Book,Page,LineNumber,Text 49,0041,001,ก็การบำเพ็ญสัมมัปธาน ๔ อย่างนี้เล่า ที่จะบริบูรณ์ได้และให้ 49,0041,002,เป็นไปถูกต้อง ไม่มีผิดพลาด ต้องใช้สติควบคุมด้วย จึงจะบำเพ็ญเพียร 49,0041,003,มิให้ผิดทางได้ ฉะนั้น สติจึงจำปรารถนาอย่างยิ่งในการประกอบความ 49,0041,004,เพียร เหมือนนายท้ายผู้เป็นกัปตันต้องมีประจำเรือเสมอ มิฉะนั้น 49,0041,005,เรือก็อับปาง แล่นไปสู่ที่หมายไม่ได้ แม้ในการประกอบการงานทุก ๆ 49,0041,006,อย่าง ก็จำปรารถนาสติด้วยเหมือนกัน การงานนั้น ๆ จึงจะดำเนินไป 49,0041,007,ด้วยดี บรรลุความสำเร็จสมตามที่มุ่งหมายไม่อากูล เช่นคนผู้เดินไปใน 49,0041,008,ทาง ถ้าไม่มีสติคอยระวังก็จะได้รับอันตรายในการเดินทาง เช่นพลาดตก 49,0041,009,เหว ตกหล่ม ชนโน่นชนนี่เป็นต้น เมื่อมีสติควบคุมอยู่เสมอ ๆ แล้ว กิจ 49,0041,010,การที่ทำย่อมไม่มีพลั้งพลาดเสียหาย เพราะการมีสติอยู่เสมอนั้นย่อมเป็น 49,0041,011,เช่นกับการตื่นอยู่ของบุคคล ธรรมดาบุคคลผู้ตื่นอยู่ ย่อมรู้สึกเหตุการณ์ 49,0041,012,เกิดขึ้น อันไม่เกินวิสัยได้ ผิดกับผู้นอนหลับ ผู้หลับย่อมไม่รู้สึกตัว 49,0041,013,มีเรื่องอะไรเกิดขึ้นก็ไม่รู้ ผู้ขาดสติก็เหมือนคนนอนหลับ ผู้มีสติก็ 49,0041,014,เหมือนคนผู้ตื่น ความเป็นผู้มีสติไพบูล จึงชื่อว่าเป็นอุปการธรรมที่สำคัญ 49,0041,015,ประการหนึ่ง เมื่อมีสติไพบูลแล้ว การบำเพ็ญเพียรเพื่อละอกุศลและเพียร 49,0041,016,เพื่อพอกพูนกุศลก็เป็นไปสม่ำเสมอ ไม่ขาดสายและไม่ผิดพลาด เป็น 49,0041,017,เหตุถอนตนจากตัณหาอุปาทานเสียได้ ด้วยเหตุผลดังบรรยายมานี้ จึงชี้ 49,0041,018,ให้เห็นได้ว่าสติเป็นสิ่งจำปรารถนาในที่ทั้งปวง หรือในการประกอบการ 49,0041,019,งานทุก ๆ อย่าง แม้การบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุวิโมกข์ก็ต้องปรารถนา 49,0041,020,ฉะนั้น จึงสมด้วยธรรมภาษิตของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา 49,0041,021,วชิรญาณวโรรส อันจัดเป็นข้อที่ ๓ ว่า