Book,Page,LineNumber,Text 23,0034,001,ภิกษุเป็นที่รักใคร่ พอใจ เป็นที่เคารพ ควรสรรเสริญ 23,0034,002,ฉลาดพูด อดทนต่อถ้อยคำ พูดถ้อยคำลึกซึ้ง ไม่ชักนำ 23,0034,003,ในทางที่ไม่ดี ฐานะเหล่านี้มีอยู่ในภิกษุใด ภิกษุนั้นเป็น 23,0034,004,มิตรแท้ มุ่งอนุเคราะห์แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ผู้ประสงค์ 23,0034,005,จะคบมิตร ควรคบมิตรเช่นนั้น แม้จะถูกขับไล่ ฯ 23,0034,006,จบสูตรที่ ๖ 23,0034,007,ปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๑ 23,0034,008,[๓๕] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ พึงกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ ด้วย 23,0034,009,ปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ ต่อการไม่นานเลย ธรรม ๗ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรม 23,0034,010,วินัยนี้ เมื่อจิตหดหู่ ก็รู้ชัดตามเป็นจริงว่าจิตของเราหดหู่ จิตท้อแท้ในภายใน ก็รู้ชัดตาม 23,0034,011,เป็นจริงว่า จิตของเราท้อแท้ในภายใน หรือจิตที่ฟุ้งซ่านไปภายนอก ก็รู้ชัดตามเป็นจริงว่า 23,0034,012,จิตของเราฟุ้งซ่านไปภายนอก เวทนาย่อมเกิดขึ้น ย่อมปรากฏ ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ภิกษุนั้น 23,0034,013,ทราบแล้ว สัญญาย่อมเกิดขึ้น ย่อมปรากฏ ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ภิกษุนั้นทราบแล้ว วิตก 23,0034,014,ย่อมเกิดขึ้น ย่อมปรากฏ ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ภิกษุนั้นทราบแล้ว อนึ่ง นิมิตในธรรม 23,0034,015,เป็นที่สบาย ไม่เป็นที่สบาย เลว ประณีต ดำขาว และเป็นปฏิภาคกัน อันภิกษุนั้นเรียนดี 23,0034,016,แล้ว มนสิการดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้วแทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย 23,0034,017,ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ประการนี้แล พึงกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง 23,0034,018,เข้าถึงอยู่ต่อกาลไม่นานเลย ฯ 23,0034,019,จบสูตรที่ ๗