Book,Page,LineNumber,Text 15,0011,001,สมิทธิสูตรที่ ๑๐ 15,0011,002,[๔๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ 15,0011,003,สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ตโปทาราม เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล 15,0011,004,พระสมิทธิเถระผู้มีอายุ ตื่นขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี เข้าไปที่ ลำน้ำตโปทาเพื่อจะล้างตัว ครั้น 15,0011,005,ล้างตัวแล้ว จึงกลับขึ้นยืนมีจีวรผืนเดียวรอให้ ตัวแห้ง ฯ 15,0011,006,[๔๕] ครั้งนั้นแล เมื่อราตรีใกล้สว่าง เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณงาม ยังลำน้ำ 15,0011,007,ตโปทาทั้งสิ้นให้สว่างทั่ว เข้าไปหาพระสมิทธิเถระผู้มีอายุถึงที่ใกล้ ครั้นแล้ว จึงลอยอยู่ในอากาศ 15,0011,008,ได้กล่าวกะพระสมิทธิเถระผู้มีอายุด้วยคาถาว่า 15,0011,009,ภิกษุ ท่านไม่บริโภคแล้ว ยังขออยู่ ท่านบริโภคแล้ว ก็ไม่ ต้องขอเลย 15,0011,010,ภิกษุ ท่านบริโภคแล้ว จงขอเถิด กาลอย่า ล่วงท่านไปเสียเลย ฯ 15,0011,011,[๔๖] ส. เรายังไม่รู้กาล กาลยังลับ มิได้ปรากฏ เพราะ เหตุนั้น เราไม่บริโภค 15,0011,012,แล้ว จึงยังขออยู่ กาลอย่าล่วงเราไป เสียเลย ฯ 15,0011,013,[๔๗] ครั้งนั้นแล เทวดานั้นลงมายืนที่พื้นดินแล้ว กล่าวกะพระสมิทธิ เถระว่า ภิกษุ 15,0011,014,ท่านเป็นบรรพชิตยังหนุ่มแน่น มีผมดำประกอบด้วยปฐมวัย จำเริญรุ่น จะเป็นผู้ไม่เพลิดเพลิน 15,0011,015,ในกามทั้งหลายเสียแล้ว ภิกษุ ท่านจงบริโภค กามทั้งหลายเป็นของมนุษย์ อย่าละกามที่เห็น 15,0011,016,ประจักษ์เสีย วิ่งไปหาทิพยกามอัน มีโดยกาลเลย ฯ 15,0011,017,[๔๘] ส. ท่านผู้มีอายุ เราหาได้ละกามที่เห็นประจักษ์ วิ่งเข้าไปหา ทิพยกามอันมีโดย 15,0011,018,กาลไม่ ท่านผู้มีอายุ เราละกามอันมีโดยกาลแล้ว วิ่งเข้าไปหา โลกุตรธรรมที่เห็นประจักษ์ ท่าน 15,0011,019,ผู้มีอายุ ด้วยว่ากามทั้งหลายอันมีโดยกาล (เป็นของชั่วคราว) พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีทุกข์มาก 15,0011,020,มีความคับแค้นมาก ในกาม ทั้งหลายนั้นมีโทษยิ่ง โลกุตรธรรมนี้ อันบุคคลพึงเห็นเอง ให้ผล 15,0011,021,ไม่มีกาล ควร เรียกร้องผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนทั้งหลายพึง 15,0011,022,ทราบเฉพาะตน ฯ 15,0011,023,[๔๙] ท. ภิกษุ ก็กามทั้งหลายอันมีโดยกาล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีทุกข์มาก มี 15,0011,024,ความคับแค้นมาก มีโทษมาก เป็นอย่างไร โลกุตรธรรมนี้ อันบุคคลพึงเห็นเอง ให้ผลไม่มีกาล 15,0011,025,ควรร้องเรียกผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนทั้งหลาย พึงทราบ 15,0011,026,เฉพาะตน เป็นอย่างไร ฯ