Book,Page,LineNumber,Text 31,0044,001,ปาราชิก. เช่นภิกษุงัดกุญแจเข้าไปในกุฏิภิกษุอื่นลักย่ามมา ๑ ใบ ซึ่ง 31,0044,002,มีราคาถึงเท่านั้น ถือเอาเป็นของตน ดังนี้ เธอเป็นปาราชิก. 31,0044,003,๒๔๕๗ 31,0044,004,ถ. สังหาริมทรัพย์ ที่ภิกษุถือเอาแล้วด้วยเถยยจิต มีกำหนด 31,0044,005,โทษขีดขั้นตามชั้นวัตถุอย่างไร ? 31,0044,006,ต. มีกำหนดดังนี้ วัตถุนั้นเป็นทองหรือเงินตรา หรือของใช้ 31,0044,007,แทนทองและเงิน ซึ่งมีราคาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป ปรับอาบัติปาราชิก 31,0044,008,หย่อนกว่า ๕ มาสกลงมา ปรับอาบัติถุลลัจจัย ตั้งแต่ ๑ มาสกลงมา 31,0044,009,ปรับอาบัติทุกกฎ นัยนี้เพ่งถึงเจตนาของผู้ลักไม่มีเถยยจิตติดต่อกัน ถ้า 31,0044,010,เป็นผู้ลักของกระจุ๋มกระจิ๋มโดยฐานที่มีเถยยจิตเนื่องกัน ของนั้นมีราคา 31,0044,011,รวม ๕ มาสกขึ้นไป ปรับอาบัติปาราชิกเช่นกัน. 31,0044,012,๒๒/๘/๖๙-๑๕/๗/๗๑ 31,0044,013,ถ. ภิกษุทำร่วมกัน ในสิกขาบทไหนต้องอาบัติเหมือนกัน ? ใน 31,0044,014,สิกขาบทไหนต้องอาบัติหนักเบาต่างกัน ? จงยกตัวอย่าง. 31,0044,015,ต. ในอทินนทานสิกขาบท ภิกษุร่วมกันต้องอาบัติเหมือน 31,0044,016,กัน เช่นสังวิธาวหาร ภิกษุชวนกันไปลัก. ในสิกขาบทที่ ๕ แห่ง 31,0044,017,สัปปาณวรรค ที่ว่าถึงการให้อุปสมบทผู้มีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี 31,0044,018,อุปัชฌาย์ ต้องปาจิตตีย์ ภิกษุอื่นต้องทุกกฏ. 31,0044,019,๓๐/๗/๖๗ 31,0044,020,ถ. จงอธิบายถึงภิกษุต้องอาบัติทุกกฏาบัติ ถุลลัจจยาบัติ ปาราชิกาบัติ 31,0044,021,ในเพราะอทินนาทานให้ฟัง ?