Book,Page,LineNumber,Text 13,0050,001,ถือนิสัย. องคสมบัติที่กำหนดไว้ในบาลีอย่างอุกฤษฏ์ เป็นคุณ 13,0050,002,ของพระอรหันต์ แต่ผ่อนลงมาเป็นหมวด ๆ จนถึงเป็นคุณของภิกษุ 13,0050,003,กัลยาณปุถุชน จักย่นกล่าวเฉพาะองค์อันสมแก่ภิกษุในบัดนี้. 13,0050,004,๑. เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีวิริยะ มีสติ. 13,0050,005,๒. เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล อาจาระ ความเห็นชอบ เคยได้ยิน 13,0050,006,ได้ฟังมาก มีปัญญา. 13,0050,007,๓. รู้จักอาบัติ มิใช่อาบัติ อาบัติเบา อาบัติหนัก จำปาติโมกข์ 13,0050,008,ได้แม่นยำ. 13,0050,009,ทั้งมีพรรษาได้ ๕ หรือยิ่งกว่า. 13,0050,010,องค์เหล่านี้ แม้บกพร่องบางอย่างก็ได้ ที่ขาดไม่ได้คือ 13,0050,011,กำหนดพรรษา. 13,0050,012,ภิกษุผู้มัชฌิมะ ประกอบด้วยองคสมบัติเหล่านี้ เป็นแต่อยู่ได้ 13,0050,013,ตามลำพัง ยังห้ามไม่ให้ปกครองบริษัท. 13,0050,014,ภิกษุผู้มีพรรษาครบ ๑๐ แล้ว ได้ชื่อว่าเถระ แปลว่า ผู้หลัก 13,0050,015,"ผู้ใหญ่, มีองคสมบัติอาจปกครองผู้อื่นได้ ทรงพระอนุญาตให้เป็น" 13,0050,016,อุปัชฌายะให้อุปสมบท เป็นอาจารย์ให้นิสัย มีสามเณรไว้อุปัฏฐาก 13,0050,017,ที่แปลว่าให้บรรพชาเป็นสามเณรได้ เรียกปริสุปัฏฐาปกะ แปลว่า 13,0050,018,ผู้ให้บริษัทอุปัฏฐากหรือผู้ใช้บริษัท ถือเอาความว่า ผู้ปกครองบริษัท 13,0050,019,ฝ่ายภิกษุผู้ขาดองคสมบัติ แม้มีพรรษาครบกำหนดแล้ว ก็ไม่ทรง 13,0050,020,พระอนุญาต. องคสมบัติที่กำหนดไว้ในบาลี ที่เพิ่มจากองค์ของ 13,0050,021,ภิกษุมัชฌิยะ ผู้นิสสัยมุตตกะดังนี้ :-