Book,Page,LineNumber,Text 06,0032,001,เรียกว่ามีฐาน ๓ มีฐาน ๔. ภิกษุมีไถยจิตถือเอาทรัพย์นั้น แต่ 06,0032,002,พอทำของให้พ้นจากที่ ก็ต้องอาบัติถึงที่สุด. ถ้าเป็นของตั้งอยู่ในของที่ 06,0032,003,จะเลื่อนได้อีกต่อหนึ่ง เช่นในเรือ เลื่อนเอาไปทั้งของที่รองอยู่ก็ 06,0032,004,เหมือนกัน. เพื่อจำง่าย ควรเรียกว่าลัก. 06,0032,005,๒. ทรัพย์เช่นนั้นกำลังคนนำไป มีอวัยวะของคนเป็นฐาน พึง 06,0032,006,กำหนดโดยอาการที่ทูนศีรษะ แบกบนบ่า กระเดียดที่สะเอว หรือหิ้ว 06,0032,007,หรือถือที่มือ. ภิกษุมีไถยจิตชิงเอาทรัพย์นั้น พอพ้นจากอวัยวะอัน 06,0032,008,เป็นฐาน ก็ต้องอาบัติ. เพื่อจำง่าย ควรเรียกว่าชิงหรือวิ่งราว. 06,0032,009,ในคัมภีร์วิภังค์แก้บทภาระว่า ภิกษุถือเอาของแห่งคนอื่นไป 06,0032,010,มีไถยจิต ปลงของลงจากฐาน เช่นทูนศีรษะ เอาลงที่บ่าเป็นต้น 06,0032,011,ต้องอาบัติถึงที่สุด. ข้อนี้ก็อย่างเดียวกับรับของฝาก เพราะต้องเป็น 06,0032,012,ผู้สำนอง คือจะต้องรับผิดหรือรับใช้เมื่อของหาย ควรจะปรับด้วย 06,0032,013,อย่างอื่น. ถ้าจะว่าในทางบ้านเมือง หากจะทำอย่างนั้น อาการลัก 06,0032,014,ยังไม่ปรากฏ ถือของเมื่อยเข้า เขาอาจจะเปลี่ยนฐานเปลี่ยนมือ 06,0032,015,หรือวางพักด้วยใจสุจริตก็ได้ ถ้าอวหารมีได้ในทางนี้ คนดี ๆ ก็จะถูกหา 06,0032,016,กันงอมแงม ดูไม่เป็นฐานะเลย. ข้าพเจ้าจึงเข้าใจว่า คนอื่นถือ 06,0032,017,ภิกษุชิงจากฐาน ซึ่งเรียกว่า ชิงหรือวิ่งราว. 06,0032,018,๓. ปศุสัตว์ก็ดี สัตว์พาหนะก็ดี มีเท้าของมันเป็นฐาน. ภิกษุ 06,0032,019,มีไถยจิตขับต้อนหรือจูงให้มันไป พอเท้าที่ ๔ ย่างพ้นจากฐาน ก็ต้อง 06,0032,020,อาบัติ เพื่อจำง่าย ควรเรียกว่า ลักต้อน. ถ้าเป็นสัตว์เหล็กที่จะพึง 06,0032,021,อุ้มได้ ถือได้ด้วยมือ เช่นไก่ ภิกษุมีไถยจิตต้องไป จัดเข้าในบทนี้ 06,0032,022,ถ้าอุ้มเอาไป จัดเข้าในบทลัก.