Book,Page,LineNumber,Text 22,0047,001,เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน ที่นั่ง เครื่องปูลาด เหมือนห้วงน้ำหลั่งไหลเข้าไป 22,0047,002,สู่สาครฉะนั้น ฯ 22,0047,003,จบสูตรที่ ๕ 22,0047,004,๖. สัมปทาสูตร 22,0047,005,[๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สัทธา 22,0047,006,สัมปทา ๑ สีลสัมปทา ๑ สุตสัมปทา ๑ จาคสัมปทา ๑ ปัญญาสัมปทา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย 22,0047,007,สัมปทา ๕ ประการนี้แล ฯ 22,0047,008,จบสูตรที่ ๖ 22,0047,009,๗. ธนสูตร 22,0047,010,[๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือทรัพย์ 22,0047,011,คือ ศรัทธา ๑ ทรัพย์ คือ ศีล ๑ ทรัพย์ คือ สุตะ ๑ ทรัพย์ คือ จาคะ ๑ ทรัพย์ คือ 22,0047,012,ปัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์ คือ ศรัทธาเป็นไฉนอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ 22,0047,013,มีศรัทธา ย่อมเชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์ 22,0047,014,นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้วเป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่าทรัพย์ คือ ศรัทธา ก็ทรัพย์ คือ 22,0047,015,ศีลเป็นไฉนดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ 22,0047,016,เว้นขาดจากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เรียกว่าทรัพย์คือ ศีล ก็ 22,0047,017,ทรัพย์ คือ สุตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นพหูสูต ฯลฯ 22,0047,018,แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ นี้เรียกว่าทรัพย์ คือ สุตะ ก็ทรัพย์คือ จาคะเป็นไฉน ดูกรภิกษุ 22,0047,019,ทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ มีใจปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่อยู่ครองเรือน มีราคะ 22,0047,020,อันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่มยินดีในการเสียสละ ควรแก่การขอ ยินดีในทานและการจำแนก 22,0047,021,ทาน นี้เรียกว่าทรัพย์ คือ จาคะ ก็ทรัพย์ คือ ปัญญาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริย 22,0047,022,สาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันหยั่งถึงความตั้งขึ้นและความเสื่อมไป