Book,Page,LineNumber,Text 15,0016,001,[๖๑] ภ. นรชนผู้มีปัญญา ตั้งมั่นแล้วในศีล อบรมจิตและปัญญาให้เจริญ 15,0016,002,อยู่ เป็นผู้มีความเพียร มีปัญญารักษาตนรอดภิกษุนั้นพึงถางรกชัฏนี้ 15,0016,003,ได้ ราคะก็ดี โทสะก็ดี อวิชชาก็ดีบุคคลทั้งหลายใด กำจัดเสียแล้ว 15,0016,004,บุคคลทั้งหลายนั้น เป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตัณหา 15,0016,005,เป็นเครื่องยุ่งอันบุคคลทั้งหลายนั้นสางเสียแล้ว นามก็ดี รูปก็ดี 15,0016,006,ปฏิฆสัญญาและรูปสัญญาก็ดี ย่อมดับหมดในที่ใด ตัณหาเป็นเครื่อง 15,0016,007,ยุ่งนั้น ย่อมขาดไปในที่นั้น ฯ 15,0016,008,มโนนิวารณสูตรที่ ๔ 15,0016,009,[๖๒] ท. บุคคลพึงห้ามใจแต่อารมณ์ใดๆ ทุกข์ย่อมไม่มาถึงบุคคลนั้นเพราะ 15,0016,010,อารมณ์นั้นๆ บุคคลนั้นพึงห้ามใจแต่อารมณ์ทั้งปวง บุคคลนั้นย่อม 15,0016,011,พ้นจากทุกข์เพราะอารมณ์ทั้งปวง ฯ 15,0016,012,[๖๓] ภ. บุคคลไม่ควรห้ามใจแต่อารมณ์ทั้งปวง ที่เป็นเหตุให้ใจมาถึงความ 15,0016,013,สำรวม บาปย่อมเกิดขึ้นแต่อารมณ์ใดๆ บุคคลพึงห้ามใจแต่อารมณ์ 15,0016,014,นั้นๆ ฯ 15,0016,015,อรหันตสูตรที่ ๕ 15,0016,016,[๖๔] ท. ภิกษุใดเป็นผู้ไกลจากกิเลส มีกิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว 15,0016,017,เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้นพึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้ 15,0016,018,บ้าง บุคคลทั้งหลายอื่นพูดกะเราดังนี้บ้าง ฯ 15,0016,019,[๖๕] ภ. ภิกษุใดเป็นผู้ไกลจากกิเลส มีกิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว 15,0016,020,เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้นพึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง 15,0016,021,บุคคลทั้งหลายอื่นพูดกะเราดังนี้บ้าง ภิกษุนั้นฉลาด ทราบคำพูดในโลก 15,0016,022,พึงกล่าวตามสมมติที่พูดกัน ฯ