Book,Page,LineNumber,Text 20,0024,001,สักว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ 20,0024,002,เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวของเรา ดังนี้ ลำดับนี้ พระองค์ทรงแสดงอานิสงส์ 20,0024,003,แห่งวิปัสสนาปัญญานั้นว่า เอวํ ปสฺสํ ภิกฺขเว สุตวา อริยสาวโก 20,0024,004,เป็นต้น ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เมื่อเห็น 20,0024,005,อย่างนี้ ย่อมเหนื่อยหน่ายในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ 20,0024,006,เมื่อเหนื่อยหน่าย ก็ย่อมฟอกจิตให้หมดจด เพราะการฟอกจิตให้ 20,0024,007,หมดจดได้ จิตนั้นก็พ้นจากอาสวะทั้งปวง เมื่อจิตพ้นพิเศษแล้ว ก็มี 20,0024,008,ญาณหยั่งรู้ว่าพ้นแล้ว และเธอรู้ประจักษ์ว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ 20,0024,009,คือกิจพระศาสนาได้ประพฤติเสร็จ กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น 20,0024,010,ที่จะต้องทำเช่นนี้ไม่อีก ข้อนี้สาธกให้เห็นว่า การยกอนัตตลักษณะ 20,0024,011,ขึ้นแสดงสั่งสอนมีเฉพาะแต่ในพระพุทธศาสนา และพระองค์ประทาน 20,0024,012,อนุศาสนีด้วยข้อนี้มากกว่าอย่างอื่น เหตุว่าความถือตน ถือเรา ถือ 20,0024,013,เขา ยังมีเพียงใด ความพ้นจากทุกข์ก็ยังไม่มีเพียงนั้น อนัตตา คือ 20,0024,014,ความไม่ใช่ตนก็เป็นสามัญญลักษณะมีเสมอทั่วกันไปแก่สังขารทั้งปวง 20,0024,015,แต่ไม่มีใครพิจารณาเห็น ได้ชื่อว่าเช่นกับของที่คว่ำอยู่ พระพุทธเจ้า 20,0024,016,ผู้หยิบยกขึ้นแสดงสอน ได้ชื่อว่าเหมือนหงายของที่คว่ำอยู่นั้นขึ้น. 20,0024,017,ข้อ ๒ เมื่อผู้มีปัญญาได้ฟังคำสั่งสอนพระพุทธเจ้า เห็นอนันตต- 20,0024,018,ลักษณะชัดแล้ว แต่นั้นก็สามารถชำแรกอวิชชา คือความเขลาไม่รู้ 20,0024,019,อันปิดบังสภาวธรรมไว้ ให้สำคัญเห็นเป็นสัตว์เป็นบุคคลออกเสีย 20,0024,020,ได้แล้ว เห็นเป็นแต่สภาวธรรมซึ่งจะพึงกำหนดเห็นเป็นขันธ์ ๕ คือ 20,0024,021,รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอาการดังกล่าวแล้ว หรือ