Book,Page,LineNumber,Text 31,0043,001,ถ. ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่เป็นสังหาริมะและอสังหาริมะ จะต้อง 31,0043,002,อาบัติถึงที่สุดได้ต่างกันอย่างไร ? 31,0043,003,ต. ในทรัพย์ที่เป็นสังหาริมะ ให้ต้องอาบัติถึงที่สุดด้วยอาการ 31,0043,004,ทำให้เคลื่อนจากฐาน ที่เป็นอสังหาริมะ ด้วยอาการทำให้ขาดกรรมสิทธิ์. 31,0043,005,๓๐/๘/๗๑ 31,0043,006,ถ. มีอุบาสกคนหนึ่งลืมเงินไว้ในที่แห่งหนึ่งราคา ๔ สลึง ซึ่งไม่ 31,0043,007,ใช่ที่วัดที่อาศัย มีภิกษุเดินมา ๔ รูป ๆ หนึ่งหยิบเอา ๑ สลึง ดังนี้ 31,0043,008,ภิกษุเหล่านั้นจะมีโทษอย่างไรบ้างหรือไม่ ? อธิบายด้วย. 31,0043,009,ต. ถ้าภิกษุนั้นไม่รู้ว่ามีเจ้าของหวงแหน แต่ไม่ได้ชวนกัน 31,0043,010,ไปเอา ดังนี้ นอกจากเป็นนิสสัคคีย์ ก็ไม่เห็นมีอะไร เพราะฉะนั้น 31,0043,011,ต้องเป็นนิสสัคคีย์เพราะจับต้องของนั้นทุกองค์ ถ้าภิกษุนั้นรู้ว่ามีเจ้าของหวง 31,0043,012,แหน แต่ไม่ใช่ชวนกันไปเอา ดังนี้ ต้องปรับด้วยอาบัติถุลลัจจัยทุกองค์ 31,0043,013,ด้วยของนั้นมากกว่ามาสก ๑ แล้ว ถ้าภิกษุนั้นรู้ว่ายังมีเจ้าของหวงแหน 31,0043,014,และชวนกันไปเอาของนั้นพร้อมกัน ๔ องค์แล้ว ได้ของนั้นมาตาม 31,0043,015,ความประสงค์ ดังนี้ ต้องปรับอาบัติปาราชิกทุกองค์ ไม่ต้องสงสัย 31,0043,016,เลยทีเดียว. 31,0043,017,๒๔๕๗ 31,0043,018,ถ. ภิกษุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ อย่างไรต้องปาราชิก 31,0043,019,จงให้อุทาหรณ์ ? 31,0043,020,ต. ภิกษุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ด้วยเจตนาแห่งขโมย 31,0043,021,ได้ราคา ๕ มาสก (เท่าราคาทองคำหนัก ๒๐ เมล็ดข้าวเปลือก) ต้อง