Book,Page,LineNumber,Text 06,0016,001,และประเทศนำให้เป็น อาบัติเหล่านั้นแม้ล่วงเข้าแล้ว ก็ไม่สู้เป็น 06,0016,002,อะไรนัก. ไม่ควรจะถือเอาอาบัติเหล่านี้เป็นเครื่องมือสำหรับอวดเคร่ง 06,0016,003,ดังเคยได้ยินมา พวกทายกเขนิมนต์ภิกษุรูปหนึ่งไปเทศนา บนธรรมาสน์ 06,0016,004,ปูเบาะยัดนุ่นไว้ ภิกษุนั้นไม่นั่งสั่งให้เลิกเสีย. ตามความเห็นของ 06,0016,005,ข้าพเจ้า ทำอย่างนั้นไม่เป็นความเรียบร้อยกว่าจะยอมนังชั่วคราว ยัง 06,0016,006,จะถือก็ควรถือแต่เฉพาะในวัด. เพื่อจะรักษาความเรียบร้อยไม่เอะอะ 06,0016,007,ได้เคยทรงพระอนุญาตให้ทำได้ก็มี. ในฝ่ายที่ไม่เคร่ง เห็นว่าอาบัติ 06,0016,008,มากหลบไม่ไหวแล้ว ทอดธุระเสีย ไม่รู้จักเลือกเว้น ดังนี้ ก็สะเพร่า 06,0016,009,เกินไป. ควรรู้จักประพฤติแต่พอดี จึงจะสมแก่ศาสนาธรรมที่ว่า เป็น 06,0016,010,ปฏิบัติพอกลาง ๆ ไม่ตกไปฝ่ายกามสุขัลลิกานุโยค ส่วนข้างหย่อน 06,0016,011,และในฝ่ายอัตตกิลมถานุโยค ส่วนข้างตึงเครียด. 06,0016,012,อาการที่จะต้องอาบัตินั้น ๖ อย่าง คือ อลชฺชิตา ต้องด้วยไม่ 06,0016,013,ละอาย ๑ อาณตา ต้องด้วยไม่รู้ ๑ กุกฺกุจฺจปกตตา ต้องด้วยสงสัย 06,0016,014,แล้วขืนทำ ๑ อกปฺปิเย กปฺปิยสฺิตา ต้องด้วยสำคัญว่าควรในของ 06,0016,015,ไม่ควร ๑ กปฺปิเย อกปฺปิยสฺิตา ต้องด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของ 06,0016,016,ควร ๑ สติสมฺโมสา ต้องด้วยลืมสติ ๑. 06,0016,017,ภิกษุรู้อยู่แล้ว และละเมิดพระบัญญัติ ด้วยใจด้านไม่รู้จักละอาย 06,0016,018,ดังนี้ ต้องด้วยไม่ละอาย. ภิกษุไม่รู้ว่าทำอย่างนั้น ๆ มีพระบัญญัติ 06,0016,019,ห้ามไว้และทำล่วงพระบัญญัติ ดังนี้ ต้องด้วยไม่รู้. ภิกษุสงสัยอยู่ว่า 06,0016,020,ทำอย่างนั้น ๆ ผิดพระบัญญัติหรือไม่ แต่ขืนทำด้วยความสะเพร่า 06,0016,021,เช่นนี้ ถ้าการที่ทำนั้นผิดพระบัญญัติ ก็ต้องอาบัติตามวัตถุ ถ้าไม่ผิด