Book,Page,LineNumber,Text 29,0047,001,คือ ไม่ทำซึ่งตัณหาเครื่องเกี่ยวข้อง คือ ไม่ทำซึ่งความพอใจ ความรัก ความกำหนัด ความ 29,0047,002,ชอบใจ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดเสมอ ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะในภพทั้งหลาย 29,0047,003,เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ทำซึ่งตัณหา เครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น พระผู้ 29,0047,004,มีพระภาคจึงตรัสว่า 29,0047,005,ท่านทั้งหลายจงเห็นหมู่สัตว์ผู้ดิ้นรนอยู่ในเพราะวัตถุที่ยึดถือว่า ของเรา 29,0047,006,เหมือนฝูงปลาดิ้นรนอยู่ในน้ำน้อยอันมีกระแสสิ้นไป นรชนเห็นโทษ 29,0047,007,แม้นั้นแล้ว ไม่ทำซึ่งตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย พึงเป็นผู้ไม่ 29,0047,008,ยึดถือว่าของเราประพฤติ. 29,0047,009,[๖๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า 29,0047,010,ธีรชนพึงจำกัดความพอใจในที่สุดทั้งสอง กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ไม่เป็นผู้ 29,0047,011,ตามติดใจ ตนติเตียนกรรมใด ไม่ทำกรรมนั้นอยู่ ย่อมไม่ติดในทิฏฐา 29,0047,012,รมณ์และสุตารมณ์. 29,0047,013,[๖๑] คำว่า พึงกำจัดความพอใจในที่สุดทั้งสอง มีความว่า ที่สุด คือ ผัสสะเป็นที่ 29,0047,014,สุดอัน ๑ ผัสสสมุทัยเป็นที่สุดอัน ๒. อดีตเป็นที่สุดอัน ๑ อนาคตเป็นที่สุดอัน ๒. สุขเวทนา 29,0047,015,เป็นที่สุดอัน ๑ ทุกขเวทนาเป็นที่สุดอัน ๒. นามเป็นที่สุดอัน ๑ รูปเป็นที่สุดอัน ๒. อายตนะ 29,0047,016,ภายใน ๖ เป็นที่สุดอัน ๑ อายตนะภายนอก ๖ เป็นที่สุดอัน ๒. สักกายะเป็นที่สุดอัน ๑ 29,0047,017,สักกายสมุทัยเป็นที่สุดอัน ๒. คำว่า ความพอใจ ได้แก่ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัด 29,0047,018,คือความใคร่ ความเพลินคือความใคร่ในกามทั้งหลาย ความปรารถนาในกาม ความเสน่หา 29,0047,019,ในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ห้วงคือกาม ความประกอบ 29,0047,020,ในกาม ความยึดถือในกาม เครื่องกั้นกางคือกามฉันทะ. คำว่า พึงกำจัดความพอใจในที่สุด 29,0047,021,ทั้งสอง คือพึงกำจัด พึงกำจัดเฉพาะ พึงละ พึงบรรเทา พึงทำให้สิ้นไป พึงให้ถึงความ 29,0047,022,ไม่มีในภายหลัง ซึ่งความพอใจในที่สุดทั้งสอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงกำจัดความพอใจ 29,0047,023,ในที่สุดทั้งสอง.