Book,Page,LineNumber,Text 37,0024,001,ต่อไปอีกว่า ท่านหมายเอาสุภาษิตในหนังสือพุทธศาสนสุภาษิตเล่ม ๒ 37,0024,002,"โดยตรง, และโดยอ้อมหมายเอาสุภาษิตในพระพุทธศาสนาทั่ว ๆไป." 37,0024,003,ฉะนั้น นักเรียนควรอ้างเอาเฉพาะสุภาษิตในหนังสือพุทธศาสนสุภาษิต 37,0024,004,เล่ม ๒ ดีกว่า เพราะถ้าไปอ้างเอาจากที่อื่นมา อาจจะถูกตำหนิว่า 37,0024,005,ไม่สมภูมิสมชั้นบ้าง เกินภูมิเกินชั้นบ้าง. 37,0024,006,๒. การอ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบนั้น จำต้องบอกชื่อคัมภีร์ที่ 37,0024,007,"มาด้วย เพราะท่านสั่งต่อไปว่า "" และบอกชื่อคัมภีร์ที่มาแห่งสุภาษิต" 37,0024,008,"นั้นด้วย "" โดยมุ่งอบรมอัธยาศัยของนักเรียนให้ทำอะไรต้องมีหลัก" 37,0024,009,ไม่ใช่ทำส่ง ๆ ดังกล่าวมาบ้างแล้ว. ฉะนั้น นักเรียนไม่ควรสะเพร่า 37,0024,010,มักง่าย อ้างสุภาษิตมาประกอบโดยไม่บอกชื่อคัมภีร์ที่มา ควรจะ 37,0024,011,ฝึกฝนตนไม่ให้สะเพร่ามักง่าย นักเรียนบางคนมักบ่นหนักใจในเรื่อง 37,0024,012,บอกชื่อคัมภีร์ เห็นเป็นเรื่องเกินวิสัยที่จะจำมาบอกให้ถูกต้องได้ ความ 37,0024,013,จริงถ้าเอาพุทธศาสนสุภาษิตเล่ม ๒ มาเปิดอ่าน เลือกเฟ้นเอาแต่ข้อที่ 37,0024,014,เหมาะ ๆ หมวดละ ๒ ข้อ แล้วท่องให้จำพร้อมทั้งคัมภีร์ที่มา ก็ไม่ 37,0024,015,ต้องเที่ยวบ่นอยู่เลย. 37,0024,016,"๓. คำสั่งให้ตอนต่อมาว่า "" ห้ามอ้างสุภาษิตซ้ำข้อกัน แต่จะ" 37,0024,017,"อ้างซ้ำคัมภีร์ได้ไม่ห้าม "" หมายความว่าสุภาษิตข้อใด นักเรียนอ้างมา" 37,0024,018,ประกอบในประเด็นหนึ่งแล้ว ข้อนั้นอย่าอ้างมาประกอบในประเด็น 37,0024,019,อื่นอีก แต่คัมภีร์ที่มาของสุภาษิตซ้ำกันก็ได้ เช่นสุภาษิตที่อ้างมา 37,0024,020,ประกอบในประเด็นที่ ๑ มาในสวดมนต์ฉบับหลวง ที่อ้างมาประกอบ 37,0024,021,ในประเด็นที่ ๒ ไม่ซ้ำข้อกันกับในประเด็นที่ ๑ คือคนละข้อกัน แต่