Book,Page,LineNumber,Text 30,0048,001,คำว่า สงขาย โลกสฺมึ ปโรปรานิ ความว่า เพราะทราบ คือ รู้เทียบเคียง พิจารณา 30,0048,002,ให้แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏ ซึ่งฝั่งนี้และฝั่งโน้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค 30,0048,003,เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ฯลฯ โดยไม่มีอุบายเครื่องสลัดออกได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเพราะ 30,0048,004,ทราบฝั่งโน้นและฝั่งนี้ในโลก. 30,0048,005,คำว่า ปุณฺณกาติ ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคย่อมตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า 30,0048,006,ปุณณกะ. 30,0048,007,คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ 30,0048,008,เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรปุณณกะ. 30,0048,009,"[๑๔๔] คำว่า ยสฺส ในอุเทศว่า ยสฺสิฺชิตํ นตฺถิ กุหิฺจิ โลเก"" ดังนี้ ได้แก่" 30,0048,010,พระอรหันตขีณาสพ. คำว่า อิฺชิตํ คือความหวั่นไหวเพราะตัณหา ความหวั่นไหวเพราะทิฏฐิ 30,0048,011,ความหวั่นไหวเพราะกิเลส ความหวั่นไหวเพราะมานะ ความหวั่นไหวเพราะกรรม ความหวั่นไหว 30,0048,012,เหล่านั้นไม่มี คือ ไม่ปรากฏ ไม่ประจักษ์ แก่พระอรหันตขีณาสพใด คือ ความหวั่นไหว 30,0048,013,เหล่านี้ พระอรหันตขีณาสพใด ละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจ 30,0048,014,เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ. 30,0048,015,คำว่า กุหิฺจิ ความว่า ไหนๆ คือ แห่งไหน แห่งไร ภายใน หรือภายนอก หรือ 30,0048,016,ทั้งภายในภายนอก. 30,0048,017,คำว่า โลเก คือในอบายโลก ฯลฯ ในอายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความ 30,0048,018,หวั่นไหวในโลกไหนๆ มิได้มีแก่พระอรหันตขีณาสพใด. 30,0048,019,"[๑๔๕] คำว่า สนฺโต ในอุเทศว่า ""สนฺโต วิธูโม อนีโฆ นิราโส อตาริ โส" 30,0048,020,"ชาติชรนฺติ พฺรูมิ"" ดังนี้ ความว่า ชื่อว่า สันตะ เพราะเป็นผู้มีราคะสงบ มีโทสะสงบ มี" 30,0048,021,โมหะสงบ ชื่อว่าสงบแล้ว คือ เข้าไปสงบแล้ว ระงับแล้ว ดับแล้ว ระงับเฉพาะแล้ว เพราะ 30,0048,022,เป็นผู้สงบแล้ว ถึงความสงบแล้ว เข้าไปสงบแล้ว เผาแล้ว ดับแล้ว ปราศจากแล้ว ระงับ 30,0048,023,เฉพาะแล้วซึ่งความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ 30,0048,024,ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง 30,0048,025,ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลา 30,0048,026,ภิสังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสงบ.