-16 | 1,633.280029 | 1,631.699951 | 1,636.01001 | 1,628.569946 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เผยจ่ายเงินเยียวยาเหยื่อคดีอาญาแล้ว 115 ล้านบาท คิดเป็น 28.76% จี้เร่งทำงานเชิงรุกนำสิทธิให้ถึงมือประชาชน | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เผยจ่ายเงินเยียวยาเหยื่อคดีอาญาแล้ว 115 ล้านบาท คิดเป็น 28.76% จี้เร่งทํางานเชิงรุกนําสิทธิให้ถึงมือประชาชน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เผยจ่ายเงินเยียวยาเหยื่อคดีอาญาแล้ว 115 ล้านบาท คิดเป็น 28.76% จี้เร่งทํางานเชิงรุกนําสิทธิให้ถึงมือประชาชน เผยกรมคุ้มครองสิทธิฯ ถก สตช. ให้ตํารวจช่วยแจ้งสิทธิ-การทําสํานวน เชื่อบริหารจัดการข้อมูลได้ผลช่วยเหลือจะดีขึ้น
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงความคืบหน้าการเร่งรัดเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายและจําเลยในคดีอาญาว่า ผลการดําเนินงานช่วยเหลือเยียวยา ปี 2565 ล่าสุดเบิกจ่ายไปแล้ว 2,220 ราย เป็นเงิน 115 ล้านบาท คิดเป็น 28.76 % ของเป้าหมาย โดยในส่วนของพื้นที่ กทม. มีสถิติการดําเนินคดีเกี่ยวกับชีวิต ร่างกายและเพศ ของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ 480 คดี แต่มีคําขอรับเงินเยียวยาเพียง 172 คดี คิดเป็น 35.83% เท่านั้น ส่วนต่างจังหวัดมี 2,749 คดี มีคําขอ 2,125 คดี คิดเป็น 77.30% ซึ่งตนหวังว่าจะมีผู้เสียหายโดยเฉพาะในพื้นที่ กทม.เข้ามายื่นคําร้องเพื่อรับเงินเยียวยามากกว่านี้ โดยที่ผ่านมาทางกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้เข้าพบ ผู้บริหาร สตช. เพื่อเร่งให้ตํารวจแจ้งสิทธิ รับคําขอและทําสํานวน รวมถึงหารือการเชื่อมต่อระบบฐานข้อมูลผู้เสียหายกับ สตช.แล้ว ซึ่งทางสตช. เองก็ได้ให้การตอบรับที่ดี
นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของผู้ที่ยื่นคําขอแล้ว ต้องมีการติดตามผลการช่วยเหลือ เพื่อเร่งการเบิกจ่าย ซึ่งกรมคุ้มครองสิทธิฯ มีแผนลดระยะเวลาการช่วยเหลือเยียวจาก 21 วันเหลือเพียง 6 วัน เพื่อรีบนําเสนออนุกรรมการพิจารณาโดยเร็ว ซึ่งเราต้องดําเนินการเชิงรุกเพื่อนําสิทธิให้ถึงมือประชาชน เพราะเรามีงบประมาณช่วยเหลือในส่วนนี้ 400 ล้านบาท เป้าหมาย 7,820 ราย ตนอยากให้ทุกองค์กรร่วมมือเพื่อประโยชน์ของประชาชน และตนเชื่อว่าเมื่อบริหารจัดการข้อมูลและระบบต่างๆได้ดีแล้ว ผลการช่วยเหลือเยียวยาจะดีขึ้นในเดือนถัดๆไป | 2022-02-04 | 1,672.900024 | 1,674.219971 | 1,678.719971 | 1,672.390015 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.แรงงาน สานฝันนักเรียนชายขอบ ฝึกทักษะเป็นแรงงานมีฝีมือ | ก.แรงงาน สานฝันนักเรียนชายขอบ ฝึกทักษะเป็นแรงงานมีฝีมือ
. .
กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เดินหน้าเฟส 3 “โครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนครอบครัวยากจนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับ” สร้างอนาคตนักเรียนยากจนที่ไม่ได้เรียนต่อ ประสานมือผู้ตรวจการแผ่นดิน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส ปั้นนักเรียนยากจนกลุ่มเปราะบางเป็นแรงงานมีฝีมือก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน มีงาน มีอาชีพ มีรายได้มั่นคง
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า รัฐบาล ภายใต้การนําของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และกระทรวงแรงงาน ภายใต้การกํากับดูแลของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย ให้ได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ ซึ่งจากข้อมูลศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีนักเรียนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับ มัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 จํานวน 22,168 คน โดยในแต่ละปีนักเรียนเหล่านี้ได้เข้าสู่ตลาดแรงงานในฐานะ “แรงงานไร้ฝีมือ” ในการนี้ กระทรวงแรงงาน จึงบูรณาการร่วมกับผู้ตรวจการแผ่นดิน และหน่วยงานต่างๆ เพิ่มทักษะด้านอาชีพให้แก่นักเรียนกลุ่มดังกล่าว ดูแล สนับสนุนเรื่องตําแหน่งงาน หรือส่งเสริมการประกอบอาชีพหลังจากฝึกอบรมจบหลักสูตรแล้ว ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานในฐานะ “แรงงานมีฝีมือ” อันจะทําให้มีรายได้ ค่าจ้างที่สูงขึ้น สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ซึ่งโครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนครอบครัวยากจนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับนี้ เป็นสิ่งที่ ก.แรงงานให้ความสําคัญอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นการทํางานแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนแบบพุ่งเป้า อาศัยความร่วมมือการบูรณาการจากทุกภาคส่วนโดยมีเป้าหมายคือประชาชน
“กระทรวงแรงงานมุ่งมั่นทุ่มเทเพื่อขับเคลื่อนภารกิจด้านแรงงาน ด้วยการส่งเสริมการมีงานทํา การพัฒนาทักษะฝีมือตามความต้องการของตลาดแรงงาน การคุ้มครองแรงงานในทุกกลุ่ม ทุกมิติให้มีหลักประกันความมั่นคงในชีวิต เพื่อให้พี่น้องผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นพลังสําคัญในการส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศได้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น”
นายประทีป ทรงลํายอง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า การดําเนินโครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับเป็นความร่วมมือระหว่าง 8 หน่วยงาน ได้แก่ สํานักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมการจัดหางาน และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยดําเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 ซึ่งคาดว่า ในปีการศึกษานี้จะมีเด็กนักเรียนที่เรียนจบชั้น ม.3 แล้วไม่มีโอกาสได้เรียนต่อมีจํานวนสูงขึ้นมากกว่าที่ผ่านมา สาเหตุส่วนหนึ่งอาจเกิดจากปัญหาด้านเศรษฐกิจและพิษภัยโควิด-19 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จะดําเนินการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมเข้าทํางานในสาขาอาชีพต่างๆ ให้นักเรียนครอบครัวยากจน ในปี 2564 เพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนครอบครัวยากจน ภายใต้โครงการฝึกอบรมแรงงานกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ผู้สําเร็จการฝึกทักษะอาชีพดังกล่าวจํานวนกว่า 460 คน มีงานทําหรือประกอบอาชีพอิสระ มีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว
การดําเนินการในครั้งนี้เป็นการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับ ของคณะผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อเป็นประธานในพิธีเปิดฝึกอบรมโครงการในปี 2565 ณ สํานักงานพัฒนาฝีมือแรงงานลําพูน โดยดําเนินการฝึกอบรมให้กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นนักเรียนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับ เข้ารับการฝึกอบรม จํานวนรวม 20 คน ฝึกอบรมในสาขา 1) ช่างเครื่องปรับอากาศในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล็ก 2) ช่างซ่อมและบํารุงรักษารถจักรยานยนต์ 3) ช่างแต่งผมสตรี 4) ช่างเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ 5) ช่างเย็บจักรอุตสาหกรรม 6) ช่างยนต์ และ 7) ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ฝึกอบรมในสํานักงานพัฒนาฝีมือแรงงานลําพูน ระหว่างวันที่ 20 เม.ย. – 17 มิ.ย. 2565 และฝึกในสถานประกอบกิจการ ระหว่างวันที่ 20 มิ.ย. – 20 ก.ค. 2565 จากโครงการดังกล่าวมีผู้ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆ จากหน่วยงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ สามารถนําความรู้และทักษะที่ได้รับไปประกอบอาชีพทําให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น และมีงานทํา หลายคนเข้าสู่ตลาดแรงงานทําง่นในสถานประกอบกิจการในฐานะแรงงานมีฝีมือ เช่น นายมงคลชัย ผึ่งผาย และนายโกวิทย์ หนุนภิรมย์ขวัญ เป็นช่างไฟฟ้าในอาคาร ของร้าน เอพี เทคนิคแอร์ จังหวัดลําพูน นายกวีศิลป์ มั่นธรรม เป็นช่างเชื่อมโลหะ ที่ห้างหุ้นส่วนจํากัด เอส เค ที เทรลเลอร์ แอนด์ ทรัค และนายวัชรินทร์ พรมแต้ม เป็นช่างซ่อมเครื่องยนต์ที่ บริษัท Sabai รถไฟฟ้า จํากัด จังหวัดพิษณุโลก นอกจากนี้บางคนเปิดเป็นกิจการส่วนตัว เช่น นายสุขสันต์ ตาก่ํา ปัจจุบัน เปิดร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ ที่จังหวัดลําพูน และ นางสาวรมิตา จิตสัมพันธ์สุข ประกอบอาชีพส่วนตัว ผลิตขนมเบเกอรี่ส่งร้านในจังหวัดเชียงใหม่ และขายออนไลน์ เป็นต้น
การเสริมทักษะฝีมือให้เยาวชน โดยเฉพาะนักเรียนชายขอบรุ่นใหม่ให้เป็นแรงงานที่มีคุณภาพจะช่วยขับเคลื่อนประเทศให้ยั่งยืนต่อไป ผู้ที่สนใจสอบถามรายละเอียดเข้าร่วมโครงการได้ที่ สถาบัน และสํานักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน ทุกจังหวัดทั่วประเทศ หรือสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4 | 2022-04-20 | 1,678.5 | 1,680.349976 | 1,685.900024 | 1,675.579956 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ดีเดย์ 1 ม.ค.65 ผู้ใช้สิทธิบัตรทองรับบริการที่หน่วยปฐมภูมิไหนก็ได้ | ดีเดย์ 1 ม.ค.65 ผู้ใช้สิทธิบัตรทองรับบริการที่หน่วยปฐมภูมิไหนก็ได้
วันเสาร์ที่ 1 มกราคม 2565
ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ค่ะ
วันนี้ (1ม.ค.65) เป็นวันแรกที่ประชาชนในสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สิทธิบัตรทอง ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ สามารถเข้ารับการรักษาที่หน่วยบริการปฐมภูมิไหนก็ได้ โดยหลักการคือ ให้เข้ารับบริการที่หน่วยประจําที่ลงทะเบียนไว้ หรือ หน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่าย เป็นหลัก แต่กรณีที่มีเหตุจําเป็น ก็สามารถเข้ารับบริการโดยใช้สิทธิบัตรทองที่หน่วยบริการปฐมภูมินอกเครือข่ายได้เช่นกัน โดยปี 2564 ที่ผ่านมาดําเนินการแล้วใน 5 เขตพื้นที่ คือ นครราชสีมา กทม. ขอนแก่น อุดรธานี และอุบลราชธานี ซึ่งประชาชนให้การตอบรับที่ดี ในปีนี้จึงขยายไปในอีก 8 เขตสุขภาพที่เหลือ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ผู้มีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ สายด่วน สปสช. 1330 หรือ ไลน์ สปสช. @nhso ตลอด 24 ชม.
“สื่อสารภารกิจรัฐบาล” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี | 2022-01-04 | 1,664.51001 | 1,670.280029 | 1,674.189941 | 1,663.5 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นฤมล ส่งเสริมอาชีพคนพิการยุคโควิด-19 ตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน | นฤมล ส่งเสริมอาชีพคนพิการยุคโควิด-19 ตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน
รมช.แรงงาน เปิดงานสัมมนาส่งเสริมอาชีพคนพิการในสถานการณ์โควิด-19 ภายใต้แนวคิด สร้าง-ยก-ให้ รวมไทยสร้างชาติ สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
วันที่ 13 สิงหาคม 2564 ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงานสัมมนาส่งเสริมอาชีพคนพิการในสถานการณ์โควิด-19 (2021 International Seminar on Employment Rights of Persons with Disabilities in a Crisis of COVID-19 Pandemic) ซึ่งจัดโดย Eden Social Welfare Foundation ร่วมกับ Workability Asia และมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ โดยกล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบไปยังพี่น้องแรงงานทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานที่เป็นคนพิการ ซึ่งประเทศไทยมีคนพิการกว่า 2 ล้านคน มีคนพิการที่เป็นกลุ่มแรงงานประมาณ 87,000 คน แต่มีเพียง 1 ใน 4 ของจํานวนกลุ่มแรงงานที่ได้รับการจ้างงาน ในส่วนของรัฐบาลก็ได้ทํางานอย่างหนักเพื่อช่วยคนกลุ่มนี้ เช่น ส่งเสริมการจ้างงาน และหางานที่สร้างคุณค่าให้กับคนพิการ เป็นต้น ปัจจุบันยังมีคนพิการหลายคนที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาทักษะที่จําเป็นต่อการทํางาน และคนบางกลุ่มก็ขาดอุปกรณ์รองรับในการปฏิบัติหน้าที่ หรือขาดแหล่งทุนที่จะเริ่มการทําธุรกิจของตนเอง ดังนั้นการสนับสนุนกลุ่มคนพิการให้ได้การฝึกฝนทักษะอย่างเพียงพอ รวมถึงส่งเสริมศักยภาพต่าง ๆ ที่เหมาะสม จะทําให้คนกลุ่มนี้มีชีวิตที่ดีขึ้น
รมช. แรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลไทยที่ได้พยายามขับเคลื่อน สิ่งที่สําคัญประการหนึ่งคือการให้โอกาสกับประชาชนทุกคนรวมไปถึงคนพิการ ที่จะได้รับโอกาสในการประกอบอาชีพ มีรายได้ที่ยั่งยืน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งการดําเนินงานของคณะอนุกรรมการพัฒนาทักษะฝีมือคนพิการเพื่อรองรับการประกอบอาชีพในการจัดทําแผนปฏิบัติการด้านพัฒนาทักษะฝีมือคนพิการเพื่อรองรับการประกอบอาชีพ ได้เน้นในเรื่องการพัฒนาทักษะคนพิการทั้งในด้านการประกอบอาชีพและด้านดิจิทัล การส่งเสริมการประกอบอาชีพและการจ้างงานคนพิการ และการพัฒนาศักยภาพคนพิการผ่านการแข่งขันฝีมือแรงงาน และในส่วนของกระทรวงแรงงานได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือคนพิการให้มากขึ้นใน 3 เรื่องคือ “เพิ่มการจ้าง สร้างการจัด และลดการจ่าย” เพื่ออนาคตที่ดีของกลุ่มแรงงาน โดยความร่วมมือกับสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สํานักงาน ก.ล.ต.) ในการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคตลาด รวมถึงริเริ่มการจัดตั้งกองทุน Social Impact Fund เพื่อระดมทุนจากทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อนําไปพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการอีกด้วย
“ขอบคุณ Eden Social Welfare Foundation Workability Asia และมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ ที่ได้ร่วมกันจัดงานสัมมนานานาชาตินี้ขึ้น เพื่อให้เกิดการบูรณาการ ทิศทาง กระบวนการกระตุ้นให้เกิดการส่งเสริมอาชีพคนพิการในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน จะช่วยให้คนพิการได้มีส่วนร่วมในสังคมอย่างเท่าเทียม เป็นส่วนหนึ่งในการจ้างงานและการประกอบอาชีพอิสระที่ยั่งยืน ทําให้มีรายได้ที่มั่นคงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป” รมช.แรงงาน กล่าวทิ้งท้าย | 2021-08-13 | 1,530.680054 | 1,528.319946 | 1,541.079956 | 1,525.51001 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกดีอีเอส แจงขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณการก่อตัวพายุใกล้บริเวณประเทศไทย พบวันที่20 – 27 ก.ย. ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น แต่เกิดจากมรสุม และหย่อมความกดอากาศต่ำ | โฆษกดีอีเอส แจงขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณการก่อตัวพายุใกล้บริเวณประเทศไทย พบวันที่20 – 27 ก.ย. ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น แต่เกิดจากมรสุม และหย่อมความกดอากาศต่ํา
โฆษกดีอีเอส แจงขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณการก่อตัวพายุใกล้บริเวณประเทศไทย พบวันที่20 – 27 ก.ย. ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น แต่เกิดจากมรสุม และหย่อมความกดอากาศต่ํา
นางสาวนพวรรณหัวใจมั่นโฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง(ดีอีเอส)กล่าวว่า ตามที่ได้มีคลิปวิดีโอแจ้งเตือนสภาพอากาศเกี่ยวกับเรื่องพายุ2ลูกจ่อถล่มประเทศไทยตั้งแต่วันที่20 – 26ก.ย.นี้ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางกรมอุตุนิยมวิทยากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมพบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลเท็จ
จากคลิปวิดีโอที่ออกมาเตือนประชนเกี่ยวกับสภาพอากาศประเทศไทยซึ่งระบุว่ามีพายุ2ลูกจ่อถล่มประเทศไทยจะทําให้เกิดฝนตกหนักมากตั้งแต่วันที่20 – 26ก.ย.นี้ทางกรมอุตุนิยมวิทยาได้ตรวจสอบและชี้แจงว่าจากข้อมูลผลการพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาในช่วงวันที่20 – 27กันยายนประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนหนักบางพื้นที่ซึ่งอาจจะแบ่งเป็น2ช่วงช่วงแรก20 – 23กันยายน2564ฝนที่ตกหนักเกิดขึ้นเนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และหย่อมความกดอากาศต่ําปกคลุมบริเวณภาคอีสานและกลาง และช่วงที่24 – 28กันยายน2564เกิดจากอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่างภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างประกอบกับในช่วงดังกล่าวคาดว่าจะมีหย่อมความกดอากาศต่ํากําลังแรงปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางและเคลื่อนตัวเข้าสู่ใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางซึ่งจะส่งผลทําให้ประเทศไทยโดยเฉพาะภาคเหนือตอนล่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคกลาง(รวมกทม.และปริมณฑล)ภาคตะวันออกมีฝนตกหนักต่อเนื่อง
แต่ทั้งนี้หย่อมความกดอากาศต่ํากําลังแรงดังกล่าวจะแรงขึ้นเป็นพายุได้หรือไม่ยังต้องติดตามเป็นระยะๆเนื่องจากยังมีปัจจัยและสิ่งแวดล้อมที่ทําให้มีการเปลี่ยนแปลงแต่ขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณการก่อตัวพายุใกล้บริเวณบ้านเรายังคงต้องติดตามข่าวพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด
โดยช่วงวันที่19 – 25ก.ย. 64ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคกลางภาคตะวันออกและภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทําให้เกิดน้ําท่วมฉับพลันน้ําป่าไหลหลากได้สําหรับชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังโดยหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอมพายุ2ลูกจ่อถล่มประเทศไทยตั้งแต่วันที่20 - 26ก.ย.นี้ และขอความร่วมมือไม่ส่งหรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆนอกจากนี้สามารถติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอมได้ผ่านช่องทางต่างๆของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมดังนี้ไลน์@antifakenewscenter เว็บไซต์https://www.antifakenewscenter.com/ทวิตเตอร์https://twitter.com/AFNCThailandและช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วนGCC 1111ต่อ87ได้ตลอด24ชั่วโมง
********** | 2021-09-20 | 1,617.439941 | 1,603.060059 | 1,620.719971 | 1,601.160034 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ออมสินช่วยเหลือประชาชนผู้ติดเชื้อ COVID-19 สนับสนุนจัดตั้งศูนย์พักคอยฯ 20 ศูนย์ฯ ทั่วกรุงเทพมหานคร | ออมสินช่วยเหลือประชาชนผู้ติดเชื้อ COVID-19 สนับสนุนจัดตั้งศูนย์พักคอยฯ 20 ศูนย์ฯ ทั่วกรุงเทพมหานคร
ธนาคารออมสินมอบเงินสนับสนุน 8,000,000 บาท ให้แก่กรุงเทพมหานคร เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์พักคอยรอการส่งต่อผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 จํานวน 20 ศูนย์ฯ สําหรับช่วยลดความแออัดของผู้ติดเชื้อใน รพ. และ รพ.สนาม ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครอย่างเร่งด่วน
วันนี้ (7 กรกฎาคม 2564) ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง) นายวิทัย รัตนากร ผู้อํานวยการธนาคารออมสิน มอบเงินสนับสนุน จํานวน 8,000,000 บาท ให้แก่ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์พักคอยรอการส่งต่อผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 จํานวน 20 ศูนย์ฯ สําหรับช่วยลดความแออัดของผู้ติดเชื้อในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนาม ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครอย่างเร่งด่วน และแบ่งเบาภารกิจภาครัฐและบุคลากรทางการแพทย์ ในการดูแลอาการเบื้องต้น และคัดแยกผู้ป่วยออกจากคนในครอบครัวและชุมชน รอการส่งต่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนามต่อไป
อนึ่ง การสนับสนุนงบประมาณการจัดตั้งศูนย์พักคอยฯ ครั้งนี้ เป็นการช่วยเหลือสังคม และประชาชน โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยที่ติดเชื้อให้ได้มีที่พักคอยฯ ที่เหมาะสมตามมาตรฐานของกรมควบคุมโรค ระหว่างรอการส่งต่อเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ซึ่งสถานการณ์ขณะนี้มีจํานวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละวัน ธนาคารออมสิน จึงเล็งเห็นถึงความจําเป็นเร่งด่วนในการช่วยเหลือและสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์พักคอยฯ ดังกล่าว สอดคล้องกับบทบาทธนาคารเพื่อสังคมของธนาคารออมสิน ที่มุ่งมั่นในการขับเคลื่อนและช่วยเหลือภารกิจเพื่อสังคมให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและรวดเร็ว | 2021-07-07 | 1,585.040039 | 1,576.599976 | 1,587.699951 | 1,574.140015 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.พม. ย้ำชัดแก้ทุจริตการเคหะแห่งชาติ ไม่เอื้อประโยชน์นายทุน ต่อต้านระบบผูกขาด มุ่งแก้ปัญหายากจนแบบพุ่งเป้า สร้างบ้านเช่าราคาถูก | รมว.พม. ย้ําชัดแก้ทุจริตการเคหะแห่งชาติ ไม่เอื้อประโยชน์นายทุน ต่อต้านระบบผูกขาด มุ่งแก้ปัญหายากจนแบบพุ่งเป้า สร้างบ้านเช่าราคาถูก
รมว.พม. ย้ําชัดแก้ทุจริตการเคหะแห่งชาติ ไม่เอื้อประโยชน์นายทุน ต่อต้านระบบผูกขาด มุ่งแก้ปัญหายากจนแบบพุ่งเป้า สร้างบ้านเช่าราคาถูก
วันนี้ (22 ก.ค. 65)นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.)เปิดเผยว่า การเปลี่ยนความคิดและกระบวนการทํางานของการเคหะแห่งชาติ จากการทํากําไรในเชิงพาณิชย์ให้คืนกําไรกลับสู่สังคม จากเดิมที่ขายบ้านเพื่อเอากําไร เปลี่ยนเป็นสร้างบ้านให้คนเช่าที่มีราคาเช่าถูกกว่าท้องตลาด และต้องไม่ใช่แค่การสร้างบ้าน แต่เป็นการสร้างบ้านพร้อมส่งเสริมอาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่การเคหะแห่งชาติไม่เคยทํามาก่อน แต่รัฐบาลชุดนี้ได้ทําและทําอย่างจริงจัง เพื่อแก้ปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้า
นายจุติกล่าวว่า สําหรับโครงการเคหะสุขประชาถือเป็นโครงการที่มีความคุ้มค่า ยกตัวอย่างว่าโครงการพับถุงกล้วยในโครงการเคหะสุขประชาร่มเกล้า นั้น ตนต้องบอกเลยว่าทุกชุมชนมีอาชีพของเขาเอง ไม่ว่าจะพับถุงกล้วย พับถุงพลาสติก เก็บของเก่าขาย แต่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้น เขามี เพราะเป็นอาชีพสุจริต อย่าไปดูถูกคนจน อีกทั้งโครงการเคหะสุขประชา ร่มเกล้า ไม่ได้มีเพียงการพับถุงกระดาษ แต่มีการทําโครงการตลาดที่ทันสมัย เพื่อให้คนที่ค้าขายไม่ต้องไปเช่าที่ราคาแพง ได้มีอาชีพเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว โดยไม่ต้องเดินทางไกล เพราะอยู่ในพื้นที่นั้น ได้ทํางานใกล้บ้าน ลดความแออัด ทําให้คุณภาพชีวิตมีความสุขมากขึ้นและอยู่อย่างพอเพียง
นายจุติกล่าวต่อไปว่า ตนทราบดีว่า วันนี้ คนการเคหะแห่งชาติไม่อยากให้มีการเปลี่ยนแปลง ต้องการให้ทุกอย่างเหมือนเดิม ทรัพย์สินที่มีมูลค่ามหาศาล อยากใช้หาผลประโยชน์กันเหมือนเดิม ไม่อยากให้มีการเปลี่ยนมือ และไม่อยากให้ผลประโยชน์นั้นไปตกอยู่กับประชาชน แต่ท่านนายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แก้ปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้าและอยู่อย่างพอเพียง เพื่อให้คนมีรายได้น้อยสามารถอยู่ได้ ซึ่งตนได้ไปลงพื้นที่ซอยหมอเหล็งที่อยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร พบว่าห้องที่เช่าอยู่กันมีขนาดเล็กมากๆ แต่ต้องเสียค่าเช่าเดือนละ 2,500 บาท และต้องใช้ห้องน้ํารวม สุขอนามัยไม่มี ความปลอดภัยก็ไม่มี วันนี้ การเคหะแห่งชาติจึงได้นําที่ดินที่เคยซื้อไว้ในอดีตเมื่อ 17 ปีที่แล้ว เอามาปรับปรุง ถมดิน เพื่อทําเป็นที่อยู่อาศัยและคนสามารถมีอาชีพได้ โดยจ่ายค่าเช่าที่ถูกกว่าท้องตลาดถึง 40% ซึ่งเราคิดถึงขนาดว่า ถ้าคนมีอาชีพรับจ้างกรรมกร 2 คนผัวเมีย มีรายได้วัน 320 บาท จ่ายค่าเช่าวันละ 50 บาท และจ่ายค่าน้ํา - ค่าไฟฟ้า วันละ 20 บาท ยังมีเงินเหลือไว้กินไว้ใช้ได้ และสามารถประกอบอาชีพได้ นี่คือสิ่งที่รัฐบาลต้องการ
นายจุติกล่าวเพิ่มเติมว่า สําหรับห้องที่มีการสร้างก่อนที่ผมเข้ามารับตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พม. ไม่น่าเชื่อว่า 10 ปีแล้ว ยังขายห้องไม่ได้ และมีการเก็บห้องบางส่วนไว้เพื่อทุจริต มีการแอบปล่อยเช่าเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมกําลังจะแก้ปัญหา โดยต้องต่อสู้กับระบบอุปถัมภ์ ระบบผูกขาด ที่หาผลประโยชน์กันมานาน อย่างอาคารเช่าทรัพย์สินของการเคหะแห่งชาติที่มีการปล่อยให้ค้างค่าเช่ามานานถึง 13 ปี 150 กว่างวด นอกจากนี้ เมื่อ 16 ปีที่แล้ว มีการนําเงินภาษีของรัฐ 6,000 ล้านบาท ไปสร้างที่อยู่อาศัยและอ้างว่าการเคหะแห่งชาติไม่สามารถบริหารจัดการได้ จึงให้บริษัทเอกชนเช่าช่วง เช่าเหมา 30,000 ห้อง โดยเช่าในราคา 920 บาทต่อเดือน แล้วนําไปปล่อยให้ประชาชนเช่าต่อในราคาเดือน 2,500 บาทบ้าง 3,400 บาทบ้าง และเมื่อหมดสัญญาแล้ว การเคหะแห่งชาติจึงขอคืนห้องทั้งหมด เพื่อนํามาดําเนินการเอง แต่บริษัทเอกชนดังกล่าวไม่ยอมออก ฟ้องขับไล่ก็ไม่ไป เก็บเงินค่าเช่าได้แล้ว ก็ไม่จ่ายให้การเคหะแห่งชาติ เป็นการหาผลประโยชน์กับโครงการนี้แบบจับเสือมือเปล่า โดยไม่ต้องลงทุนแม้แต่บาทเดียว ด้วยราคาส่วนต่างทําให้ได้กําไร 9,180 ล้านบาท แล้ววันนี้ รัฐบาลชุดนี้ จึงได้ดําเนินการจัดการ เพื่อนําเงิน 9,180 ล้านบาท มาคืนเฉลี่ยให้กับพี่น้องประชาชนที่ไม่มีรายได้ในช่วงเศรษฐกิจไม่ดีอย่างนี้ | 2022-08-01 | 1,584.930054 | 1,593.23999 | 1,596.660034 | 1,581.22998 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาลเผย “นายกฯ” เตรียมเป็นประธานเปิดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2565 รับข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติ พร้อมกล่าวสุนทรพจน์ต่อผู้ใช้แรงงาน ที่กระทรวงแรงงาน 1 พ.ค. นี้ | โฆษกรัฐบาลเผย “นายกฯ” เตรียมเป็นประธานเปิดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2565 รับข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติ พร้อมกล่าวสุนทรพจน์ต่อผู้ใช้แรงงาน ที่กระทรวงแรงงาน 1 พ.ค. นี้
โฆษกรัฐบาลเผย “นายกฯ” เตรียมเป็นประธานเปิดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2565 รับข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติ พร้อมกล่าวสุนทรพจน์ต่อผู้ใช้แรงงาน ที่กระทรวงแรงงาน 1 พ.ค. นี้
วันนี้ 29 เม.ย. 65 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะเป็นประธานเปิดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2565 ในวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม 2565 ณ ห้องจอมพล ป. พิบูลสงคราม กระทรวงแรงงาน กรุงเทพมหานคร โดยนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จะกล่าวรายงานสรุปความคืบหน้าของภารกิจตามข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติ จากนั้น นายสุชาติ ไทยล้วน ประธานสภาองค์การลูกจ้างแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2565 จะนําเสนอข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2565 และยื่นต่อนายกรัฐมนตรี โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีจะได้รับข้อเรียกร้อง กล่าวสุนทรพจน์ต่อผู้ใช้แรงงาน และเปิดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2565 พร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน และหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงาน ณ บริเวณกระทรวงแรงงาน
โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่าการจัดงานในปีนี้ คณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติประกอบด้วย ประธานสภาองค์การลูกจ้าง 14 แห่ง ประธานสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย และประธานศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบ ซึ่งกิจกรรมภายในงานวันแรงงาน ประกอบด้วย พิธีเปิดวันแรงงานแห่งชาติ รวมทั้งจะมีการเคลื่อนริ้วขบวนรถเทิดพระเกียรติ และริ้วขบวนรถของผู้ใช้แรงงาน ออกจากสนามหลวงมายังกระทรวงแรงงาน และมีการเสวนาเรื่อง “เศรษฐกิจยุคโควิดกระทบแรงงานและค่าจ้างอย่างไร” โดยผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วย นายพนัส ไทยล้วน ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย และศาสตราภิชาน แล ดิลกวิทยรัตน์ นักวิชาการอิสระ พร้อมทั้งมีการจัดนิทรรศการของหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงาน และกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ////// | 2022-04-29 | 1,667.810059 | 1,667.439941 | 1,673.540039 | 1,666.839966 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงชนบท สร้างถนนสาย จ4 และ จ5 ผังเมืองรวมเมืองมหาสารคาม | กรมทางหลวงชนบท สร้างถนนสาย จ4 และ จ5 ผังเมืองรวมเมืองมหาสารคาม
แก้ไขจราจรติดขัดบนถนนศรีสวัสดิ์รัตนโกสินทร์ เชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมให้สมบูรณ์ ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม คาดแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2565
กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม รายงานความคืบหน้าโครงการก่อสร้างถนน สาย จ4 และ จ5 ผังเมืองรวมเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 35 และอยู่ระหว่างการก่อสร้างในขั้นตอนของงานดินถมคันทาง งานชั้นรองพื้นทาง และระบบระบายน้ํา โดยคาดว่าจะก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในเดือนตุลาคม 2565
นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท กล่าวว่า จากนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในเรื่องการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมให้สมบูรณ์ รองรับการพัฒนาเมืองและการเจริญเติบโตของเมืองในอนาคต แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในเขตชุมชนเมือง แบ่งเบาการจราจรบนถนนสายหลักให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทช. จึงได้ดําเนินโครงการก่อสร้างถนนสาย จ4 และ จ5 ผังเมืองรวมเมืองมหาสารคาม ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 163.191 ล้านบาท โดยลักษณะการก่อสร้างเป็นถนนผิวจราจรแบบแอสฟัลท์ติกคอนกรีต ขนาด 4 ช่องจราจร ไหล่ทางผิวจราจรแบบพาราแอสฟัลท์ติกคอนกรีต กว้างข้างละ 2.50 เมตร และทางเท้ากว้างข้างละ 2.50 - 4.00 เมตร พร้อมก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 แห่ง รวมระยะทาง 3.222 กิโลเมตร ซึ่งการก่อสร้างแบ่งออกได้ดังนี้
- ถนนสาย จ4 มีจุดเริ่มต้นจาก กม. ที่ 0+000 บริเวณหน้าโรงพยาบาลสุทธาเวช ถึงจุดสิ้นสุดโครงการ กม. ที่ 1+415 เชื่อมถนนโยธาธิการและผังเมือง (ซอยซากุระ) ระยะทาง 1.415 กิโลเมตร
- ถนนสาย จ5 มีจุดเริ่มต้นจาก กม. ที่ 3+881 บริเวณถนนสายมหาสารคาม - อําเภอวาปีปทุม(หน้าหมู่บ้านดีเฮ้าส์) ถึงจุดสิ้นสุดโครงการ กม. ที่ 5+688 เชื่อมถนนสายมหาสารคาม - ร้อยเอ็ด (ซอยข้างโรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย) ระยะทาง 1.807 กิโลเมตร
ทั้งนี้ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ถนนสาย จ4 จะเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่าง ทล.208 กับถนนของกรมโยธาธิการและผังเมือง ส่วนถนนสาย จ5 จะเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่าง ทล.2040 และ ทล.23 นอกจากนี้ จะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในเขตชุมชนหนาแน่นบริเวณถนนศรีสวัสดิ์รัตนโกสินทร์ ประชาชนสามารถสัญจร ขนส่งสินค้าได้อย่างสะดวกรวดเร็วปลอดภัย เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของโครงข่ายถนนให้สมบูรณ์อย่างยั่งยืนต่อไป | 2022-04-21 | 1,686.310059 | 1,690.550049 | 1,693.969971 | 1,682.650024 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สินเชื่อฉุกเฉินสำหรับประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม | สินเชื่อฉุกเฉินสําหรับประชาชนที่ประสบภัยน้ําท่วม
ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ค่ะ
รัฐบาลสนับสนุนสินเชื่อฉุกเฉินสําหรับรายย่อยเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนที่ประสบภัยน้ําท่วม ผ่าน 2 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารออมสิน ให้สินเชื่อรายละไม่เกิน 50,000 บาท ปลอดชําระคืนเงิน 3 เดือนแรก อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 ในปีแรก ผ่อนชําระนาน 3-5 ปี และสินเชื่อเคหะ รายละไม่เกิน 1 ล้านบาท ดอกเบี้ยร้อยละ 0 ในปีแรก ผ่อนชําระสูงสุด 40 ปี ยื่นคําขอสินเชื่อภายใน 3 เดือนนับตั้งแต่วันที่ประกาศภัยพิบัติหรือวันที่ประสบภัยพิบัติ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ให้สินเชื่อรายละไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 ต่อปี เป็นเวลา 6 เดือน ระยะเวลาผ่อนชําระไม่เกิน 3 ปี ผู้ประสบภัยน้ําท่วมที่สนใจ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารออมสินและ ธกส. ทุกสาขาทั่วประเทศ
“สื่อสารภารกิจรัฐบาล” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี | 2021-10-25 | 1,645 | 1,634.199951 | 1,645.910034 | 1,631.290039 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โครงการกระจายวัคซีนทางเลือกให้กับประชาชนในพื้นที่ปากเกร็ด จ.นนทบุรี (สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พื้นที่ ศรีสมาน) | โครงการกระจายวัคซีนทางเลือกให้กับประชาชนในพื้นที่ปากเกร็ด จ.นนทบุรี (สํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พื้นที่ ศรีสมาน)
สู่เป้าหมาย 33,000 คน ภายใน กันยายน 2564 ️
️อัปเดต “ศูนย์ฉีดวัคซีนทางเลือก ซิโนฟาร์ม”อํานวยความสะดวกให้ประชาชน พื้นที่ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
- ฉีดวันที่ 5 ก.ย.64 จํานวน 900 คน
- ฉีดไปแล้ว 17,000 คน
- ต้องฉีดอีก 16,000 คน
#โครงการกระจายวัคซีนทางเลือก
#สํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม | 2021-09-06 | 1,652.329956 | 1,648.369995 | 1,655.040039 | 1,644.560059 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การยาสูบแห่งประเทศไทยจับมือเกษตรศิวิไลซ์ พัฒนาใบยาสูบออร์แกนิค สร้างมูลค่าเพิ่มช่วยเกษตรกรยาสูบ | การยาสูบแห่งประเทศไทยจับมือเกษตรศิวิไลซ์ พัฒนาใบยาสูบออร์แกนิค สร้างมูลค่าเพิ่มช่วยเกษตรกรยาสูบ
การยาสูบแห่งประเทศไทย (ยสท.) ลงนาม MOU ร่วมกับ บริษัท เกษตรศิวิไลซ์ จํากัด พัฒนาใบยาสูบออร์แกนิค เพิ่มมูลค่าให้ใบยาสูบไทย หวังช่วยเกษตรกรในสังกัดได้อีกทาง
เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2565 ยสท. จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ “โครงการพัฒนาใบยาสูบแบบออร์แกนิค เพื่อแปรรูปเป็นสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่” ร่วมกับ บริษัท เกษตรศิวิไลซ์ จํากัด ร่วมพัฒนาศักยภาพใบยาสูบให้เป็นวัตถุดิบเกษตรอินทรีย์คุณภาพสูง ผนวกการปลูกพืชผักและสมุนไพรออร์แกนิคเสริมในพื้นที่ สําหรับแปรรูปเป็นวัตถุดิบคุณภาพสูงสําหรับเภสัชกรรม และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคต่าง ๆ รวมทั้งร่วมพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบไทย ตั้งเป้าสร้างมูลค่าและรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกร
นายพีรธัช สุขพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เกษตรศิวิไลซ์ จํากัด เปิดเผยว่า บริษัทเป็นผู้พัฒนาธุรกิจทางการเกษตร ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับฟาร์มเกษตรอินทรีย์ ด้วยการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอาหาร (Food supply chain) และเครือข่ายเพื่อความมั่นคง ตลอดจนระบบนิเวศน์เกษตรยั่งยืน เล็งเห็นถึงสภาวะความไม่มั่นคงและปลอดภัยทางด้านอาหารที่เกิดจากเกษตรกรใช้เคมี และสารพิษทําการเกษตรมาเป็นเวลานาน ทําให้เกิดสารตกค้างส่งผลกระทบต่อโลก สิ่งแวดล้อม รวมทั้งสุขภาพของประชาชน บริษัทเล็งเห็นว่า การทําระบบเกษตรอินทรีย์จึงเป็นทางรอดทางเดียวของเกษตรกรรมไทย โดยบริษัทตั้งเป้าสร้างมูลค่าทางการตลาดเพิ่มขึ้น 5 เท่า ภายใน 3 ปี
โครงการความร่วมมือแรกที่บริษัทได้ดําเนินการคือร่วมมือกับการยาสูบแห่งประเทศไทย จัดทํา “โครงการพัฒนาใบยาสูบแบบออร์แกนิค เพื่อแปรรูปเป็นสารอาหารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรมและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนาศักยภาพของใบยาสูบอินทรีย์ รวมทั้งพืชผักและสมุนไพรออร์แกนิค เพื่อนําไปแปรรูปเป็นสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม ต่อยอดสู่ผลการวิจัยใหม่ๆ นําไปสู่การผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ และเพื่อร่วมพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะปลูกต้นยาสูบแบบออร์แกนิคในระดับอุตสาหกรรมเกษตรอินทรีย์มูลค่าสูง เพื่อให้ได้ใบยาสูบออร์แกนิคมาตรฐานสากล ปลอดเคมีที่สามารถใช้เป็นวัตถุดิบคุณภาพสูง รวมทั้งเพื่อพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน และสมาชิกเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบให้มีความสามารถปลูก และจัดการพื้นที่เพาะปลูกให้เป็นออร์แกนิคฟาร์มที่มีมาตรฐานสากล สําหรับรองรับการพัฒนาการผลิตพืชเศรษฐกิจและพืชสมุนไพรแบบออร์แกนิค เป็นวัตถุดิบที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นการสร้างมูลค่า เพิ่มรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้แก่สมาชิกเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ และเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนของการยาสูบแห่งประเทศไทยอีกด้วย ที่สําคัญที่สุดจากโครงการความร่วมมือนี้ จะทําให้การยาสูบแห่งประเทศไทยจะเป็นรัฐวิสาหกิจแรกในการส่งเสริมและสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกรไทย และประชาชนชาวไทย
สําหรับบริษัทฯ ดําเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรผู้ปลูกยาสูบในสังกัดการยาสูบแห่งประเทศไทยพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกให้ปลอดสารเคมีและมีอินทรีย์วัตถุเพียงพอต่อการเพาะปลูก ซึ่งสําหรับใบยาสูบอินทรีย์อยู่ในขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาภายใน 2 ปี รวมทั้งส่งเสริมการทําเกษตรผสมผสานปลูกพืชผักและสมุนไพรออร์แกนิคในพื้นที่ โดยปลูกตามความเหมาะสมของช่วงฤดูกาลเพาะปลูก ในช่วงแรกนําร่องปลูกพืชผักและสมุนไพรออร์แกนิคในแปลงยาสูบภาคเหนือ 5 จังหวัด จะสามารถสร้างรายได้ต่อสมาชิกเกษตรกรยาสูบในปีที่ 3 อย่างน้อย 70,000 บาทต่อไร่ต่อปี หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 2.2 พันล้านบาท จากพืชผักและสมุนไพรออร์แกนิคเพียงอย่างเดียว หากการวิจัยและพัฒนาใบยาสูบอินทรีย์เสร็จสิ้น บริษัทฯ มั่นใจว่าจะสามารถเพิ่มรายได้และมูลค่าเพิ่มได้สูงถึง 5 เท่าอย่างแน่นอน
นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้ร่วมพัฒนาและทดสอบผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ได้คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กําหนด และดําเนินการจัดหาช่องทางการจัดจําหน่าย เพื่อเตรียมความพร้อมในการดําเนินการในเชิงพาณิชย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งร่วมพัฒนาองค์ความรู้และการบริหารจัดการอุตสาหกรรมเกษตรอินทรีย์มูลค่าสูงให้แก่สมาชิกเกษตรกรยาสูบและวิสาหกิจชุมชนของการยาสูบแห่งประเทศไทย ให้มีความสามารถปลูกพืชสมุนไพรแบบออร์แกนิค อันจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มรายได้ให้สมาชิกเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกยาสูบแห่งประเทศไทย
ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบปลูกใบยาสูบ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ เวอร์ยิเนีย เบอร์เลย์ และเตอร์กิช รวมพื้นที่ปลูกทั่วประเทศประมาณ 42,000 ไร่ กระจายตัวอยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมูลค่าใบยาสูบจะแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ โดยพันธุ์เวอร์ยิเนียสร้างรายได้ 33,000 บาทต่อไร่ (เฉลี่ย 110 บาทต่อ กก.) พันธุ์เบอร์เลย์สร้างรายได้ 26,000 บาทต่อไร่ (เฉลี่ย 65 บาทต่อ กก.) พันธุ์เตอร์กิชสร้างรายได้ 15,400 บาทต่อไร่ (เฉลี่ย 77 บาทต่อ กก.) โดยคาดการณ์ว่าหากปรับเปลี่ยนการปลูกเป็นแบบเกษตรอินทรีย์จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ไม่น้อยกว่า 5 เท่าอย่างแน่นอน
ด้าน นายนพดล หาญธนสาร รักษาการแทนผู้ว่าการการยาสูบแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ยสท. มีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับทางบริษัทฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการดังกล่าวจะช่วยพัฒนาคุณภาพใบยาสูบไทย ตลอดจนช่วยสร้างรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกยาสูบในสังกัด ยสท. | 2022-06-15 | 1,605.540039 | 1,593.540039 | 1,606.310059 | 1,589.280029 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การรถไฟแห่งประเทศไทย แจ้งเหตุคนร้ายขโมยเหล็กรางรถไฟ ขณะรอขนย้าย | การรถไฟแห่งประเทศไทย แจ้งเหตุคนร้ายขโมยเหล็กรางรถไฟ ขณะรอขนย้าย
วางพาดสะพานรถไฟ หัวรถจักรเฉี่ยวชนได้รับเสียหายช่วงสถานีท่ากิเลน - วังเย็น กาญจนบุรี
นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อํานวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม รายงานว่า เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2565 เวลาประมาณ 06.38 น. ได้รับแจ้งเหตุ ขบวนรถธรรมดาที่ 260 (น้ําตก-ธนบุรี) ได้เฉี่ยวชนรางเหล็กเก่า บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 148/15 ระหว่างสถานีท่ากิเลน - วังเย็น อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ก่อนถึงป้ายหยุดรถบ้านโป่งเสี้ยว ซึ่งได้พบรางเหล็กเก่าเสียบติดรถจักร เป็นเหตุให้รถจักรดีเซล 4016 ได้รับความเสียหายไม่สามารถเคลื่อนตัวได้ แต่ไม่มีผู้โดยสารได้รับอันตราย มีเพียงพนักงานขับรถ นายสมรักษ์ จันทรารมย์ ได้รับบาดเจ็บที่ขาเล็กน้อย โดย รฟท. ได้ประสานไปมูลนิธิกู้ภัย นําผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล รวมถึงให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเข้าตรวจสอบและช่วยเหลือเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
จากเหตุดังกล่าว รฟท. จําเป็นต้องงดเดินขบวนรถท้องถิ่นที่ 485 (กาญจนบุรี - น้ําตก) จากสถานีวังเย็น - น้ําตก ให้ทําขบวนกลับเป็น ขบวน 260 จากสถานีวังเย็น - ธนบุรี พร้อมทั้งประสานนํารถยนต์โดยสารมาขนถ่ายผู้โดยสารในขบวนรถธรรมดาที่ 260 จํานวน 5 ราย และผู้โดยสารขบวนธรรมดาที่ 485 ชุมทางหนองปลาดุก - น้ําตก จํานวน 30 ราย ได้ให้รถบัสมารับกลับแล้วเช่นกัน
สําหรับสาเหตุของอุบัติเหตุในครั้งนี้ เกิดจากมีกลุ่มคนร้ายเข้ามาขโมยรางรถไฟขนาด 80 ปอนด์ ความยาว 6 เมตร ในช่วงคืนวันเสาร์ถึงช่วงเช้ามืดวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นรางเหล็กที่รฟท. เตรียมไว้สําหรับใช้ติดตั้งบนสะพานรถไฟ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุขบวนรถตกราง โดยคนร้ายได้มีการลากเหล็กรางรถไฟ วางพิงไว้กับตัวสะพานและลงมือตัดแยกส่วนในบริเวณด้านล่าง เพื่อไม่ให้มีผู้พบเห็นเนื่องจากเป็นหนองน้ําที่แห้งขอด ซึ่งจากการตรวจสอบในบริเวณพื้นที่เกิดเหตุ พบมีร่องรอยการใช้แก๊สตัดรางรถไฟบางส่วนที่ตัดยังไม่เสร็จ จํานวน 1 ท่อน วางพาดไว้กับตัวสะพาน เป็นเหตุทําให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว
ทั้งนี้รฟท. ได้มีการกําชับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง วางมาตรการเพิ่มเติมเพื่อดูแลความปลอดภัย โดยให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพิ่มความถี่ในการตรวจทาง พร้อมกับประสานกับงานสารวัตรบํารุงทางกาญจนบุรี ฝ่ายการช่างโยธา ให้ปรับเปลี่ยนวิธีการทํางาน โดยจะไม่วางรางเหล็กไว้หน้างานและต้องทํางานให้เสร็จภายในวันเดียวหรือต้องจัดเจ้าหน้าที่มาเฝ้าตลอดระยะเวลาที่ทํางาน อีกทั้งมอบหมายให้นายสถานี และนายตรวจทางในพื้นที่ เข้าแจ้งความดําเนินคดีการเกิดอุบัติเหตุและการถูกขโมยเหล็กรางรถไฟในครั้งนี้ที่สถานีตํารวจภูธร เมืองกาญจนบุรี เพื่อให้เร่งดําเนินคดีจับกุมผู้กระทําผิดโดยเร็ว เพราะถือเป็นคดีอุกอาจทําให้ทรัพย์สินของรัฐเกิดความเสียหาย และส่งผลต่อความปลอดภัยในการเดินรถ
“ปัญหาการขโมยเหล็กรางรถไฟ ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรก โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 23 - 24 ธันวาคม 2564 เคยเกิดเหตุคนร้ายขโมยเหล็กรางรถไฟขึ้นรถตุ๊ก ตุ๊ก บริเวณข้างวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร มีการถ่ายคลิปไว้เป็นหลักฐาน และมีกล้องวงจรปิดภายในวัดจับหมายเลขทะเบียนของรถตุ๊กตุ๊กไว้ได้อย่างชัดเจน ต่อมาเจ้าหน้าที่รฟท. ได้เข้าแจ้งความสถานีตํารวจนครบาล ปทุมวัน เพื่อดําเนินคดีติดตามคนร้ายมาลงโทษ แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่สามารถจับกุมผู้กระทําผิดได้” | 2022-02-28 | 1,678.050049 | 1,685.180054 | 1,690.609985 | 1,668.050049 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-แจ้งข่าว! สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ที่ประสงค์ขอรับเงินสงเคราะห์บุตร 800 บาท/บุตร 1 คน/เดือน | แจ้งข่าว! สําหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ที่ประสงค์ขอรับเงินสงเคราะห์บุตร 800 บาท/บุตร 1 คน/เดือน
.....
แจ้งข่าว! สําหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ที่ประสงค์ขอรับเงินสงเคราะห์บุตร 800 บาท/บุตร 1 คน/เดือน ตั้งแต่แรกเกิด – 6 ปีบริบูรณ์ นอกจากจะยื่นเรื่องที่หน่วยสาขาประกันสังคมแล้ว ยังสามารถยื่นได้ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนได้อีกด้วย
#ไทยคู่ฟ้า #ร่วมต้านโควิด19
------------------- | 2022-07-18 | 1,539.130005 | 1,544.810059 | 1,546.290039 | 1,535.810059 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรรพากรจับมือ NECTEC พัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อยกระดับการบริการผู้เสียภาษีด้วยดิจิทัล | สรรพากรจับมือ NECTEC พัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อยกระดับการบริการผู้เสียภาษีด้วยดิจิทัล
กรมสรรพากร และเนคเทค สวทช.ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การพัฒนา ต่อยอดและถ่ายทอดเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติในด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันทางด้านอุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล
วันที่ 19 พฤษภาคม 2565 กรมสรรพากร และสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค สวทช.) ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การพัฒนา ต่อยอดและถ่ายทอดเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติในด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันทางด้านอุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ และโอกาสการเข้าถึงบริการภาครัฐ โดยการลงนามในบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ เป็นการลงนามบันทึกข้อตกลงแบบ Online ผ่านโปรแกรม Microsoft Teams
ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า “ความร่วมมือกับ เนคเทค สวทช. ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์สําคัญเพื่อร่วมมือกัน “พัฒนาระบบและพัฒนาคน” ต่อยอด “น้องอารี - AI Chatbot ผู้ช่วยอัจฉริยะเรื่องภาษีสรรพากร” ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพิ่มเติม เช่น การสร้างเสียงพูดจากข้อความ (Text-to-speech) การรู้จําเสียงพูด (Speech-to-text) เป็นต้น เพื่อการยกระดับการบริการผู้เสียภาษีของกรมสรรพากรให้ตรงใจ และยกระดับบริการดิจิทัลภาครัฐ ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติในด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันทางด้านอุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์
นอกจากนี้ การลงนาม MOU ในครั้งนี้ ยังเป็นการแลกเปลี่ยนและเสริมสร้าง ความรู้ประสบการณ์ และข้อมูลวิชาการระหว่างกรมสรรพากรและ เนคเทค สวทช. ในด้านการนําเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาพัฒนาและยกระดับการบริการดิจิทัลภาครัฐยุคหน้าให้มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
ทั้งนี้ กรมสรรพากรขอขอบคุณเนคเทค สวทช. ที่เห็นถึงความสําคัญและให้ความร่วมมือกับกรมสรรพากรในการดําเนินงานในครั้งนี้”
ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อํานวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค สวทช. ปฏิบัติการแทนผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า “เนคเทค สวทช. ในฐานะองค์กรวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขั้นสูงให้กับประเทศ รวมถึงการเตรียมความพร้อมด้านงานวิจัยเทคโนโลยีแห่งอนาคต ได้สะสมองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์มากว่า 20 ปี โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทยและเอกลักษณ์ของไทย และได้ให้บริการ AI FOR THAI : Thai AI Service Platform หรือแพลตฟอร์มเอไอสัญชาติไทย ซึ่งมุ่งหวังให้เป็นแพลตฟอร์มสําคัญในการเพิ่มศักยภาพและความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรมและบริการยกระดับประสิทธิภาพภาคเศรษฐกิจไทย
ความร่วมมือกับกรมสรรพากร นี้ เนคเทค สวทช. นําองค์ความรู้ ผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาร่วมยกระดับศักยภาพการบริการดิจิทัลภาครัฐ ด้วย AI Service – แปลงเสียงพูดเป็นข้อความ (Speech to Text) ด้วยผลงานวิจัย “แพลตฟอร์มระบบรู้จําเสียงพูดภาษาไทย พาที (Partii)” การตอบกลับการสนทนาอัตโนมัติด้วยผลงานวิจัย “แพลตฟอร์มระบบสนทนาอัตโนมัติ อับดุล (Abdul)” และแปลงข้อความเป็นเสียงพูด (Text to Speech) ด้วยผลงานวิจัย “ซอฟต์แวร์สังเคราะห์เสียงพูดภาษาไทยวาจา (VAJA)” สําหรับพัฒนาต่อยอดเป็น Voice bot เพื่อให้บริการสําหรับผู้เสียภาษีในการติดต่อสอบถามขอรับข้อมูลการเสียภาษี และเพื่อให้ตอบโจทย์ด้านการพัฒนาบริการดิจิทัลภาครัฐในอนาคต เนคเทค สวทช. มีแนวทางนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมภาครัฐ อาทิ Open data, Big data analytics มาร่วมสนับสนุนงานของกรมสรรพากร ด้วย” | 2022-05-19 | 1,595.430054 | 1,605.97998 | 1,611.670044 | 1,592.099976 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วธ.ผนึกหน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายศาสนาและศิลปวัฒนธรรม จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง | วธ.ผนึกหน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายศาสนาและศิลปวัฒนธรรม จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
วธ.ผนึกหน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายศาสนาและศิลปวัฒนธรรม จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
วธ.ผนึกหน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายศาสนาและศิลปวัฒนธรรม จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒สิงหาคม ๒๕๖๔ เน้นรูปแบบออนไลน์
วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๔ ที่บริเวณชั้น ๑ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีถวายพระพรชัยมงคลและการลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๔ โดยมีนายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงวัฒนธรรม นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม เข้าร่วม
นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีนโยบายเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์และเสริมสร้างค่านิยม อัตลักษณ์ไทยและความเป็นไทย รวมทั้งสืบสาน รักษาและต่อยอดมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของไทย วธ.จึงได้ร่วมกับหน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายศาสนาและศิลปวัฒนธรรม จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๔ เพื่อร่วมแสดงความจงรักภักดีและน้อมสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรชาวไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า วธ.ได้จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งเน้นจัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ เนื่องจากขณะนี้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-19) พร้อมกันนี้ได้กําชับให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด โดยหน่วยงานต่างๆ สังกัดวธ.จัดตกแต่งสถานที่ประดับธงชาติคู่กับธงอักษรพระนามาภิไธย ส.ก. จัดตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระฉายาลักษณ์พร้อมเครื่องราชสักการะและจัดพิธีศาสนามหามงคล ๕ ศาสนา โดยมีการบันทึกเทปวีดิทัศน์เพื่อเผยแพร่ทางสื่อต่างๆ พร้อมทั้งบันทึกเทปวีดิทัศน์กิจกรรม “ร้อยใจภักดิ์ อัคราภิรักษศิลปิน” เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๔ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประกอบด้วยวีดิทัศน์ชุด“เทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง” การกล่าวอาศิรวาทราชสดุดี วีดิทัศน์ชุด “สายใยแผ่นดิน” การขับร้องบทเพลงแม่ เช่น แม่ ค่าน้ํานม ใครหนอ อิ่มอุ่น คือหัตถาครองพิภพ โดยกลุ่มศิลปินนักร้องและกลุ่มเยาวชน การแสดงลิเกพื้นบ้าน เพลงฉ่อยและคณะผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรมและวัฒนธรรมจังหวัด ๗๖ จังหวัดขับร้องเพลง “สดุดีพระแม่ไทย” เผยแพร่ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๔ เวลา ๒๑.๐๐ น. ทางสถานีโทรทัศน์ NBT และสื่อออนไลน์ช่องทางต่างๆ ทั้งนี้ วธ.ขอเชิญชวนประชาชนร่วมลงนามถวายพระพรออนไลน์ที่เว็บไซต์ www.royaloffice.th ระหว่างวันที่ ๗-๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๔ เพื่อน้อมสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ
นายอิทธิพล กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ มีกิจกรรมการแสดงพื้นบ้านเฉลิมพระเกียรติฯ เช่น หนังตะลุง ละครรํา งิ้ว หุ่นกระบอกงิ้วไหหลํา หมอลํา โนรา ละครชาตรี การแสดงพื้นบ้าน ๔ ภาค การแสดงโปงลางโดยรับชมได้ทางสื่อออนไลน์ สถานีวัฒนธรรมของกรมส่งเสริมวัฒนธรรมตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๔ รวมทั้งนิทรรศการออนไลน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ตลอดเดือนสิงหาคม ๒๕๖๔ เข้าชมได้ที่ facebook หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช https://www.facebook.com/narama9 และที่เว็บไซต์ http://www.finearts.go.th/narama9 ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สํานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร | 2021-08-09 | 1,528.160034 | 1,540.189941 | 1,543.709961 | 1,525.290039 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ กำชับผู้ว่า ฯ และสสจ. เตรียมพร้อมมาตรการรองรับ ประชาชนเดินทางท่องเที่ยวและกลับภูมิลำเนาในเทศกาลสงกรานต์ ย้ำทุกคนดูแลตนเองปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยด้านสาธารณสุข | นายกฯ กําชับผู้ว่า ฯ และสสจ. เตรียมพร้อมมาตรการรองรับ ประชาชนเดินทางท่องเที่ยวและกลับภูมิลําเนาในเทศกาลสงกรานต์ ย้ําทุกคนดูแลตนเองปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยด้านสาธารณสุข
นายกฯ กําชับผู้ว่า ฯ และสสจ. เตรียมพร้อมมาตรการรองรับ ประชาชนเดินทางท่องเที่ยวและกลับภูมิลําเนาในเทศกาลสงกรานต์ ย้ําทุกคนดูแลตนเองปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยด้านสาธารณสุขอย่างเข้มข้น
วันที่ 25 มีนาคม 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กําชับผู้ว่าราชการจังหวัด และสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ทุกพื้นที่ เตรียมพร้อมมาตรการรองรับ ประชาชนที่จะเดินทางข้ามจังหวัดทั้งกรณีเดินทางไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ และกลับภูมิลําเนาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ยังมีผู้ติดเชื่อเพิ่มอยู่ต่อเนื่อง โดยทุกคนยังต้องปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยด้านสาธารสุขอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะการไปพบปะผู้สูงอายุ ร่วมกิจกรรมตามประเพณีและการรวมกลุ่มในครอบครัว เช่น การรดน้ําขอพรผู้สูงอายุ ขอให้สวมหน้ากากอนามัยอยู่ตลอดเวลา งดกิจกรรมการสัมผัสใกล้ชิด จัดกิจกรรมให้มีการระบายอากาศได้ดี หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มร่วมกันเป็นเวลานาน รวมถึงให้มีการตรวจ ATK ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิด ที่สําคัญคือการที่ต้องให้ผู้สูงอายุซึ่งหนึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยง 608 รีบเข้ารับการฉีดวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์และรับวัคซีนเข้มกระตุ้นโดยเร็วด้วย สําหรับการจัดกิจกรรมรวมกลุ่มในชุมชน ศาสนสถาน ร้านอาหาร ขนส่งสาธารณะ การสรงน้ําพระ การละเล่น การแสดงทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ขบวนแห่ การแสดงดนตรี ฯลฯ ขอให้ปฏิบัติตามมาตรการ COVID Free Setting อย่างเคร่งครัดด้วย ทั้งนี้เพื่อให้การเฉลิมฉลองของประชาชนทุกคนในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์เป็นไปอย่างมีความสุข สนุกสนาน และอยู่พร้อมหน้ากันครอบครัวอย่างอบอุ่นและปลอดภัยจากโควิด-19
สําหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 วันนี้ พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 26,050 ราย จําแนกเป็น ผู้ติดเชื้อในประเทศ 26,014 ราย และผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 36 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 69 ราย ผู้ที่กําลังรักษาตัว 244,111 ราย และมียอดผู้ที่หายป่วยกลับบ้านแล้ว 22,219 ราย ทําให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค. 65 จํานวน 1,253,595 ราย จํานวนผู้ที่หายป่วยสะสมจํานวน 1,039,777 ราย สําหรับ จํานวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 1,619 ราย เฉลี่ยจังหวัดละ 21 ราย อัตราครองเตียง ร้อยละ 26.9 ขณะที่รายงานภาพรวมการฉีดวัคซีนโควิด-19 สรุปจํานวนผู้ที่ได้รับได้รับวัคซีนสะสม ตั้งแต่ 28 ก.พ. 64 - 23 มี.ค. 2565 รวม 128,009,178 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็นผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 สะสม 55,090,732 โดส ผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 สะสม 50,159,831 โดส ผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 สะสม 20,734,021 โดส และผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 4 สะสม 2,024,594 โดส
------------------------------ | 2022-03-25 | 1,683.670044 | 1,676.800049 | 1,685.410034 | 1,674.119995 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กยศ. ขยายเวลาให้ยื่นกู้ยืม ภาคเรียนที่ 1/2564 ได้ถึง 31 ต.ค. 64 | กยศ. ขยายเวลาให้ยื่นกู้ยืม ภาคเรียนที่ 1/2564 ได้ถึง 31 ต.ค. 64
....
กยศ. ขยายเวลายื่นกู้ยืม ภาคเรียนที่ 1/2564 ถึง 31 ต.ค. 64 โดยเพิ่มกรอบวงเงินเป็น 40,000 ล้านบาท รองรับผู้กู้ยืมได้ 700,000 คน ยื่นกู้ได้ทางเว็บไซต์ กยศ.www.studentloan.or.thโดยไม่ต้องมีผู้ค้ําประกัน
.
ปีการศึกษา 2564 มีผู้กู้ยืมได้รับอนุมัติแล้ว 584,077 ราย และมีลูกหนี้ชําระหนี้คืนมาแล้ว 32,000 ล้านบาท โดยกองทุนนํามาหมุนเวียนให้รายใหม่ได้กู้ยืม โดยไม่ต้องใช้งบประมาณแผ่นดิน
#ไทยคู่ฟ้า#รวมไทยสร้างชาติ#ร่วมต้านโควิด19
------------------- | 2021-10-05 | 1,612.5 | 1,624.23999 | 1,626.439941 | 1,611.420044 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"ถึงใกล้ไกลแค่ไหน ผู้ว่าฯ ก็ไปถึง" ผู้ว่าฯสมุทรสงคราม เยี่ยมให้กำลังใจผู้สูงอายุที่ไม่มีบุตรหลานดูแล โดยคุณยายร้องขอวิทยุเพื่อฟังข่าวสารบ้านเมือง | "ถึงใกล้ไกลแค่ไหน ผู้ว่าฯ ก็ไปถึง" ผู้ว่าฯสมุทรสงคราม เยี่ยมให้กําลังใจผู้สูงอายุที่ไม่มีบุตรหลานดูแล โดยคุณยายร้องขอวิทยุเพื่อฟังข่าวสารบ้านเมือง
"ถึงใกล้ไกลแค่ไหน ผู้ว่าฯ ก็ไปถึง" ผู้ว่าฯสมุทรสงคราม เยี่ยมให้กําลังใจผู้สูงอายุที่ไม่มีบุตรหลานดูแล โดยคุณยายร้องขอวิทยุเพื่อฟังข่าวสารบ้านเมือง
นายขจร ศรีชวโนทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม พร้อมด้วยนางณัฐสุดา วงษ์สุวรรณ รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดฯ นายอนุกูล เรือนแก้ว ปลัดจังหวัด นายวุฒิชัย ยามโคกสูง นายอําเภอบางคนที ผู้แทนเกษตรจังหวัด พัฒนาการอําเภอบางคนทีพร้อมคณะ นั่งเรือไปเยี่ยมนางสาวบุญนาค ซึ้มงึ้น อายุ 76 ปี ณ บ้านเลขที่ 31 หมู่ที่ 1 ตําบลดอนมะโนรา อําเภอบางคนที เพื่อเป็นกําลังใจและพูดคุย สามารถสร้างรอยยิ้มให้กับคุณยายพร้อมทั้งขอบคุณผู้ว่าฯและทุกคนที่มาเยี่ยมและนําสิ่งของมามอบให้ และยังบอกกับผู้ว่าฯ ว่าอยากได้วิทยุมาฟังข่าวสารบ้านเมืองบ้าง
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวว่า จากกรณีที่มอบหมายให้นายอําเภอบางคนทีและพัฒนาการอําเภอบางคนที ผู้นําท้องถิ่นและท้องที่ตําบลดอนมะโนรา ได้ลงสํารวจพื้นที่และพบว่า นางสาวบุญนาค ฯ อาศัยอยู่คนเดียวเนื่องจากสามีเสียชีวิต มีรายได้จากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเดือนละ 1,000 บาท สภาพบ้านมีความชํารุดทรุดโทรมมากกันฝนไม่ได้ จึงมอบหมายให้ที่ทําการปกครองจังหวัดสมุทรสงคราม นํากําลังอส.และอบต.ดอนมะโนรา และกํานัน/ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่เร่งดําเนินการก่อสร้างบ้านใหม่ โดยใช้วัสดุอุปกรณ์จากการรื้อถอนโรงพยาบาลสนาม มาจัดสร้างให้ส่วนหนึ่ง และจากงบประมาณจากกองทุนจังหวัดสมุทรสงคราม นํามาสมทบก่อสร้างบ้าน ห้องน้ํา ให้ใหม่ พร้อมทั้งจัดหาไฟฟ้าส่องสว่าง น้ําประปา โดยจะเร่งดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 วัน เนื่องจากบ้านคุณยายฯไม่มีไฟฟ้าและน้ําประปา ใช้น้ําฝน และน้ําในคลองอุปโภคบริโภค ใช้กิ่งไม้แห้งนํามาเป็นเชื้อเพลิงในการหุงข้าวและทําอาหารกินเอง โดยมีนางสมหวัง ธรรมสวัสดิ์ ซึ่งเป็น อสม.คอยซื้อข้าวสาร อาหาร พายเรือนํามาส่งให้อาทิตย์ละ 1 ครั้ง และทํามาเช่นนี้ตลอดเวลา 21 ปี โดยไม่ได้เป็นญาติพี่น้อง | 2022-08-19 | 1,635.349976 | 1,625.920044 | 1,638.75 | 1,623.689941 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อนุทิน หารือร่วม ภาคเอกชน ธุรกิจท่องเที่ยว หาแนวทางการปรับมาตรการ Test & Go | อนุทิน หารือร่วม ภาคเอกชน ธุรกิจท่องเที่ยว หาแนวทางการปรับมาตรการ Test & Go
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข หารือร่วมกับ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ธุรกิจท่องเที่ยว เกี่ยวกับแนวทางการปรับมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 สําหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักรประเภท Test & Go เพื่อหาจุดสมดุล ก่อนนําข้อคิดเห็นเข้าที่ประชุม ศบค.
