Book,Page,LineNumber,Text 44,0037,001,ตํ ตํ อตฺถมเวกฺขิตฺวา ภุมฺเมน กรเณน จ 44,0037,002,อญฺตฺถ สมโย วุตฺโต อุปโยเคน โส อิธ. 44,0037,003,ท่านพระอานนท์พิจารณาถึงอรรถนั้น ๆ แล้วกล่าว 44,0037,004,สมยศัพท์ไว้ในสุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก ด้วย 44,0037,005,สัตตมีวิภัตติและตติยาวิภัตติ สมยศัพท์นั้น ท่าน- 44,0037,006,พระอุบาลีกล่าวไว้ในวินัยปิฎกนี้ ด้วยทุติยาวิภัตติ. 44,0037,007,ส่วนพระโปราณาจารย์ทั้งหลายพรรณนาไว้ว่า นิเทศนั่นเป็นความ 44,0037,008,"ต่างกันเพียงโวหารว่า ยสฺมึ สมเย, ว่า เตน สมเยน, หรือว่า เอกํ สมยํ" 44,0037,009,มีอรรถเป็นสัตตมีวิภัตติทุก ๆ บท. เพราะฉะนั้น แม้เมื่อท่านกล่าว เอกํ 44,0037,010,สมยํ ก็พึงทราบความว่า เอกสฺมึ สมเย ดังนี้. 44,0037,011,บทว่า ภควา เป็นคำบ่งถึงครู. จริงอยู่ ชาวโลกเรียกครูว่า ภควา. 44,0037,012,ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เป็นครูของสรรพสัตว์ เพราะเป็นผู้วิเศษโดยคุณ 44,0037,013,ทั้งปวง เพราะฉะนั้น พระองค์ บัณฑิตจงเฉลิมพระนามว่า ภควา 44,0037,014,แม้พระโปราณาจารย์ทั้งหลายก็กล่าวไว้ว่า 44,0037,015,ภควาติ รจนํ เสฏฺ€ํ ภควาติ วจนมุตฺตมํ 44,0037,016,ครุคารวยุตฺโต โส ภควา เตน วุจฺจติ. 44,0037,017,คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐสุด คำว่า ภควา 44,0037,018,เป็นคำสูงสุด พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้ควรแก่ความ 44,0037,019,เคารพโดยฐานครู เพราะฉะนั้น พระองค์ บัณฑิต 44,0037,020,จึงเฉลิมพระนามว่า ภควา ดังนี้. 44,0037,021,ในคำเหล่านั้น คำกล่าวว่า ประเสริฐสุด ท่านกล่าวว่า เสฏฐะ 44,0037,022,เพราะเพียบพร้อมด้วยพระคุณอันประเสริฐ. อีกอย่างหนึ่ง อรรถชื่อว่า