Book,Page,LineNumber,Text 06,0041,001,กหาปณะนั้น เป็นมาตราทองคำ ราคาเท่าทองคำหนัก ๒๐ มาสก 06,0041,002,มาสก ๑ มีราคาเท่าทองคำหนัก ๔ เมล็ดข้าวเปลือก. บาทหนึ่งเป็น 06,0041,003,๑ เสี้ยวที่ ๔ ของกหาปณะ จึงมีราคา ๕ มาสก คือเท่าทองคำ 06,0041,004,หนัก ๒๐ เมล็ดข้าวเปลือก. เพราะเป็นมาตราทองคำเทียบกับมาตรา 06,0041,005,เงิน จึงมีขึ้นมีลงไม่คงที่. เรื่องนี้ท่านพระอมราภิรักขิต (อมร เกิด) 06,0041,006,ได้อธิบายไว้โดยพิสดารแล้วในบุพพสิกขาวัณณนา ผู้ต้องการรู้ละเอียด 06,0041,007,จงดุข้างท้ายแห่งคัมภีร์นั้นเถิด แต่พึงเข้าใจว่า ครั้งเรียงบุพพสิกขา- 06,0041,008,วัณณนานั้น ราคาทองคำเทียบกับราคาเงินสูงเพียง ๑๖ หนักเท่านั้น. 06,0041,009,เพราะเหตุนั้น ควรกำหนดทรัพย์เป็นวัตถุแห่งอาบัติในสิกขาบทนี้ 06,0041,010,ดังต่อไปนี้ :- 06,0041,011,ทรัพย์มีราคาบาทหนึ่ง คือ ๕ มาสก เป็นวัตถุแห่งอาบัติปาราชิก. 06,0041,012,ทรัพย์มีราคาหย่อนบาทลงมา แต่สุงกว่า ๑ มาสก เป็นวัตถุแห่ง 06,0041,013,อาบัติถุลลัจจัย. ทรัพย์มีราคาตั้งแต่ ๑ มาสกลงมา เป็นวัตถุแห่ง 06,0041,014,อาบัติทุกกฏ. ในอรรถกถากล่าวไว้ว่า ของที่เก่าแล้วหรือใช้แล้ว 06,0041,015,ราคาย่อมตกลงมา แม้เป็นของใหม่ก็ยังควรตีราคาซึ่งเป็นไปอยู่ใน 06,0041,016,ประเทศและในกาลที่เกิดเหตุขึ้น. ทรัพย์สิ่งเดียวมีราคาหย่อนจากวัตถุ 06,0041,017,ปาราชิก รวมกันเข้าตีราคาปรับอาบัติที่สูงกว่าได้ ดังวินิจฉันแล้วใน 06,0041,018,บทว่านานาภัณฑะข้างต้น. ภิกษุมีไถยจิต ถือเอาทรัพย์มีราคาบาท 06,0041,019,หนึ่ง หรือยิ่งกว่า ต้องอาบัติปาราชิก. มีไถยจิตถือเอาทรัพย์มี 06,0041,020,ราคาหย่อนจากนั้น ต้องอาบัติตามวัตถุ. 06,0041,021,ภิกษุมีไถยจิต พยายามเพื่อจะถือเอาทรัพย์เป็นวัตถุแห่งปาราชิก