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข หารือร่วมกับ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ธุรกิจท่องเที่ยว เกี่ยวกับแนวทางการปรับมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 สําหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักรประเภท Test & Go เพื่อหาจุดสมดุล ก่อนนําข้อคิดเห็นเข้าที่ประชุม ศบค. พิจารณา เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจ สังคม การท่องเที่ยว เตรียมรับการเปิดประเทศ ควบคู่กับการป้องกัน เฝ้าระวัง ควบคุมโรค
วันนี้ (22 กุมภาพันธ์2565) ที่ โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ จ.นนทบุรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผู้บริหารจากกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการต่างประเทศ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สมาคมธุรกิจท่องเที่ยว สมาคมโรงแรม ร่วมหารือแนวทางการปรับมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 สําหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักรประเภท Test & Go
นายอนุทินกล่าวว่า สถานการณ์โควิด 19 ทั่วโลกขณะนี้จํานวนผู้ติดเชื้ออยู่ในช่วงขาขึ้น ประเทศไทยมีอัตราการติดเชื้อ ป่วยหนักและเสียชีวิตสูงขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะในจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ส่วนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากต่างประเทศ พบการติดเชื้อในช่องทาง Sandbox สูงกว่าช่องทางอื่นๆ ซึ่งการหารือในครั้งนี้เพื่อนําความเห็นของภาคเอกชน ภาคธุรกิจการท่องเที่ยว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาพิจารณาและหาจุดสมดุลในการปรับมาตรการเข้าประเทศให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ทั้งมาตรการก่อนการเดินทางเข้าประเทศ อาทิ การลงทะเบียน Thailand Pass การตรวจ RT-PCR 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง, การยกเลิกตรวจ RT-PCR ในวันที่ 5 และใช้การตรวจ Self ATK แทน, การปรับลดวงเงินประกันการเดินทาง รวมถึงมาตรการเมื่อถึงประเทศไทยและขณะอยู่ในประเทศ อาทิ, การปรับลดการแยกกักรักษาผู้ติดเชื้อ, การกักกันผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ก่อนจะนําข้อคิดเห็นเข้าที่ประชุม ศบค. พิจารณา ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจ สังคม การท่องเที่ยว เตรียมรับการเปิดประเทศ ควบคู่ไปกับการป้องกัน เฝ้าระวัง ควบคุมโรค
**************************** 22 กุมภาพันธ์ 2565 | 2022-02-22 | 1,681.23999 | 1,691.119995 | 1,691.619995 | 1,673.310059 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ. เผยผลปฏิบัติการเชิงรุก จ.ภูเก็ต วันที่ 21-22 ก.ย. ตรวจ ATK ไปแล้ว 4,174 คน พบผลบวก 5.07% ยืนยันไม่กระทบภูเก็ตแซนด์บอกซ์ | สธ. เผยผลปฏิบัติการเชิงรุก จ.ภูเก็ต วันที่ 21-22 ก.ย. ตรวจ ATK ไปแล้ว 4,174 คน พบผลบวก 5.07% ยืนยันไม่กระทบภูเก็ตแซนด์บอกซ์
กระทรวงสาธารณสุข เผยผลปฏิบัติการเชิงรุก CCR Team จากเขตสุขภาพที่ 11-12 ลงพื้นที่ค้นหาผู้ติดเชื้อใน จ.ภูเก็ต วันที่ 21-22 กันยายน รวม 2 วัน ตรวจ ATK ไปแล้ว 4,174 คน พบผลบวก 5.07% นําเข้าระบบดูแลรักษา พร้อมฉีดวัคซีนให้กลุ่มที่ตกค้าง
กระทรวงสาธารณสุข เผยผลปฏิบัติการเชิงรุกCCR Team จากเขตสุขภาพที่ 11-12 ลงพื้นที่ค้นหาผู้ติดเชื้อใน จ.ภูเก็ต วันที่ 21-22 กันยายน รวม 2 วัน ตรวจ ATK ไปแล้ว 4,174 คน พบผลบวก 5.07% นําเข้าระบบดูแลรักษา พร้อมฉีดวัคซีนให้กลุ่มที่ตกค้าง และสื่อสารให้ประชาชนเข้มมาตรการป้องกันตัวเอง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ยืนยันไม่ส่งผลกระทบกับโครงการภูเก็ตแซนด์บอกซ์ เนื่องจากผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างชาติ
ที่เข้ามาทํางานและยังไม่ได้รับวัคซีน ไม่ใช่กลุ่มนักท่องเที่ยว
วันนี้ (23 กันยายน 2564) นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่าการลงพื้นที่เชิงรุก ของCCR Team จากเขตสุขภาพที่ 11-12 จํานวน 9 ทีม กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ เพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อในชุมชนที่พบคลัสเตอร์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ใน จ.ภูเก็ต ผลปฏิบัติการวันที่ 21-22 กันยายน 2564 รวม2 วันตรวจเชื้อไป 4,174 คน พบผลบวก 212 คน หรือคิดเป็น 5.07% ส่วนใหญ่เข้ารับการดูแลในระบบ HI/CI โดยผู้ที่มีอาการได้จ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ทันที ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาเร็ว ลดการป่วยหนักและเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ได้ฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้กับกลุ่มแรงงานและคนในชุมชนที่ยังไม่ได้รับวัคซีน 538 คน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง
นายแพทย์ยงยศ กล่าวต่อว่า สําหรับการพบผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในจังหวัดภูเก็ตนั้นส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าวที่เคลื่อนย้ายเข้ามาทํางานภายในพื้นที่และยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ไม่ใช่นักท่องเที่ยวจากโครงการภูเก็ตแซนด์บอกซ์ ที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวต่างชาติร่วมโครงการฯ เดินทางเข้ามารวม35,169 คน พบผู้ติดเชื้อเพียง 101 คน ยืนยันว่าไม่กระทบต่อภาพรวมการเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยวจากโครงการภูเก็ตแซนด์บอกซ์ เนื่องจากรัฐบาลได้ออกแบบรูปแบบการท่องเที่ยวและมีมาตรการทางสาธารณสุขที่รัดกุม เช่น การคัดกรอง การตรวจหาเชื้อ การเข้าพํานักในสถานประกอบการที่ได้รับมาตรฐาน SHA+ ตามระยะเวลาที่กําหนด และนักท่องเที่ยวทุกคนต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดอย่างเคร่งครัด
กระทรวงสาธารณสุขจะเร่งรัดการควบคุมโรคภายใน จ.ภูเก็ต ให้ได้โดยเร็ว และจะฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น ซึ่งขณะนี้ได้ฉีดไปแล้วเกือบ 80% ของประชากรเป้าหมาย รวมถึงนัดหมายให้ประชาชนบางส่วนที่ครบกําหนดเข้ารับการฉีดวัคซีนกระตุ้นในเข็มที่ 3 เพื่อเพิ่มระดับภูมิคุ้มกัน รวมถึงสื่อสารให้คนในพื้นที่เข้มงวดตามมาตรการป้องกันตัวเองขั้นสูงสุด Universal Prevention และคิดว่าคนรอบข้างเสมือนเป็นผู้ติดเชื้อ เพื่อความปลอดภัยตนเอง ชุมชน สังคม นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวได้อย่างปลอดภัย คนในพื้นที่ใช้ชีวิตปลอดภัยภายใต้รูปแบบ New Normal และเป็นจังหวัดต้นแบบของการเปิดประเทศให้กับจังหวัดอื่นๆ ต่อไป
**************************************** 23 กันยายน 2564 | 2021-09-23 | 1,632.920044 | 1,631.150024 | 1,637.650024 | 1,623 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มท.1 ประชุมขับเคลื่อนภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ เน้นย้ำ ขับเคลื่อนและกำกับการทำงานข้าราชการในพื้นที่ตามหลักธรรมาภิบาล ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง | มท.1 ประชุมขับเคลื่อนภารกิจสําคัญของกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ เน้นย้ํา ขับเคลื่อนและกํากับการทํางานข้าราชการในพื้นที่ตามหลักธรรมาภิบาล ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
มท.1 ประชุมขับเคลื่อนภารกิจสําคัญของกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ เน้นย้ํา ขับเคลื่อนและกํากับการทํางานข้าราชการในพื้นที่ตามหลักธรรมาภิบาล ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง สร้างความผาสุกให้เกิดขึ้นในพื้นที่
วันนี้ (2 พ.ค. 65) เวลา 10.00 น. ที่ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมรามาการ์เด้นท์ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนและติดตามนโยบายของรัฐบาลและภารกิจสําคัญของกระทรวงมหาดไทย ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (เดือนพฤษภาคม 2565) โดยมี นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้บริหารระดับสูงฝ่ายข้าราชการการเมือง นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร นายชยาวุธ จันทร นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร รองปลัดกระทรวงมหาดไทย นายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย คณะผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมที่ดิน นายประยูร รัตนเสนีย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ร้อยตํารวจโท ภพชนก ชลานุเคราะห์ รองอธิบดีกรมการปกครอง หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ที่ปรึกษา ผู้ว่าราชการจังหวัด 76 จังหวัด นายบรรจบ จันทรัตน์ นางสาวปาณิสรา กาญจนะจิตรา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย และหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ร่วมประชุม
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า เป็นพระมหากรุณาธิคุณในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พระราชทาน “พระพลังแผ่นดิน” ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด และโปรดเกล้าฯ ให้เชิญไปมอบให้แก่รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด และนายอําเภอ ทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นมงคลยิ่งของชีวิตข้าราชการฝ่ายปกครองที่ได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อบําบัดทุกข์ บํารุงสุขพี่น้องประชาชน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอําเภอ เป็นกําลังสําคัญยิ่งของรัฐบาลมิใช่เพียงของกระทรวงมหาดไทย ในการแปลงนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่โดยกลไกท้องที่ และการกํากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงการบริหารราชการทุกกระทรวงเพื่อดูแลพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้ เมื่อในพื้นที่จังหวัดมีประเด็นหรือเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนหรือความมั่นคงของประเทศ ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องใช้อํานาจหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องลงไปบริหารจัดการสถานการณ์ สั่งการ หรือบูรณาการแก้ไขปัญหา ด้วยการกําหนดแนวทาง มอบนโยบาย และกํากับติดตามการขับเคลื่อนตามแนวทางหรือนโยบายที่ได้สั่งการ มอบหมายไป อาทิ ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะผู้อํานวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด (ผอ.รมน.จังหวัด) ต้องสั่งการและบูรณาการกลไกฝ่ายปกครอง กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ทหาร ตํารวจ เฝ้าระวังการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย นอกจากนี้ ต้องเน้นย้ําแนวทางการทํางานโดยยึดหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) ให้กับข้าราชการทุกสังกัดในพื้นที่ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ทั้งหลักนิติธรรม คุณธรรม โปร่งใส มีส่วนร่วม รับผิดชอบ และคุ้มค่า ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
จากนั้น พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มอบนโยบายและแนวทางการทํางาน ได้แก่ 1) การขับเคลื่อนศูนย์อํานวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) โดยผู้ว่าราชการจังหวัดต้องกําชับนายอําเภอนําข้อมูลจากระบบ TPMAP บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาลงไปพุ่งเป้าร่วมแก้ปัญหากับครัวเรือนเป้าหมาย ตามหลัก 4 ท ทัศนคติ ทักษะ ทรัพยากร และทางออก ทําให้ประชาชนรู้จักการพึ่งพาตนเอง ลดรายจ่าย เพื่อให้ใช้ชีวิตอย่างอยู่รอด พอเพียง อย่างยั่งยืน รวมทั้งให้ประมวลผลรายงานความก้าวหน้าของการขับเคลื่อน และจําแนกแนวทางการแก้ปัญหาที่ต้องให้หน่วยงานตามอํานาจหน้าที่เข้าไปแก้ปัญหาให้ตรงจุด ทันเวลา เพื่อกราบเรียนนายกรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการหน่วยงานที่รับผิดชอบในการประชุมคณะรัฐมนตรีให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป 2) การเตรียมการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ขอให้กรุงเทพมหานคร ได้รวบรวมปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาจากนโยบายของผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นประโยชน์ในการบําบัดทุกข์ บํารุงสุขให้กับประชาชน เพื่อพิจารณากําหนดแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน 3) การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ต้องไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดอย่างเด็ดขาด ซึ่งกรมการปกครอง ทําให้ผลงานส่งผลต่อการปรับระดับ TIP Report โดยเมื่อเราได้รับข่าวจากองค์กรสากล เราสามารถทําได้ทันที ขอให้ทํางานเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประเทศชาติ 4) การจัดการที่ดินทํากินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.) โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเน้นย้ํา คทช. จังหวัด จัดสรรที่ดินทํากินทุกประเภทให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล 5) การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ด้วยการสร้างการรับรู้ความเข้าใจในด้านการจัดเก็บภาษีและมาตรการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจให้กับพี่น้องประชาชน 6) การบูรณาการสร้างการรับรู้สู่ชุมชน ถือเป็นนโยบายสําคัญที่ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องใช้กลไกที่ใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่ ทั้งนายอําเภอ กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงสื่อในความรับผิดชอบ เช่น หอกระจายข่าว เสียงตามสาย สื่อสารสร้างความเข้าใจ พูด ประกาศ ย้ําให้พี่น้องประชาชนได้รับรู้และเข้าใจข้อมูลข่าวสารภาครัฐและมีความรู้ที่ถูกต้องในการพัฒนาชีวิต โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและกระชับ 7) การป้องกันและลดอุบัติภัยทางถนน ด้วยการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น สร้างจิตสํานึก วัฒนธรรมการใช้รถใช้ถนนที่ถูกต้อง และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปรับปรุงด้านกายภาพของถนนให้มีสัญลักษณ์ เครื่องหมายที่ชัดเจน 8) การจัดการสาธารณภัยในพื้นที่ ด้วยการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบวาตภัยหรือพายุฤดูร้อน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดต้องน้อมนําพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บูรณาการทุกภาคส่วนแก้ไขฟื้นฟูที่อยู่อาศัยของพี่น้องประชาชนให้มีบ้านเรือนอาศัยที่มั่นคง แข็งแรง กลับมาใช้ชีวิตโดยปกติสุขได้โดยเร็ว รวมถึงกํากับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปรับปรุงถนนสาธารณะที่ได้รับความเสียหายจากสาธารณภัย และในด้านการจัดการภัยแล้ง ให้นําข้อมูลสภาวการณ์ด้านภัยแล้ง มาใช้ในการบริหารจัดการน้ําในพื้นที่ ทั้งการเตรียมรับมือสถานการณ์น้ําในฤดูฝน ด้วยการเตรียมพื้นที่รองรับน้ํา และระบายน้ําไปจัดเก็บในพื้นที่รองรับน้ํา เพื่อกักเก็บไว้ใช้ในฤดูแล้งต่อไป 9) การบริหารสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งในขณะนี้ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ได้กําหนดให้พื้นที่จังหวัดทั่วประเทศเป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) 65 จังหวัด และพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยว (สีฟ้า) 12 จังหวัด และมี 16จังหวัดเป็นพื้นที่สีฟ้าบางพื้นที่ โดยให้เน้นย้ํามาตรการการป้องกันโรคส่วนบุคคล DMHTA ได้แก่ D Distancing เว้นระยะห่างระหว่างกัน M Mask wearing สวมใส่หน้ากากอนามัย H Hand washing ล้างมือบ่อย ๆ T Temperature ,Testing ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย และหมั่นตรวจหาเชื้อโควิด-19 และ A Application ใช้แอปพลิเคชัน "ไทยชนะ” หรือ "ไทยเซฟไทย” ก่อนเข้า-ออก สถานที่ต่าง ๆ ทุกครั้ง และกําชับผู้ประกอบการปฏิบัติตามมาตรการ COVID-FREE Setting รวมทั้งบริหารจัดการการรักษาแบบ Home Isolation (HI) หรือ Community Isolation (CI) สําหรับผู้ติดเชื้อกลุ่มสีเขียว หากมีอาการหนักขึ้นต้องส่งต่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที 10) การพัฒนาบริหารจัดการภาครัฐสู่รัฐบาลดิจิทัล ด้วยการพัฒนางานบริการเข้าสู่ระบบดิจิทัลเพื่ออํานวยความสะดวกให้กับประชาชน 11) การบริหารจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ต้องจัดทําประกาศ/แนวทางการบริหารจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดต่าง ๆ เพื่อให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแนวทางในการบริหารจัดการขยะที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และใช้ประโยชน์จากขยะในด้านต่าง ๆ 12) การจัดการน้ําเสีย ด้วยการกํากับให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอสภาท้องถิ่นออกข้อบัญญัติ กําหนดให้ทุกบ้านต้องติดตั้งบ่อดักไขมัน และบําบัดน้ําเสียขั้นต้นจากต้นทาง (ครัวเรือน) ให้มากที่สุด ก่อนปล่อยลงสู่ท่อระบายน้ํา/แหล่งน้ําสาธารณะ 13) การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นวาระแห่งชาติที่ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องใช้อํานาจหน้าที่บูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลด demand และ Supply ยาเสพติดในพื้นที่ เพื่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยของประชาชน และ 14) โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้าตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ด้วยการกํากับให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติเกี่ยวกับการดูแลสุนัขจรจัดและแมวจรจัด ดําเนินการฉีดวัคซีน/ทําหมันสุนัขและแมว และจัดทําศูนย์พักพิงสุนัข/แมวจรจัดในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกคนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า
นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวถึง การแก้ไขปัญหาความยากจนตามนโยบายรัฐบาลตามกรอบเวลา โดยผู้ว่าราชการจังหวัดต้องให้ความสําคัญในการบูรณาการบุคลากรที่มีองค์ความรู้ มีความเข้าใจ และมีจิตวิญญาณในการแก้ไขปัญหาประชาชนลงไปแก้ปัญหาให้กับประชาชนครัวเรือนเป้าหมาย และได้กล่าวถึงการดําเนินการขุดลอกพื้นที่รองรับปริมาณน้ําให้พร้อมในการรองรับน้ําฝนในช่วงฤดูฝน ด้วยการบริหารจัดการน้ําด้วยวิธีการ “ขุดดินแลกน้ํา” เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย และกักเก็บน้ําไว้ใช้ในฤดูแล้ง
นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุ่มเทการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาความยากจนซึ่งเป็นงานที่ท้าทาย ให้บรรลุผลตามนโยบายรัฐบาล และกล่าวถึงในด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน โดยย้ําให้ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนจังหวัด/อําเภอ พิจารณาแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงบริเวณถนน โดยเฉพาะถนนในกํากับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกว่า 600,000 กิโลเมตร ให้มีสัญลักษณ์ เครื่องหมายเตือน ด้วยการกํากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบรรจุเรื่องความปลอดภัยทางถนนลงไปในแผนพัฒนาท้องถิ่น
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครอง และกรมการพัฒนาชุมชน ได้ดําเนินการขับเคลื่อนศูนย์อํานวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ตามนโยบายและแนวทางของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยที่ได้ซักซ้อมจากการประชุมมอบนโยบาย 4 ภาค ซึ่งคําว่าความยากจน หมายถึง ปัญหาความเดือดร้อนทุกเรื่องที่พี่น้องประชาชนประสบและไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง และมอบแนวทางในด้านการบูรณาการหน่วยงานตามอํานาจหน้าที่ในพื้นที่พุ่งเป้าแก้ไขปัญหาครัวเรือนเป้าหมายร่วมกับนายอําเภอ โดยกําชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแจ้งไปยังปลัดกระทรวงต้นสังกัดของหน่วยงานในพื้นที่เพื่อนําเรียนรัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบ ควบคู่กับการรายงานมายังกระทรวงมหาดไทยในฐานะฝ่ายเลขานุการ ศจพ. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดไป X-Ray นอกจากนี้ ในด้านการแก้ไขปัญหาหมู่บ้านน้ําแล้งซ้ําซาก 1,000 หมู่บ้าน กระทรวงมหาดไทยได้ประสานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นําข้อมูลดังกล่าวมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งได้กําชับหัวหน้าสํานักงานจังหวัดนํารายชื่อหมู่บ้านน้ําแล้งซ้ําซากนําเรียนผู้ว่าราชการจังหวัดให้ความสําคัญและบรรจุในแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแผนพัฒนาจังหวัดเพื่อแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ | 2022-05-02 | null | null | null | null | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงการคลังโดยสรรพสามิตขยายระยะเวลาลดอัตราภาษีน้ำมันสำหรับเครื่องบินไอพ่นออกไปถึง 31 ธันวาคม 2565 | กระทรวงการคลังโดยสรรพสามิตขยายระยะเวลาลดอัตราภาษีน้ํามันสําหรับเครื่องบินไอพ่นออกไปถึง 31 ธันวาคม 2565
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565 ครม.มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังขยายเวลาการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ํามันเชื้อเพลิงสําหรับเครื่องบินไอพ่นที่ใช้ในประเทศเหลือลิตรละ 0.20 บาท ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565
ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังขยายเวลาการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ํามันเชื้อเพลิงสําหรับเครื่องบินไอพ่นที่ใช้ในประเทศเหลือลิตรละ 0.20 บาท ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยให้ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้กลับมาขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว เป็นการอนุมัติในหลักการร่างกฎกระทรวงกําหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ขยายเวลาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ํามันเชื้อเพลิงสําหรับเครื่องบินไอพ่นสําหรับ อากาศยานภายในประเทศ จากเดิมอัตราลิตรละ 4.726 บาท เป็นลิตรละ 0.20 บาท ออกไปอีก 6 เดือน (ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2565 – 31 ธันวาคม 2565) ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจทําให้ระดับราคาตั๋วเครื่องบินไม่สูงจนกระทบต่อผู้บริโภค และช่วยเยียวยาภาคธุรกิจการบินภายในประเทศให้สามารถกลับมาเปิดเที่ยวบินได้เป็นปกติโดยเร็วที่สุด รวมถึงช่วยฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิค 19 คลี่คลายลง
ทั้งนี้ มาตรการขยายระยะเวลาลดอัตราภาษีน้ํามันสําหรับเครื่องบินไอพ่นเป็นหนึ่งในมาตรการสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพสามิตยังอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อปรับปรุงโครงสร้างภาษีสรรพสามิตเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในประเทศ และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนต่อไป | 2022-06-21 | 1,568.630005 | 1,574.52002 | 1,576.050049 | 1,563.140015 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาโครงการส่งเสริมการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงาน หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ | สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาโครงการส่งเสริมการพัฒนาประสิทธิภาพการดําเนินงาน หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
การประชุมสัมมนาโครงการส่งเสริมการพัฒนาประสิทธิภาพการดําเนินงาน หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาโครงการส่งเสริมการพัฒนาประสิทธิภาพการดําเนินงาน หน่วยอบรมประชาชนประจําตําบล (อ.ป.ต.) ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ โดย สํานักงานคณะกรรมการอบรมประชาชนกลาง (อ.ป.ก.) ร่วมกับ สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และองค์กรภาคีเครือข่าย จัดประชุมสัมมนาในรูปแบบออนไลน์ (Online) และในพื้นที่ (Onsite) ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ กรุงเทพฯ ในโอกาสนี้ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม บรรยายพิเศษ "ชุมชนคุณธรรมกับการสนับสนุน หน่วย อ.ป.ต." (ผ่านระบบประชุมทางไกล Zoom Meeting) ณ ห้องประชุม ๑ ชั้น ๘ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม | 2021-09-29 | 1,605.189941 | 1,616.97998 | 1,622.619995 | 1,604.459961 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ยินดีไทยได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุม ICCA Congress 2023 ณ กรุงเทพฯ ในปี 2566 กำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมในทุกมิติ | โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ยินดีไทยได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุม ICCA Congress 2023 ณ กรุงเทพฯ ในปี 2566 กําชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมในทุกมิติ
นายกฯ ยินดีไทยได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุม ICCA Congress 2023 ณ กรุงเทพฯ ในปี 2566 กําชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมในทุกมิติ หวังผลักดันอุตสาหกรรมไมซ์อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อยอดรองรับนักท่องเที่ยวเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในอนาคต
วันนี้ (22 เมษายน 2565) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบและแสดงความยินดีที่ประเทศไทยได้รับคัดเลือกอย่างเป็นทางการให้เป็นเจ้าภาพการจัดงานประชุม ICCA Congress 2023 ของสมาคมการประชุมนานาชาติ (International Congress and Convention Association) ณ กรุงเทพฯ ในปีพ.ศ. 2566 พร้อมขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร่วมผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นส่วนหนึ่งในเวทีประชาคมโลกได้อีกครั้ง โดยกําชับถึงการเตรียมความพร้อมการจัดประชุมในทุกมิติเพื่อแสดงศักยภาพกลุ่มอุตสาหกรรมไมซ์ไทยอย่างมีประสิทธิภาพ
โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อุตสาหกรรมไมซ์ (MICE : Meeting, Incentive, Convention and Exhibition) หรือกลุ่มธุรกิจการจัดประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล การแสดงสินค้า และนิทรรศการนานาชาติของไทย มีความพร้อมและได้รับความไว้วางใจจากนานาประเทศเสมอมา โดยสมาคมการประชุมนานาชาติได้คัดเลือกประเทศไทยให้เป็นเจ้าภาพการจัดงานประชุม ICCA Congress 2023 มีกําหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 คาดการณ์ว่าจะมีผู้ร่วมประชุมชาวต่างชาติกว่า 1,000 คน และผู้ร่วมงานชาวไทยประมาณ 200 คน เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการจ้างงานมูลค่ากว่าร้อยล้านบาท รวมทั้งสามารถต่อยอด สร้างโอกาสสําคัญของรัฐบาล และภาคธุรกิจไทยในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19
การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ICCA Congress 2023 ในครั้งนี้ ไทยยังสามารถใช้เป็นเวทีในการต่อยอดศักยภาพได้ในหลายทาง อาทิ การใช้เวทีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสําคัญในการประมูลสิทธิการจัดงาน ขั้นตอนการคัดเลือก และงบประมาณ การสร้างโอกาสให้ไทยชนะการประมูลสิทธิเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมต่าง ๆ ในอนาคต และการสร้างโอกาส สานสัมพันธ์กับผู้บริหารของสมาคมนานาชาติที่ได้รับเชิญ ซึ่งเป็นที่น่ายินดีที่ไทยได้รับความสนใจเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดงานระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง เช่น การประกวดดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทชิงแชมป์โลก 2565 (WAMSB World Championship 2022) การประชุมสุดยอดผู้นําสตรีโลก 2565 (Global Summit of Women 2022) และงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี 2569 (Udon Thani International Horticultural Exhibitions Center 2026) เป็นต้น โดยไทยได้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมนานาชาติอีกหลายงาน และหวังจะเป็นโอกาสเพื่อพัฒนาธุรกิจไมซ์ไทย เป็นการกระตุ้นเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยให้ครอบคลุมทุกกลุ่มตลาดอีกด้วย
ทั้งนี้ รัฐบาลได้ส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ไทยอย่างต่อเนื่อง ผ่านการบูรณาการความร่วมมือกับภาคเอกชนในหลายมิติ พร้อมวางกลยุทธ์และดําเนินงานด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ของไทย หรือการขับเคลื่อนเมืองไมซ์ เช่น กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดภูเก็ต ในการนําร่องความพร้อมการเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวเพื่อรองรับการจัดงานและกิจกรรมที่เป็นมาตรฐานสากล สร้างความเชื่อมั่นแก่ภาคบริการและการท่องเที่ยว หวังขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นควบคู่กันไป
นายธนกรฯ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ช่วยส่งเสริมศักยภาพ สนับสนุนให้กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางเวทีทางเศรษฐกิจและการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่การเป็น ‘มหานครแห่งเอเชีย’ โดยจะเป็นโอกาส เป็นต้นแบบเมืองไมซ์ให้จังหวัดอื่นสามารถปรับตัว พัฒนาศักยภาพที่มี โดยนายกรัฐมนตรีมั่นใจว่า ไทยจะได้นําเสนอศักยภาพด้านการจัดประชุมและนิทรรศการระดับนานาชาติได้อย่างเต็มที่ในทุกมิติ สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกลุ่มธุรกิจต่างชาติ ส่งเสริมการรับรู้ถึงความพร้อมของภาคบริการและการท่องเที่ยว ตลอดจนแลกเปลี่ยนมุมมองขยายโอกาสสร้างความร่วมมือกับประเทศและหน่วยงานสมาคมทุกภาคส่วน ทั้งไทยและต่างประเทศ เชื่อมั่นว่าชาวไทยพร้อมเป็นเจ้าบ้านที่ดีในการต้อนรับผู้มาเยือนชาวต่างชาติเพื่อประสบการณ์และภาพลักษณ์ที่ดีต่อประเทศไทย ซึ่งจะดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักลงทุนเพื่อการขับเคลื่อนและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตยิ่งขึ้นในอนาคต | 2022-04-22 | 1,686.26001 | 1,690.589966 | 1,690.589966 | 1,680.859985 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ประกาศ ขสมก. ประจำวันที่ 22 กันยายน 2564 พบพนักงานติดเชื้อไวรัส COVID-19 จำนวน 4 ราย | ประกาศ ขสมก. ประจําวันที่ 22 กันยายน 2564 พบพนักงานติดเชื้อไวรัส COVID-19 จํานวน 4 ราย
ประกาศ ขสมก. ประจําวันที่ 22 กันยายน 2564 พบพนักงานติดเชื้อไวรัส COVID-19 จํานวน 4 ราย
1) พนักงานขับรถโดยสารธรรมดา สาย 50 เพศหญิง อายุ 34 ปี
2) พนักงานเก็บค่าโดยสารรถปรับอากาศ สาย 70 เพศหญิง อายุ 52 ปี
3) หัวหน้ากลุ่มงานปฏิบัติการเดินรถ 1 เขตการเดินรถที่ 6 เพศชาย อายุ 54 ปี
4) พนักงานเก็บค่าโดยสารรถปรับอากาศ สาย 205 เพศหญิง อายุ 26 ปี | 2021-09-22 | 1,614.73999 | 1,619.589966 | 1,623.859985 | 1,611.76001 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พม. ลงพื้นที่ ณ รพ.ภูมิพลฯ เยี่ยมให้กำลังใจและติดตามช่วยเหลือหญิงชรา อายุ 68 ปี นอนริมคลองในพงหญ้า ย่านธัญบุรี จ.ปทุมธานี | พม. ลงพื้นที่ ณ รพ.ภูมิพลฯ เยี่ยมให้กําลังใจและติดตามช่วยเหลือหญิงชรา อายุ 68 ปี นอนริมคลองในพงหญ้า ย่านธัญบุรี จ.ปทุมธานี
พม. ลงพื้นที่ ณ รพ.ภูมิพลฯ เยี่ยมให้กําลังใจและติดตามช่วยเหลือหญิงชรา อายุ 68 ปี นอนริมคลองในพงหญ้า ย่านธัญบุรี จ.ปทุมธานี
วันที่ 6 ก.ย. 64เวลา 13.00 น.นางสาวแรมรุ้งวรวัธ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รองปลัด พม.)ในฐานะโฆษกกระทรวง พม. พร้อมด้วย นางรัชนีวชิรภูชัย พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดปทุมธานีและทีม One Home พม. จังหวัดปทุมธานี ลงพื้นที่ ณ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช เขตสายไหม กทม. เพื่อเยี่ยมให้กําลังใจและติดตามความช่วยเหลือ กรณีหญิงชรา อายุ 68 ปี นอนอยู่ริมคลองในพงหญ้า หน้าสถาบันบําบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี อําเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โดยอาสาสมัครร่วมกตัญญูจังหวัดปทุมธานีได้เข้าช่วยเหลือและประเมินว่ามีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง จึงได้ปฐมพยาบาลเบื้องต้นและนําส่งที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช เมื่อหญิงชรารู้สึกตัว สามารถถามตอบรู้เรื่องและรับประทานอาหารได้เป็นปกติ อีกทั้งได้มีการช่วยเหลือติดตามหาญาติจากสํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดปทุมธานี
นางสาวแรมรุ้งกล่าวต่อไปว่า วันนี้ กระทรวง พม. ได้มาลงพื้นที่เยี่ยมให้กําลังใจหญิงชราดังกล่าวและได้พูดคุยกับทีมแพทย์ถึงแนวทางการรักษาโรคประจําตัวเกี่ยวกับโรคปอด ซึ่งต้องใช้เวลารักษาระยะยาว และได้ทําการตรวจหาเชื้อโควิค-19 ปรากฎว่า ไม่พบเชื้อ ทั้งนี้ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดปทุมธานี ได้ประสานข้อมูลเพิ่มเติมพบว่า หญิงชราดังกล่าวมีบ้านเกิดอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ไปอาศัยอยู่กับญาติที่จังหวัดเลยเป็นเวลานาน ก่อนที่จะย้ายมาอยู่กับคนรู้จักที่ย่านดอนเมือง กทม. เพียงไม่กี่เดือน อีกทั้งได้ประสานติดต่อน้องชายที่จังหวัดเลย ซึ่งมีความยินดีที่จะรับกลับไปดูแลเหมือนเดิม ภายหลังจากการรักษาพยาบาลอาการป่วยหายแล้ว ทางกระทรวง พม. โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) จะพาหญิงชราไปส่งให้อยู่ในความดูแลของน้องชายที่จังหวัดเลย พร้อมทั้งติดตามดูแลความช่วยเหลือเป็นระยะต่อไป
นางสาวแรมรุ้งกล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวง พม.ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการบริหารภาวะวิกฤติโควิด-19ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายจุติ ไกรฤกษ์) ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564 ซึ่งขณะนี้ ได้ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่เดือดร้อนจากโควิด-19 จํานวนกว่า 76,000 คน โดยมีผู้สูงอายุ จํานวนกว่า 11,000 คน ได้รับการช่วยเหลือแล้ว ทั้งนี้ กระทรวง พม. พร้อมช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางทั้งเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ให้ได้รับการดูแลขั้นพื้นฐานอย่างปลอดภัย เพื่อสร้างความเข้มแข็ง โดยจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง หากประชาชนประสบปัญหาทางสังคมและเดือดร้อนจากโควิด-19 สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. โทร. 1300 บริการ 24 ชั่วโมง ซึ่งขณะนี้ หากโทร. 1300 ที่จังหวัดไหน สายด่วน พม. ที่จังหวัดนั้น จะรับเรื่องและประสานความช่วยเหลือในพื้นที่โดยเร็วที่สุด | 2021-09-07 | 1,653.670044 | 1,636.449951 | 1,658.079956 | 1,635.109985 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.แรงงาน ปล่อยกู้ 0% ให้ผู้รับงานไปทำที่บ้าน (จดทะเบียน) สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท สอบถามเพิ่มเติมโทร. 1506 กด 2 และ 1694 | ก.แรงงาน ปล่อยกู้ 0% ให้ผู้รับงานไปทําที่บ้าน (จดทะเบียน) สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท สอบถามเพิ่มเติมโทร. 1506 กด 2 และ 1694
.....
กระทรวงแรงงาน ได้อนุมัติวงเงินกู้ยืมจํานวน 5,000,000 บาท พร้อมออกมาตรการลดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 ต่อปี (จากเดิมร้อยละ 3) ในงวดที่ 1 - 12 ให้กลุ่มผู้รับงานไปทําที่บ้าน สามารถกู้ยืมไปซื้อวัตถุดิบหรืออุปกรณ์ในการผลิตหรือใช้ขยายการผลิต
.
คุณสมบัติของผู้กู้นั้น ต้องเป็นผู้รับงานไปทําที่บ้าน “ที่จดทะเบียน” ไว้กับกรมการจัดหางาน และมีผลการดําเนินการ/มีรายได้จากการรับงานไปทําที่บ้าน/มีหลักฐานการรับงานไปทําที่บ้านจากผู้จ้างงาน ซึ่งสามารถกู้ได้ทั้งประเภทบุคคลและกลุ่มบุคคล
.
เงื่อนไข :
- ประเภทบุคคล มีทรัพย์สินหรือเงินทุนไม่น้อยกว่า 5,000 บาท
- ประเภทกลุ่มบุคคล มีผู้นํากลุ่มและสมาชิกกลุ่มกู้ร่วมกันไม่น้อยกว่า 5 คน มีทรัพย์สินหรือเงินทุนในการดําเนินกิจกรรมของกลุ่มรวมกันไม่น้อยกว่า 10,000 บาท
.
วงเงินกู้ :
- ประเภทบุคคลไม่เกิน 50,000 บาท ระยะเวลาชําระคืนภายใน 2 ปี
- ประเภทกลุ่มบุคคลไม่เกิน 300,000 บาท ระยะเวลาชําระคืนภายใน 5 ปี
.
ผู้ที่สนใจกู้ยืมเงินกองทุนผู้รับงานไปทําที่บ้าน สามารถตรวจสอบคุณสมบัติและยื่นคําขอกู้เงินภายใน 31 ส.ค. 65 ได้ที่
- สํานักงานจัดหางานกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 -10
- สํานักงานจัดหางานจังหวัด
.
โดยดําเนินการทําสัญญากู้ยืมให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ก.ย. 65 สอบถามรายละเอียดได้ที่ 1506 กด 2 หรือสายด่วน 1694
.
