Book,Page,LineNumber,Text 33,0007,001,๖. ทุกกฎ. 33,0007,002,๗. ทุพภาสิต. 33,0007,003,๖. ครุกาบัติ-ลหุกาบัติ 33,0007,004,ครุกาบัติ คือ อาบัติหนัก แบ่งเป็น ๒ พวก คือ :- 33,0007,005,๑. หนักแก้ไม่ได้ คือ ปาราชิก เรียก อเตกิจฉา. 33,0007,006,๒. หนักแก้ได้ คือ สังฆาทิเสส เรียก สเตกิจฉา. 33,0007,007,ลหุกาบัติ คือ อาบัติเบา คือ ถุลลัจจัย ถึงทุพภาสิต. 33,0007,008,๗. สมุฏฐาน 33,0007,009,สมุฏฐานคือทางเกิดอาบัติโดยตรง มี ๔ ทาง คือ :- 33,0007,010,๑. ทางกาย เช่น ปาจิตตีย์ เพราะดื่มน้ำเมา. 33,0007,011,๒. ทางวาจา เช่น ปาจิตตีย์ เพราะสอนธรรมแก่อนุสัมบัน 33,0007,012,ให้ว่าพร้อมกัน. 33,0007,013,๓. ทางกายกับจิต เช่น ปาราชิก เพราะทำโจรกรรมเอง. 33,0007,014,๔. ทางวาจากับจิต เช่น ปาราชิก เพราะสั่งให้ทำโจรกรรม. 33,0007,015,๘. สจิตตกะ-อจิตตกะ 33,0007,016,อาบัติทั้งหมดนั้น เพ่งเอาเจตนาเป็นที่ตั้ง แบ่งออกเป็น ๒ พวก 33,0007,017,คือ :- 33,0007,018,๑. สจิตตกะ เกิดขึ้นโดยสมุฏฐานที่มีเจตนา. 33,0007,019,๒. อจิตตกะ เกิดขึ้นโดยสมุฏฐานที่ไม่มีเจตนา. 33,0007,020,ืทางกำหนดรู้อาบัติที่เป็นสจิตตกะ หรือ อจิตตกะ นั้น อยู่ที่ 33,0007,021,รูปความและโวหาร (คำพูด) ในสิกขาบทนั้น ๆ นั่นเอง