Book,Page,LineNumber,Text
34,0009,001,การงานอาชีพ ด้วยความชื่อสัตย์สุจริต.
34,0009,002,๒. อดทนต่อทุกขเวทนา เช่นเมื่อเวลาเกิดอาพาธภายใน หรือกาย
34,0009,003,เป็นบาดแผลเป็นต้น ไม่แสดงอาการทุรนทุรายวุ่นวายจนเกินกว่าเหตุไป.
34,0009,004,๓. อดทนต่อความเจ็บใจ เช่นในคราวที่ได้ประสบอนิฏฐารมณ์
34,0009,005,มีคำด่าว่า เสียดสี คำสาปแช่งของผู้อื่นเป็นต้น.
34,0009,006,ความอดทนนั้น ว่าโดยลักษณะมี ๓ คือ :-
34,0009,007,๑. ตีติกขาขันติ อดทนด้วยการกลั้นไว้ได้.
34,0009,008,๒. ตปขันติ อดทนจนเป็นตบะเดชะ.
34,0009,009,๓. อธิวาสนขันติ อดทนจนยังคำพูดหยาบคายของผู้อื่นให้กลับ
34,0009,010,อยู่เป็นเพื่อนเป็นมิตรกันได้.
34,0009,011,ตีติกขาขันติ อดทนด้วยการกลั้นไว้ได้ นั้น ข้อนี้ต้องใช้สติ
34,0009,012,นึกอยู่เสมอว่า คนที่อยู่รวมกันเป็นหมู่เป็นคณะ ต้องกระทบกระทั่งกันบ้าง
34,0009,013,เป็นธรรมดา ถ้าได้ยินได้ฟังเสียงที่ไม่เพราะหู ก็ต้องอดทน โดยนำเอา
34,0009,014,ความดีเข้าต่อสู้เพื่อชนะความไม่ดีนั้น และไม่ก่อเหตุวิวาททุ่มเถียงกันขึ้น
34,0009,015,ไม่ต้องทะเลาะวิวาทกันเพราะคำพูด.
34,0009,016,ตปขันติ อดทนจนเป็นตบะเดชะ นั้น ข้อนี้มีความสำคัญมาก
34,0009,017,ยิ่งขึ้นไปอีก คนที่อยู่นิ่ง ๆ เฉย ๆ คอยระวังคำพูดของตนอยู่เสมอ โดย
34,0009,018,มากมักจะเป็นคนมีตบะทุกคน คนที่พูดมากจู้จี้ขี้บ่นจนรำคาญ ว่าคนโน้น
34,0009,019,บ้าง คนนี้บ้าง มักจะเสียตบะ เพราะจะทำให้คนอื่นขาดความเคารพ
34,0009,020,เกรงกลัว ส่วนคนที่มีความระวังเคร่งขรึมไม่ค่อยจู้จี้กับใคร พูดบ้างเป็น
34,0009,021,ครั้งคราว มักจะมีคนเกรงกลัว มีตบะเดชะอยู่ในตัว และอดทนเผา
34,0009,022,ความชั่วในจิตให้หมดไป.