อ่านเพิ่มเติม คลิกhttps://www.thaigov.go.th/news/contents/details/51904
#ไทยคู่ฟ้า#ร่วมต้านโควิด19
------------------- | 2022-03-02 | 1,694.640015 | 1,689.810059 | 1,699.579956 | 1,684.530029 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อว.เปิดงาน “U2T National Hackathon 2021” 40 ทีม U2T ชิงแชมป์ประเทศไทย | อว.เปิดงาน “U2T National Hackathon 2021” 40 ทีม U2T ชิงแชมป์ประเทศไทย
อว.เปิดงาน “U2T National Hackathon 2021” 40 ทีม U2T ชิงแชมป์ประเทศไทย
อว.เปิดงาน “U2T National Hackathon 2021” 40 ทีม U2T ชิงแชมป์ประเทศไทย “เอกณัฐ พร้อมพันธ์ุ” ที่ปรึกษา รมว.อว.และประธานคณะทํางานด้านการจัดการสื่อสารฯ เผยนี่คือการจุดประกายการแก้ปัญหาของชุมชน ของท้องถิ่นจากความต้องการอย่างแท้จริงของ 3 พันตําบลทั่วประเทศของนักศึกษาที่ได้รับการจ้างงานกับชาวบ้าน
เมื่อวันที่ 15 พ.ย.นายเอกนัฏ พร้อมพันธ์ุ ที่ปรึกษา รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในฐานะประธานคณะทํางานด้านการจัดการสื่อสารโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตําบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ (U2T) เป็นประธานเปิดงาน U2T National Hackathon 2021 ซึ่งเป็นการแข่งขันระดมสมองประลองไอเดียเพื่อแก้ปัญหาที่ตอบโจทย์ตําบลจาก 40 ทีมมหาวิทยาลัยที่เข้ารอบในระดับภูมิภาค เพื่อเฟ้นหาทีมชนะเลิศระดับประเทศ และ showcase ผลงานที่พัฒนาต้นแบบมาตลอดโครงการ ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจําปี 2564 ที่อิมแพค เมืองทองธานี
นายเอกนัฏ กล่าวว่า การแข่งขัน U2T National Hackathon 2021 ได้เปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้เข้าร่วมระดมความคิดอย่างสร้างสรรค์ บนปัญหาและความต้องการในพื้นที่จริงกว่า 3,000 ตําบลเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางแก้ไขปัญหาด้านนวัตกรรมที่ตอบโจทก์กับบริบทในพื้นที่ ผ่านการเรียนรู้ ปฏิบัติจริงในชุมชน และผ่านกิจกรรมแฮก กาธอน ภายใต้โจทก์ "แนวทางแก้ปัญหาขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก" ใน 4 ด้าน ได้แก่ 1.เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 2. การนําองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและสุขภาพไปช่วยบริการชุมชน 3. เศรษฐกิจหมุนเวียน และ 4. การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ซึ่งมีผู้สนใจสมัครมาเข้าร่วมกิจกรรมถึง 965 ทีม หรือกว่า 5,000 คน จาก 8 ภูมิภาค โดยรอบแรกได้ทําการคัดเลือกจาก 965 ทีม ให้เหลือ 300 ทีม จากนั้นจึงคัดเหลือ 40 ทีมสุดยอดผ่านเข้ารอบสุดท้าย เพื่อแข่งชิงแชมป์ประเทศและค้นหาทีมผู้ชนะระดับประเทศจํานวน 5 ทีม
“การเข้ามาถึงรอบสุดท้ายของการแข่งขัน U2T National Hackathon 2021 ไม่ใช่เรื่องง่าย นี่คือการระดมกําลังครั้งสําคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ที่เอากําลังที่มีความสดใหม่ หลายคนเพิ่งออกมาจากมหาวิทยาลัยบางคนยังอยู่ในมหาวิทยาลัย มาร่วมกับประชาชนในพื้นที่ ใช้ไฟที่ถูกจุดประกายขึ้นมา ร่วมกันคิดให้มันทะลุปัญหา เพราะการแก้ปัญหา ถ้าเรามัวแต่คิดแก้ปัญหาในกรอบ คิดถึงแต่ขีดจํากัด ไม่ยอมคิดที่จะทะลุขีดจํากัด ปัญหาใหญ่ ๆ ของประเทศก็จะไม่ถูกแก้ แต่วันนี้เราได้ระดมกําลังที่มีฐานจากน้อง ๆ ประชาชนกว่า 60,000 คนทั่วประเทศ มาช่วยกันคิด ช่วยกันระดมกําลังเพื่อจะทะลุปัญหาเหล่านั้น” นายเอกณัฐ กล่าวและว่า
โครงการนี้มีจุดเริ่มต้นจากตัวมหาวิทยาลัยสู่ตําบล U2T โครงการการจ้างงานขนาดยักษ์ที่สุดของปี จากวิกฤตโควิด นําน้อง ๆ หลายคนที่เพิ่งจบจากมหาวิทยาลัยและกําลังศึกษารวมทั้งประชาชน มาทํางานกับชุมชน ช่วยท้องถิ่น แก้ปัญหาในพื้นที่ กว่า 3,000 ตําบลทั่วประเทศ หวังว่ากิจกรรมครั้งนี้รวมไปถึงโครงการ U2T จะสร้างโอกาสให้กับน้อง ๆ ที่มาเข้าร่วมโครงการทุกคน ไม่ใช่เฉพาะที่เป็นส่วนหนึ่งของ 40 ทีมที่มาร่วมแข่งขัน ไม่ใช่เฉพาะ 300 ทีมที่ไปแข่งในระดับภูมิภาค หรือ 900 กว่าทีมที่สมัครเข้ามาในครั้งแรก แต่ว่ารวมไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องจากทั้งหมด น้อง ๆ นักศึกษา ที่เพิ่งจบใหม่ไฟแรง รวมไปถึงประชาชนในชุมชน อยากจะให้โครงการนี้สร้างโอกาสให้กับทุกคน | 2021-11-15 | 1,636.410034 | 1,638.72998 | 1,642.599976 | 1,635.219971 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัดวรวรรณฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการการป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนซ้ำซากของโรงงานและเหมืองแร่อย่างยั่งยืน | รองปลัดวรวรรณฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการการป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนซ้ําซากของโรงงานและเหมืองแร่อย่างยั่งยืน
รองปลัดวรวรรณฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการการป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนซ้ําซากของโรงงานและเหมืองแร่อย่างยั่งยืน
รองปลัดวรวรรณฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการการป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนซ้ําซากของโรงงานและเหมืองแร่อย่างยั่งยืน
วันนี้ (29 เมษายน 2565) เวลา 09.30 น. นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการการป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนซ้ําซากของโรงงานและเหมืองแร่อย่างยั่งยืน ครั้งที่ 1/2565 เพื่อกําหนดกรอบ มาตรการและแผนการป้องกันรวมถึงให้คําปรึกษา แนะนํา กํากับและติดตามแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนซ้ําซากของโรงงานและเหมืองแร่อย่างยั่งยืน โดยมีนายสมพล โนดไธสง นายเดชา จาตุธนานันท์ นายใบน้อย สุวรรณชาตรี และนายวีระกิตติ์ รันทกิจธนวัชร์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม คณะกรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ ชั้น 3 สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
#กระทรวงอุตสาหกรรม
#กรมโรงงานอุตสาหกรรม
#กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
#ร้องเรียนซ้ําซากของโรงงานและเหมืองแร่ | 2022-05-02 | null | null | null | null | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ไทยเก็บภาษี e-Service เดือนแรกได้สูงกว่าเป้าหมาย 65% | ไทยเก็บภาษี e-Service เดือนแรกได้สูงกว่าเป้าหมาย 65%
ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ค่ะ
รัฐบาลดําเนินการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับบริการอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ภาษี e-Service จากแพลตฟอร์มผู้ให้บริการต่างประเทศที่ให้บริการในไทย เดือนแรก ต.ค.2564 เก็บได้ 686 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ถึงร้อยละ 65 โดยบริการที่ชําระภาษีสูงสุด 3 อันดับแรก คือ บริการโฆษณาออนไลน์ 424 ล้านบาท บริการขายสินค้าออนไลน์ 209 ล้านบาท และบริการสมาชิก เพลง หนัง เกมส์ 46 ล้านบาท ปัจจุบันมีแพลตฟอร์มต่างประเทศที่จดทะเบียนแล้ว 106 ล้านราย คิดเป็นยอดค่าบริการอิเล็กทรอนิกส์รวมกว่า 9,800 ล้านบาท ทั้งนี้ การเก็บภาษี e-Service นอกจากสร้างรายได้ให้ประเทศไทยแล้วยังเป็นการสร้างความเป็นธรรมในการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการไทยกับผู้ประกอบการต่างประเทศด้วย
“สื่อสารภารกิจรัฐบาล” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี | 2021-11-23 | 1,652.619995 | 1,646.420044 | 1,654.48999 | 1,644.02002 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศบค.มท. แจ้งทุกจังหวัดและ กทม. เสนอคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. พิจารณาดำเนินการตามประเด็นข้อเสนอแนะ/ข้อสั่งการ ศปก.ศบค. เน้นสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องให้กับประชาชน | ศบค.มท. แจ้งทุกจังหวัดและ กทม. เสนอคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. พิจารณาดําเนินการตามประเด็นข้อเสนอแนะ/ข้อสั่งการ ศปก.ศบค. เน้นสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องให้กับประชาชน
ศบค.มท. แจ้งทุกจังหวัดและ กทม. เสนอคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. พิจารณาดําเนินการตามประเด็นข้อเสนอแนะ/ข้อสั่งการ ศปก.ศบค. เน้นสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องให้กับประชาชน
เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 64 ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) เปิดเผยว่า ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) แจ้งผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ 12/2564 ซึ่งมีประเด็นข้อเสนอแนะ/ข้อสั่งการที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานของจังหวัดและกรุงเทพมหานคร
.
เพื่อให้การดําเนินการเป็นไปตามมติที่ประชุมดังกล่าว นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งการและประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้แจ้งไปยังผู้ว่าราชการทุกจังหวัดและปลัดกรุงเทพมหานคร พิจารณาดําเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมในพื้นที่เฉพาะ (Bubble & Seal) และการดําเนินการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox) เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานในสถานประกอบกิจการหรือโรงงาน รวมถึงไม่ให้มีการแพร่ระบาดไปสู่ชุมชน ป้องกันการเสียชีวิตและลดผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคมจากการหยุดดําเนินกิจการ และให้ทุกจังหวัดดําเนินการบริหารจัดการขยะติดเชื้อ ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค รวมทั้งเน้นย้ําให้ทุกจังหวัดดําเนินการสร้างการรับรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน โดยนํารูปแบบการสื่อสารที่มีอยู่มาปรับใช้ในการดําเนินงานเช่น หอกระจายข่าว หรือช่องทางการสื่อสารอื่น ๆ ของจังหวัด
.
นอกจากนี้ ได้แจ้งให้จังหวัดในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ในการออกคําสั่งหรือประกาศเพื่อปรับมาตรการควบคุมแบบบูรณาการเร่งด่วนสําหรับสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยงให้ธนาคาร หรือสถานบันการเงิน ที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด สามารถเปิดดําเนินการได้จนถึง 20.00 น. โดยให้ดําเนินการภายใต้เงื่อนไขเงื่อนเวลา การจัดระบบ ระเบียบ และมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกําหนด | 2021-08-19 | 1,546.699951 | 1,544.280029 | 1,553.900024 | 1,543.75 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ฉลองครบรอบ 120 ปี กรมชลประทาน | ฉลองครบรอบ 120 ปี กรมชลประทาน
โชว์ศักยภาพขับเคลื่อนสู่เป้าหมายองค์กรอัจฉริยะด้านน้ํา มุ่งสร้างประสิทธิภาพการจัดสรรน้ําและการบริการคุณภาพส่งถึงประชาชน
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “120 ปี กรมชลประทาน 6 รัชกาล งานของแผ่นดิน” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 - 15 มิถุนายน 2565 โดยมีนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายธนา ชีรวินิจ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมเกียรติ กอไพศาล ประธานคณะทํางานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ อาคาร 99 ปี ม.ล.ชูชาติ กําภู กรมชลประทาน โดยภายในงานได้มีการจัดแสดงนิทรรศการผลงานชลประทานทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ ประกอบด้วย การจัดนิทรรศการ On ground รวม 76 จังหวัดทั่วประเทศ มีนิทรรศการด้านการชลประทาน กิจกรรมเสวนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเครือข่ายชลประทานทุกภูมิภาครวม 67 หัวข้อ โดยวิทยากรระดับจังหวัด อาทิ ผู้ว่าราชการจังหวัด และเกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ํา เป็นต้น รวมถึงกิจกรรม “รักษ์น้ํา ปลูกป่า” ร่วมกันปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียวทั่วประเทศ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมป่าไม้ จํานวน 22,930 ต้น สําหรับที่ส่วนกลาง จัดเวทีเสวนาโดยวิทยากรมากประสบการณ์จากสายงานต่าง ๆ มีการแจกกล้าไม้ อาทิ ยางนา สัก พะยุง รวม 3,350 ต้น ให้ผู้ลงทะเบียนร่วมงาน และมีร้านจําหน่ายผลผลิตและสินค้าแปรรูปจากเกษตรกรในพื้นที่ชลประทานอีกด้วย
นอกจากนี้ กรมชลประทานยังได้จัดนิทรรศการเสมือนจริงต่อเนื่องเป็นปีที่สาม โดยครั้งนี้จะได้สัมผัสเรื่องราวความมหัศจรรย์แห่งสายน้ําเพื่อชีวิต “The miracle of water for life” ในรูปแบบนิทรรศการเสมือนจริง 3 มิติ การเดินทางของสายน้ําตลอด 120 ปี ผู้เข้าชมจะได้รับความสนุกและตื่นเต้นไปกับการสร้างตัวละครอวาตารเพื่อเยี่ยมชมนิทรรศการ “พลังแห่งชลประทาน ความเป็นหนึ่งเพื่อทุกคน (One for All)” กับผลงานของ 38 หน่วยงานในสังกัด และกิจกรรมพร้อมลุ้นรับของรางวัลมากมายตลอดการจัดงาน
ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 120 ปีที่ผ่านมา กรมชลประทานได้พัฒนาแหล่งน้ําเพื่อสนับสนุนการใช้น้ําในทุกภาคส่วนกระจายอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ รวม 21,463 แห่ง คิดเป็นปริมาณน้ํารวมประมาณ 83,101 ล้านลูกบาศก์เมตร พัฒนาพื้นที่ชลประทานไปแล้วกว่า 35.04 ล้านไร่ โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มพื้นที่ชลประทานให้ได้กว่า 51.08 ล้านไร่ เพิ่มปริมาณน้ําต้นทุนได้ประมาณ 94,961 ล้านลูกบาศก์เมตร ภายในปี 2580 โดยมุ่งหวังสร้างความมั่นคงด้านน้ําให้กับประเทศไทยให้มากยิ่งขึ้น
"กรมชลประทานคือหน่วยงานที่ดูแลเรื่องน้ําให้กับประชาชนทั้งประเทศ ทั้งในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทาน และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการเพิ่มพื้นที่เก็บกักน้ําให้กับพี่น้องประชาชนทั้งประเทศมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากการบริหารจัดการน้ําทั้งระบบน้ําแล้ว ยังรวมถึงการแก้ไขปัญหาทั้งภัยแล้งและอุทกภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนด้วย อย่างไรก็ตาม ได้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจที่กรมชลประทานต้องการจะขับเคลื่อนงานให้สําเร็จลุล่วง รวมถึงการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการนําเทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการน้ําอย่างเป็นระบบมากขึ้น จึงเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะไม่มีวันขาดแคลนน้ําเพื่อการอุปโภคบริโภค รวมถึงจะสามารถบริหารจัดการน้ําเพื่อใช้รักษาระบบนิเวศ ภาคการเกษตร และภาคอุตสาหกรรมได้อย่างแน่นอน" ดร.เฉลิมชัย กล่าว
ด้าน นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลอดระยะเวลา 120 ปี แห่งการกําเนิดและวิวัฒนาการงานชลประทานในประเทศไทย นับแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ผู้ก่อตั้งกรมคลอง เปลี่ยนเป็นกรมทดน้ําในรัชกาลที่ 6 และเป็นกรมชลประทานในรัชกาลที่ 7 การพัฒนางานชลประทานในประเทศไทยได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงรัชกาลที่ 9 ที่งานด้านการชลประทานได้รับการพัฒนาอย่างกว้างขวางครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ พระองค์ทรงมีพระราชดําริให้กรมชลประทานพิจารณาศึกษาและก่อสร้าง โครงการชลประทานประเภทและขนาดต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของสภาพภูมิประเทศ และภูมิสังคม รวมทั้งการบริหารจัดการน้ําเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในการอุปโภคบริโภค การเกษตร และกิจกรรมอื่น ๆ มีโครงการชลประทานอันเนื่องมาจากพระราชดําริในทุกพื้นที่มากกว่า 2,000 โครงการ
"ขอเชิญชวนร่วมชมนิทรรศการเนื่องในโอกาสครบรอบ 120 ปี กรมชลประทาน พร้อมกิจกรรมเสวนาและแจกของรางวัลมากมายจากส่วนภูมิภาค 76 จังหวัดทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 13 -15 มิถุนายน 2565 และร่วมสัมผัสเรื่องราวความมหัศจรรย์แห่งสายน้ําเพื่อชีวิต “The miracle of water for life” ในรูปแบบนิทรรศการเสมือนจริง ตลอดจนร่วมบริจาคให้กับศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน ผ่านทางเว็บไซต์ 120 ปี กรมชลประทาน ได้ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป" นายประพิศ กล่าว | 2022-06-13 | 1,611.839966 | 1,600.060059 | 1,616.310059 | 1,599.339966 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ส่งกำลังใจ...มอบถุงยังชีพ บรรเทาภัยโควิด-19 สู่ชุมชน ในกิจกรรม "เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ" | ส่งกําลังใจ...มอบถุงยังชีพ บรรเทาภัยโควิด-19 สู่ชุมชน ในกิจกรรม "เราทําความ ดี ด้วยหัวใจ"
สํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จัดกิจกรรมโครงการจิตอาสา "เราทําความ ดี ด้วยหัวใจ”
โดยมี พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน โดยการมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์และสิ่งของที่จําเป็นให้กับเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย รวมทั้งประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2564 ณ วัดชินวรารามวรวิหาร ต.บางขะแยง อ.เมือง จ.ปทุมธานี
ภายในกิจกรรม ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ถวายเครื่องไทยธรรมและจตุปัจจัย มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์และสิ่งของจําเป็นให้กับ พระมงคลวโรปการ เจ้าอาวาสวัดชินวรารามวรวิหาร รวมทั้งมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์และสิ่งของจําเป็นได้แก่ เครื่องอุปโภคบริโภคให้กับศูนย์พักคอยผู้ป่วยโควิด และมอบถุงยังชีพให้กับผู้ป่วยติดเตียง สําหรับการดําเนินกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างทหารกับพี่น้องประชาชนในการช่วยเหลือ และพัฒนาชุมชนให้มีความสะอาด สงบ ปลอดภัย น่าอยู่อาศัย ด้วยการปรับภูมิทัศน์ เก็บ กวาดขยะ ตัดแต่งกิ่งไม้ให้มีความสะอาดเรียบร้อย เพื่อสุขอนามัยที่ดีของประชาชนในพื้นที่โดยรอบ
#สํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
#เราทําความดีด้วยหัวใจ | 2021-09-08 | 1,632.180054 | 1,640.449951 | 1,641.290039 | 1,627.170044 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ แจง รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ย้ำไม่เคยละเลยปัญหา ไม่ก้าวก่ายกระบวนการยุติธรรม | นายกฯ แจง รัฐบาลให้ความสําคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ย้ําไม่เคยละเลยปัญหา ไม่ก้าวก่ายกระบวนการยุติธรรม
.....
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยนายกรัฐมนตรีชี้แจงว่า รัฐบาลให้ความสําคัญกับการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งระบุไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งการพัฒนาครู โรงเรียน และเด็ก ให้เด็กเรียนในสิ่งที่กับความต้องการของตลาด และใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด
.
สําหรับเรื่องการปราบปรามการทุจริต ยืนยันว่านายกฯ ไม่เคยละเลยปัญหาและไม่ก้าวก่ายกระบวนการยุติธรรม และสถิติการปราบปรามการทุจริตขณะนี้มีสูงขึ้น และประชาชนสามารถร้องทุกข์เรื่องการทุจริต ยาเสพติดได้เลย นายกฯ จะดูแล รับผิดชอบทุกเรื่อง ไม่ปกป้องใครทั้งสิ้น
.
พร้อมขอบคุณ ส.ส. ที่เสนอคําแนะนําดี ๆ และเป็นประโยชน์ ซึ่งนายกฯ จะรับไปปรับปรุงหลังจากที่งบประมาณผ่านไปแล้วในชั้นกรรมาธิการต่อไป
.
อ่านเพิ่มเติม คลิกhttps://www.thaigov.go.th/news/contents/details/55275
#ไทยคู่ฟ้า#ร่วมต้านโควิด19
------------------- | 2022-06-01 | 1,662.319946 | 1,660.01001 | 1,664.900024 | 1,655.800049 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-Thailand takes up BIMSTEC Chairmanship and commits to advance BIMSTEC cooperation toward prosperity, resilience and robustness, and openness | Thailand takes up BIMSTEC Chairmanship and commits to advance BIMSTEC cooperation toward prosperity, resilience and robustness, and openness
Thailand takes up BIMSTEC Chairmanship and commits to advance BIMSTEC cooperation toward prosperity, resilience and robustness, and openness
March 30, 2022, at 1250hrs, at Bhakdi Bodin Building, Government House, following the 5th Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation (BIMSTEC) Summit, Prime Minister and Defense Minister Gen. Prayut Chan-o-cha, together with leaders and representatives of BIMSTEC member countries, attended the handover ceremony of BIMSTEC chairmanship. Deputy Government Spokesperson Traisuree Taisaranakul disclosed gist of the Prime Minister’s speech as follows:
The Prime Minister congratulated Sri Lanka for its successful chairmanship amidst various challenges, and expressed Thailand’s pleasure to take over the BIMSTEC chairmanship. During the 2-year chairmanship, Thailand strives to build upon Sri Lanka’s success, and propel BIMSTEC toward:
1. "Prosperity": Thailand commits to lead BIMSTEC toward prosperity and post-COVID-19 economic recovery through multilateral cooperation frameworks, connectivity, and adoption of innovation and technology.
2. "Resilience and Robustness": Mutual support among member countries will be promoted to cope with various challenges. Importance will be placed on recovery policies and use of digital technology to create sustainable and balanced future.
3. “Openness”: Thailand has placed importance on human capital, and strives to promote constructive participation of all sectors and their awareness on opportunities.
The Prime Minister emphasized that Thailand stands ready to share knowledge on the BCG economic model which the country adopts as national strategy for post-COVID-19 economic recovery, and expressed hope that BIMSTEC would become stronger in the next two years against challenges of all forms. Thailand’s determination as the next BIMSTEC Chair reflects in the Chairmanship logo and video presentation. The Golden Ears of Rice (Ruang Kao See Tong) and blue waves symbolize BIMSTEC as the world's food security sources and the connectivity of our region through maritime routes in the Bay of Bengal and the Indian Ocean. The curves of the rice and waves along the edge of the logo illustrate prosperity in collective endeavoring, and also present the resilience and unity of all Member States as a stakeholder that helps perpetuate BIMSTEC forward towards a “Prosperous, Resilient, and Open BIMSTEC for all.
At the 5th BIMSTEC Summit, the following 6 important documents have been signed and adopted:
Signed
1. BIMSTEC Charter
2. BIMSTEC Convention on Mutual Legal Assistance in Criminal Matters
3. Memorandum of Association on the Establishment of BIMSTEC Technology Transfer Facility (TTF)
4. Memorandum of Understanding (MoU) on Mutual Cooperation between Diplomatic Academies/Training Institutions of BIMSTEC Member States
Adopted
5. BIMSTEC Master Plan on Transport Connectivity
6. The 5th Summit Declaration | 2022-03-30 | 1,694.839966 | 1,698.400024 | 1,702.670044 | 1,692.72998 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คำแถลงประกอบงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร | คําแถลงประกอบงบประมาณรายจ่าย ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร
คําแถลงประกอบงบประมาณรายจ่าย ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 31 พฤษภาคม 2565
คณะรัฐมนตรีขอเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีหลักการและเหตุผล ดังนี้
หลักการ
ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นจํานวนไม่เกิน 3,185,000,000,000 บาท สําหรับเป็นค่าใช้จ่ายของหน่วยรับงบประมาณ เป็นจํานวน 3,185,000,000,000 บาท
เหตุผล
เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณได้มีกรอบวงเงินงบประมาณสําหรับใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่รัฐบาลนําเสนอต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการดําเนินงานต่อเนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยใช้งบประมาณเป็นเครื่องมือสําคัญในการขับเคลื่อนประเทศตามแนวทางการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนย่อย (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) และนโยบายรัฐบาล ให้บรรลุเป้าหมายตามที่กําหนดไว้อย่างเป็นรูปธรรม เกิดผลสัมฤทธิ์และประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยรัฐบาลได้ดําเนินการให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจภายในประเทศและภายนอกประเทศ รวมทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ภาวะเศรษฐกิจทั่วไป
ตามแถลงภาวะเศรษฐกิจของสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 เศรษฐกิจไทยในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.5 – 4.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศจากการผ่อนคลายลงของผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การปรับตัวดีขึ้นของภาคการท่องเที่ยวภายใต้มาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจํากัดและปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2565 ได้แก่ ผลกระทบของสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ เงื่อนไขด้านฐานะการเงินของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ การกลายพันธุ์และการระบาดของเชื้อไวรัส และความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 – 2.5 ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุด สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงภาวะเศรษฐกิจไทย ไตรมาสแรกของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 โดยอัตราการขยายตัวของ GDP ปี 2565 อยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 และอัตราเงินเฟ้ออยู่ในช่วงร้อยละ 4.2 - 5.2
เศรษฐกิจไทยในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.2 – 4.2 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของอุปสงค์ภายในประเทศ การขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะมีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดี ในขณะที่ยังมีข้อจํากัดและปัจจัยเสี่ยงจากความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก การกลายพันธุ์และการระบาดของไวรัส รวมทั้งการลดลงของแรงขับเคลื่อนทางการคลัง โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 0.5 – 1.5
นโยบายการคลังและความสัมพันธ์ระหว่างรายรับและงบประมาณรายจ่ายที่ขอตั้ง
ภายใต้สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจดังกล่าว รัฐบาลจึงมีความจําเป็นต้องดําเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัวผ่านการจัดทํางบประมาณขาดดุล เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 คาดว่ารายได้จะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เริ่มคลี่คลาย และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค โดยประมาณการว่าจะจัดเก็บรายได้จากภาษีอากร การขายสิ่งของและบริการ รัฐพาณิชย์ และรายได้อื่น รวมสุทธิจํานวน 2,614,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 จากปีก่อน และหักการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จํานวน 124,100 ล้านบาท คงเหลือเป็นรายได้สุทธิที่สามารถนํามาจัดสรรเป็นรายจ่ายของรัฐบาล จํานวน 2,490,000 ล้านบาท
สําหรับงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณมีวงเงินงบประมาณสําหรับใช้จ่ายในการดําเนินภารกิจตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนในระดับต่าง ๆ นโยบายรัฐบาลและหน้าที่
ความรับผิดชอบ อย่างเหมาะสม เพียงพอ จึงกําหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จํานวน 3,185,000 ล้านบาท
การดําเนินนโยบายการคลังในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จึงเป็นการดําเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุล โดยกําหนดรายได้สุทธิ จํานวน 2,490,000 ล้านบาท และเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จํานวน 695,000 ล้านบาท รวมเป็นรายรับ จํานวน 3,185,000 ล้านบาท เท่ากับวงเงินงบประมาณรายจ่าย
ฐานะการคลัง
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 มีจํานวน 9,951,962.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 60.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบการบริหารหนี้สาธารณะ ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ ที่กําหนดไว้ที่ร้อยละ 70 โดยหนี้สาธารณะที่เป็นข้อผูกพันของรัฐบาล ซึ่งเกิดจากการกู้ยืมเงินโดยตรงและการค้ําประกันเงินกู้โดยรัฐบาล มีจํานวน 9,478,592.1 ล้านบาท
ฐานะเงินคงคลัง ณ วันที่ 30 เมษายน 2565 มีจํานวน 398,830.7 ล้านบาท โดยรัฐบาลจะบริหารเงินคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และบริหารรายรับและรายจ่ายของรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
ฐานะและนโยบายการเงิน
การดําเนินนโยบายการเงินในช่วงที่ผ่านมายังคงผ่อนคลายเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยให้มีความต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2565 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกินกรอบเป้าหมายจากราคาพลังงานและราคาอาหารที่ปรับสูงขึ้นมาก และจะปรับลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปและกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงต้นปี 2566 จากราคาพลังงานและอาหารที่คาดว่าจะไม่ปรับเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องเช่นในปี 2565 รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบและสินค้าโภคภัณฑ์โลกที่จะบรรเทาลง ในขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ยังอยู่ในระดับต่ํา ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในระยะยาวยังคงอยู่ในกรอบเป้าหมาย สําหรับด้านระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ แต่ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนมีความเปราะบางขึ้นในบางกลุ่มจากปัญหาค่าครองชีพและต้นทุนที่มีการปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่รายได้ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่และมีภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูง คณะกรรมการนโยบายการเงินจึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องที่ร้อยละ 0.50 ในการประชุมเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 2565 เพื่อให้ภาวะการเงินโดยรวมยังคงผ่อนคลาย และสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง
สําหรับฐานะการเงินด้านต่างประเทศของไทยในปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ดี มูลค่าเงินสํารองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 22 เมษายน 2565 มีจํานวน 233,926.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นประมาณ 3.15 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง
นโยบายการจัดทํางบประมาณ
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จัดทําขึ้นโดยมีเป้าหมายให้ประเทศได้รับการพัฒนาและฟื้นฟูจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรมนุษย์ ความมั่นคง และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพตลอดช่วงชีวิต มีหลักประกันและความคุ้มครองทางเศรษฐกิจและสังคม กลุ่มเปราะบางและผู้ด้อยโอกาส อาทิ ผู้สูงวัย ผู้พิการ และเด็ก ได้รับการดูแลและช่วยเหลือจากสวัสดิการภาครัฐอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เศรษฐกิจมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และกระจายประโยชน์สู่ประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มฐานรากให้มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ สามารถยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หลุดพ้นจากปัญหาความยากจน และสามารถพึ่งพาตนเองได้ เพื่อลดภาระทางการคลังและสนับสนุนให้เศรษฐกิจในภาพรวม
มีความเข้มแข็งและเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยการจัดทําร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว รัฐบาลได้ดําเนินการให้เป็นไปตามกรอบของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ
ในปัจจุบัน โดยได้กําหนดแนวทางการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่สําคัญ ดังนี้
1. ดําเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนย่อย (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) นโยบายของรัฐบาล เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน แผนปฏิบัติราชการของกระทรวง การน้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการจัดสรรงบประมาณ โดยมุ่งให้ความสําคัญกับประเด็นการพัฒนาที่ต้องเร่งดําเนินการ เพื่อให้บรรลุ 13 หมุดหมายตาม (ร่าง) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 และโครงการสําคัญประจําปี 2566 ที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ จํานวน 406 โครงการ ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564
2. ให้ความสําคัญกับการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้า โดยใช้งบประมาณของหน่วยรับงบประมาณทั้งในส่วนของแผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานพื้นฐาน และแผนงานบูรณาการ โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนให้เกิดผลสําเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรม และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามข้อตกลงการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP 26) รวมทั้งให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ การจัดสวัสดิการที่จําเป็นสําหรับประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางทางสังคมและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตลอดจนมีการกระจายงบประมาณอย่างเป็นธรรม ไม่ซ้ําซ้อน และเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดต่อประชาชน
3. ส่งเสริมการกระจายอํานาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มศักยภาพการถ่ายโอนภารกิจการจัดบริการสาธารณะ ลดความเหลื่อมล้ํา รวมทั้งการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้และประสิทธิผล การใช้จ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4. จัดทํางบประมาณให้ครอบคลุมทุกแหล่งเงิน โดยให้หน่วยรับงบประมาณพิจารณานําเงินนอกงบประมาณหรือเงินสะสมคงเหลือมาใช้ดําเนินภารกิจของหน่วยรับงบประมาณเป็นลําดับแรก รวมทั้งต้องพิจารณาแหล่งเงินอื่นในการดําเนินโครงการลงทุน เช่น การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnership : PPP) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (Thailand Future Fund : TFF) เพื่อเป็นการลดภาระงบประมาณ และทําให้การใช้ทรัพยากรของประเทศเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
5. ดําเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 รวมทั้งกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
สาระสําคัญของงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีวงเงินงบประมาณ จํานวน 3,185,000 ล้านบาท จําแนกเป็นรายจ่ายประจํา จํานวน 2,396,942.2 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 75.26 รายจ่ายลงทุน จํานวน 695,077.4 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.82 และรายจ่ายชําระคืนต้นเงินกู้ จํานวน 100,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.14 ทั้งนี้รายจ่ายชําระคืนต้นเงินกู้เป็นรายจ่ายลงทุนกรณีการกู้เพื่อการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ จํานวน 7,019.6 ล้านบาท ซึ่งการดําเนินการดังกล่าวอยู่ภายในกรอบวินัยการเงินการคลัง โดยมีสาระสําคัญ ดังนี้
งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จําแนกตามกลุ่มงบประมาณรายจ่าย
1.1 งบประมาณรายจ่ายงบกลาง จํานวน 590,470.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.6 ของวงเงินงบประมาณ
1.2 งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ จํานวน 1,090,329.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34.2 ของวงเงินงบประมาณ
1.3 งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ จํานวน 218,477.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.9 ของวงเงินงบประมาณ จํานวน 11 เรื่อง ได้แก่
1. ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
2. พัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
3. ต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ
4. เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย
5. บริหารจัดการทรัพยากรน้ํา
6. ป้องกัน ปราบปราม และบําบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
7. พัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์
8. พัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก
9. พัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต
10. รัฐบาลดิจิทัล
11. สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว
1.4 งบประมาณรายจ่ายบุคลากร จํานวน 772,119.1 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.2 ของวงเงินงบประมาณ
1.5 งบประมาณรายจ่ายสําหรับทุนหมุนเวียน จํานวน 206,985.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.5 ของวงเงินงบประมาณ
1.6 งบประมาณรายจ่ายเพื่อการชําระหนี้ภาครัฐ จํานวน 306,618.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.6 ของวงเงินงบประมาณ
งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จําแนกตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้กําหนดไว้ จํานวน 6 ยุทธศาสตร์ 1 รายการ โดยได้นํายุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติมากําหนดเป็นกรอบโครงสร้างยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สรุปสาระสําคัญ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ด้านความมั่นคง
รัฐบาลจัดสรรงบประมาณรายจ่าย จํานวน 296,003.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.3 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อให้บ้านเมืองมีความมั่นคง ประชาชนมีความสุข ทุกภาคส่วนมีความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงของประเทศ และได้รับการยอมรับจากประชาคมระหว่างประเทศ จําแนกตามแผนงาน ดังนี้
1) การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ งบประมาณ 12,259.9 ล้านบาท เพื่อให้คนในชาติมีจิตสํานึกรักและหวงแหน ปลูกฝังและสร้างความตระหนักถึงความสําคัญของสถาบันหลักของชาติ เสริมสร้างความมั่นคงในการเทิดทูนสถาบันหลักและเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ และขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ตามแนวพระราชดําริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2) การรักษาความสงบภายในประเทศ งบประมาณ 22,117.4 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคง ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินโดยการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ปลูกฝังจิตสํานึกรักสามัคคีและส่งเสริมความปรองดองของคนในชาติ สนับสนุนภารกิจของกองอาสารักษาดินแดน ขับเคลื่อนนโยบายของรัฐผ่านกลไกหมู่บ้าน เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และการบังคับใช้กฎหมาย การอํานวยความยุติธรรมและบริการประชาชน รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน
