Unnamed: 0
int64
0
35
king_name
stringlengths
20
68
context
stringlengths
119
203k
0
๏ พระราชพงษาวดารพิศดาร ตั้งแต่พระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยา เล่ม ๑
๏ ศุภมัศดุศักราช ๗๑๒ ปีขานโทศก วันศุกร์เดือนห้าขึ้นหกค่ำเพลาสามนาลิกาเก้าบาท สถาปนากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ชีพ่อพราหมณ์ให้ฤกษ์ตังพิธีกลปบาต ได้สังขทักษิณวัฏใต้ต้นหมันขอนหนึ่ง. แลสร้างพระที่นั่งไพฑูริย์มหาปราสาทองค์หนึ่ง สร้างพระที่นั่งไพชยศต์มหาปราสาทองค์หนึ่ง สร้างพระที่นั่งไอยสวรรย์มหาปราสาทองค์หนึ่ง. แล้วพระเจ้าอู่ทองเสดจ์เข้ามาครองราชสมบัติ. ชีพ่อพราหมณ์ถวายพระนามว่าสมเดจ์พระรามาธิบดีศรีสุนทรบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์. จึ่งให้สมเดจ์พระเจ้าลูกเธอพระราเมศวรขึ้นไปครองราชสมบัติในเมืองลพบุรี. ครั้งนั้นพระยาประเทษราชขึ้น ๑๖ เมือง คือเมืองมลากา เมืองชวา เมืองตนาวศรี เมืองนครศรีธรรมราช เมืองทวาย เมืองเมาะตมะ เมืองเมาะลำเลิ่ง เมืองสงขลา เมืองจันทบุรี เมืองพิศณุโลกย์ เมืองศุโขไทย เมืองพิไชย เมืองสวรรคโลกย์ เมืองพิจิตร เมืองกำแพงเพชร เมืองนครสวรรค์ แล้วให้ขึ้นไปเชิญสมเดจ์พระเจ้าลูกเธอพระราเมศวรลงมาแต่เมืองลพบุรี ทรงพระกรุณาตรัสว่า ขอมแปรภักตร์จะให้ออกไปกระทำเสีย. พระราเมศวรได้ฤกษ์ยกพลห้าพัน ไปถึงกรุงกัมพูชาธิบดีเพลาพลบค่ำ. พระยาอุปราชราชบุตรพระเจ้ากัมพูชาธิบดีทูลว่า ทัพเจ้าซึ่งยกมาเลื่อยล้าอยู่ยังมิได้พร้อมมูล จะขอออกโจมทัพ พระเจ้ากัมพูชาธิบดีเหนด้วย. พระยาอุปราชก็ออกโจมทัพทัพน่ายังไม่ทันตั้งค่าย ก็แตกฉานมาประทะทัพหลวง เสียพระศรีสวัสดิ์แก่ชาวกัมพูชาธิบดี มีข่าวเข้ามาถึงพระนคร. มีพระราชโองการให้ขุนตำรวจออกไปอัญเชิญ สมเดจ์พระบรมราชาธิราชเจ้า ผู้เปนพระเชษฐาอยู่ณเมืองสุพรรณบุรี. ครั้นเสดจ์เข้ามาถึงพระนครแล้ว พระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า ให้อัญเชิญท่านออกไปช่วยหลานท่าน. สมเดจ์พระบรมราชาธิราชเจ้า จึ่งยกทัพรีบออกไปถึงกรุงกัมพูชาธิบดี ได้รบเอาไชยชำนะได้ ให้กวาดเข้าถ่ายครัวชาวกัมพูชาธิบดี เข้าในพระนครเปนอันมาก ๚ะ๏ ศักราช ๗๑๕ ปีมเสงเบญจศก วันพฤหัศเดือนสี่ขึ้นค่ำหนึ่ง เพลาสองนาลิกาห้าบาท ทรงพระกรุณาตรัศว่า ที่ตำหนักเวียงเล็กนั้นให้สฐาปนาพระวิหาร แลพระมหาธาตุเปนพระอารามแล้ว ให้นามชื่อวัดพุทไธยสวรรค์ ม้าขุนสุวรรณพินิจไจยตกลูกศีศะเดียว ตัวเปนสองตัวแปดเท้าชิงศีศะกัน. ไก่พระศรีมโหสถ ฟักฟองตกลูกตัวเดียวสองศีศะ ๚ะ๏ ศักราช ๗๒๕ ปีเถาะเบญจศก ทรงพระกรุณาตรัสว่า เจ้าแก้วเจ้าไทยออกอหิวาตกะโรคตาย ให้ขุดขึ้นเผาเสีย ที่ปลงสพนั้น ให้สฐาปนาพระเจดีย์แลพระวิหารเปนพระอารามแล้ว ให้นามชื่อว่าวัดป่าแก้ว ๚ะ
1
๏ แผ่นดินสมเดจ์พระราเมศวร ๚ะ
๏ ศักราช ๗๓๑ ปีระกาเอกศก สมเดจ์พระรามาธิบดีเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๒๐ ปี สมเดจ์พระราเมศวรเสด็จมาจากเมืองลพบุรี ขึ้นครองราชสมบัติ ๚ะ
2
๏ แผ่นดินสมเดจ์พระบรมราชาธิราช ๚ะ
๏ ครั้นถึงศักราช ๗๓๒ ปีจอ โทศก สมเดจ์พระบรมราชาธิราชเจ้า เข้ามาแต่เมืองสุพรรณบุรี. เสนาบดีกราบทูลว่า สมเดจ์พระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จเข้ามา สมเดจ์พระราเมศวรก็ออกไปอัญเชิญเสดจ์ เข้ามาพระนครถวายราชสมบัติ แล้วถวายบังคมลากลับขึ้นไปลพบุรีดั่งเก่า ๚ะ๏ ศักราช ๗๓๓ ปีกุนตรีศก สมเดจ์พระบรมราชาธิราชเจ้า เสดจ์ไปเอาเมืองฝ่ายเหนือแลได้เมืองเหนือทั้งปวง. ๚ะ๏ ศักราช ๗๓๔ ปีชวดจัตวาศก เสดจ์ไปเอาเมืองนครพังคาแลเมืองแซงเทรา. ๚ะ๏ ศักราช ๗๓๕ ปีฉลูเบญจศก เสด็จไปเอาเมืองชากังราว แลพะยาไชยแก้ว พระยากำแหงเจ้าเมือง ออกต่อรบท่าน ๆ ได้ตัวพระยาไชยแก้วตาย แต่พระยากำแหงแลไพร่พลทั้งปวงหนีเข้าเมืองได้ ทัพหลวงก็เสด็จกลับคืนมาพระนคร. ๚ะ๏ ศักราช ๗๓๖ ปีขานฉศก สมเดจ์พระบรมราชาธิราชเจ้าพระมหาเถรธรรมกัลญาณ แรกสฐาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุฝ่ายบูรพทิศ น่าพระบรรชั้นสิงสูง ๑๙ วา ยอดนพสูญสูง ๓ วา. ๚ะ๏ ศักราช ๗๓๗ ปีเถาะสัปตศก เสดจ์ไปเอาเมืองพระพิศณุโลกย แลได้ตัวขุนสามแก้วเจ้าเมือง กวาดครัวอพยบมาครั้งนั้นมาก ๚ะ๏ ศักราช ๗๓๘ ปีมโรงอัฐศก เสดจ์ไปเอาเมืองชากังราวได้พระยากำแหง แล้วท้าวผากองคิดกันว่าจะยกตีทัพหลวง ครั้นทำมิได้ท้าวผากองเลิกทัพหนี เสด็จยกทัพหลวงตามตีทัพท้าวผากองแตก ได้ท้าวพระยาเสนาขุนหมื่นครั้งนั้นมาก แล้วทัพหลวงเสด็จกลับคืนพระนคร. ๚ะ๏ ศักราช ๗๔๐ ปีมเมียสัมฤทธิศก ไปเอาเมืองชากังราวเล่า ครั้งนั้นมหาธรรมราชาออกมาถวายบังคม. ๚ะ๏ ศักราช ๗๔๒ ปีวอกโทศก เสด็จไปเอาเมืองเชียงใหม่ แลให้เข้าปล้นเมืองนครลำปางมิได้ จึงแต่งหนังสือให้เข้าไป. หมื่นนครให้เจ้าเมืองนครลำปางออกมาถวายบังคม แล้วทัพหลวงเสด็จกลับคืนพระนคร ๚ะ
3
๏ แผ่นดินพระเจ้าท้องลั่น, แลสมเดจ์พระราเมศวรจับฆ่าเสีย ๚ะ
๏ ศักราช ๗๔๔ ปีจอจัตวาศก สมเดจ์พระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๑๓ ปี จึงเจ้าท้องลั่นราชกุมารขึ้นครองราชสมบัติได้เจ็ดวัน. สมเด็จพระราเมศวรเสดจ์ลงมาแต่เมืองลพบุรี เข้าในพระราชวังกุมเอาตัวเจ้าทองลั่นได้ให้พิฆาฎเสียณวัดโคกพระยา. ๚ะ๏ ศักราช ๗๔๖ ปีชวดฉศก สมเดจ์พระราเมศวรให้เลียบพลไว้ยกขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ ตั้งค่ายหลวงใกล้คูเมือง ๑๕๐ เส้น ให้นายทัพนายกองตั้งค่ายล้อมแลแต่งการปล้นเอาจงได้ฝ่ายเจ้าน่าที่ยิงปืนใหญ่ออกมาถูกกำแพงเมืองพังประมาณห้าวา พระเจ้าเชียงใหม่ขึ้นยืนถือพัชนีอยู่บนเชิงเทินให้ทหารเอาหนังสือผูกลูกธนูยิงลงมา. ในหนังสือนั้นว่าฃอพระราชทานให้งดสักเจ็ดวัน จะนำเครื่องพระราชบรรณาการออกไปจำเริญพระราชไมตรี. พระเจ้าอยู่หัวจึ่งปฤกษาด้วยมุขมนตรีว่า พระเจ้าเชียงใหม่ให้มีหนังสือออกมาดั่งนี้ควรจะให้งดไว้หรือประการใด. มุขมนตรีนายทัพนายกองปฤกษาว่า เกลือกพระเจ้าเชียงใหม่จะเตรียมการมิทันจึ่งคิดกลอุบายมา ฃอพระราชทานให้ปล้นเอาเมืองจงได้. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวตรัสว่าเปนพระเจ้าแผ่นดินใหญ่เขาไม่รบแล้วเราจะให้รบนั้นมิควร ถึงมาทว่าพระเจ้าเชียงไหม่จะมิได้คงอยู่ในสัตยานุสัตยก็ดี ใช่ว่าจะพ้นมือทหารเรานั้นเมื่อไรมี. ฝ่ายในเมืองเชียงใหม่นั้นก็ดีแตะบังที่กำแพงทะลายแล้วนั้นให้ก่อขึ้น ครั้นท่วนเจ็ดวันแล้ว พระเจ้าเชียงใหม่มิได้แต่งเครื่องจำเริญพระราชไมตรีออกมานายทัพนายกองข้าทหารร้องทุกขว่า เข้าในกองทัพทนานละสิบสลึงหาที่ซื้อมิได้ จะขอพระราชทานเร่งปล้น.พระเจ้าอยู่หัวบัญชาตามนายทัพนายกอง. ทรงพระกรุณาสั่งให้เลิกกองทัพเสียด้านหนึ่งให้เร่งปล้นณวันจันทร์เดือนสี่ขึ้นสี่ค่ำ. เพลาสามทุ่มสองบาทเดือนตก เจ้าพนักงานยิงปืนใหญ่น้อยระดมทั้งสามด้าน เอาบันไดหกพาดปีนกำแพงขึ้นไป. พระเจ้าเชียงใหม่ต้านทานมิได้ ก็ภาครัวอพยบหนีออกเพลา ๑๑ ทุ่มทหารเข้าเมืองได้ ได้แต่นักส้างบุตรพระเจ้าเชียงใหม่องค์หนึ่งมาถวาย.พระเจ้าอยู่หัวตรัสต่อนักส้างว่า พระเจ้าเชียงใหม่บิดาท่านหาสัจมิได้ เราคิดว่าจะออกมาหาเราโดยสัจเราจะให้ครองราชสมบัติ. ตรัสดั่งนั้นแล้วก็ให้นักส้างถวายสัตยานุสัตย. พระเจ้าอยู่หัวก็ให้แบ่งไพร่พลเมืองไว้ภอสมควร เหลือนั้นให้กวาดครัวอพยบหญิงชายลงมา ให้นักส้างลงมาส่งเสดจ์ถึงเมืองสว่างคบุรี. ทรงพระกรุณาให้นักส้างกลับขึ้นไปครองราชสมบัติณเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จยังในเมืองพิศณุโลกย นมัศการพระชินราชชินสีหเปลื้องเครื่องต้นถวายทรงสการบูชาสมโภชเจ็ดวัน แล้วเสด็จลงมาพระนคร แลลาวซึ่งต้อนลงมานั้นให้ส่งไปไว้เมืองพัทลุง เมืองสงขลา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองจันทบุรี แล้วเสด็จออกทรงศีลยังพระที่นั่งมังคลาภิเศก เพลา ๑๐ ทุ่มทอดพระเนตรไปโดยฝ่ายทิศบูรพ เหนพระสาริริกบรมธาตุปราฏิหาร เรียกปลัดวังให้เอาพระราชยานทรงเสด็จออกไป ให้กรุยปักขึ้นไว้สฐาปนาพระมหาธาตุนั้นสูง ๑๙ วา ยอดนพสูญสูงสามวา. แล้วขนานนามให้ชื่อวัดมหาธาตุ แลให้ทำพระราชพิธีประเวศน์พระนครแลเฉลิมพระราชมณเฑียร. ขณะนั้นพระยากัมพูชายกเข้ามาถึงเมืองชลบุรี กวาดครัวอพยบหญิงชายในเมืองชลบุรีแลเมืองจันทบุรี คนประมาณหกพันเจ็ดพันกลับไปเมืองกัมพูชาธิบดี. สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวให้พระยาไชยณรงค์เปนทัพน่า ยกไปถึงตภานแยก ชาวกัมพูชาออกมาตีทัพพระยาไชยณรงค์ ได้รบพุ่งกันเปนสามารถ พระยากัมพูชาก็แตกฉาน. พระเจ้าอยู่หัวให้ตั้งค่ายประจำอยู่สามวัน แล้วยกเข้าตีแตกฉานเข้าเมืองได้ พระยากัมพูชาลงเรือหนี. พระเจ้าอยู่หัวลงจากช้างให้ยิงปืนนกสับลงไปต้องม่อดินเปนเพลิงลุกขึ้น. พระยากัมพูชาหนีไปรอด. จับได้แต่พระยาอุปราชบุตรพระยากัมพูชา. ให้พระยาไชยณรงค์อยู่เมืองกำพูชาไว้คนห้าพัน พระเจ้าอยู่หัวเสดจ์คืนพระนครศรีอยุทธยา. ครั้นอยู่มาญวนยกมารบ ถ้ามาน้อยชาวกัมพูชาเปนใจรบ ถ้ามามากก็เรรวนไป. พระยาไชยณรงค์บอกหนังสือมากราบทูล. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวให้มีหนังสือตอบไป ให้กวาดครัวอพยบยกมาถึงพระนครแล้ว ให้ทำพระราชพิธีประเวศน์พระนคร แล้วปูนบำเน็จรางวัลนายทัพนายกอง. ๚ะ
4
๏ แผ่นดินพระเจ้าราม, แลสมเดจ์พระอินทราชา ๚ะ
๏ ศักราช ๗๔๙ ปีเถาะนพศก สฐาปนาวัดภูเขาทอง เพลาเย็นเสด็จไป ณพระที่นั่งมังคลาภิเศก ท้าวมณเฑียรซึ่งถึงอนิจกรรมแต่ก่อนนั้นมา นั่งขวางทางเสดจ์อยู่แล้วแลหายไป. สมเดจ์พระราเมศวรบรมบพิตรก็เสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติหกปี. จึ่งพระยารามผู้เปนพระราชบุตรได้ครองราชสมบัติได้ห้าปี สมเดจ์พระยารามเจ้ามีความพิโรธแก่เจ้าพระยามหาเสนาบดี ดำรัศสั่งให้กุมเอาตัวไป เจ้าพระยามหาเสนาบดีหนีรอดไปอยู่ฟากปะทาคูจาม. จึ่งให้เชิญเสด็จสมเดจ์พระอินทราชา ณเมืองสุพรรณบุรีเสด็จเข้ามาถึง จึ่งเจ้าพระยามหาเสนาบดียกเข้าปล้นเอาพระนครศรีอยุทธยาได้ จึ่งเชิญสมเดจ์พระอินทราชาขึ้นครองราชสมบัติในศักราช ๗๖๓ ปีมเสงตรีศก ให้สมเดจ์พระยารามไปกินเมืองปะทาคูจาม แล้วพระราชทานเปนบำเน็จแก่เจ้าพระยามหาเสนาบดี บุตรพระสนมองค์หนึ่ง เจียดทองคู่หนึ่ง ภานทองคู่หนึ่งเต้านำทอง กระบี่กั้นหยั่นเสลี่ยงงาเสลี่ยงกลีบบัว ๚ะ๏ ศักราช ๗๖๕ ปีมแมเบญจศก มีข่าวพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าเมืองพิศณุโลกย์เสด็จสวรรคต แลเมืองเหนือทั้งปวงเปนจลาจล จึ่งเสด็จขึ้นไปถึงเมืองพระบางพระยาบาลเมือง พระยารามออกมาถวายบังคม พระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จกลับยังพระนคร แล้วจึ่งให้สมเดจ์พระเจ้าลูกเธออ้ายพระยาครองเมืองสูพรรณบุรี เจ้ายี่พระยาครองเมืองแพรกศรีราชา เจ้าสามพระยาครองเมืองไชยนาท. ๚ะ
5
๏ แผ่นดินสมเดจ์พระบรมราชาธิราช ๚ะ
๏ ศักราช ๗๘๐ ปีจอสัมฤทธิศก สมเดจ์พระอินทราชาเสด็จสวรรคตอยู่ในราชสมบัติ ๑๕ ปี เจ้าอ้ายพระยา เจ้ายี่พระยายกเข้ามาชิงราชสมบัติแก่กัน เจ้าอ้ายพระยามาตั้งอยู่ดํตำบลป่ามพร้าวณวัดพลับพลาไชย เจ้ายี่พระยามาตั้ง ณวัดไชยภูม จะเข้าทางตลาดเจ้าพรม ช้างต้นมาปะทะกันเข้าที่เชิงตะภานป่าถ่าน ทั้งสองพระองค์ทรงพระแสงของ้าวต้องพระสอขาดพร้อมกันทั้งสองพระองค์. มุขมนตรีออกไปเฝ้าเจ้าสามพระยา ทูลอาการซึ่งพระเชษฐาธิราชขาดฅอช้างทั้งสองพระองค์ แล้วเชิญเสด็จเข้ามาในพระนครครองราชสมบัติ ทรงพระนามชื่อสมเดจ์พระบรมราชาธิราชเจ้า จึ่งมีพระราชดำรัศให้ขุดพระสพเจ้าอ้ายพระยา เจ้ายี่พระยาไปถวายพระเพลิง ที่ถวายพระเพลิงนั้นให้สฐาปนาพระมหาธาตุแลวิหารเปนพระอารามแล้ว ให้นามชื่อวัดราชบุรณะที่เจ้าอ้ายพระยา เจ้ายี่พระยาชนช้างกันถึงทิวงคตนั้น ให้ก่อพระเจดีย์สองพระองค์ไว้ที่เชิงตะภานป่าถ่าน. ๚ะ๏ ศักราช ๗๘๓ ปีฉลูตรีศก สมเดจ์พระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จไปเอาเมืองนครหลวงได้ จึ่งให้พระราชบุตรอยู่ครองเมือง พระนครอินทเจ้าครองราชสมบัติ ณเมืองพระนครหลวง ท่านจึ่งให้เอาพระยาแก้วพระยาไทยแลครอบครัวกับทั้งรูปพระโครูปลิงสัตวทั้งปวงมาด้วย ครั้นถึงพระนครศรีอยุทธยา จึ่งให้เอารูปสัตวทั้งปวงไปบูชาไว้ ณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุบ้าง ไปไว้วัดพระศรีสรรเพชบ้าง. ๚ะ๏ ศักราช ๗๘๖ ปีมโรง ฉศก สมเดจพระบรมราชาธิราชเจ้าสร้างวัดมเหยงคณ์ สมเดจ์พระราเมศรรผู้เปนพระราชกุมาร เสด็จไปเมือง พิศณุโลกย์. ครั้งนั้นเหนน้ำพระเนตรพระพุทธซินราชตกออกเปนโลหิต. ๚ะ๏ ศักราช ๗๘๘ ปีมเมียอัฐศก ครั้งนั้นเกิดเพลิงไหม้พระราชมณเฑียรสถาน. ๚ะ๏ ศักราช ๗๘๙ ปีมแมนพศก ครั้งนั้นเกิดเพลิงไหม้พระที่นั่งตรีมุข. ๚ะ๏ ศักราช ๗๙๐ ปีวอกสัมฤทธิศก สมเดจ์พระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จไปเอาเมืองเชียงใหม่ แลเข้าปล้นเมืองมิได้ ภอทรงพระประชวรทัพหลวงเสด็จกลับคืน. ๚ะ๏ ศักราช ๗๙๒ ปีจอโทศก เสด็จขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่อีกครั้งหนึ่ง แลตั้งทัพหลวงตำบลท้ายเกษม ครั้งนั้นได้ชเลยแสนสองหมื่น ทัพหลวงเสด็จกลับคืน. ๚ะ
6
๏ แผ่นดินพระบรมไตรโลกย์นาถเจ้า. ๚ะ
๏ ศักราช ๗๙๖ ปีขานฉศก สมเดจ์พระบรมราชาธิราชเจ้าเสดจ์สวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๑๖ ปี. สมเดจ์พระราเมศวรผู้เปนพระราชกุมาร ขึ้นครองราชสมบัติ ทรงพระนามชื่อพระบรมไตรโลกย์นารถ ยกวังทำเปนวัดพระศรีสรรเพช. เสดจ์ลงไปตั้งพระราชนิเวศน์ประทับอยู่ริมน้ำ จึ่งให้สร้างพระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาทองค์หนึ่ง สร้างพระที่นั่งสรรเพชปราสาทองค์หนึ่ง แล้วพระราชทานชื่อขุนนางตำแหน่งนา ให้เอาทหารเปนสมุหพระกลาโหม. เอาพลเรือนเปนสมุหนายก. เอาขุนเมืองเปนพระนครบาลเมือง. เอาขุนวังเปนพระธรรมาธิกรณ์. เอาขุนนาเปนพระเกษตรา. เอาขุนคลังเปนโกษาธิบดี. ถือศักดิ์นาหมื่นหนึ่ง. แลที่ถวายพระเพลิงสมเดจ์พระเจ้ารามาธิบดี ที่พระองค์สร้างกรุงนั้น. ให้สฐาปนาพระมหาธาตุ แลพระวิหารเปนพระอาราม แล้วให้นามชื่อวัดพระราม. ๚ะ๏ ศักราช ๘๐๒ ปีวอกโทศก ครั้งนั้นคนออกทรพิศม์ตายมากนัก. ๚ะ๏ ศักราช ๘๐๓ ปีรกาตรีศก แต่งทัพไปเอาเมืองมลากา. ๚ะ๏ ศักราช ๘๐๔ ปีจอจัตวาศก แต่งทัพไปเอาเมืองศีสพเถิน ครั้งนั้นเสดจ์หนุนทัพขึ้นไป ตั้งทัพหลวงตำบลบ้านโคน. ๚ะ๏ ศักราช ๘๐๕ ปีกุนเบญจศก เข้าเปลือกแพงเปนทนานละ ๘๐๐เบี้ย เบี้ยเพื้องละแปดร้อยเบี้ย เกวียนหนึ่งเปนเงินสามชั่งกับสิบบาท. ๚ะ๏ ศักราช ๘๐๖ ปีชวดฉศก ให้บำรุงพระพุทธสาศนาบริบูรณ์ แลหล่อรูปพระโพธิสัตว ๕๕๐ พระชาติ. ๚ะ๏ ศักราช ๘๐๘ ปีขานอัฐศก เล่นการมโหรสพฉลองพระแลพระราชทานสมณชีพราหมณ์ แลวรรณิภกทั้งปวง. ครั้งนั้นพระยาชะเลียงคิดกระบถ ภาครัวทั้งปวงไปแต่มหาราช ๚ะ๏ ศักราช ๘๐๙ ปีเถาะนพศก พระยาชะเลี่ยงนำมหาราชมาเอาเมืองพระพิศณุโลกย์ เข้าปล้นเมืองเปนสามารถมิได้. จึ่งยกทัพไปเอาเมืองกำแพงเพชร์ เข้าปล้นเมืองถึงเจ็ดวันมิได้. สมเดจ์พระบรมไตรยโลกย์นารถเจ้า แลสมเดจ์พระอินทราชา เสด็จขึ้นไปช่วยเมืองกำแพงเพชร์ทัน. แลสมเดจ์พระอินทราชาเจ้า ตีทัพพระยาเกียรติ์แตก. ทัพท่านมาปะทะทัพหมื่นนครได้ชนช้างด้วยหมื่นนคร. แลข้าศึกลาวทั้งสี่ช้าง เข้ารุมเอาช้างพระที่นั่งช้างเดียว. ครั้งนั้นพระอินทราชาเจ้าต้องปืน ณพระภักตร์ ทัพมหาราชนั้นเลิกกลับคืนไป. ๚ะ๏ ศักราช ๘๑๐ ปีมโรงสัมฤทธิศก สมเดจ์พระบรมไตรยโลกย์นารถเจ้า สร้างพระวิหารวัดจุฬามณี. ๚ะ๏ ศักราช ๘๑๑ ปีมเสงเอกศก สมเดจ์พระบรมไตรยโลกย์นาถเจ้า ทรงผนวชณวัดจุฬามณีได้แปดเดือน แล้วลาผนวช. ๚ะ๏ ศักราช ๘๑๓ ปีมแมตรีศก ครั้งนั้นท้าวมหาบุญชิงเมืองเชียงใหม่กันแก่ท้าวลูก. ๚ะ๏ ศักราช ๘๑๕ ปีรกาเบญจศก สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวได้ช้างเผือก. ๚ะ๏ ศักราช ๘๑๖ ปีจอฉศก สมภพพระราชโอรสท่าน. ๚ะ๏ ศักราช ๘๑๘ ปีชวดอัฐศก เสด็จไปเมืองชะเลี่ยง. ๚ะ๏ ศักราช ๘๒๑ ปีเถาะเอกศก แรกตั้งเมืองนครไทย ๚ะ๏ ศักราช ๘๒๒ ปีมโรงโทศก พระสีหราชเดโชถึงแก่กรรม ๚ะ๏ ศักราช ๘๒๔ ปีมเมียจัตวาศก พระยาล้านช้างถึงแก่กรรม. พระราชทานให้อภิเศกพระยาชาวขวา เปนพระยาล้านช้าง. ๚ะ๏ ศักราช ๘๒๖ ปีวอกฉศก ทรงพระกรุณาให้เล่นการมโหรสพ ฉลองพระศรีรัตนมหาธาตุ ๑๕ วัน. ๚ะ๏ ศักราช ๘๒๘ ปีจออัฐศก พระบรมราชาผู้เปนพระโอรสทรงผนวช. ๚ะ๏ ศักราช ๘๒๙ ปีกุนนพศก สมเดจ์พระราชโอรสเจ้าลาผนวช พระราชทานอภิเศกพระบรมราชาราชบุตรไว้ในที่พระมหาอุปราช. ๚ะ๏ ศักราช ๘๓๐ ปีชวดสัมฤทธิศก สมเดจ์พระบรมราชาธิราชเจ้าไปวังช้างตำบล. สัมฤทธิบริบูรรณ ๚ะ๏ ศักราช ๘๓๑ ปีฉลูเอกศก มหาราชท้าวลูกถึงแก่พิราไลย. ๚ะ๏ ศักราช ๘๓๒ ปีขานโทศก สมเดจ์พระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จยกทัพไปตีเมืองทวาย. แลเมื่อเมืองทวายจะเสียนั้น เกิดอุบาทว์เปนหลายประการ. โคตกลูกตัวหนึ่งเปนแปดเท้า ไก่ฟักฟองตกลูกตัวหนึ่งเปนสี่เท้า ไก่ฟักฟองคู่ขอนตกลูกเปนหกตัว. อนึ่งเข้าสานงอกเปนใบขึ้นในปีนั้น. สมเดจ์พระบรมไตรยโลกย์นารถเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๓๘ ปี ๚ะ๏ ศักราช ๘๓๔ ปีมโรงจัตวาศก แรกให้ก่อกำแพงเมืองพิไชย. ๚ะ
7
๏ แผ่นดินสมเดจ์พระรามาธิบดี. ๚ะ
๏ ศักราช ๘๓๕ ปีมเสงเบญจศก สมเดจ์พระบรมราชาธิราชเจ้า ขึ้นครองราชสมบัติ ทรงพระนามชื่อสมเดจ์พระรามาธิบดี. ๚ะ๏ ศักราช ๘๓๖ ปีมเมียฉศก ประดิษฐานพระอัฐิธาตุสมเดจ์พระบรมไตรยโลกย์นาถเจ้าในพระมหาสถูป. ๚ะ๏ ศักราช ๘๓๘ ปีวอกอัฐศก ท่านประพฤษดิ์การเบญจเพศ พระองค์ให้เล่นการดึกดำบรรพ์. ๚ะ๏ ศักราช ๘๓๙ ปีรกานพศก ให้ทำการปถมกรรม์. ๚ะ๏ ศักราช ๘๔๑ ปีกุนเอกศก แรกสร้างพระวิหาร วัดพระศรีสรรเพช. สมเดจ์พระรามาธิบดี แรกหล่อพระศรีสรรเพช ในวันอาทิตย์เดือนหกขึ้นแปดค่ำ ๚ะ๏ ครั้นถึงศักราช ๘๔๕ ปีเถาะ เบญจศก วันศุกร์เดือนแปดขึ้นสิบเอ็ดค่ำ ฉลองพระพุทธเจ้าพระศรีสรรเพช คณะณาพระพุทธปฏิมากรเจ้านั้น แต่พระบาทถึงยอดพระรัศมีสูงได้ ๘ วา พระภักตรนั้นยาวได้ ๔ ศอก โดยกว้างได้สามศอก พระอุระกว้างได้สิบเอ็ดศอก แลทองหล่อพระพุทธปฏิมากรเจ้าหนักห้าหมื่นสามพันชั่ง. ทองคำหุ้มหนักสองร้อยแปดสิบหกชั่ง. ช้างน่านั้นทองเนื้อเจ็ดน้ำสองขา. ข้างหลังนั้นทองเนื้อหกน้ำสองขา. ๚ะ๏ ศักราช ๘๖๐ ปีมเมียสัมฤทธิศก สมเดจ์พระรามาธิบดี แรกให้ทำตำราพิไชยสงคราม แลแรกทำสารบาญชีพระราชพิธีทุกเมือง. ขณะนั้นคลองสำโรงที่จะไปคลองศีศะจรเข้. คลองทับนางที่จะไปปากน้ำเจ้าพระยาตื้น. เรือใหญ่จะเดิรไปมาขัดสน. จึ่งให้ชำระขุดได้รูปเทพารักษสององค์ หล่อด้วยทองสำฤทธิ จาฤกองค์หนึ่งชื่อพระยาแสนตา องค์หนึ่งชื่อบาทสังฆังกร. ในที่ร่วมคลองสำโรง กับคลองทับนางต่อกัน. จึ่งให้พลีกรรมบวงสรวง แล้วรับออกมาปลูกศาล เชิญขึ้นประดิษฐานไว้ ณะเมืองพระประแดง. ๚ะ๏ ศักราช ๘๖๖ ปีชวดฉศก ครั้งนั้นงาเบื้องขวาช้างต้น เจ้าพระยาปราบแตกออกไป. อนึ่งในเดือนเจ็ดนั้น คนทอดบาศสนเท่ห์ ครั้งนั้นให้ฆ่าขุนนางเสียมาก. ๚ะ๏ ศักราช ๘๖๗ ปีฉลูสัปตศก น้ำน้อยเข้าตายฝอยมากสิ้น. อนึ่งแผ่นดินไหว แลเกิดอุบาทว์หลายประการ. ๚ะ๏ ศักราช ๘๖๘ ปีขานอัฐศก เข้าแพงเปนสามทนานต่อเฟื้อง. เบี้ยแปดร้อยต่อเฟื้อง เกวียนหนึ่งเปนเงินชั่งหนึ่งกับเก้าบาทสลึง. ครั้งนั้นประดิษฐานสมเดจ์พระเจ้าลูกเธอพระอาทิตยวงษ์ ไว้ในที่มหาอุปราช ให้ขึ้นครองเมืองพระพิศณุโลกย์. ๚ะ
8
๏ แผ่นดินสมเดจ์พระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ๚ะ
๏ ศักราช ๘๗๑ ปีมเสงเอกศก ในเพลาราษตรีภาคย์ เหนอากาษนิมิตรเปนอินท์ธนู แต่ทิศหรดีผ่านมาทิศพยับ มีพรรณศรีชาว. อยู่มาณวันอาทิตย์เดือนสิบสองขึ้นแปดค่ำ สมเดจ์พระรามาธิบดี เสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๔๐ ปี. สมเดจ์พระอาทิตย์วงษ์เจ้าขึ้นเสวยราชสมบัติทรงพระนามชื่อสมเดจ์พระบรมราชาหน่อพุทธางกูร. ๚ะ
9
๏ แผ่นดินพระรัษฎาธิราชกุมาร ๚ะ
๏ ศักราช ๘๗๕ ปีรกาเบญจศก สมเดจ์พระบรมราชาเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๕ ปี. สมเดจ์พระรัษฎาธิราชกุมาร ได้ครองราชสมบัติ ๚ะ
10
๏ แผ่นดินพระไชยราชาธิราชเจ้า ๚ะ
๏ ศักราช ๘๗๖ ปีจอฉศก สมเดจ์พระรัษฎาธิราชกุมารเสด็จสวรรคต. แล้วสมเดจ์พระไชยราชาธิราชเจ้า ได้เสวยราชสมบัติ. ๚ะ๏ ศักราช ๘๘๐ ปีขานสัมฤทธิศก แรกให้พูนดินวัดชีเชียง. ถึงเดือนสิบเอ็ดเสด็จไปเชียงไตรเชียงตราน. ถึงเดือนสี่ขึ้นเก้าค่ำ เพลาประมาณยามหนึ่ง เกิดลมพายุห์พัดหนัก ฅอเรืออ้อมแก้วแสนเมืองม้านั้นหัก. เรือไกรแก้วนั้นแตก. อนึ่งเสด็จมาแต่เมืองกำแพงเพชร์นั้น พระยานารายน์เปนกระบถ ให้กุมเอาพระยานารายน์ ฆ่าเสียในเมืองกำแพงเพชร์. ๚ะ๏ ศักราช ๘๘๗ ปีรกาสัปตศก ณวันพฤหัศเดือนเจ็ดขึ้นสี่ค่ำ สมเดจ์พระไชยราชาธิราชเจ้าเสด็จไปเชียงใหม่ ให้พระยาพระพิศณุโลกยเปนแม่ทัพ ยกพลออกตั้งทัพไชยตำบลบางบาล. ๚ะ๏ วันเสาร์เดือนเจ็ดขึ้นสิบสี่ค่ำ จึ่งยกทัพหลวงจากที่ทัพไชย ไปถึงเมืองกำแพงเพชร์. ๚ะ๏ วันอาทิตย์เดือนเจ็ดแรมสิบสี่ค่ำ ยกทัพไปตั้งเมืองเชียงทอง. แล้วยกไปถึงเมืองเชียงใหม่. ๚ะ๏ ครั้นณวันอาทิตย์เดือนเก้าขึ้นสี่ค่ำ เสด็จยกพยุหบาตราทัพหลวง กลับคืนยังพระนครศรีอยุทธยา. ๚ะ๏ อยู่ณวันพุดเดือนสามขึ้นสี่ค่ำ เกิดเพลิงไหม้ในพระนคร แต่ท่ากลาโหมลงไปถึงพระราชวังท้ายท่อตลาดยอด. ลมหอบเอาลูกเพลิงไปตกตะแลงแกง ไหม้ลามลงไปป่าตองโรงความฉะไกรย สามวันจึ่งดับ มีบาญชีเรือนศาลากุฏีวิหารไหม้แสนห้าสิบ. ๚ะ๏ ศักราช ๘๘๘ ปีจออัฐศก ณวันอาทิตย์เดือนยี่ขึ้นสิบเอ็ดค่ำ สมเดจ์พระไซยราชาธิราชเจ้า เสด็จยกพยุหบาตราทัพไปเมืองเชียงใหม่. ดำรัศให้พระยาพระพิศณุโลกย์ ถือพลสองหมื่นเปนกองน่า. เสด็จยกพยุหแสนยากรรอนแรมไปโดยระยะทาง สิบสองเวนถึงเมืองกำแพงเพชร์. เสด็จประทับแรมอยู่สิบห้าวัน. ๚ะ๏ ครั้นณวันพฤหัศเดือนสามขึ้นหกค่ำ เสด็จตั้งทัพไชย. ถึงณวันเสาร์เดือนสามขึ้นแปดค่ำ จึ่งยกทัพหลวงเสด็จจากที่นั้น. ๚ะ๏ ครั้นณวันอังคารเดือนสี่ขึ้นสามค่ำ ได้เมืองลำพูนไชย. ถึงณวันจันทร์เดือนสี่ขึ้นเก้าค่ำ ได้เมืองเซียงใหม่. ๚ะ๏ ณวันศุกร์เดือนสี่ขึ้นสิบสามค่ำ บังเกิดอุบาทว์นิมิตร์ เหนโลหิตตกอยู่ณประตูบ้าน แลเรือนชนทั้งปวง ในเมืองนอกเมืองทุกตำบล. ๚ะ๏ ครั้นณวันจันทร์เดือนสี่แรมสิบสี่ค่ำ เสด็จยกพยุหบาตราทัพหลวงจากเมืองเชียงใหม่ จะมายังพระนครศรีอยุทธยา ๚ะ
11
๏ แผ่นดินพระยอดฟ้า, แลขุนวรวงษาธิราช ๚ะ
๏ ศักราช ๘๘๙ ปีกุนนพศก สมเดจ์พระไชยราชาธิราชเจ้า เสด็จสวรรคตณมัชฌิมวิถีประเทศ มุขมนตรีเชิญพระบรมสพเข้าพระนครศรีอยุทธยา. สมเดจ์พระไชยราชาธิราชเจ้า อยู่ในราชสมบัติมไหสวรรย์สิบสี่พรรษา มีพระราชโอรสสองพระองค์. แลพระราชโอรผผู้พี่ ทรงพระนามพระยอดฟ้า พระชนม์ได้สิบเอ็ดพรรษา พระราชโอรสผู้น้อง ทรงพระนามชื่อพระศรีศิลป์พระชนม์ได้ห้าพรรษา. ครั้นถวายพระเพลิงพระไชยราชาเสร็จแล้ว ฝ่ายพระเทียรราชา ซึ่งเปนเชื้อพระวงษสมเดจ์พระไชยราชานั้น จึ่งดำริหว่า ครั้นกูจะอยู่ในฆราวาศบัดนี้ เหนไภยจะบังเกิดมีเปนมั่นคง ไม่เหนสิ่งใดที่จะเปนที่พึ่งได้. เหนแต่พระพุทธสาศนาแลผ้ากาสาวพัตร อันเปนธงไชยแห่งพระอรหรรต จะเปนที่พำนักนิ์พ้นไภย์อุปัทวอันตราย. ครั้นดำริหแล้ว ก็ออกไปอุปสมบทเปนภิกษุภาวะอยู่ณวัดราชประดิษฐาน ฝ่ายสมณพราหมณาจาริย์ มุขมนตรีกระวีราชนักปราชราชบัณฑิตย์โหราราชครู สโมษรพร้อมประชุมเชิญพระยอดฟ้า พระชนม์ได้สิบเอ็ดพรรษา เสด็จผ่านพิภพถวัลย์ราชประเวณี สืบศรีสุริยวงษต่อไป. แลนางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันท์ ผู้เปนสมเดจ์พระชนนีช่วยทำนุบำรุงประคองราชการแผ่นดิน ในปีนั้นแผ่นดินไหว. ๚ะ๏ ครั้นศักราช ๘๙๐ ปีชวดสัมฤทธิศก ณวันเสาร์เดือนห้าขึ้นห้าค่ำ สมเดจ์พระยอดฟ้าเสด็จออกท้องสนาม พร้อมด้วยหมู่มุขอำมาตยมนตรี เฝ้าพระบาทยุคลเปนอันมาก. ดำรัสสั่งให้เอาช้างต้นพระฉัททันต์บำรุงงากัน บังเกิดทุจริตนิมิตรงาช้างพระยาไฟนั้นหักเปนสามท่อน. ครั้นเพลาค่ำช้างต้นพระฉัททันตไล่ร้องเปนเสี่ยงคนร้องไห้. ประการหนึ่งประตูไพชยนต์ร้องเปนอุบาทว์. ครั้นอยู่มานางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันท์ เสด็จไปประภาศเล่น ณพระที่นั่งพิมานรัตยาหอพระข้างน่า ทอดพระเนตรเหนพันบุตรศรีเทพผู้เฝ้าหอพระ ก็มีความเสนหารักษใคร่พันบุตรศรีเทพ จึ่งสั่งสาวใช้ให้เอาเมี่ยงหมากห่อผ้าเช็ดหน้า ไปพระราชทานพันบุตรศรีเทพ ๆ รับแล้วก็รู้พระอัชฌาไศรยว่า นางพระยามีพระไทยยินดีรักษใคร่. พันบุตรศรีเทพจึ่งเอาดอกจำปาส่งให้สาวใช้ ให้เอาไปถวายแก่นางพระยา นางพระยาก็ยิ่งมีความกำหนัดในพันบุตรศรีเทพเปนอันมาก. จึ่งมีพระเสาวนีสั่งพระยาราชภักดีว่า พันบุตรศรีเทพเปนข้าหลวงเดิม. ให้เอามาเปนที่ขุนชินราช รักษาหอพระข้างใน ให้เปลี่ยนขุนชินราชออกไป เปนพันบุตรศรีเทพรักษาหอพระข้างน่า. ครั้นพันบุตรศรีเทพเปนขุนชินราช เข้าไปอยู่รักษาหอพระข้างในแล้ว นางพระยาก็ลอบลักสมัคสังวาศกับด้วยขุนชินราชมาช้านาน แล้วดำริหจะเอาราชสมบัติให้สิทธิ์แก่ขุนชินราช. จึ่งตรัสสั่งพระยาราชภักดี ให้ขุนชินราชเปนขุนวรวงษาธิราช ให้ปลูกจวนอยู่ริมศาลาสารบาญชี ให้พิจารณาเลขสมสังกัดพรรค์ หวังจะให้กำลังมากขึ้น แล้วให้เตียงที่อันเปนราชอาศน์ ไปตั้งไว้ข้างน่า สำหรับขุนวรวงษาธิราชนั่ง. เพื่อจะให้ขุนนางทั้งปวงอ่อนน้อมยำเกรง แล้วนางพระยาสั่งให้ปลูกจวน ให้ขุนวรวงษาธิราชว่าราชการ ณประตูดินริมต้นหมัน. อยู่มาพระยามหาเสนา ภบพระยาราชภักดี จึ่งพูดว่า เมื่อแผ่นดินเปนทุรยศฉนี้ เราจะคิดเปนประการใด. ครั้นรุ่งขึ้นนางพระยารู้ว่า พระยามหาเสนาพูดกันกับพระยาราชภักดี. จึ่งสั่งให้พระยามหาเสนา เข้ามาเฝ้าที่ประตูดิน. ครั้นเพลาค่ำพระยามหาเสนากลับออกไป มีผู้มาแทงพระยามหาเสนาล้มลง เมื่อใกล้จะสิ้นใจพระยามหาเสนาจึ่งว่า เมื่อเราเปนดั่งนี้แล้ว ผู้อยู่ภายหลังจะเปนประการใดเล่า ขณะนั้นนางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันท์ มีครรภ์ด้วยขุนวรวงษา จึ่งมีพระเสวนีตรัสปฤกษาด้วยหมู่มุขมนตรีทั้งปวงว่า พระยอดฟ้าโอรสเรายังเยาวนักสลวนแต่จะเล่น จะว่าราชการแผ่นดินเหนเหลือสติปัญานัก. อนึ่งหัวเมืองฝ่ายเหนือเล่าก็ยังมิเปนปรกติ จะไว้ใจแก่ราชการมิได้ เราคิดจะให้ขุนวรวงษาธิราชว่าราชการแผ่นดิน กว่าพระราชบุตรเราจะจำเริญไวยขึ้นจะเหนเปนประการใด. ท้าวพระยามุขมนตรีรู้อัชฌาไศรยก็ทูลว่า ซึ่งตรัสโปรดมานี้ควรอยู่แล้ว. นางพระยาจึ่งมีพระเสาวนีตรัสสั่งให้ปลัดวังในไปเอาราชยาน แลเครื่องสูงแตรสังขกับขัติยวงษออกไปรับขุนวรวงษาธิราชเข้ามาในพระราชนิเวศมณเฑียรสถาน แล้วตั้งพระราชพิธีราชาภิเศกยกขุนวรวงษาธิราชขึ้นเปนเจ้าพิภพกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยา จึ่งเอานายจันผู้น้องขุนวรวงษาธิราช. บ้านอยู่มหาโลกย เปนมหาอุปราช แล้วขุนวรวงษาธิราชผู้เปนเจ้าแผ่นดิน ตรัสปฤกษาแก่นางพระยาว่า บัดนี้ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยรักษเราบ้างชังเราบ้าง หัวเมืองเหนือทั้งปวงก็ยังกระด้างกระเดื่องอยู่ เราจำจะให้หาลงมาผลัดเปลี่ยนเสียใหม่ จึ่งจะจงรักษภักดีต่อเรา นางพระยาก็เหนด้วย. ครั้นรุ่งขึ้นเสด็จออกขุนนางสั่งสมุหนายกให้มีตราขึ้นไปหาเมืองเหนือทั้งเจ็ดหัวเมืองลงมา ๚ะ๏ ครั้นศักราช ๘๙๑ ปีฉลูเอกศกณวันอาทิตยเดือนแปดขึ้นห้าค่ำ ขุนวรวงษาธิราชเจ้าแผ่นดิน คิดกันกับแม่อยู่หัวศรีสุดาจันท์ ให้เอาพระยอดฟ้าไปประหารชิวิตรเสียณวัดโคกพระยา. แต่พระศรีศิลปน้องชายพระชนม์ได้เจ็ดพรรษานั้นเลี้ยงไว้. สมเดจ์พระยอดฟ้าอยู่ในราชสมบัติได้สองปีกับหกเดือน. ฝ่ายขุนพิเรนทรเทพเชื้อพระวงษ กับขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา หลวงศรียศบ้านลานตากฟ้า สี่คนไว้ใจกันเข้าไปในที่ลับ แล้วปฤกษากันว่า เมื่อแผ่นดินเปนทรยศดั่งนี้เราจะละไว้ดูไม่ควร จำจะกุมเอาตัวขุนวรวงษาธิราชประหารชิวิตรเสีย. ขุนพิเรนทรเทพ หมื่นราชเสน่หา หลวงศรียศ จึ่งว่าถ้าเราทำได้สำเร็จแล้วจะเหนผู้ใดเล่าที่จะปกป้องครองประชาราษฎรสืบต่อไป. ขุนพิเรนทรเทพจึ่งว่า เหนแต่พระเทียนราชาที่บวชอยู่นั้น จะเปนเจ้าแผ่นดินได้. ขุนพิเรนทรเทพ หมื่นราชเสน่หา หลวงศรียศจึ่งว่า ถ้าฉนั้นเราจำจะไปเฝ้าพระเทียนราชาปฤกษาให้เธอรู้จะได้ทำด้วยกัน. แลขุนพิเรนทรเทพ ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา หลวงศรียศ. ก็ภากันไปยังวัดราชประดิษฐาน เข้าไปเฝ้าพระเทียนราชานมัศการ จึ่งแจ้งความว่า ทุกวันนี้แผ่นดินเกิดทุรยศ ข้าพระบาทเจ้าทั้งสี่คนคิดจะจับขุนวรวงษาธิราชฆ่าเสีย แล้วจะเชิญพระองคลาผนวชขึ้นครองสิริราชสมบัติ จะเหนประการใด. พระเทียรราชาก็เหนด้วย. ฝ่ายขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา หลวงศรียศ จึ่งว่าเราคิดการทั้งปวงนี้เปนการใหญ่หลวงนัก. จำจะไปอัธิฐานเสี่ยงเทียนเฉภาะพระภักตรที่พระปฏิมากรเจ้า ฃอเอาพระพุทธคุณเปนที่พำนักนิ์ให้ประจักแจ้งว่า พระเทียนราชาประกอบด้วยบุญบารมี จะเปนที่สาสนุปถัมภกปกป้องอาณาประชาราษฎรได้ฤๅมิได้ประการใดจะได้แจ้ง. พระเทียนราชาก็เหนชอบด้วย. ขุนพิเรนทรเทพจึ่งว่า เราคิดการใหญ่หลวงถึงเพียงนี้ อนึ่งก็ได้เตรียมการพร้อมแล้ว ถ้าเสี่ยงเทียนมิสมดังเจตนาจะมิเสียไชยสวัศดิ์มงคลไปฤๅ ถ้ามิเสี่ยงเที่ยนตกจะไม่ทำฤๅประการใด ว่าแล้วต่างคนต่างก็ไป. ครั้นค่ำลงวันนั้น ฝ่ายขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา หลวงศรียศ พระเทียนราชาก็ชวนกันฟั่นเทียนสองเล่มขี้พึ่งหนักเท่ากัน ด้ายไส้เทียนนั้นนับเส้นเท่ากัน เล่มเทียนสั้นยาวเสมอกัน. แล้วก็ภากันไปอุโบสถวัดป่าแก้ว ฝ่ายพระเทียนราชากราบถวายนมัศการพระพุทธปฏิมากรเจ้าโดยเบญจางคประดิษฐ. แล้วจึ่งกระทำเสี่ยงวจีสัตยอัธิฐานว่า ปางเมื่อสมเดจ์พระบรมไตรยโลกย์นารถเจ้า เสด็จยังเที่ยวสทิตย์ไปรฎสัตวอยู่ย่อมยังโลกย์อันมีความวิมัตติ์ในสันดานให้บริสุทธิ์สิ้นสงไสย ด้วยพระญาณสัพพัญู ครั้นพระพุทธองค์เสด็จเข้าสู่พระมหาปรินิพพานแล้ว ก็ยังทรงพระมหากรุณาประดิษฐานพระเจดีย์ทั้งห้า คือพระปฏิมากร พระมหาโพทธิ พระสถูป พระชินธาตุ พระไตรยปิฎกไว้สนองต่างพระพุทธองค์ เปนที่พึ่งแก่สัตวโลกย์อันเกิดมาภายหลัง. เปนความสัตยแห่งข้าพระพุทธเจ้าฉนี้ ประการหนึ่งข้าพระพุทธเจ้าคิดจะใคร่ได้ราชสมบัติครั้งนี้ ด้วยโลกียจิตรจะใคร่เปนใหญ่ จะได้จัดแจงราชการกิจานุกิจ ให้สถิตย์อยู่ในยุติธรรม จะได้เปนที่พึ่งพำนักนิ์ในนิกรราชบรรพสัตวให้มีศุขสมบูรณ์ ตามบุราณราชประเพณี เปนความสัตยแห่งข้าพระพุทธเจ้าฉนี้ถ้วนเคารพสอง. แลยังมีความสงไสยอยู่จะสมลุดั่งมโนรถแล้วฤๅ ฤๅมิสมลุประการใดมิได้แจ้ง. ข้าพระพุทธเจ้าฃอพระบวรคุณานุภาพพระมหาเจดีย์ฐานเจ้าทั้งห้า มีพุทธปฏิมากรเจ้าเปนอาทิ อันพระพุทธองค์ทรงประดิษฐานไว้ต่างพระองค์ แลวจีสัตยาธิฐานทั้งสองสัตยแห่งข้าพระพุทธเจ้า จงเปนที่พำนักนิ์ตัดความสงไสย. ข้าพระพุทธเจ้าจะกระทำสัตยเสี่ยงเทียนของข้าพระองค์เล่มหนึ่ง. ของขุนวรวงษาธิราชเล่มหนึ่ง. ถ้าพระองค์จะสมลุดั่งมโนรถด้วยปราถนาด้วยบุญญาธิการบุราณ แลปจุบันกรรมควรจะได้มหาเสวตรฉัตรสกลรัษฐาธิปไตยจะได้รำงับทรยศยุคเขญเปนจลาจล แห่งสมณพราหมณเสนาบดีไพร่ฟ้าประชาราษฎรได้ความเดือดร้อน แลได้เปนมหาอรรคถานทายก อุปถัมภกพระบวรพุทธสาศนา ในวรราไชยสวรรย์สืบไป. ขอให้เทียนขุนวรวงษาธิราชดับก่อน. ถ้ามิสมลุดั่งมโนรถความปราถนาแล้ว ขอให้เทียนข้าพระองค์ดับก่อน. ฃอพระบวรคุณานุภาพแลความสัตยทั้งสองแห่งข้าพเจ้าจงมาตัดความสงไสยให้ปรากฎตามเสี่ยงวจีสัตยาธิฐาน อันข้าพระพุทธเจ้าอุทิศเทียนสองเล่มนี้ เปนพุทธสการบูชาแลเสี่ยงกระทำด้วยสัตยเคารพนี้เถิด. ครั้นอัธิฐานเสร็จแล้ว ก็จุดเทียนทั้งสองเล่มนั้นเข้า. ฝ่ายขุนพิเรนทรเทพไปถึงเห็นเทียนขุนวรวงษาธิราช ยาวกว่าเทียนพระเทียนราชาก็โกรธ. จึ่งว่าห้ามมิให้ทำสิขืนทำเล่า ก้คายชานหมากดิบทิ้งไป จะได้ตั้งใจทิ้งเอาเทียนขุนวรวงษาธิราชนั้นหามิได้. เปนศุภนิมิตรเหตุภอทิ้งไปต้องเทียนขุนวรวงษาธิราชดับลง. คนทั้งห้าก็บังเกิดโสมนัศยินดียิ่งนัก. ขณะนั้นมีพระสงฆองค์หนึ่งครองไตรยจีวรครบถือตาลปัดเดินเข้าไปในพระอุโบสศให้พรว่า ท่านทั้งห้านี้จะได้สำเร็จมโนรถความปราถนาเปนแท้. ทั้งห้าคนก็นมัศการรับพร พระสงฆนั้นกลับออกมาก็หายไป ต่างคนก็ต่างกลับมายังที่อยู่. ครั้นประมาณสิบห้าวัน กรมการเมืองลพบุรีบอกลงมาว่า ช้างพลายสูงหกศอกสี่นิ้วหูหางสรรพต้องลักษณะติดโขลง สมุหนายกกราบทูลตรัสว่า เราจะขึ้นไปจับ. อยู่อีกสองวันเราจะเสด็จ. แล้วสั่งให้มีตราขึ้นไปว่าให้กรมการจับเสียเถิด. ครั้นอยู่มาประมาณเจ็ดวันโขลงชักปกเถื่อน เข้ามาทางวัดแม่นางปลื้มเข้าพะเนียดวัดซอง. สมุหนายกกราบทูลตรัสว่า พรุ่งนี้เราจะไปจับ. ครั้นเพลาค่ำขุนพิเรนทรเทพจึ่งสั่งหมื่นราชเสน่หานอกราชการ ให้ออกไปคอยทำร้ายมหาอุปราชอยู่ที่ท่าเสือ สั่งแล้วภอพระยาพิไชย พระยาสวรรคโลกยลงมาถึง ขุนพิเรนทรเทพจึ่งให้ไปบอกโดยความลับ. พระยาพิไชย พระยาสวรรคโลกยก็ดีใจ จึ่งไปซุ่มอยู่ที่คลองบางปลาหมอ กับด้วยขุนพิเรนทรเทพ หลวงศรียศ หมื่นราชเสน่หาในราชการขี่เรือคลลำ พลภายมีสาตราวุธครบมือ. ฝ่ายหมื่นราชเสน่หานอกราชการถือปืนไปแอบคอยอยู่ทำอาการดุจหนึ่งทนายเลือก ครั้นเห็นมหาอุปราชขี่ช้างจะไปพะเนียด หมื่นราชเสน่หาก็ยิงถูกมหาอุปราชตกช้างลงตาย. ครั้นเข้าตรู่ขุนวรวงษาธิราชกับแม่อยู่หัวศรีสุดาจันท์ แลราชบุตรซึ่งเกิดด้วยกันนั้น ทั้งพระศรีศิลปก็ลงเรือพระที่นั่งลำเดียวกัน มาตรงคลองสระบัว. ขุนอินทรเทพก็ตามประจำมา. ๚ะ๏ ฝ่ายขุนพิเรนทรเทพ พระยาพิไชย พระยาสวรรคโลกย หลวงศรียศ หมื่นราชเสนหาในราชการ. ครั้นเหนเรือพระที่นั่งขึ้นมา พร้อมกันออกสกัด. ขุนวรวงษาธิราชร้องไปว่า เรือใครตรงเข้ามา. ขุนพิเรนทรเทพร้องตอบไปว่า กูจะมาเอาชิวิตรเองทั้งสอง. ฝ่ายขุนอินทรเทพให้ภายเรือกระหนาบเรือพระที่นั่งขึ้นมาแล้ว ช่วยกันกลุ้มรุมจับขุนวรวงษาธิราช กับแม่อยู่หัวเจ้าศรีสุดาจันท์ แลบุตรซึ่งเกิดด้วยกันนั้นฆ่าเสีย. แล้วให้เอาสพไปเสียบประจานไว้ณวัดแร้ง แต่พระศรีศิลปนั้นเอาไว้. ขุนวรวงษาธิราชอยู่ในราชสมบัติห้าเดือน. ขุนพิเรนทรเทพ ขุนอินทรเทพ กับขุนนางทั้งปวง กลับเข้ามารักษาพระราชวัง ๚ะ
12
๏ แผ่นดินพระมหาจักรพรรดิ ๚ะ
๏ ฝ่ายขุนพิเรนทรเทพ จึ่งให้หลวงราชินิกุล พระรักษมณเฑียร แลเจ้าพนักงานทั้งปวง เอาเรือพระที่นั่งไชยพระสุพรรณหงษ์ ไปยังวัดประดิษฐาน อัญเชิญพระเทียรราชาให้ปริวัตลาผนวช แล้วเชิญเสด็จลงเรือพระที่นั่งไชยพระสุพรรณหงษ์ อลงการประดับด้วยเครื่องสูง มยุรฉัตพัดโบกจามรมาศด้วยเครื่องกางกั้น แห่แหนเปนขนัดแน่นโดยชลมารควิถี. เสดจ์ถึงประทับฉนวนน้ำ แล้วเชิญเสด็จเข้าสู่พระราชวัง. ครั้นได้มหามหุติวารศุภฤกษพิไชยดฤฐิ จึ่งประชุมสมเดจ์พระสังฆราช พระราชาคะณะ คามวาศรีอรัญวาศรี มุขมาตยามนตรีกระวีโหราราชครูหมู่พราหมณประโรหิตตาจาริย ก็โอมอ่านอิศวรเวศวิษณุมนตร พร้อมทั้งพุทธจักรอาณาจักร มอบเครื่องเบญจราชกุกกุภัณฑถวายอภิเศกทกมูรธาราปราบดาภิเศกถวัลย์ราชประเพณีสืบศรีสุริยวงษกระษัตริย์ดำรงแผ่นดินพิภพมณฑลเสมาอาณาจักรกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธาณีบูรีรมยอุดมพระราชนิเวศมหาสถานสืบไป. ทรงพระนามสมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ฝ่ายขุนพิเรนทรเทพจึ่งภาเอาตัวพระศรีศิลปไปถวายสมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ทรงพระกรุญภาพเลี้ยงพระศรีศิลปไว้. ครั้นรุ่งขึ้นจึ่งเสด็จออก หมู่มุขมาตยามนตรีทั้งปวงพร้อมแล้ว ตรัสปฤกษาความชอบขุนพิเรนทรเทพ ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสนหา หลวงศรียศบ้านลานตากฟ้า สี่คนเปนปฐมคิด. แล้วพระหลวงขุนหมื่นหัวเมืองทั้งปวงเปนผู้ช่วยราชการ. พระมหาราชครูทั้งสี่เชิญพระธรรมนูญหอหลวงมาปฤกษาความชอบ เอาบำเหน็จครั้งมหาเสนาบดี รับพระอินทราชาเข้ามาแต่เมืองสุพรรณบูรีเข้าพระราชวังได้เอามาเปรียบในบำเหน็จนั้น พระราชทานลูกพระสนมองคหนึ่ง เจียดทองคู่หนึ่ง พานทองคู่หนึ่ง เต้าน้ำทอง กระบี่กั้นหยั่น เสลี่ยงงา เสลี่ยงกลีบบัว เอาคำปฤกษากราบบังคมทูล ทรงพระกรุณาดำรัศว่าน้อยนัก คนสี่คนนี้เอาชีวิตรแลโคตร แลความชอบไว้ในแผ่นดิน. แล้วตรัสว่าขุนพิเรนทรเทพ เหล่าบิดาเปนพระราชพงษพระร่วงมารดาไซ้เปนพระราชพงษแห่งสมเดจ์พระไชยราชาธิราชเจ้า ขุนพิเรนทรเทพเปนปฐมคิด เอาเปนสมเดจ์พระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า ให้รับพระราชบัณฑูรครองเมืองพระพิศณุโลกย์. จึ่งตรัสเรียกสมเดจ์พระเจ้าลูกเธอพระสวัศดิราช ถวายพระนามชื่อพระวิสุทธิกระษัตรี เปนตำแหน่งพระอรรคมเหษีเมืองพระพิศณุโลกย์ เครื่องราชูปรโภคให้ตั้งตำแหน่งศักดิ์ฝ่ายทหารพลเรือน เรือไชยพื้นดำพื้นแดงคู่หนึ่ง แลเครื่องราชกุกกุภัณฑ ให้สมเดจ์พระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าส่งขึ้นไป. เอาขุนอินทรเทพเปนเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราช. พระราชทานลูกพระสนมองค์หนึ่ง เจียดทองคู่หนึ่ง เต้าน้ำทอง กระบี่กั้นหยั่น เสลี่ยงงา เสลี่ยงกลีบบัวเครื่องสูง. เอาหลวงศรียศเปนเจ้าพระยามหาเสนาบดี. เอาหมื่นราชเสนหาเปนเจ้าพระยามหาเทพ พระราชทานลูกสนมแลเครื่องสูงเครื่องทอง เสลี่ยงงาเสลี่ยงกลีบบัว. เจ้าพระยามหาเสนา เจ้าพระยามหาเทพ เหมือนกันกับเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราช. หมื่นราชเสนหานอกราชการ ที่ยิงมหาอุปราชตกช้างตายนั้นปูนบำเหน็จให้เปนพระยาภักดีนุชิต เจียดทองซ้ายขวา กระบี่บั้งทอง เต้าน้ำทอง พระราชทานลูกสนมเปนภรรยา. ฝ่ายพระยาพิไชยพระยาสวรรคโลกย์นั้น พระราชทานโปรฎให้เปนเจ้า เจ้าพระยาพิไชยเจ้าพระยาสวรรคโลกย์ พระราชทานเจียดทองซ้ายขวา กระบี่บั้งทองเต้าน้ำทอง. พระหลวงขุนหมื่นนอกนั้น พระราชทานบำเหน็จความชอบโดยอะนุกรมลำดับ. แล้วสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัว ทรงพระดำรัสแช่งษาบาลไว้ว่า กษัตริย์พระองค์ไดได้ครองพิภพภายน่า อย่าให้กระทำร้ายแก่ญาติพี่น้องพวกพงษสมเดจ์พระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า แลเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราช เจ้าพระยามหาเสนา เจ้าพระยามหาเทพ ให้โลหิตตกในแผ่นดินเลย. ถ้ากระษัตรีย์พระองคใดมิได้กระทำตามเราษาบาลไว้ อย่าให้กระษัตริย์พระองค์นั้นคงอยู่ในเสวตรฉัตร. ครั้งนั้นได้ช้างเผือกช้างหนึ่ง. ขณะเมื่อแผ่นดินพระนครศรีอยุทธยาเปนทรยศ ก็ปรากฎขึ้นไปถึงกรุงหงษาวดี.สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีแจ้งประพฤษดิเหตุไปว่า สมเดจ์พระไชยราชาธิราชเจ้าแผ่นดินนครศรีอยุทธยาสวรรคตแล้ว. เสนาบดียกพระยอดฟ้าราชกุมารพระชนม์สิบเอ็ดขวบ ขึ้นครองราชสมบัติ. แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทมารดาพระยอดฟ้า กระทำทุจริตสามคีรศสังวาศด้วยขุนชินราช ให้ฆ่าพระยอดฟ้าเสีย ยกขุนชินราชขึ้นผ่านพิภพกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยาเสนาพฤฒามาตยมีความพิโรธเคืองแค้น คิดกันฆ่าขุนชินราช แลแม่อยู่หัวศรีสุดาจันท์เสีย. แผ่นดินเปนจลาจล. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีทรงพระราชดำริหว่า พระนครศรีอยุทธยาเปนดังนี้จริงเหนว่า หัวเมืองขอบขันทเสมา แลเสนาพฤฒามาตยทั้งปวงกระด้างกระเดื่องมิปรกติ. ถ้ายกกองทัพรุดไปโจมตีเอา เหนจะได้พระนครศรีอยุทธยาโดยง่าย. ทรงพระดำริหแล้ว ก็ตรัสให้จัดพลทหารรบสามหมื่น ช้างเครื่องสามร้อย ม้าสองพันเศศ. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีก็เสด็จยกทัพรุดรีบมาโดยทางด่านพระเจดีย์สามองค์. ตีเมืองกาญจน์บูรี จับได้กรมการถามให้การว่า พระนครเปนจลาจลก็จริง. แต่บัดนี้พระเทียนราชาได้ครองราชสมบัติ เสนาพฤฒามาตย แลหัวเมืองทั้งปวงเปนปรกตีพร้อมมูลอยู่แล้ว. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีตรัสว่า ได้ล่วงเกินมาถึงนี้แล้ว จะกลับเสียนั้น ดูไม่มีเกียรติยศเลย. จำจะเข้าไปเอยียบให้ถึงชานเมือง ภอเหนพระนครแล้วจะกลับ. ประการหนึ่งจะได้ดูมือทหารกรุงศรีอยุทธยา ผู้ใดจะออกมารับทัพเราบ้าง. ตรัสแล้วก็ยกทัพไปตีเมืองสุพรรณบุรี แล้วเดินตัดทุ่งเข้าท้ายป่าโมก ข้ามพลเข้าไปตั้งค่ายหลวงตำบลลุมพลี. ๚ะ๏ ณวันอังคารเดือนยี่ขึ้นห้าค่ำ ลุศักราช ๘๙๒ ปีขานโทศก ขณะนั้นมีหนังสือเมืองสุพรรณบุรี บอกข้อราชการเข้าไปถึงกรุง. ภอทัพพระเจ้าหงษาวดีก็ถึงทุ่งลุมพลีพร้อมกัน. สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าตกพระไทย ตรัสให้เร่งคนในเมืองนอกเมือง ขึ้นรักษาน่าที่เปนโกลาหล. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีตั้งอยู่ลุมพลีสามวัน ภอทอดพระเนตรดูกำแพงพระนครศรีอยุทธยา แลปราสาทราชมณเฑียรแล้ว ก็เลิกทัพกลับไปกรุงหงษาวดีโดยทางมา. ขณะเมื่อพระเจ้าหงษาวดียกทัพมานั้น. ฝ่ายพระยาลแวกรู้ว่า พระนครศรีอยุทธยาผลัดแผ่นดินใหม่ ก็ยกทัพรุดมาถึงเมืองปราจินทบุรี ตีจับได้คนถามให้การว่า พระเทียนราชาครองราชสมบัติ เสนาบดีพร้อมมูลอยู่. พระยาลแวกก็มิอาจยกเข้ามา กวาดแต่ครัวอพยบชาวปราจินทบุรี แล้วกลับไปเมืองลแวก. ครั้นพระเจ้าหงษาวดียกกลับไปแล้ว. สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า คิดแค้นพระยาลแวกว่า กรุงหงษาวดีดูหมิ่นแล้ว เมืองเขมรมาดูหมิ่นด้วยเล่า. ถ้าราชการฝ่ายหงษาวดีสงบลงเมื่อไร เราจะไปแก้แค้นให้จงได้. แล้วสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัว ให้ซ่อมแซมพระนครซึ่งชำรุทปรักหักพังให้มั่นคงโดยรอบขอบแล้ว สฐาปนาที่พระตำหนักวังเปนพระอุโบสถ แล้วสร้างพระวิหาร เปนพระอารามให้นามชื่อวัดวังไชยเจ้าอธิการให้ชื่อพระนิกรม. แล้วตรัสว่า เมื่อเราอุปสมบทนั้น บิณฑบาตขึ้นไปป่าโทนป่าถ่านจนถึงป่าชมภูอากรซึ่งขึ้นสารพากรหลวงนั้น ให้เถรเณรไปฃอเอาเปนกับปิยจังหรรเถิด. ๚ะ๏ ลุศักราช ขช๓ ปีเถาะตรีศก เดือนแปดขึ้นสองค่ำ ทำการพระราชพิธีปถมกรรมสมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า. ตำบลท่าแดง. พระกรรมวาจาเปนพฤทิบาท พระพิเชษฐเปนหัดตาจาริย์ พระอินทโทรเปนธรรมการ. ๚ะ๏ ลุศักราช ๘๙๔ ปีมโรง จัตวาศก สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ฟังข่าวราชการข้างกรุงหงษาวดีสงบอยู่ ก็ตรัสให้เตรียมทัพณพเนียดห้าหมื่น ให้เกณฑ์หัวเมืองปากใต้เปนทัพเรือ ให้พระยาเยาวเปนแม่ทัพ พระศรีโชดึกเปนกองน่า. ถึง ณวันอาทิตยเดือนยี่ขึ้นหกค่ำ เพลาเช้าสองโมงสามบาท สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จยกกองทัพหลวง ไปโดยทางปัตบองถึงเมืองลแวก. ฝ่ายทัพเรือไปปากน้ำพุทไธมาศ เข้าคลองเชิงกรชุม แลกองน่าตั้งห่างเมืองสิบเส้น ทัพหลวงตั้งไกลเมืองร้อยห้าสิบเส้น. ฝ่ายพระยาลแวกเหนจะป้องกันมิได้ จึ่งให้มีศุภอักษรแต่งเสนาบดี ถือมากราบถวายบังคมสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัว ในลักษณนั้นว่า ข้าพระองค์ผู้ครองกรุงกัมพูชาธิบดี ฃอถวายบังคมมาแทบพระบาทบงกชมาศ สมเดจ์พระนั่งเกล้าพระองคผู้ทรงอิศรภาพ เปนปิ่นกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบูรีรมย์อุดมพระราชมหาสถาน ด้วยข้าพระองค์เปนโมหะจริต มิได้คิดเกรงพระเดชเดชานุภาพ แลยกทัพเข้าไปกวาดเอาชาวปราจินทบูรี อันเปนข้าขอบขันธเสมากรุงเทพมหานครมานั้น ผิดนักหนาอยู่แล้ว ฃอสมเดจ์พระนั่งเกล้าได้โปรดอดโทษแก่ข้าพระองค์เถิด. อย่าเภ่อยกพะยุหโยธาเข้าหักเมืองก่อนเลย งดสามวันข้าพระองค์จะแต่งเครื่องราชบรรณาการออกไปถวาย ฃอเปนข้าพระบาทสมเดจ์พระนั่งเกล้าไปตราบเท่ากลปาวะสาน. สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ก็ทรงพระกรุญภาพแก่พระยาลแวก. ครบกำหนฎนายทัพนายกองให้งดการซึ่งจะเข้าหักเอาเมืองโดยศุภอักษรพระยาลแวก. ครั้นถ้วนกำหนฎสามวันพระยาลแวกก็นำเครื่องบรรณาการกับนักพระสุโท นักพระสุทัน คันเปนราชบุตรออกมาเฝ้าทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเปนข้าพระบาท. สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าก็สิ้นความพิโรธ จึ่งตรัสแก่พระยาละแวกว่า ท่านจงรักษาแผ่นดินกรุงกัมพูชาธิบดี โดยยุติธรรม์ราชประเพณีสืบมาแต่ในกาลก่อนนั้นเถิด. แล้วพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า นักพระสุโทนักพระสุทันนั้น เราจะฃอไปเลี้ยงเปนโอรส พระยาลแวกก็มิอาจที่จะขัดได้ ก็โดยบัญชาพระเจ้าอยู่หัว. แล้วพระยาลแวกก็ถวายบังคมลาเข้าไปเมือง จัดแจงเครื่องราชูปรโภคชายหญิงให้แก่ราชบุตร แล้วก็ภามาถวายทูลฝาก. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า ท่านอย่าวิตกเลย อันบุตรท่านทั้งสองนี้ก็เหมือนโอรสแห่งเรา. พระยาลแวกมีความยินดีนัก. ให้เสนาบดีไปต้อนครัวอพยบชาวปราจินทบุรี มายังค่ายหลวง. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จยกทัพบกทัพเรือ แลครัวอพยบทั้งนั้นกลับมายังกรุงพระนครศรีอยุทธยา. จึ่งทรงพระกรุณาให้พระสุทัน ขึ้นไปครองเมืองสวรรคโลกย. ๚ะ๏ ลุศักราช ๘๙๕ ปีมเสงเบญจศก ครั้งนั้นพระเจ้าอยู่หัวให้แปลงเรือแซ่เปนเรือไชย แลเรือศีศะสัตว์ต่างต่าง. ๚ะ๏ ลุศักราช ๘๙๖ ปีมเมียฉศกเดือนแปด ทำการพระราชพิธีมัทยม สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ตำบลไชยนาทบุรี. ๚ะ๏ ศักราช ๘๙๗ ปีมแมสัปตศก สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปวังช้างตำบลบางลมุง ได้ช้างพลายพัง ๖๐ ช้าง อนึ่งในเดือนสิบสองนั้นได้ช้างเผือกพลายตำบลกาญจณบุรี สูงสี่ศอกเสศชื่อพระคเชนทโรดม. ครั้งนั้นมีข่าวมาว่าเมืองลแวกเสียแก่ยวญ สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวแจ้งว่า นักพระสัทธายกมารบกับเมืองละแวก เสียบิดานักพระสุโทนักพระสุทันแก่ญวนแล้ว จำจะให้ออกไปกำจัดเอาเมืองคืนให้จงได้. ทรงพระกรุณาตรัสแก่มุขมนตรีว่า จะออกไปเมืองละแวกครั้งนี้ จะเหนใครที่จะเปนแม่ทัพออกไป มุขมนตรีปฤกษาพร้อมกันกราบทูลว่า เหนแต่สมเดจ์พระเจ้าลูกเธอบุตรบุญธรรม ที่ไปครองเมืองสวรรคโลกย์ออกไป จะได้เอาใจแก่ชาวละแวก. จึ่งมีพระราชกำหนดให้หาพระองค์สวรรคโลกย์ลงมาเฝ้า สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า จะให้เจ้าเปนแม่ทัพออกไปครั้งนี้. พระองค์สวรรคโลกย์จึ่งกราบทูลว่า พระชัฌษาร้ายถึงฆาฏ. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า มุขมนตรีปฤกษาพร้อมกันแล้ว. ประการหนึ่งแผ่นดินกรุงกัมพูชาธิบดีก็เปนของเจ้าอยู่จำจะไป. ๚ะ๏ ศักราช ๘๙๘ ปีวอกอัฐศกเดือนสิบสอง พระองค์สวรรคโลกย์เปนแม่กองถือพลสามหมื่น พระมหามนตรีถืออาญาสิทธิ พระมหาเทพถือวัวเกวียน ฝ่ายทัพเรือพระยาเยาวเปนนายกอง ครั้งนั้นลมขัดทัพเรือมิทันทัพบก ทัพบกใกล้ถึงเมืองละแวก แลพระยารามลักษณซึ่งเกณฑ์เข้ากองทัพบกนั้น เข้าบุกบันทัพในกลางคืน. ทัพญวนแต่งรบเปนสามารถ แลทัพพระยารามลักษณแตกมาปะทะทัพใหญ่ ครั้งนั้นเสียพระองค์สวรรคโลกย์กับฅอช้าง เสียช้างม้ารี้พลเปนอันมาก. ๚ะ๏ ลุศักราช ๘๙๙ ปีรกานพศก ณวันอาทิตย์เดือนห้าขึ้นค่ำหนึ่ง เกิดเพลิงไหม้ในพระราชวัง. อนึ่งเดือนสามนั้นทำการพระราชพิธีจาริยาภิเศก แลกระทำการพระราชพิธีอินทราภิเศกในพระราชวัง. อนึ่งในเดือนห้านั้นสมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า พระราชทานสัตสดกมหาทาน แลให้ช้างเผือกมี กรองเชิงเงินสี่เท้าช้าง เปนพันหกร้อยชั่ง ราชรถเจ็ดเล่มเทียนด้วยม้ามีนางสำหรับรถเสมอรถละเจ็ดนาง อนึ่งในเดือนเจ็ดเสด็จไปวังช้างตำบลโตรกพระ ได้ช้างพลายพังหกสิบช้าง. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๐๐ ปีจอสัมฤทธิศก เสด็จไปวังช้างตำบลแสนตค ได้ช้างพลายพังสี่สิบช้าง. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๐๒ ปีชวดโทศก เสด็จไปวังช้างตำบลวัดกะได ได้ช้างพลายพังห้าสิบช้าง. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๐๔ ปีขานจัตวาศก สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปวังช้างตำบลไทรย้อยได้ช้างพลายพังเจ็ดสิบช้าง. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๐๕ ปีเถาะเบญจศก สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีทรงพระราชดำริว่าครั้งก่อนเรายกกองทัพรุดไปพระนครศรีอยุทธยา พลแต่สามหมื่นล่วงเข้าตั้งถึงชานเมืองตำบลลุมพลี หามีผู้ใดมาปะทะมือไม่ แต่หากทว่าพลน้อยจะทำการมิถนัด ครั้งนี้จะยกไปให้มากสักสิบเท่า ก็เหนจะได้พระนครศรีอยุทธยา. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีทรงพระราชดำริแล้ว ให้เกณฑ์พลสามสิบหมื่น ช้างเครื่องเจ็ดร้อยม้าสามพัน. ให้พระมหาอุปราชเปนกองน่าพระเจ้าแปรเปนเกียกกาย พระยาพสิมเปนกองหลัง. ครั้นณวันอาทิตย์ เดือนสาม ขึ้นสองค่ำ เพลาอุษาโยค สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีก็ทรงเครื่องศรีธิราชปิลันธนาลังกาภรณ์บวรมหาสังวาลเนาวรัตน์ สะพักพระอังสาอลงกตอังคาพยพอย่างอรรคราชรามัญวิสัยตำหรับมหาพิไชยรณรงค์เสร็จ เสด็จทรงช้างพระที่นั่งพลายปราบทวีปเปนราชพาหนะประดับ เครื่องคเชนทราลังกาภรณ์บวรมหาสังวาลเนาวรัตน์ พร้อมด้วยเสนางคนิกรพิริยโยธาหาญพลดาบเขนขนัดแน่น แสนเสโลห์โตมรมาศทวนทองทิวแถวดาษดา ดูมโหฬารเลิศพันฦกอธึกด้วยธวัชธงฉานธงไชย รุจิตรไพโรจอำภรวิถี เดียรดาษด้วยทัพท้าวพระยารามัญรายเรียงเปนระยะ โดยกระบวนพยุหบาตราน่าหลังทั้งปวงพร้อมเสร็จ ได้เพลามหาสุภฤกษโหราธิบดีลั่นฆ้องไชย เจ้าพนักงานประโคมแตรสังข์กังสดาน ดลตรีศับท์ฆ้องกรองก้องสนั่นนฤนาท ตำเนินธงคลาพยุหโยธาทัพออกจากกรุงหงษาวดี รอนแรมมาเจ็ดวัน ข้ามแม่น้ำเมาะตมะเดินโดยทางสมี. ขณะนั้นมีหนังสือบอกเมืองกาญจนบุรีเข้ามาว่า ชาวด่านไปถึงด่านถึงตำบลจอยยะได้เนื้อความว่า สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดียกมาข้ามพลเมืองเมาะตมะถึงเจ็ดวันจึ่งสิ้น. สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชา บัญชาตรัสให้เทครัวเมืองตรีจัตวา แลแขวงจังหวัดเข้าพระนคร. แล้วมีพระราชกำหนฎขึ้นไปถึงเมืองพระพิศณุโลกย์ว่า ถ้าศึกหงษาวดีมาติดพระนครศรีอยุทธยาเมื่อใดให้สมเดจ์พระมหาธรรมราชาเอาทัพเหนือเปนทัพกระนาบ. แล้วตรัสให้พระยาจักรีออกตั้งค่ายตำบลสุมพลีพลหมื่นห้าพัน ล้วนใส่เสื้อแดงหมวกแดง ฝ่ายพระมหานาคบวชอยู่ณวัดภูเขาทอง ศึกออกรับตั้งค่ายกันทัพเรือ ตั้งค่ายแต่วัดภูเขาทองลงมาจนวัดป่าพลู. พวกสมกำลังญาติโยมทาษชายหญิงของมหานาคช่วยกันขุดคูนอกค่ายกันทัพเรือ จึ่งเรียกว่าครองมหานาค. เจ้าพระยามหาเสนาถือพลหมื่นหนึ่ง ออกตั้งค่ายบ้านดอกไม้ป้อมท้องนาหันตรา พลใส่เสื้อเขียวหมวกเขียว พระยาพระคลังถือพลหมื่นหนึ่ง ตั้งป้อมท้ายคู พลใส่เสื้อเหลืองหมวกเหลือง. พระสุนทรสงครามถือพลหมื่นหนึ่ง ตั้งค่ายป้อมจำปาพล ใส่เสื้อดำหมวกดำ. แลบันดาการพระนครนั้น ก็ตกแต่งป้องกันเปนสามาถ. ฝ่ายสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดียกทัพข้ามกาญจณบุรีถึงพระนครศรีอยุทธยา ณวันเสาร์เดือนสี่ขึ้นห้าค่ำ ตั้งค่ายหลวงตำบลกุ่มดอง. ทัพพระมหาอุปราชาตั้งค่ายตำบลพะเนียด. ทัพพระเจ้าแปรตั้งค่ายตำบลบ้านใหม่มขามหย่อง. ทัพพระยาพสิมตั้งค่ายตำบลทุ่งประเชด. ครั้นรุ่งขึ้นณวันอาทิตย์เดือนสี่ขึ้นหกค่ำ สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า จะเสด็จยกพยุหโยธาทวยหารออกไปดูกำลังฆ่าศึกณทุ่งภูเขาทอง. จึ่งทรงเครื่องราชอลังการยุทธ์ เสด็จทรงช้างต้นพลายแก้วจักรรัตน์ สูงหกศอกคืบห้านิ้วเปนพระคชาธาร ประดับคชาลังการาภรณ์เครื่องมั่นมีกลางช้างแลควาน ฝ่ายพระสุริโยไทยผู้เปนพระอรรคมเหษี ประดับองค์เปนพระยามหาอุปราชทรงเครื่องสำหรับราชรณรงค์ เสด็จทรงช้างพลายนาคพินายสุริยสำหรับกระษัตริย์ สูงหกศอกเปนพระคชาธาร ประดับคชาภรณ์เครื่องมั่นเสร็จมีกลางช้างแลควาน พระราเมศรรทรงเครื่องศรีธิราชปิลันทนาวะราภรณ์ สำหรับพิไชยยุทธสงครามเสร็จเสด็จทรงช้างต้นพลายมงคลจักระพาฬสูงห้าศอกคืบสิบนิ้ว ประดับคชาภรณ์เครื่องมั่นมีกลางช้างแลควาน. พระมหินทราธิราชทรงราชวิภูสนาลังกาภรณ์สำหรับพระมหาพิไชยยุทธรณรงค์เสด็จทรงช้างต้นพลายพิมานจักระพรรดิสูงห้าศอกคืบสิบแปดนิ้ว ประดับด้วยกุญชรอลงกฎเครื่องมั่นมีกลางช้างแลควาน. ครั้นได้มหาศุภวารฤกษราชดฤฐี พระโหราลั่นฆ้องไชยประโคมอุโฆศแตรสังข์อึงอินทเภรี. สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าก็ยาตราพระคชาธาร พระอรรคมเหษี แลพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์โดยเสด็จ. เหล่าคชพยุหะดั้งกันแทรกแซงดาษไป บ้างโลดเล่นเต้นรำระบำไป มีทหารประจำขี่กรกุมปืนปลายฃอประจำฅอทุกตัวสารควานประจำท้ายล้อมเปนกันกงโดยขนัด แล้วถึงหมู่พยุหะแสนยากรโยธาหารเดินเท้า ถือดาบดั้งเสโลโตมรหอกใหญ่หอกคู่ ธงทวนธนูปืนนกสับคับคั่งซ้ายขวาน่าหลังโดยขบวนคชพยุหะสงคราม. เสียงเท้าพลแลช้างสเทือนดั่งพสุธาดลจะทรุด. สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า เสด็จยืนพระคชาธารประมวลพล แลคชพยุหะโดยขะบวนตั้งอยู่ณโคกพระยา ฝ่ายกองกระเวนรามัญเหนดั่งนั้น ก็เข้าไปกราบทูลพระเจ้าหงษาวดีโดยได้เหนทุกประการ สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีตรัสว่า ชรอยจะเปนทัพพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ยกออกมาจะกระทำคชพยุหสงครามกับเรา พระองค์ตรัสให้ยกพลหลวงออกจากค่ายตั้งโดยกระบวน สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีทรงเกราะเครื่องพิไชยยุทธย่อมทับถมด้วยวิชาสาตรเวชคาถา แล้วสอดใส่พระมหาสุพรรณสังวาลประดับเพชร์พื้นถม สรรพคุณเวชคาถาต่างต่าง ทรงพระมหามาลาลงเลขยัญกันสรรสาตราวุธภยันตรายสำหรับราชรณรงค์ยุทธเสร็จ เสด็จทรงช้างต้นพลายมงคลปราบทวีปสูงเจ็ดศอกเปนพระคชาธาร ประดับคชาภรณ์เครื่องมั่นมีกลางช้างแลควาน เครื่องสูงสำหรับราชรณรงค์แห่โดยขนาด มีหมู่ทหารถือดาบดั้งหมื่นหนึ่งล้อมพระคชาธาร. พระเจ้าแปรประดับเครื่องอลังการเครื่องพิไชยยุทธ ทรงช้างต้นพลายเทวนาคพินายสูงหกศอกคืบเจ็ดนิ้วเปนพระคชาธาร ประดับคชาภรณ์เครื่องมั่นมีควานแลกลางช้างเปนกองน่า มีทหารดาบสองมือพันห้าร้อยล้อมพระคชาธาร. ช้างท้าวพระยารามัญคับคั่งตั้งโดยกระบวนกันกงเปนขนัด เหล่าพยุหโยธาหารเดินเท้าถือสรรพสาตราดาดาษโดยกระบวน. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีก็ยกพยุหโยธาทวยหารออกตั้งยังท้องทุ่ง ตรงหน้าทัพสมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าห่างกันประมาณร้อยเส้น เสด็จยืนพระคชาธารคอยฤกษ จึ่งตรัสให้พลม้ารำทวนชักชิงคลองกันไปให้เริงน่าทัพ. ฝ่ายพลเครื่องเล่นเต้นรำร้องเฮฮาเปนโกลาหล ฝ่ายพลดาบดั้งดาบสองมือก็รำฬ่อเลี้ยวกันไปมา. ขณะนั้นพระเจ้าหงษาวดีทอดพระเนตรดูอากาศ เหนพระอาทิตย์แจ่มดวงหมดเมฆหมอก แล้วคิชราชบินนำน่าทัพ ครั้นเหนศุภนิมิตร์ราชฤกษดั่งนั้น ก็ให้ลั่นฆ้องไชยอุโฆศแตรสังขอึงอินทเภรีขึ้นพร้อมกัน ก็ตรัสให้ขับพลเข้าโจมตีทัพสมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราช. ฝ่ายสมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชดำรัศให้แยกพลเปนปีกกา พลโยธาทั้งสองฝ่ายบ้างแห่โห่โกลาหล เข้าปะทะประจันตีฟันแทงแย้งยุทธ์ ยิงปืนระดมสาตราธุมาการตรหลบไปทั้งอากาศ พลทั้งสองฝ่ายบ้างตายบ้างลำบากกลิ้งกลาดเกลื่อนท้องทุ่งเปนอันมาก. สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ก็ขับพระคชาธารเข้าชนช้างกองน่าพระเจ้าหงษาวดี พระคชาธารเสียทีให้หลังแก่ข้าศึกเอาไว้ไม่อยู่. พระเจ้าแปรได้ท้ายข้าศึกดั่งนั้น ก็ขับพระคชาธารตามไล่ช้างพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า. พระสุริโยไทยเหนพระราชสามีเสียทีไม่พ้นมือข้าศึก ทรงพระกตัญูภาพก็ขับพระคชาธารพลายทรงสุริยกระษัตริย์สะอึกออกรับ พระคชาธารพระเจ้าแปรได้ล่างแบกถนัด พระคชาธารพระสุริโยไทยแหงนหงายเสียที พระเจ้าแปรจ้วงฟันด้วยพระแสงฃอง้าว ต้องพระอังษาพระสุริโยไทยขาดกระทั่งถึงราวพระถันประเทศ พระราเมศรวรกับพระมหินทราธิราชก็ขับพระคชาธารถลันจะเข้าแก้พระมารดาไม่ทันที ภอสมเดจ์พระชนนีสิ้นพระชนม์กับฅอช้าง. พระราเมศวร พระมหินทราธิราชพี่น้องทั้งสององค์ถอยรับข้าศึก กันพระสพสมเดจ์พระราชมารดาเข้าพระนครได้ โยธาชาวพระนครแตกพ่ายข้าศึกรี้พลตายเปนอันมาก. สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า จึ่งให้เชิญพระสพพระสุริโยไทยผู้เปนอรรคมเหษีมาไว้ตำบลสวนหลวง. ครั้นรุ่งขึ้นพระมหาอุปราชาแต่งพลเข้าตีค่ายพระสุนทรสงคราม พระสุนทรสงครามต่อรบข้าศึกเปนสามารถแต่เพลาเช้าจนพลบค่ำ ข้าศึกหนุนเข้าหักค่ายพระสุนทรสงครามแตก เสียค่ายแลป้อมจำปาพลตายบ้างลำบากบ้างเปนอันมาก. ครั้นเพลารุ่งขึ้นสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีทรงช้างต้นพลายกามกวมสูงเจ็ดศอกตัวทาแดง เสดจ์ยกพลมาทุ่งลุมพลี ให้ทหารเดินเท้าแซงตามทิวไม้ไปสองฟากทุ่ง เสดจ์ยืนช้างชี้พระหัดถ์ให้ทหารม้าห้าร้อยเข้ายั่วน่าค่ายพระยาจักรี พระยาจักรีก็ขับทหารออกรบ ฝ่ายนายทหารหงษาวดีซึ่งซุ่มแซงสองชายทุ่งนั้น เหนได้ที่ก็ยกออกโจมตีโอบลงไปเปนทัพกระหนาบจนใกล้ค่าย ทหารก็ดาไล่ตลุมบอนฆ่าฟันทหารพระยาจักรีล้มตายเปนอันมาก พระยาจักรีแลทหารทั้งปวงเสียทีก็ล่าทัพเข้าพระนคร. ครั้นได้ค่ายพระยาจักรีแล้ว สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีก็เสด็จกลับยังค่ายหลวง. ทหารม้าที่ได้ศีศะชาวพระนครไปประมาณสี่ส่วนที่มิได้ศีศะประมาณส่วนหนึ่ง สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีตรัสให้ปลูกร้านขึ้น แต่งเครื่องมัจฉะมังษาสุราบานให้รับพระราชทาน.ที่ไม่ได้ศีศะนั้นให้รับพระราชทานใต้ถุนร้าน ให้ทหารซึ่งรับพระราชทานบนร้านนั้นราดน้ำล้างมือลงมา ครบสามวันให้พ้นโทษ. ฝ่ายสมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าตรัสแก่มุขมนตรีว่า ทหารหงษาวดียังกำลังกล้ารื่นเริงอยู่ ทั้งเสบียงอาหารก็ยังไม่ขัดสน จำเราจะรักษามั่นไว้คิดการเดือน คอยทัพเมืองพระพิศณุโลกย์ ซึ่งจะลงมากระหนาบนั้นด้วย แล้วจะคิดเอาปืนใหญ่ล้างค่ายทำลายความคิดให้อ่อนลง จึ่งจะค่อยคิดการไชยชำนะเมื่อภายหลังเหนจะได้โดยง่าย มุขมนตรีทั้งหลายก็เหนด้วย. จึ่งเชิญปืนนารายน์สังหารลงสำเภาขันฉ้อขึ้นไปทางบ้านป้อม แต่งทัพปกป้องกันสองฝั่งฟากขึ้นไปถึงขนอนปากคู. ทหารขยับมาตั้งกองร้อยคอยเหตุอยู่ ก็เอาข่าวไปกราบทูลแก่สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีว่า ชาวพระนครขันฉ้อสำเภาขึ้นมา มีแม่ทัพปกป้องกันสองฝั่งฟาก เหนทีจะบันทุกปืนใหญ่ขึ้นมาล้างค่าย. ทูลยังมิทันขาดคำ ชาวพระนครยิงปืนนารายน์สังหารไป กระสุนตกลงในค่ายใกล้พลับพลาสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดี สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีให้เอากระสุนปืนมาบวงสรวงพลี แล้วให้เลิกไปตั้งค่ายหลวง ณทุ่งพุทธเลาอยู่สามวัน. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดี เสด็จทรงช้างพระที่นั่งกระโจมทอง ยกพลกองหลวงออกจากค่าย ข้ามโพสามต้นมาทางทุ่งพเนียด เสด็จยืนช้างอยู่ณวัดสามพิหาร ตรัสให้พระมหาอุปราชาต้อนพลเข้าหักพระนคร. จึ่งพระยายามให้เอาปืนนารายน์สังหารลงใส่สำเภาไม้รักษ์แม่นาง ขึ้นไปยิงค่ายสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดี ปืนถีบท้ายสำเภาจมลง กระสุนปืนขึ้นไปถูกกิ่งมหาโพธิใหญ่ประมาณสามกำเสศขาดตกลงใกล้ช้างพระที่นั่งสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีประมาณสามวา. ขณะนั้นชาวป้อมมหาไชย์ ก็ยิงปืนใหญ่ระดมมาต้องพลหงษาวดีตายมาก จะปล้นเอาพระนครก็ไม่ได้. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีก็เสด็จยกทัพกลับยังพลับพลา. ฝ่ายสมเดจ์พระมหาธรรมราชาแจ้งข่าวขึ้นไปว่า กองทัพสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีมาติดพระนครกรุงศรีอยุทธยา ก็เกนทัพเมืองพระพิศณุโลกย์ เมืองสวรรคโลกย์ เมืองศุโขไทย เมืองพิไชย เมืองพิจิตร เปนคนห้าหมื่นลงมาถึงเมืองไชยนาทบุรี ตั้งค่ายมั่นสองฝั่งฟาก แต่งกองร้อยลงมาสืบถึงแขวงสิงขบุรี ภอภบสมิงจครานสมิงมะสุมคุมทัพสามพันไปลาดหาเสบียง กองสอดแนมชาวเมืองพระพิศณุโลกย์เหนรามัญมากกว่าก็วิ่งหนี พวกรามัญเอาม้าไล่สกัดจับได้สองคนคุมตัวลงมาถวาย. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีตรัสถามนายมั่นปืนยาวนายคงหนวดให้การกราบทูลว่า สมเดจ์พระมหาธรรมราชาธิราชผู้ครองเมืองพิศณุโลกย์ แจ้งขึ้นไปว่าทัพกรุงหงษาวดีมาติดพระนครศรีอยุทธยา จึ่งยกพลเมืองพระพิศณุโลกย์ เมืองสวรรคโลกย์ เมืองศุโขไทย เมืองพิไชย เมืองพิจิตร เปนคนห้าหมื่นลงมาช่วยตีกระหนาบ บัดนี้มาตั้งอยู่ไชยนาทบุรี แต่งให้พันโจมจัตุรงค์ พันยงใจหาญคุมข้าพเจ้าคนร้อยหนึ่งมาสืบทัพ. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีแจ้งดั่งนั้นแย้มพระโอษฐแล้วตรัสว่า อ้ายสองคนนี้ให้โกนศีศะเสีย ปล่อยขึ้นไปให้ทูลพระมหาธรรมราชาธิราชว่า ซึ่งจะลงมาเปนทัพกระหนาบนั้นเราคอยอยู่. ถ้ามิลงมาให้มั่นไว้จะขึ้นไปหา. สมิงจครานรับสั่งสมเดจ์พระเจ้าหงษาวะดี ก็เอาตัวนายมั่นปืนยาวนายคงหนวดไปโกนศีศะแล้ว คุมขึ้นไปปล่อยถึงแขวงสิงขบุรี. นายมั่นนายคงก็ขึ้นไปถึงไชยนาท ให้ขุนนางนำเฝ้ากราบทูลเนื้อความ ซึ่งสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีสั่งมานั้นให้ทราบทุกประการ สมเดจ์พระมหาธรรมราชาตรัสถามว่า เองเข้าไปถึงสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีนั้นเหนรี้พลประมาณเท่าใด นายมั่นปืนยาวนายคงหนวดกราบทูลว่า ข้าพเจ้ามิได้เที่ยวเหนแต่วงค่ายหลวงนั้น ภอเต็มทุ่งพุทธ. สมเดจ์พระมหาธรรมราชาจึ่งตรัสแก่มุขมนตรีว่า ซึ่งสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีตรัสสั่งมาทั้งนี้เหนจะจริงฤๅ มุขมนตรีทั้งปวงกราบทูลว่า สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีลิ้นดำองค์นี้ ได้ยินเล่าฦๅกันว่า ตรัสสิ่งใดเปนสัจจริง. สมเด็จพระมหาธรรมราชาตรัสว่า อันการสงครามจะฟังเอาเปนสัจจริงนั้นยากนักเกลือกเกรงเรากระหนาบแลหากสำทับไว้จะเลิกทัพไปโดยทางมา จะจำแต่งทับลงไปตั้งรอไว้ดูที. แล้วตรัสให้ทัพพระยาสวรรคโลกย์ พระยาศุโขไทยสองทับคนสองหมื่นยกลงไปเมืองอินนบุรี. ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าหงษาวดี ตรัสให้สั่งมหาอุปราชาให้ตีค่ายทุ่งหันตราเสีย จะได้คิดการบาญชีเมือง. รุ่งขึ้นณวันอังคารเดือนสี่แรมสามค่ำเพลาเช้าตรู่ พระมหาอุปราชาก็ยกพลทหารไปตีค่ายเจ้าพระยามหาเสนา ๆ นายทัพนายกองต่อสู้เปนสามารถ ข้าศึกเอามิได้ พระมหาอุปราชาโกรธ เสด็จบ่ายช้างไปยืนตรงน่าค่ายห่างกันประมาณสามเส้น ให้ประกาษแก่นายทัพนายกองว่า มิได้ค่ายเพลานี้จะตัดศีศะเสียบเสีย. นายทัพนายกองกลัว ก็ต้อนพลทหารดาบดั้งหนูนแน่นกันเข้าไปฟันค่ายหักเข้าได้. เจ้าพระยามหาเสนานายทัพนายกองไพร่พลแตก ก็ลาดลงคลองน้ำค่ามไปฟากวัดมเหยงคณ์ ที่ป่วยเจ็บล้มตายในน้ำก็มาก. พระมหาอุปราชาก็ยกทัพกลับไปค่าย จึ่งเสด็จไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าหงษาวดีกราบทูลซึ่งมีไชยได้ค่ายให้ทราบทุกประการ ขณะนั้นไพร่พลในกองทัพขัดเสบียง แต่งกองทัพออกลาศหามิได้ ที่ได้บ้างซื้อขายแก่กันเปนทนานละเฟื้อง ท้าวพระยาพระหลวงหัวเมืองเอาเนื้อความกราบทูล สมเด็จพระเจ้าหงษาวดีตรัสปฤกษาดูความคิดท้าวพระยานายทัพนายกองทั้งปวงว่า เสบียงอาหารซื้อขัดสนอยู่แล้ว แล้วก็จวนเทศกาลฟ้าฝนจะทำการมิได้ จำจะคิดเลิกทัพกลับไป แต่ทว่าจะไปโดยทางใดดี ท้าวพระยามุขมนตรีปฤกษากราบทูลว่า ถ้าเสด็จไปทางเมืองกำแพงเพชร ออกด่านแม่ละเมาเล่า กองทัพฝ่ายเหนือก็ตั้งมั่นรับอยู่ณเมืองไชยนาท เกลือกราชการติดพันช้าไป ไพร่พลจะขัดสนโดยเสบียงอาหารเหนจะเสียท่วงที่. แม้นเสด็จไปทางกาญจนบุรีแรกมาเหนจะสดวก. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีตรัสว่า ซึ่งจะกลับไปทางกาญจนบุรีนั้นเหนจะขัดสนอีก ด้วยเหตุว่ากองทัพเรายกเหยียบเมืองมา เสบียงอาหารยับเยินสิ้นอยู่แล้วประการหนึ่งได้สั่งไปถึงพระมหาธรรมราชาว่าให้ลงมา ถ้ามิลงมาเราจะขึ้นไปตี แลพระมหาธรรมราชามิลงมานั้น ดีร้ายจะตั้งมั่นรับ แลผ่อนเสบียงอาหารลามาไว้มาก เหนสมคเนเราอยู่แล้ว ทำไมกับทัพพระมหาธรรมราชาเท่านั้น เพลาเดียวก็จะแตก จะได้เสบียงอาหารภอไพร่พลเราไม่ขัดสน ท้าวพระยานายทัพนายกองก็บังคมทูลว่า ทรงพระราชดำริหครั้งนี้ดีหาที่สุดมิได้. สมเด็จพระเจ้าหงษาวดีตรัสว่า ซึ่งเราจะล่าทัพไปครั้งนี้ จะต้องตีทั้งน่าทั้งหลัง. ด้วยเหตุว่าทัพพระมหาธรรมราชามาตั้งอยู่ไชยนาทบุรี เหนจะรู้ถึงพระมหาจักรพรรดิ สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิทราบพระไทยว่า ทัพพระราชบุตรเขยมาสลักกระหนาบอยู่แล้ว ดีร้ายจะแต่งทัพตามต้อนพลเราเปนมั่นคง. เราจะคิดเอาไชยชำนะทั้งน่าทั้งหลังให้ได้. ตรัสแล้วให้มีพระราชกำหนดให้ทัพพระยาพสิม พระยาละเคิ่ง ทัพพระยาสเรียง ทัพพระยาตองอู ทัพพระยาจิตรตองห้าทัพ ทัพละสามหมื่น เปนคนสิบห้าหมื่น ให้พระเจ้าแปรเปนแม่กองยกไป ถ้าภบทัพพระมหาธรรมราชาตั้งรับแห่งใดตำบลใด ให้ตีจงแตกแต่ในเพลาเดียว. ถ้าล่วงราศตรีไปจะเอาศีศะนายทัพนายกองเสียแทนเขลย. แลให้ทัพพระมหาอุปราชารั้งท้าว ถ้ามีทัพพระนครศรีอยุทธยาตามมาให้มีทัพฬ่อทัพซุ่มหุ้มจับเอาตัวนายทัพนายกองให้ได้เปนมาคนหนึ่งสองคน.ถ้ามิทำได้ดั่งนี้จะเอาตัวมหาอุปราชาเปนโทษถึงสิ้นชีวิตร แลให้นายทัพนายกองจัดแจงให้พร้อม อีกสามวันจะเลิกทัพจากพระนครศรีอยุทธยา. ๚ะ๏ ฝ่ายพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าแจ้งว่า สมเดจ์พระมหาธรรมราชายกกองทัพเมืองพระพิศณุโลกย์ เมืองสวรรคโลกย์ เมืองศุโขไทย เมืองพิไชย เมืองพิจิตร คนห้าหมื่นมาตั้งอยู่ไชยนาทบุรี ทัพน่าลงมาตั้งเมืองอินทบุรี สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวดีพระไทยนัก ก็ตรัสแก่มุชมนตรีว่า ถ้าสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีรู้ว่าทัพสมเดจ์พระมหาธรรมราชายกมาเหนจะไม่อยู่ช้า ดีร้ายจะเลิกไป ถ้าไปทางเหนือสมคเนเราจะได้กระทบน่าหลังซ้ำเติมถนัด เกลือกจะหลีกไปทางสุพรรณ กาญจนบุรี จะสลักซ้ำเติมไม่เตมที่. พระสุนทรสงครามกราบทูลว่า อันสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดี ประกอบด้วยกำลังสามประการ คือกำลังปัญญาหนึ่ง ความคิดหนึ่ง มีทหารกล้าหนึ่ง เหนไม่ไปทางสุพรรณ กาญจนบุรี ด้วยเหตุว่าเปนต้นทางมา เสบียงอาหารยับเย็นสิ้นแล้ว. เหนจะเดินทางเหนือหมายตีเอาเสบียงอาหารในกองทัพสมเดจ์พระมหาธรรมราชานั้นอีก. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวไม่เหนด้วย จึ่งตรัสว่าถ้าดั่งนั้น พระสุนทรสงครามสิเปนเจ้าเมืองสุพรรณบุรี ชัดเจนป่าทางให้คุมทัพห้าพัน ลอบออกไปเพลาค่ำพรุ่งนี้ ให้ตั้งชุ่มสลักคอยโจมตีทัพพระเจ้าหงษาวดีให้ได้เปนบำเหน็จมือมา ถ้ามิได้สลักสำคัญมาจะเอาตัวเปนโทษ. พระสุนทรสงครามก็โดยพระราชบัญชาถวายทานบลไว้. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวจึ่งตรัสว่า ถ้าพระเจ้าหงษาวดีเลิกทัพไปทางเหนือดุจคำพระสุนทรสงครามว่านั้น ผู้ใดจะไปตาม. จึ่งพระเจ้าลูกเธอพระราเมศวร พระมหินทราธิราชกราบทูลว่า ข้าพเจ้าทั้งสองขอยาตามตีทัพพระเจ้าหงษาวดีให้เปนบำเหน็จมือ. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวก็บัญชาตาม. ๚ะ๏ ครั้น ณวันอาทิตยเดือนสี่แรมเก้าค่ำ เพลาสองยามถึงกำหนด พระเจ้าแปร แลพระยาพสิม พระยาละเคิ่ง พระยาเสรียงพระยาตองอู พระยาจิตรตองก็เลิกทัพเดินเปนกองน่าทัพหลวง. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีก็เดินเปนอันดับ แลทัพพระมหาอุปราชาก็เดินกองหลัง. พระมหาอุปราชาแต่งม้า ๕๐๐ ให้อยู่รั้งท้ายคอยเหตุ. ถ้าเหนทัพตามมาประมาณพันหนึ่ง ให้ม้าไปบอกม้าหนึ่ง. ถ้าพลประมาณสองพัน ให้ม้าไปบอกสองม้า ถ้าพลประมาณสามพันสี่พันห้าพัน ก็ให้ม้าไปบอกสามม้าสี่ม้าห้าม้าเอาม้าเปนกำหนด. ๚ะ๏ ฝ่ายทัพน่านำเดินค่ามคลองบางแก้ว ไปตามทิวทุ่งลำแม่น้ำใหญ่เพื่อรี้พลช้างม้ามากจะได้อาไศรยน้ำ ครั้นเพลารุ่งเช้าชาวพระนครรู้ว่าทัพสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีเลิกไป มุขมนตรีก็นำเอากิจกราบทูลสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวว่า ทัพพระเจ้าหงษาวดีมิยกไปทางเมืองสุพรรณ์ กาญจนบุรี ไปทางแนวแม่น้ำใหญ่. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัว ก็ตรัสให้สมเดจ์พระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ คุมทัพหมื่นหนึ่งยกตาม. จึ่งพระราเมศวร พระมหินทราธิราชปฤกษากันว่า ซึ่งทัพล่าไปในวันหนึ่งสองวันนี้ เหนจะระวังนักจะคิดเอากองทัพรับเราเปนสามารถ อันจะรีบจู่โจมเข้าตีนั้นเหนจะเอาไชยชำนะยาก จะคอยสกดตามไปวันหนึ่งสองวันให้ประมาทลงก่อน ประการหนึ่งจะได้จวนกระทบทัพสมเดจ์พระมหาธรรมราชาพว้าพวังเปนสองฝ่าย เราจึ่งจะเข้าโจมตีเหนจะได้ไชยชำนะโดยง่าย ครั้นปฤกษากันแล้วก็ยกสกดตามไปแต่ห่าง ๆ ทางประมาณกึ่งวัน. ฝ่ายทัพกองน่าไปถึงเมืองอินทบุรี เหนค่ายใหญ่สองค่าย ก็กลับมาแจ้งนายทัพนายกอง. พระยาพสิม พระยาละเคิ่ง พระยาเสรียง พระยาตองอู พระยาจิตรตองดีใจ ต่างคนแต่งตัวขี่ช้างพลายกั้นสัปประทนต้อนพลเข้าตีค่าย พระเจ้าแปรทรงช้างมณีฉัตรกั้นพระกลดไปยืนให้ทหารเข้าหักค่าย. เหล่าทหารหงษาวดีก็เห่โห่ลั่นปืนแกว่งหอกดาบดาแข่งกันกรูเข้าถอนขวากหนามปีนป่ายหักค่ายเปนโกลาหล. ทหารในค่ายก็วางปืนใหญ่น้อยออกต้องพระยามอญพะม่าล้มตายเปนอันมาก ก็ยิ่งหนุนเนืองกันหนักเข้ามา เย่อค่ายแหกค่ายจนถึงได้แทงฟันกันเปนสามารถ. พลพม่ามอญก็เข้าค่ายได้ไล่ตลุมบอนฆ่าฟันกันตายเปนอันมาก. ซึ่งเหลือนั้นก็หนีกระจัดกระจาย ขึ้นมากราบทูลสมเดจ์พระมหาธรรมราชาโดยซึ่งเสียแก่ฆ่าศึกนั้นทุกประการ. ๚ะ๏ ภอผู้ลงไปสอดแนมฟังราชการ ณกรุงเทพพระมหานครกลับขึ้นมาทูลว่า ทัพพระเจ้าหงษาวดีเลิกขึ้นมาทางเหนือสิ้นแล้ว. สมเดจ์พระมหาธรรมราชาแจ้งว่า กำลังศึกกล้ามากเหลือกำลังดั่งนั้นเหนจะรับมิอยู่ คิดจะเลิกทัพเสียให้พ้นน่าศึก ซุ่มอยู่ณบ้านเนินฟากตะวันออกแล้ว จะคอยตามสกดตี. จึ่งตรัสกำหนดให้นายทัพนายกองเลิกออกจากค่าย ให้เปนหมวดเปนกองกัน. นายทัพนายกองก็ทำโดยพระราชบัญชาทุกประการ. ภอกองทัพพระเจ้าแปรยกมาถึงเหนค่ายเปล่า ก็ตั้งอยู่ณเมืองไชยนาท แล้วบอกลงมายังทัพหลวง ขณะเมื่อวันกองทัพน่าตีค่ายพระยาสวรรคโลกย์ พระยาศุโขไทยณเมืองอินทบุรีนั้น พระมหาอุปราชาตรัสปฤกษากับด้วยนายทัพนายกองว่า ทัพเราล่ามาถึงสองวันสามวัน ซึ่งทัพพระนครศรีอยุทธยามิได้ตามตีนั้น ชรอยจะคิดเกรงว่าเราแต่งทัพป้องกันระวังอยู่มิได้ประมาท จะคอยสกดตามสองวันสามวันให้เราประมาทก่อน. ประการหนึ่งจะให้ประทะทัพฝ่ายเหนือ ซึ่งตั้งอยู่ณเมืองไชยนาท เมืองอินท์บุรีจึ่งจะโจมตี ให้เราพว้าพวังเหนจะคิดดั่งนี้มั่นคง. จำจะซ้อนความคิดชาวพระนครศรีอยุทธยา จับเอานายทัพแลไพร่ไปถวายสมเดจ์พระราชบิดา ให้เปนบำเหน็ดมือจงได้. ตรัสมิทันขาดคำเหนม้าเร็วขึ้นมาสิบม้า พระมหาอุปราชาก็แจ้งว่า มีทัพตามมาประมาณหมื่นหนึ่ง จึ่งให้สมิงพัตเบิด สมิงพัตบะคุมทัพห้าพัน ม้าสองร้อยยกไปตั้งซุ่มสงบอยู่ตามทิวไม้ฟากทุ่งกำหนดว่า ถ้าเหนทัพตามมาอย่าเภอให้ตีก่อนให้ล่วงถลำขึ้นมา ต่อได้ยินเสียงปืนรบจึ่งให้โจมตี ก็ยกซุ่มอยู่ตามรับสั่ง แล้วก็เดินทัพขึ้นไปตั้งอยู่ทางประมาณสองร้อยเส้น. ฝ่ายพระราเมศวร พระมหินทราธิราชดำริหว่า วันนี้เหนทัพหงษาวดีจะถึงเมืองอินทบุรี จะได้ติดกับทัพฝ่ายเหนืออยู่แล้ว ก็เร่งรีบเดินทัพหวังจะโจมตี. ขณะนั้นสมิงพัตเบิด สมิงพัตบะเหนทัพยกมาก็สงบสังเกตดู เหนช้างที่นั่งหลังคาทองสองช้างก็แจ้งว่า เปนนายพล. ภอได้ยินเสียงปืนทัพพระมหาอุปราชา ก็ยกออกโจมตีเอาตรงช้างที่นั่งทัพชาวพระนครไม่ทันรู้ตัวก็แตกฉาน. เหล่ารามัญก็ล้อมจับเอาพระราเมศวรพระมหินทราธิราช กับมหาดเล็กท้ายช้างสองคนไปถวายสมเดจ์พระมหาอุปราชา ๆ ก็พาไปถวายสมเดจ์พระราชบิดา พร้อมกันกับคนพระเจ้าแปรซึ่งให้ลงมาทูลว่า ค่ายเมืองไชยนาทบุรีก็เลิกหนีไปแล้ว. ๚ะ๏ สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีดีพระไทย ก็เสดจ์ไปตั้งประทับแรมอยู่ณเมืองไชยนาท จึ่งให้เอาพระราเมศวร พระมหินทราธิราชเข้ามา แล้วตรัสว่า เจ้าทั้งสองสิเปนข้าศึกกับเรา บัดนี้เราจับได้แล้วจะคิดประการใดเล่า. พระราเมศวร พระมหินทราธิราชกราบบังคมทูลว่า ข้าพระองค์นี้จนอยู่แล้ว.จะฆ่าเสียก็จะตาย. ถ้าพระองคโปรดพระราชทานชีวิตรไว้ก็จะรอด. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีได้ทรงฟังก็แย้มพระโอษฐ. แล้วตรัสให้พระมหาอุปราชาเอาพระราเมศวร พระมหินทราธิราชไปคุมไว้. ๚ะ๏ ฝ่ายนายทัพนายกองซึ่งแตกจากทัพพระราเมศวร พระมหินทราธิราชก็กลับไปพระนคร เอาเหตุกราบทูล. สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าได้แจ้งดั่งนั้น ก็ตกพระไทยโทมนัศถึงสมเดจ์พระราชโอรสทั้งสองพระองค์นั้น. แล้วแต่งพระราชสาสนให้พระมหาราชครูปโรหิต ขุนหลวงพระเกษม ขุนหลวงพระไกรศรี ถือมาทางเรือขึ้นไปถึงเมืองไชยนาทบุรี. ท้าวพระยารามัญนำเข้าเฝ้าทูลถวายพระราชสาสนแด่พระเจ้าหงษาวดี. แลในลักษณสาสนนั้นว่า พระราชสาสนสมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าพระนครศรีอยุทธยา ขอจำเริญทางพระราชไมตรีมายังสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดี ผู้มีอิศรภาพใหญ่ยิ่งกว่าขัติยราชสามนตในชมภูทวีป ด้วยพระองคยกพยุหะโยธาทัพมากระทำยุทธนาการกับพระนครศรีอยุทธยา เปนที่สำเริงราชหฤไทยในบรมกระษัตราธิราชโดยบูรพประเพณี แลเลิกทัพไปโดยปรกติมิได้แพ้พ่ายฝ่ายโอรสแห่งข้ามิได้รู้ในเชิงไชยยุทธ ยกติดตามมาตีกองทัพพระองคจับไว้นั้น โอรสทั้งสองถึงซึ่งปราไชยอยู่แล้ว อุประมาดุจสกุณโบฎก อันต้องแร้วพเนจรใส่กรงขังไว้. ขอพระองค์อย่าได้มีอาฆาฎจองเวรเลย จงปล่อยโอรสแห่งข้าให้คืนพระนครก็จะเปนพระเกียรติยศแห่งพระองค์สืบไปตราบเท่ากัลปาวสาน. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีได้แจ้งในลักษณะพระราชสาสนดั่งนั้นก็แย้มพระโอษฐ แล้วตรัสแก่ผู้จำทูลพระราชสาสนว่า สมเดจ์พระเจ้าพี่เราให้มาอ่อนง้อฃอราชโอรสแล้วเราอนุญาตให้ จึ่งดำรัศสั่งพระราเมศวรพระมหินทราธิราชว่า เจ้าทั้งสองจงไปทูลแก่พระราชบิดาว่า เราฃอช้างพลายศรีมงคล ช้างพลายมงคลทวีปทั้งสองช้างไปชมเล่นกรุงหงษาวดี. ๚ะ๏ พระราเมศวร พระมหินทราธิราช แลผู้จำทูลพระราชสาสนก็กราบบังคมลาสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดี มายังพระนครศรีอยุทธยา สองพระองค์ก็กราบทูลพระราชบิดาว่า ซึ่งตามตีกองทัพกลับให้ข้าศึกจับไปได้ ให้เสียพระยศพระเกียรติ โทษผิดถึงสิ้นชีวิตรอยู่แล้ว ขอพระราชทานโทษครั้งหนึ่งก่อน. สมเดจ์พระราชบิดาก็ประทานโทษให้ พระราเมศวร พระมหินทราธิราชกราบทูลว่า สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีสั่งข้าพระองค์มาฃอช้างพลายศรีมงคล พลายมงคลทวีปซึ่งชนะงา. สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราช ก็ตรัสปฤกษาด้วยมุขมนตรีทั้งปวงว่า พระเจ้าหงษาวดีขอข้างพลายศรีมงคล พลายมงคลทวีปสองช้างควรจะให้ฤๅประการใด. ท้าวพระยามุขมนตรีกราบทูลว่า พระเจ้าหงษาวดีให้พระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์คืนมานั้น ก็เปนทางพระราชไมตรีอยู่ ชอบให้ช้างพลายสองช้างตอบไปจึ่งควร. สมเดจ์พระมหาจักรพรรติราชาธิราชเจ้า ก็ตรัสให้กรมช้างคุมรีบขึ้นไปถวายสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีณเมืองไชยนาทบุรี. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีตรัสให้พม่ามอญรับ แลช้างพลายศรีมงคล พลายมงคลทวีป เหนหมอควานผิดเสียง ก็อาละวาดเอาไว้มิอยู่ ไล่แทงช้างแทงคนวุ่นวายหทั้งกองทัพ. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีตรัสว่า เสียดายนักเหลือมือพะม่ามอญนัก ให้กรมช้างเอาคืนลงไปเถิด. กรมช้างกราบถวายบังคมลาลงมาพระนครศรีอยุทธยา ทูลประพฤษดิเหตุแก่สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทุกประการ. ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าหงษาวดีให้จ่ายเสบียงอาหารไพร่พลเสร็จแล้ว เสด็จยกทัพหลวงกลับไปเมืองหงษาวดี โดยทางกำแพงเพชรออกด่านแมละมาว. ฝ่ายสมเดจ์พระมหาธรรมราชา ก็เสด็จลงมาเฝ้ากราบทูลสมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ซึ่งได้รบกับทัพหงษาวดีทุกประการ. ครั้นกองทัพสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดียกไปแล้ว สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ให้แต่งการพระราชทานเพลิงศพพระสุริโยไทยซึ่งขาดฅอช้างเสร็จแล้ว สมเดจ์พระมหาธรรมราชาก็ถวายบังคมลากลับขึ้นไปยังเมืองพระพิศณุโลกย์. ฝ่ายสมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าให้สฐาปนาที่พระราชทานเพลิงนั้นเปนพระเจดีย์วิหารเสร็จแล้วให้นามชื่อวัดสพสวรรย์. ๚ะ๏ สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า ไพร่บ้านพลเมืองตรีย์จัตว่าปากใต้ เข้าพระนครครั้งนี้น้อยออกอยู่ป่ายห้วยเขาต้อนไม่ได้เปนอันมาก. ให้ยกเอาบ้านท่าจีนตั้งเปนเมืองสาครบุรี. ให้ยกเอาบ้านตลาดขวันตั้งเปนเมืองนนทบุรี. ให้แบ่งเอาแขวงเมืองราชบุรี แขวงเมืองสุพรรณบุรี ตั้งเปนเมืองนครไชยศรี. แล้วปฤกษาว่ากำแพงเมืองลพบุรี เมืองนครนายก เมืองสุพรรณบุรี สามเมืองนี้ควรจะล้างเสียฤๅจะเอาไว้. สมเดจ์พระเจ้าลูกเธอพระราเมศวร พระมหินทราธิราช กับมุขมนตรี พร้อมกันปฤกษากราบทูลว่า จะให้ไปรับทัพณหัวเมืองนั้น ถ้ารับได้ก็จะเปนคุณ ถ้ารับมิได้ข้าศึกจะอาไศรย ให้รื้อกำแพงเสียดีกว่า สมเดจ์อยู่หัวก็บัญชาตาม แล้วให้ตั้งพิจารณาเลขสมสังกัดพันสกันธลำเครื่องสองแสนเสศ. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๐๖ ปีมโรงฉศก ฝ่ายพระศรีศิลปผู้น้องพระยอดฟ้าพระองค์เอามาเลี้ยงไว้ จนอายุได้สามสิบสี่ปี จึ่งให้ออกไปบวชเปนสามเณรอยู่ณวัดราชประดิษฐาร พระศรีศิลป์มิได้ตั้งอยู่ในกระตัญูส้องสุมพวกพลคิดการกระบถ. ครั้นทราบจึ่งดำรัศสั่งเจ้าพระยามหาเสนา ให้เอาตัวพระศรีศิลปมาพิจารณาได้ความเปนสัจ หาประหารชีวิตรเสียไม่ ให้แต่คุมตัวไว้ณวัดธรรมิกราช หมื่นจ่ายวดเปนคนผู้คุม. ครั้นจวนเข้าพรรษา ทรงพระกรุณาตรัสว่า พระศรีศิลปซึ่งเปนโทษคุมไว้นั้น อายุได้อุปสมบทเปนภิกษุภาวะอยู่แล้ว ให้เอามาอุปสมบท. จึ่งทราบว่าพระศรีศิลปหนีก่อนนั้นถึงสามวัน ไปซุ่มพลอยู่ณม่วงมดแดง. ทรงพระกรุณาดำรัศให้เจ้าพระยามหาเสนาไปตาม. ๚ะ๏ ฝ่ายพระศรีศิลปให้ไปขอฤกษ์พระพรรณรัตน ณวัดป่าแก้ว ๆ ก็ให้ฤกษว่า ณวันเสาร์เดือนแปดขึ้นค่ำหนึ่งฤกษดีให้ยกเข้ามาเถิด. แลพระยาเดโช พระยาท้ายน้ำ พระยาพิไชยรณฤทธิ หมื่นภักดีสวรรค์ หมื่นไภนรินทร ซึ่งเปนโทษอยู่ก่อนจำไว้ในที่สงัด ให้หนังสือออกไปวันแรมสิบสามค่ำถึงพระศรีศิลปว่า สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวตรัสว่ารุ่งขึ้นวันสิบสี่ค่ำ จะให้เอาข้าพเจ้าทั้งห้าคนไปฆ่าเสีย ฃอให้พระองค์เข้ามาแต่ในกลางคืนวันนี้อย่าให้ทันรุ่ง. พระศรีศิลปก็ยกเข้ามาทางหอรัตนไชย. เจ้าพระยามหาเสนารู้ว่าพระศรีศิลปเข้ามา ก็ตามเข้ามาค่ามถ้าคอยภอช้างเผือกลงอาบน้ำ เจ้าพระยามหาเสนาก็ขี่ช้างเผือกออกมารบพระศรีศิลป ณถนนน่าบางตรา. พระศรีศิลปก็ร้องว่าเจ้าพระยามหาเสนาจะสู้เราฤๅ. เจ้าพระยามหาเสนาว่า พระราชกำหนดโทษพระองค์อันใด โทษข้าพเจ้าดุจฉันนั้นไสช้างเข้าชนกัน พระศรีศิลป์ตีด้วยฃอ เจ้าพระยามหาเสนาตกช้างลง พระศรีศิลปยกเข้าไปทางประตูเสาธงไชย เข้าพระราชวังได้. สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าไม่ทันรู้พระองค์ ลงเรือพระที่นั่งหนีขึ้นไปเกาะมหาพราม. พระศรีศิลปให้ถอดพระยาเดโช พระยาท้ายน้ำ พระยาพิไชยรณฤทธิ หมื่นภักดีสวรรค์ หมื่นไภนรินทร์ออก ฝ่ายพระราเมศวร พระมหินทราธิราชกับเสนาบดี พร้อมกันเข้ารบพระศรีศิลปจนถึงตลุมบอน ล้มตายเปนอันมากด้วยกันทั้งสองฝ่าย แต่พระศรีศิลปนั้นต้องปืนตาย. สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ก็เสดจ์คืนเข้าพระราชวัง. ครั้นรู้ว่าพระพรรณรัตนวัดป่าแก้วให้ฤกษพระศรีศิลปเปนแท้ ก็ให้เอาพระพรรณ์รัตนวัดป่าแก้ว แลพระยาเดโชพระยาท้ายน้ำพระยาพิไชยรณฤทธิ หมื่นภักดีสวรรค์ หมื่นไภนรินทร์ฆ่าเสียเอาไปเสียบไว้ณตแลงแก็งกับสพพระศรีศิลป. ๚ะ๏ ครั้งนั้นเมียน้อยขุนนางโจทว่า ผัวเข้าด้วยพระศรีศิลป แลคอยรับพระศรีศิลป ถามเปนสัจตรัสให้ฆ่าเสียเปนอันมาก. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๐๗ ปีมเสงสัปตศก สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปวังช้างตำบลไทรย้อยได้ช้างเผือกพลายสูงสี่ศอกสิบนิ้วช้างหนึ่ง ให้ชื่อพระรัตนากาศ. ๚ะ๏ ลุศักราช ๘๐๙ ปีมเมียอัฐศก เสด็จไปวังช้างตำบลป่าเพชบูร ได้ช้างเผือกพลายสูงสี่ศอกเสศ ให้ชื่อพระแก้วทรงบาท. แลในเดือนสิบปีมเมียนั้น เสด็จไปได้ช้างเผือกตำบลป่ามหาโพธิ ลูกเปนเผือกแม่เปนเผือกสองช้าง. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๐๙ ปีมแมนพศกเสด็จไปวังช้างป่าทเลชุบษร เปนเผือกสูงสี่ศอกห้านี้เชือกหนึ่ง ให้ชื่อพระบรมไกรษร. ครั้นณเดือนอ้ายปลายปี เสด็จไปได้ช้างเผือกตำบลป่าน้ำทรง สูงสี่ศอกคืบ ให้ชื่อพระสุริยกุญชร. ครั้งนั้นพระนครศรีอยุทธยาไพสาฬสมบูรณ ด้วยมีช้างเผือกถึงเจ็ดช้าง. พระเกียรติยศปรากฎไปในนาๆประเทศทั้งปวง มีกำปั่นลูกค้าเมืองฝรั่งเศศ เมืองอังกฤษ เมืองวิลันดา เมืองสุรัต แลสำเภาจีนมาค้าขายเปนอันมาก. สมเดจ์พระสังฆราชพระราชาคณะ เสนาพฤฒามาตยปะโรหิตถวายพระนามพระเจ้าแผ่นดินสมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชพระเจ้าช้างเผือก. กฤติศับทฤๅไปถึงกรุงหงษาวดีว่า พระนครศรีอยุทธยามีช้างเผือกถึงเจ็ดช้าง. ๚ะ๏ ฝ่ายสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีมีพระไทยจะใคร่ได้สักสองช้าง จึ่งมีพระราชสาสนแต่งให้สมิงโยคราชกับไพร่ร้อยหนึ่ง ถือมาพระนครศรีอยุทธยา มุขมนตรีนำเฝ้า. แลในลักษณสาสนนั้นว่า พระราชสาสนสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดี ผู้มีมเหศรศักดานุภาพปราบบุราราชธาณีน้อยใหญ่ให้ปราไชยไปทั่วทศทิศ อันท้าวพระยาสามนตราชโอนโมลิศนอบน้อมถวายสุวรรณบุพผบรรณาการจะนับมิได้. ฃอจำเริญทางพระราชไมตรีมายังสมเดจ์พระเชษฐาธิราชผู้ผ่านพิภพกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยา ด้วยแจ้งกฤติศรับทขึ้นไปว่า สมเดจ์พระเชษฐาเรา ประกอบด้วยบุญญาธิการเปนอันมากมีเสวตรกุญชรชาติพลายพังถึงเจ็ดช้าง. พระอนุชาท่านประสงคจะฃอช้างเผือกพลายสองช้างมาไว้เปนศรีกรุงหงษาวดีให้สมเดจ์พระเชษฐาเราเหนแก่ทางพระราชไมตรีอนุชาท่านเถิด. กรุงหงษาวดีกับพระมหานครศรีอยุทธยา จะได้เปนสำพันธมิตรไมตรีสนิทเสน่หา เปนมหาพสุธาทองแผ่นเดียวกันไปกราบเท่ากัลปาวสาน. ถ้าสมเดจ์พระเชษฐาเราจะถือทฤษฐิมานะ แลรักษช้างสองช้างยิ่งกว่าทางพระราชไมตรี ก็เหนว่ากรุงหงษาวดีกับกรุงศรีอยุทธยาขาดจากกันแล้ว น่าที่จะได้ร้อนอกสมณพราหมณามาตย์ประชาราษฎร. ๚ะ๏ สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าพระเจ้าช้างเผือก ได้แจ้งในลักษณพระราชสาสนดั่งนั้น ตรัสให้มุขมนตรีปฤกษา. มุขมนตรีปฤกษาว่า สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีลิ้นดำ อันเปนใหญ่ในรามัญประเทศพระองค์นี้ มีกฤษดาธิการผ่านแผ่พระเดชเดชานุภาพไปทั้งสิบทิศ แลให้มีพระราชสาสนเปนทางพระราชไมตรี มาฃอพระยากระกูลสองช้างโดยสุนทรภาพสวัศดี. แล้วสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดี ก็ไว้ทางพระราชไมตรี. ครั้งให้สมเดจ์พระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์มา พระเดชพระคุณมากมายอยู่ ควรจะให้ช้างจะได้เปนพระเกียรติยศไปในนานาประเทษ. ๚ะ๏ ฝ่ายพระราเมศวร พระยาจักรี พระสุนทรสงครามเจ้าเมืองสุพรรณบุรีปฤกษาว่า ช้างเผือกเปนศรีมงคลสำหรับเมืองพระนคร ซึ่งจะให้ไปนั้นไม่ควร. ถึงสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีมีไมตรีครั้งนั้น ก็ฃอช้างพลายศรีมงคล แลพลายมงคลทวีปซึ่งชนะงาทั้งสองช้าง. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวก็ให้แล้ว. หากทว่าเอาไปมิได้ แลซึ่งจะส่งพระยาช้างกระกูลไปนั้นจะเสียพระเกรียรติยศไป นานาประเทศจะว่า ให้โดยเกรงอานุภาพพระเจ้าหงษาวดี. เอาคำปฤกษาทั้งสองฉบับกราบทูลทรงพระกรุณาตรัสว่า ถ้าเรามิให้ช้างเผือกไป พระเจ้าหงษาวดียกทัพใหญ่มา ยังจะป้องกันพระนครได้ฤๅ. สมเดจ์พระเจ้าลูกเธอพระราเมศวร พระยาจักรี พระสุนทรสงครามกราบทูลว่า ถ้าศึกหงษาวดียกทัพใหญ่หลวงมาประการใดก็ดี ข้าพเจ้าทั้งสามคนนี้ จะขอประกันพระนครไว้. ๚ะ๏ สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวก็บัญชาตาม จึ่งให้มีพระราชสาสนตอบไป ในลักษณะพระราชสาสนนั้นว่า สมเดจ์พระมหาจักระพรรดิราชาธิราช รามินทรธิบดินทราเชนสุริเยนทรยโสดมรา ไชยสวรรยาธิปัตถวัลยราชทวาราวดีศรีอยุทธยามหาดิลกภพนพรตนราชธาณีบุรีย์รมย์อุดมด้วยมหาเสวตรกุญชรชาติอิศวรพงษพิษณุพงษอันประเสริฐ สนองทางพระราชไมตรีมายังสมเดจ์พระอนุชาเราผู้ผ่านพิภพกรุงหงษาวดี อันมีอิศวรราชฤทธิราชณรงค์ในรามัญประเทศทิศอัศฎงค์ต ด้วยมีพระราชสาสนมานั้นได้แจ้งแล้ว. แต่ทว่าเปนบูรพประเพณี ผู้ใดมีสมภารบารมีถึงที่บรมจักรแล้ว ก็มีจักรแก้วดวงแก้วมณีนางแก้วช้างแก้วม้าแก้วขุนพลแก้วขุนคลังแก้ว. ถ้าหาบุญบารมีไม่ ถึงผู้อื่นจักหาให้ก็รักษามิได้ ธรรมดาประเทศธาณีใดมีนางรูปงาม มีช้างเผือกช้างเนียมบ่อแก้วบ่อทอง ก็เปนประเพณีที่จะให้เกิดยุทธนาการ อย่าให้พระอนุชาเราน้อยพระไทยเลย ๚ะ๏ ทูตรับพระราชสาสนแล้วกราบถวายบังคมลาไปยังกรุงหงษาวดีถวายพระราชสาสน ทูลประพฤติเหตุทุกประการ. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีแจ้งในพระราชสาสนแลกิจจานุกิจทั้งปวงก็ตรัสว่า ขอบใจพระมหาจักรพรรดิ เราต้องประสงค์ช้างเผือกแต่สองช้าง ควรฤๅขัดทางพระไมตรีได้. อันพระนครศรีอยุทธยา กับกรุงหงษาวดี ตั้งแต่วันนี้ไปจะเปนประปักขกันแล้ว ๆ ตรัสปฤกษาด้วยท้าวพระยามุขมนตรีว่า เรายกไปพระนครศรีอยุทธยามิได้นั้น ด้วยเหตุสามประการ ประการหนึ่งพระนครศรีอยุทธยา มีน้ำล้อมรอบดุจเขาพระสิเนรุราช อันมีสีทันดรสมุทแวดล้อมเปนชั้น ๆ ประการหนึ่งขัดโดยเสบียงอาหารจะทำการปีมิได้. อนึ่งเมืองพระพิศณุโลกย์ เมืองสวรรคโลกย เมืองศุโขไทย เมืองกำแพงเพชร เมืองพิไชย ห้าเมืองนี้ก็ยังเปนกำลังกรุงเทพมหานครอยู่ ทั้งเสบียงอาหารก็บริบูนณ. ถ้าได้เมืองฝ่ายเหนือทั้งนี้ด้วยแล้ว พระนครศรีอยุทธยาไม่พ้นเงื้อมมือเรา จะเหนประการใด. มุขมนตรีทั้งปวงก็เหนโดยพระราชบริหาร. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีตรัสว่า เราจะยกครั้งนี้จะให้มากกว่าก่อนสามเท่า จึ่งให้มีพระราชกำหนดไปถึงพระเจ้าอังวะราชบุตรเขย พระเจ้าแปรผู้เปนราชนัดา พระเจ้าเชียงใหม่ แลท้าวพระยาหัวเมืองน้อยใหญ่ทั้งปวงว่า จะยกไปตีกรุงพระนครศรีอยุทธยา ให้เร่งบำรุงช้างม้ารี้พลไว้ ออกพรรษาแล้วให้ยกมาพร้อมกันณกรุงหงษาวดี. ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าอังวะ พระเจ้าแปร พระเจ้าเชียงใหม่ แลท้าวพระยาหัวเมืองทั้งปวง แจ้งในพระราชกำหนดแล้ว ก็เกณฑ์ทัพบำรุงช้างม้ารี้พลไว้สรัพ ครั้นออกพรรษาแล้ว ก็ยกทัพมาพร้อมกันณกรุงหงษาวดี. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๑๐ ปีวอกสัมฤทธิศก สมเดจ์พระเจ้ากรุงหงษาวดี เกณฑ์ทัพกรุงหงษาวดี กรุงอังวะ เมืองเชียงใหม่ เมืองพูกาม เมืองปรวน เมืองแปร เมืองละเคิ่ง เมืองจิตรตอง เมืองตองอู เมืองพสิม เมืองบัวเผื่อน เมืองเสรียง เมืองตะราง เมืองเมาะตะมะ เมืองเมาะลำเลิ่ง เมืองทวาย เปนคนเก้าสิบหมื่น. ช้างเครื่องเจ็ดพัน ม้าหมื่นห้าพัน ให้พระมหาอุปราชาเปนกองน่า ถือพลยี่สิบหมื่น ม้าสามพัน ช้างเครื่องพันห้าร้อย พระเจ้าอังวะเปนปีกขวา ถือพลสิบหมื่น ม้าพันหนึ่ง ช้างเครื่องห้าร้อย พระเจ้าแปรเปนปีกซ้าย ถือพลสิบหมื่น ม้าพันหนึ่ง ช้างเครื่องห้าร้อย พระเจ้าเชียงใหม่เปนกองหลัง ถือพลสิบหมื่น ช้างเครื่องห้าร้อย ม้าพันหนึ่งพร้อมเสร็จแล้ว. ๚ะ๏ ถึง ณวันพุทธเดือนสิบสองขึ้นสองค่ำ เพลารุ่งแล้วสองนาฬีกาหกบาท ได้สุภวารฤกษดิถี สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีก็สอดใส่สนองพระองค์ทรงสุวรรณมหาสังวาลย์เจ็ดสาย เฉวียงพระอังษาทรงกาญจนาไมยมาลาศอลงกฎวิจิตรพิพิธภูสิตากาญจนนิลรัตน์โดยขัติยเวสวิไสย สำหรับวิไชยราชรณยุทธเสรจ์ เสด็จทรงช้างพระที่นั่งพลายเทวนาคพินาย สูงหกศอกคืบห้านิ้ว เปนบรมอรรคราชยานประดับเครื่องนาเคนทราลังการาภรณบวรสัตพิธรัตน์ พร้อมด้วยหมู่สุรางคพลากรโยธาทวยหาร เปนขนัดแน่นแสนสารสินทพพาชีชาติราชมูลิกากรบวรองค์รักษกันกงทรงสรรพสาตราลังการานานาวิวิธภูษิตร พิพิธทวนธงเปนทิวท่องรัถยางค์เดียรดาษ ดูโอภาษพันฦกอธึกด้วยธวัชกลิ้งกลดอภิรุมบังสิริยส่องจำรัดคคนัมพรประเทศไพโรจดาษดา ด้วยท้าวพระยาเสนามาตยานิกรพิริยพฤนธเรียงรายระดับโดยขบวรพยุหบาตราซ้ายขวาน่าหลังทั้งปวงเสรจ์ ได้เพลามหามหุดิฤกษโหราลั่นฆ้องไชย ปะโรหิตาจาริย์เป่าสังขประโคมฆ้องกลอง กาหฬดลตรีศรับทอุโฆศนฤนาทนี่สนั่นดำเนินกระบวนธุชะโบกโบย เคลื่อนพยุหโยธาทัพหลวงออกจากกรุงหงษาวดีประทับรอนแรมมาเจ็ดเวนถึงเมืองเมาะตะมะ ดำรัสให้ค่ามพลเหนือเมืองเมาะตะมะห้าวันจึ่งสิ้น. แล้วยกมายี่สิบเวนถึงเมืองกำแพงเพชร์ สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดี ตรัสให้พระยาเชียงใหม่ ตั้งอยู่ต่อเรือรบกะจังเหลาคาสองร้อยลำ. ให้พระยาหริพุนไช พระยานครลำปาง ขึ้นไปเอาเรือเมืองเชียงใหม่เมืองนครเมืองลำพูน ถ่ายลำเลียงลงมาไว้ตำบลระแหงให้พร้อมแล้ว. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดี ก็เสด็จยกทัพหลวง ไปทางเมืองศุโขไทยตั้งค่ายประทับแรมให้หาพระยาศุโขไทย พระยาสวรรคโลกยมาเฝ่า ตรัสปราไสแลสั่งให้เตรียมทัพ แล้วเสด็จยกไปเมืองพระพิศณุโลกย์ ตั้งค่ายหลวงตำบลโทก แลค่ายทั้งนั้นก็ตั้งโดยกระบวน. ขณะเมื่อกองทัพพระเจ้าหงษาวดียกมาถึงปลายแดน. ๚ะ๏ สมเดจ์พระมหาธรรมราชาเจ้าแจ้งเหตุก็บอกข้อราชการ ให้เรือเร็วลงไปกรุงพระนครศรีอยุทธยาฃอกองทัพช่วย แล้วให้กวาดครัวอพยบแขวงเมืองเข้าเมืองพระพิศณุโลกย แลแต่งการป้องกันเมืองเปนสามารถ. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดี ยังมิได้สั่งให้เข้าล้อมเมือง ให้ทำแต่บันไดหกบันไดพาดไว้เปนอันมาก แล้วขุดดินปั้นก้อนใส่ชะลอมกองไว้ แต่ละกองสูงกว่ากำแพงเมือง. แล้วพระเจ้าหงษาวดีก็แต่งเปนรับสั่งเข้าไปว่า สมเดจ์พระเจ้าชะนะสิบทิศ เสด็จยกพยุหโยธามาทั้งนี้ จะลงไปพระนครศรีอยุทธยา. บัดนี้เสด็จมาเยือนเมืองพระพิศณุโลกย์ ให้อัญเชิญสมเดจ์พระมหาธรรมราชาน้องเรา ออกมาหาเราจะได้เจรจาความเมืองกัน. สมเดจ์พระมหาธรรมราชาเจ้าแจ้งดั่งนั้น ก็ตอบออกไปว่าแผ่นดินเปนของพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชพระเจ้าช้างเผือก แลข้าพระองค์จะออกไปเฝ้านั้นมิควร. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีตรัสให้ทูตกลับไปอีกว่า ถ้าน้องเรามิออกมาหาเรา เมืองพระพิศณุโลกยน้อยนัก แต่ทหารกองน่าก็คับเมือง. สมเดจ์พระมหาธรรมราชาเจ้าจึ่งนิมนต์พระสงฆสี่รูปออกไปฟังราชการ พระสงฆออกไปสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีให้นำพระสงฆ์ไปดูมูลดินแลบันไดหกบันไดพาด.แล้วให้เอาข่าวไปแจ้งแก่น้องเรา. ถ้าน้องเรามิออกมา จะให้ทหารถือมูลดินแต่คนละก้อนถมเมืองเสียให้เตมแต่ในชั่วนาฬิกาเดียว. พระสงฆไปดูแล้วกลับมาแจ้งแก่พระมหาธรรมราชาเจ้าโดยได้เหน. แลพระเจ้าหงษาวดีแจ้งมาทุกประการ สมเดจ์พระมหาธรรมราชาเจ้าจึ่งปฤกษามุขมนตรีว่าเราคอยกองทัพกรุงเทพมหานคร ช้าพ้นกำหนดอยู่แล้วก็ไม่ยกขึ้นมา อันศึกพระเจ้าหงษาวดียกมาครั้งนี้เปนอันมาก เสียงพลเสียงช้างเสียงม้าดั่งเกิดพยุหใหญ่ เหนเหลือกำลังเรานัก. ถ้าเราจะมิออกไป พระเจ้าหงษาวดีก็จะให้ทหารเข้าหักเหยียบเอาเมือง สมณชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎรจะถึงพินาศฉิบหายสิ้น ทั้งพระพุทธสาศนาก็จะเศร้าหมองดูมิควรเลย จำเราจะออกไป. ถึงสมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าพระเจ้าช้างเผือกจะทรงพระพิโรธประการใดก็ดี ก็จะตายแต่ตัว จะแลกเอาชีวิตสัตวให้รอดไว้. ๚ะ๏ ครั้นรุ่งขึ้น ณวันอาทิตยเดือนญี่แรมห้าค่ำ สมเดจ์พระมหาธรรมราชาเจ้า ก็เสด็จออกไปเฝ้า สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีตรัสว่า น้องเราไปด้วยเรา ให้เร่งเตรียมพลให้พร้อมในเจ็ดวัน. สมเดจ์พระมหาธรรมราชาเจ้าก็จัดพลสามหมื่นมาโดยเสด็จในกองทัพหลวง สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดี ก็เสด็จยกลงมาประชุมทัพณเมืองนครสวรรค์. ขณะเมื่อพระมหาธรรมราชาเจ้าบอกข้อราชการลงไปถึงกรุงเทพมหานครนั้น สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชพระเจ้าช้างเผือก ตรัสให้พระยาพิไชยรณฤทธิ พระยาวิชิตรณรงค ถือพลหมื่นหนึ่ง. ให้รีบขึ้นไปช่วยเมืองพระพิศณุโลกย แล้วพระเจ้าอยู่หัวก็กวาดครัวหัวเมืองตรีจัตวาเข้าพระนคร แลทัพพระยาพิไชยรณฤทธิ ทัพพระยาวิชิตรณรงค ยกไปถึงแดนเมืองนครสวรรค ได้ข่าวว่าเมืองพระพิศณุโลกย แลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวง พระเจ้าหงษาวดีได้สิ้นแล้ว. แล้วกองทัพพม่ามอญก็ลงมาถึงเมืองนครสวรรค์ พระยาพิไชยรณฤทธิ พระยาพิชิตรณรงคจะตั้งรับก็เหนไม่ได้. จึ่งปฤกษากันถอยลงไปทูลประพฤติเหตุ สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวว่า บัดนี้เมืองพระพิศณุโลกยแลเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวงสิ้นแล้ว. กองทัพพม่ามอญก็ยกล่วงลงมาตั้งอยู่ณเมืองนครสวรรค สมเดจ์พระมหาธรรมราชาลงมาด้วย. ๚ะ๏ สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชพระเจ้าช้างเผือกแจ้งดั่งนั้นก็เสียพระไทยนัก. จึ่งตรัสแก่พระราเมศวร พระยาจักรี พระสุนทรสงครามว่า ศึกพระเจ้าหงษาวดีก็ยกมาแล้ว ตัวท่านทั้งสามคนนี้จะคิดทำประการใด. พระราเมศวร พระยาจักรี พระสุนทรสงคราม บังคมทูลว่า บัดนี้กองทัพพม่ามอญ. ยังประชุมพร้อมมูลกันอยู่ไม่รู้กำลัง ถ้าลงมาใกล้พระนครไพร่พลบอบบางแล้วเมื่อใดจะยกออกตี. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวก็บัญชาตาม ตรัสให้จัดทหารเปนเหล่าเปนกอง ตั้งไว้กลางเมืองเปนสามกอง แล้วให้เร่งรัดตรวจตราซ่อมแปลงการ ซึ่งจะรักษาพระนครทั้งกลางวันกลางคืนเปนสามารถ. ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าเชียงใหม่ซึ่งตั้งต่อเรือกะจังเหลาคา อยู่ณเมืองกำแพงเพชรนั้นเสรจ์แล้ว ก็ยกทัพเรือรบเรือลำเลียง ลงมาบันจบทัพหลวงณเมืองนครสวรรค. เมื่อสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีจัดแจงทัพบกทัพเรืออยู่ณเมืองนครสวรรคนั้น ท้าวพระยานายทัพนายกองเฝ้าพร้อม จึ่งตรัสถามสมเดจ์พระมหาธรรมราชาว่า เราให้มีราชสาสนมาขอพระยาช้างตระกูลสองช้าง ควรหรือสมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชพระเจ้าช้างเผือกไม่ให้ รักษช้างยิ่งกว่าเสวตรฉัตรอีกเล่า ฤๅว่ามีผู้ใดทัดทาน. พระเจ้าน้องเรารู้ฤๅหาไม่. สมเดจ์พระมหาธรรมราชากราบทูลว่า ทราบอยู่. เดิมพระเจ้าแผ่นดินให้ปฤกษาว่า พระองค์ให้มีพระราชสาสนมาฃอพระยาช้างนี้ควรให้ฤๅไม่ควร เสนาบดีปฤกษาว่าควรให้. แต่พระราเมศวร พระยาจักรี พระสุนทรสงครามปฤกษาว่า ช้างเปนศรีพระนครไม่ควรให้. พระเจ้าแผ่นดินก็ได้ตรัสต่อว่า แม้นมิให้ช้างไป.ถ้าพระองคยกทัพใหญ่มา ยังจะป้องกันพระนครได้ฤๅ. พระราเมศวร พระยาจักรี พระสุนทรสงคราม รับประกันพระนครไว้ แลเหตุดั่งนี้พระเจ้าแผ่นดินจึ่งมิได้ส่งช้างไปถวายพระองค์. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีได้ทรงฟังดั่งนั้น ก็ทรงพระสวนแล้วตรัสว่า เปนธรรมดาคนโมหะจิตร มิรู้จักกำลังตนกำลังท่าน เหมือนสัตวสองจำพวก คือนกน้อยคือกระต่าย แลกระต่ายขาตัวสั้นเท่านั้นหมายว่า จะหยั่งท้องพระมหาสมุทได้ แล้วว่ายน้ำออกไปยังมิทันได้หยั่งก็จมน้ำถึงกาลกิริยาตาย. นกน้อยเล่าปีกหางก็เท่านั้น ชวนพระยาครุทธบินค่ามพระมหาสมุท แลบินไปเต็มภักของตัวยังมิได้กวักแห่งพระยาครุทธ์ ก็ตกน้ำทำกาลกิริยาตาย แลสัตวสองจำพวกนี้ เหมือนกับผู้ปฤกษาแลรับประกันพระนครไว้ สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีตรัสแล้ว รุ่งขึ้น ณวันพุฒเดือนยี่แรมสิบค่ำ ๚ะ๏ ศักราช ๙๑๑ ปีรกาเอกศก ก็เสด็จยาตราทัพลงมาพระนครศรีอยุทธยา แลทัพพระมหาอุปราชากองน่า ตั้งค่ายตำบลพะเนียด. ค่ายพระเจ้าแปรปีกซ้ายตั้งตำบลทุ่งวัดโพธารามไปคลองเกาะแก้ว. ทัพพระเจ้าอังวะปีกขวาตั้งค่ายตำบลวัดพุทไธสวรรยมาคลองตะเคียน. ทัพพระยาตองอูทัพพระยาจิตรตอง ทัพพระยาละเคิ่งเกียกกายตั้งค่ายแต่วัดท่าการ้องลงไปวัดไชยวัฒนาราม.ทัพพระยาพสิม ทัพพระยาเสรียงกองน่าทัพหลวงตั้งค่ายตำบลลุมพลี. ทัพหลวงตั้งตำบลวัดโพเผือกทุ่งขนอนปากคู. แลทัพสมเดจ์พระมหาธรรมราชาเจ้าก็ตั้งตำบลมขามหย่องหลังค่ายหลวง. แลทัพซึ่งตั้งรอบพระนครนั้น บันดาแม่น้ำห้วยคลองทั้งปวง ก็ทำตะพานเรือกเดินม้าเดินพลตลอดถึงกันสิ้น แต่ในวันเดียวนั้นเสรจ์.ฝ่ายข้าหลวงชาวพระนครผู้ตรวจการบลน่าที่เชิงเหินกำแพง แลดูข้าศึกตั้งค่ายทำสะพานดั่งนั้น ก็เอาคดีโดยได้เหนกราบทูลว่าเหนศึกครั้งนี้มากกว่าแต่ก่อนสามเท่าสี่เท่า สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชพระเจ้าช้างเผือกได้แจ้งดั่งนั้น เหนเหลือกำลังที่จะตั้งทัพออกตีข้าศึก ก็กำชับตรวจตรารักษาน่าที่ไว้เปนสามารถ. ๚ะ๏ สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดี เสด็จถึงกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาได้เจ็ดวันแล้ว ไม่เหนทัพผู้ใดออกมาต่อยุทธ. จึ่งแต่งพระราชสาสน์ในลักษณว่า พระราชสาสน์สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดี ผู้เปนอิศราธิปไตยถวัลย์ราชมไหยสวรรยในรามัญประเทศ ทรงพระราชกฤษฎาเดชานุภาพผ่านแผ่อาณาจักรขจรทั่วทิศานุทิศดั่งภาณุมาศ เมื่อมัชฌันติกะสมัยมาถึงสมเดจ์พระเชฐาเรา ผู้ผ่านพิภพกรุงเทพหวาราวดีศรีอยุทธยา ครั้งหนึ่งราชบุตรทั้งสองสมเดจ์พระเชฐายกพลโยธาทหารไปตัดท้ายพล น้องท่านจับได้ก็มิได้กระทำชีวิตรภอันตราย เพื่อจะเผื่อแผ่ผูกราชสัมพันธมิตรไมตรี ร่วมสามคีรศธรรมเปนสุวรรณปัถพีเดียวกันอันสนิท มิได้ร้าวฉานจนพระเชฐาธิราชให้มีพระราชสาสน์ขึ้นมาขอ. ฝ่ายน้องท่านก็ส่งราชบุตรมายังพระเชฐา แล้วยกกลับไปพระนครหงษาวดีรู้กฤติศรับท์ไปว่า พระเชฐาธิราชมีกฤษฎาภินิหารมาก กอปรด้วยเสวตรกุญชรชาติศุภลักษณะตระกูลพลายถึงเจ็ดช้าง จึ่งส่งทูตานุทูตจำทูลลักษณราชสาสน์สุนทรภาพสวัสดิ มาขอเสวตรกุญชรสองช้างไปไว้เปนศรีพระนครหงษาวดี พระเชฐามิได้อาไลยในราชสำพันธมิตรไมตรี กลับกล่าวกระทบท้าธรรมเนียมมาว่า พระนครใดมีนางรูปงาม แลช้างเผือกช้างเนียมเปนที่จะเกิดราชดัศกร. น้องท่านได้แจ้งจำเปนจึ่งต้องยกพยุหโยธาหาร มาตามลักษณะพระราชสาสน์ บัดนี้ก็มาเหยียบชานเมืองพระนครถึงเจ็ดวันแล้วไฉนจึ่งมิได้ออกมารณรงค์ โดยขัติยาภิรมยสำเริงราชหฤไทยบ้างเลย ให้เร่งยกพยุหโยธาออกมากระทำสงครามกันดูเล่นเปนขวันตา ฤๅไม่รณรงค์แล้ว ก็เชิญเสด็จออกมาสนทนากัน ถ้ามิออกมาก็อย่าให้พระเชฐาเราน้อยพระไทยเลย น้องท่านจะซิงเอาเสวตรฉัตรให้จงได้. ครั้นแต่งเสรจ์แล้วให้ทูตถือเข้าไป. ๚ะ๏ สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ครั้นได้แจ้งในลักษณพระราชสาสน์ จึ่งทรงพระดำริหว่า ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวง เหนเหลือมือเหลือกำลังทหารจะกู้พระนครไว้ได้ ถ้าเราจะมิออกไป สมณชีพราหมณอาณาประชาราษฎรไพร่ฟ้าข้าขอบขันธเสมา จะถึงแก่พินาศฉิบหายสิ้น. ทั้งพระสาศนาก็จะเศร้าหมอง จำเราจะออกไป มาทว่าสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีมิคงอยู่ในสัตยานุสัจดั่งราชสาสน์เข้ามานั้นก็ตามเถิด แต่เราจะรักษาสัตยานุสัจให้มั่น ทรงพระราชดำริหเท่านั้นแล้ว ก็ให้แต่งลักษณราชสาสน์กำหนดที่จะเสด็จ ให้ทูตานุทูตถือออกไปถวายพระเจ้าหงษาวดี แล้วตรัสให้เจ้าพนักงานออกไปปลูกราชสันท์คาร ณตำบลวัดเมรุราชิการามกับวัดหัสดาวาษต่อกัน มีราชบัลลังก์อาศน์สองที่นั่งสูงเสมอกัน หว่างพระที่นั่งห่างกันสี่ศอก แล้วให้แต่งรัตนัตยาอาศน์ สูงกว่าราชาอาศน์อีกที่นั่งหนึ่ง ให้เชิญพระศรีรัตนไตรยออกไปไว้เปนประธาน. ครั้นรุ่งขึ้นสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงเรือพระที่นั่งสุพรรณหงษ พร้อมด้วยมุขมนตรีกวีชาติราชครูโหราโยธาทหารข้ามไปเสด็จขึ้นบนพระที่นั่ง ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าหงษาวดี พร้อมด้วยท้าวพระยามุขมนตรีทั้งปวงเสด็จมา. สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าร้องอัญเชิญเสด็จ. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีเสด็จขึ้นบนพระที่นั่งแล้วตรัสว่า สมเดจ์พระเจ้าพี่เราให้อาราธนาพระพุทธปัฏิมากรเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า มาเปนประธานก็ดีอยู่แล้ว ขอจงเปนศักขีทิพพยานเถิด อันแผ่นดินกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยานี้ยกถวายไว้แก่สมเดจ์พระเจ้าพี่เรา แต่ทว่าน้องท่านให้ฃอช้างเผือกสองข้างพระเจ้าพี่มิได้ให้ บัดนี้น้องท่านต้องยกพยุหโยธาทหารมาโดยวิถีทุเรศกันดาร จะขอช้างเผือกอีกสองช้างเปนสี่ช้าง พระเจ้าพี่จะว่าประการใด. สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าก็ตรัสบัญชาให้. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีตรัสว่า จะฃอพระราเมศวรไปเลี้ยงเปนราชโอรส ถ้าพระเจ้าพี่เราให้เราแล้วจะยกทัพกลับไป. สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าตรัสตอบว่า ขอไว้เถิดจะได้สืบประยูรวงษ. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีตรัสตอบว่า พระมหินทราธิราชผู้น้องนั้น ก็จะสืบวงษ์ได้อยู่ อันจะเอาไว้ด้วยกัน ถ้าพระเจ้าพี่เราสวรรคตแล้ว ดีร้ายน้องจะหม่นหมองมีความพิโรธกัน สมณพราหมณมุขมนตรีอาณาประชาราษฎร์จะได้ความเดือดร้อน. สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ขัดมิได้ก็บัญชาตาม. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีตรัสว่า ขอพระยาจักรี พระสุนทรสงครามไปด้วยพระราชโอรส. สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าก็ยอมให้แล้วตรัสว่า อาณาประชาราษฎรหัวเมือง แลขอบขันธเสมา ซึ่งกองทัพจับไว้นั้นขอไว้สำหรับพระนครเถิด. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีก็บัญชาให้. สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าก็ตรัสสั่งสมเดจ์ พระเจ้าลูกเธอพระราเมศวร แลพระยาจักรี พระสุนทรสงคราม กับช้างพลายเผือกสี่ช้าง คือ พระคเชนทโรดม พระบรมไกรษร พระรัตนากาษ พระแก้วทรงบาท ให้สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดี แล้วเสด็จเข้าพระราชวัง. ๚ะ๏ สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีก็เสด็จไปพลับพลา สั่งให้ประกาษแก่นายทัพนายกองว่า อาณาประชาราษฎรพระนครศรีอยุทธยานั้นให้ปล่อยเสียจงสิ้น แล้วให้สมเดจ์พระราเมศวร พระยาจักรี พระสุนทรสงคราม เข้าไปรับบุตรภรรยา ทั้งสามก็เข้ารับบุตรภรรยา จึ่งถวายบังคมลาพระเจ้าแผ่นดินออกไปตามพระราชกำหนด. ฝ่ายพระเจ้าหงษาวดีมีพระราชบริหารดำรัสสั่งให้กองทัพน่าล่วงไปก่อนได้เจ็ดวันแล้ว ก็เสด็จยกทัพหลวงไปทางเมืองกำแพงเพชร สมเดจ์พระมหาธรรมราชาเจ้า ก็ตามไปส่งเสด็จสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีถึงเมืองกำแพงเพชร แล้วก็กลับมาเมืองพิศณุโลกย. ๚ะ๏ ขณะนั้นพระยาตานีศรีสุลต่าน ยกทัพเรือมาสองร้อยลำเข้ามาช่วยราชการสงคราม ถึงทอดอยู่น่าวัดกุดบางกะจะ รุ่งขึ้นยกมาทอดอยู่ประตูไชย พระยาตานีศรีสุลต่านได้ทีกลับเปนขบถ ก็ยกเข้าในพระราชวัง. สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าไม่ทันรู้ เสด็จลงเรือพระที่นั่งศรีสักกลาดหนีไปเกาะมหาพราม แลเสนาบดีมนตรีมุขทั้งปวงพร้อมกันเข้าในพระราชวัง สะพัดไล่ชาวตานีแตกฉานลงเรือรุดหนีไป. ฝ่ายมุขมนตรีทั้งปวง ก็ออกไปเชิญเสด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชพระเจ้าช้างเผือก เสด็จเข้าสู่พระราชนิเวศมหาสถาน. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๑๒ ปีจอโทศก พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตทราบว่า พระราชบุตรีพระสูริโยไทย ซึ่งขาดฅอช้างแก่กรุงหงษาวดีนั้นจำเริญไวยวัฒณาขึ้นแล้ว พระองค์ก็แต่งทูตานุทูตจำทูลพระราชสาสน์ คุมเครื่องมงคลราชบรรณาการมาถวายแก่สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชพระเจ้าช้างเผือก. ในลักษณพระราชสาสน์นั้นว่า ข้าพระองค์ผู้ผ่านพิภพกรุงศรีสัตนาคนหุต ขอถวายอภิวาทวันทนามายังสมเดจ์พระบิตุราชาธิราชผู้ผ่านพิภพกรุงเทพทวาราวะดีศรีอยุทธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธาณี บุรีรมย์อุดมพระราชมหาสถานมโหฬารอันยิ่ง เปนมิ่งมกุฎด้วยสัตวเสวตรกุญชรชาติตัวประเสริฐศรีเมือง. ข้าพระองค์ยังไม่มีเอกอรรคราชกัลยาณี ที่จะสืบศรีสุริยวงษในกรุงศรีสัตนาคนหุตต่อไปมิได้ ข้าพระองค์ขอพระราชทานพระราชธิดาอันทรงพระนามพระเทพกระษัตรี ไปเปนปิ่นสุรางคนิกรกัลยาในมหานคเรศปาจิณทิศเปนทางราชสำพันธมิตรไมตรี สุวรรณปัตพีเดียวกันชั่วกัลปาวะสาน. ๚ะ๏ สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชพระเจ้าช้างเผือกทราบในลักษณพระราชสาสน์ก็ให้ประชุมท้าวพระยามุขมนตรีปฤกษา ๆ ว่า กรุงพระมหานครศรีอยุทธยากับกรุงหงษาวดี ก็เปนอริชอกช้ำดุจวัณโรคอันมีในพระทรวงจะรักษาเปนอันยาก แลพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ก็เปนกรุงกระษัตริย์อันใหญ่ ได้มีพระราชสาสนนอบน้อมมาแล้วควรที่จะทรงพระกรุณาประทานให้. จะได้เปนทางพระราชสำพันธมิตรไมตรี เกลือกมีราชการงานพระราชสงครามภายน่า จะได้เปนมหากำลังยุทธนาการ. สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชพระเจ้าอยู่หัวก็เหนด้วย. ดำรัสให้ตอบพระราชสาสนขึ้นไปว่า ซึ่งสมเดจ์พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต มีพระไทยจะร่วมพระราชโลหิตเปนมหาสำพันธไมตรีนั้น สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือก อนุญาตแล้วให้แต่งมารับเถิด. ๚ะ๏ ฝ่ายทูตานุทูตรับพระราชสาสน์ กราบถวายบังคมลากลับไปยังกรุงศรีสัตนาคนหุต ถวายพระราชสาสน์ทูลประพฤติเหตุทุกประการ. พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตทราบดั่งนั้นดีพระไทยนัก ก็แต่งทูตานุทูตกับไพร่ห้าร้อย แลท้าวพระยานางเถ้านางแก่ลงมารับ. ขณะเมื่อทูตลงมาถึงนั้น ภอสมเดจ์พระเจ้าลูกเธอพระเทพกระษัตรีทรงพระประชวรหนัก สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือก. มิรู้ที่จะผ่อนผันฉันใดเลย จึ่งทรงพระราชจินตนาการว่า แม้นจะมีราชสาสน์บอกขึ้นไปโดยสัจไซ้ ไหนพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตจะเหนจริง ก็จะว่าเราเจรจาเปนสอง จะหม่นหมองคลองพระราชไมตรีไป ได้ออกวาจาแล้วจะให้เสียคำมิบังควร. พระองค์ก็ยกพระแก้วฟ้าพระราชธิดา ให้แทนองค์พระเทพกระษัตรี พระราชทานเครื่องราชูประโภคสำหรับอัคมเหษีกรุงกระษัตรีย พร้อมด้วยสนมสาวใช้ทาษกรรมกรห้าร้อยหญิงห้าร้อยไปด้วย. ทูตกราบถวายบังคมลา เชิญเสด็จพระแก้วฟ้าราชบุตรขึ้นไปถวาย. ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตแจ้งว่า ใช่องค์พระเทพกระษัตรีก็เสียพระไทยนักจึ่งตรัสว่า เดิมเราจำนงฃอพระเทพกระษัตรี ซึ่งเปนราชธิดาพระสุริโยไทย อันเสียพระชนม์แทนพระราชสามีกับฅอช้างเปนตระกูลวงษกระษัตริย์อันประเสริฐ ตรัสแล้วก็แต่งให้พระยาแสนพระยานครพระทิพมนตรี เปนทูตานุทูตให้มาส่งพระแก้วฟ้าราชบุตรีคืนยังกรุงพระนครศรีอยุทธยา แลมีพระราชสาสน์เครื่องราชบรรณาการมาถวายสมเดจ์พระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือกด้วย. ในลักษณะพระราชสาสน์ว่า เดิมพระองค์ประสาทพระเทพกระษัตรีให้ กฤติศรับท์นี้รู้ทั่วไปในนิคมชนบทขอบขันธเสมากรุงศรีสัตนาคนหุตสิ้นแล้ว บัดนี้พระองค์ส่งพระแก้วฟ้าราชบุตรี เปลี่ยนให้แทนนั้นถึงมาทว่า พระแก้วฟ้าราชบุตรี จะมีศรีสรรพลักษณโสภาคยยิ่งกว่าพระเทพกระษัตรีร้อยเท่าพันทวีก็ดี ยังไม่ล้างกฤติศรับท์พระเทพกระษัตรีเสียได้ ก็เปนที่อัปยศทั่วชั่วกัลปาวสาน ข้าพระองค์ขอส่งพระแก้วฟ้าราชธิดาคืน จงพระราชทานพระเทพกระษัตรีแก่ข้าพระองค์ ดุจมีพระราชสาสน์อนุญาตมาแต่ก่อน. สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือก แจ้งในลักษณะพระราชสาสน์แลส่งพระแก้วฟ้าคืนมาดั่งนั้น ก็ละอายพระไทยนัก พอพระเทพกระษัตรีหายประชวรพระโรค จึ่งตบแต่งการที่จะส่งพระราชธิดา แลเถ้าแก่กำนัลสาวใช้ทาสชายห้าร้อยหญิงห้าร้อย. ๚ะ๏ ครั้นถึงเดือนห้าศักราช ๙๑๓ ปีกุนตรีย์ศก จึ่งมีพระราชโองการดำรัสให้พระยาแมนคุมไพร่พันหนึ่งไปส่ง. พระยาแมนกับทูตานุทูตก็เชิญเสด็จพระเทพกระษัตรี ขึ้นทรงศรีวิกากาญจน์ยานุมาศ ไปโดยสถลมารคสมอสอ. ฝ่ายพระมหาธรรมราชาแจ้งว่า พระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือก จะส่งพระเทพกระษัตรีขึ้นไปศรีสัตนาคนหุต ก็ให้ม้าเร็วถือหนังสือไปถวายสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดี. ๆ ทราบก็แต่งให้พระตบะเปนนายกอง ฟ้าเสือต่ามมังกลอกหม่อคุมพลหมื่นหนึ่งรุดมาตั้งซุ่มคอยอยู่ตำบลมเริ่งนอกด่านเพชรบูร ออกสกัดตีชาวกรุงศรีสัตนาคนหุตนั้นแตกฉาน ได้พระเทพกระษัตรีไปถวายสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดี. ฝ่ายพระยาลาวซึ่งมารับพระเทพกระษัตรี ก็เอาคดีทั้งปวงไปกราบทูลพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตทุกประการ. พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตแจ้งประพฤติเหตุก็ทรงพระพิโรธว่า ซึ่งพระเจ้าหงษาวดีแต่งรี้พลมาสกัดรบชิงเอาพระเทพกระษัตรีไปทั้งนี้ก็เพราะเมืองพระพิศณุโลกยเปนต้น จำจะแก้แค้นให้ถึงขนาด. พระองค์ก็ให้บำรุงช้างม้ารี้พลจะยกไปเอาเมืองพระพิศณุโลกย์. ฝ่ายสมเดจ์พระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือกแจ้งก็ตรัสห้าม. พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตก็งดโดยพระราชโองการมิได้ยกไป. ๚ะ
13
๏ แผ่นดินพระมหินทราธิราช ๚ะ
๏ ครั้นลุศักราช ๙๑๔ ปีชวดจัตวาศกเดือนสิบสอง สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือก ก็ยกพระเจ้าลูกเธอพระมหินทราธิราช เสด็จขึ้นผ่านพิภพไอสูริย์ววรรยาธิปัติถวัลยราชประเพณีย์ ครอบครองแผ่นดินกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา. สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือกเสด็จไปอยู่วังหลัง ขณะนั้นพระชนม์ได้ ๕๙ พรรษา. ส่วนสมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน เมื่อเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ พระชนม์ได้ ๒๕ พรรษา สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือกเวนราชสมบัติแล้วถึงเดือนสามก็เสด็จขึ้นไปเมืองลพบุรีตรัสให้ปฏิสังขณอารามพระศรีรัตนมหาธาตุให้บริบูรณ แลแต่งผะขาวนางชีสองร้อยกับข้าพระ ให้อยู่รักษาพระมหาธาตุ. แล้วก็เสด็จลงมายังกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา. ครั้งนั้นเมืองเหนือทั้งปวงเปนสิทธิแก่พระมหาธรรมราชาเจ้า. อนึ่งการแผ่นดินในกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา พระมหาธรรมราชาบังคับบัญชาลงมาประการใด สมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินต้องกระทำตามทุกประการ ก็ขุ่นเคืองพระราชหฤไทยจึ่งเอาความนั้นกราบทูลสมเดจ์พระราชบิดา สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือกก็น้อยพระไทย. ขณะนั้นพระยารามออกจากที่กำแพงเพชร เอามาเปนพระยาจันทบูรี. สมเดจ์พระมหินทราธิราชก็ตรัสกิจราชการทั้งปวงด้วยพระยารามเปนความลับ. แล้วก็ส่งข่าวไปกรุงสัตนาคนหุตให้ยกมาเอาเมืองพระพิศณุโลกย. จึ่งพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ก็ให้บำรุงช้างม้ารี้พลสรัพจะยกมาเอาเมืองพระพิศณุโลกย. พระมหาธรรมราชาตรัสว่า พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตจะยกทัพมามิได้แจ้งในกล ก็ส่งข่าวมาทูลแก่สมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน ๆ ก็ให้พระยาศรีราชเดโช พระยาท้ายน้ำขึ้นไปช่วย. แต่สั่งเปนความลับไปว่า ถ้าทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตล้อมเมืองพิศณุโลกย์เมื่อใด ก็ให้กุมเอาพระมหาธรรมราชาจงได้ เสร็จราชการแล้วจะเลี้ยงท่านให้ถึงขนาด. พระยาศรีราชเดโชไปถึงเมืองพระพิศณุโลกย์มิไว้ความลับ กลับเอาคดีพระยารามกับสมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน คิดการเปนความลับนั้น ทูลแถลงแก่พระมหาธรรมราชาทุกประการ. พระมหาธรรมราชาแจ้งกระหนักก็ให้ข้าหลวงเอาข่าวรุดขึ้นไปทูลแก่พระเจ้าหงษาวดี. ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ก็ยกช้างม้ารี้พลยี่สิบแสนมาโดยทางเมืองนครไทย มายังเมืองพิศณุโลกย์. พระมหาธรรมราชาก็ให้กวาดครัวเมืองนอกทั้งปวงเข้าเมืองพระพิศณุโลกย์ แลแต่งการที่จะกันเมืองไว้พร้อมเสร็จ. ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ยกมาถึงเมืองพระพิศณุโลกย์ ณวันเดือนยี่แรมสิบสามค่ำปีฉลูเบญจศก ก็ตั้งทัพพลับพลาไชยในตำบลโพเรียงตรงประตูสวรรค์ ไกลออกไปประมาณห้าสิบเส้น. ทัพพระยาสุรินทคว่างฟ้าตั้งตำบลเตาหาย ทัพพระยามือไฟตั้งตำบลวัดเขาพราม ทัพพระยานครตั้งตำบลสระแก้ว ทัพพระยามือเหล็กตั้งตำบลบางสแก. ฝ่ายสมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้า กำหนดว่า ทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตยกมายังเมืองพระพิศณุโลกย์แล้ว พระองค์ก็กรีธาพล เสด็จขึ้นไปทางชลมารค ตั้งทัพหลวงตำบลปากน้ำพิง. พระยาราม แลพระยาจักรีเปนกองน่าขึ้นไปตั้งตำบลวัดจุฬามนี แลทัพเรือจอดแต่วัดจุฬามนี ทั้งสองฟากน้ำตลอดลงไปจนทัพหลวงณปากน้ำพิง. แล้วก็บอกขึ้นไปว่า จะยกขึ้นไปช่วยกันเมืองพระพิศณุโลกย์. พระมหาธรรมราชาตรัสทราบการอยู่แล้ว ก็ให้นักการออกมาห้ามว่ามิให้เข้าไป. ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตแจ้งว่า สมเดจ์พระมหินทราธิราชยกกองทัพเรือขึ้นมาเหมือนกำหนดก็ดีพระไทย ตรัสให้ยกพลเข้าปีนเมือง แลแต่งทหารห่มเสื้อเหลืองสามพันหนุนพลเข้าไป. เจ้าน่าที่เชิงเทินก็สาดปืนไฟแหลนหลาวต้องชาวล้านช้างตายมากนัก. พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตเหนดั่งนั้น ก็เสด็จยกพลเข้ายืนช้างพระที่นั่งแฝงวิหารอยู่แทบคูเมือง ให้เจ้าน่าที่ทูบทูบังตัว ข้ามคูเข้าไปขุดถึงกำแพงเมืองพระพิศณุโลกย์. ผู้รักษากำแพงพุ่งอาวุธลงมามิได้ต้อง. จึ่งพระมหาธรรมราชาเสด็จไปยืนช้างพระที่นั่ง ตรัสให้ขุนศรีเอาพลอาษาห้าร้อยออกทลวงฟัน พลลาวก็พ่ายออกไป. พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตก็ถอยไปยังค่ายหลวง แลบัญชาให้นายทัพนายกองตั้งบาญชีเมือง. ฝ่ายสมเดจ์พระมหาธรรมราชาดำริหการที่จะทำลายทัพเรือ ก็ตรัสให้เอาไม้ไผ่ผูกแพกว้างสิบวา ยาวยี่สิบวาห้าสิบแพ แล้วเอาเชื้อเพลิงใส่เต็มบนหลังแพ. ชันน้ำมันยางราดรดทั่วไปทั้งนั้น แลให้แต่งเรือเร็วไว้สองลำสำหรับจะได้จุดเพลิง. ครั้นจัดการเสร็จ ณเดือนสี่ขึ้นสิบค่ำเพลาเดือนตก ก็ให้ปล่อยแพติดกันลงไปถึงคุ้งเหนือจัดจุฬามนี. เรือเร็วสองลำก็เอาเพลิงจุดเชื้อไฟบนหลังแพตลอดขึ้นมาทั้งสองข้าง เพลิงก็ติดรุ่งโรจเปนอันหนึ่งอันเดียว. ที่นั้นน้ำตื้นเชี่ยวก็พัดเร็วลงไป กองทัพเรือมิทันรู้ตัวเหนแพไฟเต็มแม่น้ำลงมาก็ตกใจ ลงเรือทันบ้างมิทันบ้าง. เยียดยัดคัดคั่งกันเปนโกลาหฬ. แพไฟก็ไหม้เรือต่อกันไป เสียเรือแลผู้คนตายเปนอันมาก เรือแลคนกองน่าที่เหลืออยู่นั้น ก็ร่นลงไปยังทัพหลวงณปากน้ำพิง. ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าหงษาวดีแจ้งข่าวว่า เมืองพระพิศณุโลกย์เกิดศึกก็ใช้พระยาภุกาม พระยาเสือหารมาเปนนายกองม้าพันหนึ่งพลพันหนึ่งรุดมาช่วยกันเมืองพระพิศณุโลกย์ เหนข้าศึกล้อมแล้ว ก็ตีหักเข้าด้านพระยามือเหล็กซึ่งตั้งในบางสแก. ทัพพระยามือเหล็กต้านมิได้ก็พ่ายแยกออกไป. พระยาภุกาม พระยาเสือหารก็ยกพลเข้าเมืองพระพิศณุโลกย์ได้. พระยาภุกาม พระยาเสือหารกับพลทหารชาวหงษาวดี ก็เข้าไปถวายบังคมพระมหาธรรมราชา พระมหาธรรมราชาก็ให้รางวัลแก่ผู้มาช่วยทั้งปวงเปนอันมาก.สมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินรู้ว่า พระเจ้าหงษาวดีให้กองทัพมาช่วยเมืองพระพิศณุโลกย์ เหนการศึกไม่สมหมาย แล้วก็เลิกกองทัพลงมายังกรุงพระนครศรีอยุทธยา. ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตเหนว่า จะเอาเมืองพระพิศณุโลกย์มิได้ ก็เลิกทัพจากเมืองพระพิศณุโลกย์คืนไปโดยทางบางลมุง ดอนชมภู. จึ่งพระยาภุกาม พระยาเสือหารทูลแก่สมเดจ์พระมหาธรรมราชาว่า ข้าพเจ้าทั้งสองจะขอออกไปตามตีทัพพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ให้แตกฉานเปนบำเหน็จมือ พระมหาธรรมราชาก็ตรัสห้ามว่า ศึกใหญ่มิได้แตกฉานล่าไปดั่งนี้ อันจะยกตามนั้นหาธรรมเนียมมิได้. พระยาทั้งสองก็ทูลว่า พระเจ้าหงษาวดีใช้ข้าพเจ้าทั้งสองมาคราวนี้ยังมิได้รบพุ่งเปนสามารถ. ครั้นข้าพเจ้ามิยกไปตามไซร้ เหนว่าพระเจ้าหงษาวดีจะเอาโทษ. พระมหาธรรมราชาตรัสว่า ท่านทั้งสองยกมาก็ได้ทำการรบพุ่งมีไชยอยู่แล้ว. แลซึ่งว่าพระเจ้าหงษาวดีจะเอาโทษนั้นเปนภารธุระเรา ถ้าท่านมิฟังจะขืนยกไปให้ได้เหนจะเสียทีข้าศึกเปนมั่นคง. พระยาภุกาม พระยาเสือหารมิได้ฟังบัญชา กราบถวายบังคมลาแล้ว ก็ยกพลออกไปตาม. ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตเมื่อล่าไปนั้น บัญชาให้พระยาแสนสุรินทคว่างฟ้า พระยานคร พระยามือไฟทั้งสามทัพนี้อยู่รั้งหลัง. ครั้นถึงตำบลวารีแลทางนั้นแคบ พระยาแสนสุรินทคว่างฟ้า พระยานคร พระยามือไฟ แต่งพลทหารซุ่มไว้สองข้างทาง แลขยับมาตั้งพลอยู่ห่างทางประมาณ ๓๐ เส้น แต่งม้าไว้คอยยั่วทัพอันตามไป. พระยาภุกาม พระยาเสือหาร ยกไปถึงตำบลวารีมิทันรู้ว่า ทัพใหญ่ตั้งรับอยู่ในที่นั้น เหนแต่ม้านั้นก็ไล่เข้าไป. ทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตก็ย่อพลออกรบปะทะกันจนถึงอาวุธสั้น. ฝ่ายทหารชาวล้านช้างอันซุ่มไว้เหนได้ที ก็ออกโจมตีกระหนาบทัพพระยาภุกาม ทัพพระเสือหารก็แตกฉาน. ทัพล้านช้างไล่ฟันพลหงษาวดีตายมากนัก นายม้าผู้ดีตายหลายคน. ทัพพระยาภุกาม พระยาเสือหาร เสียม้าแลเครื่องสาตราวุธเปนอันมาก ก็พ่ายคืนมาเมืองพระพิศณุโลกย์. ครั้นเสร็จการศึกพระยาศรีราชเดโชมิได้ลงไป ก็อยู่ด้วยพระมหาธรรมราชา. แต่พระท้ายน้ำหนีลงไปยังพระนครศรีอยุทธยา. ถึงณวันเดือนแปดปีขานฉศก สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือกก็เสด็จออกทรงผนวช ข้าราชการก็ออกบวชโดยเสด็จเปนอันมาก. ๚ะ๏ ฝ่ายพระมหาธรรมราชาทราบพระไทยกระหนักว่า พระมหินทราธิราชเปนเจ้าแผ่นดินคิดการทั้งปวงด้วยพระยารามยุยง แลสัญญาแก่พระเจ้าล้านช้างให้ยกมาเอาเมืองพระพิศณุโลกย์. พระองค์ก็มีหนังสือรับสั่งลงไปถึงสมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินว่า เมืองพิไชยหาเจ้าเมืองมิได้ จะขอพระยารามขึ้นมาเปนพระยาพิไชย. สมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน ครั้นตรัสทราบดั่งนั้นก็เคืองพระไทย. ฝ่ายพระยารามแจ้งดั่งนั้น กลัวพระมหาธรรมราชาจะส่งตัวไปหงษาวดี ก็ทูลแก่สมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินว่า ข้าพเจ้าได้ฟังซึ่งกิจการในเมืองพระพิศณุโลกย์นั้นว่า พระมหาธรรมราชาคิดการทั้งปวงเปนฝ่ายพระเจ้าหงษาวดี แลเอาเมืองเหนือทั้งปวงไปขึ้นแก่พระเจ้าหงษาวดีแล้ว บัดนี้จะย้ายเอาท้าวพระยาผู้ใหญ่ในพระนครไปยังหงษาวดีเล่า. แลจึ่งพระมหาธรรมราชาบังคับบัญชาพระองค์ลงมาเปนสิทธิดั่งนี้ข้าพเจ้าเหนมิควร. ถ้าแลศึกหงษาวดีมาถึงพระนครก็ดี ข้าพเจ้าฃอประกันตบแต่งการป้องกันพระนครไว้ให้ได้. สมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินเหนชอบด้วยก็บัญชาโดยพระยาราม. สมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน แลพระยารามก็เอายุบลคดีซึ่งคิดทั้งปวงนั้น กราบทูลแก่พระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือก แล้วอัญเชิญพระองค์ให้ทรงลาผนวชออกครองราชสมบัติ. พระเจ้าช้างเผือกก็มิได้รับ. จึ่งพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน แลพระยารามก็ทูลวิงวอนเปนหลายครั้งว่า บัดนี้ไภยจะมาถึงอาณาประชาราษฎรทั้งปวงแล้ว ขอทรงพระกรุณาเสด็จมาครองราชสมบัติ ดำรงประชาราษฎรทั้งหลายไว้ให้รอดเถิด. พระเจ้าช้างเผือกก็ตรัสบัญชาตามสมเดจ์พระโอรสาธิราชกราบทูลนั้น. จึ่งเสด็จลาผนวชในเดือนสี่แรมสิบสามค่ำ. ๚ะ
14
๏ แผ่นดินพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชครั้งที่สอง ๚ะ
๏ ลุศักราช ๙๑๖ ปีขานฉศก ฝ่ายพระเจ้าหงษาวดีแจ้งความว่า พระยาภุกาม พระยาเสือหารซึ่งให้มาช่วยกันเมืองพระพิศณุโลกย์ กลับเสียทัพแก่ชาวล้านช้างก็ทรงพระโกรธ แลให้ม้าใช้มาหาพระยาภุกาม. พระยาเสือหาร ๆ กลัวพระราชอาญาพระเจ้าหงษาวดี ก็ทูลวิงวอนพระมหาธรรมราชา เชิญเสด็จขึ้นไปช่วยขอโทษ. พระมหาธรรมราชาก็ทรงพระกรุณาแก่พระยาภุกามพระยาเสือหาร จึ่งภาพระนเรศวรราชบุตรเสด็จขึ้นไปถึงเมืองหงษาวดี ทูลขอโทษพระยาภุกาม พระยาเสือหารแก่พระเจ้าหงษาวดี ๆ ตรัสว่า มันทั้งสองนี้โทษถึงตายอยู่แล้ว แต่พระเจ้าน้องเราได้ขึ้นมาฃอแล้วเรายกโทษให้. พระมหาธรรมราชาก็โสมนัศรักษใคร่ในพระเจ้าหงษาวดีเปนอันมาก. ขณะเมื่อพระมหาธรรมราชาเสด็จไปกรุงหงษาวดีนั้น ข่าวแจ้งลงไปถึงกรุงพระนครศรีอยุทธยา. สมเดจ์พระมหินทราธิราชก็กราบทูลแก่สมเดจ์พระราชบิดาว่า พระมหาธรรมราชานี้มิได้สวามีภักดีต่อพระองค์แล้ว. ไปฝ่ายฝากไมตรีแก่พระเจ้าหงษาวดีถ่ายเดียว จำจะยกทัพรีบขึ้นไปเชิญเสด็จพระเจ้าพี่นาง กับราชนัดดาลงมาไว้ ณพระนครศรีอยุทธยา ถึงมาทว่าพระมหาธรรมราชาจะคิดประการใด ก็จะเปนห่วงอาไลยอยู่ อันพระมหาธรรมราชาเหนจะไม่พ้นเงื้อมมือพระหัตถ์. สมเดจ์พระราชบิดาก็เหนด้วย จึ่งตรัสให้พระยารามอยู่จัดแจงรักษาพระนคร. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวกับพระมหินทราโอรสาธิราช ก็กรีธาพลเสดจ์โดยชลมารคถึงเมืองพระพิศณุโลกย์ ก็รับสมเดจ์พระวิสูทธิกระษัตรี กับเอกาทฐรถอันเปนพระภาคีไนยราช แลครัวอพยบข้าหลวงเดิมซึ่งขึ้นมาแต่ก่อนนั้น. แล้วสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว กับพระมหินทราธิราช ก็เสดจ์ล่วงจากเมืองพระพิศณุโลกย์ ไปประทัพยังเมืองนครสวรรค์.จึ่งสมเดจ์พระมหินทราธิราชกราบทูลสมเดจ์พระราชบิดาว่า เมืองกำแพงเพชร์เปนทางศึกกำลังศึก จะขอทำลายเมืองกำแพงเพชรกวาดเทเอาครัวอพยบลงไปไว้ ณกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ถึงศึกมีมาก็จะได้หย่อนกำลังลง. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวก็ตรัสเหนด้วย ทัพหลวงก็ตั้งอยู่ณเมืองนครสวรรค์. สมเดจ์พระมหินทราธิราชก็ยกทัพขึ้นไปเมืองกำแพงเพชร์ ทัพหลวงตั้งค่ายอยู่แทบคู่เมือง. ๚ะ๏ ฝ่ายขุนอินทเสนา แลขุนนางต่างใจข้าหลวงซึ่งตั้งไปแต่พระพิศณุโลกย์นั้น แต่รู้ข่าวก็ตรวจจัดรี้พลแต่งกันเมืองกำแพงเพชร์เปนสามารถ ครั้นกองทัพเข้าตั้งแทบคูเมือง ก็แต่งพลทหารออกหักค่ายพระยาศรี ๆ ก็พ่ายแก่ชาวเมืองกำแพงเพชร์ จึ่งพระยาศรีก็แต่งการที่จะปล้นเมืองกำแพงเพชร์ ก็จัดชาวอาษาในหมวดพันตรีไชยพันหนึ่ง แต่งการสรับก็ยกเข้าปล้นเมืองในเพลากลางคืน. เมื่อแรกยกเข้าไปนั้น ชาวในเมืองสงบอยู่ละให้เข้าไปถึงเชิงกำแพงแล้ว ก็วางปืนไฟแลพุ่งสาตราวุธมาต้องชาวอาษา ๆ ก็พ่ายออกมา. แต่ยกเข้าปล้นเมืองถึงสามวัน รี้พลตายมากเหนจะเข้าเมืองมิได้. สมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้า ก็เลิกทัพหลวงคืนลงมายังเมืองนครสวรรค์. สมเดจ์พระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือก แลสมเดจ์พระมหินทราธิราชก็เสดจ์ลงมายังพระนครศรีอยุทธยา ส่วนพระยารามอยู่แต่งการซึ่งจะกันพระนคร แลในน่าที่กำแพงรอบพระนครนั้น ให้แต่งป้อมเพชร์แลหอรบรยะไกลกันเส้นหนึ่ง วางปืนใหญ่ไว้รยะแต่สิบวา ปืนบาเรียมจ่ารงมนทกรยะไกลกันแต่ห้าวา. อนึ่งกำแพงพระนครนั้นตั้งโดยขบวรเก่า แลยังไปรื้อลงตั้งในริมน้ำ พระยารามก็ให้ตั้งค่ายรายไปตามริมน้ำชั้นหนึ่ง แลไว้ปืนจ่ารงมนฑกสำหรับค่ายนั้นก็มาก. แล้วให้ตั้งหอโทนในกลางน้ำ ไกลริมฝั่งออกไปห้าวารอบพระนคร มิให้ข้าศึกมาตีริมพระนครได้. ๚ะ๏ ฝ่ายข้าหลวงในเมืองพระพิศณุโลกย์ ครั้นสมเดจ์พระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือก แลสมเดจ์พระมหินทราธิราชนำพระวิสุทธิกระษัตรีแลเอกาทฐรถกับครอบครัวอพยบข้าหลวงเดิมลงไปแล้ว ก็ขึ้นม้ารีบไปยังกรุงหงษาวดีกราบทูนแก่พระมหาธรรมราชาเจ้าทุกประการ พระมหาธรรมราชาได้แจ้งดั่งนั้นก็ตกพระไทย จึ่งเข้าไปเฝ้าพระเจ้าหงษาวดี เอาเหตูซึ่งพระยารามกับสมเดจ์พระมหินทราธิราชคิดการกันแต่ต้นจนมาหักหารรับพระวิสุทธิกระษัตรี ลงไปกรุงพระมหานครศรีอยุทธยานั้น ทูลแก่พระเจ้าหงษาวดีทุกประการ. พระเจ้าหงษาวดีแจ้งเหตุดั่งนั้นก็เคืองพระราชหฤไทย จึ่งตรัสแก่พระมหาธรรมราชาว่า ซึ่งกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาเสียสัตยานุสัจกลับเปนปะระปักข์ข้าศึกแก่พระเจ้าน้องเรานั้น จะละไว้มิได้ พระเจ้าน้องเราเร่งลงไปจัดแจงกองทัพเจ็ดเมืองเหนือ แลเสบียงอาหารไว้ให้สรัพ. เดือนสิบสองเราจะยกลงไป. พระมหาธรรมราชารับบัญชาพระเจ้าหงษาวดี แล้วก็ถวายบังคมลามายังเมืองพระพิศณุโลกย์ จัดแจงเสบียงอาหารช้างม้ารี้พลทั้งเจ็ดเมืองเหนือไว้. ฝ่ายพระเจ้าหงษาวดีให้บำรุงช้างม้ารี้พลสรัพ. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๑๗ ปีเถ้าสัปตศก ณวันพฤหัศเดือนสิบสองขึ้นสี่ค่ำ เพลารุ่งแล้วสองนาฬีกาหกบาท สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดี เสด็จทรงปริกโตทกธาราภิเศกเสรจ์เสด็จทรงเครื่องศิริราชวิภูสนาธารกาญจน์วิเชียรมาลียมณีมาศมงกุฎสำหรับพิไชยยุทธราชรณภูมเสรจ์ เสด็จทรงช้างต้นพลายชมภูทัตสูงหกศอกสองนิ้วผูกพระที่นั่งสุวรรณมหามณฑปเปนบรมอรรคยานพาหนะ พร้อมด้วยแสนสุรชาติโยธาพลากรเหี้ยมหารพลโล่เขนหวนธนูดูดิเรกมะเหาฬารนานาวุทธประภูศักดิสารสินธพจัตุรงคภาชียชาติพันฦกอธึกด้วยกาญจน์กลิ้งกลดอภิรุมบังสุริย์ไพโรจรุจิตร พิพิธปะฎาการธงไชยประฎาก. เปนขนัดแน่นไสวเดียรดาษ ด้วยท้าวพระยาพลากรกันกงริ้วรายระยะโดยขบวรบทจรพยุหบาตราซ้ายขวาน่าหลังทั้งปวงเสร็จ ได้เพลามหาวิไชยฤกษโหราลั่นฆ้องไชย ทวิชาจารย์เป่าสังข์ประโคมฆ้องกลองกาหฬกึกก้องนฤนาทนีสนันพสุธาดล. ดำเนินธวัชลิลาพลพยุห์แสนยากรทัพหลวง ออกจากหงษาวดี รอนแรมยี่สิบห้าเวนถึงแดนเมืองกำแพงเพชร เสด็จประทับเถลิงราชพลับพลาไชยราชาอาศน์. จึ่งดำรัศให้พระเจ้าแปรเปนนายกองทัพเรือณเมืองนครสวรรค์ แลพลพระเจ้าหงษาวดียกมาครั้งนั้น คือพลพะม่ามอญในหงษาวดี อังวะตองอูเมืองปรวนแลเมืองประแสนทวิเมืองกองเมืองมิตเมืองตาละเมืองหน่ายเมืองอูมวง เมืองละพัวบัวแสแลเมืองสรอบเมืองไทยใหญ่. อนึ่งทัพเชียงใหม่นั้นพระเจ้าเชียงใหม่ประชวร จึ่งแต่งให้พระแสนหลวงพิงไชเปนนายกองถือพลลาวเชียงใหม่ทั้งปวง มาด้วยพระเจ้าหงษาวดีเปนทัพหนึ่ง. แลกำหนดพลนั้นมีบาญชีร้อยหมื่น สมเดจ์พระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าเปนนายกอง ถือพลเมืองเหนือทั้งเจ็ดหัวเมือง มาด้วยพระเจ้าหงษาวดีเปนทัพหนึ่ง. ครั้นได้ศุภวารฤกษดิถีพระเจ้าหงษาวดีก็กรีธาพยุหโยธาทัพทั้งปวงลงมายังพระนครศรีอยุทธยา. พระเจ้าช้างเผือกแลพระมหินทราธิราชแจ้งข่าว ก็ให้ขับพลเมืองนอกทั้งปวงเข้าพระนคร แลได้แต่ในแขวงจังหวัด ซึ่งอยู่ใกล้พระนครทั้งสี่แขวงนั้นประมาณส่วน แลซึ่งมิได้เข้านั้นออกอยู่ป่าเปนอันมาก. อนึ่งพลเมืองเล็กน้อยทั้งปวงมิได้เข้าพระนคร แลออกอยู่ป่ามาก. ได้แต่ตัวเจ้าเมืองแลพลสำหรับเจ้าเมืองนั้นเข้ามาพระนคร. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวก็ให้พระยารามตรวจจัดพลสรรพายุทธขึ้นประจำน่าที่กำแพงรอบพระนคร แลค่ายทั้งปวงก็มั่นคงนัก. แล้วก็แต่งกองแล่นไว้ทั้งสี่ด้านรอบพระนครด้านละห้ากอง. ส่วนพระยารามนั้นตั้งกองทัพในท้องสนามหลวงเปนกองกลาง จะได้ยกไปช่วยทั้งสี่ด้าน. อนึ่งน่าที่ใดเปนน่าที่กวดขัน พระเจ้าอยู่หัวก็ไว้พระกลาโหม. แลพระพลเทพเมืองไชยนาท เมืองสุพรรณบุรี เมืองลพบุรี เมืองอินทบุรี เมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรี เมืองนครนายก เมืองสระบุรี เมืองพรหมบุรี เมืองสรรค์บุรี เมืองนครไชยศรี เมืองธนบุรี เมืองมฤท ทั้งนี้อยู่ประจำน่าที่แต่มุมหอรัตนไชยลงไปจนเกาะแก้ว ซึ่งมีแต่คูหาแม่น้ำกั้นมิได้. แลน่าที่สามด้านไซ้แต่ในไก่ไปถึงประตูไชย พระยาพระคลังเปนนายกองใหญ่. แต่ประตูไชยไปถึงวังไชย พระอินทรานครบาลเปนนายกองใหญ่. แต่มุมวังไชยไปถึงประตูชีขัน พระท้ายน้ำเปนนายกองใหญ่. แต่มุมศาลหลวงมาพระราชวัง แต่พระราชวังไปขื่หน้า พระยาธรรมาธิกรณ์เปนนายกองใหญ่ ถือพลทหารในทั้งปวงรักษาน่าที่. ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าหงษาวดียกทัพมาถึงกรุงพระนครศรีอยุทธยา ครั้นณวันพุทธเดือนอ้ายขึ้นค่ำหนึ่ง ตั้งทัพมั่นณตำบลลุมพลี. จึ่งพระยารามก็ให้เอาปืนนารายน์สังหารยาวสามวาศอก กระสุนสิบสองนิ้วลากไปตั้งในช่องมุมสพสวรรค์ ให้จังกายิงเอากลางทัพพระเจ้าหงษาวดี ต้องช้างม้ารี้พลตายมาก แลกระสุนนั้นไปตกใกล้พลับพลาพระเจ้าหงษาวดี พระเจ้าหงษาวดีก็ให้เอากระสุนขึ้นสรวงพลี แล้วก็เสด็จเลิกกองทัพมาตั้งณมหาพราม. ภอทัพบกทัพเรือถึงพร้อม จึ่งพระเจ้าหงษาวดี ก็ตรัสกำหนดให้ทัพทั้งปวงเข้าล้อมพระนคร. ในขื่น่าทิศบูรพ์ไซ้ ทัพพระมหาอุปราชา พระมหาธรรมราชา ทัพพระเจ้าอังวะ. ไปข้างทักสีน ทัพพระยาทะละ แลเจ้าฟ้าไทยใหญ่. แลพระยาแสนหลวงชาวเชียงใหม่ไปข้างปจิมทิศทัพพระยาพสิม แลทัพพระยาตองอู ทัพพระยาอไภยคามะนี. พระยาเลา พระยาพะตะบะ พระยาพะตะเบิดตั้งทิศอุดร. ฝ่ายทัพหลวงก็ยกมาตั้งณวัดมเหยงคณ์. แลทัพอันล้อมพระนครทั้งสี่ด้านนั้น เมื่อแรกยกเข้าล้อมนั้น ตั้งไกลริมน้ำออกไปประมาณสามสิบเส้น. แลเอาไม้ตาลทำค่ายพูนดินกันปืนใหญ่ กว่าจะตั้งมั่นคงลงได้. ชาวพระนครวางปืนใหญ่ออกไป ต้องพลพระเจ้าหงษาวดีตายมากนัก. ครั้นตั้งค่ายมั่นกันปืนใหญ่ได้แล้ว ประมาณสามสิบวัน ก็ยกเข้ามาตั้งค่ายอีกชั้นหนึ่ง ห่างค่ายเดิมสิบเส้น ยังประมาณยี่สิบเส้นจะถึงริมน้ำ. ชาวพระนครแต่งพลอาษาออกทลวงฟัน แล้ววางปืนใหญ่ออกไปต้องพลพระเจ้าหงษาวดี เมื่อตั้งค่ายนั้นตายมากนัก. แลนายทัพนายกองเหนจะตั้งค่ายในกลางวันมิได้ ให้ลอบเข้าตั้งกลางคืน ช้านานจึ่งตั้งค่ายชั้นนั้นมั่นลงได้. แล้วพระเจ้าหงษาวดีก็ให้ยกเข้าตั้งค่ายอีกชั้นหนึ่งเล่า ให้ถึงริมน้ำคูเมือง. แลค่ายชั้นนี้ตั้งยากนัก ด้วยชาวพระนครวางปืนใหญ่แลปืนจินดาจ่ารงค์มณฑกถนัดเต็มแม่นยำ. พลทั้งปวงต้องปืนไฟตายมากนัก จึ่งพระเจ้าหงษาวดีให้ขุดอุโมงค์ ให้พลทั้งปวงเดินเข้ามาเปนหลายแห่งหลายสาย ครั้นถึงริมแม่น้ำที่จะตั้งค่ายนั้น ก็ขุดเปนอุโมงค์แล่นหากันโดยน่าค่าย. แลลอบตั้งค่ายนั้นในกลางคืน แล้วห้ามพลทั้งปวงให้สงบมิให้มี่ฉาว. ฝ่ายในพระนครรู้ว่าชาวหงษาวดีขุดอุโมงค์เดิน ก็เอาปืนใหญ่ยิงออกไปมิได้ต้องข้าศึก ก็จัดกองอาษาออกไปทลวงฟัน ได้หัวเข้ามาถวายหลายครั้ง แลชาวหงษาวดีตั้งค่ายชั้นนั้นเปนเดือนเสศจึ่งตั้งได้. แต่พระเจ้าหงษาวดียกมาให้ตั้งค่ายล้อมเปนสามครั้ง ประมาณสองเดือนจึ่งเข้าล้อมได้ถึงริมแม่น้ำคูเมือง. ๚ะ๏ ฝ่ายสมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้า จึ่งตรัสแก่พระยารามให้มีศุภอักษรขึ้นไปถึงเมืองล้านช้าง ฃอกองทัพลงมาช่วย. พระยารามก็แต่งศุภอักษรโดยพระราชบริหารเสร็จแล้ว จึ่งแต่งให้ขุนราชเสนา ขุนมหาวิไชยกับไพร่ห้าสิบ ถือขึ้นไปยังเมืองล้านช้าง. เมื่อศึกหงษาวดียกมาล้อมพระนคร แต่ตั้งค่ายได้สามครั้ง พระเจ้าช้างเผือกเสด็จเลียบพระนครมิได้ขาด แลแต่งขุนหมื่นทหารอาษา ยกออกไปกองละพันสองพันทั้งที่ด้าน เปนหลายหมู่หลายกอง. ได้รบชาวเมืองหงษาวดี ซึ่งมาตั้งค่ายนั้นทุกวัน. แลได้ฆ่าพลชาวหงษาวดีตาย ได้หัวเข้ามาถวายก็มาก. ฝ่ายชาวหงษาวดีแม้นล้มตายเท่าใด พลทั้งปวงก็มิได้แตกฉาน ยกหนุนกันเข้ามานักหนา ป้องกันให้ตั้งค่าย. ครั้นตั้งค่ายมั่นล้อมทั้งสี่ด้านแล้ว พระเจ้าหงษาวดีก็ตรัสแก่มหาอุปราชา พระเจ้าแปร พระเจ้าอังวะ ท้าวพระยาทั้งหลายว่า เราไปรบเมืองทุกแห่งไซ้ ครั้นยกเข้าล้อมได้แล้วดั่งนี้ ก็แต่งการที่จะเข้าปีนปล้นเอาได้ด้วยฉับพลัน. แผ่นดินศรีอยุทธยานี้เปนราชธานีใหญ่หลวง เอาสมุทเปนคูคั่นรอบ ดุจเขาพระสิเนรุราช. อันมีแม่น้ำสีทันดรนัทีรอบขอบ แลที่จะปล้นได้ไซ้ เปนแต่ขื่น่าด้านเดียว. ถึงดั่งนั้นก็ดีจะปล้นเอาเหมือนนครทั้งปวงนั้นมิได้. แลซึ่งจะเอาอยุทธยาครานี้ เราจะแต่งการเปนงานปีจึ่งจะได้. ให้ท้าวพระยาทั้งหลายกำหนดให้แก่นายทัพนายกองทั้งปวงให้รักษาแต่มั่นไว้อย่าเภอรบพุ่ง. ให้แต่งการออกลาดหาเข้าไว้เปนเสบียง ไพร่พลทั้งปวงให้ครบปีหนึ่ง. แล้วจะให้สำหรวดเอาให้ถ้วนตัวคนจงทุกหมู่ทุกกอง ถ้านายทัพนายกองผู้ใด เสบียงพลนั้นมิครบถึงปีไซ้ จะให้ลงโทษแก่นายทัพนายกองผู้นั้นถึงสิ้นชีวิตร.จึ่งท้าวพระยาทั้งหลายก็แต่งพลไว้ประจำค่ายทั้งปวง แต่ภอรบพุ่งป้องกันน่าค่าย. แล้วก็แต่งพลออกไปลาดหาเข้าทุกหมู่ทุกกอง โดยพระราชกำหนด ก็ปลูกยุ้งฉางใส่เสบียงทั้งปวงไว้. ครั้นถึงกำหนดที่จะสำหรวด พระเจ้าหงษาวดีสำหรวดทุกทัพทุกกอง. แลเสบียงพลทั้งปวงนั้นก็ครบปีหนึ่งดุจราชกำหนด. แต่หมวดมะโดดข้าหลวงเดิมนั้นเสบียงมิครบปี พระเจ้าหงษาวดีให้ลงโทษถึงสิ้นชีวิตร. ขณะนั้นพระเจ้าช้างเผือกทรงพระประชวรหนัก ประมาณยี่สิบห้าวัน ก็เสดจ์สวรรคตในศักราช ๙๑๗ ปีเถาะสัปศก อยู่ในราชสมบัตินั้น ๒๒ ปี. ๚ะ
15
๏ แผ่นดินพระมหินทราธิราชครั้งที่สอง ๚ะ
๏ ครั้นพระเจ้าช้างเผือกสวรรคตแล้ว สมเดจ์พระมหินทราธิราชพระเจ้าแผ่นดินมิได้นำภาด้วยการศึก แลเสด็จอยู่ในพระราชวัง ไว้การทั้งปวงแก่พระยารามให้บังคับบัญชาตรวจทหารทั้งปวงเปนผู้รักษาน่าที่รอบพระนคร ขณะนั้นพระยารามขี่คานหามทอง มีมยุรฉัตร์ประดับซ้ายขวา แลพลทหารแห่น่าหลังเปนแน่นหนา แต่พลถือปืนนกสับนั้นเจ็ดร้อย เที่ยวเลียบน่าที่ทุกวัน แลเกนพลทหารออกมารบชาวหงษาวดีเปนสามารถ. ขณะนั้นพระยาจักรัตน์ถือพลทหารออกไปหักค่ายข้าศึก ณท้ายคู แลเผาค่ายน่าที่พระยาเกียรติได้ประมาณแสนหนึ่ง. พลศึกอันประจำค่ายพ่ายลงไป จึ่งพระยาเกียรติยกพลออกมารบ พระยาจักรัตน์รบถลำเข้าไปก็เสียตัวแลชาวอาษาทั้งปวงก็พ่ายเข้ามาพระนคร. พระยาเกียรติจับพระยาจักรัตน์ไปถวายแก่พระเจ้าหงษาวดี พระเจ้าหงษาวดีทรงพระโกรธแก่พระยาเกียรติ ตรัสแก่พระมหาอุปราชาว่า ซึ่งพระยาเกียรติมิได้รักษาค่ายให้มั่นให้ชาวพระนครออกมาเผาเสียได้. มิลงโทษพระยาเกียรติด้วยประการใด. พระมหาอุปราชาทูลว่า พระยาเกียรติเสียค่ายได้นายกองซึ่งถือพลออกมานั้น เหนว่าโทษพระยาเกียรติกลบลบกันจึ่งมิได้ลงโทษ. พระเจ้าหงษาวดีทรงพระโกรธแก่พระมหาอุปราชาว่า ถึงพระยาเกียรติจับได้นายกองก็ดี ยังมิคุ้มโทษ. แลมหาอุปราชาว่าคุ้มโทษแล้ว แลมิได้เอาโทษพระยาเกียรตินั้น เหนว่ามหาอุปราชามิได้เอาใจลงในการศึก. อย่าให้มหาอุปราชาอยู่บังคับบัญชาการศึกในทัพนั้นเลย จะไปแห่งใดก็ตามใจเถิด. ให้มหาอุปราชาเอาแต่ช้างตัวหนึ่ง คนขี่ท้ายกลางไปด้วย. นอกกว่านั้นอย่าให้เอาไป. พระเจ้าหงษาวดีก็ให้ขับมหาอุปราชาเสียแล้ว ก็ให้ลงโทษแก่พระยาเกียรติถึงสิ้นชีวิตร. พระมหาอุปราชากลับมายังทัพ สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดี ก็ใช้สนองพระโอษฐมาขับพระมหาอุปราชา ให้ไปจากทัพจงพลัน. ขณนั้นพระเจ้าแปร พระเจ้าอังวะ กลัวพระราชอาญาพระเจ้าหงษาวดี มิอาจจะทูลขอโทษพระมหาอุปราชาได้. พระมหาอุปราชาก็ให้มาทูลแก่พระมหาธรรมราชาว่า สมเดจ์พระราชบิดาทรงพระโกรธ ให้ขับเราเสียจากทัพ. แลพระเจ้าแปร พระเจ้าอังวะ. จะทูลขอโทษนั้นพ้นกำลังทูลมิได้. แลซึ่งจะช่วยเราครานี้ เหนแต่พระเจ้าพี่เรา ภอจะทูลขอโทษเราได้. เมื่อพระมหาอุปราชาให้มาทูลแก่พระมหาธรรมราชานั้น พระเจ้าหงษาวดีใช้สนองพระโอษฐมาเล่า ว่าให้พระมหาอุปราชาเร่งไปจงพลัน. พระมหาอุปราชากลัวพระราชอาญา ก็แต่งตัวจะขึ้นช้างไปจากทัพ. จึ่งพระมหาธรรมราชา ตรัสให้ข้าหลวงไปห้ามพระมหาอุปราชาว่า ให้งดอยู่เราจะไปทูลขอโทษก่อน พระมหาธรรมราชาก็เสด็จมาทูลขอโทษพระมหาอุปราชา. พระเจ้าหงษาวดีก็โปรดยกโทษให้. ขณะนั้นพระเจ้าหงษาวดี ให้พระเจ้าแปรยกทัพเรือลงไปโดยคลองตะพานขายเข้า ไปออกบางไซร. เลี้ยวขึ้นมาตั้งท้ายคู กันมิให้เรือขึ้นล่องเข้าออกได้. แล้วพระเจ้าแปรก็แบ่งทัพเรือลงไปลาดถึงเมืองนนทบุรี เมืองธนบุรี เมืองสาครบุรี. ๚ะ๏ ขณะนั้นสำเภาจีนจังจิ๋วมิทันรู้ว่า ศึกหงษาวดีมาล้อมพระนคร. ก็ใช้ใบเข้ามาถึงสันดอนหลังเต่า. พระเจ้าแปรรู้ก็ยกทัพเรือออกไป จะเอาสำเภาจีนจังจิ๋ว จีนจังจิ๋วรู้ว่าข้าศึกมาล้อมพระนคร แต่งทัพเรือลงมาลาด. จีนจังจิ๋วก็ใช้ใบสำเภาออกไป แลทัพเรือพระเจ้าแปรยกออกไป เหนสำเภาจีนจังจิ๋วคลาดออกไปตกฦกแล้ว จะตามเอามิได้ก็ยกทัพคืนมา. พระเจ้าหงษาวดีก็ทรงพระโกรธแก่พระเจ้าแปรว่า สำเภาจีนเข้ามาถึงปากน้ำแล้ว แลมิได้ติดตามออกไปเอาจงได้ ให้สำเภาจีนหนีไปรอดนั้นพระเจ้าแปรผิด. ตรัสให้เอาตัวพระเจ้าแปรทเวนรอบทัพแล้ว ให้คงเปนนายทัพเรือดุจดั่งเก่า. ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าหงษาวดี ก็แต่งทหารให้เข้าหักค่ายริมน้ำด้านประตูหอรัตนไชย พระยาราม แลพระยากลาโหม พระอินทรา พระมหาเทพ พระมหามนตรี แลพระหัวเมืองขุนหมื่นทั้งหลาย ช่วยกันเอาใจลงในราชการรบพุ่งป้องกัน มิให้ชาวหงษาวดีหักเข้ามาได้. แลพระมหาเทพแต่งพลอาษาทลวงฟัน ชาวหงษาวดีก็แตกฉานเปนหลายครั้ง. แลการศึกนั้นก็ช้าอยู่ พระเจ้าหงษาวดีทรงพระโกรธ ก็ให้เอานายทัพนายกองนั้นลงโทษ แล้วบัญชาการให้พระมหาอุปราชาไปตั้งค่าย ตำบลวัดเขาดินตรงเกาะแก้ว. พระเจ้าอังวะบุตรเขยนั้น ตั้งค่ายตำบลวัดตะพานเกลือ. พระเจ้าแปรผู้หลาน ตั้งค่ายตำบลวัดจันตรงบางเอียน. ให้เร่งถมดินเปนถนนข้ามแม่น้ำเข้าไป ให้ถึงฟากทั้งสามตำบลจงได้. พระมหาอุปราชา พระเจ้าอังวะ พระเจ้าแปรก็มาเร่งให้ทำตามรับสั่ง. ชาวพระนครเจ้าน่าที่เหนดั่งนั้น ก็เอาปืนใหญ่น้อยระดมยิงข้าศึกล้มตายเปนอันมาก. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีเสด็จไปทอดพระเนตรเหนยังไม่เปนถนนขึ้นได้ก็ตรัสว่า พระมหาอุปราชา พระเจ้าอังวะ พระเจ้าแปรสามคนนี้ จะให้พูนแต่ถนนค่ามคูเท่านี้ยังมิได้ ที่ไหนจะได้กรุงศรีอยุทธยาเล่า ถ้าตายลงสักคนหนึ่งคนใด จึ่งจะเปนถนนขึ้นได้. ตรัสเท่าดั่งนั้นแล้วเสด็จกลับไป. พระมหาอุปราชา พระเจ้าอังวะ พระเจ้าแปร ยิ่งเกรงพระราชอาญา. จึ่งดำริห์ให้เอาไม้โตนดทำทูบทูบังพลขนดินเข้าไปถมถนน. ชาวพระนครก็วางปืนใหญ่ออกมาทำลายทูบทู พลล้มตายเปนอันมาก. ผู้ตรวจการเหนดั่งนั้น ก็ไปกราบทูลพระเจ้าหงษาวดีทุกประการ. พระเจ้าหงษาวดีจึ่งตรัสถามผู้ตรวจว่า พลแบกมูลดินตายลงคนหนึ่ง จะเปนมูลดินสักกี่ก้อน. ผู้ตรวจการทูลว่า คนตายคนหนึ่ง เปนมูลดินประมาณเจ็ดก้อนแปดก้อน. พระเจ้าหงษาวดีจึ่งตรัสว่าเอาเถิด จงไปบอกเจ้าน่าที่ให้เร่งพลขนมูลดินถมถนนเข้าไปอย่าให้ขาดได้. ผู้ตรวจการก็มาทูลพระมหาอุปราชา พระเจ้าอังวะ พระเจ้าแปร ตามรับสั่งทุกประการ. พระมหาอุปราชา พระเจ้าอังวะ พระเจ้าแปร ก็เร่งให้พวกพลทั้งปวงขนมูลดินเข้าไปถมถนนนั้น ทั้งสามตำบลมิได้ขาดทั้งกลางวันกลางคืน. แลการพูนถนนนั้นถึงสามเดือน. จึ่งถึงฟากกำแพงพระนคร. ๚ะ๏ ฝ่ายพระยาราม พระยากลาโหม พระมหาเทพ เหนเชิงศึกแหลมเข้ามา ก็ให้ตั้งค่ายในกำแพงพระนครชั้นหนึ่งเปนวงพาด เอาปืนใหญ่ปืนมณฑกมาตั้งไว้ ณน่าค่ายนั้น. ฝ่ายพลอันอยู่น่าที่กำแพงเชิงเทินนั้น ก็ยังรบพุ่งป้องกันอยู่. พระเจ้าหงษาวดีให้ยกพลเข้ามาโดยถนนมุมเกาะแก้ว แล้วเอาทัพเรือมากระหนาบ เอาปืนจ่ารงค์มณฑกนกสับยิงแย้งระดมเจ้าน่าที่ดั่งห่าฝนซึ่งมุมเกาะแก้วนั้น. ชาวทหารอาษาซึ่งอยู่น่าที่มุมเกาะแก้วนั้น จะยิงรบพุ่งป้องกันมิได้ ก็พ่ายลงมายังค่ายซึ่งตั้งไว้นั้น. ชาวหงษาวดีรุกเข้ามาทลายกำแพงมุมเกาะแก้วได้. ขณะนั้นพระยารามก็สลดใจ จะบังคับบัญชาการศึกมิได้เปนสิทธิ์ดุจก่อน ก็คิดด้วยท้าวพระยามุขมนตรีทั้งหลายว่า จะป้องกันสืบไปเหนพ้นกำลัง แลจะแต่งออกไปให้เจรจาเปนไมตรี. ท้าวพระยามุขมนตรีทั้งหลายก็ว่า ซึ่งจะเปนไมตรีไซ้แต่ยังมิได้รบกันเปนสามารถ. แลซึ่งได้รบพุ่งจนพระเจ้าหงษาวดีเสียรี้พลเปนอันมากดั่งนี้แล้ว พระเจ้าหงษาวดียังจะรับเปนไมตรีฤๅ.ท้าวพระยาทั้งหลายก็มิลงด้วยพระยาราม. แต่นั้นมาท้าวพระยามุขมนตรีลูกขุนทหารทั้งปวง มิฟังบังคับบัญชาพระยาราม ต่างคนต่างรบพุ่งข้าศึก. สมเดจ์พระมหินทราธิราชพระเจ้าแผ่นดิน ก็มิเอาพระไทยลงในการสงคราม ละให้แต่มุขมนตรีทั้งหลายรบพุ่ง. ขณะนั้นพระมหาเทพถือพลอาษา อยู่รักษาน่าค่ายมุมเกาะแก้วที่กำแพงทลายนั้น. ข้าศึกหงษาวดียกเข้ามาปล้นค่ายเปนหลายครั้ง แลพระมหาเทพก็รบป้องกันไว้ ข้าศึกหักเข้าไม่ได้. อนึ่งพระเจ้าลูกเธอพระศรีเสาวราช เสดจ์มายืนช้างพระที่นั่งให้พลอาษาช่วยพระมหาเทพรบ แลแต่งทหารอาษาออกทลวงฟัน แล้วก็วางปืนใหญ่ยิงทแยงออกไป ต้องพลหงษาวดีตายเปนอันมาก ข้าศึกจะปล้นเอาค่ายนั้นมิได้ ก็ตั้งประชิดกันอยู่. ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าหงษาวดีทรงพระดำริห์ว่า กรุงพระนครศรีอยุทธยานี้ป้องกันเมืองเปนสามารถ ซึ่งจะหักเอาโดยง่ายนั้นยาก แล้วก็จวนเทศกาลฟ้าฝนจะลำบากไพร่พลนัก. ก็ตรัสด้วยพระมหาธรรมราชาว่า จำเราจะเพโทบายให้ถือหนังสือเอาตัวพระยาราม ผู้เปนเจ้าการป้องกันพระนครนั้นได้แล้วก็จะเบามือลง เหนจะได้เมืองถ่ายเดียว. พระมหาธรรมราชาเหนด้วย ก็แต่งนายก้อนทองข้าหลวงเดิม ให้ถือหนังสือลอบเข้าไปถึงขุนสนมข้าหลวง ซึ่งสมเดจ์พระเจ้าช้างเผือกไปเอาลงมาแต่เมืองพระพิศณุโลกย กับด้วยพระวิสุทธิกระษัตรีย์นั้น ขุนสนมก็ส่งหนังสือนั้นเข้าไป ถวายแก่พระเจ้าอยู่หัวฝ่ายใน. แลในลักษณหนังสือนั้นว่า พระเจ้าช้างเผือกตรัสคิดด้วยพระยาราม ซึ่งแต่งการรบพุ่งป้องกันพระนคร ละให้เสียสัตย์คลองพระราชไมตรีนั้น. บัดนี้พระเจ้าช้างเผือกเสด็จสวรรคตแล้วยังแต่พระยาราม แลพระไทยพระเจ้าหงษาวดียังไปเสียคลองพระราชไมตรี ตรัสว่า ถ้าพระเจ้าแผ่นดินส่งตัวพระยารามผู้ก่อเหตุออกไปถวายแล้ว พระเจ้าหงษาวดีก็จะเปนไมตรี มิให้ยากแก่สมณพราหมณาจารประชาราษฎรทั้งปวง จะเลิกทัพกลับคืนไปเมืองหงษาวดี. จึ่งสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวฝ่ายใน ก็เอาหนังสือนั้นมาแถลง แก่พระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน. พระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน ได้ฟังโดยลักษณหนังสือนั้น ก็ให้หาท้าวพระยาพฤฒามาตย์ทั้งปวง มาประชุมกันปฤกษาว่า ซึ่งพระเจ้าหงษาวดี จะให้ส่งพระยารามออกไป แลจะเปนไมตรีนั้นยังเหนควรจะส่งพระยารามออกไปฤๅ ฤๅมิชอบ จึ่งท้าวพระยาพฤฒามาตย์ทั้งปวงปฤกษาว่า ถ้าพระเจ้าหงษาวดี จะเปนพระราชไมตรีจริง ควรจะส่งพระยารามออกไป อย่าให้ได้ยากแก่ประชาราษฎรทั้งหลาย. สมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน.ก็ตรัสให้แต่งหนังสือตอบออกไปว่า ถ้าพระเจ้าหงษาวดีจะเปนไมตรีสัจจริงดุจจะให้มีหนังสือเข้ามานี้ไซ้ ก็จะส่งพระยารามออกไป.จึ่งนายก้อนทองเอาหนังสือออกไปถวายแต่พระมหาธรรมราชา พระมหาธรรมราชาก็ตรัสใช้นายก้อนทองเข้ามาเล่าว่า พระเจ้าหงษาวดีจะเปนพระราชไมตรีสุจริตจริง ให้ส่งตัวพระยารามออกไปเถิด. ซึ่งจะเอาพระยามรามไว้จะให้ได้ยากแก่อาณาประชาราษฎรทั้งปวงนั้นดูมิบังควร ฝ่ายท้าวพระยามุขมนตรีทั้งหลายมิได้รู้กลพระเจ้าหงษาวดีสำคัญว่าจริง ก็พร้อมกันทูลพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน ให้ส่งพระยารามออกไปแก่พระเจ้าหงษาวดี. สมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินจึ่งตรัสสั่งนายก้อนทอง ให้ออกไปทูลแก่พระมหาธรรมราชาว่า จะส่งพระยารามออกไปกำหนดให้มารับ.ครั้นนายก้อนทองไปแล้ว พระเจ้าแผ่นดินให้จำพระยาราม แต่งคนคุมออกไปส่ง อาราธนาพระสังฆราชกับภิกษุสี่องค์ออกไปด้วย ครั้นพระสังฆราชแลผู้คุมพระยารามไปถึงสมเดจ์พระมหาธรรมราชาให้ถอดจำพระยารามออก แล้วก็ภาเข้าไปถวายบังคมพระเจ้าหงษาวดี ๆ ก็ให้เบิกพระสังฆราชเข้ามา แล้วตรัสให้หาพระมหาอุปราชา แลท้าวพระยาผู้ใหญ่ทั้งปวงมาประชุมในน่าพลับพลา พระเจ้าหงษาวดีก็ตรัสแก่ท้าวพระยาทั้งหลายว่าพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ให้พระสังฆราชเอาพระยารามผู้ก่อเหตุมาส่งแก่เรา แลว่าจะฃอเปนพระราชไมตรีด้วยเราดุจก่อนท้าวพระยาทั้งหลายจงพิภาคษา ยังจะชอบรับเปนพระราชไมตรีฤๅประการใด. ท้าวพระยาทั้งหลายก็ทูลว่า ซึ่งได้พระยารามออกมาแล้วดั่งนี้ เสมอได้แผ่นดินศรีอยุทธยาอันจะเปนราชไมตรีนั้นหาต้องการไม่ขอให้ยกเข้าหักเอากรุงจงได้. พระเจ้าหงษาวดีตรัสว่าเราเปนกระษัตรีย์จะทำการสงครามสืบไป ซึ่งจะทำดั่งนี้หาควรไม่ แล้วสั่งนายทัพนายกองทั้งปวงให้รักษาแต่มั่นไว้ อย่าให้ประชิรบพุ่งเข้าไป ฝ่ายชาวพระนครก็มิได้รบ ต่างคนต่างสงบอยู่ทั้งสองฝ่าย. จึ่งพระเจ้าหงษาวดี ก็สั่งพระสังฆราชเข้ามาว่าถ้าพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา จะเปนพระราชไมตรีด้วยเราจริงให้พระเจ้าแผ่นดินแลท้าวพระยาใหญ่ทั้งปวงมาถวายบังคมจึ่งจะรับเปนราชไมตรีด้วย. ๚ะ๏ ครั้นพระสังฆราชเข้ามาถึงกรุง. ถวายพระพรแก่สมเดจ์พระมหินทราธิราชพระเจ้าแผ่นดิน โดยคำพระเจ้าหงษาวดีสั่งเข้ามานั้น. จึ่งท้าวพระยาทั้งหลายทูลพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินว่า การทั้งนี้พระเจ้าหงษาวดีหากเพโทบายมาฬ่อลวงให้ออกไปแล้ว จะกุมเอาท้าวพระยาผู้ใหญ่ทั้งปวงไว้ แล้วก็จะให้เข้ามาเทเอาครัวอาณาประชาราษฎรทั้งหลายอพยบไปเปนเชลย แลศึกครั้งนี้ข้าพเจ้าทั้งหลายขอถวายชีวิตร รบพุ่งป้องกันจนถึงขนาด จึ่งสมเดจ์พระมหินทราธิราชพระเจ้าแผ่นดิน ก็ตรัสให้ท้าวพระยาทั้งหลายพิภาคษาเปนหลายยกหลายเกน แลท้าวพระยาทั้งปวงลงด้วยกันเปนคำเดียวว่า จะอาษารบพุ่งแต่พระยาธรรมาธิกรณ์ไซร้มิได้ลงด้วยท้าวพระยาทั้งปวง. ฝ่ายพระเจ้าหงษาวดีถ้าฟังทูตซึ่งออกไปแต่นอกพระนครช้าอยู่ถึงเจ็ดวัน จึ่งตรัสด้วยสมเดจ์พระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าว่า กรุงพระมหานครศรีอยุทธยามิให้ทูตออกมาเจรจาความเมือง แลช้าอยู่ดั่งนี้เหนว่ามิเปนพระราชไมตรีกันแล้ว เราจะให้แต่งการที่จะปล้นนั้นดุจเก่า. สมเดจ์พระมหาธรรมราชาก็ทูลแก่์พระเจ้าหงษาวดีว่าขอให้งดก่อนข้าพเจ้าจะเข้าไปแถลงการทั้งปวง ให้พระเจ้าแผ่นดินแลท้าวพระยาผู้ใหญ่เหนแท้ว่า จะเปนทางพระราชไมตรี อย่าให้ยากแก่สมณพราหมณประชาราษฎรทั้งหลาย. พระเจ้าหงษาวดีก็ตรัสบัญชาโดยสมเดจ์พระมหาธรรมราชาเจ้า สมเดจ์พระมหาธรรมราชาเจ้าก็เสด็จด้วยพระราชยาน มายืนอยู่ตรงน่าที่พระมหาเทพ ร้องเรียกเจ้าน่าที่เข้าไปว่า เราจะเข้าไปรงับการแผ่นดิน พระมหาเทพเจ้าน่าที่มิไว้ใจยิงปืนใหญ่น้อยออกไป. พระองค์ลงจากพระเสลี่ยง ขุนอินทรเดชแบกพระองค์วิ่งกลับออกมา. สมเดจ์พระมหาธรรมราชา ก็มาเฝ้าพระเจ้าหงษาวดี แล้วก็กราบทูลทุกประการ. ฝ่ายพระเจ้าหงษาวดีก็ตรัสว่า อันชาวพระนครศรีอยุทธยามิไว้ใจนั้น ก็เปนสำหรับที่จะให้พระนครเสีย ซึ่งจะพ้นมือเราไปนั้นก็หาไม่. แล้วพระเจ้าหงษาวดีก็สั่งให้นายทัพนายกองทั้งปวง เร่งประชิทำการทั้งกลางวันกลางคืน ชาวพระนครก็รบพุ่งป้องกันเปนสามารถ. ๚ะ๏ ขณะนั้นพระเจ้าลูกเธอพระศรีเสาวราช ถือพลหมื่นห้าพันตั้งเปนกองกลางอยู่ณห้องนามหลวง ถ้าเจ้าน่าที่มาทูลว่า ข้าศึกเข้าหักหารด้านใดหนัก ก็มิได้กราบทูลพระราชบิดาก่อน แต่ทหารให้ไปช่วยรบพุ่งทุกครั้ง. ส่วนสมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน มิได้เอาพระไทยใส่ในการศึก อยู่มาคิดแคลงพระเจ้าลูกเธอพระศรีเสาวราชว่า การศึกหนักเบามิได้มาแจ้งก่อน ทำแต่โดยอำเกอใจ. จึ่งให้หาพระศรีเสาวราชเข้ามาแล้ว สั่งพระยาธรรมาธิกรณ์ให้เอาตัวพระศรีเสาวราชไปล้างเสีย ณวัดพระรามาวาศ ข้าราชการนายทัพนายกองทหารทั้งปวงก็เสียใจ แต่เหตุว่ารักบุตรภรรยาอยู่ ก็อดส่ารบป้องกันไว้ทุกน่าที่. ฝ่ายขุนราชเสนา ขุนมหาวิไชย กับไพร่ห้าสิบคน ภากันเล็ดลอดขึ้นไปถึงเมืองล้านช้าง จึ่งเอาศุภอักษรนั้นให้แก่เสนาบดี. ในลักษณนั้นว่าศุภอักษรบวรสฐาผลวิมลเชษฐาคุณานันต์วิกษิต วิจิตรคำภีราอัทธยาไศรย ในท่านอรรคมหาเสนาธิบดินทรนรินทรามาตย์ อันสวามีประวาสบาทมูลิกากรบวรยุคลเรณุนาศ ในพระบาทสมเดจ์บรมนารถบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ณกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธานี บุรีรมย์อุดมพระราชมหาสถาน มีมธุรจิตรสนิทเสนหามายังเสนาธิบดี ณกรุงศรีสัตนาคนหุต บัดนี้กรุงพระนครศรีอยุทธยามีราชดัศกร คือพระเจ้าหงษาวดีกอปไปด้วยโลภเจตนาหาหิริโอตัปปะมิได้. ยกกองทัพลงมากระทำปไสยหาการย่ำยีพระนครศรีอยุทธยาสมพราหมณาจาริยไพร่ฟ้าประชาราษฎรได้ความเดือดร้อน แลกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา ก็เปนเขื่อนเพชรขันทแก่กรุงศรีสัตนาคนหุตถ้าพระนครศรีอยุทธยาเสียแก่กองทัพหงษาวดีแล้วเหนศึกหงษาวดีจะติดถึงกรุงศรีสัตนาคนหุตด้วย เชิญเสด็จพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ยกพยุหโยธาทัพลงมาช่วยรณยุทธปราบปรามข้าศึกให้ปราไชยประลาศไป แล้วจะได้ช่วยกันดำริหการตอบแทนแก้แค้นพระเจ้าหงษาวดีให้ถึงขนาด เสนาบดีครั้นแจ้งในศุภอักษรแล้ว ก็ภาขุนราชเสนาขุนมหาวิไชย เข้าเฝ้าทูลโดยสำเนาศุภอักษรเสร็จสิ้นทุกประการ. ๚ะ๏ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตแจ้งดั่งนั้นก็ทรงพระโกรธตรัสว่า พระเจ้าหงษาวดีมิได้ตั้งอยู่ในขัติยราชประเพณี ประพฤติพาลทุจริตให้ทหารมาสกัดชิงพระเทพกระษัตรีไปครั้งหนึ่งแล้ว มิหนำยังมีใจกำเริบยกมากระทำย่ำยีพระนครศรีอยุทธยาอีกเล่า จำจะยกไปตีเปนกระหนาบไปดูหน้าพระเจ้าหงษาวดีจะทำเปนประการใด. ประหนึ่งทั้งทางพระราชไมตรีกรุงศรีอยุทธยาก็จะถาวรวัฒนาการสืบไป แล้วก็มีพระราชกำหนดให้เตรียมพลห้าหมื่น ช้างเครื่องสามร้อยม้าสามพัน. ครั้น ณวันเสาร์เดือนสามแรมห้าค่ำ ได้ศุภวารดิถีมหามงคลฤกษอันประเสริฐ ก็เสด็จทรงช้างพระที่นั่งพร้อมด้วยแสนท้าวพระยาลาว แลพลพิริยโยธาหารแห่โดยกระบวนซ้ายขวาน่าหลัง ดั้งแซงเปนขนัดแน่นนันด้วยเครื่องสรรพสาตราวุธ ยกออกจากกรุงศรีสัตนาคนหุตรอนแรมมาโดยวิถีทางสถลมารค. ๚ะ๏ ฝ่ายด่านเมืองนครไทยรู้ข่าวว่า เมืองล้านช้างยกลงมา ก็บอกข้อราชการลงไปให้กราบทูลพระมหาธรรมราชา. สมเดจ์พระมหาธรรมราชาแจ้งดั่งนั้น จึ่งเสด็จไปเฝ้ากราบทูลพระเจ้าหงษาวดีว่า บัดนี้กองทัพพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตยกมาทางเมืองเพชรบูร จะลงเมืองสระบุรีเปนทัพกระหนาบ. พระเจ้าหงษาวดีทราบแล้วตรัสถามพระยารามว่า ทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตยกมานี้ มาช่วยเองฤๅๆไปขอให้มาช่วย. พระยารามกราบทูลว่าสมเดจ์พระมหินทราธิราชสั่งข้าพเจ้าให้มีศุภอักษร ขึ้นไปขอกองทัพลงมาช่วย. พระเจ้าหงษาวดีตรัสว่า ซึ่งทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตยกมาครั้งนี้ ครั้นจะละให้มาใกล้ชาวพระนครจะแขงมือขึ้น การที่จะทำเอาพระนครจะช้าวันไป จำจะตีเสียให้แตกฉานแต่ไกล แล้วให้สมเดจ์พระมหาธรรมราชากับพระยาราม เอาช่างที่มีฝีมือมาแกะตราให้เหมือนตราพระราชสีห์เสร็จแล้ว จึ่งแต่งเปนศุภอักษรว่า ทับพระเจ้าหงษาวดียกมาครั้งนี้ กรุงพระมหานครศรีอยุทธยาแต่งออกรับก็หาหักหารได้ไม่ บัดนี้รับแต่มั่นไว้แต่งให้ออกลาดกระเวนตัดเสบียง กองทัพเมืองหงษาวดีก็ขาดเสบียงลง จวนจะเลิกถอยไปอยู่แล้ว ให้เชิญเสด็จพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต เร่งยกพยุหโยธาลงมากระหนาบก็ได้ไชยชำนะโดยง่าย. ครั้นเสร็จแล้วจึ่งให้สมเดจ์พระมหาธรรมราชา. แต่งไทยซึ่งมีสติปัญาไว้ใจได้ถือรีบไป แล้วสั่งให้พระมหาอุปราชายกกองทัพขึ้นไปคอยสกัดตี. พระมหาอุปราชาก็เสด็จยกพยุหบาตราทัพโดยสถลมารคแนวน้ำแควป่าสักฟากตวันออก พักพลซุ่มไว้ใกล้เมืองสระบุรีทั้งสองฟากน้ำ. ๚ะ๏ ฝ่ายผู้ถือศุภอักษรไปภบกองทัพกรุงศรีสัตนาคนหุต ณเมืองเพชรบูร เสนาบดีนำเข้าเฝ้าทูลข้อความตามศุภอักษรทุกประการ. พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตแจ้งมิได้รังเกียจสำคัญว่าจริงดีพระไทย ก็ยกกองทัพรุดรีบลงมาเมืองสระบุรี ถึงตำบลหมากสองต้น กองทัพยังมิทันพร้อม. พระมหาอุปราชาก็กำหนดให้ทหารเข้าโจมตี กองทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตไม่ทันรู้ตัวก็แตก รี้พลเจ็บป่วยล้มตายเปนอันมาก พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตก็ขึ้นช้างหนีไป กองทัพพระมหาอุปราชาไล่ติดตามไปได้ช้างม้าเปนอันมาก จับพลลาวเปนได้ประมาณร้อยเสศ แล้วยกลงมาเฝ้าพระเจ้าหงษาวดีทูลซึ่งได้ไชยชำนะ แล้วถวายช้างม้ากับเชลยชาวล้านช้างซึ่งได้มานั้น. พระเจ้าหงษาวดีดีพระไทย จึ่งให้ปล่อยชาวล้านช้างเข้าไปแจ้งเหตุทั้งปวงในพระนคร. ฝ่ายพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน นายทัพนายกองทแกล้วทหารทั้งปวงแจ้งว่า เสียทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตก็เศร้าใจ พระเจ้าหงษาวดีก็คิดซึ่งจะเข้าหักเอาพระนครให้ได้. ๚ะ๏ ฝ่ายสมเดจ์พระมหาธรรมราชา ครั้นเพลาค่ำก็ให้หาพระยาจักรี ซึ่งพระเจ้าหงษาวดีได้ขึ้นไปครั้งพระราเมศวรนั้น มาเฝ้าแต่สองให้สาบาลแล้วจึ่งตรัสปฤกษาเปนความลับว่า แต่ก่อนท่านกับเราก็เปนข้าพระเจ้าช้างเผือก. ครั้นนี้มาเปนข้าพระเจ้าหงษาวดีด้วยกันฝ่ายพระเจ้าช้างเผือกก็สวรรคตแล้ว ตัวเราก็ได้ทำความชอบ แต่ตัวท่านหามีความชอบสิ่งใดไม่. เราคิดจะให้ท่านมีความชอบไว้ต่อหน้าพระเจ้าหงษาวดี เราเหนอุบายอันหนึ่งซึ่งจะเปนความชอบของท่านกราบเท่ากัลปาวสาน ถ้าท่านเปนใจด้วยแล้วก็จะได้เมืองโดยง่าย. พระยาจักรีก็รับว่าจะสนองพระคุณไปกว่าจะสิ้นชีวิตร. สมเดจิ์พระมหาธรรมราชาเอาความลับทั้งนี้ ไปกราบทูลแก่พระเจ้าหงษาวดี ๆ ยินดีนัก. จึ่งอุบายให้เอาพระยาจักรีมาลงพระราชอาญา แล้วให้จำไว้ให้พม่ามอญลาวคุมอยู่สามสิบคน. ครั้นอยู่มาประมาณห้าวันหกวันสมเดจ์พระมหาธรรมราชาแต่งคนให้ลอบปล่อยพระยาจักรี เข้าไปในกรุงสังขลิกพันธ์เข้าน่าที่พระยาธรรมาตรงวัดสพสวรรค์ในเพลากลางคืน. ครั้นรุ่งขึ้นพระเจ้าหงษาวดีทำเปนให้ค้นหาพระยาจักรีทุกกองทัพ ไม่ภบแล้วก็ให้เอาผู้คุมสามสิบคนไปทเวนรอบกองทัพแล้วประหารชีวิตรเสียบไว้น่าค่ายวัดธรรมาในเพลานั้น. พระยาธรรมาก็ภาตัวพระยาจักรีเข้าไปเฝ้า. สมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินสำคัญว่า พระยาจักรีหนีมาจริงมีความยินดีนักก็ให้ถอดเครื่องพันธนาการออกแล้ว จึ่งพระราชทานบำเหน็จรังวัลเปนอันมาก ให้พระยาจักรีบังคับการซึ่งจะป้องกันพระนคร. แล้วสมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน พระราชทานอาชาสิทธิพระยาจักรี ให้แห่เครื่องสูงมีปี่กลองชนะแตรสังขประโคมเที่ยวตรวจน่าที่. แลพระยาจักรีนั้นจัดแจงค่ายคูประตูหอรบ บำรุงทแกล้วทหารรบพุ่งโดยฉันอันจริงมาได้ประมาณเดือนหนึ่ง แต่นั้นไปเหนเจ้าน่าที่ผู้ใดรบพุ่งเข้มแขงกล้าหาร ก็พาลผิดลงโทษว่า ละน่าที่เสียมิได้เปนใจต่อราชการ แลเอาพลเรือนมาเปนทหาร เอาทหารไปเปนพลเรือน นายทัพนายกองทั้งปวงเสียใจ การศึกก็ถอยกำลังลงแล้วให้หนังสือลับกำหนดออกไปว่า ณวันศุกร์เดือนเก้าแรมสิบค่ำให้ยกเข้ามา. ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าหงษาวดีแจ้งดั่งนั้น ก็กำหนดให้ท้าวพระยานายทับนายกองทหารทั้งปวง ซึ่งจะเข้าหักเอาพระนคร แต่งทหารเปนสี่เหล่า ๆ หนึ่งใส่เสื้อดำถือดาบดั้ง เหล่าหนึ่งใส่เสื้อเขียวถือดาบสองมือ เหล่าหนึ่งใส่เสื้อแดงถือปืนนกสับคาบชุด เหล่าหนึ่งใส่เสื้อสีม่วงถือหอกทวนดาบสพายแล่ง ให้พระมหาธรรมราชา กับพระมหาอุปราชา ถือพลทั้งนี้ยกเข้าโดยถนนเกาะแก้ว. แลพระเจ้าอังวะพระเจ้าแปรยกเข้าตามน่าที่พร้อมกันทั้งสามถนน เจ้าน่าที่ก็สาดปืนไฟแหลนหลาวมา ต้องพลล้มตายเปนอันมาก พลข้าศึกก็มิได้ถอยเยียดยัดหนุนเนื่องกันเข้าไปมิได้ขาด เสียงพลเสียงปืนดั่งแผ่นดินจะไหว แลกองทัพพระมหาธรรมราชา พระมหาอุปราชา โจมตีหักเข้าไปได้ค่ายพระมหาเทพ ๆ แตกถอยเข้าไปตั้งรับอยู่ตำบลน่าวัดโค วัดกระบือ แล้วก็แตกเข้ามาตั้งรับตำบลวัดเผาเข้า แล้วก็ซ้ำแตกกระจัดพรัดพราย คุมกันไม่ติด ข้าศึกก็เข้าเมืองได้. ๚ะ๏ เมื่อเสียกรุงพระมหานครแก่พระเจ้าหงษาวดีนั้น ณวันเสาร์เดือนเก้าแรมสิบเบ็ดค่ำศักราช ๙๓๘ ปีมโรงอัฐศกเพลาเช้าสามนาฬิกา. ขณะนั้นพระมหาอุปราชากับสมเดจ์พระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า. ก็เสด็จเข้ามายืนช้างพระที่นั่งน่าพระราชวัง. จึ่งสมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน ก็เสด็จด้วยพระราชยานออกไปยังพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า. จึ่งพระมหาอุปราชาก็ให้รับสมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินออกไปถวายพระเจ้าหงษาวดี ณพลับพลาวัดมเหยงค์ณ. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีทอดพระเนตร์เหนจึ่งตบพระหัตถลงที่ราชอาศน์ แล้วเชิญเสด็จพระมหินทราธิราชให้เข้ามานั่ง สมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้าก็คลานเข้าไปตามรับสั่ง แต่ทว่าหาถึงที่ตบพระหัตถไม่. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีจึ่งยกพานพระศรีเลื่อนมา ให้สมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้าเสวย สมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้ามิได้เสวย. พระเจ้าหงษาวดีก็หยิบเอาพระศรีในพานประทานให้ สมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้าก็รับมากำไว้น่อยหนึ่งแล้วจึ่งเสวย. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีจึ่งยิบบ้วนพระโอษฐส่งให้ สมเดจ์พระมหินทราธิราชก็มิได้บ้วนลง. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีจึ่งตรัสว่า ซึ่งเรายกมากระทำสงครามทั้งนี้ เปนประเพณีกระษัตริย์ขัติยราชจะเอาไชยไว้เกียรติยศ แผ่ขอบขันทเสมาอาณาจักร์ให้กว้างขวางในทิศานุทิศทั้งปวง เจ้าอย่าโทมนัศน้อยพระไทยเลย จะเชิญขึ้นไปอยู่กรุงหงษาวดีด้วยกัน. แล้วสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีจึ่งตรัสแก่พระมหาธรรมราชา ให้นำสมเดจ์พระมหินทราธิราชไปทำนุบำรุงไว้ พระเจ้าหงษาวดีก็ให้เทเอาครัวอพยบชาวพระนคร แลรูปภาพทั้งปวงในน่าพระบัญชรชั้นสิงห์นั้นส่งไปเมืองหงษาวดี แล้วทรงพระราชดำริห์การซึ่งจะราชาภิเศกสมเดจ์พระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า ให้ครองกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา. จึ่งไว้พระยานครศรีธรรมราช พระศรีอรรคราช ขุนเกษตราธิบดี ขุนรักษมณเฑียร หมื่นนรินทร์เสนี แลขุนหมื่นทั้งปวงร้อยหนึ่ง แลไพร่พลชายหญิงอพยบหมื่นหนึ่ง ให้อยู่สำหรับกรุงศรีอยุทธยา ๚ะ
16
๏ แผ่นดินพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าเปนสมเดจ์พระสรรพเพช ๚ะ
๏ ลุศักราช ๙๑๘ ปีมโรงอัฐศก ณวันศุกรเดือนอ้ายขึ้นหกค่ำ พระเจ้าหงษาวดีให้แต่งการพระราชพิธีปราบดาภิเศกสมเดจ์พระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติผ่านพิภพกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยาทรงพระนามสมเดจ์พระสรรเพชวงษกุรสุรโยดมบรมมหาธรรมราชาธิราชราเมศรปวเรศธรรมิกราชเดโชไชยพรหมเทพาดิเทพ นฤบดินทรภูมินทรเทพสมมัตติราชบรมบพิตรเจ้ากรุงพระนครศรีอยุทธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธาณีบูรีรมย์ เมื่อเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัตินั้นพระชนม์ได้ ๕๔ พรรษาพระเจ้าหงษาวดีก็ให้พระสุนทรสงคราม อันส่งไปหงษาวดีขณะเมื่อครั้งได้พระราเมศวรกับช้างเผือกสี่ช้างไปนั้นอยู่เปนพฤฒามาตยสำหรับพระองค์ แลไว้เมืองนครพรหมแลพลสามพันให้อยู่ช่วยรักษาพระนคร. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดี ตรัสแก่สมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้าว่า จงจัดพระสนมแลราชบริวารแลเครื่องราชูประโภคทั้งปวงออกมา จะได้ขึ้นไปด้วยกัน แล้วมีพระราชบัญชาตรัสแก่สมเดจ์พระมหาธรรมราชาว่า ให้จัดเครื่องราชปีลันทนาสรรพาภรณสำหรับขัติยาธิบดี แลพระสนมราชบริวารส่งให้สมเดจ์พระมหินทราธิราชด้วย. สมเดจ์พระมหาธรรมราชาก็จัดให้ตามรับสั่งทุกประการ. แล้วสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีก็เสด็จเลิกพลพยุหบาตราทัพกลับไปทางเมืองกำแพงเพชรสมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้าก็โดยเสด็จ ครั้นถึงแดนเมืองแครง สมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้าทรงพระประชวรหนัก ลักไวทำมูเอาพระอาการมากราบทูลสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดี ๆ จึ่งพระราชทานแพทย์ไปรักษา แล้วตรัสคาดโทษแพทย์มาว่า ถ้าสมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้าทิวงคตจะลงโทษถึงสิ้นชีวิตร์. ครั้นรุ่งขึ้นสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีก็เสด็จมาเยือนจึ่งตรัสว่า อดส่าเสวยยาแลพระกระยาหารอย่าท้อแท้พระไทยเราจะได้ไปด้วยกัน ครั้นพระราชทานโอวาทดั่งนั้นแล้ว ก็เสด็จกลับมาพลับพลา สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีแต่ประทับแรมอยู่ที่นั่นถึงสิบเบ็ดเวน สมเดจ์พระมหินทราธิราชเจ้าก็สวรรคต. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีทรงพระโกรธตรัสให้ลงพระราชอาชญาแก่แพทย์พะม่ามอญไทยสิบเบ็ดคนแล้วพระราชทานเพลิงเสรจ์ทรงพระกรุณาให้เอาพระอัฐิแลพระสนมเครื่องราชูประโภคทั้งปวง ให้พม่ามอญลาวคุมลงมาส่งยังพระนครศรีอยุทธยาแล้วสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีก็เสด็จไปเมืองหงษาวดี. ๚ะ๏ ฝ่ายสมเดจ์พระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าแผ่นดินตรัสเอาพระสุนทรสงคราม เปนพระยาธรรมาธิบดี. ตรัสเอาพระยาศรีธรรม เปนพระยาพระเสด็จ. ตรัสเอาพระยาเพทราชา เปนพระยาอินทราธิบดีพระนครบาล. ตรัสเอาพระยาเลื่อง เปนพระยาจักรี. ตรัสเอาขุนหลวงเสนามาตย์ เปนพระยาเสนาบดีศรีสมุหพระกลาโหม. ตรัสเอาพระศรีเสาวราช เปนพระยาเดโช. ตรัสเอาพระจันทบุรี เปนพระท้ายน้ำ. ตรัสเอาพระศรีอัคราชคง เปนที่พระคลัง. ตรัสเอาขุนจันทรา เปนพระยาพลเทพ แล้วก็ตั้งพระหัวเมืองมนตรีมุขทหารพลเรือนทั้งปวงทุกกระทรวงการ แล้วให้ซ่องจัดไพร่พลหมู่องครักษจักรนารายน์ชาวดาบชาวเรือ แลหมู่ทหารอันกระจัดพรัดพรายทั้งปวงประมูลเข้ามาโดยหมู่โดยกรม แล้วก็ให้จัดซ่องไพร่พลหมู่สิบสองพระกำนัล แลหมู่พลเรือนทั้งปวงอันกระจัดพรัดพรายนั้น มาประมูลไว้โดยหมู่โดยกรมรับราชการทุกพนักงานแล้วก็ตั้งท้าวพระยาสามนต์ราชแลพระหัวเมืองทั้งหลาย ให้ออกไปอยู่ครองอาณาประชาราษฎรทุกหัวเมืองใหญ่น้อยทั้งปวง สำหรับขอบขันธเสมากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา โดยบูรพประเวณีพระเจ้าแผ่นดิน สยามาธิราชเจ้าแต่ก่อนมา. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๑๙ ปีมเสงนพศกเดือนยี่ พระยาลแวกยกช้างม้ารี้พลมาทางนครนายก แลไพร่พลพระยาลแวกมาครั้งนั้นประมาณสามหมื่น กรมการเมืองนครนายกบอกข้อราชการเข้ามาณกรุง มุขมนตรีจึ่งเอาหนังสือบอกขึ้นกราบบังคมทูลสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัว ๆ ครั้นตรัสทราบ ก็ให้ท้าวพระยาพระหัวเมืองมุขมนตรีทั้งหลายพิภาคษาว่า เมื่อพระยาลแวกยกช้างม้ารี้พลมาดั่งนี้ ท้าวพระยาทั้งหลายจะคิดประการใด. จึ่งพระยาเพทราชาผู้เปนพระยาอินทรานครบาลทก็ทูลว่า กรุงพระมหานครไซ้พึ่งเปนอันตรายรี้พลบอบบางยังมิได้สมบูรณ แลทหารซึ่งจะขึ้นประจำน่าที่รอบพระนครนั้นเหนมิครบน่าที่.อนึ่งปืนใหญ่น้อยสำหรับพระนครนั้นสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีก็เอาไปเปนอันมาก. แลปืนซึ่งตั้งช่องทั้งปวงนั้นเปนอันน้อยนัก ทั้งกระสุนดินประสิวก็ยังมิได้ประมูลไว้สำหรับที่จะกันพระนคร แลซึ่งจะตั้งอยู่รบพุ่งป้องกันพระนครครั้งนี้เหนเหลือกำลัง ขอเชิญเสด็จขึ้นไปยังเมืองพระพิศณุโลกย์ให้พ้นราชศัตรูก่อน. ท้าวพระยาพระหัวเมืองมนตรีทั้งหลายก็ลงเปนคำเดียวพระยาเพทราชา สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ตรัสบัญชาตามท้าวพระยาทั้งหลาย. จึ่งมีพระราชโองการตรัสสั่งแก่ขุนเทพวรชุนให้แต่งเรือพระที่นั่ง. แลเรือพระประเทียบให้สรัพ. ในขณะนั้นพระเพชรัตนเจ้าเมืองเพชรบุรีมีความผิด ทรงพระกรุณาให้ยกออกเสียจากน่าที่. พระเพชรรัตนก็คิดเปนกระบถ แลซ่องสุมชาวนอกทั้งปวงไว้มากแล้ว คิดจะปล้นทัพหลวงเมื่อเสด็จขึ้นไปนั้น. จึ่งสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว ตรัสถามขุนเทพวรชุนด้วยเรือพระที่นั่งทั้งปวง แล้วตรัสถามว่า ซึ่งจะไปจากพระนครนี้ ขุนเทพวรชุนยังคิดเหนประการใด. จึ่งขุนเทพวรชุนกราบทูลว่าพระยาลแวกมาครานี้มิได้เปนศึกใหญ่ ขอทรงพระกรุณาเสด็จอยู่ แลให้รบพุ่งป้องกันพระนครให้รู้จักษ์กำลังศึกก่อน. ครั้นจะด่วนละพระนครเสียไซ้ พระเจ้าหงษาวดีจะตรัสติเตียนได้. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวตรัสเหนชอบด้วย ก็มีพระราชโองการตรัสสั่งขุนเทพวรชุนให้เตรียมเรือพระที่นั่ง แลตรวจจัดพลสำหรับเรือพระที่นั่งไว้ให้สรรพ. ๚ะ๏ ฝ่ายพระยาลแวกก็ยกทัพเข้ามาถึงกรุงพระนครศรีอยุทธยา แลตั้งทัพตำบลบ้านกะทุ่ม. ขณะนั้นสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ตรัสให้เมืองนครพรหม แลพลชาวเมืองหงษาวดีสามพันอยู่ประจำน่าที่ในขื่อน่า. แล้วท้าวพระยาพระหัวเมืองทั้งปวง ตรวจพลทหารขึ้นประจำน่าที่กำแพงแลรายกันอยู่รอบพระนคร. พระยาลแวกยกพลเข้ามายืนช้างในวัดสามพิหาร แลพลฆ่าศึกรายกันมาถึงวัดโรงฆ้องแลวัดกุฎีทอง. แล้วเอาช้างมายืนอยู่ในวัดพระเมรุราชิการามประมาณสามสิบช้าง พลประมาณสี่พัน. พระยาลแวกให้พลทหารลงเรือห้าลำข้ามเข้ามาปล้นในมุมเจ้าสนุก. สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวก็เสด็จไปยืนพระราชยาน แลให้พลทวยหารขึ้นรบพุ่งข้าศึกก็พ่ายออกไป. จึ่งตรัสให้ยิงปืนจ่ารงค์เอาช้างข้าศึกซึ่งยืนอยู่ในวัดสามพิหารนั้น ต้องพระจำปาธิราช ซึ่งเปนกองน่าตายกับฅอช้าง พระยาลแวกก็ยกถอยคืนไปยังทัพบ้านป่ากะทุ่ม แต่ยกเข้ามาปล้นถึงสามครั้งก็มิได้. พระยาลแวกก็ล่าทัพกลับไปจึ่งกวาดเอาตำบลบ้านนา แลนครนายกไปเมืองลแวก. ๚ะ๏ ในขณะนั้นพระยาลแวกแต่งพลมาลาดทั้งทางบกทางเรือเปนหลายครั้ง แลเสียชาวจันทบุรี แลชาวระยอง ชาวฉเชิงเทรา ชาวนาเริ่งไปแก่ข้าศึกลแวกเปนอันมาก. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๒๐ ปีมเมียสัมฤทธิศก สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ให้สมเดจ์พระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตรเปนเจ้า อันเปนสมเดจ์พระโอรสธิราชขึ้นไปเสวยราชสมบัติณเมืองพระพิศณุโลกย์. ขณะนั้นพระชนม์ได้สิบหกพรรษา แต่สมเดจ์เอกาทศรฐผู้เปนพระราชอนุชาสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้านั้น สมเดจ์พระราชบิดาเอาไว้ ณพระมหานครศรีอยุทธยาด้วย. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๒๑ ปีมแม เอกศก พระเจ้าหงษาวดียกช้างม้ารี้พลโยธาไปเอาเมืองล้านช้าง กำหนดให้สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวกรุงเทพมหานคร แลสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าเสด็จขึ้นไปด้วย แต่สมเดจ์เอกาทศรฐอันเปนตรุณราชบุตร พระราชบิดาดำรัศให้อยู่รักษาพระนคร. ฝ่ายสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัว กับสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า ก็ยกช้างม้ารี้พลไปถึงตำบลหนองบัว ในจังหวัดเมืองล้านช้าง. ขณะนั้นสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าทรงพระประชวรทรพิศ. พระเจ้าหงษาวดีตรัสให้สมเดจ์พระมหาธรรมราชา กับพระนเรศวรเปนเจ้าเสด็จคืนมายังพระนครศรีอยุทธยา. ครั้งนั้นพระเจ้าล้านช้างป้องกันรักษาเมืองเปนสามารถ ทัพหงษาวดีจะหักเอาพระนครมิได้ ภอจวนเทศกาลวสันตะรดู ก็ยกทัพกลับไป. ๚ะ๏ ฝ่ายพระยาลแวกยกมาจะใกล้ถึงปากน้ำพระประแดง เจ้าเมืองธนบุรีแลกรมการทั้งหลายรู้ข่าวว่าพระยาลแวกยกมาก็บอกขึ้นไปให้กราบทูล. ส่วนเรือทัพน่าพระยาลแวกก็ไล่ตามเรือซึ่งกระเวนทเลนั้นติดเข้ามาเมืองธนบุรี แลกรมการทั้งหลายมิทันแต่งการที่จะรบพุ่งป้องกันเมือง ต่างคนต่างก็เอาครัวหนี. พระยาลแวกก็ยกทัพเข้ามาตั้งในปากน้ำพระประแดง ก็ให้ลาดจับชาวเมืองธนบุรี ชาวเมืองชลบุรีไปเปนชเลย. จึ่งสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ตรัสให้เอาเมืองยโสธรราชธานีเปนนายกอง แล้วจัดขุนหมื่นทั้งหลายกับพลทหารสองพัน แลเครื่องสาตราวุธบันทุกเรือสิบลำให้ยกลงไปถึงเมืองธนบุรี ก็ภบเรือข้าศึกได้รบพุ่งกันเปนสามารถ ข้าหลวงก็พ่ายแก่ข้าศึกลแวก แลเสียหมื่นราชามาตย์ ข้าศึกได้เปนเอาไปถวายพระยาลแวก. เมืองยโสธรราชธานีแลข้าหลวงทั้งปวงก็พ่ายขึ้นมายังพระนคร. พระยาลแวกก็ให้จับคนทั้งจังหวัดเมืองธนบุรีได้มากแล้ว ก็ยกขึ้นมายังพระนคร ตั้งทัพณขนอนบางตนาวศรี. สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ตรัสให้ท้าวพระยาทั้งหลายตรวจตราจัดพลทหารขึ้นประจำน่าที่กำแพงพระนคร แล้วแต่งการที่จะรบพุ่งกันพระนคร. พระยาลแวกก็ยกทัพเรือขึ้นมาเข้าแฝงอยู่ข้างวัดพแนงเชิง ให้แต่งเรืออันเปนทัพน่าประมาณสิบลำ เข้ามาปล้นณตำบลนายไก่.ขณะนั้นสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวเสด็จอยู่ในหอราชคฤห์ตรงเกาะแก้วแล้วท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลายชุมนุมกันในที่นั้น. ครั้นเรือข้าศึกเกือบเข้ามา จึ่งวางปืนใหญ่ณป้อมนายการต้องพลข้าศึกตายเปนอันมาก. แล้วตรัสให้พลทหารเอาเรือออกไปฬ่อข้าศึก ข้าศึกทั้งปวงก็พ่ายลงไป. พระยาลแวกเหนจะปล้นพระนครมิได้ ก็เลิกทัพคืนลงไปตั้งอยู่ปากน้ำพระประแดง. แล้วก็แต่งให้ขึ้นไปลาดจับคนถึงสาครบุรี ได้ขุนหมื่นกรมการแลไพร่ชายหญิงอพยบมาเปนอันมาก จึ่งให้เอารูปเทพารักษสำฤทธิ์ทั้งสององค์ ชื่อท้าวแสนตา แลบาทสังฆังกรอันมีมเหศรศักดานุภาพ ซึ่งอยู่ณเมืองพระประแดงขุดได้แต่ครั้งสมเดจ์พระรามาธิบดีนั้นไปด้วยพระยาลแวกก็เลิกทัพกลับไปเมือง ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๒๒ ปีวอกโทศก พระยาลแวกแต่งพระยาอุเพษราช แลพระยาจีนจันตุยกทัพเรือมา พลประมาณสามหมื่นจะเอาเมืองเพชรบุรี แลกรมการทั้งหลายแต่งการรบพุ่งป้องกันเปนสามารถ แลข้าศึกยกเข้าปล้นเมืองเปนสามวัน รี้พลข้าศึกต้องสาตราวุธเจ็บป่วยเปนอันมาก จะปล้นเอาเมืองเพชรบุรีมิได้ พระยาอุเพษราช แลพระยาจีนจันตุก็เลิกทัพคืนไปเมืองลแวก. ขณะนั้นพระยาจีนจันตุให้ทานบลแก่พระยาลแวกว่า จะเอาเมืองเพชรบุรีให้ได้. ครั้นมิได้เมืองเพชรบุรีพระยาจีนจันตุก็กลัวว่า พระยาลแวกจะเอาโทษ พระยาจีนจันตุก็ภาครัวอพยบทั้งปวงหนีเข้ามายังพระนครศรีอยุทธยา สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาแก่พระยาจีนจันตุ ตรัสให้พระราชทานเปนอันมาก ครั้นอยู่มาพระยาจีนจันตุก็มิได้สวามีภักดีลอบตบแต่งสำเภาที่จะหนีจากพระนคร. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันอาทิตย์เดือนยี่ขึ้นสี่ค่ำ ปีรกาตรีศก เพลาค่ำประมาณสองนาฬิกา พระยาจีนจันตุก็ภาครัวลงสำเภาหนีล่องลงไป. ขะณะนั้นสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า เสด็จลงมาแต่เมืองพระพิศณุโลกย์เสด็จอยู่ในวังใหม่. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าก็เสด็จยกเรือตามพระยาจีนจันตุลงไปในเพลากลางคืนนั้น แล้วตรัสให้เรือประตูเรือกัน แลเรือท้าวพระยาทั้งหลายเข้าล้อมสำเภาพระยาจีนจันตุ แลได้รบพุ่งกันเปนสามารถ. พระยาจีนจันตุก็ให้โล้สำเภากลางน้ำรบต้านทานรอลงไป. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าก็ตรัสให้เอาเรือคู่เรือกันเข้าจับจนท้ายสำเภาพระยาจีนจันตุ. ให้พลทหารปีนสำเภาขึ้นไป แล้วเอาเรือพระที่นั่งหนุนเข้าไปให้ชิดสำเภา แล้วทรงปืนนกสับยิงถูกจีนผู้ใหญ่ตายสามคน. พระยาจีนจันตุก็ยิงปืนกลับมาต้องวางปืนต้นอันทรงนั้นแตก. พระยาจีนจันตุก็รบพุ่งป้องกันเปนสามาท พลทหารข้าหลวงจะปีนขึ้นสำเภามิได้. พระยาจีนจันตุก็ให้โล้สำเภารุดหนีลงไป. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า ก็เสด็จตามรบพุ่งลงไปถึงเมืองธนบุรี. พระยาจีนจันตุก็ให้เร่งโลสำเภาออกไปพ้นปากน้ำตกฦก. ฝ่ายสมเดจ์พระราชบิดาเสด็จหนุนทัพสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า ลงไปถึงเมืองพระประแดง ภอสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า ยกกลับขึ้นมาภบเสด็จพระราชบิดาทูลการทั้งปวงให้ทราบ. สมเดจ์พระราชบิดากับสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า ก็เสด็จคืนมายังพระนคร. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๒๔ ปีจอจัตวาศก สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวให้แต่งพระนคร ให้ขุดคูขื่อน่า. ฝ่ายทิศบูรพ์ป้อมมหาไชยวังน่าลงไปบันจบบางกะจะ กว้างสิบวาฦกสามวา แล้วให้ยกกำแพงออกไปตั้งริมน้ำขอบนอกพระนครบันจบป้อมมหาไชย แต่ป้อมมหาไชยลงไปบันจบป้อมเพชร์ ในปีนั้นเกิดขบถพระยาพิเชียรเปนจลาจลในจังหวัดแขวงหลวง แลพระยาพิเชียรนั้นสำแดงคุณโกหก กระทำการอันพิปริตสำแดงแก่ชาวชนบทประเทศนั้น แลซ่องสุมเอาเปนพวกได้มาก พระยาพิเชียรก็มาซ่องสุมคนในตำบลบ้านยี่ลัน ขุนศรีมงคลแขวงส่งข่าวขบถนั้นเข้ามาถวาย. จึ่งสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าหลวง ก็มีพระราชโองการตรัสใช้เจ้าพระยาจักรี ให้ยกพลทหารออกไปจับพระยาพิเชียรเปนขบถ. เจ้าพระยาจักรี แลขุนหมื่นทั้งหลายยกออกไปตั้งทัพ ณตำบลบ้านมหาดไทย์. พระยาพิเชียรรู้ดั่งนั้น ก็คุมสมักพักพวกทั้งปวงยกมารบเจ้าพระยาจักรี. ส่วนชาวมหาดไทย์อันยืนน่าเจ้าพระยาจักรีนั้น ก็กลับเปนพวกพระยาพิเชียรครั้นได้รบพุ่งกัน พันไชยทูตปีนท้ายช้างขึ้นฟันเจ้าพระยาจักรีตายกับฅอช้าง ไพร่พลอันไปด้วยเจ้าพระยาจักรีนั้นก็แตกฉาน เสียขุนหมื่นตายในที่รบนั้นเปนหลายคน. ๚ะ๏ ครั้นเสียเจ้าพระยาจักรีแล้วชาวชนบทนั้นก็เข้าเปนพวกพระยาพิเชียรแต่ชายสกรรธ์เปนคนประมาณสามพัน. พระพิเชียรตั้งพันไชยทูตเปนพระยาจักรี ตั้งหมื่นศรียี่ล้นชื่อพระยาเมือง แลพระยาพิเชียรคิดจะเอาเมืองลพบูรี ก็ยกไปยังเมืองลพบูรี.ฝ่ายพระยาศรีราชเดโช ซึ่งพระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว ดำรัศให้ขึ้นไปซ่อมแปลงกำแพงเมืองลพบูรีนั้น. ครั้นแจ้งข่าวว่าพวกกระบถพระยาพิเชียรยกมาเมืองลพบูรี ก็ตกแต่งที่จะรบพุ่งป้องกันเมืองไว้. ฝ่ายพระยาพิเชียรก็ยกไปถึงเมืองลพบูรี ขี่ช้างเข้าไปยืนอยู่ตำบลหัวตรีแล้วให้พักพวกเข้าปล้นที่นั้น. พระยาศรีราชเดโชก็มายืนช้างให้รบพุ่งป้องกัน. จึ่งชาวประเทศชื่ออมรวดี แฝงต้นโพธิยิงปืนกลับไปต้องพระยาพิเชียร ซบลงกับฅอช้าง. พวกขบถทั้งปวงแตกฉานพ่ายออกไป แลต่างคนต่างกระจัดพรัดพรายไปทุกตำบล. พระยาศรีราชเดโชก็เอาอมรวดีซึ่งยิงขบถตายนั้นเข้ามาถวาย. จึ่งสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวให้พระราชทานแก่อมรวดีนั้นมากนัก. แล้วตรัสให้พวกข้าหลวงออกไปจับพวกกระบถทั้งปวงนั้นได้มาก. บันดาจะลงพระราชอาชาไซ้เหตุด้วยพระองค์ทรงทศพิธราชธรรม ก็มิให้ลงพระราชอาชา แลให้ศักหมายหมู่เข้าประสมหมู่โดยโทษ. ๚ะ๏ ครั้นถึงเดือนสามพระยาลแวกก็ยกทัพเรือมา พลประมาณเจ็ดหมื่น.มาเอาเมืองเพชรบูรี. ในขณะนั้นสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสให้เมืองยโสธรราชธานีเมืองเทพราชธานี. ออกไปรั้งเมืองเพชรบุรี. จึ่งพระศรีสุรินทฦๅไชยเจ้าเมืองเพชรบุรี เมืองยโสธรราชธานี เมืองเทพราชธานี ก็ช่วยกันตกแต่งการที่จะรบพุ่งป้องกันเมือง. ครั้นพระยาลแวกยกมาถึง ก็ให้ยกพลขึ้นล้อมเมืองเพชรบุรี อยู่สามวันแล้วให้ยกเข้าปล้นเมืองเพชรบูรีให้พลทหารเอาบันไดพาดปีนกำแพงเมือง.แลชาวเมืองเพชรบุรีป้องกันเมืองเปนสามารถ ข้าศึกชาวละแวกต้องสาตราวุธตายเปนอันมาก. จะปีนป่ายปล้นเอาเมืองมิได้ ก็พ่ายออกไป. แต่พระยาลแวกยกเข้าไปปล้นดังนั้นถึงสามครั้งก็มิได้เมือง. แล้วดำริหว่าจะปล้นอีกครั้งหนึ่ง ถ้ามิได้ไซ้จะเลิกทัพคืนไป. ขณะนั้นเมืองเพชรบุรี แลเมืองยโสธรราชธานีเมืองเทพราชธานี มิได้สมักสมานด้วยกันต่างคนต่างบังคับบัญชาแล้วอยู่ป้องกันน่าที่ซึ่งได้เปนพนักงาร ป้องกันรักษานั้น มิได้พร้อมมูลคิดอ่านด้วยกัน ซึ่งจะแต่งการป้องกันข้าศึก. ครั้นณวันแปดค่ำพระยาลแวกยกเข้าปล้นตำบลคลองกะแซง แลประตูบางจาน ชาวเมืองต้านทานเปนสามารถ. ข้าศึกเผาหอรบทลายลงแล้ว ปีนกำแพงเข้าได้ในที่นั้น ก็เสียเมืองเพชรบุรีแก่พระยาลแวก แล้วเสียเจ้าเมืองเพชรบุรี. เมืองยโสธรราชธานี เมืองเทพราชธานีตายในที่นั้น. พระยาลแวกก็กวาดครัวอพยบเลิกทัพคืนไปเมือง ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๒๕ ปีกุนเบญจศกเดือนสิบเอ็ด สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า เสด็จลงมาแต่เมืองพระพิศณุโลกย์. สถิตย์อยู่ในวังใหม่. ขณะนั้นพระยาลแวกแต่งทัพพระทศราชา พระสุรินทราชาให้ยกช้างม้า แลพลประมาณห้าพันมาลาศถึงหัวเมืองฝ่ายตวันออก. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าตรัสรู้ข่าวดังนั้น ก็เอาช้างเร็วม้าเร็วแลพลทหารล้อมพระราชวังสามพันเสด็จไป ตรัสให้เมืองไชยบุรี แลขุนหมื่นเข้ามาเอาพลทหารห้าร้อยไปเปนทัพน่าให้รุดออกไปด้วยทัพเมืองศรีถมอรัตน เอาพลเข้าซุ่มอยู่สองข้างทางที่ข้าศึกจะมานั้น พลหัวน่าศึกก็ยกมาประมาณพันหนึ่งถึงที่เมืองไชยบูรี แลเมืองศรีถมอรัตน์ซุ่มอยู่นั้น. ครั้นข้าศึกเกินเข้ามา เมืองศรีถมอรัตน์เมืองไชยบุรีก็ยกพลออกมารบข้าศึก ข้าศึกก็แตกพ่ายหนีไป. จึ่งเมืองไชยบุรี เมืองศรีถมอรัตน์ตามตีข้าศึกไปจนถึงทัพใหญ่ แลได้ฟันแทงข้าศึกตายเปนอันมาก. พระทศราชา พระสุรินทราชาก็เลิกทัพหนีคืนไปยังเมืองลแวก สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าเสด็จไปถึงเมืองไชยบาดานแจ้งว่า ข้าศึกพ่ายหนีไปแล้ว ก็เสด็จกลับคืนมายังพระนคร เฝ้าสมเดจ์พระราชบิดา ทูลแจ้งเหตุซึ่งเขมรพ่ายไปนั้นเสรจ์สิ้นทุกประการ. แล้วก็ถวายบังคมคืนขึ้นไปเมืองพระพิศณุโลกย์. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๒๖ ปีชวดฉศก สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีทรงพระประชวร. ครั้นถึงณวันเสารเดือนยี่ขึ้นเจ็ดค่ำเสด็จสวรรคต. พระชนม์ได้ ๖๕ พรรษา แต่เสด็จอยู่ในราชสมบัติสามสิบห้าพรรษา. มังเอิงราชบุตรผู้เปนพระมหาอุปราชาได้ผ่านสมบัติกรุงหงษาวดี. ตรัสให้มังสามเกลียดราชบุตรเปนมหาอุปราชา สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีเสวยราชใหม่ บ้านเมืองยังมิปรกติ. ฝ่ายเมืองรุมเมืองคังก็แขงเมือง ข่าวนั้นแจ้งมาถึงสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า พระนเรศวรเปนเจ้าก็เสด็จลงมาณกรุง กราบทูลสมเดจ์พระบรมราชบิดาตามข้อความซึ่งแจ้งมานั้นทุกประการ จะฃอถวายบังคมลาขึ้นไปช่วยการสงครามเมืองหงษาวดี จะได้ฟังซึ่งกิจการในเมืองหงษาวดีด้วย. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวก็บัญชาตาม. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า ก็ถวายบังคมลากลับคืนมาเมืองพระพิศณุโลกย์ ให้ตรวจเตรียมรี้พลช้างม้าโดยกระบวนพยุหบาตราทัพพลสะกรรลำเครื่องแสนหนึ่ง ช้างเครื่องแปดร้อยม้าพันห้าร้อย. ครั้นได้ศุภฤกษก็เสด็จทรงช้างพระที่นั่ง ยกทัพหลวงขึ้นไปถึงตำบลพระตำหนักไม้ไผ่ใกล้เมืองหงษาวดี สามเวนก็ภักพลอยู่ที่นั้น จึ่งบอกหนังสือเข้าไป. พระเจ้าหงษาวดีแจ้งก็ดีพระไทย. จึ่งให้แต่งเสบียงอาหารแลเครื่องเสวยลงมาถวาย แล้วก็นำเสด็จขึ้นเฝ้าพระเจ้าหงษาวดี. พระเจ้าหงษาวดีจึ่งตรัสว่า ซึ่งพระเจ้าหลานเรายกขึ้นมาครั้งนี้ มีความยินดีนัก. แลแจ้งการซึ่งเมืองรุมเมืองคังแขงเมืองนั้นให้ฟังทุกประการ. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าทูลว่า ข่าวแจ้งลงไปข้าพระองค์จึ่งยกขึ้นมาช่วยการพระราชสงคราม. พระเจ้าหงษวดีตรัสให้พระนเรศวรเปนเจ้า กับพระมหาอุปราชา แลพระสังขทัศ ยกไปเอาเมืองรุมเมืองคังจงได้ ทั้งสามพระองค์ก็ถวายบังคมลายกไปถึงเมืองรุม เมืองคัง. ให้ตั้งค่ายแลปลูกราชสันถาคาระไว้ณถ้ำกลาง เสด็จปฤกษาราชการพร้อมกันทั้งสามพระองค์ พระมหาอุปราชาจึ่งตรัสว่า ซึ่งจะยกเข้ารบพร้อมกันทั้งสามทัพนั้น ไพร่พลจะตลุมบอนกัน จะผลัดกันเข้ารบทัพลวัน. ๚ะ๏ ครั้นปฤกษาพร้อมกันแล้ว พระมหาอุปราชายกขึ้นไปรบ ณวันจันทรเดือนเจ็ดขึ้นเจ็ดค่ำเพลาสี่ทุ่มเดือนตก. ฝ่ายข้าศึกก็คัดก้อนสิลาลงมาทับรี้พลล้มตายเปนอันมาก ขึ้นไปมิได้เพลาจวนรุ่งก็ถอยลงมา. ครั้น ณวันอังคารเดือนห้าขึ้นแปดค่ำ ทัพพระสังขทัศยกขึ้นไปรบ ข้าศึกก็คัดก้อนสิลาลงมาทับรี้พลล้มตายเปนอันมาก จะหักเอามิได้ก็ถอยลงมา. ครั้นณวันพุทธเดือนห้าขึ้นเก้าค่ำเพลาตีสิบเอ็ดทุ่ม สมเดจ์พระนเรศวรผู้เปนเจ้า ก็ยกทหารปีนหนี่ขึ้นไป. ให้พลปืนปีนเข้าแซงทั้งสองข้างแลทางกลางนั้นให้พลอยู่แต่ตีนเขาให้ห่าง แล้วโห่ร้องกระทำอาการดุจปีนขึ้นทางนั้น. ชาวเมืองก็สำคัญว่าข้าศึกขึ้นมาทางนั้น ก็กลิ้งก้อนสิลาลงมาก็มิได้ถูกผู้ใด. ฝ่ายพลซึ่งแซงขึ้นไปก็ยิงระดมไปต้องชาวเมืองล้มตายป่วยเจ็บเปนอันมาก แตกระส่ำระสายเพลาเช้าสามโมงก็ได้เมือง จับได้ตัวเจ้าเมืองรุมเจ้าเมืองคังลงมาค่าย. ทั้งสามพระองค์ก็เลิกทัพคุมเอาเจ้าเมืองรุมเมืองคังมายังเมืองหงษาวดี แล้วทูลตามซึ่งได้ไชยชำนะ. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดียินดี ตรัสชมฝีพระหัตถแลความคิดสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า แล้วพระราชทานพานทองคำใส่ภูษาองค์หนึ่ง ทองหนักห้าชั่งจำหลักเปนรูปเทวดา. พระมหาอุปราชาน้อยพระไทยแก่พระนเรศวรเปนเจ้านัก. ๚ะ๏ ฝ่ายสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าก็ทูลลาพระเจ้าหงษาวดี ๆ ก็ตรัสให้มังทูมังอันมังอบารจอถาง สมิงพระตะเบิดลงไปอยู่หัวเมืองรายทาง ให้จ่ายเสบียงเลี้ยงดูไพร่พลไปกว่าจะถึงแดนพระนครศรีอยุทธยา. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าเสด็จกลับลงมาถึงเมืองพระพิศณุโลกย์ แล้วก็เปลื้องเครื่องทรงออกบูชาถวายพระชินราช พระชินสีห์เจ้า ให้กระทำสับทสมโพชการมหรสพสามวันแล้วเสด็จลงมาเฝ้าสมเดจ์พระราชบิดา ณกรุงเทพมหานครจึ่งเอาการซึ่งได้รบพุ่งมีไชยชำนะข้าศึกนั้นกราบทูลให้ทราบ. สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวมีพระไทยยินดีนักให้แต่งการสมโพชสมเดจ์พระอัคโอรสาธิราชเจ้าเจ็ดวัน แล้วพระราชทานปูนบำเหน็จทแกล้วทหารทั้งปวงโดยสมควร. ครั้นเสร็จการสมโพชแล้ว สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าก็กราบถวายบังคมลากลับขึ้นไปสถิตยอยู่ยังเมืองพระพิศณุโลกย. ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าหงษาวดีนั้นมิได้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมดำริหว่า พระนเรศวรประกอบไปด้วยปัญญาหลักแหลมฦกซึ้งทั้งการสงครามก็องอาจกล้าหาร นานไปเหนจะเปนเสี้ยนสัตรูต่อเมืองหงษาวดีเปนมั่นคง จำจะคิดเทครัวอพยบหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวงมาไว้เปนกำลังในเมืองหงษาวดี การศึกพระนเรศวรก็จะถอยกำลังลง. ครั้นดำริห์แล้วจึ่งตรัสให้นันทสุ กับราชสงครามถือพลหมื่นหนึ่งไปตั้งทำยุ้งฉางอยู่ณเมืองกำแพงเพชร นันทสุกับราชสงครามก็ยกไปตั้งทำการอยู่ณเมืองกำแพงเพชรตามรับสั่ง. ฝ่ายพระเจ้าหงษาวดีคิดเปนกลอุบาย ให้มีศุภอักษรไปถึงพระนเรศวรว่า บัดนี้กรุงบุรรัตนอังวะเปนกระบถแขงเมืองต่อพระนครหงษาวดี ให้เชิญพระนเรศวรยกมาช่วยการสงครามตีกรุงบุรรัตนอังวะ. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าแจ้งดั่งนั้นสำคัญว่าจริง ก็เสด็จลงไปทูลลาสมเดจ์พระราชบิดา. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวก็บัญชาตาม. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า ก็กราบถวายบังคมลาขึ้นมายังเมืองพระพิศณุโลกย์ จึ่งกำหนดให้ตรวจเตรียมพลสกรรธ์สำเครื่องแสนหนึ่ง ช้างเครื่องแปดร้อยม้าพันห้าร้อยไว้ให้พร้อม. ๚ะ๏ ครั้น ณวันอาทิตยเดือนสามแรมหกค่ำปีฉลูสัปตศก เพลาสิบเอ็ดทุ่มเก้าบาทกอบด้วยเพชรฤกษ เสด็จทรงพระคชาธารพร้อมด้วยพยุหแสนยากร ทอดพระเนตรเหนพระสาริริกะบรมธาตุเสด็จปราฎิหารแต่บูรพทิศ ผ่านพระคชาธารไปโดยประจิมทิศเท่าผลมพร้าวปอกแล้ว จึ่งเสด็จยาตราทัพหลวงออกไปโดยประตูไชยแสน ไปถึงตำบลวัดยมท้ายเมืองกำแพงเพชรเพลาบ่ายห้าโมง เกิดวาตะพยุฝนตกห่าใหญ่แผ่นดินไหวเปนอัษจรรย์. ครั้นรุ่งขึ้นก็ยกทัพหลวงเสด็จไปถึงเมืองกำแพงเพชร์ ตั้งประทับแรมอยู่ตำบลหนองปลิงสามเวน แล้วก็ไปโดยทางเชียงกุมตะเหมาะ.ขณะนั้นพระยากำแพงเพชรสั่งข่าวไปถวายว่าไทยใหญ่เวียงเลือตวันเกียกกาย ขุนปลัดมังทราง มังนิวายลองกับนายม้าทั้งปวง อันอยู่ณเมืองกำแพงเพชรภาครัวอพยบหนี พม่ามอญแตกแก่ไทยใหญ่ทั้งปวง ๆ ยกไปทางเมืองพระพิศณุโลกย์.สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าทราบดั่งนั้นก็ให้ม้าเร็วไปบอกแก่หลวงโกษา. แลลูกขุนอันอยู่รักษาเมืองพระพิศณุโลกย์ว่า.ซึ่งไทยใหญ่หนีมานั้นเกลือกจะไปเมืองอื่นให้แต่งอายัดด่านเมืองเพชร์บูรณ เมืองนครไทยชาตระการแสเฝ้าให้มั่นคงไว้ อย่าให้ไทยใหญ่ออกไปรอด. หลวงโกษาแลลูกขุนทั้งปวงทราบดั่งนั้นก็ออกไปกำชับด่านทางทั้งปวงตามรับสั่ง. ฝ่ายไทยใหญ่ก็ภาครอบครัว ตรงเข้ามายังเมืองพระพิศณุโลกย์ หลวงโกษาแลลูกขุนทั้งปวงก็รับพิทักษรักษาไว้. นันทสุกับราชสงคราม มีหนังสือมาให้ส่งไทยใหญ่. หลวงโกษาแลลูกขุนทั้งปวงผู้อยู่รักษาเมืองพระพิศณุโลกย์ก็มิได้ส่ง. ฝ่ายสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า เสด็จยกพยุหแสนยากรไปถึงเมืองแครง ณวันพฤหัศเดือนหกขึ้นสิบค่ำ. ๚ะ๏ ขณะนั้นรู้ข่าวไปถึงซักแซงยอถางเจ้าเมืองแคลง ให้ปลัดเมืองออกมาทูลว่า ขอเชิญเสด็จพักพลอยู่แต่นอกเมืองแครงก่อน. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าก็ให้ภักพลอยู่ใกล้อารามพระมหาเถรคันฉ่อง แล้วตรัสให้ข่าวขึ้นไปถึงพระเจ้าหงษาวดีว่า ยกทัพมาถึงเมืองแครงแล้ว. พระเจ้าหงษาวดีทรงทราบดั่งนั้นก็มีความยินดีว่า ครั้งนี้จะสมคิดแล้ว จึ่งให้กองทัพหมื่นหนึ่งออกไปสุ้มไว้ต่อทางพระนเรศวรจะขึ้นมานั้น ไกลเมืองหงษาวดีวันหนึ่ง. แล้วตรัสให้พระยาเกียรติ พระยาพระรามลงไปรับ ถ้าพระนเรศวรยกขึ้นมาแล้ว เราจะยกทัพหลวงออกตีน่า ให้พระยาเกียรติพระยาพระรามเอากองทัพทั้งนี้ตีกระหนาบหลัง จับเอาตัวพระนเรศวรประหารชีวิตรเสียให้จงได้. เมืองหงษาวดีจึ่งจะเปนอิศรภาพไพสาฬกว่าพระนครทั้งปวง พระยาเกียรติ พระยาพระรามก็ถวายบังคมลายกทัพไปยังเมืองแครง ก็ทูลสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าว่า พระเจ้าหงษาวดีให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองนี้มารับเสด็จขึ้นไป. ทูลเท่าดั่งนั้นแล้วก็ถวายบังคมลาไปนมัสการพระมหาเถรคันอ่องผู้เปนพระอาจาริย แจ้งความซึ่งพระเจ้าหงษาวดีคิดทำการทั้งปวงนั้น ให้พระมหาเถรคันฉ่องฟังทุกประการ. พระมหาเถงคันอ่องแจ้งดั่งนั้น มีใจกรุณาแก่สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า เพื่อว่าหาความผิดมิได้. อนึ่งพระราชกฤษฎาพินิหารบารมีสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า จะได้บำรุงพระบวรพุทธสาศนาแลประชาราษฎร ให้ถาวรวัฒนาการสืบไป. ครั้นเพลาค่ำมหาเถรคันฉ่องก็ภาพระยาเกียรติพระยาพระรามเข้าไปเฝ้าสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า แลถวายพระพรว่า พระยาเกียรติ พระยาพระรามนี้เปนษานุสิษรูปมาบอกว่า พระเจ้าหงษาวดีคิดปทุฐร้ายต่อพระองค์ สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าแจ้งดั่งนั้น ก็ตรัสถามพระยาพระรามพระยาเกียรติว่า เหตุผลประการใดพระเจ้าหงษาวดีจึ่งคิดจะทำร้ายเรา พระยาพระราม พระยาเกียรติก็กราบทูลตามความซึ่งพระเจ้าหงษาวดีคิดแลสั่งนั้นถวายทุกประการ. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าได้ทรงทราบดั่งนั้นก็น้อยพระไทย คิดอาฆาฎแก่พระเจ้าหงษาวดี. จึ่งตรัสแก่พระมหาเถรคันฉ่องว่าซึ่งพระองค์เมตาบอกเหตุการแก่ข้าพระเจ้าทั้งนี้พระคูณนั้นหาที่สุดมิได้. อันพระองค์อยู่ในเมืองมอญนี้พระเจ้าหงษาวดีแจ้ง อันตรายก็มิเปนมั่นคง. ข้าพเจ้าจะนำพระองคกับพระยาเกียรติ พระยาพระราม. แลญาติโยมทั้งปวงลงไปอยู่ณกรุงมหานครศรีอยุทธยา ปติการะสนองคุณพระองค์. แลจะปลูกเลี้ยงพระยาเกียรติ พระยาพระรามโดยกตะเวทีธรรมประเวณี. พระมหาเถรคันฉ่อง แลพระยาเกียรติ พระยาพระรามก็พร้อมโดยพระราชบริหาร. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าก็ตรัสแก่มุขมาตยาโยธาหารทั้งปวงว่า ความผิดเราหามิได้. ซึ่งพระเจ้าหงษาวดีคิดร้ายต่อเราก่อนนั้น อันแผ่นดินพระมหานครศรีอยุทธยา กับแผ่นดินหงษาวดี ขาดทางพระราชไมตรีกัน. เพราะอกุศลกรรมนิยมสำหรับที่จะให้สมณพราหมณาประชาราษฎรได้ความเดือดร้อน. แล้วพระหัตถก็ทรงสุวรรณภิงคารหลั่งอุทกธาราลงเหนือพื้นพระสุธาดล จึ่งออกพระโอษฐตรัสประกาศแก่เทพยเจ้าทั้งหลาย อันมีมหิทธิฤทธิแลทิพจักษุทิพโสตร ซึ่งสถิตย์อยู่ทุกทิศานุทิศ จงเปนทิพยาน. ด้วยพระเจ้าหงษาวดีมิได้ตั้งอยู่โดยคลองสุจริตมิตรภาพขัติยประเพณีเสียสามัคคีรศธรรม ประพฤติพาลทุจริตคิดจะทำภยันตรายแก่เรา. ตั้งแต่นี้ไปกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา กับหงษาวดีมิได้เปนสุวรรณปัถพีเดียวดุจหนึ่งแต่ก่อน ขาดจากกันแต่วันนี้ไปกราบเท่ากัลปาวสาน. ครั้นพระราชบริหารประกาศเปนฉินทภาคยไภยันตรายเสร็จแล้ว ก็มีพระราชโองการตรัสสั่งแก่ท้าวพระยามุขมนตรีทั้งปวงว่า เราจะยกกลับลงไปพระนครครั้งนี้ จะภาพระมหาเถรคันฉ่อง แลญาติโยม กับพระยาพระราม พระยาเกียรติไป. แล้วจะตีกวาดครอบครัวรามัญหัวเมืองรายทางไปด้วย. ๚ะ๏ ครั้นณวันศุกรเดือนหกแรมสามค่ำ เพลาสิบเบ็ดทุ่มให้เอาพระคชาธารเทียบเกย ทอดพระเนตรเหนพระสาริริกบรมธาตุเสด็จปราฎิหารแต่ประจิมทิศ ผ่านพระคชาธารไปโดยบูรพทิศ. จึ่งเสด็จพยุหบาตราทัพออกจากเมืองแครง พระมหาเถรคันฉ่อง พระยาพระราม พระยาเกียรติ แลญาติโยมก็มาโดยเสด็จ. ฝ่ายนายทัพนายกองทั้งปวงก็แยกย้ายกันตีครัวต้อนครัวมาได้ประมาณหมื่นเสศ ครั้นถึงฝั่งแม่น้ำสโตง ก็เที่ยวเก็บเรือหาไม้ผูกพ่วงแพเร่งข้ามครอบครัวรี้พลช้างม้าทั้งปวงถึงฟากน้ำสิ้นก็ให้เผาเรือทำลายแพเสีย. ภอพระเจ้าหงษาวดีแจ้ง ก็ให้พระมหาอุปราชาถือพลแสนหนึ่ง สุระกรรมาเปนกองทัพน่า ตามมาถึงแม่น้ำสโตงฟากหนึ่ง. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าทอดพระเนตรเหนดั่งนั้น ก็ให้นายทัพนายกองนำพระมหาเถรคันฉ่อง กับครองครัวรีบยกออกไปก่อน แต่พระองค์กับทหารลำลองหมื่นห้าพันนั้น ยังรออยู่ริมฝั่ง. ตรัสให้ทหารปืนหามแล่นนกสับคาบชุดยิงระดมไป ทหารยิงระดมไปเปนอันมากก็มิได้ถึง. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า ก็ทรงพระแสงปืนนกสับยาวเก้าคืบ. ยิงไปต้องสุระกรรมาตายตกจากฅอช้าง. รี้พลมอญทั้งนั้นเหนก็อัษจรรย์ แม่น้ำนั้นกว้างเหลือกำลังปืน กลัวพระเดชเดชาณุภาพ แลพระมหาอุปราชามิอาจจะตามมาเลิกทัพกลับไป. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า ก็ยกมาโดยทางเมืองกาญจน์บุรี. ๚ะ๏ ครั้นถึงพระนครศรีอยุทธยา ก็กราบทูลเรื่องยุบลกิจทั้งปวง ถวายให้ทรงทราบทุกประการ. สมเดจ์พระราชบิดาแจ้งดั่งนั้นแล้วก็ตรัสว่า เราไม่มีผิด พระเจ้าหงษาวดีมิได้ตั้งอยู่ในคลองธรรม์เสียสัตยานุสัจ ประพฤติพาลทุจริตอิจฉาเปนวิสมโลภต่อเราฉนี้ ก็เพราะผลวิบากแห่งสัตวเปนสำหรับกาลกระลียุค ตั้งแต่นี้ไปมอญกับไทยจะเปนปะระปักข์แก่กัน. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าก็กราบทูลว่า พระเจ้าหงษาวดีจะยกพยุหแสนยากรข้าศึกมาเท่าใดก็มิได้เกรง ข้าพเจ้ายังมีชีวิตรอยู่ จะสนองพระคุณมิให้เคืองฝ่าพระบาท. สมเดจ์พระราชบิดากับสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า ดำริห์การเสร็จแล้ว. จึ่งโปรดให้พระมหาเถรคันฉ่องอยู่ณวัดมหาธาตุ พระราชทานสัปะทนกันชิงคานหามคนหาม จันหันนิจพัตรเครื่องสมณบริขารต่าง ๆ. ฝ่ายพระยาเกียรติ พระยาพระรามนั้น ก็พระราชทานเจียดทอง เต้าน้ำทอง กระบี่บั้งทอง เงินตราเสื้อผ้าพรรณนุ่งห่ม แลเครื่องอุประโภคเปนอันมาก. แลครอบครัวมอญซึ่งกวาดลงมานั้นก็พระราชทานให้พระยาพระราม พระยาเกียรติควบคุมว่ากล่าวด้วย. แลพระยาเกียรติ พระยาพระรามนั้น ให้อยู่ตำบลบ้านขมิ้นวัดขุนแสน. ญาติโยมพระมหาเถรคันฉ่องนั้น อยู่ตำบลบ้านหลังวัดนก. แล้วสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าก็กราบถวายบังคมลากลับขึ้นมายังเมืองพระพิศณุโลกย์ เสดจ์เข้าไปถวายนมัศการพระชินราช พระชินสีห์ จึ่งทรงพระราชศรัทธาเปลื้องเครื่องสุวรรณอลังกาขัติยาภรณ์ ออกจากองค์กระทำสการบูชา แล้วเสด็จออกพร้อมด้วยมุขมาตยมนตรี. ๚ะ๏ ขณะนั้นหลวงโกษา แลลูกขุนทั้งปวงผู้อยู่รักษาเมืองนั้น ก็นำน่าบันดานายไทยใหญ่เข้าเฝ้า จึ่งบังคมทูลว่า มีหนังสือนันทสุ ราชสงคราม ซึ่งมาตั้งอยู่ณเมืองกำแพงเพชร มาให้ส่งไทยใหญ่ แลครัวซึ่งหนีมาอยู่ณเมืองพระพิศณุโลกย์ พระเจ้าอยู่หัวมิได้เสด็จอยู่ ซึ่งจะส่งไปนั้นมิได้. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าทราบดั่งนั้น ก็ตรัสให้มีหนังสือตอบไปว่า ธรรมดาพระมหากษัตราธิราชผู้ดำรงทศพิธราชธรรมนั้น อุประมาดั่งร่มพระมหาโพธิอันใหญ่ แลมีผู้มาพึ่งพระราชสมภาร หวังจะให้พ้นจากไภยอันตรายต่างๆ ซึ่งนันทสุกับราชสงครามจะให้ส่งไทยใหญ่ไปนั้นไม่ควร ด้วยล่วงขัติยราชประเพณีธรรม. ฝ่ายนันทสุกับราชสงครามแจ้งดั่งนั้น ก็ปฦกษากันว่า สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า ยกพยุหบาตราทัพขึ้นไปเมืองหงษาวดีครั้งนี้เหตุไฉนจึ่งไม่กลับโดยทางเมืองกำแพงเพชรเล่า. บัดนี้ก็มีหนังสือเปนคำฉกรรจ์องอาจมาดั่งนี้ เหนประหลาดนักเราอยู่มีได้. จำจะเลิกครอบครัวเมืองกำแพงเพชรอพยบไปเมืองหงษาวดีจึ่งจะมีความชอบ แลข่าวดั่งนี้ก็แจ้งไปเมืองพระพิศณุโลกย์.สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า ให้ประชุมท้าวพระยามุขมนตรีปฤกษาว่า ซึ่งเราจะละให้เมืองกำแพงเพชรฉิบหาย พรัดพรากจากภูมลำเนานั้นมิชอบ. เราจะยกไปตีนันทสุกับราชสงคราม มิให้เอาครัวเมืองกำแพงเพชรไปได้. ท้าวพระยามุขมนตรีทั้งปวงก็เหนโดยพระราชบริหาร. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า ก็ตรัสให้ข้าหลวงไปกุมเอาตัวพม่ามอญซึ่งมาอยู่ประจำหัวเมืองฝ่ายเหนือส่งลงไปณกรุงเทพมหานครสิ้น. แล้วกำหนดไปแก่พระยาสวรรคโลกย์พระยาพิไชย ให้โดยเสด็จจะยกไปเอานันทสุ กับราชสงคราม จึ่งให้ตรวจรี้พลช้างม้า. ครั้นณวันพฤหัศเดือนแปดขึ้นเจ็ดค่ำเพลาชายแล้วห้าบาท ก็เสด็จพยุหบาตราทัพจากเมืองพระพิศณุโลกย์ ไปเมืองกำแพงเพชร. ๚ะ๏ ฝ่ายนันทสุกับราชสงครามรู้ข่าวว่า สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าเสด็จมาก็เลิกรี้พลช้างม้าหนีไปจากเมืองกำแพงเพซร.สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าทรงทราบ ก็ตรัสให้พระยาไชยบูรณ ขุนพะศรี แลพระหัวเมืองทั้งปวงยกกรีธาพลช้างม้าเปนกองทัพน่าล่วงตามไป. พระยาไชยบูรณตามมาทันถึงตำบลแมรกา.นันทสุกับราชสงคราม ก็ยกรี้พลช้างม้ารบพุ่งพระยาไขยบูรณข้าหลวงทั้งปวงเปนสามารถ. ในขณะนั้นพระยาไชยบูรณขี่ช้างพลายปืนพระราม ได้ชนช้างนันทสุสู้ ช้างนันทสุได้ล่าง ช้างพระยาไชยบูรณเลือกเสียทีเปรไป นันทสุจ้วงฟันไปด้วยฃอง้าว ต้องนิ้วชี้พระยาไชยบูรณกระทบข้อขาด. ช้างพระยาไชยบูรณกลับได้ล่างค้ำถนัด ช้างนันทสุทานกำลังไม่ได้ขวางพ่ายไป. ขุนพะศรีขี่ช้างพลายศัตรูพินาศ ได้ชนด้วยช้างราชสงครามเปนสามารถ ช้างราชสงครามก็พ่ายแก่ข้าหลวงทั้งสอง. แลนันทสุกับราชสงครามหนีไปโดยทางเมืองเชียงทอง. ครั้งนั้นไทยใหญ่ ชาวแสนหวีอันมาอยู่ณเมืองเชียงทองสกรรธ์แลครัวอพยพมาประมาณสองหมื่นเสศ. แต่ผู้มีบันดาศักดิ์เจ้าฟ้าเมืองจี เจ้าฟ้าเมืองลองแจไหม่ เมืองปากสมิงดีมายาเยือ แลไทยใหญ่ช้างม้าทั้งปวง ก็เอาครัวอพยบออกมาสู่พระราชสมภาร. จึ่งแต่งช้างม้ารี้พลทแกล้วทหารช่วยตามตีนันทสุ กับราชสงคราม ถึงตำบลแมงรางซาง แล้วกลับคืนมายังทัพหลวงตำบลเชียงทอง. ๚ะ๏ ฝ่ายพระยาพิไชยข้าหลวงเดิมแจ้งว่า สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า กับพระเจ้าหงษาวดีเปนประปักข์แก่กัน ก็คิดการกระบถ. ครั้นแจ้งพระราชกำหนดก็มิได้ยกไปโดยเสด็จ. จึ่งซ่องสุมชาวเมืองกวาดครอบครัวของตัว แลครัวชาวเมืองทั้งปวง ซึ่งเข้ามาด้วยกันนั้น ไปณเมืองสวรรคโลกย์ แจ้งความทั้งปวงแก่พระยาสวรรคโลกย์ ๆ ก็ลงใจด้วยกัน จะยกไปตีเอาเมืองพระพิศณุโลกย์. แต่หลวงปลัด แลขุนยกกระบัต ขุนนรนายกไซ้มิได้ลงใจด้วย. พระยาทั้งสองก็ให้คุมเอาหลวงปลัด แลขุนยกกระบัต ขุนนรนายกไว้. ฝ่ายสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าแจ้งว่า พระยาทั้งสองเปนขบถ จึ่งยกทัพหลวงเสด็จจากเชียงทองไปเมืองสวรรคโลกย์ เสด็จไปทางศุโขไทย ก็ตั้งทัพหลวงตำบลวัดฤาษีชุม. จึ่งทรงพระกรุณาบัญชาตรัสให้ชาวพ่อชุมนุมพรหมณาจารย เอาน้ำในบ่อพระสยมภูวนารถ แลเอาน้ำตระพังโพยศรี มาตั้งบูชาโดยกิจพิธีกรรมเปนน้ำสัตยาธิฐาน แลเอาพระศรีรัตนไตรยเจ้าเปนประธาน ให้ท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทหารทั้งหลายกินน้ำสัตยาแล้ว. ครั้นรุ่งทัพหลวงก็เสด็จขึ้นไปโดยทางเขาคับ ถึงเมืองสวรรคโลกย์ ณวันศุกร์เดือนแปดขึ้นห้าค่ำตั้งทัพหลวงตำบลวัดไม้งาม. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า ทรงพระกรุณาแก่พระยาทั้งสอง ตรัสให้ข้าหลวงเข้าไปร้องประกาษว่า ให้พระยาทั้งสองออกมาถวายบังคม ทรงพระกรุณามิได้เอาโทษ. แลพระยาพิไชย พระยาสวรรคโลกย์มิได้โดยพระราชโอวาท ทำอุกอาจตวาจตราจัดไพร่พลเมืองขึ้นรักษาน่าที่เชิงเทินป้องกันเมืองไว้. แลพระยาทั้งสองก็ฆ่าหลวงปลัด ขุนยกกระบัต ขุนนรนายก ซึ่งมิลงใจด้วยนั้นไซ้ ตัดเอาศีศะซัดออกมาให้ข้าหลวง. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าทรงพระพิโรธ. ครั้นเพลาค่ำก็ตรัสให้ยกพลทหารเข้าปล้นเมือง ตำบลประตูสามเกิดแห่งหนึ่ง ประตูม่อแห่งหนึ่ง ประตูสะภานจันแห่งหนึ่ง ปล้นแต่ค่ำจนเที่ยงคืน แลเผาป้อมชั้นนอก ประตูสามเกิดก็เข้ามิได้. จึ่งมีพระราชโองการตรัสถามโหราจาริย์ว่า ยังจะได้เมืองสวรรคโลกย์ฤๅ โหราจาริย์บังคมทูลว่าจะได้ แต่ซึ่งปล้นข้างประตูสามเกิดนี้ เหนจะได้ด้วยยาก ถ้าปล้นข้างทิศอุดมแหลมไซ้ เหนจะได้โดยง่าย. เพราะทิศข้างนั้นเปนอริแก่เมือง. จึ่งมีพระราชโองการตรัสให้พระยาไชยบูรณ ขุนหลวงธรรมไตรยโลกย์ ขุนราชรินทรยกพลจากประตูสภานจัน มาตั้งข้างประตูดอนแหลม. แล้วให้เร่งแต่งการอันจะเข้าปล้นเอาเมือง. อนึ่งที่ประตูสามเกิด แลประตูม่อ แลให้ตั้งพลทหารเข้ารบพุ่งจนสว่างก็ยังมิได้. ๚ะ๏ ครั้นรุ่งขึ้นณวันอาทิตยเดือนแปดแรมสองค่ำ ก็ยกทัพหลวงมาตั้งประตูข้างดอนแหลม แล้วก็เร่งแต่งการให้เข้าปล้นเมืองนั้นเปนสามารถ. ชาวเมืองยิงปืนไฟพุ่งสาตราวุธมาต้องพลหลวงป่วยเจบล้มตายเปนอันมาก จะปีนกำแพงขึ้นมิได้. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าก็ตรัสให้ลงโทษขุนอินทรเดช ผู้เปนยกระบัตรอันบังคับต้อนพลเข้าปล้นเมือง แลนายทัพนายกองทั้งหลายนั้น ให้มัดทะเวนรอบทัพ. จึ่งขุนอินทรเดช แลข้าหลวงทั้งปวงถวายทานบนว่า จะขอเข้าปล้นเมืองให้จงได้. พระยาไชยบูรณบังคมทูลว่า ซึ่งมิได้ตั้งค่ายประชิ แลจะปีนปล้นเอาเมืองดั่งนี้ พลทหารทั้งหลายจะทำการมิสดวก เพราะชาวเมืองป้องกันถนัด จะขอทำค่ายประชิ แลปลูกหอรบขึ้นให้สูงเสมอกำแพง แล้วจะได้ยิงปืนใหญ่น้อยสาดเข้าไป เจ้าน่าที่ก็จะระสำรสายเหนจะได้เมืองโดยง่าย. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าก็เหนชอบด้วย ก็ให้ตัดไม้ใหญ่แลไม้ตโหนดมาทำตามพระยาไชยบูรณกราบทูล. ๚ะ๏ ครั้น ณวันจันทร์เดือนแปดแรมสามค่ำ เพลาชายแล้วสองนาฬิกาห้าบาท ยกพลทหารเข้าเผาประตูดอนแหลมนั้นทำลายลง. จึ่งให้พลทหารกรูกันเข้าเอาบันไดพาดกำแพงปีนเข้าไปในเมืองนั้นได้ แลตัวพระยาสวรรคโลกย์ก็หนีไปพึ่งอยู่บนกุฎีพระสงฆ์ณวัดไผ่ได้ แลชาวทหารก็ตามไปกุมตัวได้เอามาถวาย ส่วนพระยาพิไชยหนีจากเมืองสวรรคโลกย์ ไปถึงแดนเกาะจุลจะไปเชียงใหม่ ชาวด่านก็กุมเอาตัวพระยาพิไชยมาถวาย สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า ดำรัศให้มัดพระยาสวรรคโลกย์ พระยาพิไชยทะเวนรอบทัพแล้วให้ฆ่าเสีย. จึ่งตรัสให้เทครัวอพยบทั้งปวงมายังเมืองพระพิศณุโลกย์ แล้วให้เชิญรูปพระยาร่วงพระยาฦๅ อันรจนาด้วยงาช้างเผือกนั้นมาด้วย. ถึงณวันพฤหัศเดือนแปดแรมหกค่ำ เพลาสิบเบ็ดทุ่มแปดบาด ให้เรียกช้างพระที่นั่งประทับเกย เหนพระสาริริกบรมธาตุเสด็จปราฎิหาร แต่ตวันตกผ่านช้างพระที่นั่งมาตวันออก โดยทางที่จะเสด็จมานั้นเท่าผลมะพร้าวปอกแล้ว ก็ยกทัพหลวงเสด็จคืนมาโดยทางน้ำขุ่นทางเมืองพิไชย เสด็จมาเมืองพระพิศณุโลกย์. ๚ะ๏ ขณะนั้นภอสมเดจ์พระราชบิดา ดำรัศให้พระยาราชินิกุล หมื่นทิพเสนา หมื่นราชามาตย์นำเอาหนังสือ กับขุนเทพโกษา หมื่นไชยสงคราม หมื่นเทพปรีชา กับเขมรสามนาย ซึ่งพระยาลแวกแต่งให้เปนทูตถือหนังสือมาคว่างไว้ ณด่านเมืองระยองขึ้นไปถวาย. ๚ะ๏ ในหนังสือนั้นว่า พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดีรำพึงถึงคุณสมเดจ์บรมบพิตรพระเจ้ากรุงพระนครศรีอยุทธยา แลสมเดจ์พระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตรอันเปนเจ้าเมืองพระพิศณุโลกย์ ได้เสวยราชครองพิภพกรุงศรีอยุทธยาโดยบูราณพระมหากระษัตราธิราชนั้น เหนว่าพระบุญานุภาพประเสริฐนัก. ด้วยแต่ก่อนสมเดจ์พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชพระเจ้าช้างเผือก. ทรงพระมหากรุณาพระเชษฐาข้าพระบาท ซึ่งเปนประปักข์ต่อพระองค์ แล้วมิได้มีพระไทยอาฆาฎ ปลูกเลี้ยงดำกลให้คงอยู่ในเสวตรฉัตรกรุงกัมพูชาประเทศแล้วรับเอานักพระสุโทนักพระสุทัน ไปชุบเลี้ยงเปนราชบุตรบุญธรรมนั้น พระคุณใหญ่หลวงนัก. ฝ่ายข้าพระบาทนี้เล่า ก็เปนคนโมหจิตรคิดประทุษฐร้าย เปนปัจามิตรต่อพระองค์มานั้น โทษผิดนัก ขอพระองค์จงให้อไภยโทษ. บัดนี้ข้าพระบาทกับท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขสมณพราหมณาริยทั้งหลาย ขอเปนพระราชไมตรีด้วยพระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองค์ สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าทราบสารดั่งนั้น ก็มีพระไทยยินดี พระราชทานทูตานุทูต. แล้วดำรัศให้แต่งหนังสือตอบไปเปนใจความว่า ซึ่งพระยาลแวกโมหจิตร แล้วคิดกลับใจได้ มาขอเปนราชไมตรีนั้น เราก็อไภยโทษให้ อันเมืองลแวกโพ้นจะถาวรบริบูรณ์ ทั้งสมณพราหมณาจารยไพร่ฟ้าข้าขอบขันทเสมากัมพูชาประเทษ จะเปนศุขานุศุขสืบไป. ถึงเดือนแปดปัถมาสาธ จึ่งดำรัศให้หมื่นศรีพิรมย์ขุนพะศรี หมื่นรามณรงค์ ถือรับสั่งออกไปกับทูตานุทูตเมืองลแวก ๚ะ๏ ครั้น ณวันอังคารเดือนแปดแรมสิบเบ็ดค่ำปีขานอัฐศก จึ่งตรัสให้ส่งครอบครัวไทยใหญ่ซึ่งมาพึ่งบรมโพธิสมภารนั้น ลงไปยังกรุงเทพมหานคร. สมเดจ์พระราชบิดาก็พระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ไทยใหญ่ทั้งปวง แล้วก็ให้ตั้งบ้านอยู่ตำบลวัดป้อม. ครั้นถึงเดือนแปดทุติยาสาธ สมเดจ์พระนเรศรวรเปนเจ้า ตรัสให้ขุนอินทรเดชเปนนายกองทัพยกพลสามพัน ช้างเครื่องสามพันม้าร้อยหนึ่ง ไปลาดถึงเมืองเชียงใหม่ ให้ฟังข่าวคราวเมืองหงษาวดีด้วย. ในวันจะยกทัพนั้น พระมหาโพธิใหญ่ในกำแพงสนามน่าวังนั้นหาเหตุการมิได้ กิ่งขวาข้างตวันตกนั้นหักลง กิ่งใหญ่ประมาณสามอ้อม. ถึงณวันอาทิตยเดือนเก้าแรมห้าค่ำ ขุนอินทรเดชกลับลงมาถึงเมืองพระพิศณุโลกย์. แลในเดือนเก้านั้น มีพระราชกำหนดสมเดจ์พระราชบิดา ให้ขึ้นไปเทครัวอพยบชาวเมืองเหนือทั้งปวง ลงมายังพระนครศรีอยุทธยา. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า ครั้นแจ้งพระราชกำหนดดั่งนั้น ตรัสให้เทครัวอพยบในเมืองพิศณุโลกย์ เมืองสวรรคโลกย์ เมืองศุโขไทย เมืองกำแพงเพชร์ เมืองพิจิตร เมืองเล็กน้อยทั้งนั้น ลงบันทุกเรือบ้างแพบ้าง แล้วแต่งเรือคุมเปนหมวดเปนกอง แลแต่งกองทัพป้องกันสองฝั่งฟากน้ำลงมา มิให้ครัวหนีได้ จนถึงกรุงเทพมหานคร. ๚ะ๏ ครั้นณวันศุกร์เดือนสิบเบ็ดแรมเก้าค่ำ สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า ก็เสด็จจากเมืองพระพิศณุโลกย์ ลงมายังกรุงพระนครศรีอยุทธยา. พระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว ตรัสให้บำรุงการที่จะป้องกันพระนครแลซ่อมแปลงกำแพงต้ายค่ายปัอมหอรบทั้งปวงรอบพระนคร. แล้วให้ขุดคูเมืองเบื้องบูรพทิศนั้น ให้กว้างฦกเปนแม่น้าประจบรอบพระนครเสร็จ ก็ให้ถ่ายเข้าเทครัวอพยพเมืองนอกทั้งปวงเข้ามาในพระนคร ซ่องจัดทหารอาษาทั้งหลายทุกขหมู่ทุกกรม ตกแต่งเครื่องสรรพยุทธไว้สรัพ. ฝ่ายเมืองศรีพิรมย์แลขุนพศรี ขุนรามณรงค์ ผู้ถือหนังสือรับสั่งนั้น ครั้นไปถึงกรุงกัมพูชาธิบดี พระยาลแวกก็ให้แต่งรับ แล้วจึ่งให้เบิกเมืองศรีพิรมย์ แลขุนพศรี ขุนรามณรงค์เข้ามาเฝ้า. แลได้ฟังลักษณราชอักษร พระยาลแวกก็ยินดี ซึ่งจะได้เปนพระราชไมตรี. พระยาลแวกให้รางวัลแก่เมืองศรีพิรมย์ ขุนพศรี ขุนรามณรงค์นั้นเปนอันมาก. พระยาลแวกก็แต่งให้พระยาอุไภย พระอินทราเดโช พระทรงคเชนทร หลวงศรีราชนคร.หลวงมฤทธิคเชนทร หลวงนเรนทมฤทธิ จำทูลพระราชสาสน์ แลเครื่องราชบรรณาการมาด้วยเมืองศรีพิรมย์ ขุนพศรี ขุนรามณรงค์ ครั้นทูตานุทูตชาวลแวกมาถึงพระนคร จึ่งพระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ตรัสให้เบิกทูตานุทูตเข้ามาถวายบังคมพระราชทานทูตานุทูตนั้นแล้วก็ให้แต่งพระราชสาสน์ตอบพระยาลแวกให้พระศรีเสาวราชขุนหลวงธรรมาทิศ ขุนมงคลรัตน ขุนจันทราเทพ ขุนเทียรฆราส หมื่นธรรมเถียร จำทูลพระราชสาสน์ แลเครื่องราชบรรณาการ ไปด้วยทูตานุทูตอันมานั้น. ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าหงษาวดีตั้งแต่พระนเรศวรภาพระมหาเถรคันฉ่อง แลญาติโยมกับพระยาเกียรติ พระยาพระราม แล้วกวาดเอาครัวอพยพกลับไปยังพระนครศรีอยุทธยา ทั้งนันทสุแลราชสงครามเล่า ก็มาแจ้งเหตุทุกประการทรงพระพิโรธคิดอาฆาฎหมายจะเอาพระนครศรีอยุทธยาให้จงได้ ๚ะ๏ ครั้นลุศักราช ๙๒๙ ปีเถาะนพศกเดือนสิบขึ้นเก้าค่ำ จึ่งตรัสให้พระเจ้าเชียงใหม่ยกช้างม้ารี้พลทัพบกทัพเรือประมาณแสนหนึ่ง ลงมาโดยทางเมืองกำแพงเพชร์. แลให้พระยาพสิมผู้เปนอายกช้างม้ารี้พลประมาณสามหมื่น มาโดยทางเมืองกาญจน์บุรี. ฝ่ายพระเจ้าเชียงใหม่ให้จัดช้างม้ารี้พลโดยกระบวนทัพบกทัพเรือเสร็จ. ครั้นณวันพฤหัศเดือนสิบสองขึ้นสองค่ำเพลาเช้าสามโมงหกบาท ได้มหาศุภวารดิถีไชยฤกษอันอุดม ก็เสด็จทรงคชาธารพร้อมด้วยพลแสนยากรทวยหารมเหาฬารดิเรกด้วยกลิ้งกลด แลฆ้องกลองแตรสังขศรับทพรินนิฤนาทกึกก้องมาโดยรัฐยางค์วิถีทางเมืองกำแพงเพชร์แลทัพพระยาพสิมนั้น ยกมาถึงเมืองสุพรรณบุรี ณวันพฤหัศเดือนอ้ายขึ้นค่ำหนึ่ง. ฝ่ายทัพพระเจ้าเชียงใหม่ยังมิได้มาถึงเมืองนครสวรรค์. พระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ตรัสทราบข่าวศึกอันยกมาตั้งสองทางนั้น ก็ตรัสให้สมเดจ์พระเจ้าลูกเธอพระนเรศวรเปนเจ้า แลสมเดจ์พระเอกาทศรฐเตรียมช้างม้ารี้พลทัพบกทัพเรือไว้สรับ.จึ่งตรัสให้พระยาจักรีศรีองครักษ์สมุหะนายกเปนกองทัพเรือ. ตรัสให้พระยาพระคลังเปนยกระบัตร ให้ยกทัพเรือนั้นไปเมืองสุพรรณบุรี ครั้นทัพเรือไปถึงเมืองสุพรรณบุรี พระยาพสิมก็ยกทัพออกมารบด้วยกองทัพกรุง ๆ ก็วางปืนใหญ่ขึ้นไปแต่เรือรบต้องพลข้าศึกตายมากนัก. แลทัพพระยาพสิมจะตั้งอยู่มิได้ ก็เลิกออกไปโดยทางราชสิงห แลไปตั้งทัพมั่นในตำบลเขาพระยาแมน ถึงณวันพุทธเดือนยี่ขึ้นสองค่ำ เพลาสองยามกับสองนาฬิกาเก้าบาท. จึ่งสมเดจ์บรมโอรสาธิราชทั้งสองพระองค์ เสด็จพยุห์บาตราจากพระนครศรีอยุทธยาไปโดยชลมารค เสด็จขึ้นเหยียบเชิงไชยภูมตำบลลุมพลี. แลให้พระพิไชยสงครามฟันไม้ข่มนามแล้ว เสด็จจากลุมพลีประทับเรือพระที่นั่งณเมืองวิเสศไชยชาญ. จึ่งเสด็จพยุหบาตราขึ้นโดยสถลมารค ไปตั้งทัพหลวงณะตำบลสามขนอน. แลเมื่อตั้งทัพอยู่ณสามขนอนนั้น ม้าตัวหนึ่งตกลูกเปนสองตัวศีศะเดียว มีเท้าตัวละสี่เท้าชิงศีศะกัน. จึ่งบัญชาให้เจ้าพระยาศุโขไทยเปนนายกอง. แลท้าวพระยาพระหัวเมืองทั้งหลายยกช้างม้ารี้พลหมื่นหนึ่ง ก้าวสกัดออกไปตีทัพพระยาพสิมณเขาพระยาแมน. แลภบทัพน่าศึกได้รบพุ่งกัน. พม่ามอญก็แตกฉานล้มตายเปนอันมาก. พระยาพสิมก็เลิกทัพรุดหนีไป. เจ้าพระยาศุโขไทย แลข้าหลวงยกตามไปถึงกาญจนบุรี จับได้ข้างชะวีกับช้างม้ามาถวาย แลทัพหลวงตั้งอยู่ตำบลสามขนอนนั้นเจ็ดเวน. จึ่งเสด็จยกทัพหลวงมาโดยสุพรรณบุรี ก็เสด็จเข้าพระนครศรีอยุทธยา. ๚ะ๏ ครั้นทัพพระยาพสิมแตกฉานพ่ายไปแล้ว ในเดือนนั้นฝ่ายพระเจ้าเชียงใหม่มิได้รู้ว่าพระยาพสิมพ่ายไป ก็ยกทัพบกทัพเรือลงมาเมืองนครสวรรค์. แล้วก็ล่วงลงมาถึงเมืองไชยนาทก็ให้ไชยกะยอสูแลนันทกะยอสู ยกช้างม้าแลพลประมาณห้าพัน เปนทัพน่าลงมาตั้งถึงบางพุทรา แลบางเกี่ยวหญ้า. ฝ่ายสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า กับสมเดจ์พระอนุชาธิราชแจ้งข่าว ก็เสด็จยกทัพบกทัพเรือขึ้นไปโดยลำน้ำใหญ่ตั้งตำบลชะไว ก็ตรัสให้พระราชมาณูเปนนายกอง ขุนรามเดชะเปนยุกรบัตร ยกทัพม้าสองร้อย แลพลทหารอาษาสามพัน ขึ้นไปตีทับข้าศึกอันมาตั้งตำบลบางเกี่ยวหญ้า. พระราชมาณูแลขุนรามเดชะ ก็ยกขึ้นไปตั้งเปนทัพซุ่มอยู่ในป่า ครั้นข้าศึกออกเกี่ยวหญ้าช้าง แลออกลาดหากินก็ดี พระราชมาณูแลขุนรามเดชะ ก็ออกโจมตีฆ่าฟันข้าศึกไปจนค่าย ได้ช้างม้าแลเชลยส่งลงมาถวายเปนอันมาก. ไชยกะยอสูแลนันทกะยอสูเหนเหลือกำลัง ก็เลิกทัพขึ้นไปหาทัพใหญ่ณเมืองไชยนาท. พระราชมาณูแลขุนรามเดชะ ตามตีข้าศึกขึ้นไปถึงค่ายใหญ่ณเมืองไชยนาทบุรี. ขณะนั้นพระเจ้าเชียงใหม่รู้ข่าวว่า ทัพพระยาพสิมซึ่งยกมาทางกาญจน์บุรีนั้น แตกฉานพ่ายหนีไปแล้ว ก็ปฤกษาด้วยท้าวพระยาทั้งหลายว่า กำหนดพระเจ้าหงษาวดีบัญชาให้พระยาพสิมมาบันจบพร้อมกับทัพเรา แลทัพพระยาพสิมรีบรุดยกเข้ามาก่อนแล้ว แล้วแตกฉานไปดั่งนี้ควรเราจะเลิกทัพกลับคืนไปฟังกำหนดพระเจ้าหงษาวดีก่อน.อนึ่งเรายกมาครานี้ยังมิได้บำรุงการศึกเปนสามารถ ทั้งมิได้ควบคุมทัพพร้อมมูลกันจึ่งเสียที. บัดนี้เราจะยกทัพคืนไปก่อน จะบำรุงการไว้ถ้าพระราชกำหนดพระเจ้าหงษาวดี. ครั้นปฤกษาพร้อมกันแล้ว พระเจ้าเชียงใหม่ก็เลิกทัพจากไชยนาทบุรีคืนไปเชียงใหม่. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า กับสมเดจ์พระอนุชาธิราชแจ้งว่า ทัพพระเจ้าเชียงใหม่ยกเลิกไปแล้ว ก็เสด็จคืนเข้ายังพระนครศรียุทธยา กราบทูลประพฤติเหตุแก่สมเดจ์พระราชบิดาทุกประการ. ๚ะ๏ ในเดือนสี่ปีเถาะนั้น พระยาลแวกก็ใช้พระยาอุไภยพงษา แลหลวงสุภาทิพจำทูลพระราชสาสน์ แลเครื่องราชบรรณาการมาด้วยพระศรีเสาวราช แลทูตานุทูตทั้งหลายอันไปนั้น. ในลักษณพระราชสาสน์พระยาลแวกคราวนั้นว่า ขอให้หลั่งน้ำสิโตทก ตั้งสีมาจาฤก สำหรับการพระราชไมตรีตามประเพณีโบราณพระมหากระษัตราธิราชเจ้าแต่ก่อน. พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็แต่งท้าวพระยามุขมนตรี แลสมณพราหมณาจาริย์ทั้งหลายให้หลั่งน้ำสิโตทก. ฝ่ายมุขมนตรีใช้เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์สมุหนายก เจ้าพระยาศุโขไทย พระยาเทพรณรงค์ฤๅไชย พระพลเทพ พระศรีภูริปรีชา แลขุนหมื่นทั้งหลาย. ฝ่ายพระสงฆ์ไซ้ สมเดจ์พระสังฆ์ราชคามวาสี อรัญวาสี พระครูสะดำ พระครูเฉวียง แลพระสงฆ์ยี่สิบรูป. ฝ่ายพราหมณาจาริยไซ้ พระมเหธราชสุภาวดี พระราชปโรหิตาจาริย์ พระเทพาจาริย์ พระโหราธิบดี แลชีพ่อพราหมณาจาริย์สิบคน. ฝ่ายพระยากัมพูชาธิบดี ก็แต่งเจ้าฟ้าทะละหะ พระยาธรรมเดโช พระยาจักรรัตน์ พระศรีภูริปรีชา แลท้าวพระยาเสนาบดีสมณพราหมณาจาริย์ ในกรุงกัมพูชาประเทศนั้น มาหลั่งน้ำสิโตทก. จึ่งท้าวพระยาเสนาบดี แลพราหมณาจาริย์ทั้งสองฝ่าย ก็ประชุมกันตำบลท้ายสะเกษ ก็แต่งการที่จะหลั่งนำสิโตทกในที่นั่น ถึง ณวันพฤหัศเดือนสิบสองขึ้นแปดค่ำ ประกอบด้วยสุภฤกษจึ่งฝังสีมาจาฤกสัตยาธิฐานลงในสีลาบาต. แล้วก็หลั่งน้ำสิโตทกเหนือมหาปัถพีเปนสักขีทิพยาน เพื่อจะให้พระราชไมตรีสีมามณฑลทั้งสองฝ่ายมั่นคงตรงเท่ากัลปาวะสาน. แล้วก็ให้อูปสมบทกรรมภิกษุหกรูปในที่นั่น. ๚ะ๏ ขณะเมื่อพระเจ้าเชียงใหม่เลิกทัพขึ้นไปถึงเชียงใหม่ ฝ่ายพระเจ้าหงษาวดีแจ้งก็ทรงพระโกรธว่า พระเจ้าเชียงใหม่มิได้ยกลงไปโดยพระราชกำหนด จึ่งไม่ทันกองทัพพระยาพสิม ๆ จึ่งเสียทีแก่ข้าศึก. ๚ะ๏ ครั้นศักราช ๙๓๐ ปีมโรงสัมฤทธิศก พระเจ้าหงษาวดีดำรัศให้พระยาอไภยคามณี กับซักแซกกยอถาง สมิงโยคราชสามนาย ไปกำกับทัพเชียงใหม่ ให้เร่งยกไปตีเอาพระนครศรีอยุทธยาให้ได้. พระเจ้าเชียงใหม่แจ้งพระราชกำหนด ก็จัดช้างม้ารี้พลทัพบกทัพเรือพร้อมด้วยเครื่องสาตราวุธ. ให้พระยาเชียงแสนถือพลหมื่นห้าพัน ช้างเครื่องร้อยห้าสิบ ม้าพันหนึ่งเปนทัพน่า. ครั้นเดือนสิบสองก็ยกจากเมืองเชียงใหม่มาโดยทางเมืองลี่แลทัพพระเจ้าเชียงใหม่ยกมาคราวนั้นแสนหนึ่งช้างเครื่องสามร้อยม้าสามพัน เรือรบลำเลียงพันลำ แล้วเคลื่อนทัพบกทัพเรือลงมาตั้งชุมพลณเมืองนครสวรรค์ ในวันอังคารเดือนอ้ายขึ้นค่ำหนึ่ง ฝ่ายพระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทราบข่าวศึกยกมาตั้งนั้นก็ดำรัศให้ถ่ายเข้าเทครัวเข้าในพระนครแล้วให้ตรวจจัดรี้พลเครื่องสรรพยุทธไว้สำหรับน่าที่กำแพงรอบพระนครแล้ว จึ่งมีพระราชกำหนดให้นายทหารอาษาทั้งปรงคุมพลเปนหลายกองยกออกไปซ่องคนซึ่งซ่านเซนอยู่ป่า แล้วยกเปนกองโจรคอยก้าวสกัดตีโดยทางข้าศึกจะยกมา อย่าให้ออกลาศหากินได้สดวก. ๚ะ๏ ฝ่ายพระยาลแวกแจ้งข่าวออกไปว่า กองทัพเมืองหงษาวดียกมากระทำแก่พระนครศรีอยุทธยา จึ่งดำรัศปฤกษาท้าวพระยาเสนามุขมนตรีว่า กรุงกัมพูชาธิบดี กับพระนครศรีอยุทธยาพึ่งเปนทางพระราชไมตรีกัน บัดนี้มีปัจามิตรข้าศึก. ครั้นจะมิไปช่วย พระราชไมตรีก็ไม่ถาวรวัฒนาสืบไป จำจะให้กองทัพยกไปช่วย. ท้าวพระยาเสนามุขมนตรีทั้งปวงก็เหนพร้อมด้วย. พระยาลแวกก็ให้พระศรีสุพรรมาธิราชผู้เปนพระอนุชา ถือพลหมื่นหนึ่ง ช้างเครื่องร้อยหนึ่ง ม้าสามร้อยยกเข้ามาช่วยทางด่านเมืองปราจินทบุรี. กรมการบอกเข้ามาให้กราบทูล. สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวดำรัศให้หลวงราชเสนา หลวงเสนาภักดี ขุนพิพิธวาที หมื่นพจนาพิจิตร ออกไปรับพระศรีสุพรรมาธิราชเข้ามาเฝ้า แล้วตรัสสั่งให้กองทัพเขมรตั้งอยู่ตำบลวัดผะแนงเชิง. ๚ะ๏ ครั้นณวันพฤหัศเดือนอ้ายแรมสองค่ำ พระเจ้าเชียงใหม่ยกทัพบกทัพเรือล่วงลงมาตั้งค่ายมั่นตำบลสระเกษ แล้วแต่งให้เจ้าเมืองพเยาคุมทัพม้าพันหนึ่งไปลาดจับคน ดูกองทัพกรุงจะออกมาตั้งอยู่ตำบลใดบ้าง. เจ้าเมืองพเยายกทัพม้ามาถึงตะพานขายเข้า ก็เที่ยวเผาบ้านเรือน. ฝ่ายสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า กับพระอนุชาทราบดั่งนั้น ก็เสด็จโดยชลมารคถึงตะพานขายเข้าให้ทหารยกขึ้นไป ได้รบพุ่งกันถึงตลุมบอน ยิงแทงถูกเจ้าเมืองพเยากับทหารตกม้าตายยี่สิบคนเจ็บป่วยก็มาก ม้าทั้งนั้นก็ถอยไปได้ม้ายี่สิบม้า แล้วเสด็จคืนเข้าพระนคร. ๚ะ๏ ครั้นถึงเดือนห้าปีมเสงเอกศก พระเจ้าหงษาวดีดำรัศให้พระมหาอุปราชาถือพลห้าหมื่น ลงมาตั้งทำนาณเมืองกำแพงเพชร์ แล้วแต่งหนังสือรับสั่งให้สมิงพะตะเบิดถือไปถึงพระเจ้าเชียงใหม่ว่า อันพระนครศรีอยุทธยานั้น แม่น้ำเปนคูรอบ แต่องค์สมเดจ์พระราชบิดาเรามีบุญบารมีปราบได้ทั้งสิบทิศยังทำการปี. ครั้งนี้พระมหาธรรมราชาก็มีราชบุตรสององค์ การสงครามก็องอาจกล้าหาร.ถึงมาทว่าพลทหารเราจะมากกว่าสักร้อยเท่าก็ดี อันจะดูหมิ่นหักเอาโดยเร็วเหมือนเมืองทั้งปวงนั้นมิได้ จำจะคิดเปนการปีจึ่งจะได้. บัดนี้ก็ให้พระมหาอุปราชาถือพลห้าหมื่นยกหนุนลงมาทั้งทำนาอยู่ ณเมืองกำแพงเพชร์ ให้พระเจ้าเชียงใหม่ตั้งหมั้นไว้อย่าให้ชาวพระนครออกหักได้ แล้วให้ทำไร่นาตั้งยู้งฉางผ่อนสเบียง ณเมืองเชียงใหม่ลงไปไว้จงมาก. ประการหนึ่งให้แต่งออกลาดอย่าทำไร่นาลงได้พระนครศรีอยุทธยาจึ่งจะผอมออกพรรษาแล้วทัพหลวงจะเสด็จลงไปพร้อมกันจะหักเอาทีเดียว. พระเจ้าเชียงใหม่ได้แจ้งพระราชกำหนดพระเจ้าหงษาวดีนั้น. ก็ให้ขยายค่ายขุดคูตั้งป้อมพูนเชิงเทินหอรบมั่นคงตามรับสั่งแล้วแต่งกองทัพออกเที่ยวลาดเปนหลายกองได้รบกันกับกองกระเวน ชาวพระนครตีแตกไปเปนหลายครั้ง ที่จับได้เปนก็ส่งเข้าไปถวาย ถามได้เนื้อความแจ้งสิ้นทุกประการ. ๚ะ๏ สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว จึ่งดำรัศแก่พระบรมราชโอรสทั้งสองพระองค์ว่า พระเจ้าหงษาวดีคิดการปี ให้พระมหาอุปราชาผู้เปนพระราชบุตร ถือพลห้าหมื่นยกมาตั้งทำนาอยู่ณเมืองกำแพงเพชร์ พระเจ้าเชียงใหม่ถือพลแสนหนึ่ง ยกมาตั้งหมั้นอยู่ตำบลสะเกษ ปลูกยุ้งฉางถ่ายเสบียงอาหารมาไว้ ออกพรรษาแล้วทัพพระเจ้าหงษาวดีจะยกมาบันจบกัน. ซึ่งเราจะละไว้ให้ทัพประชุมกันเข้าทั้งสามทัพนั้น กำลังศึกก็จะมากขึ้น จะหนักมือเหนื่อยแรงทหารนัก ทั้งไพร่ฟ้าประชากรก็จะมิได้ทำไร่นา กำลังพระนครก็จะถอยลง. เราจะยกไปตีทัพพระเจ้าเชียงใหม่เสียก่อนอย่าให้ตั้งอยู่ได้ ประการหนึ่งก็จะได้ชมมือทหารทั้งปวงด้วย. ๚ะ๏ สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า กับสมเดจ์พระอนุชาธิราชกราบถวายบังคมฉลองพระราชโองการว่า อันทัพพระเจ้าเชียงใหม่ซึ่งมาตั้งอยู่ตำบลสระเกษนี้ ชีวิตรข้าพระเจ้าทั้งสองอยู่ใต้เบื้องบาท อย่าทรงวิตกเลย จะตีเสียให้เลิกไปจงได้. สมเดจ์พระราชบิดาได้ทรงฟังพระราชโอรสทั้งสองทูลดั่งนั้น ก็แย้มพระโอษฐ จึ่งสั่งให้ตรวจพลแปดหมื่น ช้างเครื่องห้าร้อย ม้าพันหนึ่ง เรือรบห้าร้อยลำทัพบกทัพเรือสรัพ. ๚ะ๏ ครั้นณวันอาทิตย์เดือนห้าขึ้นเจ็ดค่ำ เพลารุ่งแล้วสี่นาฬิกากับบาทหนึ่ง สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า กับพระอนุชาธิราชก็ยกไปตั้งทัพไชยตำบลลุมพลี. ถึงณวันเสาร์เดือนห้าขึ้นสิบค่ำ สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า กับสมเดจ์พระอนุชาธิราชก็ตรัสให้เทียบเรือรบเรือไล่ทั้งปวง แล้วเสด็จด้วยพระชลวิมานขึ้นไปถึงป่าโมกน้อย เพื่อจะดูกำลังข้าศึก. ฝ่ายพระเจ้าเชียงใหม่แจ้งว่า กองกระเวนได้รบพุ่งกับกองทัพกรุงเปนหลายครั้งแตกขึ้นมา จึ่งแต่งให้สเรนันทสุคุมทหารห้าพัน ช้างเครื่องสามสิบม้าห้าร้อยยกเข้ามาป่าโมกน้อย.แล้วให้พระยาเชียงแสนเปนนายกองเปนทัพน่าคุมพลทหารหมื่นหนึ่งช้างเครื่องร้อยหนึ่งม้าห้าร้อยยกตามลงมาอีกทัพหนึ่ง. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า กับสมเดจ์พระอนุชาธิราชแจ้งว่าข้าศึกยกเข้ามา ก็ให้เทียบเรือรบเรือไล่ทั้งปวงเข้าฝั่ง ให้พลทหารอาษาขึ้นบกยกเข้าไปตั้งต่อข้าศึก แล้วก็เสด็จขึ้นจากพระชลวิมานทั้งสองพระองค์ ทรงสุพรรณรัตนป่าทุกา.จึ่งตรัสให้พลทหารทั้งปวงขึ้นยั่วข้าศึก สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าทรงพระแสงปืนนกสับ ยิงถูกนายม้าผู้ดีห่มเสื้อสักกลาชแดงขัดดาบบั้งทองตกม้าตาย. ฝ่ายข้าศึกอันยกมานั้นก็พ่ายไป ทหารอาษาก็ไล่ฟันแทงขึ้นไปปะทะทัพพระยาเชียงแสน ๆ เหนดั่งนั้น. ก็ให้แยกพลออกรับตีประดาลงไป. ทหารกรุงเหนเหลือกำลังก็ถอยรอรับลงมา. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า กับพระอนุชาธิราช เหนข้าศึกยกใหญ่ออกมาตี ทหารเสียทีจะลงเรือมิทัน จึ่งเสด็จด้วยเรือพระที่นั่งขึ้นไปเหนือคลองป่าโมกน้อย แลขนานเรือพระที่นั่งทั้งสองลำ เสด็จอยู่กับพลเรือรบแลทหารอันอยู่ริมน้ำนั้น ข้าศึกก็วางช้างม้ารี้พลมาถึงริมน้ำนั้น แลได้รบพุ่งกันเปนสามารถ. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า กับสมเดจ์พระอนุชาธิราชทรงพระแสงปืนนกสับ ยิงต้องข้าศึกตายเปนอันมาก. ข้าศึกพุ่งสาตราวุธตกถึงเรือพระที่นั่ง. จึ่งพระบาทสมเดจ์พระอนุชา ก็ให้สอดเรือพระที่นั่งเสด็จเข้าไปข้างฝั่ง กันเรือพระที่นั่งสมเดจ์พระเชษฐาธิราชแล้วดำรัศสั่งให้ยิงปืนใหญ่ในเรือรบเรือไล่ทั้งปวงขึ้นไป ต้องช้างม้าข้าศึก แลรี้พลตายมากข้าศึกทั้งปวงก็พ่ายไป. ๚ะ๏ สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า จึ่งตรัสแก่สมเดจ์พระอนุชาธิราช แลท้าวพระยานายทัพนายกองทั้งปวงว่า พระเจ้าเชียงใหม่ยกทัพแสนหนึ่งลงมาตั้งอยู่ ณ สระเกษถึงสี่เดือนห้าเดือนแล้วพึ่งให้เหนฝีมือกำลังทหารวันนี้ ดีร้ายจะเปนบ้าสงคราม ในสองวันสามวันนี้จะยกมาอีก. ถ้ายกลงมาเราจะตีให้ถึงค่ายสระเกษทีเดียว ตรัสเท่าดั่งนั้น ก็มิได้เสดจ์กลับลงมาลุมพลีตั้งอยู่ ณป่าโมก. ฝ่ายพระเจ้าเชียงใหม่แจ้งว่า สเรนันทสุ พระยาเชียงแสนแตกขึ้นไป ก็ทรงพระโกรธสั่งให้ประหารชีวิตรเสีย. พระยาพเยาวน้องพระเจ้าเชียงใหม่ กับท้าวพระยาแสนขุน แสนหมื่น ทูลขอโทษให้แก้ตัว. พระเจ้าเชียงใหม่ก็ให้ยกโทษ แต่ทว่าให้ไปทเวนประจารรอบทัพ. แล้วตรัสปฤกษาแก่นายทัพนายกองแสนท้าวพระยาลาวทั้งปวงว่า พระยาเชียงแสน สเรนันทสุแตกข้าศึกขึ้นมา พระนเรศวรพี่น้องจะมีใจกำเริบจะยกขึ้นมาตีถึงค่ายเรา เราคิดจะยกลงไปหักเสียก่อน ท้าวพระยานายทัพนายกองทั้งปวงก็เหนด้วย. พระเจ้าเชียงใหม่ก็ให้โหรหาฤกษ ได้ฤกษณวันพฤหัศเดือนห้าแรมสองค่ำ เพลาตีสิบเอ็ดทุ่มห้าบาท จึ่งบัญชาให้ตรวจเตรียมกองทัพ ให้พระยาเชียงแสน สเรนันทสุถือพลหมื่นห้าพันเปนทัพน่าแก้ตัว. ทัพพระเจ้าเชียงใหม่พลหมื่นหนึ่ง ช้างเครื่องสามร้อย ม้าพันหนึ่ง. ๚ะ๏ ครั้นถึงวัณพฤหัศเดือนห้าแรมสองค่ำเพลาตีสิบทุ่มห้าบาทก็ยกลงมา. ขณะเมื่อพระเจ้าเชียงใหม่คิดเตรียมทัพจะลงมาตีนั้น. ฝ่ายสมเดจ์พระณเรศวรเปนเจ้า ตรัสแก่ท้าวพระยามุขมนตรีว่า เราตีทัพเชียงใหม่แตกขึ้นไป เหนประหนึ่งว่าจะยกเพิ่มเติมกันมาอีก. ถึงสองวันสามวันแล้วก็มิได้ยกลงมา. ณวันพฤหัศเดือนห้าแรมสองค่ำ เราจะยกขึ้นไปให้ทหารยั่วดูทีสักเพลาหนึ่ง. ท้าวพระยานายทัพนายกองทั้งปวง ก็เหนพร้อมโดยพระราชบริหาร. จึ่งให้พระราชมาณูถือพลหมื่นหนึ่ง ขี่ช้างต้นพลายพัทธกรร ช้างนายทัพนายกองขี่ยี่สิบช้าง มีธงสามชายสำหรับทุกตัวช้างเปนทัพน่าชั้นหนึ่ง ให้พระยาศุโขไทยขี่ช้างต้นพลายสังหารคชสีห์. ช้างนายทัพนายกองขี่ยี่สิบช้าง มีธงสามชายสำหรับทุกตัวช้างเปนทัพน่าชั้นสอง. ให้ยกในเดือนห้าแรมสองค่ำเพลาบ่าย ให้ตั้งอยู่ต้นทาง. ครั้นเวลาตีสิบเบ็ดพระณเรศวรเปนเจ้า กับสมเดจ์พระอนุชาธิราชทรงเครื่องศิริราชปิลันทนาลังการยุทธ์. สมเดจ์พระณเรศวรเปนเจ้าทรงช้างต้นพลายมงคลทวีปเปนพระคชาธาร สมเดจ์พระอนุชาธิราชทรงช้างต้นเจ้าพระยา ปราบไกรจักรเปนพระคชาธาร. พร้อมช้างดั้งกันแซรกแซรงล้อมวังพังคาร้อยหนึ่ง กับพลทหารสามหมื่นก็เสดจ์พยุห์บาตราทัพโดยสถลมารควิถี. ภอแสงทิณกรเรื่อเรืองพโยม ทัพน่าพระเจ้าเชียงใหม่กับทัพพระราชมาณูปะทะรบกันตำบลบางแก้ว. ทัพหลวงเสดจ์ถึงตำบลบ้านแห ได้ยินเสียงปืนรบ ก็มิได้ยกหนุนพระราชมาณูขึ้นไป เข้าซุ่มทัพอยู่ในป่าจิก ป่ากะทุ่มฟากทางตวันตก. จึ่งใช้ให้หมื่นทิพรักษากับม้าเร็วสิบม้าขึ้นไปสั่งพระราชมาณูให้ลาดล่าลงมาถึงทัพหลวง. พระราชมาณูก็บอกลงมาให้กราบทูลว่า ศึกได้รบติดพันกันอยู่แล้ว ถ้าถอยก็จะแตก. พระราชมาณูก็มิได้ถอย. สมเดจ์พระณเรศวรเปนเจ้า ก็ให้หมื่นทิพรักษาขึ้นไปสั่งอีก.พระราชมาณูก็มิได้ถอย. หมื่นทิพรักษากลับลงมากราบทูลก็ทรงพระโกรธตรัสสั่งว่า ให้กลับขึ้นไปอีกครั้งหนึ่ง ถ้ามันยังขัดมิถอยให้เอาศีศะลงมาเถิด หมื่นทิพรักษาก็กลับขึ้นไปแจ้งตามรับสั่ง. พระราชมาณูแจ้งรับสั่งก็ตกใจ. ให้โบกฝ่ายธงฝ่ายซ้ายเปนสำคัญ. พระยาศุโขไทยแลทหารทั้งปวงเหนดั่งนั้น ก็ขยายลาดถอยลงมา. ฝ่ายทหารเชียงใหม่สำคัญว่าแตกก็โห่ร้องไล่รุกโจมตีลงมา. ทหารม้าก็วางม้าทหารช้างขับช้าง. พระเจ้าเชียงใหม่ดีพระไทยก็เร่งพลขับช้างที่นั่งตาม ปนกองน่าหลังมามิเปนกระบวน. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าเหนข้าศึกเสียกระบวน จึ่งให้ลั่นฆ้องโบกธงเปนสำคัญ. สมเดจ์พระณเรศวรเปนเจ้า กับสมเดจ์พระอนุชาธิราชก็ขับพระคชาธาร แลรี้พลช้างม้าโยธาหาร เข้าย่อกลางทัพข้าศึกจนถึงอาวุธสั้น. ฝ่ายพระราชมาณู พระยาศุโขไทยเหนดั่งนั้น. ก็ต้อนพลเข้าตีกระหนาบขึ้นมา. ทัพพระเจ้าเชียงใหม่ก็แตกพ่ายไป. สมเดจ์พระณเรศวรเปนเจ้า กับสมเดจ์พระอนุชาธิราชก็เสดจ์ตามตีทัพพระเจ้าเชียงใหม่ แตกฉานยับเยินไปไม่คุมกันได้. พลทหารชาวกรุงก็ไล่ฟันแทงพลข้าศึก ทั้งนายแลไพร่ตายริมทางแลกลางทุ่งนั้นมากนักแลท้าวพระยาฝ่ายข้าศึกฅอขาดในยุทธภูมนั้น คือพระยาพเยาน้องพระเจ้าเชียงใหม่ พระยาลอ พระยากาว พระยานครล้านช้าง พระยาเชียงราย มางยามงิป สมิงโยคราช เจพะยะอางคบุน สเรนันทสุเมืองเตริน. แสนเชียงใหม่ตายในที่นั้นประมาณพันเสศ. ได้ช้างใหญ่ญี่สิบช้าง ม้าร้อยเสศ สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า กับสมเดจ์พระอนุชาธิราชเจ้า ก็เสด็จตามตีทัพพระเจ้าเชียงใหม่ไปถึงปากน้ำชะไว. ๚ะ๏ ฝ่ายสมเดจ์พระราชบิดา ดำรัศให้เตรียมรี้พลแลเรือพระที่นั่งดั้งกัน เรือรบเรือไล่พร้อมเสร็จ. แล้วพระราชทานเรือพระที่นั่งรองแลเรือทั้งปวง ให้พระศรีสุพรรมาธิราช น้องพระยาลแวกโดยเสด็จด้วย ครั้นณวันเสาร์เดือนห้าแรมสี่ค่ำ เพลารุ่งแล้วห้าบาทได้ศุภฤกษสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ยกพยุหบาตราทัพเสด็จโดยชลมารคด้วยพระชลวิมานขึ้นไป ส่วนพระเจ้าเชียงใหม่ก็ยกรุดรีบขึ้นไปเข้าในค่ายหลวงในวันนั้น. เพลาจวนค่ำสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า กับสมเดจ์พระอนุชาธิราช ตั้งทัพหลวงอยู่ณปากน้ำชะไว. จึ่งมีพระราชกำหนดแก่ท้าวพระยาหัวเมืองทั้งหลายว่า เพลาย่ำรุ่งจะยกพลทหารเข้าหักค่ายพระเจ้าเชียงใหม่. ฝ่ายพระเจ้าเชียงใหม่แตกขึ้นไปถึงค่าย เสียพระไทยมิได้คิดที่จะรับ. ครั้นแจ้งว่ากองทัพพระนเรศวรยกตามขึ้นมาถึงปากน้ำชะไว เกรงจะรับมิอยู่หนีก็มิพ้น. ครั้นเพลาค่ำก็ขึ้นช้างเร็วเลิกทัพหนีรีบไป. ๚ะ๏ ครั้นรุ่งขึ้นณวันเสาร์เดือนห้าแรมห้าค่ำเพลาเช้าโมงเศศ สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า กับสมเดจ์พระอนุชาธิราช เสด็จยกพยุหโยธาทัพใกล้ถึงสระเกษ. ก็แจ้งว่าพระเจ้าเชียงใหม่เลิกทัพหนีไปถึงตำบลปากน้ำบางพุทรา มิได้ทันพระเจ้าเชียงใหม่. ทหารกองน่าจับได้พระยาเชียงแสน ลูกพระยาเชียงแสน แลแสนหลวงล่ามแขกมางจอจอยลูกแม่นมพระเจ้าเชียงใหม่ แลได้ช้างพังพลายใหญ่หกศอกมีนิ้วร้อยยี่สิบช้าง ได้ม้าห้าร้อยเศศ. แต่ช้างใหญ่หกศอกคืบมีเศศ พลายจนาจ์ศักหนึ่ง พลายปองหลูรายภักหนึ่ง พลายลุเกียนกะยอหนึ่ง พลายพิไชยโลกาหนึ่ง พลายมะรุกตองอูหนึ่ง พลายมณีจักรพรรดิหนึ่ง พลายสิงคาหนึ่ง พลายมงคลชาตรีหนึ่ง พลายแขแมหนึ่ง พลายแก้วไกรลาศหนึ่ง พลายอุโบสถหนึ่ง ช้างพระที่นั่งพระเจ้าเชียงใหม่พลายมหาเมฆหนึ่ง พลายหัษถีราชาหนึ่ง พลายเกิดสวัสดิหนึ่ง พลายภาพยาวหนึ่ง พลายยาตราหนึ่ง พลายแปรหนึ่ง พลายศรีบุญเรืองหนึ่ง พลายรำชายหนึ่ง พลายมหากุณฑลหนึ่ง แต่ได้ช้างสูงใหญ่ยี่สิบช้าง แลพม่ามอญลาวเชียงใหม่ แลชาวไทยใหญ่ชายหญิงหมื่นเสศ. ได้เรือรบเรือเสบียงสี่ร้อยเสศ. แลได้เครื่องสรรพยุทธ์ แลเครื่องช้างเครื่องม้า ปืนใหญ่จะรงมณฑกนกสับมาก แลได้เครื่องราชูประโภคพระเจ้าเชียงใหม่. แตรเงินแตรทอง กระโจมหุ้มทองสำรับหนึ่ง. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า กับสมเดจ์พระอนุชาธิราชแต่งทหารกำหนดให้ตามพระเจ้าเชียงใหม่ ให้ถึงเมืองนครสวรรค์. แลทัพหลวงตั้งอยู่บางพุทรา ประทับแรมอยู่ทั้งทัพบกทัพเรือเวนหนึ่ง. ๚ะ๏ ครั้นณวันอาทิตย เดือนห้าแรมห้าค่ำ ฝ่ายสมเดจ์พระราชบิดาเสด็จถึงบางพุทรา พระราชโอรสทั้งสองพระองค์มาเฝ้า กราบถวายบังคมทูลเรื่องยุบลซึ่งได้รณรงค์ข้าศึกมีไชยชำนะ ถวายเสร็จสิ้นทุกประการ. สมเดจ์พระราชบิดาได้ทรงฟัง ก็ทรงพระโสมนัศยินดีเสด็จประทับอยู่สองเวน ๚ะ๏ ครั้นรุ่งขึ้น ณวันอังคารเดือนห้าแรมเจ็ดค่ำ เพลาบ่ายสามโมง สมเดจ์พระราชบิดา ก็เลิกทัพคืนเข้าพระนครโดยชลมารค. ครั้นณวันศุกร์เดือนห้าแรมสิบค่ำ กองทัพซึ่งไปตามพระเจ้าเชียงใหม่กลับมาถึง. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า กับพระอนุชาธิราชก็เลิกทัพ เสด็จด้วยพระชลวิมานพร้อมด้วยดั้งกันนำตาม. ครั้นถึงตำบลโพสามต้น ทอดพระเนตรเหนเรือพระศรีสุพรรมาธิราช กับเรือนายทัพนายกองเขมรทั้งปวงจอดอยู่ณฝั่งฟากตวันตก แต่พระศรีสุพรรนามาธิราชนั้น มิได้หมอบนั่งดูเสด็จอยู่ ก็ทรงพระพิโรธ ให้รอเรือพระที่นั่งไว้. แล้วดำรัศให้หลวงพิไชยบูรินทราตัดเอาศีศะลาวเชลยซึ่งจับได้นั้น ไปเสียบไว้ตรงเรือพระศรีสุพรรมาธิราช หลวงพิไชยบูรินทราก็ไปทำโดยรับสั่ง. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า กับสมเดจ์พระอนุชาธิราชก็เสด็จเข้าพระนคร. ฝ่ายพระศรีสุพรรมาธิราชเหนดั่งนั้นก็น้อยพระไทยคิดอาฆาฏมิได้ว่าประการใดก็ล่องเรือมาที่อยู่ ครั้นรุ่งขึ้นสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว เสด็จออกพร้อมด้วยท้าวพระยาเสนาพฤฒามาตยทั้งปวง. จึ่งดำรัศว่าซึ่งพระญาลแวกให้พระศรีสุพรรมาธิราชผู้เปนอนุช เข้ามาช่วยงานพระราชสงครามจนเสร็จนั้นขอบใจ. ให้พระราชทานพานทองคำกับสนองพระองค์อย่างเทศอย่างน้อย. แลนายทับนายกองเขมรทั้งปวงนั้น ก็พระราชทานเสื้อผ้าโดยสมควร. พระศรีสุพรรมาธิราชกับพระยาเขมรทั้งปวงกราบถวายบังคมลา ก็เลิกทัพกลับไปยังพระนคร. ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าเชียงใหม่แตกขึ้นไปถึงเมืองกำแพงเพชร ไปเฝ้าพระมหาอุปราชา แจ้งการซึ่งได้รบกับกองทับพระนเรศวร จนแตกขึ้นมานั้นเสร็จสิ้นทุกประการ พระมหาอุปราชาก็เสียพระไทย จึ่งแต่งทหารมอญออกก้าวสกัดต้นทาง ซึ่งพลชาวเชียงใหม่แตกกระจัดกระจายขึ้นมานั้น ประมวนกันเข้าได้ แล้วก็ให้พระเจ้าเชียงใหม่ตั้งอยู่ณเมืองกำแพงเพชรนั้นด้วย แล้วบอกหนังสือส่งตัวพระยาอไภยคามณี ซักแซกกะยอถาง ซึ่งกำกับทับพระเจ้าเชียงใหม่ ให้พลกำกองรีบไปณเมืองหงษาวดี. พระมหาอุปราชาก็เกณท์กันให้รีบทำไร่นาให้พระเจ้าเชียงใหม่ทำเรือกะจังเหลาคา. ๚ะ๏ ฝ่ายพระศรีสุพรรมาธิราชนั้นคิดแค้นอยู่มิได้ขาด. ครั้นไปถึงเมืองลแวกขึ้นเฝ้ากราบทูลว่า ซึ่งรับสั่งให้ข้าพระบาทยกเข้าไปช่วยการสงครามพระนครศรีอยุทธยาครั้งนี้ ได้ความอัประยศนักด้วยพระนเรศวรดูหมิ่นหยาบช้าให้ตัดเอาศีศะชเลยมาเสียบไว้ริมเรือตรงน่าข้าพระบาท ความแค้น ความอายปี้มจะไม่เหนฟ้าดิน พระยาลแวกแจ้งดั่งนั้น ก็ทรงพระโกรธตรัสว่าเราก็เปนกระษัตริย เขาก็เปนกระษัตริย์มาดูหมิ่นกันดั่งนี้ เหนกรุงกัมพูชาธิบดี กับกรุงศรีอยุทธยาจะเปนทางพระราชไมตรีกันสืบไปไม่ได้. ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าหงษาวดีแจ้งว่า พระเจ้าเชียงใหม่แตกขึ้นมาเสียไพร่พลมาก ก็ทรงพระโกรธ คิดจะเอาโทษก็เกรงจะเสียเมืองลาว. จึ่งตอบลงมาว่า ครั้งก่อนกำหนดให้พระเจ้าเชียงใหม่ยกไปบันจบกับทัพพระยาพสิม ก็ไม่ไปทัน จนเสียทัพพระยาพสิมครั้งหนึ่งแล้ว ครั้งนี้ยกพลลงไปแสนหนึ่ง ก็แตกแก่ฆ่าศึกขึ้นมา ทำการมิได้มั้นคงดุจทารกโคบาลให้เสียรี้พลมากมาย ฆ่าศึกได้ใจดังนี้. เมื่อพระเจ้าเชียงใหม่มีความละอาย ไม่ไว้เกียรติยศในแผ่นดินแล้ว ก็แล้วไปเถิด ออกพรรษาแล้วทัพหลวงจะยกไปตระทำ อย่าให้พระเจ้าเชียงใหม่ตั้งอยู่ณเมืองกำแพงเพชรเลย. ให้เปนกองทัพลำเลียงขึ้นไปจัดแจงเสบียงอาหารณเมืองเชียงใหม่ ผ่อนลงมาไว้ ให้ภอพลสามแสนอย่าให้ขัดสนได้. ถ้าขัดสนด้วยสเบียงอาหารมิภอพลสามแสนจะมีโทษ. ครั้นแต่งหนังสือเสรจแล้ว ก็ส่งให้พลกำกองถือหนังสือกลับลงมาณเมืองกำแพงเพชร์. ฝ่ายพระเจ้าเชียงใหม่ได้แจ้งในรับสั่งนั้น ก็กลัวพระอาญา ลาพระอุปราชากลับขึ้นไปณเมืองเชียงใหม่ เร่งรัดทำการลำเลียงตามรับสั่ง ๚ะ๏ ครั้นถึงเดือนสิบสองปีมเสงเอกศก พระเจ้าหงษาวดี ยกช้างม้ารี้พลมาโดยทางเมืองเชียงทองแลชุมพลทัพบกทัพเรือทั้งปวง ณเมืองกำแพงเพชร์ ฝ่ายพระเจ้าเชียงใหม่ ก็ยกทัพลำเลียงมาถึงทัพพระเจ้าหงษาวดี. พลสองแสน ช้างเครื่องพันหนึ่ง ม้าเจ็ดพัน แลเรือกะจังเหลาคาพันลำ. ฝ่ายทัพพระมหาอุปราชา ช้างเครื่องสี่ร้อย ม้าสามร้อย พลห้าหมื่น. กองทัพพระเจ้าเชียงใหม่เปนทัพลำเลียงเรือรบเรือลำเลียงห้าร้อย พลสองหมื่น. พระเจ้าหงษาวดียกช้างม้ารี้พลลงมาถึงเมืองนครสวรรค์ให้ทัพพระมหาอุปราชาแลพระยาตองอูยกมาทางฟากตะวันออก. ให้พระเจ้าเชียงใหม่คุมทัพเรือ ทัพพระเจ้าหงษาวดียกมาฟากตวันตก. ๚ะ๏ ถึงณวันพฤหัศเดือนยี่ขึ้นสองค่ำ พระเจ้าหงษาวดีก็ยกทัพใหญ่เข้ามาตั้งมั่นตำบลขนอนปากคู แลให้มังมอดลูกพระเจ้าหงษาวดีแลพระยาพระรามมาตั้งตำบลมขามหย่องทัพหนึ่ง ให้ตั้งค่ายขุดคูเอามูลดินภูนค่ายขึ้นเปนกำแพงดิน. ให้พระยานครมาตั้งตำบลปากน้ำพุทธเลาทัพหนึ่ง พลหมื่นห้าพัน. ให้นันทสุมาตั้งตำบลขนอนบางล้างฟากตวันออกทัพหนึ่งพลห้าพัน เรือกะจังเหลาคาสี่ร้อยลำ. ฝ่ายพระมหาอุปราชาแลพระยาตองอูก็ยกทัพมาโดยทางลพบุรีแลสระบุรี แล้วเข้ามาตั้งทัพมั่นณตำบลชายเคือง.พระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ตรัสให้ตกแต่งการป้องกันพระนครนั้นมั่นคง แล้วก็ให้ชุมท้าวพระยาพฤฒามาตย์ เสนามนตรีข้าทหารทั้งหลาย จึ่งมีพระราชบริหารตรัสปฤกษาการศึกว่า พระเจ้าหงษาวดียกทัพมาคราวนี้ใหญ่หลวง เหนจะได้รบพุงกันเปนสามารถ ยิ่งกว่าศึกพระเจ้าเชียงใหม่ยกมาคราวก่อนนั้น. แลเราอย่าเพ่อยกกองทัพใหญ่ออกรบก่อน ให้ท้าวพระยา พระหัวเมือง ทั้งหลาย ตรวจจัดพลทหารอาษา กับทัพบกทัพเรือทั้งปวงให้สรัพไว้. แลจะแต่งพลทหารอาษาแต่เปนกองไป ให้ราษฎรทั้งปวงเกี่ยวเข้า ซึ่งเหลืออยู่ในท้องนาแขวงจังหวัดรอบพระนครนั้น ให้ได้จงสิ้นเชิงก่อน อย่าให้ฆ่าศึกได้เปนกำลัง แล้วจึ่งจะยกทัพใหญ่ออกตีทีเดียวมุขมนตรีเหนด้วย. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า กับสมเดจ์พระอนุชาธิราช ตรัสให้แต่งขุนหมื่นทหารอาษาทั้งหลาย ถือพลอาษาออกไปเปนหลายกองแล้วป่าวร้องให้ราษฎรทั้งปวงออกไปเกี่ยวเข้าทุกตำบล แลพลทหารซึ่งออกไปกำกับให้เกี่ยวเข้านั้นได้รบพุ่งด้วยฆ่าศึก ฆ่าศึกแตกพ่ายไปได้ศีศะเข้ามาถวายทุกวันมิได้ขาด. พระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ให้พระราชทานรางวัลแก่นายทัพนายกอง แลทหารทั้งปรงโดยบำเหน็จอันได้รบพุ่งมากแลน้อยตามสมควร. ๚ะ๏ ในขณะนั้นสมเดจ์พระบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ตรัสให้เจ้าพระยากำแพงเพชร์บังคับราชการในที่พระกระลาโหม จึ่งตรัสให้เจ้าพระยากำแพงเพชร์ ถือพลทหารล้อมวังออกไปกันให้ราษฎรทั้งหลายเกี่ยวเข้าณทุ่งชายเคือง ที่ทัพพระมหาอุปราชาตั้งอยู่นั้น. พระมหาอุปราชาแต่งพลมาประมาณพันหนึ่งยกออกมารบ. ทัพเจ้าพระยากำแพงเพ็ชร์ก็แตก. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า กับสมเดจ์พระอนุชาธิราช ทรงพระโกรธแก่เจ้าพระยากำแพงเพ็ชร์ ตรัสให้ลงพระราชอาชาโดยโทษตามพระอัยการศึก. สมเดจ์พระราชบิดาทรงพระกรุณาตรัสว่า เจ้าพระยากำแพงเพ็ชร์เปนแต่พลเรือน มิได้เปนทแกล้วทหาร ขอโทษเจ้าพระยากำแพงเพ็ชร์ไว้ครั้งหนึ่งก่อน. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้ากับสมเดจ์พระอนุชาธิราช ก็มิได้ลงโทษเจ้าพระยากำแพงเพ็ชร์. แล้วตรัสปฤกษาด้วยท้าวพระยาเสนาอำมาตยโยธาทหารทั้งหลายว่า ซึ่งเจ้าพระยากำแพงเพ็ชร์พ่ายเข้ามาให้ฆ่าศึกได้ใจดั่งนี้. เราจะนิ่งไว้ช้ามิชอบ ๆ เราจะยกพยุหบาตราทัพหลวงออกตีทัพมหาอุปราชา อย่าให้ตั้งช้าอยู่ณชายเคืองนั้นได้ ราษฎรทั้งปวงจึ่งจะได้เกี่ยวเข้าในท้องทุ่งสะดวก แล้วตรัสให้ตรวจช้างม้ารี้พลทหารอาษาให้เอาเครื่องสรรพยุทธปืนใหญ่แลปืนจ่ารงมณฑกนกสับลงบันจุเรือรบเรือไล่ สองร้อยลำนั้นสรรพ. จึ่งแต่งทหารให้ลอบออกไปทางบกทางเรือที่ชอบกล ซุ่มพลทหารปืนใหญ่น้อยไว้ จึ่งจะยั่วให้ฆ่าศึกออกไล่เหนได้ทีแล้วจึ่งจะออกทลวงตีทั้งปืนใหญ่น้อยยิงระดมสาตเอาฆ่าศึกให้แตกฉานอย่าให้คุมกันติด. ฝ่ายกองทหารอาษาก็ไปซุ่มอยู่ตามรับสั่ง. จึ่งสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้ากับสมเดจ์พระอนุชาธิราช ก็เสด็จด้วยพระชลวิมานลำเดียวกันไปโดยทางชลมารค แลท้าวพระยาพระหัวเมืองขุนหมื่นทหารทั้งปวงก็ไปโดยขบวนน่าหลัง ครั้นถึงตำบลชายเคืองใกล้ทัพมหาอุปราชาตั้งอยู่นั้น จึ่งตรัสให้ทหารอาษาขึ้นไปยั่วทัพฆ่าศึกน่าค่ายแลฆ่าศึกก็ยกออกมาได้รบพุ่งกันเปนสามารถ. ฝ่ายกองทหารอาษาซึ่งซุ่มอยู่นั้น ก็ยกพลออกทลวงตียิงปืนใหญ่น้อยสาตลงไปต้องฆ่าศึกล้มตายเปนอันมาก ฆ่าศึกมิได้ระส่ำระสายยกหนูนวกลงมาทางริมน้ำ. ฝ่ายทัพกรุงก็วางปืนใหญ่แลปืนจ่ารงมณฑกนกสับขึ้นไปแต่เรือรบ ต้องพม่ามอญแลช้างม้าตายเปนอันมาก แลพลฆ่าศึกนั้นยังต่อรบอยู่. ขณะนั้นสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า กับสมเดจ์พระอนุชาธิราชเสดจออกยืนน่าพรที่นั่งทั้งสองพระองค ทรงปืนนกสับยิงต้องฆ่าศึกช้างม้าแลพลตายมาก ทหารชาวกรุงยิงปืนรดมไป. ฝ่ายฆ่าศึกก็ลงมาสะกัดข้างหลังเรือพระที่นั่ง แลยิงปืนไฟตอบมาเปนสามารถ แลเรือรบทั้งหลายทั้งปวงทานมิได้ก็พ่ายมาสิ้น ยังแต่เรือพระที่นั่งแลเรือรบห้าลำอยู่ยิงตอบกันไปมา. ฝ่ายฆ่าศึกยิงปืนไฟมาต้องฉลองพระองคสมเด็จเอกาทศรฐอิศวรบรมบพิตรอันทรงนั้น แต่ปลายพระหัถขาดขึ้นไปถึงพระภาหุ. อนึ่งข้าศึกยิงปืนไฟมาต้องคนในเรือกันนั้น เจ็บป่วยลำบากมาก. แต่กระสุนปืนนกสับ ฆ่าศึกยิงมาตกอยู่น่าเรือพระที่นั่งนั้น ประมาณสามสิบกระสุน. ภอเพลาค่ำเสด็จคืนเข้าพระนคร. ๚ะ๏ ครั้นณวันอาทิตยเดือนหกแรมสิบเบดค่ำเพลาสิบเบ็ดทุ่ม สมเด็จพระนเรศวรเปนเจ้ากับสมเด็จพระอนุชาธิราชเสด็จยกพยุหบาตราทัพออกจากพระนครข้ามไป. สมเด็จพระเชฐาธิราชทรงช้างต้นเจ้าพระยาปราบไตรจักรสูงหกศอกสิบเบ็ดนิ้วติดน้ำมันน่าหลัง. สมเดจ์พระอนุชาธิราชเจ้าเสด็จทรงพระคชาธารจักรมหึมมาสูงหกสอกคืบติดน้ำมันน่าหลัง. เจ้าพระยามหาเสนาขี่ช้างปราบไตรภพสูงห้าศอกคืบ เจ้าพระยาจักรีขี่ช้างแก้วสังหารสูงหกศอกสี่นิ้ว. เอาขุนหมื่นกองช้างขึ้นช้างพังกั้นกลางหว่างละสี่ช้าง. ให้มอญเข้าไปร้องน่าค่ายพระเจ้าหงษาวดีว่า มีหนังสือบอกพระมหาอุปราชา ให้ขึ้นมากราบทูลให้เร่งเปิดประตูรับ. เจ้าน่าที่นายประตูร้องว่าจะกราบทูลก่อน จะเปิดยังมิได้. สักครู่หนึ่งในค่ายหงษาวดีวางปืนจ่ารงมณฑกนกสับรดมมา. สมเด็จพระนเรศวรเปนเจ้ากับพระอนุชาธิราชเหนว่าฆ่าศึกรู้ตัวแล้ว ก็เสดจลงเรือพระที่นั่งคืนเข้าพระนคร. ๚ะ๏ ครั้นณวันพุทธเดือนเจ็ดขึ้นค่ำหนึ่ง เสด็จพระราชดำเนินออกไปตั้งทัพไชยณวัดช่องลม. ครั้น ณวันพุทธเดือนเจ็ดขึ้นแปดค่ำ เอาปืนพระกาลมฤตยูราชลงสำเภาขึ้นไป ยิงค่ายพระเจ้าหงษาวดี ณ ขนอนปากคู. พระเจ้าหงษาวดีเหนชาวพระนครเอาปืนลงสำเภามายิงได้ถึงค่าย ก็เลิกทัพไปตั้งป่าโมกใหญ่.ครั้น ณวันศุกร์เดือนเจ็ดขึ้นสิบค่ำ สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า กับสมเด็จพระอนุชาธิราช ก็ยกขึ้นไปตีทัพพระเจ้าหงษาวดีถึงป่าโมกใหญ่ เสดจทางชลมารค แต่งทัพบกสองฟากฝั่ง. ฆ่าศึกยกขนาบตีทัพบกสองฟากฝั่ง. ทัพกรุงแตกย่นลงมาถึงทัพหลวง. แลกระสุนปืนฆ่าศึกยิงลงมาต้องบ่อโทนเรือพระที่นั่ง. สมเด็จพระนเรศวรเปนเจ้าศีศะร้าวลั่นออกไป. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า กับสมเดจ์พระอนุชาธิราช ก็กรีธาทัพเรือขึ้นบกทหารล้วนถืออาวุธสั้น. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า กับสมเดจ์พระอนุชาธิราช ทรงพระแสงดาบสองพระหัถ แลทัพบกซึ่งย่นลงมานั้น ก็มีน้ำใจกลับมาพร้อมกัน. สมเดจพระนเรศวรเปนเจ้า กับสมเดจพระอนุชาธิราช ก็ต้อนพลทลวงไล่ฟันฆ่าศึก ๆ ก็แตกฉานตาย แลลำบากเปนอันมากแล้ว. สมเดจพระนเรศวรเปนเจ้า กับสมเดจพระอนุชาธิราช ก็เสดจเข้าพระนคร. ฝ่ายพระเจ้าหงษาวดียกมาติดพระนครถึงหกเดือน จนถึงวสันตรดูเสียพลทหารเปนอันมาก. เหนจะเอาพระนครมิได้ ก็เลิกทัพกลับไป ๚ะ๏ ขณะเมื่อทัพพระเจ้าหงษาวดียกมาถึงนั้น ข่าวแจ้งออกไปถึงกรุงกัมพูชาประเทศ พระยาลแวกก็ดีพระไทย จึ่งแต่งให้เจ้าฟ้าทละหะ พระยาเดโช พระยาราชนายก พระยามโนไมตรี พระยาสวรรคโลกย แสนท้องฟ้า กับทหารหมื่นหนึ่ง ให้เจ้าฟ้าทละหะเปนแม่ทัพ ยกเข้าตีหัวเมืองแถบตวันออก. เจ้าฟ้าทละหะมิได้เดินตามทางใหญ่ ลัดมาทางป่าสี่เส้นมาบ้านหอก บ้านควายเข้าตีเมืองปราจิณแตก. กรมการเมืองนครนายกบอกเข้ามา. สมุหนายกนำขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวให้ทรงทราบ. ก็ทรงพระโกรธตรัสแก่พระราชปิโยรสว่าเหตุไฉนพระยาลแวกจึ่งกลับมา. เปนประจามิตรดังนี้. สมเดจพระนเรศวรเปนเจ้ากราบถวายบังคมทูลสนองพระราชโองการว่า พระยาลแวกมิได้ตั้งอยู่ในสัตยานุสัตย์ ปราศจากวิจารณญาณ ฟังคำน้องชายให้เสียทางพระราชไมตรี คอยซ้ำเติมดั่งนี้. ความแค้นข้าพระพุทธเจ้าดังต้องปืนพิศม์. ขอให้พระยาสีไสณรงค ราชเดโช กับพลทหารพันหนึ่งยกออกไปตี. พระบาทสมเดจบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัวก็บัญชาตาม. พระยาศรีไสยณรงค พระยาสีห์ราชเดโช กราบถรายบังคมลา. แล้วก็ยกไปทางบ้านนาเวิ่ง ถึงเมืองนครนายก. ๚ะ๏ ณวันพฤหัศเดือนหกแรมเก้าค่ำ เพลาสองโมงเช้า ทัพเขมรก็ยกตีเข้ามาถึงเมืองนครนายก. พระยาศรีไสณรงค พระยาสีห์ราชเดโช ก็ยกออกตีทัพเขมรแตกถอยไปทางด่านหณุมาร ออกทางพระจฤต พระยาศรีไสณรงค พระยาสีห์ราชเดโชก็ตามตีไปจนสิ้นแดน. กองทัพเขมรป่วยตายรายทางไป จับได้เปนแลเครื่องสาตราวุธเปนอันมาก. พระยาศรีไสยณรงค พระยาสีห์ราชเดโช ก็กลับเข้ามาตั้งอยู่ณเมืองปราจิน. แล้วบอกเข้ามาว่า กองทัพเขมรก็แตกออกไปแล้ว จะขอเข้ามาทำราชการสนองพระเดชพระคุณ ส่งเขมรเชลยแลสาตราวุธเข้ามาถวาย. พระบาทสมเดจพระเจ้าอยู่หัว จึ่งให้ตอบบอกไปว่า ทัพพระเจ้าหงษาวดียังมิได้แตกฉาน จะไว้ใจแก่พระยาลแวกยังมิได้. เกลือกว่าจะแต่งกองทัพให้ยกเข้ามาอีก จะเสียปจันตชนบท. อย่าเพ่อให้พระยาศรีไสณรงค พระยาสีห์ราชเดโชเลิกทัพเข้ามา. ให้อยู่รักษาหัวเมืองแถบตวันออกไว้ก่อน ต่อเมื่อใดทัพหงษาวดีแตกไปแล้ว จึ่งให้เลิกทัพกลับเข้ามา ครั้นแจ้งไปว่าทัพหงษาวดีแตกไปแล้ว พระยาศรีไสณรงค พระยาสีห์ราชเดโช ก็เลิกทัพกลับมาเฝ้า. ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าหงษาวดีเสดจ์มาถึงพระนครแล้ว ก็ทรงตำริห์แต่ที่จะเอากรุงพระนครศรีอยุทธยาให้จงได้ ก็ให้จัดทแกล้วทหารบำรุงช้างม้ารี้พลเครื่องสรรพสาตราวุธเสบียงอาหารกระสุนดินประสิวไว้พร้อมเสร็จ์. เมื่อพระเจ้าหงษาวดีให้เตรียมทัพนั้นพลทหารห้าแสน ช้างเครื่องสามพัน ม้าหมื่นหนึ่ง ให้มหาอุปราชา พระเจ้าแปร พระเจ้าเชียงใหม่นั้นเข้ากระบวนทัพด้วย ๚ะ๏ ครั้น ณวันอาทิตย์เดือนอ้ายขึ้นค่ำหนึ่ง ลุศักราช ๙๓๒ ปีมเมียโทศก เพลาอุษาโยค สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีก็ทรงเครื่องพิไชยอาวุธลังกาภรณวิภูสิตพิพิธโภคมหิมาดูมโหฬาราติเรก สำหรับขัติยราชรามัญประเทศโดยวารดิถีเสร็จ. ครั้นได้เพลามหามหุติฤกษมังคลาโหราธิบดีลั่นฆ้องไชย ชีพ่อพราหมณถวายเสียงสังขประนังศับทฆ้องกลองก้องกาหฬนฤนาท เสดจทรงช้างพลายไชยมงคลเปนราชพาหนะ ประดับเครื่องคชาภรณอลังการเคลื่อนพยุหโยธาหารโดยกระบวนซ้ายขวาน่าหลัง พลดาบดั้งโตมรสลอน พลเสโล่ทวนทองยยาบ พลดาบเขนเปนขนัดริ้วราย ดูสุดสายตาไสว เถือกธงไชยธงฉานวาลวิชนีกลิ้งกลดบดบังทิณกร ไพโรจโชตนาการพิฦกอธึกดูพร้อมพรั่งดาษดา รอนแรมมาโดยสถลมารค ข้ามแม่น้ำเมาะตมะเข้าทางเมืองกำแพงเพชรเสดจ์มาถึงกรุงมหานครศรีอยุทธยา ณวันอังคารเดือนอ้ายแรมสิบสี่ค่ำ. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีตั้งทัพบางปะหัน พระมหาอุปราชาตั้งทัพกุ่มดอง พระเจ้าแปรตั้งทัพศรีกุก พระเจ้าเชียงใหม่ตั้งค่ายตำบลวัดสังฆาวาศ. ๚ะ๏ สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าตรัสทราบว่า ทัพพระเจ้าหงษาวดียกมา ก็ทรงม้าทวนกับทหารสามกอง กองหนึ่งยี่สิบสองคน กองหนึ่งสี่สิบสองคน กองหนึ่งเจ็ดสิบสองคน ขี่ม้าถือทวนครบมือยกออกไป. กองน่าฆ่าศึกออกมารับ ทหารกรุงเทพมหานครตีแตกฉานเข้าไป สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า ทรงพระแสงดาบกับทหารปีนค่ายขึ้นไป. ฆ่าศึกในค่ายเอาทวนแทงพลัดตกลงมาเปนหลายครั้งขึ้นมิได้ ทรงม้าพระที่นั่งกลับเข้าพระนคร. ข้าศึกเอาการซึ่งได้รบพุ่งนั้นไปกราบทูลสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดี พระเจ้าหงษาวดีตรัสถามเสนาบดีว่า พระนเรศวรออกมาทำเปนอย่างทหารดั่งนี้ เหมือนหนึ่งเอาภิมเสนมาแลกเกลือ พระราชบิดานั้นเหนจะรู้ฤๅไม่ เสนาบดีกราบทูลว่า เหนพระราชบิดาจะไม่รู้ ถ้ารู้แล้วเหนจะไม่ออกมาทำ. สมเด็จพระเจ้าหงษาวดีจึ่งตรัสสั่งว่า พระนเรศวรทำศึกอาจหารนัก ถ้าออกมาอีกถึงมาทว่าเราจะเสียทหารมากก็จะแลกเอาตัวให้จงได้. แล้วสั่งให้จัดทหารที่มีฝีมือสันทัดทุกทัพทุกกองให้ได้หมื่นหนึ่ง เอาไปช่วยค่ายลักไวทำมู ทหารทศตำบลลุมพลี. ถ้าพระนเรศวรเปนเจ้าออกมาตีค่าย ให้กุมเอาเปนให้จงได้. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าทรงม้าพระที่นั่งออกไป ทหารสามกองกับล้อมวังพันหนึ่ง ถือโตมรแลดาบดดั้งออกไป ได้รบพุ่งกันแต่เพลาสามโมงจนสี่โมง ฆ่าศึกแตกเข้าไปอยู่สักครู่หนึ่ง กลับเอาม้าสามสิบออกมายั่วทัพ. จึ่งแต่งปีกฉะนาง แลกองซุ่มไว้ ปีกหนึ่งลักไวทำมู ปีกหนึ่งทหารทศ สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าทรงม้าทวนไล่ฆ่าศึกเข้าไป แลฆ่าศึกสองปีกหุ้มพระองค์แลทหารเข้าไว้ ลักไวทำมูถือดาบดั้งเข้ามาจะกุมเอาพระองค์ พระองค์ก็ทรงแทงด้วยพระแสงทวน ถูกลักไวทำมู ลักไวทำมูฟันต้องพระแสงทวนเปนแผล แต่ลักไวทำมูนั้นตาย. ทหารทศถือโตมรแลหอกใหญ่ตรงเข้ามา ทรงฟันด้วยพระแสงสะพายแล่งล้มลง. ก็เสด็จกลับเข้าพระนคร. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีให้เข้ามาตีค่ายขาวพระนคร ถึงสองครั้งสามครั้งก็มิได้แตกฉาน จึ่งตรัสว่าจวนเทศกาลฟ้าฝนน้ำนองอยู่แล้ว ก็สั่งให้เลิกทัพเสดจ์กลับคืนไปเมืองหงษาวดี. ๚ะ
17
๏ แผ่นดินพระนเรศวรเปนเจ้า ๚ะ
๏ ครั้นลุศักราช ๙๔๐ ปีขานสัมฤทธิศก ณวันอาทิตย์เดือนแปดแรมสิบสามค่ำ พระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าทรงพระประชวนหนัก ครั้นณวันอังคารเดือนสิบสองแรมสองค่ำ เสดจ์สวรรณคต พระชนม์ได้เจ็ดสิบหกพรรษา อยู่ในราชสมบัติยี่สิบสองปี. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า พระชนม์ได้สามสิบห้าพรรษา ขึ้นเสวยราชสมบัติ แต่งการถวายพระเพลิงสมเดจ์พระราชบิดาเสร็จแล้ว. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวตรัสแก่มุขมนตรีแลอำมาตย์ว่า แผ่นดินกรุงกัมพูชากุรุราฐนั้น ผู้ใดครองสมบัติจิตรมักเปนสันดานพาลทุจริต. เหมือนพระยาละแวก บิดานักพระสุโท นักพระสุทัน เมื่อศึกกรุงหงษาวดียกมาคราวแรก ครั้งสมเดจ์พระไอยกาธิราชเจ้าผ่านพิภพใหม่นั้นพระยาลแวกก็ยกทัพเข้ามาพลอยซ้ำตี กวาดเอาครัวอพยพชาวเมืองปราจินบุรีไป จนสมเดจ์พระบรมราชไอยกาต้องเสดจ์ยกทัพออกไปปราบจึ่งถวายนักพระสุโท นักพระสุทันราชบุตรเข้ามา. แล้วนักพระสัฐาไปเอาทัพเข้ามาตี ฆ่าบิดานักพระสุโท นักพระสุทันเสีย. นักพระสัฐาได้สมบัติกรุงกัมพูชาธิบดีเปนพระยาลแวก. ครั้นแผ่นดินของพระราชบิดาเราก็ยกทัพจู่มาถึงวัดสามพิหาร จนเสียพระจำปาธิราชลูกชายก็ยังหาเข็ดไม่. มีศึกหงษาวดีมาติดพระนครครั้งใด ก็มีแต่ยกทัพมาพลอยซ้ำตี กวาดเอาประชาราษฎรข้าขอบขันทเสมาไปทุกครั้ง แล้วแต่งทูตานุทูตมาขอเปนทางพระราชไมตรี สมเดจ์พระบรมราชบิดาเราก็มิได้มีพระไทยอาฆาฎ เพื่อมิให้เสียทางพระราชไมตรี จนปันเขตรแดนปักเสาสิลาจาฤก. ครั้นทัพพระเจ้าเชียงใหม่ยกมา พระยาลแวกให้น้องชายเข้ามาช่วยงานพระราชสงคราม. น้องขายนั้นมิได้มีสติสัมปะชัญ ดุจหนึ่งสิงคาละชาติโปฎก. ฝ่ายพระยาลแวกก็ปราศจากวิจาณปัญญา มีพาลทุจริตในสันดานละสุจริตธรรมเสีย กลับยกทัพมาตีปัจันตะชนบทอีกเล่า ความแค้นของเราดังว่าเสี้ยนยอกอยู่ในอุระไม่รู้หาย. ครั้งนี้แผ่นดินเปนของเราแล้ว จะไปแก้แค้นเอาโลหิตพระยาลแวกล้างบาทเสียให้จงได้ ตรัสแล้ว สั่งให้เกณฑ์ทัพสกรรธลำเครื่องเหยียบแสน ช้างเครื่องแปดร้อย ม้าพันห้าร้อย น้ำแห้งท้าวช้างท้าวม้าแล้วก็จะยกไป. ๚ะ๏ ฝ่ายสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีแจ้งข่าวไปว่า สมเดจ์พระมหาธรรมราชาดับสูญทิวงคตแล้ว ตรัสแก่พระมหาอุปราชาว่า เจ้ากับพระมหาราชเจ้าพระนครเชียงใหม่ จงยกทัพลงไปฟังซึ่งกิจการดูพระนครศรีอยุทธยาผลัดแผ่นดินใหม่ เสนาพฤฒามาตย์ราษฎรทั้งปวงจะเปนจลาจลประการใดบ้าง ถ้าภอจะทำได้ก็ให้ทำอย่าให้เสียที. พระมหาอุปราชากราบทูลพระราชบิดาว่า โหรทายว่าชันษาข้าพระพุทธเจ้าร้ายนัก. สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีตรัสว่า พระมหาธรรมราชาไม่เสียแรงมีบุตร การสงครามไม่ภักให้พระบิดาใช้เลย ต้องห้ามเสียอีก แลซึ่งเจ้าว่าเคราะห์ร้ายอยู่แล้วก็อย่าไปเลย เอาผ้าอิสัตรีนุ่งเสียเถิด จะได้สิ้นเคราะห์. พระมหาอุปราชาได้ฟังรับสั่งดั่งนั้น กลัวพระราชอาชาพระบิดา ก็ตรวจเตรียมรี้พล แลมีพระราชกำหนดไปถึงพระเจ้าเชียงใหม่ให้ยกมา.พระเจ้าเชียงใหม่แจ้งพระราชกำหนดแล้ว ก็ยกทัพมากรุงหงษาวดี. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๔๑ ปีเถาะเอกศก พระมหาอุปราชา เจ้าเมืองเชียงใหม่ยกพลห้าสิบหมื่น ช้างเครื่องเจ็ดร้อย ม้าสามพันมาข้ามเมืองเมาะตมะ มาโดยแม่น้ำแม่กระษัตร เข้าทางพระเจดีย์สามองค์. ฝ่ายสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า ครั้นถึงณวันอาทิตยเดือนอ้ายขึ้นหกค่ำ มีพระราชดำรัสสั่งให้เกนหัวเมืองปากใต้ทัพหนึ่งเสร็จแล้ว กำหนดพระฤกษ์จะได้ยกไปเมืองลแวก. ครั้น ณวันเสาร์เดือนอ้ายขึ้นสิบสองค่ำ จึ่งมีพระราชโองการสั่งมุขมนตรีผู้ใหญ่ให้รักษาพระนครว่า ทัพพระเจ้าหงษาวดีแตกไปครั้งนี้ เปนทัพซึ่งจะบำรุงช้างม้ารี้พล แลจะกลับในน้ำลงปีนี้เหนจะไม่ทัน. แต่ทว่าจะไว้ใจมิได้ เกลือกว่าจะคลั่งสงครามยกมา ถ้ายกมาก็ให้รักษาเมืองไว้ถ้าเราเดือนหนึ่งให้ได้. สั่งแล้วภอเพลาเอย็น มีหนังสือบอกเมืองกาญจนบุรีเข้ามาว่า ทัพพระมหาอุปราชา พระเจ้าเชียงใหม่ ยกมาถึงกาญจนบุรีทำตะพานข้ามอยู่แล้ว. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวทราบดังนั้น ก็ดำรัสว่า เราเทียบช้างม้ารี้พลไว้จะยกไปเอาเมืองลแวก. บัดนี้ทัพหงษาวดียกมาอีกเล่า จำจะยกออกไปเล่นสนุกนิ์กับมอญเสียก่อน แล้วมีพระราชกำหนดออกไป ให้พระอำมรินทฦๅไชยเจ้าเมืองราชบุรี แต่งคนห้าร้อยออกไปตั้งซุ่มอยู่. ถ้าฆ่าศึกข้ามตะพานแล้ว ให้ล้างตะพานเผาเสียให้จงได้. ฝ่ายพระมะหาอุปราชาเสดจ์ยกทัพมาถึงกาญจนบุรี เหนเมืองร้างเปล่าไม่มีคน ก็เข้าพระไทยว่า ชาวพระนครรู้ความ เทครัวอพยพเข้าเมืองสิ้น เสดจประทับแรมณเมืองกาญจนบุรี ให้เที่ยวลาดกระเวนจับคนจะถามกิจราชการก็มิได้. ส่วนพระยาจิตตองกองน่า ก็เร่งทำตะพานข้ามพลเสร็จ. รุ่งขึ้นพระมหาอุปราชาก็เสด็จกรีธาทัพล่วงลงมาโดยมารควิถี ถึงตำบลพนมทวน. เพลาชายแล้วสามนาฬิกา บังเกิดวายุเวรำพวาตพัดหวนหอบทุลี ฟุ้งผันเปนกงจักร์ กระทบมหาเสวตรฉัตร ซึ่งกั้นมาบนหลังพระคชาธารนั้นหักทบลง. พระมหาอุปราชาทอดพระเนตรเหนดังนั้น ตกพระไทยให้โหรสำหรับทัพทำนายถวายพยากรณ์ว่า เหตุนี้ถ้าเข้าในเที่ยงร้าย. นี่ชายแล้ว เหนเปนศุภนิมิตรที่พระองคจะมีไชยได้พระนครศรีอยุทธยา สมเดจ์พระราชบิดาจะเลื่อนพระองค์ขึ้นจากที่เสวตรฉัตร์มหาอุปราชา ให้ถวัลย์ราชราไชยสวรรยาธิปัตในกรุงหงษาวดีเปนมั่นคง พระมหาอุปราชาตรัสได้ฟังดังนั้น ก็ยังมิวางพระไทย จนเสดจ์ถึงตำบลพังตรุแดนสุพรรณบุรี ให้ตั้งทัพไชยโดยขบวน. แล้วตรัสให้กองม้าสามร้อยลาดมาดูถึงตำบลเอกราชบางกทิงว่า ทัพพระนครจะตั้งรับอยู่ตำบลใดบ้าง. ส่วนสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า กับสมเดจ์พระอนุชาธิราชตรัสปฤกษาแก่มุขมาตยาทั้งปวงว่า ศึกมหาอุปราชายกมาครั้งนี้ เราจะกรีธาพลออกต่อยุทธนาการกลางแปลงดีฤๅ ฤๅจะตั้งมั่นรับในพระนคร. มุขมนตรีกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า ข้าพระพุทธเจ้าทราบอยู่ว่า พระมหาอุปราชาเกรงพระเดชเดชานุภาพสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จไปช่วยงานพระราชสงครามกรุงหงษาวดี ตีเมืองรุมเมืองคังครั้งหนึ่งแล้ว แลครั้งเมื่อสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดี กับมหาอุปราชาคิดเปนการลับลวงให้เสด็จขึ้นไปแลจะทำร้าย ทำร้ายมิได้. จนทัพหลวงกวาดเอาพระมหาเถรคันฉ่อง พระยาราม พระยาเกียรติ ญาติโยมครัวอพยพ ในชนบทประเทศขอบขันทเสมา กรุงหงษาวดีมาข้ามฝั่งแม่น้ำสโตง. มหาอุปราชาตามมาทันคนละฝั่งฟาก สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวทรงพระแสงปืนนกสับ ยิงข้ามฝั่งมหานัททีอันกว้าง ต้องสุระกรรมานายกองน่านั้นตาย. พระมหาอุปราชาท้าวพระยาสมิงรามัญ ก็ขยาดฝีพระหัถ เกรงพระเดชเดชานุภาพเปนสองครั้งแล้ว. แลซึ่งพระมหาอุปราชายกมาครั้งนี้เปนการปลาดนัก. ด้วยศึกพ่ายไปเดือนเจ็ด ยังไม่ทันบำรุงช้างม้ารี้พลถึงขนาด แลเดือนยี่ยกมาถึงพระนครเหนเรวนัก. ดีร้ายจะได้ข่าวว่า สมเดจ์พระพุทธเจ้าหลวงเสดจ์สวรรคต คิดว่าแผ่นดินเปนจลาจล จึ่งรุดมาโดยทำนองศึก. ครั้นจะรับหมั้นในกรุงฆ่าศึกจะได้ใจ ขอเชิญเสดจ์ทัพหลวงออกตั้งแต่งกองทัพเข้าปทะฟังกำลังดู. ถ้าศึกหนักจึ่งทัพหลวงเสด็จยกออกหักต่อภายหลัง สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ได้ทรงฟังมุขมนตรีกราบทูลดังนั้น ชอบพระไทยนัก แย้มพระโอฐดำรัสว่า ซึ่งปฤกษาการสงครามครั้งนี้ ต้องความดำริห์เรา. บัดนี้ทัพเตรียมพร้อมอยู่ณทุ่งบางขวดแล้ว ให้ยกไปตั้งป่าโมก เอาแต่ทัพหัวเมืองตรีจัตวายี่สิบสามหัวเมืองเปนคนห้าหมื่น. ให้พระยาศรีไสยณรงเปนแม่กอง ให้พระยาราชฤทธานนท์เปนยกรบัตร ยกไปขัดรับน่าฆ่าศึกอยู่ณตำบลทุ่งหนองสาร่าย. พระยาศรีไสณรงค์ พระยาราชฤทธานนท์ กราบถวายบังคมลาออกมาจัดแจงไพร่พล ยกทัพไปโดยพระราชบัญชา. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวตรัสให้โหราหาฤกษ. พระโหราธิบดีหลวงโลกยทีปขุนเทพพยากรณ์ คำนวรพระฤกษถวายว่า สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวได้จัตุรงคโชกสรรพฤกษดีพร้อม มีไชยแก่ฆ่าศึก ขอเชิญเสดจ์จากพระนครณวันอาทิตย์เดือนยี่ขึ้นสิบเบ็ดค่ำ เพลารุ่งแล้วสองนาฬิกาห้าบาท. สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ตรัสให้สมุหนายกกำหนดทัพหลวงจะเสดจ์โดยชลมารค ไปตั้งทัพไชยณพนมโมก. สมุหนายกก็แจกพระราชกำหนดข้าทูลละอองทุลีพระบาท ฝ่ายทหารพลเรือนเตรียมการอันจะเสดจ์พระราชดำเนินนั้นเสรจ์ ๚ะ๏ ถึง ณวันอาทิตย์เดือนยี่ขึ้นสิบเบ็ดค่ำ เพลารุ่งแล้วสองนาฬิกาห้าบาท ได้ศุภมหุติมหาวิไชยฤกษ์. สมเด็จพระบาทบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ทรงเครื่องสำหรับพิไชยสงครามเสร็จ ก็เสดจ์ทรงเรือพระที่นั่งสีสามรถไชย. สมเดจพระอนุชาธิราชเจ้าทรงเรือพระที่นั่งไกรษรมุขพิมาน อันอลังการรจนาด้วยมหาเสวตรบวรฉัตร์ ขนัดเครื่องอภิรุมชุมสายพรายพรรณ บังรวิวันบังแซกสลอนสลับสรรพด้วยกรรชิงกลิ้งกลดจามรมาศดาษดา ดูมเหาฬารเลิศพันฦกอธึกด้วยกระบี่ธุชธงฉานธงไชย แลสว่างไสวไพโรจด้วยเรือจำนำท้าวพระยาสามนตราชรายเรียงเปนรยะ โดยเสดจ์ขบวนพยุหบาตราน่าหลังทั้งปวงพร้อมเสร็จ. พอได้อุดมฤกษพระโหราธิบดีก็ลั่นฆ้องไชย ราชครูทวิชาจารย์เป่ามหาสังขทักษิณวัดประโคมแตรสังข์ดุริยดนตรีฆ้องกลองก้องนี่นันมหรรนพนัที เคลื่อนเรือขบวนพยุหบาตราโดยชลมารค ถึงประทับขนานน่าพลับพลาไชยป่าโมก. เพลาชายแล้วสองนาฬิกาสี่บาท เสดจจัดทัพประทับแรมอยู่ที่นั่น กำหนดสิบเบ็ดทุ่มสามบาท ทัพหลวงเสดจ์พระราชดำเนิน. เมื่อเพลาสิบทุ่มสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระสุบินนิมิตรว่า น้ำนองถ้วมป่ามาฝ่ายปราจินทิศ เสดจ์ลุยชลทีเที่ยวไป ภบมหากุมภีตัวหนึ่งใหญ่ ได้สัประยุทยุทธนาการ สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวประหารกุมภีตาย. บรรทมตื่นขณะนั้นตรัสให้โหรทาย. พระโหราธิบดีทูลทำนายว่า ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวงจะได้รบพุ่งถึงซึ่งมหายุทหัตถ. แต่ทว่าพระองค์มีไชย ลุยไล่ประหารประจามิตรฆ่าศึก. ดุจพระสุบินว่า เที่ยวลุยกระแสน้ำฉนั้น. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงฟังดีพระไทยนัก. ทรงเครื่องสำหรับราชรณยุทธพร้อมเสร็จเสด็จยังเกยคอยฤกษ์. ทอดพระเนตรเหนพระสาริริกะบรมธาตุ เสด็จปราฏิหารช่วงมาเท่าผลส้มเกลี้ยง มาแต่ทักษิณทิศเวียนเปนทักษิณาวัต แล้วเสดจผ่านไปอุดรทิศ ทรงพระปีติซร่านไปทั้งพระองค์. ยกพระหัตถ์ถวายทัษนัขสโมธาน อธิฐานสวัสดิมีไชยให้ชนะปรปักษ. พระโหราธิบดีก็ให้ประโคมแตรสังขดุรียางคดนตรีพร้อมกัน. สมเดจพระเจ้าอยู่หัวทรงช้างต้นเจ้าพระยาไชยานุภาพ ติดน้ำมันหน้าหลัง เปนราชพาหนะ สมเดจพระอนุชาธิราชเจ้าทรงช้างต้นเจ้าพระยาปราบไตรยจักร์ ติดน้ำมันหน้าหลัง เปนราชพาหนะ. พร้อมด้วยช้างท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งปวง เสดจพยุหบาตราทัพโดยแถวสถลมารค ไปเข้าที่เสวยตำบลบ้านละแก้วละเลา. แล้วเสดจยกไปตามท้องทุ่ง. เพลาเที่ยงพระอาทิตยทรงกลด ร่มช้างพระที่นั่งไปจนบ่ายสามโมงภอกระทั่งกองหน้า ซึ่งตั้งอยู่ตำบลหนองสาหร่าย. เสดจประทับเกยใต้ฉายาไม้ประดู่ใหญ่ อันสถิตยเหนือจอมปรวก เอาเปนนีมิตรครุทธนามไชยภูม. สั่งให้เร่งสร้างค่ายกองน่าหลังปีกซ้ายขวา เปนกระบวนประทุมพยุหบาตรา. ๚ะ๏ ฝ่ายสมิงจักตราน สมิงเปว สมิงทราย มอญนายกองม้าคอยเหตุเหนกองทัพน่า แลกองทัพหลวงดังนั้น ก็ขับม้าวางใหญ่กลับไปค่ายพังตรุ. เอาคดีกราบทูลแก่พระมหาอุปราชาทุกประการ. พระมหาอุปราชาแจ้งดังนั้นก็ทรงพระดำริหว่า ชรอยจะเปนทัพกรุงพระมหานคร. ถ้ามิดังนั้นจะเปนทัพเอกาทศรฐน้องชายยกมาเปนหมั้นคง. แล้วตรัสถามสมิงนายกองม้าว่า คเณคนประมาณสักเท่าใด. สมิงจตราน สมิงเปว สมิงทรายมอญกราบทูลว่า พลประมาณสิบเจ็ดสิบแปดหมื่น พระมหาอุปราชาได้ฟังดังนั้น จึ่งตรัสปฤกษานายทัพนายกองว่า ทัพพระมหานครยกมาครานี้ ก็เปนทัพใหญ่อยู่แล้ว แต่ทว่าน้อยกว่าเราสองเท่าสามเท่า. จำจะยกทุ่มตีเอาทัพแรกนี้ให้แตกฉานยับเยินแล้วภายหลังก็จะเบามือลง เหนจะได้พระนครศรีอยุทธยาโดยง่าย. นายทัพนายกองก็เหนโดยพระราชบัญชา พระมหาอุปราชากำหนดแก่นายทัพนายกอง ให้เตรียมพลแต่ในเพลาสามยามให้พร้อม ตีสิบเบ็ดทุ่มจะยกเคอารุ่งไว้น่า. นายทัพนายกองก็จัดแจงกระบวนทัพเทียบไว้ตามรับสั่งทุกประการ. ครั้นเพลาสิบเบ็ดทุ่มพระมหาอุปราชาก็สอดสนองพระองค์ ทรงเกราะสุวรรณประดับพลอยสภักสังวาลมรกฎสามสาย ทรงสุวรรณรัตนมหามกุฎ อย่างขัติยราชรามัญยอดเงื้อมไปน่า ดุจเสียรวาสุกรี แล้วทรงเครื่องสำรับกันสรรพาวุธพร้อมเสร็จ. เสดจทรงช้างต้นพลายพัตกอหกศอกคืบห้านิ้ว ติดน้ำมันหน้าหลัง เปนพระคชาธารกั้นเสวตรฉัตร. สมิงมันทมางเปนกลางช้าง เจ้าเมืองมลวนเปนควาน พร้อมด้วยแวงจัตุลังคบาท แลน่าช้างพระมหาอุปราชานั้น ทวนทองสี่ร้อย. ถัดออกมานั้นวางปืนจ่ารงมณฑกนกสับ กระแบงแก้ว ดาบโล่ดาบดั้งสิ่งลห้าร้อย. แลมางจาดโรพี่เลี้ยงพระมหาอุปราชานั้น เปนกองน่า ขี่ช้างพลายพัชเนียงสูงหกศอกคืบสองนิ้ว ติดน้ำมันหน้าหลัง. สมิงปราบศึกเปนกลางช้าง สมิงมือเหล็กเปนควาน พระมหาอุปราชาให้แต่งช้างชนะงาผูกพระคชาธาร มีเสวตรฉัตรทั้งสิบหกชั้นพรางไว้ แลจัดสมิงรามัญที่เข้มแขงขี่ประจำครบอยู่ ช้างมางจาชโรพี่เลี้ยงมีช้างดั้งกันแทรกแซงเปนขนัด. แล้ววางปืนจ่ารงมณฑกนกสับหามแล่น พลดาบโล่ แลดาบดั้ง ดาบสองมือสิ่งละพัน เปนชั้นๆ ออกไป. แล้วช้างท้าวพระยารามัญเกียกกายกองน่า. แลพลเดินเท้ายี่สิบหมื่น แลพลม้าสามพัน แซงสองฟากทุ่ง ทัพหลังนั้นพระเจ้าเชียงใหม่ ขี่ช้างพลายชมภูสูงหกศอกคืบนิ้วหนึ่ง ติดน้ำมันน่าหลัง. พระยาเชียงแก้วหลานเปนกลางช้าง แสนหารใจศึกเปนควาน กอบไปด้วยช้างดั้งกันแซกแซงพลเดินเท้าสิบหมื่น. พระมหาอุปราชาจัดทัพเปนสัตเสนางค์เจ็ดแถว ๆ ลเจ็ดกองเปนสี่สิบเก้ากอง. พร้อมพลาพลทวยหาร. ให้ลั่นฆ้องใหญ่ ฆ้องกระแตตีรับตามหมวดกอง. ยกจากค่ายพังตรุครั้งนั้น.สนั่นนฤนาทด้วยศรับท์สำเนียงเสียงช้างม้าพลาพลเดินสท้านสเทือน ดุจแผ่นพสุธาดลจะถล่มลง. ๚ะ๏ ฝ่ายสมเดจพระนเรศวรเปนเจ้า ขณะเมื่อเสดจประทัพอยู่ณฉายาไม้ประดู่ เร่งให้ตั้งค่ายหมั้น. ทอดพระเนตรเหนพม่ารามัญตามซายทุ่งควบม้ากลับไป. จึ่งตรัสแก่มุขมนตรีว่า พลม้าซึ่งกลับไปนั้นเหนทีพระมหาอุปราชาให้มาคอยเหตุไปแจ้ง. ดีร้ายเพลารุ่งพรุ่งนี้จะได้ยุทธใหญ่. ให้กองทัพพระยาศรีไสณรงค พระยาราชฤทธานนเร่งยกไปในเพลาตีสิบเบ็ดทุ่มไปปทะน่าฆ่าศึกฟังกำลังดู. แลในกองหลวงก็ให้พร้อมไว้แต่ในเพลาย่ำรุ่ง. ท้าวพระยานายทัพนายกองก็ตรวจเตรียมโดยพระราชกำหนด. ครั้นอรุณรุ่งแสงสุริโยภาศ พระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองคเสดจยังเกย ตรัสให้ท้าวพระยานายกองทัพหลวง ยกกระบวนเบญจเสนา. พระยาสีห์ราชเดโชไชยขี่ช้างพลายโจมไตรยภพ ถือพลหมื่นหนึ่งเปนกองน่า. พระยาพิไชยรณฤทธิ์ขี่ช้างพลายโจมไตรยจักร ถือพลห้าพันเปนปีกขวา. พระยาพิชิตรณรงคขี่ช้างพลายจู่โจมทัพ ถือพลห้าพันเปนปีกซ้าย. พระยาเทพวรชุนขี่ช้างพลายจับโจมยุทธ ถือพลหมื่นหนึ่งเปนเกียกกาย. พระยาพิไชยสงครามขี่ช้างพลายฝ่ายพลแมน ถือพลห้าพันเปนปีกขวา. พระรามกำแหงขี่ช้างพลายแสนพลพ่าย ถือพลห้าพันเปนปีกซ้าย. แลน่าพระคชาธารออกไปปลายเชือกนั้น ขุนโจมจัตุรงคขี่ช้างพลายกุญชรไชย.ขุนทรงเดชขี่ช้างพลายไกรษร ถือพลเขนทองข้างละห้าร้อย. พระราชมาณูขี่ช้างพลายหัศดินทพิไชย ถือพลปี่กลองชะนะซ้ายขวาข้างละห้าร้อย. แลหลวงพิเดชสงครามขี่ช้างพลายบุญยิ่ง. หลวงรามพิไชยขี่ช้างพลายมิ่งมงกุฎ ถือพลดาบโล่ ดาบดั้งข้างละห้าร้อย. พระราชวังสรรค์ขี่ช้างพลายแก้วมาเมือง ถือพลอาษาจามห้าร้อย. พระเสนาภิมุขขี่ช้างพลายเฟื่องปราบไตรย ถือพลอาษายี่ปุ่นห้าร้อย. ถัดนั้นทหารทลวงฟันคู่พระไทยร้อยสามสิบหกคน ถือดาบเขนยี่สิบสองคน ถือดาบโล่สิบสองคน ถือดาบสองมือเจ็ดสิบสองคน. น่าพระคชาธารนั้นหัวหมื่นพันทนายสี่พระตำรวจล้วนดาบสพายแล่ง ถือทวนทองห้าร้อย กำหนดทั้งกองทัพหลวงเปนพลแสนหนึ่ง. ให้เอาพลายภูเขาทองขึ้นรวางสพัด ชื่อเจ้าพระยาไชยานุภาพ สูงหกศอกคืบสองนิ้ว ติดน้ำมันน่าหลังผูกคชาภรณเครื่องมั่น ปักมหาเสวตรฉัตรเปนพระคชาธาร. เจ้ารามคบเปนกลางช้าง นายมหานุภาพเปนควาน. แลแวงจัตุลังคบาทนั้น พระมหามนตรีอยู่ท้าวน่าฝ่ายขวา. พระมหาเทพอยู่ท้าวน่าฝ่ายซ้าย. หลวงอินทรเทพอยู่ท้าวหลังเบื้องขวา. หลวงพิเวนทรเทพอยู่ท้าวหลังเบื้องซ้าย. แลพระคชาธารสมเดจพระอนุชาธิราชเจ้านั้น พลายบุญเรืองขึ้นรวางสพัด ชื่อเจ้าพระยาปราบไตรยจักร สูงหกศอกคืบ ติดน้ำมันน่าหลังผูกคชาภรณเครื่องมั่น ปักบวรเสวตรฉัตร. หมื่นภักดีศวรเปนกลางช้าง ขุนศรีคชเปนควาน. แลปีกทัพหลวงนั้น พระยามหาเสนาขี่ช้างพลายมารประไลย ถือพลหมื่นห้าพันเปนปีกขวา. พระยาจักรีขี่ช้างพลายไฟพัทกัลป ถือพลหมื่นห้าพันเปนปีกซ้าย. พระยาพระคลังขี่ช้างจักรมหิมา ถือพลหมื่นหนึ่งเปนยกระบัตร. พระราชสงครามขี่ช้างพลายสังหารคชสีห ถือพลห้าพันเปนปีกขวา. พระรามรณภพขี่ช้างพลายมณีจักรพรรดิ์ ถือพลห้าพันเปนปีกซ้าย พระยาท้ายน้ำขี่ช้างพลายสวัสดิพิไชย ถือพลหมื่นหนึ่งเปนกองหลัง. หลวงหฤๅไทยขี่ช้างพลายทรงภูบาล ถือพลห้าพันเปนปีกขวา. หลวงราชภักดีขี่ช้างพลายสารภูทร ถือพลห้าพันเปนปีกซ้าย. ประดับด้วยหมู่หมวดคชินทรดั้งกันแทรกแซงสลับค่าย ค้ำพังคาโคตรแล่นล้วนสารพยุหดูมหิมา. อันท้าวพระยาเสนาบดีพิริยโยธาทวยหารแสนพลากรพลพฤนทรพร้อมพรั่งตั้งตามขบวน เบญจะยุทธเสนางคนิกรเสร็จ. พระมหาราชครูพระครูสิวพราหมณโหราธิบดี ก็อัญเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองคทรงมูรธาภิเศก ถวายอาศิรพาศอวยไชย. สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ก็ทรงเครื่องประดับสำรับราชกระษัตรีย สู่สมรภูมสงคราม วันนั้นเปนวันอาทิตย์ทรงพระแสงธนูแล้ว เสด็จขึ้นเกยคอยฦกษ แลชีพ่อพราหมณ์ทำโขลนทวานลว้าเส้นไก่ ขุนมหาวิไชยตัดไม้ข่มนามเสดจแล้ว ภอได้ยินเสียงปืนยิงยุทธแย้งสุดเสียง ตรัสให้จมื่นทิพเสนาเอาม้าเรวไปฟังราชการ เหนทับน่าพ่ายมาเปนอลมาน จมื่นทิพเสนาภาเอาขุนหมื่นในกองน่าเข้ามาเฝ้า สมเดจพระเจ้าอยู่หัวตรัสถามว่า เหตุใดจึ่งพ่ายฆ่าศึก ขุนหมื่นกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า ยกขึ้นไปถึงท้ายโคกเผาเข้าเพลาประมาณโมงเศศ ภบกองทับรามัญยกมาปทะตีกันถึงตลุมบอน ศึกหนักกว่าทุกครั้งจึ่งพ่าย สมเดจพระเจ้าอยู่หัวตรัสดูความคิดมุขมนตรีว่า ทัพน่าพ่ายดั่งนี้จะคิดเปนประการใด เสนาบดีมุขมนตรีกราบทูลว่า ขอเชิญเสดจทับหลวงตั้งหมั้นอยู่ก่อน แต่งทับไปตั้งรับหน่วงไว้ ต่อได้ทีแล้ว จึ่งยกทับหลวงออกทำยุทธหัต เหนจะได้ไชยชำนะ สมเดจพระเจ้าอยู่หัวไม่เหนด้วย ดำรัสว่า ทับน่าแตกฉานมาแล้ว แลจะแต่งทับออกไปรับไว้ ก็จะมาปทะกันเข้า จะพลอยให้แตกเสียอีก ชอบให้เปิดลงมาทีเดียว ให้ฆ่าศึกไล่ลเลิงใจเสียกระบวนมา เราจึ่งยกทับใหญ่ยอฆ่าศึกเหนจะได้ไชยชำนะโดยง่าย ท้าวพระยามุขมนตรีทั้งปวงกราบถวายบังคมเหนโดยพระราชดำริหพร้อมกัน สมเดจพระเจ้าอยู่หัวก็ตรัสให้จมื่นทิพเสนา จมื่นราชามาตย เอาม้าเรวขึ้นไปประกาศแก่นายทับนายกองพลทหารทั้งปวง อย่าให้รอรับเลย ให้เปิดลงมาทีเดียว ๚ะ๏ ตั้งแต่ทับรามัญเหนทับช้าวพระนครถอยไป ก็ไล่มิได้เปนกระบวน จนพระมหาอุปราชาขาดฅอช้างแก่พระนเรศวรเปนเจ้า แล้วจนพระนเรศวรยกไปเมืองกัมพูชา เล่ม ๙ ๚ะ๏ ฝ่ายทับรามัญเหนทับชาวพระนครพ่ายมิได้ตั้งรับ ก็ยิ่งมีใจกำเริบไล่ระส่ำระสายมิได้เปนกระบวน สมเดจ์พระนเรศวรผู้เปนเจ้าเสดจ์คอยฤกษ ทอดพระเนตรเหนมหาเมฆตั้งขึ้นมาแต่ทิศพายัพ แล้วกลับเกลื่อนคืนกระจายอันตรธานไป พระสุริยะเทวบุตรจรัศแจ่มดวงในนภดลอากาศ พระมหาราชครูพระครูปโรหิตาจารย์โหราธิบดีก็ลั่นฆ้องไชยดำเนินธง พระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสดจ์ทรงเจ้าพระยาไชยานุภาพเปนคชาธาร สมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถราชอนุชา เสด็จทรงเจ้าพระยาปราบไตรจักร เปนพระคชาธาร พลทหารก็โห่สนั่นบันฦๅศับท์แตรสังข์ เสียงประโคมฆ้องกลองชนะกลองศึกสท้านสเทือนประหนึ่งแผ่นดินจะไหว สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ยาตราพระคชาธารเปนบาทย่างสเทินมาเบื้องขวา ปะฝ่ายซ้ายฆ่าศึก เจ้าพระยาไชยานุภาพ เจ้าพระยาปราบไตรยจักรได้ยินเสียงพล แลเสียงฆ้องกลองศึกอึงคนึง ก็เรียกมันครั่นครื้น กางหูชูหางกิริยาป่วนเดินเปนบาทอย่างใหญ่เร็วไปด้วยกำลังน้ำมัน ช้างพระยามุขมนตรีแลโยธาหารซ้ายขวาน่าหลังทั้งนั้น ตกไปมิทันเสดจ์พระคชาธาร สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ใกล้ทับน่าฆ่าศึก ตรัสทอดพระเนตรเหนพลพม่ารามัญยกมานั้นเต็มท้องทุ่งเดินดุจคลื่นในมหาสมุท ฆ่าศึกไล่พลชาวพระนครครั้งนั้น สลับซับซ้อนกันมิได้เปนกระบวน สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ขับพระคชาธารเข้าโจมแทงช้างม้ารี้พล ไล่ส่ายเสียถีบฉัดลุมบอน พลพม่าล้มตายเกลื่อนกลาด ช้างม้าฆ่าศึกได้กลิ่นน้ำมันพระคชาธาร ก็หกหันตลปปะกันเปนอลมาน พลพม่ารามัญก็โทรมยิงธนูน่าไม้ปืนไฟระดมเอาพระคชาธาร สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ แลธุมาการก็ตระหลบมืดเปนหมอกมัวไปมิได้เหนประจักษ พระบาทสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า จึงประกาศแก่เทพยดาทั้งปวงว่า ให้บังเกิดมาในประยูรมหาเสวตรฉัตร์ จะให้บำรุงพระบวรพุทธศาสนา ไฉนจึ่งมิช่วยให้สว่างเหนฆ่าศึกเล่า ภอตกพระโอฐลง พระพายก็พัดควันอันเปนหมอกมืดนั้นสว่างไป ทอดพระเนตรเหนช้างเสวตรฉัตรสิบสองช้าง มีช้างดั้งช้างกันยืนอยู่เปนอันมาก แต่มิได้เหนอุปราชา ครั้นเลือบไปทิศขวาพระหัถ ก็เหนช้างเสวตรฉัตรช้างหนึ่ง ยืนอยู่ณฉายาไม้ข่อยมีเครื่องสูงแลทหารน่าช้างมาก ก็เข้าพระไทถนัดว่า ช้างพระมหาอุปราชา พระเจ้าอยู่หัวทั้งองพระองค์ ก็ขับพระคชาธารตรงเข้าไป ทหารน่าช้างฆ่าศึก ก็วางปืนจ่ารงมณฑกนกสับตระแบงแก้วระดมยิง มิได้ต้องพระองค์แลพระคชาธาร สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า จึ่งตรัสร้องเรียกด้วยพระสุรเสียงอันดังว่า พระเจ้าพี่เวาจะยืนอยู่ไยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธ์หัตถีด้วยกัน ให้เปนเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด พ่ายน่าไปไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่จะได้ยุทธ์หัตถีแล้ว พระมหาอุปราชาได้ฟังดั่งนั้นแล้ว ลอายพระไทยมีขัติยราชมาณะ ก็บ่ายพระคชาธารออกมารับ เจ้าพระยาไชยานุภาพเหนช้างฆ่าศึก ก็ไปด้วยฝีล้นน้ำมันมิทันยั้งเสียที พลายพัทกอได้ล่างแบกรุนมา พระมหาอุปราชาจ้วงฟันด้วยพระแสงฃอง้าว สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าเบี่ยงพระมาลารับ พระแสงฃอมิได้ต้องพระองค์ เจ้าพระยาไชยานุภาพสบัดลงได้ล่างแบกถนัด พลายพัทกอเพลี่ยงเบนไป สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าได้ที จ้วงฟันด้วยพระแสงพลพ่าย ต้องพระอังษาเบื้องขวาพระมหาอุปราชาตลอดลงมาจนประจิ่มุราประเทศ ซบลงกับฅอช้าง แลนายมหานุภาพควานพระคชาธาร ของพระนเรศวรเปนเจ้านั้น ต้องปืนฆ่าศึกตายขณะเมื่อสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า ชนช้างด้วยพระมหาอุปราชานั้น เจ้าพระยาปราบไตรยจักร ซึ่งพระคชาธารสมเดจ์พระเอกาทศรฐ ก็เข้าชนช้างด้วยพลายพัชเนียงช้างมางจาชะโร เจ้าพระยาปราบไตรยจักรได้ล่าง พัชเนียงเสียทีเบนไป สมเดจ์เอกาทศรฐจ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าว ต้องศอมางจาชะโรขาดตายกับฅอช้าง หมื่นภักดีศวรกลางช้างสมเดจ์พระเอกาทศรฐนั้น ต้องปืนฆ่าศึกตาย ๚ะ๏ ขณะเมื่อสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ทำคชสงครามได้ไชยชำนะมหาอุปราชาแลมางจาชะโรแล้ว บันดาท้าวพระยามุขมนตรี นายทัพนายกองซ้ายขวาน่าหลังทั้งปวง จึ่งมาทันเสดจ์ เข้ารบพุ่งแทงฟันฆ่าศึกเปนสามารถ แลพวกพลพม่ารามัญทั้งนั้น ก็แตกกระจัดกระจายไป เพราะพระเดชเดชานุภาพ สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวตรัสให้นายทับนายกองทั้งปวง ยกไปตามจับฆ่าศึก แล้วเสดจ์คืนมายังพลับพลา พระราชทานชื่อเจ้าพระยาไชยานุภาพเปนเจ้าพระยาปราบหงษาวดี บันดามุขมนตรีนายทับนายกองทั้งปวง ซึ่งตามฆ่าศึกนั้น ได้ฆ่าฟันพม่ามอญโดยทางไปกาญจนบุรี สบเกลื่อนไปแต่ตะพังตรุนั้น ประมาณสองหมื่นเสศ จับได้เจ้าเมืองมะลวน แลนายทับนายกอง กับไพร่เปนอันมาก ได้ช้างใหญ่สูงหกศอกสามร้อย ช้างพลายพังระวางเพรียวห้าร้อย ม้าสองพันเศศมาถวาย สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสให้ก่อพระเจดียถาน สรวมศพพระมหาอุปราชาไว้ตำบลตะพังตรุ ขณะนั้นโปรดพระราชทานช้าง ๆ หนึ่ง กับหมอแลควาน ให้เจ้าเมืองมะลวนกลับขึ้นไปแจ้งแก่พระเจ้าหงษาวดี พระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็เสด็จกลับคืนพระนครแล้วตรัสว่า เจ้ารามคพกลางช้าง กับขุนศรีคชคงควาน ซึ่งได้ผจนฆ่าศึกจนมีใชยชำนะด้วยพระองค์ก็ปูนบำเหน็จพระราชทานยศถาศักดิ์ เครื่องอุประโภคบริโภค เสื้อผ้าเงินทอง ฝ่ายนายมหานุภาพควานช้าง หมื่นภักดีศวรกลางช้าง ได้โดยเสดจ์งานพระราชสงคราม จนถึงสิ้นชิวิตรในท่ำกลางศึกนั้นมีความชอบ ให้เอาบุตร์ภรรยามาชุบเลี้ยง พระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภค เงินทองเสื้อผ้าโดยสมควร ๚ะ๏ แล้วมีพระราชดำรัศให้ปฤกษาโทษนายทับนายกองว่า ฆ่าศึกยกมาถึงพระนคร สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ตั้งพระไทยจะรักษาพระพุทธสาศนา แลสมณพราหมณาจารยอาณาประชาราษฎร มิได้คิดเหนื่อยยากลำบาก พระองค์ทรงพระอุษ่าห์เสดจ์พยุหโยธาทับออกไปรณรงค์ด้วยฆ่าศึก แลนายทับนายกองกลัวฆ่าศึกยิ่งกว่าพระราชอายา มิได้โดยเสด็จพระราชดำเนินให้ทัน ละแต่พระคชาธารสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ให้เข้าอยู่ท่ำกลางฆ่าศึก จนได้กระทำยุทธหัดถีมีไชยชนะพระมหาอุปราชาเสร็จ โทษนายทับนายกองทั้งนี้จะเปนประการใด พระมหาราชครูพระครูประโรหิตทั้งปวง ปฤกษาใส่ด้วยพระอัยการศึก ภบพระกฤษฎิกาว่า สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวเสดจ์พระราชดำเนินงานพระราชสงคราม แลเกนผู้ใดเข้าในกระบวนแล้ว มิได้โดยเสดจ์ให้ทันเมื่อขณะยุทธ ท่านว่าโทษผู้นั้นเปนอุกฤษฐ ให้ประหารชีวิตรเสียอย่าให้ผู้อื่นดูเยี่ยงอย่าง เอาคำพิภาคษากราบทูล มีพระราชดำรัศสั่งให้ตามลูกขุนปฤกษา แต่ทว่าบัดนี้จวนวันจาตุทศีบัณรสีอยู่ ให้เอานายทัพนายกองจำเรือนตรุะไว้ก่อนสามวัน พ้นแล้วจึ่งให้สำเร็จโทษโดยพระไอยกาศึก ๚ะ๏ ครั้น ณวันอาทิตยเดือนเจดแรมสิบห้าค่ำ สมเดจ์พระพนรัตน์ป่าแก้ว แลพระราชาคณะยี่สิบห้ารูป เข้ามาถวายพระพรถามข่าว ซึ่งเสดจ์งานราชสงครามได้กระทำยุทธหัดถีมีไชยชนะพระมหาอุปราชา สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวก็แถลงการซึ่งปราบประจามิตรให้ฟังทุกประการ สมเดจ์พระพนรัตน์จึ่งถวายพระพรว่า พระราชสมภารมีไชยแก่ฆ่าศึกอีก เปนไฉนข้าราชการทั้งปวงจึ่งต้องราชทันฑ์เล่า สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวจึ่งตรัสบอกว่า นายทับนายกองเหล่านี้อยู่ในกระบวนทับโยมมันกลัวฆ่าศึกมากกว่าโยม ละให้แต่โยมสองคนพี่น้องฝ่าเข้าไปในท่ำกลางศึก จนได้กระทำยุทธหัดถีกับมหาอุปราชามีไชยชำนะแล้ว จึ่งได้เหนหน้ามัน นี้หากว่าบาระมีของโยม หาไม่แผ่นดินจะเปนของชาวหงษาวดีเสียแล้ว เพราะเหตุดั่งนี้โยมจึ่งให้ลงโทษพระไอยการศึก. สมเดจ์พระพนรัตน์จึ่งถวายพระพรว่า อาตมภาพพิเคราะห์ดูอันข้าราชการเหล่านี้ จะไม่รักษไม่กลัวพระราชสมภารเจ้านั้นหามิได้ แลเหตุทั้งนี้จะให้พระเกียรติยศพระราชสมภารเจ้าเปนมหัศจรรย์ เหมือนสมเดจ์พระสรรเพชพุทธเจ้า เมื่อพระองค์เสดจ์เหนืออปราชิตบันลังก์ ควงพระมหาโพธิณเพลาสายันห์ครั้งนั้น เทพยเจ้ามาเฝ้าพร้อมอยู่ทั้งหมื่นจักรวาฬ แลพระยาวสวัติมารยกพลเสนามารมาผจนครั้งนั้น ถ้าได้เทพยดาเจ้าเปนบริวาร แลมีไชยแก่พระยามาร ก็หาสู้เปนมหามหัศจรรย์นักไม่ นี่เผอินให้หมู่อมรอินทรพรหมทั้งปวงประลาศหนีไปสิ้น ยังแต่พระองค์เดียวอาจสามารถผจนพระยามาราธิราช กับพลเสนามารให้ปราไชยพ่ายแพ้ได้ จึ่งสมเดจ์พระบรมโลกย์นารถเจ้าได้ทรงพระนามว่า พระพิชิตมารโมลีศรีสรรเพชดาญาณ เปนมหัศจรรยดาลดิเรกทั่วอนันตโลกธาตุเบื้องบนตราบเท่าถึงภวักคพรหม เบื้องต่ำตลอดถึงอโธภาคอเวจีเปนที่สุด ก็เหมือนพระราชสมภารเจ้าทั้งสองพระองค์ครั้งนี้ ถ้าเสดจ์พร้อมด้วยเสนานิกรโยธาทวยหารมาก แลมีไชยแก่พระอุปราชานั้น หาสู้เปนมหัศจรรยแผ่พระเกียรติยฑปรากฎไปนาๆประเทศธานีใหญ่น้อยทั้งปวงไม่ พระราชสมภารเจ้าอย่าทรงพระปริวิตกโทรมนัศน้อยพระไทยเลย อันเหตุที่เปนนี้เพื่อเทพยเจ้าทั้งปวงอันรักษาพระองค์ จักสำแดงพระเกียรติยศดุจอาตมภาพถวายพระพรเปนแท้ สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวตรัสได้ทรงฟังพระพนรัตน์ถวายวิสัชนากว้างขวาง ออกพระนามสมเดจ์พระบรมโมลีโลกยครั้งนั้น รฦกถึงพระคุณอันยิ่ง ก็ทรงพระปีติโสมนัศตื้นเตมพระกระมลราชหฤๅไทยปราโมช ยกพระกรประนมเหนือพระอุตมางคสีโรศม์ นมัศการออกพระโอฐว่า สาธุสาธุพระผู้เปนเจ้าว่านี้ควรหนักหนา สมเดจ์พระพนรัตน์เหนว่า พระมหากระษัตรีย์คลายพระโกรธแล้ว จึ่งถวายพระพรว่าพระราชาคนะทั้งปวงเหนว่า ข้าราชการทั้งปวงซึ่งเปนโทษเหล่านี้ ผิดหนักหนาอยู่แล้ว แต่ทว่าได้ทำราชการมาแต่ครั้งสมเดจ์พระบรมราชไอยกา แลสมเดจ์พระพุทธเจ้าหลวง แลทำราชการมาใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาท ของพระราชสมภารเจ้าแต่เดิมมา ดุจพุทธบริสัตว์สมเดจ์บรมครูเหมือนกัน ขอพระราชทานโทษคนเหล่านี้ไว้ครั้งหนึ่งเถิด จะได้ทำราชการสนองพระเดชพระคุณสืบไปสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า พระผู้เปนเจ้าขอแล้ว โยมก็จะให้ แต่ทว่าจะให้ไปตีเอาเมืองตนาวศรีเมืองทวายแก้ตัวก่อน สมเดจ์พระพนรัตน์ถวายพระพรว่า การซึ่งจะให้ไปตีเมืองนั้น สุดแต่พระราชสมภารเจ้าจะสงเคราะห์ใช่กิจสมณ แล้วสมเดจ์พระพนรัตน์ พระราชาคณะทั้งปวงถวายพระพรลาไป สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวสั่งให้ท้าวพระยาหัวเมืองมุขมนตรีพ้นโทษ พระราชกำหนฎให้พระยาจักรีถือพลห้าหมื่นไปตีเมืองตนาวศรี ให้พระยาพระคลังถือพลห้าหมื่นยกไปตีเมืองทวาย พระยาจักรี พระยาพระครัง นายทับนายกอง ก็ถวายบังคมลายกไปโดยพระราชกำหนด ๚ะ๏ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวดำรัศว่า ซึ่งเราทิ้งหัวเมืองฝ่ายเหนือเสียเลิกครอบครัวลงมานั้น ก็หาสิ้นทีเดียวไม่ ครั้งนี้ศึกหงษาวดีก็ถอยกำลังแล้ว ถึงมาทว่าจะมีมาก็ไม่เกรง เราจะบำรุงเมืองทั้งนี้ จะให้เปนเกียรติยศไว้กราบเท่ากัลปาวสาน จึ่งตั้งให้พระยาไชยบูรณเปนเจ้าพยาสุรศรีครองเมืองพระพิศณุโลกย ให้พระศรีเสาวราชไปรักษาเมืองศุโขไทยให้พระอ่างทองไปรักษาเมืองพิไชย ให้หลวงจ่าไปรักษาเมืองสวรรคโลกย บันดาหัวเมืองทั้งปวง ก็ให้เจ้าเมืองกรมการแต่งไปเรียกร้องรวบรวมไพร่พล ซึ่งแตกฉานทร่านเซนอยู่ป่าดังนั้นทุกเมือง ๚ะ๏ ฝ่ายเจ้าเมืองมะลวนชาวหงษาวดี ซึ่งสมเดจพระนเรศวรจับได้ให้ปล่อยกลับไปนั้น ก็ภบนายทัพนายกองพม่ามอญ ซึ่งแตกฉานซ่านเซนโดยด่านโดยทางไปรวบรวมกันได้ ก็ภากลับไปกรุงหงษาวดี เข้าเฝ้ากราบทูลซึ่งประพฤติเหตุ ซึ่งพระมหาอุปราชาเสียพระชนชีพกับฅอช้างนั้น ให้ทรงทราบทุกประการ สมเดจพระเจ้าหงษาวดีแจ้งดั่งนั้น ก็เสียพระไทยโทมนัศคิดอาไลยถึงพระราชบุตร แล้วทรงพระโกรธแก่นายทับนายกองว่า นเรศวรกับเอกาทศรฐน้องชายเข้ามารบแต่สองช้าง เปนคนกลางคนควานช้างหกคนเท่านั้น พลเราถึงห้าสิบหมื่น ถึงมาทว่าจะมิถือสาตราวุทธเลย จะประหารด้วยก้อนดินแต่คลก้อน ก็จะไม่ครณามืออีก นี่ละให้เสียพระราชโอรสแห่งเรา ไหนจะเลี้ยงต่อไปได้ ให้ลงพระราชอาญาทั้งนายทั้งไพร่ แล้วจำใส่เรือนตรุไว้ อยู่ประมาณหกเจดวัน พระเจ้าหงษาวดีทรงพระราชดำริห์ว่า นเรศวรทำศึกว่องไวหลักแหลมองอาจนัก จนถึงยุทธหัตถีมีไชยแก่มหาอุปราชา เอกาทศรฐเล่าก็มีไชยแก่มางจาชะโร เหนพี่น้องสองคนนี้จะมีใจกำเริบยกมาตีพระนครเราเปนมั่นคง แต่ทว่าจะคิดเอาเมืองตนาวศรี เมืองมฤทธิเมืองทวายก่อน จำจะให้นายทับนายกอง แลไพร่ซึ่งไปเสียทับมานี้ ให้ยกไปรักษาเมืองตนาวศรี เมืองมฤทธิ เมืองทวายไว้ให้ได้ ศึกจึ่งจะไม่ถึงหงษาวดี ครั้นทรงพระราชดำริห์แล้วเพลารุ่งเสดจ์ออก ตรัสสั่งให้ถอดนายทับนายกองออกจากสังขลิกพันทนาการ แล้วให้เร่งยกลงไปรักษาเมืองตนาวศรี เมืองมฤทธิ เมืองทวาย ไว้ให้ได้ ถ้าเสียเมืองตนาวศรี เมืองมฤทธิ เมืองทวาย แก่ฆ่าศึก จะเอานายทับนายกองทั้งปวง แลไพร่พลทั้งนี้ใส่เล่าเผาเสียให้สิ้นทั้งโคต นายทับนายกองทั้งปวงกราบถวายบังคมลา ยกกองทับไปจากกรุงหงษาวดี ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าเชียงใหม่แจ้งกิจการในกรุงเทพมหานคร ขึ้นไปเสร็จสิ้นทุกประการ ก็เกรงพระเดชเดชานุภาพ จึ่งตรัสแก่แสนท้าวพระยาลาวทั้งปวงว่า บัดนี้สมเดจ์พระเจ้ากรุงพระนครศรีอยุทธยาถึงแก่สวรรคต สมเดจ์พระนเรศวรราชบุตรได้ครองราชสมบัติ พระมหาอุปราชายกลงมาได้กระทำคชพยุห์ถึงแก่พิราไลยกับฅอช้าง แล้วทับกรุงเทพพระมหานครศรีอยุทธยาออกไปตีเมืองมฤทธิ เมืองทวายอยู่แล้ว. อันหมู่ราชปรปักษ์ที่จะเข้ารอต่อยุทธด้วยกรุงพระมหานครศรีอยุทธยานั้น ดุจหนึ่งฝูงมิคชาติอันจะเข้าไปต่อสักดาเดชพระยาสิงหราช. ถ้ามิชนั้น ดุจหนึ่งโลมชาติสกุณปักษาอันเข้าไปรอเปลวเพลิง มีแต่จะพินาศฉิบหายลงทุกที. บัดนี้เล่าพิเคราะห์ดูพระเจ้าหงษาวดีเสียพระมหาอุปราชาราชบุตร เหมือนหนึ่งพระกรเบื้องขวาขาดแล้ว. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า กับสมเดจ์พระอนุชาธิราชเล่า ทรงพระกฤษฎาเดชานุภาพยิ่งทวีขึ้น ดุจพระทินกรสถิตยลอยอยู่เหนืออากาศอันปราศจากเมฆ ขณะเมื่อเพลาเที่ยงแสงรัศมีมีแต่กล้าขึ้นไป ที่ไหนกรุงหงษาวดีจะพ้นเงื้อมพระหัถ จำเราจะลงไปอ่อนน้อมถวายเครื่องราชบรรณาการพึ่งพระเดชเดชานุภาพ จึ่งจะพันไภยอันตราย. แสนท้าวพระยาล้าวทั้งปวงได้ฟังราชบัญชาก็มีความยินดี ดุจหนึ่งมัณฑกชาติอันพ้นจากปากอสรพิศม์. พระเจ้าเชียงใหม่จึ่งแต่งลักษณพระราชสาสน์ ให้นันทพย์ กับแสนหนังสือ แลแสนหลวงจำทูลพระราชสาสน์ คุมเครื่องราชบรรณาการมาโดยด่านเมืองตาก. พระยากำแพงเพชร์ก็แต่งขุนหมื่นกรมการคุมทูตลงมาถึงพระนครศรีอยุทธยา. อัศมาเสนาธิบดีจึ่งกราบทูล พระบาทสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ เสดจ์ออก ณพระที่นั่งมังคลาพิเศก พร้อมด้วยหมู่มุขอุไภยสมุหมนตรีกระวีราชประโรหิตาโหราจารย เฝ้าพระบาทบงกชมาศดาษดั่งดวงดารากร รายรอบพระรัชนิกรเทวบุตร จึ่งดำรัศสั่งให้เบิกทูตานุทูตเข้าเฝ้า พระศรีภูริปรีชาอ่านในลักษณพระราชสาสน์นั้นว่า พระเจ้าเชียงใหม่เปนอิศราธิปไตยในมลาประเทศ ฃอโน้มน้อมศรีโรดมถวายวันทนะประนามมาแทบพระบาทยุคลสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ด้วยข้าพระบาทแต่ก่อนขัดพระราชอาชาผู้เปนอิศราธิปไตยในรามัญประเทศมิได้ อาจยกพยุหโยธามากระทำจลาจลแก่กรุงพระมหานครศรีอยุทธยาเปนหลายครั้ง ให้เคื่องใต้เบื้องบาทบงกชมาศ ฃอพระองค์จงทรงพระกรุญภาพ บัดนี้ข้าพระบาทจะขอพระราชกฤษฎาเดชานุภาพอพินิหารบารมีปกเกล้าเกษ ดุจหนึ่งปริมณฑลร่มพระมหาโพธิ. ถ้าพระองคจะเสดจยกพยุหโยธาทับไปแห่งใด จะขออาษาโดยเสดจงานพระราชสงครามกว่าจะสิ้นกำลัง. ข้าพระองค์ให้นันทพย กับแสนหนังสือ แสนหลวงจำทูลพระราชสาสน์เชิญเครื่องมงคลราชบันณาการลงมาจำเริญทางพระราชไม้ตรี. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงฟัง ทรงพระโสมนัศ จึ่งมีพระราชประติสัณฐารปราไศรยแก่ทูตานุทูตสามนัดแล้ว ดำรัศสั่งให้พระราชทานเสื้อผ้าเงินตราแก่ทูตานุทูตโดยถานานุกรม. แล้วแต่งตอบพระราชสาสน์ส่งทูตานุทูตกลับไป. ฝ่ายนันทพย กับแสนหนังสือ แสนหลวงกลับขึ้นไปเข้าเฝ้าพระเจ้าเชียงใหม่ทูลราชกิจเสร็จสิ้นทุกประการ. พระเจ้าเชียงใหม่ก็โสมนัศ ดุจหนึ่งผู้เดินมาตามสถลรัษฐยากันดานไกล ในเพลาเที่ยงร้อนกระวลกระวายด้วยแสงพานุมาศกล้า แลมีผู้เอาน้ำอันเอย็นมาโสมาโสดสรงกายาให้เอย็นสบาย. ๚ะ๏ ขณะนั้นภอมีหนังสือบอกเจ้าเมืองเชียงแสนมาว่า ชาวด่านเมืองล้านช้างไปตรวจกระเวนด่าน ภบกันเข้าวิวาทฆ่าฟันกันตาย. บัดนี้พระเจ้าล้านช้างแต่งให้พระยาเมืองหลวง เมืองแสนเปนแม่ทับพลประมารณเจ็ดพัน ยกขึ้นถึงเมืองเชียงแสนได้รบพุ่งกันอยู่แล้ว. ขอให้พระเจ้าพื้นหอคำจัดแจงเอากำลังมาช่วยค้ำเอา. พระเจ้าเชียงใหม่ได้ทราบก็จัดกองทับไปช่วย แล้วแต่งหนังสือบอกลงไปให้กราบทูลพระบาทสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวว่า กองทัพล้านช้างยกมาตีเมืองเชียงแสน ขอให้กองทับกรุงขึ้นมาช่วย. แต่งแล้วสั่งให้พระยาหลวงเมืองแก้ว หมื่นโยธากับไพร่ยี่สิบคนถือลงไป.ครั้นถึงกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา อัคมหาเสนาบดีนำหนังสือบอกเข้ากราบบังคมทูล. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองคตรัสทราบ จึ่งดำรัศให้พระราชฤทธานนทถือพลห้าพันสรัพไปด้วยเครื่องสาตราวุทธใหญ่น้อย ช้างเครื่องห้าสิบ ม้าสองร้อย. เอาพระรามเดโช ซึ่งเปนชาวเมืองเชียงใหม่ขึ้นไปด้วย. แล้วจึ่งมีพระราชดำรัศสั่งให้พระราชฤทธานนทว่า ถ้าสำเร็จราชการแล้ว ให้พระรามเดโชอยู่ช่วยราชการพระเจ้าเชียงใหม่. พระราชฤทธานนทกราบถวายบังคมลา ยกทับขึ้นไปเมืองเชียงใหม่. ครั้นถึงเข้าเฝ้าพระเจ้าเชียงใหม่ ต่างแจ้งราชการโดยควร แล้วก็ยกไปตั้ง ณเมืองเชียงแสน ฝ่ายกองทับล้านช้างแจ้งว่า กองทับกรุงเทพพระมหานครยกขึ้นไปก็งดการรบไว้. พระยาเสนากับพระยาหลวงเมืองแสนแม่ทับล้านช้างเจรจาความเมืองกัน พระยาหลวงเมืองแสนเกรงพระเดชเดชานุภาพ ก็เลิกทับกลับไปเมือง. พระราชฤทธานนท์ ก็ให้พระรามเดโชอยู่ช่วยราชการเมืองเชียงใหม่โดยพระราชกำหนด. พระยาราชฤทธานนท์ก็เลิกทับกลับมาถึงกรุงเทพมหานครกราบทูลซึ่งได้ไปประจบกองทับเมืองล้านช้าง กับกองทับเมืองเชียงแสนเสร็จสิ้นทุกประการ. ๚ะ๏ ฝ่ายทับพระยาจักรีก็ถึงเมืองตนาวศรี ทับพระยาพระคลังก็ถึงเมืองทวาย. เจ้าเมืองตนาวศรี เจ้าเมืองทวายก็บอกหนังสือขึ้นไปณเมืองหงษาวดี. ฝ่ายนายทับนายกองรามัญก็ยกมาถึงเมืองเมาะตมะ ภอเรือถือหนังสือบอกเมืองตนาวศรี เมืองมฤทธิ์ เมืองทวายไปถึงเมาะตมะ ว่ากองทับไทยยกไปตีเมืองตนาวศรี เมืองมฤทธิ์ เมืองทวาย ชาวเมืองได้รบพุ่งกันเปนสามารถ. แลทับไทยครั้งนี้หักหารชาวเมืองมฤทธิ์ เมืองทวาย เมืองตนาวศรีรับกลางแปลงมิอยุด. บัดนี้ได้แต่รักษาน่าที่อยู่ แลกองทับไทยเข้าล้อมเมืองตนาวศรีได้เก้าวัน ล้อมเมืองทวายได้เจ็ดวันแล้ว. ขอกองทับเร่งลงไปช่วยโดยเร็ว เมืองตนาวศรี เมืองมฤทธิ์ เมืองทวายจึ่งจะพ้นเงื้อมมือฆ่าศึก. เจ้าเมืองเมาะตมะบอกข้อราชการขึ้นไปกรุงหงษาวดี. พระเจ้ากรุงหงษาวดีแจ้งดั่งนั้น ก็แต่งให้ข้าหลวงลงไปเร่งกองทับให้รีบยกไปช่วยให้ทัน.ฝ่ายพระยาจักรี่มาถึงแดนเมืองตนาวศรี ตีบ้านรายทางกวาดผู้คนไปได้ไว้เปนอันมาก. แล้วยกเข้าล้อมเมืองตนาวศรี.ชาวเมืองรบพุ่งป้องกันเปนสามารถสิบห้าวัน. พระยาจักรีก็แต่งทหารเข้าปล้นเมืองในเพลาตีสิบเบ็ดทุ่ม ภอรุ่งเช้าประมาณโมงเศศก็เข้าเมืองได้. ฝ่ายกองทับพระยาพระคลังยกเข้าตีแดนเมืองทวาย ชาวทวายยกออกมารับก็แตก เสียเครื่องสาตราวุธล้มตายเปนอันมาก. พระยาพระคลังก็ยกเข้าไปภักพลค่ายริมน้ำฟากตวันออก เหนือคลองละหาหมั้นแล้ว ก็ยกตามไปล้อมเมืองไว้อยู่ถึงยี่สิบวัน. ทวายจ่าเจ้าเมืองทวายเหนเหลือกำลัง จะรักษาเมืองไว้มิได้. จึ่งแต่งให้เจตองวุน กับจุนทก ออกไปขอเปนข้าขอบขันทเสมา ถวายดอกไม้ทองเงิน.ขณะเมื่อพระยาจักรีได้เมืองตนาวศรีนั้น คิดว่ากองทับเมืองหงษาวดี เมืองเมาะตมะจะยกทุ่มเทลงมาช่วย. จึ่งจัดได้สะลุบลูกค้าฝรั่งลำหนึ่ง แขกสองลำ เรือรบ ๑๕๐ ลำ. ให้หลวงเทพวรชุนเปนแม่กองเรือรบถือพลหมื่นหนึ่ง ยกขึ้นไปเมืองทวายโดยทางทเล. ให้พระยาศรีไสณรงค์คุมไพร่หมื่นหนึ่ง อยู่รักษาเมืองตนาวศรี. แลพระยาจักรีก็ยกพลสามหมื่นขึ้นไปเมืองทวายทางบก ๚ะ๏ ฝ่ายหลวงเทพวรชุนซึ่งเปนแม่ทับเรือนั้น ยกขึ้นมาถึงตำบลบ้านการบอแดนเมืองทวาย ภอภบทับเรือสมิงอุบากอง สมิงพะตะบะยกมาแต่เมืองเมาะตมะ เรือรบเรือบันทุกสองร้อยลำ พลประมาณหมื่นหนึ่ง จะลงไปช่วยเมืองตนาวศรี. ได้รบกันแต่เพลาเช้าจนเที่ยง ภอคลื่นหนักก็ทอดรอยิงกันอยู่ ฝ่ายพระยาพระคลังได้เมืองทวายแล้ว คิดว่าพระยาจักรีตีเมืองตนาวศรี เมืองมฤทธิจะได้ฤๅมิได้ก็ไม่รู้. จึ่งแต่งให้พระพิไชยสงคราม พระรามกำแหง คุมไพร่ห้าพันบันจุเรือรบร้อยลำ ยกไปช่วยพระยาจักรี. ขณะเมื่อพระพิไชยสงคราม พระรามกำแหงยกออกมาปากน้ำเมืองทวายไปแล้ว ก็ได้ยินเสียงปืนรบกัน.จึ่งให้ขุนโจมจัตุรงค์กับเรือรบกองน่าสามลำลงไปสืบ. ขุนโจมจัตุรงค์ก็ลงไปถึงหลวงเทพวรชุน แล้วกลับขึ้นมาแจ้งข้อราชการทุกประการ. พระพิไชยสงคราม พระรามกำแหงแจ้งดั่งนั้น ก็ตีกระนาบเข้าไป. ฝ่ายหลวงเทพวรชุนก็ตีกระทบขึ้นมา วางปืนกำปั่นไปต้องสมิงอุบากองตาย. เรือสมิงพะตะบะแตกจมน้ำตายทั้งนายไพร่ กองทับมอญทั้งนั้นแตกกระจัดกระจาย. บ้างหนีเข้าฝั่งชักใบกลับไป ตายในน้ำแลต้องปืนตายเปนอันมาก. ได้เรือรบเรือบันทุก ปืนใหญ่แลเครื่องสาตราวุธต่าง ๆ จับได้เปนประมาณห้าร้อยเศศ ก็แจ้งว่ากองทับบกยกมาช่วยเมืองทวายด้วย. พระพิไชยสงคราม พระรามกำแหง หลวงเทพวรชุน ก็ภากันเข้าไปณะเมืองทวาย. ภอพระยาจักรีก็ยกมาถึง. นายกองทับเรือทั้งสามคนก็เอามอญเชลย แลเรือรบปืนใหญ่ปืนน้อยเครื่องสาตราวุธนั้น เข้าไปให้พระยาจักรี พระยาพระครัง แล้วแจ้งว่ากองทับบกยกมาช่วยเมืองทวาย บัดนี้ข้ามแม่น้ำเมาะตมะแล้ว. พระยาจักรี พระยาพระคลังแจ้งดั่งนั้น ก็แต่งทับเปนสองทับ ทับพระยาจักรีเดินทางฟากตวันออก ทับพระยาพระคลังเดินทางฟากตวันตก ไปซุ่มอยู่ทั้งสองฟากโดยทางทับมอญจะยกมา. ๚ะ๏ ฝ่ายท้าวพระยารามัญนายกองยกมาใกล้เมืองกลีออง มิได้รู้เหตุว่าเมืองตนาวศรี เมืองทวายเสียแล้ว ก็แยกทับกัน. เจ้าเมืองมะลวนเดินทางกลีอองมาเสียข้างฟากตวันออก ทับเจ้ากลิตตองบูเดินทางริมชายทเลฟากตวันตก มาถึงตำบลป่าเหนือบ้านหวุ่นโพะ. ทับไทยซึ่งตั้งอยู่ทั้งสองฟากเหนทับพม่ารามัญยกล้ำลงมา ก็ออกโจมตีทับมอญมิทันรู้ก็แตกกระจัดกระจายไป. กองทับทั้งสองฟากจับได้ข้างพลายร้อยเศศ ม้าพันเศศ พม่ารามัญสี่ร้อยเศศ เครื่องสาตราวุทธเปนอันมาก. ได้นายทับนายกองสิบเบ็ดคน. พระยาจักรี พระยาพระคลังบอกข้อราชการเข้ามา ให้กราบทูล. สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ก็ดีพระไทย. ตรัสให้ตอบออกไป ให้พระยาศรีไสณรงค์อยู่รั้งเมืองตนาวศรี ให้เอาทวายจ่าเจ้าเมืองทวายเข้ามาเฝ้าพระยาจักรี พระยาพระคลังจัดแจงบ้านเมืองเสร็จแล้ว ก็ให้ยกกลับมาเถิด. พระยาจักรี พระยาพระคลังแจ้งดั่งนั้นแล้ว ก็บอกลงไปเมืองตะนาวศรี ตามพระราชบัญหารทุกประการ. แล้วให้ทวายจ่าเจ้าเมืองทวายอยู่ดั่งเก่า ให้จัดชาวทวายเปนปลัดที่ปลัดชื่อออพระปลัด ผู้หนึ่งให้เปนยกกระบัตร์ชื่อออลังปลัด ผู้หนึ่งเปนที่นาชื่อออลนัตร์ ผู้หนึ่งเปนที่วังชื่อคงปลัด ผู้หนึ่งเปนที่คลังชื่อแมงจกี ผู้หนึ่งเปนที่สัศดีชื่อคงแวง ทัตคงจ่าเปนที่เจ้าเมือง ๚ะ๏ ครั้นตั้งแต่งขุนหมื่นผู้ใหญ่ผู้น้อย แลจัดแจงบ้านเมืองเปนปรกติเสร็จแล้ว ครั้นณเดือนห้าขึ้นสิบเอ็ดค่ำ พระยาจักรี พระยาพระคลัง ก็ภาเอาตัวทวายจ่าเจ้าเมืองกับผู้มีชื่อตั้งไว้หกคนนั้นเข้ามาด้วย. ขณะนั้นยกกองทับเข้ามาโดยขมองส่วยถึงตำบลเขาสูง ช่องแคบแดนพระนครศรีอยุทธยากับเมืองทวายต่อกัน หาที่สำคัญมิได้ จึ่งให้เอาปูนในเต้าไพร่พลทั้งปวง มาประสมกันเข้าเปนใบสอก่อพระเจดียถานสูงหกศอก ภอหุงอาหารศุกก็เสรจ แล้วยกเข้ามาถึงกรุงพระนครศรีอยุทธยาเข้าเฝ้ากราบบังคมทูลสมเดจพระเจ้าอยู่หัว โดยประพฤติเหตุทั้งปวง สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ทรงทราบดังนั้น ก็มีความยินดี. จึ่งโปรดให้พระยาจักรี พระยาพระคลัง นายทับนายกองทั้งปวงพ้นโทษ แล้วมีพระราชบริหารกำหนด ให้ชุมนุมท้าวพระยามุขมนตรีกระวีราชปะโรหิตาจารย ทุกหมู่ทุกกระทรวงครั้นถึงณวันพระราชกำหนด สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองคเสดจออก ให้เบิกแขกเมืองทวายจ่ากับขุนนางหกคนเข้าเฝ้า แล้วพระราชทานเครื่องอุปะโภคบริโภคแล้ว ตรัสพระราชทานโอวาทโปรดให้ทรายจ่ากับขุนนางหกคนกลับออกไปรักษาเมืองทวาย. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๔๓ ปีมเสงตรีศก สมเดจพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า เมืองตนาว เมืองมฤทธิ เมืองทวาย เมืองเชียงใหม่ เปนของเราแล้ว เหนศึกหงษาวดีจะห่างลง จำจะยกไปแก้แค้นพระยาลแวกให้ได้ น้ำลงแห้งท้าวช้างท้าวม้าแล้วจะยกไป. ครั้นถึงณวันเสาร์เดือนยี่ขึ้นห้าค่ำ พระบาทสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค ตรัสให้เทียบพลทุ่งหารตรา สกันลำเครื่องแสนหนึ่ง ช้างเครื่องแปดร้อย ม้าพันร้อยห้าสิบ. ให้พระราชมาณู ถือพลห้าพันเปนกองน่า ครั้นได้ศุภวารฤกษ ก็ยกทับหลวงเสดจไปโดยทางถนลมารคล่วงด่านพระพิจิตรออกไป ๚ะ๏ ฝ่ายพระยาลแวกแจ้งข่าวว่า กองทับกรุงศรีอยุทธยายกออกมา ก็ให้พระยาแสนท้องฟ้าคุมพลหมื่นหนึ่ง ไปตั้งอยู่ณเมืองโพธิสัตว์ ให้พระยาบวรนายกคุมพลหมื่นห้าพันไปตั้งอยู่ณเมืองปัตบอง. ขณะเมื่อพระยาแสนท้องฟ้า พระยาบวรนายกไปตั้งอยู่นั้น ก็แต่งให้พระยาราชดึงษากับพระยามโนไมตรี เมืองปัตบอง คุมพลห้าพันไปตั้งซุ่มป่ารนามตำบลพาศ. ฝ่ายทัพสมเดจพระเจ้าอยู่หัวยกไปข้ามลำน้ำโตนด เข้าป่าระนามช่องแขบ. พระยาราชดึงษาเหนกองน่าถลำขึ้นไปก็โจมตี. ทับพระราชมาณูก็แตกลงมาถึงน่าช้างพระที่นั่ง. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองคทอดพระเนตรเหนดังนั้น ก็ให้แยกทับไปตีกระนาบขึ้นไป. กองทับเขมรแตกรี้พลล้มตายเปนอันมาก. สมเดจพระนเรศวรเปนเจ้าทรงพระพิโรธว่า พระราชมาณูเปนกองน่าให้เสียทีแก่ฆ่าศึกจนปะทะทับหลวงดั่งนี้ ตรัสให้ลงโทษถึงสิ้นชีวิตร. สมเดจเอกาทศรฐผู้เปนพระอนุชาธิราชกราบทูลว่า พระราชมาณูเปนนายกองทับน่าพ่ายฆ่าศึกลงมาปะทับหลวงนั้น โทษถึงสิ้นชีวิตร. แต่ทว่าได้โดยเสดจงานพระราชสงครามก็มาก. ประหนึ่งฆ่าศึกก็ยังมีอยู่ขอพระราชทานโทษไว้ ให้ทำราชการแก้ตัวครั้งหนึ่ง. สมเดจพระนเรศวรเปนเจ้าก็บัญชาโดยพระอนุชาธิราชแล้ว ดำรัศให้พระราชมาณูเร่งยกเข้าตีปัตบอง เมืองโพธิสัตให้แตกฉานทั้งสองตำบล ทับหลวงก็ยกตาม. พระราชมาณูก็ยกไปตีเมืองปัตบอง แลเมืองโพธิสัตวแตกฉานทั้งสองตำบล. ได้ผู้คนแลเครื่องสาตราวุธมาถวายเปนอันมาก. สมเดจพระเจ้าอยู่หัวก็ยกพยุหบาตราทับไปเมืองลแวก. ตรัสให้มุขมนตรีนายทับนายกองทั้งปวงให้เข้าล้อมเมือง. แต่งทหารเข้าหักค่าย ชาวเมืองรบพุ่งป้องกันเปนสามารถเข้ามิได้ แต่ล้อมเมืองอยู่สามเดือนเศศ ไพร่พลในกองทัพหลวงขัดสนเสบียงอาหาร แต่งให้ออกลาดหาเสบียงอาหารก็มิได้. เข้าเปนทะนาลบาท สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสว่า เรายกมาครั้งนี้หมายว่าจะได้เข้าในท้องนา ก็หาสมคิดสมขเนไม่. ฝ่ายกรุงกัมพูชาธิบดีเล่าฝนก็แล้งเข้าต้นในท้องนาก็ได้ผลน้อย ประการหนึ่งมิได้มีทับเรือลำเลียงมาด้วย กองทับเราจึ่งขัดสนเสบียงอาหาร แลเสียทีมิได้เมืองดังนั้นก็ดี ถึงกระนั้นก็ดีภอรู้จักกำลังศึกหนักมืออยู่แล้ว. จำเปนจำจะถอยทับกลับไปก่อน. ครั้นวันอังคารเดือนสี่ขึ้นสิบเบ็ดค่ำ สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวก็เลิกทับกลับไปยังพระนคร. ตรัสให้บำรุงช้างม้ารี้พลไว้ปีน่าจะยกไปเอากัมพูชาธิบดีให้จงได้. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๔๔ ปีมเมียจัตวาศกเดือนสิบสองข้างแรม พระเจ้าหงษาวดีเสดจ์ออกว่าราชการแผ่นดิน. จึ่งตรัสปฤกษาด้วยท้าวพระยามุขมนตรีทั้งปวงว่า ในปีมเสงนั้นเหนประหนึ่งทับพระนเรศวรจะถึงหงษาวดี แลสงบอยู่มิได้มานั้น ราชการพระนครศรีอยุทธยาจะเปนประการใด. จำจะแต่งกองทับไปตรวจด่านจะได้ฟังกิจการแห่งเมืองไทยให้กระหนักด้วย. ท้าวพระยามุขมนตรีทั้งปวงก็พร้อมโดยพระราชบริหาร. สมเดจ์พระพุทธเจ้าหงษาวดีก็ตรัสให้พระเจ้าแปรถือพลห้าหมื่น ช้างเครื่องสองร้อย ม้าห้าร้อย ยกไปตรวจด่านทาง แลให้ฟังกฤษติศรัพดู. ถ้าแผ่นดินพระนครศรีอยุทธยายังเปนของพระนเรศวรอยู่ ก็อย่าให้ล่วงแดนเข้าไป แต่หญ้าเส้นหนึ่งก็อย่าให้อันตรายเลย. ครั้นได้ศุภวารฤกษดิฐีอุดมฤกษ พระเจ้าแปรถวายบังคมลายกช้างม้ารี้พลไปตรวจทางกระเวนด่านโดยสถลมารค. ครั้นมาถึงด่านแดนต่อแดน ก็แจ้งว่าแผ่นดินเปนของพระนเรศวรเปนเจ้า. พระเจ้าแปรมิได้อยู่ในพระราชบัญญัติพระเจ้าหงษาวดี คิดกำเริบจะเอาความชอบ ก็ยกล่วงด่านเข้ามาตั้งอยู่ตำบลสงขลา. เจ้าเมืองกาญจนบุรีรู้ข่าวก็ตรวจตรารักษาค่ายคู่ประตูหอรบไว้หมั้นคง แล้วถึงบอกเข้าไปกราบทูล. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ทรงทราบดังนั้นก็ตรัสว่า จะไปเล่นตรุดเมืองลแวก สิสงครามชิงมาก่อนเล่า. จำจะยกออกไปเล่นสงครามกับมอญให้สนุกนิ์ก่อน แล้วกำหนดให้เกนท์พลสกรรลำเครื่องแสนหนึ่ง ข้างเครื่องแปดร้อยม้าพันห้าร้อย ให้ทำพิธีโขลนทวานตัดไม้ข่มนามตำบลลุมพลีตั้งทับไชยทุ่งภูเขาทอง. ครั้นณวันอาทิตยเดือนอ้ายขึ้นสิบเบ็ดค่ำ ได้เพชรฤกษอันอุดม สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า ทรงช้างพลายโจมจักรพาฬ เปนพระคชาธารสัพด้วยคชาภรณ์เครื่องมั่น. สมเดจ์เอกาทศรฐทรงช้างพลายสัตรูวินาศ เปนพระคชาธารประดับเครื่องคชาภรณ์. เสด็จยกพยุหแสนยากรทวยหารโดยกระบวน. ให้พระยาเดโชถือพลห้าพรรเปนกองน่า ยกไปโดยทางสุพรรณบุรี. ครั้นเสด็จถึงเมืองกาญจนบุรีเสด็จประทับแรม จึ่งมีพระราชบริหารดำรัศสั่งพระมหาเทพ ให้ถือพลห้าพันยกไปตั้งซุ่มอยู่ ที่ทางทับพระเจ้าแปรยกมา. ถ้าทับข้าศึกแตกถอยไปก็ให้ยกออกโจมตี ซ้ำเติมให้แตกฉานยับเยิน. พระมหาเทพก็ยกไปซุ่มตามรับสั่ง สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ เสดจยกพยุหบาตราทับจากเมืองกาญจนบุรี ไปถึงตำบลสงขลาก็ให้ตั้งค่ายประชิด. แล้วให้ทหารขึ้นไปร้องน่าทับว่า อ้ายมอญเหล่านี้หาเกรงพระเดชเดชาณุภาบไม่ฤๅ ล่วงแดนเข้ามาไย. บัดนี้พระกาลเสดจมาจะประหารชีวิตรเองทั้งปวง แล้วสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ก็แยกทับขับพระคชาธาร พร้อมด้วยทแกล้วทหารซ้ายขวาน่าหลังเข้าโจมตีฆ่าฟันพม่ามอญแตกฉานล้มตายเปนอันมาก พระเจ้าแปรเหนเหลือกำลังจะทานมิได้ก็รุดหนี ทหารกรุงพระมหานครศรีอยุทธยายกตามไป ฝ่ายทับพระมหาเทพซึ่งไปซุ่มอยู่นั้น เหนได้ทีก็ยกออกโจมตีแทงฟันฆ่าศึกก็ตายแลลำบากเกลื่อนไปโดยชายป่าชายดงจนถึงพระเจดีย์สามองค์. จับได้มอญแลช้างม้า เครื่องสาตราวุธมาถวายเปนอันมาก สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็เลิกทับกลับพระนคร ๚ะ๏ ครั้นณวันพฤหัศเดือนสามขึ้นหกค่ำ ก็ปูนบำเหน็จมุขมนตรีนายทับนายกองทั้งปวงโดยสมควร. แล้วมีพระราชบริหารสั่งพระยานครนายก พระยาประปราจินท์ พระวิเศศเจ้าเมือง ฉเชิงเทรา พระสระบุรีทั้งสี่หัวเมือง ให้พระยานครนายกเปนแม่กองใหญ่ ให้คุมพลหมื่นหนึ่งออกไปตั้งค่าย ขุดคูปลูกฉางถ่ายลำเลี้ยงไว้ตำบลทำนบ รักษาให้หมั้น อย่าให้เสียที่แก่ฆ่าศึก. ฝ่ายพระยานครนายก พระยาปราจินท์ พระวิเศศเมืองฉเชิงเทรา พระสระบุรีกราบถวายบังคมลา แล้วก็ไปทำตามพระราชบัญชาสั่ง. ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าแปรเมื่อแตกหนีมาถึงเมืองหงษาวดี เหลือช้างม้ารี้พลประมาณกึ่งหนึ่ง. พระเจ้าหงษาวดีทรงพระพิโรธตรัสว่า พระเจ้าแปรล่วงพระราชบริหาร ให้เสียรี้พลช้างม้าดังนี้ ให้ประหารชีวิตรเสีย. ท้าวพระยามุขอำมาตยทั้งปวง กราบบังคมทูลขอชีวิตรไว้. พระเจ้าหงษาวดีโปรดพระราชทานให้ แต่ถอดเสียจากที่ถานาศักด์ ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๔๕ ปีมแมเบญจศก สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า ครั้นเสร็จการพระราชพิธีอาสายุทธแล้ว มีพระราชบริหารสั่งให้เกนทับเตรียมไว้ แต่พลสกันลำเครื่องแสนหนึ่ง ช้างเครื่องแปดร้อย ม้าพันห้าร้อย กำหนดเดือนอ้ายจะยกไปตีกรุงกัมพูชาธิบดี ให้เกนทับเมืองนครราชสีมาหมื่นหนึ่ง ยกตีลงมาทางตพานทิพตพานแสงไปเอาเสียมราบ ตีไปฟากตวันออกตั้งกระพงสวาย. แลให้เกนทับเมืองปักใต้สองร้อยห้าสิบลำ ให้พระยาเพชบุรีเปนแม่ทับ เกนเรือลำเลียงเมืองนครศรีธรรมราชเมืองพัทลุง เมืองสงขลาเมืองไชยาสองร้อยลำบันทุกเข้าลำเลียง ให้ได้สองพันเกวียน ทั้งทับเรือแลทับลำเลียงเปนคนสองหมื่น สรรพไปด้วยเครื่องสรรพสาตราวุธปืนใหญ่น้อยกระสุนดินประสิว ไปตีเอาเมืองป่าสักทับหนึ่ง ให้กองทับอาษาจาม แลกองทับเมืองจันทบุรีคุมเรือรบร้อยห้าสิบลำ พลรบพลแจวหมื่นหนึ่งสรัพไปด้วยเครื่องสาตราวุธปืนใหญ่น้อยกระสุนดินประสิว. ให้พระยาราชวังสันเปนแม่ทับตีไปทางปากน้ำพุทไธมาศ. แลทับบกทับเรือหัวเมืองทั้งนี้ กำหนฎเดือนอ้ายขึ้นห้าค่ำ ให้ยกพร้อมวันทับหลวงเสดจ์. ท้าวพระยาพระหลวงหัวเมือง ก็จัดแจงทับบกทับเรือไว้โดยพระราชกำหนด. ครั้น ณวันศุกร์เดือนอ้ายขึ้นค่ำหนึ่ง สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวดำรัศให้ไปตั้งพิธีชุมพลตำบลทุ่งหารตรา. ถึง ณวันอังคารเดือนอ้ายขึ้นห้าค่ำ เพลารุ่งแล้วสองนาฬิกาห้าบาท สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ทรงเครื่องอาภรณวิจิตรอลงการประดับสำหรับพิไชยยุทธเสรจ์.ครั้นได้เพชรฤกษมงคลอันประเสริฐ พระโหราลั่นฆ้องไชยชีพ่อพราหมณถวายเสียงสังข. สมเดจ์พระนเรศวรบรมเชฐาธิราชทรงเจ้าพระยาไชยานุภาพ เปนพระคชาธาร. สมเดจ์เอกาทศรฐทรงเจ้าพระยาปราบไตรจักร์ เปนพระคชาธาร. เข้าโขลนทวารพระสงฆ์ราชาคณะประน้ำพุทธมนต์. พระยานนตัดไม้ข่มนามโดยสาตร พร้อมด้วยเสนามาตยานิกรทวยหารแห่แหนริ้วรายโดยกระบวน พยุหะบาตราเปนขนัด. แสงเสวตรฉัตร์ชุมสายวาลวิชนีบังพระสุริย์อลงการโกลาหล ศรับร์สำเนียงแตรสังขฆ้องกลองอึงอลเสดจ์กรีธาพลเดินโดยสถลมารคทางด่านพระจาฤต ประทับรอนแรมไปตามระยะ ก็ถึงตำบลค่ายทำนบ. ๚ะ๏ พระราชพงษาดารตั้งแต่พระนเรศวร เสดจ์ยกทับไปเมืองกัมพูชา ฆ่าพระยาลแวกเสร็จ เสดจ์กลับมายังศรีอยุทธยา จนเจ้าฟ้าแสนหวีมาพึ่งพระโพธิสมภาร เล่ม ๑๐ ๚ะ๏ ฝ่ายพระยานครนายก พระยาปราจิณท์ พระวิเศศเมืองฉเชิงเทรา พระสระบูรีผู้อยู่รักษาค่ายฉางเข้า ก็มาเฝ้าทูลข้อราชการแลจำนวนเข้าเสร็จสิ้นทุกประการ. จึ่งดำรัสให้พระสระบูรีคุมพลพันหนึ่งอยู่รักษาค่ายฉางเข้า. แล้วให้แต่งกองออกไปลาศกระเวนฟังราชการให้ถึงทับหลวง. แต่พระยานครนายก พระยาประจิณท์บูรี พระวิเศศ กับพลเก้าพันยกไปเข้ากระบวนทับหลวง แลทับหลวงตั้งบนพระเนียดทางร่วมที่จะไปเมืองปัตบองแลเมืองนครเสียมราบ. จึ่งมีพระราชบริหารให้พระราชมาณูเปนกองน่า คุมพลสองหมื่นห้าพันยกไปแก้ตัว ตีเอาเมืองปัตบองเมืองโพธิสัตว. พระราชมาณูนายทับนายกองทั้งปวง กราบถวายบังคมลา แล้วก็ยกไปตามพระราชกำหนฎ รุ่งขึ้นวันหนึ่งกองทับหลวงก็ยกพยุหะโยธาหารตาม. ๚ะ๏ ฝ่ายพระยาลแวกขณะเมื่อเดือนสิบเบ็ดเดือนสิบสองแต่งคนให้มาสอดแนมเอาข้อราชการกรุงนครศรีอยุทธยานั้น น้ำแห้งท้าวช้างท้าวม้าจะยกทับบกทับเรือออกมาตีกรุงกำพูชาธิบดี. ก็ให้จัดแจงแต่งการกันพระนครเปนสามารถ. ฝ่ายเมืองรายทางค่ายคูหอรบที่ปรักหักพังนั้น ล้อมแปลงขึ้นหมันคงทุกเมือง. แลเมืองปัตบองนั้นมีพลทหารรบหมื่นหนึ่ง ให้พระยามโนไมตรีเปนแม่ทับ เมืองโพธิสัตวนั้นพระยาสวรรคโลกย์เจ้าเมืองเปนแม่ทับ ถือพลสองหมื่น. ให้พระศรีสุพรรมาธิราช ผู้เปนอนุชาถือพลสามหมื่น ออกมาตั้งรับออก ณเมืองบริบุรณ. แล้วแต่งคนเรวม้าให้ผลัดเปลี่ยนกันสืบข่าวราชการ ณเมืองโพธิสัตว แลเมืองปัตบองมิได้ขาด. ทางเรือนั้นแต่งกองทับเปนสองทับ ให้พระยาวงษาธิราชคุมเรือกุไหล่แงทรายร้อยห้าสิบลำ พลรบพลแจวหมื่นหนึ่ง สรัพไปด้วยเครื่องสรรพสาตราวุธ ปืนใหญ่น้อยกระสุนดินประสิว ลงเรือไปรักษาเมืองป่าศัก. ให้พระยาพิมุขวงษาคุมเรือกุไหล่แงทรายร้อยห้าสิบลำ พลรบพลแจวหมื่นสรัพไปด้วยเครื่องสรรพสาตราวุธ ปืนใหญ่น้อยกระสุนดินประสิว ลงไปรักษาเมืองจัตุรมุขปากกระสัง ซึ่งกองทับเรือข้าศึกจะมาทางพุทไธยมาษนั้น ให้พระยาจินจันตุยกเอาพลเมืองลำโรงทอง เมืองเชิงกระชุม เมืองกัมปอช เมืองกะโพงโสม เปนคนห้าพัน ไปรักษาปากน้ำเมืองพุทไธยมาศ ๚ะ๏ ฝ่ายพระราชมาณูข้ามลำนำตะโหนด ภาใกล้ตำบลลำพาดชายป่าระนาม ที่เขมรเคยซุ่มทับแต่ก่อน ก็จัดพลเดินเปนกองกำหนดเปนทับฬ่อทับตีพร้อมเสรจ์. ส่วนพระราชมาณูขี่ช้างพลายจู่โจมทับ มีทหารสามร้อย ถือหอกหวนเดินน่าช้าง. ครั้นถึงป่าระนามก็ได้เหนกองทับเขมรแล้วก็ล่วงเข้าไป. ฝ่ายพระยามโนไมตรีซึ่งรักษาเมืองปัตบอง แจ้งว่ากองทับไทยยกมา จึ่งปฤกษานายทับนายกองทั้งปวงว่า พระนเรศวรเปนเจ้าเสรจ์ยกมาครั้งก่อนนั้น เปนทับรุดรี้พลก็น้อย ประการหนึ่งเข้าต้นท้องนาเราก็เสีย ฆ่าศึกหาได้เปนกำลังไม่ จึ่งเลิกทับถอยกลับไป. ครั้งนี้เหนเปนเทือกเถาใหญ่หลวงนัก รี้พลช้างม้าก็มาก แล้วก็ตั้งยุ้งฉางถ่ายลำเลียงรายทางออกมา. ซึ่งเราจะรับปะทะน่าศึกเหมือนเมื่อครั้งก่อนนั้นเหนไม่ได้. จะรักษาแต่เมืองให้มั่นไว้ดูกำลังข้าศึกก่อน. ถ้าเหนหนักเหลือกำลัง จะบอกฃอกองทับมาช่วย. นายทับนายกองทั้งนั้น ก๊เหนด้วย พระยามโนไมตรีจึ่งให้ตรวจหน้าที่เชิงเทิน ตระเตรียมเครื่องสาตราวุธซ่อมแชมขวากหนามให้แน่นหนา. แล้วทำตพานเรือกข้ามลำน้ำสามตพานต่อหัวเมืองท้ายเมืองกลางเมือง. แลตั้งค่ายกระหนาบต้นตพานข้างละสองค่าย ให้ทหารรักษาค่ายๆลห้าร้อย. แล้วแต่งให้ขุนศรีเสนห์คุมทหารกองกระเวนแลมานั่งทางคอยเหตุ. ถ้าข้าศึกยกมาให้ยิงปืนเปนสำคัญ ๚ะ๏ ฝ่ายทับน่าพระราชมาณูยกเดินมาแต่งเปนกองเสือป่าแมวเทรา สามหอกเจ๊ดหอกเลดมาก่อน. ยังทางประมาณร้อยเสศจะถึงเมืองปัตบอง. ภบเขมรกองกระเวนได้รบยิงกันจับได้สามคนส่งไปให้พระราชมาณู. พระราชมาณูถามแจ้งความเสรจ์แล้วก็ตบมือหัวเราะ. จึ่งว่าซึ่งพระยามโนไมตรีเจ้าเมืองปัตบองคิดรับเรากับเมือง ไม่ออกมารับเรากลางแปลงนั้นสำคัญว่าหมั้นอยู่แล้วฤๅ. เหนจะหารบเราได้ศักนาฬิกาหนึ่งไม่. อุปมาเหมือนนุ่นแลสำลี ไหนเลยจะทานกำลังมหาวาตะพยุห์ใหญ่ได้. ว่าเท่าดั่งนั้นแล้ว กำหนดนายทับนายกอง ให้เข้าโจมตีเมืองปัตบองให้ได้แต่เพลานี้. ฝ่ายนายทับนายกองพร้อมกันยกเข้าตีค่าย ซึ่งตั้งรับต้นตพานทั้งหกค่ายได้. เขมรซึ่งแตกออกจากค่ายนั้น บ้างวิ่งลงน้ำข้ามตพานเข้าประตูเมืองคั่งกัน. พระราชมาณูเหนดั่งนั้น ก็ขับทหารไล่ไปตามตพานแทงฟันเขมรล้มตายในน้ำในบกเปนอันมาก. หักเข้าเมืองได้จุดไฟเผาเมืองขึ้น. ครอบครัวชาวเมืองแตกตื่นวิ่งออกจากค่ายได้บ้าง. จับได้พระยามโนไมตรีครอบครัว ช้างพลายพังยี่สิบช้างม้าห้าสิบ ปืนใหญ่น้อยเครื่องสาตราวุธเปนอันมาก. ภอทับหลวงเสดจมาถึงตั้งตำบลปราสาทเอก พระราชมาณูก็กุมเอาตัวพระยามโนไมตรีมาถวาย. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวให้ถามพระยามโนไมตรีว่า พระยาละแวกให้กองทับมาตั้งรับอยู่ตำบลใดบ้าง. พระยามโนไมตรีกราบทูลว่า พระยาละแวกให้พระศรีสุพรรมาธิราช ผู้เปนพระอนุชา ถือพลสามหมื่นตั้งรับอยู่ ณเมืองบริบูรณ์ตำบลหนึ่ง ให้พระยาสวรรคโลกย์เจ้าเมืองโพธิสัตว ถือพลสองหมื่น ตั้งรับอยู่ ณเมืองโพธิสัตวตำบลหนึ่ง. ฝ่ายกองทับไปตั้งรับอยู่ทางเรือนั้น ให้การเสรจสิ้นทุกประการ. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวจึ่งตรัสถามว่า ถ้าแลเมืองโพธิสัตวแลเมืองบริบูรณสองตำบลนี้แตกแล้ว เหนกรุงกัมพูชาธิบดีจะเสียฤๅไม่. พระยามโนไมตรีให้การกราบทูลว่า ซึ่งเมืองจะเสียมิเสียนั้น จะกราบทูลกลัวจะเปนเท็จ สุดแต่พระราชดำริห์เปนต้น. แต่ข้าพเจ้าเหนว่า ซึ่งกองทับรับอยู่สองตำบลนี้ อุประมาเหมือนน่าสำเภา กรุงกัมพูชาธิบดีเปนท้ายสำเภา ถ้าน่าสำเภาต้องคลื่นแลพยุหใหญ่แตกหักชำรุดรั่วอับปางลงแล้ว แลท้ายสำเภาจะรักษาไว้นั้นเปนอันยากนัก. พระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ทรงฟังดังนั้น แย้มพระโอฐแล้วตรัสว่า พระยาเขมรคนนี้พูดจาหลักแหลมให้เอาไว้ใช้. ตรัสเท่าดังนั้นแล้ว ก็สั่งพระยานครนายก ให้คุมพลสามพันอยู่รักษาเมืองปัตบอง เกลี้ยกล่อมเขมรเกี่ยวเข้าเกบเข้าในท้องนาใส่ยุ้งฉางไว้เปนอันมาก. ขณะเมื่อเมืองปัตบองแตกนั้น ภอคนเร็วม้าใช้เขมรเมืองโพธิสัตวออกมาฟังราชการมาถึงบ้านละลอด. ภอภบตะละพาดพระยาพระเขมรนายหมวดนายกอง แลไพร่กองทับเมืองปัตบองแตกเข้ามา ก็ภากันกลับไปเมืองโพธิสัตว แจ้งแก่พระยาสวรรคโลกยทุกประการ. พระยาสวรรคโลกย์แจ้งดั่งนั้น ก็บอกหนังสือส่งตัวเขมรทั้งปวงเข้าไปยังกรุงกัมพูชาธิบดี. แล้วจึ่งปฤกษานายทับนายกองว่า พระยามโนไมตรีแต่งกองทับออกรับที่กล้า แลกองซุ่มกองโจรดูกำลังก่อน ละให้ฆ่าศึกเข้ามาถึงเมืองจนเสียครอบครัวยับเยิน ฆ่าศึกก็มีน้ำใจกำเริบหนักขึ้นจะเอาเปนอย่างมิได้. เราจะยกออกไปรับกลางทาง. นายทับนายกองก็เหนด้วย. พระยาสวรรคโลกย์ก๊ให้ผ่อนครอบครัวออกเสียจากเมืองแล้ว. ก๊ยกออกไปตั้งรับลำน้ำลงกูบ เอาน้ำไว้หลังหมายจะมิให้ฆ่าศึกออกอาไศรยได้. จึ่งแต่งเปนกองโจรหกกอง ๆ ละห้าร้อย. แล้วสั่งว่าได้ทีก๊ทำ ถ้ามิได้ทีก็ให้หลีกเข้าป่า. ถ้าเหนศึกหนักเหลือกำลังก๊ให้ลาดถอย. ๚ะ๏ ฝ่ายพระราชมาณูครั้นพระยานครนายกอยู่รักษาเมืองปัตบอง ก็กราบถวายบังคมลายกเข้าไปเมืองโพธิสัตว. กองทับหลวงก๊เสดจ์ตามเข้าไป. ทับน่าพระราชมาณูยกเข้าไปถึงตำบลหนองจอก. ฝ่ายเขมรกองโจรก๊ออกรบกองน่าตีแตก. แต่เขมรรับรายทางเข้าไปถึงหกตำบล. พลเขมรต้องสาตราวุธป่วยตายเหลือกำลัง แล้วก๊ถอยเข้าไปหาทับใหญ่. แลกองทับพระราชมาณูก๊หนุนเนื่องกันเข้าไป. ฝ่ายพระยาสวรรคโลกย์ได้ยินเสียงปืนรบศักครู่หนึ่ง ภอเหนเขมรแตกทับไทยไล่ติดเข้ามา. พระยาสวรรคโลกยให้ตีฆ้องกลองสัญญาโบกธง ยกทหารออกไปรับได้รบกันกับทับน่าพระราชมาณู จนถึงตลุมบอนฟันแทง. พระราชมาณูเหนดังนั้น แยกทหารแผ่ออกตีประดาเข้าไป. ทับเขมรรับที่กล้าไม่อยู่ ก๊แตกฉานล้มตายเจบป่วยเปนอันมาก. พระยาสวรรคโลกย์ก็ขึ้นช้างข้ามน้ำหนีไปได้. ทับไทยได้ช้างพลายพังห้าสิบช้าง ม้าร้อยหนึ่ง กับเครื่องสาตราวุธจับได้เขมรเปนอันมาก. แล้วยกตามไปได้เมืองโพธิสัตว แล้วก็บอกลงไปถึงทับหลวง. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าก็ดีพระไทย เสดจพระราชดำเนินยกเข้ามาตั้ง ณเมืองโพธิสัตว. ฝ่ายพระราชมาณูนายทับนายกองเข้ามาเฝ้าพระบาทยุคล ถวายช้างม้าเครื่องสาตราวุธ แลเขมรเชลยทั้งปวง. สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวก็มีพระราชโองการสั่ง ให้พระยาปราจินทกับพลสามพันตั้งอยู่ รวบรวมเสบียงอาหารณเมืองโพธิสัตว. แล้วตรัสปฤกษาราชการแก่สมเดจพระอนุชาธิราชว่า เมืองโพธิสัตวเมืองปัตบองก็ได้แล้ว. แลเมืองบริบูรณ์นั้น พระยาลแวกให้น้องชายออกตั้งรับ รี้พลก็มากเหนจะพร้อมสามประการ ทั้งอาชาก็กล้า ทหารก็จะแฃงมือ เครื่องสาตราวุธก็จะพร้อม. ถึงกะนั้นก็ดี อุปมาเหมือนพระยานาคราช ถึงแม้นมาทมีเดชานุภาพก็ดี ฤๅจะอาจมาทานกำลังพระยาครุทธได้. เราจะหักเอาให้ได้แต่ในพริบตาเดียว. ตรัสเท่าดั่งนั้นแล้ว ก็สั่งให้ทับน่าเร่งยกล่วงเข้าไป อย่าให้พลทหารคั่งกัน. ๚ะ๏ ครั้นเพลาตีสามยามได้เพชรฤกษ พระจันทร์ทรงกรดส่องสว่าง สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ทรงเครื่องสำหรับพิไชยยุทธเสรจ์ เสดจ์ยกพยุหโยธาทับจากเมืองโพธิสัตว. ฝ่ายพระยาสวรรคโลกย์แลนายทับนายกองซึ่งแตกมานั้น ก็ไปเมืองบริบูรณ เข้าเฝ้าพระศรีสุพรรมาธิราช กราบทูลประพฤติเหตุทั้งปวง. พระศรีสุพรรมาธิราชได้แจ้งดั่งนั้น ก็ตกพระไทย จึ่งแต่งกองกระเวนเปนเสือป่าผลัดเปลี่ยนกันออกไปลาดคอยดูฆ่าศึกทั้งให้จุดเผาเข้าต้นในท้องนาเสียแล้ว บอกข้อราชการเข้าไปณกรุงกัมพูชาธิบดี. ฝ่ายพระยาละแวกแจ้งว่าเมืองโพธิสัตวเมืองปัตบองเสียแก่ฆ่าศึกแล้ว ก็เสียพระไทย. จึ่งสั่งพระยาราชนเรศคุมพลหมื่นหนึ่งยกไปช่วยเมืองบริบุรณ. ฝ่ายสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า เสดจ์พยุหบาตราทับรอนแรมตามสถลมารคมาสามคืนมาถึงป่าทุ่งนาเมืองบริบุรณ. กองน่าภบเขมรกองกระเวนเข้า ได้รบยิงกัน เขมรแตกวิ่งเข้าเมือง. พระศรีสุพรรมาธิราชแจ้งดั่งนั้น ก็ตรัสว่าศึกไทยได้ทียกเข้ามา ครั้นจะแต่งกองทับออกไปรับเกรือกรับมิอยู่ทหารจะเสียใจ. ประการหนึ่งศึกก๊ยังมั่นประชุมกันอยู่ ต่อแผ่บางออกแล้ว เราจึ่งจะยกออกตีทีเดียว ให้แต่ตรวจตรารักษาน่าที่เชิงเทินไว้ให้มั่นคง อย่าให้ข้าศึกเข้าแหกหักเอาได้. ตรัสเท่าดั่งนั้นแล้ว ก็มิได้แต่งออกรบ. ๚ะ๏ ฝ่ายสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า เหนทับเขมรมิได้ยกออกมารบ พระองค์มิได้ยั้งทับ.จึ่งมีพระราชบริหารกำหนดให้นายทับนายกองเข้าล้อมเมืองรบหักเอาให้ได้ในเพลานี้. ฝ่ายนายทับนายกองทั้งปวงก็แบ่งปันกันเปนน่าด้านยกล้อมโอบรบรุกเข้าไป. ฝ่ายเขมรก็รบรุกยิงธนูน่าไม้ปืนไฟออกมาเปนสามารถ.กองทับไทยก็มิถอย ขุดมูลดินเปนสนามเพลาะบังตัวรุกเข้าไป. ภอเพลาพลบค่ำก็บันจบกัน ที่ชิดก็เข้าถอนขวากหนามปีนค่ายเย่อค่ายฟันค่าย จนถึงได้ฟันแทงกัน. ฝ่ายพระศรีสุพรรมาธิราชเหนศึกหนักเหลือกำลังจะรับมิอยู่ ขึ้นช้างพระที่นั่งได้ทหารหมื่นหนึ่งก็แหกเมืองออกไป. ทับไทยก็เข้าเมืองได้ไล่ฟันแทงเขมรเจ็บป่วยล้มตาย.กองทับเขมรก็หนีระบาทกันออกหน้าที่. กองทับไทยจับได้พระยาเสนาบดีเจ้าเมืองบริบูรณ พระหลวง ขุนหมื่น ไพร่เขมรปืนใหญ่น้อย เครื่องสาตราวุธเปนอันมาก. ได้ช้างพลายพังใหญ่น้อยเจ็ดสิบห้าช้าง ม้าสองร้อยเศศ. ๚ะ๏ ฝ่ายพระศรีสุพรรมาธิราชแหกออกจากค่ายได้ มิได้ยั้งพลรีบเดินไปเพลากลางคืนถึงตำบลบ้านพังรอ ภบทับพระยาราชนเรศซึ่งพระยาลแวกให้ออกมาช่วย ก็ภากันถอยเข้าเมือง ขึ้นเฝ้าแจ้งราชการแก่พระยาละแวกทุกประการ. พระยาละแวกได้ทรงฟังดั่งนั้นก็ทรงพระโกรธ ตรัสคาดโทษพระศรีสุพรรมาธิราชแลนายทับนายกองแล้ว จึ่งให้ตรวจตราป้อมค่ายรักษาน่าที่เชิงเทิลหอรบชั้นนอกซ่อมแชมขวากหนาม. เอาปืนใหญ่ขึ้นใส่ป้อมแลประตูเมือง น่าที่นั้นห่างสิบวาไว้ปืนหลักแก้วบอกหนึ่ง. ถัดเชิงเทินเข้ามา ไว้กองหนุนกองละสามร้อยห่างกันสามเส้น. เชิงเทินชั้นกลางนั้นไว้กองขันสี่กองกองละสามพัน. ให้พระศรีสุพรรมาธิราชผู้เปนอนุชาอยู่ด้านเหนือ พระราชมาณูอยู่ด้านใต้เจ้าฟ้าทะละหะอยู่ด้านตวันออก พระยาราชนเรศอยู่ด้านตวันตก. เชิงเทินชั้นในไว้กองใหญ่สี่กอง ๆ ละห้าพัน ในกระบวนทับหลวง. แล้วแต่งหนังสือให้พระยามนตรีเสนาถือไปเมืองญวนขอกองทับมาช่วย. ๚ะ๏ ครั้นเพลาอุษาโยคพระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์เสด็จออกพร้อมด้วยหมู่มุขอำมาตย์ราชปะโรหิต. นายทับนายกองกราบถวายบังคมเฝ้าพระบาทยุคลเกลื่อนกลาด. พระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว จึ่งสั่งให้กุมเอาตัวพระยาเสนาบดีเจ้าเมืองบริบูรณ แลพระหลวงขุนหมื่นนายทับนายกองเขมรเข้ามาหน้าพระที่นั่ง. ให้ถามข้อราชการในเมืองละแวก แลพระยาเสนาบดีพระหลวงขุนหมื่นนายทับนายกองทั้งปวง ก็ให้การกราบทูลเสรจ์สิ้นทุกประการ.จึ่งมีพระราชโองการให้พระวิเศศเจ้าเมืองฉะเชิงเทราเปนพระยาวิเศศ ให้เปนนายกองทับคุมพลสามพัน ตั้งอยู่ ณะเมืองบริบูรณปลูกยุ้งฉางรวบรวมเสบียงอาหารไว้ให้เสรจ์. แล้วเสดจ์พระราชตำเนินพยุหบาตราทับโดยลำดับมารควิถีสองคืน ก็ลุถึงกรุงกัมพูชาประเทศ. ทับหลวงตั้งหมั้นไกลเมืองทางประมาณเจ็ดสิบเส้น. ตรัสให้นายทับนายกองตั้งค่ายล้อมประชิดเมือง. ให้พระราชมาณูอยู่ด้านตวันตก พระยาสีห์ราชเดโชอยู่ด้านใต้ พระยาท้ายน้ำอยู่ด้านตวันออก พระยามหาโยธาอยู่ด้านเหนือ ๚ะ๏ ขณะเมื่อทับหลวงตีค่ายรายทางเข้ามาถึงเมืองโพธิสัตวนั้น กองทับพระยาราชวังสันเข้าตีได้เมืองพุทไทยมาศ พระยาจีนจันตุแม่ทับเขมรตายในที่รบแล้วยกเข้ามาณะป่ากะสัง ได้รบกับกองทับพระยาภิมุขวงษา. ฝ่ายกองทับพระยาเพชรบุรีเข้าตีเมืองป่าศักได้รบกับกองทับเรือ. พระยาวงษาธิราชกองทับเขมรแตก พลเขมรจมน้ำตายเปนอันมาก. พระยาวงษาธิราชก็ต้องปืนใหญ่ตาย. กองทับไทยได้เมืองป่าศัก สำเภาพระยาจีนจันตุ กับสำเภาลูกค้าสิบห้าลำ. สลุปฝรั่งสองลำ เรื่อรบเรือไล่ปืนใหญ่น้อย เครื่องสาตราวุธเปนอันมาก. พระยาเพชรบูรีก็ยกรุดตามขึ้นมาถึงปากกะสัง เหนกองทับพระยาราชวังสันกับเขมรยังรบกันอยู่. พระยาเพชรบูรีก็ยกตีกระหนาบเข้าไป. กองทับเขมรทานมิได้ก็แตก พระยาราชวังสัน กับพระยาเพชรบูรีสองทับนั้นบันจบกันเข้า. ก็ยกรีบเข้ามาตีได้เมืองจัตุรมุข. แล้วยกขึ้นไปบันจบกองทับหลวง ณะเมืองลแวก. ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับพระยานครราชศรีมาซึ่งตีเมืองนครเสียมราบ ฟากทะเลสราบตวันออก ก็ยกมาตั้งค่ายมั่นกะพงสวาย พร้อมกันกับกองทับเรือ. พระยาเพชร์บูรี พระยาราชวังสันพระยานครราชศรีมา แลพระยาพระหลวงหัวเมืองนายทับนายกองทั้งปวง ก็ภากันขึ้นเฝ้าพระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวณค่ายเมืองละแวก กราบทูลซึ่งได้รบรายทาง แลได้สำเภาสลุบฝรั่ง เครื่องสาตราวุธ ปืนใหญ่น้อยเสรจสิ้นทุกประการ. พระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระโสมนัศ. จึ่งตำริหการที่จะเข้าหักเมือง แล้วมีพระราชโองการสั่งนายทับนายกองค่ายล้อมทั้งปวง ให้เร่งเดินค่ายปะชิดเข้าไปให้ใกล้ห่างเมืองเส้นหนึ่งแลสามสิบวา ให้ตั้งป้อมพูนดินทั้งสี่มุม มุมละสองด้าน. เอาปืนใหญ่ทับเรือขึ้นจังกา ยิงกวาดตามเชิงเทิน. บันดาประตูเมืองนั้น ก็ให้ตั้งป้อมเอาปืนใหญ่ขึ้นยิงด้วย. น่าที่ใดทหารบางอยู่นั้น ให้กองทับเรือกองทับเมืองนครราชสีมายกมาบันจบ. เร่งทำการให้พร้อมแต่ในสามวัน ถ้าผู้ใดมิแล้วตามกำหนดจะตัดศิศะเสียบเสีย. ฝ่ายนายทับนายกองทั้งปวงกลัวพระราชอาญา กราบถวายบังคนแล้ว ก็เร่งทำตามพระราชอาญาทั้งกลางวันกลางคืน. ๚ะ๏ พระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวจึ่งให้แต่งเปนหนังสือว่า หนังสือผู้เปนนายกพลากรทหารทั้งปวงทับหน้า อันเปนสวามีประวาศบาทมุลิกากรบวรรัตนามาศ ดุจหนึ่งจักรแก้วอยู่ในใต้เบื้องบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวณะกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยา อันมีพระบุญาเดชานุภาพมาก ดุจดรงพระทินกรส่องโลกย์มายังพระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี ซึ่งเปนใหญ่ในกัมพูชาประเทศ. แต่ก่อนๆกรุงกัมพูชาธิบดีเคยถวายหิรัญสุวรรณมาลาเกรื่องบรรณาการ สองพระนครก็เปนสุวรรณ์ปัตะพีเดียวกัน. สมณพราหมณาจาริย์อาณาประชาราษฎรก็ได้ความศุก เปนไฉนพระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดีมิได้ตั้งอยู่ในสัตยานุสัจ คิดอหังการกลับเปนประจามิตร ให้เคืองใต้บาทยุคล เอาโลหิตมาล้างดาบทหารไทย จะให้เหลืออยู่แต่น้ำกับฟ้า ป่ากับดินดูมิควร. บัดนี้ก็เสดจ์พระราชตำเนินมาถึงพระนครแล้ว อันจะได้ไชยชำนะมิได้ไชยชำนะนั้นพระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดีหาเข้าพระไทยไม่ฤๅ. ให้เร่งออกมากราบถวายบังคมพระบาทยุคล ถวายเสวตร์บวรฉัตร์ เหนชีวิตรจะยืนยาวไปได้. ฦๅหมายว่าจะได้ไชยชำนะ ก็ให้เร่งยกพยุหโยธาออกมาทำสงครามกันดูเล่นเปนขวันตา. ถ้ามิออกมาในสามวัน พระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวจะให้ทหารเข้าพลิกแผ่นดินเสียแต่ในพริบตาเดียว ๚ะ๏ ครั้นแต่งเสรจแล้วก็ให้พระยาเสนาบดีเจ้าเมืองบริบูรณ กับพระยาพระเขมรซึ่งทับเรือจับได้ถือเข้าไป พระยาพระเขมรทั้งปวงกราบถวายบังคมลาแล้ว ก็นำหนังสือเข้าไปถวายแก่พระยาละแวก. แล้วทูลซึ่งได้รบทางบกทางเรือเสร็จสิ้นทุกประการ พระยาละแวกได้แจ้งในหนังสือแลเสียกองทับเรือก็ยิ่งเสียพระไทยนัก จึ่งตรัสว่า ไอ้เหล่านี้ให้ออกไปรบศึก กลับเปนพวกประจามิตร์เปนทูตถือหนังสือเข้ามาอีกเล่า โทษมันถึงตายให้เอามันไปจำไว้ ตรัสเท่าดั่งนั้นแล้ว ก็เสดจ์เลียบพระนคร เหนกองทับไทยเดินค่ายประชิดเข้ามาไกล้ จึ่งบัญชาสั่งให้จุดปืนใหญ่น้อยยิงระดมออกไป ต้องพลศึกตายเจ็บป่วยก็มาก ทำการเข้าไปมิได้ พระยาราชมาณูพระยาสีหราชเดโช พระยาท้ายน้ำ พระยามหาโยธาเหนดั่งนั้น ก็ให้ขุดมูลดินถมขึ้นบังตัวเดิน เขมรยิงออกมาไม่ถูก แล้วเร่งให้ถมมูลดินเปนคันขึ้นสูงกว่าค่ายเมือง เอาปืนใหญ่ขึ้นจังก้าสองวันสองคืนก็เสรจ์ ฝ่ายพระยาละแวกเหนดั่งนั้น ก็ตั้งค่ายสอบค่ายเมืองสูงเปนค่ายบังตาข้าศึก หลังเชิงเทินนั้นสูงสามวาสี่วาให้ชักปีกกา แล้วไว้ประตูลับแลเปนช่วงเดิน เสียงปืนใหญ่ปืนน้อยยิงตอบโต้กันมีได้ขาดทั้งกลางวันกลางคืน พลเขมรซึ่งรักษาน่าที่เชิงเทินนั้นต้องปืนเจบป่วยล้มตายเปนอันมาก สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวเหนการพร้อมภอจะหักเอาเมืองได้ จึ่งให้โหรหาฤกษได้ฤกษณวันศุกร์เดือนห้าขึ้นสองค่ำ ปีวอกฉศกเพลาสิบทุ่มห้าบาท จึ่งตำรัศพระราชกำหนดพระยาราชมาณูขี่ช้างพลายจู่โจมทับ คุมทหารสามพันเข้าโดยถนนประตูด้านตวันตก ให้พระยาสีหราชเดโชขี่ช้างพลายจับโจมยุทธ คุมทหารสามพันเข้าโดยถนลประตูด้านใต้ ให้พระยาท้ายน้ำขี่ช้างพลายมารประไลย คุมทหารสามพันเข้าโดยถนลประตูด้านตวันออก. ให้พระยามหาโยธาขี่ช้างพลายไฟพัทธ์กัลป คุมทหารสามพันเข้าโดยถนลประตูด้านเหนือ. ช้างนั้นให้ใส่น่าร่าเกือกเหลก ทหารหมื่นสองพันให้ใส่เกือกหนัง เสื้อหนังหมวกหนัง ฝ่ายค่ายประชิดทั้งปวงนั้น ให้ระดุมจุดปืนใหญ่เข้าไป กวาดตามเชิงเทินแลประตูแต่ตีสามยามไปกว่าจะถึงฤษก อย่าให้พลเขมรยกมาช่วยกันถนัดได้ แต่ทว่าเปนเพลากลางคืนจะไม่พร้อม ให้ค่อยดูดวงพลุ แลฟังเสียงฆ้องกลองแตรสังขเปนสำคัญฤษก แล้วก็ให้ยกทหารเข้าหักเอาเมืองให้ได้จงทุกด้าน. ถ้าผู้ใดมิได้จะตัดศีศะเสียบเสีย นายทับนายกองทั้งปวงแจ้งพระราชกำหนด กราบถวายบังคมลาแล้วก็ไปเตรียมการตามรับสั่ง. ครั้นเพลาสามยามเจ้าน่าที่ทั้งปวงก็ระดมปืนเข้าไปในเมือง ต้องเขมรป่วยเจบล้มตายเปนอันมาก ฝ่ายสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ทรงเครื่องสำหรับขัติยราชรณยุทธ สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าทรงเจ้าพระยาไชยาณุภาพเปนพระคชาธารพร้อมด้วยโยธาหารเสรจ์ เสดจ์มายืนช้างพระที่นั่งตรงประตูอูดรทิศที่ พระยามหาโยธา. ได้เพชรฤกษจึ่งให้ประโคมฆ้องกลองแตรสังข จุดเพลิงพลุขึ้นเปนสำคัญ. พลทหารทั้งสี่ด้านเหนสำคัญ ก็โห่ขึ้นพร้อมกัน พระยามหาโยธา พระยาสีหราชเดโช พระยาท้ายน้ำ พระยาราชมาณูขี่ช้างนำน่าทหารเข้าไปจะทำลายประตูเมือง. เขมรซึ่งอาษาน่าที่ริมประตูแลรักษาประตู ก็ยิงธนูน่าไม้ปืนใหญ่น้อยออกมาทั้งสี่ด้าน พลทหารเจบป่วยล้มตายก็มิได้ถอย. พระยามหาโยธาก็ขับเข้าไปให้แทงประตูเปนสามรถ ภอรุ่งขึ้นเปนวันเสาร์เดือนห้าขึ้นสามค่ำ ลุศักราช ๙๔๖ ปีวอกฉศก ประตูก็พังลง. ทหารไทยกรูเข้าเมืองได้ ไล่ฆ่าฟันเขมรล้มตายเปนอันมาก. เขมรกองขันกองกลางทั้งสองชั้น ก็มิได้รบ ทิ้งเครื่องสาตราวุธเสีย หนีกระจัดกระจายออกจากเมืองบ้าง ไปหาครอบครัวบ้าง. พระราชบุตรนั้นก็หนีไปด้วย. จับได้พระยาละแวกกับพระศรีสุพรรมาธิราช แลญาติประยุรวงษสนมกรมใน ท้าวพระยาพระเขมร ครอบครัวพลเมืองเปนอันมาก. พลทหารก็คุมพระยาลแวกพันทนามาถวาย ๚ะ๏ สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวแย้มพระโอฐ แล้วมีพระราชโองการตรัสถามพระยาละแวกว่า ท่านเปนกระษัตริย์ขัติยราชดำรงแผ่นดินกรุงกัมพูชาธิบดี มีกุรุราชเปนแว่นแคว้นขันทเสมา ฝ่ายกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ก็มีประจันตชนบทเปนแว่นแคว้น. แลสองพระนครนี้ก็เปนราชธานีใหญ่ ถ้าจะใคร่ได้สมบัติในพระนครศรีอยุทธยาแผ่เสมามณฑลให้กว้างขวาง เหตุไฉนจึ่งมิยกเปนพยุหโยธาไปกระทำสงครามให้ต้องตามทำนองขัติยราชรณยุทธ์ อันเปนที่บันเทิงราชหฤไทยกษัตราธิราชแต่ก่อน จึ่งคอยแต่ว่าศึกกรุงหงษาวดีมาติดพระนครศรีอยุทธยาครั้งใด ก็มีแต่ยกพลไปพลอยซ้ำเติมตีเอาเมืองชนบทประเทศ กวาดครัวอพยบมาเมืองทุกครั้ง. ทำศึกดุจกาอันมาลักลอบฟองสกุณปักษาฉะนั้น. ควรด้วยราชประเวณีแล้วฤๅประการใด. ครั้งนี้ท่านถึงซึ่งปราไชยแก่เราแล้ว จะคิดอันใดเล่า. ให้ว่าไปตามสัจตามจริง จะได้เปนเหยี่ยงอย่างกระษัตริย์ไปภายน่า. ๚ะ๏ พระยาลแวกกราททวายบังคมแล้วทูลว่า ซึ่งข้าพระองค์เปนคนโลบเจตนามิได้กระทำสงครามตามราชประเพณีกระษัตริย์ ไปลักลอบกระทำเสี้ยนหนามแก่พระนครศรีอยุทธยานั้น โทษผิดถึงตาย. ถ้าพระองค์พระราชทานชีวิตรไว้ กรุงกัมพูชาธิบดีจะได้เปนข้าขันทเสมากรุงเทพมหานคร ถ้ามิเลี้ยงแล้วก็จะก้มหน้าตาย. ๚ะ๏ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงฟังคำพระยาลแวกดั่งนั้น จึ่งตรัสว่า เราได้ออกวาจาไว้แล้วว่า ถ้ามีไชยแก่ท่าน เราจะทำพิธีประถมกรรมเอาโลหิตท่านล้างบาทาเสียให้จงได้. ท่านอย่าอาไลยแก่ชีวิตร์เลย. จงตั้งหน้าหาชอบในประโลกย์นั้นเถิด. บุตรกรรยาญาติประยุรวงคท่านนั้น เราจะเลี้ยงไว้ให้มีความศุกดุจแต่ก่อน. ๚ะ๏ ตรัสดั่งนั้นแล้วก็มีพระราชบริหารแก่มุขมนตรี ให้ตั้งการพิธีประถมกรรมโดยสาตร. พระโหราธิบดีชีพ่อพราหมณ์ ก็จัดแจงการนั้นเสร็จ. จึ่งเชิญเสดจสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวเสดจ์ขึ้นบนเกย. เจ้าพนักงานองครักษเอาตัวพระยาลแวกเข้าใต้เกย ตัดศีศะเอาถาดทองรองโลหิตขึ้นไปชำระพระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว. พระโหราธิบดีก็ลั่นฆ้องไชย ชีพ่อพราหมณ์เป่าสังขประโคมดุริยดนตรี ถวายมุรธาพิเศกทรงอาเสียรภาศโดยสาตรพิธีเสร็จ์เสดจ์เข้าพลับพลา. ๚ะ๏ รุ่งขึ้นสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ทรงเครื่องสำรับราชรณรงค์ยุทธ์เสร็จ. