Book,Page,LineNumber,Text 21,0017,001,ซึ่งยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอันละเอียดในสังขารนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย 21,0017,002,ญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอันละเอียด ๔ประการนี้แล ฯ 21,0017,003,ภิกษุใดรู้ความที่รูปขันธ์เป็นของละเอียด รู้ความเกิดแห่ง 21,0017,004,เวทนา รู้ความเกิดและความดับแห่งสัญญา รู้จักสังขารโดย 21,0017,005,ความไม่เที่ยง โดยเป็นทุกข์ และโดยความเป็นอนัตตา 21,0017,006,ภิกษุนั้นแล เป็นผู้เห็นชอบ เป็นผู้สงบ ยินดีในสันติบท 21,0017,007,ชำนะมารพร้อมทั้งเสนา ย่อมทรงไว้ซึ่งร่างกายมีในที่สุด ฯ 21,0017,008,จบสูตรที่ ๖ 21,0017,009,อคติสูตรที่ ๑ 21,0017,010,[๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ ๔ ประการนี้ อคติ ๔ ประการเป็นไฉน บุคคล 21,0017,011,ย่อมถึงฉันทาคติ ย่อมถึงโทสาคติ ย่อมถึงโมหาคติ ย่อมถึงภยาคติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การถึง 21,0017,012,อคติ ๔ ประการนี้แล ฯ 21,0017,013,ผู้ใดประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง ความหลง 21,0017,014,ความกลัว ยศของผู้นั้นย่อมเสื่อม ดุจพระจันทร์ข้างแรม 21,0017,015,ฉะนั้น ฯ 21,0017,016,จบสูตรที่ ๗ 21,0017,017,อคติสูตรที่ ๒ 21,0017,018,[๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การไม่ถึงอคติ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน บุคคล 21,0017,019,ย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ย่อมไม่ถึงโทสาคติ ย่อมไม่ถึงโมหาคติ ย่อมไม่ถึงภยาคติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย 21,0017,020,การไม่ถึงอคติ ๔ ประการนี้แล ฯ 21,0017,021,ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง ความ 21,0017,022,หลง ความกลัว ยศของผู้นั้น ย่อมเต็มเปี่ยม ดุจ 21,0017,023,พระจันทร์ข้างขึ้น ฉะนั้น ฯ 21,0017,024,จบสูตรที่ ๘