3) การพัฒนาและเสริมสร้างการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข งบประมาณ 531.2 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เพื่อพัฒนาระบอบประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน สร้างองค์ความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงการทําหน้าที่พลเมืองที่ดีตามวิถีระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4) การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ งบประมาณ 6,251.2 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้มีความปลอดภัยทั้งในชีวิตและทรัพย์สินอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีเป้าหมายในการลดจํานวนเหตุรุนแรงในพื้นที่ลงร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับปี 2560 โดยเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนงานภาครัฐในลักษณะบูรณาการที่มีเอกภาพร่วมกับทุกภาคส่วน อาทิ การเพิ่มประสิทธิภาพงานข่าวกรอง การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธี การอํานวยความยุติธรรมและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ การพัฒนาศักยภาพตามพื้นที่ การพัฒนาสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การเสริมสร้างความเข้าใจและประสานความร่วมมือ และการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพด้วยหลักธรรมาภิบาล เพื่อมุ่งให้เกิดผลในการแก้ไขปัญหาในมิติความมั่นคง มิติการพัฒนา และมิติการบริหารจัดการภาครัฐ ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
5) การป้องกัน ปราบปราม และบําบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด งบประมาณ 4,188.2 ล้านบาท เพื่อให้เด็ก เยาวชน ผู้ใช้แรงงาน และประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด ไม่ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด และไม่กระทําผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอย่างน้อยร้อยละ 97 ของประชากรทุกช่วงวัย ปราบปรามทําลายโครงสร้างเครือข่ายการค้ายาเสพติดระดับสําคัญ เพื่อนําไปสู่การจับกุม ยึด อายัดทรัพย์สิน อย่างน้อยร้อยละ 50 ของเครือข่ายยาเสพติด มุ่งเน้นการนําผู้เสพเข้ารับการบําบัดรักษาโดยสมัครใจแทนการลงโทษ กําหนดกลไกและมาตรการทางสาธารณสุขแทนการใช้กระบวนการยุติธรรมทางอาญา ตลอดจนติดตามช่วยเหลือและฟื้นฟูสภาพทางสังคมอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน ให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
6) การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง งบประมาณ 19,919.6 ล้านบาท เพื่อรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ความมั่นคงชายแดน ชายฝั่งทะเล และรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ การก่อการร้าย ป้องกันภัยคุกคามข้ามชาติและความมั่นคงทางทะเลและพัฒนาศักยภาพในการรับมือภัยคุกคามและเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี ตลอดจน ติดตามและเฝ้าระวังการทําประมงให้เป็นไปตามกฎหมาย และการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งเพื่อป้องกันการสูญเสียดินแดนของประเทศ
7) การจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ งบประมาณ 299.7 ล้านบาท เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ คุ้มครองและช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์กลับคืนสู่สังคม โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการปราบปรามและดําเนินคดีการกระทําความผิดค้ามนุษย์ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ รวมทั้ง สร้างความรู้ความเข้าใจแก่กลุ่มเป้าหมายให้สามารถป้องกันและปฏิบัติตัวได้ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ไม่น้อยกว่า 137,000 คน
8) การพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติและระบบบริหารจัดการภัยพิบัติ งบประมาณ 16,971.8 ล้านบาท เพื่อพัฒนาขีดความสามารถการปฏิบัติงานด้านภัยพิบัติฉุกเฉิน การกู้ภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อลดความสูญเสียและสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เพิ่มประสิทธิภาพการเตือนภัยพิบัติ สร้างความรู้และความตระหนักแก่ประชาชน รวมถึงป้องกันการกัดเซาะการพังทลายของตลิ่งริมแม่น้ําภายในประเทศ ไม่น้อยกว่า 176,414 เมตร
9) การพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศ และความพร้อมเผชิญภัยคุกคามทุกมิติ งบประมาณ 58,194.4 ล้านบาท เพื่อให้หน่วยงานด้านความมั่นคง มีความพร้อมที่จะเผชิญภัยคุกคามทุกรูปแบบ มีระบบและแผนเตรียมพร้อมแห่งชาติที่ทันสมัยและปฏิบัติได้จริง โดยการเพิ่มขีดความสามารถงานข่าวกรองและต่อต้านข่าวกรอง สร้างเครือข่ายภาคประชาชนและภาคเอกชนให้มีความรู้ความเข้าใจด้านการข่าวและการรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน รวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพด้านการพัฒนาประเทศและการช่วยเหลือประชาชน ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อการป้องกันประเทศ
10) การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ งบประมาณ 4,052.4 ล้านบาท เพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคงสามารถรับมือกับความท้าทายจากภายนอกได้ทุกรูปแบบ และเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการค้า การลงทุน และการบริการในภูมิภาคเอเชีย โดยการพัฒนาความเป็นมาตรฐานสากลและส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจและทางทหารกับมิตรประเทศและองค์การระหว่างประเทศ เสริมสร้างภาพลักษณ์ และบทบาทของประเทศไทยในประชาคมโลก ส่งเสริมการดําเนินงานการต่างประเทศอย่างมีเอกภาพและบูรณาการ รวมทั้งพัฒนาความร่วมมือความเป็นหุ้นส่วนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ
11) การพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม งบประมาณ 423.1 ล้านบาท เพื่อให้กลไกการบริหารจัดการความมั่นคงมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยการพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม ขับเคลื่อนนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ
12) การสนับสนุนด้านความมั่นคง งบประมาณ 536.8 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนเป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง โดยการเพิ่มขีดความสามารถระบบบริหารจัดการด้านความมั่นคง สนับสนุนงานขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
13) การดําเนินงานภารกิจพื้นฐาน งบประมาณ 33,838.4 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 116,419.5 ล้านบาท เพื่อให้การดําเนินภารกิจด้านความมั่นคงมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า มีความพร้อมด้านการป้องกันประเทศ การดํารงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีและความร่วมมือในการดําเนินงานด้านความมั่นคงระหว่างประเทศไทยกับมิตรประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
รัฐบาลจัดสรรงบประมาณรายจ่าย จํานวน 396,125.5 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.4 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อส่งเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันมีเสถียรภาพและยั่งยืน โดยมีเป้าหมายกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในทุกภูมิภาคของประเทศ จําแนกตามแผนงาน ดังนี้
1) การพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ งบประมาณ 131,372.8 ล้านบาท เพื่อให้ประเทศไทยมีระบบคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมในทุกระบบ เช่น ทางถนน ก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงและทางหลวงชนบท ระยะทาง 4,017 กิโลเมตร และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ระยะทาง 48 กิโลเมตร ทางราง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการขนส่งทางรางสายเด่นชัย - เชียงราย – เชียงของ สายบ้านไผ่ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร - นครพนม และพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงสู่ภูมิภาคระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา ทางน้ํา เพิ่มประสิทธิภาพทางเดินเรือในแม่น้ําต่าง ๆ ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง ขุดลอกและบํารุงรักษาร่องน้ําชายฝั่งทะเล เพื่อรองรับปริมาณการขนส่งสินค้า 114 ล้านตัน ทางอากาศ เพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานตามมาตรฐานการบินระหว่างประเทศ รวมทั้ง ส่งเสริมการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะของประชาชนอย่างทั่วถึง รวมทั้ง การพัฒนารูปแบบการกํากับดูแลและการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม การพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ โดยมีเป้าหมายจํานวน 2,750 คน และการกํากับดูแลและพัฒนามาตรฐานด้านการขนส่งทุกรูปแบบให้มีคุณภาพระดับสากล รองรับและอํานวยความสะดวกทางการค้าด้วยระบบการเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจ
2) การเกษตรสร้างมูลค่า งบประมาณ 78,903.7 ล้านบาท เพื่อเพิ่มการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมและผลิตภาพด้านการผลิตของสาขาเกษตร โดยส่งเสริมระบบเกษตรแปลงใหญ่ จํานวน 3,023 แปลง และ 201,000 ไร่ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตต่อหน่วย บริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) จํานวน 71,540 ไร่ ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตและปรับเปลี่ยนการผลิตให้เหมาะสมกับศักยภาพพื้นที่ ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารเข้าสู่ระบบมาตรฐานความปลอดภัยด้วยการตรวจประเมินแหล่งผลิต ไม่น้อยกว่า 240,500 แห่ง ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรตามศักยภาพและความโดดเด่นเฉพาะ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่และส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร รวมทั้งส่งเสริมความเข้มแข็งเกษตรกรผ่านโครงการประกันรายได้สินค้าเกษตร โดยมีเกษตรกรได้รับประโยชน์ 7.92 ล้านครัวเรือน และส่งเสริมการใช้แพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัลเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเป็นภาคการผลิตที่สร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เกษตรกรพึ่งพาตนเอง
3) การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก งบประมาณ 11,086.9 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพ เข้าถึงได้สะดวก และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ เช่น ปรับปรุงทางรถไฟเข้าพื้นที่ท่าเรือจุกเสม็ด ก่อสร้างทางหลวงรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกระยะทาง 95 กิโลเมตร โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน รวมทั้งพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ มีความทันสมัยระดับนานาชาติ เหมาะกับการอยู่อาศัยอย่างสะดวก ปลอดภัย สามารถประกอบกิจการได้อย่างมีคุณภาพ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ เช่น พัฒนาผังเมืองและปรับปรุงภูมิทัศน์ ไม่น้อยกว่า 14 ผัง ก่อสร้างศูนย์การแพทย์ครบวงจร 2 แห่ง และก่อสร้างโรงพยาบาลศูนย์เฉพาะทาง 3 แห่ง ผลิตและพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ไม่น้อยกว่า 4,850 คน และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่และเกษตรอัจฉริยะใน 40 ชุมชน
4) การพัฒนาพื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ งบประมาณ 7,435.2 ล้านบาท เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในทุกภูมิภาคของประเทศ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอํานวยความสะดวกและความปลอดภัย เพื่อยกระดับความน่าอยู่ของเมือง โดยใช้แผนผังภูมินิเวศเป็นกรอบในการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ชนบทมั่นคง เกษตรยั่งยืน และอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมถึง ผังพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งโบราณคดี วัฒนธรรม ประเพณี และอัตลักษณ์ท้องถิ่น โดยสนับสนุนการวางผังเมือง 120 ผัง และจัดรูปที่ดิน 1,476 ไร่
5) การสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว งบประมาณ 5,125.1 ล้านบาท เพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ มีเป้าหมายเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว ไม่น้อยกว่า 2.4 ล้านล้านบาท โดยสนับสนุนการสร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว ให้สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ รักษาจุดเด่นด้านขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม เช่น การพัฒนาเส้นทางชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี 50 ชุมชน เพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 10 แห่ง พัฒนาแหล่งธรณีวิทยาเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว 9 แห่ง พัฒนาเมืองท่องเที่ยวเพื่อรองรับการจัดงานท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ 10 เมือง ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกลุ่มอาเซียนและงานสัมมนาระดับนานาชาติ รวมทั้งพัฒนาและยกระดับชุมชนเข้าสู่มาตรฐานการท่องเที่ยวไทย 50 ชุมชน และผลักดันให้ชุมชนเข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 20 ชุมชน เพื่อประโยชน์ในการสร้างงาน สร้างอาชีพ และรายได้ให้กับคนในชุมชน พัฒนาสิ่งอํานวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเชื่อมโยงไปยังภูมิภาค โดยก่อสร้างทางหลวงชนบทเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว ระยะทาง 231 กิโลเมตร รวมทั้งส่งเสริมการตลาดทั้งในและต่างประเทศ เช่น จัดกิจกรรมเจาะตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ กลุ่มกีฬาและสุขภาพ
6) การพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ งบประมาณ 699.4 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม สังคม สิ่งแวดล้อม และการศึกษา เพิ่มประสิทธิภาพของด่านศุลกากร 2 แห่ง ปรับปรุงและจัดทําข้อเสนอกฎหมายและกฎระเบียบใหม่ ประชาสัมพันธ์ให้นักลงทุนและผู้ประกอบการไทยและนานาชาติมาลงทุนในพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ ตาก มุกดาหาร สระแก้ว ตราด สงขลา หนองคาย เชียงราย นครพนม กาญจนบุรี และนราธิวาส เพิ่มประสิทธิภาพการบริการคนเข้าเมือง พัฒนาสาธารณสุขชายแดน ป้องกัน เฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ พัฒนาฝีมือแรงงาน การจัดระบบแรงงานต่างด้าวตลอดจนพัฒนาพื้นที่บริเวณชายแดนให้มีความพร้อมสําหรับรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยนําเ ทคโนโลยี นวัตกรรม และดิจิทัลมาใช้อํานวยความสะดวกในการพัฒนาพื้นที่
7) การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง แข่งขันได้ งบประมาณ 2,721.4 ล้านบาท เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และผู้ประกอบการชุมชนมีความรู้และทักษะของการเป็นผู้ประกอบการที่มีอัตลักษณ์ชัดเจน มีนวัตกรรมในการผลิตสินค้าและบริการ สามารถปรับตัวสู่ธุรกิจใหม่ โดยเสริมสร้างศักยภาพวิสาหกิจในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล 22,000 คน 2,400 กิจการ ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุน ตลอดจนการเข้าถึงแหล่งข้อมูลและองค์ความรู้ในการพัฒนาธุรกิจ สามารถขยายการค้าและการลงทุนไปต่างประเทศ ด้วยการส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีช่องทางการค้าผ่าน e-commerce 25,800 คน รวมทั้งส่งเสริมการลงทุนที่เน้นการวิจัย พัฒนา และสร้างนวัตกรรม สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดําเนินธุรกิจ โดยมีเป้าหมายให้ SME ไทยไม่น้อยกว่า 800,000 ราย สามารถเติบโตและแข่งขันได้ในระดับสากล
8) การพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต งบประมาณ 1,554.6 ล้านบาท เพื่อเพิ่มอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสาขาอุตสาหกรรมและบริการ ร้อยละ 3.1 ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมชีวภาพ อุตสาหกรรมและบริการทางการแพทย์ อุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล ข้อมูลปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์สมัยใหม่ และอุตสาหกรรมด้านความมั่นคง โดยสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต เช่น การจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีต้นแบบที่มีความเป็นเลิศด้านการวิจัยและพัฒนายาตัวใหม่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเป็นฐานการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนที่สําคัญของโลก และรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมดิจิทัล รวมทั้งพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน จํานวน 292 กิจการ และพัฒนาศักยภาพแรงงานและบุคลากร เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพเชิงเศรษฐกิจ ตลอดจนพัฒนาต่อยอดความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมและยกระดับไปสู่อุตสาหกรรมที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง
9) การพัฒนาความมั่นคงทางพลังงาน งบประมาณ 1,226.1 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานทั้งระบบให้มีความมั่นคง สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในทุกภาคส่วน รักษาอัตราการผลิตน้ํามันดิบและก๊าซธรรมชาติเหลวในประเทศไม่น้อยกว่า 140,000 บาร์เรลต่อวัน สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อบริหารจัดการและผลิตพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน พลังงานทางเลือก กํากับดูแลกลไกตลาดพลังงานให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรม
10) การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล งบประมาณ 988.1 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในส่วนของโครงข่ายสื่อสารหลักและบรอดแบรนด์ความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลและบริการที่มีประสิทธิภาพอย่างเท่าเทียม ส่งเสริมการลงทุนและใช้ทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลร่วมกัน ทั้งในและต่างประเทศ ในส่วนของภาคพื้นดิน เคเบิ้ลใต้น้ํา และระบบดาวเทียมสําหรับการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านให้มีเพียงพอและมีระบบโครงข่ายสํารอง (Redundancy) ให้สามารถสื่อสารระหว่างประเทศได้อย่างต่อเนื่อง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ตลอดจนจัดให้มีมาตรการเฝ้าระวังและรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ที่ได้มาตรฐานสากล ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการกําหนดมาตรการและแนวปฏิบัติสําหรับผู้ให้บริการในการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้รับบริการ ส่งเสริมการให้ความรู้ เพิ่มทักษะและใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแก่ประชาชนและทุกสาขาอาชีพ สร้างความรู้การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สื่อออนไลน์ โครงข่ายสังคมออนไลน์อย่างถูกต้องไม่น้อยกว่า 70,000 คน
11) การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม งบประมาณ 17,089.0 ล้านบาท เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม โดยมุ่งเน้นการเร่งรัดและผลักดันให้ภาครัฐและเอกชนนําผลการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมไปใช้ได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมให้คนไทยมีสมรรถนะและทักษะสูงเพียงพอในการพลิกโฉมประเทศ เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพิ่มความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อให้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ตอบโจทย์ปัญหาท้าทายสังคม สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ํา รวมทั้งการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก
12) การพัฒนาศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม งบประมาณ 286.6 ล้านบาท เพื่อพัฒนากําลังคนและเสริมศักยภาพของสถาบันวิจัยและสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นฐานในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม
13) การสนับสนุนด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน งบประมาณ 23,775.5 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนเป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน โดยการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการและลดต้นทุนการผลิต สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุน พัฒนาช่องทางการตลาดและขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก ควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี
14) การดําเนินงานภารกิจพื้นฐาน งบประมาณ 71,873.9 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 41,987.2 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันสอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลกสมัยใหม่ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่าง ๆ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่าย จํานวน 549,514.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.2 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อให้ประชาชนทุกช่วงวัยมีความรู้ คุณธรรม จิตสาธารณะ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับการศึกษาและการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง สามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและทั่วถึง รวมทั้งเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาศักยภาพทางการกีฬา และพัฒนาทักษะแรงงานรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายและวางรากฐานเศรษฐกิจในอนาคต จําแนกตามแผนงาน ดังนี้
1) การเสริมสร้างให้คนมีสุขภาวะที่ดี งบประมาณ 51,883.9 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและทั่วถึง พร้อมรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ํา ส่งเสริมระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์ผสมผสาน การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สนับสนุนกลไกการปฏิบัติหน้าที่ของ อสม. หมอประจําบ้าน ไม่น้อยกว่า 1.039 ล้านคน เพื่อให้ประชาชนและชุมชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องและยั่งยืน ส่งเสริมและพัฒนาสมุนไพรไทย กัญชา กัญชง เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และให้ประชาชนเข้าถึงการใช้ประโยชน์อย่างปลอดภัย เร่งรัดการผลิตแพทย์ พยาบาล และบุคลากรด้านสาธารณสุข ไม่น้อยกว่า 38,400 คน และกระจายแพทย์ไปสู่ชนบทไม่น้อยกว่า 7,490 คน พัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินครบวงจรและระบบการส่งต่อ พร้อมทั้งสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง
2) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต งบประมาณ 31,699.5 ล้านบาท เพื่อให้คนไทยทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาอย่างสมดุล ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา คุณธรรม และจริยธรรม โดยมุ่งเน้นให้เด็กและเยาวชนมีพัฒนาการและทักษะที่เหมาะสมตามช่วงวัย ด้วยการสนับสนุนอาหารเสริม (นม) ไม่น้อยกว่า 1.47 ล้านคน อาหารกลางวัน ไม่น้อยกว่า 487,800 คน ส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาทักษะและสมรรถนะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยแรงงานได้รับการฝึกฝีมือ ไม่น้อยกว่า 75,300 คน รวมทั้ง ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม พัฒนาทักษะอาชีพให้เป็นผู้สูงอายุ
ที่มีศักยภาพ สามารถประกอบอาชีพและพึ่งพาตนเองได้
3) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ งบประมาณ 19,871.4 ล้านบาท เพื่อให้คนไทยมีการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล โดยพัฒนารูปแบบการศึกษาและการเรียนรู้ให้ตอบสนอง
ต่อนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 พัฒนาศักยภาพครูให้มีสมรรถนะของครูยุคใหม่ 64,300 คน ขยายโอกาสการศึกษาวิชาชีพและยกระดับการผลิตและพัฒนากําลังคนให้ตอบสนองความต้องการของประเทศ 36,000 คน เชื่อมโยงการศึกษากับภาคธุรกิจโดยพัฒนาครูผู้สอนระบบทวิภาคี 12,000 คน ส่งเสริมการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) สําหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ไม่น้อยกว่า 678,500 คน พัฒนาโรงเรียนคุณภาพทุกตําบล ไม่น้อยกว่า 8,200 โรงเรียน สนับสนุนการคืนครูให้นักเรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย ไม่น้อยกว่า 63,000 คน ตลอดจนพัฒนากําลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักเรียน นักศึกษาและครูเพื่อพัฒนาให้เป็นผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่น้อยกว่า 1,800 คน
4)การเสริมสร้างศักยภาพการกีฬา งบประมาณ 1,934.3 ล้านบาท เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรง มีวินัย มีน้ําใจนักกีฬา และตระหนักถึงประโยชน์ของการออกกําลังกายและการเล่นกีฬา โดยส่งเสริมการออกกําลังกาย การเล่นกีฬาและกิจกรรมนันทนาการของประชาชนทุกกลุ่มทุกวัย ไม่น้อยกว่า 23 ล้านคน พัฒนาบุคลากรด้านพลศึกษา กีฬา นันทนาการ วิทยาศาสตร์การกีฬา ให้มีความสามารถและทักษะความเป็นเลิศด้านกีฬา สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อุปกรณ์ สถานที่และสิ่งอํานวยความสะดวกด้านการออกกําลังกาย การกีฬาและนันทนาการ รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนานักกีฬาของชาติตั้งแต่ระดับเยาวชนเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศด้านกีฬาอาชีพ ไม่น้อยกว่า 30,000 คน
5) การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม งบประมาณ 2,472.3 ล้านบาท เพื่อให้คนไทยมีคุณธรรม จริยธรรม มีความภูมิใจและรักในความเป็นไทย รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ไม่น้อยกว่า 19 ล้านคน และอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรม ไม่น้อยกว่า 590,000 รายการ พัฒนาสืบสานมรดกทางศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งน้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดํารงชีวิตเพื่อให้สังคมไทยมีความสุข และนําไปสู่การเสริมสร้างภาพลักษณ์ความเป็นไทยสู่สากลให้เป็นที่ยกย่องและยอมรับของนานาชาติ
6) การสนับสนุนด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ งบประมาณ 2,650.2 ล้านบาท เพื่อพัฒนาคนไทยทุกช่วงวัย และส่งเสริมผู้เรียนทุกกลุ่มให้ได้รับการพัฒนาความรู้ ทักษะ มีความเป็นเลิศทางวิชาการ พัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบฐานข้อมูลทางการศึกษา รวมพัฒนาทักษะแรงงานให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก อย่างน้อย 23,000 คน และให้ประชาชน
ทุกกลุ่มมีโอกาสได้เรียนรู้และฝึกอาชีพจากโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ไม่น้อยกว่า 400,000 คน เพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
7) การดําเนินงานภารกิจพื้นฐาน งบประมาณ 35,057.3 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 403,945.1 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและทั่วถึง รวมทั้ง วัยแรงงานได้รับการพัฒนาศักยภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
รัฐบาลจัดสรรงบประมาณ จํานวน 759,861.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 23.9 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อให้คนไทยได้รับสวัสดิการพื้นฐานอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม สร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ําของสังคม สร้างหลักประกันทางสังคมให้คนไทยสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพและการศึกษาที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน รวมทั้งสร้างหลักประกันสวัสดิการสําหรับแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ และสนับสนุนการเตรียมความพร้อมสังคมไทยในการรองรับสังคมสูงวัย จําแนกตามแผนงาน ดังนี้
1) การสร้างหลักประกันทางสังคม งบประมาณ 269,465.2 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนทุกคนโดยเฉพาะกลุ่มด้อยโอกาสและกลุ่มเปราะบางได้รับการคุ้มครอง มีหลักประกันทางสังคมและสวัสดิการที่เหมาะสมและเป็นธรรม ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ไม่น้อยกว่า 47.7 ล้านคน เพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวและสิทธิประโยชน์ อาทิ การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง โรคหัวใจ วัณโรค การผ่าตัดรากฟันเทียมในผู้สูงอายุ การให้ยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังการสัมผัสและการเสริมสร้างสุขภาพและป้องกันโรค รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อดูแลประชาชน
ให้ได้รับความเป็นธรรมในราคาสินค้าและบริการอย่างเหมาะสม ส่งเสริมการสร้างหลักประกันสังคมและสวัสดิการสําหรับแรงงานในระบบและนอกระบบ ให้สามารถเข้าถึงระบบประกันสังคมอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ครอบคลุมผู้ประกันตนสําหรับแรงงานในระบบและนอกระบบ เป้าหมาย 24.3 ล้านคน รวมถึงสร้างความปลอดภัยและอนามัยสุขภาพในการทํางานให้เหมาะสม ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนไร้ที่พึ่งและคนขอทานได้รับการคุ้มครองช่วยเหลือที่ครอบคลุมและทั่วถึง จํานวน 98,930 คน
2)การสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา งบประมาณ 81,269.0 ล้านบาท เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานทั้งในระบบและนอกระบบ โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 9.68 ล้านคน เพื่อลดความเหลื่อมล้ําด้านการศึกษาในสังคมไทย ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมและทั่วถึงและมีคุณภาพตามมาตรฐานโดยใช้เทคโนโลยีทางไกลผ่านดาวเทียม ไม่น้อยกว่า 7,900 แห่ง ตลอดจนสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษาในพื้นที่ 2,000 โรงเรียน รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ไม่น้อยกว่า 2.68 ล้านคน ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาหรือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพให้เหมาะสมสอดคล้องกับความจําเป็นรายบุคคล ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของหน่วยจัดการเรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบหรือกลไกความร่วมมือในพื้นที่ รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ และสนับสนุนทุนเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษา และสายอาชีพ จํานวน 10,700 คน
3) การส่งเสริมการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น งบประมาณ 304,356.1 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณะจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ สนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่นักเรียนโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่น้อยกว่า 1.019 ล้านคน สนับสนุนอาหารเสริม (นม) และอาหารกลางวันให้เด็กวัยเรียน ไม่น้อยกว่า 5.04 ล้านคน สนับสนุนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไม่น้อยกว่า 11.03 ล้านคน เบี้ยยังชีพคนพิการไม่น้อยกว่า 2.09 ล้านคน เตรียมความพร้อมในการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด รวมทั้งส่งเสริมให้คนในท้องถิ่นสามารถพัฒนาบทบาทในการจัดการท้องถิ่นของตนเอง และเสริมสร้างความมั่นคงและเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและประเทศ
4) การส่งเสริมการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ งบประมาณ 21,727.7 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการดําเนินการแบบบูรณาการครอบคลุมทุกมิติการพัฒนาของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ที่มีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยให้ความสําคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ผ่านโครงการภายใต้แผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด ที่มีความสอดคล้องกับศักยภาพ โอกาส สภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน ได้แก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไปสู่การขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5) การพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก งบประมาณ 1,474.3 ล้านบาท เพื่อเพิ่มศักยภาพและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากให้สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น และกระจายรายได้สู่ชุมชน ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ําของรายได้ประชาชน พัฒนาและสร้างโอกาสให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีอาชีพไม่น้อยกว่า 110,000 ราย สนับสนุนเกษตรกรรุ่นใหม่ไปสู่เกษตรกรปราดเปรื่อง และให้เกษตรกรได้รับสิทธิ
ในที่ดินทํากินไม่น้อยกว่า 20,000 ราย สนับสนุนศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ส่งเสริมและสร้างทักษะในการประกอบอาชีพทั้งในและนอกภาคเกษตร สนับสนุนการปลูกไม้มีค่าเป็นพืชเศรษฐกิจ พัฒนาผลิตภัณฑ์และการให้บริการชุมชน โดยพัฒนาความเข้มแข็งของสถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน รวมทั้งพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน ไม่น้อยกว่า 3,500 ราย ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในชุมชน พัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน สนับสนุนการพัฒนากลไกการตลาดและระบบการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มรายได้จากการจําหน่ายสินค้าชุมชนโดยพัฒนาศักยภาพการดําเนินธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ส่งเสริมช่องทางการตลาดสินค้าชุมชนให้ครอบคลุมทุกช่องทาง รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนากลไกและโครงสร้างดูดซับมูลค่าทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้กลับสู่ท้องถิ่น
6) มาตรการแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะกลุ่ม งบประมาณ 24,026.1 ล้านบาท เพื่อให้มีระบบและกลไกช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ โดยสนับสนุนและจัดหาโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมให้ประชากรกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพิสูจน์สิทธิของบุคคลในเขตที่ดินของรัฐที่มีข้อพิพาทให้ยุติ 1,300 แปลง การช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษโดยเฉพาะกลุ่มเด็ก เยาวชน สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานของรัฐและโอกาสทางสังคมได้อย่างเท่าเทียม สร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มคุณภาพการให้บริการสาธารณะให้มีความปลอดภัย ยกระดับการคุ้มครองทางสังคม โดยสนับสนุนเบี้ยเด็กแรกเกิดถึง 6 ปี ไม่น้อยกว่า 2.5 ล้านคน สนับสนุนการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี 106,355 ราย สนับสนุนการสร้างที่อยู่อาศัยบ้านมั่นคง 3,750 ครัวเรือน บ้านพอเพียง 25,000 ครัวเรือน พัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองเปรมประชากร 100 ครัวเรือน รวมทั้งผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ส่งเสริมการจัดสิ่งอํานวยความสะดวกและบริการสาธารณะสําหรับคนพิการ 20,000 คน ช่วยเหลือคุ้มครองผู้ประสบปัญหาทางสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนกลุ่มเป้าหมายพิเศษในพื้นที่ 24,960 คน จัดหาอาคารเช่าสําหรับผู้มีรายได้น้อย ไม่น้อยกว่า 1,087 หน่วย
7) การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย งบประมาณ 448.7 ล้านบาท เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนก่อนเข้าสู่สังคมสูงวัย โดยประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้ประชากรอายุ 25-59 ปี ไม่น้อยกว่า 8.5 ล้านคน เพื่อสร้างความรู้ด้านสุขภาวะและเสริมสร้างทักษะให้กลุ่มเป้าหมายพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ดีขึ้นในด้านต่าง ๆ ประกอบไปด้วย ด้านเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุได้รับการเสริมสร้างทักษะอาชีพเพื่อให้ผู้สูงอายุมีงานทํา และมีรายได้ จํานวน 12,000 คน ด้านสังคม ยกระดับความคุ้มครองทางสังคม เพื่อให้ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลําพังและที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ให้เกิดความยั่งยืนและส่งเสริมท้องถิ่นให้คุ้มครอง พิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ โดยอบรมและพัฒนาทักษะผู้สูงอายุให้รู้เท่าทันภัยไซเบอร์ ไม่น้อยกว่า 1,430 คน ด้านสภาพแวดล้อม ปรับปรุงที่อยู่อาศัยและสถานที่สาธารณะให้เหมาะสมสําหรับผู้สูงอายุ 10,006 แห่ง ด้านสุขภาพ พัฒนาการดูแลสุขภาพ การเข้าถึงบริการสุขภาพ อย่างเหมาะสม จํานวน 3.35 ล้านคน โดยให้ความสําคัญกับการดูแลรักษากลุ่มอาการหรือโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะเปราะบาง และการให้บริการด้านทันตกรรมสําหรับผู้สูงอายุ
8) การเสริมสร้างพลังทางสังคม งบประมาณ 7,949.7 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการสร้างพลังในชุมชนให้เกิดเป็นพลังทางสังคม สนับสนุนบทบาทและพัฒนาศักยภาพองค์การสวัสดิการสังคม อาสาสมัคร เครือข่าย และภาคประชาชน พัฒนากลไกและระบบสนับสนุนการบริหารจัดการเครือข่ายในระดับจังหวัด อําเภอ ตําบล และชุมชน ส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดวิสาหกิจเพื่อสังคม พัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการชุมชนให้มีการสร้างงาน สร้างรายได้และพึ่งตนเองได้ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวง และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ส่งเสริมศักยภาพบทบาทสตรีและสิทธิมนุษยชน ให้ทุกเพศสภาพเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม สนับสนุนการอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของแต่ละชุมชนโดยพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรม นําองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และน้อมนําแนวทางพระราชดําริสู่การปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมทุนทางสังคมและวัฒนธรรมของท้องถิ่นให้สามารถนําไปต่อยอดพัฒนาสู่การเพิ่มคุณค่า และมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม
9) การสนับสนุนด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม งบประมาณ 38,942.8 ล้านบาท เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อยและเกษตรกร โดยพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 13.4 ล้านคน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานที่จําเป็นต่อการดํารงชีพ รวมทั้งส่งเสริมการออมเพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบํานาญและประโยชน์ตอบแทนแก่สมาชิกเมื่อสิ้นสภาพ 2.92 ล้านคน ผ่านกองทุนการออมแห่งชาติ สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการช่วยเหลือด้านการลดดอกเบี้ยเพื่อการเกษตร ไม่น้อยกว่า 353,400 ราย ส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและสนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากในแต่ละภูมิภาค ส่งเสริมกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ รวมทั้งสนับสนุนผู้มีรายได้น้อยให้เข้าถึงสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
10) การดําเนินภารกิจพื้นฐาน งบประมาณ 1,906.4 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 8,295.3 ล้านบาทเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ให้ประชาชนได้รับโอกาสในการเข้าถึงการบริการสาธารณะอย่างเท่าเทียม เป็นธรรม และทั่วถึง รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานในและนอกระบบ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
