Book,Page,LineNumber,Text 36,0042,001,อยู่ว่าไม่สวดเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ธรรมจักร มหาสมัย 36,0042,002,ในการสวดนี้ มีระเบียบปฏิบัติ คือ เมื่อให้ศีลและเจ้าภาพอาราธนาสวด 36,0042,003,พระปริตจบแล้ว ไม่ต้องขัด สคฺเค ทุกรูปประนมมือพร้อมกันแล้วหัวหน้านำสวด 36,0042,004,ก. นมการปาฐะ (นโม....) 36,0042,005,ข. สรณคมนปาฐะ (พุทฺธํ สรณํ....) 36,0042,006,ค. ปัพพโตปมคาถาและอริยธนคาถา (ยถาปิ เสลา...) 36,0042,007,พอจบตอนนี้ ทั้งหมดลดมือลง แล้วรูปที่นั่งอันดับ ๓ ตั้งพัดขัดบท 36,0042,008,ขัดของสูตรที่กำหนดสวดตามวานดังกล่าวแล้ว สูตรใดสูตรหนึ่งเมื่อขัดจบวาง 36,0042,009,พัดทุกรูประนมมือพร้อมกันอีก หัวหน้านำสวดสูตรที่ขัดนำนั้น จบสูตรแล้ว 36,0042,010,นำสวดบทท้ายสวดมนต์ของงานอวมงคลต่อ คือ 36,0042,011,ก. ปฏิจจสมุปบาท (อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา...) 36,0042,012,ข. พุทธอุทานคาถา (ยทา หเว...) 36,0042,013,ค. ภัทเทกรัตตคาถา (อตีตํ นานฺวาคเมยฺย....) 36,0042,014,ฆ. ภวตุ สพฺพมงฺคลํ.... 36,0042,015,ถ้าสวดธรรมนิยามสูตร ใช้สวดติลักขณาทิคาถา (สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ 36,0042,016,ฯ เป ฯ เต โลเก ปรินิพฺพุตาติ. ก่อนสวดปฏิจจสมุปบาท 36,0042,017,เมื่อสวดมนต์แล้ว ถ้ามีการชักผ้าบังสุกุลต่อท้าย เจ้าภาพจะลากสายโยง 36,0042,018,หรือภูษาโยงแล้วทอดผ้า ให้คอยสังเกตดู พอทอดถึงรูปสุดท้าย ก็ตั้งพัดพร้อมกัน 36,0042,019,(อย่าข้ามสายโยงหรือภูษาโยง เพราะถือว่า เป็นการข้ามศพ เท่ากับดูหมิ่นศพ) 36,0042,020,การตั้งพัดในพิธีชักบังสุกุล การจับผ้าให้จับหงายมือใช้นิ้วมือ ๔ นิ้ว เว้นนิ้ว 36,0042,021,แม่มือสอดเข้าใต้ผ้าที่ชักแล้วใช้นิ้วแม่มือจับบนผ้า อย่าจับคว่ำมือหรือทำอาการ 36,0042,022,เพียงใช้นิ้วแตะๆ ที่ผ้าเป็นอันขาด ข้อที่ควรระวังในการจับพัดและจับผ้านี้ อย่า 36,0042,023,ให้จับผิดมือที่กล่าวนี้เมื่อจับพร้อมกันทุกรูปแล้วเริ่มว่าบทชักบังสุกุล (อนิจฺจา...) 36,0042,024,พร้อมกัน จบแล้วชักผ้าออกจากสายโยงหรือภูษาโยงวางไว้ตรงหน้า ผ้าที่เจ้าภาพ 36,0042,025,ทอดนั้น ถ้าเป็นผ้าพอที่จะใส่ในย่ามได้ ก็ให้ใส่ย่ามในเวลากลับ หากเป็นผ้าที่ 36,0042,026,ใส่ย่ามไม่ได้ เช่น ผ้าไตร พึงถือกอดมาด้วยมือข้างซ้าย (อาจารย์ผู้สอนต้องทำ 36,0042,027,ตัวอย่างให้ดู) ข้อความที่กล่าวมานี้เป็นงานที่เจ้าภาพทำสองวัน คือ สวดมนต์