Book,Page,LineNumber,Text 17,0023,001,เป็นต้นว่า. นักปราชญ์เหล่าใด ผู้ขวนขวายในฌาน. 17,0023,002,มีความหมายว่า เสียงที่จะพึงทราบทางโสตประสาท ในประโยค 17,0023,003,เป็นต้นว่า เห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว. 17,0023,004,มีความหมายว่า ทรงความรู้คล้อยตามโสตทวาร ในประโยค 17,0023,005,เป็นต้นว่า ทรงไว้ซึ่งสุตะ และสะสมสุตะ. แต่ในที่นี้ สุตะศัพท์นั้น 17,0023,006,มุ่งเอาความหมายว่า ทรงจำ หรือ ความทรงจำ ตามแนวแห่งโสตทวาร 17,0023,007,จริงอยู่ เมื่อ เม ศัพท์ มีเนื้อความเท่ากับ มยา ย่อมประกอบความ 17,0023,008,ได้ว่า ข้าพเจ้าได้สดับมา คือ ทรงจำ ตามแนวแห่งโสตทวาร อย่างนี้ 17,0023,009,มีเนื้อความเท่ากับ มม ย่อมประกอบความได้ว่า การสดับของข้าพเจ้า 17,0023,010,คือ ความทรงจำตามแนวแห่งโสตทวารของข้าพเจ้าอย่างนี้. 17,0023,011,ในบททั้ง ๓ เหล่านั้น ดังกล่าวมานี้ คำว่า เอวํ เป็นการแสดง 17,0023,012,กิจแห่งวิญญาณ มีโสตวิญญาณเป็นต้น. คำว่า เม เป็นการแสดงบุคคล 17,0023,013,"ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยวิญญาณดังกล่าวแล้ว, คำว่า สุตํ เป็นการ" 17,0023,014,แสดงการถือเอาที่ไม่ผิด ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง เพราะห้ามการไม่ฟัง. อนึ่ง 17,0023,015,คำว่า เอวํ เป็นการประกาศความเป็นไปในอารมณ์ แห่งวิงญาณวิถีที่ 17,0023,016,เป็นไปตามแนวแห่งโสตทวารนั้น โดยประการต่าง ๆ คำว่า เม เป็น 17,0023,017,การประกาศตน. คำว่า สุตํ เป็นการประกาศธรรมะ. จริงอยู่ ในคำ 17,0023,018,ว่า เอวมฺเม สุตํ นี้ มีความย่อดังต่อไปนี้ว่า ข้าพเจ้า ไม่ทำกิจอื่น 17,0023,019,แห่งวิญญาณวิถีที่เป็นไปแล้วในอารมณ์โดยประการต่าง ๆ แต่ข้าพเจ้าทำ 17,0023,020,"กิจนี้, ธรรมนี้ข้าพเจ้าฟังแล้ว." 17,0023,021,อนึ่ง คำว่า เอวํ เป็นการประกาศคำที่จะพึงแถลงไข. คำว่า เม 17,0023,022,เป็นการประกาศบุคคล. คำว่า สุตํ เป็นการประกาศกิจแห่งบุคคล. มี