Book,Page,LineNumber,Text 37,0021,001,ไม่เพียงแต่จะป้องกันปรับปวาทเท่านั้น ยังเป็นเครื่องน้อมใจอีกส่วนหนึ่ง 37,0021,002,ด้วย ข้อนี้ พึงเห็นตัวอย่างที่พระอัสสชิแสดงพระธรรมเทศนาแก่ 37,0021,003,พระสารีบุตรครั้งยังเป็นปริพาชกเป็นอุทาหรณ์ พระอัสสชิได้แสดงว่า 37,0021,004,""" ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระศาสดาทรงแสดงเหตุแห่งธรรมนั้น และ " 37,0021,005,"ความดับแห่งธรรมนั้น "" ในลำดับนี้ ได้แสดงว่า "" พระมหาสมณะ" 37,0021,006,"มีปกติตรัสอย่างนี้ "" นี้เป็นแบบครูอันศิษย์ที่ดีควรจะถือเป็นเนตติ คือ" 37,0021,007,แบบอย่าง. 37,0021,008,( ๓ ) ในที่ที่ต้องการสนับสนุนคำที่ตนแสดงให้แจ่มแจ้งชัดเจน มี 37,0021,009,"น้ำหนักหลักฐานยิ่งขึ้น เช่นนี้เรียกว่า "" ในที่สมควร "" ซึ่งจะต้องอ้าง" 37,0021,010,สุภาษิตอื่นมาประกอบให้ได้ เพราะเหตุไร ? เพราะผู้ฟังเทศน์โดย 37,0021,011,มาก ต้องการความรู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น เพื่อประโยชน์ 37,0021,012,แก่การปฏิบัติ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็เป็นฐานะที่ผู้เทศก์จะพึงแสดงให้ผู้ฟัง 37,0021,013,ได้รู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็นเหมือนกัน ถึงผู้ฟังจะไม่ต้อง 37,0021,014,การ ก็เป็นหน้าที่โดยตรงของผู้เทศก์จะพึงแสดงอย่างนั้น การอ้าง 37,0021,015,สุภาษิตอื่นมาประกอบ เป็นทางที่จะทำให้เกิดความรู้ยิ่งเห็นจริงได้ 37,0021,016,ส่วนหนึ่ง และเป็นส่วนสำคัญยิ่งกว่าส่วนอื่น ๆ. 37,0021,017,( ๔ ) การอ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบนั้น นับว่าเป็นภาระสำคัญ 37,0021,018,ของนักเรียนมิใช่น้อย เพราะนอกจากจะต้องรู้ว่า ในที่เช่นไรควร 37,0021,019,อ้างสุภาษิตแล้ว ยังจะต้องรู้อีกด้วยว่าควรอ้างสุภาษิตไหน และ 37,0021,020,บรรดาสุภาษิตที่ควรอ้างนั้น สุภาษิตไหนควรอ้างมากกว่ากัน เหมาะ 37,0021,021,กว่ากัน และดีกว่ากัน ข้อนี้นักเรียนมักจะถูกตำหนิเป็นส่วนมากที่อ้าง