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า ทรงม้าพระที่นั่งราชพาหนะ สูงสามศอกคืบสองนิ้ว. สมเดจ์เอกาทศรฐทรงม้าพระที่นั่งพะลาหก สูงสามศอกคืบ.พร้อมแสนเสนางคนิกรโยธาหาร แห่โดยกระบวนซ้ายขวาหน้าหลัง เสวตรฉัตรบังพระสุริยชุมสายพัดโบกพัชนี มีฆ้องกลองแตรสังขประโคมนฤนาท พระบาทเสดจ์ราชตำเนินเข้าไปเลียบพระนคร. ครั้นเพลาชายแล้วสองนาฬิกา เสดจ์กลับยังค่ายหลวง มีพระราชโองการสั่งเสนาบดีมุขมนตรีทั้งปวงว่า บุตรภรรยาญาติวงษพระยาลแวง แลสมัภพักพวกครัวอพยพ ซึ่งจับไว้ได้มากน้อยเท่าใด ให้มารวมไว้. ให้นายทับนายกองๆหลังคุมไว้ก่อน เจ็ดวันกองทับหลวงจะเลิกไป. ท้าวพระยาทั้งหลายรับพระราชโองการแล้ว ก็ตรวจตราจัดครอบครัวพระยาลแวก แลไพร่พลในเมืองซึ่งได้ไว้นั้น เปนคนอพยพสามหมื่นเศศ. แล้วแต่งกองหลังให้คุมไปโดยพระราชบัญชา. ครั้นกองทับซึ่งคุมไปได้เจ็ดวันแล้ว ๚ะ๏ ครั้นถึง ณวันอังคารเดือนห้าแรมห้าค่ำ เพลาสิบเบ็ดทุ่มห้าบาทสมเดจ์พระบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ทรงเครื่องอลังการสรรพาภรณ์บวรวิภูสิตสรับเสร๊จ. สมเดจ์พระนเรศวรบรมบพิตรเปนเจ้า ทรงพังเทพลิลาผูกพระที่นั่งสุวรรณปฤษฎางค์. สมเดจ์เอกาทศรฐทรงพังเทพลิลาศ ผูกพระที่นั่งหลังคาอลงกฎด้วยเครื่องอภิรุมชุมสายพรายพรรณ์ บังรวิวรณบังแซรกสลอนสรับสรับด้วยโยธาทวยหาร แห่รวดริ้วระยะกันกงพร้อมเสนางค์พยุหอุดมดูมหิมาดาดาษ. พระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ เสด็จจากกรุงศรียโสธรนครอินท์รปัตกุรุรัตนราชธาณี. ๚ะ๏ ฝ่ายทับพระยานครราชสีมา ก็เลิกทับกลับไปนครเสียมราบ. แต่ทับเรือนั้นรั้งอยู่สองวันจึ่งล่องไปตามชลมารค ออกปากน้ำเมืองพุทไธมาศสิ้น. พระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ เสดจ์รอนแรมมาโดยมารรควิถีสิ้นแดนกัมพูชาประเทศ. ทับรายทางมั้นก็เลิกโดยเสดจ์มาเปนกระบวนทั้งสิ้น. สิบสามวันทับหลวงก็เสดจ์ถึงกรุงเทพพระมหานครศรีอยุทธยา. แลบุตรภรรยาญาติประยุรวงษพระยาลแวก แลครัวพระยาพระเขมรมีชื่อนั้น ก็ทรงพระกรุณาให้จัดแจงตั้งบ้านเรือน แล้วพระราชทานเครื่องอัญมนีทั้งปวงให้โดยควร. ครั้นนายทับนายกองทับบกทับเรือถึงพระนครพร้อมเสด็จ. สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระราชทานบำเหน็จรางวัลโดยสมควรแก่ความซอบ. แต่พระยาราชมาณูนั้น ให้เปนที่เจ้าพระยาอรรคมหาเสนาธิบดีสมุหพระกลาโหม. พระราชทานพานทอง เต้าน้ำทอง เจียดทองซ้ายขวา กระบี่ฝักทอง เครื่องอุประโภคบริโภคเปนอันมากโดยถานาศักดิ์ ๚ะ๏ ครั้นวันอังคารเดือนห้าขึ้นสองค่ำ ลุศักราช ๙๔๘ ปีจออัฐศก กรมการเมืองกุยบุรีบอกเข้ามาว่า พระยาศรีไสณรงค์ ซึ่งให้ไปรั้งเมืองตนาวศรีเปนกระบถ โกษาธิบดีกราบบังคมทูล พระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณายังแคลงอยู่ จึ่งโปรดให้มีตราออกไปหาตัว พระยาตนาวศรีก็มิมา. สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธ จึ่งให้สมเดจ์พระอนุชาธิราชเจ้า เสด็จพระราชดำเนินยกทับออกไป. แลทับสมเดจ์พระอนุชาเสดจ์ออกไปครั้งนั้นพลสามหมื่น ช้างเครื่องสามร้อย ม้าห้าร้อย. ทับปากใต้นั้นเมืองไชยา เมืองชุมภร เมืองคลองวาน เมืองกุย เมืองปราน เมืองเพชรบุรี หกเมืองเปนคนหมื่นห้าพัน ประชุมทับตำบลบางตะพานเดินทับทางสิงขอ. ๚ะ๏ ฝ่ายพระยาตนาวศรีรู้ว่าสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว เสดจ์พระราชดำเนินยกออกมา ก็เกรงพระเดชเดชานุภาพเปนอันมาก. จะหนีก็เหนจะไม่พ้น จะแต่งทับออกรับก็เหนเหลือกำลัง จนความคิดอยู่แล้วก็นิ่งรักษามั่นไว้. ๚ะ๏ ฝ่ายสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวเสดจ์ถึงเมืองตนาวศรี สั่งให้ตั้งค่ายล้อมไว้โดยรอบ. แต่ทับหลวงนั้นตั้งใกล้เมืองห้าสิบเส้น. จึ่งทรงแต่งหนังสือรับสั่งเข้าไปว่า พระยาตนาวศรีเปนข้าหลวงเดิมสัจซื่อมั่นคง ได้ทำราชการโดยเสดจ์งานพระราชสงคราม ความชอบหลังมามากมายนัก. จึ่งทรงพระมหากรุณาให้มากินเมืองตนาวศรีนี้. ยังหาเสมอความชอบไม่อีก. ด้วยจำเปนด้วยเหตุว่า เมืองตนาวศรีนี้เปนเมืองน่าศึก ครั้นจะแต่งให้ผู้อื่นมาอยู่มิวางพระไทย. จึ่งให้พระยาศรีไสณรงค์ออกมาอยู่ต่างพระเนตรพระกรรณ เนื้อความข้อนี้ก๊ย่อมรู้อยู่แก่ใจ แลมีข่าวไปว่า พระยาตนาวศรีคิดการเปนกระบถ สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวก๊ยังไม่เชื่อ จึ่งมีตราออกมาให้หา ก๊มิเข้าไปเฝ้า เนื้อความจึ่งมากขึ้น ตรัสให้เราออกมา ก๊มีความเมตาหนักอยู่. พระยาตนาวศรีผิดแต่ครั้งเดียวดอก ให้ออกมาหาเราเถิดจะกราบทูลฃอโทษไว้ครั้งหนึ่ง ถ้าจะมาก๊ให้มาในวันนี้ ถ้ามิมาเหนว่าจะรับทับเราได้ ก๊ให้แต่งป้องกันไว้ให้มั่นคง. ๚ะ๏ พระยาตนาวศรีแจ้งในหนังสือดั่งนั้น จึ่งคิดว่าเราได้ทำการล่วงเกินผิดถึงเพียงนี้แล้ว แลซึ่งมีหนังสือรับสั่งมาดั่งนี้เปนราชอุบายศึก ออกไปก๊คงจะตายผิดชอบก๊จะอยู่สู้ไป ถึงตายก็ให้ปรากฎชื่อไว้ภายน่า พระยาตนาวศรีก็มิได้ออกมา เพลารุ่งแล้วนาฬิกาหนึ่ง สมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจ์ทรงเครื่องอลังการประดับสำหรับพิไชยยุทธ์เสรจ เสดจ์ทรงเจ้าพระยาปราบไตรยจักรเปนพระคชาธาร พร้อมด้วยท้าวพระยาพลทวยหารเปนขนัดแน่นไสวโล่โตมรมาศดูพันฦก ทั้งทวนทองธงทิวเปนท่องแถวไสวอำไพด้วยมยุรเสวตรฉัตร กลิ้งกลดบดบังทินกรบวรบังแซกแซงชุมสายพรายพรรณดาษดา ศรับทโกลาหฬกึกก้องกลองชนะแตรสังขสนั่นนิฤนารท.พระบาทสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจ์กรีธาทับพลเลียบทอดพระเนตรดูท่วงที ซึ่งจะให้พลทหารเข้าปีนเมือง ๚ะ๏ ฝ่ายพระยาตนาวศรีออกมายืนถือหอกกั้นสัปประทนอยู่บนเชิงเทิน แลเหนพลสมเดจ์พระอนุชาธิราชเจ้าดุจสายน้ำอันไหลหลั่งถั่งมาเมื่อวสันตะระดู แล้วได้ยินเสียงปี่กลองแตรสังข์ก๊ตกใจตลึงไป หอกพลัดตกจากมือมิได้รู้ตัว บ่าวไพร่ทั้งปวงเหนดั่งนั้นก๊เสียใจ พูดกันเล่าต่อๆไปว่า นายเราเหนจะป้องกันเมืองไว้มิได้ พลทหารทั้งปวงก๊ยิ่งครั่นคร้ามพระเดชเดชานุภาพเปนอันมาก สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวเสดจเลียบดูรอบเมืองตนาวศรี เหนน่าที่ข้างอุดรทิศจะเข้าได้ เสดจกลับมายังค่ายหลวง จึ่งมีพระราชกำหนดให้นายทับนายกองทำบันไดร้อยอันปลายบันไดนั้นให้ผูกพลุเพลิงเพนียงจงครบ เพลาตีสิบเบ็ดทุ่มถ้าได้ยินเสียงปืนใหญ่สามนัดเปนสำคัญแล้ว ให้เอาบันไดพาดจุดพลุเพนียงปีนเอาเมืองให้จงได้. ท้าวพายามุขมนตรีนายทับนายกองรับพระราชบัญชาแล้ว ก็จะมาจัดแจงการทั้งปวงให้พร้อมสรรพกับพลทหารอาษาพันหนึ่ง ซึ่งจะเข้ามาปีนเมืองพร้อมเสร็จ. ครั้นเพลาสามยามสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวเสดจ์ขึ้นเกยคอยฤกษ เดชะบารมีสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว ถ้าจะมีไชยแก่ฆ่าศึกครั้งใด ก็ให้ศุภนิมิตรประจักษ์ทุกครั้ง. ภอเพลาล่วงสามยามเจ็ดบาท พระษาริริกบรมธาตุใหญ่เท่าผลส้มเกลี้ยง เสดจ์ผ่านด้านเมืองตนาวศรีมาแต่อุดรทิศไปเฉียงอาคเน พระรัศมีสว่างไปทั้งอากาษแลปัถพีดล. สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวเหนดั่งนั้นก็มีพระปิติโสมนัศถวายทัศนัขสโมธานเหนือศิโรตมด้วยปัญจางค์ประดิษฐ. แล้วสั่งประโรหิตาจาริยทั้งหลายให้ประโคมแตรสังข์ดุริยดนตรีปี่พาทย์ฆ้องไชยในทันที. ให้ฝรั่งแม่นปืนจุดจ่ารงค์คร่ำท้ายที่นั่งสามบอกไล่กันเปนสำคัญ. ฝ่ายนายทับนายกองได้ยินเสียงปืนใหญ่เปนสำคัญ ก็ให้ทหารเอาบันไดพาดกำแพงเมือง จุดพลุเพนียงเปนโกลาหล. เจ้าน่าที่เหนดั่งนั้นก็ตกใจ จะออกยืนรบพุ่งก็ทนเพลิงมิได้ก๊ทิ้งน่าที่เสีย. ฝ่ายทหารข้าหลวงเข้าเมืองได้ ภอเพลารุ่งขึ้นก็คุมเอาตัวพระยาตนาวศรีพันทนาเข้ามาถวายยังค่ายหลวง. สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวให้ลงพระราชอาชาเฆี่ยนยกหนึ่งสามสิบที.แล้วบอกข้อราชการเข้ามายังกรุงเทพพระมหานครศรีอยุทธยา. ๚ะ๏ สมเดจ์พระนเรศวรบรมบพิตรเปนเจ้า ตรัสได้แจ้งว่า สมเดจ์พระอนุชาธิราชเจ้าได้เมืองตนาวศรีแล้ว จับได้พระยาศีไสณรงค์ดั่งนั้น ก็มีพระไทยปรีดา จึ่งทรงพระมหากรุณาให้มีตราตอบออกไปว่า อย่าให้เข้ามาณกรุงเลย ให้ทเวนแล้วตัดศีศะเสียบผจานไว้ณเมืองตนาวศรี อย่าให้ผู้ใดเอาเยี่ยงอย่าง. แลให้พระยาราชฤทธานนทเปนเจ้าพระยาตนาวศรี ๚ะ๏ สมเดจ์พระอนุชาธิราชเจ้า ก็กระทำตามพระราชบัญชาสมเดจ์พระเชษฐาธิราชทุกประการ. ครั้นจัดแจงเมืองตนาวศรีราบคาบเปนปกติดีแล้ว สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวก็เสดจ์พระราชดำเนินกลับ มายังกรุงเทพพระมหานคร เฝ้าสมเดจ์พระบรมเชษฐาธิราชเจ้ากราบทูลเสร็จสิ้นทุกประการ. สมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้าบรมบพิตร มีพระไทยโสมนัศตรัสชมกฤษฎาธิการสมเดจ์พระอนุชาธิราชเจ้าเปนอันมาก. ๚ะ๏ ครั้นณวันอังคารเดือนสิบสองแรมห้าค่ำ มีหนังสือบอกพระยาจันทบูรี ส่งตัวสมิงอุบากอง ซึ่งถือหนังสือเจ้าเมืองเมาะลำเลิ่ง ฃออวยศรีสวัสดิ์มาถึงพระยากาญจน์บุรี ด้วยข้าพเจ้ากับพระยาลาวเจ้าเมืองเมาะตมะ เกิดมหากละหะแก่กัน. พระยาลาวจะยกมาตีเมืองข้าพเจ้า ๆ หาที่พึ่งมิได้. จะฃอเอาพระเดชเดชานุภาบพระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว อันมีบุญราศรีกฤษฎาธิการมหิมา ดุจหนึ่งสมเดจ์พระเจ้ามัณทาตุราชจาตุรงคทิพยจักรพรรติอันมีพระราชเดชาวราฤทธิอาณาจักรกันแผ่ไปในทวีปใหญ่ทั้งสี่ มีทวีปน้อยสองพันเปนบริวารเปนฉัตรแก้วกั้นเกษ. จะฃอกองทับยกไปช่วยกันเมือง พระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ได้ทรงทราบดั่งนั้น ทรงพระโสมนัศ จึ่งพระราชทานเสื้อผ้าเงินตราแก่สมิงอุบากองโดยสมควร. แล้วตรัสให้พระยาศรีไสณรงค์ถือพลสองพัน สรัพไปด้วยเครื่องสาตตราวุธยกไปณเมืองเมาะลำเลิ่ง. ก็กลัวพระเดชเดชานุภาพ มิได้คิดอาฆาฎต่อไป ขณะเมื่อพระยาศรีไสณรงค์ไปช่วยกันเมืองเมาะลำเลิงนั้น เจ้าฟ้าแสนหวีถึงแก่พิราไลย มีราชบุตรสององค์แต่ต่างมารดา. พี่น้องสององค์ทำยุทธชิงราชสมบัติแก่กัน. ผู้น้องสู้มิได้ กลัวพี่ชายจะฆ่าเสีย ครั้นรู้ว่ากองทับไทยมาตั้งอยู่ณเมืองเมาะลำเลิ่ง. ก็ภาพรรคพวกประมาณร้อยเสศ หนีลงมาหาพระยาศรีไสณรงค์ณเมืองเมาะลำเลิ่ง. พระยาศรีไสณรงค์ก็บอกส่งตัวเจ้าฟ้าแสนหวี มายังกรุงเทพมหานคร. พระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ทรงพระมหาการุญภาพแก่เจ้าฟ้าแสนหวี. แล้วทรงพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคเปนอันมาก เลี้ยงไว้โดยถานาศักดิ์ ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๔๙ ปีกุนนพศก ราชบุตรนักพระสัทธาผู้เปนพระยาลแวก. เมื่อสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวเสดจ์ไปปราบ ขณะเมื่อข้าหลวงเข้าเมืองลแวกในเพลากลางคืนนั้น ราชบุตรมาอยู่น่าที่. ครั้นทับไทยเข้าเมืองได้แล้วด้วยความกลัวก็มิได้หาบิดา หนีออกจากน่าที่กับบ่าวสามสิบคนเข้าป่าภากันหนีไปถึงแดนเมืองล้านช้าง. ครั้งรู้ว่ากองทับหลวงเสดจ์พระราชดำเนินกลับไปกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยาแล้ว ก็ภากันกลับมาเมืองละแวก เสนาบดีที่เหลืออยู่นั้น กับสมณชีพราหมณประชาราษฎรทั้งหลาย จึ่งพร้อมกันยกพระราชบุตรท่านขึ้นราชาภิเศก เปนพระยาละแวกครอบครองแผ่นดินแทนพระบิดา พระยาละแวกครั้นได้ครองศิริราชสมบัติแล้ว ก็อุษาหบำรุงสมณพราหมณมณาจาริยโดยยุติธรรมราชประเพณีมาได้เดือนเสศ. จึ่งตรัสปฤกษากับเสนาบดีมนตรีกระวีมุขทั้งหลายว่า แต่ก่อนมาพระบิดาเราไปกระทำเสี้ยนหนามต่อกรุงศรีอยุทธยานี้ ไม่เกรงพระเดชเดชานุภาพสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ อันทรงอีศรภาพดุจพระสุริยเทพบุตรแลพระจันทรอันมีรัศมีสว่างทั่วโลกยธาตุ ความพินาศฉิบหายจึ่งถึงพระองค์แลพระญาติประยุรวงษในกรุงกัมพูชาธิบดี. แลครั้งนี้เราจะทำดุจบิดานั้นไม่ควร. จำจะอ่อนน้อมเอาพระเดชเดชานุภาพพระเจ้ากรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา เปนที่พึ่งที่พำนักนิ์ความศุขสวัสดิ์จะได้มีแก่เรา. ท่านทั้งปวงจะเหนประการใด เสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลายกราบทูลว่า ซึ่งพระองค์ดำรัศนี้ควรนัก ขอพระราชทานให้พระองค์แต่งดอกไม้เงินทองเครื่องราชบรรณาการ มีพระราชสาสนไปอ่อนน้อมโดยราชประเพณี เมืองขึ้นเมืองออกกรุงเทพมหานครแล้ว ความศิริสวัสดิ์พิพัฒมงคลก็จะบังเกิดมีไปตราบเท่ากัลปาวสาน พระยาลแวกได้ฟังดั่งนั้นยินดีนัก. จึ่งให้แต่งดอกไม้เงินทองจัดเครื่องราชบรรณาการเปนอันมาก แล้วแต่งลักษณราชสาสนให้ออกยาวงษาธิบดี พระเสนหามนตรี หลวงบวรนายกเปนทูตานุทูตจำทูลพระราชสาสน คุมเครื่องราชบรรณาการ ครั้นถึงด่านปราจินทบุรี กรมการก็คุมทูตานุทูตเข้าไปยังกรุงเทพพระมหานคร. เสนาบดีนำเอากิจานุกิจกราบบังคมทูล พระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวดำรัสให้เบิกทูตเข้ามาเฝ้า ณมุขเด็จน่าพระที่นั่งมังคลาภิเศก.ตรัสพระราชประติสันฐารสามนัดแล้ว พระศรีภูรีปรีชาก็อ่านพระราชสาสน ในลักษณะพระราชสาสนนั้นว่า ข้าพระองค์ผู้ครองอินทปัตกุรุรัตนธาณี ฃอถวายบังคมแทบพระบวรบาทบงกชมาศ สมเดจ์พระผู้จอมมกุฎกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยามหาดิลกภบนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมพระราชนิเวศมหาสถาน. ด้วยพระบิดาข้าพระองค์มิได้รักษาขอบขันทเสมาโดยราชประเวณี กระทำพาลทุจริตมิได้รู้จักกำลังตนกำลังท่าน มาก่อเกิดเปนปรปักษแก่กรุงเทพมหานคร อุปมาดั่งจอมปลวกมาเคียงเขาพระสิเนรุราชบรรพต มิฉนั้นดังมฤคชาติตัวน้อยองอาจยุทธนาการด้วยพระยาราชสีห์ อันมีมหิทธิศักดานุภาพก็ถึงแก่กาลวินาศจากไอสูริย์สวรรยานั้น ก็เพื่อผลกรรมได้ทำมาแต่ก่อน แลข้าพระองค์ครองแผ่นดินเมืองลแวกครั้งนี้จะได้เอาเยี่ยงอย่างพระบิดานั้นหามิได้ จะฃอเอาพระเดชเดชานุภาพสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ปกเกล้าปกกระหม่อม ดุจฉัตรแก้วแห่งท้าวมหาพรหม อันมีปริมณฑลกว้างขวางร่มเย็นไปทั้งจักรวาฬ ข้าพระองค์ขอถวายสุวรรณหิรัญรัตนมาลาบรรณาการ โดยราชประเพณีสืบไปกราบเท่ากัลปาวสาน สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสได้ทรงฟัง ก็มีพระไทยเมตา แก่พระสุธรรมราชาพระยาลแวกองคใหม่เปนอันมาก สั่งให้ตอบพระราชสาสนไปว่า สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวจะได้อาฆาฎจองเวรแก่ราชบุตรนักพระสัทธานั้นหามิได้ แลซึ่งบิดาท่านเปนไปจนถึงพิราไลยนั้น ก็เพื่อเวรานุเวรแต่อดีตติดตามมาให้ผลเหนประจักษ แลให้พระยาลแวกองค์ใหม่นี้ครอบครองไพร่ฟ้าประชาราษฎร โดยยุติธรรม ราชประเพณีพระมหากระษัตราธิราชเจ้าแต่ก่อนนั้นเถิด แล้วสั่งให้เจ้าพนักงานตอบเครื่องราชบรรณาการ แลพระราชทานเสื้อผ้า แลเงินตราแก่ทูตานุทูตโดยสมควร อยู่สามวันทูตก็กราบถวายบังคมลาไปยังกรุงกัมพูชาธิบดี ๚ะ๏ ครั้นเข้าเดือนห้าปีชวดสัมฤทธิศก สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวตรัสให้บำรุงช้างม้ารี้พลไว้ เดือนสิบสองจะยกไปเมืองเมาะตมะเมืองหงษาวดี ในเดือนห้านั้นมีหนังสือบอกพระยาศรีไสณรงค์เข้ามาว่า ซึ่งพระเจ้าแปรผู้เปนราชนัดา เสียทับกลับไปเมืองหงษาวดี พระเจ้าหงษาวดีเอาโทษถอดเสียจากถานะศักดิ์ ไพร่พลรามัญซึ่งไปกับพระเจ้าแปรนั้น จับได้ใส่เล้าคลอกเสีย ที่แตกฉานซร่านเซรนไป ภายหลังรู้เนื้อความดั่งนั้นก็กลัวตาย ก็มิได้เข้าเมือง คุมกันเปนพวกเปนเหล่าออกอยู่ป่า แต่งข้าหลวงไปจับก๊ต่อรบ แลหัวเมืองทั้งปวงนั้นเหนว่า พระเจ้าหงษาวดีถอดพระเจ้าแปรเสียก๊เสียใจ ภากันกระด้างกระเดื่องเปนอันมาก แลกรุงหงษาวดีเสียแก่มอญกระบถ สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ได้ทราบดั่งนั้น จึ่งพระราชทานอาชาสิทธิ์ให้เจ้าพระจักรี เปนนายทับนายกองยกพลหมื่นห้าพัน ช้างเครื่องร้อยหนึ่ง ม้าสองร้อย ออกไปตั้งหมั้นปลูกยุ้งฉางทำไร่นาณเมืองเมาะลำเลิ่งไว้ถ้าทับหลวง จึงดำรัศให้เจ้าฟ้าแสนหวีไปด้วยเจ้าพระยาจักรี แล้วเกนทับเมืองทวายห้าพัน ให้ขึ้นไปตั้งตำบลเกาะพรวกเมืองวังราวขอบฝั่งทเลตวันตก หนุนทับเจ้าพระยาจักรี ๆ จะได้ใช้ราชการสดวก แลกองทับพระยาศรีไสณรงค์ให้เอาไว้ แต่ตัวพระยาศรีสไสณรงค์ กับพรรคพวกนั้น ให้เข้ามารับราชการณกรุง ๚ะ๏ ฝ่ายเจ้าพระยาจักรีกราบถวายบังคมลา ยกไปถึงเมืองเมาะลำเลิงแล้ว ตั้งค่ายขุดคู ปลูกยุ้งฉาง กะเกณฑ์มอญชาวเมืองเมาะลำเลิง แลไทยกองทับทำไร่นา แลตั้งทำเรือรบเรือไล่เปนอันมาก พระยาศรีไสณรงค์กับพรรคพวกก็กลับเข้ามารับราชการ ฝ่ายเจ้าเมืองเมาะตมะ เจ้าเมืองละเคิ่ง เจ้าเมืองขลิก เจ้าเมืองบัวเผื่อน เจ้าเมืองพสิม เจ้าเมืองตองอูรู้ว่า สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัว ณกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา ให้กองทับเจ้าพระยาจักรียกมาตั้งทำไร่นา ณเมืองเมาะลำเลิงไว้เปนเสบียง เดือนอ้ายปลายปีทับหลวงจะเสดจไปเมืองหงษาวดี ต่างคนต่างเกรงพระเดชเดชานุภาพ ก็แต่งมอญพม่าผู้ดี ให้ถือหนังสือแลเครื่องราชบรรณาการ ลงมาณเมืองเมาะลำเลิง เจ้าพระยาจักรีบอกส่งผู้ถือหนังสือ แลเครื่องราชบรรณาการเข้ามายังกรุงเทพมหานคร เสนาบดีเอากราบทูล พระบาทสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัว ดำรัศให้เบิกพม่ารามัญผู้ถือหนังสือเข้ามาเฝ้า แลในหนังสือเจ้าเมืองเมาะตมะ เจ้าเมืองพสิม เจ้าเมืองบัวเผื่อน เจ้าเมืองขลิก สี่เมืองนี้ว่า จะขอเปนข้าขันทเสมากรุงเทพพระมหานครไปกราบท้าวกัลปาวสาน. แต่หนังสือเจ้าเมืองตองอู เจ้าเมืองละเคิ่งนั้นว่า จะขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ถ้าสมเดจ์พระพุทธเจ้าทั้งสองพระองค จะเสด็จพระราชดำเนินไปเอาเมืองหงษาวดีเมื่อใด พระยาตองอู พระยาละเคิ่ง จะขอยกพลมาควบทับโดยเสดจ์งานพระราชสงคราม. สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวได้แจ้งในลักษณอักษรดังนั้น มีพระไทยโสมนัศ ตรัสให้พระราชทานรางวัลแก่พม่ามอญผู้ถือหนังสือมานั้นเปนอันมาก ตรัสให้พระราชทานสิ่งของไปแก่เจ้าเมืองทั้งปวงโดยถานาศักดิ์ จึ่งให้ตอบหนังสือตอบไปแก่ท้าวพระยารามัญทั้งปวง ผู้ถือหนังสือก็กราบถวายบังคมลากลับไปเมือง ๚ะ๏ ขณะเมื่อผู้ถือหนังสือกลับไปถึงเมืองตองอูนั้น พระมหาเถรเสียมเพรียมเจ้าอธิการรู้ จึ่งเข้าไปหาพระยาตองอู แล้วถามว่า มหาบพิตรจะเอามอญไปเปนตพุ่นหญ้าช้างกรุงศรีอยุทธยาฤๅ พระยาตองอูได้ฟังพระมหาเถรก็สงไสย จึ่งถามว่า ไยพระผู้เปนเจ้าจึ่งว่าดั่งนี้ พระมหาเถรจึ่งว่า อาตมาภาพแจ้งว่า มหาบพิตรมีหนังสือถวายเครื่องราชบรรณาการไปอ่อนน้อมว่า ถ้าพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาจะยกมาตีเมืองหงษาวดีเมื่อใด มหาบพิตรจะยกไปโดยเสดจ์งานพระราชสงคราม เพราะเหตุฉะนี้อาตมาภาพจึ่งว่า พระยาตองอูจึ่งตอบว่า ผู้เปนเจ้าไม่รู้ฤๅว่า สมเดจพระนเรศวรบรมบพิตรเปนเจ้า แลสมเดจ์พระเอกาทศรฐทั้งสองพระองค์นี้ ทรงศักดานุภาพมากดุจหนึ่งพระสุริยเทเวศรส่องโลกย เมื่อเพลามัชฌันติกะไสมย ศึกหงษาวดีลงมาทำศึกครั้งใด มีแต่แตกฉานยับเยินไปทุกครั้ง บัดนี้พระเจ้าหงษาวดีก็สิ้นเขี้ยวศึกเขี้ยวสงครามอยู่แล้ว ๆ ได้ข่าวมาว่า ปลายปีก็จะยกทับมาเอาเมืองหงษาวดี ๆ เหนไม่พ้นเงื้อมพระหัถท่าน แล้วเมืองมอญทั้งปวงก็อ่อนน้อมท่านสิ้น โยมเหนดั่งนี้ จึ่งมีหนังสือถวายเครื่องราชบรรณาการไปอ่อนน้อมบ้าง. พระมหาเถรได้ฟังดั่งนั้นหัวร่อ แล้วว่า อันพระนเรศวรสองคนพี่น้องนี้ มีศักดานุภาพเข้มแขงสงครามนั้น อาตมาภาพก็แจ้งอยู่สิ้น ถึงจะมีไชยแก่ชาวหงษาวดี ก็แต่ในแว่นแคว้นขันทเสมากรุงมหานครศรีอยุทธยา จะได้ล่วงเกินถึงแดนนี้ก็หามิได้ แลอาตมาภาพพิเคราะห์ดูลักษณราศรีมหาบพิตร ก็เหนจะได้เปนใหญ่ในรามัญประเทศอยู่ ไฉนน้ำพระไทยมหาบพิตรกับลักษณะจึ่งผิดกันนัก อันลักษณอย่างมหาบพิตรนี้ในตำราว่า องอาจดุจหนึ่งนิทานพระบรมโพธิสัตวเสวยพระชาติเปนกระแต อาจสามารถเพียรจะวิดน้ำในมหาสมุทให้แห้ง มิฉะนั้นจะมีมานะเหมือนนกน้อย อันบินแข่งพระยาครุทธ ข้ามมหาสาครทเลใหญ่ แลน้ำพระไทยมหาบพิตรมาอ่อนดุจอิสัตรี อันกลัวปีสาจหลอนหลอกนั้น ตำราของอาตมาภาพนี้ผิดเสียแล้ว เอาไว้มิได้ จำเผาไฟทิ้งน้ำเสีย ว่าแล้วพระมหาเถรทำลาลุกจะไป พระยาตองอูยิ้มแล้วยกมืออาราธนาว่า พระผู้เปนเจ้าอย่าเภ่อไปก่อน พระมหาเถรก็ทรุดนั่งลงดั่งเก่า พระยาตองอูจึ่งว่า อันตำราของผู้เปนเจ้าเหนก็จะไม่ผิดกับใจของโยม แต่บัดนี้โยมยังอ่อนปัญญาความคิดอยู่ อุประมาดั่งบุรุษหลงอยู่ในถ้ำอันมืด ถ้าพระผู้เปนเจ้าช่วยเอาแก้วมาส่องให้สว่างเหนหนทางแล้วก็จะเดินโดยทางได้สดวก พระมหาเถรจึ่งว่า การอันนี้ใช่กิจสมณ แต่อาตมาภาพเสียดายพระสาศนา กับเอนดูอาณาประชาราษฎรในรามัญประเทศทั้งปวง ก๊จะช่วยทำนุบำรุงไปตามสติปัญญา แลซึ่งมหาบพิตรว่ายังอ่อนปัญญาความคิดอยู่นั้น จะคิดอย่างไรให้ว่าไปเถิด จะช่วยชี้แจงให้. พระยาตองดูได้ฟังดั่งนั้นก๊ดีใจ กราบนมัสการพระมหาเถรแล้วว่า โยมประมาณดูรี้พลเมืองหงษาวดี มีอยู่มากก๊เหมือนน้อย ด้วยว่าไปเข้าอ่อนน้อมต่อกรุงพระนครศรีอยุทธยาเปนอันมาก จะคิดอ่านให้กลับใจมาได้นั้นยากนัก. พระมหาเถรหัวร่อแล้วว่า การแต่เพียงนี้จะเปนไรมี แม้นจะแกงให้อร่อยม่อหนึ่ง เหนจะยากกว่าอีก. พระยาตองอูจึ่งว่า ถ้าพระผู้เปนเจ้าโปรดโยมให้ได้เปนใหญ่ในรามัญประเทศสมคิดแล้ว จะสนองพระคุณไปกว่าจะสิ้นชีวิตร พระมหาเถระยิ้มแล้วจึ่งว่ามหาบพิตรอย่าวิตกเลย อาตมาภาพจะช่วย. พระมหาเถรขยับเข้ามาให้ใกล้พระยาตองอูแล้วว่า มหาบพิตรเปนพระราชนัดดาพระเจ้าหงษาวดี หัวเมืองทั้งปวงก็นับถือมากมายอยู่ จงมีหนังสือไปประกาศแก่หัวเมืองทั้งปวงว่า กรุงหงษาวดีเปนราชธานีใหญ่แต่ครั้งพระเจ้าช้างเผือกมากราบเท่าทุกวันนี้ ยังมิได้ไปเปนเชลยแก่เมืองใด. แลครั้งพระเจ้าแปรเสียทีมา สมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีเอาโทษถอดเสียจากถานาศักดิ์ เราได้ยินข่าวว่า หัวเมืองทั้งปวงภากันลอบใช้คนถือหนังสือคุมเครื่องบรรณาการไปออกแก่กรุงพระมหานครศรีอยุทธยาเราก็ยังไม่เชื่อ จึงแซ่งแต่งคนถือหนังสือไปบ้าง หวังจะฟังกิจกาให้แน่ ก็ได้ความประจักษว่า เมืองเมาะตะมะ แลหัวเมืองทั้งปวงคิดกระบถคนเหล่านี้หารักชีวิตรแลโคตไม่ฤๅ ให้เร่งบอกมาเราจะเอาความเข้ากราบทูลสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดี แล้วเราจะยกทับไปฆ่าเสียทั้งโคตร. ถ้าแลหัวเมืองทั้งปรงรู้ศึกว่า ได้คิดผิดแล้วจะคืนหาความชอบ ก็จะงดความไว้ครั้งหนึ่งก่อน. แต่ทว่าให้คิดอ่านจับไทยกองทับ ซึ่งมาตั้งอยู่เมืองเมาะลำเลิ่งส่งให้ได้บ้าง จึ่งจะเหนจริง. ถ้ามหาบพิตรมีหนังสือไปดั่งนั้น ดีร้ายหัวเมืองทั้งปวงจะสดุ้งตกใจกลัว จะกลับไปคิดอ่านจับไทย ก็จะเกิดอริวิวาทกันกับไทย ทางไมตรีก็จะขาดกัน. เมื่อทับพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยายกมา ก็จะได้เปนรั้วขวากรั้วหนามกันให้ช้าลงไว้. ประการหนึ่งมหาบพิตรบำรุงช้างม้ารี้พลไว้ใหรื่นเริง ถ้าได้ข่าวว่า ทับกรุงพระนครศรีอยุทธยาล่วงแดนมาเมืองใดแล้ว จงเร่งยกพลไปเมืองหงษาวดี ทำทีว่าจะช่วยงานพระราชสงครามให้ไว้ใจแล้ว เข้าปลอมปล้นเอาเมืองหงษาวดี เชิญสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดี แลกวาดครัวอพยพไพร่พลเมืองเข้าปลาอาหารมาเมืองตองอูให้สิ้น. ถึงมาทว่าทับพระนเรศวรจะยกมาติดตามถึงเมืองตองอูก็ดี เมื่อแลเราตัดเสบียงอาหารเสียได้สิ้นแล้วก๊จะเลิกทับกลับไปเอง. ถ้าศึกกลับไปแล้วพระเจ้าหงษาวดีก๊อยู่ในเงื้อมพระหัถพระองค์ก๊จะสิทธิขาดขึ้นกว่าเก่าได้ร้อยเท่าพัททวี จะคิดประการใดก็จะสำเร็จ. แลซึ่งอาตมาภาพว่าทั้งนี้ มหาบพิตรจะเหนผิดชอบประการใด พระยาตองอูมีความยินดี กราบนมัสการแทบบาทพระมหาเถรแล้ว ๆ เล่า ๆ แล้วว่า พระผู้เปนเจ้าคิดนี้ดั่งเทพยุดาเอาแว่นแก้วมาส่องให้สว่างเหนทั้งกลางวันแลกลางคืน พระคุณนั้นหาที่สุดมิได้. พระมหาเถรจึ่งว่ามหาบพิตรเร่งมีหนังสือไปเถิด ถ้าขัดสนไปภายน่า จึ่งให้ไปบอกอาตมาภาพจะช่วย. แล้วพระมหาเถรก็ลาไปอาราม. รุ่งขึ้นพระยาตองอูแต่งหนังสือตามถ้อยคำพระมหาเถรว่า ให้คนถือไปประกาศแก่หัวเมือง. ๚ะ๏ ฝ่ายพระยารามัญหัวเมืองทั้งปวง แจ้งในหนังสือพระยาตองอูดั่งนั้น ก็ตกใจกลัวต่างคนต่างปฤกษากรมการนายบ้านนายอำเภอว่า คิดการทั้งนี้หมายว่าจะลับก็ไม่ลับ พระยาตองอูรู้ความสิ้น จึ่งมีหนังสือมาว่ากล่าวทั้งนี้ เพราะเอนดูเราผู้เปนตระกูลรามัญ. ครั้นจะขืนผันหน้าพึ่งกรุงพระนครศรีอยุทธยาทีเดียว ก็เปนรยะทางไกล จะต้องคำโบราณว่า กว่าถั่วจะสุกสิงาไหม้. ด้วยพระยาตองอูมีกำลังรี้พลมาก แล้วพระเจ้าหงษาวดีก็นับถือว่าเปนเชื้อพระวงษ จะว่าประการใดก๊สิทธิ์ขาด. จำเราจะหาความซอบจับเอาไทยส่งเข้าไปให้ได้ คิดกันดั่งนั้น ก็แต่งหนังสือขึ้นไปถึงพระยาตองอูเปนใจความว่า ข้าพเจ้าหัวเมืองทั้งปวงขอน้อมเศียรเกล้าบังคมมาถึงใต้เบื้องบาทบงกชพระยาตองอู ด้วยข้าพเจ้าทั้งปวงเปนคนโมหะคิดทุจริตผิดไปนั้น พวกข้าพเจ้าทั้งปวงถึงที่ตาย. ซึ่งโปรดให้มีหนังสือชี้แจงให้ข้าพเจ้าเหนผิดแลชอบนั้น ดุจเทพยดามาชุบเอาชีวิตรข้าพเจ้า แลชีวิตรไพร่ฟ้าประชาราษฎรขึ้นมานั้น พระคุณไม่มีที่จะเปรียบได้. ข้าพเจ้าจะฃอทำตามโอวาทเอาเปนที่พึ่งพำนักนิ์สืบไป แล้วก็ส่งหนังสือให้ ผู้ถือก็กลับไปยังเมืองตองอู. พระยาตองอูแจ้งในหนังสือดั่งนั้น ก็มีความยินดี ตั้งแต่นั้นมาก๊บำรุงช้างม้า เอาใจไพร่พลในเมืองตองอูให้รักใคร่เปนอันมาก ๚ะ๏ ฝ่ายพระยาลาวเจ้าเมืองเมาะตมะ สั่งแก่ท้าวพระยารามัญทั้งปวง ให้คิดอ่านจับกองทับไทยให้ได้ส่งเข้าไปเมืองตองอูเอาความชอบ. ท้าวพระยารามัญทั้งปวงก็คอยช่องจะจับไทยให้ได้. ครั้นณเดือนอ้ายเข้าเบาศุก เหล่าไทยออกไปเกี่ยวเข้าณทุ่งเมาะลำเลิง แต่พวกขุนจบสิบห้าคนออกไปเกี่ยวเข้าณชายป่า สมิงสุรานายบ้านจอยยะกับพวกรามัญร้อยหนึ่ง ลอบคอยดูอยู่ในป่า ครั้นเหนได้ทีก็วิ่งกรู่เข้าจับขุนจบ แลพวกบ่าวไปได้เก้าคน ไพร่ห้าคนหนีได้ ก๊วิ่งไปบอกพวกกองทับว่า มีรามัญประมาณร้อยเศศ มาจับเอาขุนจบกับไพร่เก้าคน นายทับนายกองแจ้งดั่งนั้น ก็ให้จัดแจงกันไปตามสามร้อย ทับพวกรามัญได้รบกันกับพวกไทยป่วยตายหลายคน ทนทานมิได้ก็แตกไป. กองทับไทยได้ตัวขุนจบกับไพร่เก้าคน กลับมาแจ้งแก่เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาจักรีจึ่งหาตัวพระยาภะโร่เจ้าเจ้าเมืองเมาะลำเลิ่งถามว่า เหตุผลทั้งนี้เปนประการใด. เจ้าเมืองเมาะลำเลิ่งไม่รับ ว่ามิได้รู้. เจ้าพระยาจักรีมิฟังจะให้จำพระยาภะโร ๆ เหนความจะไม่พ้นตัว จึ่งอุบายว่า จะฃอไปเอามอญเหล่าร้ายให้ได้ เจ้าพระยาจักรีมิทันพิเคราะห์ สำคัญว่าจริงก็ปล่อยตัวไป. พระยาภะโรจึ่งคิดกับกรมการว่า เราจะตามจับบ่าวของเรามากะไรเล่า ถึงจะแก้ไขประการใด ความอันนี้เหนจะไม่ลับ จะนิ่งอยู่ฉะนี้จะภากันตายเสียสิ้น จำจะหนีขึ้นไปเมาะตมะ. คิดเหนพร้อมกันแล้ว ก็แต่งคนเร็วเอาการไปแจ้งแก่พระยาลาว ๆ ก็ให้เรือมาคอยรับ. ครั้นเพลาสองยามพระยาภะโรก็ภาครัวอพยพหนีออกจากเมือง ภอรุ่งก็ลงเรือข้ามไปเมืองเมาะตมะ เพลารุ่งเช้าเจ้าพระยาจักรีรู้ว่า พระยาภะโรเจ้าเมืองเมาะลำเลิ่งภาครัวหนีไปสิ้น ก็แต่งกองทับมาตามถึงฝั่งไม่ทันก็กลับไป ๚ะ๏ ฝ่ายพระยาภะโร ก็แจ้งการแก่พระยาลาวเจ้าเมืองเมาะตมะทุกประการ. พระยาลาวจึ่งว่า ซึ่งทำการมิได้ไทยมาเสียทีเสียครั้งหนึ่งแล้วไปเถิด. แต่ว่าเราวิตกอยู่ว่า. ท่านอยู่ณเมืองเมาะลำเลิงนั้น อุประมาเหมือนหมู่มฤคชาติอันอยู่ในปากเสือ ซึ่งภากันอพยพมาได้สิ้นนั้น เรามีความยินดีนัก. จึ่งค่อยคิดอ่านกันไปใหม่ จะเกรงอะไรกับกองทับไทยเท่านั้น แล้วเมืองเมาะตมะแต่งกองทับโจรกองละสองร้อย สามร้อยให้เที่ยวเปนเสือป่า. ถ้าเหนไทยออกเที่ยวหากิน แลเกี่ยวเข้าก็ให้ลอบฆ่าตี ภอจะจับได้ก็ให้จับตัวมา. ถ้าเหนทำได้จึ่งให้ทำ ถ้าทำมิได้อย่าให้ทำ สุดแต่อย่าให้เสียการ. กองรามัญทั้งปวงแจ้งกำหนดดั่งนั้นแล้ว ก็ข้ามไปซุ่มอยู่ในป่า. ครั้นเหนไทยออกมาเกี่ยวเข้า ก็ลอบยิงลอบแทง แต่ทำดั่งนี้เนือง ๆ นายทับนายกองทั้งปวง ก็เอาเหตุไปแจ้งแก่เจ้าพระยาจักรี ๆ เหนมอญกลับเปนกระบถ ทำการกำเริบหนักขึ้น ก็บอกหนังสือเข้ามาให้กราบทูลเสร็จสิ้นทุกประการ เสนาบดีก็นำเอาหนังสือบอกเจ้าพระยาจักรีกราบบังคมทูล. พระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทราบก็ทรงพระโกรธ ตรัสว่าเจ้าพระยาจักรีเปนผู้ใหญ่ก็เคยทำศึกสงครามมา ยังจะไปตีเอาเมืองเหล่านี้ก็หาได้ตีไม่. เจ้าเมืองเมาะลำเลิ่งเข้าสวามีภักดี ขอกองทับออกไปรักษาเมือง ไพร่บ้านพลเมืองก็ปรกติอยู่สิ้น. ฝ่ายเมืองเมาะตมะ เมืองละเคิ่ง เมืองบัวเผื่อน เมืองพสิม เมืองขลิก เมืองตองอูเล่าก็อ่อนน้อม ควรฤๅให้เปนได้ถึงเพียงนี้.ประการหนึ่งเมืองเมาะลำเลิ่งก็อยู่ฝากตวันออก เหมือนอยู่ในกำมือก็ยังให้เลิกหนีไปได้. ด้วยว่าทำศึกดุจทารกอมมือ ครั้นจะให้ฆ่าเสียก็เสียดายคมหอกดาบ ตรัสเท่าดั่งนั้น ก็ให้มีตราตอบฆาฎโทษออกไปว่า เจ้าพระยาจักรีจะตีเอาเมืองเมาะตมะได้ฤๅมิได้ ถ้าเหนได้ฝ่ายเดียวแล้วให้ตีเอา ถ้าเหนมิได้ให้รักษาค่ายเมาะลำเลิ่งไว้ให้มั่น. ทับหลวงเสดจพระราชดำเนิรถึง จึ่งจะตีเมืองเมาะตมะทีเดียว. ผู้ถือหนังสือก็กลับไปแจ้งแก่เจ้าพระยาจักรีทุกประการ. ๚ะ๏ เจ้าพระยาจักรีแจ้งในท้องตรารับสั่งดั่งนั้น ก็กลัวพระราชอาชาเปนอันมาก. แลเร่งรัดให้นายทับนายกองทำเรือรบเรือไล่เสร็จ แล้วก็ให้ลากลงไว้ในคลองน้ำ. แลคิดแต่งกองทับไปป้องกันให้เกี่ยวเข้าสี่กอง กองละห้าร้อยคอยสกัดตีเหล่ารามัญกระบถทุกวัน พวกมอญเหนกองทับไทยมาก ต้านทานมิได้ก๊หลบหลีกเข้าไปในป่า นายทับนายกองให้เร่งเกี่ยวเข้าเบา แลเข้านักในท้องนาแขวงเมืองเมาะลำเลิ่ง บวกขนเข้าไว้ในฉางได้ประมาณสองพันเกวียน. ๚ะ๏ ส่วนพระยาลาวเจ้าเมืองเมาะตมะ แต่งชาวด่านให้มาประจำฟังข่าวราชการ อยู่ทางแม่น้ำละเมา ทางตองปุ ทางแม่จัน ทางแม่กระษัตร ให้รู้ว่ากองทับหลวงณกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาจะมาฤๅมิมา ๚ะ๏ ฝ่ายสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว ครั้นให้หนังสือตอบมายังเมืองเมาะลำเลิ่งแล้ว ก็มีพระราชโองการแก่ท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งปวงให้เตรียมทับพร้อมเสร๊จ กำหนดทับหลวงจะเสดจโดยทางชลมารค์ ณวันเสาร์เดือนสามขึ้นค่ำหนึ่ง เสดจไปขึ้นบกเมืองกาญจนบุรี ให้กองทับทั้งปวงล่วงไปคอยรับเสดจให้พร้อม. ท้าวพระยานายทับนายกองก็ยกช้างม้ารี้พลไปทางเมืองกาญจนบุรีตามพระราชกำหนด. ๚ะ๏ ครั้น ณวันเสาร์เดือนสามขึ้นค่ำหนึ่ง เพลารุ่งแล้วสองนาฬิกา ได้มหาอุดมฤกษ สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ทรงเครื่องอลังการสรรพาภรณ์วิไชยยุทธสรัพเสร็จ. เสดจลงสู่พระที่นั่งกระนกรัตนวิมานมหานาวา อันรจนาด้วยกาญจนมณีรัตน์ชัชวาลทั้งคู่ดูพันฦก อธึกด้วยเรือจำนำท้าวพระยาสามนตราช ฝ่ายทหารพลเรือนเรียงประจำจับสลากสลับสลอนคับคั่งตั้งโดยกระบวนพยุห์บาตรา พระโหราราชครูธิบดีศรีพิชาจารย์. ก๊ลั่นฆ้องไชยให้ขยายเรือพระที่นั่งสุวรรณ์หงษ์ อันทรงพระพุทธปัฏิมากรทองนพคุณ บันจุพระษารีริกบรมธาตุ ถวายพระนามสมยาพระไชยนั้นก่อน. แลเรือกระบวนน่าทั้งปวงเดินโดยลำดับ เรือพระที่นั่งแลเรือแห่ซ้ายขวาทั้งปวง เดินโดยเสดจดาดาษในท้องพระมหานัทีธารประทับรอนแรมห้าเวนก็ถึงเมืองกาญจนบุรี เสดจยังพลับพลาที่ประทับ สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจ์แรมภักช้างม้ารี้พลจัดกองทับสามเวน แลกองทับหลวงเสดจครั้งนั้น พลสกรรลำเครื่องแสนหนึ่ง ช้างเครื่องแปดร้อย ม้าพันห้าร้อย. ๚ะ๏ ครั้นรุ่งขึ้นเสเดจในเพลาสิบทุ่ม สมเดจ์พระพุทธเจ้าหลวงทรงพระสุบินว่า ยังมีสิงฆาลาตัวน้อยมาคาบเอาพระยาคชสารตัวใหญ่ไปสู่ประเทศตนได้ ในพระสุบินว่า สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวตรัสเหนประหลาด. เสดจ์ตามไปจะชิงเอาพระยาคชสารก็มิได้ ด้วยป่านั้นเปนทางทุรัศกัปดารนัก. เท่านั้นก๊ประทมตื่น ภอตีสิบเอ็ดทุ่ม. จึ่งตรัสให้พระโหราซ้ายขวาพยากรณ โหราธิบดีถวายพยากรณ์ทำนายว่า. เสดจ์พระราชดำเนิรมาครั้งนี้เพื่อจะไปทำยุทธนาการด้วยพระเจ้าหงษาวดี. เอาฌานพระเจ้าหงษาวดีเปนที่ตั้งดั่งพระยาคชสาร. ซึ่งว่าสิงฆาลาตัวน้อยมาคบคาบเอาพระยาคชสารไปได้นั้น ดีร้ายจะมีปรปักข์เมืองใดเมืองหนึ่ง แต่ทว่าเปนเมืองน้อยมาปลอมปล้นลดต่ำพระองค์ พระเจ้าหงษาวดีลงเสียจากเสวตรฉัตรแล้วภาไปเมืองตน. ทับหลวงเสดจจะได้ติดตามไป แต่ทว่าเหนจะมิได้พระเจ้าหงษาวดีคืนมา. จะขัดสนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เปนเทพสังหรบอกเหตุ ใช่จะร้ายสิ่งหนึ่งสิ่งใดหามิได้. ๚ะ๏ สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงฟังดั่งนั้น จึ่งทรงพระกรุณาตรัสว่า ซึ่งทำนายครั้งนี้โดยลักษณสุบิน. แต่เราเหนว่า พระเจ้าหงษาวดีเปนใหญ่ในรามัญประเทศ แต่ครั้งพระบรมราชบิดามา เปนปึกแผ่นมั่นคงดุจเขาพระสิเมรุราช ซึ่งผู้ใดจะอาจเอื้อมทำอันตรายนั้นเหนยังมิได้ก่อน. จำเราจะยกไปแก้แค้นเมืองเมาะตมะ แลหัวเมืองรามัญทั้งปวงซึ่งเปนประทุฐร้ายหมิ่นเราให้สาใจ จึ่งค่อยคิดราชการต่อไป ๚ะ๏ ตรัสแล้วรุ่งขึ้นสามนาฬิกาหกบาท ได้มหาเพชร์ฤกษ สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค ทรงเครื่องสำรับพิไชยสงครามเสร็จ. สมเดจ์พระนเรศวรบพิตร์เปนเจ้า เสด็จทรงช้างเจ้าพระยาปราบไกรจักร์เปนพระคชธาร. สมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนาถร เสดจ์ทรงช้างเจ้าพระยาปราบมหิมาเปนพระคชาธาร. ประดับด้วยพิริย์ทวยหารแห่เปนขนัดแน่น แสนสารสินทพพยุห์สมุห์ดูพิฤก. ดาดาษด้วยธงทิวแถวทวนทองน่าพระคชาธาร อลังการด้วยเครื่องอภิรุมชุมสายพรายพรรณ์ กลิ้งกลดจ่ามรมาศบังบรมทิพากรร้อนส่อง. อุโฆษด้วยเสียงโกลาหฬฆ้องกลองชะนะ นำเสดจ์โดยมารควิถีแถวเถื่อนทางทุเรศประทับร้อนแรมเจ็ดเวน บันลุด่านพระเจดีย์สามองค์ เสดจไปประทับแรมตั้งค่ายหลวงตำหนักแม่กระษัตร์. ฝ่ายชาวด่านรามัญซึ่งมาประจำคอยข่าวอยู่นั้น เหนกองทับยกมาก็ลอบดูในป่าประจักษ์แจ้งว่าเปนกองทับ ก็รีบกลับเอาเนื้อความไปแจ้งแก่เจ้าเมืองเมาะตมะ จึ่งบอกข้อราชการไปเมืองหงษาวดี แลเมืองตองอู. ๚ะ๏ ขณะเมื่อหนังสือบอกเมืองเมาะตมะไปถึงนั้น พระเจ้าหงษาวดีทรงพระประชวนอยู่. จึ่งสั่งแก่เสนาบดีว่า ราชการครั้งนี้เราป่วยทุพลภาพอยู่แล้ว ให้คิดกันรักษาพระนครให้ดี. แล้วให้บอกไปถึงพระยาตองอูหลานเรา ให้เร่งยกพลมาช่วยการสงคราม. เสนาบดีบอกข้าราชการไปยังเมืองตองอู แลหัวเมืองทั้งปวงให้ยกมาช่วยป้องกันเมืองเมาะตมะ. แลเมืองหงษาวดีนั้น กะเกนไพร่พลรักษาน่าที่เชิงเทินตามธรรมเนียม. ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าตองอูรู้แล้ว จึ่งให้ไปอาราทะนาพระมหาเถรเสียมเพรียมเข้ามา แล้วบอกประพฤติเหตุให้พระมหาเถระฟังทุกประการ. แล้วว่าพระผู้เปนเจ้าช่วยคิดให้โยมด้วย พระมหาเถรได้ฟังแล้วก็หัวร่อแล้วว่า มหาบพิตรกลัวนเรศวรนักฤๅ พระยาตองอูจึ่งว่า พระผู้เปนเจ้าช่วยบำรุงอยู่แล้ว โยมหากลัวไม่. พระมหาเถรยิ้มแล้วจึ่งว่า มหาบพิตร์อย่าวิตกเลย ซึ่งทับพระนเรศวรพี่น้องยกมาครานี้ อุปมาเหมือนเทพยดาอันจรในจักราศี อุดหนุนฉตามหาบพิตร์. โชกตกทวารลักษณจันท์จะขึ้นนะระอยู่แล้ว อย่าช้าเลยจงเร่งยกพลลงไปเมืองหงษาวดี. แล้วแต่งม้าใช้ถือหนังสือไปถึงเจ้าเมืองเมาะตมะว่าให้กวาดครัวเร่งการไพร่พลหัวเมือง ซึ่งขึ้นแก่เมืองเมาะตมะเข้าไว้ในเมืองให้หมั้นคง. แล้วให้ตั้งคูให้หมั้นคง จงช่วยกันเปนใจรบ อย่าให้กองทับกรุงศรีอยุทธยาข้ามมาได้. ถ้าศึกหนักแน่นประการใด ให้บอกมาเราจะยกลงไปช่วย. แต่บัดนี้เราจะเข้าไปเฝ้าพระเจ้าหงษาวดีคิดราชการ. มหาบพิตรคิดมีหนังสือเอาใจเมืองเมาะตมะดั่งนี้แล้ว จงแต่งม้าเร็วยี่สิบม้า สามสิบม้าให้ประจำฟังข่าวอยู่นั่น. แล้วให้ผลัดเปลี่ยนกันเอาข่าวมาแจ้งจงเนือง ๆ. ถ้าศึกไทยกับรามัญยังไม่ติดกันเข้า อย่าเภ่อทำจะเสียการ. ถ้าศึกติดตีกันเข้าเมื่อใดแล้ว ก็ให้ทำการใหญ่เถิด. แลเมื่อจะเข้าเมืองหงษาวดีมาเมืองตองอูนั้น ให้จุดเผาบ้านเรือนเสบียงอาหารให้สิ้น กำลังข้าศึกก็จะถอยลง. ถ้าเหนยังติดตามมา ให้เอาของพระเจ้าหงษาวดีสิ่งหนึ่งสองสิ่ง แต่งคนถือหนังสือไปถวายหน่วงทับไว้ แต่งการกันเมืองให้หมั้นคง. ถึงมาทว่าจะเสียของไปหนิดหนึ่งเท่านั้น ก็อย่าเสียดายเลย. อุประมาเหมือนดอกไม้หล่นไปดอกหนึ่งสองดอกเท่านั้น. ถ้าต้นรากยังบริบูรณ์อยู่แล้ว ก็คงจะผลิดอกออกผลสืบไป. พระมหาเถรสั่งความแก่พระยาตองอูทุกประการแล้ว ก็ลาไปอาราม. ๚ะ๏ พระยาตองอูก็เกนทับหมื่นหนึ่ง สรัพไปด้วยเครื่องสาตราวุธ พลเมืองนอกนั้นให้กวาดต้อนเข้าในเมืองสิ้น แล้วเกนให้รักษาน่าที่เชิงเทิน. ครั้นได้พิไชยฤกษดีแล้ว พระยาตองอูก็ยกพลหมื่นหนึ่งลงมายังเมืองหงษาวดี ตั้งกองทับอยู่นอกเมือง. พระยาตองอูเข้าไปเฝ้าสมเดจ์พระเจ้าหงษาวดีในพระราชวัง พระเจ้าหงษาวดีตรัสปราไศรยแก่พระยาตองอูว่า ทับนเรศวรยกมาครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก. หลานเราจงช่วยคิดราชการป้องกัน อย่าให้เมืองมอญไปเปนเชลยกรุงพระนครศรีอยุทธยาได้. พระยาตองอูกราบทูลว่า พระองค์อย่าทรงพระวิตกเลย. ข้าพเจ้าขอทำราชการสนองพระคุณท่านกว่าจะสิ้นชีวิตร ทูลแล้วพระยาตองอูก็ลาพระเจ้าหงษาวดีออกมายังกองทับ. แต่พระยาตองอูเวียนเข้าไปเฝ้าเยียนพระเจ้าหงษาวดีเนืองๆ ชาวหงษาวดีซึ่งรักษาน่าที่เชิงเทินประตูเข้าออกนั้นก๊ไม่รังเกียจช้าวตองอู ไว้ใจให้เข้าออกทั้งกลางวันกลางคืน. ๚ะ๏ ฝ่ายพระยาลาวเจ้าเมืองเมาะตมะ ครั้นแจ้งในหนังสือพระยาตองอูดั่งนั้น ก็สำคัญว่าจริง มิได้รู้ในอุบาย. ก็แต่งผู้ถือหนังสือไปขับต้อนเจ้าเมืองกรมการแลราษฎรบันดาเมืองขึ้นแก่เมืองเมาะตมะ ให้ยกกันเข้าไปในเมืองเมาะตมะให้สิ้น. เจ้าเมืองกรมการแลราษฎรเมืองขึ้นแก่เมืองเมาะตมะสามสิบสองหัวเมือง ที่คิดเหนว่า เจ้าเมืองเมาะตมะจะสู้กองทับกรุงได้ก็ยกกันเข้ามา ที่เหนว่าจะสู้กองทับกรุงมิได้ก็ไม่เข้ามา ยกครอบครัวอพยพเข้าป่าหนีไปเปนอันมาก. ฝ่ายเจ้าเมืองเมาะตมะก็จัดตรวจตรารี้พลทหารปืนใหญ่น้อยประจำรักษาน่าที่ ป้องกันเมืองเปนสามารถ. ๚ะ๏ ฝ่ายสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ เสดจ์ประทับแรมภักช้างม้ารี้พลณะพระตำหนักตำบลแม่กระษัตรสามเวน. ครั้นณวันศุกร์เดือนสามแรมสองค่ำ เพลาสิบทุ่มบังเกิดไชยนิมิตรบันดาน ให้เสนางคนิกรโยธาทวยหารในกองทับรื่นเริง เปล่งออกซึ่งศรับท์สำเนียงกึกก้องโกลาหล. ครั้นเพลาสิบเบ็ดทุ่มพระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ทรงสรรพ์นิลวัฐาลงกาภรณวิจิตรวิภูสิตสำหรับขัติยราชรณยุทธแล้ว เสดจ์พระราชดำเนินขึ้นบนเกยคอยฤกษทอดพระเนตรเหนช้างพระที่นั่งทั้งสอง ซึ่งประทับอยู่นั้น ยกงวงขึ้นปรามาศลูบงาเบื้องขวา. แล้วร้องโกญจะนาทนิ์สนั่นในพนัศเนินแนวสิงขรเขตร เปนไชยนิมิตรสองประการ ทั้งศรับท์สำเนียงเสนางคนิกรโยธาหาร. ก็ทรงพระโสมนัศปรีดา พระโหราธิบดี ก๊ลั่นฆ้องไชย. พราหมณประโรหิตาจารย์เป่าสังขถวายไชยมงคล. เสียงศรับท์เภรีฆ้องกลองโกลาหลประโคมกึกก้องนิฤนาท. สมเดจ์พระบรมเชษฐาธิราชเจ้าเสดจ์ทรงพลายพนมจักร สูงห้าศอกสามนิ้ว ผูกพระที่สั่งสุวรรณปริศฎางค์. สมเดจ์พระราชอนุชาทรงพลายแก้วอุดร สูงห้าศอก ผูกพระที่นั่งหลังคาทอง ดำรัศให้เคลื่อนพยุหะโยธาทวยหารโดยกระบวนซ้ายขวาหน้าหลัง สลับสลอนไปด้วยแถวทวนธงดูพันฦก อธิมเหาฬาราดิเรกโกลาหลด้วยเสียงพลกุญชรชาติอาชาไนย เดินโดยสถลมาควิถี. ประทับรอนแรมหกเวน ก็เสดจ์ถึงเมาะลำเลิ่ง เจ้าพนักงานประโคมฆ้องกลองแตรสังขกึกก้องโกลาหล ก็เสดจ์เปลื้องเครื่องศิริราชรณยุทธบนราชสันฐาคารในค่าย ที่เจ้าพระยาจักรีแลเจ้าพนักงานตั้งไว้สำรับเสดจ์นั้น. เจ้าพระยาจักรีแลมุขมจาหาอำมาตย์กระวีราชโหราจารย์. แลนายทับนายกองทั้งปวงเฝ้าพระบาทยุคลดาษดาดั่งดาวดารากรล้อมรอบพระรัชนิกรเทวะราช. เจ้าพระยาจักรีกราบทูลข้อราชการเสร็จสิ้นทุกประการ. ก็เสดจ์พักพลอยู่สามเวรภอหายเลื่อยล้า. แล้วดำรัศให้โหราหาฤกษได้มหาเพชร์ฤกษ. ณวันพฤหัศเดือนสามแรมสิบสองค่ำ เพลารุ่งแล้วห้าบาท จึ่งมีพระราชบริหารสั่งให้เจ้าพระยาจักรีเปนแม่ทับ ให้พระกาญจะนะบูรีเปนยกบัด แลท้าวพระยาหัวเมืองพลทหารราษาสองหมื่นบันจุเรือรบเรือไล่เตรียมไว้. ถึงฤกษแล้ว จะให้ข้ามไปตีเอาเมืองเมาะตมะ. ๚ะ๏ ครั้นณวันพฤหัศเดือนสามแรมสิบสองค่ำ เพลาย่ำรุ่งสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ เสดจ์ทรงสรรพศิริราชอลงการยุทธสำหรับราชรณรงค์เสร็จ เสด็จทรงช้างพระที่นั่งไปยืนอยู่ริมฝั่งน้ำเมาะลำเลิ่ง ครั้นเพลาห้าบาทได้มหาเพชร์ฤกษ พระโหราธิบดีศรีพิชาจารย์ ลั่นฆ้องไชยเปนสำคัญ. เจ้าพระยาจักรีนายทับนายกอง ก็ยกพลเรือรบเรือไล่ ข้ามไปรบเอาเมืองเมาะตมะ พระยาลาวก็แต่งเรือรบเรือไล่ออกมารบ ก็พ่ายแพ้แก่พลทหารข้าหลวง ๆ ก็ไล่สำรุกขึ้นป่ายปีนเอาเมืองเมาะตมะนั้นได้. พระยาลาวแลท้าวพระยามอญขบถทั้งปวงก็พ่ายหนี. แลพลทหารข้าหลวงไล่ฟันแทงมอญขบถทั้งหญิงชายตายเปนอันมาก. อนึ่งมอญซึ่งหนีจากเมืองเมาะตมะไปซอกซ่อนอยู่ทุกตำบล. แลทหารข้าหลวงไปไล่ฆ่าฟันแทงตายมาก. ส่วนตัวพระยาลาวไซ้ขึ้นช้างหนีประมาณห้าสิบเส้น แลหมื่นสุดจินดาตามได้ตัวพระยาลาวเอามาถวาย. แลได้ช้างม้าเครื่องสรรพาวุธในเมืองเมาะตมะนั้นก็มาก. พระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ให้ลงพระราชอาญาแก่พระยาลาว แลไว้แต่ชีวิตรเพราะว่าจะเอามาพิจารณาในกรุงพระนคร. พระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็มีพระราชโองการตรัสให้ข้ามช้างม้าทั้งปวงเสรจ. ถึง ณวันศุกร์เดือนสามแรมสิบสามค่ำ พระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็เสดจ์ด้วยพระชลวิมานข้ามแม่น้ำเมาะลำเลิ่ง ไปตั้งทับหลวงในเมาะตมะ ในขณะนั้นสมเดจ์พระพุทธเจ้าหลวงตรัสทรงพระโกรธแก่เจ้าพระยาจักรี แลตรัสให้จำคงไว้ในเมืองเมาะลำเลิ่ง แลไว้พระยาธนบุรีนอกราชการ แลขุนหมื่นทั้งปวงให้อยู่รั้งเมืองเมาะลำเลิ่งด้วยเจ้าพระยาจักรี. แลมีพระราชกำหนดให้ส้องสุมเอามอญอันซ่านเซ่น ให้เข้าอยู่ในเมืองเมาะลำเลิ่ง. ตรัสให้เจ้าพระยาสวรรคโลกย์ แลพระยาพิไชย พระยากาญจนบูรี แลขุนหมื่นทั้งหลายอยู่รั้งเมืองเมาะตมะ. แลส้องสุมมอญอันซ่านเซ่นทั้งปวงเข้าอยู่เมืองเมาะตมะ. ถึงวันเสาร์เดือนสามแรมสิบสี่ค่ำ ก็ยกทับหลวงเสดจ์จากเมืองเมาะตมะ ก็เสดจโดยสถลมารคถึงฝั่งน้ำสะโตง. ๚ะ๏ ฝ่ายพระยาตองอูอยู่ในเมืองหงษาวดี ครั้นได้ยินข่าวว่าทับหลวงเสดจ์ไป พระยาตองอูแต่งให้มาประจำข่าวถึงเมืองเมาะตมะ ครั้นรู้ข่าวว่าเสียเมืองเมาะตมะแล้ว พระยาตองอูก็เข้าเมืองหงษาวดี. แลให้เผาค่ายเย่าเรือนทั้งปวงเสียแล้ว ก็ภาพระเจ้าหงษาวดีรุดหนีไปยังเมืองตองอู. ฝ่ายทับหลวงไซ้ ครั้นถึงฝั่งสะโตง สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ตรัสใช้พระมหาเทพเปนนายกองทับม้าสองร้อย ให้ยกไปก่อนทับหลวง. แล้วก็ตรัสใช้พระยาเพชร์บูรีให้ยกช้างม้าแลพลสามพันหนุนทับพระมหาเทพจึ่งยกทับหลวงข้ามสะโตง.แลเสดจ์ถึงเมืองหงษาวดีในวันเสาร์เดือนสามแรมสิบสี่ค่ำ ตั้งทับหลวงในตำบลสวนหลวง. จึ่งพระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ เสดจ์เข้าไปนมัศการพระพุทธเจ้าพระเมาะตาวในเมืองหงษาวดี. ในขณะนั้นพระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็มีพระราชโองการตรัสแก่ท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลายว่า พระยาตองอูแต่งทูตานุทูตถือราชสาสนไปถึงพระนคร ขอเปนพระราชไมตรีด้วยเรา แลให้สัญญาอานัดว่าจะยกทับหลวงมา แลจะช่วยกันรบเอาเมืองหงษาวดี แล้วพระยาตองอูก็มิได้อยู่ถ้าทับหลวง แลยกมาปล้นเอาเมืองหงษาวดีเอง. อนึ่งครั้นรู้ว่า เรายกมายังเมืองหงษาวดี พระยาตองอูก็มิได้แต่งทูตานุทูตมาสำหรับการพระราชไมตรี. แลพระยาตองอูหนีไปเมืองตองอูนั้น เหนว่าพระยาตองอูมิได้ครองโดยสัตยานุสัจ ซึ่งเปนพระราชไมตรีด้วยเรานั้น ควรเราจะยกทับหลวงไปหาพระยาตองอูให้ถึงเมืองพระยาตองอู ให้รู้การซึ่งพระยาตองอูจะเปนซึ่งไมตรีด้วยเราฤๅ ๆ พระยาตองอูมิเปนไมตรีด้วยเรา. พระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ตรัสให้พระจันทบูรี แลขุนเพชร์พักดี แลขุนหมื่นทั้งหลายอยู่รั้งเมืองหงษาวดี. แล้วยกทับหลวงเสดจ์ไปจากเมืองหงษาวดี ยกไปโดยทางเมืองตองอู. ส่วนพระยาลเคิ่งซึ่งใช้ทูตานุทูตถือพระราชสาสนมาถวาย บังคมขอเปนพระราชไมตรี แลว่าพระยาละเคิ่งจะยกช้างม้ารี้พลมาช่วยงานพระราชสงคราม แลเมื่อทับหลวงเสดจ์เมืองหงษาวดีครั้งนั้น พระยาละเคิ่งมิได้ยกทับมาเองดุจมีพระราชสาสนมานั้น พระยาละเคิ่งก็ใช้แต่ท้าวพระยาให้ยกทับเรือพลห้าพันมาถึงตำบลตาว แลสั่งท้าวพระยาผู้มานั้น ให้ยกพลขึ้นมาเข้าทับหลวงโดยเสดจ์งานพระราชสงคราม. จึ่งพระยาผู้เปนนายกองนั้น ก๊ให้มาถึงพระยาพระรามให้กราบทูลพระกรุณาว่า จะขอมาถวายบังคม แลจะยกพลห้าพันนั้น มาเข้าทับหลวงโดยเสดจ์ตามกำหนดพระยาละเคิ่งสั่งมานั้น. พระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็มีพระราชโองการตรัสแก่ท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีทั้งหลายว่า พระยาละเคิ่งให้สัจปัฏิญาณว่า จะยกมาเองช่วยการพระราชสงคราม แลซึ่งพระยาละเคิ่งมิได้ยกทับมาเอง แลให้แต่ท้าวพระยาให้ถือพลมาเข้าทับเราครานี้ แลเราจะเอาชาวละเคิ่งไปโดยเสดจนั้นดูมิควร จึ่งมีพระราชโองการตรัสสั่งแก่พระยาพระราม ให้ห้ามชาวละเคิ่งมิให้โดยเสดจ แลให้แต่งพระราชทานรางวัลไปแก่ท้าวพระยาชาวละเคิ่งผู้มานั้นโดยบันดาศักดิ์ แล้วก็ให้คืนไปยังทับเรือ. ๚ะ๏ ส่วนพระยาตองอูครั้นไปถึงเมืองตองอูแต่งพม่าผู้ดีชื่อมางรัดอองแลคนประมาณสองร้อย ให้ถือหนังสือมาถวาย แลพระธรรมรงเพชร์สามยอดสำหรับพระเจ้าหงษาวดีทรง ให้มางรัดอองถือมาโดยคลองพระราชไมตรี. จึ่งพระมหาเทพยกทับม้าไปเปนทับหน้า ยังทางประมาณสามคืนจะถึงเมืองตองอู ก๊ภบชาวตองอู ซึ่งพระยาตองอูใช้ให้มานั้น. พระมหาเทพก็ได้พิจารณาว่าทูตานุทูต. พระมหาเทพก๊ใช้ชาวม้าให้ไล่จับเอาชาวตองอูมานั้น. ได้ตัวมางรัดอองผู้ถือหนังสือพระยาตองอูนั้น จำขังส่งลงมาถวายถึงทับหลวง. พระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก๊ทรงพระราชบัญชาแก่พระมหาเทพว่า ซึ่งพระยาตองอูใช้มาเปนราชทูต แลพระมหาเทพให้จับเอามาเปนเชลยนั้นมิชอบ. ก็ตรัสให้ลงพระราชอาญาแก่พระมหาเทพแล้ว ก็ให้ปล่อยมางรัดอองนั้นคืนเข้าไปยังเมืองตองอู. ให้ว่าแก่พระยาตองอูว่า พระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ยกทับหลวงเสดจ์มาครานี้ ใช่จะเอาเมืองหงษาวดี. แลซึ่งพระยาตองอูให้ราชทูตเอาษาสนไปว่า เชิญพระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ เสดจ์มาเอาเมืองหงษาวดี แลพระยาตองอูจะยกพลมาช่วยแล้วไซ้ร พระยาตองอูมิได้อยู่ถ้าทับหลวง แลชิงปล้นเอาเมืองหงษาวดีนั้น ได้ช้างดีม้าดีเท่าใดไซ้ร ให้แต่งไปถวายโดยคลองพระราชไมตรี. แลทรงพระกรุณาจะยกทับหลวงเสดจ์คืนไปยังพระนคร. ๚ะ๏ ครั้นมางรัดอองเข้าไปถึงเมืองตองอู พระยาตองอูก๊ใช้มางรัดอองให้ออกมาเล่า แลให้กราบทูลพระกรุณาว่า ขอให้ทับหลวงตั้งอยู่แต่ในที่เสดจ์ถึงนั้น. ขออย่าเภ่อยกเข้าไป แลพระยาตองอูจะแต่งราชสาสน์แลเครื่องราชบรรณาการช้างม้า ซึ่งได้มาในเมืองหงษาวดีนั้น ส่งออกมาถวาย. จึ่งพระยาพระรามกราบทูลพระกรุณาว่า ซึ่งพระยาตองอูให้มากราบทูลพระกรุณา เชิญทับหลวงงดอยู่นั้น เหตุว่าพระยาตองอูจะแต่งการป้องกันเมืองยังไปมิสรับ.จึ่งอุบายให้ออกมาห้าม ประสงค์จะแต่งการซึ่งจะรบพุ่งนั้นให้สรับ. ขออัญเชิญเสดจ์ทับหลวงเสดจ์เข้าไปอย่าทันให้พระยาตองอูตกแต่งบ้านเมืองให้หมั้น. พระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็มีพระราชโองการตรัสให้ส่งมางรัดอองนั้นคืนเข้าไปยังเมืองตองอู. ให้ว่าแก่พระยาตองอูว่า ถ้าพระยาตองอูมิได้เสียสัจจะเปนพระราชไมตรีไซ้ ให้แต่งท้าวพระยาผู้ใหญ่ออกมา. ๚ะ๏ ครั้นให้ส่งมางรัดอองเข้าไปแล้ว พระยาตองอูจะได้แต่งท้าวพระยาผู้ใดๆ ออกมาหามิได้ ก็ยกทับหลวงเสดจ์เข้าไปถึงเมืองตองอูในวันจันท์เดือนสี่ขึ้นแปดค่ำปีกุนนั้น. ฝ่ายพระยาตองอูแต่งการกันเมือง ก็มิได้แต่งให้ออกมาเจรจาความเมืองโดยคลองพระราชไมตรี. รุ่งขึ้นวันอังคารสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็เสดจ์ไปยืนพระคชาธาร ก็ให้พลทหารเข้าล้อมเมืองตองอู แลตั้งค่ายล้อมรอบเมืองตองอูทั้งสี่ด้าน. หน้าค่ายในด้านข้างทักษิณ ซึ่งทับหลวงเสดจ์อยู่นั้นไซ้ เปนพนักงานพระยาศรีสุพรรณ พระยาท้ายน้ำ หลวงจ่าแสนเมืองศรีสงคราม. ขุนราชินิกูลนอกราชการ ขุนแผลงสท้าน พระยาแสนหลวง พระยานครเปนนายกอง. ในด้านข้างบูรพ์ไซ้ พนักงานพระยาเพชร์บูรณ พระยาสุพรรณบูรี หลวงมหาอำมาตยาธิบดีเปนนายกอง ในด้านข้างอุดรไซ้ เปนพนักงานเจ้าพระยาพระพิศณุโลกย์ พระยากำแพงเพชร แลหมื่นภักดีสวนเปนนายกอง. ในด้านข้างปราจินไซ้ เปนพนักงานพระยานครราชสีมา เมืองสิงฆบูรี ขุนอินทรบาล แสนภูมโลกาเพชรสวรการบังคับบัญชา. ในน่าค่ายทั้งสี่ด้านนั้นไซ้ ตรัสให้พระยาพระพิศณุโลกย์ แลขุนราชินิกูลนอกราชการตรวจจัดทั้งสี่ด้านนั้น. แลพลับพลาไชยทับหลวงไซ้ ตั้งใก้ลค่ายล้อมนั้นประมาณสิบเส้น. ในขณะนั้นพระยาตองอูเมื่อได้ยินข่าวว่า ทับหลวงเสดจ์ไป พระยาตองอูให้ย้ายช้างใหญ่ทั้งปวงไปไว้นอกเมืองตองอู เอาไปไว้ถึงตำบลแม่ช้าง ใกล้แดรเมืองอางวะ พระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ตรัสใช้ให้พระมหาเทพเปนนายกอง ขุนคชภักดีเมืองคชโยธา แลขุนหมื่นอาษาให้ไปลาด. จึ่งพระมหาเทพ แลข้าหลวงทั้งปวงก็ยกไปถึงตำบลแตรตอง. แล้วยกไปถึงตำบลแม่ช้าง. ได้ช้างพลายพังซึ่งพระยาตองอูให้เอาไปซ่อนไว้นั้นห้าสิบเศศ. ในนี้แต่ช้างใหญ่พรายรายปลอกกะยอสูงเจ็ดศอก พลายเทวนาคพินายสูงหกศอกคืบห้านิ้ว พลายปลองลูรายภักสูงหกศอกเจ็ดนิ้ว พลายลลูมแทงสูงหกศอกนิ้วหนึ่ง พลายนิลาตองสูงหกศอกหกนิ้ว พลายรานนิกนางสูงหกศอกสามนิ้ว พลายปลอกละเนียมผยูสูงหกศอกแปดนิ้ว พลายหัศปิสารทสูงหกศอกคืบห้านิ้ว พลายมัตตอบูสูงหกศอกแปดนิ้ว พลายเนียดมรัดคารสูงหกศอกสามนิ้ว พลายยูมาตองสูงหกศอกสองนิ้ว พลายกลอรายชะวาสูงหกศอกสองนิ้ว พลายพิจิตรสูงห้าศอกคืบนิ้วหนึ่ง พลายไชยมงคลสูงหกศอกแปดนิ้ว พลายพลายปลอกหละสูงหกศอก พลายราวเรียมนางสูงหกศอก พลายราชสงรำสูงหกศอก พลายชมภูทัศสูงหกศอกสองนิ้ว พลายนักเปสูงห้าศอกคืบนิ้วหนึ่ง พลายสีหนาทสูงห้าศอกคืบสองนิ้ว พลายสวรรค์โลกยสูงห้าศอกคืบสิบเบ็ดนิ้ว พลายรายผอนสูงห้าศอกคืบเจ็ดนิ้ว พลายรายภักปองกยอสูงห้าศอกคืบสิบนิ้ว พลายพังดูลางสูงห้าศอกสิบเบ็ดนิ้ว พลายเขมมรัชวาสูงหกศอกสี่นิ้ว พลายรายภักถันเลียงสูงหกศอกสี่นิ้ว พลายจำกยอสูงห้าศอกคืบแปดนิ้ว พลายอนันตะโยธาสูงห้าศอกคืบนิ้วหนึ่ง พลายรายภักกำยางสูงหกศอกสองนิ้ว พลายตะบายพระยาแพร่สูงหกศอก พลายเขยกรมัดไปสูงห้าศอกคืบหกนิ้ว พังมระพันดงสี่ศอกคืบ พังมะวะหลอมห้าศอกคืบสามนิ้ว พังสี่ศอกคืบห้านิ้ว. แลทั้งช้างโขลงพวกหนึ่งเอามาถวาย ๚ะ๏ ถึง ณวันเสาร์แรมสิบสามค่ำ พระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ตรัสให้พลทหารยกเข้าปีนกำแพงปล้นเอาเมืองตองอู. ชาวเมืองตองอูป้องกันเมืองเปนสามารถ การปล้นนั้นกลางวัน แลพลทหารป่วยเจ็บมาก. พระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก๊มีพระราชโองการตรัสห้ามบให้ปล้น ก็ให้คลายพลคืนออกมาเข้าค่าย. จึ่งตรัสให้แต่งไปลาดทุกตำบลทั่วจังหวัดเมืองตองอู จนถึงแดนเมืองอางวะ แลได้เสบียงเปนอันน้อยนัก. เข้าแพงเปนทนานละสิบสลึงบ้าง สามบาทบ้าง. ไพร่พลทั้งหลายมิได้อยู่เปนมั่วมูลในทับหลวง. แลน่าค่ายล้อมเมืองทั้งปวงนั้น ก็จ่ายยกออกไปลาดหากินทุกตำบล. อนึ่งไพร่หลวงทั้งหลายขัดเสบียงล้มตายก็มากนัก. ๚ะ๏ ขณะนั้นพระเจ้าเชียงใหม่ จะยกช้างม้ารี้พลไปโดยเสดจไซ้ เปนเหตุด้วยพระรามเดโชชาวเชียงใหม่ ได้มาเปนข้าหลวงแต่ขณะก่อน. แลเมื่อพระยาตะนาวศรียกทับขึ้นไปเชียงใหม่ห้ามชาวล้านช้างนั้น พระรามเดโชเข้าทับไปด้วยพระยาตนาวศรี. พระยาตนาวศรีก็แต่งพระรามเดโชให้มาอยู่ซ่องคนในแดนเมืองเชียงรายเชียงแสน เปนเพศพระเจ้าเชียงใหม่นั้น ให้มาขึ้นแก่พระเจ้าเชียงใหม่ตามประเวณี. ครั้นพระรามเดโชไปถึงเมืองเชียงรายเชียงแสน ชาวเมืองทั้งสองเมืองนั้นก็สมักด้วยพระรามเดโช เอาพระรามเดโชเปนเจ้าเมือง ก็มิได้มาออกแก่พระเจ้าเชียงใหม่ ส่วนท้าวพระยาหัวเมืองอันขึ้นแก่พระเจ้าเชียงใหม่ทั้งปวง ก็มิได้มั่วมูลสมักสมานด้วยพระเจ้าเชียงใหม่ ก็มาสมักสมานด้วยพระรามเดโช. พระรามเดโชได้กำลังรี้พลมาก ก็คิดจะรบเอาเมืองเชียงใหม่. จึ่งพระเจ้าเชียงใหม่จะยกพลไปโดยเสดจ์มิได้ แลแต่งพระทูลองอันเปนราชบุตร แลท้าวพระยาช้างม้ารี้พลขึ้นไปตามทับหลวงถึงเมืองตองอู. ๚ะ๏ ฝ่ายเจ้าเมืองแสนหวีถึงแก่กาลพิราไลย หาผู้จะครองเมืองมิได้ จึ่งเสนาบดีแต่งเครื่องราชบรรณาการ ไปทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว ณเมืองตองอู กราบทูลฃอพระเจ้าฟ้าแสนหวีซึ่งได้มาเปนข้าเฝ้า ขณะตรัสใช้พระยาศรีไสณรงค์ไปช่วยกันเมืองเมาะลำเลิ่งนั้น คืนไปเปนเจ้าเมืองแสนหวี. ในขณะนั้นทับหลวงตั้งอยู่ ณเมืองตองอูถึงสามเดือนแล้ว แต่งไปลาดทุกตำบลไซ้ มิได้เสบียงอันจะเลี้ยงไพร่พลทั้งปวง. ในทับหลวงนั้น เข้าแพงเปนทนานละตำลึง อนึ่งก๊จวนเทศกาลฟ้าฝน. พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ยกทับหลวงจากเมืองตองอู มาโดยทางกลอกม่อ. ครั้นทับหลวงเสดจ์ถึงตำบลคับแค สมเดจ์พระพุทเจ้าหลวงอัญเชิญสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวมายังพลับพลาไชย ก๊มีพระราชโองการดำริห์ด้วยกันว่า แผ่นดินเมืองเชียงใหม่เปนจลาจลเพื่อพระรามเดโช แลพระยาน่าน พระยาฝาง แลท้าวพระยาชาวใหญ่น้อยทั้งปวงอันขึ้นแก่พระเจ้าเชียงใหม่นั้น ชวนกันคิดร้าย แลจะรบพระเจ้าเชียงใหม่ดั่งนี้. สมเดจ์พระพุทธเจ้าหลวง ก็อันเชิญสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจ์ไปเชียงใหม่ระงับท้าวพระยาทั้งปวง ซึ่งคิดร้ายแก่พระเจ้าเชียงใหม่นั้น. แลตรัสให้ทับพระยากำแพงเพชร ทับพระยาท้ายน้ำ ทับพระยาเพชบูรี ทับพระยานครสวรรค์ ทับพระยาไชยนาทไปโดยเสดจ์. แลทับพระทูลอง ทับพระยาแสนหลวง ทับพระยานครเปนทับน่า. แล้วดำรัศให้เจ้าฟ้าแสนหวีไปโดยเสดจ์ด้วย. ถ้าเสร็จราชการแล้ว จึ่งให้ส่งขึ้นไปยังเมืองแสนหวี จึ่งพระบาทสมเดจเอกาทศรฐอิศวรบรมนาทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก๊ยกทับหลวงเสดจ์ไปโดยทางเชียงใหม่. สมเดจ์พระพุทธเจ้าหลวงก๊เสดจ์มาโดยทางสะโตง มายังเมาะลำเลิ่ง. ส่วนข้าหลวงอันแต่งไว้ให้ส้องสุมมอญทั้งปวงนั้น ก็ส้องสุมมอญอันกระจัดพรัดพรายทั้งปวง ให้เข้าอยู่ที่ภูมลำเนาในเมืองเมาะลำเลิ่ง แลเมืองเมาะตมะนั้นได้มาก. จึ่งตรัสให้พระยาทละอยู่ตั้งเมืองเมาะลำเลิ่ง แลเมืองเมาะตมะนั้นแล้ว ยกทับหลวงเสดจ์มายังกรุงเทพพระมหานคร. ๚ะ๏ พระบาทสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวร บรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก๊เสดจ์ถึงตำบลท่าหวดในวันอังคารเดือนเจ็ดแรมแปดค่ำ แลแรมทับอยู่ในตำหนักท่าหวดนั้นสิบห้าวัน. จึ่งมีพระราชโองการตรัสสั่งแก่เจ้าพระยาสีห์ราชเดโชไชยอภัยพิริยพาหุ ให้แต่งข้าหลวงไปหาพระยาหลวงเมืองน่าน พระยาฝาง พระรามเดโช พระยาพลศึกซ้าย พระยาสาต พระยาแพร่ พระยาลอ พระยาเชวียง พระยาเชียงของ พระยายาว พระยาพยาก พระยาเมืองยองพระขวา แลหัวเมืองใหญ่น้อยทั้งปวงทุกเมือง. แลแต่งข้าหลวงไปอยู่ประจำทุกเมือง จึ่งพระเจ้าเชียงใหม่ก็แต่งเครื่องบรรณาการ ให้นันทพยะเอามาถวาย. แลให้กราบทูลพระกรุณาว่า ทับหลวงเสดจ์มานี้ พระเจ้าเชียงใหม่ชื่นชมหนักหนา. เหนว่ากิจกังวลทั้งปวงก็จะลำเรทธิบริบูรณด้วยเดชพระราชสมภาน. แลว่าพระเจ้าเชียงใหม่ยกทับไปเชียงรายไซ้ พระยาฝางทำเพโทบายว่า จะยกมาช่วยพระเจ้าเชียงใหม่ แลกวาดเอาไพร่พลลูกค้ามาคายในแดนเมืองเชียงใหม่ทั้งปวงไปยังเมืองฝาง. จึ่งพระเจ้าเชียงใหม่จะอยู่รบเอาเมืองเชียงรายมิได้ แลกลับคืนมาเมือง ขอเชิญเสดจ์ทับหลวงไปเอาเมืองฝาง. จึ่งพระบาทสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตร์พระพุทเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชโองการตรัสสั่งแก่นันทะพะมะผู้มากราบทูลพระกรุณานั้น ให้ไปทูลแก่พระเจ้าเชียงใหม่ว่า ทรงพระกรุณาตรัสให้ข้าหลวงขึ้นไปหาพระยาฝาง แลท้าวพระยาทั้งปวงแล้วจะคอยถ้าฟังข่าวนั้นก่อน. ถ้าเหนว่าพระยาฝางมิได้สวามีภักดีไซ้ จึ่งยกทับหลวงไปเมืองฝาง. ๚ะ๏ ครั้นนันทะพะยะรับพระราชโองการใส่เกล้าใส่กระหม่อมไปทูลแก่พระเจ้าเชียงใหม่. ๆ ก็ให้หมื่นตองอูแลนายสีหนาทมากราบทูลพระกรุณาเล่าว่า ในเมืองเชียงใหม่เข้าแพงนัก ทรงพระกรุณาจะเสดจ์อยู่ถ้าฟังข่าว ซึ่งข้าหลวงไปหาท้าวพระยาทั้งปวงนั้น เหนจะกาลช้านาน แลรี้พนทั้งปวงขาดเสบียง. ขอเชิญเสดจ์ไปเอาเมืองฝางเสียยังแล้ว เพราะเมืองนั้นเปนเสี้ยนศัตรูใหญ่หลวงนัก. ครั้นหมื่นตองอู นายสีหนาทมาถึงทับหลวงแล้ว ในวันนั้น พระยาฝางให้หมื่นหลวงซ้ายนำเอาเครื่องบรรณาการมาถวาย ส่วนพระยาน่านให้แสนเดกซ้ายนำเครื่องบรรณาการมาถวาย แลมาถึงพร้อมกัน. จึ่งหมื่นหลวงซ้าย แลแสนเดกซ้ายกราบทูลพระกรุณาว่า พระยาฝาง แลพระยาน่านแต่งดอกไม้เงินทองจะมาถวายบังคมในภายหลัง. พระบาทสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพูทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชโองการตรัสสั่งแก่หมื่นตองอูแลนายสีหนาท ให้ไปทูลแก่พระเจ้าเชียงใหม่โดยเนื้อคะดี ซึ่งพระยาฝางแลพระยาน่านให้กราบทูลพระกรุณานั้น. เมื่อทับหลวงเสดจ์แรมทับอยู่ในตำบลท่าหวดนั้นเข้าแพงนัก. พระบาทสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชโองการตรัสถามพระยาแสนหลวงว่า ไพร่พลขาดเสบียงดังนี้จะผ่อนยกทับหลวงไปตั้งแห่งใด. จึ่งพระยาแสนหลวงกราบทูลพระกรุณาว่าขอเชิญเสดจยกทับหลวงไปตั้งตำบลเมืองเถิน เพราะที่นั่นใกล้ท่าเรือ. พระบาทสมเดจเอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว. ก๊มีพระราชโองการตรัสใช้วิสุทธเสนา แลขุนราชสวนจัน ให้ไปทูลพระเจ้าเชียงใหม่ว่า ทับหลวงไปตั้งตำบลเมืองเถิน. ๚ะ๏ วันพฤหัศบดีเดือนหกขึ้นค่ำ สมเดจเอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ยกพลพยุหจากท่าหวดไปตั้งในตำบลเมืองเถิน. จึ่งพระยาฝางก็ให้แต่งเครื่องดอกไม้เงินทอง แลเครื่องบรรณาการมาถวาย. จึ่งพระยาหลวงเมืองน่าน ก๊ให้พระยาไชยสงครามถือดอกไม้เงินทอง แลเครื่องบรรณาการมาถวาย. พระรามเดโชก็ให้พระยาสาด แลแสนวิชยามาตยถือดอกไม้เงินทองแลเครื่องบรรณาการมาถวาย. จึ่งพระเจ้าเชียงใหม่ก๊ให้หมื่นหลวงกุมกามมากราบทูลพระกรุณาว่า พระเจ้าเชียงใหม่ใช้ฉางกองจ่า แลหมื่นหลวงกุมกามไปเมืองเขมราช แลไกลเมืองฝางไป พระยาฝางก็กุมเอาตัวฉางกองจ่า แลหมื่นหลวงกุมกาม หมื่นพองฝางเก่าจำไว้. อนึ่งพระเจ้าเชียงใหม่เมื่อตั้งทับอยู่ ณเมืองเชียงราย แลใช้งะสอแสนท่าช้างแสนขวางให้เอาช้างขึ้นไป พระยาฝางก็ให้จับเอาผู้มีชื่อทั้งนี้ฆ่าเสีย. แลยังแต่งะสอผู้เดียวให้เกาะไว้. แลบัดนี้ด้วยเดชพระราชสมภาร พระยาฝางให้ปล่อยฉางกองจ่า แลหมื่นหลวงกุมกาม แลงะสอมาด้วยหมื่นพองฝาง ถึงเมืองเชียงใหม่แล้ว. พระบาทสมเดจเอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชโองการตรัสสั่งแก่หมื่นหลวงกุมกาม ให้ทูลพระเจ้าเชียงใหม่ว่า พระยาฝาง แลพระยาหลวงเมืองน่าน แลพระยารามเดโช แต่งดอกไม้เงินทองมาถวายแล้ว. ตัวจะลงมาถวายบังคมต่อภายหลัง. พระบาทสมเดจเอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก๊มีพระราชโองการตรัสใช้ขุนทรงภาราแลขุนศรี ถือพระราชสาสน์ไปเมืองเขมราช จึ่งพระยาหลวงเมืองน่านแล้วท้าวพระยาแสนหมื่นชาวเมืองน่าน ก็ลงมาถวายบังคม แลพระยาหลงงเมืองน่านถวายช้างพลายสูงหกศอกมีเศศ. ถวายช้างพังสองช้าง ถวายม้าดียี่สิบม้า แลเครื่องบรรณาการก๊มาก. อนึ่งท้าวพระยาแสนหมื่นอันมาด้วยพระยาหลวงเมืองน่านนั้น ถวายม้าแลเครื่องบรรณาการก๊มาก. อันดับนั้นพระยาฝาง แลท้าวพระยาแสนหมื่นชาวเมืองฝาง ก็ลงมาถวายบังคม. พระยาฝางก็ถวายช้างพลายส้อมทองช้างหนึ่ง สูงหกศอกเศศ. ช้างพังรูปดีสองช้าง ถวายม้าสามสิบม้า แลเครื่องบรรณาการก็มาก อนึ่งท้าวพระยาแสนหมื่นอันมาด้วยพระยาฝางนั้น ก็ถวายม้าแลเครื่องบรรณาการก็มาก. อยู่สามวันพระรามเดโช แลท้าวพระยาแสนหมื่นชาวเมืองเชียงแสนแลเชียงรายก็มาถวายบังคม พระรามเดโชถวายช้างพลายฉางพรศะศึกช้างหนึ่งสูงห้าศอกคืบเศศ ช้างพลายมรปอกนากหนึ่ง. ถวายม้าแลเครื่องบรรณาการก็มาก. อนึ่งท้าวพระยาแสนหมื่นอันมาด้วยพระรามเดโชนั้น ถวายเครื่องบรรณาการก๊มาก. พระยาพลศึกซ้ายน้องพระยาหลวงเมืองน่าน ก็ลงมาถวายบังคม แลถวายช้างพลายบุญเรืองฤทธิ์ช้างหนึ่ง สูงห้าศอกคืบเศศ. ถวายม้าแลเครื่องบรรณาการก๊มาก. พระยาแพร่ พระยาลอ พระยาเซรียง พระยาเชียงของ พระยาพยาว พระยาพยาก พระยาเมืองยอง แลท้าวพระยาหัวเมืองใหญ่น้อยทั้งปวง ก็มาถวายบังคม. แลถวายช้างม้าเครื่องบรรณาการก๊มากนัก. แลท้าวพระยาแสนหมื่นทั้งปวงนี้ ก็เอาช้างม้ารี้พลมาตั้งทับอยู่ล้อมพระราชถานแลรับราชการอยู่. ๚ะ๏ พระบาทสมเดจเอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชโองการตรัสใช้ให้หมื่นอินทรักษา ให้ขึ้นไปทูลแก่พระเจ้าเชียงใหม่ว่า ท้าวพระยาทั้งปวงมาถวายบังคม แลได้รับราชการอยู่ในทับหลวงแล้ว. พระเจ้าเชียงใหม่ก๊ยินลากยินดีนักหนา เพราะท้าวพระยาทั้งนั้นกำลังรี้พลมั่งคั่งนัก. ถ้าแลทรงพระกรุณามิได้เสดจไประงับไซ้ เหนพระเจ้าเชียงใหม่จะยืนแก่ท้าวท้าวพระยาทั้งนี้มิได้แล้ว. ด้วยเดชพระราชสมภารเสดจไป จึ่งแผ่นดินเมืองเชียงใหม่มิได้จลาจล คงอยู่แก่พระเจ้าเชียงใหม่. อนึ่งเมื่อทับหลวงเสดจอยู่เมืองเถินนั้น พลทหารล้อมวังเปนอันน้อยนักเพราะเข้าแพง. แลรี้พลทั้งปวงซ่านเซ็นลงมายังอยู่ในทับหลวงประมาณสามร้อยเศศ. อนึ่งช้างม้าก๊น้อยนัก. ฝ่ายท้าวพระยาลาวทั้งปวงนั้นไซ้ ก็ย่อมมีกำลังช้างม้ารี้พลมั่งคั่งทุกเมือง. แลท้าวพระยาทั้งปวงมาราบคาบที่นี่ ด้วยเดชาอานุภาพพระราชสมภาร จึ่งพระเจ้าเชียงใหม่ให้พระยาพยาวนำเอาช้างพลายมาณช้างหนึ่ง สูงเจ็ดศอกเศศ ลงมาด้วยหมื่นอินทรักษา เอามาถวายในตำบลเมืองเถิน. แล้วพระเจ้าเชียงใหม่ก็แต่งเครื่องบรรณาการ ให้แสนหมื่นถือลงมาถวายเปนหลายครั้ง. ฝ่ายพระบาทสมเดจเอกาทศรฐอิศวรบรมนารทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจไประงับท้าวพระยาทั้งหลายในเมืองเชียงใหม่นั้นราบคาบแล้ว ก็ตรัสให้ส่งเจ้าฟ้าแสนหวีไปโดยทางเชียงใหม่ไปยังเมืองแสนหวี. แลพระราชทานตรัสให้ช้างม้า แลเครื่องกระยาประสาทไปแก่เจ้าฟ้าแสนหวีนั้นมาก. ๚ะ๏ อยู่มาพระมหาเทวีพระเจ้าเชียงใหม่ ถึงแก่ชีพิตักษัย พระเจ้าเชียงใหม่ก็ให้แสนหนังสือแคนลงมาถวายทูลพระกรุณา ขอพระทูลองขึ้นไปช่วยแต่งการสพพระมหาเทวี. แลแต่งชยาทิปะผู้น้องพระทูลองมาถวายบังคมอยู่เฝ่าจำนำพระบาทในทับหลวง. ในเมืองเชียงใหม่นั้นเร่งเกิดธรพิธเข้าแพงนัก. พระบาทสมเดจเอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการตรัสใช้หลวงเทพเสนาบดีศรีสมุหพระกลาโหม ลงมายังกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา เอาลำเลียงเข้าขึ้นไปยังทับหลวง แลพระราชทานให้ขึ้นไปแก่พระเจ้าเชียงใหม่ จึ่งได้เลี้ยงไพร่พลประชาราษฎรทั้งปวงในเมืองเชียงใหม่นั้น. ส่วนขุนพรหมสุรินทข้าหลวงผู้ไปรั้งฝางนั้น เกิดเหตุการชาวเมืองฝางคิดร้าย ก็ลอบทำร้ายแก่พระพรหมสุรินท. จึ่งมีข่าวลงมากราบทูลพระกรุณา พระบาทสมเดจเอกาทศรฐอิศวรบรมนารทบรมบพีตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชโองการตรัสใช้พระยานคร แลรามเดโชขึ้นไปอยู่รั้งเมืองฝาง. ครั้นท้าวพระยาหัวเมืองใหญ่น้อยทั้งปวงลงมาถวายบังคมเสร็จแล้ว. ถึงเดือนสิบเบดพระบาทสมเดจเอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชโองการตรัสใช้หมื่นนนทบาลลงมากราบทูลพระกรุณาแก่สมเดจพระพุทธเจ้าหลวง ให้หมื่นนนทบาลแถลงการซึ่งเสดจไประงับท้าวพระยาทั้งปวงราบคาบนั้น ถวายแก่พระพุทธเจ้าหลวง. ในขณะนั้นสมเดจพระพุทธเจ้าหลวงเสดจคืนมาแต่การพระราชสงคราม ก๊มิได้เสด็จเข้าในกรุงพระมหานคร. แลตั้งทับหลวงเสดจอยู่แต่สุพรรณบูรี. ครั้นหมื่นนนทบาลถึงเมืองสุพรรณบูรีที่ทับหลวงเสดจอยู่นั้น หมื่นนนทบาลก็เอากิจานุกิจทั้งปวงมากราบทูลพระกรุณาแถลงถวายแก่สมเดจพระพุทธเจ้าหลวง ๆ ก๊มีพระราชโองการตรัสสั่งแก่หมื่นนนทบาล ให้ขึ้นไปกราบทูลพระกรุณาพระบาทสมเดจเอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ขอเชิญเสดจขึ้นไปยังเมืองเชียงใหม่ ให้เอาท้าวพระยาทั้งปวงไปให้สมักสมานด้วยพระเจ้าเชียงใหม่ ๚ะ๏ ครั้นหมื่นนนทบาลขึ้นไปถึงทับหลวง กราบทูลพระกรุณาโดยสมเดจ์พระพุทธเจ้าหลวงมีพระราชโองการตรัสนั้น พระบาทสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก๊มีพระราชโองการตรัสใช้ข้าหลวงขึ้นไปหาพระรามเดโชในเมืองฝาง ว่าทับหลวงเสดจไปยังเมืองเชียงใหม่ แลให้พระรามเดโชลงมาถวายบังคมในเมืองเชียงใหม่. จึ่งตรัสใช้ให้ข้าหลวงขึ้นไปทูลแก่พระเจ้าเชียงใหม่ว่า. ทับหลวงจะเสดจขึ้นไปตั้งในเมืองลำพูน แลให้พระเจ้าเชียงใหม่ออกมารับเสดจในเมืองลำพูน จะเอาท้าวพระยาหัวเมืองใหญ่น้อยทั้งปวงมอบแก่พระเจ้าเชียงใหม่ ให้สมักสมานด้วยกัน. ขณะนั้นพระเจ้าเชียงใหม่รู้ก็แต่งพระยาแสนหมื่น ให้ออกมาปลูกพระตำหนักรับทับหลวง. แล้วก็แต่งที่ตำหนักที่พระเจ้าเชียงใหม่จะเสดจออกมาอยู่เองนั้น. ๚ะ๏ ถึง ณวันอาทิตย์เดือนอ้ายขึ้นสีบเอดค่ำ พระบาทสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก๊ยกทับหลวงเสดจจากเมืองเถิน แลพระยาหลวงเมืองน่าน พระยาแสนหลวงพิงไชย พระยาฝาง แลท้าวพระยาหัวเมืองใหญ่น้อยทั้งปวง แลพระไชยทีปะลูกพระเจ้าเชียงใหม่ ก็ไปโดยเสดจ์. จึ่งยกทับหลวงเข้าไปตั้งเมืองลำพูน. ในขณะนั้นช้างม้ารี้พลฝ่ายท้าวพระยาลาวทั้งปวงนั้น ล้อมทับหลวงอยู่เปนแน่นหนา. พระเจ้าเชียงใหม่รู้ว่าท้าวพระยาทั้งปวงพร้อมมูลในทับหลวง แลช้างม้ารี้พลมากนัก. บันดาพระเจ้าเชียงใหม่จะออกมารับทับหลวงไซ้ ก๊คิดสงไสย์เกรงขาม แลมิได้ออกมารับเสดจในเมืองลำพูนนั้น ๚ะ๏ ส่วนพระรามเดโช ครั้นมีพระราชกำหนดขึ้นไปหา ก๊ยกลงมาจากเมืองฝาง จะมายังทับหลวงในเมืองลำพูน ก๊เอาช้างม้ารี้พลเดินใกล้เมืองเชียงใหม่มา พระเจ้าเชียงใหม่ก๊แต่งทับม้าไทยใหญ่ออกไปซุ่มไว้ซึ่งทางที่พระรามเดโชจะยกมานั้น. ครั้นเช้ามืดชาวม้าไทยใหญ่ก็ยกเข้าตีทับพระรามเดโช ๆ มิทันรู้ตัวก็แตกฉาน. พระรามเดโชจะมายังทับหลวงมิได้ก๊คืนไปเมืองฝาง. พระบาทสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก๊ตรัสรู้การซึ่งพระเจ้าเชียงใหม่คิดสงใสย แลมิได้ลงมายังทับหลวงนั้น จึ่งมีพระบรมราชโองการตรัสให้ท้าวพระยาพระหัวเมืองมนตรีมุขทั้งหลายพิภาคษาว่า ซึ่งทรงพระกรุณาให้เรายกพลากรมาทั้งนี้ เพราะเหตุว่าทรงพระเมตาแก่พระเจ้าเชียงใหม่ เพื่อจะให้ระงับท้าวพระยาเพราะหัวเมืองทั้งปวง อันกระด้างกระเดื่อง เปนปัจามิตร์แก่พระเจ้าเชียงใหม่ ให้ปกติราบคาบ. ท้าวพระยาทั้งปวงก๊มาพร้อมกันณเมืองเถินสิ้น. ฝ่ายพระเจ้าเชียงใหม่ก็มิได้ลงมา แต่งให้แต่แสนท้าวพระยาลาวคุมเครื่องบรรณาการลงมา. เรื่องความทั้งนี้ ก๊ทราบลงไปถึงฝ่าพระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว. ผู้ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐ ดำหรัศเหนว่า เมืองเชียงใหม่ยังมิปรกติ จึ่งเราขึ้นมาระงับเสียให้จงได้. พระเจ้าเชียงใหม่มิได้ลงมากลับแต่งทับมาซุ่มไว้ตีพระรามเดโชอันลงมาตามกำหนดอีกเล่า. แลซึ่งพระเจ้าเชียงใหม่ทำดั่งนี้ยังจะเหนประการใด. มุขมนตรีทั้งปวงปฤกษาว่า เดิมแผ่นดินเชียงใหม่เปนจลาจล พระเจ้าเชียงใหม่หาที่พึ่งมิได้ จึ่งให้ไปกราบทูลเบื้องบาทยุคล ขอเอาพระเดชเดชานุภาพปกเกล้าปกกระหม่อม. พระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระมหากรุณาแก่พระเจ้าเชียงใหม่ จะให้คงอยู่ในเสวตรฉัตร. จึ่งเชิญพระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวเสดจ์ขึ้นมา ในไสมยไช่ระดูการป่วยการรี้พลมาก. ครั้นทับหลวงเสดจมาถึงท่าหวด ตรัสให้ข้าหลวงไปหาท้าวพระยาลาว อันกระด้างกระเดื่องต่อพระเจ้าเชียงใหม่. เดชพระเดชานุภาพ ท้าวพระยาลาวทั้งปวงมิอาจขัดแขงอยู่ได้ ก็ภากันมากราบถวายบังคม เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท อยู่ในทับหลวงณเมืองเถินสิ้น. พระเจ้าเชียงใหม่ก็หามาไม่ ด้วยมิได้เชื่อพระเดชเดชานุภาพ มีแต่ความกลัวพระยาทั้งปวงมากกว่าพระราชอาญาสิทธิอีก สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว ก๊มิได้ทรงพระโทรมนัศเคืองพระไทย ต้องทรงอุษาห์เสดจ์พระราชดำเนินกลับขึ้นมาถึงเมืองลำพูน. กำหนดให้พระเจ้าเชียงใหม่มาเฝ้าทูลลอองทุลีพระบาทพร้อมกันกับท้าวพระยาทั้งหลาย เพื่อพระราชทานพระราโชวาท ให้พระยาลาวสมักสมานอ่อนน้อมต่อพระเจ้าเชียงใหม่. พระเจ้าเชียงใหม่ก๊มิได้ออกมา กลับแต่งทับม้าไทยใหญ่มาซุ่มตีพระรามเดโช อันจะลงมาเฝ้าทูลอองทุลีพระบาท จนพระรามเดโชมามิได้ ต้องกลับคืนไปเมืองฝาง. แลพระเจ้าเชียงใหม่โมหะจริตมิได้เชื่อพระเดชเดชานุภาพแล้ว ซึ่งจะเสด็จอยู่โปรดอีกนั้นเหลือการ. อนึ่งไพร่พลในกองทับหลวง แลไพร่ท้าวพระยาลาวทั้งปวงก็ขัดสนเสบียงอาหารนัก. ขอเชิญเสดจ์พระราชตำเนินทับหลวงเสดจ์กลับไปยังกรุงพระมหานครจึ่งควร เอาคำพิภาคษากราบทูลพระกรุณา. จึ่งมีพระราชโองการตรัสว่า พระเจ้าเชียงใหม่เปนคนลงอยู่แล้ว แลจะละเสียนั้น เหมือนไม่อนุกูลพระเจ้าเชียงใหม่. ประการหนึ่งก็จะเสียพระเกียรติยศสมเดจพระพุทธเจ้าหลวง ผู้ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐไป ทั้งพระองค์ก็จะทรงพระโกรธติโทษเราได้. ชอบให้ข้าราชการผู้มีสติปัญญาเข้าไปว่ากล่าวชี้แจงให้พระเจ้าเชียงใหม่ออกมาให้จงได้. แลให้ม้าตำรวจสามสิบม้าขึ้นไปหาพระรามเดโชลงมา สมักสมานเสียจึ่งจะควร. ๚ะ๏ ฝ่ายเสนาข้าทูลอองทุลีพระบาทกราบถวายบังคมเหนโดยพระราชดำริห์ทุกประการ. สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ตรัสให้หมื่นอินทรักษา กับพระไชยทีปะโอรสพระเจ้าเชียงใหม่ เข้าไปยังเมืองเชียงใหม่. แลให้หมื่นเพชรไพรีหัวหมื่นตำหรวจสามสิบม้า ไปหาพระรามเดโชณเมืองฝาง. ครั้นหมื่นอินทรักษาข้าหลวง กับพระไชยทีปะไปถึงพระเจ้าเชียงใหม่จึ่งทูลว่า สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวทรงพระเมตา อุษาหทรงเสดจพระราชตำเนินยกทับหลวงขึ้นมาถึงเมืองลำพูนกำหนดให้ลงไปเฝ้า. ทรงพระกรุณาจะให้ท้าวพระยาลาวทั้งปวงสมักสมานมอบให้ เหตุไฉนพระองค์จึ่งมิได้ลงไปเฝ้า แล้วลอบแต่งทับมาตีทับพระรามเดโช อันที่จะลงไปเฝ้าทูลอองทุลีพระบาทนั้นอีกเล่า. พระองค์ทำดั่งนี้ควรอยู่แล้วฤๅ. บัดนี้พระเจ้าอยู่หัวขัดเคือง ให้เสนาพฤฒามาตย์ปฤกษา ๆ ว่าให้เชิญเสด็จ์ยกทับหลวงกลับยังกรุงพระมหานคร. แต่ทว่าสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงพระอาไลยถึงพระองค์ว่า ถ้าทับหลวงเสดจ์กลับเหนว่าเมืองเชียงใหม่จะตั้งอยู่มิได้. เสียดายที่สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวธรมานพระองค์เสดจมา จึ่งให้ข้าพเจ้าเข้ามาทูลพระองค์ อย่าให้วิตกเกรงขามท้าวพระยาลาวทั้งปวงเลย เปนภาระธุระสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวจะระงับการกลีให้สะงบจงได้. พระไชยทีปะทูลชี้แจงพระเดชเดชานุภาพที่ท้าวพระยาลาวเกรงขามให้ฟังทุกประการ. พระเจ้าเชียงใหม่ได้แจ้งดั่งนั้น มีความยินดีนัก. ๚ะ๏ ครั้นเพลารุ่งเช้าพระเจ้าเชียงใหม่ ยกช้างม้ารี้พลโดยสมควรลงมายังเมืองลำพูน เข้าเฝ้ากราบถวายบังคมสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว ทูลขอโทษที่มิได้ลงมาเฝ้า แลลอบทำร้ายพระรามเดโชทุกประการ. สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสได้ทรงฟังพระเจ้าเชียงใหม่กราบทูล แย้มพระโอฐแล้วมีพระราชโองการตรัสว่า ซึ่งพระเจ้าเชียงใหม่มิได้มาตามกำหนดนั้น เพราะท่านมิได้เชื่อพระบวรบุญานุภาพสมเดจ์พระพุทธเจ้าหลวงผู้ทรงกฤษฎาพินิหารอันประเสริฐ ตรัสเท่านั้นแล้ว ก็ให้หาท้าวพระยาลาวทั้งปวงเข้ามาเฝ้า จึ่งมีพระราชบริหารตรัสแก่พระยาน่าน พระยาฝาง แลท้าวพระยาแสนหลวงทั้งปวงว่า เมืองเชียงใหม่เปนกระษัตริย์สืบมาแต่โบราณราชประเพณี. พระเจ้าเชียงใหม่เล่า ก็เปนเชื้อกระษัตริย์สืบสุริยวงษมาหลายชั่วแล้ว. แลซึ่งท่านทั้งปวงคบคิดกันเปนประปักข์ฆ่าศึกจะรบเอาเมืองเชียงใหม่นั้น ถึงมาทว่าจะได้สมบัติในเมืองเชียงใหม่นั้นก๊ดี ความทุรยศอันนี้ก็จะปรากฎอยู่ชั่วฟ้าดินดูมิบังควร. สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาการุญภาพท่านทั้งปวง แลพระเจ้าเชียงใหม่ จึ่งดำรัศให้เราอุษาหมาหวังจะให้ท่านทั้งปวงสามคีรศสุนทรภาพสโมษรสุจริตดุจกาลก่อน. ท้าวพระยาลาวทั้งหลายจะว่าประการใด ท้าวพระยาแสนหลวงทั้งปวงกราบถวายบังคมพร้อมกัน แล้วกราบทูลว่า พระเจ้าอยู่หัวโปรดประการใดจะกระทำตามทุกประการ. พระเจ้าเชียงใหม่กราบทูลพระกรุณาว่า ท้าวพระยาทั้งปวงปรานีประนอมแล้ว ข้าพระองคมิได้มีอาฆาฎจองเวรแก่ท้าวพระยาทั้งหลาย จะถวายสัจปัฏิญาณได้ สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสได้ทรงฟังดั่งนั้นดีพระไทย. ตั้งแต่นั้นพระเจ้าเชียงใหม่ กับท้าวพระยาแสนหลวงแสนหมื่นทั้งปวง ก็มิได้มีความพิโรธอาฆาฎแก่กันต่อไป. พระเจ้าเชียงใหม่ก็มิได้กลับเข้าไปในเมืองเชียงใหม่ อยู่ในกองทับหลวงถึงแปดเวน. ฝ่ายหมื่นเพชรไภยรี กับพระรามเดโชก๊มาถึง เฝ้าพร้อมกันกับพระเจ้าเชียงใหม่ แสนหลวงแสนหมื่นทั้งปวง. พระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ตรัสให้พระราชโอวาทโดยยุติธรรมสามคีรศ. พระเจ้าเชียงใหม่กับพระรามเดโช ก็สิ้นเวรพยาบาทแก่กัน ๚ะ๏ ครั้นรุ่งขึ้นก็เสดจ์พระราชดำเนินภาพระเจ้าเชียงใหม่ แลท้าวพระยาลาวเข้าไปในพระอารามพระมหาธาตุเมืองลำพูน. ก็ให้ท้าวพระยาลาวทั้งปวงกระทำสัจปัฏิญาณถือน้ำพิพัทธต่อพระเจ้าเชียงใหม่. ๆ ก็ถวายสัจต่อสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัว จำเภาะพระภักตร์พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า ซึ่งมิได้อาฆาฎจองเวรแก่ท้าวพระยาลางทั้งหลายอันสุจริต. สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสให้โอวาทสั่งสอนพระเจ้าเชียงใหม่ แลท้าวพระยาทั้งหลายเปนอเนกบรรยาย แล้วก็เสดจพระราชดำเนินกลับเข้ามายังพระราชพรับพลาอาศน์. จึ่งดำรัศแก่พระเจ้าเชียงใหม่ แลพระรามเดโช ท้าวพระยาแสนหลวงแสนหมื่นทั้งปวง ให้ไปอยู่รักษาเมืองดั่งเก่า บำรุงประชาราษฎรขอบขันทเสมาโดยยุติธรรมประเพณีให้ถาวรวัฒนาสืบไป. ๚ะ๏ ครั้นณวันอังคารเดือนอ้ายแรมห้าค่ำ พระบาทสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว ก๊เสดจ์พระราชดำเนินยกพยุหโยธาทับออกจากเมืองลำพูน. แลพระเจ้าเชียงใหม่ พระรามเดโช ท้าวพระยาแสนหลวงแสนหมื่นทั้งปวง ก๊ตามส่งเสด็จถึงตำบลจอมทอง แล้วก็กราบถวายบังคมลา ยกแยกกันไปบ้านเมืองโดยพระราชกำหนด. แต่พระไชยทีปะลูกพระเจ้าเชียงใหม่ แลพระยาเดกซ้าย แลนันทะกะยอสูนั้น ลงมาโดยเสดจ พระบาทสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสดจ์ลงมาถึงสมเดจ์พระพุทธเจ้าหลวงในเมืองสุพรรณบุรี. สมเดจ์พระพุทธเจ้าหลวง ก็มีพระราชหฤไทยปรีดาภิรมย์หนักหนา. แล้วก๊สรรเสริญพระเดชเดชานุภาพพระราชสมภาร พระบาทสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจไประงับท้าวพระยาทั้งปวงให้ราบคาบนั้น. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๕๒ ปีขานโทศก ในเมืองลแวกนั้นไซ้ เมื่อพระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ยกทับหลวงเสดจ์ไปปราบราชศัตรูในเมืองลแวก แลเข้าเอาครัวอพยพทั้งปวงเสดจ์มายังกรุงพระมหานครแล้ว. อยู่ต่อมาภายหลังจึ่งลูกพระยาลแวกซึ่งหนีไปอยู่ณเมืองล้านช้างนั้น ก็คืนมายังเมืองลแวก ประมูลไพร่พลทั้งปวงได้เปนพระยาลแวก. แล้วแต่งดอกไม้เงินทองแลเครื่องบรรณาการถวายทุกปีมิได้ขาด. ครั้นพระยาลแวกนั้นพิราไลย หาผู้จะปกครองแผ่นดินเมืองลแวกนั้นมิได้. จึ่งสมณพราหมณาจาริย แลท้าวพระยามนตรีมุขทั้งปวง แต่งดอกไม้เงินทองแลเครื่องบรรณาการ มาถวายบังคมพระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ขอพระศรีสุพรรมาธิราชผู้น้องพระยาลแวกก่อนนั้น ไปครองแผ่นดินเมืองลแวก พระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก๊ทรงพระกรุณาพระราชทานเครื่องราชูประโภกสำรับพระมหากระษัตรีย ให้เอาพระสุพรรมาธิราชไปเปนพระยาลแวก. แลตรัสให้เจ้าพระยาสวรรคโลกย์ พระยาพันธารา แลพลทหารสามพันเอาพระศรีสุพรรมาธิราชไปส่งถึงเมืองลแวกโดยทางเรือ ในปีขานโทศกนั้น. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๕๓ ปีเถาะตรีศก พระศรีสุพรรมาธิราช ผู้เปนพระยาลแวก ให้พระยากลาโหมผู้บุตรเขย มากราบทูลพระกรุณาพระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ว่า พระยาออนอันหนีไปอยู่ด้วยซ่องพรรค์ในตำบลแสนสโตงนั้น ประมูลซ่องพรรค์ทั้งปวงได้มากแล้ว ว่าจะยกไปรบพระยาลแวก. พระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็มีพระราชโองการตรัสให้แต่งทับสมเดจ์พระเจ้าลูกเธอ พระมหาธรรมราชา แลช้างเครื่องห้าสิบ ม้าร้อยหนึ่ง พลหมื่นหนึ่ง แลทับพระยาธรรมาธิบดี พระยาสวรรคโลกย พระยากำแพงเพชร พระยาศุโขไทย พระยาพันธารา ยกไปโดยทางโพธิสัตว์. แลมีพระราชกำหนดไปให้พระยาลแวกยกทับออกมาบรรจบด้วยสมเดจ์พระเจ้าลูกเธอ. แลให้ยกไปตีทับพระยาออนในตำบลแสนสโตงนั้น. ครั้นตีทับพระยาออนแตกฉานแล้ว สมเดจพระเจ้าลูกเธอ ก็ยกทับคืนมาโดยทางพระนครหลวง มาถวายบังคมพระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์. ๚ะ๏ เมื่อทับหลวงเสดจ์อยู่ในเมืองเพชรบุรีในปีเถาะนั้น พระบาทสมเดจเอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นไปประภาศโดยทางชลมารค เสด็จด้วยพระชลวิมานอันอลังการอลงกฎรจนา ดูมหิมาดาดาษด้วยบริวารแสนสฤงฆารประดับนิ์สรรพ์เสร็จ เสดจถึงเมืองพระพิศณุโลกยตั้งตำหนักในตำบลวัดจัน. ฝ่ายพระคชาธารสารสินทพราชพาหน แลช้างต้นม้าต้นทั้งปวงนั้นทรงพระกรุณาตรัสให้ไปโดยทางสถลมารครับทับหลวงในเมืองพระพิศณุโลกย พระบาทสมเดจเอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก๊เสดจ์ไปนมัสการพระชินราช ในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุในเมืองพระพิศณุโลกยนั้น แล้วก๊เสดจไปประภาศในวัดเมืองพระพิศณุโลกยนั้นทุกตำบล ๚ะ๏ ในขณะนั้นกรมการเมืองพระพิศณุโลกย์กราบทูลพระกรุณาว่า เสือร้ายนัก ย่อมมาบีทาผู้คนถึงในเมืองพระพิศณุโลกย. ทรงพระกรุณาตรัสให้ข้าหลวงไปล้อมเสือร้ายทุกตำบล. วันหนึ่งข้าหลวงไปล้อมเสือมาถวาย. แลทรงพระกรุณาตรัสให้แต่งเปนคอกสูงประมาณสิบศอก. แล้วเอาเสือปล่อยไว้ในคอกนั้น พระบาทสมเดจเอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว. ก๊เสดจ์ด้วยช้างพระที่นั่ง แลเสด็จออกไปยืนช้างพระที่นั่งแทบคอกขังเสือนั้น. แลจะให้ทหารข้าหลวงเข้าพุ่งแทงไซ้. เสือนั้นใหญ่กำลังสามารถ.ก๊โดดข้ามคอกออกมาได้โดยน่าพระที่นั่ง ทรงพระกรุณาเสดจ์วางช้างพระที่นั่งตามเสือนั้นไป แลตรัสให้ข้าหลวงเข้าล้อมแทงเอาได้ในกลางแปลง แลข้าหลวงจะได้ป่วยเจ็บหามิได้. ๚ะ๏ พระบาทสมเดจเอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจไปเมืองพระพิศณุโลกยคราวนั้น แลเสดจ์ประภาษดั่งนี้เปนหลายครั้ง. จึ่งพระบาทสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก๊มีพระราชโองการตรัสให้ทองนพคุณเครื่องราชูประโภค สำหรับเปนทองประทาราศรี จึ่งเสดจ์ไปปิดพระพุทธปฏิมากรพระซินราช ด้วยพระหัถบริบูรณ. ก๊แต่งการฉลอง แลให้เล่นมโหรสพบูชาสการะแก่พระพุทธเจ้านั้นเจ็ดวันเจ็ดคืนเปนมโหฬารหนักหนา. จึ่งสมเดจ์พระพุทธเจ้าหลวงตรัสใช้ให้ข้าหลวงขึ้นไปกราบทูลพระกรุณา เชิญเสดจพระบาทสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสดจลงมาจากเมืองพระพิศณุโลกย ในเพลาวันพุทธเดือนหกแรมหกค่ำในปีเถาะนั้น ๚ะ๏ ครั้นถึงเดือนเก้าพระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็เสดจ์จากเมืองเพชบุรีโดยสถลมารค เสดจไปประภาศถึงตำบลสามร้อยยอด. แลตั้งพระตำหนักแทบฝั่งพระมหาสมุท จึ่งเสดจ์ลงพระสุพรรณวิมารนาวาอันอลงกฎรจนาธิการ ประดับนิ์สรัพด้วยเครื่องพิไชยสาตราวุธดูมหิมา แลเรือท้าวพระยาเสนาบดีพิริยโยธาทหารโดยเสดจ์ แห่ห้อมล้อมดาษในท้องมหามหรรนพสาคร. พระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็เสดจ์ออกไปประพาสอภิรมย์ชมฝูงมัศยากร อันมีนาๆพรรณอันมีในกลางมหาสมุท ก็ทรงเบ็ดทอดได้ปลาฉลาม แล้ก็เสดจ์คืนมายังพระตำหนัก. พระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ เสดจ์ออกไปประภาศในกลางมหาสมุทดั่งนั้นได้สิบสี่วันวาร. แล้วก๊มีพระราชโองการตรัสสั่งให้ไปแต่งพระตำหนัก ณริมฝั่งมหาสมุทตำบลโตนดหลวง ก๊เสด็จลงพระสุพรรณวิมารมหานาวา อันเปนพิไชยพาหนสำหรับประดับพลากรโดยขนาด. เรือท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขพิริยโยธมาตย์ทั้งหลาย แห่ห้อมล้อมดาษดาดูมหิมาด้วยเครื่องสรรพายุทธ์. พระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็เสดจโดยชลมารคมหาสมุท มายังพระตำหนักในตำบลโตนดหลวง. แลทอดอยู่แรมทับในมหาสมุทสองฅืน จึ่งเสด็จถึงพระตำหนักโตนดหลวงนั้น แลเสดจออกไปประภาศในกลางมหาสมุท. ในตำบลโตนดหลวงนั้นเล่าอยู่สิบสองวัน จึ่งเสดจ์จากตำบลโตนดหลวง เสดจโดยสถลมารคมาทางเข้ามายังเมืองเพชรบุรี. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๕๔ ปีมโรงจัตวาศก เดือนสิบสอง พระบาทสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็มีพระราชโองการ ตรัสให้บำรุงช้างม้ารี้พลทั้งปวงไว้สรรพ จะยกทับหลวงเสดจ์ไปเอาเมืองตองอู จึ่งมีข่าวมาว่า พระยาอังวะยกมาเอาเมืองนายแลได้เมืองแล้ว แลพระยาอังวะจะยกไปเอาเมืองแสนหวีเล่า. พระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็มีพระราชโองการตรัสว่า เมืองแสนหวีไซร้ ได้เปนข้าขอบขันทเสมา. ฝ่ายกรุงพระนครศรีอยุทธยาเล่า แลซึ่งพระยาอังวะมาเอาเมืองนาย แลเมืองแสนหวีดังนี้ ควรเราจะยกทับหลวงไปเอาเมืองอังวะ จึ่งมีพระราชกำหนดแก่ท้าวพระยาสามนตราชเสนาบดีมนตรีมุขทั้งปวง ให้ตรวจเครื่องสรรพาวุธช้างม้ารี้พลทั้งปวงเสดจ์ แลจะยกทับหลวงเสดจ์ไปเอาเมืองอังวะ ๚ะ๏ ครั้นถึงมาฆมาศพระบาทสมเดจ์บรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็มีพระราชโองการตรัสให้แต่งพระตำหนัก ในตำบลป่าโมก. ครั้นเสรจ์ก๊เสดจด้วยพระชลวิมานโดยทางชลมารคเสดจเข้าภักพล ในพระตำหนักป่าโมกนั้น. พระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก๊เสดจ์กับพยุหบาตราจากตำบลป่าโมก เสดจ์โดยชลมารคขึ้นเหยียบไชยภูมในตำบลเอกราช ให้ขุนแผนสท้านฟันไม้ข่มนามโดยการพระราชพิธีพิไชยสงครามเสร็จ ก็เสดจออกทับไชยในตำบลพระล่อ. พระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็เสด็จโดยพยุหบาตราโดยสถลมารค. สมเดจพระพุทธเจ้าหลวงเสดจทรงช้างต้นศรีไชยภักดี เปนพระคชาธาร. สมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงชข้างพระมหาศักดานุภาพ เปนพระคชาธาร. พระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็เสด็จพยุหบาทตราด้วยพระคชาธารทั้งสองอันประดับด้วยเครื่องคเชนทราลังการาภรณ อันพิจิตรด้วยกาญจนมณีรัตนฉัชวาลยแลมโหฬารด้วยเครื่องอพิรุมย เสวตรฉัตรกลิ้งกลดชุมสายพรายพรรณ พิจิตรพิพิธรัตนพัชณีจามรบวรอันโอภาษ เดียรดาษด้วยท้าวพระยาสามนตราชาเสนาบดีมนตรีพิริยโยธาทหาร แห่ห้อมล้อมเปนบริพาร ดูอธิกพันฦกด้วยพวกพลคเชนทร มีกรบวรมหาคชสารสินธพสมุหโยธาทังหลาย ดูพรรณราย. ด้วยเครื่องสรรพยุทธเกราะกรายย้ายกัน แห่โดยขนัดซ้ายขวาน่าหลัง แลพลช้างเครื่องแปดร้อย พลม้าพันห้าร้อย พลโยธาทหารแสนหนึ่ง. ๚ะ๏ พระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็เสด็จพยุหบาทตราโดยสถลมารคไปโดยทางเมืองกำแพงเพชร ขึ้นไปยังเมืองเชียงใหม่. แลพระเจ้าเชียงใหม่ไปรับพระรามเดโชในเมืองเชียงแสน. จึ่งตั้งทับหลวงแทบเมืองเชียงใหม่ อยู่ท่าพระเจ้าเชียงใหม่. แลแต่งข้าหลวงให้เข้าไปหาพระรามเดโช แลเชิญพระเจ้าเชียงใหม่คืนมา. ครั้นพระเจ้าเชียงใหม่มาถึงทับหลวง แลพระเจ้าเชียงใหม่ก็เสดจมาเคารพพระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์. แล้วถวายช้างม้า แลเครื่องบรรณาการเสร็จ ก๊ตั้งตำหนักอยู่แทบทับหลวง. ในวันอัฐมีนั้น พระเจ้าเชียงใหม่ก็อัญเชิญพระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็เสด็จเข้าไปนมัศการพระพุทธสิหิงคิ์ในเมืองเชียงใหม่นั้น. แลทับหลวงตั้งอยู่ในเมืองเชียงใหม่นั้นเดือนหนึ่ง จึ่งยกทับหลวงเสดจ์จากเมืองเชียงใหม่ ไปโดยทางอังวะ พระเจ้าเชียงใหม่แลลูกพระเจ้าเชียงใหม่ทั้งสามคนไปโดยเสดจทับหลวง. ๚ะ๏ สมเดจ์พระพุทธเจ้าหลวง ก๊ยกพยุหโยธาทับเสดจไปโดยทางเมืองห้างหลวง. พระบาทสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก๊ยกทับหลวงเสดจไปโดยทางเมืองฝาง แลเสดจ์ถึงเมืองฝางในวันพฤหัศบดีเดือนห้าแรมสิบเบ็ดค่ำ. ฝ่ายสมเดจพระพุทธเจ้าหลวงเสดจ์ถึงเมืองห้างหลวง แลตั้งทัพหลวงอยู่ตำบลทุ่งแก้ว แรมทับในตำบลนั้น. ส่วนพระยากำแพงเพชร แลพระหัวเมืองขุนหมื่นทั้งหลายผู้เปนทับน่า ก็ยกช้างม้ารี้พลไปถึงแม่น้ำโขง. ๚ะ๏ ในขณนั้นสมเดจ์พระพุทธเจ้าหลวงทรงพระประชวรหนัก ก๊ตรัสใช้ข้าหลวงให้ไปกราบทูลพระกรุณาถึงเมืองฝาง. พระบาทสมเดจเอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสดจ์จากเมืองฝางมายังสมเดจพระพุทธเจ้าหลวงในเมืองห้างหลวง. แลเสดจไปถึงในวันเสารเดือนหกขึ้นหกค่ำปีมเสงเบญจศก. รุ่งขึ้นวันจันทรเดือนหกขึ้นแปดค่ำเพลาชายแล้วสองบาท สมเดจพระพุทธเจ้าหลวงเสดจสวรรคต. สมเดจ์พระพุทธเจ้าหลวงพระชันษาปีมโรงศก. เมื่อได้ราชสมบัตินั้น ศักราช ๙๐๔ ปีขานจัตวาศก. ในปีขานนั้นพระชนมได้ ๓๕ พรรษา เสด็จอยู่ในราชสมบัติ ๑๕ พรรษา. เมื่อเสดจสวรรคตในเมืองห้างหลวง พระชนมได้ห้าสิบพรรษา ๚ะ
18
๏ แผ่นดินเอกาทศรฐ ๚ะ
๏ จึ่งพระราชครูทั้งสี่ แลท้าวพระยาสามนต์ราชมหาเสนาบดีมนตรีมุขพิริยโยธามาตย์ทั้งหลายตั้งพลับพลาไชยสุพรรณมหาวิมาน ในทับไชยกลางพลพยุหนั้นเสร็จ ก๊นำพระราชเขนทรยานการจนอลงกฎรจนามหาบวรชัชวาลย์ ประดับนิ์ด้วยอภิรุมย์ชุมสายบวรเสวตรฉัตร พัชนีพรณกลิ้งกลดจามรมาศทั้งปวง แลเครื่องมหาราเชนทรเบญจะราชกุกุภรรณฑ์อนันตเครื่องรัตนราโชประโภค อันเปนเครื่องราชาพิเศกสำหรับพระมหากระษัตราธิราชเจ้ามาถวาย. แด่พระบาทสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว อัญเชิญเสดจขึ้นผ่านพิภพมไหสวรรยาธิปไตย์ ถวัลย์ราชประเพณีสืบสันตติศรีสุริยวงษตำรงพิภพมณฑล สกลกรุงพระมหานครศรีอยุทธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธาณีบูรีรมย์ อันอำพนด้วยสามนตราชาประเทศ นานามหาไพบูลย์พิศาฬราชเจ้าสิมาอาณาเขตรมณฑลทั้งปวง โดยบุรพประเพณีพระมหากระษัตราธิราชเจ้าสืบมา.พระบาทสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็เสดจขึ้นพลับพลาไชยสุพรรณมหาวิมาน อันประดับเครื่องอลังการกาญจนดารามะหาวิศดารสาตรทิพมณฑล ดูถกลด้วยบวรเสวตรฉัตร์ดารากรจ่ามรมาศอลงกฎ แลมีพระคชาธารพระยาสารราชคเชนทร์สถิตย์ซ้ายขวา แลตั้งพยุหพลาพลพฤนทรโยธาทหารทุกหมู่ทุกพรรค์ ปราดับโดยขนัด. พลช้างพลม้า พลเขนดั้งแพนแสนเสโล่โตมรธะนูศรทั้งปวง แห่ห้อมล้อมเปนบริวารเสรจสรับ. จึ่งท้าวพระยาสามนตราชตระกูลประยุรราชมหาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งปวง ถวายบังคมพระบาทสมเดจเอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว. จึ่งมีพระราชโองการตรัสสั่งท้าวพระยาทั้งหลาย ให้ตกแต่งการที่จะรับพระบรมสพสมเดจพระพุทธเจ้าหลวงมายังกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา. แลมีพระราชกำหนดให้ขึ้นไปหาท้าวพระยาทั้งหลาย อันไปทับน่านั้น ให้กลับคืนมายังทับหลวง. ส่วนพระรามเดโชซึ่งมีพระราชกำหนดให้ไปหาถึงเมืองเชียงแสนเชียงรายนั้น พระรามเดโชก๊มาถึง. แลเบิกเข้ามาถวายบังคมในตำบลเมืองห้างหลวงนั้น. ๚ะ๏ ครั้นถึง ณวันพฤหัศเดือนหกขึ้นสิบสองค่ำ พระบาทสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจ์ด้วยพระที่นั่งครุธพาหนะ มีเสวตร์ฉัตรรัตนอภิรมย์ชุมสายพรายพรรณ์ ประดับด้วยท้าวพระยาสามนต์ราชพิรียโยธาแสนยากรทั้งหลาย ย้ายกันโดยขนาดน่าหลัง ก็เสดจ์กรีธาพลพยุหะยกทับหลวงจากเมืองห้างหลวง คืนมาโดยอันชลมารควิถีเสดจ์ถึงเมืองเชียงใหม่. พระบาทสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชโองการตรัสสั่งแก่พระเจ้าเชียงใหม่ ให้อยู่รักษาเมืองแลบำรุงช้างม้ารี้พลให้มั่งคั่งเมื่อจะมีกิจราชการพระราชสงครามไซ้ จะเอาพระเจ้าเชียงใหม่ไปโดยเสดจ์. ก็แรมทับหลวงในเมืองเชียงใหม่คืนหนึ่ง. ครั้นพระเจ้าเชียงใหม่นำท้าวพระยามาถวายบังคมเสรจ สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ยกทับหลวงเสดจ์จากเมืองเชียงใหม่ลงมาแล้ว ทรงพระกรุณาเอาพระทูลองลูกพระเจ้าเชียงใหม่ ลงมาโดยเสดจ์. แลพระราชทานให้นามกรชื่อพระศรีสุมหาธรรมราชา. พระบาทสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสดจ์มาโดยทางศุโขไทย มายังท่าเรือในเมืองกำแพงเพชร ๚ะ๏ ในขณะนั้นเมืองไซร แต่งทูตานุทูตให้ถือหนังสือแลเครื่องบรรณาการเข้ามาถวาย จึ่งข้าหลวงก็นำทูตานุทูตเมืองไซรนั้นขึ้นไปถวายบังคม แลถวายเครื่องบรรณาการ ถึงทับหลวงในเมืองกำแพงเพชร ๚ะ๏ แต่ทับหลวงตั้งอยู่ในเมืองกำแพงเพชรนั้นสิบห้าวัน จึ่งมีพระราชกำหนดลงมาแต่ท้าวพระยาผู้อยู่รั้งพระนคร ให้แต่งพระตำหนักตำบลป่าโมก ครั้นเสรจก็เสดจ์โดยชลมารคล่วงมาในพระตำหนักป่าโมกนั้น. พระบาทสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชโองการตรัสสั่งแก่เจ้าพระยาธรรมาธิกรณธิบดี ให้ตกแต่งการประดับประดาพระราชวังหลวง แลตั้งราชวัดฉัตร์ธงทั้งสองตราบข้างทางชลมารค. แต่พระตำหนักป่าโมกถึงพระราชวังหลวง. แลให้ท้าวพระยาทั้งหลายตรวจจัดเรือแห่แหนทั้งปวงสรับเสรจ. ๚ะ๏ ครั้นถึง ณวันพฤหัศบดีเดือนสิบสองขึ้นสิบค่ำ พระบาทสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชโองการตรัสให้พระราชครูทั้งสี่แต่งพระราชพิธีสงครามาภิเศก. แล้วให้เอาเรือพระที่นั่งไชยสุพรรณหงษพยุหบาตรา อันประดับด้วยสรรพาลังการอันมเหาฬาร มาบันจบทับขนานแลเทียบเรือ แห่น่าหลังทั้งปวงเสรจ์. ถึงเพลารุ่งแล้วนาฬิกาหนึ่ง ได้ศุภโยคมังคโลดมเวลาฤกษอันประเสริฐ. จึ่งพระโหราธิบดีศรีสุนทรบริหารก็ลั่นฆ้องไชย. พระราชประโรหิตตาจาริย์ราชสุภาวดีศรีบรมหงษองค์บริโสดมพราหมณวิทยจารย์ เป่ามหาสังข์ทักษิณาวัต แลประโคมแตรสังข์ดุริยางค์ดนตรีทั้งปวง. พระบาทสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสดจ์ลงเรือพระไชยสุพรรณหงษพยุหบาตรา แลมีพระราชครูทั้งสี่ แลโหราธิบดีแลแพทยาธิบดี โดยเสดจ์เฝ้าพระบาทในน่าพระที่นั่ง จึ่งให้ยกธงไชยโบกโบยคลายพระที่นั่งไชยสุพรรณหงษพยุหบาตรา ก็เสดจ์ออกจากขนาน ก็เสดจ์โดยชลมารคนัทีธาร ดูมโหฬารเรือต้นทั้งปวงอันประดับด้วยเครื่องอลงกตรจนาสรรพการพิธี แลประกอบด้วยเรือท้าวพระยามหาเสนาบดีทั้งปวง แห่โดยขบวนน่าหลังเดียรดาษ. ๚ะ๏ พระบาทสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสดจ์ถึงประทับขนานพระราชวังหลวง แลตีอินทเภรีเปนประถมรดมประโคมแตรสังข์. จึ่งเสดจ์ขึ้นพระราเชนทรยานพยุหบาตรา แลประดับด้วยเสวตร์ฉัตรสำหรับบรมราชาภิเศก แลตีอินทเภรีเปนทุติยวาร ก็เสดจ์ด้วยพระราเชนทรยานถึงอัฒจันไพชยนมหาปราสาท. จึ่งตีอินทเภรีเปนตะติยวาร พระบาทสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสดจ์ลงจากพระราเชนทรยาน เสดจ์ในน่าฆ้องไชยชำระพระบาทเสรจ. เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี ก็ลั่นฆ้องไชย ประโคมแตรสังข์ดุริยดนตรีทั้งปวง. จึ่งเสดจ์ขึ้นไพชนต์มหาปราสาท แลเสดจ์ขึ้นในพระที่นั่งมังคลาภิเศกสีหบัญชรอันประดับด้วยเนาวรัตนชัชวาลย์ มีพระคชาธารพระยาสารอลงกฎ สถิตย์ทั้งซ้ายขวาทั้งพวกพลโยธาทหารตั้งแห่ดาษดาโดยขนัดสรรพายุทธทั้งปวง ตั้งเปนกระบวรประดับประดา. จึ่งเบิกท้าวพระยาสามนตราชกระกูลพฤฒามาตยมหาเสนาบดีทั้งปวง ถวายบังคมพระบาทสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวแล้ว. ก็เบิกสมโพชเลี้ยงลูกขุน. แลถวายอาเศียรภาศสำหรับการพระราชพิธีพระนครประเวศน์นั้น. ๚ะ
19
๏ แผ่นดินสมเดจเอกาทศรฐ ๚ะ
๏ ในศักราช ๙๕๕ ปีมเสงเบญจศกนั้น พระบาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสด็จปราบดาภิเศกเสวยราชสมบัติในกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธาณีบูรีรมย์. ทรงพระนามพระศรีสรรเพชสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดีศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิ สวรรยาราชาธิบดินทราธรนินทราธิราชรัตนนากาศภาศกรวีวงษ องค์บรมาธิเบศตรีภูวเนตวรนารถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวะไศรย สมุทยวโรมนต์ สกลจักรวาลาทิเบนทรสุริเยนทราธิบดินท์หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีวิบูลย์คุณรูจีจิตรฤทธิราเมศวร วรธรรมมิกราชเดโชไชยพรหมเทพาดิเทพตรีภูวนาธิเบต โลกเชษฐวิสุทธิมกุฎปเทศคตามหาพุทธางกูร บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวกรุงพระมหานครทวาราวดีศรีอยุทธยามหาดิหลกภพนพรัตนราชธาณีบูรีรมย์. พระองค์ทรงทศพิธราชธรรม แลสถิตยในพุทธารรถจรรยา ดารรถจรรยา โลกรรถจรรยา มหิมาด้วยพุทธาการกโพธิสมภาร มเหาฬารมหัศจรรย์อนันตปัญญาฤทธาพล พหลเดโชนุภาพปราบบรราชอริศริเดชะตระบะอันมหิมา คือองค์สฤษดิรักษสังหารวิสาร วิสุทธิอุดมเทพสมบุรณในพระองค์บมิขาด อาทิคือ พระพรหม พระพิศณุ พระอิศวร พระพายุ พระพิรุณห์ พระเพลิง พระยม พระไพรสพ พระอินทร พระจันทราทิตย์. แลพระองค์ทรงฤทธิสิทธิศักดิอนันตคุณ อดูลยาดิเรกอเนกคุณมหามหรรพณพ สบสกลเวทศิลปาคมอุดมยศโยคสกลโลกโลกยมกุฎวิสุทธิจุธามณีรัตน สวัศดิมงคลสกลเหนือศรีโรตมางค์ มหากระษัตรีย์เจ้าทั้งปวงในสากลชมภูทวีป. แลพระบาทบรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจ์เสวยไอยสุริยาธิปไตยบูรีรัตน์ สมบุรณมั่งคั่งด้วยช้างม้ารี้พลพหลแสนยากร สมณพราหมณาจาริย์จัตรพรรค์ ประชาชนคณสบไสมย์ประเทษนาๆ พรรคนิกรสโมสรบรมศุขเกษมเปรมประชาราษฎร เลิศล้นพ้นกว่าโบราณราชประเพณี. มีพระราชหฤไทยไกลกรุณาปรานีสัตวโลกากรทั้งหลาย หมายให้นฤทุกข์ปลุกใจยราษฎร ให้สารติเกษมศุขโดยยุติธรรมอันบวรขจร พระเกียรติปรากฎพระยศเซงซ่านทั่วทิศศานุทิศ แลท้าวพระยามหากระษัตราธิราชเจ้าทั้งหลาย ก็แต่งเครื่องบรรณาการ ให้ทูตานุทูตมาถวายบังคมพระบาทสมเดจบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวมิได้ขาด แลพระบาทสมเดจบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจสร้างพระโพธิสมภารบำเพญพุทธการกธรรมบรมารรค อาทิ คือสร้างพระวรเชษฐารามมหาวิหารอันรจนา พระพุทธปฏิมามหาเจดีย์บันจุพระษาริริกะธาตุสำเหร่จ์กุฎีสถานปราการ สมด้วยอรัญวาศรี. แล้วก็สร้างพระไตรปิฎกธรรมจบบริบูรณทั้งพระบาฬี อรรถกถา ฎีกาคันถีวิวรณ์ทั้งปวง จึ่งแต่งหอพระสทธรรมเสรจ ก็นิมนตพระสงฆ์อรัญวาศรี ผู้ทรงศีลาทิคุณอันสันเลขมาอยู่ครองพระวรเชษฐารามนั้นแล้ว ก็แต่งขุนหมื่นหลวงไว้สำหรับอารามนั้น แลจำหน่ายพระราชทรัพย์ไว้ให้แต่งจัตุปัจจัยทาน ถวายแก่พระสงฆเปนนิจกาล แล้วให้แต่งโรงทานศาลา แลประสาทพระราชทรัพยให้แต่งโภชนาหารจรรหัน ถวายแก่ภิกขุสงฆเปนนิตยพัตบมิขาด ๚ะ๏ พระบาทสมเดจเอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชโองการตรัสสั่งแก่ท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งปวงให้แต่งการพระบรมสพสมเดจพระพุทธเจ้าหลวง แลแต่งเมรุมาศสูงเส้นสิบเจ็ดวา ประดับด้วยเมรุทิศ เมรุราย ราชวัด ฉัตรนาค ฉัตรเบญจรงค์นาๆเสรจ ก็อัญเชิญพระบรมสพเสดจ์เหนือกฤษดาธารอันประดับด้วยอะภิรุมกลิ้งกลดรจนา แลท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลายมาประดับแห่ห้อมล้อมมหากฤษฎาธาร ก็อัญเชิญพระบรมสพเสด็จลิลาโดยรัฐยาราชวัด ไปยังเมรุมาศด้วยยศบริวาร แลเครื่องเสการบูชาหนักหนา. พระบาทสมเดจเอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสดจไปถวายพระเพลิงพระบรมสพสมเดจพระพุทธเจ้าหลวง ให้นิมนต์พระสงฆ์สบสังวาศหมื่นหนึ่ง ถวายพระราชทานเครื่องอัฐบริขาร ทักษินาบูชา พระสงฆ์ทั้งปวงเปนมโหฬาร. ๚ะ๏ ฝ่ายพระยาตองอูเมื่อทับสมเดจพระนเรศวรเปนเจ้า ล่ากลับไปกรุงพระนครศรีอยุทธยาแล้ว พระยาตองอูก็ทำนุบำรุงพระเจ้าหงษาวดีไว้เปนอันดีหวังจะเกลี้ยกล่อมหัวเมืองทั้งปวงให้ราบคาบเปนปรกติก่อนจึ่งจะคิดการใหญ่ต่อไป จึ่งมีหนังสือไปประกาษแก่หัวเมืองทั้งปวงว่า เราผู้เปนราชนัดาพระเจ้าหงษาวดี คิดถึงพระคุณสมเดจพระบิตุลาธีราช จึ่งให้โหราพฤฒาจารยขับไล่ดูชะตาเมืองหงษาวดี ที่จะรับศึกพระนครศรีอยุทธยา โหราพฤฒาจารยผู้รู้แท้ทายว่า ชะตาเมืองหงษาวดีขาดสูญแล้ว ที่จะรับรองข้าศึกนั้น ถึงมานว่าเทวดามาช่วยก็ไม่รอดเลยในที่จะปราไชยเปนมั่นคง แล้วว่าชะตาเมืองตองอูครั้งนี้ได้จัตุรงคโชก ถึงแม้จะมีฆ่าศึกมามากดุจคลื่นในพระมหาสมุทก็จะปราไชยไปเอง. เพราะเหตุฉนี้เราจึ่งเชิญเสดจพระเจ้าหงษาวดี แลกวาดครอบครัวขึ้นมาตั้งรับหมั้นณเมืองตองอู ทับพระนเรศวรนครศรีอยุทธยายกมาติดเมืองตองอู ถึงหักหารปีนปล้นเปนหลายครั้งเสียทแกล้วทหารมาก แลตั้งล้อมอยู่ถึงสามเดือนเสศก็มิได้จนล่าทับไป ก็เปนบำเหนจมือเมืองตองอูรับทับพระนเรศวร เอาไชยชนะไว้ได้ ท่านทั้งปวงก็ย่อมแจ้งอยู่ แลพระเจ้าหงษาวดีเคยเปนศุขอยู่ในเมืองหงษาวดีนั้นฉันใด เราก็อุษ่าห์สนองพระคุณให้เปนศุขดุจดังนั้น. แลหัวเมืองทั้งปวงอย่าได้กินแหนงสนเท่ห์สิ่งใดเลย เคยทำราชการฉันใด ก็ให้ทำดุจกาลก่อนนั้นเถิด. ฝ่ายหัวเมืองทั้งปวงได้แจ้งในหนังสือพระยาตองอูดั่งนั้น. ลางเมืองก็เชื่อลางเมืองคิดสงไสยเปนอันมาก. แต่แต่งคนให้ขึ้นไปทรับทราบสืบสวนดูถึงเมืองตองอูเนื่อง ๆ ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๕๓ ปีเถาะตรีศก ก็ได้เนื้อความว่าพระยาตองอูทำนุบำรุงพระเจ้าหงษาวดีไว้ทั้งนี้ หาโดยสัจกตัญญูสุจริตไม่. ความคิดทั้งนี้เปนเล่กเทห์พระมหาเถรเสียมเพรียมบอก หัวเมืองทั้งปวงคิดกันจะยกไปรบชิงพระเจ้าหงษาวดีมาให้จงได้ ต่างเมืองก็จัดแจงไพร่พลเสรจแล้วยกขึ้นไปถึงเมืองจิตรตอง. ขณะนั้นพระยาตองอูรู้ จึ่งให้นิมนต์พระมหาเถรเสียมเพรียมเข้ามาแล้วนมัสการบอกว่า บัดนี้หัวเมืองทั้งปวงรู้คิดกันยกมาจะรบเมืองเรา พระผู้เปนเจ้าช่วยคิดให้โยมด้วย.พระมหาเถรจึ่งว่าจะกลัวอะไรแก่อ้ายหัวเมืองเหล่านี้ แต่จะตีด้วยลมปากก็จะกลับไปเอง พระยาตองอูได้ฟังมีความยินดีนัก กราบนมัสการพระมหาเถระแล้ว ๆ เล่า ๆ พระมหาเถรจึ่งกระซิบบอกอุบายให้พระยาตองอูทุกประการ แล้วก็ลาไปอาราม. พระยาตองอูจึ่งแต่งเปนหนังสือรับสั่งพระเจ้าหงษาวดี ไปถึงท้าวพระยาหัวเมืองทั้งปวงว่าพระเคราะห์เมืองหงษาวดีร้าย พระยาตองอูหลานเรามีความกตัญญูกลัวจะเสียแก่ฆ่าศึก เสียดายรามัญทั้งปวงจะไปเปนเชลยกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาจึ่งรับเรามาไว้ณเมืองตองอู ได้พ้นจากเงื้อมมือปจามิตรก็ค่อยเปนศุขอยู่ ถ้าครบเจ็ดปีสิ้นพระเคราะห์แล้ว ก็จะกลับลงไปตั้งเมืองหงษาวดีดั่งเก่า แลซึ่งหัวเมืองทั้งปวงคบคิดกันยกทับมาทั้งนี้จะเปนกระบถฤๅ ฝ่ายท้าวพระยารามัญหัวเมืองทั้งปวง ได้แจ้งในหนังสือรับสั่งดั่งนั้นก็สำคัญว่าจริง ตกใจกลัวเปนกำลัง ก็ภากันเลิกทับกลับไป. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๕๔ ปีมโรงจัตวาศก นักส้างบุตรพระยาตองอูจึ่งคิดว่า บิดาไปภาเอาพระเจ้าหงษาวดีมาไว้ ให้ศึกพระนครศรีอยุทธยามาติดแทบจะเสียเมืองครั้งหนึ่งแล้ว แล้วหัวเมืองทั้งปวงก็เปนเสี้ยนศัตรู. ภากันยกรี้พลมาจะตีเอาเมืองอีกเล่า แลเหตุที่เปนทั้งนี้เพราะพระเจ้าหงษาวดีองค์เดียว. ถ้าจะไว้ไหนเลยศึกจะวายเมือง จำจะลอบล้างพระเจ้าหงษาวดีเสียให้ดับสูญแล้ว เมืองตองอูจึ่งจะเปนศุข คิดแล้วก็ประกอบยาพิศลอบใส่ในเครื่องเสวย พระเจ้าหงษาวดีมิทันรู้เสวยเข้าไป พระองค์ก็ดับสูญสวรรคต พระยาตองอูรู้ว่าพระเจ้าหงษาวดีสวรรคาไลยแล้วก็ตกใจ จึ่งให้ไต่สวนไล่เลียงก็ได้ความว่า นักส้างผู้บุตรประกอบยาพิศพ์ให้พระเจ้าหงษาวดีเสวยเข้าไป พระยาตองอูรู้เหตุกระหนักแล้วถอนใจใหญ่มิรู้ที่จะทำประการใด จึ่งให้นิมนต์พระมหาเถรเสียมเพรียมมาแล้ว จึ่งแจ้งเหตุทุกประการ. พระมหาเถรได้แจ้งดั่งนั้นก็ตกใจ จึ่งว่า เออการเราเสียแล้ว. บุตรท่านเปนคนโฉดเขลานักหาปัญญามิได้สมด้วยพระบาฬีว่า มีบุตรถ้าไม่ดีแล้วก็เปนสัตรูแก่บิดามารดา ท่านนี้อุประมาดั่งพฤกษาชาติอันจะตายเพราะลูก. พระยาตองอูได้ฟังพระมหาเถรว่า ก็โทมนัศน้อยใจแก่บุตรเปนกำลัง จึ่งกราบนมัสการพระมหาเถรแล้วว่า พระผู้เปนเจ้าจะคิดฉันใดดี พระมหาเถรจึ่งว่าการสิเสียไปไม่สมคเนแล้ว จะต้องการอันใดให้หัวเมืองทั้งปวงเปนเสี้ยนสัตรูเล่า เราจะเอาความดีไว้เบื้องน่าเถิด. ท่านจงให้ชาวเมืองโกนศีศะเสียทั้งเมือง แล้วมีหนังสือไปถึงหัวเมืองทั้งปวงว่า พระเจ้าหงษาวดีทรงประชวรได้สามวันเสดจสวรรคต เราผู้เปนราชนัดาจะทำการถวายพระเพลิงสนองพระคุณให้ถึงขนาด แลหัวเมืองทั้งหลายผู้ใดรู้พระคุณจะมาช่วยกันก็ตามมิมาก็ตามอัชฌาไศรยนั้นเถิด แลตัวเราถึงถวายพระเพลิงเสร๊จแล้ว ก็ไม่คิดตั้งตัวเปนใหญ่หามิได้ จะไปพึ่งพระบรมโพธิสมภาร สมเดจพระนเรศวรบพิตรเปนเจ้ากรุงพระนครศรีอยุทธยาแล้ว ถ้าท่านมีหนังสือไปดั่งนี้หัวเมืองทั้งปวงจะเหนความจะสิ้นอาฆาฎจองเวร. ถ้าผู้ใดมาก็เหนเปนสุจริต ถ้ามิมาก็จะไปพึ่งกรุงพระนครศรีอยุทธยา ดีร้ายก็จะเอาคดีอันนี้ไปเล่าความดีก็จะมีแก่เราสืบไป พระมหาเถรชี้แจงบอกอุบายให้พระยาตองอูแล้วสั่งว่า ซึ่งจะแต่งการถวายพระเพลิงนั้นให้ค่อยทำช้า ๆ ความตีจึ่งจะฦๅขจรไปในนาๆประเทศ สั่งแล้วพระมหาเถรก็ลาไปอาราม. พระยาตองอูก็มีหนังสือไปถึงหัวเมืองทั้งปวง ดุจคำพระมหาเถรทุกประการ. ท้าวพระยาหัวเมืองทั้งปวงเหนผู้ถือหนังสือโกนศีศะ แล้วแจ้งในหนังสือว่าพระเจ้าหงษาวดีเสดจสวรรคาไลยก็มีความรังเกียจกินแหนง ต่างคนก็โทมนัศโสกาดุรภาพถึงพระเจ้าหงษาวดีเปนอันมาก ที่มีกตัญูรู้พระคุณก็มายังเมืองตองอู ช่วยแต่งการที่ถวายพระเพลิงเปนอันมาก ลางเมืองก็มิได้มาช่วยพระยาตองอู ไปเข้าหาพระยาทะละอันสมเดจ์พระนเรศวรเปนเจ้า ให้อยู่สำเรจราชการในเมืองเมาะตะมะเมาะลำเลิ่ง ฝ่ายพระยาตองอูครั้นตกแต่งการสพพระเจ้าหงษาวดีเสจแล้ว ก๊ถวายพระเพลิงโดยราชประเวณีพระมหากระษัตราธิราชเจ้าสืบมา ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๕๕ ปีมเสงเบญจศก ณเดือนญี่ พระยาตองอูก็แต่งราชทูตอุปทูตตรีทูต ถือพระราชสาสน์คุมช้างม้าเครื่องราชบรรณาการ มาถวายแด่พระบาทสมเดจ์เอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ณกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา ขอพึ่งพระราชสมภารต่อไป. ในเดือนนั้นพระยาล้านช้าง ก็แต่งราชทูตอุปทูตถือพระราชสาสน์ แลเครื่องราชบรรณาการมาถวายบังคมสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว ขอพึ่งโพธิสมภาร. ทรงพระกรุณาให้เบิกทูตานุทูตมาถวายบังคมในพระที่นั่งมังคลาภิเศก ตรัสพระราชปฏิสัณฐารตามธรรมเนียม แล้วตรัสให้เลี้ยงดูแขกเมือง แลพระราชทานรางวัลโดยขนาด ในปีมเสงเดือนสามนั้น ข้าหลวงผู้รั้งเมืองเมาะลำเลิ่ง ได้พระยาพะโรแลมอญกระบถทั้งปวงอยู่ริมฝั่งสโตงนั้นมาถวาย แลเมงมอญอันอยู่ในเมืองเมาะลำเลิ่ง เมาะตมะนั้นก็ราบคาบไปจนเมืองตองอู. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๕๖ ปีมเมียฉศก พระบาทสมเดจ์พระเอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชโองการตรัสแก่พระยาศรีพิศวกรรม ให้สฐาปนาพระที่นั่งอรรณพ์อันอลงกฎรจนา ดูมหิมาด้วยแก้วกาญจนพิศดาร จัตุรมุขรัตนาศกรนกกุฎาคารปราลีเรืองรัตนชัชวาลย์ มโหฬารด้วยขบวนเสรจ์. จึ่งตรัสสั่งให้ตั้งโรงระบำซ้ายขวา ก็ให้แต่งเรือต้นทั้งปวงเปนอาทิ คือเรือไชยสุพรรณหงษพยุหบาตรา วรสุพรรณหงษพยุหบาตราพระศรีสมรรถไชย ไกรษรมุขพิมานไชยจักรรัตน แลเรือพระครุทธพาหน เรือไชยเรือรูปสัตวทั้งปวง แลเรือสิงหโตอินทรี เรือหัสดินทร เรือนระสิงห์ แลเรือจากพราก แลเรือแซ่ทอง พิฆาฎทอง แลเรือเลาคาอันได้มาแต่เมืองหงษาวดี แลเรือต้นทั้งปวงอันอลงกฎรจนาโอภาษพรรณราย โดยอันดับต้นเชือกแลปลายเชือก แลพนฝีพายทั้งปวงนั้น ประดับด้วยเครื่องอาภรณเสื้อทอง หมวกทอง พายทอง. แล้วก็ให้แต่งเรือจำนำท้าวพระยาสามนตราชเสนาบดีมนตรีมุขลูกขุนทั้งหลายหมายเปนอาทิ. คือราชสีห์คชสีห์แลเรือท้าวพระยาสวรรคโลกย์ กำแพงเพชรศุโขไทย แลเรือไชยจัตุสดม แลเรือเหนือน้ำท้ายน้ำ แลเรือจำนำขุนช้าง ขุนม้า ขุนตำหรวจ ขุนดาบ ขุนการ ทหารพลเรือนทั้งปวง ก็ให้ตรวจตราเปนคู่แข่งต่าง ๆ ครั้นถึงถิ่นถานการพระราชพิธีอาศวยุทธ ก็ให้ประดับพระที่นั่งอรรณพ์ด้วยเครื่องอลังงการ มเหาฬารพิจิตรโอภาษชัชวาลย์ แลจามรทั้งปวง จึ่งให้เอาเรือครุทธพาหนอันรจนาประดิษฐาน พระพิศวกรรมออกตั้งฉาน. แลให้พระราชครูทั้งสี่กระทำการพระราชพิศธีอาศวยุทธ. จึ่งให้ตั้งเรือแห่แลให้เทียบเรือต้น แลเรือแข่งทั้งปวงตามขบวน. จึ่งให้เบิกพระราชกุมาร แลพระราชนัดา. แลท้าวพระยาสามนตราชมหาเสนาบดีทั้งปวง มาประชุมในน่าพระที่นั่งอรรณพ์. แลให้เบิกทูตานุทูตอันมาแต่เมืองตองอู แลเมืองล้านช้างเข้ามาถวายบังคม. แลให้เบิกพระสังฆราชคามวาศรี อรัญวาศรี แลพระสงฆสบสงวาศขึ้นนั่งในธรรมาศน์ ที่จะถวายพระพรนั้นเสรจ์. ๚ะ๏ พระบาทสมเดจ์บรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสดจ์ด้วยพระราเชนทรยานมายังพระที่นั่งอรรณพ์ จึ่งตีอินทเภรีเปนปถม. พระบาทสมเดจ์พระบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสดจ์ออกในพระที่นั่งครุทธพยุหอันรจนา จึ่งตีอินทเภรีเปนทุติยวาร ประโคมฆ้องกลองดูริยดนตรีทั้งปวง จึ่งเบิกเรือต้นพระสุพรรณหงษ แลวรสุพรรณหงษพยุห์บาตรา ให้เรือต้นเรือคู่แข่งทั้งปวง ขึ้นมาถวายบังคมพระบาทสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว โดยการพระราชพิธีอาศวยุทธพระบาทสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก๊ประสาทเรือต้นไชยสุพรรณหงษพยุหบาตรา แลวรสุพรรณหงษพยุหบาตรา แลเรือต้นทั้งปวงพระราชทานแก่พระสังฆราชคามวาศรีอรัญวาศรี พระสงฆมหานาคพระราชาคณะทั้งปวง อันเข้ามาถวายพระพรนั้น แล้วก๊เอาเงินสนองเรือต้นทั้งปวงเปนเครื่องบูชาสการ จัตุปัจจัยทานแก่พระสงฆทั้งหลาย ครั้นเรือต้นแลเรือคู่แข่งทั้งปวงถวายบังคมแล้ว แลพายขึ้นไปอยู่โดยทำเนียบเทียบเปนคู่เข้าขนัดที่ระวางนั้นโสด จึ่งเอาธงอาศวยุทธในน่าพระที่นั่งให้เปนสำคัญ ก๊ลั่นฆ้องไชยวางเรือต้นศรีสามรรถไชยไกรษรมุข พายแข่งกันลงมาเปนอาทิ แล้วก๊วางเรือคู่แข่งกันลงมาโดยอันดัพ ครั้นแข่งเรือทั้งปวงเสร็จแล้ว จึ่งเลี้ยงลูกขุนแลประสาทพระราชทานรางวัลแก่ผู้ชนะทั้งปวงเสร็จ ๚ะ๏ พระบาทสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จประเวศน์ยังพระราชมณเฑียร ในบัดเดี๋ยวนั้น พระบาทสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชโองการตรัสแก่พระยารัตนบาลให้รจนาพระพุทธปฏิมากรสมาธิ เปนพระพุทธรูปสนองพระองค์ห้าพระองค์ พระองค์หนึ่งบุทองนพคุณทรงเครื่องมงกุฎกุณฑลพาหุรัตน์ย่อมประดับเนาวรัตน์ แลบันลังก์นั้นบุทองจำหลักประดับเพชรัตน องค์หนึ่งบุทองนพคุณ บันลังก์นั้นบุทองจำหลัก องค์หนึ่งนั้นเปนพระพุทธปฏิมานาคาศน์ พระพุทธรูปองคนั้นรจนาด้วยนาคสวาศ แลเครื่องทรงทองจำหลักประดับเนาวรัตน แลบันลังก์นั้นรจนาด้วยนาคสวาศ พระพุทธปฏิมากรบุเงินสององค แลถานเงินจำหลักสารพางค์ ๚ะ๏ ครั้นเสด็จพระบาทสมเดจบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก๊มีพระราชโองการตรัสแก่พระยาจักรี ให้แต่งการพระราชพิธีไล่เรือแลให้รับพระพุทธปฏิมากรอันให้สถาปนานั้น ถึงเดือนอ้ายขึ้นสิบสามค่ำเพลารุ่งแล้วสองนาฬิกา ให้เอาเรือพระที่นั่งไชยสุพรรณหงษพยุหบาตรา แลวรสุพรรณหงษพยุหบาตรามาประทับขนาน แลให้เอาเรือพระครุทธพาหนะออกตั้งฉาน แลให้เทียบเรือต้นศรีสามรรถไชย ไกรษรมุขพิมานไชยจักรัตน แลเรือต้นทั้งปวงโดยขบวนแห่ แล้วก็เทียบเรือจำนำท้าวพระยาลูกขุนทั้งปวงตั้งแห่โดยขบวนสรัพ ๚ะ๏ จึ่งอัญเชิญพระพุทธปฏิมากรทองนพคุณทรงเครื่องนั้น ขึ้นช้างต้นพระมหาคชาธารคชศรี แลเชิญพระปฏิมากรทองนพคุณองค์หนึ่งเล่าขึ้นช้างพระศรีไชยศักดิ แลพระคชาธารทั้งสองนี้ ประดับด้วยเครื่องคชาภรณ์ แลผูกเครื่องสำหรับพิไชยสงคราม จึ่งรับพระพุทธปฏิมากรทั้งสองพระองค์ แต่น่าพระราชวังลงไปประทับเกย แลเอาเรือวรสุพรรณหงษพยุหบาตราเลื่อนเข้ามารับพระพุทธปฏิมากร ทั้งสองพระองค์ออกไปตั้งชลมารคเสร๊จ พระบาทสมเด๊จบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก๊เสด็จลงเรือไชยสุพรรณหงษพยุหบาตรา ๚ะ๏ ครั้นได้อุดมเพลาก็คลายเรือพระที่นั่งไชยสุพรรณหงษออกไปจากขนาน แลเรือวรสุพรรณหงษ ซึ่งรับพระพุทธปฏิมากรนั้นไปเบื้องน่า แลประดับด้วยเรือแห่อันรจนาดาดาษโดยกระบวนน่าหลัง พระบาทสมเดจบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก๊เสดจพยุหบาตราลงไปประทับขนานในบางกดาน ดำหรัศให้เลี้ยงท้าวพระยาเสนาบดีมุขมนตรีทั้งหลายเสรจ ก๊ให้เอาเรือบันดาเข้าขบวนไล่ทั้งปวง ออกจับขบวนโดยขนัด แลเรือบันดาแห่พระบาทสมเดจบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งปวงนั้น ก็ไว้ให้แห่พระพุทธปฏิมากรเจ้าขึ้นมา ครั้นถึงเวลาชายแล้วสองนาฬิกาห้าบาท สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวก๊ทรงเครื่องสรรพาภรณบวรวิภูษิตากาญจนเสรจแล้ว เสดจทรงพระที่นั่งบุษบกรัตนมหาพิมานอลังการ กลางเรือไชยสุพรรณหงษพยุหบาตราคล้าเคลื่อนโดยขบวน เสดจประเวศน์มาประทับท่าขนานมหาวาศุกรี คอยทอดพระเนตรขบวนแห่พระพุทธปฏิมากร อันมเหาฬาราดิเรกด้วยเรือต้นทั้งปวงนั้น ครั้นเรือพระพุทธปฏิมากรประทับขนานแล้ว ก๊อัญเชิญพระพุทธปฏิมากรเสดจทรงพระคชาธาร แห่กลับไปประดิษฐานไว้ ณพระศรีสรรเพชดารามแล้ว ให้ตั้งการสมโพชเล่นมโหรศพเจดวันเปนมเหาฬารยิ่งนัก ๚ะ๏ ครั้นณวันอาทิตย์เดือนญี่ขึ้นห้าค่ำ ทูตานุทูตเมืองล้านช้างเมืองตองอูเข้าเฝ้ากราบถวายบังคมทูลลา พระราชทานรางวัลแก่ทูตานุทูตทั้งสองเมืองเปนอันมาก ฝ่ายทูตานุทูตต่างคนต่างกลับไปเมือง อันพระเกียรติยศแผ่ไพศาฬไปทุกนาๆประเทศธาณีน้อยใหญ่ทั้งปวงก๊เกรงพระเดชเดชานุภาพเปนอันมาก พระนครศรีอยุทธยาครั้งนั้นเกษมศุขสมบุรณยิ่งนัก ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๕๗ ปีมแมสัปตศก ทรงพระกรุณาตั้งพระราชกำหนดกฎหมายพระไอยการ แลสร่วยสมพัจษรอากรขนอนตลาด แลพระกัลปนาถวายเปนนิจพัตรแก่พระสังฆราชาคณะคามวาศรีอรัญวาศรีบรีบุรณ ๚ะ๏ สมเดจพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชบุตรสองพระองค องค์หนึ่งทรงพระนามเจ้าฟ้าสุทัศน พระอนุชาทรงพระนามเจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย ประชวรพระยอดเสียพระเนตรข้างหนึ่ง สมเดจพระเจ้าอยู่หัวจึ่งยกพระราชบุตรผู้พี่ขึ้นเปนมหาอุปรา อยู่มาสี่เดือนเศศ พระมหาอุปราชกราบทูลพระกรุณาว่า จะขอพิจารณาคนออก สมเดจพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่าจักเปนกระบถฤๅ พระมหาอุปราชความกลัวสมเดจพระราชบิดาเปนกำลัง ออกจากที่เฝ้าเสดจมาพระราชวังบวรสถานมงคล เพลาค่ำก็เสวยยาพิศสวรรคต สมเดจพระเจ้าอยู่หัวทรงโทมนัศโศกาดุรภาพถึงพระราชโอรสเปนอันมาก แล้วให้แต่งการพระราชทานเพลิงพระสพตามอย่างมหาอุปราช พระบาทสมเดจบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวตั้งพระไทยบำเพญทานการกุศลเปนอเนกนุประการ ๚ะ
20
๏ แผ่นดินเจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย ๚ะ
๏ ครั้นลุศักราช ๙๖๓ ปีฉลูตรีศก ทรงพระประชวรหนักเสดจสวรรคตอยู่ในราชสมบัติเจดพรรษาจึ่ง ท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลาย พร้อมด้วยพระสังฆราชคามวาศรีอรัญวาศรี ปฤกษากันเสร็จอัญเชิญสมเดจ์พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย ซึ่งเสียพระเนตรข้างหนึ่งขึ้นผ่านพิภพไอสวรรยาธิปัตไตยถวัลยราชตามประเภณีสืบไป สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้แต่งการถวายพระเพลิงพระบรมสพสมเด็จพระราชบิดาโดยราชประเภณีพระมหากระษัตรียเจ้าแต่ก่อนมา. ๚ะ
21
๏ แผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม ๚ะ
๏ ลุศักราช ๙๖๔ ปีขารจัตวาศก พระศรีสิลปบวชอยู่วัดระฆัง เพราะรู้ไตรยปิฎกสันทัด ได้สมณถานันดรเปนพระพิมลธรรมอนันตปฤชา ชำนาญทั้งไตรยเพทางคสาศนมีสิษโยมมาก ทั้งจมื่นศรีศรรักษก็ถวายตัวเปนบุตรเลี้ยง ครั้งนั้นเชี่ยวชาญคนทั้งหลายนับถือมาก จึ่งคิดกันกับจมื่นศรีศรรักษแลสิษโยมเปนความลับ ซ่องสุมพักพวกได้มากแล้ว ก็ปริวัตออกเพลาพลบค่ำ ก็ภากันไปซุ่มพลณปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ครั้นได้อุดมนักขัตฤกษก็ยกพลมาฟันประตูมงคลสุนทรเข้าไปได้ในท้องสนาม ขุนนางซึ่งนอนเวรเอาความกราบทูล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตกพระไทยตลึงไปเปนครู่ จึ่งตรัสว่าเวราแล้วก็ตามเถิด แต่อย่าให้ลำบากเลย พระพิมลธรรมเข้าในพระราชวังได้ ให้กุมเอาพระเจ้าแผ่นดินไปให้พันทนาไว้ให้มั่นคง รุ่งขึ้นให้นิมนต์พระสงฆบังสกุลร้อยหนึ่ง ให้ทูปเทียนสมาแล้ว ก๊สำเรจโทษด้วยท่อนจันทน์ เอาพระสพไปฝังเสียณวัดโคกพระยา พระศรีเสาวภาคยอยู่ในราชสมบัติปีหนึ่งกับสองเดือน. ๚ะ๏ สมเด็จพระพิมลธรรมเสด็จขึ้นผ่านพิภพกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยาทรงพระนามสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงธรรมอันมหาประเสริฐ. ทรงพระกรุณาให้จมื่นศรีศรรักษเปนอุปราช อยู่เจ็ดวันพระมหาอุปราชประชวรลงสามวันสวรรคต สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ให้แต่งการพระราชทานเพลิงตามอย่างมหาอุปราช. ๚ะ๏ ครั้งนั้นยี่ปุ่นเข้ามาค้าขายหลายลำ ยี่ปุ่นโกรธว่าเสนาบดีมิได้เปนธรรมคบคิดกันเข้าด้วยพระพิมลธรรม ฆ่าพระมหากษัตรียเสีย ยี่ปุ่นคุมกันได้ประมาณ ๕๐๐ ยกเข้ามาในท้องสนามหลวง คอยกุมเอาพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกมาฟังพระสงฆบอกหนังสือ ณะพระที่นั่งจอมทองสามหลัง ขณะนั้นภอพระสงฆ์วัดประดู่โรงธรรมเข้ามาแปดรูป ภาเอาพระองค์เสด็จออกมาต่อน่ายี่ปุ่น ครั้นพระสงฆภาเสด็จไปแล้ว ยี่ปุ่นร้องอื้ออึงขึ้นว่าจะกุมเอาพระองค์แล้วเปนไรจึ่งนิ่งเสียเล่า. ยี่ปุ่นถุ่งเถียงกันเปนกุลาหล ฝ่ายพระมหาอำมาตยคุมพลได้ไล่รบยี่ปุ่นล้มตายเปนอันมาก ยี่ปุ่นแตกไปจากพระราชวัง ลงสำเภาหนีไป. ตั้งแต่นั้นมาสำเภาเมืองยี่ปุ่นก็มิได้เข้ามาค้าขายณะกรุงเทพมหานครอีกเลย พระมหาอำมาตย์ให้ไปเชิญเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้าพระราชวัง เพลาเช้าเสด็จออกท้องพระโรงพร้อมด้วยท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลาย ทรงพระมหากรุณาตรัสว่า ราชการครั้งนี้ พระมหาอำมาตยมีความชอบมาก ให้เปนเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงษ พระราชทานเครื่องอุปโภกบริโภกเปนอันมาก แล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการ ให้วิเศศแต่งเครื่องพระกระยาหารถวายพระสงฆวัดประดู่โรงธรรมเปนนิจพัตรอัตรา. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๖๕ ปีเถาะเบญจศก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ชักพระมงคลบพิตรอยู่ฝ่ายทิศรตวันออกมาไว้ฝ่ายทิศรตวันตก แล้วก็ให้ก่อพระมณฑปใส่ ๚ะ๏ ในปีนั้นมีหนังสือเมืองตนาวศรีเข้ามาว่า กองทับพม่ามอญมาล้อมเมือง ขอพระราชทานกองทับมาช่วย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสให้พระยาพิไชยสงครามเปนแม่ทับออกไปถึงเมืองสิงขร นายทับนายกองบอกเข้ามาว่า เมืองตนาวศรีเสียแก่ฆ่าศึกแล้ว สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวให้หากองทับกลับ ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๖๘ ปีมเมียอัฐศก ทรงพระกรุณาให้พูนดินน่าพระวิหารแกลบไว้เปนที่สำรับถวายพระเพลิง ในปีนั้นเมืองสระบูรีบอกมาว่า พรานบุญภบรอยเท้าอันใหญ่บนไหล่เขา เหนประหลาด สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวดีพระไทยเสด็จด้วยเรือพระที่นั่งไชยพยุหบาตราพร้อมด้วยเรือท้าวพระยาสามนตราชดาษดาโดยชลมารค นัทธีธารประทับท่าเรือ รุ่งขึ้นเสด็จทรงพระที่นั่งสุวรรณปฤษฎางค พร้อมด้วยคเชนทรเสนางคนิกรเปนอันมาก ครั้งนั้นยังมิได้มีทางสถลมารค พรานบุญเปนมัรรคุเทศกนำลัดตัดดงไปถึงเชิงเขา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสทอดพระเนตรเหนแท้ว่า เปนรอยพระบรมพุทธบาทมีลายลักษณ กงจักรประกอบด้วยอัฐตระสะมหามงคลร้อยแปดประการ สมด้วยพระบาฬีแล้ว ต้องกับเมืองลังกาบอกเข้ามาว่า กรุงศรีอยุทธยามีรอยพระพุทธบาทอยู่เหนือยอดเขาสุวรรณบรรพต ก็ทรงพระโสมนัศปรีดาปราโมช ถวายทศนัขเหนือพระอุตมางคศีโรตมด้วยเบญจางคประดิฐเปนหลายครา กระทำนมัศการสการบูชาด้วยทูปเทียนสุคันทรศจะนับมิได้. ทั้งท้าวพระยาเสนาบดีกระวีราชนักปราชบัณฑิตยชาติทั้งหลาย ก็ถวายวันทนประนามน้อมเกล้าด้วยเบญจางคประดิฐ ต่างคนมีจิตรโสมนัศปราโมชยิ่งนัก กระทำสการะบูชา สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวอุทิศถวายวนาสณฑเปนบริเวน ออกไปโยชนหนึ่งโดยล้อมรอบ แล้วทรงพระกรุณาตรัสสั่งให้ช่างจับการสฐาปนาเปนมณฑปสรวมพระบรมพุทธบาท. แลสร้างพระอุโบสถพระวิหารการบุเรียญตึกกว้าน กุฎีสงฆเปนอเนกนุประการ แล้วให้ฝรั่งสร่องกล้องตัดทางสถลมารคกว้างสิบวาตรงตลอดถึงท่าเรือ ให้แพ่วถางทุบปราบให้รื่นราบเปนถนลหลวงเสร็จ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับถึงท่าเรือ ทรงพระกรุณาสั่งให้ตั้งพระราชนิเวศตำหนักฟากตวันออก ให้ชื่อตำหนักท่าเจ้าสนุกนิ์. ๚ะ๏ ขณะนั้นฝีพายเอาดอกเลาผูกปัตถวีเรือไชย ทอดพระเนตรเหนตรัสว่างานดีอยู่ ครั้นเสด็จกลับถึงกรุง สั่งให้แปลงปัตถวีเรือไชยเปนเรือกิ่ง ทรงพระกรุณาเร่งรัดให้ช่างสร้างพระมณฑบพระพุทธบาท แลอาวาศบริเวณทั้งปวงสี่ปีจึ่งสำเร็จ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นไปทำการฉลองมีงานมหรสพสมโพธเจ็ดวันแล้วเสร็จ เสด็จยังกรุงเทพมหานคร ในปีนั้นปรางค์วัดพระมหาธาตุทำลายลงจนชั้นครุทธพื้นอัศดงคต์. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๘๙ ปี ทรงพระกรุณาแต่งพระมหาชาติคำหลวง แลสร้างพระไตรยปิฎกธรรมไว้สำรับพระสาศนาจบบริบูรณ ๚ะ๏ ครั้น ณวันประหัศเดือนยี่ขึ้นหกค่ำ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวนเดือนหนึ่งกับสิบหกวันเสด็จสวรรคต พระเจ้าทรงธรรมอยู่ในราชสมบัติ ๒๕ พรรษา พระองคมีพระราชบุตรสามพระองค์ พระองค์ผู้เปนปถมนั้น ทรงพระนามพระเชษฐาธิราชกุมาร พระองค์ที่สองนั้นทรงพระนามพระพันปีศรีศิลป พระองค์ที่สามนั้นทรงพระนามพระอาทิตยวงษ. ๚ะ
22
๏ แผ่นดินพระเชษฐาธิราช ๚ะ
๏ ศักราช ๙๘๙ ปีเถาะนพศก จึ่งเสนาพฤฒามาตย์ประโรหิตาจารย์ทั้งหลาย มีเจ้าพระยากลาโหมสุริย์วงษเปนประธาน ปฤกษาพร้อมกับอัญเชิญสมเดจพระเจ้าลูกเธอพระเชษฐาธิราชขึ้นราชาภิเศก ครอบครองกรุงพระนครศรีอยุทธยาโดยราชประเพณี อยู่มาได้เจ็ดวันพระพรรปีศรีศิลปผู้เปนพระอนุชาธิราชทรงพระโกรธว่า มุขมนตรีมิได้ยกสมบัติให้ ก็ภาพักพวกของพระองค์ลอบหนีไปยังเมืองเพชรบูรี ส้องสุมพวกพลจะยกเข้ามา สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินตรัสทราบเหตุ ให้แต่งกองทับออกไป พระพรรปีศรีศิลปมิทันได้จัดแจง กองทับล้อมจับได้กุมเอาตัวมาถวาย ทรงพระกรุณาให้ประหารชีวิตรเสียณวัดโคกพระยา แลชาวเมืองเพชรบูรีที่เปนใจเข้าด้วยพระพรรปีศรีศิลปนั้นให้เอาตัวเปนตพุ่นหญ้าช้างทั้งสิ้น ๚ะ๏ อยู่มาเดือนเศศ มารดาเจ้าพระยากลาโหมถึงแก่ชิพิตัดษัย แต่งการสพเสรจ แล้วเจ้าพระยากลาโหมสุริย์วงษ ออกไปตั้งการปลงสพ ณวัดกุฎ ข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือนผู้ใหญ่ผู้น้อย ออกไปช่วยนอนค้างแรมอยู่เปนอันมาก ฝ่ายข้าหลวงเดิมพระเจ้าอยู่หัว กราบทูลยุยงเปนความลับว่า เจ้าพระยากลาโหมสุริย์วงษทำการครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก หากเอาการสพเข้ามาบังไว้เหนทีจะคิดประทุษร้ายต่อพระองคเปนมั่นคง สมเดจพระเจ้าอยู่หัวมิได้มีวิจารณให้ถ่องแท้ตกพระไทย ตรัสให้เหล่าชาวป้อมล้อมพระราชวังขึ้นประจำน่าที่ แล้วเตรียมทหารไว้เปนกองๆ จึ่งดำรัศให้ขุนมหามนตรีออกไปหาตัวเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงษเข้ามา ๚ะ๏ ขณนั้นจมื่นสรรเพชย์ภักดีสอดหนังสือลับออกไปก่อนว่า พระโองการจะให้หาเข้ามาดูมวย บัดนี้เตรียมไว้พร้อมอยู่แล้ว เมื่อเจ้าคุณจะเข้ามานั้น ให้คาดเชือกเข้ามาทีเดียว ครั้นขุนมหามนตรีออกไปถึงกราบเรียนว่าพระโองการให้หา. เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงษแจ้งการซึ่งจมื่นสรรเพชรภักดีบอกให้สิ้นอยู่แล้ว จึ่งว่าขึ้นท่ำกลางขุนนางทั้งปวงว่า เราทำราชการกระตัญูแต่ครั้งพระพุทธเจ้าหลวงมา ท่านทั้งปวงก็แจ้งอยู่สิ้นแล้ว เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสดจสวรรคตแล้ว ถ้าเรารักซึ่งราชสมบัติ ท่านทั้งหลายเหนจะพ้นเราเจียวฤๅ ขุนนางทั้งปวงกราบแล้วจึ่งว่า ราชการทั้งปวงก็สิทธิ์ขาดอยู่แก่ฝ่าท้าวกรุณาเจ้าสิ้น ที่จะมีผู้ใดขัตแขงนั้นข้าพเจ้าทั้งปวงก็ไม่เหนมีตัวแล้ว เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงษจึ่งว่า ท่านทั้งปวงจงเหนจริงด้วยเราเถิด เรากตัญูคิดว่าเปนลูกเจ้าเข้าแดง จึ่งเปนต้นคิดอ่านปฤกษามิให้เสียราชประเพณี ยกราชสมบัติถวายแล้วยังหามีความดีไม่ ฟังแต่คำคนยุยงกลับจะมาทำร้ายเราผู้มีความชอบต่อแผ่นดินอีกเล่า ท่านทั้งปวงจะทำราชการไปข้างน่าจงเร่งคิดถึงตัวเถิด ขุนนางทั้งนั้นกราบแล้วว่า อันพระกรุณาทั้งนี้ควรนักหนา เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงษ ดูถ่วงทีขุนนางทั้งปวงเหนยังไว้อารมณ์เปนกลางอยู่มิลงใจเปนแท้ จึ่งร้องสั่งทลวงฟันให้กุมเอาตัวขุนมหามนตรีแลบ่าวไพร่ซึ่งภายเรือมานั้นไว้ให้สิ้น ทลวงฟันก็กรูกันจับเอาขุนมหามนตรีแลไพร่ไปคุมไว้ ขุนนางทั้งปวงเหนดั่งนั้นต่างคนตกใจหน้าซีดลงทุกคน เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงษเหนดั่งนั้นจึ่งว่า บัดนี้พระเจ้าแผ่นดินว่าเราทำการประชุมขุนนางพร้อมมูลทั้งนี้คิดการเปนกระบถ ก็ท่านทั้งปวงซึ่งมาช่วยโดยสุจริตนั้น จะมิพลอยเปนกระบถด้วยฤๅ ขุนนางทั้งปวงพร้อมกันกราบเรียนว่า เปนธรรมดาอยู่แล้ว อุประมาเหมือนหนึ่งนิทาน พระบรมโพธิสัตวเปนนายสำเภา คนทั้งหลายโดยสารไปค้า ใช้ใบไปถึงท่ำกลางมหาสมุทต้องพยุหใหญ่สำเภาจะอับปางอยู่แล้ว พระบรมโพธิสัตวจึ่งคิดว่าถ้าจะนิ่งอยู่ดั่งนี้ ก๊จะภากันตายเสียด้วยสิ้นทั้งสำเภา จึ่งตั้งสัตยาธิฐานว่า ถ้าอาตมาจะสำเร็จแก่พระบรมโพธิญาณ ขออย่าให้สำเภาอับปางในท้องมหาสมุทเลย เดชะอานุภาพพระบารมีพรมโพธิสัตว์สำเภาก๊มิได้จลาจล แล่นล่วงถึงประเทศธาณีซึ่งจะไปค้านั้น ก๊เหมือนการอันเปนครั้งนี้ ถ้าท้าวพระกรุณานิ่งตายคนทั้งหลายก๊จะพลอยตายด้วย ถ้าท้าวกรุณาคิดการรอดจากความตาย คนทั้งปวงก๊จะรอดด้วย เจ้าพระยากลาโหมสุริย์วงษได้ฟังขุนนางว่าดั่งนั้นก๊หัวเราะแล้วว่า เจ้าแผ่นดินว่าเราเปนกระบถแล้วเราจะทำตามรับสั่ง ท่านทั้งปวงจะว่าประการใด ขุนนางทั้งปวงกราบแล้วจึ่งว่า ถ้าท้าวกรุณาจะทำการใหญ่จริงข้าพเจ้าทั้งปวงจะขอเอาชีวิตรสนองพระคุณตายก่อน เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงษเหนขุนนางปลงใจพร้อมโดยสุจริต ก๊จัดแจงเปนหมวดเปนกองกำหนฎกฎหมายกันมั่นคง ๚ะ๏ ครั้นเพลาชายสามโมงเศศ จุดเพลิงเผาสพเสรจแล้ว ได้อุดมฤกษ์เวลา เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงษก็ลงเรือ พร้อมด้วยเรือขุนนางทั้งปวงสักร้อยลำ คนประมาณสามพันเสศ พลสรัพด้วยเครื่องสาตราวุธล่องมาขึ้นประตูไชย วันนั้นเปนวันเสาร์ เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงษใส่เสื้อดำกางเกงดำขึ้นม้าดำ ขุนนางแลไพร่ตามมาเปนอันมาก ครั้นถึงน่าพระกาฬจึ่งลงมาจากหลังม้าตั้งสัจอธิฐานว่า ข้าพเจ้าปราฐนาโพธิญาณ ถ้าจะเสรจแก่พระพุทธสมบัติเปนแท้ จะยกเข้าไปล้างผู้อาสัจให้สำเรจดังปราฐนา เสรจอธิฐานแล้วเพลาพลบค่ำจึ่งมาตั้งชุมพลอยู่ณวัดสุทธาวาศ ครั้นเพลาแปดทุ่มนั่งคอยฤกษพร้อมกัน เหนพระสาริริกบรมธาตุเสดจมาแต่ปราจิมทิศ ผ่านไปปราจิมทิศใต้ นิมิตรเปนมงคลฤกษอันประเสริฐ ก๊ยกพลมาเข้าประตูมงคลสุนทร ให้ทหารเอาขวานฟันประตูมงคลสุนทรเข้าไปได้ ด้วยเดชกฤษฎาพินิหารอันใหญ่ยิ่ง หามีผู้ใดจะออกต่อต้านมิได้ ก๊กรูกันเข้าไปถึงท้องสนามใน ข้าหลวงเดิมซึ่งนอนเวรประจำซองร้องกราบทูลเข้าไปว่า เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงษยกเข้ามาได้แล้ว พระเจ้าแผ่นดินได้ฟังตกพระไทยนักมิได้คิดอ่านที่จะต่อสู้ ออกจากพระราชวังกับพวกข้าหลวงเดิมลงเรือพระที่นั่งหนีไป เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงษเข้าในพระราชวังได้ รู้ว่าพระเจ้าแผ่นดินหนี จึ่งสั่งให้พระยาเดโช พระยาท้ายน้าไปตามแต่ในเพลากลางคืนวันนั้น รู่งขึ้นเช้าพระยาเดโชพระยาท้ายน้ำทันพระเจ้าแผ่นดินที่ป่าโมกน้อยล้อมจับเอาตัวมาได้ เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงษ สั่งให้เอาไปสำเร็จโทษตามประเพณีกระษัตรีย พระเชษฐาธิราชอยู่ในราชสมบัติปีหนึ่งกับเจดเดือน ๚ะ
23
​๏ แผ่นดินพระอาทิตย์วงษ์ ๚ะ
๏ ลุศักราช ๙๙๑ ปีมเมียเอกศก ฝ่ายเสนาพฤฒามาตยประโรหิตทั้งหลาย จึ่งนำเอาเครื่องเบญจราชกุกุพัณฑไปถวาย เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงษมิได้รับ ว่าเราทำราชการนี้จะชิงเอาสมบัตินั้นหามิได้ เพราะไภยมาถึงตัวแล้วก๊จำเปน พระอาทิตยวงษซึ่งเปนพระราชบุตรพระมหากระษัตรียนั้นยังมีอยู่ ควรจะยกพระอาทิตยวงษขึ้นผ่านสมบัติโดยราชประเพณีจึ่งจะชอบ ปฤกษาเสนาบดีทั้งปวงพร้อมแล้ว ก็ราชาภิเศกพระอาทิตยวงษ ขึ้นผ่านพิภพกรุงเทพพระมหานครศรีอยุทธยา พระอาทิตยวงษได้ผ่านสมบัติครั้งนั้น พระชลได้เก้าพรรษา ยังทรงพระเยาวราชอยู่นัก มิได้รู้ที่จะว่าราชการกิจสิ่งใด มีแต่เที่ยวประภาศจับจับแพะกับแกะเล่น เจ้าพนักงานต้องนำเครื่องทรงเครื่องเสวยตามไปทุกแห่ง แต่ทำดังนี้เปนนิรันดรประมาณได้หกเดือน มุขมนตรีทั้งปวงปฤกษากันว่า พระมหากระษัตรียเปนดังนี้การแผ่นดินจะเสียไป จำจะยกพระอาทิตยวงษลงเสียจากเสวตรฉัตร ควรจะเอาราชสมบัติถวายแก่เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงษ ปฤกษากันเสรจแล้วก็นำเอาเคื่องเบญจราชกุกุภัณฑมาถวายเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงษ ทูลประพฤติเหตุซึ่งพระอาทิตยวงษจะครองแผ่นดินไปมิได้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอถวายราชสมบัติแก่พระองค จงพระกรุณารับทำนุบำรุงสมณชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎร ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินจะได้อยู่เอย็นเปนศุขเพราะพระเดชเดชานุภาพของพระองค์นั้นเถิด เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงษได้ฟังมุขมนตรีทั้งปวงมาอ้อนวอนดังนั้น ก๊รับว่าจะครองสมบัติ เสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลายมีความยินดีนัก ก็อัญเชิญเสดจเข้าอยู่ในพระราชวัง แล้วเสนาพฤฒามาตยราชประโรหิตทวิชาจารยพร้อมกันให้ท่านโหรธิบดีหาฤกษ ก็ตั้งการพระราชพิธีปราบดาภิเศกในพระที่นั่งมังคลามหาปราสาท เจ้าพนักงานทั้งหลายก็จัดแจงแต่งตั้งสุวรรณบันลังก์รัตนราชาอาศน ลาดด้วยหนังราชสีห มีพระมหาเสวตรฉัตรเปนต้น อำภณด้วยเครื่องอภิรุมชุมสายพรายพรรณ จ่ามรมาศกลดกลิ้งกะชิงแซกสลับสลอน บังสุริเยนทรบวรด้วยมยุรฉัตรพัชนีพรายเพรามเหาฬาราดิเรกโดยราชประเพณี ตั้งพระราชพิธีสงฆแลพิธีไสยเวทเวทางคสาตรทุกประการ แล้วตั้งพระยาคชสารยืนสถิตยซ้ายขวา ทั้งพระยาอัศวราชสถิตยซ้ายขวา พร้อมพลาพลพฤนทรทั้งปวงทุกกระทรวงการเสรจ ๚ะ๏ ครั้นรุ่งขึ้นรวิวารมหาศุภฤกษอันอุดม บรมทินกรประเวศน์เหนือนภาไลยจำรัสดวง. พระมหาราชครูพระครูประโรหิตทวิชาจารย ก็อัญเชิญเสดจสมเดจพระเจ้าอยู่หัวสำอางองคอลงกฎพิภูษาสรรพาภรณ บวรด้วยแก้วกาญจนมณีรัตนชัชวาลยโอพาศเสรจ เสดจทรงพระราเชนทรยานมาขึ้นอัฒจันไพยชยนตมหาปราสาท. พระราชครูทั้งองคบริโสดมพรหมพีชาจารย ก็เป่ามหาสังขทักษิณาวัดประโคมแตรสังขดุริยดนตรี ตีอินทเภรีเปนมหาประถม. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เสดจในน่าฆ้องไชยชำระพระบาท. พระยาธรรมมาธิกรณธิบดีก็ลั่นฆ้องไชยประโคมแตรสังขดุริยดนตรี ตีอินทเภรีเปนทุติยวาร. จึ่งเสดจขึ้นไพชยนตมหาปราสาท สถิตยเหนือบันลังก์อาศนอลังการ. หมู่ทวิชาจารย์ก็เป่าสังขษิณาวัดประโคมแตรสังฃดุริยดนตรี ตีอินทเภรีเปนตติยวาร. สมเดจพระสังฆราชราชาคณทั้งปวง ก็สวดพระพูทธมนตถวายไชย. พระมหาราชครูพระครูประโลหิตสุภาวดีศรีวิชาจารยทั้งหลาย ก็แซ่ซ้องโอมอ่านอิศวรเวทวิศณุมนตถวายไชยพร้อมเสรจ. ก็ถวายมุรธาภิเศกอาเศียรพาศ สำรับการพระราชพิธีปราบดาภิเศกพระมหากระษัตราธิราชสืบมา. แล้วสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสดจเถลิงสิงหบัญชร ณพระที่นั่งมังคลาภิเศก อันพิจิตรด้วยสุวรรณรัตโนภาศ. จึ่งเบิกท้าวพระยาสามนตราชกระกูลพฤฒามาตยมุขมนตรีถวายบังคม แล้วเบิกสมโพธเลี้ยงลูกขุนทั้งปวงเสรจ ๚ะ
24
๏ แผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวปราสาททอง ๚ะ
๏ ลุศักราช ๙๙๒ ปีมเมียโทศก สมเดจพระเจ้าอยู่หัวเสดจขึ้นผ่านถวัลยราชพิภพกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยามหาดีลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมอุดมพระราชนิเวศมหาสถาน ทรงพระนามพระเจ้าปราสาททอง. พระองค์ทรงทศมิตราชธรรมอันมหาประเสริฐ. ครั้นรู่งเช้าเสดจออกขูนนางทรงพระกรุณาตรัสปูนบำเหน็จ เจ้าหมื่นสรรเพชรภักดีเปนพระยาราชภักดีเจ้ากรมพระคลังมหาสมบัติ. พระราชทานเจียดทองกระบี่เต้าน้ำพานทองเครื่องอุปะโภคบริโภคเปนอันมาก. แลขุนนางซึ่งสวามิภักดีนั้น ก็ตั้งแต่งโดยสมควรแก่ถานาศักดิ พระราชทานเคลื่องอุปะโภคบริโภคเปนอันมาก. แลพระอาทิตยวงษนั้นทรงพระกรุณาโปรดให้อยู่ในพระราชวังกับด้วยพระนมพี่เลี้ยง. สมเดจพระเจ้าอยู่หัว มีพระอนุชาองคหนึ่งทรงพระกรุณาตรัสว่าน้องเราคนนี้ น้ำใจกักขะละอยาบช้ามิได้มีหิริโอตปะ.จะให้เปนอุปราชรักษาแผ่นดินต่างพระเนตรพระกรรณมิได้ ให้เปนเจ้าชื่อพระศรีสุธรรมราชา. ตั้งบ้านหลวงอยู่ริมวัดสุทธาวาศ. แลที่บ้านสมเดจพระพันปีหลวงนั้น พระเจ้าอยู่หัวให้สฐาปนาสร้างพระมหาธาตุเจดีย์มีพระรเบียงรอบ แลมุมพระรเบียงนั้นกระทำเปนเมรุทิศ เมรุรายอันรจนา แลกอปด้วยพระอุโบสถ พระวิหารการบุเรียญติ. แลสร้างกุฎีถวายพระสงฆเปนอันมากเสรจแล้วให้นามชื่อวัดไชยวัฒนาราม. เจ้าอธิการนั้นถวายพระนามชื่อพระอชิตเถร ราชาคณะฝ่ายอรัญวาศรีทรงพระราโชทิศถวายนิจพัตร พระกัลปนาเปนนิรันดรมิได้ขาด. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๙๓ ปีมแมตรีศก ทรงพระกรุณาให้ช่างออกไปถ่ายอย่างพระนครหลวง แลปราสาทกรุงกัมพูชาประเทศเข้ามา ให้ช่างกระทำพระราชวังเปนที่ประทับร้อนตำบลริมวัดเทพจันท์ สำรับจะเสดจขึ้นไปนมัศการพระพุทธบาท จึ่งเอานามเดิมซึ่งถ่ายมาให้ชื่อพระนครหลวง แลในปีที่สร้างพระนครหลวงนั้น ก็สฐาปนาวัดพระศรีสรรเพชเสร็จ กระทำการฉลองแลมีมหรรสพสมโพธเปนอเนกนุประการ พระกฤษฎานุภาพพระบาทสมเดจบรมนาถรบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ดำรงคพิภพมณฑลสกลสีมาประชาราษฎรเกษมศุขสนุกสบาย เพทไภยยันตรายโรคาพยาธิก็เบาบาง อีกหมู่เสนางคนิกรโยธาทวยหารมั่งคั่งพรั่งพร้อมไปด้วยพลช้างพลม้า ฝนตกต้องตามระดูกาลธญาหารก็บริบุรณทั่วประเทศนิคมชนบท พระยศแผ่ไปนาๆประเทศทั้งปวง ครั้งนั้นสำเภาลูกค้าพานิชเข้ามาค้าขายเปนอันมาก ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๙๔ ปีวอกจัตวาศก ทรงพระกรุณาสร้างมหาปราสาทองค์หนึ่งสิบเบดเดือนเสร็จ ให้นามว่า ศรียศโศทรมหาพิมานบัญยงค์ ในเพลากลางคืนสมเดจพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสุบินนิมิตรว่า สมเดจอัมรินทราธิราชเจ้าเสดจลงมานั่งแทบพระองค์ไสยาศน์ ตรัสบอกว่าให้ตั้งจักรพยุห์แล้วสมเดจอัมรินทราธิราชก็หายไป เพลาเช้าเสดจออกขุนนางทรงพระกรุณาตรัสเล่าสุบินให้พฤฒามาตย์ทั้งปวงฟัง พระมหาราชครูพระครูประโรหิตโหราพฤฒาจารยถวายพยากรณ์ทำนายว่า เพลาวานนี้ทรงพระมหากรุณาให้ซึ่งพระมหาปราสาทว่า ศรียศโสทรมหาพิมานบัญยงค์นั้นเหนไม่ต้องนาม สมเดจอัมรินทราธิราชจึ่งเสดจลงมาบอกให้ตั้งจักรพยุห อันจักรพยุหนี้เปนที่ตั้งใหญ่ในมหาพิไชยสงคราม อาจข่มเสียได้ซึ่งปัจมิตรทั้งหลาย ฃอพระราชทานเอานามจักรอันนี้ให้ชื่อพระมหาปราสาทว่า จักรวัติไพชยนตมหาปราสาท ตามลักษณะเทพสังหรให้พระสุบินนิมิตรอันประเสริฐ สมเดจพระเจ้าอยู่หัวตรัสได้ทรงฟังก็มีพระไทยปรีดายิ่งนัก จึ่งให้แปลงชื่อพระมหาปราสาทตามคำพระมหาราชครูทั้งปวง ๚ะ๏ ในปีนั้นพระราชเทวีประสูตรพระราชบุตรองค์หนึ่ง พระญาติวงษ์เหลือบเหนเปนสี่กร แล้วปรกติเปนสองกร สมเดจพระเจ้าอยู่หัวตรัสแจ้งความเหนมหัศจรรย์ ก็พระราชทานพระนามว่าพระนารายน์ราชกุมาร ในปีนั้นทรงพระกรุณาให้สร้างพระที่นั่งไอสวรรย์ทิพาอาศน์เกาะบางนางอิน มีพระราชนิเวศปราการประกอบพฤกษาชาติร่มรื่นเปนที่สำราญพระราชหฤไทย ประภาศราชกระกูลสุริยวงษ์อนงค์นารีทั้งปวง แล้วสร้างพระอารามเคียงพระราชนิเวศถวายเปนสังฆทาน มีพระเจดีย์วิหารเปนอาทิสำหรับพระสาศนาเสร็จบรีบูรณ ล้วให้นามชื่อวัดชุมพลนิกายาราม ในเดือนญี่ปลายปีนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสดจไปโสกรรต์พระเจ้าลูกเธอพระองคอิน ณเกาะบ้านเลน โสกรรต์แล้วพระราชทานพระนามชื่อเจ้าฟ้าไชย ๆ นั้นประสูตรนอกต่างพระชนนีกับพระนารายน์ราชกุมาร. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๙๕ ปีระกาเบญจศก ทรงพระกรุณาสฐาปนาพระปรางค์วัดมหาธาตุอันทำลายลงเก่า เดิมในองค์สูงสิบเก้าวา ยอดนพสูญสามวาจึ่งดำรัศว่าทรงเก่าต่ำนัก ก่อใหม่ให้องค์สูงเส้นสองวา ยอดนพสูญคงไว้ เข้ากันเปนเส้นห้าวา ก่อแล้วเหนเพรียวอยู่ให้เอาไม้มค่ามาแซกตามอิฐ เอาปูนบวกเก้าเดือนสำเร็จให้กระทำการฉลองเปนอันมาก. ๚ะ๏ ในปีนั้นสมเดจพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชบุตรด้วยพระสนมอีกสามพระองค์ ทรงพระนามพระไตรยภูวนาทิตยวงษองค์หนึ่ง พระองค์ทององค์หนึ่ง พระอินทราชาองค์หนึ่ง เมื่ออาสาฬหะมาศเข้าพรรษา สมเดจพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชตำเนินด้วยสนมราชกัลยา ออกไปนมัสการจุดเทียรพรรษาถวายพระพุทธปัฏิมากร ณวัดศรีสรรเพชร์ เสดจไปประภาศมาน่าพระวิหารใหญ่ทอดพระเนตรเหนพระอาทิตยวงษราชบุตรพระเจ้าทรงธรรมซึ่งยกออกเสียจากราชสมบัตินั้น ขึ้นนั่งห้อยท้าวอยู่บนหลังกำแพงแก้ว ชี้พระหัถตรัสว่า พระอาทิตยวงษองอาจมิได้ลงจากกำแพงแก้วให้ต่ำ ลดพระอาทิตยวงษลงจากยศให้ไปปลูกเรือนเสาไม้ไผ่สองห้องสองหลังริมวัดท่าทราย ให้พระอาทิตยวงษอยู่ให้คนอยู่ด้วยสองคนแต่ภอตักน้ำหุงเข้า สั่งแล้วเสดจเข้าพระราชวัง ๚ะ๏ ในเดือนสิบสองนั้นทรงพระกรุณาตรัสว่า พ้นเทศการราษฎรเกี่ยวเข้าแล้ว จะเสดจไปนมัศการพระพุทธบาท ให้ยกช่างขึ้นไปตกแต่งพระตำหนักใต้ธารทองแดง แลให้ไขน้ำมาแต่ธารทองแดงให้สนุกสนานแลทางสถลมารคแต่ท่าเจ้าสนุกขึ้นไปถึงท้ายพิกุลนั้น คิดให้มีน้ำแลศาลาโดยระยะทางผู้คนจะได้อาไศรย เสนาบดีรับพระราชโองการแล้วก็ยกช่างไพร่พลขึ้นไป เกนแบ่งให้ตกแต่งพระตำหนักท่าเจ้าสนุกแลแบ่งให้ทำศาลาขุดบ่อบางโขมด ตำบลบ่อโศกนั้น ขุดบ่อริมต้นโศกจึ่งให้ชื่อบ่อโศก แล้วให้ขึ้นไปขุดบ่อทำศาลากลางทาง ภอพระสงฆ แลสามเณรเดินขึ้นไปเหนทำศาลาอยู่ เจ้าสามเณรจึ่งว่า ศาลาทั้งห้าห้องนี้ คั่นเสียสักสองห้อง ภอเปนฝากรงให้ตีคนจะได้อาไศรยนอน ถ้าไม่มีฝาเสือจะกินเสีย ช่างทั้งปวงฟังเจ้าสามเณรว่าเหนชอบด้วย ครั้นทำเสร็จแล้วจึ่งให้นามว่าศาลาเจ้าเณร แลที่ตำบลหนองคนทีนั้นมีน้ำอยู่แล้ว ก็ทำศาลาสำหรับอาไศรย แลไพร่ซึ่งทำศาลาลงไปตักน้ำกินได้คนทีใบหนึ่ง จึ่งให้ชื่อหนองคนที แลช่างกองใหญ่ยกขึ้นไปทำพระตำหนัก ริมลำธารท้ายธารทองแดง คิดทดท้อน้ำปิดเปิดให้ไหลเชี่ยวมาแต่ธารทองแดง อันพระราชนิเวศซึ่งทำนั้นในดงพฤกษาชาติร่มรื่น ชื้อชิดเปนที่สำราญราชหฤไทย พระปิ่นนคเรศเกษกระษัตริยสรรพแสนสนุกแล้ว คิดผ่อนทางชลชลาให้ไหลลั่นลงมายังห้วยศีลาดาษ จึ่งให้นามชื่อพระราชนิเวศธารเกษม แล้วให้วันจรกนำออกไปตกแต่งธารโศกปลายธารทองแดง ก็เปนที่ประภาศแห่งหนึ่ง แต่ตกแต่งพระราชนิเวศธารเกษม แลธารทองแดงบริเวณพระพุทธบาท แลสถลมารคทั้งปวงสามเดือนก็เสร็จ ๚ะ๏ จึ่งเสนาพฤฒามาตยนำรายการมากราบทูลพระกรุณาให้ทราบทุกประการ สมเดจพระเจ้าอยู่หัวตรัสได้ทรงฟัง ก็มีพระไทยปราโมชยิ่งนัก จึ่งมีพระราชกำหนดสั่งแก่สมุหนายกว่า เดือนสี่ขึ้นสองค่ำจะไปนมัศการพระบรมบาท ให้เตรียมการโดยชลมารคสถลมารคให้พร้อม สมุหนายกรับพระราชโองการแล้วกำหนดกฎหมายสั่งทุกพนักงาน เจ้าพนักงานทั้งปวงให้ล่วงไปจัดแจงการทุกประการ ทุกกระทรวงพร้อมเสร็จ ๚ะ๏ ครั้นถึงพคุณมาศขึ้นสองค่ำ เพลารุ่งแล้วสองนาฬิกาแปดบาท สมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงบาตรแล้ว ก็ทรงเครื่องสรรพาภรณบวรด้วยแก้วกาญจนกนกรัตนาไมย สำหรับพิไชยราชยุทธทรงราชาวุธสรัพเสร็จ ก็เสดจลงสู่พระที่นั่งไกรษรมุขพิมานไชยจักรรัตน์พิภัทธด้วยเครื่องสูงไสว บวรธงไชยธงฉาน อลงการด้วยเรือต้นทั้งหลาย เดียรดาษเรือเสนาพฤฒามาตยราชกระกูลพระหลวงต้นเชือกปลายเชือกทั้งปวง ก็เข้าไปจับฉลากเปนขนัดอัดแออรรณพ ครบทั้งเรือประเทียบทุกกรม สมเดจพระเจ้าอยู่หัวก็ให้เคลื่อนกระบวนพยุหบาตรา ยาตราไปโดยทางแนวชลมารค กำหนดระละทางแต่ขนานประจำท่าพระราชวังหลวง ถึงที่ประทับร้อนพระนครหลวง เปนทางสามร้อยเก้าสิบหกเส้น ภักพลาพลทั้งหลายรับพระราชทานเปนศุขสบาย ครั้นเพลาชายแล้วสองนาฬิกา ก็เสดจตรีธาพลาพลนาเวศรไปโดยลำดับชลมารค เปนระยะทางหกร้อยหกสิบเบ็ดเส้น เพลาชายแล้วสี่นาฬิกาเศศถึงท่าเจ้าสนุกก็เสดจขึ้นพระราชนิเวศ ประทับแรมอยู่สองเวน ในเพลาบ่ายนั้นเจ้าพนักงานทั้งหลายก็ตรวจจัตุรงค์เสนางค์พยุห บาตราเข้าจับฉลาก ประจำริ้วรายโดยตำแหน่ง แลรถพระประเทียบก็เรียบเรียงเปนระยะอยู่โดยขบวนสรับเสร็จ ครั้นเพลารุ่งแล้วนาฬิกาหกบาท สมเดจบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ทรงเครื่องสำหรับพิไชยสงครามเสร็จ เสด็จทรงช้างต้นพังกินนรวิหคที่นั่งรองบุษบกเบญจาอลังการด้วยพระที่นั่งพุดตาน ทองบุฉลุลายพรรณรายด้วยแก้วกาญจนมนีรัตน์ชัชวาลโอภาศ ด้วยเครื่องอภิรุมรุจิเรขเสวตรฉัตร์ ชุมสายลายสุวรรณพรรณกลดกลิ้งกันชิงมาศดาษดา รจนาด้วยมยุรฉัตรพัชนีจามรบังรวิวรไพรโรจประดับ สรัพด้วยหมู่คชินทรดั้งกันแซกแซงค่ายคาพังคา ทั้งหมู่อัศวราเริงร้องหฤหรรษเนียรนาท หมู่พหลราชรถเรียงระดับงอนงามไสวย หมู่พลาพลไกรก็คับคั่งพรั่งพร้อมโดยขบวนเสร็จ ทั้งรถพระประเทียบทางนางพระสนมบริพาร สมเดจพระเจ้าอยู่หัวก็เครื่อนพลทวยหารพยุหบาตรา โดยแถวรัทธยาทุเรศอรัญร่มรื่นระหงระโหถานพันฦกอธึกด้วยศับท์ลำเนียงเสียงโกลาหฬฆ้องกลองชนะโครมคฤนเพียงแผ่นพื้นพสุธาดลกัมปนาท อันบวรราชอนงค์นางในรถพระประเทียบเรียบเรียงก็ชวนกันเมียงเมิน ชมรุกขชาติอันผลิฉ้อต่อผลเปนพู่มพวงผกานาเนกในแนวพนัศ ทิวเถื่อนทุรัศฐานดานดง ก็เสดจตรงไปยังพระราชนิเวศตำหนักธารเกษม เพลารุ่งเช้าสมเดจพระเจ้าอยู่หัว เสดจพยุหบาตรามานมัศการพระพุทธบาท กระทำการบูชาเปนมโหฬารยิ่งนัก แล้วให้มีมหามหรรสพสมโพธเจ็ดเวนเปนกำหนด พระองค์ก็บริจากราชทรัพยทานแก่ยาจกพรรนิพกทุกวันเปนอันมาก สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจนมัศการเช้าเย็นมิได้ขาดจนครบเจดวัน แล้วเสดจประภาศธารโศกธารทองแดง แลห้วยเขาถ้ำธารเสร็จก็เสดจกลับยังกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา. ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๙๗ ปีกุนสัพตศก สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจไปพระราชทานเพลิงพระเจ้าลูกเธอฝ่ายในณวัดไชยวัฒนาม ได้เนื้อในท้องเผาไม่ไหม้สงไสยว่าต้องคุณ ครั้งนั้นประชาราษฎรฤๅกันว่า จะให้ค้นตำหรับตำราที่หมอผู้เถ้าผู้แก่ ต่างคนต่างกลัวความผิด บันดามีทำหรับตำราความรู้วิชาการก็ทิ้งน้ำเสียสิ้น ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๙๘ ปีชวดอัฐศก สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวให้รื้อเทเวศถานพระอิศวร พระนารายน์ขึ้นมาตั้งยังชีกุน ในปีนั้นให้ยกกำแพงพระราชวังออกไปให้สร้างพระมหาปราสาทพระวิหารสมเดจวันหนึ่งเสดจมาทอดพระเนตรเรือกิ่ง ช่างรับพระราชทานอยู่ยังมิได้ติดตาเรือกิ่ง ทรงพระกรุณาให้นายมั่นมหาดเลกบ้านนอก เอาตาเรือกิ่งติดเข้ากลับตาซ้ายเปนตาขวา หางตาเรือกลับไปข้างปัถวี ทอดพระเนตรเหนตรัสว่าดีอยู่ ให้เอาตามนายมั่นติดนั้นเถิด พระราชทานงงินตราห้าตำลึง เสื้อผ้าสำรับหนึ่ง ในวันบัณระศรีเพ็ญเดือนแปด เสดจออกไปปฏิบัติพระสงฆ์ณวัดไชยวัฒนาราม สมเดจพระเจ้าลูกเธอทรงพระเยาว ก็ตามเสดจไปหลายพระองค์ แต่พระนารายน์ราชกุมารพระชนม์ได้ห้าพรรษานั้นประชวร พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาตรัสว่า ป่วยอยู่แล้วอย่าตามไปเลย เพลาเช้านั้นฝนตกพรำอยู่ พระนารายน์ราชกุมารเสดจออกไปเล่นที่เกย พระสนมพี่เลี้ยงทูลห้ามก็ไม่ฟัง จะถวายพระกลดก็ห้ามเสีย พระสนมพี่เลี้ยงก็จนใจต้องเล้นอยู่ด้วย พระองค์ยืนยุดเสาหลักไชยอยู่ อสนีลงต้องหลักไชยแตกตลอดลงไปจนดิน พระนารายน์ราชกุมารจะได้เปนอันตรายก็หามิได้ พระองค์ยืนยุดหลักไชยทรงพระสวนอยู่ตามประสาพระเยาว์ แต่พระสนมพี่เลี้ยงสลบไปสิ้น สมเดจพระเจ้าอยู่หัวได้ยินเสียงอสนีนั้นตรงพระราชวัง ก็ตกพระไทยตรัสให้ข้าหลวงเข้าไปดู ข้าหลวงเข้าไปกลับออกมากราบทูลตามซึ่งมีเหตุนั้น ให้ทรงทราบทุกประการ สมเดจพระเจ้าอยู่หัวได้ทราบดั่งนั้น เร่งให้หมอเข้าไปแก้คนทั้งปวง ครั้นปฏิบัติพระสงฆ์แล้ว เสดจกลับเข้าพระราชวัง ทอดพระเนตรเหนอสนีประจักษ์ ทรงพระกรุณาตรัสว่า ราชบุตรนี้จะมีบุญอยู่ แล้วให้สมโพธสมเดจพระเจ้าลูกเธอ พระนารายน์ราชกุมารสามวัน ๚ะ๏ ลุศักราช ๙๙๙ ปีฉลูนพศก พระอาทิตยวงษ์คบคิดกับขุนนางซึ่งเปนโทษถอดเสียจากราชการแต่ก่อนนั้น ครั้นได้พวกสองร้อยเสศเพลาย่ำฆ้องรุ่งเปิดประตูก็กรูกันเข้าไปในพระราชวัง ถึงน่าสิงห์สรรเพชรปราสาทโห่ร้องอื่ออึง สมเดจพระเจ้าอยู่หัวไม่ทันรู้พระองค์ลงเรือพระที่นั่งลอยอยู่น่าขนานประจำท่า ตรัสให้ตำรวจไปเร่งขุนนางเข้าไปจับเล่าร้าย เสนาบดีทั้งปวงรู้ ก็ภากันคุมไพร่เข้าไปไล่ตีพวกพระอาทิตยวงษแตกกระจาย จับเอาตัวพระอาทิตยวงษได้ สมเดจพระเจ้าอยู่หัวเสดจเข้าพระราชวัง สั่งให้พิจารณาเอาพวกกระบถซึ่งคบคิดกับพระอาทิตยวงษนั้นได้สิ้น ก็สั่งให้เอาไปประหารชีวิตรเสียณตแลงแกง รู่งขึ้นวันหนึ่ง นายช้างต้นโคบุตรเล่นหมากรุกอยู่ในโรงช้าง อสนีตกลงนายช้างตาย แต่ช้างต้นโคบุตรจะได้เปนอันตรายหามิได้ ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๐๐๐ ปีขานสัมฤทธิศก สมเดจพระเจ้าอยู่หัวตรัสปฤกษาแก่เสนาพฤฒามาตย์ราชประโรหิตทั้งหลายว่า บัดนี้จุลศักราชถ้วนพันปี การกระลียุคจะบังเกิดไปภายน่าทั่วประเทศธาณีน้อยใหญ่เปนอันมาก เราคิดว่าจะเสี่ยงบาระมีลบศักราช บัดนี้ปีขานสัมฤทธิศกจะเอากุนเปนสัมฤทธ์ศก ขึ้นดิถีวารจันทเถลิงศก ให้กรุงประเทศธาณีนิคมชนบททั้งปวง เปนศุขไพสาฬสมบุรณดุจทวาบรายุคด์ ท่านทั้งหลายจะเหนประการใด เสนาบดีมนตรีมุขมาตยากราบทูลพระกรุณาว่า ซึ่งทรงพระราชตำริห์ทั้งนี้ เพราะทรงพระเมตาแก่สัตวโลกย์ ได้ชื่อว่าสัมมาสังกับปะญาณสำปะยุดอะสังขาริก ประหนึ่งสมเดจพระเจ้าอยู่หัวตั้งพระไทยบำเพญการกุศล เปนสาศนุปถัมพกพระพุทธสาศนา อุปะมาเหมือนเนื้อนาบริสุทธิดีอยู่แล้ว ถึงจะหว่านพืชน์สิ่งใดลงจะได้ผลเปนแท้ ซึ่งพระองค์ตั้งพระไทยจะลบศักราช ให้ประชาราษฎรเปนศุขนั้นเหนเทพยเจ้าก็จะช่วยให้สมพระไทยปราถนา ๚ะ๏ สมเดจพระเจ้าอยู่หัว ตรัสได้ทรงฟังมุขมนตรีกราบทูลดังนั้น มีพระไทยโสมนัศปราโมชยิ่งนัก จึ่งให้พฤฒาจารยผู้รู้ตำหรับพระราชพิธีไปจัดแจงตกแต่งการทั้งปวง พฤฒาจารยรับพระราชโองการแล้ว ก็ให้กดหมายสั่งทุกพนักงานให้ทำเขาสิเนรุราชน่าจักระวัติไพชยนตมหาปราสาท มีเขาไกรลาศ แลเขาสัตพันทล้อมเขาพระสิเนรุเปนชั้น ๆ ออกมา แล้วให้ช่างกระทำรูปอสุรกุมภัณฑคนธรรพ์ คนธัพธานพพระอีฤาศรีสิทธิ์วิทยาธรกินรนาคสุบรรณทั้งหลาย รายเรียงโดยรยะเขาสัตพันคิรีแล้ว ให้กระทำรูปสมเดจอัมรินทราธิราชสถิตยอยู่ณยอดเขาพระสิเนรุราชเปนประธาน จึ่งให้ทวิชาจารยแต่งกายเปนพระอิศวร เปนพระพิศณุ พระพายุ พระพิรุณห พระเพลิง พระยม พระไพศภ พระจันทร พระอาทิตย รูปเทพยุเจ้าทั้งสิบสองราษรี แวดล้อมสมเดจอำมรอินทราธิราช โดยอันดับศักกะเทวราช จึ่งเอาแผ่นสุวรรณชาติลิขิตอักษรด้วยชาติหรคุณ เปนศักราชใหม่บันทัดหนึ่ง เปนศักราชเดิมบันทัดหนึ่ง ใส่พานจำหลักสรรพางวางไว้หน้าสมเดจอัมรินทราใต้มหาเสวตรฉัตร ยอดเขาสิเนรุราช แลเชิงเขาสัตพันทั้งแปดทิศนั้นกระทำรูปช้างอัฐคชยืนแปดทิศเปนอาทิ คือทิศบุรพไว้พระยาเสวตรกุญชรทิศอาคเนโรมหัศดินทรศรีพระเพลิง ทิศทักษิณรัตน์นาคกุญชร ศรีแก้วมุขดา ทิศหรดี อัญชัญศรีนิลอุบล ทิศปราจินโกมุทกุญชรศรีแก้วไพทูริย ทิศภายัพ สารนิลาคชเรศรศรีแก้วอินทนิล ทิศอุดร ทิศอิสาร เสวตรคชาธารศรีขาวอ่อน.แลหว่างช้างอัฐคชนั้น ก็วางอัศวราชแปดหมู่นอกนั้นตั้งราชวัตฉัตรธงไชยธงประดาก แลต้นกล้วยต้นอ้อย ประดับประดาด้วยพู่มพนมบุบผาชาตต่างๆ เปนมโหฬารดาดาษ แลตั้งพิธีไสยสาตร ณเชิงเขาสัตพันททั้งสี่ทิศรอบราย. แตรสังขดุริยดนตรีพิณพาทฆ้องไชยเภรีบันเดาะโกลาหล แล้วเทียบขนัดพลตั้งกลาบาท เปนชั้น ๆ ออกมามากนัก แลในจังหวัดไพชยนตมหาปราสาท ก็รจนาตกแต่งพระที่นั่งบันลังก์อาศน์อันวิจิตรไว้เบญจราชกุกกุภัณฑ แล้วเชิญพระปฏิมากรแลพระไตรยปิฎกธรรมมาตั้งเปนประธาร นิมนตพระสงฆสังฆราชราชาคณะคามวาศรีอรัญวาศรี มาสวดพระพุทธปริตมหามงคลสูตรอันประเสริฐ ทวิชาจารยจัดแจงการทั้งปวงนั้นเสรจ จึ่งกราบทูลสมเดจพระเจ้าอยู่หัวให้ทราบทุกประการ. ครั้นได้ศุภวารมหามงคลฤกษพระบาทสมเดจบรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็สำอางองคทรงษาฎกพัตถวิภูษาเสรจ เสดจทรงมหาราเชญทรยานกาญจนอลงกฎรจนา พร้อมด้วยพฤฒาจารยทั้งปวง เสดจมาประทับเกยณเชิงสัตพันทบรรพต เสดจบทบาทยาตราขึ้นไปยังยอดเขาพระสิเนรุราช พระองค์ก็ถวายอภิวาทพระบรมรัตนตยาธิคุณสุนทรภาพ ด้วยเบญจางคประดิฐอธิฐานบาระมีโดยพระไทยปราถนา แล้วยอพระกรเบื้องขวาลบศักราชเดิมนั้นเสียเสรจ. พราหมณ์ที่แต่งกายเปนพระอิศวรพระนารายน แลเปนเทพยุเจ้านั้น ก็อวยไชยถวายพรโดยสารโศลกวิธีพรหมทวิชาจารยก็เป่าสังขแตรดุริยดนตรี.พิณพาทฆาดฆ้องไชยเภรีมี่สนั่นศรับทก้องโกลาหลทั้งพระนคร แล้วสมเดจพระเจ้าอยู่หัวเสดจกลับยังพระราชมณเฑียรสถาน ๚ะ๏ รุ่งขึ้นทรงพระราชตำริหจะให้ทาน แก่หมู่พรรณิพกรอบเมือง จึ่งมีพระราชโองการให้มหาอำมาตยตกแต่งพระนครให้เสรจแต่ในสามวัน อำมาตยรับพระราชบริหารแล้วก็ให้เจ้าพนักงานจัดแจง แถวสถลมารครัฐยาทุบปราบให้ราบรื่นเปนอันดี ตั้งราชวัดฉัตรธงปักต้นกล้วยต้นอ้อยโดยระยะทาง ให้ตั้งไม้กามพฤกษห่างกันสิบวารอบพระนครพร้อมโดยพระราชบริหาร ๚ะ๏ ครั้นเพลารุ่งเช้าแล้วสามนาฬิกาหกบาทได้อุดมฤกษ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ทรงเครื่องสำรับขัติยราชลังกาภรณบวรวิภูษิตเสรจเสดจทรงพระยากุญชรตัวประเสวิฐ แลกลางช้างนั้นวางพานทองรองหิรัญสำหรับจะโปรยทาน พร้อมด้วยเสนางคนิกรทวยหารโดยเสดจจะนับมิได้ ครั้นออกจากทวารพระราชวังแล้ว พระเจ้าอยู่หัวก็โปรยทานแก่ยาจกพรรนิพกทั้งหลายแล้ว เสดจไปถึงกามพฤกษต้นใดก็ให้อยุด ให้พนักงานซึ่งขึ้นอยู่นั้นโปรยทาน แลหว่างต้นกามพฤกษพระองคก็อยุดโปรยทานไปโดยลำดับ จนรอบพระนครแล้วเสรจเสดจกลับพระราชวัง ในลำดับเดือนนั้นสมเดจพระเจ้าอยู่หัวบริจาคพระราชทรัพยแลราชพาหนกระทำสตฎกมหาทาน เปนทานแก่พราหมณวิชาชาติแลยาจกพรรนิพกทั้งปวงเปนอาทิ คือช้างร้อยหนึ่งม้าร้อยหนึ่ง ทาษชายร้อยหนึ่งทาษหญิงร้อยหนึ่งเงินร้อยชั่ง ทองร้อยชั่ง ราชรถร้อยหนึ่ง แลแต่งการออกสนามมีมหรรศภสมโพธตรีวารเปนมโหฬาราทิการยิ่งนัก ๚ะ๏ ในปีนั้นสมเดจพระเจ้าอยู่หัวให้มีราชสาสนไปกรุงรัตนบูระอังวะ. ในพระราชสาสนนั้นว่า สมเดจ์เจ้าพระยากรุงเทพมหานครศรีอยุทธยามหาดิลกภพอันเสดจ์ปราบดาพิเศกผ่านพิภพไอยสุรียสวรรยาธิปัติถวัลยราชประเพณี มีพระราชหฤไทยหน่วงน้าวพระบรมโพธิญาณ บำเพญทานการกุศลเปนอจลศรัทธาแท้มิได้หวาดหวั่นไหวตั้งพระไทยที่จะรื้อสัตวให้พ้นห้วงมหรรนพนทีธารกล่าวคือสังสาระวัฎ.บัดนี้เหนว่ากระลียุคจะถึงแก่สัตวทั้งหลายทั่วประเทศธาณีใหญ่น้อยทั้งปวง เพราะจุลศักราชถ้วน ๑๐๐๐ ในปีขารสัมฤทธิศก จึ่งอุษาหะกระทำสัตยาธิฐานแล้วตั้งพระราชพิธีลบศักราช เอาปีกุนเปนสัมฤทธิศก ขึ้นดิถีวารจันทรเถลิงศกเปนทวาปรายุคเพื่อจะให้ทั่วประเทศธาณีใหญ่น้อยทั้งปวง เปนบรมศุขสมบูรณทั่วกัน ให้พระเจ้ากรุงอังวะแลเมืองขอบขันท์เสมาทั้งปวงไช้ศักราชตามพระนครศรีอยุทธยาลบนี้เถิด ส่งพระราชสาสนไปเมืองตองอูให้เมืองตองอูไปส่งกรุงอังวะ. ๚ะ๏ ครั้นลุศักราช ๑๐๐๒ ปีมโรงโทศก พระเจ้ากรุงอังวะแต่งทูตานุทูตจำทูลพระราชสาสนมา แลในพระราชสาสนนั้นว่า พระเจ้ากรุงรัตนบุระอังวะอันตั้งอยู่ในธรรมสาตรราชสาตร แลมีบ่อแก้วบ่อทองแลพื้นเมือง ขอจำเริญทางพระราชไมตรีมายังสมเดจ์พระเจ้ากรุงทวาราวดี ด้วยแจ้งกฤษติศรับท์ไปว่า สมเดจ์พระเจ้าทรงธรรมนั้นทิวงคตไปแล้ว พระองค์ขึ้นผ่านพิภพตามราชประเพณี มีพระกฤดิยศกฤดิคุณใหญ่ยิ่งกว่ากระษัตราธิราชแต่ก่อน ก็ประกอบด้วยปราสาททองแลเสวตร์กุญชรชาติตัวประเสริฐเปนศรีเมืองนั้น ฝ่ายกรุงรัตนบุระอังวะมีความยินดีนัก บัดนี้ให้ทูตานุทูตมาถวายข่าวพระสพตามประเพณี แลจำเริญทางพระราชไมตรีด้วย ประการหนึ่งซึ่งพระองค์จะให้ใช้ศักราชตามพระนครศรีอยุทธยานั้น ฝ่ายกรุงภุกามประเทศ แลรามัญประเทศได้ใช้ศักราชเดิมหลายชั่วกระษัตรีย์มาแล้ว ครั้นจะใช้ตามมีพระราชสาสนไปนั้นเกรงจะฟั่นเฟือน ซึ่งพระเจ้ากรุงทวาราวดีลบได้ก็ให้พระองค์ใช้เถิด ครั้นแปลแล้วสมุหนายกเอากราบทูลพระกรุณา ทรงเคืองพระไทยตรัสว่า อ้ายพม่ามันมิใช้ตามเราก็แล้วไป ครั้งนั้นเสดจ์ออกมุขจักรวรรดิไพชยนตมหาปราสาท เบิกแขกเมืองเข้าถวายบังคม ตรัสพระราชประฏิสรรฐารสามนัดเล้ว ตั้งให้เลี้ยงแขกเมืองก็เสดจขึ้น เจ้าพนักงานยกของมาพระราชทาน แขกเมืองมิได้รับพระราชทาน ว่าอย่างธรรมเนียมกรุงอังวะถ้าทูตานุทูตไปเยียนพระสพ ห้ามมิให้รับพระราชทานเพลาเอย็นสมุหนายกกราบทูล ทรงพระกรุณาให้ต่อว่าแขกเมืองว่า อย่างธรรมเนียมกรุงพระนครศรีอยุทธยา ถ้าไปเยียนสพย่อมแต่งของบริโภคเลี้ยงให้อิ่มหนำ จึ่งได้ชื่อว่านับถือกัน นี่ตัวมากรุงพระนครศรีอยุทธยาแล้วไม่รับพระราชทานนั้น. ไม่นับถือกรุงพระนครศรีอยุทธยาฤๅ ๆ ว่าสิ่งของซึ่งพระราชทานนี้ไม่ดีเหมือนกรุงอังวะ ถ้าไปต่อว่าแขกเมืองดื้ดึงอยู่ไม่รับพระราชทาน ก็ให้เอาสิ่งของราดรศศรีศะลงแล้วขับเสียจากเมือง เจ้าพนักงานก็ไปต่อว่าโดยพระราชโองการ. แขกก็มิได้รับพระราชทาน เจ้าพนักงานก็เอาสิ่งของราดรศศีศะแขกเมืองแล้วขับเสียจากพระนคร ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๐๐๓ ปีมเสงตรีศก สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวเสดจ์พระราชตำเนินลงไปประภาศพระที่นั่งไอสวรรย์ทิพย์อาศน์ วันนั้นเสดจ์อยู่แรมเพลาค่ำออกมายืนอยู่น่ามุข สมเดจ์พระเจ้าลูกเธอพระนารายน์ราชกุมารส่องโคม อสนีตกลงต้องน่าบันแว่นประดับรูปสัตว ตกกระจายลงมารอบพระองค์ สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวแลสมเดจ์พระเจ้าลูกเธอจะได้เปนอันตรายหามิได้ ทรงพระกรุณาให้พระโหราทำนาย ถวายพยากรณ์ว่าเปนมหาศุภนิมิตร์ จะทรงพระกฤษฎาธิการยิ่งขึ้นไป แล้วจะได้พระราชลาภต่างประเทษ ถึงเดือนสิบกำปั่นอลิมัดหรำลูกค้าเมืองเทษบันทุกพรรณผ้าแลได้ม้าเทษสูงสามศอกสองนิ้วเข้ามาถวายสองม้า กับกั้นยั่นฝักด้ำถมยาราชาวดีประดับนพรัตน์เล่มหนึ่ง กับสิ่งของนอกนั้นเปนอันมาก ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๐๐๕ ปีมแมเบญจศก พระโหราถวายฤกษฎีกาว่า ในสามวันนี้จะเกิดเพลิงไหม้ในพระราชวัง สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวตรัสได้ทรงฟังตกพระไทย ด้วยโหราคนนี้ทายแม่นยำนัก ครั้งหนึ่งเสดจ์อยู่ในพระที่นั่งไพชยนตมหาปราสาท มุสิกะตกลงมาทรงพระกรุณาเอาขันทองครอบไว้ให้หาพระโหรามาทาย พระโหราคำนวนแล้วทูลว่าสัตวสี่ท้าว ทรงพระกรุณาตรัสว่าขี่ตัว พระโหธาขับคำนวนเแล้วว่าสี่ตัว ทรงพระกรุณาตรัสว่าสัตวสี่ท้าวนั้นถูกอยู่แล้ว แต่ที่สี่ตัวนั้นผิดแล้ว ครั้นเปิดขันทองขึ้นเหนลูกมุสิกะคลานอยู่สามตัว กับแม่ตัวหนึ่งเปนสี่ตัว ก็ทรงพระกรุณาตรัสสรรเสริญพระโหราธิบดีว่า ดูแม่นกว่าตาเหนอีก ให้พระราชทานเงินตราชั่งหนึ่งเสื้อผ้าสองสำรับ แต่นั้นมาก็เชื่อถือพระโหราธิบดีนัก ครั้นทราบว่าจักเกิดเพลิงจึ่งมิไว้พระไทย ให้ขนของในพระราชวังออกมา ไปอยู่วัดไชยวัฒนารามทั้งเรือบันลังก์ เรือศรี เรือคลังคับคั่งแออัดกันอยู่ แลในพระราชวังนั้นเกนไพร่สมพรรค์สรรพด้วยพร้าขอกะตร้อน้ำรักษา ห้ามมิให้หุงเข้าในพระราชวัง แล้วให้เรือตำหรวจคอยบอกเหตุทุกทุ่มโมง.ครั้นถึงคำรบสามวันเพลาชายแล้วสี่นาฬิกา เรือตำหรวจลงไปกราบทูลพระกรุณาว่าสงบอยู่ สมเดจพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า ครั้งนี้เหนพระโหราธิบดีจะผิดอยู่แล้ว สั่งเรือเถิดจะเข้าพระราชวัง เจ้าพนักงานก็เคลื่อนเรือพระที่นั่งกิ่งเข้ารับเสดจ์ พระเจ้าอยู่หัวเสดจ์มาถึงฉนวนน้ำประจำท่า พระโหราธิบดีอยู่ท้ายเรือพระที่นั่งกราบทูลว่า ฃอให้ย่ำฆ้องค่ำก่อนจึ่งจะสิ้นพระเคราะห์ สมเดจพระเจ้าอยู่หัวก็ให้ลอยเรือพระที่นั่งอยู่ เพลาชายแล้วห้านาฬิกาเมฆตั้งพยับคลุ้มขึ้นข้างปราจินทิศ ฝนตกพรำ ๆ ลงมา ทรงพระกรุณาตรัสแก่พระโหราว่าฝนตกลงมาสิ้นเหตุแล้วกระมัง. พระโหรากราบทูลว่า ฃอพระราชทานงดก่อนภอสิ้นคำลง อสนีเปรี้ยงลงมาต้องเหมพระมหาปราสาท เปนเพลิงติดพลุ่งโพลงขึ้นไหม้ลามลงมา คนทั้งหลายซึ่งอยู่ในพระราชวังมิรู้ที่จะทำประการใด แลดีบุกอันดาษหลังคานั้นไหลราดลงมาดั่งห่าฝน เพลิงก็ไหม้ติดต่อไปทั้งห้องคลังเรือนหน้าเรือนหลังร้อยเรือนจึ่งดับได้ สมเดจพระเจ้าอยู่หัวตรัสให้พระโหราดูว่า เพลิงฟ้าไหม้ดั่งนี้จะดีฤๅร้าย.พระโหรากราบทูลพระกรุณาว่าดี จะมีลาภแลกอปด้วยอิศริยศพระเกียรติยศจะปรากฎไปในนาๆประเทษทั้งปวง บันดาอริราชไพรีจะเกรงพระเดชเดชาณุภาพเปนอันมาก สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวตรัสได้ทรงฟังมีพระไทยปราโมชยิ่งนัก.ครั้งนั้นเพลิงไหม้แต่พระที่นั่งมังคลาภิเศกที่ชื่อปราสาททอง แลพระที่นั่งจักรวัติไพชยนตมหาปราสาท แลพระที่นั่งสรรเพชรปราสาท จะได้ไหม้ด้วยหามิได้ สมเดจพระเจ้าอยู่หัวเสดจ์เข้าพระราชวัง ทรงพระกรุณาให้ช่างจับการก่อพระมหาปราสาท แลทำคลังเรือนข้างในทั้งปวงสามเดือนเรือนข้างในเสรจ แต่พระมหาปราสาทปีหนึ่งจึ่งสำเรจ์ ให้นามชื่อพระวิหารสมเดจ์ ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๐๐๖ ปีวอกฉศก สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวปราสาททองครองพิภพมณฑลสบสกลสีมาอาณาจักร์ พรักพร้อมด้วยหมู่จัตุรงค์เรืองพระเดชเดชาณุภาพเพราะบรมโพธิสมภาร สมณพราหมณาจารย์แลไพร่ฟ้าขอบขันทเสมาเปนศุขสมบุรณทั่วหน้ามาจบ ๚ะ
25
๏ แผ่นดินเจ้าฟ้าไชย ๚ะ
๏ ลุศักราช ๑๐๑๗ ปีมแมสัปดตศก สมเดจพระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรหนัก แปรสฐานลงไปอยู่พระที่นั่งเบญจรัตน ทรงพระกรุณามอบราชสมบัติ แลพระแสงขรรคไชยศรีให้สมเดจ์พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าไชย อยู่สามวันเพลายามสามก็เสดจ์สวรรคต. พระเจ้าอยู่หัวปราสาททองอยู่ในราชสมบัติยี่สิบหกพรรษา เจ้าฟ้าไชยก็ได้ครองราชสมบัติ ๚ะ
26
๏ แผ่นดินพระศรีสุธรรมราชา ๚ะ