รัฐบาลจัดสรรงบประมาณ จํานวน 122,964.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.9 ของวงเงินงบประมาณ เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน สร้างการเติบโตบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว และบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จําแนกตามแผนงาน ดังนี้
1) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา งบประมาณ 54,121.9 ล้านบาท เพื่อให้ประเทศมีความมั่นคงด้านน้ําเพิ่มขึ้น มีการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําอย่างเป็นระบบและยั่งยืน รวมทั้งช่วยเหลือและแก้ปัญหาภัยแล้ง โดยการจัดการน้ําอุปโภคบริโภคผ่านการจัดหาแหล่งน้ําสํารองเพื่อระบบประปา 49,381 ครัวเรือน สร้างความมั่นคงด้านน้ําทั้งภาคการผลิต ภาคเกษตร และอุตสาหกรรมให้มีต้นทุนน้ําใช้อย่างสมดุล และเพิ่มผลิตภาพการใช้น้ํา 158.27 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่รับประโยชน์จากแหล่งน้ําเพิ่มขึ้น 389,037 ไร่ การจัดการน้ําท่วมและบรรเทาสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เศรษฐกิจ 336,882 ไร่ พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ําเสีย 333 แห่ง อนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ํา ป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูป่าต้นน้ํา 108,223 ไร่ และปลูกป่าฟื้นฟู 14,970 ไร่
2) การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และป้องกันการทําลายทรัพยากรธรรมชาติ งบประมาณ 4,732.0 ล้านบาท เพื่อให้ความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟู โดยพัฒนากลไกและมาตรการในการอนุรักษ์ ปกป้องคุ้มครอง ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน รักษาพื้นที่ป่าในความดูแล 98.36 ล้านไร่ ส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจแบบครบวงจร 26,910 ไร่ จัดระเบียบการใช้ที่ดินด้วยการจัดทําแผนการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ระดับพื้นที่ 3,000 หมู่บ้าน เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติ
3) การจัดการผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ งบประมาณ 1,574.8 ล้านบาท เพื่อให้ประเทศสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่น้อยกว่า 56 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ด้วยการสร้างความร่วมมือของภาคีต่าง ๆ เสริมสร้างขีดความสามารถในการลดมลพิษและลดก๊าซเรือนกระจกจากภาคอุตสาหกรรม ส่งเสริมการลงทุนที่ใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ํา รวมทั้งเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าเพื่อพัฒนาประเทศมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ํา ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพระบบตรวจวัดและการแจ้งเตือนภัยสภาพอากาศ
4) การจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม งบประมาณ 567.6 ล้านบาท เพื่อให้ประเทศมีการบริหารจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพและเอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยแก้ไขปัญหาขยะ
ทุกประเภทอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ป้องกัน แก้ไขและจัดการมลพิษจากแหล่งกําเนิด จัดการคุณภาพอากาศของแต่ละพื้นที่ให้อยู่ในเกณฑ์มาตฐานที่กําหนด และปริมาณน้ําเสียได้รับการบําบัดได้
ตามมาตรฐานน้ําทิ้งจากระบบบําบัดน้ําเสียชุมชน รวมถึงการส่งเสริมให้โรงพยาบาลมีการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมได้ตามเกณฑ์
5) การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล งบประมาณ 189.7 ล้านบาท เพื่อให้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้รับการปรับปรุง ฟื้นฟู และสร้างใหม่ โดยจัดการคุณภาพน้ําทะเล รักษาระบบนิเวศและสัตว์ทะเลหายากใกล้สูญพันธุ์ ตลอดจนคุ้มครอง อนุรักษ์ และฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง 3,148 กิโลเมตร
6) การยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อกําหนดอนาคตประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม งบประมาณ 193.3 ล้านบาท เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรดิน ส่งเสริมการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างวินัยและการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ สร้างความตระหนักรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพิ่มประสิทธิภาพการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
7) การสนับสนุนด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม งบประมาณ 33,033.7 ล้านบาท เพื่ออนุรักษ์ รักษาและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน สนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา สนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวง บริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากร รวมทั้งเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําบาดาล
8) การดําเนินงานภารกิจพื้นฐาน งบประมาณ 10,111.9 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 18,440.0 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการบริหารจัดการน้ํา ทรัพยากรธรรมชาติ มลพิษและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และแหล่งอนุรักษ์พันธุ์พืช
ยุทธศาสตร์ที่ 6 : ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
รัฐบาลจัดสรรงบประมาณรายจ่าย จํานวน 658,012.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20.7 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อให้ระบบการบริหารราชการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์
ต่อประชาชนส่วนรวม จําแนกตามแผนงาน ดังนี้
การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ งบประมาณ 498.0 ล้านบาท เพื่อลดปัญหาการทุจริตในสังคมไทย โดยมีเป้าหมายค่าดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) อยู่ในอันดับ 1 ใน 53 และ/หรือได้คะแนนไม่ต่ํากว่า 51 คะแนน ผ่านการปลูกจิตสํานึกและสร้างค่านิยมให้ทุกภาคส่วนตระหนักรู้ในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต คุณธรรม จริยธรรม และใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร ปรับปรุงกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและเป็นธรรม รวมทั้งให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ เพื่อให้สังคมไทยมีภาพลักษณ์ความซื่อสัตย์สุจริตดีขึ้น ภาครัฐมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้
ดิจิทัล งบประมาณ 2,356.0 ล้านบาท เพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการภาครัฐผ่านการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่า โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ด้วยการสนับสนุนการพัฒนาบริการภาครัฐที่มีคุณค่ารัฐบาลและปฏิบัติงานเทียบได้กับมาตรฐานสากล มีความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใสตรวจสอบได้ ลดภาระค่าใช้จ่าย ลดขั้นตอนการทํางาน ทันสมัยและทันต่อสถานการณ์ เชื่อมโยงหน่วยงานและระบบบริการภาครัฐทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน ภาคธุรกิจ และผู้ใช้บริการ โดยพัฒนาระบบการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ จํานวน 10 ระบบ จัดทําแพลตฟอร์มกลางเพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบาย จํานวน 4 แพลตฟอร์ม รวมถึงพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้สาธารณะออนไลน์ ตลอดจนปรับปรุงระบบการอนุมัติและอนุญาตของภาครัฐ พัฒนาระบบจัดเก็บและเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ ลดข้อจํากัดด้านกฎหมายและแก้ไขกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ล้าสมัย หรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา เพื่อยกระดับการพัฒนาภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล
การพัฒนาบริการประชาชนและการพัฒนาประสิทธิภาพภาครัฐ งบประมาณ 28,064.9 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบอํานวยความสะดวกในการบริการภาครัฐให้สามารถติดต่อราชการได้โดยสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ลดค่าใช้จ่าย และตรวจสอบได้ รวมทั้งการบริหารจัดการการเงิน การคลัง โดยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ ขยายฐานภาษีและการปรับปรุงระบบภาษีที่เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ พัฒนาระบบการคลังล่วงหน้าระยะปานกลางและระยะยาว ปรับปรุงระบบงบประมาณให้เป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนในระดับต่าง ๆ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการหนี้สาธารณะให้เกิดความยั่งยืนทางการคลังในระยะยาว พร้อมทั้งพัฒนาระบบการติดตามประเมินผลที่สะท้อนการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติในทุกระดับ และปรับสมดุลภาครัฐโดยการปรับขนาดของภาครัฐให้เหมาะสมควบคู่ไปกับการเสริมสร้างประสิทธิภาพและคุณภาพภายใต้หลักระบบคุณธรรม
การพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรม งบประมาณ 10,225.5 ล้านบาท เพื่อพัฒนากฎหมายให้เหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา ตลอดจนการบังคับใช้
กฎหมายให้เป็นไปด้วยความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ โดยมีการนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมด้วยความสะดวก รวดเร็ว เสมอภาค ทั่วถึงและเป็นธรรม
การสนับสนุนด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ งบประมาณ 1,579.8 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนเป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส ร่วมกันปลูกฝังค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริต ความมัธยัสถ์ การสร้างจิตสํานึกในการปฏิเสธไม่ยอมรับการทุจริตประพฤติมิชอบ และกฎหมายต้องมีเท่าที่จําเป็น มีความทันสมัยและเป็นสากล มีประสิทธิภาพและนําไปสู่การลดความเหลื่อมล้ํา และเอื้อต่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้มีการบริหารที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติและอํานวยความยุติธรรมตามหลักนิติธรรม
การดําเนินงานภารกิจพื้นฐาน งบประมาณ 432,256.5 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 183,032.0 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม
รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายไว้ จํานวน 402,518.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.6 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายรองรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยมิได้คาดหมายสําหรับกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น การบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ดังนี้
รายจ่ายงบกลางเพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น จํานวน 95,900 ล้านบาท เพื่อสํารองไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันหรือแก้ไขสถานการณ์อันกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ความมั่นคงของรัฐ การเยียวยาหรือบรรเทาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะร้ายแรง ภารกิจที่เป็นความจําเป็นเร่งด่วนของรัฐ และการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมทั้งชดเชยค่างานสิ่งก่อสร้างเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ
การบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ จํานวน 306,618.0 ล้านบาท เพื่อชําระคืนต้นเงินกู้ จํานวน 100,000 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม จํานวน 206,618.0 ล้านบาท เป็นการสนับสนุนการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐให้เกิดเสถียรภาพทางการคลังและการเงินรวมทั้งการรักษาวินัยทางการคลัง
สําหรับเอกสารประกอบได้มีการจัดทําให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 10 และมาตรา 11 ดังนี้
1. คําแถลงประกอบงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
2. รายรับรายจ่ายเปรียบเทียบระหว่างปีที่ล่วงมาแล้ว ปีปัจจุบันและปีที่ขอตั้งงบประมาณรายจ่าย แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 1 (เล่มคาดส้ม)
3. คําอธิบายเกี่ยวกับประมาณการรายรับและวิธีหาเงินส่วนที่ขาดดุล แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 2 (เล่มคาดเขียว)
4. คําชี้แจงเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายที่ขอตั้ง ซึ่งรวมถึงการแสดงผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณและความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 3 (เล่มคาดแดง) และฉบับที่ 4 (เล่มคาดเหลือง)
5. รายงานเกี่ยวกับสถานะทางการเงินโดยรวมของรัฐวิสาหกิจ แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 5 (เล่มคาดม่วง)
6. รายงานเกี่ยวกับสถานะเงินนอกงบประมาณและแผนการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ โดยรวมของหน่วยรับงบประมาณ แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 7 (เล่มคาดชมพู)
7. คําอธิบายเกี่ยวกับหนี้ของรัฐบาลทั้งที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันและหนี้ที่เสนอเพิ่มเติม แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 5 (เล่มคาดม่วง)
8. ผลการดําเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณของปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้ว แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 6 (เล่มคาดน้ําเงิน)
9. ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
------------------ | 2022-06-01 | 1,662.319946 | 1,660.01001 | 1,664.900024 | 1,655.800049 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.สุชาติ ร่วมเวทีถามมา – ตอบไปฯ เปิด มาตรการ ลดเหลื่อมล้ำ ยกระดับสวัสดิการ ดูแลแรงงานรับเศรษฐกิจใหม่หลังโควิด | รมว.สุชาติ ร่วมเวทีถามมา – ตอบไปฯ เปิด มาตรการ ลดเหลื่อมล้ํา ยกระดับสวัสดิการ ดูแลแรงงานรับเศรษฐกิจใหม่หลังโควิด
รมว.สุชาติ ร่วมเวทีถามมา – ตอบไปฯ เปิด มาตรการ ลดเหลื่อมล้ํา ยกระดับสวัสดิการ ดูแลแรงงานรับเศรษฐกิจใหม่หลังโควิด
เมื่อวันที่20พฤษภาคม2565นายสุชาติชมกลิ่นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นวิทยากรร่วมเสวนาในหัวข้อ“ลดความเหลื่อมล้ํายกระดับสวัสดิการ”ภายใต้การประชุมเสวนา“Better Thailand Open Dialogueถามมา-ตอบไปเพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม”โดยมีนางธิวัลรัตน์อังกินันทน์ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานนายสุเทพชิตยวงษ์เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานนายสุทธิสุโกศลประจําสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประจํากระทรวงแรงงานนางเธียรรัตน์นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน(ฝ่ายการเมือง)พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงานเข้าร่วมด้วยณรอยัลพารากอนฮอล์สยามพารากอนชั้น5ศูนย์การค้าสยามพารากอนเขตปทุมวันกรุงเทพมหานคร
นายสุชาติได้กล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือแรงงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19ที่ผ่านมาว่ารัฐบาลภายใต้การนําของพล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและพล.อ.ประวิตรวงษ์สุวรรณรองนายกรัฐมนตรีที่กํากับดูแลกระทรวงแรงงานได้มีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกคนที่เป็นกําลังสําคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งผู้ประกอบการต่อสถานการณ์ดังกล่าวจึงได้มีมาตรการรักษาเยียวยาฟื้นฟูและบริหารจัดการแรงงานทั้งแรงงานในระบบและนอกระบบเพื่อเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายรักษาและกระตุ้นการจ้างงานให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานสามารถมีงานทํามีอาชีพมีรายได้และนายจ้างสามารถประกอบธุรกิจและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไปได้ผ่านโครงการต่างๆได้แก่การใช้เงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเยียวยาลูกจ้างที่ไม่ได้รับเงินตามกฎหมายคณะกรรมการกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานปล่อยกู้ให้สหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการและในรัฐวิสาหกิจเพื่อนําไปปล่อยกู้ต่อให้กับแรงงานที่เป็นสมาชิกเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยปรับเพิ่มประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานถูกเลิกจ้างลาออกสิ้นสุดสัญญาจ้างปล่อยสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานแก่สถานประกอบการโครงการม33เรารักกันโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนเปิดจุดตรวจโควิด– 19เปิดสายด่วน1506กด6ประสานจัดหาเตียงHospitelฉีดวัคซีนป้องกันโควิด- 19ผู้ใช้แรงงานโครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานลดอัตราเงินสมทบแก่ผู้ประกันตนมาตรา33 ,39,40เยียวยาผู้ประกันตนในกิจการสถานบันเทิงและผู้ประกอบการอาชีพอิสระที่ทํางานเกี่ยวข้องกับสถานบันเทิงที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจSMEsโครงการFactory Sandboxบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในสถานประกอบกิจการเป็นต้น
นายสุชาติกล่าวต่อว่ากระทรวงแรงงานยังมีการบริหารจัดการให้แรงงานนอกระบบได้รับการคุ้มครองและการพัฒนาสมรรถนะแรงงานเพื่อรองรับตลาดแรงงานในปัจจุบันและอนาคตโดยได้เสนอพ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่แรงงานนอกระบบให้สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการประกอบอาชีพได้รับการคุ้มครองมีหลักประกันทางสังคมและรวมกลุ่มจัดตั้งองค์กรได้การปรับปรุงกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้านเป็นกองทุนแรงงานนอกระบบเพื่อให้แรงงานได้มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้นในด้านการส่งเสริมการมีงานทําได้เตรียมตําแหน่งงานว่างทั้งในประเทศและต่างประเทศเกือบ3แสนอัตราผ่านแพลตฟอร์มแอพพลิเคชั่นไทยมีงานทําพร้อมพบปะผู้นายจ้างประกอบการเพื่อรักษาตลาดเดิมขยายตลาดแรงงานใหม่จัดส่งคนไทยไปทํางานไปยังต่างประเทศมากขึ้นอาทิออสเตรเลียญี่ปุ่นเกาหลีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และซาอุดีอาระเบียในด้านการพัฒนาสมรรถนะแรงงานได้ยกระดับและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานUp Skill Re – SkillและNew –Skillฝึกอบรมการประกอบอาชีพผ่านระบบออนไลน์การจัดหาแรงงานและพัฒนาทักษะแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการนอกจากนี้กระทรวงแรงงานยังได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคมตามแนวทางแผนการปฏิรูปประกันสังคมเพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่างๆแก่ผู้ประกันตนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปรวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนมีสิทธิเลือกรับบําเหน็จบํานาญชราภาพเป็นหลักประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงินได้และนําเงินกรณีชราภาพที่ตนเองสมทบอยู่ในกองทุนประกันสังคมออกมาใช้ก่อนบางส่วนได้ตลอดจนรองรับสังคมผู้สูงอายุอีกด้วย
“กระทรวงแรงงานมุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานในทุกมิติด้วยการพัฒนาสมรรถนะแรงงานให้มีทักษะฝีมือที่สูงขึ้นมีงานทํามีอาชีพมีรายได้ที่เหมาะสมได้รับความคุ้มครองมีหลักประกันทางสังคมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีรองรับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจใหม่และสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศและนโยบายเปิดประเทศฟื้นเศรษฐกิจของรัฐบาลภายหลังโควิดคลี่คลาย”นายสุชาติกล่าวท้ายสุด
+++++++++++++++++++
กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
20พฤษภาคม2565 | 2022-05-20 | 1,618.920044 | 1,622.949951 | 1,626.160034 | 1,616.459961 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงขานรับนโยบาย “คมนาคมสีสัน สร้างสรรค์ประเทศไทย” เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ทางหลวงรับเทศกาลปีใหม่ 2565 | กรมทางหลวงขานรับนโยบาย “คมนาคมสีสัน สร้างสรรค์ประเทศไทย” เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ทางหลวงรับเทศกาลปีใหม่ 2565
เป็นการอํานวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชนพร้อมทั้งส่งเสริมทัศนียภาพระหว่างการเดินทาง ช่วยหนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศและกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น
กรมทางหลวง (ทล.) กระทรวงคมนาคม เตรียมความพร้อมปรับปรุงทางหลวงให้สวยงามตามนโยบาย “คมนาคมสีสัน สร้างสรรค์ประเทศไทย” ของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ได้สั่งการให้ ทล. เตรียมความพร้อมในทุกด้าน โดยเฉพาะเรื่องการอํานวยความสะดวกในการเดินทางและปรับปรุงทัศนียภาพทางหลวงให้มีความสวยงามทันช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565
นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยถึงการปรับปรุงทางหลวงเพื่อรองรับ
การเดินทางท่องเที่ยวของประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 ตามนโยบาย “คมนาคมสีสัน สร้างสรรค์ประเทศไทย” ว่า นโยบายดังกล่าวเป็นการอํานวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชนพร้อมทั้งส่งเสริมทัศนียภาพระหว่างการเดินทาง ช่วยหนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศและกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น ปัจจุบัน ทล. ได้เริ่มดําเนินการแล้ว 2 โครงการดังนี้
1. โครงการเตรียมความพร้อมจุดเช็กอินกรมทางหลวง เริ่มทําความสะอาด ตกแต่ง ปรับปรุงป้ายและจัดเตรียมจุดเช็กอินให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ เพื่อรองรับการเดินทางท่องเที่ยวของประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 ตามนโยบายดังกล่าว โดยดําเนินการใน 11 จังหวัด จํานวน 11 จุด ได้แก่
- ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
- โค้งปิ้งงู จังหวัดสกลนคร
- จุดกางเต็นท์ เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
- แยกไดโนเสาร์ จังหวัดขอนแก่น
- อุโมงค์สัตว์ข้ามวังน้ําเขียว จังหวัดปราจีนบุรี
- จุดพักรถลําตะคลอง จังหวัดนครราชสีมา
- จุดกางเต็นท์หมวดทางหลวงบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี
- แยกห้วยมงคล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- โค้งมโนราห์ จังหวัดพัทลุง
- จุดพักสูดอากาศบริสุทธิ์เขาช้างสี จังหวัดนครศรีธรรมราช
- วงเวียนปลาพะยูน จังหวัดตรัง
2. โครงการปรับปรุงทางหลวงให้สวยงาม ระยะที่ 1 ประกอบด้วย 3 แผนงานดังนี้
- แผนงานเพิ่มศักยภาพถนนสายต้นไม้และดอกไม้ โดยดําเนินการบํารุงรักษาหรือปลูกเพิ่มในจังหวัดที่มีไม้ยืนต้นออกดอกสีสันสวยงามบริเวณสองข้างทางหลวง ด้วยพันธุ์ไม้ประจําถิ่นเพื่อสร้างเอกลักษณ์ของเส้นทางใน 15 จังหวัด จํานวน 20 แห่ง
- แผนงาน 1 จังหวัด 1 ถนนสวยงาม ดําเนินการในทุกจังหวัดทั่วประเทศโดยการปรับปรุงภูมิทัศน์สองข้าง บริเวณทางแยกต่างระดับหรือบริเวณเกาะกลางเพื่อเป็นแลนด์มาร์กใหม่ในการเดินทางท่องเที่ยว จํานวน 77 แห่ง โดยในเบื้องต้นจะนําร่องถนนเฉลิมพระเกียรติที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ทล.
- แผนงานปรับปรุงจุดให้บริการประชาชน ดําเนินการในจังหวัดท่องเที่ยว 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก อุบลราชธานี ศรีสะเกษ และกาญจนบุรี โดยได้ทําการปรับปรุงห้องน้ําบริการประชาชนและลาน กางเต็นท์ จุดจอดรถ ไฟฟ้าแสงสว่าง ป้ายแนะนําภายนอกและภายในบริเวณจุดบริการประชาชน
ทล. พร้อมนํานโยบายไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ทางหลวงมีภูมิทัศน์ที่สวยงามที่มาพร้อมกับความปลอดภัย โดยเฉพาะการปลูกต้นไม้ ดอกไม้สองข้างทางหลวงให้มีความร่มรื่นสบายตา ดังนั้นจะพิจารณาเส้นทางที่มีศักยภาพก่อนปรับปรุงหรือดูแลบํารุงรักษาในสิ่งที่มีอยู่ ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่และสร้างเส้นทางแห่งการท่องเที่ยวต่อไป | 2021-11-10 | 1,627.670044 | 1,630.469971 | 1,633.430054 | 1,625.130005 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-PM urges public to wait for court ruling on his 8-year tenure | PM urges public to wait for court ruling on his 8-year tenure
PM urges public to wait for court ruling on his 8-year tenure
August 23, 2022, Deputy Secretary-General to the Prime Minister and Acting Government Spokesperson Anucha Burapachaisri disclosed that Prime Minister and Defense Minister Gen. Prayut Chan-o-cha emphasized about the issue of his 8-year tenure that he will listen to the court’s ruling, and affirmed that even the Prime Minister may not transgress into court jurisdiction. He called on the public to have faith in the law and the Rule of Law.
According to the Acting Government Spokesperson, with the current situation where the COVID-19 pandemic is still looming, public gathering to pressure for the Prime Minister’s resignation should be refrained as it may be considered a defying act against the Emergency Decree nationwide as a result of the COVID-19 situation. | 2022-08-23 | 1,613.199951 | 1,633.569946 | 1,635.780029 | 1,609.810059 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยจัดการดำเนินการอำนวยความสะดวกให้ชาวต่างชาติในไทยได้รับวัคซีน ซึ่งรับแล้วมากกว่า 1 ล้านคน | นายกฯ ขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยจัดการดําเนินการอํานวยความสะดวกให้ชาวต่างชาติในไทยได้รับวัคซีน ซึ่งรับแล้วมากกว่า 1 ล้านคน
นายกฯ ขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยจัดการดําเนินการอํานวยความสะดวกให้ชาวต่างชาติในไทยได้รับวัคซีน ซึ่งรับแล้วมากกว่า 1 ล้านคน
นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ต่อกรณีที่กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงสาธารณสุขได้ประสานงานร่วมกันเปิดเว็บไซต์ให้ชาวต่างชาติที่มีถิ่นพํานักในไทย โดยไม่คํานึงถึงสัญชาติ ทุกกลุ่มอายุและทุกจังหวัด ลงทะเบียนเพื่อรับวัคซีนทางเว็บไซต์ https://expatvac.consular.go.th ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 นั้น ภาพรวมมีชาวต่างชาติที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วทั้งสิ้นกว่า 1 ล้านคน
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบผลการดําเนินการดังกล่าว และขอบคุณทุกหน่วยงานที่พร้อมดําเนินการตามแนวนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มที่เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ชาวต่างชาติที่ใช้ชีวิตในประเทศไทยอย่างเท่าเทียม เพื่อให้ทุกคนในประเทศไทยมีสุขภาพที่ดี และได้ฝากความห่วงใยยังชาวไทยทุกคนที่ดํารงชีวิตในต่างประเทศด้วย
ทั้งนี้ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ขณะนี้มีชาวต่างชาติลงทะเบียนขอรับการฉีดวัคซีนแล้วจํานวนประมาณ 7 หมื่นคน
“รัฐบาลเชื่อมั่นว่าการดําเนินการเพื่อดูแลชาวต่างชาติในไทยเป็นไปตามวิสัยทัศน์ และหลักการของความเท่าเทียม ซึ่งรัฐบาลไทยมีเป้าหมายที่จะฉีดวัคซีนให้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีถิ่นพํานักในประเทศไทย อย่างทั่วถึงให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 70 ภายในสิ้นปี2564 นี้ และไทยตั้งเป้าหมายเปิดประเทศบนพื้นฐานของการอยู่ร่วมกับโควิด – 19 ได้อย่างปลอดภัยและสมดุล โดยใช้แผน Smart Control and Living with COVID-19” นายธนกรฯ กล่าว | 2021-10-18 | 1,641.969971 | 1,643.920044 | 1,648 | 1,639.920044 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-Thailand and Peru to enhance cooperation on circular economy and inclusive and sustainable growth | Thailand and Peru to enhance cooperation on circular economy and inclusive and sustainable growth
Thailand and Peru to enhance cooperation on circular economy and inclusive and sustainable growth
April 7, 2022, at 1330hrs, at the Ivory Room, Thai Khu Fah Building, Government House, H.E. Mr. Fernando Julio Antonio Quirós Campos, Ambassador of the Republic of Peru to Thailand, paid a courtesy call on Prime Minister and Defense Minister Gen. Prayut Chan-o-cha on occasion of his completion of tenure. Government Spokesperson Thanakorn Wangboonkongchana disclosed gist of the meeting as follows:
The Prime Minister thanked the Peruvian Ambassador for his active role in promoting Thailand-Peru relations throughout the five years of his tenure, and was pleased that the two countries commit to maintain relations dynamism between each other despite the COVID-19 challenge. Thailand and Peru successfully held joint activities to celebrate the 55th anniversary of diplomatic relations in 2020. The Prime Minister also conveyed his regards to the Peruvian President José Pedro Castillo Terrones, and expressed hope that Thailand would have an opportunity to welcome the Peruvian President at the 2022 APEC Summit, to be hosted by the country at the end of this year.
The Peruvian Ambassador expressed appreciation toward the Thai Government for its constant support and cooperation during his tenure in Thailand, and affirmed his commitment to continue to promote cooperation and understanding between the two countries. With Thailand’s potentials in various areas, the Ambassador sees it as a good opportunity to further develop cooperation in all dimensions. Peru stands ready to fully support Thailand's APEC host year, and hopes to exchange experiences and expertise in wide-ranging areas, especially gastronomic tourism, and COVID-19 situation administration.
Both parties also discussed the following issues of mutual interest:
On public health, both the Prime Minister and the ambassador were pleased with close cooperation on the fight against the spread of COVID-19 and economy rehabilitation. The Prime Minister commended Peru for its high 2-dose vaccination rate, and the effort to provide the booster dose to people in the vulnerability groups. Thailand has also placed high importance on maintaining balance between public health measures and people’s normal living.
On trade and investment, Peru is Thailand’s important trade partner in Latin America and the Caribbean. There are plenty of opportunities to expand cooperation in the fields of circular economy, bioenergy, and sustainable agriculture. Both Thailand and Peru have placed importance on circular economy, and are notable for their biodiversity. The two countries are also world’s leading exporters of food and agricultural products.
On the development cooperation, both the Prime Minister and the ambassador were pleased with close technical cooperation and the cooperation for development throughout the past 16 years, and hoped to expand cooperation in new and diversified areas, especially human resources development, and exchange of experts in the development of alternative crops, sustainable community tourism, and science and technology.
With regard to multilateral cooperation, the Prime Minister affirmed Thailand’s commitment, amidst all the current challenges, to propel APEC forward, especially economic recovery, trade and investment, and inclusive and sustainable growth. Thailand stands ready to support Peru’s hosting of APEC in 2024, while Peru is also pleased to endorse Thailand’s BCG economic model which is in line with its policy. | 2022-04-08 | 1,684.660034 | 1,686 | 1,690.579956 | 1,678.069946 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาล เผย นายกรัฐมนตรี เร่งรัดประชาชนเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ หลัง สธ. เผยผู้ที่เคยป่วยด้วยโควิด-19 สามารถติดเชื้อซ้ำได้ | โฆษกรัฐบาล เผย นายกรัฐมนตรี เร่งรัดประชาชนเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ หลัง สธ. เผยผู้ที่เคยป่วยด้วยโควิด-19 สามารถติดเชื้อซ้ําได้
โฆษกรัฐบาล เผย นายกรัฐมนตรี เร่งรัดประชาชนเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ หลัง สธ. เผยผู้ที่เคยป่วยด้วยโควิด-19 สามารถติดเชื้อซ้ําได้
วันที่ 29 มีนาคม 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เผย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ย้ํา ประชาชนทุกคนต้องป้องกันตนเองขั้นสูงสุด (Universal Prevention) ตลอดเวลาถึงแม้จะติดเชื้อและรักษาจนหายเป็นปกติแล้ว แต่ก็ยังสามารถกลับมาติดเชื้อซ้ําได้อีก โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดที่จํานวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง จึงขอเร่งรัดประชาชนทุกคน ให้ความสําคัญกับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อป้องกันตนเองและครอบครัว ก่อนเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงในการนําเชื้อกลับไปติดครอบครัว ผู้สูงอายุ เนื่องจาก กระทรวงสาธารณสุขยืนยันการรับวัคซีนเพียง 2 เข็ม ป้องกันการติดเชื้อของสายพันธุ์โอมิครอนไม่ได้ แต่ป้องกันการเสียชีวิตได้สูง ขณะที่ การฉีดเข็ม 3 ป้องกันติดเชื้อ 45-68% ป้องกันเสียชีวิตสูง 98% ส่วนเข็ม 4 ป้องกันติดเชื้อสูง 82% ยังไม่พบการเสียชีวิต ทั้งนี้ รัฐบาลจะเร่งจัดบริการฉีดเข็มกระตุ้นผู้สูงอายุให้ได้ 70% ก่อนเทศกาลสงกรานต์ เพื่อลดโอกาสติดเชื้อและการเสียชีวิต
สําหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 วันนี้ พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 21,678 ราย จําแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 21,614 ราย และผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 64 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 78 ราย ผู้ที่กําลังรักษาตัว 245,154 ราย และมียอดผู้ที่หายป่วยกลับบ้านแล้ว 27,183 ราย ทําให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค. 65 จํานวน 1,351,963 ราย จํานวนผู้ที่หายป่วยสะสมจํานวน 1,136,792 ราย สําหรับจํานวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 1,748 ราย เฉลี่ยจังหวัดละ 23 ราย อัตราครองเตียงร้อยละ 28.3 ขณะที่รายงานภาพรวมการฉีดวัคซีนโควิด-19 สรุปจํานวนผู้ที่ได้รับได้รับวัคซีนสะสม ตั้งแต่ 28 ก.พ. 64 - 27 มี.ค. 2565 รวม 128,812,150 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็นผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 สะสม 55,324,979 โดส ผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 สะสม 50,234,545 โดส ผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 สะสม 21,148,854 โดส และผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 4 สะสม 2,103,772 โดส | 2022-03-29 | 1,688.52002 | 1,689.73999 | 1,692.900024 | 1,686.839966 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 30 สิงหาคม 2564 | สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 30 สิงหาคม 2564
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference ณ ห้อง PMOC ชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสําคัญดังนี้
http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (30 สิงหาคม 2564) เวลา 09.00 น.พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference ณ ห้อง PMOC ชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสําคัญดังนี้
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตสํารวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตําบลเจ้าท่า และตําบลดงลิง อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. ....
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุน
เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา)
4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตําบลบ้านใหม่ อําเภอพระนครศรีอยุธยา ตําบลวัดยม ตําบลมหาพราหมณ์ ตําบลสะพานไทย ตําบลพระขาว อําเภอบางบาล และตําบลบ้านกลึง ตําบลกระแชง ตําบลช้างน้อย ตําบลบ้านแป้ง ตําบลสนามชัย ตําบลบางไทร ตําบลราชคราม อําเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. .... 5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาด และเงื่อนไขนักโทษที่เด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจําคุกหรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
6. เรื่อง ร่างระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
เศรษฐกิจ สังคม
7. เรื่อง ขอความเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 - 2565)
8. เรื่อง การขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําตามมติคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564
9. เรื่อง รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีการป้องกันการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีลักษณะเป็นการทรมานบุคคล
10. เรื่อง รายงานผลการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)
11. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 31/2564
12. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกําหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2564
13. เรื่อง รายงานผลการดําเนินการโครงการนําร่องการป้องกันและการควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox)
14. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการรณรงค์เอาชนะโควิดตามมาตรการ เร่งด่วน (Thailand Prevention)
15. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อดําเนินโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 2 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564
ต่างประเทศ
16. เรื่อง กรอบการอํานวยความสะดวกด้านการลงทุนของอาเซียน (ASEAN Investment Facilitation Framework : AIFF)
17. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้าระดับรัฐมนตรีขององค์การการค้าโลก เรื่องการเจรจาจัดทําความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนประมง
18. เรื่อง รายงานประจําปีและรายงานงบการเงินขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ประจําปี 2563
19. เรื่อง การต่ออายุความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการเแลกเปลี่ยนเงินตรา (Bilateral Swap Agreement) ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลังญี่ปุ่น
20. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 30 ปี ของความสัมพันธ์
21. เรื่อง แผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวของภูมิภาคอาเซียนภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
แต่งตั้ง
22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)
23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ)
24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สํานักนายกรัฐมนตรี)
25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สํานักนายกรัฐมนตรี)
26. เรื่อง ให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่ออีกหนึ่งวาระ
27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์)
28. เรื่อง การแต่งตั้งเลขาธิการ กปร.
