Book,Page,LineNumber,Text 25,0014,001,พิจารณาเห็นคนพาล เหมือนบุคคลอยู่บนภูเขามองเห็นคนผู้อยู่ที่ภาคพื้น 25,0014,002,ฉะนั้น ผู้มีปัญญาดี เมื่อสัตว์ทั้งหลายประมาทแล้ว ย่อมไม่ประมาท 25,0014,003,เมื่อสัตว์ทั้งหลายหลับ ย่อมตื่นอยู่โดยมาก ย่อมละบุคคลเห็นปานนั้น 25,0014,004,ไป ประดุจม้ามีกำลังเร็วละม้าไม่มีกำลังไป ฉะนั้นท้าวมัฆวาฬ 25,0014,005,ถึง ความเป็นผู้ประเสริฐ ที่สุดกว่า เทวดาทั้งหลายด้วยความไม่ประมาท 25,0014,006,บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท ความประมาทบัณฑิต 25,0014,007,ติเตียนทุกเมื่อ ภิกษุยินดีแล้วในความไม่ประมาท หรือเห็นภัยในความ 25,0014,008,ประมาท เผาสังโยชน์น้อยใหญ่ไป ดังไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไป ฉะนั้น 25,0014,009,ภิกษุผู้ยินดีแล้วในความไม่ประมาทหรือเห็นภัยใน ความประมาทเป็นผู้ 25,0014,010,ไม่ควรเพื่อจะเสื่อมรอบ ย่อมมีในที่ใกล้นิพพานทีเดียว ฯ 25,0014,011,จบอัปปมาทวรรคที่ ๒ 25,0014,012,คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓ 25,0014,013,[๑๓] นักปราชญ์ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอกรักษาได้โดยยากห้ามได้ 25,0014,014,โดยยาก ให้ตรง ดังช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ฉะนั้นจิตนี้ 25,0014,015,อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือเบญจกามคุณเพียงดังน้ำ 25,0014,016,ซัดไปในวิปัสสนากรรมฐานเพียงดังบก เพื่อจะละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน 25,0014,017,ดุจปลาอันชาวประมง ยกขึ้นแล้วจากที่อยู่คือน้ำโยนไปแล้วบนบก 25,0014,018,ดิ้นรนอยู่ ฉะนั้น การฝึกฝนจิตที่ข่มได้ยาก อันเร็ว มีปรกติตกไปใน 25,0014,019,อารมณ์อันบุคคลพึงใคร่อย่างไร เป็นความดี เพราะว่าจิตที่บุคคล 25,0014,020,ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้ นักปราชญ์พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยากละเอียด 25,0014,021,อ่อนมีปกติตกไปตามความใคร่ เพราะว่าจิตที่บุคคลคุ้มครองแล้วนำสุข 25,0014,022,มาให้ ชนเหล่าใดจักสำรวมจิตอันไปในที่ไกล ดวงเดียวเที่ยวไป 25,0014,023,หาสรีระมิได้ มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัยชนเหล่านั้นจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร 25,0014,024,ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์แก่บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ไม่รู้แจ่มแจ้งซึ่งพระ