Book,Page,LineNumber,Text 21,0049,001,"เป็นอยู่เช่นนั้นเทอญ"" พึงบริกรรมนักดังนี้ร่ำไปอย่าหยุด ก็จะมลเสีย " 21,0049,002,ได้ซึ่งราคะและปฏิฆะในสุขและทุกข์ของสัตว์ อุเบกขาพรหมวิหาร 21,0049,003,มีอานุภาพในผู้ที่เจริญได้ถึงจตุตถฌานในจตุกกนัย ถึงปัญจมฌานใน 21,0049,004,ปัญจกนัย. อุเบกขาพรหมวิหาร ยุติแต่เท่านี้. 21,0049,005,พรหมวิหาร ๔ จบโดยสังเขปแต่เท่านี้. 21,0049,006,จะอธิบายในอาหาเรปฏิกูลกัมมัฏฐานต่อไปว่า โยคาพจร- 21,0049,007,กุลบุตรผู้มีศรัทธา ปรารถนาจะเจริญกัมมัฏฐานชื่อว่า อาหาเรปฏิกูล- 21,0049,008,สัญญา สำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหารนั้น พึงศึกษาในวิธีพิจารณา 21,0049,009,อาหารให้เห็นเป็นปฏิกูลให้ชำนาญแล้ว พึงเข้าไปในที่สงัด พิจารณา 21,0049,010,อาหารด้วยอาการปฏิกูล ๘ ประการ คือปฏิกูลโดยบริโภคประการหนึ่ง 21,0049,011,ปฏิกูลโดยประเทศที่อยู่ของอาหารนั้นประการหนึ่ง ปฏิกูลด้วยสะสมอยู่ 21,0049,012,นานประการหนึ่ง ปฏิกูลในกาลเมื่อยังมิได้ย่อยประการหนึ่ง ปฏิกูลใน 21,0049,013,กาลเมื่อย่อยออกมาประการหนึ่ง ปฏิกูลโดยผลประการหนึ่ง ปฏิกูล 21,0049,014,โดยหลั่งไหลออกมาประการหนึ่ง ปฏิกูลด้วยอันทำให้แปดเปื้อนประ- 21,0049,015,การหนึ่ง รวมเป็น ๘ ประการด้วยกัน. ซึ่งว่าให้พิจารณาให้เห็นเป็น 21,0049,016,ปฏิกูลโดยบริโภคนั้น คือพิจารณาว่า อาหารนี้ เมื่อหยิบเอาวางลง 21,0049,017,ในปาก แต่พอตกถึงปลายลิ้น ก็ชุ่มไปด้วยน้ำลายเหลว เข้าไปถึง 21,0049,018,กลางลิ้น ก็ชุ่มไปด้วยน้ำลายข้น มลทินอันติดอยู่ในทันตประเทศ 21,0049,019,ก็แปดเปื้อนปฏิกูลพึงเกลียดยิ่งนัก ดังรากสุนัขอันอยู่ในราง ซึ่งกลืน 21,0049,020,กินได้นั้น ก็เพราะไม่เห็นด้วยจักษุ ถ้าเห็นด้วยจักษุแล้วก็ไม่อาจกลืน