*******************
สํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตสํารวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตําบลเจ้าท่า และตําบลดงลิง อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตสํารวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตําบลเจ้าท่า และตําบลดงลิง อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการต่อไปด้ และให้ กษ. รับความเห็นของสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดําเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ กษ. เสนอว่า
1. เนื่องจากพื้นที่โครงการจัดรูปที่ดินหลายพื้นที่มีประกาศกําหนดเขตท้องที่ที่จะสํารวจเป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 ยังไม่ได้ประกาศให้เป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดิน ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2558 ซึ่งในบทเฉพาะกาลมาตรา 69 กําหนดให้ท้องที่ที่มีพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตโครงการจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 เป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัตินี้ โดยบัญญัติให้บรรดาการดําเนินการใดเกี่ยวกับการจัดรูปที่ดินซึ่งได้กระทําไปแล้วในขั้นตอนใดในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดําเนินการในขั้นตอนต่อไปให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีปัญหาไม่อาจดําเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ในเรื่องใด ให้การดําเนินการต่อไปในเรื่องนั้นเป็นไปตามที่คณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางกําหนด
2. คณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง ในการประชุม ครั้งที่ 2/2559 วันที่ 8 ธันวาคม 2559 เห็นสมควรกําหนดให้ในท้องที่ตําบลเจ้าท่า และตําบลดงลิง อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. .... เป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดิน และเห็นชอบให้ดําเนินการประกาศพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตสํารวจการจัดรูปที่ดินในท้องที่ตําบลเจ้าท่า และตําบลดงลิง อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. .... เพื่อกําหนดพื้นที่ที่ทําเกษตรกรรมหรือพื้นที่ในเขตการจัดระบบน้ําเพื่อเกษตรกรรม ในท้องที่ตําบลเจ้าท่า และตําบลดงลิง อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ และเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจเข้าไปทําการสํารวจพื้นที่ที่จะจัดทําเป็นโครงการจัดรูปที่ดิน รวมทั้งประกาศเป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดินต่อไปตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2558
สาระสําคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
กําหนดเขตโครงการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตําบลเจ้าท่า และตําบลดงลิง อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้เป็นเขตสํารวจการจัดรูปที่ดิน
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดําเนินการต่อไปได้ และให้ กค. รับข้อสังเกตของกระทรวงพลังงานไปพิจารณาดําเนินการต่อไป
ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
1. ตามที่ได้มีกฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน พ.ศ. 2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกาศใช้บังคับ โดยกฎกระทรวงดังกล่าวได้กําหนดประเภทของพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน ดังนี้ 1) พัสดุส่งเสริมและพัฒนาด้านการเกษตร 2) พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจและการประกอบอาชีพ 3) พัสดุส่งเสริมการเรียนการสอน 4) พัสดุส่งเสริมนวัตกรรม 5) พัสดุส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุข 6) พัสดุส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ 7) พัสดุส่งเสริมความมั่นคงด้านความปลอดภัยทางอาหารและสินค้าเกษตร 8) ประเภทของที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน 9) พัสดุการผลิตภายในประเทศ และ 10) พัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2. เนื่องจากปัจจุบันมีพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนเพิ่มเติมหลายประเภทมากขึ้น ประกอบกับมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 บัญญัติว่าให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอํานาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา 65 วรรคสองบัญญัติว่าพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง กค. พิจารณาแล้วจึงได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงตามข้อ 1. เพื่อกําหนดประเภทของพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนเพิ่มเติม รวมทั้งวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างฯ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
3. คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐในคราวประชุมครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2564 มีมติเห็นชอบประเภทพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนตามที่กําหนดในหลักการร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว
สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง
1. แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 2 พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจ และการประกอบอาชีพ
- กําหนดให้ “วิสาหกิจเพื่อสังคม” อยู่ในคํานิยามว่า “พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจและการประกอบอาชีพ”
- กําหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างผลิตผล ชิ้นงาน หรือบริการที่ผลิตหรือจัดทําขึ้นจากวิสาหกิจเพื่อสังคมตามที่ได้จดทะเบียนวิสาหกิจเพื่อสังคมโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีการคัดเลือกก็ได้ ทั้งนี้ เป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562 มาตรา 59 วรรคหนึ่ง (3)
2. แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 3 พัสดุการเรียนการสอน
- กําหนดให้หน่วยงานของรัฐสามารถจัดจ้างผลิตอากาศยาน อากาศยานไร้คนขับ ดาวเทียม และอุปกรณ์ รวมถึงระบบที่เกี่ยวข้องกับยานอวกาศหรือยานอวกาศ ตลอดจนระบบบริหารคลังพัสดุ ระบบคลังอาวุธ และระบบความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จํากัด โดยวิธีการเฉพาะเจาะจง หรือจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือคัดเลือกก็ได้ เนื่องจากการจ้างผลิตดังกล่าวสามารถพัฒนาองค์กรความรู้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงพร้อมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการวิจัยจากบริษัทต่างประเทศ มาปรับและพัฒนาเป็นองค์ความรู้ภายในประเทศ ซึ่งจะทําให้เกิดการพึ่งพาตนเอง ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศสามารถพัฒนาต่อยอดได้ในอนาคต
3. แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 9 พัสดุส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ
- กําหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างงานจ้างบริการเกี่ยวกับไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ เนื่องจากงานให้บริการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 บัญญัติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สามารถดําเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับกิจการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยงานให้บริการเกี่ยวกับไฟฟ้ามีลักษณะเหมือนกับงานให้บริการของการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งได้ถูกกําหนดไว้ในกฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน พ.ศ. 2563 แล้ว
4. แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 7 พัสดุส่งเสริมความมั่นคงด้านความปลอดภัยทางอาหารและสินค้าเกษตร
- กําหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้
5. แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 8 ประเภทของที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน
- กําหนดเพิ่มเติมให้อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ มูลนิธิเพื่อสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และมูลนิธิเพื่อสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนประเภทที่ปรึกษาที่มิใช่หน่วยงานของรัฐ เนื่องจากมูลนิธิทั้ง 3 แห่ง เป็นหน่วยงานที่รองรับการดําเนินงานของสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และคณะกรรมการ ก.พ.ร. กําหนดให้สถาบันภายใต้มูลนิธิดังกล่าวรวม 3 แห่งเป็นกลไกส่วนราชการ เป็นหน่วยงานที่ใช้อํานาจรัฐแต่ไม่เป็นองค์กรของรัฐ และเป็นองค์กรไม่แสวงหากําไร รวมทั้งเป็นสถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งมีส่วนในการสนับสนุนการดําเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา) ของกระทรวงการคลัง (กค.) ตามที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ และให้ดําเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ สคก. ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา) เสร็จแล้ว มีการแก้ไขเพิ่มเติมในสาระสําคัญ โดยตัดกรณีการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สินหรือการขายสินค้า หรือสําหรับการกระทําตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ออก เนื่องจาก กค. ประสงค์จะยกเว้นเฉพาะภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่ กสศ. เท่านั้น ซึ่งเป็นการกําหนดในลักษณะเดียวกับพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 682) พ.ศ. 2562
สาระสําคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
เป็นการขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสําหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา โดยให้หักลดหย่อนหรือหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่าของจํานวนเงินที่บริจาค (เดิมสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563) สําหรับการบริจาคที่กระทําผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e- Donation) ของกรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตําบลบ้านใหม่ อําเภอพระนครศรีอยุธยา ตําบลวัดยม ตําบลมหาพราหมณ์ ตําบลสะพานไทย ตําบลพระขาว อําเภอบางบาล และตําบลบ้านกลึง ตําบลกระแชง ตําบลช้างน้อย ตําบลบ้านแป้ง ตําบลสนามชัย ตําบลบางไทร ตําบลราชคราม อําเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตําบลบ้านใหม่ อําเภอพระนครศรีอยุธยา ตําบลวัดยม ตําบลมหาพราหมณ์ ตําบลสะพานไทย ตําบลพระขาว อําเภอบางบาล และตําบลบ้านกลึง ตําบลกระแชง ตําบลช้างน้อย ตําบลบ้านแป้ง ตําบลสนามชัย ตําบลบางไทร ตําบลราชคราม อําเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. .... ที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ดําเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ กษ. เสนอว่า กรมชลประทานมีแผนงานก่อสร้างโครงการระบบระบายน้ําหลากบางบาล – บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีระยะเวลาก่อสร้างโครงการทั้งสิ้น 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2566) ลักษณะของโครงการประกอบด้วย 1. คลองระบายน้ําหลากบางบาล - บางไทร 2. อาคารบังคับน้ํา 3. อาคารจ่ายน้ําพร้อมสถานีสูบน้ํา 4. สถานีสูบน้ําแบบ 2 ทาง พร้อมอาคารประกอบ 5. สะพานรถยนต์ข้ามคลองระบายน้ําหลาก 6. งานป้องกันตลิ่งบริเวณปลายคลองน้ําหลาก 7. คันกั้นน้ําโดยรอบพื้นที่โครงการและอาคารประกอบ 8. งานอาคารชลประทานอื่น ๆ ตามความจําเป็น โครงการนี้เมื่อดําเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จสามารถผันน้ําเลี่ยงตัวเมืองพระนครศรีอยุธยาให้ระบายน้ําได้สูงสุด ประมาณ 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยเมื่อรวมกับขีดความสามารถของแม่น้ําเจ้าพระยาเดิมจะสามารถระบายน้ําสูงสุดประมาณ 2,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทําให้ช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ําเจ้าพระยาตั้งแต่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาจนถึงอ่าวไทย เพิ่มศักยภาพในการใช้ประโยชน์พื้นที่ด้านการเกษตรจํานวนประมาณ 229,138 ไร่ เป็นแหล่งน้ําต้นทุนเพื่อการอุปโภคบริโภคครอบคลุมพื้นที่บริเวณ 2 ฝั่งคลองระบายน้ําหลาก 48 ตําบล 362 หมู่บ้าน
ดังนั้น กรมชลประทานจึงมีความจําเป็นต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อดําเนินการโครงการดังกล่าวโดยการเวนคืน เพื่อให้การก่อสร้างคลองระบายน้ํา ประตูระบายน้ํา สถานีสูบน้ํา อาคารประกอบ และสิ่งจําเป็นในการชลประทานอื่นตามโครงการระบบระบายน้ําหลากบางบาล – บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นไปตามแผนงานที่กําหนด อันเป็นประโยชน์แก่การชลประทานสําหรับพื้นที่การเกษตร การอุปโภคและบริโภค ตลอดจนการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย ตลอดจนเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทําการสํารวจให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด
กรมชลประทานได้ดําเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่โครงการดังกล่าวแล้ว ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 แล้ว ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการดําเนินโครงการนี้ เพราะเห็นว่ามีประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่ และสํานักงบประมาณแจ้งว่าจะจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีตามความจําเป็นและเหมาะสม เมื่อร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้ว
สาระสําคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
เป็นการกําหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตําบลบ้านใหม่ อําเภอพระนครศรีอยุธยา ตําบลวัดยม ตําบลมหาพราหมณ์ ตําบลสะพานไทย ตําบลพระขาว อําเภอบางบาล และตําบลบ้านกลึง ตําบลกระแชง ตําบลช้างน้อย ตําบลบ้านแป้ง ตําบลสนามชัย ตําบลบางไทร ตําบลราชคราม อําเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อประโยชน์แก่การชลประทาน ในการก่อสร้างคลองระบายน้ํา ประตูระบายน้ํา สถานีสูบน้ํา อาคารประกอบและสิ่งจําเป็นในการชลประทานอื่นตามโครงการระบบระบายน้ําหลากบางบาล - บางไทร จ. พระนครศรีอยุธยา เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทําการสํารวจให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาด และเงื่อนไขนักโทษที่เด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจําคุกหรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกําหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาด และเงื่อนไขนักโทษที่เด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจําคุกหรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดําเนินการต่อไปได้ และให้ ยธ. รับความเห็นของสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดําเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ ยธ. เสนอว่า โดยที่ปัจจุบันผู้ต้องขังในเรือนจําแต่ละแห่งมีเป็นจํานวนมากทําให้ผู้ต้องขังล้นเรือนจํา เกิดปัญหาความแออัดภายในเรือนจํา ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง การจัดสวัสดิการ การแก้ไขฟื้นฟูพฤตินิสัยของผู้ต้องขัง ซึ่งมาตรการที่จะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามภารกิจของกรมราชทัณฑ์ในการควบคุม และการป้องกันการกระทําความผิดซ้ํา หรือการกําหนดให้นักโทษเด็ดขาดได้รับประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังคืนคนดีสู่สังคมคือ การลดวันต้องโทษจําคุก การพักการลงโทษ การส่งผู้ต้องขังไปฝึกวิชาชีพ ซึ่งเป็นการใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่เพื่อดําเนินการตามกฎหมาย
ยธ. จึงได้ศึกษาหาแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาความแออัดในเรือนจําโดยสร้างโอกาสให้กับนักโทษเด็ดขาดซึ่งต้องโทษจําคุกมาพอสมควรแล้วอาจได้รับการพิจารณาพักการลงโทษ เพื่อให้สามารถปรับตัวก่อนเข้าสู่สังคมและสามารถกลับตัวเป็นคนดีมีคุณค่าสู่สังคม อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการแก้ไขบําบัดฟื้นฟูพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังตามหลักอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา จึงจําเป็นต้องใช้มาตรการทางกฎหมายโดยการแก้ไขกฎกระทรวงกําหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาดและเงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจําคุก หรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ พ.ศ. 2562 เพื่อกําหนดให้นักโทษเด็ดขาดได้รับประโยชน์และเพื่อให้ผู้ต้องขังได้รับการพิจารณาพักการลงโทษมากยิ่งขึ้น จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกําหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาด และเงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจําคุกหรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อแก้ไขให้นักโทษเด็ดขาดตั้งแต่ชั้นกลางขึ้นไปสามารถได้รับการพิจารณาให้พักการลงโทษจําคุกได้ และแก้ไขให้นักโทษเด็ดขาดที่กระทําผิดซ้ําสามารถเสนอขอรับการพิจารณาพักการลงโทษกรณีปกติได้ ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการราชทัณฑ์ ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 4 มกราคม 2564 เห็นชอบร่างกฎกระทรวงดังกล่าวด้วยแล้ว
สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง
1. ให้ยกเลิกบทบัญญัติของข้อ 41 แห่งกฎกระทรวงการกําหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาดและเงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจําคุกหรือการพักการลงโทษ และได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ พ.ศ. 2562 เพื่อขยายโอกาสให้นักโทษเด็ดขาดซึ่งกระทําผิดซ้ําเสนอขอพักการลงโทษในกรณีปกติได้
2. แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 42 แห่งกฎกระทรวงการกําหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาดและเงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจําคุกหรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ พ.ศ. 2562 โดยให้นักโทษเด็ดขาดตั้งแต่ชั้นกลางขึ้นไปสามารถได้รับการพิจารณาให้พักการลงโทษจําคุกได้ ไม่เกินหนึ่งในสามของกําหนดโทษที่ระบุไว้ในหมายแจ้งโทษเด็ดขาด (เดิม กําหนดให้นักโทษเด็ดขาดชั้นดี ชั้นดีมาก และชั้นเยี่ยม เท่านั้น) และหากมีการพระราชทานอภัยโทษให้ถือกําหนดโทษตามหมายแจ้งโทษเด็ดขาดฉบับหลังสุด
6. เรื่อง ร่างระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดําเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างระเบียบที่ สปน. เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ พ.ศ. 2549 เกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ตลอดจนบทบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกัน เพื่อให้การดําเนินงานของคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับบริบทของการเปลี่ยนแปลงภารกิจและอํานาจของส่วนราชการปัจจุบัน
สาระสําคัญของร่างระเบียบ
ปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ โดยกําหนดให้ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อํานวยการสํานักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ เพิ่มปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกรรมการ และในส่วนกรรมการที่เป็นผู้แทนหน่วยงานราชการในพระองค์ หากมีเรื่องสําคัญที่จะต้องขอคําปรึกษาหารือให้เรียนเชิญประชุมเป็นการเฉพาะคราว ตลอดจนแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวกับกรรมการผู้แทนภาคเอกชนและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
เศรษฐกิจ สังคม
7. เรื่อง ขอความเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 - 2565)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 – 2565) (แผนปฏิบัติการฯ) และมอบหมายให้ พณ. เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการการทํางานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้ พณ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดําเนินการต่อไป
สาระสําคัญของเรื่อง
พณ. รายงานว่า
1. ปัจจุบันการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กลายเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจที่ทวีความสําคัญมากขึ้น อันเป็นผลจากการพัฒนาของเทคโนโลยีและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ใช้เทคโนโลยีทั่วโลก จึงสมควรที่ประเทศไทยจะมีแผนการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นกรอบแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2560 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จึงได้มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างแผนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (ปี พ.ศ. 2560 - 2564) เพื่อคณะกรรมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (แต่งตั้งตามคําสั่งของ พณ.) จะนําเสนอคณะรัฐมนตรีและจัดทําร่างแผนปฏิบัติการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติต่อไป
2. คณะกรรมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ดําเนินการจัดทําร่างแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 - 2565) และแผนงานกิจกรรม/โครงการสําคัญ (Flagship) ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการฯ โดยมีกรอบแนวคิดจากการศึกษายุทธศาสตร์ชาติ และแผนระดับชาติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้มีการขอรับความคิดเห็นจากคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรมของวุฒิสภา หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ แล้วเสนอต่อสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อพิจารณาตามแนวทางการเสนอแผนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (แผนระดับที่ 3) ซึ่ง สศช. ได้ดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนี้
2.1 คณะอนุกรรมการด้านการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน (คณะอนุกรรมการฯ) ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2564 มีมติเห็นชอบให้นําร่างแผนปฏิบัติการฯ พร้อมความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ เสนอสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒนาฯ) พิจารณา โดยคณะอนุกรรมการฯ มีความเห็นบางส่วนสรุปได้ ดังนี้
2.1.1 การกําหนดเป้าหมายของแผนปฏิบัติการฯ ควรให้ความสําคัญกับ (1) การเก็บรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ของภาครัฐ และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาใช้ประโยชน์ (2) การเข้าสู่ระบบภาษีอย่างเท่าเทียมกันของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทยและต่างประเทศ และ (3) การลงทุนในระบบ Cloud Computing System โดยกําหนดเป็นเป้าหมายลําดับรองเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง
2.1.2 นอกเหนือจากการส่งเสริมแพลตฟอร์มขายสินค้า ควรให้ความสําคัญกับการส่งเสริมแพลตฟอร์มขายบริการ เช่น ธุรกิจจองที่พักให้แก่นักท่องเที่ยว (Online Travel Agent : OTA) ซึ่งเป็นธุรกิจบริการที่มีความสําคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยอาจเพิ่มเติมเป็นแผนงานกิจกรรม/โครงการสําคัญ (Flagship)
2.1.3 ขอให้ปรับชื่อกลยุทธ์ที่ 2.2 พัฒนาศักยภาพของผู้ให้บริการโลจิสติกส์และบริการสนับสนุนโลจิสติกส์ (Logistics Fulfillment) และกลยุทธ์ที่ 2.3 พัฒนาระบบการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยปรับจาก “พัฒนา” เป็น “สนับสนุนการพัฒนา” เนื่องจากภาครัฐควรทําหน้าที่สนับสนุนและเชื่อมโยงผู้ให้บริการภาคเอกชนด้วยกันเพื่อให้มีระบบที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากกว่าดําเนินการเอง
2.2 สภาพัฒนาฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 มีมติเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการฯ โดยให้คณะกรรมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รับความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ และสภาพัฒนาฯ ไปพิจารณาปรับปรุงเพิ่มเติมในรายละเอียดและนําเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป โดยสภาพัฒนาฯ มีความเห็นบางส่วนสรุปได้ ดังนี้
2.2.1 ควรให้ความสําคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งควรสร้างความรู้ด้านดิจิทัล (Digital Literacy) ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
2.2.2 ภาครัฐต้องจัดลําดับความสําคัญและเร่งรัดให้มีการจัดสรรงบประมาณในการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ อย่างเหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมภาคเอกชนให้ดําเนินการแทนในเรื่องที่รัฐมีข้อจํากัด โดยเฉพาะในด้านงบประมาณและข้อมูล อีกทั้งควรกําหนดกลไกการติดตามและประเมินผลที่ชัดเจน
ทั้งนี้ พณ. ได้นําความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ และสภาพัฒนาฯ ไปพิจารณาปรับปรุงร่างแผนปฏิบัติการฯ แล้ว
3. แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 - 2565) มีสาระสําคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ
รายละเอียด
วิสัยทัศน์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) เป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการค้าของประเทศไทย ภายใต้ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy)
เป้าหมายหลัก
- มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 5.3 ล้านล้านบาท ในปี พ.ศ. 2565
- มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เติบโตเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 5 ต่อปี ในช่วงปี พ.ศ. 2564 - 2565
- มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนด้านการขายต่างประเทศ (Outbound Cross Border e-Commerce) เติบโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี ในช่วงปี พ.ศ. 2564 - 2565
- มีการเชื่อมโยงข้อมูลพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างภาครัฐและเอกชน และเกิดการ บูรณาการในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ร่วมกัน เพื่อสามารถนํา Big Data มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดําเนินการของภาครัฐและเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าหมายรอง
- จํานวนการออกเครื่องหมายรับรองผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBD Registered) ไม่ต่ํากว่าปีละ 10,000 ราย
- สภาพแวดล้อมและปัจจัยสนับสนุนการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ICT (เช่น Cloud Computing System ที่มีประสิทธิภาพสูง) โลจิสติกส์ การเงิน และ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้รับการพัฒนาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 10 โครงการต่อปี
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ (e-Marketplace) เพื่อส่งเสริมการค้าภายในประเทศและการค้าข้ามพรมแดน (Enhancement and Promotion)
เป้าประสงค์ เช่น (1) มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 2 ปี ของแผนปฏิบัติการฯ และ (2) ผู้ประกอบการที่พัฒนา e-Commerce Platform ในรูปแบบต่าง ๆ และผู้ให้บริการดิจิทัลที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งได้จดทะเบียนนิติบุคคล และเป็นของคนไทย มีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี ตลอดช่วง 2 ปี ของแผนปฏิบัติการฯ
ตัวชี้วัด เช่น (1) มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 5.3 ล้านล้านบาท ในปี พ.ศ. 2565 และ (2) ผู้ประกอบการที่พัฒนา e-Commerce Platform ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งได้จดทะเบียนนิติบุคคลและเป็นของคนไทยมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาสภาพแวดล้อมและปัจจัยสนับสนุนการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในทุกด้านให้พร้อมรองรับการเติบโตของการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Ecosystem and Enabling Factors)
เป้าประสงค์ เช่น (1) มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยสนับสนุนที่เพียงพอเหมาะสม และครบวงจรต่อการดําเนินงานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และ (2) มีระบบการเชื่อมโยงข้อมูลพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และเกิดการบูรณาการในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ร่วมกัน เพื่อสามารถนํา Big Data มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดําเนินงานของภาครัฐและภาคเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด เช่น สภาพแวดล้อมและปัจจัยสนับสนุนการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ICT โลจิสติกส์ การเงิน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้รับการพัฒนาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 10 โครงการต่อปี
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การสร้างความเชื่อมั่นในธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Trust and Sustainability)
เป้าประสงค์ เช่น (1) สร้างความน่าเชื่อถือให้ผู้ประกอบการในการประกอบกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และ (2) สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคในการทําธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างปลอดภัย
ตัวชี้วัด เช่น จํานวนการออกเครื่องหมายรับรองผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBD Registered) ไม่ต่ํากว่าปีละ 10,000 ราย
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้สามารถใช้ประโยชน์จากธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Competency Building)
เป้าประสงค์ เช่น (1) มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศของผู้ประกอบการ SMEs เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ (2) มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนด้านการขายต่างประเทศ (Outbound Cross Border e-Commerce) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 2 ปี ของแผนปฏิบัติการฯ
ตัวชี้วัด เช่น (1) มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศของผู้ประกอบการ SMEs เติบโตเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี และ (2) มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนด้านการขายต่างประเทศ (Outbound Cross Border e-Commerce) เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี
กลยุทธ์
รวม 14 กลยุทธ์
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สํานักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า กรมสรรพากร กระทรวงคมนาคม สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กรมศุลกากร สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมการค้าภายใน กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมการท่องเที่ยว กรมการพัฒนาชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
กลไกการขับเคลื่อน
กลไกขับเคลื่อนที่ 1 : การจัดทําแผนงานกิจกรรม/โครงการสําคัญ (Flagship) ที่เป็นรูปธรรม โดยหน่วยงานที่ระบุไว้ในแต่ละยุทธศาสตร์ของแผนฯ มีบทบาทหน้าที่ในการจัดส่งข้อมูลแผนงาน กิจกรรม/โครงการสําคัญ (Flagship) ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ที่ต้องเร่งดําเนินการตามกรอบที่กําหนดไว้ให้แก่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กลไกขับเคลื่อนที่ 2 : การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ตลอดจนสร้างความรู้ความเข้าใจสาระสําคัญและรายละเอียดของแผนปฏิบัติการฯ ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างให้เกิดการมองเห็นความสําคัญในการมีส่วนร่วม ความเข้าใจและความคิดริเริ่มในการจัดทํากิจกรรม และโครงการที่ตอบสนองต่อการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ
กลไกขับเคลื่อนที่ 3 : การกําหนดตัวชี้วัดร่วม (Joint KPI) และการจัดทําแผนบูรณาการการดําเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การหารือร่วมกับหน่วยงานหลักที่กําหนดไว้ในแต่ละยุทธศาสตร์ของแผนฯ เพื่อให้หน่วยงานบรรจุแผนงาน/โครงการที่เกี่ยวข้องไว้ในแผนปฏิบัติการของหน่วยงาน แนวทางการสนับสนุนให้ได้งบประมาณในการดําเนินงาน และกําหนดเป้าหมายหรือตัวชี้วัดร่วม (Joint KPI) ที่พึงต้องบรรลุร่วมกันสําหรับนํามาเป็นกรอบในการจัดทําแผนบูรณาการรายยุทธศาสตร์ที่จะกําหนดแนวทางการปฏิบัติของแต่ละหน่วยงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนการส่งเสริมภาคเอกชนให้ดําเนินการแทนในเรื่องที่ภาครัฐมีข้อจํากัด
กลไกขับเคลื่อนที่ 4 : การอาศัยกลไกการประสานงาน การติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าของแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การกําหนดกลไกการประสาน ติดตาม และประเมินผลสัมฤทธิ์ จากการดําเนินกิจกรรมและโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการฯ พิจารณาให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น และรายงานผลการดําเนินงานแก่คณะกรรมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อพิจารณาต่อไป
4. พณ. ได้จัดทําแผนงานกิจกรรม/โครงการสําคัญ (Flagship) ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการฯ มาด้วย ซึ่งเป็นกิจกรรม/โครงการที่ต้องเร่งดําเนินการ ลงลึกในระดับปฏิบัติการในระยะ 2 ปี (พ.ศ. 2564 – 2565)ประกอบด้วย โครงการที่ดําเนินงานตามภารกิจเฉพาะของหน่วยงาน (โครงการ Buttom up) และโครงการศึกษาขึ้นเพิ่มเติม (โครงการ Top Down) โดยมีรายละเอียดตัวอย่างโครงการบางส่วนที่สอดคล้องกับแต่ละยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ (e-Marketplace) เพื่อส่งเสริมการค้าภายในประเทศ และการค้าข้ามพรหมแดน (Enhancement and Promotion)
โครงการ Buttom up
- โครงการพัฒนาแพลตฟอร์ม National Delivery เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการในยุควิถีใหม่ (New Normal)
- โครงการส่งเสริมการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลด้านอาหารและการท่องเที่ยว (Digital Food Tourism) เพื่อสร้างโอกาสในยุค Post-COVID
โครงการ Top Down
- โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศและพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนที่เทียบเท่า e-Marketplace ประเภท Super Application ที่มีชื่อเสียงของต่างประเทศ (ปี 2565)
- โครงการศึกษาและติดตามแนวทางการจัดเก็บภาษีจากรายได้ที่ได้จากการประกอบการที่ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามแนวทางขององค์การระหว่างประเทศ เช่น OECD และ UNCTAD และประเทศต่าง ๆ ที่มีการบังคับใช้กฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีจากรายได้ที่ได้จากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ปี 2565)
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาสภาพแวดล้อมและปัจจัยสนับสนุนการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในทุกด้านให้พร้อมรองรับการเติบโตของการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Ecosystem and Enabling Factors)
โครงการ Buttom up
- โครงการระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax และ e-Tax Invoice & e-Receipt)
- โครงการส่งเสริมการพัฒนาบริการและขยายเครือข่ายของผู้ให้บริการโลจิสติกส์
- โครงการผลักดันและส่งเสริมการใช้บริการ Interoperable QR Code for Payments ในธุรกรรมชําระเงินสําหรับ E-Commerce
โครงการ Top Down
- โครงการพัฒนาศักยภาพของผู้ให้บริการโลจิสติกส์และบริการสนับสนุนโลจิสติกส์ (Logistics Fulfillment) ให้ปรับตัวเข้าสู่การใช้ดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ (ปี 2564 - 2565)
- โครงการพัฒนาระบบชําระเงินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทําธุรกรรมทางการเงินของแพลตฟอร์มการค้า (ปี 2564 – 2565)
- โครงการพัฒนาบริการชําระเงินเพื่อสนับสนุนให้ SMEs E-Commerce และ Social Commerce ใช้ Digital Payment ได้สะดวก มีความเชื่อมั่น ลดการใช้เงินสด (ปี 2565)
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเชื่อมั่นในธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Trust and Sustainability)
โครงการ Buttom up
- โครงการสัมมนาความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในยุคดิจิทัล (ปี 2564)
- โครงการศึกษาแนวทางในการกํากับดูแลการซื้อขายออนไลน์ (ปี 2564)
โครงการ Top Down
- โครงการรณรงค์และจัดทํามาตรการจูงใจให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ปี 2564)
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้สามารถใช้ประโยชน์จากธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Competency Building)
โครงการ Buttom up
- โครงการพัฒนาผู้ประกอบการสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ (New Economy Academy)
- โครงการพัฒนาสินค้าชุมชนเข้าสู่ตลาดออนไลน์ Offline 2 Online (B2C)
โครงการ Top Down
- โครงการรวมพลังช่วย SMEs ฝ่าโควิดพิชิตวิถีใหม่ (New Normal) (ปี 2564)
- โครงการนําผู้ประกอบการพัฒนาแพลตฟอร์มไทยเข้าร่วมงานแสดงแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ในต่างประเทศ (ปี 2565)
8. เรื่อง การขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําตามมติคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564
คณะรัฐมนตรีรับทราบมติคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดําเนินการตามข้อ 1 – 4 ตามความเห็นของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้ ให้ กนช. และหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดําเนินการต่อไป
สาระสําคัญของเรื่อง
กนช. รายงานว่า กนช. ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 ที่มีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธานได้เห็นชอบการมอบหมายหน่วยงานเพื่อดําเนินการตามวัตถุประสงค์ของแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) และพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ํา พ.ศ. 2561 จํานวน 5 เรื่อง ดังนี้
1. เรื่องมาตรการรับมือฤดูฝน 10 มาตรการ
1.1 กนช. รายงานว่า ได้มอบหมายให้สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (สทนช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 มีผลการดําเนินการสรุปได้ ดังนี้
ดําเนินการแล้วเสร็จ
อยู่ระหว่างดําเนินการ
มาตรการที่ 1 คาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงน้ําท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติ
มาตรการที่ 5 ปรับปรุง แก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ํา จํานวน 625 แห่ง ดําเนินการไปแล้ว 400 แห่ง
มาตรการที่ 2 บริหารจัดการน้ําพื้นที่ลุ่มต่ําเพื่อรองรับน้ําหลาก
มาตรการที่ 6 ขุดลอกคูคลองและกําจัดผักตบชวา โดยการดําเนินการร่วมกันของ 5 หน่วยงาน ได้แก่ กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมชลประทาน กรมเจ้าท่า กรมการปกครอง และกรุงเทพมหานคร
มาตรการที่ 3 ทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ําในแหล่งน้ําขนาดใหญ่ - ขนาดกลาง และเขื่อนระบายน้ํา
มาตรการที่ 8 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ําและปรับปรุงการส่งน้ํา
มาตรการที่ 4 ซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์/ระบบระบายน้ํา/สถานีโทรมาตรให้พร้อมใช้งาน
มาตรการที่ 9 สร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
มาตรการที่ 7 เตรียมพร้อม/วางแผนเครื่องจักร เครื่องมือประจําพื้นที่เสี่ยงน้ําท่วม และพื้นที่ฝนน้อยกว่าค่าปกติ
มาตรการที่ 10 ติดตามประเมินผลปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย
จากการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - พฤศจิกายน 2564 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยและภัยแล้งในฤดูฝน ปี 25641 ดังนี้
เดือน
พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย
พื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง
กรกฎาคม
482 ตําบล 128 อําเภอ 31 จังหวัด
1,384 ตําบล 213 อําเภอ 24 จังหวัด
สิงหาคม
753 ตําบล 139 อําเภอ 29 จังหวัด
1,603 ตําบล 272 อําเภอ 34 จังหวัด
กันยายน
1,504 ตําบล 314 อําเภอ 54 จังหวัด
-
ตุลาคม
1,662 ตําบล 306 อําเภอ 58 จังหวัด
-
พฤศจิกายน
1,245 ตําบล 195 อําเภอ 39 จังหวัด
-
1.2 กนช. พิจารณาแล้วเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจึงเสนอให้หน่วยงานดําเนินการ ดังนี้
1.2.1 ให้ทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อมในการป้องกันปัญหาปริมาณฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคมและเดือนสิงหาคม 2564 โดยหาแหล่งเก็บกักน้ําเพิ่มเติม
1.2.2 ให้ทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัยและน้ําหลากในช่วงเดือนกันยายนและเดือนสิงหาคม 2564 รวมทั้งเตรียมแผนงานสําหรับการขอรับการสนับสนุนงบประมาณให้สามารถรับมือได้ทันสถานการณ์
1.2.3 ให้การประปานครหลวงและกรมชลประทานจัดทําแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ําและปรับปรุงการส่งน้ําเพื่อลดความสูญเสียในระบบอย่างเป็นรูปธรรม
1.2.4 ให้กรมชลประทานวางแผนการจัดสรรน้ําตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งจัดสรรน้ําเพื่อผลักดันน้ําเค็มตลอดช่วงฝนทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2564
1.2.5 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมแผนรับมือน้ําท่วม เช่น การกําจัดผักตบชวาเพื่อรองรับฤดูฝนที่จะมาในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2564
1.2.6 ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) วางแผนการเติมน้ําใต้ดินตลอดฤดูฝนนี้ให้มากที่สุดเพื่อเป็นน้ําต้นทุนในฤดูแล้งหน้า
1.2.7 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนและส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ําน้อย
1.2.8 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมฝนหลวงและการบินเกษตร) ดําเนินการทําฝนหลวงเพื่อเพิ่มน้ําต้นทุนโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก
2. เรื่องการจัดทําแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ําผ่านระบบบริหารจัดการแผนงานโครงการและฐานข้อมูลสําหรับบูรณาการแผนงานเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําของประเทศ หรือระบบ Thai Water Plan (TWP)
2.1 กนช. รายงานว่า TWP เป็นเครื่องมือที่นําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดทํา รวบรวม และวิเคราะห์แผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ําของประเทศเป็นฐานข้อมูลกลางที่มีความถูกต้อง แม่นยํา น่าเชื่อถือ สามารถลดความซ้ําซ้อน จัดลําดับความสําคัญและเร่งด่วนเพื่อใช้ในการกําหนดงบประมาณ รวมทั้งสามารถติดตามและประเมินผลโครงการด้านทรัพยากรน้ําที่เห็นผลสัมฤทธิ์ชัดเจน โดยแบ่งกระบวนการเป็น 3 ช่วง ดังนี้
2.1.1 หน่วยงานและจังหวัดจัดทําและยืนยันแผนปฏิบัติการในระบบตั้งแต่เดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2564
2.1.2 คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ําจังหวัดพิจารณาแผนปฏิบัติการในเดือนกันยายน 2564 และคณะกรรมการลุ่มน้ําพิจารณาแผนปฏิบัติการในเดือนตุลาคม 2564
2.1.3 การพิจารณาของ กนช. โดย สทนช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กนช. จะวิเคราะห์และจัดทําแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ําของประเทศในช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2564 และเสนอ กนช. พิจารณาในเดือนธันวาคม 2564 เพื่อให้ทันตามปฏิทินงบประมาณ ปี 2566
2.2 กนช. พิจารณาแล้วเสนอให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จัดทําแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ําประจําปี 2566 และแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ํา 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ผ่านระบบ TWP และให้เชื่อมต่อกับระบบของสํานักงบประมาณ (สงป.) เพื่อลดขั้นตอนการดําเนินงานต่อไป
3. เรื่องการจัดทําทะเบียนแหล่งน้ําผ่านระบบ Thai Water Resources (TWR)
3.1 กนช. รายงานว่า TWR เป็นฐานข้อมูลการบูรณาการข้อมูลแหล่งน้ําทั่วประเทศสําหรับใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนและบริหารจัดการน้ําของประเทศทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ โดยการดําเนินงานมี 3 ช่วง ดังนี้
3.1.1 การรวบรวมข้อมูลบัญชีแหล่งน้ํา พ.ศ. 2562 โดย สทนช. ร่วมกับสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) จัดทําฐานข้อมูลบัญชีแหล่งน้ําและบูรณาการข้อมูลแหล่งน้ําทั่วประเทศร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.1.2 การจัดทําระบบสารสนเทศสําหรับขึ้นทะเบียน TWR
3.1.3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ อปท. ดําเนินการลงทะเบียนแหล่งน้ําผ่านระบบ TWR เมื่อดําเนินการขึ้นทะเบียนเสร็จสมบูรณ์แล้วจะทําให้ทราบหน่วยงานรับผิดชอบหลักและสามารถระบุแหล่งที่มาของงบประมาณได้ ซึ่งจะไปเชื่อมโยงกับระบบ TWP ทําให้การจัดทําแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ํามีความพร้อมสามารถเสนอขอตั้งงบประมาณได้ตามแผนที่กําหนด
3.2 กนช. พิจารณาแล้วเสนอให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและ อปท. ดําเนินการ ดังนี้
3.2.1 ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและ อปท. เร่งรัดดําเนินการลงทะเบียนแหล่งน้ําทั้งที่ดําเนินการมาแล้วและที่จะดําเนินการต่อไป ผ่าน TWR เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการเสนอขอตั้งงบประมาณ หากไม่ได้อยู่ในทะเบียนแหล่งน้ําจะไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นการลดความซ้ําซ้อนของโครงการโดยการเชื่อมโยงกับระบบ TWP
3.2.2 คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ําจังหวัดพิจารณารับรองแหล่งน้ําในระบบ TWR
3.2.3 เชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนแหล่งน้ําจากระบบ TWR กับระบบ TWP เพื่อใช้ในการพิจารณาแผนงานโครงการ
4. เรื่องแนวทางการจัดทําแผนปฏิบัติการโครงการขนาดเล็กด้านทรัพยากรน้ําเพื่อให้แผนปฏิบัติการโครงการขนาดเล็กด้านทรัพยากรน้ําในระดับตําบลและระดับจังหวัดเกิดความชัดเจนเป็นรูปธรรม และตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ กนช. พิจารณาแล้วจึงเสนอให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและ อปท. จัดทําแผนปฏิบัติการโครงการขนาดเล็กด้านทรัพยากรน้ํา ดังนี้
4.1 การจัดทําแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ําสามารถประยุกต์ใช้ดัชนีชี้วัดการจัดการน้ํา Water Management Index (WMI) โดยสํานักงานสถิติแห่งชาติ ในการกําหนดพื้นที่เป้าหมายและปรับให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันของพื้นที่นั้น ๆ
4.2 กระบวนการและวิธีการดําเนินการ
4.2.1 คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ําจังหวัดแต่งตั้งคณะทํางานเพื่อขับเคลื่อนโครงการขนาดเล็ก โดยดําเนินการสํารวจข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสภาพปัญหาในพื้นที่และปรับดัชนีชี้วัดการจัดการน้ํา WMI ให้เป็นปัจจุบัน
4.2.2 กําหนดพื้นที่เป้าหมาย และกําหนดประเภทโครงการตามที่ กนช. มีมติเห็นชอบ เช่น เพิ่มน้ําต้นทุน ระบบส่งน้ํา ระบบประปา ระบบบําบัดน้ําเสีย เป็นต้น
4.2.3 กรอบระยะเวลาดําเนินการเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564 - กันยายน 2565
5. เรื่องการทบทวนบทบาทภารกิจหน่วยงานในการบริหารทรัพยากรน้ําตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ํา พ.ศ. 2561 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในประเด็นเป้าหมายและหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่เกษตรน้ําฝน ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) เนื่องด้วยคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการทบทวนบทบาทภารกิจและปรับปรุงโครงสร้างของส่วนราชการได้มีการประชุมครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2564 เพื่อพิจารณาข้อมูลพื้นที่เป้าหมายการดําเนินการของกรมทรัพยากรน้ําตามคําชี้แจงของ ทส. แล้วมีมติให้สํานักงาน ก.พ.ร. ส่งข้อมูลเป้าหมายและหน่วยงานรับผิดชอบในพื้นที่เกษตรน้ําฝนตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ที่ ทส. เสนอมา ให้ สทนช. พิจารณาและเสนอ กนช. เพื่อกําหนดเป้าหมายพื้นที่ดําเนินงานและขอบเขตความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรน้ํา
5.1 กนช. มีความเห็นในประเด็นดังกล่าว ดังนี้
5.1.1 การดําเนินการเพิ่มศักยภาพการพัฒนาแหล่งน้ําในพื้นที่เกษตรน้ําฝนนอกเขตชลประทานเป้าหมายจํานวน 87 ล้านไร่ ได้กําหนดหน่วยงานปฏิบัติที่รับผิดชอบภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง จํานวน 8 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมทรัพยากรน้ํา กรมทรัพยากรน้ําบาดาล กรมพัฒนาที่ดิน สํานักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อปท. กองทัพบก และมูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดําริ โดยไม่ระบุหน่วยงานเจ้าภาพหลักเป็นรายพื้นที่ จนกว่าจะมีการทบทวน ปรับปรุง บทบาทภารกิจ หน้าที่และอํานาจของหน่วยงานให้สอดล้องกับพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ํา พ.ศ. 2561 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
5.1.2 พื้นที่เกษตรน้ําฝนนอกเขตชลประทานเป็นพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานภายใต้กฎหมายหลายฉบับที่กําหนดหน้าที่และอํานาจของหน่วยงานนั้น ๆ เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรน้ําของประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ํา พ.ศ. 2561 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2562 เป็นต้นมา การบริหารทรัพยากรน้ําตามกฎหมายของหน่วยงานเหล่านั้นจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
5.1.3 กนช. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทําร่างข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อกําหนดขอบเขต บทบาท ภารกิจ หน้าที่และอํานาจของหน่วยงานด้านการบริหารทรัพยากรน้ําของประเทศมาพิจารณาประเด็นเรื่องการกําหนดขอบเขตพื้นที่รับผิดชอบที่ยังไม่มีความชัดเจน และ กนช. ได้มีมติมอบให้เป็นหน้าที่คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ําจังหวัดและคณะกรรมการลุ่มน้ําเป็นผู้รับผิดชอบจัดทําแผนงานและแผนงบประมาณในเขตพื้นที่เกษตรน้ําฝนนอกเขตชลประทานจากทุกหน่วยงาน
5.2 กนช. พิจารณาแล้วเสนอให้สํานักงาน ก.พ.ร. สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เป็นหลักในการพิจารณาบทบาทและภารกิจในองค์ประกอบของแต่ละหน่วยงาน และให้ ทส. (กรมทรัพยากรน้ํา) พิจารณาบทบาท หน้าที่ ภารกิจ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ํา พ.ศ. 2561 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
___________________________
1รายละเอียดพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยและภัยแล้งตามแผนที่การคาดการณ์ปริมาณน้ําฝนทั่วประเทศตั้งแต่เดือนมิถุนายน - พฤศจิกายน 2564
9. เรื่อง รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีการป้องกันการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีลักษณะเป็นการทรมานบุคคล
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีการป้องกันการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีลักษณะเป็นการทรมานบุคคล ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
เรื่องเดิม
1. กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรมว่า เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2563 ได้มีเจ้าหน้าที่ทหาร ศูนย์อํานวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ค่ายพระยาสุรทรธรรมธาดาได้เข้าจับกุมชายผู้ต้องสงสัยคดียาเสพติด จํานวน 2 ราย โดยได้นําตัวไปควบคุมเพื่อซักถามข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดที่วัดแห่งหนึ่งในพื้นที่ตําบลฝั่งแดง อําเภอธาตุพนม โดยมีการซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมทั้งสองจนได้รับบาดเจ็บสาหัสและต่อมาหนึ่งในผู้ถูกควบคุมตัวเสียชีวิตภายหลังจากที่ถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม ผู้ร้องเห็นว่า การซ้อมทรมานหรือการทําร้ายร่างกายบุคคลจนได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตซึ่งเกิดจากการกระทําหรือการรู้เห็นยินยอมของเจ้าหน้าที่ของรัฐถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรงตามกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะภายใต้อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ํายีศักดิ์ศรี ค.ศ. 1984 ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีตั้งแต่ปี 2550 ประกอบกับที่ผ่านมามีข่าวเกี่ยวกับการซ้อมทรมานบุคคลโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐเกิดขึ้นหลายเหตุการณ์ แต่ผู้กระทําผิดมักลอยนวล เนื่องจากได้รับการช่วยเหลือจากผู้บังคับบัญชา ทําให้การกระทําทรมานบุคคลโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐยังคงเกิดขึ้นบ่อยครั้งในท้องที่ต่าง ๆ ของประเทศ กสม. จึงขอให้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าว
2. กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า เจ้าหน้าที่ทหาร ศูนย์อํานวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดาน่าจะกระทําการเข้าข่ายเป็นการทรมานผู้ถูกควบคุมตัวทั้งสองด้วยการซ้อมรุมทําร้ายหรือใช้กําลังทําร้ายร่างกายหลายครั้งติดต่อกัน ตั้งแต่ในระหว่างการจับกุมจนกระทั่งควบคุมตัวเพื่อซักถามข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติด โดยมุ่งประสงค์ให้ผู้ถูกควบคุมตัวทั้งสองรับสารภาพหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของยาเสพติดเพื่อขยายผลไปถึงเครือข่ายผู้ค้ายาเสพติดหรือผู้เสพยาเสพติดรายอื่น ๆ อันเป็นการก่อให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง ตามนิยามของการทรมาน และยังเป็นการกระทําทารุณโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม ตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ํายีศักดิ์ศรี รวมทั้งการกระทําดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิในชีวิตและร่างกายของผู้ถูกควบคุมตัวทั้งสอง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 28 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ และขัดต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
3. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีได้มีคําสั่งมอบหมายให้ ยธ. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) สํานักงานตํารวจแห่งชาติ (ตช.) สํานักงานอัยการสูงสุด (อส.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้ ยธ. สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดําเนินการดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่ง เพื่อนําเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
สาระสําคัญของเรื่อง
ยธ. รายงานว่า ได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กห. พม. มท. สธ. สคก. ตช. อส. สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และกองกฎหมาย สํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรมแล้ว เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564 ซึ่งมีผลสรุปในภาพรวมได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะ กสม.
