Book,Page,LineNumber,Text 45,0043,001,เป็นพระพุทธรูปยืนเท่านั้น 45,0043,002,ค) เตรียมสถานที่ให้ทายกทายิกาตั้งเครื่องใส่บาตรโดยจะจัดลานวัดหรือ 45,0043,003,บริเวณรอบ ๆ โรงอุโบสถ เป็นที่กลางแจ้งแห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้ จัดให้ 45,0043,004,ตั้งเป็นแถวเป็นแนวเรียงรายติดต่อกันไปเป็นลำดับ ๆ ถ้าทายกทายิกา 45,0043,005,ไม่มากนัก จัดแถวเดียวให้นั่งใส่อยู่ด้านเดียวกันทั้งหมด แต่ถ้ามาก 45,0043,006,จะจัดเป็น ๒ แถวให้นั่งหันหน้าเข้าหากัน เว้นช่องกลางระหว่างแถว 45,0043,007,ทั้ง ๒ ไว้สำหรับพระเดินรับบิณฑบาตพอสมควรก็ได้ 45,0043,008,ฆ) แจ้งกำหนดการต่าง ๆ ให้ทายกทายิกาทราบล่วงหน้าก่อนว่าจะกำหนด 45,0043,009,ให้ทำบุญตักบาตรพร้อมกันเวลาเท่าไร บางแห่งจัดให้มีพระธรรมเทศนา 45,0043,010,อนุโมทนาทาน หลังจากพระรับบาตรและฉันเสร็จแล้ว ๑ กัณฑ์ด้วย 45,0043,011,โดยทางวัดจัดเพิ่มขึ้นเอง และบางแห่งทายกทายิกามีศรัทธาแรงกล้า 45,0043,012,ขอให้ทางวัดจัดให้มีเทศน์ปุจฉาวิสัชนาในตอนบ่ายอีก ๑ กัณฑ์ ก็มี 45,0043,013,ถ้าจะมีเทศน์อย่างไร ต่อจากทำบุญตักบาตรนี้ ก็ต้องแจ้งกำหนดให้ 45,0043,014,ทราบทั่วกันก่อนเช่นกัน การเทศน์อนุโมทนาทานกัณฑ์เช้าเป็นหน้าที่ 45,0043,015,ของเจ้าอาวาสวัดนั้น ๆ หรือจะมอบหมายให้ภิกษุผู้สามารถรูปใดเทศน์ 45,0043,016,แทนก็ได้แต่การเทศน์ปุจฉาวิสัชนาถ้ามีในตอนบ่ายเป็นเรื่องที่ทายก- 45,0043,017,ทายิกาจะพึงขวนขวายกันเอง แต่ทางวัดก็ต้องอำนวยความสะดวก 45,0043,018,และจัดการให้ตามศรัทธาของทายกทายิกาด้วย จะถือว่าไม่ใช่ธุระ 45,0043,019,ของวัดย่อมไม่ควร 45,0043,020,๒. สำหรับ ทายกทายิกาผู้ศรัทธาจะทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ เมื่อทราบ 45,0043,021,กำหนดจากทางวัดแล้ว จะต้องตระเตรียมและดำเนินการดังนี้ 45,0043,022,ก) เตรียมภัตตาหารสำหรับใส่บาตรตามศรัทธา ของใส่บาตรนอกจากข้าว 45,0043,023,เครื่องคาวหวานจัดเป็นห่อเป็นที่สำหรับใส่รูปหนึ่ง ๆ ตามธรรมเนียม