Book,Page,LineNumber,Text 25,0015,001,

อรรถกถาทุติยปาสสูตร

25,0015,002,พึงทราบวินิจฉัยในทุติยปาสสูตรที่ ๕ ต่อไป:- 25,0015,003,บทว่า มุตฺตาหํ แปลว่า เราพ้นแล้ว. สูตรต้นตรัสภายในพรรษา 25,0015,004,ส่วนสูตรนี้ ตรัสในเวลาปวารณาออกพรรษาแล้ว. บทว่า จาริกํ ได้แก่ 25,0015,005,จาริกไปตามลำดับ. ตรัสว่า พวกเธอจงจาริกไปวันละหนึ่งโยชน์เป็นอย่างยิ่ง. 25,0015,006,บทว่า มา เอเกน เทฺว แปลว่า อย่าไปทางเดียวกัน ๒ รูป. ด้วยว่า เมื่อ 25,0015,007,ไปทางเดียวกัน ๒ รูป เมื่อรูปหนึ่งกล่าวธรรม อีกรูปหนึ่ง ก็จำต้องยืนนิ่ง 25,0015,008,เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนี้. 25,0015,009,บทว่า กลฺยาณํ ในบทว่า อาทิกลฺยาณํ เป็นต้น แปลว่า ดี เจริญ 25,0015,010,ในเบื้องต้น ในท่ามกลางและในที่สุดก็เหมือนกัน ก็ชื่อว่า เบื้องต้นท่ามกลาง 25,0015,011,และที่สุดนี้มี ๒ คือ ศาสนาและเทศนา. ใน ๒ อย่างนั้น ศีล เป็นเบื้องต้น 25,0015,012,ของศาสนา สมถวิปัสสนาและมรรคเป็นท่ามกลาง ผลนิพพานเป็นที่สุด. อีก 25,0015,013,นัยหนึ่ง ศีล และสมาธิเป็นเบื้องต้น วิปัสสนาและมรรคเป็นท่ามกลาง ผล 25,0015,014,นิพพานเป็นที่สุด อีกนัยหนึ่ง ศีลสมาธิวิปัสสนา เป็นเบื้องต้น มรรคเป็นท่ามกลาง 25,0015,015,ผลนิพพานเป็นที่สุด. ส่วนเทศนา สำหรับคาถา ๔ บทก่อน บทที่ ๑ เป็น 25,0015,016,เบื้องต้น บทที่ ๒-๓ เป็นท่ามกลาง บทที่ ๔ เป็นที่สุด สำหรับ ๕ บท 25,0015,017,หรือ ๖ บท บทแรกเป็นเบื้องต้น บทสุดท้ายเป็นที่สุด ที่เหลือเป็นท่ามกลาง. 25,0015,018,สำหรับพระสูตรมีอนุสนธิเดียว คำนิทานเริ่มต้นเป็นเบื้องต้น. คำนิคมลงท้าย 25,0015,019,ว่า อิทมโวจ เป็นที่สุด คำที่เหลือเป็นท่ามกลาง. สำหรับพระสูตรที่มีอนุสนธิ 25,0015,020,มาก แม้จะมากตรงกลาง ก็จัดเป็นอนุสนธิเดียวเท่านั้น คำนิทานเป็นเบื้องต้น 25,0015,021,คำลงท้ายว่า อิทมโวจ เป็นที่สุด.