Book,Page,LineNumber,Text 41,0036,001,"ถ. คำว่า ""สังขาร"" ในพระบาลีว่า ""อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา" 41,0036,002,"เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย มีสังขาร "" ดังนี้ หมายเอาสังขารประเภท" 41,0036,003,ไหน ? มีลักษณะอย่างไร ? ท่านจำแนกไว้อย่างไร ? 41,0036,004,ต. ได้แก่อภิสังขาร ๒ ประเภท. มีลักษณะเป็นสภาพผู้ปรุงแต่ง. 41,0036,005,ท่านจำแนกไว้เป็น ๓ ประเภท คือ 41,0036,006,๑. ปุญญาภิสังขาร อภิสังขารคือบุญ 41,0036,007,๒. อปุญญาภิสังขาร อภิสังขารคือบาป 41,0036,008,๓. อเนญชาภิสังขาร อภิสังขารคืออเนญชา. 41,0036,009,๒๕๑๑ 41,0036,010,ถ. อปุญญาภิสังขาร กับอภิสังขาร เหมือนกันหรือต่างกัน 41,0036,011,อย่างไร ? เป็นกุศลธรรม หรืออกุศลธรรม ? 41,0036,012,"ต. ต่างกัน, อปุญญาภิสังขาร คือบาป ตกแต่งสัตว์ให้เลว" 41,0036,013,"ต่าง ๆ กัน ตามวิบากแห่งกุศลธรรมนั้น, อภิสังขาร ท่านหมายถึง" 41,0036,014,"กุศลและอกุศลธรรม. อปุญญาภิสังขาร เป็นอกุศลธรรม, อภิสังขาร" 41,0036,015,เป็นได้ทั้งกุศลธรรมและอกุศลธรรม. 41,0036,016,๒๕๐๗ 41,0036,017,ถ. อภิสังขาร ๓ และสังขาร ๓ จัดเข้าในปัญจขันธ์ รวมลงใน 41,0036,018,ขันธ์ใดบ้าง ได้หรือไม่ ? ถ้าได้จงจัด ถ้าไม่ได้ก็แล้วไป. 41,0036,019,ต. กายสังขาร จัดเข้าในรูปขันธ์ วจีสังขารและอภิสังขาร จัด 41,0036,020,เข้าในสังขารขันธ์ จิตตสังขาร จัดเข้าในสัญญาขันธ์และเวทนาขันธ์. 41,0036,021,๒๔๖๒