Book,Page,LineNumber,Text 19,0040,001,จะออกจากฌาน กำหนดไว้ว่าเวลานั้น ๆ จะออก ก็ออกได้ตามกำหนด 19,0040,002,ไม่คลาดเวลาที่กำหนดไว้ ปัจจเวกขณวสีนั้น คือชำนาญคล่องแคล่ว 19,0040,003,ในการที่จะพิจารณา ปรารถนาที่จะพิจารณาองค์ฌานที่ตนได้ ก็อาจ 19,0040,004,พิจารณาโดยเร็วมิได้เนิ่นช้า มีนัยดังกล่าวมาในอาวัชชนวสีนั้น เมื่อ 19,0040,005,พระโยคาพจรเจ้า อันได้สำเร็จปฐมฌานชำนิชำนาญเป็นอันดีด้วย 19,0040,006,วสีทั้ง ๕ ดังว่ามานี้แล้ว จึงจะสามารถเจริญทุติยฌานต่อขึ้นไปได้ 19,0040,007,ถ้าไม่ชำนาญในปฐมฌานก่อนแล้ว จะเจริญทุติยฌานต่อขึ้นไป ก็จะ 19,0040,008,เสื่อมเสียจากปฐมฌานและทุติยฌานทั้ง ๒ ฝ่าย เพราะอาศัยเหตุฉะนี้ 19,0040,009,จึงห้ามไว้ว่า ถ้ายังไม่ชำนาญในปฐมฌานแล้ว อย่าพึงเจริญทุติยฌาน 19,0040,010,ก่อน ต่อเมื่อชำนาญคล่องแคล่วในปฐมฌานด้วยวสี ๕ ประการแล้ว 19,0040,011,จึงควรเจริญทุติยฌานสืบต่อขึ้นไปได้ เมื่อชำนาญในทุติยฌานแล้ว 19,0040,012,จึงควรเจริญตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌานสืบต่อ ๆ ขึ้นไปได้ 19,0040,013,โดยลำดับดังกล่าวแล้วนั้น. 19,0040,014,แลปฐมฌานนั้นมีองค์ ๕ คือ วิตก ความตรึกคิด มีลักษณะ 19,0040,015,ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์เป็นองค์ที่ ๑ คือ วิจาร ความพิจารณา มีลักษณะ 19,0040,016,อันตรองซึ่งอารมณ์เป็นองค์ที่ ๒ คือ ปีติ เจตสิกอันยังกายและจิตให้ 19,0040,017,อิ่มให้เต็ม มีประเภท ๕ คือ ขุททกาปีติ กายและจิตอิ่มจนขนพอง 19,0040,018,ชูชัน ทำน้ำเนตรให้ไหล ๑ ขณิกาปีติ กายและจิตอิ่มมีแสงสว่างดังสง 19,0040,019,ฟ้าแลบปรากฏในจักษุ ๑ โอกกันติกาปีติ กายและจิตอิ่มปรากฏดัง 19,0040,020,คลื่นและละลอกให้ไหวให้สั่นไป ๑ อุพเพงคาปีติ กายและจิตอิ่มให้ 19,0040,021,กายเบาเลื่อนลอยไปได้ ๑ ผรณาปีติ กายและจิตอิ่มให้เย็นสบายแผ่