๏ ครั้นอยู่มาลุศักราช ๑๐๑๘ ปีวอกอัฐศก สมเดจ์พระนารายน์เปนเจ้าก็ให้คนสอดแนมออกมาคิดราชการ ด้วยพระศรีสุธรรมราชาผู้เปนพระเจ้าอา ๆ ก็กำหนดเข้าไป ครั้นเพลาค่ำพระนารายน์เปนเจ้า ก็ภาพระขนิฐาของพระองค์ลอบหนีออกทางประตูตัดสระแก้วไปหาพระเจ้าอาว พระศรีสุธรรมราชากับพระนารายน์ราชนัดา สุ้มผู้คนพร้อมแล้วก็ยกเข้ามาพระราชวัง กุมเอาตัวเจ้าฟ้าไชยไปสำเร็จ์จโทษเสีย ณวัดโคกพระยา ๚ะ๏ พระศรีสุธรรมราชาก็ได้ผ่านพิภพกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยา ตรัสให้สมเดจ์พระนารายน์ราชนัดาเปนอุปราช.สมเดจ์พระนารายน์เปนเจ้าก็เสดจ์อยู่ณพระราชวังบวรสถานมงคล อยู่มาสองเดือนเสศสมเดจ์พระศรีสุธรรมราชาพระเจ้าแผ่นดินทอดพระเนตรเหน พระราชกัลยานีน้องพระนารายน์ราชนัดดา ทรงพระรูปศิริวิลาศเลิศลักษณนารี ก็มีพระไทยเสนหาผูกพันธ์ปราศจากลัจชีสมโภค จึ่งให้หาขึ้นไปบนที่หวังจะร่วมรสสังวาศด้วยพระราชกัลยานี ๆ มิได้ขึ้นไปหนีลงมาพระตำหนัก แล้วบอกเหตุกับพระนม ๆ จึ่งเชิญพระราชกัลยานีเข้าไว้ในตู้พระสมุดหามออกมา เสว่าจะเอาพระสมุดไปยังพระราชวังบวรสถานมงคล นายประตูก็มิได้สงไสย ครั้นไปยังพระราชวังบวรสถานมงคลแล้ว พระราชกัลยานีก็ออกจากตู้เข้าเฝ้าสมเดจ์พระเชษฐาธิราชทรงพระกรรแสงทูลประพฤติเหตุทั้งปวง ซึ่งสมเดจ์พระเจ้าอาวเปนพาลทุจริต สมเดจ์พระนารายน์บรมบพิตรเปนเจ้าได้ทรงฟังก็ทรงพระโทมนัศน้อยพระไทยนักจึ่งตรัสว่า อนิจาพระเจ้าอ่าวเรานี้คิดว่าสมเดจ์พระบิตุราชสวรรคตแล้ว ยังแต่พระเจ้าอ่าวก็เหมือนพระบรมราชบิดายังอยู่ จะได้ปกป้องพระราชวงษานุวงษสืบไป ควรฤๅมาเปนดั่งนี้ได้ พระองค์ปราศจากหิริโอตัปะแล้ว ไหนจะครอบครองราชสมบัติเปนยุติธรรมได้เล่า น่าที่จะร้อนอกสมณชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎรไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเปนแท้ จะละไว้มิได้ ด้วยพระองค์ก่อแล้วจำจะสานตาม จะเสี่ยงเอาพระบาระมีเปนที่พึ่ง. พระนารายน์ทรงพระราชตำริหแล้วจึ่งให้หาขุนนางเข้ามาในพระราชวัง ตรัสแจ้งประพฤติเหตุซึ่งจะทำยุทธนั้น ขุนนางทั้งหลายได้แจ้งในรับสั่งดั่งนั้นต่างคนก็ทูลอาษาฃอเอาชีวิตรเปนแดนแทนพระคุณทุกคน. สมเดจ์พระนารายน์เปนเจ้าได้ทรงฟังมีพระไทยปราโมชยิ่งนัก ตรัสกระทำมงคลแต่งให้พลทั้งปวงใส่เปนสำคัญแล้ว ให้เอาใบสเดาเปนประเจียดสำหรับเมื่อจะยุทธนั้น เพราะเหตุว่าพระศรีสุธรรมราชาธิราชไซ้ลพระชนม์วารวันศุกร แลใบสเดานั้นเปนนามแห่งอริราช ๚ะ๏ ครั้นแล้วสมเดจ์บรมบพิตรพระนารายน์เปนเจ้า ก็ให้สการบูชาพระศรีรัตนไตรย แลพระอิศวร พระนารยน์เปนเจ้า แลเทพดาผู้มีฤทธิสิทธิศักดาทั้งปวงตำรัสสั่งขุนเสนาไชย ขุนจันทราเทพ ขุนทิพมนตรี ขุนเทพมนตรี ขุนสิทธิคชรัตน ขุนเทพศรีธรรมรัตน ให้คุมไพร่พลร้อยหนึ่งอยู่รักษาพระราชวังบวรสถารมงคล. ในวันพฤหัศบดีเดือนสิบสองขึ้นสิบค่ำ เพลาชายแล้วห้านาฬิกาเสศ สมเดจ์พระบรมบพิตรพระเปนเจ้า ก็แต่งพระองค์สรรพสำหรับการพิไชยยุทธ จึ่งทรงพระสิโตทกอธิฐานแล้ว ก็เสดจ์ทรงช้างต้นพลายมงคลไอยเรศร์ ตรัสให้พระเทพเดชะเปนกลางช้างพระที่นั่ง ขุนพระศรีควาน. แลตรัสให้สมเดจ์พระอินทราธิราช ผู้เปนพระอนุชาทรงช้างต้นพังกะพัดทอง ขุนพรหมธิบาลเปนกลางช้างพระที่นั่ง หมื่นเทพกุญชรควาน ตรัสให้เมืองมโนรมย์ขี่ช้างต้นพลายพรหมภักตร์ นายไทมหาดเล็กเปนกลางช้าง มปรางควาน หมื่นราชกุญซรขี่ช้างต้นพังตลับนำช้างพระที่นั่ง ครั้นได้ศุภวารมหุดิฤกษเพลาอันประเสริฐ ก็เสดจ์กรีธาพลพยุหบาตราสรัพด้วยเครื่องราโชประโภค แลประโคมฆ้องกลองแตรสังข์ จึ่งเสดจ์พระราชดำเนินโดยทวารพิพิธ ยาตราไปโดยทางน่าวัดพลับพลาไชย จึ่งพระยาเสนาภิมุข พระยาไชยาสุร คุมยิปุ่นสี่สิบมากราบทูลฃออาษาราชการ. แล้วหลวงพิชิตรเดชออกมากราบทูลฃออาษาราชการ แล้วเสดจ์พระราชตำเนินโดยทางชีกุน ฝ่ายสมเดจ์บรมบพิตรพระศรีสุธรรมราชารู้ว่า สมเดจ์บรมบพิตรพระเปนเจ้าเสดจ์ยกเข้ามาแต่พระราชวังบวรสถานมงคล ก็สั่งแก่พระมหาเทพ หลวงอินทรเดชให้เอาขุนบำเรอภักดิ์ แลอ้ายมั่นผู้ทาษขุนบำเรอภักดิ์ไปพิฆาฎเสียน่าบางตรา แลขุนบำเรอภักดิ์ก็หนีรอด จึ่งกราบถวายบังคมสมเดจ์พระบรมบพิตรเปนเจ้าถึงน่าวัดฉัตทันต์ได้แต่อ้ายมั่นทาษขุนบำเรอภักดิ์ไปพิฆาฎเสีย แลสมเดจ์พระบรมบพิตรเปนเจ้ามาอยุดช้างต้นน่าพระที่นั่งจักรวรรดิ พระยาอนันทกะยอสู พระยาอนันทกะยอถาง พระราชมนตรี หลวงโยธาทิพ หลวงอมรวงษา หลวรงพิชิตรเดช ขุนตรัดขุนทรงพานิช ขุนสนิทวาที มีราญาฝันเมาลวมักเมาะตาด คุมไพร่พลให้ไปอยู่ณด้านสาลาลูกขุน ให้รายาลิลาคุมศรีต่วน แลแขกชะวา แขกจามมาอยู่ณด้านน่าพระที่นั่งสรรเพชรปราสาท ให้หลวงเทพวรชุนคุมไพร่พลอยู่ประตูศรีสรรพทวาร ให้พระจุลานั่งคุมไพร่พลอยู่ณทางสระแก้ว หลวงวิสุทธ์สงคราม แลขุนพรหมธิบาลคุมไพร่สารวัด หลังวัดรามาวาด แลปะตูสแดงราม จนถึงประตูหอพระ แลฝ่ายไพร่พลข้างสมเดจ์พระศรีสุธรรมราชาธิราช แลไพร่พลข้างสมเดจ์บรมบพิตรพระเปนเจ้า ก็ได้รบพุ่งกันแต่ค่ำจนรุ่ง แลยิปุ่นคุมกันเข้ามาอาษาได้เข้าช่วยรบพุ่ง ณด้านราญาลิลานั้น ไพร่พลล้มตายบาดเจบทั้งสองฝ่าย จึ่งสมเดจ์บรมบพิตรพระนารายน์เปนเจ้าตรัสสั่งขุนจันทราเทพแลพันทิพราชเอาปืนใหญ่สามบอกตั้ง ณท้องสนามยิงเข้าไปในพระราชวังเปนหลายนัด ครั้นยิงเข้าไปครั้งใดควันเพลิงนั้นเปนโชตไปประดุจฉัตร สำแดงศุภนิมิตรซึ่งจะมีไชยชำนะ จึ่งสมเดจ์พระบรมบพิตรพระเปนเจ้าทรงช้างต้นพระที่นั่งตรัสสั่งให้พระเทพเดชะเปนกลางช้างพระที่นั่ง ขุนพระศรีควาน ให้ขุนอินทิบาลเปนกลางช้าง สมเดจ์พระอนุชาธิราช หมื่นเทพกุญชรควาน แลเสดจ์ยืนช้างต้นหน้าพระที่นั่งจักรวรรดิ ครั้นเพลาชายแล้วปริมาณนาฬิกาเสศ มีผู้มากราบทูลสมเดจ์บรมบพิตรพระเปนเจ้าว่า สมเดจ์พระศรีสุธรรมราชาธิราช ทรงช้างออกมายืนอยู่ณหลังสาลาลูกขุน จึ่งสมเดจ์บรมบพิตรพระเปนเจ้าก็ขับช้างพระที่นั่งเข้าไปถึงนอกกำแพงน่าศาลาลูกขุน. ไพร่พลทั้งสองฝ่ายได้รบพุ่งต่อแย้งกัน แลทหารอาษาสมเดจ์บรมบพิตรเปนเจ้าก็ ยิงปืนนกสับต้องพระภาหุสมเดจ์พระศรีสุธรรมราชาธิราช ฝ่ายทหารพระศรีสุธรรมราชาธิราช ก็ยิงปืนนกสับต้องหลังพระบาทซ้ายสมเดจ์พระบรมบพิตรพระเปนเจ้าเผินไปน่อยหนึ่งแล สมเดจ์พระศรีสุธรรมราชาธิราชก็กลับข้างเข้าไปในพระราชวัง แลไพร่พลฝ่ายข้างสมเดจ์พระศรีสุธรรมราชาธิราช ก็แตกฉานช่านเซนหนีเข้าไปในพระราชวัง แล้วก็ปิดประตูพระราชวังไว้ จึ่งสมเดจ์พระบรมบพิตรพระเปนเจ้า ก็เสดจ์ขึ้นมายังที่นั่งจักรวรรดิ จึ่งพระไตรยภูวนาธิราชเสดจ์ทรงช้างต้นออกมาแต่ในพระราชวัง ก็ออกมาถวายบังคม สมเดจ์บรมบพิตรพระเปนเจ้า จึ่งตรัสใช้ให้ทหารอาษาคุมกันไปทำลายประตูพระราชวัง ก็กะทุ้งประตูพลทวาร ภอพระสิทธิไชยเปิดประตูพลทวารออกมาได้บอกว่า สมเดจ์พระศรีสุธรรมราชาธิราชหนีลงไปอยู่ณวังหลัง แล้วทหารก็กรูกันเข้าไปในพระราชวังได้. นายแก้วมหาดเลกก็นำพระสิทธิไชยออกมาถวายบังคม สมเดจ์บรมบพิตรพระเปนเจ้า ณ พระที่นั่งจักรวรรดิ นายแก้วจึ่งกราบทูลแก่สมเดจ์บรมบพิตรพระเปนเจ้าว่า ทหารอาษาเข้าไปในพระราชวังได้แล้ว แลพระสิทธิไชยบอกว่า สมเดจ์พระศรีสุธรรมราชาธิราชหนีลงไปวังหลัง. จึ่งสมเดจบรมบพิตรพระเปนเจ้าเสดจ์เข้าในพระราชวัง เสดจ์ขึ้นพระราชมณเฑียรพระวิหารสมเดจ์ ในวันเดียวนั้น เสนาบดีก็ไปตามสมเดจ์พระศรีสุธรรมราชาธิราชได้ณวังหลัง ก็ให้เอาไปสำเร็จโทษเสียณวัดโคกพระยาตามประเพณี พระศรีสุธรรมราชาธีราช เสวยราชสมบัติได้สองเดือนกับยี่สิบวัน. ในเมื่อสมเดจ์บรมบพิตรพระเปนเจ้ามีไชยชำณะแก่ราชสัตรู ด้วยเดชบุญานุภาพนั้น ลุศักราช ๑๐๑๘ ปีวอกอัฐศกในเดือนสิบสองขึ้นสิบเบ็ดค่ำวันศุกรเพลาชายแล้วสองนาฬิกาสี่บาท ๚ะ
27
๏ แผ่นดินสมเดจ์พระนารายน์ ๚ะ
๏ ครั้นลุศักราช ๑๐๑๘ ปีวอกอัฐศก วันพฤหัศบดีเดือนสิบสองแรมสองค่ำเพลาชายแล้วสองนาฬิกา จึ่งพระมหาราชครูพระราชครู แลท้าวพระยาสามนตราชเสนาบดีมนตรีมุขทั้งปวง ก็อัญเชิญสมเดจบรมบพิตรพระเปนเจ้า เสดจปราบดาภิเศกเสวยราชสมบัติถวัลยราชประเพณีโดยบุรพมหากระษัตราธิราชเจ้าแต่ก่อน อันผ่านพิภพณกรุงพระมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุทธยานั้น ในวันแรกตั้งพระราชพิธีนั้น เปนอัษจรรยเพลาค่ำแล้วประมาณสองทุ่ม มีพระสุคนโททกขาวบริสุทธิตกลงมาแต่เพดาลในโรงพระราชพิธีนั้นเปนมหัษจรรย พระมหาราชครู พระราชครูประพฤติการพระราชพิธีปะถมาภิเศก แลพระราชพิธีราชาภิเศก ถวายพระนามกรบวรราชศรีสวัศดิพิภรรทธมงคลตามบุรพประเพณี พระมหากระษัตราธิราชเจ้าแต่ก่อนอันกอบด้วยพระเดชบุญญานุภาพเสดจปราบดาภิเศก ทรงพระนามกรบวรศรีสวัศดิ สมเดจพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสรรเพชรบรมมหาจักรพรรดิศวรราชาธิราชราเมศวรธรรมธราธิบดีศรีสฤษดิรักษสังหารจักรพาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทรหริหรินทราธาดาธิบดีศรีสุวิบุลยคุณอัคนิตจิตรรุจิตรี ภูวนาทิตยฤทธิพรหมเทพเทพาทิบดินทรภูมิทราธิราชรัตนากาศมนุวงษองคเอกาทศรถวิสุทธิยโสตรบรมอัทยาไสยสมุทยตโรมนตอนันตคุณวิบุลยสุนทรธรรมมิกราชเดโชไชยไตรยโลกยนารถบดินทรอรินทราธิราชชาติพิชิตรทิศทศพลญาณสมันตมหันตผาริตวิไชยอัยสวรรยาธิปัตัยขัติยวงษ องคบรมาธิบดีตรีภูวนารถธิเบศโลกยเชษฐวิสุทธิมกุฎรัตนโมลีศรีปทุมสุริยวงษองคสรรเพชรพุทธางกูรบรมบพิตรพระพุทธเจ้า พระเจ้ากรุงเทพพระมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุทธยามหาดีลกภพนพรัตนราชธาณีบุรีรมย แลถวายเครื่องเบญจกุกกุภัณฑ์ แลถวายเครื่องราโชประโภคทั้งปวงแลบูชาบรมเทพอัษฎามุรติอันประเสริฐ. สถิตยสถาวรในพระองคโดยยถาสาตรแล ถวายอาเศียรพาศอภิเศกจำเริญพระพรบวรราชศรีสวัศดิพิภราทธมงคลนิฤมลพระองค คือพระนารายน์เปนเจ้าสังขจักรคธาธร อันกอบด้วยพระเดชเดชาฤทธานุภาพอันประเสริฐ เพื่อจะรักษาสมณพราหมณาจาริยแลท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุข ประชาราษฎรทั้งปวงให้ศุขเกษมเปรมปรีทั่วธาณีจำเริญสืบไปเมื่อน่า แล้วก็ให้เบิกท้าวพระยาสามนตราช เสนาบดีมนตรีมุขทุกกระทรวงทบวงการทั้งหลาย ถวายบังคมแลถวายสัตยานุสัตยาธิษฐาน ถือน้ำพระพิภัทธตามบุรพประเพณีแล้วเสรจ เมื่อเสดจปราบดาภิเศกถวัลยราชประเพณีแล้วนั้น พระชนม์ได้ยี่สิบห้าพรรษา แล้วพระบาทสมเดจเอกาทธรฐอิศวรบรมนารภบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงทศมิตรราชธรรมอันมหาประเสริฐ ก็ทรงพระกรุณาแก่ประชาราษฎรทั้งปวง ให้ลดส่วยอากรขนอนตลาดแก่ประชาราษฎรทั้งปวงสามขวบมิให้เอาเข้าท้องพระคลัง แลพระเจ้าอยู่หัวบำเพญพระราชกุศลแล้วก็ตรัสให้แต่งการซึ่งจะถวายพระเพลิง สมเดจพระพุทธเจ้าหลวงเสรจสรัพประดับนิ์ด้วยเครื่องรจนาลังการทั้งหลายหมายเปนอาทิ คือพระเมรุมาศสูงสองเส้นสิบเอดวาศอกคืบ แลเมรุทิศเมรุรายประดับด้วยฉัตรทองฉัตรนาคฉัตรเงินฉัตรเบญจรงค ธงเทียวบันดาการ. จึ่งอัญเชิญพระสพเสรจเหนือบุษบกพิมาณ แลประดับด้วยกลิ้งกลดจามรมาศบวรนิมิตรพระไทยไมยด้วยกาญจนดิเรกดุริยังคดลตรี นิฤนาทเดียรดาษด้วยภาพยนตมณฑปอันรจนาต่าง ๆ ตั้งประดับเรียงรายย้ายโดยขะบวรซ้ายขวา ทั้งท้าวพระยาสามนตราชพฤฒามาตยราชเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลาย มาประดับแห่แหนโดยน่าหลังบุษบกพิมานนั้น แล้วอัญเชิญพระศพเสดจลิลาศ์คลาเคลื่อนเครื่องแห่แหนโดยขบวน เสดจโดยรัฐยาราชวัดไปยังพระเมรุมาศ แลให้บำเรอด้วยดุริยดนตรีแตรสังขฆ้องกลองโขนหนังสือระบำบรรฟ้อนมโหฬารมหรรสพทั้งปวงแลนิมนต์พระสงฆสบสังวาศหมื่นหนึ่ง ถวายทักษินาทานบูชาแก่พระสงฆ์ทั้งปวง ด้วยเครื่องไทยทานโดยบูราณราชประเพณีพระมหากระษัตราธิราชเจ้าแต่ก่อน จึ่งพระเจ้าอยู่หัวก็ถวายพระเพลิง แล้วให้รับพระอัฐิธาตุเข้ามาวัดพระศรีสรรเพชร นิมนตพระสงฆสัดดัพปกรณแล้วก็ประจุพระอัฐิธาตุ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็บำเพญพระราชกุศลนาๆประการ. แล้วก็เสดจพระราชดำเนินออกไปอยู่พระราชวังบวรสถานมงคล แลฝ่ายพระไตรยภูวนารถทิตยวงษ ก็ให้ไปอยู่ตำหนักวังหลัง ๚ะ๏ อยู่มาในเดือนญี่นั้น อำแดงแก่นผู้เปนข้าพระไตรยภูวนารถทิตยวงษ์ เอาเนื้อความอันเปนโกหกมาอุบายทูลแก่พระไตรภูวนารถทิตยวงษ์ว่า ข้าหลวงฝ่ายพระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวย่อมว่า พระไตรภูวนารถทิตยวงษ์ แลข้าไทยทั้งปวงนั้นเข้าด้วยสมเดจ์พระศรีสุธรรมราชาธิราชช่วยรบพุ่ง ครั้นสมเดจ์พระศรีสุธรรมราชาธิราชปราไชย พระไตรยภูวนารถทิตยวงษ์แลข้าไทยทั้งปวงก็มาบันจบเข้าด้วยข้าหลวงเล่า แลอำแดงแก่นทูลยุยงเปนหลายครั้ง พระไตรยภูวนารถทิตยวงษ์ก็มิได้พิจารณาฟังแต่คนถ่อยนั้น ก็คิดซ่องสุมคนไว้นอกกรุงเทพมหานครเปนอันมาก จึ่งข้าหลวงก็เอาเนื้อความนั้นกราบทูลพระเจ้าอยู่หัวให้ทราบ จึ่งทรงพระกรุณาตรัสสั่งให้ข้าหลวงอันมีใจซื่อสัจนั้น ออกไปฟังกฤษติศับท์ดูจงหมั้นแม่น ถ้าแม้นจริงไซ้ก็ให้ข้าหลวงคิดกลอุบายว่าจะเข้าด้วย ครั้นข้าหลวงออกไปได้แจ้งเนื้อความนั้นเปนหลายแห่งว่า พระไตรภูวนารถทิตยวงษ์ให้ส้องสุมผู้คนเปนหมั้นแม่นจึ่งข้าหลวงซึ่งออกไปนั้นก็แซ่งอุบายว่าจะเข้าด้วย จึ่งให้สัญญานัดวันคืนแก่กันว่าจะยกเข้ามา.แลข้าหลวงนั้นก็ลากลับคืนเข้ามากราบทูลพระกรุณาตามเนื้อความนั้น ครั้นได้ดำรัศทราบเนื้อความทุกประการ จึ่งมีพระราชโองการตรัสสั่งแก่มหาดเลกว่า ให้เอาเงินหลวงร้อยชั่งไปให้แก่พระไตรยภูวนารถทิตยวงษว่า พระราชทานให้ออกมาให้จัดแจกแก่ข้าไทยทั้งปวงนั้นจงทั่วกัน อยู่มาพระยาพิไชยสงคราม พระมหามนตรีทูลแต่สมเดจ์พระรามราชาธิราชว่า พระยาพัทธลุงแลพระศรีภูริปรีชาซึ่งทรงพระกรุณาตรัสสั่งว่า ให้ไปกินเมืองนั้นก็มิไป แลคนทั้งสองนี้ครั้นกลางคืนย่อมลงไปวังหลังมิได้ขาด แลคิดอ่านด้วยพระไตรยภูวนารถทิตยวงษจะคิดร้ายแก่แผ่นดิน.จึ่งสมเดจ์พระรามราชาธิราชก็เอาคดีนั้นกราบทูลพระกรุณา จึ่งมีพระราชโองการตรัสว่าจะให้เสาะแสวงหาฟังเนื้อความนี้ดูจงหมั้นแม่นก่อน อยู่มาวันหนึ่งนายผูกเดิมเปนมหาดเลกเปนโทษครั้งสมเดจ์พระพุทธเจ้าหลวงปราสาททอง ให้ศักเปนหมู่เรือพระที่นั่ง แลนายผูกมาบอกแก่พระยาจักรีพระยาพระคลังว่า พระยาพัทธลุงพระศรีภูริปรีชาแลหมื่นภักดีสวรรค์ย่อมลงไปหาพระไตรภูวนารถทิตยวงษ ณวังหลัง คิดอ่านส้องสุมไพร่พลจะทำร้ายแก่แผ่นดิน พระยาจักรี พระยาพระคลังบอกแก่พระยาพิชิตภักดิ ๆ ก็กราบทูลพระกรุณาให้ทรงทราบ จึ่งมีพระราชโองการตรัสสั่งพระยาพระคลังว่า หมื่นภักดีสวรรค์ซึ่งสั่งให้ไปรั้งเมืองแลมิได้ไปนั้น เหนว่าจะคบกันคิดร้ายพระองค์ ให้ลงโทษตัดศีศะเสียบไว้น่าสาลาลูกขุนณพระราชวังบวรสถานมงคล. ส่วนพระไตรยภูวนารถทิตยวงษเข้ามาเฝ้า ณบนที่พระราชวังบวรสถานมงคลไซ้ย ย่อมหาพระสิทธิไชยแลท้าวราชนายภิมมากระซิบเจรจาทุกวัน แลพระยาพิชิตภักดีจึ่งว่าแก่หมื่นมไหสวรรย์ให้ห้ามพระสิทธิไชยแลท้าวราชน ายภิมซึ่งเจรจาด้วยพระไตรยภูวนารถทิตยวงษ์ณบนที่นั้น. แลพระไตรยภูวนารถทิตยวงษโกรธพระยาพิชิตภักดีแลหมื่นมไหสวรรย์ อนึ่งพระยาจักรีพระยาพระคลังกราบบังคมทูลพระกรุณาว่ามีผู้มาบอกว่า พระไตรยภูวนารถทิตยวงษจะคิดร้ายเปนหมั้นแม่น จึ่งมีพระราชโองการตรัสว่า เยียฉันใดจะแจ้งว่าคิดร้ายนั้นเปนหมั้นแม่น จึ่งสั่งแก่พระยาพิชิตภักดีว่า เมื่อครั้งพระองค์ไสยานั้น พระไตรยภูวนารถทิตยวงษขึ้นมา ย่อมเอามีดเหน็บผูกขาขึ้นมา แลบัดนี้ยังจะทำดุจนั้นฤๅหามิได้ จึ่งพระยาพิชิตภักดีก็แส้งอุบายนวดพระไตรยภูวนารถทิตยวงษ แต่พระบาทขึ้นมาถึงต้นพระเพลา ภบคาดเครื่องแลมีดเหน็บ จึ่งพระยาพิซิตภักดีก็ร้องขึ้น พระไตรยภูวนารถทิตยวงษรู้ก็ตกใจ อยู่มาข้าหลวงซึ่งแต่งให้ขึ้นไปฟังกฤษติศับท์นั้น ก็ได้เอาเนื้อความมากราบทูลพระกรุณาว่า ได้ยินข้าพระไตรยภูวนารถทิตยวงษว่า พระไตรยภูวนารถทิตยวงษคิดว่า เมื่อการพระราชพิธีตรีรำพะวายนั้น ถ้าแลเสดจ์พระราชตำเนินไปไซ้ จะแต่งข้าอาษาให้ซุ่มซ่อนอยู่ที่ทางแคบนั้น ครั้นเสดจ์พระราชตำเนินไปกลางคืนไซ้ จึ่งจะให้ข้าอาษาซึ่งซ่อนอยู่นั้นออกทำร้ายในลอองทุลีพระบาท ครั้นดำรัศเนื้อความทั้งนี้แล้ว จึ่งทรงพระราชตำริหว่า องค์พระไตรภูวนารถทิตยวงษไซ้เปนอนุชาธิราชแห่งเรา เราก็ไว้พระไทยเปนที่สนิทเสนหานัก แลซึ่งองค์พระไตรยภูวนารถทิตยวงษจะคิดมิตรโทษแก่เราดั่งนี้. เมื่อวันการพิธีตรีรำพะวายนั้นเราจะไปส่งพระเปนเจ้าถึงเทวสถาน ถ้าแลองค์พระไตรยภูวนารถทิตยวงษ์จะทำร้ายแก่เราก็ให้ทำเถิด เราจะเอาแต่บุญาธิการแห่งเราเปนที่พึ่ง ครั้นถึงวันการพระราชพิธีตรีรำพะวายกลางคืนนั้น ก็เสดจ์ทรงช้างต้นพระที่นั่งสุวรรณปฤษฎางค์ ประดับด้วยเครื่องราโชประโภคทั้งปวงแลท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลาย แห่โดยซ้ายขวาหน้าหลังก็เสดจ์แต่พระราชวังบวรสถานมงคล มาโดยทางหอรัตนไชยมาทางตพานช้าง แลพระไตรยภูวนารถทิตยวงษก็ขึ้นช้างตามช้างพระที่นั่งมา พระเจ้าอยู่หัวก็เสดจ์ไปโดยทางชีกุน แลคนซึ่งแต่งซุ่มไว้นั้นล้วนถือปืนนกสับอยู่ณตพานช้างเปนอันมาก ครั้นให้ถามก็บอกว่าข้าวังหลัง ก็มิได้มีพระราชโองการประการใด เสดจ์ไปส่งพระเปนเจ้าถึงเทวสถานแล้ว เสดจพระราชตำเนินกลับคืนมายังพระราชวังบวรสถานมงคล.อยู่มาวันหนึ่งผู้ดาษเลงแลท้าวหมู่เรือพระที่นั่งอลงกฎนาวา มาบอกแก่หมื่นราชามาตย์ประลัดพระตำรวจว่า นายสุกเดิมเปนข้าพระไชยราชาธิราชได้มาเปนข้าพระไตรยภูวนารถทิตยวงษแลนายสุกนั้นว่าเปนระบาททีหนึ่งแล้วทีนี้จะเปนระบาทอีกเล่าภูดาษเลงแลท้าวจึ่งถามนายสุกว่าซึ่งจะทำระบาทอีกนั้นด้วยเหตุอันใด แลนายสุกจึ่งบอกแก่ผู้ดาษเลงแลท้าวว่า พระไตรยภูวนารถทิตยวงษ์คิดร้ายในลอองทุลีพระบาท หมื่นราชามาตยก็เอาคดีนั้นบอกแก่หลวงพิไชยเดช ๆ ก็เอากราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทราบในลอองทุลีพระบาท จึ่งมีพระราชโองการตรัสสั่งแก่หลวงพิไชยเดช ให้ว่าแก่ผู้ดาษเลงแลท้าวให้ไปฟังเอาเนื้อความนั้นจงหมั้นแม่น ผู้ดาษเลงแลท้าวจึ่งไปหานายสุก ๆ จึ่งเล่าให้ผู้ดาษเลงแลท้าวฟังว่า พระไตรยภูวนารถทิตยวงษคุมคนจะยกขึ้นไปมาในเดือนญี่แรมสามค่ำ ผู้ดาษเลงแลท้าวนั้นเอาเนื้อความนั้นมาบอกแก่หลวงพิไชยเดช ๆ ก็เอาคดีกราบทูลพระกรุณา. อยู่ณวันหนึ่งพระยาจักรี พระยาพลเทพกราบทูลพระกรุณาว่า ได้ยินกฤษติสับท์ว่าพระไตรยภูวนารถทิตยวงษจะคิดร้ายในลอองทุลีพระบาทเปนหมั้นแม่น แลมีผู้มากราบทูลพระกรุณาว่า พระไตรยภูวนารถทิตยวงษคิดร้ายในลอองทุลีพระบาทนั้นเปนอันมาก จึ่งพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการตรัสสั่งแก่เสนาบดี แลข้าหลวงผู้มีความสวามีภักดีซื่อสัจนั้นว่า องค์พระไตรยภูวนารถทิตยวงษ์ไซ้ เปนพระอนุชาธิราชแห่งเรา เราก็มีความเสนหาเปนอันยิ่งนักเราคิดว่า จะบำรุงไว้ให้วัฒนาการไปภายน่า แลองค์พระไตรยภูวนารถทิตยวงษมิได้มีความซื่อสัจต่อเรา ฟังเอาถ้อยคำคนโกหกมายุยง แลคิดซ่องสุมผู้คนจะทำร้ายแก่เรานั้นจะเปนประการใด จึ่งเสนาบดีแลข้าหลวงผู้มีความสวามีภักดีนั้นกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า พระไตรยภูวนารถทิตยวงษไซ้มิได้คิดถึงคุณแลมิได้มีความสวามีภักดี จะไว้พระไตรยภูวนารถทิตยวงษให้ทำตามอิจอาภาพนั้นมิได้ ขอพระราชทานให้สำเรจโทษตามประเพณีพระราชกุมารซึ่งเปนมหันตโทษนั้น จึ่งพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการตรัสว่า ซึ่งจะสำเรจโทษในกรุงเทพมหานครนี้มิได้ เราจะไปพระนครหลวงแล้ว เราจะทรงม้าต้นให้องค์พระไตรยภูวนารถทิตยวงษ ขี่ม้าต้นตัวหนึ่งออกไปกลางพระนครหลวงถ้าองค์พระไตรยภูวนารถทิตยวงษจะคิดทำร้ายแก่เรา เราก็มิได้เขดขามด้วยจะยุทธนาพระไตรยภูวนารถทิตยวงษ ณที่นั่น. แลเราจะเอาบุญญาธิการแห่งเราเปนที่พึ่ง จึ่งทรงพระกรุณาตรัสสั่งสมุหนายกว่า จะขึ้นไปพระนครหลวง ครั้นถึงวันอังคารเดือนสามขึ้นสามค่ำปีวอกอัฐศก กอบด้วยพิไชยกฤษเพลาอุษาโยค ก็เสดจด้วยเรือพระที่นั่งครีสมรรถไชย แลเรือท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งปวงแห่หน้าหลังซ้ายขวาโดยเสดจ์พระราชตำเนินไปถึงพระนครหลวง จึ่งเสดจ?ขึ้นพระตำหนัก. ครั้นเพลารุ่งแล้วประมาณสองนาฬิกาเสศ จึ่งเสดจทรงม้าต้นพระที่นั่งราชพาหนะ ให้พระอินทราชาทรงม้าตัวหนึ่ง พระไตรยภูวนารถทิตยวงษทรงม้าตัวหนึ่ง สมเดจพระรามราชาธิราชทรงม้าตัวหนึ่ง แลเสนาบดีมนตรีมุขทั้งปวงโดยเสดจ์แห่งหน้าหลังโดยซ้ายขวาเสดจ์ออกไปกลางทุ่ง น่าพระตำหนักพระนครหลวงนั้น ๚ะ๏ พระไตรยภูวนารถทิตยวงษ์ ก็กลัวพระเดชบุญานุภาพพระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวมิอาจทำร้ายได้ แล้วเสดจพระราชดำเนินกลับเข้ามายังพระตำหนัก พระไตรยภูวนารถทิตยวงษ์ก็ตามเสดจเข้ามาในพระราชวังพระนครหลวง จึ่งพระสุรินทรภักดีก็ตามพระไตรยภูวนารถทิตยวงษเข้ามาถึงน่าปรามช้าง แลเหนพระไตรยภูวนารถทิตยวงษ์แก้จางนางดาบออก แล้วก็ขึ้นไปบนฉนวน จึ่งพระสุรินทรภักดีก็ตามกราบทูลพระกรุณาให้ทราบ เมื่อจะเสดจเข้าที่พระบันทมมีพระราชโองการตรัสสั่งพระยาวิชิตรภักดี พระสุรินทรภักดี แลขุนเหล็กมหาดเล็ก ให้เอางานพัชนีให้พิทักษรักษาระวังระไวอยู่ จึ่งพระสุรินทรภักดีซึ่งเอางานพัชนีอยู่นั้น ก็เหนพระอินทรราชาธิราช แลพระไตรยภูวนารถทิตยวงษออกจากพระตำหนัก มาใกล้ที่พระบันทม ครั้นเหนพระสุรินทรภักดีก็กลับคืนเข้าไป แล้วขุนเหล็กมหาดเล็กก็รับงานพัชนีผลัดพระสุรินทรภักดี แลพระไตรยภูวนารถทิตยวงษใช้ให้พระองค์ทองออกมาเอาพระแสงหอกต้นของหลวง ซึ่งอยู่ณพระที่นั่งมุขเด็จนั้นไป ๚ะ๏ ครั้นพระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจตื่นจากพระบันทม จึ่งขุนเหล็กมหาดเล็กกราบบังคมทูลพระกรุณาว่าพระองค์ทองออกมาเอาพระแสงหอกต้น ซึ่งอยู่ณพระที่นั่งมุขเด็จนั้นไป จึ่งทรงพระกรุณาตรัสว่า ซึ่งพระแสงหอกต้นไซ้ จะได้เปนสำรับองค์พระไตรยภูวนารถทิตยวงษหามิได้ แลซึ่งให้มาเอาพระแสงหอกต้นเข้าไปไว้ดั่งนี้ เหนว่าพระองค์ไตรยภูวนารถทิตยวงษจะคิดร้ายต่อเราเปนมั่นแม่น จึ่งพระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชโองการตรัสสั่งให้พระยาพิไชยสงครามคุมไพร่พลอยู่รักษาประตูน่าพระราชวัง ให้พระศรีมหาราชาคุมไพร่พลอยู่รักษาประตูพระราชวังฝ่ายซ้าย ให้พระทนบุรีคุมข้าหลวงอยู่รักษาประตูฉนวน แลให้พิทักรักษาอย่าให้ผู้คนแปลกปลอมเข้าออกได้ จึ่งมีพระราชโองการตรัสสั่งพระยาจักรี พระยาพิชิดภักดี พระมหามนตรี หลวงอินทรเดชะ ให้เปนพนักงานคุมพระไตรยภูวนารถทิตยวงษ แลให้พระสุรินทรภักดี หลวงเทพสมบัติ หลวงกำแพง พระราม หมื่นมไหสวรรย์ เปนพนักงานคุมพระอินทราชา ให้หลวงวิชิตสงคราม หลวงรามภักดี ชิงเอาดาบของพระอินทราชา แลพระไตรยภูวนารถทิตยวงษ ซึ่งให้ถืออยู่นั้นไว้. ครั้นเพลาเช้าห้านาฬิกา จึ่งพระอินทราชา พระไตรยภูวนารถทิตยวงษ พระองค์ทองก็ออกมาเฝ้าณที่ฉนวนนั้น แลข้าหลวงผู้มีชื่อซึ่งได้เปนพนักงานคุมนั้น ก็มาเฝ้าพร้อมกันอยู่ณที่ฉนวนนั้น จึ่งพระยาจักรึกราบทูลพระกรุณาว่าคืนนี้ข้าพระพุทธเจ้านิมิตรเปนมหัษจรรย์. ข้าพระพุทธเจ้าจะฃอแก้ฝันถวาย จึ่งมีพระราชโองการตรัสแก่พระยาจักรีว่า ให้แก้นิมิตรไปเถิด พระยาจักรีกราบบังคมทูลว่า ซึ่งจะแก้ให้คนทั้งหลายแจ้งเนื้อความนั้นดูมิควร ฃอพระราชทานให้เฝ้าใกล้ลอองทุลีพระบาท ครั้นพระยาจักรีเข้ามาเฝ้าใกล้ลอองทุลีพระบาทแล้ว จึ่งมีพระราชโองการตรัสถามว่า ที่จะลงไปนั้นจะไปโดยทางชลมารคดีฤๅ ๆ จะไปโดยสถลมารคดี แลจะไปโดยทางสถลมารคก็ได้ ด้วยช้างม้ารี้พลพร้อมกันอยู่.พระยาจักรีกราบทูลว่าสถลมารคนั้นโคลนลุ่มนัก ขอพระราชทานเสดจโดยทางชลมารค ก็มีพระราชโองการตรัสว่าชอบแล้ว พระยาจักรีกราบทูลว่า มีโจทว่ามีผู้เอาพระแสงไปฝังไว้ ขอพระราชทานให้ขุดเอา พระราชโองการตรัสว่าเอาเถิด พระยาจักรี แลข้าหลวงผู้ได้พนักงานก็กุมพระองค์ไตรภูวนารถทิตยวงษนั้น.พระสุรินทรภักดี แลข้าหลวงซึ่งได้พนักงานกุมพระองค์อินทราชานั้น ก็ช่วยกันกุมพระองค์อินทราชา ๚ะ๏ ฝ่ายพระองค์ทองผู้เปนพระอนุชา ก็เข้าช่วงชิงพระไตรยภูวนารถทิตยวงษ แลทุบตีข้าหลวงผู้กุมพระไตรยภูวนารถทิตยวงษ ข้าหลวงก็กุมเอาพระองค์ทองนั้นด้วย แล้วก็เอาพระไตรยภูวนารถทิตยวงษ แลพระองค์ทองนั้นสำเร็จโทษในที่นั้น. แต่พระอินทราชาธิราชนั้น ทรงพระกรุณายกโทษไว้ เพราะว่ามิเข้าด้วยพระไตรยภูวนารถทิตยวงษ จึ่งพระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสดจลงเรือพระที่นั่ง เอาพระอินทราชาลงเรือพระที่นั่งมาด้วย. แลเรือเสนาบดีมุขมนตรีทั้งปวง ก็เข้ากระบวนโดยเสดจซ้ายขวาหน้าหลัง เสดจพระราชดำเนินเข้ามายังพระราชวังบวรสถานมงคล. จึ่งมีพระราชโองการตรัสสั่งให้ตำรวจนอกตำรวจใน ไปเอาข้าพระไตรยภูวนารถทิตยวงษซึ่งรวมคิดด้วยพระไตรภูวนารถทิตยวงษนั้นมาถวาย. เมื่อถามหลวงกลาโหมข้าเดิมพระไตรยภูวนารถทิตยวงษให้การว่าพระศรีภูริปรีชา พระยาพัทธลุง หลวงจ่า แลนายขาน นายดวง นายอิน หมื่นทิพ หมื่นเทพ ซึ่งเปนตำรวจในซ้ายขวา กับนายบาลเมือง นายบุญเกิด นายน้อย ผู้มีชื่อทั้งนี้คิดอ่านด้วยกันว่า พระไตรยภูวนารถทิตยวงษจะแต่งเตรียมไว้ฟังดูแต่เดือนสี่ ถ้าแลลอองทุลีพระบาทโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระราชวงษฝ่ายในทั้งสองพระองค์นั้น เหนว่าจะโปรดเที่ยงแท้ แลแผ่นดินจะราบคาบไป ถ้าทรงพระกรุณามิโปรดจนถึงการพระราชพิธีแล้ว จึ่งจะมีความคิด แลทุกวันนี้แต่จะป้องกันตัวไป จะได้คิดว่าจะยกเข้ามาแต่ในการพระราชพิธีนี้หามิได้ แลจะได้คิดว่า จะยกเข้ามาในวันใดเดือนใดนั้นยังมิได้คิด อนึ่งพระไตรยภูวนารถทิตยวงษเสพยสุราแล้วแลออกมาณศาลาว่า เราคนแต่ร้อยหนึ่งยกเข้าไปก็จะได้ ๚ะ๏ อนึ่งเมื่อถามนายอิน ๆ ให้การว่า เมื่อแรกคิดอ่านจะทำร้ายในลอองทุลีพระบาทนั้น พระศรีภูริปรีชา พระยาพัทธลุง พระสิทธิไชย หลวงกลาโหม หลวงสรรพสิทธิ หมื่นภักดีศวรน้องพระสิทธิไชยคนหนึ่ง ผู้มีชื่อทั้งนี้คิดด้วยพระไตรยภูวนารถทิตยวงษณท้องพระโรง แลว่าพระศรีภูริปรีชาหมื่นราชามาตย หมื่นคำจายผู้หลานพระศรีภูริปรีชา กันนายภิม แลผู้มีชื่อทั้งสี่คนนี้ จะคุมคนร้อยหนึ่งสรัพด้วยเครื่องสาตราวุธ จะยกเข้ามาเฝ้าแต่ตพานช้างมาณประตูพระราชวัง พระยาพัทธลุงจะคุมกำลัง แลสมักพักพวกร้อยห้าสิบ สรัพด้วยเครื่องสาตราวุธ จะมาโดยทางริมน้ำ จะเข้ามาณประตูดินพระราชวังบวรสถานมงคล ขุนศรีเทพบาทแลหมื่นภักดีศวร จะคุมบ่าวแลสมักพักพวกร้อยยี่สิบ สรัพด้วยเครื่องสาตราวุธ จะยกเข้ามาโดยทางท่าทราย จะเข้าประตูหลักไชยข้างหลัง ๚ะ๏ อนึ่งคนเดิมพระไตรยภูวนารถทิตยวงษนั้นประมาณสามพัน แลคนพระราชทานประมาณพันเสศ. พระสิทธิไชย หลวงสรรพสิทธิ์ กับน้องพระสิทธิไชย แลพระหลวงขุนหมื่นพันทนายฃอเฝ้ามหาดเล็กนั้น จะมาด้วยพระไตรยภูวนารถทิตยวงษ ก็ให้พระสิทธิไชย หลวงสรรพสิทธิ์ แลน้องพระสิทธิไชยเสี่ยงเทียนสามเล่ม เทียนพระพุทธเจ้าเล่มหนึ่ง เทียนพระบรมโพทธิสมภารเจ้าเล่มหนึ่ง เทียนพระไตรยภูวนารถทิตยวงษเล่มหนึ่ง แลเสี่ยงพระษาริริกธาตุณหอพระ อธิฐานว่าจะยกเข้าไปนั้นยังจะมีไชยชำนะฤๅ ๆ หาไชยชำนะมิได้. แลเมื่อตามเทียนเสี่ยงนั้น เทียนพระไตรยภูวนารถทิตยวงษนั้นดับก่อน แลพระษาริริกธาตุก็มิได้ลอยขึ้น พระไตรยภูวนารถทิตยวงษก็ว่าพระอาธรรมแล้วทั้งนี้สุดแต่บุญ แล้วพระไตรยภูวนารถทิตยวงษก็สั่งแก่นายอินว่า พระยาศุโขไทย พระยามหามณเฑียรสองคนนี้จะอาษาเหนพระยาพลเทพ พระยามหามณเฑียรลงไปณวังหลังเปนหลายครั้ง แลพระไตรยภูวนารถทิตยวงษก็บอกแก่นายอินว่า พระยากลาโหมจะอาษา แลพระยาวิชิตสุรินทร พระยาศรีสุรภักดีทูลว่า จะยกขึ้นไปเมื่อใดจะอาษาเมื่อนั้น แลให้กฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้ อนึ่งผู้คิดอ่านเปนคมเปนสันนั้น คือพระยากลาโหม พระยาพลเทพ พระยามหามณเฑียร พระยาศุโขไทย พระยาวิชิตสุรินท พระยาศรีสุรภักดี หกคนนี้ลงไปกลางวันแลกลางคืน. แลผู้ซึ่งลงไปเปนสุภาพนั้น คือเจ้าพระยามหาอุปราช พระยาพิจิตร หลวงพรหมพิจิตร สามคนนี้เหนลงไปเปนสุภาพ. อนึ่งพระยาศรีภูริปรีชา หลวงกลาโหม นายเพชร ทูลคิดด้วยกัน แล้วจึ่งทูลพระไตรยภูวนารถทิตยวงษว่า จะเขียนชื่อพระยาจักรี พระยาพิชิตภักดี พระสุรินทรภักดี หลวงอินทรเดช แลขุนเหล็ก ขุนเทพรัตนลงในราชเอาสีลาทับไว้ มิให้คนมีชื่อทั้งนี้ออกปากคิดอ่านได้ เพื่อจะระงับถ้อยความทั้งปวง แลพระไตรยภูวนารถทิตยวงษเหนชอบด้วย. จึ่งพระศรีภูริปรีชาเอาตำราราชของตัวให้แก่นายเพชรทูล ให้เขียนชื่อคนทั้งนั้นลงราช แล้วให้หลวงกลาโหมเอาสีลาทับไว้ในพระตำหนักนั้น อนึ่งหมื่นทิพเสนา หมื่นราชามาตย ลงไปณวังหลังขออาษา แลพระไตรยภูวนารถทิตยวงษก็ให้ผ้าลาย แลเสื้อกาษาคลสำรับ. ๚ะ๏ อนึ่งมีคำอีแก่น แลนายบุญเกิดให้การว่า พระไตรยภูวนารถทิตยวงษว่า ใช้อีแก่นแลนายบุญเกิด เอาน้ำสบถไปให้แก่พระยามหามณเฑียร พระยาศุโขไทยกินถึงจวน อนึ่งคำอีแก่นให้การว่าผู้ลงไปณวังหลังนั้นคือภรรยาพระยากลาโหม นางน้อยลูกพระยากลาโหม ภรรยาหลวงราชบุตร์ แลภรรยาพระยากลาโหมผู้มรณภาพไปกับนางเขียดท้าวอาชอุไทยภรรยาพระยาพิไชยรณฤทธ แลลูกสใพ้แม่นมสุด แม่พระศรีภูริปรีชา แลหลานแม่ศรีอุไทย แม่พระศรีภักดีภรรยาพระยาพัทธลุง ภรรยาพระยาศุโขไทย ภรรยาพระยาพระคลัง แม่พระยาพระคลัง แลภรรยาพระจอมเมืองนั้น พระราชทานกำไลทองคำคู่หนึ่ง ครั้นถามผู้มีชื่อทั้งนี้กราบบังคมทูลพระกรุณา พระเจ้าอยู่หัวจึ่งมีพระราชโองการตรัสสั่งให้ท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งปวง พิภาคษาโทษซึ่งไปมาแลคิดอ่านด้วยพระไตรยภูวนารถทิตยวงษ จะทำร้ายในลอองทุลีพระบาทนั้นเปนมหันตะโทษถึงสิ้นชีวิตร แลผู้ไปมาคบหาพระไตรยภูวนารถทิตยวงษ ซึ่งมิได้คิดเปนใจคิดร้ายด้วยนั้นเปนแต่สาขาโทษ แลทรงพระกรุณาโปรดให้ลงพระราชอาญา แล้วประทานชีวิตรไว้ ๚ะ๏ แลในเดือนยี่ปีวอกนั้น พระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว บำเพ็ญพระราชกุศลนาๆประการ แล้วให้หล่อรูปพระอิศวรเปนเจ้ายืนสูงศอกคืบมีเสศพระองค์หนึ่ง รูปศีวาทิตยยืนสูงศอกมีเสศพระองค์หนึ่ง รูปพระมหาวิคเนศวรพระองค์หนึ่ง รูปพระจันทราทิศวรพระองค์หนึ่ง แลรูปพระเปนเจ้าทั้งสี่พระองค์นี้สรวมทองนพคุณ แลเครื่องอาภรณประดับนั้นถมราชาวดี ประดับด้วยแหวนทุกพระองค์ไว้บูชาสำหรับการพระราชพิธี ๚ะ๏ แลในเดือนยี่ปีวอกนั้น พระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการตรัสสั่งเจ้าพระยาจักรี ให้แต่งโรงพระราชพิธีเบญจาพิธ แลประดับด้วยราชวัตฉัตรธงอลงกฎ การมหามหรรสพทั้งปวง. แลเมื่อแรกแต่งการพระราชพิธีเบญจาพิธนั้น ให้พระเมืองขุนหมื่นคุมไพร่พลไปทำโรงราชพิธี แลพระตำหนักตำบลมขามหยอง. ๚ะ๏ ในเดือนยี่นั้น พระท้ายน้ำขุนอำมรินทร ขุนหมื่นทั้งหลายเหนเปนโชตรุ่งเรืองดั่งต้นตาล สูงขึ้นไปในที่จะแต่งการพระราชพิธีก็ปรากฎในราษตรีกาลนั้นเปนศุภนิมิตรอันอุดม ซึ่งจะจำเริญพระศรีสวัสดิพิภัทธมงคลอันประเสริฐนั้น ครั้นแต่งการสำเรจ์แล้วถึงวันศุกร์เดือนสี่ขึ้นห้าค่ำเพลารุ่งแล้วแปดบาท พระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็เสดจ์ด้วยเรือพระที่นั่งครุทธพาหนะ แลประดับด้วยเรือดั้งเรือกันแลเรือไชยรูปสัตวทั้งปวง แลเรือท้าวพระยาสามนตราชเสนาบดีมนตรีมุขทั้งปวง แห่หน้าหลังคับคั่งเปนอันมาก. ครั้นเสดจยังพระตำหนักตำบลมขามหยองแล้วก็ให้ประพฤษดิมงคลการสามวัน ครั้นสำเรจ์แล้วก็ให้พระมหาราชครู แลพระปลัดพระราชครูประพฤษดิการพระราชพิธีมหาปรายาจิตร แลพระราชพิธีเบญจาพิธมหาพิไชยสงคราม ก็เสดจ์เข้าพระราชพิธีแล้วประพฤษดิการตามยถาสาตรสำหรับการพระราชพิธีเบญจาพิธ ตามสาตรตำรับนั้นทุกประการเสร็จ ถึงวันอาทิตย์เดือนสิบขึ้นสิบค่ำเพลาชายแล้วนาฬิกาหนึ่ง จึ่งพระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสดจทรงภูษาพัตราภรณ พิพิธวิจิตรด้วยสุวรรณรัตนภรณ์บวรราโชประโภคทั้งปวงเสร็จ ก็เสดจเหนือพิไชยราชรถอันอลงกฎด้วยกาญจนรัตนาภรณ์ เทียมด้วยบวรจัตุรงค์มงคลอาชาไนยประไภโชดิฉัชชะวาลย์ กาญจนพระอภิรุมบังแสงสุริยมยุรฉัตร พัชนีพรรณกรรพรุณจามรมาศ แลพระมหาราชครูพระครู ท้าวพระยาสามนตราชเสนาบดีมนตรีมุขทั้งปวงทุกกระทรวงทบวงการทั้งหลาย แลประดับประดาซ้ายขวาน่าหลัง นฤนาทด้วยศรับท์สำเนียงเสียงฆ้องกลองแตรสังข์ ก็เสดจลิ้นลาศในรัฐยาอันประดับประดาด้วยราชวัชฉัตรธงอลงกฎธิการด้วยมหามหรรสพทั้งปวงนั้น ครั้นถึงมารคที่โรงดัษกรนั้น ก็หยุดพระพิไชยราชรถให้ประหาดัษกรโดยสาตรเสร็จ ก็เสดจยังพระที่นั่งสาครมณฑ ปเสดจสรงมุรธาราภิเศกเสร็จ เสดจยังพระที่นั่งพระพิไชยสมโพธแลถวายอาศริพาศคำรพตติยวาร แลพระราชทานให้เลี้ยงลูกขุนสำหรับการพระราชพิธีเบญจาพิธมหาพิไชยสงครามตามธรรมเนียม ๚ะ๏ ครั้นการพระราชพิธีเสร็จก็เสดจประเวศน์พระราชมณเฑียร แลในปีวอกนั้น ตรัสให้หล่อรูปพระเทวกรรม สูงประมาณศอกมีเสศพระองค์หนึ่ง สรวมทองเครื่องอาภรณ์ประดับแหวนถมราชาวดี ๚ะ๏ ครั้นปีรกานพศก พระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการตรัสสั่งเจ้าพระยาจักรี ให้แต่งโรงราชพิธีบัญชีพรหม แลชมรมสำหรับการพระราชพิธีทั้งปวง ในทเลหญ้าตำบลพะเนียด แล้วทรงพระกรุณาให้หล่อพระเทวะกรรมยืนสูงศอกหนึ่งหุ้มด้วยทองเนื้อแล้ว แลเครื่องอาภรณ์นั้นถมราชาวดี ประดับด้วยแหวนไว้สำหรับการพระราชพิธีคชกรรม ให้พระมหาราชครู พระครูพฤทธิบาศ แลปลัดพระราชครู ประพฤติการพระราชพิธีบาญชีพรหม ในวันศุกร์เดือนเจ็ดขึ้นสิบค่ำ จึ่งพระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจยังการพระราชพิธีมหาประยาจิต แลพระราชพิธีบาญชีพรหมทเลหญ้า ก็ประพฤติการพระราชพิธีตามสาตรตำหรับอันมีในคชกรรมนั้นทุกประการ ครั้นถึงณวันศุกร์เดือนเจ็ดขึ้นสิบสี่ค่ำ พระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจยังการพระราชพิธีคชกรรมโดยยถาสาตร แลถวายสมโพธถวายอาศรีพาศคำรพย์สามวันเสร็จ ก็เสดจประเวศน์พระราชมณเฑียร. ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๐๒๐ ปีจอสัมฤธธิศกเดือนอ้าย จึ่งพระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจด้วยพระที่นั่งชลวิมานกาญจนบวรนาวาไปประภาศ ณเมืองนครสวรรค์ จึ่งพระยาจักรีกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า ขุนศรีขรจารินท์ ณเมืองศรีสวัศดิ์บอกมาว่า ออกไปฟังข่าวณป่าตำบลห้วยซาย แลนายอานซุยคล้องต้องนางช้างเผือก ประมาณสามศอกมีเสศ หูหางสรัพด้วยรูปงาม คล้องได้ในวันอังคารเดือนอ้ายแรมสองค่ำ จึ่งมีพระราชโองการตรัสสั่งให้พระยาตนาวศรี แลพฤทธิบาศแลขุนช้างชาวช้างทั้งหลายไปรับเสวตรคเชนทร ก็เสดจพระราชดำเนินไปแต่เมืองนครสวรรค์มายังกรุงเทพพระมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุทธยา แลรับเสวตรกุญชรมาถึงกรุงเทพมหานคร ณวันศุกร์เดือนยี่ขึ้นห้าค่ำ แลให้แห่ประดับประดาด้วยการมหรรสพทั้งปวงด้วยเรือขนาน รับขึ้นไว้ณโรงใกล้พระราชวัง แลทรงพระกรุณาตรัสประสาตร์นามกร ชื่อพระอินทไอยราวรรณวิสุทธิราชกิริณี แลให้พระมหาราชครู พระครูพฤศธิบาศ แลท้าวพระยาสามนตราช เสนาบดีมนตรีมุขลูกขุนทำขวันคำรพสามวันแล้ว แต่งเครื่องราชาภรณ์บวรอลงกฎรจนาด้วยกระนกกรัตนาไมย พระราชทานให้ประดับสำหรับเสวตรคเชนทรนั้น แลพระศรีสิทธิกรรมอยู่บริบาลนางพระยาช้างเผือกนั้น ๚ะ๏ ส่วนนายอานซุยผู้บุตรขุนศรีขรจารินท์ซึ่งคล้องถูกนั้น พระราชทานให้ชื่อเปนขุนคเชนทรไอยราวิสุทธิราชกิริณี แลพระราชทานเจียดเงินเหลี่ยมเลี่ยมเครื่องทองสำรับหนึ่ง แลเงินตราสองชั่ง ผ้าลายสรรพางค์ ผ้าไหมลายปูม แลเสื้อแพรสำรับหนึ่ง แลภรรยาแห่งนายอานซุยนั้น พระราชทานให้ครอบเงินกลีบบัวหนักสิบตำลึง เครื่องลำรับแลเงินตราชั่งหนึ่ง ผ้าท้องขาวเชิงชายเขียนสำรับหนึ่ง แลขุนศรีขรจารินท์ผู้พ่ออานซุยช้วยโปรดนั้น พระราชทานให้เปนหลวงเสวตรคเชนทร พระราชทานเจียดเงินเหลี่ยมจำหลักหูช้าง แลเครื่องทองสำหรับเจียด เงินตราสองชั่ง ผ้าลายสรรพางค์ ผ้าไหมลายปูม แลเสื้อแพรพรรณสำรับ แลนายอานซุยผู้คล้องต้องนั้นว่าช้างนี้ตาพิการจะปล่อยเสีย จึ่งได้พระราชทานแต่เท่านั้น แลพระราชทานแก่ผู้เปนควานแลโยนทามนั้น ตามธรรมเนียมซึ่งได้นางพญาช้างแต่ก่อน ผู้ถือหนังสือข่าวมา แลผู้มาส่งนั้น ก็ได้พระราชทานถ้วนทุกคน แลพระราชทานทั้งปวงสิ้นเปนเงินเจ็ดชั่งสิบตำลึง แลค่าสร่วยดิบุกซึ่งเปนสมักพักพวก แลทาษหลวงเสวตรคเชนทร ซึ่งได้ช่วยในการช้างนั้น ก็พระราชทานด้วย ๚ะ๏ สมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าช้างเผือก ทรงพระเดชานุภาพอันประเสริฐ จำเริญพระราชกุศลสุจริตธรรม แลกอบด้วยพระราชศรัทธา ก็ให้สฐาปะนาพระพุทธปัฏิมากรห้ามสมุทพระองค์หนึ่งหุ้มทองคำ แลทรงอาภรณประดับด้วยแหวนมีค่า ทรงพระนามสมเดจพระบรมไตรยโลกยนารถ พระองค์สูงสี่ศอกคืบมีเสศทั้งถาน แล้วทรงพระราชศรัทธาตรัสให้สฐาปนาพระพุทธปฏิมากรพระองค์หนึ่ง หล่อด้วยทองนพคุณทั้งแท่งทรงพระนามสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าตรีภพนารถห้ามสมุท สูงศอกคืบเก้านิ้ว ทรงเครื่องอาภรณประดับพระอุนาโลมเพชรแหลมเท่ามะกล่ำใหญ่ แล้วก็สฐาปะนาพระพุทธปัฏิมากรหุ้มเงินสองพระองค์ พระองค์หนึ่งสูงสี่ศอกคืบมีเสศทั้งถาน พระองค์หนึ่งสูงสองศอกคืบมีเสศทั้งถาน แล้วตรัสให้หล่อพระบรมกรรมพระองค์หนึ่ง สูงสี่ศอกทั้งถาน แจ้งอภิเศกเสร็จ ก็ให้รับไปประดิษฐานไว้ในอารามพระศรีรุทรนารถตำบลชีกุน แลตรัสให้หล่อพระเทวะกรรมพระองค์หนึ่ง สูงประมาณสี่ศอก ไว้ในพระเทวะกรรม ๚ะ๏ ในขณะนั้นก็ฦๅชาปรากฎพระยศพระเกียรดิพระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าช้างเผือก ทรงพระเดชบุญญานุภาพอันยิ่งไปทั่วนาๆประเทศทั้งปวง ฝ่ายเมืองกัมพูชาประเทศนั้น นักจันผู้เปนราชบุตรพระยากัมพูชาประเทศได้ปกครองเมืองกัมพูชาประเทศ ก็มีความพิโรธกันกับน้องชื่อนักประทุม ๆ ให้หนังสือไปแก่พระยาญวน ให้มารบเอาเมืองกัมพูชาประเทศ พระยาญวนก็ให้องค์เจียงทูยกทับมารบเอาเมืองกัมพูชาประเทศ ได้นักจันผู้ครองเมืองกัมพูชาประเทศนั้นไป แล้วเอาแต่ทรัพย์สิ่งของแลปืนไปเมืองญวน แล้วก็ส่งนักจันให้กลับมาเมืองกัมพูชาประเทศเล่า ครั้นถึงเมืองจำปาละราชนักจันก็ถึงอนิจกรรม แลนักประทุมผู้น้อง ก็คุมญาติวงษสมักพักพวกเจ็ดร้อยเจ็ดสิบสามคน ซ่องสุมไพร่พลไปอยู่เมืองปะทายเพชร ๚ะ๏ ในปีจอสัมฤทธิศกนั้น แขกแม่นางกะเบาอันอยู่เมืองกัมพุชาประเทศหาที่พึ่งที่พำนักมิได้แลพระยาราชภักดีหนึ่ง พระยาโตะกาหนึ่ง พระยาโตะปะเกะหนึ่ง พระยานครหลวงหนึ่ง ศรีกากะหนึ่ง โปช้างหนึ่ง คุมสกรรธ์อพยพเจ็ดร้อยเจ็ดสิบสามคน มาฃอเปนข้าสู่พระราชสมภาร แลทรงพระกรุณาพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภค แลอาหารทั้งปวงแลไร่นาให้ทำกินเลี้ยงอาตมาภาพทุกคนมิได้แค้นเคือง ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๐๒๑ ปีกุนเอกศก หลวงกำเริบพระไพรหนึ่ง หลวงจงราชาหนึ่ง หลวงโสมหนึ่ง หลวงราชกุมารหนึ่ง หลวงราชเสนาหนึ่ง หลวงเสนาวิไชยหนึ่ง แลขุนหมื่นกับด้วยสกรรธ์สองพันสองร้อยสิบสี่คนอพยพสู่พระราชสมภาร แลสังฆราชวสุคนธ์อันเปนญาติสมักพักพวกด้วยนักจัน กับด้วยนักนี แลนักวรอุไทย แลนักอำผู้หลาน ทั้งนี้หาที่พำนักนิ์มิได้ ก็นำสมักพักพวกทั้งหลายมาสู่พระราชสมภาร ทรงพระกรุณาโปรฎพระราชทานเครื่องอูปโภคบริโภคทั้งปวงแก่สังฆราชาสุคนท์ แลญาติสมักพักพวกทั้งปวงซึ่งมาสู่พระราชสมภารนั้น ได้รับพระราชทานโดยอันดัพถ้วนทั้งปวง แลให้สังฆราชาสุคนท์อยู่ณอารามวัดพระนอน แทบอารามวัดเจ้าพระยาไทย แลพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคเจียดแลเครื่องเจียดแก่นักนี แลนักวรอุไทยนักอำ แลพระราชทานแก่หลวงขุนหมื่นผู้มีความสวามีภักดิ์ แลสกรรธ์อพยพทั้งปวง ให้ทำมาหากินในถิ่นถานชอบกล มิให้แค้นเคืองสิ่งใดได้ แต่ขุนท่องพระไพรมาสู่พระราชสมภาร ด้วยสังฆราชาสุคนท์นั้นให้การว่า เมื่อครั้งสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวปราสาททองสวรรคาไลยแล้ว แลสมเดจพระศรีสุธรรมราชาธิราชเสวยราชสมบัติ รู้ข่าวไปถึงนักจันผู้เปนพระยากัมพูชาธิบดี ๆ ก็ใช้ขุนท่องพระไพรแลไพร่ห้าคน ให้ลอบปลอมเข้ามาฟังกิจการณกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา ขุนท่องพระไพรกับไพร่ห้าคน เดินลัดป่ามาโดยทางนครนายก แลมาถึงทุ่งพระแก้ว จึ่งไว้ไพร่สามคนซึ่งมาด้วยนั้นสองคน แลถือเชือกเดินประดุจดังหาวัว ๚ะ๏ ขณะนั้นพระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจปราบดาภิเศกแล้ว. แลขุนท่องพระไพรมาภบสงฆ์สามรูปณทุ่งวัดเดิม ได้เจรจาด้วยพระสงฆๆก็บอกว่าพระนารายน์เปนเจ้าได้เสวยราชสมบัติแลทรงพระเดชเดชาบุญญานุภาพหนักหนา แลพระหัดถ์ข้างหนึ่งจะให้เปนสองหัตถก็ได้ แลทรงพระกรุณาแก่ประชาราษฎรทั้งปวง แลขุนท่องพระไพรก็เอากิจนี้ไปบอกแก่นักจัน ๚ะ๏ ในปีกุนเอกศกเดือนเก้า มริอลาได้ยินปรากฎพระเกียรติยศอันประเสริฐออกไปก็มีความสวามีภักดิ์ แต่งจานแก้วหุ้มแสรกทองประดับมรกฎ แลแหวนแดงทั้งปวงร้อยยี่สิบพรอย ขอให้โกษาธิบดีทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย แลปีกุนนั้นพระยากตุกสวามีภักดิ์ แลแต่งแหวนพลอยเพชร์แหลมประมาณเท่าผลสวาด คิดราคาแปดชั่งเจ็ดตำลึงทอง แหวนพลอยเพชรมรกฎเท่าบัวอ่อนใบหนึ่ง ราคาชั่งสิบตำลึงทอง ให้ดีบลมุลนำเข้ามาให้พระยารามกำแหงทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย. ในปีกุนนั้นนางพระยาอาแจแต่งแหวนเพชรลูกแดงเท่าผลมขามทั้งเปลือก เปนค่าสิบตำลึงทอง ขอให้โกษาธิบดีทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ในปีเดียวกันนั้นพระยามหมัดลูกค้าณเมืองชลีมีความสวามีภักดิ์ ก็แต่งดาบทองกลมเปนรูปนกอยู่ใน แลประดับพลอยเพชร แลพลอยแดงมรกฎ แลมุกดาทั้งสามสาย พลอยแหวนประดับใหญ่น้อยสองร้อยเจ็ดสิบพลอย ฃอให้โกษาธิบดีทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย แลประเทศทั้งปวงมีความสวามีภักดิ์ แลแต่งเครื่องบรรณาการรจนาอันพิจิตรต่างๆ เข้ามาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเปนอันมาก. สมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระกรุณาพระราชทานให้สิ่งของตามปราถนานั้นทุกประการ ยิ่งกว่าสิ่งของทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายนั้นอีก ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๑๒๒ ปีชวดโทศก มีหนังสือพระยาแสนหลวง ณเมืองเชียงใหม่ ให้แสน่สุรินทไมตรีถือลงมาถึงอรรคมหาเสนาบดี ณกรุงเทพพระมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุทธยา. ในลักษณหนังสือนั้นว่าข่าวเมืองจีนหวยตรีพลจะมาล้อมเอาเมืองเชียงใหม่ แลพระยาแสนหลองแลชาวเมืองเชียงใหม่ทั้งปวง หาที่พึ่งที่พำนักนิ์มิได้ จึ่งเสี่ยงทายในอารามพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งอยู่ณเมืองเชียงใหม่ว่า ถ้าประเทศใดจะเปนที่พึ่งที่พำนักได้ไซ้ ขอพระสิหิงคิ์เจ้าสำแดงให้เหนประจักข์ แลว่าพระพุทธสิหิงคิ์นั้น บ่ายพระภักตรมายังกรุงเทพพระมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุทธยา พระยาแสนหลวงขุนแสนหลวง แลหมื่นทั้งปวงมีความยินดีนัก จะฃอพระเดชเดชานุภาพพระบาทสมเดจบรมบพิตรพระเจ้าช้างเผือกเปนที่พึ่งที่พำนักนิ์ ฃอพระราชทานข้าหลวงแลช้างม้าไพร่พลสรัพด้วยเครื่องสรรพาวุธ ไปช่วยป้องกันเมืองเชียงใหม่ให้พ้นไภยอันตราย จะได้เปนข้าขันทสีมามณฑล ณกรุงเทพพระมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุทธยา จึ่งพระยาจักรีเอากราบทูลพระกรุณา พระบาทสมเดจบรมบพิตรพระเจ้าช้างเผือก จึ่งมีพระราชโองการตรัสว่า ซึ่งพระยาแสนหลวง แลแสนหมื่น แลชาวเมืองเชียงใหม่ทั้งปวง หาที่พึ่งที่พำนักนิ์มิได้นั้นควรแต่งท้าวพระยามนตรีมุข แลช้างม้าไพร่พลทหารสรัพด้วยเครื่องสรรพายุทธทั้งปวง ไปช่วยป้องกันเมืองเชียงใหม่ตามปราถนาชาวเมืองเชียงใหม่ทั้งปวง. แล้วมีพระราชโองการตรัสสั่งให้พระยาสีห์ราชเดโช พระยาท้ายน้ำเปนนายกอง พระยาพิจิตรเปนยุกรบัตร เมืองนครนายกเปนเกียกกาย สมิงพระรามเปนกองน่า สมิงพัตบะเปนกองหลัง เมืองคยอยเปนปีกขวา เมืองยโสธรเปนปีกซ้าย แลขุนหมื่นเปนกองใช้กองแล่น ช้างเครื่องแปดช้าง ม้าสิบหกม้า พลสิบพัน ปืนใหญ่ยี่สิบเก้าบอก ปืนนกสับร้อยสี่สิบสี่บอกเปนทัพหนึ่ง. แลให้พระยารามเดโชเปนนายกอง พระสระบุรีเปนยุกรบัตร พระศรีสวัสดิ์เปนเกียกกาย พลรบพันหนึ่ง สรรพด้วยเครื่องสรรพาวุธ ปืนใหญ่สิบบอก ปืนนกสับร้อยบอก ช้างเครื่องหกช้าง ม้าสิบม้าเปนทับหนึ่ง ให้พระยาท้ายน้ำแลพระยารามเดโชทั้งสองทับนี้ ยกไปจากกรุงเทพพระมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุทธยาในเดือนสิบสอง ให้แสนสุรินทรไมตรีนำทางไปเชียงใหม่ ๚ะ๏ ในเมื่อเดือนอ้ายปีชวดโทศกนั้น พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระเจ้าช้างเผือก ทรงพระเดชานุภาพอันประเสริฐ มีพระราชหฤๅไทยทรงพระราชสรัทธาจะถวายสการบูชาพระชินราช พระชินสีห์ณเมืองพระพิศณุโลกย์ ครั้นถึง ณวันอาทิตย์เดือนอ้ายแรมสามค่ำ ก็เสดจด้วยเรือพระที่นั่งสมรรถไชย ไปโดยชลมารควิถีสิบสี่เวร ก็ถึงเมืองพระพิศณุโลกย์ แลตั้งตำหนักตำบลช่องตา แลถวายสการบูชาพระชินราชพระชินสีห์ แลถวายพระพุทธสมโพธด้วยการมหรรสพสามวัน ๚ะ๏ ฝ่ายพระยาท้ายน้ำแลพระยารามเดโช พระยาพิจิตรบอกหนังสือมาถึงสมุหนายก ให้กราบทูลพระกรุณาว่าได้ยกทับไปถึงตำบลฆ้องไชย แสนสุรินทไมตรีผู้นำทางนั้นหนี จึ่งมีพระราชโองการตรัสสั่งให้มีตราตอบไปถึงนายทับนายกอง. ให้ติดตามเอาตัวแสนสุรินทรไมตรีนั้นให้จงได้ อนึ่งพระยาแสนหลวงณเมืองเชียงใหม่ แต่งหนังสือให้แสนสุรินทไมตรีถือฬ่อลวงแล้วหลีกหนีนั้น เมืองนคร แลเมืองเถินขึ้นแก่เมืองเชียงใหม่ จะไว้เมืองนคร แลเมืองเถินนั้นมิได้ จึ่งตรัสให้พระยากลาโหมนั้นเปนนายกอง หลวงธรรมไตรยโลกยเปนยกรบัตร พระยาเสนาบดีภิมุขเปนเกียกกาย สมิงพระรามเปนกองน่า พระมฤทธเปนกองหลัง เมืองนนทราชธานีเปนปีกขวา พระวิชาจารยมนตรีเปนปีกซ้าย แลกองแล่นกองไชยพลห้าพันเสศ ปืนใหญ่ปืนนกสับแลช้างเครื่องแลม้าสรรพด้วยสาตราวุทธเปนทับหนึ่ง แลให้พระยานครราชสีมาเปนนายกอง เมืองอินทบุรีเปนยุกรบัตร พระสุพรรณ์บุรีเปนเกียกกาย พระกุยบุรีเปนกองน่า พระกลางบรรพตรเปนกองหลัง พระพลเทพเปนปีกขวา พระมหาดไทยเปนปีกซ้ายพลสองพันปืนใหญ่ปืนนกสับช้างเครื่องหกช้างม้าแปดม้าเปนทับหนึ่ง ให้พระยายมราชเปนนายกอง หลวงรามเดชะเปนยุกรบัตร พระไชยนาทเปนเกียกกาย พระอนันตกะยอสูเปนกองน่า พระศรีมหาราชาเปนปีกขวา ขุนโจมจัตุรงค์เปนปีกซ้าย พลพันหนึ่งปืนใหญ่ปืนนกสับ ช้างเครื่องหกช้างม้าแปดม้าเปนทับหนึ่ง แลให้พระยาราชวังลั่นเปนนายกอง พระสวรรค์บุรีเปนยุกระบัตร หลวงวิชิตสงครามเปนเกียกกาย พระนนทบุรีเปนกองน่า พระยาราชภักดีเปนกองหลัง พระยาตุกาลีเปนปีกขวา หลวงรามภักดีเปนปีกซ้าย พลสามพันปืนใหญ่ปืนนกสับ ช้างเครื่องหกช้าง ม้าสิบม้าเปนทับหนึ่ง แลให้พิไชยสงครามเปนนายกอง หลวงสุระสงครามเปนยุกระบัตร หลวงราชมนตรีเปนเกียกกาย หลวงกำแหงสงครามเปนกองน่า หลวงนเรนท์ภักดีเปนปีกขวา ขุนพิพิธรณรงค์เปนปีกซ้าย พลห้าร้อยปืนใหญ่ปืนนกสับ ช้างเครื่องหกช้าง ม้าแปดม้าเปนทับหนึ่ง จึ่งเปนทับห้าทับยกขึ้นไป ๚ะ๏ ครั้นถึงเมืองนคร เมืองเถินไซ้ จึ่งสงเชดกายแลแหงในซึ่งอยู่ในเมืองนครก็ภาสกรรธ์อพยพเมืองนครแลเมืองเถิน ออกมาหานายทับนายกองข้าหลวง ฃอเปนข้าสู่พระราชสมภาร แลทำลายข้าซึ่งอยู่รักษาเมืองนครนั้น ก็ภาสกรรธ์อพยพไปพึ่งอยู่ณเมืองเชียงใหม่ นายทับนายกองก็แต่หนังสือส่งตัวเชตกายแลแหงในกับสกรรธ์อพยพทั้งปวงลงมายังทับหลวงตัวณเมืองพระพิศณุโลกย์ว่า ได้เมืองนคร เมืองเถิน สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวจึ่งมีพระราชโองการตรัสสั่งว่า สมุหนายกให้มีตราตอบ ให้พระยากลาโหม พระยารามเดโช พระยาพิไชยสงคราม อยู่รั้งเมืองนคร ให้ส้องสุมชาวเมืองนคร แลครัวอพยพทั้งปวง ซึ่งแตกฉานซ่านเซนออกไปจากเมืองนครนั้น ให้เข้ามาอยู่ตามภูมลำเนาดุจแต่ก่อนนั้น. แล้วให้พระยานครราชสีมา พระราชสุภาวดี พระสุพรรณบุรี ยกไปเอาเมืองตัง แล้วมีพระราชโองการตรัสสั่งให้พระยามหาเทพ แลขุนหมื่นข้าหลวง แลพลห้าร้อยสรัพด้วยเครื่องสรรพายุทธไปเอาเมืองลอง ก็ได้ตัวแสนเมืองลอง แลสกรรธ์อพยพคุมลงมาถวายยังทับหลวง ณเมืองพระพิศณุโลกย์ ทรงพระกรุณาตรัสให้ขุนราชเสนา หมื่นอินทษรแม่นไปฟังข่าวพระยานครราชสีมาแลพระยาราชสุภาวดี พระสุพรรณบุรี ซึ่งยกทับไปเอาเมืองดังนั้น แลได้สงฆราชาเฃมราช แลเมืองตังหมื่นจิตรกับไพร่หกสิบแปด มายังทับหลวงณเมืองพระพิศณูโลกย์ ๚ะ๏ ถึงวันจันทรเดือนสามแรมสองค่ำ พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระเจ้าช้างเผือก ก็เสดจพระราชดำเนินกรีธาพล แต่เมืองพระพิศณุโลกย ไปยังศุโขไทย แลเสดจอยู่ตำหนักตำบลธาณี จึ่งมีพระราชโองการ ตรัสสั่งให้พระยาเกียรติเปนนายกองทับน่า ขุนวิเชียรโยธาเปนปีกขวา ขุนรามโยธาเปนปีกซ้าย สมิงสามแหลกเปนเกียกกาย พลรบห้าร้อยสรัพด้วยเครื่องสรรพายุทธทับหนึ่ง. แลให้พระยากำแพงเพชรเปนนายกองทับใหญ่ ขุนเมืองเปนปีกขวา ขุนราชาเปนปีกซ้าย หลวงอนันทแสนแสงเปนเกียกกาย แลช้างม้าไพร่พลพันหนึ่ง สรัพด้วยเครื่องสาตราวุธทั้งปวง. แลให้ทับสองทับยกไปตีเมืองรามดี แลผู้รักษาเมืองนั้นชื่อโลกย์กำม์เกียว ครั้นรู้ก็ภาสกรรธ์อพยพหนีไปจากเมืองรามดี จึ่งขุนแลสมิงแลจ่าทั้งปวงสิบห้าคนนี้เปนนายหมวด แลลูกหลานนายหมวดสิบห้าคนออกมาหาพระยากำแพงเพชรว่า จะฃอเปนข้าขันทเสมาพระราชสมภาร แลกินน้ำสบถแล้วก็ให้ผมไว้เปนสำคัญ ตามประเพณีว่าซึ่งสัญญานั้น แล้วถวายอพยพทั้งปวงพันสี่ร้อยเก้าสิบตามคน ฃอเปนข้าขอบขันทสีมากรุงเทพพระมหานครศรีอยุทธยา จึ่งพระยากำแพงเพชรก็ให้ผ้าเสื่อเปนรางวัล แจกนายหมวดแลลูกหลานนายหมวด ผู้มีความสวามีภักดีนั้นทุกคน. แล้วพระยากำแพงเพชรบอกหนังสือมาถึงสมุหนายก เมื่อทับหลวงเสดจอยู่ตำบลธาณีนั้น พระยาจักรีจึ่งกราบบังคมทูล ทรงพระกรุณาโปรฎนายหมวดว่า ผู้มีความสวามีภักดีซึ่งมาสู่พระราชสมภาร แลพระราชทานผ้าเสื้อแลเงินถ้วนทุกคนแล้ว ก็เสดจพระราชดำเนินกลับมายังเมืองพระพิศณุโลกย์.จึ่งเสดจแต่เมืองพระพิศณุโลกย์โดยทางชลมารควิถีแปดวันก็ถึงกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา. ๚ะ๏ ส่วนพระยากำแพงเพชรก็แต่งขุนโชดภักดี ขุนสุระนรินท์ แลหมื่นมหาเก้าทัน คุมไพร่ร้อยหนึ่งสรัพด้วยเครื่องสาตราวุธ ไปจัดส้องพระยาพรหมคีรี แลละว้าขุนหมื่นนายหมวดทั้งปวงยี่สิบคนผู้ออกมากินน้ำสบถนั้น พระยากำแพงเพชรก็ให้รางวัลเสื้อผ้าแลเงินตราแก่พระยาพรหมคีรี แลละว้านายหมวดทุกคน พระยาพรหมคีรีแลละว้านายหมวดทั้งปวงถวายสกรรธ์อพยพพันแปดร้อยคน เปนข้าขอบขันทสีมา ณกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยาจึ่งพระยากำแพงเพชรให้บูนราชาเมืองเชียงเงิน ขุนหมื่นแลไพร่ร้อยยี่สิบคนคุมเอาพระยาพรหมคีรี แลละว้าผู้เปนขุนหมื่นสมิงนายหมวดทั้งปวง มายังกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา แลพระราชทานชื่อแก่พระยาพรหมคีรีนั้นเปนพระยาอนุชิตชลที แลพระราชทานเจียดเงินเหลี่ยมจำหลักสรรพางค์จุกทองผ้าเสื้อเงินตรา สิ่งของแลเครื่องเรือนแก่พระยาพรหมคีรี แลขุนหมื่นสมิงละว้านายหมวดนั้นมากนัก แลให้ไปอยู่ตามภูมลำเนาดุจก่อน ส่วนพระราชสุภาวดี แลเมืองสวรรค์บูรี ครั้นได้เมืองตังแล้วก็ยกทับไปตีเมืองอินทคีรี แลพระยาอินทคีรีคุมเอาสกรรธ์อพยพเจ็ดร้อยออกมาหาพระราชสุภาวดี ขอเปนข้าสู่พระราชสมภาร จึ่งพระสุภาวดีให้พระยาอินทคีรีคุมสกรรธ์อพยพไปอยู่เมืองอินทคีรี จึ่งพระยาอินทคีรีให้สาตงผู้ลูก แลแสนทักขึ้นณด้านแสนบัวบาน แสนอะไภยมาน แสนพึงไชย แลไพร่สี่สิบหกคนลงมาด้วยพระราชสุภาวดี แลเมืองสวรรค์บุรี ถึงกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา จึ่งพระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าช้างเผือก ก็มีพระราชโองการตรัสให้สาตงแลแสนทัก ขึ้นณด้านแสนบัวบาน แสนอไภยมาน แสนพึงไชย เข้ามากราบถวายบังคมณสาลาลูกขุน. แล้วพระราชทานชื่อแก่นายสาตง เปนแสนหลวงสุนทรราชภักดี แสนบัวบานเปนแสนภูมินทบริบาล พระราชทานเจียดเงินเหลี่ยมจำหลักสรรพางค์เครื่องสำรับแลผ้าเสื้อแพรพรรณแก่แสนหลวงสุรินทราชภักดีผู้ลูกพระยาอินทคีรี แลพระราชทานผ้าเสื้อแพรพรรณแก่แสนสุรินทรภักดีนรินทร์แสนภูมินท์บริบาลแสนพึงไชย แลพระราชทานเสื้อผ้าแก่แสนขุนแสนหมื่นผู้มานั้นเปนอันมาก. แลพระราชทานอัฐบริขานแก่สงฆ์อันมาด้วยนั้นแล้ว แลอัคมหาเสนาบดี แลมหาดไทย กลาโหม จัตุสดมทั้งสี่ ก็ให้ผ้าเสื้อแก่แสนทั้งสี่นั้น แล้วก็พระราชทานให้แต่งเครื่องเลี้ยงนาๆประการออกไปเลี้ยงทั้งสี่นายนั้นเปนอันมาก แลทรงพระกรุณาตรัสสั่งให้แสนหลวงสุรินทภักดีนรินทร แลแสนภูมินทรบริบาล แสนพึงไชย แสนขุน แสนหมื่น แลไพร่ทั้งปวงให้กลับคืนขึ้นไปยังเมืองอินทคีรี อยู่ตามภูมลำเนาแลรักษาเมืองอินทคีรี ด้วยพระยาอินทคีรีเปนเมืองขึ้นตามขนบ ณกรุงเทพพระมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุทธยา ๚ะ๏ ส่วนพระยากำแพงเพชร แลพระยาเกียรติซึ่งไปตั้งอยู่ตำบลด่านอุมรุกนั้น ก็จัดส่งได้สมิงคลองคูสมิงกะเทิงแลละว้านายหมวดแลไพร่ละว้าเปนอันมาก แล้วส่งนายหมวดมายังกรุงเทพพระมหานครศรีอยุทธยาแล้วพระราชทานชื่อแก่สมิงคลองคูเปนสมิงเทวคิรีรักษา พระราชทานดาบฝักทองแก่สมิงเทวคิรีรักษา แลพระราชทานผ้าเสื้อถ้วนทุกคน แล้วให้ขึ้นไปจัดส้องละว้าทั้งปวงได้สกรรธ์อพยพหกร้อย แล้วสมิงเทวคิรีรักษาไปสืบส้องได้พระยาพรหมคีรี จึ่งพระยากำแพงเพชรให้ขุนราชาคุมพระยาพรหมคีรี แลสมักพรรคพวกมายังกรุงเทพพระมหานครศรีอยุทธยา ทรงพระกรุณาตรัสสั่งให้เบิกพระยาพรหมคีรีเข้ามา กราบถวายบังคมแต่สาลาลูกขุน แลพระราชทานเสื้อผ้าแก่พระยาพรหมคีรีเปนพระยาสุทัศณธาณีศรีอนาพิรมย์ พระราชทานเจียดเงินเหลี่ยมจุกทองปากจำหลักแลผ้าเสื้อแพรพรรณเปนอันมาก อัคมหาเสนาบดีมหาดไทยกลาโหมจัตุสดมทั้งสี่ก็ให้รางวัลผ้าเสื้อแพรพรรณตามสมควร แล้วให้กลับคืนขึ้นไปอยู่รักษาเมืองอินทคีรี ตามภูมลำเนาเปนเมืองขึ้นแก่กรุงเทพพระมหานครศรีอยุทธยาแล้วให้ข้าหลวงไปอยู่ด้วยพระยาศุทัศณธาณีเพื่อจะให้รู้ขนบราชการในกรุง ๚ะ๏ ครั้งนั้นกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา สมบูรณ์อยู่เอย็นเปนศุขด้วยพระบารมีสมเดจพระนารายน์เปนเจ้า ขณะนั้นฝ่ายข้างเมืองอังวะเกิดศึกเพราะจินห้อชื่ออูติงผา ภาสกรรธ์อพยพประมาณพันหนึ่งหนีมาพึ่งอยู่เมืองอังวะ ชาวเมืองห้อจึ่งยกทับตามมาเมืองอังวะ จะให้ส่งตัวห้อพันหนึ่งนั้นให้ พระเจ้าอังวะไม่ส่ง กองทับห้อจึ่งตั้งล้อมเมืองอังวะไว้ ฝ่ายมางนันทมิตรผู้เปนอาวพระเจ้าอังวะ ซึ่งลงมาครองเมืองเมาะตมะแจ้งเหตุดั่งนั้น จึ่งเกนคนซึ่งขึ้นแก่เมืองเมาะตมะสามสิบสองเมือง ได้คนสามพัน ให้ไปช่วยป้องกันเมืองอังวะ ยกมาตามทางมอญกองทับไม่เตมใจ ก็ชวนกันหนีกลับมาเปนอันมาก มางนันทมิตรจึ่งจับเอามอญที่หนีมานั้นใส่ตรางไว้เพื่อจะคลอกเสีย ฝ่ายสมิงเปอแจ้งดั่งนั้นก็คิดกันกับพวกเพื่อนสมิงสิบเบ็ดคน คุมมอญไพร่ห้าพันยกเข้าไปเผาเมืองเมาะตะมะไหม้แล้ว จับได้ตัวมางนันทมิตรมัดจำไว้ แล้วคิดกันว่าเราทำการทั้งนี้ ถ้ารู้ถึงพระเจ้าอังวะ ก็จะภากันตายเสียสิ้น เราหาที่พึ่งมิได้ ครั้งนี้จำจะไปพึ่งกรุงพระนครศรีอยุทธยาจึ่งจะพ้นไภย คิดพร้อมกันแล้วก็คุมสกรรธ์อพยพห้าพันกวาดครัวทั้งตัวมางนันทมิตร กับครอบครัวประมาณหกพันเสศ รีบหนีบอกเข้ามาให้เสนาบดีนำกราบทูลพระกรุณาทุกประการ จึ่งทรงพระกรุณาสั่งให้สมิงรามัญเก่าทั้งนายแลไพร่ ออกไปรับเข้าทางเมืองกาญจนบุรี แล้วจัดแจงให้อยู่สามโคก โปรดให้สมิงตัวนายสิบเบ็ดคนเข้าเฝ้ากราบถวายบังคม โปรดพระราชทานเงินตราผ้าเสื้อเปนอันมาก แต่ตัวมางนันทมิตรนั้นป่วยลงถึงอนิจกรรมตาย ๚ะ๏ ฝ่ายเจ้าเมืองหงษา เจ้าเมืองย่างกุ้ง เจ้าเมืองเสรียงรู้ว่า มอญเมืองเมาะตมะ แลเมืองขึ้นเปนกระบถกวาดครัวหนี จึ่งบอกหนังสือไปถึงเมืองอังว พระเจ้าอังวะทราบภอกองทับห้อซึ่งมาล้อมเมืองอังวะขาดเสบียงเลิกทับไป พระเจ้าอังวะจึ่งสั่งเจ้าเมืองหงษา เจ้าเมืองตองอู เจ้าเมืองปรวน เจ้าเมืองเสรียง เจ้าเมืองย่างกุ้ง เปนทับสามพันเสศยกไปตามเอาตัวรามัญที่หนีให้จงได้ ให้เอาติงจาโปเมียวุนเปนทับน่า ถือพลหมื่นเสศช้างเครื่องหกสิบแปดม้าสองร้อย ให้มางสุราราชาเปนโปชุกแม่ทับ ถือพลสองหมื่น ช้างเครื่องร้อยหนึ่งม้าสามร้อย ยกมาประชุมพร้อมที่เมืองเมาะตมะค่ายสานี ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับกรุงเทพมหานคร ไปเกลี้ยกล่อมลว้าแลลาวมอญได้ในแดนเมืองนคร เมืองลำพูน เมืองเชียงใหม่ได้มากแล้ว มีท้องตราโปรดขึ้นไป ให้ยกไปตีเอาเมืองลำพูน เมืองเชียงใหม่ให้จงได้. กองทับก็ยกไปตามท้องตรา ฝ่ายชาวเมืองลำพูน เมืองเชียงใหม่ กับหัวเมืองไทยใหญ่ฝ่ายเหนือซึ่งขึ้นกับอังวะ ตกใจกลัวกองทับห้อซึ่งมาล้อมเมืองอังวะจะมาย่ำยีด้วย ซึ่งคิดอ่านให้แสนสุรินทรไมตรีถือหนังสือลงมาเอากรุงพระนครศรีอยุทธยาเปนที่พึ่งนั้น ครั้นแจ้งว่ากองทับห้อเลิกไปแล้ว สืบรู้ว่าพระเจ้าอังวะให้เกนกองทับพม่าไปตามมอญที่หนีนั้น ก็ตกใจกลัวพม่าด้วยเมืองเหล่านี้ขึ้นแก่อังวะ จะลอบบอกไปให้แสนสุรินทรไมตรีหนีกองทับไทย แล้วคิดอุบายฬ่อลวงหน่วงกองทับไทยไว้ให้ช้า จะได้คิดการป้องกันเมืองลำพูนเมืองเชียงใหม่ไว้ ถ้ากองทับพม่ามาช่วยทัน จึ่งนิมนต์พระสงฆผู้ปราชฉลาดเจรจาสี่รูปถือหนังสือออกไปหากองทับไทยว่า. แสนสุรินทรไมตรีซึ่งนำกองทับขึ้นมามิได้บอกกล่าวหนีมานั้น เบาความนักไม่ชอบ ทำให้ผู้ใหญ่ได้ความผิดด้วย จะให้กระทำโทษจงสาหัส แล้วจะส่งตัวออกมาให้กองทับ อันข้าพเจ้านี้รู้จักพระเดชพระคุณพระบาระมีพระพุทธเจ้าอยู่หัวมาคุ้มครองปกป้องกองทับห้อซึ่งจะมาเอาเมืองเชียงใหม่นั้นจึ่งถอยหนี เพราะบาระมีพระพุทธเจ้าอยู่หัวกับอำนาทท่านผู้เปนแม่ทับใหญ่นั้นด้วย ขอท่านอัคมหาเสนาแม่ทับหลวง ผู้มีเดชานุภาพได้อนุเคราะห์ อย่าให้ได้ยากลำบากแก่ไพร่พลเลย ให้ยับยั้งกองทับไว้แต่ใต้เมืองลำพูนก่อน ฃอได้บอกข้อราชการลงไปให้นำกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทราบ ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับไทยได้แจ้งในหนังสือเจ้าเมืองเชียงใหม่ อุบายบอกมานั้นหาสงไสยไม่ แล้วปฤกษาเหนพร้อมกันว่า ครั้นเราจะทำการเข้าหักเอาเมืองลำพูน เมืองเชียงใหม่ ตามท้องตราซึ่งโปรดนั้น บัดนี้มีหนังสือเจ้าเมืองลำพูนเมืองเชียงใหม่ สาระภาพโทษอ่อนน้อมออกมาแล้ว บอกเหตุทับพม่ายกตามรามัญเปนการศึกข้อใหญ่ เราจะเข้าตีเมืองลำพูน เมืองเชียงใหม่ยังไม่ทันถนัด จำจะบอกลงไปกราบทูลพระกรุณาก่อน ปฤกษาพร้อมกันแล้ว แต่งบอกตามเรื่องราวอุบายชาวเมืองลำพูน เมืองเชียงใหม่ให้คนถือลงมากราบทูลพระกรุณา ณกรุงเทพพระมหานคร. ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับพม่ารามัญยกจากเมืองเมาะตมะ เมืองสานี มาตามทางเมืองกาญจนบุรี พม่ามีหนังสือบอกเข้ามาให้ส่งมอญที่หนี ถ้ามิส่งจะยกกองทับเข้ารบเอาให้จงได้ ชาวกาญจนบุรีบอกเข้ามาให้กราบทูล มาถึงก่อนหนังสือบอกกองทับฝ่ายเหนือสักสองสามวัน สมุหนายกมากราบทูลพระกรุณาทราบในหนังสือบอกทั้งสองฉบับแล้ว ทรงพระกรุณาตรัสสั่งพระยาจักรีให้เกนทับหัวเมืองปากใต้ชายทเลตวันตกลำเครื่องสามพันเสศ ช้างเครื่องสองร้อยหกสิบห้า ม้าสามร้อย ให้ขุนเหล็กซึ่งเปนพระยาโกษานั้นเปนทับหลวง. พระยาเพชรบูรีเปนกองน่า พระยาราชบุรีเปนกองหนุนถือพลห้าพันเสศ ปืนใหญ่น้อยเครื่องสาตราวุธพร้อม ได้ศุภวารพิไชยฤกษ จึ่งยกทับบกทับเรือช้างม้าโยธาหารไปพร้อมกัน ณเมืองกาญจนบุรีปากเพรก แล้วให้แยกเปนกองซ้ายกองขวาน่าหลังตามกระบวนพิไชยสงคราม ยกไปตั้งค่ายรับท่ากระดารแลด่านกรามช้าง ยกไปตั้งค่ายรับอยู่ทางเมืองทวายทับหนึ่ง ทับหลวงตั้งค่ายใหญ่รับอยู่ปากน้ำลำกระเพิมริมเมืองกาญจนบุรี เร่งกระทำการค่ายคูขวากยาวสั้นสนามเพลาะหอรบ จัดแจงตรวจตราเสือป่าแมวเซากองแล่นกองร้อยคอยเหตุ กองสืบทับสำรับพิไชยสงครามพร้อมทุกประการ แลแต่งกองโจรทหารอาทมาตตรวจตระเวรทั้งกลางวันกลางคืน. ๚ะ๏ ฝ่ายทับพม่ารามัญยกล่วงแดนกองน่าเข้ามาตั้งตำบลเมืองไซยโยกทับหลวงตั้งท่าดินแดง แต่งค่ายคูแล้วเสรจ ก็ยกทหารกองน่าเข้าตีทับกรุง กองกระเวรไทยพม่าได้รบกันบ้างแล้ว ๚ะ๏ ฝ่ายในกรุงสมเดจพระเจ้าอยู่หัวจึ่งตรัสว่า เมืองลำพูนเมืองเชียงใหม่ มีหนังสืออ่อนน้อมลงมาสาระภาพโทษ บอกเหตุการความจริงให้แล้ว สั่งให้มีตราไปถึงทับฝ่ายเหนือ อย่าให้ตีเมืองลำพูนเมืองเชียงใหม่เลย ให้เลิกทับกลับมาทางเมืองกำแพงเพชร แล้วยกไปทางเมืองอุไทยธาณี ไปตีโอบหลังพม่าเมืองศรีสวัสดิ์เมืองมังคลาเมืองทองภาภูม ฝ่ายทับเหนือแจ้งในท้องตราแล้ว ก็เลิกทับมาตามรับสั่ง ถึงเมืองศรีสวัสดิ์เมืองมังคลาเมืองทองภาภูม แล้วบอกหนังสือถึงกัน ปีกทับปากใต้ฝ่ายเหนือพร้อมกันแล้ว ก็ให้กองโจรไปคอยสกัดตัดตีที่ช่องแคบ กองทับใหญ่ปากใต้ฝ่ายเหนือ ก็เร่งขับทับน่าเข้ารดมตีทับพม่าสามวันพม่าก็แตกในเพรากลางคืนสามยามเสศ พม่านายทับนายกองแลไพร่ล้มตายแลจับได้เปนอันมาก พม่ารามัญแตกไปถึงช่องแคบ กองโจรก็ออกตีแตกยับจับได้มอญพม่าฆ่าเสี่ยบ้างมัดมาบ้าง มางสุระราชาโปชุกแม่ทับถูกปืนป่วยไป กองทับมีไชยได้ช้างม้าเครื่องสาตราวุธผู้คนเปนอันมากแม่ทับแต่งกองอาษาหกเหล่า อาษาจามข้ามหัวเมืองคนหมื่นเสศ ไปตามพม่ารามัญถึงเมืองสำมิง แลตีได้เชลยช้างม้าผู้คนสาตราวุธเปนอันมาก พระยาโกษาเหล็ก แลนายทับนายกองทั้งปวง แต่งหนังสือบอกเข้ามาให้กราบทูลพระกรุณาทราบเหตุทุกประการ. สมเดจพระเจ้าอยู่หัวดีพระไทยนัก สั่งให้มีตราหากองทับกลับยังกรุงทั้งนั้น พระยาโกษาเหล็กแลนายทับนายกอง ก็นำเอาเข้าของช้างม้าเครื่องสาตราวุธคนเชลย ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเปนอันมาก สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวมีพระไทยยินดีเปนหนักหนา ด้วยข้าราชการทแกล้วทหารทำการมีไชยชำนะแก่ฆ่าศึกสัตรู พระเจ้าอยู่หัวจึ่งพระราชทานรางวัลเครื่องอุปโภคแก่นายทับนายกองโดยสมควร ตามผู้ใหญ่ผู้น้อยเปนอันมาก ๚ะ๏ เมื่อครั้งลุศักราช ๑๐๑๙ ปีระกานพศกนั้น มีฝรั่งเศสนายกำปั่นผู้หนึ่ง บันทุกสินค้าเข้ามาค้าขายณกรุงเทพมหานคร ครั้งนั้นสมเดจพระเจ้าแผ่นดินให้ต่อกำปั่นใหญ่ลำหนึ่ง ครั้นเสร็จแล้วจะเอาออกจากอู่ จึ่งให้ล่ามถามฝรั่งเสศพ่อค้านั้นว่า ณเมืองฝรั่งเศสเอากำปั่นออกจากอู่กระทำอย่างไรสจึงเอาออกได้ง่าย ฝรั่งเสศผู้นั้นเปนคนมีสติปัญญามากชำนาญในการรอกกว้าน.จึ่งให้ล่ามกราบทูลพระกรุณารักอาษาจะเอากำปั่นออกจากอู่ แล้วแต่งการผูกรอกกว้าน แลจักรชักกำปั่นออกจากอู่ลงสู่ท่าได้โดยสดวก สมเดจพระเจ้าอยู่หัวทรงโสมนัศ พระราชทานรางวัลเปนอันมาก แล้วโปรดตั้งให้เปนหลวงวิชาเยนท์ร พระราชทานที่บ้านเรือนแลเครื่องยศให้อยู่ทำราชการในกรุงนี้ แลหลวงวิชาเยนท์รนั้นมีความสวามีภักดิ์อุษาหในราชกิจต่าง ๆ มีความชอบมาก จึ่งโปรดให้เลื่อนที่เปนพระวิชาเยนท์ร ครั้นนานมากระทำการงานว่ากล่าวได้ราชการมากขึ้น โปรดให้เลื่อนที่เปนพระยาวิชาเยนท์ร อยู่มาวันหนึ่งจึ่งมีพระราชโองการตรัสถามว่า ในเมืองฝรั่งเสศโน้นมีของวิเสศปลาดประการใดบ้าง พระยาวิชาเยนท์รจึ่งกราบทูลสรรเสิญสรรพสิ่ง แลช่างทำนาฬิกาปืนลมปืนไฟกล้องสร่องของไกลให้เหนใกล้ กระทำของวิเสศได้ต่าง ๆ ทั้งเงินทองก็มีมาก ในพระราชวังพระเจ้าฝรั่งเสศนั้น หลอมเงินเปนท่อนแปดเหลี่ยม ใหญ่ประมาณสามกำ โดยยาวเจดศอกแปดศอก กองอยู่ตามริมถนลเปนอันมาก ประดุจท่อนเสาอันกองไว้ กำลังคนแต่สิบสามคนสิบสี่คนจะยกท่อนเงินขึ้นมิได้ไหว ภายในท้องพระโรงนั้นดาษพื้นด้วยสิลามีศรีต่างๆจำหลักลายฝังด้วยเงินแลทองแลแก้วต่างศรีเปนลดาวัล แลต้นไม้ดอกไม้ภูเขาแลรูปสัตวต่างๆ พื้นผนังนั้นก็ประดับด้วยกระจกภาพ กระจกเงาอันวิจิตรควรจะพิศวง เบื้องบนเพดานนั้นให้แผ่แผ่นทองบางดุจแผ่นทองอังกฤษ ตัดเปนเส้นน้อย ๆ แล้วผูกเปนพู่พวงห้อยย้อย แลแขวนโคมแก้วมีสันฐารต่าง ๆ ศรีแก้วแลศรีทองก็รุ่งเรืองโอภาษงามยิ่งนัก สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงฟังพระยาวิชาเยนทร์กราบทูลพรณาสมบัติ ณเมืองฝรั่งเศสวิเสศต่าง ๆ มิได้ทรงเชื่อ พระราชดำริห์จะใคร่เหนความจริง จึ่งมีพระราชดำรัศแก่เจ้าพระยาโกษาธิบดีว่า เราจะแต่งกำปั่นให้ไปถึงเมืองฝรั่งเศส จะได้ผู้ใดเปนนายกำปั่นออกไปสืบดูของวิเสศ ยังจะมีจริงสมเหมือนคำพระยาวิชาเยนทร์ฤๅประการใด. เจ้าพระยาโกษาจึ่งกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่เหนผู้อื่น ซึ่งจะเปนนายกำปั่นไปถึงเมืองฝรั่งเสศได้ เหนแต่นายปานผู้น้องข้าพระพุทธเจ้าผู้เดียว อาจไปสืบข้อราชการณเมืองฝรั่งเศสดุจกระแสพระราชดำริหได้ จึ่งมีพระราชโองการตรัสสั่งให้หานายปานเข้ามาเฝ้า แล้วตรัสว่า อ้ายปานมึงมีสติปัญญาอยู่ กูจะใช้ให้เปนนายกำปั่นไปณเมืองฝรั่งเสศ สืบดูสมบัติพระเจ้าฝรั่งเสศ ยังจะมีสมดั่งคำพระยาวิชาเยนทร์กล่าว ฤๅจะมิสมประการใด นายปานกราบทูลพระกรุณารับอาษา จะไปเมืองฝรั่งเสศสืบให้ได้ราชการตามรับสั่ง แล้วกราบถวายบังคมลาออกไปจัดแจงการทั้งปวงในกำปั่น ให้เที่ยวสืบหาคนดีมีวิชาก็ได้อาจารย์คนหนึ่ง ได้เรียนในพระกรรมฐานชำนาญฌาณกระสิณแลรู้วิชาการต่าง ๆ แต่เปนนักเลงสุรา ยอมจะไปด้วย นายปานมีความยินดีนัก แล้วจัดหาพวกฝรั่งเสศเปนล้าต้าต้นหนคนท้ายลูกเรือพร้อมเสรจ ก็ให้เจ้าพระยาโกษาภาเข้าเฝ้ากราบถวายบังคมลา ทรงพระกรุณาตรัสสั่งให้แต่งพระราชสาสน์ แล้วแต่งตั้งให้นายปานเปนราชทูตกับข้าหลวงอื่นเปนอุปทูตแลตรีทูต ให้จำทูลพระราชสาสน์คุมเครื่องมงคลราชบรรณาการออกไป จำเริญทางพระราชไมตรี ณเมืองฝรั่งเสศตามราชประเพณี แล้วพระราชทานรางวัล แลเครื่องยศแก่ทูตานุทูตโดยควรแก่ถานาศักดิ์ ๚ะ๏ ครั้นได้ฤกษนายปานราชทูต กับอุปทูต ตรีทูต กราบถวายบังคมลาภาพักพวกบ่าวไพร่มาลงกำปั่นใหญ่ ใช้ใบออกจากพระนครไปในท้องทะเลประมาณ ๔ เดือน ก็บันลุถึงวลใหญ่ใกล้ปากน้ำเมืองฝรั่งเสศ บังเกิดเหตุเปนลมพายุหใหญ่พัดภากำปั่นไปในกลางวนเวียนอยู่ถึงสามวัน บันดาคนในกำปั่นร่ำร้องให้รักษชีวิตรอื้ออึงไป ด้วยกำปั่นลำใดลงสู่วนนั้นแล้ว ก็จมลงสิ้นลำกำปั่นทุกๆลำ ซึ่งจะรอดพ้นวนไปนั้นมิได้มีสักลำหนึ่ง แต่นายปานราชทูตยังมีสติอยู่ จึ่งปฤกษาอาจาริยว่ากำปั่นของเราลงเวียนอยู่ในวนถึงสองวันสามวันแล้ว ท่านจะคิดอ่านประการใด กำปั่นจึ่งจะพ้นวนได้ เราทั้งหลายจึ่งจะรอดจากความตาย ฝ่ายอาจาริยจึ่งเล้าโลมเอาใจราชทูตว่าท่านอย่าตกใจ เราจะแก้ไขให้พ้นไภยจงได้ แล้วให้แต่งเครื่องสการบูชาจุดธูบเทียน แล้วอาจาริย์จึ่งนุ่งขาวห่มขาวเข้านั่งสมาธีจำเริญพระกรรมฐานทางวาโยกระสินณะครู่หนึ่ง จึ่งบันดาลเกิดมหาวาตะพายุหใหญ่หวนหอบเอากำปั่นนั้นขึ้นพ้นจากวนได้คนทั้งหลายมีความยินดียิ่งนัก ก็แล่นใบไปถึงปากน้ำเมืองฝรั่งเสศ จึ่งให้บอกแก่นายด่านแลผู้รักษาเมืองกรมการว่า กำปั่นมาแต่พระมหานครศรีอยุทธยา โปรดให้ทูตานุทูตจำทูลพระราชสาสน คุมเครื่องมงคลราชบรรณาการมาจำเริญทางพระราชไมตรีพระเจ้ากรุงฝรั่งเสศ เจ้าเมืองกรมการก็บอกข้อราชการขึ้นไปให้กราบบังคมทูลให้ทราบ ๚ะ๏ พระเจ้าฝรั่งเสศจึ่งโปรดให้เสนาบดีจัดแจงเรือแห่ลงมารับพระราชสาสน กับทั้งทูตานุทูตขึ้นไปยังพระนครให้สำนักนิ์อยู่ณตึกสำหรับรับแขกเมือง แล้วโปรดให้ทูตานุทูตเข้าที่เสดจออก จึ่งถวายพระราชสาสนแลเครื่องมงคลราชบรรณาการ พระเจ้าฝรั่งเสศดำรัศพระราชปฏิสัณฐานให้เลี้ยงทูตานุทูตตามธรรมเนียม สั่งให้ล่ามถามทูตถึงทางอันมาในทะเลนั้นสดวกดีหรอกฤๅ ๆ ว่ามีเหตุประการใดบ้าง ครั้นได้ทรงทราบว่ากำปั่นตกเวียนอยู่ในวนใหญ่ถึงสามวันจึ่งขึ้นจากวนได้ ทรงสงสัยพระไทยหนักด้วยแต่ก่อนแม้นว่ากำปั่นลำใดตกลงในวนนั้นแล้ววนก็ดูดจมลงไปสิ้น มิอาจรอดขึ้นได้แต่ศักลำหนึ่ง จึ่งให้ล่ามซักถามทูตอีก ทูตก็ให้การยืนคำอยู่มิได้ทรงเชื่อ จึ่งให้สืบถามบันดาฝรั่งเสศลูกเรือ ๆ ก็ให้การสมคำราชทูตทั้งสิ้น เหนเปนมหัษจรรย์นัก จึ่งให้ซักถามราชทูตว่าคิดอ่านแก้ไขประการใด กำปั่นจึ่งรอดพ้นจากวนได้ ราชทูตให้กราบทูลว่าข้าพเจ้าคิดกระทำสัตยาธิฐาน ขอเอาพระกฤษฎานุภาพแห่งสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองฝ่าย ซึ่งเริ่มแรกจะผูกพระราชสำพันธมีศแก่กัน ฃอจงอย่าได้เสียสูญขาดทางพระราชไมตรีจากกันเลย. เอาความสัตยาข้อนี้เปนที่พำนักนิ์ ด้วยพระเดชพระคุณพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองฝ่าย ก็บรรดานเกิดเปนมหาวาตะพายุหใหญ่ พัดหวนหอบเอากำปั่นขึ้นพ้นจากวนได้. พระเจ้าฝรั่งเสศได้ทรงฟังคำราชทูตก็เหนจริงด้วย พระราชดำริหว่าพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยามีบุญญามากเสมอด้วยพระองค์ ก็ทรงพระมหากรุณาแก่ราชทูต พระราชทานรางวัลเปนอันมาก ๚ะ๏ อยู่มาเวลาวันหนึ่งจึ่งให้หาทูตานุทูตเข้ามาเฝ้าน่าพระลาน แล้วให้หาพลทหารฝรั่งแม่นปืนห้าร้อยเข้ามายิงให้แขกเมืองดู ให้แบ่งกันออกไปเปนสองพวก ๆ ละสองร้อยห้าสิบยืนเปนสองแถว ยิงปืนให้กระสุนตรอกเข้าไปในลำกล้องปืนแห่งกันแลกันทั้งสองฝ่าย มิได้พลาดผิดแต่ลักครั้ง แล้วให้ล่ามถามราชทูตว่า ทหานแม่นปืนดั่งนี้พระนครศรีอยุทธยามีฤๅไม่ ราชทูตให้ล่ามกราบทูลว่าทหารแม่นปืนอย่างนี้พระเจ้ากรุงศรีอยุทธยามิได้นับถือใช้สอย พระเจ้าฝรั่งเสศได้ทรงฟังเคืองพระไทย จึ่งให้ซักถามทูตว่าพระเจ้าเจ้ากรุงไทยนับถือทหารมีฝีมือประการใดเล่า ราชทูตให้กราบทูลว่าพระเจ้ากรุงไทยทรงนับถือใช้สอยทหารคนดีมีวิชา อันทหารแม่นปืนเหมือนดังนี้ จะยิงใกล้แลไกลก็มิได้ถูกต้องกายทหารบางจำพวกเข้าไปในรว่างฆ่าศึกมิได้เหนตัว ลอบตัดเอาศีศะนายทับนายกองพวกฆ่าศึกมาถวายได้ ทหารบางจำพวกก็คงทนอาวุธต่าง ๆ จะยิงฟันแทงประการใดมิได้เข้า แลทหารมีวิชาอย่างนี้ จึ่งทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงใช้สอยสำหรับพระนคร พระเจ้าฝรั่งเสศมิได้ทรงเชื่อตรัสว่าราชทูตไทยเจรจาอ้างอวดเกินหนัก จึ่งสั่งให้ซักถามว่าทหารไทยที่มีวิชาเหมือนว่านั้น มีมาในกำปั่นบ้างฤๅไม่ จักให้สำแดงถวายจะได้ฤๅมิได้ ราชทูตได้เหนวิชาของอาจาริย์ จึ่งให้ทูลว่าทหารที่เกณฑ์มาสำหรับกำปั่น นี้เปนทหารกองนอกมีวิชาแต่อย่างกลาง จะสำแดงถวายให้ปรากฎก็ได้ จึ่งสั่งให้ถามว่าสำแดงได้อย่างไร ราชทูตให้ทูลว่า ขอรับพระราชทานให้ทหารที่แม่นปืนทั้งห้าร้อยนี้ จงระดมยิงเอาทหารของข้าพระพุทธเจ้าโดยไกลแลใกล้ ทหารข้าพระพุทธเจ้าจะห้ามกระสุนปืนเสียทั้งสิ้นมิให้ตกต้องกาย พระเจ้าฝรั่งเสศได้ทรงฟังเกรงพลทหารฝรั่งจะยิงทหารไทยตาย จะเสียทางพระราชไมตรีไป จึ่งสั่งให้ห้ามการนั้นเสีย ราชทูตให้กราบทูลว่าพระองค์อย่าทรงพระวีตกเลย ทหารข้าพระพุทธเจ้ามีวิชาอาจจะห้ามได้ซึ่งกระสุนปืนมิให้ต้องกายได้เปนแท้ จะเปนอันตรายนั้นหามิได้ เวลาพรุ่งนี้ฃอให้ตั้งเบญจาสามชั้นในน่าพระลานให้ดาดเพดารผ้าขาว แลปักราชวัดฉัตรธงล้อมรอบ แล้วให้ตั้งเครื่องโภชนาหารมัจฉะมังษาสุราบาณไว้ให้พร้อม ให้เป่าร้องชาวพระนครมาคอยดูทหารข้าพระพุทธเจ้า จะสำแดงวิชาให้ปรากฎเฉภาะน่าพระที่นั่ง แล้วถวายบังคมลาออกมาสู่ที่สำนักนิ์ พระเจ้าฝรั่งเสศก็สั่งให้จัดแจงการทั้งปวงให้พร้อมตามคำราชทูตทุกประการ. ๚ะ๏ ครั้นรุ่งเข้าราชทูตจึ่งให้อาจารย์แต่งสิษประมาณสิบหกคน ให้ผูกเครื่องล้วนลงเลขยันต์คาถาสาตราคมเสร็จ แล้วให้อาจาริย์นุ่งขาวใส่เสื้อครุยขาว แลพอกเกี้ยวพันผ้าขาว สิษสิบหกคนนั้นใส่กังเกงเสื้อปัสตูแดงทั้งสิ้น เปนสิบเจ็ดคนกับทั้งอาจาริยใหญ่ ภาเข้ามาสู่น่าพระลานกราบถวายบังคมแล้วให้ขึ้นนั่งบนเบญจา แล้วให้กราบทูลว่า ขอให้ทหารแม่นปืนห้าร้อยคน ยิงทหารไทยทั้งสิบเจ็ดคน ซึ่งนั่งอยู่บนเบญจานั้น พระเจ้าฝรั่งเสศก็สั่งทหารทั้งห้าร้อย ให้ระดมยิงทหารไทยพร้อมกัน ด้วยอำนาทคุณพระรัตนไตรยแลคุณเลขยันต์สรรพอาคมคาถาวิชาคุ้มครองป้องกันอันตราย พลฝรั่งทั้งหลายยิงปืนนกสับทั้งใกล้แลไกลเปนหลายครั้ง เพลิงปากนกก็มิได้ติดดินดำแลมิได้ลั่นทั้งสิ้น ทหารไทยทั้งสิบเจ็ดคน ก็รับพระราชทานโภชนาหาร แลมัจฉะมังษาสุราบานเปนปรกติ มิได้มีอาการสดุ้งหวั่นไหว พลทหารฝรั่งทั้งหลายก็เกรงกลัวย่อท้อรออยุดอยู่สิ้น อาจาริย์ทหารไทยจึ่งร้องอนุญาติไปว่า ท่านจงยิงอีกเถิด ทีนี้เราจะให้เพลิงติดดินดำจะให้กระสุนออกทั้งสิ้น พลทหารพร้อมกันยิงอีกนัดหนึ่ง เพลิงก็ติดดินดำกระสุนก็ออกจากลำกล้องตกลงตรงปากกบอกบ้าง ห่างออกไปบ้างลางกระสุนก็ตกลงที่ใกล้เบญจา แต่จะได้ถูกต้องทหหารไทยผู้ใดผู้หนึ่งหามิได้ พระเจ้าฝรั่งเสศทอดพระเนตรเหนดั่งนั้น ก็ทรงเชื่อเหนความจริงของราชทูต ทรงพระโสมนัศตรัสสรรเสริญวิชาทหารไทยว่า ประเสริฐหาผู้เสมอมิได้ สั่งให้พระราชทานเงินทองเสื้อผ้าเปนรางวัลแก่ทหารไทยเปนอักมาก ให้เลี้ยงดูเสร็จแล้วกลับไปสู่ที่สำนักนิ์ จำเดิมแต่นั้นมาก็ทรงเชื่อถือถ้อยคำราชทูตจะพิททูลประการใด ก็เชื่อมิได้มีความสงไสย์ ทรงพระมหาการุญภาพแก่ราชทูตยิ่งนัก ๚ะ๏ อยู่มาวันหนึ่งจึ่งสั่งให้ถามทูตว่า ทหารไทยที่มีคุณวิชาวิเสศประเสริฐดั่งนี้ ในพระนครศรีอยุทธยามีเท่านี้แลฤๅ ๆ ยังมีทหารอื่นอยู่อีกมากน้อยเท่าใด ราชทูตให้กราบทูลว่า ทหารเหล่านี้เปนแต่กองนอกสำหรับเกนจ่ายมากับเรือลูกค้าวานิช มีวิชาเพียงนี้เปนแต่อย่างต่ำ อันทหารกองในสำหรับรักษาพระนครนั้น มีวิชาการต่าง ๆ วิเสศกว่านี้มีมากกว่ามากได้ทรงฟังก็เชื่อถือ พระราชดำริห์ก็เกรงฝีมือทหารไทยยิ่งนัก แลพระเจ้าฝรั่งเสศนั้น เสดจออกเหนื้อราชาอาศน์อันสูง เพลาเช้าแลเหนศรีพระกายแดง เพลากลางวันเหนพระกายมีศรีอันเขียว เพลาเอย็นเหนศรีพระกายขาว ราชทูตเข้าเฝ้าเปนหลายเวลาได้เหนดั่งนั้นมีความสงไสยหนัก ๚ะ๏ อยู่มาวันหนึ่ง จึ่งตรัสสั่งให้ถามทูตว่า ตัวท่านเปนขุนนางผู้ใหญ่ฤๅๆเปนขุนนางผู้น้อย กล่าวถ้อยคำสัจจริงยิ่งนัก อนึ่งอย่างธรรมย์เนียมพระนครศรีอยุทธยาถ้าแลขุนนางผู้ใดพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา ทรงพระเมตาโปรดปรานมากกว่าข้าราชการทั้งปวง แลพระราชทานอไภยแก่ขุนนางผู้นั้นเปนประการใด เราก็จะโปรดปรานประทานอไภย์แก่ท่านเหมือนฉนั้น ราชทูตคิดจะใคร่เหนพระกาย ซึ่งมีศรีต่างกันหลายวันมาแล้ว ครั้นได้โอกาษจึ่งให้กราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าเปนแต่ข้าราชการผู้น้อยสำรับใช้แต่ไปมาค้าขายในนาๆประเทศ ทั้งสติปัญญาก็น้อยนัก อันข้าราชการผู้ใหญ่ซึ่งมีสติปัญญายิ่งกว่าข้าพระพุทธเจ้านั้นมีเปนอันมาก อนึ่งธรรมเนียงข้างกรุงพระนครศรีอยุทธยา ถ้าพระองค์ทรงพระมหากรุณาขุนนางผู้ใดมากกว่าข้าราชการทั้งปวง ก็พระราชทานอไภยโปรดให้ผู้นั้นเข้าเฝ้าใกล้พระองค์ กราบถวายบังคมถึงพระบาทยุคลทุกครั้ง พระเจ้าฝรั่งเสศได้ฟังก็เชื่อ จึ่งโปรดพระราชทานอไภยให้ราชทูตเข้าไปถวายบังคมถึงฝ่าพระบาททุกเวลาเฝ้า ราชทูตจึ่งได้เหนพระราชาอาศน์อันเรี่ยรายไปด้วยทับทิมโดยรอบในเวลาเช้าว เพลากลางวันนั้นเรี่ยรายไปด้วยพลอยมรกฎ เพลาเอย็นเรี่ยรายไปด้วยเพชร แสงแก้วขึ้นจับพระองค์ จึ่งมีศรีต่าง ๆ อย่างละเพลาปรากฎ ๚ะ๏ ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง. เสดจออกประภาศพระอุทธยานทรงม้าศรีขาวเปนราชพาหนะ ประดับด้วยเครื่องม้าล้วนแล้วด้วยแก้วต่าง ๆ แลมีพลอยทับทิมดวงหนึ่ง ใหญ่เท่าผลหมากสงทั้งเปลือก ผูกห้อยฅอม้าพระที่นั่ง. แสงทับทิมนั้นจับพระองค แลตัวม้านั้นแดงไปทั้งสิ้น พร้อมด้วยราชบริวารแห่แหนไปเปนอันมาก โปรดให้ราชทูตตามเสดจด้วย. ครั้นถึงพระอุทธยาน จึ่งตรัสสังให้ถามทูตว่า พลอยทับทิมดวงใหญ่เท่านี้ พระนครศรีอยุทธยามีมากฤๅน้อย ราชทูตให้กราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าเปนแต่คนภายนอก มิใช่ชาวพระคลังซึ่งจะกราบทูลว่ามีมากน้อยเท่าใดนั้นเกรงจะเปนเท็จ. แต่รับพระราชทานเหนครั้งหนึ่ง เมื่อพระเจ้ากรุงไทยเสดจออกไปประภาศพระอุทธยานทรงม้าพระที่นั่งศรีขาว มีพลอยทับทิมดวงหนึ่งผูกฅอม้าพระที่นั่ง มีสันถานใหญ่ประมาณเท่านี้ พระเจ้าฝรั่งเสศได้ทรงฟังก็เข้าพระไทยในคำราชทูต ทรงพระโสมนัศตรัสสรรเสริญว่า ราชทูตเจรจาไพเราะ ควรจะเอาไว้เปนอย่างได้ สั่งให้จดหมายเอาถ้อยคำไว้เปนฉบับสืบไปภายน่า แล้วเสดจเที่ยวประภาศอุทธยาน เพลาเอย็นก็เสดจกลับเข้าพระราชวัง ๚ะ๏ เวลาวันหนึ่งราชทูตเข้าเฝ้า จึ่งให้กราบทูลพระกรุณาว่า ลูกค้าณเมืองนี้เข้าไปค้าขายณพระนครศรีอยุทธยา กราบทูลพระเจ้าอยู่หัวกรุงไทยสรรเสริญของวิเสศต่าง ๆ แลภายในพระราชนิเวศว่างามหาที่สุดมิได้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะใคร่เหนความจริง จึงดำรัศใช้ให้ข้าพระพุทธเจ้าจำทูลพระราชสาสน์กับทั้งเครื่องมงคลราชบรรณาการ ออกมาจำเริญทางพระราชไมตรีด้วย. พระเจ้าฝรั่งเสศได้ทรงฟังก็ทรงโสมนัศดำรัศสั่งให้ข้าหลวงภาทูตานุทูตเข้าไปเที่ยวชมท้องพระโรงข้างใน แลพระราชถานทั่วทั้งสิ้น. ตรัสสั่งว่าให้จำเอาไปทูลพระเจ้ากรุงไทยเถิด เจ้าพนักงานกรมวังก็พาพวกแขกเมืองเข้าไปชมพระราชนิเวศสฐานที่ข้างในตามรับสั่ง ราชทูตก็จดหมายแต่บรรดาที่ได้เหนนั้นทุกประการ ถูกต้องสมคำพระยาวิชาเยนทร์ซึ่งกราบทูลนั้น แล้วกลับออกมาเฝ้าทูลสรรเสริญสมบัติในพระราชถานว่า งามเสมอทิพย์พิมานในเทวโลกย์ พระเจ้าฝรั่งเสศก็ทรงพระโสมนัศเชื่อถือถ้อยคำราชทูต ทรงพระการุญภาพเปนอันมาก มีพระราชประสงค์จะใคร่ได้พืชน์พันธุไว้ จึงพระราชทานนางข้าหลวงให้เปนภรรยาราชทูตคนหนึ่ง แล้วพระราชทานเครื่องแต่งตัวอย่างฝรั่งล้วนประดับด้วยพลอยต่างต่าง กับสนองพระองค์ทรงองค์หนึ่ง แล้วให้เขียนรูปราชทูต แลจดหมายถ้อยคำไว้ทุกประการ. แลราชทูตอยู่สมัคสังวาษกับด้วยภรรยา จนมีบุตรชายคนหนึ่งมีรูปร่างเหมือนบิดา ๚ะ๏ อยู่มาประมาณสามปี ราชทูตจึงให้กราบถวายบังคมลา แล้วให้ฝากบุตรภรรยาด้วย พระเจ้าฝรั่งเสศก็พระราชทานเงินทองเสื้อผ้า แลสิ่งของวิเสศต่าง ๆ แก่ทูตานุทูตเปนอันมาก. แล้วให้แต่งพระราชสาสน์ตอบโดยทางพระราชไมตรี กับทั้งสิ่งของเครื่องราชบรรณาการตอบแทนมาถวายพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยานั้นก็มาก ทูตานุทูตก็กราบถวายบังคมลา อัญเชิญพระราชสาล์นตอบ กับทั้งเครื่องมงคลราชบรรณาการมาลงกำปั่น โปรดให้จัดเรือแห่มาส่งถึงเมืองปากน้ำ ครั้นถึงวันศุภมงคลฤกษใช้ใบออกท้องทเลใหญ่แล่นมาในมหาสมุท หาอันตรายมิได้ตราบเท่าถึงกรุงเทพมหานคร นายปานราชทูตแลอุปทูต ตรีทูต ก็ขึ้นเฝ้าถวายพระราชสาสน์แลเครื่องราชบรรณาการ ซึ่งพระเจ้าฝรั่งเสศตอบแทนมานั้น แล้วทูลแถลงกิจการทั้งปวงให้ทราบสิ้นทุกประการ พระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระปรีดาโสมนัศ ตรัสสรรเสริญสติปัญญานายปาน แล้วพระราชทานรางวัลแก่ทูตานุทูต โดยอันสมควรความชอบ ซึ่งไปได้ราชการณเมืองฝรั่งเสศมานั้น ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๑๒๔ ปีขานจัตวาศก พระบาทสมเดจพระบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัศปฤกษาด้วยท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลายว่า พระเจ้าอังวะกระทำบังอาจให้กองทัพพม่ามอญ ยกติดตามครัวรามัญซึ่งหนีล่วงด่านแดนเราเข้ามามิได้ยำเกรง ควรเราจะแต่งกองทัพยกไปกระทำตอบแทนแก้แค้นตีเอาเมืองให้จงได้ มุขมนตรีทั้งปวงก็เหนพร้อมกันโดยพระราชบริหาร ครั้นถึงอาลุชมาส จึงมีพระราชโองการมารพระบัณฑูรสุระสีหนาทดำรัศเหนือเกล้า โปรดให้เจ้าพระยาโกษาธิบดีเปนแม่ทัพใหญ่ ถือพลสกรรธ์ลำเครื่องสองหมื่นเสศ ช้างเครื่องร้อยเสศ ม้าสองร้อยเสศ สรัพด้วยเครื่องสรรพสาตราวุธ ให้พระยาวิชิตรภักดีเปนยุกระบัตรทับ ถือพลหมื่นเสศ ช้างเครื่องหกสิบแปด ม้าร้อยเสศทับหนึ่ง ให้พระสุรินทรภักดีเปนเกียกกาย พระยาสีห์ราชเดโชเปนกองน่า พระยาสุระสงครามเปนทับหลัง ถือรี้พลช้างม้าเท่ากันกับทัพยุกระบัตร แล้วโปรดให้พระยาเกียรติ แลสมิงพระรามกับสมิงรามัญเก่าใหม่ทั้งปวง ถือพลรามัญยกล่วงไปก่อน กวาดเอาพลเมืองทวายแลเมืองเมาะตมะกับเมืองขึ้นสามสิบสองหัวเมือง ให้ได้พลหมื่นเสศ มาบันจบทัพเจ้าพระยาโกษาธิบดี ยกไปทางเมืองเมาะตะมะทางหนึ่ง แล้วโปรดให้พระยารามเดโช กับพระยากำแพงเพชร แลหัวเมืองเหนือทั้งปวง ถือพลห้าพันสรัพด้วยช้างม้าเครื่องสาตราวุธพร้อมเสร็จ ให้ยกไปเกณฑ์กองทัพเมืองเชียงใหม่ เมืองลำพูนไชย เมืองนครลำปาง ให้ได้พลหมื่นเสศ ยกไปฝ่ายเหนือกองหนึ่ง ๚ะ๏ ครั้นถึงกะติกมาสได้ศุภวารดฤถีพิไชยฤกษ เจ้าพระยาโกษา แลท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวง ก็กราบถวายบังคมลา ยกพลโยธาทับแยกกันไปทางด่านพระเจดีย์สามองค์บ้าง ทางด่านเขาปูน แลด่านสลักพระแดนเมืองอุไทยธาณีบ้าง ทางทวายบ้าง. เกณฑ์กวาดเอาพลเมืองหวายแลเมืองเมาะตมะกับเมืองขึ้นได้พลหมื่นเสศ แลกองทับฝ่ายเหนือเกนท์เอาพลลาวทั้งสามเมืองได้พลหมื่นเสศ. ยกมาทางด่านระแหงบ้าง ทางด่านเมืองเถินแลเมืองนครลำปางบ้าง ไปพร้อมทับตำบลเมืองจิตตองลำน้ำสะโตง แลกองทับทั้งปวงประชุมพร้อม รี้พลโยธาทหารประมาณเก้าหมื่นเสศ เจ้าพระยาโกษาธิบดีแม่ทับใหญ่ ก็จัดแจงทับตามตำหรับพิไชยสงครามพร้อมเสร็จ แล้วยกไปตีเมืองหงษาวดี เมืองเสรียง เมืองย่างกุ้ง เจ้าเมืองทั้งสามสู้รบบ้างไม่รบบ้าง เหนเหลือกำลังต้านทานมิได้ก็แตกพ่ายหนี. พวกรามัญทั้งปวงภากันมาขอเข้าด้วยกองทับไทยก็มาก นายทับนายกองทั้งปวง แลเมืองตองอู ตีได้หัวเมืองพม่ารามัญรายทาง แลครอบครัวเปนอันมาก ถึงสี่เดือนจึ่งยกขึ้นไปถึงเมืองอังวะ แม่ทับให้ตั้งค่ายใหญ่ แลค่ายครัวกองหลังไกลเมืองอังวะทางโยชน์หนึ่ง ทับน่าแลกองเกียกกายปีกช้ายปีกขวา แลยุกระบัตรยกเข้าตั้งค่ายรายรอบเมืองทั้งสามด้าน ห่างเมืองประมาณสองร้อยเส้น เปิดไว้แต่ด้านริมน้ำ ให้เกบเรือใหญ่น้อยข้ามพลไปตีเอาได้เมืองจักกายฝ่ายฟากข้างโน้น ตรงเมืองอังวะข้าม แล้วให้ตั้งค่ายอยู่เปนหลายค่าย เกนพลทหารแยกกันไปตีบ้านใหญ่น้อยในแว่นแคว้นแดนเมืองอังวะได้ครอบครัวแลคนเชลยเปนอันมาก แล้วให้ลาดตะเวนทั้งทางบกทางเรือบันจบถึง มิให้ชาวเมืองออกลาดหากินได้สดวก ให้เที่ยวกวาดครอบครัวรวบรวมอาหารมาใส่ยุ้งฉางไว้ในค่ายก็ได้น้อยนัก ด้วยปีนั้นเมืองอังวะบังเกิดฝนแล้ง เข้ากล้าในท้องนาจึงได้ผลน้อยมิได้บริบูรณ ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าอังวะจึงให้มังจาเลราชบุตรยกพลทหารหมื่นหนึ่งออกตั้งค่ายรับนอกเมืองเปนหลายค่าย พระยาสิหราชเดโชกองหน้ายกพลเข้ารบกับกองทับพม่ากลางแปลงเปนหลายครั้ง พลพม่าต่อรบเปนสามารถ ต้านทานมิได้ ก็แตกฉานหนีเข้าค่ายทุกครั้ง วันหนึ่งนายทัพพม่าคิดกลศึกซุ่มพลทหารไว้ในค่ายเปิดประตูหลังค่ายหนีไป พระยาสิหราชเดโชมิทันแจ้งในกลอุบายค่าศึก ขี่ม้าขาวควบขับนำพลทหารประมาณห้าร้อยเข้าไปในค่าย พลพม่าซึ่งลงซุ่มซ่อนอยู่ในสนามเพลาะภายในค่าย ก็ขึ้นจากสนามเพลาะพร้อมกันไล่ล้อมพลทหารไทย ๆ สู้รบถึงตลุมบอน พลพม่ามากกว่าหลายเท่า ก็เข้ากลุ้มรุมกันจับไทยได้เปนอันมาก แต่พระยาสิหราชเดโชยะทิปะคนนี้ มีวิชาหายตัวได้อึดใจหนึ่ง ถือหอกควบขับม้าขาวไล่แทงพม่าล้มตายเปนหลายสิบ พม่าเหนตัวบ้างไม่เหนตัวบ้าง ก็ไล่ล้อมรบเปนหมู่ ๆ ไป แลพระยาสิหราชเดโชสู้รบจนสิ้นกำลัง ก็ตกลงจากหลังม้า จะกลั้นอัศสาสะปะสาศก็เร็วเข้าด้วยกำลังเหนื่อย พม่าแลเหนตัวถนัดก็เข้าล้อมกลุ้มรุมจับตัวได้พันทนาไว้แล้วชวนกันฟันแทงมิได้เข้าด้วยมีวิชาคงทนอาวุธ แลพวกพลทหารไทยห้าร้อยก็ล้วนคงกะพันทั้งสิ้น อาวุธค่าศึกมิได้บาดเจ็บกาย แต่สู้รบกับพลพม่าฆ่าฟันพม่าเสียเปนอันมากจนสิ้นกำลัง.พลพม่ามากกว่ามากเยียดยัดหนุนเนื่องกันเข้าห้อมล้อมจับเปนได้สิ้น ชวนกันทุบตีฟันแทงมิได้เข้าก็จับมัดไว้ ๚ะ๏ ฝ่ายกองทัพไทยซึ่งยกติดตามกันมาข้างหลังจะแหกเข้าค่ายพม่า ๆต้านทานสู้รบเปนสามาถ หักเข้ามิได้ ก็ถอยออกไป แล้วให้ม้าใช้รีบไปแจ้งราชการแก่ท่านแม่ทับ ๆ จึงสั่งพระสุรินทรภักดีนายกองเกียกกาย ให้ยกหนุนมาช่วยแก้เอาพระยาสิหราชเดโชคืนมาให้จงได้ แล้วแต่งหนังสือบอกให้ม้าเร็วสามสิบม้า ถือรีบลงมายังกรุงเทพมหานครกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทราบ สมเดิจพระพุทธเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบว่าเสียพระยาสีหราชเดโชฆ่าศึกจับไปได้ ก็ตกพระไทยนัก จึงดำรัสสั่งตำรวจให้ออกไปนิมนต์พระพิมลธรรมราชาคะณะ วัดระฆังเข้ามาจะให้จับยามดูให้รู้เหตุกระหนักแน่ ด้วยพระพิมลธรรมราชาคะณะองค์นี้ดูยามแม่นนักได้เคยทรงเชื่อมาแต่ก่อน ครั้นพระผู้เปนเจ้าเข้ามาถึงพระราชนิเวศน์ นั่งเหนืออาศนะ จึงตรัสบอกว่าบัดนี้ พม่าข้าศึกจับพระยาสิหราชเดโชทหารเอกเราไปได้จะเปนตายประการใด นีมนต์ธรพระผู้เปนเจ้าพิจรณาดูให้รู้จงแน่ พระพิมลธรรมราชาคะณะจึ่งพิจรณาตามยามตรีเนตร ก็รู้แจ้งในยามนั้น แล้วถวายพระพรพยากรณว่า ซึ่งพระยาสิหราชเดโชฆ่าศึกจับไปได้นั้นก็จริง แต่ทว่าบัดนี้แก้ตัวออกได้พ้นจากอำนาทข้าศึกแล้ว กลับได้ไชยชำนะ และได้ลาภเปนอันมากอีก พระราชสมภารเจ้าอย่าทรงพระวิตกเสียพระไทยเลย ในยามนี้หาอันตรายมิได้เปนแท้ ๚ะ๏ ฝ่ายข้างกองทับพม่า ครั้นจับพระยาสิหราชเดโช แลพลทหารไทยห้าร้อยพรรธนาไว้ได้สิ้นแล้ว ก็จัดแจงกันจะให้คุมตัวส่งเข้าไปณะเมืองอังวะ พลางเกนกันให้ขนเอาสพพม่าที่ตายออกไปเสียนอกค่าย ภอกองทับไทยซึ่งยกหนุนมาช่วยนั้นมาถึง ก็เข้าถอนขวากแหกค่ายเย่อค่ายปีนค่าย พวกนายทับพม่าสาลวลไล่พลออกต่อรบยิงปืนใหญ่น้อย แลพุ่งซัดแหลนหลาวสาตราวุธเปนอลมาน ส่วนพระยาสิหราชเดโชต้องพรรธนาอยู่จึงพิจรณาดูเมฆฉายในอากาษ เหนศุภนิมิตแล้วร่ายพระพุทธมนตรคาถาเสดาะพรรธนาลุยหลุดออกจากกายได้สิ้น แล้วลุกแล่นไปชิงเอาดาบพม่าได้ ก็ไล่ฟันพม่าซึ่งคุมอยู่นั้นตายเปนหลายคน พวกพม่าวิ่งหนีกระจายกันออกไป ก็เอาดาบเข้าตัดเชือกซึ่งผูกมัดพวกทหารออกได้ประมาณสิบคน ทหารเหล่านั้นก็เข้าช่วงชิงเอาอาวุธพวกพม่าตัดเชือกมัดกันต่อ ๆ กันไปจนสิ้น ก็พร้อมกันแล่นไล่ฆ่าฟันพม่าในค่ายนั้นล้มตายเปนอันมาก แตกหนีไปสิ้น ชิงเอาค่ายนั้นได้ นายกองทับหนุนเหนพม่ามอญแตกหนีทิ้งค่ายตำบลนั้นเสียแล้ว แลพระยาสีหราชเดโช กับพวกทหารแก้ตัวออกได้แล้ว ก็ช่วยกันตีค่ายอื่นต่อ ๆ ไป พวกพลพม่าภากันตื่นตกใจ เสียทีไม่เปนที่จะสู้รบ วิ่งกระจัดพลัดพรายกันไป กองทัพไทยไล่ติดตามฆ่าฟันพม่าเสียครั้งนั้นเปนอันมาก แลมังจาเลราชบุตรเจ้าอังวะ ซึ่งเปนแม่ทัพในญ่หนีมิทัน ก็ตายอยู่ในค่าย นายทับนายกองพม่าตายลงเปนหลายคน ก็เสียค่ายทั้งสิ้น ภากันหนีเข้าเมืองอังวะ ทับไทยได้ไชยชำนะจับได้พม่าเชลย แลช้างม้าเครื่องสาตราวุธก็มาก ให้คุมส่งลงไปยังท่านแม่ทับ แจ้งข้อราชการทั้งปวงให้ทราบ เจ้าพระยาโกษามีความยินดีนัก จึ่งแต่งหนังสือบอกให้ม้าเร็วอีกสามสิบม้าถือหนังสือรีบเร็วลงมากราบทูลพระกรุณา ยังกรุงเทพมหานครในวันนั้น แลม้าใช้ซึ่งถือหนังสือบอกพวกหลัง เร่งรีบมาถึงพระนครศรีอยุทธยาในวันเดียวกันกับพวกก่อน คลาดกันประมาณสามนาฟิกาเสศ ๚ะ๏ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวยังตรัสอยู่กับพระพิมลธรรม ภอนายเวนมหาดไทยนำผู้ถือหนังสือบอกฉบับหลังเข้าเฝ้ากราบบังคมทูลพระกรุณาอ่านหนังสือบอกถวาย ได้ทรงทราบดีพระไทยนัก ตรัสสรรเสริญพระพิมลธรรมว่า ดูแม่นหาผู้ใดเสมอมิได้ แล้วทรงถวายไตรจีวรผ้าแตงเทษไตรหนึ่งเปนบำเหน็จ นิมนต์ให้กลับไปอาราม แล้วพระราชทานรางวัลแก่ม้าใช้ผู้ถือหนังสือบอกทั้งสองพวกโปรดให้กลับคืนไปยังกองทับ พลางตรัสสรรเสริญพระยาสิหราชเดโชว่า เปนยอดทหารหาผู้เสมอเปนอันยาก แล้วเสดจขึ้น ๚ะ๏ ฝ่ายท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวง ก็ยกพลทหารเข้าไปตั้งในค่ายพม่าซึ่งแตกหนีไปนั้น แล้วให้ตั้งค่ายน้อยใหญ่รายโอบเมืองไปทั้งสามด้าน ใกล้เมืองเข้าไปกว่าค่ายเดิม พม่าชาวเมืองทั้งปวงกลัวฝีมือทหารไทยยิ่งนัก มิอาจมาต่อรบนอกเมืองได้ พระเจ้าอังวะก็ให้เกนทหารขึ้นประจำน่าที่เชิงเทินรอบเมืองรักษาเมืองมั่นไว้ กองทับไทยยกเข้าหักเอาเมืองเปนหลายครั้ง ชาวเมืองต่อรบต้านทานเปนสามารถเข้าเมืองมิได้ ก็ถอยออกมารักษาค่ายมั่นอยู่ แลพลพม่าชาวเมืองจัดแจงการป้องกันเมืองมั่นคง มิได้ประมาททั้งกลางวันกลางคืน ๚ะ๏ ขณะนั้นในเมืองอังวะเข้าแพงเปนทนานละสองบาท ชาวเมืองอดอาหารซูบผอมล้มตายเปนอันมาก ฝ่ายกองทับไทยก็กันดารขัดสนเสบียงอาหาร เกนกันไปเที่ยวเสาะสแวงหาอาหารตามบ้านน้อยเมืองใหญ่ในแว่นแคว้นเมืองอังวะ ก็ได้มาบ้างแห่งละน้อย ๆ ไม่ภอแจกจ่ายรี้พลในกองทับ พลทหารอดยากลำบากป่วยเจบล้มตายก็มาก ท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวงจึงปฤกษากันว่า เสบียงอาหารเราก็กันดารนัก เหนจะตีเอาเมืองมิได้ในครั้งนี้ จะต้องล่าทับกลับไป จึ่งภากันเข้าไปแจ้งเหตุแก่เจ้าพระยาโกษาแม่ทับ ๆ ได้แจ้งดั่งนั้นก็เสียใจนัก จึ่งคิดการที่จะล่าทับ อย่าให้พม่าติดตามได้ แล้วปฤกษากับนายทับนายกองทั้งปวงว่า บัดนี้รี้พลเรากันดารอาหารถอยกำลังทั้งไข้เจบก็มาก แลเราจะล่าทับกลับโดยตรงนั้นมิได้ พม่าชาวเมืองจะได้ทียกออกติดตามตีตัดท้ายรี้พลเราจะพินาศฉิบหายเปนอันมาก จำจะคิดกลอุบายฬ่อลวงให้พม่าเขดขยาดฝีมือเราเสียก่อน จึ่งจะผันผ่อนล่าทับกลับไปได้โดยสดวกไม่มีไภยอันตราย แลท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวง ก็เหนชอบด้วยพร้อมกัน เจ้าพระยาโกษาแม่ทับ จึ่งแต่งหนังสือฉบับหนึ่ง เปนใจความว่า หนังสือเราผู้เปนมหาจัตุรงค์ปรินายก ดุจจักรแก้วอันประดิษฐานใต้เบื้องบงกชเรณุมาศ พระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยา ผู้เปนอัคอิศราธิปไตยในสยามประเทศเขตรขันทสีมาปราจินทิศ มาถึงเสนาบดีกรุงรัตนบุระอังวะ ด้วยเรากราบทูลพระกรุณารับอาษายกพยุหโยธาทับมาครั้งนี้ หมายจะตีกรุงรัตนบุระอังวะ ทูลเกล้าถวายสนองพระเดชพระคุณให้จงได้ จะให้แผ่ผ่านพระราชอาณาเขตร ปกครองครอบงำไปในภุกามประเทศ แลรามัญประเทศทิศอัศฎงคตพิไชยทั่วทั้งสิ้น แลพลทวยหารพม่ากับไทยก็ได้ต่อยุทธเหนกำลังแลฝีมือกันเปนหลายครั้งแล้ว ซึ่งใครจะมีไชยแลปราไชยนั้น ก็ย่อมแจ้งอยู่แก่ใจด้วยกันแล้ว แม้จะขับเขี้ยวกระทำการสงครามกันสืบไป มาทว่าเราจะได้เมืองก็เหมือนหนึ่งไม่ได้ ด้วยในเมืองอังวะขัดสนเสบียงอาหารกันดารนัก ฝ่ายเราจะอยู่รักษาเมืองก็ยาก ประการหนึ่งกองทับเราก็ฝืดเคืองขัดสนด้วยเสบียงซึ่งจะเลี้ยงกัน จะกวาดต้อนครอบครัวเชลยไปนั้นก็ลำบาก ด้วยอดยากอาหารล้มตายมากกว่ามากนัก แลครั้งนี้เราก็จะไม่ได้เมืองอังวะ ครั้นจะล่าทับถอยไปเล่า ก็เกรงพระราชอาชาจะลงโทษโดยพระอัยการศึกถึงสิ้นชีวิตร จะเลิกทับกลับไปก็ไม่ได้ แลบันดาพม่านายไพร่ในเมืองอังวะนี้ ไม่มีใครกล้าหารล้วนแต่มีสรรดารขลาดดุจอิสัตรีสิ้นแล้วฤๅประการใด จึงไม่ออกมาตีทับเรา แลไม่ออกมาเจรจาความด้วยเรา ชวนกันนิ่งซ่อนหน้าอยู่แต่ในเมืองได้ชั่งกระไรไม่มีความลอายผิดพิไสยชายชาติทหาร คิดการดั่งนี้มิควรหนัก จงเหนแก่ทางไมตรีที่ได้เคยเปนคู่สนุกด้วยกันในการสงคราม ขอให้ยกพลโยธาทหารออกมาต่อตีทับเราอิกสักครั้งหนึ่งเถิด ภอจะได้เอาเหตุนี้บอกหนังสือแก้ตัว ส่งลงไปกราบทูลพระกรุณายังกรุงเทพมหานครว่า พลพม่าออกมาตีทับไทยเปนอันมากหลายครั้ง เหลือกำลังที่จะสู้รบทั้งขัดสนสิ้นเสบียงอาหาร ขอรับพระราชทานล่าทับกลับไปตั้งทำไร่นาที่ปลายแดน ได้เสบียงอาหารบำรุงช้างม้ารี้พลให้มีกำลังบริบูรณพร้อมแล้ว จึ่งจะยกพยุหโยธาทับกลับไปตีเมืองอังวะในครั้งหลังให้จงได้ ๚ะ๏ ครั้นแต่งหนังสือเสร็จแล้ว ก็ให้พม่าเชลยถือหนังสือเข้าไปแจ้งแก่เสนาบดีในเมืองอังวะ แลเจ้าพระยาโกษาธิบดีพิจารณาเหนพม่าทุพลภาพถอยกำลัง ทั้งเกรงกลัวฝีมือพลทหารไทย เหนจะไม่อาจยกกองทับมาต่อตีเปนแท้ จึ่งแส้งแต่งหนังสือฉบับหนึ่งส่งเข้าไปในเมือง ฝ่ายเสนาบดีพม่าได้แจ้งในหนังสือนั้น ก็พิจารณาเหนว่า เปนกลอุบายฬ่อลวง ก็มิได้แต่งกองทับออกไปต่อตีตามหนังสือซึ่งให้เข้ามา เกรงจะเสียท่วงที จึ่งปฤกษากันว่า ถ้าเราจะยกทับออกไปตีตามหนังสือนั้น ฝ่ายกองทับไทยคิดกลอุบายไว้ ก็จะได้ทีตีทับเราแตกฉานแล้ว จะไล่ติดตามมาเข้าเมืองได้ จึ่งเอาหนังสือนั้นเข้ากราบทูลพระเจ้าอังวะ ๆ ก็เหนว่าเปนกลอุบายดุจมุขมนตรีทั้งปวงปฤกษาเหนพร้อมกันนั้น ฝ่ายเจ้าพระยาโกษาธิบดีแม่ทับคอยอยู่ประมาณสองวันสามวัน ก็มิได้เหนกองทับพม่ายกออกมาจากเมือง จึ่งแต่งหนังสืออิกฉบับหนึ่ง ส่งให้พม่าเชลยถือเข้าไปถึงเสนาบดีในเมืองอังวะเหมือนครั้งก่อน เปนใจความว่า บันดาพม่าในเมืองอังวะทั้งนายแลไพร่ ไม่มีใครองอาจกล้าหารในการสงคราม ล้วนแต่มีสันดารพิรุกชาติขลาดดุจอิสตรีทั้งสิ้นเปนแท้ แต่เราวิงวอนอ่อนง้อขอให้ยกกองทับออกมาตีเราสักครั้งหนึ่ง จักพึ่งภอเปนเหตุได้ลงใบบอกส่งลงไปกราบทูลพระกรุณาจะขอล่าทับเท่านี้ ก็ยังว่าหาออกมาไม่ ชั่งกะไรไม่มีความเมตตากรุญภาพแก่เราบ้างเลย มาตัดทางไมตรีเด็ดเดี่ยวไปเสียฉะนี้ก็มิควร ถ้าแลจะไม่อนุเคราะห์แก่เราโดยแท้แล้ว ก็จงเร่งบอกออกมา เราทั้งหลายก็จะลาพระเจ้าอังวะล่าทับกลับไปโดยเร็ว ครั้นพม่าเสนาบดีทั้งปวงได้แจ้งในหนังสือนั้นแล้ว ก็คิดเข็ดขามคร้ามกลัวเหมือนครั้งก่อน แลมิได้ออกมาตามหนังสือนั้น ๚ะ๏ ฝ่ายเจ้าพระยาโกษาธิบดีก็จัดแจงนายทับนายกอง แลพลอาษาสองหมื่น ให้คุมเอาช้างม้าพลาพลทหารอันป่วยเจ็บทุพลภาพ แลพม่ามอญเชลยทั้งหลายอันตีได้นั้น ล่าลงไปเสียก่อนสองสามวัน แล้วจึ่งปฤกษาด้วยท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวงว่า เพลากลางคืนวันนี้เราจะทำกลอุบายฬ่อลวงพม่าชาวเมืองให้เสียทีลงจงได้ แลเราจะเอาไม้แห้งแลหญ้าแห้งทั้งหลาย มากองไว้หลังค่ายรายกันไปแล้ว จึงให้ขนเอาสิ่งของทั้งหลายอันมีในค่ายน่านั้น ออกมาไว้ณค่ายชั้นนอกอันไกลให้สิ้น แลให้พลทหารซึ่งรักษาค่ายน่าทั้งหลายนั้น ถอยออกมาซุ่มอยู่ค่ายชั้นนอก แลให้บริโภคโภชนาหารอิ่มหนำสำราญแล้ว จึงตกแต่งกายสวมใส่เครื่องรบ ตระเตรียมช้างม้าเครื่องสาตราวุธทั้งปวงให้พร้อมเสรจ แล้วให้แบ่งช้างม้าพลาพลเดินทางสองหมื่น สรรพไปด้วยเครื่องสรรพาวุธ ยกไปซุ่มอยู่โดยสองข้างเมืองนั้น ฝ่ายพลทหารซึ่งซุ่มอยู่ในค่ายนั้น ก็ให้ประจุปืนขึ้นนกสับทั้งปวงให้พร้อมไว้ทุกค่าย แล้วปิดประตูค่ายเสีย เพลาสองยามจึ่งจุดปืนใหญ่น้อยยิงรดมขึ้น แลให้จุดเพลิงเผาเชื้ออันกองรายไว้หลังค่ายทั้งหลายขึ้นในขณะนั้น แลแสงเพลิงนั้นก็สว่างปรากฎเข้าไปในเมือง ชาวเมืองได้ยินเสียงปืนแลเหนแสงเพลิงดังนั้น จะสำคัญว่ากองทับเราล่าหนีไปแล้วก็ดีใจ แลจะเปิดประตูเมืองชวนกันออกมายังค่ายเราเพื่อจะปราถนาจะเกบเอาสิ่งของ ฝ่ายกองทับเราทั้งหลายซึ่งซุ่มอยู่ในค่ายนอกค่ายนั้นก็จะได้ทีพร้อมกัน แลจะไล่พิฆาฎฆ่าฟันพม่าชาวเมืองทั้งหลายล้มตายด้วยอาวุธซั่นยาวต่าง ๆ เปนอันมาก ฝ่ายพม่าก็จะครั่นคร้ามขามกลัวลง ถึงเราจะล่าทับโดยจริงก็จะสำคัญว่าฬ่อลวงอิก แลจะเข็ดจะขยาดมิอาจออกมาติดตามได้ กองทับเราก็จะยกไปโดยสดวก แลซึ่งเราว่ามาทั้งนี้ ท่านทั้งหลายจะเหนเปนประการใด จึ่งท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวง ก็เหนพร้อมโดยความคิดเจ้าพระยาโกษาแม่ทับหลวง แลกระทำตามถ้อยคำทั้งปวงเสรจสิ้นทุกประการ ๚ะ๏ ฝ่ายพม่าชาวเมืองทั้งหลายมิได้รู้ในอุบาย ครั้นเหนแสงเพลิง แลได้ยินเสียงปืนดังนั้น ก็สำคัญว่ากองทับล่าหนีไปแล้ว ก็มีความยินดีหนัก ต่างคนต่างอดอาหารกันดารนักอยู่ก็เปิดประตูเมือง ตรูกันเอาหาบคอนออกมาปราถนาจะเก็บเอาเสบียงอาหาร แลสิ่งของอันเหลืออยู่ในค่าย ครั้นมาถึงค่ายน่าซึ่งเปล่าอยู่นั้น ก็ตรูกันเข้าไปในค่ายก็มิได้สิ่งของอันใด แล้วชวนกันแล่นออกไปค่ายชั้นนอก ซึ่งกองทับไทยซุ่มอยู่นั้น ครั้นเหนเงียบสงัดอยู่ ก็มิได้พิจารณา แลเปิดประตูกรูกันเข้าไปในค่ายนั้นทุก ๆ ค่าย ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับไทยซึ่งซุ่มอยู่ในค่ายทั้งหลายนั้น ก็วางปืนจ่ารงมณฑกนกสับรดมเอาพม่าชาวเมืองทั้งหลายล้มตายเปนอันมาก บ้างก็ออกไล่รุกรันฟันแทงไป พม่าทั้งหลายมิทันรู้ตัว ก็วิ่งรส่ำรสายไปเปนอลหม่าน แลจะหนีกลับเข้าเมือง พลทหารไทยซึ่งอยู่สองข้างเมืองนั้น ก็ออกวกหลังไล่รุกรันฟันแทงพม่าล้มตายในที่นั้นเปนอันมาก แลจับได้เปนส่งมายังค่ายหลวงนั้นก็มาก กองทับไทยฆ่าพม่าเสีย แลจับเปนได้นั้น ก็มากกว่าหมื่น พม่าทั้งหลายซึ่งรอดไปได้บ้างนั้น ก็หนีเข้าเมือง พลทหารไทยไล่ติดตามไปถึงประตูเมือง ชาวเมืองปิตประตูเมืองเสียทัน ก็ขึ้นประจำรักษาน่าที่เชิงเทิญหอรบ ป้องกันเมืองเปนสามารถ ทับไทยก็มิอาจเข้าเมืองได้ ก็ถอยกลับออกมายังค่าย แลพม่าชาวเมืองอังวะทั้งหลาย ครั้งนั้นถึงพินาศฉิบหายเปนอันมาก ที่เหลืออยู่นั้นสดุ้งตกใจกลัวทับไทยยิ่งนัก ต่างคนต่างร้องไห้ร่ำรักญาติทั้งหลาย อันล้มตายหายจากกันไปนั้นทุกบ้านทุกเรือน แลในเมืองอังวะครั้งนั้นเงียบเหงาเศร้าโศกวิปโยคพรัดพรากซึ่งกันแลกันเปนอันมากนัก ๚ะ๏ ฝ่ายเจ้าพระยาโกษาธิบดี ก็ส่งหนังสือเข้าไปอิกฉบับหนึ่งเล่า ในลักษณหนังสือนั้นว่า พม่าชาวเมืองอังวะนี้มิได้มีสติปัญญาหนาไปโดยโมหครอบงำอยู่ในสันดาร มิได้รู้ในการสงครามทั้งปวง มิได้ฉลาดในกลพิไชยสงคราม แต่เราลองใจหลอกเล่นหน่อยหนึ่งเท่านี้ ก็ยังหารู้ไม่ ชวนกันเทเมืองออกมาหาเราถึงค่าย เอาชีวิตรออกมาพลีกรรมอาวุธพลทหารแห่งเราจนเบื่อฆ่าฉนี้มิควรยิ่งนัก อนึ่งพม่าชาวเมืองอังวะทั้งหลายซึ่งพลทหารแหง่เราฆ่าเสียแลจับเปนได้มากนั้น ก็เปนประเวณีศึกมาแต่ก่อน พระเจ้าอังวะแลเสนาบดีทั้งหลายอย่าได้โทมนัศขัดเคืองแก่เราเลย จงอยู่เปนศุขสวัสดิพิพัฒน์เถิด เราจะลาล่าทับกลับไปเรวแล้ว ๚ะ๏ ครั้นพม่าเสนาบดีทั้งหลาย ได้แจ้งในหนังสือดั่งนั้น ก็สำคัญว่าฬ่อลวงอีก ให้คิดเขดขามคร้ามขยาดยิ่งนัก จึ่งปฤกษากันว่า ครั้งก่อนทับไทยทำกลอุบายทำทีประหนึ่งจะล่า ฝ่ายเรามิทันจะพิจารณาให้ท่องแท้ คิดว่าจริงก็ชวนกันเทเมืองออกไป ทับไทยได้ทีไล่พิฆาฏฆ่าล้มตาย แลจับได้นั้นก็มาก แต่เท่านั้นแล้วยังมิหนำซ้ำไล่ติดตามมาถึงเมือง นี่หากว่าเราปิดประตูเมืองเสียทัน หาไม่ก็จะเสียแก่ฆ่าศึกแต่ในเพลานั้นครั้งหนึ่งแล้ว แลบัดนี้รื้อให้หนังสือบริภาศภ้อฬ่อลวงเข้ามาอิกเล่า ถ้าเราจะออกไปอิกครั้งนี้ ทับไทยจะคิดกลอุบายไว้ยิ่งกว่าครั้งก่อน ครั้นได้ทีแล้วก็จะออกไล่รุกบุกบันเข้ามาแหกหักเอาเมืองให้จงได้ แลควรเราจะรักษาเมืองไว้ให้หมั้นคง อย่าหลงในอุบายฆ่าศึก ครั้นปฤกษาเหนพร้อมกันแล้ว ก็เอาเนื้อความขึ้นกราบทูลพระเจ้าอังวะเหมือนหนหลังนั้น ๚ะ๏ ส่วนเจ้าพระยาโกษาก็จัดแจงช้างม้าพลาพลเดินท้าว แลเสบียงอาหารให้พร้อมไว้ แลเกนให้พลลาวเมืองเชียงใหม่เดิรทับรั้งหลัง แล้วก็เลิกทับกลับไปโดยลำดับมารควิถีตราบเท่าถึงเมืองหงษาวดี แลให้อยุดทับยับยั้งอยู่ในที่นั้น ในขณะนั้นฝ่ายแสนท้าวพระยาลาวเชียงใหม่ทั้งหลาย ซึ่งเดิรทับรั้งหลังมานั้น ครั้นทับไทยไม่ได้เมืองอังวะล่าทับกลับมาดั่งนั้น ก็กลัวพระเจ้าอังวะ จึงคิดอ่านกันแยกกองทับหนีไปโดยทางเมืองเชียงใหม่ ๚ะ๏ เจ้าพระยาโกษาแจ้งเหตุดังนั้น ก็สั่งให้พระยากำแพงเพชร แลพระยารามเดโชถือพลเมืองเหนือทั้งหลายสองหมื่น ให้ยกพลไปตามกองทับลาวเชียงใหม่อันหนีไปนั้นเอาตัวให้จงได้ แล้วก็ยกกองทับทั้งปวงล่วงรามัญประเทศมายังพระมหานคร แลแยกกันมาโดยทางอันไปนั้น ๚ะ๏ ส่วนพม่าชาวเมืองอังวะทั้งหลายแต่กลัวทับไทย มิอาจออกจากเมืองได้นั้นก็ช้านานจนกองทับไทยล่าไปกว่าสิบวันแล้ว จึ่งค่อยรู้ว่ากองทับไทยลงไปแล้ว ก็มิอาจษามารถจะติดตามได้ ๚ะ๏ ฝ่ายแสนท้าวพระยาลาวชาวเมืองเชียงใหม่ทั้งหลาย ซึ่งแยกทับหนีไปนั้น ก็รีบไปทั้งกลางวันกลางคืนตราบเท่าถึงเมืองเชียงใหม่ แลขึ้นเฝ้าพระยาแสนหลวงกราบทูลประพฤติเหตุทั้งปวง ให้ทราบสิ้นทุกประการ พระยาแสนหลวงเจ้านครเชียงใหม่ทราบเหตุดั่งนั้น ก็สดุ้งใจกลัวพระเจ้าอังวะยิ่งนัก จึ่งสั่งให้ท้าวพระยาเสนาลาวทั้งหลาย ให้ตรวจจัดทหารขึ้นประจำรักษาน่าที่เชิงเทินปราการโดยรอบ ประกอบด้วยเครื่องสรรพายุทธปืนใหญ่น้อยพร้อมเสรจ แลป้องกันเมืองเปนสามารถ คอยกองทับไทยอันจะยกมาติดตามนั้น ๚ะ๏ ส่วนกองทับพระยากำแพงเพชร แลพระยารามเดโช ก็ยกติดตามทับลาวไป ครั้นไม่ทันที่กลางทางแล้ว ก็ยกตามไปถึงเมืองเชียงใหม่ เหนชาวเมืองขึ้นประจำรักษาน่าที่เชิงเทิน แลปิดประตูเมืองอยู่ ก็รู้ว่าพระยาแสนหลวงกลับเปนกระบถเมืองจะต่อรบ จึงขับพลทหารเข้าตั้งค่ายล้อมเมืองไว้ แล้วแต่งหนังสือส่งเข้าไปในเมือง เพื่อจะให้รู้เหตุกระหนักแน่ ในหนังสือนั้นว่า กองทับพระยาลาวซึ่งยกไปช่วยนั้น หนีกลับมามิได้บอกกล่าวให้เรารู้ แลบัดนี้พระยาแสนหลวงคิดอ่านเปนประการใด แลจะกลับแขงเมืองไม่ขึ้นแก่พระนครศรีอยุทธยา จะต่อรบเราฤๅก็ให้เร่งบอกออกมา เราก็จะยกโยธาหารเข้าแหกหักเอาเมืองให้จงได้ ๚ะ๏ ครั้นพระยาแสนหลวงแจ้งในหนังสือดังนั้นแล้ว ก็ให้หนังสือตอบออกมายังกองทับ ในหนังสือนั้นว่า เราทราบว่าทับไทยจะยกไปตีเมืองอังวะ ก็คิดว่าจะได้เมืองอังวะอยู่ จึงจัดแจงแต่งกองทับให้ยกไปช่วยเพื่อจะเอาพระนครศรีอยุทธยาเปนที่พึ่ง แลบัดนี้ทับไทยไปตีเมืองอังวะก็มิได้ แลกลับล่าถอยมา ฝ่ายเมืองเราซิเปนข้าขอบขัณฑสีมาอังวะอยู่ก่อน เรากลัวท่านผู้เปนอิศราธิบดีในภูกามประเทศ จะแต่งทับยกมาตีเมืองเรา ๆ ก็จะต้านทานมิได้ จึ่งจะเอาพระเจ้าอังวะเปนที่พึ่งที่พำนักนิ์เหมือนแต่ก่อน ถ้าแลกองทับไทยจะยกมาช่วยเราได้ เมื่อขณะพม่าจะมาตีนั้น เราก็จะเปนข้าขอบขันทสีมาพระนครศรีอยุทธยา จะเอาพระเดชานุภาพสมเดจพระเจ้าอยู่หัวกรุงไทยเปนที่พึ่งที่พำนักนิ์สืบไป ๚ะ๏ ครั้นแม่ทับไทยได้แจ้งในหนังสือดั่งนั้น ก็เหนว่าพระยาแสนหลวงเจ้าเมืองเชียงใหม่ จะต่อรบเปนแท้อยู่แล้ว ครั้นเพลากลางคืนก็ขับพลทหารสองหมื่นเข้าป่ายปีนปล้นเอาเมือง ชาวเมืองก็รบพุ่งป้องกันรักษาน่าที่เชิงเทินทั้งกลางวันกลางคืนเปนสามารถ กองทับไทยมิอาจแหกหักเอาเมืองได้ ก็ถอยกลับออกมายังค่าย แต่ยกเข้าปล้นดั่งนั้นหลายครั้ง รี้พลต้องสาตราวุธชาวเมืองบาดเจ็บล้มตายเปนอันมาก จะปล้นเอาเมืองเชียงใหม่มิได้ นายทับนายกองทั้งหลายจึ่งปฤกษาว่า รี้พลเราอดหยากอาหารป่วยเจ็บทุพลภาพมาแต่เมืองอังวะมากอยู่แล้ว แลบัดนี้เรามาล้อมเมืองเชียงใหม่กว่าสิบวันแล้วก็ยังไม่ได้ จำจะต้องแต่งหนังสือบอก ให้ม้าเร็วถือลงไปกราบทูลพระกรุณายังกรุงเทพมหานคร ให้ทราบเหตุทั้งปวง แลเราจะคิดการเผาเมืองในเพลากลางคืนจะเข้าปล้นเอาเมือง ถึงมาทว่าไม่ได้เมือง เราจะต้องล่าทับกลับไปก็ดี แลกระทำให้ชาวเมืองทั้งหลายได้ทุกขเวทนาลำบากมากอยู่แล้ว ก็มิอาจสามารถจะติดตามได้ กองทับเราก็จะกลับไปโดยสดวก ครั้นปฤกษาเหนพร้อมกันแล้ว ก็จัดแจงทับคุมเอาช้างม้าพลาพลเดินเท้าทั้งหลายอันป่วยทุพลภาพอยู่นั้น ล่าลงไปเสียก่อนสองสามวัน แล้วจึ่งให้กระทำลูกธนูพันหนึ่ง ผูกเพลิงอังแพลมทุก ๆ เล่มพร้อมเสรจ ครั้นค่ำลงเพลาประมาณยามหนึ่งจึ่งขับพลทหารเข้าแหกหักเอาเมือง แลยิงลูกธนูทั้งหลายเข้าไปในเมืองนั้น ส่วนลูกธนูทั้งหลาย ก็ตกลงถูกหลังคาเรือนทั้งหลายในเมืองเชียงใหม่ แลเพลิงอังแพลมซึ่งผูกลูกธนูทั้งหลายนั้น ก็ติดขึ้นไหม้ไปทุกตำบลเปนอลหม่าน พลลาวชาวเมืองซึ่งรักษาน่าที่ทั้งปวง เหนเพลิงไหม้ดั่งนั้น ก็ตกใจต่างคนต่างจะไปบ้านเรือนแห่งตน ๆ แลจะทิ้งน่าที่เสีย ท้าวพลเสนาลาวนายด้านนายกองเจ้าน่าที่ทั้งหลายมิได้ลงจากน่าที่ แลให้รบพุ่งป้องกันเมืองไว้ มิได้อาไลยในสิ่งของเย่าเรือนทั้งปวง สุดแท้แต่อย่าให้เสียเมืองแก่ข้าศึกได้ ที่เหลือจากน่าที่นั้น ก็ช่วยกันดับเพลิงบ้าง บ้างก็เก็บสิ่งของทั้งปวง แลเพลิงนั้นใช่เกิดแต่แห่งเดียว เที่ยวลุกลามไหม้ไปเปนหลายแห่ง ชาวเมืองมิทันจะดับได้ ก็ไหม้เรือนทั้งหลายในเมืองนั้นมากกว่าพัน ที่อยู่รักษาน่าที่นั้น ก็รบพุ่งป้องกันเปนสามารถ ทับไทยมิอาจแหกหักเอาเมืองได้ ก็ถอยกลับออกมายังค่าย ครั้นเพลาประมาณสองยาม ก็เลิกทับกลับมาโดยลำดับมารควิถี ตราบเท่าถึงเมืองเถิน แล้วก็แต่งหนังสือบอกให้ม้าเร็วถือรีบลงมา กราบทูลพระกรุณายังกรุงเทพมหานครให้ทราบเหตุการ จึ่งยกกองทับทั้งปวงล่วงมณฑลประเทศ มาพร้อมทับณเมืองกำแพงเพชร แลคอยฟังท้องตราจะตอบขึ้นมาเปนประการใด ๚ะ๏ ส่วนลาวชาวเมืองเชียงใหม่ทั้งหลายเพลิงไหม้วุ่นวายไปสิ้นทั้งเมืองได้ทุกขเวทนาลำบากเปนอันมาก แลเมื่อทับไทยล่าไปนั้นก็มิอาจสามารถจะมาติดตามได้ ฝ่ายม้าเรวซึ่งถือหนังสือนอกนั้นก็รีบมาโดยลำดับมารควิถีตราบเท่าถึงพระมหานคร แลขึ้นเฝ้ากราบทูลพระกรุณาตามหนังสือบอกนั้น จึ่งพระบาทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสทราบเหตุดั่งนั้น ก็มีพระราชโองการดำรัศให้สมุหนายก มีตราตอบขึ้นไปยังกองทับ ในท้องตรานั้นว่า รี้พลทั้งหลายอดอยากอาหารทุพลภาพมากอยู่แล้ว อนึ่งก็เปนเทศกาลฟ้าฝนความไข้เจบจะมีมาก แลให้กองทับทั้งหลายรีบลงมายังพระมหานครโดยเรวเถิด ๚ะ๏ ครั้นท้าวพระยานายทับนายกองทั้งหลายได้แจ้งในท้องตราดั่งนั้นแล้วก็ยกกองทับลงมายังกรุงเทพมหานคร แลกองทับทั้งหลายซึ่งยกกลับมาโดยทางปากใต้ฝ่ายเหนือนั้น ก็มาถึงพระนครเปนลำดับกัน เจ้าพระยาโกษา แลท้าวพระยานายทับนายกองทั้งหลายขึ้นเฝ้าสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวกราบทูลพระพฤติเหตุทั้งปวง แล้วถวายช้างม้าคนเชลย แลสิ่งของทั้งหลายอันตีได้นั้น สมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ตรัสทราบเหตุทั้งปวงดังนั้น ก็ทรงพระโสมนัศยินดียิ่งนัก แลพระราชทานรางวัลแก่เจ้าพระยาโกษา ท้าวพระยานายทับนายกองทั้งหลายเปนอันมาก โดยสมควรแก่ความชอบนั้น ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๐๒๒ ปีชวดโทศก กรมการเมืองนครสวรรค์บอกลงมาถึงสมุหนายกว่า นายกองช้างผู้มีชื่อ คล้องต้องช้างเผือกผู้สูงประมาณสี่ศอกมีเศศ สรรพด้วยคชลักษณงามบริบูรณ แลคล้องได้ ณป่าแขวงเมืองนครสวรรค์นั้น จึ่งเจ้าพระยาโกษาจักรีเอาข้อราชการสารเสวตรขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงทราบเหตุดั่งนั้น ก็ทรงพระปราโมชยิ่งนัก จึ่งมีพระราชดำรัศให้ท้าวพระยาเสนาบดี แลพระหลวงขุนหลวงขุนหมื่นกรมช้างทั้งหลาย ขึ้นไปรับพระยาเสวตรกุญชรชาติตัวประเสริฐ ลงมายังกรุงเทพมหานคร แลให้แห่แหนประดับประดาโดยซลมารค สถลมารค ตามอย่างแต่ก่อน แล้วให้สถิตย์อยู่ณโรงนอกพระราชวัง ทรงพระกรุณาให้ตั้งการพระราชพิธีสงฆ์ แลพิธีไสยเวท แลการมหรรสพ สมโพชคำรพเจ็ดวันเปนกำหนฏ แล้วรับเข้ามาไว้ณโรงในพระราชวัง แลทรงพระประสาทพระราชทานนามกร ชื่อเจ้าพระยาบรมคเชนทรฉัตรทันต์ แลพระราชทานเครื่องสุวรรณคชาภรณ์ อลังการด้วยมหาเนาวะรัตนอันประเสริฐ สำหรับประดับกายพระยาเสวตรกุญชรนั้น แลทรงพระกรุณาให้ขุนหมื่นผู้ใหญ่ในกรมช้าง แลหัวสิบทั้งหลายอยู่ปรฏิบัติรักษาพระยาช้างเผือกนั้น แลซึ่งนายช้างผู้คล้องถูกนั้น ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เปนที่ขุนหมื่นตามบูรพประเพณี แลพระราชทานเครื่องยศแลเสื้อผ้าเงินตราตามธรรมเนียม แลสมัคพักพวกซึ่งได้ช่วยในการช้างนั้น ก็พระราชทานรางวัลท่วนทั่วทุกคน แล้วทรงพระกรุณาโปรดให้ตราภูมคุ้มห้ามส่วยสัดพิกัดอากรขนอนตลาด แก่ผู้คล้องต้องพระยาช้างเผือกได้ทั้งหลายนั้น แลให้ไปอยู่ทำกินตามภูมลำเนาดุจแต่ก่อน ๚ะ๏ ส่วนขุนหมื่นผู้ใหญ่นายช้างซึ่งอภิบาลพระยาเสวตรคเชนทรนั้น ก็ฝึกสอนพระยาช้างให้รู้ในภาษามนุษแลให้รู้กระทำกิจต่าง ๆ แลข้าราชการทั้งหลายซึ่งต้องพระราชอาญาเปนมหันตโทษจำไว้ หาผู้ใดจะทูลขอมิได้นั้น ก็เขียนหนังสือบนจะให้สิ่งของต่าง ๆ แลเอาหนังสือบนนั้นไปให้แก่พระยาช้างเผือก ๆ รับเอาด้วยงวงแล้ว ก็ชูเข้าไปถวายสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัว เพื่อจะขอพระราชทานโทษด้วยใจในขณะเมื่อเสดจ์พระราชดำเนิรมายังโรงนั้น จึ่งสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ยื่นพระหรรถรับหนังสือนั้นมาทรงอ่านได้ทราบคดีทั้งปวงแล้ว ก็ทรงพระมหากรุณาแก่พระยาเสวตรกุญชรชาติแลทรงพระกรุณาโปรด พระราชทานโทษให้แก่พระยาบรมคเชนทรฉัตทันตนั้น ส่วนข้าราชการซึ่งเปนโทษแลได้พ้นโทษแล้ว ก็ให้สิ่งของทั้งปวงแก่พระยาช้างเผือกตามหนังสือบนนั้น จำเดิมแต่นั้นมาข้าราชการผู้ใดผู้หนึ่งเปนโทษก็มาบนเจ้าพระยาเสวตร เพื่อจะให้ขอโทษให้เหมือนดังนั้น แลทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานโทษ ให้แก่พระยาช้างเผือกนั้นเปนหลายครั้ง พระบาทบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหาบุญาธิการ แลมีเสวตรคชสารพลายพังทั้งคู่เปนบรมราชาพาหณะพระที่นั่ง ครั้งนั้นพระราชกฤษฎาเดชานุภาพ แผ่ไพรสาฬไปในนาๆประเทศธาณีใหญ่น้อยทั้งปวง บรรดาอริราชบรปักข์ก็เขจขามคร้ามพระเดชพระคุณเปนอันมากนัก ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๐๒๓ ปีฉลูตรีศก ขณะนั้นเจ้าพระยาโกษาธิบดีป่วยลง ทรงพระกรุณาให้พระหลวงขุนหมื่นแพทย์ทั้งหลายไปพยาบาล แลโรคนั้นเปนไสมยกาลแห่งชีวิตรไขยก็ถึงแก่อนิจกรรม สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวมิอาจกลั้นน้ำพระเนตรไว้ได้ ทรงพระอาไลยในเจ้าพระยาโกษาเปนอันมาก แลเจ้าพระยาโกษาขุนเหล็กคนนี้เปนลูกพระนม แลได้รับพระราชทานนมร่วมเสวยมาแต่ยังทรงพระเยาว์นั้น แลทรงพระกรุณาพระราชทานฌาปนะกิจตามอย่างเสนาบดีเสรจ์แล้ว จึ่งมีพระราชโองการตรัสปฤกษา ด้วยท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลายว่า พระยาแสนหลวงเจ้าเมืองเชียงใหม่คิดอ่านฬ่อลวงเราเปนหลายครั้งแล้ว ยังมิหนำซ้ำกลับแขงเมืองต่อรบอิกเล่า แลเราจะละพระยาแสนหลวงไว้นั้นมิได้ จำจะยกพยุหโยธาทหารไปตีเอาเชียงใหม่ให้จงได้ ท่านทั้งหลายจะเหนเปนประการใด จึ่งท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลาย ก็เหนพร้อมโดยพระราชดำริหนั้น ในปีฉลูตรีศกนั้น สมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าช้างเผือก ก็มีพระราชดำรัศให้ท้าวพระยามุขมนตรี ตรวจ์จัดกองทับพลสกรรจ์ลำเครื่องสี่หมื่น ข้างเครื่องสองร้อย ม้าสี่ร้อย สรรพด้วยเครื่องสรรพาวุธ ปืนใหญ่ปืนน้อยกระสุนดินประสิวให้พร้อมไว้ แลดำรัศให้หานายปานผู้น้องเจ้าพระยาโกษา อันถึงแก่อนิจกรรม์ ซึ่งรับอาษาออกไปได้ราชการณะเมืองฝรั่งเสศนั้นเข้ามาเฝ้าแล้ว ก็มีพระราชโองการตรัสเหนือเกล้าโปรดให้นายปานเปนเจ้าพระยาโกษาธิบดี แลทรงพระกรุณาดำรัศว่า ขุนเหล็กพี่ท่านซึ่งถึงแก่มรณะภาพนั้นชำนิชำนาญในการอันเปนแม่ทับ แลบัดนี้เราจะให้ท่านเปนที่เจ้าพระยาโกษาธิบดี แลจะให้เปนแม่ทับแทนพี่ชายไปตีเมืองเชียงใหม่ยังจะได้ฤๅมิได้ จึ่งเจ้าพระยาโกษาปานกราบทูลพระกรุณาว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะขอลองศึกดูก่อน แลจะขอรับพระราชทานพระราชอาญาสิทธิ เหมือนพระโองการนั้น ถ้าแลเหนจะกระทำสงครามได้แล้ว ก็จะขออาษาไปตีเมืองเชียงใหม่ทูลเกล้าถวายให้จงได้ สมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสได้ทรงฟังดังนั้น ก็ชอบพระไทยในถ้อยคำเจ้าพระยาโกษากราบทูลนั้น ทรงพระโสมนัศดำรัศสรรเสริญสติปัญญาเปนอันมาก แลทรงพระกรุณาพระราชทานพระแสงดาบต้นอันทรงนั้น ให้แก่เจ้าพระยาโกษาธิบดี เพื่อจะให้สิทธิขาดพระราชอาญาสิทธิ แลโปรดพระราชทานให้รับพระโองการดังนั้น แล้วดำรัศอนุญาตว่า ท่านจงไปลองศึกดูตามความปราถนาเถิด ๚ะ๏ จึ่งเจ้าพระยาโกษารับพระราชทานพระแสงดาบแล้ว ก็กราบถวายบังคมลาออกมายังสาลาลูกขุนใน จึ่งสั่งมหาดไทย กระลาโหมให้แจกพระราชกำหนฎ ข้าทูลลอองธุลีพระบาททั้งหลาย ฝ่ายทหาร พลเรือน กะเกนพลสามพันให้ยกไปตั้งค่ายตำบลที่ใกล้พะเนียดโดยกว้างสามเส้น โดยยาวสามเส้นสิบวา แลให้ตัดไม้ไผ่มาตั้งค่าย เอาปลายปักลงให้สิ้น ขุดมูลดินถมเปนสนามเพราะ ปักขวากหนามตามธรรมเนียมพร้อมเสรจ์ให้สำเร็จแต่วันพรุ่งรุ่งแล้วสามนาฬีกา ถ้าแลเราไปเลียบค่ายน่าที่ผู้ใดไม่สำเหรจ์ในเพลานั้น ก็จะลงโทษแก่ผู้นั้นถึงสิ้นชีวิตร ส่วนเจ้าพระยาจักรี กระลาโหม แลท้าวพระยาข้าราชการทั้งหลายได้แจ้งในพระราชกำหนฎดังนั้น ก็สดุ้งตกใจกลัวยิ่งนัก ต่างคนต่างเร่งกะเกนกันทุกหมู่ทุกกรมในวันนั้นได้พลสามพันแล้วก็ให้ไปตัดไม้ไผ่อันจะมาทำเปนเสาค่ายนั้นคลสองท่อน แล้วก็ยกขึ้นไปยังที่ใกล้พะเนียด แบ่งปันน่าที่กันตั้งค่ายแต่ในเพลากลางคืนวันนั้นทุกหมู่ทุกกรม แลปักเสาเอาปลายลงดิน เอาต้นขึ้นสิ้น ชิดกันเปนถ้องแถวแต่เบื้องบน เบื้องล่างนั้นห่างกันไปเปนอันมากแลกระทำการทั้งปวงภอรุ่งก็สำเรจ์ ๚ะ๏ ในขณะนั้นขุนหมื่นเจ้าน่าที่ผู้หนึ่ง เหนเชิงค่ายทั้งหลายห่างกันนัก จึ่งปักกลับเอาต้นลงดิน แซรกเข้าเสาหนึ่งในรว่างอันห่างนั้น แล้วว่าอย่างแต่ก่อนเขาทำมาดังนี้ แลซึ่งเอาปลายปักลงดินนี้ มิเคยเหนทำมาแต่ก่อน จึ่งเจ้าพระยาโกษาก็สั่งแก่เจ้าพนักงานทั้งหลายให้ตระเตรียมราชพาหนะ แลเครื่องขัติยราชาบริโภคทั้งปวงไว้รับโดยทางซลมารค สถลมารค พร้อมเสรจ์แล้ว ครั้นรุ่งเช้าแล้วเพลาสามนาฬิกา เจ้าพระยาโกษาธิบดีก็ลงสู่เรือพระที่นั่งนพรัตนพิมานกาญจน์อะลงกฎ มหานาวาเวไชยยันต์อันอำไภยไปด้วยเสวตรฉัตรพัดโบกจามร บังพระสุริเยนทร์บังแทรกแซงสลอนสลับ สรรพด้วยอะพิรุมชุมสายพรายพรรณ กลตกลิ้งกรรชิงมาศดาษดาดูมะเหาฬารเลิดพันลึกอะทึกด้วยเรือกัน แลเรือท้าวพระยาข้าราชการทั้งหลายรายเรียงเปนขนัด โดยกระบวนพยุหยาตราน่าหลังพร้อมเสรจ์ ก็เหมือนสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวอันเสดจ์พระราชดำเนินนั้น ครั้นได้ศุภฤกษ ก็ให้ลั่นฆ้องไชย ประโคมแตรสังข์ดูริยางคดนตรี สนั่นกาหฬกึกก้องกลองชนะโครมครื้นเพียงพื้นนัทีธารจะทำลาย ให้ขยายพยุหบาตราคลาเคลื่อนเลื่อนตามขบวนแห่แหนแน่นไปโดยชลมารค ตราบเท่าถึงที่ประทับตำบลเพนียด เจ้าพระยาโกษาธิบดีก็ขึ้นจากเรือพระที่นั่ง สถิตยยังพลับพลาอันเปนที่ราชาอาศน์เดียรดาษด้วยท้าวพระยาข้าราชการทั้งปวง แวดล้อมโดยซ้ายขวาหน้าหลัง แล้วก็ขึ้นขี่ช้างพระที่นั่งบรมราชคชาธารสารตัวประเสริฐเพริศพร้อม ด้วยเครื่องสูงแลธงฉานธงไชยดูไสวไพโรจด้วยท้าวพระยาเสนาบดี พิริยโยธาหารแห่เปนขนัด โดยกระบวนบรมราชพยุหบาตราสถลมารค เลียบค่ายไปจึ่งเหนไม้เสาค่ายลำหนึ่ง ปักเอาต้นลงดิน ก็ให้หาตัวเจ้าน่าที่นั้นเข้ามาแล้วจึ่งถามว่า ท่านกระทำดังนี้จริงฤๅ เจ้าน่าที่กราบเรียนว่าจริง เจ้าพระยาโกษาจึ่งว่า ตัวท่านละเมิดมิได้ทำตามพระราชโองการแห่งเรา โทษท่านถึงตาย แล้วก็ให้ประหารชีวิตรเสีย แลให้ตัดเอาศีศะเสียบไว้ที่ปลายไม้เสาค่ายลำนั้น แล้วก็คืนลงสู่เรือพระที่นั่งกลับเข้ามายังพระราชวัง เจ้าพระยาโกษาทำครั้งนั้น เพื่อให้คนทั้งหลายเขดขาม คร้ามอำนาจอาญาสิทธิขาดในราชการงานสงครามนั้น ครั้นมาถึงพระราชวังก็ขึ้นเฝ้าสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว ถวายพระราชโองการอาญาสิทธิ แลพระแสงดาบคืนเสียแล้ว ก็กราบทูลแถลงการทั้งปวงซึ่งไปลองศึกนั้นให้ทราบสิ้นทุกประการ แล้วบังคมทูลพระกรุณาขออาษาไปตีเอาเมืองเชียงใหม่ทูลเกล้าถวาย ๚ะ๏ จึ่งพระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสได้ทรงฟังดั่งนั้นก็ทรงพระโสมนัศตำรัศสรรเสริญเจ้าพระยาโกษาเปนอันมาก แล้วก็มีพระราชโองการตรัศเหนือเกล้า โปรดให้เจ้าพระยาโกษาธิบดีเปนแม่ทับหลวง แลให้พระยาวิชิตภักดีเปนยุกระบัด พระยาสุรินทรภักดีเปนเกียกกาย พระยาสีหราชเดโชเปนกองหน้า พระยาสุรสงครามเปนกองหลัง ถือพลช้างม้าพลานิกรเดิรเท้าทั้งหลาย ยกขึ้นไปตีเอาเมืองเชียงใหม่ ครั้นถึงอาติกมาศศุภปักข์ดิถี ได้มหาสวัสดิพิไชยฤกษ เจ้าพระยาโกษาธิบดีแลท้าวพระยานายทับนายกองทั้งหลาย ก็กราบถวายบังคมลายกกองทับบกเรือไปจากกรุงเทพมหานคร โดยลำดับชลมารค สถลมารค ไปพร้อมทับณเมืองเถิน แล้วก็ให้ตรวต์จัดกองทับแยกกันออกเปนหมวดเปนกอง ตามพิไชยสงครามพร้อมเสรจ์ ยกพยุหโยธาทหารขึ้นไปโดยวิถีสถลมารค ตราบเท่าถึงเมืองนคร แลอยุดทับยับยั้งตั้งค่ายมั่นอยู่ในที่ใกล้เมืองนั้น ฝ่ายแสนท้าวพระยาลาวเจ้าเมืองนคร ก็บอกหนังสือขึ้นไปยังเมืองเชียงใหม่ แล้วก็แต่งค่ายคูประตูหอรบ แล้วตรวจตรำจัดพลทหารขึ้นประจำรักษาน่าที่เชิงเทิน ป้องกันเมืองตามธรรมเนียม ๚ะ๏ ส่วนกองทับไทยก็ยกเข้าแหกหักเอาเมือง ชาวเมืองรบพุ่งป้องกันต้านทานอยู่สามวัน ครั้นเหนเหลือกำลังที่จะต่อสู้ก็เทครัวอพยพออกจากเมืองหนีไปยังเมืองเชียงใหม่บ้าง ๆ ก็ออกหากองทับ ๆ ไทยได้เมืองนครแลได้ช้างม้าเครื่องสาตราวุธแลลาวเชลยเปนอันมาก ก็ยกตีบ้านน้อยบ้านใหญ่ ตามระยะทางขึ้นไป พลลาวต้านทานมิได้ก็แตกฉานพ่ายหนี แลตีตำบลใดก็ได้ตำบลนั้น ด้วยอำนาจอาญาสิทธิ์เจ้าพระยาโกษาธิบดีแม่ทับหลวง ครั้งไปลองศึกตำบลพะเนียดแลคนทั้งหลายเข็ดขามคร้ามกลัวแก่ครั้งนั้นมา จะว่าราชการสิ่งใดในงานสงครามทั้งปวงก็สิทธิขาดสำเร็จได้ด้วยอำนาจสั่งนั้นทุกประการ แล้วยกพยุหโยธาหาญขึ้นไปตีเมืองลำพูน แลให้ตั้งค่ายล้อมเมืองไว้ ๚ะ๏ ฝ่ายท้าวพระยาเสนาลาวเจ้าเมืองลำพูน ก็กะเกนพลทหารขึ้นประจำรักษาน่าที่เชิงเทินปราการป้องกันเมือง กองทับไทยก็ยกเข้าป่ายปีนปล้นเอาเมือง พลลาวชาวเมืองรบพุ่งต้านทานอยู่ได้เจดวัน แลต้องสาตราวุธ ฆ่าศึกบาดเจ็บล้มตายนั้นก็มาก เหนเหลือกำลังที่จะต่อสู้ก็แตกฉานพ่ายออกจากเมืองในเพลากลางคืน แลหนีไปยังเมืองเชียงใหม่บ้าง ๆ ก็หนีเข้าป่าแลออกหากองทับไทยเปนอันมาก ทับไทยได้เมืองลำพูนแลได้ช้างม้าเครื่องสาตราวุธคนเชลยก็มาก แล้วก็ยกขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ ในขณะเมื่อทับไทยได้เมืองลำพูนนั้น พระยาแสนหลวงก็เสียใจจึ่งแต่งกองทับให้ยกออกไปตั้งค่ายรับโดยระยะรายทางขึ้นมา ตราบเท่าถึงเมืองเชียงใหม่เปนหลายแห่ง แลให้ตกแต่งค่ายคูปักขวากหนามตามทำนองศึกพร้อมเสรจ ส่วนกองทับไทยก็ยกเข้าตีค่ายลาวทั้งหลายอันออกมาตั้งรับนั้น แลได้รบพุ่งกันถึงโรมรันฟันแทงทุก ๆ ตำบล พลลาวต่อรบต้านทานมิได้ ก็แตกฉานไปจากค่ายแลพ่ายหนีกลับเข้ามืองเชียงใหม่ ๚ะ๏ พระยาแสนหลวงเจ้าเมืองเชียงใหม่ ก็ให้แสนท้าวเสนาลาวทั้งปวงตรวจจัดพลทนารขึ้นประจำรักษาน่าที่เชิงเทินปราการโดยรอบ ประกอบด้วยเครื่องสรรพาวุธปืนใหญ่ปืนน้อยทั้งปวงกันเมืองไว้ แลกองทับไทยได้ค่ายรายทางทั้งหลายแล้ว ก็ยกติดตามเข้าไปตั้งค่ายล้อมถึงชานเมือง จึ่งเจ้าพระยาโกษาธิบดีแม่ทับหลวง ก็ให้พลทหารก่อกำแพงโอบเมืองเข้าไว้กึ่งหนึ่ง ในด้านข้างทักษิณทิศแห่งเมืองเชียงใหม่นั้น แล้วก็ให้ตั้งค่ายหลวงแลค่ายน่าทั้งหลายล้อมอยู่ในที่นั้น ๚ะ๏ ส่วนพระยาแสนหลวงเจ้าเมืองเชียงใหม่ ก็ให้ท้าวพระยาเสนาลาวยกกองทับออกไปตีทับไทย อันมาตั้งล้อมอยู่นั้นเปนหลายครั้ง พลทหารไทยเข้มแขงในการสงครามยิ่งนัก มิได้ท้อถอย แลได้ยุทธนากันเปนสามารถ พลลาวต้องสาตราวุธบาดเจ็บล้มตายก็มาก มิอาจต้านทานกำลังศึกพลทหารไทยได้ ก็แตกฉานพ่ายเข้าเมืองทุกครั้ง ๆ ๚ะ๏ ฝ่ายเจ้าพระยาโกษาแม่ทับ ครั้นเหนการภอจะหักเอาเมืองได้แล้ว ก็แต่งหนังสือบอกโดยการอันได้รบพุ่งทั้งปวง เหนภอจะเอาไชยซำนะได้ แล้วให้ม้าเร็ว ๒๓ ม้าถือลงไปกราบทูลพระกรุณายังกรุงเทพมหานคร จึ่งพระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ตรัสทราบเหตุดั่งนั้น ก็ทรงพระปราโมทย์ยิ่งนัก แลดำรัสให้ท้าวพระยามุขมนตรีทั้งหลายตรวจจัดกองทับพลสกรรจ์ลำเครื่องหกหมื่น ช้างเครื่องห้าร้อย ม้าเครื่องห้าร้อย สรรพด้วยเครื่องสาตราวุธ แลเสบียงอาหารให้พร้อมเสรจจะเสดจ์ไปงานพระราชสงคราม ณะเมืองเชียงใหม่ แลให้กองทับบกยกแยกไปคอยรับเสดจ์ณะเมืองเถิน ๚ะ๏ ครั้นถึงสุภวารมหุดิมหันต์อนันตพิไชยฤกษ์ จึ่งพระบาทบรมนารถนารายน์ราชบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็สอดทรงเครื่องศริราชอลังการสรรพาภรณ์บวรวิภูสิตสำหรับขัติยราชรณยุทธ ทรงราชาวุธสรัพเสรจ์ก็เสดจ์ลงสู่เรือพระที่นั่งขจิตรพิมานกาญจน์มณีศรีสมรถไชย อันอำไภยด้วยบวรเสวตรฉัตรขนัดอภิรุมชุมสายพรายพรรณ บังพระสุริยันบังแทรกสลอนสลับ สรัพไปด้วยกันชิงกลิ้งกลดจามรมาศดาษดาดูมเหาฬารพันฦก อธึกด้วยกระบิธุชธงฉานธงไชยงามไสวไพรโรจด้วยเรือดั้งเรือกรร แลเรือท้าวพระยาสามนต์ราชเสนาบดีมนตรีมุขลูกขุนทั้งหลาย รายเรียงเปนระยะโดยกระบวรพยุหบาตราหน้าหลังพรั่งพร้อมเสรจ์ ภอได้อุดมฤกษเวลาพระโหราธิบดีก็ลั่นฆ้องไชย ราชครูบริโสดมพรหมพฤกฒาจาริยเป่ามหาสังขทักขิณาวัฎ เจ้าพนักงานประโคมแตรลังขดุริยางคดนตรีฆ้องกลองนี่สนั่น บันลืลั่นศรับทสำเนียง เสียงพลโยธาหาญโห่ร้องสท้านสเทือนท้องนัทธี ให้เคลื่อนเรือพระที่นั่งศรีวรสุพรรณหงษ อันทรงพระพุทธปฏิมาสมญาพระไชยนั้นไปก่อน แล้วก็ขยายพยุหบาตราคลาเคลื่อนเลื่อนตามขบวนบรมราชพยุหสงครามไปตามลำดับชลมารคตราบเท่าถึงเมืองเถิน ก็ขึ้นประทับแรมอยู่ที่นั่นคืนหนึ่ง จึ่งเสดจ์ทรงช้างพระที่นั่งพังกินรวิหก พยุหบาตราโยธาหารไปโดยสถลมารควิถีถึงเมืองลำพูน แล้วให้หยุดกองทับยับยั้งตั้งตำหนักทับพลับพลาอยู่ในที่นั้น จึ่งสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชดำรัศให้มีตราตอบขึ้นไปยังกองทับว่า ทับหลวงเสดจ์พระราชดำเนิรยกมาช่วย กองทับที่ล้อมเมืองเชียงใหม่นั้นให้ล้อมมั่นไว้อย่าเภอหักเอาเมืองก่อน แลให้คอยท่าทับหลวงกว่าจะเสดจ์ขึ้นไปถึง จึ่งจะหักเอาเมืองต่อภายหลัง ๚ะ๏ ฝ่ายเจ้าพระยาโกษา แลท้าวพระยานายทับนายกองทั้งหลาย ได้แจ้งในท้องตราดั่งนั้นแล้ว ก็ให้ตั้งค่ายหลวงแลที่ประทับพลับพลาไว้คอยรับเสดจ์ในที่อันสมควร แล้วก็ให้กราบทูลเชิญเสดจ์พระราชตำเนิรขึ้นมายังเมืองเชียงใหม่ จึ่งพระบาทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าช้างเผือก ก็เสดจ์ยกพยุหบาตราโยธาทับหลวงขึ้นไปถึงเมืองเชียงใหม่ แลเสดจ์ประทับอยู่ ณะค่ายอันกองทับทำไว้รับเสดจ์นั้น จึ่งเจ้าพระยาโกษาธิบดี แลท้าวพระยานายทับนายกองทั้งหลาย ก็มาเฝ้าณะค่ายหลวงกราบทูลข้อราชการทั้งปวงให้ทราบ แล้วก็แวดล้อมรักษาพระองคโดยรอบ แลเอาแรงช้างม้าพลานิกร เดิรเท้าให้หายเหน็จเหนื่อยเมื่อยล้าลำบากกาย ๚ะ๏ ฝ่ายลาวชาวเมืองเชียงใหม่ทั้งหลายต้านต่อทับไทยมิได้ ก็ให้ครั่นคร้ามขามกลัวสยดสยองไปสิ้นทั้งเมือง แลพระยาแสนหลวงเจ้าเมืองนั้น ก็สดุ้งตกใจกลัวทับไทยยิ่งนัก จะรบก็เหลือกำลังที่จะต้านทานได้ จะหนีก็เหนไม่พัน ครั้นจะออกอ่อนน้อมยอมถวายเมืองเล่า ก็กลัวตาย ได้ทำความชั่วกลับกลอกมาเปนหลายครั้งแล้ว ให้จนจิตรสิ้นความคิดมิรู้ที่จะทำประการใด ก็นิ่งรักษาแต่เมืองไว้ตามบุญ เผื่อกุศลจะมาช่วยอุดหนุนบ้าง ก็ภอจะช่วยให้พ้นไภย จึ่งบอกหนังสือขึ้นไปยังเมืองอังวะ ขอกองทับให้ยกลงมาช่วย แล้วได้ยินศรับทสำเนียงเสียงช้างม้าพลาพลเดิรเท้าแห่งข้าศึก กึกก้องโกลาหนหนักขึ้น ก็ให้ขึ้นดูบนพระเจดียใหญ่อันประดิษฐานอยู่ณะกลางเมือง จึ่งเหนรี้พลช้างม้าฆ่าศึกเปนอันมาก ยกหนุนมาตั้งค่ายใหญ่อยู่ใหม่ในทิศอาคะเน ก็ยิ่งสดุ้งตกใจกลัวทับไทยยิ่งนัก จึ่งเร่งให้ตกแต่งการป้องกันเมืองทั้งกลางคืนกลางวันเปนสามารถ แลให้เอาไม้ทรุงทั้งหลาย มาผูกแขวนรายไว้ที่บนใบเสมากำแพงเมืองนั้นโดยรอบ แล้วจะได้ตัดให้ตกลงไปทับฆ่าศึก แล้วให้ตั้งกะทะคั่วกรวดทรายปูนผง แล้วเคี่ยวน้ำมันยางไว้ให้ร้อนจงทุก ๆ น่าที่ สำหรับจะหว่านซัดสาดราดเทลงไปให้ถูกต้องฆ่าศึกล้มตาย ขณะเมื่อจะยกเข้ามาป่ายปีนกำแพงปล้นเอาเมืองนั้น อย่าให้ทำการได้ถนัด แลจัดแจงการทั้งปวงไว้พร้อมเสรจ์ แล้วก็คอยกองทับเมืองอังวะจะยกลงมาช่วยฤๅประการใด ๚ะ๏ ฝ่ายพม่าเมืองอังวะได้แจ้งในหนังสือบอกเมืองเชียงใหม่ดังนั้นแล้ว ก็ให้คิดเขดขามคร้ามฝีมือศึกไทยยิ่งนัก แลมิอาจลงมาช่วยเมืองเชียงใหม่ได้ ในขณะทับหลวงมาตั้งอยู่ได้เจดวัน ภอรี้พลช้างม้าหายเหน็จเหนื่อยเลื่อยล้าแล้ว จึ่งเจ้าพระยาโกษาธิบดีกราบทูลพระกรุณา จะขอยกเข้าแหกหักเอาเมืองเชียงใหม่ สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวก็ดำรัสให้พระโหราหาฤกษ แล้วมีพระราชกำหนดให้ท้าวพระยามุขมนตรีนายทับนายกองทั้งปวง ตรวจจัดช้างม้าพลาพลเดิรเท้า แลทหารคนดีมีวิชาทั้งหลาย ให้พร้อมไว้แต่ในห้าวัน แลกระทำบันไดน้อยใหญ่กว่าพันอันสำหรับจะป่ายปีนปล้นเมือง แลซึ่งช้างทั้งหลายนั้นก็ให้ทำเกือกหนัง เสื้อหนัง น่าหร้าหนัง ใส่ครบทุก ๆ ตัว แลพลโยธาหารนั้น ก็ให้ตกแต่งกายสรวมใส่หมวกแลเสื้อแลรองท้าวล้วนทำด้วยหนังสิ้น แลให้พูนดินขึ้นเปนป้อมสูงเทียมกำแพงเมืองในที่มุมเมืองทั้งสาม แลหว่างกลางทั้งสามนั้น เปนหกแห่งด้วยกัน แลให้เอาปืนใหญ่ขึ้นตั้งจังก้ายิงเข้าไปตามเชิงเทินจงทุกป้อม อย่าให้ชาวเมืองอยู่รักษาน่าที่ได้ถนัด เร่งจัดแจงตกแต่งตระเตรียมการทั้งปวงให้พร้อมไว้จงทุกหมวดทุกกอง แลกำหนดวันคืนเพลาสัญญาอานัต ให้คอยดูท่วงทีดวงพลุะเปนสำคัญฤกษอันจะยกเข้าหักเอาเมืองนั้น ๚ะ๏ จึ่งท้าวพระยามุขมนตรีนายทับนายกองทั้งหลาย ได้แจ้งพระราชกำหนดดังนั้น ก็เร่งตกแต่งเตรียมการทั้งปวงไว้พร้อมเสรจ์แล้ว ก็คอยดูดวงพลุะซึ่งเปนสำคัญฤกษนั้น ครั้นถึงศุภวารวิไชยฤกษเพลาสามยาม จึงพระราชครู พระครูปะโรหิตาจาริย ก็อันเชิญเสดจ์พระบาทบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงมุรธาภิเศกถวายอาเสียรพาศอวยไชย สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัว ก็สอดทรงเครื่องศิริราชอลังการสรรพาภรณสำหรับบรมกระษัตริย์ เสดจ์ประเวศน์งารพระราชสงครามเสรจ์เสดจ์ขึ้นเกยคอยฤกษ ภอได้อุดมฤกษพระโหราธิบดีก็ลั่นฆ้องไชย เจ้าพนักงานประโคมแตรสังขดุริยางคดนตรีฆ้องกลองกึกก้องกาหลนฤนารท พระบาทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าช้างเผือก ก็เสดจ์ทรงช้างต้นพลายหักสิบทิศ เปนพระคชาธารอันอลังการด้วยเครื่องสูง แลธงฉานธงไชยดูไสวไพรโรจด้วยช้างดั้งช้างกันแซรกแซรงสลับค่ายค้ำพังคา อันท้าวเสนาบดีพิริยโยธาพลาพลพฤนพรั้งพร้อมห้อมล้อมเสดจ์พระราชดำเนิร แลดำรัศให้จุดเพลิงพลุะขึ้นเปนสำคัญฤกษ ๚ะ๏ ฝ่ายท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวงเหนดวงพลุะดั่งนั้น ก็ขับพลคชาโยธาหารทั้งหลาย ล้วนแต่งกายสรวมใส่เครื่องหนังมือถือหอกแลทวน สำหรับจะรับไม้ซุงแลถือเขนถือโล่ฝาโพล่ฝาแฟ้ม สำหรับจะป้องกันกรวดทรายปูนผงแลน้ำมันยางอันร้อน ซึ่งชาวเมืองจะซัดราดเทลงมานั้นถ้วนทุกตัวคน แลโห่สนั่นบันฦๅศรับทสำเนียงเสียงฆ้องกลองศึกสท้านเสทือน เพียงแผ่นดินจะไหว ยกเข้าไปจะแหกหักเอาเมืองทุก ๆ น่าที่ จึ่งสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสดจ์มาอยุดยืนพระคชาธาร มีพระราชโองการตรัสให้ท้าวพระยานายทับนายกองทั้งหลายขับพลทหารเอาบันไดน้อยใหญ่พาดกำแพงเมืองป่ายปีนขึ้นไป แลให้วางปืนใหญ่ระดมเข้าไปตามเชิงเทินเมืองนั้นทุกป้อมพร้อม ๆ กัน ๚ะ๏ ายพลลาวชาวเมืองซึ่งรักษาน่าที่เชิงเทินปราการทั้งหลายนั้น ก็ต้องปืนใหญ่ล้มตายเปนอันมาก แลต้านทานอยู่มิได้ก็ถอยลงไปจากน่าที่บ้าง ๆ ก็ต้านทานอยู่ได้บ้าง แลตัดเชือกซึ่งผูกไม้ซุงแขวนไว้ตามใบเสมากำแพงนั้นให้ตกลงไปทับฆ่าศึก บ้างก็หว่านซัดกรวดทรายปูนผงอันร้อน แลรดสาดราดเทน้ำมันเดือดลงไปให้ถูกต้องพลฆ่าศึกอันป่ายปีนขึ้นมานั้น แลต่อรบป้องกันเมืองอยู่เปนสามารถ ๚ะ๏ ฝ่ายพลทหารไทยก็รับไม้ซุงด้วยปลายหอกปลายทวน แลมากด้วยกันก็ทานไว้ได้ผ่อนให้ตกลงแต่เบา แลเอาเขนโล่ฝาโพล่ฝาแฟ้มทั้งหลาย ขึ้นป้องกันรับกรวดทรายปูนผงอันร้อน แลน้ำมันยางเดือดซึ่งชาวเมืองซัดสาดราดเทลงมานั้น ให้ถูกต้องแต่น้อยภออดทนได้ แลพลทหารไทยแสนหนึ่งมิพึงจะท้อถอย เยียดยัดหนุนเนืองกันเข้าไป ดุจคลื่นในห้องพระมหาสมุด ชาวเมืองสุดที่จะต้านทานได้ ก็ขึ้นบนบันไดป่ายปีนกำแพงเข้าไปได้ในเมืองพร้อมกันทุก ๆ น่าที่ แล้วก็ไล่พิฆาฏฆ่าพลลาวชาวเมืองทั้งหลายล้มตายเปนอันมาก แลได้เมืองเชียงใหม่ในเพลารุ่งขึ้นวันนั้น แล้วก็ไล่จับพระยาแสนหลวงเจ้าเมือง แลบุตรภรรยาญาติวงษได้สิ้น แลได้ครัวตัวแสนท้าวพระยาลาวเสนาบดีทั้งหลาย แลครอบครัวอพยพชาวเมืองทั้งปวงเปนอันมาก ได้ช้างม้าเครื่องสาตราวุธปืนใหญ่ปืนน้อยแลสิ่งของต่าง ๆ ก็มาก แล้วก็คุมครอบครัวส่งออกไปยังค่ายหลวงสิ้น จึ่งเจ้าพระยาโกษาธิบดี ก็จัดสันเอาบุตรีเจ้าเมือง แลบุตรีท้าวพระยาเสนาลาวทั้งหลาย ที่มีศรีรูปอันงามนั้น เข้ามาถวายสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัว แล้วก็ทรงเลือกบุตรีเจ้าเมืองไว้เปนนางพระสนม แลซึ่งบุตรีแสนท้าวพระยาลาวทั้งหลายนั้น ก็ทรงแจกพระราชทานให้แก่ท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวงทั่วกัน แลเสดจประทับยับยั้งอยู่ที่นั่น ประมาณสิบห้าเวนกว่าหัวเมืองจะสงบ ก็ส่งไปบ้านเมือง แลหัวเมืองทั้งหลายซึ่งขึ้นแก่เมืองเชียงใหม่เปนปรกติแล้ว จึ่งเลิกทับหลวงกวาดเอาครอบครัวลาวเชลยทั้งหลายที่ตีได้นั้น ก็เสดจพระราชดำเนิรกลับมาโดยทางสวรรคโลกย์ก็เสดจ์ประทับแรมอยู่ณะเมืองศุโขไทยสิบห้าวัน แลดำรัสให้กองทับท้าวพระยาหัวเมืองปากใต้ทั้งหลายสองหมื่นเสศ คุมเอาช้างม้าพลาพลเดิรท้าวอันป่วยเจ็บทุพลภาพ แลครอบครัวลาวเชลยทั้งหลายอันตีได้นั้น แยกไปลงทางท่าเรือเมืองกำแพงเพชรแล้ว ก็เสดจ์กรีธาพลาพลทับหลวงจากเมืองศุโขไทย มาโดยลำดับมารควิถีถึงเมืองพระพิศณุโลกย แล้วเสดจ์พระราชตำเนิรไปยังพระอาราม วัดพระศรีรัตนมหาธาตุถวายนมัศการพระพุทธปติมากร พระชินราช พระชินสีห์ ด้วยเบญจางค์ประดิษฐ แล้วกระทำมหาสการบูชา แล้วเล่นการมหรสพสมโพชสามวัน แลเสดจ์ประทับยับยั้งอยู่เมืองพระพิศณุโลกยเจดวัน จึ่งดำรัสให้กองทับยกแยกลงไป แล้วก็เสดจ์พระราชตำเนิรจากเมืองพระพิศณุโลกย์ มาโดยชลมารคด้วยพระชลวิมาน พร้อมด้วยเรือท้าวพระยาเสนาบดีพิริยโยธาหาร แห่แหนเปนขนัด โดยขบวนพยุหบาตราหน้าหลังเสรจ์ ก็เสดจ์ถึงกรุงเทพมหานครบวรทราราวดีศรีอยุทธยา แลเสดจขึ้นสู่พระราชวังบวรสฐานมงคล ทรงพระกรุณาพระราชทานรางวัลแก่เจ้าพระยาโกษา แลท้าวพระยานายทับนายกองทั้งหลายเปนอันมาก ตามลำดับถานาศักดิ ๚ะ๏ จำเดิมแต่นั้นมา พระราชกฤษฎาเดชานุภาพแห่งพระบาทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ฦๅชาปรากฎไปทั่วทิศานุทิศ ประเทศธาณีใหญ่น้อยทั่วบรรดาขัติยราชดัษกร ก็สยบสยอนครั่นคร้ามขามพระเดชพระคุณเปนอันมาก มิอาจกระทำย่ำยีบีทาต่อพระนครศรีอยุทธยาได้ กรุงเทพมหานครครั้งนั้นก็เกษมศุขสมบูรณ์ยิ่งนัก ๚ะ๏ ในขณะนั้นพระเพทราชาจางวางกรมช้าง เปนชาวบ้านพลูหลวงแขวงเมืองสุพรรณ์บูรี มีบุญญาธิการมาก แลกระทำราชการชำนิชำนาญในการสิลปสาตขี่ช้างแกล้วกล้ายิ่งนัก แล้วก็มีฝีมือในสงคราม กระทำความชอบมาเปนหลายหนแล้ว ได้โดยเสดจ์งานพระราชสงครามครั้งเมืองเชียงใหม่นั้นด้วย สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาแก่พระเพทราชานั้น แล้วเมื่อเสดจ์พระราชตำเนิรมาจากเมืองเชียงใหม่นั้น พระองค์เสดจ์ทรงสังวาศด้วยราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ แลนางนั้นก็ทรงครรภขึ้นมา ทรงพระกรุณาละอายพระไทย จึ่งพระราชทานนางนั้นให้แก่พระเพทราชาแล้วดำรัศว่า นางลาวคนนี้มีครรภขึ้นมา เราจะเอาไปเลี้ยงไว้ในพระราชวัง ก็คิดละอายแก่พระสนมทั้งปวง แลท่านจงรับเอาไปเลี้ยงไว้ณะบ้านเถิด แลพระเพทราชาก็รับพระราชทานเอานางนั้นไปเลี้ยงไว้ณะบ้าน ๚ะ๏ ครั้นถึงปีขานจัตวาศก สมเดจ์บรมพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจ์พระราชตำเนิรขึ้นไปนมัศการพระชินราช พระชินสีห์ ณะเมืองพระพิศณุโลกย พระเพทราชาก็พาเอานางลาวมีครรภนั้นไปตามเสดจ์ด้วย ถึงตำบลโพประทับช้าง ภอครรภ์นางนั้นแก่ท่วนทศมาศได้ฤกษดี นางก็ประสูติบุตรชายกอปด้วยศริวรรณลักขณเปนอันดี บิดาให้นามบรรญัติชื่อเจ้าเดื่อ ครั้นอยู่มาค่อยรู้ความแล้ว ก็สำคัญเอาพระเพทราชาว่าเปนบิดา แลรักษใคร่สนิทติดพันท์จนไวยวัฒนาขึ้น ก็มีสติปัญญาแกล้วกล้าอาจหารยิ่งนัก จึ่งพระเพทราชาก็นำเอานายเดื่อผู้บุตรเลี้ยง เข้าไปถวายตัวเปนมหาดเล็ก แลให้กระทำราชการสนองพระเดชพระคุณ สมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระการุญภาพแก่นายเดื่อมหาดเล็กนั้นเปนอันมาก มีพระราชดำริหจะใคร่ให้เจ้าเดื่อรู้ตัวว่าเปนพระเจ้าลูกเธอ แลทรงพระกรุณาตำรัสให้เจ้าพนักงานเชิญเอาพระฉายมาตั้ง ก็ทรงส่องพระฉาย แล้วกวักพระหัถตรัสเรียกนายเดื่อมหาดเล็กเข้าไปให้ใกล้พระองค์ แล้วก็ตำรัศว่า เองจงดูเงาในกระจกเถิด นายเดื่อมหาดเล็กนั้นก็คลานเข้าไปส่องพระฉายด้วยพระองค์ ก็เหนเงาเหมือนดังนั้น แล้วก็มีพระราชโองการตรัสถามว่า เองเหนรูปเรากับรูบของเองนั้น เปนอย่างไรกันบ้าง จึ่งนายเดื่อมหาดเล็กก็กราบทูลพระกรุณาว่า รูปทั้งสองอันปรากฎอยู่ในพระฉายนั้น มีพรรณสัณฐานคล้ายคลึงกัน สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวตรัสได้ทรงฟังดังนั้น ก็ทรงเมตตาการุญภาพแก่นายเดื่อมหาดเล็ก ซึ่งเปนพระราชบุตรนั้นยิ่งนัก ทรงพระกรุณาดำรัสพระราชทานโอวาทานุศาสน แลใช้ในกิจราชการทั้งปวง แล้วพระราชทานเสื้อผ้าเข้าของเงินทองเปนอันมาก ๚ะ๏ ส่วนนายเดื่อมหาดเด็ก ก็รู้ตัวว่าเปนพระเจ้าลูกเธอ โดยพระราชอุบายในวันอันส่องพระฉายนั้น แลบังเกิดทิฐิมานะขึ้นเปนอันมาก ก็บริโภคโพชนาหารในพระสุพรรณภาชนะอันเหลือเสวยนั้น แลเอาพระภูษาทรง ซึ่งเจ้าพนักงานตากไว้นั้นมานุ่งห่ม ผู้ใดจะว่ากล่าวก็มิฟัง แต่ทำดั่งนั้นเปนหลายครั้ง จึ่งเจ้าพนักงานทั้งหลาย ก็เอาเหตุนั้นขึ้นกราบทูลพระกรุณา สมเดจพระเจ้าอยู่หัวตรัสได้ทรงฟังดั่งนั้นก็มิได้ถือ ดำรัสว่าไอ้เดื่อนี้มันบ้า ๆ อยู่ อย่าถือมันเลย มันชอบใจสิ่งของทั้งนั้น จึ่งบริโภคนุ่งห่มตามทีมันเถิด ๚ะ๏ จำเดิมแต่นั้นมานายเดื่อจะปราถนาเอาสิ่งใด ก็ถือเอาสิ่งนั้นทุกประการ แลจะได้มีผู้ใดว่ากล่าวนั้นหามิได้ ในขณะนั้นช้างพลายส่อมตัวหนึ่ง เปนช้างเพชฆาฎสำหรับฆ่าคนโทษถึงตายร้ายกาจยิ่งนัก ถ้าแลตกน้ำมันแล้ว ถึงหมอช้างผู้ใดที่ดีขับขี่เข้มแขง ก็มิอาจสามารถจะขี่ไปลงน้ำได้ แลผูกตรึงไว้ที่โรงนั้น ครั้นอยู่มาวันหนึ่งนายเดื่อมหาดเลกรู้เหตุดั่งนั้น ก็ไปยังโรงช้างพลายส่อม แลจะขึ้นขี่พลายส่อมเอาไปลงน้ำให้จงได้ หมอควานทั้งหลายห้ามก็มิฟัง แลเข้าแก้เอาจากตะลุง แล้วก็ขึ้นขี่เอาไปลงน้ำได้โดยสดวก ด้วยบุญาเปนมหัษจรรย์ แลอานุภาพสรรพเวทมนตร์คาถาวิชาคุณ อันภาวะนานั้นด้วยดี จะได้เปนอันตรายนั้นหามิได้ ส่วนพระหลวงขุนหมื่นกรมช้างทั้งหลาย ก็เอาเหตุนั้นขึ้นกราบทูลพระกรุณา สมเดจพระเจ้าอยู่หัว ตรัสทราบเหตุดั่งนั้น ก็ตกพระไทย จึ่งดำรัสให้กรมช้างทั้งหลาย ผูกช้างพังหลายเชือก พร้อมไปด้วยเชือกบาศเร่งรีบไปช่วยโดยเรว ภอนายเดื่อเอาช้างพลายส่อมไปลงน้ำ แล้วกลับขึ้นมาถึงโรงได้โดยปรกติ แล้วผูกไว้ณโรงดังเก่า แล้วกรมช้างทั้งหลายก็กลับเอาเหตุมากราบทูลพระกรุณาให้ทราบ พระบาทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ตรัสทราบประพฤติเหตุอันนายเดื่อขี่ช้างพลายส่อมได้ ปราศจากไภยันตรายดังนั้น ก็ทรงปรีดีโสมนัศ จึ่งดำรัศให้หานายเดื่อมหาตเลกเข้ามาเฝ้า แล้วก็มีพระราชโองการตรัสว่า ตัวเองขี่ช้างแกล้วกล้าเข้มแขงนัก เองจงเปนหลวงสรศักดิ์ไปช่วยราชการบิดาแห่งเองในกรมช้างเถิด จำเดิมแต่นั้นมานายเดื่อก็เปนหลวงสรศักดิ์ กระทำราชการสนองพระเดชพระคุณข้างกรมช้าง ๚ะ๏ ครั้งนั้นพระบาทบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจพระราชดำเนิรขึ้นไปยังเมืองลพบุรีเนือง ๆ แลเสดจไปประพาสตำบลสระแก้ว แล้วให้กระทำพระราชวัง ณเมืองลพบุรี แลเสดจสำราญพระไทยอยู่ในที่นั่น แล้วก็เสดจพระราชดำเนิรไปประภาศชมพนัศพนาวรรณ์พิศาลสิขรเขตวิเสศด้วยพันรุกขชาติ ร่มรื่นระหงระโหถานแถวเถื่อนทุรถยา สรรพด้วยสกุณปักษานาๆสัตวจัตุบาทบันเทิงเลลิงลานพระไทย แลทรงพระกรุณาดำรัศให้ทำคลองปากจั่นออกจากสระแก้ว ตรุสีลายาปูนเปนอันดี แล้วให้ขุดเปนคลองไขน้ำมาแต่ทะเลชุบษร ตราบเท่าถึงคลองปากจั่นสระแก้วนั้น แล้วให้ตั้งพระนิเวศไว้ในที่นั้น แลเสดจไปประพาสตำบลนั้นเนือง ๆ แล้วก็เสดจกลับยังพระราชวัง แลเมืองลพบุรีก็สนุกนิ์ศุขสำราญ เปนพระบรมราชนิเวศสถานขึ้นในครั้งนั้น ๚ะ๏ จึ่งสมเดจบรมบาทพระนารายน์ราชบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชโองการดำรัศสั่งช่างเจ้าพนักงาน จับการก่อพระมหาปราสาทสองพระองค์ ครั้นเสรจแล้วก็พระราชทานนามบรรญัติ ชื่อพระที่นั่งสุธาสรรย์องค์หนึ่ง พระที่นั่งหิรัญมหาปราสาทองค์หนึ่ง แล้วทรงพระกรุณาให้ปะฏิสังขรณ์พระอุโบสถ วิหาร มะหาธาตุ เจดีย์ แลกุฏีสาลาในอารามทั้งหลายทั่วจังวัดเมืองลพบูรีที่ชำรุดปรัคนั้น ให้ถาวรณ์ขึ้นดั่งเก่าแล้วเสรจ์ แลพระองค์เสดจ์อยู่ ณะเมืองลพบูรีในเหมันต์ระดูแลคิมหันต์ระดู แลเสดจ์ลงมาประทับอยู่ณะกรุงเทพมหานคร แต่เทศกาลวรรษระดู สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวเสดจ์เสวยไอยสวรรยาธิปัดถวัลยราชณะเมืองลพบูรี แลพระนครศรีอยุทธยา เปนศุขานุศุขยิ่งนัก ๚ะ๏ พระบาทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว มีพระราชโอรสองค์หนึ่ง ทรงพระนามเจ้าฟ้าน้อย ครั้นโสกรรต์แล้วพระราชทานพระนามชื่อเจ้าฟ้าอะไภยทศ แลทรงพระกรุณาโปรดให้อยู่ณะพระตำหนักวังหลัง แลพระองค์มีพระราชบุตรีองค์หนึ่ง ทรงพระกรุณาโปรดให้เปนกรมหลวงโยธาเทพ แลซึ่งสมเดจ์พระบรมราชภคินีนั้น ทรงพระกรุณาโปรดให้เปนกรมหลวงโยธาทิพ แลเสดจอยู่ณะพระตำหนักตึกในพระราชวัง ๚ะ๏ ครั้งนั้นพระยาวิชาเยนทร์ฝรั่ง กระทำราชการดีมีความชอบมากขึ้น ทรงพระกรุณาโปรดให้เลื่อนที่ขึ้นเปนเจ้าพระยา แลให้บังคับราชการว่าที่สมุหนายก แลทรงพระกรุณาโปรดให้พระยารามเดโชออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราช ให้พระยารามขึ้นไปครองเมืองนครราชสีมาคราวกันนั้น ๚ะ๏ ส่วนเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ผู้ว่าราชการที่สมุหนายก ให้ก่อตึกสี่เหลี่ยมอันใหญ่ แลตึกเวียนมีกำแพงแก้วล้อมรอบเปนที่อยู่ แลให้ก่อตึกปิจุตึกคชสาร แลตึกฝรั่งอื่นทั้งหลายเปนอันมากตำบลที่ใกล้วัดปืน แลคิดอ่านกระทำการทั้งปวงต่าง ๆ ปราฐนาจะคิดเอาราชสมบัติ แลจะทำกลอุบายที่จะประทุศร้ายเปนประการใด ๆ สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวเข้าพระไทย แต่มิได้เอาโทษ ด้วยเจ้าพระยาวิชาเยนทร์เอาใจใส่ในกิจราชการทั้งปวงเปนอันมาก แลศึกเอาภิกษุ สามเณร มากระทำราชการทั้งปวง ครั้งนั้นก็มาก ขณะนั้นสมเดจ์บรมบพิตรพระนารายน์เปนเจ้า ทรงพระนามปรากฏว่าสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวเมืองลพบูรี เหตุว่าพระองค์เสดจ์ขึ้นไปเสวยราชสมบัติณะเมืองลพบุรี แลทรงพระกรุณาให้ตกแต่งปฏิสังขรณ์ป้อมค่ายหอรบเชิงเทินปราการเมือง แลสระน้ำที่เสวยแลที่ชำรุดปรักนั้นเสรจ์ แลพระองค์เสดจ์สำราญราชฤๅไทยในที่นั้น ๚ะ๏ ส่วนหลวงสรศักดิ์ ครั้นเหนเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ สึกเอาภิกษุ สามเณร ออกมากระทำราชการเปนอันมาก ให้ร้อนในพระพุทธสาศนาดั่งนั้น ก็เอาเหตุนั้นขึ้นกราบทูลพระกรุณา สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวตรัสทรงทราบเหตุดั่งนั้น ก็มิได้เอาโทษแก่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ แลมิได้ตรัสเปนประการใด แลหลวงสรศักดิ์จึ่งคิดว่า ไอ้ฝรั่งคนนี้มันโปรดปรานยิ่งนัก จะกระทำผิดสักเท่าใด ๆ ทรงพระกรุณามิได้เอาโทษ แลกูจะทำโทษมันเองสักครั้งหนึ่ง จึ่งเข้าไปคอยเจ้าพระยาวิชาเยนทร์อยู่ที่เคยนั่งว่าราชการในพระราชวังนั้น ครั้นเช้าเจ้าพระยาสมุหนายกฝรั่งเข้าไปในพระราชวัง แล้วก็นั่งว่าราชการในที่นั้น แลหลวงสรศักดิ์เหนได้ทีก็เข้าชกเอาปากเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ฟันหักสองซี่ แล้วก็หนีออกไปยังบ้าน แลลงเรือเร็วรีบล่องลงไปยังกรุงเทพมหานคร ส่วนเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ เมื่อหลวงสรศักดิ์ชกเอานั้นล้มลงอยู่ ครั้นได้สะติแล้ว ก็ลุกขึ้นแลบ้วนฟันออกเสียแล้ว ก็เข้าไปเฝ้าสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัว มีโลหิตไหลออกจากปากพลางทางกราบทูลว่า อาญาเปนล้นเกล้า บัดนี้หลวงสรศักดิ์ชกเอาปากข้าพระพุทธเจ้าฟันหักสองซี่ ข้าพระพุทธเจ้าสิ้นสมปฤๅดีล้มสลบลงอยู่ปิ้มประหนึ่งจะถึงแก่สิ้นชีวิตร ข้าพระพุทธเจ้าได้ความเจบอาย แก่ข้าราชการทั้งหลายเปนอันมาก ขอทรงพระกรุณาโปรดลงพระราชอาญา แก่หลวงสรศักดิ์จงหนัก แล้วข้าพระพุทธเจ้าจึ่งจะสิ้นความเจบอาย สมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ตรัสได้ทรงฟังดังนั้น ก็ทรงพระพิโรธแก่หลวงสรศักดิ์ จึ่งดำรัศแก่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ว่า ท่านเถลาะวิวาทกับมันฤๅประการใด จึ่งเจ้าพระยาวิชาเยนทร์กราบทูลพระกรุณาว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะได้เถลาะวิวาททุ่งเถียงกับหลวงสรศักดิ์สิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นหามิได้ สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวตรัสได้ทรงฟังดังนั้น ก็ยิ่งทรงพระพิโรธนัก จึ่งดำรัสสั่งตำรวจให้ไปเอาตัวหลวงสรศักดิ์เข้ามา ขุนหมื่นตำหรวจรับพระราชโองการแล้ว ก็รีบออกไปเอาตัวหลวงสรศักดิ์ณะบ้าน ครั้นไม่ได้ตัวแล้ว ก็กลับเข้ามากราบทูลพระกรุณาให้ทราบ จึ่งมีพระราชดำรัศให้ตำหรวจทั้งหลายไปเที่ยวหาตัวหลวงสรศักดิ์มาให้จงได้ แล้วมีพระราชโองการตรัสแก่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ว่า ท่านจงยับยั้งอยู่ เราจะหาตัวมันให้ได้ก่อน ๚ะ๏ แลเจ้าพระยาวิชาเยนทร์เข้ามาเฝ้าขณะใด ก็กราบทูลกล่าวโทษหลวงสรศักดิ์เพิ่มเติมขึ้นทุกครั้ง จึ่งสมเดจ์พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงพระวิจารณ์ในขณะดีนั้น แลทรงพระราชตำริหระฦกถึงถ้อยคำอันหลวงสรศักดิ์กราบทูลกล่าวโทษเจ้าพระยาวิชาเยนทร์แต่ครั้งก่อนนั้น ก็เหนว่าเจ้าพระยาวิชาเยนทร์กระทำผิดจริง จึ่งดำรัสว่าอ้ายเดื่อมันเหนโทษท่านทำผิด จึ่งชกให้ได้ทุกขเวทนา แลเราจะมีโขนโรงใหญ่ทำขวัญให้แก่ท่าน ๚ะ๏ ส่วนเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ก็มิได้เตมใจโดยพระราชดำรัศนั้น แลกราบทูลพระกรุณา ขอแต่ให้ทำโทษหลวงสรศักดิถ่ายเดียว ๚ะ๏ ฝ่ายหลวงสรศักดิ์ก็ไปเฝ้าเจ้าแม่วัดดุสิด ซึ่งเปนมารดาเจ้าพระยาโกษาเหล็ก เจ้าพระยาโกษาปาน แลเปนพระนมผู้ใหญ่ของสมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวนั้น แลถวายบังคมแล้ว ก็กราบทูลแถลงการณ์อันเจ้าพระยาวิชาเยนทร์กระทำให้ร้อนในพระพุทธสาศนาเหมือนดั่งนั้น แลได้กราบทูลพระกรุณาแล้วก็มิได้เอาโทษ ข้าพระพุทธเจ้ามีความโทมณัศถึงพระพุทธสาศนา อันเจ้าพระยาวิชาเยนทร์จะทำพระพุทธสาศนาให้พินาศเสื่อมสูญดั่งนั้น จึ่งชกเอาปากเจ้าพระยาสมุหนายก แล้วก็หนีลงมา แลบัดนี้สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธจะลงพระราชอาญาแก่ข้าพระพุทธเจ้า ขอจงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม อัญเชิญเสดจ์ขึ้นไปขอพระราชทานโทษข้าพระพุทธเจ้าครั้งหนึ่งเถิด ๚ะ๏ จึ่งเจ้าแม่ผู้เถ้าได้ทรงฟังดั่งนั้นก็เหนโทษ อันเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ทำผิด จึ่งเสดจ์ด้วยเรือพระที่นั่งขึ้นไปยังเมืองลพบูรี แลเสดจ์ถึงฉนวนน้ำประจำท่า ก็ภาหลวงสรศักดิ์ขึ้นไปยังพระราชวัง แลให้ยับยั้งอยู่นอกลับแลก่อน แล้วก็เสดจ์เข้าข้างใน แลสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวตรัสทอดพระเนตรเหนแล้ว ก็กระทำปจุคมนาการเชิญเสดจ์ให้สถิตย์ร่วมราชาอาศน์ แลยกพระหัถอัญชลีแล้ว ก็ดำรัศถามว่า พระมารดาขึ้นมาด้วยธุระสิ่งใด จึ่งเจ้าแม่ผู้เถ้ากราบทูลโดยเหตุทั้งปวงนั้น ให้ทราบสิ้นทุกประการ สมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ตรัสทราบเหตุดั่งนั้นแล้ว ก็มีพระราชโองการให้หาหลวงสรศักดิ์มาเฝ้า แล้วก็ตำรัสบริภาษเปนอันมาก แลเจ้าแม่ผู้เถ้ากราบทูลขอพระราชทานโทษ ก็ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานให้ แล้วตรัสบอกประพฤติเหตุทั้งปวง อันหลวงสรศักดิ์ทำแก่เจ้าพระยาวิชาเยนทรนั้น ให้แก่เจ้าแม่ผู้เถ้าฟังทราบสิ้นทุกประการ แล้วตำรัสให้ยับยั้งอยู่ณะพระราชวังสองสามวัน แลทรงปรฏิบรรติด้วยเคารพย์เปนอันดี แล้วก็อัญเชิญเสดจ์กลับลงไปยังกรุงเทพมหานคร ๚ะ๏ ในขณะนั้นท้าวพระยาข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งหลาย จำเดิมแต่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ว่าราชการที่สมุหนายกนั้น ก็มิได้เตมใจจึ่งปฤกษากันว่า ข้าราชการทั้งปวงที่มีสติปัญญาสรรจ์ซื่อมั่นคง ควรที่จะเลี้ยงเปนอัคมหาเสนาธิบดีได้นั้น ก็ภอจะมีอยู่บ้าง แลทรงพระกรุณามิได้ชุบเลี้ยงขึ้น แลมาโปรดปรานพระราชทานที่สมุหนายก ให้แก่อ้ายฝรั่งลูกค้าต่างประเทศอันมิได้ซื่อสรรจ์ คิดประทุศร้ายในลอองธุลีพระบาทอยู่ดั่งนี้ ก็มิบังควรยิ่งหนัก แลถ้อยคำว่าดังนี้ ก็ปรากฎมีเนือง ๆ จนทราบถึงพระกรรณ์ สมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสทราบเหตุดังนั้น ก็มีพระราชดำริห์จะแก้ความคระหาแห่งข้าราชการทั้งปวง ด้วยทรงพระกรุณาเหนแท้ว่า เจ้าพระยาวิชาเยนทร์มีสติปัญญายิ่งกว่าข้าราชการทั้งสิ้น แล้วได้ของวิเสศต่าง ๆ ให้ทมิลฝรั่งเสศประเทศมาถวายเปนอันมาก จึ่งโปรดให้เปนอัครมหาเสนาธิบดีต่างพระเนตรพระกรรณ แลซึ่งจะประทุษร้ายนั้นทรงพระกรุณาเสี่ยงเอาพระบารมี จะได้สดุ้งพระไทยนั้นหามิได้ ๚ะ๏ ครั้นอยู่มาเพลาหนึ่ง สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวเสดจออกณะท้องพระโรงหลวง พร้อมด้วยมุขมาตยาเสนาธิบดีกระวีราชปะโรหิตาจารย เฝ้าอยู่เดียรดาษ มีพระราชดำรัสสำแดงสติปัญญาอันยิ่งแห่งเจ้าพระยาวิชาเยนทรให้ปรากฎ ๚ะ๏ จึ่งมีพระราชโองการตรัสสั่งท้าวพระยาข้าราชการทั้งปวงว่า ท่านทั้งหลายจงช่วยกันเอาปืนพระพิรุนขึ้นชั่งดู แลจะหนักสักกี่หาบ จึ่งท้าวพระยาข้าทูลลอองธุลีพระบาททั้งหลาย รับพระราชโองการแล้ว ก็ช่วนกันออกมาคิดอ่านการอันจะชั่งปืนนั้น แลจะทำตราชูชั่งให้ใหญ่ เอาสายโซร่ผูกแขวนขึ้นณไม้คันชั่งปักให้สูง แลจะเอาปืนขึ้นชั่งบลนั้น ก็เหนตราชูชั่งแลสายโซร่อันผูกนั้นจะทานไว้มิได้ ด้วยพระพิรุนบอกนี้ใหญ่หลวงนัก แลคิดอ่านประการใดก็สิ้นสะติปัญญา จึ่งเข้ามากราบทูลพระกรุณาโดยเหตุเหลือกำลังที่จะเอาขึ้นชั่งนั้นมิได้ ๚ะ๏ สมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวช้างเผือก ตรัสได้ทรงฟังดังนั้น จึ่งแย้มพระโอฐดำรัสสั่งเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ว่า ท่านจงออกไปชั่งปืนพระพิรุนให้รู้ว่าหนักสักเท่าใด จึ่งเจ้าพระยาวิชาเยนทร์รับพระราชโองการแล้ว ออกไปคิดอ่านการอันจะชั่งปืน แลให้เอาเรือนางเป็ดอันใหญ่หลายลำมาเทียบขนานกันณะท่าแล้ว ก็ให้ลากปืนพระพิรุณลงไปในเรือนางเป็ดที่ขนานนั้น แลเรือหนักจมลงไปเพียงใด ก็ให้หมายไว้เพียงนั้น แล้วก็ให้ลากปืนขึ้นมาเสียจากเรือ จึ่งให้ขนเอาอิดหักแลก้อนศิลามาชั่งให้ได้น้ำหนักเท่าใด ๆ แล้วก็ทิ้งลงไปในเรือตราบเท่าจนเรือจมลงไปถึงที่อันหมายไว้นั้น ก็รู้ว่าปืนพิรุนหนักเท่านั้น จึ่งเอาเหตุนั้นเข้ามากราบทูลพระกรุณาให้ทราบ พระบาทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสได้ทรงฟังดังนั้น ก็ทรงพระโสมนัศดำรัสสรรเสริญสติปัญญาเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ซึ่งเอาปืนขึ้นชั่งได้นั้นเปนอันมาก แล้วก็มีพระราชโองการตรัสแก่ท้าวพระยามุขมนตรีทั้งหลายว่า เมื่อเจ้าพระยาวิชาเยนทร์เขามีสะติปัญญายิ่งกว่าท่านทั้งปวงดังนี้ ฤๅจะมิให้เราเลี้ยงเขาเปนใหญ่กว่าท่านทั้งปวงเล่า แล้วก็ทรงพระกรุณาปูนบำเหนจ์พระราชทานสะเลียงงาให้เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ขี่ แล้วมีบโทนแห่หน้าสามร้อยสำหรับยศ แล้วทรงพระกรุณาโปรดให้นั่งเบาะสูงศอกหนึ่งขณะเมื่อเฝ้านั้น แลพระราชทานเครื่องอุปโภคเปนอันมาก จำเดิมแต่นั้นมาเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ว่าราชการสิ่งอันใดก็ยิ่งสิทธิขาดขึ้น แลคิดอ่านพิททูลสิ่งใด ก็ว่ากล่าวภอพระไทยทุกประการ ท้าวพระยาข้าทูลลอองธุลีพระบาททั้งหลาย ก็ยำเกรงยิ่งนัก ๚ะ๏ อยู่มาเพลาหนึ่ง จึ่งเจ้าพระยาสมุหนายกกราบทูลพระกรุณาว่า เมืองพระพิศณุโลกยเปนหัวเมืองใหญ่กว่าฝ่ายเหนือ แลที่ทางซึ่งจะรับราชศัตรูเพื่อจะมีมานั้น เหนมิสู้มั่นคง แลจะขอพระราชทานให้ก่อป้อมใหญ่ไว้สำหรับเมือง อนึ่งฝ่ายข้างปากใต้เล่า ขอให้ก่อป้อมใหญ่ไว้ณะเมืองทนบุรีทั้งสองฟากฝั่งน้ำ แลจะทำลายโซร่อันใหญ่ขึงขวางน้ำตลอดถึงกันทั้งสองฝั่งฟาก สำหรับจะป้องกันอรินราชไพรีจะมีมาทางทะเล สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสเหนชอบด้วย โดยถ้อยคำเจ้าพระยาวิชาเยนทร์กราบทูลนั้น แลทรงพระกรุณาดำรัสให้เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เปนแม่กองก่อป้อมณะเมืองพระพิศณุโลกย แลเมืองทนบุรีนั้น แล้วเสรจ์ทั้งสองตำบล ๚ะ๏ ครั้งนั้นพระบาทบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจทรงพระราชดำเนิรขึ้นไปนะมัศการพระพุทธบาททุกปี ๆ มิได้ขาด แลเสดจประทับอยู่ ณพระราชนิเวศธารเกษม ทรงพระกรุณาให้เล่นการมหรศภถวายพุทธบาทสมโพชสามวัน ตามโบราณราชประเพณีเสรจแล้ว ก็เสดจกลับยังเมืองลพบุรี แลดำรัศให้ตกแต่งทุบปราบสถลมารค แต่พระพุทธบาทมาโดยท้ายภุยกยุง แลท่าสิลา เปนทางหลวงตลอดตราบเท่าถึงเมืองลพบุรี แลให้ตกแต่งทางขุดทะเลชุบษรแลทางสระแก้ว แลทางท่าเรือตำบลพระตำหนักท่าเจ้าสนุก แลทรงพระกรุณาให้ปฏิสังขรณพระมณฑบพระพุทธบาท ที่ชำรุดปรักนั้นแล้วเสรจ แลพระองค์บำเพญพระราชกุศล เปนสาศนุปถัมภกโดยอเนกนุปการ ๚ะ๏ อยู่มาวันหนึ่งสมเดจพระเจ้าอยู่หัว เสดจพระราชดำเนิรไปประภาษณพระตำหนักตำบลสระแก้ว พร้อมด้วยมุขมนตรีทั้งหลายโดยเสดจพระราชดำเนิรที่นั้นเปนอันมาก แลเมื่อเสดจกลับเข้าในพระราชวัง พระองคเสดจทรงม้าพระที่นั่งบรมราชพาหน มีพรรณอันแดงประดับด้วยเครื่องราชูปโภคพร้อมเสรจ แลเสดจขับม้าพระที่นั่งเปนบาทอย่างเสทิน มาถึงน่าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จึ่งเสดจลงจากม้าพระที่นั่ง ๚ะ๏ มีพระราชโองการตรัสเรียกพระเพทราชาเข้ามา แล้วดำรัศว่า ท่านจงมาขี่ม้าแดงพยศตัวนี้ลองดูจะขี่ได้ฤๅไม่ได้ จึ่งพระเพทราชารับพระราชโองการกราบถวายบังคมแล้ว ก็เปลื้องผ้าส่านซึ่งเกี้ยวพุงนั้นออกปูทับพระยี่ภู่บนอานม้า เพื่อเคารพในลอองธุลีพระบาทมิได้นั่งร่วมราชาอาศนนั้น จึงขึ้นขี่ม้าพระที่นั่งขับย่างไป ฝ่ายตำรวจแห่น่าหลัง แลเจ้าพนักงานซึ่งถือเครื่องสูง แลกลองชนะแตรสังข์ทั้งหลาย ก็สำคัญว่าสมเดจพระเจ้าอยู่หัวเสดจพระราชดำเนิร จึ่งประโคมแตรสังข์เภรีมี่สนั่นนิฤนาท เคลื่อนฃยายพยุหยาตราเปนมหามงคลนิมิตรเหตุ อันพระเพทราชาจะได้เสวยราชสมบัติเปนบรมกระษัตริย์ผ่านธรณีนั้น แลพระเพทราชาเหนดั่งนั้นก็ตกใจ จึ่งลงเสียจากม้าพระที่นั่ง กราบถวายบังคมสมเดจพระเจ้าอยู่หัว ๆ ตรัสทอดพระเนตรเหนดั่งนั้น ก็ทรงพระสรวญว่า คนทั้งหลายเหล่านี้มันสำคัญว่าเรา แล้วเสดจกลับขึ้นทรงม้าพระที่นั่งไปยังพระราชวังนั้น พระบาทสมเดจบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจเสวยสวรรยาธิปัตถวัลยราชณเมืองลพบุรี แลพระมหานครศรีอยุทธยา เปนมหาบรมศุขสนุกนิ์มั่งคั่ง พรั่งพร้อมด้วยพลช้างพลม้าพลานิกรทวยหารล้วนแกล้วกล้าสามาท ปราศจากอรินราชไพรีมิได้มีมาย่ำยีบีทา ระอาพระเดชเดชานุภาพกฤษฎาธิการ แลพระองค์เสดจ์ผ่านพิภพศิริราชมไหสูริย์สันตติย์วงษ์ ดำรงราชอาณาจักรโดยยุติธรรมโบราณราชบรมกระษัตริย์สืบกันมา ฟ้าฝนก็ตกต้องตามระดูกาล ธัญญาหารก็บริบุรณ์ทั่วชนบท พระเกียรติยศคือฉัตรแก้วกั้นเกษทุกประเทศธาณีใหญ่น้อยทั้งปวง ซึ่งเปนข้าขอบขันทเสมาก็ผาศุกสมบูรณ์ยิ่งนัก ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๐๔๔ ปีจอจัตวาศก ขณะนั้นพระยาเสวตรกุญชรบรมคเชนทรฉัตรทันต์นั้น ป่วยลงถึงอนิจกรรม สมเดจพระเจ้าอยู่หัวทรงพระโทมนัสอาไลยในพระยาช้างเผือกนั้นเปนอันมาก จำเดิมแต่นั้นมาก็มิได้สบายพระไทยเลย จนทรงพระประชวรลงในปีนั้น แลพระโรคนั้นก็หนักลง จะทรงนั่งว่าราชการมิได้ ลำบากพระไทยหนัก จึ่งมีพระราชโองการตรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม โปรดให้พระเพทราชาว่าราชการแทนพระองค แลพระเพทราชาก็ไปว่าราชการแทนอยู่ตึกพระเจ้าเหา พร้อมด้วยท้าวพระยาเสนาบดีมุขมนตรีทั้งหลายเปนอันมาก แลให้มีตราไปทุกเมือง ให้เจ้าเมืองกรมการจัดแจงตรวจตราเลขหัวเมืองให้พร้อมไว้ แล้วให้ขัดด่านทางทุกตำบล เกลือกกฤติศรับทซึ่งทรงประชวรนั้นจะเลื่องฦๅไป หมู่อรินราชไพรีรู้แล้วก็จะกำเริบยกมาย่ำยีบีทาในแว่นแคว้น แล้วให้ตรวจตรากระเวรรักษาด่านแดนระวังการศึก แลให้พระเพทราชาว่าราชการครั้งนั้นโดยสุจริตจะได้คิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นหามิได้ ๚ะ๏ อยู่มาวันหนึ่งหลวงสรศักดิ์เข้าไปในพระราชวัง มิได้ไปฟังราชการณตึกพระเจ้าเหา แลไปนั่งอยู่ณทิมดาบ จึ่งเหนสมิงพะตะบะผู้เถ้า ก็เรียกให้เข้ามานั่งในที่นั้น แลสนทนากันด้วยกิจอื่น ๆ เปนอันมาก แล้วจึ่งถามสมิงพะตะบะว่าอย่างธรรมเนียมข้างรามัญประเทศ ถ้าพระเจ้าแผ่นดินทรงพระประชวรหนักจะถึงกาลทิวงคต แลพระราชบุตรพระราชนัดาวงศานุวงษ แลเสนาบดีจะคิดเอาราชสมบัตินั้น จะทำอย่างไร จึ่งสมิงพะตะบะก็บอกว่า อย่างธรรมเนียมข้างรามัญประเทศ ถ้าพระมหากษัตริยประชวรหนักจะสวรรคต แลผู้ใดจะคิดเอาราชสมบัตินั้นก็เร่งจัดแจงตระเตรียมผู้คนเครื่องสาตราวุธให้พร้อมไว้ แต่ยังมิทันสวรรคต ครั้นเหนจวนจะสวรรคตแล้ว ก็ยกจู่เข้าไปปล้นเอาราชสมบัติในเพลานั้น อย่าให้ทันคนอื่นรู้จึ่งจะได้โดยสดวก ถ้าแลผู้อื่นรู้การนี้แล้ว ก็จะมีความปราถนาในราชสมบัติบ้าง แลจะตระเตรียมผู้คนรบพุ่งช่วงชิงกันจะฆ่าฟันกันตายเปนอันมาก แล้วก็จะไม่สมคเณที่คิดไว้ แลจะได้เปนอันยากนัก หลวงสรศักดิ์ได้ฟังถ้อยคำสมิงพะตะบะบอกอุบายชี้แจงดั่งนั้น ก็มีความยินดีนักจึ่งว่า บัดนี้สมเดจพระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรหนัก เหนจะสิ้นพระชนมายุสวรรคาไลย ในสองสามวันนี้เปนแท้ แลตัวเราเปนพระราชโอรสมีความปราถนาในราชสมบัติ แลจะคิดอ่านเอาราชสมบัติ ท่านจะเข้าด้วยเราฤๅหาไม่ จึ่งสมิงพะตะบะก็ตอบว่า ถ้าท่านจะทำการจริงแล้ว ข้าพเจ้าก็จะช่วยคิดอ่านด้วย อย่าวิตกเลย หลวงสรศักดิ์เหนสมิงพะตะบะเข้าด้วยโดยสุจริตจริงแล้ว จึ่งถามว่า คนของท่านมีอยู่มากน้อยเท่าใด จึ่งสมิงพะตะบะบอกว่า มีอยู่สามร้อยเสศ หลวงสงศักดิ์จึ่งว่า ท่านจงตระเตรียมให้พร้อมไว้แต่ในสองสามวัน สรัพด้วยเครื่องสาตราวุธทั้งปวง แล้วจงซุ่มไว้อย่าให้ใคร ๆ รู้ แลสมิงพะตะบะรับคำแล้ว ก็ไปจัดแจงผู้คนแลเครื่องสาตราวุธไว้พร้อมเสรจทุกประการ ๚ะ๏ ครั้นค่ำประมาณยามเสศ หลวงสรศักดิ์ก็ขึ้นไปหาพระเพทราชาณจรน ยกมือไหว้แล้วจึ่งถามว่า บัดนี้เจ้าคุณได้ว่าราชการอย่างไร จึ่งพระเพทราชาก็บอกโดยกิจอันว่าราชการนั้น ให้แจ้งสิ้นทุกประการ หลวงสรศักดิ์จึ่งถามว่า เจ้าคุณว่าราชการบัดนี้จะเอาราชสมบัติเองฤๅ ๆ จะให้แก่ผู้ใด พระเพทราชาจึ่งบอกว่า ถ้าสมเดจพระเจ้าอยู่หัวสวรรคตแล้ว บิดาก็ถวายราชสมบัติแก่สมเดจพระเจ้าลูกเธอ ซึ่งเสดจอยู่ณะพระราชวังหลัง หลวงสรศักดิ์ได้ฟังดั่งนั้นจึ่งว่า ถ้าเจ้าคุณจะยอมให้แก่ผู้อื่นไซ้ ข้าพเจ้าก็ไม่เข้าด้วย พระเพทราชาได้ฟังถ้อยคำหลวงสรศักดิ์ว่าดั่งนั้น ก็เหนว่าจะกระทำการใหญ่จึ่งว่า เจ้าจะคิดอ่านกระทำเปนประการใด ๆ บิดาก็จะกระทำตามถ้อยคำทุกประการ หลวงสรศักดิ์จึ่งว่า ผู้คนทแกล้วทหารที่ร่วมใจของเรามีอยู่มากน้อยสักเท่าใด เจ้าคุณจงให้หาตัวมาให้สิ้น แลให้ตระเตรียมเครื่องสาตราวุธให้พร้อมมือกัน แล้วให้ซุ่มอยู่ณวัดแลบ้านทั้งหลาย แยกย้ายกันอยู่ อย่าให้การทั้งหลายเอิกเกริกเฟื่องฟุ้งไป แลเจ้าคุณจงจัดแจงการให้พร้อมไว้แต่ในสองสามวัน แล้วจึ่งส่งคนทั้งหลายไปยังสำนักนิ์ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะคิดอ่านเอาราชสมบัติให้ได้ แลพระเพทราชาก็เหนด้วยโดยความคิดทุกประการ แล้วหลวงสรศักดิ์ก็กราบลาไปยังบ้าน ๚ะ๏ ส่วนพระเพทราชาก็จัดแจงตระเตรียมผู้คน เครื่องสาตราวุธทั้งปวงพร้อมเสรจแล้ว ก็ส่งไปยังบ้านหลวงสรศักดิ์ แล้วก็ไปว่าราชการอยู่ ณ ตึกพระเจ้าเหา พร้อมด้วยท้าวพระยาข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งหลาย ประชุมกันอยู่ที่นั่น ทุกเพลาเช้าเย็นเปนนิจกาลมิได้ขาด ๚ะ๏ ขณะนั้นสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระประชารอยู่ณพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ แลพระโรคนั้นก็กำเริบมากขึ้น จะเสวยพระกระยาหารก็ไม่ได้ เกือบใกล้จะสวรรคตอยู่แล้ว แลหลวงสรศักดิ์คิดการนั้นด้วยหลวงทรงบาศกรมช้างขวาผู้หนึ่งเปนที่ไว้ใจได้ ๚ะ๏ ครั้นเหนภอจะทำการได้แล้ว จึ่งให้หาทแกล้วทหารทั้งหลาย แลรามัญพวกสมิงพะตะบะประมาณสามร้อยเสศ มาพร้อมกันแล้ว จึ่งสั่งว่าท่านทั้งหลายจงชวนกันไปลับอาวุธ แล้วจงแยกย้ายกันไปซุ่มอยู่ทางนั้นทางนั้น พร้อมกันแต่ในเพลาสายสามนาฬิกา แล้วจงทำอุบายเอาอาวุธซ่อนเข้าไปในพระราชวังให้จงได้ จงทำอย่าให้นายประตูเขาสงไสย ถ้าเราเข้าไปณตึกพระเจ้าเหาสักครู่หนึ่งแล้ว ท่านทั้งหลายจงรีบเข้าไปที่นั้นให้พร้อมกัน แล้วจงเอาอาวุธพาดเข้าไปตามช่องประตูน่าต่างตึกนั้น แลแวดล้อมเราอยู่โดยรอบ คนทั้งหลายรับคำแล้วก็ไปทำตามถ้อยคำทุกประการ แล้วคิดอ่านเอาคอาวุธซ่อนเข้าไปได้ในพระราชวัง แล้วก็แยกกันคอยอยู่ในที่สมควร มิให้ผู้อื่นสงไสย ๚ะ๏ ฝ่ายหลวงสรศักดิ์ก็ใช้ทนายให้เข้าไปดูท้าวพระยาข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งหลาย ซึ่งประชุมกันอยู่ ณตึกพระเจ้าเหานั้นมาพร้อมแล้กฤๅยังประการใด แลทนายก็เข้าไปยังตึกพระเจ้าเหา เหนท้าวพระยาข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งหลายมาพร้อมกันสิ้นแล้ว ยังไม่มาแต่เจ้าพระยาวิชาเยนทรผู้เดียว ก็กลับเอาเหตุนั้นมาแจ้งกับหลวงสรศักดิ์ ๆ ได้แจ้งเหตุนั้นแล้ว จึ่งว่า ทำไมแก่อ้ายฝรั่งนั้น มันไม่มาก็แล้วไปเถิด ๚ะ๏ ครั้นเพลาสายแล้วสามนาฬิกา หลวงสรศักดิ์ก็แต่งกายอันจะให้มีอำนาจเสรจแล้ว ก็เข้าไปในพระราชวัง แวดล้อมด้วยทหารร่วมใจสิบหกคน แลให้ทนายคนสนิทผู้หนึ่ง ถือดาบตามเข้าไปด้วย ครั้นเข้าไปณตึกพระเจ้าเหาแล้ว ก็นั่งที่ใกล้พระเพทราชายกมือไหว้บิดา แล้วจึ่งว่าขึ้นท่ำกลางขุนนางทั้งปวงว่า บัดนี้สมเดจพระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรหนักอยู่แล้ว ถ้าแลพระองค์เสดจสวรรคตไซ้ ตัวเราเปนพระราชโอรสจะเอาราชสมบัติ ท่านทั้งหลายจะเข้าด้วยเราฤๅไม่ให้เร่งบอกออกมา ถ้าผู้ใดไม่เข้าด้วยเรา ๆ ก็จะประหารชีวิตรผู้นั้นเสีย ๚ะ๏ ขณะเมื่อหลวงสรศักดิ์ว่าขึ้นดั่งนั้น ฝ่ายทแกล้วทหารทั้งหลายก็มาพร้อมกันสิ้น แล้วเอาอาวุธพาดเข้าไปตามช่องประตูน่าต่างตึกนั้นโดยรอบ บ้างก็ถืออาวุธเข้าไปในตึกนั้นเปนอันมาก ส่วนท้าวพระยาพระหลวงขุนหมื่นข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งหลาย ได้ฟังถ้อยคำหลวงสรศักดิ์ว่าดั่งนั้น แล้วเหนผู้คนถือสาตราวุธเปนอันมาก ก็ตกใจกลัวยิ่งนัก แลจะคิดอ่านประการใดก็เหนไม่ได้ ด้วยการนั้นจู่เอามิทันรู้ตัว กลัวความตายก็ต้องนิ่งอยู่ มิรู้ที่จะโต้ตอบประการใด บ้างก็ยอบกายลงถวายบังคมเปนอันมาก หลวงสรศักดิ์เหนดังนั้น ก็จับดาบขึ้นกวัดแกว่ง แล้วก็ร้องคุกคามสำทับไปว่า คนทั้งหลายนี้ไฉนจึ่งนิ่งอยู่เล่า จะเข้าด้วยเราฤๅหาไม่ให้ว่ามา ถ้าผู้ใดไม่เข้าด้วยเรา ๆ ก็จะฟันเสียบัดนี้ ส่วนท้าวพระยาข้าราชการทั้งหลายเหนดั่งนั้น ก็ยิ่งสดุ้งตกใจกลัวความตายยิ่งนัก ต่างคนต่างถวายบังคมพร้อมกัน แล้วกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอเข้าด้วยพระองค์ แลจะขอเปนข้าราชการอยู่ในใต้ลอองธุลีพระบาทสืบไป หลวงสรศักดิ์เหนขุนนางทั้งปวงอยู่ในอำนาถสิ้นแล้ว ก็ไปถวายบังคมพระเพทราชาผู้เปนบิดา แลรับพระราชโองการ แล้วมอบเวนสมบัติถวายแก่พระเพทราชานั้น ๚ะ๏ ฝ่ายท้าวพระยาข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งหลาย ก็รับพระบัณฑูรแก่หลวงสรศักดิ์ แลอัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ณที่มหาอุประราช ในขณะนั้นจึ่งหลวงสรศักดิ์ผู้สำเรจราชการณะที่มหาอุประราช ก็ใช้ให้ทหารไปอาราธนาพระพุทธรูป คำภีร์ปริยัติธรรมณเรือน แลให้ไปนิมนต์พระสงฆ์คามวาสีราชาคะณะมาด้วยพร้อมกัน แล้วก็ถวายนมัสการพระรัตนไตรยาธิคุณสุนทร์ภาพด้วยเบญจางคประดิษฐ แล้วให้ขุนนางทั้งนั้นกินน้าพิพัฒสัตยา ถวายสาบานตามโบราณราชประเพณีเสรจทุกประการ ๚ะ๏ จึ่งพระเพทราชาผู้สำเรจราชการแผ่นดิน ก็ให้เจ้าพระยาสุรสงครามเปนผู้รับสั่ง ให้ไปหาตัวเจ้าพระยาวิชาเยนทร์เข้ามา ถ้าแลสำเรจราชการแล้ว เราจะเลี้ยงให้ถึงขนาด แลเจ้าพระยาสุรสงคราม ก็สั่งให้หนายออกไปหาตัวเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ณบ้านว่า มีพระราชโองการให้หา ครั้นเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ได้แจ้ง ก็เข้าใจในเหตุทั้งนั้น แล้วจึ่งถามว่า ใครเปนผู้รับสั่ง ทนายก็บอกว่า เจ้าพระยาสุรสงครามเปนผู้รับสั่ง เจ้าพระยาวิชาเยนทร์จึ่งว่า เจ้าพระยาสุรสงครามให้หาเราไปบัดนี้ ประดุจเขียนด้วยมือแลจะลบด้วยท้าวเล่า ด้วยเจ้าพระยาสุรสงครามมีคุณุประการแก่เราเปนอันมาก ได้ชุบย้อมมาแต่เดิมนั้น แลกลับจะมาทำลายคุณเสียดั่งนี้ ก็มิควรยิ่งนัก ถ้าเราจะเข้าไปบัดนี้ ดีร้ายจะมีไภยอันตรายเปนมั่นคง ทนายก็เตือนว่า พระราชโองการให้หาเปนการเรว เจ้าพระยาวิชาเยนทร์มิอาจจะขัดพระราชโองการได้ ก็ตกแต่งกายแล้วขึ้นเสลี่ยงมีบโทน แลทนายแห่น่ามาจนเข้าประตูในพระราชวังนั้น ๚ะ๏ ส่วนหลวงสรศักดิ์ผู้สำเรจราชการณที่มหาอุประราชนั้น เมื่อให้ไปหาตัวเจ้าพระยาวิชาเยนทร์นั้น ก็กะเกนทแกล้วทหารให้ไปอยู่ประจำรักษาทุกป้อมทุกประตูรอบพระราชวังทั้งปวง แลให้ปิดประตูเสียอย่าให้ผู้ใดเข้าออกแปลกปลอมได้ ให้ตรวจตราระวังระไวเปนกวดขันทุกตำบล แล้วก็จัดแจงทแกล้วทหารให้ไปคอยเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ อยู่ทางประตูจะเข้ามา ถ้าเข้ามาแล้วฆ่าเสีย ครั้นเจ้าพระยาวิชาเยนทร์เข้ามาถึงในประตูพระราชวัง คนซึ่งคอยอยู่สองข้างประตูนั้น ก็เอาไม้พลองตีเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ตกลงจากเสลี่ยง แล้วประหารจนสิ้นชีวิตรนั้น แลพวกเจ้าพระยาวิชาเยนทร์นั้น ครั้นเหนนายเปนเหตุแล้ว ก็ตกใจกลัวต่างคนต่างวิ่งหนีกระจัดพรัดพรายไปสิ้น ๚ะ๏ จึ่งพระเพทราชาผู้สำเรจราชการแผ่นดิน ก็พาหลวงสรศักดิ์ขึ้นไปเฝ้าสมเดจพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระประชวรหนักอยู่ณพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ แลถวายบังคมแล้วกราบทูลถามพระอาการอันทรงพระประชวรนั้น แล้วก็กราบทูลแถลงกิจจานุกิจราชการทั้งปวง ซึ่งได้ว่ากล่าวบังคับบัญชานั้นเสรจสิ้นทุกประการ แล้วบังคมทูลพระกรุณาว่า ถ้าพระเจ้าอยู่หัวสวรรคตไซ้ ข้าพระพุทธเจ้าจะรักษาราชสมบัติไว้ถวายสมเดจพระเจ้าลูกเธอกรมพระราชวังหลัง สมเดจพระบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ได้ทรงฟังพระเพทราชากราบทูลดังนั้น ก็เข้าพระไทยในกิริยาแห่งพระเพทราชา แลหลวงสรศักดิ์อันคิดการเปนขบถนั้นก็ทรงพระพิโรธ แลทรงจับเอาพระแสงดาบซึ่งวางอยู่ข้างที่ แล้วเสดจลุกยืนขึ้นได้ด้วยสามารถ พระองค์ทรงพระพิโรธเปนกำลัง มีพระราชโองการตรัสว่า อ้ายสองคนพ่อลูกนี้คิดการเปนกระบถ แล้วพระองค์จะเสดจพระราชดำเนิรจะไปประหารชีวิตรพระเพทราชา แลหลวงสรศักดิ์ ก็มิอาจสามารถจะเสดจพระราชดำเนิรไปได้ ด้วยทรงพระประชวรหนักทุพลภาพอยู่แล้ว ทั้งพระกายก็สั่นจะเสดจดำรงพระองค์มิได้ ก็ล้มลงในที่นั้น แลพระแสงดาบทรงนั้น ก็ตกจากพระหัถ แล้วมีพระราชดำรัสว่า เทพยุเจ้าผู้บำรุงรักษาพระบวรพุทธสาสนา จงไว้ชีวิตรอิกสักเจ็ดวัน จะขอดูหน้าอ้ายขบถสองคนพ่อลูกนี้ให้จงได้ ๚ะ๏ ขณะนั้นพระเพทราชาแลหลวงสรศักดิ์ ก็กลับลงมาจากพระที่นั่งสุทธาสวรรย์แล้วก็เข้าใจว่า สมเดจพระเจ้าแผ่นดินจะเสดจสวรรคตในวันนั้นเปนแท้อยู่แล้ว จึ่งแต่งคนสนิทให้เอาเรือเร็วลงไปยังกรุงเทพมหานคร แลให้ทูลอัญเชิญเสดจพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอไภยทศ ซึ่งเสดจอยู่ณพระราชวังบวรสถานพิมุขฝ่ายหลังว่า สมเดจพระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรหนักอยู่แล้ว แลบัดนี้มีพระราชโองการให้อัญเชิญเสดจขึ้นไปเฝ้า ณ เมืองลพบุรีเปนการเร็ว ๚ะ๏ ผู้รับสั่งก็เอาเรือเร็วรีบลงไปยังกรุงเทพมหานครในวันนั้น ส่วนสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว จำเดิมแต่เสดจล้มลงเพลานั้น พระโรคก็กำเริบมากขึ้น จึ่งมีพระราชดำรัสให้หาบันดาชาวที่ชาววัง ซึ่งเปนข้าหลวงเดิมประมาณสิบห้าคน เข้ามาเฝ้าในมหาปราสาทที่นั่งสุทธาสวรรย์ที่เสดจทรงประชวรอยู่นั้น แล้วจึ่งมีพระราชโองการตรัสว่า บัดนี้อ้ายสองคนพ่อลูกมันคิดเปนการขบถ ฝ่ายเราก็ป่วยทุพลภาพหนักอยู่แล้ว เหนชีวิตรไม่ตลอดไปจนสามวัน แลซึ่งท่านทั้งหลายจะอยู่ในฆราวาศนั้นเหนว่าอ้ายกบฏพ่อลูกมันจะฆ่าเสียสิ้น อย่าอยู่เปนคฤหัฐเลย จงบวชในพระบวรพุทธสาศนา เอาธงไชยพระอรหรรต์เปนที่พึ่งเถิดจะได้พ้นไภย จึ่งดำรัสให้ไปเบิกเอาไตรจิวร ณะพระคลังสุภรัตพมาภอครบตัวกัน แลมีพระราชโองการตรัสให้ไปอาราธนาพระสงฆ์ราชาคะณะเข้ามาประมาณยี่สิบรูปในเพลานั้น แล้วดำรัศว่านิมนต์พระผู้เปนเจ้าทั้งหลาย จงจำเอาคนเหล่านี้ออกไปอุปสมบท บวชเปนภิกขุภาวในพระพุทธสาศนาด้วยเถิด จึ่งพระสงฆ์ราชาคณะทั้งหลายถวายพระพรว่า ซึ่งอาตมทั้งปวงจะนำเอาอุบาสกเหล่านี้ ออกไปอุปสมบทณะพระอารามนั้น เหนว่าผู้ซึ่งประจำรักษาประตูพระราชวังนั้น จะห้ามมิให้ออกไป ๚ะ๏ สมเดจพระเจ้าอยู่หัวตรัสได้ทรงฟังดั่งนั้น ก็ทรงพระพิโรธแล้วโทมนัศในพระไทยเปนกำลัง แต่มิรู้ที่จะทำประการใด ด้วยทรงพระประชวรหนักเปนอาสันทีวงคตอยู่แล้ว จำเปนจำอยู่ในบังคับพระเพทราชา จึ่งมีพระราชดำรัสว่า ถ้ากระนั้นนิมนต์พระผู้เปนเจ้าทั้งปวง ให้อุปสมบทบวชคนทั้งปวงเหล่านี้ในปราสาทของโยมนี้เถิด จะได้ฤๅมิได้ แลพระสงฆ์ราชาคณะทั้งหลายถวายพระพรว่า ถ้าแลพระราชสมภารเจ้า ทรงพระราชอุทิสพระมหาปราสาท ถวายเปนพระวิสุงคามเสมาแก่พระสงฆ์แล้ว อาตมภาพพระสงฆ์ทั้งปวงควรจะให้อุปสมบทกันได้ จึ่งทรงพระกรุณาโปรดอนุญาตพระราชอุทิสถวายพระมหาปราสาททั้งสอง แลจังวัดพระราชวังทั้งปวง เปนวิสุงคามสีมาแก่สงฆ์เสรจแล้ว มีพระราชตำรัศว่า นิมนต์พระผู้เปนเจ้าทั้งหลาย กระทำซึ่งสงฆ์กรรมทั้งปวงเถิด จึ่งพระสงฆ์ราชาคณะทั้งหลาย ก็ให้อุปสมบทบวชบันดาข้าหลวงเดิมทั้งปวง เปนภิกษุภาวะณะพระที่นั่งธัญมหาปราสาทเสร็จแล้ว ก็ให้โอวาทโดยสมณกิจ แล้วพระสงฆ์ราชาคณะ แลพระภิกษุบวชใหม่ทั้งหลาย ก็ถวายพระพรลากลับออกไปยังอาราม ๚ะ๏ ขณะนั้นบันดาข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวง ก็ไปมั่วสุมอยู่ณพระเพทราชา จะได้มีผู้ใดผู้หนึ่งนำภาในฝ่าลอองธุลีพระบาทนั้นหามิได้ ยังแต่พระปิย์ผู้เดียว ปะฏิบัติรักษาประคองพระองค์ลุกนั่งอยู่ แลพระปิยผู้นี้เปนบุตรขุนไกรสิทธิศักดิ์ชาวบ้านแก่ง ทรงพระกรุณาเอามาเลี้ยงไว้ในพระราชวังแต่ยังเยาว์ ให้มีนางนมพี่เลี้ยงประดุจหนึ่งลูกหลวง แลพระปิยนั้นมีพรรณสัณฐานต่ำเตี้ย ทรงพระกรุณาเรียกว่าอ้ายเตี้ย แลพระปิยกอปรด้วยสวามีภักดิ นอนอยู่ปลายพระบาท คอยปรฏิบัติพยุงพระองค์ลุกนั่งอยู่ ครั้นรุ่งเพลาเชเาพระปิยลุกออกมาบ้วนปากล้างหน้าณประตูกำแพงแก้ว จึ่งหลวงสรศักดิ์ผู้สำเร็จราชการณที่มหาอุปราช สั่งให้ขุนพิพิธรักษาชาวที่ผลักพระปิยตกลงไปจากประตูกำแพงแก้ว แลพระปิยร้องขึ้นได้คำเดียวว่า ทูลกระหม่อมแก้วช่วยด้วย ภอขาดคำลงคนทั้งหลายก็กุมเอาตัวพระปิยไปประหารชีวิตรตายในขณะนั้น สมเดจพระเจ้าอยู่หัวตรัสได้ทรงฟังเสียงพระปิยร้องขึ้นมาดั่งนั้น ตกพระไทยความอาไลยในพระปิยจึ่งดำรัสว่า ใครทำอะไรกับอ้ายเตี้ยเล่า แลสมเดจพระเจ้าอยู่หัวก็สวรรคตในเพลาวันนั้น เปนวันพฤหัสบดีเดือนห้าแรมสามค่ำ ลุศักราช ๑๐๔๔ ปีจอจัตวาศก พระบาทบรมนารถนารายน์ราชบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวพระชันษาวอกศก เสดจเสวยราชสมบัตินั้น พระชนได้ ๒๕ พรรษา เสดจดำรงราชอาณาจักรอยู่ได้ ๒๖ พรรษา ขณะสวรรคตณพระที่นั่งสุธาสวรรย์มหาปราสาทนั้น สริพระชนม์ห้าสิบเอ็จพรรษา ๚ะ๏ ส่วนผู้ถือหนังสือรับสั่ง ซึ่งลงไปยังกรุงเทพมหานครนั้น ก็ไปกราบทูลเจ้าฟ้าอไภยทศเสรจสิ้นทุกประการ แลเจ้าฟ้าอไภยทศมิทันทราบในการอันเปนคุยรหัด สำคัญพระไทยว่าจริง พี่เลี้ยงกราบทูลว่า อยู่แต่พระเพทราชาแลหลวงสรศักดิ์ แลซึ่งเสดจขึ้นไปครั้งนี้ จงรมัดรวังพระองค์จงหนัก เจ้าฟ้าอไภยทศทรงพยักเอาแล้ว ก็เสดจลงเรือพระที่นั่งขึ้นไปยังเมืองลพบุรี ครั้นไปถึงวัดพระพรหมตำบลปากน้ำโพสพ ก็เสดจแวะเรือขึ้นหาพระพรหมครูครู่หนึ่ง แล้วนมัศการลา ก็เสดจกลับลงเรือพระที่นั่งรีบขึ้นไปยังเมืองลพบุรี ครั้นถึงก็ให้ประทับเรือพระที่นั่งณฉนวนประจำท่า ภอสมเดจพระบรมราชบิดาสวรรคตเสียก่อนแล้วน่อยหนึ่ง จึ่งหลวงสรศักดิ์ผู้สำเรจราชการณที่มหาอุปราช ก็ให้ข้าหลวงไปกุมเอาพระองค์เจ้าฟ้าอไภยทศ เปนสำเร็จโทษเสียด้วยท่อนจันทน์ตำบลวัดทรากเสร็จแล้ว ๚ะ
28
๏ แผ่นดินพระเพทราชาธิราช ๚ะ
๏ ลุศักราช ๑๐๔๔ ปีจอจักตวาศกนั้น จึ่งสมเดจพระเพทราชาธิราชเจ้า ก็เสดจขึ้นเสวยสวรรยาธิปัติถวัลยราช ดำรงพิภพสีมาอาณาจักรสืบไป จึ่งทรงพระกรุณาจัดแจงตั้งแต่งข้าหลวงเดิมทั้งหลาย เปนขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยเปนอันมาก โดยสมควรแก่ความชอบเสร็จแล้ว ก็พระราชทานเครื่องอุปโภคตามสมควรแก่ถานานุศักดิ์ แล้วทรงพระกรุณาโปรดให้บันดาท้าวพระยาข้าทูลลอองธุลีพระบาททั้งปวง ถือน้ำพิพัฒสัตยานุสัตยถวายสาบานตามโบราณราชประเพณีเสร็จแล้ว ก็ให้กระทำพระราชพิธีราชาภิเศกเฉลิมพระราชมณเฑียร ๚ะ๏ จึ่งพระบาทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระกรุณาโปรดให้หลวงสรศักดิ์ซึ่งเปนบรมโอรสาที่ราช ขึ้นประดิษฐานณที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ขณะนั้นท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลายเฝ้าพร้อมมูลอยู่สิ้น ยังขาดอยู่แต่พระยาหุเซงขานผู้เดียว แลพระยาหุเซงขานคนนี้ ขณะเมื่อสมเดจพระนารายน์ผู้เปนเจ้า ทรงประชวรหนักอยู่นั้นหาอยู่ไม่ มีกิจธุระออกไปอยู่ณบ้านป่า ครั้นรู้ว่าเสดจสวรรคตแล้ว แลราชสมบัติได้แก่พระเพทราชาก็ตกใจกลัวรีบเข้ามาณเมืองลพบูรี แลเข้าไปเฝ้าสมเดจพระเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการตรัสถามว่า พระยาหุเซงขานไปไหนพึงมา พระยาหุเซงขานกราบทูลพระกรุณาว่า ข้าพระพุทธเจ้ามีกิจธุระออกไปอยู่บ้านป่าหาอยู่ไม่ ครั้นทราบว่า พระเจ้าแผ่นดินสวรรคต แลพระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสดจขึ้นเสวยราชสมบัติแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าก็รีบกลับเข้ามา เปนข้าทูลอองธุลีพระบาท กระทำราชการสนองพระเดชพระคุณสืบไป สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสได้ทรงฟังดังนั้น ก็ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานโทษให้ ซึ่งมิได้มาทันนั้น แล้วตำรัศว่า ให้พระยาหุเซงขานถือน้ำพระพิพัฒสัตยาตามธรรมเนียม ๚ะ๏ จึ่งสมเดจพระเจ้าแผ่นดินก็ตำรัศให้เจ้าพนักงาน จัดแจงการจะเชิญพระบรมศพใส่ในพระโกฎเสรจแล้ว ก็มีพระราชกำหนดแก่ท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลาย ให้ตระเตรียมการโดยตำแหน่งพนักงานให้พร้อมไว้ อิกเจ็ดวันจะเสดจพระราชตำเนิรลงไปยังกรุงเทพมหานคร แล้วทรงพระกรุณาให้พระโหราหาฤกษ ครั้นถึงวันอันได้มหาพิไชยฤกษแล้ว สมเดจพระเจ้าอยู่หัวก็อัญเชิญพระบรมโกฏลงสู่เรือพระที่นั่งศรีสมรถไชย อันอำไภยด้วยเสวตรมยุรฉัตรบังรวีวรรบังแซรกไสว แห่แหนไปโดยลำดับชลมารถวิถี ลงไปยังกรุงเทพมหานครก่อน แล้วดำรัศให้เทเอาครัวอพยพข้าทูลละอองธุลีพระบาท แลสมณพราหมณาจาริย์ทั้งหลาย ตามเสดจลงไปทั้งทางบกทางเรือ แลสมเดจพระเจ้าอยู่หัวก็เสดจลงสู่เรือพระที่นั่งไกรสรมุขพิมาน อันอลังการด้วยเครื่องศิริราชูประโภคทั้งปวงพร้อมเสรจ แวดล้อมด้วยเรือราชวงษานุวงษ เสนาพฤฒามาตย ราชครูประโรหิต บัณฑิตยชาติ ข้าทูละอองธุลีพระบาทรายเรียงเปนขนัด โดยขบวนแห่น่าหลังคั่งคับถ้องแถวนธีธาร แลให้ขยายพยุหบาตราคลาเคลื่อนเลื่อนจากเมืองลพบุรี ล่องลงมายังกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา ถึงประทับเรือพระที่นั่งณฉนวนประจำท่าพระราชวังหลวง ก็เสดจขึ้นคู่พระราชวัง ทรงพระกรุณาสั่งให้เชิญพระบรมโกฎ ขึ้นประดิษฐานไว้ ณพระที่นั่งสุริยามรินทรมหาปราสาท แล้วดำรัศให้เจ้าพนักงานกะเกนทำพระเมรุมาศแลการในพระราชวังในพระนครทั้งปวง แล้วก็มีพระราชโองการตรัสสั่งพระมหาราชครูประโรหิตาจารย ให้จัดแจงการพระราชพิธีราชาภิเศก ณกรุงเทพพระมหานครอิกครั้งหนึ่งเล่า ให้เปนสองครั้ง ๚ะ๏ ครั้นถึงวันพฤหัศบดี เดือนสิบ ขึ้นเจดค่ำ ปีจอจัตวาศก เพลาเช้าแล้วสี่นาฬิกาสี่บาท ได้มหามงคลราชสวัศดิ์อุดมฤกษ พร้อมด้วยท้าวพระยาสามนตราชเสนาบดีมนตรีมุขลูกขุน ข้าทูลอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งหลาย ประชุมกันณพระที่นั่งสรรเพชปราสาท กระทำพระราชพิธีราชาภิเศกอัญเชิญสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจขึ้นผ่านพิภพสวรรยาธิปัตถวัลยราชย ณกรุงเทพพระมหานครศรีอยุทธยาโดยโบราณราชประเพณี แลการพระราชพิธีราชาภิเศกทั้งปวงนั้น เหมือนครั้งสมเดจพระเจ้าอยู่หัวปราสาททอง แล้วถวายพระนามว่า สมเดจพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดม บรมจักรพรรดิเจ้าพิภพกรุงเทพพระมหานคร บวรทวาราวดีศรีอยุทธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธาณีบุรีรมยอุดมพระราชนิเวศมหาสถาน ขณะเมื่อเสดจขึ้นเสวยราชสมบัตินั้น พระชนได้ห้าสิบหกพรรษา จึงมีพระราชดำรัศให้มีการมหรรสพสมโพชพระนครสามวัน แล้วทรงพระกรุณาให้ตกแต่งสถลมารควิถีรอบพระนคร ปักราชวัดฉัตรเบญรงธงไชยธงประฎาก วางเปนระยะกันไป แล้วสมเดจพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงเครื่องศิริราชวิภูษนาภรณ์แล้วเสรจ เสดจทรงพระราชยานอลังการด้วยเครื่องสูงไสว ไพโรจด้วยปี่กลองชนะแตรสังข คับคั่งด้วยพลแห่แหนแน่นนันเปนขนัด โดยขบวนพยุหบาตราน่าหลังพรั่งพร้อมเสรจ ก็เสดจประทักษิณเลียบพระนคร แล้วเสรจเสดจกลับคืนยังพระราชวัง ๚ะ๏ ขณะนั้นส่วนพระญาติวงษ แลข้าหลวงเดิมทั้งหลาย ซึ่งอยู่ณบ้านพลูหลวงแขวงเมืองสุพรรณบุรีแจ้งว่า สมเดจพระเจ้าแผ่นดินผ่านพิภพแล้ว ต่างคนต่างก็ชื่นชมยินดียิ่งนัก จึ่งชวนกันหามัจฉมังษาแลผลตาลแก่อ่อนสิ่งของต่าง ๆ ตามมีประสาชนบทประเทศบ้านนอกนำเข้ามาทูลเกล้าถวาย จึ่งทรงพระกรุณาโปรดให้เหล่าพระญาติวงษานุวงษ แลข้าหลวงเดิมทั้งหลายเข้ามาในพระราชวัง โดยทางประตูมหาโภคราชข้างท้ายสระ แลให้ยับยั้งอยู่ในพระราชวังใกล้พระราชนิเวศมหาสถาน แล้วทรงพระกรุณาโปรดให้เข้ามาเฝ้าถวายสิ่งของทั้งปวง แลพระญาติวงษานุวงษ แลข้าหลวงทั้งหลายเปนชาวชนบทประเทศ มิได้รู้จักพิดทูลตามขนบธรรมเนียมประการใด เคยพูดจาแต่ก่อนอย่างไร ก็พูดจาพิดทูลอย่างนั้น แลว่าตูข้าทั้งหลายรู้ว่า นายท่านได้เปนเจ้า ก็ยินลากยินดียิ่งนัก ชวนกันเข้ามาเพื่อจะชมบุญนายท่าน แลซึ่งตายายผู้เถ้าผู้แก่คนนั้น ๆ พ่อแม่อีนั่นอ้ายนั่น ป่วยเจบอยู่เข้ามาไม่ได้ ไ ฝากแต่สิ่งของอันนั้นเข้ามาให้กำนัลนายท่านด้วย ส่วนข้าทูลลอองธุลีพระบาททั้งหลายได้ฟังดั่งนั้นจึ่งห้ามว่า ท่านทั้งหลายอย่าเรียกว่านาย พระองคได้เสวยราชสมบัติเปนพระมหากษัตริยเจ้าแผ่นดินแล้ว แลท่านทั้งหลายอย่าพูดจาพิดทูลดั่งนี้มิสมควรยิ่งนัก สมเดจพระเจ้าอยู่หัวตรัสได้ทรงฟังดังนั้น ก็ทรงพระสรวลดำรัสว่า คนเหล่านี้มันเปนชาวบ้านนอก เคยชำนาญพูดจามาแต่ก่อนอย่างนั้น เรามิได้ถืออย่าห้ามมันเลย แล้วทรงพระกรุณาให้วิเสดตกแต่งโภชนาหารมาเลี้ยงดูให้อิ่มหน้า แลพวกพระญาติวงษ แลข้าหลวงเดิมทั้งหลาย ได้รับพระราชทานโภชนาหารมีรศอร่อยต่าง ๆ บางคนเปนนักเลงสุรา ก็กราบทูลว่า นายท่านตูข้าอยากกินสุรา ก็ทรงพระกรุณาให้เอาสุรามพระราชทานให้บริโภค ครั้นได้รับพระราชทานแล้วก็เมาสุรา บ้างก็ร้องเพลงเกบดอกไม้ร้อยแลเพลงไก่ป่าต่าง ๆ สมเดจพระเจ้าแผ่นดินตรัสได้ทรงฟังดั่งนั้น ก็ทรงพระสรวญ แล้วมีพระราชดำรัศให้เจ้าจอมเถ้าแก่นำเอาพระญาติวงษ แลข้าหลวงเดิมทั้งหลาย เข้าไปเที่ยวชมในพระราชวังข้างใน แลบนพระราชมณเฑียร แลพระญาติวงษา แลข้าหลวงเดิมทั้งหลาย ได้เหนเครื่องศิริราชสมภารอันงามวิเศศต่างๆ แลนางพระสนมทั้งหลายอันมีศริรูปอันงาม กอประด้วยเครื่องอลังการนุ่งห่มงามต่าง ๆ ต่างคนต่างสรรเสิญเปนอันมาก แลชมพระราชกฤษดาธิการว่า นายเรามีบุญยิ่งนัก แลเที่ยวชมบนพระราชมณเฑียร แลจังหวัดพระราชวังทั้งปวงทั่วแล้วกลับมาเฝ้าถวายบังคมทูลสรรเสิญโดยได้เหนทั้งปวงนั้น แล้วทูลถามว่า ค่ำวันนี้นายท่านจะให้ตูข้าทั้งหลายนอนที่ไหน จึ่งมีพระราชดำรัศว่า เองทั้งหลายจงนอนอยู่บนพระราชมณเฑียรเถิด แล้วทรงพระกรุณาให้เหล่าพระญาติวงษ แลข้าหลวงเดิมทั้งหลายนอนอยู่บนพระราชมณเฑียรสถาน ๚ะ๏ ครั้นรุ่งเช้าทรงพระกรุณาให้จัดแจงเลี้ยงดูให้อิ่มหน้าสำราญแล้ว ก็ทรงพระราชทานเงินทองพรรณผ้านุ่งห่ม สิ่งของเครื่องศรีสำรดต่าง ๆ เปนอันมากโดยลำดับถานานุรูป ถ้วนทุกคนแล้ว ให้พระราชทานเงินทองสิ่งของทั้งปวง ฝากไปให้แก่ผู้ซึ่งมิได้มานั้น แต่เหล่าพระญาติวงษ แลข้าหลวงเดิมทั้งหลาย ได้รับพระราชทานสรรพวัตถุทั้งหลาย แล้วถวายพระพรต่าง ๆ แล้วถวายบังคมลา ทรงพระกรุณาโปรดให้กลับคืนออกไปอยู่ตามภูมลำเนาแห่งตนดุจก่อน ๚ะ๏ จึ่งพระบาทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระราชดำรัสเหนือเกล้า โปรดให้พระอัคมเหษีเดิมนั้น เปนพระอัคมเหษีกลาง แลตั้งเจ้าฟ้าศรีสุวรรณ ซึ่งเรียกว่าพระราชกัลยาณี ซึ่งเปนกรมหลวงโยธาทิพ เปนพระบรมราชภักคินี ของสมเดจพระนารายน์เปนเจ้านั้น เปนพระอัคมเหษีฝ่ายขวา ตั้งเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาเทพ ซึ่งเปนพระราชธิดาแห่งสมเดจพระนารายน์เปนเจ้านั้น เปนพระอัคมเหษีฝ่ายซ้าย ตั้งพระราชบุตรีของพระองค ทรงพระนามฉิมเปนลูกสนมนั้น เปนพระแม่อยู่หัวนางพระยา ตั้งสมเดจพระเจ้าหลานเธอพระองคแก้ว ซึ่งเปนบุตรท้าวศรีสุลาลักษณ์ อันเปนพระราชขนิษฐาของพระองค์นั้น เปนเจ้าฟ้ากรมขุนเสนาบรีรักษ ตั้งนายจบคชประสิทธิทรงบาศขวา ในกรมช้าง ซึ่งได้เปนคู่คิดเอาราชสมบัติด้วยนั้น เปนกรมพระราชวังบวรสถานภิมุขฝ่ายหลัง รับพระราชบัญชาตั้งนายกรีนท์คชประสิทธิทรงบาศช้ายซึ่งเปนพระราชนัดาเปนเจ้าราชินิกูล ชื่อเจ้าพระพิไชยสุรินทร ตั้งขุนทิพพลภักดิ์เชื้อพระวงษเปนเจ้าราชินิกูล ชื่อเจ้าพระอินทรอไภย แลทรงพระกรุณาพระราชทานเครื่องยศพร้อมตามตำแหน่งถานานุศักดิ์ทุก ๆ พระองค์ แลซึ่งเจ้าพระยาสุรสงครามนั้น ก็พระราชทานเครื่องยศศักดิ์ให้เสมอกับกรมพระราชวังหลัง แลทรงพระกรุณาตั้งนายบุญมากข้าหลวงเดิมคนหนึ่ง เปนพระยาวิชิตผู้บาน พระราชทานเจียดทอง เต้าน้ำทอง กบี่บังทอง เครื่องยศพร้อมแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดให้สมเดจพระเจ้าลูกยาเธอ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลเสดจไปอยู่ณวังจันทร์ เฉลิมขึ้นเปนพระราชวังบวร แลพระบัญชานั้น ก็ทรงพระกรุณาโปรดให้ไปอยู่ณวังหลัง แลเจ้าพระยาสุรสงครามนั้น ทรงพระกรุณาโปรดให้อยู่ณะตึกสี่เหลี่ยมบ้านเดิม แลพระราชทานเครื่องสูงสามชั้น ให้แห่เข้ามาเฝ้าทูละอองธุลีพระบาทเหมือนกันทั้งสามแห่ง ๚ะ๏ อยู่มาวันหนึ่งสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจพระราชตำเนินจะไปเข้าที่พระบันทม ณตำหนักตึกกรมหลวงโยธาทิพ ซึ่งตั้งไว้เปนอัคมเหษีฝ่ายขวา กรมหลวงโยธาทิพให้ทูลพระอาการว่าประชวรอยู่ จึ่งเสดจพระราชตำเนินไปณตำหนักตึกกรมหลวงโยธาเทพ ซึ่งตั้งไว้เปนอัคมเหษีฝ่ายช้าย กรมหลวงโยธาเทพไม่ยอม ตรัสตัดภ้อต่าง ๆ แล้วทรงพระแสงดาบพาดพระเพลาอยู่ สมเดจพระเจ้าอยู่หัว ก็เสดจกลับมายังพระราชมณเฑียร ทรงพระกรุณาให้หาหมอทำเสน่ห์ ครั้นได้หมอมาแล้ว ก็ให้กระทำตามวิธีเสน่ห์ แลกรมหลวงโยธาเทพก็ให้คลั่งไคล้ไหลหลง ทรงพระกรรแสงถึงพระเจ้าอยู่หัวเปนกำลัง ครั้นเสดจพระราชตำเนินไปครั้งหลังจึ่งยอม แลเสดจไปเข้าที่พระบันทมณะพระตำหนักตึกกรมหลวงโยธาทิพด้วย ๚ะ๏ จึ่งพระบาทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว มีพระราชตำรัศให้เจ้าพนักงานเร่งทำการพระเมรุมาศ ซึ่งจะถวายพระเพลิงพระบรมสพสมเดจพระนารายน์เปนเจ้าโดยขนาดใหญ่ ขื่อเจ็ดวาสองศอก โดยสูงสองเส้นสิบเอ็จวาศอกคืบ มียอดห้ายอด ภายในพระเมรุทองนั้น ก็ประกอบไปด้วยเครื่องสรรพโสภณพิจิตรต่าง ๆ สรรพด้วยพระเมรุทิศ พระเมรุแซรก แลสามซ่างเสรจ แลการพระเมรุมาศนั้น ประมาณแปดเดือนจึ่งสำเร็จ ๚ะ๏ ครั้นถึงวันเพญเดือนหก ปีกุนเบญจศก ได้มหาศุภนักขัตฤกษ สมเดจพระเจ้าอยู่หัว ก็ให้อัญเชิญพระบรมโกฎลงจากพระมหาปราสาทที่นั่งสุริยามรินทร์ ประดิษฐานเหนือบุษบกพระมหาพิไชยราชรถ อันอลังการด้วยสุวรรณรัตนวิจิตรต่าง ๆ สรรพด้วยเสวตรบวรฉัตรขนัดพระอภิรุมชุมสายพรายพรรณ บังพระสุริยันบังแซรกสลอน พลแตรงอนแตรฝรั่ง อุโฆษสังขปี่สนั่นบันฦๅลั่นด้วยศรับทสำเนียงเสียงดุริยางคดนตรี ปี่กลองชนะ ประโคมครั่นครื้นกึกก้องกาหลนิฤนาท แลรถสมเดจพระสังฆราชสำแดงพระอภิธรรมกถา แลรถโปรยเข้าตอกดอกไม้ รถโยง รถท่อนจันทน์ แลรูปนานาสัตวจัตุบาททวิบาททั้งหลาย หลังมีสังเฆ็จใส่ไตรจีวรเปนคู่ ๆ แห่ดูมโหฬาราดิเรกพันฦก อธีกด้วยพลแห่แหนแน่นนัน เปนขนัดโดยขบวนซ้ายขวาน่าหลัง พรั่งพร้อมด้วยท้าวเสนาบดีมนตรีมุขลูกขุน ข้าทูลอองธุลีพระบาททั้งหลาย ล้วนแต่งกายนุ่งผ้าท้องขาวตรวยเซิง ใส่ลำพอกเสื้อครุย แวดล้อมพระพิไชยราชรถ แลตามไปเบื้องหลังเปนอันมาก ตามอย่างพระราชประเพณีมาแต่ก่อน จึ่งขยายพยุหบาตราไปโดยรัฐยาราชวัต อันรายรื่นทรายสวาทตา ครั้นพระบรมสพถึงหน้าพระที่นั่งจักรวัติ จึงทรงพระกรุณาโปรดให้ตีฆ้องสัญญาให้หยุดกระบวนแห่ทั้งปวงหน้าหลัง แล้วสมเดจพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพัดชนีฝักมขาม โบกสามทีให้ทิ้งทาน ข้าทูลอองธุลีพระบาทผู้ประจำต้นกามพฤกษ์ ถวายบังคมลงสามลาแล้วก็ทิ้งทาน ครั้นทิ้งทานแล้วก็ให้ตีฆ้องสัญญา ให้ยาตรากระบวนแห่ทั้งปวงไปถึงพระเมรุมาศ จึงเชิญพระบรมโกฎเข้าประดิษฐานในพระเมรุทอง ทรงพระกรุณาให้มีการมหรรสพสมโพช แลดอกไม้เพลิงต่าง ๆ แลทรงสัดับปกรณ์พระสงฆ์หมื่นหนึ่ง คำรบเจดวันแล้วถวายพระเพลิง ครั้นดับพระเพลิงแล้ว แจงพระรูป สัดับปกรณ์พระสงฆ์อิกสี่ร้อยรูป แล้วเก็บพระอัษฐิใส่พระโกฎน้อยอัญเชิญขึ้นพระยาณุมาศ แห่เปนขบวนเข้ามายังพระราชวัง จึ่งอัญเชิญพระโกฎพระอัษฐิเข้าบรรจุไว้ณะท้ายจรนำพระมหาวิหาร วัดพระศรีสรรเพชฎาราม ๚ะ๏ ขณะนั้นสมเดจพระเจ้าลูกเธอ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงพระราชดำริห์แคลงกรมพระราชวังหลัง แลเจ้าพระยาสุรสงคราม ด้วยมีอิศิริยศบริวารยศมาก เกรงจะเปนสัตรูราชสมบัติ จึ่งเอาคดีอันเปนคุยรหัศนั้น มากราบบังคมทูลแก่พระบาทสมเดจพระพุทธเจ้าหลวง แลอุบายให้เอาถาดทองในพระราชวังลงไปซุ่มซ่อนไว้ณะวังหลัง แล้วให้ลูกขุนพิจารณาว่า ถาดทองในพระราชวังมีผู้ร้ายลักเอาไป ครั้นสืบสาวได้ถาดทองณะวังหลัง จึ่งให้ข้าหลวงไปกุมเอากรมพระราชวังหลัง แล้วให้ท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขลูกขุนทั้งหลาย ประชุมพร้อมกันพิภาคษาว่า กรมพระราชวังหลังเปนกระบถให้สำเรจโทษเสีย ท้าวพระยาทั้งหลายลงเปนคำเดียวกัน ดุจพระราชอัทยาไศรย แต่เจ้าพระยาสุรสงครามผู้เดียวมิลงด้วยท้าวพระยาทั้งปวง แล้วว่ายังมิเหนสม ขอพระราชทานให้งดไว้ก่อน สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ตรัสทราบดั่งนั้นก็ทรงพระพิโรธดำรัศว่า เจ้าพระยาสุรสงครามเปนสมักภักพวกเข้าด้วยคนผู้คิดมิชอบ ให้จำเจ้าพระยาสุรสงครามเข้าห้าประการ แล้วให้เอากรมพระราชวังหลังไปสำเร็จโทษเสียตามคำพิภาคษา ๚ะ๏ แล้วดำรัศให้ปฤกษาด้วยท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลายว่าธรรมดาคนที่มีศรัทธาสร้างเจดีย์ถานไว้ในพระพุทธสาศนานั้น ต้องมีร่างร้านก่อนจึ่งจะก่อขึ้นได้ ครั้นเสรจการแล้วควรจะเอาร่างร้านไว้ฤๅ ๆ จะรื้อร่างร้านเสียประการใด แลท้าวพระยามุขมนตรีทั้งหลายกราบทูลพระกรุณาว่า ควรจะรื้อร่างร้านเสีย แลซึ่งจะเอาไว้นั้นหาต้องการไม่ จึ่งพระราชดำรัศสั่งให้ท้าวพระยาผู้ใหญ่ไปบอกแก่เจ้าพระยาสุรสงครามว่า ซึ่งจะอยู่นั้นกีดขวางหาเปนประโยชน์สิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ อย่าอยู่เลยจงก้มหน้าไปหาความชอบในประโลกย์เถิด บุตรภรรยานั้นทรงพระกรุณาจะชุบเลี้ยงอย่าวิตกเลย แล้วให้เอาเจ้าพระยาสุรสงครามไปประหารชีวิตรเสีย ในเดือนสิบเบดปีกุญเบญจศกนั้น แล้วทรงพระกรุณาเอาบุตรชายอายุศม์สิบเดือนเข้ามาเลี้ยงไว้ในพระราชวัง พระราชทานพี่เลี้ยงนางนมให้อภิบาลรักษา แล้วทรงพระกรุณาตั้งขุนองค์มีความชอบ ให้เปนพระยาสุรสงครามแทนที่ พระราชทานเครื่องยศให้ตามตำแหน่งถานานุศักดิ์ ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๐๔๖ ปีชวดฉศก ขณะนั้นเกิดขบถ อ้ายธรรมเถียรข้าหลวงเดิมเจ้าฟ้าอไภยทศเปนจลาจลในจังหวัดแขวงหัวเมืองนครนายก แลอ้ายธรรมเถียรกระทำการโกหก ติดไฝที่หน้าให้เหมือนเจ้าฟ้าอไภยทศสำแดงแก่ชาวชนบทประเทศทั้งปวงว่า ตัวเปนเจ้าฟ้าอไภยทศ ซึ่งเอาไปสำเรจโทษเสียณวัดทราก แขวงเมืองลพบุรีนั้นหาตายไม่ แลชาวชนบทประเทศทั้งหลายที่ไม่รู้จักนั้นสำคัญว่าจริง ก็เชื่อถือเข้าเปนสมักภักพวกกระบถธรรมเถียรเปนอันมาก แลกระบถธรรมเถียรขึ้นขี่ช้างพลายกางตัวหนึ่ง สูงห้าศอกมีเสศกับอ้ายคุลาผู้ทาษผู้หนึ่งเปนควาน ภาสมักภักพวกยกเข้ามาซองสุมคนถึงแขวงเมืองสระบุรี เมืองลพบูรี แลแขวงขุนนคร ได้สมักภักพวกเปนอันมาก ครั้นถึงเดือนสามก็ยกมายั้งอยู่ณะพระตำหนักพระนครหลวงปะมาณสามวัน แล้วให้คนสนิทลอบลงไปนิมนต์พระพรหมณะวัดปากคลองช้างว่าเจ้าฟ้าอไภยทศเสดจมาอยู่ณะพระตำหนักพระนครหลวงได้สามวันแล้ว บัดนี้มีรับสั่งให้มานิมนต์พระผู้เปนเจ้าขึ้นไป ครั้นพระพรหมได้แจ้งดังนั้นจึ่งว่า แก่ผู้ซึ่งมานิมนต์ว่าถ้าแลลูกกูยังอยู่จริง ไหนเลยจะอยู่แต่ที่พระนครหลวงเล่า ก็จะลงมาถึงกูนี้ การทั้งนี้หากโกหกหาจริงไม่ สูเจ้าอย่าเชื่อถือ ถ้าแลผู้ใดเชื่อมันถือมัน ผู้นั้นจะพลอยตายเสียเปล่า ผู้ซึ่งมานิมนต์ได้ยินดังนั้น ก็กลับไปบอกกันต่างคนต่างแตกหนีออกเสียเปนอันมาก ที่เชื่อถือยังอยู่นั้นก็มาก ครั้นรุ่งเช้ากระบถธรรมเถียรก็ขึ้นขี่ช้างแวดล้อมไปด้วยพวกพลทั้งหลาย ยกจากพระนครหลวงจะลงมาตีกรุงเทพมหานคร แลประกาษแก่คนทั้งหลายว่า ตัวกูคือเจ้าฟ้าอไภยทศ จะยกลงไปตีเอาราชสมบัติคืนให้จงได้ แลชาวคามนิคมทั้งหลายได้ยินดังนั้น ก็เชื่อฟังถือแท้ว่าเจ้าฟ้าอไภยทศ ต่างคนก็ถือเครื่องสาตราวุธต่าง ๆ ตามมีที่ไม่มีอาวุธสิ่งใด ก็ถือพร้าบ้าง ๆ ก็ได้กะตักแลเคียวแห่ห้อมล้อมช้างกระบถธรรมเถียรมาเปนอันมาก แลโห่ร้องยกมาทางคลองบ่อโพง จะเข้ามายังเพนียด ๚ะ๏ ขณะนั้นสมเดจ์พระเจ้าลูกเธอกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เสดจ์ทรงช้างพระที่นั่งอยู่ณะพะเนียด ทอดพระเนตรให้จับช้างอยู่กลางแปลง มีผู้มีชื่อมากราบทูลว่า พวกอ้ายคิดมิชอบคิดอ่านกันเปนอันมากบัดนี้ยกเข้ามาจะตีกรุง สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวร ตรัสได้ทรงฟังดังนั้นก็ตกพระไทย มีพระบัณฑูลตรัสใช้ตำรวจให้เอาม้าเรวรีบออกไปสืบดูอ้ายเหล่าร้ายยกมาถึงไหน แลตำรวจรับสั่งแล้วก็ขึ้นม้าเร็วควบขับรีบไป เหนพวกอ้ายกระบถยกมาถึงตำบยบ่อโพง จะข้ามคลองช้างแล้ว เหนพันไชยธุชอันธรรมเถียรตั้งไว้ให้ถือธง ขี่กระบือนำพลมาก่อน ตำรวจจับเอาตัวได้ภามาถวายกรมพระราชวัง มีพระบัณฑูลตรัสถามว่าใครยกมา พันไชยธุชกราบทูลว่าเจ้าฟ้าอไภยทศยกมา จึ่งตรัสว่ายกมาก็สู้กันเราจะกลัวอะไร จึ่งสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวก็ทอดพระเนตรไปแต่พะเนียด เหนอ้ายกระบถขี่ช้างยกรี้พลเข้ามาตามท้องทุ่ง จึ่งมีพระบัณฑูลตรัสใช้ขุนอินธิบาลให้เข้าไปกราบทูลพระกรุณาให้ทราบ จึ่งสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าหลวง ตรัสให้ทราบเหตุดังนั้นแล้วก็ตกพระไทย ดำรัศให้ผูกช้างต้นพลายมงคลจักรพาฬมาประเทียบเกย แล้วเสดจ์ทรงพระคชาธารแวดล้อมด้วยข้าทูลอองธุลีพระบาททั้งหลายรีบเสดจ์ขึ้นไปวังน่า แล้วดำรัสให้มหาดเล็กมีชื่อให้ไปเชิญพระแสงขอพลพ่ายอันเปนของพระนเรศวร ทรงชนช้างกับมหาอุปราชาอันเกบไว้นั้นมาว่าจะทรง มหาดเล็กรับพระราชโองการแล้วก็วิ่งมาโรงแสง ณะพระคลังแสงสรรพวุธ พระเจ้าแผ่นดินก็รีบเสดจ์ไป ๚ะ๏ ฝ่ายสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชจังบวรตำรัศสั่งให้ตระเตรียมกันจะรับที่พะเนียด ขณะนั้นเจ้าพระยาธรรมาอยู่นั้นด้วย จึ่งกราบทูลว่า ซึ่งจะตั้งรับที่พะเนียดเหนไม่ชอบกล ขอเชิญเสดจ์พระราชตำเนินเข้าไปรับในกรุงเหนจะดีกว่า สมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวเหนชอบด้วย จึ่งเสดจ์เข้ามาในกรุง มิได้เสดจ์ไปพระราชวัง เสดจ์ตรงขึ้นไปบนป้อมมหาไชย ดำรัศให้ตรวจจัดรี้พลขึ้นไปประจำรักษาน่าที่เชิงเทินตรงพระราชรังบวรสถานมงคล ฝ่ายกระบถธรรมเถียรขับช้างยกรี้พลมาถึงพะเนียด มิได้เหนผู้ใดตั้งรับ แล้วก็ยกเข้ามายืนช้างอยู่ฟากวัดมณฑปตรงรอทำนบน่าพระราชวังบวร ๚ะ๏ จึ่งสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวมหาอุปราช ก็มีพระบัณฑูรตรัสให้เจ้าพนักงานบันจุปืนใหญ่ณะป้อมมหาไชย จะยิงเอาตัวกระบถ ครั้นบันจุแล้ว ก็ทรงตั้งสัตยาธิฐานว่า ข้าแต่เทพยุดาสุรารักษอันสิงสู่รักษาปืนใหญ่นี้ ถ้าแลข้าพเจ้าบุญน้อยมิอาจสามารถจะดำรงราชสมบัติไว้ได้ แลจะถึงปราไชยแก่ประจามิตรแล้ว แลจะจุดปืนบัดนี้ ขอให้ปืนจงแตกออกต้องข้าพเจ้าให้ถึงแก่ชีวิตรอันตรายเถิด ถ้าแลข้าพเจ้ามีบุญญาภิสังขารบารมีมาก อาจสามารถจะดำรงราชสมบัติในเสวตรฉัตรเฉลิมแผ่นดินสยามประเทศได้ไซ้ ขอให้กระสุนปืนใหญ่ไปต้องดัษกรให้พินาศฉิบหายเถิด ๚ะ๏ ครั้นทรงอธิฐานแล้วก็เสดจ์ทรงรับชุดจุดชนวนปืนใหญ่ แลเพลิงชนวนนั้นมิได้ติดดินดำ ก็ทรงพระประวิตกสงไสยหนัก จึ่งให้ไขกระสุนดินดำซึ่งประจุไว้นั้นออกมาจึ่งรู้ว่าประจุผิด เอากระสุนประจุเข้าก่อนเอาดินดำประจุทีหลังก็ทรงพระพิโรธยิ่งนัก จึ่งดำรัศให้ว่ามันเปนพวกอ้ายขบถ จึ่งให้ประหารชีวิตรผู้บันจุปืนนั้นเสียแล้ว ให้บันจุใหม่ ทรงรับชุดจุดชนวนอีกครั้งหลัง กระสุนปืนใหญ่นั้นก็ออกไปต้องช้างซึ่งขบถธรรมเถียรขี่มานั้นล้มลงตายในที่นั้น แลขบถธรรมเถียรกับอ้ายคุลาทาษนั้นก็ตกลงจากช้างเจ็บป่วยเปนสาหัศ ก็หนีไปเร้นอยู่ณะวัดทนานป่าเข้าสาร แลสมักพักพวกอ้ายขบถทั้งหลายนั้นแตกฉานหนีไปทุกตำบล จึงมีพระบัณฑูรสั่งให้ข้าหลวงออกไปติดตามเอาตัวอ้ายขบถ แลพวกข้าหลวงได้ตัวอ้ายขบถธรรมเถียร แลอ้ายคุลาทาษณะวัดนั้นมาถวาย จึ่งพระบัณฑูรตรัสใช้ขุนพรหมธิบาลให้เข้าไปกราบทูลพระกรุณาสมเดจ์พระราชบิดาให้ทราบ โดยเหตุอ้ายขบถพ่ายแพ้ทุกประการ ๚ะ๏ ส่วนพระบาทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าหลวงเสดจ์ยาตราพระคชาธารมาถึงต้นตะพานช้าง ภอมหาดเล็กซึ่งไปเชิญพระแสงฃอนั้นมาทันเข้าก็ทูลเกล้าถวาย ทรงรับพระแสงฃอพาดกระพองพระยาสารลง พอขุนพรหมธิบาลมาถึงถวายบังคมทูลประพฤติเหตุทั้งปวง พร้อมกันเข้าที่นั้นก็ดีพระไทย จึ่งมีพระราชโองการตรัสสั่งให้กะเกนกันไปตามจับสมักภักพวกอ้ายกระบถให้ได้จนสิ้นเชิง แล้วเสดจกลับยังพระราชวัง ๚ะ๏ ฝ่ายสมเดจพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวร ก็ดำรัศให้กะเกนข้าหลวงไปติดตามจับกุมภักพวกอ้ายเหล่าร้าย แล้วเสดจ์มายังพระราชวังหลวง ขึ้นเฝ้าสมเดจ์พระราชบิดาถวายบังคมทูลแถลงการทั้งปวง ให้ทราบสิ้นทุกประการ ครั้นได้ภักพวกอ้ายคิดมิชอบสิ้นเชิงแล้ว ก็ให้ประหารชีวิตรอ้ายกระบถธรรมเถียร แลภักพวกต้นเหตุทั้งปวงนั้นเสียเปนอันมาก ที่เปนแต่ปลายเหตุนั้นให้จำใส่เรือนตรุแลส่งไปเปนตพุ่นหญ้าช้างนั้นก็มาก ที่แตกหนีเข้าป่าดงไปนั้นก็มาก จนบ้านแขวงเมืองสระบูรีเมืองลพบูรี แลแขวงขุนนครร้างเสียหลายตำบล ๚ะ๏ ในขณะเมื่อลุศักราช ๑๐๔๕ ปีกุน เบญจศก ล่วงไปแล้วนั้น สมเดจพระเจ้าอยู่หัว แรกเสดจขึ้นราชาภิเศกเสวยราชสมบัติ แลมีพระราชโองการให้หาบันดาท้าวพระยาพระหัวเมืองข้างปากใต้ฝ่ายเหนือทั้งหลายเข้ามาถวายบังคมถือน้ำพิพัฒสัตยาทุกหัวเมือง แต่พระยายมราชสัง ซึ่งไปครองเมืองนครราชสีมา แลพระยารามเดโช ซึ่งไปครองเมืองนครศรีธรรมราชครั้งสมเดจพระนารายน์เปนเจ้านั้นแจ้งว่าพระเจ้าอยู่หัวได้เสวยราชสมบัติแล้ว แลพระยาทั้งสองก็บังเกิดทิฐิมาณะ กระด้างกระเดื่องขัดรับสั่งแขงเมืองอยู่มิได้เข้ามาบังคม ครั้นเมื่อเสรจการฆ่าพวกอ้ายกระบถธรรมเถียรแล้ว สมเดจพระเจ้าอยู่หัวก็มีพระราชดำรัศปฤกษาด้วยพระบรมโอรสาธิราชกรมพระราชวังบวรว่า ซึ่งหัวเมืองทั้งสองเปนกระบถแขงเมืองอยู่ฉนี้จะไว้ช้ามิได้ จำจะเกนกองทับยกไปตีเสียจึ่งจะชอบ แต่ทว่าเมืองนครราชสีมาอยู่ใกล้ควรจะให้ไปตีเสียก่อน ครั้นได้แล้วจึ่งให้ไปตีเอาเมืองนครศรีธรรมราชต่อภายหลัง สมเดจพระบรมโอรสาธิราชก็เหนชอบด้วยโดยพระราชบรรหารทุกประการ จึ่งมีพระราชดำรัศสั่งสมุหนายกให้ตระเตรียมรี้พลเครื่องสรรพาวุธไว้ให้สรัพ ๚ะ๏ ขณะนั้นพระยาสีหราชเดโชครั้นสมเดจพระนารายน์สวรรคตเสียแล้ว แลทรงพระกรุณาตั้งข้าหลวงเดิมคนหนึ่ง เปนพระยาสีหราชเดโชแทนที่ แล้วตำรัศให้เปนแม่ทับไปตีเมืองนครราชสีมา แล้วตั้งข้าหลวงเดิมคนหนึ่ง เปนพระยานครราชสีมาให้เปนกองน่าถ้าตีได้เมืองนครราชสีมาแล้วให้อยู่รั้งเมือง แล้วตำรัศให้ท้าวพระยาอาษาหกเหล่าทั้งหลาย เปนยุกระบัตรเกียกกายกองหลัง แลพลสกรรจ์ลำเครื่อง ๑๐๐๐๐ ช้างเครื่อง ๒๐๐ ม้า ๓๐๐ แลเครื่องสาตราวุธปืนใหญ่ปืนน้อย กระสุน ดินประสิว แลเสบียงอาหารสำหรับทับพร้อมเสรจ ครั้นถึงวันอันได้มหาพิไชยฤกษ์ในเดือนสี่ปีชวดฉศก จึ่งพระยาสีหราชเดโชแลท้าวพระยานายทับนายกองทั้งหลาย ก็กราบถวายบังคมลายกช้างม้ารี้พลโดยทางเมืองสระบูรี ๚ะ๏ ฝ่ายพระยานครราชสีมาแจ้งว่า กองทับกรุงยกขึ้นมาดังนั้น ก็ตรวจจัดรี้พลเครื่องสรรพาวุธทั้งปวงพร้อมสรรพ แล้วแต่งทับยกลงมาตั้งค่ายรายรับตามระยะทางนั้นเปนหลายตำบล ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับพระยาสีหราชเดโช ก็ยกขึ้นไปตีค่ายชาวเมืองอันมาตั้งรับนั้น แลได้รบพุ่งกันเปนสามารถ กองทับชาวนครราชสีมาต้านทานมิได้ ก็แตกฉานไปทุก ๆ ค่าย แลพ่ายแพ้กลับเข้าเมือง กองทับกรุงตีค่ายรายทางทั้งหลายแตกฉาน แล้วก็ยกติดตามไปถึงเมือง แลพระยานครราชสีมาก็ตรวจจัดพลทหารขึ้นประจำน่าที่เชิงเทินปราการเมืองโดยรอบคอบ กอบด้วยเครื่องสรรพายุธปืนใหญ่ปืนน้อยทั้งปวงพร้อมสรัพแลป้องกันเมืองเปนสามารถ ๚ะ๏ ฝ่ายทับกรุงก็ยกเข้าตั้งค่ายรายล้อมเมืองนครราชสีมาโดยรอบแล้ว แต่งพลอาษาสามพันยกเข้าป่ายปีนปล้นเอาเมือง ชาวเมืองรบพุ่งป้องกันเปนสามารถ แลพุ่งสาตราวุธปืนใหญ่ปืนน้อย ระดมยิงออกมาต้องพลอาษาทับกรุงล้มตายบาดเจ็บเปนอันมาก เหนจะป่ายปีนเอามิได้ก็ถอยออกมา แต่ยกเข้าปล้นดั่งนั้นเปนหลายครั้ง ชาวเมืองรบพุ่งป้องกันต้านทานอยู่เปนสามารถ รี้พลล้มตายจะปล้นเอามิได้ ก็ล้อมแต่มั่นไว้ แต่ตั้งล้อมอยู่เปนหลายเดือน จนเสบียงอาหารก็ขาดลง รี้พลอดหยากซูุบผอมไข้เจบล้มตายเปนอันมาก บ้างหลบหลีกหนีไปจากกองทับนั้นก็มาก แลท้าวพระยานายทับนายกองทั้งหลายปฤกษากันบอกลงมาถึงสมุหนายกขอกองทับยกหนุนขึ้นไปช่วย แลฃอกระสุนดินดำแลเสบียงอาหารสำหรับทับทั้งปวง จึ่งเจ้าพระยาจักรีกราบบังคมทูลพระกรุณาโดยในบอกทั้งปวงนั้นให้ทราบสิ้นทุกประการ พระบาทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ตรัสได้ทรงทราบประพฤติเหตุดั่งนั้น ก็ทรงพระพิโรธตำรัศว่า อ้ายเหล่านี้ใช้ให้ไปตีเมืองนครราชสีมานิดหนึ่งเท่านี้ ทับหมื่นหนึ่งยกไปยังว่าหาหักเอาได้ไม่ อ้ายเหล่านี้ควรจะเลี้ยงมันได้ฤๅ แล้วตำรัศให้สมุหนายกแต่งข้าหลวงขึ้นไปกุมเอาท้าวพระยา นายทับนายกองทั้งหลายพรรทนาลงมายังกรุงเทพมหานคร ครั้นได้ตัวมาแล้ว ก็ให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยน แล้วริบทรัพย์สินเครื่องอัญมณีทั้งปวง แล้วให้ทเวนบกทเวนเรือสามวัน แล้วประหารชีวิตรนายทับนายกองเสียเปนอันมาก ๚ะ๏ แล้วทรงพระกรุณาตำรัศสั่งอัคมหาเสนาบดี ให้เกนกองทับยกขึ้นไปตีเมืองนครราชสีมาใหม่เล่า แลเจ้าพนักงานซึ่งไปเบิกดินดำในตึกดิน เอาจอบขุดตุมพะเนียงซึ่งใส่ดินอันผนึกไว้นั้นขึ้น ก็เปนประกายเพลิงกระเดนลงในดินดำ ๆ นั้นก็วุบขึ้นเปนอันหนึ่งอันเดียว แลเทือกดินนั้นมากมีกำลังมาก ก็โชดขึ้นทำลายทัพสัมภารแห่งตึกนั้นพังลง แล้วหอบหุ้มขึ้นบนอากาษแตกไปโดยทิศน้อยทิศใหญ่ เสียงกึกก้องสนั่นหวั่นไหวกำปนาทพระธรณีดุจเสียงมหาอสนีบาต ต้องชาวพระนครล้มตายเจ็บป่วยได้ทุกขเวทนาเปนอันมาก แลได้ลูกดินนั้นก็น้อย จึ่งเกนกองทับแต่ห้าพันสรัพด้วยช้างม้าเครื่องสาตราวุธ แลเสบียงอาหารทั้งปวงยกขึ้นไป ๚ะ๏ ครั้นไปถึงเมืองนครราชสีมา ก็ให้ตั้งค่ายล้อมเมืองไว้ดุจครั้งก่อน แลพระยานครราชสีมาก็ตรวจจัดรี้พล ขึ้นอยู่ประจำรักษาน่าที่เชิงเทินปราการ ป้องกันเมืองเปนสามารถ ทับกรุงยกเข้าแหกหักเปนหลายครั้ง ชาวเมืองรบพุ่งป้องกันทั้งกลางวันกลางคืนไม่ย่อหย่อน ทับกรุงแหกหักเอามิได้ก็ตั้งล้อมมั่นไว้ แต่ทับกรุงยกขึ้นไปเขี้ยวขับทำสงครามด้วยชาวนครราชสีมาทั้งสองครั้ง ประมาณสองปีเสศชาวเมืองมิได้ทำนา สิ้นสองเทศกาลแล้ว เสบียงอาหารก็กันดารลง ไพร่พลเมืองอดหยากซูบผอมล้มตายเปนอันมาก บ้างยกครัวหนีออกจากเมืองนั้นก็มาก แต่ทว่าพระยายมราชเจ้าเมืองนี้ฝีมือเข้มแขง ตั้งเขี้ยวขับต้านทานอยู่มิได้แตกฉาน ๚ะ๏ อนึ่ง ท้าวทรงกันดารอู่ ซึ่งเปนโทษถอดเสียนั้น หนีขึ้นไปอยู่เมืองนครราชสีมาด้วย แลท้าวพระยานายทับนายกองซึ่งตั้งล้อมอยู่นั้น ก็ปฤกษากันเหนว่าจะแหกหักเอามิได้ ด้วยชาวเมืองรบพุ่งต้านทานแข็งมืออยู่ จึ่งคิดกลอุบายเปนหลายอย่าง แลให้ทำลูกปืนกลยิงไปตกลงแล้วก็สงบอยู่ ต่อเพลิงติจตามเข้าไปถึงดินเร็วจึ่งแตกออกถูกผู้คนล้มตาย อุบายอนึ่งนั้นให้ผูกว่าวจุลาใหญ่ชักขึ้นแล้ว เอาม่อดินผูกแขวนสายป่านอันใหญ่หย่อนเข้าไปในเมืองแลจุดเพลิงฉนวนล่ามไว้ ครั้นเพลิงฉนวนติจถึงดินแล้วให้ตกลงไหม้ในเมือง แลอุบายหนึ่งนั้นให้เอาเพลิงอางแพลมผูกลูกธนูยิงรดมเข้าไปเผาเมือง ครั้นจัดแจงแต่งการทั้งปวงพร้อมแล้วเพลากลางคืนดึกประมาณสามยาม ก็ให้ยิงปืนกลชักว่าวจุลา แลยิงธนูระดมเข้าไปพร้อมกัน แล้วแต่งพลอาษาหนุนเข้าไปปล้นเอาเมือง ฝ่ายชาวเมืองต้องปืนกลตายนั้นก็มาก ด้วยประมาทอยู่มิได้เคยภบเคยเหนมาแต่ก่อน แลม่อดินที่ผูกว่าวจุลาแลลูกธนูผูกเพลิงอางแพลมนั้น ก็ตกลงติดหลังคาเรือนทั้งปวงในเมืองนั้น เพลิงติดรุ่งโรจโชตนาการ ไหม้ไปทุกหนทุกแห่ง ชาวเมืองมิอาจอยู่รักษาน่าที่เชิงเทินได้ ต่างคนละน่าที่เสียวิ่งระส่ำระสายไปเปนอลหม่าน บ้างเสียเข้าของล้มตาย แลลำบากเวทนาอยู่นั้นก็มาก ก็เสียเมืองแก่ทับกรุง ๆ เข้าเมืองได้ ไล่จับผู้คนหาสิ่งของต่าง ๆ ๚ะ๏ แลตัวพระยานครราชสีหมานั้น ภาท้าวทรงกันดารครอบครัวบุตรภรรยาทแกล้วทหารทั้งปวง แหกหนีออกไปจากเมืองแต่ในกลางคืนหาได้ตัวไม่ กองทับได้เมืองนครราชสีมาแล้ว ๆ ก็แต่งหนังสือบอกลงมาถึงสมุหนายกให้กราบทูลพระกรุณาให้ทราบ พระบาทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ตรัสทราบประพฤติเหตุนั้นแล้ว ก็ดำรัศให้มีตราตอบขึ้นไปยังกองทับว่า ให้จัดแจงตั้งแต่งผู้รั้งกรมการอยู่รักษาเมืองให้ราบคาบเปนปรกติ แล้วก็ให้เลิกทับกลับมายังพระนครเถิด ๚ะ๏ ครั้นท้าวพระยานายทับนายกองทั้งหลาย ได้แจ้งในท้องตรานั้นแล้วก็ทำตามพระราชกำหนดขึ้นไปนั้นทุกประการ ครั้นเสรจแล้วก็เลิกทับกลับลงมายังกรุงเทพมหานคร แลขึ้นเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวกราบทูลแถลงโดยอันได้คิดอ่านทำการปล้นเอาเมืองนั้น ให้ทราบสิ้นทุกประการ สมเดจพระเจ้าแผ่นดิน ก็พระราชทานรางวัลแก่ท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวงเปนอันมาก โดยลำดับถานานุศักดิ ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๐๔๗ ปีฉลูสัพตศก ขณะนั้นสมเดจพระอรรคมเหษีฝ่ายขวา กรมหลวงโยธาทิพทรงพระครรภ์กำหนดถ้วนทศมาศก็ประสูตรพระราชโอรสประกอบด้วยศิริรูปเปนอันดี พระราชวงษานุวงษ ทั้งหลายถวายพระนามชื่อเจ้าพระขวัน แลเมื่อวันประสูตรเพลากลางคืนนั้น แผ่นดินไหวเปนอัษจรรย์ ครั้นทรงวัฒนาการขึ้นมา คนทั้งหลายนับถือมากด้วยเปนพระราชนัดาของสมเดจพระนารายน์เปนเจ้า เปนวงกระษัตริยอันประเสริฐ แลคนทั้งหลายเข้าสวามีภักดีเปนข้าใต้ฝ่าพระบาทเปนอันมาก ๚ะ๏ แลปีกุนเบญจศกแล้วนั้น สมเดจพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระดำริหว่า ที่บ้านหลวงตำบนป่าตองนั้น เปนที่มงคลศริราชถานอันประเสริฐ สมควรจะสร้างเปนพระอาราม มีพระอุโบสถวิหารการเปรียญติ์พระเจดียฐานกำแพงแก้ว แลกุฎีสงฆ์สาลาตะพานเวจกุฎีพร้อม แลทรงพระกรุณาให้หมื่นจันทราช่างเคลือบ ทำกระเบื้องเคลือบศรีเหลืองมุงพระอุโบสถวิหารทั้งปวง แลการสร้างพระอารามนั้น สามปีเสศ จึ่งสำเร็จในปีขารอัฐศก แล้วพระราชทานนามบัญญัติพระอาราม ชื่อวัดพระบรมพุทธาราม ตั้งเจ้าอธิการชื่อพระญาณสมโพธิราชาคณะคามวาสีครองพระอาราม แล้วทรงพระกรุณาให้มีการฉลอง แลมีการมหรรสพสามวัน แลทรงถวายไทยทานแก่พระสงฆ์เปนอันมาก แลพระราชทานเลขข้าพระไว้อุปรถากพระอารามก็มาก แล้วถวายพระกัลปนาขึ้นแก่พระอารามตามธรรมเนียม ๚ะ๏ ในศักราช ๑๐๔๘ ปีขารอัฐศกนั้น กรมการเมืองไชยาบอกข้อราชการเข้ามาถึงกรมพระกระลาโหม ในลักษณนั้นว่าเจ้าพระยานครสีธรรมราชเปนขบถแขงเมืองแลซ่องสุมผู้คนเครื่องสาตราวุธเปนอันมาก จะยกเข้ามาตีหัวเมืองฝ่ายตวันตกทั้งปวง ได้หัวเมืองทั้งปวงแล้วจะยกเข้าไปทำร้ายกรุง อนึ่งนายสังข์ยมราชเจ้าเมืองนครราชหสีมาซึ่งหนีไปได้นั้น ภาสมักภักพวกออกไปตั้งอยู่ณะพรมแดนเมืองนครสีธรรมราชแลแขวงไชยาต่อกัน แลคิดการขบถเข้าด้วยพระยานครสีธรรมราชอีก ตั้งซ่องสุมชาวนอกทั้งปวง แลผู้คนเข้าเกลี้ยกล่อมสังข์ยมราชนั้นก็มาก จึ่งเจ้าพระยาโกษาธิบดีนำเอาข้อราชการนั้นขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงทราบ พระบาทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ตรัสทราบเหตุดังนั้น ก็ทรงพระพิโรธดำรัศว่า อ้ายสองคนนี้องค์อาจนักจะไว้มันมิได้ ควรจะแต่งทับใหญ่ยกไปทั้งทางบกทางเรือปราบปรามมันเสียจึงจะชอบ อันอ้ายขบถสองคนนี้มันไม่พ้นเงื้อมมือเรา แม้นได้ตัวแล้วจะสับมิให้กากลืนแค้น แล้วมีพระราชดำรัศสั่งสมุหกะลาโหมให้ตรวจเตรียมช้างม้าเครื่องสรรพาวุธทั้งปวง แลเรือรบเรือไล่เรือลำเลียงเสบียงอาหารให้พร้อมไว้ทั้งทางบกทางเรือ แล้วมีพระราชโองการมาณพระบัณฑูรสุระสิงหนาทตำรัศเหนือเกล้า สั่งให้พระยาสุรสงครามเปนแม่ทับหลวง พระสุรเสนาเปนยุกรบัด พระยาเพชรบูรีเปนเกียกกาย พระยาสีหราชเดโชเปนกองน่า พระยาราชบูรีเปนทับหลัง ถือพลสกรรจ์ลำเครื่อง ๑๐๐๐๐ ช้างเครื่องสามร้อย สรรพด้วยเครื่องสรรพาวุธทั้งปวงยกไปทางบก ฝ่ายทับเรือนั้นให้พระยาราชบังสันเปนนายกองเรือรบทะเลร้อยลำ พลรบพลแจวห้าพันยกไปทางทะเลทับหนึ่ง แลให้ทับบกทับเรือยกไประดมตีเอาเมืองนครสีธรรมราช ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันได้มหาพิไชยฤกษ จึ่งพระยาสุรสงคราม พระยาราชบังสัน แลท้าวพระยานายทับนายกองทั้งหลาย ก็กราบถวายบังคมลา ยกทับไปตีเมืองนครศรีธรรมราช โดยลำดับสถลมาค ชลมารค ไปพร้อมทับกัน ณะเมืองไชยาบุรี แลแม่ทับบกเกนเอาผู้รั้งกรมการเมืองชุมภอนเมืองไชยา ถือพลหัวเมืองทั้งปวงเข้ามาบันจบทับยกไปด้วย แล้วกำหนดไปแก่กองทัพเรือให้ยกออกจากเมืองไชยาพร้อมกัน แลกองทับบกยกไปถึงพรมแดนเมืองไชยาแลเมืองนครสีธรรมราชต่อกัน ซึ่งนายสังข์ยมราชตั้งอยู่นั้น ก็เข้าล้อมไว้ในเพลากลางคืน แลนายสังข์ยมราชมิรู้ตัว ไม่ทันที่จะจัดแจงต้านทานให้มั่นคง ต้องจำเปนจำรบพุ่งผู้คนทแกล้วทหารมิทันพร้อมเพรียงกัน ระส่ำระสายไปเปนอลหม่าน แลนายสังข์ยมราชมีฝีมือเข้มแขง ถือพลทหารออกแหกหักจะออกมา ทับกรุงต่อรบต้านทานไว้เปนสามารถ แล้วเข้ารุมตีกระหนาบเปนหลายกอง พวกนายสังข์ยมราชน้อยตัวเหลือกำลังแหกออกมามิได้ ก็แตกฉานล้มตายเปนอันมาก แลตัวนายสังข์ยมราชหนีไปมิพ้นกับทหารร่วมใจเจ็ดคนแปดคนด้วยกัน ก็ยืนประจำรบพุ่งอยู่จนตายในที่รบสิ้น ทับกรุงได้ไชยชำนะแลได้เชลยพวกนายสังข์ยมราชนั้นก็มาก ก็ยกล่วงแดนเมืองนครสีธรรมราชเข้าไป ๚ะ๏ ส่วนเจ้าพระยานครสีธรรมราชแจ้งว่าทับกรุงยกออกมาทั้งทับบกทับเรือ แลเสียสังข์ยมราชแก่ทับบกดังนั้นก็เสียใจ จึ่งแต่งทับบกทับเรือยกไปรบพุ่งต้านทานไว้ ให้อย่อนกำลังศึกลงก่อน แล้วกวาดเอาครอบครัวอพยพบ้านนอกทั้งปวงแลเสบียงอาหารเข้าไว้ในเมืองเปนอันมาก แล้วตกแต่งปราการป้อมค่ายคูประตูหอรบปักขวากหนามตามทำนองศึกพร้อมเสรจ แลจัดแจงบ้านเรือนบำรุงทแกล้วทหารไว้คอยต้านทานรบพุ่งทับกรุงเปนสามารถ ๚ะ๏ ฝ่ายทับเรือพระยาราชบังสรรยกไปทางทเลล่วงแดนเข้าเมืองนครศรีธรรมราชก่อนทับบก ได้ยุทธนาการด้วยทับเรือเมืองนครสีธรรมราชในกลางทเล แลทับเรือเมืองนครต่อรบต้านทานเปนสามารถ ทับเรือฝ่ายกรุงจะหักเอามิได้ ก็ทอดสมอรอยิงกันอยู่เปนหลายวัน เสียงปืนใหญ่สนั่นครั่นคฤกกึกก้องสเทือนท้องมหรรนพนที ดุจเสียงมหาวาตะพยุหใหญ่ถ้อยทีมิได้มีไชยชำนะแก่กัน ส่วนทับบกนั้นก็ไปปะทะทับเมืองนครศรีธรรมราช ตั้งค่ายรับอยู่เปนหลายค่าย ก็ยกเข้าโจมตีได้ยุทธนาการด้วยชาวนครศรีธรรมราช ๆ รบพุ่งต้านต่อเปนสามารถจนถึงอาวุธสั้น ทับกรุงหักเอามิได้ ก็ตั้งค่ายรายล้อมอ้อมโอบค่ายชาวนครศรีธรรมราชเข้าไว้ แลได้ต่อยุทธนาการหลายวันหลายเพลา แลกองทับเมืองนครเหนทับกรุงมีฝีมือเข้มแขงจะรับไว้มิอยู่ ก็แหกหนีออกจากค่ายแต่ในกลางคืน ทับกรุงไล่ติดตามไปในทันที ทับเมืองนครมิได้รอรับ วิ่งกระจัดพรัดพรายพ่ายหนีไปเปนอลม่าน ไม่เปนตำบลสนทยา เสียพลช้างม้าเครื่องสาตราวุธแก่ทับกรุงเปนอันมาก ที่ต้องอาวุธบาดเจบล้มตายทั้งนายและไพร่นั้นก็มาก ก็รุดทับหนีไปยังเมืองนครศรีธรรมราช ๚ะ๏ ฝ่ายทับกรุงได้ไชยชำนะ จับได้ช้างม้าคนเชลยอาวุธต่าง ๆ เปนอันมากก็ยกติดตามไป ครั้นแจ้งว่าข้างทับเรือชาวเมืองนคร รบต้านทานอยู่เปนสามารถเข้ายังมิได้ก็ยกกองทับลงไปช่วยตีกระหนาบสะกัดหลังทางทเล แลทับเรือเมืองนครถูกทับกระหนาบน่าหลังเสียรี้พลล้มตายมากทานมิได้แตกฉานพ่ายหนี แลชักใบแล่นกลับไปโดยทิศานุทิศทั้งปวง กองทับกรุงได้ไชยชำนะ ก็ยกเข้าล้อมเมืองนครศรีธรรมราชพร้อมกันทั้งทับบกทับเรือ แลตั้งค่ายรายล้อมไปรอบเมือง ๚ะ๏ ฝ่ายพระยารามเดโชเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ครั้นเสียทับบกทับเรือแก่ฆ่าศึกดังนั้นก็เสียใจ จึ่งจัดทหารขึ้นประจำรักษาน่าที่เชิงเทินโดยรอบ กอประด้วยเครื่องสรรพาวุธป้องกันเมืองเปนสามารถ แล้วแต่งทับออกไปตีฆ่าศึก แลได้รบกันทุกๆวันมิได้ขาดจนรามือกันลงแล้ว นัดกันแต่งทหารชำนาญดาบโล่ดาบด้างดาบสองมือให้ออกรำสู้กันตามกระบวนเพลงตัวต่อตัวเปนหลายครั้ง แต่ทับกรุงกับชาวนครตั้งเขี้ยวเขนทำสงครามกันมาช้านานประมาณถึงสามปี ถ้อยทีมีฝีมือเข้มแขงมิได้มีไชยแลปราไชยแก่กัน แลพลซึ่งรักษาน่าที่ แลพลค่ายล้อมร้องเพลงภ้อกันไปมาต่าง ๆ ฝ่ายทับกรุงมีเรือลำเลียงเข้าเสบียงอาหารส่งกันอยู่มิได้ขาด เลี้ยงรี้พลมิได้อดหยากซูบผอม แลบริบูรณอยู่สิ้นกำลังศึกแข็งมืออยู่ ฝ่ายในเมืองสิ้นเสบียงอาหารผู้คนอดอยากซูบผอมล้มตายมาก กำลังศึกก็ถอยลงแลมิอาจยกออกมาต่อตีนอกเมืองได้ ก็รักษาแต่มั่นไว้ แลกองทับกรุงเหนชาวเมืองกำลังศึกถอยลง ก็แต่งพลอาษาสองพันยกเข้าถอนขวากหนามข้ามคูเข้าไปเอาบันไดภาดป่ายปีนปล้นเอาเมือง แลพระยารามเดโชเจ้าเมืองมายืนให้พลทหารรบพุ่งป้องกันเปนสามารถ แลพุ่งสาตราวุธแหลนหลาวยิงปืนใหญ่จ่ารงมณฑกนกสรับระดมออกไปดังห่าฝน ต้องพลอาษาทับกรุงล้มตายบาดเจบมาก แลจะปล้นเอามิได้ก็พ่ายออกไป จึ่งแม่ทับให้ทำทุบทูบังตัวกันอาวุธยกเข้ามาปล้นอีกเล่า แลขุดอุโมงค์รุ้งเข้ามาใกล้เชิงกำแพงเมือง ชาวเมืองพุ่งสาตราวุธมิได้ถูกต้อง จึ่งพระยารามเดโชเจ้าเมือง ก็แต่งพลทหารออกทลวงฟันฆ่าศึกซึ่งขุดอุโมงคเข้ามานั้น แลได้ต่อยุทธนาถึงอาวุธสั้น ประจันจู่โจมฟันพลอาษาทับกรุงล้มตายมาก เหนจะทำการมิได้ก็กลับไป แลบันดาขุนนางกรมการทั้งหลายในเมืองนคร เอาใจลงด้วยพระยารามเดโชเปนขบถแขงเมืองสิ้นทั้งนั้นช่วยกันตรวจตรารักษาน่าที่เชิงเทินป้องกันเมืองเปนกวดขันมิให้เอาใจออกหาก แลประนีประนอมกันอยู่สิ้น จึ่งพระยารามเดโชก็ปฤกษาด้วยขุนนางกรมการทั้งปวงว่า ซึ่งทับกรุงยกออกมาตีเมืองเราบัดนี้ ได้ยกเข้ามาปล้นหลายครั้งทำมิได้ก็ระอามือเราอยู่ แลศึกเราได้ทีจะละไว้มิได้ ควรจะยกออกไปตีให้แตกฉานพ่ายไปเสียจึ่งจะชอบ แลขุนนางกรมการทั้งปวงก็เหนด้วย จึ่งให้จัดพลทหารที่มีฝีมือเข้มแขงประมาณสามพันล้วนถืออาวุธสั้น แลพระยารามเดโชก็ยกพลทหารออกจากเมืองในกลางคืนแลขับพลทหารเข้าไปปล้นค่ายฆ่าศึก แลพลทับกรุงซึ่งรักษาน่าที่ล้อม รู้ตัวก็สาดปืนไฟใหญ่น้อยยิงออกมา แล้วยกออกมาจากค่ายไล่ทลวงฟันพลทหารชาวเมืองนคร ๆ ก็ยืนยันประจันบานต่อยุทธโห่อึงอุดเอาไชย รี้พลล้มตายทั้งสองฝ่าย แต่ทว่าพวกชาวเมืองตายมากกว่าประมาณสองเท่า แลพระยารามเดโชเหนจะเอาไชยชำนะมิได้ ก็พ่ายกลับเข้าเมือง แต่ยกออกปล้นค่ายดังนี้เปนหลายครั้ง เสียรี้พลทแกล้วทหารมาก จะตีให้แตกฉานมิได้ก็รักษาแต่มั่นไว้ บันดาไพร่พลเมืองทั้งหลายอดหยากอาหารซูบผอมมากแลล้มตายเปลืองไปทุกวัน ๆ แลเสบียงอาหารเปียกแว้งเลี้ยงกันไปก็สิ้นมือลง เจ้าพระยานครศรีธรรมราชก็เศร้าใจ เหนจะรักษาเมืองไว้มิได้ ด้วยขัดเสบียงอาหารจะแต่งออกลาดหากินนอกเมืองก็ไม่ได้ ด้วยฆ่าศึกตั้งล้อมไว้โดยรอบ มิรู้ที่จะคิดอุบายถ่ายเทเลย จึ่งคิดว่าซึ่งกูจะอยู่ในเมืองให้พวกประทุษร้ายแผ่นดินจับได้นั้นอย่าสงไสย กูจะหนีไปให้รอด แต่อุบายซึ่งจะหนีไปนั้น เหนจะเอาธุระได้ก็แต่พระยาราชบังสันซึ่งเปนแม่ทับเรือออกมานั้น ด้วยเปนสหายเพื่อนรักกันมาแต่ก่อน เหนจะเสียกันมิได้ จะช่วยแก้ไขกันไปรอด ๚ะ๏ จึ่งแต่งหนังสือลับให้คนสนิทไว้ใจถือลอบออกไป ถึงพระยาราชบังสันเปนใจความว่า หนังสือเราพระยารามเดโชมาถึงสหายเราพระยาราชบังสัน ด้วยเราทั้งสองเปนข้าทูลละอองธุลีพระบาท สมเดจ์บรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวแห่งเรามาด้วยกัน แลเปนสหายรักคู่ชีวิตรจิตใจได้ศุขทุกข์ทำราชการสนองพระเดชพระคุณมาแต่ก่อนเปนอันมาก แลครั้งเมื่อทรงพระกรุณาดำรัศใช้ให้ไปตีเมืองลาวเมืองลว้า แลตีพม่าซึ่งยกตามมอญเข้ามาตั้งณะเมืองไซโยกนั้น แลเราทั้งสองก็เปนคู่ทุกข์คู่ยากได้ทำราชการสงครามเอาไชยชำนะมาทูลเกล้าถวายด้วยกันเปนหลายครั้ง แลสมเดจพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระกรุณาโปรดปรานพระราชทานยศศักดิ์ชุบเลี้ยงเราทั้งสองถึงขนาด แลเมื่อพระองค์ทรงพระประชวรนั้นมีทาษปรปักข์กล่าวคือพระเพทราชาแลหลวงสระศักดิ์สองคนพ่อลูกละน้ำพิพัฒสัตยาเสีย คิดอ่านทำการขบถข่วงชิงเอาราชสมบัติ แลเสนาบดีทั้งปวงในกรุงมิได้มีผู้ใดช่วยคิดอ่านทำการกำจัดสัตรูราชสมบัติเสียได้ แลพระองค์ทรงพระโทมนัสจนเสดจสวรรคต แลราชสมบัติก็ได้สิทธิแก่พระเพทราชา แล้วให้หาท้าวพระยาพระหัวเมืองทั้งหลายเข้าไปถวายบังคม ฝ่ายเราขัดแขงอยู่มิได้เข้าไปนั้น ใช่ว่าตัวเราจะเปนขบถต่อแผ่นดินนั้นหามิได้ เหตุว่าเราคิดกตัญูในพระผู้เปนเจ้าของเราซึ่งเสดจ์สวรรคตนั้น จึ่งมิได้เข้าไปอ่อนน้อมยอมตัวเปนข้าผู้ประทุษร้ายแผ่นดิน ประการหนึ่งก็เกิดมาเปนชายชาติทหารคนหนึ่งก็มีทิฐิมานะอยู่บ้าง ที่ไม่เคยกลัวเกรงนบนอบไซ้ ก็ไม่นบนอบได้ถือตัวอยู่ ตามประเพณีคะดีโลกย์วิไสย จึ่งมีศึกยกมาติดเมืองเรา แลทับกรุงกับเราได้ทำยุทธนาการสงครามกันมาช้านาน ใช่ว่าทแกล้วทหารแห่งเราจะเขจ์ขามคร้ามฝีมือศึกพลทหารกรุงนั้นหามิได้ ก็ภอสู้รบกันได้อยู่ แลบัดนี้ฝ่ายเราอย่อนกำลังลงด้วยขัดเสบียงอาหารจำเปนจำแพ้ด้วยออกลาดหากินมิได้ เหนจะรักษาเมืองไว้เปนอันยาก เราไม่สู้รบแล้ว จะหนีไปจากเมือง แลซึ่งจะแหกออกนั้นอย่าคิดเลย ว่าค่ายล้อมทับกรุงจะทานฝีมือเราได้ คงเราจะแหกออกไปได้ไม่ขัดสน แต่ทว่าจะไปมิตลอดด้วยไม่มีนาวาที่จะไป แลซึ่งเราจะไปให้รอดจากชีวิตรอันตรายครั้งนี้ก็เพราะสหายเราจะเอาธุระเรา แลสหายเราจงคิดถึงความทุกขความยากด้วยกันมาแต่หนหลัง ครั้งเปนข้าทูลละอองธุลีพระบาท สมเดจพระเจ้าอยู่หัวแห่งเรามาด้วยกันนั้น แลจงได้เมตาการุญภาพอนุเคราะหแก่เราครั้งนี้เถิด ช่วยจัดแจงเรือรบไว้รับน่าท่าศักลำหนึ่ง ในสามวันเราจะแหกออกไปโดยค่ายล้อมด้านสหายเรา แลลงเรือได้แล้วก็จะลาสหายเราหนีไปตามยถากรรมของเรา ๚ะ๏ ครั้นพระยาราชบังสันได้แจ้งในหนังสือนั้นแล้ว ก็คิดถึงความหลังซึ่งได้เปนสหายรัก แลเปนเพื่อนทุกข์ยากมาแต่ก่อนนั้น ก็มีจิตรคิดเมตตาแก่พระยารามเดโชยิ่งนัก ด้วยเปนชาติแขกด้วยกัน แล้วเข้าใจว่า การนี้ลับอยู่มิได้มีผู้ใดรู้เหน ก็จัดแจงเรือรบไว้รับณน่าท่าลำหนึ่ง แล้วเขียนหนังสือลับเปนใจความว่า ซึ่งธุระของสหายเราต้องประสงค์นั้น เราก็จัดแจงไว้พร้อมแล้ว จงรีบออกมาโดยเรวเถิด อย่าให้เนิ่นช้า การจะเอิกเกริกไปเราจะได้ความผิด แล้วส่งหนังสือให้ผู้ถือออกมานั้น กลับเข้าไปแจ้งแก่พระยารามเดโช ๆ ได้แจ้งแล้วก็มีความยินดีนัก จึ่งสั่งทหารร่วมใจทั้งหลายห้าสิบเสศ ให้ตระเตรียมตัวให้พร้อมไว้ ครั้นค่ำลงพระยารามเดโชกับทหารร่วมใจทั้งหลาย ก็ไล่ฆ่าฟันบุตรภรรยาญาติแลขุนนางกรมการทั้งหลายตายสิ้น ตามประเพณีวิไสยแขกไม่สู้ จะหนีแล้วก็ย่อมฆ่ากันเสียสิ้น มิให้ฆ่าศึกได้ไปเปนเฉลย แลพระยารามเดโชคนนี้มีวิชาการดีฝีมือก็เข้มแขง แลคอยดูฤกษดีแล้ว แลตัวพระยารามเดโชก็ถือดาบสองมือนำหน้าพลทหารห้าสิบเสศ ล้วนถือดาบสองมือด้วยกันสิ้น เปิดประตูกรูกันออกจากเมืองในเพลากลางคืน แล้ววิ่งเข้าจู่โจมโรมรุกบุกบันฟันปีกกาค่ายล้อม ด้านริมแม่น้ำน่าที่พระยาราชบังสัน แลพลอาษาจามซึ่งรักษาค่ายล้อมทั้งหลายนั้น ก็ระดมปืนไฟใหญ่น้อยยิงแย้งออกมาเปนโกลาหล แลพระยารามเดโชกับพลทหารทั้งหลาย เปนคนดีมีวิชาอาวุธมิได้ถูกต้องแลมิได้ย่นย่อท้อถอย ก็แหกหักค่ายปีกกาพังลงได้ ก็ไล่ทลวงจ้วงฟ้อนฟันพลอาษาจามทั้งหลายล้มตาย แลลำบากเปนอันมาก พลค่ายล้อมทั้งหลายทานฝีมือมิได้ ก็แยกออกไปให้ พระยารามเดโช กับพลทหารทั้งหลายก็ไล่ฟาดฟันฝ่าพลทับกรุงแหวกเปนช่อง ๆ ออกไป มิได้มีผู้ใดต้านทาน ก็ภาพลทหารกรูกันลงได้ในเรือรบซึ่งพระยาราชบังสันจัดแจงจอดไว้รับณน่าท่านั้น แล้วออกเรือไปถึงทเล ชักใบแล่นออกไปยังมหาสมุท แล่นหนีไปยังเมืองแขก ทับกรุงก็เข้าเมืองได้ ไล่จับผู้คนเก็บสิ่งของทั้งปวง แลนายทับนายกองทั้งหลายแจ้งว่า ตัวขบถแหกหักออกได้ น่าที่พระยาราชบังสันแล้วได้เรือรบแล่นหนีไป พระยาราชบังสันมิได้จัดแจงทับเรือไปติดตามให้ทันที ละให้ตัวขบถหนีไปพ้นเหนผิดอยู่ จึ่งเอาคดีนี้ไปแจ้งแก่พระยาสุรสงครามแม่ทับหลวง ๆ ได้แจ้งดังนั้น ก็พิจารณาสืบสาวไต่สวนไล่เลียง แลการนั้นมิมิดก็ได้เนื้อความว่า พระยารามเดโชเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชสอดหนังสือลับออกไปถึงพระยาราชบังสัน ๆ รู้กันกับผู้คิดมิชอบ จัดแจงเรือรบไว้ให้นัดหมายให้ออกมา แลแล้วส่งตัวขบถให้หนีไปพ้น ครั้นไล่เลียงเปนสัตยแท้ แล้วก็ให้จำตัวพระยาราชบังสันเข้าห้าประการ แล้วออกหนังสือเข้าไปณกรุงเทพมหานคร ให้สมุหพระกลาโหมกราบทูลพระกรุณาโดยเหตุทั้งปวงนั้น ให้ทราบสิ้นทุกประการ ๚ะ๏ พระบาทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ตรัสทราบประพฤติเหตุดังนั้น ก็ทรงพระพิโรธแก่พระยาราชบังสันยิ่งนักดำรัศว่า มันเปนพวกอ้ายขบถ แล้วให้มีตราตอบออกไปยังกองทับว่าให้สืบสาวเอาพรรคพวกรู้เหนทั้งปวงได้แล้ว ก็ให้เอาตัวพระยาราชบังสันแลพรรคพวกรู้เหนทั้งหลายตระเวนสามวัน แล้วให้ประหารชีวิตรแลตัดศีศะเสียบไว้ณะประตูเมืองนครศรีธรรมราช อย่าให้ผู้อื่นดูเยี่ยงอย่างสืบไปภายน่า แล้วให้จัดแจงตั้งแต่งนายทับนายกอง ผู้ใดซึ่งมีฝีมือเข้มแขงมีความชอบมากให้อยู่ครองเมือง แลจัดแจงบ้านเมืองอาณาประชาราษฎรทั้งหลายให้ราบคาบเปนปรกติแล้ว ก็ให้เลิกทับกลับมายังกรุงเทพมหานครเถิด ๚ะ๏ ครั้นท้าวพระยานายทับนายกองทั้งหลาย ได้แจ้งในท้องตราดังนั้นแล้ว ก็กระทำดุจพระราชกำหนดออกไปนั้นทุกประการ แล้วตั้งแต่งผู้รั้งกรมการอยู่รักษาเมือง แลไว้อาณาประชาราษฎรช้างม้าเครื่องสาตราวุธสิ่งของทั้งหลายไว้สำหรับเมืองภอสมควร แล้วเลิกกองทับบกทับเรือกวาดคนเชลยช้างม้าเครื่องสาตราวุธสิ่งของทั้งหลายกลับเข้ามายังกรุงเทพมหานคร แลขึ้นเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวกราบทูลโดยเหตุทั้งปวง แล้วก็ถวายช้างม้าคนเชลย แลสิ่งของทั้งหลายซึ่งตีได้นั้นเปนอันมาก โดยสมควรแก่ความชอบนั้น ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๐๔๙ ปีเถาะนพศก สมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัศให้ช่างพนักงานจัดการสร้างพระมหาปราสาทองค์หนึ่งในพระราชวังข้างใน ครั้นเสรจแล้วพระราชทานนามบัญญัติพระมหาปราสาทชื่อพระที่นั่งบันยงค์รัตนาศน์ เปนสี่ปราสาทด้วยกันทั้งเก่าสาม คือพระที่นั่งวิหารสมเดจองค์หนึ่ง พระที่นั่งสรรเพชปราสาทองค์หนึ่ง พระที่นั่งสุริยามรินทรองค์หนึ่ง แล้วให้ขุดสระเปนคู่อยู่ซ้ายขวาพระที่นั่งบรรยงค์รัตนาศน์ แล้วให้ก่ออ่างแก้ว แลภูเขา มีธ่ออุทกธาราไหลลงในอ่างแก้วนั้น ที่ริมสระคู่พระมหาปราสาทนั้น แลให้ทำระหัดน้ำณอ่างแก้วริมน้ำ ฝังธ่อให้น้ำเดินเข้าไปผุดขึ้น ณ อ่างแก้วริมสระนั้น แลให้ทำพระที่นั่งทรงปืน ณ ท้ายสระเปนที่เสดจออก กลับเอาที่ท้ายสนมเปนที่ข้างน่า แลให้ทำศาลาลูกขุนในซ้ายขวา แลโปรดให้ขุนนางเข้าทูลลอองธุลีพระบาทณพระที่นั่งทรงปืน แลเข้าทางประตูมหาโภคราช ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๐๕๐ ปีมโรงสัมฤทธิศก ขณะนั้นสมเดจพระอัคมเหสีฝ่ายซ้าย กรมหลวงโยธาเทพ ทรงพระครรภ์กำหนดถ้วนทศมาสประสูตรพระราชโอรสกอประด้วยศรีระวรรณลักษณเปนอันดี พระญาติวงษานุวงษ์ทั้งหลายก็ถวายพระนามว่าตรัสน้อย แต่สมเดจพระบรมราชบิดาตรัสเรียกว่าสามอย่าง ๚ะ๏ ในปีมโรงสัมฤทธิ์ศกนั้น ทรงพระกรุณาให้ต่อกำปั่นใหญ่ลำหนึ่งแลให้ทูตานุทูตคุมเครื่องราชบรรณาการ ออกไปเจริญทางพระราชไมตรี ณกรุงฝรั่งเสศ เหมือนเมื่อเจ้าพระยาโกษาปานออกไป ครั้งแผ่นดินสมเดจพระนารายน์เปนเจ้าก่อนนั้น ถึงปีมเมียโทศกทูตานุทูตกลับเข้ามาแต่เมืองฝรั่งเสศ คุมเอาสิ่งของเครื่องราชบรรณาการต่างๆเปนอันมาก ซึ่งพระเจ้ากรุงทะมิฬเสรตรประเทศทรงตอบแทนมานั้น ขึ้นทูลเกล้าถวาย จึ่งทรงพระกรุณาโปรดให้ตั้งราชทูตเปนเจ้าพระยาพระคลังตามโบราณราชประเพณีเยี่ยงอย่างมาแต่ก่อน ๚ะ๏ ในเดือนหกปีมเมียโทศก ลุศักราช ๑๐๕๒ นั้น มีหนังสือบอกกรมการเมืองสวรรคโลกย์ลงมาถึงสมุหนายกว่า นายบุญเกิดคล้องนางช้างเผือกได้ณะป่าแขวงเมืองสวรรคโลกย์ สูงสี่ศอกมีนิ้ว สรรพด้วยคชลักษณงามบริบูรณ จึ่งเจ้าพระยาจักรีนำเอาข้อราชการสารเสวตรกีริณีนั้นขึ้นกราบทูลพระกรุณาให้ทราบ พระบาทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสทราบเหตุดั้งนั้น ก็ทรงพระปราโมชยิ่งนัก จึ่งดำรัศให้พระหลวงขุนหมื่นกรมช้างทั้งหลาย ขึ้นไปรับนางเสวตรกิริณีลงแพขนาน มีเรือแห่แหนตามบูรพประเพณี ล่องลงมายังพระนครศรีอยุทธยา ทรงพระกรุณาให้เทียบแพขนานเข้าณะพะเนียดให้นำนางช้างเผือกขึ้นประทับอยู่ณะโรงสมโพชณะตำบลพะเนียด แลให้มีการมหรสพสมโพชสามวัน แลนำลงเรือขนานมีเรือคู่ชักแห่แหนเปนขบวนเข้ามายังพระนคร แลให้นำนางเสวตรคเชนทร์ขึ้นไว้ณะโรงยอดในพระราชวัง แล้วทรงพระกรุณาพระราชทานขนานนามกร ชื่อพระอินทไอยราพตคชบดินทร์วรินทรเลิศฟ้า แลนายบุญเกิดซึ่งคล้องต้องนั้นก็พระราชทานเปนขุนอินทร์คชประเสริฐ แลพระราชทานขันทองหนักสามตำลึง เงินตราสามชั่ง เสื้อผ้าสามสำรับ แลพระราชทานตราภูมคุ้มห้ามส่วยสัดพิกัดอากรขนอนตลาดทั้งปวงสิ้น แลทรงพระกรุณาโปรดให้ไปทำกินอยู่ตามภูมลำเนาดุจแต่ก่อน ๚ะ๏ ในปีมเสงก่อนนั้น สมเดจพระเจ้าแผ่นดินทรงพระราชดำริห์ถึงคุณพระอาจาริย์เจ้าอธิการวัดพระยาแมน ซึ่งได้ถวายพยากรณ์ไว้ว่าจะได้เสวยราชสมบัติ แต่ยังทรงผนวชเปนภิกษุภาวอยู่ในวัดพระยาแมนนั้น แลพระผู้เปนเจ้าทำนายแม่นนัก แล้วได้ให้โอวาทานุสาศนในสมณกิจทั้งปวงมีพระคุณมาก ควรจะทำสนองพระคุณให้ถึงขนาด ครั้นทรงพระราชดำริห์แล้ว เพลาเช้าก็เสดจ์ด้วยเรือพระที่นั่งไปยังวัดพระยาแมน ครั้นถึงประทับเรือพระที่นั่งณะตะพานแล้วเสดจขึ้นยังพระอารามถวายนมัสการพระอาจาริย์ด้วยสัจเคารพแล้ว ก็ดำรัศซึ่งการจะสร้างพระอารามให้ถาวรณ์ขึ้นกว่าเก่า แลพระผู้เปนเจ้าให้อนุญาตแล้ว ก็เสดจกลับยังพระราชวัง มีพระราชตำรัศสั่งอรรคมหาเสนาบดี ให้กะเกนกันไปสร้างวัดพระยาแมน แลการสร้างพระอารามนั้น สองปีเสศจึ่งสำเรจในปีมแมตรีศก แล้วทรงพระกรุณาให้มีการฉลอง แลมีการมหรศภต่าง ๆ แลมีโจนร่มด้วย คำรบสามวันแล้วทรงถวายไทยทานแก่พระสงฆ์เปนอันมาก แลไว้ข้าพระสำหรับอุปถากพระอารามนั้นก็มาก แลถวายพระกัลปนาขึ้นพระอารามตามธรรมเนียมแล้ว ทรงพระกรุณาตั้งพระอาจาริย์เปนเจ้าอธิการวัดพระยาแมน ชื่อพระศรีสัจญาณมุนีราชาคะณะคามราคีถวายเครื่องสมณบริขารพร้อมตามศักดิ์พระราชาคณะทุกประการ ๚ะ๏ ในศักราช ๑๐๕๓ ปีมแมตรีศกนั้น ณวันจันเดือนเจดแรมหกค่ำ นักเสดจ์เถ้าซึ่งครองกรุงกัมพูชาประเทศ ให้ทูตานุทูตถือศุภอักษรเข้ามาถึงอรรคมหาเสนาธิบดี ณะกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา ในลักษณศุภอักษรนั้นว่า กองช้างณะกรุงกัมพูชาธิบดีไปโพนช้างคล้องต้องนางช้างเผือกสูงสามศอกคืบมีนิ้ว สรัพด้วยคชลักษณงามบริบูรณ แลพระเจ้ากรุงศรียโสทรนครอินทร์กุรุรัตนราชธาณี ขอถวายนางศรีเสวตรคเชนทรชาติกระษัตริย์ฉัตทันต์ตัวประเสริฐมาเปนพระบรมอรรคราชพาหนะแห่งพระบาทสมเดจพระนั่งเกล้า กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุทธยา ขอเอาพระราชกฤษฎาเดชานุภาพสมเดจพระนั่งเกล้า เปนที่พึ่งที่พำนักนิ์สืบไป และจะขอพระราชทานเชิญข้าหลวงกรมช้างออกไปรับเข้ามา จึ่งสมุหนายกนำลักษณ์ศุภอักษรพระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดีนั้น ขึ้นกราบทูลพระกรุณาให้ทราบสิ้นทุกประการ สมเดจพระบาทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ตรัสทราบเหตุดังนั้นก็ทรงพระโสมนัศ ดำรัศให้พระราชทานเสื้อผ้าแก่ทูตานุทูตคนละสำรับแล้ว ดำรัศให้ข้าหลวงสามนายแลกรมช้างออกไปด้วยทูตานุทูต แลให้นางช้างเผือกเข้ามาณะกรุงโดยรยะสถลมารควิถี อยุดยั้งประทับร้อนแรมมา อย่าให้อิดโรยเปนเหตุการได้ แลข้าหลวงสามนายกับกรมช้างทั้งหลาย ก็กราบถวายบังคมลาออกไปยังกรุงกัมพูชาธิบดี ด้วยทูตานุทูตอันมานั้น ๚ะ๏ ครั้นถึงกรุงกัมพูชาประเทศ เสนาบดีก็นำข้าหลวงเข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี ๆ ก็ตรัสพระราชทานปฏิสรรฐารเปนอันดี แลให้เลี้ยงดูเหล่าข้าหลวงมิให้อดอยากได้ แล้วให้พระยาพระเขมรสามนาย คุมเอานางช้างเผือกไปด้วยข้าหลวงซึ่งออกมารับนั้น แลข้าหลวงสามนายกราบถวายบังคมลาพระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี แล้วก็นำนางช้างเสวตรกุญชรออกจากกรุงกัมพูชาประเทศกับด้วยพระยาเขมรสามนายนั้น แลเดิรทางประทับร้อนแรมรอรั้งยั้งอยุดโดยสถลมารควิถี กำหนดเดือนหนึ่งกับญี่สิบวัน จึ่งมาถึงกรุงเทพมหานคร จึ่งทรงพระกรุณาให้ปลูกโรงสมโพชณตำบลพะเนียด แลให้นางช้างเผือกประทับอยู่ณะโรงสมโภชนั้น แล้วให้มีการมหรสพสมโพชคำรบตติยวาร แล้วให้ยาตราพระบรมหัตถินีลงสู่เรือขนานมีเรือคู่ชักแห่แหนเข้ามายังพระนคร แล้วให้นำนางเสวตรคเชนทรขึ้นไว้ณโรงยอดในพระราชวัง ทรงพระกรุณาพระราชทานขนานนามบัญญัติชื่อพระบรมรัตนากาษชาติคเชนทรมหันต์อนันต์คุณวิบุลยเลิศฟ้า แล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จออกณมุขเด็จพระที่นั่งสรรเพชปราสาท พร้อมด้วยท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลาย ฝ่ายทหารพลเรือนเฟี้ยมเฝ้าณทิมดาบตามตำแหน่งซ้ายขวา จึ่งให้เบิกพระยาพระเขมรสามนาย เข้าเฝ้าถวายบังคมณะศาลาหว่างทิมดาบ แลดำรัศพระราชประฏิสรรฐารสามนัดตามอย่างพระราชประเพณี แล้วพระราชทานเสื้อผ้ารางวัล แก่พระยาพระเขมรทั้งสามนั้นโดยสมควร แลพระราชทานเครื่องราชูประโภคบริโภคต่าง ๆ ตอบแทนออกไปแก่พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดีนั้นเปนอันมาก แลพระยาพระเขมรสามนายก็กราบบังคมลา กลับออกไปยังกรุงกัมพูชาธิบดี ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๐๕๔ ปีวอกจัตวาศก ขณะนั้นเกิดขบถลาวคนหนึ่ง ชื่อบุญกว้าง อยู่ณแขวงหัวเมืองลาวฝ่ายตวันออก มีความรู้วิชาการดี แลมีสมักพักพวก ๒๘ คน คิดอ่านทำการขบถตั้งตัวว่าเปนผู้มีบุญ แลภาสมักพักพวกเข้ามาอยู่ณสาลาแห่งหนึ่ง นอกประตูเมืองนครราชสีมาแลกั้นม่านอยู่มิดชิดแล้ว ให้คนไปหาตัวพระยานครราชสีมา แลกรมการทั้งปวงออกมา จึ่งพระยานครราชสีมาก็ขี่ช้างพังตัวหนึ่ง มีบ่าวไพร่ทนายตามออกไปยี่สิบเสศ ครั้นออกมานอกเมืองเกือบจะถึงสาลา แลบุญกร้างขบถก็ลุกออกมายืนอยู่นอกหม่าน แล้วชี้นิ้วร้องตวาดด้วยเสียงเปนอันดังด้วยอำนาทคุณวิชาบรรดานให้พระยานครราชสีมาตกใจกลัวยิ่งนัก แลขับข้างหันหวนแล่นหนีเข้าประตูเมืองทั้งบ่าวไพร่ด้วยกัน แลอ้ายคิดมิชอบกับสมัคพักพวกไล่ตามเข้ามาในเมือง ไพร่พลเมืองแลกรมการทั้งหลาย ก็เกรงกลัวมันด้วยอานุภาพคุณวิชาการ มิได้มีผู้ใดอาจหารเข้าจับมันได้ ต้องอยู่ในอำนาทอ้ายขบถสิ้น แลขบถบุญกว้างกับสมักพักพวกก็เข้าตั้งอยู่สาลากลาง สั่งให้บำรุงช้างม้ารี้พลให้พร้อมไว้ จึ่งพระยานครราชสีมาแลกรมการทั้งหลายปฤกษากันว่า ซึ่งอ้ายขบถเกิดขึ้นในเมืองเรา แต่กำลังเราทั้งปวงเข้าจับกุมมันไม่ได้ ด้วยมันเปนคนดีมีวิชาการอยู่ ครั้นจะนิ่งเสียเล่า ก็เหมือนหนึ่งเปนพักพวกเข้าด้วยอ้ายขบถ จะภากันตายเสียสิ้น จำจะอุบายถ่ายเทฬ่อลวงมันให้ยกลงไปตั้งอยู่เมืองลพบุรีภอให้ใกล้พระเดชพระคุณ แลจะขอเอาพระเดชานุภาพสมเดจพระเจ้าอยู่หัวมาปกเกล้าด้วย จึ่งจะทำมันได้ถนัด ๚ะ๏ ครั้นเหนพร้อมด้วยกันแล้ว ก็ชวนกันออกไปหาอ้ายขบถณสาลากลาง แล้วจึ่งว่าข้าพเจ้าทั้งปวงขอเปนข้าท่านสิ้น แลจะขออาษาลงไปตีกรุงเทพมหานครถวาย แลซึ่งจะตั้งอยู่ณเมืองนครราชสีมานี้ หาเปนประโยชน์ไม่ ถ้าได้ยกกองทับลงไปตั้งอยู่ณเมืองลพบุรี กวาดเอาผู้คนหัวเมืองให้ได้มากแล้ว ก็ยกเข้าโจมตีเอากรุงเทพมหานครเหนจะได้โดยง่าย แลซึ่งข้าพเจ้าทั้งหลายว่าดังนี้ ควรมิควรขอท่านกรุณาอย่าถือโทษเลย ครั้นบุญกว้างขบถได้ฟังดังนั้น มิได้แจ้งว่าเปนกลอุบาย สำคัญว่าจริงก็เชื่อถือ แลเหนชอบด้วยทุกประการ จึ่งให้เจ้าเมืองกรมการเกนพลเมืองนครราชสีมาได้ ๔๐๐๐ เสศ ช้างเครื่อง ๘๔ ม้า ๑๐๐ เสศ สรัพด้วยเครื่องสรรพาวุธพร้อมเสรจ ก็ยกจากเมืองนครราชสีมา เดิรทับตัดลงทางเมืองบัวชุม เมืองไชยบาดาล กวาดได้ผู้คนเปนอันมาก ก็ยกกองทับผ่านไปเมืองลพบุรี แลตั้งซ่องสุมผู้คนอยู่ในที่นั้น จึ่งพระยานครราชสีมา แลกรมการทั้งหลาย ก็คิดอ่านแต่งหนังสือลับให้ขุนหมื่นมีชื่อถือลงไปถึงสมุหนายกให้กราบทูลพระกรุณาโดยเหตุทั้งปวงนั้น ให้ทราบสิ้นทุกประการ ๚ะ๏ ฝ่ายกรมการเมืองสระบุรี เมืองบัวชุม เมืองไชยบาดาล ก็แต่งหนังสือบอกลงมาถึงสมุหนายกว่า เมืองนครราชสีมาเปนขบถ บัดนี้ยกกองทับลงมากวาดเอาผู้คนณแขวงเมืองบัวชุม เมืองไชยบาดารได้เปนอันมาก แล้วยกผ่านไปโดยตวันตกมิรู้ว่าจะไปแห่งใด แลหนังสือบอกฝ่ายเมืองแนวน้ำแควป่าสักมาถึงก่อนหนังสือบอกฝ่ายเมืองลพบุรีสองวัน เจ้าพระยาจักรีก็เอาหนังสือบอกทั้งสองฉบับนั้นขึ้นกราบทูลพระกรุณาพระบาทบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค ตรัสได้ทรงทราบประพฤติเหตุดังนั้น ก็ทรงพระพิโรธ ดำรัศว่าอ้ายขบถ ๒๘ คนเท่านั้น ชาวนครราชสีมามากหลายพัน ถึงไม่สู้รบด้วยอาวุธเลย จะทิ้งด้วยมูลดินแต่คนละก้อนก็ไม่ภอฝีมืออีก ไฉนมันจึ่งว่ากลัวความรู้อยู่ในอำนาทอ้ายขบถสิ้นทั้งนั้น เปนอัษจรรยใจนัก ไม่เคยได้ยินมาแต่ก่อน จึ่งดำรัศสั่งอรรคมหาเสนาธิบดีให้ตระเตรียมช้างม้ารี้พลไว้ให้สรัพ จึ่งมีพระราชดำรัศให้พระยาสุรเสนาเปนแม่ทับหลวง แลท้าวพระยาอาษาหกเหล่าทั้งปวง เปนยุกระบัตรเกียกกายกองน่ากองหลัง ถือพลสกรรธลำเครื่อง ๕๐๐๐ สรัพด้วยเครื่องสาตราวุธทั้งปวง ให้ยกไปเอาตัวอ้ายขบถ แล้วให้มีตราตอบไปแก่พระยานครราชสีมา แลกรมการทั้งปวงว่า ถ้ากลัวมันอยู่จะจับมันมิได้ไซร้ ก็ให้ล้อมมันไว้ก่อน อย่าให้มันสงไสย ต่อทับกรุงยกขึ้นไปถึงจึ่งให้จับตัวมันส่งออกมาให้แก่กองทับกรุงทีเดียว แล้วพระราชทานสิ่งของต่าง ๆ ไปแก่กองทับชาวนครราชสีมา ให้ ๆ แก่อ้ายคิดมิชอบ แลให้เจรรจาเล้าโลมมันจงดี อย่าให้มันรู้ตัวเสีย จะทำไม่ถนัด ๚ะ๏ ครั้นถึงวันอันได้พิไชยฤกษ จึ่งพระยาสุรเสนาแลท้าวพระยานายทับนายกองทั้งหลาย ก็กราบถวายบังคมลาแล้วยกทับบกทับเรือขึ้นไปยังเมืองลพบุรี ครั้นใกล้ถึงจึ่งให้หนังสือลับไปแก่กองทับชาวนครราชสีมา นัดหมายวันคืนเพลาสัญญาอานัด ให้ยกเข้าล้อมพร้อมกัน ฝ่ายพระยานครราชสีมาแลกรมการทั้งปวง ก็เอาสิ่งของซึ่งพระราชทานขึ้นไปก่อนนั้น ให้แก่อ้ายเหล่าร้ายพูดจามิให้สงไสย ครั้นถึงวันอันนัดหมายนั้นแล้วก็ยกพลทหารเข้าล้อมชั้นใน ฝ่ายทับกรุงล้อมไว้ชั้นนอกเปนมั่นคง แลขบถบุญกว้างกับสมัคพัคพวกทั้งปวง มิทันรู้ตัวก็สดุ้งตกใจกลัวยิ่งนัก จะหนีก็เหนไม่พ้น จะต่อรบเล่าก็เหลือกำลัง มิรู้จะทำประการใดได้ก็นิ่งอยู่สิ้น พลชาวนครราชสีมาก็เข้ากลุ้มรุมจับอ้ายคิดมิชอบ แลสมักพัคพวก ๒๘ คนได้สิ้น แล้วพันทนาส่งออกไปยังกองทับกรุง ๆ ก็บอกหนังสือลงไปให้กราบทูลพระกรุณา แล้วเลิกทับกลับลงมายังกรุงเทพมหานคร จึงสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชดำรัศให้ลงพระราชอาญาแก่อ้ายคิดมิชอบ แลพักพวกทั้งปวงถึงสิ้นชีวิตร ๚ะ๏ แล้วมีพระราชโองการตรัสสั่งสมุหนายกให้ตรวจเตรียมพลช้างพลม้าพลราชรถบทจรเดินเท้าแลพลนาวาพยุหพร้อมไว้ กำหนดพลหมื่นหนึ่งทั้งทางบกทางเรือ แลการพระพุทธสมโพชทั้งปวงนั้น ก็ให้จัดแจงไว้ให้สรัพจะเสดจพระราชดำเนินขึ้นไปนมัสการพระพุทธบาท อันประดิษฐานเหนือภูเขาสุวรรณบรรพต โดยโบราณราชประเพณีมาแต่ก่อน ๚ะ๏ ครั้นถึงวันอันได้ศุภมงคลนักขัตฤกษในเพลา ๑๑ ทุ่ม จึ่งพระบาทบรมบพิตพระพุทธเจ้าช้างเผือก ก็สอดทรงเครื่องศิริราชอลังการสรรพาภรณบวรวิภูสิต สำหรับพิไชยราชรณยุทธ ทรงราชาวุธสรัพเสรจ ก็เสดจสู่เรือพระที่นั่งศรีสามรถไชยอันอำไภยด้วยเสวตรมยุรฉัตร ขนัดพระอพิรุมชุมสายพรายพรรณกลิ้งกลดบดบังพระสุริยบังแซรกสลอนสลับจามรสล้างสว่างไสว ไพโรจด้วยขนัดธงเทียวธวัชเปนทิวแถว ดูแพรวพรายระย้าระยับจับแสงสุริยวโรภาศ ผ่องพื้นอัมภรวิถีเถือกถ่องส่องแสงจันทรแจ่มฟ้าดาษดาด้วยเรือดั้งกัน แลเรือพระประเทียบเรียบรายเรือพระราชวงษานุวงษเสนาพฤฒามาตยราชกระวีมนตรีมุขลูกขุนทั้งหลายรายเรียงจับสลากเปนคู่ ๆ ดูพันฦกกึกก้องกาหลด้วยศรับทสำเนียงเสียงพล ประโคมปี่กลองชนะแตรสังข ฆ้องไชย ฆ้องใหญ่ ฆ้องกระแต แซ่เสียงสนั่นนิฤนาท ก็ขยายพยุหบาตราคลาเคลื่อนขบวนน่าหลัง คับคั่งท้องแถวนัทธีเปนลำดับวารีมารค กำหนดระยะทางโยชนหนึ่ง ก็บันลุถึงพระราชนิเวศพระนครหลวง ก็เสดจพักพลพายประทับร้อน เสวยพระกระยาหารสำราญพระอารมณเสดจเข้าที่พระบันทมในที่นั้น ครั้นเพลาชายแล้วสองนาฬิกา จึ่งเสดจลงเรือพระที่นั่ง ให้ยาตรานาวาพยุหไปโดยลำดับ กำหนดทางโยชนหนึ่ง ก็ถึงพระตำหนักเจ้าสนุกนิ์ จึ่งเสดจขึ้นประทับแรมอยู่ที่นั้นสองเวร แลมีพระราชดำรัศสั่งอัคมหาเสนาธิบดีให้ตรวจเตรียมพลแห่แหนทั้งปวง โดยกระบวนพยุหบาตราสถลมารคตามอย่างโบราณราชประเพณีทั้งปวงให้พร้อมไว้ ๚ะ๏ ครั้นเพลาประจุไสมได้พิไชยฤกษ จึ่งพระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ทรงเครื่องราชวิภูษนาภรณแล้วเสรจ เสดจทรงข้างต้นพังสุริยอัษฎางคที่นั่งรอง พังอนงค์ศรีสรรคผูกเครื่องสุวรรณปฤษฎาหลังคาทอง พร้อมด้วยหมู่หมวดคชินทรเสนางคนิกรดั้งกันแซรกแซรงสลับค่ายค้ำพังคา แลหมู่พลอาษาสินทพพลากรกรรกงริ้วรายโดยขบวนซ้ายขวาน่าหลังคั่งคับเปนขนัด ถัดนั้นช้างพระราชบุตรนัดาวงษานุวงษทั้งหลาย แลรถประเทียบเรียบรายตามเสดจเปนถ่ท่งแถวงามไสวอำไพยด้วยเครื่องสูงเสวตรฉัตรธงฉานธงไชยเปนคู่ ๆ ดูมโหฬาราดิเรกด้วยพลบทจรเกนแห่ แลพลอุโฆศแตรสังขพิณภาทยฆ้องกลองชนะ ประโคมครั่นครั้นกึกก้องนฤนาทให้ขยายพยุหบาตราไปโดยรัฐยาร่มรื่นระโหถานแถวเถื่อนพันฦกอธึกด้วยนานาพรรณพฤกษชาติ บ้างเพล็ดดอกออกผลกล่นกลาดดูกระการตา ก็เสดจยาตราพลากรทวยหารไปโดยลำดับสถลมารควิถีสิ้นทางห้าร้อยห้าสิบเส้น ก็บรรลุถึงเชิงเขาสุวรรณบรรพต จึ่งให้อยุดขบวนแห่แหนทั้งปวงแล้ว สมเดจพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงรำพระแสงของ้าวเหนือกระพองช้างต้นสิ้นวารสามนัด บูชาพระพุทธบาทโดยพระราชประเพณีเสรจแล้วก็บ่ายพระคชาธารโดยมารควิถีกำหนดทางห้าสิบเส้นถึงพระราชนิเวศธารเกษมเสดจลงสู่เกยแล้ว ๆ เสดจเข้าประทับแรมณพระตำหนักนั้น ๚ะ๏ ครั้นรุ่งขึ้นจึ่งสมเดจพระเจ้าอยู่หัว ก็เสดจพระราชดำเนิน พร้อมด้วยเสนาบดีมนตรีมุขมูลิกากระบวรราชบุตรราชนัดา กรมฝ่ายน่าฝ่ายใน ใจอภิรมแลนางพระสนมทั้งหลายขึ้นไปนมัศการพระพุทธบาตรอันโอฬาร ทุกเวลาเช้าเย็นเปนนิจทุกวันมิได้ขาด แลทรงถวายสการบูชาด้วยสัจเคารพเปนอันดี แล้วเสดจพระราชดำเนินไปเหนือไหล่เขา เสดจนั่งเหนือแท่นสีลาใกล้ต้นพระศรีมหาโพธิ ทรงโปรยสุวรรณรัชฏะ พระราชทานแก่พลนิกายทั้งหลายเปนอันมาก ตามอย่างพระราชประเพณีมาแต่ก่อน แล้วทรงพระกรุณาให้มีการมหรสพสมโพชมีนานานุประการ ครั้นค่ำให้จุดดอกไม้เพลิงต่าง ๆ รทาใหญ่แปดรทาบูชาพระพุทธบาท เปนมโหฬาราธิการยิ่งนัก แล้วทรงถวายไทยทานแก่พระสงฆ์เปนอันมาก แล้วสมเดจพระเจ้าอยู่หัวก็เสดจพระราชดำเนิน พร้อมด้วยพระราชวงษานุวงษเสนาพฤฒามาตยพระสนมนารถนารีทั้งหลายไปประภาศณพระตำหนักธารโสกปลายธารทองแดง แลเสดจเที่ยวประภาศชมพนมพนัศแนวเนินเทินเขาทุกลำเนา ถ้ำธารลหารเหวเปลวปล่องช่องชวาก เวิ้งว้างสิงขรเขตวิเสศด้วยสรรพรุกขขาตินานา ทรงผลผกาทุกกิ่งก้านกล่นกลาด ชมหมู่จตุบททวิบาทต่างต่างชาติดูกระการ สำราญพระราชหฤๅไทยแล้วเสรจแล้วเสดจกลับยังพระราชนิเวศธารเกษม คำรพเจดวันแล้วถวายนมัสการลาพระพุทธบาท ยกพยุหบาตราโดยกระบวนสถลมารคชลมารคกลับยังกรุงศรีอยุทธยา ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๐๕๗ ปีกุนสัพตศก ขณะนั้นพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุดให้แสนสุพจะนาไมตรี เปนราชทูตจำทูลพระราชสาสน์คุมเครื่องมงคลราชบรรณาการ ลงมายังกรุงเทพมหานคร ในลักษณะพระราชสาสน์นั้นว่าพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตผู้เปนมหิศราชธิปไตยในเสวกมาลาประเทศนคเรศปราจิณทิศ ขอถวายวันทนประณามมาแทบพระบวรบาทบงกชเรณุมาศแห่งพระบาทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้เสวยสวรรยาธิปัติถวัลย์ราชณกรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุทธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธาณีบูรีรมย์อุดมพระราชนิเวศมหาสถาน มโหฬารด้วยเสวตรกุญชรชาติพาหนะเปนศรีเมืองเฟื่องพระเกียรติยศปรากฎแผ่ไพสาฬไปในนานาประเทศราชธาณีใหญ่น้อยทั้งปวงดุจฉัตรท้าวมหาพรหมกางกั้น ร่มเอย็นเปนศุขานุศุขปราศจากทุกข์ระงับไภยแห่งสรรพสัตวทั้งหลาย อันร้อนรนทั่วสกลโลกธาตุในกาละเมื่อมัชณันติกะไสมย ข้าพระองค์ขอถวายพระราชธิดาทรงพระนามพระแก้วฟ้า พระชันษาได้สิบห้าพรรษามาเปนศรีสุรางคบริจาริกรองลอองพระบาทยุคล ขอเอาพระเดชานุภาพสมเดจพระเจ้าอยู่หัวเปนที่พึ่งที่พำนักนิ์ ด้วยมีอริราชปรปักข์กล่าวคือเจ้าฟ้าเมืองหลวงพระบางกอประด้วยโลภหาหิริโอตปมิได้ ให้เสนาโยธาหารยกมากระทำวิหิงษาการย่ำยีกรุงศรีสัตนาคนหุดให้ได้ความเดือดร้อน แลบัดนี้จะขอพระราชทานกองทับขึ้นไปช่วยป้องกันกรุงศรีสัตนาคนหุตให้พ้นเงื้อมมือประจามิตร แลจะขอเปนข้าขอบขันทเสมาพระมหานครศรีอยุทธยา ไปกราบเท่ากัลปาวสาน ๚ะ๏ จึ่งเจ้าพระยาจักรีนำเอาลักษณพระราชสาสน์ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ขึ้นกราบทูลพระกรุณาให้ทราบสิ้นทุกประการ สมเดจพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงเครื่องศิริราชาลังกาภรณวิภูษิตเสรจ เสดจออกณะมุกเด็จพระที่นั่งสรรเพชญปราสาท พร้อมด้วยท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลาย ฝ่ายทหารพลเรือนเฟียมเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท ณะทิมดาบคดตามตำแหน่งซ้ายขวา จึ่งให้เบิกแสนสุพจนาไมตรีเข้ามาถวายบังคมณะสาลาหว่างทิมดาบ แลดำรัศพระราชปฏิสรรฐารสามนัดตามพระราชประเพณี แล้วพระราชทานเสื้อผ้าแก่แสนสุพจนาไมตรีโดยสมควร ๚ะ๏ จึ่งมีพระราชดำรัศสังสมุหนายก ให้เกนกองทับสรัพด้วยช้างม้าเครื่องสาตราวุธทั้งปวงให้พร้อมไว้ แลดำรัศให้พระยานครราชสีมาเปนแม่ทับหลวง พระสระบูรีเปนยุกระบัต พระยานครนายกเปนเกียกกาย พระรามกัมแหงเปนกองน่า พระยาลพบุรีเปนทับหลัง ถือพลสกรรลำเครื่องหมื่นหนึ่ง ช้างเครื่องสามร้อยม้าสี่ร้อยสรรพด้วยนานาสรรพาวุธปืนใหญ่น้อยกระสุนดินประสิวพร้อมเสรจ ให้ยกไประงับกำลังศึกเมืองหลวงพระบางซึ่งยกมาติดกรุงศรีสัตนาคนหุตนั้น ครั้นถึงวันอันได้มหาพิไชยฤกษจึ่งท้าวพระยานายทับนายกองทั้งหลายก็กราบถวายบังคมลา ยกช้างม้ารี้พลจากกรุงเทพมหานครกับด้วยแสนสุพจนาไมตรีซึ่งเปนราชทูตนั้น แลเดินทับไปโดยทางเมืองนครราชสีมา ๚ะ๏ ครั้นใกล้ถึงกรุงศรีสัตนาคนหุด จึ่งให้ตั้งค่ายยับยั้งกองทับอยู่ที่นั้น จึ่งปฤกษากันว่าครั้นจะยกเข้าโจมตีกองทับชาวเมืองหลวงพระบางบัดนี้ก็จะเสียไมตรีไปดูมิควร แลเราจะแต่งหนังสือให้ไปว่ากล่าวแก่ชาวเมืองหลวงพระบาง ให้เลิกทับกลับไปโดยดีก่อน ถ้าแลมิฟังยังองค์อาจจะต่อรบไซ้ จึ่งจะให้พลทหารเข้าโจมตีแหกหักเอาต่อภายหลัง ครู่เดียวก็จะเปนพัทธุลีไป อันทับลาวมิทานฝีมือเราได้แต่ในเพลาเดียว ครั้นนายทับนายกองปฤกษาเหนพร้อมกันแล้ว ก็ให้แต่งหนังสือให้ขุนหมื่นมีชื่อถือไปถึงแม่ทับลาวเมืองหลวงพระบาง เปนใจความว่ากล่าวโดยไมตรี เพื่อจะให้ปรานีประนอมเปนมิตรสัณฑวกับกรุงศรีสัตนาคนหุตดั่งกาลก่อนมิให้เปนเวรไพรีอาฆาฎกันสืบไป ๚ะ๏ ครั้นแสนท้าวเสนาลาวแม่ทับเมืองหลวงพระบาง ได้แจ้งในหนังสือแลทราบว่า กองทับกรุงเทพมหานครยกมาช่วยกรุงศรีสัตนาคนหุตดังนั้นแล้ว ก็เข็ดขามคร้ามพระเดชานุภาพยิ่งนัก จึ่งแต่งหนังสือให้เพลี้ยควานมีชื่อถือมาแจ้งแก่แม่ทับไทย รับยิงยอมปรานีปรานอมเพื่อจะเปนมิตรสัณฑวไมตรีมิได้มีเวรอาฆาฎกับกรุงศรีสัตนาคนหุตสืบไป ก็เลิกกองทับกลับคืนไปเมือง จึ่งพระยานครราชสีมาแลท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวง ก็แต่งหนังสือให้ขุนหมื่นมีชื่อถือลงไปกราบทูลพระกรุณาณะกรุงเทพมหานคร โดยประพฤติเหตุทั้งปวงก่อน แล้วบอกเข้าไปให้เสนาลาวนำเข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ๆ ดีพระไทยดำรัศพระราชปฏิสัณฐานเปนอันดี แลให้เลี้ยงดูเหล่ากองทับให้อิ่มหนำสำเหรจ์ พระราชทานรางวัลแก่ท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวงเปนอันมาก ๚ะ๏ ฝ่ายผู้ถือหนังสือบอกนั้นก็มาถึงกรุงเทพมหานคร ให้อัคมหาเสนาบดีกราบทูลพระกรุณาให้ทราบ จึ่งทรงพระกรุณาโปรดให้มีตราหากองทับกลับลงมาณะกรุง ท้าวพระยานายทับนายกองทั้งหลายได้แจ้งในท้องตรานั้นแล้วก็กราบถวายบังคมลาพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต แล้วเลิกทับกลับลงมายังกรุงเทพมหานคร ๚ะ๏ ส่วนพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ก็จัดแจงตกแต่งพระราชธิดาพร้อมด้วยพระพี่เลี้ยงนางกำนัล แลทาษกรรมกรซายหญิงสิ่งละร้อยเปนบริวารสรรพด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคทั้งปวงพร้อมเสรจ์ แลให้แสนท้าวพระยาลาวสามนายถือพล ๑๐๐๐๐๐ ช้างม้าโดยสมควรให้อัญเชิญเสดจพระราชธิดาขึ้นสู่สีวิกากาญจน์ยานวิจิตรลงไปยังกรุงเทพมหานครโดยลำดับมารควิถี ถึงพระราชนิเวศพระนครหลวง จึ่งบอกหนังสือลงไปณะกรุงเทพมหานคร ให้กราบทูลพระกรุณาให้ทราบ พระบาทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าช้างเผือกตรัสทราบเหตุดังนั้นแล้วทรงพระโสมนัศ ดำรัศแก่อัครมหาเสนาบดีให้ผูกเรือพระที่นั่งบัลลังม่านทอง แลเรืออื่น ๆ หลายลำขึ้นไปรับนางกระษัตรีย์กรุงศรีสัตนาคนหุตณะพระนครหลวง แลล่องลงมายังพระมหานครโดยทางคลองโพเรียง ๚ะ๏ ครั้นมาถึงวัดกระโจม จะเลี้ยวขึ้นไปทางรอทำนบภอสมเดจพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวร มีพระบัณฑูลให้มารับพระราชบุตรีกรุงศรีสัตนาคนหุตขึ้นไว้ณะพระราชวังบวร แล้วเสดจดำเนินลงมายังพระราชวังหลวงขึ้นเฝ้าสมเดจพระพุทธเจ้าหลวง กราบทูลพระกรุณาขอพระราชทานนางไว้ณะพระราชวังบวร จึ่งทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานให้แก่สมเดจพระเจ้าลูกเธอโดยพระราชอัทยาไสยนั้น ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๐๕๙ ปีฉลูนพศก ขณะนั้นสมเดจพระเจ้าลูกเธอเจ้าพระขวันพระชนม์คำรพสิบสามพรรษา จึ่งทรงพระกรุณาดำรัศเหนือเกล้าสั่งอัครมหาเสนาธิบดีให้จัดแจงการพระราชพิธีโสกรรต์ณะพระที่นั่งสรรเพชปราสาท แลให้ตั้งโรงพระกระยาสนานแลพระเบญจาณะท้องสนามชั้นใน แลให้ตั้งราชวัฏฉัตรเบญจรงคธงไชย ธงประฎากวางเปนรยะไป โดยทางอันจะแห่นั้นก็วางกระลาบาทเปนชั้น ๆ ครั้นถึงมิคสิรมาศสุกรปักข์ดิถี ณวันอันได้มหามงคลฤกษเพลาชายแล้วสามนาฬิกา จึ่งพระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าหลวง ก็ทรงเครื่องศิริราชอลังการสรรพาภรณ์ภูษาลายทองสนับเพลาเชิงงอน สอดทรงสนองพระองค์อย่างเทศทรงเจียรบาดรัตพัษแล้วทรงพระมหากถินน้อยทรงเหน็บพระแสงกั้นยั่น แลมหาดเล็กเชิญพระแสงดาบใจเพชร แล้วเสดจพระราชดำเนิรมาขึ้นเกยทรงพระราชยาน เจ้าพนักงานประโคมแตรสังข์มหาดเล็กแห่ซ้ายขวาน่าหลังเปนขบวรมาถึงพระที่นั่งสรรเพชปราสาทเสดจขึ้นประทับอยู่ณะพระที่นั่งเก้าอี้ณะชานภัก ๚ะ๏ ฝ่ายสมเดจพระเจ้าลูกเธอทรงเครื่องแล้วเสดจขึ้นพระยานุมาศเจ้าจอมเถ้าแก่เปนเพื่อนคนหนึ่ง แลมหาดเล็กคู่แห่นั้นนุ่งห่มสมปักท้องขาวชายกรวย ใส่เสื้อครุยแลพอกเกี้ยวพรรท์ผ้าขาวแห่หน้ายี่สิบคู่. ถัดนั้นจัดเอาบุตรขุนนางที่ไว้ศีศะจุกนั้น ให้นุ่งผ้าลายพื้นขาวใส่เสื้อครุยขาวยี่สิบคู่ แห่กระบวนหลังนั้นมีนางเชิญเครื่องหกคน นางถือภัตชะนีคนหนึ่ง ถัดนั้นจัดเอาภรรยาขุนนางเดินพนมมือตามนางเชิญเครื่องเปนสี่แถว ๆ ละยี่สิบคนเปนแปดสิบคน ล้วนนุ่งผ้าท้องขาวชายตรวย ห่มผ้าขาวคลิบทองลิ้น ครั้นแห่เสดจมาถึงที่ประทับชานภักแล้วจึ่งให้ทรงเหยียบน่าฆ้องไชย มีนางพนักงานเอาน้ำชำระพระบาทสองคนแล้วสมเดจพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับพระกรสมเดจพระเจ้าลูกเธอเสดจเข้าในพระมหาปราสาท ทรงฟังสวดพระพุทธมนตร์คำรพสามวันแล้วถึงวันเปนคำรพสี่ได้ฤกษ์เพลารุ่ง จึ่งแห่เสดจมาณโรงพระกระยาสนาน เสดจขึ้นบนพระเบญจาแล้วถวายเครื่องมูรธาภิเศก สรงน้ำพระพุทธมนตร์แลน้ำสังข์ทักษิณาวัตทวิชาจาริยถวายอาเสียรพาทประโคมฆ้องกลองแตรสังข์ดุริยางคดนตรี แล้วทรงเครื่องแห่เสดจกลับเข้าพระราชวัง ๚ะ๏ ครั้นเพลาชายแล้วสามนาฬิกา จึ่งแห่เสดจไปสมโพชเวียนเทียน เกนแห่นุ่งสมปักลายใส่เสื้อครุยแลพอกชมภู แลนางเชิญพระแซ่ นางยกเครื่อง นางตามเสดจ ทั้งปวงนั้น ล้วนนุ่งผ้าท้องเขียวชายตรวย ห่มผ้าชมภูขลิบทองลิ้นคำรพสามวัน เปนหกวันด้วยกัน ทั้งแห่ไปทรงฟังสวดสามวันนั้น ครั้นโสกรรต์แล้วเจ้าพระขวันเสดจออกหัดทรงม้าณท้องสนามหลวง หน้าพระที่นั่งจักรวรรดิทุกวัน ๆ ๚ะ๏ ครั้นถึงเดือนสาม สมเดจพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระประชวรลงได้ประมาณ ๑๕ วัน แลพระโรคนั้นกำเริบหนักลง จะเสวยพระกระยาหารก็ไม่ได้ เกือบใกล้สวรรคตอยู่แล้ว แลพระราชวงษานุวงษ แลท้าวพระยาข้าทูลลอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งหลาย ก็เข้าไปนอนอยู่ในพระราชวังพร้อมกันสิ้น ๚ะ๏ ขณะนั้นสมเดจพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวร ทรงพระราชดำริหแคลงเจ้าพระขวัน ด้วยเหนข้าไทยมาก คนทั้งปวงยินดีนับถือมากนานไปภายน่าเกรงจะเปนสัตรูราชสมบัติ จึ่งทรงคิดการอันเปนคุยรหัษแต่กับเจ้าฟ้าเพชรเจ้าฟ้าพรราชบุตรทั้งสองพระองค์มิให้ผู้อื่นรู้เหน ครั้นเหนจวนจะสวรรคตในวันหนึ่งสองวันเปนแท้อยู่แล้ว จึ่งเสดจพระราชดำเนินมายังพระราชวังหลวง กับพระราชบุตรทั้งสอง แลข้าทูลลอองธุลีพระบาททั้งปวงเปนอันมาก แลเสดจเข้าอยู่ณพระตำหนักหนองหวาย จึ่งอุบายให้มหาดเล็กไปเชิญเสดจเจ้าพระขวันว่า มีพระบัณฑูรให้เชิญเสดจไปเฝ้า ทรงพระกรุณาจะให้ทรงม้าเทษให้ทอดพระเนตรสักน่อยหนึ่ง แลเจ้าพระขวันเสวยผลอุลิตหวานค้างอยู่ ครั้นทราบว่ามีพระบัณฑูรให้หา ก็มิได้เสวยต่อไป แลซีกซึ่งยังมิได้เสวยนั้น เอาใส่ในเครื่องแล้วทูลลาสมเดจพระมารดา เสดจมาเฝ้ากรมพระราชวังบวร ณพระตำหนักหนองหวาย กับด้วยนักพระสัตฐาธิราชพระพี่เลี้ยงแลข้าไทยทั้งปวง ตามเสดจมาเปนอันมาก ครั้นเจ้าพระขวันมาถึงเสดจเข้าไปเฝ้าถวายบังคมแล้ว มีพระบัณฑูรให้ห้ามพระพี่เลี้ยงแลข้าไทยทั้งปวง มิให้ตามเสดจเข้ามา แลให้ปิดประตูกำแพงแก้วนั้นเสีย จึ่งให้จับเจ้าพระขวันสำเร็จโทษเสียด้วยท่อนจันทน์ในพระตำหนักหนองหวายเสรจแล้ว ก็ให้เอาพระสพใส่ถุงแล้วใส่ลงในแม่ขัน ให้ข้าหลวงเอาออกไปฝังเสียณวัดโคกพระยา แล้วเสดจกลับยังพระราชวังบวรสถานมงคล ๚ะ๏ ฝ่ายนักพระสัตฐาธิราชพระพี่เลี้ยง แลข้าไททั้งปวงแจ้งว่า เจ้าของตัวเปนเหตุแล้ว ก็ชวนกันร้องไห้กลับมาทูลแก่เจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาทิพซึ่งเปนพระมารดา แลเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาทิพขณะเมื่อพระราชบุตรทูลลาไปเฝ้ากรมพระราชวังบวรนั้น เข้าที่พระบันทมอยู่ แต่ทว่ายังมิได้บันทมหลับสนิท ภอเคลิ้มหลับลงก็ได้ยินเสียงพระราชบุตรมาทูลว่าข้าพเจ้าขอพระราชทานผลอุลิตหวานซีกซึ่งเหลืออยู่นั้นเสวยต่อไป ก็ตกพระไทยบันทมตื่นขึ้นมาในทันใดนั้น ภอนักพระสัตฐาธิราชมาถึงร้องไห้กราบทูลโดยมูลเหตุทั้งปวง แลเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาทิพได้ทรงฟังดังนั้น ก็ตกพระไทยค่อนพระทรวง ทรงพระกันแสงถึงพระราชบุตรเปนกำลังแล้ว เสดจขึ้นไปเฝ้าสมเดจพระพุทธเจ้าหลวง ซึ่งทรงพระประชวรหนักอยู่นั้น แลทรงพระโสการ่ำไรกราบทูลโดยมูลคดีทั้งปวง แล้วทูลว่า ลูกข้าพระพุทธเจ้าหาความผิดมิได้ กรมพระราชวังบวรมาฆ่าลูกข้าพระพุทธเจ้าเสียโดยหาเหตุมิได้ สมเดจพระพุทธเจ้าหลวงตรัสได้ทรงฟังดังนั้น ก็ตกพระไทยอาไลยในพระราชโอรส ทรงพระโสกาอาดูรภาพเปนกำลัง แล้วทรงพระพิโรธแก่กรมพระราชวังบวรยิ่งนัก ดำรัสว่ากูไม่ให้ราชสมบัติแก่อ้ายสามคนพ่อลูกนี้แล้ว ๆ มีพระราชดำรัศให้หาเจ้าพระพิไชยสุรินทรราชนัดา ขึ้นมาเฝ้าบนพระที่นั่งบันยงครัตนาศน ซึ่งเสดจทรงพระประชวรอยู่นั้น แล้วทรงพระกรุณาตรัสมอบเวรราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าพระพิไชยสุรินทร แล้วสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็เสดจสวรรคตในเพลาราษตรีวันนั้น พระบาทบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว พระชันษาเถาะนพศก แรกเสดจขึ้นเสวยราชสมบัตินั้น พระชนได้ห้าสิบหกพรรษา เสดจดำรงราชอาณาจักรอยู่ได้สิบห้าพรรษา ขณะสวรรคตณพระที่นั่งบันยงครัตนาศนมหาปราสาทในเดือนสี่ปีฉลูนพศก ลุศักราชได้ ๑๐๕๙ นั้น ศิริพระชนมได้เจ็ดสิบเอ็ดพรรษา ๚ะ
29
๏ แผ่นดินหลวงสรศักดิ์ ซึ่งเรียกพระพุทธเจ้าเสือ ๚ะ
๏ ในศักราช ๑๐๕๙ ปีฉลูนพศกนั้น ฝ่ายสมเดจพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรสถานมงคลตรัสทราบเหตุว่า มีพระราชโองการโปรดมอบเวนราชสมบัติให้แก่เจ้าพระพิไชยสุรินทรราชนัดาดังนั้นแล้ว ก็มิได้เสดจพระราชดำเนินลงมายังพระราชวังหลวง ส่วนเจ้าพระพิไชยสุรินทร ก็มิอาจรับราชสมบัตินั้นได้ เกรงพระเดชานุภาพสมเดจพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรอยู่ จึ่งนำเอาเครื่องเบญจราชกุกกุภัณฑทั้งห้าประการสำรับพระมหากระษัตราธิราชเจ้านั้น ขึ้นไปยังพระราชวังบวร กับด้วยท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลายพร้อมกันเปนอันมาก ขึ้นเฝ้าสมเดจพระเจ้าอยู่หัวมหาอุปราช กราบบังคมทูลถวายราชสมบัติ แลเครื่องเบญจราชกุกกุภัณฑทั้งปวง สมเดจพระเจ้าอยู่หัวก็มิได้รับ จึ่งมีพระราชบัณฑูรตรัสแก่เจ้าพระพิไชยสุรินทรว่า พระราชโองการโปรดมอบเวรราชสมบัติให้เปนสิทธิแก่ท่านแล้ว ท่านจงครองราชสมบัติเถิด แลซึ่งท่านจะมายกราชสมบัติให้แก่เรา แลเราจะรับราชสมบัตินั้น ก็จะเปนเลมิดพระราชโองการไป ดูมิบังควรนัก แลเจ้าพระพิไชสุรินทรได้ฟังดังนั้น ก็ยิ่งตกพระไทยกลัวพระเดชานุภาพยิ่งนัก จึ่งกราบทูลอ้อนวอนไปเปนหลายครั้ง สมเดจพระมหาอุปราชก็มิได้รับ เจ้าพระพิไชยสุรินทรก็ซบพระเศียรเกล้าลงกลิ้งเกลือกกับฝ่าพระบาท แล้วกราบทูลวิงวอนไปว่า ข้าพระพุทธเจ้าวาศนาบารมีก็น้อย บุญน้อย กำลังน้อย ก็มิอาจสามารถจะดำรงราชสมบัติไว้ได้ ถ้าแลข้าพระพุทธเจ้าจะครอบครองแผ่นดินสืบไปบัดนี้ เหนจะมีไภยอันตรายแก่ราชสมบัติแลบ้านเมือง สมณพราหมณาจาริยอาณาประชาราษฎร จะได้ความเดือดร้อนเปนมั่นคง อันเสวตรฉัตรนี้เปนมหาศรีอันประเสริฐ ถ้าบุคคลผู้ใดมิได้มีบุญญาภิสังขารสร้างสมมาแต่ก่อน ก็หาดำรงรักษาไว้ได้ไม่ อุปมาดังมันเหลวแห่งพระยาราชสีห์ มีธรรมชาติอันสุขุมละเอียดยิ่งนัก ถ้าแลจะเอาภาชนอันใด ๆ ก็ดี มารองรับไว้นั้น ก็หารองรับไว้ได้ไม่ ก็จะไหลรั่วไปเสียสิ้น แลซึ่งจะรองรับไว้ได้นั้น ก็แต่สุวรรณภาชนสิ่งเดียว แลพระองค์กอประด้วยพระราชกฤษฎาเดชาธิการพินิหารบารมีมาก สมควรจะดำรงราชอาณาจักรในแผ่นดินสยามประเทศได้ อุประไมยดังภาชนทองอันรองรับไว้ ซึ่งมันเหลวแห่งพระยาราชสีห์เหมือนฉะนั้น ขอพระองค์จงทรงพระกรุณาโปรดรับครอบครองราชสมบัติ โดยสุภาวสุจริตธรรมเถิด เหมือนหนึ่งพระองค์ทรงพระมหาการุญภาพแก่แผ่นดิน อย่าให้เปนจลาจลเลย สมณพราหมณาจาริยอาณาประชาราษฎร จะได้พึ่งพระบารมีร่มเย็นเปนศุขานุศุข แลซึ่งพระองค์จะมิทรงพระกรุณาโปรดรับครองราชสมบัติไซ้ ก็เหมือนไม่ทรงพระกรุณาแก่แผ่นดิน แลไพร่ฟ้าข้าขอบขันทเสมาทั้งปวงเหนว่า บ้านเมืองจะเกิดอันตราย สมณพราหมณาจารยอาณาประชาราษฎรจักได้ความเดือดร้อนเปนแท้ ข้าพระพุทธเจ้าก็จะหาที่พึ่งที่พำนักนิ์มิได้ ก็จะกราบถวายบังคมลาพระองค์ บุกป่าฝ่าดงไปซุกซ่อนนอนตายเสียตามยถากรรม์ของข้าพระพุทธเจ้า ๚ะ๏ ขณะเมื่อเจ้าพระพิไชยสุรินทร์กราบทูลวิงวอนอยู่นั้น ภอท้าวพระยาข้าทูลลอองธุลีพระบาททั้งหลายฝ่ายพระราชวังหลวง ก็ตามขึ้นไปถึงพร้อมกัน แลเข้าเฝ้ากราบถวายบังคมสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัว แลช่วยอุดหนุ่นพิททูลอ้อนวอนขึ้น เพื่อจะให้ทรงพระกรุณาโปรดรับครองราชสมบัตินั้น จึ่งเจ้าพระพิไชยสุรินทร ก็รับพระราชโองการแต่พระบาทบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว แล้วรับพระบัณฑูรแต่สมเดจพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ แลท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลาย ก็รับพระโองการแลพระบัณฑูรตามเจ้าพระพิไชยสุรินทรนั้น พระบาทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ตรัสทอดพระเนตรเหนท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลาย ราบคาบเปนปรกติพร้อมมูลกันอยู่สิ้น แล้วจึ่งมีพระราชโองการตรัสเหนือเกล้าโปรดให้ท้าวพระยาข้าทูลลอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งหลาย ถือน้ำพระพิพัทธสัตยาสาบาน ตามโบราณราชประเพณีเสรจสิ้นทุกประการ แลเจ้าพระพิไชยสุรินท์ แลท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุข สมณพราหมณาจาริยทั้งหลาย ก็อัญเชิญเสด็จพระราชตำเนินลงมายังพระราชวังหลวง จึ่งมีพระราชดำรัศให้เจ้าพนักงานจัดแจงการอัญเชิญพระบรมสพใส่ในพระโกฎเสรจแล้ว ประดิษฐานไว้ในพระที่นั่งบรรยงครัตนาศน์ที่เสดจสวรรคตนั้น แล้วมีพระราชโองการตรัสสั่งแก่พระมหาราชครู พระราชครูปโรหิตาโหราจาริย์ ให้จัดแจงการพระราชพิธีราชาภิเศก เฉลิมพระราชมณเฑียร ๚ะ๏ ครั้นถึงวันอันได้ศุภวารมหามงคลนักขัตฤกษ จึ่งท้าวพระยาเสนาบดีกระวีราช ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งหลาย ฝ่ายทหารพลเรือนแลพระสงฆราชาคณะคามวาศี อรัญวาศี ชีพ่อพราหมณาจาริย์ทั้งหลายประชุมพร้อมกันณะพระที่นั่งสรรเพชปราสาท อัญเชิญเสดจพระบาทบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจขึ้นราชาภิเศกเปนเอกอัคบรมขัติยาธิบดินทร์ปิ่นพิภพจบสกลราชสิมา เสวยมะไหยสุริยสวรรยาธิปัตถวัลย์ราชประเพณี สืบศรีสุริยสวัสดิวงษดำรงราชอาณาจักร ณะกรุงเทพมหานครบวรทวาราวดี ศรีอยุทธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธาณีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศมหาสถาน แล้วถวายเครื่องเบญจราชกุกุกภัณฑสำหรับพระมหากระษัตราธิราชเจ้า แลการพระราชพิธีทั้งปวงนั้น พร้อมตามอย่างโบราณราชประเพณีเสรจสิ้นทุกประการ จึ่งสมเดจพระเจ้าอยู่หัวก็เสดจประเวศน์พระราชมณเฑียร แลเสด็จอยู่พระที่นั่งสุริยามรินทร์มหาปราสาท แลขณะเมื่อพระองค์เสด็จเสวยราชสมบัตินั้นพระชนม์ได้สามสิบหกพรรษา จึ่งมีพระราชโองการตรัสเหนือเกล้า โปรดให้สมเดจพระเจ้าลูกเธอพระองค์ใหญ่ ประดิษฐานที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล แลสมเดจพระเจ้าลูกเธอพระองค์น้อยนั้น ทรงพระกรุณาโปรดให้เรียกว่าพระบัณฑูรน้อย แต่บันดาข้าหลวงเดิมที่มีบำเหน็จความชอบนั้น ก็พระราชทานยศศักดิให้ตามสมควรถานานุรูปท่วนทุกคน แล้วทรงพระกรุณาให้ช่างพนักงานจับการทำพระเมรุมาศขนาดใหญ่ ขื่อเจดวาสองศอกกอประด้วยเมรุทิศเมรุแซรก แลสามซ่างพร้อม แลการพระเมรุมาศนั้นกำหนด ๑๑ เดือนจึ่งสำเหรจ ๚ะ๏ ลุศักราชได้ ๑๐๖๐ ปีขานสำฤทธิศกเดือนสี่ ได้ศุภวารดิถีพิไชยฤกษ จึ่งให้อัญเชิญพระบรมโกฎขึ้นประดิษฐานเหนือพระมหาพิไชยราชรถแห่แหนเปนขบวนไป เข้าพระเมรุมาศตามอย่างแต่ก่อน แลให้ทิ้งทานต้นกามพฤกษ แลมีการมหรศภต่าง ๆ ทุกประการ ครั้นค่ำให้จุดดอกไม้เพลิงต่าง ๆ รทาใหญ่สิบหกรทา บูชาพระบรมสพ เปนมโหฬาราธิการยิ่งนัก แลทรงสดับปกรณ์พระสงฆ์ ๑๐๐๐๐ คำรบเจดวันแล้ว ถวายพระเพลิง ครั้นดับพระเพลิงแล้ว แจงพระรูปทรงสะดับปกรณพระสงฆ์อีกสี่ร้อยรูป แล้วเกบพระอัฐิใส่พระโกฎน้อย อัญเชิญขึ้นพระราชยาน แห่เปนขบวนเข้ามายังพระราชวัง จึ่งให้อัญเชิญพระบรมโกฎพระอัฐิเข้าบรรจุไว้ ณะท้ายจรนำพระมหาวิหาร รัดพระศรีสรรเพชฎาราม ๚ะ๏ ลุศักราชได้ ๑๐๖๑ ปีเถาะเอกศก สมเดจพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระราชดำริห์ถึงภูมชาติแห่งพระองค์ ซึ่งสมเดจพระพันปีหลวงตรัสบอกไว้แต่ยังทรงพระเยาว์อยู่นั้นว่า เมื่อศักราช ๑๐๒๔ ปีขานจัตวาศก แต่ครั้งแผ่นดินสมเดจบรมบพิตรพระนารายน์เปนเจ้า เสดจพระราชตำเนิรขึ้นไปนมัศการพระพุทธปฏิมากร พระชินราช พระชินสีห์ ณะเมืองพระพิศนุโลกย ทรงพระกรุณาให้มีการมหรศภถวายพระพุทธสมโพชคำรบสามวัน ครั้งนั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงในพระบรมโกฏ ภาเอาสมเดจพระพันปีหลวงทรงพระครรภ์แก่ จึ่งประสูตพระองคที่ตำบลบ้านโพธิ์ประทับช้าง แขวงเมืองพิจิตร ในเดือนอ้ายปีขานจัตวาศกนั้น แล้วจึ่งเอารกที่สหชาตินั้นใส่ลงในผอบเงิน เอาไปฝังไว้ที่หว่างต้นโพธิ์ประทับช้าง แลต้นอุทุมพรต่อกันนั้น เหตุดังนั้นจึ่งให้พระนามกรชื่อมะเดื่อ แลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริห์รฦกถึงที่ภูมชาติอันพระองคประสูตร ณะแขวงหัวเมืองฝ่ายเหนือ เปนมหามงคลสฐานอันประเสริฐ สมควรจะสร้างขึ้นเปนพระอาราม จึ่งมีพระราชตำรัศกับสมุหนายกให้กะเกนกันขึ้นไปสร้างพระอาราม ณะตำบลบ้านโพธิ์ประทับช้าง มีพระอุโบสถ วิหาร มหาธาตุ เจดีย์ สาลาการบเรียญดิ์ แลกุฏิสงฆพร้อมเสร็จ แลการสร้างพระอารามนั้นสองปีเสศจึ่งสำเหร็จ ๚ะ๏ ในปีมะเสงตรีศก จึ่งสมเดจ์พระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จด้วยพระชลวิมาลโดยขบวนนาวาพยุห ขึ้นไปณะพระอารามตำบลบ้านโพธิ์ประทับช้างนั้น แลท้าวพระยาข้าทูลลอองธุลีพระบาท ซึ่งขึ้นไปคอยรับเสด็จโดยสถลมารคนั้นก็เปนอันมาก แล้วทรงพระกรุณาให้มีการฉลอง แลมีการมหรสพคำรพสามวัน ทรงถวายไทยทานแก่พระสงฆเปนอันมาก แลทรงพระราชอุทิศถวายเลขข้าพระ ไว้สำหรับอุปรถากพระอารามตามธรรมเนียม แล้วทรงพระกรุณาตั้งเจ้าอธิการ ชื่อพระครูธรรมรูจีราชมุนี อยู่ครองพระอาราม ถวายเครื่องสมณบริขารตามศักดิพระราชาคณะ แล้วเสรจก็เสดจกลับยังกรุงเทพมหานคร จำเดิมแต่นั้นมาพระอารามนั้น ก็เรียกว่า วัดโพธิ์ประทับช้างมาตราบเท่าทุกวันนี้ ๚ะ๏ เมื่อลุศักราช ๑๐๖๒ ปีมโรงโทศกนั้น อสนิบาตตกลงต้องยอดพระมณฑป ณะพระอารามวัดสุมงคลบพิตรติดเปนเพลิงโพลงขึ้นไหม้เครื่องบลโทรมลงมาต้องพระเศียรพระพุทธรูป หักสบั่นลงมาจนพระสอ แลพระเสียรนั้น ตกลงอยู่ณะพื้นพระมณฑป จึ่งทรงพระกรุณาโปรดให้ช่างพนักงาน จัดการรื้อพระมณฑป ก่อสร้างขึ้นใหม่ แปลงเปนพระมหาวิหารสูงใหญ่โดยยาวเส้นเสศสำเหร็จในปีมเมียจัตวาศก แลทรงพระกรุณาให้มีการฉลอง แลมีการมหรสพสามวัน แลทรงถวายไทยทานแก่พระสงฆเปนอันมาก เหมือนอย่างทุกครั้ง ๚ะ๏ ในขณะนั้นสมเด็จพระอัคมเหษีเดิมแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงในพระบรมโกฏ ซึ่งเปนพระราชมารดาเลี้ยงของสมเดจพระเจ้าแผ่นดิน ได้อภิบาลบำรุงรักษาพระองค์มาแต่ยังทรงพระเยาว์นั้น ครั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จสวรรคตแล้ว จึ่งทูลลาสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน เสด็จออกไปตั้งพระตำหนักอยู่ในที่ใกล้พระอารามวัดดุสิต แลที่พระตำหนักวัดดุสิตนี้ เปนที่พระตำหนักมาแต่ก่อน ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายน์เปนเจ้า แลเจ้าแม่ผู้เถ้าซึ่งเปนพระนมเอกของสมเด็จพระนารายน์เปนเจ้า แลเปนมารดาเจ้าพระยาโกษาเหล็ก โกษาปาน ซึ่งได้ขึ้นไปช่วยกราบทูลขอพระราชทานโทษ สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ขณะเปนที่หลวงสรศักดิแลชกเอาปากเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ครั้งนั้น แลเจ้าแม่ผู้เถ้านั้นก็ได้ตั้งพระตำหนักอยู่ในที่นั้น ครั้นแผ่นดินสมเดจพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ แลสมเดจพระราชมารดาเลี้ยง ก็เสดจไปตั้งพระตำหนักอยู่ในที่นั้นสืบต่อกันมา แล้วจึ่งทรงพระกรุณาโปรดตั้งให้เปนกรมพระเทพามาศ ส่วนสมเด็จพระอัคมเหษีฝ่ายช้ายฝ่ายขวา แห่งสมเดจพระพุทธเจ้าหลวงในพระบรมโกฎ ซึ่งทรงพระนามกรกรมหลวงโยธาทิพ กรมหลวงโยธาเทพนั้น ก็ทูลลาสมเดจพระเจ้าแผ่นดิน แล้วภาเอาพระราชบุตร ซึ่งทรงพระนามตรัสน้อยนั้น ออกไปตั้งพระตำหนักอยู่ที่ใกล้พระอารามวัดพุทธไธสวรรย์ ๚ะ๏ ครั้นเมื่อปีมโรงโทศกนั้น ตรัสน้อยราชบุตร พระชนม์ได้คำรบสิบสามพรรษา จึ่งเจ้ากรมหลวงโยธาเทพพระราชมารดานั้น ก็ให้กระทำมหามงคลพิธีโสกรรต์พระราชบุตร ครั้นโสกรรต์แล้วให้ไปทรงผนวดเปนสามเณร อยู่ในสำนักพระพุทธโฆษาจาริย์ราชาคณะ แลตรัสน้อยนั้นทรงพระสติปัญญาเปนอันมาก ประพฤติพรหมจรรย์เปนอันดี แลทรงเรียนพระปริญรรติไตรปิฎกธรรม แลคำภีร์เลขยันต์มนต์คาถาสรรพวิทยาคุณต่าง ๆ ในสำนักนิ์พระพุทธโฆษาจาริยนั้นได้เปนอันมาก แลทรงผนวดอยู่ได้ห้าพรรษา พระชนม์ได้สิบแปดพรรษา จึ่งลาผนวชออกเที่ยวทรงเรียนสิลปสาตรช้างม้า สรรพยุทธชิงไชยทั้งปวงได้เปนอันมาก แล้วทรงเรียนซึ่งอักษรแขกฝรั่ง แลอักษรเขมร ลาว ญวน พม่ารามัญ แลจีนทุกภาษาต่าง ๆ แล้วทรงเรียนซึ่งคัมภีร์ราชสารทโหราสารท แลคำภีร์แพทย์กอปรด้วยอาจาริย์เปนอันมาก สรรพทรงชำนิชำนาญในสรรพคุณทั้งปวงต่าง ๆ ดุจหนึ่งจะทรงทราบในคำภีร์ไตรเพทางคสาตร ครั้นพระชนม์คำรบได้อุปสมบทแล้ว ก็ทรงผนวดเปนภิกษุภาวะจำเริญสมณธรรมอยู่เปนอันดี ๚ะ๏ ขณะนั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว มีพระราชบุตรีเกิดด้วยพระสนมอีกสองพระองค์ ทรงพระนามพระองค์เจ้าแก้วองค์หนึ่ง พระองค์เจ้าทับทิมองค์หนึ่ง เปนห้าพระองค์ด้วยกัน ทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอกรมพระราชวังบวร แลพระบัณฑูรน้อย แลเจ้าฟ้าหญิง แต่เจ้าฟ้าหญิง กับสมเดจพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์นี้ ร่วมพระราชมารดาเดียวกัน ๚ะ๏ อนึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงในพระบรมโกฎ มีพระราชบุตรเกิดด้วยพระสนมสี่พระองค์ คือพระองค์เจ้าจินองค์หนึ่ง พระองค์เจ้าดำองค์หนึ่ง พระองค์เจ้าแก้วองคหนึ่ง พระองค์เจ้าบุญนาคองคหนึ่ง แลพระองค์เจ้าบุญนาคองค์นี้ ที่เรียกว่าเจ้าพระเถรนั้น แลพระองค์ดำนั้น ได้พระองค์เจ้าแก้วพระราชบุตรีสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน เปนบาทบริจาริก แลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอกรมพระราชวังบวรนั้น ได้พระองค์เจ้าทับทิมลูกพระสนม ซึ่งเปนพระราชภัคินีต่างพระมารดากันนั้น เปนพระอัคมเหษี ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๐๖๔ ปีมเมียจัตวาศก ขณะนั้นนายโขลงช้างชาวบ้านแก่ง นำโขลงเข้ามาแต่ท้องป่าต้น แลกันเอาช้างพลายงาสั้นติดโขลงเข้ามาได้ตัวหนึ่ง สูงประมาณหกศอกห้านิ้ว สรรพด้วยคชลักษณ์งามบริบูรณ แลชักโขลงนั้นเข้ามาณพเนียด จึ่งพระราชวังเมืองนำเอาข่าวช้างสำคัญนั้น ขึ้นกราบทูลพระกรุณาให้ทรงทราบ พระบาทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสดจพระราชดำเนินไปณพเนียด ทอดพระเนตรให้ชักช้างโขลงเข้าพเนียด แล้วทรงพระกรุณาให้กันช้างสำคัญนั้น เข้าไว้ในวงภาษ ให้ปรนปรือฝึกสอนให้ค่อยชำนิขำนาญ แล้วจึ่งนำเข้าไว้ณโรงที่พเนียด ทรงพระกรุณาให้มีการมหรสพโพชสามวัน แล้วให้นำลงสู่เรือขนาน มีเรือคู่ชักแห่เปนขบวนเข้ามายังพระนคร จึ่งให้นำขึ้นไว้ณโรงยอดในพระราชวัง ทรงพระกรุณาพระราชทานนามบัญญัติชื่อ พระบรมไตรจักร แล้วพระราชทานรางวัลแก่นายโขลงนั้นโดยสมควร ๚ะ๏ ในปีมเมียจัตวาศกนั้น ทรงพระกรุณาดำรัศให้ช่างต่ออย่างพระมณฑปพระพุทธบาท ให้มียอดห้ายอด ให้ย่อเกลดมีบันแถลง แลยอดแซรกด้วย นายช่างต่ออย่างแล้วเอาเข้าทูลถวาย จึ่งมีพระราชดำรัศสั่งให้ปรุงเครื่องบนพระมณฑปตามอย่างนั้นเสรจ จึ่งเสดจพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหบาตรา ชลมารค สถลมารค ขึ้นไปนมัศการพระพุทธบาท ตามอย่างพระราชประเพณีมาแต่ก่อน แล้วทรงพระกรุณาให้ช่างพนักงาน จัดการยกเครื่องบนพระมณฑปพระพุทธบาท ๚ะ๏ ขณะนั้นสมเดจพระสังฆราช ตามเสดจขึ้นไปช่วยเปนแม่การด้วย สมเดจพระเจ้าอยู่หัวมีพระไทยปราโมชยิ่งนัก จึ่งทรงพระกรุณามอบการทั้งปวง ถวายให้สมเด็จพระสังฆราชเปนแม่การแล้ว ก็เสดจยังกรุงเทพมหานคร ๚ะ๏ ครั้งนั้นสมเดจพระเจ้าแผ่นดิน มิได้เสดจอยู่ในพระนครนาน เสดจอยู่แต่เดือนหนึ่งบ้าง สิบห้าวันบ้าง แล้วเสดจด้วยเรือพระที่นั่ง แวดล้อมไปด้วยข้าทูลลอองธุลีพระบาททั้งปวง เที่ยวประภาศไปในท้องแถวนที ตราบเท่าถึงเมืองสมุทรปราการ แลทรงเปิดตกนานามัจฉาชาติทั้งปวงต่าง ๆ ทรงสร้างแต่อกุศลทุจริต ผิดพระราชประเพณีมาอย่างแต่ก่อน แลพระองค์ฆ่าเสียซึ่งหมู่มัจฉาชาติทั้งหลาย ด้วยเบ็ดแลข่ายล้มตายเปนอันมาก บางทีเสดจด้วยช้างพระที่นั่ง แลล้อมไปด้วยช้างท้าวพระยาข้าราชการเปนอันมาก เที่ยวประภาศไปในอรัญประเทศ แลให้ช้างดั้งข้างกัน แลช้างเชือกบาศไล่ล้อมหมู่ช้างเถื่อนในป่า แลซัดเชือกบาศคล้องช้างเถื่อนได้เปนอันมาก แลเสดจไปตั้งล้อมช้างเถื่อนในป่าแขวงเมืองท่าโรงครั้งหนึ่ง ณป่าเพชรบูรีครั้งหนึ่ง บางทีเสดจเที่ยวไปในท้องทุ่ง ทรงพระแสงปืนนกสับยิงต้องนาๆ สัตว มฤคคะณาทวิชาชาติทั้งหลายล้มตายเปนอันมาก บางทีเสดจยกพยุหบาตรา ขึ้นไปนมัศการพระพุทธบาทบำเพ็ญพระราชกุศล ตามอย่างพระราชประเพณีมาแต่ก่อน แล้วเสดจกลับยังพระนคร ๚ะ๏ ฝ่ายนายช่างกระทำการมณฑปพระพุทธบาทยกเครื่องบนแล้ว จึ่งจับการแลการรักต่อไป แลการทอง แลการกระจกนั้น ยังมิได้สำเหร็จ ๚ะ๏ อยู่มาวันหนึ่งพระเจ้าแผ่นดินเสด็จออก ณท้องพระโรง จึ่งมีพระราชโองการตรัสถามข้าทูลลอองธุลีพระบาททั้งปวงว่า ข้างประจันตชนบทประเทศบ้านนอก เขามีการมหรสพงานใหญ่ที่ไหนบ้าง ขณะนั้นข้าราชการผู้มีชื่อคนหนึ่ง กราบทูลพระกรุณาว่า ข้าพระพุทธเจ้าได้ทราบเกล้าว่า ณบ้านปัจจันตชนบทแขวงเมืองวิเสศไชยชาญ เพลาพรุ่งนี้ชาวบ้านนั้นจะทำการฉลองพระอาราม มีการมหรสพงานใหญ่ จึ่งมีพระราชดำรัศว่า แต่เราเปนเจ้ามาช้านาน มิได้เล่นมวยปล้ำบ้างเลย แลมือก็หนักเนือยเลื่อยล้าช้าอ่อนไป เพลาพรุ่งนี้เราจะไปเล่นสนุกชกมวยลองฝีมือให้สบายใจสักหน่อยหนึ่งเถิด ๚ะ๏ ครั้นรุ่งขึ้นจึ่งเสดจด้วยพระชลพาหนะ แวดล้อมไปด้วยเรือข้าทูลลอองธุลีพระบาททั้งปวง ไปโดยลำดับชลมารคถึงตำบลบ้านตลาดกรวด จึ่งให้อยุดประทับเรือพระที่นั่งเสด็จขึ้นบกในที่นั่น แลดำรัศห้ามมิให้ข้าราชการทั้งปวงไปโดยเสดจพระราชดำเนิร แลพระองค์ผลัดพระภูษาแปลงเพศเปนคนยาก เสดจปลอมไปแต่กับตำหรวจ มหาดเลก ข้าหลวงเดิมสี่ห้าคน ซึ่งเปนคนสนิทไว้พระไทยมิให้ผู้ใดสงไสย ครั้นไปถึงตำบลบ้านซึ่งมีงานใหญ่อลองพระอารามนั้น จึ่งเสดจพระราชดำเนินด้วยข้าหลวงปลอมไปกับคนชาวบ้านทั้งปวง ซึ่งเที่ยวดูงานนั้น ขณะนั้นภอเจ้างานให้เปรียบมวย จึ่งมีพระราชดำรัศใช้ข้าหลวงไปว่าแก่ผู้เปนนายสนามว่า บัดนี้มวยในกรุงออกมาคนหนึ่ง จะเข้ามาเปรียบคู่ชกมวยในสนามท่าน แลนายสนามได้ยินอย่างนั้นก็ดีใจ จึ่งว่าให้เข้ามาเปรียบคู่เถิด จึ่งเข้าไปในสนาม แลนายสนามก็จัดหาคนมวยมีฝีมือจะมาให้เปรียบคู่ เหล่าข้าหลวงจึ่งห้ามว่า อย่าเอาเข้ามาเปรียบเลย เราเหนตัวแล้ว จะเอาแล้ว จงให้แต่งตัวเถิด นายสนามจึ่งให้แต่งตัวเข้าทั้งสองฝ่าย แล้วให้ชกกันในกลางสนาม จึ่งสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน แลคนมวยผู้นั้นก็เข้าชกซึ่งกันแลกัน แลฝีมือทั้งสองฝ่ายนั้นดีทัดกันภอแลกลำกันได้ มิได้เพลี่ยงพล้ำกัน แลกำลังนั้นก็ภอก้ำกึ่งกันอยู่ แลคนทั้งหลายซึ่งดูนั้นก็สรรเสิรญฝีมือทั้งสองฝ่าย แลให้เสียงฮาลั่นติด ๆกันไปทุกนัด แลคนมวยผู้นั้น บุญน้อยวาสนาก็น้อย แลเข้าต่อสู้ด้วยสมเด็จพระมหากษัตราธิราชเจ้า อันกอประด้วยบุญญาภิสังขารบารมีมาก แลกำลังบุญวาสนานั้นข่มขี่กันอยู่ ครั้นสู้กันไปได้ประมาณกึ่งยก ก็หย่อนกำลังลง แลเสียทีเพลี่ยงพล้ำถูกที่สำคัญถนัด เจ็บป่วยถึงสาหัสเปนหลายนัด ก็แพ้ด้วยบุญญานุภาพในยกนั้น จึ่งนายสนามก็ตกรางวัลให้แก่ผู้ชะนะนั้นบาทหนึ่ง ให้แก่ผู้แพ้สองสลึงตามวิไสยบ้านนอก แลเหล่าข้าหลวงนั้นรับเอาเงินรางวัล จึ่งดำรัศให้ข้าหลวงว่าแก่นายสนาม ให้จัดหาคู่มาเปรียบอิก แลนายสนามก็จัดหาคู่มาได้อิก แล้วก็ชกกัน แลคนมวยผู้นั้น ทานบุญมิได้ก็แพ้ในกึ่งยก คนทั้งหลายสรรเสริญฝีพระหัถมี่ไป แล้วว่ามวยกรุงคนนี้ฝีมือดียิ่งนัก แลนายสนามก็ตกรางวัลให้เหมือนหนหลังนั้น แล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ภาข้าหลวงคืนมาสู่เรือพระที่นั่ง ค่อยสำราญพระราชหฤไทย แล้วเสดจกลับยังกรุงเทพมหานคร ๚ะ๏ ในปีมเมียจัตวาศกนั้น สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวเสดจ์ออกณะพระที่นั่งสุริยามรินทร์ มีพระราชหฤไทยปราถนาจะใคร่เสด็จไปประภาษล้อมช้างเถื่อนในป่า จึ่งมีพระราชดำรัศสั่งสมุหนายกให้ตรวจเตรียมช้างม้ารี้พลแลนาวาพยุหทั้งปวงให้พร้อมไว้ ครั้นถึงวันอันกำหนด จึ่งเสด็จลงสู่เรือพระที่นั่งพรั่งพร้อมด้วยเรือพระบรมโอรสาธิราชเจ้า แลเรือท้าวพระยาเสนาบดีพิริยโยธาพลากรทวยหารทั้งหลาย แวดล้อมโดยเสด็จพระราชดำเนินเปนอันมาก จึ่งให้เคลื่อนขยายขบวนนาวาพยุหไปโดยลำดับชลมารค ครั้นถึงท่าเรือแขวงเมืองนครสวรรค์ จึ่งเสด็จขึ้นตั้งตำหนักทับพลับพลาอยู่ตำบลบ้านหูกวาง แล้วทรงพระกรุณาให้ตั้งค่ายปีกกาล้อมฝูงช้างเถื่อนณะป่ายางกองทอง แลให้ทำค่ายมั่นสำหรับจะกันช้างเถื่อนเข้าจับนั้น แลให้เหล่าช้างเชือกไปไล่ล้อมกันช้างเถื่อนมาเข้าค่ายมั่น ครั้งนั้นเปนเทศกาลวรรษรดูฝนตกน้ำนองท่วมไปทั้งป่า คนทั้งหลายซึ่งทำค่ายนั้นลุยน้ำทำการเร่งรัดกันตั้งค่ายล้อมทั้งกลางวันกลางคืน จนท้าวนั้นเปื่อยทนทุกข์ลำบากเวทนาป่วยเจ็บทุพลภาพมาก อดอาหารซูบผอมล้มตายก็มาก หนึ่งในที่รหว่างค่ายหลวงที่ประทับ แลที่ค่ายล้อมช้างต่อกันนั้น มีบึงหนึ่งใหญ่หลวงขวางอยู่หว่างกลาง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จไปทอดพระเนตร ให้กันฝูงช้างเถื่อนเข้าจับในค่ายมั่น แลทางซึ่งเดินลัดตัดตรงไปค่ายล้อมนั้น ต้องผ่าข้ามบึงใหญ่นั้นไปจึ่งใกล้ ถ้าแลจะเดิรหลีกไปให้พ้นบึงนั้น มีระยะทางอ้อมวงไปไกลนัก จึ่งมีพระราชโองการตรัสสั่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ ให้เปนแม่กองกะเกนคนถมถนลหลวงเปนทางสถลมารคข้ามบึงใหญ่นั้นไป ให้สำเร็จแต่ในเพลากลางคืนวันนี้ รุ่งสางขึ้นจะเสด็จพระราชตำเนินข้ามข้างพระที่นั่งไป แลให้เร่งรัดกระทำการให้แล้วทันตามพระราชกำหนด จึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์รับสั่งแล้ว ก็ออกไปกะเกนผู้คนในกองหลวงได้หมื่นเสศ แบ่งปันน่าที่กันทำการถมถนลข้ามบึงใหญ่แต่ในกลางคืน บ้างขุดมูลดินแลตัดไม้น้อยใหญ่ทิ้งถมลงไป แล้วเอาช้างลงเหยียบให้ที่แน่น แลเร่งรัดกันทำการถมถนลทุบปราบราบรื่นแล้ว ตลอดถึงฝั่งฝากข้างโน้นเสร็จแต่ในกลางคืน แล้วเสด็จกลับเข้ามากราบทูลพระกรุณาว่า ทางสถลมารคนั้นแล้วเสร็จดุจพระราชกำหนด ครั้นเพลาประจุไสมย จึ่งพระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จขึ้นเกยทรงช้างต้นพลายสังหารคชสีห์ เปนพระคชาธาร พรั่งพร้อมด้วยข้างพระที่นั่งพระราชบุตร แลช้างท้าวพระยาเสนามาตย์ราชพยุหโยธาพลากรเดินท้าวทั้งหลาย แวดล้อมโดยเสด็จพระราชดำเนินเปนอันมาก จึ่งเสด็จยาตราพระคชาธารไปโดยวิถีสถลมารคข้ามบึงนั้น ครั้นไปถึงกลางบึง แลที่นั่นเปนหล่มฦกนัก ถมทุบปราบไม่สู้แน่น แลเท้าหน้าช้างต้นนั้นเอยียบถลำจมลงไป แล้วกลับถอนขึ้นได้ จึ่งค่อยจ้องจดยกย่างต่อไป สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระพิโรธ แก่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์นั้นยิ่งนัก ตำรัศว่าอ้ายสองคนนี้มันเหนว่ากูแก่ชราแล้ว จึ่งชวนกันคิดเปนกระบถ แลทำถนลให้เปนพลุะหล่มไว้ หวังจะให้ช้างซึ่งกูขี่นี้เอยียบถลำหล่มล้มลง แล้วมันจะชวนกันฆ่ากูเสียหมายจะชิงเอาราชสมบัติ แลพระองค์ตรัสเท่าดั่งนั้นแล้ว ก็ขับพระคชาธารไปตามแถวถนลข้ามพ้นบึงขึ้นฝั่ง จึ่งแปรพระภักตรเหลือบพระเนตรมาข้างเบื้องพระปฤษฎางค์ ทอดพระเนตรเหนช้างพระที่นั่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ ตามเสด็จติดท้ายช้างพระคชาธารมา ก็ยิ่งทรงพระพิโรธนัก จึ่งเยื้องพระองค์ทรงพระแสงฃอง้าวเงื้อจะฟันเอาพระเศียรสมเด็จพระเจ้าลูกเธอกรมพระราชวังบวร จึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระบัณฑูรน้อย ก็เอาด้ำพระแสงขอซึ่งทรงอยู่นั้นยกขึ้นกันรับพระแสงของ้าวไว้ได้ด้วยฉับไว มิได้ต้องพระเชษฐาธิราชเจ้าด้วยพระองค์ทรงชำนิชำนาญในการกระบี่กระบอง มวยปล้ำว่องไวสันทัดอยู่ แล้วจึ่งเอาช้างทรงเข้ากันช้างพระเชษฐาธิราชเจ้า แลภากันขับช้างพระที่นั่งแล่นหนีไป สมเด็จพระบรมราชบิตุรงค์ก็ยิ่งทรงพระพิโรธเปนกำลัง แลไสช้างพระที่นั่งไล่ติดตามช้างสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ไป ในทันใดนั้น ฝ่ายควานซึ่งอยู่ท้ายช้างพระที่นั่งนั้นเหนว่า ช้างสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองจะหนีไปมิพ้น จึ่งเอาขอท้ายเกี่ยวท้ายช้างพระที่นั่งเข้าไว้ค่อยรอช้าลง แลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ ความกลัวพระราชอาญาเปนกำลัง ก็รีบขับช้างพระที่นั่งแล่นหนีบุกป่าไป แลช้างพระคชาธารจะไล่ติดตามมิทัน จึ่งมีพระราชโองการตรัสร้องประกาษไปแก่ข้าทูลลอองธุลีพระบาททั้งปวงว่า ท่านทั้งหลายจงช่วยกันติดตามจับเอาตัวอ้ายขบถสองคนมาให้เราจงได้ แล้วบ่ายพระคชาธารกลับมายังพลับพลาที่ประทับนั้น ส่วนตำรวจแลข้าราชการทั้งหลาย ก็ติดตามไปภบเสด็จสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์แล้ว ก็นำเอามาถวายณะค่ายหลวง จึ่งมีพระราชดำรัศสั่งให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์นั้นได้ยกหนึ่ง ๓๐ ทีแล้ว ให้พันทนาเข้าไว้ด้วยสังขลิกพันท์ แล้วดำรัศสั่งว่า ให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนรับเสด็จเพลาเช้ายกหนึ่ง เอย็นยกหนึ่ง เปนนิจทุกวัน ๆ ไป อย่าได้ขาด กว่าจะเสด็จพระราชดำเนินกลับลงไปพระนคร ๚ะ๏ ขณะนั้นนายผลข้าหลวงเดิมคนหนึ่ง เข้าไปเฝ้าเยือนสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ในเรือนโทษ จึ่งมีพระบัณฑูรตรัสว่า อ้ายผล บัดนี้สมเด็จพระราชบิดาทรงพระพิโรธ ตำรัศสั่งให้ลงพระราชอาญาแก่กูทั้งสองทุกเพลาเช้าเอย็นเปนนิจทุกวัน ๆ กว่าจะเสด็จกลับลงไปณะกรุง แลกูทั้งสองจะทนพระราชอาญาไปได้ฤๅ จะมิตายเสียก่อนฤๅ เองจะคิดประการใด นายผลได้ฟังดังนั้น จึ่งคิดเหนว่าจะพ้นไภยได้ จึงกราบทูลว่า ขอพระราชทาน จงตำรัศสั่งให้ตำหรวจเอาเรือเรวรีบลงไปทูลเชิญเสด็จสมเด็จพระอายกีกรมพระเทพามาตย์ ซึ่งเสด็จอยู่ณะพระตำหนักริมวัดดุษิดนั้น ขึ้นมาช่วยกราบทูลขอโทษ เหนว่าจะทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานให้เปนมั่นคง ด้วยเหนว่ากรมพระเทพามาตย์นี้ มีพระคุณุปการเปนอันมาก ได้อุประถำบำรุงเลี้ยงรักษาสมเด็จพระราชบิดามาแต่ทรงพระเยาว์นั้น จะว่าไรก็ว่ากันได้เหนจะขัดกันมิได้ แลซึ่งจะอุบายคิดอ่านไปอย่างอื่นนั้น เหนว่าจะมิพ้นโทษ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ ตรัสได้ทรงฟังดังนั้นก็เหนชอบด้วย ทรงพระปีติโสมนัศยิ่งนัก จึ่งมีพระบัณฑูรตรัสใช้หลวงกระเสตรรักษา ให้เอาเรือเรวรีบลงไปเฝ้าสมเด็จพระอายกีกรมพระเทพามาตย์ให้ทูลโดยมูลเหตุทั้งปวงนั้น ให้ทราบสิ้นทุกประการ แล้วจงทูลว่า เราทั้งสองพี่น้องขอถวายบังคมมา แทบฝ่าพระบาทสมเด็จพระอายกีเจ้า ขอจงทรงพระกรุณาโปรดเชิญเสด็จขึ้นมา ช่วยทูลขอพระราชทานโทษข้าพเจ้าทั้งสองโดยเรวเถิด ข้าพเจ้าทั้งสองจึ่งจะรอดจากความตาย แลซึ่งบุคลผู้ใดจะมาเปนที่พึ่งพำนักนิ์ ช่วยชีวิตรข้าพเจ้าทั้งสอง ในครานี้เหนไม่มีตัวแล้ว แลหลวงกระเสตรรักษารับสั่งแล้ว ก็มาลงเรือเรวรีบลงไปณะกรุงสามวันก็ถึง จึ่งเข้าไปเฝ้ากรมพระเทพามาตย์ณะพระตำหนักริมวัดดุษิดนั้น แล้วกราบทูลโดยมีพระบัณฑูรสั่งมานั้นทุกประการ ๚ะ๏ สมเด็จพระอายกีได้ทรงฟังดังนั้น ก็ตกพระไทย จึ่งตรัสเรียกข้าหลวงสาวใช้ สั่งให้ฝีภายผูกเรือพระที่นั่ง มาประเทียบท่าเปนการเรว แล้วเสด็จโดยด่วนลงเรือพระที่นั่งให้รีบเร่งฝีภายขึ้นไป หลวงกระเสตรรักษาเปนเรือนำเสด็จ รีบเร่งไปทั้งกลางวันกลางคืน สี่วันก็ถึงท่าเรือประทับ จึ่งเสด็จขึ้นไปเฝ้าสมเดจพระเจ้าแผ่นดิน ณะพระตำหนักทับพลับพลานั้น ๚ะ๏ จึ่งพระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ตรัสทอดพระเนตรเหนกรมพระเทพามาตย พระราชมารดาเลี้ยงเสดจขึ้นมา ก็กระทำประจุคมนาการต้อนรับเชิญเสดจให้ขึ้นนั่งร่วมราชาอาศน์ ทรงถวายอภิวาทแล้วตำรัศถามว่า ซึ่งเจ้าคุณขึ้นมานี้ด้วยมีกิจธุระเปนประการใด จึ่งกรมพระเทพามาตยกราบทูลว่า ได้ยินข่าวลงไปว่าพระราชบุตรทั้งสองมีโทษ จึ่งอุษาห์ขึ้นมาทั้งนี้ เพื่อจะทูลขอพระราชทานโทษ จึ่งมีพระราชโองการตรัสเล่าให้กรมพระเทพามาตยฟังว่า อ้ายสองคนนี้มันคิดการเปนขบถ เดิมข้าพเจ้าให้มันเปนแม่กองถมถนนข้ามบึง มันแซ่งทำเปนพลุะหล่มไว้ ให้ช้างซึ่งข้าพเจ้าขี่นั้นเอยียบถลำลง แล้วมันจะชวนกันฆ่าข้าพเจ้าเสีย จะเอาราชสมบัติ กรมพระเทพามาตย์จึ่งกราบทูลว่า อันพระราชบุตรทั้งสองนี้ เปนลูกเพื่อนทุกข์เพื่อนยากของพ่อมาแต่ก่อน แลซึ่งจะคิดการขบถประทุษร้ายต่อพ่อนั้นหามิได้ แล้วกรมพระเทพามาตย์กราบทูลวิงวอนขอพระราชทานโทษเปนหลายครั้ง จึ่งทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานโทษให้แก่กรมพระเทพามาตยนั้น แล้วมีพระราชตำรัศมอบให้แก่กรมพระเทพามาตยว่า เจ้าคุณจงเอามันทั้งสองนั้น ลงไปเสียด้วยเถิด อย่าให้มันอยู่ด้วยข้าพเจ้านี้เลย ถ้าแลจะเอามันไว้ที่นี้ด้วยข้าพเจ้าไซ้ มันก็จะคิดการขบถมฆ่าข้าพเจ้าเสียอิกเปนมั่นคง แลกรมพระเทพามาตยรับสั่งแล้ว ก็ออกไปถอดสมเดจพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ออกจากโทษ แล้วทูลลาสมเดจพระเจ้าแผ่นดิน ภาเอาสมเดจพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์มาลงเรือพระที่นั่ง แล้วเสดจกลับลงมายังกรุงเทพมหานคร ๚ะ๏ ส่วนสมเดจพระเจ้าแผ่นดิน ก็เสดจด้วยช้างพระที่นั่ง แลช้างดั้งช้างกันไปถอดพระเนตรให้กันช้างเถื่อนเข้าค่ายมั่น แล้วจับช้างเถื่อนได้ครั้งนั้นมาก ประมาณร้อยมีเสศ แล้วเสดจกลับยังพระมหานครศรีอยุทธยา ๚ะ๏ ฝ่ายสมเดจพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ ก็เสดจมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทตามเคยมาแต่ก่อน แลสมเดจพระราชบิดาก็สิ้นความพิโรธ ทรงพระกรุณาตำรัศสั่งกิจราชการงานพระนคร ดีเปนปรกติไม่เหมือนแต่ก่อนนั้น ๚ะ๏ ในขณะนั้นเจ้าพระบำเรอภูธรราชินิกูลองค์หนึ่ง เปนเชื้อพระวงษมาแต่ก่อน สมเดจพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระกรุณาแก่เจ้าพระบำเรอภูธรนั้นเปนอันมากว่า มีน้ำใจสัจซื่อต่อแผ่นดิน แลทรงพระกรุณาตำรัศใช้กิจราชการทั้งปวงต่างพระเนตรพระกรรณ์ แลเจ้าพระบำเรอภูธรนั้นมีบุตรสี่องค์ ชื่อพระองค์รัตนาองค์หนึ่ง พระองค์เอี้ยงองค์หนึ่ง พระองค์ขาวองค์หนึ่ง พระองค์พลับองค์หนึ่ง แลพระองค์รัตนานั้น ทรงพระกรุณาเอาเข้ามาเลี้ยงเปนพระสนมเอก แลพระองค์เอี้ยงนั้น ทรงพระกรุณาพระราชทานให้แก่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ กรมพระราชวังบวร แลพระองค์ขาวนั้น ก็พระราชทานให้แก่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระบัณฑูรน้อย แต่พระองค์พลับน้องน้อยนั้นยังเยาว์อยู่ยังมิได้โสกรรต์ แลพระองค์รัตนาซึ่งเปนพระสนมเอกนั้น สมเดจพระเจ้าแผ่นดิน ก็ทรงเสน่หาการุญภาพโปรดปรานเปนอันมาก ครั้นอยู่มาพระองค์รัตนานั้น ก็มิได้ตั้งอยู่ในกตัญูกัตเวที ต่อสมเดจพระเจ้าแผ่นดินโดยสุจริตธรรม ก็คิดการเปนทุจริต แลให้หาหมอทำเสน่ห์ หวังจะให้สมเดจพระเจ้าแผ่นดินทรงพระเสน่หารักษใคร่หลุ้มหลง แลทาษีในเรือนนั้นรู้เหตุ จึ่งเอาการอันเปนคุยรหัษนั้น ไปแจ้งแก่ท้าวนางผู้ใหญ่ ๆ นั้นก็เอาเหตุนั้นขึ้นกราบทูลพระกรุณาให้ทราบ จึ่งทรงพระกรุณาให้เอาตัวพระองค์รัตนามาพิจารณาไต่สวนไล่เลียงลืบสาวเอาตัวหมอผู้ทำนั้นด้วย ครั้นเปนสัจแท้แล้ว ก็ให้ลงพระอาญาแก่พระองค์รัตนา แล่หมอผู้ทำเสน่ห์ กับทั้งเจ้าพระบำเรอภูธร ผู้เปนบิดานั้นถึงสิ้นชีวิตร ๚ะ๏ ครั้นอยู่มาสมเดจพระเจ้าลูกเธอกรมฝ่ายในเจ้าฟ้าหญิง ทรงพระประชวรวัณโรคฝีคัณฑมาลานิพาน จึ่งทรงพระกรุณาให้ทำการฌาปนะกิจ พระราชทานเพลิง ณะพระอารามวัดไชยวัฒนาราม ตามอย่างลูกหลวงเอก แล้วทรงสดัปกรณ์พระสงฆ์เปนอันมาก โดยสมควรแก่ยศถาศักดิ์นั้น ๚ะ๏ ครั้งนั้นสมเดจพระเจ้าแผ่นดิน มีพระราชหฤไทยกักขะละหยาบช้าทารุณร้ายกาจ ปราศจากกุศลสุจริต ทรงประพฤติผิดพระราชประเพณี มิได้มีหิริโอตปะ แลพระไทยหนาไปด้วยอกุศลลามก มีวิตกในโทสะมูลโมหะมูลเจือไปในจิตรสรรดารเปนนิรันตรมิได้ขาด แลพระองค์ทรงเสวยน้ำจันขาวอยู่เปนนิจ แล้วมักยินดีในการอันสังวาศด้วยนางกุมารีอันยังมิได้มีระดู ถ้าแลนางใดอุษาห์อดทนได้ ก็พระราชทานรางวัลเงินทองผ้าแพรพรรณต่าง ๆ แก่นางนั้นเปนอันมาก ถ้านางใดอดทนมิได้ไซ้ ก็ทรงพระพิโรธแลทรงประหารลงที่ประฉิมุราประเทศ ให้ถึงแก่ความตาย แล้วให้เอาโลงเข้ามาใส่สพนางนั้น ออกไปทางประตูพระราชวังข้างท้ายสนมนั้นเนือง ๆ แลประตูนั้นก็เรียกว่าประตูผีออก มีมาตราบเท่าทุกวันนี้ ๚ะ๏ อยู่มาครั้งหนึ่ง สมเดจพระเจ้าอยู่หัวเสดจด้วยพระชลมารคพาหนะ ออกไปประภาษณะเมืองเพชรบุรี แลเสดจไปประทับแรมอยู่ณะพระราชนิเวศตำบลโตนดหลวง ใกล้ฝั่งพระมหาสมุท แลที่พระตำหนักนี้ เปนที่พระตำหนักเคยประภาษมหาสมุทมาแต่ก่อน ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตรเปนเจ้านั้น แลสมเดจพระเจ้าแผ่นดินก็เสดจด้วยพระที่นั่งมหานาวาท้ายรถ แล่นไปประภาษในท้องพระมหาสมุท ตราบเท่าถึงตำบลเขาสามร้อยยอด แลทรงเบ็ดตกปลาฉลาม แลปลาอื่นเปนอันมากแล้ว เสดจกลับมาณะตำหนักโตนดหลวง แลเสดจเที่ยวประภาษอยู่ดังนั้นประมาณสิบห้าเวน จึ่งเสดจกลับยังกรุงเทพมหานคร ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๐๖๖ ปีวอก ฉอศก ขณะนั้นสมเดจพระเจ้าแผ่นดิน เสดจด้วยเรือพระที่นั่งเอกไชย จะไปประภาศทรงเบ็ดณปากน้ำเมืองสาครบุรี ครั้นเรือพระที่นั่งไปถึงตำบลโคกขาม แลคลองที่นั่นคดเคี้ยวนัก แลพันท้ายนรสิงห์ซึ่งถือท้ายเรือพระที่นั่ง คัดแก้ไขมิทันที และศีศะเรือพระที่นั่งนั้นโขนกระทบกิ่งไม้อันใหญ่เข้า ก็หักตกลงในน้ำ พันท้ายนรสิงห์เหนดังนั้นก็ตกใจ จึ่งโดดขึ้นเสียจากเรือพระที่นั่ง แลขึ้นอยู่บลฝั่ง แล้วร้องกราบทูลพระกรุณาว่า ขอเดชฝ่าลอองธุลีพระบาทปกเกล้า พระราชอาญาเปนล้นเกล้า ขอจงทรงพระกรุณาโปรดให้ทำศาลขึ้นที่นี้สูงประมาณเพียงตา แล้วจงตัดเอาศีศะข้าพระพุทธเจ้า กับศีศะเรือพระที่นั่งซึ่งหักตกน้ำลงไปนั้น ขึ้นบวงสวงไว้ด้วยกันที่นี้ ตามพระราชกำหนดในบทพระอัยการเถิด จึ่งมีพระราชโองการตรัสว่า อ้ายพันท้ายนรสิงห์ ซึ่งโทษเองถึงตายนั้นก็ชอบอยู่แล้ว แต่ทว่าบัดนี้กูจะยกโทษเสีย ไม่เอาโทษเองแล้ว เองจงคืนมาลงเรือไปด้วยกูเถิด ซึ่งศีศะเรือที่หักนั้น กูจะทำต่อเอาใหม่แล้ว เองอย่าวิตกเลย พันท้ายนรสิงห์จึ่งกราบทูลว่า ซึ่งทรงพระกรุณาโปรด มิได้เอาโทษข้าพระพุทธเจ้านั้น พระเดชพระคุณหาที่สุดมิได้ แต่ทว่าจะเสียขนบธรรมเนียมในพระราชกำหนดกฎหมายไป แลซึ่งสมเดจพระเจ้าอยู่หัวจะมาละพระราชกำหนดสำหรับแผ่นดินเสียดังนี้ ดูมิบังควรยิ่งนัก นานไปภายน่าเหนว่าคนทั้งปวงจะล่วงคระหาติเตียนดูหมิ่นได้ แลพระเจ้าอยู่หัวอย่าทรงพระอาไลยแก่ข้าพระพุทธเจ้า ผู้ถึงแก่มรณโทษนี้เลย จงทรงพระอาไลยถึงพระราชประเพณี อย่าให้เสียขนบธรรมเนียมไปนั้นดีกว่า อันพระราชกำหนดมีมาแต่โบราณนั้นว่า ถ้าแลพันท้ายผู้ใดถือท้ายเรือพระที่นั่ง ให้ศีศะเรือพระที่นั่งนั้นหัก ท่านว่าพันท้ายผู้นั้นถึงมรณโทษให้ตัดศีศะเสีย แลพระเจ้าอยู่หัวจงทรงพระกรุณาโปรดให้ตัดศีศะข้าพระพุทธเจ้าเสีย ตามโบราณราชกำหนดนั้นเถิด จึ่งมีพระราชดำรัศสั่งให้ฝีภายทั้งปวง ปั้นมูลดินเปนรูปพันท้ายนรสิงห์ขึ้นแล้ว ก็ให้ตัดศีศะรูปดินนั้นเสีย แล้วดำรัศว่า อ้ายพันท้ายนรสิงห์ ซึ่งโทษเองถึงตายแล้วนั้น กูจะประหารชีวิตรเองเสียภอเปนเหตุแทนตัวเองแล้ว เองอย่าตายเลย จงกลับมาลงเรือไปด้วยกันกับกูเถิด พันท้ายนรสิงห์เหนดังนั้น ก็มีความละอายนัก ด้วยกลัวว่าจะเสียพระราชกำหนดโดยขนบธรรมเนียมโบราณไป เกรงคนทั้งปวงจะคระหาติเตียนดูหมิ่นในสมเดจพระเจ้าอยู่หัวแห่งตนได้ สู้เสียสละชีวิตรของตนมิได้อาไลย จึ่งกราบทูลว่า ขอพระราชทานซึ่งทรงพระกรุณาโปรดข้าพระพุทธเจ้าครั้งนี้ พระเดชพระคุณหาที่สุดมิได้ แต่ทว่าซึ่งตัดศีศะรูปดินแทนตัวข้าพระพุทธเจ้าดังนี้ ดูเปนทำเล่นไป คนทั้งหลายจะล่วงคระหาติเตียนได้ ขอพระองค์จงทรงพระกรุณาโปรด ตัดศีศะข้าพระพุทธเจ้าโดยฉันจริงเถิด อย่าให้เสียขนบธรรมเนียมในพระราชกำหนดไปเลย ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบทูลฝากบุตรภรรยา แล้วก็จะกราบถวายบังคมลาตายไปโดยลักขณยถาโทษอันกราบทูลไว้นั้น ๚ะ๏ สมเดจพระเจ้าแผ่นดินตรัสได้ทรงฟังดังนั้น ก็ดำรัศวิงวอนไปเปนหลายครั้ง พันท้ายนรสิงห์ก็มิยอมอยู่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระมหาการุญภาพแก่พันท้ายนรสิงห์เปนอันมาก จนกลั้นน้ำพระเนตรนั้นไว้มิได้ จำเปนจำทำตามพระราชกำหนด จึ่งดำรัศสั่งนายเพชฌฆาฎให้ประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์เสีย แล้วให้ทำศาลขึ้นสูงประมาณเพียงตา แลให้เอาศีศะพันท้ายนรสิงห์กับศีศะเรือพระที่นั่งซึ่งหักนั้น ขึ้นพลีกรรมไว้ด้วยกันบนศาลนั้น แล้วให้ออกเรือพระที่นั่งไปประภาษทรงเบ็ด ณปากน้ำเมืองสาครบุรี แล้วเสดจกลับยังพระมหานคร แล้วสาลเทพารักที่ตำบลโคกขามนั้น ก็มีปรากฏมาตราบเท่าทุกวันนี้ ๚ะ๏ จึ่งพระบาทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระราชดำริห์ว่า ณะคลองโคกขามนั้นคดเคี้ยวนัก คนทั้งปวงจะเดิรเรือเข้าออกก็ยาก ต้องอ้อมวงไปไกลกันดารนัก ควรเราจะให้ขุดลัดตัดเสียให้ตรงจึ่งจะชอบ อนึ่งพันท้ายนรสิงห์ซึ่งตายเสียนั้น เปนคนสัจซื่อมั่นคงนัก สู้เสียสละชีวิตรมิได้อาไลย กลัวว่าเราจะเสียพระราชประเพณีไป เรามีความเสียดายนัก ด้วยเปนข้าหลวงเดิมมาแต่ก่อน อันจะหาผู้ซึ่งรักใคร่ซื่อตรงต่อเจ้าเหมือนพันท้ายนรสิงห์นี้ยากนัก แล้วดำรัศให้เอากะเฬวระพันท้ายนรสิงห์นั้น มาแต่งการฌาปณกิจพระราชทานเพลิง แลบุตรภรรยานั้นพระราชทานเงินทองสิ่งของเปนอันมาก แล้วมีพระราชโองการตรัสสั่งสมุหนายกให้กะเกนเลขหัวเมืองให้ได้สามหมื่นไปขุดคลองโคกขาม แลให้ขุดลัดตัดให้ตรงตลอดไป โดยฦกหกศอก ปากคลองกว้างแปดวา พื้นคลองกว้างห้าวา แลให้พระราชสงครามเปนแม่กอง คุมพลหัวเมืองทั้งปวง ขุดคลองจงแล้วสำเร็จดุจพระราชกำหนด แล้วมีพระราชดำรัศแก่ท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลายว่า แต่ครั้งศักราช ๘๖๐ ปีมเมียสำฤทธิศก ครั้งแผ่นดินสมเดจพระรามาธิบดีนั้นได้ขุดคลองสำโรงตำบลหนึ่ง ๚ะ๏ ครั้นล่วงมาลุศักราช ๘๘๔ ปีมโรงจัตวาศก ครั้งแผ่นดินสมเดจพระไชยราชาธิราชเจ้านั้น ก็ได้ขุดคลองบางกอกใหญ่ตำบลหนึ่ง ๚ะ๏ ครั้นล่วงมาลุศักราช ๙๐๐ ปีจอสมฤทธิศก ครั้งแผ่นดินสมเดจพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือกนั้น ก็ได้ขุดคลองบางกรวยริมวัดชลอถลุะไปออก ริมวัดมูลเหล็กนั้นตำบลหนึ่ง ๚ะ๏ ครั้นล่วงมาลุศักราช ๙๗๐ ปีวอกสมฤทธิศก ครั้งแผ่นดินสมเดจพระเจ้าทรงธรรมนั้น ก็ให้ขุดคลองลัดริมวัดไก่เตี้ย ณะท้ายบ้านสามโคกนั้นตำบลหนึ่ง ๚ะ๏ ครั้นล่วงมาลุศักราช ๙๙๘ ปีชวดอัฐศก ครั้งแผ่นดินสมเดจพระเจ้าอยู่หัวปราสาททองนั้น ก็ได้ขุดคลองเมื่องนนท์บุรีตำบลหนึ่ง ตัดมาออกตลาดแก้วนั้น ๚ะ๏ แลครั้งนี้เราจะขุดคลองโคกขามให้เปนเกียรติยศไว้กราบเท่ากัลปาวสาน จึ่งเจ้าพระยาจักรีก็เกนเอาเลกหัวเมืองนนท์บูรี เมืองธนบูรี เมืองนครไชยศรี เมืองสาครบูรี เมืองสมุทสงคราม เมืองเพชรบูรี เมืองราชบูรี เมืองสมุทปราการ ได้พลหัวเมืองทั้งปวงนั้นสามหมื่นเศศ มอบให้พระราชสงครามผู้เปนนายกอง แลพระราชสงครามก็กราบถวายบังคมลา ถือพลหัวเมืองทั้งปวงไปทำการขุดคลองโคกขาม แลที่ซึ่งจะขุดไปถลุะออกแม่น้ำเมืองสาครบูรีนั้น ให้รังวัดได้ทางไกล ๓๔๐ เส้น แลให้ฝรั่งส่องกล้องตัดทางให้ตรงแล้ว จึ่งให้ปักกรุยแบ่งปันน่าที่กันขุดตามหมวดตามกอง แลปันน่าที่ให้ขุดคนหนึ่งโดยยาวคืบหนึ่ง กว้างฦกนั้นโดยขนาดคลอง ๚ะ๏ แลการขุดคลองนั้นได้จับทำในศักราช ๑๐๖๗ ปีรกาสัปตศก แลการนั้นยังไปมิได้สำเหร็จก่อน ครั้นถึงมาฆมาศสุกปักษ์ดิถี จึ่งพระบาทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชดำรัศสั่งสมุหนายก ให้ตรวจเตรียมพลพยุหบาตราโดยขบวนชลมารค สถลมารคทั้งปวงให้พร้อมเสร็จ จะเสดจพระราชดำเนินขึ้นไปนมัศการพระพุทธบาท โดยพระราชประเพณีมาแต่ก่อน ครั้นถึงศุภวารมหาพิไชยฤกษ จึ่งสมเดจพระบาทบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ทรงเครื่องศิริราชวิภูษนาลังกาภรณ์บวรรัตนมาลีมณีมาศมกุฏิสอดทรงวิสุทธิสังวาลกาญจนอลงกฎรจนา ทรงวิไชยมหาราชาวุธสำหรับราชรณยุทธสรับเสรจ ก็เสดจทรงเรือพระที่นั่งไกรษรมุขพิมาน อลังการด้วยเสวตรมยุรฉัตร ขนัดพระอภิรุมชุมสายพรายพรันบังรวีวรรบังแซกสลอนสลับ สรรพด้วยกันชิงกลิ้งกลดจ่ามรมาศดาษดา ดูมโหฬาราดิเรกพันฦกอธึกด้วยกบี่ธุชทวนเทียวธวัชเปนทิวแถวดูแพรวพราย ปลายระยาบระยับจับพื้นทิฆัมภรวโรภาษ เดียรดาษด้วยเรือพระที่นั่ง เรือท้าวพระยาสามนตราชกระกูลขุนหลวงต้นเชือกปรายเชือกทั้งหลายรายเรียง จับฉลากเปนคู่ๆ ดูเปนขนัดโดยขบวนพยุหบาตราน่าหลังคับคั่ง เนืองนองกึกก้องกาหลด้วยสรรปทสำเนียงเสียงพลอุโฆษ แตรสังข์ดูริยางคดนตรีปี่กลองชะนะประโคมครื้นเพียงพื้นพสุธารนฤนาท ให้ขยายพยุหบาตราคลาเคลื่อนเลื่อนไปโดยชลมารค แล้วอยุดประทับร้อนณะพระราชนิเวศพระนครหลวง เสวยพระกระยาหารสำราญพระอารมณ์ เสด็จเข้าที่พระบันทมในที่นั้น ครั้นซายแล้วสามนาฬิกา จึ่งให้ออกเรือพระที่นั่งไปโดยลำดับ กราบเท่าถึงที่ประทับพระตำหนักท่าเจ้าสนุกนิ์ แล้วเสดจทรงพระที่นั่งพังสกลเกษร พระที่นั่งรองพังบวรประทุมชุมนุมราชพิริยโยธาพลากรพฤนธรพร้อมพรั่ง ตั้งตามขบวนพยุหบาตราสถลมารคสรัพเสรจ ก็เสดจยกพยุหแสนยากรทวยหารไปโดยลำดับสถลมารควิถี ถึงเขาสุวรรณบรรพต จึ่งอยุดพระคชาธารทรงรำพระแสงขอเหนือกระพองช้างต้นสิ้นวารสามนัด บูชาพระพุทธบาทตามอย่างพระราชประเพณีเสรจ แล้วก็บ่ายพระคชาธารไปเข้าที่ประทับ ณะพระราชนิเวศธารเกษม แล้วเสดจมานมัศการพระพุทธบาททุกเพลาเช้าเอย็น ให้เล่นการมหรสพถวายพุทธสมโพชคำรพสามวัน ครั้นค่ำให้จุดดอกไม่เพลิงต่าง ๆ รทาใหญ่แปดรทาบูชาพระพุทธบาทเปนมโหฬารยิ่งนัก แล้วทรงพระกรุณาให้ถอยเรือพระที่นั่ง แลเรือแห่ทั้งปวงกลับลงไปณะกรุง ๚ะ๏ แล้วถวายนมัศการลายกพยุหโยธาคชานิกรทวยหาร ผ่านไปโดยทิศตวันออกข้ามแม่น้ำแควป่าสักไปณะเขาปถวี เสดจขึ้นถวายนมัศการพระพุทธฉายา แล้วประทับอยู่ที่นั้นสามเวน จึ่งเสดจยกพลนิกายบ่ายหน้าไปโดยบูรพทิศ แลเสดจประภาษไปถึงตำบลเขาพนมโยง จึ่งเสดจขึ้นนมัศการพระเจดีย์ถานบนยอดเขานั้น แลเสดจประทับอยู่ที่นั่นอิกสามเวน จึ่งเสดจยกพลแสนยากรรอนแรมประภาษไปในวนาประเทศทั้งปวงสิ้นสองสามเวน มีพระราชหฤไทยปราถนาจะไปประภาศเที่ยวล้อมช้างเถื่อนในป่า ก็ภอทรงพระประชวนลง จึ่งเสดจยกพยุหโยธาทับกลับเข้าพระนคร แลพระโรคนั้นก็ยิ่งกำเริบมากขึ้น ทรงพระประชวรหนักลง แลบันดาข้าทูลลอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวง ก็เข้าไปในพระราชวังสิ้น ๚ะ๏ ฝ่ายพระราชสงครามแลนายหมวดนายกองเจ้าน่าที่ทั้งหลาย ซึ่งคุมพลทำการขุดคลองนั้น แลขุดได้ครึ่งหนึ่งยังมิได้สำเสร็จ ครั้นแจ้งไปว่าทรงพระประชวรหนัก ก็เลิกการนั้นเสีย ชวนกันกลับเข้ามาพระนคร แลการนั้นยังค้างอยู่ ส่วนสมเดจพระเจ้าแผ่นดินก็ทรงพระประชวรอยู่ ณะพระที่นั่งสุริยามรินทร์ พระโรคนั้นหนักเปนอาสันทิวงคตอยู่แล้ว จึ่งทรงพระกรุณาโปรดมอบเวนราชสมบัติ ให้แก่สมเดจ์พระเจ้าลูกเธอกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แล้วสมเดจพระเจ้าอยู่หัวก็เสดจสวรรคตในเดือน ๖ ปีจออัฐศกนั้น ๚ะ๏ พระบาทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว พระชันษากำเนิดขานศก ศักราช ๑๐๒๔ ปี แรกเสดจขึ้นราชาภิเศกเสวยราชสมบัตินั้น พระชนม์ได้๓๖ พรรษา เสดจดำรงราชอาณาจักรอยู่ได้ ๙ ปีเศศ ขณะสวรรคตณพระที่นั่งสุริยามรินทร์ในเดือน ๖ ปีจออัฐศก ศักราช ๑๐๖๘ นั้น ศิริพระชนม์ได้ ๔๕ พรรษา ๚ะ
30
๏ แผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ๚ะ
๏ ในศักราช ๑๐๖๘ นั้น จึ่งพระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์แลพระราชวงษานุวงษทั้งหลาย ก็กระทำชำระพระสริระกิจโสรจสรง ด้วยน้ำสุคนธมาลาอันหอมขจรตระหลบองค์ แล้วทรงเครื่องราชาภรณ์พร้อมเสรจ ก็อัญเชิญพระบรมสพใส่ในพระโกษฐกาญจนอลงกฎ รจนาด้วยมหาเนาวรัตนเรืองอร่าม ประดิษฐานไว้ในพระที่นั่งสุริยามรินทร์ แล้วสมเดจพระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จออกณท้องพระโรง พร้อมด้วยพระราชวงษานุวงษเสนาพฤฒามาตย์ ข้าบาทมุลิกากรทั้งหลายกราบถวายบังคม แลรับพระราชโองการแต่พระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว แล้วจึ่งมีพระราชดำรัศให้ข้าทูลลอองธุลีพระบาททั้งหลายมีพระราชวงษานุวงษแลเสนาบดีเปนประธาน ถือน้ำพระพิพัฒสัตยาถวายษาบาลตามโบราณราชประเพณีเสรจสิ้นทุกประการ แล้วมีพระราชโองการตรัสสั่งพระมหาราชครู พระครูปริโสดมพรหมพฤฒาจาริย์ ให้จัดแจงการพระราชพิธีราชาภิเศกเฉลิมพระราชมณเฑียร ครั้นถึงศุภวารดิถีศรีสวัสดิพิภัทธมงคลมหานักขัตฤกษ์ จึ่งท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขมาตยาข้าบาทมุลิกากรบวรราชวงษานุวงษ แลสมณพราหมณาจาริย์ทั้งหลาย ประชุมพร้อมกัน ณพระที่นั่งสรรเพชปราสาท กระทำการพระราชพิธีราชาพิเศก อัญเชิญพระบาทบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจขึ้นผ่านพิภพเสวยมไหสวรรยาธิปัตถวัลย์ราชประเพณี สืบศรีสุริยวงษดำรงราชมณฑลสกลสิมาอาณาจักร ณกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา แล้วถวายเครื่องเบญจราชกุกกุภัณฑ์แลเครื่องราชูประโภค สำหรับพระมหากระษัตราธิราชเจ้าทุกประการ จึ่งสมเดจพระเจ้าแผ่นดินก็เสดจพระราชดำเนิรเข้าพระราชวัง แลเสดจไปอยู่ณพระที่นั่งบรรยงค์รัตนาศน์ข้างท้ายสระ ๚ะ๏ แลขณะเมื่อพระองค์เสดจเสวยราชสมบัตินั้น พระชนม์ได้ ๒๘ พรรษา จึ่งทรงพระกรุณาโปรดให้สมเดจพระอนุชาธิราช ประดิษฐาณที่กรมพระราชวังบวรสฐานมงคล แลบันดาข้าหลวงเดิมทั้งหลายที่มีความชอบนั้น ก็พระราชทานยศศักดิ์ให้โดยสมควรแก่ถานานุรูปถ้วนทุกคน ๚ะ๏ ครั้งนั้นสมเดจพระเจ้าแผ่นดิน ทรงประพฤติเหตุในอโนตัปธรรม แลเสดจเที่ยวประภาษทรงเบ็ดเหมือนสมเดจพระราชบิดา แล้วพระองค์ภอพระไทยเสวยปลาตะเพียน ครั้งนั้นตั้งพระราชกำหนดห้าม มิให้คนทั้งปวงรับพระราชทานปลาตะเพียนเปนอันขาด ถ้าผู้ใดเอาปลาตะเพียนมาบริโภค ก็ให้มีสินไหมแก่ผู้นั้น เปนเงินตราห้าตำลึง ๚ะ๏ ขณะนั้นพระองค์เจ้าดำกอปรด้วยทิฐิมานะกระทำการหยาบช้ากระด้างกระเดื่อง ละลาบละเล้าเข้าไปในพระราชฐานตำแหน่งที่ห้ามเปนหลายครั้งมิได้เกรงกลัวพระราชอาญา จึ่งสมเดจพระเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชตำรัศปฤกษาด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวร ตรัสเหนว่าโทษพระองค์เจ้าดำนั้นผิดเปนมหันตโทษ จึ่งให้จับพระองค์เจ้าดำพันท์นาไว้ แล้วให้เอาไปสำเร็จโทษเสียด้วยท่อนจันทน์ เอาพระสพไปฝังเสียณะวัดโคกพระยา ๚ะ๏ แลพระองค์เจ้าแก้ว ซึ่งเปนบาทบริจาพระองค์เจ้าดำนั้นเปนหม้ายอยู่ จึ่งเสดจไปทรงผนวชเปนพระรูป อยู่ณะตำหนักวัดดุสิต กับด้วยสมเด็จพระอัยกีกรมพระเทพามาตนั้น ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๐๖๙ ปีกุนนพศก สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินมีพระราชดำรัศ สั่งให้ช่างพนักงานจับการทำพระเมรุมาศขนาดใหญ่ ขื่อเจดวาสองศอก สูงสองเส้นสิบเบ๊ดวาศอกคืบ แลการพระเมรุทั้งปวงนั้นสิบเบ็ดเดือนจึ่งสำเหร็จ ครั้นถึงผคุณมาศสุกะปักษ์ดิถี ณะวันอันได้พระมหาพิไชยฤกษ จึ่งพระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ให้อัญเชิญพระบรมโกฎขึ้นประดิษฐานเหนือรถพระมหาพิไชยราชรถ แล้วแห่เปนขบวนไปโดยรัฐยาราชวัถ เข้าสู่พระเมรุมาศตามอย่างแต่ก่อน แล้วให้ทิ้งทานต้นกามพฤกษ แลมีงานมหรสพ แลดอกไม้เพลิงต่าง ๆ แลทรงสดัปกรณ์พระสงฆ์ ๑๐๐๐๐ คำรพเจ็ดวัน แล้วถวายพระเพลิง ครั้นดับพระเพลิงแล้วแจงพระรูป ทรงสดัปกรณ์พระสงฆ์อิกสี่ร้อยรูป แล้วเก็บพระอัฐิใส่พระโกฎน้อย อัญเชิญขึ้นพระราชยานแห่เปนขบวนเข้ามายังพระราชวัง จึ่งให้อัญเชิญพระบรมโกฎพระอัฐิ เข้าบรรจุไว้ณะท้ายจรนำพระมหาวิหาร วัดพระศรีสรรเพชดาราม ๚ะ๏ ลุศักราชได้ ๑๐๗๐ ปีชวดสำเรทธิศก สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินให้ช่างกระจกประดับกระจกแผ่นใหญ่ ในฝาพระมณฑปพระพุทธบาท แล้วปิดทองปะทาสี แล้วเสดจพระราชดำเนินไปพระพุทธบาท ด้วยราชบริวารเปนอันมากทั้งทางบกทางเรือเหมือนในหนหลัง ฉลองพระมณฑปสะการบูชาบำเพงพระราชกุศลเปนอันมาก แล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ถวายนมัศการลาพระพุทธบาท กลับมายังพระนครแห่งพระองค์ ๚ะ๏ ลุศักราชได้ ๑๐๗๓ ปีเถาะตรีศก พระอัยกีเจ้ากรมพระเทพามาศ ซึ่งอยู่ใกล้วัดดุสิตนั้นสวรรคต สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินให้แต่งการฌาปะนกิจต่าง ๆ ตามราชประเพณีแต่ก่อนปีมโรงนั้น ๚ะ๏ แต่ปีขานโทศกนั้นนักเสดจเจ้าเมืองกัมพูชาธิบดี ชื่อพระธรรมราชาวังกะดานวิวาทกันกับนักแก้วฟ้าสจอง จักกะทำสงครามแก่กัน นักแก้วฟ้าสจองไปเมืองญวนลอบขอพลญวนนั้นได้มากแล้ว กลับมาตีเอาเมืองกัมพูชาธิบดีนั้นได้ นักเสดจกับพระองค์ทอง ภาบุตรทาราข้าคนแห่งตนหนีมายังกรุงเทพมหานคร กราบทูลพระกรุณาให้ทราบทุกประการ สมเดจพระเจ้าอยู่หัวทราบแล้ว ให้หานักเสดจนั้นเข้ามาเฝ้า จึ่งพระราชทานเครื่องอุประโภคบริโภคแลบ้านเรือนให้อยู่แทบใกล้วัดค้างคาวนั้น ๚ะ๏ สมเดจพระเจ้ากรุงมหานครโปรดจะให้นักเสดจ ไปตีเอาเมืองกัมพูชาธิบดีคืน จึ่งให้มหาดไทยกลาโหม เกนทับ ๒๐๐๐๐ เศศ ช้างม้าภอสมควร ให้พระยาจักรีโรงฆ้องเปนแม่ทับบก ถือพลทหารสะกรรธ์ลำเครื่องหมื่นเศศ พร้อมด้วยช้างสามร้อยเศศ ม้าสี่ร้อยเสศ เครื่องสาตราสรรพาวุธต่างๆ ให้พระยาพิไชยรณฤทธิเปนนายพลทหารทับน่า ให้พระวิชิตรณรงค์เปนยุกระบัดทับ ให้พระพิไชยสงครามเปนนายกองเกียกกาย ให้พระรามกำแหงเปนนายกองทับหลัง แล้วจึ่งให้พระยาโกษาธิบดีจีนเปนแม่ทับเรือ ถือพลทหารหมื่นหนึ่ง เรือรบร้อยเศศ พร้อมด้วยพลแจว แลเครื่องสรรพาวุธต่างๆ ครั้นจัดแจงทับบกทับเรือเสรจแล้วจึ่งส่งไปให้ตีเมืองกัมพูชาธิบดีให้จงได้ แม่ทับนายกองทั้งปวงทั้งทับบกทับเรือจึ่งถวายบังคมลา ๚ะ๏ ครั้นได้สุภวารดิวิพิไชยมงคลฤกษดี ก็กรีธาทับพลทวยหารพยุหบาตรา ยกทั้งทับบกทับเรือออกไปเปนลำดับมรรคา ฝ่ายพลทหารกองทับบกไปทางเสียมราบ ฝ่ายกองทับเรือไปทางพุทไธมาศตามลำดับ ทางทะเลนั้น พลทหารญวนยกกองทับเรือมาภบกองทับทหารไทยที่ปากน้ำพุทไธมาศ ตีฆ้องกลองยิงปืนใหญ่ยกเข้าตีกองทับเรือพระยาโกษาธิบดีจีน ฝ่ายกองทับเรือทหารไทยจัดแจงแต่งตัวแล้ว ทับน่าก็แยกเรือออกเปนสามแห่งให้ยิงปืนใหญ่สามนัด ตั้งโห่สามลาเอาไชยแล้ว ให้พลทหารแจวเรือเร่งเข้าไป ต่อต้านทานกำลังกับพลทหารญวน เข้าปะทะถึงเรือกันยิงแทงฟันกันเปนสามารถ ฆ่าญวนตายเปนอันมาก เรือรบทหารญวนเข้าช่วยอุดหนุนกันมาก พระยาโกษาธิบดีจีนแม่ทับไม่ชำนาญในการพิไชยสงคราม ขลาดไม่กล้าแขงย่อธ้อแก่สงคราม ไม่ช่วยอุดหนุนเพิ่มเติมแก้ไข ถอยเรือหนีไปทิ้งทหารเสีย ฝ่ายทหารญวนได้ทีเข้าตีหักเอาทหารไทย ฆ่าฟันกันเปนสามารถ ฝ่ายทหารไทยเหนศึกนั้นหนักเหลือมือเหลือกำลังนัก แม่ทับก็หนีไป แล้วเหนคนทหารก็เสียมาก ก็ถอยเรือล่าแตกหนีมา เสียเรือรบแลผู้คนปืนใหญ่น้อยเปนอันมาก แก่กองทับญวนนั้น ๚ะ๏ ฝ่ายเจ้าพระยาจักรีโรงฆ้อง ยกกองทับบกไปถึงเมืองกัมพูชา ให้ตั้งค่ายหลวงลงใกล้เมืองประมาณทาง ๘๐ เส้น ๙๐ เส้น รักษาอยู่ในที่นั้น พระพิไชยรณฤทธิ์เปนแม่กองทับน่า ถือพลทหารสามพันเสศไปก่อน ได้สู้รบตีกันกับเขมรญวนเปนหลายตำบล เขมรญวนตายเปนอันมาก มีไชยได้ที่ตีทับเขมรญวนแตกพ่ายแพ้เปนหลายแห่ง ให้ทหารเร่งรีบไล่ติดตามตีต่อเข้าไปได้หัวเมืองใหญ่น้อยเปนอันมาก ทับหลวงก็ให้เร่งรีบพลทหารทุกทับทุกกอง ไปช่วยอุดหนุนเพิ่มเติมตีตัดลัดทาง ให้ฆ่าศึกอัตคัดขัดขวางคับแค้นสดุ้งตกใจกลัว มิให้สู้รบต้านทานได้ รบตีครั้งใดจึ่งมีไชยชำนะครั้งนั้นทุกแห่ง ได้ผู้คนช้างม้า เครื่องสาตราวุธต่าง ๆ เปนอันมาก เขมรแลญวนจะต้านทานมิได้ ก็แตกพ่ายพังหนีไป กองทับทั้งปวงไล่ติดตามเข้าไปตั้งค่ายล้อมเมืองกัมพูชาธิบดีไว้มั่นคง เจ้าพระยาจักรีจึ่งคิดอุบายจะให้ได้ราชการสดวก จึ่งให้แต่งศุภอักษรแล้วส่งให้ทูตถือศุภอักษรนั้น ไปบอกความเมืองกับนักแก้วฟ้าโดยทางพระราชไมตรี นักแก้วฟ้านั้น ครั้นได้แจ้งในศุภอักษรนั้น จึ่งพิจารณาเหนซึ่งจะพ้นไภยอันตรายเปนอันดีในอนาคตนั้น จึ่งรับว่าจะถวายดอกไม้เงินทองขึ้นแก่กรุงเทพมหานคร เจ้าพระยาจักรีได้ความเมืองดังนั้นมั่นคงแล้ว เหนได้ความสดวกดีอยู่แล้ว จึ่งสั่งให้นักแก้วฟ้า เอาดอกไม้ทองเงินไปถวายตามคำปฏิญาณนั้น จึ่งเลิกกองทับกลับคืนมายังกรุงเทพมหานคร ๚ะ๏ สมเดจพระเจ้าแผ่นดินได้ทรงทราบด้วยเหตุดังนั้น ดีพระไทย จึ่งพระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่เจ้าพระยาจักรี แลนายทับนายกองเปนอันมากตามสมควรแล้ว จึ่งทรงพระพิโรธพระยาโกษา ให้ใช้ปืนใหญ่น้อย แลดินประสิว ลูกกระสุน เรือรบให้สิ้นเชิง ๚ะ๏ สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา มีราชบุตรด้วยพระอัครมเหษีกรมหลวงราชานุรักษนั้นห้าพระองค์ คือเจ้าฟ้านเรนทรหนึ่ง หญิงเจ้าฟ้าเทพหนึ่ง หญิงเจ้าฟ้าประทุมหนึ่ง เจ้าฟ้าอะไภยหนึ่ง เจ้าฟ้าบรมเมศวรหนึ่ง พระมารดาชื่อเจ้าท้าว เปนกรมหลวงราชานุรักษนั้น ๚ะ๏ ในปีฉลูเอกศกนั้นมีพระราชบริหารให้ช่างปฏิลังขรณ์วัดมเหยงคณ์ เสดจพระราชดำเนินไปให้ช่างกระทำการวัดนั้นเนือง ๆ บางทีก็เสดจอยู่ที่พระตำหนักริมวัดมเหยงคณ์เดือนหนึ่งบ้าง สองเดือนบ้าง ว่าราชการอยู่ในที่นั้น สามปีเสศ วัดนั้นจึ่งสำเร็จแล้วบริบูรณ์ ๚ะ๏ สมเดจพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรสฐานมงคล ให้ช่างปฏิสังขรณวัดกุฎีดาวอันใหญ่ ในปีเถาะตรีศก เสดจไปทอดพระเนตรการที่วัดนั้น เดือนหนึ่งบ้าง สองเดือนบ้าง เหมือนพระเชษฐาธิราช สามปีเสศวัดนั้นจึ่งสำเร็จแล้วบริบูรณ์ ๚ะ๏ สมเดจพระเจ้าแผ่นดินนั้น ภอพระไทยทำปาณาติบาตฆ่าสัตวมัจฉาชาติ ปลาใหญ่ปลาน้อยต่างๆเปนอันมาก ด้วยตกเบ็ดทอดแหแทงฉมวก ทำสี้กั้นเฝือกดักลอบดักไซร กระทำการฆ่าสัตว์ต่าง ๆ ประภาศป่าฆ่าเนื้อนกเล่นสนุกนิ์ด้วยดักแร้วดักบ่วง ไล่ช้างล้อมช้างได้ช้างเถื่อนเปนอันมาก เปนหลายวันแล้วเสดจกลับคืนมายังพระมหานคร ๚ะ๏ ในปีมเสงเบญจศกนั้นให้ฉลองวัดมเหยงคณ ทรงพระราชศรัทธาบำเพญพระราชกุศลเปนอันมาก ทรงพระราชทานเครื่องบริขาร แลวัดถุทานต่างๆแก่พระสงฆพันหนึ่ง ตามพระราชประเพณีมาแต่ก่อน มีงานมหรสพสมโพชเจ็ดวัน เสรจบริบูรณการฉลองนั้น ๚ะ๏ ในปีมเมีย ฉศก สมเดจพระเจ้าแผ่นดิน ให้ช่างไม้ต่อกำปั่นใหญ่ไตรมุข ยาวสิบแปดวาสองศอก ปากกว้างหกวาสองศอก ให้ตีสมอใหญ่ที่วัดมเหยงคณ ห้าเดือนกำปั่นใหญ่นั้นแล้ว ให้เอาออกไปยังเมืองมฤท บันทุกช้างได้สามสิบตัวเสศ ให้ไปขายช้างณเมืองเทษโน้น คนทั้งหลายลงกำปั่นใช้ใบไปถึงเมืองเทษ แล้วขายช้างนั้นได้เงินแลผ้าเปนอันมาก แล้วกลับคืนมายังเมืองมฤทสิ้นปีเสศ ๚ะ๏ ในปีมแมสัพตศกนั้น พระมหาอุปราชให้ฉลองวัดกุฎีดาว บำเพญพระราชกุศลให้ทานสการบูชาแก่พระรัตนไตรเปนอันมาก ให้เล่นงานมหรสพสมโพชเจดวัน การฉลองนั้นสำเร็จบริบูรณ ๚ะ๏ ในปีนั้นเจ้าพระอัยกีกรมหลวงโยธาทิพ ทิวงคตณพระตำหนักริมวัดพุทไธสวรรย์นั้น สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ให้ช่างไม้กระทำการเมรุ ขื่อยาวห้าวาสองศอก โดยสูงยี่สิบวาสองศอก แลพระเมรุทองกลาง แลการพระเมรุทั้งปวงนั้น หกเดือนเสศจึ่งแล้ว เชิญพระโกฎทองขึ้นราชรถ พร้อมเครื่องอลงกฎแห่แหนเปนอันมาก นำมาสู่พระเมรุทอง แลการที่บูชาให้ทานทั้งปวง ตามอย่างพระราชประเพณีมาแต่ก่อน สมโพชเจดวัน การสพนั้นสำเร็จบริบูรณ์ ๚ะ๏ ลุศักราชได้ ๑๐๘๓ ปีฉลูตรีศก พระเจ้ากรุงเทพมหานคร เสดจพระราชดำเนินไปทรงเบ็ดที่ปากน้ำท่าจีน เมื่อไปถึงคลองมหาไชย เหนคลองนั้นขุดยังไม่แล้วค้างอยู่ ครั้นทรงเบ็ดแล้วกลับคืนมาถึงพระนคร จึ่งทรงพระกรุณาตรัสสั่งให้พระราชสงครามเปนนายกอง ให้กะเกนคนหัวเมืองปากใต้แปดหัวเมือง ให้ได้คนสามหมื่นเสศสี่หมื่น ไปขุดคลองมหาไชย พระราชสงครามให้กะเกนจัดแจง ได้พลนิกายสามหมื่นเสศแล้วถวายบังคมลาไป ครั้นถึงคลองมหาไชย จึ่งให้ฝรั่งเสศส่องกล้องแก้วดูให้ตรงปากคลอง ปักกรุยลงเปนสำคัญ ทางไกลสามร้อยสี่สิบเส้น ขุดทีก่อนนั้นได้ที่แล้วหกเส้นเสศ ยังไม่แล้วนั้นมากถึงสามร้อยสี่สิบเส้น ให้ขุดคลองฦกหกศอก กว้างแปดวาเท่าเก่า เกนกันเปนน่าที่ คนสามหมื่นเสศ ขุดสองเดือนเสศจึ่งแล้ว พระราชสงครามกลับมาเฝ้ากราบทูลพระกรุณาให้ทรงทราบทุกประการ ๚ะ๏ สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินได้ทรงทราบ ทรงพระปีติปราโมช จึ่งตั้งพระราชสงครามให้เปนพระยาราชสงคราม แล้วพระราชทานเจียดทองเสื้อผ้าเงินตราเปนอันมาก คลองนั้นชื่อคลองมหาไชยมาตราบเท่าทุกวันนี้ ๚ะ๏ ในปีขานจัตวาศก ทรงพระกรุณาโปรดให้พระธนบูรีเปนแม่กอง เกนพลนิกายหัวเมืองปากใต้ ได้คนหมื่นเสศ ให้ขุดคลองเกร็ดน้อย ลัดคุ้งปากคลองบางบัวทองนั้น คดอ้อมนัก ขุดลัดตัดให้ตรง พระธนบูรีรับสั่งแล้วกราบถวายบังคมลามา ให้เกนพลนิกายในบันดาหัวเมืองปากใต้ได้คนหมื่นเสศ ให้ขุดคลองเตร็ดน้อยนั้น ฦกหกศอก กว้างหกวา ยาวทางไกลได้ยี่สิบเก้าเส้น ขุดเดือนเสศจึ่งแล้ว พระธนบูรีนั้นจึ่งกลับมากราบทูลพระกรุณาให้ทรงทราบทุกประการ ๚ะ๏ ในปีเถาะเบญจศกนั้น พระบรมกระษัตริย์ทั้งสองพระองค์ เสดจพระราชดำเนินไปประภาษโพนช้าง ณป่าหัวเมืองนครนายกฝ่ายตวันออก ในเพลาราตรีนั้นเดือนหงาย เสดจไปไล่ช้างเถื่อน พระจันทรเข้าเมฆ ช้างพระอนุชาธิราชขับแล่นตามไปทันช้างพระที่นั่งทรง ไม่ทันจะเกี่ยว โถมแทงเอาท้ายช้างพระที่นั่งทรง ควานท้ายช้างนั้นกระเดนตกจากช้างนั้นลง ช้างทรงเจ็บป่วยมาก ก็ทรวดเซแล่นไปในป่า สมเดจพระเจ้าแผ่นดิน จึ่งขับช้างนั้นกลับมายังพลับพลาไชย พระมหาอุปราชไม่แกล้งจะให้ช้างแทง แต่หากเกี่ยวช้างนั้นมิทันที ตกพระไทยเกรงพระราชอาญา เสดจตามไปเฝ้าที่พลับพลาไชย จึ่งกราบทูลพระกรุณาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ข้าพระเจ้าไม่ได้แกล้ง แสงพระจันทรเข้าเมฆมืดมัวเปนเงาร่มไม้ เหนไม่ถนัด จะเกี่ยวข้างไว้มิทัน ได้ทรงพระกรุณาโปรดอดโทษข้าพเจ้าเถิด พระเจ้าอยู่หัวนั้นไม่สงไสย จะได้ทรงพระพิโรธขุ่นเคืองแก่พระอนุชาธิราชนั้นหามิได้ สั่งหมอให้รักษาช้างนั้นแล้วกลับมาพระนคร ๚ะ๏ ในปีเถาะเดือนสี่ข้างขึ้นนั้น สมเดจพระมหากระษัตริย์ เสดจพระราชดำเนินไปบำเพญพระราชกุศลณพระพุทธบาท ด้วยบริวารยศศักดิ์เปนอันมาก ทั้งทางบกทางเรือเปนพยุหบาตรา ตามอย่างตามธรรมเนียมมาแต่ก่อน ครั้นถึงพระพุทธบาทเสดจอยู่ธารเกษม ขึ้นนมศการสการบูชาพระพุทธบาท กับด้วยพระอนุชาธิราช ๆ จึ่งกราบทูลพระกรุณาว่า ขอพระราชทานชีวิตร เมื่อข้าพเจ้าขี่ช้างตามเสดจไป แลช้างข้าพเจ้าแทงช้างพระที่นั่งทรงนั้น ข้าพเจ้าจะได้มีใจเจตนาแกล้งจะให้ช้างข้าพเจ้า แทงช้างพระที่นั่งทรงนั้นหามิได้ เปนความสัจจริง ข้าพเจ้าจะขอกระทำสัจสาบาลในสำนักนิ์แห่งพระพุทธบาท ถวายแก่ล้นเกล้าล้นกระหม่อมบัดนี้ ๚ะ๏ สมเดจพระเชษฐาธิราชทรงพระกรุณาโปรดดำรัศว่า พ่อเอ๋ยข้านี้ไม่สงไสยแคลงแก่เจ้าดอก อย่ากระทำสัจสาบาลเลย พระเคราะห์ข้าร้ายเอง ตรัสแล้วบูชานมัศการพระพุทธบาท บำเพญพระราชกุศลให้ทานเปนอันมาก เล่นงานมโหรสพสมโพชเจดวันบูชาพระพุทธบาทแล้ว ถวายนมัศการลาพระพุทธบาท กลับคืนมายังพระมหานคร ๚ะ๏ ลุศักราชได้ ๑๐๘๗ ปีมเสงสัปตศก เจ้าอธิการวัดปำโมกเข้ามาหาพระยาราชสงครามแจ้งความว่า พระพุทธไสยาศวัดป่าโมกนั้น น้ำกัดเทราะตลิ่งพังเข้ามาถึงพระวิหารแล้ว ยังอิกประมาณสักปีหนึ่ง พระพุทธไสยาศเหนจะพังลงน้ำเสียแล้ว พระยาราชสงครามได้ฟังดังนั้น จึ่งเข้าไปเฝ้ากราบทูลพระกรุณา ให้ทราบเหตุแห่งพระพุทธไสยาศนั้นทุกประการ พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงฟังดังนั้น จึ่งปฤกษาด้วยข้าราชการทั้งปวง มีเสนาบดีเปนอาทิว่า เราจะรื้อพระพุทธไสยาศไปก่อใหม่ จะดีฤๅๆ จะชลอลากไปไว้ในที่ควรจะดี พระยาราชสงครามจึ่งกราบทูลพระกรุณาว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะขอออกไปดูก่อน แล้วถวายบังคมลาออกไปพิจารณาดูเหนจะชลอลากได้ จึ่งกลับมากราบทูลพระกรุณาว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะขออาษาชลอลากพระพุทธไสยาศ ให้ถึงที่อันควรให้จงได้ ๚ะ๏ สมเดจพระมหาอุปราชเฝ้าอยู่ที่นั้นด้วย ได้ทรงฟังดังนั้น ไม่เหนด้วย จึ่งตรัสว่า พระพุทธไสยาศนั้น พระองคใหญ่โตนัก เหนจะชะลอลากไม่ได้ กลัวจะแตกจะพัง เปนการใหญ่มิใช่ของหล่อ ถ้าไม่มีอันตรายก็จะดีอยู่ ถ้ามีอันตรายแตกพังหักทำลาย จะอายอัปยศแก่ไพร่ฟ้าประชาราษอำมาตยเสนาข้าราชการ เสียพระเกียรติยศจะฦๅชาปรากฎไปในนานาประเทศเปนอันมาก ถ้าเรารื้อไปก่อใหม่ให้ดีงามกว่าแต่ก่อน เหนจะง่ายดีอีก พระยาราชสงครามจึ่งกราบทูลพระกรุณาว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะขออาษาชะลอลากพระพุทธไสยาศ มิให้แตกหักพังไปเปนปรกติถึงที่ใหม่อันสมควรให้จงได้ ถ้าแลเปนอันตรายขอถวายชีวิตร ๚ะ๏ สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินก็ยังไม่วางพระไทย จึ่งดำรัศสังให้นิมนต์พระราชาคณะมาประชุม แล้วตรัสว่า ข้าแต่พระผู้เปนเจ้าทั้งปวง เราจะรื้อพระพุทธไสยาศก่อใหม่ไว้ในที่ควร จะควรฤๅมิควร พระบาฬีจะมีประการใดบ้าง พระราชาคณะทั้งปวงถวายพระพรว่า พระองค์ไม่แตกหักพังวิปริตเปนปรกติดีอยู่นั้น จะรื้อไปก่อใหม่ไม่ควร พระเจ้าแผ่นดินได้ทรงทราบดังนั้น จึ่งตรัสสั่งให้พระยาราชสงคราม คิดกระทำการชะลอลากพระพุทธไสยาศน์นั้น ๚ะ๏ ลุศักราชได้ ๑๐๘๘ ปีมเมีย อัฐศก สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินเสดจไปวัดป่าโมก ให้รื้อพระวิหาร แล้วให้ตั้งพระตำหนักพลับพลาไชยใกล้วัดชีปะขาว ยับยั้งรั้งแรมอยู่หกวันบ้างเจดวันบ้าง กับด้วยพระอนุซาธิราช กลับไปกลับมา ให้กระทำการอยู่สามวันบ้าง สี่วันบ้าง แล้วกลับมาพระนคร พระยาราชสงครามเกนให้ข้าราชการไปตัดไม้ยาวสิบสี่วา สิบห้าวา น่าใหญ่ศอกคืบบ้าง ยาวสี่วาห้าวาน่าใหญ่ศอกหนึ่งบ้าง ให้ได้มากทำตะเข้แม่สดึง ให้เลื่อยเปนตัวไม้น่าใหญ่ศอกหนึ่ง น่าน้อยคืบหนึ่ง เปนอันมาก ให้เอาเสาไม้ยางสามกำสามวา กลึงเปนกง เลื่อยกระดานหนาสองนิ้วจะปูพื้นทางที่จะลากตะเข้ไป ให้ปราบที่ให้เสมอ ทุบตีด้วยตะลุมพุกให้ราบเสมอ ให้ฟั่นเชือกน้อยใหญ่เปนอันมาก แล้วให้เจาะถานแท่นพระพุทธรูปนั้น ช่องกว้างศอกหนึ่งเอาไว้ศอกหนึ่ง ช่องสูงคืบหนึ่ง เว้นไว้เปนฟันปลา เอาตะเข้แอบเข้าทั้งสองข้าง ร้อยไม้ขวางทางที่แม่สดึง แล้วสอดกระดานหนาคืบหนึ่งนั้น บนหลังตะเข้ตลอดช่อง แล้วเจาะขุดรื้ออิฐหว่างช่องกระดานที่เว้นไว้เปนฟันปลานั้นออกเสีย เอากระดานหนานั้นสอดให้เต็มทุกช่อง แลการผูกรัดร้อยรึงกระหนาบทั้งปวงมั่นคงบริบูรณ์ ห้าเดือนสำเรจแล้วทุกประการ ๚ะ๏ ครั้นได้สุภวารดิถีเพลาพิไชยมงคลฤกษดีแล้ว ให้ชลอลากชักตะเข้รองพระพุทธไสยาศน์ไปเข้าที่อันจะกระทำพระวิหารนั้น ได้สำเรจบริบูรณ์ สมเดจพระมหากษัตริยให้กระทำพระวิหารการเปรียญติโรงพระอุโบสถ พระเจดีย์ กุฎี ศาลา กำแพง แลหอไตรย ฉนวนห้าสิบห้องหลังคามุงกระเบื้อง แลส้วมถานสะพานบันได ห้าปีเสศจึ่งแล้ว ยังไม่ได้ฉลอง ๚ะ๏ ทรงประชวรหนักลง จึ่งพระราชทานราชสมบัติ มอบให้แก่เจ้าฟ้าอไภย เหตุว่าพระอนุชาธิราชทรงผนวชอยู่ เจ้าฟ้านเรนท์ก็ทรงผนวชอยู่ พระมหาอุปราชไม่เต็มพระไทย ไม่ยอมอนุญาตให้ราชสมบัติแก่เจ้าฟ้าอไภย ถ้าให้ราชสมบัติแก่เจ้าฟ้านเรนทร จึ่งจะยอมให้ เจ้าฟ้านเรนทรนั้น เปนกรมขุนสุเรนทรพิทักษ เปนภิกขุภาวะ เมื่อมิได้รับซึ่งราชสมบัติ จึ่งมิได้ลาผนวชออก. ๚ะ๏ ฝ่ายเจ้าฟ้าอไภยพระบิดาให้อนุญาตแล้ว จึ่งรับราชสมบัติ ปราถนาจะกระทำสงครามกันกับด้วยพระมหาอุปราช จึ่งสั่งข้าราชการวังหลวงให้จัดแจงผู้คน กะเกนกระทำการ ตั้งค่ายคูดูตรวจตราค่ายรายเรียงลงไปตามคลองประตูเข้าเปลือก จนถึงประตูจีน จึ่งให้ขุนศรีคงยศไปตั้งค่ายริมตะพานช้าง คลองประตูเข้าเปลือกฟากตวันตก ให้รักษาอยู่ที่นั้น ๚ะ๏ ในกาลนั้น พระมหาอุปราชได้ทรงทราบเหตุทั้งปวงนั้น ให้ข้าราชการตั้งค่ายฟากคลองข้างตวันออก ให้รักษาค่ายในที่นั้น. พระราชบุตรแห่งพระมหาอุปราช เสดจตรวจค่ายมาตรงค่ายขุนศรีคงยศ จึ่งตรัสถามว่า ค่ายนี้ของใคร เขากราบทูลว่า ค่ายของขุนศรีคงยศ. ทรงพระโกรธจึ่งสั่งให้ขุนเกนหัดขึ้นบนเรือน เข้าริมคลองส่องปืนตามช่องน่าต่าง ยิงขุนศรีคงยศถูกตาย กลับมาทูลแถลงพระบิดา ๆ ตรัสว่าด่วนยิงเขาก่อนไย จึ่งกราบทูลว่า จะเอาฤกษ์เอาไชยไว้ก่อน ๚ะ
31
๏ แผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกฎ ๚ะ
