Book,Page,LineNumber,Text
47,0004,001,๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา.
47,0004,002,๓. ตติยฌาน มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา.
47,0004,003,๔. จตุตถฌาน มีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา.
47,0004,004,๕. ปัญจมฌาน มีองค์ ๒ คือ เอกัคคตา อุเบกขา.
47,0004,005,องค์ฌานเป็นคู่ปรับกับนิวรณ์
47,0004,006,๑. เอกัคคตา เป็นคู่ปรับกับ กามฉันทะ.
47,0004,007,"๒. ปีติ "" "" พยาบาท."
47,0004,008,"๓. วิตก "" "" ถีนมิทธะ."
47,0004,009,"๔. สุข "" "" อุทธัจจกุกกุจะ."
47,0004,010,"๕. วิจาร "" "" วิจิกิจฉา."
47,0004,011,องค์ฌานทั้ง ๕ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมระงับนิวรณ์ได้ ดังนั้น ท่านจึง
47,0004,012,ว่า ละองค์ ๕ เจริญองค์ ๕.
47,0004,013,ละองค์ ๕ คือละนิวรณ์ เจริญองค์ ๕ คือเจริญฌาน.
47,0004,014,กายคตาสติ
47,0004,015,สติที่ไปในกาย โดยความ คือให้มีสติกำหนดหรือพิจารณากาย
47,0004,016,เรียกว่า กายคตาสติ.
47,0004,017,ในหัวใจสมถกัมมัฏฐาน ท่านยกส่วนแห่งกายขึ้นจำแนกไว้ ๕
47,0004,018,อย่าง เรียกว่ามูลกัมมัฏฐาน แปลว่า กัมมัฏฐานเดิมบ้าง เรียกว่า
47,0004,019,ตจปัญจกกัมมัฏฐาน แปลว่า กัมมัฏฐานมีหนังเป็นที่ ๕ บ้าง คือ :-
47,0004,020,๑. เกสา ผม.
47,0004,021,๒. โลมา ขน.