Book,Page,LineNumber,Text 03,0009,001,โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อ 03,0009,002,ความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ... 03,0009,003,ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกภิกษุณี จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ว่า ดังนี้: 03,0009,004,พระบัญญัติ 03,0009,005,๖.๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด รู้อยู่ว่าภิกษุณีล่วงอาบัติปาราชิก ไม่โจทด้วยตน ไม่บอกแก่ 03,0009,006,คณะ ในเวลาที่ภิกษุณีนั้นยังดำรงเพศอยู่ก็ดี เคลื่อนไปแล้วก็ดี ถูกนาสนะแล้วก็ดี ไปเข้ารีด 03,0009,007,เดียรถีย์เสียก็ดี ภายหลังนางจึงบอกอย่างนี้ว่า แม่เจ้า เจ้าข้า เมื่อก่อนดิฉันรู้จักภิกษุณีนั่น 03,0009,008,ได้ดีทีเดียวว่า นางเป็นพี่หญิง น้องหญิง มีความประพฤติเช่นนี้และมีความประพฤติเช่นนี้ 03,0009,009,แต่ดิฉันไม่โจทด้วยตน ไม่บอกแก่คณะ แม้ภิกษุณีนี้ก็เป็นปาราชิก ชื่อวัชชปฏิจฉาทิกา 03,0009,010,หาสังวาสมิได้. 03,0009,011,เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา จบ. 03,0009,012,สิกขาบทวิภังค์ 03,0009,013,[๑๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... 03,0009,014,บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... 03,0009,015,นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. 03,0009,016,ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ รู้เองก็ดี คนอื่นบอกแก่เธอก็ดี เจ้าตัวบอกก็ดี. 03,0009,017,คำว่า ล่วงอาบัติปาราชิก คือ ต้องอาบัติปาราชิกข้อใดข้อหนึ่ง ในปาราชิก ๘. 03,0009,018,คำว่า ไม่โจทด้วยตน คือ ไม่โจทเอง. 03,0009,019,คำว่า ไม่บอกแก่คณะ คือ ไม่บอกแก่ภิกษุณีอื่นๆ 03,0009,020,[๑๔] พากย์ว่า ในเวลาที่ภิกษุณีนั้น ยังดำรงเพศอยู่ก็ดี เป็นต้น อธิบายว่า ภิกษุณี 03,0009,021,ผู้ดำรงอยู่ในเพศของตน ตรัสเรียกว่า ผู้ยังดำรงเพศอยู่ ผู้ถึงมรณภาพ ตรัสเรียกว่า ผู้เคลื่อนไป 03,0009,022,ผู้สึกเองก็ตาม ถูกผู้อื่นนาสนะเสียก็ตาม ตรัสเรียกว่า ผู้ถูกนาสนะ เข้าไปสู่ลัทธิเดียรถีย์ ตรัส 03,0009,023,เรียกว่า เขารีดเดียรถีย์.