Book,Page,LineNumber,Text
49,0033,001,ความเพียร ผู้บำเพ็ญความเพียรประกอบด้วยขันติเป็นหลักยึดอยู่แล้ว
49,0033,002,การบำเพ็ญเพียรของผู้นั้น ย่อมเป็นอันหวังผลคือความผาสุกนิราศทุกข์
49,0033,003,ได้เป็นอย่างแน่นอน และหากประกอบด้วยองคคุณ คือ วิจารณปัญญา
49,0033,004,อีกด้วยแล้ว ก็จักต้องได้รับผลอย่างสดใสยิ่งขึ้นเป็นเที่ยงแท้ เพราะ
49,0033,005,องคคุณกล่าวคือ ปัญญานี้ เป็นทางที่จะให้บุคคลถึงความหมดจดบริสุทธิ์
49,0033,006,ได้ดีด้วย ดังบาลีในยักขสังยุตว่า
49,0033,007, ปญฺาย ปริสุชฺฌติ
49,0033,008,คนย่อมบริสุทธิ์ได้เพราะปัญญา.
49,0033,009,จริงอยู่ ความบริสุทธิ์จะเกิดมีทางกายวาจาและใจได้ ก็เพราะ
49,0033,010,อาศัยปัญญา รู้เหตุผลที่ดีและไม่ดี ถ้าเป็นส่วนดีก็นำมาขัดสีไตรทวาร
49,0033,011,ให้บริสุทธิ์ ถ้าเป็นส่วนชั่ว ก็เลิกละ ฉะนั้น ปัญญาจึงเป็นองคคุณ
49,0033,012,อันสำคัญ เป็นเครื่องฟอกจิตบุคคลให้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสทั้งปวง
49,0033,013,เพราะอริยสาวกทั้งหลายจะถึงความบริสุทธิ์ได้ก็เพราะปัญญา เมื่อมี
49,0033,014,ปัญญาความบริสุทธิ์ก็เกิด เมื่อความบริสุทธิ์เกิดขึ้น ความทุกข์ก็ดับหมด
49,0033,015,เพราะความบริสุทธิ์กับความดับทุกข์ มีอรรถอย่างเดียวกัน เพราะ
49,0033,016,สรรพทุกข์ดับไป สมด้วยวจนประพันธ์ใน ๒ บาทคาถาว่า
49,0033,017, วิสุทฺธิ สพฺพเกฺลเสหิ โหติ ทุกฺเขหิ นิพฺพุติ
49,0033,018,ความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นความดับจากทุกข์ทั้งปวง
49,0033,019,กล่าวถึงกิเลสเป็นเหตุก่อให้เกิดทุกข์หรือจะพูดว่าทุกข์เป็นผลเกิดมาจาก
49,0033,020,กิเลสก็ได้ ความหมายจดซึ่งเรียกว่าวิสุทธิจะเกิดมีขึ้นได้ก็ด้วยปัญญา แต่
49,0033,021,ปัญญาในที่นี้ได้แก่ปัญญาที่ประกอบด้วยศีลสมาธิ เพราะศีลทำให้มีปกติ