Book,Page,LineNumber,Text 44,0048,001,อัธยาศัย. แม้ในอัธยาศัยของผู้อื่นก็นัยนี้เหมือนกัน. อำนาจแห่งคำถาม 44,0048,002,ชื่อปุจฉาวสะ สุตตนิกเขปนั้น ชื่อว่าปุจฉาวสิกะ เพราะมีอำนาจแห่งคำ- 44,0048,003,ถาม. การเกิดขึ้นแห่งเนื้อความอันเป็นเรื่องแห่งสุตตเทศนา ชื่อว่า 44,0048,004,อัตถุปปัตติ สุตตนิเขปชื่อว่าอัตถุปปัตติกะ เพราะมีการเกิดเรื่องขึ้น. 44,0048,005,อีกอย่างหนึ่ง อัตถุปปัตตินั้นแหละ ชื่ออัตถุปปัตติกะ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า 44,0048,006,นิกเขป เพราะเป็นเหตุตั้งพระสูตร คืออัธยาศัยของตนเป็นต้น . ส่วนใน 44,0048,007,การกำหนดอรรถนี้ พึงทราบอรรถในข้อนี้อย่างนี้ว่า อัธยาศัยของตนชื่อว่า 44,0048,008,อัตตัชฌาสยะ อัธยาศัยของผู้อื่น ชื่อว่าปรัชฌาสยะ. ชื่อว่าปุจฉา เพราะ 44,0048,009,เขาถาม คือเรื่องที่จะต้องถาม. คำของผู้รับธรรมที่เป็นไปด้วยคำถาม ชื่อว่า 44,0048,010,ปุจฉาวสะ ปุจฉาวสะนั่นแหละ ท่านกล่าวเป็นปุงลิงค์ว่า ปุจฉาวสิโก 44,0048,011,โดยมุ่งถึงศัพท์ว่า นิกเขป. อนึ่ง อัตถุปปัตตินั่นแหละ ชื่อว่าอัตุถป- 44,0048,012,ปัตติกะ. 44,0048,013,ก็ในข้อนี้มีคำถามสอดเข้ามาว่า เพราะไม่มุ่งถึงเหตุมีความแก่กล้า 44,0048,014,อินทรีย์เป็นต้น ของคนอื่นจึงควรมีภาวะแห่งสุตตนิกเขปแผนกหนึ่งของ 44,0048,015,อัตตัชฌาสยะ เพราะประกาศเทศนา เพื่อตั้งแบบแผนแห่งธรรมตาม 44,0048,016,อัธยาศัยของตนอย่างเดียวเท่านั้น ก็สุตตนิกเขปที่เกิดด้วยอัธยาศัยของคน 44,0048,017,อื่น และที่เกิดด้วยคำถาม เป็นไปในการเกิดขึ้นแห่งอัธยาศัย และคำถาม 44,0048,018,ของผู้อื่น อันเป็นเหตุให้ประกาศธรรมเทศนาอย่างไรจึงไม่ผิด ในการ 44,0048,019,เกิดเรื่องขึ้น หรือว่าเมื่อสุตตนิกเขปที่เกิดด้วยอำนาจคำถาม และที่เกิด 44,0048,020,ด้วยการเกิดเรื่องขึ้น เป็นไปโดยคล้อยตามอัธยาศัยของผู้อื่น อย่างไรจึง 44,0048,021,ไม่ผิดในอัธยาศัยของผู้อื่น ? ข้อนั้นไม่จำต้องทักท้วง. ก็เพราะท่านถือ 44,0048,022,เอาการเกิดขึ้นอันเป็นเหตุแสดงพระสูตร ซึ่งพ้นจากอภินิหาร และการ 44,0048,023,สอบถามเป็นต้น และการวินิจฉัยเป็นต้นของคนอื่น โดยเป็นอัตถุปัตติ