๏ ลุศักราชได้ ๑๐๙๔ ปีชวดจัตวาศก สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงพระประชวนหนักลง ก็ถึงแก่ทิวงคตในเดือนยี่ข้างแรม ไปโดยยะถากรรม์แห่งพระองค์นั้น พระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาบังเกิดในปีมแม อายุได้ยี่สิบแปดปี ได้เสวยราชสมบัติยี่สิบหกพรรษาเสศ พระชนมายุได้ห้าสิบสี่พรรษาเสศ กระทำกาลกิริยาตาย. ๚ะ ผู้ใดมีเตตาไม่ฆ่าสัตวอายุยืน ไม่มีเมตตาฆ่าสัตวอายุสั้น ๚ะ๏ กระษัตริย์ทั้งสองพระองค์ ให้ทหารรบสู้กันหลายวันหลายเวลาแล้ว วันหนึ่งเจ้าฟ้าอไภยให้หลวงไชยบูรณปลัดเมืองพระพิศณุโลกย คุมพลทหารร้อยเสศ พร้อมด้วยเครื่องสรรพาวุธต่างๆ ให้ยกทับไปทางซิกูลอ้อมโอบไปให้ตีวังน่า จัดแจงแล้วส่งไป. ๚ะ๏ ฝ่ายพลทหารวังน่ารู้เหตุดังนั้นก็ยกมาสองร้อยเสศ พลทหารสองฝ่ายเข้าปะทะชิงไชยรุกไล่ต้านทานกัน ยิงแทงฟันกันเปนสามารถ พลทหารวังน่าได้ทีตีกระโจมโถมแทงฟันทลวงไล่ล้อมเข้าฆ่าฟันทหารวังหลวงตายเปนอันมาก จะต้านทานมิได้ก็แตกฉานทิ้งนายทับเสียก็พ่ายหนีไป ๚ะ๏ ฝ่ายทหารวังน่าก็ล้อมพร้อมกันเข้าจับหลวงไชยบูรณได้ เอาตัวไปถวายแก่พระมหาอุปราช ๆ ให้เฆี่ยนหลวงไชยบูรณ์ห้าทีถามได้เนื้อความสิ้นแล้วให้จำมั่นไว้ วันหนึ่งพลทหารวังน่า ประมาณห้าร้อยยกมาทางถนนผ้าเขียวถึงคุก เข้าภังคุกทลายคุกเข้าไป แก้ไขเอาคนโทษประมาณเจ็ดร้อย ปล่อยเอาออกสิ้นจากคุก ๚ะ๏ ครั้งนั้นพระธนบุรีมาอาษาเจ้าฟ้าอะไภย ยกพลทหารห้าร้อยข้ามคลองตพานช้าง เข้าตีค่ายวังน่าแตกได้สองค่ายสามค่าย รบพุ่งกันเปนสามารถ พระมหาอุปราชรู้เหตุดังนั้น ตกพระไทยปรารพจะหนีไป จึ่งปฤกษาด้วยข้าราชการทั้งปวงว่า ทหารเราฝีมืออ่อนกว่าเขา รักษาค่ายไม่ได้ เหนจะรับเขามิอยุด เราจะคิดประการใด ขุนชำนาญจึ่งกราบทูลพระกรุณาว่า พระองค์อย่ากลัวอย่าเพ่อหนีก่อน ข้าพระพุทธเจ้าขออาษาถวายชีวิตร จะขอตายก่อนพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าขออาษาถวายบังคมลาออกไปรมกันกับฆ่าศึกบัดนี้ ทรงพระกรุณาโปรดให้ม้าเรวออกไปคอยดูข้าพระพุทธเจ้ารบกับฆ่าศึก ถ้าเหนข้าพระพุทธเจ้าตายในที่รบแล้ว ให้ม้าใช้กลับมาจงเรว กราบทูลพระกรุณาให้ทราบ พระองค์ทรงทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้านี้ตายแล้วจึ่งหนี ถ้าข้าพระพุทธเจ้ายังไม่ตาย อย่าเพ่อหนีก่อน ว่าแล้วถวายบังคมลาออกมา เอาพลทหารสามร้อยเสศออกไปถึงทับพระธนบุรี ก็ขับไล่พลทหารเข้าจู่กระโจมตีหักหารต่อการชิงไชย ทลวงไล่ลุยประหารทะยานฟันแทงต่อแย้งต่อยุทธ โห่อึงอุดเอาไชย ขุนชำนาญทหารใหญ่ บุกรุกไล่ไม่ท้อถอย ระวังคอยป้องกัน รุกไล่ตีรันฟันฟาด ทหารพระธนบุรีแตกหนีขาดกันไป พระธนบุรีหาหนีไม่ ขี่ม้าผูกเครื่องใหม่ใจหารรับต้านทาน ขุนชำนาญทหารใหญ่บุกรุกไล่เข้าฟาดฟันพระธนบุรี พระธนบุรีแทงด้วยหอกผัดผันสู้รบกันเปนสามารถ ขุนชำนาญถือดาบฟาดสองมือมั่น จู่โจมโถมเข้าจ้วงฟัน ถูกพระธนบุรีนั้นคอขาดบนหลังม้าตายในที่รบนั้น ขุนชำนาญคนขยันตัดเอาศีศะมาถวาย ๚ะ๏ ฝ่ายทหารทั้งหลายไล่ติดตามเข่นฆ่า พลโยธาวังหลวงไป จับได้บ้างตายบ้างก็เปนอันมากในที่รบนั้น สมเดจพระมหาอุปราชทอดพระเนตรเหนศีศะพระธนบุรี มีพระไทยยินดียิ่งนัก ตรัสสั่งให้จัดพลทหารขึ้นเปนอันมาก จะให้ไปตีพระราชวังหลวง ๚ะ๏ ฝ่ายพระราชบุตรทั้งสองพระองค์ คือเจ้าฟ้าอไภย แลเจ้าฟ้าบรมเมศร เหนพลทหารปราไชยมาเปนหลายครั้ง สดุ้งตกพระไทยกลัวให้เก็บเอาซึ่งพระราชทรัพยต่างๆเปนอันมาก ลงเรือพระที่นั่งลำเดียวกัน ก็หนีไปในราตรีกาลโดยทางป่าโมก ฝีพายทั้งหลายไม่เตมใจจะไปด้วย โดดน้ำหนีเสียกลางทาง ครั้นถึงบ้านเลนฑ์ จึ่งเสดจขึ้นจากเรือพระที่นั่งหนีไปทางบก จวนรุ่งขึ้นเข้าเร้นอยู่ในป่าอ้อ ป่าพงแขม อันรกใกล้บ้านเอกราช นายด้วงมหาดเลกคนเดียวตามจ้าวไปได้เที่ยวไปขอเข้าชาวบ้านมาเลี้ยงจ้าวทั้งสองพระองค์ อยู่หกวันเจ็ดวัน นายด้วงลาจ้าวนั้นมาเยี่ยมดูมารดาที่บ้าน อยู่มาวันหนึ่งจ้าวนั้นให้พระธรรมรงค์วงหนึ่งแก่นายด้วง ให้ไปซื้อเข้าชาวบ้าน ๆ จึ่งรู้ว่าพระธรรมรงค์ของจ้าว กลัวความนั้นจะไม่ลับ จึ่งบอกเหตุแก่ข้าหลวง ข้าหลวงจึ่งบอกคะดีนั้นแก่ขุนชำนาญ ๆ ให้จับตัวนายด้วงมา จึ่งกราบทูลพระกรุณาให้ทราบคะดีนั้น แล้วจึ่งคุมพลทหารเปนอันมากลงเรือไปให้นายด้วงนำไปถึงบ้านเอกราช ให้ไล่กวาดเอาชาวบ้านทั้งหลาย ไปล้อมป่าพงแขมที่เจ้าทั้งสองพระองค์อยู่นั้นให้มั่นคง แล้วขุนชำนาญทหารใหญ่ แต่งตัวกับทหารร่วมใจเจ็ดคนนั้น ใส่เครื่องกะตุดลูกประคำแล้ว ถือดาบสองมือกับด้วยทหารร่วมใจเจ็ดคนนั้น ให้นายด้วงชี้ทางค่อยย่องเข้าไป เหนพระราชบุตรทั้งสอง เอาดินมาปั้นเปนหมากรุกเล่นกันอยู่ แล้วขุนชำนาญทหารใหญ่แอบเข้าไปนั่งใกล้ เหนพระแสงดาบสองเล่มครั้นจะเข้าจับก็ยังเกรงอยู่ ๚ะ๏ เจ้าฟ้าอไภยเหนขุนชำนาญทหารใหญ่ ถือดาบสองมือกับบ่าวเจดคน แต่งตัวมั่นคงพร้อมมือกัน ก็ตกพระไทยกลัว บอกเจ้าฟ้าบรมเมศวรว่า พระยามัจจุราชมาถึงเราแล้ว ขุนชำนาญทหารใหญ่ร้องทูลเข้าไปว่า พระองค์อย่ากลัวเลย เสดจไปกับข้าพเจ้าเถิด จะช่วยแก้ไขให้รอดชีวิตร พระองค์ส่งพระแสงทั้งสองมาให้ข้าพเจ้าก่อนเถิด เจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์กลัวขุนชำนาญยิ่งนัก ร้องบอกว่า ข้าลืมสติไป จึ่งส่งพระแสงทั้งสองเล่มนั้นให้แก่ขุนชำนาญ ขุนชำนาญก็เกลี้ยกล่อมด้วยสุนทรวาจาต่าง ๆ ให้อ่อนพระไทยแล้ว ภาเจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์ ออกจากป่าพงลงเรือโขมดยา ทหารอยู่เรือก็แห่ห้อมล้อมมา ๚ะ๏ ครั้นถึงพระนครขุนชำนาญชาญณรงค์ ก็ภาเจ้าฟ้าทั้งสองขึ้นไปถวายสมเดจพระมหาอุปราช ๆ ได้ทรงทราบความทั้งปวงดังนั้นแล้ว สั่งให้จำเจ้าฟ้าทั้งสองนั้นไว้สองวันสามวัน ให้ไต่ถามได้เหนื้อความแล้ว ให้ประหารชีวิตรเสียทั้งสองพระองค์ ด้วยไม้ค้อนท่อนจันทน์ ตามพระราชประเพณีแต่ก่อน ๚ะ๏ เจ้าพระองค์แก้วพี่เขยนั้น ไปด้วยเจ้าฟ้าทั้งสองนั้น ครั้นเหนฝีภายโดดน้ำหนีไปดั่งนั้น ก็ตกพระไทยกลัวคิดว่าจะกลับคืน เมื่อจะขึ้นจากเรือจึ่งถือเอาเครื่องยศไปตามหลัง เจ้าฟ้าทั้งสองนั้นไปก่อนน่า แกล้งเดินให้ช้าไม่ทันคลาดห่างลับตัวแล้ว ก็กลับหนีคืนมาสู่เมือง เอาเครื่องยศเข้าไปถวายแก่พระมหาอุปราช กราบทูลพระกรุณาด้วยกลอุบายต่าง ๆ ๚ะ๏ สมเดจพระมหาอุปราชได้ทรงทราบสิ้นแล้ว ตรัสสั่งให้จำเจ้าพระองค์แก้วนั้นไว้ จึ่งคิดการลับด้วยขุนชำนาญ ๆ จึ่งให้เอาพระธรรมรงค์ที่เจ้าฟ้าให้นายด้วงไปซื้อเข้านั้นได้มาแล้ว ให้เอาพระธรรมรงค์นั้นลอบไปฝังไว้ริมต้นยาง ริมบ้านเรือนเจ้าพระองค์แก้วในเพลากลางคืน แล้วให้หาออท้าวที่ไว้ใจนั้นมา ขุนชำนาญให้กระซิบบอกความลับนั้นแก่ออท้าวให้รู้แล้ว ให้ออท้าวนั้นลงผีดูพระธรรมรงค์ที่หายไปนั้น จะตกเรี่ยอยู่ที่ไหน ในน้ำในบกประการใด จะได้คืนฤๅมิได้ ให้อ่อท้าวคนทรงบอกให้จงแจ้ง ส่วนอ่อท้าวคนทรงรู้เหตุอยู่แล้ว แกล้งกระทำมารยาเปนทีเทวดาลงมาสิงสู่ ทำหาวเรอผย้ำเผยอ แล้วทายว่าจะได้พระธำมรงค์นั้นคืน แต่ทว่ามีคนอื่นเอาไปซ่อนไว้ที่ต้นไม้ใหญ่ ผู้ถามจึ่งถามว่า จะนำไปได้ฤๅมิได้ จึ่งบอกว่า จะนำไปให้ถึงที่นั่นได้ ว่าแล้วจึ่งนำข้าหลวงไปขุดเอาพระธรรมรงค์นั้นได้ที่ริมต้นยาง ข้าหลวงจึ่งเอาพระธรรมรงค์นั้นมาถวาย จึ่งทรงพระกรุณาตรัสสั่งให้ลูกขุนพิจารณา แลพิภาคษาโทษเจ้าพระองคแก้ว ลูกขุนเหนว่า พระธรรมรงค์อยู่ในบ้านเรือนเจ้าพระองค์แก้ว จึ่งพิภาคษาว่า เจ้าพระองค์แก้วเปนกระบถโทษถึงตาย จึ่งกราบทูลพระกรุณาให้ทราบ แล้วจึ่งให้ประหารชีวิตรเจ้าพระองค์แก้วนั้นเสีย ๚ะ๏ ส่วนนายด้วงมหาดเล็ก ซึ่งไปด้วยเจ้าฟ้าทั้งสองนั้น ทรงพระกรุณาโปรดว่า อ้ายด้วงนี้มันจงรักภักดีกตัญูในเจ้า อย่าฆ่ามันเสียเลย เลี้ยงไว้ให้เปนข้าราชการสืบไปเถิด ๚ะ๏ ส่วนนายเสมพระยาพิไชยราชา แลนายพูนพระยายมราช คนทั้งสองนี้ ครั้นเจ้าหนีไปแล้ว ก็ภากันหนีไปบวชเปนภิกขุ อยู่ในแขวงเมืองสุพรรณบุรี ข้าหลวงทั้งหลายติดตามไปได้ตัวภิกขุทั้งสองนั้นมา ให้รักษาคุมตัวไว้ในวัดฝาง นายสังฆราชาบริบาล หนีไปบวชอยู่ในวัดแขวงเมืองบัวชุม ข้าหลวงติดตามไปได้ตัวมา สึกออกแล้ว ให้ประหารชีวิตรเสียที่หัวตแลงแกง พระมหาอุปราชให้แขกจามมาแทงภิกขุสองรูปอันอยู่ที่วัดฝางนั้น ตายเพลากลางคืน หมื่นราชสิทธิกันกรมช้างเปนบุตรปะขาวจันเพช เอาปืนใหญ่ขึ้นบนโรงช้าง ยิงเข้าไปในพระราชวังน่า เมื่อรบกันอยู่นั้น ถูกกิ่งสนหัก พระมหาอุปราชรู้จักตัวทรงพระพิโรธ ให้จับหมื่นราชสิทธิกันได้ตัวมา ให้เฆี่ยนห้าสิบที แล้วให้ถามได้ความว่า เปนบุตรปะขาวจันเพช ให้หาปะขาวจันเพชมา พระองค์การรู้จักอยู่แต่ก่อน จึ่งถามปะขาวจันเพชว่า อ้ายหมื่นราชสิทธิกันบุตรของท่านกระทำการดังนี้ โทษตัวมันจะเปนประการใด ปะขาวจันเพชจึ่งกราบทูลพระกรุณาว่า บุตรข้าพระพุทธเจ้ากระทำการเปนกระบถดังนี้ โทษถึงตายเจดชั่วโคดตามบทพระอัยการ ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรด ตรัสได้ทรงฟังดังนั้น จึ่งตรัสชมว่า ปะขาวจันเพชเปนผู้ใหญ่สัจชื่อตรง ว่ากล่าวคำนั้นจริง ปะขาวจันเพชจะขอโทษอ้ายหมื่นราชสิทธิกันฤๅ ปะขาวจันเพชจึ่งกราบทูลพระกรุณาว่า ผู้กระทำผิดคิดมิชอบแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าไม่รับพระราชทานขอโทษเลย ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรด จึ่งทรงพระกรุณาโปรดตรัสว่า เออ ปะขาวจันเพชไม่เสียทีเปนผู้ใหญ่ ว่ากล่าวนั้นชอบเราเหนด้วย เราให้ชีวิตรอ้ายหมื่นราชสิทธิกันแก่ปะขาวจันเพชเถิด แต่ทว่าโทษตัวมันมาก ให้อ้ายหมื่นราชสิทธิกันไปกระทำการต่อสำเภากว่าจะสิ้นโทษ ปะขาวจันเพชได้ฟังตรัสดังนั้น ก็โสมนัศยินดียิ่งนัก จึ่งถวายบังคมลาไป ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๐๙๕ ปีฉลูเบญจศก เดือนห้า ข้าราชการทั้งปวงมีเสนาบดีเปนประธาน แลพระสงฆราชาคะณะพร้อมกัน ณวันศุภวารดิถีพิไชยมงคลฤกษ จึ่งกระทำพิธีปราบดาภิเศกสมเดจพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ขึ้นผ่านพิภพถวัลยราชสมบัติในวิมารรัตนมหาปราสาทพระราชวังน่านั้น ข้าราชการทั้งปวงก็ถือน้ำกระทำสัตยษาบาลกาย แล้วถวายบังคมตามบรมโบราณราชประเพณี สมเดจพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา ทรงพระกรุณาโปรดให้ขุนชำนาญชานณรงค์ เปนเจ้าพระยาชำนาญบริรักษว่าที่โกษาธิบดี โปรดให้หลวงจ่าแสนยากรเปนเจ้าพระยาจักรี พระยาราชสงครามจักรีเก่านั้น เปนพระยาราชนายกว่าที่กะลาโหม ข้าหลวงเดิมทั้งหลายที่มีความชอบนั้น ก็โปรดให้เปนเจ้าพระยาแลพระยาพระหลวงเมือง ขุนหมื่นพันทนายตามถานานุศักดิ์ มีความชอบมากแลน้อย แลพระราชทานบำเหน็จรางวัลเงินตราผ้าเสื้อเหลือจะนับตามลำดับกัน ๚ะ๏ โปรดให้พระพันวรรษาใหญ่ เปนกรมหลวงอะไภยนุชิตร์ โปรดให้พระพันวรรษาน้อยเปนกรมหลวงพิพิธมนตรี พระพันวรรษาทั้งสองนี้ เปนบุตรีหลวงทรงบาศ ครั้งพระนารายราชลพบุรี พระมารดาพระพันวรรษาทั้งสองนี้ เปนเชื้อตระกูลพราหมณ์เพชร์บุรีมา แล้วทรงพระกรุณาโปรดให้จ้าวฟ้าธิเบศร์พระราชบุตรใหญ่ เปนกรมขุนเสนาพิทักษ์ ให้เจ้าฟ้าเอกทัศราชบุตรพระพันวรรษาน้อย เปนกรมขุนอนุรักมนตรี ให้เจ้าพระองค์แขก เปนกรมหมื่นเทพพิพิธ พระองค์เจ้ามังคุด เปนกรมหมื่นจิตรสุนทร พระองค์เจ้ารถ เปนกรมหมื่นสุนทรเทพ พระองค์จ้าวปาน เปนกรมหมื่นเสพภักดี ตั้งคราวหลังอีกสององค์ คือเจ้าฟ้าณเรนทร์หลานเธอ เปนกรมขุนสุเรนทรพิทักษ จ้าวฟ้าดอกมะเดื่อลูกเธอ เปนกรมขุนพรพินิต ๚ะ๏ แล้วสมเดจพระบรมราชาธิราชเจ้าทรงพระโทมนัศ แค้นพระไทยในสมเด็จพระเชษฐาธิราชเจ้า ทรงพระดำรัศว่า จะไม่เผาพระบรมศพ จะทิ้งน้ำเสีย พระยาราชนายกว่าที่กะลาโหมกราบทูลเล้าโลมเปนหลายครั้ง จึ่งทรงพระกรุณาดำรัศสั่งให้ตั้งพระเมรุมาศขนาดน้อย ขื่อห้าวาสองสอก ชักพระบรมสพออกถวายพระเพลิงตามราชประเพณี อันสมเดจพระบรมราชาธิราชเจ้าแผ่นดินนี้ มีพระกมลสันดาลต่าง ๆ กันกับพระบรมราชบิดา แลพระเชษฐาธิราชเจ้า ปานาติบาตรพระองค์ทรงเว้นเปนนิจ ทรงประพฤษดิ์บำเพญกุศลสุจริตธรรม สมณพราหมณาประชาราษฎร มีแต่สโมรณ์เปนศุขสนุกนิ์ทั่วหน้า พระองค์ทรงพระราชศรรทธาทำทาน แก่สมณพราหมณากระยาจกวัณณิพกเดรฉานต่างๆ ทุกอย่างสิ้น บางทีเสดจไปชมพระตำหนักบางปะอิน แลพระนครหลวง บางทีลงเรือที่นั่งใหญ่ ใช้ใบล่องออกปากน้ำพระประแดง ชมทเลแลมัจฉา ๚ะ๏ ถึงน่านวดเข้าก็เสดจไปนวดที่ทุ่งหันตรานาหลวง แล้วเอาเข้าใส่ระแทะ แลให้พระราชบุตรพระราชธิดา กำนันนางทั้งปวงลากไปวังใน แล้วเอาพวนเข้าทำฉัตรใหญ่ แลยาคูไปถวายพระราชาคณะที่อยู่อารามหลวงทุกๆปีมิได้เว้น พระองค์ทรงสรรพจะเล่นมิได้เบื่อ ทั้งวิ่งงัวควายแลพายเรือ เสือกับช้างให้สู้กัน แลมีแต่สนุกนิ์ทั่วกันทุกระดู ๚ะ๏ ณวันเดือนหกข้างขึ้น เสดจทรงที่นั่งกิ่งเปนพยุหบาตราไปคลองวัดป่าโมก เสดจประทับพระตำหนักชีปะขาว ทรงถวายทักษินาทานแก่พระสงฆ์ ๓๐๐ รูปเสร็จ ให้เล่นงานมหรสพสามวันณทุ่งนางฬา วันที่สุดมีช้างบำรุงงา เพลาเอย็นเกิดลมพยุหพัดหนัก พระเจ้าอยู่หัวก็เสดจกลับคืนเข้ากรุง ๚ะ๏ ณวันเดือนเก้าข้างขึ้นปีขานฉศก มีพระราชโองการให้กรมหมื่นอินทรภักดีกับเจ้าพระยากลาโหม ขึ้นไปล้อมช้างณเมืองลพบุรี ครั้นณะเดือนสิบก็เสดจพระราชตำเนินขึ้นไปเมืองลพบุรี ให้ออกไปเร่งนายกองให้ต้อนสัตวจัตุบาท มาค่ายทเลชุบษร ฟากตวันออกที่ล้อมเก่า ครั้งสมเดจพระนารายน์นั้น แล้วเสดจพระราชดำเนินออกไปขึ้นพระตำหนักห้าง คนยิงปืนตีม้าฬ่อ ฆ้องกลองโห่ร้องเร้าเข้ามา ฝูงโคกะทิงมหิงษาเถื่อนลมั่งกวางทรายสุกรป่าวิ่งกระเจิงออกมาเปนอันมาก ฝูงช้างเถื่อนก็วิ่งบากบ่ายหน้าหนี ช้างเชือกก็วงล้อมไว้ได้ทีคล้องต้องได้ช้าง แต่เสดจออกมาให้จับสองเพลาเท่านั้น ได้ร้อยแปดสิบช้าง เหลืออยู่ประมาณสามร้อย สั่งให้เปิดค่ายปล่อยไปสิ้น ๚ะ๏ ณเดือนสิบแรมสิบค่ำ ผู้รักษากรุงเทพมหานคร ขึ้นไปกราบทูลว่าจีนใน ประมาณสามร้อยคบคิดกัน เพลาค่ำยกเข้าไปปล้นเอาพระราชวัง ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงชวนกันตีจีนแตกหนีไป ครั้นถึงเพลาตีสิบเอ็ดก็เสดจกลับยังกรุง ให้สืบสาวจับได้จีนกระบถประมาณสองร้อยเสศ ที่เปนต้นเหตุสี่สิบคน ให้ประหารชีวิตรเสีย แล้วทรงพระกรุณาสั่งพระยากลาโหมว่า พระที่นั่งสรรเพชปราสาทชำรุดนัก ให้รื้อลงทำใหม่ ๚ะ๏ ครั้นถึง ณเดือนเจดปีเถาะสัปตศก พระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวน กรมขุนสุเรนทรพิทักษเสดจเข้ามาอยู่วัดโคกแสง เวียนมาเยียนพระเจ้าอยู่หัวเนือง ๆ วันหนึ่งเพลาค่ำ พระเจ้าลูกเธอกรมขุนเสนาพิทักษ ให้พระองค์ชื่น พระองค์เทศโอรส ออกไปอัญเชิญเสดจกรมขุนสุเรนทรพิทักษ ณวัดว่า มีพระราชโองการให้เชิญเสดจไป กรมขุนสุเรนทรพิทักษสำคัญว่าจริง ก็เสดจมาขึ้นน่าพระไชย เข้าไปถึงในที่ประตู ที่กรมขุนเสนาพิทักษแอบประตูอยู่ ฟันด้วยพระแสงดาบทูกจีวร สังฆาฏิขาดหาเข้าไม่ กรมขุนเสนาพิทักษ์วิ่งเข้าไปที่ข้างใน ๚ะ๏ กรมขุนสุเรนทรพิทักษเสดจเข้าไปที่พระเจ้าอยู่หัวประชวน ฯ ทอดพระเนตรเหนตรัสถามว่า เปนไรผ้าสังฆาฏิจีวรจึ่งขาด กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ถวายพระพรว่า กรมขุนเสนาพิทักษหยอก ครั้นกรมขุนสุเรนทรพิทักษถวายพระพรลาออกมา กรมหลวงอไภยนุชิต พระชนนีกรมขุนเสนาพิทักษเสดจตามไปอ้อนวอนว่า ถ้าพ่อมิช่วยก็เหนน้องจะตาย กรมขุนสุเรนทรพิทักษตรัสว่า จะช่วยได้ก็แต่กาสาวพัดถ อันเปนธงไชยพระอรหรรต กรมหลวงอไภยนุชิตได้สติขึ้น จึ่งเสดจเข้าไปทรงพระวอ ซ่อนภากรมขุนเสนาพิทักษออกทางประตูฉนวนไป ให้ทรงผนวช ณวัดโคกแสง อยู่ด้วยกรมขุนสุเรนทรพิทักษนั้น พระเจ้าอยู่หัวให้ค้นหาตัวไม่ภบ ได้แต่พระองค์เทศ พระองค์ชื่น ก็ให้ประหารเสียด้วยท่อนจันทน์ ๚ะ๏ อนึ่งนักแก้วฟ้าณกรุงกัมพูชาธิบดี บอกเข้ามาให้กราบทูลถวายนางช้างพังเผือก สูงสามสอกเจดนิ้ว ช้างมาถึง พระเจ้าอยู่หัวดำรัศให้แต่งข้าหลวงกรมช้างออกไปรับเข้ามา แล้วพระราชทานนามชื่อพระวิเชียรหัสดินทรอรินทรเลิศฟ้า ให้นำมาไว้ ณโรงช้างพระที่นั่งวิหารสมเดจ ๚ะ๏ แลทำพระที่นั่งสรรเพชปราสาทสิบเดือนจึ่งแล้ว ก่อนนั้นหุ้มแต่ดีบุก หาได้ปิดทองไม่ ครั้งนี้ให้ปิดทองยอด แลฉ้อฟ้าปราลีเสรจ พระที่นั่งบัญยงรัตนารถชำรุด ก็ให้ทำใหม่หกเดือนจึ่งสำเร็จ แล้วให้ทำพระที่นั่งสุริยาศอำรินทรใหม่ ๘ เดือนจึ่งสำเร็จ ๚ะ๏ ณปีมเสงนพศก กรมหลวงอไภยนุชิต ทรงพระประชวนหนักลง จึ่งกราบทูลขอโทษพระเจ้าลูกเธอ กรมขุนเสนาพิทักษ พระเจ้าอยู่หัวดำรัศว่า ถ้าไม่กระบถแล้วก็ไม่ฆ่า กรมหลวงอไภยนุชิตก็วางพระไทย แล้วก็สูญสิ้นพระชนมายุ ๚ะ๏ ณเดือนหก ปีมเมียสำฤทธิศก ฉลองวัดหันตรา ๚ะ๏ ณปีมแมเอกศก เสดจขึ้นไปสมโพชพระพุทธบาท ๚ะ๏ ครั้นเดือนสิบสองปีวอกโทศก เสดจขึ้นไปสมโพชพระชินราช พระชินสีห ณเมืองพระพิศณุโลกยสามวัน แล้วเสดจขึ้นไปสมโพชพระสารีริกธาตุณเมืองสว่างบูรี ๓ วัน แล้วเสดจกลับยังกรุง ๚ะ๏ ครั้นณวันเดือนห้าปีระกาตรีศก พระราชโกษาบ้านอยู่วัดระฆังกราบทูลว่า จะขอให้สมเดจพระเจ้าลูกเธอ กรมขุนเสนาพิทักษ เปนกรมพระราชวัง จึ่งดำรัศให้ปฤกษาอัคมหาเสนาบดีทั้งปวง เหนพร้อมกันแล้ว พระเจ้าอยู่หัวโปรดให้กรมขุนเสนาพิทักษ ดำรงถานานุศักดิ์ในที่มหาอุปราชโดยประเพณี แล้วทรงพระกรุณาสั่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ให้ปฏิสังขรณวัดพระศรีสรรเพชขึ้นใหม่ พระวิหารนั้นอย่าให้ทำมณฑปเลย ให้ทำเปนหลังคาเหมือนวิหารทั้งปวง ทำปีเสศจึ่งแล้ว ๚ะ๏ พระที่นั่งสมเดจชำรุดทรงพระกรุณา สั่งกรมพระราชวังให้รื้อลงทำใหม่ สิบเดือนจึ่งสำเร็จ ๚ะ๏ วัดพระรามชำรุท ให้ปฏิสังขรณปีเศศจึ่งสำเร็จ ๚ะ๏ ครั้นปีจอจัตวาศก พระยาอไภยมนตรี ว่าที่สมุหนายกถึงแก่กรรม ทรงกรุณาให้พระยาราชภักดี เปนเจ้าพระยาราชภักดี ว่าที่สมุหนายกแทน แล้วให้เกลี้ยกล้อมเลขวัดพระ กับไพร่หัวเมืองวิเสศไชยชาญ เมืองสุพรรณบุรี เมืองนครไชยศรี เมืองอินทบุรี เมืองพรหมบุรี เมืองสิงคบุรี เมืองสมี เมืองไชยนาท เมืองมโนรม เมืองอุไทย เมืองนครสวรรค์ ๚ะ๏ อนึ่ง เมืองนครศรีธรรมราชบอกเข้ามาว่า บ่าวพระปลัดไปโพนคล้องช้าง ได้ช้างพลายงาสั้นช้างหนึ่ง สูงห้าสอก งายาวพ้นไพรปากห้านิ้ว โกษาธิบดีกราบทูล พระบาทสมเดจบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการโปรดให้กรมช้างออกไปรับเข้ามา พระราชทานขนานนามว่า พระบรมนาเคนทร ได้มาแต่เมืองไชยา อิกช้างหนึ่งเปนเนียม ขนานนามพระบรมวิไชย ได้มาแต่เมืองนครศรีธรรมราชอิกช้างหนึ่ง ให้ชื่อบรมจักระพาฬ ได้มาแต่เมืองเพชรบุรีอีกช้างหนึ่ง ให้ชื่อบรมกุญชร ๚ะ๏ เมื่อลุศักราช ๑๑๐๖ ปีชวดฉศก พม่าเจ้าเมืองเมาะตมะ ชื่อมังนราจังซู กับเจ้าเมืองทวาย ชื่อแนงแลกแวซอยดอง ภาครอบครัวบุตรภรรยาทั้งสองเมือง ประมาณสามร้อยเสศ เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ทางพระเจดีย์สามองค์ นายด่านชื่อขุนนคร ขุนนรา ภาตัวทั้งสองเข้ามา ให้เจ้าพระยาชำนาญบริรักษส่งเข้ามาณกรุง ทรงพระมหาการุญภาพโปรดพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภค ให้ปลูกเรือนอยู่ข้างวัดมณเฑียร แล้วพระราชทานตราภูมคุ้มห้าม แล้วมีพระราชโองการให้ถามว่า เหตุผลประการใดจึ่งเข้ามา เจ้าเมืองเมาะตมะ เจ้าเมืองทวาย จึ่งให้กราบทูลว่า เดิมเมื่อลุศักราช ๑๐๙๗ ปีเถาะสัปตศก สมิงทอคนหนึ่งเปนชาติถ่อยคบคิดกันกับพระยาทละกรมช้าง กระบถต่อพระเจ้าอังวะ เข้าปล้นเอาเมืองหงษาวดีได้ มาอาษาลอองเสีย พระยาทละกรมช้าง เหนบุญสมิงทอมากก็ยกนางพังผู้บุตรี ขึ้นเศกกับสมิงทอให้นั่งเมืองหงษาวดี ข้าพเจ้าทั้งสองจึ่งเกนมอญเมืองเมาะตมะ เมืองทวาย เมืองกลิออง จะยกไปช่วยเมืองหงษาวดี ตีถวายพระเจ้าอังวะ คนทั้งสามเมืองกลัวบุญสมิงทอ ก็กลับสู้รบ ข้าพเจ้าทั้งสองเหลือกำลังที่จะปราบปรามได้ ครั้นจะหนีขึ้นไปอังวะก็ขัดสน ด้วยทางพวกกระบถออกขวางสกัดหน้า จึ่งชวนกันภาบุตรภรรยาเข้ามา เอาฝ่าลอองธุลีพระบาท เปนที่พึ่งไปกว่าจะสิ้นชีวิตร จึ่งดำรัศว่า อ้ายสมิงทอนี้ เปนชาติถ่อยสกูลต่ำ กำเริบใจได้เมืองหงษาวดีแล้วมิหนำซ้ำจองหอง มีราชสาสนเข้ามาเปนทองแผ่นเดียว ขอลูกสาวกู มันจะอยู่ได้สักกี่วัน ๚ะ๏ ในปีชวดฉศกเดือนสิบสองแรมสองค่ำ เกิดเพลิงไหม้ในพระราชวังบวรสถานมงคล กรมพระราชวังจึ่งเสดจเข้ามาอยู่วังหลวง ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าอังวะแจ้งไปว่า เจ้าเมืองเมาะตมะ เจ้าเมืองทวาย หนีมอญเข้าไปพึ่งกรุงศรีอยุทธยา ทรงพระมหากรุณาทำนุบำรุงไว้ ก็มีพระไทยโทมนัศ จึ่งให้แต่งพระราชสาสน แลเครื่องมงคลราชบรรณาการ คือภานทองประดับหนึ่ง คนโทน้ำครอบทองหนึ่ง ผอบเมียงทองหนึ่ง ขันทองหนึ่ง พระภูษาทรงลายกงจักรริมแดงหนึ่ง ผ้าทรงมเหสีสำรับหนึ่ง ผ้าลายมีลายโต ๆ ต่างๆ กัน เรือสาวพิมานลำทรงลำหนึ่ง กับน้ำมันดินแลดินสอแก้ว ดินสอสิลา แลสิ่งของนอกนั้นเปนอันมาก จึ่งแต่งให้มังนันทจอสู มังนันทจอถาง เปนราชทูต อุปทูต จำทูลพระราชสาสน คุมเครื่องราชบรรณาการเข้ามาจำเริญทางพระราชไมตรี ครั้นราชทูตมาถึงให้ปลูกที่รับแขกเมืองริมวัดนางเลิ้ง แล้วให้เชิญพระราชสาสนเข้าไปในหอแปลพระราชสาสน ฝ่ายราชทูต อุปทูตมิได้ไหว้อัคมหาเสนาบดี ๆ ให้ต่อว่า ๚ะ๏ ฝ่ายราชทูต อุปทูต ตอบว่า อย่างธรรมเนียมข้างกรุงรัตนบุระอังวะนั้น ถ้าแลราชทูตจำทูลพระราชสาสนจำเริญทางพระราชไมตรี ณกรุงใดๆก็ดี ถ้ายังมิได้เฝ้าถวายบังคมพระมหากษัตริยเจ้าแล้ว จะไหว้เสนาบดีก่อนนั้นไม่ได้ ครั้นพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ จึ่งมีพระราชโองการตรัสว่า ราชทูตว่านี้ชอบ ถึงขนบธรรมเนียมกรุงเทพมหานครแต่ก่อนนั้นก็เหมือนกัน ถ้ามีพระราชโองการตรัสสั่งมหาดเลก ให้ออกไปสั่งอัคมหาเสนาณสาลาลูกขุน แลที่ใดๆก็ดี มหาดเล็กต้องขี่ฅอตำรวจสนมนอกไปถึงแล้ว ลงจากฅอยืนสั่งเสนาบดี แลข้าราชการทั้งปวงก็ประนมมือฟังจนสิ้นข้อ แล้วบ่ายน่าเข้ามาต่อพระราชวังถวายบังคม มหาดเลกจึ่งนั่งลงไหว้นบคำรพกันได้ แต่นี้ไปให้ทำตามอย่างธรรมเนียมแต่ก่อนนั้น แล้วให้ราชทูต อุปทูต ขึ้นเฝ้าบนที่เสดจออกน่ามุกกระสัน มีพระราชโองการประฏิสันฐารโสมนัศแล้วเสดจขึ้น ทูตจึ่งไหว้อัคมหาเสนาบดีทั้งปวง แล้วพระเจ้าอยู่หัวให้แต่งพระราชสาสน เครื่องราชบรรณาการตอบ คือพานแว่นฟ้าทองสองชั้น กลิบวิ่นเครื่องในพร้อมหนึ่ง พระเต้าน้ำคร่อมทองหนึ่ง พระสุพรรณศรีทองหนึ่ง แลเครื่องทองทั้งปวงหลายอย่าง แลกำมหยี่ แพรม้วนลายมังกรเปนอันมาก กับเรือพระที่นั่งกิ่งทรงลำหนึ่ง อันพระราชสาสนนั้น เขียนใส่สุพรรณปัดแผ่นทอง แล้วใส่ในกลักงาใส่ถุงแพรผูกทอง แล้วตีตรามหาโองการ อันตราประทับนั้น นารายนขี่ครุธ สำเนาพระราชสาสนนั้นประจำตราพระราชสีห์ แล้วทรงพระกรุณาโปรดให้พระยายมราชเปนราชทูต พระทนเปนอุปทูต พระสุธรรมไมตรีเปนตรีทูต คุมเครื่องมงคลราชบรรณาการไปจำเริญทางพระราชไมตรี ณเมืองอังวะ ๚ะ๏ ขณะนั้นสมิงทอเจ้าเมืองหงษาวดี ยกทัพขึ้นไปตีอังวะ ราชทูตพะม่าจึ่งภาอ้อมทางป่าศักป่าปะโลง แล้วราชทูตไทยกับพะม่าคิดเปนอุบาย ให้กิตติศรรพท์ไปถึงทับมอญว่า ทับพระนครศรีอยุทธยายกมาช่วยกรุงอังวะ ฝ่ายทับมอญภอขาดเสบียงลงด้วย ก็เลิกทับกลับไป ผู้ทูลพระราชสาสน์จึ่งถึงอังวะ เข้าเฝ้าถวายบังคมพระเจ้าอังวะ พระเจ้าอังวะมีพระไทยปีติปราโมชโปรดพระราชทานรางวัลราชทูตไทยเปนอันมาก แล้วถวายบังคมลามากลางทาง ราชทูต อุปทูต ป่วยถึงแก่กรรม ตรีทูต กับฟ้าไล่ มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทแต่สองคน ๚ะ๏ ในปีนั้นปติสังขรณ์พระเจดีย์อารามวัดภูเขาทองหกเดือนสำเร็จ ๚ะ๏ ณะปีขานอัฐศกนั้น เสดจไปประภาศเมืองลพบูรี นักโสนส้องสุมผู้คนณะเมืองลพบูรีเปนกระบถ ทรงทราบจึ่งดำรัศให้ข้าหลวงสามนาย ไพร่สามร้อยออกไปจับได้ส่งลงไปจำไว้ณะคุก ๚ะ๏ อนึ่งมีหนังสือบอกเข้ามาแต่เมืองนครศรีธรรมราช บอกเข้ามาว่าคล้องได้ช้างพลายเถื่อนสูงสามศอกสิบนิ้วช้างหนึ่ง ตาขาวเล็บขาวหางขาวขนขาว พระเจ้าอยู่หัวดำรัศให้หลวงราชวังเมือง ไปฝึกให้ชำนิชำนาญแล้วให้นำมา ฝ่ายเจ้าพระยาชำนาญบริรักษว่าที่โกษาธิบดี เจ้าพระยาราชภักดีว่าที่สมุหนายก ให้มีตราพระราชสีห์ แลตราบัวแก้วออกไป ให้กรมการหัวเมืองรายทางทำโรงให้เปนมณฑปมีฉ้อฟ้ากระจังไว้รับ ผู้รั้งกรมการหัวเมืองทั้งปวงปฤกษากันว่าไม่เคยทำ จึ่งบอกเข้ามาขอช่างนายการออกไปเมืองนคร ครั้นทรงทราบ จึ่งมีพระราชโองการตรัสถามเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ แลเจ้าพระยาราชภักดีว่าโรงรายทางอยุดภักวันหนึ่ง สองวันเท่านี้ก็จะมาจะให้ทำมณฑป ครั้นถึงกรุงจะให้ทำเปนอย่างไรรับเล่า นี่ฤๅจะช่วยทำนุบำรงอาณาประชาราษฎรให้อยู่เอย็นเปนศุข แล้วตำรัศคาดโทษเจ้าพระยาชำนาญไว้ครั้งหนึ่ง แต่เจ้าพระยาราชภักดีนั้นให้ลงพระราชอาญาโบยหลังยี่สิบที ครั้นหลวงราชวังเมืองนำช้างมาถึงกรุงแล้ว พระราชทานชื่อว่า พระบรมคชะลักษณ์อัคคเชนท์รสุปดิษฐสิทธิสนทยามหามงคลวิมลเลิศฟ้า ๚ะ๏ อนึ่งพระยาพระราม พระยากลางเมือง พวกสมิงทอ แตกหนีเข้ามาพึ่งพระราชสมภาร ทางเมืองตากสี่ร้อยเสศ ให้ตั้งบ้านณะโพสามต้น ๚ะ๏ ครั้นอยู่มาผู้รั้งเมืองกุยบูรี บอกหนังสือส่งทองร่อนหนักสามตำลึงเข้ามาถวายว่า ดำบลบางตะพาน เกิดที่ร่อนทองขึ้น ๚ะ๏ ครั้นถึงเดือนสิบสองปีเถาะนพศกให้เกนไพร่สองพัน ยกออกไปตั้งร่อนทองณะบางตะพาน ๚ะ๏ ครั้นสิ้นเดือนห้าปีมะโรงสัมฤทธิศก ได้ทองเข้ามาถวายเก้าชั่งเศศ ผู้รั้งเมืองกุยนั้น โปรดให้เปนพระกุยบุรี แล้วทรงพระราชศรัทธาให้แผ่ทองร่อนปะปากกลองปิดมณฑปพระพุทธบาท แลให้แผ่หุ้มแต่เหม แลนาคลงมา ๚ะ๏ ครั้นเดือนห้าปีมะเมียโทศก ให้แจกทานแก่ยาจกพรรณิพกเสมอคนละบาท สิ้นเงินพันสามชั่งเสศ ๚ะ๏ ณะเดือนแปดแรมสิบค่ำ พระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวนหนัก จนสอึกสามชั้น ต่อกลางคืนตีสิบเบ็ดจึ่งคลาย ครั้นเดือนสิบสองข้างขึ้น เสดจพระราชตำเนิรขึ้นไปสมโพชพระพุทธบาทเปนกระบวน รับเสดจภักณะพระตำหนักท่าเจ้าสนุกนิ์ แล้วทรงพระวอขึ้นไปประทับร้อนบ่อโศก เพลาเอย็นเสดจไปถึงท้ายพิกุน ครั้นสมโพชพระพุทธบาทครบเจดวันแล้ว เสดจพระราชดำเนินกลับยังกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ๚ะ๏ ในปีมะเมียโทศกนั้น สมิงทอเจ้าเมืองหงษาวดี ออกไปโพนช้างอยู่ป่า พระยาทละกรมช้างคิดกระบถ ให้สมักพักพวก กรมสมิงทอ ๆ สู้รบเหลือกำลังก็แตกหนีเข้ามาทางเมืองตาก ทรงพระกรุณาให้รับลงมาณะกรุง แล้วรับสั่งให้มีกระทู้ถามสมิงทอว่า เองก็ได้นั่งเมืองหงษาวดีเกินวาศนาอยู่แล้ว เหตุผลเปนประการใดจึ่งหนีเข้ามา สมิงทอให้การว่า เมื่อครั้งข้าพเจ้าได้เมืองหงษานั้น พระยาทละกรมช้างว่า ข้าพเจ้าเข้มแขงปราบปรามรามัญได้หลายประเทศ จึ่งยกบุตรีแลตัวข้าพเจ้าขึ้นเปนกระษัตริย์ครองกรุงหงษาวดี แล้วได้ช้างด่างกระดำผู้ตัวหนึ่ง จึ่งให้ชื่อรัตนชัดทันต์ ตั้งแต่นั้นมาก็มีใจกำเริบเติบใหญ่ ให้มีราชสาสนใบหนึ่งไปถึงพระเจ้าหอคำผู้ครองกรุงเชียงใหม่ขอพระราชธิดา ด้วยเดชกุศลวาศนาอบรมไว้ พระเจ้าเชียงใหม่ยอมให้ธิดาทรงนามชื่อว่า นางเทพวิลาบุตรี ข้าพเจ้าจึ่งตั้งเปนมเหษีฝ่ายซ้าย นางภังภูเปนฝ่ายขวา แล้วข้าพเจ้ายกพลโยธาไปล้อมอังวะแทบจะได้ ภอได้ข่าวว่ากองทับกรุงไทยไปช่วย อนึ่งขาดเสบียงลงด้วย จึ่งถอยทับกลับมากรุงหงษาวดี ครั้นอยู่มาพระยาทละโกรธข้าพเจ้าว่าลำเอียง จึ่งคิดฬ่อลวงบอกข่าวช้างสำคัญเผือกผู้ อยู่ณะป่าแขวงเมืองตองอูขึ้นแก่พม่า ข้าพเจ้าก็ให้เกนพลโยธาไปตามช้าง เที่ยวรอนแรมทางค้นหาไปไม่ภบก็กลับมายังกรุงหงษาวดี พระยาทละกรมช้างปิดประตูเมืองไว้ไม่เปิดรับข้าพเจ้า ๆ ก็สู้รบกันไปหลายเพลา ฝ่ายไพร่พลโยธาข้าพเจ้าก็น้อยถอยกำลัง จึ่งพานางเทพวิลาไปส่งบิดาณะเมืองเชียงใหม่แล้ว กลับมารบหงษาวดีอีกหลายครั้ง เหลือกำลังตีมิได้ ด้วยพลไพร่เอาใจออกหาก ข้าพเจ้าจึงหนี่เข้ามาเอาฝ่าลอองธุลีพระบาทบรมนารถบรมบพิตพระพุทธเจ้าอยู่หัว เปนที่พึ่งตราบเท่าสิ้นชีวิตร ครั้นทรงทราบแล้วก็ดำรัศให้ส่งตัวไปจำไว้ในคุก ด้วยทรงกริ้วคราวครั้งบังอาจมีราชสาสน์มาว่าจะเปนทองแผ่นเดียวกัน ๚ะ๏ ณปีมะเมียโทศกนั้น กรมหมื่นอินท์ถึงแก่พิราไลย์ ให้ตั้งการถวายพระเพลิงณะวัดไชยวัฒนาราม ณปีนั้นนักองค์อึ่งไปเอาญวญมารบพระรามาธิบดี พระศรีไชยเชษฐ แตกหนีมาพึ่งบรมโพทธิสมภาร มีพระราชโองการให้เกนทับหมื่นหนึ่ง ไปกระทำการแก่กรุงกัมพูชาธิบดี ให้พระยาราชสุภาวดีเปนแม่ทับ ออกไปตั้งชุมพลอยู่ณะวัดพระเจดีย์แดง ๚ะ๏ พระยาพระรามคิดอุบาย เรียนแก่ท่านอัคะมะหาเสนาบดีว่า จะอาษาไปทับด้วยห้าคน แต่ไม่มีอาวุธ ครั้นแจกอาวุธให้ครบมือแล้ว เวลาค่ำยกไปโพสามต้นภาครอบครัวหนีไป พระเจ้าอยู่หัวให้เกนไปจับได้ณะทุ่งบ้านรีบางแก้ว ให้ประหารชีวิตรเสีย ๚ะ๏ พระยาราชสุภาวดียกไปกรุงกัมพูชาธิบดี ครั้งนั้น นักองค์อึ่งก็นบนอบเปนปรกติ พระยาราชสุภาวดีก็ยกทับกลับมากรุง อยู่ประมาณปีหนึ่ง นักองค์อึ่งถึงพิราไลย ให้พระรามาธิบดีออกไปครองกรุงกัมพูชา ๚ะ๏ ณะปีมะเมียโทศก พระยาทละกรมช้างซึ่งได้นั่งเมืองหงษาวดีนั้น รู้ข่าวไปว่า สมิงทอหนีเข้าไปพึ่งอยู่ณะกรุงศรีอยุทธยา จึ่งให้มีพระราชสาสนเข้ามากราบทูลขอสมเดจพระเจ้าอยู่หัวว่า อย่าให้รับตัวสมิงทอไว้ มันเปนคนไม่ตรงอกตัญู จะขอรับประทานตัวไปประหารชีวิตรเสีย พระเจ้าอยู่หัวก็ไม่โปรดประทานให้เหมือนในพระราชสาสน์ อันสมิงทอนี้เปนคนดีมีความรู้ ฝ่ายข้างวิปัศนาแผ่เมตาดียิ่งนัก ผลที่สมิงทอแผ่เมตานั้น ธำมะรงค์ผู้คุมก็มีความกรุณาลดลาให้มิได้จำจอง แล้วเลี้ยงดูให้กินอยู่สะบายบริบูรณ์มิได้ลำบากยากใจ กิติศรับท์นั้นรู้ไปถึงกรมหมื่นจิตรสุนทร ผู้เปนพระเจ้าลูกเธอ จึ่งมาสึกษาเล่าเรียนความรู้แล้ว อุปถัมภ์เลี้ยงดูไว้ให้เปนศุขยิ่งขึ้นไปกว่าเก่า เวลาวันหนึ่งได้ช่องโอกาสก็ทูลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอสมิงทอออกจากคุก พระเจ้าอยู่หัวก็โปรดบัญชาให้ ขณะเมื่อเจ้าเมืองหงษาวดีมีราชสาสนมาทูลขอสมิงทอมิได้โปรดประทานให้นั้น ด้วยทรงพระดำริห์ว่า สมิงทอเปนคนดีมีวิชา ลูกเราก็ได้สึกษาเปนสิศมัน ครั้นจะส่งไปเขาก็จะฆ่ามันเสียเปล่าๆ ครั้นจะเอาไว้ในกรุงเล่า เขาก็จะนินทาว่า คบหาคนชั่วไว้ พระเจ้าอยู่หัวก็เอาสมิงทอฝากนายสำเภาหัวทรงส่งไปปล่อยณะเมืองจีน นายสำเภาจึ่งเอาสมึงทอแวะเข้าปล่อยเสียกลางทางข้างฝั่งตวันตก แล้วสมิงทอไปหานางเทพวิลาภรรยา ซึ่งเปนบุตรีพระเจ้าเชียงใหม่ สมิงทอแจ้งศุข์แลทุกข์ให้ภรรยาฟังแล้ว นางจึ่งไปกราบทูลพระเจ้าเชียงใหม่ผู้เปนบิดา ขอกองทับให้สมิงทอกลับไปที่เมืองหงษาวดี พระเจ้าเชียงใหม่ก็มิได้โปรดให้ตามคำนางเทพวิลาทูลขอ ครั้นสมิงทอแจ้งดังนั้นก็ขัดใจ จึ่งลักภานางเทพวิลากับผู้คนสมกำลังไปเปนอันมาก ๚ะ๏ เมื่อลุศักราช ๑๑๑๘ ปีชวดอัฐศก สมิงทอไปถึงกลางทาง ภบมังลองยกทับลงไปรบเมืองหงษาวดี มังลองจึ่งจับสมิงทอได้ไปจำไว้เมืองอังวะ ๚ะ๏ ครั้นถึงปีระกาเบญจศก เจ้าพระยาชำนาญบริรักษป่วยเปนลมอำมภาธ สี่เดือนเสศถึงอะนิจะกรรม ทรงพระกรุณาให้ใส่พระโกฎใส่ชะดา เรียกว่าพระสพ กระทำฌาปะน์กิจ ณะวัดไชยวัฒนาราม ๚ะ๏ ณะเดือนเก้าปีจอฉศก ให้พระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพไปล้อมช้างณะป่าแขวงเมืองลพบูรี ตั้งค่ายทะเลชุบษรมุมข้างเหนือน่าพระตำหนักเดิม ๚ะ๏ ครั้นณะเดือนสิบข้างขึ้นเสดจพระตำเนินขึ้นไป ให้เกนคนออกไปช่วยทำค่ายปีกกา เพลาเช้าเสดจไป ครั้นถึงเขาเชิงน้ำ ช่วยค้นเข้ามาถึงค่ายนั้น ณะแรมเจดค่ำให้ปิดค่ายเพลาเสดจขึ้นพระตำหนักห้างทอดพระเนตร ให้ค้นช้างออกมาจับได้สามสิบช้าง ยังมิได้จับประมาณสามร้อยเศศ ทรงพระกรุณาให้เปิดค่ายปล่อยไป ถึงแรมเก้าค่ำเสดจไปนมัศการพระพุทธไสยาศน์ ณะวัดพระนอนจักศรี แรมอยู่เวนหนึ่งจึ่งล่องมาตามแม่น้ำน้อย เสดจขึ้นนมัศการพระพุทธไสยาศน์ณวัดขุนอินประมูล ณเดือนหกปีกุนสัปตศกฉลองวัดพระยาคำ ๚ะ๏ อนึ่งกรมพระราชวังบวรสฐานมงคล ประชวนพระโรคสำหรับบูรุศกลายไปเปนโรคคุชราช แต่ไม่ได้เสดจเข้ามาเฝ้าถึงสามปีเสศ ๚ะ๏ วันหนึ่งมีพระบัณฑูรให้มาเอาตัวเจ้ากรม ปลัดกรม นายเวน ปลัดเวน กรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ กรมหมื่นเสพภักดีมาถามว่า เจ้ากรมเปนแต่หมื่น จัดกันในกรมตั้งขึ้นเปนขุนแล้ว ทำสูงกว่าศักดิ์ ให้ลงพระราชอาญาโบยหลังคละสิบห้าทีบ้าง ยี่สิบทีบ้าง เพลากลางคืนให้คนเข้ามาด้อมมองอยู่ประตูสระแก้ว กรมหมื่นสุนทรเทพเกรงจะทำร้าย เพลาค่ำเสดจประทมอยู่ทิมข้างโรงเตียบ ต่อเพลากลางวันจึ่งเสดจไปอยู่ณตำหนักสระแก้ว ได้ประมาณเก้าวันสิบวัน กรมหมื่นสุนทรเทพทำเรื่องราวกราบทูลพระกรุณาเปนการลับว่า กรมพระราชวังบวรสฐารมงคล เสดจเข้ามาทำชู้ด้วยเจ้าฟ้าสังวาล ถึงในพระราชวังหลวงเปนหลายครั้ง พระเจ้าอยู่หัวให้ชำระกรมฝ่ายในเปนสัจแล้ว จึ่งสั่งพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าธิดา เจ้าฟ้าสุริยวงษกราบทูลว่า เปนอริกันอยู่ จะไปเชิญเสดจมิได้ เจ้าจอมจันทรมารดาพระเจ้าลูกเธอ พระองค์กะแห จึ่งไปเชิญเสดจกรมพระราชวังมา จะขึ้นฉนวนวังน่า มหาดเล็กที่ล่วงมารับเสดจนั้นกราบทูลว่า ประตูเสาธงไชยปิด ก็หาเสดจขึ้นไม่ ล่องลงไปประทับอยู่ที่ฉนวนน้ำประจำท่า ประตูฉนวนก็ปิด เรือพระที่นั่งล่องลงมา เสดจขึ้นตพานใต้ระหัดน้ำ ทรงเฉลี่ยงมาถึงศรีสำราญ ทอดพระเนตรเหนคนนั่งอยู่ริมศาลาลูกขุนท้ายสระเปนอันมาก จึ่งให้กลับพระเฉลี่ยง หลวงศรีภาวังทูลว่า ขอเชิญพระองค์เสดจเข้าไปเฝ้าจึ่งจะชอบ ก็เสดจเข้าไปอยู่ณทิมดาบ จึ่งมีพระราชโองการสั่งมหาดเลกให้ออกมาเชิญเสดจไป ณะตำหนักสองห้องข้างทิมสงฆ์ แล้วสั่งพระมหาเทพให้จำห้าประการ แล้วมีกระทู้ถาม กรมพระราชวังรับเปนสัจ ๚ะ๏ ณวันแรมค่ำหนึ่งเดือนห้า ให้เฆี่ยนณริมตำหนักสองห้องได้ยี่สิบที กรมหมื่นสุนทรเทพขึ้นไปกราบทูลว่า จุกนักจะให้แก้เสีย ทรงพระกรุณาให้ริบ ครั้นแรมสองค่ำ เฆี่ยนอิกยกหนึ่งยี่สิบที แรมสามค่ำ เฆี่ยนอิกยกหนึ่งยี่สิบที แลให้นาบพระบาท แลให้ต่อว่ากรมพระราชวังว่า อ้ายปิ่นกลาโหมคบหากับมารดาเจ้ามิด แต่เปนเมียข้า เฆี่ยนถึงเจดร้อยจนตายกับคา นี่มาคบหากับเมียเจ้าทั้งสององค์ แล้วก็เกิดพระราชบุตรด้วยสามองค์สี่องค์ เจดร้อยจะแบ่งเปนสามส่วน ยกเสียสองส่วน จะให้เฆี่ยนส่วนหนึ่ง แต่สองร้อยสามสิบที จะว่าประการใด กรมพระราชวังบวรสฐานมงคลว่า จะขอรับพระราชอาญาตามจะทรงพระกรุณาโปรด กรมหมื่นเทพพิพิธเอาข้อความนั้นกราบทูล จึ่งตรัสถามว่าเฆี่ยนได้เท่าไร กรมหมื่นเทพพิพิธทูลว่า ได้ลงพระราชอาญาหกสิบทีแล้ว ทรงพระกรุณาตรัสสั่งว่า ให้เฆี่ยนคลสามสิบทีไปกว่าจะครบสองร้อยสามสิบที แล้วให้ข้าทูลลอองธุลีพระบาทปฤกษาพร้อมกันว่า โทษถึงตายเปนหลายข้อ ขอพระราชทานให้สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ตามประเพณี จึ่งทรงพระกรุณาตรัสขอชีวิตรไว้ แต่ให้นาบพระนลาต เจ้าฟ้าสังวาลนั้น ให้เฆี่ยนยกหนึ่งสามสิบที อยู่สามวันก็ถึงแก่พิราไลย กรมพระราชวังนั้น เฆี่ยนอิกสี่ยก เปนร้อยแปดสิบที ก็ดับสูญสิ้นพระชนม์ จึ่งให้นำเอาพระสพไปฝังณวัดไชยวัฒนารามทั้งสององค์ ๚ะ๏ ครั้นเดือนห้าแรมสิบเบ็ดค่ำ ปีชวด อัฐศก เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปฉลองพระนอนจักรศรี สามวันแล้วกลับมายังกรุงเทพมหานคร ๚ะ๏ ขณะนั้นพระยาราชวังเมือง ออกไปตั้งพะเนียดจับช้างณท่าโค แขวงเมืองนครไชยศรี จับได้ช้างเนียมช้างหนึ่งสูงห้าศอก บอกเข้ามาให้กราบบังคมทูล จึ่งเสดจพระราชดำเนินออกไปทอดพระเนตรถึงท่าโค ครั้นฝึกชำนิชำนาญแล้ว ให้นำมาไว้ณโรงในพระราชวัง ๚ะ๏ ถึง ณเดือนห้าปีฉลูนพศก กรมหมื่นเทพพิพิธ ปฤกษาด้วยเจ้าพระยาอไภยราชา พระยากลาโหม พระยาพระคลัง แล้วกราบทูลว่า สมเดจพระเจ้าลูกเธอกรมขุนพรพิพิธ จะขอพระราชทานให้เปนกรมพระราชวังบวรสฐานมงคล ฝ่ายกรมขุนพรพินิตทำเรื่องราวถวายว่า พระเชษฐากรมขุนอนุรักษมนตรีมีอยู่ จะขอพระราชทานให้เปนกรมพระราชวัง พระเจ้าอยู่หัวดำรัศว่า กรมขุนอนุรักษมนตรีนั้น เปนวิสัยพระไทยปราศจากความเพียร ถ้าจะให้ดำรงถานาศักดิ์อุปราชสำเรจราชการกึ่งหนึ่ง ก็จะเกิดวิบัติฉิบหายเสีย เหนแต่กรมขุนพรพินิตกอประด้วยสติปัญญาฉลาดเฉลียว ควรจะดำรงเสวตรฉัตรรักษาแผ่นดินได้ จึ่งพระราชทานถานาศักดิ์ เปนกรมพระราชวังบวรสฐานมงคล อยู่วังจันทเกษม อันกรมพระราชวังองคนี้ คือเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ เดิมเมื่อทรงพระครรภนั้น สมเดจพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสุบินนิมิตรว่า มีผู้เอาดอกมะเดื่อมาถวาย พระองค์จึ่งทรงทำนายว่า ดอกมะเดื่อเปนของหายากในโลกยนี้ เมื่อประสูติจึ่งประทานนามว่า เจ้าฟ้าอุทุมภรราชกุมาร ราษฎรเรียกว่าเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ พระเจ้าอยู่หัวปราถนาจะให้ครองราชย์สมบัติสืบไป จึ่งตั้งไว้ในที่กรมพระราชวังบวรสฐานมงคล ๚ะ๏ ครั้นถึงณเดือนเจดปีฉลูนพศก กรมหมื่นจิตรสุนทรกราบทูลว่า ช้างต้นบรมจักรพาฬนั้น งายาวออกชำระจำเริญเข้าไป จวนจะถึงใส้งาอยู่แล้ว เกรงจะล้มเสีย ๚ะ๏ ครั้นเดือนเก้าเสดจพระราชดำเนินขึ้นไปสมโพชพระพุทธบาท ประทับแรมณพระตำหนักท่าเจ้าสนุกนิ์สามเวนแล้ว ทรงพระวอขึ้นไปถึงพระตำหนักท้ายพิกุน รุ่งขึ้นเพลาเช้า ให้ทำเครื่องสด ผูกช้างต้นพระบรมจักระพาฬถวายพระพุทธบาท ปล่อยไปทางธารเกษม แล้วเสดจพระราชดำเนินกลับยังกรุงเทพมหานคร อันสมเดจพระบรมราชาธิราชเจ้าพระองค์นี้ พระองค์ทรงทศมิศราชธรรม์มีพระชนม์ยืนนาน ได้เสวยราชมา ๒๐ ปี จนพระชนม์ได้ ๗๑ พรรษา เมื่อกาลมาถึงพระองค์ ด้วยพระองค์เปนอธิบดีใหญ่ในสยามประเทศ จึ่งวิปริตนิมิตรเหตุต่าง ๆ ๚ะ๏ ณวันเดือนสิบสองแรมสองค่ำปีฉลูนพศก กลางคืนลมว่าวพัดหนัก พระมหาธาตุซึ่งเปนหลักวัดวรโพธิโทรมลงทลาย ทั้งอากาษสำแดงร้ายอาเพศ ประทุมเกษตกต้องมหาธะนูลำภุกัน อนึ่งดวงดาวก็เข้าในวงพระจันทร์ ทั้งดาวหางคลองช้างเผือก ประชาชนก็เอยนระเยือกทั้งนคร ด้วยเทพเจ้าสังหรหากให้เหน ด้วยพระองค์เปนหลักไชยในกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ๚ะ๏ ครั้นณเดือนหกขึ้นแปดค่ำปีขานสัมฤทธิศก เพลาเจดทุ่มทรงพระประชวร ครั้นณเดือนหกแรมห้าค่ำเพลาเช้า เสดจทรงพระเฉลี่ยงหิวมา เสดจออกพระที่นั่งทรงปืนแล้ว เสดจพระราชตำเนินขึ้นไปบนพระที่นั่งบันยงค์รัตนาถ เพลาห้าโมงเศศ เสดจมาบรรทมณพระที่นั่งทรงปืน ถึงเพลาเที่ยงห้าบาทประทมตื่น จะเสดจไปลงพระบังคน หลวงราชรักษา หลวงราโชพยุงให้เสดจยืน จาตะปะทะพระเนตรซ้อนกลับขึ้น พระหัถคว้าจับหลักไชยไม่ใคร่จะถูก หายพระไทยดังเสียงกรน ขณะนั้นกรมพระราชวังบวรสฐานมงคล ให้ไปเชิญเสดจกรมหลวงพิพิตรมนตรี เจ้าฟ้าจันทวดี กรมขุนพิสาฬเสนี ไป ณพระตำหนักสวนกระต่าย แล้วกรมหมื่นพิทักษภูเบศร ให้เชิญเสดจกรมขุนอะนุรักษมนตรี เข้ามาถึงพระที่นั่งทรงปืน แย้มฉากทอดพระเนตรอยู่สักประเดี๋ยวหนึ่งแล้ว เสดจไปตำหนักสวนกระต่าย ครั้นเพลายามเศศพระเจ้าอยู่หัวก็เสดจสวรรคต ๚ะ๏ เมื่อลุศักราช ๑๑๒๐ ปีขานสัมฤทธิศก เดือนหกแรมห้าค่ำ วันพุทธเพลายามเศศ เสวยราชมาแต่พระชนม์ ๕๑ ปี อยู่ในราชสมบัติยี่สิบหกปี เปนพระชนม์ ๗๗ ปี สวรรคต ๚ะ
32
๏ แผ่นดินเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ ซึ่งเปนกรมขุนพรพินิต ๚ะ
๏ เมื่อลุศักราช ๑๑๒๐ ปีนั้น กรมหมื่นเทพพิพิตรเชิญพระแสงดาบ พระแสงกระบี่ พระแสงง้าว ข้างที่ออกมาส่งให้ขุนพิพิธรักษาชาวที่ เอาไปถวายณพระตำหนักสวนกระต่าย กรมหมื่นสุนทรเทพ กรมหมื่นเสพภักดี เสดจไปทางข้างในเชิญเอาพระ บนพระที่นั่งบันยงค์รัตนารถ ไปตำหนักสาลาลวด ๚ะ๏ ขณะนั้นกรมหมื่นเทพพิพิตร กรมหมื่นจิตรสุนทร ตรัสสั่งพระยาพระคลัง พระยาอไภยมนตรีว่า ประตูพระราชวังให้ปิดตามธรรมเนียม ภอกรมขุนอนุรักษมนตรี เสดจมาตรัสเรียกกรมหมื่นเทพพิพิธออกไป แล้วให้เชิญหีบพระแสง ณะโรงแสงไปสวนกระต่าย กรมหมื่นจิตรสุนทรเหนก็ตกพระไทย เสดจขึ้นไปตำหนักศาลาลวด ครั้นเพลาจะใกล้พลบค่ำ มีพระบัณฑูรให้มหาดเลกออกไปหาข้าทูลลอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยณะศาลาลูกขุน เข้ามาเฝ้าณะสวนกระต่าย แลขุนอนุรักษภูทรเอาคนณะตำหนักสระแก้วข้ามกำแพงวัดศรีสรรเพช แลกำแพงโรงรถ เข้ามาบันจบณะตำหนักศาลาลวดร้อยเสศ ขุนพิพิตรภักดีข้าหลวงกรมหมื่นจิตรสุนทรภาคนไปกระทุ้งบานประตูโรงแสงข้างหน้า เข้าไปเอาพระแสงมาถือเปนอันมาก ๚ะ๏ ณะวันแรมห้าค่ำเปนวันพระ พระเทพมุนี พระพุทธโฆษาจาริย์ พระธรรมอุดม พระธรรมเจดีย์ พระเทพกระวี เข้ามาเตรียมจะถวายพระธรรม์เทศนา อยู่ณะทิมสงฆ์ประมาณทุ่มเศศ จึ่งมีพระราชบัณฑูรให้นิมนต์เข้ามาณะตำหนักสวนกระต่าย ตรัสอาราธนาให้ขึ้นไปว่ากล่าวเจ้าสามกรม ให้ลงมาสมักสมากันถึงสองกลับ ต่อเพลาสามยามเศศ จ้าวสามกรมจึ่งมาเฝ้า ทำสัจถวายทั้งสามองค์ ๚ะ๏ ครั้นเพลาเช้าจึ่งเสดจมาณะพระที่นั่งทรงปืนสรงพระบรมสพ แล้วเชิญเข้าพระโกฎประดับไว้บนพระที่นั่งบรรยงค์รัตนารถ ครั้นสรงพระสพแล้ว จ้าวสามกรมก็กลับไปวัง คิดตั้งส้องสุมผู้คนสาตราวุธไว้ดังเก่า มีผู้นำคุยรหัศกราบทูลพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรสฐานมงคล จึ่งทรงตำริหการด้วยสมเดจพระเชษฐาธิราชเจ้ากรมขุนอนุรักษมนตรี ๆ ให้หาสามกุมารเข้าไปเฝ้าคิดราชการณะตำหนักตึก ณะวันแรมสิบเบ็ดค่ำเพลาบ่าย กรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ กรมหมื่นเสพภักดี เสดจขึ้นไปเฝ้ากรมขุนอนุรักษมนตรี ณะพระตำหนักตึก ๚ะ๏ ขณะนั้นวางคนไว้ให้กุมเอากรมหมื่นสุนทรเทพ ไปลงสังขลิกพันธ์ไว้ณะหอพระมณเฑียรธรรม์ กุมเอากรมหมื่นเสพภักดี ไปพันทะนาไว้ณะพระคลังสุพรัต จับเอากรมหมื่นจิตรสุนทรไปจำไว้ณะพระคลังพิเสศ ครั้นสิบสามค่ำจึ่งให้ประหารด้วยท่อนจันทน์ ณะพระคลังพิเสศทั้งสามองค์ ๚ะ๏ ครั้นสิ้นเสี้ยนศัตรูแล้ว ก็เสดจพระราชตำเนินไปถวายราชสมบัติ แก่สมเดจพระเขษฐาธิราชเจ้ากรมขุนอนุรักษมนตรี ๆ มิได้รับราชสมบัติ แล้วตรัสว่า สมเดจพระราชบิดาสั่งไว้ให้พระอนุชาเจ้า ครองราชย์สมบัติสนองพระองค์สืบไปเถิด จะทำให้ผิดกับรับสั่งนั้นหาควรไม่ กรมพระราชวังบวรสฐานมงคล ก็จำพระไทยครองราชสมบัติ ๚ะ๏ ครั้นณะเดือนเจดขึ้นหกค่ำ จึ่งตั้งการพระราชพิธีปราบฎาภิเศก ณะพระที่นั่งสรรเพชปราสาท กรมขุนอนุรักษมนตรีเสดจไปอยู่ณะพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ทรงพระกรุณาตั้งกรมหลวงพิพิธมนตรี เปนกรมพระเทพามาศ ครั้น ณะเดือนสิบสองกรมพระเทพามาตุเสดจสวรรคต พระเจ้าอยู่หัวให้นำพระโกฎเข้ามารับพระสพ จึ่งเชิญขึ้นประดับไว้ณะพระที่นั่งบรรยงค์รัตนารถเปนสองพระโกฏิ ๚ะ๏ ครั้น ณะเดือนห้าขึ้นสิบเบ็ดค่ำ ลุศักราช ๑๑๒๑ ปีเถาะเอกศก พระเจ้าอยู่หัวก็ถวายพระเพลิงสมเดจพระพุทธเจ้าหลวง พระพันปีหลวง ตามประเวณีการพระบรมสพ ครั้งนั้นพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ทำสนองพระเดชพระคุณสมเดจพระบิตุราช มาตุรง ยิ่งอย่างกว่าแต่ก่อนเปนอันมาก แล้วพระเจ้าอยู่หัวสั่งให้สร้างวัด เรียกว่าวัดอุทุมพรอารามวัดหนึ่ง แล้วให้ปัติสังขรณ์หลังคาพระมณฑปพระพุทธบาท หุ้มทองสองชั้น สิ้นทองสองร้อยสี่สิบสี่ชั่ง พระองค์ทรงฉลองถวายไทยทานแก่พระสงฆ์แลยาจกวรรณิพกเปนอันมาก แล้วพระองค์ทรงว่าราชการงานกรุง ดูผิดแลชอบตามเยี่ยงอย่างพระมหากระษัตราธิราชเจ้าแต่ก่อนมา เวลาหนึ่งพระเจ้าอยู่หัวทรงพระดำริหว่า เรานี้เปนอนุชายังหาควรแก่ราชสมบัติไม่ อันราชสมบัตินี้ให้พระเชษฐาธิราชเจ้าครอบครองสนององค์สมเดจพระราชบิดาเจ้าจึ่งจะควร ทรงพระมนสิการแล้ว พระองค์ก็เสดจไปถวายสมบัติแก่สมเดจพระเชษฐาธิราช แล้วพระองค์ก็เสดจทรงเรือพระที่นั่งกิ่งเปนกระบวนพยุหบาตรา ไปทรงพระนวดณะวัดเดิม แล้วเสดจไปอยู่ณะวัดประดู่ ๚ะ
33
๏ แผ่นดินกรมขุนอนุรักษมนตรี ๚ะ
๏ ขณะเมื่อลุศักราช ๑๑๒๑ ปีเถาะเอกศกนั้น กรมขุนอะนุรักษมนตรีเสดจราชาพิเศก ณะพระที่นั่งสรรเพชปราสาท ทรงพระนามสมเด็จพระบรมราชา มหากระษัตริยบวรสุจริต ทศพิธธรรมธเรศเชษฐโลกา นายกอุดมบรมนารถบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจผ่านพิภพกรุงเทพทวาราวะดี ศรีอยุทธยา ตามโบราณราชประเพณีสืบไป พระองค์มีอัครราชชายาสององค์ แต่ยังเปนกรมมาด้วยกัน พระองค์ตั้งไว้เปนมเหษรี มเหษรีองค์หนึ่งนั้น มีพระราชบุตรสององค์ ๆ พี่นางชื่อประพาลสุริยวงษ องค์ชายชื่อประไพยกุมาร พระมเหษรีองค์หนึ่งนั้น ก็มีพระราชบุตรสององค์เหมือนกัน องค์พี่นางชื่อรุดจาเทวี พระน้องยานั้น ชื่อสุทัศณะกุมารา พระองค์จึ่งตั้งพระอัคราชชายาอิกองค์หนึ่ง ชื่อจ้าวแมงเม่า ร่วมองคกันกับพระองค์ ๆ มีพระราชบุตรีด้วยเจ้าแมงเม่าองค์หนึ่ง ชื่อศรีจันท์เทวี พระองค์ทรงพระเมตาให้ยศถาศักดิ์นาเสมอกัน เหล่าพระสนมพวกนั้น หามีพระราชธิดากับพระองค์ไม่ ๚ะ๏ ครั้นพระองค์ได้เสวยราชได้ประมาณเจดแปดวัน กรมหมื่นเทพพิพิตรก็ทูลลาออกทรงผนวซอยู่ณะวัดกระโจม กรมหมื่นเทพพิพิตรนี้ฝักฝ่ายฝากตัวอยู่ข้างวังหน้า กับวังหลวงหาสู้สนิทไม่ ครั้นวังหน้าออกบวชก็ว้าเหว่พระไทย เจ้าพระยาอะไภยราชา พระยาเพชรบูรี หมื่นทิพเสนา นายจุ้ย นายเพงจัน ภากันออกไปคิดการกระบถ กับกรมหมื่นเทพพิพิตร ๆ รู้ระคายก็หนีไปจากจัดกระโจม ตามไปจับได้ณะป่านาเริงนอกด่าน แต่เจ้าพระยาอะไภยราชา พระยาเพชรบูรี นายจุ้ย สามคนนี้ ให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนแล้วจำครบไว้ หมื่นทิพเสนา นายเพงจัน หนีหาได้ตัวไม่ ๚ะ๏ ขณะนั้นภอกำปั่นอังกฤษลูกค้าเข้ามาณะกรุง จึ่งมีพระราชโองการฝากกรมหมื่นเทพพิพิตรแก่นายกำปั่น ให้เอาไปปล่อยเสียที่เกาะลังกาทวีป ครั้นสิ้นเสี้ยนสัตรูแล้ว พระองค์ก็ทะนุบำรุงพระพุทธสาศนา แลอาณาประชาราษฎรให้อยู่เอย็นเปนศุข แลพระองค์สัฐาปะนาพระอาราม พระราชทานนามวัดละมุดหนึ่ง วัดครุทธาหนึ่ง สองวัด แล้วฉลองถวายไทยทานแก่สมณะพราหมณายาจกวรรณิภกท่วนน่า มีงานมะโหระสพครบเจดวัน แล้วเสดจกลับยังพระราชวัง ๚ะ๏ ฝ่ายข้างกรุงอังวะนั้น อองเจยะนายบ้านมุกโซโปถวัลย์ราชในเมื่อลุศักราช ๑๑๑๖ ทรงพระนามมางลอง พระองค์มีราชบุตรหกองค์ ราชธิดาสามองค์ พระราชทานถานาศักดิ์ตามผู้ใหญ่ผู้น้อย ให้มังลองไปผ่านเมืองเปะเยียง มองระผ่านเมืองปะดู มังโปผ่านเมืองอันเมียง มังแวงผ่านเมืองปะดุง มังจุไปกินเมืองประดาน โพเชียงไปกินเมืองแปะตะและ พระเจ้ามังลองเสวยราชได้แปดปี ทราบเหตุว่ากรุงศรีอยุทธยาผลัดแผ่นดินใหญ่ จึ่งทรงพระราชดำริห์หาเหตุซึ่งจะมาทำแก่กรุง ภอมีผู้นำเอาความอันหนึ่งขึ้นทูลว่า กำปั่นฝรั่งข้างอังวะใช้ใบลมซัดไปเข้าเมืองตะนาวศรีที่ถ้ำริดบูรี นายกำปั่นชื่ออะรัมะนี ข้างกรุงศรีอยุทธยาเอานายกำปั่นของเราไว้ พระเจ้ามางลองทราบเหตุดีพระไทยนัก จึ่งดำรัศให้เกนพลสะกรรธ์ลำเครื่องเก้าหมื่น ช้างสองร้อย ม้าพันหนึ่ง สำเร็จแล้วก็เสด็จดำเนินทับออกจากกรุงอังวะ ทับน่าเข้าตีเมืองมฤทธิ เมืองตะนาวศรี ๆ มีบอกเข้ามากราบทูลสมเดจพระเจ้าอยู่หัว ๆ ทรงทราบเหตุแล้วตำรัศให้คนเร็วม้าใช้รีบออกไปสืบราชการดู มากราบทูลว่า พะม่ายกมาแต่ข้างทางมฤททางหนึ่ง ทางท่ากระดานหนึ่ง ทางเชียงใหม่หนึ่ง ที่จริงนั้นพะม่ายกมาแต่ข้างมฤททางเดียว พระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงทราบแน่ ก็ตกพระไทย ด้วยมิได้มีวิจารณพระเชาวณญาณ ก็พานเขลาทรงเชื่อเอาทั้งสามทาง จึ่งดำรัศให้พระยาพิไชยสงคราม นามชื่อพระปลัดชู พระจุลา หลวงศรียศ หลวงราชพิมล ขุนศรีวรคันท์ ห้าคนคุมพลห้าพันออกไปต้านทานข้างมฤทก่อน ๚ะ๏ แล้วเกนพระยาราชสงคราม พระยาไชยา พระยามหาเสนา พระยาเพชพิไชย พระยาสมบัตธิบาล พระยาตะนาว พระยาพัทลุง หลวงกระ แปดคนนี้คุมพลคละพัน แล้วให้พระยาอะไภยราชาถืออาญาสิทธิ เปนแม่ทัพยกไปรับทางเชียงใหม่ ๚ะ๏ แล้วเกนทิพเสนา ราชามาตย์ ทิพรักษา ราชาบาล วิสุทธิโยธามาตย์ ราชโยธาเทพ หลวงศักดิ์ หลวงสิทธิ หลวงฤทธิ หลวงเดช สิบคนคุมพลคละพัน ให้พระยาอะไภยมนตรีเปนแม่ทัพใหญ่ ยกไปจุกไว้ทางท่ากระดาน ๚ะ๏ ครั้นทรงทราบว่า ทางมฤทพะม่ายกมามาก ก็ให้พระยายมราชเปนทับน่าคุมพลคลสองหมื่น ให้พระยาธรรมาถืออาญาสิทธิเปนแม่ทับคุมพลสามพัน ยกเพิ่มเติมไปตั้งณะเมืองกุยบูรี พม่ายกขึ้นมาตีทัพพระยายมราชณะแก่งตุ่มแตก แล้วยกแยกไปตีกองปลัดชู ซึ่งตั้งอยู่ตำบลอ่าวขาวริมทะเล พระยาธรรมาจะยกไปช่วยพระยายมราชก็ไม่ทัน จึ่งแบ่งไพร่ห้าร้อยไปช่วยกองปลัดชูรบกันอยู่ประมาณกึ่งวัน กองปลัดชูก็แตกพ่ายมา ๚ะ๏ พระเจ้าอังวะก็ดำเนินทับเข้ามา ณะแขวงเมืองกุยบูรีเมืองปรานบูรี ขณะนั้นกองสอดแนมพะม่า จับไทยชาวบ้านบ่อได้สามคนเข้าไปถวายพระเจ้าอังวะทูลว่า บังอาจออกด้อมมองดูกองทับ พระเจ้าอังวะจึ่งมีกระทู้ถามว่าเองเปนแต่ชาวที่คนชนบทบ้านป่า เมื่อฆ่าศึกมาองอาจมิได้เกรงพระราชอาญา ออกด้อมมองสืบกองทับกูผู้เปนกระษัตริย์ ใครใช้สอยจงว่าไปแต่ตามจริง ซายผู้หนึ่งจึ่งกราบทูลว่า พระอาญาเปนล้นเกล้า ซึ่งจะไม่เกรงพระเดชเดชาแลมีผู้ใช้สอยมาสืบทับ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวนั้นหามิได้ ซึ่งอาจหาญมิได้กลัวความตาย มาทั้งนี้ด้วยปู่อย้าตายายสั่งกำหนดไว้ว่า ลุศักราช ๑๑๒๒ ปีมะโรงโทศก จะมีพระมหากระษัตราธิราชเจ้า ผู้กอบด้วยพระกฤษฎานุภาพได้ปราบดาภิเศก ในเสวตรฉัตรเปนบรมขัติยามหาพิเศศในกรุงภูกามประเทศทิศอัศฎง จะเสดจพระราชตำเนินพยุหจัตุรงค์มาทางนี้ ปราบอะรินราชไพรีกลียุกข์ ทะนุบำรุงพระพุทธสาศนา ประชาราษฎรไม่เลือกหน้า ข้าพเจ้าเกิดมาไม่เคยเหน จึ่งกล้าชวนกันมาแอบเร้น คอยชมบรมโพธิสมภารเจ้า จึงสมคำผู้ใหญ่เล่าสืบๆมา แล้วแต่จะโปรด พระเจ้าอังวะได้ทรงฟังดั่งนั้นก็มีพระไทยยินดี จึ่งดำรัศให้พระราชทานตราภูมคุ้มห้ามแก่ชายทั้งสาม แล้วพวกพ้องให้ตั้งทำมาหากินอยู่ตามภูมลำเนา ๚ะ๏ พระเจ้าอังวะจึ่งตำเนินทับล่วงเมืองกุยบูรี เมืองปรานบูรี แลตีเมืองเพชรบูรี เมืองราชบูรี ได้เปนลำดับมา ๚ะ๏ ขณะนั้นสมเดจพระอนุชาธิราชลาผนวชออกมาว่าราชการแผ่นดิน ให้ถอดจำเจ้าพระยาอะไภยราชา พระยายมราช พระยาเพชรบูรี ออกจากสังขลิก แล้วตำรัศให้เกนพลทหารขึ้นรักษาน่าที่เชิงเทินรอบพระนคร กำแพงตามน่าพระราชวังนั้นให้รื้อเสีย เอาไม้ขอนศักปักปิดประตูน้ำประตูบกทั้งรอบกรุง ให้พระยากะลาโหม พระยารัตนาธิเบศ พระยาราชบังสัน ยกออกตั้งค่ายณะบ้านตาลาน ๚ะ๏ อนึ่งให้พันทนาพระยาราชมนตรี จะหมื่นศรีสรรักษ แล้วให้มีกระทู้ถามว่าเข้าไปคบหาทำชู้ด้วยข้างใน ครั้นเปนสัจแล้วให้ลงพระราชอาญาคละยกจำคงไว้สามวัน พระยาราชมนตรีตายให้เอาไปเสียบประจานไว้ณะประตูไชย ๚ะ๏ ฝ่ายทับน่าพะม่ายกมาตีค่ายซึ่งตั้งอยู่ตาลานนั้น แตกพ่ายเข้ามา พระยากระลาโหม ขึ้นช้างหนีมาถึงทุ่งวัดนนทรี พะม่าควบม้าไล่ตามมาทัน แทงพระยากระลาโหมตาย พระยายมราชนั้น ต้องหอกซัดเปนหลายแห่ง หนีเข้ามาได้ อยู่ประมาณเก้าวันสิบวันจึ่งตาย พระยาราชบังสันนั้นยิงปืนแย้งเอาพระยารัตนาธิเบศ ครั้นแตกหนีเข้ามาถึงแล้วหาเข้าเฝ้าไม่ เปนพวกปืนราชมนตรี ให้สืบได้ตัวมา ลงพระอาญาเฆี่ยนยกหนึ่งแล้วให้พันทนาไว้ ประมาณแปดวันก็ตาย จึ่งเอาไปเสียบไว้ณะประตูไชย ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าอังวะตำเนินทับเข้ามา ตั้งณะทุ่งบางกุ่มบ้านกระเดื่อง กองน่าตั้งณะโพธิ์สามต้น จึ่งหลวงอะไภยพิภัทธจัดจีนนายก่ายสองพันยกออกไปจะตั้งค่าย พะม่าข้ามแม่น้ำโพสามต้นมาตีกองทับจีนก็แตกลงน้ำ พะม่าเหนได้ทีก็ไล่ติดตามฆ่าฟันมาถึงปรกวัดทะเล กองหมื่นทิพเสนาตั้งอยู่ที่นั่นแลเหนก็พลอยแตกข้ามน้ำมาด้วย เสียผู้คนเปนอันมาก พะม่าก็ยกกองทับตามเข้ามาตั้งค่าย ณะพะเนียดวัดเจดีย์แดง ครั้นณะเดือนห้าแรมแปดค่ำปีมะโรงโทศก พะม่าไปตีท้ายคูทั้งสองฟาก บันดาครอบครัวชายหญิงซึ่งอยู่บกนั้น พะม่าจับได้มัดผูกฆ่าฟันตายเปนกอง ๆ ที่อยู่อัดแอกันทั้งแม่น้ำ พะม่าลงเรือได้ไล่ฆ่าฟันล้มตายเปนอันมาก แลเผากำปั่นวิลันดาแลเรือใหญ่น้อยเสีย อาสพลอยเต็มทั้งแม่น้ำจนกินมิได้ ๚ะ๏ ครั้น ณะเดือนห้าแรมสิบสี่ค่ำ พม่าเอาปืนใหญ่มาตั้งณะวัดราชพรี วัดกระษัตรา ยิงเข้ามาในกรุง พระเจ้าอยู่หัวเสดจทรงช้างต้นพลายแสนพลพ่าย ไปทอดพระเนตรกำชับน่าที่ณะวัดสวนหลวง วัดสพสวรรค์แลป้อมมหาไชย ๚ะ๏ ครั้นเพลาเอย็นพม่าเลิกข้ามฟากไปข้างวัดภูเขาทอง ถึงเพลาเช้าขึ้นค่ำหนึ่งเดือนหก พม่าเอาปืนใหญ่เข้ามาตั้งณะวัดน่าพระเมรุ จังกายิงระดมเอาพระราชวัง แลพระที่นั่งสุริยามรินทร์ทั้งกลางวันกลางคืน ภอพระเจ้าอังวะทรงประชวรลง จึ่งให้ถอยทับไปทางเมืองเหนือ แต่ณะเดือนหกขึ้นสองค่ำปีมโรงโทศก ถึงตำบลตะเมาะกะโลกนอกด่านระแหง เปนระหว่างมัชฌิมวิถีก็สวรรคต เสวยราชสมบัติได้แปดปี ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าอยู่หัวจัดให้พระยายมราช พระสีห์ราชเดโช ไปตามกองทับพม่าจนพ้นด่านระแหง แล้วก็กลับมา ฝ่ายข้างมุขมนตรีกรุงอังวะ ก็อัญเชิญพระสพไปยังกรุงภูกามประเทศราชธาณี แล้วก็พร้อมกันอัญเชิญมังลองราชโอรส ขึ้นดำรงค์อาณาจักรรักษาราชประเพณี โดยขัติย์จาริตพระมหากระษัตราธิราชเจ้าแต่ก่อน ๚ะ๏ ฝ่ายข้างกรุงเทพมหานครนั้น ให้ขุดได้ปืนกระสุนสามนิ้วสี่นิ้ว ณะที่ค่ายหลวงพระเจ้าอังวะนั้นสี่สิบบอก แล้วเสดจพระราชตำเนินขึ้นเฝ้าสมเด็จพระเชษฐาธิราช ณะพระที่นั่งสุริยามรินทรเนือง ๆ ๚ะ๏ ครั้นณะเดือนแปดข้างขึ้น เสดจพระราชตำเนินออกไป ณะวัดโพธิ์ทองคำหยาดทรงผนวช แล้วกลับเข้ามาณะวัดประดู่ ขณะนั้นให้รื้อพระที่นั่งสุริยามรินทร์ลงทำใหม่ สิบเดือนจึ่งสำเร็จ ๚ะ๏ ครั้นอยู่มาพระยาระญาเจ้าเมืองไทร ได้ช้างเล็บรอบท้าวตัวหนึ่งเข้ามาถวาย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดีพระไทย ประทานพระราชบำเหน็จรางวัล แล้วขนานนามพระบรมฉัดทันต์มหันตะพงษามกุฎิกุญชร ยังมีช้างเนียมตัวหนึ่งเข้าพะเนียดณะกรุง เสดจไปทรงจับได้ พระราชทานนามพระบรมช้าง ๚ะ๏ ยังมีนายกำปั่นชื่ออะลังกะปูนี นำเอาสิงหโตตัวหนึ่ง กับนกกระจอกเทษตัวหนึ่ง เข้ามาถวายแก่สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัว ๆ มีพระไทยยินดีโปรดพระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่อะลังกาปูนีผู้มีใจสาพิภักตร์ ๚ะ๏ อนึ่งแต่ครั้งมางลองตีได้เมืองหงษาวดีนั้น มอญชาวเมืองเมาะตะมะอพยพหนีเข้ามาอยู่ณเมืองทวายประมาณพันเสศ ทรงพระกรุณาให้รับเข้ามาไว้ณกรุง ถึงเดือนอ้ายปีมะโรงโทศก มอญไปประชุมกันอยู่ณเขานางบวชคิดกระบถขึ้น ยกเข้าตีเอาเมืองนครนายก พระเจ้าแผ่นดินดำหรัศให้พระสีห์ราชเดโชเปนแม่ทับ พลสองพันยกออกไป ฝ่ายมอญหาอาวุธมิได้ เสี้ยมแต่ไม้ตะบองขว้าง ทับพระสีหราชเดโชแตกเข้ามา จึ่งให้พระยายมราชเปนแม่ทับคุมพลทหารสองพัน พระยาเพชรบูรีเปนทับน่าพลพันหนึ่ง ยกไปตีมอญใหม่แตกหนีไปทางหล่มศัก ตั้งอยู่เหล่าตะกดแร่ ๚ะ๏ ครั้นณปีมะเสงตรีศก พระเจ้าอังวะให้หม่องหม่องราชบุตร อันผ่านเมืองพองคานั้น ยกไปตีเมืองเชียงใหม่ ข้างเจ้าเมืองลำพูนนั้น ภากันอพยพเข้ามาพึ่งพระราชสมภารณกรุงศรีอยุทธยาทางด่านเมืองพิไชย ฝ่ายเมืองเชียงใหมให้มีศุภอักษรมาว่า จะขอเอาพระเดชเดชานุภาพพระบาทสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวณกรุงเทพมหานครเปนที่พึ่ง ขอกองทับไปช่วย พระเจ้าอยู่หัวให้เกนทับหัวเมืองฝ่ายเหนือ พระยาพระพิศณุโลกยเปนแม่ทับ พลทหารห้าพันยก ไปถึงตำบลบ้านระแหง จึ่งได้ข่าวว่าเมืองเชียงใหม่เสียแก่พม่าแล้ว แลกองทับพม่านั้นค้างระดูอยู่เมืองเชียงใหม่ ๚ะ๏ ฝ่ายข้างพระเจ้าอังวะทรงพระประชวนลง ก็ถึงพิราไลยไปสู่ปรโลกย์ ในศักราชปี ๑๑๒๗ ปี เสดจดำรงค์แผ่นดินอยู่สามปี จึ่งพระอนุชาธิราชซึ่งทรงพระนามว่ามองระนั้น เสดจขึ้นเถลิงถวัลย์ราชราไชยสวรรยา ณกรุงรัตนบุระอังวะ สืบสันตะติสุริยวงษดำรงราชประเพณีสืบต่อไป ๚ะ๏ ฝ่ายหุยตองจารู้ว่า กรุงอังวะผลัดแผ่นดินใหม่ ก็คบคิดกับชาวเมืองทวาย ไล่ฆ่าฟันพม่าซึ่งอยู่รักษาเมืองเสียสิ้น หุยตองจาก็ได้เปนใหญ่ จึ่งแต่งเครื่องมงคลราชบรรณาการ มีดอกไม้ทองเงินเปนต้น ส่งเข้ามาณกรุง ๚ะ๏ ครั้นณเดือนแปดปีมะเมียจัตวาศก น้ำเหนือหลากมาแดงเหมือนน้ำดินแดง อยู่สามวันหายไปเปนปรกติ ฝ่ายกรมหมื่นเทพพิพิตร ซึ่งให้ส่งออกไปเสียณะเกาะลังกาทวีปนั้น ไปเที่ยวอยู่ณะเมืองแขกเมืองพราหมณ์ รู้กิจติศรับท์เล่าฦๅไปว่า กรุงศรีอยุทธยาเสียแก่มางลองแล้ว จึ่งโดยสารกำปั่นลูกค้าเมืองเทษเข้ามาณเมืองมฤท พระเจ้าอยู่หัวให้รับไว้ณะเมืองตะนาวศรี แล้วแต่งข้าหลวงไปกำกับ ครั้นถึงปีวอกฉศก เดือนแปดน้ำเหนือหลากมาอีก แดงเหมือนน้ำดินแดงจาง อยู่สองวันหายเปนปรกติไป ๚ะ๏ ครั้นณเดือนอ้าย เสดจนมัศการพระฉาย แรมอยู่สามเวน แล้วเสดจกลับลงมาสมโพชพระพุทธบาทเจดวัน จึ่งดำเนินกลับยังกรุงเทพมหานคร อนึ่งดำรัศให้พระวิสูทธโยธามาตย ฝั้นเชือกน้ำมันทำรอกไว้ให้มาก ถ้ามีการศึกมา จะเอาไม้ตั้งขาอย่างบนป้อมแลเชิงเทิน แล้วจะเอารอกติดเอาปืนกระสุนสามนิ้วสี่นิ้ว ชักขึ้นไปให้สูง แล้วจะล่ามฉะนวนยิงมิให้ฆ่าศึกเข้ามาใกล้ ๚ะ๏ ครั้นณะเดือนสามปีวอกฉศก พระเจ้าอังวะดำรัศให้มังมหานระธาหนึ่ง มคราโบหนึ่ง มังยีเจสูหนึ่ง สดูกามนีหนึ่ง แยงตะยุหนึ่ง ยกกองทับเข้ามาตีเมืองทวาย เมืองตะนาวศรี บอกข้อราชการเข้ามากราบบังคมทูลว่า พม่ายกมาติดเมืองทวาย แลหุยตองจาเจ้าเมืองทวายนั้น ก็หนีเข้ามาณเมืองตนาวศรี ครั้นพม่าตีเมืองมฤทเมืองตนาวแตกแล้ว หุยตองจาหนีเข้าทางเมืองชุมภร พม่าก็ยกติดตามเข้ามาเผาเมืองชุมภรเสีย แล้วยกไปตีเมืองทวาย แลหุยตองจานั้นทรงพระกรุณา ให้ส่งไปไว้ณเมืองซลบุรี แต่กรมหมื่นเทพพิพิธนั้น ให้ส่งไปเมืองจันทบุรี แล้วดำรัศให้พระพิเรนทรเทพ เปนแม่ทับออกไปตั้งอยู่กาญจนบุรี ครั้นถึงเดือนเจดมังมหานรธา ให้แยงตะยุกลับขึ้นไปแจ้งราชการณกรุงอังวะ แล้วจึ่งปฤกษากันว่า เรามาตีเมืองทวายได้ บัดนี้หาผู้ใดจะต้านทานต่อฝีมือทะแกล้วทหารเราไม่ ควรเราจะเข้าไปรบชิงเอาซึ่งเสวตรฉัตร ณกรุงเทพมหานคร เปนความชอบถวายแก่พระเจ้าอังวะ เหนจะได้โดยสะดวก ๚ะ๏ ครั้นปฤกษาพร้อมกันแล้ว ก็ดำเนินพลพยุหโยธาทับ สรรพด้วยเครื่องสาตราวุธทั้งปวง เข้ามาตีเอาเมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรี เมืองกาญจนบุรี สมเดจพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบก็ตกพระไทย ให้ชุมนุมมุขมนตรีปฤกษาเหนพร้อมกัน จึ่งมีตราออกไปให้เจ้าพระยานครศรีธรรมราช เร่งยกออกไปปิดทางข้างมฤทไว้ แล้วให้เจ้าพระยาจักรีเปนแม่ทับใหญ่ ถือพลหมื่นห้าพัน ยกออกไปตั้งรับที่เมืองราชบุรีทับหนึ่ง เพชรบุรีทับหนึ่ง แก่งตั้งทับหนึ่ง พระยากลาโหมตั้งคุมคนเจดพันยกไปตั้งรับทางท่ากระดาน ๆ นี้พม่าหาได้ยกมาไม่ ให้พระยามหาเสนาคุมพลหมื่นสองพัน ยกไปตั้งรับไว้นครสวรรค์ พระยาอำมาตยคุมพลหมื่นห้าพัน ยกไปตั้งรับไว้ไชยนาท ฝ่ายทับพม่ายกติดตามเข้ามาทุกทาง ๚ะ๏ ฝ่ายทับไทยข้างราชบุรี ก็รบพุ่งต้านทานรับอยู่หลายวัน เหนเหลือกำลังแล้ว เพลาวันหนึ่งจึ่งคิดกันเอาสุราตรอกช้าง แลคนรับประทานเหลือกำลัง ก็รบพุ่งฟั่นเฟือนซวนเซ พะม่าก็ตีได้เมืองกาญจนบุรี เมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรีได้แล้ว ยกมาบรรจบกัน ณบ้านลูกแก ขณะนั้นเรือลูกค้ามาคั่งอยู่เปนอันมาก พม่าไล่ฆ่าฟันในน้ำแลบกจับเปนไปเปนอันมาก แล้วพม่ายกมาตั้งค่ายอยู่ตอกระออม แลดงรังหนองขาว ๚ะ๏ ครั้นทรงทราบเหตุ ก็มีตราคาดโทษแม่ทับแม่กองไปทุกทาง แล้วแส้งให้กิติศรับท์รู้ไปถึงพม่าว่าเปนอุบาย แกล้งรบพุ่งเสียทีให้พม่าถลำมาแล้ว จึ่งจะฆ่าเสียให้หมดทีเดียว จึ่งเกนทับหัวเมืองปากใต้ไปตั้งรับณบางบำรุ ทับเรือตั้งอยู่ณบางกุ้ง แล้วให้เกนทับเมืองพระพิศณุโลกย มาตั้งอยู่ณวัดภูเขาทอง ทับเมืองนครราชสีมา ตั้งณวัดพระเจดีย์แดง แล้วให้พระยาธรรมาคุมกองทับนครราชสีมา ลงมารักษาเมืองธนบุรี อนึ่งพระยาพระพิศณุโลกย ให้พระยาพลเทพกราบทูลพระกรุณา ลาขึ้นไปปลงสพมารดา ให้หลวงโกษามหาดไทย หลวงเทพเสนา คุมกองทับอยู่ณะวัดภูเขาทองแทน โปซุบพลาพม่ายกมาแต่เมืองเชียงใหม่ ตีเข้าทางด่านเมืองสวรรคโลกย มาตั้งค่ายณเมืองศุโขไทย พระยาพระพิศณุโลกย์ยกพลทหารไปช่วยล้อมพม่าณะเมืองศุโขไทย ๚ะ๏ ขณะนั้น เจ้าฟ้าจิตรต้องโทษติดเวนจำอยู่ในพระราชวัง หลวงโกษาคิดอ่านให้หนืออกณะวัดภูเขาทอง แล้วก็พาเลิกทับไป ทรงพระกรุณาแต่งข้าหลวงให้ไปตาม เปนหลายนายหาทันไม่ เจ้าฟ้าจิตรไปถึงเมืองพระพิศณุโลกย์ เข้าเก็บเอาทรัพย์เงินทองของพระยาพระพิศณุโลกย์สิ้น ภรรยาพระพิศณุโลกย์หนีเล็ดลอดล่องลงมา ๚ะ๏ ฝ่ายพระยาพระพิศณุโลกย์รู้ก็เลิกทับซุ่มอยู่หลังเมืองพิจิตร ซ่องสุมผู้คนได้มาก แล้วก็ยกขึ้นไปตั้งค่ายท้ายเมืองพระพิศณุโลกย์ รบกับพักพวกจ้าวฟ้าจิตรหลายเพลา เจ้าฟ้าจิตรจึ่งแตกหนีออกจากเมือง ตามจับได้ใส่กรงส่งลงมาถึงท้ายทุ่งสากเหล็ก ฝ่ายผู้คุมรู้ว่าพม่าตั้งอยู่บ้านกูบ ก็ภาเจ้าฟ้าจิตรกลับขึ้นไปณะเมืองพิจิตร พระยาพระพิศณุโลกย์จึ่งให้ลงมารับเจ้าฟ้าจิตร ขึ้นไปถ่วงน้ำเสียณะเมืองพระพิศณุโลกย์ ๚ะ๏ ขณะนั้นเมืองลำพูน ซึ่งให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ณะบางล่าง แลเหล่าวงษวานนั้น ภาอพยพหนีไปทางตะวันออกสิ้น ครั้นณะเดือนสิบ พม่ายกทับเรือลงมา ตีค่ายบางบำรุแตก แล้วยกมาตีเมืองนนท์บูรีได้ ตั้งภักพลอยู่สามวัน จึ่งเลิกทับถอยออกไปอยู่ณะตอกะออม ๚ะ๏ ขณะนั้นกำปั่นอังกฤษลูกค้า บันทุกผ้าสุรัศเข้ามาจำหน่ายณะกรุง โกษาธิบดีให้ล่ามถามแก่นายกำปั่นว่า ถ้าพม่าจะเข้ามารบเอาเมืองธนบูรีนายกำปั่นจะช่วยฤๅจะไปเสีย นายกำปั่นว่าจะอยู่ช่วย แต่ขอให้ถ่ายมัดผ้าขึ้นให้กำปั่นเบาก่อน ครั้นถ่ายมัดผ้าขึ้นแล้ว กำปั่นก็มาถอดอยู่ณะบางกอกใหญ่ ๚ะ๏ ครั้นณะเดีอนญี่ พม่าค่ายตอกะออมยกเข้าตีเอาเมืองธนบูรีอีก เอาปืนใหญ่ขึ้นบนป้อมวิไชยเยนทร์ยิงโต้ตอบกับกำปั่นจนเพลาค่ำ กำปั่นจึ่งถอนสมอลอยหนีขึ้นไปตามน้ำอยู่เหนือเมืองนนท์ ๚ะ๏ ฝ่ายทับพระยายมราช ซึ่งตั้งอยู่ณะเมืองนนท์นั้น ก็เลิกหนีขึ้นไปเสีย พม่าตั้งอยู่เมืองธนบูรี แล้วจึ่งแบ่งกันขึ้นมาตั้งค่ายณะวัดเขมา ตำบลวัดตะลาดแก้วทั้งสองฟาก ครั้นเพลากลางคืนนายกำปั่นจึ่งขอเรือกราบมาชักสลุบล่องลงไปไม่ให้มีปากเสียง ครั้นตรงค่ายพม่าณะวัดเขมาแล้ว จุดปืนรายแคมพร้อมกันทั้งสองข้าง ฝ่ายพะม่าต้องปืนล้มตายเจบลำบากแตกวิ่งออกจากค่าย ครั้นน้ำขึ้นเพลาเช้า สลุบถอยมาหากำปั่น ซึ่งทอดอยู่ณะตลาดขวัน ๚ะ๏ ฝ่ายพม่าก็ยกมาเข้าค่ายเมืองนนท์บูรี ครั้นเพลาค่ำพวกอังกฤษลูกค้าชักสลุบล่องลงไป จุดปืนรายแคมยิงค่ายเมืองนนท์ ฝ่ายพม่าหนืออกไปแอบอยู่นอกค่าย อังกฤษแลไทยลงกำปั้นเข้าไปเกบของอยู่ในค่าย พะม่าจึ่งกลับเข้ามาไล่คนในค่ายแตก ตัดศีศะล้าต้าอังกฤษได้ เสียบไว้หน้าค่าย นายกำปั่นจึ่งขอปืนกระสุนสิบนิ้วสิบบอก จะลงไปตีค่ายพะม่า แล้วจะขอเรือรบสิบลำ ครั้นเพลาบ่ายกำปั่นก็ล่องลงไปถึงเมืองธนบูรีแล้ว จึ่งทอดสมออยู่ ขณะนั้นไทยซึ่งเอาเรือน้อยลงมาเก็บผลไม้หมากพลูณสวน อังกฤษจับขึ้นไปบนกำปั่นมากกว่าร้อยก็ใช้ใบหนีไป ครั้นเพลาค่ำไทยหนีขึ้นมาได้สองคนจึ่งรู้เนื้อความ ๚ะ๏ ฝ่ายพม่ายกขึ้นไปตั้งอยู่บางไทรแลสีกุก ขณะนั้นพระอาจาริย์วัดเขานางบวช มาอยู่ณะวัดบางระจัน ขาวบ้านแขวงเมืองวิเสศไชยชาน เมืองสุพรรณ์บุรี เมืองสิงคบุรี เมืองสรรคบุรี อพยพเข้าไปพึ่งพระอาจาริย์อยู่เปนอันมาก ๚ะ๏ ฝ่ายพม่าขึ้นไปเกลี้ยกล่อมชาวค่ายบ้านบางระจัน แต่งกันลงมาฆ่าพะม่าเสียกลางทางเปนอันมาก พม่าจึ่งแบ่งกันทุกค่ายยกขึ้นไปจะรบ ฝ่ายชาวค่ายบ้านบางระจันยกออกตั้งอยู่นอกค่ายไล่ตลุมบอนแทงฟันพะม่าล้มตายเปนอันมาก ข้างเสนาบดีผู้ใหญ่ผู้น้อยยกออกไปจะตีค่ายพะม่า ซึ่งตั้งอยู่ณะวัดป่าฝ้าย ฝ่ายปากน้ำประสบให้สานสีชุกแบกไป ถ้าจะตั้งที่ใดเอาสีชุกตั้งเรียงให้ชิดกัน แล้วจะขุดดินใส่บังเปนค่าย แลคนยกไปวันนั้นมากเตมทุ่ง แลเสนาบดีให้อยุดแคร่ที่ใดก็ให้อยุดพร้อม ๆ กันรอไป ครั้นเหนพม่าวัดป่าฝ้ายขี่ม้าข้ามน้ำไปหาค่ายใหญ่ฟากตวันตกเปนหลายม้า จึ่งขับคนเข้าตี พะม่าในค่ายยิงปืนออกมาถูกล้มลงห้าหกคน คนทั้งนั้นก็ถอยมาสิ้น ครั้นเพลาเอย็นก็เลิกทับกลับมา ประมาณสองวันสามวันพม่ายกไปตีค่ายบ้านบางระจันอีก ทำการกวดขันขึ้นกว่าเก่า ชาวค่ายบ้านบางระจันให้เข้ามาขอปืนใหญ่สองบอก ปฤกษากราบทูลว่า ถ้าค่ายบ้านบางระจันเสียแก่พม่า ๆ จะเอาปืนเข้ามารบกรุง จะให้นั้นมิบังควร ครั้นรุ่งขึ้นพะม่ายกไปตั้งค่ายณะบ้านขุนโลก นายจันเขี้ยวคุมภักพวกออกมาตีฆ่าพะม่าเสีย ประมาณห้าร้อย ตัวก็ต้องปืนตาย ๚ะ๏ ฝ่ายข้างในกรุงยกไปตีค่ายปากน้ำประสบอีก พม่าให้ยกหาบคอนออกหลังค่ายทำทีจะหนี พวกอาทมาถชวนกันวิ่งเข้าใกล้ค่ายพะม่า พะม่าเอาม้าไล่โอบหลังก็ถอยลงมาโพสามต้น จะมื่นศรีสรรักษ์ จะมื่นเสมอใจราช ขี่ม้าลงข้ามน้ำหนีมาฟากตะวันออก แต่พวกพระยาตากรบรออยู่ ค่อยข้ามมาต่อภายหลัง อนึ่งพระยารัตนาธิเบศร์ออกไปเรี่ยไรทองหล่อปืนใหญ่ขึ้นณบ้านบางระจันสองบอก ครั้นพม่ายกไปตีอีก ค่ายบ้านบางระจันก็แตกล้มตายเปนอันมาก ๚ะ๏ ขณะนั้นกรมหมื่นเทพพิพิตรเข้ามาอยู่ณเมืองปราจินทบุรี อพยพราษฎรเข้ามาอยู่ด้วยเปนหลายหมื่น พม่าจึ่งยกทับเรือออกไปตีเมืองปราจินทบุรีแตก กรมหมื่นเทพพิพิตร พระยารัตนาธิเบศ หนีขึ้นไปอยู่เมืองนครราชสีห์มา ๚ะ๏ ขณะนั้นโปแมงแม่ทับสี่กุก ก็ป่วยเปนค่ายตาย โปสุพะลาแม่ทับปากน้ำประสบ เปนใหญ่สิทธิ์ขาดอยู่แต่ผู้เดียว ยกเข้ามาตั้งค่ายณโพสามต้น แล้วให้มาตั้งค่ายณบ้านป้อมวัดท่าการ้อง แลก่อป้อมๆสูง ฝ่ายข้างในกรุงแต่งทับเรือขึ้นไป จะตีค่ายวัดท่าการ้อง พะม่ายิงปืนมาถูกนายเริก ซึ่งยืนรำดาบอยู่น่าเรือ ตกน้ำลงคนหนึ่ง ก็ถอยทับกลับมาสิ้น ๚ะ๏ วันนั้นพพม่าตั้งค่ายณะวัดภูเขาทอง พระศรีสุริยภาค ซึ่งเปนนายป้อมท้ายซัดกบ ให้ประจุปืนพระมหากาลมฤษตยูราชสองซัดสองลูก ยิงไปนัดหนึ่งปืนก็ร้าวราน ครั้นเพลาค่ำไทยหนีมาคนหนึ่งให้การว่า ปืนมหากาลมฤษตะยูราช ซึ่งได้ยิงออกไปนั้น ถูกเรือรบพะม่าล่มสองลำคนตายหลายคน แล้วพะม่ายกเข้ามาตั้งค่ายวัดกะชาย วัดพลับพลาไชย วัดเต่า วัดสุเรน วัดแดง ๚ะ๏ ครั้นเดือนสิบสองแต่งทับเรือให้พระยาตาก พระยาเพชรบูรี หลวงสุรเสนี ออกไปตั้งอยู่วัดใหญ่ คอยสกัดเรือรบพะม่า ซึ่งขึ้นลงหากัน อนึ่งพะม่าค่ายบางไทร วัดโปรดสัตวยกทับเรือกลางทุ่ง พระยาเพชรบูรียกออกตีณะวัดสังฆาวาส ก็ตายในที่รบ ๚ะ๏ พระยาตากหลวงศรเสนีถอยมาแอบดู หาช่วยหนุนไม่ แล้วไปตั้งอยู่ณะวัดพิไชย ๚ะ๏ ฝ่ายข้างในกรุงเกนให้มาตั้งค่ายอยู่ณะวัดไชยวัฒนาราม จีนออกไปตั้งณะคลองสวนพลู ครั้นเดือนอ้ายโปซุบพลา ให้กองทับเมืองแพร่ มาตั้งโพธิ์สามต้นข้างฟากตะวันออก กองทับเมืองแพร่ยกหนีไปทางพระพุทธบาท ให้ถือหนังสือเข้ามาถึงพระยายมราชว่า พระเจ้าทรงธรรมมีพระคุณอยู่ จึ่งมิได้อยู่รบกรุงด้วยพะม่า ๚ะ๏ ครั้นเดือนญี่ปีจออัฐศกเพลาค่ำ เกิดเพลิงขึ้นณะท่าทรายไหม้ลามมาตะพานช้าง ค่ามติดป่ามะพร้าว ป่าโทน ป่าถาน ป่าทอง ป่าหย้า วัดราชบุรณะ พระมหาธาตุ เพลิงไปหยุดเพียงวัดฉัดทันต์ ๚ะ๏ อนึ่งจีนค่ายคลองสวนพลูสี่ร้อยเสศ ชวนกันขึ้นไปทำลายพระพุทธบาท เลิกเอาเงินดาศพื้น ทองหุ้มพระมณฑปน้อยลงมาสิ้น ครั้นพระเจ้าแผ่นดินทราบจึ่งให้ว่าแก่นายค่าย ให้สืบเอาเงินทองของพระพุทธบาททรงส่งเข้ามา ๚ะ๏ ขณะนั้นพะม่ายกเข้ามาเผาพระที่นั่งพะเนียดเสีย แล้วตั้งค่ายณะพะเนียดแลวัดสามพิหาร วัดมณฑป แลตั้งล้อมรอบกรุง ๚ะ๏ ฝ่ายข้างในกรุงนั้นเกิดโจรปล้นมิได้ขาด คนอดโซเปนอันมาก ที่หนีออกไปหาพม่าก็เนือง ๆ แล้วพม่าทำตะพานข้ามทำนบรอเข้ามา ขุดอุโมงค์รุ้งเชิงกำแพง แลตั้งป้อมสาลาดิน ตั้งค่ายวัดนางปลื้มก่อป้องสูง เอาปืนใหญ่ขึ้นยิง แล้วพะม่ายกมาตั้งค่ายวัดศรีโพ ๚ะ๏ ฝ่ายข้างในกรุงให้ชักปืนปราบหงษาวดี ออกไปตั้งริมท่าทราย กระสุนแรกประจุดินน้อยยิงต่ำไปถูกตะหลิ่ง ครั้นประจุดินมากยิ่งขึ้นโด่งข้ามวัดศรีโพไป จึ่งดำรัศให้พระยากระลาโหม แลข้าหลวงออกไปเจรจาความเมืองกับพะม่า ณะค่ายพะเนียดว่า กรุงเทพมหานครกับกรุงอังวะร่วมราชสโมสรสามคีมาแต่ก่อน บัดนี้เหตุผลเปนประการใด จึ่งยกกองทับมาย่ำยีให้ร้อนอกสมณพราหมณ์ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ๚ะ๏ ฝ่ายพะม่าว่ากรุงศรีอยุทธยาแต่ก่อนเคยน้อมนำบรรณาการไปออกแก่กรุงหงษาวดี แลสืบมาบัดนี้ละโบราณราชประเพณีเสีย ตั้งแขงเมืองอยู่ จึ่งได้ยกกองทับมารบ ครั้นพระยากลาโหมกลับเข้ามากราบทูลพระเจ้าแผ่นดิน ๆ ตำรัศว่าอ้ายพะม่าว่าเอาเปล่า ๆ ๚ะ๏ แต่พะม่าล้อมกรุงอยู่ครั้งนั้นนานถึงสองปีเสศ ขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยอาษาออกรบแตกยับเยินเข้ามา ที่สุดจนขุนนางจีน ขุนนางแขก ขุนนางฝรั่ง ขุนนางมอญ ขุนนางลาว แลนายโจรนายซร่อง ก็ชวนกันออกอาษาตีกองทับพะม่าที่ล้อมกรุงทั้งแปดทิศ ก็มิได้ชะนะ พะม่ากลับฆ่าฟัน ล้มตายแตกเข้ามาทั้งสิ้น ด้วยอายุแผ่นดินกรุงพระนครศรีอยุทธยาถึงกาลขาด จึ่งอาเพทให้เหนประหลาดเปนนิมิตร พระประทานวัดเจ้าพระนางเชิง น้ำพระเนตรไหลลงมาจนพระนาภี ในวังนั้นวัดพระศรีสรรเพชนั้น พระบรมไตรยโลกย์นารถ พระอุระแตก ดวงพระเนตรตกลงมาอยู่ที่ตักเปนอัศจรรย์ พระเจดีย์วัดราชบูรณะนั้น กาบินมาเสียบตายอยู่บนปลายยอดโดยอาเพศ ๚ะ๏ อนึ่งรูปพระนะเรศวรเจ้าโรงแสงใน กระทืบพระบาทสนั่นไปทั้งสี่ทิศ อากาษก็วิประริตไปต่าง ๆ บอกเหตุบอกลางจะเสียกรุง ๚ะ๏ ฝ่ายพม่าก็ยกมารบค่ายวัดไชยวัฒนารามเก้าคืนก็แตก แล้วมารบค่ายจีนคลองสวนพลูสิบห้าคืนจึ่งสำเร็จ ๚ะ๏ ครั้นณวันอังคารเดือนห้าขึ้นเก้าค่ำปีกุญนพศกเพลาบ่ายสี่โมง พะม่ายิงปืนป้อมสูงวัดท่าการ้อง วัดนางปลื้มระดมเข้ามาณะกรุง แล้วเอาเพลิงจุดเชื้อที่รากกำแพงครั้นเพลาค่ำกำแพงทรุดลงน่อยหนึ่ง พะม่าก็เข้ากรุงได้เอาไฟเผาพระราชวัง แลวัดพระศรีสรรเพช ๚ะ๏ ขึ้นเสด็จอยู่ในราชสมบัติเก้าปี พม่าจึ่งทำลายกำแพงกรุงเสีย แล้วกวาดเอากระษัตริย์ขัติวงษ์ แลท้าวพระยาเสนาบดีอพยพทั้งปวงไป ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๑๒๙ ปีกุญนพศก แต่พระเจ้าแผ่นดินนั้นหนีออกไปจากพระนครองค์เดียว ได้ความทุกข์ลำบากก็ถึงพิราไลยไปสู่ประโลกย์ ชนทั้งปวงจึ่งนำเอาพระศพมาแล้วก็ฝังไว้ ๚ะ
34
๏ แผ่นดินพระเจ้าตากสิน
๏ อนึ่งแต่ณวันเสาร์เดือนญี่ขึ้นสี่ค่ำปีจออัฐศก ขณะเมื่อกรุงเทพมหานครยังมิได้เสียนั้น พระเจ้าอยู่หัวอันมีอภินิหาร นับในเนื้อหน่อพุทธางกูรเจ้า ตรัสทราบพระญาณว่า กรุงศรีอยุทธยาจะเปนอันตราย แต่เหตุที่อธิบดีเมืองแลราษฎรมิเปนธรรม จึ่งอุษาห์ด้วยกำลังกรุณา แก่สมณพราหมณาจารย์แลบวรพุทธสาศนาจะเสื่อมสูญ จึ่งชุมนุมพักพวกพลทหารจีนไทย ประมาณพันหนึ่ง สรัพด้วยเครื่องสาตราวุธ ประกอบด้วยทหารผู้ใหญ่นั้น พระเชียงเงิน พรหมเสนา ขุนอภัยภักดี หลวงพิไชยอาษา หมื่นราชเสน่หา หลวงราชเสน่หา ยกออกไปตั้งณวัดพิไชย อันเปนมงคลสฐาน ด้วยเดชบรมโพธิสมภาร เทพยเจ้าอภิบาลรักษาพระบวรพุทธสาศนา ก็ส้องสาธุการบันดานให้วรรษาการห่าฝนตกลงมาเปนมหาวิไชยฤกษ จับเดิมแต่นั้นมาจึ่งให้ยกพลพยุห์กองทัพออกจากวัดพิไชย ฝ่ากองทัพพะม่าออกมาเปนเพลาย่ำฆ้องค่ำ ยามเสาร์ได้รบกันกับพม่า ๆ มิอาจต่อต้านบาระมีได้ ถอยไป ก็ดำเนินด้วยพลทหารโดยสวัสดิภาพไปทางบ้านเข้าเม่า ก็บันลุถึงบ้านสามบัณฑิตย์ ๚ะ๏ เพลาเที่ยงคืนประมาณสองยามเสศ เพลิงเกิดในกรุงเทพมหานคร ไหม้แต่ท่าทรายตลอดถนนหลวง ไปจนถึงวัดฉัตรทันต์ แสงเพลิงรุ่งโรจโชตะนาการ ครั้นได้ทัศนาการเหนก็สังเวศสลดใจ ด้วยอาไลยถึงสมณพราหมณาจารย์ ขัติยวงษาณุวงษแลเสนาพฤฒามาตยราษฎร แลบวรพุทธสาศนามิใคร่จะไปได้ ดุจมีใจย่อหย่อนจากอุษาห ซึ่งตั้งปะนิธานจะแก้กรุงเทพมหานคร กับทั้งบวรพุทธสาศนา เทพยเจ้าจึ่งดลใจให้ตั้งสะติสมปฤดี มีกำลังกรุณาอุษาห ๚ะ๏ ครั้นรุ่งขึ้นณวันอาทิตย์เดือนยี่ขึ้นห้าค่ำ ลุศักราช ๑๑๒๘ ปีจออัฐศก ให้ยกกองทับไปถึงบ้านโพสาวหาร พะม่ายกกองทับติดตามไป จึ่งให้ตระเตรียมพลทหารจีน ทหารไทยไว้ ครั้นกองทับพม่ายกมาถึง จึ่งดำเนินนำหน้าพลทหารออกรบเปนสามารถ พม่าแตกกระจัดกระจายพ่ายไปเกบได้เครื่องสาตราวุธเปนอันมาก จึ่งอยุดประทับแรมอยู่ณะบ้านพรานนก ฝ่ายทแกล้วทหารออกไปลาดเที่ยวหาอาหาร จึ่งภบกองทับพม่ายกมาแต่บางคาง พม่าไล่ติดตามมาถึงที่ประทับ จึ่งขึ้นมากับม้าทหารสี่ม้า ออกรับกองทับพม่าก่อน จึ่งกองทับทั้งปวงตั้งเปนปีกกา ออกรบแซงสองข้าง กองทับพะม่าสามสิบม้า แตกย่นหกหลังลงไปถึงพลเดินท้าว ๒๐๐๐ แตกกระจายไป ๚ะ๏ ฝ่ายทแกล้วทหารทั้งปวง เหนกำลังบุญฤทธิ์เปนอัศจรรย์ดังนั้น ก็ยำเกรง ยกย่องว่า เปนจอมกระษัตริยสมมัติวงษ์ ๚ะ๏ ครั้นรุ่งขึ้นณวันจันทร์เดือนยี่ขึ้นหกค่ำปีจออัฐศก ขุนชำนาญไพรสนแลนายกองสาภิภักดิ์เอาช้างมาถวายพลายห้าพังหนึ่ง เปนหกช้าง จึ่งนำเสด็จดำเนินไปถึงบ้านดง อยุดประทับร้อนในที่นั้น แล้วสั่งให้หาขุนหมื่นพันท์นายบ้านออกมาจะประสาทราโชวาทโดยดี ขุนหมื่นพันท์นายบ้าน มิได้เชื่อบาระมีขัดแขงคิดประทุษร้าย ซ่องสุมทหารโยธาไว้คอยจะปองทำร้าย ๚ะ๏ ครั้นตรัสแจ้งเหตุนั้นแล้ว มิได้จองเวรว่าเปนข้าขอบขันทเสมา มีอิจฉาการ แต่จะให้เปนศุขพร้อมกัน จึ่งให้ทหารไปว่ากล่าวเกลี้ยกล่อมโดยธรมราชประเพณีสามครั้ง ก็มิได้อ่อนน้อมท้าทายอีก ดำริหว่าเปนผลกรรม์แห่งสัตวทั้งปวงแล้ว ๚ะ๏ ครั้นณวันอังคารเดือนยี่ขึ้นแปดค่ำปีจออัฐศก จึ่งขึ้นม้านำพลทหารยี่สิบฝ่าเข้าไป ขุนหมื่นทหารชาวบ้านดงมากกว่าพัน ออกต่อสู้ยิงปืนสกัดน่าหลังทำอันตราย ด้วยเดชบาระมีจะได้ถูกต้องผู้ใดๆ หามิได้ จึ่งขับม้านำหมู่ทหารบุกรุกไล่เข้าไป ให้ทหารปีนขึ้นหักค่ายเข้าได้ ไล่ตะลุมบอนฟันแทงทหารชาวบ้านดง ก็แตกกระจายแหกค่ายหนีไป ได้ช้างพลายช้างพังเจ็ดช้าง ได้หิรัญสุวรรณ์พัญาหารเปนอันมาก ๚ะ๏ ครั้นณวันพุธเดือนยี่ขึ้นเก้าค่ำปีจออัฐศก ยกพลทหารออกมาประทับตำบลหนองไม้ทรุม ตามทางบ้านเมืองนครนายก ประทับร้อนแรมไปประมาณสองวันถึงบ้านนาเริ่งอยุดประทับ ยกแต่นั้นวันหนึ่ง จึ่งถึงเมืองปราจินท์ ข้ามด่านกบแจะอยุดภักพลหุงอาหารฝ่ายฟากตวันออก แล้วให้พลนิกายข้ามทุ่งไปจนเพลาบ่ายห้าโมง ตรัสทราบว่าพระเชียงเงิน ขุนพิพิตรวาที นักพระองค์รามเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดีมามิทัน จึ่งทรงม้ามากับหลวงพรหมเสนา จะเร่งพวกพระเชียงเงินมิได้พบ ๚ะ๏ ครั้นรุ่งขึ้นณวันจันทร์เดือนยี่ขึ้นสิบสามค่ำ ให้ยกพลทหารเข้าไปในป่าอยุดประทับที่สำนักหนองน้ำหุงอาหารสำเร็จแล้ว เพลาบ่ายประมาณสองโมง จึ่งพระเชียงเงินมาถึงให้โบยสามสิบทีแล้ว ก็ตรัสเหนกิริยาว่ามิเปนใจด้วยราชการ จึ่งสั่งให้ประหารชีวิตรเสีย นายทับนายกองทูลขอชีวิตรไว้ ครั้นเพลาบ่ายประมาณสี่โมง พม่าไล่แทงฟันคนซึ่งเลื่อยล้าวิ่งหนีมาตามทาง ทอดพระเนตรเหนจึ่งให้นายบุนมี ขึ้นม้าใช้สวนทางลงไปได้ประมาณสองร้อยเส้น ภบกองทับพม่ายกขึ้นมาแต่ปากน้ำเจ้าโล้ ทั้งทับบกทับเรือ มาขึ้นที่ท่าข้าม ครั้นเหนธงเทียวเสียงฆ้องกลองเสียงพูดจากันว่าเปนพม่ามั่นคงแล้ว ก็กลับม้าขวบมากราบทูลตามได้เหนนั้น จึ่งสั่งให้พลทหารตั้งปืนใหญ่ตับใหญ่ตับน้อยดาไว้ต่างค่าย แล้วให้คนหาบเสบียงครอบครัวไปก่อน แต่พระองค์กับทหารประมาณร้อยเสศ คอยรับพะม่า ครั้นเพลาบ่ายโมงเศศ พม่ายกกองทับมาถึง จึ่งเสด็จนำน่าทหารด้วยหลวงชำนาญไพรสนท์ พระเชียงเงิน นายบุญมี นายทองดีทหาร นายแสงทหาร ออกไปรับฬ่อพะม่านอกปืนใหญ่น้อยซึ่งดาไว้ประมาณหกเส้นเจดเส้น พะม่ายกทับเรียงเรียบมาจำเภาะในพงแขม ครั้นเข้ามาใกล้ได้ทีแล้วจึ่งให้ยิงปืนเปนอันหนึ่งอันเดียว ถูกพะม่าล้มตายเปนอันมาก พม่าที่ยังอยู่นั้นอุดหนุนกันเข้ามาอีก จึ่งฬ่อให้ไล่เข้ามาแล้วยิงปืนใหญ่น้อยถูกพะม่าล้มตายทับกันเปนอันมาก พม่าอุดหนุนกันเข้ามาอีก วางปืนตับเข้าโครมสาม พม่าแตกกระจัดกระจายพ่ายไป จึ่งให้พลทหารโห่ร้องตีฆ้องสำทับ พม่าแตกหนีไปจะคุมกันเข้ามิได้ จึ่งให้ยกพลนิกายประทับตามลำดับ บ้านหัวทองหลาง พานทอง บางปลาสร้อย ถึงบ้านนาเกลือ นายกลม คุมไพร่พลทหารอยู่ที่นั้น คอยสกัดคิดประทุษร้าย จึ่งทรงช้างพระที่นั่งสรรพด้วยเครื่องสรรพยุทธ ทรงพระแสงปืนต้นรางแดง กับด้วยหมู่โยธาทหารเข้าไปในรว่างทหารนายกลมอยู่นั้น ด้วยเดชบรมโพธิสมภาร นายกลมแลพวกโยธาทหารทั้งนั้น ให้สยดสยองกลัวพระอานุภาพ วางสาตราวุธเสีย แล้วถวายบังคมอ่อนน้อมเปนข้าใต้ลอองฯ จึ่งนำเสด็จดำเนินเข้าไปประทับในสฐานอันเปนศุขสมควร แล้วพระราชทานราชทรัพย์แลราโชวาท ให้ตั้งอยู่ในยุติธรรม. ๚ะ๏ ครั้นรุ่งขึ้นณวันอาทิตย์เดือนญี่แรมหกค่ำ นายกลมคุมไพร่ร้อยหนึ่ง นำเสด็จไปถึงทับอยุดประทับแรมอยู่ที่นั้น รุ่งขึ้นยกมานาจอมเทียน ประทับแรมอยู่ที่นั้นคืนหนึ่ง แล้วจึ่งมาแรมทุ่งไก่เตี้ย. รุ่งขึ้นมาประทับแรมสัตหีบ แล้วยกมาชายทะเล ประทับแรม เพลารุ่งขึ้นมาประทับแรมหินโด่ง รุ่งขึ้นมาประทับแรมน้ำเก่า. ผู้รั้งบุญเมืองระยอง กับกรมการทั้งปวง ชวนกันมาต้อนรับเสด็จ ถวายธัญาหารเกวียนหนึ่ง นำดำเนินมาถึงท่าประดู่ จึ่งพระราชทานปืนคาบสิลาบอกหนึ่งแก่ผู้รั้งเมืองระยอง เสด็จมาประทับอยู่ ณวัดลุ่มสองเวน สั่งให้จัดลำเลียงอาหารตั้งค่ายขุดคู แลนายบุญรอดแขนอ่อน นายหมวด นายบุญมาน้องเมียพระยาจันทบุรี เข้ามาถวายตัวทำราชการ. จึ่งนำเอาคุยหรหัถคดีมากราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าแจ้งเหตุว่า ขุนราม หมื่นซ่อง นายทองอยู่นกเล็ก ขุนจ่าเมืองด้วง หลวงพลแสนหาร กรมการเมืองระยอง คบคิดกันคุมภักพวกพลทหารประมาณพันห้าร้อยเสศ จะยกเข้ามากระทำประทุษฐร้าย. จึ่งมีพระราชบริหารดำรัศสั่งให้หาผู้รั้งเมืองมาถามว่า กูมากระทำราชกิจทั้งนี้ ด้วยกรุณาจิตร จะให้สมณทวิชาจารย์ประชาราษฎรทั้งปวงเปนสมานุศุขสามคีมิได้มีวิหิงษาการอุบาย ประพฤดิทุจริตแก่ท่านทั้งปวงประการใดหามิได้ แลขุนหมื่นทั้งนี้คบคิดการจะทำประทุษฐร้าย แต่กูมีกรุณาจิตรนี้ ยังจะจริงดุจหนึ่งนี้ฤๅประการใด. ผู้รั้งเมืองมิรับ ตรัสทราบพระญาณด้วยอาการกิริยา. จึ่งตรัสสั่งให้หลวงพรหมเสนาคุมตัวจำไว้ แล้วมิไว้พระราชหฤไทย จึ่งสั่งให้ทหารตระเตรียมตัว สรรพด้วยเครื่องสรรพาวุธ ผูกช้างม้าปืนใหญ่น้อยตั้งจุกช่องทางครบไว้สรรพ. ๚ะ๏ ครั้นณวันเพลาประมาณทุ่มเศศ อ้ายเหล่าร้ายยกพลให้ทหารลอบเข้ามาตั้งค่ายล้อมได้สองด้านแล้ว โห่ร้องยิงปืนใหญ่น้อยรดมเข้ามา จึ่งตรัสให้ดับแสงเพลิงเสีย. จัดทหารประจำน่าที่สงบกันไว้แล้ว เสดจกับด้วยทะหารจีนทะหารไทย ๆ ถือปืนคาบศิลา หลวงชำนาญไพรสน นายทองดีทหาร หลวงพล หลวงเชียงเงินท้ายน้ำ หลวงพรหมเสนา นายบุญมี นายแสงทหาร นายศรีสงคราม นายนากทหาร ธำมรงคอิ่ม ทหารจีน หลวงพิพิตร หลวงพิไชย ขุนจ่าเมืองเสือร้าย หมื่นท่อง หลวงพรหม ถือดาบง้าว. เสด็จออกเที่ยวตรวจตรารอบค่ายดูท่าทางฆ่าศึก จะเข้ามาแห่งใดตำบลใด. แลอ้ายเหล้าร้ายชื่อขุนจ่าเมืองด้วง กับทหารประมาณสามสิบคน ล้อมใต้ตะพานวัดเนิน เข้ามาใกล้ค่ายหลวงประมาณห้าวาหกวา. จึ่งสั่งให้วางปืนพร้อมกัน ถูกขุนจ่าเมืองด้วงกับทหารทั้งปวง ซึ่งเดินตามกันนั้นตกตะพานลงพร้อมกัน ตายเปนอันมาก. จึ่งตรัสให้ทหารจีนเข้าตะลุมบอน ฟันแทงฆ่าศึกหักค่ายอ้ายเหล่าร้าย ล้มตายแตกหนีไป หมู่ทหารไล่ติดตามไปทางประมาณ ๕๐ เส้น ๖๐ เส้น จึ่งให้ลั่นฆ้องไชยสัญญาเรียกพลทหารเข้าค่ายให้พร้อม แลหมู่ทหารทั้งปวงเข้าในค่าย จุดเพลิงเผาขึ้นแห่งหนึ่ง. เก็บเอาเครื่องสาตราวุธ หิรัญสุวรรณวัดถาทัญาหาร ครอบครัวเปนอันมาก. ตรัสให้ยับยั้งอยู่บำรุงทแกล้วทหารให้มีกำลัง ณเมืองระยองนั้นช้านานประมาณ ๗ วัน ๘ วัน ๚ะ๏ ครั้นณวัน ๚ะ จึ่งสั่งให้ประชุมเสนาทหารนายทับนายกองไทยจีนทั้งปวงพร้อมกัน จึ่งตรัสประภาษให้ปฤกษาว่าเราจะกระทำการทั้งนี้ด้วยวิเหษาอาธรรมหามิได้. จะให้เปนศุขมีประโยชน์ แก่สมณพราหมณาประชากรทั้งปวง จึ่งจะเปนเกียรติยศสืบไป และเมืองจันทบุรีนี้จะถึงแก่กาลพินาศ ดุจเมืองระยอง. เอนดูสัตวทั้งปวง จะเหนผู้ใดมีอาฌาไศรยจะให้ไปเจรจาโดยยุติธรรม. ให้พระยาจันทบุรีอ่อนน้อมลง อย่าให้เกิดยุทธสงครามได้ความเดือดร้อนแก่สมณพราหมณาประชาราษฎรได้นั้น. จึ่งเสนาบดีนายทับนายกองทั้งปวงปฤกษาพร้อมกัน กราบบังคมทูลว่า เหนแต่นายบุญมีมหาดเล็ก นายบุญรอดแขนอ่อน นายบุญมาน้องเมียพระยาจันทบุรีสามคนนี้จะได้ราชการ. ๚ะ๏ ครั้นตรัสเหนด้วยแล้ว จึ่งสั่งให้ไปตามคำปฤกษา. จึ่งนายเผือกญวน นักมาเขมร รับอาษาภาข้าหลวงสามคนไปโดยทางชลมารค แต่ณวันไปอยุดอยู่ปากน้ำระยอง. ใช้ใบไปประมาณห้าวันถึงปากน้ำจันทบุรี. ครั้นเพลารุ่งขึ้นเช้าจึ่งเข้าไปหาพระยาจันทบุรี เจรจาโดยธรรมราชประเพณีกระแสรับสั่งนั้น. ๚ะ๏ พระยาจันทบุรีมีความยินดี สั่งให้ขุนจางวางทำสัมมาคารวะเลี้ยงดูโดยปรกติยิงยอมด้วย ว่าอิก ๑๐ วันข้าพเจ้าจึ่งจะแต่งออกไปรับเสดจณะกองทับเข้ามาณะเมืองจันทบุรี จะได้คิดราชการแก้ฝีมือพม่า ครั้นณะวันเพลาบ่ายสามโมงจึ่งแต่งเรือรบลำหนึ่งมีพลกะเชียงยี่สิบสรรพด้วยเครื่องอาวุธ. พระยาจันทบุรีลงเรือด้วยข้าหลวง นายเผือก นักมา. ขึ้นบนสาลาเทพารักษ์ ชวนกันให้กระทำความสัจแก่กัน แล้วกลับแคลงมาถามว่า เราได้ให้ความสัจเปนมิสหายร่วมชีวิตรกันแล้ว อย่าได้อำพรางกัน. เหตุผลร้ายดีประการใด จงบอกกล่าวแก่เราแต่ตามจริงเถิด ๚ะ๏ ข้าหลวงจึ่งตอบว่า เราได้เปนมิตรร่วมชีวิตรเดียวกันด้วยท่านแล้ว จะสู้เสียชีวิตรรักษาสัจธรรมนั้นไว้มิให้เสีย ท่านอย่าได้แคลงใจเลย อันสมเดจพระเจ้าอยู่หัวแห่งเรานี้ มีพระราชจริตปราศจากฬ่อลวง ถ้าจะมีราชบริหารตรัสสิ่งใดแล้ว ก็เปนสัตย์มิได้หวาดไหว ตั้งพระไทยสถิตอยู่ในพรหมวิหาร เพื่อจะให้เปนพระพุทธบารมีสืบไป. อันบุคคลผู้ใดมิได้คิดประทุษฐร้ายก่อนแล้ว และจะได้เบียดเบียฬนั้นมิได้มีเลย. ท่านจงตั้งภักดีจิตรอย่าให้จลาจล. พระยาจันทบุรีมีใจยินดีสวามีภักดี แล้วฝากเครื่องราชกระยาหารให้มาถวาย แล้วข้าหลวงก็ออกจากปากน้ำจันทบุรี วันหนึ่งก็ถึงปากน้ำระยอง จึ่งเอาเนื้อความนั้นกราบทูล. ครั้นได้ทรงฟังก็มีพระวิจารณราชดำริหโดยรอบคอบแล้ว ทรงพระมัทยัดไว้ในพระราชหฤไทย. ครั้นอยู่มาประมาณ ๑๐ วันถึงปัฏิญาณสัญญาแล้ว พระยาจันทบุรีจะได้มาหามิได้. ใช้ให้คนเอาเข้าเปลือกบันทุกเรือประมาณสี่เกวียน มาถวายณเมืองระยอง. ๚ะ๏ ครั้นณวัน ๚ะ นายบุญเรืองมหาดเล็ก ผู้รั้งบางละมุงคุมไพร่ ๒๐ คนว่า พม่าใช้ให้ถือหนังสือออกไปเมืองจันทบุรี ให้แต่งดอกไม้ทองเงินเข้าไปณะโพสามต้น. พระหลวงขุนหมื่นนายทับนายกองแจ้งกิจนั้นมิได้ไว้ใจ ว่าเปนพวกพม่า ๆ ให้มาด้วยกลอุบายใช้ให้ติดตามเราจะไว้ใจให้อยู่ในกองทับเรามิได้ ด้วยเอาไจออกหากจากกรุงเทพแล้ว และนายบุญรอดแขนอ่อน กราบทูลจะขอเอาตัวไปประหารชีวิตรเสีย. ทรงพระพรุณาขอชีวิตรไว้ จึ่งตรัสประภาษด้วยพระราชอธิบายว่า พม่ามาล้อมกรุงฯครั้งนี้ ผู้ใดจะตั้งใจเข้าด้วยพม่านั้นหามิได้ แต่ถึงกาลแล้วหากจำเปน. อนึ่งนายบุญเรืองผู้รั้งบางละมุง มิได้เปนข้าใช้เรามาแต่ก่อน เหนภอจะได้ราชการอยู่. แล้วราชการเมืองจันทบุรีก็ยังมี ผู้รั้งบางลมุงกับพระยาจันทบุรี เปนมิตรชอบกัน เราจะใช้ให้เอาหนังสือพม่านี้ไปถึงพระยาจันทบุรี ๆ ก็จะยกกองทับมารับเราเข้าไปคิดราชการด้วยกันตามปฏิญาณสัญญา แลจะได้แจ้งในความสัตย์สุจริตนั้นด้วย. ๚ะ๏ อนึ่งพม่าตั้งอยู่ณเมืองธนบุรี แลล้อมกรุงเทพ ๆ ได้มีหนังสือบอกมาถึงพระยาราชาเสรฐี พระยาราชาเสรฐีแต่งกองทับลำเลียงอาหาร เข้ามาช่วยถึงปากน้ำ. พม่าทำอันตรายสกัดทางอยู่ไปมิถึง สิ้นเสบียงอาหารแล้วกลับไป เหนว่าความชอบเมืองพุทไธมาศมีแก่กรุงอยู่. บัดนี้เราจะให้มีศุภอักษร ไปให้พระยาราชาเสรฐียกพลทหารเข้ามาช่วยกันตีพม่า ซึ่งตั้งอยู่เมืองธนบุรี จึ่งจะเปนความชอบแก่พระยาราชาเสรฐีสืบไป นายทับนายกองทั้งปวงเหนชอบด้วย. จึ่งให้แต่งศุภอักษร ออกไปเมืองพุทไธมาศ. ๚ะ๏ ณวันเดือนสี่แรมค่ำศก เมื่อเสดจสถิตย์ณเมืองระยองนั้น หมู่ประจามิตรซึ่งแตกไปจากเมืองระยอง ลักลอบเข้ามาลักโคกระบือช้างม้าเนือง ๆไป. จึ่งตรัสว่าเรากรุณามันว่า เปนข้าในขันทเสมาจะใคร่ทะนุบำรุง จึ่งมิได้กระทำอันตราย มันก็ได้อ่อนน้อมยังจะคิดประทุษฐร้ายสืบไป ก็เปนผลวิบากให้บังเกิดเปนอาสัจอาธรรมฉนี้ จะละไว้มิได้. จึ่งกรีธาพลทหารยกออกจากเมืองระยอง ไปณบ้านกระแสบ้านไร่บ้านดำบ้านตราแกลง ซึ่งอ้ายขุนรามหมื่นช่องตั้งอยู่นั้น. ครั้นเพลาอุษาโยกทรงเครื่องราชวิภูสิต สำหรับรณรงค์ยุทธสงคราม เสดจนำพลทหารเข้าไล่กระโจมฟันแทงยิงปืนใหญ่ปืนน้อย อ้ายเหล่าร้ายแตกตื่นไป. แลอ้ายขุนราม หมื่นช่องหนีไปอยู่กับพระยาจันทบุรี จับได้ทหารหมื่นช่องนายบุญมีบางเหี้ย นายแทน นายมี นายเมืองพม่า นายสนหม นายบุญมีบุตรนายสน ครอบครัวช้างม้าผู้คนโคกระบือเกวียน ซึ่งอ้ายเหล่าร้ายลักเอาไปไว้แต่ก่อนเปนอันมาก. แล้วเสดจยกพลนิกายกลับมาณเมืองระยอง บำรุงทแกล้วทหาร เครื่องสาตราวุธปืนใหญ่ปืนน้อย เกลี้ยกล่อมอาณาประชาราษฎร อันแตกตื่นออกไปอยู่ป่าดง ได้เปนอันมาก ก็เสดจยับยั้งถ้าพระจันทบุรีอยู่ณป่าดง. ๚ะ๏ ครั้นณวันเดือนสี่แรมสิบสี่ค่ำศก พระยาพิไชย แลนายบุญมีไปถึงปากน้ำพุทไธมาศ. จึ่งนำเอาศุภอักษร และสนองพระองค์อย่างฝารั่งขึ้นไปพระราชทาน แลเจรจาตามศุภอักษรนั้น พระยาราชาเสรฐีก็มีความยินดี ว่าระดูนี้จะเข้าไปขัดด้วยลมจะมิทัน ต่อเดือนแปดเดือนเก้าเดือนสิบ จึ่งจะยกพลทหารเข้าไปช่วยราชการ. ครั้นณวันอาทิตย์เดือนห้าแรมสิบสี่ค่ำศก ได้ศุภอักษรตอบ แลเครื่องราชบรรณาการ มาถึงปากน้ำระยอง ณวัน ๚ะ นายบุญมีจึ่งนำเอาองค์ใดเรือง ทหารจีน เครื่องราชบรรณาการ ขึ้นกราบทูลถวายณค่ายท่าประดู่. ๚ะ๏ ลุศักราช ๚ะ พระราชตำริหแล้วให้หาเสนาบดีนายทับนายกองมาเฝ้าพร้อมกัน จึ่งประภาษว่าเราปรารพการครั้งนี้สู้เสียชีวิตร เพราะกรุณาแก่สัตวโลกย์ซึ่งหาที่พำนักนิ์มิได้ และแผ่นดินจะไม่จลาจลสมบูรณ์ เปนที่ตั้งประสาสนาได้นั้น เพาะปราศจรากหลักตอ คือคนอาสัจอาธรรม. แลบัดนี้นายทองอยู่นกเล็ก ซึ่งตั้งอยู่ณเมืองชลบุรี. ประพฤดิ์พาลทุจริตคอยปองกระทำข่มเหงอาณาประชาราษฎรผู้หาที่พึ่งมิได้ บันดามีน้ำใจภักดีจะมาพึ่งเรานั้น นายทองอยู่เปนเสี้ยนหนามคอยสกัดตัดสัญจรคนทั้งปวงไว้ เราควรจะไปสั่งสอนธรมารนายทองอยู่ ให้ตั้งอยู่ตามทางราบคาบก่อน สมณพราหมณอาณาประชาราฎรจึ่งจะได้อยู่เปนศุข. เสนาบดีนายทับนายกองก็เหนพร้อมกันตามพระราชดำริห์ ๚ะ๏ ครั้นณวัน๚ะศก จึ่งสั่งให้ยกพลทหารเสดจพระราชดำเนินไปตามสถลมารค เสดจพระทับอยู่ณบ้านหนองมน ให้ทหารไปสอดแนมดูได้เนื้อความว่า นายทองอยู่ให้เตรียมพลทหารสาตราวุธปืนใหญ่ปืนน้อยไว้พร้อม จึ่งให้พลทหารเข้าไปอยุดประทับณวัดหลวง ทางไกลเมืองประมาณร้อยหนึ่ง จึ่งให้นายบุญรอดแขนอ่อน นายชื่นบ้านไข้ ซึ่งเปนสหายกับนายทองอยู่ เข้าไปว่ากล่าวโดยยุติธรรม. นายทองอยู่ก็อ่อนน้อมโดยดี นายบุญรอด นายชื่น จึ่งภานายทองอยู่นกเล็กเข้ามาเฝ้าณวัดหลวง สวามิภักดิกระทำความสัตยถวาย. แล้วก็นำเสดจให้เข้าไปณเมืองชลบุรี ประทับอยู่ณเก๋งจีน. นายทองอยู่จึ่งนำเสดจทรงช้างพระที่นั่ง นายทองมีมหาดเล็กควานท้าย เลียบทอดพระเนตรเมืองชลบุรี แล้วภาขุนหมื่นกรมการมาถวายบังคม. ทรงพระกรุณานายทองอยู่ ให้เปนพระยาอะนุราฐบุรีศรีมหาสมุท ตั้งขุนหมื่นกรมการตามถานาศักดิ์เมืองชลบุรี. แล้วพระราชทานกระบี่บั้งเงินหนึ่ง เสื้อแพรเข้มขาบดอกใหญ่พื้นแดงดุมทองเก้า เขมขัดทองประดับพลอยสายหนึ่ง. แล้วพระราชทานราโชวาทสั่งสอนว่า แต่ก่อนท่านประพฤษดิการอันเปนอาธรรมทุจริตนั้นจงละเสีย จงประพฤษดิกุศลสุจริต ให้สมควรด้วยถานาศักดิ์แห่งท่าน. จะได้เปนเกียรติยศสืบไปในกลาปาวะสาน จะเปนพาศนาติดตามไปในอนาคต. แล้วจึ่งพระราชทานเงินตราไว้สองชั่ง สำรับสงเคราะห์แก่สมณพราหมณาจาริย์ ประชาราษฎรผู้ยากไร้เขนใจ ซึ่งขัดสนด้วยเข้าปลาอาหารนั้น. จึ่งตรัสสั่งพระยาอนุราฐว่า ผู้ใดจงใจอยู่ในสำนักนิ์ท่าน ท่านจงโอบอ้อมอารีย์เลี้ยงดูไว้ให้เปนผล. ถ้าผู้ใดมีน้ำใจสาภิภักดิ์จะติดตามเราออกไป ท่านจงอย่ามีน้ำใจอิจษา จงมีปมุทิตาปราโมชอย่าได้ขัดขวาง. ช่วยส่งผู้นั้นออกไปให้ถึงสำนักนิ์แห่งเรา อย่าให้เปนเหตุการประการใดได้. แลท่านจงบำรุงบวรพุทธสาศนา อาณาประชาราษฎรให้ทำมาหากินโดยภูมลำเนา อย่าให้มีโจรแลผู้ร้ายเบียดเบียลแก่กันได้. แล้วพระราชทานเงินตราแก่สัปะเหร่อ ให้ขนทรากกะเฬวะราก อันอดอาหารตายนั้นเผาเสีย พระราชทานบังสุกุลทานแล้ว พระราชทานเงินตราอาหารแก่ยาจกวรรณีพกแต่เมืองชลบุรีเปนอันมาก. แล้วอุทิศกัลปะนาพระราชทานพระราชกุศลให้แก่หมู่เปรต ไปในประโลกยนั้น เพื่อเปนปัจจัยแก่พระปรมาภิเศกสัมโพธิญาณ ครั้นณวันฯศก เสดจกลับมาเมืองระยอง ๚ะ๏ ฝ่ายพระยาจันทบุรีซึ่งถวายสัจปัฏิญาณว่าจะมารับเสดจนั้น จะได้มาตามสัญญาหามิได้. ด้วยขุนราม หมื่นซ่องอันเปนคนอาสัจนั้น ยุยงว่ากล่าวให้คิดประทุษฐร้าย ตกแต่งป้อมค่ายคูประตูหอรบเชิงเทิล ตระเตรียมโยธาทหารสรรพด้วยเครื่องสาตราวุธปืนใหญ่ปืนน้อยเสรจ แล้วจึ่งคิดอุบายแต่งให้พระสงฆ์สี่รูป ขึ้นมาเชิญเสดจเข้าไปในเมืองจันทบุรี แล้วจึ่งจะกุมจับพระองค์. พระสงฆ์สี่รูปมามิทัน เสดจไปเมืองชลบุรี พระสงฆ์นั้นก็ยังอยู่ถ้าณเมืองระยอง. ครั้นเสดจถึงเมืองระยองเพลาเช้า จึ่งเข้าไปถวายพระพรตามเรื่องราวพระยาจันทบุรีใช้ให้มานั้น. จึ่งทรงพระตำริหด้วยพระวิจารณญาณอันคำภิรภาพก็ทราบว่า กรรมนิยมแล้วจึ่งจำให้เปนไปตามเหตุนั้น. ครั้นรุ่งขึ้นเพลาเช้า จึ่งมีพระราชบริหารตำรัสด้วยนายทับนายกองทั้งปวงว่า พระยาจันทบุรีให้พระสงฆ์มารับเรานี้ ใครจะเหนร้ายดีประการใดบ้าง นายทับนายกองปฤกษาพร้อมกันแล้วกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงเหนว่า พระยาจันทบุรีคิดประทุษฐร้ายเปนมั่นคง. จึ่งตรัสว่าเมื่อเหตุเปนฉะนี้แล้ว ชอบจะไปฤๅอย่าไปประการใด. นายทับนายกองพร้อมกับกราบทูลว่า ควรจะเสดจพระราชตำเนินไป ด้วยจะได้ประโยชน์สองประการ. ประการหนึ่งแม้นว่าพระยาจันทบุรีจะเสียสัจ คิดประทุษฐร้ายก็ดี จะได้ธรมารให้เสียพยศอันร้าย. ถ้าพระยาจันทบุรียังตั้งอยู่ในความสัจ ก็จะได้พระราชทานราโชวาทสั่งสอน ให้ตั้งอยู่โดยยุติธรรม ก็จะเอย็นอกสมณพราหมณ์อาณาประชาราษฎรทั้งปวง จะได้เปนอายุพระสาสนาสืบไปในอนาคตไสมยนั้น. ๚ะ๏ ครั้นณวันพฤหัสบดีศก เพลาเช้าอุษาโยคยามพฤหัศบดี ตรัสให้ยกพลนิกายสรัพด้วยเครื่องสรรพาวุธออกจากเมืองระยอง พระสงฆ์สี่รูปนำเสดจมาประทับร้อนแรมโดยระยะทางห้าวันถึงตำบลบ้านบางกะจะหัวแหวน. ครั้นณวันจันทร๚ะศก จึ่งยกไปใกล้เมืองจันทบุรี. ๚ะ๏ ฝ่ายพระยาจันทบุรีจึ่งให้หลวงปลัด กับขุนหมื่นมีชื่อ ออกมานำทับคิดเปนอุบาย จะให้กองทับหลวงเลี้ยวไปข้างทางใต้เมือง จะให้ข้ามน้ำไปฟากตวันออก แล้วจะยกพลทหารออกโจมตีเมื่อข้ามน้ำนั้น. ครั้นตรัสทราบจึ่งให้นายบุญมีมหาดเลก ขึ้นม้าขวบไปห้ามทหารกองน่ามิให้ไปตามทางหลวงปลัดนำนั้น. ให้กลับมาตามทางขวา ตรงเข้าประตูท่าช้าง. เสดจประทับพลตำบลวัดแก้วริมเมืองจันทบุรี. จึ่งให้พลทหารตั้งกองทับล้อมรอบพระวีหารวัดแก้ว ซึ่งเสดจประทับอยู่นั้น ๚ะ๏ ฝ่ายพระยาจันทบุรี ก็ให้พลทหารขึ้นประจำรักษาน่าที่ แล้วจึ่งใช้ขุนพรหมธิบาล ผู้เปนพระท้ายน้ำ นายลิ่ม นายแก้วแขก ธรรมรงคพอน นายไม้แขก ออกมาต้อนรับเชิญเสดจเข้าเมือง จึ่งตรัสว่าพระยาจันทบุรีให้มาเชิญเราเข้าไปนั้น เหนไม่ต้องตามประเวณีธรรม ด้วยเหตุว่าผู้น้อยควรจะกระทำสัมมาคารวะแก่ผู้ใหญ่จึ่งจะชอบเปนมงคลแก่ตัว แลจะให้เราเปนผู้ใหญ่เข้าไปหาท่านอันเปนผู้น้อยก่อนนั้น มิบังควรเปนมงคลแก่พระยาจันทบุรีเลย. เรายังไม่เข้าไปก่อน ให้พระยาจันทบุรีออกมาหาเรา เราจะได้แจ้งเนื้อความซึ่งขัดข้องในใจเรา. ด้วยขุนรามหมื่นซ่องอันเปนปัจามิตรเราเข้าไปอยู่ด้วยพระยาจันทบุรี จะทำให้เราทั้งสองมีน้ำจิตรพิโรธแคลงกัน. แม้นพระยาจันทบุรีจะมิออกมาหาเราก็ดี จงส่งแต่ขุนรามหมื่นซ่องออกมากระทำความสัจแก่เราแล้ว เราจะเข้าไปด้วยมิได้แคลง เราตั้งเมตาจิตรรักเอนดูพระยาจันทบุรี ประดุจน้องในอุทรเดียวกันแห่งเรา ถึงพระยาจันทบุรีจะทำร้ายแก่เรา ๆ ก็มิได้ตอบแทนจะรักษาเมตาธรรมนั้นไว้ ด้วยพระยาจันทบุรีมิได้มีพิโรธอันใดกันกับเรา. แล้วพระราชทานเงินแก่ขุนพรหมธิบาล ๆ ก็กลับเข้าไปว่ากล่าวตามตำรัสนั้น. พระยาจันทบุรีจึ่งใช้ให้ธำมรงคพอนกับคนมีชื่อเอาของเสวยมาถวาย. ให้พระสงฆ์สี่รูป ซึ่งนำเสดจมานั้นออกมาถวายพระพรว่า พระยาจันทบุรีให้เชิญเสดจเข้าไป. ตรัสว่าในเมืองจันทบุรีนี้ ไม่มีฆะราวาศจะใช้แล้วฤๅจึ่งใช้สมณ.แล้วจึ่งมีพระราชบริหารตำรัสแก่พระสงฆว่า ความนี้โยมก็ได้สั่งไปแก่ขุนพรหมธิบาลแล้ว ขอผู้เปนเจ้าจงไปบอกแก่พระยาจันทบุรีว่าอ้ายขุนรามหมื่นซ่องเปนปัจามิตรแก่ข้าพเจ้า ยุยงพระยาจันทบุรี ๆ หนุ่มแก่ความจะฟังเอาถ้อยคำอ้ายเหล่านี้ ก็จะเสียทีที่รักษเอนดูกัน. ถ้าแลพระยาจันทบุรีตั้งอยู่ในสัตย์ไมตรี ก็จงส่งขุนรามหมื่นซ่องออกมากระทำความสัจเสียเถิด. พระสงฆก็ถวายพระพรลามาว่าแก่พระยาจันทบุรี ๆ จึ่งใช้หลวงปลัดออกมาทูลว่าพระยาจันทบุรีที่จะมิได้ตั้งอยู่ในสัตย์สวามิภักดีนั้นหามิได้ จะใคร่ส่งขุนราม หมื่นช่องออกมาอยู่. แต่ขุนราม หมื่นซ่อง กลัวพระราชอาชา ด้วยตัวนั้นเปนคนผิดจะออกมามิได้. จึ่งตรัสว่าพระยาจันทบุรีมิได้ตั้งอยู่ในสัตย์ แล้วเหนว่าขุนราม หมื่นซ่อง จะช่วยป้องกันเมืองไว้ได้ ก็ให้เร่งตกแต่งบ้านเมืองไว้ให้หมั้นคงเถิด เราจะตีเอาให้ได้ ๚ะ๏ แล้วจึ่งตรัสสั่งให้โยธาทหารทั้งปวง ให้หุงอาหารรับพระราชทานแล้ว. เหลือนั้นสั่งให้สาดเททุบต่อยม่อเข้าม่อแกงเสียจงสิ้น. ในเพลากลางคืนวันนี้จะเข้าตีเอาเมืองจันทบุรีให้ได้ ไปกินเข้าเช้าเอาในเมือง ถ้ามิได้ก็ให้ตายเสียด้วยกันจงพร้อมกันทีเดียว. ๚ะ๏ ครั้นณวันอาทิตย์ ๗ ค่ำ ศักราช ๑๑๒๙ ปีกุญนพศก เพลาสามยามเปนยามเสาร์ปลอดห่วง ตรัสให้ยกทับบ่ายน่าต่อทิศอิสาร เข้าตีเมืองจันทบุรี จัดทหารไทยจีนลอบเข้าไปประจำด้านอยู่ทุกด้าน เพลาจะเข้าอย่าให้โห่ร้องขึ้นก่อน ถ้าเข้าได้แล้วให้โห่ร้องขึ้นพร้อมกัน จึ่งทรงช้างพระที่นั่งพังคิรีบัญชรขับเข้าทลายประตูเมือง. โยธาทหารซึ่งรักษาประตูแลป้อมเชิงเทินนั้น ยิงปืนใหญ่น้อยดุจหนึ่งห่าฝน จะได้ถูกต้องโยธาผู้ใดผู้หนึ่งนั้นหามิได้ ลอดท้องช้างพระที่นั่งไป. ควานช้างเกี่ยวพังคีรีบัญชรให้ถอยออกมา. ทรงพระโพรธเงื้อพระแสงจะลงพระราชอาชา นายท้ายข้างๆ ขอพระราชทานโทษได้. จึ่งทรงพระแสงกฤชแทงพังคิรีบัญชร ขับเข้าทลายประตูเมืองพังลง ทหารน่าช้างลอดเข้าไปได้ ให้โห่ร้องขึ้นพร้อมกันดุจพระราชทานสัญญาไว้นั้น. ๚ะ๏ ฝ่ายทหารซึ่งอยู่รักษาประตูแลน่าที่เชิงเทินนั้น แตกตื่นหนีออกจากเมือง พระยาจันทบุรีภาบุตรภรรยาลงเรือไปปากน้ำพุทไธมาศ. พลโยธาทหารไทยจีนเข้าไปจับได้ครอบครัว หิรัญสุวรรณวัดถาธัญาหารปืนจ่ารงมณฑกนกสับคาบสิลา สรรพอาวุธทั้งปวงเปนอันมาก ก็เสดจยับยั้งอยู่ณเมืองจันทบุรี. ๚ะ๏ ฝ่ายหลวงนายศักดิ์เปนเชื้อแขก ออกไปราชการณะเมืองจันทบุรี แต่ก่อนทับพม่ายังไม่มาล้อมกรุงเทพมหานครนั้น ยังค้างอยู่ในเมือง. จึ่งมาเฝ้าถวายตัวเปนข้าราชการสืบไป ก็โปรดเลี้ยงไว้ด้วยเปนข้าราชการเก่ารู้ขนบธรรมเนียม จะได้ปฤกษาราชกิจการงานทั้งปวง. แล้วจึ่งตั้งที่ถานันดรตำแหน่งผู้ใหญ่แลผู้น้อย แก่ผู้มีความชอบตามสมควรแก่คุณานุรูปถ้วนทุกนาย. แล้วโปรดพระราชทานบำเหน็จรางวัล สิ่งของทองเงินต่างๆ แจกทั่วกันแล้ว จึ่งเสดจดำเนิรทับจากเมืองจันทบุรี โดยทางสถลมารคยกออกไปเมืองกราด ดำรัสให้พระรามพิไชยกับหลวงราชวรินทรเปนแม่กองทับเรือ เรือประมาณห้าสิบลำยกไปทางทเล. ขณะเมื่อเสดจยาตราทับบกยกไปครั้งนั้น ด้วยเดชะพระบารมีบันดาลฝนตกเจ็ดวันเจ็ดคืน ตามระยะทางไปจนบรรลุถึงเมืองกราด เกลี้ยกล่อมอาณาประชาราษฎรให้อยู่เอย็นเปนศุข. แล้วได้ทราบข่าวว่าสำเภาจีนลูกค้ามาทอดอยู่ณะท้องทเลน่าปากน้ำเมืองตราดเปนหลายลำ จึ่งให้ข้าหลวงไปหาตัวนายสำเภาเข้ามาโดยดี แลนายสำเภาขัดแขงไม่มา กลับต่อรบยิงเอาเรือข้าหลวง. ๆ กลับเข้ามากราบทูลก็ทรงพระพิโรธ จึ่งเสดจลงเรือใหญ่ยกกองทับเรือออกไปล้อมไว้คืนหนึ่ง. พวกจีนนายสำเภายังไม่อ่อนน้อม ครั้นเพลารุ่งเช้าจึ่งตรัสสั่งนายทับนายกองให้ยกเข้าตีสำเภา พวกจีนต่อรบยิงปืนโต้ตอบกันอยู่ประมาณกึ่งวัน. พลข้าหลวงปีนขึ้นสำเภาได้ ไล่ฆ่าฟันจีนบนสำเภาตายเปนหลายคน. พวกจีนลูกค้าก็พ่ายแพ้ เก็บได้ทรัพย์สิ่งของทองเงินแลผ้าแพรเปนอันมาก. แลจีนเจียมผู้เปนใหญ่กว่านายสำเภาทั้งปวง ก็อ่อนน้อมยอมสวามิภักดิ์นำเอาบุตรหญิงคนหนึ่งมาถวาย. ในวันนั้นก็เสดจกลับมาณะเมืองจันทบุรีโดยทางทเล ตั้งยับยั้งอยู่ต่อเรือรบณะเมืองจันทบุรีประมาณสามเดือน ได้เรือร้อยลำเสศ. ๚ะ๏ ฝ่ายข้างกรุงเทพมหานคร เมื่อกองทับพม่ายกกลับไปแล้ว จึ่งพระนายกองผู้อยู่รักษากรุงฯ ก็ใช้ผู้คนให้ไปเที่ยวค้นหาพระเจ้าแผ่นดินทุกแห่งทุกตำบล จึ่งไปภบที่สุมทุมไม้ใกล้บ้านจิก อดอาหารมิได้เสวยถึงสิบเบดสิบสองวัน. คนทั้งนั้นจึ่งหามพระองค์มาลงเรือ รับขึ้นไปณะค่ายโพสามต้น ภอถึงก็ดับสูญสิ้นพระชนม์. แลสมเดจพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินท์ อยู่ในราชสมบัติเก้าปีก็เสียพระนคร. ๚ะ๏ รวมสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินซึ่งเสวยราชสมบัติ ในกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยานั้น ตั้งแต่สมเดจพระเจ้าอู่ทองเปนประถม แรกสร้างกรุงเทพมหานครนั้น กราบเท่าถึงสมเดจพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินท์ เปนพระองค์ที่สุด เสียกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยานั้น นับกระษัตริย์ได้สามสิบสี่พระองค์ด้วยกัน. แลอายุพระนครตั้งแต่แรกสถาปะนา ในศักราช ๗๑๒ ปีขานโทศก ตราบเท่าจนเสียในศักราช ๑๑๒๙ ปีกุญนพศกนั้น. คิดอายุพระนครได้ ๔๑๗ ปีโดยกำหนด. ๚ะ๏ ฝ่ายพระนายกองจึ่งให้เชิญพระศพไปฝังณะโคกพระเมรุ ที่ถวายพระเพลิงในพระนครนั้น ต่อจัดแจงการบ้านการเมืองราบคาบแล้ว จึ่งจะคิดการถวายพระเพลิง. ๚ะ๏ ขณะนั้นแต่บันดาประชาชนทั้งหลาย ซึ่งหนีพม่าเหลืออยู่นั้น ต่างคนต่างคุมสมัคพักพวกครอบครัวอยู่เปนพวกเปนเหล่า ผู้ใดที่มีฝีมือเข้มแขงก็ตั้งตัวเปนนายชุมนุม ซ่องสุมคุ้มครองผู้คนครอบครัวเปนอันมากตั้งชุมนุมอยู่แห่งหนึ่ง. แต่ชุมนุมตั้งอยู่ดังนี้ มีในจังหวัดแขวงกรุง แลแขวงหัวเมืองแลสวน แลหัวเมืองอื่นฝ่ายเหนือ ฝ่ายใต้เปนอันมาก หลายแห่งหลายตำบล. ขัดสนด้วยเข้าปลาอาหารและเกลือไม่มีจะกิน ต่างรบพุ่งชิงอาหารแก่กัน ชุมนุมนี้ยกไปตีชุมนุมนั้น ชุมนุมนั้นยกไปตีชุมนุมโน้นต่อๆกันไป. ที่นายชุมนุมไหนเข้มแขงก็มีไชยชำนะ แลเกิดฆ่าฟันกันเปนจลาจลไป. ทั่วทั้งแผ่นดินในเขตรแดนแว่นแคว้นสยามประเทศ. เหตุว่าหาเจ้าแผ่นดินจะปกครองบมิได้เหมือนดุจสัตถันดรกลัปแลทุพภิกขันดรกลัป. แลพระราชวงษานุวงษซึ่งเหลืออยู่ พม่ามิได้เอาไปนั้น ตกอยู่ณะค่ายโพสามต้นก็มีบ้าง ที่หนีไปเมืองอื่นนั้นก็มีบ้าง. แลเจ้าฟ้าสุริยาหนึ่ง เจ้าฟ้าพินทวะดีหนึ่ง เจ้าฟ้าจันทะวดีหนึ่ง พระองค์เจ้าฟักทองหนึ่ง. ทั้งสี่พระองคนี้เปนราชบุตรีพระพุทธเจ้าหลวงในพระบรมโกษฐ. แลเจ้ามิตรบุตรีกรมพระราชวังหนึ่ง หม่อมเจ้ากระจาดบุตรีกรมหมื่นจิตรสุนทรหนึ่ง หม่อมเจ้ามนีบุตรีกรมหมื่นเสพภักดีหนึ่ง หม่อมเจ้าฉิมบุตรี เจ้าฟ้าจีดหนึ่ง เจ้าทั้งนี้ตกอยู่กับพระนายกองณะค่ายโพสามต้น. อนึ่งพระองคเจ้าทับทิมบุตรีสมเดจพระอัยกานั้น พวกข้าไทยภาหนีออกไปณะเมืองจันทบุรี. เจ้าตากก็สงเคราะหรับเลี้ยงดูไว้ แลเจ้าจุ้ยเจ้าศรีสังข์บุตรกรมพระราชวังนั้น หนีออกไปอยู่เมืองพุทไธมาศ. อนึ่งขุนนางข้าราชการซึ่งเหลืออยู่นั้น ที่ตกอยู่กับพระนายกองก็มีบ้าง ที่หนีไปอยู่หัวเมืองเหนือใต้ต่างต่างก็มีบ้าง. และนายสุดจินดามหาดเลกนั้น. หนีออกไปสำนักนิ์อยู่ณะเมืองชลบุรี ครั้นรู้ข่าวว่าเจ้าตากออกไปตั้งอยู่ณะเมืองจันทบุรี จึ่งภาพักพวกบ่าวไพร่เดิรบกออกไปเข้าพึ่งอยู่ด้วยเจ้าตาก เจ้าตากก็รับไว้ชุบเลี้ยงตั้งเปนพระมหามนตรี เพราะรู้จักคุ้นเคยกันมาแต่ก่อนกรุงยังไม่เสียนั้น. ๚ะ๏ ในขณะนั้นหัวเมืองตั้งตัวเปนเจ้าขึ้นอิกหลายตำบล คือเจ้าพระยาพระพิศณุโลกยเรือง ก็ตั้งตัวเปนเจ้าขึ้นอิกตำบลหนึ่ง. แลพระสังฆราชาเมืองสว่างคบุรี นามเดิมชื่อมหาเรือน ชาติภูมิเปนชาวเหนือ แต่ลงมาเล่าเรียนพระไตรปิฎก ณะ กรุง ได้เปนที่พระพากุลเถรราชาคณะอยู่วัดศรีโยธยา. ภายหลังทรงพระกรุณาโปรดให้ตั้งขึ้นไปเปนที่พระสังฆราชาณะเมืองสว่างคบูรี แต่ครั้งแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง. แลมีสมัคพักพวกผู้คนนับถือมาก. ครั้นรู้ว่ากรุงเสียแก่พม่าแล้ว จึ่งซ่องสุมผู้คนเข้าด้วยเปนหลายเมือง ตั้งตัวขึ้นเปนเจ้าอิกตำบลหนึ่ง. แต่หาสึกออกเปนคฤหัฐไม่ คงอยู่ในเพศสมณ แต่นุ่งห่มผ้าแดง คนทั้งปวงเรียกว่าเจ้าพระฝาง. บันดาเจ้าเมืองกรมการหัวเมืองฝ่ายเหนือ ตั้งแต่เหนือพระพิศณุโลกย์ขึ้นไป ก็กลัวเกรงนับถืออยู่ในอำนารถทั้งสิ้น แลเมืองเหนือครั้งนั้นมีเจ้าขึ้นสองแห่ง แบ่งแผ่นดินออกเปนสองส่วน. ตั้งแต่เมืองพระพิศณุโลกยลงมาจนถึงเมืองนครสวรรค์ กับแควปากน้ำโพนั้น เปนอาณาเขตรข้างเจ้าพระพิศณุโลกย์. ตั้งแต่เหนือเมืองพระพิศณุโลกยขึ้นไปจนถึงเมืองน้ำปาด กระทั่งแดนลาวกับแควแม่น้ำปากพิงนั้น เปนอาณาเขตรข้างเจ้าพระฝาง เจ้าพระฝางตั้งแต่งนายทับนายกองแต่พื้นสงฆ์ทั้งสิ้น คือพระครูคิริมานนท์หนึ่ง พระครูเพชรัตน์หนึ่ง พระอาจาริย์จันท์หนึ่ง พระอาจาริยทองหนึ่ง พระอาจาริยเกิดหนึ่ง แต่ล้วนเปนอาลัชชี มิได้ละอายแก่บาปทั้งนั้น แล้วจัดแจงกองทับยกลงมาตีเมืองพระพิศณุโลกย ตั้งค่ายล้อมเมืองทั้งสองฟากน้ำ แลเจ้าเมืองพระพิศณุโลกย ยกพลทหารออกต่อรบเปนสามารถ ทับฝางจะหักเอาเมืองมิได้ แต่รบกันอยู่ประมาณหกเดือน ทับฝางก็พากันเลิกกลับไปเมือง.ฝ่ายแผ่นดินข้างปากใต้ก็มีเจ้าขึ้นอีกตำบลหนึ่ง คือเมื่อครั้งกรุงยังไม่เสียนั้น ทรงพระกรุณาโปรดให้พระยาราชสุภาวดีออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราช ให้หลวงนายสิทธิ์ออกไปเปนพระปลัด แลเจ้าพระยานครศรีธรรมราชนั้นถูกอุทธรต้องถอดกลับเข้ามาณะกรุง. จึ่งโปรดให้ปพระปลัดว่าราชการอยู่ ภายหลังยังหาได้ตั้งเจ้าเมืองไม่. ครั้นพระปลัดรู้ข่าวว่ากรุงเทพมหานครเสียแก่พม่า หาพระเจ้าแผ่นดินมิได้แล้ว จึ่งตั้งตัวขึ้นเปนเจ้าครองเมืองนครศรีธรรมราช. คนทั้งหลายเรียกว่าเจ้านคร มีอาณาเขตรแผ่ไปฝ่ายข้างนอกถึงแดนเมืองแขก ข้างในถึงเมืองชุมพรเมืองปทิว แบ่งแผ่นดินออกไปอิกส่วนหนึ่ง. แลราษฎรทั้งหลายในหัวเมืองปากใต้ฝ่ายตะวันตก ก็นับถืออยู่ในอำนารถเจ้านครทั้งสิ้น. แล้วตั้งแต่งขุนนางตามตำแหน่ง เหมือนในกรุงเทพมหานครนั้น. ๚ะ๏ ฝ่ายเจ้ากรมหมื่นเทพพิพิธ กับพระยารัตนาธิเบศร์ แลขุนนางซึ่งหนีออกไปจากกรุงเปนหลายนาย ภาสมักภักพวกไพร่พลครอบครัวหนีพม่า ไปแต่เมืองปราจินท์ขึ้นทางด่านช่องเรือแตก ไปณะเมืองนครราชสีมาแต่ครั้งกรุงยังไม่เสียนั้นไปตั้งอยู่ณะด่านโคกพระยา ภอพระยารัตนาธิเบศป่วยลงถึงแก่กรรม กรมหมื่นเทพพิพิธก็กระทำการปลงสพในที่นั้น ๚ะ๏ ฝ่ายพระพิมลสงครามเจ้าเมืองนครนายก กับหลวงนรินทร์ ภาไพร่พลแลครอบครัวชายหญิงประมารสามร้อย หนีพม่าไปทางเขาพนมโยง ขึ้นไปเมืองนครราชสีมา ไปตั้งอยู่ณด่านบ้านจันทึก. แลพระยานครราชสีมาเปนอริกันอยู่แต่ก่อน จึ่งใช้ทหารให้ลงมาลวงฆ่าพระพิมลสงครามกับหลวงราชรินทร์เสีย กวาดต้อนผู้คนครอบครัวเข้าไปไว้ในเมืองเสียสิ้น. ๚ะ๏ ฝ่ายกรมหมื่นเทพพิพิธจึ่งให้หลวงมหาพิไชย แลนายทองคำ นำเอาหมวกฝรั่งหนึ่ง เสื้อกระบวนจีนหนึ่ง ผ้าเกี้ยวลายสองผืน ไปประทานพระยานครราชสีมา ครั้นอยู่ประมาณสองสามวัน จึ่งหลวงพลกรมการออกมาเฝ้า กราบทูลว่าพระยานครราชสีมาเกนเขมรสี่ร้อยจะให้ออกมาจับพระองค์เจ้าส่งลงไปณะกรุงเทพมหานคร. กรมหมื่นเทพพิพิธตกพระไทยคิดการจะหนี แลหม่อมเจ้าประยงผู้บุตรไม่เหนด้วยก็ทูลห้ามไว้ แล้วทูลขอเงินตราห้าชั่ง กับผ้าน้ำกิ่งสิบพับ นำเอาไปเที่ยวแจกพันทนายบ้านสิบสองตำบล เกลี้ยกล่อนคนชาวบ้านมาเข้าด้วย ได้คนสี่ร้อยห้าสิบเสศ. ๚ะ๏ ครั้นถึงณะวันพุทธเดือนสิบขึ้นสิบสี่ค่ำปีจออัฐศก กรมหมื่นเทพพิพิธจึ่งให้หม่อมเจ้าประยงกับหลวงมหาพิไชยหลวงปราบคุมไพร่สามสิบเสศ. กับพวกชาวบ้านซึ่งเข้ามาด้วยนั้น ยกลอบเข้าไปซุ่มอยู่ในเมือง ภอรุ่งขึ้นเปนวันพระ สิบห้าค่ำ พระยานครราชสีมาไม่ทันรู้ตัว จะออกมาทำบุญที่วัดกลาง ก็ยกกรูกันเข้าไปล้อมจวน จับตัวพระยานครราชสีมาได้ก็ฆ่าเสีย แต่หลวงแพ่งผู้น้องพระยานครราชสีมานั้น โดดขึ้นม้าหนีออกจากเมืองทัน หาจับตัวได้ไม่. หม่อมเจ้าประยงให้ยิงปืนใหญ่ขึ้นเปนฤกษ แล้วเกนให้คนออกมารับเสดจกรมหมื่นเทพพิพิธ เข้าไปในเมืองประทับอยู่ที่จวน. อยู่ประมาณห้าวัน หลวงแพ่งไปชักชวนพระพิมาย ซึ่งเปนเมืองขึ้นแก่เมืองนครราชสีมา ยกกองทับเข้ามาล้อมเมืองนครราชสีมาเข้าไว้ กรมหมื่นเทพพิพิธให้เกนคนชาวเมืองขึ้นรักษาน่าที่เชิงเทิล ได้คนน้อยเพราะชาวเมืองไม่เตมใจ หนีไปเสียมาก ผู้คนซึ่งขึ้นอยู่รักษาน่าที่กำแพงนั้นเบาบางนัก ต่อรบต้านทานอยู่ได้สี่วัน. พวกกองทับพระพิมาย หลวงแพ่งก็ปีนเข้าเมืองได้ ข้างด้านป้อมวัดพายับ จับได้ตัวหม่อมเจ้าประยง เจ้าดารา เจ้าธารา บุตรกรมหมื่นเทพพิพิธ กับพระพิไชยราชา หลวงมหาพิไชย แลขุนหมื่นนายหมวดนายกองฆ่าเสียเปนหลายคน. แลบุตรเจ้ากรมหมื่นเทพพิพิธที่เปนชายนั้น ยังเหลืออยู่แต่หม่อมเจ้าที่น้อยน้อย กับหม่อมเจ้าหญิง. แลนายแก่นพวกหลวงแพ่ง ได้หม่อมเจ้าอุบลไปเปนภรรยา. นายย่นได้หม่อมเสนห้ามกรมหมื่นเทพพิพิธไปเปนภรรยา หลวงแพ่งให้ประหารชีวิตรกรมหมื่นเทพพิพิธเสีย พระพิมายขอชีวิตรไว้. จึ่งเชิญเสดจไปอยู่ณเมืองพิมาย. หลวงแพ่งก็ได้เปนเจ้าเมืองนครราชสีมา แลพระพิมายนั้นรักษใคร่ นับถือกรมหมื่นเทพพิพิธว่า เปนวงษราชกระกูล ช่วยทำนุบำรุงไว้. ครั้นรู้ข่าวว่ากรุงเสียแก่พม่าแล้ว พม่ากวาดเอาพระราชวงษานุวงษไปสิ้น จึ่งยกกรมหมื่นเทพพิพิธขึ้นเปนเจ้าแผ่นดิน สืบพระวงษพระเจ้าแผ่นดินต่อไปเรียกว่าเจ้าพิมาย เจ้าพิมายจึ่งตั้งพระพิมายเปนเจ้าพระยาศรีสุริยวงษผู้สำเร็จราชการ. ตั้งนายสาบุตรผู้ใหญ่เปนพระยามหามนตรี ตั้งบุตรผู้น้อยเปนพระยาวรวงษาธิราชเรียกว่าพระยาน้อย ๚ะ๏ ในขณะเมื่อกรุงเสียแล้วนั้น พวกข้าราชการแลเชื้อวงษผู้ดีณกรุงหนีขึ้นไปอยู่กับพระเจ้าพิมายเปนอันมาก จึ่งโปรดตั้งให้เปนขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยตามสมควรแก่คุณานุรูป แต่ยังหาครบตามตำแหน่งไม่. แลเจ้าพระยาศรีสุริยวงษจึ่งคิดกับบุตรทั้งสองว่า จะจับหลวงแพ่งเจ้าเมืองนครราชสีมาฆ่าเสียให้สิ้นเสี้ยนหนาม ขณะนั้นหลวงแพ่งทำบุญให้มีลคร เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ กับพระยาทั้งสองผู้บุตรรู้ จึ่งภาทหารซึ่งมีฝีมือสิบคนกับไพร่พลห้าร้อย ยกจากเมืองพิมายมาณะเมืองนครราชสีมา ฝ่ายหลวงแพ่งไม่ทันรู้ตัวว่าเขาคิดร้าย ไว้ใจอยู่ว่าเปนมิตรกัน. แลพระยาทั้งสามก็เข้านั่งดูละครด้วยกันกับหลวงแพ่ง. ครั้นได้ทีเจ้าพระยาศรีสุริยวงษก็ฟันหลวงแพ่ง พระยามหามนตรีฟันนายแก่น พระยาวรวงษาธิราชฟันนายย่นตายทั้งสามคน. พวกทหารเมืองพิมายก็ฆ่าฟันทหารเมืองนครราชสีมาตายเปนอันมาก เจ้าพระยาศรีสุริยวงษให้พระยาวรวงษาธิราชตั้งอยู่ณะบ้านจ่อหอ รักษาเมืองนครราชสีมา. แล้วเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ แลพระยามหามนตรีก็กลับไปยังเมืองพิมาย ตั้งเกลี้ยกล่อมผู้คนบำรุงอาณาประชาราฎรแลทแกล้วทหารให้มีกำลังสมบุญบริบูรณ์ แลอาณาเขตรเมืองพิมายก็แบ่งออกเปนส่วนหนึ่ง ตั้งแต่แขวงหัวเมืองตะวันออกฝ่ายดอน ไปจนกระทั่งถึงแดนกรุงศรีสัตนาคนหุต แลกรุงกำพูชาธิบดี. ฝ่ายใต้ลงมาถึงเมืองสระบุรีตลอดลำน้ำแควป่าสัก. แลแผ่นดินครั้งนั้นแบ่งออกเปนหลายส่วนหลายเจ้า. ข้างฝ่ายเหนือก็เปนสองส่วน คือเมืองพระพิศณุโลกยส่วนหนึ่ง เมืองสว่างคบุรีส่วนหนึ่ง ข้างฝ่ายใต้ก็เปนสองส่วน คือเมืองจันทบุรีฝั่งทเลฟากตะวันออกส่วนหนึ่ง เมืองนครศรีธรรมราชฝั่งทเลฟากตะวันตกส่วนหนึ่ง ข้างฝ่ายดอนด้านตะวันออกนั้น คือเมืองพิมายส่วนหนึ่ง แลแผ่นดินส่วนกลาง เปนของพระนายกองโพสามต้นส่วนหนึ่ง เปนหกแดน หกเจ้าด้วยกัน. ๚ะ๏ ในขณะนั้นฝ่ายเจ้าตากซึ่งตั้งอยู่ณะเมืองจันทบุรีต่อเรือรบสำเร็จ ได้ทราบข่าวว่ากรุงเทพมหานครเสียแก่พม่าแล้ว สมณพราหมณาจาริยแลราชกระกูลสุริยวงษา เสนาอำมาตย์ประชาราษฎรถึงซึ่งพินาศฉิบหาย พม่ากวาดเอาไปเปนอันมาก ที่เหลืออยู่ก็ได้รับความทุกข์ลำบากอดอาหารล้มตาย แลฆ่าฟันกันทุกแห่งทุกตำบล เพราะหาพระเจ้าแผ่นดินมิได้ พม่าตั้งพระนายกองไว้รั้งกรุงเทพมหานคร. บันดาหัวเมืองทั้งปวงก็คิดกำเริบก่อเกิดอหังการ ตั้งตัวเปนเจ้าขึ้นเปนหลายเมือง. แผ่นดินแบ่งออกเปนหลายส่วน เกิดจลาจลรบพุ่งกันเปนหลายพวก. แลสมณพราหมณาไพร่ฟ้าประชากร ได้ความเดือดร้อนหาที่พึ่งมิได้ ทรงพระดำริหจะปราบยุคเข็ญซึ่งเปนจลาจลให้สงบราบคาบ แลจะก่อกู้กรุงเทพมหานครให้คืนคงเปนราชธานี มีพระราชอาณาเขตรปกแผ่ไปเปนแผ่นดินเดียว ทั่วจังหวัดแว่นแคว้นแดนสยามประเทศเหมือนดั่งเก่า. จึ่งดำรัสสั่งนายทับนายกองทั้งปวง ให้ตรวจเตรียมเรือรบครบด้วยพลโยธาสรรพาวุธปืนใหญ่น้อย แลเรือลำเลียงเสบียงอาหารให้พร้อมเสรจ. แล้วตั้งข้าหลวงเดิมผู้มีความชอบอยู่ครองเมืองจันทบุรี แลเมืองระยองทั้งสองหัวเมืองนั้น. ๚ะ๏ ครั้นถึงณะเดือนสิบเบดปีกุนนพศกนั้น จึ่งเสด็จยาตราพลทับเรือร้อยลำเศส พลทหารประมาณห้าพัน ยกจากเมืองจันทบูรีมาทางทเล ได้ทราบข่าวว่าพระยาอนุราชเจ้าเมืองชลบุรี กับหลวงพลขุนอินเชียงมิได้ละพยศอันร้าย กลับกระทำโจรกรรม ออกตีชิงสำเภาแลเรือลูกค้าวาณิชเหมือนแต่ก่อน มิได้ตั้งอยู่ในธรรโมวาท ซี่งมีพระประสารทสั่งสอนนั้น จึ่งให้อยุดทับเรือเข้าประทับณะเมืองชลบุรี. แล้วให้หาพระยาอนุราชลงมาเข้าเฝ้าณเรือพระที่นั่ง ตรัสถามก็รับเปนสัตย์ จึ่งสั่งให้ขุนนางนายทหารไทยจีนจับพระยาอนุราชประหารชีวิตรเสีย. แลพระยาอนุราชคงกระพันในตัวแทงฟันหาเข้าไม่ เพราะด้วยสดือเปนทองแดง. จึงให้พันทนาการแล้วเอาลงถ่วงน้ำเสียในทเลก็ถึงแก่กรรม. แล้วให้จับหลวงพลแลขุนอินเชียง ซึ่งร่วมคิดกระทำโจรกรรมด้วยกันนั้นประหารชีวิตรเสีย. จึ่งตั้งผู้มีความชอบเปนเจ้าเมืองกรมการขึ้นใหม่ ให้อยู่รักษาเมืองชลบุรี. แล้วก็เสด็จยกพลทับเรือเข้ามาทางปากน้ำเมืองสมุทธปราการ ถึงเมืองธนบุรี. ๚ะ๏ ฝ่ายเจ้าทองอินซึ่งพะม่าตั้งไว้ให้รักษาเมืองธนนั้น ก็ภาพวกพลออกต่อรบประมาณครู่หนึ่งก็แตกพ่าย. พลข้าหลวงจับตัวได้ก็ฆ่าเสีย. แลกรมการทั้งนั้นก็หนีไปในเพลากลางคืน ขึ้นไป ณะค่ายโพสามต้นแจ้งความแก่สุกี้พระนายกอง พระนายกองจึ่งจัดพลทหารไทยมอญให้ม่องญาเปนนายทับ ยกทับเรือมาตั้งรับอยู่ณะเพนียด ในเพลากลางคืนวันนั้นเรือรบพระยากะลาโหม ซึ่งบันทุกกระสุนดินดำมานั้นล่มลง. จึ่งให้ลงพระอาญาเฆี่ยนพระยากะลาโหม แลขุนนางฝ่ายทหารเปนหลายคน. แล้วตรัสสั่งให้เร่งรีบยกทับเรือขึ้นไปณะกรุงในเพลากลางคืน. แลม่องญานายทับโพสามต้นนั้นรู้ข่าวว่าทับหลวงยกขึ้นมาถึงกรุงเทพแล้ว ก็เกรงกลัวพระเดชานุภาพมิได้ตั้งอยู่สู้รบ ก็ถอยหนีไปณะค่ายโพสามต้น ครั้นรุ่งเช้าเปนวันเดือนสิบสองข้างขึ้นเพลาสามโมงเสศ ให้พลทหารยกเข้าตีค่ายโพสามต้นฟากตวันออกแตก. จึ่งตรัสสั่งให้ทำบันไดจะพาดเข้าปีนค่ายใหญ่ฟากตะวันตก ซึ่งมีกำแพงที่พระนายกองอยู่นั้น แลกองพระยาพิพิธ พระยาพิไชย ทับจีนเปนกองน่ายกเข้าตั้งค่ายประชิดณะวัดกลาง ห่างค่ายใหญ่ประมาณเจดเส้นแปดเส้น. ครั้นรุ่งขึ้นอีกวันหนึ่งจึ่งดำรัศให้ทับจีนกองน่า ยกเข้าตีค่ายพระนายกอง. พระนายกองก็คุมพลทหารออกต่อรบ รบกันตั้งแต่เช้าจนเพลาเที่ยง พวกพระนายกองพ่ายหนีเข้าค่าย. ทับจีนไล่ติดตามเข้าไปในค่าย พระนายกองสู้รบอยู่จนตัวตายในค่ายนั้น. พวกพลทับจีนไล่ฆ่าฟันพลทหารพระนายกองล้มตายในค่ายนั้นเปนอันมาก. ที่เหลืออยู่ก็แตกหนีไปจากค่าย แต่ม่องยานั้นภาพักพวกทหารของตัวหนีขึ้นไปณะเมืองนครราชสีมา ไปเข้าด้วยพระยาวรวงษาธิราช ซึ่งตั้งอยู่ด่านจ่อหอนั้น. ๚ะ๏ ฝ่ายเจ้าตากครั้นตีได้ค่ายโพสามต้นแล้ว จึ่งเสด็จด้วยพลโยธาทหารแห่เข้าไปในค่าย ประทับอยนู่ณะจวนพระนายกอง. จึ่งพระยาธิเบศบดี ขุนนางเก่าในกรุงเทพมหานคร ซึ่งตกอยู่ณะค่ายโพสามต้นนั้น มากราบถวายบังคมต้อนรับ จึ่งตรัสสั่งมิให้พลทหารกระทำอันตรายแก่ผู้คนครอบครัวทั้งปวงอันอยู่ในค่าย แลได้ทรงเหนราชกระกูล แลข้าราชการเก่าในกรุง ซึ่งได้ความทุกขทุรพลลำบาก ก็ทรงพระกรุณาสังเวศ จึ่งพระราชทานทรัพย์แลสิ่งของต่างๆ แก่พวกขุนนางเก่ากับทั้งพระราชวงษานุวงษทั้งนั้น แล้วเสด็จเข้ามาตั้งพลับพลาประทับอยู่ในพระนคร ให้ไปขุดพระสพพระเจ้าแผ่นดินซึ่งพระนายกองฝังไว้นั้น. กระทำพระโกษฐตามสังเขปใส่พระสพ แลให้ทำพระเมรุหุ้มด้วยผ้าขาวแล้ว เชิญพระบรมโกษฐเข้าตั้งที่ในพระเมรุ ตั้งเครื่องบูชาสักการภอสมควร ให้เที่ยวนิมนต์พระสงฆ์ซึ่งเหลืออยู่บ้างนั้นมาสดัปกรณ์ ทรงถวายไทยทานตามสมควร แล้วก็ถวายพระเพลิง. ๚ะ๏ ครั้นปลงพระสพเสรจแล้ว จึ่งเสดจทรงช้างพระที่นั่ง ไปเที่ยวประภาศทอดพระเนตรทั่วพระนครแลในพระราชวัง เหนปราสารท แลตำหนักใหญ่น้อยที่ข้างน่าข้างใน แลอาวาศบ้านเรือนทั้งปวงในกรุงนั้น. เพลิงไหม้เสียบ้าง ยังดีอยู่บ้าง ก็ทรงพระสังเวศ ดำริหจะกระทำปฏิสังขรณขึ้นให้ปรกติดีดังแต่ก่อน แล้วจะรวบรวมไพร่ฟ้าประชากรแลสมณพราหมณาจาริยเข้ามาอยู่ในพระนครตามเดิม จะเสด็จเข้าตั้งดำรงราชอาณาจักรสืบกระษัตริย ครอบครองรักษาแผ่นดินต่อไป. จะก่อกู้กรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา ซึ่งถึงกาลประไลยไปแล้วนั้น ให้กลับคืนคงเปนราชธานีดังเก่า ก็เสดจเข้าประทับแรมอยู่ณะพระที่นั่งทรงปืนที่เสดจออกบันทมอยู่คืนหนึ่ง จึ่งทรงพระสุบินนิมิตว่า พระมหากระษัตริยแต่ก่อนมาขับไล่เสียมิให้อยู่. ครั้นรุ่งเช้าจึ่งตรัสเล่าพระสุบินให้ขุนนางทั้งปวงฟัง แล้วจึ่งดำรัสว่าเราคิดสังเวศ เหนว่าบ้านเมืองจะร้างรกเปนป่า จะมาช่วยปะฏิสังขรณทำนุบำรุงขึ้นให้บริบูรณดีดั่งเก่า. เมื่อเจ้าของเดิมท่านยังหวงแหนอยู่แล้ว เราชวนกันไปสร้างเมืองธนบุรีอยู่เถิด. แล้วตรัสสั่งให้เลิกกองทับกวาดต้อนราษฎร แลสมณพราหมณาจาริยทั้งปวงกับทั้งโบราณขัติยวงษซึ่งยังเหลืออยู่นั้น ก็เสดจกลับลงมาตั้งอยู่ณะเมืองธนบุรี แลให้ไปเที่ยวสืบหาพวกพระญาติพระวงษ์ของพระองค์ ซึ่งพลัดพรากกันไปไปได้มาจากเมืองลพบุรี รับลงมาณะเมืองธนบุรี. แล้วให้ปลูกสร้างพระราชวัง แลพระตำหนักข้างน่าข้างในใหญ่น้อยทั้งปวงสำเร็จบริบูรณ์. ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๑๓๐ ปีชวดสัมฤทธิศก จึ่งท้าวพระยาข้าราชการจีนไทยผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวง ก็ปฤกษาพร้อมกันอัญเชิญเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เปนบรมกระษัตริยผ่านพิภพสีมาณะกรุงธนบุรี ตั้งขึ้นเปนราชธานีสืบไป. ทรงพระกรุณาให้แจกจ่ายอาหาร แก่ราษฎรทั้งหลายซึ่งอดโซรอนาถาทั่วสีมามณฑล เกลื่อนกล่นกันมารับพระราชทานมากกว่าหมื่น. บันดาข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือนไทยจีนทั้งปวงนั้น ได้รับพระราชทานเข้าสารเสมอคนละถังกินคนละญี่สิบวัน. ครั้งนั้นยังหามีผู้ใดทำไร่นาไม่ อาหารกันดารนัก แลสำเภาบันทุกเข้าสารมาแต่เมืองพุทไธมาศ จำหน่วยถังละสามบาทสี่บาทห้าบาทบ้าง ทรงพระกรุณาให้ซื้อแจกคนทั้งปวง. โดยพระราชอุษาหโปรดเลี้ยงสัตว์โลกยพระราชทานชีวิตรไว้มิได้อาไลยแก่พระราชทรัพย แล้วแจกจ่ายเสื้อผ้าเงินตรา แก่ไพร่ฟ้าประชาชนจักนับมิได้. แลทรงพระกรุณาโปรดชุบเลี้ยงตั้งแต่งขุนนางข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ครบตามตำแหน่งถานานุศักดิ์ หมือนแต่ก่อน. แล้วโปรดตั้งเจ้าเมืองกรมการให้ออกไปครองหัวเมืองใหญ่น้อย ซึ่งอยู่ในพระราชอาณาเขตรใกล้ๆ นั้นทุกๆ เมือง ให้ตั้งเกลี้ยกล่อมซ่องสุมอาณาประชาราษฎร ซึ่งแตกฉานซ่านเซ็นไปนั้น ให้กลับมาอยู่ตามภูมลำเนาเหมือนแต่ก่อนทุกบ้านทุกเมือง. ๚ะ๏ ขณะนั้นพระมหามนตรี จึ่งกราบทูลพระกรุณาว่า จะขอไปรับหลวงยกกระบัตราชบุรีผู้พี่นั้น เข้ามาถวายตัวทำราชการ. จึ่งโปรดให้ออกไปรับเข้ามา แล้วทรงพระกรุณาโปรดตั้งให้เปนพระราชวรินท์. ๚ะ๏ ในปีชวดสัมฤทธิศกนั้น ฝ่ายพระเจ้าอังวะให้มีหนังสือรับสั่งลงมากับแมงกี้มารหญ่าเจ้าเมืองทวาย ให้ยกกองทับเข้ามาสืบดูเมืองไทยว่าจะราบคาบอยู่ฤๅจะกำเริบขึ้นประการใดบ้าง แมงกี้มารหญ่าก็คุมพลทหารเมืองทวายสองหมื่น ยกเข้ามาทางเมืองไชยโยก แลเรือรบเก่ายังอยู่ที่นั้น. จึ่งยกทับบกทับเรือลงมาณะค่ายฅอกระออม แล้วก็ยกเลื่อนลงมาล้อมค่ายจีนบางกุ้งใกล้จะเสียอยู่แล้ว กรมการเมืองสมุทธสงครามบอกเข้ามาให้กราบทูล ครั้นได้ทราบจึ่งโปรดให้พระมหามนตรีเปนกองน่า เสด็จยกทับหลวงไปทางชลทารคถึงเมืองสมุทธสงคราม ให้ทับน่าเข้าโจมตีกองทับพม่าก็แตกฉานทั้งสิ้นในเพลาเดียว พลทหารไทยไล่ตลุมบอนฟันแทงพม่าล้มตายในน้ำในบกเปนอันมาก. ทับพม่าพ่ายหนีกลับไปทางด่านเจ้าขว้าวไปยังเมืองทวาย เก็บได้เครื่องสาตราวุธแลเรือรบเรือไล่ครั้งนั้นเปน อันมาก แล้วเสด็จเลิก ทับกลับยังกรุงธนบุรี แลพระเกียรติยศก็ปรากฎขจรไปในสยาม ประเทศทุกๆเมือง ๚ะ๏ ในขณะนั้นบันดานายชุมนุมทั้งปวง ซึ่งคุมพรรคพวกตั้งอยู่ในแขวงอำเภอหัวเมืองต่างๆ แลรบพุ่งชิงอาหารกันอยู่แต่ก่อนนั้น ก็สงบราบคาบลงทุกๆแห่ง มิได้เบียดเบียลแก่กันสืบไป ต่างๆ เข้ามาถวายตัวเปนข้าทูลลอองธุลีพระบาท ได้รับพระราชทานเงินทองแลเสื้อผ้า แลโปรดชุบเลี้ยงให้เปนขุนนางในกรุงแลหัวเมืองบ้าง บ้านเมืองก็สงบปราศจากโจรผู้ร้าย แลราษฎรก็ได้ตั้งทำไร่นา ลูกค้าวานิชก็ไปมาค้าขายทำมาหากินเปนศุข เข้าปลาอาหารก็ค่อยบริบูรณขึ้น คนทั้งหลายก็ค่อยได้บำเพ็ญการกุศลต่างๆ ฝ่ายสมณสากยบุตรในพระพุทธสาศนา ก็ได้รับบิณฑบาตรจตุปัจจัยค่อยได้ความศุขบริบูรณ์ เปนกำลังเล่าเรียนบำเพ็ญเพียรในสมณกิจ ฝ่ายคัณฐธุระ วิปัศนาธุระทั้งปวงต่าง ๆ. ๚ะ๏ ในปีชวดสัมฤทธิศกนั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริหว่า พระพุทธสาศนาจักวัฒนาการรุ่งเรืองนั้น เพราะอาไศรยจตุบรรพสัตวทั้งสี่ประฏิบัติตามพระบรมพุทโธวาท. แลพระสงค์ทุกวันนี้ยังประฏิบัติในจัตุปาริสุทธศิลบมิได้บริบูรณ์ เพราะเหตุหาพระราชาคณะซึ่งจะทรงพระปริยัติธรรมแลสมถะวิปัศนาจะสั่งสอนบมิได้. จึ่งมีพระราชโองการสั่งพระศรีภูริปรีชาราชเสนาบดีศรีสาลักษณ์ ให้สืบเสาะหาพระสงฆ์เถรานุเถรผู้รู้อรรถธรรมยังมีอยู่ที่ใดบ้าง ให้ไปเที่ยวนิมนต์มาประชุมกันณะวัดบางว้าใหญ่ ตั้งแต่งขึ้นเปนพระราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อย โดยสมควรแก่คุณานุรูปตามตำแหน่งเหมือนเมื่อครั้งกรุงเก่านั้น. แลพระศรีภูรีปรีชาก็สืบหาได้พระเถรานุเถรซึ่งเปนพระราชาคณะบ้าง เปนเปรียญบ้าง เปนอาจาริยผู้บอกบ้าง แต่ครั้งกรุงเก่านั้นได้มาหลายรูป ประชุมณวัดบางว้าใหญ่ แล้วปฤกษาพร้อมกัน ตั้งพระอาจาริยดีวัดประดู่รู้คุณธรรมมาก ทั้งแก่พรรษาอายุ เปนสมเด็จพระสังฆราช. แล้วตั้งพระเถรานุเถรทั้งนั้น เปนพระราชาคณะ ถานานุกรมผู้ใหญ่ผู้น้อย ตามลำดับสมณถานันดรศักดิ์เหมือนอย่างแต่ก่อน ให้อยู่ในพระอารามต่างๆ ในจังหวัดกรุงธนบุรี บังคับบัญชาแลสั่งสอนบอกกล่าว ฝ่ายคันฐธุรแลวิปัศนาธุระ แก่พระสงฆสามเณรทั้งปวง. แล้วทรงพระราชศรัทธาจ้างข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือน สร้างพระอุโบสถวิหารแลเสนาศนะกุฏี หลายพระอารามมากกว่าสองร้อยหลัง สิ้นพระราชทรัพย์เปนอันมาก. แล้วตรัสเผดียงตักเตือนถวายพระราชโอวาทไว้ว่า ขอพระผู้เปนเจ้าทั้งปวงจงตั้งใจประฏิบัติสำรวมรักษาในพระจตุปาริสุทธศิล ให้บริสุทธผ่องใสอย่าให้เศร้าหมอง แม้นพระผู้เปนเจ้าจะขัดสนด้วยจตุปัจจัยสิ่งใดนั้น เปนธุระโยมจะรับอุปถากผู้เปนเจ้าทั้งปวง. แม้นถึงจะปราถนามังษแลรุธิระของโยม โยมก็อาจสามารถเชือดเนื้อแลโลหิต ออกถวายเปนอัชฌัติกะทานได้. แล้วทรงพระราชดำริหว่า พระพุทธสาศนาจะรุ่งเรืองเจริญจีรถีติการนั้น ก็อาไศรยกุลบุตรเล่าเรียนพระปริญัติธรรม. จึ่งทรงพระกรุณาให้สังฆการี ธรรมการทำสารบาญชี พระสงฆ์รูปใดที่บอกที่เรียนพระไตรยปิีฎกมาก ก็ทรงถวายไตรจีวรผ้าเทศเนื้อเลอียด แล้วทรงถวายปัจจัยแก่เถรเณรตามที่เล่าเรียนได้มากแลน้อย. อนึ่งให้โปรยปรายพระราชทรัพย์ แลแจกทานแก่ยาจกทุกวันอุโบสถแปดค่ำ สิบห้าค่ำ แล้วตั้งโรงทานไว้สำหรับแจกคนโซรทั้งปวง ๚ะ๏ ในปีชวดสัมฤทธศกนั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสด็จยกพยุหโยธาไทยจีนพร้อมสรรพด้วยเครื่องสรรพาวุธทั้งทางบกทางเรือ ขึ้นไปตีเมืองพระพิศณุโลกยถึงตำบลเกยไชย. แลเจ้าพระพิศณุโลกยเรืองได้ทราบข่าวศึก จึ่งแต่งให้หลวงโกษายัง ยกกองทับลงมาตั้งรับได้รบกันเปนสามารถ ข้าศึกยิงปืนมาต้องพระฌงค์เบื้องซ้าย จึ่งให้ล่าทับหลวงกลับมายังกรุงธนบุรี. ครั้นประชวนหายแล้วได้ทราบข่าวว่า ม่องยาปลัดพระนายกองค่ายโพสามต้น หนีขึ้นไปเข้าพวกกรมหมื่นเทพพิพิธเจ้าพระพิมาย จึ่งเสดจยกทับหลวงขึ้นไปตีเมืองนครราชสีมา. ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าพิมายได้ทราบข่าวศึก จึ่งแต่งให้พระยาวรวงษาธิราชซึ่งเรียกว่าพระยาน้อยยกกองทับลงมาตั้งค่ายรับอยู่ณะด่านขุนทดทางหนึ่ง ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ พระยามหามนตรี กับทั้งม่องยา ยกกองทับมาตั้งค่ายรับอยู่ณะบ้านจ่อหอทางหนึ่ง. ๚ะ๏ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวจึ่งดำรัศให้พระมหามนตรี แลพระราชวรินทร์ ยกกองทับขึ้นไปตีทับพระยาวรวงษาธิราช ซึ่งตั้งอยู่ณะด่านขุนทดนั้น แล้วเสดจยกทับหลวงขึ้นทางด่านจ่อหอ เข้าตีทับเจ้าพระยาศรีสุริยวงๆ ออกต่อรบเปนสามารถ. พลทับหลวงเข้าหักเอาค่ายข้าศึกได้ ไล่ฆ่าฟันพลทหารเมืองพิมายล้มตายเปนอันมาก. พวกข้าศึกแตกพ่ายหนีไปจับได้ตัวเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ แลพระยามหามนตรี กับทั้งม่องญาด้วย ดำรัศสั่งให้ประหารชีวิตรเสียทั้งสามนาย. ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับพระมหามนตรี พระราชวรินทร์ก็ยกเข้าตีค่ายด่านขุนทด. แลพระยาวรวงษาธิราชต่อรบต้านทานเปนสามารถ รบกันอยู่เปนหลายวัน พลข้าหลวงจึ่งเข้าหักเอาค่ายข้าศึกได้. แลพระยาวรวงษาธิราชก็แตกพ่ายหนีไปณะเมืองเสียมราบแดนกรุงกัมพูชาธิบดี. จึ่งตำรัศให้พระมหามนตรี พระราชวรินทร์ยกติดตามไปตีเมืองเสียมราบได้. แต่พระยาวรวงษาธิราชนั้นหนีสูญไปหาได้ตัวไม่ จึ่งเลิกทับกลับมาเฝ้าณะเมืองนครราชสีมา ๚ะ๏ ฝ่ายกรมหมื่นเทพพิพิธได้ทราบว่า เสียพระยาทั้งสามแล้ว ก็ตกพระไทยมิได้ตั้งอยู่สู้รบ ภาพักพวกหนีไปจากเมืองพิมาย จะขึ้นไปแดนกรุงศรีสัตนาคนหุต. จึ่งขุนชนะชาวเมืองนครราชสีมา ไปติดตามจับกรมหมื่นเทพพิพิธได้กับทั้งบุตรภรรยา คุมเอาตัวจำมาถวาย. จึ่งทรงพระกรุณาโปรดตั้งขุนชนะให้เปนพระยากำแหงสงคราม ครองเมืองนครราชสีมา. พระราชทานเครื่องยศ แลบำเหนจรังวัลเปนอันมากสมควรแก่ความชอบ. แล้วเสดจเลิกทับหลวงกลับยังกรุงธนบุรี จึ่งให้เอาตัวกรมหมื่นเทพพิพิธเข้ามาน่าพระที่นั่ง. แลกรมหมื่นเทพพิพิธถือตัวอยู่มิได้ถวายบังคม จึ่งตำรัศว่าตัวเจ้าบุญวาศนาบารมีมิได้ ไปอยู่ที่ใดก็ภาพวกผู้คนที่นับถือพลอยพินาศฉิบหายที่นั้น. ครั้นจะเลี้ยงเจ้าไว้ ก็จะพาคนที่หลงเชื่อถือบุญพลอยล้มตายเสียด้วยอีก เจ้าอย่าอยู่เลยจงตายเสียครั้งนี้ทีเดียวเถิด. อย่าให้เกิดจลาจลในแผ่นดินสืบไปข้างน่าอีกเลย. แล้วตำรัศสั่งให้เอาตัวกรมหมื่นเทพพิพิธไปประหารชีวิตรเสีย. จึ่งทรงพระกรุณาโปรดปูนบำเหนจตั้งพระราชวรินทรผู้พี่เปนพระยาอไภยรณฤทธิ. จางวางพระตำหรวจฝ่ายขวา ตั้งพระมหามนตรีผู้น้องเปนพระยาอนุชิตราชา. จางวางพระตำหรวจฝ่ายซ้าย สมควรแก่มีความชอบในการสงครามนั้น. ๚ะ๏ ครั้นถึงณะวันอังคารเดือนอ้ายแรมสี่ค่ำปีชวดสัมฤทธิศก เพลาเช้าโมงเสศเสดจออกณะท้องพระโรง พร้อมด้วยท้าวพระยามุขมนตรีทั้งหลายผู้ใหญ่ผู้น้อย เข้าเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทโดยอันดับ. จึ่งมีพระราชดำรัศประภาษด้วยเรื่องคดี จีนแสงซื้อเอาทองพระพุทธรูปไปลงสำเภา ตรัสสั่งให้ลูกขุนปฤกษาโทษ ในขณะนั้นบังเกิดอัศจรรย์แผ่นดินไหว อยู่ช้านานประมาณสองโมงเสศ. ๚ะ๏ ในปีชวดสัมฤทธิศกนั้น. ฝ่ายเจ้าพระพิศณุโลกย์เรือง เมื่อมีไชยชำนะแก่ข้าศึกฝ่ายใต้แล้ว ก็มีน้ำใจกำเริบถือตัวว่ามีบุญาธิการมาก. จึ่งตั้งตัวขึ้นเปนเจ้าแผ่นดิน รับพระราชโองการอยู่ได้ประมาณเจ็ดวัน ก็บังเกิดวัณโรคขึ้นในฅอถึงพิราไลย. จึ่งพระอินท์อากรผู้น้องก็กระทำฌาปนะกิจปลงสพเสรจแล้ว ก็ได้ครองเมืองพระพิศณุโลกยสืบไป แต่หาตั้งตัวขึ้นเปนเจ้าไม่ ด้วยกลัวจะเปนจันไรเหมือนพี่ชายซึ่งตายไปนั้น. ๚ะ๏ ฝ่ายเจ้าพระฝางรู้ข่าวว่า เจ้าพระพิศณุโลกยเรืองถึงพิราไลยแล้ว จึ่งยกกองทับลงมาตีเมืองพระพิศณุโลกยอีก ให้ตั้งค่ายล้อมเมืองทั้งสองฟากน้ำ. แลพระอินท์เจ้าเมืองพระพิศณุโลกยใหม่นั้นฝีมืออ่อน มิได้แกล้วกล้าในการสงคราม ต่อรบต้านทานอยู่ได้ประมาณสามเดือน ชาวเมืองไม่สู้รักษใคร่นับถือ. ก็เกิดไส้ศึกขึ้นในเมือง เปิดประตูเมืองรับฆ่าศึกในเพลากลางคืน. ทับฝางก็เข้าเมืองได้ จับได้ตัวพระอินทเจ้าเมืองพระพิศณุโลกย์. เจ้าพระฝางให้ประหารชีวิตรเสีย แล้วเอาสพขึ้นประจานไว้ในเมือง. จึ่งให้เก็บเอาทรัพย์สิ่งของทองเงินต่างๆ ของเจ้าเมืองกรมการ แลชาวเมืองทั้งปวงได้เปนอันมาก. แล้วให้ขนเอาปืนใหญ่น้อย แลกวาดต้อนครอบครัวอพยพชาวเมืองพระพิศณุโลกย์ ขึ้นไปยังเมืองสว่างบุรี แล้วก็เลิกทับกลับไปเมือง. ขณะนั้นบันดาหัวเมืองเหนือทั้งปวงนั้น ก็เปนสิทธิ์แก่เจ้าพระฝางสิ้น. แลประชาชนชาวเมืองพระพิศณุโลกย์ เมืองพิจิตร ที่แตกหนีภาครอบครัวอพยพลงมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ณะกรุงธนบุรีก็เปนอันมาก. ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๑๓๑ ปีฉลูเอกศก ถึงณะวันเสารเดือนห้าขึ้นสองค่ำ เพลากลางคืนดึกประมาณสองยาม บังเกิดอัศจรรย์แผ่นดินไหวอีกครั้งหนึ่ง แต่ไหวน้อยกว่าครั้งก่อน ๚ะ๏ ในปีฉลูเอกศกนั้น ฝ่ายข้างมลาประเทศกรุงศรีสัตนาคนหุต กับเมืองหลวงพระบางเปนอริแก่กัน พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต เกรงเมืองหลวงพระบางจะยกทับมาตีเอาเมือง จึ่งแต่งราชบุตรชื่อจ้าวหน่อเมือง ให้ขุนนางนำเอาไปถวายพระเจ้าอังวะ กับทั้งเครื่องราชบรรณาการ ขอเปนเมืองขึ้นข้าขอบขันธสีมาแก่กรุงรัตนบุระอังวะ. ๚ะ๏ ฝ่ายข้างกรุงธนบุรีขณะนั้น มีผู้เปนโจทย์ฟ้องกล่าวโทษสมเด็จพระสังฆราชว่า แต่ครั้งอยู่ในค่ายพระนายกองโพสามต้นนั้น ได้คิดอ่านกับพระนายกอง บอกให้เร่งรัดเอาทรัพย์แก่ชาวเมืองซึ่งตกอยู่ในค่าย ส่อว่าผู้นั้นๆ มั่งมีๆทรัพย์มาก. ครั้นกราบทูลพระกรุณาขึ้นตามคำโจทย์ฟ้อง จึ่งดำรัศให้พระยาพระเสดจชำระ. ถามสมเดจพระสังฆราชๆไม่รับ. จึ่งโปรดให้พิสูทธลุยเพลิงชำระตัวให้บริสุทธิ์เหนความจริง แลสมเด็จพระสังฆราชแพ้แก่พิสูทธเพลิง จึ่งดำรัศให้สึกเสีย. อนึ่งสามเณรสิษพระพนรัตน์ก็มาฟ้องกล่าวโทษว่า พระพนรัตน์สร้องเสพเมถุนธรรมทางเว็จมัคแห่งตน. จึ่งโปรดให้พิจารณารับเปนสัจให้ศึกเสีย แล้วเอามาตั้งเปนหลวงธรรมรักษา เจ้ากรมสังฆการี. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันอาทิตย์เดือนสามแรมหกค่ำ แขกเมืองลาวเมืองหล่มสักลงมาสู่พระบรมโพธิสมภาร นำเอาช้างช้างอนึ่ง ม้าห้าม้ามาทูลเกล้าฯ ถวายขอเปนข้าขอบขันธสีมา. อนึ่งในปลายปีฉลูเอกศกนั้น บังเกิดทุพภิกขไภยเข้าแพง เข้าสารเปนเกวียนละสองชั่ง อาณาประชาราษขัดสนกันดารด้วยอาหารนัก. จึ่งทรงพระกรุณาสั่งให้ข้าทูลลอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยพร้อมกันทำนาปรังทุกแห่งทุกตำบล. ๚ะ๏ ครั้นถึงณะวันจันทร์เดือนสามแรมสิบสี่ค่ำ กรมการเมืองจันทบุรีส่งหนังสือบอกเข้ามาว่า กองทับเมืองพุทไธมาศ จะยกเข้ามาตีกรุงเทพมหานคร. จึ่งโปรดให้พระยาพิไชยจีนเปนที่โกสาธิบดี ให้ลงไปตั้งค่ายณะพระประแดง แลปากน้ำเมืองสาครบุรี เมืองสมุทสงคราม. แลข่าวทับญวนนั้นก็สงบไปหายกเข้ามาตีกรุงเทพมหานครไม่. แลในปีฉลูเอกศกนั้น ยังเกิดหนูมากเข้ากินเข้าในยุ้งฉางสิ่งของทั้งปวงต่างๆ จึ่งมีรับสั่งให้ข้าทูลลอองธุลีพระบาทแลราษฎรทั้งหลายดักหนูมาส่งแก่กรมพระนครบาลทุกวันทุกวัน หนูก็สงบเสื่อมสูญไป. ๚ะ๏ อนึ่งซึ่งพระขัติยวงษครั้งกรุงเก่านั้น บันดาเจ้าหญิงทรงพระกรุณาโปรดเลี้ยงไว้ในพระราชวัง. แลเจ้าฟ้าสุริยา เจ้าฟ้าจันทวะดี สองพระองค์นั้นดับสูญสิ้นพระชนม์. ยังอยู่แต่เจ้าฟ้าพินทวะดี พระองค์เจ้าฟักทอง พระองค์เจ้าทับทิม ซึ่งเรียกว่าเจ้าครอกจันทบุูรีนั้น แลเจ้ามิตรบุตรีกรมพระราชวัง โปรดให้ชื่อเจ้าประทุม. หม่อมเจ้ากระจาดบุตรีกรมหมื่นจิตรสุนทร โปรดให้ชื่อเจ้าบุบผา. กับหม่อมเจ้าอุบลบุตรีกรมหมื่นเทพพิพิธ หม่อมเจ้าฉิมบุตรีเจ้าฟ้าจิตร ทั้งสี่องค์นี้ทรงพระกรุณาเลี้ยงเปนห้าม. ๚ะ๏ ถึงวันจันทรเดือนเจ็ดแรมค่ำหนึ่ง ลุศักราช ๑๑๓๑ ปีฉลูเอกศก หม่อมเจ้าอุบลบุตรีกรมหมื่นเทพพิพิธ หม่อมเจ้าฉิมบุตรีเจ้าฟ้าจิตร กับนางลคอนสี่คน เปนชู้กับฝารั่งมหาดเล็กสองคน. พิจารณาเปนสัจแล้ว สั่งให้ฝีภายทนายเลือกไปทำชำเราประจาน แล้วตัดแขน ตัดศีศะ ผ่าอกเสียทั้งชายทั้งหญิง อย่าให้ใครดูเยี่ยงกันสืบต่อไป. ๚ะ๏ ในปีนั้นทรงพระกรุณาตั้งสมเด็จพระพันปีหลวง เปนกรมพระเทพามาตย์ตามโบราณราชประเพณี. แลโปรดตั้งเจ้าครอกหอกลาง พระมเหษีเดิม เปนกรมหลวงบาทบริจาริก. แลตั้งพระเจ้าหลานเธอสามพระองค์เปนเจ้าราชินิกุล ชื่อเจ้านราสุริยวงษองค์หนึ่ง เจ้ารามลักษณองค์หนึ่ง เจ้าประทุมไพรจิตรองค์หนึ่ง. แลพระเจ้าลูกเธอใหญ่พระองค์เจ้าจุ้ย กับพระเจ้าหลานเธอเจ้าแสง เจ้าบุญจันท์สองพระองค์นั้น ยังหาได้พระราชทานพระนามไม่. ๚ะ๏ แล้วทรงคิดราชการซึ่งจะเกนกองทับ ยกกองทับออกไปตีเมืองนครศรีธรรมราช ภอข้างกัมพุชประเทศ นักพระองค์ตน ซึ่งชื่อพระอุไทยราชา ไปขอรับญวนมาตีเมืองพุทไธเพชร์ นักพระรามาธิบดีผู้ครองเมืองสู้รบมิได้ ก็ภาสมัคพักพวกครอบครัวอพยพหนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารณกรุงธนบุรี. จึ่งมีพระราชดำรัศให้พระยาอไภยรณฤทธิ์ พระยาอนุชิตราชา ยกกองทับพลสองพันไปทางเมืองปราจินทับหนึ่ง ไปตีนักพระอุไทยราชาคืนเอาเมืองพุทไธเพชร์ ให้แก่นักพระรามาธิบดีจงได้. แลท้าวพระยานายทับนายกองทั้งสองทับ ก็กราบถวายบังคมลายกกองทับ สรัพด้วยช้างม้าเครื่องสรรพสาตราวุธไปทั้งสองทาง ตามพระราชกำหนด. ๚ะ๏ แล้วเกนกองทับโปรดให้เจ้าพระยาจักรีแขก ซึ่งเปนหลวงนายศักดิ์อยู่ก่อนนั้นเปนแม่ทับ กับพระยายมราช พระยาศรีพิพัฒ พระยาเพชรบุรี. ถือพลห้าพัน พร้อมด้วยช้างม้าเครื่องสรรพาวุธยกไปตีเมืองนครศรีธรรมราชชอีกทับหนึ่ง. เจ้าพระยาจักรีแลท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวง ก็กราบถวายบังคมลายกกองทับไปทางเมืองเพชร์บุรี ไปถึงเมืองประทิว. ชาวเมืองปะทิว เมืองชุมพร ยกครอบครัวหนีเข้าป่าไปสิ้น แลนายมั่นคนหนึ่งภาสมัคพักพวกเปนอันมากเข้ามาหาท่านแม่ทับ ขอสวามีภักดิ์เปนข้าราชการ. จึ่งบอกเข้ามาให้กราบทูล จึ่งโปรดให้มีตราตั้งออกไป ให้นายมั่นเปนพระชุมพรให้เกนเข้ากองทับด้วย. ครั้นยกออกไปถึงแดนเมืองไชยา. หลวงปลัดเมืองไชยาก็ภาไพร่พลมาเข้าสวามีภักดิ์. จึ่งบอกเข้ามาให้กราบทูลอิก โปรดให้มีตราตั้งออกไป ให้หลวงปลัดเปนพระยาวิชิตรภักดีเจ้าเมืองไชยา. ให้เกนเข้าบันจบกองทับ กองทับก็ยกออกไปตั้งอยู่ณเมืองไชยา ๚ะ๏ ฝ่ายเจ้านครศรีธรรมราชได้ทราบข่าวศึก จึ่งเกนกองทับให้ขุนนางเมืองนครยกออกมาตั้งค่ายรับอยู่ณตำบลท่าหมาก แลกองทับกรุงยกข้ามแม่น้ำบ้านดอนไปถึงค่ายท่าหมาก ได้รบกับทับเมืองนครเปนสามารถ พระยาเพชร์บุรี พระยาศรีพิพัฒตายในที่รบ. แต่หลวงลักษณมนาบุตรเจ้าพระยาจักรีแม่ทับนั้น ฆ่าศึกจับเปนไปได้. เจ้าพระยาจักรีก็ให้ล่าทับ. ถอยมาตั้งอยู่ณะเมืองไชยา. ๚ะ๏ แลพระยายมราชจึ่งบอกกล่าวโทษเข้ามาว่า เจ้าพระยาจักรีเปนกระบถ มิเต็มใจทำราชการสงคราม สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบในหนังสือบอกนั้น ก็ทรงพระวิจารณ์ด้วยพระปรีชาญาณ ตรัสทราบเหตุว่า นายทับนายกองเหล่านี้ทำสงครามไปไม่ตลอดแล้ว จึ่งเกิดวิวาทแก่กัน. แลการศึกเมืองนครศรีธรรมราชครั้งนี้เปนศึกใหญ่ แต่กำลังเสนาบดีเหนจะทำการไม่สำเร็จเปนแท้. จำจะต้องยกพยุหโยธาทับหลวงไปเอง จึ่งจะได้เมืองนครศรีธรรมราช. จึ่งดำรัศให้จัดแจงทับเรือพร้อมด้วยพลรบหมื่นหนึ่ง พลกรรเชียงหมื่นหนึ่ง แลเครื่องสาตราวุธปืนใหญ่น้อยทั้งปวงให้สรัพ. ๚ะ๏ ครั้นถึงวันมหาพิไชยฤกษในอาสาทมาศกาฬปักษดิถี จึ่งเสด็จทรงเรือพระที่นั่งสถุวรรณพิไชยนาวาท้ายรถ ยาวสิบเอ็ดวา ปากกว้างสามวาเสศ พลกะเชียงญี่สิบเก้าคน. พร้อมด้วยเรือรบท้าวพระยาข้าทูลลอองธุลีพระบาทนายทับนายกองทั้งปวง โดยเสด็จพระราชดำเนินตามกระบวนพยุหโยธาน่าหลัง เสด็จกรีธานาวาทับหลวงออกจากกรุงธนบุรี. ไปทางชลมารค ออกปากน้ำเมืองสมุทสงคราม ตกถึงท้องทเล. ๚ะ๏ ครั้นณวันอาทิตย์เดือนเก้าแรมสามค่ำ เพลาสามโมงเช้าถึงตำบลบางทลุะ บังเกิดพยุห์คลื่นลมหนัก แลเรือรบข้าราชการในกองหลวงแลกองน่ากองหลัง บ้างล่ม บ้างแตก บ้างเข้าจอดแอบบังอยู่ในอ่าว สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวจึ่งดำรัศให้ปลูกสาลขึ้นสูงเพียงตาบนฝั่ง ให้แต่งตั้งเครื่องกระยาสังเวยบวงสรวงเทพารักษ อันพิทักษท้องพระมหาสมุทให้จุดธูปเทียนทำสักการบูชา แล้วทรงตั้งพระสัตยาธิฐาน เอาคุณพระศรีรัตนไตรยเปนที่ตั้งกับทั้งพระบารมีซึ่งทรงบำเพ็ญมาแต่บุเรชาติแลในปัจจุบัน ขอจงบันดานให้คลื่นลมสงบลงในบัดนี้. ด้วยเดชะอำนาทพระราชกฤษดาธิการอภินิหารบาระมีเปนมหัศจรรย์. คลื่นลมนั้นก็สงบราบคาบเหนประจักษในขณะทรงพระสัตยาธิษฐาน แลเรือพระที่นั่ง แลเรือข้าราชการทั้งหลาย ล้วนเปนเรือรบน้อยๆ ก็ไปได้ในมหาสมุทหาอันตรายมิได้ ๚ะ๏ ครั้นเสด็จถึงเมืองไชยา จึ่งให้จอดประทับณะท่าพุมเรียง เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปประทับแรมอยู่บนพลับพลา ซึ่งกองทับน่าตกแต่งไว้รับเสด็จ เพื่อจะให้เปนศรีสวัสดิ์มงคลแก่เมืองไชยานั้น แล้วดำรัศให้กองทับพระพิไชยราชานั้น เข้าบันจบทับเจ้าพระยาจักรี เร่งรีบยกไปทางบก ให้ตีเอาค่ายทับเมืองนครให้แตกจงได้. แลกองทับบกก็กราบถวายบังคมลายกไปตามพระราชกำหนด. จึ่งเสด็จลงเรือพระที่นั่ง ให้ยาตรานาวาทับโดยทางทเลสืบไป. ถึงตำบลปากทางคูหา ได้ทอดพระเนตรเหนดาวหางขึ้นข้างทักษิณทิศ เปนทุนิมิตรปรากฎแก่เมืองนครศรีธรรมราช สำแดงเหตุอันจะถึงกาลพินาศปราไชย ก็มีพระราชหฤไทยโสมนัศ. จึ่งดำรัศเร่งกองทับเรือทั้งปวงให้รีบขึ้นไป ให้ถึงปากน้ำเมืองนครโดยเรว ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับบกพระยายมราชเปนกองน่า ยกข้ามท่าข้ามไปถึงลำพูญ เข้าตีค่ายกองทับเมืองนคร ซึ่งตั้งรับอยู่ณท่าหมากนั้น แตกพ่ายหนี จึ่งยกติดตามไปตั้งค่ายอยู่ณเขาศีศะช้าง. ภอทับหลวงถึงปากน้ำเมืองนครในวันพฤหัสบดีเดือนสิบแรมหกค่ำ เพลาเช้าสามโมง ก็เสด็จยาตราทับขึ้นบกยกเข้าตีเมืองนครศรีธรรมราช ๚ะ๏ ฝ่ายเจ้านครแต่งให้เจ้าอุปราช ยกกองทับออกมาตั้งรับที่ท่าโพ ก็พ่ายแก่ทับหลวงแตกหนีเข้าเมือง. เจ้านครตกใจกลัวพระเดชานุภาพเปนกำลัง มิได้ตั้งอยู่สู้รบทิ้งเมืองเสีย ภาสมัคพักพวกญาติวงษออกจากเมืองหนีไปในเพลานั้น. แลนายคงไพร่ในกองพระเสนาภิมุข เหนช้างพลายเพชร์ที่นั่งเจ้านครผูกเครื่องสรรภปล่อยอยู่จึ่งจับเอามาถวาย สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นทรงช้างที่นั่งพลายเพชร์ เสด็จเข้าเมืองนครศรีธรรมราชได้โดยง่าย. นายทับนายกองทั้งปวงนั้น ตามเสด็จมาทันบ้างไม่ทันบ้าง. ๚ะ๏ แลขณะเมื่อรบกันกับเจ้าอุปราช เสียแต่นายเพชทนายเลือก ถูกปืนตายคนเดียว พลข้าหลวงจับได้ราชธิดาแลญาติวงษ นางสนมเหล่าชแม่พนักงาน บริวารของเจ้านครกับทั้งเจ้าอุปราช แลขุนนางทั้งปวง. แลได้ทรัพย์สิ่งของทองเงินเครื่องราชูประโภควัตถาลังกาภรณ์ต่างๆเปนอันมากนำมาถวาย. ครั้นท้าวพระยานายทับนายกองทับบกทับเรือมาถึงพร้อมกันแล้ว จึ่งมีพระราชดำรัศภาคโทษไว้ครั้งหนึ่ง ซึ่งตามเสด็จมิได้ทันในขณะงานพระราชสงครามนั้น. ๚ะ๏ ฝ่ายเจ้านครภาราชบุตรราชธิดาวงษานุวงษ แลพระราชทรัพย์เกบไปได้บ้าง หนีลงเรือไปณเมืองสงขลา. แลหลวงสงขลาภาหนีต่อไป ถึงณเมืองเทพาเมืองตานี. ๚ะ๏ จึ่งมีพระราชดำรัศให้เจ้าพระยาจักรี พระยาพิไชยราชา เร่งยกทับเรือทับบกติดตามไปจับตัวเจ้านครให้จงได้ ถ้ามิได้จะลงพระราชอาญาถึงสิ้นชีวิตร. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันศุกร์เดือนสิบเบ็ดขึ้นหกค่ำ เพลากลางคืนสองทุ่มเสศ. พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว จึ่งเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนนาวาพยุหจากเมืองนครศรีธรรมราชไปโดยทางมหาสาครสมุท ประทับรอนแรมไปตามลำดับชลมารค จนถึงเมืองสงขลา เสดจขึ้นประทับอยู่ในเมือง. ๚ะ๏ ฝ่ายเจ้าพระยาจักรีแม่ทับเรือ พระยาพิไชยราชาแม่ทับบก ยกติดตามเจ้านครไปถึงเมืองเทพา จับจีนจับแขกมาไต่ถามได้ความว่า เจ้านครหนีไปเมืองตานี กับพระยาพัทลุง แลหลวงสงขลา. แลแม่ทับทั้งสองนาย จึ่งให้มีหนังสือไปถึงพระยาตานีศรีสุริยต่านว่า ให้ส่งตัวเจ้านครกับพักพวกมาถวายให้สิ้น. แม้นมิส่ง จะยกกองทับไปตีเมืองตานี. ๚ะ๏ พระยาตานีกลัวบ้านเมืองจะเปนอันตราย จึ่งส่งตัวเจ้านคร พระยาพัทลุง หลวงสงขลา เจ้าพัด เจ้ากลาง กับทั้งบุตรภรรยามาให้แก่ข้าหลวง ข้าหลวงก็จำคนโทษทั้งนั้น ใส่เรือรบมาถวายณเมืองสงขลา. ๚ะ๏ ครั้นณวันศุกรเดือนสิบสองขึ้นสิบสองค่ำ จึ่งเสด็จพระราชดำเนินนาวาทับหลวงกลับมายังเมืองนครศรีธรรมราช. ๚ะ๏ ครั้นณวันศุกร์เดือนสิบสองขึ้นสองค่ำปีฉลูเอกศก เพลากลางคืนเจ็ดทุ่ม เกิดเพลิงไหม้ในเมืองนครตำบลนายก่าย. สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงพระอุษาหเสด็จพระราชดำเนินไป ให้ข้าทูลลอองธุลีพระบาทดับเพลิง. จึ่งทรงพระกรุณาเรียกให้ช้างมาทะลายเรือน. ฝ่ายกรมช้างมามิทันเสด็จ ให้ลงพระราชอาญาคละสามสิบทีบ้าง ห้าสิบทีบ้าง ตามบันดาศักดิ์ผู้ใหญ่ผู้น้อย. ฝ่ายเจ้าราชินิกูลแลข้าทูลลอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ซึ่งตามเสด็จไปไม่ทันนั้น ให้ลงพระราชอาญาทุกคนๆ. ๚ะ๏ ครั้นสำเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราชแล้ว จึ่งทรงพระกรุณาให้มีกฎประกาศไปทั่วทั้งกองทับ ห้ามมิให้ไพร่พลไทยจีนทั้งปวงฆ่าโคกระบือ แลข่มเหงสมณชีพราหมณ์ อาณาประชาราษฎรให้ได้ความเดือดร้อน. แล้วทรงพระกรุณาให้ขนเอาเข้าเปลือกลง บันทุกสำเภาเข้ามาพระราชทาน บุตรภรรยาข้าทูลลอองธุลีพระบาทฝ่ายทหารพลเรือน ที่ตามเสด็จไปณเมืองนครศรีธรรมราชครั้งนั้น. ๚ะ๏ แลครั้งนั้นพวกฝีภายทนายเลือกซึ่งตามเสด็จ ได้ทรัพย์สิ่งสินเปนอันมาก. ทรงพระกรุณาให้เล่นให้สนุกนิ์ แลให้กำถั่วน่าพระที่นั่ง กระดานละห้าสิบชั่งบ้าง ร้อยชั่งบ้าง สนุกนิ์ปรากฎยิ่งกว่าทุกครั้ง. ๚ะ๏ แล้วทรงพระราชศรัทธาให้สังฆการีธรรมการ ไปนิมนต์พระภิกษุเถรเณรรูปชีทั่วทั้งในเมืองนอกเมืองมาพร้อมกัน ทรงถวายเข้าสารองค์ละถัง เงินตราองค์ละบาท ที่ขาดผ้าสบงจีวรก็ถวายทุกๆองค์. แล้วทรงแจกยาจกวรรณิพกทั้งปวงเสมอคนละสลึงทุกๆวันอุโบสถ แล้วเกนให้ข้าราชการต่อเรือรบเพิ่มเติมขึ้นอีกร้อยลำเสศ สำรับจะได้ใช้ราชการทับศึกไปภายน่า. แลทรงพระกรุณาให้จ้างพวกข้าทูลลอองธุลีพระบาท ทั้งฝ่ายทหารพลเรือน ให้บุรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวิหารการปเรียญติ์ แลพระระเบียงสาลากุฎีในพระอารามใหญ่น้อยเปนหลายพระอาราม สิ้นพระราชทรัพย์เปนอันมาก. แล้วให้มีการมหรรศพสมโภชเวียนพระเทียน พระมหาธาตุเจดียใหญ่ในเมืองนครนั้นครบสามวัน. ๚ะ๏ ครั้นเสร็จการสมโภชพระบรมสาริริกธาตุแล้ว จึ่งดำรัศให้เสนาบดีแลลูกขุนปฤกษาโทษเจ้านคร. แลเสนาบดีปฤกษาพร้อมกันว่า โทษถึงประหารชีวิตร. ทรงพระกรุณาโปรดว่าเรายังไม่เหนด้วย ด้วยเจ้านครยังมิได้เปนข้าราชการแห่งเรา. ฝ่ายเจ้านครก็ตั้งตัวเปนใหญ่ ฝ่ายเราก็ถือว่าเราเปนใหญ่ไม่ง้องอนแก่กัน จึ่งได้มารบสู้กันทั้งนี้ ถ้าแลเจ้านครทำราชการอยู่ด้วยเราแล้ว คิดกระบถต่อไป แม้นเสนาบดีปฤกษาโทษถึงตาย เราจะเหนด้วย แต่ว่าให้ยกไว้ ให้จำเจ้านครเข้าไปให้ถึงกรุงฯก่อนจึ่งปฤกษากันใหม่. ๚ะ๏ แล้วทรงพระกรุณาโปรดตั้งเจ้าหลานเธอเจ้านราสุริยวงษ ไว้ครองเมืองนครศรีธรรมราช แลให้พระยาราชสุภาวดี กับพระศรีไกรลาศ อยู่ช่วยราชการ. แล้วทรงพระกรุณาพระราชทานโอวาทานุสาสน์สั่งสอนไว้ว่า ให้ประพฤษดิ์ปรนิบัติเลี้ยงดูเสนาบดี สมณพราหมณาจาริย อาณาประชาราษฎรทั้งปวง โดยยุติธรรมตามโบราณราชประเพณีกระษัตริยแต่ก่อน. แล้วทรงพระกรุณาจัดแจงตั้งแต่งผู้รั้งกรมการ แขวงเมืองนครไว้พร้อมทุกเมือง. ๚ะ๏ แล้วดำรัศให้ราชบัณฑิตยจัดพระไตรยปิฎกลงบันทุกเรือเชิญเข้ามาณกรุงฯ แต่ภอจำลองได้ทุกๆพระคำภิร์แล้ว จึ่งจะเชิญออกมาส่งไว้ตามเดิม. อนึ่งให้สังฆการีนิมนต์พระอาจารย์ศรีวัดพนัญเชิง ซึ่งหนีพม่าออกมาอยู่ณเมืองนครนั้น ให้รับเข้ามากรุง กับทั้งพระสงฆ์สามเณรสิศทั้งปวงด้วย. ๚ะ๏ จึ่งดำรัศให้ตระเตรียมกองทับจะกลับคืนยังกรุงธนบุรี. ครั้นถึงณเดือนสี่ปลายปีฉลูเอกศกนั้น เพลาเช้าเมื่อจะเสด็จกลับนั้น สมณพราหมณาประชาราษฎรยาจกวรรณิพก ชาวเมืองนครศรีธรรมราชทั้งปวงมาพร้อมกันถวายไชยมงคล มีจักษุนองไปด้วยน้ำตาว่า แต่นี้เราทั้งปวงเปนคนอนาถาหาที่พึ่งมิได้แล้ว. เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวยังเสด็จอยู่ ทรงพระกรุณาพระราชทานเงินผ้าโภชนาหาร เราได้รับพระราชทานเลี้ยงชีวิตรเปนศุขทุกๆวันพระอุโบสถ. ตั้งแต่นี้ไปเราจะเปนคนอนาถาแล้ว ชาวเมืองครั้งนั้นสลดระทดใจ ควรจะวังเวศหนักหนา. ๚ะ๏ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสด็จราชดำเนินกลับมาครั้งนั้น ด้วยพระกฤษดานุภาพบาระมี ก็เสด็จมาได้โดยสดวกหาไภยอันตรายมิได้ ประทับร้อนแรมมาโดยลำดับ. ครั้นถึงณเดือนสี่ จุลศักราช ๑๑๓๑ ปีฉลูเอกศก เพลาเช้าสามโมงเสศถึงเมืองธนบุรี. ๚ะ๏ จึ่งทรงพระกรุณาโปรดตั้งพระอาจาริย์ศรี เปนสมเด็จพระสังฆราช. แลพระไตรยปิฎกซึ่งเชิญเข้ามาแต่เมืองนครนั้นทรงพระกรุณาให้จ้างช่างจานๆพระไตรยปิฎก. พระราชทานค่าจ้างผูกหนึ่งเปนเงินบาทหนึ่ง เข้าถังหนึ่ง เงินค่ากับเข้าวันละเฟื้อง หมากพลูวันละซอง บู่หรี่วันละสิบมวน ของกินกลางวันเสมอทุกวัน เสมอทุกผูกทุกคำภีร์จนจบพระไตรยปิฎก. สิ้นพระราชทรัพย์เปนอันมาก. ครั้นลงรักปิดทอง ทานสำเร็จแล้ว ทรงพระกรุณาให้เชิญพระไตรยปิฎกฉบับ กลับไปส่งเสียณเมืองนครดั่งเก่า. แลซึ่งเจ้านครนั้นก็พระราชทานโทษ ให้ถอดออกจากพันทนาการ แล้วให้รับพระราชทานน้ำพิพัทสัจจา อยู่เปนข้าราชการ พระราชทานบ้านเรือนที่อาไศรยให้อยู่เปนศุข. ๚ะ๏ จำเดิมแต่นั้นมาพระพุทธสาศนาก็ค่อยวัฒนาการ รุ่งเรืองเฟื่องฟูขึ้นเหมือนแต่ก่อน. แลสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เจริญพระราชกฤษดาธิคุณไพบุลย์ภิโยภาพยิ่งขึ้นไป. ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินก็ค่อยมีความผาศุกสนุกนิ์สบาย บริบูรณ์ คงคืนขึ้นเหมือนเมื่อครั้งแผ่นดินกรุงเก่า ยังปรกติดีอยู่นั้น. ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับซึ่งยกทับไปกัมพุชประเทศนั้น ทับพระยาอไภยรณฤทธิ พระยาอนุชิตราชา ยกจากเมืองนครราชสีมา ไปตีเมืองเสียมราบได้. ทับพระยาโกษาล่ายยกจากเมืองปราจิน ไปตีได้เมืองปัตบองตั้งอยู่ที่นั้น. นักพระองค์ตนซึ่งเปนพระอุไทยราชา ยกกองทับเรือมาทางทเลสาบ จะมาตีเมืองเสียมราบคืน. พระยาอไภยรณฤทธิ์ พระยาอนุชิตราชา จัดแจงได้เรือที่เมืองเสียมราบ ยกทับเรือออกรบกับทับเขมรในทเลสาบ ได้สู้รบกันหลายเพลา. ภอได้ข่าวเลื่องฦๅออกไปว่า สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกไปตีเมืองนครศรีธรรมราช บัดนี้ทิวงคตเสียแล้ว. พระยาอภัยรณฤทธิ พระยาอนุชิตราชาก็ตกใจ เกรงแผ่นดินจะเกิดจลาจลขึ้นอีก จึ่งเลิกทับกลับมา แต่พระยาอภัยรณฤทธิ์เกรงความจะไม่แน่ จึ่งรอทับอยู่ณเมืองนครราชสีมาก่อน. พระยาอนุชิตราชานั้น รีบยกทับมาจนถึงเมืองลพบุรี. จึ่งรู้ความตระหนักว่าเสด็จยังอยู่หาอันตรายมิได้ บัดนี้ตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ทับหลวงจะกลับอยู่แล้ว จึ่งตั้งรออยู่ณเมืองลพบุรี มิได้กลับมาถึงกรุง. ๚ะ๏ ฝ่ายพระยาโกษาแจ้งว่าทับทางเมืองเสียมราบเลิกถอยไปแล้ว ก็ให้ลาดทับกลับมาณเมืองปราจิน. แล้วบอกกล่าวโทษเข้ามาณกรุงว่า ทับพระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยาอนุชิตราชาเลิกหนีมาก่อน ครั้นจะอยู่แต่ทับเดียว ก็เกรงทับเขมรจะยกทุ่มเข้ามามากจะเสียที เหนจะเหลือกำลังจึ่งลาดถอยมาบ้าง ๚ะ๏ ครั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาถึงกรุง ได้ทรงทราบหนังสือบอกพระยาโกษาธิบดี แล้วได้ทราบข่าวว่าพระยาอนุชิตราชา ยกกลับมาตั้งอยู่ณเมืองลพบุรีก็ทรงพระโกรธ จึ่งดำรัศใช้ตำรวจให้ไปหาตัวพระยาอนุชิตราชาลงมาเฝ้า แล้วตรัสถามว่า ใช้ไปราชการสงครามยังมิได้ให้หาทับกลับเหตุไฉนจึ่งยกทับกลับมาเองดังนี้ จะคิดเปนกระบถฤๅ ๚ะ๏ พระยาอนุชิตราชจึ่งกราบทูลพระกรุณาโดยจริงว่า ข่าวฦๅออกไปว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จทิวงคตณเมืองนครศรีธรรมราช. ข้าพระพุทธเจ้าเกรงว่าฆ่าศึกอื่นจะยกมาชิงเอากรุงธนบุรี จึ่งรีบกลับมาหวังจะรักษาแผ่นดินไว้ นอกกว่าพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าจะได้ยอมเปนข้าผู้อื่นอีกนั้น หามิได้เลยเปนอันขาด ๚ะ๏ เมื่อได้ทรงสดับก็หายพระโกรธ กลับทรงพระโสมนัศดำรัศสรรเสริญพระยาอนุชิตราชาว่าเออเองเปนคนสัจซื่อแท้ น้ำใจสมักเปนข้าแต่กูผู้เดียว มิได้ยอมเปนข้าผู้อื่นอิกสืบไป. แล้วโปรดให้มีตราหากองทับพระยาอภัยรณฤทธิ์ แลพระยาโกษาธิบดีกลับคืนมายังพระนคร. ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๑๓๒ ปีขานโทศก ถึงณเดือนหก ฝ่ายเจ้าพระฝางซึ่งเปนใหญ่ในหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวงนั้น ประพฤษดิพาลทุจริตทุศิลกรรมลามก บริโภคสุรากับทั้งพวกสงฆ์อลัชชี ซึ่งเปนนายทับนายกองทั้งปวงนั้น แลชวนกันกระทำมนุษวิหฆาฏกรรมปราชิก แล้วยังนุ่งห่มผ้ากาสาวพัตรอยู่หาละเพศสมณไม่ แล้วเกนกองทับให้ลงมาลาดกระเวนตีเอาเข้าปลาอาหาร แลเผาบ้านเรือนราษฎรเสียหลายตำบล จนถึงเมืองอุทัยธานีเมืองไชยนาท แลราษฎรหัวเมืองฝ่ายเหนือ ซึ่งอยู่ในพระราชอาณาเขตรได้ความเคืองแค้นขัดสนนัก. กรมการเมืองอุไทยธานี เมืองไชยนาทบอกลงมาให้กราบทูลพระกรุณา. ๚ะ๏ ครั้นได้ทรงทราบจึ่งมีพระราชดำรัสให้เกนกองทับ จะยกไปปราบอ้ายพวกเหล่าร้ายฝ่ายเหนือให้แผ่นดินราบคาบ. จึ่งโปรดให้พระยาพิไชยราชา เปนแม่ทับถือพลห้าพัน สรัพด้วยช้างม้าเครื่องสรรพาวุธ ยกไปทางฟากตวันตกทับหนึ่ง. ขณะนั้นพระยายมราชถึงแก่กรรม จึ่งทรงพระกรุณาโปรดให้พระยาอนุชิตราชา เลื่อนที่เปนเจ้าพระยายมราช ให้เปนแม่ทับถือพลห้าพัน สรัพด้วยช้างม้าเครื่องสรรพาวุธ ยกไปทางฟากตวันออกทับหนึ่ง. แลทับบกทั้งสองทับเปนคนหมื่นหนึ่ง ให้ยกล่วงไปก่อน. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันเสาร์เดือนแปดแรมสิบสี่ค่ำ เพลาเช้าสามโมงเสศ ได้มหาพิไชยฤกษ. สมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว จึ่งทรงเรือพระที่นั่งกราบยาวสิบเบ็จวา พร้อมด้วยเรือท้าวพระยาข้าทูลลอองธุลีพระบาท ฝ่ายทหารพลเรือนไทยจีนทั้งปวงโดยเสด็จพระราชดำเนินตามขบวนพยุหยาตราน่าหลัง. แลพลโยธาทับหลวงหมื่นสองพันโดยกำหนด. ๚ะ๏ ครั้งนั้นเข้าแพงถึงเกวียนละสามชั่ง ด้วยเดชะพระบรมโพธิสมภาร บันดานให้กำปั่นเข้าสานมาแต่เกาะทิศใต้เปนหลายลำ ในขณะเมื่อจะยกทับ จึ่งทรงพระกรุณาให้รอทับอยู่ แล้วให้จัดซ้ือเข้าจ่ายแจกให้พลกองทับจนเหลือเฟือ แล้วได้แจกจ่ายแก่สมณชีพราหมณยาจกวรรณิพก แลครอบครัวบุตรภรรยาข้าราชการทั้งปวงทั่วกัน แล้วแขกเมืองตรังกนู แลแขกเมืองยักกรา นำเอาปืนคาบสิลาเข้ามาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายถึงสองพันสองร้อยบอก เปนพระราชลาภอันวิเสศ. จึ่งให้ยาตรานาวาพยุหทับจากกรุงธนบุรีไปโดยชลมารค เสด็จประทับร้อนแรมอยู่สองเวน แล้วยกขึ้นไปถึงตำบลชาลวันประทับแรมอยู่เวนหนึ่ง. รุ่งขึ้นณวันเสาร์เดือนเก้าแรมสิบสองค่ำ จึ่งยกไปประทับร้อนณปากน้ำพิง. ๚ะ๏ ฝ่ายเจ้าพระฝางรู้ข่าวศึก จึ่งให้หลวงโกษายังเมืองพระพิศณุโลกย ยกกองทับลงมาตั้งรับอยู่ณเมืองพระพุศณุโลกย. ครั้นค่ำลงเพลาประมาณยามเสศในวันเสาร์ จึ่งดำรัศให้กองน่ายกเข้าตีเมืองพระพิศณุโลกย ก็เข้าเมืองได้ในกลางคืนวันนั้น. แลหลวงโกษายังหนีออกจากเมืองขึ้นไปตั้งค่ายรับอยู่ตำลบโทก ยังไม่ทันได้รบกันก็เลิกหนีไป. ๚ะ๏ ครั้นณวันจันทร์เดือนเก้าแรมสี่ค่ำ เพลาเช้าจึ่งเสด็จเข้าเมืองพระพิศณุโลกย นมัศการพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห ทรงพระราชศรัทธาเปลื้องภูษาทรงสพักออกจากพระองค์ ทรงห่มพระพุทธชินราชเจ้าแล้ว เสด็จประทับแรมอยู่ในเมืองอยุดถ้าทับบกอยู่เก้าเว้น. ภอกองทับพระยายมราชซึ่งยกมาทางฟากตวันออกนั้นขึ้นไปถึง. จึ่งพระราชทานเข้าปลาอาหารให้จ่ายแจกกันทั่วแล้ว ดำรัศให้ทับบกยกรีบขึ้นไปติดเมืองสว่างคบูรี. รุ่งขึ้นอีกสองวันกองทับพระยาพิไชยราชาซึ่งยกมาฟากตวันตก จึ่งขึ้นไปถึง จึ่งดำรัศให้จ่ายเสบียงอาหารให้แล้ว ให้ยกรีบขึ้นไปให้ทันทับพระยายมราชฟากตวันออก. แล้วตรัสว่าเราจะยกทับเรือขึ้นไปบัดนี้ น้ำในแม่น้ำยังน้อยนักตลิ่งยังสูงอยู่ ฆ่าศึกจะได้เปรียบยิงปืนลงมาแต่บนฝั่งถนัด แต่ทว่าไม่ช้าดอกภอทับบกยกข้ามแม่น้ำน้อยเสียได้ สามวันน้ำก็จะเกิดมากขึ้น. ด้วยเดชพระบรมโพธิสมภารเปนมหัศจรรย. ครั้นเคารพสามวันน้ำก็เกิดมากขึ้นเสมอตลิ่งบ้างลบตลิ่งบ้าง ประดุจกระแสพระราชดำรัศไว้นั้น. จำเดิมแต่นั้นบันดานายทับนายกองแลไพร่พลทับบกทับเรือทั้งปวงได้แจ้งเหตุแล้วก็ยกมือขึ้นถวายบังคมทุกๆคน. เอาพระเดชานุภาพเปนที่พึ่งปกเกล้าฯ มีน้ำใจกล้าหารมิได้ย่อท้อต่อการณรงค องอาจที่จะรบสู้หมู่ปัจามิตรฆ่าศึก ด้วยเหนพระบารมีปรากดเปนแท้ ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับพระยายมราช แลพระยาพิไชยราชาซึ่งยกขึ้นไปถึงเมืองสว่างคบุรี ก็ให้ตั้งค่ายล้อมเมืองไว้ แลเมืองสว่างคบุรีนั้นตั้งแต่ระเนียดไม้ขอนสักถมเชิงเทอญดินหามีกำแพงไม่ เจ้าพระฝางก็เกนพลทหารขึ้นรักษาน่าที่เชิงเทอญรอบเมือง ยิงปืนใหญ่น้อยต่อรบป้องกันเมือง แต่คิดครั่นคร้ามพระเดชานุภาพเปนกำลัง. ๚ะ๏ ขณะนั้นช้างพังช้างหนึ่งอยู่ในเมืองตกลูกเปนพังเผือกสมพงษ แลพระเจ้าฝางจึ่งว่าช้างเผือกนี้มิได้บังเกิดเปนของคู่บุญของเรา เกิดเปนพาหนะสำหรับบุญแห่งท่านแม่ทับใต้ซึ่งยกขึ้นมานั้น ก็ยิ่งคิดเกรงกลัวพระบารมียิ่งนัก แลสู้รบรออยู่ได้สามวัน. เจ้าพระฝางก็ภาสมัคพรรคพวกหนีออกจากเมืองในเพลากลางคืนไปข้างทิศเหนือ พวกทหารก็นำเอาลูกช้างเผือกกับทั้งแม่ช้างภาหนีตามไปด้วย. กองทับกรุงก็เข้าเมืองได้. แล้วแต่งคนถือหนังสือบอกลงมายังทับหลวง ณ ะเมืองพระพิศณุโลกย์ ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับหลวงถึงณวันอาทิตยเดือนเก้าแรมเจดค่ำเพลาเช้าสองนาฬิกา ก็เสด็จยกพยุหยาตราจากเมืองพระพิศณุโลกยโดยทางชลมารค ประทับร้อนแรมไปได้สามเวน ภอภบผู้ถือหนังสือบอกกองน่าบอกลงมาใจความว่า ได้เมืองสว่างคบุรีแล้ว. แต่อ้ายเรือนพระฝางนั้น ภาลูกช้างเผือกซึ่งเกิดในเมืองนั้นภาหนีไป ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงยังให้ติดตามอยู่. จึ่งเสด็จเร่งรีบเรือพระที่นั่งไปทั้งกลางวันกลางคืน ถึงที่ประทับพระตำหนักค่ายหาดสูงซึ่งกองน่าตั้งไว้รับเสด็จ ก็เสดจขึ้นประทับแรมอยู่ที่นั้น แล้วดำรัสสั่งให้นายทับนายกอง เกนกันให้ติดตามอ้ายเรือนพระฝาง แลนางพระยาช้างเผือกให้จงได้. ๚ะ๏ ครั้นณวันอาทิตยเดือนเก้าแรมสิบสามค่ำ หลวงคชศักดิ์กับกองพระยาอินทรวิชิต เจ้าเมืองวิเสศไชยชาญ จับได้นางพระยาเสวตรมงคลคชสารตัวประเสริฐ นำมาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย. ทรงพระกรุณาพระราชทานบำเหน็จรางวันแก่พระยาอินทรวิชิต แลหลวงคชศักดิโดยสมควรแก่ความชอบ. ๚ะ๏ ครั้นณวันพฤหัศบดีเดือนสิบขึ้นสิบค่ำ จึ่งเสด็จยกพยุหยาตราทับหลวงไปโดยทางชลมารคถึงตำบลน้ำมืด จึ่งดำรัสให้ตั้งด่านทางชั้นในชั้นนอก แลเกลี้ยกล่อมอาณาประชาราษฎร ชาวหัวเมืองเหนือทั้งปวง ซึ่งอพยพหนีแตกฉานซ่านเซนเข้าป่าดงไป ให้ออกมาอยู่ตามภูมลำเนาดุจแต่ก่อน. แล้วให้เที่ยวลาดตระเวนเสาะสืบสาวเอาตัวอ้รายเรือนพระฝางให้จงได้ แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับยังพระตำหนักค่ายหาดสูง. ๚ะ๏ ครั้นรุ่งขึ้นวันเสาร์เดือนสิบแรมห้าค่ำ จึ่งดำรัสสั่งให้แต่งกฎประกาศแก่กองทับบกทับเรือไทยจีนทั้งปวง ห้ามอย่าให้ข่มเหงริบเอาทรัพยสิ่งของของราษฎรชาวบ้าน แลฆ่าโคกระบือสัตวของเลี้ยง. อนึ่งถ้านายทับนายกองผู้ใด ได้ปืนแลช้างพังพลายใหญ่ได้ศอกได้นิ้วรูปดี แลรูปเปนกลางก็ให้ส่งเข้ามาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย อย่าให้ใครได้เบีบดบังไว้จะเอาตัวเปนโทษ.๏ ครั้นถึงณวันพฤหัศบดีเดือนสิบเบดขึ้นสองค่ำ มีใบบอกขึ้นไปแต่กรุงธนบุรีว่า แขกเมืองตานีเข้ามาสู่พระบรมโพธิสมภาร ถวายดอกไม้เงินทอง. แลเมืองยักกรา ถวายปืนใหญ่ร้อยบอก. ๚ะ๏ ครั้นถึงวันจันทรเดือนสิบเบดขึ้นหกค่ำ ทรงพระกรุณาให้สืบเสาะจับพระสงฆพวกเหล่าร้าย ได้ตัวพระครูคิริมานนท์หนึ่ง อาจาริยทองหนึ่ง อาจาริยจันหนึ่ง อาจาริยเกิดหนึ่ง ล้วนเปนแม่ทับอ้ายเรือนพระฝางทั้งสี่รูป. แต่พระครูเพชรรัตน์ กับอ้ายเรือนพระฝางนั้นหาได้ตัวไม่. จึ่งดำรัสสั่งให้ผลัดผ้าคฤหัฐทั้งสี่คน แล้วจำคงส่งมาใส่คุกไว้ณกรุง. ๚ะ๏ ในวันนั้นให้นิมนตพระสงฆเมืองเหนือมาพร้อมกันน่าที่นั่ง. แลให้หาขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อย มาประชุมเฝ้าพร้อมกัน. จึ่งดำรัศปฤกษาว่า พระสงฆบันดาอยู่ฝ่ายเหนือนี้ เปนภักพวกอ้ายเรือนพระฝางทั้งสิ้น. ย่อมถืออาวุธแลปืน รบศึกฆ่าคน ปล้นเอาทรัพย์สิ่งของ แลกินสุราเมรัย สร้องเสพยอนาจารด้วยสิกา ต้องจตุปราชิกาบัดดิ์ต่าง ๆ ขาดจากสิกขาบทในพระพุทธสาศนา ล้วนลามก จะละไว้ให้คงอยู่ในสมณเพศฉนี้มิได้. อนึ่งพระสงฆ์ฝ่ายเหนือฝ่ายใต้ ก็จะแปลกปลอมปะปนกันอยู่ มิรู้ว่าองคใดดีองคใดชั่ว จะได้ไหว้นบเคารพสักการบูชาให้เปนเนื้อนาบุญ จะได้ผลานิสงษแก่เราท่านทั้งปวง ให้พระสงฆให้การไปแต่ตามสัจตามจริง ถ้าได้ผิดในจตุปราชิกแต่ประการใดประการหนึ่ง จะพระราชทานผ้าคฤหัฐให้ผลัดศึกออกทำราชการ. ที่ไม่รับนั้นจะให้ดำน้ำพิสูทธสู้นาฬิกาสามกลั้น แม้นชะนะแก่นาฬิกาจะให้เปนอธิการ. แลพระครูราชาคณะฝ่ายเหนือโดยสมควรแก่คุณธรรมที่รู้. แม้นแพ้แก่นาฬิกา จะให้ลงพระราชอาชญาเฆี่ยนแล้วศักข้อมือมิให้บวชได้อีก. แม้นเสมอนาฬิกา จะถวายผ้าไตรยให้บวชใหม่. ถ้าแต่เดิมไม่รับ ครั้นจะให้ลงดำน้ำพิสูทธแล้วก็กลับคืนคำว่าได้ทำผิด จะให้ลงพระราชอาญาประหารชีวิตรเสีย. อนึ่งพระสงฆ์จะลงดำน้ำนั้น ให้ตั้งศาลกั้นหม่านดาดเพดานผ้าขาวแต่งเครื่องพลีกรรมเทพยดาพร้อมแล้ว. จึ่งทรงพระสัตยาธิษฐานให้พระบารมีนั้นช่วย อภิบาลบำรุงรักษาพระสงฆ์ทั้งปวง ถ้าภิกษุองคใดมิได้ขาดจากสิกขาบทจัตุปาราชิก ขอให้พระบารมีของเรา แลอานุภาพเทพยดาอันศักสิทธิ จงมาเปนสักขีพะยานช่วยอภิบาลบำรุงรักษาพระผู้เปนเจ้าองคนั้น อย่าให้แพ้แก่นาฬิกาได้ ถ้าแลภิกษุรูปใดถึงซึ่งศิลวิบัติแล้ว เทพเจ้าจงสังหาญให้แพ้แก่นาฬิกาเหนประจักษแก่ตาโลกย. แล้วเสด็จทรงพระเก้าอี้อยู่บนที่หาดทราย ให้พระสงฆ์ลงดำน้ำพิสูทธตัวต่อน่าพระที่นั่ง พลางทรงพระอธิฐานด้วยเดชะพระบรมโพธิสมภาร. ๚ะ๏ ครั้งนั้นพระสงฆ์ที่ศีลบริสุทธิ์ ก็ชะนะแก่นาฬิกาบ้าง เสมอบ้าง. ที่ภิกษุทุศิลก็แพ้แก่นาฬิกาเปนอันมาก. เสนาบดีก็กระทำตามรับสั่งโดยสมควรแก่คุณแลโทษ แต่ผ้าไตรยที่พระสงฆ์พวกแพ้ต้องศึกนั้น ให้เผาเปนสะมุกไปทาพระมหาธาตุเมืองสว่างคบุรี. แล้วทรงพระกรุณาให้เยบจีวรสบงให้ได้พันไตรย จะบวชพระสงฆฝ่ายเหนือ. จึ่งดำรัสสั่งให้สังฆการีลงมาอาราธนารับพระราชาคณะ กับพระสงฆอันดับณกรุงธนบุรี ๕๐ รูป ขึ้นไปบวชพระสงฆไว้ณหัวเมืองเหนือทุกๆเมือง. แลให้พระราชาคณะอยู่สั่งสอนในข้อพระวินัยสิกขาบท กับให้เกบพระไตรยปิฎกลงมาเปนฉบับสร้างณกรุงด้วย. โปรดให้พระพิมลธรรม ไปอยู่เมืองสว่างคบุรี. ให้พระธรรมโคดม ไปอยู่เมืองพิไชย. ให้พระธรรมเจดีย ไปอยู่เมืองพระพิศณุโลกย ให้พระพรหมมุนี ไปอยู่เมืองศุโขไทย ให้พระเทพกระวี ไปอยู่เมืองสวรรคโลกย ให้พระโพธิวงษ ไปอยู่เมืองศรีพนมมาศทุ่งยั้ง. ๚ะ๏ ครั้งถึงณวันศุกรเดือนสิบเบดแรมสิบค่ำ จึ่งเสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองสว่างคบุรี กระทำการสมโพชพระมหาธาตุสามวัน. แล้วเปลื้องพระภูษาทรงสภักออกจากพระองค ทรงพระมหาธาตุ. แล้วให้บุรณปฏิสังขรณพระอาราม แลพระมหาธาตุให้บริบุรณดังเก่า. จึ่งเสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองศรีพนมมาศทุ่งยั้ง กระทำการสมโภชพระแท่นศิลาอาศน์สามวัน. แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองสวรรคโลกย กระทำการสมโภชพระมหาธาตุสามวัน. ๚ะ๏ ครั้นณวันศุกรเดือนสิบสองขึ้นสามค่ำ จึ่งเสดจพระราชดำเนินกลับลงมายังเมืองพระพิศณุโลกย กระทำการสมโภชพระมหาธาตุ แลพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีหสามวันแล้ว. จึ่งทรงพระกรุณาโปรดตั้งข้าหลวงเดิม. ซึ่งมีความชอบในการสงคราม ให้อยู่ครองหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวง. บันดาหัวเมืองใหญ่นั้น โปรดให้พระยายมราชเปนเจ้าพระยาสุรสีห อยู่ครองเมืองพระยาพิศณุโลกย ประมวญไพร่พลเมืองมีอยู่หมื่นห้าพัน. ให้พระยาพิไชยราชาเปนเจ้าพระยาสวรรคโลกย มีไพร่พลเมืองอยู่เจดพัน. ให้พระยาสีหราชเดโช เปนพระยาพิไชย มีไพร่พลเมืองอยู่เก้าพัน. ให้พระยาท้ายน้ำ เปนพระยาศุโขไทย มีไพร่พลเมืองอยู่ห้าพัน. ให้พระยาสุรบดินทร เปนพระยากำแพงเพชร. ให้พระยาอนุรักษภูธร เปนพระยานครสวรรค. ทั้งสองเมืองนั้น มีไพร่พลเมืองๆละสามพันเสศ. แลเมืองเล็กน้อยทั้งปวงนั้น ก็โปรดให้ขุนนางผู้น้อย ซึ่งมีความชอบไปครองเมืองทุกๆเมือง. แลเจ้าพระยาจักกรีแขกนั้นมิได้แกล้วกล้าในการสงคราม จึ่งโปรดตั้งพระยาอไภยรณฤทธิ์ เปนพระยายมราช ให้ว่าราชการณที่สมุหนายกด้วย. แล้วเสด็จกรีธาทับหลวงกลับ แล้วให้รับนางพระยาเสวตรกิริณี ลงแพล่องลงมายังกรุงธนบุรี. ให้ปลูกโรงรับณสวนมังคุด แล้วให้มีงานมหรรสพสมโภชสามวัน ๚ะ๏ ครั้นถึงณเดือนสามในปีขานโทศกนั้น ฝ่ายอาปรกามณีซึ่งเรือกว่าโปมยุง่วน เจ้าเมืองเชียงใหม่นั้น. ยกกองทับพม่า กองทับลาว ลงมาตีเมืองสวรรคโลกย เข้าตั้งค่ายล้อมเมืองไว้. เจ้าพระยาสวรรคโลกย ก็เกนไพร่พลขึ้นรักษาน่าที่เชิงเทอญกำแพงเมือง ต่อรบป้องกันเมืองเปนสามารถ แล้วบอกลงมาณกรุง ๚ะ๏ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบ จึ่งโปรดให้มีตราขึ้นไปเกนกองทับเมืองพระพิศณุโลกย เมืองศุโขไทย เมืองพิไชย ให้ยกขึ้นไปตีกองทับพะม่าช่วยเมืองสวรรคโลกย. เจ้าพระยาสุรสีห พระยาพิไชย แลพระยาศุโขไทย ก็ยกกองทับทั้งสามหัวเมือง ไปณเมืองสวรรคโลกย เข้าตีค่ายกระหนาบค่ายพะม่าซึ่งตั้งล้อมเมือง. พม่าต้านทานมิได้ก็แตกฉานพ่ายหนีไปยังเมืองเชียงใหม่. จึ่งบอกลงมาให้กราบทูลพระกรุณาให้ทราบ. สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวจึ่งมีพระราชดำรัสให้เกนกองทับ จะเสดจยกไปตีเมืองเชียงใหม่. แลพลโยธาหารในกระบวนทับหลวงครั้งนั้น ทั้งไทยจีนแขกฝรั่งเปนคนหมื่นห้าพัน สรรพด้วยช้างม้าเครื่องสรรพาวุธแลเรือไล่เรือรบทั้งปวงพร้อมเสรจ. ๚ะ๏ ครั้นผคุณมาสศุกปักษ์ดิถีศุภวารมหาพิไชยฤกษ จึ่งเสดจลงเรือพระที่นั่งกราบ พร้อมด้วยเรือท้าวพระยาข้าทูลลอองธุลีพระบาท ผู้ใหญ่ผู้น้อยไทยจีนฝ่ายทหารพลเรือน โดยเสดจพระราชดำเนินขบวนพยุหยาตราน่าหลัง คับคั่งท้องแถวมหาคงคา ก็เสด็จยาตรานาวาทับหลวงจากกรุงธนบุรี ไปโดยชลมารค ประทับร้อนแรมไปตามระยะทาง ไปหลายเวนถึงเมืองพิไชย. จึ่งให้ตั่งค่ายแลตำหนักทับพลับพลาณหาดทราย ฝ่ายฟากตวันออกตรงน่าเมืองข้าม แลเสดจขึ้นประทับอยู่ที่นั่น. ๚ะ๏ ในขณะนั้นจึ่งมังไชยเจ้าเมืองแพร่ ภาขุนนางกรมการแลไพร่พลลงมาเฝ้า กราบถวายบังคมขอเปนข้าขอบขันธสีมา จึ่งทรงพระกรุณาโปรดตั้งให้เปนพระยาศรีสุริยวงษ ให้เกนเข้าในขบวนทับด้วย. แล้วดำรัสสั่งให้เจ้าพระยาจักรีแขก กับพระยามหาราชครูปะโรหิตาจาริยอยู่รักษาเรือพระที่นั่ง แลเรือข้าทูลลอองธุลีพระบาททั้งปวงณเมืองพิไชย. แล้วเสด็จพระราชดำเนินขึ้นจัดกองทับบกณเมืองพิไชย ให้กองทับหัวเมืองทั้งปวงเปนกองน่ายกล่วงไปก่อน. จึ่งเสด็จทรงช้างพระที่นั่งดำเนินพยุหโยธาทับหลวงไปโดยทางชลมารค ประทับร้อนแรมไปหลายเวนถึงตำบลกุ่มเหลือง. จึ่งให้ตั้งค่ายมั่นแทบเชิงเขาม้าพลาด เสดจอยุดประทับแรมณพลับพลาในค่าย. แลครั้งนั้นเปนเทศกาลคิมหระดูกันดานด้วยน้ำนัก ผู้ซึ่งเปนมัคคุเทศนำมารคนั้นกราบทูลว่า แต่เชิงเขาข้างนี้จะข้ามภูเขาไป ลงถึงเชิงเขาข้างน่าโน้น เปนระยะทางไกลถึงสามร้อยเส้น หามีที่น้ำแห่งใดไม่ ไพร่พลจะอดน้ำกันดานนัก. จึ่งดำรัศว่าอย่าปรารมเลยเปนภารธุระของเรา ค่ำวันนี้อย่าให้ตีฆ้องยามเลย จงกำหนดแต่นาฬิกาไว้ เพลาห้าทุ่มเราจะให้ฝนตกลงให้จงได้. แล้วจึ่งดำรัศสั่งให้พระยาราชประสิทธิให้ปลูกศาลสูงเพียงตา ตั้งเครื่องพลีกรรมบวงสรวงเทพยดาบนเขาเสรจแล้ว จึ่งทรงตั้งสัตยาธิษฐาน เอาพระบรมโพธิสมภารบารมีของพระองค ซึ่งทรงสันนิจยาการมาแต่อดีตบุเรชาติ ตราบเท่าถึงปัจจุบันภพนี้ จงเปนที่พึ่งพำนักนิ์แก่ไพร่พลทั้งปวง กับทั้งอานุภาพเทพยดา ขอจงบันดารให้ท่อธารวโสทกจงตกลงมาในราษตรีวันนี้ให้เหนประจักษ. แลในเพลาวันนั้นพื้นอากาศก็ปราษจากเมฆผ่องแผ้วเปนปรกติอยู่ ด้วยเดชอำนาถกำลังพระอธิฐานบารมี กับทั้งอานุภาพเทพยดา ภอถึงเพลาสี่ทุ่มแปดบาท บันดานให้ฝนห่าใหญ่ตกลงหนัก จนน้ำไหลนองไปทั่วท้องป่า แลขอนไม้ในป่าก็ลอยไหลไปเปนอัศจรรยยิ่งนัก ครั้นเพลาเช้าก็เสด็จทรงช้างพระที่นั่ง ให้ยกพลโยธาหารข้ามเขานั้นไป แล้วดำเนินพลกองทับไปตามลำดับวิถีสถลมารค ประทับร้อนแรมไปโดยระยะทางถึงเมืองลัมภุญ ให้ตั้งค่ายประทับอยู่ที่นั้น. ๚ะ๏ ฝ่ายโปมยุง่วนเจ้าเมืองเชียงใหม่ ก็แต่งทับพม่าทับลาวยกออกมาตั้งค่ายรับนอกเมือง. แลกองน่าหัวเมืองซึ่งเปนกองน่า ก็ยกเข้าตีค่ายทับพม่าแตกพ่ายเลิกถอยเข้าเมือง กองน่าก็ยกติดตามล่วงเข้าไปในกำแพงดินชั้นนอก แล้วตั้งค่ายรายล้อมกำแพงชั้นในไว้. แลทับหลวงก็ยกเข้าไปตั้งค่ายใหญ่ในกำแพงดิน แล้วดำรัศให้บันดาทับหัวเมืองกองน่า แลนายทับนายกองในกองหลวงยกพลทหารเข้าปล้น เอาบันไดพาดปีนกำแพงเมืองในเพลากลางคืน เพลาสามยามเสศเพื่อจะดูกำลังฆ่าศึก. แลพลทหารพม่าลาวชาวเมือง ซึ่งขึ้นประจำรักษาน่าที่เชิงเทิลนั้น ยิงปืนใหญ่น้อยแลพุ่งแทงสาตราวุธ ต่อรบต้านทานเปนสามารถ. จนเพลารุ่งพลทหารไทยเข้าหักเอาเมืองมิได้ ก็ลาดถอยออกมา. จึ่งมีพระราชดำรัศว่า อันเมืองเชียงใหม่นี้ ต้องทำนายอยู่ คำปะรำปะราเล่าสืบๆกันมาว่า กระษัตริยพระองคใด ยกทับไปตีเมืองเชียงใหม่นี้ครั้งเดียวมิได้ ต่อยกไปเปนสองครั้งจึ่งตีได้. แม้นจะหักหารบุกรุกเอาด้วยกำลังกล้าบัดนี้ก็จะได้แต่จะเสียไพร่พลมาก แลยกมาครั้งนี้เหมือนจะดูท่วงทีท่าทาง แลกำลังฆ่าศึกก็ได้เหนประจักอยู่แล้ว ถ้ายกมาครั้งหลังเหนคงจะได้ถ่ายเดียว. จึ่งดำรัศให้เลิกทับหลวงล่วงมาก่อนวันหนึ่ง จึ่งให้กองทับหัวเมืองทั้งปวง เลิกเลื่อนถอยตามมาต่อภายหลัง ๚ะ๏ ฝ่ายพม่าก็ยกกองทับลัดเลาะป่าก้าวสกัดติดตาม ยิงปืนกระหนาบน่าหลัง กองทับหัวเมืองทั้งนั้นก็ตื่นแตกระส่ำระสาย ถอยหนีย่อย่นลงมาจนกระทั่งถึงทับหลวง อันตั้งอยุดประทับรับอยู่ณเขาช่องแคบ ๚ะ๏ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว จึ่งถอดพระแสงดาบไล่ต้อนพลโยธาทหารทั้งปวงในกองทับหลวงให้กลับออกรบพม่า ไล่ตลุมบอนฟันแทงถึงอาวุธสั้น สู้รบเปนสามารถ พลพม่าล้มตายเปนอันมาก. ก็แตกกระจัดกระจายพรายพรัดพ่ายหนีไป ก็เสด็จดำเนินทับหลวงล่วงมาถึงท่าเรือณะเมืองพิไชย. จึ่งเสด็จทรงเรือพระที่นั่ง ให้ยาตรานาวาทับกลับคืนยังกรุงธนบุรี. ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๑๓๓ ปีเถาะตรีศก ฝ่ายข้างมลาประเทศ เจ้าวงษผู้เปนเจ้าเมืองหลวงพระบาง ยกกองทับลงมาตีกรุงศรีสัตนาคนหุต ให้ตั้งค่ายล้อมเมืองไว้. แลเจ้าบุญสารผู้ครองกรุงศรีสัตนาคนหุต ก็เกนพลทหารออกต่อรบ แลขึ้นประจำรักษาน่าที่เชิงเทิลปราการป้องกันเมืองเปนสามารถ รบกันอยู่ประมาณสองเดือนยังไม่แพ้แลชนะกัน. พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตจึ่งแต่งขุนนางให้ถือศุภอักษร ขึ้นไปถึงกรุงอังวะขอกองทับมาช่วย. พระเจ้าอังวะมังระจึ่งให้ชิกชิงโบ่ คุมพลสองพันเปนกองน่า. ให้โปสุพลาเปนแม่ทับคุมพลสามพัน ยกกองทับลงมาตีเมืองหลวงพระบาง. แลกองทับเมืองหลวงพระบางก็เลิกทับกลับไปเมือง ต่อรบกับทับพม่า. ทับพม่าตีเอาเมืองหลวงพระบางได้. เจ้าหลวงพระบางก็ขอขึ้นแก่กรุงอังวะ ทับพม่าก็เลิกกลับไปยังกรุงอังวะ. พระเจ้าอังวะได้ทราบว่า กองทับไทยยกมาตีเมืองเชียงใหม่ จึ่งให้โปสุพลาถือพลสามพัน ยกลงมาช่วยรักษาเมืองเชียงใหม่. ๚ะ๏ อนึ่งแต่เมื่อครั้งปีชวดสัมฤทธิ์ศกนั้น กองทับห้อยกมาจะตีกรุงอังวะ มาถึงเมืองแสนหวี เปนแผ่นดินเงี้ยว คือไทยใหญ่ ขึ้นแก่พม่า ใกล้เมืองอังวะทางสิบห้าคืน. แลกองทับห้อยกเข้าตีเมืองแสนหวีได้ก็ตั้งทับอยู่ที่นั้น. ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าอังวะทราบข่าวศึก จึ่งให้ติงจาโบคุมพลห้าพันเปนกองน่าให้อแซหวุ่นกี้เปนแม่ทับถือพลหมื่นหนึ่ง ยกมาตีกองทับห้อซึ่งตั้งอยู่ณเมืองแสนหวี. ได้รบกันเปนสามารถ ทับห้อก็แตกพ่ายกลับไปครั้งหนึ่ง. แล้วห้อกลับยกกองทับมาอีก ตีหัวเมืองขึ้นพม่าแตกเปนหลายเมือง. แล้วยกล่วงเข้ามาตั้งถึงตำบลบ้านยองนี ใกล้เมืองอังวะทางคืนหนึ่ง. พระเจ้าอังวะจึ่งให้อะแซหวุ่นกี้หนึ่ง มโยลัดหวุ่นหนึ่ง เปนแม่ทับสองทับ ถือพลทับละหมื่น. กับเมี้ยนหวุ่นทับหนึ่ง ถือพลห้าพัน ทั้งสามทับเปนคนสองหมื่นห้าพัน ยกไปสามทางเข้ารดมตีทับห้อ ได้รบกันอยู่สามวัน. ทับห้อก็แตกพ่ายไปเปนสองครั้ง จับได้นายทับห้อสี่นาย ชื่อแอซูแยหนึ่ง กุนตาแยหนึ่ง เมียนกุนแยหนึ่ง ประซูแยหนึ่ง กับไพร่พลหกพันพระเจ้าอังวะให้เลี้ยงไว้. ๚ะ๏ ครั้งถึงปีฉลูเอกศก ห้อกลับยกกองทับมาอีกเปนสามครั้ง ครั้งหลังนั้นกวยชวยแยเปนแม่ทับห้อ พลหลายหมื่นมากกว่าสองครั้ง ยกมาถึงเมืองกองดุงปมอ ทางไกลเมืองอังวะห้าคืน. พระเจ้าอังวะเหนเปนศึกใหญ่กว่าทุกครั้ง. จึ่งให้อแซหวุ่นกี้ กับติงจาโบ ตะเรียงราม ถือพลหมื่นห้าพันยกไปทางหนึ่ง. ให้อำมลอกหวุ่น กับงาจูหวุ่น แลต่อหวุ่น ถือพลหมื่นห้าพันยกไปทางหนึ่ง เปนสองทับ. ได้ต่อรบกับกองทับห้อ ทับห้อรี้พลมาก เหนเหลือกำลังจะต่อตีให้แตกพ่ายมิได้ จึ่งบอกส่งมากราบทูลพระเจ้าอังวะ พระเจ้าอังวะจึ่งให้แม่ทับเจรจาความเมืองกับแม่ทับห้อ ขอเป็พระราชไมตรีต่อกัน. แล้วแต่งนางแลเครื่องบรรณาการให้ไปแก่แม่ทับห้อ ทับห้อก็เลิกทับกลับไป. แต่นั้นมาห้อก็มิได้ยกมาตีเมืองอังวะอีก เปนเมืองมิตรสัณฐวะไมตรีแก่กัน. ๚ะ๏ ฝ่ายข้างกรุงไทยในปีเถาะตรีศกนั้น สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริหพิจารณาเหนว่า กรุงธนบุรีไม่มีกำแพงเปนที่มั่น จะได้ป้องกันราชศัตรูหมู่ปัจามิตร ยังไม่เปนภูมราชธานี. จึ่งทรงพระกรุณาให้เกนข้าทูลลอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือนทั้งปวง ตั้งค่ายด้วยไม้ทองหลางทั้งต้น ล้อมพระนครทั้งสองฟากน้ำ. แลให้เกนไพร่พลในกรุง พลหัวเมือง มารดมกันทำค่ายฝ่ายฟากตวันตก ตั้งแต่มุมกำแพงเมืองเก่าไปจนวัดบางว้าน้อย วงลงไปริมแม่น้ำใหญ่ ตลอดลงมาจนถึงกำแพงเมืองเก่าที่ตั้งเปนพระราชวัง. แล้วให้ขุดคลองเปนคูข้างหลังเมือง แต่คลองบางกอกน้อย มาออกคลองบางกอกใหญ่. เอามุลดินขึ้นถมเปนเชิงเทิลข้างในทั้งสามด้าน เว้นแต่ด้านริมแม่น้ำ. ๏ แลฟากตวันออกก็ให้ตั้งค่ายรอบเหมือนกัน ให้ขุดคลองเปนคูข้างหลังเมือง ตั้งแต่กำแพงเก่าท้ายป้อมวิไชยเยนท์ วงขึ้นไปจนถึงสาลเทพารักษหัวโขด ออกแม่น้ำทั้งสองข้าง เอามุลดินขึ้นถมเปนเชิงเทินทั้งสามด้าน เว้นแต่ด้านริมแม่น้ำดุจกัน. แล้วให้เกนคนไปรื้อเอาอิฐกำแพงเก่าณเมืองพระประแดง แลกำแพงค่ายพม่าณโพสามต้น แลสีกุก บางไทร ทั้งสามค่าย ขนบันทุกเรือมาก่อกำแพงแลป้อม ตามที่ถมเชิงเทิลดินสามด้านทั้งสองฟาก เอาแม่น้ำไว้ห่างกลางเหมือนอย่างเมืองพระพิศณุโลกย. แลแม่น้ำตรงน่าเมืองทั้งสองฟากนั้น เปนที่ขุดลัดแต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ. ๚ะ๏ อนึ่งป้อมวิไชเยนท์ท้ายพระราชวังนั้น ให้ชื่อป้อมวิไชยประสิทธิ์. แล้วให้ขุดที่สวนเดิม เปนที่ท้องนานอกคูเมืองทั้งสองฟาก ให้เรียกว่าทเลตม ไว้สำหรับจะได้ทำนาใกล้พระนคร. แม้นมาทว่าจะมีทับศึกการสงครามมา จะได้ไว้เปนที่ทำเลตั้งค่ายต่อรบฆ่าศึกถนัด. แลกระทำการถาปนาพระนครขึ้นใหม่ครั้งนั้น หกเดือนก็สำเร็จบริบูรณ. ๚ะ๏ ในปีเถาะตรีศกนั้น สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริหการสงคราม ซึ่งจะไปปราบปรามกัมพุชประเทศให้ราบคาบ คืนเอาเมืองพุทไธเพชร์ให้แก่นักองคพระรามาธิบดี อันเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารนั้นให้จงได้. แลขณะนั้นเจ้าพระยาจักรีแขกถึงแก่กรรม จึ่งโปรดตั้งพระยายมราช ผู้ว่าที่สมุหนายกอยู่แต่ก่อนนั้น เปนที่เจ้าพระยาจักรีแทน. แล้วโปรดตั้งพระยาราชบังสัน ผู้บุตรเจ้าพระยาจักรีแขกนั้น เปนพระยายมราช. จึ่งดำรัสให้เกนกองทับบกทับเรือทหารไทยจีน แลทับหัวเมืองทั้งปวงให้พร้อม สรัพด้วยช้างม้าแลเรือรบเรือลำเลียง เครื่องสรรพาวุธต่างๆ แล้วโปรดให้เจ้าพระยาจักรีเปนแม่ทับบก ถือพลหมื่นหนึ่ง. ยกไปทางเมืองปราจินท์ให้ตีเมืองปัตบอง เมืองโพธิสัตวตลอดลงไปจนถึงเมืองพุทไธเพชร์. แลเอานักองคพระรามาธิบดีไปในกองทับด้วย. เจ้าพระยาจักรี แลท้าวพระยาพระหลวงเมืองนายทับนายกองทั้งปวง ก็กราบถวายบังคมลายกกองทับออกไปตามพระราชกำหนด. ๚ะ๏ ครั้นถึงอาสุชมาศกาฬปักษ์ดิถีศุภวารมหาพิไชยฤกษ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงเรือพระที่นั่งสำเภาทอง พร้อมกันด้วยเรือท้าวพระยาข้าทูลลอองธุลีพระบาท ไทยจีนฝรั่งฝ่ายทหารพลเรือนทั้งปวง เปนเรือรบสองร้อยลำ เรือทเลร้อยลำ พลทหารหมื่นห้าพันเสศ. ให้พระยาพิไชยไอสวรรยเปนแม่กองทับน่า แล้วยกพยุหยาตราพลนาวาทับหลวงจากกรุงธนบุรี ไปออกปากน้ำเมืองสมุทปราการ ตกถึงท้องทเลใหญ่. ด้วยเดชะพระบารมีบันดานให้คลื่นลมร้าย ในมหาสมุทก็รำงับสงบราบคาบ แลเสด็จโดยทางชลมารคได้ห้าเวน ประทับปากน้ำเมืองจันทบุรี จึ่งโปรดให้พระยาโกษาธิบดีเปนแม่ทับ ยกทับเรือล่วงลงไปตีเมืองกระพงโสม. แล้วทับหลวงก็เสดจไปอีกห้าเวน. ๚ะ๏ ครั้นณวันพฤหัศบดีเดือนสิบสอบขึ้นแปดค่ำ ถึงปากน้ำพุทไธมาศ จึ่งเสด็จพระราชดำเนินขึ้นสถิตยณตึกจีนแห่งหนึ่ง ฟากตวันตกเฉียงใต้เมือง. แล้วให้มีหนังสือพระยาพิไชยไอสวรรยแม่กองทับน่า ให้ญวนเชลยซึ่งจับได้นั้นถือเข้าไป ถึงพระยาราชาเศรษฐีญวนเจ้าเมืองพุทไธมาศ. ในลักษณนั้นว่า สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัว ณกรุงธนบุรีศรีอยุทธยา เสดจดำเนินพยุหโยธาทับบกทับเรือมาบัดนี้ ด้วยมีพระราชประสงคจะราชาภิเศก นักองคพระรามาธิบดีให้ครองกรุงกัมพูชา. แล้วจะเอาตัวเจ้าจุ้ยเจ้าศรีสังข์แลข้าหลวงชาวกรุงเทพฯ ซึ่งไปอยู่ณหัวเมืองใดๆจงสิ้น. ถ้าพระยาราชาเสรฐีญวนมิได้สวามิภักดีอ่อนน้อม เหนว่จะต่อยุทธนาการได้ ก็ให้แต่งการป้องกันเมืองจงสรัพ แม้นเหนว่าจะสู้รบมิได้ ก็ยังทรงพระกรุณาโปรดอยู่. ให้ออกมาเฝ้าทูลเกล้าฯ กราบถวายบังคม อ่อนน้อมยอมสวามีภักดีโดยดี เราจะช่วยพิททูลให้ทรงพระกรุณา. แม้นว่าถึงตัวชราแล้วจะออกมามิได้ ก็ให้แต่งหูเอี๋ยผู้บุตรออกมาถวายบังคมจงฉับพลัน. ถ้าช้าอยู่จะทรงพระพิโรธ ให้พลทหารเข้าหักเอาเมืองฆ่าเสียให้สิ้นทั้งเมือง. ๚ะ๏ ครั้นพระยาราชาเสรฐีได้แจ้งในหนังสือแล้ว จึ่งให้หนังสือตอบออกมาว่า ซึ่งให้มีหนังสือมาถึงข้าพเจ้า ๆ ขอบใจนัก จะหาขุนนางมาปฤกษาให้พร้อมกันก่อน. ถ้ายินยอมพร้อมกันแล้ว จึ่งจะบอกออกมาให้แจ้ง. ๚ะ๏ ครั้นคอยถ้าอยู่สามวัน พระยาราชาเสรฐีก็มิได้แต่งให้ผู้ใดออกมาเฝ้า สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัว จึ่งมีพระราชดำรัสให้ท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวงยกเข้ามาตั้งค่ายล้อมเมือง. แล้วตรัสสั่งกรมอาจาริย ให้จัดกันที่มีวิชาดีแกล้วหารทั้งนายไพร่ได้ร้อยสิบเบ็ดคน. จึ่งให้เกนพลทหารกรมอื่นสองพันสี่ร้อยเข้าสมทบกัน แล้วพระราชทานฤกษแลอุบาย ให้เข้าปล้นเอาเมืองในกลางคืนเพลาสองยาม. ๚ะ๏ ฝ่ายพระยาราชาเสรฐีก็เกนพลทหาร ขึ้นรักษาน่าที่เชิงเทิลปราการป้องกันเมือง. ครั้นเพลาสองยามพลทหารข้าหลวง ก็เอาบันไดพาดกำแพงปีนขึ้นไปได้ในเมืองจุดเพลิงขึ้นแสงสว่าง แลพวกญวนในเมืองออกต่อรบกันอยู่ช้านาน. แลนายทับนายกองรี้พลทั้งปวง ซึ่งตั้งค่ายรายล้อมอยู่นั้น จะบุกรุกเข้าไปช่วยก็มิได้. ด้วยจีนญวนชาวเมืองยังรักษาน่าที่เชิงเทิลยิงปืนใหญ่น้อยสู้รบอยู่หาทิ้งน่าที่ไม่ ไพร่พลกองทับก็อิดโรยลง. เดชะบรมโพธิสมภารบันดานดลจิตร พลโยธาทับทหารทั้งปวงให้สำคัญว่า เสดจพระราชดำเนินหนุนเข้าไป ก็มีน้ำใจองอาจกล้าหารมากขึ้น ตีกระโจมหนุนเนื่องกันเข้าไปทั้งทับบกทับเรือ พวกญวนจีนซึ่งรักษาน่าที่ต้านทานมิได้ ก็แตกฉานพ่ายหนีไป. ภอรุ่งขึ้นณวันอาทิตยเดือนสิบสองขึ้นสิบเบดค่ำเพลาเช้า ก็เข้าเมืองได้พร้อมกัน. พระยาราชาเสรฐีก็ทิ้งเมืองเสีย ลงเรือออกทเลแล่นหนีไปได้. ๚ะ๏ ครั้นณวันจันทร์เดือนสิบสองขึ้นสิบสองค่ำ จึ่งเสด็จพระราชดำเนินเข้าในเมือง สถิตยประทับณจวนพระยาราชาเสรฐี ให้พลทหารทั้งปวงเที่ยวเกบเอาทรัพยสิ่งของในเมืองใดมาเปนอันมาก. แล้วดำรัสถามพระยาประสิทธิ พระสุธรรมาจาริย. แลอาจาริยจัน นายกองอาจาริยทั้งสามว่า เมื่อคุมทหารขึ้นปล้นเอาเมืองนั้น เข้าได้ด้านไหนก่อน. อาจาริยทั้งสามกราบทูลไม่ต้องกัน. จึ่งเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรที่ทางทหารเข้านั้น เหนผิดกับพระราชดำริห. จึ่งดำรัสว่าฆ่าศึกหนีได้เพราะเข้าผิดกับรับสั่ง แม้นต่อสู้ก็จะเสียราชการ. จึ่งให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยน ผู้ซึ่งเข้าเมืองได้ต่อทีหลังทั้งนายแลไพร่ ที่เข้าได้ก่อนก็พระราชทานบำเหน็จรางวัลทั้งนายแลไพร่ เปนเงินถึงสามร้อยยี่สิบห้าชั่ง. แล้วให้มีกฎประกาศแก่รี้พลทั้งปวง ห้ามอย่าให้ข่มเหงราษฎรจีนญวนชาวเมืองสืบไปอีก ให้ค้าขายอยู่ตามภูมลำเนาเหมือนแต่ก่อน แล้วโปรดตั้งพระยาพิพิธผู้ช่วยราชการกรมท่า เปนพระยาราชาเสรฐี อยู่ครองเมืองพุทไธมาศ. แล้วเสดจยกพยุหโยธานาวาทับหลวงจากเมืองพุทไธมาศ ขึ้นไปตีเมืองกัมพูชาธิบดี คือเมืองพุทไธเพชร์ ประทับร้อนแรมไปโดยระยะทางชลมารค จนถึงเกาะพนมเพ็ญ. ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับบกเจ้าพระยาจักรี ยกเข้าไปตีเมืองปัตบอง เมืองโพธิสัตว เมืองบริบูรณได้แล้ว ก็ยกล่วงลงไปตีเมืองพุทไธเพชร์. แลนักองค์พระอุไทยราชาต่อรบต้านทานมิได้ ก็พาพวกพลแลครอบครัวยกหนีลงไปตั้งอยู่ณเมืองบาพนม. เจ้าพระยาจักรีเข้าตั้งอยู่ณเมืองพุทไธเพชร์. ครั้นได้ทราบว่า ทับหลวงตีเมืองพุทไธมาศได้แล้ว เสดจขึ้นมาถึงเกาะพนมเพ็ญ จึ่งให้นักองคพระรามาธิบดีอยู่รักษาเมืองพุทไธเพชร์ แล้วก็ลงมาเฝ้ากราบถวายบังคมทูลว่า นักองคพระอุไธราชาหนีลงไปตั้งอยู่ณเมืองบาพนมแล้ว. ครั้นได้ทรงทราบจึ่งดำรัสให้เจ้าพระยาจักรี ยกกองทับติดตามลงไปในวันนั้น. ครั้นเพลาบ่ายสองโมง จึ่งเสดจยกทับหลวงลงไป. ภอเพลาค่ำประมาณยามหนึ่งเจ้าพระยาจักรีบอกหนังสือขึ้นมาให้กราบทูลว่า ญวนเมืองลูกหน่วยมารับนักองคพระอุไทราชาลงไปณเมืองญวนแล้ว. จึ่งเสดจอยุดเรือพระที่นั่งประทับอยู่น่าบ้านตำหนักเวนหนึ่ง. ครั้นรุ่งเช้าจึ่งเสดจยกทับหลวงกลับคืนมาถึงปากคลองมักสา ภบครัวเขมรตั้งอยู่ที่นั้นเปนอันมาก ดำรัสให้พลทหารเข้าตี ได้ครอบครัวแลเรือก็มาก แล้วยกทับหลวงคืนมาประทับณเกาะพนมเพ็ญ. จึ่งนักองครามาธิบดีลงมาแต่เมืองพุทไธเพชร์เข้าเฝ้าในที่นั้น. ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานสนองพระองค์ทรงประภาศอันเปนเครื่องต้น. กับทั้งปืนใหญ่น้อย แลครอบครัวเขมร ซึ่งตีได้นั้นแก่นักองคพระรามาธิบดี. แล้วโปรดให้กลับไปครองเมืองพุทไธเพชร์ เปนใหญ่ในกัมพุชประเทศเหมือนแต่ก่อน. ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับพระยาโกษาธิบดี ตีได้เมืองกระพงโสม แล้วยกมาจะตีเอาเมืองกำปอช พระยาปังกลีมาแขกจามเจ้าเมืองกำปอช ออกมาอ่อนน้อมยอมเข้าสวามีภักดิมิได้ต่อรบ. พระยาโกษาธิบดีจึ่งภาตัวพระยาปังกลีมาขึ้นเฝ้า กราบถวายบังคมณเกาะพนมเพญ จึ่งโปรดให้พระยาปังกลีมากลับไปอยู่รั้งเมืองกำปอชดังเก่า ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับเจ้าพระยาจักรียกลงไปได้เมืองบาพนม เขมรมิได้สู้รบยอมเข้าสวามีภักดิโดยดี. จึ่งจัดแจงให้คงอยู่ตามภูมลำเนาเดิม. แล้วก็เลิกทับกลับมาเฝ้าณเกาะพนมเพญ จึ่งดำรัศให้เจ้าพระยาจักรีกับพระยาโกษาธิบดี อยู่ช่วยราชการณเมืองพุทไธเพชร กว่าจะสงบราบคาบก่อน. แล้วเสดจยกพยุหโยธานาวาทับหลวงกลับมาถึงคลองท้องจีนจง แลน้ำไปคลองนั้นตื้นเรือใหญ่จะไปมิได้. จึ่งดำรัศให้ไพร่พลทดน้ำทั้งกลางวันกลางคืน เรือทั้งปวงจึ่งไปได้พร้อมกัน. ๚ะ๏ ฝ่ายจีนทั้งปวงซึ่งเคยไปมาแต่ก่อน ก็สรรเสิญว่าเดือนอ้ายนี้ น้ำเคยแห้งคลองขาด เรือจะไปมามิได้ นี่อาไศรยบุญานุภาพพระเจ้าอยู่หัวมาก เรือจึ่งไปมาได้สดวกในเทศกาลนี้. ๚ะ๏ ครั้นณวันจันทรเดือนอ้ายขึ้นสามค่ำ เพลาบ่ายสามโมงเสศ เสดจถึงเมืองพุทไธมาศ สถิตย์อยู่ในพระราชวัง. แล้วทรงพระราชศรัทธาให้นิมนต์พระสงฆ์ทุกอารามใจจังหวัดแขวงเมืองพุทไธมาศ เข้ามาในพระราชวัง แล้วทรงพระกรุณาพระราชทานถวายจีวรแพรแก่พระสงฆ์ทุกองค. ที่มิได้จีวรนั้น ถวายเงินแทนจีวรรูปละห้าตำลึง แล้วเสดจไปณวัดญวน ถวายนมัศการพระพุทธปฏิมากรซึ่งมีในวิหาร. ฝ่ายหลวงญวนก็สวดมนตให้ทรงฟัง จึ่งมีพระราชบริหารโดยภาษาญวน พระราชทานพระราโชวาทแก่หลวงญวนทั้งปวงว่า ให้อุษาหรักษาศิล อย่าให้ส้องเสพด้วยสิกา. แล้วเสดจกลับยังพระราชวังที่ประทับ. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันอังคารเดือนอ้ายแรมสามค่ำ จึ่งเสดจลงเรือพระที่นั่งสำเภาทอง ให้เคลื่อนคลายขบวนพยุหโยธานาวาทับจากเมืองพุทไธมาศ ออกท้องทเลใหญ่กลับคืนยังกรุงธนบุรี. ๚ะ๏ ฝ่ายพระยาราชาเสรฐีญวน ซึ่งแตกหนีไปนั้นขึ้นอาไศรยอยู่เกาะ ตั้งส้องสุมรี้พลญวนจีนได้มากแล้ว ก็ยกทับเรือมาตีเอาเมืองพุทไธมาศคืน แลพระยาราชาเสรฐีเจ้าเมืองใหม่มิทันรู้ตัว ยกพลทหารจีนออกต่อรบต้านทานอยู่ประมาณสามนาฬิกา เหนเหลือกำลังก็ทิ้งเมืองเสีย ภารี้พลแลครอบครัวทั้งปวงลาดถอยมาอาไศรยอยู่ณเมืองกำปอช. แลพระยาปังกลิมาก็ช่วยจัดแจงไพร่พลอยู่สามวันภอพร้อม ก็ยกกลับไปจะปล้นเอาเมืองพุทไธยมาศ. ในกลางคืนเพลาดึกสองยาม ให้พลทหารจีนทั้งปวงเอาไม้ติ้วเข้าคาบทุกคนๆ อย่าให้มีปากเสียง. แล้วให้ว่ายน้ำเข้าปีนปล้นเอาเมืองได้ พวกญวนมิทันรู้ตัวก็แตกพ่ายหนี. กองทับจีนไล่ฆ่าฟันญวนจีนพวกพระยาราชาเสรฐีญวน ซึ่งอยู่ในเมืองล้มตายเปนอันมาก จนโลหิตตกอาบไปทั้งเมือง. แต่ตัวพระยาราชาเสรฐีญวนนั้นลงเรือหนีไปได้. จับตัวหาไม่ได้. แลพระยาราชาเสรฐีจีนก็กลับคืนเอาเมืองได้ เข้าตั้งอยู่ในเมืองดังเก่า. ๚ะ๏ ฝ่ายเจ้าพระยาจักรี ซึ่งตั้งอยู่ณเมืองพุทไธเพชร ทราบข่าวไปว่า เมืองพุทไธยมาศกลับเสียแก่ญวนอีก. จึ่งจัดแจงกองทับจะยกลงมาช่วยพระยาราชาเสรฐี ภอได้ข่าวว่า พระยาราชาเสรฐีกลับตีเอาเมืองคืนได้แล้ว ก็อยุดทับไว้มิได้ยกลงมาเมืองพุทไธยมาศ. ๚ะ๏ จึ่งพระยาราชาเสรฐีก็ส่งหนังสือ บอกข้อราชการเข้ามาณกรุงธนบุรี. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบ จึ่งดำรัศว่าเมืองพุทไธมาศอยู่ฬ่อแหลมนัก จะรักษาไว้เปนอันยากป่วยแรงทแกล้วทหาร. จึ่งโปรดให้มีท้องตราออกไปว่า ให้พระยาราชาเสรฐีทิ้งเมืองพุทไธมาศเสียเถิดอย่าอยู่รักษาเลย ให้เลิกทับกลับเข้ามารับราชการณกรุงดั่งเก่า ครั้นพระยาราชาเสรฐี ได้แจ้งในท้องตรารับสั่งแล้ว ก็กวาดครอบครัวชาวเมืองลงเรือใหญ่น้อย แล้วเลิกกองทับจีนกลับเข้ามาณกรุง ตามพระราชกำหนดให้หานั้น. แล้วจึ่งโปรดให้มีท้องตราให้หากองทับเจ้าพระยาจักรี พระยายมราชกลับคืนมายังพระนคร ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๑๓๔ ปีมโรงจัตวาศก ฝ่ายโปสุพลาซึ่งมาอยู่ช่วยราชการรักษาเมืองเชียงใหม่นั้น ยกทับมาตีเมืองลับแลแตกแล้ว ยกลงมาตีเมืองพิไชย ตั้งค่ายอยู่ณวัดเอกา. พระยาพิไชยก็จัดแจงการป้องกันเมืองเปนสามารถ. จึ่งเจ้าพระยาสุรสีห ก็ยกกองทับเมืองพระพิศณุโลกย ขึ้นไปช่วยเมืองพิไชย. แลเจ้าพระยาสุรสีห กับพระยาพิไชย ยกพลทหารเข้าตีค่ายพม่า ๆ ออกต่อรบกันถึงอาวุธสั้น. พลทับไทยไล่ตลุมบอนฟันแทงพลพม่าล้มตายเปนอันมาก พม่าต้านทานมิได้ก็แตกพ่ายหนีเลิกทับกลับไปเมืองเชียงใหม่. จึ่งบอกหนังสือแจ้งข้อราชการศึกลงมาณกรุง กราบทูลพระกรุณาให้ทรงทราบ. ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๑๓๕ ปีมเสงเบ็ญจศก ทรงพระกรุณาให้ศักท้องมือ หมายหมู่เลขไพร่หลวง แลเลขสังกัดพัน กับทั้งเลขหัวเมือง. ส่งสารบาญชีเถบียนหางว่าวยื่นกรมพระสุรัสวดีทั้งสิ้น ให้รู้จำนวนไพร่พลไว้ จะได้ใช้ราชการแผ่นดินแลการทับศึกต่างๆ ๚ะ๏ ครั้นถึงณเดือนอ้ายข้างขึ้น โปสุพลายกกองทับลงมาตีเมืองพิไชยอีก. พระยาพิไชยก็ยกพลทหารออกไปต่อรบแต่กลางทางยังไม่มาถึงเมือง. เจ้าพระยาสุรสีหก็ยกทับเมืองพระพิศณุโลกยขึ้นไปช่วย ได้รบกับทับพม่าเปนสามารถ. แลพระยาพิไชยถือดาบสองมือ คุมพลทหารออกไล่ฟันพม่าจนดาบหัก. จึ่งลือชื่อปรากฎเรียกว่า พระยาพิไชยดาบหักแต่นั้นมา. ๚ะ๏ ครั้งถึงณวันอังคารเดือนยี่แรมเจ็ดค่ำ กองทับพม่าแตกพ่ายหนีไป. จึ่งบอกหนังสือลงมากราบทูลพระกรุณาณกรุงธนบุรี. ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๑๓๖ ปีมเมียฉศก สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริหการซึ่งจะไปตีเมืองเชียงใหม่ให้ได้ ด้วยพม่ายกกองทับมาย่ำยีบีทาหัวเมืองฝ่ายเหนือเนืองๆ. จึ่งดำรัศให้เกนกองทับหัวเมืองฝ่ายเหนือสิบหัวเมือง เปนคนสองหมื่นสรัพด้วยช้างม้าเครื่องสรรพาวุธ ให้ยกคอยรับเสดจอยู่ณบ้านรแหงให้พร้อม. แล้วให้เกนกองทับในกรุงฯ แลหัวเมืองใกล้ทั้งปวง ได้พลสกรรธ์ลำเครื่องหมื่นห้าพัน ช้างเครื่องร้อยแปด ม้าร้อยม้า สรัพด้วยเครื่องสรรพยุทธพร้อมเสรจ. ๚ะ๏ ครั้นณวันอังคารเดือนสิบสองแรมสิบเบดค่ำ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสดจทรงเรือพระที่นั่งกราบ ยาวสิบสามวา พลพายสี่สิบคน พร้อมด้วยเรือท้าวพระยาพระหัวเมือง แลข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยไทยจีน ฝ่ายทหารพลเรือนทั้งหลาย โดยเสดจในขบวนทับหลวงเปนอันมาก. จึ่งเสดจยกพยุหยาตรานาวาทับหลวงจากกรุงธนบุรีโดยชลมารค ประทับร้อนแรมไปตามระยะทางหลายเวน. ๚ะ๏ ถึงณวันพุทธเดือนอ้ายขึ้นสี่ค่ำ เสดจถึงเมืองกำแพงเพชร แล้วยกไปถึงบ้านระแหงแขวงเมืองตาก เสดจประทับแรมณพระตำหนักสวนมม่วง. ดำรัสให้พระยาจักรีเปนแม่กองทับน่า ถือพลทับในกรุงแลหัวเมืองยกขึ้นไปตั้งอยู่ณเมืองเถิน. แล้วให้ทับเมืองเหนือทั้งสิบเมือง ยกไปเข้ากองเจ้าพระยาจักรีกองน่าไปตีเมืองเชียงใหม่ ๚ะ๏ ฝ่ายข้างกรุงรัตนบุระอังวะพระเจ้ามังระทราบว่า กรุงไทยพระยาตากตั้งตัวขึ้นเปนเจ้าแผ่นดิน สร้างเมืองบางกอกขึ้นใหม่ เปนราชธานีใหญ่แทนกรุงศรีอยุทธยา ซึ่งพินาศฉิบหายนั้นกลับตั้งตัวต่อรบ. จึ่งทรงพระดำริหว่า จะละไว้ให้ช้ามิได้ไทยจะมีกำลังกำเริบมากขึ้น จำจะแต่งกองทับใหญ่ให้ไปตีปราบปรามเสียให้สิ้นเสี้ยนหนามราบคาบ อย่าให้แผ่นดินไทยตั้งตัวเปนปึกแผ่นแน่นหนาขึ้นไปสืบไปอีกในภายน่า. จึ่งให้แพกิจจาคุมพลพม่าห้าร้อย ถือหนังสือรับสั่งลงมาถึงปกันหวุ่นเจ้าเมืองเมาะตมะ ให้เกนพลรามัญเมืองเมาะตมะสามพัน เข้ากองแพกิจจาเปนนายทับยกไปทำทาง แลตั้งค่ายปลูกยุ้งฉางที่ตำบลสามสบท่าดินแดง จัดแจงพลเสบียงอาหารผ่อนไปไว้ก่อน. แล้วภายหลังจึ่งจะให้กองทับใหญ่ยกไปตีเอาเมืองบางกอก ซึ่งตั้งขึ้นใหม่นั้นจงได้. แลปกันหวุ่นก็เกนพลรามัญเมืองเมาะตมะ. แลเมืองขึ้นสามสิบสองหัวเมืองเปนคนสามพัน. ให้พระยาเจ๋ง พระยาอุตละ เสี้ยงตละ เกล็บคุมมา กับกองแพกิจจานายทับ. แพกิจจาก็ยกทับมาณสามสบท่าดินแดง จัดแจงการทั้งปวงตามรับสั่งพระเจ้าอังวะ ๚ะ๏ ฝ่ายปกันหวุ่นเจ้าเมืองเมาะตมะ ให้เร่งรัดเกบเอาเงินทองแก่ครอบครัวสมิงรามัญ แลไพร่พลเมืองทั้งปวงได้ความยากแค้น. บ้างหลบหนีมาบอกกันยังกองทับ. แลนายทับนายกองรามัญทั้งปวงก็โกรธว่า พม่าข่มเหงเบียดเบียนครอบครัวข้างหลัง. จึ่งชวนกันคิดกระบถฆ่าแพกิจจานายทับ กับทั้งไพร่พลพม่าห้าร้อยเสียทั้งสิ้นที่ท่าดินแดง. แล้วก็ยกทับกลับไปเมืองเมาะตมะ. แลบันดารามัญนายไพร่ซึ่งอยู่ที่เมืองแลเมืองขึ้นทั้งปวงนั้น ก็พร้อมใจเข้าด้วยกันทั้งสิ้น ชวนกันยกเข้าปล้นเมืองเมาะตมะในเพลากลางคืน โห่เปนเสียงไทย. ปกันหวุ่นแลกรมการพม่าทั้งปวงตกใจไม่สู้รบทิ้งเมืองเสีย ลงเรือหนีไปเมืองย่างกุ้ง. แล้วบอกขึ้นไปถึงเมืองอังวะว่า มอญเมืองเมาะตมะเปนขบถสิ้นทั้งเมือง. ๚ะ๏ ฝ่ายนายทับนายกองสมิงรามัญเมาะตมะ ก็ยกกองทับรามัญติดตามขึ้นไปตีได้เมืองจิตตองเมืองหงษา. แล้วยกขึ้นไปตีเมืองย่างกุ้งเข้าตั้งค่ายล้อมเมืองไว้ แล้วยกเข้าปล้น. เจ้าเมืองย่างกุ้งต่อรบเปนสามารถ มอญหักเข้าไปได้เมืองกึ่งหนึ่ง. พม่าตั้งค่ายในเมืองกั้นไว้ได้ครึ่งเมือง. ๚ะ๏ ครั้นพระเจ้าอังวะทราบในหนังสือบอก จึ่งให้อแซหวุ่นกี้ถือพลพม่าหมื่นหนึ่ง ยกลงมารบมอญขบถ ภอทับน่าอแซหวุ่นกี้ลงมาถึงก็เข้าตีทับมอญ. ๆ ต่อรบสู้มิได้ ก็ลาดถอยไปกลับลงมาเมืองเมาะตมะ. กองทับอแซหวุ่นกี้ก็ยกติดตามลงมา. รามัญทั้งปวงเหนเหลือกำลัง จะสู้รบพม่ามิได้ ก็กวาดครอบครัวหนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารณกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา แยกกันเปนหลายพวก เข้ามาทางด่านพระเจดียสามองคบ้าง ทางด่านเมืองตากบ้าง. กองทับพม่าก็ยกติดตามมอญมาทุกทาง ที่ตามมาทันก็กวาดต้อนครอบครัวมอญกลับคืนไปได้บ้าง. ๚ะ๏ ในขณะเมื่อทับหลวงตั้งอยู่ณบ้านรแหงนั้น จึ่งขุนอินทคิรีนายด่านเมืองตาก นำเอาครัวไทยมอญซึ่งหนีมาแต่เมืองเมาะตมะ เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร. แล้วภาตัวสมิงสุรายกลั่นซึ่งเปนตัวนายมานั้น เข้ามาเฝ้ากราบถวายบังคมณพระตำหนักสวนมม่วง. จึ่งพระราชดำรัศให้ล่ามถามว่า พระเจดียถานอันชื่อว่ากลอมป้อมณเมืองเมาะตมะนั้น ยังปรกติดีอยู่ฤๅ. สมิงสุรายกลั่นกราบทูลว่า ยังปรกติดีอยู่. จึ่งดำรัสให้ถามว่า พระมหาเจดียเกษธาตุณเมืองย่างกุ้ง ซึ่งว่าฉัตรยอดหักลงมานั้น ยกขึ้นได้แล้วฤๅ. สมิงสุรายกลั่นกราบทูลว่า พระเจ้าอังวะให้ลงมาปฏิสังขรณสามปีแล้ว ยังหายกขึ้นได้ไม่ จึ่งตรัสให้ถามว่า ข่าวฦๅมาว่านางรามัญบุตรีคนเขญใจ อายุได้สิบสี่ปีสิบห้าปีรู้อรรถธรรม เกิดที่เมืองเมาะตมะนั้นมีจริงฤๅ. สมิงสุรายกลั่นกราบทูลว่ามีจริงอยู่แต่ยังหาได้ส่งขึ้นไปเมืองอังวะไม่. ๏ ภอเพลาบ่ายจึ่งดำรัศให้พระยายมราชแขก ยกกองทับไปขัดด่านอยู่ณท่าดินแดงรับครัวมอญ กับจะได้ต่อรบทับพม่า ซึ่งยกตามมอญมานั้นด้วย. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันศุกร์เดือนอ้ายแรมห้าค่ำเพลาเช้า บันดานฝนห่าใหญ่ตกเปนมหาพิไชยราชฤกษ. จึ่งโปรดให้พระยาคำแหงวิชิตคุมพลสองพันเสศ อยู่รักษาเมืองตากคอยรับครัวมอญ. แล้วเสดจทรงช้างต้นพังเทพลีลา ให้ยาตราพลทับหลวงดำเนินโดยสถลมารค ประทับร้อนแรมไปโดยระยะทางหลายเวน ถึงตำบลนาเพียกเหนือเมืองนครลำปาง. แล้วดำเนินทับหลวงไปอีกหลายเวน. ถึงวันอังคารเดือนยี่ขึ้นสองค่ำ เสดจถึงเมืองลำภูญ ให้ตั้งค่ายอยุดประทับอยู่ที่นั่น. ๚ะ๏ ฝ่ายโปสุพลารู้ว่า กองทับไทยยกขึ้นมาจะตีเมืองเชียงใหม่ จึ่งให้พระยาจ่าบ้าน แลแสนท้าวพระยาลาวทั้งปวง ยกกองทับลาวพันหนึ่ง เปนกองน่าให้ยกล่วงน่าไปก่อน. แล้วให้โปมยุง่วนเจ้าเมืองอยู่รักษาเมือง โปสุพลา จึ่งยกกองทับพม่าทับลาวเก้าพัน จะยกลงมารับทับไทย. ๚ะ๏ ฝ่ายพระยาจ่าบ้าน กับพระยากาวิละ ขุนนางเมืองนครลำปาง ซึ่งเปนกองน่านั้น เข้ามาหากองทับเจ้าพระยาจักรี ขอสวามีภักดิ์เข้าด้วยจะกลับต่อรบพม่า เจ้าพระยาจักรีจึ่งบอกลงมาให้กราบทูล แล้วให้กองทับพระยาจ่าบ้าน พระยากาวิละนำทับขึ้นไป. ๚ะ๏ ฝ่ายโปสุพลายกกองทับมาได้คืนหนึ่งรู้ข่าวว่า พระยาจ่าบ้าน พระยากาวิละ กลับคิดร้ายเข้าด้วยกับไทย. จึ่งถอยทับกลับไปเมืองเชียงใหม่. แลกองทับเจ้าพระยาจักรี ก็ยกขึ้นไปถึงแม่น้ำเมืองเชียงใหม่. ทับพม่ายกออกมาขุดสนามเพลาะ คอยสกัดรบตามริมน้ำ จะข้ามทับไปยังมิได้. จึ่งให้หมื่นศรีสหเทพลงมากราบทูล. มีพระราชดำรัศสั่งให้เอาปืนจ่ารงต้นกรมทำร้านขึ้นยิงให้พม่าแตก แล้วจงยกข้ามน้ำไป. อันจะรั้งรออยู่ฉนี้มิได้ การศึกจะเนิ่นช้า. หมื่นศรีสหเทพก็กลับไปบอกตามรับสั่ง ภอกองทับน่า ตีทับพม่าแตก ยกข้ามน้ำไปได้ตั้งค่ายล้อมเมืองได้สามสิบสี่ค่าย. เจ้าพระยาจักรีจึ่งให้พระยาธิเบศบดี ลงมากราบทูลพระกรุณาให้ทราบ. ๚ะ๏ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระโสมนัศ จึ่งพระราชทานม้าพระที่นั่ง กับพระแสงปืนสั้นบอกหนึ่ง ไปให้เจ้าพระยาจักรี แล้วพระราชทานพระแสงปืนสั้นอีกสองบอก ไปให้เจ้าพระยาสุรสีหบอกหนึ่ง เจ้าพระยาสวรรคโลกยบอกหนึ่ง. ๚ะ๏ ครั้นค่ำลงเพลาห้าทุ่มเสศ จึ่งลาวสามสิบเอ็ดคน เปนบ่าวแสนหนังสือ มาแต่บ้านพแวน บอกให้กราบทูลว่า กองทับพม่าประมาณสองพัน ยกมาแต่เมืองเมาะตมะ ตามครัวมอญเข้ามาทางบ้านนาเกาะดอกเหล็กด่านเมืองตาก. จึ่งดำรัศให้พระเจ้าหลานเธอรามลักษณเปนแม่ทับ ถือพลพันแปดร้อยเสศ ยกไปทางบ้านจอมทอง ตัดลงไปบ้านนาเกาะดอกเหล็ก ตีทับพม่าซึ่งยกเข้ามานั้น. ๚ะ๏ ครั้นรุ่งขึ้นเจ้าพระยาสวรรคโลกย ลงมาแต่ค่ายล้อมเมืองเชียงใหม่ นำเอากระสุนปืนทองคำสองกระสุน ซึ่งพม่ายิงออกมาแต่ในเมือง มาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย แล้วกราบถวายบังคมลากลับไป. จึ่งทรงพระอธิฐานแล้วสั่งให้พราหมณ์เอากระสุนปืนทองคำทั้งคู่นั้น ไปประกาศแก่เทพยดาในบริเวณพระมหาธาตุในเมืองลำภูญ แล้วให้ฝังไว้ณที่ใกล้พระมหาธาตุนั้น. ๚ะ๏ ในวันนั้นพระเสมียนตราในเจ้าพระยาสวรรคโลกย บอกข้อราชการลงมากราบทูลว่า ได้เกลี้ยกล่อมลาวชาวเมืองลำภูญ เมืองเชียงใหม่ ซึ่งแตกหนีออกอยู่ป่า มาเข้าเปนอันมาก ทั้งครอบครัวถึงห้าพันเสศ. ๚ะ๏ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวดำรัศสรรเสิญสติปัญาพระเสมียนตรา แล้วทรงพระกรุณาโปรดตั้งให้เปนพระยาอักษรวงษ ให้คุมพวกลาวซึ่งมาเข้าเกลี้ยกล่อมนั้น จัดเอาแต่ที่สกรรธ์ไปเข้ากองทับเจ้าพระยาจักรี ตีพม่าณเมืองเชียงใหม่ ๚ะ๏ ครั้นณวันจันทรเดือนอ้ายขึ้นแปดค่ำเพลาบ่าย จึ่งพระราชฤทธานนท์ ถือหนังสือมาแต่กองทับพระยาคำแหงวิชิต ซึ่งตั้งอยู่รักษาเมืองตากว่า ณวันพุทธเดือนยี่ขึ้นเก้าค่ำ สุวรรณเทวะกับทามุมวยสองนาย ภาครัวรามัญเข้ามาถึงเมืองตาก เปนคนห้าสิบคนให้การว่า มาแต่เมืองเริง ครอบครัวชายหญิงประมาณพันเสศ. ครั้นมาถึงตำบลอุวาบ พม่าตามมาทันได้รบพุ่งกัน แลจักกายวอซึ่งเปนนายใหญ่มานั้นถูกปืนตาย. พวกครัวทั้งปวงแตกหนีกระจัดพรัดพรายตามมาข้างหลัง เข้าทางบ้านนาเกาะดอกเหล็ก. อนึ่งลาวชาวฟอนบาหง ก็แตกเข้ามาทางด่านสตอง ครอบครัวชายหญิงร้อยสี่สิบคน. ผู้รักษาด่านสตองก็น้อยตัว แลบ้านนาเกาะดอกเหล็กก็หามีผู้อยู่รักษาไม่. ๚ะ๏ ครั้นได้ทรงทราบในใบบอก จึ่งให้มีหนังสือรับสั่ง ไปหากองทับพระเจ้าหลานเธอรามลักษณกลับมา. แล้วให้มีหนังสือตอบไปถึงพระยาคำแหงวิชิต ให้แบ่งทับยกออกไปตั้งอยู่ณบ้านนาเกาะดอกเหล็ก เกลี้ยกล่อมลาวมอญซึ่งแตกตื่นหนีมานั้นประมวญเข้าไว้ แล้วออกคอยก้าวสกัดตีทับพม่า อันติดตามครัวมาให้แตกฉานไปจงได้. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันพุทธเดือนญี่ขึ้นค่ำหนึ่ง จึ่งเจ้าพระยาจักรี ให้พระยาวิจิตรนาวีลงมากราบทูลว่า กองเจ้าพระยาสวรรคโลกยเข้าตั้งค่ายล้อมเมืองด้านสกัดฝ่ายใต้ได้สองค่าย. แลด้านรีฝ่ายตวันออกตวันตกนั้น ก็ให้กองทับหัวเมืองทั้งปวง เข้าตั้งค่ายล้อมชักปีกกาถึงกันตลอดสองด้านแล้ว ยังแต่ด้านสกัดฝ่ายเหนือด้านเดียว. ถ้ายกเข้าตั้งค่ายเหนจะได้รบกันเปนสามารถ แม้นได้ท่วงทีจะกรูเข้าหักเอาเมืองทีเดียว. ๚ะ๏ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสดับไม่เหนด้วย ดำรัศว่า พม่าตั้งค่ายรับอยู่ในเมือง ซึ่งจะกรูเข้าไปนั้นเกลือกจะเสียที ทแกล้วทหารก็จะถอยกำลังกล้าย่อหย่อนลง. ถ้าล้อมรอบเมืองได้แล้ว จะหักเข้าที่ไหน ก็ให้ตั้งน่าทำเข้าไปเฉพาะที่นั้น. แลบันดาค่ายทั้งปวงให้ขุดคูลงขวากกันข้าศึก แต่ซึ่งค่ายประชิจะได้วางปืนหามแล่นนั้น ให้ขุดคลองเดินบังปืนพม่า. ให้ดูที่ค่ายใดซึ่งตั้งเข้าใกล้เมืองได้ ก็ให้ขุดคลองโปรยขวากกระจับที่ค่ายนั้น. แม้นฆ่าศึกจะยกออกมาหักค่าย ก็ให้ไล่คลุกคลีตีตามเข้าเมืองทีเดียว. พระยาวิจิตรนาวีก็กราบถวายบังคมลา กลับไปแจ้งข้อรับสั่งแก่เจ้าพระยาจักรี ๆ ก็จัดแจงการทั้งปวงตามกระแสพระราชดำรัสสั่งไปนั้น ๚ะ๏ ฝ่ายโปสุพลา โปมยุง่วน ก็ให้นายทับนายกองพม่า ยกพลทหารออกมาตั้งค่ายรับนอกเมืองเปนหลายค่าย. แล้วยกออกปล้นค่ายเจ้าพระยาจักรี ซึ่งตั้งอยู่ด้านตวันออกในเพลากลางวัน. เจ้าพระยาจักรีมิได้ครั่นคร้าม นั่งเล่นหมากรุกอยู่ในค่ายพลาง ร้องสั่งพลทหารให้วางปืนใหญ่น้อยออกไปจากค่ายยิงพม่า ๆ ถูกปืนล้มตายลงมาก จะปล้นเอามิได้ ก็ถอยกลับเข้าค่าย. ๚ะ๏ ครั้นณวันเสาร์เดือนยี่ขึ้นสิบสามค่ำเพลาย่ำรุ่งเช้า จึ่งสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ทรงเครื่องราชวิภูษิตสำหรับราชรณยุทธ ทรงราชาวุธสรัพเสรจ ก็เสดจทรงช้างต้นพลายคเชนทรบรรยงค์เปนราชพาหนะ ให้ยาตราพลากรทับหลวงจากค่ายริมเมืองลำภูญ ขึ้นไปณเมืองเชียงใหม่. อยุดประทับร้อนณพลับพลาไชยในค่ายบ่อคก ไกลเมืองเชียงใหม่ทางสามร้อยห้าสิบสองเส้น. แล้วดำเนินทับหลวงไปประทับณค่ายมั่นริมน้ำใกล้เมือง. ๚ะ๏ ในวันนั้นเจ้าพระยาจักรีแม่ทับน่า ยกพลทหารออกตีค่ายพม่า ซึ่งออกมาตั้งรับนอกเมืองด้านตวันออก แตกหนีเข้าเมืองทั้งสิ้น. แลกองเจ้าพระยาสุรสีห ซึ่งตั้งค่ายตรงประตูท่าแพ ก็ยกออกตีค่ายพม่าแตกทั้งสามค่าย. ตำรวจผู้ไปตรวจการมากราบทูล. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระโสมนัศ ยกพระหัถตบพระเพลาทั้งสองข้าง ดำรัศสรรเสริญเจ้าพระยาทั้งสองว่า จะว่าพี่ดีฤๅน้องดีไฉนในครั้งนี้. ๚ะ๏ ครั้นค่ำเพลายามเสศ โปสุพลา แลโปมยุง่วน เจ้าเมืองเชียงใหม่ ก็ภาครัวหนีออกจากเมืองทางประตูช้างเผือก ด้านค่ายพระยาสรรคโลกย ซึ่งตั้งล้อมยังไม่ตลอด เบียดเสียดเยียดยัดกันตายที่ประตูเมืองประมาณสองร้อยเสศ. พวกพลทับไทยออกไล่ตามจับพม่า แลชิงเอาครัวลาวได้เปนอันมาก ๚ะ๏ ครั้นรุ่งขึ้นณวันอาทิตยเดือนยี่ขึ้นสิบสี่ค่ำเพลาเช้า จึ่งสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจทรงช้างพระที่นั่งไปทอดพระเนตรค่าย ซึ่งล้อมเมืองเชียงใหม่ แลท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวง มาเฝ้ากราบถวายบังคมพร้อมกัน. จึ่งมีพระราชดำรัศถามว่า พม่ายกทับหนีไปครั้งนี้ ด้วยอุบายความคิดแลฝีมือของผู้ใด. เจ้าพระยาจักรีแลท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวงพร้อมกันกราบทูลว่า ซึ่งพม่าแตกหนีไปครั้งนี้ ด้วยพระราชกฤษดาเดชานุภาพเปนแท้ เพราะเหตุพระสงฆในเมืองออกมาบอกข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงว่า ณวันศุกรเดือนยี่ขึ้นสิบสองค่ำ กลางคืนเพลายามเสศ บังเกิดอัศจรรยในเมืองเชียงใหม่แผ่นดินไหว. ภอรุ่งขึ้นทับหลวงก็เสดจมาถึงเมือง. จึ่งทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานสนองพระองค์เข้มขาบ กับผ้าส่านแก่เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห ทั้งสองเปนรางวัลเสมอกัน. แล้วให้ปฤกษาโทษเจ้าพระยาสวรรคโลกย ซึ่งมิได้ปลงใจในราชการสงคราม ตั้งค่ายไม่ตลอดด้าน ไว้หนทางให้พม่าหนีไปได้ ให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนห้าสิบทีแล้วจำครบไว้. แลเมื่อสำเร็จราชการศึกได้เมืองเชียงใหม่ครั้งนั้น ได้ปืนใหญ่น้อยสองพันร้อยสิบบอก ฆ้องสามสิบสองคู่ ม้าสองร้อยม้า ไทยมอญห้าร้อยครัว ไทยชาวเมืองสวรรคโลกยห้าร้อยเสศ. จึ่งดำรัศว่า พวกครัวสวรรคโลกยเปนขบถต่อแผ่นดิน นำทับพม่ามาตีเมือง จะเอาไว้มิได้ ให้คลอกเสียทั้งสิ้น. ท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวง กราบทูลขอพระราชทานชีวิตรไว้เปนตพุ่นญ่าช้าง. ๚ะ๏ ครั้นณวันพุธเดือนยี่แรมสองค่ำเพลาเช้า จึ่งเสดจพระราชดำเนินเข้าไปนมัศการพระพุทธปฏิมากรพระสิหิงคิ์ในเมืองเชียงใหม่ ทอดพระเนตรเรือนโปมยุง่วนเจ้าเมือง. แลพวกลาวชาวเมืองบอกแก่พวกข้าหลวงว่า แต่ก่อนมาเทศการเดือนยี่นี้ น้ำในแม่น้ำน่าเมืองเชียงใหม่เคยลงขอด แลบัดนี้น้ำขึ้นประมาณศอกหนึ่งเปนอัศจรรย. จึ่งเสดจออกมาประทับอยู่ณตำหนักในค่ายนอกเมือง. ๚ะ๏ ครั้นณวันพฤหัศบดีเดือนยี่แรมสามค่ำ จึ่งทรงพระกรุณาโปรดตั้งพระยาจ่าบ้านเปนพระยาวิเชียรปราการ ให้ถืออาญาสิทธครองเมืองเชียงใหม่ ให้พระยาวังพร้าวผู้หลานเปนพระยาอุปราช. น้อยโพธิ เปนพระยาราชวงษ. ให้พระยาลำภูญเปนพระยาไวยวงษา ถืออาญาสิทธครองเมืองตามเดิม. น้อยต่อมต้อผู้น้องเปนพระยาอุปราช. ให้พระยากาวิละ ถืออาชญาสิทธครองเมืองนครลำปาง. คำโสมผู้น้องเปนพระยาอุปราช. น้อยธรรมน้องอีกคนหนึ่ง เปนพระยาราชวงษ. ยังน้องอีกสี่คน ชื่อคำทิพหนึ่ง หมูล่าหนึ่ง คำฟั่นหนึ่ง บุญมาหนึ่งให้เปนผู้ช่วยราชการ. แล้วโปรดพระราชทานเครื่องยศโดยควรแก่ถานานุศักดิ์ผู้ใหญ่ผู้น้อย. โปรดให้เจ้าพระยาจักรีอยู่ช่วยจัดแจงว่าราชการบ้านเมืองทั้งปวง ให้ราบคาบเปนปรกติก่อน. ๚ะ๏ ครั้นณวันศุกรเดือนยี่แรมสี่ค่ำเพลาเช้า จึ่งเสดจดำเนินทับหลวงกลับจากเมืองเชียงใหม่ ลงมาอยู่ประทับแรมอยู่ณเมืองลำปาง นมัศการลาพระมหาธาตุ ทรงถวายสัการบูชาด้วยดอกไม้ทองเงิน แล้วถวายครัวลาวสิบเจดคนเปนข้าไว้ประฎิบัติพระมหาธาตุ. ๚ะ๏ ครั้นณวันอังคารเดือนยี่แรมสิบห้าค่ำ จึ่งพระเชียงทองบอกข้อราชการขึ้นไปกราบทูลว่า ทับพม่ายกเข้ามาทางด่านแม่ลำเมา. จึ่งเสดจราชดำเนินทับหลวงรีบลงมาถึงเมืองตาก ณวันพฤหัศบดีเดือนสามขึ้นสองค่ำ. ดำรัศให้หลวงมหาเทพเปนแม่ทับ กับจมื่นไววรนารถ ถือพลสองพันยกรีบไปตีกองทับพม่า ซึ่งยกเข้ามาทางด่านแม่ลำเมานั้นแตกไป จึ่งบอกหนังสือมากราบทูล ดำรัศให้นายควรรู้อรรถ นายเวรมหาดไทย ลงเรือรีบลงไปบอกพระยาคำแหงวิชิต ซึ่งตั้งทับอยู่ณบ้านรแหงใต้เมืองตากนั้น ให้เร่งยกกองทับออกไปก้าวสกัดตีทับพม่าซึ่งแตกไปนั้น. ๚ะ๏ ในขณะนั้นเรือพระที่นั่งยังจอดอยู่ณท่าสวนมม่วงบ้านรแหง หาทันขึ้นไปรับเสดจถึงเมืองตากไม่. ครั้นค่ำลงเพลาสองยาม จึ่งเสดจลงทรงเรือจมื่นจงกรมวัง ล่องลงมาภบเรือนายควรกลับขึ้นไป. นายควรกราบทูลว่า เหนกองไฟอยู่ริมน้ำ ได้ยินเสียงพม่าเห่ขึ้น. ก็ทรงพระวิมัติสงไสย. จึ่งดำรัศให้นายควรเปนเรือนำๆเสดจลงไป. จึ่งภบเรือตรางใส่พม่าเมืองเชียงใหม่พระเพชรปาณีคุมมาอยุดอยู่ให้พม่าเห่ขานยาม ก็เสดจล่องลงมา ภอเรือพระที่นั่งกระทบตอล่มลงเสดจขึ้นณหาดทราย ภบนายเกด นายชูลคอนนั่งผิงไฟอยู่. นายชูถวายผ้าลายผืนหนึ่งเช็ดพระชงค์ เช็ดพระบาท. จึ่งหลวงราชโกษาเชิญห่อพระภูษาซึ่งชุ่มน้ำมาแก้ออก เหนพระภูษาส่วนองคหนึ่งแห้งปรกติอยู่เปนอัศจรรยนัก จึ่งน้อมนำเข้าไปถวาย. แล้วเสดจพระราชดำเนินด้วยพระบาท มาโดยทางสถลมารคถึงพระตำหนักสวนมม่วงบ้านรแหง. ๚ะ๏ จึ่งดำรัศให้ข้าราชการปฤกษาคุณแลโทษนายควร. แลข้าราชการทั้งปวงปฤกษาว่า ทรงพระกรุณาใช้ไปราชการ นายควรมิได้พิจารณาให้ถ่องแท้ เอาความมากราบทูลด้วยเสียงพม่าเห่นั้น เปนความผิดโทษมีแก่นายควร. อนึ่งนายควรได้โดยเสดจพระราชดำเนินเปนเพื่อนพระองคในคราวกันดารนั้น เปนความชอบ คุณมีแก่นายควร. แลคุณกับโทษภอกลบลบกัน. ประการหนึ่งซึ่งนายชูลคอนได้ถวายผ้าลายได้เช็ดพระชงค พระบาทเมื่อกันดารนั้น เปนความชอบมีแก่นายชูลคอน. จึ่งโปรดให้พระราชทานเงินตราห้าตำลึง. แก่นายชูลคอนเปนบำเหน็จ. ๚ะ๏ ครั้นณวันเสารเดือนสามขึ้นสี่ค่ำเพลาเช้า จึ่งทรงพระกรุณาพระราชทานเงินแจกราษฎรชาวบ้านรแหง สิ้นทั้งผู้ใหญ่ ทั้งเด็กเสมอคละสลึง. จึ่งพระยาคำแหงวิชิตกราบทูลกล่าวโทษพระยานนท์บุรี ซึ่งเปนลูกกองว่า หลบหลีกย่อท้อต่อการสงครามเกรงกลัวฆ่าศึก จึ่งให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนพระยานนท์บุรีร้อยที แล้วให้จำครบส่งลงไปณกรุง ให้ประหารชีวิตรเสีย. ๚ะ๏ ครั้นณวันพฤหัศบดีเดือนสามขึ้นแปดค่ำ จึ่งเสดจไปนมัศการพระพุทธปฏิมากรณวัดกลาง วัดดอยเขาแก้ว. แล้วตรัสถามพระสงฆ์ว่า ผู้เปนเจ้าจำได้ฤๅไม่ เมื่อโยมยังอยู่บ้านรแหงนี้ โยมยกระฆังแก้วขึ้นชูไว้ กระทำสัตยาธิษฐานเสี่ยงบารมีว่า ถ้าจะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเศกสมโพธิญาณในอนาคตกาลเปนแท้แล้ว ข้าพเจ้าจะตีระฆังแก้วเข้าบัดนี้ ขอจงให้แตกเฉพาะที่จุก จะได้ทำเปนพระเจดียถาน บันจุพระบรมสาริริกธาตุ. ครั้นอธิฐานแล้วจึ่งตีเข้า ระฆังแก้วก็แตกที่จุกดุจอธิฐานนั้น เปนอัศจรรยเหนประจักษ. พระสงฆ์ถวายพระพรว่า จริงดังกระแสพระราชดำรัศนั้น. ๚ะ๏ ครั้นณวันพฤหัศบดีเดือนสามขึ้นเก้าค่ำ จึ่งเสดจลงเรือพระที่นั่งล่องลงมาโดยทางชลมารค ห้าเวนถึงกรุงธนบุรีมหานคร. ๚ะ๏ ฝ่ายข้างกรุงรัตนบุระอังวะพระเจ้ามังระลงมาณเมืองย่างกุ้ง} กระทำการยกฉัตรยอดพระมหาเจดียเกษธาตุ ๚ะ๏ ฝ่ายเสนาบดีซึ่งรักษาเมืองอังวะบอกลงมาว่า พระยาหงษาวดี พระยาอุปราชา กับตละเกิงแลรามัญทั้งปวง ซึ่งกวาดขึ้นไปไว้ครั้งตีเมืองหงษาวดีได้ แต่ครั้งแผ่นดินพระเจ้ามังลองนั้น คิดกันเปนขบถ. เหนว่าเสดจไม่อยู่จะยกเข้าปล้นเอาเมืองข้างหลัง บัดนี้จับจำไว้สิ้นแล้ว. พระเจ้ามังระจึ่งให้มีหนังสือตอบขึ้นไป ให้ประหารชีวิตรพระยาหงษาวดี พระยาอุปราชา แลตละเกิงสมิงรามัญตัวนายซึ่งร่วมคิดกันเปนขบถนั้นเสียให้สิ้น. แล้วให้ข้าหลวงมาเร่งกองทับอแซหวุ่นกี้ ซึ่งตั้งอยู่ณเมืองเมาะตมะนั้น ให้ยกตามมอญขบถเข้าไป ตีเอาเมืองไทยให้ได้. ๚ะ๏ อแซหวุ่นกี้จึ่งให้งุยอคุงหวุ่นเปนแม่กองทับน่า กับอุตมสิงหจอจัวหนึ่ง ปะคันเลชูหนึ่ง เมี้ยนหวุ่นหนึ่ง อคุงหงุ่นมุงโยะหนึ่ง เนมโยแมงละนรทาหนึ่ง ยุยยองโบ่หนึ่ง ถือพลห้าพันยกล่วงมาก่อน. แล้วให้ตะแคงมรหน่องเปนเชื้อวงษพระเจ้าอังวะ กับหม่องจ่ายิด ถือพลสามพันอีกทับหนึ่งยกหนุนมา. แลกองน่าพม่ายกตามครัวมอญเข้ามา เข้าตีกองน่าทับไทยซึ่งตั้งค่ายอยู่ณท่าดินแดงนั้นแตก. พระยายมราชแม่ทับก็ถอยลงมา แล้วบอกเข้ามาให้กราบทูลว่า พม่ายกทับใหญ่มาเหลือกำลังจะต้านทานต่อรบ ขอพระราชทานกองทับเพิ่มเติมไปช่วย. จึ่งดำรัศให้พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าจุ้ย กับพระยาธิเบศบดีเปนแม่ทับ ถือพลสามพันยกไปตั้งค่ายรับณเมืองราชบุรี ๚ะ๏ ขณะนั้นพระยายมราชบอกส่งพระยาอไภยรณฤทธิหนึ่ง พระยาเพชรบุรีหนึ่ง หลวงสมบัติบาลหนึ่ง หลวงสำแดงฤทธาหนึ่ง ทั้งสี่นายซึ่งแตกพม่าเข้ามานั้น. แต่พระยาสุนทรพิพิธหนึ่ง หลวงรักษมณเฑียรหนึ่ง พระยาสุพรรณบุรีหนึ่ง พระยากาญจนบุรีหนึ่ง พระยานครไชยศรีหนึ่ง ทั้งห้านายนี้ยังไม่ภบตัว. จึ่งดำรัศให้จับเอาบุตรภรรยามาจำไว้ ให้ทำราชการแก้ตัวส่งไปเข้ากองพระเจ้าลูกเธอ แลพระยาธิเบศบดี. แล้วดำรัศให้พระเจ้าหลานเธอรามลักษณถือพลพันหนึ่ง ยกไปช่วยพระเจ้าลูกเธอคิดอ่านการสงครามเอาไชยชำนะให้จงได้. ๚ะ๏ ถึงณวันจันทรเดือนสามแรมสี่ค่ำเพลาเช้า เสดจลงพระตำหนักแพให้เรือตำรวจขึ้นไปเร่งกองทับ ซึ่งกลับมาแต่เมืองเชียงใหม่ยังล้าหลังอยู่ตามเสดจมาไม่ทันนั้น ให้เร่งรีบลงมาโดยเรวอย่าให้ใครแวะเข้าบ้านเปนอันขาด. ถ้าใครแวะเข้าบ้าน จะประหารชีวิตรเสีย. แลเรือท้ายพระยาพระหลวงขุนหมื่นข้าราชการทั้งปวงนั้น ก็รีบเร่งลงมาถึงหน้าพระตำหนักแพ ภอกราบทูลทวายบังคมลาแล้วก็โบกพระหัถสั่งให้รีบออกไปเมืองราชบุรี ๚ะ๏ ขณะนั้นพระเทพโยธาจอดเรือแวะขึ้นบ้าน ตำรวจลงมากราบทูล. พระธิโรธดำรัศให้เรือตำรวจรีบไปเอาตัวมาในทันใดนั้น แล้วเอาตัวพระเทพโยธาขึ้นมัดไว้กับเสาพระตำหนักแพ ทรงถอดพระแสงดาบออกฟันพระเทพโยธาด้วยพระหัถบนพระตำหนักแพ ศีศะขาดตกลงให้ตำรวจนำเอาไปเสียบประจานไว้ที่น่าป้อมวิไชยประสิทธ แลอาสพนั้นให้ทิ้งน้ำเสีย อย่าให้ใครดูเยี่ยงอย่างสืบไป. ๚ะ๏ ฝ่ายพวกรามัญซึ่งหนีพม่านั้น พระยาเจ่ง ตละเสี้ยง ตละเกล็บ กับพระยากลางเมืองซึ่งหนีเข้ามาครั้งกรุงเก่า พม่าตีกรุงได้ๆตัวไป. แลสมิงรามัญนายไพร่ทั้งปวง ภาครอบครัวเข้ามาทุกด่านทุกทาง ให้ข้าหลวงไปรับมาถึงพระนครพร้อมกันแล้ว. ทรงพระกรุณาให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ณะแขวงเมืองนนท์บ้าง เมืองสามโคกบ้าง. แต่สกรรธ์จัดไว้สามพัน โปรดให้หลวงบำเรอภักดิ์ครั้งกรุงเก่าเปนเชื้อรามัญ ให้เปนพระยารามัญวงษ เรียกว่าจักรีมอญ ควบคุมกองมอญใหม่ทั้งสิ้น. แลโปรดให้พระราชทานตราภูมคุ้มห้ามสรรพากรขนอนตลาดทั้งปวง ให้ค้าขายทำมาหากินเปนศุข แล้วให้เกนพระยารามัญวงษคุมกองมอญยกหนุนออกไปต่อรบพม่าอีกทับหนึ่ง. แล้วโปรดให้มีตราขึ้นไปหากองทับเจ้าพระยาจักรี แลทับหัวเมืองฝ่ายเหนือ เมืองตวันออกทั้งปวง ให้เร่งรีบลงมาช่วยราชการสงคราม. ๚ะ๏ ฝ่ายเจ้าพระยาจักรี อยู่ณเมืองเชียงใหม่ แลพระยาเชียงใหม่ พระยานครลำปางบอกว่า เมืองน่านผู้คนมากยังมิได้เข้ามาสวามีภักดิ์. เจ้าพระยาจักรีจึ่งให้พระยาอุปราชเมืองเชียงใหม่เมืองนครลำปาง กับขุนนางไทยข้าหลวงไปเจรจาเกลี้ยกล่อมพระยาน่านโดยดี. พระยาน่านก็ยอมเข้าสวามิภักดิ์ ขอขึ้นเปนข้าขอบขันทสีมา. แล้วแต่งขุนนางสองนายให้ลงมาเฝ้าด้วย. ภอข้าหลวงถือตราขึ้นไปหากองทับกลับ แลเกนทับหัวเมืองทั้งปวง เจ้าพระยาจักรีแลท้าวพระยาพระหัวเมืองทั้งหลายก็จัดแจงกองทับทุกๆเมือง ยกลงมาตามพระราชดำรัศให้หานั้น. ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับพม่าก็ยกแยกกันไปเที่ยวไล่จับผู้คนครอบครัว ณแขวงเมืองกาญจนบุรี เมืองราชบุรี เมืองนครไชยศรี เมืองสุพรรณบุรี ทุกบ้านทุกตำบล. ๚ะ๏ ครั้นณวันอังคารเดือนสามแรมหกค่ำ กรมการเมืองนครไชยศรีบอกเข้ามากราบทูลว่า พวกตำรวจหลังถือท้องตราพระราชสีหไปเมืองสุพรรณบุรี ถึงตำบลบ้านภูมภบพม่าประมาณสามสิบคนควบม้าไล่ก็วิ่งหนี กะทอผ้าซึ่งใส่หนังสือท้องตรานั้นตกหายเสีย. พม่าเข้าล้อมบ้านภูมอยู่ แต่นายพูน นายสา นายแก่สามคนนี้หนีได้ นายพรมนั้นหายไปไม่ภบกัน. สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวจึ่งดำรัศให้พระยาพิไชยไอสวรรยผู้ว่าที่กรมท่า ยกกองทับพลพันหนึ่งไปเมืองนครไชยศรี ตีทับพม่าซึ่งยกมานั้น. ๚ะ๏ ฝ่ายทับพม่าซึ่งยกมาทางเมืองกาญจนบุรี มาตั้งค่ายใหญ่อยู่ณะปากแพรก. แล้วแบ่งทับมาสามพันเสศ ยกเข้ามาตั้งค่ายอยู่ณบ้านนางแก้ว แขวงเมืองราชบุรีสามค่าย. ทับพระยายมราชก็เลิกถอยเข้ามา. พระเจ้าลูกเธอกับพระยาธิเบศบดี จึ่งให้หลวงมหาเทพเปนกองน่าคุมคนพันหนึ่ง ยกไปตั้งค่ายประชิโอบค่ายพม่าด้านตวันตก. แลทับพระเจ้าหลานเธอรามลักษณพลพันหนึ่ง ยกไปตั้งค่ายประชิด้านตวันออก. พระเจ้าลูกเธอกับพระยาธิเบศบดี ตั้งค่ายมั่นอยู่ณโคกกระต่าย. แล้วบอกข้อราชการเข้ามากราบทูลพระกรุณาให้ทราบ. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันอาทิตยเดือนสามแรมสิบเบ็ดค่ำ ได้มหาพิไชยฤกษ จึ่งสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็เสดจทรงเรือพระที่นั่งกราบยาว ๑๓ วา พร้อมด้วยเรือท้าวพระยาข้าทูลลอองธุลีพระบาทเปนอันมาก. เสดจยกพยุหยาตรานาวาทับสรรพด้วยพลโยธาหารแปดพันแปดร้อยเสศ. จากกรุงธนบุรีไปโดยทางชลมารค อยุดประทับพลับพลาณเมืองสาครบุรีคอยน้ำขึ้น. ครั้นค่ำเพลา ๕ ทุ่ม จึ่งให้เคลื่อนกองทับไป. เพลารุ่งเช้าเข้าที่เสวยณวัดกลางค่ายบางกุ้ง. เพลาบ่ายโมงเสศ เสดจไปถึงค่ายมั่นเมืองราชบุรี. ดำรัศให้พระยาวิจิตรนาวี ไปสืบข่าวราชการณค่ายบ้านนางแก้ว แล้วเกนท้าวพระยานายทับนายกอง ยกพลทหารหนุนเพิ่มเติมไปล้อมค่ายอีกเปนหลายทับหลายกอง. ๚ะ๏ ฝ่ายตแคงมรหน่องยกกองทับพลสามพัน ติดตามทับพระยายมราชเข้ามาตั้งค่ายอยู่ณปากแพรก. อแซหวุ่นกี้เกนกองทับพม่าทับรามัญ หนุนเพิ่มเติมมาอีกพันหนึ่ง. แลกองทับพระยายมราชนั้น. ถอยลงมาตั้งค่ายอยู่ณดงรังหนองขาว. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวจึ่งดำรัศให้พระยาสีหราชเดโช กับพระยาอินทรวิชิตเจ้าเมืองวิเสศไชยชาญ ถือพลสองพันยกหนุนไปช่วยกองทับพระยายมราช. ๚ะ๏ ครั้นณวันอังคารเดือนสามแรมสามค่ำ จึ่งพระยาวิจิตรนาวีซึ่งไปสืบราชการค่ายบ้านนางแก้วกลับมากราบทูลว่า พม่าประมาทฝีมือไทย นิ่งให้ตั้งค่ายล้อมมิได้ออกมารบพุ่ง. ให้ร้องถามออกมาเปนภาษาไทยว่า ตั้งค่ายมั่นแล้วฤๅยัง. ฝ่ายข้างเราร้องบอกไปว่ายังไม่ได้ตั้งมั่นแต่บัดนี้ตั้งค่ายล้อมค่ายพม่าไว้รอบแล้ว. ครั้นค่ำเพลายามเสศ จึ่งเสดจยกพยุหโยธาทับจากค่ายเมืองราชบุรีไปทางวัดอรัญญิก ประทับร้อนณพลับพลาค่ายศาลาโคกกระต่าย. ครั้นรุ่งเช้าจึ่งเสดจไปประทับแรมณพลับพลาค่ายวัดเขาพระ คอยฟังข่าวราชการอยู่ที่นั่น. แลพม่าหายกออกตีค่ายไทยไม่นิ่งให้ล้อม ด้วยมีจิตรประมาทว่าไทยฝีมืออ่อน จะออกตีเมื่อไรก็จะแตกเมื่อนั้นจะได้จับผู้คนได้มาก. ฝ่ายทับไทยก็ตั้งค่ายล้อมไว้ถึงสามชั้น. ๚ะ๏ ครั้นณวันพฤหัศบดีเดือนสี่ขึ้นค่ำหนึ่ง เพลาเช้าจึ่งเสดจพระราชดำเนินพยุหยาตราทับไปทอดพระเนตรถึงค่ายล้อม พระยารามัญวงษ หลวงบำเรอภักดี หลวงราชเสนามาเฝ้า. จึ่งดำรัศสั่งให้ไปตั้งค่ายรักษาหนองน้ำณเขาชงุ้มไว้ในวันนั้นขุนปลัด เมืองราชบุรีบอกเข้ามากราบทูลว่า ทับพม่ายกเข้ามาทางประตูสามบานด่านเจ้าขว้าว จับเชาด่านไปได้สองคน จะยกกลับไปฤๅจะตั้งอยู่ประการใดมิได้ทราบ. จึ่งดำรัสสั่งพระเจ้าลูกเธอกับกองทับจีนพระยาราชาเสรฐี ให้ยกลงไปรักษาค่ายเมืองราชบุรี แล้วให้รื้อค่ายเปล่าลงไปตั้งริมน้ำให้สิ้นให้ปักขวากหนามจงมาก แล้วให้กองเจ้าพระยาอินทรอไภย ยกไปรักษาสระน้ำเขาซั่วพรานตั้งค่ายอยู่สามค่าย เพลาค่ำวันนั้นพม่าออกมาตีค่ายเจ้าพระยาอินทรอไภยครั้งหนึ่งแล้วแตกถอยไป. ในคืนวันนั้นพม่ายกออกตีถึงสามครั้ง ได้รบกันเปนสามารถ. จับพม่าได้เปนสามคนเจบป่วยลำบากไปเปนอันมาก. จึ่งบอกข้อราชการแลส่งพม่ามาถวาย. ครั้นได้ทรงทราบจึ่งให้เตรียมพลทหารจะเสดจยกไปช่วยพระยาอินทรอไภย. จึ่งพระยาเทพวรชุน หลวงดำเกิงรณภพ ทูลห้ามไว้รับอาษาจะยกไป. ๚ะ๏ ครั้นรุ่งขึ้นจึ่งดำรัศให้เกนทหารกองในกองนอก แลกองอาจาริย กองทนายเลือกได้เจดร้อยสี่สิบห้าคน. ให้พระยาเทพวรชุน หลวงดำเกิงรณภพ ยกไปเปนกองโจรไปช่วยเจ้าพระยาอินทรไภย. แล้วให้ถามพม่าๆให้การว่า นายทับซึ่งยกมาตีค่ายสระน้ำนั้น ชื่อเนมโยแมงละนรทาถือพลพันหนึ่ง ซึ่งตั้งค่ายอยู่ณบ้านนางแก้วนั้น. นายทับชื่องุยอคุงหวุ่นถือพลสองพันเสศ ซึ่งตั้งค่ายอยู่ณปากแพรกนั้น. นายทับชื่อตแคงมรหน่องเปนเชื้อวงษพระเจ้าอังวะ. กับหม่องจ่ายิดพลประมาณสามพันเสศ ยังยกทับหนุนมาอีกเปนอันมาก. แลทางทวายนั้นก็ยกมาอีกทับหนึ่ง แต่นายทับข้าพเจ้ามิได้รู้จักชื่อ. จึ่งโปรดให้พระณรงควิชิตไปตัดเอาศีศะพม่าซึ่งถูกปืนตายณค่ายเขาชั่วพรานไปเสียบไว้น่าค่ายเข้าประชิให้พร้อม แล้วสั่งให้ประกาศแก่นายทับนายกองค่ายล้อมทั้งปวงว่า ให้ขังพม่าไว้กว่าจะโซจึ่งเอาเข้าฬ่อเอา. ถ้าพม่าเรรวนออกจากค่าย อย่าให้ชิงเอาค่าย แต่ให้รับรองไว้จงอยุด. แม้นพม่าหนีไปได้ จะเอาโทษถึงสิ้นชีวิตร. ครั้นค่ำลงเพลายามเก้าบาท พม่าออกแหกค่ายน่าด้านหลวงมหาเทพ พลทหารยิงปืนรดมไปก็กลับเข้าค่าย ที่ถูกปืนตายก็เปนอันมาก. อนึ่งในเพลาคืนวันนั้น ทับพม่ายกมาแต่ปากแพรก จะเข้าช่วยพม่าซึ่งอยู่ในค่ายล้อม. จึ่งยกเจ้าตีค่ายหนองน้ำเขาชงุ้มล้อมกองรามัญเข้าไว้. จึ่งกองพระยาธิเบศบดีตีเข้าไป กันเอากองรามัญออกมาได้ เสียขุนณรงคคนหนึ่งในที่รบ. พม่าตีวกหลังหักออกมา ได้รบกันเปนสามารถ. กองทับพระยาธิเบศบดีต่อรบต้านทานเหลือกำลังก็แตกถอยมา. พม่าได้ค่ายหนองน้ำเขาชงุ้มก็เข้าตั้งมั่นอยู่ในค่าย. ครั้นได้ทรงทราบภอกองทับพระยานครสวรรคยกมาถึง จึ่งดำรัศให้พระยานครสวรรคเร่งยกไปช่วยพระยาธิเบศบดี. ในคืนวันนั้นจึ่งทราบว่า กองมอญพระยารามัญวงษออกจากที่ล้อมได้แล้ว. จึ่งเสดจกลับมาณค่ายศาลาโคกกระต่าย พระยานครสวรรคพระยาธิเบศบดี จึ่งปฤกษากันบอกส่งพระยารามัญวงษ แลหลวงบำเรอภักดี หลวงราชเสนา ซึ่งเสียค่ายลงมาณพลับพลาโคกกระต่าย. จึ่งดำรัศให้มีตราขึ้นไปให้พระยานครสวรรค พระยาธิเบศบดี ถอยทับลงมาตั้งค่ายรับพม่าอยู่นอกค่ายล้อมบ้านบางแก้วไว้ไกลประมาณห้าเส้น. ๚ะ๏ ครั้นณวันพุทธเดือนสี่ขึ้นสิบเบดค่ำจึ่งพระยายมราช พระยาสีหราชเดโช พระยาอินทรวิชิต บอกลงมากราบทูลว่า ตั้งค่ายอยู่ณดงรังหนองขาว ทับพม่ายกมาแต่ค่ายปากแพรก เข้าตีค่ายได้ต่อรบกันเปนสามารถ พม่าถูกปืนตายแลบาดเจบลำบากไปเปนอันมาก จับได้เปนสองคนส่งมาถวาย. แต่บัดนี้กระสุนดินดำนั้นยังอยู่น้อย ขอพระราชทานเพิ่มเติมขึ้นไปอีก จึ่งดำรัสสั่งให้มีตราตอบขึ้นไปว่า ถ้ากองทับเจ้าพระยาจักรียกลงมาถึง จึ่งจะให้ยกหนุนขึ้นไปให้คอยเอากระสุนดินดำที่กองทับเจ้าพระยาจักรีนั้นเถิด. ๚ะ๏ ในขณะนั้นกรมการเมืองคลองวานบอส่งเมงเข้ามาว่า พม่าเมืองมฤตยห้าร้อยยกเข้ามาตีบ้านทับสแก ได้ตั้งค่ายรับไว้ แต่ข้าพเจ้ากรมการน้อยตัวนัก ขอพระราชทานกองทับไปช่วย. จึ่งดำรัศสั่งให้มีตราตอบออกไปว่า ราชการศึกยังติดพันกันอยู่ให้ผู้รั้งกรมการทั้งปวงรับรองสู้รบพม่าไว้จงได้. ๚ะ๏ ในทันใดนั้นหลวงมหาแพทย์ออกไปแต่กรุงธนบุรี เข้าเฝ้ากราบถวายบังคมทูลพระกรุณาว่า สมเด็จพระพันปีหลวง กรมพระเทพามาตย ทรงพระประชวรพระยอดอัคเนสันเสดจทิวงคต แต่ณวันอังคารเดือนสี่ขึ้นหกค่ำปีมเมียฉศก ในราษตรีเพลาสองยามแปดบาท. แลในวันนั้นได้เชลยพม่าสองคน หนีออกมาจากค่ายล้อมบ้านนางแก้ว. ให้การแก่นายทับนายกองว่า อดอาหารอยู่ได้เจดวันแล้ว ได้รับพระราชทานแต่เนื้อช้างเนื้อม้า แต่น้ำในบ่อนั้นยังมีอยู่. อนึ่งปืนใหญ่ซึ่งยิงเข้าไปในค่ายนั้น ถูกพม่าล้มตายเปนอันมาก พม่าขุดหลุดลงอยู่. จึ่งทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานม้าสิบม้า. ให้พระยารามัญวงษคุมกองรามัญใหม่ ทั้งนายทั้งไพร่สี่ร้อยคน สรัพด้วยเครื่องสรรพาวุธเปนกองโจรยกไปลาดกระเวนข้างหลังเขาชงุ้ม คอยตีพม่าซึ่งจะยกมาช่วยพม่าในค่ายล้อมนั้น. ๚ะ๏ ในขณะนั้นกองทับเจ้าพระยาจักรี ซึ่งยกลงมาแต่เมืองเชียงใหม่นั้นมาถึง. เจ้าพระยาจักรีจึ่งนำขุนนางเมืองน่าน สองนายเข้าเฝ้าณพลับพลาโคกกระต่าย กราบถวายบังคมทูลข้อราชการ ซึ่งให้ไปเกลี้ยกล่อมได้เมืองน่าน มาเปนเมืองขึ้นข้าขันธสีมานั้น สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระโสมนัศ ดำรัศสรรเสริญความชอบเจ้าพระยาจักรี แล้วทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานพระแสงดาบฝักทอง ด้ามทอง กับพระธรรมรงค์เพชรวงหนึ่ง ให้เจ้าพระยาจักรีเปนแม่ทับ ถืออาญาสิทธิ์ยกไปตั้งค่ายมั่นอยู่เหนือพระมหาธาตุวัดเขาพระ แลให้ตั้งค่ายรายกันขึ้นไปถึงหลังค่ายล้อมบ้านนางแก้ว อย่าให้พม่าออกวกหลังได้. แล้วดำรัศให้หลวงบำเรอภักดิ คุมพลทหารกองน้อยสี่ร้อยจัดเปนสองกอง ไปคอยด้อมมองจับพม่า ซึ่งออกมาตักน้ำณะหนองเขาชงุ้มจงได้. ๚ะ๏ ครั้นค่ำเพลาห้าทุ่มเสศพม่าในค่ายล้อมยกออกมาแหกค่าย น่าที่พระยาพิพิธโกษา พระยาเพชรบุรีพลทับไทยรดมปืนใหญ่น้อยยิงออกไปจากค่าย ถูกพม่าเจ็บป่วยล้มตายมาก พม่าจะแหกออกมิได้ก็ถอยกลับเข้าค่าย. ครั้นเพลาสามยามพม่าออกแหกค่ายน่าที่หลวงราชินิกุล หลวงราชินิกุลให้ระดมยิงปืนใหญ่น้อยออกไป ถูกพม่าเจ็บลำบากล้มตายเปนอันมาก จะแหกออกมิได้ก็ถอยกลับเข้าค่าย. แต่เพลานั้นเสียนายสุจินดาต้องปืนพม่าตายคนหนึ่ง. ๚ะ๏ ครั้นณวันพฤหัศบดีเดือนสี่ขึ้นสิบห้าค่ำ เพลาบ่ายสามโมง สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสดจทรงม้าพระที่นั่งดำเนินทับไปอยุดอยู่ณะหลังค่ายหลวงมหาเทพ. จึ่งดำรัศให้จักกายเทวรามัญร้องเข้าไปเปนภาษาพม่าว่า ให้พม่าทั้งปวงออกมาหาโดยดีเถิด ทรงพระกรุณาโปรดปล่อยให้ไปสิ้น. พม่านายทับในค่ายร้องตอบออกมาว่าท่านล้อมไว้ครั้งนี้ ซึ่งจะหนีไปให้รอดจากความตายหามิได้แล้ว. แต่เอนดูไพร่พลทั้งปวงมากนักจะพลอยตายเสียด้วย ถึงตัวเราผู้เปนนายทับจะตายก็ ตามกรรมเถิด แต่จะขอภบตละเกล็บสักหน่อยหนึ่ง. จึ่งดำรัศให้ตละเกล็บซึ่งเปนพระยาพระราม ขี่ม้ากั้นร่มรย้าออกไปเจรจาด้วยพม่า ๆเขียนหนังสือใส่ใบตาลขดเปนภาษาภุกามทิ้งออกมาแต่ในค่าย แปลออกเปนคำไทยได้ความว่า พระเจ้าช้างเผือกณะกรุงศรีอยุทธยามีบุญบารมีมากนัก พระราชอาณาจักรผ่านแผ่ไปในชมภูทวีปทั้งปวง. ฝ่ายพระเจ้าปราสาททองณกรุงรัตนบุระอังวะ ก็มีบุญบารมีมากเปนมหัศจรรย. แลพระมหากระษัตริยทั้งสองฝ่ายเปนเวรแก่กัน ใช้ให้ข้าพเจ้านายทับนายกองทั้งปวง มากระทำสงครามกับท่านอัคมหาเสนาบดีกรุงศรีอยุทธยาในครานี้. แลข้าพเจ้าเสียทีแก่ท่านๆล้อมไว้ จะพากันออกไปก็มิได้ จะหนีไปก็ขัดสนนัก. อันจะถึงแก่ความตายบัดนี้ใช่แต่ตัวข้าพเจ้านายทับนายกองเท่านั้นหามิได้ จะตายสิ้นทั้งไพร่พลเปนอักมาก. แลการสงครามแห่งพระมหากระษัตริยทั้งสองฝ่าย จักสำเร็จเสร็จสุดสิ้นแต่ครั้งนี้ก็หามิได้. ฝ่ายท่านอัคมหาเสนากรุงไทย ก็ถือน้ำพิพัทสัตยา แลพระราชกำหนดกฎหมายพิไชยสงคราม. ฝ่ายข้าพเจ้าก็เหมือนกัน ดุจถือดาบอาวุธไม้ค้อนไว้ทั้งสองมือ. อันสมเดจพระพุทธเจ้าตรัสพระธรรมเทศนาไว้ว่า ซึ่งเกิดมาเปนมนุษแต่ละคนนี้ยากนัก ไฉนข้าพเจ้าทั้งปวงจะได้รอดชีวิตร ถือน้ำพิพัทสัตยาเปนข้าพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยานั้น ก็สุดแต่ปัญญาท่านอัคมหาเสนาบดีนั้นเถิด. ๚ะ๏ จึ่งดำรัศให้เขียนหนังสือทิ้งตอบเข้าไปในค่ายล เปนอักษรไทยฉบับหนึ่ง อักษรรามัญฉะบับหนึ่ง เปนใจความว่า ถ้าท่านทั้งปวงออกมาถวายบังคมโดยดีเราจะช่วยทูลขอพระราชทานชีวิตรไว้ทั้งนายทั้งไพร่. ถ้ามิออกมาเราจะฆ่าเสียให้สิ้น. ๚ะ๏ ในวันนั้นเจ้าพระยาสุรสีหยกกองทับเมืองพระพิศณุโลกยมาถึง แลทับเมืองเหนือทั้งปวงมาถึงเนื่องๆกัน จึ่งเข้าเฝ้ากราบถวายบังคม. ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานร่มแพรแดงมีรย้า ด้ามปิดทองแก่เจ้าพระยาสุรสีหแล้ว ให้ยกขึ้นไปดูการณค่ายล้อมบ้านนางแก้ว. ๚ะ๏ ขณะนั้นพระยาเพชรบุรี มิเปนใจในราชการศึก คิดย่อท้อต่อการสงคราม เจรจากับบ่าวว่า ถ้าพม่ารบแหกค่ายออกได้ รับรองมิอยุด เราจะภากันหนีข้ามเขากลับไปเมือง. แลบ่าวนั้นเปนโจทมาฟ้องแก่ข้าหลวงให้กราบทูล. จึ่งดำรัศให้เอาตัวพระยาเพชรบุรีมาสอบกับโจทก็รับเปนสัจ. จึ่งตรัสสั่งให้มัดมือไพล่หลัง แล้วเอาไปทเวนรอบทับ แล้วให้ประหารชีวิตรตัดศีศะไปเสียบประจานไว้น่าค่าย. อย่าให้ผู้ใดดูเยี่ยงอย่าง. ๚ะ๏ จึ่งพระยารามัญใหม่กับหมื่นศรีสหเทพมากราบทูลว่า ขึ้นไปเจรจากับพม่าว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสดจยกพยุหโยธาทับขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ได้แล้ว. โปสุพลาโปมะยุง่วนหนีไปได้ โปสุพลาจะฆ่าโปมยุง่วนเสีย. โปมะยุง่วนหนีเข้ามาสวามิภักดีเข้าเปนข้าทูลลอองธุลีพระบาท ทรงพระกรุณาโปรดเลี้ยงไว้. แม้นพม่าตัวนายจะออกมาถวายบังคมขอสวามิภักดี เราจะพิททูลให้รอดชีวิตร. พม่าจึ่งว่าตละเกล็บ พึ่งเข้ามาเปนข้าเจ้ากรุงศรีอยุทธยาใหม่ จะไว้ใจมิได้. จะใคร่ภบท่านนายทับนายกองผู้ใหญ่ จึ่งดำรัศให้กลับไปว่าแก่พม่าว่า ให้แต่งพม่าตัวนายออกมาเถิด เราจะภาไปให้ภบกับแม่ทับผู้ใหญ่. งุยอคุงหวุ่นจึ่งให้พม่านายกองคนหนึ่งกับไพร่ห้าคน ออกมาหาตละเกล็บ ซึ่งเปนพระยาพระราม. จึ่งดำรัศให้พระยาพระราม ภาตัวพม่านายไพร่ไปให้ภบ กับพระเจ้าหลานเธอรามลักษณ์ กับเจ้าพระยาจักรี. จึ่งให้พระยาพระรามบอกแก่พม่าว่า ถ้านายมึงออกมาถวายบังคม กูจะช่วยให้รอดจากความตาย. ถ้ามิออกมาจะฆ่าเสียทั้งสิ้น. พม่าตัวนายจึ่งว่าขอให้ยับยั้งอยู่แต่ในเพลาพรุ่งนี้สามโมงเช้าจะขอปฤกษาให้พร้อมกันก่อน จึ่งให้ปล่อยพม่านายไพร่กลับเข้าไปค่าย. ๚ะ๏ ครั้น ณวันเสาร์เดือนสี่แรมสองค่ำ เจ้าพระยาสุรสีหก็กราบถวายบังคมลายกกองทับไปตั้งค่ายล้อมพม่าณะค่ายเขาชงุ้ม จึ่งดำรัศให้กองทับหัวเมืองทั้งปวง แลข้าหลวงในกรุงยกไปตั้งล้อมอยู่หลายค่าย. ๚ะ๏ ในวันนั้นพระกุยบุรี พระคลองวานบอกเข้ามาให้กราบทูลว่า พม่าประมาณสี่ร้อยเสศยกมาตีเมืองบางสพานได้รบกันเปนสามารถ. พม่าแหกค่ายหนีออกไปแล้วเผาเมืองบางสพานเสียยกไปทางเมืองประทิว. จึ่งทรงร่างท้องตราให้ไปถึงพระเจ้าหลานเธอเจ้าบุญจัน แลพระยาธิเบศบดีครั้งกรุงเก่า ซึ่งโปรดตั้งเปนเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช ผู้อยู่รักษากรุงธนบุรีนั้น ให้มีหนังสือตอบบอกไปว่า ให้พระกุยบุรี พระคลองวานรักษาด่านทางไว้. ให้ใส่ยาเบื่อหนองน้ำบ่อน้ำที่ทางฆ่าศึกจะมานั้นอย่าให้กินน้ำได้. แล้วให้เอาพม่าเมืองเชียงใหม่ ซึ่งจำไว้ณคุกสามคน ทวายคนหนึ่ง กับพม่าซึ่งปล้นค่ายเจ้าพระยาอินทรอไภย ณเขาชั่วพรานคนหนึ่ง. ให้ลงพระราชอาชญาตัดมือตัดเท้าเสีย. แล้วให้เขียนหนังสือผูกแขวนฅอไปใจความว่า บอกแก่เจ้านายมันให้เร่งยกมาอีกเถิด. แล้วเสดจไปทอดพระเนตรค่ายเจ้าพระยาอินทรอไภยแลพระโหราธิบดี ซึ่งตั้งรักษาสระน้ำอยู่ณเขาชั่วพรานนั้น. จึ่งพระยารามัญวงษแลหลวงบำเรอภักดิ์จับพม่าได้สองคนนำมาถวาย. ดำรัศให้ถามพม่าๆให้การว่า มาแต่ค่ายปากแพรกมาส่งลำเลียง. แลพม่าซึ่งตั้งค่ายอยู่ณปากแพรกนั้นคนสามพันเสศ ซึ่งยกเข้ามาตั้งค่ายอยู่ณเขาชงุ้มนั้นสี่กองคนมากหลายพัน. จึ่งดำรัศให้หลวงภักดีสงครามทหารกองนอก อยู่ในกองพระยาเทพวรชุน ซึ่งยกมาช่วยเจ้าพระยาอินทรอไภยนั้น. ให้คุมพลทหารห้าร้อยยกไปเปนกองโจร ให้ถมห้วยหนองบึงบ่อที่มีน้ำตามทางมาแต่ปากแพรกเสียให้สิ้น อย่าให้เปนกำลังแก่ฆ่าศึกได้ ถ้าถมไม่ได้ก็ให้เอาเปลือกไม้เบื่อเมา แลอาสพใส่ลงอย่าให้กินน้ำได้ แล้วให้ออกก้าวสกัดตีตัดลำเลียงพม่าอย่าให้ส่งกันถึง. ๚ะ๏ ครั้นค่ำลงประมาณสองยาม พม่าในค่ายเขาชงุ้มทำค่ายวิหลั่นยกออกปล้นค่ายเจ้าพระยาสุรสีห. แลทหารในค่ายยิงปืนใหญ่น้อยออกไปต้องพม่าล้มตายป่วยลำบากเปนอันมาก พลพม่ารวนมาถึงค่ายจมื่นศรีสรรักษ แล้วถอยกลับเข้าค่าย. ครั้นเพลาสามยามเสศพม่ายกออกเราะค่ายพระยานครสวรรคจนรุ่ง พลทหารในค่ายยิงปืนใหญ่น้อยออกไปต้องพลพม่าตายแลลำบากก็มาก. ครั้นเพลาเช้าณวันพุทธเดือนสี่แรมหกค่ำ จึ่งเสดจดำเนินพยุหยาตราทับขึ้นไปช่วย ดำรัศให้กองอาจาริยแลฝีพายพนายเลือกเข้ารบ ถ้าเหนหนักที่ไหนให้เข้าช่วยที่นั้น. ครั้นเพลาสองโมงพม่าถอยกลับเข้าค่าย. ทรงเหนว่าข้าศึกถอยแล้วก็เสดจกลับมาณะพลับพลาค่ายโคกกระต่าย. ในวันนั้นเกิดพยุหใหญ่มหาเมฆตั้งขึ้นทั้งสี่ทิศมืดไปทั้งอากาศ. จึ่งทรงตั้งสัตยาธิฐาน ก็บันดานให้เมฆเกลื่อนไปไม่ตกที่ค่ายพม่าไปตกเสียที่อื่น. ๚ะ๏ ครั้นณวันศุกรเดือนสี่แรมแปดค่ำ จึ่งงุยอคุงหวุ่นนายทับค่ายบ้านนางแก้ว ให้พม่าตัวนายเจดคนออกมาเจรจาความเมือง ด้วยพระเจ้าหลานเธอรามลักษณแลเจ้าพระยาจักรีว่า ถ้าท่านแม่ทับกรุณาช่วยทูลขอชีวิตรไว้ได้ นายทับนายกองทั้งปวงก็จะชวนกันออกมาถวายบังคมทั้งสิ้นด้วยกัน. พระเจ้าหลานเธอแลเจ้าพระยาจักรี จึ่งสั่งให้ล่ามว่าแก่พม่าว่า เราจะทูลขอให้รอดชีวิตรจงภากันออกมาเถิด. จึ่งให้ปล่อยกลับเข้าไปสองคนเอาตัวไว้ห้าคน แล้วว่าครั้งก่อนลวงว่าจะออกมา ให้เรากราบทูลพระเจ้าอยู่หัวเปนเท็จไปครั้งหนึ่งแล้ว ถ้าครั้งนี้เปนเท็จอีกเราช่วยไม่ได้. ครั้นเพลาเที่ยงในวันนั้น กองทับพระยานครราชสีมา พลพันเก้าร้อยยกลงมาถึง. พระยานครราชสีมาจึ่งเข้าเฝ้ากราบถวายบังคม ก็ทรงพระพิโรธดำรัศคาดโทษว่า มาช้ากว่าหัวเมืองทั้งปวง. พระยานครราชสีมากราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าช้าอยู่ด้วยเลขหัวเมืองขึ้น เกนเข้ากองทับครั้งไปตีเมืองเชียงใหม่ หนีตาทับกลับมาบ้าน ข้าพระพุทธเจ้าให้เที่ยวจับตัวกับทั้งบุตรภรรยาเอามาด้วย เปนคนชายหญิงเก้าสิบหกคนด้วยกัน. จึ่งดำรัศว่าเลขหนีตาทับจะเอาไว้มิได้ ตรัสสั่งให้ตัดศีศะเสียให้สิ้นทั้งบุตรภรรยา ที่ริมค่ายทางนอกโคกกระต่าย. ๚ะ๏ ในวันนั้นงุยอคุงหวุ่นนายทับ ให้อุตมสิงหจอจัวปลัดทับ กับพม่าตัวนายหมวดนายกองสิบสามคน นำอาวุธต่างๆมัดเอาออกมาเฝ้าพระเจ้าหลานเธอรามลักษณ์ ๆ จึ่งให้พระยาพิพัฒโกษาแลหลวงมหาเทพ มัดอุตมสิงหจอจัวแลพม่าตัวนายสิบสามคนนั้น แล้วนำมาถวายณพลับพลาค่ายโคกกระต่าย. จึ่งดำรัศให้ถามพม่าสิบสี่คนๆให้การว่า ข้าพระพุทธเจ้านายทับนายกองทั้งปวงปฤกษาพร้อมกันแล้ว จึ่งนำเอาเครื่องสาตราวุธออกมาถวายบังคม. ถ้าทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานชีวิตรแล้ว จะขอถือน้ำพระพิพัทสัจาเปนข้าทูลลอองธุลีพระบาท ทำราชการสนองพระเดชพระคุณสืบไป. จึ่งดำรัศว่ากูจะให้จำไว้ก่อน กว่าจะได้ตัวนายมาพร้อมกัน ถ้าเองสวามีภักดิโดยจริงแล้ว แม้นสำเรจราชการศึกได้เมืองอังวะจะให้รั้งเมืองอังวะ. แล้วดำรัศให้พระยาพระรามกับข้าหลวงมีชื่อคุมตัวอุตมสิงหจอจัวกับพม่าสิบสามคน กลับไปณค่ายล้อม ให้ร้องเรียกงุยอคุงหวุ่น แลพม่านายทับนายกองทั้งปวงให้ออกมา. พม่าตัวนายซึ่งอยู่ในค่ายร้องตอบออกมาว่า จะปฤกษากันก่อน. พวกข้าหลวงก็ภาพม่าสิบสี่คนกลับมายังค่ายหลวง. แลอุตมสิงหจอจัวออกมาเจรจาด้วยนายทับนายกองไทยครั้งนั้น จะได้ไหว้ผู้ใดหามิได้. ถวายบังคมแต่พระเจ้าอยู่หัวพระองค์เดียว จึ่งดำรัศสรรเสริญว่า มิเสียทีที่เปนขุนนางนายทหาร น้ำใจองอาจรักษายศมิได้เข็ดขามย่อธ้อ ควรเปนนายทหารเอก. แล้วดำรัศให้เอาพม่าสิบสี่คน ไปจำไว้ที่ตรางในค่ายหลวง ๚ะ๏ ครั้นณวันเสาร์เดือนสี่แรมเก้าค่ำ จึ่งโปรดให้พระยานครราชสีมา ยกทับไปตั้งค่ายประชิล้อมค่ายพม่าณเขาชงุ้มให้ปลูกร้านเอาปืนใหญ่ขึ้นยิงค่ายพม่า ในวันนั้นดำรัศให้มหาดเลกไปถอดอุตมสิงหจอจัว แลพม่าสิบสามคน คุมเอาตัวไปเรียกงุยอคุงหวุ่นณค่ายล้อมว่า ให้ออกมาเถิดพระเจ้าทรงธรรมไม่ฆ่าเสีย พระราชทานเสื้อผ้าแลเครื่องอุปโภคแก่เราเปนอันมาก อย่าสงไสยเลย. งุยอคุงหวุ่นจึ่งร้องตอบออกมาว่า เราให้ไปเปนหลายคน ผู้ใดจะได้กลับมาบอกว่าดีร้ายเปนตายประการใดหามิได้. แต่ตัวมายืนร้องเรียกอยู่ฉนี้ จะเชื่อฟังยังมิได้. อุตมสิงหจอจัวจึ่งร้องตอบเข้าไปว่า พวกเราซึ่งออกมานั้น พระเจ้าทรงธรรมเอาตัวไว้. ถ้าหนีหายไปแต่คนหนึ่งจะให้ใช้ถึงสิบคน. แม้นเราจะให้กลับเข้าไปหาท่าน ๆ มิได้กลับออกมาก็ดี ฆ่าเสียก็ดี เราจะได้พม่าที่ไหนให้พระเจ้าทรงธรรมเล่า. ก็จะทรงพระพิโรธฆ่าเราเสีย เพราะเหตุฉนี้เราจึ่งมิได้เข้าไปแจ้งความแก่ท่าน. งุยอคุงหวุ่นจึ่งร้องตอบออกมาวา จงปล่อยเข้ามาเถิด. ถ้าเราฆ่าเสียก็ดี มิให้กลับออกไปก็ดี จงให้อาวุธซึ่งล้อมอยู่นี้สังหารชีวิตรเราเถิด. อุตมสิงหจอจัวจึ่งให้แยละหนึ่ง แยข่องจอหนึ่ง สองคนเข้าไปในค่ายบอกว่า พระเจ้าทรงธรรมทรงพระเมตตาหาฆ่าเสียไม่. งุยอคุงหวุ่นจึ่งว่าผู้น้อยแลไพร่ไม่ตาย อันตัวเราเปนผู้ใหญ่เหนจะตายเปนมั่นคง. แล้วให้แยละแยข่องจอ กลับออกมาจากค่าย แล้วภากันกลับมากราบทูล. จึ่งดำรัศว่าจะคิดอ่านให้งุยอคุงหวุ่นออกมาไม่ได้แล้วฤๅ. พวกข้าหลวงกราบทูลว่า เหนขัดสนอยู่แล้ว. ถ้าเอาปืนลูกไม้ยิงซ้ำเข้าไปอีก พม่ากลัวนักเหนจะออกมาสิ้น. จึ่งดำรัศว่าอันจะฆ่าให้ตายนั้นง่าย แต่จะเปนบาปกรรมหาประโยชน์สิ่งใดไม่ แล้วให้คุมเอาตัวพม่าไปไว้ณตรางตามเดิม. ๚ะ๏ ครั้นเพลาทุ่มเสศดำรัศให้ไปเอาตัวอุตมสิงหจอจัวมาเฝ้า ดำรัศถามว่า. กองทับพม่าซึ่งมารบอยู่แต่เท่านี้ฤๅ ฤๅจะยกหนุนลงมาอีก. อุตมสิงหจอจัวกราบทูลว่า ทับอแซหวุ่นกี้เปนเชื้อพระวงษพระเจ้าอังวะ ๆ ตั้งให้เปนแม่ทับใหญ่ ยังตั้งอยู่ณเมืองเมาะตมะรี้พลเปนอันมาก รอคอยฟังข่าวตแคงมรหน่อง แลหม่องจ่ายิดนายทับปากแพรกจะบอกขึ้นไปประการใด เหนว่าอแซหวุ่นกี้แม่ทับใหญ่จะยกหนุนลงมาอีก. ๚ะ๏ ครั้นได้ทรงฟังจึ่งทรงร่างท้องตรา ให้ไปหานายทับผู้ใหญ่มาปฤกษาราชการ. เจ้าพระยาจักรี แลท้าวพระยามุขมนตรีผู้ใหญ่ก็มาเฝ้าพร้อมกัน. จึ่งตรัสปฤกษาว่า เราจะให้หาทับหัวเมืองปักษ์ใต้สี่เมือง คือเมืองจันทบุรีหนึ่ง เมืองไชยาหนึ่ง เมืองนครศรีธรรมราชหนึ่ง เมืองพัทลุงหนึ่ง ให้ยกเข้ามาอีก แม้นทับใหญ่อแซหวุ่นกี้ยกหนุนเพิ่มเติมมามาก จะได้สู้รบมีกำลังมากขึ้น. เจ้าพระยาจักรีกราบทูลว่า อันทับเมืองฝ่ายใต้ทั้งสี่เมืองนั้น ระยะทางไกลนักเหนจะยกมาถึงมิทัน. ถึงมาทว่าอแซหวุ่นกี้จะยกทับใหญ่หนุนมา แต่ทับในกรุง ทับเมืองเหนือสู้รบอยู่บัดนี้ ก็เหนภอจะต้านทานทับอแซหวุ่นกี้ไว้ได้. ๚ะ๏ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ทรงเหนชอบด้วย จึ่งดำรัศว่าอันเมืองฝ่ายใต้นั้น ยังมิได้กระทำสงครามกับพม่า บัดนี้เข้าในฉางหลวงซึ่งจะจ่ายกองทับก็น้อยลง. จึ่งให้มีตราออกไปเกนเอาเข้าสารเมืองนครศรีธรรมราชหกร้อยเกวียน เมืองพัทลุง เมืองไชยา เมืองจันทบุรี สามเมืองให้เกนเอาเมืองละสี่ร้อยเกวียน. ถ้าเข้าขัดสนให้ส่งเงินคิดเปนราคาเข้าเปลือกเกวียนละห้าตำลึง เข้าสารเกวียนละสิบตำลึง เข้ามาตามรับสั่ง แล้วให้หมายบอกนายทับนายกองทั้งปวงว่า ถ้าพม่ายกเลิกหนีไปก็อย่าให้ยกติดตาม. เกรงเกลือกพม่าจะซุ่มซ่อนพลไว้โจมตีตามรยะทาง ด้วยฆ่าศึกมิได้แตก เลิกถอยไปเอง. แม้นจะยกทับตาม ก็ให้เก้าสกัดไปเอาปากแพรกทีเดียว. ๚ะ๏ ครั้นณวันพฤหัศบดีเดือนสี่แรมสิบสี่ค่ำตรุศวันต้น จึ่งดำรัศให้ข้าทูลลอองฯ คุมเอาตัวอุตมสิงหจอจัวไปณค่ายล้อมอีก ให้ร้องเรียกงุยอคุงหวุ่นให้ออกมาจากค่าย. แลงุยอคุงหวุ่นจึ่งร้องตอบออกมาว่า ท่านจะเข้ามามัดก็มัดเอาเถิด ฤๅจะเข้ามาฆ่าก็ฆ่าเสียเถิด จะนิ่งตายอยู่ในค่ายไม่ออกไปแล้ว. แล้วภากันกลับมากราบทูล. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวจึ่งทรงแต่งเปนหนังสืออุตมสิงหจอจัว ให้เขียนเปนอักษรภูกามใจความว่า ถ้างุยอคุงหวุ่นจะออกมาถวายบังคมก็ให้เร่งออกมา. แม้นมิออกมาพระเจ้าทรงธรรมจะให้พลทหารเข้าไปฟันเสียให้สิ้นทั้งสามค่าย. แล้วเสดจไปยั้งอยู่หลังค่ายหลวงมหาเทพ ให้พม่าถือเข้าไปถึงงุยอคุงหวุ่นในค่าย ๚ะ๏ ครั้นเพลาเย็น งุยอคุงหวุ่นจึ่งให้มัดเอาอาวุธที่มีอยู่ในค่ายทั้งสิ้น ให้ไพร่พลขนออกมาถวาย. แล้วสั่งพม่าซึ่งถือหนังสือออกไปนั้นว่า ขอผัดอีกวันหนึ่งเพลารุ่งพรุ่งนี้เราจึ่งจะออกไปเฝ้า ให้อุตมสิงหจอจัวมารับเราด้วย. พม่าผู้ถือหนังสือก็นำเอาไพร่พม่าขนอาวุธออกมาถวาย แล้วกราบทูลตามคำงุยอคุงหวุ่นสั่งมานั้น. จึ่งดำรัศให้พวกข้าหลวงคุมเอาตัวพม่าทั้งปวงกับทั้งอาวุธซึ่งขนออกมานั้นส่งมายังค่ายหลวงแล้วเสดจกลับ ๚ะ๏ รุ่งขึ้นณวันศุกรเดือนสี่แรมสิบห้าค่ำ จึ่งดำรัศให้ข้าหลวงคุมเอาตัวอุตมสิงหจอจัวไปรับงุยอคุงหวุ่นณค่าย. งุยอคุงหวุ่นจึ่งให้เมี้ยนหวุ่นกับปคันเลชูสองนาย กับพม่ามีชื่อตัวนายอีกสิบสองคนออกมาก่อน. อุตมสิงหจอจัวกับข้าหลวงก็นำพม่าสิบสี่คนนั้น มาเฝ้ากราบถวายบังคมณค่ายหลวง. จึ่งพระราชทานอาหารเลี้ยงน่าที่นั่งอิ่มหนำทุกคนแล้ว เมี้ยนหวุ่นกับปคันเลชูจึ่งให้กราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้ามาทำาการสงครามเสียท่วงที ล้อมขังไว้ได้ถึงที่ตายทั้งสิ้น ขาดจากเปนข้าพระเจ้าอังวะแล้ว. บัดนี้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานชีวิตรไว้ จะขออาษาทำราชการกว่าจะสิ้นชีวิตร จะขอพระราชทานไพร่พม่าสองคน กับตัวข้าพระพุทธเจ้าสองคนนี้ จะเข้าไปว่ากล่าวเอาตัวงุยอคุงหวุ่นนายทับออกมาให้ได้. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็โปรดให้ตามคำกราบทูลนั้น. แลขุนนางพม่าทั้งสองนายก็กลับเข้าไปเจรจากับงุยอคุงหวุ่น. ๆ กับเนมโยแมงละนรทา ยุยยองโบ่ อคุงหวุ่นมุงโยะ แลพม่ามีชื่อตัวนายทั้งสิ้น กับหญิงสองคนทั้งไพร่พลพันสามร้อยยี่สิบแปดคน กับม้าแดงสองม้า ๆ ดำม้าหนึ่ง ซึ่งเหลือตายอยู่นั้นออกมาสิ้นทั้งสามค่ายในเพลาบ่ายวันนั้น พวกข้าหลวงก็นำมาเฝ้ากราบถวายบังคม. จึ่งทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานโภชนาหารให้เลี้ยงสำเร็จแล้ว. งุยอคุงหวุ่นจึ่งถวายทรัพย์สิ่งของเครื่องอุปโภคทั้งปวงซึ่งมีมานั้น. จึ่งดำรัศว่าเราทำสงครามใช่จะปราถนาเอาทรัพย์สิ่งสินหามิได้ ตั้งใจจะทำนุกบำรุงพระพุทธสาสนา แลประชาราษฎรทั้งหลายให้ตั้งอยู่ในสัจธรรม. แล้วให้พวกข้าหลวงคุมเอาตัวพม่าทั้งปวงไปจำไว้ณตรางด้วยกันสิ้น. แต่ล้อมพม่าค่ายบ้านนางแก้วไว้ครั้งนั้นตั้งแต่วันเดือนสามขึ้นสิบสามค่ำ มาจนถึงณวันเดือนสี่แรมสิบห้าค่ำ พม่าจึ่งออกมาสิ้นทั้งสามค่าย. จึ่งเสดจเข้าไปทอดพระเนตรในค่ายพม่า ดำรัศให้พระยารามัญวงษคุมกองรามัญพันหนึ่ง ให้เข้าอยู่แทนพม่าในค่าย ให้ร้องเห่แลพูดจากันเปนภาษาพม่า ให้พม่าในค่ายเขาชงุ้มได้ยิน จะได้สำคัญว่าพวกกันยังอยู่ในค่ายบ้านนางแก้วยังไม่เสียค่าย แล้วจะตีค่ายพม่าณเขาชงุ้มให้แตกจงได้. อนึ่งบ่อน้ำในค่ายซึ่งพม่าขุดไว้หาน้ำมิได้ ก็บันดาลมีน้ำขึ้นเปนอัษจรรย. ๚ะ๏ ครั้นณวันเสาร์เดือนห้าขึ้นค่ำหนึ่ง ลุศักราช ๑๑๓๗ ปีมแมสัปตศก. จึ่งดำรัศให้พระอนุชิตราชา เปนนายทับถือพลหนึ่งพัน ยกขึ้นไปทางริมน้ำฟากตวันตก. ให้หลวงมหาเทพเปนนายทับถือพลพันหนึ่ง ยกขึ้นไปทางริมน้ำฟากตวันออก ไปตีค่ายพม่าณปากแพรกทั้งสองทับ. แล้วให้เจ้าพระยาจักรี ยกขึ้นไปตั้งค่ายตีพม่าณค่ายเขาชงุ้มให้แตกจงได้. ๚ะ๏ ครั้นค่ำลงประมาณสองยามเสศ พม่าค่ายเขาชงุ้มยกค่ายวิหลั่นออกมา เข้าปล่นค่ายพระมหาสงครามได้รบกันเปนสามารถ เจ้าพระยาจักรียกไปช่วย พม่าเอาคบเผาค่ายพระมหาสงครามขึ้น คนในค่ายถอยย่นออกจากค่าย. เจ้าพระยาจักรีฟันเสียสองคน แล้วขับพลทหารเข้ารบพม่า ๆ แตกถอยออกไปชิงเอาคืนได้. แล้วพม่าเอาค่ายวิหลั่น แลแตะทับขวากกรูกันเข้าแหกค่ายพระยาวิจิตรจหมื่นศรีสรรักษ พลทหารในค่ายยิงปืนใหญ่น้อยออกไปต้องพลพม่าเจ็บลำบากล้มตายลงมาก ก็ถอยกลับเข้าค่าย. อยู่สองสามวันทับพม่าก็แตกพ่ายหนีไปจากค่ายในกลางคืน. กองทับไทยไล่ติดตามฆ่าฟันไปตามทางล้มตาย แลจับเปนไปได้ก็มาก. พม่าแตกกระจัดพรัดพรายจะคุมกันเข้ามิได้ หนีเรี่ยรายไปจนถึงค่ายปากแพรก. ภบกองทับพระอนุชิตราชา แลหลวงมหาเทพ หลวงภักดีสงคราม. กองทับทั้งสามทับก็ออกก้าวสกัดโจมตีแทงฟันพม่าตายเปนอันมาก แลนายทับนายกองพม่าหนีไปถึงค่ายปากแพรก ตแคงมรหน่องก็จับเอาตัวลงโทษว่าแตกทับมา ฆ่าเสียเปนหลายนาย ตัดศีศะเสียบไว้น่าค่าย. แล้วก็เลิกทับกลับไปยังเมืองเมาะตมะ แล้วแจ้งข้อราชการแก่อแซหวุ่นกี้แม่ทับใหญ่. ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับไทยได้ไชยชำนะแก่พม่าฆ่าศึกแล้ว แลนายทับนายกองทั้งปวงก็ยกทับกลับมาเฝ้าณค่ายโคกกระต่ายพร้อมกัน. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ดำรัศให้กองพระยายมราช คุมพม่าเชลยนายไพร่ทั้งปวงล่วงเข้ามาก่อน ให้จำใส่คุกไว้ทั้งสิ้น แล้วก็เสดจเลิกทับหลวงมาโดยทางชลมารคกลับคืนยังกรุงธนบุรี. กองทับข้าราชการในกรุงแลทับหัวเมืองก็เลิกตามเสดจเข้ามาถึงพระนครพร้อมกันสิ้น. จึ่งทรงพระกรุณาโปรดตั้งพระเจ้าลูกเธอพระองคเจ้าจุ้ย เปนกรมขุนอินทรพิทักษ ตั้งพระเจ้าหลานเธอรามลักษณ เปนกรมขุนอนุรักษสงคราม. ตั้งพระเจ้าหลานเธอเจ้าบุญจัน เปนกรมขุนรามภูเบศร. แล้วพระราชทานรางวัลแก่ข้าทูลลอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อย โดยสมควรแก่ความชอบในสงคราม. แลม้าแดงสองม้า ซึ่งได้มาแต่ค่ายพม่านั้น ฝีท้าวเร็วควรจะเปนราชพาหนะพระที่นั่งได้. จึ่งโปรดให้มีชื่อขึ้นรวาง เปนเจ้าพระยาอาชาชาติม้าหนึ่ง. เปนเจ้าพระยาราชพาหนะม้าหนึ่ง. แต่ม้าดำนั้นล้มเสีย. ๚ะ๏ แล้วให้ปลูกพระเมรุณวัดบางยี่เรือใต้เสรจแล้ว จึ่งให้เชิญพระโกษฐพระบรมสพสมเดจพระพันปีหลวง กรมพระเทพามาตย ใส่เรือพระที่นั่งกิ่งแห่โดยขบวนนาวาพยุหไปโดยทางชลมารค เชิญขึ้นสู่พระเมรแล้ว.ให้นิมนต์พระสงฆสดัปกรณ์พันรูป ถวายไตรบริขารไทยธรรมต่างๆ. แลมีงานมหรรสพสามวันแล้วถวายพระเพลิง. ๚ะ๏ ครั้นถึงณเดือนสิบในปีมแมสัปตศก มีหนังสือบอกเมืองเชียงใหม่ลงมาว่า โปสุพลา โปมยุง่วนไปอยู่ณเมืองเชียงแสน บัดนี้ได้ข่าวว่าจะยกกองทับกลับมาตีเมืองเชียงใหม่อีก. จึ่งดำรัศให้เจ้าพระยาสุรสีหเปนแม่ทับ คุมทับหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวง ยกขึ้นไปช่วยราชการเมืองเชียงใหม่. โปรดให้เจ้าพระยาจักรียกกองทับขึ้นไปช่วยด้วย ถ้าตีทับพม่าแตกไปแล้วให้ยกตามไปตีเมืองเชียงแสนทีเดียว. เจ้าพระยาจักรีเจ้าพระยาสุรสีหแลท้าวพระยาพระหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวง ก็กราบถวายบังคมลารีบยกกองทับขึ้นไปตามพระราชกำหนด. ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าอังวะยังอยู่ณเมืองย่างกุ้ง ทำการยกฉัตรยอดพระมหาเจดียเกษธาตุสำเร็จแล้วให้มีการฉลอง. จึ่งขุนนางพม่ากราบทูลว่า คนมวยเมืองไทยมีฝีมือดียิ่งนัก. จึ่งตรัสสั่งให้จัดหามา ได้นายขนมต้มคนหนึ่ง เปนมวยดีมีฝีมือแต่ครั้งกรุงเก่า เอาตัวมาถวายพระเจ้าอังวะ ๆ จึ่งให้จัดพม่าคนมวยเข้ามาเปรียบกับนายขนมต้มได้กันแล้ว ก็ให้ชกกันน่าพระที่นั่ง. แลนายขนมต้มชกพม่าไม่ทันถึงยกก็แพ้ แล้วจัดคนอื่นเข้ามาเปรียบชกอีก. นายขนมต้มชกพม่าชกมอญแพ้ถึงเก้าคนสิบคนสู้ไม่ได้. พระเจ้าอังวะทอดพระเนตรยกพระหัถตบพระอุระ ตรัสสรรเสริญฝีมือนายขนมต้มว่า ไทยมีพิศม์อยู่ทั่วตัว แต่มือเปล่าไม่มีอาวุธเลย ยังสู้ได้คนเดียวชนะถึงเก้าคนสิบคนฉนี้. เพราะเจ้านายไม่ดีจึ่งเสียบ้านเมืองแก่ฆ่าศึก ถ้าเจ้านายดีแล้วไหนเลยจะเสียกรุงศรีรอยุทธยา. แล้วพระราชทานรางวัลแก่นายขนมต้มโดยสมควร. ภอหนังสือบอกอแซหวุ่นกี้ขึ้นไปกราบทูลว่า กองทับแตกไทยมาสิ้นเสียรี้พลเปนอันมาก ไทยล้อมจับได้เปนไปพันเสศ. แลเมืองไทยบัดนี้นี้มีกำลังเพราะหัวเมืองฝ่ายเหนือ ผู้คนยังบริบูรณมั่งคั่งอยู่ จะขอกองทับไปตีเมืองฝ่ายเหนือให้ได้เสียก่อน ไทยจึ่งจะอย่อนกำลัง ภายหลังจึ่งจะตีเอาเมืองบางกอกเหนจะได้โดยง่าย พระเจ้าอังวะก็เหนชอบด้วย จึ่งเกนกองทับให้ยกเพิ่มเติมมาอีก ให้อแซหวุ่นกี้ยกไปตีเมืองฝ่ายเหนือให้ยับเยินจงได้ แล้วก็เสดจกลับไปเมืองอังวะ ๚ะ๏ ฝ่ายอแซหวุ่นกี้ก็จัดแจงกองทับ ให้แมงแยยางูผู้น้อง กับกละโบ่หนึ่ง ปัญีแยข่องจอหนึ่ง ปัญีตจวงหนึ่ง ถือพลสองหมื่นเปนกองน่า. ตัวอแซหวุ่นกี้เปนโปชุกแม่ทับ กับตะแคงมรหน่องแลเจ้าเมืองตองอู ถือพลหมื่นห้าพันสรัพด้วยช้างม้าเครื่องสรรพาวุธพร้อมเสร็จ ครั้นถึงเดือนสิบเบ็ดก็ยกกองทับจากเมืองเมาะตมะ มาเข้าทางด่านเมืองตากอยุดทับอยู่ที่นั่น ๚ะ๏ ฝ่ายกรมการเมืองตาก เมืองกำแพงเพชร เหนกองทับพม่ายกมามากเหลือกำลังจะต่อรบ ก็ภาครัวหนีเข้าป่า. แล้วส่ง หนังสือบอกไปถึงกองทับเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห. แลบอกลงมากรุงธนบุรีกราบทูลพระกรุณาให้ทราบ. ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับโปสุพลาโปมยุง่วน ยกมาจากเมืองเชียงแสน. เข้าติดเมืองเชียงใหม่. ภอกองทับเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีหยกไปถึง ทับพม่าก็เลิกถอยไป. เจ้าพระยาทั้งสองก็ยกกองทับติดตามไป จะตีเมืองเชียงแสน. ภอหนังสือบอกขึ้นไปว่า พม่ายกทับใหญ่มาทางเมืองตาก. เจ้าพระยาทั้งสองก็ถอยทับกลับมาถึงกลางทางใต้เมืองสุโขไทย อยุดทับอยู่ณวัดปากน้ำ. ภอทับอแซหวุ่นกี้ยกมาติดเมืองสวรรคโลกย จับกรมการได้สองคน. อแซหวุ่นกี้จึ่งให้ถามว่า พระยาเสือเจ้าเมืองพระพิศณุโลกยอยู่ฤๅไม่. กรมการบอกว่าไม่อยู่ ไปเมืองเชียงใหม่. อแซหวุ่นกี้จึ่งว่า เจ้าของเขาไม่อยู่ อย่าเพ่อไปเหยียบเมืองพระพิศณุโลกยก่อนเลย จึ่งให้กองน่ายกมาตั้งค่ายอยู่ณบ้านกงธานี. เจ้าพระยาสุรสีหจึ่งปฤกษาเจ้าพระยาจักรีว่า จะยกไปตีพม่า. เจ้าพระยาจักรีจึ่งว่า อย่าไปตีเลย พม่าคงจะยกไปตีเมืองเราๆไปจัดแจงบ้านเมืองไว้รับฆ่าศึกดีกว่า. เจ้าพระยาสุรสีหว่า จะขอไปตีดูกำลังฆ่าศึก. เจ้าพระยาจักรีจึ่งตอบว่า เจ้าจะไปรบก็ตาม ข้าจะไปจัดแจงบ้านเมืองไว้ถ้า. แล้วก็ยกมาเมืองพระพิศณุโลกย จัดแจงการป้องกันเมืองกวาดครอบครัวเข้าไว้ในเมือง. แล้วให้กองพระยาศุโขไทย พระยาอักษรวงษ พระยาพิไชยสงคราม ยกไปรับทับพม่าณบ้านกงธานี. เจ้าพระยาสุรสีหก็ยกไปตั้งค่ายอยู่ณบ้านไกลป่าแฝก. พม่ายกทับมาล้อมไว้แล้วขนค่ายตับมาเปนอันมาก จะตั้งค่ายล้อมเปิดช่องไว้แต่ด้านจะลงแม่น้ำ. เจ้าพระยาสุรสีหตั้งอยู่สามวัน เหนทับพม่ามากเหลือกำลังจะต่อรบ ก็เลิกทับถอยมาทางด้านที่เปิดไว้ รีบมาเข้าเมือง. แลกองทับอแซหวุ่นกี้ตีเมืองสวรรคโลกยเมืองสุโขไทย. แลทับไทยซึ่งมาตั้งรับใต้บ้านกงธานีแตกแล้ว ก็จัดทับแยกไปตีเมืองพิไชย. ทับใหญ่ก็ยกมาถึงเมืองพระพิศณุโลกยในเดือนอ้ายข้างขึ้นให้ตั้งค่ายรายล้อมอยู่ห่างเมืองทั้งสองฟาก. เจ้าพระยาทั้งสองก็เกนพลทหารขึ้นประจำรักษาน่าที่เชิงเทิลประการนอกเมืองป้องกันเมืองเปนสามารถ ให้ทำตพานเรือกข้ามแม่น้ำกลางเมืองสามแห่ง. ๚ะ๏ ฝ่ายอแซหวุ่นกี้แม่ทับขึ้นขี่ม้ากั้นร่มรย้าออกเลียบน่าค่าย มีพลทหารถือปืนนกสับแห่น่าสามพัน ทหารถือทวนตามหลังพันหนึ่ง. เจ้าพระยาสุรสีหก็ยกพลทหารออกโจมตีทับพม่าๆต่อรบๆกันถึงตลุมบอน ทับไทยต้านทานเหลือกำลังก็ถอยเจ้าเมือง. ๚ะ๏ รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง อแซหวุ่นกี้ก็ยกพลทหารเลียบค่ายอีกเหมือนวันก่อน. เจ้าพระยาสุรสีหขึ้นดูบนเชิงเทิลแล้ว ให้พลทหารออกโจมตีก็พ่ายถอยเข้าเมืองอีก. เจ้าพระยาจักรีจึ่งว่า ฝีมือพลทหารของเจ้าเปนแต่ทับหัวเมือง ซึ่งจะต่อรบกับฝีมือทับเสนาบดีนั้นไมได้ พรุ่งนี้ข้าจะยกออกตีเอง. ๚ะ๏ ครั้นรุ่งขึ้นเปนวันคำรบสาม อแซหวุ่นกี้ยกออกเลียบค่ายอีก. เจ้าพระยาจักรีก็ยกพลทหารออกจากเมือง เข้าโจมตีทับอแซหวุ่นกี้แตกถอยเข้าค่าย. แลอแซหวุ่นกี้ยกออกเลียบค่ายดังนั้นทุกวัน. เจ้าพระยาจักรีก็ออกรบทุกวันผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะถึงเก้าวันสิบวัน. อแซหวุ่นกี้จึ่งให้ล่ามร้องบอกว่า เพลาพรุ่งนี้เราอย่ารบกันเลย. ให้เจ้าพระยากษัตรศึกแม่ทับออกมาเราจะขอดูตัว. ๚ะ๏ ครั้นรุ่งขึ้นเจ้าพระยาจักรีขี่ม้ากั้นสัปทน ยกพลทหารออกไปยืนม้าให้อแซหวุ่นกี้ดูตัว. อแซหวุ่นกี้จึ่งให้ล่ามถามว่า อายุเท่าใด. บอกไปว่า อายุได้สามสิบเสศ จึ่งถามถึงอายุอแซหวุ่นกี้บ้าง. ล่ามบอกว่า. อายุได้เจ็ดสิบสองปี. แล้วอแซหวุ่นกี้พิจารณาดูรูปดูลักษณเจ้าพระยาจักรี แล้วสรรเสริญว่า รูปก็งามฝีมือก็เข้มแขงสู้รบเราผู้เปนผู้เถ้าได้. จงอุสาหรักษาตัวไว้ ภายน่าจะได้เปนกระษัติรยเปนแท้ แล้วให้เอาเครื่องม้าทองสำรับหนึ่ง กับสักลาดพับหนึ่ง ดินสอแก้วสองก้อน น้ำมันดินสองม่อมาให้เจ้าพระยาจักรี. แล้วว่าจงรักษาเมืองไว้ให้มั่นคง เราจะตีเอาเมืองพระพิศณุโลกยให้จงได้ในครั้งนี้ ไปภายน่าพม่าจะมาตีเมืองไทยไม่ได้อีกแล้ว. แลในเพลาวันนั้นไทยเข้าไปกินอาหารในค่ายพม่า ก็มิได้ทำอันตรายแก่กัน แล้วก็ต่างคนกลับไปเมืองไปค่าย. เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีหก็บอกลงมากราบทูลณกรุงธนบุรีว่า ทับพม่ายกมาติดเมืองพระพิศณุโลกย แต่ณเดือนยี่ข้างขึ้นนั้นแล้ว. ๚ะ๏ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว จึ่งดำรัศให้เกนกองทับทั้งทางบกทางเรือ สรัพด้วยช้างม้าเครื่องสรรพาวุธพร้อมเสร็จ พลสกรรธ์ลำเครื่องทั้งไทยจีนเปนคนหมื่นสองพันสองร้อยเจ็ดสิบคน. แล้วดำรัศให้ถามพม่าตัวนายซึ่งจำไว้ณคุกว่า บัดนี้กองทับพม่ายกมาอีก จะให้ไปทำสงครามกับพม่าพวกของตัว จะได้ฤๅมิได้ประการใด งุยอคุงหวุ่นแลอุตมสิงหจอจัวพม่านายทับทั้งปวงให้การว่า แม้นทรงพระกรุณาโปรดจะให้ไปรบกับฆ่าศึกอื่น จะขออาษาไปกระทำสงครามกว่าจะสิ้นชีวิตร. ซึ่งจะโปรดให้ไปสู้รบกับพม่าพวกเดียวกันนั้นเปนเหลือสติปัญา จะไปดูหน้าพวกกันกะไรได้ มีความลอายนักจนใจอยู่. แล้วเอาคำให้การขึ้นกราบทูล. จึ่งดำรัศว่า มันไม่ภักดีแก่เราโดยแท้ ยังนับถือเจ้านายมันอยู่. แลเราจะยกไปการสงคราม ผู้คนอยู่รักษาบ้านเมืองน้อยพวกมันมาก จะแหกคุกออกกระทำจลาจลแก่บ้านเมืองข้างหลังจะเอาไว้มิได้. จึ่งดำรัศให้เอาไปประหารชีวิตรเสียณวัดทอง คลองบากกอกน้อยทั้งสิ้น. กับทั้งแม่ทับพวกอ้ายเรือนพระฝางทั้งสี่คน ซึ่งจำไว้ในคุกนั้นด้วย. แล้วโปรดให้พระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักสงคราม ออกไปอยู่รักษาเมืองเพชรบุรี ป้องกันด่านทางข้างตวันตก. แล้วให้หมื่นศักดิ์บริบาล ลงเรือเร็วขึ้นไปสืบราชการศึก ณเมืองพระพิศณุโลกย. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันอังคารเดือนยี่แรมสิบเบ็ดค่ำปีมแมสัปตศก จึ่งเสดจทรงเรือพระที่นั่งกราบยาวสิบสามวา ให้ยาตรานาวาทับหลวงพร้อมด้วยเรือท้าวพระยาข้าทูลลอองธุลีพระบาททั้งปวง โดยเสดจจากกรุงธนบุรีไปโดยทางชลมารค ไปอยุดประทับแรมณพลับพลาน่าฉนวนน้ำพระราชวังหลวงกรุงเก่า. จึ่งหมื่นศักดิ์บริบาลซึ่งขึ้นไปสืบราชการกลับลงมากราบทูลว่า ทับพระยาศุโขไทย พระยาอักษรวงษ เมืองสวรรคโลกย พระยาพิไชยสงคราม ซึ่งตั้งค่ายรับพม่าณบ้านกงธานีนั้น เลิกถอยลงมาแล้ว. จึ่งเสดจลงเรือพระที่นั่งให้เร่งยกทับเรือรีบขึ้นไป. ๚ะ๏ ถึงณวันอังคารเดือนสามขึ้นสามค่ำ เกิดอัศจรรยบนอากาศมืดคลุ้มไป ไม่เหนดวงอาทิตย์สิ้นวันยังค่ำ. ครั้นเสดจถึงเมืองนครสวรรค จึ่งดำรัศให้พระยาราชาเสรฐีคุมกองจีนสามพันตั้งค่ายรักษาอยู่ที่นั้น. ๚ะ๏ ครั้นณวันเสาร์เดือนสามขึ้นเจ็ดค่ำ กองทับหลวงเสดจถึงค่ายปากน้ำพิงฟากตวันออก เสดจขึ้นประทับณพลับพลาในค่าย. จึ่งดำรัศให้กองทับพระยาราชสุภาวดี ยกขึ้นไปตั้งณบ้านบางทรายเปนหลายค่ายรายขึ้นไปตามริมน้ำ. ให้กองเจ้าพระยาอินทรอไภย ยกขึ้นไปตั้งค่ายณบ้านท่าโรง ให้กองพระยาราชภักดี ยกไปตั้งค่ายณบ้านกระดาด. ให้กองจมื่นเสมอใจราช ยกไปตั้งค่ายณวัดจุฬามณี แลให้กระเวนบันจบถึงกัน. ให้กองพระยานครสวรรค ยกไปตั้งค่ายรายโอบค่ายพม่าขึ้นไป แต่วัดจันจนถึงเมืองพระพิศณุโลกย ให้ชักปีกกาตลอดถึงกันทุกๆค่าย. แล้วให้พระศรีไกรลาศคุมไพร่ห้าร้อยไปทำทางหลวง ณปากน้ำพิงขึ้นไปจนถึงเมืองพระพิศณุโลกย. ๚ะ๏ ครั้นณวันอังคารเดือนสามขึ้นสิบค่ำ จึ่งหลวงดำเกิงรณภพ ไปสืบข่าวราชการมากราบทูลว่าทับพม่ายกมาฟากตวันตกเข้าตีค่ายพระยาราชภักดีณบ้านกระดาด ทำอาการประหนึ่งจะเข้าตั้งค่ายประชิ แล้วเราะล่วงค่ายเจ้าพระยาอินทรอไภยลงมา จนถึงค่ายพระยาราชสุภาวดีณบ้านบางทราย. ครั้นเพลาค่ำก็เลิกถอยไป. จึ่งดำรัศให้พระยาวิจิตรนาวี หลวงดำเกิงรณภพ หลวงรักษโยธา หลวงภักดีสงคราม คุมเอาปืนใหญ่รางเกวียนสามสิบสี่บอก ลากขึ้นไปใส่ค่ายบางทราย. ครั้นเพลาค่ำทับพม่ายกมาตั้งค่ายประชิลงน่าค่ายจมื่นเสมอใจราชณวัดจุฬามณีสามค่าย ตำรวจไปสืบราชการมากราบทูล. จึ่งดำรัศให้พระยาธรรมไตรโลกย พระยารัตนพิมล พระยาชลบุรี คุมพลทหารอยู่รักษาค่ายหลวง ณปากน้ำพิงฟากตวันออก. ครั้นณวันพฤหัศบดีเดือนสามขึ้นสิบสองค่ำ จึ่งเสดจยกพยุหยาตราทับหลวงขึ้นไปประทับณค่ายมั่นวัดบางทรายฝั่งตวันออก. ครั้นเพลาค่ำทับพม่ายกเข้าตีค่ายเจ้าพระยาอินทรอไภยณบ้านท่าโรงฟากตวันตกได้รบกันเปนสามารถ. ตำรวจไปสืบราชการมากราบทูล. จึ่งดำรัศให้หลวงดำเกิงรณภพ ยกเอาเกนหัดสองร้อยลงเรือข้ามน้ำไปช่วยเจ้าพระยาอินทรอไภย ทับพม่าก็เลิกถอยไป. ครั้นเพลาเช้าณวันศุกรเดือนสามขึ้นสิบสามค่ำ จึ่งเสดจลงเรือพระที่นั่งข้ามไปทอดพระเนตรค่ายพระโหราธิบดีฟากตวันตก เหนผิดกับพระราชดำริห ตั้งอยู่แต่ริมน้ำเอาต้นไม้ใหญ่ไว้นอกค่าย แม้นพม่าเข้ามาแฝงต้นไม้ยิงก็ได้ จะขึ้นบนต้นไม้ยิงปรำลงมาในค่ายก็ได้ จะเสียท่วงทีแก่ฆ่าศึก. จึ่งดำรัศสั่งให้รื้อค่ายเก่าเสียแล้วให้ตั้งใหม่โอบต้นไม้ใหญ่เข้าไว้ในค่ายกว้างออกไปกว่าค่ายเก่า. ในวันนั้นพระยารามัญวงษยกกองมอญขึ้นไปตั้งค่ายประชิค่ายพม่า เหนือเมืองพระพิศณุโลกยฟากตวันออก. พม่ายกออกตีได้รบกันเปนสามารถ. พวกกองมอญยิงปืนตับต้องพม่าล้มตายลำบากเปนอันมาก พม่าถอยทับเข้าค่าย กองรามัญตั้งค่ายได้. ๚ะ๏ ฝ่ายในเมืองพระพิศณุโลกยเจ้าพระยาจักรีเจ้าพระสุรสีห ก็ยกพลทหารออกตั้งค่ายประชิค่ายพม่านอกเมืองฟากตวันออก พม่ายกออกรบชิงเอาค่ายได้. เจ้าพระยาสุรสีหขับพลทหารหนุนเข้าไปฟันทหารเสียคนหนึ่ง ตีเอาค่ายคืนได้. พลพม่าล้มตายแลลำบากไปเปนอันมากแตกเข้าค่าย. แต่บันดาค่ายพม่าซึ่งตั้งรายประชิกันอยู่นั้น พม่าขุดอุมงค์เดินใต้ดินเข้ามารบทุกค่าย. ฝ่ายข้างทหารไทยก็ขุดอุมงค์ออกไปจากค่ายทุกๆค่าย แลอุมงค์ทลุะถึงกันได้รบกันกับทับพม่าในอุมงค์ ฆ่าฟันกันล้มตายเปนอันมาก. เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห ให้ทหารตัดเอาศีศะพม่ามาถวายเนืองๆ. จึ่งพระราชทานปืนใหญ่รางเกวียน ๒๐ บอก ให้ลากขึ้นไปณค่ายประชิให้ยิงทลายค่ายพม่า ๚ะ๏ ณขะนั้นพระยานครสวรรค์แต่งคนไปลาดกระเวน จับได้ไทยเชลยพม่าสองคนให้การว่า อแซหวุ่นกี้ยกกองทับมาครั้งนี้ คนสามหมื่นห้าพัน ทับหลังคนห้าพันตั้งอยู่ณบ้านกงธานีหนึ่ง อแซหวุ่นกี้ แลแมงแยยางูผู้น้อง กับกละโบ่ แลเจ้าเมืองตองอูถือพลสามหมื่น ยกมาติดเมืองพระพิศณุโลกย บัดนี้นายทับพม่าทำการขัดสนนัก เหนอาการจะเลิกถอยไป. พระยานครสวรรคจึ่งบอกส่งไทยเชลยสองคน กับคำให้การมาถวายณค่ายหลวง. ๚ะ๏ ครั้นณวันอังคารเดือนสามแรมสองค่ำ กลางคืนเพลาสี่ทุ่ม จึ่งเสดจยกทับหลวงขึ้นไปณค่ายมั่นใกล้วัดจัน ดำรัศให้กองพระยายมราช แลพระยานครราชสีมา พระยาพิไชยสงคราม ยกไปช่วยพระยานครสวรรค ซึ่งตั้งค่ายประชิโอบค่ายพม่าณวัดจันนั้น. ครั้นเพลาสิบเบ็ดทุ่ม กองทับไทยก็จุดปืนใหญ่ยิงทลายค่ายพม่า แล้วยกออกปล้นทุกน่าค่ายพม่า.ๆยกหนุนกันออกมารบจนเพลารุ่ง นายทับทั้งปวงจะหักเอาค่ายพม่ามิได้ ก็ถอยกลับเข้าค่าย ๚ะ๏ ครั้นณวันพุทธเดือนสามแรมสิบสามค่ำ จึ่งดำรัศปฤกษาด้วยท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวงว่า ทับหลวงจะตั้งมั่นอยู่ที่นี่เหนราชการจะเนิ่นช้า จะถอยไปตั้งอยู่ณค่ายท่าโรง แล้วจะเกนกองทับยกไปทางฟากตวันตก ให้ตั้งค่ายประชิโอบหลังค่ายพม่าเข้าไว้. แลท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวง ก็เหนพร้อมด้วยพระราชดำริห. ครั้นค่ำเพลาสี่ทุ่ม จึ่งเสดจถอยทับหลวงลงมาตั้งอยู่ณค่ายท่าโรง. ๚ะ๏ ครั้นณวันพฤหัศบดีเดือนสามแรมสี่ค่ำ จึ่งดำรัศให้ข้าหลวงไปหากองทับพระยานครสวรรค ซึ่งตั้งอยู่ณค่ายวัดจัน แลกองพระโหราธิบดี แลกองมอญ พระยากลางเมืองซึ่งตั้งอยู่ณค่ายบางทรายให้ยกลงมายังทับหลวง. แล้วดำรัศให้พระยามหามลเฑียรเปนแม่ทับถือพลห้าพัน ให้กองพระยานครสวรรคเปนทับน่า ให้หลวงดำเกิงรณภพ หลวงรักษโยธา คุมพลทหารกองใน กองนอก กองเกนหัดสามพันสี่ร้อยเปนกองหนุนยกไปตั้งค่ายรายซุ่มขึ้นไปตามหลังค่ายพม่าดูเชิงฆ่าศึกก่อน. ถ้าพม่าไม่ยกมาตีจึ่งเข้าตั้งค่ายประชิติดค่ายพม่า. แล้วดำรัศให้พระราชสงครามลงไปเอาปืนพระยาราชปักษี ปืนฉัตรไชย ณกรุงธนบุรีบันทุกเรือขึ้นมาจงมาก. ๚ะ๏ ฝ่ายนายกองทับน่าพม่า เข้าไปแจ้งราชการแก่อแซหวุ่นกี้แม่ทับว่า ไทยมีฝีมือเข้มแขงนัก จะรบเอาไชยชนะโดยเรวเหนจะไม่ได้ แล้วทับหลวงก็ยกขึ้นมาช่วยรี้พลเปนอันมาก. อแซหวุ่นกี้จึ่งให้ม้าใช้ไปสั่งปัญีตจวงจึ่งตั้งค่ายอยู่ณบ้างกงธานี ให้เปนนายทับคุมพลสามพันยกลงมาณเมืองกำแพงเพชร แล้วให้เดินทับลงไปณเมืองนครสวรรคแซงลงไปถึงเมืองอุไธธานี. ถ้าได้ทีให้วกกลังตัดลำเลียงกองทับไทย จะได้พว้าพวังรวังทั้งน่าหลังก็จะหย่อนกำลังลง. แลทับอีกสองพันนั้น ให้ยกหนุนมาตั้งค่ายใหญ่ใกล้เมืองพระพิศณุโลกยฟากตวันตก. ๚ะ๏ ครั้นณวันเสาร์เดือนสามแรมหกค่ำ จึ่งพระยาศุโขไทย ซึ่งตั้งซุ่มคอยสกัดสอดแนมสืบราชการณทับพม่าบ้านกงธานีนั้น บอกลงมากราบทูลว่า พม่าตั้งค่ายอยู่ณบ้างกงธานีห้าค่าย. บัดนี้ยกข้ามน้ำไปฟากตวันตกกองหนึ่ง ยกหนุนมาเมืองพระพิศณุโลกยกองหนึ่ง. ครั้นได้ทรงทราบจึ่งดำรัศว่า เกลือกพม่าจะวกหลังตีตัดเสบียง ให้กองพระยาราชภักดี กับพระยาพิพัฒโกษา ยกลงไปช่วยราชการพระยาราชาเสรฐีตั้งค่ายอยู่ณเมืองนครสวรรค. แล้วให้กองพระยาธรรมายกหนุนขึ้นไปช่วยพระยามหามณเฑียรแลพระยานครสวรรค์. ซึ่งไปตั้งค่ายประชิโอบหลังค่ายพม่า ณวัดจันฟากตวันตก. แล้วให้หลวงภักดีสงคราม แลพระยาเจ่ง กับกรมการเมืองไชยนาท คุมพลไทยมอญห้าร้อยเสศ ยกขึ้นไปตั้งอยู่ณร้านดอกไม้แขวงเมืองกำแพงเพชร์ คอยดูท่วงทีพม่าซึ่งยกมาแต่บ้านกงธานีนั้นจะไปแห่งใด. ถ้าเหนได้ทีจึ่งให้ออกโจมตี ถ้าไม่ได้ก็ให้ลาดถอยมา. ๚ะ๏ ฝ่ายในเมืองพระพิศณุโลกย เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห เกนพลทหารออกตั้งค่ายนอกเมืองฟากตวันตก ตั้งค่ายประชิค่ายพม่าซึ่งล้อมเมืองนั้น. ๚ะ๏ ครั้นเพลาค่ำในวันเสาร์เดือนสามแรมหกค่ำ จึ่งเจ้าพระยาสุรสีหให้เอาไม้ทำคบเอาผ้าชุบน้ำมันยางจุดเพลิงใส่ในบอกปืนใหญ่. ยิงไปเผาค่ายพม่าไหม้ขึ้นค่ายหนึ่ง หอรบไหม้ทำลายลงสองหอ. พม่าออกมาดับไฟยิงตายแลลำบากไปเปนอันมาก. แต่เสบียงอาหารในเมืองขัดสนนัก ด้วยจะกวาดเข้าเมืองหาทันไม่. จึ่งบอกลงไปณทับหลวงขอพระราชทานเสบียง ก็โปรดให้กองทับคุมลำเลียงขึ้นไปส่ง. พม่าออกตีตัดลำเลียงกลางทางไปส่งหาถึงเมืองไม่ ครั้งหลังจึ่งโปรดให้กองลำเลียงขนเข้าขึ้นไปส่งอีกให้กองพระยานครราชสีมายกไปช่วยป้องกันกองลำเลียง แล้วให้เจ้าพระยาสุรสีหยกกองทับลงมาคอยรับ. แลกละโบ่แม่กองน่าพม่านั้นเข้มแขงยกทับมาสกัดตี กองทับเจ้าพระยาสุรสีห กับทับพระยานครราชสีมา หาเข้าถึงกันได้ไม่. ทับเมืองพระพิศณุโลกยก็ถอยกลับเข้าเมือง ทับเมืองนครราชสีมาก็ภากองลำเลียงถอยกลับมาค่ายหลวง. แลเข้าในเมืองพระพิศณุโลกยก็เปลืองลงทุกวันๆ จ่ายแจกรี้พลก็หาภออิ่มไม่ ไพร่พล ก็ถอยกำลังอิดโรยลง. ฝ่ายข้างกองทับพม่าก็ขัดเสบียงอาหารลงเหมือนกัน แต่อยู่ภายนอกที่ทำเลกว้าง เที่ยวหาบุกกลอยแลรากกระทาดปนกับอาหารกินค่อยช้าเนิ่นวัน ไม่สู้ขัดสนนักเหมือนในเมือง. ๚ะ๏ ครั้นณวันศุกรเดือนสามแรมสิบสามค่ำ จึ่งขุนพัศดีถือหนังสือบอกขึ้นมากราบทูลว่า พม่าเมืองมฤทยกกองทับเข้ามาตีเมืองกุย เมืองปรานต้านทานมิได้ จึ่งถอยเข้ามาตั้งอยู่ณเมืองชอำ แลทับพม่าเลิกกลับไป. บัดนี้พระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษสงคราม ได้แต่งพลทหารไปขัดทับอยู่ที่ช่องแคบด่านเมืองเพชรบุรี. จึ่งดำรัศให้กองพระเจ้าหลานเธอ เจ้าประทุมไพรจิตร ยกลงมารักษากรุงธนบุรีรวังราชการศึกข้างฝ่ายใต้. ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับพม่าซึ่งยกลงมาณเมืองกำแพงเพช มายังมิทันถึง. จึ่งกองทับข้าหลวงไทยมอญห้าร้อยก็ออกโจมตีที่กลางทาง ทับพม่ามิทันรู้ก็แตกฉาน ทับพวกข้าหลวงเก็บได้สาตราวุธต่างๆแล้วลาดถอยมา จึ่งบอกส่งสิ่งของเครื่องสาตราวุธลงมาถวาย จึ่งดำรัศให้พระสุนทรสมบัติกับหมื่นศรีสหเทพ เอาเสื้อผ้าไปพระราชทานขุนนางไทยมอญ ซึ่งล่าลงมาณบ้านร้านดอกไม้นั้น. ๚ะ๏ ฝ่ายทับทับพม่าก็ยกลงมาตั้งค่ายณบ้านโนนศาลาสองค่าย บ้านถลกบาตรค่ายหนึ่ง บ้านหลวงค่ายหนึ่ง ในแขวงเมืองกำแพงเพชร. แล้วยกแยกลงไปทางเมืองอุไทยธานีกองหนึ่ง เข้าเผาบ้านอุไทยธานีเสีย. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันเสาร์เดือนสามแรมสิบสี่ค่ำ ขุนยกกระบัตรเมืองไชยนาทไปสืบราชการทับพม่าขึ้นมากราบทูลว่า พม่าตั้งค่ายอยู่ณแขวงเมืองกำแพงเพชรสี่ค่าย ยกไปเมืองอุไทัยธานีกองหนึ่ง เผาบ้านเมืองเสียแล้ว แล้วจะไปทางใดอีกมิได้แจ้ง. จึ่งดำรัศให้ขุนอินทรเดชเปนแม่กอง หลวงปลัดเมืองอุไทยธานี กับหลวงสรวิชิตรนายด่านเปนกองน่า หม่อมเชษฐกุมารเปนกองหลวง. ให้หม่อมอนุรุทเทวาเปนจางวาง บังคับทั้งสามกองพลพันหนึ่ง. ยกลงไปป้องกันเสบียงแลปืนใหญ่ซึ่งบันทุกเรือขึ้นมานั้น อย่าให้เปนอันตรายกลางทาง. ถ้ามีราชการศึกณเมืองนครสวรรค ให้แบ่งเอากองอาจาริยไปช่วยบ้าง ให้แบ่งลงมาตั้งณบ้านคุ้งสำเภาบ้าง แล้วให้กองพระยาโหราธิบดี แลหลวงรักษมณเฑียร ยกไปตั้งค่ายณโคกสดุด. ให้กองพระยานครไชยศรี ไปตั้งณค่ายโพทับช้าง ป้องกันลำเลียงจะได้ไปมาสดวก. ๚ะ๏ ครั้นณวันอาทิตยเดือนสามแรมสิบห้าค่ำ จึ่งดำรัศให้ข้าหลวงไปหาเจ้าพระยาจักรีณเมืองพระพิศณุโลกย ลงมาเฝ้าณค่ายบ้านท่าโรง. เจ้าพระยาจักรีป่วย ลงมามิได้ ให้เจ้าพระยาสุรสีหลงมาเฝ้า. จึ่งดำรัศปฤกษาโดยพระราชดำริห จะใคร่ผ่อนทับลงไปตั้งณเมืองนครสวรรค ป้องกันเสบียงไว้. แลราชการในเมืองพระพิศณุโลกยนั้น ให้เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห จงรับรองป้องกันรักษา. แลเจ้าพระยาสุรสีห ก็กราบถวายบังคมลากลับไปเมือง. ๚ะ๏ ในวันนั้นทับพม่ายกออกจากค่าย เข้าตีกองพระยานครสวรรค ซึ่งเดินค่ายขึ้นไปถึงบ้านบางส้มป่อย ตั้งลงยังมิทันแล้ว ได้รบกันเปนสามารถ. จับพม่าได้คนหนึ่ง พม่าถูกปืนตายแลลำบากลากกันไปเปนอันมาก ถอยไปเข้าค่าย. พระยานครสวรรคจึ่งให้หมื่นศรีสหเทพ ถือหนังสือบอกส่งพม่าลงมาถวายแล้วกราบทูลว่า บัดนี้พม่าขัดสนเข้าแลเกลือ เกลือนั้นนักสองบาทซื้อขายกันเปนเงินบาทหนึ่ง. ๚ะ๏ ครั้นณวันอังคารเดือนสี่ขึ้นสองค่ำ พระยารัตนพิมลซึ่งอยู่รักษาค่ายปากน้ำพิงบอกมากราบทูลว่า แต่งคนไปสอดแนมถึงวังสองสลึง เหนพม่ายกมาประมาณสองร้อย. ครั้นเพลาบ่ายพม่าเผาบ้านป่าขึ้น ใกล้ปากน้ำพิงเข้าไปสามคุ้ง. จึ่งดำรัศให้หลวงวิสูทธโยธามาตย หลวงราชโยธาเทพ คุมเอาปืนใหญ่รางเกวียนแปดบอก ลงเรือข้ามไปณค่ายปากน้ำพิงฟากตวันตก ๚ะ๏ ครั้นณวันพุทธเดือนสี่ขึ้นสามค่ำ จึ่งเสดจพระราชดำเนินด้วยพระบาทขึ้นไปทางฟากตวันออก แต่ค่ายบ้านท่าโรงจนถึงตรงค่ายพระยานครสวรรค ซึ่งตั้งอยู่ณบ้านแขกฟากตวันตกนั้น เสดจทรงพระเก้าอี้อยู่กลางหาดทราย. จึ่งพระยาธรรมาธิบดี พระยานครสวรรคลงว่ายน้ำข้ามมาเฝ้า กราบทูลว่าพม่าตั้งค่ายประชิลงสี่ค่าย แล้วปักตรุยจะตั้งค่ายโอบลงมา. จึ่งดำรัศว่ามันทำลวงดอกอย่ากลัวมัน ให้ตั้งค่ายรายเคียงออกไป ถ้ามั่นตั้งรายตามกันไป. ให้ตั้งรายแผ่กันออกไปจงมากให้รักษาอยู่แต่ค่ายละห้าร้อยคน แล้วอย่าคิดกลัวแตกกลัวเสียมัน จะตีค่ายไหนให้ตีเข้า. อันธรรมดาเปนชายชาติทหารแล้ว จงมีน้ำใจองอาจอย่ากลัวตาย ตั้งใจอาษาพระรัตนไตรย แลพระมหากระษัตริย ด้วยเดชะผลกะตัญูนั้น จะช่วยอภิบาลบำรุงรักษาก็จะหาอันตรายมิได้. ถ้าใครย่อธ้อต่อการสงครามให้ประหารชีวิตรเสีย ศึกจึ่งจะแก่กล้าขึ้นเอาไชยชำนะได้. แล้วให้ยกเอากองพระยาสิหราชเดโช แลกองหมื่นทิพเสนามาเข้ากองพระยานครสวรรค. ยกกองเกนหัด กองทหาร กองอาจาริยมาไว้ในค่ายหลวง. แล้วเสดจพระราชดำเนินกลับยังค่ายบ้านท่าโรง. จึ่งให้ข้าหลวงขึ้นไปเมืองพระพิศณุโลกย หาเจ้าพระยาจักรีลงมาเฝ้า. ภอเจ้าพระยาจักรีป่วยหายแล้ว ก็ลงมาเฝ้าณค่ายหลวงท่าโรง ครั้นได้ทรงฟังเสียงปืนใหญ่น้อยณปากน้ำพิงหนาขึ้น จึ่งดำรัศสั่งเจ้าพระยาจักรีให้จัดแจงพลทหารรักษาค่ายท่าโรง เจ้าพระยาจักรีก็เกนกองพระยาเทพวรชุน แลพระพิชิตณรงค์ให้อยู่รักษา แล้วกลับขึ้นไปเมืองพระพิศณุโลกย. ครั้นค่ำเพลาสามยามก็เสดจยกทับหลวงลงมาณปากน้ำพิง. ครั้นเพลาสิบเบดทุ่มพม่ายกมาขุดสนามเพลาะ เข้าตีค่ายพระยาธรรมไตรโลกย พระยารัตนพิมลณคลองกระพวง ยิงปืนระดมต่อรบกันเปนสามารถ. ๚ะ๏ รุ่งขึ้นณวันพฤหัศบดีเดือนสี่ขึ้นสี่ค่ำ จึ่งเสดจข้ามตพานเรือกไปฟากตวันตก. ดำรัศให้กองพระยาศุโขไทย ยกหนุนออกตั้งค่ายชักปีกกา ขุดคลองเดินถึงกัน. ให้หลวงดำเกิรรณภพคุมพลเกนหัด แลกองอาจาริยเก่าใหม่ไปเข้ากองพระยาศุโขไทย. ให้กองหลวงรักษโยธา หลวงภักดีสงครามยกไปตั้งค่ายประชิค่ายพม่า ณปากคลองกระพวง. ให้กองหลวงเสนาภักดี กองปืนแก้วจินดา ออกตีวกหลัง.ครั้นณวันเสารเดือนสี่ขึ้นหกค่ำ เพลาเช้าจึ่งพระยาศุโขไทย แลนายทับนายกองทั้งปวง ก็ยกออกพร้อมกัน ตีขนาบน่าค่ายหลังค่ายพม่า พม่ายกออกรับรบกับเปนสามารถถึงอาวุธสั้น ล้มตายลงทั้งสองฝ่าย ขุนอากาศสรเพลิงถูกปืนพม่าตาย.ครั้นณวันอาทิตยเดือนสี่ขึ้นเจ็ดค่ำ จึ่งดำรัศให้ข้าหลวงไปหากองพระยาอินทรอไภย แลกองมอญพระยากลางเมือง ยกลงมาณปากน้ำพิง ในทันใดนั้นหลวงเสนาภักดิกองปืนแก้วจินดามากราบทูลว่า ได้ตีวกหลังพม่าเข้าไป พม่าขุดสนามเพลาะวงล้อมไว้สามด้าน. กองอาจาริยถอยเสียมิได้ช่วยแก่. ข้าพระพุทธเจ้าให้ขุดสนามเพลาะรบอยู่คืนหนึ่ง ต่อรุ่งขึ้นพระยาศุโขไทยจึ่งตีเข้าไปแก้ออกมาได้. ครั้นได้ทรงฟังจึ่งดำรัศสั่งให้เอาตัวอาจาริยทองแลเอาตัวนายดีนายหมวดกองอาจาริยไปประหารชีวิตรเสีย แลแลขนั้นพระราชทานให้ขุนรามณรงค์คุมทำราชการสืบไป๏ ครั้นเพลาบ่ายเสดจไปถอดพระเนตรค่าย ที่รบคลองกระพวง แต่ค่ายมั่นออกไปรยะทางยี่สิบสองเส้น ให้ตั้งค่ายขุดคลองเดินตามปีกกาให้ถึงกัน. ขณะนั้นดำรัศภากโทษพระสุธรรมาจาริย พระวิสารสุธรรมเจ้ากรมกองอาจาริย แล้วให้ทำราชการแก้ตัวเข้าตั้งค่ายประชิค่ายพม่า กับกองทหาร กองเกนหัดสืบไป. ในวันนั้นเพลาบ่ายห้าโมงเสศ พม่ายกออกปล้นค่ายกองทับไทยได้รบกันเปนสามารถ. หลวงดำเกิงรณภพให้ยิงปืนใหญ่น้อยต้องพม่าตายแลลำบากมาก. ๚ะ๏ อนึ่งขุนหาญทนายเลือกกองนอก รักษาค่ายให้เพลิงตกลงในถังดินดำ ติดขึ้นไหม้คนตายหลายคน แลตัวขุนหาญนั้นก็ย่อธ้อต่อการศึก จึ่งดำรัศให้ประหารชีวิตรเสีย. แล้วให้ข้าหลวงไปหาพระยายมราช ซึ่งตั้งค่ายอยู่ณวัดจันลงมาเฝ้า ตรัสสั่งให้พระยายมราชเปนแม่ทับ ถืออาญาสิทธิ์บังคับทับทั้งสิบทับ ซึ่งตั้งรับพม่าณคลองกระพวงให้กล้าขึ้น. ๚ะ๏ ครั้นณวันพฤหัศบดีเดือนสี่ขึ้นสิบเบ็ดค่ำ กลางคืนเพลาประมาณยามเสศ อแซหวุ่นกี้ให้กละโบ่ยกทับข้ามแม่น้ำมาฟากตวันออก เข้าปล่นค่ายกรมแสงใน คนสองร้อยสิบสี่คนตั้งค่ายอยู่ณวัดพริกห้าค่ายได้รบกันเปนสามารถ พม่าแหกเอาค่ายได้แตกทั้งห้าค่าย. นายทับนายกองแลไพร่พลหนีกระจัดพรัดพรายกันไป. จึ่งพระยาเทพวรชุน พระพิชิตณรงคซึ่งรักษาค่ายท่าโรง บอกส่งคนซึ่งแตกลงมาแต่ค่ายวัดพริกทั้งนายไพร่หลายคนลงมาถวาย จึ่งดำรัศให้ประหารชีวิตรหมื่นทิพหนึ่ง ไพร่สิบสามคน เปนคนสิบสี่คน ตัดศีศะเสียบไว้ณะประตูค่ายปากน้ำพิง. แล้วดำรัศสั่งว่า แต่บันดานายไพร่ ซึ่งแตกพม่ามานั้น ได้ตัวมาเมื่อใดให้ฆ่าเสียให้สิ้น แล้วข้าหลวงไปหากองพระโหราธิบดี กองหลวงรักษมณเฑียร ซึ่งตั้งค่ายอยู่ณโคกสดุด. แลกองพระยานครไชยศรี ซึ่งตั้งค่ายอยู่ณโพทับช้างนั้น ให้ยกไปช่วยราชการทับหลวงณปากน้ำพิง. ๚ะ๏ ครั้นณวันศุกรเดือนสี่ขึ้นสิบสองค่ำ จึ่งพระยานครสวรรคบอกลงมากราบทูลว่า ทับพม่าตั้งค่ายโอบลงมาถึงริมแม่น้ำ แล้วยกข้ามไปตีค่ายวัดพริกฟากตวันออกแตกเหนว่าพม่าจะวกหลัง จะขอพระราชทานลาดทับข้ามมาตั้งค่ายรับอยู่ฟากตวันออก. จึ่งดำรัศให้กองมอญพระยากลางเมือง แลกองพระโหราธิบดี แลกองพระยาเทพวรชุน กองพระยาวิชิตณรงค ซึ่งตั้งอยู่ค่ายท่าโรงเข้ากองพระยายมราช ให้พระยายมราชเปนแม่ทับยกขึ้นไปตีทับพม่า ซึ่งเข้าตั้งอยู่ณะค่ายวัดพริกฟากตวันออกนั้น. แลให้กองหลวงรักษ์มณเฑียร ไปอยู่รักษาค่ายประชิแทนพระยากลางเมืองณะปากน้ำพิงฟากตวันตก. ๚ะ๏ ฝ่ายพระยายมราชยกกองทับไปตั้งค่ายประชิค่ายพม่า ณวัดพริก พม่ายกออกแหกค่ายพระยายมราช หักเอาค่ายได้. ในทันใดนั้นพระยายมราชขับพลทหารเข้าตีพม่าแตก ชิงเอาค่ายคืนได้. พม่าถอยไปเข้าค่ายวัดพริกตั้งรบกันอยู่. ๚ะ๏ ขณะนั้นอแซหวุ่นกี้ให้แมงแยยางูผู้น้อง ยกทับใหญ่ลงมาตั้งค่ายโอบหลังค่ายหลวง ณปากน้ำพิงฟากตวันออกเปนหลายค่าย ได้ต่อรบกันเปนสามารถ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงเหนศึกหนักเหลือกำลัง. ถึงณวันพฤหัศบดีเดือนสี่แรมสิบค่ำ จึ่งให้ลาดทับหลวงถอยมาตั้งค่ายมั่นอยู่ณทางเข้าตอก. ฝ่ายอแซหวุ่นกี้เร่งให้ตแคงมรหน่องปัญีแยช่องจอแลเจ้าเมืองตองอู นายทับนายกองทั้งปวงทำการติดเมืองพระพิศณุโลกยกวดขันขึ้น ฝ่ายข้างในเมืองก็ขาดเสบียงตวงเข้าแจกทหารมื้อละฝาเขนง ไพร่พลอิดโรยนักถอยกำลังลง. เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห เหนเหลือกำลังที่จะตั้งมั่นรักษาเมืองไว้มิได้ ด้วยขัดสนเสบียงอาหารนัก. จึ่งบอกลงมากราบทูลณค่ายหลวง แต่ยังเสดจอยู่ณปากน้ำพิงว่า ในเมืองสิ้นเสบียง จะขอพระราชทานล่าทับออกจากเมือง ก็โปรดทรงพระอนุญาต. เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห จึ่งสั่งให้นายทับนายกอง ซึ่งออกไปตั้งค่ายประชิรับพม่าอยู่นอกเมืองทั้งสองฟากนั้น เลิกถอยเข้าในเมืองสิ้น. พม่าเข้าตั้งอยู่ในค่ายไทยประชิใกล้เมือง ให้ทำบันไดจะพาดกำแพงเตรียมการจะปีนปล้นเอาเมือง. พลทหารซึ่งรักษาน่าที่เชิงเทิลรดมยิงปืนใหญ่น้อยออกไปดังห่าฝน พม่าจะเข้าปีนปล้นเอาเมืองมิได้ ต่างยิงปืนโต้ตอบกันอยู่ทั้งสองฝ่าย. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันศุกรเดือนสี่แรมสิบเบดค่ำ เจ้าพระยาทั้งสองจึ่งให้เจ้าน่าที่รดมยิงปืนใหญ่น้อยหนาขึ้นกว่าทุกวัน เสียงปืนลั่นสนั่นไปมิได้ขาดตั้งแต่เช้าจนค่ำ. แล้วให้เอาปี่พาทยขึ้นตีบนเชิงเทิงรอบเมือง. ครั้นเพลาประมาณยามเสศเจ้าพระยาทั้งสองก็จัดทหารเปนสามกอง กองน่ากองหนึ่ง กองกลางให้คุมครอบครัวกองหนึ่ง กองหลังรั้งท้ายกองหนึ่ง. แล้วยกกองทับ แลครอบครัวทั้งปวง เปิดประตูเมืองข้างด้านฟากตวันออก ให้พลทหารกองน่ารบฝ่าออกไป เข้าหักค่ายพม่าซึ่งตั้งล้อม. พม่าในค่ายต่อรบยิงปืนใหญ่น้อยออกมา. พลทหารไทยก็หนุนเนื่องกันเข้าไปแหกค่ายพม่าเข้าไปได้ๆรบกันถึงอาวุธสั้นฟันแทงกันเปนตลุมบอน พม่าแตกเปิดทางให้. เจ้าพระยาทั้งสองก็รีบเดินทับไปทางบ้านละมุงดอนชมพู แลครอบครัวทั้งปวงนั้น ก็แตกทับกระจัดพรัดพรายตามกองทับไปได้บ้าง พม่าก็ติดตามกองทับไป. แลกองซึ่งรั้งหลังก็รอสกัดต่อรบต้านทานที่กลางทางเปนสามารถ พม่าก็ถอยกลับไปเมือง. เจ้าพระยาทั้งสองก็เร่งเดินทับไปถึงเมืองเพชรบูรณ์อยุดทับอยู่ที่นั้น. ๚ะ๏ ฝ่ายอแซหวุ่นกี้แจ้งว่า ทับไทยแหกหนีออกจากเมืองแล้ว ก็ขับพลทหารเข้าในเมืองให้จุดเพลิงเผาบ้านเรือน แลอารามใหญ่น้อยทุกตำบล แสงเพลิงสว่างดังกลางวัน ให้ไล่จับผู้คนแลครอบครัวซึ่งยังตกค้างอยู่ในเมืองหนีออกไม่ทันนั้น แลเก็บเอาทรัพย์สิ่งสีน แลเครื่องสาตราวุธต่างๆแล้วตั้งอยู่ในเมือง. อแซหวุ่นกี้จึ่งออกปากประกาศแก่นายทับนายกองทั้งปวงว่า ไทยบัดนี้ฝีมือเข้มแขงนักไม่เหมือนไทยแต่ก่อน. แลเมืองพระพิศณุโลกยเสียครั้งนี้ ใช่จะแพ้ฝีมือเพราะทแกล้วทหารนั้นหามิได้. เพราะเขาอดเข้าขาดเสบียงอาหารดอกจึ่งเสียเมือง. แลพม่าซึ่งจะมารบเมืองไทยสืบไปพายน่านั้น ถ้าแม่ทับมีสติปัญญาแลฝีมือแต่เพียงเสมอเราต่ำกว่าเรานั้น อย่ามาทำสงครามตีเมืองไทยเลย จะเอาไชยชำนะเขามิได้ แม้นดีกว่าเราจึ่งมาทำศึกกับไทยได้ไชยชำนะ ๚ะ๏ ภอข้างกรุงอังวะให้ม้าใช้ถือหนังสือลงมา ถึงอแซหวุ่นกี้แม่ทับว่าพระเจ้ามังระทิวงกต บัดนี้จิงกูราชบุตร พระชนได้ ๒๕ ปีได้เสวยราชสมบัติ แล้วฆ่ามังโปอนาวิงด่อ ซึ่งเปนอาวนั้นเสีย. มีรับสั่งให้หากองทับกลับไปกรุงอังวะ. อแซหวุ่นกี้ได้แจ้งเหตุดังนั้น ก็ให้เลิกทับจากเมืองพิศณุโลกย กวาดครอบครัวเดินทับไปทางเมืองศุโขไทย ไปลงบ้านรแหงเมืองตาก ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห ซึ่งไปตั้งอยู่เพชรบูรณ์นั้นได้เสบียงอาหารเลี้ยงไพร่พลบริบูรณ แล้วก็บอกลงมากราบทูลว่า จะขอยกติดตามตีทับพม่าซึ่งเลิกถอยไป. แล้วยกกองทับกลับมาทางเมืองสรบูรี ขึ้นทางป่าพระพุทธบาทยกติดตามทับพม่าไปทางเมืองศุโขไทย ขณะนั้นท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวง ซึ่งตั้งค่ายรบพม่าอยู่ในที่ต่างๆ ก็บอกลงไปกราบทูลว่า พม่าได้เมืองพระพิศณุโลกยแล้ว บัดนี้เลิกทับกลับไป สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระโทมนัศน้อยพระไทยแก่ฆ่าศึกนัก ดำรัศให้หาหลวงศรสำแดงเข้ามาถามน่าพระที่นั่งว่า จะให้คุมเลขทหารเกนหัดไปตามรบพม่าจะได้ฤๅมิได้. หลวงศรสำแดงก้มน่านิ่งเสียไม่กราบทูลประการใด ก็ทรงพระโกรธ ดำรัศให้ประหารชีวิตรเสีย. แล้วดำรัศให้พระยาพิไชยยกกลับไปบ้านเมือง ให้พระยาพิไชยสงครามไปด้วย จัดแจงไพร่พลพร้อมแล้วให้ยกไปก้าวสกัดติดตามตีพม่าจงได้. แล้วให้กองพระยาเทพวรชุน พระยารัตนพิมล พระยานครไชยศรี พระยาทุกขราษฎเมืองพระพิศณุโลกย หลวงรักษโยธา หลวงอัคเนศรเปนกองน่า. ให้พระยาสุรบดินทรเจ้าเมืองกำแพงเพชร เปนแม่ทับยกติดตามตีพม่าไปทางเมืองตาก ให้พระยาธิเบศบดีคุมกองอาษาจามยกติดตามพม่าไปทางเมืองศุโขไทย. ๚ะ๏ ครั้นณวันจันทรเดือนหกแรมสิบเบ็ดค่ำปีวอกอัฐศก จึ่งพระราชสงครามนำเอาหนังสือมหาโสภีตะเจ้าอธิการวัดใหม่ เขียนใส่ใบตาลไปถวาย เปนเรื่องความว่า พระพุทธทำนายมีในคัมภีร์พระธาตุวงษ. ข้อความว่าตระกูลเสนาบดีจะได้เปนกษัตริย์สี่พระองค์ เสวยราชสมบัติในกรุงศรีอยุทธยา แลพระองคที่สุดนั้นพม่าจะยกมาย่ำยี พระนครจะเสียแก่พม่า. แล้วจะมีบุรุษพ่อค้าเกวียน จะได้เปนพระยาครองเมืองทิศใต้ชายทเลชื่อเมืองบางกอก. พระยาองค์นั้นจะได้สร้างเมืองเปนราชธานีขึ้นได้เจดปี ในที่สุดเจ็ดปีนั้น พม่าจะยกมาพยายามกระทำสงครามอยู่สามปี. ในพระพุทธศักราชล่วงได้ ๒๓๒๐ ปี จุลศักราชได้ ๑๑๓๙ ปี. พระนครบางกอกจะเสียแก่พม่าฆ่าศึก. ให้เสดจขึ้นไปอยู่ณเมืองละโว้ คือเมืองลพบุรี อันเปนที่ชุมนุมพระบรมธาตุ ตั้งอยู่ท่ามกลางแผ่นดินไทย ฆ่าศึกสัตรูจะทำร้ายมิได้เลย. ครั้นทรงอ่านแล้วจึ่งดำรัศว่า ซึ่งจะละเมืองบางกอกเสียนั้นมิได้ แต่ปากสมณชีพราหมว่าแล้วจำจะทำตาม จะไปอยู่เมืองลพบุรีสักเจดวัน ภอเปนเหตุ. ๚ะ๏ ครั้นณวันจันเดือนหกแรมสิบเบ็ดค่ำได้ข่าวว่า พม่าข้างทางเมืองอุไทยธานียกแยกขึ้นไปเมืองเพชรบูรณ์. จึ่งดำรัศให้พระยาพลเทพ หลวงเนาวโชดิ์จมื่นเสมอใจราชยกกองทับขึ้นไปเมืองเพชรบูรณ์ ถ้าพม่ายกไปภอจะต่อรบต้านทานได้ ก็ให้สู้รบต้านทานไว้. ถ้าเหลือกำลังจงผ่อนครอบครัวเสบียงอาหารลงไปกรุง. แล้วให้กองพระยานครสวรรค พระยาสวรรคโลกย ยกไปติดตามพม่าทางเมืองกำแพงเพชรอีกทับหนึ่ง. แลให้กองพระยายมราชยกลงมาอยู่รักษาค่ายหลวงณคลองบางเข้าตอก. แต่ทับหลวงเสดจแรมอยู่คอยรับครัว ซึ่งแตกลงมาแต่เมืองพระพิศณุโลกยอยู่สิบเบดเวน ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันพฤหัศบดีเดือนหกแรมสิบสี่ค่ำ จึ่งเสดจยาตราทับหลวงมาทางชลมารค อยุดประทับณค่ายมั่นเมืองนครสวรรค์. จึ่งดำรัศให้ประหารชีวิตรหลวงชาติสุรินทร ซึ่งหนีตาทับลงมาแต่กองพระยาธรรมไตรยโลกยนั้นเสีย. แล้วให้แจกกฎหมายประกาศไว้สำหรับทับทุกทับทุกกองว่า ถ้าไพร่ตามนายมิทันให้ฆ่าเสีย. ถ้าข้าราชการตามเสดจมิทันให้ลงพระราชอาญาถึงสิ้นชีวิตร. ๚ะ๏ ครั้นณวันเสาร์เดือนเจ็ดขึ้นค่ำหนึ่ง จึ่งเสดจโดยทางชลมารค ล่องลงมาประทับแรมณพลับพลาค่ายมั่นบางแขม จึ่งหลวงวังเมืองนครสวรรคไปสืบราชการมากราบทูลว่า เหนพม่าตั้งอยู่ณเมืองกำแพงเพชรประมาณสองพันเสศ. ๚ะ๏ ครั้นณวันพุทธเดือนเจ็ดขึ้นห้าค่ำ จึ่งหมื่นชำนิคชสารมากราบทูลว่า พม่าเผาเมืองพระพิศณุโลกยเสียสิ้น ยังเหลืออยู่แต่วัดมหาธาตุ. จึ่งดำรัศให้กองพระยายมราชยกไปทางแม่น้ำโพฟากตวันตก. ให้กองพระยาราชสุภาวดี ยกไปทางฟากตวันออก. ให้พระยานครสวรรค์ ยกขึ้นไปบันจบกันณวังพระธาตุข้ามพร้อมกันทีเดียว ไปตามตีทับพม่าณเมืองกำแพงเพชรไปพร้อมกันตั้งค่ายอยู่ณบ้านโคน. ๚ะ๏ ครั้นณวันพฤหัศบดีเดือนเจ็ดขึ้นหกค่ำ จึ่งเสดจยกกองทับหลวงกลับขึ้นไป ประทับแรมณพลับพลาค่ายตวันออกเหนือปากน้ำขลุม. ให้ประหารชีวิตรขุนสุนทรนุรัตน หมื่นสนันกับบ่าวคนหนึ่งซึ่งหนีตาทับ ตัดศีศะเสียบไว้ณหาดทรายน่าค่ายหลวง. ขณะนั้นหลวงวังไปสืบราชการณบ้านสามเรือนมากราบทูลว่า พม่ายกลงไปประมาณพันเสศ. จึ่งดำรัศให้ข้าหลวงไปหากองพระยานครสวรรค ให้ถอยทับลงมาจากค่ายบ้านโคน มาเข้าในกองทับหลวง. จึ่งพระยาสุรบดินทรซึ่งยกไปตามพม่าบอกลงมากราบทูลว่า พม่าซึ่งตั้งอยู่ณเมืองกำแพงเพชรนั้น ยกเลิกไปทางตวันตกสิ้นแล้ว. ๚ะ๏ ครั้นณวันพฤหัศบดีเดือนเจ็ดแรมสิบสองค่ำ จึ่งเสดจถอยทับหลวงลงมาประทับอยู่ณเมืองนครสวรรค์. จึ่งชาวด่านเมืองอุไทยธานี บอกลงมากราบทูลว่า ทับพม่ายกผ่านลงมาประมาณพันเสศ เผาค่ายที่ด่านนั้นเสีย แทงหลวงตาลำบากอยู่องคหนึ่ง แล้วยกไปทางนารี. จึ่งดำรัศให้หลวงเสนาภักดีกองแก้วจินดายกติดตามไป. ถ้าทันเข้าจงตีให้แตกฉานแล้วให้ยกตามไปจนถึงเมืองไซยโยค. ๚ะ๏ ครั้นณวันเสาร์เดือนเจดขึ้นสิบสี่ค่ำ ปีวอกอัฐศก จึ่งเสดจยาตรานาวาทับหลวงมาโดยทางชลมารค กลับยังกรุงธนบุรีมหานคร. ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับพระยายมราช พระยาราชสุภาวดี ซึ่งตั้งค่ายอยู่ณบ้านโคนนั้น ครั้นแจ้งว่าทับพม่าณเมืองกำแพงเพชรเลิกไปแล้ว แล้วได้แจ้งว่าทับพม่ากองหนึ่ง ยกลงไปทางเมืองอุไทยธานี จึ่งยกกองทับผ่านลงมาทางด่านเขาปูน แลด่านสลักพระ ภบกองทับพม่าได้รบกันเปนสามารถ. แลทับพม่ากองหนึ่ง กลับยกแยกเข้ามาตั้งอยู่ณเมืองนครสวรรค์ คอยรับกองทับซึ่งไปหาเสบียงอาหาร ณแขวงเมืองเพชรบูรณ์. ๚ะ๏ ครั้นณวันอังคารเดือนเจ็ดแรมสองค่ำ จึ่งพระยายมราช พระยาราชสุภาวดี บอกข้อราชการลงมากราบทูลณกรุงธนบุรี. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวจึ่งดำรัศให้ข้าหลวงไปหาพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนอนุรักษสงครามเข้ามาจากเมืองเพชรบุรี. แล้วดำรัศให้พระเจ้าลูกเธอ กรมขุนอินทรพิทักษ ถือพลพันหนึ่งยกทับเรือหนุนขึ้นไป. ๚ะ๏ ครั้นณวันพฤหัศบดีเดือนเจดแรมสี่ค่ำ จึ่งเสดจยาตรานาวาทับหลวงจากกรุงธนบุรีโดยทางชลมารค ขึ้นไปประทับพลับพลาค่ายเมืองไชยนาทบุรีฟากตวันออก. แล้วโปรดให้พระเจ้าลูกเธอ กรมขุนอินทรพิทักษ กลับลงมารักษากรุงธนบุรี. จึ่งพระยายมราช พระยาราชสุภาวดี บอกลงมากราบทูลว่า ตั้งค่ายประชิรบทับพม่า ณด่านเมืองอุไทยธานีนั้น ขัดสนด้วยเสบียงอาหารนัก บัดนี้ล่าทับลงมาตั้งอยู่ณดอนไก่เถื่อน. ๚ะ๏ ฝ่ายกองหม่อมอนุรุทธเทวา แลหลวงเสนาภักดีกองแก้วจินดาบอกลงมากราบทูลว่า ได้ยกติดตามพม่าไปทางเมืองอุไทยธานี ภบพม่ากองหนึ่งยกลงมาทางแขวงเมืองสรรคบุรีได้รบกันณบ้านเดิมบางนางบวช รบกันเปนสามารถ ทับพม่าแตกหนีลงไปทางแขวงเมืองสุพรรณบุรี. จึ่งดำรัศว่าพม่ามิได้ตามลงมาติดพันแล้ว แล้วก็เปนเทศกาลจะได้ทำนา ให้มีตราหากองทับเมืองพิจิตร เมืองนครสวรรค์ เมืองอุไทยธานี ลงมายังค่ายหลวงณเมืองไชยนาทบุรีให้สิ้น. แล้วให้มีตราไปถึงพระยายมราช พระยาราชสุภาวดี ซึ่งตั้งทับอยู่ณดอนไก่เถื่อน. กับให้กองมอญพระยารามัญวงษยกเติมไปอีกกองหนึ่งเปนสามทับ. ให้ยกลงไปทางเมืองสุพรรณบุรี เมืองนครไชยศรี เมืองราชบุรี. ถ้าภบทับพม่าให้ตีจงแตก ถ้าปะครัวเร้นซ่อนอยู่ในป่า ก็ให้กวาด ต้อนลงไปณกรุง. แล้วดำรัศให้กองพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนอนุรักษสงคราม กรมขุนรามภูเบศร แลเจ้าพระยามหาเสนา ให้เร่งยกขึ้นไปตีพม่าซึ่งตั้งอยู่ณเมืองนครสวรรค์. ๚ะ๏ ครั้นณวันจันทรเดือนแปดขึ้นค่ำหนึ่ง จึ่งเสดจยกทับหลวงหนุนขึ้นไป แล้วเสดจกลับในวันนั้น มาลงเรือพระที่นั่งณสรรพยา ล่องลงมาประทับแรมณบ้านงิ้ว. ครั้นณวันพุทธเดือนแปดขึ้นสามค่ำ จึ่งเสดจยาตรานาวาทับหลวง กลับยังกรุงธนบุรี. ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับพม่าซึ่งตั้งอยู่ณด่านเมืองอุไทยธานีนั้น ขัดสนด้วยเสบียงอาหารนักก็เลิกกลับไป. แต่ที่เมืองนครสวรรค์นั้น พม่าตั้งอยู่ประมาณแปดร้อยเก้าร้อย คอยถ้าพม่าซึ่งไปเที่ยวหาเข้าณแขวงเมืองเพชรบูรณ์ยังหาเลิกไปไม่ แลกองทับพระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์สงคราม แลกรมขุนรามภูเบศร แลเจ้าพระยามหาเทพเสนา ก็ยกเข้าตีตั้งค่ายรบติดพันกันอยู่จึ่งบอกลงมาให้กราบทูลณกรุงธนบุรี. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันเสาร์เดือนเก้าขึ้นสิบสองค่ำปีวอกอัฐศก. สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวจึ่งเสดจยกพยุหโยธานาวาทับหลวง พร้อมด้วยพลทหารสิบเบ็ดกองจากกรุงธนบุรีไปทางชลมารค เสดจไปประทับณพลับพลาค่ายเมืองไชยนาทบุรี. ภอกองทับพระเจ้าหลานเธอตีทับพม่าแตกหนีไปทางเมืองกำแพงเพชร จึ่งบอกลงมากราบทูลณเมืองไชยนาทบุรี. ๚ะ๏ ครั้นณวันพฤหัศบดีเดือนเก้าแรมสองค่ำ จึ่งดำรัศให้พระเจ้าหลานเธอกรมขุนรามภูเบศร กับเจ้าพระยาอินทรอไภยอยู่รักษาค่ายเมืองนครสวรรค แล้วเสดจยกทับหลวงไปโดยทางชลมารคถึงเมืองตาก. แลพม่าซึ่งแตกไปอยู่ในป่าดงนั้น กองทับทั้งปวงจับมาถวายสามร้อยสามสิบเสศ. จึ่งดำรัศให้กองทับทั้งปวงติดตามพม่าไป จนปลายด่านเมืองตาก. ๚ะ๏ ครั้นณวันพฤหัศบดีเดือนเก้าแรมเก้าค่ำ จึ่งเสดจถอยทับหลวงกลับมาถึงบ้านรแหง ทอดพระเนตรเหนต้นเข้า ซึ่งพม่าทำนาไว้สั่งให้ถอนเสีย ๚ะ๏ ครั้นณวันจันทรเดือนเก้าแรมสิบสามค่ำ เสดจถึงกรุงธนบุรี. แล้วทรงพระวิตกถึงสมณ ซึ่งขับต้อนลงมาแต่หัวเมืองฝ่ายเหนือ จึ่งให้เผดียงสมเด็จพระสังฆราชไว้ว่า ถ้าพระสงฆ์อนุจรอารามใดขัดสนอาหาร ก็ให้มาเบิกเอาเข้าในฉางหลวงไปถวาย. แล้วทรงพระราชสัทธาถวายสมณบริกขาร แก่พระสงฆอาคันตุกะทั้งปวงเปนอันมาก. แลให้เลิกคนซึ่งรักษาน่าที่เชิงเทิลพระนครเสียให้ไปทำนาทำไร่หากินตามภูมลำเนา. ๚ะ๏ ครั้นณวันศุกรเดือนสิบขึ้นค่ำหนึ่ง จึ่งพระยาราชภักดี แลพระยาพลเทพ ซึ่งไปตามพม่าทางเมืองเพชรบูรณ์นั้น ภบพม่าที่บ้านนายมได้รบกัน ตีทับพม่าแตกหนีไปทางเมืองอุไทยธานี จับเปนได้เก้าคนบอกส่งลงมาถวาย. จึ่งโปรดให้มีตราไปถึงพระยาราชภักดี ให้ยกไปติดตามพม่าซึ่งแตกหนีไปนั้น. แต่กองพระยาพลเทพให้ยกกลับลงมาณกรุง. ๚ะ๏ ครั้นณวันเสาร์เดือนสิบขึ้นสี่ค่ำ กองพระยายมราช พระยาราชสุภาวดี พระยารามัญวงษ ยกติดตามพม่าไปทางด่านสุพรรณบุรี ได้ตามตีพม่าไปจนถึงด่านแม่ลำเมา จับเปนได้สิบเจ็ดคน บอกส่งลงมาถวาย. ๚ะ๏ ครั้นณวันอาทิตย์เดือนสิบขึ้นห้าค่ำ จึ่งกองเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห แลกองพระยาธิเบศบดี ซึ่งยกไปตามพม่าทางเมืองศุโขไทยนั้น จับเปนได้สิบแปดคน กับทั้งเครื่องสาตราวุธเปนอันมาก บอกส่งลงมาถวาย. ๚ะ๏ ครั้นณวันเสาร์เดือนสิบขึ้นสิบเบ็ดค่ำ จึ่งพระยานครสวรรค พระยาพิไชย ซึ่งยกติดตามพม่าไปทางด่านเมืองตาก จับเปนได้สี่สิบเก้าคน บอกส่งลงมาถวาย แลกองพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนอนุรักษสงคราม แลเจ้าพระยามหาเสนา บอกส่งพม่าลงมาแต่แควเมืองกำแพงเพชรสิบเบ็ดคนลงมาถวาย. จึ่งดำรัศให้มีตราหากองทับทั้งปวง กลับลงมายังพระนครพร้อมกันแล้ว โปรดให้เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห พระยาธรรมา คุมไพร่พลทั้งปวง ตั้งทำนาณะทเลตมฟากตวันออกกรุงธนบุรี แลทุ่งบางกปิ สามเส้น. ให้พระยายมราช พระยาราชสุภาวดีคุมไพร่ทั้งปวง ตั้งทำนาณะทะเลตมฟากตวันตก แลทุ่งกระทุ่มแบน หนองบัวแขวงเมืองนครไชยศรี. ๚ะ๏ อนึ่งในเดือนสิบนั้น กปิตันเหล็กอังกฤษเจ้าเมืองเกาะหมาก ส่งปืนนกสับเข้ามาถวายพันสี่ร้อยบอก กับสิ่งของเครื่องราชบรรณาการต่างๆ๏ ถึงณวันจันทรเดือนสิบแรมสิบสองค่ำ ปีวอกอัฐศก เพลาบ่ายสี่โมง นางพระยาช้างเผือกล้ม จึ่งดำรัศให้เอาศพไปฝังณวัดสามเพง ที่ฝังสพเจ้าพระยาปราบไตรยจักรแต่ก่อนนั้น. ๚ะ๏ ครั้นณวันศุกรเดือนสิบเบ็ดขึ้นสามค่ำ ข้าหลวงแลกรมการเมืองนครศรีธรรมราชบอกเข้ามาว่า เจ้านราสุริยวงษผู้ครองเมืองนั้นถึงพิราไลย จึ่งทรงพระกรุณาโปรดให้เจ้านครกลับคืนออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราชดั่งเก่า พระราชทานเครื่องยศ แลราชูประโภคเปนอันมาก ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับพระยาราชภักดี ยกติดตามพม่าไปทางด่านเมืองอุไทยธานี ภอฝนตกหนักน้ำนองท่วมป่าจะติดตามต่อไปลำบากนัก จึ่งถอยทับกลับมา แล้วบอกลงมากราบทูลณะกรุงฯว่าพม่ายกหนีไปโดยเรวยกติดตามไปมิทัน. สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบในหนังสือบอกก็ทรงพระพิโรธ จึ่งให้ตำรวจลงเรือเรวรีบขึ้นไปหากองทับพระยาราชภักดีกลับลงมายังพระนคร. แล้วดำรัศให้ปฤกษาโทษพระยาราชภักดี แลนายทับนายกองทั้งสิบนาย ซึ่งเปนลูกกองนั้นว่า เกียจคร้านย่อท้อต่อราชการศึก ให้ประหารชีวิตรเสียทั้งสิ้น. พระยาราชภักดีจึ่งกราบทูลว่า ราชการครั้งนี้โทษผิดแต่ข้าพระพุทธเจ้าผู้เดียว ด้วยข้าพระพุทธเจ้าเปนนายทับ เมื่อแลมิได้ไปแล้ว นายทับนายกองทั้งปวงอยู่ในบังคับก็ต้องตามบัญชาถอยมาด้วยกันทั้งสิ้น. จะขอรับพระราชอาญาตายแต่ตัวข้าพระพุทธเจ้าผู้เดียว แลนายทับนายกองทั้งปวงนั้น ขอพระราชทานชีวิตรไว้ให้ทำราชการแก้ตัวสืบไปพายน่า. จึ่งดำรัศว่านายทับนายกองทั้งปวงไม่ทัดทานกัน ลงใจพร้อมกันทั้งสิ้น. ครั้นจะไว้ชีวิตรก็จะเปนเยี่ยงอย่างกันสืบไป จงตายเสียด้วยกันทั้งสิ้นเถิด. แล้วดำรัศให้เอาตัวพระราชภักดี แลขุนนางมีชื่อทั้งสิบนาย ซึ่งเปนลูกกองนั้นไปประหารชีวิตรเสียสิ้น. ๚ะ๏ ฝ่ายข้างกรุงรัตนบุระอังวะพระเจ้ามังระสวรรคต อยู่ในราชสมบัติสิบสามปี จิงกูจาราชบุตรได้ครองราชสมบัติสืบไปในปีวอกอัฐศก. ครั้นกองทับอแซหวุ่นกี้ยกกลับไปถึง จึ่งเข้าเฝ้าทูลแถลงการซึ่งไปตีหัวเมืองไทยฝ่ายเหนือได้ทั้งสิ้น. พระเจ้าจิงกูจาก็พระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่อแซหวุ่นกี้ แลนายทับนายกองทั้งปวงโดยสมควรแก่ความชอบ. ครั้นอยู่มาแชลงจาผู้น้องพระเจ้าจิงกูจา ซึ่งเปนเจ้าเมืองแชลงอยู่ก่อนนั้น คิดกันกับอตวนหวุ่นอำมาตยเปนขบถต่อพระเจ้าจิงกูจาๆให้จับแชลงจากับอตวนหวุ่นอำมาตยประหารชีวิตรเสีย. ยังแต่อาวสามคนคือมังแวงตแคงปะดุงหนึ่ง มังจูตแคงปคานหนึ่ง มังโพเชียงตแคงแปงตะแลหนึ่ง มิได้เลี้ยงเปนเจ้า ให้แยกบ้านกันอยู่คนละบ้านไกลเมืองอังวะ. แล้วพระเจ้าจิงกูจาให้อำมลอกหวุ่นแลต่อหวุ่นกับพระยาอู่รามัญ ถือพลหกพันยกไปตีเมืองเชียงใหม่อีกเข้าตั้งค่ายล้อมเมืองไว้. พระยาวิเชียรปราการเจ้าเมืองเชียงใหม่ ต่อรบพม่าเหลือกำลังทิ้งเมืองเสีย ภาครอบครัวอพยพเลิกหนีลงมาอยู่เมืองสวรรคโลกย. แล้วบอกลงมาณกรุงธนบุรีกราบทูลพระกรุณาให้ทราบ. ๚ะ๏ ฝ่ายข้างแผ่นดินเมืองญวนองค์เหียวหูเบืองเปนเจ้าเมืองเว้ทำสงครามกับเมืองตังเกี๋ยเปนหลายปีมา แลองค์เหียวหูเบืองมีบุตรชายห้าคน ชื่อองค์ดิกมูหนึ่ง องค์คางเบืองหนึ่ง องค์เทิงกวางหนึ่ง องค์เชียงชุนหนึ่ง องค์ทางหนึ่ง. แลองค์ดิกมูบุตรผู้ใหญ่ มีบุตรชายชื่อองค์หวางตนหนึ่ง องค์คางเบืองบุตรที่สองมีบุตรชายสามคน ชื่อองค์ยาบาหนึ่ง องค์เชียงสือหนึ่ง องค์มันหนึ่ง. แลองค์ดิกมู องค์คางเบืองนั้น ถึงแก่กำก่อนองค์เหียวหูเบืองผู้บิดา. ครั้นอยู่มาองเหียวหูเบืองเจ้าเมืองเว้ถึงพิราไลยแล้ว. จึ่งองค์กวักพอขุนนางผู้ใหญ่ เปนบิดาเลี้ยงองค์เทิงกวางได้ครองเมืองเว้ ขุนนางแลราษฎรไม่เต็มใจ. ครั้งนั้น อ้ายอยากเปนโจรป่า อยู่ณแดนเมืองกุยเยิน ตั้งเกลี้ยกล่อมผู้คนจะตีเอาเมืองเว้ให้ได้ จะจับองค์เทิงกวางแลองค์กวักพอฆ่าเสีย จะยกองค์หวางตน บุตรองค์ดิกมูขึ้นครองเมืองเว้. อาณาประชาราษฎรทั้งปวงเชื่อฟังยินดีด้วย มาเข้าเกลี้ยกล่อมเปนอันมาก. แลอ้ายอยากนั้นมีน้องชายสองคน ชื่ออ้ายบายหนึ่ง อ้ายดามหนึ่ง จึ่งยกไพร่พลทั้งปวงมาตีเมืองเว้ ฝ่ายองค์กลิงเกียมมหาอุปราชเมืองตั้งเกี๋ย ได้แจ้งข่าวว่าอ้ายอยากจะยกกองทับไปตีเมืองเว้ จึ่งแต่งให้องค์กวักเหลาเปนแม่ทับ ยกกองทับมาตีเมืองเว้ด้วย แลกองทับอ้ายอยากตีด้านหนึ่งทับองค์กวักเหลาตีด้านหนึ่ง. ฝ่ายองค์เทิงกวาง องค์หวักพอ จึ่ง แต่งกองทับออกไปต่อรบครั้งหนึ่งก็แตกถอยเข้าเมือง องค์เทิงกวาง องค์กวักพอเหนจะต่อสู้เหลือกำลังก็ทิ้งเมืองเสีย. ภาองเชียงชุนหนึ่ง องค์ยาบาหนึ่ง องค์เชียงสือหนึ่ง องค์หมันหนึ่ง หนีลงเรือแล่นมาทางท้องทเลมาอยู่ณเมืองแซ่ง่อน. แลกองทับอ้ายอยาก แลทับเมืองตังเกี๋ยก็ตีเมืองเว้ได้. อ้ายอยากจับองค์หวางตนบุตรองค์ดิกมูได้ มิได้ตั้งให้เปนเจ้าเมืองเว้ ภาเอาตัวไปไว้เมืองกุยเยิน. แลองค์กวักเหลาแม่ทับเมืองตั้งเกี๋ย จับองค์ทางได้ให้จำจองไว้ แล้วเก็บทรัพย์สิ่งสีน แลคุมเอาตัวองค์ทางเลิกทับกลับไปเมืองตั้งเกี๋ย. ๚ะ๏ ฝ่ายองค์หวางตนไปอยู่เมืองกุยเยิน คิดเกรงอ้ายอยากจะฆ่าเสีย จึ่งหนีลงเรือแล่นมาอยู่ณเมืองแซ่ง่อน. แลองค์เทิงกวางจึ่งคิดอ่านกับญาติแลขุนนางทั้งปวง จะยกองหวางตนขึ้นเปนเจ้า. จึ่งคิดจัดแจงกองทับจะยกไปตีอ้ายอยากณเมืองกุยเยิน ยังมิทันได้ยกทับไป. ฝ่ายอ้ายอยากรู้ข่าว ก็ยกกองทับรีบมาปล้นเมืองแซ่ง่อนแตก จับองค์เทิงกวาง องค์หวางตนได้ให้ประหารชีวิตรเสีย. แลองค์ยาบาองค์หมันหนีไปซุ่มซ่อนอยู่ในป่า. อ้ายอยากให้พลทหารไปติดตามจับตัวไดให้ประหารชีวิตรเสีย แต่องค์เชียงสือนั้นหนีได้ไปตั้งซ่องสุมผู้คนอยู่ณป่าตำบลหนึ่ง. แลองเชียงชุนนั้น หนีมาอาไศรยพระยาราชาเสรฐีญวนณเมืองพุทไธมาศ. อ้ายอยากยกกองทับมาตีเมืองพุทไธมาศ พระยาราชาเสรฐีญวน กับองค์เชียงชุนภาบุตรภรรยาสมัคพักพวกลงเรือหนี เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารณกรุงธนบุรี. ทรงพระกรุณาให้รับไว้ แล้วพระราชทานบ้านเรือนให้อาไศรยในพระนครฟากตวันออก ๚ะ๏ ฝ่ายองค์เชียงสือตั้งเกลี้ยกล่อมผู้คนได้เปนอันมากแล้ว ก็ยกเข้าตีอ้ายอยากคืนเอาเมืองแซ่ง่อนได้. อ้ายอยากถอยทับไปตั้งซ่องสุมรี้พลอยู่ณเมืองกุยเยิน แล้วเปลี่ยนชื่อๆ องคไก่เซิน อ้ายบายน้องกลางเปลี่ยนชื่อๆ องคดิงเวือง. อ้ายดามน้องผู้น้อยเปลี่ยนชื่อๆ องคลองเยือง ไปเปนเจ้าเมืองเว้. ๚ะ๏ ฝ่ายขุนนางทั้งปวงในเมืองแซ่ง่อน จึ่งยกองคเชียงสือขึ้นเปนเจ้าเมืองแซ่ง่อน ตั้งซ่องสุมไพร่พลจะทำสงครามกับองคไก่เซินสืบไป. ๚ะ๏ ฝายองค์เชียงชุนซึ่งเข้ามาอยู่ณกรุงธนบุรีนั้น มิได้มีจิตต์สวามีภักดิ์ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดชุบเลี้ยง คิดการจะหนีกลับคืนไปเมืองญวน. ๚ะ๏ ครั้นสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบ จึ่งให้จับตัวองค์เชียงชุนกับทั้งบุตรภรรยาสมักพักพวก ประหารชีวิตรเสียทั้งสิ้นด้วยกัน. ๚ะ๏ ในเดือนสิบสองนั้น เจ้าพระยาพิไชยราชา ผู้เปนเจ้าพระยาสวรรคโลกย ลงมารับราชการอยู่ณกรุงฯแต่งผู้เถ้าผู้แก่เข้าไปขอน้องสาวเจ้าจอมฉิมพระสนมเอก เปนบุตรีเจ้านครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่ในพระราชวังจะมาเลี้ยงเปนภรรยา. ครั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบ ก็ทรงพระพิโรธดำรัศว่า มันทำบังอาจจะมาเปนคู่เขยน้อยเขยใหญ่กับกูผู้เปนพระเจ้าแผ่นดิน. จึ่งดำรัศให้เอาตัวเจ้าพระยาพิไชยราชาไปประหารชีวิตรเสีย ตัดศีศะมาเสียบประจานไว้ที่ริมประตูข้างฉนวนลงพระตำหนักแพ อย่าให้ใครเอาเยี่ยงอย่างกันสืบไปภายน่า. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันจันทรเดือนอ้ายขึ้นแปดค่ำ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระราชสัทธา เสดจไปทรงเจริญพระกรรมฐาน ณพระอุโบสถวัดบางยี่เรือใต้ แล้วทรงพระราชอุทิศถวายเรือโขมดยาปิดทองทึบลำหนึ่ง หลังคาบัลลังก์ดาดศรีสักลาดเหลือง คนพายสิบคน พระราชทานเงินตราคนละกึ่งตำลึง แลผ้าขาวให้บวชเปนประขาวไว้สำรับพระอาราม. แล้วทรงถวายหีบปิดทองคู่หนึ่ง สำรับใส่พระไตรยปิฎก แลวิธีอุปเทศพระกรรมฐาน. แล้วทรงตั้งพระสัตยาธิฐานว่า เดชะผลทานบูชานี้ขอจงยังพระลักขณะปีติทั้งห้า ให้บังเกิดแก่ข้าพเจ้าแล้วอย่าได้อันตรธาน. แลพระธรรมซึ่งยังมิได้บังเกิดนั้น ขอจงบังเกิดภิญโญภาวยิ่งๆขึ้นไป. อนึ่งขอจงเปนปัจจัยแก่พระปรมาภิเสกสมโพธิญาณในอนาคตกาลภายภาคน่า แล้วให้เชิญหีบพระไตรยปิฎกลงตั้งในบัลลังก์เรือศรีนั้น ให้เกนเรือข้าทูลลอองธุลีพระบาทฝ่ายทหารพลเรือน แลเรือราษฎรแห่เรือหีบพระไตรยปิฎกขึ้นไปตามแม่น้ำถึงบางยี่ขัน แล้วแห่กลับคืนเข้าไปณวัดบางยี่เรือ. เชิญหีบพระไตรยปิฎกขึ้นประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถดังเก่า แล้วให้พระราชาคณะ แลเสนาบดีกำกับกันเอาเงินตราสิบชั่ง ไปเที่ยวแจกคนโซทั่วทั้งในกรุง นอกกรุงธนบุรีทั้งสิ้น ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันจันทรเดือนอ้ายขึ้นสิบห้าค่ำ ทรงพระกรุณาให้เชิญพระโกษฐพระอัษฐิ สมเด็จพระพันปีหลวงกรมพระเทพามาตยลงเรือบัลลังก์ มีเรือแห่เปนขบวนไปแต่พระตำหนักแพ แห่เข้าไปวัดบางยี่เรือไต้. แล้วเชิญพระโกษฐขึ้นสู่พระเมรุ นิมนตพระสงฆ์สดัปกรณพันหนึ่ง ทรงถวายไทยทานเปนอักมาก. ครบสามวันแล้วเชิญพระโกษฐลงเรือแห่กลับเข้าพระราชวัง. แลสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงสมาทานอุโบสถศีล แล้วทรงเจริญพระกรรมฐานภาวนา เสดจประทับแรมอยู่ณพระตำหนักวัดบางยี่เรือใต้ห้าเวน ให้เกนข้าราชการปลูกกุฎีร้อยยี่สิบหลัง. แล้วให้บุรณปฏิสังขรณ์พระพุทธปฏิมากร แลพระอุโบสถเจดียวิหารให้บริบูรณสิ้นทั้งพระอาราม. อนึ่งที่คูรอบพระอุโบสถนั้น ให้ชำระแผ้วถางขุดให้กว้างออกไปกว่าเก่า ให้ปลูกบัวหลวงทั้งรอบ. แล้วให้นิมนตพระสงฆ์ฝ่ายวิปัศนาธุระมาอยู่ณกุฏีซึ่งปลูกถวาย. แล้วเกนข้าทูลลอองธุลีพระบาทให้ปฏิบัติทุกๆพระองค แล้วเสดจไปถวายพระราชโอวาทแก่พระสงฆโดยอธิบาย ซึ่งพระองคทรงบำเพญได้ให้ต้องด้วยวิธีพระสมถะกรรมฐานภาวนา จะได้บอกกล่าวแก่กุลบุตรเจริญในปฏิบัติสาสนาสืบไป. แล้วทรงถาปนาพระอุโบสถ แลการบเรียญติ์เสนาศนกุฏิณวัดหงษสำเร็จบริบูรณ ๚ะ๏ ครั้นณวันศุกรเดือนสามแรมแปดค่ำกลางคืนเพลาสองยาม เสือเข้ากินเขมรซึ่งเฝ้าสวนหลังวัดบางยี่เรือ จึ่งมีพระราชดำรัศให้พระเจ้าลูกเธอกรมขุนอินทรพิทักษ แลเจ้าพระยาจักรี พระยายมราช กับข้าหลวงทั้งปวงออกไปล้อมจับเสือ ให้วางยาเบื่อเสือกินเมาลงนอนอยู่ จึ่งแต่งคนเข้าไปแทงเสือนั้นตาย. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันจันทรเดือนสามแรมสิบเบ็ดค่ำ เพลาบ่ายสามโมงเสศ บังเกิดลมพยุหใหญ่ฝนห่าใหญ่ตก ลูกเห็บตกลงเปนอันมาก โรงปืนแลฉนวนน้ำประจำท่าหักพังทำลายลง. แลเย่าเรือนในพระนครหักทำลายประมาณร้อยหลัง. ๚ะ๏ ครั้นณวันศุกรเดือนสี่ขึ้นค่ำหนึ่ง ทรงพระกรุณาให้หล่อปืนพระพิรุณณสวนมังคุด. ในเดือนนั้นกรมการเมืองนครราชสีมาบอกลงมาว่า พระยานางรองคบคิดกันกับเจ้าโอ เจ้าอิน แลอุปฮาดเมืองจำปาศักดิ์ กระทำการกำเริบเปนขบถ. จึ่งมีพระราชดำรัศให้เจ้าพระยาจักรีเปนแม่ทับ ยกกองทับขึ้นไปณเมืองนครราชสีมา. แล้วให้กองน่ายกไปจับตัวพระยานางรองมาได้ พิจารณาได้ความเปนสัจว่าคิดการขบถ จึ่งให้ประหารชีวิตรเสีย แต่เจ้าโอเจ้าอินกับอุปฮาดนั้นยังตั้งซ่องสุมผู้คนอยู่ณเมืองจำปาศักดิ์ ไพร่พลมีมากทั้งลาวทั้งข่าประมาณหมื่นเสศ. จึ่งบอกข้อราชการลงมากราบทูล. ครั้นได้ทรงทราบจึ่งดำรัศให้เจ้าพระยาสุรสีห คุมทับหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวง ยกขึ้นไปบันจบกองทับเจ้าพระยาจักรีแม่ทับใหญ่ณเมืองนครราชสีมา. เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห ก็ยกกองทับออกไปตีเมืองจำปาศักดิ์ เมืองโขง เมืองอัตปือได้ทั้งสามเมือง. จับตัวเจ้าโอเจ้าอินแลอุปฮาดได้ให้ประหารชีวิตรเสีย. แล้วตั้งเกลี้ยกล่อมได้เขมรป่าดงเมืองตลุง เมืองสุรินท เมืองสังข เมืองขุขัน มาเข้าสวามีภักดิ์ทั้งสี่เมือง ไพร่พลมากประมาณสามหมื่น. จึ่งบอกข้อราชการลงมากราบทูล. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระโสมนัศ ดำรัศให้มีตราหากองทับกลับยังกรุงธนบุรี. เจ้าพระยาทั้งสองก็เลิกกองทับกลับมาถึงพระนคร. ๚ะ๏ ในเดือนหกปีรกานพศก ศักราช ๑๑๓๙ ปี. จึ่งทรงพระกรุณาโปรดปูนบำเหน็จเจ้าพระยาจักรี ตั้งให้เปนสมเดจเจ้าพระยามหากระษัตริยศึก พิฦกมหิมาทุกนัคราระอาเดชนเรศวรราชสุริยวงษ์องอัคบาทมุลิกากรบวรรัตนบรินายก ณกรุงเทพพระมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุทธยา. แล้วพระราชทานพานทองเครื่องยศเหมือนอย่างเจ้าต่างกรม ใหญ่ยิ่งกว่าท้าวพระยาข้าทูลลอองธุลีพระบาททั้งปวง. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันพฤศบดีเดือนเจ็ดแรมแปดค่ำปีรกานพศก สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวเข้าทรงนั่งสมาธิ ให้โต๊ะแขกดูประมาณห้าบาท. ออกจากที่ทรงนั่งแล้ว ตรัสถามโต๊ะแขกว่า เหนเปนประการใด. โต๊ะแขกกราบทุลว่า ซึ่งทรงนั่งสมาธิอย่างนี้ อาจาริยซึ่งได้เล่าเรียนมาแต่ก่อน จะได้ภบเหนเสมอพระองค์ดังนี้หามิได้. ๚ะ๏ ถึงณวันพุทธเดือนเจ็ดแรมสิบสี่ค่ำเพลาเช้า จึ่งสมเดจพระสังฆราช พระราชาคณะทั้งปวง เข้ามาถวายพระบาฬีวิธี ซึ่งเข้านั่งภาวนาสมาธิกรรมฐาน. แลโต๊ะริดโต๊ะทองโต๊ะนกแขกสามคน ก็เอาหนังสือแขกซึ่งนั่งรักษาสมาธิจิตรเข้ามาอ่านถวาย. ๚ะ๏ ในวันนั้นมีหนังสือบอกเมืองนครศรีธรรมราช ส่งเข้ามากราบทูลว่า เมืองตานีแขงเมืองอยู่มิได้อ่อนน้อม ถึงปีน่าเจ้านครจะขอยกกองทับออกไปตี. จึ่งมีพระราชดำรัศว่า มีราชการศึกพม่ายกกองทับมาตีเมืองเชียงใหม่ พระยาเชียงใหม่เลิกครัวอพยพลงมาตั้งอยู่ณเมืองสวรรคโลกย ยังมิได้ทันจัดกองทับขึ้นไปตีทับพม่าณเมืองเชียงใหม่ พม่าเลิกทับกลับไปเองโดยเร็ว. ด้วยฦๅข่าวมาว่ามีศึกกระแซยกมาตีเมืองอังวะ ทั้งทับห้อก็ยกมาด้วย จะตีเปนศึกขนาบ. เราคิดจะให้ราชทูตออกไปแจ้งราชกิจแก่พระเจ้ากรุงปกิ่งว่า จะยกกองทับขึ้นไปช่วยตีเมืองอังวะ ด้วยราชการสงครามยังติดพันกันมากอยู่ ให้เจ้านครรอทับไว้อย่าเพ่ออยกไปตีเมืองแขกก่อนเลย. ต่อเมื่อใดราชการข้างกรุงเทพมหานครสงบแล้ว จึ่งจะให้มีตรากำหนดการออกไปให้กองทับเมืองนครศรีธรรมราช ยกออกไปตีเมืองตานีเมื่อนั้น. ๚ะ๏ แล้วตรัสประภาษถึงเรื่องพระกรรมฐานกับพระราชาคณะว่า พระนาภีของพระองค์นั้นแขงไป กระแหมบมิเข้า ผิดกับสามัญสัตวโลกยทั้งปวงเปนอัษจรรย. แล้วดำรัศถามพระราชาคณะด้วยพระรูปแลพระลักขณว่า ทรงส่องพระฉายดูเหนพระกายเปนบริมณฑลฉนี้ จะต้องด้วยพระบาฬีประการใดบ้าง. พระราชาคณะถวายพระพรว่า พระบาฬีพระพุทธลักขณะนั้นว่า สมเดจพระสัพพัญูมีพระกายเปนบริมณฑล ดุจบริมณฑลแห่งต้นไทร มิได้สูงต่ำยาวสั้น. แลพระกายซึ่งสูงนั้นวัดเท่ากับวาของพระองค์. อนึ่งมีมังษที่หนานั้นเจ็ดแห่ง คือหลังพระหัถซ้ายขวา หลังพระบาทซ้ายขวา พระอังษาทั้งสองซ้ายขวา กับลำพระสอเปนเจ็ดแห่งด้วยกัน. จึ่งทรงพระกรุณาสั่งให้ช่างหล่อๆพระพุทธรูป ให้ต้องด้วยพระพุทธลักขณจงพร้อมบริบูรณทุกประการ. ให้สมเดจพระสังฆราช เอาพระบาฬีพระพุทธลักขณออกบรรยายให้ช่างทำ. สมเดจพระสังฆราชจึ่งแปลพระบาฬีพระพุทธลักขณถวายว่า พระทวดึงษมหาบุรุษลักษณใหญ่นั้น สามสิบสองประการ คือพระลักขณอย่างนั้นๆ. แลพระอสิตยานุพยัญชนพระลักขณน้อยนั้นแปดสิบประการ คืออย่างนั้นๆ. จึ่งส่องพระฉายทอดพระเนตรดู พระลักขณในพระองค์สอบกับพระบาฬี เหนต้องด้วยพระพุทธลักขณ คือพระกายสูงเท่ากับวาของพระองค์ประการหนึ่ง. มีเส้นพระอุณาโลม อยู่ที่หว่างพระขนงประการหนึ่ง มีพระอุทรเวียนเปนทักษิณวัฎประการหนึ่ง. มีพื้นพระปฤษฎางคเสมอประการหนึ่ง. มีพระมังษที่น่าพร้อมทั้งเจ็ดแห่งประการหนึ่ง. มีพระปรางอิ่มมิได้บกพร่องประการหนึ่ง. แล้วให้สมเดจพระสังฆราช อ่านพระบาลีสอบกับพระลักขณในพระองคไปทุกๆลักขณ ต้องพระพุทธลักขณสิบสองประการ สิ่งที่ไม่ต้องนั้นก็ตรัสบอกว่าไม่ต้อง. ๚ะ๏ ในเพลานั้นพระมหาอำมาตย ทูลเบิกพระยาวิเชียรปราการเจ้าเมืองเชียงใหม่ลงมาเฝ้า. จึ่งดำรัศว่าพม่ามันเลิกทับกลับไปเมืองๆมันมีศึกอยู่แล้ว พระยาวิเชียรปราการจะภาครอบครัวกลับไปเมืองเชียงใหม่ก็ไปเถิด ๚ะ๏ แล้วทรงพระกรุณาให้หลวงวิจิตรนฤมล ปั้นประพุทธรูปให้ต้องด้วยพระพุทธลักขณ พระสมาธิองค์หนึ่ง ยืนองค์หนึ่ง เปนสองพระองค์ จะให้ช่างหล่อด้วยทองสำริด. แล้วดำรัศนิมนตพระเทพกระวี ให้ออกไปกรุงกัมพูชาธิบดี. ให้พระพรหมมุนีออกไปเมืองนครศรีธรรมราช ค้นพระคำภีรพระวิสุทธิมัคนำเข้ามาเปนฉบับสร้างไว้ในกรุงธนบุรี. ๚ะ๏ อนึ่งพระอาลักษณนั้นกราบทูลถวายบังคมลาออกบวช ครั้นบวชแล้วทรงตั้งให้เปนพระรัตนมุนีที่วิเสศ ตามนามเดิมชื่อแก้ว. อนึ่งดำรัศสั่งปลัดวังให้หาชาวตลาดเรือตลาดบกเข้ามาทรงพระกรุณาตรัสทำนายว่า หญิงคนนั้นกับสามีคนนั้น จะอยู่ด้วยกันยืน ผัวเมียคู่นั้นจะอยู่ด้วยกันไม่ยืด หญิงคนนั้นราคกล้า ยินดีในกามคุณมาก. หญิงคนนั้นราคเบาบางรักแต่ทรัพย์สีน. หญิงคนนั้นใจบาป. หญิงคนนั้นใจบุญภอใจทำการกุศล ทรงทายชาวตลาดทุกๆคน. ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๑๔๐ ปีจอสัมฤทธิศก จึ่งพระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษสงคราม ซึ่งออกไปรักษาเมืองเพชรบุรี กับพระยาทุกราษฎ์กรมการ แลพระกุย พระปรานบอกส่งคน บ่าวข้าราชการซึ่งลามุลนายไปหากิน แลหนีออกไปทั้งครอบครัวก็มีเปนอันมาก ส่งเข้ามายังกรุงธนบุรี. ทรงพระกรุณาให้ส่งให้แก่เจ้าหมู่ มุลนายทั้งปวงตามหมู่ตามกรม. ๚ะ๏ ในปีจอนั้นฝ่ายข้างกรุงศรีสัตนาคนหุต พระวอผู้หนึ่งเปนอุปฮาด มีความพิโรธขัดเคืองกันกับพระเจ้าล้านช้าง จึ่งภาสมักพักพวกออกจากเมือง มาตั้งอยู่ณหนองบัวลำภู ซ่องสุมผู้คนได้มากจึ่งสร้างขึ้นเปนเมืองตั้งค่ายเสาไม้แก่น. ให้ชื่อเมืองจัมปานครแขวางกาบแก้วบัวบาน. แล้วแขงเมืองต่อพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต. พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตแต่งกองทับให้ยกมาตี. พระวอก็ต่อรบตีทับล้านช้างแตกกลับไป. แล้วพระวอแต่งให้ขุนนางนำเครื่องราชบรรณาการขึ้นไปตีเมืองอังวะ ขอกองทับพม่าลงมาตีกรุงศรีสัตนาคนหุต. พระเจ้าอังวะให้แมงละแงเปนแม่ทับถือพลสี่พัน ยกลงมาจะตีกรุงศรีสัตนาคนหุต. ทับพม่ามาถึงกลางทาง พระเจ้าล้านช้างได้ทราบข่าวศึก จึ่งแต่งท้าวเพลี้ยให้นำเครื่องบรรณาการไปให้แก่แม่ทับพม่า ขอขึ้นแก่กรุงอังวะ ให้กองทับยกไปตีพระวอณเมืองหนองบัวลำภู ซึ่งเปนขบถแก่กรุงศรีสัตนาคนหุต. แล้วนำทับพม่ามาพักพลณเมืองล้านช้าง พระเจ้าล้านช้างแต่งต้อนรับแม่ทับพม่า แล้วจัดแจงกองทับเข้าบันจบทับพม่า. แมงละแงแม่ทับก็ยกทับพม่าทับลาวไปตีเมืองหนองบัวลำภู. พระวอต่อสู้เหลือกำลังก็ทิ้งเมืองเสีย ภาครอบครัวอพยพแตกหนี ไปตั้งอยู่ตำบลดอนมดแดง เหนือเมืองจำปาศักดิ์. แล้วแต่งท้าวเพลี้ยถือศุภอักษร แลเครื่องบรรณาการมาถึงพระยานครราชสีมา ขอเปนเมืองขึ้นข้าขอบขันธสีมากรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา เอาพระเดชานุภาพสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวเปนที่พึ่งพำนักสืบไป. พระยานครราชสีมาก็บอกส่งทูตแลศุภอักษร เครื่องบรรณาการลงมายังกรุงธนบูรี สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็พระราชทานสิ่งของตอบแทนไปแก่พระวอ แล้วโปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ณดอนมดแดงนั้น. ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับพม่าตีได้เมืองหนองบัวลำภูแล้วก็เลิกทับกลับไปเมืองล้านช้าง. พระเจ้าล้านช้างก็ให้บำเหน็จรางวัลแก่แมงละแงแม่ทับ กับทั้งเครื่องราชบรรณาการส่งขึ้นไปถวายพระเจ้าอังวะ. แล้วทูลถวายเครื่องราชบรรณา ซึ่งพระเจ้าล้านช้างส่งมาถวาย แลขอเปนเมืองขึ้นเขตรขันธสีมากรุงรัตนบุระอังวะนั้น. ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตได้ทราบว่า พระวอยกลงไปตั้งเมืองอยู่ณดอนมดแดง จึ่งแต่งให้พระยาสุโภเปนนายทับยกพลทหารลงมาตีเมืองดอนมดแดง จับตัวพระวอได้ ให้ประหารชีวิตรเสีย แล้วก็เลิกกองทับกลับไปเมืองล้านช้าง. ๚ะ๏ ฝ่ายท้าวก่ำบุตรพระวอแล้วท้าวเพลี้ยทั้งปวง จึ่งบอกหนังสือมาถึงพระยานครราชสีมาว่า กองทับเมืองล้านช้าง ยกมาตีเมืองดอนมดแดงแตกฆ่าพระวอเสีย. ข้าพเจ้าทั้งปวงมีกำลังน้อยสู้รบตอบแทนมิได้ จะขอทับกรุงเทพมหานครยกไปตีเมืองล้านช้างแก้แค้น. พระยานครราชสีมาก็บอกลงมายังกรุงธนบุรี กราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทราบ. ๚ะ๏ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระพิโรธดำรัสว่า พระวอเปนข้าขอบขันสีมาเมืองเรา แลพระยาล้านช้างมิได้ยำเกรงทำบังอาจ มาตีบ้านเมือง แลฆ่าพระวอเสียฉนี้. ควรเราจะยกกองทับไปตีเมืองล้านช้าง ให้ยับเยินตอบแทนแก้แค้นให้จงได้. ๚ะ๏ ครั้นถึงณเดือนอ้ายปีจอสัมฤทธิศก จึ่งมีพระราชดำรัศให้สมเด็จเจ้าพระยามหากระษัตริย์ศึกเปนแม่ทับ กับเจ้าพระยาสุรสีห แลท้าวพระยามุขมนตรีผู้ใหญ่ผู้น้อย ทั้งในกรุงแลหัวเมืองเปนอันมาก พลทหารสองหมื่น สรัพด้วยช้างม้าเครื่องสรรพาวุธพร้อมเสรจ ให้ยกกองทับไปตีกรุงศรีสัตนาคนหุต คือเมืองล้านช้าง. ๚ะ๏ ครั้นณวันได้มหามหุติพิไชยฤกษ จึ่งสมเดจเจ้าพระยามหากระษัตริย์ศึก แลท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวง ก็กราบถวายบังคมลา ยกกองทับขึ้นไปชุมพลอยู่ณเมืองนครราชสีมา สมเด็จเจ้าพระยามหากระษัตริย์ศึก จึ่งให้เจ้าพระยาสุรสีหผู้น้อง แยกทับลงไปณเมืองกัมภูชาธิบดี. ให้เกนพลเมืองเขมรหมื่นหนึ่ง ต่อเรือรบเรือไล่ให้จงมาก. แล้วให้ขุดคลองอ้อมเขาลี่ผี ยกทับเรือขึ้นไปตามลำแม่น้ำของ ไปบันจบทับบกพร้อมกันณะเมืองล้านช้าง. เจ้าพระยาสุรสีหก็ยกกองทับแยกลงไปณเมืองกัมพูชาเกนพลเขมรต่อเรือรบ ตามบัญชาสมเดจเจ้าพระยามหากระษัตริยศึกบังคับนั้น. ๚ะ๏ ส่วนสมเดจเจ้าพระยามหากระษัตริยศึกแม่ทับใหญ่ ก็ยกกองทับบกจากเมืองนครราชสีมา เดินทับไปถึงแดนเมืองล้านช้าง. ให้กองน่ายกล่วงไปก่อน ตีหัวเมืองรายทางได้เปนหลายตำบล ทับใหญ่ก็ยกติดตามไปภายหลัง. ๚ะ๏ ฝ่ายเจ้าพระยาสุรสีหครั้นต่อเรือรบเสร็จแล้ว ก็เกนพลเขมรแลลาวทั้งปวงขุดคลองอ้อมเขาลี่ผี ซึ่งตั้งขวางแม่น้ำอยู่ใต้เมืองโขงนั้น. แล้วยกทับเรือขึ้นมาทางคลองขุด มาณเมืองจำปาศักดิ์. แล้วยกขึ้นมาตีเมืองนครพนมแลเมืองหนองคาย ซึ่งขึ้นแก่เมืองล้านช้างได้ทั้งสองตำบล. ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตได้ทราบว่า กองทับไทยมาตีเมือง จึ่งแต่งแสนท้าวพระยาลาวทั้งปวงให้ยกกองทับมาต่อรบต้านทานเปนหลายทับหลายตำบล ได้รบกันเปนสามารถ. พลทหารลาวสู้รบต้านทานมิได้ ก็แตกฉานพ่ายหนีไปเปนหลายครั้งหลายแห่ง. ๚ะ๏ ขณะนั้นพระเจ้าร่มขาวเจ้าเมืองหลวงพระบาง เปนอริอยู่กับเจ้าเมืองล้านช้าง. ด้วยเมืองล้านช้างไปเอากองทับพม่ามาตีเมืองหลวงพระบางแต่ก่อนนั้น. ครั้นได้ทราบว่ากองทับไทยมาตีเมืองล้านช้าง ก็มีความยินดีนัก. จึ่งแต่งขุนนางให้ยกกองทับลงมาช่วยตีเมืองล้านช้าง แล้วขอเปนเมืองขึ้นพระมหานครศรีอยุทธยา. สมเดจเจ้าพระยามหากระษัตริยศึกจึ่งให้กองพระยาเพชรบูร กำกับทับเมืองหลวงพระบาง เข้าตีเมืองด้านข้างเหนือเมือง. แล้วยกทับใหญ่ไปตีเมืองพะโค แลเวียงคุก ตั้งค่ายล้อมไว้ทั้งสองเมือง. เจ้าเมืองขับพลทหารต่อรบเปนสามารถ จะเข้าหักเอาเมืองยังมิได้. ๚ะ๏ ฝ่ายเจ้าพระยาสุรสีหเข้าตั้งอยู่ณเมืองหนองคาย ให้ตัดศีศะลาวชาวเมืองเปนอันมาก เอาศีศะลงใส่ในเรือ แล้วให้หญิงลาวคอนเรือขึ้นไป ให้ร้องขายศีศะลาวที่น่าเมืองพะโค. ชาวเมืองเหนก็มีใจทดท้อย่ออย่อนลง. ทับใหญ่ก็เข้าหักเอาเมืองพะโคแลเวียงคุกได้ทั้งสองเมือง. สมเดจเจ้าพระยามหากระษัตริยศึกจึ่งให้ยกทับใหญ่มาตีเมืองพานพร้าว ซึ่งตั้งอยู่ฟากฝั่งตวันตกทรงน่าเมืองล้านช้างข้าม. ชาวเมืองต่อรบเปนสามารถ พลทหารไทยเข้าปีนปล้นเอาเมืองได้ ฆ่าลาวล้มตายเปนอันมาก. แล้วให้ทับเรือรับกองทับทั้งปวง ข้ามไปฟากตวันออกพร้อมกันเข้าตั้งค่ายล้อมเมืองล้านช้าง. พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ก็เกนพลทหารขึ้นประจำรักษาน่าที่เชิงเทิลรอบเมือง ป้องกันเมืองเปนสามารถ. แล้วให้เจ้านันทเสนราชบุตร ขี่ช้างพลายคำเพียงอกสูงหกศอกสามนิ้ว คุมพลทหารยกออกจากเมือง มาตีทับไทยซึ่งตั้งค่ายล้อมอยู่ด้านข้างท้ายเมืองนั้น. พลทหารไทยยกออกตีทับเจ้านันทเสนแตกพ่ายกลับเข้าเมือง พลลาวล้มตายเปนอันมาก. แต่รบกันอยู่ถึงสี่เดือนเสศ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตเหนเหลือกำลัง จะต่อรบต้านทานทับไทยมิได้ก็ทิ้งเมืองเสีย ภาเจ้าอินท เจ้าพรมราชบุตร แลข้าหลวงคนสนิทลอบลงเรือหนีไปณเมืองคำเกิด อันเปนเมืองขึ้นแก่เมืองล้านช้าง. กองทับไทยก็เข้าเมืองได้ จับได้ตัวเจ้าอุปฮาด เจ้านันทเสน แลราชบุตรีวงษานุวงษชแม่สนมกำนัล แลขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวง กับทั้งทรัพย์สิ่งสีนแลเครื่องสรรพสาตราวุธปืนใหญ่น้อยเปนอันมาก. สมเดจเจ้าพระยามหากระษัตริยศึกให้กวาดขนข้ามมาไว้ณเมืองพานพร้าวฟากตวันตก กับทั้งครอบครัวลาวชาวเมืองทั้งปวง. แล้วให้อัญเชิญพระพุทธปติมากรแก้วมรกฏ แลพระบาง ซึ่งสถิตยอยู่ณพระวิหารในวังพระเจ้าล้านช้างนั้น อาราธนาลงเรือข้ามฟากมาประดิษฐานไว้ณเมืองพานพร้าวด้วย. แล้วให้สร้างพระอารามขึ้นใหม่ณเมืองพานพร้าวอารามหนึ่ง แลแต่งให้ขุนนางไทยลาว ไปเกลี้ยกล่อมหัวเมืองลาวทั้งปวงฝ่ายตวันออกได้สิ้น. แล้วแต่งหนังสือบอกให้ขุนหมื่นมีชื่อถือลงมายังกรุงธนบุรี กราบทูลข้อราชการซึ่งตีกรุงศรีสัตนาคนหุตได้สำเร็จแล้ว ได้ทั้งพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกฏ แต่พระเจ้าล้านช้างนั้นหนีไปไม่ได้ตัว. ๚ะ๏ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบในหนังสือบอก ก็ทรงพระโสมนัศ ดำรัศให้มีตราหากองทับกลับยังพระมหานคร. สมเดจเจ้าพระยามหากระษัตริยศึกได้ทราบในท้องตราแล้ว จึ่งจัดแจงบ้านเมืองตั้งให้พระยาสุโภ ขุนนางเมืองล้านช้างให้อยู่รั้งเมือง แล้วก็กวาดครอบครัวลาวชาวเมือง กับทั้งพระราชบุตรธิดาวงษานุวงษ แลขุนนางท้าวเพลี้ยทั้งปวง กับทรัพย์สิ่งของเครื่องสาตราวุธ แล้วช้างม้าเปนอันมาก. แลเชิญพระพุทธปฏิมากร พระแก้ว พระบางขึ้นรถ เลิกทับกลับยังกรุงธนบุรีโดยพระราชกำหนด. แลกองทับมาถึงเมืองสระบุรี ในเดือนยี่ปีกุนเอกศกลุศักราช ๑๑๔๑ ปี. จึ่งบอกลงมากราบทูลพระกรุณาให้ทราบ. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวจึ่งมีพระราชดำรัศให้นิมนต์สมเดจพระสังฆราชพระราชาคณะทั้งปวงให้ขึ้นไปรับพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกฎถึงเมืองสรบุรี. แล้วให้แต่งเรือกิ่งเรือไชยขึ้นไปรับพระพุทธรูปด้วย. ครั้นพระมาถึงตำบลบางธรณี จึ่งเสดจพระราชดำเนินขึ้นไปโดยทางชลมารค พร้อมด้วยขบวรนาวาพยุหแห่ลงมากราบเท่าถึงพระนคร. แล้วให้ปลูกโรงรับเสดจพระพุทธปฏิมากรพระแก้ว พระบาง อัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ณโรงริมพระอุโบสถวัดแจ้งภายในพระราชวัง ตั้งเครื่องสักการบูชาอันมโหฬาราธิการโดยยิ่ง. แล้วมีงานมโหรสพถวายพระพุทธสมโพชครบสามวัน แล้วพระราชทานบำเหน็จรางวัล แก่สมเดจเจ้าพระยามหากระษัตริยศึก แล้วท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวงโดยสมควรแก่ความชอบในราชการสงครามนั้น. ๚ะ๏ ในปีกุนเอกศกนั้น มหาดาบวชอยู่ณวัดพระรามกรุงเก่า ประพฤติการทุจริตมิได้ตั้งอยู่ในศีลสังวรวินัย ประกอบการโกหกแจกน้ำมนต์รดประชาชนทั้งปวง ฬ่อลวงให้เชื่อถือว่า เปนผู้มีบุญ ผู้คนเข้าด้วยเปนอันมาก. แล้วคิดกำเริบเปนขบถต่อแผ่นดิน ตั้งแต่งชาวชนบถเปนขุนนางทุกตำแน่ง ยังขาดอยู่แต่ที่พระยายมราช. จึ่งผู้รักษากรุงกรมการบอกลงมากราบทูลพระกรุณา. ๚ะ๏ ครั้นได้ทรงทราบจึ่งโปรดให้ข้าหลวงขึ้นไปจับตัวมหาดา กับทั้งสมัคพัคพวกทั้งสิ้นเอาลงมายังกรุงธนบุรีให้มหาดาผลัดผ้าขาวศึก แล้วลงพระราชอาญาสิ้นทั้งพัคพวกแล้วจำครบไว้. ครั้นได้ทรงทราบว่าอ้ายดาผู้คิดมิชอบตั้งแต่งพัคพวกเปนขุนนางครบตามตำแหน่ง ยังขาดอยู่แต่ที่พระยายมราช. ขณะนั้นพระยายมราชแขกเปนโทษต้องรับพระราชอาญาจำอยู่ในเรือนจำ. จึ่งดำรัศว่าที่พระยายมราชของมันยังมิได้ตั้งขาดอยู่ให้เอาพระยายมราชของเราไปใส่ให้มันจงครบตำแหน่งขุนนาง. แล้วให้เอาพระยายมราชแลอ้ายดาขบถ กับทั้งสมักพักพวกทั้งปวง ซึ่งตั้งแต่งเปนขุนนางนั้นไปประหารชีวิตรเสียที่น่าป้อมวิไชยประสิทธิ์ ตัดศีศะเสียบไว้ทั้งสิ้น. ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๑๔๒ ปีขานโทศก ทรงพระกรุณาให้พระยาคำแหงสงครามเจ้าเมืองนครราชสีมา ลงมารับราชการอยู่ณกรุงธนบุรี จึ่งโปรดให้หลวงนายฤทธิ์ผู้หลานสมเดจเจ้าพระยามหากระษัตริยศึก เปนพระยาสุริยอไภยขึ้นไปครองเมืองนครราชสีมาแทน. ให้นายจ่าเรศผู้น้อง เปนพระอไภยสุรียาปลัดเมือง. แล้วให้นายพลพันน้องผู้น้อย เปนหลวงนายฤทธิ์ รับราชการสืบไป. ๚ะ๏ ครั้นณวันอังคารเดือนห้าขึ้นสิบสี่ค่ำ มีผู้เปนโจทยมาฟ้องหลายคน ยกข้ออธิกรณพระพิมลธรรมวัดโพธาราม ด้วยข้ออทินนาทานปาราชิก. ยกอธิกรณพระธรรมโคดม พระอไภยสารท วัดหงษ แลพระพรหมมุนีวัดบางยี่เรือ ด้วยข้อเมถุนปราชิกกับสิษโดยทางเว็จมัค. พระยาพระเสดจกราบทูลพระกรุณา ดำรัศสั่งให้ชำระคดีพระราชาคณะทั้งสี่องค์ได้ความเปนสัจ จึ่งให้ศึกเสีย. แต่พระธรรมโคดม แลพระอไภยสารทนั้น กลับบวชเข้าเปนเถร. แลนายอินพิมลธรรม โปรดตั้งให้เปนหลวงธรรมรักษา เจ้ากรมสังฆการีขวา นายอินพรหมมุนีโปรดตั้งให้เปนหลวงธรรมาธิบดี เจ้ากรมสังฆการีซ้าย. พระราชทานภรรยาหลวงราชมนตรีผู้ถึงแก่กรรม ให้เปนภรรยาทั้งสองคน. แล้วโปรดให้พระธรรมเจดียวัดนาคเลื่อนเปนพระพิมลธรรมมาอยู่ครองวัดโพธารามสืบไป. แล้วโปรดให้พระญาณสมโพธิวัดสลัก เลื่อนเปนพระธรรมเจดีย. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันพฤหัศบดีเดือนห้าแรมแปดค่ำเพลาบ่าย บังเกิดธุมชาถในอากาศ แลมหาวาตพยุหใหญ่พัดมาแต่บุรพทิศ. ๚ะ๏ ครั้นณวันเสาร์เดือนเจ็ดขึ้นสิบห้าค่ำ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องใหญ่. ครั้นเสรจแล้วทรงส่องพระฉายทอดพระเนตรเหนพระเกษาเหนือพระกรรณเบื้องซ้ายยังเหลืออยู่เส้นหนึ่ง ก็ทรงพระพิโรธเจ้าพนักงานเชาพระมาลาภูษาซึ่งทรงเครื่องนั้นว่า แกล้งทำประจานพระองค์เล่น. จึ่งดำรัศถามพระเจ้าลูกเธอ กรมขุนอินทรพิทักษ์ว่า โทษคนเหล่านี้จะเปนประการใด. กรมขุนอินทรพิทักษกราบทูลว่า เหนจะไม่ทันพิจารณา พระเกศาจึ่งหลงเหลืออยู่เส้นหนึ่ง ซึ่งจะแกล้งทำประจานพระองค์เล่นนั้น เหนจะไม่เปนๆแท้. สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธพระเจ้าลูกเธอเปนกำลัง ดำรัศว่ามันเข้ากับผู้ผิดกล่าวแก้กัน แกล้งให้เขากระทำประจานพ่อดูเล่นได้ไม่เจบแค้นด้วย. จึ่งให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนพระเจ้าลูกเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์ร้อยทีแล้วจำไว้ ให้เอาตัวชาวพระมาลาภูษาซึ่งทรงเครื่องทั้งสองคน กับทั้งพระยาอุทัยธรรมจางวางว่า ไม่ดูแลตรวจตรากำกับ เอาไปประหารชีวิตรเสียทั้งสามคน. ๚ะ๏ ถึงณวันศุกรเดือนเจดแรมหกค่ำ ดำรัดสั่งให้รื้อตำหนักพระเจ้าลูกเธอกรมขุนอินทรพิทักษ แล้วริบเครื่องยศให้ถอดเสียจากยศ. ครั้นนานมาหายพระพิโรธแล้วจึ่งโปรดให้พ้นโทษพระราชทานเครื่องยศแล้วให้คงยศดั่งเก่า ภอพระชันษาครบอุปสมบท จึ่งโปรดให้ออกมาทรงผนวชอยู่ณวัดหงษ. ๚ะ๏ ในปีชวดโทศกนั้น ฝ่ายข้างกัมพุชประเทศเกิดจราจล เปนเหตุด้วยเจ้าฟ้าทลหะหมู กับพระยากลาโหมชู พระยาเดโชแทน พระยาแสนท้องฟ้าพาง สี่คนคบคิดกันเปนขบถคุมสมัคพัคพวกเข้าจับนักพระองครามาธิบดีเจ้ากัมพูชา ซึ่งตั้งอยู่ณเมืองพุทไธเพชรนั้นฆ่าเสีย. แล้วไปรับเอาราชบุตรธิดานักพระองคตน ผู้เปนพระอุไทยราชา ซึ่งถึงพิราไลยนั้นมาเมืองบาพนม คือพระองคเอง พระองคมินชายสอง พระองคอี พระองคเภาหญิงสอง. เชิญมาไว้ณเมืองพุทไธเพชรแล้ว เจ้าฟ้าทลหะตั้งตัวเปนเจ้ามหาอุปราช. พระยากลาโหมเปนสมเดจเจ้าพระยา พระยาเดโชเปนพระองคพระยา พระยาแสนท้องฟ้าเปนพระยาจักรี นั่งเมืองรักษาเจ้าทั้งสี่องคว่าราชการแผ่นดิน. ๚ะ๏ ฝ่ายพระยายมราช แลพระยาพระเขมรทั้งปวง ซึ่งเปนข้านักองคพระรามาธิบดีนั้น จึ่งภากันหนีเข้ามาณเมืองปัตบอง. แล้วบอกข้อราชการซึ่งบ้านเมืองเกิดจราจลนั้น เข้ามายังกรุงธนบุรีในเดือนยี่ปีชวดโทศก กราบทูลพระกรุณาให้ทราบ. ๚ะ๏ สมเดจพระเจ้าอยู่หัว จึ่งมีพระราชดำรัศให้สมเดจเจ้าพระยามหากระษัตริยศึก เปนแม่ทับใหญ่ถืออาชญาสิทธิ์. ให้เจ้าพระยาสุรสีหเปนทับน่า. แล้วให้พระเจ้าลูกเธอกรมขุนอินทรพิทักษลาผนวช โปรดให้ยกกองทับกับพระยากำแหงสงครามเจ้าเมืองนครราชสีมาเก่า เปนเกียกกายกองหนุน. พระยานครสวรรค์เปนยกกรบัตรทับ. พระเจ้าหลานเธอกรมขุนรามภูเบศร เปนกองหลัง พระยาธรรมา เปนกองลำเลียง. ทั้งหกทับเปนคนหมื่นหนึ่งยกไปตีเมืองพุทไธยเพชร จับเจ้าฟ้าทลหะแลขุนนางพัคพวกซึ่งเปนขบถนั้นฆ่าเสียให้สิ้นปราบปรามแผ่นดินให้ราบคาบแล้วให้สมเดจเจ้าพระยามหากระษัตริยศึก ตั้งพระเจ้าลูกเธอกรมขุนอินทรพิทักษ อยู่ครองเมืองกัมพูชาธิบดีสืบไป. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันได้มหาพิไชยนักขัตรฤกษ จึ่งพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าหลานเธอทั้งสองพระองค แลสมเดจเจ้าพระยามหากระษัตริยศึก กับท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวง ก็กราบถวายบังคมลายกขึ้นไปยังเมืองนครราชสีมา แล้วเดินทับไปณกัมพุชประเทศ. สมเดจเจ้าพระยามหากระษัตริยศึกไปตั้งทับใหญ่อยู่ณเมืองนครเสียมราบ ให้กองทับเจ้าพระยาสุรสีหยกไปทางเมืองปัตบองฟากทเลสาบข้างตวันตก เอากองทับเขมรพระยายมราช แลพระยาเขมรทั้งปวง ยกออกไปตีเมืองพุทไธยเพชร. ทับพระเจ้าลูกเธอกรมขุนอินทรพิทักษ แลพระยากำแหงสงครามก็ยกหนุนออกไป. แลให้ทับพระเจ้หลานเธอกรมขุนรามภูเบศร แลทับพระยาธรรมายกไปทางฟากทเลสาบฝ่ายตวันออก ไปตั้งทับอยู่ณเมืองกำพงสวาย. ๚ะ๏ ฝ่ายเจ้าฟ้าทลหะซึ่งตั้งตัวเปนเจ้าฟ้ามหาอุปราช แลสมเดจเจ้าพระยารู้ว่า กองทับไทยยกออกมามากตกใจกลัว มิได้ตั้งอยู่สู้รบ ภาครอบครัวหนีลงไปอยู่ณเมืองพนมเพ็ญ แล้วบอกลงไปขอกองทับญวนเมืองแซ่ง่อนมาช่วย. ทับญวนก็ยกทับเรือมาณเมืองพนมเพ็ญ. กองทับเจ้าพระยาสุรสีหก็ยกตามลงไปณเมืองพนมเพ็ญ ตั้งค่ายรอกันอยู่ยังมิได้รบกัน. กองทับพระเจ้าลูกเธอก็ยกหนุนลงไป ตั้งอยู่ณเมืองพุทไธยเพชร. ๚ะ๏ ฝ่ายราชการแผ่นดินกรุงธนบุรีนั้นผันแปรต่างๆ เหตุพระเจ้าแผ่นดินทรงนั่งพระกรรมฐานเสียพระสติ พระจริตนั้นก็ฟั่นเฟือนไป. ฝ่ายพระพุทธจักรแลอาณาจักรทั้งปวงเล่า ก็แปรปรวนวิปริตมิได้ปรกติเหมือนแต่ก่อน. ๚ะ๏ ครั้นลุศักราช ๑๑๓๓ ปีฉลูตรีศก ทรงพระกรุณาให้แต่งทูตานุทูตจำทูลพระราชสาสน์ คุมเครื่องราชบรรณาการลงสำเภาออกไปณเมืองจีน เหมือนตามเคยมาแต่ก่อน แลปีนั้นโปรดให้หลวงนายฤทธิ์ เปนอุปทูตออกไปด้วย. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันอาทิตย์เดือนเก้าแรมหกค่ำ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสดจออกณโรงพระแก้ว ให้ประชุมพระราชาคณะพร้อมกัน แลพระองคมีพระสติฟั่นเฟือนถึงสัญาวิปลาศ สำคัญพระองคว่าได้โสดาปัตติผล จึ่งดำรัศถามพระราชาคณะว่า พระสงฆ์บุถุชน จะไหว้นบเคารพย์คฤหัฐซึ่งเปนพระโสดาบันบุทคลนั้น จะได้ฤๅมิได้ประการใด. แลพระราชาคณะที่มีสันดานโลเลมิได้ถือมั่นในพระบาฬีบรมพุทโธวาท เกรงพระราชอาญาเปนคนประสมประสารจะเจรจาให้ชอบพระอัทยาไศรยนั้นมีเปนอันมาก มีพระพุทธโฆษาจารยวัดบางว้าใหญ่ พระโพธิวงษ พระรัตนมุนีวัดหงษเปนต้นนั้นถวายพระพรว่า พระสงฆบุถุชน ควรจะไหว้นพคฤหัฐซึ่งเปนโสดาบันนั้นได้. แต่สมเดจพระสังฆราชวัดบางว้าใหญ่. พระพุทธาจาริยวัดบางว้าน้อย. พระพิมลธรรมวัดโพธาราม. สามพระองค์นี้มีสันดานมั่นคงถือพระพุทธวจนะโดยแท้ มิได้เปนคนสอพลอประสมประสาน จึ่งถวายพระพรว่า มึงมาทว่าคฤหัฐเปนพระโสดาบันก็ดีแห่เปนหินะเพศต่ำ. อันพระสงฆถึงเปนบุถุชนก็ตั้งอยู่ในอุดมเพศอันสูง. เหตุทรงผ้ากาสาวพัตถ์ แลพระจตุปาริสุทธศิลอันประเสริฐ. ซึ่งจะไหว้นบคฤหัฐอันเปนพระโสดาบันนั้นมิบังควร. สมเดจพระเจ้าแผ่นดินก็ทรงพระพิโรธว่า ถวายพระพรผิดจากพระบาฬี. ด้วยพวกที่ว่าควรนั้นเปนอันมาก ว่าไม่ควรแต่สามองค์เท่านี้. จึ่งดำรัศให้พระโพธิวงษ พระพุทธโฆษา. เอาตัวสมเดจพระสังฆราช พระพุทธาจาริย พระพิมลธรรม กับถานาเปรียญติ์อันดับ ซึ่งเปนอันเตวาสิก สัทธิงวิหาริก แห่งพระราชาคณะทั้งสามนั้นไปลงทัณฑกรรมณะวัดหงษทั้งสิ้น แต่พวกพระราชาคณะให้ตีหลังองคละร้อยที พระถานาเปรียญติ์ให้ตีหลังองค์ละห้าสิบที พระสงฆอันดับให้ตีหลังองคละสามสิบที. แต่พระสงฆซึ่งตั้งอยู่ในศิลในสัจพวกว่าไหว้ไม่ได้นั้นทั้งสามพระอารามเปนพระสงฆถึงห้าร้อยรูปต้องโทษถูกตีทั้งสิ้น. แลพวกพระสงฆทุศิล อาสัจอาธรรมว่าไหว้ได้มีมากกว่ามากทุกๆอาราม. แลพระราชาคณะทั้งสามพระองค์ กับพระสงฆอันเตวาสิกซึ่งเปนโทษทั้งห้าร้อยนั้น ให้ไปขนอาจมชำระเว็จกุฎีวัดหงษทั้งสิ้นด้วยกัน. แล้วให้ถอดพระราชาคณะทั้งสามนั้น จากสมณะถานันดรศักดิ์ลงเปนอนุจร. จึ่งตั้งพระโพธิวงษเปนสมเดจพระสังฆราช. พระพุธโฆษาจาริยเปนพระวันรัตน ครั้นนั้นมหาไภยพิบัติบังเกิดในพระพุทธสาศนาควรจะสังเวศยิ่งนัก บันดาคนทั้งหลายซึ่งเปนสัมมาทฤษฐิ นับถือพระรัตนไตรยนั้นชวนกันสลดจิตรคิดสงสารพระพุทธสาศนา มีหน้านองไปด้วยน้ำตาเปนอันมาก. ที่มีศรัทธาเข้ารับโทษให้ตีหลังตนแทนพระสงฆ์นั้นก็มี แลเสียงร้องไห้รงมไปทั่วทั้งเมืองเว้นแต่พวกมิฉาทิฐิ. ตั้งแต่นั้นมาพระราชาคณะพวกพาลอลัชชีมีสันดานบาปที่ว่าไหว้คฤหัฐได้นั้น ก็เข้าเฝ้า กราบถวายบังคมหมอบกรานเหมือนข้าราชการฆราวาศ. จึ่งดำรัศสั่งพระสังฆราชใหม่ให้เอาตัวพระราชาคณะซึ่งเปนโทษถอดเสียจากที่ทั้งสามองค์นั้น คุมตัวไว้ณวัดหงษ อย่าไห้ปล่อยไปวัดของตน. แล้วให้พระญาณไตรยโลกยวัดเลียบมาอยู่ครองวัดโพธาราม. แล้วดำรัศสั่งพระรัตนมุนีให้ขนานพระนามถวายใหม่. พระรัตนมุนี จึ่งขนานพระนามถวายให้ต้องด้วยอัธยาไศรยว่า สมเดจพระสยามยอดโยคาวจรบวรพุทธางกูรอดุลยขัติยราชวงษ ดำรงพิภพกรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดีศรีอยุทธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมอุดมราชนิเวศมหาสถาน ก็ชอบต้องด้วยพระอัธยาไศรยสมด้วยพระไทยปราถนานั้น. ๚ะ๏ ในขณะนั้นบ้านเมืองก็เกิดจลาจลเดือดร้อน ทั้งฝ่ายพระพุทธจักรพระพุทธสาศนาก็เศร้าหมอง. ฝ่ายพระราชอาณาจักรประชาราษฎรก็ได้ความเดือดร้อนด้วยทุกขไภย เพราะพระเจ้าแผ่นดินมิได้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมสุจริตคิดให้ไนยแก่คนพาลให้ร้องฟ้องข้าทูลลอองฯ ผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งข้างน่าข้างใน แลราษฎรทั้งหลายว่า ขายเข้าขายเกลือแลนองาเนื้อไม้สิ่งของต้องห้ามทั้งปวงต่างๆเอาลงสำเภาไม่ขายว่าขาย. แลฟ้องว่าชายหญิงผู้นั้นๆเปนโจรลักพระราชทรัพยเงินทองในท้องพระคลัง ไม่ลักว่าลัก ล้วนแต่ควมเท็จไม่จริง แกล้งใส่ความใส่โทษเอาเปล่าๆทั้งนั้น. แล้วให้ลงพระราชอาญาโบยตีจองจำ แลให้ทำโทษเจ้าจอมข้างในว่า ลักเงินเหรียนในพระคลังในหายไปกำปั่นหนึ่งให้โบยตีแลจำไว้เปนอันมาก. แล้วให้เอาตัวเจ้าจอมโนรีชาวคลัง ขึ้นย่างเพลิงจนถึงแก่ความตาย. ขณะนั้นพวกคนพาลเปนโจทถึงสามร้อยสามสิบสามคน มีพันศรีพันลาเปนต้นนำเอาฟ้องมายื่นกับขุนโยธาบดีเจ้ากรมทนายเลือกหอกซ้ายให้กราบทูลพระเจ้าแผ่นดิน. พระเจ้าแผ่นดินทรงพิภาคษากลับเอาเท็จเปนจริง บังคับว่า ถ้าโจทสาบานได้ให้ปรับไหมลงเอาเงินแก่จำเลยตามคำโจทหามากแลน้อย. ถ้าจำเลยมิรับให้เฆี่ยนขับผูกถือตบต่อยติดไม้แลย่างเพลิง บ้างตาย บ้างลำบากเปนอันมาก. แลฬ่อลวงให้ลุกโทษตามมีแลยาก. ฝ่ายข้าราชการแลราษฎรกลัวไภยคิดกันรับลุกโทษเปล่าๆว่าขายสิ่งของต้องห้ามสิ่งนั้นๆไปต่างประเทศเปนเงินเหรียนเงินกู้บ้างคนละเท่านั้นๆ. สำคัญว่าสิ้นโทษแล้ว. ครั้นให้มีผู้ฟ้องอีกกลับให้พิจารณา. ถ้าสิ่งของต้องในลุกโทษมากน้อยเท่าใดให้หักเสียเท่านั้น. ที่เหลือแลต่างกันออกไปให้ปรับไหม. แม้นรับตามฟ้องให้ปรับทวีคูณเอาเงินสองเท่า. ถ้าไม่รับต้องลงหวายจึ่งรับให้ปรับจตุรคูณเอาเงินสี่เท่าที่คนมีก็ได้ให้ที่คนจนขัดสนต้องทนให้เฆี่ยนไปทุกวันทุกเวลากว่าจะได้ทรัพยบ้างตายบ้างลำบากยากแค้นทั่วไปจนหัวเมืองเอกเมืองโทเมืองตรีเมืองจัตวาทั้งสิ้น. เร่งรัดเอาทรัพยส่งเปนของหลวง. คนทั้งหลายมีหน้าตาคร่ำไปด้วยน้ำตาที่หน้าชื่นใจบานอยู่แต่ฝ่ายคนพาลที่เปนโจทพัคพวกโจท. จึ่งโปรดตั้งพันศรีเปนขุนจิตรจุญ. ตั้งพันลาเปนขุนประมูลพระราชธรัพย. เปนนายกองพวกโจททั้งนั้น. แลครั้งนั้นเสียงร้องครางพิลาปร่ำไรเซงแซ่ไปในพระราชวัง ฟังควรจะสังเวศเหมือนอย่างในยมโลกย. ที่ทิ้งเย่าเรือนเสียยกครอบครัวอพยพหนีเข้าป่าดงไปก็มีเปนอันมาก บ้านเรือนร้างว่างเปล่าอยู่ทุกแห่งทุกตำบล. อนึ่งทรงสงไสยแคลงชาวพระคลังข้าราชการต่างๆว่าลักฉกพระราชทรัพยสิ่งของในท้องพระคลังทั้งปวง. จึ่งจัดเอาพระราชาคณะพวกอะลัชชีเหล่านั้นมากำลังคลังคลังละองคทุกๆพระคลังมิได้ไว้พระไทยพวกชาวคลังคฤหัฐทั้งสิ้น. ๚ะ๏ ครั้นณวันพฤหัศบดีเดือนสิบสองแรมค่ำหนึ่ง บังเกิดทุนิมิตรบนอากาศ เมฆปรากฎเปนคันกระแพงฝ่ายทิศบูรพ. ครั้นณวันอาทิตยเดือนอ้ายแรมเก้าค่ำ มีผู้เปนโจทมาฟ้องพระยาราชาเสรฐีว่าคิดจะหนีไปเมืองพุทไธยมาศ. จึ่งดำรัศให้จับตัวพระยาราชาเสรฐียวญกับพวกยวญให้ประหารชีวิตรเสียสามสิบคนด้วยกัน. ๚ะ๏ ครั้นณวันพุทธเดือนยี่แรมสิบสองค่ำ ให้ประหารชีวิตรคนโทษเก้าคน ๚ะ๏ ครั้นณวันพฤหัศบดีเดือนสามขึ้นสิบสองค่ำ ให้ประหารชีวิตรจีนลูกค้าแปดคน ๚ะ๏ ครั้นณวันจันทร์เดือนสามแรมสองค่ำ ให้ประหารชีวิตรคนทิ้งไฟเจ็ดคน. ๚ะ๏ ครั้นณวันอังคารเดือนสี่แรมเจ็ดค่ำ เพลาพระอาทิตยอัสฎงคต บังเกิดทุนิมิตรบนอากาศ เมฆปรากฎเปนลำภู่กันฝ่ายทิศประจิม. ๚ะ๏ ครั้นณวันพุทธเดือนสี่แรมแปดค่ำ กลางคืนเพลาสิบทุ่ม ดาวอนุราธเข้าในดวงพระจันท์ตลอดไป. ๚ะ๏ ในแรมเดือนสี่ปีฉลูตรีศกนั้น จึ่งนายบุญนาก นายบ้านแม่ลาแขวงกรุงเก่ากับขุนสุรคิดอ่านกันว่า บ้านเมืองเปนจลาจลเดือดร้อนทุกเส้นญ่าเพราะเจ้าแผ่นดินไม่เปนธรรม กระทำข่มเหงเบียดเบียฬประชาราษฎรเร่งเอาทรัพย์สิ่งสิน. เมื่อแผ่นดินเปนทุจริตดังนี้ เราจะละไว้มิชอบ. ควรจะชักชวนซ่องสุมประชาชนทั้งปวงยกลงไปตีกรุงธนบูรี จับพระเจ้าแผ่นดินผู้อาสัจสำเร็จโทษเสีย. แล้วจะถวายสมบัติแก่สมเดจเจ้าพระยามหากระษัตริยศึกให้ครอบครองแผ่นดินสืบไป. การจลาจลจึ่งจะสงบราบคาบ แผ่นดินจึ่งจะอยู่เย็นเปนศุข. จึ่งชักชวนซ่องสุมชาวชนบททั้งปวงยินดีมาเข้าด้วยเปนอันมาก. นายบุญนากกับขุนสุรก็ยกพวกพลลงไปในเพลากลางคืนเข้าปล้นจวนพระพิชิตณรงค ซึ่งเปนผู้รักษากรุงเก่าตั้งกองเร่งเงินชาวเมืองทั้งปวงอยู่นั้น จับได้ตัวผู้รักษากรุง กับกรมการฆ่าเสีย. แลกรมการซึ่งหนีรอดนั้น ก็รีบลงมากรุงธนบุรีกราบทูลว่า กรุงเก่าเกิดพวกเหล่าร้ายเข้าฆ่าผู้รักษากรุง แลกรมการเสีย. ๚ะ๏ ขณะนั้นพระยาสรรคบุรีลงมาอยู่ณกรุงธนบุรี พระเจ้าแผ่นดินจึ่งดำรัศให้พระยาสรรคขึ้นไปณกรุงเก่า พิจารณาจับตัวพวกขบถเหล่าร้ายให้จงได้. แลพระยาสรรค์ก็ขึ้นไปณกรุงเก่า กลับไปเข้าพวกนายบุญนาก ขุนสุระ นายบุญนากขุนสุร จึ่งมอบให้พระยาสรรคเปนนายทับยกลงมาตีกรุงธนบุรี แลจัดแจงพวกทหารให้ใส่มงคลแดงทั้งสิ้น. ๚ะ๏ ครั้นณวันเสาร์เดือนสี่แรมเก้าค่ำ ปีฉลูตรีศก กองทับพระยาสรรค์ยกลงมาถึงพระนคร. ครั้นเพลาสิบทุ่มจึ่งให้พวกพลทหารโห่ร้องยกเข้าล้อมกำแพงพระราชวังให้รอบ ตัวพระยาสรรคเข้าตั้งกองอยู่ณริมคุก ฟากเหนือคลองนครบาล ที่บ้านพวกกรมเมือง. ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินทราบว่า ฆ่าศึกมาล้อมพระราชวัง แลพระยาสรรคซึ่งใช้ไปจับพวกขบถนั้น กลับเปนนายทับยกลงมา. จึ่งสั่งข้าราชการซึ่งนอนเวรประจำซองอยู่นั้น ให้เกนกันขึ้นประจำรักษาน่าที่เชิงเทินรอบพระราชวังได้ยิงปืนโต้ตอบกันทั้งสองฝ่ายต่อรบกันอยู่จนรุ่ง. ๚ะ๏ ครั้นณวันอาทิตย์เดือนสี่แรมสิบค่ำ พระเจ้าแผ่นดินจึ่งให้ออกไปนิมนตพระสังฆราชพระวันรัตแลพระรัตนมุนีเข้ามา. แล้วให้ออกไปเจรจาความเมืองกับพระยาสรรค รับสาระภาพผิดยอมแพ้ขอแต่ชีวิตรไว้จะออกบรรพชา พระยาสรรคก็ยอม ๚ะ๏ ในวันนั้นค่ำลงเพลายามเสศ พระเจ้าแผ่นดินจึ่งทรงผนวชณพระอุโบสถวัดแจ้ง ภายในพระราชวัง. แลเสดจดำรงราชอาณาจักรอยู่ในราชสมบัติได้สิบห้าปี ก็เสียพระนครแก่พระยาสรรค ๆ จึ่งจัดพลทหาร ให้ไปตั้งล้อมพระอุโบสถวัดแจ้งไว้แน่นหนา มิให้พระเจ้าแผ่นดินซึ่งบรรพชานั้นหนีไปได้. แล้วให้จับกรมขุนอนุรักษสงคราม พระเจ้าหลานเธอ แลวงษานุวงษทั้งปวง มาจำไว้ในพระราชวังทั้งสิ้น. ๚ะ๏ ครั้นรุ่งขึ้นณวันจันทรเดือนสี่แรมสิบสามค่ำ วันจ่ายตรุศติ์นั้น พระยาสรรค์จึ่งเข้าพระราชวัง กับทั้งหลวงเทพผู้น้องเข้าอยู่ณท้องพระโรงว่าราชการแผ่นดิน ให้ทอดนักโทษทั้งข้าราชการฝ่ายน่าฝ่ายใน แลราษฎรซึ่งอยู่ในเรือนจำนั้นออกสิ้น. ๚ะ๏ ฝ่ายคนทั้งหลายซึ่งต้องโทษได้พ้นโทษแล้ว ชวนกันโกรธแค้นพวกโจทยก็เที่ยวไล่จับพวกโจทย มีพันศรีพันลาเปนต้น ฆ่าฟันเสียเปนอันมาก. พวกโจทยหนีไปเที่ยวซุ่มซ่อนอยู่ณวัดบ้างบ้านบ้าง ทุกแห่งทุกตำบล. ที่รอดเหลืออยู่นั้นน้อย ที่ตายนั้นมาก เกิดฆ่าฟันกันไปทุกแห่งทุกตำบลทั่วทั้งเมือง. ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๑๔๔ ปีขานจัตวาศก ถึงณวันอังคารเดือนห้าขึ้นหกค่ำเพลาเที่ยง เหนพระจันทรปรากฎในกลางวัน. แลในกลางคืนวันนั้นดาวกฤษดิกาเข้าในดวงพระจันทร. ๚ะ๏ แต่ก่อนพระยาสรรคยังไม่เข้าตีกรุงธนบุรีนั้น ฝ่ายพระยาสุริยอไภยผู้ครองเมืองนครราชสีมาได้ทราบว่า แผ่นดินเปนจลาจลมีคนขึ้นไปแจ้งเหตุจึ่งออกไปณเมืองนครเสียมราบ แถลงการแผ่นดินเกิดยุคเขนนั้น แก่สมเดจเจ้าพระยามหากระษัตริยศึก. ๆ จึ่งให้พระยาสุริยอไภยรีบยกกองทับลงไปยังกรุงธนบุรีก่อนแล้วจะยกทับใหญ่ตามลงไปภายหลัง. พระยาสุริยอไภยก็กลับมาณเมืองนครราชสีมา ให้พระอไภยสุริยาปลัดผู้น้องอยู่รักษาเมือง. แล้วก็จัดแจงกองทับได้พลไทยลาวพันเสศ ก็รีบยกลงมาณกรุงธนบุรี. แลกองทับเมืองนครราชสีมามาถึงกรุงธนบุรี ณวันศุกรเดือนห้าขึ้นเก้าค่ำ ภอพระยาสรรคตีกรุงได้เข้านั่งเมืองอยู่แล้ว. ๚ะ๏ ครั้นพระยาสรรคได้แจ้งว่า พระยาสุริยอไภยยกทับลงมา จึ่งให้ไปเชิญมาปฤกษาราชการณท้องพระโรงในพระราชวัง แจ้งการทั้งปวงให้ทราบ แล้วว่าจัดแจงบ้านเมืองไว้ จะถวายแก่สมเดจเจ้าพระยามหากระษัตริยศึก ให้ครอบครองแผ่นดินสืบต่อไป. แลพระยาสุริยอไภยกับพระยาสรรค จึ่งปฤกษากันให้ศึกเจ้าแผ่นดินออก แล้วพันธนาไว้ด้วยเครื่องสังขลิกพันธ. แลพระยาสุริยอไภยก็ไปตั้งกองทับอยู่ณบ้านเดิม ที่บ้านปูนเหนือสวนมังคุด ๚ะ๏ ครั้นภายหลังพระยาสรรคกลับคิดจะเอาราชสมบัติเอง จึ่งคิดกันกับเจ้าพระยามหาเสนา แลพระยารามัญวงษจักรีมอญเข้าด้วย. พระยาสรรคเอาเงินตราในท้องพระคลัง ซึ่งเร่งรัดของคนทั้งปวงมาไว้นั้น ออกแจกขุนนางข้าราชการทั้งฝ่ายน่าฝ่ายในแลทหารเปนอันมาก. ๚ะ๏ ในขณะนั้นบันดาขุนนางข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวง แตกออกเปนสองพวก ที่ได้บำเหน็จรางวัลก็เข้าเปนพวกพระยาสรรค. ที่นับถือบุญาบารมีสมเดจเจ้าพระยามหากระษัตริยศึก ก็มิได้รับรางวัลของพระยาสรรค มาเปนพวกข้างพระยาสุริยอไภย. ๚ะ๏ ครั้นณวันอังคารเดือนห้าแรมห้าค่ำ พระยาสรรคกับเจ้าพระยามหาเสนา แลพระยารามัญวงษ จึ่งคิดกันให้ถอดกรมขุนอนุรักษสงครามหลานเธอออกจากเวนจำ แต่งให้เปนนายทับคุมขุนนางแลไพร่ ยกไปบ้านพระยาสุริยอไภย. แต่เพลาพลบค่ำ ตั้งค่ายวางคนรายโอบลงมาวัดบางว้า. เพลาสามยามจุดไฟขึ้นณบ้านปูนแล้วยกลงมา ฝ่ายพระยาสุริยอไภยก็มิได้สดุ้งตกใจ ให้ขุนนางแลไพร่พลยกออกต่อรบ รายคนออกไปให้วางปืนตับ. พวกพลข้ามขุนอนุรักษสงคราม ก็ยิงปืนรบโต้ตอบกันอยู่ทั้งสองฝ่าย. ครั้นเหนเพลิงไหม้ลามมาใกล้คฤหถานที่อยู่ พระยาสุริยอไภยจึ่งตั้งสัตยาธิฐานว่า ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญศีลทานการกุศลสิ่งใดๆ ก็ตั้งใจปราถนาพระโพธิญาณสิ่งเดียว. เดชะอำนาทความสัจนี้ ขอจงยังพระพายให้พัดกลับขึ้นไป อย่าให้เพลิงไหม้มาถึงบ้านเรือนข้าพเจ้าเลย. พอขาดคำอธิฐานลง ลมก็บันดานพัดกลับขึ้นไป เพลิงก็ไหม้อยู่แต่ภายนอก มิได้ติดลามเข้ามาในบ้าน เหนประจักษ์แก่คนทั้งปวง. แต่รบกันอยู่จนรุ่งขึ้นเหนตัวกัน จึ่งรู้ว่ากรมขุนอนุรักษสงครามยกมารบ. แต่รบกันอยู่จนถึงเพลาห้าโมงเช้า. ในวันพุทธเดือนห้าแรมหกค่ำ ทับข้างกรมขุนอนุรักษสงคราม จึ่งแตกพ่ายหนีไปข้ามคลองบางกอกน้อย. พระยาสุริยอไภยได้ไชยชำนะแล้ว ให้พลทหารติดตามไปจับตัวกรมขุนอนุรักษสงครามมาได้ ในทันใดนั้นให้จำครบไว้. สืบเอาพวกเพื่อนได้เปนอันมาก เอาตัวจำครบไว้ทั้งสิ้น. แลครั้งนั้นกองรามัญก็แตกกันออกเปนสองพวก ที่มาเข้าด้วยพระยาสุริยอไภยนั้น คือกองพระยาพระราม พระยาเจ่ง. ที่ไปเข้าด้วยพระยาสรรคนั้น คือกองพระยารามัญวงษ กับกองพระยากลางเมือง. ๚ะ๏ ฝ่ายพระยาสรรครู้ว่า ทับกรมขุนอนุรักษสงครามแตก พระยาสุริยอไภยจับตัวไปได้ ก็คิดเกรงกลัวย่อท้อมิอาจยกออกไปรบอีก ก็รักษาตัวอยู่แต่ในพระราชวัง. พระยาสุริยอไภยก็ให้ตั้งค่ายใหญ่อยู่ณบ้าน แล้วจัดแจงพลทหารตั้งรายกองทับลงมาจนถึงคลองนครบาล. ๚ะ๏ ฝ่ายสมเดจเจ้าพระยามหากระษัตริยศึก เมื่อให้พระยาสุริยอไภยยกมาแล้วจึ่งแต่งหนังสือบอกข้อราชการแผ่นดินอันเปนจลาจล ให้คนสนิทถือลงไปแจ้งแก่เจ้าพระยาสุรสีห ซึ่งลงไปตั้งทับอยู่ณเมืองพนมเพญ. ให้กองทับเขมรพระยายมราช เข้าล้อมกรมขุนอินทรพิทักษ์ไว้อย่าให้รู้ความ. แล้วรีบเลิกทับกลับเข้าไปณกรุงโดยเรว. แล้วให้บอกไปถึงพระยาธรรมา ซึ่งตั้งทับอยู่ณเมืองกำพงสวาย ให้จับกรมขุนรามภูเบศรจำครบไว้ แล้วให้เลิกทับตามเข้ามาณกรุงธนบุรี. แล้วสมเดจเจ้าพระยามหากระษัตริยศึก ให้ตรวจเตรียมพลโยธาหารพร้อมแล้ว ให้เอาช้างเข้าเทียบเกย แล้วขึ้นบนเกยจะขี่ช้าง. ๚ะ๏ ในเพลานั้นบังเกิดศุภนิมิตรเปนมหัศจรรย ปรากฎแก่ตาโลกย เพื่อพระราชกฤษฎาเดชานุภาพพระบารมี จะถึงมหาเสวตรราชาฉัตร. บันดานให้พระรัศมีโชดช่วงแผ่ออกจากพระกายโดยรอบ เหนประจักษทั่วทั้งกองทับ บันดารี้พลนายไพร่ทั้งผู้ใหญ่ผู้น้อย ชวนกันยกมือขึ้นถวายบังคมพร้อมกัน แล้วเจรจากันว่า เจ้านายเราคงมีบุญเปนแท้ กลับเข้าไปครั้งนี้จะได้ผ่านพิพิภพเปนมั่นคง. สมเดจเจ้าพระยามหากระษัตริยศึก ก็ทรงช้างแล้วยกทับช้างม้ารี้พลคนประมาณห้าพันเสศ ดำเนินทับมาทางด่านพระจาฤกมาถึงเมืองปราจิน. แล้วข้ามแม่น้ำเมืองปราจินเมืองนครนายก ตัดทางมาลงท้องทุ่งแสนแสบ. ๚ะ๏ ขณะนั้นชาวพระนครรู้ข่าวว่า สมเดจเจ้าพระยามหากระษัตริยศึก ยกทับกลับมาก็ชวนกันมีความยินดีถ้วนทุกคน ยกมือขึ้นถวายบังคมแล้วกล่าวว่า ครั้งนี้การยุคเขนจะสงบแล้ว แผ่นดินจะราบคาบ บ้านเมืองจะอยู่เอย็นเปนศุขสืบไป. จึ่งหลวงสรวิชิตนายด่านเมืองอุไทยธานีลงมาอยู่ณกรุงก็ขึ้นม้าออกไปรับเสดจถึงทุ่งแสนแสบ นำทับเข้ามายังพระนคร. ๚ะ๏ ครั้นณวันเสาร์เดือนห้าแรมเก้าค่ำเวลาเช้าสองโมงเสศ ทับหลวงมาถึงกรุงธนบุรีฟากตวันออก. พระยาสุริยอไภยจึ่งให้ปลูกพลับพลารับเสดจริมตพานท่าวัดโพธาราม แล้วให้แต่งเรือพระที่นั่งกราบข้ามมาคอยรับเสดจ. แลท้าวทรงกันดานทองมอญ ซึ่งเปนใหญ่อยู่ในพระราชวัง ก็ลงเรือพระที่นั่งมาคอยรับเสดจด้วย. จึ่งเสดจทรงช้างพระที่นั่งกรีธาพลทับหลวงเข้ามาในกำแพงเมือง ดำเนินพลช้างม้าแลพลเดินท้าวแห่มาทางถนนหว่างวัดโพธาราม เสดจลงจากช้างอยุดประทับอยู่ณพลับพลาน่าวัด. แล้วท้าวทรงกันดารกราบถวายบังคมทูลเชิญเสดจลงเรือพระที่นั่ง. แลพระยาสุริยอไภยกับข้าราชการทั้งปวง ก็ข้ามมาคอยรับเสดจเปนอันมาก แล้วกราบทูลแถลงข้อราชการแผ่นดินทั้งปวง. จึ่งเสดจลงเรือพระที่นั่งข้ามไปเข้าพระราชวัง เสดจขึ้นประทับบนศาลาลูกขุนมหาดไทย. ข้าราชการทั้งหลายก็มาเฝ้ากราบถวายบังคม. ๚ะ๏ ฝ่ายพระยาสรรค แลพัคพวกก็กลัวพระเดชานุภาพเปนกำลัง มิรู้ที่จะหนีจะสู้ประการใด ก็มาเฝ้ากราบถวายบังคมพร้อมด้วยขุนนางทั้งปวง จึ่งตรัสปฤกษาด้วยมุขมนตรีทั้งหลายว่า เมื่อพระเจ้าแผ่นดินเปนอาสัจอาธรรมดั่งนี้แล้ว ท่านทั้งปวงจะคิดอ่านประการใด. มุขมนตรีทั้งหลายพร้อมกันกราบทูลว่า พระเจ้าแผ่นดินละสุจริตธรรมเสีย ประพฤดิ์การทุจริตฉนี้ ก็เหนว่าเปนเสี้ยนหนามหลักตออันใหญ่อยู่ในแผ่นดิน จะละไว้มิได้ควรจะให้สำเร็จโทษเสีย. จึ่งรับสั่งให้มีกระทู้ถามเจ้าตากสิน เจ้าแผ่นดินผู้ทุจริตว่า ตัวเปนเจ้าแผ่นดิน ใช้เราไปกระทำการสงครามได้รับความลำบากกินเหื่อต่างน้ำ เราอุสาหกระทำศึกมิได้อาไลยแก่ชีวิตร คิดแต่จะทำนุกบำรุงแผ่นดินให้สิ้นเสี้ยนหนาม จะให้สมณะพราหมณาจาริย แลไพร่ฟ้าประชากรให้อยู่เอย็นเปนศุขสิ้นด้วยกัน. ก็เหตุไฉนอยู่ภายหลัง ตัวจึ่งเอาบุตรภรรยาเรามาจองจำทำโทษ แล้วโบยตีพระภิกขุสงฆ์ แลลงโทษแก่ข้าราชการ แลอาณาประชาราษฎร เร่งรัดเอาทรัพย์สินโดยพลการ ด้วยหาความผิดมิได้ กระทำให้แผ่นดินเดือดร้อนทุกเส้นหญ้า ทั้งพระพุทธสาศนาก็เสื่อมทรุดเศร้าหมอง ดุจเมืองมิจฉาทฤษฐิฉนี้. โทษตัวจะมีประการใด จงให้การไปให้แจ้ง แล้วเจ้าตากสินก็รับผิดทั้งสิ้นทุกประการ. จึ่งมีรับสั่งให้เอาไปประหารชีวิตรสำเร็จโทษเสีย. เพชฆาฎกับผู้คุม ก็ลากเอาตัวขึ้นแคร่หามไป กับทั้งสังขลิกพันธนาการ. เจ้าตากสินจึ่งว่าแก่ผู้คุมเพชฆาฎว่า ตัวเราก็สิ้นบุญจะถึงที่ตายแล้ว ช่วยภาเราแวะเข้าไปหาท่านผู้สำเร็จราชการจะขอเจรจาด้วยสักสองสามคำผู้คุมก็ให้หามเข้ามา. ครั้นได้ทอดพระเนตรเหน จึ่งโบกพระหัตถมิไห้นำมาเฝ้า. ผู้คุมแลเพชฆาฎก็ให้หามออกไปนอกพระราชวัง ถึงน่าป้อมวิไชยประสิทธิ์ ก็ประหารชีวิตรตัดศีศะเสีย ถึงแก่พิราไลย. จึ่งรับสั่งให้เอาสพไปฝังไว้ณวัดบางยี่เรือใต้. แลเจ้าตากสินขณะเมื่อสิ้นบุญถึงทำลายชีพนั้น อายุได้สี่สิบแปดปี.
