Book,Page,LineNumber,Text 14,0008,001,ขันธ์ที่ ๔ ปนกัน ท่านหมายความต่างกัน สังขารแรกหมายเอาสภาพ 14,0008,002,อันธรรมดาแต่งขึ้น สังขารหลังหมายเอาสภาพอันแต่งอันปรุงใจให้ 14,0008,003,เป็นต่าง ๆ แต่อย่างไรท่านจึงใช้ศัพท์เหมือนกัน เป็นปัญหาอันจะพึง 14,0008,004,สนใจ. สังขารนี้ แม้มีประเภทต่าง ๆ กันด้วยอำนาจแห่งกรรมจำแนก 14,0008,005,แต่ในทรงหนึ่งคงมีลักษณะเสมอกันเป็น ๓ คือ อนิจฺจตา ความไม่เที่ยง 14,0008,006,ทุกฺขตา ความเป็นทุกข์ อนตฺตตา ความเป็นอนัตตา. 14,0008,007,อนิจฺจตา ความไม่เที่ยง ย่อมกำหนดรู้ได้ ในทางง่าย ด้วย 14,0008,008,ความเกิดขึ้นในเบื้องต้น และความสิ้นในเบื้องปลาย ได้ในบาลีว่า :- 14,0008,009,อนิจฺจา วต สงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน 14,0008,010,อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนุติ ... ... ... 14,0008,011,สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้น 14,0008,012,เป็นธรรมดา. (ไม่เลือกว่าเป็นสังขารชนิดไร ประณีตก็ตาม ทราม 14,0008,013,ก็ตาม) เกิดขึ้นแล้วย่อมดับ. 14,0008,014,สังขารเหล่าใดได้เกิดขึ้นแล้วในอดีต สังขารเหล่านั้นได้ดับ 14,0008,015,เสียแล้วในอดีต. สังขารเหล่าใดย่อมเกิดขึ้นในปัจจุบัน สังขารเหล่า 14,0008,016,นั้นย่อมดับในปัจจุบัน. สังขารเหล่าใดจักเกิดขึ้นในอนาคต สังขาร 14,0008,017,เหล่านั้นจักดับในอนาคต. ระยะกาลในระหว่างเกิดและดับแห่งสังขาร 14,0008,018,ที่สมมติว่ามนุษย์ ท่านกำหนดว่าหย่อนกว่า ๑๐๐ ปี พ้นจากนั้นมีน้อย 14,0008,019,นัก ไม่ถึงซึ่งอันดับ มีแต่ยิ่งสั้นลงมา.