Book,Page,LineNumber,Text 30,0029,001,เพราะทรัพย์ เรียกกันว่า มีโภคะ เพราะโภคะ เรียกกันว่ามียศ เพราะยศ เรียกกันว่า มีศิลป 30,0029,002,เพราะศิลป เรียกกันว่ามีศีล เพราะศีล เรียกกันว่า มีความเพียร เพราะความเพียร เรียกกันว่า 30,0029,003,มีปัญญา เพราะปัญญา เรียกกันว่ามีวิชชา เพราะวิชชา ฉันใด ภิกษุใดเข้าไป เข้าไปพร้อม 30,0029,004,เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ภิกษุนั้นท่านก็ 30,0029,005,เรียกว่า มีพรหมจรรย์ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีพรหมจรรย์ในเพราะกาม 30,0029,006,ทั้งหลาย. 30,0029,007,พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยโคตรว่า ดูกรเมตเตยยะ. คำว่า ภควา เป็น 30,0029,008,เครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า 30,0029,009,พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรเมตเตยยะ. 30,0029,010,"[๑๐๙] รูปตัณหา ... ธรรมตัณหา ชื่อว่า ตัณหา ในอุเทศว่า ""ปราศจากตัณหา มีสติ" 30,0029,011,"ทุกเมื่อ"". ภิกษุใดละตัณหานี้ขาดแล้ว คือ ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว มีความไม่ควร" 30,0029,012,เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ภิกษุนั้นท่านเรียกว่า ปราศจากตัณหา คือ สละตัณหาแล้ว 30,0029,013,คายตัณหาแล้ว ปล่อยตัณหาแล้ว ละตัณหาแล้ว สละคืนตัณหาแล้ว มีราคะไปปราศจากแล้ว 30,0029,014,สละราคะแล้ว คายราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว ละราคะแล้ว สละคืนราคะแล้ว เป็นผู้ไม่มี 30,0029,015,ความหิว เป็นผู้ดับแล้ว เย็นแล้ว เสวยสุข มีตนเป็นเพียงดังพรหมอยู่. 30,0029,016,คำว่า สทา ความว่า ทุกเมื่อ คือ ทุกสมัย ตลอดกาลทั้งปวง กาลเป็นนิตย์ กาล 30,0029,017,ยั่งยืน ติดต่อ เนืองๆ เนื่องกัน ต่อลำดับไม่สับสนกัน ไม่ว่าง ประกอบด้วยความพร้อมเพรียง 30,0029,018,ถูกต้องกัน กาลเป็นปุเรภัต กาลเป็นปัจฉาภัต ตลอดยามต้น ตลอดยามกลาง ตลอดยามหลัง 30,0029,019,ในข้างแรม ในข้างขึ้น ในฤดูฝน ในฤดูหนาว ในฤดูร้อน ในตอนวัยต้น ในตอนวัยกลาง 30,0029,020,ในตอนวัยหลัง. 30,0029,021,คำว่า มีสติ ความว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ ชื่อว่า มีสติ เพราะเป็นผู้เจริญ 30,0029,022,สติปัฏฐาน คือการพิจารณาเห็นกายในกาย ๑ ... การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ๑ ... 30,0029,023,พิจารณาเห็นจิตในจิต ๑ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ๑ ฯลฯ ภิกษุนั้นท่านเรียกว่า 30,0029,024,ผู้มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปราศจากตัณหา มีสติทุกเมื่อ. 30,0029,025,[๑๑๐] คำว่า ญาณ ปัญญา กิริยาที่รู้ ความเลือกเฟ้น ฯลฯ ความไม่หลง ความ 30,0029,026,เลือกเฟ้นธรรม ปัญญาอันเห็นชอบ ชื่อว่า สังขา ในอุทเทศว่า สงฺขาย นิพฺพุโต ภิกขุ.