Book,Page,LineNumber,Text 22,0013,001,๙. หิตสูตรที่ ๓ 22,0013,002,[๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่ชื่อว่าปฏิบัติ 22,0013,003,เพื่อประโยชน์ตน ไม่ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุ 22,0013,004,ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึง 22,0013,005,พร้อมด้วยศีล ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยสมาธิ 22,0013,006,ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยปัญญา ไม่เป็นผู้ถึง 22,0013,007,พร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย 22,0013,008,วิมุตติญาณทัสนะด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย 22,0013,009,ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ชื่อว่าปฏิบัติ 22,0013,010,เพื่อประโยชน์ผู้อื่น ฯ 22,0013,011,จบสูตรที่ ๙ 22,0013,012,๑๐. หิตสูตรที่ ๔ 22,0013,013,[๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมชื่อว่าปฏิบัติ 22,0013,014,เพื่อประโยชน์ตน และชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ธรรม ๕ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุ 22,0013,015,ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการถึง 22,0013,016,พร้อมด้วยศีล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยสมาธิ 22,0013,017,เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นผู้ถึง 22,0013,018,พร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย 22,0013,019,วิมุตติญาณทัสนะด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสนะ ดูกรภิกษุ 22,0013,020,ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนเอง 22,0013,021,และชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ฯ 22,0013,022,จบสูตรที่ ๑๐ 22,0013,023,จบพลวรรคที่ ๒