Book,Page,LineNumber,Text
20,0012,001,แต่เบื้องต้นจนถึงโคตรภูญาณ เท่านี้เป็นส่วนภาวนามัยกามาพจรกุศล
20,0012,002,ฝ่ายโลกุตรกุศล คือพระอริยมรรคเกิดขึ้น ณ ลำดับแห่งโคตรภูจิตนั้น
20,0012,003,ในลำดับไม่มีอันในคั่นแห่งโคตรภูจิตนั้น นั่นแลมรรค คืออริยมรรค
20,0012,004,เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งอันเป็นธรรมกำหนดรู้ทุกขสัจอยู่ ละสมุทัยสัจอยู่
20,0012,005,ทำนิโรธสัจให้แจ้งอยู่ ให้มรรคสัจเป็นขึ้นเกิดขึ้น ลำดับนั้น ผลจิต ๒
20,0012,006,บ้าง ๓ บ้าง เป็นวิบากแห่งมรรคจิต หน่วงนิพพานเป็นอารมณ์เกิด
20,0012,007,ขึ้นแล้ว เกิดปัจจเวกขณญาณ พิจารณามรรคผลและกิเลสที่ละแล้ว
20,0012,008,และกิเลสที่เหลืออยู่ และพิจารณานิพพาน การกบุคคลผู้เจริญวิปัสสนา
20,0012,009,ญาณหยั่งลงยังอริยภูมิแล้ว พระอริยเจ้านั้น ได้ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว
20,0012,010,ด้วยประการฉะนี้.
20,0012,011,ปัญญาอันเห็นวิเศษเห็นแจ้งชัดสังขารโดยลักษณะ ๓ เป็นเครื่อง
20,0012,012,บริสุทธิ์หมดจดรอบคอบ แห่งสัตว์ผู้เศร้าหมองด้วยเครื่องเศร้าหมอง
20,0012,013,ภายใน ให้บริสุทธิ์โดยนิปปริยาย ด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุนั้น
20,0012,014,สมเด็จพระโลกนาถผู้ฉลาดในมรรคาจึงได้ตรัสโดยสังเขปว่า ปญฺยาย
20,0012,015,ปริสุชฺฌติ และอีก ๓ คาถาว่า
20,0012,016,สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺาย ปสฺสติ
20,0012,017,อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอว มคฺโค วิสุทฺธิยา
20,0012,018,เป็นต้น มีความว่า เมื่อใดบุคคลเห็นลงด้วยปัญญาว่า สังขารธรรม
20,0012,019,ที่ปัจจัยปรุงแต่ทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้ เมื่อนั้นบุคคลก็เบื่อหน่ายใน
20,0012,020,ทุกข์ คือความบริหารขันธ์ร่างกาย อันเป็นมรรคาแห่งความบริสุทธิ์
20,0012,021,คือจะให้จิตพ้นไปจากอาสวะทั้งหลาย. เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญา