Book,Page,LineNumber,Text
33,0013,001,สิกขาบทที่ ๒ ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้.
33,0013,002,ทรัพย์ ๒ ชนิด คือ ๑. สังหาริมทรัพย์ ทรัพย์เคลื่อนที่ได้.
33,0013,003,๒. อสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์เคลื่อนที่ไม่ได้.
33,0013,004,อีกอย่างหนึ่งคือ ๑. สวิญญาณกทรัพย์ ทรัพย์มีวิญญาณ.
33,0013,005,๒. อวิญญาณกทรัพย์ ทรัพย์ไม่มีวิญญาณ.
33,0013,006,กำหนดเขตต้องอาบัติ
33,0013,007,๑. สังหาริมทรัพย์ กำหนดด้วยฐานที่ตั้ง หรือที่แขวน เช่น โต๊ะ
33,0013,008,๓ ขา หรือ ๔ ขา ภิกษุจงใจลัก ทำโต๊ะให้พ้นจากที่ตั้ง เมื่อขาที่สุด
33,0013,009,พ้นเขต ก็ต้องอาบัติถึงที่สุด แม้ของที่แขวนอยู่ เมื่อภิกษุจงใจลัก ทำ
33,0013,010,ให้เคลื่อนจากที่แขวน ก็ต้องอาบัติถึงที่สุด แม้นกที่มีเจ้าของบินอยู่ใน
33,0013,011,อากาศ ภิกษุจงใจลัก ต้อนให้บินเคลื่อนที่จากที่เดิม พอพ้นเขตที่เดิม
33,0013,012,ก็ต้องอาบัติถึงที่สุด.
33,0013,013,๒. อสังหาริมทรัพย์ กำหนดด้วยกรรมสิทธิ์ เช่น ที่ดิน ภิกษุ
33,0013,014,กล่าวตู่ เจ้าของสู้ไม่ได้ สละกรรมสิทธิ์ ภิกษุต้องอาบัติถึงที่สุด ถ้าเจ้า
33,0013,015,ของฟ้องร้อง เมื่อศาลตัดสินให้ภิกษุชนะ ในศาลสูงสุดที่คดีจบลง ภิกษุ
33,0013,016,ก็ต้องอาบัติถึงที่สุด. สิกขาบทนี้เป็นสาณัตติกะ.
33,0013,017,สาณัตติกะ ต้องเพราะสั่งให้เขาทำด้วย. อาบัติถึงที่สุดขณะที่ผู้รับใช้ทำ
33,0013,018,โจรกรรมสำเร็จตามสั่ง.
33,0013,019,"อาณัตติกะ ไม่ต้องเพราะสั่ง, เช่น เสพเมถุนเอง ต้องปาราชิก สั่ง"
33,0013,020,ให้เขาเสพในผู้อื่น ไม่ต้องอาบัติ.
33,0013,021,นานาภัณฑะ ของหลายสิ่ง. คือหลายชิ้นรวมกัน มีราคาเป็นวัตถุแห่ง
33,0013,022,ปาราชิก.