Book,Page,LineNumber,Text 07,0041,001,นั้น ประหนึ่งอันธรรมนิยามแห่งพระบารมีธรรมของพระมหาบุรุษ 07,0041,002,หากบันดาลให้เป็นไป กาลเมื่อพระองค์มีพระประสงค์ ด้วยจะให้เป็น 07,0041,003,พยานรู้เห็นประจักษ์ตาในทุกรกิริยาทุกขัปปธาน จึงได้มากระทำวัต- 07,0041,004,ปฏิบัติพระองค์ตลอดมา ครั้นเมื่อเวลามีประโยชน์ด้วยกายวิเวกเงียบ 07,0041,005,สงัดในทางปฏิบัติภายในจิต แม้ผู้มีอยู่ชิด ณ ที่เดียวกันไม่พึงเป็นพยาน 07,0041,006,รู้เห็นได้ จึงได้ละพระองค์ไว้ หลีกไปเสียจากที่นั้น ด้วยประการ- 07,0041,007,ฉะนี้. 07,0041,008,ตรัสรู้ 07,0041,009,ปางเมื่อเบญจวัคคีย์หลีกหนีไปจากที่นั้นแล้ว พระมหาบุรุษเจ้า 07,0041,010,็ก็ทรงสงัดด้วยกายวิเวก ส้องเสพพระอาหารหยาบมีข้าวสุก ขนมกุมมาส 07,0041,011,เป็นต้นโดยลำดับ ให้พระกายมีกำลังดำรงเป็นปกติแล้ว ทรงสืบต่อ 07,0041,012,พากเพียรพยายามในสมาบัติมิได้ช้า อาศัยประโยคอันชอบ ความเพียร 07,0041,013,อันชอบ กระทำในจิตโดยชอบ พระองค์ได้ละนีวรณ์ทั้ง ๕ คือ 07,0041,014,กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ให้ปราศ 07,0041,015,ไปโดยวิปขัมภนปหาน บรรลุมหรคตรูปาวจรฌานทั้ง ๔ คือปฐมฌาน 07,0041,016,ความเพ่งที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา และ 07,0041,017,ทุติยฌาน ความเพ่งที่ ๒ มีองค์ ๒ คือ สุขและเอกัคคตา และ 07,0041,018,ตติยฌาน ความเพ่งที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุขและเอกัคคตา และ 07,0041,019,จตุตถฌาน ความเพ่งที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขาและเอกัคคตา และ 07,0041,020,แคล่วคล่องชำนาญด้วยดี เป็นจิตตวิเวก ควรเป็นบาทที่ตั้งแห่งอภิญญา 07,0041,021,คุณเป็นจรณะอันใกล้แก่วิชชาฉะนี้แล้ว แต่นั้นกาลล่วงไป ๆ ถึงวันที่