35
๏ แผ่นดินสมเดจพระบรมราชา, พระพุทธยอดฟ้า, จุฬาโลกย. ๚ะ
๏ ในทันใดนั้นจึ่งท้าวพระยามุขมนตรีกระวีชาติ แลราษฎรทั้งหลาย ก็พร้อมกันกราบทูลวิงวอนอัญเชิญสมเดจเจ้าพระยามหากระษัตริยศึกขึ้นครองพิภพเสวยสวรรยาธิปัตยถวัลย์ราชดำรงแผ่นดินสืบไป. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ทรงรับอาราธนาด้วยพระอาการดุษณีภาพ แล้วก็เสดจพระราชดำเนินไปถวายนมัศการพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกฎ แล้วเสดจมาประทับแรมอยู่ณพลับพลาน่าโรงพระแก้วนั้น. ๚ะ๏ ครั้นณวันอาทิตยเดือนห้าแรมสิบค่ำ จึงพระยาสุริยอไภย พระเจ้าหลานเธอให้ตำหรวจคุมตัวกรมขุนอนุรักษสงครามกับขุนนางมีชื่อซึ่งเปนสมักพัคพวกสามสิบเก้าคน. มีอ้ายพระยาเพชรพิไชยหนึ่ง พระยามหาอำมาตยหนึ่ง พระยากลางเมืองหนึ่ง พระมหาเทพหนึ่ง หลวงราชวรินทรหนึ่ง หลวงคชศักดิ์หนึ่งเปนต้น เข้ามาถวายน่าพระที่นั่ง. แล้วกราบทูลว่าคนเหล่านี้ เข้าพวกกรมขุนอนุรักษสงครามยกมารบ. ๚ะ๏ จึงดำรัศให้เอาขุนนางสามสิบเก้าคนนั้นไปประหารชีวิตรเสีย. แลตัวกรมขุนอนุรักษสงครามนั้น}ให้เอาไว้ก่อน. แล้วให้พิจารณาชำระเอาพวกเพื่อนอีก ให้การซัดถึงพระยาสรรคแลหลวงเทพผู้น้อง กับเจ้าพระยามหาเสนา พระยารามัญวงษจักรีมอญ พระพิชิตณรงค์ หลวงพัศดีกลาง. คนเหล่านี้คิดกันให้ข้าพเจ้าไปรบพระเจ้าหลานเธอ. ๚ะ๏ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำรัศให้เอาตัวกรมขุนอนุรักษสงคราม แลพระยาสรรค หลวงเทพผู้น้อง กับขุนนางทั้งสี่คนซึ่งคิดกันนั้นให้ประหารชีวิตรเสีย. ภอกองทัพพระยาธรรมามาถึงคุมเอาตัวกรมขุนรามภูเบศรเข้ามาถวาย. จึงดำรัศให้เอาไปประหารชีวิตรเสียด้วยกันในวันนั้น กับทั้งพวกญาติวงษเจ้าตากสิน บันดาที่เปนชายนั้นทั้งสิ้น. ยังเหลืออยู่แต่ราชบุตรแลบุตรีซึ่งน้อยๆ มีเจ้าฟ้าสุพันธุวงษอันเปนพระราชนัดาของพระองคนั้นเปนต้น. แลเจ้าอั่น ซึ่งเปนน้าของเจ้าตากสิน. แลเจ้าส่อนหอกลางซึ่งเปนกรมหลวงบาทบริจาริกอัคมเหษี. กับญาติวงษซึ่งเปนหญิงนั้นให้จำไว้ทั้งสิ้น. ๚ะ๏ ครั้นณวันจันทรเดือนห้าแรมสิบห้าค่ำ จึงทรงพระกรุณาโปรดปูนบำเหน็จพระราชทานเงินตราเสื้อผ้า แก่ข้าราชการผู้มีความชอบ กับทั้งพักพวกข้าหลวงเดิมทั้งปวงโดยมากแลน้อย ตามสมควรแก่ถานาศักดิ์ถ้วนทุกคน. แล้วดำรัศว่าพระราชคฤหถานใกล้อุปจารพระอารามทั้งสองข้าง คือวัดแจ้งแลวัดท้ายตลาดมิบังควรยิ่งนัก. จึงดำรัศแก่พระยาธรรมาธิบดีพระยาวิจิตรนาวี ให้เปนแม่กองคุมช่างแลไพร่ ไปถาปนาพระราชนิเวศวังใหม่ ฟากพระนครข้างตวันออก ณที่บ้านพระยาราชาเสรฐีแลบ้านจีนทั้งปวง. ให้พระยาราชาเสรฐียกพวกจีนลงไปตั้งบ้านเรือนใหม่ณที่สวน ตั้งแต่คลองใต้วัดสามปลื้มลงไป จนถึงคลองเหนือวัดสามเพ็ง. ๚ะ๏ ครั้นณวันศุกรเดือนหกขึ้นค่ำหนึ่ง เพลาบ่ายสี่โมง จึงเสดจเข้าไปสถิตยแรมอยู่ยังท้องพระโรง. ดำรัศให้ชำระโทษพวกเจ้าจอมข้างใน. ๚ะ๏ ฝ่ายเจ้าพระยาสุรสีหพระราชอนุชา ครั้นได้ทราบหนังสือบอกข้อราชการแผ่นดินแล้ว จึงสั่งให้พระยายมราชคุมกองทับเขมรสามพัน เข้าล้อมกรมขุนอินทรพิทักษ แลพระยากำแหงสงคราม กับทั้งไพร่พลไว้ณเมืองพุทไธยเพชร แลเลิกกองทัพรีบกลับมาณกรุง. ๚ะ๏ ถึงณวันจันทรเดือนหกขึ้นสี่ค่ำ เพลาห้าโมงเช้า สมเดจพระอนุชาธิราชเสดจเดินทัพมาถึงพระนคร ขึ้นเฝ้าสมเดจพระบรมเชษฐาธิราชณท้องพระโรง. ดำรัศปฤกษาราชการแผ่นดินด้วยกันแล้ว เสดจออกจากเฝ้า. ให้ตำรวจไปจับตัวข้าราชการทั้งปวง บันดาที่มีความผิดขุ่นเคืองกับพระองคมาแต่ก่อน ให้ประหารชีวิตรเสียสิ้นทั้งแปดสิบคนเสศ. ๚ะ๏ ฝ่ายกรมขุนอินทรพิทักษ แลพระยากำแหงสงครามมิทันแจ้งว่า ข้างในพระนครผลัดแผ่นดินใหม่. จึงแต่งหนังสือบอกให้ข้าหลวงถือเข้ามากราบทูลใจความว่า เขมรกลับเปนขบถ ยกเข้ามาล้อมกองทับพระเจ้าลูกเธอไว้ ณเมืองกำแพงเพชร. แต่กองทับสมเดจเจ้าพระยามหากระษัตริยศึก กับทับเจ้าพระยาสุรสีหนั้นเลิกหนีไป มิรู้ว่าจะไปแห่งใด. ครั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ได้ทรงทราบในหนังสือบอกก็ทรงพระสรวญ จึ่งดำรัศว่าอ้ายหูหนวกตาบอดมิได้รู้การแผ่นดินเปนประการใด กลับบอกกล่าวโทษกูเข้ามาถึงกูอีกเล่า. ๚ะ๏ ฝ่ายกรมขุนอินทรพิทักษ แลพระยากำแหงสงคราม ก็ยกพลทหารออกตีกองทับเขมร ซึ่งตั้งล้อมอยู่นั้นแหกออกมาได้ก็รีบยกทับเข้ามาถึงเมืองปราจิน. ครั้นแจ้งเหตุว่าผลัดแผ่นดินใหม่แล้ว ไพร่พลทั้งปวงก็หนีกระจัดกระจายเข้ามาหาครอบครัวสิ้น กรมขุนอินทรพิทักษแลพระยากำแหงสงครามนั้นเหลือแต่คนสนิทติดตามอยู่ห้าคนเปนเจ็ดคนทั้งตัวนาย ก็ภากันหนีไปอยู่ตำบลเขาน้อยแห่งหนึ่งใกล้กับเขาปัถวี. แลกรมการเมืองปราจีนบอกเข้ามากราบทูลพระกรุณาให้ทราบ. ๚ะ๏ ครั้นณวันอาทิตยเดือนหกแรมสองค่ำ สมเดจพระอนุชาธิราชจึ่งกราบถวายบังคมลา ยกพลขึ้นไปหกพันเสศถึงเมืองสรบุรี ให้แยกกันออกเปนหลายกองเที่ยวค้นในป่า เข้าล้อมจับกรุงขุนอินทรพิทักษ กับพระยากำแหงสงคราม แลบ่าวห้าคน ได้ตัวที่เขาน้อยนั้น คุมลงมาถวายณะกรุงธนบุรี ดำรัศให้จำครบไว้แต่ตัวนายสองคน. แลบ่าวห้าคนนั้นทรงพระกรุณาดำรัศว่าเปนคนมีกะตัญูไม่ทิ้งเจ้า โปรดปล่อยไปเสียไม่มิไดเอาโทษ. ๚ะ๏ ครั้นณวันเสาร์เดือนหกแรมแปดค่ำ ทรงพระกรุณาให้ถามกรมขุนอินทรพิทักษว่า ถ้ายอมอยู่จะเลี้ยง ด้วยตัวหาความผิดมิได้. กรมขุนอินทรพิทักษ์ให้การว่าไม่ยอมอยู่จะขอตายตามบิดา. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค จึงดำรัศให้เอาตัวนายจุ้ยผู้เปนที่กรมขุนอินทรพิทักษ แลขุนชนะ พระยากำแหงสงครามนั้นไปประหารชีวิตรเสีย. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันอาทิตยเดือนหกแรมเก้าค่ำปีขานจัตวาศกศักราช .๑๑๔๔ ปี ให้ตั้งการพระราชพิธียกหลักเมือง. ๚ะ๏ ถึงณวันจันทรเดือนหกแรมสิบค่ำ จับการตั้งพระราชวังใหม่ แลล้อมด้วยรเนียดก่อนยังมิทันได้ก่อกำแพงวัง. ๚ะ๏ ถึงณวันจันทรเดือนแปดขึ้นค่ำหนึ่งปฐมาสาท ให้ตั้งการพระราชพิธีปราบดาภิเศกโดยสังเขป. นิมนตพระราชาคณะสวดพระพุทธมนต์ครบสามวันแล้ว. รุ่งขึ้นณวันพฤหัศบดีเดือนแปดขึ้นสี่ค่ำ เพลารุ่งแล้วสี่บาท ได้มหาอุดมวิไชยมงคลนักขัตรฤกษ พระสุริยเทพบุตรทรงกลดจำรัศดวง ปราศจากเมฆผ่องพื้นนภากาศ. พระบาทสมเดจบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสดจทรงเรือพระที่นั่งบัลลังก์ศรีสักลาด ประดับด้วยเรือจำนำท้าวพระยาข้าทูลลอองฯทั้งปวงแห่โดยขบวนพยุหยาตราน่าหลังพรั่งพร้อมเสร็จ ก็เสดจข้ามมหาคงคามาณฝั่งฟากตวันออก. เสดจขึ้นฉนวนน่าพระราชวังใหม่ ทรงเสลี่ยง ตำรวจแห่น่าหลัง เสดจขึ้นยังพระราชมณเฑียรสถาน ทรงถวายนมัศการพระรัตนไตรยด้วยเบญจางคประดิษฐ แล้วเถลิงสถิตย์เบื้องบนมงคลราชมัญจะอาศน์พระกระยาสนาน พระสงฆ์ถวายพระปริโตทกธารเบญจสุทธคงคามุทธาภิสิตวารี. ชีพ่อพราหมณ์ถวายตรีสังข์หลั่งมงคลธารา อวยอาเศียรพาศพิศณุอิศวรเวทถวายไชยวัฒนาการ พระโหราลั่นฆ้องไชยให้ประโคมขานเบญจางคดุริยดนตรีแตรสังข ประนังศับทสำเนียงเสียงนฤนาท. พระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสดจสถิตยเหนือพัทธบิฐอันกั้นบวรเสวตรราชาฉัตร. พระราชครูปโรหิตาจารย์ก็กราบบังคมทูลถวายไอสุริยราชสมบัติ แลเครื่องเบญจพิธราชกุกกุภัณฑพระแสงอัศฎาวุธ. อัญเชิญเสดจขึ้นปราบดาภิเศกเสวยสวรรยาธิปัตยถวัลยราชดำรงแผ่นดินสืบไป. ๚ะ๏ ขณะเมื่อได้เสวยราชสมบัตินั้น พระชนมายุได้สี่สิบหกพรรษา. จึงสมเด็จพระสังฆราช ราชาคณะคามวาสีอรัญวาสี.แลชีพ่อพราหมณ์พฤฒาจาริยทั้งหลาย พร้อมกันถวายพระนามว่า พระบาทสมเดจพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราชรัตนากาศภาศกรวะงษองคบรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายกดิลกรัตนราชชาติอาชาวไศรย สมุทัยตโรมนตสกลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทรหริหรินทราธาดาธิบดี ศรีวิบุลยคุณอัคนิฐฤทธิราเมศวรมหันตบรมธรรมิกราชาธิราชเดโชไชยพรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร ภูมินทรบรมาธิเบศโลกเชษฐวิสุทธิรัตนมกุฎ ประเทศคตามหาพุทธางกูรบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ณกรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุทธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมยอุดมพระราชนิเวศมหาสถาน จาฤกลงพระนามลงในแผ่นพระสุพรรณบัตร. ๚ะ๏ จึงมีพระราชโองการดำรัศให้สมเดจพระอนุชาธิราช เสดจเถลิงราชมไหสวรรย ณที่พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ว่าราชการพระนครกึ่งหนึ่ง โดยดังโบราณจารีตราชประเพณีมหากระษัตราธิราชเจ้าแต่ก่อนมา. แลสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรฯ ก็ไปถาปนาพระราชธานีขึ้นใหม่ใกล้คามคฤหถานที่เดิม ตั้งเปนพระราชวังน่า. ๏ จึ่งสมเดจพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระกรุณาโปรดตั้งพระเชษฐภคินีพระองคใหญ่ เปนสมเดจพระเจ้าพี่นางเธอ กรมพระเทพยสุดาวดี. เจ้ากรมตั้งเปนพระยา. แลตั้งพระเชษฐภคินีพระองคน้อย เปนสมเดจพระเจ้าพี่นางเธอ กรมพระศรีสุดารักษ. ๏ โปรดให้พระยาสุริยอไภยพระราชนัดาผู้ใหญ่ เปนสมเดจพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร. ครั้นภายหลังทรงเหนว่ายศศักดิ์ยังไม่สมควรแก่ความชอบที่มีมาก. จึ่งโปรดให้เลื่อนขึ้นเปนกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขฝ่ายหลัง รับพระราชบัญชา. ตั้งวังอยู่ณสวนลิ้นจี่ในเมืองฟากตวันตกริมคลองบางกอกน้อย. ๏ แลดำรัศให้ข้าหลวงไปหาพระอไภยสุริยาราชนัดา ลงมาแต่เมืองนครราชสีมา โปรดตั้งเปนสมเดจพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศบดินทร ให้เสดจไปอยู่ณวังเก่าเจ้าตาก. ๚ะ๏ ขณะนั้นภอหลวงนายฤทธิราชนัดา ซึ่งเปนอุปทูตออกไปกรุงปกิ่งนั้นกลับเข้ามา. จึ่งโปรดให้แต่งเรือพระที่นั่งลงไปรับมาแต่เมืองสมุทปราการ คนทั้งหลายจึ่งเรียกว่าเจ้าปกิ่ง โปรดตั้งเปนสมเดจพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทรนเรศวร ให้ตั้งวังอยู่ณสวนมังคุด. แลกรมพระราชวังหลังกับกรมหลวงทั้งสองพระองค์นี้ เปนพระราชบุตรสมเดจพระเจ้าพี่นางเธอพระองค์ใหญ่. ๏ อนึ่งเจ้าตันราชนัดาซึ่งเปนพระราชบุตรสมเดจพระเจ้าพี่นางเธอองคน้อยนั้นโปรดตั้งเปนสมเดจพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยหริรักษ. ๏ แลเจ้าลาซึ่งเปนพระอนุชาต่างพระมารดานั้นโปรดตั้งเปนสมเดจพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา. ๏ แลนายกวดมหาดเลกซึ่งเปนสามีเจ้ากุะ อันเปนพระกนิฐภคินีต่างพระมารดานั้นโปรดตั้งเปนพระองคเจ้ากรมหมื่นนรินทรพิทักษ. อนึ่งพระเจ้าลูกเธอพระองคใหญ่พระชนได้สิบหกพระพรรษา ทรงพระกรุณาโปรดตั้งเปนสมเดจพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ให้เสดจอยู่ณบ้านหลวง ที่วังเดิม พระราชทานเครื่องราชูประโภค มีพานพระศรีทองเปนต้น โดยควรแก่ยศถาศักดิ์ทุกๆพระองค. ๏ แล้วดำรัศให้ศึกพระรัตนมุนีแก้ว กับพระพนรัตทองอยู่ออกจากพระสาศนา ดำรัศว่าเปนคนอาสัจสอพลอทำให้เสียแผ่นดิน แล้วตั้งนายแก้วรัตนมุนี เปนที่พระอาลักษณตามเดิม ให้ขนานพระนามเจ้าต่างกรมทั้งนั้น. แต่นายทองอยู่พนรัตนั้น สมเดจพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรฯ เอาตัวไปลงพระราชอาญาเฆี่ยนร้อยที ด้วยมีความผิดกับด้วยพระองคมาแต่ก่อน แล้วจะให้ประหารชีวิตรเสีย. มีพระราชโองการตรัสขอชีวิตรไว้ แล้วเอามาตั้งเปนหลวงอนุชิตพิทักษ อยู่ในกรมมหาดไทยแล้วทรงพระกรุณาโปรดตั้งแต่งข้าราชการเก่า แลข้าหลวงเดิมทั้งปวงตามมีความชอบมากแลน้อยโดยอันควรแก่ถานานุศักดิ. ๏ ตรัสเอาพระอักขรสุนทร เสมียนตรากรมมหาดไทยข้าหลวงเดิม เปนเจ้าพระยารัตนาพิพิธว่าที่สมุหนายก. ๏ ตรัสเอาพระยาทุกขราษฎร์เมืองพระพิศณุโลกย เปนเจ้าพระยามหาเสนาบดีศรีสมุหพระกลาโหม. ๏ ตรัสเอาพระยาพิพัฒโกษา เปนเจ้าพระยาพระคลัง. ๏ ตรัสเอาพระอินทราธิบดีศรีราชรองเมือง เปนเจ้าพระยายมราช. ๏ ตรัสเอาเสมียนปิ่นข้าหลวงเดิม เปนเจ้าพระยาพลเทพ. ๏ ตรัสเอาพระยาธรรมาธิบดี เลื่อนขึ้นเปนเจ้าพระยา ว่ากรมวังอยู่ตามเดิม. ๏ ตรัสเอานายบุนนากแม่ลา ซึ่งเปนต้นคิดทำการปราบจลาจลในแผ่นดิน เปนเจ้าพระยาไชยวิชิตสิทธิสาตรามหาประเทศราชผู้รักษากรุงเก่า. ตรัสเอาเสมียนหงข้าหลวงเดิม เปนพระยาเพชรพิไชย. ตรัสเอาพระยาราชนิกุล เปนพระยามหาอำมาตย. ตรัสเอาขุนไชยเสนีข้าหลวงเดิม เปนพระยาราชินิกุล. ตรัสเอาหม่อมบุนนากทนายข้าหลวงเดิม เปนพระยาอุไทยธรรม. ตรัสเอาพระราชประสิทธ เปนพระยาศรีพิพัฒ. ตรัสเอาพันพุทอนุราช เปนพระยาราชสุภาวดี. ตรัสเอาพระยาชลบูรี เปนพระยาราชวังสัน. ตรัสเอาเสมียนปานข้าหลวงเดิม เปนพระยาสมบัติบาล. ตรัสเอาเสมียนพูนข้าหลวงเดิม เปนพระยาประชาชีพ. ตรัสเอานายบุญจันบ้านถลุงเหล็กข้าหลวงเดิม เปนพระยากำแพง ตรัสเอาพระยาอินทรอัคราชอุปราชเก่าเมืองนครศรีธรรมราช เปนพระยาราชวังเมือง. ตรัสเอาขุนสิทธิรักษข้าหลวงเดิม เปนพระยาศรีสุริยพาหะ. ตรัสเอาเสมียนสาข้าหลวงเดิม เปนพระอินทราธิบดีศรีราชรองเมือง. ตรัสเอาเสมียนปิ่นเปนข้าหลวงเดิม เปนอักขรสุนทรเสมียนตรามหาดไทย. ตรัสเอาพระยาเจ่งรามัญ เปนพระยามหาโยธาว่ากองมอญทั้งสิ้น แล้วตั้งผู้มีความชอบทั้งปวง เปนขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยในกรุงครบตำแหน่ง. อนึ่งพระราชวงษานุวงษซึ่งห่างออกไปนั้น ก็ทรงพระกรุณาโปรดตั้งเปนที่เจ้าราชินิกุล. ตรัสเอาหม่อมทองด้วง เปนพระยาฦๅราชสุริยวงษ. ตรัสเอาหม่อมเงิน เปนพระบำเรอราช. ตรัสเอาหม่อมฮวบ เปนพระอนุรุทธเทวา. ตรัสเอาหม่อมทองคำ เปนพระราชานุวงษ. แล้วตั้งผู้มีความชอบออกไปเปนพระยาพระหลวง ครองหัวเมืองเอกเมืองโทเมืองตรีเมืองจัตวา ปากใต้ฝ่ายเหนือทั้งปวงทุกๆ เมือง. ๚ะ๏ ฝ่ายตำแหน่งขุนนางข้าราชการข้างวังน่านั้น สมเดจพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรฯ ก็มีพระราชบัณฑูรโปรดตั้งแต่งโดยควรแก่ความชอบตามลำดับถานานุศักดิ ตรัสเอาพระยาพลเทพเดิม เปนสมเดจเจ้าพระยา ตรัสเอาพระไชยบูรณ ปลัดเมืองพระพิศณุโลกย เปนพระยากระลาโหมราชเสนา. ตรัสเอาพระพลเมืองพระพิศณุโลกย เปนพระยาจ่าแสนยากร. ตรัสเอาหม่อมสดทะนายข้าหลวงเดิม เปนพระยามณเฑียรบาล. ตรัสเอานายทองอินข้าหลวงเดิมเมืองพระพิศณุโลกยเปนพระยาเสน่หาภูธรจางวางมหาดเล็ก. แล้วตั้งแต่งข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวง ครบตำแหน่งในพระราชวังน่าทั้งสิ้น. อนึ่งหม่อมเรือง ชาวเมืองชลบุรีข้าหลวงเดิม มีความชอบในพระองคมาแต่ก่อนเปนอันมาก เปนคนสนิทเหมือนเชื้อพระวงษ. โปรดตั้งเปนที่เจ้าราชินิกุล ให้ชื่อพระบำเรอภูธร แล้วสมเดจพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรฯ เสดจลงมาเฝ้ากราบทูลว่า บันดาบุตรชายน้อยๆ ของเจ้าตากสินนั้น จะขอพระราชทานเอาใส่เรือไปล่มน้ำเสียให้สิ้น ตามคำบุราณกล่าวไว้ว่า ตัดหวายอย่าไว้หนามหน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก. ซึ่งจะเลี้ยงไว้นั้นหาประโยชนไม่ จะเปนเสี้ยนหนามไปภายน่า. สมเดจพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระอาไลยอยู่ในเจ้าฟ้าสุพันธุวงษพระราชนัดา. จึ่งดำรัศแก่สมเดจพระอนุชาธิราชเจ้าว่า ขอชีวิตรไว้ทั้งสิ้นด้วยกัน. แล้วทรงพระกรุณาโปรดให้ปล่อยหม่อมอั้นแลหม่อมส่อนหอกลางออกจากเวนจำให้พ้นโทษ. ๚ะ๏ ในปีขานจัตวาศกนั้น สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค จึ่งดำรัศปฤกษากันว่า ฝ่ายข้างอาณาจักร เราจัดแจงตั้งแต่งข้าราชการตามตำแหน่งเสร็จแล้ว. ควรจะจัดแจงฝ่ายพุทธจักร ทำนุบำรุงพระพุทธสาศนา ซึ่งเสื่อมทรุดเศร้าหมองนั้นให้วัฒนาการรุ่งเรืองสืบไป. จึ่งดำรัศให้สมเดจพระสังฆราชพระพุทธาจาริยพระพิมลธรรม ซึ่งเจ้าตากให้ลงโทษถอดเสียจากพระราชาคณะนั้น โปรดให้คงที่สมณะถานันดรศักดิ์ดังเก่า ให้คืนไปอยู่ครองพระอารามตามเดิม. แลสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค จึ่งดำรัศสรรเสริญว่า พระผู้เปนเจ้าทั้งสามพระองคนี้ มีสันดานสัจซื่อมั่นคงดำรงรักษาพุทธสาศนาโดยแท้ มิได้อาไลยแก่กายแลชีวิตร ควรเปนที่นับถือไหว้นบเคารพยสการบูชา. แม้นมีข้อสงไสยสิ่งใดในพระบาฬีไปภายน่า จะให้ประชุมพระราชาคณะไต่ถาม. ถ้าพระผู้เปนเจ้าทั้งสามพระองคว่ายังนี้แล้ว แลพระราชาคณะอื่นๆ จะว่าอย่างหนึ่งไป ก็คงจะเชื่อถือถ้อยคำพระผู้เปนเจ้าทั้งสาม. ซึ่งจะเชื่อถ้อยฟังความคำพระราชาคณะอื่นๆ ที่พวกมากนั้นหามิได้ ด้วยเหนใจเสียครั้งนี้แล้ว.ๆโปรดให้พระสงฆ์วัดบางว้าใหญ่ แลวัดโพธารามเข้ามาบิณฑบาตรในพระราชวังหลวงทั้งสองพระอารามให้ผลัดเวนกันวัดละเจดวันเปนนิจนิรันตรกาล. แล้วให้รื้อพระตำหนักทองของเจ้าตากนั้นไปปลูกเปนกุฎีถวายสมเดจพระสังฆราชณวัดบางว้าใหญ่. แล้วดำรัศว่าพระสังฆราชชื่นวัดหงษ ซึ่งเจ้าตากตั้งขึ้นใหม่นั้น ก็เปนพวกอาสัจสอพลอพลอยว่าตามนายแก้วนายทองอยู่แต่มิได้เปนตัวต้นเหตุ. แต่รู้พระไตรยปิฎกมากเสียดายอยู่ อย่าให้ศึกเสียเลย. แลที่พระวันรัตนนั้นว่างอยู่หาตัวมิได้ จึ่งโปรดตั้งให้เปนที่พระธรรมธิราชมหามุนีว่าที่พระวันรัต. อนึ่งพระราชาคณะทั้งปวงนั้น ก็ว่าตามกันไปด้วยกลัวพระราชอาญา ทรงพระกรุณาให้ยกโทษเสียทั้งสิ้น. แต่ที่พระธรรมโคดมนั้น ต้องกับพระนามพระสัพพัญญูเจ้า. จึ่งดำรัศให้แปลงนามเสียใหม่โปรดให้พระเทพกระวีเลื่อนขึ้นเปนพระธรรมอุดม. ให้พระธรรมโฆษาวัดปากน้ำ เปนพระเทพกระวี ให้มหานากปเรียญติเอกวัดบางว้าใหญ่ เปนพระพุทธโฆษาจาริย. ให้มหาเรืองข้าหลวงเดิมอยู่วัดบางว้าใหญ่ เปนพระเทพมุนีให้มหาเกสรปเรียญติโทวัดโพธาราม เปนพระญาณสิทธิ. ๚ะ๏ อนึ่งที่พระอุบาฬีนั้น ก็ต้องกับนามพระอรหันต์ จึ่งดำรัศให้แปลงนามเสียใหม่. ให้มหามีปเรียญติ์เอกวัดเลียบ เปนพระวินัยรักขิตแทนที่พระอุบาฬี. แลพระพุทธาจาริยวัดบางว้าน้อยนั้น ชราอาพาธลงก็ดับสูญ. ทรงพระกรุณาให้กระทำฌาปนกิจแล้ว ให้นิมนต์พระเทพมุนีไปอยู่ครองอารามวัดบางว้าน้อยแทน. จึ่งโปรดให้พระพรหมมุนีวัดบางว้าใหญ่ เลื่อนเปนพระพุทธาจาริย. โปรดให้มหาทองดีปเรียญติ์เอกวัดหงษ เปนพระนิกรมไปครองวัดนาค. แล้วโปรดให้พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี พระครูศรีสุนทราสรวิจิตร เปนตำแหน่งคู่สวดในสมเดจพระสังฆราชไปอยู่วัดกลาง. แล้วให้นิมนต์พระอาจาริยวัดท่าหอย คลองตะเคียนแขวงกรุงเก่า ลงมาอยู่ครองวัดพลับ ให้เปนพระญาณสังวรเถร. ให้พระอาจาริยวัดสมอราย เปนพระปัญาวิสารเถร. ให้พระญาณไตรยโลกยวัดเลียบ เลื่อนที่เปนพระพรหมมุนี. ๚ะ๏ อนึ่งหลวงธรรมรักษาเจ้ากรมสังฆการีขวา ซึ่งเปนพระพิมลธรรมก่อนนั้น ต้องศึกครั้งแผ่นดินเจ้าตากว่า ต้องอธิกรณ์อทินนาทาน ทรงแคลงอยู่ จึ่งให้พิจารณาไล่เลียงดูใหม่ ก็บริสุทธิอยู่หาขาดสิกขาบทไม่. จึ่งทรงพระกรุณาโปรดให้กลับบวชเข้าใหม่ ให้เปนพระญาณไตรยโลกยอยู่วัดสลัก. โปรดให้มหามีปากแดงปเรียญติ์เอกวัดคอกกระบือ เปนพระโพธิวงษ. ๚ะ๏ อนึ่งที่พระราชาคณะฝ่ายรามัญนั้น ยังหาตัวมิได้. จึ่งทรงพระกรุณาให้จัดพระมหาเถรฝ่ายรามัญ ซึ่งรู้พระวินัยปริยัติได้สามพระองค. ทรงตั้งเปนพระมหาสุเมธาจาริยพระองค์หนึ่ง พระไตรสรณธัชพระองคหนึ่ง พระสุเมธน้อยพระองค์หนึ่ง. แลสมเดจพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรฯ ทรงสร้างพระอารามขึ้นใหม่ให้นามวัดทองปุะ. นิมนต์พระสงฆ์รามัญมาอยู่ ให้พระมหาสุเมธาจารยเปนเจ้าอาราม. อนึ่งพระไตรยสรณธัชนั้น มีพระราชโองการโปรดให้อยู่ณวัดบางหลวง เปนเจ้าคณะรามัญในแขวงเมืองนนทบุรี แลเมืองสามโคก พระสุเมธน้อยนั้นให้เปนเจ้าอารามวัดบางยี่เรือใน. ๚ะ๏ อนึ่งครั้งแผ่นดินเจ้าตากนั้น พระราชาคณะ ถานาปเรียญติ์ทั้งปวง ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด เหมือนข้าราชการฝ่ายฆราวาศนั้น เหนว่าไม่ควร. จะทรงถวายเงินเดือนเปนนิจภัตรทุกๆเดือน. จึ่งพระธรรมธิราราชมหามุนีถวายพระพรว่า ซึ่งจะทรงถวายเงินแก่พระสงฆ์ ๆ รับนั้นไม่ควร ต้องอาบัติปาจิตตีย. จึ่งดำรัศให้วิเสศนอกแต่งสำรับกัปปียจังหันไปถวายพระราชาคณะแลปเรียญติ์ในเพลาเช้าทุกๆพระอาราม. ๚ะ๏ ขณะนั้นพระเทพมุนีซึ่งเปนข้าหลวงเดิม จึ่งเข้ามาถวายพระพรว่า ซึ่งสมเดจบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า จะมาทรงเชื่อถือกระทำตามถ้อยคำสมเดจเจ้าชื่นนั้นไม่ควรนัก ด้วยสมเดจเจ้าชื่นองค์นี้ เปนคนอาสัจสอพลอ กระทำให้แผ่นดินเจ้าตากฉิบหายเสียครั้งหนึ่งแล้ว. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธว่า พระเทพมุนีมาเจรจาอยาบช้าแช่งให้เหมือนแผ่นดินเจ้าตาก. จึ่งดำรัศให้ถอดเสียจากพระราชาคณะ แล้วโปรดให้พระเทพโมฬีวัดสังฆจายเปนพระเทพมุนีแทน. โปรดให้มหาศรีปเรียญติ์เอกวัดพลับเปนพระเทพโมฬี. แล้วดำรัศว่าวัดแจ้ง วัดท้ายตลาดทั้งสองพระอารามนี้ แต่ก่อนเปนวัดภายในพระราชวังไม่มีพระสงฆอยู่. จึ่งทรงพระกรุณาให้สร้างกุฎีเสนาศนสงฆ์ทั้งสองอาราม. แล้วโปรดให้นิมนตพระเทพโมฬีวัดพลับ กับพระสงฆ์อันดับมาอยู่ณวัดท้ายตลาด. แล้วโปรดให้พระปลัดสมเดจพระสังฆราชเปนพระโพธิวงษาจารย. โปรดให้พระครูเมธังกร เปนพระศรีสมโพธิ. ให้นิมนตพระราชาคณะทั้งสองพระองค กับทั้งพระสงฆอันดับมาจากวัดบางว้าใหญ่ ลงมาอยู่ณวัดแจ้ง ให้มีพระสงฆ์ขึ้นทั้งสองพระอารามแล้ว. ครั้งนั้นโปรดให้แจกกฎหมายประกาศห้ามมิให้พระสงฆ์ทั้งปวง รับวัดถุปัจจัยของทายก. ๚ะ๏ ขณะนั้นพระพุฒฒาจาริย ซึ่งเปนสิศสมเดจพระสังฆราชไปเข้าพวกพระธรรมธิราราชมหามุนีวัดหงษ ปฤกษาเหนด้วยกันว่าวัดนาควัดกลางมีอุปจารใกล้กันนักจะมีภัทธสีมาต่างกันนั้นมิควรๆจะมีภัทธสีมาแห่งเดียว. ร่วมกระทำอุโบสถสังฆกรรมในภัทธสีมาอันเดียวกัน. จึ่งให้พระพุฒฒาจาริยเปนผู้ว่า เข้ามาถวายพระพร. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ จึ่งดำรัศให้ประชุมพระราชาคณะปฤกษาพร้อมกันณวัดบางว้าใหญ่ ในสำนักนิ์สมเดจพระสังฆราชว่า จะควรมิควรประการใด. แลพระราชาคณะทั้งปวง มีสมเดจพระสังฆราชเปนประธาน ปฤกษาเหนพร้อมกันว่า อารามทั้งสองนั้นมีคลองขั้นเปนเขตร ควรจะมีภัทธสีมาต่างกันได้. ด้วยมีตัวอย่างมาแต่โบราณ ครั้งกรุงเก่านั้นพระอารามก็ใกล้ๆ กัน มีอุโบสถผูกภัทธสีมาต่างๆกันมีมาแต่ก่อนเปนอันมาก ซึ่งจะว่าเปนภัทธสีมาอันเดียวกันนั้นมิชอบ. แลพระธรรมธิราราชมหามุนีกับพระพุฒฒาจาริยก็แพ้ในที่ชุมนุมพิภากษา. ราชบุรุษนำเอาคำปฤกษาพระราชาคณะขึ้นกราบบังคมทูล สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ทรงพระพิโรธแก่พระพุฒฒาจาริยว่า เจรจาอวดรู้กว่าผู้ใหญ่ดำรัศให้ถอดพระพุฒฒาจาริยเสียจากพระราชาคณะ. แลสมเดจพระสังฆราชจึ่งตรัสประกาศเรียกว่ามหาอะกตัญู มิได้นับถือถ้อยคำชีต้นอาจาริยของตนไปเข้าด้วยพวกวัดหงษ. ครั้นอยู่มามิได้ช้าจึ่งพระปลัดจันเปนปลัดพระรัตนมุนีแก้ว ซึ่งศึกออกมาเปนพระอาลักษณนั้น มาฟ้องยกอธิกรณ์พระธรรมธิราราชมหามุนีในสำนักนิ์สมเดจพระสังฆราชว่า เดิมพระธรรมธิราราชมหามุนี ถวายพระพรสมเดจพระเจ้าแผ่นดิน ห้ามมิให้พระสงฆ์รับวัตถุปัจจัย. บัดนี้พระธรรมธิราราชมหามุนี เอาผ้าส่านซึ่งทรงถวายเปนบริขารเครื่องยศนั้น ไปขายแก่พระศุภรัตๆซื้อไว้เปนวัตถุแปดตำลึง สมเดจพระสังฆราชจึ่งให้ราชบุรุษกราบบังคมทูล ทรงพระกรุณาดำรัศให้พระยาพระเสด็จเปนตระลาการชำระคดี พิจารณาสืบสวนได้ความเปนสัจสมฟ้อง. ทรงพระพิโรธดำรัศให้สมเดจพระสังฆราชพิภากษาโทษพระธรรมธิราราชมหามุนี ลงทัณฑกรรมให้ขนทรายห้าร้อยตะกร้า แล้วให้ถอดเสียจากที่ ให้ลดลงมาเปนพระธรรมไตรยโลกย แล้วโปรดให้พระธรรมเจดียวัดสลัก เลื่อนขึ้นเปนพระวันรัตแทน. โปรดให้พระญาณสมโพธิ์วัดหงษ เลื่อนขึ้นเปนพระธรรมเจดีย. ๚ะ๏ ในลำดับนั้นพระปลัดจีนวัดนาค มาฟ้องยกอธิกรณ์พระนิกรมเจ้าอารามในสำนักนิ์สมเดจพระสังฆราชว่า พระนิกรมจูบผ้าห่มฉิมภรรยาพระยามหานุภาพ สมเดจพระสังฆราชให้ราชบุรุษกราบทูล ทรงพระกรุณาให้พระยาพระเสดจชำระ พิจารณาได้ความเปนสัจดำรัศจะให้ศึกเสีย. สมเดจพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรฯ กราบทูลขอไว้ว่ายังหาถึงศีลวิบัติไม่. จึ่งดำรัศให้ถอดพระนิกรมเสียจากพระราชาคณะแล้วให้บัพพาชนิยกรรมเสียจากพระอาราม ไปอาไศรยอยู่กับพระสุเมธน้อยณวัดบางยี่เรือใน. แล้วทรงพระกรุณาโปรดให้ตั้งมหาอยู่พุฒฒาจาริยซึ่งถอดเสียนั้นเปนธรรมกิติ์ไปครองวัดนาค. โปรดให้มหาเรืองเทพมุนีซึ่งถอดเสียนั้นเปนพระธรรมโฆษาครองอารามวัดบางว้าน้อยดังเก่า. แล้วโปรดให้พระอาจาริยเป้าปเรียญติ์เอกแต่ครั้งกรุงเก่า ลงมาแต่หัวเมืองฝ่ายเหนือ มาอยู่ณวัดบางยิเรือใต้นั้น ตั้งให้เปนพระพุฒฒาจาริยอยู่ครองพระอารามนั้น. แล้วดำรัศให้เลิกกดหมายซึ่งห้ามมิให้พระสงฆรับวัตถุปัจจัยแต่ก่อนนั้นเสีย จึ่งทรงถวายเงินตราเปนค่าบิณฑบาตปัจจัยแก่พระราชาคณะปเรียญติ์ทุกๆ อารามเปนนิจภัตรทุกๆเดือนมิได้ขาด. ๚ะ๏ ครั้นทรงจัดแจงฝ่ายพระพุทธจักรเสรจแล้ว จึ่งโปรดให้พระยาราชาเสรฐีกลับออกไปครองเมืองพุทไธยมาศดังเก่า. แล้วทรงเหนว่าเมืองพุทไธยมาศเปนเมืองน่าศึกใกล้กันกับแดนเมืองยวญ จึ่งโปรดให้พระยาทัศดาออกไปช่วยราชการป้องกันเมืองด้วย. ๚ะ๏ ฝ่ายพระยาปังกลิมาเจ้าเมืองกำปอชรู้ข่าวว่า กรุงพระมหานครศรีอยุทธยาผลัดแผ่นดินใหม่ ก็คิดขบถแขงเมือง มิได้มาขึ้นเปนข้าขอบขันธสีมาเหมือนแต่ก่อน. พระยาราชาเสรฐี พระยาทัศดา ก็บอกเข้ามากราบทูล จึ่งดำรัศให้มีตราตอบออกไป ให้พระยาราชาเสรฐี พระยาทัศดา คิดอ่านจับตัวพระยาปังกลิมาจำส่งเข้ามาณกรุงฯ พระยาราชาเสรฐีพระยาทัศดา ก็ยกกองทับมาจากเมืองพุทไธยมาศ มาณเมืองกำปอช จับตัวพระยาปังกลิมาได้จำส่งเข้ามาถวาย. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งลองพระองค์ จึ่งดำรัศให้เอาตัวพระยาปังกลิมาไปตัดเท้าแล้ว แล้วผูกขึ้นแขวนห้อยศีศะลงมาเบื้องต่ำ กระทำประจารไว้ที่ป่าช้าวัดโพธารามนอกพระนครด้านตวันออกจนถึงแก่ความตาย. ๚ะ๏ ขณะนั้นเจ้าพระยาพระคลังมีความผิดในราชการ ทรงพระกรุณาให้ถอดเสีย แล้วโปรดตั้งให้พระยาศรีอัคราช ช่วยราชการในกรมท่า. จึ่งดำรัศเอาพระยาพิพัฒโกษาเลื่อนขึ้นเปนเจ้าพระยาพระคลังแทน. ตรัสเอาจหมื่นสรรพเพธภักดีข้าหลวงเดิมเปนเจ้าพระยาพิพัฒโกษา. ๚ะ๏ ฝ่ายข้างกัมพุชประเทศนั้น ทรงพระกรุณาโปรดให้ข้าหลวงถือท้องตราออกไปตั้งพระยายมราชเขมรผู้มีความชอบ เปนเจ้าพระยาอไภยภูเบศร์ครองกรุงกัมพูชาธิบดี. แล้วส่งเจ้าสี่องคราชบุตรนักพระอุไทยราชานั้นเข้ามากรุงฯ. เจ้าพระยาอไภยภูเบศรก็ส่งเข้ามาตามรับสั่ง. แล้วตั้งเมืองอยู่ณะตำบลอุดงฤาไชยมิได้อยู่ที่เมืองพุทไธยเพชร. ๚ะ๏ พระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระกรุณาโปรดเลี้ยงนักพระองค์เอง เปนพระราชบุตรบุญธรรม. แต่นักพระองค์มินนั้นถึงแก่พิราไลย. แลพระองค์อี พระองค์เภา หญิงทั้งสองนั้น สมเดจพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรฯ ขอพระราชทานไปเลี้ยงไว้เปนพระสนม อยู่พระราชวังน่า. ๚ะ๏ ฝ่ายข้างลาวประเทศนั้น เจ้าบุญสาร พระเจ้าล้านช้างเก่า กลับมาแต่เมืองคำเกิดมาณะเมืองล้านช้าง จับพระยาสุโภซึ่งอยู่รั้งเมืองนั้นฆ่าเสีย แล้วเข้าตั้งอยู่ในเมือง. แลท้าวเพลี้ยขุนนางซึ่งไม่ยอมเข้าด้วยนั้น ก็หนีลงมาณกรุงฯ กราบทูลพระกรุณาให้ทราบ. ๚ะ๏ พระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค จึ่งมีพระราชดำรัศโปรดให้เจ้านันทเสนราชบุตรนั้น ให้กลับขึ้นไปครองกรุงศรีสัตนาคนหุตสืบไป. แล้วเจ้านันทเสนจึ่งกราบทูลขอพระบางนั้นกลับคืนไปด้วย. ครั้นขึ้นไปถึงเมืองบมิได้ช้า เจ้าบุญสารผู้บิดาก็ถึงแก่พิราไลย. แล้วพระเจ้าล้านช้างใหม่กระทำฌาปนะกิจเสรจแล้ว ก็บอกส่งเจ้าอินเจ้าพรม แลเจ้าน้องทั้งปวงนั้นลงมาถวายณกรุงฯทรงพระกรุณาให้เลี้ยงไว้. ๚ะ๏ ในปีขานจัตวาศกนั้น สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระราชบุตร พระราชบุตรี พระราชนัดา ซึ่งยังทรงพระเยาว์อยู่นั้นเปนสมเดจพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าหลานเธอ เปนเจ้าฟ้าทั้งสิ้น. แลพระราชนัดาเจ้าฟ้าสุพันธุวงษนั้น พระราชทานพระนามใหม่ว่า สมเดจพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าอภัยธิเบศนเรศรสมมติวงษพงษอิศวรราชกุมาร. ๚ะ๏ อนึ่งแต่ครั้งเมื่อปีฉลูตรีศกนั้น ฝ่ายข้างแผ่นดินภุกามประเทศ พระเจ้าจิงกูจา ผู้เสวยราชสมบัติณกรุงรัตนบุระอังวะ ยกกองทับขึ้นไปนมัศการพระสิงหดอ เหนือเมืองอังวะขึ้นไปทางไกลห้าคืน. ๚ะ๏ ขณะนั้นมังหม่องเปนราชบุตรพระเจ้ามังลอกผู้เปนลุงพระเจ้าจิงกูจาบวชเปนสามเณรอยู่ ตั้งซ่องสุมผู้คนได้พัคพวกเปนอันมาก จึ่งศึกออกคิดการขบถ ยกเข้าปล้นชิงเอาเมืองอังวะได้. มังหม่องจึ่งให้ไปเชิญอาวทั้งสาม คือตแคงปดุงหนึ่ง ตแคงปคานหนึ่ง ตแคงแปงตแลหนึ่ง. มาพร้อมกันแล้วมอบราชสมบัติให้. อาวทั้งสามมิได้รับ ยอมให้มังหม่องเปนเจ้าแผ่นดิน มังหม่องก็ได้ครองราชสมบัติเปนพระเจ้าอังวะ. จึ่งไปขอบุตรีอแซหวุ่นกี้มาเปนพระมเหษี. แลพวกข้าไทยมังหม่องนั้นเปนคนอยาบช้า เที่ยวข่มเหงขุนนางแลอาณาประชาราษฎรได้ความเดือดร้อน. อแซหวุ่นกี้จึ่งคิดการขบถ. ภอเพลาเย็นมังหม่องเสวยอาหารอยู่ อแซหวุ่นกี้ก็ภาพัคพวกเข้าไปในพระราชวัง จับตัวมังหม่องประหารชีวิตรเสีย. แลมังหม่องอยู่ในราชสมบัติได้เจดวันก็ถึงพิราไลย อแซหวุ่นกี้ขึ้นนั่งเมืองอยู่ได้คืนหนึ่ง. จึ่งตแคงปดุง ตแคงปคาน ตแคงแปงตะแลทั้งสาม กับขุนนางทั้งปวงพร้อมกันยกพลทหารเข้าปล้นเอาพระราชวังได้. จับตัวอแซหวุ่นกี้ได้ให้ฆ่าเสีย. ขุนนางทั้งปวงจึ่งเชิญตแคงปดุง ขึ้นเสวยราชสมบัติณเมืองอังวะ พระเจ้าปดุงจึ่งตั้งตแคงอินแซะ ราชบุตรผู้ใหญ่เปนมหาอุปราช แล้วให้มหาศีลวะอำมาตย์ กับจอกตลุงโบ่ เปนนายทับเรือห้าสิบลำ คนสองพันยกขึ้นไปจับพระเจ้าจิงกูจา ซึ่งขึ้นไปไหว้พระสิงหดอได้ตัวมา กับทั้งบุตรกรรยาแลขุนนางทั้งปวง. พระเจ้าปดุงให้เอาตัวพระเจ้าจิงกูจา ไปถ่วงน้ำเสียให้ถึงแก่ความตาย บุตรภรรยาขุนนางพัคพวกนั้น ให้ประหารชีวิตรเสียสิ้น แลพระเจ้าจิงกูจาอยู่ในราชสมบัติได้หกปีเสศ. ๚ะ๏ ในปีขานนั้นฝ่ายข้างแผ่นดินเมืองญวน องคไก่เซินเจ้าเมืองกุยเยิน ยกกองทับไปตีเมืองแซ่ง่อน องคเชียงสือเจ้าเมือง ยกพลทหารออกต่อรบ ต้านทานมิได้ก็แตกฉานพ่ายหนีทิ้งเมืองเสีย ภาบุตรภรรยาแลขุนนางสมักพัคพวก ลงเรือแล่นหนีมาทางทเล ขึ้นอาไศรยอยู่ณเกาะโดดน่าเมืองพุทไธยมาศ. ครั้นพระยาราชาเสรฐี พระยาทัศดาได้แจ้ง จึ่งแต่งคนไปเจรจาเกลี้ยกล่อมได้ตัวองคเชียงสือ กับทั้งสมัคพัคพวกมาสิ้น แล้วบอกส่งเข้ามาถวายณกรุงฯ ทรงพระกรุณาให้เลี้ยงไว้ โปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ตำบลคอกกระบือ. ๚ะ๏ ฝ่ายองคไก่เซินครั้นตีเมืองแซ่ง่อนได้แล้ว จึ่งให้องคติงเวืองน้องชายกลางอยู่รักษาเมืองแซ่ง่อน แล้วให้องคลองเยืองน้องชายน้อย ไปเปนเจ้าเมืองเว้. ตัวองไก่เซินก็เลิกกองทับกลับไปเมืองกุยเยิน. ๚ะ๏ ครั้นถึงปีเถาะเบญจศก ศักราช ๑๑๔๕ ฝ่ายข้างกรุงภุกามประเทศพม่าคนหนึ่งชื่องะพุง มีพัคพวกประมาณสามร้อย คิดขบถยกเข้าปล้นเมืองอังวะ. พระเจ้าปดุงให้ขุนนางคุมทหารออกต่อรบก็แตกฉานพ่ายหนี พลข้าหลวงติดตามจับตัวงะพุงกับพัคพวกได้ พระเจ้าปดุงให้ฆ่าเสียทั้งสิ้น. ๚ะ๏ ในปีเถาะนั้น พระเจ้าปดุงให้สร้างเมืองใหม่ที่ตำบลบ้านทองกา อยู่ทิศตวันตกไกลเมืองอังวะทางสามร้อยเส้น. ครั้นการเมืองสำเรจแล้ว จึ่งให้นามชื่อเมืองอมรบุระ. พระเจ้าปดุงยกไปจากเมืองอังวะ ไปอยู่ณเมืองใหม่นั้นตั้งเปนเมืองหลวง. แล้วจัดแจงกองทับจะยกไปตีเมืองธัญวดี คือเมืองยะไข่. แต่งให้แอกกะบัดหวุ่นถือพลสี่พันเปนทับน่า. ให้ตแคงจักกุราชบุตรที่สองถือพลหมื่นหนึ่งเปนแม่ทับบกยกไปทางหนึ่ง. แล้วให้แมงคุงหวุ่นถือพลสี่พันเปนทับน่า. ให้ตแคงกามะราชบุตรีที่สามถือพลหมื่นหนึ่งเปนแม่ทับบกบกยกไปทางหนึ่ง. แล้วให้ศิริกเหรี่ยงหนึ่ง แยข่องเดชะหนึ่ง แจกกะเรจอโบ่หนึ่ง ถือพลสี่พันเปนทับน่า. ให้อินแซะมหาอุปราช ถือพลหมื่นหกพันเปนแม่ทับยกไปทางหนึ่ง เปนสามทับไปตีเมืองธัญวดี. ๏ แลทับเรือนั้นให้มหาจอแทงตละยาเปนแม่ทับ กับแยจออากาหนึ่ง แยจอสมุทหนึ่ง ถือพลห้าพัน เรือรบเรือทเลสามร้อยลำ ยกไปทางทเล. แลกองทับบกทับเรือทั้งสี่ทับ ยกไปตีหัวเมืองขึ้นยะไข่รายทางไปได้เปนหลายเมือง. แล้วยกไปบันจบพร้อมกันเข้าดีเมืองธัญวดี ซึ่งเปนเมืองหลวงยะไข่นั้น. พระเจ้ายะไข่ให้พลทหารออกต่อรบสู้ฝีมือพม่ามิได้. ทับพม่าก็เข้าหักเอาเมืองได้ จับได้ตัวพระเจ้ายะไข่ แลขุนนางไพร่พลครอบครัวประมาณห้าหมื่นเสศ กวาดเอามาเมืองอมรบุระ. แล้วตั้งจอกะชูคุมพลพม่าหมื่นหนึ่งให้อยู่รักษาเมืองธัญวดี. แลพระเจ้ายะไข่นั้น พระเจ้าปดุงให้เลี้ยงไว้ ป่วยลงก็ถึงแก่ความตาย. ๚ะ๏ ในปีเถาะเบญจศกนั้น ฝ่ายข้างพระมหานครศรีอยุทธยา เกิดขบถอ้ายบัณฑิตยสองคนมาแต่เมืองนครนายกอวดตัวว่า มีวิชาการความรู้ล่องหนหายตัวได้. คบคิดกับขุนนางเปนหลายคน มีพระยาอไภยรณฤทธิเปนต้น กับทั้งหญิงพวกวิเสศปากบาตรพระราชวังน่า. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันศุกรเดือนห้าแรมสองค่ำเพลาเช้า พวกหญิงวิเสศวังน่า ขนกระบุงใส่เข้าทรงบาตรเข้าไปทางประตูดินวังน่า เอี้ยงผู้เปศนายวิเสศปากบาตร ภาอ้ายบัณฑิตยทั้งสองคน นุ่งผ้าห่มผ้าอย่างผู้หญิง ถือดาบซ่อนในผ้าห่มปลอมเข้าไปในวังน่า. แล้วขึ้นไปแอบอยู่สองข้างพระทวารพระราชมณเฑียร ทางที่จะเสดจลงมาทรงบาตร คอยจะทำร้ายสมเดจพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรฯ. ด้วยเดชะพระบารมีเพลาวันนั้นหาเสดจลงทรงบาตรพระทวารมุขนั้นไม่. เทพยดาดลพระไทยให้ทรงพระราชดำริหจะลงมาเฝ้าณพระราชวังหลวง ก็เสดจออกทางพระทวารข้างน่า. แล้วเสดจลงมายังพระราชวังหลวงแต่เพลาเช้าก่อนทรงบาตร. อ้ายขบถบัณฑิตยทั้งสอง หาได้โอกาศที่จะทำร้ายไม่. ภอนางพนักงานเฝ้าที่มาภบเข้าก็ตกใจ วิ่งร้องอื้ออึงลงมาว่า ผู้ชายสองคนถือดาบขึ้นมาอยู่ที่พระทวารบนที่. อ้ายบัณฑิตยทั้งสองก็ไล่นางเฝ้าที่ลงมา. ๚ะ๏ ขณะนั้นภอขุนหมื่นกรมวังคนหนึ่ง คุมไพร่เข้าไปก่อถนนในพระราชวัง. อ้ายขบถบัณฑิตยก็เอาดาบฟันขุนหมื่นผู้นั้น ศีศะขาดล้มลงตายอยู่กับที่ พวกเจ้าจอมข้างในแลจ่าโขลน ที่ตกใจร้องอื้ออึงวิ่งออกมาบอกข้าราชการข้างน่า. ข้าราชการข้างน่าทั้งปวงก็เข้าไปในพระราชวัง ไล่ล้อมจับอ้ายขบถบัณฑิตยทั้งสอง. บ้างเอาไม้พลองแลอิดทุบตีทิ้งขว้างเปนอลหม่าน. บ้างก็วิ่งลงมายังพระราชวังหลวงกราบทูลเหตุให้ทราบ. ภอเสดจเข้าอยู่ในท้องพระโรง. ๚ะ๏ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองคได้ทรงทราบ จึ่งดำรัศให้ข้าราชการทั้งปวง แลตำรวจทั้งพระราชวังหลวงวังน่า เร่งขึ้นไปจับอ้ายขบถ ช่วยกันทุบตีล้มลงจับตัวได้มัดไว้. แล้วจำครบตบติดไม้เฆี่ยนถาม. ให้การซัดพวกเพื่อนร่วมคิดขบถด้วยกันเปนอันมาก ถูกข้าราชการทั้งวังหลวงวังน่าเปนหลายคน มีพระยาอไภยรณฤทธิเปนต้น กับทั้งพวกหญิงวิเสศปากบาตรวังน่าทั้งนายทั้งไพร่. มีพระบัณฑูรให้เฆี่ยนสอบกับอ้ายบัณฑิตยรับเปนสัจ ดำรัศให้ประหารชีวิตรอ้ายบัณฑิตขบถสองคน กับพวกเพื่อนชายหญิงทั้งสิ้น. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันศุกรเดือนห้าแรมเก้าค่ำ พระยาอไภยภูเบศรผู้ครองกรุงกัมพูชาธิบดี ให้พระยาพระเขมรเชิญเอาพระขรรคไชยศรี แต่ครั้งพระเจ้าปทุมสุริยวงษส่งเข้ามาทูลเกล้าฯถวาย. ในวันนั้นบังเกิดพยุหใหญ่ฝนตกอสนีบาตลงศาลาลูกขุนใน. ๚ะ๏ ในปีเถาะเบญจศกนั้น ทรงพระกรุณาดำรัศให้พระยานครสวรรคยกกองทับออกไปณกรุงกัมพูชา ให้เกนกองทับเขมรเข้าบันจบด้วย ยกไปรบยวญตีเมืองแซ่ง่อนคืนให้องคเชียงสือ ซึ่งเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พระยานครสวรรคก็กราบถวายบังคมลา ยกกองทับออกไปณกรุงกัมพูชาตามพระราชกำหนด. ๚ะ๏ ถึงณวันศุกรเดือนสิบเบดแรมสิบสี่ค่ำ เกิดพยุหใหญ่พัดเย่าเรือนในพระนครทำลาย แลใบเสมากำแพงเมืองก็หักพังลงเปนอันมาก. ๚ะ๏ ในปีเถาะนั้น สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค ดำรัศให้จับการก่อกำแพงทั้งพระราชวังหลวงวังน่า แล้วให้ถาปนาพระราชมณเฑียร ทั้งข้างน่าข้างในสำเรจบริบูรณ. ๚ะ๏ พระบาทสมเดจพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระกรุณาให้ถปนาพระอารามขึ้นภายในพระราชวัง พร้อมทั้งอุโบสถพระเจดียวิหาร แลศาลารายเปนหลายหลัง แล้วให้ขุดสระน้ำทำหอไตรยลงในสระใส่ตู้พระไตรยปิฎก. แล้วโปรดให้พระอาลักษณ์แก้ว เปนพระยาธรรมปโรหิต จางวางราขบัณฑิตย. ตั้งพระอาลักษณ์ขึ้นใหม่. แล้วให้หลวงอนุชิตพิทักษเปนพระยาพจณาพิมล ช่วยราชการในกรมราชบัณฑิตย. แล้วให้ราชบัณฑิตยทั้งปวงบันดาที่เปนอาจาริยนั้นบอกพระไตรยปิฎกพระสงฆสามเณรเปนอันมากบนหอไตรยๆ นั้นให้นามว่าทอพระมณเฑียรธรรม. ๚ะ๏ อนึ่งให้อัญเชิญรูปพระเทพบิดา คือสมเดจพระเจ้ารามาธิบดีอู่ทอง ซึ่งเปนปฐมกระษัตริยสร้างกรุงเก่า มาแปลงเปนพระพุทธรูปหุ้มเงินปิดทอง แล้วประดิษฐานไว้ในพระวิหารๆนั้นให้นามว่าหอพระเทพบิดร. แลการพระอารามนั้นยังมิได้สำเรจ. ๚ะ๏ ฝ่ายสมเดจพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรฯ ก็ทรงปฏิสังขรณวัดสลัก ให้กระทำอุโบสถพระวิหารการปเรียญดิ์แลพระมณฑปขึ้นใหม่. แล้วก่อพระเจดียบันจุพระบรมธาตุไว้ภายในพระมณฑป ก่อพระรเบียงล้อมรอบ แลสร้างกุฎีเสนาศนฝากระดานถวายพระสงฆ์. แลให้ก่อตึกสามหลังถวายพระวันรัตผู้เปนเจ้าอาราม ให้ก่อกำแพงแก้วล้อมรอบพระอาราม. แล้วตั้งนามใหม่ว่าวัดนิพพานาราม. ๚ะ๏ ในปีนั้นเจ้าจอมทองดีอยู่งานในพระราชวังหลวง เปนบุตรีหลวงอินทโกษา คบคิดกับหม่อมบุญศรีพระพี่เลี้ยง สมเดจพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้าอไภยธิเบศร. แลแทนข้าหลวงตำหนักใหญ่ ให้แทนเปนผู้ไปหาหมอทำเสน่ห. จะให้สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวโปรดปรานจงมาก. แลรู้เหนด้วยกันกับทั้งมารดาแลทาษคนหนึ่ง. ทาษในเรือนมาฟ้องแก่เจ้าตรัวนายท้าวนางผู้ใหญ่.ๆนำเอาข้อความขึ้นกราบบังคมทูล. จึ่งดำรัศสั่งให้พิจารณาได้ความเปนสัจ. มีพระราชโองการตรัสสั่งให้เอาตัวเจ้าจอมทองดี กับพัคพวกสี่คนแลหมอคนหนึ่งไปประหารชีวิตรเสียณวัดตเคียนทั้งสิ้น. ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับพระยานครสวรรค แลท้าวพระยาข้าทูลลอองธุลีพระบาทเปนหลายนาย ซึ่งยกออกไปถึงกรุงกัมพูชาธิบดี. แล้วเกนเอากองทับเขมรเข้าบันจบ ยกทับเรือลงไปณเมืองญวน. แลองติงเวืองเจ้าเมืองแซ่ง่อนได้แจ้งว่ากองทับไทยยกล่วงแดนลงมา. จึ่งเกนทับเรือให้ขุนนางเมืองแซ่ง่อน ยกกองทับเรือขึ้นมาต่อรบป้องกันเมืองสักแดก ซึ่งเปนเมืองขึ้น ได้รบกันกับทับไทยเปนสามารถ. พระยานครสวรรคมีฝีมือเข้มแขง ยกทับเรือเข้าตีทับญวนแตกพ่ายไปเปนหลายครั้ง. ได้เรือแลไพร่พลญวนเครื่องสาตราวุธปืนใหญ่น้อยเปนอันมาก แล้วส่งคืนลงไปให้แก่แม่ทับญวน. แลพระยาพิชิตณรงค กับข้าหลวงมีชื่อเปนหลายนาย เหนพระยานครสวรรคกระทำผิดคิดการขบถจะไปเข้าด้วยฆ่าศึก. จึ่งบอกกล่าวโทษเข้ามา ณกรุงฯ กราบทูลพระกรุณาให้ทรงทราบ. ๚ะ๏ พระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค ได้ทรงทราบในหนังสือบอกก็ทรงพระพิโรธ. ดำรัศให้ข้าหลวงถือท้องตราออกไป ให้หากองทับพระยานครสวรรคกลับคืนเข้ามาณกรุงฯ ทรงพระกรุณาให้เสนาบดีพิจารณาไต่สวนไล่เลียง ได้ความจริงตามหนังสือบอกกล่าวโทษ. จึ่งดำรัศให้เอาตัวพระยานครสวรรค กับขุนนางพัคพวกสิบสองนายซึ่งร่วมคิดด้วยกันนั้น ไปประหารชีวิตรเสียณป่าช้าวัดโพธารามนอกพระนครข้างทิศตวันออก แล้วให้เอาศีศะเสียบประจานไว้ทั้งสิ้น. ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๑๔๖ ปีมโรงฉศก ถึงณเดือนหก สมเดจพระพุทธเจ้าหลวงมีพระราชดำรัศให้สมเดจพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษเปนแม่ทับถือพลทหารห้าพัน ยกกองทับเรือออกไปตีเมืองแซ่ง่อน คืนให้องคเชียงสือจงได้ ให้เอาตัวองคเชียงสือไปในกองทับด้วย. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันได้ศุภฤกษมงคลดฤถี จึ่งสมเดจพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ แลท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวง ก็กราบถวายบังคมลา ยกกองทับเรือออกไปทางทเลถึงเมืองพุทไธมาศ. จึ่งเกนเอากองทับพระยาราชาเสรฐี พระยาทัศดาเมืองพุทไธมาศเข้าบันจบทับยกไปด้วยไปตั้งค่ายอยู่อ่าวมนาวริมแม่น้ำแดนเมืองสักแดกเปนหลายค่าย แล้วให้องคเชียงสือแต่งขุนนางญวน กับไทยข้าหลวงไปเกลี้ยกล่อมพวกญวนอาณาประชาราษฎรในแว่นแคว้นเมืองสักแดก เมืองล่งโห้ เมืองสะม่าถ่อ ทั้งสามเมืองมาเข้าด้วยกันเปนอันมาก. ๚ะ๏ ฝ่ายองคติงเวืองเจ้าเมืองแซ่ง่อนได้แจ้งว่า กองทับไทยยกทับใหญ่ออกมามากกว่าครั้งก่อน. จึ่งแต่งขุนนางญวนเปนแม่ทับเรือขึ้นมาตั้งอยู่ณเมืองสักแดก แล้วยกมาต่อรบกับทับเรือกรุงเทพฯ ได้รบกันเปนหลายครั้งยังไม่แพ้ชนะกัน. ๚ะ๏ ครั้นเพลาวันหนึ่งทับเรือฝ่ายไทยยกไปรบทับเรือยวญ แล้วถอยขึ้นมาเอาศีศะเรือรบเข้าจอดอยู่น่าค่าย รี้พลขึ้นบกเข้าค่ายทิ้งเครื่องสาตราวุธปืนใหญ่น้อยไว้ในเรือ ด้วยมีความประมาทมิได้รวังฆ่าศึก. ครั้นเพลาน้ำขึ้นทับเรือยวญยกตามขึ้นมาถึงน่าค่าย ยิงปืนเรือรดมขึ้นมาทำลายค่ายต้องไทยในค่ายตายเปนหลายคน. แลพลทหารไทยเสียทีจะลงเรือออกต่อรบมิทันก็ทิ้งค่ายเสียแตกหนีเปนอลหม่าน นายทับนายกองจะกดไว้มิอยู่ก็ภากันแตกหนีมาทั้งสิ้น. ครั้งนั้นเปนเทศการเดือนสิบสองน่าน้ำๆนองไปทั้งทุ่งพลทับไทยได้ความลำบาก ลุยน้ำฦกเพียงอกบ้างเพียงเอวบ้าง หนีฆ่าศึกมา. แลกรมหลวงเทพหริรักษนั้น ข้าในกรมจับได้กระบือตัวหนึ่งมาให้ทรงลุยน้ำมา ภากันแตกหนีเข้ามาแดนกรุงกัมพูชาทั้งสิ้น. กองทับยวญได้ไชยชำนะมิได้ติดตามเก็บได้เรือรบแลเครื่องสาตราวุธปืนใหญ่น้อยไปทั้งสิ้น. แลจับได้ผู้คนซึ่งหนีมามิทันนั้นไปได้บ้าง แล้วเลิกทับกลับไปเมืองแซ่ง่อน. แลกองทับกรมหลวงเทพหริรักษ กับองคเชียงสือ ก็มาอยุดภักพลอยู่ณเมืองกัมพูชา แล้วบอกข้อราชการซึ่งเสียทีแก่ฆ่าศึกเข้ามาณกรุงฯกราบทูลพระกรุณาให้ทราบ. ๚ะ๏ ฝ่ายข้างกรุงเทพมหานคร สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค ดำรัศให้ขุดหิบสพเจ้าตากขึ้นตั้งไว้ณเมรุวัดบางยิเรือใต้ให้มีการมหรรสพแลพระราชทานพระสงฆ์บังสุกุล เสดจพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงทั้งสองพระองค. ๚ะ๏ ขณะนั้นพวกเจ้าจอมข้างในทั้งพระราชวังหลวงวังน่า ซึ่งเปนข้าราชการครั้งแผ่นดินเจ้าตากคิดถึงพระคุณชวนกันร้องไห้. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองคทรงพระพิโรธดำรัศให้ลงพระราชอาญาโบยหลังทั้งสิ้น. ๚ะ๏ ในปีมโรงฉศกนั้น ทรงพระกรุณาให้ถาปนาพระมหาปราสาทในพระราชวังหลวง แลการปราสาทนั้นยังมิได้สำเร็จ. ครั้งนั้นคลองขุดปากลัดนั้นกว้างออก แลน้ำทเลขึ้นแรงเคมขึ้นมาถึงพระนคร. ๏ ครั้นถึงณวันศุกรเดือนสามขึ้นสิบเบดค่ำ จึ่งสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองคกับทั้งกรมพระราชวังหลังแลเจ้าต่างกรมทั้งปวงพร้อมกันเสดจโดยทางชลมารคลงไปปิดคลองปากลัด ดำรัศให้เกนข้าราชการขนมูลดินแลอิฐหักถมทำนบกั้นน้ำ แล้วให้เกนกันขึ้นไปรื้ออิฐกำแพงกรุงเก่า บันทุกเรือลงมาถมทำนบจนสูงเสมอฝั่ง แลน้ำเคมจะไหลขึ้นมาทางคลองปากลัดนั้นมิได้ ไหลไปแต่ทางแม่น้ำใหญ่เปนทางอ้อม ก็มิสู้เคมขึ้นมาถึงพระนคร ราษฎรทั้งหลายได้รับพระราชทานนำจืดเปนศุขทั้งสิ้น. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันศุกเดือนสามแรมสิบค่ำ หนังสือบอกข้อราชการทับกรมหลวงเทพหริรักษ จึ่งเข้ามาถึงพระนคร. สมุหนายกนำขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทราบ. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองคก็ทรงพระพิโรธดำรัศให้มีตราหากองทับกลับเข้ามาพระนคร. แล้วลงพระราชอาญาจำสมเดจพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ. แลท้าวพระยาข้าราชการผู้ใหญ่ซึ่งเสียทับกับทั้งเรือรบเรือลำเลียงแลเครื่องสาตราวุธปืนใหญ่น้อยทั้งสิ้นแก่ฆ่าศึกนั้น. ๚ะ๏ ครั้นนานมาจึ่งสมเดจพระเจ้าพี่นางเธอทั้งสองพระองค กราบทูลฃอพระราชทานโทษ จึ่งทรงพระกรุณาโปรดให้กรมหลวงเทพหริรักษกับทั้งท้าวพระยาข้าราชการ ซึ่งรับพระราชอาญาอยู่ในเวนจำนั้นให้พ้นโทษด้วยกันสิ้น. ๚ะ๏ อนึ่งการพระมหาปราสาทนั้น ยกเครื่องบนสำเร็จบริบูรณ ลงรักปิดทองแล้ว. ถึง ณวันศุกร์เดือนสี่ขึ้นสิบค่ำ เพลาเช้าสองโมงสี่บาทได้อุดมฤกษ ให้ยกยอดเอกพระมหาปราสาท ข้างต้นมีพรหมภักตร แล้วปักพุ่มเข้าบิณฑ์บนปลายยอดด้วย พระราชทานนามว่า พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันจันทรเดือนสี่แรมสิบสี่ค่ำ ทรงพระกรุณาให้อัญเชิญพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกฎจากโรงในวังเก่าฟากตวันตก ลงทรงเรือพระที่นั่งกิ่ง มีเรือแห่เปนขบวนข้ามฟากมาเข้าพระราชวัง อัญเชิญเข้ามาประดิษฐานในพระอุโบสถพระอารามใหม่. แล้วให้นิมนต์พระสงฆ์ราชาคณะประชุมกระทำสังฆกรรมสวดผูกพัทธเสมาในวันนั้น. แลการพระอารามนั้นสำเร็จบริบูรณแล้ว จึ่งทรงตั้งพระนามว่า วัดพระศรีรัตนสาศดาราม. ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๑๔๗ ปีมเสงสัปตศก สมเดจพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศบดินทร ทรงพระประชวนพระโรคมารทลุน. ถึงณวันจันทรเดือนแปดขึ้นสิบสองค่ำทุติยาสาท ก็ดับสูญสิ้นพระชนม. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค เสดจพระราชดำเนินไปสรงน้ำพระสพแล้วใส่พระโกศ โปรดให้ปลูกพระเมรุที่วัดแจ้งในวังเก่า. แล้วให้เชิญพระโกษฐขึ้นพระยานุมาศ แห่เปนขบวนมาเข้าพระเมรุ ให้มีการมหรรสพสามวัน นิมนตพระสงฆ์สดัปกรณ ทรงถวายไตรยจีวรบริกขารไทยธรรมต่างๆ แล้วพระราชทานเพลิง. ๚ะ๏ ในปีมเสงสัปตศกนั้น ทรงพระกรุณาให้ตั้งกองสักเลกไพร่หลวงสมกำลัง แลเลกหัวเมืองทั้งเดิม ทั้งขึ้นสักหลังมือทั้งสิ้น. แล้วให้เกนเลกหัวเมืองขึ้นทั้งไทยลาวเขมรทั้งปวง กับทั้งเลกไพร่หลวงสมกำลัง เกนทำอิฐจะก่อกำแพงสร้างพระนครใหม่ ให้รื้อป้อมวิไชเยนทรแลกำแพงเมืองเก่าฟากตวันออกเสีย ขยายพระนครให้กว้างออกไปกว่าเก่า. แล้วเกนเลกลาวเขมรหัวเมืองให้ขุดคลองคูพระนครด้านตวันออก ตั้งแต่วัดเชิงแลนขึ้นมาถึงวัดสแกไปถึงวัดบางลำภูออกบันจบแม่น้ำทั้งสองข้าง. แลวัดสแกนั้นพระราชทานนามไหม่ว่าวัดสเกษ. แล้วให้มีตราให้หาท้าวพระยาพระหัวเมืองทั้งปวงเข้ามาเฝ้าพร้อมกัน. แล้วเกนน่าที่ข้าราชการในกรุงฯ ทั้งพระราชวังหลวงวังน่าวังหลังแลหัวเมืองทั้งปวง ขุดรากก่อกำแพงพระนครทั้งด้านแม่น้ำ แลด้านในคลองบันจบกันโดยรอบ ให้ก่อเชิงเทิลแลป้อมทำประตูใหญ่น้อยเปนอันมากรอบพระนคร. แล้วขุดคลองหลอดออกจากคลองคูเมืองเดิมสองคลอง ไปออกบันจบคลองคูใหม่นอกเมือง ให้ทำตพานช้างแลตพานน้อยข้ามคลองภายในพระนครเปนหลายตำบล. แล้วให้ขุดคลองใหญ่เหนือวัดสเกษ พระราชทานนามว่าคลองมหานาคไว้เปนที่สำรับประชาชนชาวพระนคร ลงเรือไปประชุมกันเล่นเพลงเล่นสักวาเทศกาลน้ำเหมือนครั้งกรุงเก่า. แล้วสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค เสดจพระราชดำเนินจะไปจะให้ก่อตพานช้างข้ามคลองคูเมืองที่เหนือคลองมหานาคนั้น. ๚ะ๏ จึ่งพระพิมลธรรมวัดโพธารามออกไปถวายพระพรห้ามว่า ซึ่งสมเดจบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า จะให้ทำตพานใหญ่ข้ามคลองคูพระนครฉนี้ หามีอย่างธรรมเนียมมาแต่โบราณไม่. แม้นมีการสงครามมาถึงพระนคร ฆ่าศึกก็จะได้โอกาศข้ามเข้ามาถึงชานกำแพงโดยง่าย. ประการหนึ่งแม้นจะแห่ขบวนเรือรอบพระนคร ก็จะเปนที่กีดขวางอยู่. ๚ะ๏ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค ก็ทรงเหนชอบด้วย ซึ่งพระพิมลธรรมถวายพระพรนั้น. จึ่งดำรัศสั่งให้เลิกการเสีย มิให้ก่อตพานช้าง ให้ทำแต่ท่าช้างไว้สำรับจะให้ช้างเดินข้ามคลองคูพระนคร แล้วเสดจกลับเข้าพระราชวัง. ๚ะ๏ ครั้นการถาปนาพระนครใหม่สำเร็จบริบูรณแล้ว จึ่งทรงพระกรุณาโปรดให้มีงานฉลองสมโพชพระนคร ให้นิมนต์พระสงฆทุกๆอารามทั้งในกรุงนอกกรุง ขึ้นสวดพระพุทธมนต์บนเชิงเทินทุกใบเสมา ๆ ละองคๆ รอบพระนคร. พระราชทานเงินเกนให้ข้าราชการทำเข้ากระทงมาเลี้ยงพระสงฆ์ทั่วทั้งสิ้น. แล้วให้ตั้งโรงทานรายรอบพระนคร พระราชทานเลี้ยงยาจกวรรณิพกทั้งปวง. แล้วให้ตั้งต้นกัลปพฤกษรายรอบกำแพงเมือง ทิ้งทานต้นละซึ่งทั้งสามวัน สิ้นพระราชทรัพย์เปนอันมาก. ให้มีงานมหรรสพต่างๆ กับทั้งลคอนผู้หญิงโรงใหญ่ เงินโรงวันละสิบชั่ง. สมโพชวัดพระศรีรัตนสาศดารามกับทั้งพระนครด้วยครบสามวันเปนกำหนด. ๚ะ๏ ครั้นเสรจการฉลองพระนครแล้ว จึ่งพระราชทานนามพระนครใหม่ เปลี่ยนแปลงกรุงเก่าว่า กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทรมหินทรอยุทธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมอุดมราชนิเวศมหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิตย สักทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันจันทรเดือนสิบเบ็ดขึ้นสิบสี่ค่ำ อสนิบาตลงซุ้มประตูฉนวนพระราชวังบวรฯแลลงยอดพระมหาปราสาท พระราชวังหลวงในวันเดียวกัน. ๚ะ๏ ในเดือนสิบสองปีนั้น น้ำมากฦกถึงแปดศอกคืบสิบนิ้ว เข้ากล้าในท้องนาเสียเปนอันมาก บังเกิดทุพภิกขไภยเข้าแพงถึงเกวียนละชั่ง ประชาราษฎรทั้งหลายได้ความขัดสนด้วยอาหารกันดารนัก. จึ่งมีพระราชโองการให้กรมนาจำหน่ายเข้าเปลือกในฉางหลวงออกแจกจ่ายราษฎรทั้งปวงเปนอันมาก. ๚ะ๏ ในปีมเสงสัปตศกนั้นฝ่ายข้างกรุงภุกามประเทศ มังโพเชียงซึ่งชื่อว่าตแคงแปงตแล น้องพระเจ้าปดุงนั้นคิดกระบถ. พระเจ้าปดุงให้จับประหารชีวิตรเสีย. แล้วได้ทราบอึงกิดาการแห่งกรุงไทยว่าผลัดแผ่นดินใหม่ จึ่งดำริหการสงครามซึ่งจะมาตีพระนครศรีอยุทธยา. ให้เกนกองทับพม่ามอญเมงทวายยะไข่กะแซลาวแลเงียว เปนคนหลายหมื่นหลายทับ. ให้เนมโยคุงนรัดเปนแม่ทับกองน่า กับนัดมิแลงหนึ่ง แบตองจาหนึ่ง ปเลิงโปหนึ่ง นัดจักกีโบ่หนึ่ง ตองพยุงโบ่หนึ่ง ถือพลสองพันห้าร้อยเปนทับบก ยกมาทางเมืองมฤท มาตีเมืองชุมพร เมืองไชยา. ให้แก่งหวุ่นแมงยี ถือพลสี่พันห้าร้อย เปนแม่ทับยกหนุนมาทางหนึ่ง. แล้วเกนทับเรือให้ยิหวุ่นเปนแม่ทับ กับบาวาเชียงหนึ่ง แองยิงเดชะหนึ่ง ปคินยอหนึ่ง ถือพลสามพันยกมาตีเมืองถลาง. ให้เกนหวุ่นแมงยีเปนโบ่ชุก บังคับทั้งทับบกทับเรือ. แลทางทวายนั้นให้ทวายหวุ่นเจ้าเมืองทวาย เปนแม่กองทับน่า กับจิกแกปลัดเมืองทวายหนึ่ง มณีจอข่องหนึ่ง สีหแยจอช่องหนึ่ง เบยะโบ่หนึ่ง ถือพลสามพันยกมาทางด่านเจ้าขว้าว. ให้จิกสินโบ่เปนแม่กองทับหนุน กับตเรียงยามะชูหนึ่ง มณีสินตะหนึ่ง สุรินทจอช่องหนึ่ง ถือพลสามพันยกหนุนมา. แลให้อนอกแผกติคหวุ่นถือพลสี่พัน เปนโบ่ชุกแม่ทับทั้งสามกองเปนคนหมื่นหนึ่ง ยกมาตีเมืองราชบุรีทางหนึ่ง. แลทางเมาะตมะนั้น ให้เมี้ยนหวุ่นเปนแม่กองทับน่าที่หนึ่ง กับขุนนางสิบนาย คือกะลาหวุ่นหนึ่ง ปิลุงยิงหนึ่ง สเลจอหนึ่ง ปิญาอูหนึ่ง อากาจอแทงหนึ่ง ลานซางโบ่หนึ่ง อคุงหวุ่นหนึ่ง ปันญีตะจวงหนึ่ง ลไมหวุ่นหนึ่ง ชุยตองอากาหนึ่ง ถือพลหมื่นหนึ่งยกมาทางด่านพระเจดียสามองค. แล้วให้เมี้ยนเมหวุ่นเปนแม่กองทับน่าที่สองกับย่อยแหลกยาแยช่องหนึ่ง จอกกาโบ่หนึ่ง จอกแยโบ่หนึ่ง ตเหรี่ยงปัญีหนึ่ง. ถือพลห้าพันยกหนุนมาอีกทับหนึ่ง. แลทับที่สามนั้น ให้ตแคงกามะพระราชบุตรที่สาม เปนแม่ทับ กับยานจุหวุ่นหนึ่ง จิตกองศิริยะหนึ่ง แยเลหวุ่นหนึ่ง อตอนหวุ่นหนึ่ง ถือพลหมื่นหนึ่ง ยกหนุนมาอีกทับหนึ่ง. แลทับที่สี่นั้น ให้ตแคงจักกุราชบุตรที่สอง เปนแม่ทับ กับเมฆราโบ่หนึ่ง อกิตอหนึ่ง อากาปัญีหนึ่ง มโยลัดหวุ่นหนึ่ง ถือพลหมื่นหนึ่ง ยกหนุนมาอีกทับหนึ่ง. แลกองทับหลวงพระเจ้าปดุงเจ้าอังวะเปนที่ห้า ไพร่พลสองหมื่น. ให้อแซวังมูเปนแม่กองน่า กับจาวาโบ่หนึ่ง ยะไข่โบ่หนึ่ง ปกันหวุ่นหนึ่ง ลอกาซุงถ่องหวุ่นหนึ่ง เมจุนหวุ่นหนึ่ง เปนหกนาย. แลปีกขวานั้น ให้มหยอกวังมูเปนแม่กอง กับอำมลอกหวุ่นหนึ่ง ตวนแซงหวุ่นหนึ่ง แลจาลพวาหนึ่ง ยัดจอกโบ่หนึ่ง งาจุหวุ่นหนึ่ง เปนหกนาย แลปีกซ้ายนั้น ให้ตองแวงมูเปนแม่กอง กับแลกรุยกีมูหนึ่ง เลแซหวุ่นหนึ่ง ยวนจุหวุ่นหนึ่ง เยกีหวุ่นหนึ่ง สีบอจอพวาหนึ่ง เปนหกนาย. แลกองหลังนั้น ให้อหนอกแวงมูเปนแม่กอง กับรวาลัดหวุ่นหนึ่ง ออกกะมะหวุ่นหนึ่ง โมกองจอพวาหนึ่ง โมเยียงจอพวาหนึ่ง โมมิกจอพวาหนึ่ง เปนหกนาย. ศริรวมทั้งห้าทับเปนคนห้าหมื่นห้าพัน ยกมาทางเมืองกาญจนบุรีทางหนึ่ง. แลทางเมืองตากนั้น ให้ซุยตองเวระจอแทงเปนแม่ทับ กับชุยตองนรทาหนึ่ง ชุยตองสิริยะจอจวาหนึ่ง ถือพลสามพันเปนกองน่า. ให้จอของนรทาถือพลสองพันเปนกองหนุน ทั้งสองทับเปนคนห้าพันยกมาทางหนึ่ง. แลทางเมืองเชียงใหม่นั้น ให้สโดะมหาสิริยะอุจนาเจ้าเมืองตองอูเปนโบ่ชุกแม่ทับ กับนายทับนายกองเปนหลายนาย ถือพลสองหมื่นสามพันยกมาทางหนึ่ง. ๚ะ๏ ครั้นมาถึงเมืองเชียงแสน สโดะมหาสิริยอุจนา จึ่งบังคับให้เนมโยสีหชุยเปนแม่ทับ กับปัญีตจองโบ่หนึ่ง ลุยลันตวงโบ่หนึ่ง ปลันโบ่หนึ่ง มัดซุมรันโบ่หนึ่ง มิกะอุโบ่หนึ่ง แยจอนรทาหนึ่ง สาระจอชูหนึ่ง เปนแปดนาย ถือพลห้าพันยกแยกมาตีเมืองสวรรคโลกยทางหนึ่ง เมืองศุโขไทยทางหนึ่ง เมืองพระพิศณุโลกยทางหนึ่ง. แลทางแจ้หมนั้นแต่งให้อาปะรกามณีเจ้าเมืองเชียงแสนเปนแม่ทับ กับพระยายองหนึ่ง พระยาไชยหนึ่ง เชียงกะเลหนึ่ง น้อยอรรถหนึ่ง เปนห้านาย ถือพลพม่าลาวสามพันเปนกองน่า. สโดะมหาศิริยะอุจนาเปนแม่ทับ กับแจกแกโบ่หนึ่ง อคุงหวุ่นหนึ่ง อุติงแจกกะโบ่หนึ่ง เนมโยยันตมิกหนึ่ง พระยาแพร่หนึ่ง เปนหกนาย ถือพลหมื่นห้าพัน ทั้งสองทับเปนคนหมื่นแปดพัน ยกมาตีเมืองนครลำปางทางหนึ่ง แลกองทับพม่ายกมาครั้งนั้น มากกว่ามากหลายทับหลายกองยิ่งกว่าครั้งก่อนๆ ศริรวมรี้พลทั้งสิ้นทุกทับเปนคนถึงแสนหนึ่งกับสามพันด้วยกัน สรรพด้วยช้างม้าเครื่องสรรพสาตราวุธพร้อมทุกทับทุกกอง แต่ยกมาหาพร้อมกันทุกทางไม่. ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าอังวะให้อินแซะมหาอุปราชราชบุตรผู้ใหญ่กับอินแซะหวุ่นอำมาตยอยู่รักษาพระนคร. แล้วก็ยกทับบกทับเรือพร้อมทับ อยู่ณะเมืองเมาะตมะ เร่งให้ทับน่าที่หนึ่งยกมาตั้งอยู่ณะเมืองสมิะ แล้วเดินทับล่วงเข้ามาถึงด่านพระเจดียสามองคก่อนทับทางอื่นๆทั้งนั้น. ๚ะ๏ ฝ่ายข้างพระมหานครศรีอยุทธยา ถึงณวันอาทิตยเดือนสิบสองแรมเก้าค่ำ พวกกองมอญออกไปกระเวรด่าน กลับเข้ามากราบทูลว่า รู้ข่าวว่าพม่ายกกองทับมาตั้งอยู่ณเมืองสมิะ จะยกเข้ามาตีพระนคร. ๚ะ๏ พระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค ได้ทรงทราบข่าวศึกดังนั้น จึ่งดำรัศให้ประชุมพระราชวงษานุวงษ มีกรมพระราชวังบวรสถานภิมุขฝ่ายหลังเปนต้น กับทั้งท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลายพร้อมกัน ดำรัศปฤกษาราชการสงครามเปนหลายเวลา. ในลำดับนั้นหนังสือบอกเมืองชุมพร เมืองถลาง เมืองกาญจนบุรี เมืองราชบุรี เมืองตาก เมืองกำแพงเพชร เมืองพระพิศณุโลกย เมืองศุโขไทย เมืองสวรรคโลก เมืองนครลำปาง บอกข้อราชการศึกว่า ทับพม่ายกมาเปนหลายทับหลายทางทั้งปากใต้ฝ่ายเหนือ แลหนังสือบอกมาถึงเนืองๆกัน. ๚ะ๏ สมเดจพระพุทธเจ้าหลวง จึ่งมีพระราชโองการโปรดให้สมเดจพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรฯ เสดจพระราชดำเนินยกพยุหโยธาทับหลวง ไปรับทับพม่าฆ่าศึกทางเมืองกาญจนบุรี. โปรดให้เจ้าพระยารัตนาพิพิธ ผู้ว่าราชการณที่สมุหนายก คุมกองทับท้าวพระยาข้าทูลลอองฯฝ่ายพระราชวังหลวง แลทับหัวเมืองทั้งปวงโดยเสดจพระราชดำเนินอีกทับหนึ่ง. แล้วโปรดให้เจ้าพระยาธรรมาธิบดี กับเจ้าพระยายมราชเปนแม่ทับ ยกกองทับออกไปตั้งรับทับพม่าณเมืองราชบุรีทับหนึ่ง. แลทางเหนือนั้นมีพระราชดำรัศให้พระเจ้าหลานเธอ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุขฝ่ายหลัง กับสมเดจพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทรนเรศน์ แลเจ้าพระยามหาเสนาบดีศรีสมุหพระกลาโหม เจ้าพระยาพระคลัง พระยาอุไทยธรรม แลท้าวพระยาข้าราชการในกรุงฯ แลหัวเมืองทั้งปวง ยกกองทับไปทั้งรับพม่าณเมืองนครสวรรค์ทับหนึ่ง. ๚ะ๏ ครั้นถึงวันศุภวารมหาพิไชยมงคลนักขัตฤกษ ในมิคศิรมาศศุกปักษดฤถี. จึ่งสมเดจพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรฯ ก็ถวายบังคมลาสมเดจพระบรมเชษฐาธิราชเจ้า เสดจทรงเรือพระที่นั่งบัลลังก์แก้วจักรพัดิปิดทองทึบ. พระที่นั่งสวัสดิชิงไชยประกองพื้นดำทรงพระไชยนำเสดจ พร้อมด้วยเรือท้าวพระยาข้าทูลลอองฯโดยเสดจดาษดา ดำเนินพยุหโยธาทับหลวงจากกรุงเทพฯโดยทางชลมารค ดำรัศให้พระยากลาโหมราชเสนา พระยาจ่าแสนยากรเปนกองน่า. ให้เจ้าพระยารัตนาพิพิธผู้ว่าที่สมุหนายกเปนทับเกียกกาย. สมเดจพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎาเปนยุกรบัตร พระยามณเฑียรบาลเปนกองหลัง. แลพลทหารในกองทับหลวงทั้งสิ้นนั้น เปนคนสามหมื่น สรัพด้วยช้างม้าเครื่องสรรพสาตราวุธปืนใหญ่น้อยเปนอันมาก ดำเนินทับไปทั้งทางบกทางเรือ. ถึงตำบลลาดญ่า เหนือเมืองกาญจนบุรี. ๚ะ๏ จึ่งมีพระราชบัณฑูรดำรัศให้อยุดทับหลวงอยู่ที่นั้น. แล้วให้กองน่ากองหนุนตั้งค่ายรายกันอยู่เปนหลายค่ายชักปีกกาถึงกันทุกๆ ค่าย แลค่ายหลวงนั้นตั้งห่างค่ายน่าลงมาทางห้าเส้น. แล้วให้ขุดสนามเพลาะปักขวากหนามตามทำนองศึกพร้อมเสรจ. แล้วดำรัศให้พระยามหาโยธาคุมกองมอญสามพัน ยกออกไปตั้งค่ายขัดทับอยู่ณด่านกรามช้าง. ๚ะ๏ ฝ่ายทับเจ้าพระยาธรรมาธิบดี เจ้าพระยายมราช ถือพลห้าพันยกออกไปตั้งค่ายอยู่ณเมืองราชบุรีเปนหลายค่าย. แลกองทับกรมพระราชวังหลัง แลเจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทรนเรศร์พลหมื่นห้าพัน ก็ยกไปตั้งค่ายหลวงอยู่ณเมืองนครสวรรค. ให้พระยามหาเสนาเปนกองน่า ไปตั้งค่ายณเมืองพิจิตร เจ้าพระยาพระคลัง แลพระยาอุไทยธรรมเปนกองหลัง ตั้งค่ายอยู่ณเมืองไชยนาท ระวังพม่าจะยกมาทางด่านเมืองอุไทยธานี. ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับพระเจ้าอังวะ ซึ่งยกมาทางเมืองเมาะตมะ ทับน่าที่หนึ่งล่วงเข้ามาทางด่านกรามช้าง เข้าตีค่ายทับพระยามหาโยธาแตกพ่ายเข้ามา แล้วเดินทับมาถึงตำบลลาดญ่า ซึ่งทับหลวงออกไปตั้งค่ายรับอยู่นั้น. แลทับน่าที่สองก็ยกหนุนมาถึง เปนคนหมื่นห้าพันด้วยกัน เมี้ยนหวุ่นกับเมี้ยนเมหวุ่นแม่ทับทั้งสองกอง ก็ให้นายทับนายกองทั้งปวง. เกนพลทหารตั้งค่ายรายกันไปเปนหลายค่ายชักปีกกาถึงกัน. แลทับตะแคงกามะทีสาม ก็ยกหนุนมาตั้งค่ายอยู่ณท่าดินแดง. ทับตแคงจักกุที่สี่ ยกมาตั้งค่ายอยู่ณสามสบ ทับหลวงพระเจ้าอังวะ ยกมาตั้งค่ายใหญ่อยู่ณะพระเจดียสามองคที่แดนต่อแดน คอยฟังข้อราชการ ซึ่งกองน่าจะบอกมาประการใด จะได้เกนทับอุดหนุนเพิ่มเติมมาช่วย. แล้วให้เกนรี้พลกองลำเลียงขนเสบียงอาหารมาส่งกองน่าซึ่งมาตั้งรับอยู่นั้นมิได้ขาด. ๚ะ๏ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรฯ จึ่งมีพระราชบัณฑูรดำรัศให้ท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวง ยกพลทหารออกโจมตีค่ายพม่า พม่าต่อรบเปนสามารถ พลทหารไทย ทหารพม่าต่างยิงปืนโต้ตอบกันทั้งสองฝ่าย ล้มตายแลลำบากทั้งสองข้าง ทับไทยจะหักเอาค่ายพม่ามิได้ก็ถอยเข้าค่าย. จึ่งมีพระราชบัณฑูรให้ทำครกทำสากใหญ่ไว้ในค่ายหลวงสามสำรับ. ดำรัศให้ประกาศแก่นายทับนายกองแลทหารทั้งปวงว่า ถ้าผู้ใดถอยหนีฆ่าศึก จะเอาตัวลงโทษใส่ครกโขลกเสีย. แล้วดำรัศให้พระยาสีหราชเดโช พระยาท้ายน้ำ พระยาเพชรบุรี สามนายเปนนายทับกองโจร. พระยารามกำแหง พระเสนานนท์ เปนปลัดทับ ถือพลห้าร้อย ยกลัดป่าไปคอยสกัดตีตัดกองลำเลียงพม่า ที่ตำบลพุะไคร้ช่องแคบ อย่าให้พม่าส่งลำเลียงกันได้. พระยาสีหราชเดโชแลท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวงก็กราบถวายบังคมลายกพลทหารไปกระทำการตามพระราชกำหนด คอยสกัดตีกองลำเลียงพม่า จับพม่าได้บ้างส่งลงไปยังทับหลวง. แล้วคิดย่อท้อต่อฆ่าศึกหลีกหนีไปตั้งซุ่มทับอยู่ที่อื่น. แลขุนหมื่นในกองทับมาฟ้องกล่าวโทษให้กราบทูลพระกรุณา. จึ่งดำรัศให้พระยามณเฑียรบาล แลข้าหลวงหลายนาย ยกพลทหารไปจับตัวพระยานายทับกองโจรทั้งสามนาย ประหารชีวิตรเสียตัดศีศะนำมาถวาย. แต่ปลัดทับสองนายนั้น ให้เอาดาบสับศีศะคนละสามเสี่ยง ให้ขุนหมื่นผู้เปนโจทนำทางไป. พระยามณเฑียรบาลแลข้าหลวงทั้งปวง ก็กราบถวายบังคมลายกไปถึงทับกองโจรไปตั้งซุ่มทับอยู่ จึ่งพิจารณาไต่ถามได้ความเปนสัจสมคำโจท จึ่งตัดศีศะพระยาสีหราชเดโช พระยาท้ายน้ำ พระยาเพชรบุรี ทั้งสามนายใส่ชลอม แล้วเอาดาบสับศีศะพระยารามกำแหง แลพระเสนานนท์คละสามเสี่ยง ตามพระราชบัณฑูรตรัสสั่ง. แล้วนำเอาชลอมใส่ศีศะนายทับทั้งสามกลับมากราบทูลถวายณค่ายหลวง. มีพระราชบัณฑูรให้เอาศีศะไปเสียบประจานไว้น่าค่าย อย่าให้ผู้ใดเอาเยี่ยงอย่าง. แล้วดำรัศให้พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าขุนเณร เปนนายทับกองโจรกับข้าหลวงหลายนาย คุมพลทหารพันหนึ่ง ยกไปบันจบกับกองโจรเดิมเปนคนพันห้าร้อย ไปคอยก้าวสกัดตีกองลำเลียงพม่าที่ตำบลพุะไคร้ดั่งก่อน อย่าให้พม่าส่งลำเลียงเสบียงอาหารกันได้ กองทับพม่าซึ่งมาตั้งรบอยู่นั้นจะได้ถอยกำลังลง. พระองค์เจ้าขุนเณรแลนายทับนายกองทั้งปวง ก็กราบถวายบังคมลายกไปกระทำการตามรับสั่ง คอยซุ่มสกัดตีตัดกองล่าเลียงพม่า จับได้พม่าแลช้างม้าโคต่างส่งมาถวายเนืองๆ. ๚ะ๏ ฝ่ายแม่ทับน่าพม่าทั้งสองนาย ให้แต่งหอรบขึ้นณค่ายน่าเปนหลายแห่ง ให้เอาปืนใหญ่ขึ้นตั้งบลหอรบยิงค่ายทับไทย. จึ่งมีพระราชบัณฑูรให้เอาปืนลูกไม้ครั้งแผ่นดินเจ้าตากเขนออกไปตั้งน่าค่าย ยิงค่ายแลหอรบพม่าหักพังลงเปนหลายตำบล. แลพลพม่าในค่ายถูกกระสุนปืนลูกไม้ล้มตายแลลำบากเปนอันมาก มิอาจยกออกนอกค่ายได้ รักษามั่นอยู่แต่ในค่าย ทั้งขัดเสบียงอาหารถอยกำลังลง. จึ่งมีพระราชบัณฑูรให้แต่งหนังสือบอกข้อราชการสงครามให้ข้าหลวงถือเข้ามากราบบังคมทูล สมเดจพระบรมเชษฐาธิราชณกรุงเทพมหานคร. ๚ะ๏ พระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าหลวง ได้ทรงทราบในข้้อราชการสงคราม ก็ทรงพระราชปริวิตกเกรงจะเอาไชยชำนะฆ่าศึกมิได้โดยเรว. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันอาทิตยเดือนยี่ขึ้นเก้าค่ำ จึ่งเสดจทรงเรือพระที่นั่งบัลลังก์บุษบกพิศาฬประกอบพื้นแดง พระที่นั่งพิมานเมืองอินทประกอบพื้นดำ ทรงพระไชยนำเสดจ พร้อมด้วยเรือท้าวพระยาข้าทูลลอองฯ โดยเสดจพระราชดำเนินเปนอันมาก. แลพลโยธาหาญในขบวนทับหลวงสองหมื่น เสดจยาตราพลนาวาพยุหออกจากกรุงเทพฯไปโดยทางชลมารคถึงเมืองกาญจนบุรี. สมเดจพระอนุชาธิราชได้ทรงทราบ ก็เสดจพระราชดำเนินลงมาถวายบังคมรับเสดจ. จึ่งทรงช้างพระที่นั่งพังเทพลีลา สูงห้าศอกกับหกนิ้ว ผูกกูบทองพร้อมด้วยเครื่องพระกันภิรม แลธงไชยราชกระบี่ธุชพระครุทธพาหนะแห่โดยขนาด พลโยธาหาญล้วนสวมใส่เสื้อสักลาดแดงหมวกแดง พรั่งพร้อมด้วยพลสารสินทพแลธงทวนขบวนปืนนกสับ สรรพอเนกวิวิธาสาตราวุธแหนแห่แลไสว ประโคมฆ้องไชยเบญจดุริยดนตรีแตรสังข์กลองชนะ โครมคฤกกึกก้องท้องทุรัษฐยางคพนสณฑสถาน สำเนียงพลทหารโห่ร้องบันฦๅศรับทอุโฆษกาหลนฤนาท คลี่พยุหยาตราโยธาทับหลวง บันลุถึงพระตำหนักค่ายสมเดจพระอนุชาธิราช เสดจยาตราพระคชาธารเข้าบันทับเกยเถลิงราชาคารกะที่ประทับพลับพลาไชยแล้ว. มีพระราชโองการดำรัศปฤกษาราชกิจการสงครามกับด้วยสมเดจพระอนุชาธิราชเจ้า. ๆ จึ่งกราบทูลพระกรุณาว่า ทับพม่าฆ่าศึกจวนจะแตกอยู่แล้ว อย่าทรงพระวิตกเลย ข้าพระพุทธเจ้าจะขอรับพระราชธุระอาษาในราชการงานสงคราม เอาไชยชำนะพม่าปัจามิตรสนองพระเดชพระคุณให้จงได้. ขออัญเชิญเสดจพระราชดำเนินกลับคืนยังพระนครเถิด จะได้ทรงพระราชดำริหจัดแจงการซึ่งจะต่อสู้อริราชสัตรูดัศกรในทางอื่นๆสืบไป. ๚ะ๏ สมเดจพระพุทธเจ้าหลวงก็ทรงเหนชอบด้วย ซึ่งสมเดจพระบรมราชอนุชากราบทูลพระกรุณานั้น. ครั้นเพลาค่ำลงวันนั้น จึ่งเสดจยาตราทับหลวงกลับมาโดยขบวนตราบท่าวถึงเมืองกาญจนบุรี แล้วเสดจลงเรือพระที่นั่งดำเนินพลนาวาพยุหทับกลับคืนยังพระมหานคร. ๚ะ๏ ฝ่ายพม่าได้ยินเสียงรี้พล แลเสียงช้างม้าฆ้องกลองกึกก้องสนั่นไปทั้งป่า จึ่งขึ้นดูบนหอรบเหนทับหลวงยกหนุนมาช้างม้ารี้พลเปนอันมาก ก็คิดครั่นคร้ามขามพระเดชานุภาพเปนกำลัง. แม่ทับทั้งสองนายจึ่งให้เก็บเอาลูกปืนไม้ซึ่งยิงไปตกลงในค่ายนั้น ให้ตอยากับไพร่นำไปถวายพระเจ้าอังวะกราบทูลว่า ไทยเอาไม้เปนลูกปืน ต่อไม้หมดสิ้นทั้งป่าจึ่งจะสิ้นกระสุนปืนเขา เมื่อใดไม้ในป่าจะสิ้น ซึ่งจะตีเอาเมืองไทยให้ได้นั้นเหนเปนเหลือกำลัง. ทั้งกองโจรไทยก็มาตั้งซุ่มสกัดตีตัดลำเลียงเสบียงอาหารซึ่งจะส่งกันก็ขัดสน รี้พลก็อดอยากถอยกำลังลงทุกวันๆ จะขอพระราชทานล่าทับ. พระเจ้าอังวะก็เหนด้วย จึ่งให้มีหนังสือตอบมาถึงแม่ทับน่าว่า ให้รั้งรอดูท่วงทีก่อน ถ้ารี้พลอิดโรยนักเหนจะทำการไปไม่สำเร็จ จึ่งค่อยลาดถอยทับอย่าให้เสียทีแก่ฆ่าศึก. แม่ทับได้แจ้งในหนังสือรับสั่งพระเจ้าอังวะก็รั้งรออยู่ต่อรบแต่ในค่ายมิได้ยกออกรบนอกค่าย. ๚ะ๏ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรฯ จึ่งทรงพระราชดำริหเปนกลศึก เพลากลางคืนให้ผ่อนช้างม้ารี้พลลงมายังค่ายเมืองกาญจนบุรี. ครั้นเพลาเช้าจึ่งให้ยกกลับขึ้นไปยังค่ายหลวง ให้เดินพลแลช้างม้าเรี่ยรายกันเนื่องขึ้นไปอย่าให้ขาด ตั้งแต่เข้าจนเอย็น ลวงพม่าให้เหนกองทับยกหนุนขึ้นมาเปนอันมาก กระทำดังนี้ทุกวัน.ๆ. ๚ะ๏ ฝ่ายพม่าขึ้นดูบนหอรบเหนดังนั้นก็สำคัญว่า กองทับไทยยกเพิ่มเติมมากขึ้นมาทุกวัน ก็ยิ่งย่อท้อเกรงกลัวเปนอันมาก. อนึ่งด้วยเดชะพระบรมโพธิสมภาร บันดานให้รี้พลพม่าบังเกิดไข้ทรพิศม์ป่วยเจ็บลำบากล้มตายก็มาก ทั้งขัดเสบียงอาหารกำลังศึกถอยลงทุกประการ. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันศุกรเดือนสามแรมสี่ค่ำ จึ่งมีพระราชบัณฑูรตรัสสั่งให้ท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวง ยกพลทหารออกรดมตีค่ายพม่าทุกทับทุกกอง ให้เอาปืนใหญ่ลากฬ้อออกยิงค่ายพม่าทุกๆค่าย ค่ายแลหอรบหักพังทำลายลงเปนหลายตำบล พม่าต่อรบยิงปืนใหญ่น้อยโต้ตอบอยู่ตั้งแต่เข้าจนค่ำ. ครั้นเพลาประมาณทุ่มเสศ แม่ทับพม่าเหนเหลือกำลังจะต่อรบมิได้ ก็แตกฉานออกจากค่ายพ่ายหนีไป. พลทหารไทยเข้าค่ายพม่าได้ทั้งสิ้น จับได้ผู้คนทั้งดีแลป่วยกับเครื่องสาตราวุธปืนใหญ่น้อยเปนอันมาก. จึ่งมีพระราชบัณฑูรตรัสสั่งให้กองทับทั้งปวงยกติดตามพม่าไปจนปลายแดน จับได้พม่าซึ่งหนีไปมิทันกับทั้งช้างม้าเครื่องสาตราวุธมาถวายเปนอันมาก. ๚ะ๏ ฝ่ายกองโจรพระองคเจ้าขุนเณรได้แจ้งว่า ทับพม่าแตกพ่ายหนีแล้ว ก็ยกออกก้าวสกัดตีตามกลางทางจับได้ผู้คน แลเครื่องสาตราวุธช้างม้าก็มาก ส่งลงมาถวายณค่ายหลวง แล้วยกติดตามไปถึงท่าดินแดงแลสามสพ. ๚ะ๏ ฝ่ายตะแคงกามะแม่ทับที่สามแจ้งว่าทับแตกแล้ว ก็แต่งหนังสือบอกให้ม้าใช้รีบถือไปแจ้งแก่ตแคงจักกุแม่ทับที่สี่ แลกราบทูลพระเจ้าอังวะแล้วก็เร่งรีบเลิกทับกลับไป. พระเจ้าอังวะได้ทราบในหนังสือบอกว่า ทับน่าแตกแล้วก็เสียพระไทย สั่งให้เลิกกองทับทั้งปวงกลับไปณเมืองเมาะตมะโดยเรว. ๚ะ๏ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรฯ เมื่อมีไชยชำนะแก่พม่าปัจามิตรสำเร็จราชการสงครามแล้ว. จึ่งดำรัศให้ข้าหลวงถือหนังสือบอกเข้าไปกราบทูลณกรุงเทพฯแล้วดำรัศให้กองทับพระยากระลาโหมราชเสนา กับพระยาจ่าแสนยากรยกทับบกลงมาทางด่านเมืองราชบุรี แล้วเสดจลงเรือพระที่นั่งเคลื่อนทับหลวงลงมา โดยขบวนนาวาพยุหทางชลมารคมายังเมืองราชบุรี. ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับพม่าซึ่งยกมาจากเมืองทวายนั้น เดินทับมาช้าไม่พร้อมกัน. ต่อทับทางลาดญ่าแตกไปแล้ว จึ่งพึ่งมาถึงด่านเจ้าขว้าว. แลทับเจ้าเมืองทวายกองทับน่าล่วงด่านเข้ามาตั้งค่ายอยู่นอกเขางู แดนเมืองราชบุรี ทับจิกสินโบ่กองหนุนยกมาถึงด่าน ทับอนอกแผกติกหวุ่นแม่ทับมาตั้งค่ายอยู่ณท้องช้าตรี แลไพร่พลพม่ากองน่าลอบเข้ามาเกบผลหมากมพร้าวของสวนในแขวงเมืองราชบุรีเอาไปยังกองทับ แลเจ้าพระยายมราช เจ้าพระยาธรรมาแม่ทับซึ่งตั้งค่ายอยู่ณเมืองราชบุรีนั้น มีความประมาทมิได้จัดแจงแต่งลาดตระเวนไปสืบราชการศึก หารู้ว่ากองทับพม่ายกเข้ามาตั้งอยู่ที่ใดไม่. ๚ะ๏ ฝ่ายทับพระยากลาโหมราชเสนา พระยาจ่าแสนยากรยกอ้อมป่ามาทางบก ภบค่ายพม่าซึ่งตั้งอยู่นอกเขางู ก็ขับพลทหารเข้าโจมตีหักเอาค่าย. พม่าต่อรบเปนสามารถ ยิงปืนใหญ่น้อยโต้ตอบกันทั้งสองฝ่าย พลทหารไทยเข้าปีนค่ายเย่อค่ายได้รบกันถึงตลุมบอน พลพม่าต้านทานมิได้ก็แตกฉานพ่ายหนีเปนอลหม่าน. พลทับไทยไล่ติดตามไปจนถึงด่านกองน่าพม่าที่ไทยตีแตกหนีไปนั้นไปประทะกองหนุนซึ่งตั้งอยู่ณด่านก็ภากันแตกหนีไปมิได้ต่อรบ. กองทับไทยจับได้ไพร่พลพม่าแลได้เครื่องสาตราวุธต่าง ๆ แม่ทับทั้งสองจึ่งแต่งหนังสือบอกข้อราชการ ซึ่งได้ไชยชำนะแก่ฆ่าศึกกับทั้งพม่าชเลย แลเครื่องสาตราวุธ ให้นายไพร่ในกองทับนำเข้ามากราบทูลถวาย ภอทับหลวงเสดจมาถึงเมืองราชบุรี ได้ทรงทราบในหนังสือบอก ให้ลงพระราชอาญาจำเจ้าพระยายมราช เจ้าพระยาธรรมาแม่ทับ แลนายทับนายกองไว้ณค่ายเมืองราชบุรี. แล้วบอกเข้ามากราบทูลพระกรุณาณะกรุงเทพมหานครว่า จะขอพระราชทานประหารชีวิตรแม่ทับทั้งสองเสีย. ๚ะ๏ พระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าหลวง จึ่งโปรดให้มีตราตอบออกไปขอชีวิตรเจ้าพระยาทั้งสองไว้ ด้วยมีความชอบมาแต่ก่อน. ให้ลงแต่พระราชอาญากระทำโทษประจาน ตามพระไอยการศึก. ๚ะ๏ สมเดจพระอนุชาธิราชได้ทรงทราบในท้องตรารับสั่งแล้ว จึ่งให้ลงพระราชอาญาแก่เจ้าพระยาทั้งสอง ให้โกนศีศะสามแฉกแล้วให้ตเวนรอบค่ายให้ถอดเสียจากถานาศักดิ์. แลนายทับนายกองทั้งนั้น ให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนทั้งสิ้น. แล้วเสดจเลิกทับกลับคืนเข้าพระนคร ขึ้นเฝ้าสมเดจพระบรมเชษฐาธิราช กราบทูลแถลงข้อราชการสงครามทั้งปวง แล้วสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ จึ่งดำรัศปฤกษาราชการแก่กันว่า กองทับพม่าซึ่งยกมาตีหัวเมืองชายทเลฝ่ายตวันตกนั้น ยังหาทันได้แต่งกองทับออกไปต่อตีช่วยหัวเมืองทั้งปวงไม่. ด้วยศึกติดพันกันอยู่ ทางไกลพระนคร ต้องต่อรบทางที่ใกล้เสียก่อน. บัดนี้ราชการสงครามทางใกล้ก็สำเร็จแล้ว. จึ่งมีพระราชโองการดำรัศให้สมเดจพระอนุชาธิราช ยาตรานาวาทับหลวงออกไปทางทเล ปราบปรามราชดัศกรหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตวันตก. สมเดจพระพุทธเจ้าหลวง จะเสดจพระราชดำเนินพยุหโยธาทับหลวง ไปปราบอริราชไภรีณหัวเมืองฝ่ายเหนือ. ครั้นตรัสปฤกษาราชการสงครามกันเสร็จแล้ว สมเดจพระอนุชาธิราชเจ้าก็ให้จัดแจงเรือรบเรือทเลเปนอันมาก. สรัพด้วยเครื่องสรรพสาตราวุธปืนใหญ่น้อยพร้อมเสร็จ. ๚ะ๏ ถึงณวันเสาร์เดือนสี่ขึ้นห้าค่ำ ได้มหาพิไชยมงคลนักขัตรฤกษ สมเดจพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ก็กราบถวายบังคมลาสมเดจพระบรมเชษฐาธิราชเจ้า เสดจทรงเรือพระที่นั่งสำเภาทองท้ายรถ ให้ยาตรามหานาวาพยุหทับหลวงออกจากกรุงเทพมหานคร ไปโดยทางท้องทเลใหญ่ พลรบพลแจวสองหมื่นเศส ล้วนแต่ข้าหลวงพระราชวังน่าทั้งสิ้น. ใช้ใบเรือรบทั้งปวงไปยังเมืองชุมพร เพื่อจะไปปราบอริราชดัศกร อันมาย่ำยีบีทาพระราชอาณาเขตร ณหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตวันตกนั้น. ๚ะ๏ พระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าหลวง จึ่งมีพระราชดำรัศให้เอาพม่าเชลยทั้งหลาย ซึ่งจับเปนได้นั้นจำใส่คุกไว้ทั้งสิ้น. แล้วโปรดให้พระยาเทพสุดาวดีเจ้ากรมในสมเดจพระเจ้าพี่นางเธอตำหนักใหญ่ ถือท้องตรารับสั่งขึ้นไปถึงสมเดจพระเจ้าหลานเธอ กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขฝ่ายหลังว่า บัดนี้ราชการศึกทางเมืองราชบุรี เมืองกาญจนบุรี. สมเดจพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรฯ เสดจพระราชดำเนินพยุหยาตราทับหลวง ไปปราบปัจามิตรได้ไชยชำนะสำเร็จแล้ว. แลราชการข้างหัวเมืองฝ่ายเหนือ แม้นกรมพระราชวังหลังกระทำไม่สำเร็จ พระเศียรก็จะมิได้คงอยู่กับพระกายเปนแท้. แลบัดนี้ทับหลวง ก็จะเสดจพระราชดำเนินขึ้นมาโดยเร็วอยู่แล้ว. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันศุกร์เดือนสี่ขึ้นสิบเบ็ดค่ำ ได้มหาพิไชยอุดมฤกษ สมเดจพระพุทธเจ้าหลวง ก็เสดจทรงเรือพระที่นั่งบัลลังก์ทินกรสร่องศรี ลายรดน้ำพื้นแดง. พระที่นั่งมณีจักรพัดิ ลายรดน้ำพื้นดำ ทรงพระไชยนำเสดจพร้อมเรือท้าวพระยาข้าทูลลอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวง โดยเสดจพระราชดำเนินตามขบวนพยุหยาตราน่าหลัง แลพลโยธาหาญสามหมื่น สรัพด้วยเครื่องสรรพยุทธชิงไชย. ให้ยาตรานาวาทับหลวงจากกรุงเทพมหานคร ประทับร้อนแรมไปโดยทางชลมารค ถึงเมืองอินทบุรี. ให้ตั้งค่ายแลพระตำหนักพลับพลาไชยเสดจประทับอยู่ที่นั้น. ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับสโดะมหาสิริยอุจนา ยกมาถึงเมืองนครลำปางให้ตั้งค่ายล้อมเมืองไว้. แลครั้งนั้นเมืองเชียงใหม่ร้างอยู่มิได้มีคนรักษา ด้วยพระยาวิเชียรปราการเจ้าเมือง ยกครอบครัวชาวเมืองหนีพม่าลงมาอาไศรยอยู่ณเมืองสวรรคโลกยแต่ครั้งแผ่นดินเจ้าตาก ยังหาได้กลับขึ้นไปไม่. แลตัวพระยาวิเชียรปราการนั้นถึงแก่กรรม ครอบครัวชาวเมืองทั้งปวงยกกลับขึ้นไปอยู่ณเมืองนครลำปางสิ้น. ทับพม่าจึ่งยกเลยเมืองเชียงใหม่ลงมาตีเมืองนครทีเดียว. แลพระยากาวิละเจ้าเมืองเกนพลทหาร ขึ้นรักษาน่าที่เชิงเทินป้องกันเมืองเปนสามารถ. พม่าจะแหกหักเอาเมืองมิได้ ก็ตั้งมั่นล้อมเมืองไว้. แลกองทับเนมโยสีหชุยะพลห้าพัน ก็ยกลงมาทางเมืองสวรรคโลกย. พระยาสวรรคโลกย พระยาศุโขไทย พระยาพิศณุโลกยเหนฆ่าศึกมากเหลือกำลัง. ด้วยครั้งนั้นไพร่พลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวงนั้นน้อย แลผู้คนยับเยินเสียแต่ครั้งทับอแซหวุ่นกี้นั้นเปนอันมาก ที่ยังเหลืออยู่นั้นเบาบางนัก เจ้าเมืองทั้งปวงจึ่งมิได้ต่อรบ ต่างยกครอบครัวหนีเข้าป่า. ทับพม่าจึ่งยกล่วงเลยเมืองสวรรคโลกย เมืองศุโขไทยลงมา ตั้งค่ายอยู่ณปากน้ำพิงฝั่งตวันออก. ฝ่ายซุยตองเวระจอแทง ทั้งทับน่าทับหนุนพลห้าพัน ก็ยกเข้ามาทางด่านเมืองตาก พระยากำแพงเพชร์ พระยาตากเหนเหลือกำลังจะต่อรบ ก็เทครัวหนีเข้าป่า. ทับพม่าก็ยกลงมาตั้งค่ายอยู่ ณบ้านรแหงแขวงเมืองตาก. ๚ะ๏ ฝ่ายกรมพระราชวังหลัง ได้ทรงทราบในท้องตรารับสั่ง ก็กลัวพระราชอาญาเปนกำลัง มีพระบัญชาสั่งให้กองทับเจ้าพระยามหาเสนา ซึ่งตั้งค่ายอยู่ณเมืองพิจิตร ให้ยกขึ้นไปตีค่ายพม่าซึ่งตั้งอยู่ณปากน้ำพิง. เจ้าพระยามหาเสนา จึ่งแต่งให้กองทับพระยาสระบุรี เปนกองน่ายกล่วงขึ้นไปก่อน แล้วเจ้าพระยามหาเสนาก็ยกหนุนขึ้นไป. แลทับกรมพระราชวังหลัง กับกรมหลวงนรินทรนเรศร์ก็ยกตามทับเจ้าพระยามหาเสนาขึ้นไปภายหลัง ฝ่ายกองทับพระยาสระบุรีกองน่า ยกขึ้นไปตามริมฝั่งแม่น้ำฟากตวันออกแต่เพลาเช้าตรู่ แลเหนฝูงนกกระทุงข้ามแม่น้ำมา เหนตคุ่มๆ ไม่เหนถนัด. แลพระยาสระบุรีนั้นเปนคนขลาด สำคัญว่าพม่ายกข้ามน้ำมา ก็สั่งให้รี้พลลาดถอย. ต่อสว่างขึ้นจึ่งเหนชัดว่าฝูงนกกระทุง มิใช่พม่า เจ้าพระยามหาเสนาแลกรมพระราชวังหลัง ได้ทราบว่าพระยาสระบุรี ตื่นฝูงนกกระทุงถอยทับมา จึ่งให้เอาตัวพระยาสระบุรีไปประหารชีวิตรเสีย เอาศีศะเสียบไว้ที่หาดทราย. แล้วลงมากราบทูลพระกรุณายังทับหลวง ๆ ก็เสดจพระราชดำเนินหนุนขึ้นไป. ดำรัศให้กองสมเดจพระเจ้าหลานเธอกรมหลวงเทพหริรักษ ยกไปบันจบกับทับเจ้าพระยาพระคลัง พระยาอุไทยธรรม ซึ่งตั้งค่ายอยู่ณเมืองไชยนาท ให้ยกขึ้นไปทางปากน้ำโพ ตีทับพม่าซึ่งมาตั้งค่ายอยู่ณบ้านระแหงให้แตกโดยเรว. แล้วทับหลวงก็เสดจขึ้นไปตั้งค่ายใหญ่อยู่ณบางเข้าตอก ให้เรือตำรวจขึ้นไปเร่งกองทับกรมพระราชวังหลัง แลเจ้าพระยามหาเสนา ให้ยกเข้าตีค่ายพม่าณปากน้ำพิงให้แตกแต่ในวันเดียว แม้นเนิ่นช้าไปจะเอาโทษถึงสิ้นชีวิตร. แลกรมพระราชวังหลังกับเจ้าพระยามหาเสนาได้แจ้งในรับสั่งดั่งนั้น ก็ตรวจเตรียมพลทหารทุกทับทุกกองพร้อมเสรจ. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันอาทิตยเดือนสี่ขึ้นสี่ค่ำเพลาเช้า ก็ยกพลทหารทั้งปวงเข้าโจมตีค่ายพม่าทุกๆค่าย. พม่าต่อรบเปนสามารถ ยิงปืนใหญ่น้อยโต้ตอบกันทั้งสองฝ่ายรบกันแต่เช้าจนค่ำ. ด้วยเดชะพระบรมโพธิสมภารบันดาลให้พวกพม่าสยบสยองย่อท้อเกรงกลัวพระราชกฤษดาเดชานุภาพเปนกำลังมิอาจต่อต้านได้. ภอเพลาประมาณยามเสศ ทับพม่าก็แตกฉานพ่ายหนีออกจากค่ายทุกๆ ค่าย ลงข้ามแม่น้ำหนีไปฟากตวันตกทั้งสิ้น. แต่จมน้ำตายทั้งคนทั้งม้าประมาณแปดร้อยเสศ อาสพลอยเตมแม่น้ำจนน้ำกินมิได้ พลทับไทยไล่ติดตามจับได้เปนๆอันมาก. กรมพระราชวังหลังแลเจ้าพระยามหาเสนา จึ่งให้ม้าใช้รีบลงไปกราบทูลพระกรุณาณค่ายหลวงบางเข้าตอกว่า ตีพม่าแตกไปแล้ว. ๚ะ๏ สมเดจพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบ ก็ทรงพระโสมนัศ ดำรัศให้สมเดจพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงจักรเจษฎา ยกกองทับออกจากทับหลวงขึ้นไปบันจบทับเจ้าพระยามหาเสนา ณปากน้ำพิง ให้ยกติดตามพม่าซึ่งแตกขึ้นไปช่วยเมืองนครลำปาง ตีทับพม่าซึ่งตั้งล้อมเมืองนครลำปางอยู่นั้น ให้แตกฉานจงได้. แล้วดำรัศให้ข้าหลวงขึ้นไปเชิญเสดจกรมพระราชวังหลัง แลกรมหลวงนรินทรนเรศรลงมาเฝ้ายังค่ายหลวง. กรมพระราชวังหลัง แลกรมหลวงนรินทรนเรศร ก็ให้เลิกกองทับลงมาตามพระราชกำหนด ให้คุมเอาพม่าชเลยซึ่งจับได้นั้น ใส่โตกงส่งมาถวาย จึ่งมีพระราชดำรัศให้ตัดศีศะพม่าเชลยเสียบไว้ตามหาดทรายรายลงมาทุกคุ้งน้ำ จนถึงเมืองนครสวรรค เหลือกว่านั้นให้จำมาทั้งสิ้น. แล้วก็เลิกทับหลวงลงมาตั้งประทับอยู่ณค่ายเมืองนครสวรรค รอฟังราชการทับซึ่งยกไปตีทับพม่าทางรแหงแควปากน้ำโพนั้น. ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับกรมหลวงเทพหริรักษยกขึ้นไปถึงเมืองกำแพงเพชร จึ่งให้ทับเจ้าพระยาพระคลัง พระยาอุไทยธรรม เปนกองน่ายกล่วงไปก่อน ยังมิทันถึงค่ายพม่าซึ่งตั้งอยู่ณบ้านรแหงนั้น. แลชุยตองเวรจอแทงแม่ทับได้แจ้งข่าวว่า กองทับทางปากน้ำพิงนั้นแตกไปแล้วๆแจ้งว่าทับไทยยกล่วงเมืองกำแพงเพชรขึ้นมา ก็มิได้ตั้งอยู่ต่อรบเลิกทับหนีไปทางด่านแม่ลำเมา เจ้าพระยาพระคลัง พระยาอุไทยธรรม แต่งกองลาดกระเวรไปสืบรู้ว่า ทับพม่าเลิกหนีไปแล้ว ก็บอกลงมาทูลกรมหลวงเทพหริรักษๆก็บอกลงมากราบทูลพระกรุณาณเมืองนครสวรรค. ๚ะ๏ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบว่าศึกเลิกไปสิ้นแล้ว ก็ดำรัศให้ข้าหลวงไปหากองทับกรมหลวงเทพหริรักษ กลับมายังเมืองนครสวรรคแล้ว ก็เสดจพระราชดำเนินทับหลวงกลับยังพระมหานคร. ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับเนมโยสีหซุยะ ซึ่งแตกไปแต่ปากน้ำพิงถึงค่ายล้อมเมืองนครลำปาง จึ่งแจ้งความแก่สโดะมหาสิริยะอุจนา ซึ่งเปนโบ่ชุกแม่ทับใหญ่ว่า ได้รบกับไทยเสียทีมา แลกองทับไทยก็ยกติดตามขึ้นมา จวนจะถึงเมืองนครอยู่แล้ว. ภอกองทับเจ้าพระยามหาเสนา แลกรมหลวงจักรเจษฎา ยกขึ้นไปถึงเมืองนครลำปาง ก็ให้นายทับนายกองทั้งปวง ยกพลทหารเข้าระดมตีค่ายพม่าซึ่งตั้งล้อมเมือง. แลสโดะมหาสิริยอุจนาแม่ทับกับอาปะรกามณีให้พลพม่าออกรบ ได้รบกันแต่เช้าจนเที่ยง. ทับพม่าก็แตกฉานทิ้งค่ายเสียพ่ายหนีไปสิ้น ไปพร้อมทับกันอยู่ณเมืองเชียงแสน กองทับกรุงก็เข้าในเมือง แลพระยากาวิละเจ้าเมืองมีฝีมือเข้มแขง สู้รบพม่ารักษาเมืองอยู่ตั้งแต่เดือนอ้ายจนถึงเดือนสี่ ทับพม่ามาตั้งล้อมอยู่ถึงสี่เดือน จะหักเอาเมืองนครลำปางมิได้ จนทับกรุงยกขึ้นไปช่วย ทับพม่าก็แตกหนีไป. กรมหลวงจักรเจษฎาแลเจ้าพระยามหาเสนา ก็บอกลงมากราบทูลพระกรุณาณกรุงว่าได้ตีทับพม่าซึ่งล้อมเมืองนครลำปางนั้นแตกพ่ายไปแล้ว. ๚ะ๏ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบในหนังสือบอก ก็ทรงพระโสมนัศ ดำรัศให้มีตราหากองทับกลับยังพระมหานคร แล้วพระราชทานบำเหน็จแก่นายทับนายกองทั้งปวงโดยควรแก่ความชอบ. จึ่งทรงพระกรุณาโปรดให้พระยาอุไทยธรรมเลื่อนที่เปนเจ้าพระยายมราช. แล้วโปรดให้พระยาพิพัทธโกษา เลื่อนที่เปนเจ้าพระยาธรรมาธิบดี. แล้วทรงพระราชดำริหถึงเจ้าพระยาธรรมา เจ้าพระยายมราชนอกราชการ ซึ่งเปนโทษในการสงครามถอดเสียนั้นว่า เปนข้าราชการเก่า รู้ในขนบธรรมเนียมแผ่นดินมาก จึ่งโปรดตั้งเจ้าพระยาธรรมาเก่า เปนพระยาศรีธรรมาธิราช จางวางกรมวัง. โปรดตั้งเจ้าพระยายมราชเก่า เปนพระยามหาธิราชช่วยราชการในกรมเมือง. ๚ะ๏ ขณะนั้นพระยาเพชรพิไชยหงถึงแก่กรรม จึ่งโปรดให้พระยาราชสงครามเบาบุตรพระยาราชสงคราม ซึ่งชลอพระนอนวัดป่าโมกข์ครั้งกรุงเก่าเลื่อนที่เปนพระยาเพชรพิไชย. พระราชทานทองทั้งสิ้นด้วยกัน. ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับพม่าซึ่งพระเจ้าอังวะให้ยกลงไปตีหัวเมืองไทย ฝ่ายตวันตกตามชายทเลนั้น ก็ยกกองทับเรือทับบก ลงมาพร้อมกันอยู่ณะเมืองมฤทแต่ณเดือนอ้าย. แก่งหวุ่นแมงยีแม่ทับใหญ่ จึ่งให้ยีหวุ่นเปนนายทับถือพลสามพัน กับนายทับนายกองทั้งปวง ยกทับเรือลงไปทางทเลไปตีเมืองถลาง. แล้วให้เนมโยคุงนรัดเปนนายทับน่า กับนายทับนายกองทั้งปวง ถือพลสองพันห้าร้อย ยกทับบกมาทางเมืองกระ เมืองระนอง เข้าตีเมืองชุมพร. ตัวแก่งหวุ่นแม่ทับใหญ่ ถือพลสี่พันห้าร้อย ยกหนุนมาทั้งสองทับเปนคนเจ็ดพัน. แลทับน่ายกเข้ามาถึงเมืองชุมพร เจ้าเมืองกรมการมีไพร่พลสำหรับเมืองนั้นน้อย เหนจะต่อรบมิได้ ก็เทครอบครัวหนีเข้าป่า. ทับพม่าเข้าเผาเมืองชุมพรเสียแล้ว กองน่าก็ยกล่วงออกไปตีเมืองไชยา แม่ทับตั้งค่ายอยู่ณเมืองชุมพร. แลครั้งนั้นทับกรุงยังหาทันออกไปช่วยไม่ ด้วยราชการศึกยังติดพันกันอยู่ทางกาญจนบุรี. แลเจ้าเมืองกรมการเมืองไชยาได้แจ้งข่าวว่า เมืองชุมพรเสียแล้ว ก็มิได้อยู่สู้รบ ยกครัวหนีเข้าป่าไปสิ้น. ทับพม่าเข้าเผาเมืองไชยาแล้ว ก็ยกล่วงออกไปตีเมืองนครศรีธรรมราช. ๚ะ๏ แลครั้งเมื่อก่อนพม่ายังไม่มานั้น เจ้าพัดบุตรเขยเจ้านครเข้ามาณกรุงเทพฯ กราบทูลฟ้องกล่าวโทษเจ้านครคดีเปนหลายข้อ. ทรงพระกรุณาให้มีตราออกไปหาเจ้านครเข้ามาชำระความกัน โปรดให้เจ้าพระยามหาเสนาเปนตระลาการ เจ้านครแพ้ความแก่เจ้าพัดบุตรเขย. กราบถวายบังคมลาออกจากที่เจ้าเมือง ขออยู่รับราชการในกรุงฯ. จึ่งทรงพระกรุณาโปรดตั้งเจ้าพัดออกไป เปนเจ้าพระยานครศรีธรรมราชแทน แลเจ้านครเก่าอยู่ในกรุงประมาณกึ่งปีก็ถึงแก่กรรม. ๚ะ๏ ขณะเมื่อทับพม่ายกออกไปนั้น เจ้าพระยานครพัดได้แจ้งข่าวว่า เมืองชุมพรเมืองไชยาเสียแล้ว จึ่งแต่งให้กรมการกับไพร่พันเสศยกมาตั้งค่ายขัดทับอยู่ณท่าข้ามต่อแดนเมืองไชยา. ทับพม่าจับไทยชาวเมืองไชยาได้ ให้ไทยร้องบอกลวงพวกกองทับเมืองนครว่า เมืองบางกอกเสียแล้ว พวกเองจะมาตั้งสู้รบเหนจะสู้ได้แล้วฤๅ ให้เร่งไปบอกเจ้านายให้มาอ่อนน้อมยอมเข้าด้วยโดยดี จึ่งจะรอดชีวิตร. แม้นขัดแขงอยู่จะฆ่าเสียให้สิ้นทั้งเมือง แต่ทารกก็มิให้เหลือ. พวกกองทับนครนำเอาเนื้อความไปแจ้งแก่เจ้าพระยานคร. ๆ ก็พิจารณาเหนสมคำพม่า ด้วยมิได้เหนกองทับกรุงยกออกมาช่วย เหนว่ากรุงจะเสียแก่พม่าเสียแล้วหาที่พึ่งมิได้. จึ่งภาบุตรภรรยาญาติวงษสมัคพัคพวกทั้งปวงหนีออกจากเมือง ไปอยู่ณป่านอกเขาข้างตวันตก. บันดากรมการแลไพร่บ้านพลเมืองทั้งปวง ก็ยกครอบครัวหนีไปอยู่ตำบลต่างๆ ทับพม่าก็ยกไปถึงเมืองเข้าเมืองได้ ให้เที่ยวจับผู้คนแลครอบครัวได้เปนอันมาก. แล้วให้ไทยชาวเมืองนครนำพม่าไปเที่ยวเกลี้ยกล่อมผู้คนแลครอบครัวซึ่งหนีไปอยู่ทุกตำบลนั้น ที่เข้าเกลี้ยกล่อมพม่าออกหาก็ได้ตัวมาบ้าง ที่ไม่เข้าเกลี้ยกล่อมหนีเข้าป่าดงไปก็มาก. แลพวกไทยซึ่งได้ตัวมานั้น บันดาชายพม่าฆ่าเสียเปนอันมาก เอาไว้แต่หญิงกับทารก. พม่าค้นเก็บเอาเงินทองสิ่งของทั้งปวงไว้ หาผู้ใดจะคิดอ่านสู้รบมิได้ กลัวอำนาทพม่าเสียสิ้นทั้งนั้น พม่าก็ตั้งอยู่ในเมืองคิดจะยกออกไปตีเมืองพัทลุง เมืองสงขลาต่อไป. ๚ะ๏ ฝ่ายยีหวุ่นแม่ทับเรือพม่า ก็ยกทับเรือลงไปตีเมืองตกั่วป่าตกั่วทุ่งแตกแล้วยกไปถึงเกาะถลาง. ให้พลทหารขึ้นบกเข้าตั้งค่ายล้อมเมืองถลางไว้เปนหลายค่าย. ในขณะเมื่อศึกพม่าไปถึงเมืองนั้น พระยาถลางถึงแก่กรรมเสียก่อนแล้ว ยังหาได้ตั้งเจ้าเมืองใหม่ไม่. แลภรรยาพระยาถลางกับน้องสาวคนหนึ่งคิดอ่านกับกรมการทั้งปวง เกนไพร่ตั้งค่ายใหญ่สองค่ายป้องกันรักษาเมืองเปนสามารถ. แลตัวกรรยาพระยาถลางกับน้องสาวนั้นองอาจกล้าหาญ มิได้เกรงกลัวย่อท้อต่อฆ่าศึก เกนกรมการกับพลทหารทั้งชายหญิงออกรดมยิงปืนใหญ่น้อยนอกค่ายสู้รบกับพม่าทุกวัน ทับพม่าจะหักเอาเมืองมิได้ แต่สู้รบกันอยู่ประมาณเดือนเสศ พม่าขัดเสบียงอาหารลงเหนจะเอาเมืองมิได้ ก็เลิกทับลงเรือกลับไป. ๚ะ๏ ฝ่ายข้างเมืองพัทลุงได้แจ้งข่าวว่าเมืองชุมพร เมืองไชยา เมืองนครเสียแก่พม่าแล้ว. เจ้าเมืองกรมการทั้งปวงปฤกษากันจะยกครอบครัวหนีเข้าป่า. ขณะนั้นมีพระสงฆ์องคหนึ่งชื่อมหาช่วย เปนเจ้าอธิการอยู่ในอารามแขวงเมืองพัทลุง มีความรู้วิชาการดี ชาวเมืองนับถือมาก. จึ่งลงกะตุดประเจียดมงคลแจกคนทั้งปวงเปนอันมาก. พวกกรมการแลนายบ้านนายแขวงทั้งหลาย ชักชวนไพร่พลเมืองมาขอเครื่องมหาช่วย แล้วคิดกันจะยกเข้ามารบพม่า ผู้คนเข้าด้วยประมาณพันเสศ ตระเตรียมเครื่องสาตราวุธพร้อมแล้ว ก็เชิญมหาช่วยอาจาริยขึ้นคานหามมาด้วยในกองทับ ยกมาจากเมืองพัทลุงมาภักพลตั้งค่ายอยู่กลางทาง คอยจะรับทับพม่าซึ่งจะยกออกไปแต่เมืองนครศรีธรรมราชนั้น. ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับหลวงสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรฯ เสดจยาตรานาวาทับไปทางท้องทเลใหญ่ถึงเมืองชุมพร. จึ่งให้ตั้งค่ายหลวงแลตำหนักทับพลับพลาเสดจขึ้นประทับอยู่ที่นั่น. แล้วดำรัศให้พระยากลาโหมราชเสนา พระยาจ่าแสนยากร กองน่า ยกทับบกล่วงออกไปตั้งอยู่ณเมืองไชยาเปนหลายค่าย. ๚ะ๏ ฝ่ายนายกองทับพม่าได้แจ้งข่าวว่า ทับกรุงเทพฯยกออกมา แลแก่งหวุ่นแมงยีแม่ทับ จึ่งให้เนมโยคุงนรัดนายทับนายกองๆน่า ยกกองทับกลับเข้ามาต่อรบทับกรุงฯ แล้วแม่ทับก็ยกทับใหญ่หนุนมา. แลกองน่าพม่ามาประทะทับไทยณเมืองไชยา ยังมิทันจะตั้งค่าย. ทับไทยก็เข้าล้อมไว้รอบ ขุดสนามเพลาะรบกันกลางแปลงตั้งแต่เช้าจนค่ำ. ภอฝนห่าใหญ่ตกยิงปืนมิออก ทับพม่าก็แหกหนีไปได้. แต่ตองพยุงโบ่นายทับคนหนึ่งต้องปืนตายในที่รบ. พลทหารไทยไล่ติดตามพม่าไปในเพลากลางคืน ฆ่าฟันพม่าเสียเปนอันมาก. พม่ามิได้รั้งรอต่อรบแตกกระจัดพรัดพรายกันไปสิ้น ที่จับเปนได้ก็มาก. แลแม่ทับพม่าซึ่งยกหนุนมารู้ว่า ทับน่าแตกแล้ว ก็มิได้ยกมาสู้รบ เร่งรีบบากทางหนีไปข้างตวันตก. กองทับไทยได้ไชยชำนะแล้ว ก็บอกมากราบทูลยังค่ายหลวงณเมืองชุมพร แลส่งพม่าชเลยทั้งปวงมาถวาย. ๚ะ๏ ขณะนั้นเจ้าเมืองกรมการหัวเมืองใหญ่น้อยทั้งปวง ซึ่งหนีพม่าไปนั้นก็กลับมาเฝ้าทั้งสิ้น. จึ่งมีพระราชบัณฑูลตรัสสั่งให้รวบรวมราษฎรหัวเมือง แลครอบครัวทั้งหลายซึ่งแตกฉานซ่านเซนหนีพม่าไปนั้น ให้กลับมาอยู่บ้านเมืองตามภูมลำเนาดุจก่อน. แลให้เจ้าเมืองกรมการทั้งปวงไปอยู่รักษาบ้านเมืองของตนทุกๆเมือง แล้วดำรัศให้เอาพม่าชเลยจำใส่เรือรบไปด้วย. จึ่งเสดจยาตรานาวาทับหลวงจากเมืองชุมพร ไปประทับณเมืองไชยา ให้ทับน่าเดินพลไปเมืองนครโดยทางบก แล้วเสดจยกทับหลวงไปโดยทางชลมารคมาถึงเมืองนคร เสดจขึ้นประทับอยู่ในเมือง ให้ชาวเมืองนำข้าหลวงไปสืบเสาะตามหาเจ้าพระยานครศรีธรรมราชได้ตัวมาจะให้ลงโทษ ทรงพระราชดำริหเหนว่า ศึกเหลือกำลังจะสู้รบ จึ่งให้ภาคยทัณฑ์ไว้ แล้วให้อยู่รวบรวมราษฎรรักษาบ้านเมืองดังเก่า. แล้วเสดจดำเนินทับหลวงทั้งทางชลมารคสถลมารคไปประทับณเมืองสงขลา. ๚ะ๏ จึ่งพระยาแก้วเการพพิไชยเจ้าเมืองพัทลุง หลวงสุวรรณคีรีเจ้าเมืองสงขลา แลกรมการทั้งสองเมืองมาเฝ้าพร้อมกัน. จึ่งดำรัศถามว่าผู้ใดคิดสู้รบพม่าบ้าง พระยาพัทลุงกราบทูลว่าได้แต่งกองทับไปรับทับพม่ากับมหาช่วยเปนอาจาริยคุ้มครองไปในกองทับ ยังหาทันได้สู้รบกันไม่. พม่ามิได้ยกออกไปตีเมืองพัทลุง ยกถอยกลับไปเมืองนคร. จึ่งดำรัศยกความชอบมหาช่วยว่า เปนใจด้วยราชการมีความชอบมาก. ให้มหาช่วยบริวัดออกแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดตั้งให้เปนพระยาทุกขราษฎ์ช่วยราชการเมืองพัทลุง พระราชทานบำเหน็จรางวัลโดยควรแก่ความชอบ. ๏ จึ่งหลวงสุวรรณคิรีเจ้าเมืองสงขลา กราบทูลกล่าวโทษพระยาจะหนะผู้น้องพระยาพัทลุงเปนขบถ แต่งคนให้ถือหนังสือไปเข้าด้วยพม่า. จึ่งดำรัศให้เอาพระยาจะหนะมาให้พระยาพัทลุงผู้พี่ไต่ถาม ได้ความเปนสัจว่าเปนขบถจริง. จึ่งให้เอาตัวไปประหารชีวิตรเสีย. แล้วดำรัศว่าเมืองตานีแลเมืองแขกทั้งปวง ยังมิได้มาอ่อนน้อมยอมเปนข้าขอบขันธสีมาตั้งแขงเมืองอยู่ จำจะยกทับหลวงออกไปตีเมืองแขกทั้งปวงมาเปนเมืองขึ้นอยู่ในพระราชอาณาเขตรให้จงได้. จึ่งดำรัศให้กองน่ายกออกไปตีหัวเมืองแขกทั้งปวง มีเมืองตานีเปนต้น ทับหลวงก็เสดจยกหนุนไป. ด้วยเดชะพระบารมีพระราชกฤษดาธิการ บันดานเมืองแขกทั้งปวงให้พ่ายแพ้แก่พลข้าหลวงทั้งสิ้น. ที่สู้รบปราไชยจึ่งได้เมืองก็มีบ้าง. ที่แตกหนีมิได้ต่อรบก็มีบ้าง. ที่มาอ่อนน้อมยอมสวามิภักดิก็มีบ้าง. แลเมืองตานีนั้นเปนเมืองใหญ่ได้ปืนทองใหญ่ในเมืองสองบอก ทรงพระกรุณาให้เขนลงใส่สำเภา แลได้เครื่องสรรพสาตราวุธต่างๆ กับทั้งสรรพวัตถุสิ่งของทองเงินเปนอันมาก. บันดาเจ้าเมืองกรมการแขกมลายูทั้งปวงนั้น ที่สู้รบตายในที่รบบ้าง จับเปนได้ฆ่าเสียบ้าง จำไว้บ้าง ที่หนีไปได้บ้าง ที่เข้าสวามิภักดิโดยดีก็มิได้ลงโทษบ้าง. แลพระเดชานุภาพก็ผ่านแผ่ไปในมลายูประเทศทั่วทั้งปวง. ๚ะ๏ ขณะนั้นพระยาไทร แลพระยากลันตัน พระยาตรังกนูก็เกรงกลัวพระราชกฤษดาเดชาธิการ ก็แต่งศรีต่วนกรมการให้คุมเครื่องราชบรรณาการนำมาทูลเกล้าฯ ถวาย ขอเปนเมืองขึ้นข้าขอบขันธสีมากรุงเทพฯ. จึ่งมีพระราชบัณฑูรให้แต่งหนังสือบอกข้อราชการ ซึ่งได้ไชยชำนะแก่พม่าปัจามิตร แลเสดจไปปราบหัวเมืองแขกปราไชยได้บ้านเมืองเปนอันมาก ที่มาฃอขึ้นก็หลายเมือง ให้ข้าหลวงถือเข้ามากราบทูลพระกรุณาสมเดจพระบรมเชษฐาธิราชเจ้ายังกรุงเทพมหานคร. ๚ะ๏ พระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบ ก็ทรงพระโสมนัศ ดำรัศสรรเสิญพระกฤษดาเดชานุภาพสมเดจพระอนุชาธิราชเจ้า. แล้วโปรดให้มีตราตอบออกไปแจ้งข้อราชการ. ซึ่งเสดจพระราชดำเนินทับหลวงขึ้นไปปราบอริราชไพรีณหัวเมืองฝ่ายเหนือปราไชยไปสิ้นแล้ว ให้อัญเชิญเสดจสมเดจพระบรมราชอนุชา ให้ยาตราพยุหทับหลวงกลับคืนยังพระมหานคร. ๚ะ๏ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงทราบในท้องตราว่า มีพระราชโองการให้หาทับกลับ. จึ่งดำรัศให้กวาดครอบครัวแขกเชลยทั้งหลายบันทุกในเรือรบ กับทั้งทรัพยสิ่งของทองเงิน แลเครื่องสาตราวุธต่างๆ. แลให้แบ่งครอบครัวแขกทั้งหลาย ให้ไว้สำรับบ้านเมืองบ้างทุกๆ เมือง. แล้วโปรดตั้งบันดาขุนนางแขกซึ่งมีใจสวามิภักดิ เปนเจ้าเมืองกรมการอยู่รักษาหัวเมืองแขกทั้งปวงซึ่งตีได้นั้น. อนึ่งทรงทราบว่า ธัญญาหารในกรุงยังไม่บริบูรณ จึ่งดำรัศให้ขนเข้าในหัวเมืองแขกทั้งปวงนั้น ลงบันทุกในเรือกองทับทุกๆลำเสร็จแล้ว จึ่งให้เลิกกองทับกลับมาทั้งทางบกทางเรือ มาถึงพระมหานครในเดือนสิบเบ็ดปีมเมียอัฐศก ศักราช ๑๑๔๘ ปี. เสดจขึ้นเฝ้าสมเดจพระบรมเชษฐาธิราช กราบทูลแถลงราชกิจการสงครามซึ่งมีไชยชำนะ. แล้วทูลถวายปืนใหญ่ยาวสามวาศอกคืบสองนิ้วกึ่ง กระสุนสิบเบ็ดนิ้วบอกหนึ่ง. ยาวห้าศอกคืบเก้านิ้ว กระสุนสามนิ้วกึ่งบอกหนึ่ง ซึ่งได้มาแต่เมืองตานี. แลครอบครัวแขก แลพม่าเชลย กับทั้งเครื่องสาตราวุธต่างๆ. จึ่งมีพระราชโองการดำรัศให้เจ้าพนักงานลากปืนใหญ่เข้าไว้ณโรงในพระราชวัง บอกใหญ่นั้นให้จาฤกนามลงกับบอกปืนชื่อพระยาตานี. แลพม่าเชลยซึ่งจับมานั้น ให้จำใส่คุกไว้ทั้งสิ้น. ๚ะ๏ ฝ่ายกรมการเมืองถลางครั้นทับพม่าเลิกกลับไปแล้ว ได้ข่าวว่าทับหลวงสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรฯ เสดจพระราชดำเนินออกมาตีทับพม่าทางบกแตกไปสิ้นแล้ว จึ่งบอกข้อราชการมากราบทูลขณะเมื่อทับหลวงยังเสดจอยู่ณเมืองสงขลาฉบับหนึ่ง. บอกเข้ามากราบทูลณกรุงเทพฯฉบับหนึ่ง. แลขณะเมื่อสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรฯเสดจกลับเข้ามาถึงพระนครแล้ว. สมเดจพระพุทธเจ้าหลวงจึ่งมีพระราชโองการโปรดให้มีตราออกไปณเมืองถลาง ให้ตั้งกรมการผู้มีความชอบในการสงครามเปนพระยาถลางขึ้นใหม่ แล้วโปรดตั้งภรรยาพระยาถลางเก่า ซึ่งออกต่อรบพม่านั้น เปนท้าวเทพกระษัตรี. โปรดตั้งน้องสาวนั้น เปนท้าวศรีสุนทร พระราชทานเครื่องยศโดยควรแก่อิษัตรีออกไปทั้งสองคน สมควรแก่ความซอบในการสงครามนั้น. ๏ แล้วโปรดตั้งหลวงสุวรรณคีรี เปนพระยาสงขลา ให้ยกเมืองนั้นเปนเมืองตรี มาขึ้นกรุงเทพฯ แล้วให้ยกเมืองจหนะ แลเมืองเทพามาขึ้นเมืองสงขลาแต่นั้นมา. ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับแก่งหวุ่นแมงยี่พม่า ซึ่งแตกไปทั้งทับบกทับเรือนั้น ก็ไปพร้อมกันอยู่ณเมืองมฤท แล้วบอกข้อราชการซึ่งเสียทับถอยมานั้นขึ้นไปกราบทูลพระเจ้าอังวะ ซึ่งเลิกทับไปอยู่ณเมืองเมาะตมะ. แลกองทับทางทวาย แลทางเหนือทั้งนั้น ก็บอกลงมาทุกทับทุกทาง. แลศึกครั้งนั้นพระเจ้าอังวะเสียรี้พลเปนอันมาก ทั้งไทยจับเปนไปได้ แลตายด้วยป่วยไข้ ตายในสงครามทุกทับทุกทาง ประมาณกึ่งหนึ่ง ที่เหลือกลับไปได้สักกึ่งหนึ่ง. พระเจ้าอังวะเสียพระไทยนัก จึ่งให้เลิกทับหลวงกลับไปเมืองอังวะ. แล้วให้มีตราหากองทับทางเหนือทั้งนั้น กลับไปยังเมืองอังวะสิ้น แต่กองทับทางทวายนั้น ให้ยกมาตั้งอยู่ณเมืองเมาะตมะ ทับทางเมืองมฤท ให้ยกมาตั้งอยู่ณเมืองทวาย แลตรัสปฤกษาราชการกับอินแซะมหาอุปราช ดำริหราชการสงครามซึ่งจะมาตีเอาพระนครศรีอยุทธยาให้จงได้. พระเจ้าอังวะจึ่งให้เกนกองทับห้าหมื่น ให้อินแซะเปนแม่ทับหลวงยกมาอีกครั้งหนึ่ง ในปีมเมียอัฐศก. ๚ะ๏ ครั้นถึงณเดือนสิบสอง อินแซะมหาอุปราชก็ถวายบังคมลาพระเจ้าอังวะ ยกทับบกทับเรือลงมาพร้อมทับอยู่ณเมืองเมาะตมะ แต่มาทางเดียว มิได้ยกแยกกันมาหลายทางเหมือนครั้งก่อน. อินแซะจึ่งให้เมี้ยนหวุ่นกับเมี้ยนเมหวุ่นสองนายซึ่งเปนแม่ทับน่าครั้งก่อนนั้น ถือพลสามหมื่นยกมาทำราชการแก้ตัวเอาไชยชำนะเมืองไทยให้จงได้. แลแม่ทับทั้งสองนาย ก็ยกกองทับมาถึงเมืองสะมิ. แล้วให้ตั้งค่ายแลยุ้งฉางรายทางมาเปนอันมากจนถึงท่าดินแดงสามสบ แล้วให้กองลำเลียงขนเอาเข้าปลาอาหาร มาใส่ยุ้งฉางไว้ทุกตำบล. หวังจะมิให้ไพร่พลขัดด้วยเสบียงอาหารแต่บันดาค่ายน่าที่ทั้งปวงนั้นให้ชักปีกกาถึงกันสิ้น แล้วให้ขุดสนามเพลาะปักขวากหนามแน่นหนา บันดาที่คลองน้ำ แลห้วยธารทั้งปวงนั้น ก็ให้ทำตพานเรือกข้ามทุกๆ แห่ง ให้ม้าแลคนเดินไปมาได้สดวก. แลจัดแจงการทั้งปวงนั้นหมายจะตั้งรบพุ่งอยู่ค้างปี กองทับหลวงอินแซะก็ยกหนุนมาตั้งค่ายหลวงอยู่ตำบลแม่กระษัตร คอยฟังข่าวกองน่าจะได้เพิ่มเติมทับมาช่วย. ๚ะ๏ ฝ่ายชาวด่านเมืองกาญจนบุรี เมืองศรีสวัสดิ์ เมืองไชยโยค ออกไปลาดกระเวนสืบราชการณปลายแดนรู้ข่าวว่า ทับพม่ายกมาอีก ตั้งค่ายมั่นอยู่ณท่าดินแดงสามสบ ก็กลับมาแจ้งแก่เจ้าเมืองกรมการทั้งสามหัวเมืองๆ ก็บอกข้อราชการศึกเข้ามายังกรุงเทพฯในเดือนอ้ายข้างแรม กราบทูลพระกรุณาให้ทราบ. พระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ได้ทรงทราบข่าวศึกอันยกมานั้น จึ่งมีพระราชดำรัศให้เกนกองทับในกรุงเทพมหานครแลหัวเมืองไว้ให้พร้อมสรับ. ๚ะ๏ ครั้นถึง ณวันพฤหัศบดีเดือนสามขึ้นสิบสี่ค่ำ เพลาเช้าสามนาฬิกากับหกบาท สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็เสดจพระราชดำเนินพยุหยาตรานาวาทับหลวงจากกรุงเทพฯไปโดยทางชลมารค พร้อมด้วยเรือท้าวพระยาข้าทูลลอองฯทั้งหลาย โดยเสดจตามขบวนน่าหลังพรั่งพร้อมเสรจ โปรดให้สมเดจพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรฯ แลกองทับเจ้าพระยารัตนาพิพิธ ผู้ว่าที่สมุหนายกเปนกองน่า พลโยธาหารทั้งพระราชวังหลวงพระราชวังบวรฯ เปนคนสามหมื่นยกล่วงไปก่อน. จึ่งเสดจยกพยุหโยธาทับหลวง กับทั้งกรมพระราชวังหลัง แลเจ้าต่างกรมทั้งปวง เปนพลสามหมื่นเสศหนุนไป. ครั้งนั้นองคเชียงสือก็ตามเสดจไปด้วย แลโปรดให้เจ้าพระยาพลเทพอยู่รักษาพระนคร. ๚ะ๏ ครั้นกองทับน่ายกไปถึงเมืองไซยโยค สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรฯ จึ่งดำรัศให้กองเจ้าพระยารัตนาพิพิธ แลกองพระยากระลาโหมราชเสนา พระยาจ่าแสนยากร แลทับหัวเมืองทั้งปวงเปนคนสองหมื่น ขึ้นบกยกช้างม้ารี้พลเปนกองน่าล่วงไปก่อน. แล้วสมเดจพระอนุชาธิราชเจ้าจึ่งเสดจยาตราทับพลหมื่นหนึ่งยกหนุนไปโดยลำดับ. ครั้นทับหลวงเสดจไปถึงตำบลท่าขนุน จึ่งเสดจพระราชดำเนินพยุหโยธาทับไปโดยทางสถลมารค หนุนทับสมเดจพระบรมราชอนุชาไปในเบื้องหลัง แลกองน่ายกไปถึงค่ายพม่าซึ่งตั้งอยู่ณสามสบ ก็ให้ตั้งค่ายลงเปนหลายค่าย สมเดจพระอนุชาธิราชเจ้าก็เสดจดำเนินกองทับหนุนขึ้นไป ตั้งค่ายหลวงห่างค่ายกองน่าลงมาทางประมาณห้าสิบเส้น กองทับหลวงก็เสดจพระราชดำเนินตามขึ้นไปเบื้องหลัง ตั้งค่ายหลวงห่างค่ายสมเดจพระบรมราชอนุชาลงมาทางประมาณเจ็ดสิบเส้นเสศ. ดำรัศให้ท้าวพระยานายทับนายกอง แบ่งกองทับออกจากทับหลวง ทั้งพระราชวังหลวง พระราชวังบวรสถานมงคล ยกขึ้นไปบันจบกองน่า ให้เร่งเข้าตีค่ายพม่าทุกทับทุกกองพร้อมกันทีเดียว. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันพุธเดือนสี่ขึ้นห้าค่ำเพลาเช้า จึ่งท้าวพระยานายทับนายกองทั้งปวง ก็ยกพลทหารออกรดมตีค่ายพม่าพร้อมกันทุกๆ ค่าย นายทับน่าพม่าก็เร่งพลทหารให้ต่อรบในค่ายทุกๆค่าย พลทับไทยขุดสนามเพลาะเข้าตั้งประชิดค่ายพม่า ต่างยิงปืนใหญ่น้อยโต้ตอบกันทั้งกลางวันกลางคืนมิได้อยุดหย่อน เสียงปืนสนั่นลั่นเสทื้อนสท้านไปทั่วทั้งป่า รบกันอยู่สามวัน. ๚ะ๏ ถึงณวันศุกรเดือนสี่ขึ้นเจ็ดค่ำ พลทับไทยยกหนุนเนื่องกันเข้าไปหักค่ายปีนค่ายเย่อค่ายพม่าๆต่อรบเปนสามารถ ตั้งแต่เพลาบ่ายจนพลบค่ำประมาณสองทุ่มเสศ นายทับพม่าเหนเหลือกำลังจะต่อรบต้านทานมิได้ก็แตกฉานทิ้งค่ายเสียพ่ายหนีไปในกลางคืนวันนั้น. กองทับไทยเข้าค่ายพม่าได้ทั้งสิ้น แล้วยกติดตามไปทันฆ่าฟันพม่าล้มตายแลลำบากไปตามทางเปนอันมากที่จับเปนได้ก็มาก. ฝ่ายอินแซะแม่ทับหลวงได้ทราบว่าทับน่าแตกแล้วก็ตกพระไทย มิได้คิดอ่านจะตั้งรอรบก็ให้เร่งเลิกทับหลวงกลับไปยังเมืองเมาะตมะ. พลทับไทยไล่ติดตามพม่าไปจนถึงค่ายหลวงแม่กระษัตร เก็บได้เครื่องสาตราวุธเปนอันมาก. จึ่งมีพระราชดำรัศให้ข้าหลวงไปสั่งกองน่า ให้จุดเพลิงเผายุ้งฉางพม่า ซึ่งใส่เข้าปลาเสบียงอาหารเสียทุกตำบล แล้วก็ให้ถอยทับกลับมายังกองทับหลวง แลสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์. ครั้นมีไชยชำนะแก่อริราชสงครามภุกามปัจามิตรเสรจแล้ว ก็ดำรัศให้เลิกกองทับทางชลมารค สถลมารค กลับคืนยังพระมหานคร บวรรัตนโกสินทรมหินทรอยุทธยาในแรมเดือนสี่ปลายปืมเมียอัฐศกนั้น. ๚ะ๏ ฝ่ายอินแซะมหาอุปราชเมื่อลาดทับกลับไปถึงเมืองเมาะตมะแล้ว จึ่งบอกข้อราชการซึ่งเสียทับกลับมานั้น ขึ้นไปทูลพระเจ้าอังวะ ๆได้ทราบเสียพระไทยนัก. จึ่งให้หากองทับกลับยังพระนคร แล้วให้มีตราไปถึงอาปะระกามณีเจ้าเมืองเชียงแสนให้รักษาเมืองอยู่กับพลพม่าสามพันแล้วให้ปัญีเวซอ กับลุยตองเวระจอแทงถือพลสองพันเปนกองน่า ให้จอข่องนรทาเปนโบ่ชุกแม่ทับถือพลพันห้าร้อยยกมาณเมืองเชียงแสน ให้เกนอาปะรกามณีกับพลสามพันซึ่งรักษาเมืองเชียงแสนอยู่นั้นให้เข้าบันจบทับจอข่องนรทา ยกไปตีเมืองฝางลาวอยู่ฝ่ายตวันตกเมืองเชียงใหม่ ตั้งแขงเมืองอยู่ยังมิได้ไปขึ้นแก่เมืองอังวะ แลอาปรกามณีได้พลพม่ามาเข้ากองทับจอข่องนรทาแต่ห้าร้อยสิบคน หนีไปจากเมืองเชียงแสนแต่ก่อนนั้นสองพันห้าร้อย แลโบชุกจอข่องนรทายกกองทับไปตีเมืองฝางได้แล้วก็ตั้งทำนาอยู่ที่นั้น จึ่งให้อาปะรกามณีกับไพร่พลห้าร้อยสิบคนนั้นยกกลับไปเมืองเชียงแสนให้ตั้งทำนาสาสมเสบียงอาหารไว้จงมาก อาปะรกามณีก็ยกกลับไปเมืองจัดแจงไพร่พลให้ตั้งทำนาอยู่ได้ประมาณเดือนหนึ่ง. ๚ะ๏ ขณะนั้นพระยาแพร่ผู้ชื่อมังไชย พม่าจับตัวไปได้แต่ทับอแซหวุ่นกี้ยกมาตีเมืองพระพิศณุโลกยคราวก่อนนั้น. แลครั้งเมื่อสโดะมหาสิริยอุจนายกทับมาตีเมืองนครลำปาง แลเมืองเหนือทั้งปวง ครั้งหลังนี้ก็ได้มากับกองทับพม่าด้วย. ครั้นทับพม่าแตกกลับไปจึ่งให้อยู่ณะเมืองยอง แลพระยาแพร่ยังมีจิตรคิดสวามิภักดิ์ ในสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวกรุงเทพฯมิได้ยอมอยู่เปนข้าพม่า. จึ่งคิดอ่านชักชวนพระยายองยอมเข้าด้วย แล้วยกกองทับไปตีเมืองเชียงแสน. ฝ่ายอาปะรกามณีเจ้าเมืองมีไพร่พลพม่าน้อยตัว เหนจะสู้รบรักษาเมืองไว้มิได้จึ่งภาพัคพวกหนีมาหาพระยาเชียงราย. ๚ะ๏ พระยาแพร่ พระยายองก็ยกติดตามมาณเมืองเชียงราย พระยาเชียงรายก็กลับเข้ากับพระยาแพร่ พระยายองด้วยเปนชาติลาวด้วยกัน จึ่งจับตัวอาปะรกามณีพม่าเจ้าเมืองเชียงแสน ส่งให้พระยาแพร่ พระยายอง แล้วบอกส่งมายังพระยากาวิละเจ้าเมืองนครลำปางๆก็บอกส่งพระยาแพร่ พระยายองกับทั้งจำอาปะรกามณีพม่าลงมาถวายณกรุงฯกราบทูลพระกรุณาให้ทราบว่า พระยาแพร่ซึ่งพม่าจับไปได้นั้น บัดนี้หนีพม่ากลับมาได้แล้วชักชวนพระยายองมาด้วย ทั้งจับตัวอาปะรกามณีเจ้าเมืองเชียงแสนมาถวายมีความชอบเปนอันมาก. ๚ะ๏ พระบาทสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองคก็ทรงพระโสมนัศ ดำรัศให้เอาตัวอาปะรกามณีใส่คุกไว้. แล้วพระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่พระยาแพร่ พระยายองสมควรแก่ความชอบ. แต่ทรงพระราชดำริหยังแคลงพระยาแพร่อยู่ ด้วยตกไปอยู่กับพม่านานแล้ว เกรงจะมาเปนกลอุบาย. ครั้นจะให้กลับขึ้นไปครองเมืองแพร่ตามเดิมเล่าก็ยังมิวางพระไทย. จึ่งโปรดพระราชทานเคหถานบ้านเรือนให้อยู่ทำราชการในพระนคร แต่พระยายองนั้นโปรดให้ขึ้นไปอยู่ช่วยราชการพระยากาวิละณเมืองนครลำปาง. แล้วสมเดจพระพุทธเจ้าหลวงจึ่งมีพระราชดำรัศปฤกษาด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราชว่า เมืองเชียงใหม่ยังร้างอยู่หาผู้คนจะอยู่รักษามิได้ เกลือกพม่าจะมาตั้งอยู่เอาเปนที่มั่น. จึ่งมีพระราชโองการโปรดให้สมเดจพระอนุชาธิราชเสดจขึ้นไปจัดแจงตั้งเมืองเชียงใหม่ ให้เอาพระยากาวิละเจ้าเมืองนครลำปางไปครองเมืองเชียงใหม่ด้วยเปนเมืองใหญ่. แล้วพระยากาวิละก็มีฝีมือเข้มแขงในการสงครามจะได้ป้องกันรักษาพระราชอาณาเขตรในมลาประเทศฝ่ายตวันตก อย่าให้ปัจามิตรมาย่ำยีบีทาได้. ๚ะ๏ ภอมีหนังลือบอกเมืองนครลำปางซ้ำลงมาอิกฉบับหนึ่งว่าได้ข่าวว่าจอข่องนรทาแม่ทับซึ่งตั้งอยู่ณเมืองฝาง จะยกกองทับมาตีเมืองนครลำปาง เอาตัวอาปะรกามณี แลพระยาแพร่ พระยายองให้จงได้. สมเดจพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรฯ ก็กราบถวายบังคมลา เสดจยาตราพยุหนาวาทับจากกรุงเทพฯโดยทางชลมารคขึ้นไปยังเมืองตาก แล้วเสดจพระราชดำเนินทับบกไปถึงเมืองนครลำปาง ตั้งค่ายหลวงประทับอยู่นอกเมือง แลทับพม่าก็หายกมาไม่. จึ่งมีพระราชบัณฑูรให้พระยากาวิละจัดแจงครอบครัวชาวเมืองเชียงใหม่เดิม ซึ่งไปอาไศรยอยู่ณเมืองนครนั้น ให้ยกกลับขึ้นไปอยู่ณเมืองเชียงใหม่ดังเก่า. แล้วโปรดตั้งพระยากาวิละให้เปนพระยาเชียงใหม่. ให้น้อยธรรมผู้น้องที่สองเปนพระยาอุปราชให้พุทธสารผู้เปนญาติวงษของพระยากาวิละฝ่ายข้างมารดานั้นเปนพระยาราชวงษ. ให้ขึ้นไปอยู่รักษาเมืองเชียงใหม่. พระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคเปนอันมาก. แลพระยาเชียงใหม่ พระยาอุปราช พระยาราชวงษ ก็กราบถวายบังคมลายกครอบครัวชาวเมืองทั้งปวง ขึ้นไปตั้งอยู่ณเมืองเชียงใหม่ตามรับสั่ง. ๚ะ๏ จึ่งทรงพระกรุณาโปรดตั้งคำโสมผู้น้อง รองพระยากาวิละ เปนพระยานครลำปางแทน. ให้คำทิพผู้น้องที่สาม เปนพระยาอุปราช. ให้หมูล่าผู้น้องที่สี่เปนพระยาราชวงษ อยู่รักษาเมืองนครสืบไป พระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคเหมือนดังเมืองเชียงใหม่นั้น. แต่เมืองลำภูญว่างอยู่ ด้วยผู้คนยังเบาบางระส่ำระสาย จะแบ่งได้ตั้งยังมิได้ก่อน. ๚ะ๏ ฝ่ายข้างกรุงเทพมหานครในปลายปีมแมนพศกนั้น สมเดจพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระราชดำริหจะเสดจพระราชดำเนินทับหลวงไปตีเมืองทวาย จึ่งดำรัศให้เกนกองทับไว้ให้พร้อมสรัพ. ๚ะ๏ ครั้นถึงณะวันเสาร์เดือนญี่ขึ้นห้าค่ำ เพลาสามโมงเช้าสี่บาทได้มหาพิไชยมงคลมหุติฤกษ. จึ่งพระบาทสมเดจพระพุทธเจ้าหลวง ก็เสดจยกพยุหยาตรานาวาทับหลวงจากกรุงเทพฯโดยทางชลมารค. แลยกพลโยธาหาญในขบวนทับหลวงจากกรุงครานั้นสองหมื่นเสศ พร้อมด้วยเรือพระราชวงศานุวงษ แลเรือท้าวพระยาข้าทูลลอองฯ ทั้งหลายโดยเสดจพระราชดำเนินเปนอันมาก. ดำรัศให้เจ้าพระยารัตนาพิพิธ เจ้าพระยามหาเสนา เจ้าพระยายมราชเปนกองน่า. เจ้าพระยาพระคลัง เปนเกียกกาย. สมเดจพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรเปนยกรบัตร. สมเดจพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษเปนทับหลัง. เสดจประทับร้อนแรมไปตามรยะทางชลมารคถึงท่าตกั่วแม่น้ำน้อย. จึ่งเสดจขึ้นประทับณะพระตำหนักค่ายซึ่งกองน่าตั้งไว้รับเสดจ แล้วดำรัศให้กองน่ากองหนุนเปนคนหมื่นหนึ่งยกล่วงไปก่อน. แลครั้งนั้นเดินทับไปทางเขาสูงข้ามเขาไปลงด่านวังปอ. ทับหลวงจึ่งเสดจพระราชดำเนินตามไป. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสดจทรงช้างต้นพังเทพลีลาเปนพระคชาธารผูกพระที่นั่งกูบทอง ประดับด้วยเครื่องพระกันภิรมแห่โดยขนาด. พรั่งพร้อมด้วยพลสารดั้งกันแซกแซงเปนขนัด แลพลอัศดรจตุรงคเรียบเรียงโดยพยุหยาตราน่าหลัง คับคั่งทั้งพลบทจรเดินเท้าแปดพันเสศล้วนสรวมใส่สรรพยุทธอาภรณ์ กรกุมอเนกวิธอาวุธโห่ร้องกึกก้องท้องทุรัฐยาวนาวสณฑ์ เคลื่อนพหลพยุหโยธาทับไปโดยลำดับแถวเถื่อนสถลมารควิถีไพร ให้ตั้งค่ายแลพลับพลาอยุดประทับร้อนแรมไปตามรยะทางนั้น. ๚ะ๏ ครั้งนั้นฝ่ายข้างเมืองทวาย พระเจ้าอังวะตั้งแมงแกงซาบุตรเมฆราโบ่ลงมาเปนเจ้าเมือง. อนึ่งกองทับพม่าซึ่งยกลงไปทางเมืองมฤตแต่ครั้งก่อนนั้น ก็พร้อมกันอยู่ณเมืองทวายสิ้น. ครั้นทวายหวุ่น กับแก่งหวุ่น แมงยีแม่ทับ แลนายทับนายกองทั้งปวงได้แจ้งว่า กองทับไทยยกมาทางด่านวังปอเขาสูงจะตีเมือง แม่ทับจึ่งแต่งให้นัดมิแลงถือพลสามพัน ยกมาตั้งค่ายรับอยู่ณวังปอทับหนึ่ง. แล้วให้ทวายหวุ่นเจ้าเมืองทวายถือพลสี่พันยกมาตั้งค่ายรับอยู่ณเมืองกะลิอองเหนือเมืองทวายทับหนึ่ง. แล้วตั้งค่ายปีกกาสกัดท้องทุ่งทางซึ่งจะมาแต่เมืองกะลิอ่องถึงเมืองทวาย เกนให้นายทับนายกองทั้งปวง ยกพลทหารห้าพันออกไปตั้งรับอยู่อีกตำบลหนึ่ง แล้วจัดแจงพลทหาร ทั้งพม่าแลทวายชาวเมืองขึ้นประจำรักษาน่าที่เชิงเทินกำแพงเมืองโดยรอบ กอบด้วยเครื่องสรรพาวุธปืนใหญ่น้อยพร้อมสรัพ แลตัวแก่งหวุ่นแมงยีแม่ทับนั้น ตั้งมั่นรักษาอยู่ในเมือง จัดแจงการป้องกันเมืองเปนสามารถ. แล้วบอกหนังสือขึ้นไปทูลพระเจ้าอังวะว่า พระเจ้ากรุงศรีอยุทธยายกทับหลวงมาตีเมืองทวาย. ๚ะ๏ ฝ่ายเจ้าพระยารัตนาพิพิธแม่ทับน่าเดินทับข้ามเขาสูงไป จึ่งให้พระยาสุรเสนา พระยามหาอำมาตย แลท้าวพระยานายทับนายกองเปนหลายนายคุมพลทหารห้าพันล่วงน่าไปก่อน ลงตกเชิงเขาสูงข้างโน้นถึงค่ายวังปอซึ่งทับพม่ามาตั้งรับอยู่นั้น. จึ่งพระยาสุรเสนาพระยามหาอำมาตยนายกองน่า ก็ให้ตั้งค่ายลงเปนหลายค่ายเข้าประชิค่ายพม่าๆ ก็ยิงปืนใหญ่น้อยออกจากค่าย. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันศุกรเดือนสามขึ้นเก้าค่ำเพลาเช้า จึ่งพระเสนานนท์กับขุนหมื่นแลไพร่ในกองยกเข้าปล้นค่ายพม่า.ๆยิงปืนนกสรับออกมาแต่ในค่าย ต้องต้นขาเบื้องซ้ายพระเสนานนท์ พลทหารเข้าช่วยพยุงถอยออกมาเข้าค่าย. จึ่งพระมหาอำมาตยก็ขับพลทหารหนุนเข้าไปปล้นค่ายพม่า.ๆ ต่อรบเปนสามารถจะหักเอาค่ายมิได้ก็ถอยอกมา. แต่ยกเข้าปล้นดังนั้นเปนหลายวันเสียพระยาสุรเสนา แลพระยาสมบัติบาลต้องปืนฆ่าศึกตายในที่รบ. ๚ะ๏ ครั้นณวันอาทิตยเดือนสามแรมสิบค่ำ จึ่งเจ้าพระยารัตนาพิพิธ เจ้าพระยามหาเสนา ก็ยกพลทหารหนุนไปช่วยกองน่า เข้ารดมตีค่ายพม่า.ๆต่อรบเปนสามารถรบกันตั้งแต่เช้าจนค่ำ. พลทับไทยยกหนุนเนื่องกันเข้าไปมิได้ท้อถอยบ้างเย่อค่ายปีนค่าย. พม่าสู้รบอยู่จนเพลาประมาณยามหนึ่ง. นัดมิแลงนายทับเหนเหลือกำลังจะต้านทานมิได้ ก็ภาพลทหารแตกออกข้างหลังค่ายพ่ายหนีไปณค่ายเมืองกะลิอ่อง. กองทับไทยก็ได้ค่ายวังปอ แล้วให้ม้าใช้รีบลงมากราบทูลพระกรุณายังทับหลวง แล้วตั้งภักรี้พลอยู่ค่ายวังปอสองวัน. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันพุทธเดือนสามแรมสิบสามค่ำ กองทับน่าจึ่งยกตามลงไปถึงค่ายเมืองกลิอ่องเข้าตั้งค่ายติดเมืองกลิอ่อง. ฝ่ายทับหลวงก็เสดจขึ้นข้ามเขาสูงหนุนไป แลเขานั้นชันนักจะทรงช้างพระที่นั่งขึ้นไปมิได้. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวดำรัศให้ผูกราว แล้วต้องทรมานพระกาย เสดจพระราชดำเนินด้วยพระบาทยุดราวขึ้นไปตั้งแต่เชิงเขาแต่เช้าจนเที่ยงจึ่งถึงยอด. แลช้างซึ่งขึ้นเขานั้นเอางวงยุดต้นไม้จึ่งเหนี่ยวกายขึ้นไปได้ลำบากนัก. จึ่งมีพระราชดำรัศว่าไม่รู้ว่าทางนี้เดินยากภาลูกหลานมาได้ความลำบากยิ่งนัก เมื่อจะลงไปเชิงเขาข้างโน้น ก็ต้องเสดจพระราชดำเนินยุดราวลงไปเหมือนกัน. ครั้นกองทับหลวงยกข้ามเขาสูงล่วงพ้นไปแล้ว จึ่งเสดจยังทับหลวงอยุดประทับแรมอยู่ณค่ายวังปอ ให้ตำรวจไปเร่งกองน่าให้ตีเมืองกลิอ่องให้แตกโดยเรว. เจ้าพระยารัตนาพิพิธ เจ้าพระยามหาเสนา เจ้าพระยายมราช ก็ขับพลทหารเข้าหักค่ายเมืองกลิอ่อง พม่าต่อรบเปนสามารถ แลรบกันทั้งกลางวันกลางคืน เสียงปืนยิงโต้ตอบกันมิได้อยุดอย่อน. ๚ะ๏ ถึงณวันเสาร์เดือนสี่ขึ้นสองค่ำ เพลากลางคืนยามเสศ เจ้าเมืองทวายแลนัดมิแลง เหนเหลือกำลังจะต้านทานต่อรบ ก็แหกหนืออกทางหลังค่ายแตกหนีพ่ายลงไปเมืองทวาย. กองทับไทยก็ได้เมืองกลิอ่อง ให้อยุดพักพลจัดแจงเสบียงอาหารอยู่ที่นั้นหลายวัน. แล้วแต่งให้กองสอดแนมลงไปสืบแจ้งว่า พม่าตั้งค่ายปีกกาสกัดท้องทุ่งคอยรับอยู่กลางทาง ซึ่งจะลงไปเมืองทวาย. จึ่งบอกไปกราบทูลพระกรุณายังทับหลวงณค่ายวังปอ จึ่งมีพระราชดำรัศให้กองน่าตรวจเตรียมรี้พลจงกวดขันทุกทับทุกกอง อย่าประมาทให้เสียทีแก่ฆ่าศึก ให้ยกไปตีค่ายปีกกาพม่าให้แตกแต่ในในวันเดียว. แม้นล่วงวันไปจะเอาโทษแก่นายทับนายกองถึงสิ้นชีวิตร. ๚ะ๏ ครั้นณวันศุกรเดือนสี่แรมแปดค่ำเพลาเช้า แม่กองน่าก็ยกพลทหารลงไปตีค่ายปีกกา แลท้าวพระยานายทับนายกองทั้งหลาย กั้นสัปทนแดงดาษไปทั้งท้องทุ่งปันน่าที่กันเร่งขับพลทหารเข้ารบหักค่ายปีกกาพร้อมกันทุกทับทุกกอง รดมยิงปืนใหญ่น้อยเสียงเสทื้อนสท้านไปทั้งท้องทุ่ง. พม่าก็ยิงปืนใหญ่น้อยออกจากค่ายปีกกาทุกน่าที่ รบกันตั้งแต่เช้าจนเพลาพลบค่ำ. พลทหารไทยเยียดยัดหนุนเนื่องกันเข้าไปมิได้ท้อถอย บ้างปีนค่ายเย่อค่ายต่อรบกันถึงอาวุธสั้น. พลพม่าสู้รบต้านทานมิได้เหลือกำลัง ก็แตกฉานพ่ายหนีเข้าเมือง. พลทับไทยตีค่ายปีกกาแตกแล้ว ก็ยกติดตามลงไปณเมืองทวายในเพลากลางคืนวันนั้น. ๚ะ๏ ฝ่ายแก่งหวุ่นแมงยีแม่ทับใหญ่ แลแมงแกงซาเจ้าเมืองทวาย กับทั้งนายทับนายกองทั้งปวง ภากันตื่นตกใจเหนจะรักษาเมืองไว้มิได้ ก็ชวนกันหนีออกจากเมือง ที่ข้ามแม่น้ำไปฟากข้างโน้นก็มีบ้าง ที่ยังอยู่ในเมืองก็มีบ้าง แต่มิได้มีผู้คนขึ้นรักษาน่าที่เชิงเทินกำแพงเมือง. ๚ะ๏ ถึงณวันเสาร์เดือนสี่แรมเก้าค่ำเพลาเช้า พลทับไทยกองน่าก็ยกไปถึงเชิงกำแพงเมืองทวายไม่เหนผู้คนขึ้นรักษาน่าที่เชิงเทิน แต่ประตูเมืองปิดอยู่. แม่ทับน่าจึ่งปฤกษากันว่า ครั้นจะทำลายประตูเมืองเข้าไปในเมือง ก็เกรงว่าพม่าจะแต่งกลซุ่มพลทหารไว้. จึ่งให้รอทับอยู่แต่นอกเมืองก่อน คอยดูท่วงทีพม่าจะทำประการใด อย่าให้เสียทีแก่ฆ่าศึก. ก็ถอยออกมาตั้งค่ายล้อมเมืองไว้สามด้าน เว้นแต่ด้านริมแม่น้ำ. ๚ะ๏ ฝ่ายนายทับนายกองพม่าเหนว่า ทับไทยยังอยู่มิได้เข้าเมือง แล้วก็ผ่อนกันกลับเข้ามาในเมือง เกนพลทหารขึ้นรักษาน่าที่เชิงเทินกำแพงเมืองป้องกันเมืองเปนสามารถ. ๚ะ๏ ฝ่ายทับหลวงก็เสดจพระราชดำเนิน ยกตามกองน่าเข้าไปตั้งค่ายหลวงใกล้เมือง ห่างค่ายกองน่าซึ่งตั้งล้อมเมืองออกมาประมาณห้าสิบเส้น ดำรัศให้กองสมเดจพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ยกไปตั้งค่ายใหญ่หนุนค่ายกองน่าอยู่น่าค่ายหลวง. ๚ะ๏ ขณะนั้นช้างต้นพังเทพลีลา ซึ่งเปนพระคชาธารนั้นป่วยลงไม่จับญ่าถึงสามวัน. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตกนัก ด้วยเปนช้างพระที่นั่งข้าหลวงเดิมได้เคยทรงเสดจไปงานพระราชสงครามมาแต่ก่อนทุกครั้ง. ทรงพระอาไลยว่า เปนราชพาหนะเพื่อนทุกขเพื่อนยากเกรงจะล้มเสีย. จึ่งทรงพระอธิฐานเสกเข้าสามปั้นให้ช้างนั้นกิน. ด้วยเดชะพระบารมีเปนมหัศจรรย ช้างนั้นก็หายไข้เปนปรกติ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวดีพระไทยยิ่งนัก. ๚ะ๏ ฝ่ายนายทับนายกองพม่า ซึ่งตั้งรักษาเมืองทวายอยู่นั้น เกรงกลัวพระเดชานุภาพเปนกำลัง มิได้ยกพลทหารออกมาต่อรบนอกเมือง นิ่งรักษาเมืองมั่นอยู่. แต่กองทับไทยตั้งล้อมเมืองอยู่ถึงกึ่งเดือน เสบียงอาหารก็เบาบางลง. ๚ะ๏ ขณะนั้นจึ่งเจ้าอินซึ่งเปนบุตรพระเจ้าล้านช้างเก่า จึ่งกราบทูลพระกรุณาขออาสาจะยกเข้าปีนปล้นเอาเมือง. มีพระราชโองการตรัสห้ามว่าทับหลวงตั้งใกล้เมืองนัก เกรงจะไม่สมคะเนลาดถอยออกมา ฆ่าศึกได้ที จะยกออกจากเมืองไล่ติดตามกระทั่งประทะถึงค่ายหลวง จะเสียทีเหมือนเมื่อครั้งยกทับไปตีเมืองเชียงใหม่ครั้งก่อน. ภายหลังพระยาสีหราชเดโชแลท้าวพระยานายทับนายกองเปนหลายนาย กราบบังคมทูลขออาษาจะเข้าปล้นเอาเมือง. ก็ดำรัศห้ามเสียเหมือนดังนั้น. ภอเสบียงอาหารขัดลง ก็ดำรัศให้เลิกทับหลวงถอยมาทางถม่องส่วย ให้กองทับน่ารอรั้งมาเบื้องหลัง พม่าก็ยกทับมาติดตาม กองน่าก็รอรบมาจนสิ้นแดนเมืองทวาย. ๚ะ๏ ในขณะนั้นฝ่ายสมเดจพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงทราบว่า สมเดจพระพุทธเจ้าหลวงเสดจพระราชดำเนินพยุหโยธาทับออกไปตีเมืองทวาย ก็เสดจยาตราทับจากเมืองนครลำปางกลับมายังพระมหานคร แล้วเสดจโดยทางชลมารคออกไปตามเสดจ สมเดจพระบรมเชษฐาธิราชเจ้า ถึงแม่น้ำน้อย. ภอทับหลวงเสดจกลับมาถึงพระตำหนักค่ายท่าเรือ ก็เสดจขึ้นไปเฝ้ากราบบังคมทูลว่า ขออัญเชิญเสดจพระราชดำเนินคืนยังพระนครเถิด ข้าพระพุทธเจ้าจะตั้งทับอยู่ที่นี่ ดูทีพม่าจะเปนประการใด จะได้คิดอ่านป้องกันสู้รบรักษาพระราชอาณาเขตร. สมเดจพระพุทธเจ้าหลวงก็ทรงเหนชอบด้วย จึ่งเสดจกรีธานาวาทับกลับคืนยังกรุงเทพฯ. ๚ะ๏ ฝ่ายกองทับพม่ายกติดตามมาภอสิ้นแดนเมืองทวายแล้ว ก็ยั้งทับอยู่มิได้ยกล่วงเข้ามาในพระราชอาณาเขตร ก็เลิกทับกลับไปเมืองทวาย. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรฯ ก็ทรงจัดแจงให้พลเมืองอยู่รักษาด่านทางมั่นคงแล้ว ก็เสดจเลิกกองทับกลับยังพระมหานคร. ๚ะ๏ ฝ่ายองคเชียงสือได้โดยเสดจพระราชดำเนินในขบวนทับหลวง ไปตีเมืองทวายด้วย. ครั้นเสดจกลับมาถึงพระนครแล้ว จึ่งปฤกษากับขุนนางญวนสมัคพัคพวกของตัวว่า เราหนีฆ่าศึกเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระกรุณาโปรดชุบเลี้ยงได้ความศุข แล้วโปรดให้กองทับยกออกไปตีฆ่าศึกจะคืนเอาเมืองให้ถึงสองครั้ง ก็ยังหาสำเร็จไม่. บัดนี้สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชกังวลด้วยการศึกพม่า ยังรบพุ่งติดพันกันอยู่ เหนจะช่วยธุระเรามิได้. ครั้นจะกราบทูลถวายบังคมลาออกไปรบฆ่าศึก ตีเอาบ้านเมืองคืนด้วยกำลังตัวเอง ก็เกรงพระราชอาญาอยู่ เหนจะไม่โปรดให้ไป. จำจะหนีออกไปจึ่งจะได้. ครั้นปฤกษาเหนพร้อมด้วยกันแล้ว ก็เขียนหนังสือทูลลาเอาไว้ณเรือน แล้วจัดแจงเรือทเลได้สี่ลำห้า ลอบภาสมัคพัคพวกขุนนางแลไพร่ครอบครัวทั้งปวง ลงเรือหนีรีบแจวลงไป ออกปากน้ำเมืองสมุทปราการแต่ในเพลากลางคืน. พวกชาวบ้านซึ่งอยู่ใกล้เคียงรู้เหตุ จึ่งขึ้นมาแจ้งความแก่เจ้าพระยาพระคลังๆจึ่งเข้าไปกราบทูลสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองคแต่ในเพลากลางคืน. ๚ะ๏ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรฯ จึ่งเสดจลงเรือพระที่นั่งพร้อมด้วยเรือข้าราชการทั้งปวงล่วงติดตามลงไปก็บมิทัน เรือองคเชียงสือออกพ้นปากน้ำตกถึงท้องทเลแล้ว ก็เสดจกลับคืนมายังพระมหานคร. ภอเพลาเช้าเสดจขึ้นเฝ้ากราบทูลว่า จะขอจัดแจงเรือรบเรือทเล ยกกองทับออกไปติดตามเอาตัวองคเชียงสือให้จงได้. ภอพวกข้าหลวงไปค้นเรือนองคเชียงสือได้หนังสือซึ่งเขียนไว้ทูลลานั้น จึ่งนำเอามาถวาย. ทรงพระกรุณาให้อ่านเปนใจความว่า ข้าพระพุทธเจ้าองคเชียงสือเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ทรงพระกรุณาโปรดชุบเลี้ยงก็ได้ความศุข. บัดนี้มีความวิตกถึงบ้านเมือง ครั้นจะกราบทูลถวายบังคมลากลับออกไป ก็กลัวพระราชอาญานัก จึ่งต้องคิดอ่านหนีด้วยเปนความจำเปน ใช่จะคิดเปนการขบถกลับมาประทุษฐร้ายนั้นหามิได้ขอเปนข้าทูลลอองธุลีพระบาทไปตราบเท่าสิ้นชีวิตร. ซึ่งถวายบังคมลาไปทั้งนี้ด้วยจะไปตั้งซ่องสุมเกลี้ยกล่อมผู้คนเข้าตีเอาเมืองคืนให้จงได้. แม้นขัดสนกระสุนดินดำแลเหลือกำลังประการใด ก็จะบอกเข้ามาขอพระราชทานลูกกระสุนดินดำ แลกองทับออกไปช่วยกว่าจะสำเร็จการสงคราม คืนเอาบ้านเมืองได้แล้ว ก็จะขอเปนเมืองขึ้นข้าขอบขันธสีมาสืบไป. ๚ะ๏ ครั้นได้ทรงทราบในหนังสือแล้ว จึ่งมีพระราชโองการตรัสห้ามสมเดจพระอนุชาธิราชว่า อย่ายกทับไปติดตามจับเขาเลย. เขาเหนว่าเราจะช่วยธุระเขามิได้ ด้วยมีการศึกติดพันกันอยู่ เขาจึ่งหนีไปตีเอาบ้านเมืองคืน. เรามีคุณแก่เขาเขียนด้วยมือแล้ว จะลบด้วยเท้าดูมิบังควร. สมเดจพระอนุชาธิราชจึ่งกราบทูลว่า องคเชียงสือคนนี้แม้นทรงพระกรุณาจะละไว้มิให้ติดตามเอาตัวให้ได้. นานไปภายน่าหาบุญเราไม่แล้ว มันจะทำความลำบากเดือดร้อนแก่ลูกหลานเราเปนแท้อย่าสงไสยเลย. แล้วกราบถวายบังคมลาเสดจกลับไปพระราชวัง. ๚ะ๏ อนึ่งในปลายปีมแมนั้น พระยาราชาเสรฐีเจ้าเมืองพุทไธมาศถึงแก่พิราไลย. จึ่งทรงพระกรุณาโปรดตั้งองคเทียมผู้บุตรพระยาราขาเสรฐีญวน เจ้าเมืองพุทไธมาศเก่านั้น เปนพระยาราชาเสรฐีออกไปครองเมืองพุทไธมาศแทน. แล้วมีพระราชโองการตรัสปฤกษาด้วยสมเดจพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรฯ ว่า เมืองสมุทปราการหากำแพงมิได้ เกรงเกลือกจะมีราชสัตรูหมู่ปัจามิตรยกมาทางทเล ไม่มีที่มั่นจะป้องกันรับฆ่าศึก. ทรงปฤกษาเหนพร้อมด้วยกันแล้ว จึ่งให้เกนทำอิฐ แล้วเกนข้าราชการให้ก่อป้อมแลกำแพงไว้ ที่ริมแม่น้ำใต้ปากลัดฟากฝั่งตวันออก เปนที่มั่นป้องกันอริราชไพรี อันจะมีมาโดยทางทเลนั้น. ๚ะ๏ อนึ่งแต่เมื่อต้นปีมแมนพศกนั้น สมเดจพระพุทธเจ้าหลวงมีพระราชดำรัศให้พระยาราชสงคราม เปนแม่กองปรุงเครื่องบนพระมณฑปพระพุทธบาทขึ้นใหม่. เหตุเมื่อครั้งพม่าล้อมกรุงเก่าอยู่นั้น พวกจีนค่ายคลองสวนพลู คบคิดกันขึ้นไปเอาเพลิงจุดเผาพระมณฑปเดิมนั้นเสีย. แลเมื่อครั้งแผ่นดินเจ้าตากนั้นให้ขึ้นไปทำก็เปนแต่หลังคามุงกระเบื้องกั้นพระพุทธบาทไว้พลาง ยังหาได้สร้างเปนพระมณฑปขึ้นดังเก่าไม่. แลเมื่อก่อนยังไม่ได้เสดจยกทับหลวงไปตีเมืองทวายนั้น จึ่งมีพระราชโองการตรัสให้สมเดจพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรฯ เสดจออกไปเปนแม่การยกพระมณฑปพระพุทธบาท. สมเดจพระบรมราชอนุชาก็เสดจพระราชดำเนินโดยทางชลมารคถึงที่ประทับท่าเจ้าสนุกนิ์. จึ่งมีพระราชบัณฑูรให้เกนข้าราชการนายไพร่ ขนตัวไม้เครื่องบนพระมณฑป ขึ้นไปยังเขาพระพุทธบาท สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระอุสาหด้วยกำลังพระราชศรัทธา เสดจพระราชดำเนินด้วยพระบาท ทรงยกตัวลำยองเครื่องบนพระมณฑปตัวหนึ่งด้วยพระหัถ ขึ้นประดิษฐานเหนือพระอังษาทรงแบกด้วยพระองค เสดจพระราชดำเนินไปตามทาง. ให้ตั้งขาอย่างแลพลับพลาที่ประทับไปตามรยะมรรคา เสดจไปถึงพลับพลาที่ประทับที่ใด ก็ทรงวางตัวไม้ไว้บนขาอย่าง แล้วเสดจอยุดประทับบนพลับพลาที่นั้น. ภอหายเหนื่อยแล้วก็เสดจทรงแบกตัวไม้นั้นเสดจพระราชดำเนินต่อไป. แต่ดังนี้จนตราบเท่าถึงเขาพระพุทธบาท ด้วยอำนาทกำลังพระราชศรัทธา ทรงพระมหาอุสาหมิได้คิดแก่ลำบากพระกาย หมายจะให้เปนบุญโกษฐาศพระราชกุศลอย่างยิ่ง. จึ่งให้ช่างยกเครื่องบนพระมณฑปแลยอดเสรจแล้ว ให้จับการลงรักปิดทองประดับกระจก. แล้วให้ทำพระมณฑปน้อย กั้นรอยพระพุทธบาทภายในพระมณฑปใหญ่. เสาทั้งสี่กับทั้งเครื่องบนแลยอดล้วนแผ่ทองคำหุ้มทั้งสิ้น. แลการพระมณฑปใหญ่น้อยสำเรจบริบูรณแล้ว ก็เสดจพระราชดำเนินกลับยังกรุงเทพมหานคร ขึ้นเฝ้าสมเดจพระบรมเชษฐาธิราชเจ้า กราบทูลถวายพระราชกุศล ซึ่งเสดจขึ้นไปถาปนาพระมณฑปพระพุทธบาทใหม่แล้วสำเรจบริบูรณนั้น. ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๑๕๐ ปีวอกสัมฤทธิศก ขณะนั้นกำปั่นฝรั่งเสศเข้ามาสู่พระนครลำหนึ่ง ฝรั่งซึ่งเปนนายกำปั่นสองคนพี่น้อง. แลน้องชายนั้นเปนคนมวยมีฝีมือ เที่ยวพนันชกมวยชนะมาเปนหลายเมือง. ครั้นเข้ามาถึงพระนคร จึ่งบอกให้ล่ามกราบเรียนเจ้าพระยาพระคลังว่า จะขอชกมวยพนันกับคนมวยในพระนครนี้. เจ้าพระยาพระคลังจึ่งกราบบังคมทูลพระกรุณา. สมเดจพระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงทราบ จึ่งมีพระราชโองการดำรัศปฤกษาด้วยสมเดจพระอนุชาธิราชเจ้า. ๆ จึ่งกราบทูลว่า ครั้นจะมิจัดแจงคนมวยออกต่อสู้ด้วยฝรั่งๆเปนคนต่างประเทศ ก็จะดูหมิ่นว่า พระนครนี้หาคนมวยดีจะต่อสู้มิได้ ก็จะเสื่อมสูญเสียพระเกียรติยศปรากฎไปทั่วนาๆประเทศทั้งปวง. ข้าพระพุทธเจ้าจะจัดแจงแต่งคนมวยที่มีฝีมือ ออกต่อสู้กับฝรั่งเอาไชยชำนะให้จงได้. สมเดจพระพุทธเจ้าหลวงก็ทรงเหนชอบด้วย จึ่งดำรัศให้เจ้าพระยาพระคลังบอกแก่ฝรั่งรับพนันชกมวยกัน วางเดิมพันเปนเงินห้าสิบชั่ง. ๚ะ๏ จึ่งสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ก็มีพระราชบัณฑูรตรัสสั่งให้จัดหาคนมวยมีฝีมือดีในกรมทนายเลือก ทั้งพระราชวังหลวง พระราชวังบวรสถานมงคล ได้หมื่นผลาญผู้หนึ่ง เปนทนายเลือกในพระราชวังหลวง รูปกายล่ำสันฝีมือดีกว่าพวกมวยสิ้นทั้งนั้น. จึ่งดำรัศให้ปลูกพลับพลาใกล้โรงลคอนฝ่ายตวันตก ณวัดพระศรีรัตนสาศดาราม ตั้งสนามมวยที่นั้น. ๚ะ๏ /*ครั้นถึงวันกำหนดจะชกมวยพนันกับฝรั่ง จึ่งมีพระราชบัณฑูรให้แต่งตัวหมื่นผลาญ เอาน้ำมันว่านอันอยู่คงโชลมทั่วทั้งกาย แล้วให้ขี่ฅอคนลงมายังพระราชวังหลวง. ๚ะ๏ ฝ่ายฝรั่งเสศนายกำปั้นสองคนพี่น้อง กับพัคพวกบ่าวไพร่ ก็ขึ้นมาสู่ที่สนามมวยในพระราชวัง. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค ก็เสดจพระราชดำเนินขึ้นสู่พลับพลาทอดพระเนตร พร้อมด้วยพระราชวงษานุวงษแลข้าทูลลอองฯผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวง จึ่งให้เอาเส้นเชือกขึงวงรอบสนาม. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรฯ เสดจสถิตยบนพลับพลาชั้นลดที่สองเตรียมพระองค์คอยทีอยู่. ดำรัศให้พวกทนายเลือกทั้งพระราชวังหลวงพระราชวังบวรฯ เตรียมตัวอยู่พร้อมกัน. จึ่งหมื่นผลาญกับฝรั่งคู่มวย ก็เข้ามากราบถวายบังคมในกลางสนามแล้วยืนตั้งท่าเข้าชกกัน. แลฝรั่งนั้นล้วงมือจะจับหักกระดูกไหปร้าหมื่นผลาญๆยกมือขึ้นกันแล้วชกพลางถอยพลาง. ฝรั่งถูกต้องหมัดมิได้ฟกช้ำตั้งแต่ท่าล้วงอย่างเดียวไล่ตามมาจนใกล้วงเชือกซึ่งขึงไว้. ๚ะ๏ ฝ่ายฝรั่งพี่ชายเหนดั่งนั้น จึ่งยืนขึ้นข้างหลังหมื่นผลาญ ยกมือขึ้นผลักหมื่นผลาญให้เลื่อนเข้ากลางวงจะให้น้องชายหักไหปร้า. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรฯ ทอดพระเนตรเหนดั่งนั้น ก็ทรงพระพิโรธดำรัศว่า เล่นชกพนันกันแต่ตัวต่อตัว ไฉนจึ่งช่วยกันชกเปนสองคนเล่า. ก็เสดจโดดลงจากพลับพลา ยกพระบาทถีบเอาฝรั่งพี่ชายล้มลง ขณะนั้นพวกทนายเลือกก็วิ่งตรูกันเข้าชกต่อยปะเตะถีบทุบถองฝรั่งทั้งสองคนพี่น้องเจ็บป่วยเปนสาหัส แล้วลากออกไปจากสนามมวย. พวกบ่าวไพร่ฝรั่งก็เข้าแบกหามนายลงไปยังกำปั่น. สมเดจพระพุทธเจ้าหลวงจึ่งดำรัศสั่งพระราชทานหมอนวดหมอยา ให้ลงไปรักษาพยาบาลฝรั่งทั้งสองหายป่วยแล้ว ก็บอกล่ามให้กราบเรียนเจ้าพระยาพระคลัง ให้ช่วยกราบทูลถวายบังคมลา แล้วถอยกำปั่นเลื่อนลงไปจากพระนคร ออกจากปากน้ำเมืองสมุทปราการ ตกถึงท้องทเลใหญ่ แล้วใช้ใบกลับไปเมืองฝรั่งเสศ แต่นั้นกำปั่นฝรั่งเสศ มิได้เข้ามาสู่พระนครสืบไปอีกเลย. ๚ะ๏ ในปีวอกสัมฤทธิศกนั้น สมเดจพระเจ้าลูกเธอพระองค์ใหญ่ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พระชนมายุครบ ๒๑ พรรษา ควรจะทรงบรรพชาอุปสมบท. แต่สมเดจพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทรรณเรศร เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ ทั้งสองพระองคนั้น พระชนมายุเกินอุปสมบทแล้ว ยังหาได้ทรงผนวชเปนภิกษุไม่. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค จึ่งทรงพระกรุณาโปรดอนุญาตให้ออกทรงผนวชทั้งสามพระองค. ๚ะ๏ ครั้นณวันอาทิตยเดือนแปดขึ้นค่ำหนึ่งเพลาเช้าสามโมง สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค ก็เสดจพระราชดำเนินสู่พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนสาศดาราม. พร้อมด้วยพระสงฆ์ราชาคณะ แลพระราชวงษานุวงษ ท้าวพระยามุขมนตรีทั้งหลาย สโมสรสันนิบาตโดยอันดับ. จึ่งเสนาบดีปฤกษาให้สมเดจพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรทรงผนวชก่อน ถึงอ่อนพระชันษาก็เปนลูกหลวงเอก มีบันดาศักดิ์สูงกว่า. พระเจ้าหลานเธอทั้งสองพระองคนั้น เปนพระราชบุตรสมเดจพระเจ้าพี่นางเธอ พระชันษาแก่กว่าก็จริง แต่บันดาศักดิ์ตำกว่าพระเจ้าลูกเธอ ให้ทรงผนวชทีหลัง. ครั้นเสร็จอุปสมบทแล้ว สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองคก็เสดจกลับเข้าพระราชวัง. ๚ะ๏ ในปีวอกสัมฤทธิศกนั้น พระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระราชรำพึงถึงพระไตรยปิฎกธรรม อันเปนมูลรากแห่งพระปริญัติสาศนา ทรงพระราชศรัทธาพระราชทานพระราชทรัพยเปนอันมาก ให้เปนค่าจ้างช่วงจานจาฤกพระไตรยปิฎกลงลาน. แต่บันดามีฉบับในที่ใดๆ ที่เปนอักษรลาวอักษรรามัญ ก็ให้ชำระแปลงออกเปนอักษรขอม สร้างขึ้นใส่ตู้ไว้ในหอพระมณเฑียรธรรม. แลสร้างพระไตรยปิฎกถวายพระสงฆให้เล่าเรียนทุกๆ พระอารามหลวงตามความปราถนา. จึ่งจมื่นไวยวรนารถกราบทูลว่า พระไตรยปิฎกซึ่งทรงพระราชศรัทธาสร้างขึ้นไว้ทุกวันนี้ อักขรบทพยัญชนตกวิปลาดอยู่แต่ฉบับเดิมมา หาผู้จะทำนุบำรุงตกแต้มดัดแปลงให้ถูกต้องบริบูรณขึ้นมิได้. ครั้นได้ทรงสดับก็ทรงพระปรารพภไปว่า พระบาฬี แลอัฐกถาฎีกา พระไตรยปิฎกทุกวันนี้ เมื่อผิดเพี้ยนพิปลาศอยู่เปนอันมากฉนี้ จะเปนเค้ามูลพระปฏิปัติสาศนาแลปฏิเวธสาศนานั้นมิได้. อนึ่งท่านผู้รักษาพระไตรยปิฎกมีอยู่ทุกวันนี้ก็น้อยนัก ถ้าสิ้นท่านเหล่านี้แล้วเหนว่า พระปริญัติสาศนา แลปฏิปัติสาศนา แลปฏิเวธสาศนา จะเสื่อมสูญเปนอันเรวนัก สัตวโลกยทั้งปวงจะหาที่พึ่งมิได้ในอนาคตกาลเบื้องน่า. ควรจะทำนุกบำรุงพระบวรพุทธสาศนาไว้ให้ถาวรวัฒนากาล เปนประโยชนไปแก่เทพามนุษทั้งปวง จึ่งจะเปนทางพระบรมโพธิญาณบารมี. ๏ ครั้นทรงพระราชดำริหฉนี้แล้ว จึ่งให้ประชุมพระราชวงษานุวงษ มีสมเดจพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรฯ เปนประธาน บนพระที่นั่งอมรินทราภิเศกมหาปราสาท ให้อาราธนาสมเดจพระสังฆราช พระราชาคณะถานานุกรมปเรียญติ์ร้อยรูปมารับพระราชทานฉัน. ครั้นเสรจสงฆภุตตากิจแล้ว สมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค จึ่งทรงถวายนมัศการดำรัศเผดียงถามพระราชาคณะทั้งปวงว่า พระไตรยปิฎกธรรมทุกวันนี้ ยังถูกต้องบริบูรณอยู่ฤๅพิรุทผิดเพี้ยนประการใด. จึ่งสมเดจพระสังฆราชพระราชาคณทั้งปวง พร้อมกันถวายพระพรว่า พระบาฬี แลอัฐกถาฎีกา พระไตรยปิฎกทุกวันนี้พิรุทมากมาช้านานแล้ว หากระษัตริย์พระองคใดจะทำนุกบำรุงให้เปนศาสนูปถัมภกมิได้ แต่กำลังอาตมาภาพทั้งปวง ก็คิดจะใคร่ทำนุกบำรุงอยู่เหนจะไม่สำเร็จ. แลการเมื่อพระสรรเพชรพระพุทธองค ผู้ทรงพระทัศอรหาธิคุณอันประเสริฐ. เมื่อพระองคบันทมเหนือพระมรณมัญจาพุทธาอาศน เปนอนุฐานไสยาศนณหว่างนางรังทั้งคู่ ในสาลวโนทยานแห่งพระยามลราช ใกล้กรุงกุสินารายนราชธานี มีพระพุทธฎีกาตรัสแก่พระภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรสงฆทั้งปวง พระธรรมวินัยอันใดทั้งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ อันพระตถาคตเทศนาสั่งสอนท่าน. เมื่อพระตถาคตนิพพานแล้ว พระธรรมแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์นั้นจะเปนครูสั่งสอนท่านแลสรรพสัตวทั้งหลาย ต่างพระตถาคตแปดหมื่นสี่พันพระองค. ตรัสมอบพระพุทธสาศนาไว้แก่พระปริญัติธรรมฉนี้แล้วก็เข้าสู่พระปรินิพพาน. จำเดิมแต่สมเดจพระสัพพัญูเจ้านิพพาน ถวายพระเพลิงแล้วเจ็ดวัน. พระมหากัศสยปเจ้ารฦกถึงถ้อยคำพระสุภัทธภิกษุแก่ กล่าวติเตียนพระบรมครูเปนมูลเหตุ. จึ่งดำริหการจะกระทำสังคายนาย เลือกสันพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายล้วนพระอรหันตทรงพระจตุปฏิสัมภิทาญาณ กับพระอานนทเปนเสกขบุทคลพระองคหนึ่ง ได้พระอรหัต. ในราษตรีรุ่งขึ้นจะทำสังคายนา ภอครบห้าร้อยพระองค มีพระเจ้าอชาตสัตรูเปนสาสนูปถัมภก กระทำสังคายนายพระไตรยปิฎกในพระมณฑปแทบถ้ำสัตบันณคูหา ณเขาเวภารบรรพตใกล้กรุงราชคฤหมหานครเจดเดือนจึ่งสำเรจการปฐมสังคายนาย. ๚ะ๏ ครั้นพระพุทธสาศนาล่วงมาถึงร้อยปี ภิกษุชาววัชชีคาม เปนอลัชชีสำแดงวัดถุสิบประการกระทำผิดพระวินัยบัญญัติ. แลพระมหาเถรขิณาสพแปดพระอง มีพระยศเถรเปนต้น พระเรวัตเถรเปนปริโยสาน ชำระทัศวัถถุอธิกรณ์รำงับยังพระพุทธสาศนาให้บริสุทธิ์แล้ว เลือกพระอรหันต์อันทรงพระปฏิสัมภิทาญาณเจ็ดร้อยพระองค มีพระสัพกามิเถรเจ้าเปนประธาน กระทำสังคายนาพระไตรยปิฎกในวาฬุการามวิหารใกล้เมืองเวสาลี มีพระเจ้ากาฬาโศกราชเปนสาสนูปถัมภก แปดเดือนจึ่งสำเร็จการทุติยสังคายนาย. ๚ะ๏ ครั้นพระพุทธสาศนาล่วงมาถึง ๒๑๘ ปี ครั้งนั้นเหล่าเดียรถีเข้าปลอมบวชในพระสาศนา. จึ่งมีพระโมคลีบุตรดิศเถร ยังพระเจ้าศรีธรรมาโสกราชให้เรียนรู้ในพระพุทธสมัย แลชำระศึกเดียรถีเสียหกหมื่นยังพระพุทธสาศนาให้บริสุทธิ์ แล้วพระโมคลีบุตรดิสเถร จึ่งเลือกพระอรหันต์ อันทรงพระปฏิสัมภิทาญาณพันพระองค์ กระทำสังคายนาพระไตรยปิฎกในอโสการามวิหาร ใกล้กรุงปาตลีบุตรมหานคร มีพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชเปนสาสนูปถัมภก เก้าเดือนจึ่งสำเร็จการตติยสังคายนาย. ๚ะ๏ ครั้นพระพุทธสาศนาล่วงมาถึง ๒๓๘ ปี จึ่งพระมหินทเถรเจ้าออกไปสู่ลังกาทวีป บวชกุลบุตรให้เล่าเรียนพระปริญัติธรรม คือยังรากพระพุทธสาศนาลงในเกาะลังกาแล้ว พระขีณาสพทั้งสามสิบแปดพระองค มีพระมหินทรเถร แลพระอริฐเถรเปนประธาน กับพระสงฆซึ่งทรงพระปริญัติธรรมร้อยรูป กระทำสังคายนาพระไตรยปิฎกในมณฑปถูปารามวิหารใกล้กรุงอนุราธบุรี มีพระเจ้าเทวานัมปิยดิศเปนสาสนูปถัมภกสิบเดือนจึ่งสำเร็จการจตุถสังคายนาย. ๚ะ๏ ครั้นพระพุทธสาศนาล่วงมาถึง ๔๓๓ ปี ครั้งนั้นพระอรหันตทั้งปวงในลังกาทวีปพิจารณาเหนว่า พระพุทธสาศนาจะเสื่อมลง เหตุเพราะพระสงฆซึ่งทรงพระไตรยปิฎกขึ้นปากเจนใจนั้นเบาบางลงกว่าแต่ก่อน. จึ่งเลือกพระอรหันตอันทรงพระปฏิสัมภิทาญาณ แลพระสงฆบุถุชนผู้ทรงพระปริญัติมากกว่าพัน ประชุมกันในอภัยคิรีวิหารใกล้เมืองอนุราธบุรี มีพระเจ้าวัฏคามินีอภัยเปนสาสนูปถัมภก กระทำพระมณฑปถวายให้กระทำสังคายนายพระไตรยปิฎก แล้วจาฤกลงลานทั้งพระบาฬีแลอัฐกถาเปนสิงหฬภาษาปีหนึ่งจึ่งสำเร็จการปัญจมะสังคายนาย. ๚ะ๏ ครั้นพระพุทธสาศนาล่วงมาถึง ๙๕๖ ปี จึ่งพระพุทธโฆษาจาริย์เจ้าออกไปแต่ชมพูทวีป แปลพระไตรยปิฎกอันเปนสิงหฬภาษา จาฤกลงลานใหม่ แปลเปนมคธภาษา. กระทำในโลหปราสาทณเมืองอนุราธบุรี. มีพระเจ้ามหานามเปนสาสนูปถัมภก ปีหนึ่งจึ่งสำเร็จ นับเนื่องเข้าในฉัฐมะสังคายนาย. ๚ะ๏ ครั้นพระพุทธสาศนาล่วงมาถึง ๑๕๘๗ ปี ครั้งนั้นพระเจ้าปรักกมะพาหุราชได้เสวยราชสมบัติในลังกาทวีป ย้ายพระนครจากอนุราธบุรี มาตั้งอยู่ณเมืองจะลัดถิมหานคร. จึ่งพระมหากัศสยปเถร กับพระสงฆ์บุถุชนมากกว่าพัน ประชุมกันชำระพระไตรปิฎก ซึ่งเปนสิงหฬภาษาบ้าง มคธภาษาบ้าง แปลงแปลออกเปนมคธภาษาทั้งสิ้น จาฤกลงลานใหม่. มีพระเจ้าปรักมะพาหุราชเปนสาสนูปถัมภก ปีหนึ่งจึ่งสำเร็จบริบูรณ นับเนื่องเข้าในสัตตมะสังคายนาย. เบื้องน่าแต่นั้นมา จึ่งพระเจ้าธรรมานุรุทธผู้เสวยราชสมบัติณเมืองอริมะทนะบุรี คือเมืองภุกาม. เสดจ์ออกไปลอกพระไตรยปิฎกในลังกาทวีป เชิญใส่สำเภามายังชมพูทวีปนี้. แต่นั้นมาพระปริญัติธรรมจึ่งแผ่ไพศาฬไปในนาๆประเทศทั้งปวงบันดาที่เปนสัมมาทฤษฐินับถือพระรัตนไตรนั้นได้ลอกต่อๆกันไป. เปลี่ยนแปลงอักษรตามประเทศภาษาแห่งตนๆ ก็ผิดเพี้ยนพิปลาดไปบ้างทุกๆพระคำภีร์ที่มากบ้างที่น้อยบ้าง. ๚ะ๏ ครั้นพระพุทธสาศนาล่วงมาได้ ๒๐๒๐ ปี จึ่งพระธรรมทินเถรเจ้า ผู้เปนมหาเถรอยู่ณเมืองนพิสีนครคือเมืองเชียงใหม่. พิจารณาเหนว่าพระไตรยปิฎกพิรุทมาก ทั้งพระบาฬีแลอัฐกถาฎีกา จึ่งถวายพระพรแก่พระเจ้าศิริธรรมจักรวัติดิลกราชาธิราช ผู้เสวยราชสมบัติณเมืองเชียงใหม่ว่า จะชำระพระปริญัติธรรมให้บริบูรณ. พระบรมกระษัตริย์จึ่งให้กระทำพระมณฑปในมหาโพธารามวิหารในพระนคร. พระธรรมทินเถร จึ่งเลือกพระสงฆ์ซึ่งทรงพระไตรยปิฎกมากกว่าร้อย ประชุมกันในมณฑปนั้น กระทำสังคายนายพระไตรยปิฎกตกแต้มให้ถูกถ้วนบริบูรณ ปีหนึ่งจึ่งสำเร็จ. มีพระเจ้าศิริธรรมจักรวัติลกราชเปนสาสนูปถัมภก นับเนื่องในอัฐมะสังคายนายอีกครั้งหนึ่ง. ๚ะ๏ เบื้องน่าแต่นั้นมาพระเถรานุเถรในชมพูทวีปได้เล่าเรียนสร้างสืบต่อกันมา แลท้าวพระยา เสรฐีคหบดี มีสัทธาสร้างไว้ในเมืองสัมมาทฤษฐิทั้งปวง คือเมืองไทย ลาว เขมร พม่า มอญ เปนอักษรส่ำสมกันอยู่เปนอันมาก หาท้าวพระยา แลสมณผู้ใดที่จะศัทธาสามารถ อาจจะชำระพระไตรยปิฎกขึ้นไว้ ให้บริบูรณดุจท่านแต่ก่อนนั้นมิได้มี. ๚ะ๏ ครั้นพระพุทธสาศนาล่วงมาได้ ๒๓๐๐ ปีเสศแล้ว บันดาเมืองสัมมาทฤษฐิทั้งปวง ก็เกิดการยุทธสงครามแก่กัน ถึงพินาศฉิบหายด้วยไภยแห่งปัจามิตร. มีผู้ร้ายเผาวัดวาอาราม พระไตรยปิฎกก็สาบสูญสิ้นไป จนถึงกรุงศรีอยุทธยาก็ถึงกาลพินาศฉิบหายด้วยไภยพม่าฆ่าศึก พระไตรยปิฎกแลเจดีย์ถานทั้งปวง ก็เปนอันตรายสาบสูญไป. สมณผู้จะรักษาร่ำเรียนพระไตรยปิฎกนั้นก็พรัดพรายล้มตายเปนอันมาก หาผู้ใดที่จะเปนพำนักป้องกันฆ่าศึกศัตรูมิได้. เหตุฉนี้พระไตรยปิฎกจึ่งมิได้บริบูรณเสื่อมสูญร่วงโรยมาจนตราบเท่ากาลทุกวันนี้. ๚ะ๏ พระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค เมื่อได้ทรงสดับพระสงฆ์ราชาคณะถวายพระพรโดยพิศดารดังนั้น จึ่งดำรัศว่าครั้งนี้ขออาราธนาพระผู้เปนเจ้าทั้งปวง จงมีอุส่าหในฝ่ายพระพุทธจักร ให้พระไตรยปิฎกบริบูรณ์ขึ้นจงได้. ฝ่ายอาณาจักรที่จะเปนสาสนูปถัมภกนั้น เปนพนักงานโยมๆจะสู้เสียสละละชีวิตรบูชาพระรัตนไตรย สุดแต่จะให้พระปริญัติบริบูรณเปนมูลที่จะตั้งพระพุทธสาศนาจงได้. พระราชาคณะทั้งปวงรับสาธุแล้วถวายพระพรว่า อาตมภาพทั้งปวงมีสติปัญญาน้อยนักไม่เหมือนท่านแต่ก่อน. แต่จะอุสาหชำระพระปริญัติสนองพระเดชพระคุณตามสติปัญญา. แลสมเดจบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าทรงทำนุกบำรุงพระพุทธสาศนาครั้งนี้ ก็นับได้ชื่อว่านวะมะสังคายนาคำรบเก้าครั้ง จะยังพระปริญัติสาศนาให้ถาวรวัฒนายืนยาวไปในอนาคตสมัยสิ้นกาลช้านาน. แล้วถวายพระพรลาออกมาประชุมพร้อมกันณวัดบางว้าใหญ่. จึ่งสมเดจพระสังฆราชให้เลือกสันพระราชาคณะถานานุกรมปเรียญติ์แลอันดับที่เล่าเรียนพระไตรยปิฎกได้บ้างนั้น จัดได้พระสงฆ์สองร้อยสิบแปดรูป กับราชบัณฑิตาจาริยอุบาสกสามสิบสองคน จะกระทำการชำระพระไตรยปิฎก จึ่งจมื่นไวยวรนารถกราบบังคมทูลพระกรุณา. ๚ะ๏ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค จึ่งมีพระราชดำรัศให้จัดแจงที่จะกระทำการสังคายนาณวัดนิพพาราม เหตุประดิษฐานอยู่หว่างพระราชวังทั้งสอง. แลครั้งนั้นจึ่งพระราชทานนามใหม่ให้ชื่อวัดพระศรีสรรเพชดาราม. แล้วทรงพระมหาบริจาคพระราชทรัพยแจกจ่ายเกนพระราชวงษานุวงษ แลข้าราชการฝ่ายน่าฝ่ายใน ทั้งพระราชวังหลวง พระราชวังบวรฯ แลวังหลัง. ให้ทำสำรับคาวหวานถวายพระสงฆซึ่งชำระพระไตรยปิฎกทั้งเช้าทั้งเพน เพลาละสี่ร้อยสามสิบหกสำรับทั้งคาวหวาน. พระราชทานเปนเงินตราเปนค่าขาทนิยโภชนิยาหารสำรับคู่ละบาท. มีพระราชกำหนดให้นิมนต์พระสงฆประชุมพร้อมกันณพระอุโบสถวัดพระศรีสรรเพชดาราม ในวันกติกบุรณมี เพ็ญเดือนสิบสองในปีวอกสัมฤทธิศก พระพุทธศักราชล่วงแล้ว ๒๓๓๑ พรรษา เปนพุทธวารศุกปักษดฤถีเพลาบ่ายสามโมง สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค ก็เสดจพระราชดำเนินด้วยมหันตราชอิศริยยศบริวารยศ พร้อมด้วยเครื่องสูง แลปี่กลองชนะแห่ออกจากพระราชวังไปยังพระอาราม เสดจเข้าสู่พระอุโบสถทรงถวายนมัศการพระรัตนไตรยด้วยเบญจางคประดิฐ แล้วอาราธนาพระพิมลธรรมให้อ่านคำประกาศเทวดาในท่ำกลางสงฆสมาคม. ขออานุภาพเทพยดาเจ้าทั้งปวงให้อุปถัมภนาการให้สำเร็จกิจมหาสังคายนายแล้วให้แบ่งพระสงฆออกเปนสี่กอง. สมเดจพระสังฆราชเปนแม่กองชำระพระสุตันตปิฎกกองหนึ่ง. พระวันรัต เปนแม่กองชำระพระวินัยปิฎกกองหนึ่ง. พระพิมลธรรมเปนแม่กองชำระพระสัทธาวิเสศกองหนึ่ง. แลครั้งนั้นพระธรรมไตรยโลกย เปนโทษอยู่มิได้เข้าในสังคายนาย. พระธรรมไตรยโลกยจึ่งมาทูลสมเดจพระสังฆราชขอเข้าช่วยชำระพระไตรยปิฎกด้วย ก็ได้เปนแม่กองชำระพระปรมัดถปิฎกกองหนึ่ง. แลพระสงฆ์ทั้งสี่กองนั้น ทรงพระกรุณาโปรดให้นิมนตแยกกันชำระพระปริญัติ. อยู่ณอุโบสถกองหนึ่ง. อยู่ณพระวิหารกองหนึ่ง. อยู่ณพระมณฑปกองหนึ่ง อยู่ณการบุเรียญดิ์กองหนึ่ง ทรงถวายปากไก่กปุกหมึกหรดาลครบทุกองค. แล้วสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสดจพระราชดำเนินออกไปณะพระอารามทุกๆ วันๆละสองเวลาทั้งสองพระองค เพลาเช้าทรงประเคนสำรับปณีตโภชนิยชาทนิยาหารแก่พระสงฆให้ฉันณะพระระเบียงทั้งรอบ. เพลาเย็นทรงถวายอัฐบานแลทูปเทียนเปนนิจทุกวัน. แลพระสงฆกับทั้งราชบัณฑิตยประชุมกันพิจารณาดูพระปริญัติ สอบสวนพระบาฬี กับอัฐกถาฎีกาที่ผิดเพี้ยนพิปลาต ก็ตกแต้มเปลี่ยนแปลงอักขระให้ถูกถ้วนบริบูรณทุกๆพระคัมภีร์ใหญ่น้อยทั่วทั้งสิ้น แลที่ใดสงไสยเคลือบแคลง ก็ปฤกษาไต่ถามพระราชาคณะผู้ใหญ่ ซึ่งเปนมหาเถรให้วิสัชนาตัดสินที่ผิดแลชอบ. แลกระทำการชำระพระไตรยปิฏก ตั้งแต่วันเพญเดือนสิบสองจนกราบเท่าถึงวันเพญเดือนห้าปีรกาเอกศก ภอครบห้าเดือนก็สำเร็จการสังคายนาย จึ่งทรงพระกรุณาโปรดให้จำหน่ายพระราชทรัพยเปนมูลค่าจ้าง ให้ช่างจานคฤหัฐแลพระสงฆสามเณร จาฤกพระไตรยปิฎกซึ่งชำระบริสุทธิ์แล้วนั้นลงลานใหญ่สำเรจแล้ว ให้ปิดทองทึบทั้งใบปกน่าหลังแลกรอบทั้งสิ้นเรียกว่าฉบับทอง. ห่อด้วยผ้ายก เชือกรัดถักด้วยไหมเบญจพรรณ์ มีฉลากงาแกะเปนลวดลายเขียนอักษรด้วยหมึก. แลฉลากทอเปนตัวอักษรบอกชื่อพระคำภีรทุกๆพระคำภีร. ๚ะ๏ อนึ่งเมื่อสำเรจการสังคายนายนั้น สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค ทรงถวายไตรจีวรบริกขารภัณฑ์แก่พระสงฆทั้งสองร้อยสิบแปดรูปมีสมเดจพระสังฆราชเปนอาทิ. ล้วนปณีตทุกสิ่งเปนมหามหกรรมฉลองพระไตรยปิฎก แลพระราชทานรางวัลเสื้อผ้าแก่ราชบัณฑิตยทั้งสามสิบสองคน มีพระยาธรรมปโรหิตแลพระยาพจนาพิมลเปนต้นนั้นด้วย. แล้วทรงสุวรรณภิงคารหล่อหลังทักษิโณทกธารา อุทิศแผ่ผลพระราชกุศลสาสนูปถัมภกกิจไป แก่เทพามนุษสรรพสัตวทั้งหลาย ทั่วอนันตโลกธาตุเปนปัตตานุปทานบุญกิริยาวัดถุอันยิ่ง เพื่อประโยชนแก่พระบรมโพธิสัพพัญุตญาณ. ครั้นเมื่อเสรจการสร้างพระไตรยปิฎกฉบับทองแล้ว. จึ่งให้เชิญพระคัมภีรทั้งปวง ขึ้นพระยานุมาศพระราชยานต่างๆ ตั้งขบวนแห่สมโพชพระไตรยปิฎก มีเครื่องเล่นเปนอเนกนานุประการเปนมหรรสพแก่ตาประชาราษฎรทั้งปวง แล้วเชิญพระคัมภีรพระปริญัติธรรม เข้าประดิษฐานไว้ในตู้ประดับมุกตั้งในหอพระมณเฑียรธรรมกลางสระในวัดพระศรีรัตนสาศดารามภายในพระราชวัง. แล้วให้มีงานมหรรสพฉลองพระไตรยปิฎกแลหอพระมณเฑียรธรรม. ครั้งนั้นมีละคอนผู้หญิงด้วย เพลาค่ำจุดดอกไม้เพลิงลูกพลุะไปตกลงบนหลังคาหอพระมณเฑียรธรรมเพลิงติดไหม้ขึ้น. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัว ดำรัศสั่งข้าราชการทั้งปวง ให้เข้าไปยกตู้ประดับมุก แลขนพระไตรยปิฎกออกมาได้สิ้น เพลิงมิได้ไหม้ไหม้แต่หอพระมณเฑียรธรรมแห่งเดียวเท่านั้น. แลที่พระอุโบสถพระแก้วลูกไฟไปไม่ถึงยังบริบูรณดีอยู่. จึ่งมีพระราชโองการตรัสว่า เทพยดาผู้บำรุงรักษาพระพุทธสาศนาเหนว่า หอไตรยยังต่ำอยู่ จึ่งบันดาลให้เพลิงไหม้แต่เฉพาะหอไตรย มิให้ไหม้พระอุโบสถ. ด้วยจะให้สร้างพระมณฑปขึ้นใหม่ใส่พระไตรยปิฎก จึ่งมีพระราชดำรัศสั่งพระยาราชสงคราม ให้เปนแม่การทำพระมณฑป ให้ถมสระเดิมนั้นเสีย ขุดรากก่อพระมณฑปลงที่นั้น มีชาลาแลกำแพงแก้วเปนที่ปทักษิณล้อมรอบพระมณฑป ลดพื้นลงมาสามชั้น แล้วให้ขุดสระใหม่ลงเบื้องบูรพทิศแห่งพระมณฑป ก่ออิฐถือปูนทั้งรอบ แล้วให้ก่อหอพระมณเฑียรธรรมขึ้นใหม่ ฝ่ายทิศอีสานแห่งพระมณฑป แลการทั้งปวงยังมิได้สำเร็จ. ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๑๕๑ ปีรกาเอกศก ถึงณวันอาทิตยเดือนเจ็ดขึ้นค่ำหนึ่ง เพลาบ่ายสามโมงหกบาท ฝนตกอสนีบาตลงต้องน่าบันมุขเด็ดพระที่นั่งอมรินทราพิเศกมหาปราสาท. ติดเปนเพลิงโพลงขึ้นไหม้เครื่องบนพระมหาปราสาท กับทั้งหลังคามุขทั้งสี่ทำลายลงสิ้น แล้วเพลิงลามไปติดไหม้พระปรัศซ้ายด้วยอีกหลังหนึ่ง. แลขณะเมื่อเพลิงฟ้า แรกติดพระมหาปราสาทนั้น สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรฯแลพระราชวงษานุวงษทั้งปวง กับข้าราชการผู้ใหญ่น้อย. แลพระราชาคณะถานานุกรมทุกๆพระอารามหลวง ก็เข้ามาในพระราชวังช่วยดับเพลิงพร้อมกันสิ้น. สมเดจพระพุทธเจ้าหลวงดำรัศให้ข้าราชการช่วยกันยกพระที่นั่งราชบัลลังก์ประดับมุข ซึ่งกั้นเสวตรฉัตรอยู่บนพระมหาปราสาทนั้น ลงมาพ้นเพลิงหาทันไหม้ไม่. พวกเจ้าจอมข้างในต่างตื่นตกใจเพลิงหนีออกจากพระราชวัง ไปอาไศรยอยู่ณบ้านเจ้าพระยารัตนาพิพิธบ้าง บ้านเจ้าพระยายมราชบ้าง ไปอยู่ณบ้านเจ้าพระยาธรรมาบ้าง บ้านเจ้าพระยาพลเทพบ้าง ที่ยังอยู่ในพระราชวังก็มีบ้าง ฝ่ายพระสงฆแลคฤหัฐข้าราชการทั้งปวง ที่เข้าสาดน้ำดับเพลิงบ้าง ที่เข้าช่วยขนถุงพระราชทรัพยในพระคลังใน ลงทิ้งในสระในพระอุทธยานภายในพระราชวังบ้าง. สมเดจพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระแสงง้าวเร่งให้ข้าราชการดับเพลิง. ครั้นเพลิงดับสงบแล้ว จึ่งดำรัศให้พวกชาวที่ชาววัง แลจ่าโขลนแยกย้ายกันไปตามพวกเจ้าจอมข้างใน ซึ่งหนีไปอาไศรยอยู่ณบ้านเสนาบดีทั้งนั้นรับกลับเข้ามาพระราชวัง. แล้วตรัสถามมุขมนตรีทั้งปวงว่า ซึ่งไฟฟ้าไหม้พระมหาปราสาทดังนี้ จะมีเหตุดีร้ายประการใด. จึ่งพระยาราชวังเมืองกราบทูลพระกรุณาว่า แต่ครั้งแผ่นดินสมเดจพระเจ้าอยู่หัวปราสาททอง อสนิบาตลงพระที่นั่งมังคลาภิเศกมหาปราสาท ไฟฟ้าไหม้เหมือนครั้งนี้ แต่มิได้มีเหตุร้าย. เปนศุภนิมิตมหามงคลอันดี ได้พระราชลาภต่างประเทศเปนอันมาก. จึ่งทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานเงินตราชั่งหนึ่ง แก่พระยาราชวังเมืองเปนรางวัล ซึ่งกราบทูลทำนายเปนศุภนิมิตรนั้นต้องกับคำพระโหรากราบทูลทำนายเมื่อครั้งพึ่งจับต้นจันทน์ที่เกยฝ่ายปัจฉิมทิศถวายพยากรณ์ว่า จะได้พระราชลาภแลนางต่างประเทศ. ๚ะ๏ แล้วดำรัศสั่งสมุหนายกให้จัดแจงการรื้อปราสาทเก่าเสีย ให้ถาปนาปราสาทขึ้นใหม่ ย่อมกว่าองคก่อน. แลปราสาทองค์ก่อนนั้น สูงใหญ่เท่าพระที่นั่งสรรเพชปราสาทกรุงเก่า มุขน่ามุขหลังนั้นยาวกว่ามุขข้าง. แลมุขเบื้องหลังนั้นอยู่ที่ข้างใน ยาวไปจดถึงพระปรัศว์ซ้ายปรัศขวา. กระทำปราสาทองคใหม่นี้ยกออกมาตั้งณที่ข้างน่าทั้งสิ้น. มุขทั้งสี่นั้นก็เสมอกันทั้งสี่ทิศ ใหญ่สูงเอาแต่เท่าพระที่นั่งสุริยามรินทรกรุงเก่า ยกปราลีเสียมิได้ใส่เหมือนองคก่อน. แต่มุมยอดทั้งสี่มุมนั้นยกทวยเสียใส่รูปครุทธเข้าแทน. แล้วให้ถาปนาพระที่นั่งขึ้นใหม่ที่ข้างใน ต่อมุขหลังเข้าไปอีกหลังหนึ่ง ภอเสมอท้ายมุขปราสาทองคเก่า พระราชทานนามว่าพระที่นังพิมานรัถยา. แลให้ทำพระปรัศซ้ายขึ้นใหม่คงตามเดิม. แลหลังคาปราสาทแลมุข กับทั้งพระที่นั่งพิมานรัถยาแลพระปรัศ ดาษด้วยดิบุกทั้งสิ้นเหมือนอย่างเก่า. ๚ะ๏ ครั้นการพระมหาปราสาทลงรักปิดทองเสรจแล้ว จึ่งพระราชทานนามปราสาทองค์ใหม่ ชื่อพระที่นังดุสิตมหาปราสาท. แล้วเร่งให้ทำการพระมณฑปแลหอพระมณเฑียรธรรมในวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้นลงรักปิดทองแล้วสำเร็จบริบูรณ. แล้วให้แผ่แผ่นเงินลาดพื้นในองคพระมณฑปนั้นด้วย จึ่งให้เชิญตู้ประดับมุข ซึ่งใส่พระไตรยปิฎกฉบับทอง ขึ้นตั้งไว้ณภายในพระมณฑป. ซึ่งฉบับครูเดิมแลฉบับอื่น ซึ่งทรงสร้างขึ้นใหม่นั้น ให้ใส่ตู้ปิดทองลายรดน้ำในหอพระมณเฑียรธรรมใหม่เปนที่อยู่กรมพระราชบัณฑิตย ให้บอกกล่าวพระไตรยปิฎกแก่พระสงฆ สามเณรเหมือนอย่างแต่ก่อน. ๚ะ๏ อนึ่งทรงพระกรุณาให้ช่างล่อๆรูปสิงห แล้วด้วยทองสำริทขึ้นใหม่สิบรูป. ประสมกันกับรูปสิงหทองสำริท ซึ่งได้มาแต่เมืองพุทไธมาศแต่ก่อนสองรูปเปนสิบสองรูป. ก่ออิฐเปนถานรองถือปูนเปนอันดี ตั้งไว้นอกประตูกำแพงแก้วล้อมพระมณฑป ชั้นล่างทั้งสองข้างประตู ประตูละคู่ทั้งสี่ประตูเปนแปดรูป. กับที่มุมกำแพงแก้วทั้งสี่มุมๆ ละรูปเปนสี่รูป ศริเปนสิงสิบสองรูปด้วยกันทั้งสิ้น. บนหลังกำแพงแก้วทั้งสามชั้นนั้น 732ให้กระทำโคมเปนรูปม่อปรุะ แล้วไปด้วยทองแดงเปนที่ตามประทีป ตั้งเรียงรายไปโดยรอบ. หว่างโคมนั้นให้ปักฉัตรกระทำด้วยทองแดงลงรักปิดทอง มีใบโพแก้วห้อยทุกชั้นทั้งสิ้นด้วยกัน บูชาพระปริญัติไตรยปิฎกธรรมเปนมโหฬาราธิการยิ่งนัก. ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๑๕๒ ปีจอโทศก ครั้งนั้นนายบุญเรืองคนหนึ่งเปนคนมีศรัทธาโดยยิ่ง มีสหายสองคน คือขุนศรีกัณฐัศวกรมม้ากับนายทองรัก ภากันไปณพระอุโบสถวัดครุทธาราม ต่างปราถนาพระพุทธภูมด้วยกันทั้งสามคน ชวนกันนมัศการพระพุทธรูปพระประธาน. แล้วตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงดอกบัวอ่อนคนละดอกบูชาพระพุทธเจ้าว่า ถ้าผู้ใดจะสำเร็จพระโพธิญาณในอนาคตแล้ว ขอให้ดอกบัวของผู้นั้นจงบานเหนประจักขโดยแท้. ครั้นรุ่งขึ้นดอกบัวของนายบุญเรืองนั้นบานดอกเดียว ของขุนศรีกันฐัศวแลนายทองรักนั้นหาบานไม่. ตั้งแต่นั้นมานายบุญเรืองก็มาอาไศรยอยู่ที่การปเรียญติเก่าณวัดแจ้ง ตั้งสมาทานพระอุโบสถศีล ฟังพระธรรมเทศนา. เอาสำลีชุบน้ำมันเปนเชื้อพาดแขนทั้งสองข้างจุดเพลิงบูชาต่างประทีปทุกวันๆ. ๚ะ๏ ครั้นถึงณวันศุกร เดือนสามขึ้นแปดค่ำ เพลากลางคืนประมาณทุ่มเสศ นายบุญเรืองฟังพระธรรมเทศนาจบแล้ว ก็นุ่งห่มผ้าชุบน้ำมัน เดินออกมาน่าการปเรียญติ์นั่งพับเพียบพนมมือ ตั้งสติรักษาจิตรรำงับสงบดีแล้วก็จุดเพลิงเผาตัวเข้า. ขณะเมื่อเปลวเพลิงวูบขึ้นท่วมตัวนั้น นายบุญเรืองร้องประกาศแก่คนทั้งปวงว่า สำเร็จความปราถนาแล้ว. ขณะนั้นคนซึ่งดูอยู่ที่นั้นประมาณห้าร้อยหกร้อยเสศ ชวนกันชื่นชมยินดีบ้างก็ร้องส้องสาธุการเอิกเกริกอื้ออึง ต่างก็เปลื้องผ้าห่มโยนเข้าไปบูชาในกองเพลิง จนชั้นแต่พวกแขกมฤจฉาทฤษฐิภายนอกพระพุทธสาศนา ก็บังเกิดศรัทธาเลื่อมใสถอดหมวกออกคำนับโยนเข้าไปในกองเพลิงด้วย. ๚ะ๏ ในปลายปีจอโทศกนั้น ทาษเจ้าจอมมารดาคุ้ม มารดาพระองคเจ้าพลับ เปนโจทฟ้องแก่ท้าวนางเจ้าครัวนายว่า เจ้าจอมมารดาคุ้มคิดกันกับอีทาษเจ้าจอมซ่มเทศ ทิ้งไฟจะให้ไหม้ในพระราชวัง. จึ่งนำเอาข้อความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทราบ. ๚ะ๏ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการตรัสสั่งให้พิจารณาไต่สวนไล่เลียง ให้ได้ความเท็จจริงเปนประการใด ครั้นพิจารณาชำระคดีได้ความเปนสัจ. จึ่งดำรัศให้เอาตัวเจ้าจอมมารดาคุ้มกับอีทาษเจ้าจอมซ่มเทศ ซึ่งสมรู้ร่วมคิดด้วยกันนั้นไปลงพระราชอาญาคลอกเพลิงเสีย ที่ตำบลจากแดงแขวงเมืองสมุทปราการ โดยควรแก่โทษตามพระราชกำหนด กดพระอัยการ แต่พระราชบุตรีพระองค์เจ้าพลับนั้น ยังทรงพระเยาวอยู่ ทรงพระกรุณาโปรดมอบให้สมเดจพระเจ้าพี่นางเธอ กรมพระศรีสุดารักษ์ตำหนักแดงเอาไปเลี้ยงไว้. ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๑๕๓ ปีกุนตรีศกถึงณเดือนหก แขกเมืองเซียะอยู่นอกพระราชอานาเขตร ยกกองทับเรือมาถึงเมืองสงขลา. เจ้าเมืองกรมการสู้รบมิได้ ก็ภาครอบครัวชาวเมืองแตกหนีไปอยู่ณแขวงเมืองพัทลุง. ๚ะ๏ ฝ่ายพระศรีไกรลาศซึ่งออกไปเปนพระยาพัทลุง ก็พลอยตื่นแตกตกใจกลัวทับแขกฆ่าศึก. ๆ ก็ยังมิได้ยกมาถึงเมืองพัทลุง ภากรมการแลครอบครัวอพยพหนีเข้าป่า มิได้คิดที่จะตั้งมั่นอยู่ต่อรบดูท่วงทีฆ่าศึก. ๚ะ๏ จึ่งเจ้าพระยานครศรีธรรมราชได้แจ้งข่าวว่า กองทับแขกมลายูเมืองเชียะ ยกมาตีเมืองสงขลา จึ่งเกนทับเมืองนครศรีธรรมราช ยกออกไปช่วยเมืองสงขลา ได้รบกับกองทับแขกๆ แตกพ่ายหนีไป. จึ่งบอกข้อราชการทั้งปวงเข้ามายังกรุงเทพมหานคร ให้สมุหพระกลาโหมกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทราบ. ๚ะ๏ พระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค ก็ทรงพระพิโรธแก่พระยาพัทลุงดำรัศว่า ฆ่าศึกยังมิทันมาถึงเมืองก็แตกหนี จึ่งดำรัศให้ข้าหลวงถือท้องตราออกไปถอดพระยาพัทลุงเสีย แล้วให้ลงพระราชอาญาจำคุมตัวเข้ามาณกรุงฯ. จึ่งทรงพระกรุณาโปรดตั้งหลวงนายศักดิ์นายเวรมหาดเล็ก ซึ่งเปนบุตรพระยาพัทลุงคนก่อนพระศรีไกรลาศนั้น ออกไปครองเมืองพัทลุงใหม่ ป้องกันพระราชอาณาเขตรสืบไป. ๚ะ๏ ลุศักราช ๑๑๕๔ ปีชวดจัตวาศก พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ให้ข้าหลวงเมืองล้านช้างถือศุภอักษรลงมายังกรุงเทพมหานคร. ให้สมุหนายกกราบทูลพระกรุณาว่า พระเจ้าร่มขาวเมืองหลวงพระบาง คิดการเปนขบถไปเข้ากับพม่า ใช้คนไปถึงเมืองอังวะ พม่าก็มาถึงเมืองหลวงพระบาง ต่างไปมาถึงกันได้แต่งคนไปลอบสืบราชการได้ความเปนแน่. ๚ะ๏ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค ได้ทรงทราบในหนังสือบอกกรุงศรีสัตนาคนหุตก็ทรงพระพิโรธ ดำรัศสั่งสมุหนายกให้มีตราตอบขึ้นไปว่า มีพระราชโองการดำรัศให้พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ยกกองทับไปตีเมืองหลวงพระบางให้แตกฉานจงได้. แล้วให้จับตัวพระเจ้าร่มขาวจำส่งลงมาถวายณกรุงเทพมหานคร. ๚ะ๏ ครั้นพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ได้ทราบในท้องตรารับสั่งโปรดขึ้นมาดังนั้น. จึ่งเกนกองทับพลห้าพันเสศทั้งทับเรือทับบก ยกขึ้นไปตีเมืองหลวงพระบาง ให้ตั้งค่ายรายล้อมเมือง. ๚ะ๏ ฝ่ายพระเจ้าร่มขาว เปนอริกับพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตอยู่แต่ก่อน ครั้นกองทับเมืองล้านช้างยกมาล้อมเมือง ก็แต่งกองทับยกออกมาต่อรบได้รบกันเปนสามารถ. แลเจ้าอุปราชล้านข้างต้องปืนชาวเมืองหลวงพระบางถึงแก่พิราไลยในที่รบ. พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตขับพลทหารเข้าป่ายปีนปล้นเอาเมือง. ชาวเมืองขึ้นประจำรักษาน่าที่เชิงเทิลป้องกันเมือง ยิงปืนใหญ่น้อยโต้ตอบกันอยู่ประมาณสิบสี่สิบห้าวัน. พลทหารล้านช้างเอาบันไดเขาพาดกำแพงเมืองปีนปล้นเอาเมืองได้ ไล่ฆ่าฟันชาวเมืองล้มตายเปนอันมาก จับได้ตัวพระเจ้าร่มขาว แลบุตรภรรยาญาติวงษได้สิ้นส่งออกมายังค่าย. พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตให้จำพระเจ้าร่มขาวไว้ แล้วตั้งเมืองแสนขุนนางผู้ใหญ่เมืองหลวงพระบาง ซึ่งมายอมเข้าสวามิภักดินั้นให้เปนพระยาหลวงพระบางอยู่รั้งเมือง. แล้วเลิกกองทับกลับมายังเมืองล้านช้าง. จึ่งบอกข้อราชการให้ขุนนางแลไพร่คุมตัวพระเจ้าร่มขาวส่งลงมาถวายณกรุงฯ. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวดำรัศให้ลงพระราชอาญาจำพระเจ้าร่มขาวใส่คุกไว้. ๚ะ๏ ในปีชวดจัตวาศกนั้น ฝ่ายข้างภุกามประเทศ. พระเจ้าอังวะโปรดตั้งขุนนางลงมาใหม่ เปนเจ้าเมืองกรมการอยู่รักษาเมืองทวาย ให้เปลี่ยนเจ้าเมืองกรมการเก่า. เจ้าเมืองกรมการเก่านั้น ให้หากลับขึ้นไปเสีย ส่วนแมงแกงซาเจ้าเมืองทวายเก่า กับจิกแกปลัดเมืองนั้น ได้แจ้งข่าวว่าเจ้าเมืองกรมการตั้งลงมาผลัดใหม่. จึ่งคิดกันไม่ยอมกลับขึ้นไปเมืองอังวะ ครั้นเจ้าเมืองกรมการใหม่มาใกล้จะถึงเมือง ก็คิดเปนกลอุบายออกไปต้อนรับแต่นอกเมือง ให้จัดแจงของเลี้ยงออกไปเลี้ยงให้กินอิ่มหนำสำเร็จแล้ว ก็ให้ทหารเข้าล้อมจับฆ่าเสียสิ้นแล้วกลับเข้าเมือง คิดการขบถตั้งตัวขึ้นเปนเจ้าแขงเมืองอยู่. ฝ่ายกรมการเมืองเมาะตมะได้แจ้งความว่า แมงแกงซาคิดการขบถฆ่าเจ้าเมืองกรมการ ซึ่งลงมาผลัดใหม่นั้นเสีย. จึ่งบอกหนังสือขึ้นไปกราบทูลพระเจ้าอังวะ ๆ ได้ทรงทราบก็ทรงพระพิโรธ จึ่งให้จับเมฆราโบ่บิดาแมงแกงซากับมารดา จะให้ประหารชีวิตรเสีย. เมฆราโบ่จึ่งกราบทูลว่า จะขอมีหนังสือไปถึงเจ้าเมืองทวายผู้บุตรให้มาเฝ้า แม้นไม่มาจึ่งจะรับพระราชอาญาตายตามโทษ. พระเจ้าอังวะก็ให้งดไว้ แล้วให้จำเมฆราโบ่กับภรรยามารดาพระยาทวาย ให้ข้าหลวงคุมเอาตัวลงมาณเมืองเมาะตมะให้มีหนังสือไปถึงบุตร. ฝ่ายพระยาทวายคิดกลัวพระเจ้าอังวะ จะให้กองทับยกมาตีเมืองจะต้านทานสู้รบมิได้ ด้วยไม่มีที่พึ่ง จำจะไปขอขึ้นกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา เอาพระเดชานุภาพสมเดจพระเจ้าอยู่หัวกรุงไทยเปนที่พำนักนิ์. ขอกองทับไทยมาช่วยป้องกันรักษาเมือง. แล้วสืบรู้ว่าพระราชนัดาหญิงองคหนึ่ง มาตกอยู่ณเมืองทวาย แต่ครั้งทับพม่าไปตีกรุงเก่าได้ กวาดต้อนครอบครัวไทยมานั้น. จึ่งให้ไปเชิญพระราชนัดานั้นมาไต่ถามได้ความว่า เปนพระเจ้าหลานเธอแน่แล้ว ทรงผนวชเปนรูปชีอยู่. จึ่งจัดได้นางคนหนึ่งรูปงาม เปนน้องภรรยาพระยาทวายจะส่งเข้ามาถวาย แล้วให้แต่งศุภอักษรจาฤกลงใบตาลเปนอักษรภาษาภุกาม ตามจารีตข้างพม่า. ใจความอ่อนน้อมขอเปนข้าขอบขันธสีมาเมืองขึ้นพระมหานครศรีอยุทธยา. ขอกองทับไทยออกไปช่วยป้องกันรักษาเมือง กับถวายนางเข้ามาด้วย. แล้วให้พระเจ้าหลานเธอ มีหนังสือเข้ามากราบทูลพระกรุณาเปนอักษรภาษาไทยฉบับหนึ่ง. ให้จัดหาพระสงฆไทยได้มหาแทนรูปหนึ่ง จะให้ถือหนังสือพระเจ้าหลานเธอนั้นเข้ามาถวาย จึ่งจัดขุนนางทวายเปนทูตานุทูตถือศุภอักษร แลเครื่องราชบันณาการกับทั้งนางทวาย ให้เรียกว่าตะแคง ภาษาพม่าว่าเจ้า กับมหาแทนให้ถือหนังสือพระเจ้าหลานเธอฉบับหนึ่งมาด้วย กับทูตานุทูตทั้งไพร่นายส่งมาทางเมืองกาญจนบุรี. กรมการเมืองกาญจนบุรีบอกเข้ามายังกรุงเทพมหานคร. สมุหนายกกราบทูลพระกรุณาให้ทราบ. พระบาทสมเดจบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค จึ่งมีพระราชดำรัศให้ข้าหลวงออกไปรับทูตานุทูต เมืองทวายกับทั้งนางนั้นเข้ามายังกรุงเทพมหานคร ให้อาไศรยอยู่ณโรงรับแขกเมือง ทรงพระกรุณาโปรดให้เลี้ยงดูพวกแขกเมืองทวาย ทั้งนายแลไพร่ให้บริบูรณ. แลมหาแทนนั้นก็ให้ส่งไปสำนักนิ์อยู่ณวัดบางว้าใหญ่. แล้วให้ล่ามพนักงานแปลศุภอักษรออกเปนคำไทย. สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวดำรัศให้จัดแจงการทั้งปวงตามอย่างออกแขกเมือง โดยโบราณราชประเพณีพระมหากระษัตริยาธิราชเจ้าแต่ก่อน. แล้วเสดจออกณะมุขเด็ดพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พร้อมด้วยท้าวพระยาเสนาบดี มนตรีมุขมาตยาข้าทูลลอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งหลาย ฝ่ายทหารพลเรือน ประชุมเฝ้าณทิมดาบคดทั้งซ้ายขวาตามตำแหน่ง. จึ่งให้เบิกแขกเมืองเข้ามากราบถวายบังคมณะสาลาหว่างทิมดาบคด. พระยาราชินิกุลกราบถวายบังคมทูลพระกรุณาถวายเครื่องราชบรรณาการ แล้วอ่านศุภอักษรถวาย. ๚ะ๏ ในลักษณนั้นว่าข้าพระพุทธเจ้าพระยาทวายขอกราบถวายบังคมมาแทบพระบวรบาทบงกชมาศ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา. ด้วยข้าพระองคเดิมเปนเมืองขึ้นข้าขอบขันธสีมากรุงรัตนบุระอังวะ. บัดนี้มีความผิดขัดเคืองกันกับพระเจ้าอังวะ ๆ จะให้กองทับพม่า ยกมากระทำวิหิงษาการย่ำยีเมืองทวาย ให้สมณพราหมณาจาริยไพร่ฟ้าประชาราษฎรได้ความเดือดร้อน. ข้าพระพุทธเจ้าหาที่พึ่งพำนักนิ์มิได้ จะขอเอาพระราชกฤษดาเดชานุภาพบารมี สมเดจพระเจ้าปราสาททองไปปกครองป้องกันกั้นเกษสรรพสัตวนิกรในเมืองทวาย ให้พ้นไภยันตรายแห่งปัจามิตร ขอรับพระราชทานกองทับเอาไปช่วยป้องกันรักษาเมือง. อนึ่งข้าพระองคถวายนาง อันเปนประยุรญาติวงษเข้ามาเปนข้าทูลลอองธุลีพระบาทด้วย. แล้วจะส่งพระราชนัดาซึ่งไปตกอยู่ณเมืองทวาย เข้ามาทูลเกล้าฯถวายต่อภายหลัง. บัดนี้ให้มหาแทนถือหนังสือของพระราชนัดานั้นเข้ามาถวายด้วย. อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้ากับทั้งกรมการเมืองทวาย แลประชาราษฎรทั้งหลาย ขอเปนเมืองขึ้นข้าขอบขันธสีมา กรุงเทพมหานครศรีอยุทธยาเหมือนดังกาลก่อนสืบไปตราบเท่ากัลปาวสาน. ๚ะ๏ ครั้นอ่านศุภอักษรถวายเสร็จแล้ว สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ดำรัศพระราชประฏิสัณฐานโสมนัศ ปราไศรยด้วยทูตานุทูตตามขัติยราชประเพณีแล้วเสดจขึ้น. อัครมหาเสนาบดีก็ภาแขกเมืองออกจากที่เฝ้า นำไปรับพระราชทานอาหารเลี้ยงดูณสาลาลูกขุนมหาดไทย. จึ่งทรงพระกรุณาโปรดให้เถ้าแก่จ่าโขลนแลกรมวัง ออกไปรับนางทวายนั้นส่งเข้าไปในพระราชวัง. แล้วโปรดให้เสนาบดีพิจารณาดูหนังสือพระราชนัดาซึ่งส่งเข้ามาถวาย แลไต่ถามไล่เลียงมหาแทนได้ความชัดว่า เปนพระราชนัดาแน่แล้ว. จึ่งให้ถวายไตรยจีวรเครื่องสมณบริขาร แลพระราชทานเสื้อผ้าเงินตราเปนรางวัลแก่ทูตานุทูต กับทั้งสิ่งของพระราชทานตอบแทนออกไปแก่พระยาทวายโดยสมควร. แล้วดำรัศสั่งสมุหนายกให้มีตราตอบออกไปถึงพระยาทวายให้ส่งทูตานุทูตกับทั้งมหาแทนกลับออกไปเมืองทวายก่อน. แล้วทรงพระกรุณาโปรดให้เจ้าพระยายมราชเปนแม่ทับ กับท้าวพระยาพระหัวเมืองทั้งหลาย ถือพลห้าพัน ยกออกไปช่วยรักษาเมืองทวาย. แล้วพระราชทานพานทองเครื่องยศออกไปให้พระยาทวายด้วย. ๚ะ๏ เจ้าพระยายมราชแลท้าวพระยานายทับนายกองทั้งหลาย ก็กราบถวายบังคมลายกกองทับออกไปยังเมืองทวาย. ครั้นถึงก็ให้ตั้งค่ายอยู่นอกเมือง. แลพระยาทวายก็ให้ขุนนางกรมการนำเอาเสบียงอาหารออกมาต้อนรับกองทับ แต่ตัวนั้นยังหาออกมาไม่ เจ้าพระยายมราชจึ่งให้ขุนนางไทยเข้าไปในเมืองกับกรมการเมืองทวาย ให้หาพระยาทวายออกมาคำนับท่านแม่ทับณค่าย. ๚ะ