สรุปผลการพิจารณา
1. คณะรัฐมนตรีควรพิจารณายกเลิกคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 23/2558 เรื่อง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2558 และคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 13/2559 เรื่อง การป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดบางประการที่เป็นภยันตรายต่อความสงบเรียบร้อยหรือบ่อนทําลายระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ลงวันที่ 29 มีนาคม 2559 ซึ่งได้ให้อํานาจแก่เจ้าหน้าที่ทหารมีอํานาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในการสืบสวนการกระทําผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและความผิดทางอาญาอื่น เพื่อให้การสืบสวนสอบสวนการกระทําผิดกฎหมายอาญาเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาปกติ โดยให้เป็นหน้าที่และอํานาจของพนักงานฝ่ายปกครองและตํารวจ รวมถึงเจ้าพนักงานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับผิดชอบตามกฎหมายปกติ
การออกคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติทั้ง 2 ฉบับ เป็นไปเพื่อการป้องกัน ระงับ ปราบปรามการบ่อนทําลาย เศรษฐกิจ สังคม ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน รวมทั้งเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของสุจริตชน ในปัจจุบันการให้อํานาจพิเศษตามคําสั่งดังกล่าวแก่เจ้าหน้าที่ยังคงมีความจําเป็นต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติหน้าที่โดยอาศัยอํานาจจากคําสั่งฯ ดังกล่าวมีความเสี่ยงสูงที่อาจก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนั้น เจ้าหน้าที่จึงต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายและเคารพสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเคร่งครัดเพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของกฎหมาย
2. คณะรัฐมนตรีควรจัดความสําคัญในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ไว้เป็นลําดับแรก เพื่อให้มีการพิจารณาให้ความเห็นชอบ และประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไปโดยเร็ว โดยนําหลักการและสาระสําคัญตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ํายีศักดิ์ศรีและอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญไปบรรจุไว้ในร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว ให้สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของอนุสัญญาทั้งสองฉบับ โดยเฉพาะการกําหนดความรับผิดทางอาญาแก่ผู้บังคับบัญชาที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือปล่อยปละละเลยให้ผู้ใต้บังคับบัญชากระทําการซ้อมทรมาน ไม่ดําเนินการป้องกันหรือระงับการกระทําของผู้ใต้บังคับบัญชา หรือปกปิดข้อเท็จจริงไม่ส่งเรื่องให้เจ้าพนักงานผู้มีอํานาจตามกฎหมายเพื่อสอบสวนดําเนินคดี รวมทั้งกําหนดให้มีกลไกพิเศษในการสืบสวนสอบสวนคดีทรมานและคดีที่เกี่ยวกับการกระทําให้บุคคลสูญหาย โดยองค์กรหรือหน่วยงานที่มีความเป็นอิสระ เป็นกลาง และมีประสิทธิภาพตลอดจนมีมาตรการหรือแนวทางในการป้องกันและปราบปรามการกระทําผิดแบบบูรณาการเชื่อมโยงการทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่มีอํานาจสืบสวนสอบสวนที่เป็นอิสระและเป็นกลาง องค์กรอัยการ หน่วยงานแพทย์ที่เป็นอิสระและมีความเชี่ยวชาญ และภาคประชาชน
ยธ. โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้ยกร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวขึ้นตามหลักการของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ํายีศักดิ์ศรี และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ ซึ่งมีสาระสําคัญสอดคล้องกับข้อเสนอแนะของ กสม. แล้ว ทั้งนี้ ยธ. ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติฯ เข้าสู่กระบวนการพิจารณากฎหมายตามลําดับ โดยผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการกฤษฎีกาเรียบร้อยแล้ว และได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 และคณะอนุกรรมการกลั่นกรองร่างกฎหมายในกระบวนการนิติบัญญัติ (อนุวิปรัฐบาล) เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล)
3. คณะรัฐมนตรีควรมอบหมายให้ ยธ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทําแนวทางในการปฏิบัติงานแบบบูรณาการระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรมทุกฝ่าย เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการสืบสวนสอบสวนการกระทําผิดในกรณีที่มีข้อสงสัยเรื่องการซ้อมทรมานบุคคล กรณีที่มีการตายเกิดขึ้นในระหว่างการควบคุมของเจ้าพนักงาน รวมถึงกรณีที่กล่าวอ้างว่ามีการกระทําให้บุคคลสูญหาย พร้อมทั้งจัดทําโครงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยนําหลักการตามคู่มือการสืบสวนสอบสวนและบันทึกข้อมูลหลักฐานอย่างมีประสิทธิผลกรณีการกระทําทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอย่างโหดร้าย ไร้มนุษยธรรมและย่ํายีศักดิ์ศรี หรือพิธีสารอิสตันบูลมาใช้ในการจัดทําแนวทางการสืบสวนสอบสวนและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นหลักประกันในการป้องกันและปราบปรามการกระทําทรมานและสอบสวน ดําเนินคดีแก่ผู้กระทําผิดอย่างเด็ดขาดไม่ให้เกิดกรณีการลอยนวลพ้นผิด
ยธ. โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้ดําเนินการส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจ และการฝึกอบรมเรื่องสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพ กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ กฎการใช้กําลังหลักการและสาระสําคัญของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ํายีศักดิ์ศรี อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ มาตรการสืบสวนสอบสวนตามมาตรฐานสากล กลไกการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกกระทําทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ นอกจากนี้ ยังได้เน้นการจัดฝึกอบรมในรูปแบบเฉพาะทางให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม และบุคลากรทางการแพทย์ อาทิ การฝึกอบรมหลักสิทธิมนุษยชนสําหรับนายทหารเหล่าทหารพระธรรมนูญ การฝึกอบรมเทคนิคการสืบสวนสอบสวนแนวใหม่ การฝึกอบรมเทคนิคการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์เพื่อหาร่องรอยจากการทรมานฯ และการบังคับให้บุคคลสูญหายตามแนวทางของพิธีสารมินนิสโซต้าและพิธีสารอิสตันบูลให้กับเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายและบุคลากรทางการแพทย์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งได้ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ได้อย่างรวดเร็ว เข้าถึงง่ายและทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน และได้ส่งเสริมให้ความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพผ่านกลไกบ้าน วัด โรงเรียน (บวร) รวมทั้งได้จัดทําบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการสร้างและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านสิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ อาทิ สํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มหาวิทยาลัยนเรศวร โรงเรียนเตรียมทหาร สภาคริสตจักรในประเทศไทย และกลุ่มโรงเรียนในเครือสารสาสน์ รวมถึงผลักดันให้มีการบรรจุเรื่องดังกล่าวในหลักสูตรพัฒนาหรือเลื่อนขั้นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรู้สิทธิ รู้หน้าที่ของตนเอง และเคารพสิทธิผู้อื่นโดยมีเป้าหมายสําคัญเพื่อให้สถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยมีแนวโน้มลดลง
10. เรื่อง รายงานผลการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) และเห็นชอบมาตรการเร่งรัดให้หน่วยงานสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในการใช้บริการรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) และแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบ ตามที่สํานักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้สํานักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนไปพิจารณาดําเนินการต่อไปด้วย
สาระสําคัญ
สํานักงาน ก.พ.ร. เสนอว่า ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติวันที่ 8 กันยายน 2563 โดยมอบหมายให้สํานักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ซึ่งสํานักงาน ก.พ.ร. ได้ดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวแล้ว โดยแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ต้องดําเนินการแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบทั้ง 84 ฉบับ ให้รายงานสถานะความก้าวหน้า (ณ เดือนมิถุนายน 2564) เพื่อติดตามและเร่งรัดการดําเนินงาน โดยมีผลสรุปได้ ดังนี้
1. กฎหมายและกฎระเบียบที่ต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2563 จํานวน 23 ฉบับ สามารถดําเนินการแก้ไขได้แล้วเสร็จ หรือทบทวนแล้วเห็นว่าไม่เป็นอุปสรรคสามารถใช้กฎหมายหรือกฎระเบียบฉบับอื่นรองรับได้ รวมจํานวน 19 ฉบับ และที่อยู่ระหว่างดําเนินการ จํานวน 4 ฉบับ นอกจากนี้ มีหน่วยงานที่สามารถดําเนินการเพื่อแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบได้แล้วเสร็จก่อนกําหนดเวลา จํานวน 6 หน่วยงาน ได้แก่ สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กรมสรรพสามิต กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมประชาสัมพันธ์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และกรมโรงงานอุตสาหกรรม
2. กฎหมายและกฎระเบียบฯ ในภาพรวมทั้ง 84 ฉบับ สามารถจําแนกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
2.1 กลุ่มที่ดําเนินการแล้วเสร็จ หรือทบทวนแล้วเห็นว่าไม่เป็นอุปสรรคเนื่องจากสามารถใช้กฎหมายหรือกฎระเบียบฉบับอื่นรองรับได้ โดยไม่ต้องแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบเดิม จํานวน 48 ฉบับ เช่น กฎกระทรวงการอนุญาตขายสุรา พ.ศ. 2560 กฎกระทรวงการอนุญาตขายยาสูบ พ.ศ. 2560 กฎกระทรวงการอนุญาตขายไพ่ พ.ศ. 2560 กฎกระทรวงการอนุญาตป็นผู้ดําเนินการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2560 ประกาศสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป.3/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการขออนุญาตนําคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
2.2 กลุ่มที่อยู่ระหว่างดําเนินการ ซึ่งได้จัดรับฟังความคิดเห็นหรือทบทวนแก้ไขเสร็จแล้ว และอยู่ระหว่างเสนอผู้มีอํานาจตามกฎหมาย (คณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/หัวหน้าหน่วยงาน) พิจารณา จํานวน 12 ฉบับ เช่น ระเบียบกรมป่าไม้ ว่าด้วยการนําไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ พ.ศ. 2552 ที่ได้สํารวจทบทวนปัญหาอุปสรรคที่เกี่ยวข้องเสร็จสิ้นแล้วและอยู่ระหว่างดําเนินการแก้ไขระเบียบเพื่อเสนอผู้มีอํานาจพิจารณาลงนาม รวมทั้งประกาศ/ระเบียบของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่อยู่ระหว่างการเสนอคณะอนุกรรมการกลั่นกรองพิจารณา ก่อนเสนอ กสทช. พิจารณาต่อไป
2.3 กลุ่มที่อยู่ระหว่างรวบรวมปัญหาอุปสรรคหรือรับฟังความคิดเห็นเพื่อทบทวนแก้ไข จํานวน 24 ฉบับ ซึ่งรวมถึงกฎหมายและกฎระเบียบที่จะต้องดําเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน พ.ศ. 2563 ที่ยังคงเหลือจํานวน 3 ฉบับด้วย เช่น กฎกระทรวงคุณสมบัติและการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2558 ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการนําเข้า นําผ่าน หรือนําเข้าเพื่อการส่งต่อซึ่งสิ่งต้องห้าม สิ่งกํากัดและสิ่งไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2559
3. สํานักงาน ก.พ.ร. เห็นควรกําหนดมาตรการให้หน่วยงานเร่งดําเนินการ ดังนี้
3.1 ให้หน่วยงานที่ดําเนินการแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคฯ แล้วเสร็จ หรือทบทวนแล้วไม่เป็นอุปสรรค และสามารถให้บริการผ่านระบบ e-Service ได้ ตามข้อ 2.1 เร่งสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในการใช้บริการของหน่วยงาน
3.2 ให้หน่วยงานที่มีสถานะตามข้อ 2.2 เร่งดําเนินการแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคฯ ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และให้สํานักงาน ก.พ.ร. ติดตามการดําเนินการของหน่วยงานเป็นระยะ
3.3 ให้หน่วยงานที่มีสถานะตามข้อ 2.3 เร่งดําเนินการทบทวนเพื่อแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคฯ โดยรวบรวมประเด็นปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินการ ประเด็นที่ประสงค์ขอรับการสนับสนุน/การให้คําปรึกษาจากสํานักงาน ก.พ.ร. สคก. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดทําแผนและระยะเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในการแก้ไขกฎหมาย และให้สํานักงาน ก.พ.ร. ติดตามการดําเนินการของหน่วยงานให้เป็นไปตามแผน
11. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 31/2564
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 31/2564 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2564 ที่ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสําคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกําหนดฯ) การพิจารณารายงานผลการดําเนินงานโครงการรถ Mobile พาณิชย์... ลดราคา! ช่วยประชาชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก และการจัดทํารายงานความก้าวหน้าการดําเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกําหนดฯ ราย 3 เดือน รวมทั้งพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ดังนี้
1. อนุมัติให้สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสําคัญของโครงการพัฒนาศักยภาพระบบบริการสุขภาพ รองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (A001) ของหน่วยงานส่วนภูมิภาค โดยในชั้นนี้ให้ขยายระยะเวลาดําเนินโครงการฯ จากเดิม สิ้นสุดเดือนกันยายน 2564 เป็น สิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564 และกรณีที่สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สามารถดําเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2564 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้เร่งจัดทํารายงานผลการดําเนินงาน ปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งแผนดําเนินงานและแผนเบิกจ่ายโครงการฯ เสนอให้คณะกรรมการฯ ตามขั้นตอนของข้อ 18 ของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดําเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 (ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีฯ) เพื่อพิจารณาแนวทางการดําเนินโครงการและระยะเวลาที่เหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่คณะกรรมการฯ เสนอแล้ว เห็นควรให้ สธ. เร่งดําเนินการแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR โดยเร็วต่อไป
2. มอบหมายให้สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข จัดทําข้อเสนอการขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณที่ได้รับอนุมัติไปใช้ในพื้นที่อื่นที่มีความจําเป็น พร้อมทั้งระบุเหตุผลและความจําเป็นเสนอให้คณะกรรมการฯ พิจารณาตามข้อ 18 ข้องระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีฯ ต่อไป
3. อนุมัติให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสําคัญของโครงการค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัย สําหรับการปฏิบัติงานของ อสม. ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน โดยเป็นการขยายระยะเวลาการดําเนินการเบิกจ่ายค่าตอบแทนฯ จากเดิมสิ้นสุดเดือนกันยายน 2564 เป็นสิ้นสุดเดือนพฤศจิกายน 2564 กรอบวงเงินรวมไม่เกิน 1,575.4590 ล้านบาท ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว สําหรับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจ่ายเงินค่าตอบแทนฯ นั้น เห็นควรให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ พิจารณาดําเนินการตามความจําเป็นและความเหมาะสม โดยรูปแบบดังกล่าวต้องสามารถยืนยันตัวตนของผู้ได้รับเงินค่าตอบแทน พร้อมทั้งมีเอกสารหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายที่ชัดเจนและสามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ แล้ว เห็นควรให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเร่งดําเนินการแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR โดยเร็ว
4. รับทราบรายงานผลการดําเนินโครงการรถ Mobile พาณิชย์... ลดราคา! ช่วยประชาชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ และมอบหมายให้กรมการค้าภายใน รับความเห็นและข้อสังเกตของฝ่ายเลขานุการฯ และคณะกรรมการฯ ไปปรับปรุงแนวทางการดําเนินโครงการในส่วนที่ยังอยู่ระหว่างดําเนินการฯ เพื่อให้การดําเนินโครงการฯ เป็นไปอย่างคุ้มค่าตามเป้าหมายที่กําหนดไว้
5. รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดําเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกําหนดฯ ราย 3 เดือน ครั้งที่ 5 (1 พฤษภาคม - 31 กรกฎาคม 2564) พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานเจ้าของโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกําหนดฯ ดําเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด เพื่อให้การใช้จ่ายเงินกู้ การจัดหาเงินและการจัดสรรเงินกู้ตามพระราชกําหนดฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
6. รับทราบข้อเสนอโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 3 รวม 10 จังหวัด (แพร่ พิษณุโลก ตาก สุโขทัย ร้อยเอ็ด สุรินทร์ อํานาจเจริญ พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี และสระแก้ว) จํานวน 1,766 โครงการ กรอบวงเงินรวม 2,909,015,572 บาท โดยให้ใช้จ่ายเงินจากงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น และให้หน่วยงานรับผิดชอบปฏิบัติตามขั้นตอนตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 29/2564 พร้อมทั้งให้หน่วยงานรับผิดชอบปฏิบัติตามขั้นตอนของระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น พ.ศ. 2562 ต่อไป และให้กระทรวงมหาดไทยดําเนินการตามความเห็นของสํานักงบประมาณ
12. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกําหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2564
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกําหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2564 ได้มีมติเกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกําหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 และการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสําคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกําหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ดังนี้
1. อนุมัติโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) สําหรับบริการประชากรในประเทศไทย เพิ่มเติม จํานวน 9,998,820 โดส (Pfizer) ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรอบวงเงินจํานวน 4,744.9166 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 1 เพื่อจัดซื้อจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ตามนโยบายรัฐบาลที่จะจัดหาวัคซีนให้แก่ประชาชน 100 ล้านโดส ภายในสิ้นปี 2564 สําหรับสร้างภูมิคุ้มกันโรค ลดอัตราการป่วย/การเสียชีวิต และลดค่าใช้จ่ายภาครัฐในการดูแลรักษาผู้ป่วยจากโรค Covid-19 รวมทั้งลดผลกระทบ/พื้นฟูสภาพเศรษฐกิจและสังคมให้กลับสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว พร้อมทั้งมอบหมายให้กรมควบคุมโรค ดําเนินการตามข้อสังเกตเพิ่มเติมของคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด
2. มอบหมายให้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ดําเนินการจัดทําความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สามารถจัดหาเงินกู้เพื่อใช้จ่ายโครงการตามแผนการใช้จ่ายเงินที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายทางการเงินของภาครัฐ พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดําเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2564 (ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) โดยเคร่งครัดตามขั้นตอนต่อไป
3. อนุมัติให้สํานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสําคัญของโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยเป็นการขยายระยะเวลาให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 ในพื้นที่ 3 จังหวัดและ 16 จังหวัด สามารถขึ้นลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนรายใหม่ตามระยะเวลาที่เสนอ และขยายการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ 13 จังหวัด เพิ่มเติมอีก 1 เดือน ทําให้กรอบวงเงินของโครงการฯ เพิ่มขึ้นจาก 33,471.0050 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 เป็น 77,785.0600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจํานวน 44,314.0550 ล้านบาท โดยใช้จ่ายภายใต้แผนงานหรือโครงการกลุ่มที่ 2 ตามบัญชีท้ายพระราชกําหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว ทั้งนี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว เห็นควรให้สํานักงานประกันสังคมเร่งดําเนินการแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR โดยเร็วต่อไป
4. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม พิจารณาความเหมาะสมในการจัดทําข้อเสนอโครงการเพื่อให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ขับขี่รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนและรถจักรยานยนต์สาธารณะที่ไม่สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 เนื่องจากอายุเกินคุณสมบัติที่สํานักงานประกันสังคมกําหนดไว้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อให้ความช่วยเหลือกลุ่มแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของภาครัฐเป็นไปอย่างครอบคลุม
13. เรื่อง รายงานผลการดําเนินการโครงการนําร่องการป้องกันและการควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox)
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดําเนินการโครงการนําร่องการป้องกันและการควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox) ตามที่กระทรวงแรงงาน เสนอดังนี้
สาระสําคัญ
1. โครงการนําร่องการป้องกันและการควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox) สรุปสาระสําคัญ ดังนี้
1.1 วัตถุประสงค์ เป็นการดําเนินการภายใต้แนวคิด “เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข” โดยมุ่งเน้นให้สถานประกอบการ กิจการ โรงงานภาคการผลิตส่งออกขนาดใหญ่ที่มีความสําคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศสามารถดําเนินกิจกรรมต่อไปได้ควบคู่กับมาตรการควบคุมและป้องกันโรคภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด - 19
1.2 จังหวัดพื้นที่เป้าหมาย ระยะที่ 1 ประกอบด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดชลบุรี และระยะที่ 2 ประกอบด้วย 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดสมุทรปราการ
1.3 สถานประกอบกิจการเป้าหมาย เป็นโรงงานภาคการผลิตส่งออกขนาดใหญ่ 4 ประเภทอุตสาหกรรม ได้แก่ 1) ยานยนต์ 2) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 3) อาหาร และ 4) อุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เป้าหมาย และมีลูกจ้างตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป
โดยในระยะที่ 1 มีสถานประกอบการเป้าหมาย 387 แห่ง จํานวนผู้ประกันตน 474,109 คน
จังหวัด
เป้าหมาย
จํานวนสถานประกอบการ
(500 คนขึ้นไป) (แห่ง)
จํานวนผู้ประกันตน (คน)
ชลบุรี | 2021-08-30 | 1,621.680054 | 1,633.77002 | 1,634.920044 | 1,621.420044 | up |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บุหรี่ตัวการร้าย ทำภูมิคุ้มกันโควิด-19 ต่ำ | บุหรี่ตัวการร้าย ทําภูมิคุ้มกันโควิด-19 ต่ํา
#บุหรี่ตัวการร้าย | 2022-04-29 | 1,667.810059 | 1,667.439941 | 1,673.540039 | 1,666.839966 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"สมศักดิ์" แจงกระทรวงยุติธรรม ไม่เคยมีอำนาจเหนือศาล แก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษไม่ได้ ยันทำทุกอย่างตามกรอบกฎหมาย | "สมศักดิ์" แจงกระทรวงยุติธรรม ไม่เคยมีอํานาจเหนือศาล แก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษไม่ได้ ยันทําทุกอย่างตามกรอบกฎหมาย
"สมศักดิ์" แจงกระทรวงยุติธรรม ไม่เคยมีอํานาจเหนือศาล แก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษไม่ได้ ยันทําทุกอย่างตามกรอบกฎหมาย ชี้หลักการลงโทษเพื่อป้องปราม-แก้ไขผู้ทําผิดตามหลักของนานาประเทศ เชื่อความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายไม่ใช่ความรุนแรงแต่อยู่ที่การยับยั้งการทําผิด
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณี นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา ตั้งคําถามถึงกรณีที่กรมราชทัณฑ์และกระทรวงยุติธรรมมีอํานาจเหนือคําพิพากษาศาลฎีกาหรือไม่ว่า การบริหารโทษและการพิพากษากําหนดโทษเป็นคนละส่วนกัน ภายใต้กรอบอํานาจที่แบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายคือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ต่างฝ่ายต่างทําหน้าที่ภายใต้อํานาจตามกฎหมายของแต่ละฝ่าย ซึ่งการบังคับโทษทางอาญา คือ การบริหารโทษ เป็นอํานาจของฝ่ายบริหาร ที่ดําเนินการได้ภายใต้กรอบของกฎหมาย ไม่ได้เป็นการใช้อํานาจโดยพลการหรือเลือกปฏิบัติให้ผู้หนึ่งผู้ใด แต่เป็นการใช้อํานาจหน้าที่ตามกฎหมายที่มีอยู่ ทั้งที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ สําหรับพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ เป็นกฎหมายของกระทรวงยุติธรรมไม่ได้มีอํานาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขโทษ รวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมก็ไม่มีอํานาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษเช่นกัน
"การบังคับโทษ โดยปกติในทางปฏิบัติแล้ว ไม่มีประเทศไหนในโลก ที่จะบังคับโทษทั้งสิ้นตามคําพิพากษา แต่จะมีกลไกทางกฎหมายอื่นๆ มาบริหารโทษให้เป็นไปตามความเหมาะสม เช่น ลักษณะและพฤติการณ์แห่งคดี โดยมุ่งเน้นให้ผู้กระทําผิดได้รับโอกาสให้กลับตนเป็นพลเมืองที่ดี พร้อมกลับคืนสู่สังคมได้อย่างปกติสุข ขอให้ลองนึกภาพย่อลงมาในระดับครอบครัว เชื่อว่าไม่มีพ่อและแม่คนใดที่จะที่ลงโทษลูกจนครบ หรือตีลูกจนบาดเจ็บล้มตาย ส่วนมากก็จะเอาแต่พอสมควร คือการให้อภัย การให้โอกาส เพื่อให้คนในครอบครัว ได้อยู่อย่างปกติสุข วัตถุประสงค์ของการลงโทษคือการป้องปราม ยับยั้งการกระทํา และการแก้ไขผู้กระทําผิด การลงโทษจึงมีหลากหลายวิธี ทั้งในเรือนจําและนอกเรือนจํา รวมทั้งการลงโทษทางสังคมทางชื่อเสียงเกียรติยศ ที่ผู้กระทําผิดและครอบครัวได้รับไปแล้วส่วนหนึ่ง โดยเชื่อว่าความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ไม่ได้อยู่ที่ความรุนแรง หรือการลงโทษสูงเป็นสําคัญ แต่จะอยู่ที่ความแน่นอนและรวดเร็วของการลงโทษ ที่จะมีผลยับยั้งการกระทําความผิดมากกว่า"นายสมศักดิ์ กล่าว
นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า การบริหารโทษ ตามอํานาจหน้าที่ภายใต้กรอบกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม นั้น มีความหลากหลาย ทั้ง ในเรือนจําและนอกเรือนจํา คือ การคุมประพฤติ และติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว หรือ กําไล EM และการดําเนินการเป็นไปโดยเสมอหน้ากัน ไม่ได้มีการเลือกปฏิบัติให้ผู้ใดผู้หนึ่ง ผู้ต้องโทษ ทุกคดี ทุกราย จะได้รับการบริหารโทษอย่างเท่าเทียมกันภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกําหนด ส่วนการพระราชทานอภัยโทษ เป็นกลไกหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อผู้ต้องราชทัณฑ์ ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดอยู่ในสังคมไทยมาช้านาน บนพื้นฐานของหลักเมตตาและกรุณาอันมาจากองค์อธิปัตย์หรือประมุขแห่งรัฐ ตนขอยืนยันว่าเราได้ดําเนินการตามหลักกฎหมายที่มุ่งให้โอกาสแก่ผู้กระทําความผิด ได้กลับตนเป็นพลเมืองดีที่เคารพกฎหมายในสังคม ด้วยความเสมอภาค เท่าเทียม และไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งการบริหารโทษของกรมราชทัณฑ์ เป็นไปตามหลักทัณฑวิทยาที่นานาอารยประเทศได้ให้ความสําคัญกับการพัฒนาพฤตินิสัยและให้โอกาสผู้พลั้งพลาดในการกลับตัวสู่สังคม | 2021-12-09 | 1,621.630005 | 1,618.22998 | 1,623.819946 | 1,612.569946 | down |
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 24 | ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี สําหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 24
ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี สําหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 24
ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี
สําหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 24
* * * * *
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
ท่านนายกรัฐมนตรี หลี่ เค่อเฉียง
และ ฯพณฯ ทั้งหลาย
ผมขอร่วมกับผู้นําอาเซียนทุกท่านต้อนรับท่านนายกรัฐมนตรี หลี่ เค่อเฉียง สู่การประชุมฯ ในวันนี้
ผมขอใช้โอกาสนี้แสดงความยินดีกับรัฐบาลจีนในโอกาสครบรอบ 100 ปี การก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน และความสําเร็จของการบรรลุเป้าหมายการขจัดความยากจนและการสร้างสังคมกินดีอยู่ดีที่อยู่บนพื้นฐานของการกระจายความเจริญอย่างทั่วถึงก่อนกรอบเวลาที่กําหนดในปีนี้ ผมขอสนับสนุนบทบาทของจีนฐานะที่เป็นมหาอํานาจที่มีความรับผิดชอบในการส่งเสริมความร่วมมือในทางสร้างสรรค์ในทุกด้านกับนานาประเทศ รวมทั้งอาเซียนและกลุ่มประเทศกําลังพัฒนาต่อไป
ปรากฎการณ์ที่สําคัญที่สุดประการหนึ่งในโลกในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา คือ การโดดเด่นขึ้นมาของจีนทั้งในทางเศรษฐกิจและทางยุทธศาสตร์ เช่นเดียวกับความสําคัญที่เพิ่มขึ้นของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกในความสัมพันธ์เชิงภูมิรัฐศาสตร์ของโลก ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับจีนได้ทวีความสําคัญยิ่งขึ้นไปอีก
นอกจากนั้น ปีนี้ยังเป็นปีที่ความสัมพันธ์อาเซียน-จีนครบรอบ 30 ปี ซึ่งผมยินดีอย่างยิ่งที่จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ ในปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ อันจะเป็นโอกาสพิเศษที่ผู้นําอาเซียนและท่านประธานาธิบดีสี จิ้นผิง จะร่วมกําหนดแนวทางเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นแฟ้นและครอบคลุมยิ่งขึ้น เพื่อก้าวสู่ทศวรรษใหม่ของความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
ท่ามกลางความท้าทายในปัจจุบัน ไทยกําลังมุ่งสู่ความปกติถัดไป หรือ Next Normal ด้วยการพลิกโฉมประเทศไทย ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในการก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและแข็งแรงกว่าเดิม และตระหนักถึงความจําเป็นของความร่วมมือระหว่างประเทศ ผมจึงขอเสนอแนวทางที่เราเห็นว่า อาเซียนและจีนควรกระชับความร่วมมือในหลาย ๆ มิติ เพื่อจัดการกับความท้าทายและบรรลุเป้าหมายแห่งอนาคตร่วมกัน บนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจและเคารพซึ่งกันและกัน ดังคําคมของจีนที่ว่า “ก้าวย่างของชีวิตไม่ได้อยู่ที่ก้าวได้รวดเร็ว แต่อยู่ที่ก้าวได้อย่างมั่นคง” ดังนี้
ประการแรก ความมั่นคงทางสุขภาพเป็นเป้าหมายสูงสุดที่เราควรสานต่อความร่วมมือ เพื่อรับมือกับโควิด-19 และโรคอุบัติใหม่ในอนาคต โดยมุ่งเน้น การวิจัยและพัฒนาวัคซีนและยาต้านไวรัสที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์การผลิตและกระจายวัคซีนในอาเซียน ผมขอขอบคุณจีนที่ได้ให้การสนับสนุนวัคซีนและเวชภัณฑ์ แก่ประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งช่วยให้เราสามารถผ่านวิกฤติร่วมกันมาได้
ในระยะยาว เราควรเตรียมความพร้อมทางสาธารณสุขในทุกมิติ ตั้งแต่ต้นน้ําถึงปลายน้ํา ซึ่งรวมถึงการพัฒนาทักษะของบุคลากรทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อสามารถรับมือกับโรคอุบัติใหม่และสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ประการที่สอง ความมั่นคงทางเศรษฐกิจเพื่อการฟื้นฟูที่ยั่งยืนและการเสริมสร้างความแข็งแกร่งร่วมกันในระยะยาว โดยเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เราควรยึดมั่นในระบบการค้าพหุภาคีที่เสรีและเปิดกว้าง มุ่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทาน และเร่งสานต่อการบูรณาการทางเศรษฐกิจร่วมกัน
โดยที่จีนเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจลําดับที่หนึ่งของอาเซียน ผมยินดีอย่างยิ่งที่วันนี้เราจะรับรองเอกสารยืนยันเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะดําเนินการตามกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน ทั้งนี้ ไทยพร้อมร่วมมือในการยกระดับ FTA อาเซียน-จีน ตลอดจนเร่งดําเนินการในส่วนของไทยในการให้สัตยาบันความตกลง RCEP เพื่อให้มีผลใช้บังคับโดยเร็ว
ในยุค 4IR เทคโนโลยีและเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นกุญแจสําคัญในการประกอบธุรกิจและการดํารงชีวิตแบบ New Normal อาเซียนและจีนจะได้รับประโยชน์ร่วมกันจากความร่วมมือเพื่อนําไปสู่การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเพิ่มมูลค่าให้สินค้าและการบริการ ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพของ MSMEs, start-ups และผู้ประกอบการท้องถิ่น ตลอดจนการอยู่ดีมีสุขของประชาชน โดยให้ความสําคัญกับความมั่นคงทางไซเบอร์ที่จะสกัดกั้นการใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิดด้วย
นอกจากนี้ เราควรสานต่อการเสริมสร้างความเชื่อมโยงตามแถลงการณ์ว่าด้วยการสอดประสานระหว่างแผนแม่บทเอ็มแพ็ค 2025 กับข้อริเริ่ม BRI รวมทั้งร่วมกันกําหนดมาตรการอํานวยความสะดวกในการเดินทางระหว่างประเทศที่ปลอดภัยและสอดคล้องกับมาตรการทางสาธารณสุขของแต่ละประเทศ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และการติดต่อของประชาชน ซึ่งรวมถึงนักธุรกิจ นักท่องเที่ยว และนักศึกษา ขณะนี้ ประเทศไทยอยู่ระหว่างเตรียมการเปิดประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไป และหวังว่าจะสามารถให้การต้อนรับชาวต่างประเทศ
ได้อย่างสะดวกมากขึ้นในเร็ว ๆ นี้
ประการที่สาม การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นหัวใจสําคัญของการก้าวไปข้างหน้าด้วยกันอย่างมั่นคง เราจําเป็นต้องมุ่งสร้างความสมดุลของสรรพสิ่งและความยั่งยืนในทุกมิติ โดยไทยในฐานะประเทศผู้ประสานงานของอาเซียนในเรื่องนี้ มีความมุ่งมั่นและพร้อมที่จะมีบทบาทที่สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ในปีแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนอาเซียน-จีน พ.ศ. 2564-2565 รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือตามโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG ซึ่งจะเป็นแนวทางสู่การฟื้นฟูและการเติบโตอย่างครอบคลุม สมดุล และยั่งยืน
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท และทุกท่าน
อาเซียนและจีนจะก้าวต่อไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมได้ก็ต่อเมื่อเราสามารถรักษาสันติภาพที่ยั่งยืน ท่ามกลางพลวัตของสถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศที่มีความซับซ้อน เราตระหนักถึงความสําคัญของการรักษาความเป็นแกนกลางของอาเซียนและสถาปัตยกรรมภูมิภาคที่มีอาเซียนเป็นศูนย์กลาง และเชื่อว่าอาเซียนสามารถเป็นสะพานเชื่อมระหว่างประเทศมหาอํานาจ รวมทั้งภาคีภายนอกของอาเซียน เพื่อเสริมสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนและความไพบูลย์ร่วมกัน
เราไม่ประสงค์ที่จะเห็นความขัดแย้งหรือการเผชิญหน้าระหว่างมิตรประเทศของเรา และให้ความสําคัญต่อการหารือเพื่อหาทางออกร่วมกันในประเด็นทะเลจีนใต้ ไทยพร้อมที่จะรักษาบทบาทที่สร้างสรรค์ โดยเฉพาะการผลักดันความร่วมมือที่ทุกฝ่ายสามารถเห็นพ้องกันได้ว่าเป็นผลประโยชน์ร่วมกัน อาทิ การปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเล เราสนับสนุนการดําเนินการดังกล่าวตามกลไกอาเซียน-จีนที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการเจรจาจัดทํา COCที่มีประสิทธิภาพ มีเนื้อหาที่ครอบคลุม และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศให้สําเร็จโดยเร็ว เพื่อช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่มีเสถียรภาพ และเอื้ออํานวยต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อให้อาเซียนและจีนสามารถรักษาพลวัตในการเป็นกลจักรสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลกได้อย่างยั่งยืนต่อไป
สุดท้ายนี้ ในโอกาสที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคปี 2565 ผมหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ให้ต้อนรับท่านประธานาธิบดีสีที่ประเทศไทยครับ
ขอบคุณครับ
* * * * * | 2021-10-26 | 1,635.609985 | 1,635.969971 | 1,639.930054 | 1,627.680054 | up |