Book,Page,LineNumber,Text 03,045,001,"ก็ตามที. "" " 03,045,002,ในสมัยนั้น พระยามารเกรงว่า พระมหาบุรุษจะพ้นจากอำนาจ 03,045,003,"แห่งตน จึงยกพลเสนามาผจญ, แสดงฤทธิ์มีประการต่าง ๆ เพื่อ" 03,045,004,จะยังพระมหาบุรุษให้ตกพระหฤทัยกลัวแล้วจะเสด็จหนีไป. พระองค์ 03,045,005,ทรงนึกถึงพระบารมี ๑๐ ทัศ ที่ได้ทรงบำเพ็ญมา ตั้งมหาปฐพีไว้ในที่ 03,045,006,เป็นพยาน เสี่ยงพระบารมี ๑๐ ทัศนั้นเข้าช่วยผจญ ยังพระยามาร 03,045,007,กับเสนาให้ปราชัย แต่ในเวลาพระอาทิตย์ยังไม่ทันอัสดงคตแล้วบรรลุ 03,045,008,"บุพเพนิวาสานุสสติญาณในปฐมยาม, ได้ทิพพจักขุญาณในมัชฌิมยาม," 03,045,009,ทรงใช้พระปัญญาพิจารณาปฏิจจสมุปบาท ทั้งฝ่ายเกิดฝ่ายดับ สาว 03,045,010,"หน้าสาวกลับไปมาในปัจฉิมยาม, ก็ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ" 03,045,011,ในเวลาอรุณขึ้น. 03,045,012,ในประพฤติเหตุเหล่านี้ ข้อที่จะพึงปรารภถึง มีแต่เรื่องผจญ 03,045,013,มาร. สันนิษฐานเห็นว่า เป็นเรื่องแสดงน้ำพระหฤทัยของพระมหาบุรุษ 03,045,014,โดยบุคคลาธิฏฐาน คือกล่าวเปรียบด้วยตัวบุคคล. กิเลสกามเปรียบ 03,045,015,"ด้วยพระยามาร, กิเลสอันเป็นฝ่ายเดียวกัน เปรียบด้วยเสนามาร." 03,045,016,กิเลสเหล่านั้น เกิดขึ้นท่องเที่ยวอยู่ในจิตของพระมหาบุรุษ ให้นึกถึง 03,045,017,ความเสวยสุขสมบัติในปางหลังและทวนกลับ เปรียบด้วยพระยามาร 03,045,018,ยกพลเสนามาผจญ. พระบารมี ๑๐ ทัศนั้น คือ ทาน ๑ ศีล ๑ 03,045,019,เนกขัมมะ คือความออกจากกามได้แก่บรรพชา ๑ ปัญญา ๑ วิริยะ ๑ 03,045,020,ขันติ ๑ ความสัตย์ ๑ อธิฏฐาน คือความมั่นคง ๑ เมตตา ๑ อุเบกขา