Book,Page,LineNumber,Text 37,0016,001,ส่วนหนึ่ง ที่ทำให้ข้อความไพเราะ เป็นเครื่องจูงใจผู้ฟัง แต่ในเรื่องนี้ 37,0016,002,มีข้อสำคัญอยู่ว่า ถ้อยคำที่จะส่งและรับสัมผัสกันนั้น อย่าให้เก้อได้ 37,0016,003,เป็นอันขาด คืออย่ารับกันพราวไป ควรมุ่งความเป็นใหญ่ ในที่นี้ 37,0016,004,สมควรจะกล่าวสักเล็กน้อยว่า การส่งและรับสัมผัสที่จะจัดว่าดีนั้น 37,0016,005,ต้องได้ทั้งสัมผัสทั้งความ ถ้าได้แต่สัมผัส แต่สัมผัสที่ได้นั่นแหละ 37,0016,006,ทำให้ความเสียไป เช่นนี้ เป็นอันใช้ไม่ได้ทีเดียว. 37,0016,007,"๓. คำว่า "" แต่งอธิบายเป็นทำนองเทศนาโวหาร "" ตามคำสั่ง" 37,0016,008,นั้นเป็นการบังคับ เป็นคำสำทับ และเป็นคำสั่งอย่างเด็ดขาด หมาย 37,0016,009,ความว่า ต้องแต่งเป็นทำนองเทศน์ ทั้งนี้ เป็นเครื่องแสดงว่าไม่ใช่ 37,0016,010,เพราะเหตุดังกล่าวแล้วในข้อ ๑ นั้นเท่านั้น น่าจะมีเหตุอย่างอื่นอีก 37,0016,011,เป็นต้นว่า เพื่อป้องกันสำนวนโวหารอย่างใหม่ที่ใช้อันอยู่ในหนังสือ 37,0016,012,อ่านเล่นโดยมาก สำนวนโวหารอย่างนี้ไม่เหมาะไม่ควรสำหรับที่จะนำ 37,0016,013,มาใช้ในการแก้กระทู้ธรรม เพราะเหตุไร ? เพราะกระทู้ธรรมเป็น 37,0016,014,สัลเลขะ คือเป็นเครื่องขัดเกลากิเลสทั้งนั้น หรืออย่างน้อยก็มิใช่ 37,0016,015,เป็นอาสวัฏฐานียธรรม คือธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ เมื่อเป็นเช่นนี้ 37,0016,016,สำนวนโวหารที่จะใช้ในการแก้กระทู้ธรรม ก็ต้องเป็นสัลเลขะด้วย จึง 37,0016,017,จะเหมาะกันควรกัน ส่วนสำนวนโวหารที่ใช้กันอยู่หนังสืออ่านเล่น 37,0016,018,นั้น ไม่ใช่สัลเลขะ และไม่ใช่เพราะเหตุไรนั้น ผู้ที่คุ้นเคยกับหนังสือ 37,0016,019,อ่านเล่น ขอกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ในการแต่งเป็นทำนองเทศน์นั้น 37,0016,020,มีลักษณะสำคัญอยู่อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งนักเรียนควรทราบไว้เป็นแท้